<<

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด เลขมาตรฐานหนังสือ : ISBN 978-616-91741-0-3 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พิมพ์ครั้งที่ 1 : มิถุนายน 2556 จัดพิมพ์โดย : ส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

ที่ปรึกษา : 1. นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานกรรมการบริหารส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ 2. นางสุชาดา ชยัมภร รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ รักษาการแทนผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ 3. นายเสมอ ลิ้มชูวงศ์ รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ คณะทำ� งาน : 1. นายเชลง รอบคอบ นิติกร 2. นางสาวปทิตตา แกล้วกล้า เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ 3. นางสาวศศิรดา ประกอบกุล เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ 4. นายกฤชณรัตน สิริธนาโชติ เจ้าหน้าที่จัดการองค์ความรู้ 5. นายรัตเขตร์ เชยกลิ่น เจ้าหน้าที่จัดการองค์ความรู้ คณะด�ำเนินงาน : 1. นางสาวอนงค์ จันทร์ศรีกุล ที่ปรึกษาโครงการฯ ข้าราชการบ�ำนาญ กรมวิชาการเกษตร 2. ผศ. ดร. อุทัยวรรณ แสงวณิช หัวหน้าโครงการฯ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3. รศ. พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์ รองหัวหน้าโครงการฯ ข้าราชการบ�ำนาญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4. นางอัจฉรา พยัพพานนท์ ผู้ร่วมโครงการฯ ข้าราชการบ�ำนาญ กรมวิชาการเกษตร 5. ดร. เจนนิเฟอร์ เหลืองสอาด ผู้ร่วมโครงการฯ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ 6. นายบารมี สกลรักษ์ ผู้ร่วมโครงการฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ลิขสิทธ์ิโดย : ส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 0 2141 7800 โทรสาร 0 2143 9202 www.bedo.or.th

การอ้างอิงหนังสือ : อุทัยวรรณ แสงวณิช, พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์, อัจฉรา พยัพพานนท์, เจนนิเฟอร์ เหลืองสอาด, อนงค์ จันทร์ศรีกุล และ บารมี สกลรักษ์. 2556. บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด. ส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ. 374 หน้า.

คำ�นำ� ส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริม สนับสนุน และด�ำเนินการพัฒนา เศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เก็บรวบรวมและจัดท�ำบัญชีรายการพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ที่มีแหล่ง ก�ำเนิดหรือพบในประเทศไทย รวมทั้งภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการเป็น ฐานข้อมูล และส่งเสริมสนับสนุน การใช้ประโยชน์เศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพและ ภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งการจัดท�ำบัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพเป็นการด�ำเนินงาน ทางด้านการจัดการองค์ความรู้ ศึกษาวิจัย และพัฒนา เพื่อให้มีระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ และ การวิจัยพัฒนาด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สนับสนุนการพัฒนา เศรษฐกิจจากทรัพยากรชีวภาพ ในปีงบประมาณ 2552 สพภ. ได้ด�ำเนินการจัดท�ำสิ่งพิมพ์บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เรื่องจุลินทรีย์ (เห็ด) โดยจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยจ�ำนวน 200 เล่ม ได้ใช้ในการปฏิบัติงานจนหมด จึงได้ด�ำเนินการปรับปรุงหนังสือบัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เรื่องจุลินทรีย์ (เห็ด) และจัดพิมพ์ ใหม่ในชื่อ บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด เพื่อน�ำออกเผยแพร่สู่ประชาชนและผู้สนใจให้ สามารถน�ำเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ ส�ำหรับสิ่งพิมพ์บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด เล่มนี้ ได้เน้นรายละเอียดเรื่องเห็ดที่มี การจัดจ�ำแนกอยู่ใน 2 ชั้น (Class) การเก็บเห็ดและการศึกษาเห็ดในธรรมชาติ ขั้นตอนการผลิต การเพาะเลี้ยง และการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์เห็ด ความส�ำคัญของเห็ดทางอุตสาหกรรมและระบบนิเวศ ประโยชน์และโทษที่มีต่อมนุษย์ คุณค่าทางเศรษฐกิจของเห็ด แสดงบัญชีรายชื่อเห็ดที่มีรายงาน การส�ำรวจพบในประเทศไทย และรูปภาพของเห็ดบางชนิดพร้อมด้วยค�ำบรรยายลักษณะทั้งที่มอง เห็นด้วยตาเปล่า และที่ต้องตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ รวมไปถึงถิ่นที่อยู่และบทบาทของเห็ด เหล่านั้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งพิมพ์บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด จะเป็นประโยชน์ต่อ ประชาชน นักวิชาการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป

ส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

สารบัญ

ตอนที่ 1 ลักษณะทั่วไป ประโยชน์และโทษของเห็ด บทที่ 1 บทน�ำ 11 บทที่ 2 การจ�ำแนกรา 13 บทที่ 3 เห็ดในชั้น Ascomycetes 23 บทที่ 4 เห็ดในชั้น Basidiomycetes 29 บทที่ 5 การเก็บเห็ดและการศึกษาเห็ดในธรรมชาติ 39 บทที่ 6 ขั้นตอนการผลิตเชื้อเห็ด 51 บทที่ 7 ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเห็ดที่ส�ำคัญทางอุตสาหกรรม 55 บทที่ 8 การเก็บรักษาเชื้อพันธุ์เห็ด 63 บทที่ 9 เห็ดที่มีความส�ำคัญทางอุตสาหกรรม 65 บทที่ 10 เห็ดที่มีความส�ำคัญทางระบบนิเวศ 71 บทที่ 11 เห็ดที่เป็นโทษ 75 ตอนที่ 2 คุณค่าทางเศรษฐกิจของเห็ด บทที่ 12 คุณค่าทางเศรษฐกิจของเห็ด 85 ตอนที่ 3 รายชื่อเห็ดที่มีรายงานการพบในประเทศไทย บทที่ 13 รายชื่อเห็ดในชั้น Ascomycetes 93 บทที่ 14 รายชื่อเห็ดในชั้น Basidiomycetes 103 ตอนที่ 4 ทรัพย์สินชีวภาพเห็ด บทที่ 15 ภาพ ค�ำบรรยายลักษณะ แหล่งที่พบ ประโยชน์และโทษ ของเห็ดในชั้น Ascomycetes 147 บทที่ 16 ภาพ ค�ำบรรยายลักษณะ แหล่งที่พบ ประโยชน์และโทษ ของเห็ดในชั้น Basidiomycetes 165 บรรณานุกรม 313 ดัชนีรายชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ด 335 ขอขอบคุณ 373

µÍ¹·Õè 1 ÅѡɳзÑèÇä» »ÃÐ⪹áÅÐâ·É ¢Í§àËç´

9-22_dp2.indd 9 7/28/56 BE 4:59 PM บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

9-22_dp2.indd 10 7/28/56 BE 4:59 PM º··Õè 1 º·¹íÒ

สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า จุลินทรีย์ (microorganism) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากจนไม่ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น พวกแบคทีเรีย (bacteria) รา (fungi) โพรโทซัว (protozoa) สาหร่าย (algae) และไวรัส (virus) แม้ว่าจุลินทรีย์จะมีขนาดเล็กมาก แต่กิจกรรมของจุลินทรีย์นั้น ยิ่งใหญ่ ทั้งในด้านที่เป็นประโยชน์ เช่น ใช้ผลิตยารักษาโรคของมนุษย์ สัตว์และพืช การสร้างสาร ทุติยภูมิที่เป็นประโยชน์อย่างมากมาย เช่น การสร้างเอนไซม์ชนิดต่างๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม การถนอมอาหารโดยการหมักดอง เช่น ผักดอง แหนม และอื่นๆ อุตสาหกรรมการหมักที่ท�าให้เกิด ผลิตภัณฑ์หลายๆ ชนิด เช่น แอลกอฮอล์ ซีอิ้ว และเต้าเจี้ยว จุลินทรีย์มีความส�าคัญต่อระบบนิเวศ ทั้งในด้านบทบาทการเป็นผู้ย่อยสลาย ซึ่งท�าให้เกิดความสมดุลในห่วงโซ่อาหาร บทบาทการเป็น ผู้อยู่ร่วมแบบพึ่งพาอาศัยกับสิ่งมีชีวิตอื่น ซึ่งท�าให้เกิดผลดีต่อการเกษตร เช่น เพิ่มการเติบโตของพืช และสัตว์ และบทบาทในด้านการน�ามาใช้เป็นอาหาร เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางรม และเห็ดหูหนู นอกจาก นี้ยังสามารถใช้จุลินทรีย์แก้ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ และใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาทาง พันธุศาสตร์อันสลับซับซ้อนและละเอียดอ่อนของเซลล์สิ่งมีชีวิตด้วย ในด้านของโทษ จุลินทรีย์ก็มี โทษมากมายประมาณไม่ได้ เช่น การก่อให้เกิดโรคแก่มนุษย์ สัตว์และพืช การท�าให้อาหารเน่าเสีย ซึ่งท�าให้ประชาคมโลกต้องสูญเสียงบประมาณมหาศาลในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากจุลินทรีย์ ราเป็นจุลินทรีย์พวกหนึ่งที่มีความส�าคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจุลินทรีย์พวกอื่นๆ ถูกจ�าแนก อยู่ใน Domain Eukaryota (หรือ Eukarya หรือ Eucarya) และกระจายอยู่ในอาณาจักร (Kingdom) ต่างๆ คือ อาณาจักร Fungi อาณาจักร Stramenopila (หรือ Straminipila) และอาณาจักร Protists ในหนังสือเล่มนี้จะเน้นเฉพาะรากลุ่มที่จัดว่าเป็นเห็ด ซึ่งอยู่ในอาณาจักร Fungi ไฟลัม () และไฟลัม เท่านั้น

ความหมายของ “เห็ด” ความหมายของค�าว่า “เห็ด” ในหนังสือเล่มนี้มีดังนี้ เห็ด คือรากลุ่มหนึ่งที่ในขั้นตอนหนึ่ง ของวงจรชีวิต มีการสร้างเส้นใยที่สามารถรวมตัวกันเกิดเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มองเห็นชัดด้วย ตาเปล่า มีรูปร่างและสีสันต่างๆ กัน ข้างบนหรือภายในโครงสร้างนี้เป็นที่เกิดของสปอร์ที่ใช้ส�าหรับ แพร่พันธุ์ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นดอกหรือผลของพืช จึงเรียกโครงสร้างนี้ว่า ดอกเห็ด ในภาษาอังกฤษ อาจใช้ค�าว่า หรือ fruit body หรือ ก็ได้ จากค�าจ�ากัดความนี้จึงกล่าวได้ว่า มีราเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เรียกว่า “เห็ด” ได้ ราเขียวหรือราด�าบนขนมปัง ราที่ท�าให้เกิดโรคกลาก และโรคเกลื้อนบนผิวหนังของคน ราสาเหตุโรคพืช เช่น โรคใบจุดและใบไหม้ต่างๆ และราอื่นๆ ที่ไม่สร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่าและเป็นที่เกิดของสปอร์ ไม่เรียกว่า เห็ด ราที่จัดว่าเป็นเห็ด คือราบางชั้น (class) ที่อยู่ในไฟลัม Ascomycota และ Basidiomycota เท่านั้น เพราะเป็นราที่สามารถสร้าง “ดอกเห็ด” ได้ เห็ดสองไฟลัมนี้สามารถแยกออกจากกันได้

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 1

9-22_dp2.indd 11 7/28/56 BE 4:59 PM ไม่ยากนัก โดยให้เรียนรู้จนคุ้นเคยกับรูปร่างลักษณะของเห็ดที่มองเห็นด้วยตาเปล่า (macroscopic feature) และสิ่งที่เห็ดขึ้นอยู่ แต่ลักษณะส�ำคัญที่สุดที่ใช้ยืนยันได้อย่างแน่นอนว่าเป็นเห็ดในไฟลัมใด นั้น เป็นลักษณะที่ต้องตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ (microscopic feature) นั่นคือ รูปแบบของ สปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศ (sexual ) โดยเห็ดในไฟลัม Ascomycota มีสปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศ เรียกว่า แอสโคสปอร์ (ascospore) ซึ่งมีรูปร่างหลายแบบ โดยส่วนใหญ่เกิดเป็นจ�ำนวน 8 สปอร์ บรรจุ อยู่ภายในถุงที่มีรูปร่างแบบทรงกระบอกหรือแบบกระบอง เรียกว่าแอสคัส (ascus) (ภาพที่ 1A) โดย แอสคัสจะเกิดเป็นจ�ำนวนมากมาย อยู่ภายในหรือบนเนื้อเยื่อที่เกิดจากการพันกันของเส้นใย เรียกว่า แอสโคคาร์บ (ascocarp) เห็ด Ascomycota บางชนิด แอสโคคาร์บ 1 อัน คือ เห็ด 1 ดอก เนื่องจาก แอสโคคาร์บมีขนาดใหญ่ เช่น เห็ดถ้วยแดงอมชมพู และเห็ดถ้วยขนตาด�ำ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ดอกเห็ด ในไฟลัมนี้ เกิดขึ้นจากแอสโคคาร์บจ�ำนวนมากเรียงฝังอยู่ในเนื้อเยื่อที่เกิดจากการพันกันของเส้นใย อย่างหนาแน่น เรียกว่า สโตรมา (stroma) โดยสโตรมาอาจมีรูปร่างคล้ายกระบอง หรือเป็นก้อน รูปครึ่งทรงกลม เช่น เห็ดนิ้วด�ำ (Xylaria polymorpha) และเห็ดดันหมี (Daldinia concentrica) เป็นต้น ส่วนเห็ดในไฟลัม Basidiomycota มีสปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศ เรียกว่า เบสิดิโอสปอร์ () โดยส่วนใหญ่เกิดเป็นจ�ำนวน 4 อัน แต่ละอันติดอยู่ที่ปลายก้านขนาดเล็ก (sterigma) 4 ก้าน งอกออกมาจากโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายกระบอง มีเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ เรียกว่า เบสิเดียม (basidium) (ภาพที่ 1B) โดยเบสิเดียมจะเกิดขึ้นมากมายและเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ บนส่วนประกอบส่วนหนึ่งของดอกเห็ด เช่น ที่ผิวของครีบ (gill) ในกลุ่มเห็ดครีบ () หรือที่ ผนังด้านในของรูหรือท่อตื้นๆ ในกลุ่มเห็ด หรือที่ผิวของรอยหยักย่น หรือพับขึ้นลงคล้าย ลูกคลื่น ในกลุ่มเห็ด chanterelles วิธีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของเห็ดในไฟลัม Ascomycota และ Basidiomycota จะมีการ อธิบายเพิ่มเติมในบทที่ 3 และบทที่ 4 พร้อมทั้งหลักที่ใช้ในการจ�ำแนกเห็ดแต่ละไฟลัมด้วย

(A) (B)

ภาพที่ 1 สปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศของเห็ด: (A) ไฟลัม Ascomycota มีแอสโคสปอร์ (ascospore) 8 สปอร์ อยู่ภายในแอสคัส (ascus) (B) ไฟลัม Basidiomycota มี เบสิดิโอสปอร์ (basidiospore) 4 สปอร์ อยู่ที่ปลายก้านขนาดเล็ก (sterigma) ที่งอกออกมา จากเบสิเดียม (basidium)

12 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

9-22_dp2.indd 12 7/28/56 BE 4:59 PM º··Õè 2 ¡ÒèíÒṡÃÒ

ในปี ค.ศ. 1959 Whittaker ได้เสนอให้จ�าแนกสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกนี้เป็น 5 อาณาจักร (Kingdom) คืออาณาจักร Plantae (พืช) อาณาจักร Animalia (สัตว์) อาณาจักร Fungi (รา) อาณาจักร Protista (โปรโตซัว) และอาณาจักร Monera (แบคทีเรีย) ดังแสดงใน ภาพที่ 2

ภาพที่ 2 อาณาจักรสิ่งมีชีวิต 5 อาณาจักรที่เสนอโดย Whittaker ที่มา: Whittaker (1959)

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 3

9-22_dp2.indd 13 7/28/56 BE 4:59 PM ต่อมาได้มีการศึกษาการจ�ำแนกกลุ่มของสิ่งมีชีวิตโดยใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ระดับโมเลกุล หรือการวิเคราะห์ DNA และเสนอให้จัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิตใหม่เป็น 7 อาณาจักร โดย Patterson and Sogin ในปี ค.ศ.1992 ดังนี้ อาณาจักร Eubacteria อาณาจักร Archaebacteria อาณาจักร Animalia อาณาจักร Plantae อาณาจักร Eumycota อาณาจักร Stramenopila (Chromista) อาณาจักร Protoctista (Protozoa, Protista)

อาณาจักร Eubacteria และ Archaebacteria เป็นจุลินทรีย์พวก Procaryote (Prokaryote) นั่นคือเซลล์มีนิวเคลียสที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ซึ่งแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นมาก และราซึ่งเดิมเคยจัดอยู่ ใน อาณาจักร Fungi ได้กระจายไปอยู่อาณาจักรอื่นๆ 3 อาณาจักรคือ อาณาจักร Eumycota, Stramenopila (Straminipila, Chromista) และ Protoctista (Protozoa, Protista) หรือ Slime moulds ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 แผนผังแสดงราที่กระจายอยู่ในอาณาจักรต่างๆ ที่มา: Tariq (2011)

14 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

9-22_dp2.indd 14 7/28/56 BE 4:59 PM อาณาจักร Mycota หรือ Eumycota คือ อาณาจักรของราแท้ (true fungi) ซึ่งในปี ค.ศ. 1996 Alexopoulos et al. ยังคงให้ราแท้อยู่ในอาณาจักร Fungi และมีเพียง 4 ไฟลัม คือ ไฟลัม Chytridiomycota ไฟลัม Zygomycota ไฟลัม Ascomycota ไฟลัม Basidiomycota ต่อมาได้มีการเสนอไฟลัม Microsporidia (Keeling et al., 2000) และ ไฟลัม Glomeromycota (Schüßler et al., 2001) เพิ่มเข้ามาในอาณาจักร Fungi ส�าหรับผลงานที่มีความส�าคัญ อย่างมากต่อการจ�าแนกราในปัจจุบันคือ ผลงานของ Kirk et al. ในหนังสือ Ainsworth & Bisby's Dictionary of the Fungi เล่มที่ 9 ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2001 ผลงานของ McLaughlin et al. ในหนังสือ The Mycota VII (Part A และ Part B) ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2001 และผลงาน ตีพิมพ์อื่นๆ หลังจากนั้นอีกมากกว่า 360 เรื่อง ในวารสาร Mycologia และ Mycological Research ที่เกี่ยวกับการหาล�าดับเบส (sequence) ของยีนส์ rRNA ท�าให้รามากกว่า 80% มีรายงานของ ล�าดับเบสรวบรวมอยู่ในธนาคารพันธุกรรม (Gene Bank) ในขณะนี้ข้อมูลเกี่ยวกับอนุกรมวิธาน ของราสามารถสืบค้นได้ทาง Internet หลายช่องทาง เช่น GenBank (www.ncbi.nlm.nih.gov/ ), Tree of Life Web Project (www.tolweb.org/tree/), Index Fungorum (www. indexfungorum.org) และ Mycobank (www.mycobank.org)

การจ�าแนกราในเล่มนี้จะกล่าวเฉพาะราแท้ในอาณาจักร Fungi โดยใช้ล�าดับในการจ�าแนก ของ Linnean ซึ่งดัดแปลงโดย International Code of Botanical Nomenclature (Vienna Code) โดย McNeill et al. ในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งมี 7 ล�าดับ ดังนี้

อาณาจักร (Kingdom) อาณาจักรย่อย (Subkingdom) ไฟลัม (Phylum) ลงท้ายด้วย mycota ไฟลัมย่อย (Subphylum) ลงท้ายด้วย mycotina ชั้น (Class) ลงท้ายด้วย mycetes ชั้นย่อย (Subclass) ลงท้ายด้วย mycetidae อันดับ (Order) ลงท้ายด้วย ales

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 5

9-22_dp2.indd 15 7/28/56 BE 4:59 PM การจ�ำแนกถึงระดับวงศ์ (family) นั้นมีความยากล�ำบากมาก โดยเฉพาะในอันดับขนาดใหญ่ หรือมีสมาชิกมาก เช่น เนื่องจากยังมีข้อมูลในระดับโมเลกุลไม่เพียงพอที่จะก�ำหนด การจำ� แนกในระดับวงศ์ การจ�ำแนกราอาณาจักร Fungi ในปัจจุบันจึงประกอบด้วย 1 อาณาจักรย่อย 7 ไฟลัม 10 ไฟลัมย่อย 35 ชั้น 12 ชั้นย่อย และ 129 อันดับ การจ�ำแนกต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม คือ เพิ่มอาณาจักรย่อย Dikarya เป็นอาณาจักรย่อยใหม่ (subkingdom nov.) ซึ่งรวม Ascomycota และ Basidiomycota เนื่องจากเป็นราที่สร้างเส้นใยที่แต่ละเซลล์มีนิวเคลียส 2 อัน (dikaryotic ) ในไฟลัม Chytridiomycota เพิ่ม ไฟลัม Neocallimastigomycota และ ไฟลัม Blastocladiomycota เป็นไฟลัมใหม่ (phyla nov.) โดยเป็นกลุ่มของราที่สร้างแส้ (flagella) ไฟลัม Zygomycota เดิมนั้น ไม่ได้จัดอยู่ในระดับไฟลัมอีกต่อไป โดยได้กระจายไปอยู่ใน ไฟลัม Glomeromycota และอีก 4 ไฟลัมย่อย คือ Mucoromycotina, Entomophthoromycotina, Kickxellomycotina และ Zoopagomycotina ส่วนไฟลัม Microsporidia ซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียว ของสัตว์และ protist ได้ถูกน�ำเข้ามารวมอยู่ในอาณาจักร Fungi ด้วย ในตอนแรกได้มีการวิเคราะห์ ว่า Microsporidia ไม่น่าจะอยู่ในอาณาจักร Fungi แต่ผลงานของ James et al. (2006) เสนอว่า Rozella ซึ่งเป็น sister group ของ Microsporidia จัดอยู่ในอาณาจักร Fungi จึงจัดให้ Microsporidia เป็นไฟลัมหนึ่งในอาณาจักร Fungi โดยไม่มีการจ�ำแนกย่อยลงไปกว่านี้ การจ�ำแนก ไฟลัมต่างๆ ในอาณาจักร Fungi แสดงในภาพที่ 4

16 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

9-22_dp2.indd 16 7/28/56 BE 4:59 PM ภาพที่ 4 แผนภาพแสดง phylogeny และการจ�าแนกราในอาณาจักร Fungi ที่มา: Hibbett et al. (2007)

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 7

9-22_dp2.indd 17 7/28/56 BE 4:59 PM ราในไฟลัม Ascomycota จ�ำแนกเป็นไฟลัมย่อย ดังต่อไปนี้ ไฟลัมย่อย Taphrinomycotina ไฟลัมย่อย Saccharomycotina ไฟลัมย่อย Pezizomycotina เนื่องจากราในไฟลัม Ascomycota เป็นรากลุ่มใหญ่ที่สุด จึงมีความหลากหลายของรามาก ในไฟลัมย่อย จึงมีการจ�ำแนกเป็นชั้น (Class) ต่างๆ ดังต่อไปนี้ ไฟลัมย่อย Taphrinomycotina ชั้น Taphrinomycetes ชั้น Neolectomycetes ชั้น Pneumocystidomycetes ชั้น Schizosaccharomycetes ไฟลัมย่อย Saccharomycotina ชั้น Saccharomycetes ไฟลัมย่อย Pezizomycotina ชั้น Arthoniomycetes ชั้น Dothideomycetes ชั้น Eurotiomycetes ชั้น Laboulbeniomycetes ชั้น Lecanoromycetes ชั้น ชั้น Lichinomycetes ชั้น Orbiliomycetes ชั้น ชั้น Sordariomycetes การจ�ำแนกราในไฟลัมนี้ แสดงไว้ใน ภาพที่ 5

18 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

9-22_dp2.indd 18 7/28/56 BE 4:59 PM ภาพที่ 5 แผนภาพแสดง phylogeny และการจ�าแนกราในไฟลัม Ascomycota ที่มา: Hibbett et al. (2007)

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 9

9-22_dp2.indd 19 7/28/56 BE 4:59 PM ส่วนราในไฟลัม Basidiomycota มีการจ�ำแนกเป็น 3 ไฟลัมย่อย คือ ไฟลัมย่อย Pucciniomycotina ไฟลัมย่อย Ustilaginomycotina ไฟลัมย่อย โดยในแต่ละไฟลัมย่อยมีชั้นต่างๆ ดังต่อไปนี้ ไฟลัมย่อย Pucciniomycotina ชั้น Pucciniomycetes ชั้น Cystobasidiomycetes ชั้น Agaricostilbomycetes ชั้น Microbotryomycetes ชั้น Atractiellomycetes ชั้น Classiculomycetes ชั้น Mixiomycetes ชั้น Cryptomycocolacomycetes ไฟลัมย่อย Ustilaginomycotina ชั้น Ustilaginomycetes ชั้น Exobasidiomycetes ไฟลัมย่อย Agaricomycotina ชั้น Tremellomycetes ชั้น ชั้น ชั้น Wallemiomycetes ชั้น Entorrhizomycetes การจ�ำแนกราในไฟลัม Basidiomycota แสดงใน ภาพที่ 6

20 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

9-22_dp2.indd 20 7/28/56 BE 4:59 PM ภาพที่ 6 แผนภาพแสดง phylogeny และการจ�าแนกราในไฟลัม Basidiomycota ที่มา: Hibbett et al. (2007)

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 2 1

9-22_dp2.indd 21 7/28/56 BE 4:59 PM อย่างไรก็ตาม การจ�ำแนกราตามแบบใหม่นี้ยังไม่ได้จัดลงไปถึงระดับวงศ์ เนื่องจากมีข้อมูล ในระดับโมเลกุลไม่เพียงพอ ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้ จึงใช้การจ�ำแนกราในไฟลัม Ascomycota และ ไฟลัม Basidiomycota โดยยึดตามหนังสือ Ainsworth & Bisby's Dictionary of the Fungi เล่มที่ 9 ของ Kirk et al. ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2001 ดังต่อไปนี้ ไฟลัม Ascomycota ชั้น Ascomycetes ชั้น Neolectomycetes ชั้น Pneumocystidomycetes ชั้น Saccharomycetes ชั้น Schizosaccharomycetes ชั้น Taphrinomycetes ราบางอันดับในชั้น Ascomycetes และในชั้น Neolectomycetes เท่านั้น ที่สามารถสร้าง โครงสร้างขนาดใหญ่ซึ่งมองเห็นชัดเจนด้วยตาเปล่าและเป็นที่เกิดของเซลล์สืบพันธุ์ หรือรากลุ่มที่ เรียกว่า “เห็ด” จึงจะมีการอธิบายรา 2 ชั้นนี้เพิ่มเติม ในบทที่ 3 ต่อไป ไฟลัม Basidiomycota ชั้น Urediniomycetes ชั้น Ustilaginomycetes ชั้น Basidiomycetes ราใน 2 ชั้นแรก จะมีการกล่าวถึงเพียงเล็กน้อย เพราะมีขนาดเล็กมากต้องตรวจดูด้วย กล้องจุลทรรศน์ จะอธิบายเพิ่มเติมเฉพาะราในชั้น Basidiomycetes ที่สร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ซึ่ง มองเห็นชัดเจนด้วยตาเปล่าและเป็นที่เกิดของเซลล์สืบพันธุ์ หรือรากลุ่มที่เรียกว่า “เห็ด” ในบทที่ 4 ต่อไป

22 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

9-22_dp2.indd 22 7/28/56 BE 4:59 PM º··Õè 3 àËç´ã¹ªÑé¹ Ascomycetes

ลักษณะทั่วไปของราในไฟลัม Ascomycota ราในไฟลัม Ascomycota มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า ราถุง (sac fungi) ปัจจุบันจัดเป็นไฟลัมหนึ่ง ในอาณาจักรย่อย Dikarya และเป็นไฟลัมที่ใหญ่ที่สุดของอาณาจักร Fungi มีสมาชิกมากกว่า 64,000 ชนิด () หรือประมาณ 75% ของราที่ได้มีการศึกษาแล้ว ลักษณะส�าคัญที่ใช้แยก รากลุ่มนี้ออกจากรากลุ่มอื่นๆ คือ การมีถุงแอสคัส “ascus” (พหูพจน์: asci มาจากค�าว่า askos ใน ภาษา Greek แปลว่า “ถุง” หรือ “wineskin”) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ที่มีขนาดเล็ก ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการตรวจดู และเป็นที่เกิดของสปอร์ที่ไม่เคลื่อนที่ มีชื่อเรียกว่า แอสโคสปอร์ (ascospore) แต่ราบางชนิดในไฟลัม Ascomycota มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเพียง อย่างเดียว ซึ่งหมายความว่าไม่มีการสร้างแอสคัสและแอสโคสปอร์ แต่เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ทางวิวัฒนาการของล�าดับ DNA แล้วพบว่ามีความคล้ายคลึงกับราในไฟลัม Ascomycota จึงเรียกรา กลุ่มนี้ว่า asexual (anamorphic) ascomycetes เป็นกลุ่มราที่เคยถูกจัดอยู่ในไฟลัม Deuteromycota ร่วมกับราชนิดอื่นๆ ที่มีแต่การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการจัดจ�าแนกรา ในไฟลัม Ascomycota จึงยึดถือความคล้ายคลึงกันของรูปร่างลักษณะสัณฐานหรือสรีรวิทยา และ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของล�าดับ DNA รา ascomycetes เป็นกลุ่มราที่สืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน (monophyletic group) มี ความเกี่ยวข้องกับมนุษย์อย่างมาก เนื่องจากเป็นแหล่งที่มาของสารประกอบส�าคัญที่มีคุณสมบัติ ทางการแพทย์ เช่น สารปฏิชีวนะ และใช้ในการท�าขนมปัง แอลกอฮอล์ และเนย และบางชนิดเป็น สาเหตุของโรคในคนและพืชด้วย รากลุ่มนี้ที่คุ้นเคยกันดี ได้แก่ ยีสต์ที่ใช้ในการผลิตแอลกอฮอล์ (brewer’s yeast) ยีสต์ที่ใช้ในการผลิตขนมปัง (baker's yeast) เห็ดมอเรล (morel) เห็ดทรัฟเฟิล (truffle) เห็ดนิ้วมือคนตาย (dead man's fingers) และเห็ดรูปถ้วย (cup fungi) ราที่อยู่ร่วมกับสาหร่าย แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในรูปแบบที่เรียกว่า ไลเคน () เช่น Cladonia spp. และราที่เป็น สาเหตุของโรคพืชหลายชนิด เช่น โรค apple scab, rice blast, cereals’ ergot, Dutch elm disease, chestnut blight และโรคราแป้งขาว (powdery mildew) นอกจากนี้ยังมีรา ascomycetes อีกมากมาย หลายชนิดที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัยทางพันธุกรรม และชีววิทยาของเซลล์ในห้องปฏิบัติการ เช่น Neurospora crassa และราที่ใช้ผลิตสารปฏิชีวนะส�าหรับรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น Penicillium chrysogenum เป็นต้น

การจ�าแนกราในไฟลัม Ascomycota แบบใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ไฟลัมย่อย (subphylum) ตาม James et al. ในปี ค.ศ. 2006 ดังนี้ 1. ไฟลัมย่อย Taphrinomycotina ประกอบด้วยกลุ่มราที่ไม่สร้างแอสโคคาร์บ ที่มีความ แตกต่างกันอย่างมาก และจัดเป็นราที่อยู่ในระดับล่างของไฟลัม Ascomycota ซึ่งต้องใช้การวิเคราะห์

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 2 3

23-38_dp2.indd 23 7/28/56 BE 5:08 PM DNA จึงจะระบุไฟลัมย่อยได้ ราไฟลัมย่อยนี้ เดิมจัดอยู่ใน Archiascomycetes หรือ Archaeascomycetes ซึ่งรวมเอาราที่มีเส้นใย ได้แก่ Neolecta, Taphrina, Archaeorhizomyces, ยีสต์ที่สืบพันธุ์โดย การแบ่งตัว (fission yeast) ได้แก่ Schizosaccharomyces และราที่เป็นปรสิตอยู่ในปอดของสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ Pneumocystis 2. ไฟลัมย่อย Saccharomycotina ประกอบด้วยกลุ่มราที่ไม่สร้างแอสโคคาร์บ พวกยีสต์แท้ (true yeast) ที่ใช้ท�ำขนมปัง หรือเรียกว่า baker’s yeast และรา Candida ซึ่งเป็นราเซลล์เดียว (unicellular fungi) และสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยวิธีแตกหน่อ (budding) ราเกือบทั้งหมดเหล่า นี้เคยถูกจ�ำแนกอยู่ใน Hemiascomycetes ของระบบการจ�ำแนกแบบเก่า 3. ไฟลัมย่อย Pezizomycotina เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยรา ascomycetes ที่สร้างโครงสร้างห่อหุ้มแอสคัสที่มีชื่อว่า แอสโคคาร์บ ซึ่งจะใกล้เคียงกับการจัดกลุ่มอยู่ใน Euascomycetes ในระบบการจ�ำแนกแบบเก่า ราในไฟลัมย่อย Pezizomycotina เป็น ascomycetes ที่มีขนาด ใหญ่ ได้แก่ truffles, ergot, รา ascomycetes ที่อยู่ร่วมกับสาหร่ายแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (ascolichens) เห็ดรูปถ้วย เห็ดนิ้วด�ำหรือนิ้วมือคนตาย และราที่เป็นปรสิตของแมลง (caterpillar ) ราในไฟลัมย่อยนี้ ยังมีราขนาดเล็กที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการตรวจดู ได้แก่ ราที่ก่อให้ เกิดโรคราแป้ง (powdery mildew) ราที่ท�ำให้เกิดโรคผิวหนัง (dermatophytic fungi) และราในอันดับ Laboulbeniales ซึ่งเป็นปรสิตอ่อนๆ ของแมลง ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับชนิดของแมลง และบริเวณ ที่เข้าไปอยู่อาศัยในตัวแมลงมาก

การจ�ำแนกราไฟลัม Ascomycota แบบเก่า การจ�ำแนกราไฟลัม Ascomycota แบบเก่าขึ้นอยู่กับลักษณะทางสัณฐานวิทยา และยังคงใช้ กันอยู่ในบางครั้ง เป็นการจ�ำแนกกลุ่มราที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (teleomorphic fungi) โดย ใช้ความแตกต่างของโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นหลัก ซึ่งได้แก่ ลักษณะของโครงสร้างที่ หุ้มแอสคัส คือ แอสโคคาร์บ โดยจัดแบ่งเป็น 5 ชั้น ดังต่อไปนี้ 1. ชั้น Hemiascomycetes คือกลุ่มราที่ไม่สร้างแอสโคคาร์บ หรือกลุ่มราที่สร้างแอสคัสเปลือย ได้แก่ ยีสต์และราที่คล้ายยีสต์ 2. ชั้น Plectomycetes คือกลุ่มราที่สร้างแอสโคคาร์บ ชนิด cleistothecium เป็นแอสโคคาร์บ ที่มีรูปร่างแบบทรงกลมที่ปิดสนิทหรือไม่มีรูเปิด แอสคัสเจริญกระจัดกระจายอยู่ในแอสโคคาร์บ และจะสลายไปเมื่อแอสโคสปอร์แก่ ปล่อยให้แอสโคสปอร์ที่เป็นแบบเซลล์เดียวกระจายอยู่ใน แอสโคคาร์บ (ภาพที่ 7) ตามธรรมชาตินั้นแอสโคสปอร์จะหลุดออกมาภายนอกเมื่อแอสโคคาร์บแตก

24 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

23-38_dp2.indd 24 7/28/56 BE 5:08 PM ภาพที่ 7 ภาพวาดแสดงแอสโคคาร์บ ชนิด cleistothecium

3. ชั้น Pyrenomycetes คือกลุ่มราที่สร้างแอสโคคาร์บ ชนิด perithecium ซึ่งเป็น แอสโคคาร์บที่มีรูเปิดตามธรรมชาติ (ostiole) อยู่ทางด้านบน เป็นรูที่แอสโคสปอร์หลุดออก มาเมื่อแก่ (ภาพที่ 8) บางชนิดอาจมีขนเล็กๆ (periphyses) เกิดอยู่ที่ผนังด้านใน บริเวณ ตอนบนหรือส่วนคอของ perithecium แอสคัสของรากลุ่มนี้เกิดเรียงกันเป็นชั้น และส่วน ใหญ่จะไม่สลายไปเมื่อแก่ มักมีขนที่เป็นหมัน (paraphyses) แทรกอยู่ระหว่างแอสคัส แอสโคสปอร์อาจมีเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ และ perithecium อาจสร้างเป็นอิสระหรือฝังอยู่ใน สโตรมาในระดับต่างๆ กัน

ภาพที่ 8 ภาพวาดแสดงแอสโคคาร์บ ชนิด perithecium

4. ชั้น Discomycetes คือกลุ่มราที่สร้างแอสโคคาร์บ ชนิด apothecium เป็นแอสโคคาร์บ ที่มีปากเปิดเป็นรูปจาน รูปถ้วย หรือเป็นแผ่นกลม แอสคัสเกิดเรียงกันเป็นชั้นอยู่บน apothecium (ภาพที่ 9) แอสคัสไม่สลายไปเมื่อแก่ มักมีขนที่เป็นหมัน (paraphyses) แทรกอยู่ระหว่างแอสคัส ปลายแอสคัสอาจมีฝาเปิด (operculum) หรือไม่มีก็ได้

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 2 5

23-38_dp2.indd 25 7/28/56 BE 5:08 PM ภาพที่ 9 ภาพวาดแสดงแอสโคคาร์บ ชนิด apothecium

5. ชั้น Loculoascomycetes คือรากลุ่มที่สร้างแอสโคคาร์บ ชนิด ascostroma หรือ ascolocule (ภาพที่ 10) เป็นแอสโคคาร์บที่มีการสร้างก้อนสโตรมาขึ้นมาก่อน แล้วจึงมีการพัฒนาแอสคัสขึ้นมา ภายหลัง โดยการเกิดแอสคัสจะดันให้สโตรมาเกิดช่องว่างที่เรียกว่า locule ขึ้นมา อาจจะเป็น locule เดี่ยวๆ ที่เรียกว่า uniloculate หรือมีช่องว่างหลายอัน เรียกว่า multiloculate ในชนิดที่มีช่องว่างหลาย อัน แอสคัสมักเกิดแบบกระจัดกระจาย ส่วนที่มีช่องว่าง 1 อัน แอสคัสจะขึ้นเรียงกันเป็นระเบียบ อาจ มีการสร้างขน pseudoparaphyses ซึ่ง ascostroma จะคล้ายกับ perithecium ที่ฝังอยู่ในสโตรมา มาก แตกต่างกันที่ ascostroma ไม่มีผนัง จะเป็นแค่ช่องว่างอยู่ในสโตรมา และใน ascostroma ชนิด pleospora type จะมีขน pseudoparaphyses ด้วย

ภาพที่ 10 ภาพวาดแสดงแอสโคคาร์บ ชนิด ascostroma หรือ ascolocule

รา ascomycetes บางกลุ่มไม่สร้างโครงสร้างที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ หรือ ไม่พบการสร้างแอสคัส จึงจัดเป็นชนิด anamorph รากลุ่มนี้จะสร้างโคนิเดีย (พหูพจน์: conidia, เอกพจน์: conidium) ซึ่งเป็นสปอร์ที่เกิดจากการแบ่งตัวแบบ mitosis นักราวิทยาบางคนจึง

26 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

23-38_dp2.indd 26 7/28/56 BE 5:08 PM จัดรากลุ่มนี้เป็น ไพลัม Deuteromycota แต่จากการวิเคราะห์ในระดับโมเลกุลพบว่าใกล้เคียง กับราที่สร้างแอสคัส จึงได้จัดเข้ามาอยู่ใน Ascomycota การจ�าแนกโดยอาศัยลักษณะการสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ท�าให้รากลุ่มนี้มีชื่อเรียก 2 ชื่อ เช่น Aspergillus nidulans เป็น anamorph และ Emericella nidulans เป็น teleomorph ใน Deuteromycota เดิม ได้มีการจ�าแนกออกเป็นชั้นต่างๆ คือ Coelomycetes เป็นกลุ่มราที่สร้างโคนิเดียอยู่ใน pycnidium และ acervulus และชั้น Hyphomycetes เป็นกลุ่มราที่สร้างโคนิเดียบน conidiophores อย่างอิสระ หรืออาจจะสร้างก้านชูโคนิเดียที่มาอยู่ชิดกันตามความยาวของเส้นใย (แนวขนาน) จน เห็นเป็นแท่งเรียกว่า synnemata หรืออยู่เป็นกลุ่มรูปร่างคล้ายหมอน เรียกว่า sporodochia

การจ�าแนกเห็ดในชั้น Ascomycetes ดังได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 2 ถึงเหตุผลของการที่หนังสือเล่มนี้ ใช้วิธีการจ�าแนกราตามหนังสือ Ainsworth & Bisby’s Dictionary of the Fungi เล่มที่ 9 ของ Kirk et al. ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2001 โดยราไฟลัม Ascomycota ถูกจ�าแนกออกเป็น 6 ชั้น เฉพาะราบางอันดับของชั้น Ascomycetes และราทั้งหมดของชั้น Neolectomycetes สามารถสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มองเห็นชัดเจนด้วย ตาเปล่า และเป็นที่เกิดของเซลล์สืบพันธุ์ หรือเป็นรากลุ่มที่เรียกว่า “เห็ด” ชั้น Ascomycetes จ�าแนกออกเป็น 12 ชั้นย่อย 50 อันดับ และ 275 วงศ์ ตัวอย่างอันดับที่มีรา ซึ่งจัดว่าเป็นเห็ด ได้แก่ อันดับ Arthoniales, Diaporthales, Gyalectales, , Hypocreales, Hysteriales, Lecanorales, , Pleosporales, Sodariales และ Xylariales อันดับเหล่านี้ ประกอบด้วยราที่สร้างแอสโคคาร์บชนิด perithecium ฝังอยู่ในสโตรมา หรือชนิด apothecium หรือ ชนิด ascostroma หรือ ascolocule ส�าหรับชื่อวงศ์ และชื่อชนิด (species) ของเห็ดชั้น Ascomycetes ที่พบในประเทศไทยมีการรายงานไว้ใน บทที่ 13 และมีการแสดงตัวอย่างภาพ ค�าบรรยายลักษณะ แหล่งที่พบ ประโยชน์และโทษใน บทที่ 15 ส�าหรับชั้น Neolectomycetes เป็นชั้นที่มีขนาดเล็กมาก จ�าแนกออกเป็น 1 ชั้นย่อย 1 อันดับ 1 วงศ์ 1 สกุล และ 3 ชนิด โดยสกุลที่พบคือ เห็ด Neolecta มีรูปร่างคล้ายกระบองที่ค่อนข้างแบน ผิวเรียบ สีเหลืองสด และมีเนื้อแน่น ขนาดความสูง 70 มม. ขึ้นเป็นกลุ่มบนพื้นดินใกล้ ๆ ต้นไม้ ยัง ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นเห็ดแซบโพรไฟต์ เห็ดปรสิต หรือเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา พบกระจายอยู่เฉพาะ ทางตอนเหนือของเขตอบอุ่นของโลก (north temperate) ได้แก่ ตอนเหนือของประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา ยุโรป และในประเทศอาร์เจนตินา ไม่มีรายงานการพบในประเทศไทย

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 2 7

23-38_dp2.indd 27 7/28/56 BE 5:08 PM 28 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

23-38_dp2.indd 28 7/28/56 BE 5:08 PM º··Õè 4 àËç´ã¹ªÑé¹ Basidiomycetes

ลักษณะทั่วไปของราในไฟลัม Basidiomycota ไฟลัม Basidiomycota มีราที่ทราบชื่อและอธิบายลักษณะแล้วประมาณ 30,000 ชนิด ซึ่งคิด เป็น 37% ของราแท้ (true fungi) ที่ส�ารวจพบแล้วทั้งหมด ถึงแม้ว่าราส่วนใหญ่ที่คุ้นเคยกันดีของ ไฟลัมนี้คือ เห็ด แต่ก็ยังมีราอื่นๆ อีกหลากหลายชนิด ได้แก่ basidiomycetous yeast ราที่ท�าให้ เกิดโรคพืชที่ส�าคัญมากมาย และราที่ท�าให้เกิดโรคร้ายแรงในคน ลักษณะส�าคัญที่บ่งบอกว่าเป็นรา ไฟลัม Basidiomycota คือ เบสิเดียม ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีการแบ่งตัวแบบ meiosis และให้ก�าเนิด สปอร์แบบมีเพศ ชื่อ เบสิดิโอสปอร์ โดยสปอร์นี้เกิดอยู่ภายนอกเบสิเดียม และติดอยู่บนก้านที่มี ขนาดเล็ก (sterigma) ซึ่งงอกออกมาจากเบสิเดียม ลักษณะอื่นๆ ที่พบใน ไฟลัม Basidiomycota คือ ผนังกั้นตามขวางภายในเส้นใยเป็นแบบ dolipore septum (ภาพที่ 11) ซึ่งท�าหน้าที่ป้องกันการเคลื่อนที่ของโครงสร้างส�าคัญของเซลล์ คือ นิวเคลียส ไม่ให้เคลื่อนจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ผนังเซลล์ของเส้นใยประกอบด้วย chitin และ glucan ส�าหรับนิวเคลียสที่อยู่ภายในเส้นใยมีโครโมโซมเป็น haploid และเกือบตลอดชีวิตของ รานั้น แต่ละเซลล์ของเส้นใยมีนิวเคลียส 2 อัน ซึ่งมีเพศหรือ mating type ต่างกันและสามารถผสม กันได้ เส้นใยที่มีนิวเคลียสแบบนี้มีชื่อเรียกว่า dikaryon

ภาพที่ 11 Dolipore septum ที่พบในราหลายชนิดของ ไฟลัม Basidiomycota มีส่วนปลายของ ผนังกั้นที่อยู่ใกล้กับรูทั้งสองด้านพองโต เนื่องจากมีการสะสมของ glucan และห่อหุ้ม ด้วยเยื่อบางๆ ที่มีรูพรุน (parenthosome)

การจ�าแนกราไฟลัม Basidiomycota ราทั้งหมดในไฟลัม Basidiomycota มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกันหรือเป็นพี่น้อง กันกับราในไฟลัม Ascomycota ราไฟลัม Basidiomycota แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ดังต่อไปนี้ 1. ชั้น Urediniomycetes ประกอบด้วยราสนิม (rust fungi) ที่อยู่ในอันดับ Uredinales มี ความส�าคัญคือ ก่อให้เกิดโรคราสนิมในพืชเศรษฐกิจและพืชป่ามากมาย

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 2 9

23-38_dp2.indd 29 7/28/56 BE 5:08 PM 2. ชั้น Ustilaginomycetes ประกอบด้วยราเขม่าด�ำ (smut fungi) ที่อยู่ในอันดับ Ustilaginales บางชนิดเป็นสาเหตุของโรคพืช โดยชื่อสามัญของรามาจากสีของสปอร์ที่ด�ำเหมือนผงถ่าน 3. ชั้น Basidiomycetes ประกอบด้วยเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายร่ม (mushroom) เห็ดที่มีรูปร่าง กลมคล้ายลูกบอล () เห็ดที่มีเนื้อหยุ่นคล้ายวุ้น (jelly fungi) และเห็ดรูปร่างอื่นๆ กลุ่มราที่เป็นที่คุ้นเคยกันมากที่สุดของไฟลัม Basidiomycota อยู่ในชั้น Basidiomycetes เพราะเป็นที่รวมของราขนาดใหญ่ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเกือบทั้งหมด ซึ่งได้แก่ เห็ดมากมาย หลายชนิดที่มีรูปร่างแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจะกล่าวถึงวงจรชีวิตของราไฟลัม Basidiomycota โดยใช้ วงจรชีวิตของเห็ดเป็นแบบฉบับ และจะอธิบายการจ�ำแนกเห็ดในชั้น Basidiomycetes ในล�ำดับต่อไป

วงจรชีวิตของเห็ด เริ่มต้นจากเบสิดิโอสปอร์ ที่แต่ละสปอร์มีนิวเคลียส 1 อัน และมีโครโมโซมเป็น haploid (n) เกิด การงอก แล้วเจริญเป็นเส้นใยที่แต่ละเซลล์ของเส้นใยมีนิวเคลียส 1 อัน เส้นใยนี้จึงเป็น monokaryon ซึ่งเมื่อเจริญยืดยาวไปใกล้กับเส้นใย monokaryon อีกเส้นหนึ่งที่นิวเคลียสมี mating type ต่างกัน และสามารถผสมกันได้ จะเกิดการเชื่อมกันของเส้นใยทั้งสอง แล้วเฉพาะไซโตพลาสึมเท่านั้นที่มา รวมกัน ซึ่งเรียกว่าเกิด plasmogamy ส่วนนิวเคลียส 2 อันจะเคลื่อนที่มาเรียงอยู่ด้วยกันเป็นคู่ใน เซลล์ที่มีการเชื่อมกันนั้น ต่อมาจะมีการยืดยาวของเส้นใยออกไปโดยมีเซลล์ใหม่เกิดขึ้น เซลล์ที่เกิด ใหม่แต่ละเซลล์จะมีนิวเคลียส 2 อัน เส้นใยนี้จึงเรียกว่า dikaryotic hypha หรือ dikaryon (n+n) เส้นใยที่เป็น dikaryon สามารถเติบโตต่อไปเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน หรือ หลายปี จนได้เส้นใยจ�ำนวนมากมาย และเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น ร้อนและชื้น เส้นใยจะ รวมตัวเกิดเป็นดอกเห็ดที่มีรูปร่างแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด เมื่อดอกเห็ดเติบโตเต็มที่จะมีการสร้าง สปอร์แบบมีเพศ เรียกว่า เบสิดิโอสปอร์ โดยเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายร่มและด้านล่างของร่มหรือหมวก มี โครงสร้างรูปร่างคล้ายใบมีดเรียงชิดติดกันและแผ่ออกจากก้านเห็ดเป็นรัศมีวงกลม เรียกว่า ครีบ นั้น จะมีการสร้างเบสิดิโอสปอร์บนผิวครีบ โดยเริ่มจาก basidium ที่เรียงตัวเป็นชั้นอยู่บนผิวครีบและ เซลล์เป็นแบบ dikaryon เกิดการรวมตัวกันของนิวเคลียส หรือเกิด karyogamy ท�ำให้ได้นิวเคลียส ที่มีโครโมโซมเป็น diploid (2n) จากนั้น diploid nucleus จะแบ่งตัวแบบ meiosis ได้นิวเคลียสลูก 4 อัน ที่มีโครโมโซมเป็น haploid แล้วมีก้านขนาดเล็ก (sterigma) เกิดขึ้นที่ด้านบนของ basidium 4 ก้าน จากนั้นนิวเคลียสลูกแต่ละอันจะเคลื่อนที่ผ่านก้าน sterigma แต่ละก้านไปอยู่ที่ปลายก้าน เกิดเป็น เบสิดิโอสปอร์จ�ำนวน 4 สปอร์ โดยเบสิดิโอสปอร์ทั้งสี่มีนิวเคลียสที่เหมือนกันเป็นคู่ เมื่อเบสิดิโอสปอร์แก่เต็มที่จะหลุดออกจาก sterigma แบบมีแรงดีดสปอร์ออกไป กลไกใน การดีดสปอร์ออกไปนี้แม้ว่าจะยังไม่เข้าใจแน่ชัดนัก แต่ก็อธิบายได้ว่า เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่ สปอร์จะหลุดออกจาก sterigma จะมีหยดของเหลวขนาดเล็กเกิดขึ้นใกล้กับรอยต่อระหว่างสปอร์ กับก้าน sterigma เรียกว่า hilar droplet จากนั้นหยดของเหลวจะค่อยๆ เพิ่มขนาดขึ้นจนท�ำให้เกิด แรงดีดสปอร์ออกไปในช่องว่างระหว่างครีบ แล้วจึงตกลงบนพื้นในแนวดิ่ง เบสิดิโอสปอร์ที่มีนิวเคลียส เป็น haploid อาจจะต้องการเวลาพักตัวก่อนเกิดการงอกเป็นเส้นใยแบบ monokaryon ซึ่งจะเป็น การเริ่มต้นวงจรชีวิตของเห็ดอีกตามที่กล่าวมาแล้ว (ภาพที่ 12)

30 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

23-38_dp2.indd 30 7/28/56 BE 5:08 PM ภาพที่ 12 วงจรชีวิตของเห็ด

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจที่สุดในวงจรชีวิตของเห็ดคือ การพัฒนาของเส้นใยเป็น dikaryon จึงได้แสดง ไว้ใน ภาพที่ 13 พร้อมค�าบรรยายขั้นตอนของการพัฒนาด้วย จะเห็นได้ว่าขั้นตอนของการพัฒนามี ผลท�าให้เกิดโครงสร้างที่เรียกว่า clamp connection ขึ้นบนเส้นใย แต่ clamp connection นี้ พบ ในราไฟลัม Basidiomycota บางชนิดเท่านั้น ดังนั้นการพัฒนาของเส้นใยเป็น dikaryon ของราไฟลัม Basidiomycota ที่ไม่เกิด clamp connection จึงน่าจะมีขั้นตอนแบบอื่นอีก

ภาพที่ 13 การพัฒนาของเส้นใยเป็น dikaryon และการเกิด clamp connection

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 3 1

23-38_dp2.indd 31 7/28/56 BE 5:08 PM การจ�ำแนกเห็ดในชั้น Basidiomycetes จ�ำแนกออกเป็น 2 ชั้นย่อย (subclass) คือ 1. ชั้นย่อย Teliomycetidae มี เบสิเดียมที่มีหลายเซลล์ โดยในขณะที่นิวเคลียสในเบสิเดียม เกิดการแบ่งตัวแบบ meiosis นั้น มีผนังกั้นตามยาวหรือตามขวางเกิดขึ้นในเบสิเดียมด้วย เพื่อแยกนิวเคลียสลูกออกจากกัน โดยเบสิเดียมจะเรียงตัวอยู่เป็นชั้นบนผิวด้านหนึ่งของดอกเห็ด ราชั้นย่อยนี้มีชื่อสามัญว่า ราวุ้น หรือ jelly fungi เพราะดอกเห็ดมีเนื้อนิ่มคล้ายวุ้น ชั้นย่อยนี้ แบ่งออกเป็น 8 อันดับ โดยแต่ละอันดับมีเบสิเดียมรูปร่างแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในภาพที่ 14

(A) (B) (C) (D)

ภาพที่ 14 รูปร่างเบสิเดียมของเห็ด: (A) อันดับ Auriculariales; (B) อันดับ Dacrymycetales; (C) อันดับ Tremellales และบางชนิดของราในอันดับ Auriculariales; (D) อันดับ Tulasnellales และ อันดับ Ceratobasidiales

1.1 อันดับ Auriculariales เป็นอันดับใหญ่ที่สุดของราวุ้น มีเบสิเดียมได้ 2 แบบ คือ (A) หรือ (C) ดังนั้นราบางชนิดในอันดับนี้จึงเคยถูกจัดอยู่ในอันดับ Tremellales มาก่อน ดอกเห็ดเกิดอยู่บนกิ่งไม้หรือท่อนไม้ เห็ดสกุล Auricularia คือสกุลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดี มี มากมายหลายชนิด ดอกเห็ดมีขนาดใหญ่ รับประทานได้ รสชาติดี และเพาะเลี้ยงง่ายด้วย ตัวอย่าง คือ เห็ดหูหนู 1.2 อันดับ Dacrymycetales มีเบสิเดียมแบบ (B) เป็นพวกที่ท�ำให้เนื้อไม้ผุเป็น สีน�้ำตาล (brown rot) มักพบขึ้นอยู่ตามโต๊ะและเก้าอี้ที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง ถูกแดดถูกฝน บนกิ่งไม้ และขอนไม้ที่ชื้น ดอกเห็ดมีเนื้อคล้ายวุ้น มีความเป็นมัน และมีสีเหลืองหรือสีส้ม อาจจะมีรูปร่าง คล้ายช้อนและมีก้านสั้นๆ หรือมีรูปร่างกลมนูนคล้ายหมอนอิง 1.3 อันดับ Tremellales มีเบสิเดียมแบบ (C) ประกอบด้วยสมาชิกหลายชนิดที่เป็น ราปรสิต (mycoparasite) ของรา Basidiomycetes และ Ascomycetes อื่นๆ ที่ขึ้นอยู่บน เนื้อไม้ และส่วนใหญ่ของราเหล่านี้สร้างดอกเห็ดที่มีขนาดใหญ่ และมักจะมีลักษณะเป็นแผ่นบาง นิ่มคล้ายวุ้น เรียงซ้อนกันคล้ายกลีบดอกไม้ สีเหลืองสดหรือสีขาว พบอยู่บนกิ่งไม้แห้งและขอนไม้

32 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

23-38_dp2.indd 32 7/28/56 BE 5:08 PM ที่นอนอยู่บนพื้นป่าเมื่อมีอากาศร้อนชื้น ชนิดที่รับประทานได้ มีรสชาติดี และมีการน�ามาเพาะเลี้ยง เพื่อการค้า คือ เห็ดหูหนูขาว (Tremella fuciformis) 1.4 อันดับ Ceratobasidiales เคยถูกจัดไว้ในอันดับเดียวกันกับ Tulasnellales มี เบสิเดียมแบบ (D) เป็นราที่มีขนาดเล็ก บางชนิดเป็นปรสิตของเฟิร์น และบางชนิดเป็นไมคอร์ไรซา ของกล้วยไม้ดิน 1.5 อันดับ Christianseniales มีเบสิเดียมที่บางส่วนมีผนังกั้น และสร้างดอกเห็ดที่มี รูปร่างคล้ายกับในอันดับ Tremellales 1.6 อันดับ Tulasnellales มีเบสิเดียมแบบ (D) เป็นราที่สร้างดอกเห็ดรูปร่างแบน ผิว เป็นมัน หรือผิวหน้ามีเส้นใยสานกันไปมา มีขนาดเล็กมองเห็นไม่ชัดเจน 1.7 อันดับ Cystofilobasidiales มีเบสิเดียมที่บางส่วนมีผนังกั้น ไม่สร้างดอกเห็ด 1.8 อันดับ Filobasidiales มีเบสิเดียมที่บางส่วนมีผนังกั้น ไม่สร้างดอกเห็ด 2. ชั้นย่อย Agaricomycetidae มีเบสิเดียมรูปร่างแบบกระบองและมีเซลล์เดียว เพราะในขณะ ที่นิวเคลียสในเบสิเดียมมีการแบ่งตัวแบบ meiosis นั้นไม่มีผนังกั้นเกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 8 อันดับ ดังต่อไปนี้ 2.1 อันดับ Agaricales เป็นอันดับที่มีสมาชิกมากมาย รวมรา basidiomycetes ที่สร้างดอกเห็ดขนาดใหญ่ มองเห็นชัดเจนด้วยตาเปล่า รูปร่างคล้ายร่ม มีเนื้ออ่อนนิ่มหรือเหนียว ด้านล่างของหมวกมีลักษณะเป็นครีบที่เรียงชิดติดกัน บนผิวของครีบเป็นที่เกิดของเบสิเดียมที่มี รูปร่างเป็นแบบกระบองและมีเซลล์เดียว รูปร่างลักษณของดอกเห็ดที่กล่าวมา ในภาษาอังกฤษใช้ค�าว่า mushroom หรือ gilled mushroom ซึ่งตรงกับภาษาไทยว่าเห็ดครีบ การพัฒนาของดอกเห็ด ในกลุ่มเห็ดครีบมีรายละเอียดดังนี้ ดอกเห็ดเมื่อยังเป็นดอกอ่อน (young fruit body) อาจมีลักษณะเป็นก้อนคล้าย รูปไข่ เนื่องจากมีเปลือกบางๆ ซึ่งสร้างจากเส้นใยของรามาหุ้มดอกอ่อนเอาไว้อย่างมิดชิด ระยะนี้ เรียกว่าระยะกระดุม หรือ button stage เมื่อดอกเห็ดอ่อนที่อยู่ข้างในขยายโตขึ้น มันจะดันเปลือกหุ้ม จนแตก แล้วส่วนของก้าน หมวก และครีบหรือ gill จะเจริญยืดตัวขึ้นมาจนเห็นชัดเจน เปลือกที่หุ้ม ดอกอ่อนส่วนบน อาจจะหลงเหลือเป็นแผ่นหรือเป็นสะเก็ดเล็กๆ (scale) ติดอยู่บนผิวหมวกที่กางออก จนมีรูปร่างคล้ายร่ม เมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่แผ่นหรือสะเก็ดเล็กๆ นี้ จะหลุดหรือถูกดึงออกโดยง่าย และ เปลือกที่หุ้มดอกอ่อนส่วนล่าง จะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายถ้วย เรียกว่า cup หรือ volva หุ้มโคนก้าน เห็ดพวกที่เมื่อตอนเป็นดอกอ่อนไม่มีเปลือกหุ้ม เมื่อโตขึ้นบนผิวหมวกมักจะเรียบและ ที่โคนก้านก็จะไม่มีถ้วยหุ้มด้วย เห็ดบางชนิดมีส่วนที่เรียกว่าวงแหวน (ring หรือ annulus) ติดอยู่รอบก้าน วงแหวน นี้คือส่วนของเนื้อเยื่อบางๆ ที่หุ้มปกป้องส่วนที่เรียกว่า ครีบ ตั้งแต่ครีบยังอ่อนอยู่ เมื่อส่วนของ หมวกค่อยๆ กางขยายออก ครีบจะยืดตัวตาม ท�าให้เนื้อเยื่อที่หุ้มครีบถูกดึงจนฉีกขาด และมักจะมี บางส่วนหลงเหลือติดอยู่รอบๆ ก้าน ซึ่งก็คือวงแหวนนั่นเอง วงแหวนอาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นเห็น ชัดเจนหรือเป็นเพียงเยื่อบางๆ เป็นรอยคราบบนผิวก้านดอกก็ได้ เห็ดที่ไม่มีวงแหวนก็เพราะไม่มี

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 3 3

23-38_dp2.indd 33 7/28/56 BE 5:08 PM เนื้อเยื่อหุ้มครีบในขณะที่ยังเล็ก ครีบแต่ละครีบที่อยู่ใต้หมวกมีลักษณะเป็นแผ่นบาง รูปร่างคล้าย ใบมีด เรียงอยู่ใกล้ๆ กันอย่างมีระเบียบ โดยมีก้านดอกเป็นแกนกลาง ครีบเป็นที่เกิดของเบสิเดียมและ เบสิดิโอสปอร์ที่มีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่วนที่เรียกว่าก้านของดอกเห็ด นั้น อาจจะยาวหรือสั้น และอาจจะอยู่ตรงกลางของหมวก หรือเยื้องไปทางด้านใดด้านหนึ่ง หรือติด อยู่กับด้านข้างของหมวกท�ำให้เห็นดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายช้อนหรือทัพพี ดอกเห็ดบางชนิดไม่มีก้าน ดังนั้นเมื่อขึ้นอยู่ตามตอไม้และขอนไม้จึงมีลักษณะคล้ายพัด หรือคล้ายชั้นวางของ หรือคล้ายหิ้ง หรือ คล้ายเครื่องหมายวงเล็บ ส่วนประกอบต่างๆ ของเห็ดครีบแสดงในภาพที่ 15

ภาพที่ 15 ส่วนประกอบของดอกเห็ดในอันดับ Agaricales หรือ อันดับเห็ดครีบ

เห็ดครีบเป็นเห็ดที่พบได้ในหลายถิ่นอาศัยทั่วไปทั้งโลก โดยบางชนิดเกิดอยู่ใน บริเวณจ�ำกัด บางชนิดเกิดกระจายไปในหลายสภาพภูมิประเทศ แต่อย่างไรก็ตามเห็ดครีบส่วนใหญ่ มีความชอบในถิ่นอาศัยถิ่นใดถิ่นหนึ่งเป็นพิเศษเสมอ และแม้แต่ในถิ่นอาศัยเดียวกันเห็ดครีบก็ยัง มีความชอบอย่างเฉพาะเจาะจงในเรื่องของอาหารที่ไปเลี้ยงตัวมันเองด้วย ดังนั้นจึงพบว่าเห็ดครีบ บางชนิดขึ้นอยู่บนดิน บางชนิดขึ้นอยู่บนซากใบ บางชนิดขึ้นอยู่บนขอนไม้ บางชนิดขึ้นอยู่บนมูลสัตว์ บางชนิดขึ้นอยู่บนเห็ดชนิดอื่น และบางชนิดขึ้นอยู่บนล�ำต้นของต้นไม้ที่มีชีวิต ถึงแม้ว่าเห็ดต่าง ชนิดกันจะออกดอกในฤดูกาลที่แตกต่างกัน แต่ก็พบว่าฤดูฝนคือฤดูที่เหมาะสมที่สุดในการออกดอก ของเห็ด เห็ดครีบมีทั้งที่รับประทานได้และเป็นเห็ดพิษ มีการน�ำเห็ดที่รับประทานได้มากมายหลาย ชนิดมาเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า เช่น เห็ดฟาง เห็ดกระดุม และเห็ดนางรม เป็นต้น อันดับ Agaricales ประกอบด้วยวงศ์ ซึ่งส่วนใหญ่ที่ด้านล่างของหมวกมีลักษณะเป็นครีบ มีเพียงบางวงศ์ที่ดอกเห็ดมี รูปร่างคล้ายถ้วย และคล้ายลูกบอล

34 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

23-38_dp2.indd 34 7/28/56 BE 5:08 PM 2.2 อันดับ เป็นอันดับที่มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า bolete สร้างดอกเห็ดขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายร่ม เนื้อแน่นและค่อนข้างนิ่ม ด้านล่างของหมวกมีลักษณะเป็นรู หรือท่อตื้นๆ เรียงชิด ติดกันในแนวดิ่ง ผนังด้านในของรูเป็นที่เกิดของเบสิเดียม ที่มีรูปร่างแบบกระบองและมีเซลล์เดียว ส่วนของเนื้อเยื่อที่เห็นเป็นรูทั้งหมดจะถูกดึงให้แยกออกจากเนื้อหมวกได้โดยง่าย ก้านดอกมักมี รูปร่างบวมพองที่โคนก้าน และผิวก้านอาจมีลักษณะขรุขระหรือสานกันคล้ายร่างแห บางครั้งอาจ มีวงแหวน รูปร่างของเบสิดิโอสปอร์ส่วนใหญ่เป็นแบบยาวรี และรอยพิมพ์สปอร์สีน�้าตาลอมเหลือง ไม่มี clamp connection บนเส้นใย เห็ด bolete ส่วนใหญ่เป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา ซึ่งเป็นเห็ด ที่อยู่ร่วมกับรากของต้นไม้ที่มีชีวิตในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ท�าให้ต้นไม้เติบโตเร็วและทนทาน ต่อความแห้งแล้งได้มากกว่าปกติ (อ่านรายละเอียดในบทที่ 10) มีหลายชนิดที่รับประทานได้ เช่น เห็ดตับเต่า เห็ดห้า เห็ดเสม็ด บางวงศ์ของอันดับ Boletales ส่วนที่ให้ก�าเนิดสปอร์มีรูปร่างลักษณะ คล้ายครีบ หรือดอกเห็ดมีรูปร่างกลมคล้ายลูกบอลเกิดอยู่บนดินหรือฝังอยู่ใต้ดิน 2.3 อันดับ ดอกเห็ดของราอันดับนี้มีรูปร่างคล้ายกรวย หรือคล้าย กระบอง หรือเป็นแผ่นแบนมีก้าน หรือรูปร่างคล้ายพวกเห็ดครีบ ประกอบด้วยเส้นใยแบบเดียว (monomitic) ด้านที่ให้ก�าเนิดเบสิดิโอสปอร์ อาจเรียบ หรือหยักย่น หรือพับขึ้นลงเป็นลูกคลื่นคล้าย ครีบที่หนา เบสิดิโอสปอร์มีผนังเรียบ ไม่มีสี ไม่ท�าปฏิกริยากับสารละลายเมลเซอร์ (Melzer’s reagent) ขึ้นโดยตรงจากดิน ได้แก่ เห็ดมันปู (chanterelle: cibarius) ซึ่งเป็นเห็ดที่รับประทาน ได้ และเป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา เห็ดบางชนิดในอันดับนี้ขึ้นอยู่บนฮิวมัส 2.4 อันดับ Hymenochaetales ดอกเห็ดส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นแผ่นติดอยู่กับกิ่งไม้หรือ ท่อนไม้ หรือคล้ายเครื่องหมายวงเล็บ หรือคล้ายพัด หรือคล้ายเกือกม้า เนื้อเห็ดค่อนข้างแข็งจนถึง แข็ง ด้านที่ให้ก�าเนิดสปอร์มีผิวหน้าเป็นรูหรือท่อตื้นๆ อยู่เรียงชิดติดกัน ยังมีรูปร่างของดอกเห็ด แบบอื่นๆ อีก เช่น แบบปะการังและแบบเห็ดครีบ ดอกเห็ดมีอายุปีเดียวหรือหลายปี เนื้อเห็ดประกอบ ด้วยเส้นใยแบบเดียวหรือสองแบบ (monomitic or dimitic) สีน�้าตาลแดงหรือสีน�้าตาลปนเหลือง ซึ่งจะเข้มขึ้นเมื่อหยดด้วยสารละลาย KOH เส้นใยที่เป็นหมันมีผนังหนา และบางชนิดอาจจะแตก หลายแฉก เรียกว่า asterosetae อยู่ในเนื้อเห็ดด้วย เส้นใยไม่มี clamp connection และเบสิดิโอสปอร์ ไม่มีสีจนถึงสีน�้าตาล ผนังเรียบ เห็ดในอันดับนี้พบเห็นง่ายในที่ทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่เป็นเห็ดกินซาก หรือเห็ด แซบโพรไฟต์ ท�าลายขอนไม้ แต่มีบางขนิดเป็นสาเหตุของโรคล�าต้นเน่าในต้นไม้ที่มีชีวิตก่อให้เกิด ความเสียหายในสวนป่า เช่น Phellinus และ Inonotus แต่ก็มีรายงานว่า Phellinus linteus และ Inonotus obliquus หรือ “chaga” มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค และมีการผลิตเห็ดสองชนิดนี้ขายใน ท้องตลาดด้วย ส่วน Coltricia และ Coltriciella เป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา 2.5 อันดับ Phallales เป็นอันดับที่มีดอกเห็ดหลายรูปแบบแตกต่างกัน และเป็น รูปแบบเฉพาะของแต่ละวงศ์ จึงมีความจ�าเป็นที่จะต้องอธิบายลักษณะของดอกเห็ดแยกไปตามวงศ์ ดังต่อไปนี้

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 3 5

23-38_dp2.indd 35 7/28/56 BE 5:08 PM 2.5.1 วงศ์ Geastraceae ชื่อสามัญคือ เห็ดดาวดิน หรือ earthstar mushroom สร้าง ดอกเห็ดที่เมื่ออ่อนมีรูปร่างคล้ายลูกบอล เกิดอยู่บนเศษซากไม้ผุ มีผนัง 3 ชั้น เมื่อดอกแก่ผนังชั้นนอก และชั้นกลางซึ่งอยู่ติดกันจะแตกออกเป็นแฉกตามรัศมีวงกลม จ�ำนวน 4-12 แฉก คล้ายรูปดาว ผนังชั้นในสุดห่อหุ้มเบสิดิโอสปอร์ที่เกิดปะปนอยู่กับเส้นใยที่เป็นหมัน ผนังหนาและไม่แตกแขนง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า capillitium โดยเบสิดิโอสปอร์มีขนาดเล็กและแห้งเป็นผงเมื่อแก่ ผิวสปอร์ไม่เรียบ เป็นปุ่มนูน ออกสู่ภายนอกทางรูเปิดที่อยู่ด้านบนของผนังหุ้ม 2.5.2 วงศ์ Gomphaceae มีดอกเห็ดรูปร่างแบบกรวย หรือรูปร่างคล้ายกระบอง เซลล์เดียว หรือแตกแขนงคล้ายปะการัง สร้างขึ้นจากเส้นใยแบบเดียว (monomitic) ส่วนที่ให้ก�ำเนิด เบสิดิโอสปอร์ อาจมีลักษณะเรียบจนถึงเป็นหนาม เบสิดิโอสปอร์มีผิวเรียบหรือขรุขระ ไม่มีสีไปจนถึง สีน�้ำตาลอมเหลือง ขึ้นอยู่บนพื้นดิน เป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา 2.5.3 วงศ์ Hysterangiaceae สร้างดอกเห็ดที่มีรูปร่างเป็นก้อนอยู่ใต้ดิน ส่วนที่ ให้ก�ำเนิดเบสิดิโอสปอร์ถูกหุ้มไว้มิดชิด มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายวุ้น สีเขียวมะกอก เบสิดิโอสปอร์จะ ออกสู่ภายนอกโดยการถูกกัดแทะจากสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา 2.5.4 วงศ์ Phallaceae สร้างดอกเห็ดอยู่บนซากพืชในที่ที่มีความชื้นและมีฮิวมัส สูง ดอกอ่อนมีรูปร่างคล้ายไข่ขนาดเล็ก นิ่มและผนังบาง มีเส้นใยเส้นใหญ่งอกออกมาจากส่วนฐาน ของดอกอ่อน กระจายไปในดิน เมื่อก้านงอกดันเปลือกหุ้มขึ้นมา ส่วนล่างของไข่จะกลายเป็นถ้วย หรือ volva อยู่ที่โคนก้าน ก้านมีลักษณะบวมพองและนิ่ม อาจเป็นก้านเดี่ยวซึ่งที่ปลายก้านมีหมวก ที่มีรูปร่างคล้ายถ้วยครอบอยู่ และที่ผิวถ้วยเคลือบด้วยเบสิดิโอสปอร์ ที่มีลักษณะเป็นเมือกเหนียว สีเขียวมะกอกเข้ม หรือก้านที่งอกขึ้นมามีการแตกออกเป็นหลายแขนง และมีเบสิดิโอสปอร์ที่มี ลักษณะเป็นเมือกเหนียว สีเขียวปนเทา เกาะติดอยู่ทางด้านล่างหรือด้านในของแขนง สปอร์ของรา ในวงศ์นี้มีกลิ่นเหม็นมาก จึงมีชื่อสามัญว่า stinkhorn กลิ่นของสปอร์ช่วยดึงดูดแมลงให้มาตอม แล้ว สปอร์ที่มีความเหนียวจะติดขาหรือส่วนอื่นๆ ของแมลงไป อันเป็นการช่วยแพร่กระจายสปอร์เป็นอย่างดี 2.5.5 วงศ์ Ramariaceae มีรูปร่างของดอกเห็ดคล้ายปะการังที่แตกแขนงอย่าง หนาแน่นจนเห็นเป็นกลุ่ม มีเนื้อหนาและค่อนข้างนิ่ม ส่วนใหญ่สีของดอกเป็นสีน�้ำตาลอ่อนหรือ สีครีม เบสิดิโอสปอร์มีผิวขรุขระ สีเหลืองอมน�้ำตาล เป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา 2.6 อันดับ ประกอบด้วยเห็ดจ�ำนวนมากที่มีรูปร่างแตกต่างกันหลาย แบบ แต่ส่วนใหญ่มีด้านซึ่งให้ก�ำเนิดสปอร์มีลักษณะเป็นรูตื้นๆ หรือเป็นท่อเล็กๆ สั้นๆ เรียงชิด ติดกัน โดยมีปากรูหรือปากท่อหันเข้าหาพื้นดิน และปลายอีกด้านหนึ่งของรูหรือท่อติดแน่นอยู่กับ เนื้อหมวก ไม่สามารถแยกเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นรูออกมาจากเนื้อหมวกได้เหมือนกับในเห็ด bolete ปากรูอาจกลมหรือค่อนข้างกลม หรือรูปหกเหลี่ยม หรือรูปร่างไม่แน่นอน หรือค่อนข้างยาว คดเคี้ยว เป็นร่อง หรือคล้ายครีบ จึงมีชื่อสามัญว่า “polypores” เห็ด polypores ส่วนใหญ่เป็นเห็ดที่ท�ำให้ เนื้อไม้ผุหรือเน่าเปื่อย ช่วยให้ขอนไม้เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้น และมีบางชนิดก่อให้เกิดโรคต่อต้นไม้ ที่มีชีวิตด้วย เช่น โรคแก่นไม้ผุที่เกิดจากเห็ด

36 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

23-38_dp2.indd 36 7/28/56 BE 5:08 PM การจ�าแนกราอันดับนี้มีความสลับซับซ้อนมาก ยังไม่เข้าใจกันอย่างดีนัก ในปัจจุบัน การศึกษาด้าน DNA ของเห็ด polypores ท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดอนุกรมวิธานอยู่ ตลอดเวลา และมีการย้ายเห็ดที่มีรูปร่างแบบ polypores บางชนิดออกไปไว้ในอันดับ ด้วย การระบุชื่อเห็ด polypores สามารถกระท�าได้ โดยการศึกษาลักษณะที่มองเห็นด้วย ตาเปล่า (macroscopic feature) ด้วยความรอบคอบ เช่น การใช้รูปร่างของปากรูที่มีขนาดใหญ่และ วกเวียนคล้ายเขาวงกตในการระบุชื่อสกุล Daedaleopsis sp. เป็นต้น การทราบชื่อของต้นไม้หรือ ขอนไม้ที่เห็ดขึ้นอยู่ หรืออย่างน้อยที่สุดทราบว่าต้นไม้หรือขอนไม้นั้นเป็นไม้สนเขา () หรือ ไม้เนื้อแข็ง (hardwood) จะช่วยในการระบุชื่อเห็ดด้วย รวมถึงลักษณะอื่นๆ เช่น การท�าปฏิกริยา ของเนื้อเห็ดเมื่อหยดด้วย KOH และลักษณะต่างๆ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (microscopic feature) เห็ด polypores หลายชนิดมีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค เช่น เห็ดหลินจือ (Ling Chi: lucidum) ใช้รักษาโรคมะเร็งและลดความดันโลหิต Fomitopsis officinalis ใช้รักษาอาการเหงื่อออก มากในผู้ป่วยวัณโรค บางชนิดใช้รับประทาน เช่น Fistulina hepatica (สเต็กตับวัว) มีรสชาติคล้าย เนื้อวัว Sparassis crispa มีรสมันและกรุบกรอบ เป็นต้น 2.7 อันดับ Russulales สร้างดอกเห็ดอยู่เหนือดินและใต้ดิน พวกที่อยู่เหนือดินมีรูป ร่างหลายแบบ เช่น แบบเห็ดครีบ แบบ polypores เห็ดที่มีด้านที่ให้ก�าเนิดเบสิดิโอสปอร์ มีผิวเรียบ หรือรูปร่างเป็นหนาม และเห็ดปะการัง ส่วนพวกที่อยู่ใต้ดินหรือมีบางส่วนอยู่ใต้ดิน มีรูปร่างเป็นก้อน คล้ายกระเพาะอาหาร (gastroid) แต่ไม่ว่าดอกเห็ดจะมีรูปร่างอย่างไร ลักษณะของเบสิดิโอสปอร์มี ความเหมือนกัน คือผนังไม่เรียบ อาจมีหนามหรือปุ่มเล็กๆ หรืออาจมีผิวคล้ายตาข่าย ที่ท�าปฏิกริยา กับสารละลายเมลเซอร์ (Melzer’s reagent) แล้วเปลี่ยนเป็นสีน�้าเงินเข้ม เรียกว่า amyloid spore ส�าหรับกลุ่มเห็ดครีบในอันดับ Russulales จัดว่ามีจ�านวนมากที่สุด ประกอบด้วยเห็ด 2 สกุล คือ และ Russula มีลักษณะเด่นคือเนื้อดอกกรอบ แตกเป็นชิ้นเล็กๆ ง่ายมาก มีก้านเปราะ หักง่ายและรอยหักเรียบ ซึ่งเมื่อน�าเนื้อเยื่อของดอกเห็ดไปตรวจดูใต้กล้องจุลทรรศน์จะพบว่า มีเซลล์ รูปร่างแบบทรงกลมและผนังบาง เรียกว่า sphaerocyst เกิดปะปนอยู่กับเส้นใยเป็นจ�านวนมาก ซึ่งมี ผลท�าให้ดอกและก้านเห็ดกรอบและเปราะ เห็ด Lactarius แตกต่างจาก Russula ตรงที่เมื่อดอกเห็ด เกิดรอยแผล จะมีของเหลวซึ่งส่วนใหญ่สีขาวคล้ายน�้านมไหลออกมา เห็ดทั้งสองชนิดและเห็ดอื่นๆ ในอันดับนี้อีกบางชนิด เป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา นอกจากนี้เป็นเห็ดกินซากหรือเห็ดแซบโพรไฟต์ เช่น เห็ดไม้แคะหู ( vulgare) เห็ดหัวลิงหรือเห็ดภู่มาลา (Hericium erinaceus) ซึ่งเห็ด ชนิดนี้รับประทานได้และมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค และมีเห็ดที่ก่อให้เกิดโรครากเน่าของต้นไม้ ซึ่ง ได้แก่ Heterobasidion annosum รวมอยู่ด้วย เห็ดในอันดับ Russulales สามารถพบได้ในที่ทั่วๆ ไป 2.8 อันดับ เป็นเห็ดที่มีรูปร่างหลายแบบอาจเป็นแผ่นแบนราบ หรือคล้าย ปะการัง หรือคล้ายกรวยที่เรียงชิดกันเป็นกลุ่มคล้ายดอกกะหล�่า หรือรูปร่างคล้ายร่มคือมีหมวกและ ก้าน ด้านที่ให้ก�าเนิดเบสิดิโอสปอร์อาจเรียบ หรือเป็นปุ่มนูน หรือเป็นหนาม หรือเป็นร่องลึกคล้าย ครีบ เบสิดิโอสปอร์มีรูปร่างกลม หรือรูปไข่ ผิวไม่เรียบ ส่วนใหญ่มีหนามหรือปุ่มเล็กๆ หรือหยักเว้า ไม่มีสี สีขาว หรือสีน�้าตาล ไม่เปลี่ยนสีเมื่อหยดด้วยสารละลายเมลเซอร์ (Melzer’s reagent) และ

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 3 7

23-38_dp2.indd 37 7/28/56 BE 5:08 PM cotton blue ส่วนเนื้อเห็ดซึ่งตามปกติมีสีเทาเข้ม จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อหยดด้วยสารละลาย KOH เห็ดในอันดับนี้มีชื่อสามัญว่า เห็ดแผ่นหนัง หรือ leathery fungi และทั้งหมดเป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา ที่พบเห็นได้ง่าย ในประเทศจีนมีการเก็บเห็ดที่ขึ้นอยู่ในป่าซึ่งรับประทานได้และมีคุณสมบัติทาง การแพทย์ 2 ชนิด คือ Sarcodon imbricatus และ multiplex มาขายในท้องตลาด ในรูปเห็ดสดและเห็ดแห้ง นอกจากนี้เห็ดหลายชนิดในอันดับ Thelephorales มีคุณสมบัติเป็นสีย้อม เส้นด้ายขนสัตว์ (wool) อีกด้วย

38 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

23-38_dp2.indd 38 7/28/56 BE 5:08 PM º··Õè 5 ¡ÒÃà¡çºàËç´áÅСÒÃÈÖ¡ÉÒàËç´ã¹¸ÃÃÁªÒµÔ

การเก็บเห็ดชั้น Ascomycetes ในธรรมชาติ การเก็บตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ให้ใช้ตะกร้าปากกว้างและก้นตื้น ส�าหรับตัวอย่างขนาดเล็ก เสียหายง่ายควรเก็บด้วยความระมัดระวัง แล้วใส่ลงในกล่องพลาสติกที่แบ่งออกเป็นช่องเล็กๆ หลายช่อง หรือใช้กล่องพลาสติกที่มีช่องเดียวซึ่งตามปกติใช้บรรจุยาเม็ด หรืออาจใช้ถุงพลาสติก ก็ได้ แต่ตัวอย่างจะร้อนเพราะถูกอบอยู่ในถุง ท�าให้เกิดไอน�้าและตัวอย่างจะเน่าเสียอย่างรวดเร็ว ควรใส่ใบไม้ที่มีความสัมพันธ์กับตัวอย่างที่เก็บ และใส่กระดาษแผ่นเล็กๆ ที่เขียนหมายเลขตัวอย่าง ก�ากับไว้ลงในกล่องพลาสติกหรือถุงพลาสติกด้วย เพื่อใช้ตรวจสอบกับหมายเลขตัวอย่างที่บันทึก ไว้ในสมุดขณะที่เก็บตัวอย่าง เมื่อกลับถึงห้องปฏิบัติการ ให้น�ากล่องพลาสติกที่ใส่ตัวอย่างไปเก็บไว้ในตู้เย็น จากนั้นควรน�า ออกมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อย่างเร็วที่สุด ซึ่งควรอยู่ภายในเวลา 24 ชั่วโมง แต่ถ้าไม่สามารถ ท�าได้ ให้น�าออกมาเขียนค�าอธิบายลักษณะในขณะที่ตัวอย่างยังสดอยู่ แล้วจึงน�าไปอบแห้ง เพื่อการ ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือส่งให้ผู้เชี่ยวชาญต่อไป ในขณะที่เก็บตัวอย่าง ขอให้ใช้มีดหรือเครื่องมือส�าหรับขุดเพื่อน�าตัวอย่างออกมาจากสิ่งที่ เห็ดขึ้นอยู่ อย่าใช้มือดึงเพราะตัวอย่างอาจเกิดการเสียหาย

อุปกรณ์และเครื่องใช้สําหรับปกปองผู้เก็บตัวอย่าง ควรเตรียมเครื่องใช้ส่วนตัวให้พร้อม เช่น หมวก เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ครีม กันแดด ยาทากันแมลง รองเท้าส�าหรับใส่เดินป่า ชุดปฐมพยาบาล น�้าและอาหาร และอาจต้อง เตรียมถุงมือไปด้วย เพื่อสวมในขณะเขี่ยดินค้นหาเห็ดที่ฝังอยู่ในชั้นซากพืช และหลังจากหยิบหรือ จับตัวอย่างเห็ดแล้วควรล้างมือ เพราะบางคนอาจเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง หรือระบบหายใจที่กระตุ้น โดยตรงจากตัวอย่างเห็ด หรือเชื้อแบคทีเรีย และจุลินทรีย์อื่นๆ ที่อยู่บนตัวอย่าง

สิ่งที่ควรคํานึงถึงในการเก็บตัวอย่างเห็ด 1. เก็บตัวอย่างที่สดและอยู่ในสภาพดี และควรสังเกตเห็ดที่ขึ้นอยู่บนเห็ดชนิดอื่นที่แก่ หรือเน่าแล้วด้วย ตัวอย่างที่เก็บมาเพียงชิ้นเดียวและอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนักมักใช้ระบุชนิดไม่ได้ 2. การเก็บแอสโคคาร์บ ต้องเก็บให้ได้ครบถึงฐานของก้านและเก็บโครงสร้างที่อาจติด อยู่ที่ฐานของโคนก้านด้วย เช่น กลุ่มเส้นใยที่มีรูปร่างคล้ายรากพืช และเม็ด sclerotium 3. ตัวอย่างเห็ด 1 ชนิด ควรเก็บให้ได้ 2-3 ดอก เพื่อให้เพียงพอส�าหรับการตรวจสอบ และควรเป็นตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน เพราะอาจมีประโยชน์ต่อการระบุชื่อ ตามปกติถ้าพบตัวอย่าง เห็ดหนึ่งดอก จะพบดอกอื่นๆ อีกในบริเวณใกล้เคียง

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 3 9

39-54_dp2-1.indd 39 7/28/56 BE 5:19 PM 4. บันทึกลงในสมุดว่าตัวอย่างเห็ดขึ้นอยู่บนสิ่งใด และชื่อของต้นไม้ที่อยู่ข้างเคียง 5. บันทึกลงในสมุดถึงลักษณะที่อยู่ไม่คงทน เช่น กลิ่น และการเปลี่ยนสีของแอสโคคาร์บ 6. ควรถ่ายถาพให้เห็นลักษณะของตัวอย่างเห็ดที่ขึ้นอยู่ในธรรมชาติให้ชัดเจน 7. ตัวอย่างเห็ด ascomycetes ที่มีขนาดเล็ก ควรเก็บเอาสิ่งที่มันขึ้นอยู่มาด้วย

วิธีการเก็บตัวอย่าง เห็ด ascomycetes ขนาดใหญ่ สามารถเห็นได้ง่ายในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นในดินและ ความชื้นในอากาศสูง เพราะท�ำให้ดอกเห็ดเติบโตดี เช่น เห็ดกลุ่ม Xylaria ดอกเห็ดอาจพบได้บน ดิน บนล�ำต้นของต้นไม้ บนกิ่งไม้ หรือขอนไม ้ การทราบชีววิทยาของเห็ดเหล่านี้จะช่วยในการค้นหา เช่น เห็ดพวก discomycetes ตามปกติพบอยู่บนดิน หรือบนกิ่งไม้ที่ร่วงหล่นอยู่บนพื้น เห็ดพวกที่ ท�ำให้เกิดโรคของแมลง (entomopathogenic fungi) หายากกว่าเห็ดขนาดใหญ่อื่นๆ แต่จะพบได้ มากในถิ่นอาศัยที่เฉพาะเจาะจง เช่น Cordyceps หลายชนิดพบอยู่ในถิ่นอาศัยของแมลงที่มันเข้า เบียดเบียน เป็นเห็ดสกุลที่มีความหลากหลายสูงมากที่สุดในเขตร้อน และในเขตอื่นที่มีความหลาก ชนิดของแมลงสูง Cordyceps ส่วนใหญ่ออกดอกในระหว่างฤดูที่มีอากาศร้อนและชื้น แต่จะมีความ ผันแปรในขั้นตอนของการเติบโตและมักมีข้อยกเว้นเสมอ ผู้ที่ค้นหา Cordyceps ต้องรู้จักรูปร่างลักษณะและที่อยู่อาศัยของมันซึ่งเฉพาะเจาะจง มาก โดย Cordyceps มักเบียดเบียนตัวหนอนหรือดักแด้ของแมลงที่อยู่ในดิน จะต้องท�ำการค้นหา ตามใบ ล�ำต้น หรือส่วนอื่นๆ ของต้นพืชที่แมลงใช้เป็นอาหาร และควรทราบเรื่องสังคมพืชด้วย เพราะ ว่าแมลงที่เป็นผู้ให้ที่อยู่อาศัย (host) ของ Cordyceps อาจเป็นแมลงผสมเกสรหรือเป็นแมลงศัตรูของ พืชชนิดใดชนิดหนึ่งในสังคมพืชนั้น

วิธีการเก็บรักษาตัวอย่าง ขั้นตอนส�ำคัญในการรักษาตัวอย่างที่เก็บมาใหม่ๆ คือต้องท�ำให้แห้งอย่างรวดเร็ว เช่น ด้วยการผึ่งลม ใช้สารดูดความชื้น หรือใช้ความร้อนอ่อนๆ การท�ำให้แห้งช่วยยับยั้งการเติบโตของ แบคทีเรียและราที่เป็นแซบโพรไฟต์ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่กินราเป็นอาหารและติดมากับ ตัวอย่าง สปอร์ของรา ascomycetes สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้หลายอาทิตย์หรือหลายเดือนบน ตัวอย่างที่ท�ำให้แห้งอย่างเหมาะสม และยังสามารถน�ำมาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการได้ด้วย การแยกเห็ด ascomycetes ออกมาเลี้ยงให้เป็นเชื้อบริสุทธิ์ ท�ำส�ำเร็จได้ง่ายเป็น ส่วนใหญ่กับตัวอย่างที่สดมากๆ ตัวอย่างที่ถูกท�ำให้แห้งระหว่างที่มีการผลิตสปอร์หรือก่อน การปล่อยสปอร์ออกไป เป็นตัวอย่างที่อาจมีชีวิตและสร้างสปอร์ได้อย่างต่อเนื่องเมื่อได้รับความชื้น ในภายหลัง ด้วยเหตุที่เห็ด ascomycetes จ�ำนวนมากสามารถนำ� มาเพาะเลี้ยงได้ จึงไม่ควรเก็บรักษา ด้วยการใช้แอลกอฮอล์ ยกเว้นในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่น ไม่มีเครื่องส�ำหรับอบตัวอย่างให้แห้ง และอยู่ในภาคสนามที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน

40 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

39-54_dp2-1.indd 40 7/28/56 BE 5:19 PM การเตรียมเก็บตัวอย่างเพื่อใช้ในการรับรองชื่อ (Voucher Specimens) การเก็บรักษาตัวอย่างแบบแห้งเป็นวิธีการที่เหมาะสมส�าหรับเห็ด ascomycetes เพราะ ในการเดินทางเก็บตัวอย่างแต่ละครั้งอาจใช้เวลาหลายวัน และได้จ�านวนตัวอย่างมากมายที่ต้องการ เวลาในการศึกษารายละเอียด การท�าตัวอย่างให้แห้งอย่างถูกวิธีช่วยให้ลักษณะที่ต้องตรวจดูด้วย กล้องจุลทรรศน์ยังคงอยู่ ในสถานการณ์ที่ผู้เก็บตัวอย่างได้ท�าการศึกษาเห็ดที่เก็บมาและสงสัยว่า อาจจะเป็นชนิดใหม่ หรือเป็นชนิดที่ส�ารวจพบเป็นครั้งแรกในประเทศ หรือเป็นชนิดที่หายากและ ใกล้สูญพันธุ์ หรือมีลักษณะบางอย่างที่แปลกหรือไม่คุ้นเคย และต้องการความคิดเห็นจากผู้อื่นเพื่อ การระบุชื่อชนิดนั้น ควรเก็บรักษาแบบแห้งเพราะจะช่วยให้มีเวลาในการด�าเนินการเพื่อระบุชื่อชนิด โดยผู้เชี่ยวชาญ และตัวอย่างแห้งของเห็ดที่น่าสนใจนี้ยังสามารถเก็บรักษาไว้ในสถานที่ที่ผู้สนใจอื่นๆ มาท�าการสืบค้นและอ้างอิงได้ในอนาคต ตัวอย่างแห้งของเห็ดนี้จึงเป็นตัวอย่างเพื่อใช้ในการรับรอง ชนิด (voucher specimen)

ข้อมูลที่ควรบันทึกไว้พร้อมกับตัวอย่างแห้งของเห็ด 1. อนุกรมวิธานของเห็ด ลักษณะนิเวศวิทยาและการวิเคราะห์ทางชีวเคมี (ถ้ามี) 2. ข้อมูลพื้นฐานทางชีววิทยาที่นักอนุกรมวิธานและนักวิจัยอื่นๆ จ�าเป็นต้องทราบ ซึ่งจะส�าคัญอย่างยิ่งถ้าตัวอย่างเห็ดที่เก็บมาเป็นเห็ดชนิดใหม่ 3. เอกสารอ้างอิงที่ใช้ในการระบุชื่อเห็ด 4. ข้อมูลการกระจายหรือสถานที่ที่พบเห็ด 5. ตัวอย่างเห็ดที่เป็นที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ของตัวอย่างแห้งที่เก็บมา (Type specimen) 6. การบันทึกสถานที่และวันเวลาที่พบตัวอย่าง 7. ข้อมูลรายละเอียดของการส�ารวจพบเห็ด เพื่อผู้อื่นจะสามารถท�าการส�ารวจซ�้าได้ เมื่อต้องการ 8. ข้อมูลอื่นๆ ที่อาจจ�าเป็นต่อการติดตามตรวจสอบ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ องค์ประกอบทางนิเวศตามกาลเวลา

การระบุชื่อชนิดเห็ด การระบุชื่อชนิดเห็ดเป็นสิ่งที่ท�าได้ยาก แม้ว่าจะพร้อมด้วยเอกสารที่ทันสมัยมากมาย และท�าได้ยากยิ่งขึ้นเมื่อเอกสารที่ต้องใช้ในการอ้างอิงอยู่อย่างกระจัดกระจายในสถานที่ต่างๆ วิธีการ ที่แน่นอนและเชื่อถือได้คือการระบุชื่อชนิดโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการด�าเนินการ มีสถาบันที่เก็บรักษาเชื้อส�าหรับการเพาะเลี้ยง (culture collection) และผู้เชี่ยวชาญอิสระมากมาย ที่ให้บริการทางด้านการระบุชื่อชนิด ซึ่งนักวิจัยควรเลือกสรรผู้เชี่ยวชาญให้เหมาะสมกับกลุ่มเห็ดที่ อยู่ในความสนใจ ส�าหรับนักวิจัยที่ต้องการจะระบุชื่อชนิดเห็ดด้วยตนเอง สามารถสืบค้นคู่มือที่จะ ใช้ในแต่ละกลุ่มเห็ดได้ ตัวอย่าง เช่น หนังสือ Ainsworth & Bisby's Dictionary of the Fungi เล่มที่ 8 ปี ค.ศ. 1996 ของ Hawksworth et al.

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 4 1

39-54_dp2-1.indd 41 7/28/56 BE 5:19 PM การเก็บเห็ดชั้น Basidiomycetes ในธรรมชาติ การเตรียมตัวและอุปกรณ์เพื่อไปเก็บเห็ด ผู้ที่จะออกไปเก็บเห็ดควรแต่งตัวให้รัดกุม เช่น สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวม ถุงเท้าและรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าบู๊ทส์ (boots) และทาครีมป้องกันแมลง เนื่องจากฤดูที่เหมาะ สมส�ำหรับการเก็บเห็ด ไม่ว่าจะเพื่อน�ำมารับประทานหรือเพื่อการศึกษาจ�ำแนกชนิดคือ ฤดูฝน โดย เฉพาะตอนต้นฤดูหรือภายหลังจากที่มีฝนตกลงมาแล้ว 3-4 วัน และมีแสงแดดส่องจนพื้นดินอบอุ่น เพราะความชื้นและความอบอุ่นช่วยให้เส้นใยของราที่อยู่ใต้ดินหรือในเศษซากสิ่งมีชีวิตเจริญอย่าง รวดเร็ว และสมบูรณ์เต็มที่จนสร้างดอกเห็ดขึ้นมาได้ และในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นป่าจะมีสภาพชื้น แฉะ อาจมีแมลงและสัตว์อื่นๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เก็บเห็ดได้ ควรน�ำอุปกรณ์ต่อไปนี้ติดตัวไป ด้วย เช่นแว่นขยาย (hand lens) กล้องถ่ายภาพที่สามารถถ่ายภาพในระยะใกล้ได้อย่างชัดเจน มีด ขนาดเล็กเพื่อเขี่ยหรือตัดส่วนที่สกปรกออกจากผิวดอกเห็ด มีดขนาดใหญ่ที่ใช้แซะ หรืองัด หรือตัด กิ่งไม้ ท่อนไม้ หรือขุดดินได้ เพื่อให้สามารถเก็บดอกเห็ดได้ครบทุกส่วน โดยเฉพาะในกรณีที่บาง ส่วนของดอกเห็ดฝังอยู่ในสิ่งเหล่านั้น พลั่วมือขนาดเล็กที่ใช้ขุดดินเพื่อหาดอกเห็ดที่เกิดฝังอยู่ใต้ดิน ตะกร้าที่มีปากกว้างและก้นตื้น หรือกล่องกระดาษแข็งที่ท�ำให้มีหูหิ้ว ส�ำหรับใส่เห็ด เพื่อเห็ดจะได้ไม่ ทับซ้อนกันมาก และยังคงสภาพดีเมื่อกลับถึงที่พักหรือห้องปฏิบัติการ กระดาษไข (waxed paper) ถุงกระดาษ สมุดบันทึก ปากกา และไม้บรรทัด ควรน�ำเข็มทิศติดตัวไปด้วยถ้าไม่คุ้นเคยกับสถานที่ ที่จะไปเก็บเห็ด หรือมีผู้คุ้นเคยกับสถานที่นั้นเป็นผู้น�ำทาง

การบันทึกข้อมูลและการเก็บเห็ด การบันทึกข้อมูล เริ่มด้วยสถานที่ ประเภทป่า วันที่ที่เก็บหรือส�ำรวจ และสภาพของ ดินฟ้าอากาศ เมื่อพบเห็ดชนิดหนึ่งให้บันทึกสิ่งที่ดอกเห็ดเจริญขึ้นมา (substrate) เช่น ซากใบ กิ่งไม้ ขอนไม้แห้ง ฮิวมัส มูลสัตว์พร้อมทั้งระบุชื่อสัตว์ด้วย ดอกเห็ดอาจเติบโตอยู่บนหญ้า บนต้นไม้ หรือ บนดิน ซึ่งถ้าเติบโตอยู่บนดินควรบันทึกชนิดพรรณไม้ที่อยู่โดยรอบด้วย แล้วจึงบันทึกลักษณะการ เติบโต (growth habit) ของเห็ด เช่น เป็นดอกเดี่ยว กระจายอยู่ห่างๆ กัน หรืออยู่เป็นกลุ่มใกล้ๆ กัน หรือเกิดรวมกันแน่นเป็นกระจุก หรือเกิดเรียงใกล้ๆ กันเป็นขอบวงกลมที่เรียกว่า “วงแหวนนางฟ้า (fairy ring)” ควรบันทึกลักษณะส�ำคัญของดอกเห็ดในขณะที่พบซึ่งอาจหลุดหายไปหรือไม่เห็นเมื่อ ดอกเห็ดเหี่ยว เช่น สะเก็ดบนหมวก วงแหวนหรือรอยคราบบนก้านดอก การเปลี่ยนสีของหมวกและ เนื้อหมวก หยดของเหลวที่ไหลออกมาจากดอกเห็ดเมื่อเกิดแผล หรือลักษณะที่คาดว่าจะมีประโยชน์ ต่อการจ�ำแนกและระบุชื่อเห็ดในภายหลัง จากนั้นให้ถ่ายภาพเห็ด โดยพยายามให้เห็นสิ่งที่เห็ดขึ้น อยู่ ลักษณะการเติบโต รูปร่างและส่วนประกอบต่างๆ ของดอกเห็ดอย่างชัดเจน อาจน�ำไม้บรรทัด มาวางและถ่ายภาพไปพร้อมกับเห็ด เพื่อใช้เปรียบเทียบขนาดด้วยก็ได้ เมื่อเก็บเห็ดออกจากสิ่งที่ เห็ดขึ้นอยู่ให้ห่อเห็ดด้วยกระดาษไข หรือใส่ลงในถุงกระดาษและพับปากถุงให้เรียบร้อย ไม่ควรใช้ ถุงพลาสติกแล้วรัดปากถุงด้วยยางวง เพราะถุงพลาสติกไม่มีรูระบายอากาศ จะเกิดไอน�้ำภายในถุง ท�ำให้เห็ดเน่าเสียง่าย การเก็บดอกเห็ดให้เก็บโดยแยกแต่ละชนิดออกจากกัน และเก็บให้มีทั้ง

42 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

39-54_dp2-1.indd 42 7/28/56 BE 5:19 PM ดอกอ่อนและดอกที่โตเต็มที่ ไม่ควรเก็บดอกที่ใกล้เน่าหรือมีแมลงกัดกิน และเขียนชื่อหรือ รหัสของเห็ดบนห่อกระดาษไขหรือถุงให้ตรงกันกับในสมุดบันทึกข้อมูล ส�าหรับการเก็บเห็ดมารับประทานนั้น ผู้เก็บต้องรู้จักเห็ดชนิดที่จะเก็บอย่างถ่องแท้ และ เก็บดอกเห็ดที่มีส่วนประกอบต่างๆ สมบูรณ์ เพื่อจะได้แน่ใจว่าเป็นชนิดที่ถูกต้อง และควรเก็บเฉพาะ ดอกที่สด ไม่มีร่องรอยการกัดกินของแมลง ควรเก็บเห็ดแต่ละชนิดแยกกันโดยห่อด้วยกระดาษไข หรือใส่ในถุงกระดาษ แต่ก่อนจะห่อด้วยกระดาษไขหรือใส่ถุง ควรแยกสิ่งสกปรก เช่น เศษดิน และ เศษซากพืชออกให้หมด ด้วยการใช้มีดขนาดเล็กเฉือน แล้วจึงน�าไปใส่ลงในตะกร้า เมื่อกลับถึงบ้าน ควรวางตะกร้าใส่เห็ดในที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี อยู่ในที่ร่มซึ่งเย็นและแห้ง หรือเก็บไว้ในตู้เย็นจนถึงเวลา ที่จะปรุงอาหาร ซึ่งควรจะน�าไปปรุงอาหารโดยเร็ว การท�าความสะอาดดอกเห็ดควรผ่าดอกเห็ดตาม ยาว เพื่อตรวจว่าภายในเน่าหรือมีตัวหนอนอยู่หรือไม่ แล้วจึงล้างด้วยน�้า ถ้าเกิดความสงสัยแม้แต่เพียงเล็กน้อยว่า เห็ดที่เก็บมาจะรับประทานได้หรือไม่ ควรทิ้ง ไปทันที อย่าเสี่ยงรับประทานเป็นอันขาด เพราะอาจเป็นเห็ดพิษที่มีอันตรายถึงชีวิต ถ้ารับประทาน เห็ดพิษเข้าไป ควรล้วงคอให้อาเจียน แล้วไปพบแพทย์โดยด่วน พร้อมทั้งน�าภาพถ่ายเห็ด หรือชิ้น ส่วนเห็ดที่รับประทานเข้าไปซึ่งอาจเหลืออยู่ในถังขยะไปให้แพทย์ดูด้วย

ขั้นตอนของการศึกษาเพื่อระบุชนิดหรือชื่อเห็ด เมื่อเก็บเห็ดมาแล้ว ถ้าต้องการแยกเส้นใยเห็ดออกมาเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ เพื่อเก็บ รักษาไว้เป็นเชื้อบริสุทธิ์ ให้กระท�าทันทีเมื่อกลับถึงห้องปฏิบัติการ แต่ควรทราบว่ามีเห็ดหลายชนิด ที่ไม่สามารถเติบโตได้บนอาหารเลี้ยงเชื้อ อาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ Potato Dextrose Agar (PDA), Malt-Extract Agar (MA) และ Modified Melin-Norkans medium (MMN) ในการแยก ให้ได้เชื้อบริสุทธิ์นั้น เห็ดหนึ่งชนิดควรแยกเนื้อเยื่อเห็ดออกมาใส่ในหลอดอาหารไม่ต�่ากว่า 20 หลอด จากนั้นต้องตรวจให้แน่ใจว่าได้เชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดชนิดนั้นจริงๆ โดยในเบื้องต้นเส้นใยที่เติบโตออก มาจากเนื้อเยื่อเห็ด จะต้องมีลักษณะที่เหมือนกันทุกหลอดหรือเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ เส้นใยควร จะเติบโตช้าและไม่สร้างสปอร์แบบกระจายเป็นผง การระบุชนิดหรือชื่อเห็ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเห็ดครีบ (agarics) สิ่งส�าคัญที่ต้อง รีบท�าในขณะที่ดอกเห็ดยังสดอยู่ คือ การท�ารอยพิมพ์สปอร์ และการอธิบายลักษณะภายนอกของ ดอกเห็ดที่มองเห็นด้วยตาเปล่า (macroscopic feature)

การทํารอยพิมพ์สปอร์ () เนื่องจากสปอร์ของเห็ดมีขนาดเล็กมาก ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีก�าลังขยายสูงตรวจ ดูจึงจะมองเห็น การบอกสีสปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ท�าได้ยากมาก แต่จะเป็นไปได้โดยง่ายถ้ามี สปอร์จ�านวนมากมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยการท�ารอยพิมพ์สปอร์ (spore print) ด้วยการน�าดอก เห็ดที่โตเต็มที่และยังสดอยู่ มาตัดแยกส่วนหมวกออกจากก้านด้วยใบมีดที่คม คว�่าหมวกเห็ดทั้งอัน หรือบางส่วนของหมวกเห็ดลงบนกึ่งกลางของแผ่นกระดาษที่ข้างหนึ่งเป็นสีด�าและอีกข้างหนึ่งเป็น

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 4 3

39-54_dp2-1.indd 43 7/28/56 BE 5:19 PM สีขาว จากนั้นน�ำฝาจานแก้วหรือถ้วยแก้วมาครอบหมวกเห็ด ตามปกติจะทิ้งไว้ข้ามคืนเพื่อให้สปอร์ที่ อยู่บนผิวครีบตกลงบนแผ่นกระดาษ เมื่อครบก�ำหนดเวลา เปิดภาชนะที่ครอบและหยิบหมวกเห็ดออก จะเห็นสปอร์ตกอยู่บนกระดาษตามรอยครีบ (กลุ่มเห็ดครีบ) หรือเป็นจุดเล็กๆ (กลุ่มเห็ดตับเต่า) สีสปอร์ที่อ่อน เช่น สีขาว สีครีม สีเหลืองอ่อน สามารถมองเห็นอย่างชัดเจนบนกระดาษสีด�ำ ส่วน สีสปอร์ที่เข้ม เช่น สีด�ำ สีเทา สีน�้ำตาล สามารถมองเห็นอย่างชัดเจนบนกระดาษสีขาว รอยพิมพ์ สปอร์ยิ่งหนา สีสปอร์ยิ่งชัดเจน และช่วยให้เห็นความถี่ ห่าง ในการเรียงตัวของครีบด้วย ส�ำหรับ การบอกสีสปอร์ของเห็ดนั้น ให้ใช้สีรอยพิมพ์สปอร์ที่ตกอยู่บนกระดาษสีขาวและภายใต้แสงจาก ธรรมชาติ สีของรอยพิมพ์สปอร์ในกลุ่มเห็ดครีบ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มสี ดังนี้ กลุ่มสีขาว ได้แก่ ขาว ครีม เหลืองอ่อน จนถึงสีเหลือง และเขียวอ่อน กลุ่มสีชมพู ได้แก่ สีชมพูอ่อนจนถึงชมพูแก่ และ น�้ำตาลอมชมพู กลุ่มสีน�้ำตาล ได้แก่ สีน�้ำตาลปนเหลืองจนถึงสีน�้ำตาล และสีน�้ำตาลปนแดงหรือ สีสนิมเหล็ก กลุ่มสีน�้ำตาลปนม่วงจนถึงสีน�้ำตาลปนสีชอคโกแลต และกลุ่มสีเทาปนด�ำจนถึงสีด�ำ ส่วนสีสปอร์ของกลุ่มเห็ดตับเต่า ให้บันทึกสีตามที่ปรากฏบนกระดาษสีขาวเช่นเดียวกัน (ภาพที ่ 16)

ภาพที่ 16 ขั้นตอนการท�ำรอยพิมพ์สปอร์

ลักษณะภายนอกของดอกเห็ดที่มองเห็นด้วยตาเปล่าซึ่งต้องอธิบาย 1. ขนาดของดอกเห็ด (Size of mushroom) ขนาดของดอกเห็ดแปรผันไปตามอายุของดอก ปริมาณความชื้น และพันธุกรรม แต่ การวัดขนาดของดอกเห็ดยังคงมีความส�ำคัญ เพื่อใช้เปรียบเทียบว่ามีขนาดอยู่ในช่วงที่เคยมีผู้วัดเอา ไว้หรือไม่ หน่วยที่ใช้วัดควรเป็นมิลลิเมตรและเซนติเมตร ให้วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหมวก และก้าน ถ้าหมวกไม่กลม ต้องวัดเส้นผ่าศูนย์กลางหมวกมากกว่า 1 ครั้ง และอาจต้องวัดความสูง ของหมวกด้วย ถ้าก้านไม่เป็นรูปทรงกระบอกก็ต้องวัดทั้งโคนและปลายก้าน วัดความยาวของก้าน ความกว้างและความยาวของครีบ และความหนาของเนื้อหมวก โดยวัดดอกเห็ดที่โตเต็มที่แล้ว

44 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

39-54_dp2-1.indd 44 7/28/56 BE 5:19 PM 2. สีของเห็ด (Color of mushroom) สีของดอกเห็ดมีมากมายหลายสี และมีเฉดสีอ่อน-แก่ แตกต่างกัน การเรียกชื่อหรือ อธิบายสีของดอกเห็ดมักไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคล ดังนั้นจึงควรอ้างอิงกับแผ่นสีที่เป็นมาตรฐาน (standardized color charts) สีของหมวกเห็ดและครีบเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุและสภาพแวดล้อม เช่น ชื้นหรือแห้ง จึงควรบันทึกสีของดอกสด ทั้งที่เป็นดอกอ่อนและดอกแก่ และสีของหมวกที่ไม่ สม�่าเสมอกันจากตรงกลางหมวกถึงขอบหมวกด้วย บันทึกสีของก้าน และสีของส่วนใดส่วนหนึ่งของ ดอกที่เปลี่ยนไปเมื่อช�้าหรือเป็นรอยขีด และควรบันทึกชนิดของแสงที่ใช้ในขณะที่ระบุสีด้วย เช่น แสง จากธรรมชาติ แสงจากดวงไฟ เป็นต้น 3. น�้ายาง (Latex) เมื่อดอกเห็ดเกิดรอยแผลหรือฉีกขาด อาจมีของเหลวหรือน�้ายางที่ไม่มีสี สีขาว สีส้ม หรือสีอื่นๆ ไหลออกมา ควรจดบันทึกไว้ รวมทั้งของเหลวหรือน�้ายางนี้มีการเปลี่ยนสีหรือไม่ เมื่อทิ้งไว้นานขึ้นด้วย 4. เนื้อของเห็ดและสี (Flesh and color) เนื้อของเห็ดอาจมีลักษณะนุ่มนิ่ม ฉ�่าน�้า คล้ายฟองน�้า เปราะ เหนียว คล้ายแผ่นหนัง คล้ายจุกคอร์ก (corky) หรือแข็งเหมือนเนื้อไม้ (woody) หรือเห็ดบางชนิดมีเนื้อของดอกหดตัวเมื่อ แห้งและสามารถคืนรูปร่างเหมือนเดิมอีกครั้งเมื่อน�าไปแช่น�้าให้เปียกชื้น เนื้อของหมวกและก้าน อาจหนา หรือบาง และเปลี่ยนสีในทันทีเมื่อถูกผ่าออกมาสัมผัสกับอากาศ อาจชิมรสและดมกลิ่นด้วย การชิมนั้นเพียงแค่น�าเนื้อเห็ดชิ้นเล็กๆ แตะที่ปลายลิ้นและถ่มทิ้งโดยเร็ว ห้ามกลืนเด็ดขาด 5. รูปร่างหมวกและผิวหมวก (Cap shape and surface) หมวกเห็ดอาจมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน เช่น รูปทรงกระบอก รูปลูกสนเขา (cone) รูประฆัง รูปฆ้องโมง รูปกระทะคว�่า รูปจานแบน รูปจานก้นตื้น รูปจานตรงกลางบุม รูปจาน ก้นลึก และรูปกรวย ตัวอย่างรูปร่างหมวกเห็ดแสดงไว้ในภาพที่ 17 ขอบหมวกอาจตรงหรือเสมอกับ ส่วนกลางหมวก หรือกระดกขึ้นเล็กน้อย หรือม้วนงอ และผิวของขอบหมวกอาจเรียบ หรือมีรอยขีด สั้นๆ ที่เรียงตัวขนานกับเส้นรัศมีบนขอบหมวก เรียกว่า striate ผิวหมวกเมื่อชื้นอาจเหนียวหรือ เป็นเมือก และเมื่อแห้งมีลักษณะเกลี้ยง แต่พอจะบอกได้ว่าผิวหมวกเคยเหนียวโดยดูจากมีเศษซากพืช ชิ้นเล็กๆ ติดอยู่ หรือใช้ปลายนิ้วที่ชื้นแตะเบาๆ ขึ้นๆ ลงๆ ที่ผิวหมวกก็จะรู้สึกได้ถึงความเหนียว หมวกเห็ดบางชนิดมีลักษณะแห้งและด้าน หรือไม่มีความมัน ผิวอาจเรียบ มีสะเก็ด มีปุ่มขนาดเล็ก หรือนูนใหญ่กระจัดกระจาย หรือมีการเรียงตัวของเส้นใยอย่างชัดเจน

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 4 5

39-54_dp2-1.indd 45 7/28/56 BE 5:19 PM ภาพที่ 17 รูปร่างของหมวกเห็ด

6. ครีบ (Gill or ) ครีบมีต�ำแหน่งอยู่ใต้หมวก มีรูปร่างเป็นแผ่นบางคล้ายใบมีด โดยเรียงตัวแบบเอา ส่วนที่เปรียบคล้ายกับสันมีดไว้ด้านบนติดกับเนื้อหมวก และแผ่ออกมาจากรอบๆ ก้านคล้ายเส้นรัศมี การติดของครีบกับก้านมีความส�ำคัญต่อการระบุชนิดโดยมีทั้งหมด 6 แบบ ดังแสดงใน ภาพที่ 18 ครีบที่มีความยาวจากก้านมาจนถึงขอบหมวกคือ ครีบปกต ิ เรียกว่า lamella ในเห็ดบางชนิดมีครีบสั้น อยู่ระหว่างครีบปกติด้วย โดยอยู่ติดขอบหมวกและยาวไม่ถึงก้าน เรียกว่า ลูกครีบ (lamellulae) ลูกครีบอาจมีเส้นเดียวหรือมี 2-3 เส้นอยู่ระหว่างครีบปกติก็ได้ แต่ลูกครีบไม่ค่อยมีความส�ำคัญต่อ การจ�ำแนกชนิดนัก

ภาพที่ 18 การติดของครีบกับก้าน

46 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

39-54_dp2-1.indd 46 7/28/56 BE 5:19 PM 7. ก้าน ( or stalk) ก้านดอกเห็ดคือส่วนที่ชูหมวกเห็ดให้พ้นดินขึ้นมาเปรียบเหมือนกับล�าต้นของพืช ท�าให้เห็ดสามารถปล่อยสปอร์ออกไปในอากาศได้ เห็ดที่มีรูปร่างคล้ายพัดหรือคล้ายชั้นวางของ ที่ พบขึ้นอยู่บนท่อนไม้มักไม่มีก้านหรือก้านสั้น รูปร่างของก้านเห็ดมีแตกต่างกัน ดังภาพที่ 19 การติด ของก้านกับหมวกเห็ดมีหลายแบบ ดังภาพที่ 20 ส่วนการวัดขนาดก้าน สีผิวและการเปลี่ยนสีของ เนื้อก้านได้กล่าวถึงไปแล้ว ก้านอาจมีเนื้อแน่น แข็ง หรือโค้งงอได้คล้ายเส้นเอ็น หรืออาจจะกลวง ตรงกลางก็ได้ ผิวก้านอาจเห็นการเรียงตัวขนานกันของเส้นใยไปตามความยาวของก้าน หรือเรียบ หรือมีสะเก็ด หรือเป็นร่อง หรือมีเส้นใยสานกันคล้ายตาข่าย บนก้านอาจมีวงแหวน หรือ annulus ติดอยู่ และที่โคนก้านอาจมีถ้วย หรือ volva ห่อหุ้ม

ภาพที่ 19 รูปร่างของก้านเห็ด

ภาพที่ 20 ต�าแหน่งการติดของก้านกับหมวกเห็ด

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 4 7

39-54_dp2-1.indd 47 7/28/56 BE 5:19 PM 8. เยื่อหรือเปลือกบางๆ ที่หุ้มดอกเห็ด (Veil) เยื่อหรือเปลือกบางๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการพัฒนาของดอกเห็ดมี 2 แบบ คือ (1) หรือ inner veil เป็นเยื่อที่ออกจากขอบหมวกไปเชื่อมกับก้านดอก เพื่อปกปิด ครีบหรือรูอันเป็นที่เกิดของสปอร์ในขณะที่ดอกเห็ดยังอ่อนอยู่ เมื่อดอกเห็ดค่อยๆ โตขึ้น หมวกจะ กางออก ดึง partial veil จนขาด ชิ้นส่วนของ partial veil ที่ขาดและติดอยู่กับก้าน จะเปลี่ยนเป็น วงแหวนหรือ annulus ซึ่งอาจจะเป็นแผ่นบางและแคบห้อยอยู่รอบก้านเห็นชัดเจน หรือเกาะติด แนบไปกับผิวก้านเห็นเป็นวงหรือคราบโดยรอบก้านก็ได้ (2) หรือ outer veil เป็น เปลือกบางๆ ที่หุ้มดอกเห็ดอ่อนทั้งดอกไว้ภายใน มีรูปร่างคล้ายไข่ เรียกว่า button stage เมื่อ ดอกเห็ดค่อยๆ โตขึ้น ส่วนก้านจะขยายใหญ่และยืดตัวยาวขึ้น ท�ำให้เปลือกบางๆ ที่หุ้มอยู่รอบ ดอกอ่อนขาดออกจากกัน universal veil ส่วนบนอาจติดไปกับหมวก เกิดเป็นตุ่มหรือแผ่นติด บนหมวกที่หลุดลอกออกง่าย และ universal veil ส่วนล่างเปลี่ยนไปเป็นถ้วยหุ้มโคนก้าน (volva) ทั้ง partial veil และ universal veil อาจสังเกตเห็นยากในระหว่างที่ดอกเห็ดมีการพัฒนาเติบโต 9. วงแหวน (Annulus or ring) วงแหวนเกิดมาจาก partial veil ดังได้กล่าวมาแล้ว ควรอธิบายสีและลักษณะของ วงแหวนว่า เป็นแผ่นบางและผิวเรียบ ติดอยู่รอบก้านคล้ายสวมกระโปรงสั้นๆ (skirtlike annulus) หรือเป็นเส้นใยที่สานกันบางๆ คล้ายใยแมงมุม ติดเป็นคราบอยู่รอบก้าน เรียกว่า cortina และระบุ ต�ำแหน่งการติดของวงแหวนบนก้านด้วยว่า อยู่ใกล้ส่วนปลาย (superior or apical) หรืออยู่ตรงกลาง (median) หรืออยู่ใกล้โคนก้าน (inferior or basal) 10. ถ้วยหุ้มโคนก้าน (Volva) เห็ดบางชนิดมีถ้วยหุ้มโคนก้าน ที่เกิดมาจากการแตกหรือแยกออกจากกันของ universal veil มีชื่อเรียกว่า volva ถ้าเป็นลักษณะของถุงที่เรียกว่า saccate volva เฉพาะก้นถุง เท่านั้นที่ติดกับส่วนของโคนก้านดอก ปากถุงและด้านข้างของถุงไม่สัมผัสกับก้านเลย volva บางแบบ มีส่วนล่างของ volva ติดแนบอยู่กับโคนก้านมาช่วงหนึ่งแล้วจึงบานออกใกล้ๆ กับขอบถ้วยที่ เว้าเป็นกลีบ หรือ volva อาจมีลักษณะนูนเป็นขอบขรุขระ และซ้อนกันหลายชั้นอยู่ที่โคนก้านซึ่งโป่ง พอง volva ที่เป็นแบบถุงจะหลุดออกจากโคนก้านได้ง่ายมาก ดังนั้นการเก็บเห็ดจึงควรเก็บอย่าง ระมัดระวัง ค่อยๆ ขุดให้ถึงโคนก้านซึ่งฝังอยู่ในดิน เพราะถ้าดึงหรือตัดก้าน อาจไม่ได้ volva ซึ่งเป็น ลักษณะส�ำคัญในการจ�ำแนกชนิดเห็ด

