วิเคราะห์ความเชื่อและวฒั นธรรมร่วมของชาวสลาฟ กรณีศึกษา: เทศกาล Kupala Night

โดย

นางสาวสุพรรณิการ ์ เจริญรตั น์

ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลกั สูตร ศิลปศาสตรบณั ฑิต สาขาวิชารสั เซียศกึ ษา โครงการรัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร ์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร ์ ปีการศึกษา 2563 ลิขสิทธ์ิของมหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร ์

วิเคราะห์ความเชื่อและวฒั นธรรมร่วมของชาวสลาฟ กรณีศึกษา: เทศกาล Kupala Night

โดย

นางสาวสุพรรณิการ ์ เจริญรตั น์

ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลกั สูตร ศิลปศาสตรบณั ฑิต สาขาวิชารสั เซียศกึ ษา โครงการรัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร ์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร ์ ปีการศึกษา 2563 ลิขสิทธ์ิของมหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร ์

ANALYZING SLAVIC BELIEF AND COMMON CULTURE: A CASE STUDY OF KUPALA NIGHT

BY

MISS SUPHANNIKA CHAROENRAT

A RESEARCH PAPER SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF BACHELOR OF ARTS RUSSIAN STUDIES PROGRAM FACULTY OF LIBERAL ARTS THAMMASAT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2020 COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร/ คณะศิลปศาสตร/

ภาคนิพนธ/

ของ

นางสาวสุพรรณิการ/ เจริญรัตน/

เรื่อง

วิเคราะห/ความเชื่อและวัฒนธรรมรEวมของชาวสลาฟ กรณีศึกษา: เทศกาล Kupala Night

ไดWรับการตรวจสอบและอนุมัติ ใหWเปZนสEวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต

เมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ประธานกรรมการสอบภาคนิพนธ/ Is (อาจารย/ วัฒนะ คุWนวงศ/)

กรรมการและอาจารย/ที่ปรึกษาภาคนิพนธ/ (อาจารย/ ดร. กัณฐัศศา พงษ/หิรัญ)

กรรมการสอบภาคนิพนธ/ (อาจารย/ ดร.นวภัทร ณรงค/ศักดิ์) (1)

หัวข้อภาคนิพนธ์ วิเคราะห์ความเชื่อและวัฒนธรรม ร่วมของชาว สลาฟ กรณีศึกษา: เทศกาล Kupala Night ชื่อผู้เขียน นางสาวสุพรรณิการ์ เจริญรัตน์ ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา/ คณะ/ มหาวิทยาลัย รัสเซียศึกษา ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ ดร.กัญฐัศศา พงษ์หิรัญ ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

ภาคนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการวิเคราะห์ความเชื่อและวัฒนธรรมร่วมของชาวสลาฟ ผ่านการศึกษาเทศกาล Kupala Night โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาเกี่ยวกับชาวสลาฟใน เบื้องต้น (2) ศึกษาการเฉลิมฉลองเทศกาล Kupala Night (3) ศึกษาอิทธิพลของเทศกาล Kupala Night ที่มีต่อความเชื่อของชาวสลาฟ ประกอบด้วยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร ภาค นิพนธ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการสัมภาษณ์ โดยน าข้อมูลที่ได้ค้นคว้ามารวบรวม สังเคราะห์ และวิเคราะห์ เพื่อศึกษาถึงความเชื่อและวัฒนธรรมร่วมของชาวสลาฟผ่านเทศกาล Kupala Night ชาวสลาฟคือกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นก าเนิดในยุโรปตอนกลางก่อนที่จะได้อพยพ ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณทางใต้และตะวันออกของทวีปในศตวรรษที่ 6 ชาวสลาฟมีลักษณะสังคม ที่ยังชีพด้วยการเกษตรกรรมและเก็บของป่า ด้วยเหตุนี้จึงท าให้ชาวสลาฟมีความใกล้ชิดและ ผูกพันกับธรรมชาติ ชาวสลาฟโบราณมีความเชื่อในลัทธินอกศาสนาคือการนับถือเทพเจ้า ซึ่ง เทพเจ้าของชาวสลาฟมีความความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและการประกอบอาชีพของชาวสลาฟ สมัยนั้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวสลาฟ ในแต่ละปีชาวสลาฟจะมีเทศกาลเฉลิม ฉลองต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในเทศกาลใหญ่ของชาวสลาฟคือเทศกาล Kupala NIght ซึ่งจัดขึ้นใน วันครีษมายันหรือวันที่มีกลางวันยาวที่สุด และกลางคืนสั้นที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายนซึ่งเป็น (2)

ช่วงเริ่มต้นของฤดูร้อน จุดประสงค์ของเทศกาลนี้มีขึ้นเพื่อให้ชาวสลาฟได้พักจากการท างาน ในช่วงครึ่งปีแรกเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ และยังเป็นการบูชาคูปาลา เทพเจ้าสลาฟแห่งความ อุดมสมบูรณ์และมีความเกี่ยวข้องกับพระอาทิตย์ ชาวสลาฟมีการเฉลิมฉลองอย่างรื่นเริงและ สนุกสนาน มีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้า ไฟ สมุนไพรและการน านายเสี่ยงโชค รวมถึงพิธีการ บูชาเทพคูปาลาและเทพแห่งพระอาทิตย์ ชาวสลาฟมีความเชื่อว่าเทศกาลนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่สิ่ง ไม่มีวิตเช่นพืชได้รับพลังจากเทพเจ้า ท าให้ชาวสลาฟนิยมออกไปเก็บสะสมพืชและของป่ามา เพื่อน าไปใช้ นอกจากนี้เทศกาล Kupala Night ยังเป็นเทศกาลที่เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวที่ยังไม่ แต่งงานได้มีโอกาสพบกันเพื่อสานสัมพันธ์ต่อไปในอนาคตด้วย ต่อมาชาวสลาฟได้เปิดรับเอาศาสนาคริสต์เข้ามา และได้ผสมผสานความเชื่อ ของศาสนาคริสต์กับเทศกาล Kupala Night เข้าด้วยกัน ท าให้เทศกาลนี้มีความหลากหลายมาก ยิ่งขึ้น

คาส าคัญ : สลาฟ, วัฒนธรรม, ความเชื่อ, เทศกาล, เทพเจ้า

(3)

Research Paper title ANALYZING SLAVIC BELIEF AND COMMON CULTURE: A CASE STUDY OF KUPALA NIGHT Author Miss Suphannika Charoenrat Degree Bechelor of Arts Department/ Faculty/ University Russian Studies Liberal Arts Thammasat University Research Paper Kantassa Phonghiran, Ph.D Academic Year 2020

Abstract

This research studies Slavic shared common culture and belief through an examination of Kupala Night, a major Slavic festival. Data was collected from documents, relevant theses and other academic research, online publications and in-depth interviews with experts. Slavic people or Slavs are an ethnicity originating in Central Europe before they immigrated to the southern and eastern part of the continent. Ancient Slavs had a subsistence agriculture society bonded with nature, with belief in paganism or deities. Slavic gods are related to nature and professions conforming with ancient lifestyles of the time. Kupala Night is celebrated during the June summer solstice, when summer begins in the northern hemisphere. Its purposes is to welcome summer and allow Slavs an intermission from the first half-year of labor for worshiping the Slavic pseudo-deity Kupala, a pagan fertility rite figure created by medieval chroniclers based on the name of the Kupala Night holiday. Slavs celebrate this festival joyfully, with rituals involving water, fire, and plants to worship Kupala and the Sun deity. Slavs also believe that on this night, non-human things like plants are blessed by the deity, so celebrants assemble in the (4) forest to collect plants and forage. Kupala Night allows young unmarried people to become further acquainted. In the tenth century CE, Christianity was propagated among the Slavs, adding further variety to beliefs and observances related to Kupala Night.

Keywords: Slavs, Slavic people, belief, festival, god

(5)

กิตติกรรมประกาศ

ภาคนิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากได้รับความกรุณาและการชี้แนะที่เป็น ประโยชน์จากกรรมาธิการภาคนิพนธ์ทุกท่าน ขอขอบพระคุณประธานกรรมการภาคนิพนธ์ ผู้อ านวยการโครงการรัสเซียศึกษา อาจารย์วัฒนะ คุ้นวงศ์ และกรรมการภาคนิพนธ์ อาจารย์ ดร.นวภัทร ณรงค์ศักดิ์ ที่สละเวลาเป็นกรรมการสอบภาคนิพนธ์ โดยเฉพาะอาจารย์ที่ปรึกษา ภาคนิพนธ์ อาจารย์ ดร.กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ ที่ให้ค าแนะน า ให้ค าปรึกษาและบอกข้อบกพร่อง เพื่อน ามาแก้ไข ทั้งยังเสนอแนวทางในการจัดหาเนื้อหาหรือแนะน าข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ อีกด้วย ผู้ศึกษาขอกราบพระคุณทุกท่านอย่างสูงมาก ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านในโครงการรัสเซียศึกษา และเจ้าหน้าที่โครงการ รัสเซียศึกษาทุกท่านที่ให้ค าแนะน าและให้ความช่วยเหลือตลอดระยะเวลาในการท าภาคนิพนธ์ และที่ส าคัญขอขอบคุณมาเรีย บุยาโนวาที่ได้สละเวลาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลของเทศกาล Kupala Night ท าให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายในการท าภาคนิพนธ์มากขึ้น นอกจากนี้ขอขอบพระคุณบิดา มารดา ที่เป็นก าลังใจ แรงผลักดันในการท าภาคนิพนธ์ รวมถึงช่วยตรวจทานและแนะน าแก้ไขภาคนิพนธ์ฉบับนี้ให้ผ่านลุล่วงไปด้วยดี ตลอดจนเพื่อน รัสเซียศึกษารุ่นที่ 15 และเพื่อนทุกคนในกลุ่มที่เป็นก าลังใจ คอยให้ค าปรึกษา และเป็น แรงผลักดันจนท าให้ภาคนิพนธ์ส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี

นางสาวสุพรรณิการ์ เจริญรัตน์ (6)

สารบัญ

หน้า บทคัดย่อภาษาไทย (1)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (3)

กิตติกรรมประกาศ (5)

สารบัญตาราง (9)

สารบัญภาพ (10)

บทที่ 1 บทน า 1

1.1 ที่มาและความส าคัญ 1 1.2 วัตถุประสงค์การศึกษา 2 1.3 ขอบเขตการศึกษา 3 1.4 วิธีการศึกษา 3 1.5 นิยามศัพท์ 3 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4 1.7 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 4 1.7.1 แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม 4 1.7.2 แนวคิดเกี่ยวกับประเพณี 5 1.7.3 แนวคิดกลุ่มชาติพันธุ์ 5 1.7.4 ทฤษฎีชาตินิยมทางวัฒนธรรม (Cultural Nationalism) 6 1.7.5 คติชนวิทยา (Folklore) 6 1.7.6 สัญวิทยา (Semiology) 8 1.8 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 9

(7)

บทที่ 2 ชาวสลาฟ 10

2.1 ประวัติเบื้องต้นของชาวสลาฟ 10 2.2 ภาษา 14 2.3 ศาสนาและความเชื่อ 19 2.3.1 ความเชื่อดั้งเดิมของชาวสลาฟสมัยโบราณ 19 2.3.2 ศาสนาและความเชื่อของชาวสลาฟตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 จนถึงปัจจุบัน 22

บทที่ 3 เทศกาล KUPALA NIGHT 24

3.1 ความเป็นมาของเทศกาล Kupala Night 24 3.2 ชีวประวัติของนักบุญยอห์น 25 3.3 ที่มาของชื่อเทศกาล Kupala 26 3.4 การเฉลิมฉลองและพิธีกรรมในเทศกาล Kupala Night 29 3.4.1 พิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้า 30 3.4.2 พิธีกรรมที่เกี่ยวกับไฟ 32 3.4.5 ขั้นตอนของพิธีกรรมและการเฉลิมฉลองเทศกาล Kupala Night 42 3.4.6 สิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติ 42 3.4.7 การแต่งกายในเทศกาล Kupala Night 43 3.4.8 เพลง 45 3.5 เทศกาลเฉลิมฉลองฤดูร้อนในซีกโลกเหนือ 46

บทที่ 4 วิเคราะห์ความเชื่อและวัฒนธรรมร่วมของชาวสลาฟผ่านเทศกาล KUPALA NIGHT 47

4.1 เทศกาล Kupala Night ต่อการสะท้อนสังคมของชาวสลาฟ 47 4.2 เทศกาล Kupala Night กับการสะท้อนความเชื่อของชาวสลาฟ 49 4.2.1 ความเชื่อของชาวสลาฟที่มีต่อธรรมชาติ 49 4.2.2 ความเชื่อของชาวสลาฟต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ 49 4.2.3 ความเชื่อของชาวสลาฟต่อศาสนาคริสต์ 50 4.3 เทศกาล Kupala Night ที่มีอิทธิพลต่อการเสี่ยงดวงของชาวสลาฟ 51 4.4 เทศกาล Kupala Night ในมุมมองของทฤษฎีชาตินิยมทางวัฒนธรรม 51 4.5 บทบาทด้านคติชนวิทยาของเทศกาล Kupala Night ต่อชาวสลาฟ 52 (8)

4.6 เทศกาล Kupala Night ในมุมมองทางสัญวิทยา 53

บทที่ 5 สรุป และข้อเสนอแนะ 57

ข้อเสนอแนะ 58

รายการอ้างอิง 59

ประวัติผู้เขียน 64

(9)

สารบัญตาราง

หน้า ตารางที่ 2.1 ภาษาที่ใช้ในกลุ่มประเทศสลาฟ 16 ตารางที่ 3.1 ตัวอย่างเพลงที่ใช้ร้องในเทศกาล KUPALA NIGHT และค าแปล 45 ตารางที่ 4.1 การวิเคราะห์เทศกาล KUPALA NIGHT ตามหลักสัญวิทยา 53

(10)

สารบัญภาพ

หน้า ภาพที่ 2.1 กระท่อมที่ชาวสลาฟใช้อยู่อาศัย 11 ภาพที่ 2.2 แผนที่ของโมราเวียเมื่อเปรียบเทียบกับทวีปยุโรป 13 ภาพที่ 2.3 แผนที่กลุ่มประเทศสลาฟ, 13 ภาพที่ 2.4 BAŠKA TABLET บันทึกของชาวโครเอเชียที่เขียนด้วยอักษร GLAGOLITIC 14 ภาพที่ 2.5 อักษรซีริลิกในภาษารัสเซีย 18 ภาพที่ 2.6 อักษรละตินในภาษาเซอร์เบีย 18 ภาพที่ 2.7 อักษรอาหรับที่ใช้ในกลุ่มประเทศสลาฟใต้ 19 ภาพที่ 2.8 เปรุน 21 ภาพที่ 2.9 ยาริโล 21 ภาพที่ 2.10 ลาดา 22 ภาพที่ 2.11 ซีมากล 22 ภาพที่ 2.12 แผนที่ของยูโกสลาเวียในอดีต 23 ภาพที่ 3.1 นักบุญยอห์นให้บัพติมาแก่พระเยซู 25 ภาพที่ 3.2 รูปวาดของเทพคูปาโล (ชาย) 27 ภาพที่ 3.3 รูปวาดเทพคูปาลา (หญิง) 28 ภาพที่ 3.4 ดอก IVAN-DA-MARYA, MIKHAIL 28 ภาพที่ 3.5 ดอก PURPLE LOOSESTRIFE 29 ภาพที่ 3.6 วงจรการเกิดวันครีษมายัน 29 ภาพที่ 3.7 การเฉลิมฉลองเทศกาล KUPALA NIGHT ของชาวสลาฟโบราณ 30 ภาพที่ 3.8 การช าระกายในแม่น้า 31 ภาพที่ 3.9 การลอยพวงหรีดในน้า 31 ภาพที่ 3.10 หญิงสาวจุดกองไฟเพื่อบูชาพระอาทิตย์ 33 ภาพที่ 3.11 การเต้นฮาราโวดรอบกองไฟ 33 ภาพที่ 3.12 การกระโดดข้ามกองไฟของคู่หนุ่มสาว 34 ภาพที่ 3.13 วงล้อไฟ 34 ภาพที่ 3.14 ต าแย 36 ภาพที่ 3.15 กุหลาบป่า 36 ภาพที่ 3.16 ทริสเติล 37 ภาพที่ 3.17 หญิงสาวสวมพวงหรีดที่สานจากดอกไม้และพืชต่าง ๆ 37 ภาพที่ 3.18 ฐานพวงหรีดจากกิ่งไม้เบิร์ช 38 (11)

ภาพที่ 3.19 ฐานพวงหรีดจากกิ่งไม้โอ๊ค 38 ภาพที่ 3.20 ดอกแพงพวยฝรั่ง 39 ภาพที่ 3.21 ใบโหระพา 39 ภาพที่ 3.22 ดอกเจอเรเนียม 39 ภาพที่ 3.23 ใบเฟิร์น 40 ภาพที่ 3.24 กุหลาบ 40 ภาพที่ 3.25 แบล็คเบอร์รี่ 40 ภาพที่ 3.26 หญิงสาวชาวสลาฟที่ท าลังเก็บพืชและสมุนไพร 41 ภาพที่ 3.27 ดอกไม้จากต้นเฟิร์นที่จะออกดอกในเทศกาล KUPALA NIGHT เท่านั้น 41 ภาพที่ 3.28 นางเงือกที่ปรากฏตัวในคืนเทศกาล 43 ภาพที่ 3.29 คู่รักชาวเบลารุสแต่งกายในชุดพื้นเมือง 44 ภาพที่ 3.30 เสื้อปักลายเทพธิดา 44 ภาพที่ 3.31 เสื้อปักลาย PERUNOV COLOUR 44 1