เมื่อทราบสีสปอร์ของเห็ด และศึกษาลักษณะที่มองเห็นด้วยตาเปล่าของดอกเห็ดเรียบร้อยแล้ว ให้น�ำดอกเห็ดไปอบในตู้อบที่ระบายความชื้นได้ และควรตั้งอุณหภูมิตู้อบที่ประมาณ 50 องศาเซลเซียส อบจนแห้งดี แล้วน�ำออกมาเก็บในกล่องพลาสติกที่ปิดฝาได้อย่างสนิท โดยให้ใช้เทปใสคาดทับฝา กล่องกับก้นกล่องอีกทีหนึ่ง เพื่อเก็บไว้รอการระบุชื่อเห็ดและเป็นหลักฐานต่อไป การระบุชื่อเห็ด ต้องน�ำลักษณะต่างๆ ที่บันทึกในขณะที่เก็บเห็ด สีสปอร์ของเห็ด และลักษณะที่มองเห็นด้วย ตาเปล่าทั้งหมดมาประกอบกัน ในเบื้องต้นควรฝึกใช้ KEY เพื่อจ�ำแนกเห็ด agarics ในระดับวงศ์ก่อน

48 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

39-54_dp2-1.indd 48 7/28/56 BE 5:19 PM จากนั้นจึงจ�าแนกต่อไปในระดับสกุล เช่น KEY ในหนังสือ Demystified ของ David Arora ปี ค.ศ.1986 หรือใช้ KEY จ�าแนกเห็ดในระดับสกุลที่ใช้ลักษณะที่มองเห็นด้วยตาเปล่า ในหนังสือ How to Identify Mushroom to ของ David L. Largent ปี ค.ศ. 1977 ซึ่งเป็น หนังสือที่เหมาะสมส�าหรับผู้เริ่มต้นศึกษา KEY ในหนังสือ 2 เล่มที่กล่าวมา เป็นเพียงแนวทางให้ผู้ใช้ได้เห็นถึงประโยชน์ของการศึกษา ลักษณะและรูปร่างภายนอกของดอกเห็ด อาจไม่สามารถระบุชื่อเห็ดในระดับสกุลได้ทั้งหมด เพราะ การระบุชื่อเห็ดในระดับสกุล รวมไปถึงระดับชนิด จ�าเป็นต้องใช้ลักษณะภายใต้กล้องจุลทรรศน์ อีกหลายลักษณะมาประกอบด้วย เช่น รูปร่างและขนาดของสปอร์ เบสิเดียม เซลล์ที่เป็นหมัน ซึ่งเรียงตัวอยู่ที่ผิวครีบ (cystidium) การเรียงตัวของเส้นใยที่ประกอบกันเป็นเนื้อครีบ และการท�า ปฏิกริยาของสปอร์กับสารละลายเมลเซอร์ (Melzer’s reagent) เป็นต้น ลักษณะภายใต้ กล้องจุลทรรศน์มีรายละเอียดและวิธีการในการศึกษาอีกมาก ไม่สามารถกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ได้ อย่างไรก็ตามลักษณะต่างๆ ที่บันทึกในขณะที่เก็บเห็ด สีสปอร์ของเห็ด และลักษณะที่มองเห็นด้วย ตาเปล่า สามารถน�ามาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายเห็ด และค�าบรรยายลักษณะส�าคัญของเห็ดที่อยู่ใน หนังสือ เพื่อให้ทราบชนิดได้ในระดับหนึ่ง

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 4 9

39-54_dp2-1.indd 49 7/28/56 BE 5:19 PM บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

39-54_dp2-1.indd 50 7/28/56 BE 5:19 PM º··Õè 6 ¢Ñ鹵͹¡ÒüÅÔµàª×éÍàËç´

การเตรียมเชื้อบริสุทธิ์ เชื้อเห็ดที่จะใช้เป็นเชื้อเพาะ จะต้องคงความบริสุทธิ์ในทุกขั้นตอนและไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ อื่นๆ เข้ามาปะปนโดยตลอดกระบวนการผลิต (strictly aseptic condition) เชื้อเห็ด คือ เส้นใยเห็ด บริสุทธิ์ที่ได้มาจากเนื้อเยื่อดอกเห็ด หรือจากสปอร์เห็ดที่งอกในอาหารที่เหมาะสม เช่น อาหารวุ้น พีดีเอ (PDA: Potato Dextrose Agar) ที่ได้ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแบบสะเตอริไลเซชั่น (sterilization) จากนั้นตัดย้ายเส้นใยเห็ดบริสุทธิ์ลงหลอดแก้วหรือขวดแก้วที่มีอาหารวุ้นที่เหมาะสมแล้วเก็บเลี้ยงไว้ เรียกว่า เชื้อเห็ดบริสุทธิ์ (pure mushroom culture) ซึ่งนิยมเรียกว่า แม่เชื้อบริสุทธิ์ (mother culture) ใช้เป็นเชื้อขยาย (mother spawn) และเชื้อเพาะ (cultivation spawn) ต่อไป

การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ อาหารเลี้ยงเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ที่นิยมใช้กันมี 2 สูตร มีส่วนประกอบและวิธีการเตรียมดังต่อไปนี้ 1. Potato Dextrose Agar (PDA) medium สูตรอาหาร มันฝรั่ง 200 กรัม น�้าตาล (dextrose, glucose) 20 กรัม วุ้นผง 20 กรัม น�้าสะอาด 1 ลิตร

ปอกเปลือกและหั่นมันฝรั่งให้เป็นชิ้นขนาดลูกเตา (1 ลูกบาศก์เซนติเมตร) ต้มกับน�้า สะอาดปริมาตร 700 ซีซี ประมาณ 15 - 20 นาที จนมันฝรั่งสุก ไม่ควรให้น�้าเดือดพล่าน เพราะ จะท�าให้มันฝรั่งเปือยยุ่ยและอาหารที่เตรียมไว้ขุ่น จากนั้นกรองด้วยผ้าขาวบาง น�าน�้ามันฝรั่ง ที่กรองได้มาเติมน�้าสะอาดให้ครบ 1 ลิตร ใส่วุ้นผง คนให้เข้ากัน แล้วน�าไปต้มด้วยไฟอ่อนๆ และคน ตลอดเวลาจนวุ้นละลาย จากนั้นเติมน�้าตาลและคนต่อจนทุกอย่างละลายเข้ากันดี น�าไปบรรจุใส่หลอด หรือขวด โดยไม่ให้อาหารเปื้อนปากหลอดหรือปากขวด จากนั้นอุดปากขวดด้วยจุกส�าลี แล้วหุ้มจุกส�าลี ด้วยกระดาษและรัดด้วยยางวง น�าไปนึ่งในหม้อนึ่งความดันไอน�้า ที่ 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15-20 นาที ปิดไฟ เมื่อความดันลดลงถึงศูนย์จึงเปิดฝาหม้อ แล้วน�าหลอดหรือขวดที่มีอาหารอยู่มาวางในลักษณะเอียง เพื่อให้ผิวหน้าของอาหารเมื่อแข็งตัว มีความลาดเทในระดับเศษสามส่วนสี่ของหลอดหรือขวด

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 5 1

39-54_dp2-1.indd 51 7/28/56 BE 5:19 PM 2. Complete medium สูตรอาหาร

MgSO4 .7H2O 0.50 กรัม

KH2PO4 0.40 กรัม

K2HPO4 1.00 กรัม Peptone 2.00 กรัม Dextrose 20.00 กรัม Thiamine-HCl 0.50 มิลลิกรัม วุ้น (Agar Sigma Type IV) 20.00 กรัม น�้ำกลั่น 1 ลิตร

น�ำ Peptone ละลายในน�้ำกลั่น 700 ซีซี แล้วตั้งไฟอ่อนๆ เติม MgSO4.7H2O, KH2PO4,

K2HPO4 และ Thiamine-HCl คนให้เข้ากัน เติมน�้ำกลั่นที่เหลือ เติมวุ้น ต้มไฟอ่อนๆ จนวุ้นละลาย แล้วเติมน�้ำตาล คนต่อจนละลายเข้ากัน น�ำไปบรรจุใส่หลอดหรือขวด โดยไม่ให้อาหารเปื้อนปาก หลอดหรือปากขวด อุดปากขวดด้วยจุกส�ำลี แล้วหุ้มจุกส�ำลีด้วยกระดาษและรัดด้วยยางวง น�ำไป นึ่งในหม้อนึ่งความดันไอน�้ำที่ 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15-20 นาที จากนั้นจึงด�ำเนินการเช่นเดียวกับการเตรียมอาหาร พีดีเอ

การแยกเชื้อบริสุทธิ์ 1. วิธีการแยกจากเนื้อเยื่อของดอกเห็ด การเตรียมแม่เชื้อบริสุทธิ์ เริ่มจากคัดเลือกดอกเห็ดที่เจริญเต็มที่แต่ยังไม่ปล่อยสปอร์ เนื้อดอกแน่น ดอกเห็ดไม่เปียกน�้ำ ไม่ปนเปื้อนด้วยศัตรูเห็ดและสัตว์พาหะ ใช้มีดสะอาดที่ฆ่าเชื้อแล้ว ผ่าดอกเห็ด ตัดเนื้อเยื่อส่วนที่สัมผัสอากาศน้อยที่สุด เป็นชิ้นขนาด 0.3-0.5 ลูกบาศก์เซนติเมตร วางลงบนพีดีเอที่อยู่ในขวดแก้วหรือจานเลี้ยงเชื้อ ด�ำเนินการโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ หลังจากนั้น แยกเส้นใยบริสุทธิ์จากเส้นใยที่เจริญออกจากเนื้อเยื่อ ย้ายลงพีดีเอจนได้เชื้อบริสุทธิ์ แล้วเก็บรักษาไว้ เป็นแม่เชื้อบริสุทธิ์ 2. วิธีการแยกจากสปอร์ของดอกเห็ด คัดดอกเห็ดที่โตเต็มที่และยังสดอยู่ ตัดส่วนหมวกออกจากก้าน แล้วคว�ำ่ ลงบนกึ่งกลาง ของจานแก้วสะอาดที่ฆ่าเชื้อแล้ว และครอบปิดด้วยฝาจานแก้วที่ฆ่าเชื้อแล้ว ปล่อยให้สปอร์ตกจน มองเห็นรอยพิมพ์สปอร์ จึงย้ายดอกเห็ดออกจากจานแก้ว ใช้เข็มเขี่ยปลายห่วงที่ลนไฟฆ่าเชื้อแล้ว แตะสปอร์ จุ่มลงในนำ�้ กลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วและบรรจุอยู่ในหลอดแก้ว เพื่อท�ำให้สปอร์เจือจาง ใช้เข็ม เขี่ยปลายห่วงที่ลนไฟฆ่าเชื้อแล้วจุ่มน�้ำสปอร์ น�ำไปแตะบนอาหารวุ้นในจานแก้ว แล้วลากเข็มไปมา จนสปอร์กระจายตัวห่างกัน เมื่อสปอร์งอก ตัดเส้นใยย้ายลงอาหารพีดีเอ จนได้เชื้อบริสุทธิ์ แล้วเก็บ รักษาไว้เป็นแม่เชื้อบริสุทธิ์

52 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

39-54_dp2-1.indd 52 7/28/56 BE 5:19 PM การเตรียมวัสดุทําเชื้อเห็ด 1. เมล็ดธัญพืช การเตรียมเมล็ดธัญพืชเพื่อเตรียมเป็นแม่เชื้อขยายหรือเชื้อเพาะ เมล็ดธัญพืช ที่นิยมน�ามาใช้คือ เมล็ดข้าวฟ่างซึ่งหาซื้อได้ง่าย วิธีการมีดังนี้ ล้างท�าความสะอาดเมล็ดข้าวฟ่างแล้ว แช่น�้าไว้ 1 คืน จากนั้นต้มเมล็ดข้าวฟ่างให้สุก ไม่บาน หรือปริแตก แล้วแผ่บนตะแกรง ผึ่งลมจนแห้ง พอสมควร จึงบรรจุขวดปิดด้วยจุกส�าลี หุ้มจุกส�าลีด้วยกระดาษที่สะอาด รัดด้วยยางวง จากนั้น น�าขวดเมล็ดข้าวฟ่างไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันไอน�้า 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที เมื่อเมล็ดข้าวฟ่างเย็นลง น�าไปเก็บไว้ในห้องหรือตู้เขี่ยเชื้อที่สะอาด 2. วัสดุหมัก การเตรียมวัสดุหมักเพื่อเตรียมเป็นแม่เชื้อขยายหรือเชื้อเพาะ มักนิยมใช้ส�าหรับท�า เชื้อเห็ดฟาง ซึ่งจะหมักจากวัสดุเหล่านี้คือ เปลือกถั่วเหลือง ขี้ฝ้าย ไส้นุ่น เปลือกถั่วเขียว มูลม้าแห้ง ขี้เลื่อยที่ใช้เพาะเห็ดมาแล้ว และร�า วัสดุหมักแล้วที่ดีต้องไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย ไม่เปียกแฉะและไม่เละ หลังเสร็จสิ้นการหมัก น�าวัสดุหมักบรรจุลงถุงพลาสติกทนร้อน สวมคอขวดพลาสติก ปิดด้วยจุกส�าลี หุ้มจุกส�าลีด้วยกระดาษที่สะอาด รัดด้วยยางวง จากนั้นน�าไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันไอน�้า 10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือหม้อนึ่งที่ไม่มีความดันไอน�้า อุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที เมื่อวัสดุหมักเย็นลงเก็บไว้ในห้องหรือตู้เขี่ยเชื้อที่สะอาด

การทําเชื้อเห็ดหรือการทําเชื้อเพาะ 1. เชื้อเพาะในเมล็ดธัญพืช การเตรียมเชื้อเพาะในเมล็ดธัญพืชท�าโดย ถ่ายแม่เชื้อขยายจากอาหารวุ้นลงบนเมล็ด ข้าวฟ่างด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ แล้วบ่มที่อุณหภูมิที่เหมาะสมกับเห็ดแต่ละชนิด เก็บไว้เป็นเชื้อขยาย หรือเชื้อเพาะในเมล็ดข้าวฟ่าง 2. เชื้อเพาะในวัสดุหมัก การเตรียมเชื้อเพาะในวัสดุหมักท�าโดย ถ่ายเส้นใยเห็ดฟางขั้นที่เรียกว่า แม่เชื้อขยาย จากอาหารวุ้นลงบนวัสดุหมักด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ แล้วบ่มที่อุณหภูมิห้อง เก็บไว้เป็นเชื้อขยายหรือ เชื้อเพาะในวัสดุหมัก

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 5 3

39-54_dp2-1.indd 53 7/28/56 BE 5:19 PM 54 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

39-54_dp2-1.indd 54 7/28/56 BE 5:19 PM º··Õè 7 ¢Ñ鹵͹¡ÒÃà¾ÒÐàÅÕé§àËç´·ÕèÊíÒ¤ÑÞ·Ò§ÍصÊÒË¡ÃÃÁ

การเพาะเลี้ยงเห็ดระบบถุง หมำยถึง กำรเพำะเลี้ยงเส้นใยเห็ดในวัสดุเพำะที่บรรจุอยู่ในถุงพลำสติก ขั้นตอนกำรผลิต ประกอบด้วย กำรท�ำเชื้อเห็ด กำรท�ำเชื้อขยำย กำรเตรียมวัสดุเพำะ ก้อนอำหำรเพำะ ก้อนเชื้อเห็ด กำรบ่ม และกำรเปิดก้อนเห็ดในโรงเรือนเปิดดอก กลุ่มเห็ดเศรษฐกิจ-อุตสำหกรรมที่นิยมเพำะใน ถุงพลำสติก ได้แก่ เห็ดสกุลนำงรม เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดยำนำงิ เห็ดขอนขำว และเห็ดบด เป็นต้น กำรเพำะเลี้ยงเห็ดระบบถุงที่เป็นข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ จะใช้กำรผลิตเห็ดลมและเห็ดขอนขำวซึ่งเป็น เห็ดเมืองร้อน และเห็ดหอมซึ่งเป็นเห็ดเมืองหนำว เป็นตัวแทนของกำรเพำะเลี้ยงเห็ดในระบบถุง

การเตรียมวัสดุเพาะและก้อนอาหารเพาะ การเพาะเห็ดลมและเห็ดขอนขาว วัสดุเพาะ: สูตรที่ 1 ขี้เลื่อยแห้ง (ไม้ยำงพำรำ ไม้มะขำม) 100 กิโลกรัม ร�ำละเอียด 3-5 กิโลกรัม ปูนขำวหรือแคลเซียมคำร์บอเนต (หรือยิปซั่ม) 0.5-1 กิโลกรัม (หรือเพิ่มน�้ำตำลทรำย 2-3 กิโลกรัม) ผสมน�้ำปรับให้มีควำมชื้นประมำณ 50-55 เปอร์เซ็นต์ วัสดุเพาะ: สูตรที่ 2 ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม ปูนขำว 1 กิโลกรัม น�ำวัสดุทั้ง 3 ชนิด มำผสมกัน หมักกับน�้ำประมำณ 2-3 เดือน กลับกองประมำณ 3-4 ครั้ง แล้วผสมด้วยร�ำละเอียด 3 กิโลกรัม (หรือเพิ่มน�้ำตำลทรำย 2 กิโลกรัม) ผสมน�้ำปรับให้มีควำมชื้นประมำณ 50-55 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมก้อนอาหารเพาะ 1. บรรจุวัสดุเพำะลงในถุงพลำสติกทนร้อน แล้วกดให้แน่น จนสูงประมำณ 2/3 ของถุง 2. รวบปำกถุงสวมคอพลำสติก พับปำกถุงลงมำ ดึงให้ตึงแล้วรัดยำงให้แน่น ปิดด้วยส�ำลีหุ้มทับด้วยกระดำษ หรือฝำครอบพลำสติก 3. น�ำไปนึ่งฆ่ำเชื้อที่อุณหภูมิ 90-100 องศำเซลเซียส อย่ำงสม�่ำเสมอ เป็นเวลำ ไม่น้อยกว่ำ 3 ชั่วโมง จำกนั้นปล่อยให้เย็น

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 5 5

55-74_dp2-1.indd 55 7/28/56 BE 5:27 PM การผลิตก้อนเชื้อเห็ดและการบ่มในโรงเรือนบ่ม น�ำถุงอาหารเพาะที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วมาใส่เชื้อเพาะที่เตรียมไว้ในเมล็ดข้าวฟ่าง โดยเขย่าให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก แล้วใส่ลงในถุงอาหารเพาะ ประมาณถุงละ 15-20 เมล็ด ควรปฏิบัติในพื้นที่ที่สะอาดไม่มีลมโกรก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์และแมลง น�ำไปวางใน โรงเรือนหรือสถานที่บ่มก้อนเชื้อเห็ดที่มีอุณหภูมิประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส เพื่อให้เส้นใยเจริญ เส้นใยเห็ดลมจะเจริญเต็มก้อนอาหารที่มีน�้ำหนัก 800 -1,000 กรัม ในเวลา 30-35 วัน ส่วนเส้นใยเห็ดขอนขาว ในเวลา 20-30 วัน จากนั้นเส้นใยจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีส้มจนถึง น�้ำตาลเข้ม และเข้มมากขึ้นจนเป็นสีด�ำบางส่วนเมื่อถูกอากาศและแสง แล้วจึงน�ำก้อนเชื้อเห็ดไป เปิดดอก ระยะเวลาการเจริญของเส้นใยจนเริ่มให้ดอกเห็ดขึ้นกับแต่ละสายพันธุ์ ตามปกติใช้เวลา ประมาณ 80-90 วัน

การเปิดก้อนเห็ดในโรงเรือนเปิดดอก โรงเรือนเปิดดอกเห็ดลมและเห็ดขอนขาว ควรมีแสงผ่านเข้าภายในโรงเรือนได้ ไม่น้อยกว่า 60-70 เปอร์เซ็นต์ มีช่องเปิด-ปิดส�ำหรับถ่ายเทอากาศ หรือใช้ตาข่ายพรางแสง มุงหลังคา และฝา ในฤดูฝนควรมุงหลังคาทับด้วยหญ้าคาหรือวัสดุกันน�้ำ การเปิดถุงก้อนเห็ดและการกระตุ้นให้เกิดดอก กระท�ำโดยเปิดจุกส�ำลีหรือ ตัดปากถุง น�ำไปวางในโรงเรือน ให้ความชื้นด้วยการให้น�้ำในโรงเรือนและบริเวณก้อนเห็ด ให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ปรับโรงเรือนให้มีสภาพร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 33-36 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-3 วัน ดอกเห็ดจะเริ่มเกิด จากนั้นปรับอุณหภูมิในโรงเรือน ให้ลดลง อากาศถ่ายเทได้ดี ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 เปอร์เซ็นต์ มีแสงสว่างปานกลางเพื่อให้ ดอกเห็ดเติบโตต่อไป หลังให้ผลผลิตแต่ละครั้งเส้นใยเห็ดลมจะพักตัวประมาณ 15-20 วัน ส่วน เห็ดขอนขาวจะทยอยให้ผลผลิต การเก็บดอกเห็ด ควรเก็บส่วนต่างๆ ของดอกให้หลุดออกจนหมด เพื่อป้องกันการ เน่าเสียจากเศษหรือส่วนของดอกเห็ดที่เหลือติดค้างอยู่ที่ก้อนเห็ด ขนาดของดอกเห็ดที่เก็บขึ้นอยู่ กับความต้องการของผู้เพาะ ดอกเห็ดอ่อนจะมีราคาสูงกว่าดอกเห็ดที่บานเต็มที่ และมีความเหนียว น้อยกว่าเห็ดบาน เห็ดขอนขาวควรเก็บดอกขณะที่หมวกเห็ดมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 3 เซนติเมตร ส�ำหรับเห็ดลม ควรเก็บเมื่อหมวกเห็ดมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 5 เซนติเมตร

56 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

55-74_dp2-1.indd 56 7/28/56 BE 5:27 PM การเพาะเห็ดหอม วัสดุเพาะ: สูตรที่ 1 ขี้เลื่อยแห้ง 100 กิโลกรัม ร�ำ 3-5 กิโลกรัม น�้ำตำลทรำย 2-3 กิโลกรัม ยิปซั่ม (แคลเซียมซัลเฟต) 0.5 กิโลกรัม เกลือ(แมกนีเซียมซัลเฟต) 0.2 กิโลกรัม น�้ำปรับควำมชื้น 55-65 เปอร์เซ็นต์ วัสดุเพาะ: สูตรที่ 2 ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม ปูนขำว 1 กิโลกรัม น�ำวัสดุทั้ง 3 ชนิด มำผสมกัน หมักกับน�้ำประมำณ 2-3 เดือน กลับกองประมำณ 3-4 ครั้ง แล้วผสมด้วยร�ำละเอียด 3 กิโลกรัม (หรือเพิ่มน�้ำตำลทรำย 2 กิโลกรัม) น�้ำปรับควำมชื้น 55-65 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมก้อนอาหารเพาะ น�ำส่วนผสมทั้งหมดมำผสมให้เข้ำกัน บรรจุใส่ถุงพลำสติกทนร้อน ปิดจุกส�ำลี แล้ว หุ้มจุกส�ำลีด้วยกระดำษหรือฝำครอบกันไอน�้ำ น�ำไปนึ่งฆ่ำเชื้อที่อุณหภูมิ 90-100 องศำเซลเซียส เป็นเวลำไม่ต�่ำกว่ำ 4 ชั่วโมง จำกนั้นปล่อยไว้ให้เย็น

การผลิตก้อนเชื้อเห็ดและการบ่มในโรงเรือนบ่ม น�ำถุงวัสดุไปใส่เชื้อเห็ดหอมที่เจริญอยู่ในเมล็ดธัญพืช ควรท�ำในบริเวณที่สะอำด มิดชิด เพื่อป้องกันกำรปนเปื้อนของจุลินทรีย์และแมลง เช่นเดียวกับวิธีกำรเพำะเห็ดสกุลอื่นๆ แล้วน�ำไปบ่มเส้นใย กำรบ่มเส้นใยเห็ดหอมที่ดี ควรไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิประมำณ 25 องศำเซลเซียส อย่ำงสม�่ำเสมอ อำกำศถ่ำยเทได้ เส้นใยเริ่มรวมตัวกันใช้เวลำประมำณ 3.5-4 เดือน ในปริมำณ อำหำร 800-1,000 กรัม แล้วจึงสร้ำงตุ่มดอก บำงสำยพันธุ์ผิวของก้อนเห็ดจะเปลี่ยนเป็นสีน�้ำตำล โดยเฉพำะส่วนที่ถูกแสง

การเปิดก้อนเห็ดในโรงเรือนเปิดดอก เปิดก้อนเห็ดโดยถอดจุกส�ำลีและคอขวดหรือตัดปำกถุงพลำสติก แล้ววำงก้อนเห็ด ในโรงเรือน กำรดูแลรักษำมีดังนี้

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 5 7

55-74_dp2-1.indd 57 7/28/56 BE 5:27 PM 1. รักษาความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนให้อยู่ที่ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ (ตั้งแต่เริ่มเปิดถุงจนเกิดตุ่มดอก) 2. เมื่อดอกเห็ดเจริญและปรากฎหมวกเห็ด ต้องรักษาความชื้นสัมพัทธ์ภายใน โรงเรือนให้อยู่ที่ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูงมากจะท�ำให้ก้านใหญ่ 3. อุณหภูมิที่แปรปรวนระหว่างให้ผลผลิตจะช่วยกระตุ้นการเกิดดอกเห็ด แต่ ไม่ควรให้มีช่วงอุณหภูมิสูงเกินกว่า 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานติดต่อกัน 4. ระหว่างที่ดอกเห็ดเจริญ ต้องมีการถ่ายเทอากาศที่ดี ถ้ามีการสะสม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในโรงเรือนมาก จะท�ำให้เห็ดมีก้านยาวและหมวกเล็ก 5. มีแสงพอสมควร

การกระตุ้นให้เกิดดอก สามารถใช้วิธีการกระตุ้นก้อนเห็ดด้วยน�้ำเย็นที่มีอุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส ก่อนการเปิดถุงให้ออกดอก และหลังจากการพักก้อนเห็ดในระหว่างเก็บดอกเห็ดแต่ละรุ่น ซึ่งท�ำได้ ดังนี้ วิธีที่ 1 แช่ก้อนเห็ดในน�้ำเย็นไม่ต�่ำกว่า 2 ชั่วโมง แล้วเปิดปากถุงหรือแกะพลาสติก ออกน�ำไปวางในโรงเรือนเปิดดอก วิธีที่ 2 เปิดปากถุง และให้น�้ำแก่ก้อนเห็ดที่วางในโรงเรือน ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง จึงเทน�้ำออก วิธีที่ 3 ตัดปากถุงและคว�่ำก้อนเห็ดบนฟองน�้ำเปียกเป็นเวลา 24-36 ชั่วโมง แล้วตั้งถุงขึ้น วิธีที่ 4 เปิดปากถุงแล้ววางก้อนเห็ดที่พื้น ให้น�้ำแบบเป็นฝอย เป็นเวลา 24-36 ชั่วโมง เทน�้ำที่ขังในถุงออก

การดูแลรักษาระหว่างให้ผลผลิต รักษาอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนตามความต้องการของเห็ด ในแต่ละขั้นตอน หลังจากเก็บดอกเห็ดในแต่ละรุ่น ก้อนเชื้อเห็ดจะพักตัวประมาณ 15-30 วัน ระหว่างนี้รักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่ให้เกิน 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ อย่าให้ก้อนเห็ดถูกน�้ำโดยตรง และมีการถ่ายเทอากาศดี เมื่อต้องการกระตุ้น ให้เกิดดอกจึงให้ความชื้นที่ก้อนเห็ดหรือใช้วิธีกระตุ้นด้วยน�้ำเย็น โดยไม่ให้มีน�้ำขังในถุง และระหว่าง เก็บผลผลิตควรฉีดพ่นภายในโรงเรือนด้วยสารละลายคลอรีน อัตรา 200 พีพีเอ็ม (0.02%) เป็นระยะๆ เพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์อื่นเข้าท�ำลาย

58 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

55-74_dp2-1.indd 58 7/28/56 BE 5:27 PM การเก็บผลผลิต ควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่หมวกยังไม่บำนเต็มที่ ถ้ำเก็บเพื่อท�ำแห้งควรเก็บ เมื่อหมวกบำนประมำณ 60 เปอร์เซ็นต์ หรือเมื่อเยื่อที่ยึดหมวกและก้ำนเริ่มขำดออก ตัดก้ำนให้ เหลือไม่เกิน 1 เซนติเมตร ถ้ำเก็บเพื่อบริโภคดอกสด ควรเก็บเมื่อหมวกบำน 70-80 เปอร์เซ็นต์ และไม่ปล่อยให้บำนเต็มที่ ไม่ควรให้ดอกเห็ดถูกน�้ำมำกเกินไปเพรำะจะท�ำให้เน่ำเสียง่ำย ก้ำนดอก ตัดให้เหลือประมำณไม่เกิน 0.5 นิ้ว ผลผลิตจะได้มำกหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยที่กล่ำวมำแล้ว ซึ่งขั้นตอนต่ำงๆ มี ควำมส�ำคัญมำกต่อกำรให้ผลผลิต กำรดูแลรักษำที่ถูกวิธีท�ำให้เก็บดอกเห็ดได้นำน กำรเพำะ เห็ดหอมในสภำพที่ไม่มีกำรควบคุมอุณหภูมิ ควรท�ำก้อนอำหำรขนำดเล็ก เพื่อให้เส้นใยเห็ด เจริญเต็มอำหำรเพำะได้ในเวลำอันสั้น และกำรปนเปื้อนจะน้อย

การเพาะเลี้ยงเห็ดระบบชั้น เห็ดเศรษฐกิจ-อุตสำหกรรมที่นิยมเพำะบนชั้นในโรงเรือนในประเทศไทย มักจะเป็นกำรเพำะ เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง ( bisporus) เห็ดฟำง (Volvariella volvacea) และเห็ดถั่ว หรือเห็ดโคนน้อย (Coprinus cinereus) กำรเพำะเลี้ยงในระบบนี้ประกอบด้วยหลำยขั้นตอน เช่น กำรเตรียมเชื้อเพำะ กำรเตรียมวัสดุหมัก กำรอบไอน�้ำ โรงเรือนหรือชั้นเพำะ กำรใส่เชื้อเห็ด กำรท�ำให้เกิดดอก และกำรเก็บดอกเห็ด เป็นต้น กำรเพำะเลี้ยงเห็ดระบบชั้นที่เป็นข้อมูลในหนังสือ เล่มนี้ จะใช้กำรผลิตเห็ดฟำงในโรงเรือนเป็นตัวอย่ำงและเป็นตัวแทน ซึ่งมีองค์ประกอบหลักและ ขั้นตอนในกำรเพำะเลี้ยง ดังต่อไปนี้

โรงเรือนหรือห้องเพาะ โรงเรือนหรือห้องเพำะจะมีรูปแบบและขนำดต่ำงกัน วัสดุที่ใช้มีหลำกหลำย ควรใช้วัสดุ ในท้องถิ่น โดยค�ำนึงถึงอำยุกำรใช้งำนและต้นทุนเป็นหลัก โรงเรือนแต่ละหลังควรมีขนำดไม่ต�่ำกว่ำ 4×6×3.5 (กว้ำง×ยำว×สูง) เมตร สำมำรถเก็บควำมร้อนได้สูงพอในขณะอบไอน�้ำวัสดุหมัก มีประตู หัวท้ำย และหน้ำต่ำงแบบเปิด-ปิด เพื่อระบำยอำกำศร้อนและอำกำศเสียในโรงเรือน มีแสงสว่ำงผ่ำน เข้ำได้และเพียงพอในช่วงจะเป็นดอกเห็ด พื้นในโรงเรือนอำจเป็นพื้นดิน ทรำยอัด หรือปูนซีเมนต์ ที่สะอำด ในโรงเรือนบุด้วยผ้ำพลำสติกทั้งหมด ผ้ำพลำสติกปิดติดผนังห้องด้วยกำวยำงหรือเย็บให้ ติดกันด้วยเครื่องรีดพลำสติก เพื่อเก็บไอน�้ำร้อนไว้ในขณะอบวัสดุหมัก และเก็บควำมชื้นขณะเพำะ ชั้นเพำะในโรงเรือนหรือห้องเพำะควรมี 2 แถวหรือมำกกว่ำนั้น ขึ้นกับขนำดของ โรงเรือนหรือห้องเพำะ แต่ละแถวมี 4 ชั้น แต่ละชั้นมีควำมกว้ำงประมำณ 0.8–1.25 เมตร ยำวประมำณ 5 เมตร และสูงห่ำงกันประมำณ 50 เซนติเมตร ชั้นเพำะแต่ละแถวห่ำงกัน 80 เซนติเมตร พื้นของชั้นปูด้วยไม้รวกหรือตะแกรงโลหะหรือตะแกรงพลำสติก

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 5 9

55-74_dp2-1.indd 59 7/28/56 BE 5:27 PM เครื่องก�ำเนิดไอน�้ำร้อน มีทั้งชนิดใช้ไฟฟ้าซึ่งราคาสูง ชนิดใช้แก๊สซึ่งเป็นหม้อน�้ำมีความปลอดภัยสูง ที่ กรมวิชาการเกษตรได้รับมอบมาจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ผลิตโดยสมาคม ผู้ผลิตหม้อน�้ำและภาชนะรับแรงดันไทย ซึ่งมาตรฐานและรูปแบบการใช้งานของหม้อน�้ำสร้างตาม ข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร ชนิดที่เป็นเตาก่อด้วยอิฐกับหม้อต้มน�้ำที่ประดิษฐ์ขึ้นจากแผ่นเหล็ก หรือจะใช้ถังน�้ำมัน 200 ลิตร จ�ำนวน 2–3 ใบ ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ท่อน�้ำต่อจากหม้อต้มน�้ำ ผ่านเข้าไปภายในห้องเพาะ วางไปตามแนวยาวที่พื้นใต้ชั้นเพาะของแต่ละแถว ท่อน�้ำส่วนนี้ มีการเจาะรูเล็กๆ ห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตรด้วย ไอน�้ำร้อนภายในโรงเรือนขณะอบวัสดุหมัก ควรควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 60–65 องศาเซลเซียส นาน 3–4 ชั่วโมง

สูตรและวิธีการหมักวัสดุเพาะ สูตรหมักวัสดุเพาะและวิธีการหมัก จะมีความสัมพันธ์กันทั้งระยะเวลาหมักและวิธี การหมัก การก�ำหนดสูตรวัสดุเพาะขึ้นกับชนิดวัสดุ สูตรวัสดุหมักที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟางเป็น การค้าในปัจจุบันนี้ เป็นสูตรที่ใช้กับฟางข้าว ขี้ฝ้าย เปลือกฝักถั่วเขียว ทะลายเปล่าปาล์มน�้ำมัน ในที่นี้จะเสนอทั้งสูตรและวิธีการหมักไปด้วยกัน สูตรที่ 1: ประกอบด้วย ฟางข้าว (ชานอ้อยหรือขี้เลื่อย): ขี้ฝ้าย: ร�ำข้าว: ปูนขาว ในอัตราส่วน 50: 45: 5-10: 5 โดยน�้ำหนัก (ตามล�ำดับ) วิธีการหมัก น�ำฟางข้าวที่สับให้สั้นขนาด 2 นิ้วและขี้ฝ้ายไปแช่น�้ำจนอิ่มตัว แล้วย้ายใส่ลง แบบพิมพ์ไม้ซึ่งมีขนาด 1.5×1.5×1 (กว้าง×ยาว×สูง) เมตร โดยใส่ฟางข้าวและขี้ฝ้ายสลับกัน เป็นชั้นๆ โรยตามด้วยร�ำข้าว ท�ำเป็นชั้นๆ อัดให้แน่นจนวัสดุหมด คลุมด้วยผ้าพลาสติกเป็นเวลา 2 วัน แล้วกระจายกองวัสดุหมัก ปรับให้เป็นรูปสามเหลี่ยมอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 2-3 วัน จากนั้นกลับกอง และใส่ปูนขาวผสมให้เข้ากัน แล้วปรับให้เป็นกองสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร รักษาอุณหภูมิภายในกองให้อยู่ในช่วง 45–50 องศาเซลเซียส นาน 2 วัน แล้วจึงน�ำวัสดุหมัก เข้าในโรงเรือน สูตรท ี่2: ประกอบด้วย ขี้ฝ้าย: ยิปซั่ม: ปูนเปลือกหอย: ปูนขาว: ยูเรีย: แป้งข้าวเหนียว: ร�ำละเอียด ในอัตราส่วน 100: 0.8: 0.8: 1.2: 0.6: 0.8: 10 โดยน�้ำหนัก (ตามล�ำดับ) หมักเป็นเวลา 6 วัน กลับกองทุก 2 วัน หมายเหตุ: โรงเรือนหรือห้องเพาะขนาด 5.8×6.8×3.5 (กว้าง×ยาว×สูง) เมตร จะใช้ วัสดุแห้ง เช่น ฟางข้าว และขี้ฝ้าย ประมาณ 400-500 กิโลกรัมแห้ง ต่อโรงเรือนหรือห้องเพาะ

การน�ำวัสดุหมักขึ้นชั้น วัสดุที่หมัก เช่น ฟางข้าว ขี้ฝ้าย และเปลือกฝักถั่วเขียว หมักแล้วจะน�ำมาวางบนชั้น ในโรงเรือน ซึ่งชั้นเพาะปูด้วยฟางข้าวที่ผ่านการแช่น�้ำจนอิ่มตัว หรือผ้าพลาสติก (ที่เจาะรู) ปริมาณ

60 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

55-74_dp2-1.indd 60 7/28/56 BE 5:27 PM วัสดุหมักจะกองเรียงบนชั้น มีควำมหนำประมำณ 4-6 นิ้ว โดยที่ขนำดควำมหนำของวัสดุหมัก จะปรับตำมฤดูกำลที่เพำะ ข้อสังเกต: วัสดุหมักที่หมักสมบรูณ์และดีจะไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย เนื้อวัสดุหมักไม่เละ ควำมชื้นในวัสดุหมักมีน�้ำประมำณ 65 เปอร์เซ็นต์

การอบไอน�้าวัสดุหมัก ต้มน�้ำปล่อยไอน�้ำร้อนเข้ำไปในโรงเรือนหรือห้องเพำะ ควบคุมอุณหภูมิภำยในห้องเพำะ ให้อยู่ในช่วง 60–65 องศำเซลเซียสเป็นเวลำ 3-4 ชั่วโมง แล้วลดควำมร้อนลงจนอุณหภูมิภำยใน โรงเรือนหรือห้องเพำะอยู่ในช่วง 36–38 องศำเซลเซียสจึงใส่เชื้อเห็ดฟำงเพำะ ถ้ำกำรอบไอน�้ำไม่มี ประสิทธิภำพจะพบศัตรูเห็ดฟำงบนวัสดุหมัก

การใส่เชื้อเห็ด คัดเลือกเชื้อเห็ดฟำงเพำะที่ดี ซึ่งต้องไม่มีเชื้อรำด�ำ รำขำว รำเขียวปนเปื้อน เส้นใย เห็ดฟำงเจริญบนวัสดุหมักอย่ำงต่อเนื่องกัน จนเป็นก้อนเชื้อเห็ดที่รวมตัวกันจับแล้วไม่หลุดร่วง มีกลิ่นหอมของเห็ดฟำงจำกก้อนเชื้อ ใส่เชื้อเห็ดฟำงเพำะบนผิวหน้ำวัสดุหมักที่อบไอน�้ำแล้ว ในปริมำณ 5–6 เปอร์เซ็นต์ต่อวัสดุแห้งโดยน�้ำหนัก [หรือใช้เชื้อเพำะถุงละ 500 กรัม จ�ำนวน 5 ถุง กับวัสดุหมักควำมหนำประมำณ 4-6 นิ้ว บนชั้นขนำด 0.8×5 เมตร (กว้ำง×ยำว) ต่อชั้น]

การปฏิบัติดูแลช่วงเส้นใยเติบโตและเกิดดอก ในช่วง 1–5 วัน เป็นระยะกำรเติบโตของเส้นใย ซึ่งต้องกำรอุณหภูมิสูงจึงต้อง รักษำอุณหภูมิในโรงเรือนไว้ให้ไม่ต�่ำกว่ำ 32 องศำเซลเซียส แต่ไม่เกิน 38 องศำเซลเซียส และ ควำมชื้นสัมพัทธ์ในห้องเพำะไม่ควรต�่ำกว่ำ 80 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ควำมชื้นใต้ชั้นเพำะและรอบๆ ผนังห้อง ถ้ำหน้ำวัสดุหมักแห้ง ควรให้น�้ำเป็นละอองฝอย เมื่อเส้นใยเติบโตเต็มที่แล้ว เส้นใย เห็ดฟำงจะเปลี่ยนเป็นสีขำวนวล

การเก็บผลผลิต ควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่ปลอกหุ้มดอกยังไม่ปริ เก็บออกทั้งกลุ่มดอก ไม่ควรให้ส่วน ที่ฉีกขำดค้ำงบนชั้น เพรำะจะเป็นแหล่งอำหำรของศัตรูเห็ด ตัดเศษวัสดุเพำะออกจำกฐำนดอกเห็ด แล้วจัดลงภำชนะ เพื่อจ�ำหน่ำย

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 6 1

55-74_dp2-1.indd 61 7/28/56 BE 5:27 PM บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

55-74_dp2-1.indd 62 7/28/56 BE 5:27 PM º··Õè 8 ¡ÒÃà¡çºÃÑ¡ÉÒàª×é;ѹ¸ØàËç´

เชื้อพันธุ์เห็ดต่ำงๆ เช่น เชื้อพันธุ์เห็ดเศรษฐกิจที่เกษตรกรจะน�ำไปใช้เพำะเลี้ยง หรือที่ นักวิชำกำรจะน�ำไปใช้ศึกษำวิจัย สำมำรถติดต่อได้ที่ศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทย กรมวิชำกำรเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้เก็บรวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดชนิดต่ำงๆ ไว้ โดยมีเชื้อพันธุ์เห็ดไม่น้อยกว่ำ 26 ชนิด รวมแล้วไม่น้อยกว่ำ 806 สำยพันธุ์ สำยพันธุ์เหล่ำนี้ ส่วนใหญ่ เป็นสำยพันธุ์เพื่อกำรวิจัยหรืออยู่ระหว่ำงกำรวิจัยซึ่งมีมำกกว่ำ 23 สำยพันธุ์ ของเชื้อพันธุ์เห็ด 10 ชนิด ศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทยผลิตเชื้อพันธุ์เห็ดเพื่อบริกำรจ�ำหน่ำยในรูปของ แม่เชื้อ (mother culture) บนอำหำรวุ้นพีดีเอ จำกที่ได้มีกำรศึกษำและทดสอบวิธีกำรเก็บรักษำเชื้อพันธุ์เห็ด เพื่อให้ได้เชื้อพันธุ์เห็ดที่ดี มีควำมบริสุทธิ์และเสถียร มีอำยุยืนยำว ให้ผลิตผลสูง และมีคุณภำพคงที่ ทั้งลักษณะทำงชีวภำพและ กำยภำพหรือลักษณะทำงสัณฐำน เพื่อให้โครงสร้ำงทำงรูปร่ำงคงเดิม พบว่ำเชื้อพันธุ์เห็ดสำมำรถ เก็บรักษำอย่ำงได้ผลดีตำมวิธีกำรดังต่อไปนี้ 1. วิธีกำรเก็บรักษำบนอำหำรวุ้น (Agar slant) 2. วิธีกำรเก็บรักษำในควำมเย็นยิ่งยวด (Deep freeze) 3. วิธีกำรเก็บรักษำในน�้ำมันแร่ (Mineral oil) 4. วิธีกำรเก็บรักษำในวัสดุหมัก (Compost) 5. วิธีกำรเก็บรักษำในเมล็ดธัญพืช (Grain) 6. วิธีกำรเก็บรักษำในน�้ำกลั่นปลอดเชื้อ (Sterilized distilled water)

วิธีการเก็บรักษาบนอาหารวุ้น กำรเก็บรักษำเชื้อพันธุ์เห็ดบนอำหำรวุ้นพีดีเอ มักใช้เวลำประมำณไม่เกินสำมสัปดำห์เพื่อ เตรียมไว้ใช้ในงำนขยำยเส้นใยเชื้อพันธุ์ โดยเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมำณ 25-35 องศำเซลเซียส ส�ำหรับกลุ่มเชื้อพันธุ์เห็ดเมืองหนำวมักเก็บไว้ที่อุณหภูมิประมำณ 20-25 องศำเซลเซียส

วิธีการเก็บรักษาในความเย็นยิ่งยวด วิธีนี้ท�ำให้น�้ำในเส้นใยเห็ดเป็นน�้ำแข็ง แล้วเก็บในที่เย็นจัดที่ -384 องศำฟำเร็นไฮท์ (-196 องศำเซลเซียส) ในถังไนโตรเจนเหลว ซึ่งเก็บรักษำเชื้อพันธุ์เห็ดไว้ได้ยำวนำนกว่ำ 30 ปี เห็ด Agaricus bisporus และ Pleurotus florida เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ -196 องศำเซลเซียส พบว่ำ สำมำรถให้ดอกเห็ดที่มีลักษณะรูปร่ำงคงเดิม

วิธีการเก็บรักษาในน�้ามันแร่ เส้นใยเห็ดฟำงสำมำรถเก็บรักษำภำยใต้น�้ำมันแร่ที่อุณหภูมิ 18 องศำเซลเซียส ได้นำน 6 เดือน

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 6 3

55-74_dp2-1.indd 63 7/28/56 BE 5:27 PM วิธีการเก็บรักษาในวัสดุหมัก การเก็บรักษาเชื้อเห็ดฟางในวัสดุหมักที่ประกอบด้วย เปลือกถั่วเหลือง ขี้ฝ้าย ไส้นุ่น เปลือกถั่ว เขียว มูลม้าแห้ง ขี้เลื่อยที่ใช้เพาะเห็ดแล้ว และร�ำ พบว่าสามารถเก็บรักษาได้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ใน อุณหภูมิห้อง วิธีนี้เหมาะอย่างยิ่งกับเชื้อพันธุ์เห็ดฟางที่เส้นใยสร้างแคลมิโดสปอร์ (chlamydospore) เพราะจะเก็บเชื้อพันธุ์ไว้ได้ยาวนาน

วิธีการเก็บรักษาในเมล็ดธัญพืช การเก็บรักษาเชื้อพันธุ์ไว้ในเมล็ดธัญพืช เช่น เมล็ดข้าวฟ่าง สามารถเก็บรักษาเส้นใย เชื้อพันธุ์เห็ด เช่น Ganoderma lucidum และ Calocybe indica ไว้ที่อุณหภูมิ 5-8 องศาเซลเซียส ได้นาน 1 ปี โดยคงลักษณะพันธุ์เดิม และไม่มีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ใดๆ

วิธีการเก็บรักษาในน�้ำกลั่นปลอดเชื้อ กรมวิชาการเกษตรเก็บรักษาเชื้อพันธุ์เห็ดระยะสั้นเป็นเวลา 3-5 ปี ไว้ในน�้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ เช่น เห็ดหลินจือ เห็ดสกุลนางรม และเห็ดฟาง พบว่าเชื้อพันธุ์เห็ดยังมีชีวิต และเกิดดอกที่ให้ผลผลิต ดี วิธีนี้ลดต้นทุนการเตรียมและการตรวจสอบเชื้อพันธุ์เห็ดอย่างต่อเนื่อง

64 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

55-74_dp2-1.indd 64 7/28/56 BE 5:27 PM º··Õè 9 àËç´·ÕèÁÕ¤ÇÒÁÊíÒ¤ÑÞ·Ò§ÍصÊÒË¡ÃÃÁ

ควำมหลำกหลำยของชนิดเห็ดในโลกนี้มีประมำณ 140,000 ชนิด ตำมรำยงำนของ Solomon P. Wasser ใน International Journal of Medicinal Mushrooms เมื่อปี ค.ศ. 2007 และมีเพียง 10% หรือ 14,000 ชนิดเท่ำนั้นที่ได้มีกำรจ�ำแนกเรียบร้อยแล้ว ผู้ผลิตและผู้บริโภคของประเทศสำธำรณรัฐ ประชำชนจีนได้รำยงำนไว้ใน ปี ค.ศ. 2002 ว่ำ มีเห็ดที่รับประทำนได้ประมำณ 1,500-2,000 ชนิด แต่จ�ำแนกแล้วเพียง 981 ชนิด และมี 60 ชนิดที่ใช้เป็นพันธุ์กำรค้ำ ส่วนในประเทศไทยได้มี กำรรวบรวมรำยงำนผลกำรส�ำรวจเห็ดในธรรมชำติหรือเห็ดป่ำ ของนักวิจัยต่ำงๆ ตั้งแต่อดีตมำ และจัดท�ำบัญชีรำยชื่อเห็ดในชั้น Basidiomycetes ตีพิมพ์ใน บัญชีรำยกำรทรัพย์สินชีวภำพเรื่อง จุลินทรีย์ (เห็ด) เมื่อปี พ.ศ. 2552 และ Checklist of Mushrooms (Basidiomycetes) in Thailand ในปี ค.ศ. 2011 พบว่ำ ประเทศไทยมีเห็ดป่ำอยู่ประมำณ 2,000 ชนิด และเป็นที่ทรำบกันดีใน หมู่นักวิจัยว่ำ ในประเทศไทยมีเห็ดป่ำอีกมำกมำยที่ยังส�ำรวจไม่พบ ส�ำหรับเชื้อพันธุ์เห็ดที่เป็น เชื้อบริสุทธิ์นั้น ศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทย กรมวิชำกำรเกษตรได้เก็บรักษำเชื้อพันธุ์ ทั้งชนิดที่เป็นเห็ดพื้นเมืองและที่น�ำเข้ำจำกต่ำงประเทศ จ�ำนวนไม่น้อยกว่ำ 806 สำยพันธุ์ และ ให้บริกำรเชื้อพันธุ์เห็ดไม่น้อยกว่ำ 26 ชนิด ในหลำยๆ ประเทศ เช่น ประเทศสำธำรณรัฐประชำชนจีน ญี่ปุ่น เกำหลี ไต้หวัน รัสเซีย สหรัฐอเมริกำ และกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น ได้พัฒนำ พันธุ์เห็ดพื้นเมืองให้เป็นพันธุ์กำรค้ำ และมีกำรพัฒนำสำยพันธุ์อย่ำงต่อเนื่อง จนสำมำรถผลิต จ�ำหน่ำยเป็นเห็ดเศรษฐกิจอีกหลำยชนิด นอกจำกกำรผลิตเพื่อบริโภคสดหรือท�ำแห้งจ�ำหน่ำย ในประเทศและต่ำงประเทศแล้ว ยังมีหลำยหน่วยงำนและหลำยสถำบันที่ได้ศึกษำ วิจัย และพัฒนำ เข้ำสู่กำรเป็นเห็ดอุตสำหกรรมอีกด้วย ตัวอย่ำงของเห็ดอุตสำหกรรมของต่ำงประเทศ ที่แบ่งแยก ตำมชนิดของกำรประกอบกำร มีดังนี้ 1. ประกอบกำรเป็นอำหำรในลักษณะรูปแบบเห็ดบรรจุกระป๋องและบรรจุขวด ซึ่งเห็ดที่ น�ำมำใช้เป็นทั้งเห็ดป่ำ (wild mushroom) เช่น เห็ดกลุ่มไมคอร์ไรซำ เห็ดโคนที่ขึ้นที่จอมปลวก เห็ดพื้นเมืองที่เกิดเองในสภำพธรรมชำติ รวมทั้งเห็ดปลูก (cultivated mushroom) เช่น เห็ดกระดุม (button mushroom: Agaricus bisporus) เห็ดฟำง (Volvariella volvacea) เห็ดยำนำงิ (Agrocybe cylindracea) 2. ประกอบกำรเป็นอำหำรเสริม (dietary supplement) อำหำรสุขภำพ (nutriceutical product) ชนิดเห็ดที่นิยมใช้ ได้แก่ เห็ดเข็มเงิน-เข็มทอง ( velutipes ) เห็ดกระดุมอัลมอลด์หรือ กระดุมบรำซิล (Agaricus blazei) 3. ประกอบกำรเป็นยำ (drug) หรือเป็นผลผลิตทำงเภสัชกรรม (phamaceutical product) ชนิดเห็ดที่นิยมใช้ ได้แก่ เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) เห็ดแม่ไก่ป่ำ (Grifola frondosa)

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 6 5

55-74_dp2-1.indd 65 7/28/56 BE 5:27 PM เห็ดหอม (Lentinula edodes ) ซึ่งสารประกอบที่สกัดมาใช้เป็นสารพวก PSPC (Polysaccharide Protein Complex) และ Tricholoma mongolicum มีไกลโคโปรตีน ชนิดเลคติน (lectin) เป็นต้น 4. ประกอบการผลิตเครื่องส�ำอาง (cosmetic agent) เช่น เป็นสารปรับผิวให้ขาว (skin whitening) ชนิดเห็ดที่นิยมใช้ ได้แก่ เห็ดหอม (Lentinula edodes) เห็ดหูหนูขาว (Tremella fuciformis) เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) 5. ประกอบการใช้ผลิตเอนไซม์ ได้แก่ เซลลูโลไลติกเอนไซม์ เซลลูเลส ไซแลนเนส ไคติเนส เพอรอกซิเดส และเอนไซม์ไทโรซิเนส เป็นต้น ชนิดเห็ดที่นิยมใช้ ได้แก่ เห็ดสกุลนางรม (Pleurotus spp.) 6. ประกอบการเป็นสารควบคุมทางชีวภาพ (biological control) ยับยั้งจุลินทรีย์หลายชนิด เช่น ชนิดเห็ดที่ใช้ควบคุมราสาเหตุโรคพืช ได้แก่ Xerula radicata ชนิดเห็ดที่ควบคุมแบคทีเรียสาเหตุ โรคพืชบางกลุ่ม ได้แก่ Agrocybe cylindracea, Lentinula edodes, Schizophyllum commune, geotropa 7. ประกอบการเป็นสีย้อมเส้นด้ายขนสัตว์ (wool dye) ชนิดเห็ดที่นิยมใช้ ได้แก่ เห็ดในอันดับ Aphyllophorales เช่น Phaeolus schweinitzii, Inonotus radiatus, Ganoderma resinaceum และ Pisolithus tinctorius เป็นต้น 8. ประกอบการรักษาสิ่งแวดล้อม (mycoremediation) ได้แก่ การใช้เห็ด Gloeophyllum trabeum, Poria monticola ก�ำจัดหรือลดกลุ่มโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมี่ยม ทองแดง หรือท�ำลาย ไดออกซิน (dioxin) ด้วยเห็ด Phlebia brevispora และ Pleurotus spp. บ�ำบัดน�้ำเสียจากสีย้อมด้วย เห็ด Pleurotus ostreatus เป็นต้น 9. ประกอบการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดิน (soil fertilization) ด้วยการเติมก้อนเชื้อเห็ด หรือวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้วลงไปในดินที่มีปัญหาขาดธาตุอาหาร สามารถช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น และใช้ปลูกพืชได้ต่อไป ประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีความหลากหลายในทรัพยากรเห็ดเป็นอย่าง มาก ชนิดเห็ดที่กล่าวมาในเบื้องต้น มีบางชนิดเป็นเห็ดป่าที่ชาวบ้านเก็บออกมาจ�ำหน่ายตาม ฤดูกาลทุกปี การลดลงอย่างรวดเร็วของป่าธรรมชาติ ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ และมีผลท�ำให้ปริมาณเห็ดป่าลดลงเรื่อยๆ จึงมีการเก็บรวบรวมอนุรักษ์พันธุ์เห็ดป่าและเห็ดพื้นเมือง (culture collection) หลายสายพันธุ์เอาไว้ เพื่อน�ำมาท�ำการศึกษาวิจัยและพัฒนาให้มีความส�ำคัญ ทางเศรษฐกิจในประเทศ และได้ประสบความส�ำเร็จบ้างแล้ว เช่น เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว และเห็ดบด รวมทั้งมีการน�ำเข้าเชื้อเห็ดจากต่างประเทศมาทดสอบ จนหลายชนิดสามารถพัฒนา การเพาะเป็นเห็ดเศรษฐกิจได้ในประเทศไทย เช่น เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดกระดุม เห็ดหอม เห็ดสกุลนางรม เห็ดเข็มเงิน-เข็มทอง เห็ดยานางิ เห็ดโคนน้อยหรือเห็ดถั่ว (Coprinus cinereus) และ เห็ดถั่วฝรั่ง (Coprinus comatus) เป็นต้น ในลักษณะการผลิตจ�ำหน่ายสดเพื่อบริโภค และท�ำแห้ง ส่งไปจ�ำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น เห็ดหูหนู และเห็ดนางรม เป็นต้น

66 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

55-74_dp2-1.indd 66 7/28/56 BE 5:27 PM ชนิดเห็ดปาที่เปนเห็ดการค้าในประเทศไทย เห็ดป่ำที่ชำวบ้ำนเก็บออกมำจ�ำหน่ำยตำมฤดูกำลทุกปี มักเป็นชนิดที่น�ำมำบริโภคเป็น อำหำร ส่วนเห็ดสมุนไพรหรือเห็ดที่ใช้ท�ำยำ เช่น กลุ่มเห็ดหลินจือ เห็ดกระถินพิมำน และเห็ดขอน สีส้ม (Pycnoporus sanguineus) ไม่พบหรือพบน้อยมำกในตลำด และมีกำรน�ำเข้ำเห็ดบด (Lentinus polychrous) แบบแห้งจำกประเทศข้ำงเคียง เห็ดป่ำส่วนใหญ่ที่นิยมเก็บมำจ�ำหน่ำยและรับประทำน เป็นกลุ่มเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซำ เช่น เห็ดเผำะ (Astraeus hygrometricus) เห็ดไข่เหลืองหรือระโงก เหลือง ( hemibapha subsp. javanica) เห็ดไข่ห่ำนขำวหรือระโงกขำว (Amanita princeps) เห็ดไข่เยี่ยวม้ำ () เห็ดตับเต่ำรำชำ ( edulis) เห็ดขมิ้นหลวงหรือมันปู สีชมพู (Cantharellus cinnabarinus) เห็ดผึ้งขำโกนเหลืองแต้มน�้ำเงิน (Gyroporus cyanescens) เห็ดปอดม้ำ (Heimiella retispora) เห็ดฟำนชมพูหม่น (Lactarius hatsudake) เห็ดฟำนน�้ำตำลแดง (Lactarius volemus) เห็ดชงโค (Lepista nuda) และเห็ดหล่มกระเขียวหรือตะไคล ()

ชนิดเห็ดที่เพาะเปนการค้าในประเทศไทย เห็ดที่เพำะเป็นกำรค้ำ ชนิดที่เป็นพันธุ์น�ำเข้ำจำกต่ำงประเทศและเห็ดป่ำในประเทศ ที่ ผ่ำนกำรพัฒนำจนสำมำรถเพำะได้เกือบตลอดหรือตลอดทั้งปี เพื่อกำรบริโภคและใช้ประโยชน์ ประกอบกำรด้ำนต่ำงๆ มีดังนี้ เห็ดยำนำงิ (Agrocybe cylindracea) เห็ดแชมปิญอง/กระดุม (Agaricus bisporus) เห็ดกระดุมวงแหวนสองชั้น (Agaricus bitorquis) เห็ดกระดุมบรำซิล (Agaricus blazei / Agaricus braziliensis) เห็ดหูหนูบำง/จีน (Auricularia auricular) เห็ดหูหนูเสวย (Auricularia fuscosuccinea) เห็ดหูหนูหนำ (Auricularia polytricha) เห็ดถั่วงอกหัวโต (Bolbitius fissus) เห็ดโคนน้อย/ถั่ว (Coprinus cinereus) เห็ดถั่วฝรั่ง (Coprinus comatus) เห็ดถั่งเช่ำสีทอง (Cordyceps militaris) เห็ดเยื่อไผ่ (Dictyophora indusiata) เห็ดตับวัว (Fistulina hepatica) เห็ดเข็มเงิน-เข็มทอง (Flammulina velutipes) เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) เห็ดไมตำเกะ (Grifola frondosa) เห็ดภู่มำลำ/หัวลิง (Hericium erinaceus) เห็ดชิเมจิ (Hypsizygus marmoreus) เห็ดหอม (Lentinula edodes) เห็ดต่งน�้ำฝน (Lentinus giganteus) เห็ดบด/ลม (Lentinus polychrous) เห็ดตีนปลอก (Lentinus sajor-caju) เห็ดขอนขำว (Lentinus squarrosulus) เห็ดหูกวำง (Lentinus strigosus) เห็ดตีนแรด (Macrocybe crassa) เห็ดนกยูง (Macrolepiota gracilenta) เห็ด Oudemansiella canarii เห็ดตับเต่ำ (Phaeogyroporus portentosus) เห็ดนำเมโกะ (Pholiota nameko) เห็ดเป๋ำฮื้อ (Pleurotus abalonus) เห็ดนำงรมทอง (Pleurotus cornucopiae) เห็ดนำงนวล (Pleurotus djamor) เห็ดนำงรมหลวง (Pleurotus eryngii) เห็ด Pleurotus nebrodensis เห็ดนำงรม (Pleurotus ostreatus) เห็ดนำงฟ้ำ (Pleurotus sajor-caju) เห็ดนำงรมหัว (Pleurotus tuber-regium) เห็ดนำงรมภูฏำน (Pleurotus sp. Bhutan strain) นำงรมฮังกำรี (Pleurotus sp. Hungary strain) เห็ดแครง (Schizophyllum commune) เห็ดหูหนูขำว (Tremella fuciformis) เห็ดฟำง (Volvariella volvacea) และ เห็ดแข้งนก (Xerula radicata)

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 6 7

55-74_dp2-1.indd 67 7/28/56 BE 5:27 PM การพัฒนาเข้าสู่การเป็นเห็ดอุตสาหกรรมยังน้อยมาก ที่ปรากฎอยู่เป็นเห็ดบรรจุกระป๋อง เช่น เห็ดกระดุม และเห็ดบรรจุขวด ได้แก่ เห็ดยานางิ เห็ดหอม เห็ดโคนน้อยหรือเห็ดถั่ว เห็ดโคน (Termitomyces spp.) เห็ดเผาะ เห็ดขอน เห็ดบด และเห็ดฟางสามรส เป็นต้น การผลิตเป็นอาหารเสริม โดยน�ำดอกเห็ดหลินจือแห้งมาบดและสกัด เพื่อจ�ำหน่ายใน รูปแคบซูลและน�้ำสกัดพร้อมดื่มในกระป๋อง เช่น น�้ำเห็ดหลินจือบรรจุกระป๋อง ของโครงการ ส่วนพระองค์สวนจิตรลดา น�้ำสกัดเห็ดผสมของเห็ดหลินจือ เห็ดหอม เห็ดหัวลิง เห็ดไมตาเกะ และ เห็ดถั่งเช่า (แบรนด์เห็ดสกัดเข้มข้น) และมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน (วิทยาลัยสกลนคร) ที่สกัดเห็ดบดและเห็ดหลินจือผสมกันผลิตเป็นแคปซูล ใช้รักษาโรคเบาหวาน และเอดส์ งานวิจัยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเห็ดสมุนไพรต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคเอดส์ ในระดับคลินิก และงานวิจัยรักษาผู้ป่วยโรคไต การผลิตเป็นเครื่องปรุงรสอาหาร เช่น น�้ำซีอิ๊วเห็ดหอม นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยศึกษา การหมักน�้ำซอสเห็ดจากเห็ดชนิดต่างๆ เช่น ซอสเห็ดนางฟ้า การผลิตเป็นอาหารและเครื่องดื่ม เช่น การผลิตไส้กรอกเวียนนาโดยการใช้เห็ดนางฟ้า ทดแทนเนื้อหมูบางส่วน การพัฒนาผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูปจากเห็ดเศรษฐกิจในประเทศไทย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไวน์โดยใช้เห็ดในการหมัก การใช้ผลิตเครื่องส�ำอาง โครงการพัฒนาเวชส�ำอางจากเห็ดสมุนไพรของฝ่ายเภสัช และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย ี ได้น�ำเห็ดเพื่อการบริโภคมากกว่า 10 ชนิด มาผ่านกระบวนการ สกัดด้วยวิธีพิเศษ พบว่าในเห็ดแครง (Schizophyllum commune) มีสารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการออกซิเดชั่นสูงที่สุด อีกทั้งยังท�ำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระของผิวหนังได้เป็นอย่างดี จึงมีความเหมาะสมที่สุดที่จะน�ำมาพัฒนาเป็นครีมบ�ำรุงผิว การใช้เป็นสารควบคุมศัตรูพืชทางชีววิธี (biological control) เห็ดบางชนิดมีผลต่อไส้เดือน ฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) และเห็ดชนิดนั้นคือ เห็ดเรืองแสง () มีรายงานวา่ สารสกัดจากเห็ดพิษใช้ก�ำจัดแมลงศัตรูพืชได้ สารออกฤทธิ์ของเห็ดบางชนิดจากปา่ เขา สอยดาวใช้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืช และสารสกัดจากเห็ดที่รับประทานได้บางชนิด สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้ การใช้ผลิตเป็นเอนไซม์ ผลงานวิจัยเทคโนโลยีเอนไซม์กับเห็ด Ganoderma sp. ได้เอนไซม์ แลคเคสชนิดใหม่ ที่ทนต่ออุณหภูมิสูงและท�ำงานได้ดีที่ 90 องศาเซลเซียส และมีการศึกษาเอนไซม์ สลายไฟบรินจากเส้นใยเห็ด เพื่อน�ำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ด้วย การใช้เป็นวัตถุดิบผลิตกระดาษ เช่น ใช้เห็ด , Coriolopsis sp. และ Gleophyllum sepiarium ผลิตกระดาษที่ใช้ส�ำหรับการตกแต่ง การใช้ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ผลงานวิจัยใช้เอนไซม์เห็ด Ganoderma sp. บ�ำบัดสารพิษใน อุตสาหกรรมสีย้อม เส้นใยเห็ด Lentinus spp. ใช้บ�ำบัดและก�ำจัดสีของน�้ำทิ้งจากโรงงานสกัดน�้ำมัน ปาล์ม เห็ดนางรม (Pleurotus ostreatus) สามารถย่อยสลาย 2, 8-DICHLORODIBENZO-P- DIOXIN

68 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

55-74_dp2-1.indd 68 7/28/56 BE 5:27 PM (2, 8-DCDD) ได้ เห็ด Trametes sp. และ sp. สำมำรถย่อยสลำย anthracene, Polychlorinated biphenyl (PCB) และ Dichlorodiphenyl trichloroethane (DDT) ได้ กำรเพิ่มควำมอุดมสมบูรณ์ในดิน น�้ำหมักชีวภำพที่ผลิตจำกก้ำนเห็ดหอม สำมำรถช่วยกำรเติบโต ของผักคะน้ำ และมีกำรน�ำเชื้อเห็ดตับเต่ำ () มำใช้เพิ่มกำรเติบโตของกล้ำไม้ยูคำลิปตัส ประโยชน์ของเห็ดมีมำกมำยมหำศำล มีควำมส�ำคัญต่อชีวิต เป็นอำหำร เป็นสำรประกอบ ส่งเสริมสุขภำพให้แข็งแรง ปรับสมดุลร่ำงกำยท�ำให้สำมำรถต้ำนทำนโรค AIDS/HIV เป็นยำรักษำ โรคและมีประโยชน์ต่ออุตสำหกรรมอื่นๆ อีกทั้งเห็ดยังสำมำรถเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทำงกำรเกษตร และอุตสำหกรรมให้เป็นอำหำรได้ด้วย ในอนำคตอำหำรอำจจะมีไม่เพียงพอกับประชำกรที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังมีประเทศยำกจนอีกหลำยประเทศที่ขำดแคลนอำหำร ดังนั้นจึงควรที่ประเทศไทยจะจัดกำร น�ำเห็ดที่มีมำกและหลำกหลำยชนิดมำใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุด

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 6 9

55-74_dp2-1.indd 69 7/28/56 BE 5:27 PM บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

55-74_dp2-1.indd 70 7/28/56 BE 5:27 PM º··Õè 10 àËç´·ÕèÁÕ¤ÇÒÁÊíÒ¤ÑÞ·Ò§Ãкº¹ÔàÇÈ

ความหมายของระบบนิเวศ ระบบนิเวศ (ecosystem) หมำยถึง หน่วยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตและปัจจัยสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่ กว้ำงๆ พื้นที่หนึ่ง ซึ่งมีควำมสัมพันธ์กันในรูปของกำรถ่ำยทอดพลังงำนจนก่อให้เกิดระบบที่มี ควำมแตกต่ำงอย่ำงเด่นชัดจำกระบบในพื้นที่อื่น ระบบนิเวศต้องประกอบด้วยส่วนส�ำคัญ 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ โครงสร้ำง (structure) ได้แก่ สิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ และสิ่งไม่มี ชีวิต หรือปัจจัยแวดล้อมทำงกำยภำพทั้งหลำย เช่น ดิน น�้ำ อุณหภูมิ ควำมชื้น และแสง ส่วนที่ สองคือ หน้ำที่ (function) ของโครงสร้ำงในระบบนิเวศ ซึ่งหมำยถึงกำรท�ำงำนของโครงสร้ำงที่ต้อง มีควำมสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันในรูปของกำรถ่ำยทอดพลังงำน มักจะเริ่มต้นจำก พืชรับพลังงำนแสง จำกดวงอำทิตย์ น�ำมำใช้ในกระบวนกำรสังเครำะห์แสง ได้เป็นอินทรียสำรซึ่งเป็นพลังงำนเคมีเก็บ สะสมไว้ในต้นพืช จำกนั้นจะเกิดกำรถ่ำยทอดพลังงำนเคมีจำกพืชไปสู่สัตว์ โดยมีสัตว์มำกินพืช หรือมีสัตว์มำกินสัตว์ที่กินพืช ท�ำให้กำรส่งผ่ำนพลังงำนเคมีในรูปของสำรอำหำรออกไปจำกพืชเกิด ได้เร็วขึ้น เมื่อพืชและสัตว์ตำยลงจะเกิดกำรแตกสลำยของซำกอินทรีย์ ได้เป็นธำตุอำหำรกลับคืน สู่ดินและบรรยำกำศ ต่อมำแร่ธำตุอำหำรในดินจะถูกพืชดูดกลับมำในรูปสำรละลำย เพื่อน�ำมำเข้ำ สู่กระบวนกำรสังเครำะห์แสงอีก เป็นรูปแบบวัฏจักรอย่ำงต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ซึ่งในสภำพธรรมชำติ ระบบนิเวศมีควำมสลับซับซ้อนมำกกว่ำนี้ เนื่องจำกโครงสร้ำงและกิจกรรมต่ำงๆ มีกำรเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลำ จึงต้องศึกษำและท�ำควำมเข้ำใจให้ลึกซึ้งในทุกส่วน ในระบบนิเวศ พืชท�ำหน้ำที่เป็นผู้ผลิตอินทรียวัตถุ จึงนิยมเรียกกันว่ำ ผู้ผลิต (producer) ส่วนสัตว์ท�ำหน้ำที่ใช้ประโยชน์ผลิตผลส่วนที่สะสมไว้ของพืช จึงนิยมเรียกว่ำ ผู้บริโภค (consumer) ซึ่งมีกำรแยกย่อยออกไปอีกหลำยระดับ เช่น สัตว์กินพืช (herbivores) สัตว์กินเนื้อ (carnivores) สัตว์ที่กินทั้งพืชทั้งเนื้อ (omnivores) และสัตว์ที่กินซำกสัตว์ที่ตำยแล้วโดยมิได้ฆ่ำเอง (scavengers) ส�ำหรับจุลินทรีย์นั้นมีบทบำทที่ส�ำคัญใน ระบบนิเวศในเชิงโครงสร้ำง โดยมีหน้ำที่สลำยอินทรียสำรให้ แตกแยกกลำยเป็นธำตุอำหำรกลับคืนสู่ดินและสิ่งแวดล้อม จึงมีชื่อเรียกว่ำ กลุ่มผู้สลำยสำรอินทรีย์ (decomposer) พลังงำนที่เกิดจำกกำรย่อยสลำยจะถูกปลดปล่อยออกไป ในรูปของพลังงำน ควำมร้อนเข้ำสู่สิ่งแวดล้อม และแผ่รังสีออกไปสู่บรรยำกำศ สิ่งมีชีวิตที่ท�ำหน้ำที่สลำยสำรอินทรีย์ มีกำรท�ำงำนเป็นระบบ จึงเรียกว่ำ “ห่วงโซ่แห่งกำรสลำย (detritus chain)” ที่อำจเริ่มจำกสัตว์ขนำดเล็ก เช่น ปลวก มด ไส้เดือน มำท�ำกำรแยกส่วนของชิ้นไม้หรือซำกสัตว์ที่แข็งและใหญ่ให้เล็กลง จำกนั้น แบคทีเรีย และรำต่ำงๆ จะเข้ำมำท�ำงำนต่อ ด้วยกำรปล่อยน�้ำย่อยออกมำจำกเซลล์เพื่อย่อยสลำย เซลลูโลส หรือเนื้อเยื่ออินทรียสำรอื่นๆ ได้พลังงำนและธำตุอำหำรออกมำใช้ในกลุ่มของผู้ย่อยสลำย เองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งที่เหลือส่งคืนสู่สภำพแวดล้อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อไป

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 7 1

55-74_dp2-1.indd 71 7/28/56 BE 5:27 PM ความส�ำคัญของเห็ดในระบบนิเวศ เห็ดเป็นรากลุ่มหนึ่ง ดังนั้นในระบบนิเวศเห็ดจึงจัดอยู่ในกลุ่มผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (decomposer) สิ่งที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายส่วนหนึ่งซึ่งได้แก่ สารหรือธาตุอาหารตา่ งๆ จะถูกเห็ด ดูดไปใช้ในการเติบโต ดังนั้นเมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปถึงการได้มาซึ่งอาหารของเห็ด หรือพิจารณา จากสิ่งที่เห็ดขึ้นอยู่ (substrate) เป็นหลัก เราแบ่งเห็ดออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. เห็ดที่ก่อให้เกิดโรคพืชและโรคแมลง (plant pathogenic and entomopathogenic mushrooms) คือเห็ดที่ขึ้นอยู่ที่โคนต้น บนล�ำต้น กิ่ง และก้านของพืชที่มีชีวิต และก่อให้เกิดโรคที่ ส่วนต่างๆ เหล่านั้น เช่น โรครากเน่า (root rot) ล�ำต้นเน่า (stem rot) และไส้เน่าหรือแก่นไม้ผุ (heart rot) อาการของโรคอาจรุนแรงจนถึงกับท�ำให้พืชตายทั้งต้น และเห็ดที่พบขึ้นอยู่บนตัวหนอน ดักแด้ และ ตัวแก่ของแมลง และเป็นสาเหตุท�ำให้ตัวหนอน ดักแด้ และตัวแก่ของแมลงเหล่านั้นตาย ซึ่งจะกล่าว ถึงต่อไปใน บทที่ 11 เห็ดที่เป็นโทษ 2. เห็ดแซบโพรไฟต์ (saprophytic mushroom) หรือเห็ดกินซากสิ่งมีชีวิต คือเห็ดที่ขึ้น อยู่บนเศษซากพืช ได้แก่ ซากใบไม้ กิ่งไม้ และขอนไม้ ฮิวมัส มูลของสัตว์โดยเฉพาะมูลสัตว์ ที่กินพืชเป็นอาหาร และซากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ขนสัตว์ ขนนก เขาสัตว์และกีบตีนสัตว์ เป็นต้น เห็ดที่รู้จักแล้วส่วนใหญ่ คือ เห็ดแซบโปรไฟต์ ในการย่อยสลายซากพืช เห็ดจะผลิตเอนไซม์หลายชนิด ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน ส่งออกมาจากเส้นใยไป ย่อยผนังเซลล์พืช ท�ำให้สารประกอบของผนังเซลล์ที่ย่อยสลายยากมากเหล่านี้เกิดการแตกสลาย เป็นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ มีผลท�ำให้ซากใบ กิ่งไม้แห้ง และขอนไม้ค่อยๆ เปลี่ยนรูป เกิดการเปื่อยหรือผุ (decay) จนในที่สุดกลายเป็นแร่ธาตุที่บางส่วนซึ่งเป็นส่วนน้อยถูกเห็ดดูดไป ใช้เป็นอาหารของเห็ด และส่วนใหญ่ซึมลงสู่ดิน ท�ำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งอาหาร ที่ส�ำคัญยิ่งของพืช และของจุลินทรีย์ดินอื่นๆ เช่น โปรโตซัว ถ้าไม่มีเห็ดแซบโปรไฟต์ท�ำหน้าท ี่ อันส�ำคัญยิ่งนี้ ซากสิ่งมีชีวิตจะกองทับถมกันมากมายจนเต็มล้นไปทุกที่ และไม่เกิดการหมุนเวียน ของธาตุอาหาร ผู้ผลิตในระบบนิเวศ คือพืช และผู้บริโภค คือสัตว์ทั้งหลาย รวมถึงมนุษย์ด้วย ก็จะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ เห็ดแซบโปรไฟต์ ได้แก่ เห็ดหูหนู เห็ดตีนปลอก เห็ดบดหรือเห็ดลม เห็ดหอม เห็ดขอนสีส้ม เห็ด Daedalea sp., Gloeophyllum sp., Fomitopsis sp. และเห็ดอื่นๆ อีกมากมาย 3. เห็ดที่อยู่แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น (symbiotic mushroom) แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ เห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา (ectomycorrhizal mushroom) และเห็ดโคนหรือ เห็ดปลวก (termite mushroom) 3.1 เห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา คือเห็ดที่อยู่ร่วมกับรากแขนงเล็กๆ ของพืชที่มีชีวิตในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกัน โดยเส้นใยเห็ดส่วนหนึ่งจะพันอยู่รอบๆ รากแขนง เห็นเป็นแผ่นบางห่อหุ้มราก เรียกว่า แผ่นแมนเทิล (mantle sheath) และอีกส่วนหนึ่งแทงผ่านรากเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ ของเซลล์ผิว (epidermis) และช่องว่างระหว่างเซลล์ของคอร์เท็กซ์ (cortex) มีลักษณะคล้ายร่างแห จึง

72 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

55-74_dp2-1.indd 72 7/28/56 BE 5:27 PM มีชื่อเรียกว่ำ Hartig net ซึ่งตั้งตำมชื่อของ Robert Hartig นักโรควิทยำป่ำไม้ชำวเยอรมัน เส้นใยเห็ด จะไม่ผ่ำนเข้ำไปในส่วนของเอนโดเดอร์มิส (endodermis) เลย ส�ำหรับเส้นใยที่พันอยู่รอบๆ รำก จะมีส่วนที่แผ่กระจำยออกไปในดินด้วย เพื่อท�ำหน้ำที่ดูดน�้ำและแร่ธำตุจำกดินแล้วส่งผ่ำนไปให้รำกพืช ท�ำให้ต้นพืชที่มีเห็ดเกิดร่วมอยู่กับรำกได้รับน�้ำและแร่ธำตุมำกกว่ำต้นพืชที่ไม่มีเห็ด จึงสำมำรถ สังเครำะห์อำหำรได้มำกขึ้นและส่งผลให้พืชเติบโตดีขึ้น อำหำรที่พืชสังเครำะห์ได้นอกจำกจะถูกส่ง ไปเลี้ยงส่วนต่ำงๆ ของพืชแล้ว ยังมีเหลือส่งไปเก็บสะสมไว้ที่รำกด้วย ซึ่งอำหำรสะสมที่รำกนี้จะถูก เส้นใยเห็ดดูดไปใช้ในกำรเติบโตอีกทีหนึ่ง เมื่อสภำพแวดล้อม เช่น ควำมชื้น อุณหภูมิ และแสงแดด เหมำะสม เส้นใยเห็ดจะรวมตัวกันเกิดเป็นดอกเห็ดโผล่ขึ้นมำเหนือดิน หรืออำจมีบำงส่วนของ ดอกเห็ดฝังอยู่ในดินก็ได้ โดยดอกเห็ดจะเกิดอยู่ใกล้ๆ กับต้นพืชที่ให้ที่อยู่อำศัยแก่เส้นใยเห็ดเสมอ ท�ำให้เรำพอจะคำดเดำได้ว่ำเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซำที่เห็นเข้ำคู่อยู่กับต้นพืชชนิดใด ส�ำหรับรำกพืช ที่ให้ที่อยู่อำศัยและอำหำรแก่เห็ดมีชื่อเรียกว่ำ รำกเอคโตไมคอร์ไรซำ จะมีกำรแตกแขนงมำกและ มีขนำดใหญ่กว่ำรำกปกติ มีสีที่เปลี่ยนไปตำมสีของเส้นใยที่พันอยู่รอบๆ รำก ผิวรำกอำจเรียบหรือ ขรุขระ หรือมีเส้นใยสำนกันไปมำคล้ำยตำข่ำย อำจมีควำมมันแวววำว หรือไม่ก็ได้ (ภำพที่ 21)

ภาพที่ 21 (1) รากเอคโตไมคอรไรซา มีเสนใยสีขาวหุมรอบรากและกระจายออกไปรอบดาน (2) ภาพตัดขวางของรากเอคโตไมคอรไรซา: M = mantle sheath, H = Hartig net และ E = endodermis

ในประเทศไทยมีเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซำมำกมำยหลำยชนิด เช่น เห็ดเผำะ (Astraeus spp.) เห็ดมันปูใหญ่หรือเห็ดขมิ้นใหญ่ (Cantharellus cibarius) เห็ดไข่ห่ำนเหลืองหรือ เห็ดระโงกเหลือง ( subsp. javanica) เป็นต้น ส�ำหรับพืชที่มีเอคโตไมคอร์ไรซำ เกือบทั้งหมดเป็นไม้ต้นหรือไม้ป่ำ (tree) พบเป็นประจ�ำกับไม้ป่ำในวงศ์ Dipterocarpaceae, Betulaceae, Fagaceae และ Pinaceae และพบกับไม้ป่ำบำงชนิดในวงศ์ Anacardiaceae, Caesalpiniaceae, Euphorbiaceae, Mimosaceae และ Myrtaceae ตำมกฎของธรรมชำติแล้วเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซำไม่สำมำรถเติบโตได้เมื่อปรำศจำก พืชอำศัย และจำกกำรศึกษำของนักวิจัยพบว่ำ กล้ำไม้ป่ำที่มีเอคโตไมคอร์ไรซำเติบโตดีกว่ำ

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 7 3

55-74_dp2-1.indd 73 7/28/56 BE 5:27 PM กล้าไม้ป่าที่ไม่มีเอคโตไมคอร์ไรซา ด้วยเหตุนี้เองนักวิชาการป่าไม้ จึงน�ำความรู้เรื่องเอคโตไมคอร์ไรซา มาประยุกต์ใช้ ด้วยการน�ำเชื้อเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซามาใส่ลงในดินที่ใช้เพาะกล้าไม้ เพื่อผลิตกล้าไม้ ให้มีเอคโตไมคอร์ไรซาอยู่ที่ราก ก่อนการย้ายไปปลูกในสวนป่าที่มีดินไม่อุดมสมบูรณ์และแห้งแล้ง เพราะกล้าไม้ที่มีเอคโตไมคอร์ไรซาจะช่วยให้การปลูกสร้างสวนป่าประสบความส�ำเร็จมากขึ้น 3.2 เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Termitomyces sp. เห็ดโคนเป็นเห็ดที่อยู่ร่วมกับปลวกในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (mushroom - insect symbiosis) โดยเส้นใยของเห็ดโคนที่เจริญอยู่ในรังปลวก ปล่อยน�้ำย่อยออกมาย่อยสลาย รังปลวกเป็นอาหาร รังปลวกนี้ปลวกสร้างขึ้นจากสิ่งขับถ่ายของมันเอง ซึ่งประกอบด้วย กากเนื้อไม้ที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์ ปลวกที่อยู่ในรังจะกินเส้นใยของเห็ดโคนเป็นอาหาร จนถึงระยะหนึ่ง ที่ปลวกกินเส้นใยของเห็ดโคนน้อยลง ท�ำให้เส้นใยมีมากขึ้นและสมบูรณ์พอที่จะรวมตัวกันเจริญ เป็นดอกเห็ดโผล่ขึ้นมาเหนือดิน ดังนั้นเราจึงเห็นเห็ดโคนขึ้นอยู่เหนือดินใกล้ๆ กับรังปลวก หรือจอมปลวกเสมอ โดยมีโคนก้านดอกซึ่งมีรูปร่างยาวเรียวจากผิวดินลงไปเชื่อมต่อกับสวนเห็ด (fungus garden) ที่อยู่ใต้ดินในรังปลวก ปลวกที่อยู่ร่วมกับเห็ดโคนมีชื่อเรียกว่า ปลวกเลี้ยงรา (fungus growing termites) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด เห็ดโคนก็มีหลายชนิดเช่นกัน จากการศึกษา วิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดเห็ดโคนกับชนิดปลวกไม่มีความเฉพาะเจาะจง มีเห็ดโคน อีกชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกประมาณ 2 ซม. ไม่มีก้านยาวเรียว ไปเชื่อมต่อกับสวนเห็ดที่อยู่ใต้ดิน เส้นใยของเห็ดชนิดนี้เติบโตอยู่บนสิ่งขับถ่ายของปลวก ที่กองเรี่ยๆ เป็นแผ่นอยู่เหนือดิน เมื่อได้รับความชื้นจากน�้ำฝน และแสงแดดที่อบอุ่น ภายใน เวลาเพียง 2 วัน จะเกิดดอกเห็ดขนาดเล็กสีขาวขึ้นอยู่เต็มไปหมด เห็ดโคนชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า เห็ดโคนปลวกข้าวตอก (Termitomyces microcarpus) เห็ดโคนเป็นที่นิยมของผู้ชอบบริโภคเห็ดเพราะมีรสชาติอร่อยและมีกลิ่นหอม ราคาของเห็ดโคนค่อนข้างสูง เพราะเก็บหายากในธรรมชาติและพบในช่วงเวลาที่จ�ำกัด เห็ดโคน ยังไม่สามารถน�ำมาเพาะเลี้ยงให้เกิดดอกเห็ดได้ในโรงเรือน

74 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

55-74_dp2-1.indd 74 7/28/56 BE 5:27 PM º··Õè 11 àËç´·Õè໚¹â·É

เห็ดมีทั้งประโยชน์และโทษมากมาย ประโยชน์ของเห็ด ได้แก่ เป็นผู้ย่อยสลายซากพืช ในธรรมชาติ เป็นอาหารของคนและสัตว์ ใชัเป็นยารักษาโรคและช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันท�าให้ร่างกาย แข็งแรง ใช้ผลิตสารชีวภาพที่สามารถยับยั้งการเติบโตของราและแบคทีเรียสาเหตุของโรคพืช ใช้เป็น ส่วนประกอบของเครื่องส�าอางประทินผิวต่างๆ และยังช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นจากอาชีพ เพาะเห็ดทั้งในระดับครัวเรือน และระดับอุตสาหกรรม โทษของเห็ด ได้แก่ ท�าให้โครงสร้างที่ท�าด้วยไม้ ในบ้านเรือนผุพังเสียหาย ท�าให้ล�าต้นและรากพืชเน่าอย่างรุนแรงถึงตาย และเห็ดบางชนิด โดยเฉพาะ เห็ดป่าที่สร้างสารพิษซึ่งท�าให้เกิดอาการผิดปกติต่อผู้ที่น�ามาบริโภค โดยมีรายงานข่าวในฤดูฝน ของทุกปีว่ามีการตายของชาวบ้านเนื่องจากการเก็บเห็ดพิษมารับประทาน ดังนั้นในบทนี้จึงจะกล่าวถึง โทษของเห็ดอย่างละเอียดในหัวข้อต่อไปนี้ 1. ท�าให้เกิดโรคกับพืช 2. ท�าให้เกิดโรคกับสัตว์ 3. สร้างสารพิษ

ท�าให้เกิดโรคกับพืช แม้ว่าการเป็นผู้ย่อยสลายของเห็ดจะมีประโยชน์อย่างอนันต์ในการรักษาสมดุลของ ธาตุอาหาร แต่ก็มีโทษมหันต์ เมื่อเห็ดท�าให้เนื้อไม้ที่เป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างเกิดการผุพัง การเข้าท�าลายเนื้อไม้ของเห็ดทั้งชนิด Brown rot, White rot และ Blue stain ท�าให้ความแข็งแกร่ง ของเนื้อไม้ลดลงและสีของเนื้อไม้เปลี่ยนไป เราต้องมีค่าใช้จ่ายจ�านวนมหาศาลในการหาวิธี ป้องกันไม้ที่น�ามาใช้ประโยชน์จากการเข้าท�าลายของเห็ด การเข้าท�าลายเนื้อไม้นั้นมีตั้งแต่ ผลิตภัณท์จากไม้ต่างๆ ท่อนซุงที่ยังไม่ได้ชักลาก ไม้หมอนรถไฟ และเสาโทรศัพท์ เป็นต้น นอกจากจะท�าให้เนื้อไม้ที่น�ามาใช้งานผุพังแล้ว เห็ดบางชนิดยังเข้าท�าลายต้นพืชที่มีชีวิต เป็นเห็ดที่ท�าให้เกิดโรคกับพืช ในประเทศไทยได้มีรายงานการเกิดโรคจากเห็ด Marasmiellus paspali ท�าให้เกิดโรคราก กาบใบ และโคนต้นเน่าของอ้อย Marasmius palmivorus ท�าให้เกิดโรคผลเน่า ของมะพร้าว Schizophyllum commune ท�าให้เกิดโรคของเมล็ดปาล์มน�้ามัน Ganoderma boninense ท�าให้เกิดโรคล�าต้นเน่าของปาล์มน�้ามัน Ganoderma lucidum ท�าให้เกิดโรคเน่าของมะพร้าวและ หมาก Gamoderma pseudoferreum ท�าให้เกิดโรครากแดงของยางพารา และ Rigidoporus lignosus ท�าให้เกิดโรครากขาวของยางพารา

ท�าให้เกิดโรคกับสัตว เห็ดในชั้น Basidiomycetes ไม่ค่อยมีรายงานว่าก่อให้เกิดโรคกับสัตว์ ส่วนเห็ดในชั้น Ascomycetes พบว่าก่อให้เกิดโรคกับสัตว์ได้ โดยเฉพาะแมลง เช่น เห็ดสกุล Cordyceps เป็นสกุล

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 7 5

75-90_dp2-1.indd 75 7/28/56 BE 5:39 PM ที่เข้าท�ำลายแมลงมากที่สุด โดยมีประมาณ 200 ชนิด แมลงที่เห็ดสกุลนี้เข้าท�ำลายจัดอยู่ในอันดับ Hemiptera, Diptera, Lepidoptera, Hymenoptera และ Coleoptera โดยส่วนมากจะเข้าท�ำลายแมลง ในระยะที่เป็นตัวอ่อน มีรายงานว่าชนิดที่ค้นพบใหม่สามารถเข้าท�ำลายแมงมุมได้ด้วย

สร้างสารพิษ สารพิษที่สร้างโดยราที่ไม่ใช่เห็ด จะไม่กล่าวถึงในที่นี้ ส�ำหรับสารพิษจากเห็ดนั้นมีความส�ำคัญ อย่างยิ่ง เนื่องจากมีผู้นิยมน�ำเห็ดป่ามารับประทานกันเป็นจ�ำนวนมาก ในช่วงฤดูฝนของทุกปี จะมี รายงานการตายหรืออาการผิดปกติของร่างกายอย่างรุนแรงบ้าง ไม่รุนแรงบ้าง ในผู้ที่รับประทาน เห็ดป่าซึ่งเป็นเห็ดพิษเข้าไป เห็ดพิษบางชนิดอาจมีสารพิษมากกว่าหนึ่งกลุ่มซึ่งจะท�ำให้แสดงอาการ ปนกันได้ ดังนั้นจึงควรทราบเรื่องเกี่ยวกับสารพิษจากเห็ด ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ สารพิษจากเห็ด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. Protoplasmic poisons เป็นกลุ่มของสารพิษที่เข้าท�ำลายเซลล์ และตามมาด้วย การล้มเหลวของอวัยวะ 2. Neurotoxins เป็นสารพิษที่ท�ำให้เกิดอาการกับระบบประสาท เช่น เหงื่อออกมาก โคมา ชัก เคลิบเคลิ้ม ตื่นเต้น สลดหดหู่ 3. Gastrointestinal irritants เป็นสารพิษที่เกิดอาการอย่างรวดเร็ว มีอาการคลื่นเหียน อาเจียน เป็นตะคริวที่ช่องท้อง ท้องเสีย 4. Disulfiram like toxins เป็นกลุ่มซึ่งปกติไม่เป็นพิษและไม่มีอาการป่วย ยกเว้นเมื่อ รับประทานเห็ดก่อนหรือหลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 72 ชั่วโมง ซึ่งกรณีนี้จะมีอาการเป็น พิษอย่างรุนแรง

1. สารพิษกลุ่ม Protoplasmic poisons ประกอบด้วยสารพิษกลุ่มต่างๆ ดังนี้ 1.1 สารพิษกลุ่ม Cyclopeptide แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ (amanitin) ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน 8 โมเลกุล (ภาพที่ 22) และ () ซึ่งประกอบด้วย กรดอะมิโน 7 โมเลกุล อาการเมื่อรับประทานสารพิษ Amanitin ก. มีระยะฟักตัว ประมาณ 6 - 24 ชั่วโมง ปกติประมาณ 10 ชั่วโมง หลังจาก รับประทานเห็ดเข้าไป ถึงขั้นแสดงอาการ ข. มีอาการท้องร่วง เป็นตะคริวที่ท้อง คลื่นเหียน และอาเจียน โดยจะแสดง อาการประมาณ 1 วัน ค. หลังจากนั้นมีอาการตับและไตวาย ถึงตาย

76 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

75-90_dp2-1.indd 76 7/28/56 BE 5:39 PM ลักษณะซึ่งเป็นสัญญาณที่แน่นอนของสารพิษชนิดนี้คือ ระยะแรกของการ ได้รับสารพิษ มีระยะฟักตัวนาน จะแสดงอาการก็ต่อเมื่อเซลล์เป็นจ�านวนมากถูกท�าลายไปแล้ว การรักษาคนไข้ที่ได้รับสารพิษชนิดนี้ยากที่สุด

ภาพที่ 22 โครงสร้างทางเคมีของสารพิษ Amanitin ที่มา: Moore-Landecker (1996)

ชนิดเห็ดที่สร้างสารพิษ Amanitin: , , , Amanita verna, Amanita virosa, Galerina autumnalis, Galerina fasiculata, Galerina helvoliceps, , Galerina venenata, Lepiota clypeolarioides, Lepiota fosserandi และ Lepiota rufescens

1.2 สารพิษกลุ่ม Monomethyl hydrazine (Gyromitrins) พบในชั้น Ascomycetes อยู่ในสกุล สารพิษที่สร้างคือ gyromitrins มีโครงสร้างดังภาพที่ 23 เมื่อถูก hydrolized จะเปลี่ยนเป็น monomethyl hydrazine มีจุดเดือดที่ 87.5 องศาเซลเซียส อาการเมื่อรับประทานสารพิษ Gyromitrins ก. รู้สึกบวมใหญ่ ข. คลื่นเหียนและอาเจียน ค. ท้องเสียถ่ายเป็นน�้าหรือเลือด ง. เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ จ. เจ็บที่ท้อง ในรายที่รุนแรง จะพบการท�าลายที่ตับ มีไข้สูง ชัก ไม่รู้สึกตัว และถึงตายได้ ภายใน 2-4 วัน หลังรับประทานเห็ด

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 7 7

75-90_dp2-1.indd 77 7/28/56 BE 5:39 PM ภาพที่ 23 โครงสร้างเคมีของสารพิษ Gyromitrins ที่มา: Moore-Landecker (1996)

ชนิดของเห็ดที่สร้างสาร Gyromitrins: Gyromitra ambigua, Gyromitra brunnea, Gyromitra californica, Gyromitra caroliniana, Gyromitra esculenta, Gyromitra fastigiata, Gyromitra gigas, Gyromitra infula และ Verna bohemica

1.3 สารพิษกลุ่ม Orellanine มีสูตรโครงสร้างทางเคมี ดังภาพที่ 24

ภาพที่ 24 โครงสร้างเคมีของสาร Orellanine ที่มา: Moore-Landecker (1996)

อาการเมื่อรับประทานสารพิษ Orellanin ก. กระหายน�้ำอย่างมาก มีอาการปากแห้งและแสบร้อนในปาก ข. ปวดศีรษะ หนาว ปวดท้อง ค. คลื่นเหียน อาเจียน ง. กระตุ้นการถ่ายปัสสาวะในตอนต้นและค่อยๆ ลดลงจนหยุดในที่สุด จ. ในรายที่รุนแรง BUN (blood urea nitrogen) เป็นสีกุหลาบ และตามมา ด้วยอวัยวะ (ไต) ถูกท�ำลาย ชนิดของเห็ดที่สร้างสาร Orellanine: orellanoides และ Cortinarius orellanus

78 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

75-90_dp2-1.indd 78 7/28/56 BE 5:39 PM 2. สารพิษกลุ่ม Neurotoxin ประกอบด้วยสารพิษกลุ่มต่างๆ คือ 2.1. สารพิษกลุ่ม มีโครงสร้างทางเคมีดังภาพที่ 25

ภาพที่ 25 โครงสร้างทางเคมีของ Muscarine ที่มา: Moore-Landecker (1996)

อาการเมื่อรับประทานสารพิษ Muscarine ก. มีเหงื่อออกมากมาย ข. มีน�้าตาไหลและน�้าลายไหล ค. ในรายที่รุนแรงอาจมีการเต้นของชีพจรช้า ความดันโลหิตต�่าจนถึงขั้น อันตราย ชนิดของเห็ดที่สร้างสาร Muscarine: Clitocybe cerussata, Clitocybe dealbata, Clitocybe dilatata, Clitocybe morbifera, Clitocybe nebularis, Clitocybe rivulosa, Clitocybe truncicola, dulcamera, Inocybe fastigiata, Inocybe geophylla, , Inocybe lanuginella, Inocybe mixtilis, Inocybe nappies, Inocybe patouillardii, และ Inocybe pudica

2.2 สารพิษกลุ่ม Ibotenic acid – Muscimal มีโครงสร้างทางเคมีดังภาพที่ 26 และภาพที่ 27

ภาพที่ 26 โครงสร้างเคมีของสารพิษ Ibotenic acid ที่มา: (Moore-Landecker, 1996)

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 7 9

75-90_dp2-1.indd 79 7/28/56 BE 5:39 PM ภาพที่ 27 โครงสร้างเคมีของสารพิษ Muscimal ที่มา: Moore-Landecker (1996)

อาการเมื่อรับประทานสารพิษ คือ ก. มีอาการเมา ข. เคลิบเคลิ้ม เพ้อฝัน ค. บ้าคลั่ง ง. เพ้อ จ. หลับลึก ชนิดของเห็ดที่สร้างสาร Ibotenic acid – Muscimal: Amanita cothurnata, , , , , และ Tricholoma muscarium

2.3 สารพิษกลุ่ม Psilocybin มีโครงสร้างเคมีดังภาพที่ 28

ภาพที่ 28 ลักษณะโครงสร้างเคมีของสารพิษ Psilocybin ที่มา: Moore-Landecker (1996)

อาการเมื่อรับประทานสารพิษ Psilocybin สารพิษนี้ท�ำให้ผู้รับประทานมีอาการ เคลิบเคลิ้ม เพ้อฝัน นอกจากนั้นยังพบ อาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียน หมดแรง อัมพาตชั่วคราว

80 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

75-90_dp2-1.indd 80 7/28/56 BE 5:39 PM ชนิดของเห็ดที่สร้างสาร Psilocybin: Conocybe cyanopus, Conocybe smithii, aeruginosus, Gymnopilus validipes, Panaeolus castaneifolius, Panaeolus cyanescen, Panaeolus fimicola, Panaeolus foenisecii, Panaeolus sphinctrinus, Panaeolus subbalteatus, Psilocybe baeocystis, Psilocybe caerulescens, Psilocybe caerulipes, Psilocybe cubensis, Psilocybe cyanescens, Psilocybe pelliculosa, , Psilocybe strictipes และ Psilocybe stuntzii

3. สารพิษกลุ่ม Gastrointestinal Irritants เป็นกลุ่มของสารพิษที่มีเห็ดพิษในกลุ่มนี้มากที่สุด อาการแสดงภายใน 15 นาที ถึง 4 ชั่วโมง หลังจากรับประทานเห็ด มีน้อยชนิดมากที่ท�าให้มีอาการถึงตาย อาการโดยทั่วไปคือ คลื่นไส้อาเจียน และท้องเสีย หรือทั้งสองอย่าง และเป็นตะคริวที่ช่องท้อง ชนิดเห็ดที่สร้างสาร Gastrointestinal Irritant: Agaricus albolutescen, , Agaricus meleagri, Agaricus placomyces, Agaricus silvicola, Agaricus xanthodermus, Amanita brunnescens, Amanita chlorinosma, Amanita flavoconia, Amanita flavorubescens, Amanita frostian, Amanita parcivolvata, Amanita polypyramis, Boletus erythropus, Boletus luridus, Boletus pulcherrimus, Boletus sensibilis, Chlorophyllum molybdites, Entoloma lividum, Entoloma mammosum, Entoloma nidorosum, Entoloma pascuum, Entoloma rhodopolium, Entoloma salmoneum, Entoloma strictius, Entoloma vernum, Gomphus bonari, Gomphus floccosus, Gomphus kauffmanii, crustuliniforme, Hebeloma fastibile, Hebeloma mesophaeum, Hebeloma sinapizans, Lactarius chrysorrheus, Lactarius glaucescens, Lactarius helvus, Lactarius representateus, Lactarius rufus, Lactarius scrobiculatus, , Lactarius uvidus, Lepiota clypeolaria, , Lepiota lutea, Lepiota naucina, marginatum, Lycoperdon subincarnatum, Naematoloma fascuculare, Nolanea sp., Paxillus involutus, Pholiota aurea, Pholiota squarrosa, Polyporus berkeley, Polyporus cristatus, Polyporus giganteus, Polyporus schweinitzii, Polyporus sulphureus, Ramaria formosa, Ramaria gelatinosa, , Scleroderma aurantium, Scleroderma cepa, Tricholoma album, Tricholoma muscarium, Tricholoma nudum, , Tricholoma pessundatum, Tricholoma saponaceum, Tricholoma sejunctum, Tricholoma sulphureum, Tricholoma venenata และ Verpa bohemica

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 8 1

75-90_dp2-1.indd 81 7/28/56 BE 5:39 PM 4. สารพิษกลุ่ม Disulfiram - like poisoning (Coprine) มีโครงสร้างทางเคมี ดังภาพที่ 29

ภาพที่ 29 ลักษณะโครงสร้างทางเคมีของสารพิษ Coprine

ที่มา: Moore-Landecker (1996)

อาการเมื่อรับประทานสารพิษ Coprine สารพิษกลุ่มนี้จะแสดงอาการภายใน 5-10 นาที ถึง 30 นาที หลังจาก รับประทานเห็ดเข้าไป ปกติตัวดอกเห็ดเองไม่เป็นพิษ อาการพิษจะปรากฏเมื่อมีการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์เข้าไป ในช่วง 24 - 72 ชั่วโมง ก่อนหรือหลังการรับประทานเห็ด ก. ร้อนและมีเหงื่อออกที่หน้า หน้าแดง ข. มีอาการแดงต่อมาที่คอและหน้าอก ค. หายใจเร็วและหายใจล�ำบาก ง. หัวใจเต้นแรง จ. ปวดหัวอย่างรุนแรง ฉ. คลื่นเหียนอาเจียน ชนิดเห็ดที่สร้างสาร Coprine: Clitocybe clavipes, Coprinus atramentarius, Coprinus fuscescens, Coprinus micaceus และ Coprinus insignis

82 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

75-90_dp2-1.indd 82 7/28/56 BE 5:39 PM µÍ¹·Õè 2 ¤Ø³¤‹Ò·Ò§ àÈÃÉ°¡Ô¨¢Í§ àËç´

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´

75-90_dp2-1.indd 83 7/28/56 BE 5:39 PM 84 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

75-90_dp2-1.indd 84 7/28/56 BE 5:39 PM º··Õè 12 ¤Ø³¤‹Ò·Ò§àÈÃÉ°¡Ô¨¢Í§àËç´

คุณค่าต่อระบบนิเวศ เห็ดแซบโพรไฟต์ หรือเห็ดกินซากพืช อันได้แก่ ใบไม้ กิ่งไม้ ท่อนไม้หรือขอนไม้ ไม่ว่าจะ จ�าแนกอยู่ใน ชั้น Ascomycetes หรือ Basidiomycetes มีกิจกรรมอย่างเดียวกันคือ ย่อยสลาย ซากพืชเหล่านั้นให้ผุพังเปอยยุ่ยจนกลายเป็นธาตุอาหาร ซึ่งธาตุอาหารส่วนหนึ่งที่จัดว่าเป็น ส่วนน้อยนั้น เห็ดแซบโพรไฟต์ดูดไปใช้ในการเติบโต ธาตุอาหารอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่จะ แทรกซึมลงสู่ดินหรือเปลี่ยนรูปเป็นแกสระเหยไปในอากาศ ธาตุอาหารเหล่านี้ช่วยให้ดินมีความอุดม สมบูรณ์ และสามารถอุ้มน�้าได้ดีขึ้นด้วย เพราะในระหว่างที่เกิดการย่อยสลายซากพืชจนถึงขั้นสุดท้าย กลายเป็นธาตุอาหารนั้น มีการเกิดของฮิวมัสขึ้นก่อน และฮิวมัสนี้สามารถดูดน�้าไว้ได้เป็นอย่างดี เมื่อดินเป็นแหล่งของอาหารและน�้าที่สมบูรณ์ และมีปัจจัยสภาพสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เกื้อหนุน พืชพรรณ ทั้งหลายที่อยู่เหนือดินย่อมเติบโตดี แข็งแรง และเป็นผู้ผลิต (producer) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะ ช่วยให้สัตว์ มนุษย์ และจุลินทรีย์ต่างๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร มีชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติ การย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการท�างานของจุลินทรีย์นั้น มีเห็ดเป็นตัวจักรที่ส�าคัญยิ่ง เพราะในเบื้องต้นของการย่อยสลาย จะมีกิจกรรมของจุลินทรีย์ในกลุ่มอื่นเกิดขึ้นก่อน เช่น แบคทีเรีย แอคติโนไมซิส และราขนาดเล็กที่กินแป้งและน�้าตาล หรือสารประกอบที่ย่อยสลายง่ายเป็นอาหาร คงเหลือสารประกอบที่ย่อยสลายยากของผนังเซลล์พืชไว้ ได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลินิน ซึ่งเห็ดแซบโพรไฟต์ โดยเฉพาะที่อยู่ในชั้น Basidiomycetes เท่านั้น ที่มีความสามารถในการผลิต เอนไซม์ออกมาย่อยผนังเซลล์ของพืชจนถึงขั้นสุดท้ายได้ เราอาจจะมองไม่เห็นความส�าคัญ ในการเป็นผู้ย่อยสลายซากของรา ถ้าเราไม่ทราบว่าในแต่ละปี พืชมีการเติบโตและเพิ่มคาร์บอนให้ แก่ระบบนิเวศของโลกมากถึง 56,400 ล้านเมตริกตัน ดังนั้นเพื่อให้เกิดสมดุลในธรรมชาติ จ�านวน คาร์บอนที่พืชสร้างขึ้นจะต้องมีการสลาย และปลดปล่อยออกไปในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ น�้า และธาตุอาหาร ในจ�านวนเท่าๆ กับที่พืชสร้างขึ้น ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ก็ด้วยกิจกรรม ของราและเห็ด เห็ดแซบโพรไฟต์ที่ขึ้นอยู่บนซากใบ กิ่งไม้ และขอนไม้ เช่น เห็ดหูหนู เห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ดบดหรือเห็ดลม และเห็ดแครง เป็นต้น นอกจากมีประโยชน์ในการหมุนเวียนธาตุอาหารตาม ธรรมชาติแล้ว ดอกของมันยังเป็นอาหารของแมลง และสัตว์อื่นๆ เช่น หอยทาก รวมทั้งมนุษย์ด้วย เห็ดที่กล่าวชื่อมานี้ได้มีการน�ามาเพาะเลี้ยงในโรงเรือนเพื่อการค้า และบางชนิดมีการพัฒนาเป็น เห็ดอุตสาหกรรมแล้ว เห็ดเอคโตไมคอร์ไรซาช่วยให้ต้นไม้ป่ามีการเติบโตที่ดีขึ้น และมีอัตราการรอดตายสูงเมื่อต้อง เผชิญกับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง เพราะเส้นใยเห็ดช่วยให้รากพืชดูดน�้าและธาตุอาหารได้มากขึ้น รวมทั้งช่วยปกป้องรากพืชจากการเข้าท�าลายของจุลินทรีย์ดินที่เป็นสาเหตุของโรคที่รากด้วย ท�าให้ ต้นไม้ในป่ามีสุขภาพดี แลดูสวยงาม สิ่งที่เห็ดเอคโตไมคอรไรซาได้จากพืชคือ สารอาหารที่พืชปรุงขึ้น

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 8 5

75-90_dp2-1.indd 85 7/28/56 BE 5:39 PM จากกระบวนการสังเคราะห์แสง การได้รับอาหารจากพืชอย่างสมบูรณ์ท�ำให้เส้นใยที่อยู่ใต้ดิน เติบโตดี และเมื่อมีความชื้นเหมาะสมเส้นใยจะรวมตัวกันสร้างดอกเห็ดขึ้นมาเหนือดิน ดอกเห็ด เอคโตไมคอร์ไรซามีความสวยงาม ช่วยเพิ่มสีสันให้แก่พื้นป่า บางชนิดเป็นอาหารของแมลงและ สัตว์ต่างๆ รวมถึงมนุษย์ด้วย ดังนั้นในฤดูฝน ชาวบ้านที่นิยมรับประทานเห็ดป่า เช่น เห็ดระโงก เห็ดแดง เห็ดตะไคล เห็ดตับเต่า และเห็ดเผาะ จึงออกเก็บหาเห็ดเหล่านี้เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและ น�ำไปขาย เป็นการเพิ่มรายได้อย่างดี เห็ดอีกชนิดหนึ่งที่ควรกล่าวถึงในแง่คุณค่าต่อระบบนิเวศคือ เห็ดโคน เพราะเห็ดโคนด�ำรง ชีวิตอยู่ร่วมกับปลวก และปลวกนั้นเป็นแมลงที่ท�ำให้กระบวนการย่อยสลายเนื้อไม้เกิดรวดเร็วขึ้น โดยปลวกไปกัดกินเนื้อไม้เป็นอาหาร ท�ำให้เนื้อไม้แตกหักเป็นชิ้นที่มีขนาดเล็กลง อันเป็นการเพิ่ม พื้นที่ผิวของไม้ ท�ำให้จุลินทรีย์สามารถเข้าท�ำลายเนื้อไม้ได้มากขึ้น และเนื้อไม้ที่ปลวกกินเข้าไปจะ ถูกย่อยด้วยน�้ำย่อยในกระเพาะปลวกเพียงบางส่วน แล้วจะถูกขับถ่ายออกมา เนื้อไม้ที่ย่อยไปบ้าง แล้วและอยู่ในมูลปลวก จะกลายเป็นอาหารที่ดีของเห็ดโคน ดังนั้นจึงมีเส้นใยของเห็ดโคนมากมาย เจริญอยู่ในรังปลวกที่สร้างขึ้นจากมูลของปลวก ในขณะเดียวกันเส้นใยนั้นก็เป็นอาหารของปลวก ที่อยู่ในรังด้วย ความเป็นอยู่ที่พึ่งพาอาศัยกันระหว่างปลวกและเห็ดโคนนี้ ก่อให้เกิดการหมุนเวียน ของธาตุอาหาร ส�ำหรับดอกเห็ดโคนนอกจากจะเป็นอาหารของปลวก แมลงและสัตว์อื่นๆ ในธรรมชาติ แล้ว ยังเป็นอาหารอันโอชะของมนุษย์ มีการเก็บหาเพื่อน�ำมารับประทานในครัวเรือนและ เพื่อการค้า ก่อให้เกิดรายได้ที่ดียิ่ง ส�ำหรับเห็ดโรคพืชที่ก่อให้เกิดโรคแก่นไม้ผุ (heart rot) ภายในล�ำต้นของต้นไม้นั้น ถึงแม้ จะเป็นโทษต่อต้นไม้ แต่เป็นผลดีในแง่ของการเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่ต้องการโพรงไม้เป็น ที่อยู่อาศัยหรือเป็นรัง โดยเฉพาะ นกเงือก ที่มีจ�ำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ เพราะไม่สามารถหาโพรงรัง ที่เหมาะสมส�ำหรับวางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อนได้ การมีประชากรนกเงือกในป่าจะช่วยให้การกระจาย ของเมล็ดไม้ที่เป็นอาหารของนกเงือกดีขึ้น มีกล้าไม้เกิดใหม่บนพื้นป่า ท�ำให้ป่ามีชีวิตชีวาด้วย ความสวยงามและเสียงร้องของนกเงือก นกเงือกเป็นสัตว์ป่าชนิดเดียวที่น�ำมายกเป็นตัวอย่างในที่นี้ ยังมีสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ อีก ที่ต้องการโพรงรังบนต้นไม้ หรือตอไม้ผุ หรือในขอนไม้ ที่เกิดจากกิจกรรม การย่อยสลายเนื้อไม้ของเห็ด

ความส�ำคัญของเห็ดทางด้านเศรษฐกิจ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาต ิ (Food and Agriculture Organization, United Nations) ได้รายงานว่า การส่งออกเห็ดของโลกเมื่อปี ค.ศ. 2009 มีมูลค่าอยู่ที่ 1,575,620,000 ดอลลาร์ โดยประเทศโปแลนด์ ส่งออกมีมูลค่าสูงที่สุด 349,672,000 ดอลลาร์ เนเธอร์แลนด์ 294,447,000 ดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา 45,779,000 ดอลลาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน 86,741,000 ดอลลาร์ อินโดนีเซีย 2,495,000 ดอลลาร์ สิงคโปร์ 2,931,000 ดอลลาร์ ไทย 7,901,000 ดอลลาร์ และเวียดนาม 96,000 ดอลลาร์ โดยแต่ละประเทศมีการน�ำเข้าเห็ดและส่งออกเห็ด ทั้งที่เป็นเห็ดสด เห็ดแปรรูป เห็ดแห้ง และ เห็ดกระป๋อง เมื่อ ปี ค.ศ. 2008 ประเทศไทยได้น�ำเข้าเห็ดแห้ง 5,266 ตัน ซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่า

86 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

75-90_dp2-1.indd 86 7/28/56 BE 5:39 PM ปีที่ผ่านมา แต่ส่งออกเห็ดแห้งเพียง 781 ตัน และน�าเข้าเห็ดกระป๋อง 434 ตัน ส่งออก 690 ตัน ส่วนประเทศเวียดนาม ส่งออก 5,589 ตัน ซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อนหน้า องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้รายงานด้วยว่า การผลิตเห็ดของโลก เมื่อปี ค.ศ. 2009 มีปริมาณ 6,535,542 ตัน โดยประเทศที่ผลิตมากที่สุดคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปริมาณ 4,680,726 ตัน ในขณะที่ประเทศเวียดนามผลิตได้ 20,091 ตัน ส่วนประเทศไทย ผลิตได้ 6,420 ตัน เห็ดประมาณ 37% ผลิตมากในประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และฝรั่งเศส เห็ดสกุลนางรมประมาณ 22% เห็ดหอมประมาณ 12% ผลิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน และญี่ปุ่น ส่วนเห็ดฟางประมาณ 6% ผลิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย และมาเลเซีย ส�าหรับประเทศไทย เห็ดที่ผลิตมากที่สุดคือ เห็ดฟาง หรือประมาณ 75% ของเห็ดที่ผลิตภายในประเทศ ทั้งหมด ส่วนใหญ่ (ประมาณ 70%) ใช้บริโภคภายในประเทศ นอกจากเห็ดฟางแล้ว ยังมีเห็ดสกุลนางรม เห็ดหูหนู เห็ดหอม และเห็ดแชมปิญอง เห็ดมีคุณค่าทางโภชนาการสูงส�าหรับมนุษย์ เนื่องจากมีปริมาณโปรตีน เกลือแร่ และเส้นใยสูง มีไขมันต�่า มีคุณค่าทางสมุนไพรและยา ใช้ป้องกันและรักษาโรคร้าย เช่น เนื้องอก มะเร็ง เป็นต้น และใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมอื่นๆ การเพาะเห็ดใช้พื้นที่น้อยกว่าและให้ผลตอบแทนสูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ และเป็นการน�าวัสดุ เหลือใช้ต่างๆ จากการเกษตร มาก่อให้เกิดประโยชน์ในการเพาะเห็ด อันเป็นการเพิ่มคุณค่า ทางเศรษฐกิจทางอ้อมของวัสดุเหลือใช้เหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยเป็นประเทศ เกษตรกรรมที่มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมากมาย การเพาะเห็ดยังเป็นการสร้างงานและเพิ่มรายได้ ให้แก่เกษตรกร และประชาชนโดยทั่วไปด้วย ดังนั้นการเพาะเห็ดจึงมีความส�าคัญต่อเศรษฐกิจ ในระดับครัวเรือน จนถึงระดับประเทศชาติ

คุณค่าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม จากการที่เห็ดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จึงเป็นอาหารที่มนุษย์นิยมบริโภคกันอย่าง กว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ และนับวันจะมากยิ่งขึ้น คุณค่าทางสมุนไพรและทางยา ก็เป็นที่ต้องการและสนใจของผู้บริโภคเช่นกัน ขณะเดียวกันได้มีการวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์ เห็ดสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย จึงเป็นการเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ดังนี้ 1. เพิ่มการผลิตทั้งชนิดและปริมาณเห็ด สร้างแรงงาน เพิ่มเงินหมุนเวียน 2. เพิ่มการสร้างมูลค่าเห็ดในรูปต่างๆ เช่น เป็นอาหารเสริม เวชภัณฑ์ และอื่นๆ

คุณค่าทางการแพทยและสมุนไพร เห็ดหลายกลุ่มและหลายชนิดจัดอยู่ในจ�าพวกเห็ดสมุนไพร ที่นิยมน�ามาใช้กันมากใน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ เห็ดหอม หลินจือ หูหนูขาว เอวิ๋นจือ (Coriolus versicolor)

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 8 7

75-90_dp2-1.indd 87 7/28/56 BE 5:39 PM ไมตะเกะ แชมปิญอง และถั่งเช่าทิเบต (Ophiocordyceps sinensis) ในประเทศไทยมีเห็ดหลายกลุ่ม ที่สามารถน�ำมาวิจัย หรือวิจัยแล้วพร้อมจะผลิตเป็นอุตสาหกรรมยา ใช้รักษาและป้องกันโรคได้ เช่น กลุ่มเห็ด Ganoderma ได้แก่ เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) เห็ดหูช้างหรือเห็ดซิ่น (Ganoderma applanatum) เห็ดเนื้อเยื่อ (Ganoderma subresinosum) และกลุ่มเห็ด Phellinus ได้แก่ เห็ดเค็ง (Phellinus linteus) เห็ดพิมาน (Phellinus rimosus) เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดการซื้อยารักษาโรคจาก ต่างประเทศเป็นจ�ำนวนเงินที่สูงมากในแต่ละปีได้ ประโยชน์ของเห็ดทางการแพทย์คือ สารชีวภัณฑ์ส�ำคัญที่ให้ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ได้แก่ โพลิแซคคาไรด์ สเตอรอยด์ กลุ่มสารนิวคลีโอไทด์ สารประกอบ เยอร์มาเนียม สารไตรเทอร์ปินอยด์ ไกลโคโปรตีน และเลคติน ที่มักใช้รักษาอาการและโรค ดังต่อไปนี้ 1. ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หอบหืดที่เกิดจากภูมิแพ้ การแพ้อาหาร โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง การอักเสบต่างๆ ในร่างกาย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2. โรคผนังหลอดเลือดแข็งตัว ระดับน�้ำตาลในเลือดสูง การสะสมไขมันในหลอดเลือด โรคความดันโลหิต โรคตับ โรคเบาหวาน โรคกระเพาะและล�ำไส้ โรคไต และโรคประสาท 3. โรคมะเร็ง การติดเชื้อ ต่อต้านและชะลอการเติบโตของเนื้องอกในร่างกาย เห็ดที่มีคุณค่าทางการแพทย์และสมุนไพร มีทั้งชนิดที่เพาะเลี้ยงเป็นการค้า และเห็ดที่ขึ้นอยู่ ตามธรรมชาติ หรือเห็ดป่า

เห็ดที่เพาะเลี้ยงเป็นการค้า 1. เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) มีสารสกัดจากเส้นใยและดอกที่มีศักยภาพลดอาการ เครียดของประสาท กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย ระบบการหายใจ ช่วยให้หลับสนิท บ�ำรุงสุขภาพช่วย ต่อต้านอาการไข้หวัด ลดระดับไขมันในเลือด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจบางชนิด เม็ดเลือดขาวต�่ำ หวัดเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ และหอบหืด สารสกัดจากสปอร์ ช่วยลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ เห็ดหลินจือใช้ในทางการแพทย์เพื่อรักษาโรค 1.1 รักษาไตเรื้อรัง ลดอาการไตอักเสบ ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ เพิ่มประสิทธิภาพ การไหลเวียนของโลหิต และเพิ่มสมรรถภาพการท�ำงานของไต (โดยรับประทานสารสกัดจาก เห็ดหลินจือ วันละ 750 – 1000 มิลลิกรัม ควบคุมกับการให้ยาขยายหลอดเลือด) 1.2 ลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด นักวิจัยชาวญี่ปุ่นใช้เห็ดหลินจือสกัด รักษา คนไข้เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าสามารถลดคอเลสเตอรอลได้ 74.2% ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาวิจัย ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เซี่ยงไฮ้ 1.3 ป้องกันเส้นเลือดอุดตันในสมองและหัวใจ เห็ดหลินจือมีสารสกัด นิวคลีโอไทด์ มีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือดที่อุดตัน และมีสารเยอร์มาเนียม ช่วยเพิ่มออกซิเจนที่สะสมในเนื้อเยื่อ สามารถขจัดอนุมูลอิสระได้ 1.4 มีสารโพลิแซคคาไรด์ ปรับการท�ำงานของตับ ปกป้องตับจากสารพิษ มีสาร เบต้าดีกลูแคน เพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันโรค

88 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

75-90_dp2-1.indd 88 7/28/56 BE 5:39 PM 1.5 มีสารไตรเทอร์ปินอยด์ (Triterpenoids) บ�ารุงปกป้องและรักษาโรคตับ กรดกาโนเดอริค (Ganoderic acid) และกรดลูซิเดนิค (Lucidenic acid) มีสารต่อต้านสารพิษที่มีต่อตับ และยับยั้ง การเจริญของเซลล์มะเร็งในตับ กระตุ้นการท�างานของเม็ดเลือดขาว โปรตีน Lz-8 ในเห็ดหลินจือ ช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี 1.6 สารเยอร์มาเนียมในเห็ดหลินจือ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 1.7 มีสารส�าคัญทางยาที่ลดน�้าตาลในเลือดในกลุ่มของโพลีแซคคาไรด์ ได้แก่ กาโนเดอแรน เอ บี และซี ช่วยลดน�้าตาลในกระแสเลือด ท�าให้มีสารอินซูลินเพิ่มขึ้น มีการจดลิขสิทธิ์ สารกาโนเดอแรน เอ บี และซี เป็นยารักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน 1.8 เป็นแอนตี้ออกซิแดนซ์ที่ดี ขจัดอนุมูลอิสระ ช่วยท�าให้ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์มะเร็ง ต�่าลง เม็ดเลือดขาวเข้าไปท�าลายเซลล์มะเร็งได้ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ปรับสมดุล ให้ท�างานปกติ ช่วยกระตุ้นไขกระดูก ผลิตเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ช่วยฟนฟูสมรรถภาพของตับที่ถูก ท�าลายจากการรับประทานยาแผนปัจจุบันเป็นเวลานาน 1.9 เป็นยาอายุวัฒนะ ปลอดภัยสูง บ�ารุงร่างกาย รับประทานติดต่อกันได้เป็นเวลานาน 2 เห็ดหอม (Lentinula edodes) มีสารโพลีแซคคาไรด์ ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก เพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัสโรคตับ ใช้ร่วมกับการฉายรังสีรักษาเนื้องอกได้ 3. เห็ดหูหนูขาว (Tremella fuciformis) มีสาร ช่วยการรอดตายในผู้ที่ผ่านการฉายรังสีแกมม่า ช่วยในกลไกสร้างเม็ดเลือดในกระดูก กระตุ้นการสร้างเอนไซม์ในระบบการหายใจ ช่วยลดอาการ เจ็บปวดจากการฉายรังสีรักษาเนื้องอก มีประสิทธิภาพรักษาโรคมะเร็งในเม็ดเลือด (leukaemia) และรักษาอาการไอและระบบหายใจทั่วไป 4. เห็ดยานางิ (Agrocybe cylindracea) มีสารต่อต้านหรือป้องกันมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอล ในเส้นเลือด 5. เห็ดนางฟา (Pleurotus sajor-caju) เห็ดนางรม (Pleurotus ostreatus) และเห็ดเป๋าฮื้อ (Pleurotus abalonus) ป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนโลหิต โรคกระเพาะอาหาร และมีสาร ป้องกันมะเร็งชนิดต่างๆ 6. เห็ดฟาง (Volvariella volvacea) มีวิตามินซีสูง และกรดอะมิโนส�าคัญหลายชนิด เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อต่างๆ ป้องกันโรคเหงือก เลือดออกตามไรฟัน และลดอาการผื่นคัน 7. เห็ดไมตะเกะ (Grifola frondosa) กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต่อต้านและท�าลายเซลล์มะเร็ง ยับยั้ง ก้อนเนื้อร้ายหลายชนิด ลดปริมาณน�้าตาลในกระแสเลือด 8. เห็ดแชมปญอง (Agaricus bisporus) มีสารต่อต้านมะเร็งหลายชนิด กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในร่างกาย และต่อต้านอนุมูลอิสระ 9. เห็ดกระดุมบราซิล (Agaricus blazei) มีสารกระตุ้นการท�างานของโปรตีนไคเนส และยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้าน ยับยั้ง และท�าลายเซลล์มะเร็งหลายชนิด 10. เห็ดถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) มีฤทธิ์ต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว ยับยั้งการแพร่ กระจายของมะเร็ง ยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดไขมันในเส้นเลือด ต้านเชื้อเอดส์ ชะลอความชรา และ เสริมสมรรถภาพทางเพศ

ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ ºÑÞªÕÃÒ¡Ò÷ÃѾÊÔ¹ªÕÇÀÒ¾ àËç´ 8 9

75-90_dp2-1.indd 89 7/28/56 BE 5:39 PM เห็ดที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ หรือเห็ดป่า 1. เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ (Astraeus hygrometricus) ช่วยบ�ำรุง และลดความสึกหรอ ในร่างกาย การหมุนเวียนของโลหิต 2. เห็ดตับเต่าหรือเห็ดผึ้ง (Phaeogyroporus portentosus) บ�ำรุงสุขภาพ บ�ำบัดอาการ ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเส้นเอ็นและกระดูก ป้องกันการชักกระตุก 3. เห็ดมันปู (Cantharellus cinnabarinus) มีสารที่ประกอบด้วยวิตามินเอ และกรดอะมิโน ที่จ�ำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด เช่น isoleucine 4. เห็ดหล่มกระเขียว (Russula virescens) มีสารฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก ก�ำมะถัน และวิตามินบี 1 ช่วยบ�ำรุงสายตา ตับ เลือด บ�ำรุงร่างกาย และลดไข้ 5. เห็ดกระเป๋า (Cryptoporus volvatus) มีสารออกฤทธิ์ลดอาการอักเสบ รักษาโรคหลอดลม อักเสบ และหอบหืด 6. เห็ดพุงหมู (Russula foetens) มีสารช่วยบ�ำบัดอาการ ปวดหลัง บ�ำรุงเส้นเอ็นและกระดูก และแก้อาการชักกระตุก 7. เห็ดกระด้างหรือเห็ดบด (Lentinus polychrous) มีสารบ�ำบัดโรคลม แก้พิษงู และแมงป่อง 8. เห็ดเค็ง (Phellinus linteus) มีคุณสมบัติในการสร้างภูมิต้านทาน ต่อต้านโรคมะเร็ง แก้อาการอักเสบ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน

คุณค่าต่อการควบคุมทางชีวภาพ (bio-control) เห็ดหลายชนิด มีสารควบคุมทางชีวภาพ (biological control) ยับยั้งจุลินทรีย์หลายชนิด เช่น เห็ดที่ใช้ควบคุมราสาเหตุโรคพืช ได้แก่ Xerula radicata เห็ดที่ควบคุมแบคทีเรียสาเหตุ โรคพืชบางกลุ่ม ได้แก่ เห็ดยานางิ เห็ดหอม เห็ดแครง เห็ดขาม (Ganoderma oregonense) เห็ดหิ้งเข็มขัดแดง (Fomitopsis pinicola) และเห็ดตีนแรด โดยที่เห็ดเหล่านี้สามารถน�ำมา เพาะขยายเพิ่มปริมาณทั้งดอกเห็ด และเส้นใยหรือน�้ำเลี้ยงเส้นใย เพื่อน�ำไปใช้ควบคุมจุลินทรีย์ ที่ก่อให้เกิดโรคพืช หรือโรคของสัตว์และมนุษย์ ในเชิงพาณิชย์ต่อไป อันจะช่วยลดปริมาณยาปฏิชีวนะ ที่น�ำเข้าประเทศได้ในระดับหนึ่ง

90 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

75-90_dp2-1.indd 90 7/28/56 BE 5:39 PM µÍ¹·Õè 3 ÃÒª×èÍàËç´·ÕèÁÕ ÃÒ§ҹ¡Òþº ã¹»ÃÐà·Èä·Â

91-102_dp2-1.indd 91 7/28/56 BE 5:47 PM บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

91-102_dp2-1.indd 92 7/28/56 BE 5:47 PM º··Õè 13 ÃÒª×èÍàËç´ã¹ªÑé¹ Ascomycetes

อันดับ Arthoniales วงศ์ Roccellaceae Hymenoscyphus varicosporioides Opegrapha vulgata (Ach.) Ach. S, Ine Tubaki S, Une Neobulgaria pura (Pers.) Petr. S, Une อันดับ Diaporthales วงศ์ Valsaceae Valsella salicis Fuckel S, Ine อันดับ Helotiales วงศ์ Hyaloscyphaceae Hyaloscypha dematiicola (Berk. & Broome) อันดับ Gyalectales วงศ์ Gyalectaceae Nannf. S, Une Gyalecta truncigena (Ach.) Hepp. L, Ine อันดับ Helotiales วงศ์ อันดับ Helotiales วงศ์ Dermateaceae Dicephalospora rufocornea (Berk. & Broome) Niptera excelsior (P. Karst.) Dennis S, Une Spooner S, Une Rutstroemia firma (Pers.) P. Karst. S, Une อันดับ Helotiales วงศ์ Geoglossaceae Geoglossum nigritum (Fr.) Cooke S, Une อันดับ Helotiales วงศ์ Geoglossum sp. S, Une Dicephalospora rufocornea (Berk. & Broome) Gloeoglossum glutinosum (Pers.) Spooner S, Une E.J. Durand S, Une Trichoglossum floccosum Samuels S, Une อันดับ Helotiales วงศ์ Vibrisseaceae Trichoglossum hirsutum (Pers.) Boud. S, Ine Vibrissea nypicola K.D. Hyde & Alias S, Une Trichoglossum rasum Pat. S, Ine อันดับ Helotiales ไมมีการระบุวงศ์ อันดับ Helotiales วงศ์ Leotiaceae Ascocoryne cylichnium (Tul.) Korf. S, Ine Hymenoscyphus menthae (W. Phillips) Bisporella citrina (Batsch) Korf & S.E. Baral. S, Une Carp. S, Ine Leotia atrovirens Pers. S, Une Leotia chlorocephala Schwein. S, Edi อันดับ Hypocreales วงศ์ Clavicipitaceae Leotia lubrica (Scop.) Pers. S, Edi Aciculosporium take I. Miyake Pt, Une Leotia viscosa Fr. S, Une Aschersonia badia Pat. Pt, Une Aschersonia calendulina Luangsa-ard, Tasan., อันดับ Helotiales วงศ์ Helotiaceae Mongkols. & Hywel-Jones Pt, Une Bulgaria javanicum (Rehm.) Le Gal. S, Edi Aschersonia state of Hypocrella Chlorociboria aeruginascens (Nyl.) Kanouse ex calendulina Pt, Une C.S. Ramamurthi, Korf & L.R. Batra S, Une Aschersonia coffeae Henn. Pt, Une Chlorociboria omnivirens (Berk.) Aschersonia confluens Henn. Pt, Une J.R. Dixon S, Une Aschersonia hypocreoidea (Cooke & Massee) Gorgonicep confluens Seaver and Petch Pt, Une Waterston S, Ine Aschersonia luteola Hywel-Jones Hymenoscyphus crocatus (Mont.) K.S. & Mongkols.** Pt, Une Thind & H. Singh S, Une Aschersonia marginata Ellis & Everh. Pt, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 9 3

91-102_dp2-1.indd 93 7/28/56 BE 5:47 PM Aschersonia minutispora Hywel-Jones Metarhizium anisopliae var. anisopliae (Metschn.) & Mongkols.** Pt, Une Sorokin Pt, Une Aschersonia oxystoma Berk. Pt, Une Metarhizium anisopliae var. majus Aschersonia placenta Berk. Pt, Une J.R. Johnst. Pt, Une Aschersonia samoensis Henn. Pt, Une Metarhizium cylindrosporum Q.T. Chen & H.L. Aschersonia state of Hypocrella Guo Pt, Une luteola Pt, Une Metarhizium flavoviridae W. Gams Claviceps purpurea (Fr.) Tul. Pt, Une & Rozsypal Pt, Une Conoideocrella luteorostrata (Zimm.) D. Johnson, Moelleriella javanica (Penz. & Sacc.) Chaverri & G.-H. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une K.T. Hodge Pt, Une Conoideocrella tenuis (Petch) D. Johnson, Moelleriella mollii (Koord.) P. Chaverri, M. Liu & G.-H. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une K.T. Hodge Pt, Une Hypocrella calendulina Hywel-Jones Moelleriella oxystoma (Berk.) P. Chaverri, M. Liu & Mongkols.** Pt, Une & K.T. Hodge Pt, Une Hypocrella discoidea (Berk. & Broome) Moelleriella pumatensis T.T. Nguyen & N.L. Sacc. Pt, Une Tran Pt, Une Hypocrella luteola Hywel-Jones & Moelleriella raciborskii (Zimm.) P. Chaverri, M. Liu Mongkols.** Pt, Une & K.T. Hodge Pt, Une Hypocrella mollii Koord. Pt, Une Moelleriella reineckeana (Henn.) P. Chaverri, M. Liu = (Cur) Moelleriella mollii (Koord.) P. Chaverri, & K.T. Hodge Pt, Une M. Liu & K.T. Hodge Moelleriella schizostachyi (Henn.) P. Chaverri, M. Liu Hypocrella palmicola Henn. Pt, Une & K.T. Hodge Pt, Une Hypocrella raciborskii Zimm. Pt, Une Moelleriella scutata (Cooke) P. Chaverri, M. Liu & = (Cur) Moelleriella raciborskii (Zimm.) P. K.T. Hodge Pt, Une Chaverri, M. Liu & K.T. Hodge Nomuraea rileyi (Farl.) Samson Pt, Une Hypocrella schizostachyi Henn. Pt, Une Orbiocrella petchii (Hywel-Jones) D. Johnson, = (Cur) Moelleriella schizostachyi (Henn.) P. G.-H. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Chaverri, M. Liu & K.T. Hodge Paecilomyces cinnamomeus (Petch) Samson & Hypocrella siamensis Hywel-Jones & W. Gams Pt, Une Mongkols.** Pt, Une Samuelsia mundiveteris Hywel-Jones & Metacordyceps brittlebankisoides (Zuo Y. Liu, Mongkols.** Pt, Une Z.Q. Liang, Whalley, Y.J. Yao & A.Y. Liu) G.H. Stilbella sp. Pt, Une Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une อันดับ Hypocreales วงศ์ Cordycipitaceae Metacordyceps khaoyaiensis (Hywel-Jones) Akanthomyces aculeatus Lebert Pt, Une Kepler, G.H. Sung & Spatafora Pt, Une Akanthomyces arachnophilus (Petch) Samson & Metacordyceps owariensis (Kobayasi) Kepler, H.C. Evans Pt, Une G.H. Sung & Spatafora Pt, Une Akanthomyces aranearum (Petch) Metacordyceps owariensis f. viridescens (Uchiy. & Mains Pt, Une Udagawa) Kepler, G.H. Sung & Spatafora Pt, Une Akanthomyces cinereus Hywel-Jones Pt, Une Metacordyceps taii (Z.Q. Liang & A.Y. Liu) G.H. Akanthomyces gracilis Samson & Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une H.C. Evans Pt, Une Metarhizium album Petch Pt, Une Akanthomyces koratensis Hywel-Jones Pt, Une Metarhizium anisopliae (Metsch.) Akanthomyces novoguineensis Samson & B.L. Sorokin Pt, Une Brady Pt, Une

94 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

91-102_dp2-1.indd 94 7/28/56 BE 5:47 PM Akanthomyces pistillariiformis (Pat.) Samson Cordyceps tuberculata (Lebert) Maire Pt, Une & H.C. Evans Pt, Une Engyodontium sp. Pt, Une Akanthomyces websteri Hywel-Jones Pt, Une Gibellula alata Petch Pt, Une Beauveria amorpha (Höhn.) Samson & Gibellula dimorpha Tzean, L.S. Hsieh & H.C. Evans Pt, Une W.J. Wu Pt, Une Beauveria bassiana (Bals.-Criv.) Vuill. Pt, Une Gibellula leiopus (Vuill. ex Maubl.) Beauveria brongniartii (Sacc.) Petch Pt, Une Mains Pt, Une Cordyceps bassiana Z.Z. Li, C.R. Li, B. Huang & Gibellula mirabilis Samson & H.C. M.Z. Fan Pt, Une Evans Pt, Une Cordyceps brongniartii Shimazu Pt, Une Gibellula pulchra Cavara Pt, Une Cordyceps buaoides Pt, Une Hyperdermium bertonii (Speg.) J.F. White, Cordyceps coccidioperitheciata Kobayasi & R.F. Sullivan, Bills & Hywel-Jones Pt, Une Shimizu Pt, Une Isaria amoenerosea P. Henn. Pt, Une Cordyceps cylindrica Petch Pt, Une Isaria cicadae Miq. Pt, Une Cordyceps grenadensis Mains Pt, Une Isaria farinosa (Holmsk.) Fr. Pt, Une Cordyceps gryllotalpidicola Luangsa-ard, Isaria fumosorosea Wize Pt, Une Ridkaew & Tasan. Pt, Une Isaria javanica (Frieder. & Bally) Samson & Cordyceps ignota Marchion. Pt, Une Hywel-Jones Pt, Une Cordyceps loeiensis Luangsa-ard, Ridkaew Isaria takamizusanensis Y. Kobayasi Pt, Une & Tasan. Pt, Une Isaria tenuipes Peck Pt, Une Cordyceps martialis Speg. Pt, Une Torrubiella arachnophila (J.R. Johnst.) Cordyceps militaris (L.) Link Pt, Une Mains Pt, Une Cordyceps militaris var. sphaerocephala Torrubiella arachnophila var. pulchra J.C. Schmidt Pt, Une Mains Pt, Une Cordyceps mrciensis Aung, J.C. Kang, Z.Q. Torrubiella dimorpha Tzean, L.S. Hsieh & W.J. Liang, Soytong & K.D. Hyde Pt, Une Wu Pt, Une Cordyceps nelumboides Kobayasi & Torrubiella hemipterigena Petch Pt, Une Shimizu Pt, Une Torrubiella iriomoteana Kobayasi Cordyceps ninchukispora (C.H. Su & H.H. Wang) & Shimizu Pt, Une G.-H. Sung, J.-M. Sung, Hywel-Jones & Torrubiella neofusiformis Kobayasi Spatafora Pt, Une & Shimizu Pt, Une Cordyceps nipponica Kobayasi Pt, Une Torrubiella pruinosa (Petch) Minter & Cordyceps owariensis f. viridescens Uchiy. B. L. Brady Pt, Une & Udagawa Pt, Une Torrubiella siamensis Hywel-Jones Pt, Une Cordyceps pseudomilitaris Hywel-Jones Verticillium hemipterigenum Petch Pt, Une & Sivichai Pt, Une Cordyceps ryogamimontana Kobayasi Pt, Une อันดับ Hypocreales วงศ์ Hypocreaceae Cordyceps singeri Mains Pt, Une Hypocrea colensoi Lloyd S, Une Cordyceps sphecocephala (Klotzsch ex Berk.) Hypocrea discoidea Berk. & Broome S, Une Berk. Pt, Une = (Syn) Hypocrella discoidea (Berk. & Broome) Cordyceps staphylinidicola Kobayasi & Sacc. ; Clavicipitaceae Shimizu Pt, Une Hypocrea mesenterica Bres. & Pat. S, Une Cordyceps takaomontana Yakush. & Hypocrea nigricans (S. Imai) Yoshim. DoiS, Une Kumaz. Pt, Une Hypocrea pezizoidea Möller S, Une Cordyceps thaxteri Mains Pt, Une Hypocrea rufa (Pers.) Fr. S, Ine

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 9 5

91-102_dp2-1.indd 95 7/28/56 BE 5:47 PM Hypocrea schweinitzii (Fr.) Sacc S, Ine Hymenostilbe state of Ophiocordyceps Hypocrea splendens W. Phillips & Plowr S, Ine pseudolloydii Pt, Une Podostroma comudamae (Pat.) Boedijn S, Une Nomuraea atypicola (Yasuda) Samson Pt, Une Ophiocordyceps aff acicularis (Ravenel) อันดับ Hypocreales วงศ์ Nectriaceae Petch Pt, Une Baipadisphaeria spathulospora Ophiocordyceps acicularis (Ravenel) Pinruan** S, Une Petch Pt, Une Nectria chaetopsinae Samuels S, Une Ophiocordyceps arachneicola (Kobayasi) G.H. Nectria chaetopsinae-polyblastia Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Samuels S, Une Ophiocordyceps barnesii (Thwaites) G.-H. Sung, Nectria diploa Berk. & M.A. Curtis S, Une J.-M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Nectria episphaeria (Tode) Fr. S, Une Ophiocordyceps blattae Petch Pt, Une Nectria graminicola Berk. & Broome S, Une Ophiocordyceps brunneipunctata G.-H. Sung, Nectria haematococca Berk. & Broome S, Une J.-M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Nectria ochroleuca (Schwein.) Berk. S, Une Ophiocordyceps caloceroides = (Syn) Bionectria ochroleuca (Schwein.) (Berk. & M.A. Curtis) Petch Pt, Une Schoers & Samuels ; Bionectriaceae Ophiocordyceps camponoti-leonardi Kobmoo, Nectria pseudotrichia Berk. & M.A. Curtis S, Une Mongkols., Tasanathai, Thanakitp. & Nectria viridescens C. Booth S, Une Luangsa-ard ** Pt, Une Ophiocordyceps camponoti-saundersi Kobmoo, อันดับ Hypocreales วงศ์ Ophiocordycipitaceae Mongkols., Tasanathai, Thanakitp. & Elaphocordyceps paradoxa (Kobayasi) G.-H. Sung, Luangsa-ard** Pt, Une J.-M. Sung & Spatafora Pt, Une Ophiocordyceps cochlidiicola (Kobayasi & Hirsutella citriformis Speare Pt, Une Shimizu) G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Hirsutella formicarum Petch Pt, Une Spatafora Pt, Une Hirsutella guignardii (Maheu) Samson, Rombach Ophiocordyceps communis Hywel-Jones & Seifert Pt, Une & Samson** Pt, Une Hirsutella nivea Hywel-Jones Pt, Une Ophiocordyceps crinalis (Ellis ex Lloyd) Hirsutella petchabunensis Hywel-Jones, Goos & G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & E.B.G. Jones Pt, Une Spatafora Pt, Une Hirsutella saussurei (Cooke) Speare Pt, Une Ophiocordyceps dipterigena (Berk. & Broome) Hirsutella thompsonii F.E. Fisher Pt, Une G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones Hirsutella versicolor Petch Pt, Une & Spatafora Pt, Une Hymenostilbe aurantiaca Hywel-Jones Pt, Une Ophiocordyceps elongata (Petch) G.H. Sung, J.M. Hymenostilbe dipterigena Petch Pt, Une Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Hymenostilbe furcata Aung, J.C. Kang, Z.Q. Ophiocordyceps engleriana (Henn.) G.H. Sung, Liang, Soytong & K.D. Hyde Pt, Une J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Hymenostilbe nutans Samson & Ophiocordyceps filiformis (Moureau) G.H. Sung, H.C. Evans Pt, Une J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Hymenostilbe odonatae Kobayasi Pt, Une Ophiocordyceps forquignonii (Quél.) G.H. Sung, Hymenostilbe sphecophila (Ditmar) J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Petch Pt, Une Ophiocordyceps gentilis (Ces.) G.H. Sung, J.M. Hymenostilbe ventricosa Hywel-Jones** Pt, Une Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Hymenostilbe nutans Samson & Ophiocordyceps halabalaensis Luangsa-ard, H.C. Evans Pt, Une Ridkaew, Tasan., & Hywel-Jones** Pt, Une

96 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

91-102_dp2-1.indd 96 7/28/56 BE 5:47 PM Ophiocordyceps humbertii (C.P. Robin) G.H. Ophiocordyceps sphecocephala (Klotzsch ex Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Berk.) G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones Ophiocordyceps irangiensis (Moureau) G.H. & Spatafora Pt, Une Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Ophiocordyceps superficialis (Peck) G.H. Sung, Spatafora Pt, Une J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Ophiocordyceps konnoana (Kobayasi & Shimizu) Ophiocordyceps unilateralis (Tul.) G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Petch Pt, Une Spatafora Pt, Une Paecilomyces lilacinus (Thom) Samson Pt, Une Ophiocordyceps longissima (Kobayasi) G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & อันดับ Hysteriales วงศ์ Hysteriaceae Spatafora Pt, Une Hysterium angustatum Alb & Schw. S, Edi Ophiocordyceps mrciensis (Aung, J.C. Z.Q. Hysterium pulicare Pers. S, Edi Liang, Soytong & K.D. Hyde) G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora** Pt, Une อันดับ Lecanorales วงศ์ Bacidiaceae Ophiocordyceps myrmecophila (Ces.) G.H. Sung, Bacidia endoleuca (Nyl.) J. Kickx f. L, Ine J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Ophiocordyceps nigrella (Kobayasi & Shimizu) อันดับ Lecanorales วงศ์ Lecanoraceae G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Lecidella elaeochroma (Ach.) M. Choisy L, Ine Spatafora Pt, Une Ophiocordyceps nutans (Pat.) G.H. Sung, J.M. อันดับ Myriangiales วงศ์ Elsinoaceae Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Moelleriella raciborskii (Zimm.) P. Chaverri, M. Liu Ophiocordyceps owariensis f. viridescens (Uchiy. & K.T. Hodge Pt, Une & Udagawa) G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Moelleriella schizostachyi (Henn.) P. Chaverri, M. Spatafora Pt, Une Liu & K.T. Hodge Pt, Une Ophiocordyceps oxycephala (Penz. & Sacc.) Moelleriella scutata (Cooke) Sacc. Pt, Une G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une อันดับ Pezizales วงศ์ Ascobolaceae Ophiocordyceps polyrhachis-furcata Kobmoo, Ascobolus albidus P. Crouan & Mongkols., Tasanathai, Thanakitp. & H. Crouan S, Une Luangsa-ard** Pt, Une Ascobolus macrosporus P. Crouan & Ophiocordyceps pruinosa (Petch) D. Johnson, H. Crouan S, Une G.H. Sung, Hywel-Jones & Spatafora Pt, Une Ascobolus sphaerospora W. Obrist S, Une Ophiocordyceps pseudolloydii (H.C. Evans & Ascobolus stercorarius (Bull.) J. Schröt. S, Une Samson) G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones & Saccobolus citrinus Boud. & Torrend S, Une Spatafora Pt, Une Saccobolus glaber (Pers.) Lambotte S, Une Ophiocordyceps ravenelii (Berk. & M.A. Curtis) G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones อันดับ Pezizales วงศ์ & Spatafora Pt, Une Gyromitra esculenta (Pers) Fr. S, Poi Ophiocordyceps rhizoidea (Höhn.) Gyromitra infula (Schaeff.) Quél. S, Poi Petch Pt, Une Ophiocordyceps sobolifera (Hill ex Watson) อันดับ Pezizales วงศ์ Helvellaceae G.H. Sung, J.M. Sung, Hywel-Jones crispa (Scop) Fr. Ec, Edi & Spatafora Pt, Une Helvella elastica Bull. Ec, Edi Helvella ehippium Bull. Ec, Une Helvella esculenta (L.) Sowerby Ec, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 9 7

91-102_dp2-1.indd 97 7/28/56 BE 5:47 PM = (Syn) Morchella esculenta Pulvinula globifera (Berk. & M.A. Curtis) Leptopodia atra (J. König) Boud. S, Une Le Gal S, Une = (Syn) Helvella atra Pustularia rosea Rea S, Une Leptopodia elastic (Bull.) Boud. S, Edi = (Syn) Tarzetta rosea = (Cur) Helvella elastica = (Cur) Rhodotarzetta rosea (Rea) Dissing and Sivertsen อันดับ Pezizales วงศ์ Caloscyphaceae Pulvinula tetraspora (Hansf.) Rifai S, Une Caloscypha fulgens (Pers.) Boud. S, Une Scutellinia badio-berbis (Berk. ex Cooke) Kuntze S, Une อันดับ Pezizales วงศ์ Thelebolaceae Scutellinia chiangmaiensis T. Schumach.** S, Une Coprotus leucopocillum Kimbr., Scutellinia colensoi Massee ex Le Gal S, Une Luck-Allen & Cain S, Une Scutellinia cubensis (Berk. & M.A. Curtis) Gamundí S, Une อันดับ Pezizales วงศ์ Pezizaceae Scutellinia jungneri (Henn.) Clem. S, Une Peziza fimeti (Fuckel) E.C. Hansen S, Une Scutellinia phlyctispora (Lepr. & Mont.) Peziza proteana (Boud.) Seaver S, Une Le Gal S, Une Peziza succosa Berk. S, Une Scutellinia scutellata (L.) Lambotte S, Une Peziza tomentosa Schumach. S, Une Scutellinia superba (Velen.) Le Gal S, Une Peziza tricholoma Mont. S, Une Sphaerosporella brunnea (Alb. & Schwein.) = (Cur) Cookeina tricholoma (Mont.) Kunze; Svrcek & Kubicka S, Une Sarcoscyphaceae Tarzetta rosea (Rea) Dennis S, Une Peziza vesiculosa Bull. ex St. Amans S, Une = (Syn) Pustularia rosea Tarzetta sp. S, Une อันดับ Pezizales วงศ์ Pyronemataceae Aleuria aurantia (Pers.) Fuckel S, Edi อันดับ Pezizales วงศ์ Sarcoscyphaceae Aleuria luteonitens (Berk. & Broome) Boedijnopeziza insitiata (Berk. & Curt.) Gillet S, Ine S. Ito & Imai S, Une Aleuria micropus (Pers.) Gillet S, Une Cookeina speciosa (Fr.) Dennis S, Une = (Cur) Peziza microsporus Pers. ; Pezizazeae Cookeina sulcipes (Berk.) Kuntze S, Une Aleuria rhenana Fuckel S, Une Cookeina tricholoma (Mont.) Kuntze S, Une = (Cur) Sowerbyella rhenana (Fuckel) J. Moravec Microstoma floccoplus (Schw.) Raitr. S, Une Otidea onotica (Pers.) Fuckel S. Ine Phillipsia chardoniana Seaver S, Une Humaria hemisphaerica (F.H. Wigg.) Phillipsia domingensis Berk. S, Une Fuckel S, Ine Phillipsia hartmannii (W. Phillips) Rifai S, Une Lamprospora lobata (Berk. & M.A. Curtis) Phillipsia subpurpurea Berk. Curt S, Une Seaver S, Une Pithya cupressina (Batsch) Fuckel S, Une Leucoscypha rutilans (Fr.) Dennis & Pithya vulgaris Fuckel S, Une Rifai S, Une Sarcoscypha austriaca (O. Beck ex Sacc.) = (Cur) Neottiella rutilans (Fr.) Dennis Boud. S, Une Octospora humosa (Fr.) Dennis S, Une Sarcoscypha coccinea (Gray) Boud. S, Edi Pulvinula anthracobia T. Schumach.** S, Une Sarcoscypha occidentalis (Schwein.) Pulvinula carbonaria (Fuckel) Boud. S, Une Sacc. S, Une Pulvinula cinnabarina (Fuckel) Boud. S, Une Pulvinula convexella (P. Karst.) Pfister S, Une อันดับ Pezizales วงศ์ Sarcosomataceae Pulvinula etiolata (Cooke) Le Gal S, Une Galiella celebica (P. Henn.) Nannf. S, Edi

98 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

91-102_dp2-1.indd 98 7/28/56 BE 5:47 PM Galiella rufa (Schwein.) Nannf. & Korf S, Une Fasciatispora petrakii (Mhaskar & V.G. Rao) K.D. Galiella javanica (Rehm) Nannf. & Korf S, Edi Hyde S, Une Plectania chilensis (Mont.) Gamundi S, Une Phomatospora P. berkeleyi Sacc. S, Une Plectania melastoma (Sowerby) Fuckel S, Une Plectania rhytidia (Berk.) Nannf. & Korf S, Une อันดับ Xylariales วงศ์ Xylariaceae Pseudoplectania nigrella (Pers.) Fuckel S, Une Annulohypoxylon bahnphadengense J. Fournier & Sarcosoma globosum (Schmidel) Casp. S, Une M. Stadler** S, Une Sarcosoma javanicum Rehm S,Edi Annulohypoxylon maeteangense J. Fournier & M. Sarcosoma mexicanum (Ellis & Holw.) Stadler** S, Une Paden & Tylutki S, Une Annulohypoxylon moriforme (Henn.) Y.M. Ju, J.D. Rogers & H.M. Hsieh S, Une อันดับ Pleosporales วงศ์ Didymosphaeriaceae Anthostomella aquatica K.D. Hyde & Didymosphaeria diplospora Cooke S, Ine Goh S, Une = (Cur) Didymosphaeria oblitescens (Berk. & Anthostomella clypeoides Rehm S, Une Broome) Fuckel Anthostomella leptospora (Sacc.) Gibbera vaccinii Sowerby ex Fries S, Ine S.M. Francis S, Une Anthostomella monthadoi Promputtha** S, Une อันดับ Rhytismatales วงศ์ Cudoniaceae Anthostomella nitidissima (Durieu & Mont.) Cudonia helvelloides S. Ito & S. Imai S, Une Sacc. S, Une Anthostomella nypae K.D. Hyde, B.S. Lu & อันดับ Sodariales วงศ์ Bertiaceae Alias S, Une Bertia moriformis (Tode ex Fr.) De Not S, Ine Anthostomella palmaria B.S. Lu & K.D. Hyde S, Une อันดับ Xylariales วงศ์ Amphisphaeriaceae Anthostomella puiggarii Speg. S, Une Pestalosphaeria bambusicola Anthostomella punctulata (Roberge ex Desm.) N. Sanoamuang ?, Une Sacc. S, Une Anthostomella tenacis (Cooke) Sacc. S, Une อันดับ Xylariales วงศ์ Clypeosphaeriaceae Apioclypea apiosporioides (Petr.) K.D. Hyde, Capsulospora frondicola K.D. Hyde S, Une J. Fröhl. & Joanne E. Taylor S, Une Areolospora bosensis (A.C. Das) อันดับ Xylariales วงศ์ Diatrypaceae D. Hawksw. S, Une Eutypa bambusina Penz. & Sacc. S, Une = (Cur) Phaeosporis melasperma (Nyl.) Clem. Eutypa bathurstensis K.D. Hyde Areolospora terrophila S.C. Jong & & Rappaz S, Une E.E. Davis S, Une Eutypella acericola (de Not.) Berl. S, Une = (Cur) Phaeosporis melasperma (Nyl.) Clem. Eutypella naqsii K.D. Hyde S, Une Ascotricha guamensis L.M. Ames S, Une Eutypella stellulata (Fr.) Sacc. S, Une Astrocystis eleiodoxae Pinnoi E.B.G. Jones & Peroneutypa heteracantha (Sacc.) Berl. S, Ine K.D. Hyde** S, Une Quaternaria quaternata Pers. (J. Schröt.) S, Ine Astrocystis rachidis (Pat.) K.D. Hyde & J. Fröhl. S, Une อันดับ Xylariales ไมมีการระบุวงศ์ Biscogniauxia citriformis var. macrospora Fasciatispora ujungkulonensis Hidayat S, Une Van der Gucht & Whalley S, Une Fasciatispora lignicola Alias, E.B.G. Jones & Biscogniauxia mediterranea var. microspora Kuthub. S, Une (J.H. Mill.) Y.M. Ju & J.D. Rogers S, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 9 9

91-102_dp2-1.indd 99 7/28/56 BE 5:47 PM Biscogniauxia nummularia var. exutans Hypoxylon crocopeplum Berk. & (Cooke) Van der Gucht S, Une M.A. Curtis S, Une Biscogniauxia nummularia var. pseudopachyloma Hypoxylon dieckmannii Theiss. S, Une (Miller) Whalley S, Une Hypoxylon duranii J.D. Rogers S, Une Biscogniauxia sp. S, Ine Hypoxylon fendleri Berk. ex Cooke S, Ine Camillea tinctor (Berk.) Læssøe, J.D. Rogers & Hypoxylon fragiforme (Pers.: Fr.) Whalley S, Une J. Kickx. S, Une Chlorostroma cyaninum Læssøe, Srikit. & J. Hypoxylon fuscum (Pers.) Fr. S, Une Fourn.** S, Une Hypoxylon hematostroma Mont. S, Ine Daldinia bambusicola Y.M. Ju, J.D. Rogers Hypoxylon hypomiltum Mont. S, Une & F. San Martín S, Une Hypoxylon investiens (Schwein.) Daldinia concentrica (Bolton) Ces. & M.A. Curtis S, Une De Not. S, Ine Hypoxylon jecorinum Berk & Ravenel Daldinia eschscholtzii (Ehrenb.) Rehm S, Ine apud Berk. S, Ine Daldinia vernicosa (Schwein.) Ces. & Hypoxylon kanchanapisekii Suwannasai, De Not. S, Une Rodtong, Thienh. & Whalley** S, Une Daldinia sabahense Dargan & Hypoxylon lenormandii (Berk & M.A. K. S. Thind S, Une Curtis) S, Ine Emarcea castanopsidicola Duong, Jeewon = (Syn) Hypoxylon oodes Berk & Br. & K.D. Hyde** S, Une = (Syn) Hypoxylon riograndense Rehm. Entonaema liquescens Moell. S, Une Hypoxylon macrocarpum Pouzar S, Une Entonaema splendens (Berk. & M.A. Curtis) Hypoxylon mammatum (Wahlenb.) Lloyd. S, Une P. Karst. S, Une Entonaema siamensis Sihan., Thienh. Hypoxylon microplacum (Berk. & M.A. & Whalley** S, Une Curtis) J.H. Mill. S, Une Halorosellinia oceanica (S. Schatz) Whalley, Hypoxylon monticulosum Mont. S, Une E.B.G. Jones, K.D. Hyde & Læssøe S, Une Hypoxylon moriforme Henn. S, Une Hypoxylon aeruginosum J.H. Mill. S, Une = (Cur) Annulohypoxylon moriforme (Henn.) Hypoxylon anthochroum Berk. & Y.M. Ju, J.D. Rogers & H.M. Hsieh Broome S, Une Hypoxylon nitens (Ces.) Y.M. Ju & Hypoxylon archeri Berk. S, Une J.D. Rogers S, Une = (Cur) Annulohypoxylon archeri (Berk.) Y.M. Hypoxylon notatum Berk. & M.A. Curtis S, Une Ju, J.D. Rogers & H.M. Hsieh Hypoxylon oceanicum S. Schatz S, Une Hypoxylon atroroseum J.D. Rogers S, Une = (Cur) Halorosellinia oceanica (S. Schatz) = (Cur) Annulohypoxylon atroroseum (J.D. Whalley, E.B.G. Jones, K.D. Hyde & Læssøe Rogers) Y.M. Ju, J.D. Rogers & H.M. Hsieh Hypoxylon perforatum (Schwein: Fr.) S, Ine Hypoxylon bovei var. microsporum J.H. Hypoxylon polyporoideum Berk. Mill. S, Une ex Cooke S, Une = (Cur) Annulohypoxylon bovei var. microspo- = (Cur) Hypoxylon crocopeplum Berk. & M.A. Curtis rum (J.H. Mill.) Y.M. Ju, J.D. Rogers & H.M. Hsieh Hypoxylon purpureonitens Y.M. Ju & Hypoxylon cohaerens (Pers.) Fr. S, Une J.D. Rogers S, Une = (Cur) Annulohypoxylon cohaerens (Pers.) = (Cur) Annulohypoxylon purpureonitens (Y.M. Y.M. Ju, J.D. Rogers & H.M. Hsieh Ju & J.D. Rogers) Y.M. Ju, J.D. Rogers & H.M. Hsieh Hypoxylon conostomum (Mont.) Hypoxylon rubiginosum (Pers:Fr) Fr. S, Ine Mont. S, Une

100 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

91-102_dp2-1.indd 100 7/28/56 BE 5:47 PM Hypoxylon sclerophaeum Berk. & Xylaria allantoidea (Berk) Fr. S, Ine M.A. Curtis S, Une Xylaria amphithele F.S.M. González & Hypoxylon sp. S, Ine J.D. Rogers S, Une Hypoxylon stygium (Lév.) Sacc. S, Une Xylaria anisopleura (Mont.) Fr. S, Ine Hypoxylon subgilvum Berk. & Broome S, Une Xylaria apiculata Cooke S, Une Hypoxylon sublenormandii Suwannasai, Xylaria arbuscula Sacc. S, Ine Rodtong, Thienh. & Whalley** S, Une Xylaria aristata Mont. S, Ine Hypoxylon suranareei Suwann., Rodtong, Thienh. Xylaria badia Pat. S, Une & Whalley** S, Une Xylaria bambusicola Y.M. Ju & Hypoxylon symphyon Möller S, Une J.D. Rogers S, Une Hypoxylon trugodes Berk. & Broome S, Une Xylaria brasiliensis (Theiss.) Lloyd S, Une Hypoxylon truncatum (Schwein.) Xylaria brunneovinosa Y.-M. Ju et H.-M. J.H. Mill. S, Une Hsieh S, Une = (Cur) Annulohypoxylon truncatum (Schwein.) Xylaria caespitulosa Ces. S, Une Y.M. Ju, J.D. Rogers & H.M. Hsieh Xylaria carpophyla (Pers.) Fr. S, Une Hypoxylon tuberoides Rehm. S, Une Xylaria coccophora Mont. S, Une Hypoxylon vogesiacum (Curr.) Sacc. S, Une Xylaria consociata Starbäck S, Une Kretzschmaria lucidula (Mont.) Dennis S, Une Xylaria cornu-damae (Schwein.) Berk. S, Une Kretzschmaria macrosperma (Mont.) J.D. Rogers Xylaria cubensis (Mont.) Fr. S, Ine & Y.M. Ju S, Une Xylaria curta Fr. S, Une Nemania bipapillata (Berk. & M.A. Curtis) Xylaria escharoidea (Berk.) Fr S, Une Pouzar S, Une Xylaria fissilis Ces. S, Une Nemania diffusa (Sowerby) Gray S, Une Xylaria fockei (Miq.) Cooke S, Une Nemania maritima Y.M. Ju & J.D. Xylaria foekeri Miq. S, Ine Rogers S, Une Xylaria furcata Fr. S, Une Podosordaria leporina (Ellis & Everh.) Xylaria globosa (Spreng. ex Fr.) Mont. S, Ine Dennis S, Une Xylaria grammica (Mont.) Fr. S, Ine Poronia gigantea Sacc. S, Une Xylaria hypoerythra (Mont.) Mont. S, Une Rhopalostroma gracile D. Hawksw. & Xylaria hypoxylon (L. ex Hook.) Grev. S, Ine Whalley S, Une Xylaria hypsipoda Massee S, Une Rhopalostroma kanyae Whalley & Xylaria ianthino-velutina (Mont.) Fr. S, Ine Thienh.** S, Une Xylaria juruensis Henn. S, Une Rosellinia corticum (Schwein.) Sacc. S, Une Xylaria laevis Lloyd S, Ine Rosellinia necatrix Berl. ex Prill. S, Une Xylaria longipes Nitschke S, Ine Rostrohypoxylon terebratum J. Fourn. Xylaria magnoliae J.D. Rogers S, Une & M. Stadler** S, Une Xylaria magnoliae var. microspora J.D. Rogers, Sarcoxylon compunctum (Jungh.) Y.M. Ju & Whalley S, Une Cooke S, Une Xylaria mellisii (Berk.) Cooke S, Une = (Cur) Xylaria compuncta (Jungh.) Berk. Xylaria multiplex (Kunze) Fr. S, Ine Sphaeria polymorpha Pers. S, Une Xylaria nigripes (Klotzsch) Cooke S, Ine = (Cur) Xylaria polymorpha (Pers.) Grev. Xylaria obovata (Berk.) Berk. S, Ine Stilbohypoxylon moelleri Henn. S, Une Xylaria oligotoma Sacc. & Paol. S, Ine Whalleya microplaca (Berk. & M.A. Curtis) Xylaria papulis Lloyd S, Une J.D. Rogers, Y.M. Ju & F. San Martín S, Une Xylaria phyllocharis Mont. S, Une Xylaria abuscula Sacc. S, Ine Xylaria piperiformis Berk. S, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 0 1

91-102_dp2-1.indd 101 7/28/56 BE 5:47 PM Xylaria polymorpha (Pers. ex Mer.) Xylaria splendens Berk. & M.A. Curtis S, Une Gev. S, Ine Xylaria telfairii (Berk.) Sacc. S, Une Xylaria psidii J.D. Rogers & Hemmes S, Une Xylaria thyrsus (Berk.) Fr. S, Une Xylaria pyramidata Berk. & Broome S, Une Xylaria timorensis Lloyd S, Une Xylaria schweinitzei Berk & M.A. Curtes S, Ine Xylosphaera feejeenis (Berk.) Dennis S, Une

หมายเหตุ Edi = เห็ดกินได้ Ine = เห็ดกินไม่ได้ L = เห็ดที่อยู่ร่วมกับสาหร่าย (ไลเคน) Poi = เห็ดพิษ Pt = เห็ดที่ท�ำให้เกิดโรค S = เห็ดแซบโพรไฟต์ Syn = ชื่อพ้อง Une = เห็ดที่ไม่มีข้อมูลการกิน ? = เห็ดที่ยังไม่ทราบบทบาทที่แน่นอน ** = เห็ดชนิดใหม่ของโลกที่พบในประเทศไทย

102 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

91-102_dp2-1.indd 102 7/28/56 BE 5:47 PM º··Õè 14 ÃÒª×èÍàËç´ã¹ªÑé¹ Basidiomycetes

อันดับ Agaricales วงศ์ Clarkeinda trachodes (Berk.) Singer S, Poi Agaricus annae Pilat S, Une Cystoagaricus trisulphuratus (Berk.) Agaricus augustus Fr. S, Une Singer S, Une Agaricus arvensis Schaeff. S, Edi Cystolepiota seminuda (Lasch. ex Fr.) Agaricus augustus Fires S, Une Bon S, Une Agaricus bisporus (Lange) Pilát S, Edi Cystolepiota sistrata ( Fr.) Singer ex Bon Agaricus bisporus var. albida J.E. & Belle S, Une Lange S, Edi Heinemannomyces splendidissima = (Cur) Agaricus bisporus (J.E. Lange) Imbach Watling S, Une Agaricus bitorquis (Quél.) Sacc. S, E, Edi Hymenagaricus alphitochrous (Berk. & Broome) Agaricus blazei Murrill S, E, Edi Heinem. S, Une = (Syn) Agaricus subrufescens Peck Lepiota americana Peck S, Une Agaricus campestris Linne ex Fries S, E, Edi = (Cur) Leucoagaricus americanus (Peck) Vel- = (Cur) Agaricus campestris var. campestris L. linga Agaricus diminutivus (Moller) Moller S, Une Lepiota aspera (Pers.) Quélet S, Une Agaricus edodes Berk. S, Edi Lepiota asperula (Pers.) Quélet S, Une Agaricus haemorrhoidarius Schulz. and Lepiota atrodisca Zeller S, Une Kalchbr. S, Une Lepiota barssii Zeller S, Une = (Cur) Agaricus silvaticus Schaeff. = (Cur) Leucoagaricus barssii (Zeller) Vellinga Agaricus hemilasius Berk. & Broome S, Une Lepiota castanea Quélet S, Une Agaricus moelleri Wasser S, Une Lepiota clyeolaris (Bull. ex Fr.) Kum. S, Une Agaricus osecanus Pilat S, Une Lepiota clypeolaria (Bull.ex Fr.) Kum. S, Une Agaricus praeclaresquamosus Lepiota cortinarius J.E. Lange S, Une Freeman S, Poi Lepiota cristata (Bolt. ex Fr.) Kummer S, Une = (Cur) Agaricus moelleri Wasser Lepiota epicharis Berk. & Broome S, Une Agaricus romagnesii Wass. S, Une Lepiota eriophora (Weinm) Kummer S, Une = (Cur) Agaricus bresadolanus Bohus Lepiota excoriata (Schaeff ex. Fr.) Agaricus rufolanosus Heinem. & Kumm. S, Une Gooss.-Font. S, Une = (Cur) Macrolepiota excoriata (Schaeff.) Wasser Agaricus sylvaticus Schaeff. S, Edi Lepiota fragilissimus (Rav.) Patouillard S, Une Agaricus silvicola (Vitt.) Peck S, Une = (Cur) Leucocoprinus fragilissimus (Berk. & M.A. = (Cur) Agaricus silvicola var. silvicola (Vittad.) Curtis) Pat. Peck Lepiota humei Murrill S, Une Agaricus trisulphuratus Berk. S, Une = (Cur) Chlorophyllum humei (Murrill) Vellinga = (Cur) Cystoagaricus trisulphuratus (Berk.) Lepiota molybdites (G. Mey.) Sacc. S, Poi Singer = (Cur) Chlorophyllum molybdites (G. Mey.) Chlorophyllum molybdites (G. Mey.) Massee Massee S, Poi Lepiota naucina Fr. S, Une Chlorophyllum rhacodes (Vittad.) = (Cur) Leucoagaricus leucothites (Vittad.) Vellinga S, Une Wasser

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 0 3

103-144_dp2.indd 103 7/28/56 BE 7:00 PM Lepiota phaeosticta Morgan S, Une Macrolepiota rickenii (Vel.) Bellu & Lepiota procera (Scop.) Quél. S, Une Lanzoni S, Une = (Cur) var. procera (Scop.) = (Cur) Macrolepiota mastoidea (Fr.) Singer Singer Macrolepiota zeyheri (Fr.) Sing. S, Une Lepiota pseudohelveola Kühn. ex Hora S, Une Podaxis argentinus Speg. S, Une = (Cur) Lepiota pseudolilacea Huijsman Lepiota rhachodes (Vitt.) Quél. S, Une อันดับ Agaricales วงศ์ Bolbitiaceae = (Cur) Chlorophyllum rhacodes (Vittad.) Vellinga Agrocybe aegerita (Brig.) Singer S, Une Lepiota roseolivida Murrill S, Une = (Cur) Agrocybe cylindracea (DC.) Maire Lepiota rubrotincta Peck S, Une Agrocybe cylindracea (DC.) Gillet S, Edi Lepiota scabrivelata Murrill S, Une Agrocybe molesta (Lasch) Singer S, Une Lepiota subincarnata J.E. Lange S, Une Agrocybe pediades (Pers. ex Fr.) Fayod S, Une Leucoagaricus americanus (Peck) Agrocybe pediades var. platysperma Vellinga S, Une (Pers. ex Fr.) Fayod S, Une Leucoagaricus barssii (Zeller) Vellinga S, Une Agrocybe preacox (Pers. ex Fr.) Fayod. S, Une Leucoagaricus leucothites (Vittadini) Agrocybe semiorbicularis (Bull.ex Fr.) Wasser S, Une Fayod S, Une Leucoagaricus rubrotinctus(Peck) = (Cur) Agrocybe pediades (Fr.) Fayod Singer S, Une Agrocybe sororia (Peck). Watling S, Une Leucocoprinus birnbaumii (Corda) Bolbitius fissus Berk. & Br. S, Edi Sing. S, Poi Conocybe apala (Fr.) Arnolds S, Une Leucocoprinus brebissonii (Godey) Conocybe coprophila (Kühner) Kühner S, Une Locquin S, Une Conocybe crispa (Longyear) Singer S, Une Leucocoprinus bresadolae (Schulz.) Conocybe filaris (Fr.) Kühner S, Une Wass. S, Poi Conocybe lactea (J.E. Lange) Métrod S, Une = (Cur) Leucoagaricus americanus (Peck) Vel- = (Cur) Conocybe apala (Fr.) Arnolds linga Conocybe smithii Walting S, Une Leucocoprinus breviramus Smith & Conocybe stercoraria Watling S, Une Weber S, Une Conocybe tenera (Schaeff. ex Fr.) Leucocoprinus cepistipes (Sowerby) Pat. S, Poi Kühner S, Une Leucocoprinus fragilissimus (Berk. & M.A. Curtis) Copelandia cyanescens (Berk. & Br.) Pat. S, Une Sing. S, Poi Leucocoprinus otsuensis Hongo S, Une = (Cur) Panaeolus cyanescens (Berk. & Broome) Macrolepiota africana (R. Heim) Heinem. S, Une Sacc. Macrolepiota excoriata (Schaeff. ex Fr.) Hebeloma albidulum Peck S, Une Wasser S, Une Hebeloma crustuliniforme (Bull.) Quél. S, Poi Macrolepiota gracilenta (Krombh.) Hebeloma hiemale Bresadola S, Une Wasser S, Edi Hebeloma radicosum (Bull. & Fr.) = (Syn) Agaricus gracilentus Krombh. Ricken. S, Edi Macrolepiota mastoidea (Fr.) Singer S, Une Hebeloma sacchariolens Quélet S, Une Macrolepiota procera (Scop.) Singer S, Poi Hebeloma sarcophyllum (Peck.) Sacc. S, Une = (Syn) Macrolepiota procera var. procera (Scop.) Hebeloma vinosophyllum Hongo S, Une Singer Panaeolus acuminatus (Schaeff.) Macrolepiota rhacodes (Vittad.) Singer S, Une Quélet S, Une = (Cur) Chlorophyllum rhacodes (Vittad.) Vellinga Panaeolus albellus Massee** S, Une

104 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 104 7/28/56 BE 7:00 PM Panaeolus ampanulatus (Bull. ex Fr.) = (Cur) Alloclavaria purpurea (Fr.) Dentinger Quél. S, Une & D.J. McLaughlin Panaeolus ater (Lange) Kunhner & rosacea Hennings Ec, Une Romagnesi S, Une Clavaria rosea Fr. Ec, Edi Panaeolus campanulatus (Bulliard:Fries) Clavaria vermicularis Batsch Ec, Edi Quelet S, Une = (Syn) Clavaria vermicularis J.F. Gmel Panaeolus fimicola (Pers. ex Fr.) Clavaria zollingeri Lév. Ec, Edi Quélet S, Une amoena (Zoll. & Mor.) = (Syn) Panaeolus fimicola (Pers.) Gillet Corner Ec, Une Panaeolus papillionaceus (Bull. ex Fr.) Clavulinopsis appalachiensis (Coker) Quélet) S, Une Corner Ec, Une = (Syn) Panaeolus retirugis (Fr.) Quél. Clavulinopsis aurantiocinnabarina = (Syn) Panaeolus sphinctrinus (Fr.) Quél. (Schwein.) Corner Ec, Une = (Cur) Panaeolus papilionaceus var. Clavulinopsis corallinorosacea (Cleland) papilionaceus (Bull.) Quél. Corner Ec, Edi Panaeolus semiovatus (Sowerby) S. Lundell Clavulinopsis corniculata (Fr.) Corner Ec, Une & Nannf. S, Une Clavulinopsis dichotoma (Godey) = (Syn) Agaricus semiovatus Sowerby Corner Ec, Une Panaeolus semiovatus var. semiovatus = (Cur) Ramariopsis subtilis (Pers.) R.H. (Sowerby) S. Lundell & Nannfeldt. S, Une Petersen Panaeolus sp. S, Une Clavulinopsis fusiformis (Sow. & Fr.) Panaeolus sphinctrinus (Fr.) Quél. S, Une Cor. Ec, Edi Pholiotina blattaria (Fr.) Fayod S, Une = (Syn) Clavulinopsis fusiformis (Fr.) Corner = (Cur) Conocybe blattaria (Fr.) Kühner = (Syn) Clavulinopsis fusiformis (Sowerby) Corner อันดับ Agaricales วงศ์ Clavulinopsis helvola (Pers.) Corner Ec, Une Clavaria cacao Coker Ec, Une = (Syn) Clavaria helvola Pers. = (Cur) Ramaria cacao (Coker) Corner Clavulinopsis holmskjoldii (Odeum.) Clavaria coralloides Linne Ec, Une Corner Ec, Une = (Cur) coralloides (L.) J. Schröt. = (Cur) Ramariopsis holmskjoldii (Oudem.) R.H. Clavaria delphus Ec, Une Petersen Clavaria falcata Pers.: Fr. Ec, Une Clavulinopsis laeticolor (Berk. ex Curtis) Clavaria fomosa Fries Ec, Une Petersen Ec, Une Clavaria fossicola Corner L, Une Clavulinopsis luteoalba (Red) Corner Ec, Une = (Cur) Multiclavula fossicola (Corner) R.H. Clavulinopsis luteostripata Corner Ec, Une Petersen = (Cur) Clavaria luteostirpata S.G.M. Fawc. Clavaria fumosa Fr. Ec, Une Clavulinopsis luteotenerrima (Overeem) = (Syn) Clavaria fumosa Pers. Corner Ec, Une Clavaria fusiformis Sowerby Ec, Une = (Cur) Ramariopsis luteotenerrima (Overeem) = (Cur) Clavulinopsis fusiformis (Sowerby) Corner R.H. Petersen Clavaria inaequalis Fr. Ec, Une Clavulinopsis miniata (Berk.) Corner Ec, Une Clavaria pistillaris (L.) Fr. Ec, Une = (Syn) Clavulinopsis sulcata Overeem = (Cur) Clavariadelphus pistillaris (L.) Donk Clavulinopsis miyabeana (S. Ito) S. Ito. Ec, Edi Clavaria purpurea Fr. Ec, Une Clavulinopsis subaustralis Petersen Ec, Une Clavulinopsis subtilis (Pers.) Corner Ec, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 0 5

103-144_dp2.indd 105 7/28/56 BE 7:00 PM = (Cur) Ramariopsis subtilis (Pers.) R.H. Ramaria sino-conjunctipes R. H. Petersen & Petersen M. Zang Ec, Une Clavulinopsis umbrinella (Sacc.) Corner Ec, Une Ramaria stricta (Pers.) Quél. Ec, Une Macrotyphula filiformis (Bull. ex Fr.) Ramaria velocimutans Marr. & Stuntz. Ec, Une Paechnatz Ec, Une Scytinopogon angulisporus (Pat.) Corner Ec, Edi Macrotyphula fistulosa (Holmskj.ex Fr.) Scytinopogon echinosporus (Berk. & Broome) Petersen Ec, Une Corner Ec, Une = (Cur) Macrotyphula fistulosa var. fistulosa Scytinopogon pallescens (Bres.) Singer Ec, Une (Holmsk.) R.H. Petersen Multiclavula clara (Berk. & Curt.) อันดับ Agaricales วงศ์ Corpinaceae Petersen L, Une Copelandia cyanescens (Berk. & Br.) Muticlavula mucida (Pers. ex Fr.) Pet. L, Une Sing. S, Poi Ramaria araiospora Massee & Stuntz Ec, Une Coprinellus micaceus (Bull.) Vilgalys, Ramaria botrytis (Pers.) Ricken Ec, Edi Hopple & Jacq. Johnson S, Une Ramaria botrytoides (Reck.) Quél Ec, Une Coprinellus radians (Desm.) Vilgalys, Ramaria concolor (Corner) R.H.Petersen Ec, Une Hopple & Jacq. Johnson S, Une = (Cur) Ramaria stricta var. concolor Corner Coprinopsis lagopus (Fr.) Redhead, Ramaria cyanocephala (Berk. & M.A. Curtis) Vilgalys & Moncalvo S, Une Corner Ec, Edi = (Cur) Coprinopsis lagopus var. lagopus (Fr.) Ramaria fennica (Karst.) Ricken Ec, Une Redhead, Vilgalys & Moncalvo = (Cur) Ramaria fennica var. fennica (P. Karst.) Coprinus atramentarius (Bull.) Fr. S, Edi Ricken = (Cur) Coprinopsis atramentaria (Bull.) Red- Ramaria flaccida (Fr.) Ricken Ec, Une head, Vilgalys & Moncalvo Ramaria flava (Schaeff.) Quél. Ec, Edi Coprinus brunneofibrillosus Dennis S, Une = (Cur) Ramaria flava (Fr.) Quél. = (Cur) Coprinopsis brunneofibrillosa (Dennis) Ramaria flaviceps Corner, K.S. Redhead, Vilgalys & Moncalvo Thind & Anand Ec, Une Coprinus cinereus (Schaeff.) Gray S, E, Edi Ramaria formosa (Pers.) Quél. Ec, Poi = (Cur) Coprinopsis cinerea (Schaeff.) Redhead, = (Syn) Ramaria formosa (Pers. ex Fr.) Quélet Vilgalys & Moncalvo Ramaria fumosiavellanea Marr & Coprinus comatus (O.F. Müll.) Pers. S, E, Edi Stuntz Ec, Une = (Syn) Agaricus comatus O.F. Müll. Ramaria gracilis (Pers.ex Fr.) Quélet Ec, Une = (Syn) Coprinus comatus var. caprimammillatus Ramaria grandis (Pk.) Cor. Ec, Edi Bogart Ramaria invalii (Cotton & Wakef.) Donk Ec, Une Coprinus congregatus (Bull. ex St.Amans) = (Cur) Ramaria eumorpha (P. Karst.) Corner Fr. S, Une Ramaria murrillii (Coker) Corner Ec, Une = (Cur) Coprinellus congregatus (Bull.) P. Karst. Ramaria nigrescens (Brinkm.) Donk Ec, Une Coprinus disseminatus (Pers.) Gray S, Edi = (Cur) Ramaria broomei (Cotton & Wakef.) R.H. = (Cur) Coprinellus disseminatus (Pers.) J.E. Petersen Lange Ramaria ochraceovirens Marr & Stuntz Ec, Une Coprinus ephemeroides (Bull.) Fr. S, Une Ramaria palmata Quélet Ec, Une Coprinus fimetarius Fr. S, Une Ramaria rubripermanens Marr & Stuntz. Ec, Une Coprinus lagopus (Fr.) Fries S, Une Ramaria sanguinea (Pers.) Quél. Ec, Une = (Cur) Coprinopsis lagopus var. lagopus (Fr.) Ramaria sanguinipes R.H. Petersen Redhead & M. Zang Ec, Une Coprinus micaceus (Bull. ex Fr.) Fries S, Une

106 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 106 7/28/56 BE 7:00 PM = (Cur) Coprinellus micaceus (Bull.) Vilgalys, Cortinarius glaucopus (Schaeff. ex Fr.) Hopple & Jacq. Johnson Gray Ec, Une Coprinus narcoticus (Schaelf. ex Fr.) Cortinarius iodes Berk. & Curt. Ec, Une S.F.Gray S, Une Cortinarius laniger Fries Ec, Une = (Cur) Coprinopsis narcotica (Batsch) Redhead, Cortinarius livido-ochraceus (Berk.) Berk. Ec, Une Vilgalys & Moncalvo = (Syn) Agaricus livido-ochraceus Berk. Coprinus plicatilis (Curtis) Fr. S, Ine = (Syn) Cortinarius pumilus (Fr.) J.E. Lange = (Syn) Coprinus plicatilis (W.Curtis: Fries) Fries Cortinarius malachioides Orton Ec, Une = (Cur) Parasola plicatilis (Curtis) Redhead, = (Cur) Cortinarius malachius (Fr.) Fr. Vilgalys & Hopple Cortinarius mucosus (Bull.) Kick Ec, Une Coprinus quadrifidus Peck. S, Une Cortinarius nemorensis (Fr.) Lange Ec, Une Coprinus silvaticus Peck S, Une = (Cur) Cortinarius variicolor (Pers.) Fr. Drosophila punctata Heim** S, Une Cortinarius pholideus (Fr. ex Fr.) Fries Ec, Une Lacrymaria lacrymabunda (Bull.) Cortinarius purpurascens Fr. Ec, Ine Patouillard S, Une = (Syn) Agaricus purpurascens Fr. Parasola kuehneri (Uljé & Bas) Redhead, = (Syn) Cortinarius purpurascens var. largusoides Vilgalys & Hopple S, Une Cetto = (Syn) Coprinus kuehneri Uljé & Bas = (Syn) Phlegmacium purpurascens (Fr.) Ricken = (Syn) Coprinus plicatilis var. microsporus Cortinarius rapaceus Fries Ec, Une Kühner & Joss. Cortinarius sp. Ec, Une Parasola setulosa (Berk. & Broome) Cortinarius splendens Rob. Henry Ec, Une Redhead, Vilgalys & Hopple S, Une Cortinarius squamulosus (Pers. ex Fr.) = (Syn) Coprinus setulosus Berk. & Broome Gray Ec, Une Psathyrella candolleana (Fr.) Maire S, Edi Cortinarius subbalaustinus Henry Ec, Une Psathyrella rugocephala (G.F. Atk.) Cortinarius traganus (Weinm. ex Fr.) Fr. Ec, Une A.H. Sm. S, Edi Cortinarius varius (Schaeff. ex Fr.ex Fr.) = (Syn) Hypholoma rugocephalum G.F. Atk. Fries Ec, Une (L. ex Fr.) Fries Ec, Une อันดับ Agaricales วงศ์ Crepidotus applanatus (Pers. ex Pers.) Cortinarius alboviolaceus Fr. Ec, Une Kummer S, Une Cortinarius alboviolaceus (Pers. ex Fr.) = (Cur) Crepidotus applanatus var. applanatus Fries Ec, Une (Pers.) P. Kumm. Cortinarius alnobetulae Kühner Ec, Une Crepidotus citrinus Petch S, Une Cortinarius anomalus (Per.) Fr. Ec, Une Crepidotus crocophyllus (Berk.) Saccardo S, Une Cortinarius argentatus (Pers. ex Fr.) Fries Ec, Une Crepidotus herbarum (Peck) Saccardo S, Une Cortinarius bivelus (Fr. ex Fr.) Fries Ec, Une = (Cur) Crepidotus epibryus (Fr.) Quél. Cortinarius bolaris (Pers. ex Fr.) Fries Ec, Une Crepidotus maculans Hesler & Smith S, Une Cortinarius caerulescens (Schaeff.) Fries Ec, Une Crepidotus mollis (Schaeff.) Staude S, Ine Cortinarius calochrous (Pers. ex Fr.) Gray Ec, Une Crepidotus roseus var. boninense Hongo S, Une = (Cur) Cortinarius calochrous var. calochrous = (Cur) Crepidotus boninensis (Hongo) E. Horak (Pers.) Gray & Desjardin Cortinarius cinnamomeus (L. ex Fr.) Fries Ec, Une Crepidotus variabilis (Pers.) P.Kumm. S, Une Cortinarius distans Peck Ec, Une Crepidotus versutus (Peck) Saccardo S, Une Cortinarius evernius (Fr.) Fr. Ec, Une Gymnopilus aeruginosus (Peck) Singer S, Poi Cortinarius flexipes (Pers.) Fr. Ec, Une Gymnopilus penetrans Murr. S, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 0 7

103-144_dp2.indd 107 7/28/56 BE 7:00 PM Gymnopilus punctifolius S, Une Entoloma bloxamii (Berk. & Broome) Gymnopilus spectabilis (Fr.) A.H.S. S, Poi Sacc. Ec, Une = (Cur) Gymnopilus junonius (Fr.) P.D. Orton Entoloma chalybaeum (Pers. ex Fr.) Inocybe asterospora Quél. Ec, Une Noordeloos Ec, Une Inocybe caesariata (Fr.) Kar. Ec, Poi Entoloma euchroum (Pers. ex Fr.) Inocybe calamistrata (Fr. ex Fr.) Gillet Ec, Une Donk Ec, Une Inocybe calospora Quél Ec, Une Entoloma excentricum Bres. Ec, Une Inocybe destricta (Fr.) Quél. Ec, Une = (Cur) Entoloma excentricum var. excentricum Inocybe fuscodisca (Peck) Massee Ec, Une Bres. Inocybe geophylla (Fr. ex Fr.) Kummer Ec, Une Entoloma hirtipes (Schumach.) = (Cur) Inocybe geophylla var. geophylla (Fr.) M.M. Moser Ec, Une P. Kumm. Entoloma juniperinum Barkmann Inocybe griseolilacina Lange Ec, Une & Noordeloos Ec, Une Inocybe hystrix (Fr.) Karstien Ec, Une Entoloma lepidissimum (Surcek) Inocybe infelix Peck Ec, Une Noordeloos Ec, Une Inocybe kobayasii Hongo Ec, Une Entoloma lioidium (Bull.) Quélet Ec, Une Inocybe lacera (Fr.) Kummer Ec, Une Entoloma lividum Ec, Une = (Cur) Inocybe lacera var. lacera (Fr.) P. Kumm. = (Cur) Entoloma sinuatum (Bull.) P. Kumm. Inocybe lanuginella (Schröt.) Konrad & Entoloma longistriatum (Peck) Noordel. Ec, Une Maubl. Ec, Poi = (Cur) Entoloma longistriatum var. longistriatum Inocybe maculata Boudier Ec, Une (Peck) Noordel Inocybe napipes Lange Ec, Une Entoloma madidum (Fr.) Gillet Ec, Une Inocybe nodulospora Kobayasi Ec, Une Entoloma mazophorum (Berk. & Br.) Inocybe rimosa (Bull. ex Fr.) Kummer Ec, Une Sacc. Ec, Une Inocybe serotina Peck Ec, Une Entoloma nitidum Quél. Ec, Une Inocybe sororia Kauffman Ec, Une Entoloma omiense (Hongo) E. Horak Ec, Une Inocybe sp. Ec, Une = (Syn) Rhodophyllus omiensis Hongo Inocybe splendens R. Heim Ec, Une Entoloma politum (Pers.) Donk Ec, Une = (Cur) Inocybe splendens var. splendens R. Entoloma praeluteum Corner & Heim E. Horak Ec, Une Inocybe terrigena (Fr.) Kühner Ec, Une Entoloma rhodopolium (Fr.) P. Kumm. Ec, Poi Inocybe tigrina Heim Ec, Une = (Syn) Entoloma rhodopolium Berk. & Broome Phaeocollybia scatesiae Smith & = (Syn) Agaricus rhodopolius Fr. Trappe S, Une = (Syn) Rhodophyllus rhodopolius (Fr.) Quél. Phaeomarasmius erinaceus (Fr. ex Fr.) Entoloma serrulatum (Pers. ex Fr.) Kühner S, Une Hesler Ec, Une Pleurotellus chioneus (Pers.) Konrad Entoloma sinuatum (Bull. ex Fr.) & Maublanc S, Une Kummer Ec, Poi Entoloma strictius (Peck) Sacc. Ec, Une อันดับ Agaricales วงศ์ Entolomataceae Entoloma tenacipes Horak Ec, Une Clitopilus chalybescens T.J. Baroni & Desjardin Entoloma vernum S. Lundell Ec, Poi sp.nov.** S, Une Entoloma vilaceum Murrill Ec, Une Clitopilus prunulus (Scop. Ex Fr.) Entoloma virescens (Sacc.) E. Horak Ec, Une Kummer S, Une Entoloma viridans (Fr.) P. Karst. Ec, Une

108 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 108 7/28/56 BE 7:00 PM Inopilus foldatsii (Dennis) Pegler S, Une cyathiformis (Bosc.) Morgan S, Une Leptonia formosa (Fr.) Noordel Ec, Une Calvatia excipuliformis (Pers.) Perd. S, Une = (Cur) Entoloma formosum (Fr.) Noordel. = (Cur) Lycoperdon excipuliforme (Scop.) Pers. Leptonia incana (Fries) Quélet Ec, Une Calvatia fumosa Fries S, Une = (Cur) Entoloma incanum (Fr.) Hesler Calvatia gigantea (Batsch. Ex Pers.) Lloyd.S, Une Nolanea lilacinoroseum (Bon & Gui.) Calvatia longicauda S, Une Nooderloos Ec, Une Calvatia lycoperdoides Koscielny & Wojt. S, Une Rhodophyllus coelestinus var. Calvatia rubroflava (Gragin) Lloyd. S, Edi violaceus (Kauffman) A.H. Sm. Ec, Une Calvatia suberetacea Morse S, Une = (Syn) Nolanea coelestina var. violacea Disciseda candida (Schw.) Lloyd S, Une Kauffman Disciseda luteola (Lloyd) Zeller S, Une Rhodophyllus cyanoniger (Hongo) Hongo Ec, Une Gastropila fumosa (Zeller) P. Ponce Rhodophyllus virescens (Berk. & M.A. Curtis) de León S, Une Hongo Ec, Poi Gastropila subcretacea (Zeller) P. Ponce de León S, Une อันดับ Agaricales วงศ์ Fistulinaceae excipuliformis (Pers.) Kreisel S, Edi Fistulina hepatica (Schaeff.) With. S, Edi Langermannia gigantea (Batsch & Pers.) = (Syn) Boletus hepaticus Schaeff. Rostk. S, Edi = (Syn) Hypodrys hepaticus (Schaeff.) Pers. = (Cur) Calvatia gigantea (Batsch) Lloyd Fistulina pallida Berkeley & Ravenel S, Une Lycogalopsis sp. S, Une Lycoperdon decipiens Durieu & Mont. S, Une อันดับ Agaricales วงศ์ Hydnangiaceae Schaeff. S, Edi Laccaria amethystea (Bull.) Murr. Ec, Edi Lycoperdon excipuliforme (Scop.) Laccaria amethystina Cooke Ec, Edi Pers. S, Edi Laccaria laccata (Scop.) Cke. Ec, Edi Lycoperdon gemmatum Fr. S, Une = (Syn) Agaricus laccata Scop. Lycoperdon molle Pers. S, Une Laccaria laccata sensu Stevenson Ec, Une Lycoperdon nigrescens Wahlenb. S, Une = (Cur) Laccaria ohiensis (Mont.) Singer Lycoperdon perlatum Pers. S, Edi Laccaria proxima (Bond) Patouillard Ec, Une = (Syn) Lycoperdon gemmatum var. perlatum Laccaria pumila Fayod Ec, Une (Pers.) Fr. = (Syn) Laccaria altaica Singer Lycoperdon pulcherrimum Berkeley = (Syn) Laccaria laccata var. pumila (Fayod) J. & Curtis S, Une Favre Lycoperdon pusillum Fr. S, Une Laccaria vinaceoavellanea Hongo Ec, Une Lycoperdon pyriforme Schaeff. S, Edi Lycoperdon spadiceum Pers. S, Une อันดับ Agaricales วงศ์ Lycoperdaceae compacta (Cunn.) Kreisel colorata Persoon S, Une & Dring S, Une Bovista leucoderma Persoon S, Une = (Cur) Lycoperdon compactum G. Cunn. Bovista nigrescens Persoon S, Une pratense (Pers.) S, Edi Bovista pila Berkeley & Curtis S, Une = (Cur) Lycoperdon pratense Pers. Bovista plumbea Persoon S, Une Calvatia boninensis Ito & Imai S, Une อันดับ Agaricales วงศ์ Marasmiaceae Calvatia bovista Batsch S, Une Anthracophyllum lateritum (Berk. & Curt.) = (Cur) Bovista plumbea Pers. Singer. S, Une (Schwein.) Fr. S, Edi

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 0 9

103-144_dp2.indd 109 7/28/56 BE 7:00 PM Anthracophyllum nigritum (Lév.) Marasmiellus amygdalosporus Pegler S, Une Kalchbr. S, Une Marasmiellus candidus (Fr.) Sing. S, Une = (Syn) Xerotus nigritus Lév. Marasmiellus chamaecyparidis (Hongo) = (Syn) Panellus nigritus (Lév.) Teng. Hongo S, Une Armillaria mella (Vahl. ex Fr.) Quel S, Pt, Une Marasmiellus corticum Singer S, Une Armillaria semiovata S, Une Marasmiellus epiphyllus (Pers. ex Fr.) Armillaria straminea (Krom.) Kummer S, Une Fr. S, Une = (Syn) Floccularia luteovirens f. luteovirens (Alb. Marasmiellus ignobilis (Berk. & Br.) & Schwein.) Pouzar Sing. S, Une Armillariella tabescens (Scop.& Fr.) Sing. Pt, Poi Marasmiellus nigripes (Fr.) Singer S, Une = (Syn) Armillariella tabescens (Scop. & Fr.) = (Cur) Tetrapyrgos nigripes (Fr.) E. Horak Singer. Marasmiellus paspali (Petch) Singer S, Une Campanella junghuhnii (Mont.) Singer S, Une Marasmiellus ramealis (Bull.) Singer S, Ine Campanella simulans ( Pat. ) Singer. S, Une Marasmius aff. crinis-equi F. Muell. ex = (Cur) Tetrapyrgos simulans (Pat.) E. Horak Kalchbr. S, Une Chaetocalathus africanus (Pat.) Marasmius aff. pallescens Murrill S, Une Singer S, Une Marasmius albimyceliosus Cor. S, Une Chaetocalathus liliputianus (Mont.) Marasmius albogriseus (Pk.) Singer S, Une Singer S, Une Marasmius alliaceus (Jacq. ex Fr.) Fr. S, Une (Berk.) Redhead & Marasmius androsaceus (L. ex Fr.) Fr. S, Une Ginns S, Une Marasmius apatelius Singer. S, Une Favolaschia calocera R. Heim S, Une Marasmius araneocephalus Wannathes, Favolaschia fujisaensis Kobay. S, Une Desjardin & S. Lumyong.** S, Une Favolaschia minima (Jungh.) Kuntze S, Une Marasmius araucariae var. araucariae = (Cur) Panellus minimus (Jungh.) P.R. Johnst. Singer S, Une & Moncalvo Marasmius araucariae var. siccipes Favolaschia pezizaeformis (Berk. & Curt.) Desjardin, Retn. & E. Horak S, Une Singer. S, Une Marasmius arborescens (Henn.) Beeli. S, Une Favolaschia thwaitesii (Berk. & Broome) Marasmius aurantioferrugineus Hongo S, Une Kuntze S, Une Marasmius auratus Wannathes, Desjardin & Favolaschia tonkinensis (Pat.) Singer S, Une S. Lumyong** S, Une Flammulina velutipes (Curtis) Singer S, E, Edi Marasmius bambusiniformis Sing. S, Une = (Syn) Agaricus velutipes Curtis Marasmius berambutanus Desjardin, Retn. Flammulina velutipes var. velutipes (Curtis) & Horak S, Une Singer S, Une Marasmius berteroi (Lév.) Murr. S, Une Gerronema icterinum (Sing.) Sing. S, Une Marasmius bondoi Wannthes, Desjardin & S. = (Cur) Trogia icterina (Singer) Corner Lumyong** S, Une Marasmiellus affixus (Berk.) Singer S, Une Marasmius borealis Gilliam S, Une Marasmiellus albocorticis Secretan Marasmius brevicollus Cor. S, Une ex Singer S, Une Marasmius brunneoolivascens Wannthes, = (Cur) Marasmiellus candidus (Fr.) Singer Desjardin & S. Lumyong** S, Une Marasmiellus albofuscus (Berk. & M.A. Curtis) Marasmius bulliardii Quélet S, Une Singer S, Une Marasmius cafeyen Wannthes, Desjardin Marasmiellus alliodorus (Bertero ex Mont.) & S. Lumyong** S, Une Sing. ex Sing. S, Une Marasmius calvus Berk. & Broome S, Une

110 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 110 7/28/56 BE 7:00 PM Marasmius candidus Fr. S, Une Marasmius haematocephalus “f. luteocephalus” = (Cur) Marasmiellus candidus (Fr.) Singer Wannathes, Desjardin & S. Lumyong, nom. Marasmius capillaris Morgan S, Une prov.** S, Une Marasmius coarctatus Wannthes, Desjardin Marasmius haematocephalus “f. robustus” & S. Lumyong** S, Une Wannathes, Desjardin & Lumyong, nom. Marasmius cohaeren (Alb. & Schwein.) prov.** S, Une Cooke & Quél. S, Une Marasmius haematocephalus “f. variabilis” Marasmius coklatus Desjardin, Retnowati Wannathes, Desjardin & Lumyong, nom. & E. Horak S, Une prov.** S, Une Marasmius confertus Berk. & Br. S, Une Marasmius haematocephalus “f. violaceus” Marasmius conicopapillatus Henn. S, Une Wannathes, Desjardin & Lumyoung, nom. Marasmius copelandi Fries S, Une Prov** S, Une Marasmius corbariensis (Roum.) Sacc. S, Une Marasmius haematocephalus var. atroviolaceus Marasmius corneri Wannthes, Desjardin Singer S, Une & S. Lumyong nom. nov.** S, Une Marasmius haematocephalus var. haematocephalus Marasmius cremeus Wannthes, Desjardin (Mont.) Fr. S, Une & S. Lumyong** S, Une Marasmius hypochroides Berk & Broome S, Une Marasmius crinisequi F. Mueller. ex Marasmius hypophaeus Berk & Curt. Kalchbr. S, Une Marasmius imitarius Wannthes, Desjardin Marasmius cupreostipes Wannthes, Desjardin & S. Lumyong** S, Une & S. Lumyong** S, Une Marasmius inthanonensis Wannthes, Desjardin Marasmius delicatulus Wannathes, Desjardin & S. Lumyong** S, Une & Lumyong** S, Une Marasmius iras Tan & Desjardin S, Une Marasmius detectans S, Une Marasmius jasmindorus Wannthes, Desjardin Marasmius discopus Massee** S, Une & S. Lumyong** S, Une Marasmius epiphyllus (Pers. ex Fr.) Fr. S, Une Marasmius laticlavatus Wannthes, Desjardin Marasmius florideus Berk. & Broome S, Une & S. Lumyong** S, Une Marasmius framealis S, Une Marasmius leveilleanus (Berk.) Sacc. S, Une Marasmius ganyao Wannthes, Desjardin = (Syn) Marasmius leveilleanus (Berk.) Pat. & S. Lumyong** S, Une Marasmius luteolus Br. & Curt. S, Une Marasmius graminipes Wannthes, Desjardin Marasmius makok Wannthes, Desjardin & S. Lumyong** S, Une & S. Lumyong** S, Une Marasmius graminum (Libert) Berkeley S, Une Marasmius maximus Hongo S, Une Marasmius grandiviridis Wannthes, Desjardin Marasmius micraster Petch S, Une & S. Lumyong** S, Une Marasmius mokfaensis Wannthes, Desjardin Marasmius guyanensis Mont. S, Une & S. Lumyong** S, Une Marasmius haematocephalus (Mont.) Marasmius nigrobrunneus (Pat.) Sacc. S, Une Fr. S, Une Marasmius nigrobrunneus (Pat.) Sacc. Marasmius haematocephalus (Mont.) Fr. f. forma nigrobrunneus S, Une “haematocephalus” Wannathes, Desjardin Marasmius nigrobrunneus (Pat.) Sacc. & S. Lumyong, nom. prov.** S, Une f. nigrobrunneus Syll. S, Une Marasmius haematocephalus “f. atrobrunneus” Marasmius nigrobrunneus “f. cinnamomeus” Wannathes, Desjardin & S. Lumyong, nom. Wannathes, Desjardin & Lumyong nom. prov.** S, Une prov. ** S, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 1 1

103-144_dp2.indd 111 7/28/56 BE 7:00 PM Marasmius nigrobrunneus forma cinnamoneus Marasmius tenuissimus (Jungh.) Singer S, Une Wannathes, Desjardin & S. Lumyong forma Marasmius trichotus Cor. S, Une nov.** S, Une Marasmius xestocephalus Singer S, Une Marasmius niveus Mont. S, Une Micromphale brassicolens (Romagn.) Marasmius nummularius Berk. & Br. S, Une Orton S, Une Marasmius ochroleucus Desjardin & = (Cur) Micromphale brassicolens var. Horak S, Une brassicolens (Romagn.) P.D. Orton Marasmius oreades (Bolt. ex Fr.) Fr. S, Une Micromphale foetidum (Sowerby) Singer S,Une Marasmius pallenticeps Singer S, Une = (Syn) Micromphale foetidum (Sow. ex Fr.) Marasmius pallescens Murr. S, Une Singer Marasmius palmivorus Sharples S, Une Micromphale perforans (Hoffm. ex Fr.) Marasmius papyraceus Massee S, Une Gray S, Une Marasmius pellucidus Berk.& Broome S, Edi = (Cur) Gymnopus perforans (Hoffm.) Antonín Marasmius perforans S, Une & Noordel = (Cur) Gymnopus perforans (Hoffm.) Antonín Omphalotus olearius (DC. ex Fr.) Sing. S, Poi & Noordel. Oudemansiella canarii (Jungh.) Höhn. S, E, Edi Marasmius plicatulus Peck S, Une = (Syn) Agaricus canarii Jungh. Marasmius pseudopellucidus Wannathes, = (Syn) Amanitopsis canarii (Jungh.) Sacc. Desjardin & Lumyong** S, Une Oudemansiella mucida (Schrad.) Höhn. S, Une Marasmius pseudopellucidus Wannthes, Oudemansiella radicta (Relh. ex Fr.) Desjardin & S. Lumyong** S, Une Sing. S, E, Edi Marasmius pseudopurpureostriatus Wannthes, = (Cur) Xerula radicata (Relhan) Dörfelt Desjardin & S. Lumyong** S, Une Physalacria changensis Rostr.** S, Une Marasmius pulcherripes Peck S, Une Strobilurus albipilatus (Peck) Wells & Marasmius purpureiosetosus Corner S, Une Kempton S, Une Marasmius purpureobrunneolus Henn. S, Une (Pers. ex Fr.) Marasmius purpureostriatus Hongo S, Une Singer S, Une Marasmius ramealis (Bull.) Fr. S, Ine = (Cur) Strobilurus tenacellus (Pers.) Singer = (Cur) Marasmiellus ramealis (Bull.) Singer Strobilurus trullisatus (Murr.) Lennox S, Une Marasmius rhyssophyllus Mont. Apud Xerula pudens (Pers.) Singer S, Une Berk. & Curt. S, Une Xerula radicata (Relhan) Dörfelt S, Edi (Scop. ex Fr.) Fries S, Une Xerulina asprata (Berk.) Pegler S, Une Marasmius ruforotula Singer S, Une = (Cur) Cyptotrama asprata (Berk.) Redhead & Marasmius scorodoneus (Fr. ex Fr.) Fries S, Une Ginns = (Cur) Mycetinis scorodonius (Fr.) A.W. Wilson Marasmius siccus (Schw.) Fr. S, Une อันดับ Agaricales วงศ์ Marasmius somalomoensis Antonin S, Une Crucibulum laeve (Huds.) Kambly S, Ine Marasmius straminiceps Wannthes, Desjardin Cyathus berkeleyanus (Tul.) Lloyd S, Une & S. Lumyong** S, Une Cyathus intermedius (Mont.) Tul. S, Une Marasmius strictipes (Peck) Singer S, Une Cyathus limbatus Tul. S, Une Marasmius subruforotula Singer S, Une Cyathus olla (Batsch) Pers. S, Une Marasmius suthepensis Wannthes, Desjardin = (Syn) Peziza olla Batsch & S. Lumyong** S, Une = (Syn) Cyathus olla f. anglicus (Lloyd) H.J. Marasmius tantulus Wannathes, Desjardin Brodie & Lumyong** S, Une = (Syn) Nidularia campanulata Sibth.

112 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 112 7/28/56 BE 7:00 PM Cyathus pallidus Berk. et Curtis S, Une = (Cur) Pleurotus djamor (Rumph. ex Fr.) Cyathus rugispermus (Schwein.) De Toni S, Une Boedijn] Cyathus stercoreus (Schweinitz) de Toni Pleurotus dryinus (Pers. ex Fr.) Kummer S, Une Derivation S, Une Pleurotus eryngii (DC.) Quél. S, E, Edi Cyathus striatus (Huds.) Willd. S, Une = (Syn) Agaricus eryngii DC. = (Syn) Cyathus striatus Hudson: Persoon Pleurotus flabellatus (Berk. & Br.) Sacc. S, Une Cyathus subglobisporus R. L. Zhao, Pleurotus ostreatus (Jacq.) P. Kumm. S, E, Edi Desjardin, K. Soytong & K. D. Hyde** S, Une = (Syn) Pleurotus ostreatus Fries Cyathus triplex Lloyd S, Une Pleurotus platypus (Cooke & Massee) Nidula niveotomentosa (Henn.) Lloyd S, Une Sacc. S, Une = (Cur) Agaricus platypus Cooke & Massee อันดับ Agaricales วงศ์ Pleurotaceae Pleurotus porringens (Pers. ex Fr.) Crepidotus applanatus (Pers.ex Pers.) Karsten S, Une Kummer S, Une = (Cur) Pleurocybella porrigens (Pers.) Singer Crepidotus crocophyllus (Berk.) Pleurotus pulmonarius (Fr.) Quél. S, E, Edi Saccardo S, Une = (Syn) Agaricus pulmonarius Fr. Crepidotus herbarum (Peck) Saccardo S, Une = (Syn) Dendrosarcus pulmonarius (Fr.) Kuntze Crepidotus maculans Hesler & Smith S, Une = (Syn) Pleurotus ostreatus var. pulmonarius Crepidotus mollis (Schaeff.) Staude S, Une (Fr.) Iordanov, Vanev & Fakirova Crepidotus variabilis (Pers.) P.Kumm. S, Une Pleurotus sapidus (Schulzer) Saccardo S, Une Crepidotus versutus (Peck) Saccardo S, Une Pleurotus sp. Bhutan strain S, E, Edi Hohenbuehelia panelloides Høiland** S, Une Pleurotus sp. Hungary strain S, E, Edi Hohenbuehelia petaloides (Bull. ex Fr.) Schulz. S, Edi อันดับ Agaricales วงศ์ Pluteaceae Hohenbuehelia reniformis (G. Mever & Fr.) Amanita alba (Fr.) Gillet Ec, Une Sing. S, Une Amanita albocreata (Atk.) Gilbert Ec, Une Pleurotus abalonus Han, Chen & Amanita alboflavescens Hongo Ec, Une Cheng S, E, Edi Amanita angustilamellata (Hohn.) Pleurotus angustatus (Berk. & Br.) Boedijin Ec, Une Sacc. S, Une Amanita arkansana Rosen Ec, Une Pleurotus cornucopiae (Paulet) Rolland S, E, Edi Amanita arocheae Tulloss Ec, Une = (Syn) Dendrosarcus cornucopiae Paulet Amanita avellaneosquamosa (Imai) = (Syn) Agaricus cornucopiae (Paulet) Pers. Imai Ec, Une = (Syn) Crepidotus cornucopiae (Paulet) Murrill Amanita baccata (Fr.) Gillet Ec, Une Pleurotus cystidiosus O.K. Mill. S, E, Edi Amanita badia (Schw.) Bon & Contu Ec, Une = (Syn) Pleurotus abalonus Y.H. Han, K.M. Chen Amanita battarrae (Boudier) Bon Ec, Une & S. Cheng Amanita bisporigera Atkinson Ec, Une = (Syn) Pleurotus cystidiosus subsp. abalones Amanita brunnescens G.F. Atk. Ec, Une (Y.H. Han, K.M. Chen & S. Cheng) O. Hilber Amanita caesarea (Scop.) Pers. Ec, Edi Pleurotus djamor (Fr.) Boedijn. S, E, Edi Amanita calopus Beeli Ec, Une = (Syn) Pleurotus salmoneostramineus Lj.N. Amanita calyptrata Peck Ec, Une Vassiljeva Amanita calyptroderma Atk. & Ballen Ec, Une = (Syn) Agaricus djamor Rumph. ex Fr. Amanita castanopsis Hongo Ec, Poi = (Syn) Lentinus djamor (Rumph. ex Fr.) Fr. Amanita ceciliae (Berk. & Broome) Bas Ec, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 1 3

103-144_dp2.indd 113 7/28/56 BE 7:00 PM Amanita chepangiana Tulloss & Amanita hemibapha subsp. similis Corner Bhandary Ec, Une & Bas Ec, Edi Amanita cinereopannosa Bas Ec, Une = (Syn) Amanita hemibapha subsp. similis Amanita citrine (Schaeff.) S.F.G. Ec, Une (Boed.) Cor. & Bas = (Cur) Amanita citrina var. citrina (Pers.) Pers. Amanita hongoi Bas Ec, Une Amanita citrina var. citrina (Schaeff.) Amanita huijsmanii F. Massart Ec, Une Pers. Ec, Une Amanita inaurata Secr. Ec, Une Amanita clarisquamosa S. Imai Ec, Une = (Cur) Amanita ceciliae (Berk. & Broome) Bas Amanita coccola (Scop.) Bertill Ec, Une Amanita japonica Hongo ex Bas Ec, Une (Gilb. & Kühn.) Gilb. Ec, Une Amanita longistriata Imai Ec, Poi Amanita concentrica Thiers & Ammirati Ec, Une Amanita malleata (Piane ex Bon) Amanita constricta Thiers & Ammirati Ec, Une Contu Ec, Une Amanita crocea (Quél) Singer Ec, Une Amanita manginiana sensu W.F.Chiu. Ec, Une Amanita crocea var. subnudipes Amanita mira Corner & Bas Ec, Une Romagnesi Ec, Une Amanita muscaria Ec, Poi Amanita daucipes (Mont.) Lloyd Ec, Une Amanita muscaria var. alba Peck Ec, Poi Amanita echinocephala (Vitt.) Quélet Ec, Une Amanita muscaria var. flavivolvata Amanita excelsa var. spissa (Fr.) Neville (Singer) Dav. T. Jenkins Ec, Poi & Poumarat Ec, Une Amanita muscaria var. formosa (Pers.&Fr.) Amanita farinosa Schwein. Ec, Poi Bert. Ec, Poi Amanita filtillaria (Berk.) Sacc. Ec, Une Amanita muscaria var. muscaria (L.) Amanita flavipes S.Imai sensu lato. Ec, Une Lamoure Ec, Poi Amanita friabilis (Karst.) Bas Ec, Une Amanita obsita Cor. & Bas Ec, Une Amanita fritillaria (Berk) Sacc. Ec, Une Amanita ocreata Secretan Ec, Une Amanita fuliginea Hongo Ec, Une Amanita onusta (Howe) Saccardo Ec, Une Amanita fuligineodisca Tulloss, Overeba Amanita ovalispora Boedijin Ec, Une & Halling Ec, Une Amanita pachyvolvata (Bon) Amanita fulva Fr. Ec, Edi Krieglsteiner Ec, Une Amanita gemmata (Fr.) Bertillon Ec, Une Amanita pantherina (DC. ex Fr.) Krombh. Ec, Poi Amanita griseofarinosa Hongo Ec, Poi Amanita perpasta Cor. & Bas. Ec, Une Amanita griseofolia Zhu L. Yang Ec, Une Amanita phalloides (Vaill. ex Fr.) Link Ec, Poi Amanita gymnoporus Cor. ex Bas Ec, Poi Amanita phalloides var. dunensis (Heim) Amanita hemibapha (Bull. ex Fr.) ex Bon & Andery Ec, Poi Vitt. subsp. hemibapha Ec, Edi Amanita pilosella Corner & Bas Ec, Une Amanita hemibapha (Berk. & Br.) Amanita plumbea (Schw.) Quelet Ec, Une Sacc. Ec, Edi Amanita porphyria (Alb.& Schweinitz ex Fr.) Amanita hemibapha (Berk. & Br.) Sacc. subsp. Secr Ec, Une javanica Cor. & Bas Ec, Edi Amanita praegraveolens (Murrill) Amanita hemibapha subsp. hemibapha (Berk. & Singer Ec, Une Broome) Sacc. Ec, Edi Amanita princeps Corner & Bas Ec, Edi = (Syn) Amanita hemibapha subsp. hemibapha Amanita pseudoporphyria Hongo Ec, Poi Cor. & Bas Amanita pudibunda R. Heim** Ec, Une Amanita hemibapha subsp. javanica Amanita ravenelii (Berk. & Curt.) Corner & Bas Ec, Edi Saccardo Ec, Une Amanita rubescens Pers. ex Fr. Ec, Poi

114 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 114 7/28/56 BE 7:00 PM = (Cur) Amanita rubescens var. rubescens Amanita virginea Fr. var. alba (Fr.) Gill. Ec, Une Persoon Amanita virgineoides Bas Ec, Une Amanita rubrovolvata Imai Ec, Poi Amanita virosa (Fr.) Bertil Ec, Poi Amanita rufoferruginea Hongo Ec, Une = (Syn) Agaricus virosus Fr. Amanita sculpta Cor. & Bas Ec, Une = (Syn) Amanitina virosa (Fr.) E.-J. Bilbert Amanita siamensis Sanmee, Zhu, Yang, Amanita volvata (Peck) Lloyd Ec, Poi Lumyong & Lumyong** Ec, Une Amanita xanthella Corner & Bas Ec, Une Amanita silvicola Kauffman Ec, Une Limacella illinita (Fr.) Maire Ec, Edi Amanita sinensis Yang Ec, Une Pluteus admirabilis (Pk.) Peck S, Une Amanita sinocitrina Yang, Chen & Pluteus aglaeotheles (Berk. & Br.) Zhang Ec, Une Sacc. S, Edi Amanita smithiana Bas Ec, Une Pluteus aurantiorugosus (Trog) Amanita solitaria (Bull.) Fr. Ec, Une Saccardo S, Une Amanita spissacea Imai Ec, Poi Pluteus cervinus (Schaeff. & Fr.) Kum. S, Edi Amanita spreta Ec, Poi Pluteus cinereofuscus Lge. S, Une Amanita strobiliformis (Paul. ex Vitt.) Pluteus leoninus (Schaeff. ex Fr.) Bertillon Ec, Une Kummer S, Une Amanita subglobosa Yang Ec, Une Pluteus spinulosus Murrill S, Edi Amanita subjunquillea Ec, Poi Pluteus subcervinus (Berk. & Broome) Amanita submembrancea (Bon) Sacc. S, Edi Groger Ec, Une Volvariella bombrycina (Schaeff. ex Fr.) Amanita synopyramis Corner & Bas Ec, Une Singer S, Une Amanita thiersii Bass. Ec, Une Volvariella cubensis (Murrill) Shaffer S, Edi Amanita umbrinolutea (Secr. ex Gillet) Volvariella gloiocephala (De Cand ex Fr.) Bataille Ec, Une Bockout & Enderle S, Une = (Cur) Amanita battarrae (Boud.) Bon Volvariella hypopithys (Fr.) Moser S, Une Amanita vaginata (Bull. ex Fr.) Volvariella pseudovolvacea (Berk. & Broome) Vittadini Ec, Poi Singer S, Une Amanita vaginata var. alba (Fr.) Gillet. Ec, Poi Volvariella pusilla (Pers. ex Fr.) Singer S, Une Amanita vaginata var. livido pallescens Volvariella speciosa (Fr.) Singer S, Une Secr. Ec, Poi = (Cur) Volvariella gloiocephala (DC.) Boekhout = (Cur) Amanita lividopallescens (Secr. ex Boud.) & Enderle Kühner & Romagn. Volvariella volvacea-1 (Bull. ex Fr.) Amanita vaginata (Fr.) Vitt. var. punctata (Cleland Sing. สายพันธุ์ 1 S, E, Edi ex Cheel) Gilb. Ec, Poi Volvariella volvacea-2 (Bull. ex Fr.) = (Syn) Amanita vaginata var. punctata (Fr.) Vitt Sing. สายพันธุ์ 2 S, E, Edi = (Syn) Amanita vaginata var. punctata (Cleland Volvariella volvacea-3 (Bull. ex Fr.) ex Cheel) Bilb. Sing. สายพันธุ์ 3 S, E, Edi = (Cur) Amanita pekeoides G.S. Ridl. Volvariella volvacea (Bull. Fr.) Sing. S, E, Edi Amanita vaginata var. varginata (Bull. ex Fr.) = (Cur) Volvariella volvacea (Bull.) Singer Vitt. Ec, Poi = (Syn) Volvariella volvacea Fr. = (Cur) Amanita vaginata (Bull.) Lam. Amanita velosa Lloyd Ec, Poi อันดับ Agaricales วงศ์ Pterulaceae Amanita verna (Bull. ex Fr.) Vitt. Ec, Poi Deflexula fascicularis (Bres. et Pat.) Amanita virginea Mass. Ec, Une Corner S, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 1 5

103-144_dp2.indd 115 7/28/56 BE 7:00 PM Deflexula sp. S, Une = (Syn) Kuehneromyces nameko (T. Itô) S. Ito Deflexula subsimplex (Henn.) Corner S, Une Pholiota populnea (Pers.) Kuyper & Pterula capillaries (Lév.) Sacc. S, Une Tjall.-Beuk. S, Une Pterula complanta Cor. S, Edi Pholiota squarrosa (Müll. ex Fr.) Pterula laxa Pat. S, Une Kummer S, Une Pterula multifida (Chevall.) Fr. S, Une Pholiota squarrosoides (Peck) Sacc. S, Une = (Cur) Pterula subulata Fr. Pholiota terrestris Overholts S, Une Pterula subulala Fr. S, Une Protostropharia semiglobata (Batsch) Redhead, Pterula verticillata Corner S, Une Moncalvo, Vilgalys S, Ine Pterula vinacea Corner S, Une = (Syn) Stropharia semiglobata (Batsch) Quél. Psilocybe cubensis (Earle) Sing. S, Poi อันดับ Agaricales วงศ์ Schizophyllaceae Psilocybe samuiensis Guzmán, Bandala & J.W. Schizophyllum commune Fr. S, E, Edi Allen** S, Une = (Syn) Schizophyllum commune Fr. ex. Fr. Psilocybe squamosa S, Une Stromatoscypha fimbriata (Fr.) Donk S, Une = (Cur) squamosus var. = (Cur) Porotheleum fimbriatum (Pers.) Fr. squamosus (Pers.) Bridge & Spooner Psilocybe subaeruginascens Höhnel S, Poi อันดับ Agaricales วงศ์ Stropharia aeruginosa (Curt. ex Fr.) Flammula sulphurea Massee** S, Une Quélet S, Une Hypholoma subviride (Berk. & Curt.) = (Syn) Stropharia aeruginosa (Curtis) Quél. Dennis S, Une Stropharia rugosoannulata Farl. & Murr. S, E, Edi Melanotus communis Hor. S, Une Stropharia squamosa (Pers. & Fr.) Sacc. S, Une Naematoloma fasciculare (Huds. ex Fr.) Kar. S, Poi อันดับ Agaricales วงศ์ = (Cur) Hypholoma fasciculare var. fasciculare Asterophora lycoperdoides (Bull.) (Huds.) P. Kumm. Ditmar. Pa, Une Pholiota aurivella (Fr.) Kummer S, Une Calocybe eborina Pegler S, Une Pholiota brunnescens Smith & Hesler S, Une Camarophyllus borealis Peck S, Une Pholiota carbonaria Smith S, Une Camarophyllus cremicolor (Murrill) Pholiota conissans (Fr.) Moser ex Kugper Murrill S, Une & Tjallingii-Beukers S, Une Camarophyllus niveus (Scop. ex Fr.) Pholiota ferruginea Miller & Lange S, Une Wiinsche S, Une (Batsh. ex Fr.) = (Syn) Camarophyllus virgineus (Wulf. ex Fr.) Kummer S, Une Kummer Pholiota graminis (Quel.) Singer S, Une = (Cur) virginea var. virginea (Wulfen) = (Cur) Pholiota conissans (Fr.) M.M. Moser P.D. Orton & Watling Pholiota gummosa (Lasch. ex Fr.) Chrysomphalina chrysophylla (Fr.) Singer S, Une Clémençon S, Une Pholiota highlandensis (Peck) Smith Clitocybe barbularum (Romagn.) & Hesler S, Une P.D. Orton S, Poi Pholiota lucifera (Lasch.) Quelet S, Une Clitocybe brunneocephala Bigelow S, Poi Pholiota marginata (Fr.) Quelet S, Une Clitocybe clavipes (Pers. ex Fr.) = (Cur) Galerina marginata (Batsch) Kühner Kummer S, Poi Pholiota nameko (T. Itô) S. Ito & S. Imai S, E, Edi = (Cur) Ampulloclitocybe clavipes (Pers.) = (Syn) Collybia nameko T. Itô Redhead, Lutzoni, Moncalvo & Vilgalys

116 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 116 7/28/56 BE 7:00 PM Clitocybe dealbata var. sudorifica (Sow. ex Fr.) = (Cur) Gymnopus peronatus (Bolton) Antonín, Kummer Peck S, Poi Halling & Noordel Clitocybe ectypoides (Peck.) Saccardo S, Poi Collybia platyphylla (Fr. ex Pers.) Quél. S, Une Clitocybe flaccida (Sow.) Fries S, Poi Crinipellis actinophora (Berk. & Broome) Clitocybe fragrans (With.ex Fr.) Singer S, Une Kummer S, Poi Crinipellis aff. mirabilis Singer S, Une Clitocybe geotropa (Bull.) Quelet S, Poi Crinipellis campanella (Pk.) Singer S, Une = (Cur) Infundibulicybe geotropa (Bull.) Harmaja Crinipellis cupreostipes Kerekes, Desjardin & Clitocybe gibba (Pers.ex Fr.) Kummer S, Poi Lumyong** S, Une = (Syn) Clitocybe gibba (Fries) Kummer Crinipellis dipterocarpi f. cinnamomea Kerekes, Clitocybe infundibuliformis (Schaeff.) Desjardin & Lumyong, forma nov.** S, Une Quelet S, Poi Crinipellis dipterocarpi Singer, Lilloa S, Une Clitocybe inornata (Sowerby ex Fr.) Crinipellis fragilis Pat. S, Une Gillet S, Poi Crinipellis furcata Kerekes, Desjardin Clitocybe inversa (Scop.) Patouillard S, Poi & Lumyong** S, Une = (Cur) Lepista flaccida (Sowerby) Pat. Crinipellis galeatus S, Une Clitocybe lignatilis (Pers. ex Fr.) Karsten S, Poi Crinipellis malesiana Kerekes, Desjardin = (Cur) Ossicaulis lignatilis (Pers.) Redhead & & Vikineswary S, Une Ginns Crinipellis piceae Singer S, Une Clitocybe maxima (P. Gaertn., G. Mey. & Scherb.) Crinipellis setipes (Peck) Singer S, Une P. Kumm. S, Edi Crinipellis stipitaria (Fr.) Pat. S, Une = (Syn) Agaricus maximus P. Gaertn., G. Mey. = (Syn) Crinipellis stipitaria (Fr.) Patouillard & Scherb. = (Cur) Crinipellis scabella (Alb. & Schwein.) Clitocybe morbifera Peck S, Poi Murrill Clitocybe nebularis (Batsch) Kummer S, Poi Crinipellis tabtim Kerekes, Desjardin Clitocybe nuda (Bull. ex Fr.) Bigeard & Lumyong** S, Une & Smith S, Edi Crinipellis zonota (Pk) Patouillard S, Une = (Cur) Lepista nuda (Bull.) Cooke Cystoderma granulosum (Morgan) Clitocybe odora (Bull. ex Fr.) Kummer S, Poi A.H. Sm. & Singer S, Une Clitocybe phyllophila S, Poi = (Cur) Cystodermella granulosa (Batsch) Clitocybe prunulus (Scop. ex Fr.) Harmaja Kummer S, Poi Dictyopanus pusillus (Pers. & Lév.) Clitocybe rivulosa (Pers. ex Fr.) Singer S, Une Kummer S, Poi = (Cur) Panellus pusillus (Pers. ex Lév.) Burds. Clitocybe vibecina (Fr.) Quelet S, Poi & O.K. Mill. Collybia canfluens (Pers. ex Fr.) Filoboletus manipularis (Berk.) Singer S, Une Kummer S, Une Gymnopus confluens (Pers.) Antonín, (Pers.) Kummer S, Une Halling & Noordel S, Edi Collybia dryophila (Bull.) P. Kumm. S, Une (Bull.) Murrill S, Edi = (Syn) Collybia dryophila (Bull.) Quél. Hemimycena delicatella (Peck) Sing. S, Edi = (Cur) Gymnopus dryophilus (Bull.) Murrill = (Syn) Mycena delicatella (Peck) Smith Collybia fusipes (Bull.) Quél S, Une = (Cur) Hemimycena lactea (Pers.) Singer = (Cur) Gymnopus fusipes (Bull.) Gray Hygrocybe brunneosquamulosa Leelav., Collybia nivalis (Luthi & Plomb) Moser S, Une Manim & Arnolds S, Une Collybia peronata (Bolton) P. Kumm. S, Une Hygrocybe calyptriformis (Berk.) Fayod S, Ine

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 1 7

103-144_dp2.indd 117 7/28/56 BE 7:00 PM = (Cur) Hygrocybe calyptriformis var. = (Cur) Hygrocybe psittacina var. psittacina calyptriformis (Berk.) Fayod (Schaeff.) P. Kumm. Hygrocybe cantharellus (Schwein.) Murrill S, Edi Hygrocybe punicea (Fr. ex Fe.) Hygrocybe ceracea (Wulfen) Karsten S, Une Kummer S, Une Hygrocybe chlorophana (Fr.) Karsten S, Une Hygrocybe russocoriacea (Berk. & Jos.K. Mill.) Hygrocybe coccinea (Schaeff. ex Fr.) P.D. Orton & Watling S, Une Kum. S, Edi Hygrocybe salicis-herbaceae Kühner S, Une Hygrocybe coccineocrenata (P.D. Orton) M.M. Hygrocybe singeri (A.H. Sm. & Hesler) Moser S, Edi Singer S, Une Hygrocybe conica (Schaeff.) P. Kumm. S, Edi Hygrocybe subminiata (Fr.) Kummer S, Une = (Syn) conicus (Schaeff.) Fr. Hygrocybe subminutula (Murr.) Pegler S, Une Hygrocybe conica var. chloroides (Malencon) Hygrocybe turunda (Fr.) Kummer S, Une Bon S, Edi Hygrocybe vitellina (Fr.) Karsten S, Une = (Cur) Hygrocybe conica (Schaeff.) P. Kumm. Hygrophorus agathosmus (Fr.) Fries Ec, Une Hygrocybe conicoides (Porton) Orton & Hygrophorus calophyllus Karsten Ec, Une Watling S, Une Hygrophorus camarophyllus (Alb. & Schw. ex Fr.) Hygrocybe cuspidata (Peck) Murr. S, Edi Dumee Ec, Une Hygrocybe eburneus (Bull. ex Fr.) Fries S, Une Hygrophorus cantharellus (Schwein.) Fr. Ec, Une Hygrocybe firma (Berk. & Broome) = (Cur) Hygrocybe cantharellus (Schwein.) Singer S, Une Murrill Hygrocybe flavescens (Kauffman) Singer S, Edi Hygrophorus chlorophanus Ec, Une = (Syn) Hygrocybe flavescens (Kauff.) Smith & = (Cur) Hygrocybe chlorophana (Fr.) Wünsche Hesler Hygrophorus chrysodon (Batsch. ex Fr.) = (Syn) Hygrophorus puniceus var. flavescens Fries Ec, Une Kauffman Hygrophorus coccineus (Fr.) Fr. Ec, Une Hygrocybe flavifolia (Sm. & Hesler) = (Cur) Hygrocybe coccinea (Schaeff.) P. Kumm. Singer S, Une Hygrophorus conicus Scop. ex Fr. S, Edi Hygrocybe glutinipes (Hange) Haller S, Une = (Cur) Hygrocybe conica (Schaeff.) P. Kumm. = (Cur) Hygrocybe glutinipes var. glutinipes (J.E. Hygrophorus cuspidatus Peck Ec, Une Lange) R. Haller = (Cur) Hygrocybe cuspidata (Peck) Roody Hygrocybe miniata (Fr.) Kum. S, Edi Hygrophorus eburneus (Bull. ex Fr.) Hygrocybe mucronella (Fr.) Karsten S, Une Fries Ec, Une Hygrocybe nigrescens (Quel.) Kummer S, Une Hygrophorus inocybiformis Smith Ec, Une = (Syn) Hygrocybe nigrescens (Dennis) Pegler Hygrophorus marginatus Peck Ec, Une Hygrocybe nitida (B. & C.) Murrill S, Une = (Cur) Humidicutis marginata (Peck) Singer Hygrocybe occidentalis (Dennis) Pegler S, Une Hygrophorus miniatus (Fr.) Fr. Ec, Une Hygrocybe olivaceonigra (Orton) Moser S, Edi = (Cur) Hygrocybe miniata (Fr.) P. Kumm. = (Cur) Hygrocybe conica (Schaeff.) P. Kumm Hygrophorus occidentalis Hesler & Hygrocybe parvula (Peck) Murrill S, Une Smith Ec, Une Hygrocybe persistens var. persistens Hygrophorus odoratus Smith & Hesler Ec, Une (Britzelm.) Singer S, Une Hygrophorus olivaceoalbus (Fr. ex Fr.) Hygrocybe piceae Kuhner S, Une Fries Ec, Une Hygrocybe psittacina (Schaeff. ex Fr.) Hygrophorus piceac Kuhner Ec, Une Kummer S, Une Hygrophorus speciosus Peck Ec, Edi

118 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 118 7/28/56 BE 7:00 PM Hygrophorus tephroleucus (Pers. ex Fr.) (Pers. ex Fr.) Fries Ec, Une Kummer S, Une = (Cur) Hygrophorus pustulatus (Pers.) Fr. Mycena holoporphyra (Berk. & M.A. Curtis) Hypsizygus marmoreus (Peck) H.E. Singer S, Une Bigelow S, E, Edi Mycena ignobilis (Joss. ex Bon) = (Syn) Agaricus marmoreus Peck Romagnesi S, Une = (Syn) Clitocybe marmoreal (Peck) Sacc. (Fr.) Quel. S, Une Lepista nuda (Bull. ex Fr.) Cke. Ec, Edi Mycena juncicola (Fr.) Gillet S, Une Lepista sordida (Schumach.) Singer Ec, Edi Mycena khonkhem Desjardin, Boonpratuang & Lepista sordida var. aianthina Bon Ec, Une Hywel-Jones** S, Une Lepista sordida var. lilacea (Quel.) Mycena leaiana (Berk.) Sacc. S, Une Bon Ec, Une = (Cur) Mycena leaiana var. leaiana (Berk.) Sacc. = (Cur) Lepista sordida (Schumach.) Singer Mycena madronicola Smith S, Une Lepista sordida var. obscurata (Bon) Bon Ec, Une Mycena minicoseta Desjardin, Boonpratuang & = (Cur) Lepista sordida (Schumach.) Singer Hywel-Jones** S, Une Lepista subconnexa (Murr.) Har. Ec, Une Mycena osmundicola J.E. Lange S, Une Leucopaxillus albissimus (Peck) Singer S, Edi = (Cur) Mycena alphitophora (Berk.) Sacc. Lichenomphalia umbellifera (L.) Redhead, Lutzoni, Mycena palmicola Desjardin, Boonpratuang & Moncalvo & Vilgalys S, Une Hywel-Jones** S, Une Lyophyllum connatum (Schum. ex Fr.) Mycena paucilamellata Smith S, Une Sing. Ec, Edi Mycena pelianthina (Fr. ex Fr.) Quélet S, Une Lyophyllum decastes (Fr.) Singer Ec, Edi Mycena pseudoseta Desjardin, Boonpratuang & Macrocybe crassa (Sacc.) Pegler & Hywel-Jones** S, Une Lodge S, E, Edi Mycena pura (Pers.) P. Kumm. S, Une Megacollybia platyphylla (Pers. ex Fr.) Mycena rosea (Bull.) Gramberg S, Une Kotlaba & Pouzar S, Une Mycena rosella (Fr. ex Fr.) Kummer S, Une alboflavida S, Edi (Pers. ex Fr.) Melanoleuca melaleuca S, Edi Kummer S, Une Mycena albidula (Peck) Smith S, Une Mycena tenerrima (Berk.) Quélet S, Une Mycena amicta (Fr. ex Fr.) Quélet S, Une = (Cur) Mycena adscendens (Lasch) Maas Geest Mycena capillaris (Schumach. ex Fr.) Mycena variicystis Boonprat.** S, Une Kummer S, Une Mycena vulgaris (Pers. ex Fr.) Kummer S, Une Mycena clavularis (Fr.) Gillet S, Une Omphalina barbularum (Romagnesi) Mycena clavulifera (Berk. & Broome) Bon S, Une Sacc. S, Une = (Cur) Clitocybe barbularum (Romagn.) P.D. Mycena corticola (Fr.) Gray S, Une Orton] Mycena cuspidata Massee** S, Une Omphalina ericetorum (Fr, & Fr.) Mycena dermatogloea Desjardin, Boonpratuang Lange S, Une & Hywel-Jones** S, Une Omphalina luteicolor Murrill S, Une Mycena flavescens Velenovsky S, Une Omphalina postii (Fr.) Singer S, Une Mycena galericulata (Scop. ex Fr.) = (Cur) Loreleia postii (Fr.) Redhead, Moncalvo, Gray S, Une Vilgalys & Lutzoni Mycena gypsea S, Une Omphalina pyxidata (Bull. ex Fr.) = (Cur) Hemimycena cucullata (Pers.) Singer Quélet S, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 1 9

103-144_dp2.indd 119 7/28/56 BE 7:00 PM Ossicaulis lignatilis (Pers.) Redhead & Termitomyces schimperi (Pat.) R. Heim T, E, Edi Ginns S, Une Termitomyces striatus (Beeli) R. Heim T, E, Edi Panellus pusillus (Pers. ex Lév.) Burds. & O.K. Termitomyces striatus Heim f. griseus Mill. S, Une R. Heim T, E, Edi (Bull. ex Fr.) Karsten S, Une Termitomyces tyleranus Otieno T, E, Edi Paneolus retirugis (Fr.) Quel S, Une Termitomyces umkwaan (Cooke & Massee) Pleurocybella porrigens (Pers. ex Fr.) D.A. Reid T, E, Edi Sing. S, Edi Tricholoma album (Schaeff. ex Fr.) Pseudoclitocybe cyathiformis (Bull.) Kummer Ec, Une Singer S, Ine Tricholoma album var. thalliophium (Hry) Bon Pseudoclitocybe obbata (Fr.) Singer S, Une Heykoop Ec, Une Resupinatus applicatus (Batsch) Gray S, Une Tricholoma auratum (Paul. ex Fr.) Rhodocollybia maculata var. maculata Quél. Ec, Edi (Alb. & Schwein.) Singer S, Une = (Cur) Tricholoma equestre var. equestre (L.) palmatus (Bull.) Maire S, Ine P. Kumm. Rickenella fibula (Bull. ex Fr.) Tricholoma crassum Sacc. S, Edi Raithelhuber S, Une = (Cur) Macrocybe crassa (Sacc.) Pegler & Rickenella swartzii (Fr. ex Fr.) Kuyper S, Une Lodge Roridomyces roridus (Scop.) Rexer S, Une Tricholoma flavovirens (Pers. & Fr.) Sinotermitomyces carnosus Zang T, E, Edi Lund. Ec, Edi = (Cur) Termitomyces mammiformis R. Heim = (Cur) Tricholoma equestre var. equestre (L.) Sinotermitomyces cavus M. Zang T, E, Edi P. Kumm. Termitomyces albiceps S.C. He T, E, Edi Tricholoma fulvocastaneum Hongo Ec, Une = (Cur) Termitomyces eurhizus (Berk.) R. Heim Tricholoma gambosum (Fr.) Kummer Ec, Une Termitomyces albuminosa T, E, Edi = (Cur) Calocybe gambosa (Fr.) Donk Termitomyces aurantiacus (R. Heim) R. Tricholoma giganteum Massee Ec, Une Heim T, E, Edi = (Cur) Macrocybe gigantea (Massee) Pegler & Termitomyces cartilaginous (Berk.) Lodge R. Heim T, E, Edi Tricholoma infundibuliformis Berk. & Br. Ec, Une Termitomyces clypeatus R. Heim T, E, Edi Tricholoma lobayense Heim S, E, Edi Termitomyces cylindricus S.C.He T, E, Edi Tricholoma pardinum Quélet Ec, Une = (Cur) Termitomyces aurantiacus (R. Heim) R. Tricholoma stipticus (Bull. ex Fr.) Heim Karsten Ec, Une Termitomyces entolomoides R. Heim T, E, Edi Tricholoma sulphureum (Bull. & Fr.) Termitomyces eurhizus (Berk.) R. Heim T, E, Edi Kumm. Ec, Poi Termitomyces fuliginosus R. Heim T, E, Edi = (Cur) Tricholoma sulphureum var. sulphureum Termitomyces globulus R. Heim & Gooss. (Bull.) P. Kumm. -Font. T, E, Edi Tricholoma termitomycoides Cor. Ec, Edi Termitomyces heimii Natarajan T, E, Edi (Pers. ex Fr.) Termitomyces indicus Natarajan T, E, Edi Kummer Ec, Une Termitomyces microcarpus (Berk. & Broome) Tricholoma venenata Atkinson Ec, Une R. Heim T, E, Edi Tricholomopsis flammula Metrod S, Une Termitomyces perforans R. Heim T, E, Edi Tricholomopsis rutilans (Schaeff.) Termitomyces radicatus Natarajan T, E, Edi Singer S, Edi Termitomyces robustus (Beeli) R. Heim T, E, Edi = (Syn) Agaricus aurantius Batsch

120 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 120 7/28/56 BE 7:00 PM = (Syn) Agaricus rutilans Schaeff. subflavidus (Murrill) Wolfe Ec, Edi = (Syn) Tricholoma rutilans (Schaeff.) P. Kumm. Austroboletus subvirens (Murr.) Wolfe Ec, Une Trogia infundibuliformis Berk. & Broome S, Une ananus (M.A. Curtis) Murrill Ec, Edi Xeromphalina tenuipes (Schw.) Boletellus betula (Schw.) Gilbert Ec, Une A.H.Smith S, Une = (Cur) Heimioporus betula (Schwein.) E. Horak Boletellus chrysenteroides (Snell) อันดับ Agaricales วงศ์ Tulostomataceae Sing. Ec, Edi Tulostoma berkeleyii Lloyd S, Une Boletellus elatus Nagasawa Ec, Une Boletellus emodensis (Berk.) Singer Ec, Edi อันดับ Auriculariales วงศ์ Auriculariaceae = (Syn) Boletus emodensis Berk. Auricularia auricula (L.) Underw. S, E, Edi Boletellus obcurecoccineus Hochn. Ec, Une Auricularia auricula-judae (Bull.) Boletellus russellii (Forst) E.-J. Gilbert Ec, Edi Wettstein S, E, Edi Boletus aemilii Barbier Ec, Une = (Syn) Auricularia auricula-judae (Hooker) Boletus aereus Bull. ex Fr. Ec, Une Underw. Boletus aestivalis var. aestivalis (Paulet) Auricularia auriculalis (S.F. Gray) Fries Ec, Une Martin S, E, Edi Boletus aestivalis (Paulet) Fries Ec, Edi = (Cur) Auricularia auricula-judae (Bull.) Quél. = (Cur) Boletus reticulatus Schaeff. Auricularia delicata (Mont.) Henn. S, E, Edi Boletus albisulphureus (Murrill) Murrill Ec, Une Auricularia fuscosuccinea (Mont.) Boletus appendiculatus Schaeff. Ec, Edi Henn. S, E, Edi = (Syn) Boletus radicans var. appendiculatus = (Syn) Auricularia fuscosuccinea (Mont.) Farlow (Schaeff.) Pers. = (Syn) Exidia fuscosuccinea Mont. Boletus aureissimus (Murrill) Murrill Ec, Edi = (Syn) Hirneola fuscosuccinea (Mont.) Sacc. Boletus auripes Peck Ec, Edi Auricularia mesenterica (Dicks.) Pers. S, E, Ine Boletus auriporus Peck Ec, Une Auricularia ornata Pers. S, Edi = (Cur) auriporus (Peck) Pouzar Auricularia peltata Lloyd S, Edi Boletus barrowsii Thiers & Smith Ec, Une Auricularia polytricha (Mont.) Sacc. S, E, Edi Boletus betulicola (Vasil’kov) Pilat & = (Syn) Exidia polytricha Mont. Dermek Ec, Une Auricularia tenuis (Lév.) Farl. S, E, Edi Boletus bicolor Peck Ec, Edi Boletus bicolor var. borealis A.H. อันดับ Auriculariales วงศ์ Incertae sedis Smith & Thiers Ec, Une (Dacrymycetales) (Dacrymycetaceae) Boletus borneensis Corner Ec, Une Guepinia spathularia (Schwein.) Fr. S, Edi Boletus calopus Persoon ex Fries Ec, Une = (Cur) Dacryopinax spathularia (Schwein.) G.W. Boletus campestris A.H. Smith & Thiers Ec, Une Martin Boletus changensis like Ec, Une Boletus chromapes Frost Ec, Une อันดับ Boletales วงศ์ Boletus chrysenteroides Snell Ec, Une Aureoboletus auriporus (Peck) Pouzar Ec, Une Boletus chrysenteron Bull. Ec, Edi Aureoboletus gentiles (Quel.) Pouzar Ec, Une Boletus chrysops like Ec, Une Aureoboletus subvirens Ec, Une Boletus coccineinanus Corner Ec, Une Aureoboletus thibetanus (Pat.) Hongo & Boletus coccyginus Thiers Ec, Une Nagas. Ec, Edi Boletus colossus R. Heim Ec, Edi Austroboletus lacunosus (Kuntze) T.W. = (Cur) Phlebopus colossus (R. Heim) Singer May & A.E. Wood Ec, Une Boletus costatus Rostr.** Ec, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 2 1

103-144_dp2.indd 121 7/28/56 BE 7:00 PM Boletus curtsii M.A. Curtis Ec, Une Boletus nanus (Massee.) Singer Ec, Une Boletus depilatus Redeuilh Ec, Une Boletus nobilis Peck Ec, Edi Boletus dryophilus Thiers Ec, Une Boletus nugatorius Corner Ec, Une Boletus eastwoodiae Ec, Une Boletus obscureumbrinus Hongo Ec, Une Boletus edulis Bull. ex Fr. Ec, E, Edi Boletus olivaceirubens Corner Ec, Une = (Syn) Boletus edulis Fries Boletus ornatipes Peck Ec, Edi Boletus edulis like Ec, Une = (Cur) Retiboletus ornatipes (Peck) Manfr. Boletus emodensis (Berk.) Singer Ec, Edi Binder & Bresinsky Boletus erythropus (Fr.) Krombholz Ec, Une Boletus pallidus Frost. Ec, Edi Boletus fechtneri Velenovsky Ec, Une Boletus parvulus (Hongo) Har. Takah. Ec, Une Boletus firmus Frost Ec, Edi Boletus peltatus Corner Ec, Une Boletus flaviporus (Fr.) Singer Ec, Une Boletus persoonii Bon Ec, Une Boletus fragrans Vittadini Ec, Une Boletus pinophilus Pilat & Dermek Ec, Une Boletus fraternus Peck Ec, Edi Boletus projectellus Murrill Ec, Une Boletus frostii Russell Ec, Une Boletus pseudoregius (Hubert) = (Syn) Boletus frostii Apud Frost ex Estades Ec, Une Boletus granulopunctatus Hongo Ec, Une Boletus pseudoseparans Grand & Boletus griseipurpureus Corner Ec, Edi Smith Ec, Une Boletus griseus Frost. Ec, Edi Boletus pulcherrimus Thiers &Halling Ec, Une = (Cur) Retiboletus griseus (Frost) Manfr. Binder Boletus queletii Schulzer Ec, Une & Bresinsky Boletus quercinus Hongo Ec, Une Boletus hemichrysus Berk. & M.A. Boletus radicans Pers. ex Fries Ec, Une Curtis Ec, Une Boletus rainisii Bessette & O. K. Mill Ec, Une = (Cur) Buchwaldoboletus hemichrysus (Berk. Boletus rebellus Ec, Une & M.A. Curtis) Pilát Boletus rectus Corner Ec, Une Boletus impolitus Fries Ec, Une Boletus regius Krombhozl Ec, Une Boletus junquilleus (Quelet) Boudier Ec, Une Boletus reticulatus Schaeff. Ec, Edi Boletus lacunosus Rostr.** Ec, Une Boletus retispora (Pat. & C.P. Baker) Boletus laetissimus Hongo Ec, Une E. Horak Ec, Une Boletus leptospermi McNabb Ec, Une Boletus rhodopurpureus Smotlacha Ec, Une Boletus luridus Schaeffer ex Fr. Ec, Une Boletus roxanae Ec, Une = (Cur) Boletus luridus var. luridus Schaeff. Boletus rubellus Krombh. Ec, Une Boletus luridus var. erythrentheron (Bezdek) Pilát Boletus rubricitrinus Smotlache Ec, Une & Dermek Ec, Une Boletus rubriflavus Corner Ec, Une Boletus magnificans W.F. Chiu Ec, Une Boletus rufoaureus Massee Ec, Une Boletus mamorensis Redeuilh Ec, Une Boletus satanas Lenz Ec, Une Boletus marshii Arora Ec, Une Boletus sensibilis Peck Ec, Une Boletus miniatopallescens Smith & Boletus separans Peck Ec, Une Thiers Ec, Une = (Cur) Xanthoconium separans (Peck) Halling Boletus mirabilis Murrill Ec, Une & Both Boletus miniatopallescens Smith & Boletus sp.1 Ec, Une Thiers Ec, Une Boletus sp.2 Ec, Une Boletus mirabilis Murrill Ec, Une Boletus specioces Ec, Une = (Cur) Boletellus mirabilis (Murrill) Singer Boletus speciosus Frost Ec, Une Boletus mottiae Thiers Ec, Une Boletus stanus like Ec, Une

122 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 122 7/28/56 BE 7:00 PM Boletus subappendiculatus Derm, Lazebn = (Cur) Leccinellum crocipodium (Letell.) & Veselsky Ec, Une Bresinsky & Manfr. Binder Boletus subvelutipes Peck Ec, Une Leccinum cyaneobasileucum Lannoy & Boletus subviren Ec, Une Estades Ec, Une Boletus tenax A.H. Smith & Thiers Ec, Une = (Cur) Leccinum aerugineum (Fr.) Lannoy Boletus umbriniporus Hongo Ec, Une & Estadès Boletus venturii Bon Ec, Une Leccinum duriusculum (Schulz.) Singer Ec, Une Boletus viridiflavus Coker & Beers Ec, Une Leccinum extremiorientale (L. Vass) Boletus zelleri Murrill Ec, Une Sing. Ec, Edi Buchwaldoboletus hemichrysus (Berk. & M.A. Curtis) Leccinum griseum (Quél.) Singer Ec, Une Pilát Ec, Une = (Cur) Leccinellum griseum (Quél.) Bresinsky piperatoides Smith & Thiers Ec, Une & Manfr. Binder = (Syn) Chalciporus piperatoides (A.H. Sm. Leccinum holopus (Rostkov) Watling Ec, Une & Thiers) T.J. Baroni & Both Leccinum holopus var. halopus (Rostk.) (Bull. ex Fr.) Watl. Ec, Une Bataille Ec, Edi Leccinum insigne Smith, Thiers & Chalciporus rubinus (Smith) Singer Ec, Une Watling Ec, Une = (Cur) Rubinoboletus rubinus (W.G. Sm.) Pilát Leccinum intusrubens (Cor.) Hongo Ec, Edi & Dermek = (Syn) Leccinum intusrubens (Corner) Høil. Heimiella japonica Hongo Ec, Edi Leccinum lepidum (Bouchet ex Essette) = (Cur) Heimioporus japonicus (Hongo) E. Horak Quadraccia Ec, Une Heimiella mandarina (Ces.) Corner Ec, Edi Leccinum oxydabile (Singer) Singer Ec, Une = (Cur) Heimioporus mandarinus (Ces.) E. Horak Leccinum pulchrum Lannoy & Estades Ec, Une Heimiella retispora (Pat. & Baker) = (Cur) Leccinum roseofractum Watling Boedijn Ec, E, Edi Leccinum roseofractum Watling Ec, Une = (Cur) Heimioporus retisporus var. retisporus Leccinum rugosiceps (Peck) Singer Ec, Une (Pat. & C.P. Baker) E. Horak Leccinum scabrum (Bull.) Gray. Ec, Une Heimiella subretispora Corner Ec, Une = (Syn) Leccinum scabrum (Bull. ex Fr.) S.F. = (Cur) Heimioporus subretisporus (Corner) Gray E. Horak Leccinum thalassinum Pilát & Dermek Ec, Une Heimioporus betula (Schwein.) E. Horak Ec, Une Phylloporus arenicola Smith & Trappe Ec, E, Edi Heimioporus retisporus (Pat. & Baker) Phylloporus bellus (Massee) Corner Ec, E, Edi Horak Ec, Edi = (Syn) Hygrophorus bellus Massee Ixechinus virens (Chui) Hongo Ec, Edi Phylloporus bellus var. cyanescens Leccinum albellum (Peck) Singer Ec, Une Corner Ec, Edi = (Cur) Leccinellum albellum (Peck) Bresinsky Phylloporus guzmanii Montoya & & Manfr. Binder Bandala Ec, Une Leccinum aurantiacum (Bull. ex St.Amans) Phylloporus leucomycelinus Singer Ec, Une Gray Ec, Une Phylloporus orientalis var. brevisporus Leccinum brunneogogriseolum Lannoy & Corner Ec, Edi Estades Ec, Une Phylloporus pelletieri (Lev.) Quel. Ec, Une = (Cur) Leccinum aerugineum (Fr.) Lannoy Phylloporus rhodoxanthus (Schwein. ex Fr) & Estadès Bresadola Ec, Une Leccinum crocipodium (Letell.) Watling Ec, Une Porphyrellus fusisporus (Kawam.) Imazeki & Hongo Ec, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 2 3

103-144_dp2.indd 123 7/28/56 BE 7:00 PM Porphyrellus porphyrosporus (Fr. & Hök) Tylopilus conicus (Ravenel) Beardslee Ec, Une E.-J. Gilbert Ec, Une = (Cur) Fistulinella conica (Ravenel) Pegler & Porphyrellus pseudoscaber Secr. T.W.K. Young ex Singer Ec, Une Tylopilus exismius Peck Ec, Edi = (Cur) Porphyrellus porphyrosporus (Fr. & Hök) = (Syn) Tylopilus exismius (Peck) Singer E.-J. Gilbert Tylopilus felleus (Bull.) P. Karst. Ec, Edi Pulveroboletus auriflammeus (Berk. & M.A. Curtis) = (Syn) Boletus alutarius Fr. Singer Ec, Une = (Syn) Boletus felleus Bull. Pulveroboletus hemichrysus (Berk. et Curt.) Tylopilus furmosipes (Peck) Smith & Singer Ec, Une Thiers Ec, Une = (Cur) Buchwaldoboletus hemichrysus (Berk. & Tylopilus gracilis (Pk.) Hennings Ec, Une M.A. Curtis) Pilát Tylopilus griseocarneus Wolfe & Pulveroboletus icterinus (Pat. & C.P.Baker) Halling Ec, Une Watling Ec, Une Tylopilus humilis Thiers Ec, Une Pulveroboletus lignicola (Kallenb.) Tylopilus indecisus (Peck) Murrill Ec, Une Dick & Snell Ec, Une Tylopilus nebulosus (Peck) Wolfe Ec, Une = (Cur) Buchwaldoboletus lignicola (Kallenb.) Tylopilus nigerrimus R. Heim Hongo & Pilát M. Endo Ec, Edi Pulveroboletus ravenelii (Berk. & M.A. Curtis) = (Cur) Retiboletus nigerrimus (R. Heim) Manfr. Murrill Ec, Edi Binder & Bresinsky Retiboletus ornatipes (Peck) Binder & Tylopilus nigropurpureus (Corner) Hongo Ec, Edi Bresinsky Ec, Une Tylopilus olivaceobrunneus (Zeller & Bailey) Sinoboletus sp. Ec, Une Wolfe Ec, Une thailandica Desjardin, Manf. Binder, Tylopilus otsuensis Hongo Ec, Edi Roekring & Flegel** Ec, Une Tylopilus pacificus Wolfe Ec, Une Strobilomyces annulatus Corner Ec, Une Tylopilus plumbeoviolaceus (Snell & Dick) Strobilomyces confusus Singer Ec, Une Singer Ec, Une Strobilomyces floccopus (Vahl) P. Karst. Ec, Edi Tylopilus porpyhrosporus (Fr. & Hok) Smith & = (Cur) Strobilomyces strobilaceus (Scop.) Berk. Thiers Ec, Une Strobilomyces mollis Corner Ec, Une = (Cur) Porphyrellus porphyrosporus (Fr. & Hök) Strobilomyces ranulat Singer Ec, Une E.-J. Gilbert Strobilomyces seminudus Hongo Ec, Edi Tylopilus pseudoscaber (Secr.) A.H. Smith & Strobilomyces strobilaceus (Scop.) Berk.Ec, Edi Thiers Ec, Une Strobilomyces velutipes Cooke & Tylopilus rubrobrunneus Mazzer & A.H. Massee Ec, Edi Smith Ec, Une Tylopilus alboater (Schwein.) Murrill Ec, Edi Tylopilus sordidus (Frost) Smith & = (Syn) Boletus alboater Schwein. Thiers Ec, Une Tylopilus ammiratii Thiers Ec, Une Tylopilus subrobrunneus Ec, Une Tylopilus attrofuscus Dick & Snell Ec, Une Tylopilus subunicolor E.A. Dick & Snell Ec, Une Tylopilus balloui (Peck) Singer Ec, Edi Tylopilus vinosobrunneus Hongo Ec, Edi = (Syn) Rubinoboletus balloui (Peck) Heinem. & Tylopilus virens (W.F. Chiu) Hongo Ec, Edi Rammeloo Tylopilus visidulus (Pat.) Lee & Watling Ec, Une Tylopilus chromapes (Frost) Sing. Ec, Edi Xerocomus badiorufus (Heim) Bon Ec, Une = (Syn) Tylopilus chromapes (Frost) A.H.Smith Xerocomus badius (Fr.ex Fr.) Gilbert Ec, Une & Thiers = (Cur) Boletus badius (Fr.) Fr.