บทที่ 1 บทน า

1.1 ที่มาและความสาคัญ

ชาวสลาฟ คือกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในทวีปยุโรป ปัจจุบันมีจ านวนประชากร ประมาณ 350 ล้านคนทั่วโลก พูดภาษาในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เชื่อกันว่าบรรพบุรุษของชาว สลาฟอพยพเข้ามาในแถบยุโรปตอนกลางก่อนจะกระจายตัวไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ภายหลังศตวรรษที่ 6 ชาวสลาฟโบราณด ารงชีวิตด้วยการท าเกษตรกรรม ล่าสัตว์และเก็บของป่า ท าให้มี ความผูกพันกับธรรมชาติและมีความเชื่อในธรรมชาติและวิญญาณ เช่น ไฟ น้า เป็นต้น ปัจจุบัน สามารถแบ่งภูมิภาคชาวสลาฟได้เป็น ชาวสลาฟตะวันออก: รัสเซีย, ยูเครน, เบลารุส ชาวสลาฟ ตะวันตก: โปแลนด์, เช็ก, สโลวัก และชาวสลาฟใต้: เซอร์เบีย, โครเอเชีย, บอสเนีย, สโลวีเนีย, มาซิโดเนีย, มอนเตเนโกร หนึ่งในเทศกาลส าคัญของชาวสลาฟคือเทศกาล Kupala Night (День Ивана Купалы) เทศกาลเฉลิมฉลองและเป็นวันหยุดของชาวสลาฟ รวมถึงเป็นการฉลองวันคล้ายวัน เกิดนักบุญยอห์น (John the Baptist) มีการเฉลิมฉลองในประเทศรัสเซีย ยูเครน เบลารุส สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ และสโลวาเกีย ในสมัยโบราณจะจัดขึ้นในวันครีษมายันหรือวันที่ดวง อาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดและมีกลางวันยาวที่สุดของปี ในปัจจุบันมีการก าหนด วันที่แน่นอนคือตั้งแต่วันที่ 22-26 มิถุนายน ตามปฏิทินเก่าของศาสนาคริสต์ และวันที่ 6-7 กรกฎาคม ตามปฏิทินใหม่ เทศกาลนี้แต่ดั้งเดิมเป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองช่วงที่พืชผลเติบโตเต็มที่และสมบูรณ์ เหมาะสมแก่การเก็บเกี่ยวในฤดูร้อน เทศกาลจะจัดขึ้นในช่วงกลางคืน มีการจัดพิธีกรรมต่าง ๆ ขึ้นในบริเวณโล่งกว้าง เช่น ในป่า ทุ่งหญ้า เนินเขา ริมแม่น้า โดยสามสิ่งส าคัญที่ขาดไม่ได้ใน เทศกาล Kupala Night คือ ไฟ น้า และพืชสมุนไพร ในค ่าคืนแห่งการเฉลิมฉลองที่ผู้คนมา รวมตัวกัน จะมีการเต้นร าและร้องเพลงรอบกองไฟ หญิงสาวจะออกมาละเล่นกระโดดข้ามกอง ไฟ ตามความเชื่อโบราณ หากใครสามารถกระโดดข้ามกองไฟได้จะมีชีวิตที่มีความสุขและ สมหวังในความรัก แต่หากหญิงสาวคนใดไม่สามารถกระโดดข้ามกองไฟได้ ผลจะเป็นในทาง ตรงกันข้าม นอกจากนี้ยังมีความเชื่อต่อการกระโดดกองไฟว่าเป็นการขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีออก จากตัวและช าระวิญญาณ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าในค ่าคืนนี้สิ่งมีชีวิตจากโลกอื่นหรือปิศาจจะฟื้นคืน 2

ชีพและปรากฏตัวขึ้น ชาวบ้านจึงมีการป้องกันโดยวางกิ่งไม้และพืชไว้ตามพื้นที่ต่าง ๆ รอบบ้าน เพื่อป้องกันแม่มดและปีศาจเข้ามาท าร้ายรวมถึงขโมยสัตว์เลี้ยงของตน นอกจากการให้ความส าคัญกับไฟแล้ว ชาวสลาฟโบราณยังมีความเชื่อในเรื่องพืช สมุนไพร โดยมีความเชื่อถึงการเก็บสมุนไพรในคืนนี้ที่จะมีพลังในการรักษาสูงสุด รวมถึงการ ต า ม ห า “ เ ฟิ ร์ น ” ซึ่งเป็นพืชในต านานที่ผลิบานในคืนนี้ หากใครสามารถเจอในคืนเทศกาล Kupala Night จะ สามารถสื่อสารกับสัตว์ได้และน าโชคดีมาให้ ชาวสลาฟยังเก็บกิ่งไม้ ใบไม้ และดอกไม้มาร้อย เป็นหรีดประดับศีรษะ และยังน าพวงหรีดมาท านายชีวิตของตัวเองโดยน าไปลอยน้า ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องความรัก หรือสุขภาพชีวิตของตน ในค ่าคืนนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับน้าว่าหากตาก น้าค้างในช่วงเทศกาลหรือได้อาบน ้าในช่วงกลางคืน ตนจะมีผิวพรรณและสุขภาพที่ดีขึ้นจนถึงปี ถัดไป เทศกาลที่จัดว่าเป็น Paganism หรือลัทธินอกศาสนานี้ต่อมาเมื่อได้มีการน ามา ผสมผสานกับความเชื่อของศาสนาคริสต์ออร์โดอกซ์ คือวันเกิดของนักบุญยอห์นหรือยอห์นผู้ให้ บัพติศ หนึ่งในอัครสาวกและนักบุญคนส าคัญทางศาสนา ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้ถึงการช าระ กายด้วยน้าในเทศกาล Kupala Night เนื่องจากการรับบัพติศหรือการรับศีลล้างบาปก็มีการใช้ น้าในการช าระจิตวิญญาณเช่นเดียวกัน ท าให้ภายหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 เทศกาล Kupala Night ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลของชาวสลาฟที่น่าสนใจเนื่องจากสามารถรวมทั้งความเชื่อ ดั้งเดิมและศาสนามาเป็นหนึ่งเดียวกันได้ และยังคงเป็นเทศกาลที่มีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน การศึกษาวัฒนธรรมประเพณีเป็นส่วนหนึ่งที่จะท าให้เราเข้าใจชนชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์ ได้ดีขึ้น เนื่องจากวัฒนธรรมคือรากฐานในการสร้างเอกลักษณ์ประจ าชาติและสร้างความเป็น หนึ่งเดียวกันกับคนในชาติหรือคนที่มีวัฒนธรรมร่วมเดียวกันได้ จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเทศกาล Kupala Night เนื่องจากเป็นเทศกาลที่มีการเฉลิมฉลองมาอย่างยาวนานและยังมีการรักษาให้คงไว้ของชาว สลาฟ รวมถึงภายหลังยังได้ผนวกความเชื่อจากศาสนาเข้ามาแต่ความดั้งเดิมของเทศกาลนี้ก็ ไม่ได้หายไป และจะศึกษาถึงชาวสลาฟ ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ที่มีจ านวนมากที่สุดในประเทศรัสเซีย และเป็นหนึ่งในชาติพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ในประเทศยุโรป ว่าเทศกาล Kupala Night นั้นส่งผล ความเชื่อและรากเหง้าทางวัฒนธรรมอย่างไร เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงวัฒนธรรมร่วมที่มากขึ้น และ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่จะศึกษาในอนาคตต่อไป

1.2 วัตถุประสงค์การศึกษา

1.3.1 ได้ทราบถึงชาวสลาฟในเบื้องต้น 3

1.3.2 ได้ทราบถึงการเฉลิมฉลองเทศกาล Kupala Night ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึง ปัจจุบัน 1.3.3 ได้ทราบถึงอิทธิพลของเทศกาล Kupala Night ที่มีต่อความเชื่อของชาวสลาฟ

1.3 ขอบเขตการศึกษา

ในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นการศึกษาการเฉลิมฉลองเทศกาล Kupala Night และวิเคราะห์ ความเชื่อและวัฒนธรรมร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์สลาฟในประเทศที่มีการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ คือ รัสเซีย ยูเครน เบลารุส สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ และสโลวาเกีย

1.4 วิธีการศึกษา

ในการวิเคราะห์ความเชื่อและวัฒนธรรมร่วมของชาวสลาฟผ่านเทศกาล Kupala Night ครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Document Research) โดยการค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การค้นคว้าเอกสารขั้นทุติยภูมิ (Secondary Source) ซึ่งน ามาจากส่วนหนึ่งของบทความ หนังสือ ภาคนิพนธ์ และค้นคว้าข้อมูลออนไลน์ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษารัสเซีย โดยผู้ศึกษาจะน าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุป เพื่อหาค าตอบของความเชื่อและ วัฒนธรรมร่วมของชาวสลาฟผ่านเทศกาล Kupala Night

1.5 นิยามศพั ท์

“ชาวสลาฟ” (Slavic people) หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในยุโรป ในที่นี้คือชาวสลาฟ และบรรพบุรุษที่อาศัยอยู่ในประเทศรัสเซีย ยูเครน เบลารุส โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็กและสโลวา เกีย “ประเทศสลาฟ” (Slavic countries) หมายถึง กลุ่มประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็น ชาวสลาฟ ซึ่งอยู่ในยุโรปตอนกลางและตะวันออก สามารถแบ่งประเทศสลาฟออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ สลาฟตะวันออก สลาฟตะวันตก และสลาฟใต้ “เทศกาล Kupala Night” (Kupala Night) หมายถึง เทศกาลที่มีการเฉลิมฉลองในช่วง กลางฤดูร้อนของปี มีต้นก าเนิดมาจากความเชื่อดั้งเดิมของชาวสลาฟเกี่ยวกับน้า ไฟ และพืช สมุนไพร ต่อมาได้มีการน าไปผนวกกับการเฉลิมฉลองบุคคลส าคัญในศาสนาคริสต์คือนักบุญ ยอห์น และกลายเป็นหนึ่งในเทศกาลของชาวสลาฟที่มีการเฉลิมฉลองมาจนถึงปัจจุบัน 4

“Paganism” หรือ “ลัทธินอกศาสนา” หมายถึง ผู้ที่นับถือเทพเจ้าหรือธรรมชาติหรือ ศาสนาพื้นบ้านเป็นหลัก และยังมีความเชื่อในต านานหรือปกรณัมต่าง ๆ มาจากภาษาละตินว่า Peganus ไว้ใช้เรียกผู้ที่นับถือศาสนาอื่นนอกจากศาสนาคริสต์ในยุโรป “ฮาราโวด” (Khorovod) หมายถึง การเต้นระบ าเป็นวงกลมของชาวสลาฟที่เลียนแบบ ตามทรงกลมของพระอาทิตย์ “พวงหรีด” (Flower wreath) หมายถึง มงกุฎดอกไม้ที่สานจากกิ่งไม้ ใบไม้ ประดับด้วย ผลไม้หรือดอกไม้ เอาไว้ประดับศีรษะของชายหญิงชาวสลาฟที่ยังไม่ได้แต่งงาน

1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.6.1 ได้ทราบเกี่ยวกับชาวสลาฟ 1.6.2 ได้ทราบถึงความเป็นมาของเทศกาล Kupala Night 1.6.3 ได้ทราบถึงอิทธิพลของเทศกาล Kupala Night ที่มีต่อความเชื่อร่วมของชาวสลาฟ

1.7 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาภาคนิพนธ์ครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้น าแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาใช้ วิเคราะห์ร่วมในการเรียบเรียงเนื้อหา ดังที่ปรากฏต่อไปนี้

1.7.1 แนวคิดเกี่ยวกบั วฒั นธรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ.2542 ให้ความหมาย“วัฒนธรรม”ว่า สิ่งที่ท าความ เจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมในการแต่งกาย หรือวิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมชาวเขา พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวว่า “วัฒนธรรม” คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือ ผลิตขึ้น สร้างขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามในวิถีของส่วนรวม ถ่ายทอดกันไว้ เอาอย่างกันไว้ รวมทั้งผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา ตลอดจนความรู้สึก ความคิดเห็น และกิริยาอาการ หรือการกระท าใด ๆ ของมนุษย์ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และส าแดงออกมาได้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อ ระเบียบ ประเพณี เป็นต้น Taylor กล่าวว่า “วัฒนธรรม” เป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฏหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิก ของสังคม 5

กล่าวโดยสรุป วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับหมู่คณะ หรือพวกของตน ไม่ว่าจะเป็นภาษา อาหาร การแต่งกาย เป็นต้น โดยวัฒนธรรมจะต้องเป็นสิ่งที่ ดีงามและมีการสืบสาน ต่อยอดมาจนถึงปัจจุบัน

1.7.2 แนวคิดเกี่ยวกบั ประเพณี พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ.2554 ได้ให้ความหมาย “ประเพณี” ว่า สิ่งที่นิยมถือ ประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี แปลก สนธิรักษ์ (ม.ป.ป.) ค าว่า ประเพณี คือ ความประพฤติสืบต่อกันมาจนเป็นที่ ยอมรับของส่วนรวมซึ่งเรียกว่า เอกนิยม หรือ พหุนิยม เช่น การแต่งงาน การเกิด การตาย การ ท าบุญ การรื่นเริง การแต่งกาย เป็นต้น หรือประเพณีที่เราน าของชาติอื่นมาปรับปรุงให้เข้ากับ ความเป็นอยู่ของเรา เพื่อความเหมาะสมกับกาลสมัย ซึ่งเรียกว่า สัมพัทธนิยม ตามธรรมดาเรื่อง ของประเพณีนั้น บางอย่างต้องคงรักษาไว้ บางอย่างต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับกาลสมัย บางอย่างต้องถือเป็นแบบสากล วิเชียร รักการ (2529) กล่าวถึงประเพณีว่า เป็นสิ่งที่คนในสังคมส่วนรวมสร้างขึ้น ประเพณีนั้นเป็นเป็นวัฒนธรรมที่ค่อนข้างจะมีเงื่อนไขที่ชัดเจน กล่าวคือ เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้น ให้เป็น มรดกที่ผู้เป็นทายาทจะต้องรับไว้ และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป รวมทั้งมีการ เผยแพร่แก่คนในสังคมอื่นด้วย ประเพณีนั้นไม่มีใครสามารถระบุลงไปอย่างชัดแจ้งว่าได้เกิด ขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด แต่อาจประมาณได้ว่าคงเกิดขึ้นเมื่อคนเรามีความเจริญในด้านต่าง ๆ มาก พอสมควรและศาสนา หรือ ความเชื่อของมนุษย์นั้นเองเป็นพื้นฐานให้เกิดประเพณีขึ้นได้ กล่าวโดยสรุป ประเพณีคือสิ่งที่มีการปฏิบัติมาช้านานและยังมีการปฏิบัติสืบทอดเป็น แบบแผนมาจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับแต่ละยุคสมัยหรือตามสมัยนิยม และต้องมีความเป็นสากลนิยมอีกด้วย

1.7.3 แนวคิดกลุ่มชาติพนั ธุ์ การมีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาพูดเดียวกัน และเชื่อว่า สืบเชื้อสายมา จากบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน เช่น ไทย พม่า กะเหรี่ยง จีน ลาว เป็นต้น กลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่ม วัฒนธรรมมีลักษณะเด่นคือ เป็นกลุ่มคนที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน บรรพบุรุษในที่นี้ หมายถึงบรรพบุรุษทางสายเลือด ซึ่งมีลักษณะทางชีวภาพและรูปพรรณ (เชื้อชาติ) เหมือนกัน รวมทั้งบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมด้วย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันจะมีความรู้สึกผูกพันทาง สายเลือด และทางวัฒนธรรมพร้อม ๆ กัน ประธาน เขียวขา (2546, น. 6) ได้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ว่า “เป็นค าที่นักมานุษยวิทยา ใช้ในการจ าแนกกลุ่มมนุษยชาติที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้อาจตั้งถิ่นฐาน อยู่ในบริเวณเดียวกัน หรือแยกกันยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ใน 6

บริเวณเดียวกันจะมีการติดต่อหรือมีการกระท าระหว่างกันทางสังคม (Social Interaction) ท าให้ เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ขึ้น ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่น่าสนใจของนัก มานุษยวิทยามาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว และส่วนใหญ่การศึกษาที่กระท ากันจะเป็นเรื่องการ ผสมผสานกลมกลืนทางวัฒนธรรม (Assimilation) โดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อที่ว่า เมื่อกลุ่ม คนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน มีการติดต่อกันโดยตรงเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน จะเป็นผล ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ขึ้นกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดหรือทั้งสองกลุ่ม” กล่าวโดยสรุป กลุ่มชาติพันธุ์คือกลุ่มคนที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีการ สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษเดียวกัน รวมถึงมีวัฒนธรรมและจารีตเดียวกัน เช่น การใช้ภาษา อาหารการกิน การแต่งกาย จนพัฒนาให้กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์นั้น ๆ กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีขนาดใหญ่มากพอสามารถรวมกลุ่มกันสร้างดินแดนของตนจนพัฒนามาเป็นประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบัน

1.7.4 ทฤษฎีชาตินิยมทางวฒั นธรรม (Cultural Nationalism) ชาตินิยมทางวัฒนธรรม คือการที่วัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น ภาษา จารีต ประเพณี ท าให้คน กลุ่มหนึ่งหรือชนชาติหนึ่งมีความรักความหวงแหนในแผ่นดิน หรือพวกพ้องของตน ชาตินิยม ทางวัฒนธรรมจะมีความแตกต่างจากชาตินิยมทางการเมืองโดยจะไม่มีการปลูกฝังแนวคิดการ รักชาติ วิสัยทัศน์ หรือค่านิยมทางการเมือง แต่เป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมที่มาการสืบทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ในสังคมนั้นยอมรับเนื่องจากวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ของพื้นที่ นั้นมาเนิ่นนานหลายชั่วอายุคน แม้ว่าชาตินิยมทางวัฒนธรรมมีความคาบเกี่ยวกับความหมาย โดยตรงของทฤษฎีชาตินิยม แต่หากพิจารณาดูแล้วนั้นชาตินิยมทางวัฒนธรรมถือเป็นสิ่งที่ ก่อให้เกิดความส านึกรักชาติก่อนที่จะกลายเป็น “ความรักชาติ” ในชาตินิยมเสียอีก ชาตินิยม ทางวัฒนธรรมอาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ได้แก่ “ชาตินิยมทางวัฒนธรรมเดิม” ที่ แม้จะปรับตัวได้แต่ก็ยังอยู่ในกรอบเดิม (resurgent cultural nationalism) อีกกลุ่มหนึ่งได้แก่ “ชาตินิยมทางวัฒนธรรม” ที่เปลี่ยนแปลงสอดรับไปสู่อนาคต (prudent cultural nationalism ) ทฤษฎีนี้มีความสอดคล้องกับการศึกษาภาคนิพนธ์โดยเทศกาล Kupala Night นั้นเป็น หนึ่งในวัฒนธรรมที่ชาวสลาฟนั้นได้คิดค้นขึ้นมา และเป็นหนึ่งในสิ่งที่เชื่อมโยงชาวสลาฟกับ ความเชื่อดั้งเดิมเอาไว้ ซึ่งเทศกาลนี้เป็นสิ่งที่ท าให้ชาวสลาฟนั้นเกิดความชาตินิยมในหมู่ชาว สลาฟด้วยกันเองอีกด้วย การใช้ทฤษฎีชาตินิยมทางวัฒนธรรมเข้ามาวิเคราะห์นั้นจะท าให้ผู้ ศึกษาสามารถเข้าใจถึงวัฒนธรรมร่วมของชาวสลาฟมากขึ้นได้

1.7.5 คติชนวิทยา (Folklore) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546 : 216) ได้ให้ความหมายของคติ ชนวิทยาว่า หมายถึง เรื่องราวของชาวบ้านที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและประพฤติสืบๆ กันมา 7