124 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 124 7/28/56 BE 7:00 PM Xerocomus chrysenteron (Bull.) Quélet Ec, Une Serpular lacrymans (Fr.) Schroet. S, Ine = (Cur) Boletus chrysenteron Bull. Serpula similis (Berk. & Br.) Ginns S, Une Xerocomus dryophilus (Thiers) Singer Ec, Une Xerocomus lanatus (Rostk.) Singer Ec, Edi อันดับ Boletales วงศ์ Gomphidiaceae = (Cur) Boletus subtomentosus L. Chroogomphus tomentosus (Murr.) Xerocomus leonis (Reid) Bon Ec, Une .Miller Ec, Une = (Cur) Boletus moravicus Vacek Gomphidius roseus (Fr.) Fr. Ec, Edi Xerocomus macrobbii McNabb Ec, Une = (Syn) Leucogomphidius roseus (Fr.) Koti. & Xerocomus porosporus Imler Ec, Une Pouzar = (Cur) Boletus porosporus Imler ex Bon & G. = (Syn) Gomphus glutinosus var. roseus (Fr.) P. Moreno Kumm. Xerocomus pruinatus (Fr. & Hok.) Quélet Ec, Une อันดับ Boletales วงศ์ Gyroporaceae = (Cur) Boletus pruinatus Fr. & Hök Gyroporus atroviolaceus (Hochn.) Xerocomus rubellus (Krambh) Quél. Ec, Une Gilbert. Ec, Une = (Cur) Boletus rubellus Krombh. Gyroporus castaneus (Bull. ex Fr.) Xerocomus subtomentosus (L.) Quél. Ec, Edi Quélet, Enchir. Ec, Une = (Cur) Boletus subtomentosus L. Gyroporus cyanescens (Bull. ex Fr.) Xerocomus xanthus (Gilbert) Curreli Ec, Edi Quel. Ec, Une = (Cur) Boletus subtomentosus L. Gyroporus cyanescens var. sulfurens Kalamees Ec, Une อันดับ Boletales วงศ์ Boletinellaceae Gyroporus cyanescens var. vialaceotinetus Boletinellus merulioides (Schwein.) Watling Ec, Une Murrill Ec, Une Gyroporus purpurinus (Snell) Singer Ec, Une Phaeogyroporus braunii (Bres.)Singer Ec, Edi Gyroporus subalbellus (Bull. ex Fr.) = (Cur) Phlebopus braunii (Bres.) Heinem. Quelet Ec, Une Phaeogyroporus silvaticus (Heinemann) Rubinoboletus ballouii (Peck) Heinem. & Pegler Ec, Une Rammeloo Ec, Une = (Cur) Phlebopus silvaticus Heinem. Rubinoboletus sp. Ec, Une Phlebopus braunii (Bres.) Singer Ec, Edi Phlebopus colossus (R. Heim) Singer Ec, Une อันดับ Boletales วงศ์ Hygrophoropsidaceae Phlebopus portentosus (Berk.& Broome) (Tapinellaceae) Boedijn Ec, Edi Tapinella atrotomentosa (Batsch) = (Syn) Phaeogyroporus portentosus (B. & Br.) Šutara Ec, Edi McNabb Hymenogaster cf. albellus Massee = (Syn) Boletus portentosus Berk. & Broome & Rodw. Ec, Une = (Syn) Gyroporus portentosus (Berk. & Broome) = (Cur) Descomyces albellus (Massee & Rodway) G. Stev. Bougher & Castellano Phlebopus siamensis sp. nov. Mycoamaranthus cambodgensis (Pat.) Trappe, S. Thongklam Ec, Une Lumyong, P. Lumyong, Sanmee & Zhu L. Yang Ec, Edi อันดับ Boletales วงศ์ Coniophoraceae (Serpulaceae) Coniophora hanoiensis Pat. S, Une Leucogyrophana romellii Ginns S, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 2 5

103-144_dp2.indd 125 7/28/56 BE 7:00 PM อันดับ Boletales วงศ์ Melanogastraceae อันดับ Boletales วงศ์ (Paxillaceae) Pisolithus abditus Kanch., Sihan., Hogetsu & Alpova diplophloeus (Zeller & Dodge) Trappe & Watling** Ec, Une Smith Ec, Une Pisolithus arhizus (Pers.) Rauschert Ec, Edi Alpova trappei Fogel Ec, Une Pisolithus tinctorius (Mont.) E. Fisch. Ec, Edi Melanogaster sp. Ec, Edi = (Syn) Pisolithus tinctorius Pers. = (Syn) Polysaccum tinctorium Mont. อันดับ Boletales วงศ์ Paxillaceae Scleroderma areolatum Ehrenb. Ec, Edi (Boletinellaceae) Scleroderma aurantium Ec, Poi Gyrodon merulioides (Schwein.) = (Cur) Scleroderma citrinum Pers. Singer Ec, Une Scleroderma bovista Fr. Ec, Une = (Cur) Boletinellus merulioides (Schwein.) Murrill Scleroderma cepa Pers. Ec, Une Gyrodon rompelii (Pat. & Rick) Singer Ec, Edi Scleroderma citrinum Pers. Ec, Poi = (Cur) Boletinellus rompelii (Pat. & Rick) Watling Scleroderma dictyosporum Pat. Ec, Une Paxillus curtisii Berk. S, Poi Scleroderma flavidum Ellis & Everh. Ec, Edi = (Cur) Pseudomerulius curtisii (Berk.) Redhead Scleroderma geastrum Ec, Une & Ginns ใน วงศ์ Tapinellaceae Scleroderma lycoperdioides Schwein. Ec, Une Paxillus involutus (Batsh. ex Fr.) Fr. S, Une Scleroderma polyrhizum Pers. Ec, Edi Paxillus panuoides (Fr.) Fr. S, Une = (Syn) Scleroderma polyrhizum (J.F. Gmel.) = (Cur) Tapinella panuoides (Batsch) E.-J. Gilbert Pers. ใน วงศ์ Tapinellaceae Scleroderma sinnamariense Mont. Ec, Une Paxillus vernalis Watling S, Une Scleroderma verrucosum Pers. Ec, Edi = (Syn) Scleroderma verrucosum (Bull. ex Pers.) อันดับ Boletales วงศ์ Rhizopogonaceae Pers. Rhizopogon luteolus Fr. Ec, Une Rhizopogon obtextus (Spreng.) อันดับ Boletales วงศ์ Suillaceae R. Rauscher Ec, Une Boletinus cavipes (Opat.) Kalchb. Ec, Edi Rhizopogon occidentalis Zel. & Dodge Ec, Une = (Syn) Boletinus cavipes (Klotzsch ex Fr.) Kalchbrenne อันดับ Boletales วงศ์ Sclerodermataceae = (Cur) Suillus cavipes (Opat.) A.H. Sm. & Thiers (Diplocystidiaceae) Suillus acidus (Peck) Singer Ec, Une Astraeus asiaticus C. Phosri, M.P. Martin & (Pk.) Snell Apud Slipp. & R. Watling** Ec, E, Edi Snell. Ec, Une Astraeus hygrometricus (Pers.) Morg. Ec, E, Edi (Pers.) Roussel Ec, Edi Astraeus odoratus C. Phosri, R. Watling, (Pk.) Kuntze Ec, Une M.P. Martin & A.J.S Whalley** Ec, E, Edi Suillus changensis Rostr.** Ec, Une Suillus decipiens (Berk.) & Curtis) อันดับ Boletales วงศ์ Sclerodermataceae Kuntze Ec, Une (Calostomataceae) Suillus fuscotomentosus (Kauff.) Singer, Snell & cinnabarina Desvaux Ec, Une Dick Ec, Une Calostoma fuscum (Berk.) Massee Ec, Edi Suillus granulatus (L.) Roussel Ec, Edi Calostoma japonicum Henn. Ec, Une = (Syn) Boletus granulatus L. Calostoma lutescens (Schw.) Burnap Ec, Une Suillus grevillei (Klotzsch) Singer Ec, Une Calostoma ravenelii (Berk.) Mass. Ec, Une Suillus hygrophanus Rostr. Ec, Une

126 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 126 7/28/56 BE 7:00 PM Suillus intermedius (A.H. Sm. & Thiers) A.H. Sm. Cantharellus xanthopus (Pers.) Duby Ec, Une & Thiers Ec, Edi = (Cur) Craterellus lutescens (Fr.) Fr. Suillus lakei (Murr.) Smith & Thiers Ec, Une Craterellus aureus Berk. & M.A. Curtis Ec, Edi (L. & Fr.) S.F.Gray Ec, Edi Craterellus cantharellus (Schwein.) Fr. Ec, Une Suillus occidentalis Thiers Ec, Une = (Cur) Hygrocybe cantharellus (Schwein.) Murrill Suillus pallidiceps Smith & Thiers Ec, Une Craterellus cinereus (Pers.) Fr. Ec, Edi Suillus pictus (Peck) Kuntze Ec, Edi = (Syn) Merulius cinereus Pers. = (Syn) Suillus pictus (Pk.) A.H.S. & Thiers = (Syn) Craterellus cinereus (Pers.) Pers. Suillius placidus (Bon.) Singer Ec, Une = (Syn) Pseudocraterellus cinereus (Pers.) Suillus pungens Thiers & Smith Ec, Une Kalamees Suillus sibiricus (Sing.) Singer Ec, Une Craterellus cornucopioides (L. ex Fr.) Suillus spraguei (Berk.& Curtis) Kuntze Ec, Une Pers. Ec, Edi Suillus tridentinus (Bresadola) Singer Ec, Une = (Syn) Craterellus cornucopioides (L.) Pers. Suillus velatus Rostr.** Ec, Une Craterellus cornucopioides var. parvisporus Heinem Ec, Une อันดับ Botryobasidiales วงศ์ Bortyobasidiaceae Craterellus fallax A.H.Smith Ec, Une (Cantharellales) Craterellus odoratus (Schwein.) Fr. Ec, Edi Botryohypochnus isabellinus (Fr.) Pseudocraterellus mussooriensis (Reid, Thind & Erikss. S, Une Adlakka) Corner Ec, Une Pseudocraterellus undulatus (Pers.) อันดับ Cantharellales วงศ์ Rauschert Ec, Une Cantharellus aureus (Berk. & Curtis) = (Syn) Cantharellus sinuosus Fr. Bres. Ec, Edi = (Syn) Craterellus sinuosus (Fr.) Fr. Cantharellus cibarius Fr. Ec, Edi = (Syn) Craterellus nudulatus (Pers.) Redeuilh Cantharellus cinereus (Pers.) Fr. Ec, Edi = (Syn) Pseudocraterellus sinuosus (Fr.) Corner Cantharellus cinnabarinus (Schwein.) Pterygellus polymorphus Corner Ec, Une Schwein. Ec, Edi Cantharellus cinnabarinus var. australiensis อันดับ Cantharellales วงศ์ (Cleland) Corner Ec, Edi Clavulina amethystine Ec, Une Cantharellus confluens (Berkeley & Curtis) Clavulina cinerea (Bull.) J. Schrot. Ec, Edi Peterson Ec, Une = (Syn) Clavaria cinerea Bull. Cantharellus fallax A.H. Smith Ec, Une = (Syn) Ramaria cinerea (Bull.) Gray Cantharellus friesii Quelet Ec, Une (Fr.) Schroet. Ec, Edi Cantharellus lateritius (Bekeley) = (Syn) Clavulina cristata (Holmsk.) J. Schröt. Singer Ec, Une = (Cur) Clavulina coralloides (L.) J. Schröt. Cantharellus minor Peck Ec, Edi Clavulina cristata var. brunneola K.S. Cantharellus odoratus (Schwein.) Fr. Ec, Edi Thind & Anand Ec, Une Cantharellus purpuraceus Iwade Ec, Une Clavulina rugosa (Bull. ex Fr.) Schrot. Ec, Une Cantharellus subalbidus Smith & Morse Ec, Une อันดับ Cantharellales วงศ์ Hydnaceae Cantharellus subcibarius Corner Ec, Une Dentinum albidum (Peck) Snell Ec, Une Cantharellus tubiformis Fries ex Fries Ec, Une Dentinum repandum (Fr.) S.F. Gray Ec, Une = (Cur) Craterellus tubaeformis (Schaeff.) Quél. = (Cur) repandum L. Cantharellus tubiformis var. lutescens Hydnum cyanellum (K.A.Harrisson) (Fr.) Gillet Ec, Une K.A. Harrisson Ec, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 2 7

103-144_dp2.indd 127 7/28/56 BE 7:00 PM Hydnum fuliginoeviolaceum Peck Ec, Une Hymenochaete corrugata Fr. ex Fr. S, Une = (Cur) Sarcodon fuligineoviolaceus (Kalchbr.) Hymenochaete rheicolor Mont. S, Une Pat. Hymenochaete rubiginosa (Dicks.) Hydnum fuscoindicum K.A. Harrisson Ec, Une Lév. S, Une = (Cur) Sarcodon fuscoindicus (K.A. Harrison) = (Syn) Hymenochaete rubiginosa (Schrad.) Lév. Maas Geest. = (Syn) Hymenochaete rubiginosa (Dicks. ex Fr.) Hydnum repandum L. ex Fr. Ec, Edi Lév. Hymenochaete tubacina (Sow.ex Fr.) อันดับ Dacrymycetales วงศ์ Dacrymycetaceae Léveille S, Une Calocera cornea (Batsch) Fr. S, Ine = (Cur) Pseudochaete tabacina (Sowerby) = (Syn) Clavaria cornea Batsch T. Wagner & M. Fisch. = (Syn) Corynoides cornea (Batsch) Gray Hymenochaete villosa (Bull.) P. Karst. S, Une = (Syn) Calocera palmate (Schumach.) Fr. Inonotus cuticularis (Fr.) Karsten S, Une Calocera viscosa (Pers. ex Fr.) Fr. S, Une Inonotus dryadeus (Pers. ex Fr.) Murrill S, Une deliquescens (Bull.) Duby S, Une = (Cur) Pseudoinonotus dryadeus (Pers.) Dacrymyces minor Peck. S, Une T. Wagner & M. Fisch. Dacrymyces palmatus (Schwein.) Inonotus hispidus (Bull.) P. Karst. S, Une Burt S, Une Inonotus nodulosus (Fr.) Karsten & = (Cur) Dacrymyces chrysospermus Berk. & M.A. Burnosekjuke S, Une Curtis Inonotus radiatus (Sowerby ex Fr.) Dacrymyces stillatus Nees ex Fr. S, Ine Karsten S, Une Dacryopinax spathularia (Schwein.) Inonotus rheades (Pers.) Karsten & G.W. Martin S, Edi Burnosekjuke S, Une Inonotus rickii (Pat.) Reid S, Une อันดับ Hymenochaetales วงศ์ Hymenochaetaceae Inonotus sciurinus Imaz. S, Une Coltricia cinnamomea (Jacq.) Murrill S, Ine = (Cur) Inonotus flavidus (Berk.) Ryvarden = (Syn) Boletus cinnamomeus Jacq. Inonotus tenuicarnis Pegler & Reid S, Une Coltricia montagnei var. greenei (Berk.) Imazeki Inonotus tomentosus (Fr.) Teng S, Une & Kobayasi S, Une = (Cur) Onnia tomentosa (Fr.) P. Karst. Coltricia montagnei var. montagnei Fr. S, Une Phellinus adamantinus (Berk.) Ryvarden S, Une Coltricia perennis (L.) Murrill S, Une Phellinus chrysoloma (Fr.) Donk S, Une = (Syn) Coltrichia perennis (Fries) Murrill Phellinus conchatus (Pers.) Quélet S, Une Coltricia perennis (L. ex Fr.) Murr. S, Une Phellinus contiguus (Pers.) Pat. S, Une = (Syn) Coltrichia perennis (Fries) Murrill Phellinus everhartii (Ellis & Galloway) Coltriciella dependens (Berk.) Murr. S, Une Ames S, Une Cyclomyces fuscus Kunze ex Fr. S, Une Phellinus extensus (Lév.) Pat. S, Une Cyclomyces setiporus (Berk.) Pat. S, Une = (Cur) Fomes extensus (Lév.) Cooke = (Syn) Polyporus setiporus Berk. Phellinus fastuosus (Lév.) Ryvarden S, Une = (Syn) Inonotus setiporus (Berk.) G. Cunn. Phellinus ferreus (Pers.) Bourdot & Cyclomyces tabacinus (Mont.) Pat. S, Une Galzin S, Une = (Cur) Inonotus tabacinus (Mont.) G. Cunn. Phellinus ferruginosus (Schrad.) Pat. S, Une Hymenochaete adusta (Lév) Bres. S, Une Phellinus gilvus (Schwein. ex Fr.) Pat. S, Une Hymenochaete attenuata (Lév) Pat. S, Une Phellinus glaucescens (Petch) Ryv. S, Une Hymenochaete cinnamomea (Pers.) Phellinus hartigii (Allesch.&Schnab) Pat S, Une Bresadola S, Une

128 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 128 7/28/56 BE 7:00 PM Phellinus hippophaëicola John & Phellopilus nigrolimitatus (Romell) Niemelä, T. Tindvedkjuke S, Une Wagner & M. Fischer S, Une Phellinus hoehnelii (Bres.) Ryv. S, Une Phylloporia chrysites (Berk.) Ryv. S, Une Phellinus igniarius (L.) Quélet S, Une Phylloporia ribis (Schumach.) Ryvarden S, Une Phellinus laevigatus (Fr.) Bourdot & Polystictus cotoneus Pat & Har. S, Une Galzin S, Une = (Cur) Trametes cotonea (Pat. & Har.) Ryvarden Phellinus lamaoensis (Murr.) Heim S, Une Polystictus discipes (Berk) Fr. S, Une Phellinus licnoides (Mont.) Pat. S, Une Polystictus pergamenus (Fr.) Fr. S, Une = (Cur) Phellinus gilvus (Schwein.) Pat. = (Cur) Trichaptum biforme (Fr.) Ryvarden Phellinus linteus (Berk. & M.A. Curtis) Polystictus ridleyi Mass. S, Une Teng S, Une Polystictus vinosus (Berk.) Cke. S, Une Phellinus luctuosus (Ces.) Ryv. S, Une = (Cur) Nigroporus vinosus (Berk.) Murrill Phellinus melanodermus (Pat.) Polystictus xanthopus Fr. S, Une Fidalgo S, Une = (Syn) Polyporus xanthopus Fr. Phellinus nigricans (Fr.) Karst. S, Une = (Cur) Microporus xanthopus (Fr.) Kuntze = (Cur) Phellinus igniarius (L.) Quél. Pyrrhoderma sendaiense (Yas.) Imaz. S, Une Phellinus noxius (Corner) Cunn. S, Une Phellinus pachyphloeus (Pat.) Pat. S, Une อันดับ Hymenochaetales วงศ์ Schizoporaceae Phellinus pectinatus (Klotsch) Quél. S, Une Fibrodontia gossypina Parm. S, Une = (Cur) Phylloporia pectinata (Klotzsch) Ryvarden = (Cur) Hyphodontia gossypina (Parmasto) Phellinus pini (Fr.) Donk S, Une Hjortstam = (Cur) Porodaedalea pini (Brot.) Murrill Hyphodontia alutaria (Burt.) John Erikss. S, Une Phellinus pomaceus (Pers.) Maire S, Une Hyphodontia rudis (Bres.) Hjortst. & Phellinus portoricensis S, Une Ryv. S, Une Phellinus pullus (Mont. & Berk.) Oxyporus cervinogilvus (Jungh.) Ryv. S, Une Ryvarden S, Une Oxyporus corticola (Fr.) Ryvarden S, Une Phellinus punctatus (Fr.) Pilát S, Une Oxyporus latemarginata (Mont. & Durieu) Phellinus purpureogilvus (Petch) Ryv. S, Une Donk S, Une Phellinus rimosus (Berk.) Pilát S, Une Oxyporus pellicula (Jungh.) Ryv. S, Une Phellinus robustus (Karst.) Bourdot & Oxyporus populinus (Schumach. ex Fr.) Galzin S, Une Donk S, Une Phellinus setulosus (Lloyd) Imazeki S, Une Oxyporus subulatus Ryvarden** S, Une Phellinus texanus (Murrill) A. Ames S, Une Schizopora paradoxa (Schrad.) Donk S, Une = (Cur) Phellinus robustus (P. Karst.) Bourdot Schizopora trichilae (Byl) Ryv. S, Une & Galzin = (Cur) Schizopora flavipora (Berk. & M.A. Curtis Phellinus torulosus (Pers.) Bourdot & ex Cooke) Ryvarden Galzin S, Une Phellinus tremulae (Bond.) Bond. & อันดับ Phallales วงศ์ Geastraceae Borisov S, Une Geastrum drummondii Berk. S, Une Phellinus tricolor (Bres.) Kotl. S, Une Geastrum fimbriatum Fr. S, Une Phellinus trivialis (Bres.) Kreisel S, Une Geastrum lageniforme Vitt. S, Une = (Cur) Phellinus igniarius (L.) Quél. Geastrum minus (Pers.) G. Cunn. S, Une Phellinus wahlbergii (Fr.) Reid S, Une Geastrum mirabile Mont. S, Une Phellinus xeranticus (Berk.) Pegler S, Une = (Syn) Geastrum mirabile (Mont.) Fischer Geastrum nanum Pers. S, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 2 9

103-144_dp2.indd 129 7/28/56 BE 7:00 PM = (Cur) Geastrum schmidelii Vittad. Clathrus rubber (P. Micheli) Pers. S, Une Geastrum pectinatum Pers. S, Une Colus hirudinosus Cavalier & Séchier S, Une Geastrum rufescens Pers. S, Ine Dictyophora duplicate (Bosc) Fisch. S, Edi Geastrum saccatum Fr. S, Une Dictyophora indusiata (Vent. ; Pers.) = (Syn) Geastrum saccatum (Fr.) Fischer Fisch. S, E, Edi Geastrum stipitatum Solms S, Une = (Syn) Dictyophora indusiata (Vent.) Desv. Geastrum triplex Jungh. S, Une = (Cur) Phallus indusiatus Vent. Geastrum velutinum Morgan S, Une Dictyophora multicolor Br. var. lacticolor = (Syn) Geastrum velutinum (Morg.) Fischer Reid. S, Une Sphaerobolus stellatus Tode ex Pers. S, Une Dictyophora multicolor Berk. & Broome S, Edi = (Syn) Sphaerobolus stellatus (Tode) Persoon Dictyophora multicolor var. lacticolor (Berk.) Boome S, Une อันดับ Phallales วงศ์ Gomphaceae Dictyophora phalloidea Desv. S, Une Chaetotyphula sp. S, Une Dictyophora rubrovolvata M. Zang, Clavariadelphus lovejoyae Wells D.G. Ji & X.X. Liu S, Une & Kempton Ec, Une Mutinus bambusinus (Zoll.) E. Fisch. S, Une Clavariadelphus pistillari (L.) Donk Ec, Edi Mutinus caninus (Huds. ex Pers.) Fr. S, Une Clavariadelphus subfastigiatus V.L. Wells Mutinus caninus var. albus (Mont.) & Kempton Ec, Une Fischer S, Une Clavariadelphus truncatus (Quel.) Mutinus elegans (Mont.) Fischer S, Une Donk Ec, Une Mutinus ravenelii S, Edi Gomphus bonari (Morse) Singer Ec, Une Phallus impudicus Pers. S, Une (Fr.) S.F.Gray Ec, Edi = (Cur) Phallus impudicus var. impudicus L. = (Syn) Gomphus clavatus (Pers. ex Fr.) Gray Phallus indusiatus Vent. ex Pers. S, E, Edi Gomphus floccosus (Schwein.) Singer Ec, Poi Phallus rubicundus (Bosc) Fr. S, Ine = (Syn) Cantharellus floccosus Schwein. Phallus rugulosus Lloyd S, Une = (Syn) Merulius floccosus (Schwein.) Kuntze Phallus tenuis (E. Fisch.) Kuntze S, Edi = (Syn) Tubinellus floccosus (Schwein.) anon. Pseudocolus fusiformis (Fisch.) Lloyd S, Une Gomphus fugisanensis (Imai) Parmasto Ec, Edi Simblum sphaerocephalum Schlecht S, Une Gomphus kauffmanii (Smith) Corner Ec, Une Gomphus miniata Ec, Une อันดับ Phallales วงศ์ Ramariaceae Gomphus pseudoclavatus Smith Ec, Une Phaeoclavulina cokeri (R.H. Peterson) Ramariopsis californica R.H. Petersen Ec, Une Giachini S, Une Ramariopsis crocea (Pers ex Fr) Corner Ec, Une Phaeoclavulina cyanocephala (Berk. & Curt.) (Fr.) Coner Ec, Une Giachini Ec, Edi = (Syn) Clavaria kunzei Fr. Ramaricium polyporoideum (Berk. & Curt.) = (Syn) Clavulina kunzei (Fr.) J. Schröt. Ginns S, Une = (Syn) Clavulinopsis kunzei (Fr.) Jülich = (Cur) Phlyctibasidium polyporoideum (Berk. Ramariopsis pulchella (Boud.) Corner Ec, Une & M.A. Curtis) Jülich Rhodactina himalayensis Pegler & T.K.W. อันดับ Phallales วงศ์ Phallaceae Young Ec, Une Anthurus brownie J.M. Mend. S, Une Rhodactina incarnata Zhu L. Yang, Trappe Aseroe arachnoidea E. Fisch. S, Une & Lumyong** Ec, Une Clathrus cancellatus Linn. S, Une Clathrus delicates Berk. & Br. S, Une

130 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 130 7/28/56 BE 7:00 PM อันดับ Polyporales วงศ์ Albatrellaceae Fomitopsis rhodophaea (Lév.) Imazeki S, Une Jahnoporus hirtus (Quél.ex Cke.) Nuss. S, Une = (Cur) Fomitella rhodophaea (Lév.) T. Hatt. Fomitopsis rhodophaeus (Lév.) Imaz. S, Une อันดับ Polyporales วงศ์ Laricifomes officinalis (Fr.) Bondartsev & Amylocorticium canadense (Burt.) Erikss. & Singer S, Une Weresub S, Une Piptoporus betulinus (Bull. ex Fr.) Amylocorticium cebennense (Bourd.) Karst. S, Une Pouz S, Une Piptoporus roseovinaceus Choeyklin, T. Hatt. Byssocorticium naviculare Hjortstam & & E.B.G. Jones** S, Une Ryvarden** S, Une Piptoporus soloniensis (Fr.) Pil. S, Une Postia caesia (Schrad.) P. Karst S, Une อันดับ Polyporales วงศ์ Corticiaceae Postia fragilis (Fr.) Jülich S, Une Pulcherricium caeruleum (Fr.) Parm. S, Une Postia guttulata (Peck) Jülich S, Une = (Cur) Terana caerulea (Lam.) Kuntze Postia perdelicata (Murrill) M.J. Larsen & Lombard S, Une อันดับ Polyporales วงศ์ Cyphellaceae Postia stiptica (Pers.) Jülich S, Une Incrustocalyptella orientalis Desjardin** S, Une Postia tephroleuca (Fr.) Jülich S, Une

อันดับ Polyporales วงศ์ Fomitopsidaceae อันดับ Polyporales วงศ์ Daedalea berkeleyi Saccardo S, Une Amauroderma amoiense J.D. Zhao et L.W. Daedalea confragosa Bolt ex Fr. S, Une Hsu S, Edi = (Cur) Daedaleopsis confragosa (Bolton) Amauroderma austrosinense J.D. Zhao et L.W. J. Schröt. Xu S, Edi Daedalea dickinsii Yasuda S, Une Amauroderma dayaoshanense J.D. Zhao et X.Q. Daedalea flavida Lév S, Une Zhang S, Edi Daedalea juniperina (Murr.) Murrill S, Une Amauroderma dubiopansum (Lloyd) = (Cur) Antrodia juniperina (Murrill) Niemelä Ryvarden S, Une & Ryvarden = (Cur) Amauroderma sprucei (Pat.) Torrend Daedalea quercina (L. ex Fr.) Persoon Amauroderma fujianense J.D. Zhao, L.W. Hsu et Daedalea quercina Fries S, Une X.Q. Zhang S, Edi Fomitopsis cajanderi (Kar.) Kolt & Amauroderma longgangense J.D. Zhao Pouzar S, Une et X.Q. Zhang S, Edi Fomitopsis dochmius (Berk. & Broome) Amauroderma macer S, Une Ryvarden S, Une Amauroderma macrum (Berk.) Wakef. S, Une = (Cur) Daedalea dochmia (Berk. & Broome) Amauroderma rude (Berk.) Torrend S, Edi T. Hatt Amauroderma rugosum (Blume & T. Nees) Fomitopsis ellisianus Anderson S, Une Torrend S, Edi Fomitopsis feei (Fr.) Kreisel S, Une = (Syn) Amauroderma rugosum (Blume & Nees = (Syn) Fomitopsis feei (Fr.) Ryvarden ex Fr.) Pat. Fomitopsis fraxinophilus (Pk.) Saccardo S, Une = (Syn) Amauroderma rugosum (Blume et Nees) Fomitopsis nivosa (Berk.) Gilb. & Ryv. S, Une Bres. = (Cur) Trametes nivosa (Berk.) Murrill = (Syn) Amauroderma rugosum (Fr.) Torr. Fomitopsis pinicola (Fr.) Kar. S, Une = (Syn) Polyporus rugosus Blume & T. Nees Fomitopsis pseudopetchii (Lloyd) = (Syn) Ganoderma rugosum (Blume & T. Nees) Ryvarden S, Une Pat.

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 3 1

103-144_dp2.indd 131 7/28/56 BE 7:00 PM = (Syn) Amauroderma atrum (Lloyd) Corner Ganoderma pfeifferi Bresadola S, Une Amauroderma sericatum (Lloyd) Ganoderma philippii (Bers. & Henn.) Wakef. S, Edi Breradola S, Une Amauroderma sericatum Wakef. S, Edi Ganoderma pseudoferreum S, Une Amauroderma subresinosum (Murrill) = (Cur) Ganoderma philippii (Bres. & Henn. ex Corner S, Edi Sacc.) Bres. = (Cur) Ganoderma subresinosum (Murrill) C.J. Ganoderma resinaceum Boud. S, Une Humphrey Ganoderma sp. S, Une Ganoderma adspersum (Schulz.) Donk S, Une Ganoderma sublucidum (Beeli) Ganoderma annularis (Fr.) Gilbertson S, Une Steyart S, Une Ganoderma applanatum (Pers.) Pat. S, Edi Ganoderma subresinosum (Murrill) = (Syn) Boletus applanatus Pers. Humphrey S, Une Ganoderma australe (Fr.) Pat. S, Une Ganoderma tropicum (Jungh.) Bres. S, Une Ganoderma boninense Pat. S, Une Ganoderma tsugae Murrill S, Une = (Cur) Ganoderma orbiforme (Fr.) Ryvarden Ganoderma tsunodae Yasuda S, Une Ganoderma brownii (Murr.) Gilbertson S, Une Ganoderma valesiacum Boud. S, Une Ganoderma calidophilum J.D. Zhao, Haddowia aetii Stey. S, Poi L.W. Hsu & X.Q. Zhang S, Une Haddowia longipes (Lév.) Steyaert S, Une Ganoderma capense (Lloyd) D.A. Reid S, Une Tomophagus colossus (Fries) Murrill S, Une Ganoderma carnosum Patouillard S, Une = (Cur) Ganoderma colossus (Fr.) C.F. Baker Ganoderma chiungchungense X. L. Wu S, Une Ganoderma cochlear (Nees) Merr. S, Une อันดับ Polyporales วงศ์ Gloeophyllaceae Ganoderma colossum (Fr.) Bres. S, Une Gloeocystidiellum ochraceum (Fr.) Ganoderma colossus (Fr.) C.F. Baker S, Une Donk S, Une Ganoderma curtisii (Berk.) Murrill S, Une = (Cur) Conferticium ochraceum (Fr.) Hallenb. Ganoderma dahlii (Henn.) Aoshima S, Une Gloeocystidiellum porosum (Berk. & Curt.) Ganoderma donkii Steyaert S, Une Donk S, Une Ganoderma gibbosum (Ness) Pat. S, Une Gloeophyllum abietinum (Bull. ex Fr.) Ganoderma hainanense J.D. Zhao, L.W. Karsten S, Une Hsu & X.Q. Zhang S, Une Gloeophyllum odoratum (Fr.) Imazeki S, Une Ganoderma koningsbergii (Lloyd) Teng S, Une = (Syn) Gloeophyllum odoratum (Wulfen) Imazeki Ganoderma limushanense J.D. Zhao Gloeophyllum sepiarium (Wulf. ex Fr.) et X.Q. Zhang S, Une Karsten S, Une Ganoderma lobatum (Schwein.) Gloeophyllum striatum (Fr.) Murrill S, Une G.F. Atk. S, Une = (Syn) Daedalea striata Fr. Ganoderma lucidum (M.A. Curtis) P. = (Syn) Lenzites striata (Fr.) Fr. Karst. S, E, Pt, Edi = (Syn) Cellularia striata (Fr.) Kuntze = (Syn) Boletus lucidus M.A. Curtis Gloeophyllum subferrugineum (Berk.) Bondartsev = (Syn) Polyporus lucidus (M.A. Curtis) Fr. & Singer S, Ine Ganoderma mastoporus (Lév.) Pat. S, Une = (Syn) Lenzites subferruginea Berk. Ganoderma neojaponicum Imaz. S, Une = (Syn) Daedalea subferruginea (Berk.) G. Cunn. Ganoderma nitidum Murrill S, Une = (Syn) Gloeophyllum sepiarium var. Ganoderma oregonense (Pers.) subferruginea (Berk.) A. David & Fiasson Patouillard S, Une Gloeophyllum trabeum (Pers. ex Fr.) Murrill S, Une

132 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 132 7/28/56 BE 7:00 PM อันดับ Polyporales วงศ์ Grammotheleaceae = (Cur) Cinereomyces lenis (P. Karst.) Spirin Grammothele delicatula (Henn.) Antrodia sinuosa (Fr.) Donk S, Une Ryvarden S, Une Antrodia xantha (Fr.) Ryvarden S, Une Grammothele ochraceus Ryvarden** S, Une Grifola frondosa (Fr.) S.F.Gray S, E, Edi Theleporus calcicolor (Sacc. & Syd.) = (Syn) Grifola frondosa (Dicks. ex Fr.) S.F. Gray Ryv. S, Une Grifola gigantea (Fr.) Pilát S, Edi = (Cur) Meripilus giganteus (Pers.) P. Karst. อันดับ Polyporales วงศ์ Hapalopilaceae Henningsia brasiliensis (Speg.) Speg. S, Une Bjerkandera adusta (Fr.) Karst S, Ine Meripilus giganteus (Fr.) Kar. S, Edi = (Syn) Bjerkandera adusta (Willd. ex. Fr.) Rigidoporus cf. lineatus (Pers.) Ryvarden S, Une Karsten Rigidoporus dextrinoideus Johan. & Ryv. S, Une Bjerkandera fumosa (Pers. ex Fr.) Rigidoporus lignosus (Klotzsch) Imazeki S, Ine Karst. S, Une = (Cur) Rigidoporus microporus (Sw.) Overeem spissa (Schwein. ex Fr.) Rigidoporus lineatus (Pers.) Ryv. S, Une Rajchenb. S, Une Rigidoporus microporus (Fr.) Overeem S, Ine Ceriporia subreticulata Ryvarrden** S, Une Rigidoporus ulmarius (Sawerby ex Fr. ) = (Cur) Ceriporia alachuana (Murrill) Hallenb. Imazeki S, Une Ceriporia viridans (Berk. & Br.) Donk S, Une Rigidoporus vinctus (Berk.) Ryv. S, Une Hapalopilus mutans (Peck) Gilb. & Rigidoporus zonalis (Berk.) Imaz. S, Une Ryvarden S, Une = (Cur) Rigidoporus lineatus (Pers.) Ryvarden Hapalopilus nidulans (Fr.) Karsten S, Une Hapalopilus rutilans (Pers. ex Fr.) อันดับ Polyporales วงศ์ Karsten S, Une Byssomerulius corium (Pers.) Parmasto S, Une Hapalopilus salmonicolor (Berk.& Curt.) Chondrostereum purpureum (Pers. ex Fr.) Pouz. S, Une Pouzar S, Une = (Cur) Erastia salmonicolor (Berk. & M.A. Curtis) Climacodon dubitativus (Lloyd) Niemelä & Kinnunen Ryvarden S, Une Hyphoderma setigerum (Fr.) Donk S, Une Climacodon efflorescens Mass. S, Une Hyphoderma tuberculare Hjortstam = (Cur) Climacodon dubitativus (Lloyd) Ryvarden & Ryvarden** S, Une Climacodon pulcherrimus (Berk. & Curt.) Ischnoderma benzoinum (Wahl ex Fr.) Nikol S, Une Karsten S, Une Climacodon septentrionalis (Fr.) P. Ischnoderma resinosum (Fr.) Karst. S, Une Karst. S, Une Leptoporus mollis (Pers.) Pilát S, Une Dacryobolus sudans Fr. S, Une = (Syn) Leptoporus mollis (Pers.) Quél Gloeoporus conchoides Mont. S, Une Spongipellis pachyodon (Pers.) Kotlala = (Cur) Gloeoporus thelephoroides (Hook.) & Pouzar S, Une G. Cunn. = (Cur) Sarcodontia pachyodon (Pers.) Spirin Gloeoporus croceopallens Bres. S, Une Spongipellis stramineus Mont. S, Une Merulius corium S, Une Spongipellis unicolor (Schwein.) Murrill S, Une = (Cur) Byssomerulius corium (Pers.) Parmasto Mycoacia nothofagi (Cunn.) Ryv. S, Une อันดับ Polyporales วงศ์ Meripilaceae = (Cur) Mycoacia nothofagi var. nothofagi Abortiporus biennis (Bull. ex Fr.) Singer S, Une (G. Cunn.) Ryv. Antrodia lenis (Karst.) Ryv. S, Une Mycoacia uda (Fr.) Donk S, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 3 3

103-144_dp2.indd 133 7/28/56 BE 7:00 PM Phanerochaete chrysorhizon (Torr.) Budington Podoscypha surinamensis (Lév.) Pat. S, Une & Gilb. S, Une = (Cur) Podoscypha nitidula (Berk.) Pat. Phlebia livida (Fr.) Bres. S, Une Stereopsis burtiana (Peck) D.A. Ried S, Une Phlebia tremellosa (Schrad.) Stereopsis hiscens (Berk. & Ryv.) Ried S, Une Nakasone & Burds. S, Une Stereopsis malaiensis D.A. Reid S, Une = (Cur) Merulius tremellosus Schrad. Stereopsis radicans (Berk.) D.A. Reid S, Une Scopuloides hydnoides (Mass.) Hjortst. = (Syn) Thelephora radicans Berk. & Ryv. S, Une = (Syn) Cotylidia radicans (Berk.) Boidin = (Syn) Podocyspha radicans (Berk.) Pat. อันดับ Polyporales วงศ์ Candelabrochaete africana Boid. S, Une อันดับ Polyporales วงศ์ Lopharia cinerascens (Schw.) Cunn. S, Une Cerrena meyenii (Klotz.) Hansen S, Une Lopharia papyracea (Jungh) Reid. S, Une = (Cur) Trametes meyenii (Klotzsch) Lloyd Lopharia spadicea (Fr.) Boid. S, Une Cerrena unicolor (Bull. ex Fr.) Murrill S, Une = (Cur) Porostereum spadiceum (Pers.) Coriolopsis caperata (Berk.) Murrill S, Une Hjortstam & Ryvarden Coriolopsis polyzona (Pers.) Ryvarden S, Une Phanerochaete chrysorhiza (Torr.) = (Cur) Funalia polyzona (Pers.) Niemelä Budington & Gilb. S, Ine Coriolopsis sanguinaria (Klotz.) Teng S, Une = (Cur) Hydnophlebia chrysorhiza (Torr.) = (Cur) Polyporus rugulosus Lév. Parmasto Coriolopsis telfarii (Klotzsch) Ryvarden S, Ine Phanerochaete flabelliradiata Erikss. Coriolus hirsutus (Wulfen) Pat. S, Ine & Hjortst. S, Une = (Cur) Trametes hirsuta (Wulfen) Lloyd = (Cur) Odonticium flabelliradiatum (J. Erikss. Coriolus versicolor (L. ex Fr.) Quélet S, E, Une & Hjortstam) Zmitr. = (Cur) Trametes versicolor (L.) Lloyd Phanerochaete sordida (Karst.) Erikss. Cryptoporus volvatus (Peck) Shear S, Pt, Ine & Ryv. S, Une = (Syn) Polyporus volvatus Peck Cystidiophorus castaneus (Lloyd) Imaz. อันดับ Polyporales วงศ์ Podoscyphaceae & Hongo S, Une Coralloderma acroleucum var. fibulatum Daedaleopsis ambigua (Fr.) Schröeter S, Une (Pat.) Reid S, Une Daedaleopsis confragosa (Bolt. ex Fr.) = (Cur) Coralloderma acroleucum (Pat.) D.A. Schroet. S, Une Reid Daedaleopsis confragosa var. tricolor Cotylidia aurantiaca (Pers.) Welden S, Une (Bull.) Bondartsev & Singer S, Une Cotylidia diaphana (Schw.) Lentz S, Une = (Cur) Daedaleopsis confragosa (Bolton) caperatum (Berk. & Mont.) J. Schröt. D.A. Reid S, Une Daedaleopsis proteus S, Une Cymatoderma dendriticum (Pers.) Daedaleopsis purpurea (Cke.) Imaz. D.A. Reid S, Une & Aosh. S, Une Cymatoderma elegans Jungh. S, Ine = (Cur) Daedaleopsis nipponica Imazeki Cymatoderma infundibuliforme (Klotzsch) Daedaleopsis sinensis (Lloyd) Y.C. Dai S, Une Boidin S, Ine Datronia mollis (Sommerf ex Fr.) = (Syn) Actinostroma infundibuliforme Klotzsch Donk- Skorpekjuke S, Une Podoscypha multizonata (Berk. & Broome) Echinochaete ruficeps (Berk. & Broome) Pat S, Une Ryvarden S, Une Podoscypha nitidula (Berk.) Pat. S, Une Favolus albidus Massee S, Une

134 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 134 7/28/56 BE 7:00 PM Favolus alvalveolaria (D.C. ex Fr.) Quél. S, Une = (Cur) Panus ciliatus (Lév.) T.W. May & A.E. Favolus brasiliensis (Fr.) Fr. S, Edi Wood Favolus spathulatus (Jungh.) Lév. S, Une Lentinus cladopus Lév. S, Une = (Cur) Royoporus spathulatus (Jungh.) A.B. De Lentinus concinnus Pat. S, Une Favolus tenuiculus P. Beauv. S, Une Lentinus connatus Berk. S, Edi Fibroporia vaillantii (DC.) Parmasto S, Une Lentinus edodes (Berk.) Singer S, E, Edi = (Cur) Antrodia vaillantii (DC.) Ryvarden = (Syn) Agaricus edodes Berk. Flabellophora superposita (Berk.) = (Syn) Collybia shiitake J. Schröt. G. Cunn. S, Une = (Cur) Lentinula edodes (Berk.) Pegler Fomes fomentarius (L. ex Fr.) Fr. S, Une Lentinus fasciatus Berk. S, Une = (Syn) Fomes fomentarius (L. ex Fr.) Kickx Lentinus giganteus Berk. S, E, Edi Fomes rimosus (Berk.) Cooke S, Une Lentinus praerigidus Berk. S, E, Edi = (Cur) Phellinus rimosus (Berk.) Pilát = (Cur) Lentinus polychrous Lév. Funalia trogii (Berk.) Bondartsev & Lentinus retinervis Pegler S, Une Singer S, Une Lentinus sajor-caju (Fr.) Fr. S, E, Edi = (Cur) Trametes trogii Berk. Lentinus similis Berk. & Broome S, Une Hexagonia apiaria (Pers.) Fr. S, Ine = (Cur) Panus similis (Berk. & Broome) T.W. = (Syn) Polyporus apiarius Pers. May & A.E. Wood Hexagonia dermatiphora S, Une Lentinus squarrosulus Mont. S, E, Edi Hexagonia hirta (P. Beauv.) Fr. S, Une Lentinus strigosus (Schw.) Fr. S, E, Edi = (Syn) Favolus hirtus P. Beauv. = (Syn) Panus rudis Fr. = (Syn) Polyporus hirtus (P.Beauv.) Fr. = (Syn) Agaricus strigosus Schwein. = (Syn) Hexagonia hirta f. hystrix (Cooke) = (Syn) Lentinus strigosus (Pers.) Fr. O. Fidalgo = (Cur) Lentinus strigosus Fr. Hexagonia nitida Durrieu & Montagne S, Une Lentinus stuppeus Klotzsch S, Edi Hexagonia subtenuis Berk. ex Cooke S, Une = (Syn) Panus stuppeus (Klotzsch) Pegler = (Syn) Hexagonia subtenuis Sacc. & R.W. Rayner Hexagonia tenuis (Hook.) Fr. S, Une = (Syn) Pocillaria stuppea (Klotzsch) Kuntze = (Syn) Hexagonia tenuis Speg Lentinus subnudus Berk. S, Une = (Syn) Boletus tenuis Hook. = (Cur) Lentinus squarrosulus Mont. = (Syn) Daedaleopsis tenuis (Hook.) Imazeki Lentinus swartzii Berk. S, E, Une = (Syn) Trametes tenuis (Hook.) Corner Lentinus tigrinus (Bull.) Fr. S, Une Hexagonia umbrinella Fr. S, Une Lentinus zeyheri Berk. S, Une Incrustoporia carneola (Bres.) Ryv. S, Une Lenzites acuta Berk. S, Une = (Cur) Hyphoderma argillaceum (Bres.) Donk = (Cur) Daedalea flavida Lév. mylittae (Cooke & Massee) Lenzites betulina (L.) Fr. S, Une Núñez & Ryvarden S, Une = (Syn) Lenzites betulina (L.:Fries) Fries Laetiporus gilbertsonii Burdsall S, Une Lezites elegans (Fr.) Pat. S, Une Laetiporus persicinus (Berk. & Curt.) = (Syn) (Spreng.) Pat. Gilb. S, Une = (Syn) Lenzites elegans (Spreng.: Fries) Fries Laetiporus sulphureus (Bull.) Murrill S, Edi Lenzites malaccensis Sacc. & Cub. S, Une = (Syn) Boletus sulphureus Bull. = (Syn) Lenzites platyphylla Cooke Lentinus badius (Berk.) Berk. S, Une Lenzites stereoides (Fr.) Ryv. S, Une Lentinus ciliatus Lév. S, Une Lenzites trabea Pers ex. Fr. S, Une = (Cur) Gloeophyllum trabeum (Pers.) Murrill

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 3 5

103-144_dp2.indd 135 7/28/56 BE 7:00 PM Lenzites vespacea (Pers.) Ryvarden S, Poi Panus luteolus Massee** S, Une Durrieu & Montagene S, Une Panus qulvus (Berk.) Pegler et Rayner S, Une Lignosus rhinocerotis (Cooke) Panus spathulatus Massee** S, Edi Ryvarden S, Ine = (Cur) Lentinus connatus Berk. Lignosus sacer (Afzel. ex Fr.) Ryvarden S, Une Panus tephroleucus (Mont.) T.W. May & Melanopus atrofuscus var. elongatus A.E. Wood S, Une Heim** S, Une Perenniporia bambusicola Choeyklin, T. Hatt. Microporellus dealbatus (Berk. & M.A. Curtis) & E.B.G. Jones** S, Une Murrill S, Une Perenniporia tephroporus (Mont.) Ryv. S, Une Microporellus obovatus (Jungh.) Phaeolus schweinitzii (Fr.) Patouillard S, Une Ryvarden S, Une Phaeotrametes decipiens Wright S, Une Microporus flabelliformis (Fr.) Kuntze S, Ine Polyporellus squamosus (Fr.) Karst. S, Une = (Syn) Microporus luteus (Nees) Pat. = (Cur) Polyporus squamosus (Huds.) Fr. = (Syn) Microporus subaffinis (Lloyd) Imaz. Polyporus albicans (Imazeki) Teng S, Une = (Syn) Polystictus affinis (Nees) Fr. = (Cur) Grifola frondosa (Dicks.) Gray = (Syn) Polystictus luteus (Blum & Nees) Fr. Polyporus alboluteus Rostr.** S, Une = (Cur) Microporus affinis (Blume & T. Nees) Polyporus alveolaris (DC.) Bondartsev Kuntze & Singer S, Une Microporus flabelliformis (Klotzsch) Polyporus alveolarius (Bosc) Fr. S, Une Pat. S, Une Polyporus arcularius (Batsch) Fr. S, Une Microporus luteus (Nees) Pat. S, Une Polyporus atripes Rostr.** S, Une Microporus vernicipes (Berk.) Kuntze S, Ine = (Cur) Polyporus leprieurii Mont. = (Syn) Polyporus vernicipes Berk. Polyporus atypus Lév. var. exaratus = (Syn) Coriolus vernicipes (Berk.) Murrill Bres S, Une = (Syn) Leucoporus vernicipes (Berk.) Pat. Polyporus badius (Pers.) Schwein S, Une Microporus xanthopus (Fr.) Kuntze S, Ine Polyporus badius (Per.: S.F. Gray) = (Syn) Polyporus xanthopus Fr. Imaz S, Une = (Syn) Trametes xanthopus (Fr.) Corner Polyporus brasiliensis (P. Beauv.) Fr. S, Une = (Syn) Coriolus xanthopus (Fr.) G. Cunn. = (Syn) Polyporus tenuiculus (Beauv.) Fr. Neolentinus lepideus (Buxb. Ex Fr.) Redhead = (Cur) Favolus tenuiculus P. Beauv. & Ginns S, Une Polyporus brumalis (Pers.) Fries S, Une Nigrofomes melanoporus (Mont.) Polyporus carnosus Rostr.** S, Une Murrill S, Une Polyporus changensis Rostr.** S, Une Nigroporus durus (Jungh.) Mur S, Une Polyporus crenatoporus Rostr.** S, Une Nigroporus vinosus (Berk.) Murr. S, Une = (Cur) Flavodon flavus (Klotzsch) Ryvarden Oligoporus caesius (Schrad. ex Fr.) Gilb. Polyporus decurrens Underwoods S, Une ex Ryv. S, Une Polyporus dictyopus Mont. S, Une = (Cur) Postia caesia (Schrad.) P. Karst. Polyporus durus (Timm) Kreisel S, Une Oligoporus fragilis (Fr.) Gilbn. & Ryv. S, Une Polyporus elegans Bull. S, Une = (Cur) Postia fragilis (Fr.) Jülich = (Cur) Polyporus leptocephalus (Jacq.) Fr. Panus ciliatus (Lév.) T.W. May & A.E. Polyporus emerici Cooke S, Une Wood S, Une = (Syn) Favolus grammocephalus (Berk.) Imazeki Panus conchatus (Bull.) Fries S, Une = (Syn) Polyporellus grammocephalus (Berk.) P. Panus fulvus (Berk.) Pegler et Rayner S, Une Karst. = (Cur) Lentinus velutinus Fr.

136 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 136 7/28/56 BE 7:00 PM = (Syn) Polystictus grammocephalus (Berk.) = (Syn) Polyporus tuberaster (Pers.) Fries S. Ito & S. Imai Polyporus umbellatus (Pers. ex Fr.) Fr. S, Une = (Cur) Polyporus grammocephalus Berk. Polyporus varius (Pers.) Fr. S, Une Polyporus grammocephalus Berk. S, Une Polyporus versicolor L. & Fr. S, E, Une Polyporus hirsutus Wulf ex. Fr. S, Une = (Cur) Trametes versicolor (L.) Lloyd = (Cur) Trametes hirsuta (Wulfen) Lloyd Poria vaillantii (DC.) Fr. S, Une Polyporus leprieurii Mont. S, Une Poria vaporaria Pers. S, Une Polyporus leptocephalus (Jacq.) Fr. S, Une Pseudofavolus cucullatus (Mont.) Pat. S, Une Polyporus luberaster S, Une (Ellis & Everh.) Polyporus lucidus Leys. ex Fr. S, Une Kotl. & Pouzar S, Une Polyporus melanopus (Pers.) Fr. S, Une Pycnoporellus fulgens (Fr.) Donk S, Une Polyporus minutissimus Rostr.** S, Une Pycnoporus cinnabarinus (Jacq.) P. Polyporus mori (Poll. ex. Fr.) Fries S, Une Karst. S, Ine = (Cur) Polyporus alveolaris (DC.) Bondartsev Pycnoporus coccineus (Fr.) Bondartsev & & Singer Singer S, Une Polyporus mylittae S, Une Pycnoporus sanguineus (L.) Murrill S, E, Ine = (Cur) (Cooke & Pyrofomes albomarginatus (Lév.) Ryv. S, Une Massee) Núñez & Ryvarden Pyrofomes tricolor (Murr.) Ryv. S, Une Polyporus olivascens Rostr.** S, Une Rigidoporus lignosus (Klotzsch) Imazeki S, Une Polyporus picipes Fr. S, Une Royoporus badius (Pers.) A.B. De S, Une = (Cur) Polyporus durus (Timm) Kreisel Scenidium apiarium (Pers.) Kuntze S, Une Polyporus pubescens Schum. ex Fr. S, Une = (Cur) Hexagonia apiaria (Pers.) Fr. = (Cur) Trametes pubescens (Schumach.) Pilát Skeletocutis alutacea (Lowe) Keller S, Une Polyporus purpureoalbus Rostr.** S, Une Tinctoporellus epimiltinus (Berk.) Ryv. S, Une = (Cur) Abundisporus roseoalbus (Jungh.) Trametes badia Berk. S, Une Ryvarden Trametes cingulata Berk. S, Ine Polyporus pusillus Rostr.** S, Une Trametes corrugata (Pers.) Bres. S, Une = (Cur) Polyporus leprieurii Mont. = (Syn) Trametes scabrosa (Pers.) Cunn. Polyporus radicatus Schweinitz S, Une = (Syn) Polyporus scabrosus Pers. Polyporus retirugis (Bres.) Ryvarden S, Une = (Syn) Trametes scabrosa (Pers.) G. Cunn. = (Cur) Polyporus squamosus (Huds.) Fr. = (Cur) Earliella scabrosa (Pers.) Gilb. & Polyporus rubidus Berk. S, Une Ryvarden Polyporus sacer Fr. S, Une Trametes cotonea (Pat. & Har.) Ryv. S, Une = (Cur) Lignosus sacer (Afzel. ex Fr.) Ryvarden Trametes ectypus Berk. S, Une Polyporus sanquineus (Fr.) Murr. S, Une Trametes feei (Fr.) Ryv. S, Une Polyporus schmidtii Rostr.** S, Une Trametes flavida (Lév.) Aoshima S, Une Polyporus squamosus Fr. S, Une Trametes gibbosa (Pers.) Fr. S, Une Polyporus sulphureus (Bull.) Fr. S, Une = (Syn) Trametes gibbosa (L.:Fr) Pilát. = (Cur) Laetiporus sulphureus (Bull.) Murrill Trametes hirsuta (Wulfen) Pilát S, Une Polyporus tenuiculus (P. Beauv.) Fr. S, Une = (Syn) Trametes hirsuta (L.:Fr) Pilát. Polyporus tigrinus Rostr.** S, Une Trametes hirsuae (Wulfen) Pilat S, Une = (Cur) Microporellus obovatus (Jungh.) Trametes hispida Bagl. S,P, Une Ryvarden = (Cur) Coriolopsis gallica (Fr.) Ryvarden Polyporus tricholoma Mont. S, Une Trametes lactinea (Berk.) Sacc. S, Une Polyporus tuberaster (Jacq.) Fr. S, Une Trametes ljubarskyi Pil. S, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 3 7

103-144_dp2.indd 137 7/28/56 BE 7:00 PM Trametes menziesii (Berk.) Ryv. S, Une Sistotrema brinkmannii (Bres.) Erikss. S, Une Trametes modesta (Fr.) Ryvarden S, Une Trechispora farinacea (Fr.) Liberta S, Une Trametes ochracea (Pers.) Gilb. & Ryvarden S, Une อันดับ Polyporales วงศ์ Sparassidaceae Trametes orientalis (Yasuda) Imazeki S, Une Sparassis cystidiosa Desjardin et Zheng Trametes pavonia (Hook.) Ryvarden S, Une Wang** S, Une = (Syn) Boletus pavonius Hook. Sparassis laminosa Fr. S, Une Trametes sanguinea Fr. ex Lloyd S, Une Sparassis radicata Weir S, Une = (Cur) Pycnoporus sanguineus (L.) Murrill = (Cur) Sparassis crispa (Wulfen) Fr. Trametes tephroleuca Berk. S, Une Sparassis spathulata (Schwein.) Fr. S, Une Trametes velutina (Planer ex Fr.) Cunningham S, Une อันดับ Polyporales วงศ์ Steccherinacea = (Cur) Trametes pubescens (Schumach.) Pilát Antrodiella liebmannii (Fr.) Ryv. S, Une Trametes versicolor (L.) Lloyd S, E, Edi = (Cur) Flaviporus liebmannii (Fr.) Ginns = (Syn) Trametes versicolor (L.) Quél. Antrodiella semisupina (Berk. & Curt.) = (Syn) Trametes versicolor (L.:Fr) Pilát. Ryv. S, Une Trametes zonata Wettstein S, Une Flavodon flavus (Klotzsch) Ryvarden S, Une Trichaptum abietinum (Pers. ex Fr.) Irpex lacteus (Fr.) Fr. S, Une Ryvarden S, Une Junghuhnia crustacea (Jungh.) Ryv. S, Une Trichaptum biforme (Fries) Ryvarden S, Une Junghuhnia nitida (Pers.) Ryv. S, Une Trichaptum byssogenum (Jungh.) Laschia changensis Rostr.** S, Une Ryvarden S, Une Steccherinum ciliolatum (Berk. & Curt.) Trichaptum elongatum (Berk.) Imaz. S, Une Bud. & Gilb. S, Une Trichaptum fuscoviolaceum (Ehrenb. ex Fr.) Steccherinum fimbriatum (Fr.) Erikss. S, Une Ryvarden S, Une Steccherinum ochraceum (Pers. ex Fr.) Trichaptum laricinum (Karst.) Gray S, Une Ryvarden S, Une Steccherinum rawakense (Pers. & Gaud.) Tyromyces chioneus (Fries) Karsten S, Une Banker S, Une Tyromyces hyalinus (Berk.) Ryv. S, Une Steccherinum seriatum (Lloyd) Massee S, Une Tyromyces hypolateritius (Cooke) Ryv. S, Une = (Cur) Schizopora flavipora (Berk. & M.A. Curtis อันดับ Polyporales วงศ์ Tubulicrinaceae ex Cooke) Ryvarden Tubulicium dussii (Pat.) Oberw. S, Une Tyromyces kmetii (Bres.) Bond. & Sing. S, Une Tubulicrinis subulatus (Fr.) Donk S, Une Tyromyces lacteus (Fr.) Murrill S, Une Tyromyces leucospongia (Cooke & Harkn.) อันดับ Russulales วงศ์ Bondartsev & Singer S, Une Artomyces piperatus (Kauffman) Tyromyces pelliculosus (Berk.) Jülich S, Une Cunningh. S, Une Artomyces pyxidatus (Pers. ex Fr.) = (Cur) Postia pelliculosa (Berk.) Rajchenb. Julich S, Une Xerotus changensis Rostr.** S, Une Gray S, Une = (Syn) Hydnum auriscalpium L. อันดับ Polyporales วงศ์ Sistotremateceae = (Syn) Auriscalpium auriscalpium (L.) Kuntze Fibuloporia donkii Dom. S, Une Clavicorona avellanea Leathers & = (Cur) Ceriporiopsis mucida (Pers.) Gilb. Smith S, Une & Ryvarden

138 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 138 7/28/56 BE 7:00 PM = (Cur) Artomyces piperatus (Kauffman) Jülich Lactarius alboscrobiculatus var. roseopurpureus H.T. Clavicorona pyxidata (Pers.) Doty S, Une Le & A. Verbeken** Ec, Une = (Cur) Artomyces pyxidatus (Pers.) Jülich Lactarius aquifluus Peck Ec, Une Lentinellus cochleatus (Pers. ex Fr.) = (Cur) Lactarius helvus (Fr.) Fr. Karsten S, Ine Lactarius aspideus (Fr. ex Fr.) Fries Ec, Une Lentinellus montanus S, Une Lactarius atlanticus Bon Ec, Une Lactarius aurantiacus (Vahl. ex Fr.) อันดับ Russulales วงศ์ Bondarzewiaceae Gray Ec, Une Amylonotus ochrocroceus (Henn. & Nyman) Lactarius aurantiofulvus Blum ex Bon Ec, Une Ryv. S, Une = (Cur) Lactarius aurantiacus (Pers.) Gray = (Cur) Wrightoporia ochrocrocea (Henn. & E. Lactarius austrotorminosus H.T. Le Nyman) A. David & Rajchenb. & A. Verbeken** Ec, Une Bondarzewia berkeleyi (Fr.) Bondartsev Lactarius austrovolemus Hongo Ec, Une & Singer S, Une Lactarius austrozonarius H.T. Le & A. Heterobasidion annosum (Fr.) Bref. S, Poi Verbeken** Ec, Une Heterobasidion insulare (Murr.) Ryv. S, Une Lactarius camphoratus (Bull.) Fr. Ec, Edi Stecchericium scabre (Lloyd) = (Syn) Agaricus camphorates Bull. Maas Geest. S, Une Lactarius chichuensis W.F. Chiu Ec, Une Stecchericium seriatum (Lloyd) Massee S, Une Lactarius controversus (Pers. ex Fr.) Fries Ec, Une อันดับ Russulales วงศ์ Hericiaceae Lactarius corrugis Peck. Ec, Edi Hericium erinaceus (Bull.) Pers. S, E, Edi Lactarius crassiusculus H.T. Le & = (Syn) Hydnum erinaceus Bull. Stubbe** Ec, Une = (Syn) Clavaria erinaceus (Bull.) Paulet Lactarius deliciosus (L.) Gray Ec, Edi Lactarius dryadophilus Kuhner Ec, Une อันดับ Russulales วงศ์ Lactarius echinosporus Schaeffer Ec, Une Arcangeliella beccarii (Pet.) Dodge. & Lactarius fascinans (Fr. ex Fr.) Fries Ec, Une Zell. Ec, Une Lactarius flavidulus Boudier Ec, Une Lactarius aff. gerardii Peck Ec, Une = (Syn) Lactarius flavidulus Imai. Lactarius aff. obscuratus (Lasch) Fr. Ec, Une Lactarius formosus H.T. Le & Lactarius aff. rugatus Kühner & A. Verbeken** Ec, Une Romagn Ec, Une Lactarius fragilis (Fr.) Fries Ec, Une Lactarius aff. subzonarius Hongo Ec, Une Lactarius fraxineus Romagnesi Ec, Une Lactarius aff. volemus var. flavus Hesler & Lactarius friabilis H.T. Le & Stubbe Ec, Une A.H. Sm. Ec, Une Lactarius fulvissimus Romagnesi Ec, Une Lactarius aff. wenquanensis Y. Wang Lactarius gerardii Peck Ec, Edi & Z.X. Xie Ec, Une Lactarius glaucescens Crossl. Ec, Edi Lactarius affinis var. viridilactis (Kauffman) Hesler Lactarius glyciosmus (Fr.ex Fr.) Fries Ec, Une & A.H. Sm. Ec, Edi Lactarius gracilis Hongo Ec, Edi Lactarius akahatsu Tanaka Ec, Une Lactarius hatsudake Nobuj. Tanaka Ec, Edi Lactarius albivelus Romagnesi Ec, Une = (Syn) Lactarius hatsudake Tanaka = (Cur) Lactarius vellereus (Fr.) Fr. Lactarius hygrophoroides Berk. & M.A. Lactarius albocarneus Britzlemayr Ec, Une Curtis Ec, Edi Lactarius alboscrobiculatus H.T. Le Lactarius lavandulus H.T. Le & Stubbe Ec, Une & A. Verbeken Ec, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 3 9

103-144_dp2.indd 139 7/28/56 BE 7:00 PM Lactarius leoninus Verbeken & Lactarius subsericatus Kuhner & Romangnesi E. Horak Ec, Une ex Bon Ec, Une Lactarius leucophaeus Verbeken & = (Cur) Lactarius fulvissimus Romagn. Horak Ec, Une Lactarius subumbonatus Lindgren Ec, Une Lactarius lignyotus Fr. Ec, Une Lactarius subvellereus Peck Ec, Edi Lactarius luteolus Peck Ec, Edi Lactarius subzonarius Hongo Ec, Une Lactarius montoyae Das K. & Lactarius tabidus Fries Ec, Une Sharma J.R. Ec, Une Lactarius tenuicystidiatus X.H. Wang Lactarius MRC –ensis Ec, Une & Verbeken Ec, Une Lactarius “MRC Lithocarpus I “ Ec, Une Lactarius thiersii Hesler & A Smith Ec, Une Lactarius aff. “ MRC Lithocarpus II “ Ec, Une Lactarius torminosus (Sch:Fr.) S.F. Lactarius obscuratus (Lasch. ex Fr.) Fr. Ec, Une Gray Ec, Une Lactarius oomsisiensis Verbeken & (Fr. ex Fr.) Fries Ec, Une Halling Ec, Une Lactarus uvidus (Fr.) Fr. Ec, Edi (Pers. & Fr.) Fries Ec, Une Lactarius vellereus (Fr.) Fr. Ec, Edi Lactarius peckii Burlingham Ec, Une = (Syn) Agaricus vellereus Fr. Lactarius pergamenus (Sw. ex Fr.) (Fr. ex Fr.) Fr. Ec, Une Fries Ec, Une Lactarius volemus (Fr.) Fr. Ec, Edi Lactarius picinus Fries Ec, Une Lactarius volemus f. gracilis Heim Ec, Edi Lactarius pilosus Verbekan, H.T. Le & Lactarius zonarius (Bull.) Fr. Ec, Une Lumyong** Ec, Une Russula abietina Peck Ec, Une Lactarius piperatus (Scop.ex Fr.) Russula acetolens Rauschert Ec, Une S.F.Gray Ec, Edi Russula adusta (Pers. ex Fr.) Fr. Ec, Une = (Cur) Lactarius piperatus (L.) Pers. Russula aeruginea Lindblad Ec, Une Lactarius populinus Heim Ec, Une Russula albella Peck Ec, Une Lactarius porninsis Rolland Ec, Une Russula albida Peck Ec, Une Lactarius pseudoluteopus X.H. Wang Russula albidula Peck Ec, Une & Verbeken Ec, Une Russula alboareolata Hongo Ec, Edi Lactarius pterosporus Romagnesi Ec, Une Russula albonigra (Krombh) Fr. Ec, Une Lactarius purpureus R. Heim Russula alutacea (Pers. ex Fr.) Fr. Ec, Une ex R. Heim Ec, Une Russula amarissima Romagnesi & Lactarius resimus (Fr. ex Fr.) Fries Ec, Une E.J. Gilbert Ec, Une Lactarius romagnesii Bon Ec, Une Russula amoena Quelet Ec, Une Lactarius rosephyllus Heim Ec, Une Russula amoenicolor Romagnesi Ec, Une Lactarius rubidus Arora Ec, Une Russula amygdaloides Kauffman Ec, Une Lactarius rufus (Scop. ex Fr.) Fr. Ec, Une Russula anatina Romagnesi Ec, Une Lactarius rugatus Kühner & Romagn Ec, Une Russula anthracina var. carneifolia Lactarius salicis-herbaceae Kuhner Ec, Une Romangnesi Ec, Une Lactarius salicis-reticulatea Kuhner Ec, Une = (Cur) Russula anthracina Romangnesi Lactarius salmonicolor Heim & Leclair Ec, Une Russula anthracina var. insipida Lactarius sp. Ec, Une Romangnesi Ec, Une Lactarius subpiperatus Hongo Ec, Edi Russula anthracina var. semicrema Lactarius subplinthogalus Coker var. chiangmaiensis (Fr.) Bon Ec, Une H.T. Le & Stubbe Ec, Une Russula aquosa Leclair Ec, Une Russula atroglauca Einhellinger Ec, Une

140 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 140 7/28/56 BE 7:00 PM Russula atropurpurea (Krombh) Russula farinipes Romell Ec, Une Britzelmayr Ec, Une Russula flavida Frost Ec, Edi Russula aurantiolutea Kauffman Ec, Une = (Syn) Russula flavida Fr. Russula aurata (With.) Fr. Ec, Une Russula foetens Pers. Ec, Edi Russula aurea Pers. Ec, Une = (Syn) Russula foetens (Pers.) Pers. Russula betularum Hora Ec, Une Russula fragilis Fr. Ec, Une Russula borealis Kauffmann Ec, Une = (Cur) Russula fragilis var. fragilis Fr. Russula brevipes Peck Ec, Une Russula fragrantissima Romagn. Ec, Edi Russula brunneola Burlingham Ec, Une Russula galochroides Sarnari Ec, Une Russula brunneoviolacea Crawshay Ec, Une Russula gracilis (Pers. ex Fr.) Fr. Ec, Une Russula caerulea (Pers.) Fr. Ec, Une Russula grisea (Pers.) Fr. Ec, Une Russula cascadensis Schaeffer Ec, Une Russula helios Malencon & Sarnari Ec, Une Russula cessans Pers. Ec, Une Russula heterophylla (Fr.) Fr. Ec, Edi Russula cf. xerampelina Imazeki & Russula illota Romagnesi Ec, Une Hongo Ec, Une Russula impolita (Romagnrsi) Bon Ec, Une Russula chamaeleontina (Fr.) Fries Ec, Une Russula insignis Quélet Ec, Une = (Cur) Russula risigallina (Batsch) Sacc. Russula intregra (G.) Fries Ec, Une Russula chloroides (Krombholz) Bres. Ec, Une Russula ionochlora Romagnesi Ec, Une Russula claroflava Grove Ec, Une Russula japonica Hongo Ec, Edi Russula compacta Frost & Pect apud Russula krombholzii Schaeffer Ec, Une Peck Ec, Une = (Cur) Russula atropurpurea (Krombh.) Britzelm. Russula crassotunicata Singer Ec, Une Russula laeta Schaeffer Ec, Une Russula cremoricolor Earle Ec, Une Russula langei Bon Ec, Une Russula crenulata Burl. Ec, Une Russula laricina Velenovsky Ec, Une Russula crustosa Peck Ec, Une Russula laricino-affinis Bon Ec, Une Russula cyanoxantha (Schaeff.) Fr. Ec, Edi Russula laurocerasi Melzer Ec, Edi = (Syn) Russula cyanoxantha var. peltereaui = (Cur) Russula grata Britzelm. Singer Russula lepida Fr. Ec, Edi Russula cyanoxantha var. variata (Ban. Peck) = (Cur) Russula rosea Pers. Singer Ec, Une Russula lilacea Quelet Ec, Une Russula decolorans (Fr.) Fr. Ec, Une Russula littoralis Romagnesi Ec, Une Russula delica Fr. Ec, Edi Russula lutea (Hudson: Fries) S.F. Secr. ex Gillet Ec, Edi Gray Ec, Une Russula densissima (Schaeff.) Russula lutenis Romagnrsi & Legal Ec, Une ex Romangnesi Ec, Une Russula luteotacta Rea Ec, Une Russula emetica (Schaeff.) Pers. Ec, Edi Russula mairei Sing. Ec, Edi = (Syn) Russula emetica Pers. ex S.F.Gray = (Cur) Russula nobilis Velen. = (Syn) Russula emetica (Schaeff. ex Fr.) Pers. Russula mariae Peck Ec, Une ex S.F. Gray Russula medullata Romagnesi Ec, Une Russula emeticella (Sing.) Hora Ec, Une Russula minutula Velenovsky Ec, Une = (Cur) Russula silvestris (Singer) Reumaux Russula moeculosa Peck Ec, Une Russula erythropus Peltereau Ec, Une Russula monspeliensis Sarnari Ec, Une = (Cur) Russula xerampelina (Schaeff.) Fr. Russula mustelina Fries Ec, Une Russula fageticola (Melzer) Lundell Ec, Une Russula nana Killerman Ec, Une = (Cur) Russula nobilis Velen. Russula nana var. alpina (Blytt) Bon Ec, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 4 1

103-144_dp2.indd 141 7/28/56 BE 7:00 PM Russula nauseosa (Pers.) Fr. Ec, Une Russula velenovskyi Melzer & Vara Ec, Une Russula neoemetica Hongo Ec, Une Russula vesca Fr. Ec, Edi Russula nigricans Fr. Ec, Edi Russula vinosa Lindblad Ec, Edi Russula norvegica D.A. Reid Ec, Une Russula violeipes Quél Ec, Edi = (Cur) Russula laccata Huijsman Russula virescens (Schaeff.) Fr. Ec, Edi Russula ochroleuca (Hall) Pers. Ec, Une = (Syn) Agaricus virescens Schaeff. Russula olivacea (Schaeff.) Fr. Ec, Edi Russula xelampelina (Schaeff.) Fr. Ec, Edi Russula pallidospora (Blum) Russula xerampelira var. olivascens Romagnesi Ec, Une (Schaeff.) Fries Ec, Une Russula paludosa Britzlemayr Ec, Une Russula zonaria Buyck & Desjardin** Ec, Une Russula parazurea Schaeff Ec, Une = (Cur) Multifurca zonaria (Buyck & Desjardin) Russula pectinata Fr. Ec, Une Buyck & V. Hofstetter Russula pelargonia Niolle Ec, Une Zelleromyces sp. Ec, Une Russula placita Burlingham Ec, Une Russula pseudoaeruginea (Romagnesi) อันดับ Russulales วงศ์ Stereaceae Kuyp & Vuure Ec, Une Aleurodiscus cremicolor Hjortstam Russula pseudoaffinis Migliozzi Nicolaj Ec, Une & Ryvarden** S, Une Russula pseudonigricans Romangnesi Ec, Une Stereum affine Lév S, Une Russula pseudopuellaris (Bon) Bon Ec, Une = (Cur) Podoscypha venustula (Speg.) D.A. Reid Russula puellaris Fr. Ec, Une Stereum albocinctum Berk. & Br. S, Une Russula pulchra Burlingham Ec, Une = (Cur) Scytinostroma albocinctum (Berk. Russula pumila Rouzeau & Massart Ec, Une & Broome) Boidin & Lanq. = (Cur) Russula alnetorum Romagn. Stereum complicatum (Fr.) Fr. S, Une Russula rhodopodo Vara Ec, Une Stereum elegans (G. Mey.) Fr. S, Une Russula risigallina (Batsch) Sacc. Ec, Une = (Cur) Podoscypha elegans (G. Mey.) Pat. Russula rosacea (Pers. ex Secr.) Fries Ec, Edi Stereum fasciatum (Schwein.) Fr. S, Une = (Syn) Russula rosacea (Pers.) Gray. = (Cur) Stereum ostrea (Blume & T. Nees) Fr. Russula rosea Fr., apud Quél Ec, Une Stereum frustulatum (Pers.) Fr. S, Une Russula rosea Quélet Ec, Une = (Syn) Stereum frustulatum (Pers., Fr.) Fckl. = (Cur) Russula aurora (Krombh.) Bres. = (Cur) Xylobolus frustulatus (Pers.) Boidin Russula rubroalba (Sing.) Romagnesi Ec, Une Stereum guaspartum (Fr.) Fr. S, Ine Russula rubroalba var. albochretacea Stereum hirsutum (Willd. ex Fr.) Samari Ec, Une S.F. Gray S, Une Russula sanguinea Fr. Ec, Edi Stereum insignitum Quélet S, Une = (Syn) Agaricus sanguineus Bull. Stereum lamellatum (Berk. & Curt.) Russula sardonia Fr. Ec, Une Burt. S, Ine Russula senecis S. Imai Ec, Edi = (Cur) Cymatoderma elegans Jungh. Russula sp. Ec, Une Stereum lobatum (Kuntze) Fries S, Une Russula singeriana Bon Ec, Une Stereum ochraceoflavum (Schwein.) Russula sororia (Fr.) Romell Ec, Une Fries S, Une Russula stenotricha Romagnesi Ec, Une Stereum ostrea (Blume & Nees) Fries S, Ine Russula subfoetens Smith Ec, Une Stereum ostrea var. concolor (Jungh.) Russula subterfurcata Romagnesi Ec, Une Bres. S, Une Russula tenuiceps Kauffman Ec, Une Stereum princeps (Jungh.) Lév. S, Une Russula torolusa Bresadola Ec, Une = (Cur) Xylobolus princeps (Jungh.) Boidin

142 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 142 7/28/56 BE 7:00 PM Stereum rameale (Fr.) Fr. S, Une Sarcodon imbricatus (L.) P. Karst. Ec, Edi Stereum reflexulum D.A. Reid S, Une Sarcodon salmoneum Heim Ec, Une Stereum rimosum Berk. S, Une Stereum sanguinolentum (Albertini & Schwein.) อันดับ Thelephorales วงศ์ Thelephoraceae Fr. S, Une Polyozellus multiplex (Underw.) Stereum spectabile Klotzsch S, Ine Murrill Ec, Une = (Cur) Xylobolus spectabilis (Klotzsch) Boidin Thelephora aurantiotincta Corner Ec, Edi Stereum spectabilis Kl. S, Ine Thelephora multipartita Schwein. Stereum striatum (Fr.) Fr. S, Une ex Fries Ec, Une Stereum subpileatum Berk. & M.A. Thelephora palmata (Scop.) Fr. Ec, Edi Curtis S, Une Thelephora penicillata (Pers.) Fr. Ec, Une = (Cur) Xylobolus subpileatus (Berk. & M.A. Thelephora pseudoterrestris Corner Ec, Une Curtis) Boidin Thelephora ramarioides D.A. Reid Ec, Une Stereum subtomentosum Pouzar S, Une Thelephora spiculosa Fr. Ec, Une Xylobolus ahmadii (Boid.) Boid. S, Une = (Syn) Thelephora penicillata (Pers.) Fr. = (Cur) Acanthofungus ahmadii (Boidin) Sheng Thelephora terrestris Ehrh. ex Fr. Ec, Ine H. Wu, Boidin & C.Y. Chien Thelephora ultipartite Schwein. ex Fr. Ec, Une Xylobolus subpileatus (Berk. & M.A. Curtis) Thelephora vialis Schwein. Ec, Une Boidin S, Une อันดับ Tremellales วงศ์ Aporpiaceae อันดับ Thelephorales วงศ์ Elmerina sp. S, Une Bankera fuligineoalba (J.C. Schmidt) Coker & Beers ex Pouzar Ec, Ine อันดับ Tremellales วงศ์ Exidiaceae = (Syn) Hydnum fuligineoalbum J.C. Schmidt Heterochaete delicata (Berk.) Bres. S, Une = (Syn) Sarcodon fuligineoalbus (J.C. Schmidt) Pseudohydnum gelatinosum (Scop. ex Fr.) Quél. Karst S, Edi atrata Ryvarden** Ec, Une Tremellodendron pallidum (Schwein.) Boletopsis grisea (Peck) Bondartsev Burt S, Edi & Singer Ec, Une Tremellodendron schweinitzii (Peck) Boletopsis griseus Forst Ec, Une Atkinson S, Une Boletopsis leucomelas (Pers. & Fr.) Fayod Ec, Une อันดับ Tremellales วงศ์ Sirobasidiaceae Boletopsis subsquamosa (L.) Kotl. & Sirobasidium magnum Boedijn S, Une Pouzar Ec, Edi spongiosipes (Peck) Pouzar Ec, Une อันดับ Tremellales วงศ์ Tremellaceae confluens (Pers.) Pouzar Ec, Ine Holtermannia cf damaecornis Pa, Une Phellodon melaleucus (Swarz. ex Fr.) Tremella cinnabarina (Mont.) Lloyd S, Une Karst. Ec, Ine Tremella elastica Zoll. & Mor. S, Une Phellodon tomentosus (L. ex Fr.) Tremella foliacea Persoon.:Fries. Pa, Une Banker Ec, Ine Tremella fuciformis Berk. Pa, E, Edi Sarcodon atroviridis (Morg.) Banker Ec, Ine Retz. & Fr. S, Edi Sarcodon cyanellus (Harrisson) Harrisson Ec, Une Sarcodon fuscoindicus (K.A. Harrison) Maas Geest. Ec, Une

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 1 4 3

103-144_dp2.indd 143 7/28/56 BE 7:00 PM หมายเหตุ Cur = ชื่อปัจจุบัน E = เห็ดเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม Ec = เห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา Edi = เห็ดกินได้ Ine = เห็ดกินไม่ได้ L = เห็ดที่อยู่ร่วมกับสาหร่าย (ไลเคน) Pa = เห็ดปรสิต Poi = เห็ดพิษ Pt = เห็ดที่เป็นสาเหตุของโรคพืช S = เห็ดแซบโพรไฟต์ Syn = ชื่อพ้อง T = เห็ดที่อยู่ร่วมกับปลวก (เห็ดโคน) Une = เห็ดที่ไม่มีข้อมูลการกิน ** = เห็ดชนิดใหม่ของโลกที่พบในประเทศไทย

144 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

103-144_dp2.indd 144 7/28/56 BE 7:00 PM ตอนที่ 4 ทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

สัญลักษณ์สีกรอบภาพและเครื่องหมาย

กินได้ กินไม่ได้ มีพิษ กินไม่ได้ ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ Ø เส้นผ่านศูนย์กลาง

บทที่ 15 ภาพ คำ�บรรยายลักษณะ แหล่งที่พบ ประโยชน์และโทษของเห็ดในชั้น Ascomycetes อันดับ Helotiales วงศ์ Geoglossaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichoglossum hirsutum (Pers.) Boud. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ลิ้นด�ำ ลิ้นพสุธา ชื่อพ้อง Geoglossum hirsutum Pers.

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 15-30 มม. สูง 30-80 มม. มีส่วนผลิตสปอร์รูปกระบอง บางครั้งแบน มีขนอ่อนปกคลุม ด�ำหรือ น�้ำตาลด�ำ ก้าน 20-60 x 2-3 มม. มีขนอ่อน สีเดียวกับกระบอง แอสคัส 190-240 x 20-25 µm ทรงกระบอก แอสโคสปอร์ 100-150 x 6-7 µm ทรงกระบอก มี 13-16 เซลล์ น�้ำตาล ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนไม้ผุหรือบนดิน กินไมได้่ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น�้ำภาชี จ.ราชบุรี

อันดับ Helotiales วงศ์ Leotiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Leotia lubrica (Scop.) Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ถั่วงอก ชื่อพ้อง Helvella lubrica Scop. Leotia gelatinosa Hill

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-50 มม. นูน เป็นวุ้น ขอบม้วนงอลงและเป็นลอน เรียบ เหลือง เหลืองมะกอก ก้าน 20-30 x 4- 6 มม. มักแบนและงอเล็กน้อย เหลือง ถึงเหลืองอมน�้ำตาล แอสคัส 130-160 x 10-12 µm ทรงกระบอก แอสโคสปอร์ 20-25 x 5-6 µm รูปไส้กรอก งอเล็กน้อย ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ บนไม้ผุในป่า กินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่

148 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Hypocreales วงศ์ Clavicipitaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aschersonia placenta B. & Br. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป สโตรมา มีรูปร่างไม่ แน่นอน ส่วนใหญ่เป็นวงกลม แบนราบ หรือนูนคล้ายหมอนอิง รูปร่างแบบถ้วย พบน้อยมาก Ø 0.5-4 มม. สูง 1-1.5 มม. ขาวถึงขาวเหลือง ที่ฐานล้อมรอบด้วย เส้นใยหนาแน่น มักปกคลุมด้วยกลุ่มของโคนิเดียยื่นขึ้นมาเป็นกระจุก เหลืองอ่อนถึงส้มอ่อนหรือส้ม สร้าง pycnidia รูปไข่ Ø 250 µm ฝังในสโตรมาเป็นวงกลม พบ paraphyses ยาวถึง 80 µm เรียง เป็นชั้น สร้าง phialide ทรงกระบอก Ø 50 µm โคนิเดีย รูปไข่แคบ เรียวเล็กน้อยไปที่ปลาย 12-14 x 2-2.5 µm ที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดโรคกับแมลงพวกมวน ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่ง ชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จ.ราชบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Conoidocrella luteorostrata (Zimm.) D. Johnson, G.-H. Sung, Hywel-Jones & Spatafora ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป สโตรมา แดงเข้มหรือ เหลือง มัสตาดบนแมลง Ø 1-3 มม. เพริทีเซียม พัฒนาบนสโตรมาหรือขอบ สโตรมา รูปทรงแจกันคอยาวหรือรูปกรวย ฐานแดงเข้มถึงน�้ำตาลแดง ที่ปลายเหลืองอ่อน สร้างรูเปิด ที่ส่วนบนสุด แอสคัส ทรงกระบอก 450-600 x 4 µm แอสโคสปอร์ รูปเส้นด้าย 440-460 x 1 µm ที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดโรคกับตัวอ่อนของแมลงหวี่ (Aleyrodidae) และมวน พบตัวอย่างส่วนใหญ่ ที่ด้านล่างของใบพืชใบเลี้ยงคู่ในป่า ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จ.ราชบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 149 ชื่อวิทยาศาสตร์ Conoideocrella tenuis (Petch) D. Johnson, G.-H. Sung, Hywel-Jones & Spatafora ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป กลุ่มเส้นใย ขาวคลุม ตัวแมลงทั้งหมด Ø 900-1200 µm เพริทีเซียม พัฒนาทั้งบนสโตรมาหรือ ขอบสโตรมา เป็นรูปแจกันคอยาวหรือรูปกรวยคว�่ำ ขาวและเปลี่ยนเป็นครีมเมื่ออายุมากขึ้น ยาว ประมาณ 750 µm แอสคัส ทรงกระบอก 700 µm x 3.5 µm แอสโคสปอร์ รูปเส้นด้าย 350-600 x 1 µm ที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดโรคกับตัวอ่อนของแมลงหวี่ (Aleyrodidae) และมวน พบตัวอย่างที่ด้านล่าง ใบของพืชใบเลี้ยงคู่ที่่เป็นไม้ป่า ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น�้ำภาช ี จ.ราชบุรี

อันดับ Hypocreales วงศ์ Cordycipitaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Akanthomyces aculeatus Lebert ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป กลุ่มเส้นใย ขาวถึงครีม แทงเข้าไปในตัวเต็มวัยของผีเสื้อกลางคืน แล้วเจริญปกคลุมผีเสื้อทั้งตัว และแผ่ไปบน ผิวใบพืช สร้าง synnema ที่มีความยาว แตกต่างกันมาก ชูขึ้นมาจากหลายส่วน ของแมลง synnema ยาว 1-5 มม. กว้าง 0.1-0.5 มม. มีหัวค่อนข้างกลมที่เต็มไปด้วยโคนิเดีย โคนิเดีย ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกระสวย หรือบางครั้งมีรูปร่างแบบทรงกลม ขนาด 1-3 x 0.5-1 µm ไม่มีสี ผนังบาง และเกิดต่อกันเป็นลูกโซ่อยู่ที่ปลายก้านชู (phialide) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายแจกันคอยาว ขนาด 5-8 x 2-3 µm ที่อยูอาศัย่ ท�ำให้เกิดโรคกับตัวเต็มวัยของผีเสื้อกลางคืน (Lepidoptera) พบที่ด้านล่างใบ ของพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้ป่า ไมมีข่ ้อมูลว่ากินได้

150 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Akanthomyces cinereus Hywel-Jones ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป สโตรมา เทา ปกคลุมผิว ของแมงมุมทั้งหมด สร้าง synnemata ชูขึ้นมาตรงๆ จ�ำนวนมาก สีเทา สูง 3 มม. Ø 60-70 µm สร้าง phialides ชั้นเดียว หนาแน่น หรือบางทีอาจมี 2-3 ชั้นบน ด้านข้างของเซลล์ที่ฐาน ผนังเรียบ ทรงกระบอก 3.5-6.5 x 1.5-2 µm เรียวยาวลงไปที่คอที่มีผนังบาง 2-2.5 x 0.5 µm โคนิเดีย เรียงเป็นลูกโซ่ เซลล์เดียว ผนังเรียบ ใส รูปกระบอง 3.5-5.5 x 1-1.5 µm ที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดโรคกับแมงมุมขนาดเล็ก พบติดอยู่ด้านล่างของใบพืชป่า ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่ง่ชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Akanthomyces novoguineensis Samson & B.L. Brady ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป สโตรมา สีขาว ปกคลุม แมงมุมหมดทั้งตัว synnemata สีขาว ชูตั้งขึ้นจ�ำนวนมาก ทรงกระบอก สูง 9 มม. Ø 70-150 µm ไม่สร้างโครงสร้างสืบพันธุ์ บริเวณฐาน phialides กระจายห่างๆ กลม ใส ผนังเรียบ Ø 4-5.5 µm แต่ละอันมีคอเห็นชัดเจนขนาด 2-3.5 x 0.5-1 µm โคนิเดีย เรียงเป็นลูกโซ่ เซลล์เดียว ใส ผนังเรียบ ทรงกระบอก 5.5-11 x 1-1.5 µm ที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดโรคกับแมงมุมขนาดเล็ก พบติดอยู่ด้านล่างของใบพืชป่า ไมม่ ีข้อมูลว่ากินได้

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 151 ชื่อวิทยาศาสตร์ Akanthomyces pistillariiformis (Pat.) Samson & H.C. Evans ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป สร้างเส้นใยบางๆ หุ้มรอบขาและขอบปีก ของตัวเต็มวัยผีเสื้อกลางคืน (Lepidoptera) ติดแน่นกับ ใบพืช สร้าง synnemata ขาวถึงครีม ทรงกระบอกยาว 40 มม. บางตัวอย่างสร้าง synnemata ขนาดเล็กรูป กระบองยาว 3 มม. ปะปนอยู่ด้วย ทั้งหมดกระจายอยู่ บนปีก ล�ำตัวและหัวของแมลง phialides ทรงกระบอก ถึงรูปรี มีคอยาว 6.5-12.5 x 1.7-2.5 µm โคนิเดีย ทรงกระบอก ปลายทั้งสองข้างมน เรียงเป็นลูกโซ่ 2.5-4.5 x 1 µm ที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดโรคกับ ผีเสื้อกลางคืน พบที่ด้านล่างใบของพืชใบเลี้ยงคู่ในป่า ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น�้ำภาชี จ.ราชบุรี และอุทยานแห่งชาติ กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyceps gryllotalpidicola Luangsa-ard, Ridkaew & Tasan. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป สโตรมา รูปกระบอง อ่อนนุ่ม ตั้งตรง ยื่นขึ้นมาจากพื้นดิน หนึ่งอัน หรือหลายอัน เชื่อมต่อแบบ หลวมๆ ที่หัวและหางของแมลงมีเส้นใย ขาวปกคลุมซากแมลง สร้างเส้นใยคล้ายรากในดินเชื่อมต่อกันพร้อมกับสร้างเส้นใยที่อัดกันแน่นคล้าย ก้านโผล่จากดิน เพริทีเซียม ฝังอยู่ครึ่งหนึ่ง รูปไข่แคบ 350-550 x 150-230 µm มีปากยื่นออกมา เหลืองถึงส้มแดง แอสคัส ทรงกระบอก 390-430 x 5 µm แอสโคสปอร์ 5-10 x 1 µm แตกออก เป็นชิ้น ที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดโรคกับจิ้งหรีด (Orthoptera: Gryllotalpidae) ที่ฝังอยู่ในดิน ไมมีข้อมูล่ ว่ากินได้

152 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyceps loeiensis Luangsa-ard, Ridkaew & Tasan. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป สโตรมา 1-3 มม. กระจัด กระจายขึ้นมาจากล�ำตัวและขาแมลง เดี่ยวๆ หรือแตกแขนง ทรงกระบอกหรือ ปลายแตกเป็นแฉก เหลืองครีม เพริทีเซียม เป็นกลุ่มเล็กๆ 20-30 กลุ่ม รูปไข่แคบปลายยอดแหลม 650-710 x 280-320 µm แอสคัส ทรงกระบอก 370-450 x 5 µm แอสโคสปอร์ คล้ายเส้นด้าย 5-10 x 1 µm แตกเป็น 32 ส่วน บางตัวอย่างพบ การสร้าง synnemata ที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดโรคกับจิ้งหรีด (Orthoptera: Gryllacrididae) พบบนซาก ใบพืช ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyceps nelumboides Kobayasi & Shimizu ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป สโตรมา สูง 5 มม. ขึ้น มาจากส่วนหลังของล�ำตัวแมลง ก้าน 4 x 0.4 มม. ทรงกระบอก ปลายโป่งพองกลม แน่น อ่อนนุ่ม เส้นใยบนผิวหน้าเชื่อมกัน อย่างไม่เป็นระเบียบ ส่วนที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เป็นรูปจาน 2 x 0.8 มม. สีเหลืองอ่อน ผิวหน้านูน เล็กน้อย เพริทีเซียม ผังอยู่ภายใน ตั้งตรง รูปรึถึงรูปกระบองคว�่ำหรือคล้ายเรือ บางทีโค้งงอ 530-550 x 180-190 µm แอสคัส 400-450 x 5-6 µm แอสโคสปอร์ มีผนังกั้นเป็นช่องๆ และยังคงไม่หลุดจากกัน หลังจากถูกปล่อยออกมาแล้ว ที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดโรคกับแมงมุม (Araneae) พบที่ด้านล่าง ของใบพืชในป่า ไมมีข่ ้อมูลว่ากินได้

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 153 ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyceps ninchukispora (C.H. Su & H.H. Wang) G.-H. Sung, J.-M. Sung, Hywel-Jones & Spatafora ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป สโตรมา สีส้มสดใส หลายอัน บนดักแด้ ของแมลง ส่วนใหญ่ตั้งตรงสูงถึง 30 มม. ส่วนที่สร้าง เซลล์สืบพันธุ์อยู่ครึ่งบนของสโตรมา เพริทีเซียม เป็นรูป ไข่แคบ สีส้ม ติดแน่นตั้งฉากอยู่บนผิวหน้าของสโตรมา ยาว 300-450 µm Ø 85-190 µm แอสคัส ทรงกระบอก มี 8 สปอร์ 200-240 x 2-2.5 µm. แอสโคสปอร์ ไม่หลุดเป็นท่อนรูปคล้ายเฃือกกระโดดที่มีปลาย 2 ข้าง บวม ยาว 200 µm ที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดโรคกับดักแด้ของผีเสื้อกลางคืน (Limacodidae) พบในดิน ไม่มีข้อมูลว่ากินได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyceps tuberculata (Lebert) Maire ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ซากแมลงติดแน่นบนใบพืชด้วยเส้นใย บางๆ รอบขาและขอบของปีก เพริทีเซียม เหลืองอ่อน อยู่บนผิวหน้าโผล่จากเส้นใยบางสีขาวเป็นกลุ่มปกคลุม แมลง บางครั้งมี synnemata สีครีม รูปไข่ยาว 650- 760 µm Ø 400 µm ไม่มีขน paraphyses ภายใน เพริทีเซียม แอสคัส ทรงกระบอก 550 x 2.5-4 µm แอสโคสปอร์ คล้ายเส้นด้าย 500 x 2 µm ที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดโรคกับผีเสื้อกลางคืนตัวเต็มวัย (Lepidoptera) พบที่ด้านล่างของพืชใบเลี้ยงคู่ในป่า ไมม่ ีข้อมูลว่ากินได้

154 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Pezizales วงศ์ Helvellaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Helvella crispa (Scop) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ อานม้าขาว ชื่อพ้อง Phallus crispus Scop. Helvella nigricans Schaeff. Costapeda crispa (Scop.) Falck

ลักษณะทั่วไป หมวก 30-60 x 20- 30 มม. เรียบ บิดงอเป็นคลื่นหรือเป็นลอน รูปอานม้า ขาวหรือขาวอมเหลือง ก้าน 30-50 x 10-30 มม. สีเดียวกับหมวก ปลายบนเรียวเล็กน้อย เรียบ เป็นร่องลึกยาวกระจายทั่วก้าน บางร่องเชื่อมติดกัน แอสคัส 250-300 x 14-18 µm ทรงกระบอก แอสโคสปอร์ 17-20 x 10-12 µm ทรงรี เรียบ มี 8 สปอร์ เรียงเป็นแถวเดี่ยว ใส ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ใกล้กันบนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Helvella elastica Bull. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ อานม้าก้านเกลี้ยง อานม้าก้านขาว ชื่อพ้อง Helvella albida Schaeff. Leptopodia elastica (Bull.) Boud. Peziza hirsute Holmsk.

ลักษณะทั่วไป หมวก 10-50 x 30- 60 มม. รูปอานม้าหรือเป็นลอนขอบงอเข้า เล็กน้อย สีครีมอมชมพูหม่น ไปจนถึงสีขาวนวลอมเทาอ่อน ด้านล่างเรียบ ขาวหม่นถึงครีมอมน�้ำตาล ก้าน 50-80 x 5-10 มม. ทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าเล็กน้อย สีเดียวกับหมวก มักแบน แอสคัส ใหญ่ได้ถึง 300 x 20 µm แอสโคสปอร์ 18-22 x 11-13 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ไม่มีสี ภายใน มีก้อนกลมคล้ายหยดน�้ำ 1 อัน ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 155 อันดับ Pezizales วงศ์ Pyronemataceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aleuria aurantia (Pers.) Fuckel ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ถ้วยสีส้ม ชื่อพ้อง Helvella coccinea Bolton Peziza aurantia Pers. Scodellina aurantia (Pers.) Gray

ลักษณะทั่วไป แอโพทีเซียม Ø 5- 100 มม. รูปถ้วย ไม่มีก้าน มักจะแบน และขอบเป็นคลื่น เหลืองปนส้มสด ผิวนอก มีขนละเอียด สีขาวหม่น เนื้อ บาง ขาว แอสคัส ใหญ่ได้ถึง 220 x 13 µm แอสโคสปอร์ 17-24 x 9-11 µm ทรงรี ผิวมีตาข่ายสานกันหยาบๆ ภายในมีหยดน�้ำมัน 2 หยด ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มในที่แจ้ง สนามหญ้าและทุ่งหญ้าในป่า กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aleuria luteonitens (Berk. & Broome) Gillet ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ชามสีเหลือง ชื่อพ้อง Peziza luteonitens Berk. & Broome Otidea luteonitens (Berk. & Broome) Massee

ลักษณะทั่วไป แอโพทีเซียม Ø 10- 20 มม. รูปจานหรือถ้วยก้นตื้น ไม่มีก้าน เหลืองสด ด้านนอกผิวเรียบและสีอ่อนกว่า เนื้อ บาง แอสคัส ถึง 150 x 10 µm แอสโคสปอร์ 10-15 x 6-8 µm ทรงรียาว ผิวมีปุ่มแหลมเมื่อแก่ มีหยดน�้ำมันใหญ่ 2 หยด ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนพื้นดิน บนกิ่งไม้และไม้ผุ ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่

156 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Scutellinia scutellata (L.) Lambotte ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ถ้วยขนตาด�ำ ชื่อพ้อง Peziza scutellata L.

ลักษณะทั่วไป แอโพทีเซียม กว้าง 2-10 มม. รูปถ้วย ด้านนอกน�้ำตาลอ่อน ปกคลุมด้วยขนยาวด�ำ หรือน�้ำตาลบริเวณขอบถ้วยคล้ายขนตา ผิวด้านในแดงอมส้มสดถึงส้ม แอสคัส ใหญ่ได้ถึง 300 x 25 µm แอสโคสปอร์ 18-19 x 10-12 µm ทรงรี ผิวขรุขระ มีหยดน�้ำมันหลายอัน ที่อยู่อาศัย แซบโพร ไฟต์เป็นกลุ่มบนพื้นดินที่เปียกชื้นและขอนไม้ผุในป่า ไมม่ ีข้อมูลว่ากินได้

อันดับ Pezizales วงศ์ Sarcoscyphaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cookeina sulcipes (Berk.) Kuntze ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ถ้วยแดงอมชมพู ชื่อพ้อง Peziza sulcipes Berk.

ลักษณะทั่วไป แอโพทีเซียม กว้าง 10- 30 มม. ลึก 8-20 มม. รูปถ้วย แดงอมชมพู ไปจนถึงแดงจัด ผิวด้านนอกสีอ่อนกว่า ปกคลุมด้วยขนละเอียดสีขาวไม่เด่นชัด มีขนเป็นวงกลมซ้อนกัน 3-4 วง บริเวณ ตอนบนของถ้วย ก้าน 10-40 x 1-3 มม. ทรงกระบอก เรียบ ขาว แอสคัส 270-320 x 10-15 µm ทรงกระบอก ฐานกลมมีก้านคล้ายหาง แอสโคสปอร ์ 25-30 x 14-15 µm ทรงรี มีหยดน�้ำมันใหญ่ 2 หยด และหยดน�้ำมันเล็กๆ หลายหยด ผิวมีสันยาวเล็กๆ เชื่อมติดกันบางแห่ง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนกิ่งไม้ ท่อนไม้ ในป่าดิบแล้ง ไมมีข่ ้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยวนเกษตร ตราด จ.ตราด

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 157 ชื่อวิทยาศาสตร์ Cookeina tricholoma (Mont.) Kuntze ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กรวยแดงขน แวววาว ชื่อพ้อง Peziza tricholoma Mont. Pilocratera tricholoma (Mont.) Henn. Trichoscypha tricholoma (Mont.) Cooke

ลักษณะทั่วไป แอโพทีเซียม กว้าง 10- 30 มม. ลึก 15-20 มม. รูปถ้วยหรือกรวย ภายในชมพู ส้มอ่อนถึงส้ม เรียบ ด้านนอกสีอ่อนกว่า มีขนแข็ง ยาว 2-3 มม. สะท้อนแสง ขาว ปกคลุมขอบถ้วยและผิวด่านนอก ก้าน ยาว 10-30 x 2-4 มม. ทรงกระบอก มีขนเล็กน้อยตอนบน ขาว แอสคัส 290-320 x 15-20 µm ทรงกระบอก ด้านล่างเรียว แหลมทันที เป็นหางที่โคน แอสโคสปอร ์ 25-31 x 14-15 µm ทรงรี ภายในมีหยดน�้ำมันใหญ่ 2 หยด และหยดน�้ำมันเล็กๆ หลายหยด ผิวมีสันยาวเล็กๆ เชื่อมติดกันบางแห่ง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนกิ่งไม้ ขอนไม้ ในป่าดิบแล้ง ไมม่ ีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarcoscypha coccinea (Gray) Boud. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ถ้วยแดง ชื่อพ้อง Macroscyphus coccineus Gray Lachea coccinea (Gray) Gillet Sarcoscypha coccinea (Gray) Sacc.

ลักษณะทั่วไป แอโพทีเซียม กว้าง 10- 30 มม. ลึก 20-30 มม. รูปถ้วย ผิวด้านใน แดงสด ผิวด้านนอกขาวปกคลุมด้วยขน ละเอียดสีขาว ก้าน 10-20 x 2-3 มม. สั้น ขาว แอสคัส 400 x 16 µm ทรงกระบอก แอสโคสปอร์ 24-40 x 10-12 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ภายในมีหยดน�้ำมันเล็กๆ หลายหยดอยู่หัวท้ายสปอร์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ อยู่ติดกันบนท่อนไม้ในป่าดิบแล้ง กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน (น�้ำตกป่าละอู) จ.ประจวบคีรีขันธ์

158 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Pezizales วงศ์ Sarcosomataceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Galiella javanica (Rehm) Nannf. & Korf ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ จมูกหมู ชื่อพ้อง Sarcosoma javanicum Rehm

ลักษณะทั่วไป แอโพทีเซียม รูปร่าง คล้ายถ้วย ขนาดหน้าปาก 25-30 มม. สูง 35 มม. กว้าง 30 มม. ดอกอ่อนผิวน�้ำตาล ปนส้ม ดอกแก่น�้ำตาลอ่อน มีขนสั้น ละเอียด สีน�้ำตาลปกคลุมหนาแน่นโดยรอบ ดอกอ่อนปากถ้วยงอเข้ามาก เมื่อแก่ปากถ้วยงอเข้าเล็กน้อย ภายในเต็มไปด้วยวุ้นเหลวและใส เมื่อดึง ดอกเห็ดออกจากสิ่งที่ขึ้นอยู่จะมีน�้ำใสๆ ไหลออกมาเป็นจ�ำนวนมาก แอสคัส ทรงกระบอก 467-625 x 15-20 µm ผนังบาง ใส ไม่ชัดเจน แอสโคสปอร์ 35-47 x 16-21 µm รียาว ผิวหยักละเอียด ผนังหนา ใส มีลักษณะคล้ายหยดน�้ำมันขนาดใหญ่ 2 หยดและหยดเล็ก 4-5 หยด ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิด เดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ขึ้นบนท่อนไม้ผุ กินได้ สถานที่พบ กระจายทั่วประเทศไทย

อันดับ Xylariales วงศ์ Xylariaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Daldinia concentrica (Bolton) Ces. & De Not ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ดันหมี ชื่อพ้อง Sphaeria concentric Bolton Hypoxylon concentricum (Bolton) Grev.

ลักษณะทั่วไป สโตรมา Ø 15-60 มม. ครึ่งวงกลม ผิวเรียบ ด้าน น�้ำตาลอมม่วง ปกคลุมด้วยสปอร์สีด�ำอมม่วงเมื่อแก่ เพริทีเซียม เรียงเป็นชั้นเดียวใต้ผิวสโตรมา เนื้อเยื่อใต้ชั้นเพริทีเซียมประกอบด้วยแถบวงกลมขาวสลับน�้ำตาลอมเทา แอสคัส 170-190 x 7-9 µm ทรงกระบอก มี 8 สปอร์ ใน 1 แอสคัส แอสโคสปอร์ 11.7-13.2 x 5.7-6.7 µm ทรงรี แบบที่มีผนัง ด้านหนึ่งตัดตรงอีกด้านหนึ่งโค้ง ปลายมน เซลล์เดียว น�้ำตาลเข้ม ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มบนท่อนไม้ กินไมได้่ สถานที่พบ กระจายทั่วประเทศไทย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 159 ชื่อวิทยาศาสตร์ Entonaema splendens (Berk. & M.A. Curtis) Lloyd ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ น�้ำมูก ชื่อพ้อง Xylaria splendens Berk. & M.A. Curtis

ลักษณะทั่วไป สโตรมา กว้าง 20-40 มม. ทรงกลมจนถึงเป็นพูหรือเป็นลอน นิ่มและ ยืดหยุ่น เหลือง น�้ำตาลแดงหรือเหลือง อมส้มปนเปื้อนน�้ำตาลเข้มหรือด�ำจากฐาน ผิวหนา 1-2 มม. ผิวมีรูเป็นจุดนูนเล็กๆ มีผงสปอร์ สีด�ำเมื่อแก่ ภายในดอกสดเต็มไปด้วยน�้ำเมือกสีเหลืองอ่อน แอสโคสปอร์ 9-10 x 4-6 µm ทรงรี ด้านหนึ่งแบน เรียบ ด�ำ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เป็นกลุ่มบนกิ่งไม้และตอไม้ในป่าผลัดใบ ไมมีข้อมูล่ ว่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylaria allantoidea (Berk.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Sphaeria allantoidea Berk.