หลายชั่วอายุคนในรูปคติ ความเชื่อ ประเพณี นิยาย นิทาน เพลง ภาษิต ปริศนา บทบาท ศิลปะ สถาปัตยกรรม ตลอดจนการละเล่นของเด็ก เป็นต้น กิ่งแก้ว อัตถากร ได้กล่าวว่าคติชนวิทยาคือ วิชาซึ่งว่าด้วยการศึกษาคติชนหรือผลผลิต ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชน และผลผลิตทางวัฒนธรรมนี้เป็นมรดกที่รับทอดกันมาทั้งภายในชน กลุ่มเดียวกัน และที่แพร่กระจายไปสู่ชนต่างกลุ่มด้วย ภริมา วินิธาสถิตกุล และ พระมหาจิรฉันท์ จิรเมธี (โลวะลุน) กล่าวว่า คติชนวิทยาเป็น วิชาที่เกี่ยวกับวิถีทางในการด าเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจน การละเล่น เพลงพื้นบ้านต่าง ๆ ที่ได้รับการสืบทอดมาเป็นเวลานาน การศึกษาคติชนวิทยาเป็น การศึกษาการถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่จะท าให้ผู้ศึกษาได้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม นั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน และสามารถเข้าใจอดีตเพื่อจะได้เข้าใจปัจจุบันตลอดจนรู้จักวางแผนใน อนาคตได้อย่างถูกต้อง วาสนา เกตุภาค (อ้างถึงใน ขนิษฐา จิตชินะกุล, 2545 : 7-8) ได้แบ่งประเภทของคติชน วิทยา ไว้ 3 ประเภท สรุปได้ดังนี้ 1) ประเภทใช้ถ้อยค า แบ่งออกได้เป็น 7 ประเภทย่อย คือ 1.1) เพลงชาวบ้านหรือเพลงพื้นเมือง 1.2) เพลงกล่อมเด็ก 1.3) บทกลอนส าหรับเด็ก 1.4) ภาษิต 1.5) ปริศนา 1.6) นิทานชาวบ้าน 1.7) ภาษาถิ่น 2) ประเภทไม่ใช้ถ้อยค า แต่จะถ่ายทอดโดยการประพฤติปฏิบัติหรือท าให้ดู แบ่ง ออกเป็น 3 ประเภทย่อย คือ 2.1) ศิลปะชาวบ้าน 2.2) สถาปัตยกรรม 2.3) งานฝีมือ 3) ประเภทผสม คือ ใช้ถ้อยค า การกระท าให้ดูประกอบกัน แบ่งได้ 5 ประเภทย่อย คือ 3.1) ระบ าชาวบ้าน 3.2) ละครชาวบ้าน 3.3) การละเล่นของเด็ก 3.4) ความเชื่อ 3.5) ขนมธรรมเนียมประเพณี 8

กฤตพัชร กรนุ่ม (2558) ได้สรุปบทบาทหน้าที่ของคติชนวิทยาไว้ดังนี้ 1) คติชนวิทยามีบทบาทหน้าที่ในการให้การศึกษา 2) คติชนวิทยามีบทบาทหน้าที่ในการให้ความบันเทิงและปลดปล่อยอารมณ์ที่เก็บ กด 3) คติชนวิทยามีบทบาทหน้าที่ในการเป็นแบบแผนพฤติกรรมของสังคม 4) คติชนวิทยามีบทบาทหน้าท าให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มชน 5) คติชนวิทยามีบทบาทหน้าที่ช่วยให้วัฒนธรรมเข้มแข็งขึ้น 6) คติชนวิทยามีบทบาทหน้าที่ใช้อธิบายที่มาและเหตุผลในการประกอบพิธีกรรม 7) คติชนวิทยามีบทบาทหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ คติชนวิทยาสามารถสรุปได้ว่าเป็นการศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นโดยน้ามือของมนุษย์ซึ่งสืบทอด ต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

1.7.6 สญั วิทยา (Semiology) จอห์นนพดล วศินสุนธร ได้นิยามสัญวิทยาว่าสัญวิทยาประกอบไปด้วยค าว่า Semio คือ Sign และ Logy คือ Science ดังนั้น Semiology จึงหมายถึง ศาสตร์แห่งสัญญะ หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า สัญศาสตร์ (Semiotics) ซึ่งเป็นหลักวิชาการแขนงหนึ่งที่ศึกษากระบวนการสื่อ ความหมาย โดยพิจารณาธรรมชาติของหน่วยสื่อความหมายและขั้นตอนการท างานของมัน เพื่อ ท าความเข้าใจว่าความหมายถูกสื่อความหมายออกมาได้อย่างไร แนวคิดสัญวิทยาและการสร้างความหมาย (Semiology and Signification) สัญวิทยา เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบของสัญลักษณ์ ที่ปรากฏอยู่ในความคิดของมนุษย์ อันถือเป็น ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวของเรา สัญลักษณ์อาจจะได้แก่ ภาษา รหัส สัญญาณ เครื่องหมาย ฯลฯ กาญจนา แก้วเทพ (2542) ได้แบ่งประเภทของความหมายที่อยู่ในสัญญะทุกอย่างว่ามี การสร้าง 1) ความหมายโดยอรรถ (Denotative meaning) หรือความหมายโดยตรง หมายถึง ความหมายที่เข้าใจกันตามตัวอักษรเป็นความหมายที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระดับแรกระหว่าง ตัวหมาย และตัวหมายถึง คนส่วนใหญ่จะเข้าใจตรงกัน เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป หรือเป็น ความหมายที่ระบุในพจนานุกรม 2) ความหมายโดยนัย (Connotative meaning) คือ ความหมายทางอ้อมที่เกิดจาก การตกลงของกลุ่มหรือเกิดจากประสบการณ์เฉพาะของบุคคล เป็นความหมายที่ถูกสร้างให้ เชื่อมโยงลงไปอีกชั้นหนึ่ง การที่จะถอดความหมายโดยนัยออกมาได้นั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรมของแต่ละแห่งเพราะจะท าให้เข้าใจความหมายได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง 9

1.8 เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง

“เทศกาลอีวาน คูปาลา ในประเทศรัสเซียกับวิถีชีวิตของชาวรสั เซีย” โดย ญาณิศา พันเนตร ปีที่จัดพิมพ์ พ.ศ.2552 ภาคนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเทศกาลอีวาน คูปาลา ในด้าน ประวัติและรายละเอียดต่าง ๆ ของเทศกาล ที่ครอบคลุมตั้งแต่พิธีการเฉลิมฉลอง หลักจารีต ปฏิบัติ สัญลักษณ์ส าคัญในเทศกาลนี้ รวมถึงการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของการเฉลิมฉลอง เทศกาลอีวาน คูปาลาในประเทศรัสเซียในอนาคต “การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ทางด้านคติชนวิทยาของต านานรูซาลกาซึ่ง สมั พนั ธ์กบั ประเพณีและวิถีชีวิตของชาวสลาฟตะวนั ออก” โดย กฤตพัช กรนุ่ม ปีที่จัดพิมพ์ พ.ศ.2558 ภาคนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อของกลุ่มชาติพันธ์สลาฟ ตะวันออก โดยน าต านานของรูซาลกาหรือเงือกซึ่งเป็นตัวละครในเทพนิยายมาเป็นตัวอย่างใน การวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิดด้านคติชนวิทยา “The Slavs and the East” โดย Mikhail Tikhomirov, Babadjan Gafourov และ USSR. National Commission for UNESCO ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2508 เป็นหนังสือว่าด้วยเรื่อง ประวัติและวัฒนธรรมของชาวสลาฟตั้งแต่อดีต จนถึงสมัยสหภาพโซเวียต รวมถึงมีเนื้อหาที่ เกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์กับชาวตะวันออกหรือเอเชียทางการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การค้า และ ความสัมพันธ์ด้านอื่น ๆ

10

บทที่ 2 ชาวสลาฟ

2.1 ประวตั ิเบื้องต้นของชาวสลาฟ

ชาวสลาฟโบราณมีที่มาไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากยังไม่มีการประดิษฐ์อักษรหรือบันทึกที่ เล่าเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์นี้ แม้ว่าชาวสลาฟจะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของทวีปยุโรปหรือ จ านวนประชากรมากที่สุดในหมู่ชาวอินโด-ยูโรเปียนด้วยกันเองก็ตาม มีการกล่าวถึงกลุ่มชาติ พันธุ์สลาฟครั้งแรกในบันทึกของอาณาจักรไบแซนไทน์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 บันทึกหลาย ๆ บันทึกกล่าวถึงชาวสลาฟต่างกัน บ้างว่าเป็นชนเผ่าเร่ร่อนในยุโรปที่ชื่นชอบท าสงครามกับเผ่าอื่น ๆ รวมถึงกรุงโรม บ้างก็ว่าชาวสลาฟนั้นมีถิ่นที่อยู่อาศัยในป่าหรือแถวหนองน้า หรือชาวสลาฟมี อาณาจักรเป็นของตนเอง นักวิชาการในปัจจุบันเชื่อว่าชาวสลาฟมีถิ่นก าเนิดในบริเวณยุโรป ตอนกลางและตะวันออก อาศัยอยู่ริมแม่น้าแ ม่น้านีเปอร์ (Dnieper river) แม่น้าโอเดอร์ (Oder river) และบริเวณเทือกเขาคาร์เพเทียน โดยเริ่มตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินหรือยุค ส าริด ก่อนที่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวสลาฟเริ่มอพยพออกไปตั้งรกรากในบริเวณอื่นของ ทวีปยุโรป สาเหตุที่เรียกชาติพันธุ์นี้ว่า “สลาฟ” นั้น นักประวัติศาสตร์ได้อธิบายไว้ว่า “slav” แผลงมาจากค าว่า “slovo” ซึ่งหมายถึงคนที่เป็นพวกเดียวกับเรา และอีกความเห็นได้โยงหลักนิรุ ติศาสตร์หรือศาสตร์ว่าด้วยการสร้างค าของค าว่า “slav” กับภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียนโบราณ “slaous” ที่หมายถึง มนุษย์ และไม่ได้มีที่มาจาก slave ที่แปลว่าทาส (Timofechev, 2017) สังคมของชาวสลาฟโบราณเป็นสังคมที่คล้ายกับชนเผ่า คือมีผู้น าที่เป็นผู้บัญชาการรบ และตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ก่อนพัฒนามาเป็นสังคมเมืองหรืออาณาจักรที่ปกครองโดยผู้น าซึ่ง ถูกเรียกว่าเจ้าชาย ชาวสลาฟจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นหลักแหล่งในหมู่บ้านของตน บ้านหรือ กระท่อมของชาวสลาฟนั้นเป็นท ามาจากท่อนซุงและขุดลงไปในดิน มีหลังคาที่มุงตัวกระท่อมไว้ กว่า 1/3 ของทั้งหลัง และภายในไม่มีการแบ่งห้อง เดิมเชื่อว่าที่อยู่ของชาวสลาฟเป็นแบบ ชั่วคราวเพราะต้องย้ายตามการท าเกษตรในแต่ละฤดู แต่เมื่อชาวสลาฟสามารถเพาะปลุกและ เลี้ยงสัตว์เองได้จึงไม่จ าเป็นต้องย้ายถิ่นฐานอีกต่อไป ชาวสลาฟนิยมแต่งงานกับคนนอกเผ่าหรือ อาณาจักรอื่น เพราะการแต่งงานไม่ได้ท าให้ชาวสลาฟสูญเสียสายเลือดของความเป็นสลาฟหรือไม่ สามารถกลับมายังหมู่บ้านของตนได้อีก

11

ภาพที่ 2.1 กระท่อมที่ชาวสลาฟใช้อยู่อาศัย. จาก https://medievalheritage.eu/en/2020/12/25/early- medieval-dwelling-houses-of-the-northern-slavic-region/

อาณาจักรแห่งแรกของชาวสลาฟในประวัติศาสตร์คือโมราเวีย หรือจักรวรรดิโมราเวีย อันยิ่งใหญ่ (Great Moravian Empire) ซึ่งตั้งชื่อตามแม่น้าโมราวา (Morava) ที่ไหลผ่านบริเวณ นั้น โมราเวียมีพื้นที่ส่วนใหญ่ในยุโรปตอนกลางซึ่งกินพื้นที่กว่าหลายประเทศในปัจจุบัน คือ โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี สโลวาเกีย และพื้นที่บางส่วนของเยอรมนี เซอร์เบีย โรมาเนีย โครเอเชีย และยูเครน จักรวรรดินี้ก่อตั้งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 และล่มสลายราวต้น คริสต์ศตวรรษที่ 10 จากกการท าสงครามกับอาณาจักรรอบข้างและถูกผนวกรวมกับดินแดน แห่งโบฮีเมีย แต่เดิมพื้นที่นี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวเคลติก ชนเผ่าเยอรมัน และชาวอาวาร์1 ตามล าดับ ก่อนที่ชาวสลาฟจะเริ่มเข้าไปตั้งถิ่นฐานและพัฒนาเป็นอาณาจักรดังกล่าว ในยุคกลาง โมราเวียถือเป็นหนึ่งในอาณาจักรศูนย์กลางที่มีอิทธิพลอย่างมากในภูมิภาคยุโรปตอนกลาง ปัจจุบันโมราเวียเหลือเพียงแค่พื้นที่เล็ก ๆ ที่อยู่ทางตะวันออกของสาธารณรัฐเช็ก นอกจาก โมราเวียแล้วยังมีชาวสลาฟยังมีอาณาจักรโบราณอื่น ๆ เช่นอาณาจักรเคียฟรุส อาณาจักร โปแลนด์ อาณาจักรแห่งนิตร้าในสโลวาเกีย เป็นต้น ชาวสลาฟสามารถแบ่งตามภูมิภาคได้เป็น 3 กลุ่ม คือสลาฟตะวันออก สลาฟตะวันตก และสลาฟใต้ ดินแดนของชาวสลาฟส่วนใหญ่นั้นตั้งอยู่ในยุโรปตอนกลางไปจนถึงยุโรปฝั่ง ตะวันออก ซึ่งในปัจจุบันประเทศสลาฟตะวันออกคือรัสเซีย ยูเครน และเบลารุส ซึ่งเป็นดินแดนที่

1 ชาวอาวาร์ (Avar) เป็นกล่มชาติพันธุ์ที่มีการรวมกันจากหลายชนเผ่าและปกครองหลายพื้นที่ในสมัยโบราณ ปัจจุบันอาศัย อยู่ในรัวเซียและเอเชียกลาง ชาวอาวาร์ถือว่าเป็นชาวเติร์กและคอเคซัส 12

มีขนาดและประชากรชาวสลาฟมากที่สุด ชาวสลาฟตะวันออกได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจาก ตุรกี ตะวันออกกลาง และมองโกลตาตาร์สมัยที่เข้ามาครอบครองอาณาจักรเคียฟรุสของรัสเซีย และยูเครน ประเทศสลาฟตะวันตกปัจจุบันได้แก่โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และสโลวาเกีย มีพื้นที่ ติดทะเลบอลติกที่สามารถท าการค้าขายได้อย่างสะดวก พื้นที่สลาฟตะวันตกเป็นที่ตั้งของ โมราเวียในอดีต ได้รับอิทธิพลจากเยอรมันและอาณาจักรฮังการีมาอย่างมาก และประเทศใน สลาฟใต้ ได้แก่โครเอเชีย เซอร์เบีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย มอนเตเนโกร, มาซิโดเนียเหนือ และสโลวีเนีย ตั้งอยู่ในแถบคาบสมุทรบอลข่าน มีความใกล้ชิดกับอาณาจักร โรมันโบราณและจักรวรรดิไบแซนไทน์ แม้ว่าชาวสลาฟในแต่ละพื้นที่จะได้รับอิทธิพลด้านต่าง ๆ จากอาณาจักรเพื่อนบ้านท าให้ เริ่มมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและภาษา แต่ในขณะเดียวกันชาวสลาฟก็ยังรับเอาวัฒนธรรม และระบบระเบียบทางสังคมของยุโรปมาใช้ เช่น ระบบขุนนาง ระบบทาสติดที่ดิน การปฏิวัติ อุตสาหกรรม การนับถือศาสนา และระบบตัวอักษร ท าให้ชาวสลาฟสามารถค้าขายเปลี่ยนและ ยังคงมีปฏิสัมพันธ์กับชาวยุโรปที่เหลือได้เป็นอย่างดี ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 Vinko Pribojević นักประวัติศาสตร์ชาวโครเอเชียได้คิดค้น แนวคิด Pan-Slavism ขึ้น แนวคิดนี้เป็นแนวคิดชาตินิยมส าหรับชาวสลาฟ เพื่อท าให้รัฐต่าง ๆ ของสลาฟนั้นมีความเป็นหนึ่งเดียวทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม และการเมือง ในทวีปยุโรปเอง แนวคิดชาตินิยมก็ได้รับความนิยมมากในหมู่ประเทศมหาอ านาจอย่างฝรั่งเศสและอังกฤษ แนวคิด Pan-Slavism จึงเหมือนกับสิ่งที่ท าให้ประเทศสลาฟกลับมามีความสัมพันธ์เน้นแฟ้นขึ้น อีก ตัวอย่างที่ชัดเจนของแนวคิดนี้คือการที่จักรวรรดิรัสเซียสนับสนุนเซอร์เบียในสงครามโลก ครั้งที่ 1 โดยอ้างความเป็นชาวสลาฟเหมือนกัน แนวคิด Pan-Slavism ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ท า ให้เกิดการรวมตัวกลุ่มกลุ่มประเทศสลาฟใต้จนกลายเป็นยูโกสลาเวีย นอกจากนี้ยังมีการใช้ แนวคิด Pan-Slavism ในโฆษณาชวนเชื่อของกองทัพชาวสลาฟต่าง ๆ แต่กลับท าให้เกิดความ เกลียดชังในหมู่ชาวสลาฟมากขึ้นโดยเฉพาะในนาซีเยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาว สลาฟกว่า 11 ล้านคนถูกสังหารโดยกองทัพนาซีในสงครามแห่งการกวาดล้าง (War of annihilation) ในยุโรปตะวันออก และถูกบังคับให้เป็นแรงงานทาส ในขณะเดียวกันภายหลังการ เปลี่ยนแปลงการปกครองสหภาพโซเวียตตัดสินใจปฏิเสธแนวคิดนี้เนื่องจากถือว่าเป็นการ สนับสนุนจักรวรรดิรัสเซีย แต่ได้น ากลับมาใช้ใหม่ในช่วงสงครามโลกก่อนที่ในช่วงทศวรรษที่ 1940 แนวคิด Pan-Slavism จะมีความส าคัญลดลงไป (Stergar, 2017) ปัจจุบันประชากรสลาฟทั่วโลกมีจ านวนอยู่ประมาณ 350 ล้านคน และถือเป็นกลุ่มชาติ พันธุ์ส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป

13

ภาพที่ 2.2 แผนที่ของโมราเวียเมื่อเปรียบเทียบกับทวีปยุโรป. จาก https://commons. wikimedia.org/wiki/File:Great_moravia_svatopluk_datailed.png