ลักษณะทั่วไป สโตรมา รูปกระบองจนถึงทรงซิการ์ ส่วนที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ยาว 100-155 มม. Ø 24-45 มม. เดี่ยวๆ ไม่แตกแขนง ปลายมน อยู่บนก้านอ้วน สั้น ผิวเรียบ บุ๋มลงไปเป็นแอ่ง บิดเบี้ยว น�้ำตาลถึงน�้ำตาลเข้ม เพริทีเชียม Ø 0.2 มม. กลม คอเล็ก แอสคัส ทรงกระบอก ปลายติดสีน�้ำเงินเมื่อย้อมด้วย Melzer’s reagent แอสโค สปอร์ 12.5-13.2 x 4-4.5 µm ทรงรีแคบ ผนังด้านหนึ่ง ตัดตรง มี germ slit เป็นร่องตรงยาวตลอด เซลล์เดียว เรียบ ด�ำ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนไม้ผุในป่าดิบแล้ง กินไมได่ ้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

160 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylaria anisopleura (Mont.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Hypoxylon anisopleuron Mont. Xylosphaera anisopleura (Mont.) Dennis

ลักษณะทั่วไป สโตรมา Ø 2-5 มม. สูง 5-18 มม. คล้ายกระบอง ปลายมน ด�ำ ปุ่มปมขรุขระ บางครั้งพบ ขนสั้นละเอียด เนื้อในแข็ง ขาว ก้าน 3-9 x 1-1.5 มม. ทรงกระบอก ด�ำ ขรุขระถึงเกือบเรียบ เนื้อในแข็ง ขาว แอสคัส 207.5-280 x 10-12.5 µm ทรงกระบอก บาง ใส ไม่ชัดเจน ปลายเปลี่ยนเป็นน�้ำเงินเมื่อท�ำปฏิกิริยากับ Melzer’s reagent โดย 1 แอสคัส มี 8 แอสโคสปอร์ แอสโคสปอร์ 27-34 x 11-14 µm รียาวถึงด้านไม่เท่า ผิวเรียบ ผนังบาง ด�ำปนน�้ำตาลเข้ม มี germ slit เป็นร่องโค้งตามแนวยาวทางด้านข้างและยาวน้อยกว่าความยาวแอสโคสปอร์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มบนท่อนไม้ผุ กินไมได้่ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylaria arbuscula Sacc. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป สโตรมา Ø 1-4 มม. ยาว 30-35 มม. เรียบถึงย่นเล็กน้อย ผิวนอก น�้ำตาลถึงด�ำ มีชั้นที่ลอกได้สีเทา ชั้นใน ขาวจนถึงเหลือง ทรงกระบอกถึงกรวย ยาว ยอดแหลมบนก้านสั้นหรือยาว ก้าน มีขน เพริทีเชียม Ø 0.3-0.4 มม. คอยื่นเล็กน้อย แอสคัส 130-200 x 6-8 µm ทรงกระบอก ปลาย เป็นวงแหวนติดสีน�้ำเงินในน�้ำยา Melzer’s reagent แอสโคสปอร์ 11.5-13 x 4.5-5.5 µm ทรงรี ผนัง ด้านหนึ่งตัดตรง มีร่องตรงถึงเป็นคลื่นสั้นกว่าความยาวของสปอร์ เซลล์เดียว ผิวเรียบ โดย 1 แอสคัส มี 8 แอสโคสปอร์ น�้ำตาลถึงน�้ำตาลเข้ม เพาะเลี้ยงบนอาหารได้ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนไม้ผุ ในป่าดิบแล้ง กินไมได่ ้ สถานที่พบ วนอุทยานนครไชยบวร จ.พิจิตร

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 161 ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylaria cubensis (Mont.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Hypoxylon cubense Mont. Xylosphaera cubensis (Mont.) Dennis Xylaria papyrifera subsp. cubensis (Mont.) D. Hawksw.

ลักษณะทั่วไป สโตรมา Ø 5-10 มม. ยาว 20-50 มม. รูปกระบอง ก้านสั้น บางที ปลายแตกเป็นสอง สีทองแดงและเปลี่ยนเป็นสีด�ำ ภายในขาว กลวง บิดเบี้ยวเมื่อแก่ เนื้อแข็งเปราะ เพริทีเชียม Ø 0.4-0.8 มม. แอสคัส 125-160 x 4-6 µm ทรงกระบอก ที่ปลายมีวงแหวนรูปเหลี่ยม ติดสีน�้ำเงินในน�้ำยา Melzer’s reagent แอสโคสปอร์ 8.5-10.5 x 4.5-5.5 µm ทรงรีผนังด้านหนึ่ง ตัดตรง เซลล์เดียว เรียบ น�้ำตาลถึงด�ำ มี 8 สปอร์ เพาะเลี้ยงบนอาหารได้ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนซากไม้ในป่าดิบแล้ง กินไมได่ ้ สถานที่ วนอุทยานนครไชยบวร จ.พิจิตร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylaria globosa (Spreng. ex Fr.) Mont. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป สโตรมา Ø 6-9 มม. สูง 6-15 มม. ทรงกลมถึงเป็นก้อน ปลายมน ด�ำ ขรุขระเล็กน้อยและมีรอยแตก ก้าน มี หรือไม่มี 1 x 2 มม. ทรงกระบอก ด�ำ ขรุขระเล็กน้อย ภายในเนื้อแน่นแข็ง สีขาว แอสคัส 187.5-262.5 x 10 µm ทรงกระบอก บาง ใส ปลายเปลี่ยนเป็นน�้ำเงินเมื่อท�ำปฏิกิริยากับ Melzer’s reagent โดย 1 แอสคัส มี 8 แอสโคสปอร์ เรียงเป็นแถวเดียว แอสโคสปอร์ 25-32 x 8-12 µm รียาวถึงด้านไม่เท่ากัน ผิวเรียบ ผนังบาง ด�ำปนน�้ำตาลเข้ม มี germ slit เป็นร่องโค้งหรือ คล้ายรูปตัว s ตามแนวยาว และยาวน้อยกว่าความยาวแอสโคสปอร์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม ขึ้นบนต้นไม้ตาย กินไมได้่ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

162 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylaria longipes Nitschke ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Xylosphaera longipes (Nitschke) Dennis

ลักษณะทั่วไป สโตรมา Ø 25-35 มม. สูง 30-40 มม. คล้ายกระบอง ปลายมน ด�ำ ขรุขระ ก้าน 7 x 6 มม. ทรงกระบอก ด�ำ ขรุขระ ภายในเนื้อแน่น แข็ง ขาว แอสคัส 130-145 x 6-7 µm ทรงกระบอก บาง ใส ปลายเปลี่ยนเป็นน�้ำเงินเมื่อท�ำปฏิกิริยากับ Melzer’s reagent โดย 1 แอสคัส มี 8 แอสโคสปอร์ เรียงเป็นแถวเดียว แอสโคสปอร์ 13-15 x 6-7 µm รียาวถึงด้านไม่เท่า ผิวเรียบ ผนังบาง ด�ำปนน�้ำตาล มี germ slit เป็นขีดเส้นตรงตามแนวยาวทาง ด้านข้างและยาวจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม ขึ้นบนกิ่งไม้ผุ กินไมได้่ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 163

บทที่ 16 ภาพ คำ�บรรยายลักษณะ แหล่งที่พบ ประโยชน์และโทษของเห็ดในชั้น Basidiomycetes อันดับ Agaricales วงศ์ Agaricaceae

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Agaricus arvensis Schaeff. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ชานหมากวงแหวน 1 ชั้น ขี้ม้า ชื่อพ้อง Agaricus arvensis subsp. macrolepis (Pilát & Pouzar) Vasas Psalliota arvensis (Schaeff.) Gillet

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 70-150 มม. รูปไข่ เปลี่ยนเป็นรูปร่างแบบกระทะคว�่ำ แล้วแบน ผิวเรียบหรือมีเกล็ดบาง ขาว มีเหลืองอ่อนปนเมื่อช�้ำ ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาว แล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลด�ำ ก้าน 70-100 x 10-15 มม. โคนใหญ่กว่าปลายเล็กน้อย เกือบทรงกระบอก ผิวเรียบหรือมีเกล็ดเล็กน้อยบริเวณโคน วงแหวนขาว เนื้อ ขาว เมื่อช�้ำมีสีน�้ำตาล สปอร ์ 7-9 x 4.5-6 µm ทรงรี เรียบ น�้ำตาลเข้มบนกระดาษพิมพ์ ที่อย่อาศัยู แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มบนดินที่มี อินทรียวัตถุทับถม กินได้ สถานที่พบ สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) จ.ตรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Agaricus blazei Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus subrufescens Peck

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 80-200 มม. รูปร่างคล้ายชามควำ�่ แล้วกางแบน ขาวนวล กลางหมวกน�้ำตาล น�้ำตาลอมม่วงหรือ น�้ำตาลแดง ผิวเกลี้ยง เป็นขนและเกล็ด กระจายไปยังขอบเมื่อดอกแก่ ครีบ ไม่ ติดก้าน เรียงถี่ ขาวเมื่ออ่อน เทาอมชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลเข้มปนแดงถึงด�ำเมื่อแก่ ก้าน ยาว 50- 150 x 15-40 มม. ทรงกระบอก โคนโป่งพองเล็กน้อย ผิวเกลี้ยง ขาว มีขนหรือเกล็ดเล็กๆ ใต้วงแหวน ดอกแก่เหลืองอ่อนปนเปื้อนโคนก้าน เนื้อ ขาว แน่น เมื่อช�้ำไม่เปลี่ยนสี สปอร์ 5.5-7 x 4-5 µm รูปทรงเกือบกลม น�้ำตาลด�ำบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม เป็นเห็ดเศรษฐกิจ กินได้ ดอกอ่อนมีกลิ่นคล้ายกลิ่นเมล็ดอัลมอนด์

166 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Agaricus sylvaticus Schaeff. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กระดุมป่าสน/ Red-staining mushroom, Forest mushroom ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-50 มม. คล้ายจานคว�่ำแล้วแบน ขอบบาง มีขน และเกล็ดละเอียด น�้ำตาลแดงบนพื้นขาว นวล ขอบสีอ่อนกว่า ครีบ ไม่ติดก้าน แคบเล็กน้อย เรียงถี่ ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นชมพูอ่อนและน�้ำตาลด�ำ เมื่อแก่ ก้าน 30-50 x 5-10 มม. ทรงกระบอก ผิวเรียบ กลวง น�้ำตาลอ่อน วงแหวนขาว เนื้อ บาง ขาว เปลี่ยนเป็นแดงเลือดเมื่อช�้ำ สปอร ์ 7.5 x 3 µm รูปไข่ เรียบ น�้ำตาลดำ� บนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ กระจายบนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถมในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติ ภูเรือ จ.เลย และ จ.เชียงราย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chlorophyllum molybdites (G. Mey.) Massee ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หัวกรวดครีบ เขียวอ่อน กระโดงตีนต�่ำครีบเขียว หัวกรวดครีบเขียวหม่น ชื่อพ้อง Agaricus molybdites G. Mey. Lepiota molybdites (G. Mey.) Sacc.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 100-200 มม. รูปร่างคล้ายชามคว�่ำ ถึงกระทะคว�่ำแล้วแบน แห้ง ขาว มีเกล็ดขนาดใหญ่และเล็กรูปสี่เหลี่ยม น�้ำตาลอ่อนอมชมพู ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาวหรือเหลืองอ่อน แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็น เขียวหม่นปนเทาเมื่อสปอร์แก่ ก้าน 60-200 x 10-25 มม. ทรงกระบอกที่มีโคนใหญ่ ขาวหรือ น�้ำตาลอ่อน เมื่อช�้ำเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอ่อนปนเทา วงแหวนมีขอบ 2 ชั้น ขาว ขอบล่างเป็นสีน�้ำตาล เคลื่อนที่ขึ้นลงได้เมื่อดอกแก่ เนื้อ ขาว เปลี่ยนเป็นน�้ำตาลแดงเมื่อช�้ำ สปอร ์ 8-11 x 6-8 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังหนา มีรูเปิดที่ปลาย เขียวอมเทาบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ มักขึ้นเป็นวงกลมบนสนามหญ้า ทุ่งหญ้า กินไมได้่ มีพิษ สถานที่พบ พบได้ทั่วไปทุกภาค ของประเทศ

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 167

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Clarkeinda trachodes (Berk.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตีนต�่ำครีบ เขียวหม่น ชื่อพ้อง Agaricus trachodes Berk.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 80-150 มม. รูปร่างคล้ายกระทะคว�่ำแล้วแบน ขาว กลางหมวกน�้ำตาล อมม่วง มีเกล็ดเรียวงอนขึ้น น�้ำตาลหม่นปนเทากระจายเป็นรัศมี ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาว เปลี่ยนเป็นเทาอมเขียว ก้าน 90-120 x 7-20 มม. โคนใหญ่กว่าปลายเล็กน้อย ขาวหม่น เปลี่ยนเป็น น�้ำตาลแดงเมื่อช�้ำ วงแหวน หนา ขาว โคนหุ้มด้วยเปลือกดอกอ่อนรูปถ้วยสีขาว เนื้อ ขาว เปลี่ยนเป็น แดงอมส้มเมื่อช�้ำ สปอร ์ 5.5-8 x 4-5 µm ทรงรี เรียบ ผนังหนา มีรูงอกปลายตัดด้านบน น�้ำตาลอม เขียวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเดี่ยวๆ บนดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม กินไมได้่ มีพิษ สถานที่พบ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cystoagaricus trisulphuratus (Berk.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กระดุมทองเหลือง ชื่อพ้อง Agaricus trisulphuratus Berk.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-50 มม. รูปร่างคล้ายชามคว�่ำ ถึงกระทะคว�่ำแล้ว แบน ส้มอมเหลือง ปกคลุมด้วยเกล็ดผู และเกล็ดที่เรียวงอน ส้ม ซึ่งหลุดเมื่อดอกแก่ ครีบ ไม่ติดก้าน เรียงถี่ ขอบหยักคล้ายซี่ฟัน ขาวแล้ว เปลี่ยนเป็นชมพูถึงน�้ำตาลด�ำ ก้าน 30-40 x 5-10 มม. ทรงกระบอก กลวงเล็กน้อย ส้มอมเหลือง ปกคลุมด้วยเกล็ดฟูส้ม วงแหวนบอบบาง มักจะหลุดหายไปเมื่อดอกแก่ เนื้อ บาง เหลืองอมชมพู สปอร์ 6-6.5 x 3-4 µm ทรงรี เรียบ น�้ำตาลเข้มบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ กระจาย บนดินปนทรายที่มีอินทรียวัตถุทับถม ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ทั่วประเทศ

168 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Heinemannomyces splendidissima Watling ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ สปอร์สีน�้ำเงิน ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-50 มม. รูปร่างคล้ายจานคว�่ำที่มียอดนูนมน กลางหมวกน�้ำตาลหม่นถึงน�้ำตาลอมม่วง ปกคลุมด้วยขนปุยสีครีมแล้วเป็นน�้ำตาล อมเหลือง ขอบมีเยื่อเส้นใยบางๆ ห้อยอยู่เมื่อยังอ่อน ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่เล็กน้อย ขาวแล้ว เปลี่ยนเป็นน�้ำเงินเข้มอมเทาด�ำหรือเทา ก้าน 20-35 x 5-8 มม. ทรงกระบอก มีขนปุยขาว แล้วเปลี่ยน เป็นเทา เนื้อ แน่นแล้วกลวง วงแหวนเป็นรอยแถบวงกลม สปอร์ 6-6.5 x 3-4 µm ทรงรีกว้าง ผิวเรียบ ผนังหนา ม่วงอมเทา น�้ำเงินเข้มบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ บนพื้นดินเหนียว ที่มีอินทรียวัตถุทับถมในป่า ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย และ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepiota cortinarius J.E. Lange ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ แสงอรุณ ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-70 มม. รูปไข่แล้วแบน ตรงกลางนูนเล็กน้อย ขอบ งอนขึ้นและฉีกขาดเมื่อแก่ ขาวอมเหลือง กลางหมวกน�้ำตาลแดง ผิวแตกเป็นเกล็ด เล็กๆ น�้ำตาลแดง ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นขาวอมเหลือง ก้าน 80-100 x 10-15 มม. ทรงกระบอก น�้ำตาลอมเหลือง ปกคลุมบางๆ ด้วยเกล็ดน�้ำตาลแดง โคนขาวและมีเส้นใยคลุม สปอร์ 8-11.2 x 5-5.5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม ในสวนผลไม้ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ.เชียงราย และ จ.ราชบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 169 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Leucocoprinus brebissonii (Godey Apud Gillet) Locq. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Lepiota brebissonii Godey Apud Gillet

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-40 มม. รูปกรวยเปลี่ยนเป็นจานคว�่ำแล้วแบน ขอบบาง ขาว มีเกล็ดน�้ำตาลกระจาย ไปยังขอบหมวกที่เป็นริ้วร่อง กลางหมวกมีวงกลมน�้ำตาลอมเทา ครีบ ไม่ติดก้าน ขาว บาง เรียงถี่ ก้าน 70-80 x 2-4 มม. ทรงกระบอก ค่อยใหญ่ลงไปที่โคน ขาว มีวงแหวนเล็กขาวอยู่เกือบถึง กลางก้าน เนื้อ ขาว บาง สปอร์ 7.5-13.5 x 5-7.5 µm ทรงรี หรือรูปไข่ มีรูงอก 1 รู ผิวเรียบ ขาว บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดบนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถมใต้ร่มไม้ ไมมีข้อมูล่ ว่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucocoprinus cepistipes (Sowerby) Pat. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ต้นหอมขาว ชื่อพ้อง Agaricus cepistipes Sowerby Coprinus cepistipes (Sowerby) Gray Lepiota cepistipes (Sowerby) P. Kumm.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-50 มม. รูประฆังแล้วกางออกจนเกือบแบน มีปุ่น นูนตรงกลาง มีริ้วและรอยพับจีบไปยังขอบ ปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นผงฟู ขาวบริสุทธิ์ กลางหมวกครีม ครีบ ไม่ติดก้าน แคบ เรียงถี่ มีผงขาวตามขอบ ขาว ก้าน 50-100 x 30-50 มม. ทรงกระบอก ที่มีโคน โป่งเป็นกระเปาะ ภายในกลวง ผิวมีเกล็ดบางๆ ขาว เปลี่ยนเป็นน�้ำตาลแดงเมื่อช�้ำ วงแหวนบาง ขาว เนื้อ บาง ขาว สปอร์ 6-10 x 6-8 µm ทรงรีกว้าง เรียบ ผนังหนา มีปลายตัดเป็นรูงอก ขาวบน กระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเป็นกลุ่มบนกองปุ๋ยหมัก กองขี้เลื่อย กินไม่ได้ มีพิษ สถานที่พบ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

170 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucocoprinus fragilissimus (Berk. & M.A. Curtis) Pat. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ดาวกระจาย ชื่อพ้อง Agaricus licmophorus Berk. & Broome Hiatula fragilissima Ravenel & Berk. Lepiota fragilissima (Ravenel) Morgan

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-50 มม. รูปไข่แล้วกางแบน บาง โปร่งแสง มีร่องจากขอบไปกลางหมวก ขอบงอขึ้นเมื่อดอกแก่ ขาวอมเหลือง สีจางลงไปยังขอบ กลางหมวกน�้ำตาลอ่อน ครีบ ติดก้าน แคบ เรียงห่างเล็กน้อย ขาว ก้าน 50-150 x 1-3 มม. ทรงกระบอก ที่มีโคนใหญ่กว่าเล็กน้อย เหลืองอ่อน และเทาอมเหลืองเมื่อแก่ ผิวมีเกล็ดเล็กๆ เหลืองอ่อน วงแหวนเหลืองอ่อน เนื้อ บาง เปราะ ขาว สปอร์ 9-13 x 7-8 µm ทรงรี ผิวเรียบ มีรูเปิด ที่ปลาย 1 รู ขาว ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถมในป่า ไม่มีข้อมูลว่า กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrolepiota gracilenta (Krombh.) Wasser ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ยูง นกยูง ชื่อพ้อง Agaricus gracilentus Krombh. Lepiota gracilenta (Krombh.) Quél. Leucocoprinus gracilentus (Krombh.) Locq.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 60-100 มม. รูปไข่แล้วกาง ออกคล้ายกระทะคว�่ำ กลางหมวกมีปุ่มนูนเล็กๆ ขาว กลางหมวกน�้ำตาล มีเส้นใยละเอียดปกคลุม และมีเกล็ด น�้ำตาลขนาดเล็กเรียงกระจายลงไปยังขอบ ขอบรุ่งริ่ง ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาว มีครีบย่อย 1 ระดับ ก้าน 200-300 x 10-15 มม. ทรงกระบอก ที่โคนโป่ง เป็นกระเปาะเล็กๆ ขาวแล้วมีน�้ำตาลอ่อนปน วงแหวนขอบ 2 ชั้น เลื่อนขึ้นลงได้ ขาว เนื้อ ขาว สปอร์ 9-10 x 9-14 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังหนา มีรูงอก 1 รูด้านบน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ บนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 171 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Macrolepiota procera (Scop.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ร่มกันแดด กระโดงตีนสูง/ Parasol ชื่อพ้อง Agaricus procerus Scop.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 100-200 มม. รูปไข่แล้ว กางออกคล้ายกระทะคว�่ำจนถึงแบน น�้ำตาลอมเหลือง หรือน�้ำตาลเทา แตกเป็นเกล็ดสี่เหลี่ยม น�้ำตาลเทา กระจายเป็นรัศมี ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาว ก้าน 150-300 x 10-15 ซม. ทรงกระบอก ที่มีโคนโป่ง เป็นกระเปาะ น�้ำตาลเทา มักเเตกเป็นเกล็ดเล็กๆ คล้าย เกล็ดงู น�้ำตาล วงแหวน 2 ชั้น ขาว เคลื่อนขึ้นลงได้ เนื้อ ขาว สปอร์ 12-18 x 8-11 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังหนา มีรูงอกใหญ่ 1 รู น�้ำตาลอมแดงในน�้ำยา Melzer’s reagent ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม กินไมได้่ มีพิษ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง จ.ล�ำพูน และทุ่งก่อ จ.เชียงราย

อันดับ Agaricales วงศ์ Bolbitiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hebeloma crustuliniforme (Bull.) Quél. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus crustuliniformis Bull. Hebelomatis crustuliniformis (Bull.)

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 92-122 มม. ค่อนข้างกลมและแบน เหลืองอ่อน มี น�้ำตาลอ่อนเป็นจุดตรงกลาง มีเส้นใยขาว คลุมจากกลางหมวกมาเกือบถึงขอบ ขอบน�้ำตาล เป็นลอน ครีบ ติดก้าน น�้ำตาลอ่อน มีลูกครีบ 1-2 ระดับ ก้าน 25-60 x 10-14 มม. ทรงกระบอก ผิวแตกเป็นร่องยาวตลอดก้าน เนื้อ แน่น ครีม เปราะ สปอร์ 5-7 x 4-5 µm รูปทรงรี ผิวมีจุดเล็กๆ กระจายถึงเรียบ น�้ำตาลถึงน�้ำตาลสนิมบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดกระจาย หรือเป็นกลุ่ม กินไมได้่ มีพิษ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

172 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Hebeloma vinosophyllum Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 17-26 มม. กลมและแบน น�้ำตาลอมส้มถึงน�้ำตาล เข้มที่กลางหมวก ผิวเรียบ ขอบมีเส้นใย สีขาวคลุมโดยรอบ ครีบ น�้ำตาล ติดก้าน มี 2 ระดับ ก้าน Ø 2-4 มม. ยาว 25- 50 มม. ทรงกระบอกที่มีโคนบวมใหญ่ ผิวเหลืองอ่อน มีเส้นใยน�้ำตาลกระจายอยู่ กลวง เนื้อ ครีม สปอร์ 6-8 x 9-12 µm ทรงรี ผิวมีปุ่มนูนใหญ่ชัดเจน ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นเป็นกลุ่มโคน ก้านติดกัน บนดินในป่าดิบแล้ง ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Panaeolus semiovatus (Sowerby) S. Lundell & Nannf. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus semiovatus Sowerby

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-90 มม. ดอกอ่อนรูปไข่ เปลี่ยนเป็นรูปกระทะคว�่ำ ก้นค่อนข้างแหลม จนถึงครึ่งวงกลม เรียบ เหนียว มีเงาสะท้อน ขาวถึงน�้ำตาลอ่อน ปนเทา ครีบ ติดก้าน ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลหรือด�ำ มีรอยจุดกระจายตลอดครีบ เรียงค่อนข้างห่าง ก้าน 80-150 x 5-15 มม. ทรงกระบอกตรง บางครั้งโคนเป็นกระเปาะ เปราะ กลวง ขาวถึงน�้ำตาล ปนเทา มีจุดน�้ำตาลกระจายทั่วไป สปอร ์ 15-18 x 78-11 µm ทรงรี ผนังเรียบ ด�ำบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นบนดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม หรือฮิวมัส ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 173 อันดับ Agaricales วงศ์ Clavariaceae

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Clavaria vermicularis Batsch ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หนอนขาว ชื่อพ้อง Clavaria vermicularis J.F. Gmel

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 3-5 มม. สูง 30- 100 มม. ทรงกระบอก มีร่องยาวบางครั้ง แบน ปลายแหลมหรือมน บางทีแตก คล้ายเขากวาง เรียบ กลวง ขาว ก้าน ไม่เด่นชัด เนื้อ เปราะ ขาว สปอร์ 5-7 x 3-4 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นเป็นกลุ่มบนพื้นดินในป่า กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยวนเกษตร ตราด จ.ตราด และสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clavaria zollingeri Lév. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปะการังสีม่วง ชื่อพ้อง Clavaria lavandula Peck

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 60-70 มม. สูง 50-90 มม. รูปร่างคล้ายปะการัง แตก แขนงรูปส้อมขึ้นมาจากก้านที่สั้น เรียบ ยอดทู่หรือมน ม่วงถึงม่วงแดง ยอด สีเข้มกว่า เนื้อ เปราะ ม่วงถึงม่วงแดง สปอร์ 4-7 x 3-5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มบนพื้นดินในป่า กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย สถานี เกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่ และน�้ำตกขุนกรณ์ จ.เชียงราย

174 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Clavulinopsis helvola (Pers.) Corner ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปะการังเข็ม เหลืองทอง ชื่อพ้อง Clavaria helvola Pers. Ramariopsis helvola (Pers.) R.H. Petersen

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 3-8 มม. สูง 30- 50 มม. ทรงกระบอกหรือรูปกระบองยาว กลวงเมื่อแก่ เหลืองไปจนถึงเหลืองอมส้ม ก้าน ไม่มี เนื้อ เปราะ เหลืองอ่อน สปอร์ 5-8 x 5-7 µm เกือบกลม ผิวมีปุ่มเล็กๆ เหลืองอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นติดกันเป็น กลุ่มในป่าเต็งรัง ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clavulinopsis miyabeana (S. Ito) S. Ito ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปะการังพวงแสด ชื่อพ้อง Clavaria miyabeana S. Ito

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 3-1 มม. สูง 50- 100 มม. รูปกระสวยหรือแท่งยาวเรียว มักแบน เป็นร่องยาวและบิดงอ ยอด แหลมหรือมน แดงอมส้มหรือแดงอมชมพู ก้าน ไม่มี เนื้อ เปราะ แดงอมส้ม สปอร์ 6-8 µm กลม ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใน ป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 175 ชื่อวิทยาศาสตร์ Ramaria botrytis (Pers.) Ricken ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปะการังยอดแดง อมชมพู/Pink-Tipped Coral Mushroom/ Clustered Coral ชื่อพ้อง Clavaria botrytis Pers. Clavaria botrytis var. alba A. Pearson Corallium botrytis (Pers.) G. Hahn

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 30-100 มม. สูง 20-120 ซม. แตกแขนงคล้ายกะหล�่ำดอก แขนงมีจ�ำนวนมากและเป็นกลุ่มแน่น เรียบ ขาวหรือ ขาวนวล ปลายแขนงแดง ชมพูหรือม่วงอ่อน ก้าน 20-40 x 20-40 มม. อ้วน เรียวลงไปที่โคน ขาว เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 11-17 x 4-6 µm ทรงกระบอก ผิวมีริ้วยาว น�้ำตาลอมเหลืองบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว จ.ชัยภูมิ และแม่มะ จ.เชียงราย

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Ramaria cyanocephala (Berk. & M.A. Curtis) Corner ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปะการังยอดสีฟ้า ชื่อพ้อง Clavaria cyanocephala Berk. & M.A. Curtis Phaeoclavulina cyanocephala (Berk. & M.A. Curtis) Glachini

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 30-100 มม. สูง 10 มม. รูป คล้ายปะการัง ปลายแตกแขนงเป็นรูปส้อม น�้ำตาลแดง ตอนบนน�้ำตาลอมเหลือง ปลายแขนงสีครามอมเขียว ก้าน อ้วน น�้ำตาลแดง เนื้อ เปราะ ขาว สปอร์ 5-7.5 x 12-15 µm ทรงรี ผิวมีหนามเล็กๆ น�้ำตาลอ่อนอม เหลืองบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าดิบแล้ง กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา และ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

176 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Ramaria flaviceps Corner, K.S. Thind & Anand ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก รูปปะการัง ทรงพุ่ม Ø 20-30 มม. สูง 60-75 มม. มี 3-8 แขนง ตั้งตรงขึ้นจากดิน น�้ำตาล อ่อน กลม ผิวเรียบเกลี้ยง เนื้อ ขาว เปราะ ปลายแตก แขนงเป็น 2 ถึง หลายแฉก แหลม ปลายแขนงสีอ่อนกว่า สัมผัสแล้วไม่เปลี่ยนสี สปอร์ 7-10 x 4-5 μm ทรงรีกว้าง ผิวขรุขระ น�้ำตาลอ่อน ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นโดยตรงจากดินในป่าดิบแล้ง ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ramaria sanguinea (Pers.) Quél. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปะการังเปื้อนเลือด ชื่อพ้อง Clavaria sanguinea Pers. Clavaria botrytis var. sanguine (Pers.) Pers.

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 40-80 มม. สูง 64 มม. รูป คล้ายปะการัง แตกแขนงหลายชั้น เรียบ ยอดแตกเป็น รูปส้อมสองแฉก ครีมถึงเหลืองอ่อนเปลี่ยนเป็นแดงเลือด เมื่อช�้ำ ก้าน สั้นหรือไม่มีก้าน เหลืองอ่อน เมื่อช�้ำเปลี่ยน เป็นแดงหรือแดงเข้ม เนื้อ ขาวถึงเหลืองอ่อน แดงเข้ม เมื่อช�้ำ สปอร ์ 8-12 x 3-4 µm ทรงรีแคบ เรียบ ผนังบาง น�ำ้ ตาลอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 177 ชื่อวิทยาศาสตร์ Ramaria stricta (Pers.) Quél. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Clavaria stricta Pers. Clavariella stricta (Pers.) P. Karst.

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 50 มม. สูง 85 มม. เป็นแท่งแตกแขนง ผิวเรียบ เกลี้ยง น�้ำตาลอมชมพู แตกกิ่งก้านจ�ำนวนมาก ตั้งแต่โคนดอก ปลายดอกแตกเป็นสองแฉก ครีมถึงเหลืองอ่อน แหลม ก้าน ไม่มีหรือมีแต่สั้นมาก เนื้อ แน่น เหนียว สีเดียวกับผิวดอก สปอร์ 67- 10.5 x 4-6 µm ทรงรีกว้าง ผิวเรียบถึงเกือบเรียบ น�้ำตาลอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโต ไมคอร์ไรซา ขึ้นเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มกระจายทั่วไปบนดิน ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชน บ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Scytinopogon angulisporus (Pat.) Corner ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปะการังเขากวาง ปะการังยอดเขากวาง ชื่อพ้อง Clavaria angulispora (Pat.) Scytinopogon angulisporus var. curtus Corner Scytinopogon angulisporus var. gracilis Corner

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 20-60 มม. สูง 30-60 มม. รูปร่างคล้ายปะการัง มีแขนงแบนและแตกแขนงไป ทางเดียวกัน ขาว ก้าน เรียวยาว กว้าง 2-3 มม. แขนงหลักแบนมาก แตกแขนงคล้ายเขากวาง ขาว เนื้อ ยืดหยุ่น ขาว สปอร์ 4-5.6 x 2.7-3.4 µm เหลี่ยมถึงรูปคล้ายหัวมันฝรั่ง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มบนพื้นดินในป่า กินได้ สถานที่พบ เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่

178 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Agaricales วงศ์ Coprinaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Coprinellus disseminatus (Pers.) J.E. Lange ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หมวกคุ่ม ชื่อพ้อง Agaricus disseminatus Pers. Coprinus disseminatus (Pers.) Gray Pseudocoprinus disseminatus (Pers.)

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 5-15 มม. รูป ไข่แล้วเปลี่ยนเป็นรูประฆัง มีรอยจีบลึก จากขอบหมวกจนเกือบถึงกลางหมวก กลางหมวกน�้ำตาลอ่อน ถัดออกไปถึงขอบหมวกเป็นสีเทา ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงห่างขาวหรือเทา ไม่สลายตัวเองเป็นน�้ำหมึก ก้าน 15-40 x 0.5-1 มม. ทรงกระบอก ขาวหม่น มีขนอ่อนบางๆ เนื้อ บาง กลวง เปราะหักง่าย ขาว สปอร์ 4-5 x 7-9 µm ทรงรี ผิวเรียบ มีรูงอก 1 รู ด�ำบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่บนไม้ผุ หรือบนดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม กินได้ สถานที่พบ พบได้ทั่วไปทั้งประเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Coprinopsis atramentaria (Bull.) Redhead, Vilgalys & Moncalvo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus atramentaria Bull. Coprinus atramentarius (Bull.) Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 24 มม. รูปไข่แล้ว เปลี่ยนเป็นรูประฆังคว�่ำ เทา ถึงน�้ำตาล อมเทา ยอดมีขน เมื่อเป็นดอกอ่อน ครีบ ขาวไม่ติดก้าน เรียงถี่ เปลี่ยนเป็นเทาแล้วด�ำ และสลายตัวเองเป็นหยดน�้ำหมึก ก้าน 10-13 x 1 มม. ทรงกระบอก ภายในกลวง ผิวมีขนคล้ายเส้นไหม และมีเส้นใยคล้ายวงแหวนโดยรอบโคนก้าน สปอร์ 7-9 x 5-6 µm ทรงรี ผิวเรียบ ปลายบนมีรูงอก หน้าตัด ด�ำบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มบนอินทรียวัตถุ กองปุ๋ยหมัก กินได้ แต่ระวังเป็นพิษถ้าดื่มแอลกอฮอล์ด้วย สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติน�้ำตกเอราวัณ จ.กาญจนบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 179 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Coprinopsis cinerea (Schaeff.) Redhead, Vilgalys & Moncalvo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ น�้ำหมึกรากแก้ว/ Inky Cap Fungus ชื่อพ้อง Agaricus cinereus Schaeff. Coprinus cinereus (Schaeff.) Gray

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-30 มม. รูปทรงกระบอก หรือรี กลางหมวก น�้ำตาลอ่อน-เข้ม มีขนและเกล็ด ขาว-เทา หรือน�้ำตาลอ่อน หลุดง่าย เมื่อบานคล้ายระฆัง หรือร่ม ขอบ เป็นร่อง ปลายขอบเป็นริ้ว ม้วนงอขึ้นเมื่อดอกแก่ ครีบ ขาวเรียงถี่ ไม่ติดก้าน เปลี่ยนเป็นด�ำแล้วสลาย เป็นหยดน�้ำหมึกเมื่อแก่ ก้าน 30-150 x 20-50 มม. ทรงกระบอก ขาว โคนก้านโป่งเล็กน้อย มีรากยาว กลวง ผิวมีขนบางๆ สปอร์ 5-7 x 9-10 µm รูปไข่ หรือรี น�้ำตาล ผิวเรียบ ผนังหนา มีรูงอก 1 รู ด�ำบน กระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ กินได้ เห็ดเศรษฐกิจ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Coprinus comatus (O.F. Müll.) Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ น�้ำหมึกใหญ่ น�้ำหมึกขนปุย/ Lawyer 's Wig, The Shaggy Mane ชื่อพ้อง Agaricus comatus O.F. Müll. Coprinus comatus var. caprimammillatus Bogart

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-150 มม. รูปทรงกระบอกหรือรี เมื่อบานคล้ายร่ม ขอบม้วนขึ้น ผิวหน้าไม่หนืด ขาวถึงน�้ำตาลอ่อน ผิวรอบดอก จะร่อนขึ้นเป็นแผงเส้นใยขาว จนเป็นแผ่นสะเก็ดน�้ำตาลและปลายจะยกขึ้น ขอบแยกเป็นแฉก เนื้อดอกนุ่ม ขาว ครีบ เรียงถี่ ไม่ติดก้าน ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นด�ำ สลายตัวเป็นหยดน�้ำหมึกสีด�ำเมื่อแก่ ก้าน 50-150 x 10-20 มม. ทรงกระบอกฐานกว้าง กลวงหรือแน่น ขาว ผิวเรียบ มีวงแหวน เป็นแผ่น เยื่อบางๆ ขาว ร่วงหลุดง่าย สปอร์ 10-16 x 7-9 µm ทรงรี ผิวเรียบ มีรูงอก 1 รู ด�ำบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเดี่ยวๆ หรือกระจายใกล้ๆ กันบนดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม กินได้ เห็ดเศรษฐกิจ

180 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Parasola kuehneri (Uljé & Bas) Red head, Vilgalys & Hopple ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Coprinus kuehneri Uljé & Bas Coprinus plicatilis var. microsporus Kühner & Joss.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 5-1 มม. รูปไข่แล้วเปลี่ยนเป็น รูปกระทะคว�่ำหรือรูปร่ม ผิวเกลี้ยง เป็นร่องริ้วรัศมี เทา กลางหมวกบุ๋มเล็กน้อย และเรียบ น�้ำตาลเป็นวงกลม ครีบ น�้ำตาลอ่อนปนเทา ไม่ติดก้าน แล้วเปลี่ยนเป็นด�ำ ก้าน 10-30 x 3-5 มม. ทรงกระบอก ขาวอมเหลือง ภายในกลวง ผิวมีขนบางๆ สปอร ์ 7.5-9 x 3.7-5 µm รูปทรงรีหรือรูปไต ผิวเรียบ น�้ำตาลด�ำบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเป็นกลุ่ม หรือ ดอกเดี่ยวบนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุสะสม ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สลักพระ จ.กาญจนบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Parasola plicatilis (Curtis) Redhead, Vilgalys & Hopple ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ร่มญี่ปุ่น น�้ำหมึกผิวบาง/ Japanese Umbella ชื่อพ้อง Agaricus plicatillis Curtis Coprinus plicatillis (Curtis) Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 12-19 มม. ดอกอ่อนคล้าย ชามคว�่ำ น�้ำตาลอ่อนปนส้ม ดอกแก่บานคล้ายจาน เทา ซีดๆ เป็นแผ่นบาง มีริ้วน�้ำตาลอ่อนตามแนวรัศมี มีร่อง ชัดเจน กลางหมวกบุ๋มน�้ำตาลอ่อนปนส้ม มีขนสั้นละเอียด เป็นกระจุก ครีบ ไม่ติดก้าน เรียงตัวห่าง มีครีบย่อย 2 ระดับ ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเทาถึงด�ำ ไม่ย่อยสลายตัวเอง ขอบเรียบ ก้าน 50-60 x 1 มม. ติดกลางหมวก ทรงกระบอก น�้ำตาลปนส้มอ่อน เป็นริ้วตามแนวยาว กลวง สปอร์ 11-15 x 6-11 µm รีหรือหัวใจ ผนังหนา น�้ำตาลปนด�ำ บริเวณปลายด้านหนึ่งตัด ด�ำบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มบนกิ่งไม้ผุ กินไมได้่ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 181 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Parasola setulosa (Berk. & Broome) Redhead, Vilgalys & Hopple ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Coprinus setulosus Berk. & Broome

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 5-30 มม. ตอน แรกเป็นรูปทรงกระบอกผสมระฆังคว�่ำ เนื้อบางมาก เมื่อแก่ขอบจะค่อยๆ ยกขึ้น ผิวปกคลุมด้วยขนน�้ำตาลอ่อนปนเทา ฟู ขอบบางเป็นรอยพับตามครีบ ครีบ ติดก้านหรือไม่ติดก้าน ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นด�ำ บางมาก ห่าง มีครีบย่อยสั้นๆ ก้าน 20-110 x 1-35 มม. ทรงกระบอกตรง เปราะ กลวง ปกคลุมด้วยขน ขาว เนื้อ บาง ขาว สปอร์ 7.5-12.5 x 7.5-12.5 µm เกือบเป็นทรงกลม ไข่กว้าง หรือทรงรีกว้าง ผิวเรียบ ผนังค่อนข้างหนา ปลายตัด ด�ำบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นบนดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม หรือฮิวมัส หรือมูลสัตว์ ไม่มีมีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Psathyrella candolleana (Fr.) Maire ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เนื้อร่วน ชื่อพ้อง Agaricus candolleanus Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-40 มม. รูประฆังแล้วกางแบนคล้ายจานคว�่ำ เรียบ ขอบมีเศษของวงแหวนติดอยู่โดยรอบ ครีมไปจนถึงน�้ำตาลอมเหลือง เมื่อดอกแก่ สีซีดลงเป็นขาวหม่น หรือยังคงสีน�้ำตาล หม่นกลางหมวก ครีบ ติดก้าน แคบ เรียงถี่ น�้ำตาลหม่นแล้วเป็นน�้ำตาลเข้ม ก้าน 50-100 x 3-5 มม. ทรงกระบอก ผิวเรียบ เป็นมันเงา กลวง ขาว มีเกล็ดบนก้าน วงแหวนบอบบาง ขาว เนื้อ บาง แตกหัก ง่าย ขาว สปอร์ 7-10 x 4-5 µm ทรงรียาว เรียบ ผนังหนา ปลายตัดเปิดเป็นรูงอกเล็กๆ น�้ำตาลอม ม่วงบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนพื้นหญ้าหรือบนไม้ที่ฝังอยู่ใต้ดิน กินได้ สถานที่ พบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ และสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

182 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Psathyrella rugocephala (G.F. Atk.) A.H. Sm. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Hypholoma rugocephalum G.F. Atk.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 36-45 มม. ดอกอ่อนคล้ายร่ม ดอกแก่แผ่บาน กลม น�้ำตาลซีด กลางหมวกเข้มกว่า หยักย่น คล้ายแอ่งหรือหลุม ครีบ ติดกับก้านเป็น สามเหลี่ยมมุมแหลม เรียงตัวใกล้ๆ หรือชิดติดกัน มี ครีบย่อย 2-3 ระดับ น�้ำตาลเข้ม ขอบหยักแหลม ก้าน 50-60 x 3-5 มม. ติดกลางหมวก ทรงกระบอก ขาวนวล เป็นริ้ว มีผงขาวคล้ายแป้งปกคลุม เมื่อสัมผัสหรือท�ำให้ ช�้ำเปลี่ยนเป็นน�้ำตาล มีเนื้อเยื่อบางๆ ไม่ชัดเจน กลวง สปอร์ 9-11 x 6-7 µm ทรงรี ผิวย่นและหนา น�้ำตาลปนด�ำบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ ขึ้นโดยตรงจากดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม กินได้แต่ไม่แนะน�ำ สถานที่พบ ป่าชุมชน บ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

อันดับ Agaricales วงศ์ Cortinariaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cortinarius livido-ochraceus (Berk.) Berk. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus livido-ochraceus Berk. Cortinarius pumilus (Fr.) J.E. Lange

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 25-45 มม. รูปครึ่งวงกลมถึงกระทะคว�่ำ แล้วกางออก น�้ำตาล ตรงกลางมีรอยบุ๋ม สีเข้ม ขอบ เรียบ มีรอยขีดตามแนวรัศมี ครีบ น�้ำตาลอ่อนถึงน�้ำตาลเข้มเมื่อแก่ เป็นคลื่น ติดก้าน ก้าน 32-60 x 3-7 มม. ทรงกระบอก น�้ำตาลนวล โคนโป่งพองสีอ่อนกว่าปลาย ผิวมัน เป็นร่อง เมื่อสัมผัสเปลี่ยนเป็น น�้ำตาลเข้ม กลวง สปอร์ 6-9 x 7-13 µm ผนังมีปุ่มนูน น�้ำตาลบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นกระจายใกล้ๆ กันบนดินในป่าเต็งรัง ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่า ชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 183 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Cortinarius purpurascens Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ร่มน�้ำตาลเข้ม อมม่วง ขากระบอง/ Bruising Webcap ชื่อพ้อง Agaricus purpurascens Fr. Cortinarius purpurascens var. largusoides Cetto Phlegmacium purpurascens (Fr.) Ricken

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 55-95 มม. คล้ายชามคว�่ำถึงแบนราบ น�้ำตาลปนม่วงเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอิฐ ขอบม้วนงอ เรียบถึงหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ครีบ ติดกับก้านเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลมถึงค่อนข้างกว้าง เรียงชิด ม่วงแล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอิฐ มีครีบย่อย 3-5 ระดับ ขอบเรียบและม่วงเข้มกว่าส่วนอื่น ก้าน ยาว 57-85 มม. Ø ปลาย 12-30 มม. โคน 21-35 มม. ทรงกระบอกถึงกระบอง ติดกลางหมวก น�้ำตาล ปกคลุมด้วยเส้นใยฟู ม่วง สปอร์ 9.5-14 x 5-7 µm ทรงรี น�้ำตาลปนเหลือง ผนังค่อนข้างหนา มีปุ่ม นูนขนาดใหญ่ น�้ำตาลบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา พบได้ทั้งเดี่ยวๆ กระจาย หรือ เป็นกระจุกโคนติดกัน บนดิน กินไมได้่ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cortinarius splendens Rob. Henry ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-80 มม. เมื่ออ่อนรูปชามคว�่ำ เมื่อแก่แผ่แบน ขอบ งอและเป็นคลื่น เหลืองสดถึงน�้ำตาลอม เหลือง น�้ำตาลอมแดง ตรงกลางเข้มกว่า ส่วนอื่น คล้ายมีขนนุ่มปกคลุม ครีบ ไม่ ติดก้านถึงติดเล็กน้อย เหลืองเมื่ออ่อนแล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลสนิมเมื่อแก่ ก้าน 25-60 x 7-12 มม. ทรงกระบอก มีโคนโป่งออกชัดเจน สีเดียวกับหมวกแต่อ่อนกว่าเล็กน้อย มีร่องรอยของเส้นใยบางๆ ที่บริเวณปลายก้าน เนื้อ เหลืองสด สปอร์ 10-13 x 5-6.5 µm รูปเมล็ดอัลมอลน์ ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลสนิมบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เป็นดอกเดี่ยว กระจายอยู่ใกล้ๆ กันเป็น กลุ่มในป่าเต็งรังผสมสน ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

184 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Crepidotus mollis (Schaeff.) Staude ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หอยนิ่ม หอยครางเรียบ/ Peeling Oysterling, Soft Slipper ชื่อพ้อง Agaricus mollis Schaeff. Crepidopus mollis (Schaeff.) Gray Derminus mollis (Schaeff.) J. Schröt.

ลักษณะทั่วไป หมวก 10-30 x 11-25 มม. คล้ายพัดหรือเปลือกหอย ด้าน ขาวถึงชมพูเมื่อช�้ำ เกลี้ยง ขอบเรียบ มีรอยขีด ครีบ ติดกับสิ่งที่เห็ดขึ้น เรียงตัวใกล้ๆ กัน มีครีบย่อย 5 ระดับ ชมพูคล้ายกับผิวหมวก สปอร์ 4-5 x 2-3 µm ทรงรี ผิวเรียบ หนา ชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม ถึงเป็นกระจุก บนกิ่งไม้หรือ ท่อนไม้ที่ก�ำลังย่อยสลาย กินไมได่ ้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Crepidotus variabilis (Pers.) P.Kumm. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus variabilis Pers. Claudopus variabilis (Pers.) Fr. Crepidopus variabilis (Pers.) Gray

ลักษณะทั่วไป หมวก 16-28 x 10-22 มม. รูปพัด ขาว ผิวเรียบ เนื้อแห้ง รูปคล้าย หอยนางรม ครีบ เทาอมน�้ำตาล เรียง กระจายเป็นรัศมีออกไปจากจุดที่ออกดอก เรียงถี่ ขาว แล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอ่อน ไม่มีก้าน สปอร์ 5-8 x 4-5 µm ทรงรี ผิวมีหนามละเอียด น�้ำตาลอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนกิ่งไม้แห้งในป่าชื้น ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติน�้ำตกเอราวัณ จ.กาญจนบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 185 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Gymnopilus aeruginosus (Peck) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขอนสีเหลืองเกล็ด อมม่วงแดง ชื่อพ้อง Pholiota aeruginosa Peck

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-50 มม. รูป ชามคว�่ำแล้วแบน แห้ง เหลือง มีเกล็ด น�้ำตาลแดงหรือเขียวขนาดเล็ก หนาแน่น บางครั้งมีเกล็ดแดงหรือสีองุ่นปะปน ครีบ ติดก้าน แคบ เรียงถี่ เหลืองหม่นอมน�้ำตาล ก้าน 20-120 x 3-5 มม. เกือบเท่ากันตลอดก้าน เรียบ สีเดียวกับหมวก วงแหวนสีน�้ำตาลอมเหลือง เนื้อ ขาวปะปน ด้วยน�้ำเงินหรือเขียว สปอร ์ 7.5-8 x 4-5 µm ทรงรียาว ผิวมีปุ่มเล็กๆ น�้ำตาลสนิมบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนตอไม้เนื้อแข็ง กินไมได้่ มีพิษ สถานที่พบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

อันดับ Agaricales วงศ์ Entolomataceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Entoloma omiense (Hongo) E. Horak ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Rhodophyllus omiensis Hongo

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 38-54 มม. รูปชามคว�่ำถึงกรวยคว�่ำ สีน�้ำตาลอ่อน กลางหมวกเป็นตุ่มนูนเมื่ออ่อน บานเต็มที่ แผ่ออก ตรงกลางยังเป็นปุ่มนูนสีน�้ำตาล แดง ผิวมีเส้นใยคล้ายไหมแผ่ออกเป็น รัศมี ขอบเรียบ เมื่อแก่จะฉีกขาด ครีบ ติดกับก้านเล็กน้อย ชมพูถึงน�้ำตาลอมชมพู ถี่ ครีบย่อย 1 ระดับ ก้าน 80-100 x 3-11 มม. ทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าปลาย เรียบ เหลืองอ่อน มีลายเล็กน้อย ไม่มีวงแหวน สปอร์ 11-13 x 9-11 µm หลายเหลี่ยม น�้ำตาลอมชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่า ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

186 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Entoloma rhodopolium (Fr.) P. Kumm. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Entoloma rhodopolium Berk. & Broome Agaricus rhodopolius Fr. Rhodophyllus rhodopolius (Fr.) Quél.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 70 x 70 มม. กลมโค้งนูน คล้ายกระทะคว�่ำหรือคล้ายร่ม ผิวน�้ำตาลปนเทา กลาง หมวกนูนมนสีเข้ม ขอบม้วนงอเข้าเล็กน้อย ครีบ ติดกับ ก้านเป็นรอยบุ๋มก่อนถึงก้าน เรียงตัวห่าง ครีบย่อย 3- 4 ระดับ ขาว ขอบเรียบ ก้าน 100 x 16 มม. ปลายเรียว ไปหาโคน ติดตรงกลางหมวก ผิวขาว มีเส้นใยน�้ำตาล เป็นริ้วตามแนวยาว เนื้อ แน่น สีขาว สปอร์ 8-12 x 7-9 µm ห้าเหลี่ยม ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลปน ชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเดี่ยวๆ ขึ้นจากดินโดยตรง กินไมได้่ มีพิษ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Entoloma vernum S. Lundell ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Entoloma cucullatum (J. Favre) Cetto Nolanea verna (S. Lundell) Koti. & Pouzar Rhodophyllum vernus (S. Lundell) Romagn.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 25-90 มม. ดอกอ่อนรูประฆัง ดอกแก่ขอบยกขึ้น ผิวสีน�้ำตาล เห็นเป็นเส้นใย เรียงจากกลางหมวกถึงขอบ ครีบ ห่าง ติดกับก้าน มีครีบย่อย 3 ระดับ ก้าน 25-56 x 4-8 มม. ทรงกระบอก มีลายขีดตามยาวตลอดก้าน เมื่อหักจะมีเส้นใยหลงเหลือ (fibrous) กลวง เนื้อ สีเดียว กับผิว สปอร์ 9-10 x 7-8 μm รูปหลายเหลี่ยม น�้ำตาลปนชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นเป็นกลุ่มในป่าเต็งรัง กินไม่ได้ มีพิษ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อม สะแกราช จ.นครราชสีมา

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 187 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Rhodophyllus coelestinus var. violaceus (Kauffman) A.H. Sm. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Nolanea coelestina var. violacea Kauffman

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 5-15 มม. เมื่ออ่อนชามคว�่ำ เมื่อแก่กระทะคว�่ำถึง ครึ่งวงกลม น�้ำเงินปนเทาถึงน�้ำเงินปน น�้ำตาล ตรงกลางบุ๋มเล็กน้อยและสีเข้มกว่าส่วนอื่น ขอบเรียบ เห็นรอยขีดของครีบชัดเจน ครีบ ติดก้าน ขาวถึงครีม ห่าง ครีบย่อย 3 ระดับ ก้าน 10-25 x 1-2 มม. ทรงกระบอก น�้ำเงินสด เรียบ โคน สีอ่อนกว่า มีกลุ่มเส้นใยฟูขาวที่โคน สปอร์ 7.5-9.5 x 5-6 µm รูปหลายเหลี่ยม ใส ชมพูอมน�้ำตาล บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดห่างๆ หรือใกล้ๆ กันบนพื้นดิน ไม่มีข้อมูล ว่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhodophyllus virescens (Berk. & M.A. Curtis) Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กระดิ่งหยก ชื่อพ้อง Agaricus virescens Berk. & M.A. Curtis Leptonia virescens Sacc. Entoloma virescens (Sacc.) E. Horak

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-40 มม. เมื่ออ่อนรูปกรวย มียอดแหลม กางแบนคล้ายจานเมื่อแก่ ขอบเป็นคลื่นและริ้วเล็กน้อย ฟ้าอ่อนอม เขียว มีเหลืองปนเปื้อน เมื่อช�้ำเปลี่ยนเป็นเขียวหรือเขียวอมเหลือง ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ฟ้าอม ม่วงแดงเมื่อช�้ำ ก้าน 40-50 x 3-4 มม. ทรงกระบอก กลวง ผิวเรียบ สีเดียวกับหมวก เนื้อ บาง เขียวอ่อน สปอร์ 9-12 x 8-10 µm รูปลูกบาศก์ ผนังหนาเล็กน้อย น�้ำตาลอมเหลืองบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเบญจพรรณ กินไม่ได้ มีพิษ สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จ.ราชบุรี

188 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Agaricales วงศ์ Fistulinaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Fistulina hepatica (Schaeff.) With. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ สะเต็กตับวัว ชื่อพ้อง Boletus hepaticus Schaeff. Hypodrys hepaticus (Schaeff.) Pers.

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 60-200 มม. หนา 10-50 มม. รูปคล้ายลิ้น เหนียว หนืดมือและมีปุ่มเล็กๆ ที่ผิว สีแดงชมพู ไปจนถึงแดงอมส้มแล้วเปลี่ยนเป็นสี น�้ำตาลอมม่วง รู ยาว 10-15 มม. แยกออกจากกัน ขาวถึงน�้ำตาลแดง ปากร ู 2-3 รู ต่อ มม. กลม ขาว หรือน�้ำตาลอมชมพู เมื่อช�้ำมีสีน�้ำตาลแดง เนื้อ ชมพูเข้ม มีลายเส้นสีแดง สปอร์ 5 x 3-4 µm รูปไข่ เรียบ ผนังบาง ชมพูอมส้มบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนล�ำต้นและตอไม้ที่ตายแล้ว ของไม้ผลัดใบ กินได้ เห็ดเศรษฐกิจ

อันดับ Agaricales วงศ์ Hydnangiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Laccaria amethystina Cooke ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ อัญชัน ชื่อพ้อง Agaricus amethystinus Huds. Laccaria laccata var. amethystine (Cooke) Rea

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-60 มม. กลม และโค้งนูน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย เรียบ มีขนอ่อน ม่วงสดถึงม่วงเข้ม ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงห่าง สีเดียวกับหมวก ก้าน 40-100 x 2-5 มม. ทรงกระบอก สีเดียวกับหมวก มักมี รอยย่นและขนอ่อนสีขาว เนื้อ แน่น บาง สีเดียวกับหมวก สปอร์ 9-11 µm ทรงกลม มีหนาม ขาวบน กระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าผลัดใบและป่าสน กินได้

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 189 ชื่อวิทยาศาสตร์ Laccaria laccata (Scop.) Cooke ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หลายหน้า/ Common Lacaria ชื่อพ้อง Agaricus laccata Scop.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-40 มม. กลม และโค้งนูนแล้วแบน เรียบ ขอบมักเป็น คลื่น ลอนและงอขึ้นเมื่อแก่ น�้ำตาลอ่อน อมส้มถึงน�้ำตาลอมชมพู ครีบ เรียวลงติด ก้านเล็กน้อย กว้าง เรียงห่าง ชมพูถึงน�้ำตาลอมชมพู ก้าน 25-75 x 3-5 มม. เป็นเส้นหยาบ มักบิด เป็นเกลียวและบางแห่งแบน สีเดียวกับหมวก เนื้อ บาง สีเดียวกับหมวก สปอร์ 7-8 x 8-9 µm เกือบกลม มีหนาม ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Laccaria pumila Fayod ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Laccaria altaica Singer Laccaria laccata var. pumila (Fayod) J. Favre

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-40 มม. รูป จานคว�ำ่ น�้ำตาลอมแดง กลางหมวกแหลม น�้ำตาลเกือบด�ำ มีขนอ่อนปกคลุม ครีบ ติดก้าน เรียงห่างถึงเกือบห่าง สีเดียวกับหมวกหรืออ่อนกว่า ก้าน 20-85 x 2-4 มม. ทรงกระบอก สีเดียวกับหมวก มีขนอ่อนสีขาว เนื้อ แน่น บาง สีเดียวกับหมวก สปอร์ 9-13 µm ทรงกลมถึง เกือบกลม มีหนาม ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี

190 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Agaricales วงศ์ Lycoperdaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Calvatia craniiformis (Schwein.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ จาวมะพร้าว ชื่อพ้อง Bovista craniiformis Schwein.

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 50-120 มม. สูง 40-100 มม. ส่วนบนรูปสมอง ผนัง บางคล้ายกระดาษ ขาวถึงน�้ำตาลอ่อนอม ชมพู ปริแตกและร่วงหล่นไปเมื่อแก่ มีฐาน ใหญ่คล้ายก้านสีขาว สปอร์ 2.5-4.5 µm กลม มีหนามละเอียด เหลืองอมเขียวถึงน�้ำตาลอมเหลือง ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ดอกเดี่ยวถึงเกิด กระจายบนดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม กินได้ เมื่อเป็นดอกอ่อนเท่านั้น สถานที่พบ สถานีวิจัย วนเกษตรตราด จ.ตราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lycoperdon perlatum Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ลูกฝุ่นคราด หัวแหวน ชื่อพ้อง Lycoperdon bonordenii Massee Lycoperdon gemmatum var. perlatum (Pers.) Fr. Lycoperdon perlatum var. bonordenii (Massee) Perdeck

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 24-45 มม. สูง 20-45 มม. รูปลูกสาลี่หรือกระบอง มีฐานคล้ายก้าน ผิวปกคลุมด้วยหนามยาวและสั้น หนามยาวมักหักไปเหลือรอยให้เห็นชัดเจนบนผิว ผิวขาวแล้วเปลี่ยน เป็นสีเนื้อ ด้านบนมีรูเปิด 1 รู บริเวณเนื้อเยื่อที่เกิดสปอร์ ขาว เปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอมเหลือง สปอร ์ 3.5-4.5 µm ทรงกลม ผิวมีปุ่มเล็กๆ น�้ำตาลอมเขียวมะกอก ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ดอกเดี่ยวหรือ เป็นกลุ่มบนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถมในป่าที่เปิดโล่ง กินได้ เมื่อเป็นดอกอ่อนเท่านั้น สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย และ จ.เชียงราย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 191 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Lycoperdon pyriforme Schaeff. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ลูกฝุ่นขอนไม้/ Pear-Shaped Puffball, Stump Puffball ชื่อพ้อง Lycoperdon pyriforme Vent. Morganella pyriformis (Schaeff.) Kreisel & D. Krüger Utraria pyriformis (Schaeff.) Quél.

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ด กว้าง 55-62 มม. สูง 15-30 มม. คล้ายลูกแพร มีผนัง 2 ชั้น ชั้นนอกขาว มีสะเก็ดน�้ำตาลเป็นรูปสามเหลี่ยมกระจาย ทั่วดอก พบมากบริเวณกลางดอก ด้านล่างย่นเล็กน้อย ชั้นในเหลืองอ่อน โคนสีน�้ำตาลอ่อนมี rhizomorph ยาวสีขาว 1 เส้น สปอร์ 4-5 µm กลม ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาล ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ ขึ้นบนซากใบไม้ที่ทับถม กินได้ เมื่อเป็นดอกอ่อนเท่านั้น สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

อันดับ Agaricales วงศ์ Marasmiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthracophyllum nigritum (Lév.) Kalchbr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ พัดสีองุ่น ชื่อพ้อง Xerotus nigritus Lév. Panellus nigritus (Lév.) Teng.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 6-18 x 5-13 มม. วงกลม ไตถึงครึ่งวงกลม น�้ำตาลปนเหลืองถึงน�้ำตาลปนส้ม ดอก อ่อนนุ่มและยืดหยุ่น ขอบมีรอยขีดพับและม้วนเข้า ครีบ เรียงตัวเป็นรัศมีออกมาจากจุดที่ติดกับสิ่งที่เห็ดขึ้นอยู่ เรียงตัวห่างกัน มีครีบย่อย 2-3 ระดับ ม่วงเข้มถึงน�้ำตาล ปนม่วง แห้งเปลี่ยนเป็นด�ำ ก้าน ไม่มี ถ้ามีจะสั้นมาก ไม่เกิน 5 มม. น�้ำตาลปนด�ำ โคนมีขนน�้ำตาลปนส้ม ปกคลุม สปอร์ 5-8.5 x 4-5 µm ไข่ถึงทรงรี บาง ใส ผิวเรียบ ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดกระจายเต็มขอนไม้ที่ตายแล้ว ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยเกษตร หลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

192 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Campanella junghuhnii (Mont.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Cantharellus junghuhnii Mont.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 4-20 มม. โค้ง นูน หรือรูปไต เรียบ ด้านถึงมันวาวเมื่อมี ความชื้น โปร่งแสง ส่วนใหญ่หงายเอา ด้านโค้งนูนติดกับกิ่งไม้ ขาวอมเทา ครีม อมชมพู ครีบ เรียงเป็นรัศมีจากฐานดอก กว้างมาก มีครีบสั้นๆ เชื่อมหลายอัน ขาว ก้าน 1-2 x 0.1 มม. เนื้อ บาง โปร่งแสง ขาว สปอร์ 7.5-9 x 4-5 µm ทรงรี เรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดกระจายบนกิ่งไม้ ที่ตายแล้ว ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chaetocalathus liliputianus (Mont.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กาบเงิน ชื่อพ้อง Pleurotus liliputianus Mont.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 5-20 มม. รูปถ้วยถึงจานคว�่ำลง แห้ง มีขนปุย ขาวบริสุทธิ์ ขอบหยักเป็นร่องเล็กน้อย ครีบ เรียงเป็นรัศมีออกจากจุดกลางหรือไม่กึ่งกลาง แคบ เรียงถี่ ขาวไปจนถึงครีม มีครีบสั้นสลับ ก้าน ไม่มี เนื้อ ขาว บาง สปอร ์ 7.5-10 x 5-7 µm ทรงรี ผิวเรียบ ขาวบน กระดาษพิมพ์ ที่อย่อาศัยู แซบโพรไฟต์ เกิดบนกิ่งไม้ที่ ตายแล้วร่วงหล่นในพื้นป่า ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถาน ที่พบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และ จ.ราชบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 193 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Cyptotrama asprata (Berk.) Redhead & Ginns ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เหลืองเรณู ชื่อพ้อง Agaricus aspratus Berk. Xerula asprata (Berk.) Pegler

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-30 มม. รูป ชามคว�่ำ แล้วแบน ปกคลุมด้วยเกล็ดรูป สามเหลี่ยม ขอบมีริ้วเล็กน้อย เหลืองอม เขียวถึงเหลืองทอง กลางหมวกส้ม ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงห่างปานกลาง ขาวถึงครีม ก้าน 15-25 x 2-3 มม. ทรงกระบอก เหนียว เหลืองอ่อนถึงเหลืองทองมีเกล็ดเป็นเส้นใยฟูเหลืองปกคลุม เนื้อ แน่น ขาวอมเหลือง สปอร์ 7-8 x 5-6 µm ทรงรียาว เรียบ ผนังบาง ขาวหรือครีมบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่ อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดกระจายบนกิ่งไม้และท่อนไม้ของไม้ผลัดใบ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Favolaschia thwaitesii (Berk. & Broome) Kuntze ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Laschia thwaitesii Berk. & Broome

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 5-10 มม. รูปไตไปถึงเกือบครึ่งวงกลม สีส้ม ยืดหยุ่นคล้ายวุ้นแข็ง และมี ผงฝุ่นติดบางๆ รู กว้าง 1-2 รู/มม. กลมหรือหกเหลี่ยม ผนังหนา สีเดียวกับหมวก ก้าน 3-5 x 1 มม. ไม่อยู่กึ่งกลางดอก แข็ง ยืดหยุ่นคล้ายวุ้น สีเดียวกับหมวก มีผงคล้ายฝุ่นบางๆ เช่นกัน สปอร์ 2.8 x 6.3-8 µm ทรงรี ผนังเรียบ บาง ใส เหลืองอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็น กลุ่มบนขอนไม้หรือซากใบไม้ในป่า ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

194 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Flammulina velutipes (Curtis) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เข็มทอง เข็มเงิน ชื่อพ้อง Agaricus velutipes Curtis

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-70 มม. โค้งนูนเป็นปุ่มหรือคล้ายชามคว�่ำแล้ว แบน เรียบ หนืดเมื่อชื้น น�้ำตาลแดงถึง น�้ำตาลเหลือง ส้มเหลือง หรือน�้ำตาล ปนเหลือง ขอบเหลืองอ่อน ม้วนขึ้นเมื่อ อากาศแห้ง เนื้อบาง ขาว หรือเหลือง ครีบ ติดก้าน ขาวอมเหลือง ก้าน 2-11 x 0.3-0.5 ซม. ตรง เนื้อเหนียว ผิวเรียบ เหลืองอ่อน ถึงเหลือง เมื่้ออ่อนส้ม น�้ำตาลส้ม เมื่อโตเต็มที่ มีเส้นใยละเอียดคล้าย เส้นไหม สีน�้ำตาลสนิม ถึงน�้ำตาลด�ำจากโคนก้านขึ้นมา สปอร ์ 6.5-9 x 3-5 µm ทรงรีถึงทรงกระบอก ผิวเรียบ ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ กินได้ เห็ดเศรษฐกิจ เห็ดเศรษฐกิจ- อุตสาหกรรม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmiellus candidus (Fr.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เกล็ดขาว ชื่อพ้อง Agaricus candidus Bolton Marasmius candidus Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-30 มม. โค้งนูนคล้ายกระทะคว�่ำแล้วแบน ร่องเรียงเป็นรัศมี แห้ง เป็น มันวาว ขาว มักมีสีชมพูอ่อนหรือน�้ำตาลอมแดงปะปนเมื่อแก่ ครีบ ติดก้าน กว้างปานกลาง เรียงห่าง ขาว ก้าน 10-20 x 1-1.5 มม. อยู่กึ่งกลางหรือค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง มักงอ ขาว เป็นมันวาว โคนด�ำ เมื่อแก่ เนื้อ บาง ขาว สปอร์ 10-15 x 3-6 µm รูปกระสวยยาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดบนกิ่งไม้และท่อนไม้ที่ตายแล้ว ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานี วิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 195 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Marasmiellus corticum Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 11-20 x 12-15 มม. ครึ่งวงกลม หรือคล้ายพัด ขาว โปร่งแสง เป็นร่อง กลางหมวกนูนมน หรือบุ๋มเล็กน้อย น�้ำตาลหรือเหลืองซีด ครีบ ติดกับก้าน แบบตั้งฉาก เรียงตัวห่าง มีครีบย่อย 3 ระดับ ขาวใส ขอบเรียบ ก้าน 2-10 x 0.5-1 มม. ทรงกระบอก เยื้อง ติดด้านใดด้านหนึ่ง ขาว โค้งงอได้และมีความเหนียวฉีก ขาดได้ยาก กลวง ที่โคนมีกลุ่มของเส้นใยขาวปนชมพูอ่อน ปกคลุมรอบ เนื้อ บาง หยุ่น มีลักษณะคล้ายกับวุ้น ขาว สปอร์ 9-11 x 5-7 µm รีกว้าง ผิวเรียบ บาง ใส อาจมีหยดน�้ำมัน 1 อัน ขาวหรือเหลืองซีดบน กระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม ขึ้นบนกิ่งไม้ตาย ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmiellus ramealis (Bull.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เกล็ดปลานิล/ Twig Parachute, Twig Mummy-Cap ชื่อพ้อง Agaricus ramealis Bull. Gymnopus ramealis (Bull.) Gray Marasmius ramealis (Bull.) Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 4-12 มม. ดอกอ่อนคล้าย ชามคว�่ำ ดอกแก่แผ่แบน กลม ขาวนวล โปร่งแสง กลาง หมวกนูนมนเล็กน้อย น�้ำตาลซีดปนเหลือง เป็นร่อง มี ผงขาวประปราย ครีบ ติดกับก้านแบบตั้งฉาก เรียง ตัวห่าง มีครีบย่อย 2-3 ระดับ ขาว ขอบเรียบ ก้าน 8-12 x 1 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก ขาวนวลถึงน�้ำตาลซีด มีผงขาวคล้ายผงแป้งปกคลุม โค้งงอได้ และมีความเหนียวฉีกขาดได้ยาก กลวง สปอร์ 7-10 x 1-4 µm รี ผิวเรียบ บาง ใส ภายในอาจมีหยด น�้ำมัน 1 หยด ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม ขึ้นบนกิ่งไม้ที่ตายแล้ว กินไมได้่ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

196 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius coarctatus Wannathes, Desjardin & Lumyong ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 18 มม. กลม โค้งนูนเล็กน้อย น�้ำตาลซีด กลางหมวก เข้มกว่าและหยักย่น ครีบ ไม่ติดก้าน เรียงตัวใกล้ๆ กัน มีครีบย่อย 3 ระดับ ขาวนวล ขอบเรียบ ก้าน 60 x 1.5 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก ขาวนวลถึงน�้ำตาล โคนเข้ม และปลายอ่อน โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก กลวง ที่โคนมีกลุ่มของเส้นใยขาวปนครีม สปอร์ 5-7 x 3-4 µm รี ผิวเรียบ บาง ใส ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ บนซากใบไม้ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่ พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius cremeus Wannathes, Desjardin & Lumyong ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 8-17 มม. ดอกอ่อนรูปร่างคล้ายชามคว�่ำ ดอกแก่ รูปร่างกลมโค้งนูน ผิวขาว มีลักษณะเป็น ริ้วตามแนวรัศมี กลางหมวกบุ๋มเล็กน้อย ครีบ ติดกับก้านแบบตั้งฉาก เรียงตัวห่าง มีครีบย่อย 3-4 ระดับ ขาว ขอบเรียบ ก้าน 21-65 x 1- 1.5 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก ผิวขาวถึงน�้ำตาลปนส้ม โคนมีสีเข้มและปลายมีสีอ่อนกว่า ส่วนอื่นๆ ผิวเรียบ มีผงสีขาวคล้ายผงแป้งปกคลุม โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก ภายในกลวง ที่โคน มีกลุ่มของเส้นใยเหลืองอ่อนปกคลุม สปอร์ 11-16 x 3-5 µm รียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มหรือเดี่ยวๆ บนซากใบไม้หรือกิ่งไม้ผุ ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี และ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 197 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Marasmius haematocephalus var. atroviolaceus Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 18-20 มม. คล้ายระฆังคว�่ำ ม่วงเข้ม กลางหมวกนูนมนเล็กน้อย เข้มและหยักย่น เป็นร่องโค้งและลอนคลื่น ขอบงอนขึ้น ครีบ ติดกับก้าน เป็นสามเหลี่ยมมุมแหลม เรียงตัวห่าง ม่วงปนชมพูอ่อน ขอบเรียบ ก้าน 13-25 x 1 มม. ทรงกระบอก ติดกลาง หมวก ม่วงอ่อนถึงน�้ำตาลปนส้มหรือน�้ำตาลปนม่วง โคน เข้มและปลายอ่อน โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก กลวง ที่โคนมีกลุ่มของเส้นขาวปนครีม สปอร์ 19-28 x 4-5 µm รียาวหรือคล้ายกระสวย ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มบนซากใบไม้หรือกิ่งไม้ผุ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius haematocephalus var. haematocephalus (Mont.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 1.5-10 มม. คล้ายระฆังคว�่ำ ม่วงแดงเข้มคล้ายทองแดง กลางหมวกนูนมนเล็กน้อยและหยักย่น เป็นร่องโค้งและลอนคลื่น ครีบ ติดกับ ก้านเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลม เรียงตัวห่าง ครีบย่อย 0-1 ระดับ ม่วงปนชมพูอ่อน ขอบเรียบ ก้าน 4-14 x 0.2 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก สีม่วงอ่อนถึงน�้ำตาลปนส้มหรือน�้ำตาลปนม่วง โคนเข้มและ ปลายอ่อน โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก กลวง ที่โคนมีกลุ่มของเส้นใยขาวปนครีม สปอร์ 19-20 x 3-5 µm รียาวหรือคล้ายกระสวย ผิวเรียบ ผนังบาง ใส อาจมีหยดน�้ำมัน 1-3 หยด ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มหรือเดี่ยวๆ บนซากใบไม้ ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

198 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius hypochroides Berk. & Broome ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 7-40 มม. ดอก อ่อนคล้ายชามคว�่ำ ดอกแก่กลมโค้งนูน ส้ม กลางหมวกหยักย่น เป็นริ้วไม่ชัดเจน ครีบ ติดกับก้านเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลม เรียงตัวห่าง มีครีบย่อย 3-4 ระดับ ขาวปนครีม ขอบเรียบ ก้าน 28-54 x 1.5-2.5 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก ครีมถึงน�้ำตาลปนส้ม โคนเข้มกว่าปลาย มีผงขาวคล้ายแป้งปกคลุม โค้งงอ เหนียว ฉีกขาดยาก กลวง ที่โคนมีกลุ่มของเส้นใย ขาวปนครีม สปอร์ 8-9 x 4 µm รี ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม ขึ้นบนซากใบไม้และกิ่งไม้ที่ผุ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่ พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius maximus Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-65 มม. ชามคว�่ำถึงนูนเป็นครึ่งวงกลม น�้ำตาล ตรงกลางมีรอยบุ๋มตื้นๆ น�้ำตาลเข้ม ขอบ มีรอยพับระหว่างรอยขีด เหนียวคล้าย แผ่นหนัง ครีบ ติดก้านถึงขึ้นจากก้าน เล็กน้อย น�้ำตาลอ่อนกว่าหมวกเล็กน้อย ห่างถึงใกล้กัน ครีบย่อย 3 ระดับ ขอบเรียบ ก้าน 45-100 x 2-4 มม. ทรงกระบอก น�้ำตาลเข้มเกือบด�ำ ผิวเรียบ เหนียวสามารถงอได้ มีกลุ่มเส้นใยสีขาวขึ้นเป็น กระจุกที่โคน สปอร์ 4.5-6 x 2-5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ไม่มีสี ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เกิดห่างๆ หรือใกล้ๆ กันเป็นกลุ่ม บนซากพืช ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 199 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Marasmius mokfaensis Wannathes, Desjardin & Lumyong ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 35 มม. คล้ายระฆังหรือ กระทะคว�่ำ เทา โปร่งแสง เป็นร่องโค้ง กลางหมวกหยัก ย่นเล็กน้อยและสีเข้มกว่าบริเวณอื่น ขอบงอนขึ้น ครีบ ติดกับก้านเป็น สามเหลี่ยมมุมแหลมถึงไม่ติดกับก้าน เรียงตัวห่าง มีครีบย่อย 0-2 ระดับ เทาอ่อนปนขาว ขอบ เรียบ ก้าน 73 x 3 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก เทาอ่อนปนขาวถึงนำ�้ ตาลอ่อนปนเทา โคนเข้มกว่าปลาย เรียบ มีผงขาวคล้ายแป้ง โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก กลวง ที่โคนเหลืองโป่งเล็กน้อยและมีกลุ่มของ เส้นใยเหลืองอ่อน สปอร์ 32-38 x 6-6.5 µm รียาวหรือคล้ายกระสวย ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ ขึ้นบนกิ่งไม้ที่ตายแล้ว ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้าน อ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius nigrobrunneus (Pat.) Sacc. forma nigrobrunneus ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 3-8 มม. คล้ายชามคว�่ำ เทา ปนด�ำ เป็นร่องโค้งและลอนคลื่น กลางหมวกนูนมน เล็กน้อยและมีจุดด�ำ ครีบ ไม่ติดก้าน ติดอยู่กับขอบ วงกลมรอบก้าน (collybium) ขาวนวล ขอบเรียบ ก้าน 75-95 x 0.5 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก ด�ำ เรียว ยาว โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก กลวง สปอร์ 9-10 x 5 µm รี ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม บนซากใบไม้ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

200 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius pallenticeps Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 1-3 มม. ดอก อ่อนคล้ายชามคว�่ำ ดอกแก่แผ่บานคล้าย จาน ขาว กลางหมวกมีจุดน�้ำตาลถึงด�ำ ผิวเป็นร่องโค้ง ครีบ ไม่ติดก้าน ติดอยู่ กับขอบวงกลมรอบก้าน (collybium) ขาว ขอบเรียบ ก้าน 12-20 x 0.5 มม. ติดกลางหมวก ทรงกระบอก ด�ำ เรียวเล็ก โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก กลวง สปอร์ 7-11 x 4-6 µm รี ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มบนกิ่งไม้ ที่ตายแล้ว ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius pellucidus Berk. & Broome ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ร่มกระดาษไข ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 5-40 มม. โค้ง นูน แล้วแบน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย โปร่งแสง คล้ายกระดาษ เรียบ มีริ้วยาว ขอบเป็นคลื่น ขาว บางครั้งมีสีน�้ำตาล อ่อนกลางหมวก ครีบ เกือบติดก้าน แคบ เรียงห่าง โปร่งแสง ขาว ก้าน 60-100 x 1-2 มม. ทรงกระบอก ผิวเรียบ กลวง ปลายบนขาว ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นน�้ำตาลแดงลงไปที่โคน สปอร์ 8-10 x 3-4 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ บนซากกิ่งไม้และใบไม้ในป่าดิบชื้น กินได้ สถานที่พบ สวนพฤกษศาสตร์ ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 201 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Marasmius pseudopurpureostriatus Wannathes, Desjardin & Lumyong ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ร่มนางฟ้าร่องม่วง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 12-35 มม. ดอกอ่อนคล้าย ชามคว�่ำ ดอกแก่แผ่บานคล้ายจาน เหลืองอ่อน กลาง หมวกบุ๋มเล็กน้อยม่วงอ่อน ผิวเป็นร่องโค้งแต่ละร่อง ม่วงซีด ขอบงอนขึ้น ครีบ ติดกับก้านแบบตั้งฉาก เรียงตัวห่าง มีครีบย่อย 1 ระดับ สีเดียวกับผิวหมวก ขอบเรียบ ก้าน 43-69 x 1.5-2 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก เหลืองอ่อนถึงน�้ำตาลปนส้ม โคนสีเข้ม กว่าปลาย โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก กลวง ที่โคนมีกลุ่มของเส้นใยครีมถึงเหลืองซีด ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม บนซากใบไม้ ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชน บ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius purpureobrunneolus Henn. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 1-5 มม. รูปร่าง คล้ายชามคว�่ำ ส้มปนเหลือง กลางหมวก เป็นจุดด�ำ ผิวมีลักษณะเป็นร่องโค้งและ เป็นลอนคลื่น เนื้อในบาง ขาวนวล ครีบ ไม่ติดก้าน ติดอยู่กับขอบวงกลมรอบก้าน (collybium) เหลืองอ่อน ขอบเรียบ ก้าน 30-35 x 0.5 มม. ติดตรงกลางหมวก รูปทรงกระบอก ผิวด�ำ เรียวเล็ก โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก ภายในกลวง สปอร์ 11-17 x 3-4 µm รูปรี ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม ขึ้นบนซากใบไม้ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชน บ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี และ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

202 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius purpureostriatus Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ดอกรัก เฟืองล้อสีม่วง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-50 มม. รูปโค้งนูนถึงคล้ายระฆังคว�่ำ ตรงกลาง มีแอ่ง ผิวมีร่องลึกในแนวรัศมียาวเกือบ ถึงกลางหมวก ม่วงอมน�้ำตาล ครีบ ติดกับก้าน เรียงตัวห่าง ขาว ขอบเรียบ ก้าน 110-150 x.2-5 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก ผิวเรียบ สีน�้ำตาลอมม่วง โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก สปอร์ 12-25 x 7-15 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดบนซากใบไม้ กิ่งไม้ที่หล่นบนพื้นป่า กินได้ สถานที่พบ ป่าดิบชื้น สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius tenuissimus (Jungh.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Pleurotus tenuissimus Jungh.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 17-25 มม. กลมโค้งนูนหรือ คล้ายกระทะคว�่ำ น�้ำตาล เป็นร่องหรือรอยพับ กลาง หมวกบุ๋มเล็กน้อย ครีบ ติดกับก้านแบบตั้งฉาก เรียง ตัวห่าง คล้ายร่างแหสานไปมา ขาว ขอบเรียบ สปอร์ 9-11 x 5-7 µm รีกว้าง ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ขาวบน กระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม ขึ้นบนกิ่งไม้ผุ ไมมีข้อมูลว่ าก่ ินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชน บ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 203 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Marasmius xestocephalus Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 12-22 มม. ดอกอ่อนคล้ายชามคว�่ำ ดอกแก่กลมโค้ง นูน เหลือง เป็นร่องเล็กน้อย กลางหมวก บุ๋มเล็กน้อยและเข้ม ขอบงอนขึ้น ครีบ ติดกับก้านแบบตั้งฉาก เรียงตัวห่าง มี ครีบย่อย 3-4 ระดับ เหลือง ขอบเรียบ ก้าน 12-30 x 1-1.5 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก สีเหลือง ถึงน�้ำตาลปนส้ม โคนเข้มกว่าปลาย โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก กลวง ที่โคนมีกลุ่มของเส้นใย เหลืองอ่อนปกคลุมโดยรอบ สปอร์ 13-15 x 3-4 µm รียาวหรือกระสวย ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มหรือกระจายเป็นกลุ่ม ขึ้นบนซากใบไม้ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Oudemansiella canarii (Jungh.) Höhn. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus canarii Jungh. Amanitopsis canarii (Jungh.) Sacc.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 100-150 มม. รูปกระทะคว�่ำแล้วแบน ผิวมีขนรวมเป็น เกล็ด ย่นเล็กน้อย แห้ง และหนืดเมื่อ เปียกชื้น น�้ำตาลอ่อนถึงเข้ม ด�ำจาก กึ่งกลางดอกและจางลง ขาวเมื่อบานมาก ขอบเป็นขีด ครีบ ติดหรือเกือบติดก้าน ขาวหรือเทาอ่อน กว้างและหนา เรียงห่าง ก้าน 10-30 x 30-150 มม. ทรงกระบอก โคนโป่งเว้าน้อย ขาว อาจจะมีร่อง ไม่มีวงแหวน เนื้อสดขาว บางส่วนเหมือนวุ้น สปอร์ 12-16 x 13-16 µm เกือบกลม ผนังหนา มีหยด น�้ำใหญ่ใส ขาวนวลบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนขอนไม้ในป่าที่มีความชื้น กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ

204 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Tetrapyrgos nigripes (Fr.) E. Horak ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ คันจ้องขาวน้อยขาด�ำ/ Black-footed Marasmius ชื่อพ้อง Agaricus nigripes Schwein. Marasmius nigripes Fr. Marasmiellus nigripes (Fr.) Singer

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 15-24 มม. ดอกอ่อนคล้าย ชามคว�่ำ ดอกแก่แผ่บานคล้ายจาน ขาว เป็นริ้วตามแนว รัศมี กลางหมวกน�้ำตาลปนเทาถึงเขียวปนเทา ครีบ ติดกับก้านแบบตั้งฉาก เรียงตัวห่าง มีครีบย่อย 3-4 ระดับ ขาว ขอบเรียบ ก้าน 10-23 x 1 มม. ทรงกระบอก ติด กลางหมวก น�้ำเงินปนด�ำ เรียบ มีผงขาวคล้ายแป้งปกคลุมโดยรอบ โค้งงอ เหนียวฉีกขาดยาก กลวง สปอร์ 8-9 x 4 µm หลายเหลี่ยม เรียบ บาง ใส ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม บนซากใบไม้ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Xerula radicata (Relhan) Dörfelt ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขานก แข้งนก ชื่อพ้อง Agaricus radicatus Relhan Collybia radicata (Relhan) Quél. Oudemansiella radicata (Relhan) Singer

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-100 มม. รูปกระทะคว�่ำ แล้วแบน กลางหมวกมีตุ่มกว้าง ย่นหยักเล็กน้อย เป็น เมือกนำ�้ ตาลเทาถึงน�้ำตาล ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงห่าง เล็กน้อย ขาว ก้าน 80-150 x 3-8 มม. ทรงกระบอก เรียวไปหาปลายก้าน ผิวเรียบ โคนมีรากลึก ตอนบน ขาว ตอนล่างน�้ำตาล เนื้อ แน่น บาง ขาว สปอร์ 12-15 x 10 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนพื้นดินใน ป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 205 อันดับ Agaricales วงศ์ Nidulariaceae

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Crucibulum laeve (Huds.) Kambly ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Peziza laevis Huds.

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 4-8 มม. สูง 3- 7 มม. ดอกอ่อนกลม ดอกแก่ด้านบน แตกเป็นรูปถ้วย เหลืองถึงน�้ำตาลอ่อน ปนเหลือง ผิวด้านนอกมีขน ด้านในเป็น มันเงา ผิวเรียบ เหลืองอ่อน ไข่กว้าง 1- 2 มม. รูปเลนส์ เทาอ่อน ยึดติดกับถ้วยด้วยเส้นด้ายเล็กๆ สปอร์ 7-10 x 3-5 µm ทรงรี ขาว หรือ เหลืองอ่อน ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มใหญ่บนใบไม้ กิ่งไม้ และเนื้อไม้ผุบนพื้นป่า กินไมได้่ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyathus olla (Batsch) Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ รังนกกระจิบ/ Field Bird's Nest ชื่อพ้อง Peziza olla Batsch Cyathus olla f. anglicus (Lloyd) H.J. Brodie Nidularia campanulata Sibth.

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ด Ø 7-10 มม. สูง 7-10 มม. รูปถ้วยสูงหรือระฆังหงาย ด้านนอกมีขนกระดกขึ้นโดยรอบ น�้ำตาลถึงน�้ำตาลอมส้ม ด้านใน ของปากถ้วยเรียบ น�้ำตาลเทาเข้มถึงน�้ำตาลเงินหรือน�้ำตาลวาว ไข่ที่อยู่ภายในถ้วย (peridioles) 1.8- 2.0 x 2.3-2.5 มม. คล้ายจานหรือวงรี หนา 0.5 มม. น�้ำตาลปนเงินหรือน�้ำตาลปนเหลืองอ่อนกว่า ผิวของถ้วย สปอร ์ 8-12 x 5-7.5 µm รูปไข่ ผนังบาง ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นอยู่รวมกันเป็น กลุ่มหรือเดี่ยวๆ จ�ำนวนมากบนเศษซากกิ่งไม้ ไมม่ ีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวง อ่างขาง จ.เชียงใหม่

206 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyathus striatus (Huds.) Willd. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Peziza striata Huds. Nidularia striata (Huds.) With. Cyathella striata (Huds.) Brot.

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้างและสูง 10- 15 มม. รูปถ้วย ปกคลุมด้วยเยื่อบางขาว ซึ่งปริแตกเมื่อแก่ ผิวด้านนอกมีขนหยาบ นำ�้ ตาลแดง ด้านในมีร่องในแนวตั้ง เป็นมันเงา เรียบ เทาหรือน�้ำตาลอมเทา ไข่กว้าง 1-2 มม. รูปเลนส์ เทาอ่อน ยึดติดกับถ้วยด้วยเส้นด้ายเล็กๆ สปอร์ 15-20 x 8-10 µm ทรงรี เรียบ ผนังหนา ใส ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มใหญ่บนใบไม้ กิ่งไม้และเนื้อไม้ผุบนพื้นป่า ไมมีข้อมูลว่ าก่ ินได้ สถานที่พบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

อันดับ Agaricales วงศ์ Pleurotaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pleurotus cornucopiae (Paulet) Rolland ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หอยนางรมทอง นางรมทอง/Branching Oyster, Trumpet Oyster Mushroom ชื่อพ้อง Dendrosarcus cornucopiae Paulet Agaricus cornucopiae (Paulet) Pers. Crepidotus cornucopiae (Paulet) Murrill

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-65 มม.รูปพัด หรือเป็นแอ่งกลางดอก เหลืองสด เหลืองทอง น�้ำตาลอ่อน เนื้อนิ่ม ผิวเรียบ แห้งมีขนนุ่ม และจะหลุดในเวลาต่อไป ขอบหมวกขยายแผ่เต็มที่ เนื้อใกล้ผิวหมวก เหลือง ใต้หมวก ขาว มีกลิ่นอ่อนๆ ครีบ ขาว เรียงยาว ไปตามยาวก้าน ก้าน 20-50 x 2-8 มม. ทรงกระบอก ขาว แข็ง เนื้อนุ่ม เป็นเส้นใย มีขนอ่อนที่ผิว สปอร์ 7-10 x 2.5-3.5 µm รีถึงทรงกระบอก ผิวเรียบ ใส ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ- อุตสาหกรรม

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 207 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Pleurotus cystidiosus O.K. Mill. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เป๋าฮื้อ หอยโข่งทะเล/Abalone Mushroom ชื่อพ้อง Pleurotus abalonus Y.H. Han, K.M. Chen & S. Cheng Pleurotus cystidiosus subsp. abalonus (Y.H. Han, K.M. Chen & S. Cheng) O. Hilber

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 40-120 มม. รูปพัด ครีม น�้ำตาลอ่อน น�้ำตาลเทา เทาด�ำ เนื้อหนา กลางหมวกเว้าตื้น มีขนรวมกันเหมือนเกล็ดเล็กๆ ขอบค่อนข้างเรียบถึงไม่เรียบ สีเข้มกว่าผิวหมวก เนื้อเห็ดสดสีขาว เปราะ เหนียวเมื่อแก่ ครีบ ขาวนวล มีหลายขนาด และบางครีบเชื่อมติดกัน ครีบยาว เรียงไปตามก้าน ก้าน 20-80 x 20-30 มม. น�้ำตาลเทาด�ำ ติดที่ด้านข้างหมวก โคนก้านสอบเล็ก มีขนละเอียด สีเทาอมน�้ำตาล คล้ายก�ำมะหยี่บางๆ สปอร์ 4.5 x 10-13 µm รี ขาว ผิวเรียบ ผนังบาง ในอาหารวุ้น วัสดุปลูก มีสปอร์อีกชนิดหนึ่ง สีน�้ำตาลด�ำ 5-6 x 14-15 µm ผิวเรียบ ผนังบาง เกิดเป็น กลุ่มคล้ายหยดน�้ำหมึก ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ด เศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pleurotus djamor (Rumph. ex Fr.) Boedijn ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ นางนวล ชื่อพ้อง Agaricus djamor Rumph. ex Fr. Lentinus djamor (Rumph. ex Fr.) Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 20-50 มม. รูปพัดหรือรูปกรวยตื้น ชมพูแล้วเปลี่ยน เป็นครีมอมชมพ ู มีขนละเอียดบางๆ ต่อมา เรียบ หรือเป็นมันวาวเล็กน้อย ครีบ ยาวลงไปถึงโคนก้าน แคบ เรียงถี่ ครีบยาวต่างกัน 5 ขนาด ขอบ เรียบ ขาวหรือครีม ก้าน ไม่มี เนื้อ บาง ฉ�่ำน�้ำเมื่อเปียกชื้น เนื้อเหนียวเมื่อดอกแก่ สปอร์ 6-8 x 3- 3.5 µm รูปกระสวยหรือทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มซ้อนกันบน กิ่งไม้ ท่อนไม้ และขอนไม้แห้งในป่า กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม

208 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Pleurotus eryngii (DC.) Quél. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus eryngii DC.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-100 มม. โค้งนูนแล้วแบนเรียบ หรือเป็นแอ่งเล็กน้อย น�้ำตาลแดง น�้ำตาลด�ำ หรือ น�้ำตาลอม เหลือง มีเกล็ดบางๆ เส้นใยกระจายเป็น รัศมี น�้ำตาลเทาซึ่งจะหลุดในเวลาต่อไป ขอบบาง ม้วนลง ครีบ ขาว ถึงเหลืองเทา เรียงหนาแน่น เรียงยาวขนานไปตามก้านขอบ ด�ำเมื่อแก่ ก้าน 40-60 x 10-20 มม. ทรงกระบอก ติดกึ่งกลางหรือค่อนไปทางใดทางหนึ่งของหมวก ปลายเรียว ไปหาโคน มีทั้งตรงและโค้ง ผิวมีใยละเอียด ขาว น�้ำตาลเทาและน�้ำตาลบริเวณปลาย เนื้อ หนา แน่น แข็ง ขาว ไม่ฉ�่ำน�้ำ กลิ่นหอม รสหวาน สปอร์ 10-14 x 5-5.5 µm รูปรียาว ผิวเรียบ ใส สีขาวบน กระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนขอนไม้ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ- อุตสาหกรรม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pleurotus pulmonarius (Fr.) Quél. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus pulmonarius Fr. Dendrosarcus pulmonarius (Fr.) Kuntze Pleurotus ostreatus var. pulmonarius (Fr.) Iordanov, Vanev & Fakirova

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 50-180 มม. รูปพัด แผ่แบน หรือเป็นแอ่งกลางดอก เทาด�ำ เนื้อแน่นนิ่ม ผิวเรียบ แห้งมีขนนุ่ม และจะหลุดในเวลาต่อไป ขอบขยายแผ่เต็มที่ เทาขาว เทา น�้ำตาล ถ้าอุณหภูมิต�่ำ เทาด�ำเข้มมากขึ้น เนื้อใกล้ผิว ใต้หมวก ขาว มีกลิ่นอ่อนๆ ครีบ ขาว เรียงยาว ไปตามความยาวก้าน ก้าน 20-50 x 2-8 มม. ทรงกระบอก ขาว มีขนอ่อนที่ผิว ไม่มีเยื่อหุ้มก้าน เนื้อ นุ่มบาง สปอร์ 6-8 x 2-3 µm รูปรีถึงทรงกระบอก ผิวเรียบ ใส สีขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนท่อนไม้ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 209 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Pleurotus sp. Bhutan strain ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 20-65 มม. รูปพัดหรือกลมเป็นแอ่งกลางดอก ขาวนวล ถึงเทาน�้ำตาลอ่อน ผิวเรียบ แห้งมีขนนุ่ม และจะหลุดในเวลาต่อไป ขอบขยายแผ่ เต็มท ี่ เนื้อใกล้ผิวหมวกขาว มีกลิ่นอ่อนๆ ครีบ ขาว เรียงยาวไปตามความยาวก้าน ก้าน 20-50 x 2-8 มม. ทรงกระบอก ขาว เป็นเส้นใย มีขนอ่อนที่ผิว เนื้อ แน่น นิ่ม สปอร์ 8-10 x 2.5-4.5 µm รูปรีถึงทรงกระบอก ผิวเรียบ ใส ขาว บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนท่อนไม้ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ- อุตสาหกรรม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pleurotus sp. Hungary strain ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 20-65 มม. รูปพัดหรือเป็น แอ่งกลางดอก ขอบหมวก เขียวแกมน�้ำเงินขณะอ่อน และขาวถึงเทาอ่อนเมื่อบานเต็มที่ เนื้อนิ่ม ผิวเรียบ แห้ง มีขนนุ่ม และจะหลุดในเวลาต่อไป ขอบขยายแผ่เต็มที่ เนื้อใกล้ผิวหมวก ขาว มีกลิ่นอ่อนๆ ครีบ ขาว เรียวยาว แนบไปกับก้าน ก้าน 20-50 x 5-20 มม. ทรงกระบอก ขาว แข็ง มีขนอ่อนที่ผิว เนื้อ นุ่ม เป็นเส้นใย สปอร์ 7-10 x 2.5-3.5 µm รูปรีถึงทรงกระบอก เรียบ ใส ขาว บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนขอนไม้ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ- อุตสาหกรรม

210 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Agaricales วงศ์ Pluteaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita caesarea (Scop.) Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ไข่ห่านแดง ระโงกแดงอมส้ม ชื่อพ้อง Agaricus caesareus Scop. Amanita aurantiaca Pers. Volvoamanita caesarea (Scop.) E. Horak

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-100 มม. รูปไข่แล้วกาง แบน ผิวเรียบ หนืดมือ ขอบเป็นริ้ว แดงอมส้ม แดงอม เหลืองหรือเหลืองอมส้ม ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ครีมถึงเหลือง ก้าน 40-150 x 7-20 มม. ทรงกระบอก แห้ง เรียบหรือมีเส้นใยบางๆ เหลืองและมีแดงปน วงเเหวนเหลือง เปลือกหุ้มดอกอ่อนรูปถ้วย ขาว เนื้อ ขาว เหลืองอ่อนใต้ผิวเคลือบหมวก สปอร์ 10-14 x 4-11 µm รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือกลุ่มเล็กๆ ในป่าดิบชื้น กินได้ สถานที่ พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita farinosa Schwein. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Amanitopsis farinosa (Schwein.) G.F. Atk.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 15-60 มม. รูปกระทะคว�่ำแล้วกางแบน ขาวถึงเหลือง ปนส้ม แห้งหรือเหนียวเล็กน้อยเมื่อชื้น มีขนฟูขาว ปลายกระดกขึ้น ขอบมีรอยขีด ตามแนวรัศมี ครีบ ไม่ติดก้านหรือมีติ่งเล็กน้อย ขาว ก้าน 25-70 x 2-7 มม. ทรงกระบอก โคนใหญ่ กว่าปลาย มีสะเก็ดขาวเป็นวงซ้อนกันคล้ายวงแหวน ขาว เปลือกหุ้มดอกอ่อนรูปถ้วยคงทน มีขนฟู ขาว สปอร์ 6-7.5 x 4-6.5 µm รูปไข่ถึงเกือบกลม ผิวเรียบ ใส ภายในมีหยดน�้ำมัน 1 หยด ขาวบน กระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขี้นเป็นดอกเดี่ยวในป่าเต็งรัง กินไมได้่ มีพิษ สถานที่ พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 211 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Amanita fulva Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus fulvus Schaeff. Amanita vaginata var. fulva (Fr.) Gillet Amanitopsis fulva (Fr.) W.G. Sm.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 43-80 มม. รูปกระทะคว�่ำแล้ว กางออกเกือบแบน กลางหมวกเป็นแอ่ง ผิวแห้ง เกลี้ยง น�้ำตาลอมเทา บางทีมีเปลือกหุ้มดอกอ่อนแตกเป็นแผ่น สีขาวติดอยู่ ขอบมีรอยขีดตามแนวรัศมี ครีบ ขาว หรือ ครีม ไม่ติดก้าน เรียงห่างเล็กน้อย ก้าน 60-80 x 6- 10 มม. เรียวจากโคนไปหาปลายก้าน ขาว มีเส้นใยเป็น ขนสีขาวแนบติด ไม่มีวงแหวน โคนก้านมีเปลือกหุ้มดอกอ่อนเป็นรูปถ้วย เนื้อ ขาว สปอร์ 8-10 µm ทรงกลม ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใน ป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita griseofarinosa Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ดอกเลา/ Asian Gray Powder Lepidella ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 55-150 มม. รูปไข่เปลี่ยนเป็นกระทะคว�่ำแล้วกางแบน น�้ำตาลหม่น ปกคลุมด้วยขนฟูสีเทา ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาว ก้าน 50-70 x 10-25 มม. ทรงกระบอก โคนโป่งเป็นกระเปาะเล็กน้อย ขาวหม่น ปกคลุมด้วยขนฟูสีเทาอ่อน ไม่มี วงแหวน เนื้อ ขาว สปอร์ 8-10.7 x 7-9 µm รูปไข่กว้าง ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเบญจพรรณ กินไม่ได้ มีพิษ สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติภูเรือ จ.เลย

212 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita hemibapha subsp. hemibapha (Berk. & Broome) Sacc. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ไข่ส้มอมแดง ระโงกแดงอมส้ม ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-100 มม. รูปกระทะคว�่ำแล้วกางแบน ตรงกลางสี แดงสดถึงแดงอมส้ม จางเป็นสีเหลืองสด มาที่ขอบหมวก และมีรอยขีดสีส้มเป็นเส้นรัศมี ผิวเรียบ เป็นมันวาว ขอบมีริ้ว ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ เหลือง ก้าน 100-200 x 8-15 มม. ปลายบนเรียวเล็กกว่าโคนเล็กน้อย เหลืองอ่อน มีเกล็ด สีส้มเป็นปุยเรียงคดเคี้ยว วงแหวนสีส้มขอบเป็นริ้วอยู่ตอนบนของก้าน เปลือกหุ้มดอกอ่อนรูปถ้วย ขาว เนื้อ ขาวอมเหลือง สปอร์ 7.5-8 x 6-7 µm เกือบกลม ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ บนพื้นดินในป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด และ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลง หลวง จ.พิษณุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita hemibapha subsp. javanica Corner & Bas ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ไข่เหลือง ระโงกเหลือง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-120 มม. รูปกระทะควำ�่ แล้วกางแบน ผิวเรียบ ขอบ เป็นคลื่นและริ้ว เหลือง กลางหมวกสี เข้มกว่า ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงชิดกัน เหลืองอ่อนหรือเหลือง ก้าน 80-150 x 5-20 มม. ทรงกระบอก มีเส้นใยยาวสีเหลืองบางๆ ก้านกลวง เหลือง วงแหวนบางเหลือง เปลือกหุ้มดอกอ่อน รูปถ้วย ขาว เนื้อ เหลืองอ่อน สปอร์ 7-9 x 5-7 µm ทรงรีกว้าง ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อม สะแกราช จ.นครราชสีมา

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 213 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Amanita hemibapha subsp. similis Corner & Bas ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ไข่นก ระโงกนก ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-100 มม. รูปไข่แล้วเปลี่ยนเป็นรูปกระทะคว�่ำถึง แบนราบ ผิวเรียบ น�้ำตาลอ่อนอมเทา ขอบมีริ้วยาว ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ เหลืองอ่อน ก้าน 90-110 x 5-7 มม. ทรงกระบอก ปลายบนเรียวเล็กน้อย ปกคลุมด้วยขนสีเทา โคนมีเปลือกหุ้มดอกอ่อนรูปถ้วยทรงกระบอก ขาว เนื้อ ขาว สปอร์ 7-10 x 5-7 µm ทรงรีกว้าง ผิว เรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม เล็กๆ บนพื้นดินในป่าดิบชื้น กินได้ สถานที่พบ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita mira Corner & Bas ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ดอกส้าน ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-60 มม. รูปไข่ เปลี่ยนเป็น รูปกระทะคว�่ำแล้วกางแบน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย ผิวสีเหลืองสดไปจนถึงสีเหลืองหม่น สีจางไปยังขอบ มี รอยขีดเป็นรัศมีจากขอบไปถึงกึ่งกลางหมวก มีปมเล็กๆ สีเหลืองอ่อนรูปสามเหลี่ยม มักหลุดหายไปเมื่อถูกฝน ครีบ ไม่ติดก้าน กว้างเล็กน้อย เรียงถี่ บาง ขาว ก้าน 40-80 x 3-6 มม. โคนใหญ่ ขาว บริเวณโคนมีปุ่มเหลือง เล็กๆ เรียงเป็นวงกลม 2-4 ชั้น เนื้อ ขาวถึงเหลืองอ่อน บริเวณโคน สปอร์ 6.5-8 x 6-7.5 µm เกือบทรงกลม ผิวเรียบ ผนังบาง ภายในมีหยดน�้ำมันหนึ่งหรือ หลายหยด ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มบน พื้นดินในป่าเต็งรัง ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น�้ำภาชี จ.ราชบุรี และสวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

214 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita phalloides (Vaill. ex Fr.) Link ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus phalloides Vaill. ex Fr. Agaricus phalloides Bull.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 25-60 มม. รูปชามคว�่ำแล้วแบนออกเมื่อแก่ ผิวหนืด เล็กน้อยและเรียบ สีเขียวอมเหลืองถึง น�้ำตาลอมเขียว กลางหมวกสีเข้มกว่า ขอบ ครีบ ไม่ติดก้าน หรือติดเล็กน้อย เรียงถี่ สีขาว ก้าน 70-100 x 15-20 มม. ทรงกระบอก โคน ใหญ่กว่าปลาย ผิวเรียบ ขาวถึงเหลืองอมเขียว วงแหวนอยู่ตอนบนของก้าน เป็นแผ่นเยื่อบางๆ ขาว โคนก้านมีถ้วยหุ้ม ขนาดใหญ่ เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 7-11 x 7-8 µm รูปทรงกลม ผิวเรียบ สีขาว บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าดิบแล้ง กินไมได้่ มีพิษ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita princeps Corner & Bas ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ไข่ห่านขาว ระโงกขาว ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 94-200 มม. รูปไข่เปลี่ยนเป็นรูปกระทะคว�่ำแล้วกาง แบน ผิวเรียบ หนืดมือเล็กน้อยเมื่อ เปียกชื้น ขอบเป็นริ้ว ขาวนวล หรือ น�้ำตาลอ่อน ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาวถึงครีม ก้าน 100-200 x 12-25 มม. ทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าเล็กน้อย ภายในกลวง มีวงแหวนขาวนวลอยู่ตอนบนของก้าน สีขาว เปลือกหุ้มดอกอ่อน ทรงกระบอก สีขาว เนื้อ เปราะ หยาบ ขาว สปอร์ 9-11 x 8-10 µm รูปเกือบกลม ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือกลุ่มเล็กๆ บนพื้นดินใน ป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 215 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Amanita pseudoporphyria Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ไข่พอกขาว ระโงกพอกขาว ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-100 มม. รูปกระทะคว�่ำแล้วกางแบน มีเกล็ดฟู สีขาวกระจายไปทั่ว น�้ำตาลหรือน�้ำตาล อมม่วง กลางหมวกสีเข้มกว่า ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาว ก้าน 50-100 x 6-18 มม. ทรงกระบอก โคนเป็นกระเปาะ ขาว วงแหวน สีขาว เปลือกหุ้มดอกอ่อนรูปถ้วย ขาว เนื้อ ขาว สปอร์ 7-9 x 4-5.5 µm ทรงรี เรียบ ผนังบาง ขาว บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ บนพื้นดินใน ป่าสนเขา กินไมได้่ มีพิษ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita solitaria (Bull.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หัวมะกรูด ชื่อพ้อง Agaricus solitarius Bull.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-100 มม. รูปไข่ เปลี่ยน เป็นรูปกระทะควำ�่ แล้วกางเกือบแบน ปกคลุมด้วยปุ่มนูน และเกล็ดฟูใหญ่ สีขาวถึงน�้ำตาลอ่อนอมเหลือง ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาวถึงขาวอมเหลือง ก้าน 50- 80 x 10-15 มม. โคนใหญ่เป็นกระเปาะ ปลายกระเปาะ มีฐานคล้ายราก ขาว ปกคลุมด้วยเกล็ดฟูเป็นวงลงไปถึง โคนก้าน วงแหวนเป็นผงแป้ง ขาว เนื้อ ขาว สปอร์ 10- 13 x 7-9 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

216 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita vaginata var. vaginata (Bull.) Lam. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ไข่เยี่ยวม้า ชื่อพ้อง Agaricus vaginatus Bull.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-100 มม. รูปไข่ เปลี่ยน เป็นรูปกระทะคว�่ำแล้วกางแบน ผิวเป็นมันเงา หนืดมือ เมื่อเปียกชื้น เทาปนน�้ำตาล กลางหมวกเข้มกว่า บางครั้ง มีแผ่นสีขาวติดอยู่บนหมวก ขอบมีริ้วยาว 10-15 มม. ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงห่างกันเล็กน้อย ขาว ก้าน 40-120 x 10-20 มม. ทรงกระบอก ผิวเกือบเรียบ กลวง ตลอดก้าน เปลือกหุ้มดอกอ่อนรูปถ้วย ขาว เนื้อ ขาว สปอร์ 9-12 µm รูปทรงกลม ผิวเรียบ ผนังบาง ขาว บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือกระจายเป็นกลุ่มในป่า สนเขา กินไม่ได้ มีพิษ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita virosa (Fr.) Bertill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus virosus Fr. Amanitina virosa (Fr.) E.-J. Bilbert

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 60-105 มม. รูปไข่ที่มียอดแหลมแล้วเปลี่ยนเป็นรูป กระทะคว�่ำ ผิวเรียบ เงาเล็กน้อย ขาว ขอบรุ่งริ่ง ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาว มี 1-2 ระดับ ก้าน 95-130 x 10-20 มม. สีขาว ปกคลุมด้วยเส้นใยเป็นขุยลาย โคนเป็นกระเปาะ 18-30 มม. ปกคลุมด้วยเปลือกหุ้มดอกอ่อนรูปถ้วย กลวงเมื่อแก่ วงแหวนเป็นแผ่นเยื่อ แนบติด กับก้าน แตกง่ายมักหายไปเมื่อแก่ ขาว เนื้อ นุ่ม ขาว มีกลิ่นเหม็น สปอร์ 9-11 x 7-8 µm ทรงรีกว้าง เกือบกลม ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใน ป่าเต็งรัง กินไมได้่ มีพิษถึงตาย สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 217 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Amanita volvata (Peck) Lloyd ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ไข่เปลือกหนา ระโงกเปลือกหนา ชื่อพ้อง Agaricus volvatus Peck

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-60 มม. รูปชามคว�่ำหรือครึ่งวงกลม เปลี่ยนเป็น กระทะคว�่ำแล้วกางแบน แห้ง มีขนเป็น ปุยและเกล็ดสีขาว ขอบมีริ้ว ขาว เมื่อ ช�้ำเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลแดงหรือน�้ำตาล ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาว ก้าน 40-100 x 5-15 มม. โคนใหญ่ ปกคลุมด้วยขนปุยและมีเกล็ดสีขาว เมื่อช�้ำเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลแดงหรือน�้ำตาล เปลือกหุ้ม ดอกอ่อนหนา ใหญ่ รูปถ้วย ขาว ปนเปื้อนน�้ำตาลถึงน�้ำตาลแดง เนื้อ ขาว สปอร์ 10-11 x 6-7 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง กินไมได้่ มีพิษ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Volvariella volvacea (Bull.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ฟาง ชื่อพ้อง Agaricus volvaceus Bull. Volvariopsis volvacea (Bull.) Murrill

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 70–100 มม. รูปไข่เปลี่ยนเป็นรูปกระทะคว�่ำแล้วกาง แบน ผิวเรียบ เปลี่ยนเป็นรูปกระทะคว�่ำ แล้วกางแบน ผิวเรียบ ขอบมีริ้วบางๆ น�้ำตาลอมเทาไปจนถึงน�้ำตาลด�ำ กลางหมวกสีเข้มกว่า ปกคลุมด้วยขนเป็นมันวาวสีน�้ำตาลอมเทา ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาวเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อนแล้วน�้ำตาลอมชมพู ก้าน 50-200 x 15- 25 มม. โคนโป่งเล็กน้อย มีขนอ่อน ขาว เปลือกหุ้มดอกอ่อนใหญ่ คล้ายถุง ส่วนล่างหนา ขาวมีน�้ำตาล หรือเทาปน เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 6-10 x 5-7 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอมชมพูถึง น�้ำตาลแดงบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือกลุ่มบนกองฟางหรือ ปุ๋ยหมัก กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติน�้ำตก เอราวัณ จ.กาญจนบุรี

218 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Agaricales วงศ์ Pterulaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterula vinacea Corner ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ด รูปปะการังแผ่ เป็นพุ่ม ทรงพุ่มสูง 15-30 มม. กว้าง 50- 75 มม. กิ่งก้านแตกแขนง น�้ำตาลอ่อน หรือม่วง หรือด�ำ ก้าน โคนติดกัน และ มีเส้นใยแผ่ออกคล้ายราก ปลายก้านเรียว แหลมสีอ่อนกว่าโคน ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเป็นกระจุกรวมกัน กระจายตามพื้นป่าเต็งรัง ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

อันดับ Agaricales วงศ์ Schizophyllaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Schizophyllum commune Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตีนตุ๊กแก ชื่อพ้อง Agaricus alneus L. Merulius communis (Fr.) Spirin & Zmitr. Schizophyllum commune var. multifidum (Batsch) Cooke

ลักษณะทั่วไป หมวก 10-40 x 10-30 มม. รูปพัดจนถึงรูปเปลือกหอย ผิวแห้ง ขอบงอลง เป็นลอน และมักฉีกแยก มีขนสีขาวหรือขาวปนเทาปกคลุมหนาแน่น ขาวหรือขาวปนเทา ครีบ เรียงเป็นรัศมี ออกไปจากฐานดอก ขอบแยกเป็นสองแฉกตามยาวและม้วนงอเข้าหากัน น�้ำตาลอมชมพูหรือน�้ำตาล อมเทา ก้าน ติดด้านข้าง หรือไม่มีก้าน เนื้อ เหนียว ขาวหม่น สปอร์ 4-5 x 1.5-2 µm ทรงกระบอก ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนกิ่งไม้และตอไม้ที่ตายแล้ว กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 219 อันดับ Agaricales วงศ์ Strophariaceae

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Pholiota nameko (T. Itô) S. Ito & S. Imai ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ นาเมโกะ/ Nameko, Namerako ชื่อพ้อง Collybia nameko T. Itô Kuehneromyces nameko (T. Itô) S. Ito

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-80 มม. รูปไข่ถึงครึ่งวงกลมแล้วเปลี่ยนเป็นรูป กระทะคว�่ำสีส้มปนแดง กลางหมวกสีเข้มกว่า ผิวเป็นเมือก ครีบ ติดก้าน สีเหลือง แล้วเปลี่ยนเป็น สีสนิม ก้าน 40-80 x 8-10 มม. สีเหลืองอ่อน ผิวมีขนและเกล็ดละเอียดปกคลุมชัดเจน และมีวงแหวน เป็นเมือกเหนียวสีสนิมติดอยู่ตอนบนของก้าน เนื้อ สีครีม สปอร์ 4-5 x 2-3 µm ทรงรี ผนังบาง สีสนิม อมน�้ำตาลบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ บนตอไม้ในป่าผลัดใบ กินได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ

อันดับ Agaricales วงศ์ Tricholomataceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitocybe maxima (P. Gaertn., G. Mey. & Scherb.) P. Kumm. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus maximus P. Gaertn., G. Mey. & Scherb.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 80-100 มม. ทรงกรวย กลางหมวกเว้าเป็นแอ่ง ผิว เกลี้ยง นวล น�้ำตาลอ่อนอมชมพู ครีบ ยาวลงไปปิดก้าน เรียงติดกัน ขาวหรือขาวอมชมพู ก้าน 30-100 x 30 มม. กว้างเท่ากันส่วนปลายโป่ง เล็กน้อย ผิวแห้ง เรียบ มีขนขาว เนื้อ เป็นเส้นขาวหยุ่น สปอร์ 6-11 x 5-7 µm รูปทรงรี ผิวเกลี้ยง ขาว ขาวนวลบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ- อุตสาหกรรม

220 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinipellis scabella (Alb. & Schwein.) Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ คันจ้องน้อยตีนขน/ Hairy Parachute, Shaggy-Food Mummy-Cap ชื่อพ้อง Agaricus scabellus Alb. & Schwein. Agaricus stipitarius Fr. Crinipellis stipitaria (Fr.) Pat.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 5-8 มม. ดอกอ่อนคล้าย ชามคว�ำ่ ดอกแก่บานออกคล้ายกระทะคว�่ำหรือร่ม น�้ำตาล ถึงน�้ำตาลปนสนิม ปกคลุมด้วยขนน�้ำตาลเข้มที่ปลาย มารวมกันแล้วกระดกขึ้น ผิวขอบมีขนสีน�้ำตาลยื่นออก มาเห็นเด่นชัด ครีบ ไม่ติดก้าน เรียงตัวเกือบห่างถึงห่าง ขาว มีครีบย่อย 2 ระดับ ขอบเรียบ ก้าน Ø 1-5 มม. ยาว 10-20 มม. ติดกลางหมวก ทรงกระบอก สีน�้ำตาลปกคลุมด้วยขนคล้ายกับหมวก กลวง สปอร์ 5-8 x 4-6 µm รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ภายในมีหยดน�้ำมัน 1 อัน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม หรืออยู่ใกล้ๆ กัน บนขอนไม้ตามพื้นป่า ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Filoboletus manipularis (Berk.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ดาวลูกไก่ ชื่อพ้อง Mycena manipularis (Berk.) Sacc.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-30 มม. รูปร่างคล้ายจานคว�่ำถึงกระทะคว�่ำ ตรง กลางเป็นปุ่มนูนมน ผิวเรียบ หนืดมือ เล็กน้อย โปร่งแสง ขาว ปุ่มกลางหมวก สีน�้ำตาลอ่อน ครีบ คล้ายท่อ ยาว 3-5 มม. ขาวถึงครีม ปากรู 1-3 รู/มม. รูเหลี่ยม เรียงเป็นรัศมี ก้าน 20-50 x 1-3 มม. ทรงกระบอก มีเกล็ดนุ่มขาว มีขนน�้ำตาลที่โคน ในที่สุดเรียบ เนื้อ บาง ขาว สปอร์ 5-7 x 4-5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เป็นกลุ่มบน ขอนไม้ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา และสถานี วิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 221 ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnopus confluens (Pers.) Antonin, Halling & Noordel. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หัวหญ้าปุย/Tufted Collybia ชื่อพ้อง Agaricus confluens Pers. Collybia confluens (Pers.) P. Kumm. Marasmius confluens (Pers.) P. Karst.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 9-38 มม. ดอกอ่อนคล้าย ชามคว�่ำ ดอกแก่โค้งนูนหรือแผ่แบน กลม น�้ำตาลอ่อน เป็นริ้วตามแนวรัศมี กลางหมวกนูนมนและเข้มกว่า บริเวณอื่น ครีบ ติดกับก้านเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลม เรียงตัวใกล้ๆ กันถึงเกือบห่าง มีครีบย่อย 2-3 ระดับ สีอ่อนกว่าหมวก ขอบเรียบ ก้าน 50-70 x 55-80 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก น�้ำตาลซีดถึง น�้ำตาลเข้มปนเทา เป็นริ้วตามแนวยาว มีผงขาวคล้ายผงแป้งปกคลุม สปอร์ 6-8 x 4-5 µm ผิวเรีย ผนังบาง บาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ ขึ้นบนซากใบไม้และกิ่งไม้ที่ทับถมกัน กินได้ แต่ควรระมัดระวัง สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Gymnopus fusipes (Bull.) Gray ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ก้านกระสวย ชื่อพ้อง Agaricus fusipes Bull. Collybia fusipes (Bull.) Quél. Rhodocollybia fusipes (Bull.) Romagn.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-80 มม. ดอกอ่อนรูประฆัง ดอกแก่รูปคล้ายกระทะ คว�่ำ ผิวเรียบ หนืดมือเล็กน้อยเมื่อเปียก ชื้น น�้ำตาลแดง แห้งแล้วเป็นน�้ำตาลแดงอ่อน ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาวหม่น มีจุดน�้ำตาลแดง ปนเปื้อน ก้าน 40-100 x 13-25 มม. ทรงกระบอกที่มีโคนเรียวยาวเหมือนราก มักอยู่ติดกัน เป็นพู และบิดงอตามความยาวของก้าน น�้ำตาลอมเหลืองที่ส่วนบน เข้มลงไปที่โคน เนื้อ แน่น หยาบเป็นเส้น ขาว มักปนเปื้อนน�้ำตาลแดง สปอร ์ 5 x 2.8 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ครีมอมชมพูบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มในป่าสนเขา ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติภูเรือ จ.เลย