ภาพที่ 2.3 แผนที่กลุ่มประเทศสลาฟ. จาก htpps:// meettheslavs.com/slavs/

14

2.2 ภาษา ภาษาสลาฟในช่วงแรกยังเป็นเพียงภาษาพูดที่ไม่มีตัวอักษรใช้และถูกเรียกว่า Proto- Slavic ซึ่งหมายถึงภาษาสลาฟดั้งเดิมที่มีการใช้ตั้งแต่ก่อนคริสตกาลจนถึงราวศตวรรษที่ 6 ก่อนที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 จะเริ่มมีการแตกตัวของกลุ่มภาษาสลาฟเกิดขึ้นจากการโยกย้ายถิ่น ฐานของชาวสลาฟ ในสมัยโบราณชาวสลาฟใช้ภาษาที่เรียกกันว่า Old church Slavonic language หรือ ภาษาโบสถ์สลาโวนิกโบราณ ซึ่งเป็นภาษาแรก ๆ ของชาวสลาฟที่พูดกันในโมราเวีย อาณาจักร บัลแกเรีย รวมถึงอาณาจักรเคียฟรุสของรัสเซีย โดยใช้อักษรเขียนที่มีชื่อว่า Glagolitic ซึ่งคิดค้น โดยนักบุญซีริลจากเทสซาโลนิกี, กรีก ผู้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์พร้อมนักบุญเมโธดิอุสผู้เป็น พี่ชายในดินแดนของชาวสลาฟตามค าเชิญของกษัตริย์ราสติสลาฟแห่งโมราเวียในคริสต์ศตวรรษ ที่ 9 เหตุที่เรียกว่าภาษาโบสถ์สลาโวนิกนั้นมาจากจุดประสงค์แรกของการประดิษฐ์อักษร คือ การใช้บันทึกบทสวดและค าสอนทางศาสนาก่อนที่จะเริ่มใช้กันแพร่หลายมากขึ้นในหมู่คนทั่วไป

ภ า พ ที่ 2.4 Baška tablet บันทึกของชาวโครเอเชียที่เขียนด้วยอักษร Glagolitic. จาก https://www.learncroatian.eu/blog/glagolitic-alphabet

15

ภายหลังการล่มสลายของโมราเวีย ชาวสลาฟในแต่ละภูมิภาคเริ่มซึมซับอิทธิพลด้าน ภาษาจากดินแดนรอบ ๆ รวมถึงการที่ศาสนาคริสต์ได้แยกเป็นนิกายคาทอลิกและออร์โธดอกซ์ ท าให้แต่ละพื้นที่ได้พัฒนาภาษาและเริ่มปรับใช้ตัวอักษรให้เข้ากับภาษาของตน ในศตวรรษที่ 10 มีการคิดค้นตัวอักษรซีริลิก (Cyrillic) ขึ้นและน ามาใช้แทนอักษร Glagolitic ซึ่งอักษรซีริลิกพัฒนามาจากอักษรกรีกและมีมีความง่ายต่อการเขียนมากกว่าอักษร Glagolitic มาก ซึ่งปัจจุบันปะเทศที่ใช้อักษรซีริลิกในการเขียนคือประเทศสลาฟตะวันออก เช่น ภาษารัสเซีย ภาษาเบลารุส ภาษายูเครน นอกจากนี้อักษรซีริลิกยังถูกใช้งานในภาษาอื่น ๆ ด้วย เช่น ภาษามองโกล ภาษาคาซัค เป็นต้น ตัวอักษรอีกประเภทที่ถูกใช้ในภาษาสลาฟคือตัวอักษร ละติน ซึ่งใช้กันแพร่หลายในประเทศสลาฟตะวันตกและสลาฟใต้ โดยตัวอักษรจะมีเครื่องหมาย ก ากับเสียงเพื่อให้สามารถออกเสียงได้สะดวกมากขึ้น เช่น ภาษาเช็ค ภาษาโปแลนด์ แต่ก็มีบาง ประเทศที่สามารถใช้ทั้งอักษรซีริลิกและอักษรละติน คือ เซอร์เบียและเฮอร์เซโกวีนา สาเหตุที่มี การใช้ตัวอักษรต่างกันมาจากอิทธิพลทางศาสนา ภายหลังที่ศาสนาคริสต์เริ่มแบ่งเป็นหลาย นิกาย ประเทศที่ยังมีการนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์จะยังใช้ตัวอักษรซิริลิกอยู่ ส่วน ประเทศที่ภายหลังเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกจะหันไปใช้ตัวอักษรละติน ที่มีเครื่องหมายเสียงก ากับแทน ภาษาสลาฟนั้นจัดอยู่ในตระกูลอินโด-ยูโรเปียนที่เป็นต้นกระกูลของภาษาในยุโรปและ เอเชียตะวันตก โดยอยู่ในกลุ่มภาษาย่อยโปรโตสลาวิก (Proto-Slavic language) ซึ่งภาษาจะมี ความใกล้ชิดกันมาก โดยมักมีโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่เรียกว่า การก (Case) 7 การก มีการ แบ่งเพศของค าศัพท์ การออกเสียง รูปประโยคที่คล้ายคลึงกัน ท าให้ชาวสลาฟประเทศต่าง ๆ สามารถเข้าใจหรือสื่อสารกันได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรด็ตาม อิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมและ ศาสนาท าให้แต่ละภาษาของชาวสลาฟมีวิวัฒนาการของตน ในประเทศสลาฟตะวันตกที่อยู่ติด กับเยอรมันจะได้รับอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมจากเยอรมันมามาก เช่นเดียวกับประเทศ สลาฟใต้ที่นอกจากจะได้รับอิทธิพลจากจักรวรรดิไบแซนไทน์และอาณาจักรโรมันแล้วยังมี อิทธิพลจากศาสนาอิสลาม ท าให้ในบางพื้นที่มีการใช้ตัวอักษรอาหรับอีกด้วย ส่วนประเทศใน สลาฟตะวันออกได้รับอิทธิพลด้านภาษาจากศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ตะวันออกกลาง และมองโกล ท าให้แต่ละชนชาติมีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของตน

16

ปัจจุบันภาษาที่ใช้ในกลุ่มประเทศสลาฟสามารถแบ่งได้ตามตารางดังนี้ ตารางที่ 2.1 ภาษาที่ใช้ในกลุ่มประเทศสลาฟ

สลาฟ สลาฟตะวันตก สลาฟใต้ ตะวันออก

ตะวันออก เช็ก-สโลวัก – ภาษาบัลแกเรีย ภาษาเบลารุส – ภาษาเช็ก – ภาษามาซิโดเนีย – ภาษาสโลวัก – ภาษาโบสถ์สลาโวนิก

ตะวันตก – กลุ่มภาษา Serbo- Croatian กลุ่มภาษา Lechitic2 – ภาษาเซอร์เบีย – ภาษาโปแลนด์, ภาษาไซลีเซีย – ภาษาโครเอเชีย ภาษารัสเซีย – ภาษาพอเมเรเนีย (ปอมเปอเร- – ภาษาบอสเนีย เนีย) – ภาษามอนเตเนโกร – ภาษาคาซูเบียน – ภาษาบูร์เกนลันด์- โครเอเชีย – ภาษาสโลวีเนีย

2 กลุ่มภาษา Lechitic หรือเลคิติก เป็นกลุ่มภาษาสลาฟตะวันตกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ใช้พูดในพื้นที่ประเทศ โปแลนด์ 17

สลาฟ สลาฟตะวันตก สลาฟใต้ ตะวันออก

กลุ่มภาษา Sorbian3 ภาษายูเครน – Upper Sorbian – Lower Sorbian

3 กลุ่มภาษา Sorbian หรือซอร์เบียน เป็นกลุ่มภาษาสลาฟตะวันตกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่พูด กันในภาคตะวันออกของเยอรมนีบริเวณที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก 18

ภาพที่ 2.5 อักษรซีริลิกในภาษารัสเซีย. จาก http://eucenterillinois-language.blogspot .com/2015/11/the-political-alphabet-cyrillic.html

ภาพที่ 2.6 อักษรละตินในภาษาเซอร์เบีย. จาก https://omniglot.com/writing/serbian.htm

ภาพที่ 2.7 อักษรอาหรับที่ใช้ในกลุ่มประเทศสลาฟใต้, https://omniglot.com/writing/bosnian.htm (สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2564)

19

ภาพที่ 2.7 อักษรอาหรับที่ใช้ในกลุ่มประเทศสลาฟใต้. จาก https://omniglot.com/writing/bosnian.htm 2.3 ศาสนาและความเชื่อ

2.3.1 ความเชื่อดงั้ เดิมของชาวสลาฟสมยั โบราณ ชาวสลาฟสมัยโบราณยังไม่มีศาสนา แต่จะนับถือธรรมชาติและเทพเจ้า ซึ่งในปัจจุบัน ความเชื่อนี้ถูกเรียกว่าลัทธินอกศาสนา (Peganism) และยังเรียกกันว่าศาสนาสลาฟ (Slavic religion) ชาวสลาฟยังมีความเชื่อเกี่ยวกับภูติผีปีศาจว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ด้วยเหตุนี้เองชาวสลาฟจึง มีหลายประเพณีที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและการบูชาเทพเจ้า เนื่องจากสภาพสังคมของชาว สลาฟเป็นการยังชีพแบบเกษตรกรรม การปศุสัตว์ หาของป่า เทพเจ้าของชาวสลาฟจึงเป็นเทพ ที่เกี่ยวกับธรรมชาติและเป็นเทพประจ าฤดูกาล เนื่องจากก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวสลาฟยังไม่ มีตัวอักษรของตัวเองใช้ เรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าจึงเป็นมุขปาฐะหรือการเล่าแบบปากต่อปาก หลักฐานทางโบราณคดีที่เหลือส่วนใหญ่จึงเป็นรูปแกะสลัก รูปปั้น หรือแท่นบูชา โดยส่วนใหญ่ แล้วชาวสลาฟโบราณจะแกะสลักรูปปั้นเทพเจ้าจากท่อนไม้ จากนั้นน าไปเคลือบด้วยน้ามันและ ขี้ผึ้ง เทพปรกรณัมของสลาฟนั้นมีความเป็นไปได้ว่าได้รับอิทธิพลทางความเชื่อเรื่องเทพเจ้า มาจากอิหร่านและชาวไวกิ้ง สังเกตได้จากชื่อของเทพต่าง ๆ ซึ่งตามความเชื่อดั้งเดิมของชาว สลาฟนั้นเชื่อว่าในอดีตกาล จักรวาลมีแต่ความมืดมิดและความยุ่งเหยิง ในความมืดนั้นมีไข่ที่ บรรจุเทพร็อด () หรือเทพผู้สร้างเอาไว้ เมื่อเทพร็อด ตื่นขึ้นมาและได้เริ่มสร้างแสงสว่างและ ความมืด และยังได้ให้ก าเนิดเทพลาดา () ซึ่งเป็นเทพแห่งความรักจากลมหายใจของ พระองค์ ต่อมาร็อดและลาดายังได้ให้ก าเนิดเทพอีกหลายองค์ รวมถึงธรรมชาติและมนุษย์ขึ้นมา เมื่อเสร็จสิ้นการสร้างทุกอย่างแล้วเทพร็อดได้หายไป เปิดโอกาสให้เทพองค์อื่น ๆ ได้ท าหน้าที่ ของตนต่อ นอกจากนี้ยังมีอีกต านานได้เล่าว่า ในอดีตกาลมีเพียงความมืด เทพร็อดและไข่อีก หนึ่งใบที่บรรจุเทพสวาร็อก () ซึ่งเป็นเทพแห่งการตีเหล็กเอาไว้ เมื่อไข่แตกเทพสวาร็อก ได้ปีนออกมา โดยการก าเนิดของเทพองค์นี้ได้ท าให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาลขึ้นมา เศษฝุ่นจาก 20

เปลือกไข่ได้ก่อตัวขึ้นเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่แบ่งแยกสวรรค์จากแผ่นดินและทะเล เทพสวาร็อกได้ ใช้ผงสีทองจากยมโลกมาสร้างเป็นโลก พระอาทิตย์ และพระจันทร์ เปลือกไข่ที่เหลือได้มา รวมกันและก่อตัวเป็นสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมถึงมนุษย์ (Wigington, 2017) อย่างไรก็ตาม ชนเผ่าต่าง ๆ ของชาวสลาฟอาจจะมีความเชื่อในการสร้างโลก แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่มีเหมือนกันคือความเชื่อว่าจักรวาลของชาวสลาฟนั้นแบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ Prav โลกของผู้ปกครองคือเทพและเทวดาทั้งหลาย Jav/Yav โลกที่มนุษย์อาศัยอยู่ และ คือยมโลกหรือโลกหลังความตาย เป็นที่อยู่อาศัยของวิญญาณและสิ่งมีชีวิตเช่น ปีศาจ ภูติ ซึ่งโลกทั้งสามของชาวลสาฟเป็นการเปรียบเทียบถึงการปกครอง (Prav) ความจริง (Jav) และ ความเป็นไปได้ (Nav) ตามลักษณะสังคมของชาวสลาฟในสมัยนั้น และในต านานการสร้างโลก ของชาวสลาฟนั้นจะพูดถึงสิ่งที่เป็นขั้วตรงข้ามกันอยู่เสมอ เช่น แสงสว่างและความมืด กลางวัน และกลางคืน การก าเนิดและความตาย ชาวสลาฟนับถือเทพเจ้าหลายองค์แต่เทพเจ้าสูงสุดของชาวสลาฟคือเปรุน () ผู้น าของเหล่าเทพเจ้าสลาฟต่าง ๆ เพรันเป็นเทพแห่งท้องฟ้า สงคราม กฎหมาย และต้นโอ๊ค ซึ่ง ชาวสลาฟมักจะมีอนุสรณ์ของเทพองค์นี้ตั้งไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชา นักวิชาการกล่าวว่าเปรุน เปรียบได้กับเทพในต านานอื่น ๆ อย่างเช่นซุส เทพแห่งท้องฟ้าของกรีก และธอร์ เทพแห่ง ท้องฟ้าของชาวไวกิ้ง เปรุนมีเทพที่เป็นศัตรูกับพระองค์คือเวเลส (/Weles) เทพผู้ปกครอง โลกหลังความตายและเทพแห่งปศุสัตว์ เวเลสเป็นเทพที่โดนเนรเทศลงมาจากสวรรค์ และมัก ขโมยสิ่งต่าง ๆ จากเทพบนสวรรค์เสมอ มีครั้งหนึ่งที่เวเลสได้ขโมยวัวไปซ่อนในถ ้า ท าให้โลก เกิดความแห้งแล้งและเปรุนต้องลงมาปราบเวเลสด้วยสายฟ้า เพื่อน าความอุดมสมบูรณ์กลับมา ยังโลกอีกครั้ง ทั้งเปรุนและเวเลสก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นขั้วตรงข้ามตามความเชื่อของชาว สลาฟ คือความดีและความชั่ว เทพปกรณัมสลาฟนี้ภายหลังได้ถูกน ามารวบรวมข้อมูลและเขียน เป็นบันทึกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในชื่อ นอกจากเปรุนแล้วยังมีเทพเจ้าองค์อื่น ๆ อีกมากที่ชาวสลาฟนับถือ เช่น Jarilo เทพเจ้าแห่งฤดูใบไม้ เซมากล (Semargl) เทพแห่งไฟ เป็นต้น โดยในภาคนิพนธ์เล่มนี้จะ กล่าวถึงคูปาลา หนึ่งเทพผู้มีอิทธิพลต่อชาวสลาฟในช่วงการเริ่มท าเกษตรกรรมและการเก็บ เกี่ยว ซึ่งผู้ศึกษาจะกล่าวถึงในบทต่อไปข้างหน้า ต่อมาเมื่อศาสนาคริสต์ได้เข้ามามีอิทธิพลในหมู่ชาวสลาฟมากขึ้น ส่งผลให้ความ เชื่อในเทพเจ้าของชาวสลาฟถูกลดทอนลงไป และยังมีการท าลายศาสนสถาน รูปปั้นเทพเจ้าต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ และคนที่ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าเหล่านี้จึงกลายเป็นพวกนอกรีต ไป 21

ภาพที่ 2.8 เปรุ น . จาก https://mymythstories.com/en/perun-the-god-of-thunder/?cn-reloaded=1

ภาพที่ 2.9 ยาริโล. จาก https://brendan-noble.com/jarylo-jarilo-yarilo-slavic-god-of-spring- war-fertility-and-agriculture/

ภาพที่ 2.10 ลาดา. จาก Maximilian Presnyakov, https://www.thoughtco.com/lada- slavik-goddess-4776503

22

ภาพที่ 2.11 ซีมากล. จาก https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Simargl-1.jpg 2.3.2 ศาสนาและความเชื่อของชาวสลาฟตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 จนถึงปัจจุบัน ราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ศาสนาคริสต์เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในหมู่ชาวสลาฟมากขึ้น กระทั่งในปัจจุบันศาสนาที่ชาวสลาฟส่วนใหญ่นับถือคือศาสนาคริสต์ เนื่องจากประเทศในสลาฟ หลายประเทศได้รับอิทธิพลทางศาสนาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ ท าให้ศาสนาคริสต์นิกายออร์ โธดอกซ์มีอิทธิพลในหมู่ชาวสลาฟเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านความเชื่อและการใช้ชีวิตประจ าวัน ภายหลังคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโมราเวียอันยิ่งใหญ่ ชาวสลาฟ กลุ่มต่าง ๆ เริ่มหันไปนับถือศาสนาคริสต์ต่างนิกายกันโดยได้รับอิทธิพลจากทั้งดินแดนรอบ ๆ และสงครามครูเสดที่ก าลังจะเกิดขึ้น โดยในประเทศสลาฟตะวันออกและสลาฟใต้ส่วนใหญ่จะนับ ถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ส่วนประเทศสลาฟตะวันตกจะนับถือศาสนาคริสต์นิกาย โรมันคาทอลิก นอกจากนี้ยังมีศาสนาอื่นที่มีการนับถือเป็นส่วนน้อยซึ่งเข้ามาผ่านการค้าขาย หรือการพบปะสมาคมระหว่างชาวสลาฟและชนชาติอื่น ๆ เช่น ศาสนาอิสลาม ศาสนายิว เป็น ต้น ในช่วงสหภาพโซเวียต ศาสนาถือเป็นข้อต้องห้ามเนื่องจากพรรคบอลเชวิคมีความ เชื่อว่าศาสนาคือศูนย์รวมใจของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ มีการท าลายศาสนสถานและ จับกุมนักบวช ประชาชนชาวโซเวียตนับถือผู้น าของตนเป็นสูงสุด ภายหลังการล่มสลายของ สหภาพโซเวียตผู้คนส่วนใหญ่ต่างกลับมานับถือศาสนาเหมือนเดิม ส่วนประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วม สหภาพโซเวียตแต่เข้าร่วมลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นยังสามารถนับถือศาสนาได้ แต่ด้วยข้อนี้เองท าให้ รัฐสังคมนิยมต้องล่มสลายเพราะความขัดแย้งทางศาสนาลและเชื้อชาติ เช่น ยูโกสลาเวียใน สลาฟใต้ ช่วงยุคสงครามโลกจนถึงสงครามเย็นเป็นช่วงเวลาที่ความเชื่อและศาสนาหลาย ๆ อย่างเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ภายหลังที่สหภาพโซเวียตและแนวคิดคอมมิวนิสต์ในยุโรปล่มสลาย ลง ชาวสลาฟสามารถกลับมานับถือศาสนาและความเชื่อของตนได้ตามปกติ 23

ภาพที่ 2.12 แ ผ น ที่ ข อ ง ยูโกสลาเวียใน อ ดี ต . จ า ก https://www.quora.com/Was-religion-allowed-in-the-Soviet-Union

24

บทที่ 3 เทศกาล Kupala Night

3.1 ความเป็นมาของเทศกาล Kupala Night

ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเทศกาลนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่บรรพบุรุษของชาวสลาฟ เฉลิมฉลองเทศกาลนี้มาอย่างยาวนานตั้งแต่โบราณ เทศกาลนี้จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายนตามปฏิทินเก่าหรือช่วงวันที่ 7 กรกฎาคมในปฏิทินใหม่ของศาสนาคริสต์ และตรงกับ ฤดูร้อนของพื้นที่ในแถบยุโรป โดยจะถือเอาวันครีษมายัน คือวันที่กลางวันยาวนานที่สุดและ กลางคืนสั้นที่สุดเป็นวันฉลองเทศกาล เทศกาล Kupala Night จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองแก่ฤดูร้อน และเตรียมพร้อมส าหรับการเก็บเกี่ยวพืชผล เทศกาลนี้มีพิธีกรรมฌเฉลิมฉลองที่เกี่ยวข้องกับน้า ไฟ สมุนไพร และความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ภูตผี แม่มด เงือก เป็นต้น ต่อมาราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ศาสนาคริสต์ได้เข้ามาเผยแผ่ในแผ่นดินของชาวสลาฟ ท า ให้ชาวสลาฟส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาคริสต์มากขึ้น มีความพยายามให้เทศกาลนี้ถูกทดแทน ด้วยการฉลองวันประสูติของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติมา ซึ่งตรงกับวันฉลองเทศกาล Kupala Night เพราะนักบวชผู้เผยแผ่ศาสนาคริสต์ถือว่าความเชื่อดั้งเดิมของชาวสลาฟนั้นไม่ถูกต้อง เป็นสิ่งนอกรีต โดยนักบุญยอห์นเป็นหนึ่งบุคคลส าคัญส าคัญของศาสนาคริสต์ เนื่องจากเป็นผู้ที่ ได้ล้างบาปให้กับพระเยซูก่อนที่พระองค์จะเดินทางออกไปเผยแผ่ค าสอนของพระเจ้า แต่อย่างไร ก็ตามความพยายามลบล้างเทศกาลนี้ออกไปไม่ประสบผลส าเร็จ ชาวสลาฟยังคงยึดถือในความ เชื่อดั้งเดิมของตนแม้ว่าจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์แล้ว ท าให้เกิดการผสมผสานของทั้ง 2 การฉลองนี้เข้าด้วยกัน เนื่องจากมีสิ่งที่เกี่ยวข้องกันคือน้าและการช าระล้าง ท าให้ในปัจจุบัน เทศกาล Kupala Night มีความหลากหลายในการเฉลิมฉลองมากขึ้น

25

ภาพที่ 3.1 นักบุญยอห์นให้บัพติมาแก่พระเยซู. จาก Fine Art Images/Heritage Images/Getty Images, https://www.learnreligions.com/profile-of-john-the-baptist-701090

3.2 ชีวประวตั ิของนักบุญยอห์น

นักบุญยอห์น, จอห์น หรือยอห์นผู้ให้บัพติมา เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนในปีเดียวกับที่ พระเยซูประสูติ ก่อนที่นักบุญยอห์นจะเกิดนั้น มีเทวทูตได้มาพบกับนักบุญนักบุญเศคาริยาห์ เพื่อบอกว่านักบุญเอลิซาเบธจะตั้งครรภ์ลูกชายและจะตั้งชื่อว่ายอห์น แต่นักบุญเศคาริยาห์นั้น ไม่เชื่อเนื่องจากว่าตนและภรรยาต่างชรามากแล้วและยังไม่มีบุตร เทวทูตจึงลงโทษให้นักบุญเศ คาริยาห์นั้นพูดไม่ได้จนกว่าจะถึงวันคลอด เมื่อท่านกลับไปบ้านก็พบว่านักบุญเอลิซาเบธ ตั้งครรภ์จริง ๆ ในวันเกิดของนักบุญยอห์นเป็นวันที่นักบุญเศคาริยาห์กลับมาพูดได้อีกครั้ง เชื่อ กันว่ายอห์นคือผู้ที่มาเตรียมพร้อมให้กับการมาถึงของพระเยซูเจ้า ท่านเป็นบุตรของนักบุญเอลิ ซาเบธและนักบุญเศคาริยาห์ ซึ่งนักบุญเอลิซาเบธเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระนางมารีย์ มารดาของ พระเยซู จึงถือว่านักบุญยอห์นเป็นพระญาติของพระเยซู ยอห์นแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ท ามาจากขนอูฐ สวมเข็มขัดหนัง รับประทานทาน ตั๊กแตนและน้าผึ้งป่า (มัทธิว 3) อาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดารในทะเลทรายเพื่อเผยแผ่ค าสอนของ เพราะเจ้าก่อนการมาถึงของพระเยซู รวมถึงการให้บัพติมาหรือการล้างบาปให้แก่ผู้ที่เชื่อในพระ เจ้าตามริมแม่น้า ต่อมาในขณะที่ยอห์นก าลังให้บัพติมาแก่ผู้คนในแม่น้าจอร์แดน พระเยซูทรง เสด็จมารับบัพติมาเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าพระองค์ก็เชื่อฟังค าสอนของพระเจ้า เช่นเดียวกับคนธรรมดา ยอห์นถูกจับกุมโดยค าสั่งของเฮโรด กษัตริย์ของปาเลสไตน์ในสมัยนั้น 26

เนื่องจากท่านเป็นผู้เผยแพร่ค าสอนของพระเจ้า ซึ่งเฮโรดเกรงว่าค าสอนของพระเจ้านั้นจะท าให้ ประชาชนไม่ศรัทธาพระองค์ ยอห์นถูกประหารโดยการตัดศีรษะในคุกในวันเกิดของเฮโรด เดิมที่ พระองค์ไม่ได้ต้องการประหารยอห์น แต่พระองค์ได้ท าตามค าขอของบุตรสาวของนางเฮโร เดียส4 ในวันเกิดของพระองค์ โดยนางได้เต้นระบ าให้เฮโรดทอดพระเนตรจนเป็นที่พอใจและจะ ให้รางวัลตามที่นองขอ ซึ่งบุตรสาวของนางเฮโรเดียสได้ทูลขอหัวของยอห์นเป็นรางวัล พระองค์ จึงต้องรักษาสัญญานั้น ศีรษะของยอห์นถูกวางไว้บนถาดเพื่อถวายแด่เฮโรดซึ่งบุตรสาวของนาง เฮโรเดียสได้น าไปให้นางในภายหลัง สาวกของยอห์นมารับเอาศพท่านไปฟังและไปรายงานต่อ พระเยซู นอกจากนักบุญยอห์นจะท าหน้าที่ให้บัพติมาแล้ว อีกหน้าที่ของท่านคือศาสดา พยากรณ์หรือผู้ที่น าค าสอนของพระเจ้ามาแจ้งแก่มนุษย์ ชื่อของนักบุญยอห์นในภาษาสลาฟคือ Ivan

3.3 ที่มาของชื่อเทศกาล Kupala

มีความเป็นไปได้ว่าที่มาของชื่อเทศกาลนี้จะมาจาก 2 สิ่งคือ 1. มาจากค ากริยา Kupat’sya (купаться) ในภาษารัสเซีย ที่มีความหมายว่าการ อาบน้า ช าระล้างหรือการว่ายน้า ซึ่งตรงกับหนึ่งในพิธีกรรมของเทศกาลนี้คือการช าระกายใน แม่น้า 2. มาจากเทพเจ้า Kupalo/kupala (อ่านว่า คู-ปา-โล/ คู-ปา-ลา) ซึ่งเป็นเทพเจ้าใน ความเชื่อและเทพปกรณัมของชาวสลาฟ โดยมีภาคชายชื่อ Kupalo และภาคหญิงชื่อ Kupala ใน รูปวาดมักเป็นเพศชายและต านานส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิง คูปาลาเป็นเทพแห่งไฟ, เวทมนต์, สันติสุข, การรักษา, ความอุดมสมบูรณ์ และสมุนไพร นอกจากนี้เทพคูปาลายังมีความเกี่ยวข้อง กับพระอาทิตย์ ชาวสลาฟบูชาเทพเจ้าองค์นี้โดยการช าระกายในแม่น้าที่ใกล้บ้านของตน ตามต านานเทพคูปาลาเป็นบุตรของซีมากล (Semargl) เทพแห่งไฟและคูปาลนิท ซา(Kupalnitsa) เทพแห่งกลางคืน เทพคูปาโลมีฝาแฝดเป็นหญิงชื่อเทพคอสโตรมา () เทพแห่งน้า ฤดูใบไม้ผลิ ความอุดมสมบูรณ์และฤดูร้อน ในวัยเด็กฝาแฝดทั้งสองมีเหตุให้พราก จากกัน เพราะคูปาโลถูกลักพาตัวไปยังยมโลกโดยนกซิริน หรือไซเรนตามความเชื่อของชาว สลาฟ คูปาโลเติบโตในยมโลกโดยที่ไม่ได้พบเจอกับครอบครัว ส่วนคอสโตรมาถูกเลี้ยงดูโดย เทพเจ้าและพ่อกับแม่ของนาง จนกระทั่งทั้งสองเติบโตขึ้น ในวันหนึ่งคอสโตรมาได้ท าการเสี่ยง ทายหาคู่โดยการลอยมงกุฎดอกไม้ในแม่น้า และอธิษฐานว่าหากใครสามารถหยิบมงกุฎขึ้นมาได้ นางจะแต่งงานด้วย ซึ่งผู้ที่สามารถหยิบขึ้นมาได้คือคูปาโลทั้งสองได้ตัดสินใจที่จะแต่งงานกัน แต่

4 นางเฮโรเรียสเป็นภรรยาของพี่ชายเฮโรดและเป็นชู้กับพระองค์ ซึ่งเฮโรเดียสเป็นผู้ที่ต้องการให้นักบุญยอห์นโดนประหาร จึงได้คิดแผนขึ้นมาโดยใช้ลูกสาวเป็นเครื่องมือ 27

ว่าซีมากลและคูปาลนิทซา ได้ห้ามทั้งสองและบอกว่าทั้งสองคือพี่น้องที่พลัดพรากกันในวัยเด็ก ด้วยความละอายใจและอับอายที่ต้องมาแต่งงานกับสายเลือดเดียวกันคูปาโลและคอสโตรมาได้ ตัดสินใจฆ่าตัวตาย โดยคูปาโลกระโดดเข้ากองไฟ และคอสโตรมากระโดดน้าตายและกลายเป็น ปีศาจชื่อว่ามาฟก้า () ที่เฝ้ารอคูปาโลกลับมาจากความตาย เหล่าเทพเจ้าเสียใจกับสิ่งที่ เกิดขึ้นจึงชุบชีวิตทั้งสองขึ้นมาใหม่และบันดาลให้ทั้งคู่เป็นดอกไม้ที่ชื่อว่า “Ivan-Da- Marya” (อี วาน-ดา-มาเรีย) เทพคูปาโลหรือหรือคูปาลามีสัญลักษณ์ประจ าตัวเป็นต้นเฟิร์นและพระอาทิตย์ ชอบดอก Purple Loosestrife ซึ่งชาวสลาฟเชื่อว่ามีพลังในการขับไล่สิ่งชั้วร้ายหากเก็บเกี่ยวใน ตอนเช้าของเทศกาล Kupala Night เนื่องจากฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาส าคัญส าหรับการเก็บเกี่ยว และพืชผลงอกงามได้เต็มที่

ภาพที่ 3.2 รูปวาดของ เทพคูปาโล (ชาย). จาก https://cafeleona.ru/kak- delayutsya/slavyanskii-bog-nii-podrobnaya-informaciya-bogi-solnca-svarog-lada-i-ih-doch/ 28

ภาพที่ 3.3 รูปวาดเทพคูปาลา (หญิง). จาก https://mythus.fandom.com/wiki/Kupalo

ภาพที่ 3.4 ดอก Ivan-da-Marya. จาก Mikhail, https://www.flickr.com/photos/m-ursus/5878534550/ 29

ภาพที่ 3.5 ดอก Purple Loosestrife. จาก https://mrfilin.com/derbennik-ivolistnyj-lecebnye-svojstva-i- protivopokazania

3.4 การเฉลิมฉลองและพิธีกรรมในเทศกาล Kupala Night

เทศกาล Kupala night มีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศ และมีชื่อเรียกต่างกัน ออกไปโดยในรัสเซียจะเรียกว่า Иван Купала ในยูเครนเรียกว่า Свято Купала ในเบลารุส เรียกว่า Купалле ในโปแลนด์เรียกว่า Noc Kupały ในสาธารณรัฐเช็กเรียกว่า Kupadelné svátky และในสโลวาเกียเรียกว่า Kupalo เทศกาลจะเริ่มฉลองในช่วงวันที่ 22-26 มิถุนายน หรือ 6-7 กรกฎาคมตามปฏิทินใหม่ โดยจะเริ่มตั้งแต่กลางคืนก่อนเทศกาลไปจนถึงวันเทศกาล นับเป็นเวลา 2 คืน 1 วัน ในอดีตชาวสลาฟจะถือเอาวันครีษมายันเป็นวันเทศกาลซึ่งอาจแตกต่าง กันไปในแต่ละปี

ภาพที่ 3.6 วงจรการเกิดวันครีษมายัน. จาก https://www.chaingmainews.co.th/page/archives /607560/

30

ภาพที่ 3.7 การเฉลิมฉลองเทศกาล Kupala Night ของชาวสลาฟโบราณ. จาก https://01varvara .wordpress.com/2010/04/24/boris-olshansky-on-the-night-of-ivan-kupala-1995/boris-ols hansky-on-the-night-of-ivan-kupala-1995/ ตามปกติชาวสลาฟจะรวมตัวกันที่บริเวณลานกว้างซึ่งติดกับคลอง แม่น้า ป่า เนิน เขาหรือภูเขาเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ ซึ่งในอดีตพื้นที่เหล่านี้เป็นสถานที่ที่บรรพบุรุษของชาว สลาฟและชาวสลาฟโบราณอาศัยอยู่ ภายหลังที่ศาสนาคริสต์ได้เข้ามามีบทบาทในเทศกาลนี้ ผู้ที่ นับถือศาสนาคริสต์จะไปรวมตัวที่โบสถ์ใกล้บ้านของตนเพื่อท ากิจกรรมทางศาสนา มีการสวด มนต์และระลึกถึงนักบุญยอห์น ในบางประเทศเช่นเบลารุสจะมีการคัดเลือกชายและหญิงให้เป็น Kypalinka และ Kupalezha หรือราชาและราชินีของเทศกาลนี้

3.4.1 พิธีกรรมที่เกี่ยวกบั น ้า พิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้าถือเป็นส่วนที่ท าคัญที่สุดของเทศกาลนี้ ชาวสลาฟเชื่อ กันว่าในเทศกาล Kupala Night น้า และน้าค้า งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับพรจากเทพเจ้าและมีพลัง วิเศษ ท าให้เกิดความโชคดีและความสุขต่อผู้คนที่น าน้าค้างนี้ไปใช้และปกป้องชาวสลาฟจาก การป่วยไข้และความชั่วร้าย ชาวสลาฟจะช าระกายบริเวณแม่น้า บ่อน้า หรือทะเลสาบในคืนก่อน วันเทศกาลเพื่อช าระกายและจิตใจของตน รวมถึงเชื่อว่าเป็นการช าระสิ่งที่ไม่ดีออกจากและมี พลังในการรักษาโรคอีกด้วย ในตอนย ่ารุ่งของวันเทศกาลจะมีการตากน้าค้างเพื่อให้ตนเองนั้นมี สุขภาพที่ดีปราศจากโรคภัย รวมถึงมีการรองน้าค้างให้ได้มากที่สุดเพื่อน าไปใช้ในการดื่ม การ กิน และในชีวิตประจ าวันอย่างเช่นการเกษตร การอาบน้าค้างในตอนย ่ารุ่งนั้นจะท าเฉพาะในหมู่ ผู้หญิงและท าในที่ลับตาคน อย่างไรก็ตามชาวสลาฟจะไม่ว่ายน้าหรือลงไปในน ้าลึก เนื่องจาก เชื่อว่าในช่วงเวลานี้ปีศาจหรือวิญญาณร้ายจะมาเอาชีวิตไป นอกจากนี้การช าระกายในน้าถือ เป็นการท าความเคารพและบูชาเทพคูปาลาอีกด้วย 31

นอกจากการช าระกายและการน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันแล้ว ชาวสลาฟยังท านายชะตาของตน โดยการน าพวงหรีดหรือมงกุฎที่สานด้วยกิ่งไม้ ดอกไม้ และพืชต่าง ๆ ไปลอยในน้า ในบางพื้นที่ ชาวสลาฟน าหรีดไปลอยโดยปักเทียนลงไปตรงกลางด้วย ถ้าหากหรีดนั้นลอยออกไปไกลจากฝั่ง จะถือว่าค าขอของคนคนนั้นจะเป็นจริง ในทางกลับกัน หากพวงหรีดไม่ยอมลอยออกจากฝั่งหรือ จมน้า ค าอธิษฐานหรือค าขอนั้นจะไม่เกิดขึ้นหรือไม่สมหวัง การท านายนี้ผู้ที่ท านายจะเป็นเด็ก สาวหรือผู้หญิง ค าขอหรือค าอธิษฐานนั้นมักจะเป็นเรื่องของความรัก การแต่งงาน การงาน สุขภาพ และ ความสุข

ภาพที่ 3.8 การช าระกายในแม่น้า . จาก https://newtimes.ru/upload/medialibrary/e90/Svetloyar_ Yushko_016.