222 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Hygrocybe calyptriformis (Berk.) Fayod ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หมวกชมพู/ Pink Wax cap ชื่อพ้อง Agaricus calyptriformis Berk.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 23-55 มม. ดอกอ่อนรูปคล้ายกรวยคว�่ำ ดอกแก่แบน และขอบยกขึ้นเล็กน้อย ตรงกลางนูน แหลม ชมพูถึงม่วง ด้านและเห็นเส้นขีด ชัดเจน ขอบโค้งลงเล็กน้อยและยกขึ้นเมื่อแก่ เป็นคลื่นหรือแยกออกจากกัน ครีบ ติดกับก้าน เรียงชิด ติดกัน ขาวถึงชมพูอ่อน ก้าน 45-85 x 4-8 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก ชมพูอมม่วง โคนสีอ่อน ถึงขาว ผิวเกลี้ยงหรือมีรอยขีดตามยาว มีรอยแตกเล็กน้อย กลวง สปอร์ 6-9 x 4.5-6 µm ทรงรีกว้าง ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดอยู่ห่างๆ กัน ถึงเป็นกลุ่ม ใกล้ๆ กัน บนดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม กินไมได้่ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hygrocybe cantharellus (Schwein.) Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus cantharellus Schwein. Craterellus cantharellus (Schwein.) Fr. Hygrophorus cantharellus (Schwein.) Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 5-20 มม. รูป กรวยถึงโค้งนูน ผิวเรียบ เป็นลอนและคลื่นใกล้ขอบ ขอบยกขึ้นเมื่อแก่ ส้มอมแดง สีซีดลงเป็นส้ม อมชมพูเมื่อแก่ ด้านล่างเป็นสันหนาเหมือนครีบ บางอันแยกเป็นรูปส้อมและมีผนังเชื่อมกัน เรียว ลงไปติดก้าน เรียงห่าง ขาวหรือเหลืองอ่อน มักมีสีแดงอมส้ม ก้าน 20-40 x 3-5 มม. เรียวลงไปที่ โคน ส้มอมแดง มักมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนที่โคน เนื้อ บาง ขาว สปอร์ 7-9 x 4.5–6 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม ในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 223 ชื่อวิทยาศาสตร์ Hygrocybe coccineocrenata (P.D. Orton) M.M. Moser ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ สีแดงชาด ประทัดจีน ชื่อพ้อง Hygrophorus coccineocrenatus P.D. Orton Pseudohygrocybe coccineocrenata (P.D. Orton) Kovalenko

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 5-30 มม. รูปคล้ายจานคว�่ำ กลางหมวกเว้าเป็นแอ่งเล็กๆ แดงเลือดหมู หรือแดงเข้มแล้วเปลี่ยนเป็นส้มหรือเหลือง ครีบ มีแอ่งลึกเล็กๆ ก่อนติดกับก้านแล้วเรียวลงไปติดก้าน เหลือง ก้าน 20-50 x 1.5-3 มม. ทรงกระบอก ผิวเรียบ สีเดียวกับหมวก เนื้อ บาง เหลือง สปอร์ 9-14 x 5-8 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นบนซาก รากไผ่ในป่าเบญจพรรณ กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Hygrocybe conica (Schaeff.) P. Kumm. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปากนกแก้ว หมวกแม่มด ชื่อพ้อง Agaricus conicus Schaeff. Hygrophorus conicus (Schaeff.) Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 17-32 มม. รูประฆังถึงกรวยคว�่ำ มียอดแหลม หนืดมือเมื่อเปียกชื้น เป็นลอนไม่สม�่ำเสมอ เกลี้ยงหรือเป็นรอยขีด แดงถึงส้ม เมื่อช�้ำค่อยๆ เปลี่ยน เป็นด�ำ ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง ขาวแล้วเปลี่ยนเป็น เหลืองอ่อน เหลืองอมชมพูแล้วเป็นเทาด�ำ มีครีบย่อย 3 ระดับ ก้าน 20-200 x 5-15 มม. ทรงกระบอก เรียบ เหลือง โคนขาว ผิวหยาบเป็นเส้นยาว กลวง มักบิดงอ เปลี่ยนเป็นสีด�ำเมื่อช�้ำ เนื้อ บาง มักปริแตกตามยาว ขาวถึงเหลืองอ่อน เปลี่ยนเป็นด�ำเมื่อแก่ สปอร์ 8-12 x 5.5-8 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บน พื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม กินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่ และ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

224 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Hygrocybe flavescens (Kauffman) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หมวกเหลืองทอง/ Golden Waxy Cap ชื่อพ้อง Hygrophorus puniceus var. flavescens Kauffman

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 3-45 มม. คล้ายชามคว�่ำและเปลี่ยนเป็นรูปกระทะ คว�่ำแล้วบานออกจนแบนราบ เหลืองสด ตรงกลางอาจบุ๋มลงเนื่องจากขอบหมวกยกขึ้น ขอบสีอ่อน กว่ากลางหมวก ครีบ ติดกับก้านเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลม ถึงติดกับก้านค่อนข้างกว้าง เรียงตัวใกล้ๆ กัน ขาวถึงเหลืองนวล หนา คล้ายมีขี้ผึ้งเคลือบ ก้าน 40-60 x 3-9 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก เหลืองคล้ายกับผิวหมวก ด้านและคล้ายมีผงเล็กๆ ปกคลุมอยู่โดยทั่วไป โคนซีด กลวง สปอร์ 6.5- 10 x 3.5-4.5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิด อยู่ใกล้ๆ กันบนดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม กินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hypsizygus marmoreus (Peck) H.E. Bigelow ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus marmoreus Peck Clitocybe marmoreal (Peck) Sacc.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-150 มม. รูปกระทะคว�่ำแล้วกางแบน เป็นแอ่ง เล็กน้อย ขาวนวล น�้ำตาลอ่อนหรือ น�้ำตาลสนิมกลางดอก ผิวชื้น มีขนบางๆ แตกเป็นสะเก็ด ก้าน 30-110 x 10-30 มม. ขาวนวล- น�้ำตาลอ่อน ก้านไม่อยู่กึ่งกลางดอก ผิวเรียบ แห้ง มีขนบาง ก้านแข็ง ส่วนโคนใหญ่ เนื้อขาว หนา แน่น กลิ่นอ่อนๆ สปอร์ 3.5-4 x 4-5 µm ค่อนข้างกลม ขาว ผิวเรียบ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 225 ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepista sordida (Schumach.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ชงโคเล็ก ชื่อพ้อง Agaricus sordidus Schumach. Lepista nuda var. sordida (Schumach.) Maire Tricholoma sordidum (Schumach.) P. Kumm.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 15-60 มม. โค้งนูน กลางหมวกเป็นแอ่งและคลื่นเล็กน้อย ขอบหมวกอาจยกสูงและม้วนงอลง ผิวเรียบ ม่วงอมเทา ถึงน�้ำตาลอมม่วง แห้งแล้วสีจางลง ครีบ มีร่องหยักก่อนติดก้าน กว้างเล็กน้อย เรียงถี่ สีเดียวกับหมวก ก้าน 40-50 x 3-6 มม. ทรงกระบอก มีขนหยาบ สีเดียวกับหมวก มักมีรอยขีดสีน�้ำตาล เนื้อ แน่น เทาอ่อน ปนเปื้อนม่วงอ่อนอมชมพู สปอร์ 5.7-7 x 3-4.5 µm ทรงรี มีปุ่มเล็กๆ ชมพูหม่นบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นกลุ่มบนกองปุ๋ยหมักและบนพื้นดินในป่า กินได้ สถานที่ พบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucopaxillus albissimus (Peck) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตีนช้าง/ Large White Leucopaxillus ชื่อพ้อง Agaricus albissimus Peck

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 28-65 มม. ดอกอ่อนคล้ายรูปร่ม ดอกแก่แผ่แบน กลม ผิวขาวปนครีม กลางหมวกนูนมน น�้ำตาล ปนชมพู ผิวเริ่มแตกเมื่อแก่ ดอกอ่อนขอบ ม้วนงอเข้า ดอกแก่ขอบเป็นลอนคลื่น ครีบ เรียงติดกับก้านหรือติดกับก้านเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลม เมื่อดอกแก่ครีบยกขึ้น เรียงตัวชิดติดกัน มีครีบย่อย 3-4 ระดับ ขาว ขอบเรียบ ก้าน 35-80 x 3-7 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก ขาว เป็นริ้วตามแนวยาว โคนสอบมีเส้นใยสีขาวปกคลุม เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 5-8 x 3.5-4.5 µm รูปรี ผิวมีตุ่มนูนเล็กๆ ผนังบาง ใส ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่ อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มหรือเป็นกลุ่ม ขึ้นบนซากใบไม้ ซากกิ่งไม้ที่ทับถมกัน กินได้ แต่ไม่ แนะน�ำ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

226 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Lyophyllum decastes (Fr.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปูนิ่ม ชื่อพ้อง Agaricus decastes Fr. Clitocybe decastes (Fr.) P. Kumm. Lyophyllum aggregatum (Schaeff.) Kühner

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-70 มม. โค้งนูนคล้ายรูปกระทะคว�่ำแล้วแบน ผิว เรียบ ขอบม้วนงอและมักเป็นลอนเมื่อแก่ เทาอ่อนไปถึงน�้ำตาลอ่อน ครีบ ติดก้าน กว้างเล็กน้อย เรียงถี่ ขาวถึงขาวอมเหลือง ก้าน 50-70 x 12-18 มม. ทรงกระบอก มักงอ ผิวเรียบหรือเป็นใยบางๆ แห้ง ขาว โคนน�้ำตาลอ่อน เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 4-5.5 x 5 µm เกือบกลม ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบน กระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นกลุ่มบนพื้นดินในทุ่งหญ้า ตามทางเดิน กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrocybe crassa (Sacc.) Pegler & Lodge ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ จั่น ตีนแรด ตับเต่าขาว ชื่อพ้อง Agaricus crassus Berk. Tricholoma crassum Sacc.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-300 มม. โค้งนูนคล้ายกระทะคว�่ำ แล้วกางแบน กลม ผิวเรียบ เป็นมันวาว ขอบงอลง มักเป็นคลื่นเมื่อแก่ สีครีม ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ครีมถึง น�้ำตาลอ่อน ก้าน 50-100 x 30-60 มม. ใหญ่ โคนพองโตกว่าปลาย สีเดียวกับหมวก เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 6-7 x 7-8 µm รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังบาง ครีมบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มมีก้านชิดกันบนพื้นดินบริเวณที่มีอินทรียวัตถุสูง กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ ทั่วทุกภาคของประเทศ

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 227 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Mycena holoporphyra (Berk. & M.A. Curtis) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ม่วงศรีตรัง ชื่อพ้อง Agaricus holoporphyrus Berk. & M.A. Curtis

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 7-22 มม. ดอกอ่อนรูปคล้ายชามคว�่ำ ดอกแก่แผ่แบน ม่วงอ่อนปนเหลือง กลม ผิวเกลี้ยง ด้าน ขอบเรียบ ครีบ ติดกับก้านค่อนข้างกว้างหรือขึ้นจากก้านเล็กน้อย เรียงตัวห่างถึงใกล้ๆ กัน มีครีบ ย่อย 3 ระดับ มีเส้นเชื่อมระหว่างครีบคล้ายร่างแห ขาวถึงม่วง ก้าน 32-65 x 1.5-2 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก โค้งงอง่าย โปร่งแสง ม่วงที่บริเวณปลายและจางลงจนเกือบขาวบริเวณโคน สปอร์ 5-9 x 3-5 µm รูปรีถึงทรงกระบอก ผิวเรียบ ผนังบาง ภายในมีหยดน�้ำมัน 1 อัน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มใกล้กัน 2-3 ดอก พบบ้างที่เกิดเดี่ยวๆ บนพื้นป่าที่มีอินทรียวัตถุ สะสมและมีความชื้นมาก ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mycena pura (Pers.) P. Kumm. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus purus Pers. Gymnopus purus (Pers.) Gray Mycena ianthina (Fr.) P. Kumm.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-55 มม. โค้งมนรูปคล้ายจานควำ�่ มีปุ่มเล็กๆ กลาง หมวก ผิว สีม่วง กลางหมวกม่วงอม น�้ำตาล มีเส้นใยละเอียดคลุมอยู่รอบหมวก ขอบม่วงเข้ม เห็นเป็นรอยของครีบ ครีบ ม่วง ติดกับก้าน แบบมีร่องลึกเล็กๆ ครีบย่อย 1 ระดับ และมักมีครีบที่ออกจากก้านแต่ไม่ชนขอบ ความหนาของครีบ ไม่สม�่ำเสมอ ก้าน 8 x 25 มม. ม่วง เป็นใยคล้ายไหม มีเส้นใยสีม่วงคลุมอยู่บริเวณผิวหน้าทั้งก้าน เป็นมันวาว แน่น สปอร์ 6-10 x 3-3.6 µm ทรงรี ผนังเรียบ ใส ไม่มีสี ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเป็นกระจุกใกล้ๆ กัน ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

228 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Panellus pusillus (Pers. ex Lév.) Burds. & O.K. Mill. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ รังแตนขาว ชื่อพ้อง Gloeoporus pusillus Pers. ex Lév. Dictyopanus pusillus (Pers. ex Lév.) Singer

ลักษณะทั่วไป หมวก 1-5 x 0.5-3 มม. คล้ายเมล็ดถั่ว รูปไตหรือครึ่งวงกลม ผิวเรียบ น�้ำตาลปนแดงอ่อนๆ ขอบเรียบ โค้งงอถึงค่อยๆ กางออก เหนียวคล้ายแผ่น หนัง รู เล็ก กลม 5-8 รู/มม. ขาว ขอบเรียบ ก้าน 1-2 x 0.5-1 มม. ทรงกระบอก ติดอยู่ด้านข้างของหมวก น�ำ้ ตาล เรียบ เป็นมัน สปอร์ 3-4 x 1.5-2.5 µm รูปไข่ถึง ทรงรี บาง ใส เรียบ ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดกระจายเป็นจ�ำนวนมากบนซากกิ่งไม้ผุ ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ สถานี เกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Resupinatus applicatus (Batsch) Gray ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus applicatus Batsch Pleurotus applicatus (Batsch) P. Kumm. Dendrosarcus applicatus (Batsch) Kuntze

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 3-8 มม. รูป ร่างคล้ายพัดหรือคล้ายถ้วย เทาเข้มปน เงิน ผิวเรียบ มีขนปกคลุมใกล้กับบริเวณฐานหมวก ขอบหยักเป็นคลื่น เนื้อบาง มีลักษณะคล้ายวุ้น เมื่อเปียกชื้นจะเป็นน�้ำตาลเข้ม ครีบ เรียงเกือบห่างถึงห่าง มีลูกครีบ 2-3 ครีบ น�้ำตาลอ่อน ก้าน ไม่มี สปอร์ 4-5.5 x 4-4.4 µm ค่อนข้างกลมหรือรี ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิด กระจาย ถึงเป็นกลุ่มใกล้ๆ หรือขึ้นซ้อนเป็นชั้นติดๆ กกัน บนท่อนไม้ที่ตายแล้ว ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 229 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Termitomyces aurantiacus (R. Heim) R. Heim ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ โคนปลวกสีส้ม ชื่อพ้อง Termitomyces striatus var. aurantiacus R. Heim

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-80 มม. โค้งนูนแล้วกางแบน ยอดแหลมเล็กน้อย ขอบงอลงเมื่อดอกแก่ สีสนิมหรือส้มอม น�้ำตาล ผิวเรียบ มีริ้วละเอียด ครีบ แคบเล็กน้อย ไม่ติดก้าน เรียงถี่และฉีกขาดง่าย ขาวแล้วเป็นครีม อมชมพู ก้าน 60-100 x 7-10 มม. ทรงกระบอก แข็ง ขาว รากเทียม 200-250 x 5-6 มม. เรียวเล็กลง ไปยังรังปลวก ขาว เนื้อ บาง แน่น ขาว สปอร์ 4-5 x 4-7 µm รูปไข่หรือทรงรีขอบขนาน ผิวเรียบ ผนังบาง ภายในมีสารแขวนลอย ครีมอมชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย บนจอมปลวก กินได้ เพาะเลี้ยงไม่ได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา และ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Termitomyces clypeatus R. Heim ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ โคนปลวก ยอดแหลม โคนปลวกจิก ชื่อพ้อง Sinotermitomyces taiwanensis M. Zang & C.M. Chen

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 25-50 มม. รูประฆังถึงรูปจานคว�่ำ มียอดแหลม กลาง หมวกชัดเจน ผิวเรียบเป็นมันเงา ขอบงอลง เป็นคลื่นและมักฉีกขาด น�้ำตาลปนเทาไปจนถึงน�้ำตาลปนเหลือง สีจางลงไปที่ขอบหมวก ครีบ ไม่ติดก้าน กว้างเล็กน้อย เรียงถี่ ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นชมพูอมส้ม ก้าน 50-100 x 5-10 มม. ทรงกระบอก โคนพองใหญ่ ขาวหม่น หรือน�้ำตาลอ่อน รากเทียม 30-180 x 2-4 มม. เนื้อ เป็นเส้นยาว หยาบ ขาว สปอร์ 4-8 x 3-5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ภายในมีหยดน�้ำมัน 1 หยด น�้ำตาลหม่นอม ชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย บนจอมปลวก กินได้ เพาะเลี้ยงไม่ได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่ พบ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

230 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Termitomyces eurrhizus (Berk.) R. Heim ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ โคนปลวกเนื้อไก่ โคนปลวกรากเทียมด�ำ ชื่อพ้อง Agaricus eurrhizus Berk. Collybia eurrhiza (Berk.) Höhn.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-85 มม. รูปกรวยคว�่ำหรือระฆังแล้วแผ่แบน กลม กลางหมวกนูนเป็นยอดแหลม ผิวเรียบ เหนียวหนืดมือเมื่อเปียกชื้น กลางหมวกน�้ำตาลอมเหลือง ถัดออกไปขาวจนถึงขอบ ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่และมีครีบสั้นสลับ ขาวถึงครีมอมชมพู ก้าน 40-100 x 5-30 มม. มีขนเป็นเกล็ดและ ริ้วยาว วงแหวนบางติดอยู่ใกล้ปลายก้าน ไม่ถาวรและมักสลายไป ขาว รากเทียม สีด�ำ ยาว ปลายสุด เป็นแผ่นกลมหนาติดรังปลวก เนื้อ แน่น แข็ง ขาว สปอร์ 6-8 x 3-5 µm ทรงรี เรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอ่อนอมชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย บนจอมปลวก กินได้ เพาะเลี้ยงไม่ได้ เป็นเห็ด เศรษฐกิจ สถานที่พบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Termitomyces globulus R. Heim & Gooss.-Font. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ โคนปลวก หมวกกลม ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 70-100 มม. รูปคล้ายระฆังแล้วโค้งนูนคล้ายจานคว�่ำ แล้วแผ่แบนกลม ปุ่มนูนกลางหมวกไม่ เด่นชัด ผิวเรียบหรือมีเส้นขนบางๆ มักปริแตกออกเป็นทางรัศมีเข้าไปเกือบถึงกลางหมวก ขอบบาง งอเข้าและยังคงงอเข้าแม้ดอกเห็ดบาน เรียบหรือหยักคล้ายซี่ฟัน น�้ำตาลหม่นหรือน�้ำตาลอ่อน ครีบ ไม่ติดก้าน กว้างเล็กน้อย เรียงถี่ ขาว ก้าน 100-150 x 15-25 มม. ทรงกระบอก แข็ง ขาว ขยายใหญ่ เล็กน้อยใต้ผิวดิน รากเทียม กว้าง 25-27 มม. ผอมยาวลงไปถึงรังปลวก โค้งงอเล็กน้อย เคลือบด้วย ชั้นคิวตินสีน�้ำตาลด�ำ เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 6-8 x 3-5 µm รูปไข่กลับหรือทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ครีม อมชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย บนจอมปลวก กินได้ เพาะเลี้ยงไม่ได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถาน ที่พบ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 231 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Termitomyces heimii Natarajan ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ โคนปลวกไส้ไก่ไทย โคนปลวกรากเทียมกลวง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 80-100 มม. ดอกอ่อนคล้ายรูปชามคว�่ำแล้วกางแบน กลม มีปุ่มนูนกลางหมวก ผิวเป็นมันเงา เรียบ ขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาลอ่อน ปมนูนสีเข้มกว่า ขอบงอลง มักฉีกขาด ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นชมพูอ่อน ก้าน 50-90 x 15-20 มม. ทรงกระบอก แข็ง เรียบ มีริ้ว ขาว มีวงแหวน 2 ชั้นตอนบนของก้าน รากเทียม ยาว 70-360 มม. เรียวเล็กไปจนเหลือกว้าง 5 มม. ที่โคน ผิวเรียบ กลวงและมักบิดงอ ขาว เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 5-7 x 3-5 µm รูปไข่หรือกระสวย ผิวเรียบ ผนังหนา เซลล์หมันรูปลูกแพร์ ผนังบาง ชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย บนจอมปลวกสกุล Odontotermes spp. กินได้ เพาะเลี้ยงไม่ได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และภาคใต้ของประเทศไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Termitomyces indicus Natarajan ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ โคนปลวกข้าวตอก ยอดน�้ำตาล ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-40 มม. ดอกอ่อนรูปชามคว�่ำแล้วเปลียนเป็น กระทะคว�่ำเมื่อดอกแก่ กลางหมวกเป็น ปุ่มนูนน�้ำตาลเข้ม เป็นมันวาว เรียบ ขอบ เป็นริ้วและมักฉีกขาดเมื่อดอกแก่ ขาว ครีบ กว้าง ไม่ติดก้าน เรียงถี่ ขาว ก้าน 30-70 x 2-4 มม. ทรงกระบอก แข็ง ผิวเรียบ ไม่มีรากเทียม ขาว เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 6-8 x 3-4.5 µm รูปไข่หรือ ทรงรี ผิวเรียบ ผนังหนาเล็กน้อย ชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย บนพื้นดินใกล้จอมปลวก กินได้ เพาะเลี้ยงไม่ได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ ทั่วทุกภาคของประเทศ

232 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Termitomyces microcarpus (Berk. & Broome) R. Heim ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ โคนปลวกข้าวตอก ชื่อพ้อง Agaricus microcarpus Berk. & Broome Entoloma microcarpum (Berk. & Broome) Sacc.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 5-25 มม. ดอกอ่อนรูปไข่ถึงรูปชามคว�่ำ แล้วกางแบนเมื่อแก่ มีปุ่มนูนเล็กๆกลางหมวก ผิวเรียบ เป็นมันวาว ขอบแตกเป็นแฉกลึก ขาวถึงครีม ครีบ ติดก้านหรือเกือบติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาว ก้าน 20-40 x 2-3 มม. ทรงกระบอก ผิวเรียบ ขาว บางทีมีขนบางๆ ไม่มีรากเทียม เนื้อ บาง ขาว สปอร์ 6-8 x 3-4 µm รูปไข่หรือทรงรี เรียบ ผนังหนาเล็กน้อย ชมพูอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย บนพื้นดิน ใกล้จอมปลวก กินได้ เพาะเลี้ยงไม่ได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Termitomyces striatus (Beeli) R. Heim ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ โคนปลวกหมวกลายสีเทา ชื่อพ้อง Schulzeria striata Beeli

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-120 มม. รูประฆัง เปลี่ยน เป็นโค้งนูนแล้วแบน กลางหมวกแหลมสีเทาด�ำ หนืดมือ เมื่อเปียกชื้น ขอบมีร่องเล็กๆ กระจายเป็นรัศมีไปยัง ขอบที่มักฉีกขาดเมื่อแก่ เทาอ่อน ครีบ ไม่ติดก้าน กว้าง เล็กน้อย เรียงถี่ ขาวนวลไปจนถึงครีมอมชมพู ก้าน 40- 120 x 5-10 มม. ทรงกระบอก โคนใหญ่แล้วเรียวเล็ก เป็นรากเทียมยาวประมาณ 100 มม. ขาวหม่น เนื้อ เป็นเส้นหยาบ ขาว สปอร ์ 5-7 x 3.5 µm ทรงรีกว้าง เรียบ ผนังบาง ภายในมีสารแขวนลอย ครีมอมชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย บนจอมปลวก กินได้ เพาะเลี้ยงไม่ได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 233 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Tricholomopsis rutilans (Schaeff.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus aurantius Batsch Agaricus rutilans Schaeff. Tricholoma rutilans (Schaeff.) P. Kumm.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 12-55 มม. รูปคล้ายกระทะ คว�่ำ แล้วกางแบน สีเหลือง ตรงกลางบุ๋มเล็กน้อย ขอบ เรียบ มีขนและเมือกสีน�้ำตาลแดง ครีบ เกือบติดก้าน มีหลายระดับ สีเหลืองก�ำมะถัน เรียงถี่ ก้าน 15-60 x 3- 5 มม. ทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าปลายเล็กน้อย เนื้อ เหลือง กลวง ผิวมีริ้วยาว และเป็นมันคล้ายไหม สปอร์ 4.5-5 x 4.5-5.5 µm เกือบกลม ผิวเรียบ ขาวถึงครีมบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเป็นกลุ่มโดยตรงจากพื้นดินป่าเต็งรัง กินได้ แต่รสชาติไม่ดี สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก พัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Trogia infundibuliformis Berk. & Broome ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กรวยแก้ว ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-40 มม. รูปกรวยลึก บาง โปร่งแสงเล็กน้อย ผิว มีริ้วเรียงเป็นรัศมี เทาอ่อนอมม่วงถึง น�้ำตาลอ่อนอมชมพู ครีบ เป็นสันนูน เรียวลงไปติดก้าน แคบ เรียงห่าง สีเดียวกับหมวก ก้าน 10-25 x 2-4 มม. ทรงกระบอก เรียบ ขึ้นมา จากฐานซึ่งเป็นแผ่นเส้นใยขาว สีเดียวกับหมวก เนื้อ บาง กลวง ขาว สปอร์ 6-8 x 3.5-4.5 µm ทรงรี ยาว ผิวเรียบ ผนังบาง มีหยดน�้ำมัน 1 หยด ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดใกล้ กันเป็นกลุ่มบนกิ่งไม้และขอนไม้ในป่าดิบแล้ง ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อม สะแกราช จ.นครราชสีมา

234 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Auriculariales วงศ์ Auriculariaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Auricularia auricular-judae (Bull.) Quél. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หูหนู ชื่อพ้อง Tremella auricular-judae Bull. Tremella auricula L. Auricularia auricula (L.) Underw.

ลักษณะทั่วไป หมวก 50-150 x 20-60 มม. เกือบกลมหรือรูปพัด เมื่อสดเป็นวุ้น ขอบ เป็นคลื่น น�้ำตาลอมแดง มีขนสั้นละเอียด ด้านที่ให้ก�ำเนิดสปอร์เรียบหรือหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย น�้ำตาลอมแดงคล้ายด้านบน สปอร ์ 13-15 x 5-6 µm รูปไส้กรอก ใส ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเป็นกลุ่ม ถึงซ้อนกันบนท่อนไม้ผุ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม สถานที่พบ ทั่วทุกภาค ของประเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Auricularia delicata (Mont.) Henn. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หูหนูรวงผึ้ง ชื่อพ้อง Laschia delicata Mont. ex Fr. Auricula delicata (Mont.) Kuntze Auricularia auricular-judae var. delicata (Mont.) Rick

ลักษณะทั่วไป หมวก 25 x 40-100 มม. เกือบกลมหรือรูปพัด เมื่อสดเป็นวุ้น มีขน ขอบเป็นคลื่น น�้ำตาลอมเหลือง ด้านที่ให้ก�ำเนิดสปอร์เหมือนรังผึ้ง ขาวอมน�้ำตาลถึงน�้ำตาลอ่อน สปอร์ 9-12 x 4-5 µm รูปไส้กรอก ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเป็นกลุ่มถึงซ้อนกันบนท่อนไม้ผุ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ ทั่วทุกภาค ของประเทศ

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 235 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Auricularia mesenterica (Dicks.) Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หูหนูลายเสือ ชื่อพ้อง Helvella mesenterica Dicks. Auricularia tremelloides Bull.

ลักษณะทั่วไป หมวก 20-40 มม. โค้ง มนรูปคล้ายพัดอยู่ติดกันเป็นแผ่น ผิว ด้านบนแข็งมีขน เรียงเป็นแถบวงกลม น�้ำตาลอ่อนสลับน�้ำตาลอมเทาถึงเขียว ขอบสีอ่อนกว่าและเป็นลอน ที่ให้ก�ำเนิดสปอร์หยาบ หยักย่น ม่วงอมแดง เนื้อ เป็นวุ้น แห้งแล้วหยุ่น ม่วงอมแดง สปอร์ 11-12 x 4-5 µm รูปไส้กรอก ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนตอไม้และขอนไม้ที่ตายแล้ว กินไมได้่ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Auricularia peltata Lloyd ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก 20-45 x 17-40 มม. หนา 0.8-1.5 มม. คล้ายวุ้นเป็นรูปถ้วย ผิวด้าน น�้ำตาลเข้มเกือบด�ำ มีขนปกคลุม เล็กน้อย ด้านที่ให้ก�ำเนิดสปอร์น�้ำตาลเทา ถึงเทา คล้ายมีขี้ผึ้งเคลือบ ไม่ปรากฏ ลักษณะที่เป็นตาข่าย ก้าน สั้นมากถึงไม่มีเลย สปอร์ 11-15.5 x 5-6 µm รูปถั่ว ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ กระจายกันใกล้ๆ หรือเป็นกระจุก ออกมา จากขอนไม้หรือเปลือกไม้ที่ตายแล้ว กินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

236 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Auricularia polytricha (Mont.) Sacc. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หูช้าง หูลัวะ หูหนูช้าง ชื่อพ้อง Exidia polytricha Mont.

ลักษณะทั่วไป หมวก ค่อนข้างกลม 20- 80 มม. ยาว 20-100 มม. หนา 1-2 มม. ด้านบนมีขนยาวแน่นสีขาวหม่น เทา หรือน�้ำตาลอ่อน โคนดอกมีรอยจีบและ ยึดติดกับขอนไม้ ด้านที่ให้ก�ำเนิดสปอร์ สีเข้มกว่าผิวด้านบน ดอกเห็ดคล้ายแผ่นวุ้น สปอร์ 12-15 x 5-6 µm รูปไส้กรอก เรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเป็นกลุ่มถึง ซ้อนกันบนท่อนไม้ผุ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม สถานที่พบ ทั่วทุกภาค ของประเทศ

อันดับ Boletales วงศ์ Boletaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aureoboletus thibetanus (Pat.) Hongo & Nagas. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตาทิพย์ ตับเต่าทิเบต ชื่อพ้อง Boletus thibetanus Pat. Pulveroboletus thibetanus (Pat.) Singer Suillus thibetanus (Pat.) F.L. Tai

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-75 มม. นูน แล้วแบน เหนียวหนืดมือ น�้ำตาลอมม่วงแดง รู ยาว 5-8 มม. เหลือง แล้วเปลี่ยนเป็นเหลืองอมเขียว ปากรู 0.5-1 มม. เกือบกลม เหลืองสดแล้วเปลี่ยนเป็นเหลืองอมเขียว ก้าน 50-80 x 2-4 มม. รูป ทรงกระบอกมีโคนใหญ่กว่าปลายเล็กน้อย แดงอมชมพู มีรอยย่นและตาข่ายยาวบางๆ เนื้อ ขาวแล้ว เปลี่ยนเป็นขาวอมชมพู สปอร์ 9.5-11.5 x 4.5-5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอมเขียวหม่น บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติภูเรือ จ.เลย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 237 ชื่อวิทยาศาสตร์ Austroboletus subflavidus (Murrill) Wolfe ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กระบองเพชรขาว ชื่อพ้อง Tylopilus subflavidus Murrill

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-100 มม. เมื่ออ่อนรูปคล้ายกรวยคว�่ำแล้วกางแบน กลางหมวกเว้าเป็นแอ่งเล็กน้อย ผิวแห้ง มีขนละเอียด สีครีมอมเทา รู ยาว 5- 10 มม. ปากรู กว้าง 1 มม. เหลี่ยม หรือเกือบกลม ขาว หรือเทาอ่อนแล้วเปลี่ยนเป็นเทาอมชมพูเมื่อ ดอกแก่ ก้าน 40-100 x 7-30 มม. เรียวเล็กไปหาโคนก้าน สีเดียวกับหมวก มีตาข่ายกับสันนูนหยาบ เป็นแอ่งลึก เนื้อ ขาว สปอร์ 15-20 x 6-9 µm. รูปกระสวย ผิวเป็นหลุมเล็กๆ น�้ำตาลอ่อน น�้ำตาลแดง บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ มีรสขม สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Boletellus emodensis (Berk.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าเกล็ด แดงคล�้ำ ชื่อพ้อง Boletus emodensis Berk.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-80 มม. ดอกอ่อนนูนกลม ถึงคล้ายรูปชามคว�่ำ เปลี่ยนเป็นรูปกระทะคว�่ำเมื่อแก่ มีขนอ่อน แดงอมชมพู แล้วแตกเป็นเกล็ด เห็น เนื้อในสีเหลือง มีเศษวงแหวนสีแดงเป็นชายธงติดรอบขอบหมวก รู ยาว 7-10 มม. เหลือง ปากรู กว้าง 1-2 มม. เหลี่ยม เหลืองแล้วเขียวมะกอกอมน�้ำตาล ก้าน 50-100 x 5-10 มม. ทรงกระบอก ใหญ่ ลงไปที่โคน สีเดียวกับหมวก ปลายบนเหลืองอ่อน เนื้อ แน่น เหลือง รู ปากรูและเนื้อค่อยๆ เปลี่ยน เป็นน�้ำเงินอมเขียวเมื่อช�้ำ สปอร ์ 20-24 x 8-11 µm ทรงรียาว ผิวมีริ้วยาว น�้ำตาลอมเขียวหม่นบน กระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าดิบแล้ง กินได้ สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

238 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Boletellus russellii (Frost) E.-J. Gilbert ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กระบองเพชรเหลือง ชื่อพ้อง Boletus russellii Frost

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-100 มม. โค้งนูนคล้ายรูปจานคว�่ำ ผิวเรียบ แล้วปริ แตกเป็นเกล็ด น�้ำตาลอมเหลือง ส้มอม แดงไปจนถึงเขียวมะกอกหรือน�้ำตาล รู เมื่อดอกแก่รูรอบก้านจะเปลี่ยนจากเหลืองเป็นเขียวมะกอก ปากร ู ใหญ่และเป็นรูปเหลี่ยม เหลืองแล้ว เปลี่ยนเป็นเขียวมะกอก ก้าน 60-120 x 10-20 มม. ทรงกระบอก ส่วนบนเหลือง ส่วนล่างน�้ำตาลแดง ผิวเป็นร่องลึกและสันแบบตาข่าย เนื้อ เหลือง สปอร์ 11-18 x 7-10 µm ทรงรี ผิวมีสันนูนเป็นริ้วยาว เขียวหม่นบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Boletus appendiculatus Schaeff. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าสีเนย ชื่อพ้อง Boletus radicans var. appendiculatus (Schaeff.) Pers. Tubiporus appendiculatus (Fr.) Maire

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 60-200 มม. ดอกอ่อนโค้งนูนคล้ายชามคว�่ำแล้วกาบ แบน ผิวแห้ง เรียบ น�้ำตาลอมเหลืองหรือ น�้ำตาลแดง รู เหลืองจนถึง เหลืองอมเขียว ปากรู เหลี่ยม สีเดียวกับรู น�้ำเงินอมเขียวเมื่อช�้ำ ก้าน 50-100 x 20-60 มม. โคนโป่งเป็นกระเปาะ แข็งและแน่น เหลืองอ่อน ตอนบนมีตาข่ายไม่เด่นชัด มักมี สีน�้ำตาลแดงใกล้โคน เนื้อ หนา แน่น เหลืองอ่อน เมื่อตัดจะค่อยๆ มีสีฟ้าแล้วจางหายไป สปอร์ 12-15 x 3-5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอมเขียวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 239 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Boletus aureissimus (Murrill) Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าสีทอง ชื่อพ้อง Ceriomyces aureissimus Murrill

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-200 มม. เมื่ออ่อนโค้งนูนคล้ายกระทะคว�่ำแล้ว กางออกเกือบแบนเมื่อแก่ มีขนละเอียด น�้ำตาลอ่อนอมม่วง รู ยาว 10-25 มม. เหลืองอ่อนถึงเหลือง เปลี่ยนเป็นเหลือง อมเขียวเมื่อแก่ ปากรู กว้างน้อยกว่า 1 มม. กลมถึงเหลี่ยม ก้าน 50-100 x 10-30 มม. โคนโป่งเป็นรูป กระบอง แห้ง แข็ง เหลืองอ่อนถึงเหลือง ผิวตอนบนเป็นตาข่าย เนื้อ แน่น เหลืองอ่อน สปอร์ 10-14 x 3-5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอมเขียวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Boletus bicolor Peck ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าสองสี ชื่อพ้อง Boletus bicolor Raddi

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-120 มม. โค้งนูนคล้ายกระทะคว�่ำแล้วกางแบน เมื่อแก่ ผิวแห้ง มีขนละเอียด แดงเข้ม แดงอมม่วงไปจนถึงแดงกุหลาบ เปลี่ยน เป็นน�้ำตาลอมเหลืองเมื่อดอกแก่ รู ยาว 3-10 มม. เหลือง เมื่อตัดเปลี่ยนเป็นน�้ำเงิน ปากร ู 1-2 รู/มม. เหลี่ยม เหลือง บางทีมีสีแดงเรื่อๆ เมื่อ ดอกแก่ ก้าน 50-100 x 10-30 มม. ทรงกระบอกหรือโคนใหญ่กว่า ผิวเรียบ แน่น แข็ง แดงถึงแดงอม ชมพูปลายบนเหลือง เนื้อ หนา เหลืองอ่อน เมื่อตัดเปลี่ยนเป็นสีน�้ำเงิน สปอร ์ 8-12 x 3.5-5 µm รูป กระสวยหรือทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง เขียวมะกอกบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

240 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Boletus firmus Frost ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ผึ้งรูแดงอมส้ม ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 45-100 มม. โค้งนูนคล้ายรูปกระทะคว�่ำแล้วกางออก เล็กน้อย ผิวเรียบ แห้ง ขาวถึงเทาอ่อน ช�้ำเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลด�ำหม่น รู ยาว 2- 20 ซม. ติดก้าน เหลืองอ่อน ปากรู มี 2- 3 รู/มม. กลม แดงถึงส้มอมแดง เมื่อช�้ำเป็นสีน�้ำเงิน ก้าน 50-100 x 10-20 มม. เท่ากัน เรียบ สีเดียว กับหมวก เมื่อช�้ำเป็นน�้ำตาลอมเทา เนื้อ ขาวหม่น ช�้ำเป็นน�้ำเงินเรื่อๆ สปอร์ 10-12 x 4.5-5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง เหลืองอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใน ป่าสนเขา กินได้ มีรสขม สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Boletus griseipurpureus Corner ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เสม็ด ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-100 มม. โค้งนูนคล้ายรูปกระทะคว�่ำแล้วกางออก เล็กน้อย มีขนละเอียดหรือเรียบ หนืด มือเมื่อเปียกชื้น ม่วงอมเทาจนถึงม่วงอม น�้ำตาล รู ยาว 4-9 มม. เรียวลงติดก้าน เล็กน้อย ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นชมพูอมน�้ำตาล ปากร ู 0.5-1.5 มม. เกือบกลม ขาว แล้วเป็นชมพูอม น�้ำตาลเมื่อดอกแก่ ก้าน 30-100 x 10-15 มม. ค่อยๆ ใหญ่ไปหาโคน ผิวแห้ง ตอนบนขาว ตอนล่าง ม่วงอมเทา เรียบหรือมีลายตาข่ายจางๆ เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 8-10 x 3-3.5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ น�้ำตาลอมชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าดิบแล้งและสวนป่า กระถินเทพา กินได้ มีรสขมมาก สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา และ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 241 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Boletus nobilis Peck ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ผึ้งภูหลวง ตับเต่าภูหลวง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-120 มม. โค้งนูนคล้ายรูปกระทะคว�่ำแล้วกางอก เกือบแบน ผิวแห้ง แห้ง เรียบ น�้ำตาลอม เหลืองหรือน�้ำตาลแดงแล้วเปลี่ยนเป็น สีน�้ำตาลอมเขียวมะกอก ปนเปื้อนสีแดงเมื่อแก่ รู ยาว 8-20 มม. เหลือง ปากรู มี 1-3 รู/มม. กลม ถึงเหลี่ยม ขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงเหลืองอมน�้ำตาล ก้าน 50-120 x 20-30 มม. โคนใหญ่ กว่าปลายเล็กน้อย ขาวหรือน�้ำตาลอมเหลืองอ่อน ตอนบนของก้านมีลายตาข่ายไม่เด่นชัด เนื้อ ขาว สปอร์ 11-15 x 4-5 µm รูปกระสวย ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอมเหลืองถึงน�้ำตาลหม่นอมแดง บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Boletus reticulatus Schaeff. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าน่องตาข่าย ชื่อพ้อง Boletus edulis subsp. reticulatus (Schaeff.) Konrad & Maubl.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 70-100 มม. โค้งนูนคล้ายรูปชามคว�่ำหรือกระทะคว�่ำ บางทีปริแตก น�้ำตาลอมเหลืองถึงน�้ำตาล หม่น รู ยาว 10-30 ซม. ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นเหลืองอมเขียว ปากรู กลม มี 2-3 รู/มม. ขาวถึงเขียว มะกอก ก้าน 50-150 x 30-35 มม. โคนใหญ่กว่าปลายเป็นรูปกระบอง ผิวมีตาข่ายสีขาวเห็นชัดเจน น�้ำตาลอ่อนถึงน�้ำตาลหม่น เนื้อ แน่น ขาวถึงเหลืองอ่อน สปอร์ 12-14 x 4-5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอมเขียวหม่นบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ มีรสดี สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

242 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Boletus subtomentosus L. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Xerocomus subtomentosus (L.) Quél.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-150 มม. รูปคล้ายกระทะ คว�่ำเมื่ออ่อน กางแบนคล้ายรูปจานเมื่อแก่ ผิวแห้ง น�้ำตาลอมเขียว ถึงน�้ำตาลอมเหลือง มีขนเหมือนก�ำมะหยี่ ปกคลุม ขอบเรียบ โค้งงอเมื่ออ่อน ยกขึ้นเมื่อแก่ รู เหลืองอ่อนแล้วเปลี่ยนเป็นเหลืองเข้ม เมื่อช�้ำเปลี่ยนเป็น เขียวช้าๆ แล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาล ปากรูเป็นเหลี่ยม บริเวณใกล้ก้าน มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายครีบเล็กๆ ก้าน 50-100 x 10-30 มม. โคนก้านใหญ่กว่าปลาย น�้ำตาล อมเหลือง มีรอยขีดน�้ำตาลอมแดงตามความยาวของก้าน เปลี่ยนเป็นน�้ำตาล ถึงน�้ำตาลแดงเมื่อสัมผัส เนื้อ แน่น สปอร์ 10-15 x 3-5 µm รูปขอบขนาน ผิวเรียบ เหลืองบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย บน พื้นดินในป่าเต็งรัง เอคโตไมคอร์ไรซา กินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Boletus umbriniporus Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าน�้ำตาลแดง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-90 มม. โค้งนูนคล้ายรูปกระทะคว�่ำแล้วแผ่กว้าง มีขนอ่อนเมื่ออ่อน ผิวแห้ง น�้ำตาลแดงเข้ม รู ยาว 5-8 มม. เหลืองอ่อน เมื่อตัดเปลี่ยน เป็นน�้ำเงิน ปากรู 2-3 รู/มม. กลม น�้ำตาลแดง ก้าน 45-80 x 7-20 มม. เท่ากันตลอดหรือปลายก้าน ใหญ่กว่าโคนเล็กน้อย แข็ง น�้ำตาลแดงบนพื้นเหลืองหม่น เกือบเรียบ เมื่อช�้ำเปลี่ยนเป็นน�้ำเงินด�ำ เนื้อ ขาวหม่นหรือเหลืองอ่อน มีน�้ำตาลแดงปนเปื้อน เมื่อช�้ำเปลี่ยนเป็นสีน�้ำเงินทันที สปอร ์ 9.5-12.5 x 4-5 µm ทรงยาวรี ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บน พื้นดินในป่าสนเขา ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 243 ชื่อวิทยาศาสตร ์ Heimioporus japonicus (Hongo) E. Horak ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปอดม้าตาข่ายแดง ชื่อพ้อง Heimiella japonica Hongo Boletellus japonica (Hongo) L.D. Gómez

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-60 มม. โค้งนูนแล้วแบน แดงอมม่วง ผิวแห้ง เรียบ รู ยาว 1-1.5 มม. เหลือง ปากรู กว้าง 0.5-1 มม. เหลี่ยม เหลืองหรือเหลืองอม เขียวเล็กน้อย บางส่วนยุบหายไป ก้าน 60-130 x 7- 12 มม. ค่อยๆ ใหญ่จากปลายก้านลงไปที่โคน ปลายบน เหลือง แดงอมม่วงลงไปที่โคนก้านและมีตาข่ายหยาบ เนื้อ ขาวหรือขาวอมเหลือง สปอร์ 9.5-15 x 7-8 µm ทรงรี ผิวเป็นร่างแหตากว้าง น�้ำตาลอ่อนอมเขียวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Heimioporus mandarinus (Ces.) E. Horak ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปอดม้าปากรูแดงอมส้ม ชื่อพ้อง Boletus mandarinus Ces. Heimiella mandarina (Ces.) Corner

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 60-120 ซม. รูปชามคว�่ำหรือระฆังยอดแหลมแล้วแบน มีผิวย่นแบบตาข่ายห่างๆ หนืดมือเล็กน้อยเมื่อเปียกชื้น แดงอมม่วงหรือแดงคล�้ำ รู ยาว 8-15 มม. ติดก้าน เหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นเหลืองอมเขียวมะกอกเมื่อดอกแก่ ปากรู กว้าง 0.5-1 มม. เหลี่ยม แดงอมส้มหรือแดงอมเขียวมะกอกเมื่อแก่ ก้าน 80-150 x 7-15 ซม. ปลายค่อยๆ ใหญ่ลงไปหาโคน แดงคล�้ำ มักมีแดงอมเขียวหม่นที่โคนก้าน บางทีมีลายตาข่ายยาว เนื้อ ขาวหรือเหลืองอ่อน มีสีแดง เรื่อๆ ลงไปที่โคนก้าน สปอร์ 13-16 x 9-11 µm ทรงรี หัวท้ายป้าน ผิวมีลายตาข่ายกว้าง น�้ำตาลอ่อน อมเขียวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าดิบชื้น กินได้ สถานที่พบ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

244 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Heimioporus retisporus (Pat. & C.F. Baker) E. Horak var. retisporus ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปอดม้า ชื่อพ้อง Heimiella retispora (Pat. & C.F. Baker) Boedijn

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 45-80 มม. โค้งนูนคล้ายชาม คว�่ำถึงกระทะคว�่ำแล้วกางแบน ผิวแห้ง เรียบ แดงเข้ม แล้วจางลงเป็นเหลืองปนชมพู รู ยาว 9-15 มม. เกือบ ติดก้าน เขียวอมเหลือง ปากร ู กว้าง 0.7-1 มม. เหลี่ยม ตอนแรกแดงเข้มแล้วเปลี่ยนเป็นเขียวอมเหลือง เมื่อช�้ำ เปลี่ยนเป็นน�้ำเงิน ก้าน 70-100 x 7-10 มม. ทรง กระบอกหรือใหญ่ลงไปหาโคนก้าน ปลายบนเหลือง แดงเข้มแล้วจางลงเป็นชมพูแดงเมื่อดอกแก่ มีสัน นูนและตาข่ายรูยาวจางๆ เนื้อ เหลือง เมื่อช�้ำเป็นสีน�้ำเงินอ่อน สปอร์ 10-13 x 8-10 µm ทรงรี ผิวเป็น ตาข่ายตากว้าง น�้ำตาลอมเขียวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใน ป่าเต็งรัง กินได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Leccinum intusrubens (Corner) Høil. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตะไบหัวน�้ำตาลอมเหลือง ชื่อพ้อง Boletus intusrubens Corner

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-80 มม. โค้งนูนคล้ายกระทะคว�่ำแล้วแบน แห้ง เรียบ น�้ำตาลอมเหลืองปนเปื้อนเขียว มะกอก รู ยาว 7-9 มม. เขียวมะกอก ปากรู กลม สีเดียวกับรู แดงแล้วด�ำเมื่อช�้ำ ก้าน 50-80 x 10-17 ซม. ขาว ผิวเป็นสะเก็ดแข็งเล็กๆ น�้ำตาลหรือด�ำอมเขียว เนื้อ ขาว เมื่อช�้ำเป็นแดงและเทาด�ำ สปอร ์ 9-15 x 4.5-5.5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอมเหลืองบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใน ป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 245 ชื่อวิทยาศาสตร์ Phylloporus bellus (Massee) Corner ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กรวยทองเหลือง ชื่อพ้อง Hygrophorus bellus Massee

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-60 มม. โค้ง นูนแล้วแบนคล้ายรูปจาน กลางหมวกเว้า เล็กน้อย ผิวแห้ง มีขนละเอียด น�้ำตาลแดง ปากรู ห่าง กว้าง เรียวยาวลงไปติดก้าน บางครีบแตกเป็นรูปง่าม เหลือง ช�้ำ เปลี่ยนเป็นเขียว เมื่อดอกแก่น�้ำตาลแดง ก้าน 24.5 x 4-7 มม. ทรงกระบอก เรียวลงไปหาโคนก้าน เหลืองปนแดงหรือน�้ำตาลแดง เนื้อ เหนียว เหลือง เมื่อช�้ำเป็นเขียว สปอร ์ 7-11 x 3-4 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ เหลืองอ่อนถึงเหลืองอมเขียวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใน ป่าดิบแล้ง กินได้ เห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phylloporus bellus var. cyanescens Corner ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-60 มม. โค้งนูน แล้วกางแบน กลางหมวกบุ๋ม น�้ำตาลแดง ผิวแห้ง มีขนละเอียด น�้ำตาล ปากร ู ห่าง กว้าง เรียวยาวลงไปติดก้าน บางครีบ แตกเป็นรูปง่าม เหลือง ช�้ำเปลี่ยนเป็นเขียวปนน�้ำเงิน ก้าน 22 x 5-8 มม. ทรงกระบอก เรียวลงไป หาโคนก้าน น�้ำตาลแดง เนื้อ เหนียว ขาวถึงเหลือง เมื่อช�้ำเป็นฟ้าถึงน�้ำเงิน สปอร ์ 5-10 x 3-4 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ เหลืองอ่อนถึงเหลืองอมเขียวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าดิบแล้ง กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

246 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Phylloporus leucomycelinus Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-50 มม. โค้งนูนแล้วแบนลง กลางหมวกบุ๋มเป็นกรวย ขอบงอลง น�้ำตาลแดงไปจนถึง น�ำ้ ตาลอมเหลือง ผิวแห้ง มีขนคล้ายก�ำมะหย ี่ น�้ำตาลอ่อน มักจะปริแตกเป็นลายเมื่อดอกแก่ ครีบ เหลืองทอง เรียว ยาวลงไปติดก้าน ไม่เปลี่ยนเป็นน�้ำเงินเมื่อช�้ำ ก้าน 50- 80 x 5-13 มม. รูปทรงกระบอก มักจะบิดงอ เหลืองอ่อน ปนแดง ตอนบนมีตุ่มเล็กๆ น�้ำตาลแดง โคนขาวและมี เส้นใยขาวอยู่ปะปนในดินที่โคนดอก สปอร์ 8-14 x 0.3- 5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง เหลืองอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดบนพื้น ดินในป่าสนเขา ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Pulveroboletus ravenelii (Berk. & M.A. Curtis) Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ก�ำมะถัน ชื่อพ้อง Boletus ravenelii Berk. & M.A. Curtis

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-100 มม. โค้งนูนคล้ายชามคว�่ำถึงคล้ายกระทะคว�่ำ แล้วกางแบน เหลืองก�ำมะถัน ปกคลุมด้วย ฝุ่นเหลืองก�ำมะถัน รู ยาว 5-8 มม. รูรอบก้านเบียดลงติดก้าน เหลืองก�ำมะถัน เมื่อช�้ำเป็นน�้ำเงิน อมเขียว ปากรู 1-3 รู/มม. เล็ก กลมหรือเหลี่ยม เหลืองก�ำมะถัน เมื่อช�้ำเป็นน�้ำเงินอมเขียว ก้าน 40- 100 x 5-15 มม. ทรงกระบอก มีผงฝุ่นสีเหลืองก�ำมะถันปกคลุมหนาแน่น วงแหวนเหลืองบอบบาง ที่โคนมีกลุ่มเส้นใยสีเหลือง เนื้อ แน่น เหลืองอ่อน เมื่อช�้ำค่อยๆ เปลี่ยนเป็นน�้ำเงินแล้วน�้ำตาลอมเหลือง สปอร์ 8-10 x 4-5 µm ทรงรียาว เรียบ ผนังบาง เหลืองอมเขียวหม่นบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่ อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติ ทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก และ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 247 ชื่อวิทยาศาสตร์ Retiboletus nigerrimus (R. Heim) Manfr. Binder & Bresinsky ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เปียกปูน ชื่อพ้อง Boletus nigerrimus R. Heim Tylopilus nigerrimus (R. Heim) Hongo & M. Endo

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 45-100 มม. โค้งนูนคล้ายชามคว�่ำแล้วเปลี่ยนเป็น คล้ายกระทะคว�่ำ ผิวแห้ง มีขนบางๆ แล้วเรียบ เทาด�ำ ม่วงปนเปื้อน รู ยาว 4-6 มม. ติดก้าน ขาวหม่น แล้วเป็นชมพูอมเทา ปากรู กว้าง 0.3-0.5 มม. เกือบเหลี่ยม ชมพูอมเทา ก้าน 70-100 x 8-12 ซม. ทรงกระบอก ค่อยๆ ใหญ่ไปหาโคนก้าน เทาอมเขียวหม่นถึงด�ำ มีตาข่ายลายยาวสีด�ำลงไปที่โคน เนื้อ แน่น ขาวหม่นถึงเขียวหม่น เมื่อช�้ำค่อยๆ เป็นชมพูหม่น สปอร์ 10-12 x 4-5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ มีหยดน�้ำมัน 2-4 หยด ผนังบาง น�้ำตาลอ่อนอมชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Strobilomyces strobilaceus (Scop.) Berk. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตาเฒ่า ชื่อพ้อง Boletus strobilaceus Scop. Boletus floccopus Vahl Strobilomyces floccopus (Vahl) P. Karst.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-150 ซม. โค้งนูน ผิวแห้ง มีขนขึ้นเป็นปึกหยาบน�้ำตาลเทาถึงด�ำบนพื้นขาว มีเยื่อสีเทาด�ำติดขอบหมวก รู ยาว 4-19 มม. ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นเทา ปากรู 2-4 รู/มม. เหลี่ยม สีเดียวกับรู ก้าน 30-10 x 15-25 มม. สีเทาถึงเทาด�ำ มีขนปุกปุย เนื้อ ขาว ทั้งดอกเปลี่ยนเป็นแดงแล้วด�ำเมื่อช�้ำ สปอร ์ 10-12 x 8-10 µm เกือบกลม ผิวมีสันสานกันเป็นตาข่าย ด�ำบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดิน ในป่าดิบชื้น กินได้ สถานที่พบ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

248 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Tylopilus alboater (Schwein.) Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าด�ำ ผึ้งข้าวจี่/Black Velvet Bolete ชื่อพ้อง Boletus alboater Schwein.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 35-110 มม. ดอกอ่อนโค้งนูนคล้ายชามคว�่ำ ดอกแก่ บานออกคล้ายร่ม น�้ำตาลปนแดงเข้มจน เกือบด�ำ เต็มไปด้วยรอยแตกหรือรอยจุด ท�ำให้ดูคล้ายเป็นสะเก็ด ขอบเรียบ ค่อยๆ กางออกหรือมีเส้นใยรุ่งริ่ง เนื้อหนา เมื่อผ่าดูพบว่าเป็น สีแดงคล�้ำ รู ติดกับก้านค่อนข้างกว้างหรือขึ้นจากก้านเล็กน้อย ขอบไม่เรียบ ดอกอ่อนเกือบขาว ดอกแก่หรือเมื่อสัมผัสเปลี่ยนเป็นแดงคล�้ำจนเกือบด�ำ ก้าน ยาว 30-85 มม. Ø ปลาย 5-12 มม. โคน 10-20 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก น�้ำตาลปนด�ำหรือแดงคล�้ำเกือบด�ำ มีขนหรือตาข่ายปกคลุม เนื้อ แน่น ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลปนแดงคล�้ำ สปอร ์ ทรงรี 8.5-16.0 x 3.0-5.0 µm ผิวเรียบ ผนัง บาง ภายในมีหยดน�้ำมัน 2-4 อัน ชมพูปนน�้ำตาลบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มใกล้ๆ กัน ขึ้นจากดินโดยตรง กินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Tylopilus balloui (Peck) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Boletus balloui Peck Gyrodon ballouii (Peck) Snell Rubinoboletus balloui (Peck) Heinem. & Rammeloo

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 26-60 มม. ดอกอ่อนรูปคล้ายชามคว�่ำแล้วกางโค้ง นูนเมื่อแก่ ผิวแห้ง แดงอมส้มจนถึงส้มอมน�้ำตาล รู ยาว 4-8 มม. ติดก้าน เรียวลงไปติดก้านเล็กน้อย ขาวแล้วเป็นน�้ำตาลอ่อน ปากร ู 1-2 รู/มม. เหลี่ยม ขาว เมื่อช�้ำเป็นน�้ำตาล ก้าน 25-70 x 10-25 มม. ทรงกระบอก ผิวเรียบ เหลืองอ่อนถึงเหลืองอมส้ม เมื่อช�้ำเป็นสีน�้ำตาลอ่อน เนื้อ ขาว เมื่อช�้ำเป็น สีน�้ำตาลอ่อนอมชมพู สปอร์ 5-7 x 3-5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 249 ชื่อวิทยาศาสตร์ Tylopilus felleus (Bull.) P. Karst. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Boletus alutarius Fr. Boletus felleus Bull.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 60-100 มม. โค้งนูนแผ่กว้าง ผิวแห้ง เรียบ บางที หนืดมือเมื่อเปียกชื้น เมื่ออ่อนม่วงอมแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาลหรือน�้ำตาลอม เหลืองเมื่อแก่ รู ยาว 1-2 ซม.ขาวเมื่ออ่อน เปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอมชมพูเมื่อแก่ ปากรู เกือบกลม มี 1-2 รู/มม. สีเดียวกับรู มักมีสีน�้ำตาลเมื่อช�้ำ ก้าน 70-100 x 10-30 มม. ใหญ่ลงไปหาโคนก้าน ปลายบน ขาว ส่วนล่างน�้ำตาล ผิวมีลายตาข่าย เนื้อ ขาว สปอร์ 10-11 x 4-5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ น�้ำตาลอม ชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าดิบแล้ง กินได้ มีรสขม สถานที่ พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tylopilus nigropurpureus (Corner) Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Boletus nigropurpureus Corner

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-80 มม. โค้งนูนคล้าย รูปกระทะคว�่ำแล้วกางแบน ผิวแห้ง มักย่นถึงเกือบเรียบ น�้ำตาลด�ำ มักมีรอยแตกเล็กๆ รู ยาว 3-10 มม. ติดก้าน มีรอยเว้า เทาหม่นถึงเทาเข้ม เมื่อช�้ำเป็นสีแดงแล้ว เปลี่ยนเป็นด�ำ ปากร ู กว้าง 0.7-1 มม. เกือบกลม เทา แล้วเปลี่ยนเป็นด�ำเมื่อจับต้อง ก้าน 30-70 x 5-15 มม. ทรงกระบอก เรียวไปหาโคนก้าน มักมีลายตาข่ายครึ่งบน สีเดียวกับหมวก เนื้อ หนา แน่น ซีดถึงขาวอมเทา เมื่อ ช�้ำเป็นแดงอมเทาในที่สุดด�ำ สปอร ์ 8.5-11 x 3.5-4.5 µm รูปกระสวย ผิวเรียบ มีติ่งสปอร์ เหลืองซีด บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติภูเรือ จ.เลย

250 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Tylopilus vinosobrunneus Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าสีเปลือกมังคุด ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 45-60 มม. โค้ง นูนคล้ายกระทะคว�่ำแล้วแบนลง สีเปลือก มังคุด มีขนอ่อนบางๆ รู ขาว เปลี่ยนเป็น ชมพูและชมพูแดง ปากรู 2-3 รู/มม. เกือบกลม สีเดียวกับรู ก้าน 80 x 10-12 มม. รูปกระบองที่มีโคนใหญ่ สีเดียวกับหมวกและมีขนบางๆ เนื้อ น�้ำตาลอ่อน เมื่อช�้ำเป็นสีแดงเรื่อๆ สปอร ์ 9-12 x 4-5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอม ชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tylopilus virens (W.F. Chiu) Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Boletus virens W.F. Chiu

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-60 มม. โค้งนูนแล้วแบนและขอบหมวกยกขึ้น ผิวแห้ง หยักย่นเล็กน้อย มีขนละเอียด คล้ายก�ำมะหยี่ เขียวมะกอกอมน�้ำตาล รู ยาว 5-10 มม. ขาวแล้วเปลี่ยนเป็น ชมพูอ่อน ปากรู เล็ก สีเดียวกับรู ก้าน 50-60 x 70-110 มม. ค่อยๆ ใหญ่ไปหาโคนก้าน เหลืองหรือ เหลืองอมเขียว มีลายร่างแหตามยาวสีแดงบริเวณกลางก้าน เนื้อ เหลือง สปอร์ 10-14 x 4-6 µm ทรงรียาว เรียบ ผนังบาง เหลืองอ่อนอมชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 251 อันดับ Boletales วงศ์ Boletinellaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phlebopus braunii (Bres.) Heinem. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าน�้ำตาล ห้า ชื่อพ้อง Boletus braunii Bres.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø กว้างได้ถึง 300 มม. โค้งนูนแล้วกางแบน หนืดมือเมื่อเปียกชื้น น�้ำตาลเข้มอมเหลืองถึงน�้ำตาลเข้มอมแดง รู ยาว 1 มม. ค่อยๆ สั้นลงไปที่ขอบหมวก น�้ำตาลอมเขียวมะกอกปนเปื้อนแดงเรื่อๆ ปากรู กลม มี 2-3 รู/มม. น�้ำตาลเข้มถึงน�้ำตาลแดง ก้าน 150-200 x 40-100 มม. ที่โคนบวมพองเป็นกระเปาะ ตอนบนสีน�้ำตาลอมแดง ตอนล่างสีน�้ำตาลเข้ม มีร่องยาวหยาบที่โคน เนื้อ นิ่ม เหลืองอ่อน น�้ำเงินเรื่อๆ เมื่อตัด ปนเปื้อนน�้ำตาล โคนเปลี่ยนเป็น น�้ำตาลแดง สปอร ์ 4-6.7 x 4.4-5 µm รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนาสีน�้ำตาล น�้ำตาลอมเขียวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใต้ต้นไม้ใบกว้าง กินได้เมื่อต้มสุก สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phlebopus portentosus (Berk. & Broome) Boedijn ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ผึ้งค�ำ ผึ้งทอง ชื่อพ้อง Boletus portentosus Berk. & Broome

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 120-300 มม. โค้ง นูนรูปคล้ายกระทะคว�่ำแล้วกางแบน ตรงกลาง เว้าเป็นแอ่งเล็กน้อย ผิวแห้ง มีขนอ่อนคล้ายก�ำมะหยี่แล้วเกลี้ยง ลื่นมือเมื่อชื้น น�้ำตาลอมเหลืองหม่น รู ยาว 4-7 มม. เรียวลงไปติดก้านเล็กน้อย เหลืองอมเขียว ปากรู กลม เล็ก ขนาด 0.3-0.8 มม. เหลืองแล้วเหลืองอมเขียวมะกอก เมื่อช�้ำเป็นสีน�้ำเงิน ก้าน 40-80 x 30-40 มม. โคนโป่งเป็นกระเปาะ มีแอ่งหรือร่อง น�้ำตาลด�ำ เนื้อ เหลืองอ่อนค่อยๆ เปลี่ยนเป็นน�้ำเงินอมเขียวเมื่อถูกตัดโดยเฉพาะ ตอนบนของก้านและเนื้อหมวกใกล้รู สปอร์ 5.2-6.2 x 6.6-9.4 µm ทรงรี เกือบกลม ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอ่อน ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ดอกเดี่ยวหรือกลุ่มบนพื้นดินใต้ต้นไม้ กินได้เมื่อต้มสุก

252 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Boletales วงศ์ Hygrophoropsidaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mycoamaranthus cambodgensis (Pat.) Trappe, Lumyong, P. Lumyong, Sanmee & Zhu L. Yang ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขล�ำหมา ชื่อพ้อง Dendrogaster combodgensis Pat. Gymnoglossum combodgense (Pat.) Zeller

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 10-35 มม. สูง 10-40 มม. รูปเกือบกลมหรือรูปร่างอื่น เปลือกบาง มีขนอ่อน เรียบหรือเป็นเกล็ดเล็กๆ เหลืองสด แล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอมเหลือง บริเวณเนื้อเยื่อที่เกิดสปอร์ ขาว ยืดหยุ่น เปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอ่อน แล้วเป็นน�้ำตาลด�ำ มีหรือไม่มีฐานคล้ายก้านสีเหลือง สปอร์ 11-14 x 7-10 µm รูปยาวรีเหมือนลูกแพร์ ผิวมีหนามฝังอยู่ในวุ้น สีน�้ำตาล ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าผลัดใบและป่าสน กินได้ เมื่อดอกอ่อน สถานที่พบ กระจายทั่วไปทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อันดับ Boletales วงศ์ Paxillaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Boletinellus rompelii (Pat. & Rick) Watling ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปอดพรุน ชื่อพ้อง Phylloporus rompelii Pat. & Rick Gyrodon rompelii (Pat. & Rick) Singer

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-140 มม. นูน แล้วแบน กลางหมวกเว้าเมื่อแก่ ขอบมัก งอเป็นคลื่น มีขนอ่อนหรือเรียบ น�้ำตาลอมเหลืองหรือน�้ำตาลหม่น รู ยาว 3-10 มม. เหลือง ปากรู กว้าง 1-3 มม. กลม รูที่อยู่ใกล้ก้านยาวเรียงเป็นรัศมีลงไปติดก้าน เหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นเหลืองหม่น ไปจนถึงน�้ำตาลแดงเมื่อแก่ ก้าน 20-120 x 10-40 มม. ไม่อยู่กึ่งกลางดอก ตอนบนเหลือง โคนสีสนิม หรือน�้ำตาลแดง เนื้อ เหลืองอ่อนถึงเหลือง เกิดสีเขียวอ่อนกับน�้ำยา 10% FeSO4 สีอบเชยกับ 5% NH4OH สปอร์ 7-10 x 6-7.5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง เหลืองอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใต้ต้นไม้ กินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น�้ำภาชี จ.ราชบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 253 อันดับ Boletales วงศ์ Sclerodermataceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Astraeus odoratus Phosri, Watling, M.P. Martin & Whalley ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เผาะ ถอบ เหียง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø ไม่เกิน 65 มม. เป็นก้อนกลม หรือกลมแบน ผนังชั้นนอก น�้ำตาลอ่อนถึงน�้ำตาลเข้ม แล้วแตกคล้าย แฉกดาวเป็น 3-9 แฉก ในอากาศเปียกชื้น แฉกงอเข้า แตก และห่อเมื่ออากาศแห้ง ผนังชั้นในกลม กว้าง 13-25 มม. คล้ายถุง ผนังบาง น�้ำตาล อ่อนหรือด�ำปนม่วง มีรูเปิดด้านบน 1 รู สปอร์ 7.5-15.2 µm กลม ผิวเป็นปุ่ม น�้ำตาลบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดใกล้กันเป็นกลุ่มบนพื้นดินปนทราย กินได้ เห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ กระจายทั่วทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอุทยานแห่งชาติน�้ำตกเอราวัณ จ.กาญจนบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisolithus tinctorius (Mont.) E. Fisch. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หัวเข่าก้อนกรวด ชื่อพ้อง Polysaccum tinctorium Mont.

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 50-100 มม. สูง 50-200 มม. กลม หรือรูปกระบอง เรียวลงเป็นก้านที่ฐาน ผิวเรียบค่อนข้าง เป็นมัน น�้ำตาลอมเหลือง แล้วปริแตกออก เป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อดอกแก่ ภายในแบ่งเป็น ก้อนกลมเล็กของผงสปอร์ ขาว เหลืองหรือน�้ำตาล สปอร ์ 9-12 µm กลม มีหนาม น�้ำตาลอมเหลือง ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนดินปนทรายในป่าผลัดใบและสวนป่ายูคาลิปตัส กินได้ เมื่อยังอ่อน สถานที่พบ กระจายทั่วทั้งประเทศ

254 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Scleroderma areolatum Ehrenb. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ Leopard Earthball ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ด Ø 14-44 มม. กลม เยื่อหุ้มบาง เหนียวคล้ายแผ่นหนัง น�้ำตาลอ่อนถึงน�้ำตาลปนเหลือง ปกคลุม ด้วยจุดหรือแผ่นน�้ำตาลเข้ม ที่ฐานมีเส้นใย ที่ลักษณะคล้ายราก (rhizomorph) ขาว เหลือง หรือน�้ำตาลอ่อน เมื่อผ่าพบส่วนที่ให้ก�ำเนิดสปอร์ () น�้ำตาลเทา ถึงม่วงอ่อน สปอร์ 10.0-14.5 µm กลม น�้ำตาลเข้ม ผิวมีหนามโดยรอบแต่ไม่สาน กันเป็นร่างแห ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดกระจายกันห่างๆ หรือรวมกันเป็นกระจุก ขึ้นจาก พื้นดิน ดอกอ่อนกินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Scleroderma citrinum Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 20-40 มม. ทรงเกือบกลมเมื่ออ่อน แบนลงเมื่อแก่ น�้ำตาลอมเหลือง ปกคลุมด้วยปุ่มนูน เหนียวซึ่งตรงกลางสีน�้ำตาลเข้มกว่า เปลือกหนา ขาว ปริแตกเป็นพูเมื่อแก่ ก้อนสปอร์สีขาวเกาะกันเเน่นเหนียว แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นลายหินอ่อนด�ำอมม่วงและเป็นผง สปอร์ 8-12 µm ทรงกลม ผิวมีหนามละเอียดและสันนูนสานกันเป็นตาข่าย น�้ำตาลดำ� บนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่ อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เป็นดอกเดี่ยวหรือหลายดอกบนพื้นดินในป่าสนเขาและป่าเต็งรัง กินไมได้่ มีรสขม เป็นเห็ดพิษ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่ และ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก พัฒนา จ.อุดรธานี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 255 ชื่อวิทยาศาสตร์ Scleroderma sinnamariense Mont. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กระดุมทอง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 10-40 มม. เมื่อ อ่อนเป็นก้อนสีเหลืองทอง เมื่อแก่ด้านบน แบนลงเล็กน้อย ผิวนอกเปลี่ยนเป็นสี น�้ำตาลอ่อนค่อนข้างแข็ง เหนียว และ ปริแตก เมื่อดอกแก่เต็มที่ด้านบนจะปริแตก เป็น 2-3 แฉก ภายในเป็นสีน�้ำตาลอมเทา ถึงน�้ำตาลอมม่วง ฐานดอกมีกลุ่มของเส้นใยสีเหลืองทอง สปอร์ 7-9 µm ทรงกลม ผิวขรุขระเป็นหนามละเอียดโดยรอบ สีน�้ำตาล ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวอยู่ใกล้กันเป็นกลุ่มบนพื้นดินในป่าสนเขา ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

อันดับ Boletales วงศ์ Suillaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Suillus bovinus (Pers.) Roussel ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าส้มอมชมพู ชื่อพ้อง Boletus bovinus Pers.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-100 มม. โค้งนูนคล้ายกระทะคว�่ำแล้วกางแบน ผิว เป็นเมือกและมันวาว ส้มอมแดงจนถึง น�้ำตาลอมส้ม ขอบขาวเด่นชัด รู ยาว 3- 6 มม. ร ู รอบก้านเบียดเข้าไปติดก้าน น�้ำตาลอมส้มจนถึงน�้ำตาลอ่อนอมเขียวหม่น ปากรู กว้างเกือบถึง 2 มม. เหลี่ยม เรียงเป็นรัศมี สีเดียว กับรู ก้าน 40-60 x 10-15 มม. ทรงกระบอก ผิวเรียบ สีเดียวกับหมวก เนื้อ แน่น เหลืองอ่อน ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีปูนหม่นจากโคนเมื่อแก่ สปอร์ 14-15 x 6-6.5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอม เขียวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าดิบแล้ง กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

256 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Suillus granulatus (L.) Roussel ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าน�้ำนม ชื่อพ้อง Boletus granulatus L. Agaricus granulatus (L.) Lam. Suillus (With.) A.H. Sm. & Thiers

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ด Ø 40-100 มม. รูปครึ่งวงกลม แล้วกางออกโค้งนูน ผิวเรียบ เป็นเมือกเมื่อเปียกชื้น น�้ำตาลอมเหลืองจนถึงน�้ำตาลแดง รู ยาว 4-10 มม. ติดก้าน เหลืองอ่อน ปากรู กว้าง 1 รู/มม. เหลี่ยม สี เดียวกับรู เมื่ออ่อนมีน�้ำยางขาวออกมาเป็นหยด ก้าน 40-100 x 10-20 มม. ทรงกระบอก เหลืองอ่อน ตอนบน ปกคลุมด้วยตุ่มชมพูหรือน�้ำตาล ตอนล่างน�้ำตาลหม่นอมเหลือง เนื้อ แน่น เหลืองอ่อน สปอร์ 7-10 x 3-4 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง สีอบเชยบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรังและป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี และสถานีวนวัฒนวิจัยแม่สะนาม จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Suillus intermedius (A.H. Sm. & Thiers) A.H. Sm. & Thiers ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตับเต่าเนื้อเปรี้ยว ชื่อพ้อง Boletellus intermedius A.H. Sm. & Thiers

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-80 มม. โค้งนูนคล้ายกระทะควำ�่ ผิวเรียบ หนืดมือ เมื่อเปียกชื้น เป็นมันวาว ขอบมีเยื่อบาง สีเหลืองติดอยู่ แล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอ่อนถึงเหลืองอมน�้ำตาล รู ยาว 7-10 มม. เหลืองอ่อน ปากรู 2 รู/มม. เหลี่ยม สีเดียวกับรู ก้าน 40-60 x 6-12 มม. ทรงกระบอก เหลืองอ่อน เหลืองอมน�้ำตาลเมื่อ ดอกแก่ ส่วนล่างมักเป็นทางยาวหรือตุ่มเล็กๆ น�้ำตาลอ่อน วงแหวนเหลืองอ่อน เป็นยางเหนียว เนื้อ เหลืองอ่อนถึงเหลืองอมส้ม สปอร์ 8-10 x 3-5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ น�้ำตาลอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ มีรสเปรี้ยว สถานที่พบ อุทยาน แห่งชาติภูเรือ จ.เลย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 257 อันดับ Cantharellales วงศ์ Cantharellaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cantharellus cibarius Fr ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ มันปูใหญ่/chanterelle ชื่อพ้อง Agaricus chantarellus L. Craterellus cibarius (Fr.) Quél.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-15 มม. รูปกรวย กลางหมวก เว้าเป็นแอ่งลึก ขอบเป็นคลื่น ผิวแห้ง มีขนถึงเรียบ เหลืองถึงเหลืองอมส้ม ด้านล่างมีสันหนาคล้ายครีบ บางแห่งเชื่อมติดกันเป็นรูปส้อมและผนังเชื่อมกัน เรียงห่าง เรียวลงไปติดก้าน เหลืองอ่อนถึงเหลือง ก้าน 20-50 x 5-20 มม. เรียบหรือมีขนบางๆ เหลืองอ่อนถึง เหลืองอมส้ม เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 8-10 x 4-6 µm ทรงรี เรียบ ผนังบาง เหลืองอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใน ป่าเต็งรังและป่าสน กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง จ.ล�ำพูน และ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก พัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cantharellus cinnabarinus (Schwein.) Schwein. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus cinnabarinus Schwein. Chanterel cinnabarinus (Schwein.) Murrill

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-25 มม. เป็นแผ่นโค้งนูน ส้มครีม หรือกลางดอก มีรอยบุ๋มลงเล็กน้อย ผิวด้านบนค่อนข้าง เรียบด้านล่างมีลักษณะรอยพับย่นคล้ายครีบ สีอ่อนกว่าหมวก และปกคลุมด้วยผงขาวเล็กน้อย ก้าน 30-60 x 3-5 มม. ทรงกระบอก ส้มครีม เนื้อ สีเดียวกับก้าน สปอร์ 15-22.5 x 8.75-10 µm ใส รูปร่าง รีปลายมนทั้งสองด้าน มีหยดน�้ำมันภายใน 2 หยด ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา พบในป่าดิบแล้ง ดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มตามพื้นดิน กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย และสถานีวิจัย สิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

258 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Cantharellus cinnabarinus var. australiensis (Cleland) Corner ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขมิ้นอ้อยสายพันธุ์ชมพู ชื่อพ้อง Cantharellus cibarius var. australiensis Cleland

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 30-50 มม. โค้งนูนไปถึงเป็นแอ่งกลางหมวก มีผงแป้ง บางๆ หนืดมือเล็กน้อย สีส้มอมชมพูหรือสีปูนแดง ครีบ เรียวลงติดก้าน เรียงห่างเล็กน้อย หนา แยก เป็นรูปซ่อมหลายชั้น สีอ่อนกว่าหมวก ก้าน 20-50 x 5-10 มม. มักแบน กลวงเล็กน้อย สีเดียวกับ หมวก สปอร์ 7-11 x 4-6 µm ทรงรี เรียบ ขาว ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือ เป็นกลุ่มบนพื้นดินในป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Craterellus aureus Berk. & M.A. Curtis ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขมิ้นน้อย ชื่อพ้อง Cantharellus aureus (Berk. & M.A. Curtis) Bres.

ลักษณะทั่วไป ดอก รูปแตรปากกว้าง 5-30 มม. สูง 20-40 มม. ผิวเรียบ ขอบ เป็นคลื่น เหลืองสดถึงส้มสด ด้านเจริญ พันธุ์เรียบถึงย่นเล็กน้อย เหลืองอ่อนถึง เหลืองอมส้ม ก้าน ยาว 20-40 มม. ทรงกระบอก อยู่กึ่งกลาง บางครั้งค่อนไปข้างหนึ่ง เหลืองอมส้มถึง เหลืองสด เนื้อ บาง เหลืองอมส้ม สปอร์ 7-9 x 5-6 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง จ.ล�ำพูน และ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 259 ชื่อวิทยาศาสตร์ Craterellus cinereus (Pers.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Merulius cinereus Pers. Craterellus cinereus (Pers.) Pers. Pseudocraterellus cinereus (Pers.) Kalamees

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-45 มม. คล้ายปากแตร เหนียวคล้ายแผ่นหนัง เรียบ น�้ำตาลปนเทาถึงน�้ำตาลด�ำ ตรงกลางเข้ม ขอบเรียบหรือมีรอยขาดแหว่งเล็กน้อย รอยย่น ขึ้นจากก้าน ห่าง ปลายรอยย่นใกล้ๆ ขอบหมวกแยกเป็นสอง รอยพับเชื่อมต่อกันเป็นตาข่ายที่บริเวณ ใกล้ๆ ขอบ ก้าน 18-36 x 3-7 มม. ทรงกระบอก แบน ติดกลางหมวก กลวง สีคล้ายกับผิวหมวก ยืดหยุ่นและหักงอได้ สปอร์ 9-12.5 x 6-8.5 µm ทรงกลมถึงเกือบกลม บาง ใส เรียบ ภายในมีหยด น�้ำมันขนาดเล็กหลายอัน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดได้ทั้งเดี่ยวๆ กระจายกันห่างๆ หรือรวมกันเป็นกระจุก บนพื้นดินโดยตรง กินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวง อ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Craterellus odoratus (Schwein.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขมิ้นใหญ่ ขมิ้นหลวง ชื่อพ้อง Merulius odoratus Schwein.

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 38-70 มม. รูป กรวย บางและเรียบ ขอบเป็นคลื่นและพู เหลืองอมส้มหรือส้ม ด้านล่าง เรียบถึง ย่นเล็กน้อย เหลืองอ่อนอมส้ม ก้าน ไม่ชัดเจน สั้น กลวง เหลืองอมส้ม เนื้อ บาง ส้ม สปอร์ 8-12 x 4.5-6 µm ทรงรียาวถึงรูปไข่แคบๆ ผิวเรียบ ผนังบาง ส้มอมชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือ เป็นกลุ่มติดกัน บนพื้นดินในป่าดิบแล้ง กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

260 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Pseudocraterellus undulatus (Pers.) Rauschert ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Cantharellus sinuosus Fr. Craterellus sinuosus (Fr.) Fr. Craterellus nudulatus (Pers.) Redeuilh Pseudocraterellus sinuosus (Fr.) Corner

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-30 มม. รูป กรวยเล็ก ขอบเป็นคลื่นและมีรอยย่นเป็นรัศมี น�้ำตาล ด้านล่างผิวเรียบ เทาอมน�้ำตาล ก้าน 20-30 x 1-2 มม. เรียวลงไป แบนเล็กน้อยและเป็นร่อง ผิวเรียบ เทาอมน�้ำตาล สปอร ์ 7-8 x 3-4 µm ทรงรี ผิว เกลี้ยง ใส ไม่มีสี ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอรืไรซา เกิดเป็นกลุ่มใกล้กัน บนพื้นดินในป่า ไมมีข้อมูลว่ ่า กินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

อันดับ Cantharellales วงศ์ Clavulinaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clavulina cinerea (Bull.) J. Schrot. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปะการังสีเทา ชื่อพ้อง Clavaria cinerea Bull. Ramaria cinerea (Bull.) Gray

ลักษณะทั่วไป ดอก รูปร่างคล้ายปะการัง เกิดเป็นกลุ่ม กว้าง 25-30 มม. สูง 55 มม. สีเทาแตกแขนงเป็นรูปทรงกระบอก เรียวยาว ยอดไม่แตกแขนง ปลายสีด�ำ แหลม ก้าน 20-30 x 20-30 มม. แบน และเป็นคลื่นเล็กน้อย สีอ่อนกว่าส่วนอื่น สปอร์ 6-9 x 7-10 µm ทรงรีกว้าง เกือบกลม ผิวเกลี้ยง ใสโปร่งแสง ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดบนพื้นดิน กินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 261 ชื่อวิทยาศาสตร์ Clavulina cristata var. brunneola K.S. Thind & Anand ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปะการังหงอนไก่ ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก รูปปะการังสีเนื้อ ทรงพุ่ม 55-70 x 20-55 มม. ก้าน สั้นๆ 10 x 2 มม. รูปทรงกระบอก ปลายแตกแขนงได้ทั้งแบบสองแฉกและหลายแฉก แหลม แบน ผิวเรียบ เกลี้ยง สปอร์ Ø 7-12 µm กลม ผิวเกลี้ยง ไม่มีสี ภายในมีหยดน�้ำมันใหญ่ 1 หยด ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นเป็นกลุ่ม โดยตรงจากดิน ไม่มี ข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก พัฒนา จ.อุดรธานี

อันดับ Dacrymycetales วงศ์ Dacrymycetaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Calocera cornea (Batsch) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ วุ้นเขากวางเหลือง/Small Stagshorn ชื่อพ้อง Clavaria cornea Batsch Corynoides cornea (Batsch) Gray Calocera palmate (Schumach.) Fr.

ลักษณะทั่วไป ดอก ยาว 5-13 มม. Ø 1-3 มม. เป็นวุ้น ก้านเดี่ยวๆ ไม่แตกแขนง หรือแตกตอนปลายเป็นง่าม เหลืองถึงเหลืองปนส้ม เกลี้ยง ตอนปลายเรียวแหลม เมื่อแห้งเปลี่ยนเป็น น�้ำตาลปนแดง ส่วนที่ให้ก�ำเนิดสปอร์อยู่รอบๆ ปลายกิ่ง สปอร์ 5-9.5 x 3.5-4 µm โค้งถึงคล้ายไต หรือถั่ว ผิวเรียบ ใส ไม่มีสีถึงเหลืองอ่อน เมื่อแก่อาจพบว่ามีผนังกั้นตามขวาง 1 อัน ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม บนกิ่งไม้ที่ก�ำลังย่อยสลาย กินไม่ได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวง อ่างขาง จ.เชียงใหม่

262 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Dacryopinax spathularia (Schwein.) G.W. Martin ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ พายทอง ชื่อพ้อง Merulius spathularius Schwein. Guepinia spathularia (Schwein.) Fr.

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 10-15 มม. สูง 10-20 มม. รูปกระบองหรือรูปช้อน ขอบเป็นลอน ส่วนบนกว้าง 10-30 มม. เป็นวุ้น เหลืองถึงส้ม ก้าน 3-5 x 1-5 มม. อยู่ด้านข้าง โคนกลม ส่วนบนแบน เหลืองถึงส้ม โคนเปลี่ยน เป็นน�้ำตาลเมื่อแก่ สปอร ์ 7-10 x 3-4 µm รูปไส้กรอก ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มบนไม้ผุ กินได้ สถานที่พบ กระจายทั่วทั้งประเทศ

อันดับ Hymenochaetales วงศ์ Hymenochaetaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Coltricia cinnamomea (Jacq.) Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ อบเชย ชื่อพ้อง Boletus cinnamomeus Jacq. Microporus cinnamomeus (Jacq.) Kuntze Polyporus cinnamomeus (Jacq.) Pers.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-50 มม. กลม บาง กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย ผิวเป็นมันวาวคล้ายไหม มีริ้ว ขอบมักเป็นครุย มีแถบสีอบเชยอ่อนและแก่สลับกันเป็นวงกลม สีสนิม ถึงน�้ำตาลแดง รู ยาว 0.5-2 มม. สีอบเชย ปากรู มี 2-3 รู/มม. เหลี่ยม น�้ำตาลอมเหลืองหรือ น�้ำตาลแดง ก้าน 10-30 x 1-3 มม. ทรงกระบอก มีขนอ่อน สีอบเชยถึงน�้ำตาลแดง สปอร ์ 6-8 x 5-7 µm ทรงรี เรียบ น�้ำตาลอมเหลืองบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เดี่ยวหรือเป็นกลุ่มบน ขอนไม้ที่ฝังอยู่ใต้ดินในป่าผลัดใบ กินไมได้่ สถานที่พบ กระจายทั่วทั้งประเทศ

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 263 ชื่อวิทยาศาสตร์ Coltricia perennis (L.) Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Boletus perennis L. Polyporus perennis (L.) Fr. Polystictus perennis (L.) Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-50 มม. เกิดทุกปี แบนหรือเป็นแอ่งเว้ากลาง หมวกเล็กน้อย น�้ำตาลอมเหลือง ดอกแก่ เปลี่ยนเป็นเทาอ่อน มีลายวงกลมซ้อนกันหลายชั้น สลับน�้ำตาลอ่อนแก่ บางทีมีเส้นรัศมีบนหมวก ขอบบาง ม้วนงอลงเล็กน้อย ปากรู กลมถึงเหลี่ยม บางครั้งเชื่อมต่อกันคล้ายเขาวงกต น�้ำตาลเข้ม ขึ้นจากก้าน 1-3 รู/มม. ก้าน 20-40 x 2-5 มม. อยู่กึ่งกลาง น�้ำตาลอ่อนอมเหลือง มักแบนบริเวณ ใกล้โคนก้าน เนื้อน�้ำตาลอมเหลือง สปอร ์ 6-7 x 4-5 µm ทรงรีกว้าง น�้ำตาลอ่อนอมเหลือง ผิวเรียบ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดบนขอนไม้ใด้ดินในป่าผลัดใบ ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่ และ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyclomyces fuscus Kunze ex Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Inonotus fuscus (Kunze ex Fr.) Corner Polyporus campyloporus Mont.

ลักษณะทั่วไป หมวก 10-20 x 5-10 มม. รูปพัดหรือครึ่งวงกลม น�้ำตาลแดง มีแนว รัศมีเป็นร่องและเป็นวงขนานกับขอบ มีขน เป็นมันเงาทั่วตลอดทั้งหมวก ขอบน�้ำตาลอ่อนถึงน�้ำตาลอมเหลือง ด้านเจริญพันธุ์ เป็นรอยครีบขนาน กับขอบ น�้ำตาลแดง เนื้อ เหนียว น�้ำตาลแดง สปอร ์ 2-3 x 2 µm ทรงรีเกือบกลม ผิวเรียบ ผนังบาง ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดบนขอนไม้และตอไม้ในป่าดิบแล้ง ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

264 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Cyclomyces setiporus (Berk.) Pat. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Polyporus setiporus Berk. Inonotus setiporus (Berk.) G. Cunn.

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ดมีอายุปีเดียวถึง หลายปี ไม่มีก้าน อาจราบไปกับเนื้อไม้ที่ เห็ดขึ้น หรือขอบกระดกเล็กน้อย หมวก 15-40 x 20-50 มม. หนา 10-15 มม. ผิวด้านบนสีต�้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาลเข้ม ปกคลุมด้วยขนถึงเรียบ รู เป็นรอยพับ หรือรอยย่นเป็นวงรัศมีชัดเจน เกือบกลมหรือเป็นเหลี่ยม ขอบรูบาง มี 1-3 รู/มม. ผิวรูน�้ำตาลอมเหลือง ถึงน�้ำตาลเข้ม สปอร์ 3.5-4.5 x 3-3.7 µm ทรงรี ถึงทรงรีกว้าง ผิวเรียบ ไม่มีสี ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือเกิดซ้อนกันบนขอนไม้ ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่ง แสลงหลวง จ.พิษณุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Inonotus hispidus (Bull.) P. Karst. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Boletus hispidus Bull. Polyporus hispidus (Bull.) Fr. Xanthochrous hispidus (Bull.) Pat.

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ดมีอายุปีเดียว ไม่มีก้าน เนื้อนุ่มและฉ�่ำนำ�้ แห้งแล้วเปราะ ปริแตกง่าย หมวก รูปครึ่งวงกลม กว้าง 50-100 มม. หนา 15-25 มม. น�้ำตาลอมเหลือง รู เกือบกลมหรือเป็นเหลี่ยม มี 2-3 รู/มม. ผิวรูน�้ำตาล อมเหลือง สปอร ์ 6.5-9 x 5-7 µm ทรงรีกว้าง ไปถึงเกือบกลม ผนังหนา ผิวเรียบ น�้ำตาลอ่อนอมเหลือง ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดบนขอนไม้ในป่าดิบแล้ง ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่ง ชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 265 อันดับ Phallales วงศ์ Geastraceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Geastrum mirabile Mont. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ดาวดินขอนไม้ ดาวดินจิ๋ว/Earth’s Star ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ด รูปไข่กลับหรือ คล้ายลูกข่าง Ø 7-9 มม. สูง 4-10 มม. ผนัง 2 ชั้น ดอกแก่ผนังชั้นนอกแตกออก เป็น 5-6 แฉก น�้ำตาลอ่อน ขรุขระ ด้านใน สีน�้ำตาลซีด เรียบ ผนังชั้นในเป็นถุงเยื่อบางๆ ตรงกลางเมื่อแก่เต็มที่มีรูออกของสปอร์ บริเวณรูเปิด เป็นยอดแหลม เรียบน�้ำตาลปนเทา สปอร ์ 4-6 µm กลม มีตุ่มนูนเล็กๆ สีน�้ำตาลเข้ม ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม ขึ้นบนซากใบไม้และกิ่งไม้ผุ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชน บ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี และพบกระจายทั่วประเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Geastrum rufescens Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ดาวดินชมพูหม่น ชื่อพ้อง Geastrum schaefferi Vittad. Geastrum vulgatum Vittad.

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 20-50 มม. กลม ผิวด้านนอกแตกเป็น 7-9 แฉก ซึ่ง โค้งงอลง นำ�้ ตาลอ่อน ผิวด้านในชมพูหม่น หรืออมม่วง อับสปอร ์ กว้าง 15-30 มม. ผนังบาง น�้ำตาลอมเทาถึงน�้ำตาลอ่อน ด้านบนตรงกลางนูนเปิดเป็นปากรู มีขนโดยรอบ สปอร์ 3- 4.5 µm กลม เป็นปุ่มนูน น�้ำตาล ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดบนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถมใน ป่าดิบแล้ง กินไมได้่ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

266 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Geastrum saccatum Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ดาวดินกลม ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 23-35 มม. เกือบกลม น�้ำตาล อมเหลืองถึงน�้ำตาลอมชมพู ผนังชั้นนอกแยกออกเป็น 5-7 แฉก ซึ่งงอลงเมื่อแก่ อับสปอร์ 20 มม. ตั้งอยู่ กลางแฉก น�้ำตาลอ่อน เรียบ ผนังบาง ด้านบนมีแอ่ง วงกลมเล็กๆ สีขาวรอบๆ รูที่เปิดคล้ายปาก สปอร์ 3-5 µm กลม ผิวเป็นปุ่ม น�้ำตาล ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนใบไม้ผุเปื่อยและรอบๆ ตอไม้ผุในป่าเต็งรัง ไมมีข้อมูล่ ว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Geastrum stipitatum Solms ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ดาวหาง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 20-50 มม. ทรง กลมมีปุ่มนูนตรงกลางและมีฐานยาวคล้ายก้าน ผนังชั้นนอกเรียบ น�้ำตาลอ่อน แยกออกเป็น 6 แฉก เมื่อแก่ แฉกงอลงเป็นแบบรูปดาว อับสปอร์ 18-45 มม. สีเดียวกับผนังชั้นนอก มีรูเปิด 1 รู ด้านบน ก้าน 20-40 x 7-8 มม. เรียบ น�้ำตาลอ่อน สปอร ์ 5 µm ทรงกลม ผิวเกือบเรียบ น�้ำตาลบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มใกล้กันบนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถมกันหนาใน ป่าดิบแล้ง ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 267 อันดับ Phallales วงศ์ Gomphaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gomphus floccosus (Schwein.) Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กรวยเกล็ดทอง ชื่อพ้อง Cantharellus floccosus Schwein. Merulius floccosus (Schwein.) Kuntze

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 30-150 มม. สูง 70-150 มม. รูปกรวยลึก ขอบเป็นลอน และคลื่น มีเกล็ดหยาบแบนสีส้มถึงแดง เกล็ดงอขึ้นบริเวณกลางหมวก ส้มอ่อน ถึงส้มอมแดง ผิวด้านนอก เป็นรอยย่น มีสันเตี้ยและบางอันมีสันเชื่อมเป็นตาข่าย เหลืองอ่อนถึงครีม ก้าน 10-30 x 10-50 มม. เรียวลงที่โคน เรียบ กลวง เหลืองอ่อน เนื้อ บางถึงค่อนข้างหนา ขาว สปอร์ 10-14 x 7-8 µm ทรงรี ผิวขรุขระหรือมีปุ่ม น�้ำตาลอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินไมได้่ มีพิษ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก และ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ramariopsis kunzei (Fr.) Corner ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Clavaria kunzei Fr. Clavulina kunzei (Fr.) J. Schröt. Clavulinopsis kunzei (Fr.) Jülich

ลักษณะทั่วไป ดอกรูปปะการัง สูง 25- 65 มม. กว้าง 45 มม ตอนบนแตกแขนง เป็นสองแฉก 3-5 ครั้ง ขาวถึงขาวอมส้ม มักแบน แหลม โคนรวมกันคล้ายก้าน 6-30 x 1-3 มม. ขาว มีขนปกคลุม เนื้อ ขาว สปอร์ 4.5-5.5 x 2.6-4 µm ทรงกลม ถึงเกือบกลม ใส ไม่มีสี ผนังมีหนามแหลมละเอียด ภายในมีหยดน�้ำมัน 1-2 หยด ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นกลุ่ม กระจายใกล้ๆ กันบนพื้นดิน ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี

268 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Phallales วงศ์ Phallaceae

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Anthurus brownii J.M. Mend. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ มือขาว ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 30-40 มม. สูง 20-30 มม. รูปใข่ ขาว หรือครีม ที่ฐานมีเส้นใยสีขาวคล้ายเชือกสั้น 1 เส้น ด้านบนเปิดแยกออกจากกันเมื่อแก่ ภายในสีขาว ตลอด ตอนบนเป็นฐานรองดอกสูง 50-60 มม. ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 6 นิ้ว เชื่อมติดกันที่ตอนปลาย ต่อมาแยกออก จากกัน เนื้อเยื่อที่เกิดสปอร์ เป็นเมือก กลิ่นเหม็น น�้ำตาลอมเขียวมะกอก เกิดบนผิวด้านในของมือ ก้าน สั้น ใหญ่ เรียบ กลวง สปอร์ 3.5-4 x 2.8-3.8 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง กลุ่มสปอร์เป็นเมือกน�้ำตาลอมเขียวมะกอก ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวหรือ เป็นกลุ่มเล็กๆ บนพื้นดินที่มีซากพืชทับถมกันมากและมีความชื้นสูง ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aseroe arachnoidea E. Fisch. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ปลาหมึก ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 25-30 มม. สูง 35 มม. รูปไข่ ขาว ต่อมาด้านบนแตก ให้ก้านและหมวกออกมาจากไข่ สูงถึง 100 มม. ขาว ประกอบด้วยก้านกลวง ปลายแบน มีแขนปลายแหลมงอ 10 แขน เกิดรอบก้าน มีสันนูนกั้นขวางยาว 30-35 มม. เนื้อเยื่อที่เกิดสปอร์ เป็นเมือก มีกลิ่นเหม็น น�้ำตาล อมเขียวมะกอก ฉาบบนแป้นปลายก้านและด้านในของแขน สปอร์ 3-4 x 2-2.5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง กลุ่มสปอร์เป็นเมือกน�้ำตาลอมเขียวมะกอก ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นดอกเดี่ยว อยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ บนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถม ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 269 ชื่อวิทยาศาสตร์ Dictyophora multicolor Berk. & Broome ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 20-25 มม. สูง 25-35 มม. ดอกอ่อนรูปเหมือนไข่ ขาวถึงเทาอ่อน ยึดติดกับพื้นดิน ด้วยเส้นคล้ายรากขาว 1 เส้น ต่อมาด้านบนแตกออก ให้หมวกและก้านชูขึ้นมา หมวก กว้าง 25-35 มม. สูง 25- 30 มม. รูประฆัง ปกคลุมด้วยหลุมลึกเล็กๆ เต็มไปด้วย สปอร์ในน�้ำเมือก มีกลิ่นเหม็น น�้ำตาลอมเขียวหม่น มีรูเปิดเป็นวงกลมสีขาวที่ยอด ก้าน ยาว 100-150 มม. หนา 15-25 มม. ทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าเล็กน้อย คล้ายฟองน�้ำ กลวง เหลือง รอบก้านมีร่างแหเหลืองยาว 100-120 มม. ห้อยลงมาจากใต้หมวก สปอร์ 4-4.5 x 1.5-2 µm ทรงรี เรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอมเขียวมะกอก ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนพื้นดิน ที่มีอินทรียวัตถุทับถม กินได้ เมื่อเอาหมวกและเปลือกดอกอ่อนออกแล้ว สถานที่พบ ป่าดิบชื้น สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mutinus bambusinus (Zoll.) E. Fisch. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หน่อไผ่แดง เขาเหม็นแดง ชื่อพ้อง Phallus bambusinus Zoll.

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 13-15 มม. สูง 20-80 มม. รูปไข่ ขาว แตกออกทาง ด้านบน ด้านล่างกางเป็นรูปถ้วยหุ้มโคน ก้าน หมวกและก้านโผล่ออกมาจากไข่ หมวก สูง 20 มม. ทรงกระบอก ปลายบนแหลม ผิวย่นเล็กน้อย แดงอมส้มปกคลุมด้วยเมือก กลิ่น เหม็น สีเขียวเข้มถึงเขียวอมน�้ำตาล ก้าน ยาว 50-100 มม. หนา 5-15 มม. เป็นรูพรุนเหมือนฟองน�้ำ กลวง ปลายเรียวเล็กกว่าโคน ชมพูหรือแดงอมชมพู สปอร์ 3.5-6 x 1.5-2 µm ทรงรียาว เรียบ ผนัง บาง เขียวอมน�้ำตาล ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุทับถมในป่าไผ่ ไมมีข้อมูล่ ว่ากินได้ สถานที่พบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

270 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Phallus indusiatus Vent. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ร่างแหกระโปรงยาว ชื่อพ้อง Dictyophora indusiata (Vent.) Desv.

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 20-25 มม. สูง 25-35 มม. รูปเหมือนไข่ ขาวถึงเทาอ่อน ยึดติดกับพื้นดินด้วยเส้น คล้ายรากขาว 1 เส้น ต่อมาด้านบนแตกออก ให้หมวก และก้านชูขึ้นมา หมวก กว้าง 25-35 มม. สูง 25-30 มม. รูประฆัง ปกคลุมด้วยหลุมลึกเล็กๆ เต็มไปด้วยสปอร์ใน น�้ำเมือก มีกลิ่นเหม็น น�้ำตาลอมเขียวหม่น มีรูเปิดเป็น วงกลมสีขาวที่ยอด ก้าน ยาว 100-150 มม. หนา 15- 25 มม. ทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าเล็กน้อย คล้ายฟองน�้ำ กลวง ขาว รอบก้านมีร่างแหขาวยาว 100-120 มม. ห้อยลงมาจากใต้หมวก สปอร์ 4-4.5 x 1.5-2 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอมเขียวมะกอก ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุ ทับถมในป่าดิบแล้ง กินได้ เมื่อเอาหมวกและเปลือกดอกอ่อนออกแล้ว เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Phallus rugulosus Lloyd ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เขาเหม็นสีแดง เทียนแดง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 15-20 มม. สูง 20-40 มม. รูปไข่ ขาวไปถึงชมพูอ่อน โคนมีเส้นสีขาวคล้ายราก หลายเส้น แล้วด้านบนปริแตกออกกลายเป็นรูปถ้วยอยู่ ที่โคน ก้านและหมวกโผล่ขึ้นมาจากไข่ หมวก กว้าง 15- 20 มม. สูง 20-30 มม. รูปโดม ขอบไม่ติดก้าน ปลายบน เป็นแป้นขาวเปิดเป็นรูกลวงของก้าน ผิวย่นแบบร่างเเห บางๆ ด้านล่างแดง ปกคลุมด้วยน�้ำเมือกสปอร์น�้ำตาล อมเขียวหม่น กลิ่นเหม็น ก้าน ยาว 100-150 มม. หนา 15-20 มม. ทรงกระบอก เรียวเล็กด้านบน คล้ายฟองน�้ำ ชมพูอ่อน ปลายบนแดง สปอร์ 4-5 x 2 µm รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังบาง น�้ำตาลอมเขียวหม่น ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุ ทับถม ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 271 อันดับ Polyporales วงศ์ Ganodermataceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Amauroderma rude (Berk.) Torrend ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ จวักงูสีอบเชย ชื่อพ้อง Fomes rudis Berk. Ganoderma rude (Berk.) Pat. Phellinus rudis (Berk.) X.L. Zeng

ลักษณะทั่วไป หมวก 30-60 x 30-40 มม. หนา 7-10 มม. รูปไต ผิวหยาบย่นเป็น ร่องรัศม ี มีขนอ่อนปกคลุม ขอบหนา เป็น คลื่น มีแถบวงกลมซ้อนกันหลายชั้น สีอบเชยถึงน�้ำตาลเข้ม รู ยาว 2-5 มม. น�้ำตาล ปากร ู กลม มี 4-6 รู/มม. ขาว เมื่อช�้ำเปลี่ยนเป็นแดงแล้วด�ำ ก้าน 60-140 x 3-5 มม. ทรงกระบอก ปกคลุมด้วย ขนอ่อน สีเดียวกับหมวก เยื้องติดด้านใดด้านหนึ่ง เนื้อ แข็ง เป็นเส้นหยาบ น�้ำตาลอมเหลืองอ่อน ช�้ำแล้วเปลี่ยนเป็นแดง แล้วด�ำ สปอร ์ 8-11 x 7-9 µm เกือบกลม ผนังชั้นในเป็นปุ่ม ชั้นนอกเรียบ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เป็นดอกเดี่ยวถึงกลุ่มโคนติดกันบนขอนไม้ที่ฝังดิน กินได้ เป็นสมุนไพร สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก และสถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Amauroderma rugosum (Blume & T. Nees) Torrend ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ จวักงูสีอบเชย ชื่อพ้อง Polyporus rugosus Blume & T. Nees

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 17-72 มม. เกือบกลมหรือ คล้ายรูปไต ผิวด�ำ มีลักษณะเป็นรอยวงและย่น มีขนสั้น ละเอียดประปราย ขอบหยักโค้งไม่สม�่ำเสมอ ขาว รู กลม 6-8 รู/มม. ลึก 3-5 มม. ผิวขาว เมื่อช�้ำเปลี่ยนเป็น น�ำ้ ตาลปนแดงแล้วเปลี่ยนเป็นด�ำ ก้าน 150-350 x 3-5 มม. เยื้องติดด้านใดด้านหนึ่ง ทรงกระบอก ผิวน�้ำตาลปนด�ำ มีขนสั้นน�้ำตาลปนดำ� ปกคลุมคล้ายผ้าก�ำมะหย ี่ เนื้อ แน่น เหนียว แข็ง ขาว สปอร์ 13-14 x 10-11 µm รูปไข่กว้าง ผนัง 2 ชั้น ชั้นในขุรขระ ชั้นนอกเรียบ ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม บนราก ของต้นไม้ที่ฝังอยู่ในดิน กินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

272 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Ganoderma applanatum (Pers.) Pat. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หูช้าง ชื่อพ้อง Boletus applanatus Pers. Fomes applanatus (Pers.) Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก ยาว 60-300 มม. กว้าง 50-200 มม. หนา 10-30 มม. นูน ไปจนถึงรูปเกือกม้า มีปุ่มขรุขระ แถบ วงกลม มีร่องและแตกเมื่อแก่ น�้ำตาลอม เหลืองถึงน�้ำตาล ขอบขาว แล้วเป็นน�้ำตาลเมื่อแก่ รู ยาว 4-12 มม. ในแต่ละวงปีรูเกิดซ้อนกันหลาย ชั้นเมื่อแก่ น�้ำตาล ปากร ู กลม มี 4-6 รู/มม. ขาว เปลี่ยนเป็นเหลืองอ่อนถึงน�้ำตาลอ่อนเมื่อแก่ เมื่อช�้ำ เปลี่ยนเป็นน�้ำตาล ก้าน ไม่มี เนื้อ แข็ง เป็นเส้นหยาบ บางกว่าชั้นของรู น�้ำตาล สปอร ์ 6.5-9 x 5-7 µm ทรงรี ปลายข้างหนึ่งตัดเป็นเส้นตรง ผนังชั้นนอกเรียบ ผนังชั้นในหยาบ เป็นหนามน�้ำตาลอ่อน น�้ำตาลบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นซ้อนกันเป็นกลุ่มบนไม้เนื้อแข็งที่ผุ กินได้ เป็นเห็ดสมุนไพร สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก และกระจายทั่วประเทศไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma lucidum (Curtis) P. Karst. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หมื่นปี หลินจือ ชื่อพ้อง Boletus lucidus Curtis Polyporus lucidus (Curtis) Fr. Fomes lucidus (Curtis) Sacc.

ลักษณะทั่วไป หมวก ยาว 40-300 มม. กว้าง 25-250 มม. หนา 15-30 มม. รูป ครึ่งวงกลมไปจนถึงรูปไต เรียบ เป็นมัน เหมือนเคลือบด้วยน�้ำมันชักเงา เป็นแถบวง น�้ำตาลแดง รู ยาว 2-10 มม. น�้ำตาล ปากร ู กลมถึง เหลี่ยม มี 4-6 รู/มม. ขาวถึงเหลืองอมเขียว ก้าน 40-100 x 10-20 มม. ติดด้านข้างของขอบหมวก เป็นมันเหมือนเคลือบด้วยน�้ำมันชักเงา น�้ำตาล เนื้อ แข็ง เป็นเส้นหยาบ น�้ำตาลอ่อนถึงน�้ำตาล สปอร์ 7-12 x 6-8 µm ทรงรียาว ผนังสองชั้น ปลายข้างหนึ่งตัดเป็นเส้นตรง ผนังชั้นนอกเรียบ ชั้นใน หยาบ เป็นหนามน�้ำตาลอ่อน สีสนิมบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ หรือเป็นสาเหตุของ โรคพืช เกิดซ้อนกันที่โคนไม้เนื้อแข็ง กินได้ เป็นเห็ดสมุนไพรและเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ กระจาย ทั่วประเทศไทย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 273

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma resinaceum Boud. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ซิ่นเหลี่ยมยางสน ชื่อพ้อง Fomes resinaceus (Boud.) Sacc Scindalma resinaceum (Boud.) Kuntze

ลักษณะทั่วไป หมวก 12-15 x 76-84 มม. ครึ่งวงกลม ผิวน�้ำตาลปนด�ำ เป็นรอยวงและเป็นรอยย่น เงาเหมือนมีขี้ผึ้งเคลือบ ขอบเรียบเห็นเป็นวงสีขาวชัดเจน รู กลม 6-8 รู/มม. ลึก 5-10 มม. ผิวขาว เมื่อ ดอกแก่เปลี่ยนเป็นน�้ำตาลปนแดง เมื่อท�ำให้ช�้ำหรือเกิดบาดแผลจะเปลี่ยนเป็นน�้ำตาล ก้าน 10-20 x 26-35 มม. ทรงทรงกระบอกสั้น หนา เนื้อ น�้ำตาล เหนียวและแข็ง สปอร์ 10-12 x 6-7 µm รีปลายตัด มีผนัง 2 ชั้น น�้ำตาล ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ขึ้นบนท่อนไม้ผุ ไมมีข้อมูล่ ว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

อันดับ Polyporales วงศ์ Gloeophyllaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gloeophyllum striatum (Fr.) Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Daedalea striata Fr. Lenzites striata (Fr.) Fr. Cellularia striata (Fr.) Kuntze

ลักษณะทั่วไป หมวก ขนาด 155 x 95 x 4 มม. รูปพัด ด้านบนมีแถบวงกลมถี่ ผิวเรียบ สีน�้ำตาลอ่อน ไปจนถึงสีเทา ขอบเป็นคลื่น ครีบ สีน�้ำตาลหรือน�้ำตาลอมเทา ด�ำ ไม่มีก้าน สปอร์ 6-9 x 2-5 µm ทรงรียาว ใส ไม่มีสี ผนังบาง ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มบนท่อนไม้เนื้อแข็ง ไมมีข้อมูลว่ ่า กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติน�้ำตกเอราวัณ จ.กาญจนบุรี

274 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Gloeophyllum subferrugineum (Berk.) Bondartsev & Singer ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หิ้งครีบปนรูน�้ำตาลขอบเทา ชื่อพ้อง Lenzites subferruginea Berk. Daedalea subferruginea (Berk.) G. Cunn. Gloeophyllum sepiarium var. subferruginea (Berk.) A. David & Fiasson

ลักษณะทั่วไป หมวก 25-85 x 22-42 มม. ครึ่งวงกลม หนา เหลืองถึงน�้ำตาลปนแดง เป็นวงสีเข้ม สลับกับสีอ่อน มีขนคล้ายก�ำมะหยี่ปกคลุม ครีบ เรียงห่างกัน หนา พบทั้งปกติและแตกออกเป็นรูปส้อม สลับกันไป น�้ำตาลปนเหลือง สปอร์ 5-10 x 2-3.5 µm ทรงรี บาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเดี่ยวๆ ถึงเป็นกลุ่มบนขอนไม้ผุ กินไม่ได้ แต่มีประโยชน์ทางการแพทย์ มีสรรพคุณช่วยให้ การไหลเวียนของพลังงานต่างๆ ในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

อันดับ Polyporales วงศ์ Hapalopilaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Spongipellis unicolor (Fr.) Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Boletus unicolor Schwein. Polyporus unicolor Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก รูปครึ่งวงกลม หรือรูปพัด 25-60 x 30-100 มม. หนา 3-10 มม. ไม่มีก้าน บางครั้งแบนราบไปกับ กิ่งไม้แต่ขอบกระดก ผิวด้านบนน�้ำตาล อมเหลืองถึงน�้ำตาล หรือสีอบเชย มีขนหนาแน่นทั้งแข็งและนุ่ม ไม่มีลักษณะเป็นวงรัศมี ขอบบาง แหลม โค้งงอ ด้านล่างของขอบไม่มีรู รู ยาว 0.2-0.6 มม. น�้ำตาล ปากร ู 1-2 รู/มม. ไม่สม�่ำเสมอ มีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย เหลี่ยมถึงกลม ก้าน ไม่มี เนื้อ เหนียว ขาว สปอร์ 4-5.5 x 3.5-5 µm ทรงรีกว้างถึงเกือบกลม ใส ผนังบางเรียบ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนกิ่งไม้ผุ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 275 อันดับ Polyporales วงศ์ Podoscyphaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymatoderma infundibuliforme (Klotzsch) Boidin ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ข้าวเกรียบปลา ชื่อพ้อง Actinostroma infundibuliforme Klotzsch

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-80 x 50- 60 มม. รูปพัดหรือกรวย มีปุ่มนูนเล็กๆ หยักย่นด้วยสันคล้ายคมมีด ขาวบริสุทธิ์ ถึงเหลืองหม่น ด้านที่ให้ก�ำเนิดสปอร์ มีรอยหยักย่นเรียงเป็นรัศมีแคบๆ มีปุ่มนูนเล็กๆ ขาวถึงขาวอม เหลือง ก้าน 10 x 10 มม. สั้น เทาอ่อน เนื้อ เหนียว ขาว สปอร์ 6-8 x 4-5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนัง บาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดบนขอนไม้และตอไม้ในป่าดิบแล้ง กินไมได้่ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Stereopsis radicans (Berk.) D.A. Reid ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Thelephora radicans Berk. Cotylidia radicans (Berk.) Boidin Podoscypha radicans (Berk.) Pat.

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ด 20-30 x 18- 20 มม. คล้ายพัดจีบ ค่อนข้างแบน ขาวนวล หรือน�้ำตาลซีด เมื่อช�้ำเปลี่ยนเป็นน�้ำตาล ปนแดงหรือม่วงปนด�ำ ขุรขระ เป็นลอนคลื่น ขอบหยักโค้งมน เนื้อในบาง เหนียว ส่วนที่ให้ก�ำเนิด สปอร์ขรุขระ ขาวนวลหรือน�้ำตาลซีด เมื่อช�้ำจะเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลปนแดงหรือม่วงปนด�ำ สปอร ์ 7-9 x 7-8 µm ทรงกลมหรือเกือบกลม ผิวเรียบ บาง ใส ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม ขึ้นบนเปลือกไม้หรือรากไม้ที่ตายแล้ว ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้าน อ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

276 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Polyporales วงศ์ Polyporaceae

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Coriolopsis gallica (Fr.) Ryvarden ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Polyporus gallicus Fr. Trametes gallica Fr. Trametella gallica (Fr.) Teixeira

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ด มีอายุปีเดียว ไม่มีก้าน หรือแบนราบแล้วขอบกระดกขึ้น หมวก รูปครึ่งวงกลมซ้อนกันเป็นชั้นๆ 30-90 x 15-120 มม. หนา 7-15 มม. ปกคลุมด้วยขนแข็งสีน�้ำตาลอมเหลืองถึงสีน�้ำตาลเข้ม แต่ไม่มี ลักษณะเป็นวง ขอบแหลมหรือทู่ เรียบ น�้ำตาลอมเหลือง รู หนา 3-10 มม. เหลี่ยมถึงไม่สม�่ำเสมอ มี 1-3 รู/มม ผิวรูน�้ำตาลอมเทาหรือสีเดียวกันเนื้อหมวก สปอร ์ 8-13 x 3-5 µm ทรงกระบอก ผนังบาง ใส ผิวเกลี้ยง ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดบนขอนไม้เนื้อแข็ง แต่มีรายงานว่าเป็นสาเหตุของโรค ไส้ฟัก (white rot) ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cryptoporus volvatus (Peck) Shear ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กระเป๋าเปิด หอยเบี้ย/Gryptic Globe Fungus, Veiled ชื่อพ้อง Polyporus volvatus Peck Fomes volvatus (Peck) Cooke Ungulina volvata (Peck) Pat.

ลักษณะทั่วไป ดอก Ø 15-25 มม. กลม เรียบ น�้ำตาลอ่อนอมเหลือง ขาวถึงชมพูอ่อนหรือน�้ำตาลอ่อน ขอบเป็นแผ่นหนาคล้ายเยื่อ ขอบหมวก คลุมด้านล่าง ขาว น�้ำตาลอมเหลืองเมื่อแก่ ขาดเปิดเป็นรูกลมเผยโพรงภายในที่มีรูและปากรูติดผนัง ด้านบน รู ยาว 2-5 มม. ขาวถึงน�้ำตาลอ่อน ปากร ู 3-4 รู/มม. กลม สีเดียวกับรู ก้าน ไม่มี เนื้อ เหนียว ขาว สปอร์ 8-12 x 3-5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง สีนวลอมชมพูบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ และเป็นสาเหตุของโรคพืช บนต้นสนเขา กินไมได้่ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เชียงดาว จ.เชียงใหม่

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 277 ชื่อวิทยาศาสตร์ Earliella scabrosa (Pers.) Gib. & Ryvarden ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Polyporus scabrosus Pers. Trametes scabrosa (Pers.) G. Cunn.

ลักษณะทั่วไป หมวก 77 x 68 มม. เป็นแผ่นบางแบนติดไปกับสิ่งที่ขึ้นอยู่ และปลายกระดกขึ้น ครึ่งวงกลม ผิว น�้ำตาลปนแดง ดอกอ่อนขาวนวล ดอกแก่เปลี่ยนเป็นน�้ำตาลปนแดง เป็นรอยวงและสันนูน ขอบหยัก โค้งมน รู รูปร่างไม่สม�่ำเสมอถึงเกือบเป็นหนาม ขนาด 2-3 รู/มม. ลึก 1 มม. เนื้อ บาง เหนียว ขาว หนา 1.5 มม. ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขึ้นบนขอนไม้ผุ ไมมีข้อมูล่ ว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี และกระจายทัวประเทศไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Favolus tenuiculus P. Beauv. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ รวงผึ้ง เก้าอี้นางฟ้า ชื่อพ้อง Polyporus tenuiculus (P. Beauv.) Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 18-28 x 15- 20 มม. ครึ่งวงกลมหรือคล้ายพัด ดอกอ่อน ขาว ดอกแก่เหลืองปนน�้ำตาลอ่อน เป็นริ้ว ตามแนวรัศมีเล็กน้อย ขอบหยักแหลม รู ติดกับก้าน หลายเหลี่ยมตามแนวรัศมี 1 รู/มม. ลึก 1.5 มม. ขาวหรือเหลืองอ่อน บอบบางฉีกขาดง่าย ขอบไม่สม�่ำเสมอ ก้าน 5-6 x 5-6 มม. ทรงกระบอก ติดด้าน ข้าง สปอร์ 9-11 x 2.5-4 µm ทรงกระบอก ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ขึ้นบนกิ่งไม้ผุ ไมมีข้อมูลว่ ่ากิน สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้าน อ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

278 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Hexagonia apiaria (Pers.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ รังมิ้ม ชื่อพ้อง Polyporus apiarius Pers.

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 40-100 มม. ยาว 25-130 มม. หนา 3-6 มม. รูปครึ่ง วงกลม ร่องเรียงเป็นวงกลมและย่นเรียง เป็นรัศมี มีขนหนาแน่นเป็นปุยสีด�ำ ขอบ บาง นำ�้ ตาลดำ� รู ยาว 3-6 มม. น�้ำตาลอ่อน ปากรู 3-4 รู/ซม. รูปหกเหลี่ยม เทาถึงน�้ำตาล ก้าน ไม่มี เนื้อ เหนียว บาง น�้ำตาล สปอร ์ 10-15 x 4-6 µm ทรงกระบอก ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนกิ่งไม้แห้งและ ขอนไม้เนื้อแข็ง กินไมได้่ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hexagonia hirta (P. Beauv.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Favolus hirtus P. Beauv. Polyporus hirtus (P.Beauv.) Fr. Hexagonia hirta f. hystrix (Cooke) O. Fidalgo

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 25-50 มม. ยาว 25-140 มม. หนา 2-5 มม. รูปครึ่ง วงกลม หรือรูปพัด ปกคลุมไปด้วยขนหนา แข็ง สีโทนเขียว ปลายขนแตกเป็นแฉกคล้ายส้อมเรียบ ขอบบาง เรียบหรือเป็นคลื่น รู ยาวถึง 2-3 มม. น�้ำตาลปนม่วง หรือน�้ำตาล ปากร ู 1-1.5 รู/มม. รูปเหลี่ยมหรือหกเหลี่ยม บางส่วนเปลี่ยนเป็นรูปเขาวงกต หรือเหมือนแผ่นครีบ ก้าน ไม่มี เนื้อ เหนียว บางมาก น�้ำตาลอ่อนถึงน�้ำตาลแก่ สปอร ์ 11-14 x 3.5-5 µm ทรงรี ถึงเกือบเป็นทรงกระบอก ผนังเรียบ ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มใกล้กันบนกิ่งไม้และขอนไม้ผุ ไม่มีข้อมูลว่ากิน ได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 279 ชื่อวิทยาศาสตร์ Hexagonia subtenuis Berk. ex Cooke ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Hexagonia subtenuis Sacc.

ลักษณะทั่วไป หมวก 20-42 x 15-25 มม. ครึ่งวงกลม หรือคล้ายพัด แบนบาง ผิวน�้ำตาลสลับน�้ำตาลปนเหลือง สลับกันเป็นแถบ เป็นรอยย่นตามแนวรัศมี รู หกเหลี่ยม ขนาดใหญ่ 3-4 รู/มม. ลึก 1-1.5 มม. เมื่ออ่อนสีขาวนวล ปนน�้ำตาลซีด และเมื่อแก่มีสีน�้ำตาลเข้ม สปอร ์ 4-5 x 2-3 µm รี ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ขึ้นบนกิ่งไม้ที่ตายแล้ว ไม่มี ข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hexagonia tenuis (Hook.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ รังแตน ชื่อพ้อง Boletus tenuis Hook. Daedaleopsis tenuis (Hook.) Imazeki Trametes tenuis (Hook.) Corner

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 30-60 มม. ยาว 40-100 มม. หนา 1.5-2 มม. รูป ครึ่งวงกลม รูปไตหรือรูปพัด เรียบ มี รอยย่นเรียงเป็นรัศมี ขอบบางและคม เป็นคลื่น มีแถบวงกลมของสีน�้ำตาลเทา น�้ำตาลอ่อน น�้ำตาล อมเหลืองและน�้ำตาลหม่นปนด�ำ รู ยาวถึง 2 มม. น�้ำตาลอมเทา ปากร ู 1-2 รู/มม. รูปเหลี่ยมหรือ หกเหลี่ยม น�้ำตาลอมเทา ก้าน ไม่มี เนื้อ เหนียว บาง น�้ำตาลอ่อนถึงน�้ำตาลแก่ สปอร ์ 9-15 x 4-6 µm ทรงกระบอก ผิวเรียบ ผนังหนาเล็กน้อย ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่ม ใกล้กันบนกิ่งไม้และขอนไม้ผุ ไมมีข้อมูลว่ าก่ ินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

280 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Laetiporus sulphureus (Bull.) Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หิ้งสีเหลือง เนื้อไก่ ชื่อพ้อง Boletus sulphureus Bull. Polypilus sulphureum (Bull.) P. Karst.