ภาพที่ 3.9 การลอยพวงหรีดในน้า . จาก /AFP PHOTO / Viktor Drachev /AFP/GettyImages, https://www.sfgate.com/world/slideshow/World-in-Focus-45619.php

32

3.4.2 พิธีกรรมที่เกี่ยวกบั ไฟ ไฟเองก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญและสัญลักษณ์ของเทศกาลนี้ เมื่อพระ อาทิตย์เริ่มตก ชาวสลาฟจะก่อกองไฟโดยการนำไม้ฟืนมาสุมให้ให้สูงและจุดไฟเพื่อทำความเคารพต่อ พระอาทิตย์ที่จะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ในฤดูร้อนนี้ ซึ่งกองไฟจะตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพราะใน เทศกาล Kupala Night น้ำและไฟจะเชื่อมพลังถึงกันได้ ยังมีการร้องเพลงและการเต้นรอบกองไฟเป็น วงกลมที่เรียกว่า “ฮาราโวด” (อังกฤษ Khorovod; รัสเซีย Хоровод) ซึ่งเป็นการเต้นของชาวสลาฟ ที่แสดงถึงพระอาทิตย์ที่เป็นวงกลมและมีรัศมีแผ่ออกมา และถือเป็นการสรรเสริญเทพเจ้าแห่งดวง อาทิตย์อีกด้วย นอกจากการก่อกองไฟขนาดใหญ่แล้วยังมีการก่อกองไฟขนาดเล็ก และมี การละเล่นสำหรับหนุ่มสาวหรือคู่รักที่จะจับมือกันวิ่งผ่านกองไฟนั้น หากทั้งคู่วิ่งผ่านกองไฟได้โดยจับ มือกันอยู่ ความรักของทั้งสองคนจะยาวนาน หากชายหญิงยังโสดจะมีโอกาสได้แต่งงานกัน แต่หากวิ่ง ผ่านกองไฟโดยมือที่จับอยู่ผละออกจากกัน ความรักของทั้งสองมีโอกาสที่จะสิ้นสุดลงภายในปีนั้น หรือ อาจมีเหตุให้ต้องแยกทางกัน ชายหญิงที่โสดจะไม่ได้แต่งงานกันหรือไม่สมหวังในความรัก นอกจากนี้ผู้ เป็นแม่จะนำเสื้อผ้าของลูกที่ป่วยไปเผาในกองไฟ เพราะเชื่อว่าจะทำให้โรคภัยนั้นหายไป การกระโดดข้ามกองไฟนอกจากจะเป็นการทำนายดวงชะตาเกี่ยวกับความรัก แล้วยังเป็นการชำระเรื่องชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีออกไป เพราะไฟนั้นสามารถเผาไหม้หรือชำระล้างความ ชั่วร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปได้ และหากยิ่งกระโดดข้ามกองไฟได้สูงเท่าใด คนคนนั้นจะมีแต่ ความสุข ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ และมีเรื่องดี ๆ เข้ามามากขึ้นเท่านั้น แต่หากกระโดดไม่พ้นหรือโดนไฟลวก คนคนนั้นจะประสบกับโรคภัยไข้เจ็บตลอดทั้งปี (Vasilenko, 2020) ในค่ำคืนนี้ชาวสลาฟเชื่อกันว่า หากเด็กหญิงหรือหญิงสาวคนไหนไม่มาปรากฏตัวในเทศกาลและกระโดดข้ามกองไฟ จะถือว่า เด็กหญิงหรือหญิงสาวคนนั้นเป็นแม่มด และทำการเนรเทศออกจากหมูบ้านหรือพื้นที่นั้น ๆ ไป การ กระโดดข้ามกองไฟยังเป็นการทำความเคารพต่อผืนดินที่ให้กำเนิด ให้ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาว สลาฟ บรรพบุรุษและลูกหลาน ในปัจจุบันการกระโดดข้ามกองไฟเป็นการทดสอบความหล้าหาญและ ความศรัทธาที่มีต่อเทศกาลนี้ อีกพิธีกรรมหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับไฟคือการหมุนวงล้อไฟ โดยจะยัดฟางเข้าไปในวง ล้อที่มีขนาดใหญ่และจุดไฟ คนที่ทำหน้าที่หมุนวงล้อไฟต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น ซึ่งการหมุนวงล้อนี้ต้อง ทำให้ล้อกลิ้งลงเนินเขาให้สำเร็จโดยไม่ล้ม และวงล้อต้องหมุนต่อจนลงไปในน้ำ ซึ่งวงล้อนี้แสดงถึง วงจรของฤดูที่เปลี่ยนผ่านไป และฟางที่ใส่เข้าไปจะทำให้วงล้อนั้นมีการเผาไหม้เหมือนพระอาทิตย์ ยิ่งขึ้น ซึ่งฟางเองยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงสีของพระอาทิตย์เนื่องจากเป็นสีเหลือง ชาวสลาฟเชื่อว่าหาก สามารถหมุนวงล้อได้สำเร็จ การเก็บเกี่ยวจะเป็นไปได้ด้วยดี ถ้าหากหมุนลงเนินเขาไม่สำเร็จ การเก็บ เกี่ยวในปีนั้นจะไม่ดี หลังเสร็จพิธีกรรมหมุนวงล้อแล้ว วงล้อจะถูกนำไปเผา 33

เทศกาล Kupala Night ยังมีพิธีกรรมที่คล้ายเทศกาลสำคัญอีกเทศกาลของชาว สลาฟอย่าง โดยการทำหุ่นตัวแทนจากฟางและนำมาเผาหรือลอยในน้ำเพื่อเป็นเคล็ดให้ ความชั่วร้ายหายออกไปจากคนในหมู่บ้านอีกด้วย นอกจากการเผาตัวตายตัวแทนของคนในหมู่บ้าน แล้ว การจุดคบเพลิงหรือจุดไฟในเทศกาลนี้ยังสามารถขับไล่วิญญาณหรือปีศาจให้ไม่เข้าใกล้ผู้คน ชาวสลาฟเชื่อว่าในช่วงกลางคืนเหล่าปีศาจจะมีพลังเพิ่มมากขึ้นในเทศกาลนี้ เพราะหากผ่านคืน เทศกาล Kupala Night ไป หมายถึงช่วงฤดูร้อนใกล้จะหมดลง ช่วงเวลากลางวันจะสั้นลงด้วย ชาว สลาฟจึงต้องป้องกันไม่ให้สิ่งชั่วร้ายที่มาความมืดมาทำอันตรายแก่ตนได้

ภาพที่ 3.10 หญิง สาวจุด กองไฟเพื่อ บูชาพระ อ า ทิ ต ย์ . จาก https://en.belarus.travel/landmarks/cultural-belarus

ภาพที่ 3.11 การเต้นฮารา โวดรอบกองไฟ. จาก https://pavikm.pavkult.ru/item/421388 34

ภาพที่ 3.12 การกระโดดข้ามกองไฟของคู่หนุ่มสาว. จาก Natalia Bykanova, https://disk.yandex.ru/a/ YoMtTaF73Ud5pV?ncrnd=9134

ภ า พ ที่ 3.13 วง ล้ อ ไ ฟ . จ า ก https://belyj-medved.livejournal.com/233506.html?view= comments

3.4.3 พิธีกรรมที่เกี่ยวกบั สมุนไพรและพืช 35

สมุนไพรและพืชเป็นสิ่งที่ชาวสลาฟน ามาประกอบหลาย ๆ พิธีกรรมใน เทศกาล Kupala Night และยังมีพืชที่เป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้า Kupala ในเทศกาลนี้อีกด้วย ชาวสลาฟมีความเชื่อว่าสมุนไพรสามารถปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไปได้ Gudkova กล่าวว่าในช่วง ค ่าก่อนวันเทศกาล ชาวสลาฟจะแขวนสมุนไพรหรือพืชที่มีหนาม เช่น ต าแย กุหลาบป่า และท ริสเติล ไว้ตามมุมต่าง ๆ ของบ้าน รวมถึงคอกเลี้ยงสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้มีแม่มดหรือปีศาจมา ลักเอาชีวิตของขโมยสัตว์เลี้ยงไป ชาวสลาฟยังเชื่อว่าในค ่าคืนนี้สมุนไพรจะมีพลังในการรักษา โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จึงนิยมเก็บสมุนไพรในคืนนี้มาเพื่อใช้ท าเป็นยารักษาโรคหรือใช้ใน ชีวิตประจ าวันเช่นการท าเครื่องหอม หรือการน าไปโรยที่พืชเพื่อไล่พวกหนอนหรือศัตรูพืช นอกจากนี้ยังมีการยังน าพืช สมุนไพร ดอกไม้มาสานและถักเป็นพวงหรีดเพื่อมาสวมศีรษะ ส าหรับผู้ที่ยังโสด พวงหรีดหรือมงกุฎดอกไม้นี้ยังถูกน าไปใช้ท านายดวงชะตาส าหรับหญิงสาว และเมื่อเทศกาลสิ้นสุดลงหรีดดอกไม้นี้จะถูกน าไปเผาหรือโยนลงน้า จะมีแค่หรีดบางพวงที่ถูก น าไปประดับบ้านหรือใช้ในการท าปุ๋ยต่อไป พวงหรีดหรือมงกุฎดอกไม้นั้นเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเทศกาล Kupala Night ซึ่งจะถูกถักและสานขึ้นมาก่อนวันเทศกาลด้วยกิ่งไม้เบิร์ชหรือกิ่งต้นโอ๊ค ซึ่งเป็นพืช ท้องถิ่นในแถบยุโรปตะวันออก และประดับด้วยพืชและดอกไม้ต่าง ๆ ที่ชาวสลาฟเชื่อว่าจะให้ พลังและคุ้มครองผู้สวมใส่ Latygolets กล่าวว่าพืชที่มักถูกน ามาประดับมงกุฎได้แก่ แพงพวยฝรั่ง ใบโหระพา ดอกเจอเรเนียม เฟิร์น ดอกกุหลาบ, แบล็คเบอร์รี่ และดอก Ivan-Da-Maria เพื่อเป็น การบูชาเทพคูปาลาและคอสโตรมาอีกด้วย พืชที่ส าคัญที่สุดในเทศกาลนี้คือต้นเฟิร์น ซึ่งเป็นพืชประจ าตัวเทพเจ้า Kupala และเป็นพืชในต านานที่ชาวสลาฟเชื่อกันว่าจะออกดอก5เฉพาะในเทศกาลนี้เท่านั้น โดย ต้นเฟิร์นนี้จะซ่อนตัวอยู่ในป่าลึกและดอกของมันจะเรืองแสง ถ้าหากใครสามารถตามหาจนพบ และเก็บมาได้ ต้นเฟิร์นนี้จะให้พลังแก่ผู้ที่เป็นเจ้าของในการเข้าใจภาษาของต้นไม้ พืชต่าง ๆ และภาษาของสัตว์ รวมถึงให้โชคและสุขภาพที่ดี บ้างก็ว่าต้นเฟิร์นสามารถช่วยให้หาสมบัติอัน ล ้าค่าที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย หากชายหญิงคู่ไหนสามารถหาต้นเฟิร์นนี้เจอก็จะได้แต่งงานกัน ดอก เฟิร์นนี้ยังสามารถน ามาประดับหรีดบนศีรษะของผู้หญิงได้ด้วย ตามธรรมเนียมแล้วผู้หญิงที่สวม หรีดบนศีรษะจะเป็นผู้เข้าป่าไปหาต้นเฟิร์นก่อน ตามด้วยชายหนุ่มที่ยังไม่ได้แต่งงานเข้าไปที หลัง

5 เฟิร์นเป็นพืชไร้ดอกที่ใช้การสืบพันธุ์โดยสปอร์ 36

ภ า พ ที่ 3.14 ต าแย. จาก http://sukanyathumwong2542.blogspot.com/2017/06/1.html

ภาพที่ 3.15 กุหลาบป่า. จาก https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution& utm_medium=referral&utm_campaign=image&utm_content=4224530

37

ภาพที่ 3.16 ทริสเติล. จาก https://buffalobayou.org/blog/thistles-and-not-thistles/

ภ า พ ที่ 3.17 หญิงสาว สวมพวงหรีดที่สานจากดอกไม้และพืชต่าง ๆ . จ า ก Lug Velesa, https:// lugvelesasrz.tumblr.com/post/146171178909/gathering-flowers-for-the-wreaths-is-one-of- the

38

ภาพที่ 3.18 ฐานพวงหรีดจากกิ่งไม้เบิร์ช. จาก https://www.freepik.com/premium-photo/ wicker-wreath-birch-branches-wooden-background-weaving-wreath-branches_ 6471381.htm

ภาพที่ 3.19 ฐาน พวงหรีดจากกิ่ง ไ ม้ โ อ๊ ค . จ า ก https://www.snapdragonlife.com/news/blog/ make-a-gilded-oak-wreath/ 39

ภาพที่ 3.20 ดอกแพงพวยฝรั่ง. จาก https://medthai.com/แพงพวยฝรั่ง

ภาพที่ 3.21 ใบโหระพา. จาก https://www.freepik.com/premium-photo/sweet-basil-leaves- white_5089511.

ภาพที่ 3.22 ดอกเจอเรเนียม. จาก https://www.thespruce.com/growing-and-caring-for- annual-geranium-plants-1402908/ 40

ภาพที่ 3.23 ใบเฟิร์น. จาก https://www.iucn.org/fr/node/29316/

ภาพที่ 3.24 กุหลาบ. จาก https://www.factsjustforkids.com/plant-facts/flower-facts-for-kids/rose-facts.html/

ภาพที่ 3.25 แบล็คเบอร์รี่. จาก https://pixabay.com/images/id-4418606// 41

ภาพที่ 3.26 หญิงสาวชาวสลาฟที่ท าลังเก็บพืชและสมุนไพร. จาก https://belarusfeed.com/ photos-kupala-night-belarus-2020/

ภาพที่ 3.27 ดอกไม้จากต้นเฟิร์นที่จะออกดอกในเทศกาล Kupala Night เท่านั้น. จาก https:// uain.press/blogs/kupala-vogon-voda-i-mify-870546

42

3.4.5 ขนั้ ตอนของพิธีกรรมและการเฉลิมฉลองเทศกาล Kupala Night เทศกาลนี้จะเริ่มขึ้นตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินในคืนวันก่อนเทศกาล ผู้หญิง และผู้ชายโสดจะสวมหรีดดอกไม้บนศีรษะ ผู้คนจะน าสมุนไพรต่าง ๆ มาแขวนไว้บริเวณบ้าน เพื่อป้องกันโชคร้ายก่อนจะออกไปรวมกันบริเวณลานกว้างเพื่อเริ่มการเฉลิมฉลองด้วยการก่อ กองไฟ ร้องเพลงและเต้นฮาราโวด และมีการละเล่นกระโดดรอบกองไฟ เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรม รอบกองไฟแล้วจะมีการตามหาต้นเฟิร์นในป่า อาบน้าในแหล่งน ้าอย่างแม่น ้าหรือคลอง ลอยพวง หรีดเสี่ยงทายโชคชะตา และเมื่อถึงเวลาย ่ารุ่งผู้หญิงจะพิธีตากน้าค้า งและมีการเก็บน้าข้างขึ้น และในตอนกลางวันจะมีการเผาหุ่นฟางเป็นตัวตายตัวแทนขับไล่ความชั่วร้ายออกไปจากหมู่บ้าน ภายหลังที่มีศาสนาคริสต์เข้ามาจะมีการสวดมนต์ และถือศีลไม่รับประทานอาหารที่ท ามาจาก เนื้อ นม ไข่ แต่สามารถรับประทานปลาและอาหารทะเลได้ เมื่อเทศกาลนี้สิ้นสุดลงพวงหรีดจะ ถูกน าไปก าจัดหรืออาจน าไปใช้ต่อ ในสมัยโบราณชาวสลาฟจะหยุดท างาน 2-3 วัน ก่อนถึงเทศกาล และใน ระหว่างเทศกาลนี้คนจะไม่หลับและท าการเฉลิมฉลองต่อจนถึงเช้าเพราะเชื่อว่าจะถูกปีศาจหรือ แม่มดท าร้าย นอกจากการเฉลิมฉลองด้วยน้า ไฟ และสมุนไพรแล้ว ชาวสลาฟยังบูชาเทพ Kupala โดยการล่าสัตว์และมีการโยนสัตว์ข้ามกองไฟเพื่อปัดเป่าความชั่วร้ายด้วย ภายหลังที่มี ศาสนาคริสต์เข้ามาความคิดนี้จึงได้ถูกห้ามและหายไปในที่สุด เนื่องจากในปัจจุบันวิถีชีวิตของคนแตกต่างจากอดีตมาก จึงไม่ต้องมีการ หยุดงานและไม่มีการก่อกองไฟหรือกระโดดข้ามกองไฟในพื้นที่ที่เป็นชุมชนเมือง แต่พิธีกรรมนี้ ยังจัดขึ้นในพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่โล่ง แต่ในขณะเดียวกันในเมืองใหญ่หลาย ๆ เมืองก็ไม่ได้จัด เทศกาลนี้แล้ว เหลือเพียงแต่ในชนบทหรือพื้นที่ที่มีป่าเท่านั้น

3.4.6 สิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติ ชาวสลาฟเชื่อว่าในเทศกาล Kupala Night นอกจากธรรมชาติจะได้พลังมากขึ้นแล้วเหล่าปีศาจ วิญญาณและสิ่งชั่วร้ายเองก็ จะมีพลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน และในวันนี้ประตูที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์และโลกอื่นจะเปิด จึงเป็น เหตุผลที่ชาวสลาฟสามารถท าพิธีเสี่ยงทายหรือดูดวงได้ ชาวสลาฟเชื่อว่าหากลงไปในน้าที่ลึกจะ โดนเงือกหรือ Mavka ลากลงไปในน้า และหากใครที่เกิดในช่วงวันนี้จะถูกยกเว้นให้ไม่ต้อง อาบน้าหรือจากน ้าค้างเพราะเชื่อว่าปีศาจน ้าจะดูดพลังชีวิตไปแทนที่น ้าจะให้พลังกลับมา มี ความเชื่อว่าถ้าหากออกจากหมู่บ้านไปไกลจะถูกก็อบลินลักพาตัวไป และปีศาจจะขึ้นมาจากน้า นอกจากเงือก ก็อบลิน และแม่มดแล้ว ปีศาจอื่น ๆ อย่างวิญญาณร้าย มนุษย์หมาป่า และงู จะมี พลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน ชาวสลาฟจึงต้องป้องกันด้วยการจุดไฟไล่ความมืด การแขวนสมุนไพรต่าง ๆ ไว้บริเวณรอบบ้านจะช่วยไม่ให้แม่มดมาขโมยน้านมวัวไป ส าหรับพวงหรีดประดับศีรษะนั้น 43

เชื่อว่ายังเป็นเครื่องรางป้องกันปีศาจส าหรับผู้หญิงได้ด้วย ต้นเฟิร์นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทพ เจ้า Kupala และเทศกาลนี้ก็เป็นเครื่องรางที่สามารถป้องกันปีศาจได้เช่นกัน

ภาพที่ 3.28 นางเงือกที่ปรากฏตัวในคืนเทศกาล Kupala Night. จาก https://allrus.me/ivan- kupala-day/

3.4.7 การ แต่งกายในเทศกาล Kupala Night ตาม ธรรมเนียมแล้วชาว สลาฟจะแต่งกายด้วย ชุดพื้นเมืองสวยงาม โดยผู้ชายจะสวมชุดที่ ปักด้วยลาย Perunov c o l o u r ซึ่ ง เ ป็ น สัญลักษณ์ของพระ อาทิตย์และเทพเพรัน ส่วนผู้หญิงจะสวมชุดที่ ปักด้วยลาย Mokosh ที่ สื่อถึงเทพธิดาโมคอช เทพแห่งความอุดม สมบูรณ์ หรือชุดปัก ลายอื่น ๆ แต่โดยปกติ แล้วชุดที่สวมจะเป็นสี ขาวและอาจมี เครื่องประดับต่างกัน ไปในแต่ละประเทศ ปัจจุบันผู้ที่เข้าร่วม เทศกาลไม่จ าเป็นต้อง สวมชุดพื้นเมืองเพื่อ ท าพิธีกรรม แต่ในชนบทผู้คนยังนิยมใส่ชุดเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีเอาไว้