ลักษณะทั่วไป หมวก 30-150 x 120-200 มม. ครึ่งวงกลมถึงรูปพัด เรียบ เหลืองก�ำมะถันถึงส้มอม เหลือง รู ยาว 1-4 มม. เหลืองก�ำมะถัน ปากร ู 3-5 รู/มม. เหลี่ยม เหลืองก�ำมะถันถึงเหลืองมะนาว ก้าน ไม่มี เนื้อ ครีมถึงเหลืองก�ำมะถันสด สปอร ์ 5-7 x 3.5-5 µm ทรงรียาวกว้างเกือบกลม ผิวเรียบ ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มซ้อนกันบนตอไม้ และขอนไม้ ของไม้เนื้อแข็งและกอไผ่ กินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lentinula edodes (Berk.) Pegler ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หอม/Shitake ชื่อพ้อง Agaricus edodes Berk. Lentinus edodes (Berk.) Singer Collybia shiitake J. Schröt.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-80 มม. รูปกะทะคว�่ำ ขาวนวล น�้ำตาลอ่อน น�้ำตาลเข้ม-แดง ผิวและขอบมีขน รวมกันเป็นกระจุก เกล็ดหยาบ ขาวนวล น�้ำตาลอ่อนถึง น�้ำตาลเข้มกระจายทั่วไป หลุดเมื่อแห้ง ครีบ ขาว เรียงถี่ ยึดติดกับก้าน ก้าน 20-40 x 10 มม. สีขาวนวล- น�้ำตาลอ่อน มีขนหยาบ น�้ำตาลอ่อน เนื้อขาว แน่น เนื้อ แน่น เหนียงแข็ง ขาว สปอร์ 2-3 x 5-7 µm รูปไข่ปลายมน ขาว ผิวเรียบ ขาวนวลหรือขาวบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์บนท่อนไม้ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 281 ชื่อวิทยาศาสตร์ Lentinus connatus Berk. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กรวยกระดาษฟาง ชื่อพ้อง Lentinus javanicus Lév. Lentinus variabilis Holterm Panus ochraceus Massee

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 43-222 มม. รูปช้อนถึงรูปกรวยลึก บาง เรียบ มีขน บางๆ เป็นรัศมี ขอบบาง งอเข้าแล้วเป็นลอนและคลื่น ในที่สุดฉีกขาดคล้ายซี่ฟัน สีครีมถึงน�้ำตาลอ่อน ครีบ เรียวยาวลงไปติดก้าน แคบมาก เรียงถี่ เหลืองอ่อน มักมีครีบเชื่อมกันก่อนติดก้าน ก้าน 28-112 x 30-100 มม. ทรงกระบอก อยู่กึ่งกลางหรือค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง แข็งเหนียว มีขนสั้นๆ น�้ำตาลอ่อน แล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอมเทา เนื้อ เหนียวเล็กน้อย ขาว สปอร์ 5-6.5 x 3 µm ทรงรียาว เรียบ ผนัง บาง ภายในมีก้อนกลม 2-3 ก้อน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเป็นกลุ่มติดกัน บนขอนไม้ผุ กินได้ สถานที่พบ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lentinus fasciatus Berk. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ วงปีขอนไม้ ชื่อพ้อง Panus fasciatus (Berk.) Pegler Pocillaria fasciata (Berk.) Kuntze

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-70 มม. รูปกรวยตื้นหรือกรวยลึก มีขนปลายรวม แหลมและมีขนอ่อนที่ยาวขึ้นไปยังขอบ น�้ำตาลอ่อนถึงน�้ำตาลอ่อนอมม่วง ครีบ เรียวยาวลงไปติดก้าน แคบ เรียงห่างเล็กน้อย น�้ำตาลอ่อนอมม่วง ก้าน 10-50 x 3-8 มม. ทรงกระบอก แข็ง ลึก มีขนปลายรวมแหลมและมีขนอ่อน สีเดียวกับหมวกหรือเข้มกว่า เนื้อ เหนียว ขาว สปอร์ 6-8 x 3-4 µm ทรงรียาว เรียบ ผนังบาง ภายในมีสารแขวนลอยเล็กน้อย ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นบนกิ่งไม้และขอนไม้ที่ร่วงหล่น ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สวนพฤกษศาสตร์ ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

282 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Lentinus giganteus Berk. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ต่งฝน ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 45-150 มม. ดอกอ่อนรูป จานคว�่ำ เมื่อแก่ขอบยกขึ้นเป็นรูปกรวยตื้นถึงกรวยลึก น�้ำตาลอมเขียวขี้ม้า กลางหมวกสีเข้มกว่าส่วนอื่น ขอบ ม้วนงอ มีสะเก็ดขาวและน�้ำตาล และมีเยื่อบางๆ ติดอยู่ ครีบ เรียวยาวลงไปติดก้าน แคบ เรียงถี่ มี 3-4 ระดับ มักแยกเป็นรูปส้อมก่อนถึงก้าน ขอบเรียบ ขาว ครีม หรือ น�้ำตาลอ่อน ก้าน 80-140 x 10-30 ซม. ทรงกระบอก อยู่กึ่งกลาง โคนใหญ่กว่าปลายเล็กน้อย น�้ำตาลเข้ม มีเกล็ดเล็กๆ แนบติดผิวหรือปลายขอบเกล็ดด้านบนกระดกขึ้นเล็กน้อย เนื้อ แน่น ขาวถึงครีม สปอร์ 6-10 x 4-7 µm ทรงกระบอกแคบ ผนังบาง โค้งเล็กน้อย ขาวหรือครีมบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มใกล้ๆ กันบนพื้นดิน กินได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lentinus polychrous Lév. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ลม กระด้าง บด ชื่อพ้อง Lentinus eximius Berk. & Broome

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-150 มม. รูปกรวยลึก ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอ่อน ผิวมีขนสั้นและเกล็ดงอขึ้นสีน�้ำตาลอ่อน โดยเฉพาะบริเวณกลางหมวก ขอบงอลง แล้วเหยียดตรง มีรอยฉีกตามขอบ ครีบ เรียวยาวลงไปติดก้าน แคบ เรียงถี่ ขอบหยักคล้าย ฟันเลื่อย น�้ำตาลอ่อนเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลเทาถึงน�้ำตาลแดงปนม่วง ก้าน 5-25 x 5-14 มม. ทรงกระบอก อยู่กลางหมวกหรือเยื้องไปเล็กน้อย แข็ง ขาวหม่นเปลี่ยนเป็นน�้ำตาล เนื้อ เหนียว ขาวหม่น สปอร์ 6-9 x 2.7-3.3 µm ทรงรี โค้งงอเล็กน้อย ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ ดอกเดี่ยว ขึ้นเป็นกลุ่มบนขอนไม้ในป่าดิบแล้ง กินได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ สถานีวิจัย สิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 283 ชื่อวิทยาศาสตร์ Lentinus sajor-caju (Fr.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตีนปลอก ชื่อพ้อง Agaricus sajor-caju Fr. Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-100 มม. นูนแล้วเปลี่ยนเป็นกรวยลึก บาง เรียบ หรือบางทีมีเกล็ดเล็กๆ กลางหมวก มัก มีริ้วเป็นเส้นรัศมี ขอบงอลงแล้วเหยียด ตรง เป็นคลื่นเล็กน้อย ขาวหม่นถึงสีครีม ครีบ เรียวยาวลงไปติดก้าน แคบ เรียงถี่ ขอบเรียบหรือ มีหยักเล็กๆ คล้ายฟัน สีเดียวกับหมวก ก้าน 8-30 x 5-15 มม. ทรงกระบอก อยู่กึ่งกลางหรือค่อนไป ข้างใดข้างหนึ่ง แข็ง สีเดียวกับหมวก มีวงแหวนขาว เนื้อ แน่น ขาวถึงครีม สปอร์ 5-9 x 1.5-2.5 µm ทรงกระบอกแคบ ผนังบาง โค้งเล็กน้อย ขาวหรือครีมบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นกลุ่มหรือใกล้ๆ กันบนกิ่งไม้แห้งและขอนไม้แห้ง กินได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ กระจายทั่วทั้งประเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lentinus squarrosulus Mont. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขอนขาว ชื่อพ้อง Lentinus rivae Bres. Pleurotus squarrosulus (Mont.) Singer

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-70 มม. เป็น แอ่งจนถึงเป็นกรวย ขอบบาง ม้วนงอลง เล็กน้อย เป็นคลื่นลอน มักฉีกขาด ขาว มีสีน�้ำตาลอ่อนเมื่อแก่ มีแถบวงกลมของ เกล็ดและขนสีน�้ำตาลอ่อน ครีบ เรียวยาวลงไปติดก้าน แคบ เรียงถี่ ขาว ก้าน 10-30 x 2-5 มม. ทรงกระบอก อยู่กึ่งกลางดอกหรือค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง ขาว มีเกล็ดนุ่มสีขาวหรือน�้ำตาลแดง เนื้อ บาง เหนียว ขาว สปอร์ 5-8 x 2-2.5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่ อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือกลุ่มเล็กๆ บนขอนไม้และตอไม้ผุ กินได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ กระจายทั่วทั้งประเทศ

284 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Lentinus strigosus Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เพ็ก หูกวาง ไผ่/ Rudy Panus ชื่อพ้อง Agaricus strigosus Schwein. Lentinus strigosus (Pers.) Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 20-60 มม. นูนแล้วเป็นแอ่งจนถึงรูปกรวย มีขนหนา แน่นโดยเฉพาะบริเวณขอบ ขอบงอลง เล็กน้อย น�้ำตาลอ่อน มักมีสีอมม่วงบริเวณขอบ ครีบ เรียวยาวลงไปติดก้าน แคบ เรียงถี่ เหลืองอ่อน หรือน�้ำตาลอ่อน ก้าน 5-30 x 3-10 มม. อยู่กึ่งกลางหรือค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง มีขน แข็ง น�้ำตาลอ่อน เนื้อ บาง เหนียวคล้ายหนัง ขาว สปอร์ 4-6 x 2-2.5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเป็นดอกเดี่ยว กระจายหรือเป็นกลุ่มใกล้กันบนกิ่งไม้และตอไม้ที่ ร่วงหล่น กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lentinus stuppeus Klotzsch ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Panus stuppeus (Klotzsch) Pegler & R.W. Rayner Pocillaria stuppea (Klotzsch) Kuntze

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 25-55 มม. คล้ายกรวย มีขนน�้ำตาลอ่อนกระจาย หนาแน่น น�้ำตาลปนม่วงถึงน�้ำตาลปนด�ำ ขอบหมวกม้วนงอ ครีบ ขึ้นมาจากก้าน เรียงชิด ขอบหยักคล้ายซี่ฟัน น�้ำตาลปนม่วงถึงน�้ำตาลแดง ก้าน 25-35 x 4 ซม. ทรงกระบอก ติดกลางก้าน สีเดียวกับหมวก มีขนสีน�้ำตาลอ่อน สปอร ์ 6-8 x 2.2-3 µm ทรงกระบอก บาง ใส ผิวเรียบ ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นเป็น ดอกเดี่ยวอยู่ใกล้ๆ กัน บนกิ่งไม้ที่ตายแล้ว กินได้ สถานที่พบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต ศรีราชา

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 285 ชื่อวิทยาศาสตร์ Lentinus velutinus Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Panus velutinus (Fr.) Sacc.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-125 มม. บาง เหนียวคล้ายแผ่นหนัง รูปร่มลึกถึง รูปกรวยกว้าง ผิวสีน�้ำตาล แห้ง มีขนสั้นๆ แข็ง คล้ายหนาม ไม่มีลักษณะเป็นวง ขอบ ม้วนงอเมื่ออ่อน กางออกเมื่อแก่ ครีบ ขึ้นจากก้านเล็กน้อย แคบ เรียงค่อนข้างถี่ มีครีบย่อย 3-4 ระดับ ขอบเรียบ ก้าน 30-140 x 2-10 มม. ทรงกระบอก สีน�้ำตาลเหมือนกับผิวหมวก หรือเข้มกว่าเล็กน้อย มีขนสีน�้ำตาลเล็กๆ ปกคลุม ขึ้นจาก ก้อน pseudosclerotium 20-100 x 10-40 มม. รูปคล้ายกระสวย เป็นโครงสร้างที่ผสมกันระหว่าง เศษไม้และเส้นใยเห็ด สีน�้ำตาลอมเทา เรียบ สปอร์ 5-8 x 3-4 µm รูปทรงกระบอกขอบขนาน ไม่มีสี ผนังบาง ภายในมีหยดน�้ำมัน 1-2 หยด น�้ำตาลอ่อนหรือครีมบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ ขึ้นอยู่บนท่อนไม้ที่ฝังดิน ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lenzites malaccensis Sacc. & Cub. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Lenzites platyphylla Cooke

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 16-37 มม. ยาว 38-64 มม. โคนหนา 10-20 มม. สีขาว ผิวเกลี้ยง มีปมนูนกระจายทั่วไป ขอบเป็นคลื่นห่างๆ เนื้อขาว ด้านล่างเป็น ครีบ ขาว ครีบแยกเป็นรูปส้อมปลาย จรดขอบ มีครีบสั้นสลับ สีขาว สปอร์ 6-7 x 3-5 µm ทรงรียาว ผนังบาง ใส ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดบนขอนไม้ผุ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติน�้ำตกเอราวัณ จ.กาญจนบุรี

286 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Lignosus rhinocerotis (Cooke) Ryvarden ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ นมเสือรูเล็ก ชื่อพ้อง Fomes rhinocerotis Cooke Microporus rhinocerotis (Cooke) Imazeki Polyporus sacer var. rhinocerotis (Cooke) Lloyd

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 100-120 มม. รูปเกือบกลม มีขนอ่อนคล้ายก�ำมะหยี่แล้วเรียบเมื่อแก่ มีริ้วและร่อง เป็นแถบวงกลม น�้ำตาลอ่อน รู ยาว 1.5-2 มม. ขาว ปากรู 6-8 รู/มม. เกือบกลม ขาว ก้าน 100-140 x 5- 15 มม. ทรงกระบอก อยู่กึ่งกลาง มีขนอ่อน เรียบเมื่อแก่ เหนียวเมื่อสด น�้ำตาลอ่อน เนื้อ บาง ขาว สปอร์ 2.5-3 x 3 µm เกือบกลม ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เจริญขึ้นมาจาก ก้อนเส้นใยแข็งฝังอยู่ในดิน กินไมได้่ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Microporus affinis (Blume & T. Nees) Kuntze ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขอนพัดน�้ำตาล/ ขอนพัดเหลืองขอบขาว ชื่อพ้อง Polyporus affinis Blume & T. Nees, Trametes affinis (Blume & T. Nees) Corner, Coriolus affinis (Blume & T. Nees) N. Walters

ลักษณะทั่วไป หมวก 20-50 x 20-30 มม. ครึ่งวงกลม พัดหรือคล้ายช้อน บาง น�้ำตาลปนแดงถึง น�้ำตาลเข้ม เกลี้ยง มีร่องตามแนวรัศมีอย่างเห็นได้ชัด รู เกือบกลม เรียบหรือขรุขระเล็กน้อย 8- 10 รู/มม. ลึก 0.5 มม. ก้าน ไม่มี หรือมีที่ด้านข้าง 10-20 x 3-5 มม. สปอร์ 4-5 x 2-2.5 µm ทรงกระบอกสั้น บาง ไม่มีสี ผิวเรียบ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ เป็นกลุ่ม หรือกระจาย ใกล้ๆ กันบนกิ่งไม้ที่ตายแล้ว กินไมได้่ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 287 ชื่อวิทยาศาสตร์ Microporus vernicipes (Berk.) Kuntze ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ พัดแพรวา/ ขอนพัดน้อยหนาเหลืองขอบขาว ชื่อพ้อง Polyporus vernicipes Berk. Coriolus vernicipes (Berk.) Murrill Leucoporus vernicipes (Berk.) Pat.

ลักษณะทั่วไป หมวก 20-50 x 15-35 มม. แผ่นบางรูปร่างคล้ายพัด ไต หรือครึ่งวงกลม น�้ำตาลปนเหลืองอ่อนหรือน�้ำตาลทอง ขาวนวลกับน�้ำตาลเรียงสลับกันเป็นวง ขอบบาง สีอ่อนกว่า ส่วนอื่นๆ รู เกือบกลม ค่อนข้างขรุขระ 7-8 รู/มม. ลึก 0.5-1.5 มม. ก้าน ไม่มี หรือมีแต่สั้นติดอยู่ ด้านข้าง สีคล้ายกับผิวหมวก สปอร์ 4-8 x 2-2.5 µm ทรงกระบอก ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ไม่มีสี ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือกระจายใกล้ๆ กันบนกิ่งไม้ที่ตายแล้ว กินไมได้่ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Microporus xanthopus (Fr.) Kuntze ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กรวยทองตะกู ชื่อพ้อง Polyporus xanthopus Fr. Trametes xanthopus (Fr.) Corner Coriolus xanthopus (Fr.) G. Cunn.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 35-100 มม. รูปกรวยปากกว้าง บาง มีริ้วเรียงเป็น รัศมี ย่นเล็กน้อย เป็นมันวาว เป็นแถบ วงกลมของสีน�้ำตาลอมเหลือง น�้ำตาลแดงไปถึงน�้ำตาลเข้ม รู ยาว 0.5-1 มม. ขาวหม่น ปากรู 5- 8 รู/มม. เกือบกลม ขาวหม่นไปจนถึงน�้ำตาลอ่อน ก้าน 15-20 x 3-4 มม. อยู่กึ่งกลางหรือไม่อยู่กึ่งกลาง ทรงกระบอก แข็ง เรียบ ตอนบนใหญ่ น�้ำตาล โคนแผ่เป็นแป้นวงกลมเล็กๆ เนื้อ เหนียว ขาว สปอร์ 5.5-7 x 2-2.5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นบน กิ่งไม้ร่วงและขอนไม้ที่ตายแล้ว กินไมได้่ สถานที่พบ กระจายทั่วทั้งประเทศ

288 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Panus ciliatus (Lév.) T.W. May & A.E. Wood ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Lentinus ciliatus Lév. Pocillaria ciliata (Lév.) Kuntze

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 75-80 มม. บาง เหนียวคล้ายแผ่นหนัง รูปกรวยตื้น สีน�้ำตาลเข้ม มีเส้นริ้วจากกลางหมวก ถึงขอบหมวกอย่างชัดเจน ตรงกลางส่วนที่บุ๋มมีสีเดียวกับส่วนอื่นๆ มีวงซ้อนกัน 2 วง ผิวหมวก มีขนเป็นกระจุก ปลายแหลม สีน�้ำตาลเข้มปกคลุมทั่วหมวก และที่ขอบหมวกเห็นเป็นขนแหลม ครีบ สีน�้ำตาลเช่นเดียวกับผิวหมวก มีลูกครีบ 1 ระดับที่มีความยาวไม่เท่ากัน ลงมาถึงก้าน (decurrent) ถี่ ก้าน ยาว 60-80 มม. Ø ปลายก้าน 4-5 มม. โคนก้าน 10 มม. ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เจริญขึ้น มาจากก้อนเส้นใยแข็งฝังอยู่ในดินหรือไม้ผุ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อม สะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Panus similis (Berk. & Broome) T.W. May & A.E. Wood ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กรวยจีบ ชื่อพ้อง Lentinus similis Berk. & Broome Lentinus velutinus f. similis (Berk. & Broome) Pilát Panus fulvus var. similis (Berk. & Broome) Corner

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-150 มม. รูปกรวยลึก มี ขนอ่อนกลางหมวก ต่อมาผิวเรียบ มีริ้วและร่องเล็กๆ เรียงเป็นรัศมีไปถึงกลางหมวก ขอบงอลงเล็กน้อย น�้ำตาล อมเหลืองไปจนถึงน�้ำตาลแดง มักจะมีสีอมม่วงเมื่อดอก อ่อน ครีบ เรียวยาวลงไปติดก้าน แคบ เรียงถี่ สีเนื้อ ก้าน 30-100 x 2-5 มม. ทรงกระบอก แข็ง มีขนอ่อนหรือขนปุย สีเดียวกับหมวก เนื้อ บาง เหนียว ขาว สปอร์ 5-6 x 2-3 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ภายในมีสารแขวนลอยเล็กน้อย ขาวบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เจริญขึ้นมาจากก้อนเส้นใยแข็งฝังอยู่ในดินหรือไม้ผุ ไมมีข้อมูลว่ ่า กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติน�้ำตกเอราวัณ จ.กาญจนบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 289 ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyporus arcularius (Batsch) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ร่มพม่า ชื่อพ้อง Boletus arcularius Batsch Favolus alveolarius (Bosc) Fr. Polyporus alveolarius (Bosc) Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-25 มม. นูน แล้วแบน กลางหมวกเว้าเล็กน้อย แห้ง มี เกล็ดและขนบางๆ ที่ขอบหมวก น�้ำตาล อมเหลืองถึงน�้ำตาลอ่อน รู ยาว 1-2 มม. ขาวถึงเหลืองอ่อน ปากรู 0.5-1 มม. รูปหกเหลี่ยมยาว ก้าน 20-30 x 1.5-2 มม. ทรงกระบอก อยู่กึ่งกลางดอก มีเกล็ดเล็กน้อย น�้ำตาลอ่อนถึงน�้ำตาลแก่ เนื้อ เป็นเส้นหยาบ เหนียว ขาว สปอร์ 7-11 x 2-3 µm ทรงกระบอก ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนขอนไม้เนื้อแข็งและไม้ผุที่ฝังในดิน ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyporus grammocephalus Berk. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ พัดใบลาน ชื่อพ้อง Favolus grammocephalus (Berk.) Imazeki

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 30-70 มม. ยาว 40-100 มม. หนา 2-6 มม. รูปไตหรือรูปพัด เรียบ มีริ้วเรียงเป็นรัศมี ขอบเป็นลอนและคลื่น งอลงเล็กน้อย เหลืองอ่อนหรือน�้ำตาลอ่อน รู ยาว 1-3 มม. สีเดียวกับหมวก ปากรู 3-5 รู/มม. เหลี่ยมเล็กน้อย เรียงเป็นรัศมีลงไปติดก้าน ก้าน ไม่มีหรือ มีฐานคล้ายก้าน เนื้อ เหนียว สีน�้ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าว สปอร ์ 4.5-6 x 2.5-3 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนกิ่งไม้และขอนไม้เนื้อแข็งที่ผุ ไมมีข้อมูล่ ว่ากินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี

290 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Polyporus leptocephalus (Jacq.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กรวยขาว ชื่อพ้อง Boletus elegans Bull. Boletus leptocephalus Jacq. Polyporus elegans Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 30-100 มม. ยาว 20-150 มม. หนา 3 มม. รูปพัด ไปจนถึงรูปไต เรียบ เป็นร่องและปุ่มนูน เมื่อแก่ มีแถบวงกลมชิดกันใกล้ขอบ ขาวไปจนถึงครีม รู ยาว 1-2 มม. ขาว ปากรู 1-2 รู/มม. กลม ถึงเหลี่ยม บางส่วนคดเคี้ยวและแยกเป็นแนวรัศมี ขาวไปจนถึงสีครีม ก้าน ไม่มีหรือมีสั้นๆ ขาว เนื้อ เหนียว เป็นเส้นหยาบ ขาวถึงครีม สปอร์ 5-7 x 2.5-5 µm ทรงรียาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบน กระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดกระจายหรือเป็นกลุ่มบนขอนไม้เนื้อแข็งที่ผุ ไมมีข้อมูล่ ว่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyporus squamosus (Huds.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ รังผึ้งสีขาว ชื่อพ้อง Boletus squamosus Huds. Trametes retirugus Bres. Polyporus retirugus (Bres.) Ryvarden

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 20-60 มม. ยาว 30-100 มม. หนา 5-8 มม. ครึ่ง วงกลมถึงรูปพัด เรียบ มีปมนูนเล็กๆ ท�ำให้ผิวเป็นลายตาข่ายนูน ขาวถึงสีครีมอ่อน รู ยาว 2-3 มม. ขาว ปากรู 1-2 รู/มม. หกเหลี่ยมแบบ รวงผึ้ง ขาว เรียงลงไปที่โคน เนื้อ แข็งและเปราะเมื่อแห้ง ขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีครีม สปอร์ 18-21 x 6.5-7.5 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนกิ่งไม้และ ขอนไม้เนื้อแข็ง ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 291 ชื่อวิทยาศาสตร์ Pycnoporus cinnabarinus (Jacq.) P. Karst ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขอนแดงรูใหญ่/ Cinnabar-red Polypore, Red Polypore, Cinnabar Bracket ชื่อพ้อง Boletus cinnabarinus Jacq.

ลักษณะทั่วไป หมวก 20-100 x 20- 70 มม. ครึ่งวงกลมถึงรูปไต มีขนอ่อน แล้วเรียบ หยาบ ย่นขรุขระ แดงอมส้มถึงแดงอมน�้ำตาล รู ยาว 1-6 มม. แดงอมส้ม ปากรู 2-4 รู/มม. เหลี่ยมหรือบิดเบี้ยว ใหญ่ สีเดียวกับหมวก เนื้อ เหนียว สีเดียวกับหมวก สปอร์ 5-6 x 2-2.5 µm ทรงกระบอก งอเล็กน้อย ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ บนขอนไม้ ที่ตายแล้ว กินไมได้่ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (น�้ำตกป่าละอู) จ.ประจวบคีรีขันธ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pycnoporus sanguineus (L.) Murrill ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขอนแดงรูเล็ก ชื่อพ้อง Boletus sanguineus L. Coriolus sanguineus (L.) G. Cunn. Microporus sanguineus (L.) Pat. Trametes sanguine (L.) Lloyd

ลักษณะทั่วไป หมวก 50-70 x 10-40 มม. รูปพัดถึงรูปไต แบน ย่นหรือเรียบ เป็นมันวาวเล็กน้อย มีร่องรัศมีจางๆ ขอบบาง แดงถึงแดงอมส้ม รู ยาว 2 มม. ส้มอ่อน ปากรู 5-7 รู/มม. เกือบกลม แดงสดถึงแดงอมส้ม เนื้อ บาง เหนียว สีเดียวกับรู สปอร์ 3-5.6 x 2-2.3 µm ทรงกระบอก โค้งเล็กน้อย ผิวเรียบ ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ แซบโพรไฟต์ บนตอไม้ กิ่งไม้ที่ตายแล้วและไม้ผุ กินไมได้่ เห็ดเศรษฐกิจ เพาะเลี้ยงเป็นสมุนไพร สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

292 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Royoporus badius (Pers.) A.B. De ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Boletus badius Pers. Polyporus badius (Pers.) Schwein. Polyporellus badius (Pers.) Imazeki

ลักษณะทั่วไป หมวก 9-84 x 8-52 มม. รูปร่างคล้ายพัด รูปไต หรือครึ่งวงกลม ผิวแดงถึงน�้ำตาลปนแดง เกลี้ยงหรือเป็น รอยย่นเล็กน้อย รู ขึ้นมาจากก้าน ขนาด 5-8 รู/มม. ลึก 1 มม. สีขาว ก้าน 5-12 x 3-8 มม. ติดทาง ด้านข้างของหมวก เยื้องออกไปด้านข้าง หรือไม่มีก้าน ด�ำ ผิวมีขนสั้นและแน่น เนื้อ ขาว แน่น สปอร์ 4-7.5 x 2-3 µm ทรงกระบอก ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ไม่มีสี ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดเดี่ยวๆ หรือ เป็นกลุ่ม ขึ้นบนกิ่งไม้ที่ตายแล้ว ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ. นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Trametes cingulata Berk. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ กระด้างรูน�้ำตาลอ่อนอมเหลือง ชื่อพ้อง Polyporus cingulatus (Berk.) Mussat

ลักษณะทั่วไป หมวก 50 x 70-100 มม. หนา 2-10 มม. รูปครึ่งวงกลมถึงรูปพัด เรียบ ขาวหม่นแล้ว เปลี่ยนเป็นสีเทาอ่อน มักมีแถบวงกลมเเละร่องหยัก รู ยาวได้ถึง 4 มม. น�้ำตาลอ่อนอมเหลือง ปากร ู 4-6 รู/มม. กลม น�้ำตาลอมเหลืองเมื่อกระทบแสงเป็นมันเงา เนื้อ น�้ำตาลอมเหลือง สปอร์ 5-6 x 3-4 µm ทรงรีกว้าง ผิวเรียบ ไม่มีสี ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนขอนไม้ผุ กินไม่ได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 293 ชื่อวิทยาศาสตร์ Trametes pavonia (Hook.) Ryvarden ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Boletus pavonius Hook.

ลักษณะทั่วไป หมวก รูปครึ่งวงกลม หรือรูปพัด 18-35 x 30-40 มม. หนา 1.5-2 มม. ไม่มีก้าน ผิวมีขน มีคลื่นวงกลม กระจายไปยังขอบ และเป็นริ้ว สีฟางข้าว เนื้อบางแห้งแล้วเหมือนแผ่นกระดาษ ฟาง ด้านล่างเต็มไปด้วย รู กลม เหลี่ยม คล้ายครีบ ปากรู ไม่เสมอกัน มีประมาณ 5-6 รู/มม. สีเดียว กับหมวก สปอร์ 6-6.5 x 3-4 µm ทรงรี ผิวเรียบ ผนังบาง ใส ไม่มีสี ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดบน ขอนไม้ผุ ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Trametes versicolor (L.) Lloyd ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หางไก่งวง ชื่อพ้อง Boletus versicolor L. Coriolus versicolor (L.) Quél. Microporus versicolor (L.) Kuntze

ลักษณะทั่วไป หมวก ยาว 20-80 มม. กว้าง 10-60 มม. หนา 3-5 มม. รูปครึ่ง วงกลม รูปไต เป็นแผ่นแบน บางครั้ง เชื่อมติดกันข้างๆ มีขนอ่อนถึงขนเป็นมันวาวคล้ายไหม มีแถบวงกลมซ้อนกันถี่ ขอบบาง เป็นคลื่น มีหลายสี มักเป็นสีน�้ำตาล เขียว น�้ำเงิน เทา ส้ม รู ยาว 0.5-2 มม. ขาว ปากรู 3-5 รู/มม. เหลี่ยมถึง กลม ขาว ก้าน ไม่มี เนื้อ เป็นเส้นหยาบ เหนียว ขาว สปอร์ 5-6 x 1.5-2.5 µm ทรงกระบอก ผิวเรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ ขึ้นบนขอนไม้ผุ กินได้ เป็นเห็ดสมุนไพร และเห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

294 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Russulales วงศ์ Auriscalpiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Auriscalpium vulgare Gray ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ไม้แคะหู ชื่อพ้อง Hydnum auriscalpium L.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-20 มม. รูปไต นูนแล้วแบน แห้ง มีขนอ่อนหนาแน่นสีน�้ำตาลเหลือง น�้ำตาลแดงถึงน�้ำตาลด�ำ ด้านล่างเป็นหนาม ยาว 1-3 มม. สีขาวแล้วเป็นน�้ำตาลเข้ม ก้าน 30-50 x 2-3 มม. ยาวเรียว เหนียว มีขนหนาแน่น ติดอยู่ข้างๆ ตรงรอยหยักที่ขอบหมวก น�้ำตาลแดงถึงน�้ำตาล เนื้อ เหนียว ขาวถึงน�้ำตาลอ่อน สปอร ์ 4.5-5 x 3-4 µm เกือบกลม ผิวมีหนามเล็กๆ ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ เกิดดอกเดี่ยวหรือ หลายดอก บนผลของสนเขาที่หล่นอยู่บนดิน ไมมีข้อมูลว่ าก่ ินได้ สถานที่พบ กระจายทั่วทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อันดับ Russulales วงศ์ Hericiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hericium erinaceus (Bull.) Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หัวลิง เม่น ภู่มาลา/Bearded Tooth, Lion's mane ชื่อพ้อง Hydnum erinaceus Bull.

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ด เป็นหัว ขนาด 60-120 มม. ประกอบด้วยเส้นใยที่พัฒนา เป็นเนื้อเยื่อคล้ายซี่เลื่อย หรือหนาม ยาว 20-70 มม. เมื่ออ่อนขาวถึงขาวนวล เนื้อนุ่ม เมื่อแก่เนื้อเหนียว เหลืองอ่อนถึงน�้ำตาลจาง ติดกันเป็นกลุ่มก้อน สปอร์ 5-6.5 x 4-5.5 µm ทรงกลมรี ใส ขาวถึงเหลืองอ่อน ผิวเรียบถึงขรุขระเล็กน้อย ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ กินได้ เพาะเลี้ยงได้ เป็นเห็ดเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรม

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 295 อันดับ Russulales วงศ์ Russulaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lactarius affinis var. viridilactis (Kauffman) Hesler & A.H. Sm. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ไพล ชื่อพ้อง Lactarius trivialis var. viridilactis Kauffman

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-100 มม. นูน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อยเมื่อแก่ เรียบ หนืดมือ แห้ง เหลืองอ่อนถึงเหลือง อมน�้ำตาลอ่อน ขอบสีอ่อนกว่า ครีบ ติดก้าน เรียวลงเล็กน้อย กว้าง เรียงถี่ ขาวถึงครีม ก้าน 30- 80 x 12-15 มม. ทรงกระบอก เรียบ หนืดมือเมื่อยังสด ขาวถึงเหลืองอ่อนอมน�้ำตาล เนื้อ แน่น ขาว น�้ำยางขาว เมื่อแห้งเป็นเขียวอ่อน สปอร์ 7-10 x 6-7 µm ทรงรี ผิวมีปุ่มนูนและสัน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lactarius camphoratus (Bull.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus camphorates Bull.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 25-50 มม. รูปกระจกนูนแล้ว ค่อยเป็นแอ่งกลางหมวก น�้ำตาลแดง หรืออบเชย ผิว เกลี้ยง เนื้อแน่น ขอบม้วนงอเข้าเล็กน้อย ผิวเป็นร่อง ห่างๆ และขอบสีอ่อนกว่า ครีบ เรียงลงไปติดก้าน เรียงถี่ แคบ สีอ่อนกว่าหมวก มีน�้ำยางขาวขุ่นเมื่อมีบาดแผล มีกลิ่นเครื่องเทศเมื่อท�ำให้แห้ง ก้าน 30- 50 x 5-7 มม. ทรงกระบอก สีเดียวกับหมวก สปอร์ 7.5-8 µm ทรงกลม ผิวมีหนามกระจาย ขาวอม ครีมบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดบนพื้นดินในป่าผลัดใบ กินได้ หรือใช้เป็น ผงแต่งกลิ่นอาหาร สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก 296 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร ์ Lactarius gracilis Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ฟานดอกหญ้า ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 10-25 มม. โค้ง นูนแล้วแบน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย เมื่อดอกแก่ น�้ำตาลอ่อนอมเหลือง กลาง หมวกสีเข้มกว่า ปกคลุมด้วยขนน�้ำตาลแดง ครีบ ติดก้านหรือเรียวลงไปติดก้าน เล็กน้อย เหลืองอ่อนหรือครีม ก้าน 20-40 x 2-3 มม. ทรงกระบอก กลวงเมื่อดอกแก่ น�้ำตาลแดง ปกคลุมด้วยขนน�้ำตาลแดง เนื้อ บาง น�้ำตาลอ่อนอมเหลือง สปอร์ 7-8 x 6.5-7 µm เกือบกลม ผิวมีปุ่มหยาบและสันนูนหนาสานกันเป็นตาข่าย ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นดอกเดี่ยวและกระจายบนพื้นดินระหว่างหญ้าในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติ ภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lactarius hatsudake Nobuj. Tanaka ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ฟานชมพูหม่น ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-100 มม. นูนแล้วแบน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย เรียบ หนืดมือเมื่อเปียกชื้น ชมพูหม่น ไปจนถึงชมพูอมเหลืองหม่น สีสลับกัน เป็นวงกลมหลายชั้น ดอกอ่อนที่เกิดใหม่ และมีขนาดเล็ก สีน�้ำเงินอมเขียว ครีบ ติดก้าน เรียงถี่ส้มจนถึงชมพูหม่น ก้าน 25-50 x 5-15 มม. ทรงกระบอก กลวงเมื่อแก่ สีเดียวกับหมวก เนื้อ ชมพูหม่น น�้ำยางสีแดงอมส้ม ทั้งดอกเปลี่ยนเป็น สีน�้ำเงินอมเขียวเมื่อช�้ำ สปอร์ 7.5-9 x 6-8 µm ทรงรีกว้าง ผิวมีปุ่มและตาข่าย สปอร์ขาวบน กระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือกลุ่มบนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 297 ชื่อวิทยาศาสตร์ Lactarius hygrophoroides Berk. & M.A. Curtis ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ฟานสีเหลืองทอง/ Golden Lactarius Mushroom, Hygrophorus Milky, Distant-Gilled Milk-Cap ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-100 มม. นูนแล้วแบน กลางหมวกเป็นแอ่ง ขอบงอขึ้นเมื่อแก่ แห้ง เรียบ หรือมีขนอ่อนและย่นไปยังขอบ เหลืองทองไปจนถึงน�้ำตาลอมส้ม ครีบ เรียวลงไปติดก้านเล็กน้อย กว้าง เรียงห่าง ขาว ก้าน 30-50 x 4-15 มม. แห้ง โคนสอบเล็กน้อย เหลืองทองไปจนถึงน�้ำตาลอมส้ม เนื้อ ขาว น�้ำยางขาว สปอร ์ 7-10 x 6-7.5 µm ทรงรียาว ผิวมีปุ่มและตาข่าย ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดิน ในป่าดิบ กินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่ และสวนพฤกษศาสตร์ ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lactarius piperatus (L.) Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขิง ชื่อพ้อง Agaricus piperatus L.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-100 มม. นูนจนถึงรูปกรวยปากกว้าง เรียบ แห้ง ขาวถึงครีม ครีบ เรียวติดก้านเล็กน้อย แคบ เรียงถี่ ขาวถึงครีม ก้าน 20-80 x 10-25 มม. โคนสอบเล็กน้อย แห้ง ขาว เนื้อ แน่น ขาว น�้ำยางขาว สปอร ์ 4-7 x 5-5.5 µm ทรงรียาว ผิวมีตาข่ายเส้นละเอียดบางส่วนและมีปุ่มนูนเล็กๆ ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในสนเขา กินได้เมื่อต้มสุก มีรสเผ็ดร้อนและขื่น สถานที่พบ สถานี เกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.เพชรบูรณ์

298 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Lactarius vellereus (Fr.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ขิงขนแกะ ลูกแป้ง/ Fleecy Milkcap ชื่อพ้อง Agaricus vellereus Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 80-135 มม. คล้ายชามคว�่ำ ดอกแก่บานออกคล้ายร่มถึงกรวย ขาว แห้งเมื่อแก่ เปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอ่อนปนเหลือง ขอบเรียบ เมื่อเกิดรอย แผลมีของเหลวสีขาวไหลออกมา และเปลี่ยนเป็นเหลืองอ่อน ครีบ ขึ้นจากก้านเล็กน้อย เรียงตัวห่าง ขาว มีครีบย่อย 2-3 ระดับ ใกล้ขอบหมวกมีการแตกออกเป็นส้อม ก้าน 25-38 x 10-18 มม. ทรงกระบอก ติดกลางหมวก มีขนขาวปกคลุม เนื้อแน่น สปอร์ 7.0-8.5 x 6.5-7.5 µm ทรงกลม เกือบกลม ถึงทรงรี ผิวมีหนามหรือปุ่มเล็กๆ มีสันนูนบางๆ ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดกระจาย ห่างๆ กัน ขึ้นโดยตรงจากพื้นดิน กินได้เมื่อต้มสุก สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lactarius volemus (Fr.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ฟานน�้ำตาลแดง ชื่อพ้อง Agaricus volemus Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-100 มม. นูน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย มีขนอ่อน ไปถึงเรียบ น�้ำตาลแดงถึงน�้ำตาลอมส้ม ครีบ เรียวลงไปติดก้านเล็กน้อย แคบ เรียงถี่ เหลืองอ่อน ก้าน 40-100 x 10- 20 มม. มีขนอ่อน สีเดียวกับหมวกหรืออ่อนกว่า เนื้อ แน่น ขาว น�้ำยางขาว สปอร ์ 8-9 µm กลม ผิวมีปุ่มและสันหนาติดกันเป็นตาข่าย ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดิน ในป่าเต็งรังและป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ ป่าชุุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี และเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 299 ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula alboareolata Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ น�้ำแป้ง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-100 มม. โค้งนูน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย ปกคลุมบางๆ ด้วยเกล็ดเป็นเส้นสีน�้ำตาล ขอบมีริ้ว เป็นคลื่น มักฉีกแยกเมื่อแก่ ขาว ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงห่างเล็กน้อย ขาวหรือครีม ก้าน 20-60 x 15-20 มม. ทรงกระบอก เรียบ ขาว เนื้อ เปราะ ขาว สปอร์ 5-8 x 5.5- 7.5 µm รูปไข่ ผิวมีปุ่มและสันเชื่อมเป็นตาข่าย ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula cyanoxantha (Schaeff.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หล่มหลายสี ชื่อพ้อง Agaricus cyanoxantha Schaeff.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-100 มม. นูน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย เรียบ หนืดมือเมื่อเปียกชื้น มีสีหลากหลายและ ปนกัน เช่น ชมพูม่วง ม่วงอ่อน สีองุ่น เขียวมะกอก เขียวอ่อนหรือน�้ำตาลอ่อน ครีบ ติดก้าน แคบเล็กน้อย เรียงถี่ มักติดกันเป็นรูปส้อม ขาวหรือครีม ก้าน 25-100 x 10-30 มม. เรียบ ขาว เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 6-7.5 x 8-11 µm ทรงรี ผิวมีปุ่ม เกือบไม่มีเส้นเชื่อม ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใน ป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา และป่าชุมชนบ้าน หนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

300 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula delica Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หล่มขาว ตะไคลขาว ชื่อพ้อง Agaricus exsuccus (Pers.) Sacc. Agaricus piperatus var. exsuccus (Pers.) Pers.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 80-200 มม. กระทะคว�่ำ หรือนูนแล้วแบน เป็นแอ่ง กลางหมวก ดอกอ่อนขอบม้วนงอลง ผิวแห้ง เรียบ ขาวนวลหรือน�้ำตาลอ่อน ครีบ ติดก้าน แคบ ยาว เท่ากัน สีขาวหรือขาวนวล ก้าน 25-60 x 10-25 มม. เรียวลงไป ขาว เรียบ เนื้อ ขาว เปราะ หักง่าย สปอร์ 7-8 µm กลมถึงเกือบกลม ผิวขรุขระและมีสันนูนสานกันแบบร่างแห ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ กระจายทั่วทั้งภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Russula densifolia Secr. ex Gillet ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ถ่านเล็ก ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 27 มม. นูน กลางหมวกเว้าเล็กน้อย หนืดมือเมื่อ เปียกชื้น ขอบงอลง ขาวหรือน�้ำตาลหม่น แล้วเปลี่ยนเป็นด�ำ ครีบ เรียวลงไปติด ก้านเล็กน้อย เรียงถี่ แคบ ขาว เมื่อช�้ำ เปลี่ยนเป็นน�้ำตาลแดงไปจนถึงน�้ำตาลแล้วด�ำ ก้าน 20-80 x 6-30 มม. ทรงกระบอก ขาว แล้วเปลี่ยน เป็นน�้ำตาลหม่นถึงน�้ำตาลแดงแล้วด�ำ เนื้อ แน่น ขาว เมื่อช�้ำเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลแดงแล้วด�ำ สปอร ์ 6-7 µm กลม มีปุ่มเล็กๆและเส้นละเอียดสานกันเป็นตาข่าย ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ กระจายทั่วทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศไทย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 301 ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula emetica (Schaeff.) Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ แดงน�้ำหมาก ชื่อพ้อง Agaricus emeticus Schaeff.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-100 มม. นูน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย เรียบ หนืดมือ ขอบงอลง แดงไปจนถึงแดงชมพู ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาวหรือ เหลืองอ่อน ก้าน 50-100 x 10-20 มม. ทรงกระบอก มักมีรอยย่นยาว ขาว เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 7.5-12 x 6-9 µm ทรงรียาว ผิวมีปุ่มนูน ใหญ่และเส้นละเอียดเชื่อมเป็นตาข่ายรูห่าง ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง กินได้ เมื่อต้มสุก รสเผ็ด สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula flavida Frost ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หล่มเหลือง ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-80 มม. นูน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย เรียบ เหลืองสด กลางหมวกเหลืองทอง ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาว ก้าน 30-80 x 10-20 ซม. ทรงกระบอก เรียบ สีส้มส่วนบน เหลืองส่วนล่าง เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 7-9 x 6-7 µm เกือบกลม ผิวมีปุ่มเล็กๆ และตาข่ายบางส่วน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น�้ำภาชี จ.ราชบุรี

302 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula foetens Pers. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus foetens (Pers.) Pers.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-60 มม. ทรงครึ่งวงกลม แล้วเปลี่ยนเป็นนูน เป็นแอ่ง กลางหมวกเล็กน้อยแล้วแบนลง สีน�้ำผึ้ง ผิวหนืดมือ ขอบมีร่องและริ้ว ครีบ ติดก้าน ห่างเล็กน้อย ขาวหรือขาวนวล ก้าน 30- 40 x 15-20 มม. ขาว ทรงกระบอก เปราะหักง่าย เนื้อในขาว สปอร์ 8-10 x 8-9 µm ผิวหยาบแหลม คล้ายหนาม สูง 1 µm และมีตาข่ายเส้นละเอียด ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดบนพื้นดินใต้ต้นไม้ ในป่าดิบแล้ง กินได้ เมื่อต้มสุก สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Russula grata Britzelm. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หล่มกลิ่นอัลมอนด์ ชื่อพ้อง Russula laurocerasi Melzer Russula foetens var. grata (Britzelm.) Singer

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-70 มม. นูน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย หนืดมือ เมื่อชื้น ขอบงอลงและมีริ้ว น�้ำตาลอม เหลือง ครีบ ติดก้าน เรียงถี่ ขาวอมเหลืองไปจนถึงส้มอ่อน ก้าน 50-80 x 8-12 มม. ทรงกระบอก ผิวเรียบ เหลืองนวล เนื้อ หยุ่น ขาวอมเหลือง กลิ่นคล้ายอัลมอนด์ สปอร์ 7-12 µm กลม ผิวมีสัน และปุ่มติดกันเป็นแผงบางส่วน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดิน ในป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 303 ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula japonica Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หล่มญี่ปุ่น ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 60-100 มม. นูนแล้วเป็นรูปกรวยกว้าง เรียบ เป็นคลื่น เล็กน้อยเมื่อดอกแก่ ขาว ปนเปื้อนเหลือง หม่นหรือน�้ำตาลอ่อน ครีบ เรียวติดก้าน เล็กน้อย แคบ เรียงถี่ เหลืองอ่อนถึง เหลืองอมน�้ำตาลอ่อน ก้าน 30-60 x 15-20 มม. ทรงกระบอก เรียบ ขาว ปนเปื้อนน�้ำตาลอ่อน เนื้อ แน่น ขาวอมเหลือง สปอร์ 6-7 x 5-6 µm เกือบกลม ผิวมีปุ่มเล็กๆ กับเส้นละเอียดเชื่อมกันเป็นร่างแห บางส่วน ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula neoemetica Hongo ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-80 มม. กระจกนูนเมื่อดอกอ่อน กลางหมวกเป็น แอ่งเล็กน้อย เรียบ หนืดมือ ขอบงอลง น�ำ้ ตาลอมแดงไปจนถึงน�้ำตาลอมแดงชมพู ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงถี่ ขาวหรือ เหลืองอ่อน พบลักษณะแตกเป็นส้อมบริเวณใกล้ขอบ ก้าน 50-90 x 10-15 มม. ทรงกระบอก โคนบวม กว่าปลายเล็กน้อย มักมีรอยย่นยาว ขาว เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 5.5-7 x 5-6 µm ทรงรียาว ผิวมีปุ่ม นูนใหญ่และเส้นละเอียดเชื่อมเป็นตาข่ายรูห่าง ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา ไมมีข้อมูลว่ ่ากินได้ สถานที่พบ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

304 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula nigricans Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ถ่านใหญ่ ชื่อพ้อง Agaricus nigricans Bull.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-200 มม. นูน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย แห้ง ขาวหม่น เปลี่ยนเป็นน�้ำตาล แล้วด�ำ ครีบ ติดก้าน หนา เรียงห่าง มีครีบสั้นๆ สลับ ครีมแล้วเปลี่ยนเป็นด�ำเมื่อแก่ ก้าน 30-80 x 10-30 มม. ทรงกระบอก ขาว เมื่อช�้ำเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลแล้วด�ำ เนื้อ ขาว เปลี่ยนเป็นแดงแล้ว ด�ำเมื่อช�้ำ ทั้งดอกเปลี่ยนเป็นด�ำเมื่อแก่ สปอร ์ 7-8 x 6-7 µm เกือบกลม ผิวปุ่มเล็กๆ และเส้นละเอียด สานเป็นตาข่ายบางส่วน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าเต็งรัง กินได้ สถานที่พบ ป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จ.อุดรธานี

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Russula olivacea (Schaeff.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หล่มสีแดงอมเขียวมะกอก ชื่อพ้อง Agaricus olivaceus Schaeff. Russula alutacea var. olivacea (Schaeff.) J.E. Lange Russula xerampelina var. alutacea Quél.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-110 มม. โค้งนูนเป็นรูป ครึ่งวงกลม กลางหมวก เป็นแอ่งเล็กน้อย เรียบหรือย่น เป็นวงเล็กน้อย หนืดมือ เมื่อเปียกชื้น สีหลากหลาย จากน�้ำตาลอมเหลือง เขียวมะกอก น�้ำตาล แดงม่วงหรือ แดงชมพู ครีบ ติดก้าน แคบ เรียงถี่ ครีม น�้ำตาลอ่อน อมเหลืองเมื่อแก่ ก้าน 40-70 x 10-25 มม. เท่ากันตลอด เรียบ แห้ง ขาว ปนเปื้อนชมพู มีจุดแผลน�้ำตาล เนื้อ แน่น ขาว เปลี่ยนเป็นเหลืองอ่อน น�้ำตาลอ่อน เมื่อแก่ สปอร์ 8-10 x 7-9 µm ทรงรีกว้าง ผิวมีปุ่ม เหลืองอ่อนถึงน�้ำตาลอ่อนอมเหลืองบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 305 ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula sanguinea Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus sanguineus Bull.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-50 มม. รูป คล้ายชามคว�่ำ แดงกุหลาบ หรือแดง เลือดนก เกลี้ยง ครีบ ติดก้าน แคบ ก้าน 40-60 x 10-30 มม. ขาวปนเปื้อนชมพู หรือแดง รูปใบพาย หรือตอนบนเล็กกว่า เล็กน้อย เนื้อ ขาว สปอร์ 7-8 µm ผิวมีหนามและตาข่ายเส้นละเอียด สีขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่ อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดบนพื้นดินในป่าดิบแล้ง กินได้ เมื่อต้มสุก สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula senecis S. Imai ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หล่มพุงลาย ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 75 มม. รูปครึ่ง วงกลม กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย มี ขนอ่อน มีริ้วและร่องหยัก น�้ำตาลอมเหลือง ถึงน�้ำตาลแดง ผิวปริแตก ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงห่างเล็กน้อย มักเป็นแฉก รูปซ่อมใกล้ขอบ ขาวหรือครีม มีครีบย่อย 1 ระดับ ก้าน 65 x 14 มม. ทรงกระบอก อ้วนเล็กน้อยที่โคน เป็นริ้ว มีเกล็ดเล็กๆ น�้ำตาลอ่อน เนื้อ แน่น ขาวอมเหลือง สปอร์ 7-9 µm กลม ผิวมีสันหนาและ ปุ่มแหลมขนาดใหญ่ เป็นตาข่ายบางส่วน ขาวหรือขาวอมเหลืองบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

306 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula vesca Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หล่มหมวกปริ ชื่อพ้อง Russula mitis Rea

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 30-100 มม. โค้งนูนคล้ายจานคว�่ำ กลางหมวกเป็น แอ่งเล็กน้อย แห้ง ผิวปริแตกเป็นชิ้น เล็กๆ หนืดมือเมื่อเปียกชื้น สีหลากหลาย น�้ำตาลอ่อนอมชมพู น�้ำตาลอมเหลือง น�้ำตาลอ่อน ส้มอ่อนอมเหลือง ครีบ ติดก้าน แคบ เรียงถี่ ขาวนวลหรือน�้ำตาลอ่อน เปลี่ยนเป็นน�้ำตาล เมื่อช�้ำ ก้าน 20-50 x 10-15 มม. โคนสอบ เรียบ แห้ง แน่น ขาว เนื้อ แน่น ขาว สปอร์ 6-8.5 x 5-6.5 µm เกือบกลม ผิวมีปุ่มเล็กๆ และตาข่ายบางส่วน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Russula violeipes Quél. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 20-80 มม. กลม นูนเมื่ออ่อน แล้วแบน เป็นแอ่งกลางหมวก ผิวแห้ง เรียบ แดงอมม่วง บางส่วนสีจาง เป็นเหลือง ครีบ ติดก้าน แคบ ยาวเท่ากัน มักเป็นรูปส้อมใกล้ก้าน สีครีม ก้าน 20- 70 x 5-10 มม. เรียวลงไปหาโคนก้าน ตอนบนขาวอมชมพู แดงอมม่วงลงไปทางโคนก้าน เนื้อ ขาว สปอร์ 9.5-10 x 9-10 µm เกือบกลม ผิวมีสันหนา บางอันยาวและมีหนามใหญ่ สานกันเป็นตาข่าย บางส่วน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินใต้ต้นตะเคียนทอง กินได้ สถานที่พบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 307 ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula virescens (Schaeff.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หล่มกระเขียว/ Green Agaric, Quilted Green Russula ชื่อพ้อง Agaricus virescens Schaeff.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 40-95 มม. คล้ายชามคว�่ำ แก่บานออกคล้ายร่มขอบ ยกขึ้น ขาวแต่มีสะเก็ดเขียวเป็นสี่เหลี่ยม กระจายอยู่โดยทั่ว ขอบเรียบ ครีบ ขึ้น จากก้านเล็กน้อยถึงติดกับก้านค่อนข้างกว้าง เรียงตัวใกล้ถึงเรียงชิดติดกัน ขาว ขอบเรียบ ก้าน ยาว 30-40 มม. Ø 9-12 มม. ทรงกระบอกเรียวจากปลายสู่โคน ติดกลางหมวก ขาว เรียบ สปอร์ 6-8.5 µm ทรงกลมถึงเกือบกลม ผิวเป็นหนามปลายไม่แหลมและมีสันเชื่อมติดกัน ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่ อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดกระจายอยู่ห่างๆ กัน ขึ้นโดยตรงจากพื้นดิน กินได้ สถานที่พบ สถานี เกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula xerampelina (Schaeff.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ - ชื่อพ้อง Agaricus xerampelinus Schaeff. Russula xerampelina var erythropus (Fr. ex Pelt.) Konrad & J. Favre

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-120 มม. นูนแล้วแบน กลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย หนืดมือแล้วแห้ง ขอบเป็นเส้นรัศมีและฉีกง่าย แดง ครีบ ติดก้าน กว้าง เรียงห่างเล็กน้อย ครีมถึงเหลืองหม่น ก้าน 50- 70 x 10-30 มม. กลวงเมื่อแก่ ขาว ปนเปื้อนชมพู เมื่อช�้ำเป็นน�้ำตาล เนื้อ เปราะ ขาว สปอร์ 7-11 x 6-8 µm ทรงรี ผิวมีปุ่นูนสูง 1.2 µm มีเส้นเชื่อมกันเล็กน้อย ครีมถึงเหลืองหม่นบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าสนเขา กินได้ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

308 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อันดับ Russulales วงศ์ Stereaceae

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Stereum complicatum (Fr.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตีนตะขาบใหญ่/Crowded Parchment ชื่อพ้อง Thelephora complicata Fr.

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 2-14 มม. รูปครึ่งวงกลม ไปถึงรูปพัด มีแถบเส้นขนคล้ายไหมและร่องรัศมีไปจนถึง เป็นคลื่น น�้ำตาลแดงไปจนถึงน�้ำตาลหม่นอมเหลือง มักจะ เกิดซ้อนกันหรือติดกันทางด้านข้างเป็นแถบ ด้านล่างเรียบ แห้ง แล้วเป็นสีครีมหรือน�้ำตาลอมเหลืองหม่น เนื้อ บาง สีเหลืองอ่อนหรือครีม สปอร์ 5-6 x 2-3 µm ทรงกระบอก ผิวเรียบ ใสไม่มีสี ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนกิ่งแห้งและตอไม้ของไม้เนื้อแข็ง ไม่มีข้อมูลว่ากินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Stereum ostrea (Blume & T. Nees) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หางไก่งวงปลอม ชื่อพ้อง Thelephora ostrea Blume & T. Nees

ลักษณะทั่วไป หมวก กว้าง 20-120 มม. ยาว 20-60 มม. หนา 1 มม. รูปครึ่งวงกลม หรือพัด ผิวด้านบนมีขนสั้นๆ เป็นมันวาว มีหลายสีเป็นแถบวงกลมแคบๆ สีเหลือง อมเทาสลับน�้ำตาลแดง น�้ำตาลอมเทา มักมีขอบขาว บริเวณที่ให้ก�ำเนิดสปอร์ น�้ำตาลอ่อนไปจนถึง อบเชย เนื้อ เหนียวคล้ายหนัง น�้ำตาลอมเหลือง สปอร ์ 5.5-7 x 2-3 µm ทรงกระบอก ผิวเรียบ ผนัง บาง แบนด้านหนึ่ง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ มักขึ้นซ้อนกันบนขอนไม้ และ ตอไม้ของไม้เนื้อแข็ง กินไมได้่ สถานที่พบ กระจายทั่วทั้งประเทศ

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 309 ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylobolus spectabilis (Klotzsch) Boidin ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ตีนตะขาบ ชื่อพ้อง Stereum spectabile Klotzsch

ลักษณะทั่วไป ดอก ยาว 10-60 มม. หนา 10-40 มม. เป็นแผ่นบางแนบติด หรือออกข้างๆ บางครั้งขึ้นซ้อนกัน หมวก ยาว 10-30 มม. ม้วนงอลงเล็กน้อย มีขน เป็นมันวาวและมีร่องเล็กๆ และบางทีมีริ้ว เรียงเป็นรัศมี ขอบแหลมคมและฉีกขาด มีแถบวงสีน�้ำตาลอมเหลืองและน�้ำตาลแดงสลับกัน ผิว ด้านล่างเรียบ น�้ำตาลหรือน�้ำตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อ เหนียว น�้ำตาลอมเหลือง สปอร ์ 6-8 x 4-6 µm รูปไข่กลับ ผิวเรียบ ผนังบาง สีเนื้อบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย แซบโพรไฟต์ บนเปลือกของ กิ่งไม้แห้ง ขอนไม้และตอไม้ กินไมได้่ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

อันดับ Thelephorales วงศ์ Bankeraceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bankera fuligineoalba (J.C. Schmidt) Coker & Beers ex Pouzar ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เกล็ดแป้นไม้/ Scaly Hydnum ชื่อพ้อง Hydnum fuligineoalbum J.C. Schmidt, Sarcodon fuligineoalbus (J.C. Schmidt) Quél.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 100-130 มม. รูปชามคว�่ำเมื่ออ่อน กางออกเมื่อแก่ เรียบ ขาวหรือขาวอมเหลือง มีขนละเอียดปกคลุม ขอบงุ้มเข้า สี อ่อนกว่าตรงกลาง เว้าเป็นคลื่น รู ปลายปากรูแหลม ไม่สม�่ำเสมอ ขาว ขึ้นจากก้าน ก้าน 20-50 x 40 มม. ทรงกระบอกเท่ากัน ติดกลางหมวกหรือเยื้องไปด้านหนึ่ง ขาวหรือขาวอมเหลือง ผิวเป็นรอยเส้น ใยเล็กๆ เนื้อ แน่น เมื่อผ่าออกมีลักษณะเป็นวงซ้อนกัน (zonate) สปอร์ 2.5-3.5 x 4.5-6 µm รูปทรงรี ขอบขนาน ถึงเกือบกลม ผิวมีหนาม ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นเป็นดอก เดี่ยวๆ หรือกลุ่มเล็กๆ บนพื้นดิน กินไมได้่ สถานที่พบ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก

310 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Boletopsis subsquamosa (L.) Kotl. & Pouzar ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ทูโรตาเกะ ชื่อพ้อง Boletus subsquamosus L.

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-100 มม. นูน แล้วแบน ขอบงอเข้าเล็กน้อย เป็น มันเงาเหมือนขี้ผึ้ง มีเส้นใยหรือเกล็ด เล็กๆ เรียงเป็นรัศมีที่กลางหมวกเมื่อแก่ เทาน�้ำตาล รู ยาว 2-5 มม. เรียวลงไปติดก้านเล็กน้อย ปากรู 1-2 รู/มม. กลม แล้วเปลี่ยนเป็นไม่กลม ขาว ก้าน 50-80 x 10-25 มม. เรียบ เทาถึงน�้ำตาลอมเขียวหม่น เนื้อ ขาวถึงเทาอ่อน สปอร์ 4-7 x 4-5 µm เกือบกลม ผิวมีปุ่มเล็กๆ ขาวหรือน�้ำตาลอ่อนบนกระดาษพิมพ์ ที่อยูอาศัย่ เอคโตไมคอร์ไรซา บนพื้นดินในป่าผลัดใบและป่าสน กินได้ สถานที่พบ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (เขาช่อง) จ.ตรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarcodon imbricatus (L.) P. Karst. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ เกล็ดแป้นไม้/ Scaly Hydnum ชื่อพ้อง Hydnum imbricatum L. Phaeodon imbricatus (L.) J. Schröt. Sarcodon aspratus (Berk.) S. Ito

ลักษณะทั่วไป หมวก Ø 50-100 มม. แบน กลางหมวกเป็นแอ่ง แล้วแตกเป็น เกล็ดใหญ่หยาบเรียงซ้อนกัน ปลายเกล็ดงอขึ้น น�้ำตาลแดงหรือน�้ำตาลอมม่วง ขอบงอลง เหยียดตรง เมื่อแก่ น�้ำตาลอ่อนถึงน�้ำตาลเข้ม หนาม ยาว 1-10 มม. ขาว แล้วเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลอมม่วง ก้าน 30-60 x 10-50 มม. เรียวลงไปที่โคน กลวงเมื่อแก่ ขาว มีสีน�้ำตาลขึ้นมาจากโคน เนื้อ หนา เหนียว น�้ำตาลอ่อน สปอร ์ 6-8 x 5-7 µm เกือบกลม ผิวเป็นปุ่มนูนไม่สม�่ำเสมอกัน น�้ำตาลอ่อนบนกระดาษ พิมพ์ ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา เกิดเดี่ยวถึงเป็นกลุ่มเล็กๆ บนพื้นดินในป่าเบญจพรรณ กินได้ สถานที่พบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น�้ำภาชี จ.ราชบุรี

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 311 อันดับ Thelephorales วงศ์ Thelephoraceae

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Thelephora palmata (Scop.) Fr. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ ฝ่ามือ ชื่อพ้อง Clavaria palmata Scop. Ramaria palmate (Scop.) Holmsk.

ลักษณะทั่วไป ดอกเห็ด เป็นแผ่นแบนคล้ายฝ่ามือและ ปลายแตกเป็นหลายแขนงหรือรูปร่างคล้ายปะการัง สีม่วง อมน�้ำตาลถึงสีด�ำ ปลายสีขาวถึงครีมและมีขน เหนียว และหยุ่น สูง 30-50 มม. ก้าน Ø 2-6 มม. ส่วนโคนก้าน เชื่อมติดกัน มีกลิ่นฉุน สปอร์ 7-8 x 8-11 µm รูปเหลี่ยม สีน�้ำตาลแดง ผิวมีหนาม ที่อยู่อาศัย เอคโตไมคอร์ไรซา ขึ้นโดยตรงจากพื้นดินในป่าดิบแล้ง กินได้ สถานที่พบ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา กระจายทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อันดับ Tremellales วงศ์ Tremellaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tremella fuciformis Berk. ชื่อท้องถิ่น/ชื่อสามัญ หูหนูขาว ชื่อพ้อง -

ลักษณะทั่วไป ดอก กว้าง 20-40 มม. ใส หนืดมือ เหมือนก้อนวุ้น เกิดเป็นแผ่น บาง มีขอบโค้งงอเป็นคลื่นหยัก อาจมี หลายแผ่นอยู่ติดกัน ขาว เมื่อแห้งมีสี เหลืองอ่อน สปอร์ 5 x 7 µm รูปไข่ เรียบ ผนังบาง ขาวบนกระดาษพิมพ์ ที่อยู่อาศัย เห็ดปรสิตกับเห็ดชนิดอื่น เกิดเป็นกลุ่มใกล้กันบนกิ่งและ ขอนไม้ผุของไม้ใบกว้าง กินได้ เห็ดเศรษฐกิจ สถานที่พบ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จ.ตราด

312 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บรรณานุกรม

กมลทิพย์ สัจจาอนันตกุล และ วันเพ็ญ สีหวงษ์. 2544. การพัฒนาผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูป จากเห็ดเศรษฐกิจในประเทศไทย. คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ, กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร. 2547. ศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทย. บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย), กรุงเทพฯ. กฤติกา ณ เชียงใหม่. 2541. ผลยับยั้งของสารสกัดจากเห็ดรับประทานได้ต่อเชื้อแบคทีเรียบางชนิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กฤษณา พงษ์พานิช, กิตติมา ด้วงแค, วินันท์ดา หิมะมาน, จันจิรา อายะวงศ์, บารมี สกลรักษ์ และ ธวัชชัย สุ่มประดิษฐ. 2554. ชนิดพันธุ์ยีสต์ เห็ด ราโรคพืช และราท�ำลายแมลง ในกลุ่ม ป่าแก่งกระจาน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำกัด, กรุงเทพฯ. ก่าน ชลวิจารณ์. 2503. การท�ำเชื้อและเพาะเห็ดฟาง. หนังสือพิมพ์กสิกร 33 (3): 241-244. กิตติมา ด้วงแค. 2549. การติดตามการเปลี่ยนแปลงความหลากชนิดของเห็ดราขนาดใหญ่ในพื้นที่ ลุ่มน�้ำเข็ก จังหวัดเพชรบูรณ์. ว.สงขลานครินทร์ วทท. 28 (2): 293-333. กิตติมา ด้วงแค, วินันท์ดา หิมะมาน, จันจิรา อายะวงศ์, กฤษณา พงษ์พานิช และ จิรพรรณ โสภี. 2551. ความหลากหลายของเห็ดราไมคอร์ไรซาในระบบนิเวศป่าไม้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เชียงดาว, น. 238-253. ใน รายงานการประชุมความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้และ สัตว์ป่าแบบบูรณาการ ประจ�ำปี 2550: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับงานด้าน ความหลากหลายทางชีวภาพ. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ. กิตติมา ด้วงแค, วินันท์ดา หิมะมาน, จันจิรา อายะวงศ์ และ กฤษณา พงษ์พานิช. 2552. เห็ดและ ราจากป่าดอยเชียงดาว. งานจุลชีววิทยาป่าไม้, กลุ่มงานกีฎวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้, ส�ำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ. เกษม สร้อยทอง. 2537. เห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทย. โรงพิมพ์ศิริธรรม ออฟเซ็ท, อุบลราชธานี. เกษม สร้อยทอง, มานะ กาญจนมณีเสถียร และ วสันณ์ เพชรรัตน์. 2537. อนุกรมวิธานของรา Phallales ในประเทศไทย. วารสารสงขลานครินทร์ 16(3): 301-306. เขมาภรณ์ ก�ำแพงเศรษฐ, สุปรียา ศุขเกษม, จิตติมา วรรณแก้ว, พัจนา สุภาสูรย์ และ กุลวิไล สุทธิลักษณะวณิชย์. 2551. การวิจัยและพัฒนาเห็ดฟางสามรส. วารสารเห็ดไทย 2551: 102-114. ชริดา ปุกหุต, อุทัย อันพิมพ์, โสภณ บุญลือ, ประเสริฐ วุฒิคัมภีร์ และ อัจฉรา พยัพพานนท์. 2548. สายพันธุ์เห็ดขอนขาว Lentinus squarrosulus Mont. ที่อุบลราชธานี, น. 1-12. ใน เห็ดไทย. สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 313 ดอกรัก มารอด และ อุทิศ กุฏอินทร์. 2552. นิเวศวิทยาป่าไม้. โรงพิมพ์อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. ถาวร ธรรมกรณ์. 2544. การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาสอยดาวและการทดสอบสารออกฤทธิ์จากเห็ดบางชนิดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ เชื้อราสาเหตุโรคพืช. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง. ธนาวดี ฮั่นตรี. 2545. ผลยับยั้งของน�้ำเลี้ยงเส้นใยเห็ดที่รับประทานได้ต่อการเจริญของแบคทีเรีย บางชนิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ธัญญา ทะพิงค์แก. 2555. การเพาะเห็ดถั่งเช่าเป็นอาชีพ. บริษัททูโฟร์พริ้นติ้งจ�ำกัด, กรุงเทพฯ. ธิติยาภรณ์ ประยูรมหิศร. 2550. การจ�ำแนกสายพันธุ์ระดับโมเลกุลและการถ่ายยีนในเห็ดฟาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ และ ธวัชชัย วงศ์ประเสริฐ. 2541. เห็ดราสมุนไพร. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้, ส�ำนักวิชาการป่าไม้, กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ. 2545. เห็ดกินได้และเห็ดพิษในประเทศไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน 2 (4): 1151-1164. ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ, ยศนันท์ พรหมโชติกุล และ อรุณี วีณิน. 2547. ความหลากหลายของเห็ด ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน, น. 134-145. ใน รายงานการประชุมความ หลากหลายทางชีวภาพ: งานวิจัยจากอดีตสู่อนาคต. 30 สิงหาคม-3 กันยายน 2547, โรงแรม เวียงอินทร์, จังหวัดเชียงราย. ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ, ยศนันท์ พรหมโชติกุล และ อรุณี วีณิน. 2550. ความหลากหลายของเห็ดใน ภาคตะวันออก, น. 254-270. ใน รายงานการประชุมความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่า ไม้และสัตว์ป่าแบบบูรณาการ ประจ�ำปี 2550: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ. นริสา ฟูตระกูล. 2548. สรรพคุณเห็ดหลินจือช่วยต่อชีวิตผู้ป่วยโรคไต. จุฬาสัมพันธ์ 48 (24). นันทินี ศรีจุมปา และ ไว อินตะแก้ว. 2552. ความก้าวหน้าการเพาะเห็ดตับเต่า. ข่าวสารเพื่อ ผู้เพาะเห็ด 14(1): 9-11. นิคม พุทธิมา. 2542. การเก็บรวบรวมและเพาะเลี้ยงเห็ดจากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. นิภาพร อามัสสา. 2551. ผลของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเห็ดสมุนไพรต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคเอดส์ในระดับคลินิก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, สกลนคร. นิวัฒ เสนาะเมือง. 2553. เห็ดป่าเมืองไทย: ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์. ยูนิเวอร์แซล กราฟฟิค แอนด์ เทรดดิ้ง, กรุงเทพฯ.

314 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บารมี สกลรักษ์. 2549. ความหลากหลายของเห็ดในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พัชราภรณ์ ปานดี และ เยาวลักษณ์ ดิสระ. 2543. เอนไซม์สลายไฟบรินจากเส้นใยเห็ด.วารสาร เห็ดไทย 2543: 48-60. พิเชษฐ เทบ�ำรุง, อโนทัย วิงสระน้อย, สุบรรณ์ ทุมมา, นิภาพร อามัสสา และ พิทักษ์พล พรอเนก. 2551. สารสกัดจากเห็ดพิษในการก�ำจัดแมลงศัตรูพืช. งานวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลอีสาน, สกลนคร. พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา. 2552. พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา. แหล่งที่มา: http://www. mushroom.msu.ac.th, 19 กันยายน 2552. พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์. 2549. เห็ดพิษและสารพิษจากเห็ด, น. 31-41. ใน เห็ดพิษ ฉบับปรับปรุง 2549. สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย, บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด, กรุงเทพฯ. มลธิรา จันทร์โอภาส, วารุณี จันทร์โอภาส, ธัชคณิน จงจิตวิมล, อัญชลี เชียงกูล และ ปรียานันท์ แสนโภชน์. 2549. การส�ำรวจชนิดของเห็ดราขนาดใหญ่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอย เวียงหล้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. NU Science Journal 2(2): 175-181. ยงยุทธ์ สายฟ้า และ สัญชัย ตันตยาภรณ์. 2535. การส�ำรวจรวบรวมและเปรียบเทียบเชื้อเห็ดฟาง สายพันธุ์ธรรมชาติจากแหล่งต่างๆ ในประเทศไทย, น. 133-140. ใน รายงานผลงานวิจัย พ.ศ. 2535. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ยศนันท์ พรหมโชติกุล, อรุณี วีณิน และ ธีรวัฒน์ บุญทวีกุล. 2548. การคัดเลือกเชื้อราที่ผลิตเอ็นไซม์ ย่อยสลายลิกนินเพื่อการใช้ประโยชน์, น. 202-217. ใน รายงานการประชุมความหลากหลาย ทางชีวภาพ ความก้าวหน้าของผลงานวิจัยและกิจกรรมปี 2548. 21-24 สิงหาคม 2548, โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอ�ำ, จังหวัดเพชรบุรี. ยศนันท์ พรหมโชติกุล, อรุณี วีณิน, ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ และ น�้ำตาล คุ้มตะโก. 2552. การใช้ประโยชน์ จากเห็ดเพื่อผลิตกระดาษตกแต่ง. ข่าวสารเพื่อเพาะผู้เห็ด 14(1): 12-22. ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. เห็ดกินได้และเห็ดมีพิษในประเทศไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ. ราชบัณฑิตยสถาน. 2550. เห็ดในประเทศไทย. บริษัท ทีฟิล์ม จ�ำกัด, กรุงเทพฯ. วนิดา ผ่องมณี. 2542. ความหลากหลายของเห็ดที่ขึ้นบนดินบริเวณป่าดิบเขาในอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วสันณ์ เพชรรัตน์. 2540. เห็ดป่าในภาคใต้ของประเทศไทย: I เห็ดปลวก (Termitomyces spp.). วารสารสงขลานครินทร์ 19 (2): 165-171. วสันณ์ เพชรรัตน์. 2541. เห็ดป่าในภาคใต้ของประเทศไทย: II เห็ดเลนไทนัส (Lentinus spp.). วารสารสงขลานครินทร์ 20 (1): 35-40.

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 315 วสันณ์ เพชรรัตน์, ปรีชา กลิ่นเกษร และ อนิวรรต เฉลิมพงษ์. 2542. การส�ำรวจ เก็บ และรวบรวมเห็ด ในพื้นที่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้างและพื้นที่ใกล้เคียง, น. 151-154. ใน รายงาน ผลการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย. การประชุมวิชาการประจ�ำปี โครงการ BRT ครั้งที่ 3, 11-14 ตุลาคม 2542, โรงแรม เจ. บี. หาดใหญ่, สงขลา. วสันณ์ เพชรรัตน์ และ อนุสรณ์ ทองวิเศษ. 2544. การเพาะปลูกเห็ดนางรมโดยใช้วัสดุเศษเหลือ จากปาล์มน�้ำมัน. วารสารสงขลานครินทร์ 23 (ฉบับพิเศษ): 727-740. วสันณ์ เพชรรัตน์, กัญญาภัค วรปัทมศรี, ณัฐพัชร์ ศรีหะนัลต และ พรศิลป์ สีเผือก. 2555. เห็ดใน ภาคใต้ของประเทศไทย. ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช, คณะทรัพยากรธรรมชาติ, มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, สงขลา. วัชรพรรณ พลอามาตย์. 2554. ความหลากหลายของเห็ดในโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) ต�ำบลตกพรม อ�ำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วัฒนา อัจฉริยะโพธา. 2549. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไวน์โดยใช้เห็ดในการหมัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วันทนีย์ อู่วาณิชย์. 2545. โรคอ้อยที่ส�ำคัญที่เกิดจากเชื้อรา. เอกสารวิชาการกลุ่มวิจัยโรคพืชไร่, กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. วินัย กลิ่นหอม และ อุษา กลิ่นหอม. 2548. 57 เห็ดเป็นยาแห่งป่าอิสาน. ปาปิรุส พับลิเคชั่น, กรุงเทพฯ. ศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช. 2545. โรคปาล์มน�้ำมัน, น. 15-28. ใน คู่มือการป้องกันก�ำจัดศัตรูปาล์ม น�้ำมันโดยวิธีผสมผสาน. กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. ศิริลักษณ์ หุนแดง. 2551. ประสิทธิภาพของน�้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากก้านเห็ดหอมต่อการเจริญ เติบโตของผักคะน้า, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ศุภนิตย์ หิรัญประดิษฐ์ และ สัญชัย ตันตยาภรณ์. 2531. ศึกษาการหมักน�้ำซอสเห็ดจากเห็ดชนิด ต่างๆ, น. 113-120. ใน รายงานผลงานวิจัย 2531. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการ เกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ศุภนิตย์ หิรัญประดิษฐ์ และ อภิญญา สราวุธ. 2546. การเก็บรักษาเชื้อพันธุ์เห็ดหลินจือในน�้ำกลั่น ปลอดเชื้อ, น. 42. ใน การประชุมวิชาการ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ประจ�ำปี 2546. 7-9 มีนาคม 2546, โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้, จอมเทียน,จังหวัดชลบุรี ศุลิเชษฐ์ ทองกล�่ำ, สุธีรา ทองกันทา และ อุราภรณ์ สอาดสุด. 2551ก. เห็ดโบลีตส์บางชนิดที่พบใหม่ รายงานครั้งแรกในประเทศไทยจากอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน เห็ดไทย 2551: 12-23. ศุลิเชษฐ์ ทองกล�่ำ, สุธีรา ทองกันทา และ อุราภรณ์ สอาดสุด. 2551ข. ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ ของเห็ดห้าในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. เห็ดไทย 2551: 24-29. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 2550. เห็ดในป่าสะแกราช. อรุณ การพิมพ์, กรุงเทพฯ.

316 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด สมใจ เมธียนต์พิริยะ. 2552. ความหลากหลายของเห็ดในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชด�ำร ิ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อ�ำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สาวิตรี วีระเสถียร. 2550. การพัฒนาเชื้อเห็ดตับเต่า (Boletus edulis Bull. ex Fr.) ต่อการเจริญ เติบโตของกล้าไม้ยูคาลิปตัส. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ส�ำเภา ภัทรเกษวิทย์. 2546. เห็ดเมืองหนาว. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดฟันนี่ พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. สำ� นักการแพทย์พื้นบ้านไทย กระทรวงสาธารณสุข. 2544. คู่มือเห็ดเป็นยาเพื่อสุขภาพตามภูมิปัญญา ของหมอพื้นบ้าน. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพฯ. ส�ำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2552. บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เรื่อง จุลินทรีย์ (เห็ด). อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. ส�ำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร. 2553. เห็ดฟางและเทคโนโลยีการผลิต ในโรงเรือน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจ�ำกัด, กรุงเทพฯ. สิริลักษณ์ สีหะนันท์, วสันณ์ เพชรรัตน์ และ สมปอง เตชะโต. 2550. เห็ดโบลีทส์บางชนิดใน ประเทศไทย. Songklanakarin J. Sci. Technol. 29 (3): 737-754. สุชาดา มงคลสัมฤทธิ์, เจเน็ต เจนนิเฟอร์ เหลืองสอาด, กนกศรี ทัศนาลัย และ สมศักดิ์ ศิวิชัย. 2554. ราก่อโรคในแมลงของประเทศไทย. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, ปทุมธานี. สุมาลี พิชญางกูร. 2541. เห็ดโคนและลูกผสมฟิวแสนท์. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพฯ. สุรพล รักปทุม และ ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง. 2539. เห็ดหลินจือ. บริษัท ที. พี. พริ้นท์ จ�ำกัด, กรุงเทพฯ. สุรีย์พร บัวอาจ, วีรศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์, สมเดช กนกเมธากุล, อนันต์ หิรัญสาลี และ รัศมี เล็กพรหม. 2554. Aurisin-A สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดใหม่จากเห็ดเรืองแสง (Neonothopanus nambi Speg.) ที่ออกฤทธิ์ต่อไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita Chitwood). การประชุมวิชาการเห็ดแห่งชาติ. 14-17 ธันวาคม 2554, โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด, จังหวัด เชียงใหม่. สุวลักษณ์ ชัยชูโชติ และ ประไพศรี พิทักษ์ไพรวัน. 2545. การเก็บรักษาเชื้อพันธุ์เห็ดสกุลนางรม และเห็ดหูหนู. วารสารเห็ดไทย 2545: 61-75. เสน่ห์ ชุมแสน. 2540. ความหลากหลายของแมคโครฟังไจในวงศ์ Polyporaceae ในอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. โสภาวรรณ รัตนพันธุ์. 2547. การบ�ำบัดและก�ำจัดสีของน�้ำทิ้งจากโรงงานสกัดน�้ำมันปาล์มโดย เส้นใยเห็ด Lentinus spp. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่. อนงค์ จันทร์ศรีกุล, กัญจนา โป๊ะเงิน, ดรุณี รัตนประภา และ ประสิทธิ์ ธนากลาง. 2527. ชนิดของ เห็ดสกุล Lepiota และสกุลใกล้เคียงในประเทศไทย. วารสารวิชาการเกษตร 2: 187-193.

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 317 อนงค์ จันทร์ศรีกุล, กัญจนา โป๊ะเงิน, ดรุณี รัตนประภา, วิรัช ชูบ�ำรุง และ ประสิทธิ์ ธนากลาง. 2528ก. เห็ดที่รับประทานได้และที่น่าสนใจ. วารสารวิชาการเกษตร 3: 108-113. อนงค์ จันทร์ศรีกุล, วิรัช ชูบ�ำรุง, กัญจนา โป๊ะเงิน, ดรุณี รัตนประภา และ ประสิทธิ์ ธนากลาง. 2528ข. ชนิดของเห็ดมีพิษ. วารสารวิชาการเกษตร 3: 114-118. อนงค์ จันทร์ศรีกุล, ดรุณี รัตนประภา, กัญจนา โป๊ะเงิน, วิรัช ชูบ�ำรุง และ ประสิทธิ์ ธนากลาง. 2528ค. เห็ดบางชนิดในสกุล Ganoderma และสกุลใกล้เคียง. วารสารวิชาการเกษตร 3: 119-123. อนงค์ จันทร์ศรีกุล, พัฒนา สนธิรัตน์, และ ประไพศรี พิทักษ์ไพรวัน. 2529. เห็ดกลุ่มโบลีตส์ของ ประเทศไทย. วารสารวิชาการเกษตร 4: 78-84. อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2535. เห็ดเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จ�ำกัด, กรุงเทพฯ. อนงค์ จันทร์ศรีกุล, พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์, อุทัยวรรณ แสงวณิช, T. Morinaga, Y. Nishizawa และ Y. Murakami. 2551. ความหลากหลายของเห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทย. ส�ำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. อนิวรรต เฉลิมพงษ์ และ ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ. 2525. การส�ำรวจเอ็คโตไมคอร์ไรซ่าในระบบนิเวศน์ วิทยาป่าดิบแล้ง, ใน รายงานผลการวิจัยซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อม สะแกราชเสนอต่อคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. อนิวรรต เฉลิมพงษ์, เชิดศักดิ์ ทัพใหญ่ และ กิตติมา รามัญวงษ์. 2541. ความหลากหลายทางชีวภาพ ของจุลินทรีย์ในระบบนิเวศป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส. วารสารงานวิจัย ศูนย์วิจัยและ ศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร: 155-166. อมรศรี ขุนอินทร์. 2548. อิทธิพลของเห็ดบางชนิดที่มีผลต่อไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อรพินท์ บุญทอง. 2546. การคัดเลือกเห็ดราที่สามารถย่อยสลาย 2, 8-DICHLORODIBENZOP- DIOXIN (2, 8-DCDD). วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยนเรศวร. อัจฉรา พยัพพานนท์ และ สัญชัย ตันตยาภรณ์. 2539. ศึกษาปัจจัยที่มีต่อคุณภาพและจ�ำนวน ผลผลิตของเห็ดเข็มเงิน (Flammulina velutipes), ใน รายงานผลงานวิจัย พ.ศ.2539. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. อัจฉรา พยัพพานนท์ และ พรรณี บุตรธนู. 2548. การประเมินสายพันธุ์เห็ดหัวลิงที่เหมาะสมกับ การเพาะในภาคเหนือ, น. 221-228. ใน รายงานผลงานวิจัยเรื่องเต็ม 2548 เล่มที่ 2. เอกสาร วิชาการของส�ำนักวิจัยการอารักขาพืช, กรมวิชาการเกษตร. อัจฉรา พยัพพานนท์ และ นันทินี ศรีจุมปา. 2550. การส�ำรวจ รวบรวม และจ�ำแนกเชื้อพันธุ์เห็ด Coprinus spp. จากแหล่งต่างๆ เพื่อพัฒนาเป็นพันธุ์ทางการค้า, น. 678-685. ใน การประชุม ทางวิชาการครั้งที่ 45. 30 มกราคม - 2 กุมภาพันธุ์ 2550, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, กรุงเทพฯ.

318 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด อัจฉรา พยัพพานนท์ และ นันทินี ศรีจุมปา. 2551. รวบรวมคัดเลือกพันธุ์เห็ดตีนแรดจากแหล่งต่างๆ เพื่อเป็นพันธุ์ทางการค้า, น. 513-520. ใน การประชุมทางวิชาการครั้งที่ 46. 29 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2551, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, กรุงเทพฯ. อัจฉรา พยัพพานนท์ และ พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ. 2555. การจัดการผลิตเห็ด. ใน เอกสารการสอน ชุดวิชาการจัดการ การผลิตไม้ผลและผักเชิงธุรกิจ หน่วยที่ 9-15. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และสหกรณ์, ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, กรุงเทพฯ. อัจฉรา พยัพพานนท์. 2556. เห็ดเศรษฐกิจที่ส�ำคัญในประเทศไทย. สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ด แห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. (อัดส�ำเนา) อุทัยวรรณ แสงวณิช. 2550. การศึกษาเห็ดในธรรมชาติ. บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จ�ำกัด. กรุงเทพฯ. อุทัยวรรณ แสงวณิช. 2552. ความหลากหลายของเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา, หน้า 46-52. ใน รายงาน การประชุมเรื่องการจัดท�ำทะเบียนรายการชนิดเห็ดในประเทศไทย. ส�ำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ. อุทัยวรรณ แสงวณิช, บารมี สกลรักษ์ และ ธารรัตน์ แก้วกระจ่าง. 2551. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการความหลากหลายของเห็ดบริเวณเขาเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต ศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้, คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. (อัดส�ำเนา) อุทัยวรรณ แสงวณิช. 2553. บทบาทของเห็ดที่อยู่ตามธรรมชาติ. ข่าวสารเพื่อผู้เพาะเห็ด 15(3): 2-5. อุทัยวรรณ แสงวณิช, พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์, อนงค์ จันทร์ศรีกุล, อัจฉรา พยัพพานนท์ และ บารมี สกลรักษ์. 2555ก. ความหลากชนิดของเห็ดในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้, คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. (อัดส�ำเนา) อุทัยวรรณ แสงวณิช, พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์, อนงค์ จันทร์ศรีกุล, อัจฉรา พยัพพานนท์ และ บารมี สกลรักษ์. 2555ข. ความหลากชนิดของเห็ดในบริเวณอุทยานแห่งชาติน�้ำตกเอราวัณ และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้, คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. (อัดส�ำเนา) อุทัยวรรณ แสงวณิช, พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์, อนงค์ จันทร์ศรีกุล, อัจฉรา พยัพพานนท์ และ บารมี สกลรักษ์. 2555ค. ความหลากชนิดของเห็ดในบริเวณอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัด พิษณุโลก. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้, คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. (อัดส�ำเนา) อุทัยวรรณ แสงวณิช, พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์, อนงค์ จันทร์ศรีกุล, อัจฉรา พยัพพานนท์ และ บารมี สกลรักษ์. 2555ง. ความหลากชนิดของเห็ดในป่าชุมชนบ้านหนองเม็กพัฒนา จังหวัด อุดรธานี และสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้, คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. (อัดส�ำเนา)

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 319 อุทัยวรรณ แสงวณิช, พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์, อนงค์ จันทร์ศรีกุล, อัจฉรา พยัพพานนท์ และ บารมี สกลรักษ์. 2555จ. ความหลากชนิดของเห็ดในบริเวณสถานีวิจัยเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัด เชียงใหม่. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้, คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. (อัดส�ำเนา) อุษา กลิ่นหอม และ วินัย กลิ่นหอม. 2550. ความหลากหลายของกลุ่มเห็ดผึ้งในภาคอิสาน. อภิชาติ การพิมพ์, มหาสารคาม. อุษา กลิ่นหอม. 2551ก. รายชื่อเห็ดที่กินได้ของภาคอีสานจากการส�ำรวจตั้งแต่ปี 2545-2550 (ตอนที่ 1). ข่าวสารเพื่อผู้เพาะเห็ด 13(2): 8-14. อุษา กลิ่นหอม. 2551ข. รายชื่อเห็ดที่กินได้ของภาคอีสานจากการส�ำรวจตั้งแต่ปี 2545-2550 (ตอนที่ 2). ข่าวสารเพื่อผู้เพาะเห็ด 13(3): 18-23. อุษา กลิ่นหอม. 2552ก. รายชื่อเห็ดที่กินได้ของภาคอีสานจากการส�ำรวจตั้งแต่ปี 2545-2550 (ตอนที่ 3). ข่าวสารเพื่อผู้เพาะเห็ด 14(1): 23-29. อุษา กลิ่นหอม. 2552ข. รายชื่อเห็ดที่กินได้ของภาคอีสานจากการส�ำรวจตั้งแต่ปี 2545-2550 (ตอนที่ 4). ข่าวสารเพื่อผู้เพาะเห็ด 14(2): 2-8. Alexopoulos, C.J., C.W. Mims and M. Blackwell. 1996. Introductory Mycology. 4th ed. John Wiley & Sons, Inc., New York. Arora, D. 1986. Mushrooms Demystified. Ten Speed Press, Berkeley. Artjariyasripong, S., J.I. Mitchell, N.L. Hywel-Jones and E.B.G. Jones. 2001. Relationship of the genus Cordyceps, and related genera, based on parsimony and spectral analysis of partial 18S and 28S ribosomal gene sequences. Mycoscience 42: 507-521. Aung, O.M., J.C. Kang, Z.Q. Liang, K. Soytong and K.D. Hyde. 2006a. Cordyceps mrciensis sp. nov. from a spider in Thailand. Mycotaxon 97: 235-240. Aung, O.M., J.C. Kang, Z.Q. Liang, K. Soytong and K.D. Hyde. 2006b. A new entomopathogenic species, Hymenostilbe furcata, parasitic on a hemipteran nymph in northern Thailand. Mycotaxon 97: 241-245. Aung, O.M. 2008. Biodiversity and Molecular phylogeny of entomopathogenenic fungi in Chiang Mai province, Thailand, pp. 173 In Biotechnology. King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Bangkok. Aung, O.M., K. Soytong and K.D. Hyde. 2008. Diversity of entomopathogenic fungi in rainforests of Chiang Mai Province. Fungal Diversity 30: 15-22. Bandoni, R.J., T.W. Flegel and A.A. Bandoi. 1997. The Forgotten Kingdom. Bangkok. Bandoni, R.J. 1998. On some species of Mycogloea. Mycoscience 39: 31-36. Baroni, T.J., D.E. Desjardin and N.L. Hywel-Jones. 2001. Clitopilus chalybescens, a new species from Thailand. Fungal Diversity 6: 13-17.

320 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Bels, P., and S. Pataragetvit. 1982. Edible mushrooms in Thailand, cultivated by termites, pp. 37-49. In S.T. Chang and T.H. Quimio. eds. Tropical Mushrooms, Biological Nature and Cultivation Methods. The Chinese University Press, Hong Kong. Bhilabutra, W., E.H.C. Mc Kenzie, K.D. Hyde and S. Lumyong. 2010. Fungi on the grasses, Thysanolaena latifolia and Saccharum spontaneum, in northern Thailand. Mycosphere 1: 301-314. Boddy, L. and M. Coleman. eds. 2010. From Another Kingdom: The Amazing World of Fungi. Royal Botanic Garden, Edinburgh. Boonpratuang, T. 2009. Mycena variicystis, a new spinose species from Phru Toh Daeng Peat Swamp in Thailand. Mycotaxon 109: 185-188. Boonthavikoon, T., Y. Promachotikool and A. Veenin. 2007. Mushrooms diversity in Eastern Forest Complex, pp 1-23. In The Conference of Biodiversity of Forest and Wildlife, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok, (in Thai) Butkrachang, S. 2006. Comparative Morphological Characteristics and Amanitin Contents of Amanita Mushroom in Chiang Mai Community Forests. Ph.D. Thesis, Chiang Mai University. Buyck, B. and D.E. Desjardin. 2003. Russula zonaria, a new Russula in subsection Ochricompactae from Thailand. Cryptogamie Mycologie 24: 111-116. Buyck, B., V. Hofstetter, U. Eberhardt, A. Verbeken and F. Kauff. 2008. Walking the thin line between Russula and Lactarius: the dilemma of Russula subsect. Ochricompactae. Fungal Diversity 28: 15-40. Carroll, G. 1963. Studies in the flora of Thailand 24 Pyrenomycetes. Dansk. Bot. Arkiv. 23: 101-114. Cavalier-Smith, T. 1998. A revised six-kingdom system of life. Biological Reviews of the Cambridge Philosophical Society 73 (3): 203-66. Chalermpongse, A. 1992. Biodiversity of ectomycorrizal fungi in the dipterocarp forests of Thailand, pp. 143-153. In Proceedings of Tsukuba-Workshop of BIO-REFOR, Tsukuba, Japan. Chandrapatya, A. and U. Dilokkunanant. 1993. Hirsutella thompsonii a fungal parasite of Eriophyid Mites in Thailand, pp 120-128. In The 31th Kasetsart University Annual Conference. Kasetsart University Publishing, Bangkok. (in Thai)

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 321 Chandrasrikul, A., P. Suwanarit, U. Sangwanit, S. Lumyong, A. Payapanon, N. Sanoamuang, C. Pukahuta, V. Petcharat, U. Sardsud, K. Duengkae, U. Klinhom, S. Thongkantha and S. Thongklam. 2011. Checklist of Mushrooms (Basidiomycetes) in Thailand. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning, Bangkok, Thailand. Chanopas, M., W. Chanopas, T. Jongjitvimol, A. Chiangkool and P. Sanpote. 2006. Survey on macrofungi at Doy Weang La Wildlife Sanctuary in Mae Hong Son Province. NU Science Journal 2: 175-181. Chareprasert, S., J. Piapukiew, S. Thienhirum, A.J.S. Whalley and P. Sihanonth. 2006. Endophytic fungi of teak leaves Tectona grandis L. and rain tree leaves Samanea saman Merr. World Journal of Microbiology & Biotechnology 22: 481-486. Chidburee, P., W. Tharavecharak, A. Chidburee, N. Samitinon, B. Kwannui and A. Sukpang. 2009. Biodiversity of Bryophyte and wild mushroom to develop as ecotourism at natural routes in Chaesorn National Park of Lampang province, pp. 370-375. In International Conference on the Role of Universities in Hands-On Education. Department of Science and Agaricultural Technology, Rajamangala University of Technology Lanna, Chiang Mai. Chingduang, S., L. Manoch, S. Tuntayaporn and J. Wongkhaluang. 1987. Book destroying fungi in libraries and effect of fungicides on some fungi, pp. 382-395. In The 25th Kasetsart University Annual Conference. Kasetsart University Publishing, Bangkok, (in Thai) Choeyklin, R., T. Hattori, S. Jaritkhuan and E.B.G. Jones. 2009. Bambusicolous polypores collected in Central Thailand. Fungal Diversity 36: 121-128. Christopher, H. 1995. Medicinal Mushrooms: An Exploration of Tradition, Healing and Culture. Botanical Press, CA. Deacon, J. 2006. Fungal Biology. Blackwell Publishing. Cornwall. Desjardin, D.E., T. Boonpratuang, P. Ruksawong and N. Hywel-Jones. 2000. A new species of Incrustocalyptella from Thailand. Fungal Diversity 4: 75-79. Desjardin, D.E., T. Boonpratuang and N. Hywel-Jones. 2002. An accounting of the worldwide members of Mycena in sect. Longisetae. Fungal Diversity 11: 69-85. Desjardin, D.E., T. Boonpratuang and N. Hywel-Jones. 2003. New spinose species of Mycena in sections Basipedes and Polyadelphia from Thailand. Fungal Diversity 12: 7-17. Desjardin, D.E., T. Flegel and T. Boonpratuang. 2004a. Basidiomycestes, pp.37-49. In E.B.G. Jones, M. Tanticharoen and K.D. Hyde, eds. Thai Fungal Diversity. BIOTEC, Thailand.

322 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Desjardin, D.E., Z. Wang, M. Binder and D. Hibbett. 2004b. Sparassis cystidiosa sp. nov. from Thailand is described using morphological and molecular data. Mycologia 96: 1010-1014. Desjardin, D.E., M. Binder, S. Roekring and T. Flegel. 2009. Spongiforma, a new genus of gastroid boletes from Thailand. Fungal Diversity 37: 1-8. Dissing, H. 1963. Studies in the flora of Thailand 25 Discomycetes and Gasteromycetes. Dansk Botanisk Arkiv 23: 117-130. Dring, D.M. 1980. Contributions towards a rational arrangement of the Clathraceae. Kew Bulletin 35: 1-96. Duong, L.M., E.H.C. Mc Kenzie, S. Lumyong and K.D. Hyde. 2006. Fungal succession on senescent leaves of Castanopsis diversifolia in Doi Suthep-Pui National Park, Thailand. Fungal Diversity 30: 23-36 Ellingsen, H.J. 1982. Some gasteromycetes from Northern Thailand. Nurd. J. Bot. 2: 283-285. Fournier, J., M. Stadler, K.D. Hyde and M.L. Duong. 2010. The new genus Rostrohypoxylon and two new Annulohypoxylon species from Northern Thailand. Fungal Diversity 40: 23-36. Guzmán, G., V.M. Bandala and J.W. Allen. 1993. A new bluing Psilocybe from Thailand. Mycotaxon 46: 155-160. Hawksworth, D.L. and A.J.S. Whalley. 1985. A new species of Rhopalostroma with a Nodulisporium anamorph from Thailand. Transactions of the British Mycological Society 84: 560-562. Hawksworth, D.L., P.M. Kirk, B.C. Sutton and D.N. Pegler. 1996. Ainsworth & Bisby’s Dictionary of the Fungi. 8th ed. CAB International, Wallingford. Heim, R. 1962. Contribution a la flore mycologique de la Thaïlande. Revue de Mycologia 27: 123-158. Hibbett S.D., M. Binder, J.F. Bischoff, M. Blackwell, P.F. Cannon, O.E. Eriksson, S. Huhndorf, T. James, P.M. Kirk, R. Lücking, H. Thorsten Lumbsch, F. Lutzoni, P.B. Matheny, D.J. McLaughlin, M.J. Powell, S. Redhead, C.L. Schoch, J.W. Spatafora, J.A. Stalpers, R. Vilgalys, M.C. Aime, A. Aptroot, R. Bauer, D. Begerow, G.L. Benny, L.A. Castilebury, P.W. Crous, Y.-C. Dai, W. Gams, D.M. Geiser, G.W. Griffith, C. Gueidan, D.L. Hawksworth, G. Hestmark, K. Hosaka, R.A. Humber, K.D. Hyde, J.E. Ironside, U. Kõljalg, C.P. Kurtzman, K.-H. Larsson, R. Lichtwardt, J. Longcore, J. Miadlikowska, A. Miller, J.-M. Moncalvo, S. Mozley-Standridge, F. Oberwinkler, E. Parmasto, V. Reeb, J.D. Rogers, C. Roux, L. Ryvarden, J.P. Sampaio, A. Schüßler, J. Sugiyama, R.G. Thorn,

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 323 L. Tibell, W.A. Untereiner, C. Walker, Z. Wang, A. Weir, M. Weiss, M.M. White, K. Winka, Y.-J. Yao and N. Zhang. 2007. A higher- level phylogenetic classification of the fungi. Mycological Research III: 509-547. Hidayat, I., J. Meeboon and C. To-anun. 2007. Anthostomella and Fasciatispora species (Xylariaceae) from palms including F. ujungkulonensis sp. nov. Mycotaxon 102: 347-354. Hilton, R.N. and P. Dhitaphichit. 1993. Procedures in Thai Ethnomycology. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 41: 75-92. Hjortstam, K. and L. Ryvarden. 1982. Aphyllophorales from Northern Thailand. Nordic Journaal of Botany 2: 273-281. Høiland, K. and T. Schumecher. 1982. Agarics, clavarioid and some heterobasidiomycetous fungi from Northern Thailand. Nord. J. Bot. 2: 265-271. Hsieh, L.S., S.S. Tzean and W.J. Wu. 1997. The genus Akanthomyces on spiders from Taiwan. Mycologia 89: 319-324. Hsieh, H.-M., Y.-M. Ju and J.D. Rogers. 2005. Molecular phylogeny of Hypoxylon and closely related genera. Mycologia 97: 844-865. Huyen, L.H. 2007. Biodiversity of the genus Lactarius (Fungi, Basidiomycota) from Northern Thailand. Ph.D. Thesis. Chiang Mai University. Hyde, K.D. 1989. Caryospora mangrovei sp. nov. and notes on marine fungi from Thailand. Trans. Mycol. Soc. Japan 30: 333-341. Hyde, K.D., A. Chalermpongse and T. Boonthavikoon. 1990. Ecology of intertidal fungi at Ranong mangrove, Thailand. Trans. Mycol. Soc. Japan 31: 17-27. Hywel-Jones, N.L. 1993. Torrubiella luteorostrata: a pathogen of scale insects and its association with Paecilomyces cinnamomeus with a note on Torrubiella tenuis. Mycologia 97: 1126-1130. Hywel-Jones, N.L. 1994. Cordyceps khaoyaiensis and Cordyceps pseudomilitaris two new pathogens of lepidopteran larvae from Thailand. Mycological Research 98: 939-942. Hywel-Jones, N.L. 1995a. Cordyceps sphecocephala and a Hymenostilbe sp. infecting wasps and bees in Thailand. Mycological Research 99: 154-158. Hywel-Jones, N.L. 1995b. Torrubiella iriomoteana from scale insects in Thailand and a new related species Torrubiella siamensis with notes on their respective anamorphs. Mycological Research 99, 330-332. Hywel-Jones, N.L. 1995c. Notes on Cordyceps nutans and its anamorph, a pathogen of hemipteran bugs in Thailand. Mycological Research 99: 724-726.

324 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Hywel-Jones, N.L. 1995d. Cordyceps brunneapunctata sp. nov. infecting beetle larvae (Coleoptera Elateridae) in Thailand. Mycological Research 99: 1195-1198. Hywel-Jones, N.L. 1995e. Hymenostilbe ventricosa sp. nov. a pathogen of cockroaches in Thailand. Mycological Research 99, 1201-1204. Hywel-Jones, N.L. and S. Sivichai. 1995. Cordyceps cylindrica and its association with Nomuraea atypicola in Thailand. Mycological Research 99: 809-812. Hywel-Jones, N.L. 1996a. Cordyceps myrmecophila-like fungi infecting ants in the leaf litter of tropical forest in Thailand. Mycological Research 100, 613-619. Hywel-Jones, N.L. 1996b. The genus Akanthomyces on spiders in Thailand. Mycological Research 100: 1065-1070. Hywel-Jones, N.L. 1997a. Torrubiella petchii, a new species of scale insect pathogen from Thailand (Holotype). Mycological Research 101: 143-145. Hywel-Jones, N.L. 1997b. Hirsutella species associated with hoppers (Homoptera) in Thailand. Mycological Research 101: 1202-1206. Hywel-Jones, N.L., H.C. Evans and Y. Jun. 1997. A re-evaluation of the leafhopper pathogen Torrubiella hemipterigena, its anamorph Verticillium hemipterigenum and V. pseudohemipterigenum sp. nov. Mycological Research 101: 1242-1246. Hywel-Jones, N.L. and G.J. Samuels. 1998. Three species of Hypocrella with large stromata pathogenic on scale insects. Mycologia 90: 36-46. Hywel-Jones, N.L., R.D. Goos and E.B.G. Jones. 1998. Hirsutella petchabunensis sp. nov. from Thailand with a Helicoma synanamorph. Mycological Research 102: 577-581. Hywel-Jones, N.L. 2001. A review of pathogenic Clavicipitaceae of Thailand, pp. 34-41. In V. Baimai, and R. Kumhom, eds. BRT Research Reports 2001, Bangkok. Hywel-Jones, N.L. 2002. The importance of invertebrate-pathogenic fungi from the tropics, pp. 133-144. In R. Watling, J.C. Frankland, A.M. Ainsworth, S. Isaac and C.H. Robinson, eds. Tropical Mycology Volume 2: Micromycetes. CABI Publishing, New York. Hywel-Jones, N.L. 2004. The relationship between the entomopathogenic fungal genera Cordyceps and Beauveria. Laimburg Journal 1: 299-304. Jalavaicharana, K. 1950. Culture of Mushroom in Thailand. Department of Agriculture Bulletin No.1, Bangkok. James, T.Y., F. Kauff, C.L. Schoch, P.B. Matheny, V. Hofstetter, C. Cox, G. Celio, C. Gueidan, E. Fraker, J. Miadlikowska, H.T. Lumbsch, A. Rauhut, V. Reeb, E.A. Arnold, A. Amtoft, J.E. Stajich, K. Hosaka, G.-H. Sung, D. Johnson, B. O’Rourke, M. Crockett, M. Binder, J.M. Curtis, J.C. Slot, Z. Wang, A.W. Wilson, A. Schüßler, J.E. Longcore, K. O’Donnell,

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 325 S. Mozley-Standridge, D. Porter, P.M. Letcher, M.J. Powell, J.W. Taylor, M.M. White, G.W. Griffith, D.R. Davies, R.A. Humber, J. Morton, J. Sugiyama, A.Y. Rossman, J.D. Rogers, D.H. Pfister, D. Hewitt, K. Hansen, S. Hambleton, R.A. Shoemaker, J. Kohlmeyer, B. Volkmann-Kohlmeyer, R.A. Spotts, M. Serdani, P.W. Crous, K.W. Hughes, K. Matsuura, E. Langer, G. Langer, W.A. Untereiner, R. Lücking, B. Büdel, D.M. Geiser, A. Aptroot, P. Diederich, I. Schmitt, M. Schultz, R. Yahr, D.S. Hibbett, F. Lutzoni, D. McLaughlin, J. Spatafora and R. Vilgalys. 2006. Reconstructing the early evolution of the fungi using a six gene phylogeny. Nature 443: 818-822. Jeamjitt, O., L. Manoch, N. Vlsarathanonth, C. Chamswarng, R. Watling, G.P. Sharples and A. Kijjoa. 2007a. Coprophilous ascomycetes in Thailand. Mycotaxon 100: 115-136. Jeamjitt, O., L. Manoch, N. Visarathanonth, C. Chamswarng and S. Pikulklin. 2007b. Coprophilous fungi and antagonistic effect of Sordaria fimicola against plant pathogenic fungi in vitro, pp. 593-600. In The 45th Kasetsart University Annual Conference, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai) Johnson, D., G.-H. Sung, N.L. Hywel-Jones, J.J. Luangsa-ard, J.F. Bischoff, R.M. Kepler and J.W. Spatafora. 2009. Systematics and evolution of the genus Torrubiella (Hypocreales, Ascomycota). Mycological Research 113: 279-289. Jones, E.B.G. 2004. Fungi on Arthropods, Crustaceans and Fish, pp. 227-239. In Thai Fungal Diversity. BIOTEC, Thailand. Jones, E.B.G. and K.D. Hyde. 2004. Introduction to Thai fungal diversity, pp 7-35. In E.B.G. Jones, M. Tanticharoen and K.D. Hyde, eds. Thai Fungal Diversity. BIOTEC, Bangkok. Jones, E.B.G., A. Pilantanapak, I. Chatmala, J. Sakayaroj, S. Phongpaichit and R. Choeyklin. 2006. Thai marine fungal diversity. Songklanakarin J. Sci. Technol. 28: 687-707. Joseph, C.K. 1977. A better method for long-term storage of mushroom cultures. Mushroom the Journal of Wild Mushroom 16(1): 30-31. Kanchanaprayudh, J., Z. Zhou, S. Yomyart, P. Sihanonth, T. Hogetsu and R. Watling. 2003. Pisolithus abditus, an ectomycorrhizal fungus associated with dipterocarps in Thailand. Mycotaxon 88: 463-467. Keeling P.J., M.A. Luker and J.D. Palmer. 2000. Evidence from beta-tubulin phylogeny that Microsporidia evolved from within the fungi. Molecular Biology and Evolution 17: 23-31. Kerekes, J.F. and D.E. Desjardin. 2009. A monograph of the genera Crinipellis and Moniliophthora from Southeast Asia including a molecular phylogeny of the nrITS region. Fungal Diversity 37: 101-152

326 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Kirk, P.M., P.F. Cannon, J.C. David, and J.A. Stalpers, eds. 2001. Ainsworth & Bisby’s Dictionary of the Fungi. 9th ed. CAB International, Wallingford. Kirk, P.M., P.F. Cannon, D.W. Minter and J.A. Stalpers, eds. 2008. Ainsworth & Bisby’s Dictionary of the Fungi. 10th ed. CABI, Wallingford. Kosol, S. and L. Manoch. 1998. Microfungi from soil in Teak Plantation of Linthin Watershed, Kanchanaburi province. In The Asian-Pacific Mycological Conference on Biodiversity and Biotechnology (Additional). Hua Hin, Prachuapkhirikhan. Kosol, S., L. Manoch, N. Tangtham and S. Boonyawat. 1999. Biodiversity of micro-fungi in soil, water and plant under Teak plantation of Linthin Watershed Kanchanaburi Province, pp. 211-216. In The 37th Kasetsart University Annual Conference. Kasetsart University Publishing, Bangkok. (in Thai) Krung, J.C., R.S. Khan and S. Udagawa. 1994. A reappraisal of Areolospora bosensis. Mycologia 86: 581-585. Læssøe, T., P. Srikitikulchai, J. Fournier, B. Köpcke and M. Stadler. 2010. Lepraric acid derivatives as chemotaxonomic markers in Hypoxylon aeruginosum, Chlorostroma subcubisporum and C. cyaninum, sp. nov. Fungal Biology 114: 481-489. Largent, D. L. 1977. How to Identify Mushrooms to Genus I: Macroscopic Features. Eureka Printing Co., Inc., Eureka. Le, H.T., J. Nuytinck, A. Verbeken, D.E. Desjardin and S. Lumyong. 2007a. Lactarius in Northern Thailand: 1. Lactarius subgenus Piperites. Fungal Diversity 24: 173-224. Le, H.T., D. Stubbe, A. Verbeken, J. Nuytinck, S. Lumyong and D.E. Desjardin. 2007b. Lactarius in Northern Thailand: 2. Lactarius subgenus Plinthogali. Fungal Diversity 24: 61-94. Le, H.T., A. Verbeken, J. Nuytinck, S. Lumyong and D.E. Desjardin. 2007c. Lactarius in Northern Thailand: 3. Lactarius subgenus Lactariopsis. Mycotaxon 102: 281-291. Loveleen, K., S. Dhanda, H.S. Sodhi, S. Kapoor and P.K. Khanna. 2011. Storage and preservation of temperate mushroom cultures, Agaricus bisporus and Pleurotus florida. Indian J. Microbiol. 51(2): 234-238. Luamlum, N. and C. Pukahuta. 2003. Biodiversity of Mushrooms in Phu Jong Na Yoy National Park. Thai Mushroom Jan-Dec: 41-65. (in Thai) Luangsa-ard, J.J., N.L. Hywel-Jones and R.A. Samson. 2004. The polyphyletic nature of Paecilomyces sensu lato based on 18S-generated rDNA phylogeny. Mycologia 96: 773-780. Luangsa-ard, J.J., N.L. Hywel-Jones, L. Manoch and R.A. Samson. 2005. On the relationships of Paecilomyces sect. Isarioidea species. Mycological Research 109: 581-589.

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 327 Luangsa-ard, J.J., K. Tasanatai, S. Mongkolsamrit and N.L. Hywel-Jones. 2007. Atlas of Invertebrate-Pathogenic Fungi of Thailand (Volume 1). National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC), National Science and Technology Development Agency, Pathum Thani. Luangsa-ard, J.J., K. Tasanathai, S. Monglolsamrit and N.L. Hywel-Jones. 2008. Atlas of Invertebrate-Pathogenic Fungi of Thailand (Volume 2). National Center for Genetic Engineering and Biotechnology, National Science and Technology Development Agency, Pathum Thani. Luangsa-ard, J.J., P. Berkaew, R. Ridkaew, N.L. Hywel-Jones and M. Isaka. 2009. A beauvericin hot spot in the genus Isaria. Mycological Research 113: 1389-1395. Luangsa-ard, J.J., K. Tasanathai, S. Monglolsamrit and N.L. Hywel-Jones. 2010a. Atlas of Invertebrate-Pathogenic Fungi of Thailand (Volume 3). National Center for Genetic Engineering and Biotechnology, National Science and Technology Development Agency, Pathum Thani. Luangsa-ard, J.J., R. Ridkaew, S. Mongkolsamrit, K. Tasanathai and N.L. Hywel-Jones. 2010b. Ophiocordyceps barnesii and its relationship to other melolonthid pathogens with dark stromata. Fungal Biology 114: 739-745. Luangsa-ard, J.J., R. Ridkaew, K. Tasanathai, D. Thanakitpipattana and N.L. Hywel-Jones. 2011. Ophiocordyceps halabalaensis: a new species of Ophiocordyceps pathogenic to Camponotus gigas in Hala Bala Wildlife Sanctuary, Southern Thailand. Fungal Biology 115: 608-614. Luangsa-ard, J.J., K. Tasanathai, S. Monglolsamrit and N.L. Hywel-Jones. 2013. Atlas of Invertebrate-Pathogenic Fungi of Thailand (Volume 4). National Center for Genetic Engineering and Biotechnology, National Science and Technology Development Agency, Pathum Thani. Lumyong S., R. Sanmee, P. Lumyong, Z.L. Yang and J.M. Trapped. 2003. Amanita siamensis a new species of Amanita from Thailand. Mycotaxon 88: 225-228. Lutzoni, F., F. Kauff, C.J. Cox, D. McLaughlin, G. Celio, B. Dentinger, M. Padansee, D. Hibbett, T.Y. James, E. Baloch, M. Grube, V. Reeb, V. Hofstetter, C. Schoch, A.E. Arnold, J. Miadlikowska, J. Spatafora, D. Johnson, S. Hambleton, M. Crockett, R. Shoemaker, G.-H. Sung, R. Lücking, T. Lumbsch, K. O’Donnell, M. Binder, P. Diederich, D. Ertz, C. Gueidan, K. Hansen, R.C. Harris, K. Hosaka, Y.-W. Lim, B. Matheny, H. Nishida, D. Pfister, J. Rogers, A. Rossman, I. Schmitt, H. Sipman, J. Stone, J. Sugiyama, R. Yahr and R. Vilgalys. 2004. Assembling the fungal tree of life: progress, classification,

328 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด and evolution of subcellular traits. American Journal of Botany 91 (10): 1446-80. Manoch, L. 1992. Some Pythiaceae, Zygomycetes, Ascomycetes and Hyphomycetes from Thailand soils, pp. 739-752. In The 30th Kasetsart University Annual Conference. Kasetsart University Publishing, Bangkok. (in Thai) Manoch, L., C. Chana, C. and P. Athipanyakom. 2000. Microfungi from different forest types of Huay Kha Khang Wildlife Sanctuary, pp. 436-444. In The 38th Kasetsart University Annual Conference. Kasetsart University Publishing, Bangkok. (in Thai) Mc Ginnis, M.R., A.A. Padhye and L. Ajello. 1974. Store of stock culture of filamentous fungi, yeast, and some aerobic actinomycetes in sterile distilled water. Appl. Microbiol. 28: 218-222. McLaughlin, D.J., E.G. McLaughlin and P.A. Lemke, eds. 2001a. The Mycota. Vol. VII. Part A. Systematics and Evolution. Springer-Verlag, Berlin. McLaughlin, D.J., E.G. McLaughlin and P.A. Lemke, eds. 2001b. The Mycota. Vol. VII. Part B. Systematics and Evolution. Springer-Verlag, Berlin. McNeill, J.F., F. Barrie, H.M. Burdet, V. Demoulin, D.L. Hawksworth, K. Marhold, D.H. Nicolson, J. Prado, P.C. Silva, J.E. Skog, J. Wiersema and N.J. Turland, eds. 2006. International Code of Botanical Nomenclature (Vienna Code) [Regnum Vegetabile Vol. 146.]. A.R.G. Ganter Verlag, Ruggell. Mongkolsamrit, S., K. Tasanatai and J.J. Luangsa-ard. 2004. Diversity of insect pathogenic fungi in Thailand. Thai Mushroom Jan-Dec: 75-86. Mongkolsamrit, S., J.J. Luangsa-ard, J.W. Spatafora, G.-H. Sung and N.L. Hywel-Jones. 2009. A combined ITS rDNA and [beta]-tubulin phylogeny of Thai species of Hypocrella with non-fragmenting ascospores. Mycological Research 113: 684-699. Mongkolsamrit, S., J.J. Luangsa-Ard, K. Tasanatai and S. Sivichai. 2011a. Invertebrate- Pathogenic Fungi of Thailand, National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC), National Science and Technology Development Agency (NSTDA), Pathum Thani. Mongkolsamrit, S., J.J. Luangsa-ard and N.L. Hywel-Jones. 2011b. Samuelsia mundiveteris sp. nov. from Thailand. Mycologia 103: 921-927. Moore-Landecker, E. 1996. Fundamentals of the Fungi. 4th ed. Prentice Hall International, Inc., New York. Nuytinck, J., X.H. Wang and A. Verbeken. 2006. Descriptions and taxonomy of the Asian representatives of Lactarius sect. Deliciosi. Fungal Diversity 22: 171-203.

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 329 Okane, I., P. Srikitikulchai, K. Toyama, T. Læssøe, S. Sivichai, N.L. Hywel-Jones, A. Nakagiri, W. Potacharoen and K.-I. Suzuki. 2008. Study of endophytic Xylariaceae in Thailand: diversity and taxonomy inferred from rDNA sequence analyses with saprobes forming fruit bodies in the field. Mycoscience 49: 359-372. Patterson, D. J. and M. L. Sogin. 1992. Eukaryote origins and protistan diversity, pp. 13-46. In H. Hartman and K. Matsuno, eds. The Origin and Evolution of Prokaryotic and Eukaryotic Cells. World Scientific Publishers, Singapore. Payapanon, A., L. Manoch, S. Thaitatakul, P. Thaitatakul, B. Thaitatakul, O. Jeamjitt and T. Dethoup. 2007. Some medicinal and other cultivated mushrooms in Thailand. International Journal of Medicinal Mushroom 9 (384): 337-338. Phanichapol, D. 1968. Check-list of fungi in the Forest Herbarium. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 22: 257-263. Phosri, C., R. Watling, M.P. Martin and A.J.S. Whalley. 2004. The genus Astraeus in Thailand. Mycotaxon 89: 453-463. Phosri, C., M.P. Martín, P. Sihanonth, A.J.S. Whalley and R. Watling. 2007. Molecular study of the genus Astraeus. Mycological Research 111: 275-286. Photita, W., P. Lumyong, E.H.C. Mc Kenzie, K.D. Hyde and S. Lumyong. 2003. Saprobic fungi on dead wild banana. Mycotaxon 85: 345 - 356. Piasai, O. and L. Manoch. 2009a. Coprophilous ascomycetes from Phu Luang Wildlife Sanctuary and Khao Yai National Park in Thailand. Kasetsart J. (Nat. Sci.) 43: 34-40. Piasai, O. and L. Manoch. 2009b. Some noteworthy of Coprophilous Ascomycetes from Khao Yai National Park, pp. 513-520. In The 47th Kasetsart University Annual Conference. Kasetsart University Publishing, Bangkok. (in Thai) Pinnoi, A., S. Lumyong, K.D. Hyde and E.B.G. Jones. 2006. Biodiversity of fungi on the palm Eleiodoxa conferta in Sirindhorn peat swamp forest, Narathiwat, Thailand. Fungal Diversity 22: 205-218. Pinnoi, A., P. Phongpaichit, R. Jeewon, A.M.C. Tang, K.D. Hyde and E.B.G. Jones. 2010. Phylogenetic relationships of Astrocystis eleiodoxae sp. nov. (Xylariaceae). Mycosphere 1: 1-9. Pinruan, U., K.D. Hyde, S. Lumyong, E.H.C. Mc Kenzie and E.B.G. Jones. 2007. Occurrence of fungi on tissue of the peat swamp palm Licuala longicalycata. Fungal Diversity 25: 157-173. Pinruan, U., N. Rungjindamai, J. Sakayaroj, S. Lumyong, K.D. Hyde and E.B.G. Jones. 2010. Baipadisphaeria gen. nov. Mycosphere 1: 53-63.