44

ภาพที่ 3.29 คู่รัก ชาวเบลารุส แต่งกายในชุด พื้นเมือง. จาก https://www.belarus.by/rel_image/

ภาพที่ 3.30 เสื้อปักลาย เ ท พ ธิ ด า Mokosh, https://www.tumblr.com/blog/view/petite pointplace/133318317055

ภาพที่ 3.31 เสื้อปัก ล า ย Perunov colour. จาก https://www.livemaster.ru/item/14299489-russkij-stil-rubaha-slavyanskaya-perunov- tsvet-nebelenyj-len

45

3.4.8 เพลง ในช่วงการละเล่นหรือพิธีกรรมรอบกองไฟนั้น ชาวสลาฟจะร้องเพลงและ เต้นร ากันอย่างสนุกสนาน โดยเพลงอาจแตกต่างกันไปในแต่พื้นที่และภาษาที่ใช้ร้อง ในอดีตอาจ ใช้ภาษาโบสถ์สโลเวนิกในการขับร้อง แต่เมื่อชาวสลาฟได้แยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ จึง เอาเพลงมาปรับให้เข้ากับภาษาของตนหรือคิดค้นเพลงขึ้นมาใหม่ ซึ่งเพลงที่ใช้ในการร้องรอบ กองไฟนั้นจะเป็นเพลงที่เล่าเกี่ยวกับต านาน เรื่องราวประวัติศาสตร์ กล่าวถึงเทพสลาฟโดยผู้ ศึกษาจะยกตัวอย่างเพลงที่ใช้ร้อง ในประเทศยูเครนพร้อมค าแปลมาดังนี้

ตารางที่ 3.1 ตัวอย่างเพลงที่ใช้ร้องในเทศกาล Kupala Night และค าแปล

เนื้อร้อง ค าแปล Ой, на Ивана... โอ้ ใน(เทศกาล)อีวาน.. Ой, на Купала Девушки гадали, โอ้ ใน(เทศกาล)คูปาลา.. В воду быструю เด็กสาวนั่นสงสัย Венки кидали. – Скажи, водица, โยนพวงหรีดว่องไว Красной девице พุ่งไปยังวารี Про жизнь молодую,

С кем век вековать? บอกทีเถิดคงคา Кого, реченька, ให้ข้าหายสงสัย Любимым называть? จะได้อยู่กับใคร Долго ли жить, По земле ходить? ให้แถลงไขที Неси, речка, венок ใครนั้นคือที่รัก На другой бережок. จักอยู่อีกนานไหม เดินดินใช่หรือไม่ ในอีกฝั่งธารา จงมารับหรีดไป เนื้อร้อง ความหมาย Ой, Господи! โอ้ พระเจ้า! Помер он, помер! Какой же он был хороший! เสียแล้ว เขาตายเสียแล้ว! Не встанет он больше! เขาช่างเป็นคนดี! Ой, да как же нам расставаться с тобою? И что за жизнь, коли нет тебя! ที่ไม่ฟื้นอีกแล้ว! 46

Приподнимись хоть на часочек! โอ้ เราต้องแยกกันแล้วหรือนี่ Батюшка Кострома, свет Ярила, На кого ты нас покинул! ต้องใช้ชีวิตอย่างไร ที่ไม่มีเธออีก! Закрылись твои ясны оченьки! ตื่นก่อนเสียหน่อยซี!

ท่านคอสโตรมา ท่านยาริโย ท่านทอดทิ้งเราไป! ท่านเอาแสงสว่างของลูกสาวท่านไป!

3.5 เทศกาลเฉลิมฉลองฤดรู ้อนในซีกโลกเหนือ

การเฉลิมฉลองเทศกาล Kupala Night ในชาวสลาฟนั้นถือเป็นเทศกาลส าคัญและวันหยุ ในอดีต ทว่าเมื่อบริบททางสังคมเปลี่ยนไป เทศกาลนี้จึงถูกลดความส าคัญลง แต่อย่างไรก็ตาม ชาวสลาฟได้อนุรักษ์เทศกาล Kupala Night มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเทศกาลที่คล้ายกันกับ Kupala Night ยังถูกจัดขึ้นในอีกหลายประเทศซีกโลกเหนือโดยเฉพาะในทวีปยุโรป เป็นการเฉลิมฉลอง แก่ฤดูร้อนที่มาถึง เนื่องจากหลาย ๆ พื้นที่มีหิมะปกคลุมหรือมีอากาศที่หนาวเย็นเป็นเวลานาน ซึ่งเทศกาลเหล่านี้อาจรู้จักกันในชื่อ Mid-Summer หรือ Midsommar

47

บทที่ 4 วิเคราะห์ความเชื่อและวฒั นธรรมร่วมของชาวสลาฟผ่านเทศกาล Kupala Night

จากการศึกษาเกี่ยวกับชาวสลาฟเบื้องต้นและเทศกาล Kupala Night แล้ว ท าให้ผู้ศึกษา ได้เข้าใจถึงประวัติศาสตร์ ที่มา ตลอดจนข้อมูลด้านต่าง ๆ ทั้งของชาวสลาฟ และเทศกาล ซึ่งในบทนี้ผู้ศึกษาจะท าการวิเคราะห์ถึงบทบาท อิทธิพล ความเชื่อจากเทศกาล Kupala Night ว่ามีวัฒนธรรมและความเชื่อร่วมต่อชาวสลาฟในประเทศรัสเซีย ยูเครน เบลารุส โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และสโลวาเกียโดยใช้มุมมองและและทฤษฎีต่าง ๆ โดยสามารถวิเคราะห์ได้ ดังต่อไปนี้

4.1 เทศกาล Kupala Night ต่อการสะท้อนสังคมของชาวสลาฟ

เทศกาล Kupala Night สามารถสะท้อนสังคมโบราณของชาวสลาฟได้เป็นอย่างดี ชาวสลาฟให้ความส าคัญกับการเข้าสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับทุก ๆ คนโดยไม่แบ่งแยกชน ชั้ น ชาวสลาฟที่ว่างเว้นจากการท างานจะได้มาพบปะสังสรรค์ รวมถึงเตรียมพร้อมส าหรับการท า เกษตร ปศุสัตว์ และเก็บเกี่ยวพืชผลอย่างเต็มที่ก่อนจะถึงฤดูหนาวหรือช่วงที่ไม่สามารถ เพาะปลูกได้ การช าระกายและการตากน้าค้างของผู้หญิงยังช่วยให้สามารถปรับทุกข์และพูดคุย กันได้มีความเป็นส่วนตัวและเฉพาะกลุ่มมากขึ้น การออกมาเฉลิมฉลองเทศกาลของชาวสลาฟ ยังถือเป็นการพักผ่อนและยังเปิดโอกาสให้คนแปลกหน้าได้รู้จักกัน โดยเฉพาะชายหญิงที่ยังโสด อยู่ ซึ่งเทศกาลนี้ได้เปิดโอกาสแก่ชายหญิงในการหาคู่ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการเชิญชวนไป เต้นฮาราโวด การจับมือกระโดดข้ามกองไฟ หรือการเข้าไปหาต้นเฟิร์นในป่า ถือว่าเป็นการให้ เกียรติแก่คนโสดและแสดงถึงความเป็นมิตรของ ชาวสลาฟได้อีกด้วย ในเทศกาล Kupala Night ยังมีกุศโลบายเล็ก ๆ ให้ทุกคนออกมารวมกัน โดยการตั้งข้อครหาแก่คนที่ไม่ออกมาร่วมงานว่าเป็นแม่มดหรือปีศาจ เพื่อป้องกันการลักขโมย เกิดขึ้น เนื่องจากเทศกาลนี้เป็นการฉลองข้ามคืนที่ชาวสลาฟจะไม่นิยมนอนกันเนื่องจากกลัวจะ โดนปีศาจท าร้าย นอกจากการมีปฏิสัมพันธ์และการเข้าสังคมแล้ว เทศกาลนี้ยังแสดงให้เห็นว่าชาวสลาฟ นั้นชอบงานรื่นเริงและการเฉลิมฉลอง สังเกตได้จากการฉลองเทศกาลข้ามคืน การร้องเล่นเต้นร า 48

รอบกองไฟ การร่วมกันละเล่นพิธีกรรมอย่างการกระโดดข้ามไฟอย่างสนุกสนาน ซึ่งน่าจะเป็นการ ผ่อนคลายและพักผ่อนของชาวสลาฟก่อนการท างานหนักต่อไป

49

4.2 เทศกาล Kupala Night กับการสะท้อนความเชื่อของชาวสลาฟ

4.2.1 ความเชื่อของชาวสลาฟที่มีต่อธรรมชาติ เทศกาล Kupala Night ถูดจัดขึ้นบนพื้นฐานของความเชื่อในธรรมชาติของ ชาวสลาฟ ชาวสลาฟเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังชีพด้วยการเกษตร การปศุสัตว์ ล่าสัตว์ และเก็บของ ป่า ซึ่งในสมัยโบราณยังไม่สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นย า และไม่สามารถคาดคะเนถึง ผลผลิตที่ตนจะได้ ดังนั้นเทศกาลนี้ชาวสลาฟจึงจัดขึ้นเพื่อขอบคุณและแสดงความเคารพต่อ ธรรมชาติที่ได้ให้ทรัพยากรต่าง ๆ แก่ชาวสลาฟในการด ารงชีวิต และเพื่อเป็นการหวังผลให้การ ท าเกษตรและการเก็บเกี่ยวเป็นไปได้ด้วยดี เทศกาล Kupala Night ยังสะท้อนถึงการร่วมกันเก็บ เกี่ยวพืชผลผ่านการเก็บสมุนไพรและการตามหาดอกเฟิร์นของเทพคูปาลา และถือเป็นการ เตรียมพร้อมส าหรับการเก็บเกี่ยวพืชผลที่จะมาถึงในฤดูถัดไปด้วย นอกจากการเกษตรแล้วชาว สลาฟยังมีความเชื่อว่าธรรมชาติมีความสามารถในการรักษา การกระโดดข้ามกองไฟ การ อาบน้าและการตากน ้าค้างที่ชาวสลาฟเชื่อว่าในคืนเทศกาลจะมีพลังวิเศษสามารถปัดเป่า สิ่งชั่ว ร้ายและโรคภัย แสดงให้เห็นว่าชาวสลาฟเชื่อในพลังของธรรมชาติที่รักษาตนได้ ชาวสลาฟใช้ ชีวิตผูกพันกับธรรมชาติตลอดทั้งปีจึงแสดงความขอบคุณ และขอขมาต่อธรรมชาติทั้งน้า ไฟ ความอบอุ่นและพืชพรรณที่หล่อเลี้ยงชีวิตของทุกคนด้วยการจัดเทศกาลนี้ และยังเป็นการ เตือนใจว่าไม่ให้รุกรานหรือท าร้ายทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปเพราะกลัวว่าหากใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่คุ้มค่าหรือไม่สนใจดูแลพืชพรรณของตน ธรรมชาติจะไม่ให้ผลผลิต ที่ดีหรือท าให้ในปีนั้น ๆ ไม่มีความอุดมสมบูรณ์เลย เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีที่มาแก้ปัญหาทางธรรมชาติได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง การจัดเทศกาลนี้ยังมีสะท้อนถึงการเตรียมพร้อมถึงการเปลี่ยนผ่านของ ฤดูกาลของชาวสลาฟ โดยชาวสลาฟเองยังมีเทศกาลอื่นที่จัดขึ้นเพื่อแสดงถึงการเข้าฤดูใหม่แล้ว เ ช่ น มาสเลนิตซา ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ ส่วน Kupala Night จัดในช่วงต้น ฤดูร้อนที่พร้อมส าหรับการท าเกษตรอย่างเต็มที่เนื่องจากมีสภาพอากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสม ในซีกโลกเหนือหรือภูมิภาคยุโรปตะวันออกเองมีฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวที่ สั้นเมื่อเทียบกับความหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี ท าให้ฤดูร้อนมีความส าคัญต่อชาวสลาฟเป็น อย่างมาก

4.2.2 ความเชื่อของชาวสลาฟต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ เทศกาล Kupala Night แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเทพเจ้าที่มีต่อความเชื่อ ข อ ง 50

ชาวสลาฟ ซึ่งแสดงผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ ในเทศกาล ชาวสลาฟในอดีตยังไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และยังไม่สามารถเข้าถึงความรู้ที่มากพอเหมือนในปัจจุบัน ท าให้ชาวสลาฟต้องขวนขวายหาที่ พึ่ ง ท า ง ใ จ ด้วยการนับถือเทพเจ้าที่ตนสร้างขึ้นมา เหล่าเทพต่าง ๆ ของชาวสลาฟจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ และกิจกรรมที่ชาวสลาฟท าอย่างเช่นการนับถือเทพแห่งท้องฟ้า เทพแห่งน้า เทพแห่งไฟ เทพ แ ห่ ง ก า ร ล่าสัตว์และเทพแห่งการตีเหล็ก เป็นต้น การนับถือเทพเจ้านอกจากจะเป็นที่พึ่งหรือสิ่งยึดเหนี่ยว จิตใจได้แล้วยังท าให้มีแรงและก าลังใจในการท างานต่อไปได้ ในเทศกาลเองก็มีการบูชาเทพคูปา ลาอย่างการช าระกายในน้า หรือการเต้นฮาราโวดบูชาพระอาทิตย์ การบูชาเทพเจ้านี้เป็นเหมือน ที่พึ่งทางใจให้การท านา ท าไร่เป็นไปด้วยความราบรื่นและได้ผลผลิตที่เยอะและมีคุณภาพมาก ที่สุด นอกจากความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าแล้วชาวสลาฟยังมีความเชื่อในสิ่งลี้ลับ ปีศาจ และสัตว์ในเทพนิยาย จะเห็นได้จากการแขวนพืชที่มีหนามไว้ป้องกันการโดนแม่มดขโมย สัตว์เลี้ยง หรือการแขวนสมุนไพรป้องกันวิญญาณร้ายเข้ามาในบ้าน และความเชื่อเรื่องโลก คู่ขนานหรือโลกของปีศาจที่มีมีพลังมากขึ้นในช่วงเวลากลางคืนของเทศกาลนี้ ปีศาจและภูตผีที่ หลับใหลจะตื่นขึ้นมาท าร้ายผู้คน ชาวสลาฟจึงต้องขอพรจากเทพเจ้าและหาทางป้องกันไม่ให้สิ่ง ไม่ดีเข้ามาหาตนเองและครอบครัว นอกจากนี้ชาวสลาฟยังกลัวในสิ่งที่ตนเองไม่รู้หรือมองไม่เห็น จึงมีการห้ามไม่ให้ออกไปนอกพื้นที่ในเวลาเทศกาลหรือการไม่ให้ว่ายน้าออกไปจากฝั่งในตอน กลางคืน เพราะกลัวว่าจะเกิดอันตราย หรือมีปีศาจมาท าร้ายได้ 4.2.3 ความเชื่อของชาวสลาฟต่อศาสนาคริสต์ จะเห็นได้ว่าศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทต่อชาวสลาฟมากขึ้นในแง่ วั ฒ น ธ ร ร ม และความเชื่อ ชาวสลาฟไม่ได้ปฏิเสธที่จะรับเอาความเชื่อใหม่หรือศาสนาเข้ามาสู่แวดวงสังคม และวัฒนธรรมของตน เพียงแต่สิ่งที่เข้ามาใหม่นั้นจะต้องไม่ท าลายความเชื่อดั้งเดิมของชาว ส ล า ฟ ชาวสลาฟรับเอาความเชื่อของชาวคริสต์โดยน าวันเกิดของนักบุญยอห์นเข้ามาผนวกเป็นส่วน หนึ่งของเทศกาล Kupala Night มีการเปลี่ยนวันที่เฉลิมฉลองให้เป็นไปตามปฏิทินใหม่ของ ศ า ส น า ค ริ ส ต์ คือเดือนกรกฎาคม แม้ว่าอาจจะไม่ตรงกับวันดั้งเดิมคือวันครีษมายันในช่วงกลางเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ความเปลี่ยนแปลงของเทศกาล Kupala Night ภายหลังการเข้ามาของศาสนาคริสต์ คือการถือศีลอด โดยจะงดบริโภคอาหารที่ท ามาจากเนื้อสัตว์ นม และไข่ แต่สามารถบริโภคเนื้อ ปลาได้ เนื่องจากนักบุญยอห์นมีความเกี่ยวข้องกับน้า ชาวสลาฟที่นับถือศาสนาคริสต์ยังเฉลิม 51

ฉลองเทศกาลนี้โดยเข้าโบสถ์ท าพิธีมิสซาและเฉลิมฉลองวันเกิดของนักบุญยอห์น แต่ในช่วง กลางคืนนั้นก็มีการเฉลิมฉลองเทศกาลตามธรรมเนียมดั้งเดิมของชาวสลาฟตามปกติ อย่างไรก็ ตามความเชื่อศาสนาคริสต์นั้นได้ตัดทอนพิธีกรรมบางอย่างที่มีความป่าเถื่อนออกไป เช่นการล่า สัตว์เพื่อบูชายัญเทพเจ้า หรือการ จับสัตว์ที่ล่าได้โยนข้ามกองไฟไปมา นอกจากนี้ยังท าให้แนวคิดหรือความเชื่อบางอย่างของชาว สลาฟนั้นเปลี่ยนไป เช่น การหันไปนับถือพระผู้เป็นเจ้า การล่าสัตว์เพื่อบูชาพระเจ้าหรือการ ท ร ม า น สั ต ว์ นั้ น เป็นเรื่องผิดบาป และอิทธิพลของศาสนาคริสต์ที่มีต่อชาวสลาฟนี้เองท าให้เทศกาลดั้งเดิมต่าง ๆ ของชาวสลาฟถูกลดทอนความส าคัญออกไปจนเหลือเพียงแค่เป็นธรรมเนียมที่สืบต่อกันมา แต่ ไม่ได้มีอิทธิพลต่อจิตใจหรือของชาวสลาฟในยุคหลัง ๆ และยุคปัจจุบันแต่เพียงอย่างใด