330 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Promputtha, I., S. Lumyong, P. Lumyong, E.H.C. Mc Kenzie and K.D. Hyde. 2004. A new species of Anthostomella on Magnolia liliifera from Northern Thailand. Mycotaxon 91: 413-418. Pukahuta, C. 2005. Wild mushrooms species in Ubon Ratchathani. Thai Mushroom Jan-Dec: 47-57. (in Thai) Pukahuta, C., W. Palasarn and A. Pimmongkol. 2005. Spore micrograph of some edible wild mushrooms. J. Microscopy Society of Thailand 19(1): 198-204. Pukahuta, C., W. Palasarn and A. Pimmongkol. 2007. Spore micrograph of some edible wild mushrooms. J. Microscopy Society of Thailand 21(1): 94-97. Pukahuta, C., W. Chaipakdee and N. Luemlum. 2008. Inventory survey on biodiversity of wild mushroom in Phu Jong Na Yoy National Park. In Proceeding of the 34th Congress on Science and Technology of Thailand (STT34). Queen Sirikit National Convention Center, Bangkok. Pukahuta, C., W. Palasarn and A. Pimmongkol. 2009. Taxonomic study of wild edible pore fungi in Ubon Ratchathani. J. Microscopy Society of Thailand 23(1): 30-33. Rogers, J.D., F.S. Martín and Y.M. Ju. 2002. A reassessment of the Xylaria on Liquidambar fruits and two new taxa on Magnolia fruits. Sydowia 54: 91-97. Rostrup, E. 1902. Flora of Koh Chang. Contribution to the knowledge of the vegetation in the Gulf of Siam, Part 6. Botanisk Tidsskrift 24: 355-363. Ruksawong, P. and T.W. Flegel. 2001. Thai Mushrooms and Other Fungi. National Center for Genetic Engineering and Biotechnology, National Science and Technology Development Agency, Bangkok. (in Thai) Ryvarden, L. 1976. Type studies in the Polyporaceae 8. Species described by E. Rostrup. Botanisk. Tidsskrift 71: 100-102. Samuels, G.J., A. Ismaiel, J.D. Souza and P. Chaverri. 2011. Trichoderma stromaticum and its overseas relatives. Mycological Progress 11: 215-254. Sangkul, S. and A. Jiraungkornkul. 1987. The effects of wood destroying fungi on natural durability of camaldulensis. Journal of Thai Foresty Research 6: 392-398. (in Thai) Sangwanit, U. and P. Suwanarit. 2001. Ectomycorrhizal mushrooms in the dry-dipterocarp forest of Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, pp. 88-90. In Proceedings of the International Workshop of BIO-REFOR. Tokyo, Japan. Sanmanoch, W., W. Mongkolthanaruk, P. Siriputtahaiwan, V. Krongkitsiri and S. Boonlue. 2009. Diversity of macrofungi from the forest surrounding Pha Nok Kao Silvicultural Station. Thai Mushroom Jan-Dec: 24-46. (in Thai)

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 331 Sanmee, R., Z.L. Yang, P. Lumyong and S. Lumyong. 2003. Amanita siamensis a new species of Amanita from Thailand. Mycotaxon 88: 225-228. Sanmee, R. 2004. Biodiversity, Host Range, and Growth of Edible Ectomycorrhizal Fungi in Upper Northern Thailand. Ph.D. Thesis. Chiang Mai University. Sanmee, R., R.E. Tulloss, P. Lumyong, D. Dell and S. Lumyong. 2008. Studies on Amanita (Basidiomycetes: ) in Northern Thailand. Fungal Diversity 32: 97-123. Schumacher, T. 1982. Ascomycetes from Northern Thailand. Nordic Journal of Botany 2: 257-263. Schumacher, T. 1990. The genus Scutellinia (Pyrenomataceae). Opera Botanica 101: 5-107. Schüßler A, D. Schwarzott and C. Walker. 2001. A new fungal phylum, the Glomeromycota: phylogeny and evolution. Mycological Research 105: 1413-1421. Seehanan, S., V. Petcharat and S. Te-Chato. 2007. Some Boletes of Thailand. Songklanakarin J.Sci. Technol. 29(3): 737-754. Sihanonth, P., S. Thienhirun and A.J.S. Whalley. 1998. Entonaema in Thailand. Mycological Research 102: 458-460. Sirihongsuwan, K. 2000. Application of two fungus species in the genus Paecilomyces to control rice brown plant hopper Nilaparvata lugens under paddy field condition. In Botany. Chulalongkorn University, Bangkok. Sivichai, S., E.B.G. Jones and N.L. Hywel-Jones. 2000. Fungal colonisation of wood in a freshwater stream at Khao Yai National Park, Thailand. Fungal Diversity 5: 71-88. Sivichai, S., E.B.G. Jones and N.L. Hywel-Jones. 2003. Lignicolous freshwater Ascomycota from Thailand: Hymenoscyphus varicosporioides and its Tricladium anamorph. Mycologia 95: 340-346. Somrithipol, S., E.B.G. Jones and N.L. Hywel-Jones. 1998. Microfungi of tropical fruit & seeds. In Asia-Pacific Mycological Conference on Biodiversity and Biotechnology. Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand. Somrithipol, S., E.B.G. Jones and N.L. Hywel-Jones. 2000. Fungal diversity on fruits and seeds in a tropical forest ecosystem, pp. 151-159. In The 38th Kasetsart University Annual Conference. Kasetsart University Publishing, Bangkok. (in Thai) Sopalun, K., G.A. Strobel, W.M. Hess and J. Worapong. 2003. A record of Muscodor albus, an endophyte from Myristica fragrans in Thailand. Mycotaxon 88: 239-247. Srichan, S., S. Phongpaichit and N.L. Hywel-Jones. 2002. Hypocrella scutata from Sirindhorn peat swamp forest, Thailand, pp. 153. In Book Abstract: Asia-Pacific Mycological Congress on Biodiversity and Biotechnology. Kunming, .

332 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Stensrud, Ø., N.L. Hywel-Jones and T. Schumacher. 2005. Towards a phylogenetic classification ofCordyceps : ITS nrDNA sequence data confirm divergent lineages and paraphyly. Mycological Research 109: 41-56. Sudproa, N., L. Manoch, A. Somrith, P. Sontirat and U. Kueprakone. 1998. Microfungi from Sakolnakorn field crops experiment station, Thailand.In The Asia-Pacific Mycological Conference on Biodiversity and Biotechnology (Additional). Hua Hin, Prachuapkhirikhan. Sung, G.-H., N.L. Hywel-Jones, J.-M. Sung, J.J. Luangsa-ard, B. Shrestha and J.W. Spatafora. 2007. Phylogenetic classification ofCordyceps and the clavicipitaceous fungi. Studies in Mycology 57: 5-59. Supro, N., L. Manoch, U. Kueprakone, P. Suwannarit and A. Somrith. 1999. Oomycetes, Deuteromycetes and Ascomycetes from agricultural soils in Sakolnakorn Province, pp. 248-255. In The 37th Kasetsart University Annual Conference. Kasetsart University Publishing, Bangkok. Suwanarit, P., W. Sriswadskulmee, S. Limtong, W. Yongmanitchai, and S. Aksornkoae. 2005. Diversity of fungi in mangrove forest. Kasetsart J. (Nat. Sci.) 39: 377-387. Suwannasai, N., S. Rodtong, S. Thienhirun and A.J.S. Whalley. 2005. New species and phylogenetic relationships of Hypoxylon species found in Thailand inferred from the internal transcribed spacer regions of ribosomal DNA sequences. Mycotaxon 94: 303-324. Tangthirasunun, N., S. Poeaim, K. Soytong, P. Sommartya and S. Popoonsak. 2010. Variation in morphology and ribosomal DNA among isolates of Metarhizium anisopliae from Thailand. Journal of Agricultural Technology 6: 317-329. Tariq, V. 2011. An Introduction to the Biology of Fungi-Classification of Fungi. Fungi Online. Available Source: http://www.fungionline.org.uk/1intro/4classification.html, May 24, 2013. Thongklam, S. 2008. Diversity of Boletus in Some National Parks of Upper Northern Thailand. Ph.D. Thesis. Chiang Mai University. Veena, S.S. and P. Meera 2010. A simple method for culture conservation of some commercial mushrooms. Mycosphere 1(3): 191-194. Wang, H.X., T.B. Ng, V.E. Ooi, W.K. Liu and S.T. Chang. 1997. Actions of lectins from the mushroom Tricholoma mongolicum on macrophages, splenocytes and life-span in sarcoma-bearing-mice. Anticancer Res. 17 (1A): 419-424. Wannathes, N., D.E. Desjardin and S. Lumyong. 2007. Mating studies, new species, and new reports of Marasmius from Northern Thailand. Mycological Research 111: 985-996.

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 333 Wannathes, N. 2008. Biodiversity of the Fungi Genus Marasmius (Basidiomycota) in Northern Thailand. Ph.D. Thesis. Chiang Mai University. Wannathes, N., D.E. Desjardin and S. Lumyong. 2009a. Four new species of Marasmius section Globulares from Northern Thailand. Fungal Diversity, 36: 155-163. Wannathes, N., D.E. Desjardin, K.D. Hyde, B.A. Perry and S. Lumyong. 2009b. A monograph of Marasmius (Basidiomycota) from Northern Thailand based on morphological and molecular (ITS sequences). Fungal Diversity, 37: 209-306. Watling, R. 2000. Macromycota of Thailand Vol 2. Plant Pathogen and Microbiology News Letter 10: 13-28. Watts, P., P. Kittakoop, S. Veeranondha, S. Wanasith, R. Thongwichian, P. Saisaha, S. Intamas and N.L. Hywel-Jones. 2003. Cytotoxicity against insect cells of entomopathogenic fungi of the genera Hypocrella (anamorph Aschersonia): Possible agents for biological control. Mycological Research 107: 581-586. Weinstein, R.N., D.H. Pfister and T. Iturriaga. 2002. A phylogenetic study of the genus Cookeina. Mycologia 94: 673-682. Whalley, A.J.S., N.L. Hywel-Jones, E.B.G. Jones and M.A. Whalley. 1995. A preliminary account of the genera Biscogniauxia and Hypoxylon in the Chanthaburi and Chon Buri Provinces of South East Thailand. Sydowia 47: 70-81. Whalley, A.J.S. and S. Thienhirun. 1996. Rhopalostroma kanyae sp nov. from Thailand. Mycological Research 100: 866-868. Whalley, A.J.S., E.B.G. Jones, K.D. Hyde and T. Læssøe. 2000. Halorosellinia gen. nov. to accommodate Hypoxylon oceanicum, a common mangrove species. Mycological Research 104: 368-374. Whittaker, R.H. 1959. On the broad classification of organisms. Quarterly Review of Biology 34: 210-226. Yang, Z.L., J.M. Trappe, M. Binder, R. Sanmee, P. Lumyong and S. Lumyong. 2006. The sequestrate genus Rhodactina (Boletales) in Northern Thailand. Mycotaxon 96: 133-140. Zhao R.L., D.E. Desjardin, K. Soytong and K.D. Hyde. 2008. A new species of bird’s nest fungi: characterisation of Cyathus subgloblisporus sp. nov. based on morphological and molecular data. Persoonia 21: 716.

334 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด ดัชนีรายชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ด

Abortiporus biennis 133 Agaricus cyanoxantha 300 Abundisporus roseoalbus 137 Agaricus decastes 227 Acanthofungus ahmadii 143 Agaricus diminutivus 103 Aciculosporium take 93 Agaricus disseminatus 179 Actinostroma infundibuliforme 134, 276 Agaricus djamor 113, 209 Agaricus albissimus 226 Agaricus edodes 103, 135, 281 Agaricus albolutescen 81 Agaricus emeticus 302 Agaricus alneus 219 Agaricus eryngii 113, 209 Agaricus amethystinus 189 Agaricus eurrhizus 231 Agaricus annae 103 Agaricus exsuccus 301 Agaricus applicatus 229 Agaricus foetens 303 Agaricus arvensis 103, 166 Agaricus fulvus 212 Agaricus arvensis subsp. macrolepis 166 Agaricus fusipes 222 Agaricus aspratus 194 Agaricus gracilentus 104, 171 Agaricus atramentaria 179 Agaricus granulatus 257 Agaricus augustus 103 Agaricus haemorrhoidarius 103 Agaricus aurantius 120, 234 Agaricus hemilasius 103 Agaricus bisporus 59, 63, 65, 67, 89, 103 Agaricus holoporphyrus 228 Agaricus bisporus var. albida 103 Agaricus hondensis 81 Agaricus bitorquis 67, 103 Agaricus laccata 109, 190 Agaricus blazei 65, 67, 89, 103, 166 Agaricus licmophorus 171 Agaricus braziliensis 67 Agaricus livido-ochraceus 107, 183 Agaricus bresadolanus 103 Agaricus marmoreus 119, 225 Agaricus caesareus 211 Agaricus maximus 117, 220 Agaricus calyptriformis 223 Agaricus meleagri 81 Agaricus campestris 103 Agaricus microcarpus 233 Agaricus campestris var. campestris 103 Agaricus moelleri 103 Agaricus camphorates 139, 296 Agaricus mollis 185 Agaricus canarii 112, 204 Agaricus molybdites 167 Agaricus candidus 195 Agaricus nigricans 305 Agaricus candolleanus 182 Agaricus nigripes 205 Agaricus cantharellus 223 Agaricus olivaceus 305 Agaricus cepistipes 170 Agaricus osecanus 103 Agaricus chantarellus 258 Agaricus phalloides 215 Agaricus cinereus 180 Agaricus piperatus var. exsuccus 301 Agaricus cinnabarinus 258 Agaricus piperatus 298 Agaricus comatus 106, 180 Agaricus placomyces 81 Agaricus confluens 222 Agaricus platypus 113 Agaricus conicus 224 Agaricus plicatillis 181 Agaricus cornucopiae 113, 207 Agaricus praeclaresquamosus 103 Agaricus crassus 227 Agaricus procerus 172 Agaricus crustuliniformis 172 Agaricus pulmonarius 113, 209

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 335 Agaricus purpurascens 107, 184 Akanthomyces cinereus 94, 151 Agaricus purus 228 Akanthomyces gracilis 94 Agaricus radicatus 205 Akanthomyces koratensis 94 Agaricus ramealis 196 Akanthomyces novoguineensis 94, 151 Agaricus rhodopolius 108, 187 Akanthomyces pistillariiformis 95, 152 Agaricus romagnesii 103 Akanthomyces websteri 95 Agaricus rufolanosus 103 Aleuria aurantia 98, 156 Agaricus rutilans 121, 234 Aleuria luteonitens 98, 156 Agaricus sajor-caju 284 Aleuria micropus 98 Agaricus sanguineus 142, 306 Aleuria rhenana 98 Agaricus scabellus 221 Aleurodiscus cremicolor 142 Agaricus semiovatus 105, 173 Alloclavaria purpurea 105 Agaricus silvaticus 103 Alpova diplophloeus 126 Agaricus silvicola 81, 103 Alpova trappei 126 Agaricus silvicola var. silvicola 103 Amanita alba 113 Agaricus solitaries 216 Amanita albocreata 113 Agaricus sordidus 226 Amanita alboflavescens 113 Agaricus stipitarius 221 Amanita angustilamellata 113 Agaricus strigosus 135, 285 Amanita arkansana 113 Agaricus subrufescens 103, 166 Amanita arocheae 113 Agaricus sylvaticus 103, 167 Amanita aurantiaca 211 Agaricus trachodes 168 Amanita avellaneosquamosa 113 Agaricus trisulphuratus 103, 168 Amanita badia 113 Agaricus vaginatus 217 Amanita baccata 113 Agaricus variabilis 185 Amanita battarrae 113, 115 Agaricus vellereus 140, 299 Amanita bisporigera 77, 113 Agaricus velutipes 110, 195 Amanita brunnescens 81, 113 Agaricus virescens 142, 188, 308 Amanita caesarea 113, 211 Agaricus virosus 115, 217 Amanita calopus 113 Agaricus volemus 299 Amanita calyptrata 113 Agaricus volvaceus 218 Amanita calyptroderma 113 Agaricus volvatus 218 Amanita castanopsis 113 Agaricus xanthodermus 81 Amanita ceciliae 113, 114 Agaricus xerampelinus 308 Amanita chepangiana 114 Agrocybe aegerita 104 Amanita chlorinosma 81 Agrocybe cylindracea 65, 66, 67, 89, 104 Amanita cinereopannosa 114 Agrocybe molesta 104 Amanita citrina var. citrina 114 Agrocybe pediades 104 Amanita citrine 114 Agrocybe pediades var. platysperma 104 Amanita clarisquamosa 114 Agrocybe preacox 104 Amanita coccola 114 Agrocybe semiorbicularis 104 Amanita cokeri 114 Agrocybe sororia 104 Amanita concentrica 114 Akanthomyces aculeatus 94, 150 Amanita constricta 114 Akanthomyces arachnophilus 94 Amanita cothurnata 80 Akanthomyces aranearum 94 Amanita crocea 114

336 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Amanita crocea var. subnudipes 114 Amanita pekeoides 115 Amanita daucipes 114 Amanita perpasta 114 Amanita echinocephala 114 Amanita phalloides 77, 114, 215 Amanita excelsa var. spissa 114 Amanita phalloides var. dunensis 114 Amanita farinosa 114, 211 Amanita pilosella 114 Amanita filtillaria 114 Amanita plumbea 114 Amanita flavipes 114 Amanita polypyramis 81 Amanita flavoconia 81 Amanita porphyria 114 Amanita flavorubescens 81 Amanita praegraveolens 114 Amanita friabilis 114 Amanita princeps 67, 114, 215 Amanita fritillaria 114 Amanita pseudoporphyria 114, 216 Amanita frostian 81 Amanita pudibunda 114 Amanita fuliginea 114 Amanita ravenelii 114 Amanita fuligineodisca 114 Amanita rubescens 114 Amanita fulva 114, 212 Amanita rubescens var. rubescens 115 Amanita gemmata 80, 114 Amanita rubrovolvata 115 Amanita griseofarinosa 114, 212 Amanita rufoferruginea 115 Amanita griseofolia 114 Amanita sculpta 115 Amanita gymnoporus 114 Amanita siamensis 115 Amanita hemibapha 114 Amanita silvicola 115 Amanita hemibapha subsp. hemibapha 114, 213 Amanita sinensis 115 Amanita hemibapha subsp. javanica 67, 73, Amanita sinocitrina 15 114, 213 Amanita smithiana 80, 115 Amanita hemibapha subsp. similis 114, 214 Amanita solitaria 115, 216 Amanita hongoi 114 Amanita spissacea 115 Amanita huijsmanii 114 Amanita spreta 115 Amanita inaurata 114 Amanita strobiliformis 80, 115 Amanita japonica 114 Amanita subglobosa 115 Amanita lividopallescens 115 Amanita subjunquillea 115 Amanita longistriata 114 Amanita submembrancea 115 Amanita malleata 114 Amanita synopyramis 115 Amanita manginiana 114 Amanita thiersii 115 Amanita mira 114, 214 Amanita umbrinolutea 115 Amanita muscaria 80, 114 Amanita vaginata 67, 115 Amanita muscaria var. alba 114 Amanita vaginata var. alba 115 Amanita muscaria var. flavivolvata 114 Amanita vaginata var. fulva 212 Amanita muscaria var. formosa 114 Amanita vaginata var. livido pallescens 115 Amanita muscaria var. muscaria 114 Amanita vaginata var. punctata 115 Amanita obsita 114 Amanita vaginata var. vaginata 115, 217 Amanita ocreata 77, 114 Amanita velosa 115 Amanita onusta 114 Amanita verna 77, 115 Amanita ovalispora 114 Amanita virginea 115 Amanita pachyvolvata 114 Amanita virginea var. alba 115 Amanita pantherina 80, 114 Amanita virgineoides 115 Amanita parcivolvata 81 Amanita virosa 77, 115, 217

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 337 Amanita volvata 115, 218 Anthurus brownii 130, 269 Amanita xanthella 115 Antrodia juniperina 131 Amanitina virosa 115, 217 Antrodia lenis 133 Amanitopsis canarii 112, 204 Antrodia sinuosa 133 Amanitopsis farinosa 211 Antrodia vaillantii 135 Amanitopsis fulva 212 Antrodia xantha 133 Amauroderma amoiense 131 Antrodiella liebmannii 138 Amauroderma atrum 132 Antrodiella semisupina 138 Amauroderma austrosinense 131 Apioclypea apiosporioides 99 Amauroderma dayaoshanense 131 Arcangeliella beccarii 139 Amauroderma dubiopansum 131 Areolospora bosensis 99 Amauroderma fujianense 131 Areolospora terrophila 99 Amauroderma longgangense 131 Armillaria mella 110 Amauroderma macer 131 Armillaria semiovata 110 Amauroderma macrum 131 Armillaria straminea 110 Amauroderma rude 131, 272 Armillariella tabescens 110 Amauroderma rugosum 131, 272 Artomyces piperatus 138, 139 Amauroderma sericatum 132 Artomyces pyxidatus 138, 139 Amauroderma sprucei 131 Aschersonia badia 93 Amauroderma subresinosum 132 Aschersonia calendulina 93 Ampulloclitocybe clavipes 116 Aschersonia coffeae 93 Amylocorticium canadense 131 Aschersonia confluens 93 Amylocorticium cebennense 131 Aschersonia hypocreoidea 93 Amylonotus ochrocroceus 139 Aschersonia luteola 93 Annulohypoxylon archeri 100 Aschersonia marginata 93 Annulohypoxylon atroroseum 100 Aschersonia minutispora 94 Annulohypoxylon bahnphadengense 99 Aschersonia oxystoma 94 Annulohypoxylon bovei var. microsporum 100 Aschersonia placenta 94, 149 Annulohypoxylon cohaerens 100 Aschersonia samoensis 94 Annulohypoxylon maeteangense 99 Aschersonia state of Hypocrella calendulina 93 Annulohypoxylon moriforme 99, 100 Aschersonia state of Hypocrella luteola 94 Annulohypoxylon purpureonitens 100 Ascobolus albidus 97 Annulohypoxylon truncatum 101 Ascobolus macrosporus 97 Anthostomella aquatica 99 Ascobolus sphaerospora 97 Anthostomella clypeoides 99 Ascobolus stercorarius 97 Anthostomella leptospora 99 Ascocoryne cylichnium 93 Anthostomella monthadoi 99 Ascotricha guamensis 99 Anthostomella nitidissima 99 Aseroe arachnoidea 130, 269 Anthostomella nypae 99 Asterophora lycoperdoides 116 Anthostomella palmaria 99 Astraeus asiaticus 126 Anthostomella puiggarii 99 Astraeus hygrometricus 67, 90, 126 Anthostomella punctulata 99 Astraeus odoratus 126, 254 Anthostomella tenacis 99 Astraeus spp. 73 Anthracophyllum lateritum 109 Astrocystis eleiodoxae 99 Anthracophyllum nigritum 110, 192 Astrocystis rachidis 99

338 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Aureoboletus auriporus 121 Boletellus emodensis 121, 238 Aureoboletus gentiles 121 Boletellus intermedius 257 Aureoboletus subvirens 121 Boletellus japonica 244 Aureoboletus thibetanus 121, 237 Boletellus mirabilis 122 Auricula delicata 235 Boletellus obcurecoccineus 121 Auricularia auricula 121, 235 Boletellus russellii 121, 239 Auricularia auricular-judae 121, 235 Boletinellus merulioides 125, 126 Auricularia auriculalis 121 Boletinellus rompelii 126, 253 Auricularia auricular 67 Boletinus cavipes 126 Auricularia auricular-judae var. delicata 235 Boletopsis atrata 143 Auricularia delicata 121, 235 Boletopsis grisea 143 Auricularia fuscosuccinea 67, 121 Boletopsis griseus 143 Auricularia mesenterica 121, 236 Boletopsis leucomelas 143 Auricularia ornata 121 Boletopsis subsquamosa 143, 311 Auricularia peltata 121, 236 Boletus aemilii 121 Auricularia polytricha 67, 121, 237 Boletus aereus 121 Auricularia tenuis 121, 236 Boletus aestivalis 121 Auriscalpium auriscalpium 138 Boletus aestivalis var. aestivalis 121 Auriscalpium vulgare 37, 138, 295 Boletus albisulphureus 121 Austroboletus lacunosus 121 Boletus alboater 124, 249 Austroboletus subflavidus 121, 236 Boletus alutarius 124, 250 Austroboletus subvirens 121 Boletus appendiculatus 121, 239 Bacidia endoleuca 97 Boletus applanatus 132, 273 Baipadisphaeria spathulospora 96 Boletus arcularius 290 Bankera fuligineoalba 143, 310 Boletus aureissimus 121, 240 Beauveria amorpha 95 Boletus auripes 121 Beauveria bassiana 95 Boletus auriporus 121 Beauveria brongniartii 95 Boletus badius 124, 293 Bertia moriformis 99 Boletus balloui 249 Bionectria ochroleuca 96 Boletus barrowsii 121 Biscogniauxia citriformis var. macrospora 99 Boletus betulicola 121 Biscogniauxia mediterranea var. microspora 99 Boletus bicolor 121, 240 Biscogniauxia nummularia var. exutans 100 Boletus bicolor var. borealis 121 Biscogniauxia nummularia Boletus borneensis 121 var. pseudopachyloma 100 Boletus bovines 256 Biscogniauxia sp. 100 Boletus braunii 252 Bisporella citrina 93 Boletus calopus 121 Bjerkandera adusta 133 Boletus campestris 121 Bjerkandera fumosa 133 Boletus chromapes 121 Boedijnopeziza insitiata 98 Boletus chrysenteroides 121 Bolbitius fissus 67, 104 Boletus chrysenteron 121, 125 Boletellus ananus 121 Boletus chrysops 121 Boletellus betula 121 Boletus cinnabarinus 292 Boletellus chrysenteroides 121 Boletus cinnamomeus 128, 263 Boletellus elatus 121 Boletus coccineinanus 121

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 339 Boletus coccyginus 121 Boletus nigerrimus 248 Boletus colossus 121 Boletus nigropurpureus 250 Boletus costatus 121 Boletus nobilis 122, 242 Boletus curtsii 122 Boletus nugatorius 122 Boletus depilatus 122 Boletus obscureumbrinus 122 Boletus dryophilus 122 Boletus olivaceirubens 122 Boletus eastwoodiae 122 Boletus ornatipes 122 Boletus edulis 67, 69, 122 Boletus pallidus 122 Boletus edulis subsp. reticulatus 242 Boletus parvulus 122 Boletus elegans 291 Boletus pavonius 138, 294 Boletus emodensis 121, 122, 238 Boletus peltatus 122 Boletus erythropus 81, 122 Boletus perennis 264 Boletus fechtneri 122 Boletus persoonii 122 Boletus felleus 124, 250 Boletus pinophilus 122 Boletus firmus 122, 241 Boletus porosporus 125 Boletus flaviporus 122 Boletus portentosus 125, 252 Boletus floccopus 248 Boletus projectellus 122 Boletus fragrans 122 Boletus pruinatus 125 Boletus fraternus 122 Boletus pseudoregius 122 Boletus frostii 122 Boletus pseudoseparans 122 Boletus granulatus 126, 257 Boletus pulcherrimus 81, 122 Boletus granulopunctatus 122 Boletus queletii 122 Boletus griseipurpureus 122, 241 Boletus quercinus 122 Boletus griseus 122 Boletus radicans 122 Boletus hemichrysus 122 Boletus radicans var. appendiculatus 121, 239 Boletus hepaticus 109, 189 Boletus rainisii 122 Boletus hispidus 265 Boletus ravenelii 247 Boletus impolitus 122 Boletus rebellus 122 Boletus intusrubens 245 Boletus rectus 122 Boletus junquilleus 122 Boletus regius 122 Boletus lacunosus 122 Boletus reticulatus 121, 122, 242 Boletus laetissimus 122 Boletus retispora 122 Boletus leptocephalus 291 Boletus rhodopurpureus 122 Boletus leptospermi 122 Boletus roxanae 122 Boletus lucidus 81, 122, 132, 273 Boletus rubellus 122, 125 Boletus luridus var. erythrentheron 122 Boletus rubricitrinus 122 Boletus luridus var. luridus 122 Boletus rubriflavus 122 Boletus magnificans 122 Boletus rufoaureus 122 Boletus mamorensis 122, 244 Boletus russellii 239 Boletus marshii 122 Boletus sanguineus 292 Boletus miniatopallescens 122 Boletus satanas 122 Boletus mirabilis 122 Boletus sensibilis 81, 122 Boletus moravicus 125 Boletus separans 122 Boletus mottiae 122 Boletus sp.1 122 Boletus nanus 122 Boletus sp.2 122

340 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Boletus specioces 122 Calvatia boninensis 109 Boletus speciosus 122 Calvatia bovista 109 Boletus squamosus 291 Calvatia craniiformis 109, 191 Boletus stanus 122 Calvatia cyathiformis 109 Boletus strobilaceus 248 Calvatia excipuliformis 109 Boletus subappendiculatus 123 Calvatia fumosa 109 Boletus subtomentosus 125, 243 Calvatia gigantea 109 Boletus subvelutipes 123 Calvatia longicauda 109 Boletus subviren 123 Calvatia lycoperdoides 109 Boletus sulphureus 135, 281 Calvatia rubroflava 109 Boletus tenax 123 Calvatia suberetacea 109 Boletus tenuis 135, 280 Camarophyllus borealis 116 Boletus thibetanus 237 Camarophyllus cremicolor 116 Boletus umbriniporus 123, 243 Camarophyllus niveus 116 Boletus unicolor 275 Camarophyllus virgineus 116 Boletus venturii 123 Camillea tinctor 100 Boletus versicolor 294 Campanella junghuhnii 110, 193 Boletus virens 251 Campanella simulans 110 Boletus viridiflavus 123 Candelabrochaete africana 134 Boletus zelleri 123 Cantharellus aureus 127, 259 Bondarzewia berkeleyi 139 Cantharellus cibarius 35, 73, 127, 258 Botryohypochnus isabellinus 127 Cantharellus cibarius var. australiensis 259 Bovista colorata 109 Cantharellus cinereus 127 Bovista craniiformis 191 Cantharellus cinnabarinus 67, 90, 127, 258 Bovista leucoderma 109 Cantharellus cinnabarinus Bovista nigrescens 109 var. australiensis 127, 259 Bovista pila 109 Cantharellus confluens 127 Bovista plumbea 109 Cantharellus fallax 127 Buchwaldoboletus hemichrysus 122, 123, 124 Cantharellus floccosus 130, 268 Buchwaldoboletus lignicola 124 Cantharellus friesii 127 Bulgaria javanicum 93 Cantharellus junghuhnii 193 Byssocorticium naviculare 131 Cantharellus lateritius 127 Byssomerulius corium 133 Cantharellus minor 127 Calocera cornea 128, 262 Cantharellus odoratus 127 Calocera palmate 128, 262 Cantharellus purpuraceus 127 Calocera viscosa 128 Cantharellus sinuosus 127, 261 Calocybe eborina 116 Cantharellus subalbidus 127 Calocybe gambosa 120 Cantharellus subcibarius 127 Calocybe indica 64 Cantharellus tubiformis 127 Caloscypha fulgens 98 Cantharellus tubiformis var. lutescens 127 Calostoma cinnabarina 126 Cantharellus xanthopus 127 Calostoma fuscum 126 Capsulospora frondicola 99 Calostoma japonicum 126 Cellularia striata 132, 274 Calostoma lutescens 126 Ceriomyces aureissimus 240 Calostoma ravenelii 126 Ceriporia alachuana 133

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 341 Ceriporia spissa 133 Clavaria inaequalis 105 Ceriporia subreticulata 133 Clavaria kunzei 130, 268 Ceriporia viridans 133 Clavaria lavandula 174 Ceriporiopsis mucida 138 Clavaria luteostirpata 105 Cerrena meyenii 134 Clavaria miyabeana 175 Cerrena unicolor 134 Clavaria palmata 312 Chaetocalathus africanus 110 Clavaria pistillaris 105 Chaetocalathus liliputianus 110, 193 Clavaria purpurea 105 Chaetotyphula sp. 130 Clavaria rosacea 105 Chalciporus piperatoides 123 Clavaria rosea 105 Chalciporus piperatus 123 Clavaria sanguinea 177 Chalciporus rubinus 123 Clavaria stricta 178 Chanterel cinnabarinus 258 Clavaria vermicularis 105, 174 Chlorociboria aeruginascens 93 Clavaria zollingeri 105, 174 Chlorociboria omnivirens 93 Clavariadelphus lovejoyae 130 Chlorophyllum humei 103 Clavariadelphus pistillaris 105, 130 Chlorophyllum molybdites 81, 103, 167 Clavariadelphus subfastigiatus 130 Chlorophyllum rhacodes 103, 104 Clavariadelphus truncatus 130 Chlorostroma cyaninum 100 Clavariella stricta 178 Chondrostereum purpureum 133 Claviceps purpurea 94 Chroogomphus tomentosus 125 Clavicorona avellanea 138 Chrysomphalina chrysophylla 116 Clavicorona pyxidata 139 Cinereomyces lenis 133 Clavulina amethystine 127 Clarkeinda trachodes 103, 168 Clavulina cinerea 127, 261 Clathrus cancellatus 130 Clavulina coralloides 105, 127 Clathrus delicates 130 Clavulina cristata 127 Clathrus rubber 130 Clavulina cristata var. brunneola 127, 262 Claudopus variabilis 185 Clavulina kunzei 130, 268 Clavaria angulispora 178 Clavulina rugosa 127 Clavaria botrytis 176 Clavulinopsis amoena 105 Clavaria botrytis var. alba 176 Clavulinopsis appalachiensis 105 Clavaria botrytis var. sanguine 177 Clavulinopsis aurantiocinnabarina 105 Clavaria cacao 105 Clavulinopsis corallinorosacea 105 Clavaria cinerea 127, 261 Clavulinopsis corniculata 105 Clavaria coralloides 105 Clavulinopsis dichotoma 105 Clavaria cornea 128, 262 Clavulinopsis fusiformis 105 Clavaria cyanocephala 176 Clavulinopsis helvola 105, 175 Clavaria delphus 105 Clavulinopsis holmskjoldii 105 Clavaria erinaceus 139 Clavulinopsis kunzei 130, 268 Clavaria falcata 105 Clavulinopsis laeticolor 105 Clavaria fomosa 105 Clavulinopsis luteoalba 105 Clavaria fossicola 105 Clavulinopsis luteostripata 105 Clavaria fumosa 105 Clavulinopsis luteotenerrima 105 Clavaria fusiformis 105 Clavulinopsis miniata 105 Clavaria helvola 105, 175 Clavulinopsis miyabeana 105, 175

342 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Clavulinopsis subaustralis 105 Collybia nivalis 117 Clavulinopsis subtilis 105 Collybia peronata 117 Clavulinopsis sulcata 105 Collybia platyphylla 117 Clavulinopsis umbrinella 106 Collybia radicata 205 Climacodon dubitativus 133 Collybia shiitake 135, 281 Climacodon efflorescens 133 Coltrichia perennis 128 Climacodon pulcherrimus 133 Coltricia cinnamomea 128, 263 Climacodon septentrionalis 133 Coltricia montagnei var. greenei 128 Clitocybe barbularum 116, 119 Coltricia montagnei var. montagnei 128 Clitocybe brunneocephala 116 Coltricia perennis 128, 264 Clitocybe cerussata 79 Coltriciella dependens 128 Clitocybe clavipes 82, 116 Colus hirudinosus 130 Clitocybe dealbata 79 Conferticium ochraceum 132 Clitocybe dealbata var. sudorifica 117 Coniophora hanoiensis 125 Clitocybe decastes 227 Conocybe apala 104 Clitocybe dilatata 79 Conocybe blattaria 105 Clitocybe ectypoides 117 Conocybe coprophila 104 Clitocybe flaccida 117 Conocybe crispa 104 Clitocybe fragrans 117 Conocybe cyanopus 81 Clitocybe geotropa 66, 117 Conocybe filaris 104 Clitocybe gibba 117 Conocybe lacteal 104 Clitocybe infundibuliformis 117 Conocybe smithii 81, 104 Clitocybe inornata 117 Conocybe stercoraria 104 Clitocybe inversa 117 Conocybe tenera 104 Clitocybe lignatilis 117 Conoideocrella luteorostrata 94 Clitocybe marmoreal 119, 225 Conoideocrella tenuis 94, 150 Clitocybe maxima 117, 220 Conoidocrella luteorostrata 149 Clitocybe morbifera 79, 117 Cookeina speciosa 98 Clitocybe nebularis 79, 117 Cookeina sulcipes 98, 157 Clitocybe nuda 117 Cookeina tricholoma 98, 158 Clitocybe odora 117 Copelandia cyanescens 104, 106 Clitocybe phyllophila 117 Coprinellus congregatus 106 Clitocybe prunulus 117 Coprinellus disseminatus 106, 179 Clitocybe rivulosa 79, 117 Coprinellus micaceus 106, 107 Clitocybe truncicola 79 Coprinellus radians 106 Clitocybe vibecina 117 Coprinopsis atramentaria 106, 179 Clitopilus chalybescens 108 Coprinopsis brunneofibrillosa 106 Clitopilus prunulus 108 Coprinopsis cinerea 106, 180 Collybia canfluens 117 Coprinopsis lagopus 106 Collybia cirrhata 117 Coprinopsis lagopus var. lagopus 106 Collybia confluens 222 Coprinopsis narcotica 107 Collybia dryophila 117 Coprinus atramentarius 82, 106, 179 Collybia eurrhiza 231 Coprinus brunneofibrillosus 106 Collybia fusipes 117, 222 Coprinus cepistipes 170 Collybia nameko 116, 220 Coprinus cinereus 59, 66, 67, 106, 180

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 343 Coprinus comatus 66, 67, 106, 180 Cordyceps tuberculata 95, 154 Coprinus comatus var. caprimammillatus 106, 180 Coriolopsis caperata 134 Coprinus congregatus 106 Coriolopsis gallica 137, 277 Coprinus disseminatus 106, 179 Coriolopsis polyzona 134 Coprinus ephemeroides 106 Coriolopsis sanguinaria 134 Coprinus fimetarius 106 Coriolopsis sp. 68 Coprinus fuscescens 82 Coriolopsis telfarii 134 Coprinus insignis 82 Coriolus affinis 287 Coprinus kuehneri 107, 181 Coriolus hirsutus 134 Coprinus lagopus 106 Coriolus sanguineus 292 Coprinus micaceus 82, 106 Coriolus vernicipes 136, 288 Coprinus narcoticus 107 Coriolus versicolor 87, 134, 294 Coprinus plicatilis 107, 181 Coriolus xanthopus 136, 288 Coprinus plicatilis var. microsporus 107, 181 Cortinarius alboviolaceus 107 Coprinus quadrifidus 107 Cortinarius alnobetulae 107 Coprinus setulosus 107, 182 Cortinarius anomalus 107 Coprinus silvaticus 107 Cortinarius argentatus 107 Coprotus leucopocillum 98 Cortinarius bivelus 107 Corallium botrytis 176 Cortinarius bolaris 107 Coralloderma acroleucum 134 Cortinarius caerulescens 107 Coralloderma acroleucum var. fibulatum 134 Cortinarius calochrous 107 Cordyceps bassiana 95 Cortinarius calochrous var. calochrous 107 Cordyceps brongniartii 95 Cortinarius cinnamomeus 107 Cordyceps buaoides 95 Cortinarius distans 107 Cordyceps coccidioperitheciata 95 Cortinarius evernius 107 Cordyceps cylindrica 95 Cortinarius flexipes 107 Cordyceps grenadensis 95 Cortinarius glaucopus 107 Cordyceps gryllotalpidicola 95, 152 Cortinarius iodes 107 Cordyceps ignota 95 Cortinarius laniger 107 Cordyceps loeiensis 95, 153 Cortinarius livido-ochraceus 107, 183 Cordyceps martialis 95 Cortinarius malachioides 107 Cordyceps militaris 67, 89, 95 Cortinarius malachius 107 Cordyceps militaris var. sphaerocephala 95 Cortinarius mucosus 107 Cordyceps mrciensis 95 Cortinarius nemorensis 107 Cordyceps nelumboides 95, 153 Cortinarius orellanoides 78 Cordyceps ninchukispora 95, 154 Cortinarius orellanus 78 Cordyceps nipponica 95 Cortinarius pholideus 107 Cordyceps owariensis f. viridescens 95 Cortinarius pumilus 107, 183 Cordyceps pseudomilitaris 95 Cortinarius purpurascens 107, 184 Cordyceps ryogamimontana 95 Cortinarius purpurascens var. largusoides 107, 184 Cordyceps singeri 95 Cortinarius rapaceus 107 Cordyceps sphecocephala 95 Cortinarius sp. 107 Cordyceps staphylinidicola 95 Cortinarius splendens 107, 184 Cordyceps takaomontana 95 Cortinarius squamulosus 107 Cordyceps thaxteri 95 Cortinarius subbalaustinus 107

344 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Cortinarius traganus 107 Crinipellis malesiana 117 Cortinarius variicolor 107 Crinipellis piceae 117 Cortinarius varius 107 Crinipellis scabella 117, 221 Cortinarius violaceus 107 Crinipellis setipes 117 Corynoides cornea 128, 262 Crinipellis stipitaria 117, 221 Costapeda crispa 155 Crinipellis tabtim 117 Cotylidia aurantiaca 134 Crinipellis zonota 117 Cotylidia diaphana 134 Crucibulum laeve 112, 206 Cotylidia radicans 134, 276 Cryptoporus volvatus 90, 134, 277 Craterellus aureus 127, 259 Cudonia helvelloides 99 Craterellus cantharellus 127, 223 Cyathella striata 207 Craterellus cibarius 258 Cyathus berkeleyanus 112 Craterellus cinereus 127, 260 Cyathus intermedius 112 Craterellus cornucopioides 127 Cyathus limbatus 112 Craterellus cornucopioides var. parvisporus 127 Cyathus olla 112, 206 Craterellus fallax 127 Cyathus olla f. anglicus 112, 206 Craterellus lutescens 127 Cyathus pallidus 113 Craterellus nudulatus 127, 261 Cyathus rugispermus 113 Craterellus odoratus 127, 260 Cyathus stercoreus 113 Craterellus sinuosus 127, 261 Cyathus striatus 113, 207 Craterellus tubaeformis 127 Cyathus subglobisporus 113 Crepidopus mollis 185 Cyathus triplex 113 Crepidopus variabilis 185 Cyclomyces fuscus 128, 264 Crepidotus applanatus 107, 113 Cyclomyces setiporus 128, 265 Crepidotus applanatus var. applanatus 107 Cyclomyces tabacinus 128 Crepidotus boninensis 107 Cymatoderma caperatum 134 Crepidotus citrinus 107 Cymatoderma dendriticum 134 Crepidotus cornucopiae 113, 207 Cymatoderma elegans 134, 142 Crepidotus crocophyllus 107, 113 Cymatoderma infundibuliforme 134, 276 Crepidotus epibryus 107 Cyptotrama asprata 110, 112, 194 Crepidotus herbarum 107, 113 Cystidiophorus castaneus 134 Crepidotus maculans 107, 113 Cystoagaricus trisulphuratus 103, 168 Crepidotus mollis 113, 107, 185 Cystoderma granulosum 117 Crepidotus roseus var. boninense 107 Cystodermella granulosa 117 Crepidotus variabilis 107, 113, 185 Cystolepiota seminuda 103 Crepidotus versutus 107, 113 Cystolepiota sistrata 103 Crinipellis actinophora 117 Dacrymyces chrysospermus 128 Crinipellis aff. mirabilis 117 Dacrymyces deliquescens 128 Crinipellis campanella 117 Dacrymyces minor 128 Crinipellis cupreostipes 117 Dacrymyces palmatus 128 Crinipellis dipterocarpi 117 Dacrymyces stillatus 128 Crinipellis dipterocarpi f. cinnamomea 117 Dacryobolus sudans 133 Crinipellis fragilis 117 Dacryopinax spathularia 121, 128, 263 Crinipellis furcata 117 Daedalea berkeleyi 131 Crinipellis galeatus 117 Daedalea confragosa 131

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 345 Daedalea dickinsii 131 Disciseda luteola 109 Daedalea dochmia 131 Drosophila punctata 107 Daedalea flavida 131, 135 Earliella scabrosa 137, 278 Daedalea juniperina 131 Echinochaete ruficeps 134 Daedalea quercina 131 Elaphocordyceps paradoxa 96 Daedalea sp. 72 Elmerina sp. 143 Daedalea striata 132, 274 Emarcea castanopsidicola 100 Daedalea subferruginea 132, 275 Engyodontium sp. 95 Daedaleopsis ambigua 134 Entoloma bloxamii 108 Daedaleopsis confragosa 131, 134 Entoloma chalybaeum 108 Daedaleopsis confragosa var. tricolor 134 Entoloma cucullatum 187 Daedaleopsis nipponica 134 Entoloma euchroum 108 Daedaleopsis proteus 134 Entoloma excentricum 108 Daedaleopsis purpurea 134 Entoloma excentricum var. excentricum 108 Daedaleopsis sinensis 134 Entoloma formosum 109 Daedaleopsis sp. 37 Entoloma hirtipes 108 Daedaleopsis tenuis 135, 280 Entoloma incanum 109 Daldinia bambusicola 100 Entoloma juniperinum 108 Daldinia concentrica 12, 100, 159 Entoloma lepidissimum 108 Daldinia eschscholtzii 100 Entoloma lioidium 108 Daldinia sabahense 100 Entoloma lividum 81, 108 Daldinia vernicosa 100 Entoloma longistriatum 108 Datronia mollis 134 Entoloma longistriatum var. longistriatum 108 Deflexula fascicularis 115 Entoloma madidum 108 Deflexula sp. 116 Entoloma mammosum 81 Deflexula subsimplex 116 Entoloma mazophorum 108 Dendrogaster combodgensis 253 Entoloma microcarpum 233 Dendrosarcus applicatus 229 Entoloma nidorosum 81 Dendrosarcus cornucopiae 113, 207 Entoloma nitidum 108 Dendrosarcus pulmonarius 113, 209 Entoloma omiense 108, 186 Dentinum albidum 127 Entoloma pascuum 81 Dentinum repandum 127 Entoloma politum 108 Derminus mollis 185 Entoloma praeluteum 108 Descomyces albellus 125 Entoloma rhodopolium 81, 108, 187 Dicephalospora rufocornea 93 Entoloma salmoneum 81 Dictyopanus pusillus 117, 229 Entoloma serrulatum 108 Dictyophora duplicate 130 Entoloma sinuatum 108 Dictyophora indusiata 67, 130, 271 Entoloma strictius 81, 108 Dictyophora multicolor 130, 270 Entoloma tenacipes 108 Dictyophora multicolor var. lacticolor 130 Entoloma vernum 81, 108, 187 Dictyophora phalloidea 130 Entoloma vilaceum 108 Dictyophora rubrovolvata 130 Entoloma virescens 108, 188 Didymosphaeria diplospora 99 Entoloma viridans 108 Didymosphaeria oblitescens 99 Entonaema liquescens 100 Disciseda candida 109 Entonaema siamensis 100

346 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Entonaema splendens 100, 160 Fomes rhinocerotis 287 Erastia salmonicolor 133 Fomes rimosus 135 Eutypa bambusina 99 Fomes rudis 272 Eutypa bathurstensis 99 Fomes volvatus 277 Eutypella acericola 99 Fomitella rhodophaea 131 Eutypella naqsii 99 Fomitopsis cajanderi 131 Eutypella stellulata 99 Fomitopsis dochmius 131 Exidia fuscosuccinea 121 Fomitopsis ellisianus 131 Exidia polytricha 121, 237 Fomitopsis feei 131 Fasciatispora lignicola 99 Fomitopsis fraxinophilus 131 Fasciatispora petrakii 99 Fomitopsis nivosa 131 Fasciatispora ujungkulonensis 99 Fomitopsis officinalis 37 Favolaschia calocera 110 Fomitopsis pinicola 90, 131 Favolaschia fujisaensis 110 Fomitopsis pseudopetchii 131 Favolaschia minima 110 Fomitopsis rhodophaea 131 Favolaschia pezizaeformis 110 Fomitopsis rhodophaeus 131 Favolaschia thwaitesii 110, 194 Fomitopsis sp. 72 Favolaschia tonkinensis 110 Funalia polyzona 134 Favolus albidus 134 Funalia trogii 135 Favolus alvalveolaria 135 Galerina autumnalis 77 Favolus alveolarius 290 Galerina fasiculata 77 Favolus brasiliensis 135 Galerina helvoliceps 77 Favolus grammocephalus 136, 290 Galerina marginata 77, 116 Favolus hirtus 135, 279 Galerina venenata 77 Favolus spathulatus 135 Galiella celebica 98 Favolus tenuiculus 135, 136, 278 Galiella javanica 99, 159 Fibrodontia gossypina 129 Galiella rufa 99 Fibroporia vaillantii 135 Gamoderma pseudoferreum 75, 132 Fibuloporia donkii 138 Ganoderma adspersum 132 Filoboletus manipularis 117, 221 Ganoderma annularis 132 Fistulina hepatica 37, 67, 109, 189 Ganoderma applanatum 68, 88, 132, 273 Fistulina pallida 109 Ganoderma australe 132 Fistulinella conica 124 Ganoderma boninense 75, 132 Flabellophora superposita 135 Ganoderma brownii 132 Flammula sulphurea 116 Ganoderma calidophilum 132 Flammulina velutipes 65, 67, 110, 195 Ganoderma capense 132 Flammulina velutipes var. velutipes 110 Ganoderma carnosum 132 Flaviporus liebmannii 138 Ganoderma chiungchungense 132 Flavodon flavus 136, 138 Ganoderma cochlear 132 Floccularia luteovirens f. luteovirens 110 Ganoderma colossum 132 Fomes applanatus 273 Ganoderma colossus 132 Fomes extensus 128 Ganoderma curtisii 132 Fomes fomentarius 135 Ganoderma dahlii 132 Fomes lucidus 273 Ganoderma donkii 132 Fomes resinaceus 274 Ganoderma gibbosum 132

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 347 Ganoderma hainanense 132 Gibbera vaccinii 99 Ganoderma koningsbergii 132 Gibellula alata 95 Ganoderma limushanense 132 Gibellula dimorpha 95 Ganoderma lobatum 132 Gibellula leiopus 95 Ganoderma lucidum 37, 64, 65, 66, 67, Gibellula mirabilis 95 75, 88, 132, 273 Gibellula pulchra 95 Ganoderma mastoporus 132 Gleophyllum sepiarium 68 Ganoderma neojaponicum 132 Gloeocystidiellum ochraceum 132 Ganoderma nitidum 132 Gloeocystidiellum porosum 132 Ganoderma orbiforme 132 Gloeoglossum glutinosum 93 Ganoderma oregonense 90, 132 Gloeophyllum abietinum 132 Ganoderma pfeifferi 132 Gloeophyllum odoratum 132 Ganoderma philippii 132 Gloeophyllum sepiarium 132 Ganoderma pseudoferreum 132 Gloeophyllum sepiarium Ganoderma resinaceum 66, 132, 274 var. subferruginea 132, 275 Ganoderma rude 272 Gloeophyllum sp. 72 Ganoderma rugosum 131 Gloeophyllum striatum 132, 274 Ganoderma sp. 68, 132 Gloeophyllum subferrugineum 132, 275 Ganoderma sublucidum 132 Gloeophyllum trabeum 66, 132, 135 Ganoderma subresinosum 88, 132 Gloeoporus conchoides 133 Ganoderma tropicum 132 Gloeoporus croceopallens 133 Ganoderma tsugae 132 Gloeoporus pusillus 229 Ganoderma tsunodae 132 Gloeoporus thelephoroides 133 Ganoderma valesiacum 132 Gomphidius roseus 125 Gastropila fumosa 109 Gomphus bonari 81, 130 Gastropila subcretacea 109 Gomphus clavatus 130 Geastrum drummondii 129 Gomphus floccosus 81, 130, 268 Geastrum fimbriatum 129 Gomphus fugisanensis 130 Geastrum lageniforme 129 Gomphus glutinosus var. roseus 125 Geastrum minus 129 Gomphus kauffmanii 81, 130 Geastrum mirabile 129, 266 Gomphus miniata 130 Geastrum nanum 129 Gomphus pseudoclavatus 130 Geastrum pectinatum 130 Gorgonicep confluens 93 Geastrum rufescens 130, 266 Grammothele delicatula 133 Geastrum saccatum 130, 267 Grammothele ochraceus 133 Geastrum schaefferi 266 Grifola frondosa 65, 67, 89, 133, 136 Geastrum schmidelii 130 Grifola gigantea 133 Geastrum stipitatum 130, 267 Guepinia spathularia 121, 263 Geastrum triplex 130 Gyalecta truncigena 93 Geastrum velutinum 130 Gymnoglossum combodgense 253 Geastrum vulgatum 266 Gymnopilus aeruginosus 81, 107, 186 Geoglossum hirsutum 148 Gymnopilus junonius 108 Geoglossum nigritum 93 Gymnopilus penetrans 107 Geoglossum sp. 93 Gymnopilus punctifolius 108 Gerronema icterinum 110 Gymnopilus spectabilis 108

348 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Gymnopilus validipes 81 Hebelomatis crustuliniformis 172 Gymnopus confluens 117, 222 Heimiella japonica 123, 244 Gymnopus dryophilus 117 Heimiella mandarina 123, 244 Gymnopus fusipes 117, 222 Heimiella retispora 67, 123, 245 Gymnopus perforans 112 Heimiella subretispora 123 Gymnopus peronatus 117 Heimioporus betula 121, 123 Gymnopus purus 228 Heimioporus japonicus 123, 244 Gymnopus ramealis 196 Heimioporus mandarinus 123, 244 Gyrodon ballouii 249 Heimioporus retisporus 123 Gyrodon merulioides 126 Heimioporus retisporus var. retisporus 123, 245 Gyrodon rompelii 126, 253 Heimioporus subretisporus 123 Gyromitra ambigua 78 Heinemannomyces splendidissima 103, 169 Gyromitra brunnea 78 Helvella albida 155 Gyromitra californica 78 Helvella atra 98 Gyromitra caroliniana 78 Helvella coccinea 156 Gyromitra esculenta 78, 97 Helvella crispa 97, 155 Gyromitra fastigiata 78 Helvella ehippium 97 Gyromitra gigas 78 Helvella elastica 97, 98, 155 Gyromitra infula 78, 97 Helvella esculenta 97 Gyroporus atroviolaceus 125 Helvella lubrica 148 Gyroporus castaneus 125 Helvella mesenterica 236 Gyroporus cyanescens 67, 125 Helvella nigricans 155 Gyroporus cyanescens var. sulfurens 125 Hemimycena cucullata 119 Gyroporus cyanescens var. vialaceotinetus 125 Hemimycena delicatella 117 Gyroporus portentosus 125 Hemimycena lactea 117 Gyroporus purpurinus 125 Henningsia brasiliensis 133 Gyroporus subalbellus 125 Hericium erinaceus 37, 67, 139, 295 Haddowia aetii 132 Heterobasidion annosum 37, 139 Haddowia longipes 132 Heterobasidion insulare 139 Halorosellinia oceanica 100 Heterochaete delicata 143 Handkea excipuliformis 109 Hexagonia apiaria 135, 137, 279 Hapalopilus mutans 133 Hexagonia dermatiphora 135 Hapalopilus nidulans 133 Hexagonia hirta 135, 279 Hapalopilus rutilans 133 Hexagonia hirta f. hystrix 279 Hapalopilus salmonicolor 133 Hexagonia nitida 135 Hebeloma albidulum 104 Hexagonia subtenuis 135, 280 Hebeloma crustuliniforme 81, 104, 172 Hexagonia tenuis 135, 280 Hebeloma fastibile 81 Hexagonia umbrinella 135 Hebeloma hiemale 104 Hiatula fragilissima 171 Hebeloma mesophaeum 81 Hirneola fuscosuccinea 121 Hebeloma radicosum 104 Hirsutella citriformis 96 Hebeloma sacchariolens 104 Hirsutella formicarum 96 Hebeloma sarcophyllum 104 Hirsutella guignardii 96 Hebeloma sinapizans 81 Hirsutella nivea 96 Hebeloma vinosophyllum 104, 173 Hirsutella petchabunensis 96

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 349 Hirsutella saussurei 96 Hygrocybe persistens var. persistens 118 Hirsutella thompsonii 96 Hygrocybe piceae 118 Hirsutella versicolor 96 Hygrocybe psittacina 118 Hohenbuehelia panelloides 113 Hygrocybe psittacina var. psittacina 118 Hohenbuehelia petaloides 113 Hygrocybe punicea 118 Hohenbuehelia reniformis 113 Hygrocybe russocoriacea 118 Holtermannia cf damaecornis 143 Hygrocybe salicis-herbaceae 118 Humaria hemisphaerica 98 Hygrocybe singeri 118 Humidicutis marginata 118 Hygrocybe subminiata 118 Hyaloscypha dematiicola 93 Hygrocybe subminutula 118 Hydnellum spongiosipes 143 Hygrocybe turunda 118 Hydnophlebia chrysorhiza 134 Hygrocybe virginea var. virginea 116 Hydnum auriscalpium 138, 295 Hygrocybe vitellina 118 Hydnum cyanellum 127 Hygrophorus agathosmus 118 Hydnum erinaceus 139, 295 Hygrophorus bellus 123, 246 Hydnum fuligineoalbum 143, 310 Hygrophorus calophyllus 118 Hydnum fuliginoeviolaceum 128 Hygrophorus camarophyllus 118 Hydnum fuscoindicum 128 Hygrophorus cantharellus 118, 223 Hydnum imbricatum 311 Hygrophorus chlorophanus 118 Hydnum repandum 127, 128 Hygrophorus chrysodon 118 Hygrocybe brunneosquamulosa 117 Hygrophorus coccineocrenatus 224 Hygrocybe calyptriformis 117, 223 Hygrophorus coccineus 118 Hygrocybe calyptriformis var. calyptriformis 118 Hygrophorus conicus 118, 224 Hygrocybe cantharellus 118, 127, 223 Hygrophorus cuspidatus 118 Hygrocybe ceracea 118 Hygrophorus eburneus 118 Hygrocybe chlorophana 118 Hygrophorus inocybiformis 118 Hygrocybe coccinea 118 Hygrophorus marginatus 118 Hygrocybe coccineocrenata 118, 224 Hygrophorus miniatus 118 Hygrocybe conica 118, 224 Hygrophorus occidentalis 118 Hygrocybe conica var. chloroides 118 Hygrophorus odoratus 118 Hygrocybe conicoides 118 Hygrophorus olivaceoalbus 118 Hygrocybe cuspidata 118 Hygrophorus piceac 118 Hygrocybe eburneus 118 Hygrophorus puniceus var. flavescens 118, 225 Hygrocybe firma 118 Hygrophorus pustulatus 119 Hygrocybe flavescens 118, 225 Hygrophorus speciosus 118 Hygrocybe flavifolia 118 Hygrophorus tephroleucus 119 Hygrocybe glutinipes 118 Hymenagaricus alphitochrous 103 Hygrocybe glutinipes var. glutinipes 118 Hymenochaete adusta 128 Hygrocybe miniata 118 Hymenochaete attenuata 128 Hygrocybe mucronella 118 Hymenochaete cinnamomea 128 Hygrocybe nigrescens 118 Hymenochaete corrugata 128 Hygrocybe nitida 118 Hymenochaete rheicolor 128 Hygrocybe occidentalis 118 Hymenochaete rubiginosa 128 Hygrocybe olivaceonigra 118 Hymenochaete tubacina 128 Hygrocybe parvula 118 Hymenochaete villosa 128

350 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Hymenogaster cf. albellus 125 Hypoxylon cohaerens 100 Hymenoscyphus crocatus 93 Hypoxylon concentricum 159 Hymenoscyphus menthae 93 Hypoxylon conostomum 100 Hymenoscyphus varicosporioides 93 Hypoxylon crocopeplum 100 Hymenostilbe aurantiaca 96 Hypoxylon cubense 162 Hymenostilbe dipterigena 96 Hypoxylon dieckmannii 100 Hymenostilbe furcata 96 Hypoxylon duranii 100 Hymenostilbe nutans 96 Hypoxylon fendleri 100 Hymenostilbe odonatae 96 Hypoxylon fragiforme 100 Hymenostilbe sphecophila 96 Hypoxylon fuscum 100 Hymenostilbe state Hypoxylon hematostroma 100 of Ophiocordyceps pseudolloydii 96 Hypoxylon hypomiltum 100 Hymenostilbe ventricosa 96 Hypoxylon investiens 100 Hyperdermium bertonii 95 Hypoxylon jecorinum 100 Hyphoderma argillaceum 135 Hypoxylon kanchanapisekii 100 Hyphoderma setigerum 133 Hypoxylon lenormandii 100 Hyphoderma tuberculare 133 Hypoxylon macrocarpum 100 Hyphodontia alutaria 129 Hypoxylon mammatum 100 Hyphodontia gossypina 129 Hypoxylon microplacum 100 Hyphodontia rudis 129 Hypoxylon monticulosum 100 Hypholoma fasciculare var. fasciculare 116 Hypoxylon moriforme 100 Hypholoma rugocephalum 107, 183 Hypoxylon nitens 100 Hypholoma subviride 116 Hypoxylon notatum 100 Hypocrea colensoi 95 Hypoxylon oceanicum 100 Hypocrea discoidea 95 Hypoxylon oodes 100 Hypocrea mesenterica 95 Hypoxylon perforatum 100 Hypocrea nigricans 95 Hypoxylon polyporoideum 100 Hypocrea pezizoidea 95 Hypoxylon purpureonitens 100 Hypocrea rufa 95 Hypoxylon riograndense 100 Hypocrea schweinitzii 96 Hypoxylon rubiginosum 100 Hypocrea splendens 96 Hypoxylon sclerophaeum 101 Hypocrella calendulina 94 Hypoxylon sp. 101 Hypocrella discoidea 94, 95 Hypoxylon stygium 101 Hypocrella luteola 94 Hypoxylon subgilvum 101 Hypocrella mollii 94 Hypoxylon sublenormandii 101 Hypocrella palmicola 94 Hypoxylon suranareei 101 Hypocrella raciborskii 94 Hypoxylon symphyon 101 Hypocrella siamensis 94 Hypoxylon trugodes 101 Hypodrys hepaticus 109, 189 Hypoxylon truncatum 101 Hypoxylon aeruginosum 100 Hypoxylon tuberoides 101 Hypoxylon anisopleuron 161 Hypoxylon vogesiacum 101 Hypoxylon anthochroum 100 Hypsizygus marmoreus 67, 119, 225 Hypoxylon archeri 100 Hysterium angustatum 97 Hypoxylon atroroseum 100 Hysterium pulicare 97 Hypoxylon bovei var. microsporum 100 Incrustocalyptella orientalis 131

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 351 Incrustoporia carneola 135 Inonotus tabacinus 128 Infundibulicybe geotropa 117 Inonotus tenuicarnis 128 Inocybe asterospora 108 Inonotus tomentosus 128 Inocybe caesariata 108 Inopilus foldatsii 109 Inocybe calamistrata 108 Irpex lacteus 138 Inocybe calospora 108 Isaria amoenerosea 95 Inocybe destricta 108 Isaria cicadae 95 Inocybe dulcamera 79 Isaria farinosa 95 Inocybe fastigiata 79 Isaria fumosorosea 95 Inocybe fuscodisca 108 Isaria javanica 95 Inocybe geophylla 79, 108 Isaria takamizusanensis 95 Inocybe geophylla var. geophylla 108 Isaria tenuipes 95 Inocybe griseolilacina 108 Ischnoderma benzoinum 133 Inocybe hystrix 108 Ischnoderma resinosum 133 Inocybe infelix 108 Ixechinus virens 123 Inocybe kobayasii 108 Jahnoporus hirtus 131 Inocybe lacera 79, 108 Junghuhnia crustacea 138 Inocybe lacera var. lacera 108 Junghuhnia nitida 138 Inocybe lanuginella 79, 108 Kretzschmaria lucidula 101 Inocybe maculata 108 Kretzschmaria macrosperma 101 Inocybe mixtilis 79 Kuehneromyces nameko 116, 220 Inocybe nappies 79, 108 Laccaria altaica 109, 190 Inocybe nodulospora 108 Laccaria amethystea 109 Inocybe patouillardii 79 Laccaria amethystina 109, 189 Inocybe pudica 79 Laccaria laccata 109, 190 Inocybe rimosa 108 Laccaria laccata var. amethystine 189 Inocybe serotina 108 Laccaria laccata var. pumila 109, 190 Inocybe sororia 108 Laccaria ohiensis 109 Inocybe sp. 108 Laccaria proxima 109 Inocybe splendens 108 Laccaria pumila 109, 190 Inocybe splendens var. splendens 108 Laccaria vinaceoavellanea 109 Inocybe terrigena 108 Laccocephalum mylittae 135, 137 Inocybe tigrina 108 Lachea coccinea 158 Inonotus cuticularis 128 Lacrymaria lacrymabunda 107 Inonotus dryadeus 128 Lactarius “MRC Lithocarpus I” 140 Inonotus flavidus 128 Lactarius aff. “ MRC Lithocarpus II” 140 Inonotus fuscus 264 Lactarius aff. gerardii 139 Inonotus hispidus 128, 265 Lactarius aff. obscuratus 139 Inonotus nodulosus 128 Lactarius aff. rugatus 139 Inonotus obliquus 35 Lactarius aff. subzonarius 139 Inonotus radiatus 66, 128 Lactarius aff. volemus var. flavus 139 Inonotus rheades 128 Lactarius aff. wenquanensis 139 Inonotus rickii 128 Lactarius affinis var. viridilactis 139, 296 Inonotus sciurinus 128 Lactarius akahatsu 139 Inonotus setiporus 128, 265 Lactarius albivelus 139

352 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Lactarius albocarneus 139 Lactarius peckii 140 Lactarius alboscrobiculatus 139 Lactarius pergamenus 140 Lactarius alboscrobiculatus Lactarius picinus 140 var. roseopurpureus 139 Lactarius pilosus 140 Lactarius aquifluus 139 Lactarius piperatus 140, 298 Lactarius aspideus 139 Lactarius populinus 140 Lactarius atlanticus 139 Lactarius porninsis 140 Lactarius aurantiacus 139 Lactarius pseudoluteopus 140 Lactarius aurantiofulvus 139 Lactarius pterosporus 140 Lactarius austrotorminosus 139 Lactarius purpureus 140 Lactarius austrovolemus 139 Lactarius representateus 81 Lactarius austrozonarius 139 Lactarius resimus 140 Lactarius camphoratus 139, 296 Lactarius romagnesii 140 Lactarius chichuensis 139 Lactarius rosephyllus 140 Lactarius chrysorrheus 81 Lactarius rubidus 140 Lactarius controversus 139 Lactarius rufus 81, 140 Lactarius corrugis 139 Lactarius rugatus 140 Lactarius crassiusculus 139 Lactarius salicis-herbaceae 140 Lactarius deliciosus 139 Lactarius salicis-reticulatea 140 Lactarius dryadophilus 139 Lactarius salmonicolor 140 Lactarius echinosporus 139 Lactarius scrobiculatus 81 Lactarius fascinans 139 Lactarius sp. 140 Lactarius flavidulus 139 Lactarius subpiperatus 140 Lactarius formosus 139 Lactarius subplinthogalus var. chiangmaiensis 140 Lactarius fragilis 139 Lactarius subsericatus 140 Lactarius fraxineus 139 Lactarius subumbonatus 140 Lactarius friabilis 139 Lactarius subvellereus 140 Lactarius fulvissimus 139, 140 Lactarius subzonarius 140 Lactarius gerardii 139 Lactarius tabidus 140 Lactarius glaucescens 81, 139 Lactarius tenuicystidiatus 140 Lactarius glyciosmus 139 Lactarius thiersii 140 Lactarius gracilis 139, 297 Lactarius torminosus 81, 140 Lactarius hatsudake 67, 139, 297 Lactarius trivialis 140 Lactarius helvus 81, 139 Lactarius trivialis var. viridilactis 296 Lactarius hygrophoroides 139, 298 Lactarius uvidus 81 Lactarius lavandulus 139 Lactarius vellereus 139, 140, 299 Lactarius leoninus 140 Lactarius vietus 140 Lactarius leucophaeus 140 Lactarius volemus 67, 140, 299 Lactarius lignyotus 140 Lactarius volemus f. gracilis 140 Lactarius luteolus 140 Lactarius zonarius 140 Lactarius montoyae 140 Lactarus uvidus 140 Lactarius MRC –ensis 140 Laetiporus gilbertsonii 135 Lactarius obscuratus 140 Laetiporus persicinus 135 Lactarius oomsisiensis 140 Laetiporus sulphureus 36, 135, 137, 281 Lactarius pallidus 140 Lamprospora lobata 98

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 353 Langermannia gigantea 109 Lentinus praerigidus 135 Laricifomes officinalis 131 Lentinus retinervis 135 Laschia changensis 138 Lentinus rivae 284 Laschia delicata 235 Lentinus sajor-caju 67, 135, 284 Laschia thwaitesii 194 Lentinus similis 135, 289 Leccinellum albellum 123 Lentinus spp. 68 Leccinellum crocipodium 123 Lentinus squarrosulus 67, 135, 284 Leccinellum griseum 123 Lentinus strigosus 67, 135, 285 Leccinum aerugineum 123 Lentinus stuppeus 135, 285 Leccinum albellum 123 Lentinus subnudus 135 Leccinum aurantiacum 123 Lentinus swartzii 135 Leccinum brunneogogriseolum 123 Lentinus tigrinus 135 Leccinum crocipodium 123 Lentinus variabilis 282 Leccinum cyaneobasileucum 123 Lentinus velutinus 136, 286 Leccinum duriusculum 123 Lentinus velutinus f. similis 289 Leccinum extremiorientale 123 Lentinus zeyheri 135 Leccinum griseum 123 Lenzites acuta 135 Leccinum holopus 123 Lenzites betulina 135 Leccinum holopus var. halopus 123 Lenzites elegans 135 Leccinum insigne 123 Lenzites malaccensis 135, 286 Leccinum intusrubens 123, 245 Lenzites platyphylla 135, 286 Leccinum lepidum 123 Lenzites stereoides 135 Leccinum oxydabile 123 Lenzites striata 132, 274 Leccinum pulchrum 123 Lenzites subferruginea 132, 275 Leccinum roseofractum 123 Lenzites trabea 135 Leccinum rugosiceps 123 Lenzites vespacea 136 Leccinum scabrum 123 Lenzites warnieri 136 Leccinum thalassinum 123 Leotia atrovirens 93 Lecidella elaeochroma 97 Leotia chlorocephala 93 Lentinellus cochleatus 139 Leotia gelatinosa 148 Lentinellus montanus 139 Leotia lubrica 93, 148 Lentinula edodes 66, 67, 89, 135, 281 Leotia viscosa 93 Lentinus badius 135 Lepiota americana 103 Lentinus ciliatus 135, 289 Lepiota aspera 103 Lentinus cladopus 135 Lepiota asperula 103 Lentinus conatus 282 Lepiota atrodisca 103 Lentinus concinnus 135 Lepiota barssii 103 Lentinus connatus 135, 136 Lepiota brebissonii 170 Lentinus djamor 113, 209 Lepiota castanea 103 Lentinus edodes 135, 281 Lepiota cepistipes 170 Lentinus eximius 283 Lepiota clyeolaris 103 Lentinus fasciatus 135, 282 Lepiota clypeolaria 81, 103 Lentinus giganteus 67, 135, 283 Lepiota clypeolarioides 77 Lentinus javanicus 282 Lepiota cortinarius 103, 169 Lentinus polychrous 67, 90, 135, 283 Lepiota cristata 81, 103

354 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Lepiota epicharis 103 Leucocoprinus fragilissimus 103, 104, 171 Lepiota eriophora 103 Leucocoprinus gracilentus 171 Lepiota excoriata 103 Leucocoprinus otsuensis 104 Lepiota fosserandi 77 Leucogomphidius roseus 125 Lepiota fragilissima 171 Leucogyrophana romellii 125 Lepiota fragilissimus 103 Leucopaxillus albissimus 119, 226 Lepiota gracilenta 171 Leucoporus vernicipes 136, 288 Lepiota humei 103 Leucoscypha rutilans 98 Lepiota lutea 81 Lezites elegans 135 Lepiota molybdites 103, 167 Lichenomphalia umbellifera 119 Lepiota naucina 81, 103 Lignosus rhinocerotis 136, 287 Lepiota phaeosticta 104 Lignosus sacer 136, 137 Lepiota procera 104 Limacella illinita 115 Lepiota pseudohelveola 104 Lopharia cinerascens 134 Lepiota pseudolilacea 104 Lopharia papyracea 134 Lepiota rhachodes 104 Lopharia spadicea 134 Lepiota roseolivida 104 Loreleia postii 119 Lepiota rubrotincta 104 Lycogalopsis sp. 109 Lepiota rufescens 77 Lycoperdon bonordenii 191 Lepiota scabrivelata 104 Lycoperdon compactum 109 Lepiota subincarnata 104 Lycoperdon decipiens 109 Lepista flaccida 117 Lycoperdon echinatum 109 Lepista nuda 67, 117, 119 Lycoperdon excipuliforme 109 Lepista nuda var. sordida 226 Lycoperdon gemmatum 109 Lepista sordida 119, 226 Lycoperdon gemmatum var. perlatum 109, 191 Lepista sordida var. aianthina 119 Lycoperdon marginatum 81 Lepista sordida var. lilacea 119 Lycoperdon molle 109 Lepista sordida var. obscurata 119 Lycoperdon nigrescens 109 Lepista subconnexa 119 Lycoperdon perlatum 109, 191 Leptonia formosa 109 Lycoperdon perlatum var. bonordenii 191 Leptonia incana 109 Lycoperdon pretense 109 Leptonia virescens 188 Lycoperdon pulcherrimum 109 Leptopodia atra 98 Lycoperdon pusillum 109 Leptopodia elastic 98 Lycoperdon pyriforme 109, 192 Leptopodia elastica 155 Lycoperdon spadiceum 109 Leptoporus mollis 133 Lycoperdon subincarnatum 81 Leratiomyces squamosus var. squamosus 116 Lyophyllum aggregatum 227 Leucoagaricus americanus 103, 104 Lyophyllum connatum 119 Leucoagaricus barssii 103, 104 Lyophyllum decastes 119, 227 Leucoagaricus leucothites 103, 104 Macrocybe crassa 67, 119, 120, 227 Leucoagaricus rubrotinctus 104 Macrocybe gigantea 120 Leucocoprinus birnbaumii 104, 170 Macrolepiota africana 104 Leucocoprinus bresadolae 104 Macrolepiota excoriata 103, 104 Leucocoprinus breviramus 104 Macrolepiota gracilenta 67, 104, 171 Leucocoprinus cepistipes 104, 170 Macrolepiota mastoidea 104

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 355 Macrolepiota procera 104, 172 Marasmius candidus 111, 195 Macrolepiota procera var. procera 104 Marasmius capillaris 111 Macrolepiota rhacodes 104 Marasmius coarctatus 111, 197 Macrolepiota rickenii 104 Marasmius cohaeren 111 Macrolepiota zeyheri 104 Marasmius coklatus 111 Macroscyphus coccineus 158 Marasmius confertus 111, 222 Macrotyphula filiformis 106 Marasmius conicopapillatus 111 Macrotyphula fistulosa 106 Marasmius copelandi 111 Macrotyphula fistulosa var. fistulosa 106 Marasmius corbariensis 111 Marasmiellus affixus 110 Marasmius corneri 111 Marasmiellus albocorticis 110 Marasmius cremeus 111, 197 Marasmiellus albofuscus 110 Marasmius crinisequi 111 Marasmiellus alliodorus 110 Marasmius cupreostipes 111 Marasmiellus amygdalosporus 110 Marasmius delicatulus 111 Marasmiellus candidus 110, 195 Marasmius detectans 111 Marasmiellus chamaecyparidis 110 Marasmius discopus 111 Marasmiellus corticum 110, 196 Marasmius epiphyllus 111 Marasmiellus epiphyllus 110 Marasmius florideus 111 Marasmiellus ignobilis 110 Marasmius framealis 111 Marasmiellus nigripes 110, 205 Marasmius ganyao 111 Marasmiellus paspali 75, 110 Marasmius graminipes 111 Marasmiellus ramealis 110, 112, 196 Marasmius graminum 111 Marasmius aff. crinis-equi 110 Marasmius grandiviridis 111 Marasmius aff. pallescens 110 Marasmius guyanensis 111 Marasmius albimyceliosus 110 Marasmius haematocephalus “f. atrobrunneus” 111 Marasmius albogriseus 110 Marasmius haematocephalus “f. luteocephalus” 111 Marasmius alliaceus 110 Marasmius haematocephalus “f. robustus” 111 Marasmius androsaceus 110 Marasmius haematocephalus “f. variabilis” 111 Marasmius apatelius 110 Marasmius haematocephalus “f. violaceus” 111 Marasmius araneocephalus 110 Marasmius haematocephalus Marasmius araucariae var. araucariae 110 “f. haematocephalus” 111 Marasmius araucariae var. siccipes 110 Marasmius haematocephalus Marasmius arborescens 110 var. atroviolaceus 111, 198 Marasmius aurantioferrugineus 110 Marasmius haematocephalus Marasmius auratus 110 var. haematocephalus 111, 198 Marasmius bambusiniformis 110 Marasmius haematocephalus 111 Marasmius berambutanus 110 Marasmius hypochroides 111, 199 Marasmius berteroi 110 Marasmius hypophaeus 111 Marasmius bondoi 110 Marasmius imitarius 111 Marasmius borealis 110 Marasmius inthanonensis 111 Marasmius brevicollus 110 Marasmius iras 111 Marasmius brunneoolivascens 110 Marasmius jasmindorus 111 Marasmius bulliardii 110 Marasmius laticlavatus 111 Marasmius cafeyen 110 Marasmius leveilleanus 111 Marasmius calvus 110 Marasmius luteolus 111

356 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Marasmius makok 111 Melanoleuca alboflavida 119 Marasmius maximus 111, 199 Melanoleuca melaleuca 119 Marasmius micraster 111 Melanopus atrofuscus var. elongatus 136 Marasmius mokfaensis 111, 200 Melanotus communis 116 Marasmius nigripes 205 Meripilus giganteus 133 Marasmius nigrobrunneus 111 Merulius cinereus 127, 260 Marasmius nigrobrunneus f. cinnamomeus 111 Merulius communis 219 Marasmius nigrobrunneus f. nigrobrunneus 111 Merulius corium 133 Marasmius nigrobrunneus forma cinnamoneus 112 Merulius floccosus 130, 268 Marasmius nigrobrunneus Merulius odoratus 260 forma nigrobrunneus 111, 200 Merulius spathularius 263 Marasmius niveus 112 Merulius tremellosus 134 Marasmius nummularius 112 Metacordyceps brittlebankisoides 94 Marasmius ochroleucus 112 Metacordyceps khaoyaiensis 94 Marasmius oreades 112 Metacordyceps owariensis 94 Marasmius pallenticeps 112, 201 Metacordyceps owariensis f. viridescens 94 Marasmius pallescens 112 Metacordyceps taii 94 Marasmius palmivorus 75, 112 Metarhizium album 94 Marasmius papyraceus 112 Metarhizium anisopliae 94 Marasmius pellucidus 112, 201 Metarhizium anisopliae var. anisopliae 94 Marasmius perforans 112 Metarhizium anisopliae var. majus 94 Marasmius plicatulus 112 Metarhizium cylindrosporum 94 Marasmius pseudopellucidus 112 Metarhizium flavoviridae 94 Marasmius pseudopurpureostriatus 112, 202 Micromphale brassicolens 112 Marasmius pulcherripes 112 Micromphale brassicolens var. brassicolens 112 Marasmius purpureiosetosus 112 Micromphale foetidum 112 Marasmius purpureobrunneolus 112, 202 Micromphale perforans 112 Marasmius purpureostriatus 112, 203 Microporellus dealbatus 136 Marasmius ramealis 112, 196 Microporellus obovatus 136, 137 Marasmius rhyssophyllus 112 Microporus affinis 136, 287 Marasmius rotula 112 Microporus cinnamomeus 263 Marasmius ruforotula 112 Microporus flabelliformis 136 Marasmius scorodoneus 112 Microporus luteus 136 Marasmius siccus 112 Microporus rhinocerotis 287 Marasmius somalomoensis 112 Microporus sanguineus 292 Marasmius straminiceps 112 Microporus subaffinis 136 Marasmius strictipes 112 Microporus vernicipes 136, 288 Marasmius subruforotula 112 Microporus versicolor 294 Marasmius suthepensis 112 Microporus xanthopus 129, 136, 288 Marasmius tantulus 112 Microstoma floccoplus 98 Marasmius tenuissimus 112, 203 Moelleriella javanica 94 Marasmius trichotus 112 Moelleriella mollii 94 Marasmius xestocephalus 112, 204 Moelleriella oxystoma 94 Megacollybia platyphylla 119 Moelleriella pumatensis 94 Melanogaster sp. 126 Moelleriella raciborskii 94, 97

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 357 Moelleriella reineckeana 94 Mycena pseudoseta 119 Moelleriella schizostachyi 94, 97 Mycena pura 119, 228 Moelleriella scutata 94, 97 Mycena rosea 119 Morchella esculenta 98 Mycena rosella 119 Morganella compacta 109 Mycena stylobates 119 Morganella pyriformis 192 Mycena tenerrima 119 Multiclavula clara 106 Mycena variicystis 119 Multiclavula fossicola 105 Mycena vulgaris 119 Multifurca zonaria 142 Mycetinis scorodonius 112 Muticlavula mucida 106 Mycoacia nothofagi 133 Mutinus bambusinus 130, 270 Mycoacia nothofagi var. nothofagi 133 Mutinus caninus 130 Mycoacia uda 133 Mutinus caninus var. albus 130 Mycoamaranthus cambodgensis 125, 253 Mutinus elegans 130 Naematoloma fasciculare 116 Mutinus ravenelii 130 Naematoloma fascuculare 81 Mycena adscendens 119 Nectria chaetopsinae 96 Mycena albidula 119 Nectria chaetopsinae-polyblastia 96 Mycena alphitophora 119 Nectria diploa 96 Mycena amicta 119 Nectria episphaeria 96 Mycena capillaris 119 Nectria graminicola 96 Mycena clavularis 119 Nectria haematococca 96 Mycena clavulifera 119 Nectria ochroleuca 96 Mycena corticola 119 Nectria pseudotrichia 96 Mycena cuspidata 119 Nectria viridescens 96 Mycena delicatella 117 Nemania bipapillata 101 Mycena dermatogloea 119 Nemania diffusa 101 Mycena flavescens 119 Nemania maritima 101 Mycena galericulata 119 Neobulgaria pura 93 Mycena gypsea 119 Neolentinus lepideus 136 Mycena haematopus 119 Neonothopanus nambi 68 Mycena holoporphyra 119, 228 Neottiella rutilans 98 Mycena ianthina 228 Nidula niveotomentosa 113 Mycena ignobilis 119 Nidularia campanulata 112, 206 Mycena inclinata 119 Nidularia striata 207 Mycena juncicola 119 Nigrofomes melanoporus 136 Mycena khonkhem 119 Nigroporus durus 136 Mycena leaiana 119 Nigroporus vinosus 129, 136 Mycena leaiana var. leaiana 119 Niptera excelsior 93 Mycena madronicola 119 Nolanea coelestina var. violacea 109, 188 Mycena manipularis 221 Nolanea lilacinoroseum 109 Mycena minicoseta 119 Nolanea sp. 81 Mycena osmundicola 119 Nolanea verna 187 Mycena palmicola 119 Nomuraea atypicola 96 Mycena paucilamellata 119 Nomuraea rileyi 94 Mycena pelianthina 119 Octospora humosa 98

358 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Odonticium flabelliradiatum 134 Ophiocordyceps sinensis 88 Oligoporus caesius 136 Ophiocordyceps sobolifera 97 Oligoporus fragilis 136 Ophiocordyceps sphecocephala 97 Omphalina barbularum 119 Ophiocordyceps superficialis 97 Omphalina ericetorum 119 Ophiocordyceps unilateralis 97 Omphalina luteicolor 119 Orbiocrella petchii 94 Omphalina postii 119 Ossicaulis lignatilis 117, 120 Omphalina pyxidata 119 Otidea luteonitens 156 Omphalotus olearius 112 Otidea onotica 98 Onnia tomentosa 128 Oudemansiella canarii 67, 112, 204 Opegrapha vulgate 93 Oudemansiella mucida 112 Ophiocordyceps acicularis 96 Oudemansiella radicata 112, 205 Ophiocordyceps aff acicularis 96 Oxyporus cervinogilvus 129 Ophiocordyceps arachneicola 96 Oxyporus corticola 129 Ophiocordyceps barnesii 96 Oxyporus latemarginata 129 Ophiocordyceps blattae 96 Oxyporus pellicula 129 Ophiocordyceps brunneipunctata 96 Oxyporus populinus 129 Ophiocordyceps caloceroides 96 Oxyporus subulatus 129 Ophiocordyceps camponoti-leonardi 96 Paecilomyces cinnamomeus 94 Ophiocordyceps camponoti-saundersi 96 Paecilomyces lilacinus 97 Ophiocordyceps cochlidiicola 96 Panaeolus acuminatus 104 Ophiocordyceps communis 96 Panaeolus albellus 104 Ophiocordyceps crinalis 96 Panaeolus ampanulatus 105 Ophiocordyceps dipterigena 96 Panaeolus ater 105 Ophiocordyceps elongata 96 Panaeolus campanulatus 105 Ophiocordyceps engleriana 96 Panaeolus castaneifolius 81 Ophiocordyceps filiformis 96 Panaeolus cyanescen 81 Ophiocordyceps forquignonii 96 Panaeolus cyanescens 104 Ophiocordyceps gentilis 96 Panaeolus fimicola 81, 105 Ophiocordyceps halabalaensis 96 Panaeolus foenisecii 81 Ophiocordyceps humbertii 97 Panaeolus papillionaceus 105 Ophiocordyceps irangiensis 97 Panaeolus papilionaceus var. papilionaceus 105 Ophiocordyceps konnoana 97 Panaeolus retirugis 105 Ophiocordyceps longissima 97 Panaeolus semiovatus 105, 173 Ophiocordyceps mrciensis 97 Panaeolus semiovatus var. semiovatus 105 Ophiocordyceps myrmecophila 97 Panaeolus sp. 105 Ophiocordyceps nigrella 97 Panaeolus sphinctrinus 81, 105 Ophiocordyceps nutans 97 Panaeolus subbalteatus 81 Ophiocordyceps owariensis f. viridescens 97 Panellus minimus 110 Ophiocordyceps oxycephala 97 Panellus nigritus 110, 192 Ophiocordyceps polyrhachis-furcata 97 Panellus pusillus 117, 120, 229 Ophiocordyceps pruinosa 97 Panellus stipticus 120 Ophiocordyceps pseudolloydii 97 Paneolus retirugis 120 Ophiocordyceps ravenelii 97 Panus ciliatus 135, 136, 289 Ophiocordyceps rhizoidea 97 Panus conchatus 136

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 359 Panus fasciatus 282 Phaeolus schweinitzii 66, 136 Panus fulvus 136 Phaeomarasmius erinaceus 108 Panus fulvus var. similis 289 Phaeosporis melasperma 99 Panus luteolus 136 Phaeotrametes decipiens 136 Panus ochraceus 282 Phallus bambusinus 270 Panus qulvus 136 Phallus crispus 155 Panus rudis 135 Phallus impudicus 130 Panus similis 135, 289 Phallus impudicus var. impudicus 130 Panus spathulatus 136 Phallus indusiatus 130, 271 Panus stuppeus 135, 285 Phallus rubicundus 130 Panus tephroleucus 136 Phallus rugulosus 130, 271 Panus velutinus 286 Phallus tenuis 130 Parasola kuehneri 107, 181 Phanerochaete chrysorhiza 134 Parasola plicatilis 107, 181 Phanerochaete chrysorhizon 134 Parasola setulosa 107, 182 Phanerochaete flabelliradiata 134 Paxillus curtisii 126 Phanerochaete sordida 134 Paxillus involutus 81, 126 Phellinus adamantinus 128 Paxillus panuoides 126 Phellinus chrysoloma 128 Paxillus vernalis 126 Phellinus conchatus 128 Perenniporia bambusicola 136 Phellinus contiguus 128 Perenniporia tephroporus 136 Phellinus everhartii 128 Peroneutypa heteracantha 99 Phellinus extensus 128 Pestalosphaeria bambusicola 99 Phellinus fastuosus 128 Peziza aurantia 156 Phellinus ferreus 128 Peziza fimeti 98 Phellinus ferruginosus 128 Peziza hirsute 155 Phellinus gilvus 128, 129 Peziza laevis 206 Phellinus glaucescens 128 Peziza luteonitens 156 Phellinus hartigii 128 Peziza microsporus 98 Phellinus hippophaëicola 129 Peziza olla 112, 206 Phellinus hoehnelii 129 Peziza proteana 98 Phellinus igniarius 129 Peziza scutellata 157 Phellinus laevigatus 129 Peziza striata 207 Phellinus lamaoensis 129 Peziza succosa 98 Phellinus licnoides 129 Peziza sulcipes 157 Phellinus linteus 35, 88, 90, 129 Peziza tomentosa 98 Phellinus luctuosus 129 Peziza tricholoma 98, 158 Phellinus melanodermus 129 Peziza vesiculosa 98 Phellinus nigricans 129 Phaeoclavulina cokeri 130 Phellinus noxius 129 Phaeoclavulina cyanocephala 130, 176 Phellinus pachyphloeus 129 Phaeocollybia scatesiae 108 Phellinus pectinatus 129 Phaeodon imbricatus 311 Phellinus pini 129 Phaeogyroporus braunii 125 Phellinus pomaceus 129 Phaeogyroporus portentosus 67, 90, 125 Phellinus portoricensis 129 Phaeogyroporus silvaticus 125 Phellinus pullus 129

360 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Phellinus punctatus 129 Pholiota populnea 116 Phellinus purpureogilvus 129 Pholiota squarrosa 81, 116 Phellinus rimosus 88, 129, 135 Pholiota squarrosoides 116 Phellinus robustus 129 Pholiota terrestris 116 Phellinus rudis 272 Pholiotina blattaria 105 Phellinus setulosus 129 Phomatospora P. berkeleyi 99 Phellinus texanus 129 Phylloporia chrysites 129 Phellinus torulosus 129 Phylloporia pectinata 129 Phellinus tremulae 129 Phylloporia ribis 129 Phellinus tricolor 129 Phylloporus arenicola 123 Phellinus trivialis 129 Phylloporus bellus 123, 246 Phellinus wahlbergii 129 Phylloporus bellus var. cyanescens 123, 246 Phellinus xeranticus 129 Phylloporus guzmanii 123 Phellodon confluens 143 Phylloporus leucomycelinus 123, 247 Phellodon melaleucus 143 Phylloporus orientalis var. brevisporus 123 Phellodon tomentosus 143 Phylloporus pelletieri 123 Phellopilus nigrolimitatus 129 Phylloporus rhodoxanthus 123 Phillipsia chardoniana 98 Phylloporus rompelii 253 Phillipsia domingensis 98 Physalacria changensis 112 Phillipsia hartmannii 98 Pilocratera tricholoma 158 Phillipsia subpurpurea 98 Piptoporus betulinus 131 Phlebia brevispora 66 Piptoporus roseovinaceus 131 Phlebia livida 134 Piptoporus soloniensis 131 Phlebia tremellosa 134 Pisolithus abditus 126 Phlebopus braunii 125, 252 Pisolithus arhizus 126 Phlebopus colossus 121, 125 Pisolithus tinctorius 66, 126, 254 Phlebopus portentosus 125, 252 Pithya cupressina 98 Phlebopus siamensis 125 Pithya vulgaris 98 Phlebopus silvaticus 125 Plectania chilensis 99 Phlegmacium purpurascens 107, 184 Plectania melastoma 99 Phlyctibasidium polyporoideum 130 Plectania rhytidia 99 Pholiota aeruginosa 186 Pleurocybella porrigens 113, 120 Pholiota aurea 81 Pleurotellus chioneus 108 Pholiota aurivella 116 Pleurotus abalones 67, 89 Pholiota brunnescens 116 Pleurotus abalonus 113, 208 Pholiota carbonaria 116 Pleurotus angustatus 113 Pholiota conissans 116 Pleurotus applicatus 229 Pholiota ferruginea 116 Pleurotus cornucopiae 67, 113, 207 Pholiota flammans 116 Pleurotus cystidiosus 113, 208 Pholiota graminis 116 Pleurotus cystidiosus subsp. abalones 113 Pholiota gummosa 116 Pleurotus cystidiosus subsp. abalonus 208 Pholiota highlandensis 116 Pleurotus djamor 67, 113, 209 Pholiota lucifera 116 Pleurotus dryinus 113 Pholiota marginata 116 Pleurotus eryngii 67, 113, 209 Pholiota nameko 67, 116, 220 Pleurotus flabellatus 113

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 361 Pleurotus florida 63 Polyporus albicans 136 Pleurotus liliputianus 193 Polyporus alboluteus 136 Pleurotus nebrodensis 67 Polyporus alveolaris 136, 137 Pleurotus ostreatus 66, 67, 68, 89, 113 Polyporus alveolarius 136, 290 Pleurotus ostreatus var. pulmonarius 113, 209 Polyporus apiarius 135, 279 Pleurotus platypus 113 Polyporus arcularius 136, 290 Pleurotus porringens 113 Polyporus atripes 136 Pleurotus pulmonarius 113, 209 Polyporus atypus var. exaratus 136 Pleurotus sajor-caju 67, 89, 284 Polyporus badius 136, 293 Pleurotus salmoneostramineus 113 Polyporus berkeley 81 Pleurotus sapidus 113 Polyporus brasiliensis 136 Pleurotus sp. 113 Polyporus brumalis 136 Pleurotus sp. Bhutan strain 67, 210 Polyporus campyloporus 264 Pleurotus sp. Hungary strain 67, 210 Polyporus carnosus 136 Pleurotus spp. 66 Polyporus changensis 136 Pleurotus squarrosulus 284 Polyporus cingulatus 293 Pleurotus tenuissimus 203 Polyporus cinnamomeus 263 Pleurotus tuber-regium 67 Polyporus crenatoporus 136 Pluteus admirabilis 115 Polyporus cristatus 81 Pluteus aglaeotheles 115 Polyporus decurrens 136 Pluteus aurantiorugosus 115 Polyporus dictyopus 136 Pluteus cervinus 115 Polyporus durus 136, 137 Pluteus cinereofuscus 115 Polyporus elegans 136, 291 Pluteus leoninus 115 Polyporus emerici 136 Pluteus spinulosus 115 Polyporus gallicus 277 Pluteus subcervinus 115 Polyporus giganteus 81 Pocillaria ciliata 289 Polyporus grammocephalus 137, 290 Pocillaria fasciata 282 Polyporus hirsutus 137 Pocillaria stuppea 135, 285 Polyporus hirtus 135, 279 Podaxis argentinus 104 Polyporus hispidus 265 Podocyspha radicans 134 Polyporus leprieurii 136, 137 Podoscypha elegans 142 Polyporus leptocephalus 136, 137, 291 Podoscypha multizonata 134 Polyporus luberaster 137 Podoscypha nitidula 134 Polyporus lucidus 132, 137, 273 Podoscypha radicans 276 Polyporus melanopus 137 Podoscypha surinamensis 134 Polyporus minutissimus 137 Podoscypha venustula 142 Polyporus mori 137 Podosordaria leporina 101 Polyporus mylittae 137 Podostroma comudamae 96 Polyporus olivascens 137 Polyozellus multiplex 38, 143 Polyporus perennis 264 Polypilus sulphureum 281 Polyporus picipes 137 Polyporellus badius 293 Polyporus pubescens 137 Polyporellus grammocephalus 136 Polyporus purpureoalbus 137 Polyporellus squamosus 136 Polyporus pusillus 137 Polyporus affinis 287 Polyporus radicatus 137

362 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Polyporus retirugis 137, 291 Porphyrellus pseudoscaber 124 Polyporus rubidus 137 Postia caesia 131, 136 Polyporus rugosus 131, 272 Postia fragilis 131, 136 Polyporus rugulosus 134 Postia guttulata 131 Polyporus sacer 137 Postia pelliculosa 138 Polyporus sacer var. rhinocerotis 287 Postia perdelicata 131 Polyporus sanquineus 137 Postia stiptica 131 Polyporus scabrosus 137, 278 Postia tephroleuca 131 Polyporus schmidtii 137 Protostropharia semiglobata 116 Polyporus schweinitzii 81 Psalliota arvensis 166 Polyporus setiporus 128, 265 Psathyrella candolleana 107, 182 Polyporus sp. 69 Psathyrella rugocephala 107, 183 Polyporus squamosus 136, 137, 291 Pseudochaete tabacina 128 Polyporus sulphureus 81, 137 Pseudoclitocybe cyathiformis 120 Polyporus tenuiculus 136, 137, 278 Pseudoclitocybe obbata 120 Polyporus tigrinus 137 Pseudocolus fusiformis 130 Polyporus tricholoma 137 Pseudocoprinus disseminatus 179 Polyporus tuberaster 137 Pseudocraterellus cinereus 127, 260 Polyporus umbellatus 137 Pseudocraterellus mussooriensis 127 Polyporus unicolor 275 Pseudocraterellus sinuosus 127, 261 Polyporus varius 137 Pseudocraterellus undulatus 127, 261 Polyporus vernicipes 136, 288 Pseudofavolus cucullatus 137 Polyporus versicolor 137 Pseudohydnum gelatinosum 143 Polyporus volvatus 134, 277 Pseudohygrocybe coccineocrenata 224 Polyporus xanthopus 129, 136, 288 Pseudoinonotus dryadeus 128 Polysaccum tinctorium 126, 254 Pseudomerulius curtisii 126 Polystictus affinis 136 Pseudoplectania nigrella 99 Polystictus cotoneus 129 Psilocybe baeocystis 81 Polystictus discipes 129 Psilocybe caerulescens 81 Polystictus grammocephalus 137 Psilocybe caerulipes 81 Polystictus luteus 136 Psilocybe cubensis 81, 116 Polystictus perennis 264 Psilocybe cyanescens 81 Polystictus pergamenus 129 Psilocybe pelliculosa 81 Polystictus ridleyi 129 Psilocybe samuiensis 116 Polystictus vinosus 129 Psilocybe semilanceata 81 Polystictus xanthopus 129 Psilocybe squamosa 116 Poria monticola 66 Psilocybe strictipes 81 Poria vaillantii 137 Psilocybe stuntzii 81 Poria vaporaria 137 Psilocybe subaeruginascens 116 Porodaedalea pini 129 Pterula capillaries 116 Poronia gigantea 101 Pterula complanta 116 Porostereum spadiceum 134 Pterula laxa 116 Porotheleum fimbriatum 116 Pterula multifida 116 Porphyrellus fusisporus 123 Pterula subulata 116 Porphyrellus porphyrosporus 124 Pterula verticillata 116

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 363 Pterula vinacea 116, 219 Ramaria invalii 106 Pterygellus polymorphus 127 Ramaria murrillii 106 Pulcherricium caeruleum 131 Ramaria nigrescens 106 Pulveroboletus auriflammeus 124 Ramaria ochraceovirens 106 Pulveroboletus hemichrysus 124 Ramaria palmata 106, 312 Pulveroboletus icterinus 124 Ramaria rubripermanens 106 Pulveroboletus lignicola 124 Ramaria sanguinea 106, 177 Pulveroboletus ravenelii 124, 247 Ramaria sanguinipes 106 Pulveroboletus thibetanus 237 Ramaria sino-conjunctipes 106 Pulvinula anthracobia 98 Ramaria stricta var. concolor 106 Pulvinula carbonaria 98 Ramaria stricta 106, 178 Pulvinula cinnabarina 98 Ramaria velocimutans 106 Pulvinula convexella 98 Ramaricium polyporoideum 130 Pulvinula etiolata 98 Ramariopsis californica 130 Pulvinula globifera 98 Ramariopsis crocea 130 Pulvinula tetraspora 98 Ramariopsis helvola 175 Pustularia rosea 98 Ramariopsis holmskjoldii 105 Pycnoporellus alboluteus 137 Ramariopsis kunzei 130, 268 Pycnoporellus fulgens 137 Ramariopsis luteotenerrima 105 Pycnoporus cinnabarinus 137, 292 Ramariopsis pulchella 130 Pycnoporus coccineus 137 Ramariopsis subtilis 105, 106 Pycnoporus sanguineus 67, 137, 138, 292 Resupinatus applicatus 120, 229 Pyrofomes albomarginatus 137 Retiboletus griseus 122 Pyrofomes tricolor 137 Retiboletus nigerrimus 124, 248 Pyrrhoderma sendaiense 129 Retiboletus ornatipes 122, 124 Quaternaria quaternata 99 Rhizopogon luteolus 126 Ramaria araiospora 106 Rhizopogon obtextus 126 Ramaria botrytis 106, 176 Rhizopogon occidentalis 126 Ramaria botrytoides 106 Rhodactina himalayensis 130 Ramaria broomei 106 Rhodactina incarnata 130 Ramaria cacao 105 Rhodocollybia fusipes 222 Ramaria cinerea 261 Rhodocollybia maculata var. maculata 120 Ramaria concolor 106 Rhodophyllum vernus 187 Ramaria cyanocephala 106, 176 Rhodophyllus coelestinus var. violaceus 109, 188 Ramaria eumorpha 106 Rhodophyllus cyanoniger 109 Ramaria fennica 106 Rhodophyllus omiensis 108, 186 Ramaria fennica var. fennica 106 Rhodophyllus rhodopolius 108, 187 Ramaria flaccida 106 Rhodophyllus virescens 109, 188 Ramaria flava 106 Rhodotarzetta rosea 98 Ramaria flaviceps 106, 177 Rhodotus palmatus 120 Ramaria formosa 81, 106 Rhopalostroma gracile 101 Ramaria fumosiavellanea 106 Rhopalostroma kanyae 101 Ramaria gelatinosa 81 Rickenella fibula 120 Ramaria gracilis 106 Rickenella swartzii 120 Ramaria grandis 106 Rigidoporus cf. lineatus 133

364 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Rigidoporus dextrinoideus 133 Russula betularum 141 Rigidoporus lignosus 75, 133, 137 Russula borealis 141 Rigidoporus lineatus 133 Russula brevipes 141 Rigidoporus microporus 133 Russula brunneola 141 Rigidoporus ulmarius 133 Russula brunneoviolacea 141 Rigidoporus vinctus 133 Russula caerulea 141 Rigidoporus zonalis 133 Russula cascadensis 141 Roridomyces roridus 120 Russula cessans 141 Rosellinia corticum 101 Russula cf. xerampelina 141 Rosellinia necatrix 101 Russula chamaeleontina 141 Rostrohypoxylon terebratum 101 Russula chloroides 141 Royoporus badius 137, 293 Russula claroflava 141 Royoporus spathulatus 135 Russula compacta 141 Rubinoboletus balloui 124, 249 Russula crassotunicata 141 Rubinoboletus ballouii 125 Russula cremoricolor 141 Rubinoboletus rubinus 123 Russula crenulata 141 Rubinoboletus sp. 125 Russula crustosa 141 Russula abietina 140 Russula cyanoxantha 141, 300 Russula acetolens 140 Russula cyanoxantha var. peltereaui 141 Russula adusta 140 Russula cyanoxantha var. variata 141 Russula aeruginea 140 Russula decolorans 141 Russula albella 140 Russula delica 141, 301 Russula albida 140 Russula densifolia 141, 301 Russula albidula 140 Russula densissima 141 Russula alboareolata 140, 300 Russula emetica 81, 141, 302 Russula albonigra 140 Russula emeticella 141 Russula alnetorum 142 Russula erythropus 141 Russula alutacea 140 Russula fageticola 141 Russula alutacea var. olivacea 305 Russula farinipes 141 Russula amarissima 140 Russula flavida 141, 302 Russula amoena 140 Russula foetens 90, 141, 303 Russula amoenicolor 140 Russula foetens var. grata 303 Russula amygdaloides 140 Russula fragilis 141 Russula anatina 140 Russula fragilis var. fragilis 141 Russula anthracina 140 Russula fragrantissima 141 Russula anthracina var. carneifolia 140 Russula galochroides 141 Russula anthracina var. insipida 140 Russula gracilis 141 Russula anthracina var. semicrema 140 Russula grata 141, 303 Russula aquosa 140 Russula grisea 141 Russula atroglauca 140 Russula helios 141 Russula atropurpurea 141 Russula heterophylla 141 Russula aurantiolutea 141 Russula illota 141 Russula aurata 141 Russula impolita 141 Russula aurea 141 Russula insignis 141 Russula aurora 142 Russula intregra 141

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 365 Russula ionochlora 141 Russula rhodopodo 142 Russula japonica 141, 304 Russula risigallina 141, 142 Russula krombholzii 141 Russula rosacea 142 Russula laccata 142 Russula rosea 141, 142 Russula laeta 141 Russula rubroalba 142 Russula langei 141 Russula rubroalba var. albochretacea 142 Russula laricina 141 Russula sanguinea 142, 306 Russula laricino-affinis 141 Russula sardonia 142 Russula laurocerasi 141, 303 Russula senecis 142, 306 Russula lepida 141 Russula silvestris 141 Russula lilacea 141 Russula singeriana 142 Russula littoralis 141 Russula sororia 142 Russula lutea 141 Russula sp. 142 Russula lutenis 141 Russula stenotricha 142 Russula luteotacta 141 Russula subfoetens 142 Russula mairei 141 Russula subterfurcata 142 Russula mariae 141 Russula tenuiceps 142 Russula medullata 141 Russula torolusa 142 Russula minutula 141 Russula velenovskyi 142 Russula mitis 307 Russula vesca 142, 307 Russula moeculosa 141 Russula vinosa 142 Russula monspeliensis 141 Russula violeipes 142, 307 Russula mustelina 141 Russula virescens 67, 90, 142, 308 Russula nana 141 Russula xelampelina 141, 142, 308 Russula nana var. alpina 141 Russula xerampelina var. alutacea 305 Russula nauseosa 142 Russula xerampelina var. erythropus 308 Russula neoemetica 142, 304 Russula xerampelira var. olivascens 142 Russula nigricans 142, 305 Russula zonaria 142 Russula nobilis 141 Rutstroemia firma 93 Russula norvegica 142 Saccobolus citrinus 97 Russula ochroleuca 142 Saccobolus glaber 97 Russula olivacea 142, 305 Samuelsia mundiveteris 94 Russula pallidospora 142 Sarcodon aspratus 311 Russula paludosa 142 Sarcodon atroviridis 143 Russula parazurea 142 Sarcodon cyanellus 143 Russula pectinata 142 Sarcodon fuligineoalbus 143, 310 Russula pelargonia 142 Sarcodon fuligineoviolaceus 128 Russula placita 142 Sarcodon fuscoindicus 128, 143 Russula pseudoaeruginea 142 Sarcodon imbricatus 38, 143, 311 Russula pseudoaffinis 142 Sarcodon salmoneum 143 Russula pseudonigricans 142 Sarcodontia pachyodon 133 Russula pseudopuellaris 142 Sarcoscypha austriaca 98 Russula puellaris 142 Sarcoscypha coccinea 98, 158 Russula pulchra 142 Sarcoscypha occidentalis 98 Russula pumila 142 Sarcosoma globosum 99

366 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Sarcosoma javanicum 99, 159 Sinotermitomyces taiwanensis 230 Sarcosoma mexicanum 99 Sirobasidium magnum 143 Sarcoxylon compunctum 101 Sistotrema brinkmannii 138 Scenidium apiarium 137 Skeletocutis alutacea 137 Schizophyllum commune 66, 67, 68, 75, 116, 219 Sowerbyella rhenana 98 Schizophyllum commune var. multifidum 219 Sparassis crispa 37, 138 Schizopora flavipora 129, 138 Sparassis cystidiosa 138 Schizopora paradoxa 129 Sparassis laminosa 138 Schizopora trichilae 129 Sparassis radicata 138 Schulzeria striata 233 Sparassis spathulata 138 Scindalma resinaceum 274 Sphaeria allantoidea 160 Scleroderma areolatum 126, 255 Sphaeria concentric 159 Scleroderma aurantium 81, 126 Sphaeria polymorpha 101 Scleroderma bovista 126 Sphaerobolus stellatus 130 Scleroderma cepa 81, 126 Sphaerosporella brunnea 98 Scleroderma citrinum 126, 255 Spongiforma thailandica 124 Scleroderma dictyosporum 126 Spongipellis pachyodon 133 Scleroderma flavidum 126 Spongipellis stramineus 133 Scleroderma geastrum 126 Spongipellis unicolor 133, 275 Scleroderma lycoperdioides 126 Stecchericium scabre 139 Scleroderma polyrhizum 126 Stecchericium seriatum 139 Scleroderma sinnamariense 126, 256 Steccherinum ciliolatum 138 Scleroderma verrucosum 126 Steccherinum fimbriatum 138 Scodellina aurantia 156 Steccherinum ochraceum 138 Scopuloides hydnoides 134 Steccherinum rawakense 138 Scutellinia badio-berbis 98 Steccherinum seriatum 138 Scutellinia chiangmaiensis 98 Stereopsis burtiana 134 Scutellinia colensoi 98 Stereopsis hiscens 134 Scutellinia cubensis 98 Stereopsis malaiensis 134 Scutellinia jungneri 98 Stereopsis radicans 134, 276 Scutellinia phlyctispora 98 Stereum affine 142 Scutellinia scutellata 98, 157 Stereum albocinctum 142 Scutellinia superba 98 Stereum complicatum 142, 309 Scytinopogon angulisporus 106, 178 Stereum elegans 142 Scytinopogon angulisporus var. curtus 178 Stereum fasciatum 142 Scytinopogon angulisporus var. gracilis 178 Stereum frustulatum 142 Scytinopogon echinosporus 106 Stereum guaspartum 142 Scytinopogon pallescens 106 Stereum hirsutum 142 Scytinostroma albocinctum 142 Stereum insignitum 142 Serpula similis 125 Stereum lamellatum 142 Serpular lacrymans 125 Stereum lobatum 142 Simblum sphaerocephalum 130 Stereum ochraceoflavum 142 Sinoboletus sp. 124 Stereum ostrea 142, 309 Sinotermitomyces carnosus 120 Stereum ostrea var. concolor 142 Sinotermitomyces cavus 120 Stereum princeps 142

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 367 Stereum rameale 143 Suillus pictus 127 Stereum reflexulum 143 Suillus pungens 127 Stereum rimosum 143 Suillus sibiricus 127 Stereum sanguinolentum 143 Suillus spraguei 127 Stereum spectabile 143, 310 Suillus thibetanus 237 Stereum spectabilis 143 Suillus tridentinus 127 Stereum striatum 143 Suillus velatus 127 Stereum subpileatum 143 Tapinella atrotomentosa 125 Stereum subtomentosum 143 Tapinella panuoides 126 Stilbella sp. 94 Tarzetta rosea 98 Stilbohypoxylon moelleri 101 Tarzetta sp. 98 Strobilomyces annulatus 124 Terana caerulea 131 Strobilomyces confusus 124 Termitomyces albiceps 120 Strobilomyces floccopus 124, 248 Termitomyces albuminosa 120 Strobilomyces mollis 124 Termitomyces aurantiacus 120, 230 Strobilomyces ranulat 124 Termitomyces cartilaginous 120 Strobilomyces seminudus 124 Termitomyces clypeatus 120, 230 Strobilomyces strobilaceus 124, 248 Termitomyces cylindricus 120 Strobilomyces velutipes 124 Termitomyces entolomoides 120 Strobilurus albipilatus 112 Termitomyces eurhizus 120, 231 Strobilurus tenacellus 112 Termitomyces fuliginosus 120 Strobilurus trullisatus 112 Termitomyces globulus 120, 231 Stromatoscypha fimbriata 116 Termitomyces heimii 120, 232 Stropharia aeruginosa 116 Termitomyces indicus 120, 232 Stropharia rugosoannulata 116 Termitomyces mammiformis 120 Stropharia semiglobata 116 Termitomyces microcarpus 74, 120, 233 Stropharia squamosa 116 Termitomyces perforans 120 Suillius placidus 127 Termitomyces radicatus 120 Suillus acidus 126 Termitomyces robustus 120 Suillus americanus 126 Termitomyces schimperi 120 Suillus bovinus 126, 256 Termitomyces sp. 74 Suillus brevipes 126 Termitomyces spp. 68 Suillus cavipes 126 Termitomyces striatus 120, 233 Suillus changensis 126 Termitomyces striatus var. aurantiacus 230 Suillus decipiens 126 Termitomyces tyleranus 120 Suillus fuscotomentosus 126 Termitomyces umkwaan 120 Suillus granulatus 126, 257 Tetrapyrgos nigripes 110, 205 Suillus grevillei 126 Tetrapyrgos simulans 110 Suillus hygrophanus 126 Thelephora aurantiotincta 143 Suillus intermedius 127, 257 Thelephora complicate 309 Suillus lactifluus 257 Thelephora multipartita 143 Suillus lakei 127 Thelephora ostrea 309 Suillus luteus 127 Thelephora palmata 143, 312 Suillus occidentalis 127 Thelephora penicillata 143 Suillus pallidiceps 127 Thelephora pseudoterrestris 143

368 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Thelephora radicans 134, 276 Trametes sp. 69 Thelephora ramarioides 143 Trametes tenuis 135, 280 Thelephora spiculosa 143 Trametes tephroleuca 138 Thelephora terrestris 143 Trametes trogii 135 Thelephora ultipartite 143 Trametes velutina 138 Thelephora vialis 143 Trametes versicolor 134, 137, 138, 294 Theleporus calcicolor 133 Trametes xanthopus 136, 288 Tinctoporellus epimiltinus 137 Trametes zonata 138 Tomophagus colossus 132 Trechispora farinacea 138 Torrubiella arachnophila 95 Tremella auricula 235 Torrubiella arachnophila var. pulchra 95 Tremella auricular-judae 235 Torrubiella dimorpha 95 Tremella cinnabarina 143 Torrubiella hemipterigena 95 Tremella elastica 143 Torrubiella iriomoteana 95 Tremella foliacea 143 Torrubiella neofusiformis 95 Tremella fuciformis 33, 66, 67, 89, 143, 312 Torrubiella pruinosa 95 Tremella mesenterica 143 Torrubiella siamensis 95 Tremellodendron pallidum 143 Trametella gallica 277 Tremellodendron schweinitzii 143 Trametes affinis 287 Trichaptum abietinum 138 Trametes badia 137 Trichaptum biforme 129, 138 Trametes cingulata 137, 293 Trichaptum byssogenum 138 Trametes corrugata 137 Trichaptum elongatum 138 Trametes cotonea 129, 137 Trichaptum fuscoviolaceum 138 Trametes ectypus 137 Trichaptum laricinum 138 Trametes feei 137 Trichoglossum floccosum 93 Trametes flavida 137 Trichoglossum hirsutum 93, 148 Trametes gallica 277 Trichoglossum rasum 93 Trametes gibbosa 137 Tricholoma album 81, 120 Trametes hirsuae 137 Tricholoma album var. thalliophium 120 Trametes hirsuta 134, 137 Tricholoma auratum 120 Trametes hispida 137 Tricholoma crassum 120, 227 Trametes lactinea 137 Tricholoma equestre var. equestre 120 Trametes ljubarskyi 137 Tricholoma flavovirens 120 Trametes menziesii 138 Tricholoma fulvocastaneum 120 Trametes meyenii 134 Tricholoma gambosum 120 Trametes modesta 138 Tricholoma giganteum 120 Trametes nivosa 131 Tricholoma infundibuliformis 120 Trametes ochracea 138 Tricholoma lobayense 120 Trametes orientalis 138 Tricholoma mongolicum 66 Trametes pavonia 138, 294 Tricholoma muscarium 80, 81 Trametes pubescens 137, 138 Tricholoma nudum 81 Trametes retirugus 291 Tricholoma pardinum 81, 120 Trametes sanguine 292 Tricholoma pessundatum 81 Trametes sanguinea 138 Tricholoma rutilans 121, 234 Trametes scabrosa 137, 278 Tricholoma saponaceum 81

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 369 Tricholoma sejunctum 81 Tylopilus vinosobrunneus 124, 251 Tricholoma sordidum 226 Tylopilus virens 124, 251 Tricholoma stipticus 120 Tylopilus visidulus 124 Tricholoma sulphureum 81, 120 Tyromyces chioneus 138 Tricholoma sulphureum var. sulphureum 120 Tyromyces hyalinus 138 Tricholoma termitomycoides 120 Tyromyces hypolateritius 138 Tricholoma vaccinum 120 Tyromyces kmetii 138 Tricholoma venenata 81, 120 Tyromyces lacteus 138 Tricholomopsis flammula 120 Tyromyces leucospongia 138 Tricholomopsis rutilans 120, 234 Tyromyces pelliculosus 138 Trichoscypha tricholoma 158 Ungulina volvata 277 Trogia icterina 110 Utraria pyriformis 192 Trogia infundibuliformis 121, 234 Valsella salicis 93 Tubinellus floccosus 130 Vascellum pratense 109 Tubiporus appendiculatus 239 Verna bohemica 78, 81 Tubulicium dussii 138 Verticillium hemipterigenum 95 Tubulicrinis subulatus 138 Vibrissea nypicola 93 Tulostoma berkeleyii 121 Volvariella bombrycina 115 Tylopilus alboater 124, 249 Volvariella cubensis 115 Tylopilus ammiratii 124 Volvariella gloiocephala 115 Tylopilus attrofuscus 124 Volvariella hypopithys 115 Tylopilus balloui 124, 249 Volvariella pseudovolvacea 115 Tylopilus chromapes 124 Volvariella pusilla 115 Tylopilus conicus 124 Volvariella speciosa 115 Tylopilus exismius 124 Volvariella volvacea 59, 65, 67, 89, 115, 218 Tylopilus felleus 124, 250 Volvariella volvacea-1 สายพันธุ์ 1 115 Tylopilus furmosipes 124 Volvariella volvacea-2 สายพันธุ์ 2 115 Tylopilus gracilis 124 Volvariella volvacea-3 สายพันธุ์ 3 115 Tylopilus griseocarneus 124 Volvariopsis volvacea 218 Tylopilus humilis 124 Volvoamanita caesarea 211 Tylopilus indecisus 124 Whalleya microplaca 101 Tylopilus nebulosus 124 Wrightoporia ochrocrocea 139 Tylopilus nigerrimus 124, 248 Xanthochrous hispidus 265 Tylopilus nigropurpureus 124, 250 Xanthoconium separans 122 Tylopilus olivaceobrunneus 124 Xerocomus badiorufus 124 Tylopilus otsuensis 124 Xerocomus badius 124 Tylopilus pacificus 124 Xerocomus chrysenteron 125 Tylopilus plumbeoviolaceus 124 Xerocomus dryophilus 125 Tylopilus porpyhrosporus 124 Xerocomus lanatus 125 Tylopilus pseudoscaber 124 Xerocomus leonis 125 Tylopilus rubrobrunneus 124 Xerocomus macrobbii 125 Tylopilus sordidus 124 Xerocomus porosporus 125 Tylopilus subflavidus 238 Xerocomus pruinatus 125 Tylopilus subrobrunneus 124 Xerocomus rubellus 125 Tylopilus subunicolor 124 Xerocomus subtomentosus 125, 243

370 บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด Xerocomus xanthus 125 Xylaria nigripes 101 Xeromphalina tenuipes 121 Xylaria obovata 101 Xerotus changensis 138 Xylaria oligotoma 101 Xerotus nigritus 110, 192 Xylaria papulis 101 Xerula asprata 194 Xylaria papyrifera subsp. cubensis 162 Xerula pudens 112 Xylaria phyllocharis 101 Xerula radicata 66, 67, 90, 112, 205 Xylaria piperiformis 101 Xerulina asprata 112 Xylaria polymorpha 12, 101, 102 Xylaria abuscula 101 Xylaria psidii 102 Xylaria allantoidea 101, 160 Xylaria pyramidata 102 Xylaria amphithele 101 Xylaria schweinitzei 102 Xylaria anisopleura 101, 161 Xylaria splendens 102, 160 Xylaria apiculata 101 Xylaria telfairii 102 Xylaria arbuscula 101, 161 Xylaria thyrsus 102 Xylaria aristata 101 Xylaria timorensis 102 Xylaria badia 101 Xylobolus ahmadii 143 Xylaria bambusicola 101 Xylobolus frustulatus 142 Xylaria brasiliensis 101 Xylobolus princeps 142 Xylaria brunneovinosa 101 Xylobolus spectabilis 143, 310 Xylaria caespitulosa 101 Xylobolus subpileatus 143 Xylaria carpophyla 101 Xylosphaera anisopleura 161 Xylaria coccophora 101 Xylosphaera cubensis 162 Xylaria compuncta 101 Xylosphaera feejeenis 102 Xylaria consociata 101 Xylosphaera longipes 163 Xylaria cornu-damae 101 Zelleromyces sp. 142 Xylaria cubensis 101, 162 Xylaria curta 101 Xylaria escharoidea 101 Xylaria fissilis 101 Xylaria fockei 101 Xylaria foekeri 101 Xylaria furcata 101 Xylaria globosa 101, 162 Xylaria grammica 101 Xylaria hypoerythra 101 Xylaria hypoxylon 101 Xylaria hypsipoda 101 Xylaria ianthino-velutina 101 Xylaria juruensis 101 Xylaria laevis 101 Xylaria longipes 101, 163 Xylaria magnoliae 101 Xylaria magnoliae var. microspora 101 Xylaria mellisii 101 Xylaria multiplex 101

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 371

ขอขอบคุณ

ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่อ�ำนวยความสะดวก ในการใช้ห้องปฏิบัติการโรควิทยาป่าไม้ เพื่อการจ�ำแนกชนิดเห็ดและการจัดเตรียมต้นฉบับสิ่งพิมพ์ คุณกฤษณา พงษ์พานิช คุณกิตติมา ด้วงแค คุณวินันท์ดา หิมะมาน คุณจันจิรา อายะวงศ์ และ คุณวัชรพรรณ พลอามาตย์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อเฟื้อภาพเห็ดจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าแม่น�้ำภาช ี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ไทยประจัน อุทยานแห่งชาติแม่ปิง และโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) คุณกรกช จันทร และ คุณวราพร ไชยมา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เอื้อเฟื้อภาพเห็ดเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมบางภาพ คุณประเสริฐ ศรีกิติกุลชัย คุณสุชาดา มงคลสัมฤทธิ์ คุณกนกศรี ทัศนาทัย คุณอาทิตย์ คนสนิท และ คุณธิติยา บุญประเทือง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ส�ำหรับการสนับสนุน ทางด้านเทคนิค อาจารย์อนงค์ จันทร์ศรีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจ�ำแนกเห็ด ที่เป็นแรงบันดาลใจ เป็นแบบอย่าง ของการท�ำงานและให้ความรู้ต่างๆ แก่คณะด�ำเนินงานฯ ตลอดมา

บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ เห็ด 373