4.3 เทศกาล Kupala Night ที่มีอิทธิพลต่อการเสี่ยงดวงของชาวสลาฟ

ในเทศกาล Kupala Night มีพิธีกรรมเสี่ยงทายชะตาโดยการกระโดดข้ามกองไฟ การลอยพวงหรีดบนแม่น้า และการหมุนวงล้อไฟ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวสลาฟนั้นชอบการเสี่ยง ท า ย ดูดวง มีความเชื่อเกี่ยวกับดวงชะตา โดยเฉพาะการหมุนวงล้อไฟที่ชาวสลาฟเชื่อว่าสามารถ ท านายความอุดมสมบูรณ์ของพืชและดวงของหมู่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นระดับความเชื่อที่ค่อนข้าง ใหญ่และส่งผลทางใจต่อชาวสลาฟหลาย ๆ คน เนื่องจากการเกษตรเป็นสิ่งที่ชาวสลาฟใช้ยังชีพ หากปีไหนที่การท านายออกมาว่าในพืชผลในหมู่บ้านจะอุดมสมบูรณ์ ชาวสลาฟที่ท าเกษตรจะมี ขวัญและก าลังใจในการเก็บเกี่ยวผลผลิตของตน แต่หากปีไหนผลการท านายออกมาว่าพืชพันธุ์ ไม่อุดมสมบูรณ์ ท าให้ชาวสลาฟหมดก าลังใจและต้องพยายามมากขึ้นเพื่อไม่ให้ค าท านาย ออกมาเป็นจริง เช่นเดียวกับการเสี่ยงทายดวงชะตาของคนหนุ่มสาว ถ้าหากค าท านายด้าน ความรักสมหวัง จะส่งผลให้ความรักของทั้งสองคนชื่นมื่นและมีความสุขยิ่งขึ้นไป แต่หากค า ท านายไม่สมหวังก็จะท าให้ทั้งคู่ไม่มีความสุขได้ การท านายดวงชะตานั้นเป็นเหมือนดาบสองคม ที่อาจส่งผลดีหรือผลเสียต่อผู้ที่ท านายได้ แต่ผลการท านาย ที่ออกมานั้นสามารถท าให้ชาวสลาฟสามารถวางแผนและคิดท าสิ่งต่าง ๆ ให้มีความรอบคอบ และรัดกุมขึ้นได้เช่นเดียวกัน จึงเป็นที่สังเกตได้ว่าชาวสลาฟนั้นชอบการเสี่ยงทายและการดูดวง เป็นอย่างมาก

4.4 เทศกาล Kupala Night ในมุมมองของทฤษฎีชาตินิยมทางวฒั นธรรม

52

ชาตินิยมทางวัฒนธรรมเป็นการปลูกฝังแนวคิดชาตินิยมโดยผ่านสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคย ในชีวิตประจ าวันอย่างภาษา จารีต ประเพณี เพื่อให้เกิดความส านึกรักชาติหรือพวกพ้องโดยไม่ ขึ้นตรงต่อชาติหรือรัฐใดรัฐหนึ่ง และสามารถพูดได้ว่าชาตินิยมทางวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในรูปแบบ ของการอนุรักษ์นิยม ซึ่งเทศกาล Kupala Night เป็นหนึ่งในการสร้างค่านิยมให้ชาวสลาฟรักและ ภูมิในในชาติพันธุ์ของ สิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นชาวสลาฟนั่นคือการเต้นฮาราโวด โดยการ เต้นเป็นวงกลมถือเป็นท่าเต้นพื้นฐานที่แสดงออกถึงความเป็นชาวสลาฟได้อย่างชัดเจน อีกสิ่ง หนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวสลาฟนั้นคือพิธีกรรมเกี่ยวกับไฟ กองไฟที่ตั้งสูงแสดงถึงการบูชา เทพเจ้าแห่งไฟซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าชาวสลาฟนั้นมีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ และมีการนับ ถือเทพเจ้า แม้ว่าปัจจุบันชาวสลาฟ ในประเทศต่าง ๆ อาจจะนับถือศาสนาของตนแล้วแต่ความเชื่อในเทพเจ้านั้นยังตกทอดจาก บรรพบุรุษมาจนถึงคนรุ่นปัจจุบันอยู่ ชาวสลาฟนั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมและความเชื่อค่อนข้างเหนียวแน่น แม้ว่า การสืบทอดวัฒนธรรม จารีต และประเพณีจะเป็นมุขปาฐะเสียส่วนใหญ่ รวมถึงต้องเผชิญกับ อุปสรรคที่ส่งผลต่อความเชื่อของตน ทั้งจากการโดนรุกรานแผ่นดินในสมัยโบราณจากทั้ง อาณาจักรโรมัน ฮังการี บัลแกเรีย และชนเผ่าอื่น ๆ การตกเป็นดินแดนอาณานิคมของ อาณาจักรเคียฟรุส หรือโปแลนด์ และการอยู่ภายใต้การปกครองของคอมมิวนิสต์ที่ท าให้ต้อง ปรับเปลี่ยนความเชื่อหลาย ๆ อย่าง แต่สุดท้ายแล้วชาวสลาฟในปัจจุบันยังสามารถพลิกเอา วัฒนธรรมของชาวสลาฟที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาแต่ยังคงไม่หายไปกลับมาใหม่ได้ และสืบทอดสู่ชาวสลาฟรุ่นต่อไปในอนาคต จากการศึกษาประวัติของเทศกาล Kupala Night พบว่าการเข้ามาของศาสนา คริสต์มีความพยายามที่จะลบอัตลักษณ์ของชาวสลาฟคือเทศกาลนี้ออกไปโดยน าวันเกิดของ นั ก บุ ญ ย อ ห์ น ผู้ ใ ห้ บัพติมาเข้ามาแทนที่ แต่อย่างไรก็ตามความพยายามนี้ไม่เกิดผลส าเร็จ ท าให้เกิดการปรับรวม เอาศาสนาคริสต์มาเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Kupala Night เสียเอง จึงเห็นได้ว่าแม้ชาวสลาฟ ได้อนุรักษ์และสืบทอดเทศกาลนี้ไว้ แต่ก็สามารถเปิดรับสิ่งใหม่เพื่อมาปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม ดั้งเดิมของตนได้ ในปัจจุบันเทศกาล Kupala Night เองก็ไม่ได้จ ากัดเฉพาะแค่ชาวสลาฟเท่านั้น แต่การเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ในประเทศต่าง ๆ ยังดึงดูดคนต่างวัฒนธรรมให้มาเข้าร่วมหรือ รับชมเทศกาล Kupala Night และยังเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมสลาฟได้เป็นอย่างดี

4.5 บทบาทด้านคติชนวิทยาของเทศกาล Kupala Night ต่อชาวสลาฟ

คติชนวิทยาคือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์ในอดีตและตกทอดมา จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเกี่ยวกับวิถีวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจน 53

การละเล่น เพลงพื้นบ้านต่าง ๆ โดยเทศกาล Kupala Night เป็นเทศกาลที่ตกทอดกันมาตั้งแต่ โบราณของชาวสลาฟและเป็นหนึ่งในเทศกาลประจ าฤดูที่มีความยิ่งใหญ่ที่ได้รวบรวมพิธีกรรม และความเชื่อเอาไว้มากมาย เทศกาล Kupala Night จัดขึ้นเพื่อเป็นการขอบคุณและขอขมาแก่ ธรรมชาติที่ได้ให้ผลผลิตทางการเกษตรในปีที่ผ่านมาและในปีที่ก าลังจะมาถึง เป็นเทศกาลที่ เฉลิมฉลองแก่การมาถึงฤดูร้อนซึ่งเป็นฤดูที่ชาวสลาฟจะสามารถท าเกษตรและปศุสัตว์ได้อย่าง เต็มที่ และการเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูถัดไป อีกทั้งยังเป็นการบูชาเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ เทพเจ้าแห่งน้า ฟ้า ดิน ลม และจิตวิญญาณธรรมชาติที่จะช่วยปกปักรักษาคนในหมู่บ้านรวมถึง บันดาลให้ผลผลิตของชาวสลาฟออกมามีคุณภาพและอุดมสมบูรณ์ เทศกาลนี้ยังจัดขึ้นเพื่อให้ผู้คนได้ผ่อนคลายและพักผ่อนจากการท างานมาสังสรรค์ กัน พบปะพูดคุยถามไถ่สารทุกข์สุขดิบต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวมีโอกาสได้ท าความ รู้ จั ก กั น เ พื่ อ การสานสัมพันธ์ต่อไปหรือการผูกมิตรกับผู้คนใหม่ ๆ และยังมีกิจกรรมหรือพิธีกรรมหลากหลาย ให้ชาวสลาฟมาร่วมเฉลิมฉลอง อย่างการกระโดดข้ามกองไฟ การร้องเพลงและเต้นร า การลง ช าระร่างกายในแม่น้า การตากน้าค้าง การเก็บสะสมพืชสมุนไพร การตามหาต้นไม้ในต านาน และการขอพรเสี่ยงทายดวงชะตาต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทศกาล Kupala Night นั้นเป็นคติชน วิทยาด้านขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อซึ่งได้รับการสืบทอดมายาวนานเป็นเวลา หลายร้อยปี ซึ่งเป็นคติชนประเภทผสมคือมีการใช้ถ้อยค าในการร้องร าท าเพลงและการกระท า ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ และยังมีบทบาททางด้านคติชนวิทยาโดยท าให้เกิดความบันเทิงและความ ผ่อนคลายจากการท างาน ท าให้เกิดความสามัคคีในหมู่ชาวสลาฟ เป็นที่พึ่งทางใจให้กับความ เชื่อของชาวสลาฟ และมีอิทธิพลต่อการด าเนินชีวิตของชาวสลาฟต่อไปในช่วงเวลาที่เหลือของปี

4.6 เทศกาล Kupala Night ในมุมมองทางสญั วิทยา

สัญวิทยาเป็นการตีความรูปแบบหนึ่งโดยการถอดความหมายของสิ่งที่เป็นความหมาย อยู่แล้วว่าสื่อความออกมาได้อย่างไร โดยความหมายนั้นมี 2 แบบคือความหมายโดยตรงกับ ความหมายโดยอ้อม ซึ่งเทศกาล Kupala Night นี้สามารถตีความหรือถอดความหมายจาก พิธีกรรมต่าง ๆ ได้โดยพิจารณาถึงจุดประสงค์ของการจัดการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ ทั้งนี้ผู้ศึกษา จะท าการถอดความหมายและจุดประสงค์ของเทศกาล Kupala Night ตามตารางดังต่อไปนี้ ตารางที่ 4.1 การวิเคราะห์เทศกาล Kupala Night ตามหลักสัญวิทยา เทศกาล Kupala Night การถอดความหมายตามสญั วิทยา 54

เทศกาล Kupala Night จัดขึ้นในฤดูร้อนคือ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่อากาศร้อนขึ้น รวมถึงเป็น ช่วงเดือนมิถุนายน ยึดเอาวันครีษมายัน คือ เวลาครึ่งปีแล้วที่ชาวสลาฟได้ท างานและใช้ วันที่กลางวันยาวที่สุดและกลางคืนสั้นที่สุด ชีวิต เทศกาลนี้จึงเป็นเหมือนวันหยุดครึ่งปี เป็นวันเฉลิมฉลอง ข อ ง ชาวสลาฟที่ได้พักผ่อนและผ่อนคลายจากงาน ของตนก่อนที่จะกลับไปท างานในช่วงที่เหลือ ของปีซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวต่อ ชาวสลาฟเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ในลานกว้างที่ สถานที่เหล่านี้เหมาะสมกับการเฉลิมฉลอง มีแหล่งน้า เนินเขา หรือภูเขา เทศกาลที่มีคนเยอะ และสามารถประกอบ พิธีกรรมได้อย่างหลากหลาย มีการแขวนสมุนไพรตามมุมบ้าน และพืชที่มี เป็นการป้องวิธีกันขโมยอย่างหนึ่ง หากมีผู้ หนามตามบริเวณต่าง ๆ ของบ้านเช่น ลักลอบเข้ามาที่ไม่ใช่ชาวสลาฟไม่ระวังจะโดน หน้าต่าง ประตู คอกเลี้ยงสัตว์เพื่อป้องกันสิ่ง กับดักเหล่านี้ได้ ส่วนสิ่งชั่วร้ายที่ถูกกล่าวถึง ชั่วร้ายและแม่มดมาขโมยผลผลิตจากสัตว์ไป นั้ น อาจจะหมายถึงขโมยที่เข้ามาตอนชาวสลาฟ ออกไปเฉลิมฉลองเทศกาลนี้กันอยู่ มีการร้องร าท าเพลง เต้นระบ าฮาราโวดรอบ เป็นการแสดงออกถึงความเป็นชาวสลาฟ กองไฟขนาดใหญ่ และเฉลิมฉลองที่ตนเองได้หยุดพักจากการ ท างานมาครึ่งปี กองไฟขนาดใหญ่สามารถ เป็นสัญญาณบอกถึงชาวสลาฟคนอื่น ๆ ว่ามี การฉลองเกิดขึ้นแล้ว มีพิธีกระโดดข้ามกองไฟส าหรับคนหนุ่มสาว การเสี่ยงทายนี้เป็นเหมือนการวัดใจคนทั้ง เสี่ยงทายเกี่ยวกับความรักและโชคชะตา สองว่าจะสามารถจับมือกันข้ามปัญหาหรือ อุปสรรคไปได้หรือไม่ เช่นเดียวกับการ กระโดดท านายโชคชะตา ซึ่งการกระโดดข้าม กองไฟสามารถบอกว่าคนคนนั้นมีความ แข็งแรงและไหวพริบพอจะไม่ให้โดนไฟลวก ได้หรือไม่ มีการช าระกายในน้าเพื่อบูชาแก่เทพคูปาลา การอาบน้าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ท าให้ร่างกาย และพิธีตากน้าค้างของผู้หญิงในช่วงย ่ารุ่ง แต่ ผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า การช าระกาย ห้ามว่ายน้าออกไปไกลเพราะนางเงือกจะลาก เป็นหมู่ยังท าให้ชาวสลาฟได้มีปฏิสัมพันธ์กัน ไปใต้น้า และการตากน้าค้างที่ท าเฉพาะในเพศหญิงใน 55

ที่ลับตาคนยังช่วยเพิ่มความส่วนตัวในการ ประกอบพิธีกรรมนี้ของผู้หญิงได้ด้วย และ การว่ายน้าออกห่างจากฝั่งในตอนกลางคืน อาจท าให้เกิดอันตรายได้เนื่องจากในอดีตยัง ไม่มีแสงไฟส่อง ให้เห็นว่าใต้น้ามีอะไรบ้าง มีการสมุนไพรต่าง ๆ ในช่วงเทศกาล ช่วงกลางปีเป็นช่วงที่พืชพันธุ์ต่าง ๆ หลาย เนื่องจากเชื่อว่าได้รับพลังจากเทพเจ้า ชนิดเจริญเติบโตและมีปริมาณมากพอ ส าหรับการเก็บเกี่ยวเพื่อน าไปใช้ การรวมตัว กันเก็บพืชเหล่านี้ท าให้ไม่ต้องประสบกับการ ขาดแคลนพืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีความ จ าเป็นต้องน าไปใช้ มีการท านายเสี่ยงโชคชะตาโดยน าพวงหรีด การเสี่ยงทายดวงชะตาเป็นกุศโลบายอย่าง สานลอยไปบนน้า ถ้าหากพวงหรีดยังลอยต่อ หนึ่งเพื่อที่จะได้ให้ชาวสลาฟได้ส ารวจตัวเอง หมายถึงโชคดี แต่หากพวงหรีดจมหมายถึง และเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ในภาย โชคร้าย และการหมุนวงล้อไฟท านายความ ห น้ า ที่ อุดมสมบูรณ์ของพืชผลในช่วงเวลาที่เหลือ คาดเดาไม่ได้ ของปี มีการเข้าป่าตามหาต้นไม้ในต านานของชาย เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ให้กับคนหนุ่มสาว หนุ่มและหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน ที่ยังไม่รู้จักกันมาก่อนได้รู้จักกัน เทศกาลนี้ เป็นเทศกาลที่เปิดโอกาสให้ชายหญิงได้อยู่ ด้วยกันโดยไม่ผิดกฎ อนึ่ง การเข้าป่ายังเป็น การส ารวจเส้นและเตรียมพร้อมส าหรับการ เก็บของป่าและล่าสัตว์อีกด้วย เทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ที่ได้ ชาวสลาฟจัดเทศกาลนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นหนึ่ง อวยพรแก่ชาวสลาฟในช่วงเวลาฤดูร้อนของปี ในสัญญาณที่บอกถึงการมาถึงของฤดูร้อน ที่ต้ อ ง เ ริ่ม ท า เ ก ษ ต ร ก ร ร ม แ ล ะ ต้ อ ง เตรียมพร้อมส าหรับการเก็บเกี่ยวโดยมีการ หยุดพักครึ่งปีเล็กน้อยเพื่อผ่อนคลาย และ คลายเครียดจากการท างานในช่วงครึ่งปีแรก อีกจุดประสงค์หนึ่งคือเพื่อสืบสานและอนุรักษ์ 56

วัฒนธรรมของ ชาวสลาฟต่อให้คนรุ่นไป

จากการวิเคราะห์บทบาท อิทธิพล ภาพสะท้อน และการวิเคราะห์ตามกรอบทฤษฎีแล้ว พบว่าเทศกาล Kupala Night ส่งผลต่อชาวสลาฟทางด้านจิตใจ การเข้าสังคมของชาวสลาฟและ ยังสามารถสะท้อนสังคม วิถีชีวิตของชาวสลาฟได้เป็นอย่างดี โดยเราจะพบว่าชาวสลาฟมีความ เชื่อและเคารพในธรรมชาติเนื่องจากสังคมในอดีตของชาวสลาฟเป็นสังคมเกษตรกรรม และเทพ เจ้าคือที่พึ่งทางใจของชาวสลาฟในสมัยนั้น กระทั่งมีการเข้ามาของศาสนาคริสต์ในดินแดนของ ชาวสลาฟ ที่ท าให้ความเชื่อและศาสนาของชาวสลาฟเปลี่ยนไป แต่ชาวสลาฟยังคงยึดมั่นใน ความเชื่อดั้งเดิมของตน และสืบทอดเทศกาลนี้ต่อมาจนถึงปัจจุบันได้ เทศกาลนี้ยังแสดงให้เห็น ว่าชาวสลาฟเป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่ชอบเข้าสังคมและงานรื่นเริง งานสนุกสนานอีกด้วย 57

บทที่ 5 สรุป และข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาสรุปได้ว่า ชาวสลาฟนั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ของยุโรป ไม่ปรากฏ ที่มาแน่ชัดแต่เชื่อกันว่ามีถิ่นก าเนิดในยุโรปตอนกลางก่อนจะอพยพไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทางยุโรป ตะวันออกและยุโรปตอนใต้ ชาวสลาฟยังชีพด้วยเกษตรกรรม ใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับผลผลิตจากพืช และสัตว์ ปัจจัยส าคัญของการท าเกษตรคือทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ฝนตกต้องตามฤดูกาล อุณภูมิที่พอเหมาะต่อการปลูกพืชและการไม่มีศัตรูพืชมารุกล ้าผลผลิตของตน นอกจากการท า เกษตรแล้วชาวสลาฟยังชีพด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์ ซึ่งท าให้วิถีชีวิตของชาวสลาฟ เกี่ยวข้องกับธรรมชาติอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้วยในอดีตยังไม่มีวิทยาการหรือเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เหมือนปัจจุบัน จึงต้องมีที่พึ่งทางใจโดยการนับถือสิ่งเหนือธรรมชาติอย่างเทพเจ้าและจิต วิญญาณธรรมชาติเพื่อเป็นการเรียกขวัญและก าลังใจของตน เมื่อชาวสลาฟรู้สึกล าบากจะสวด มนต์ขอพรจากเทพเจ้า เพื่อขอให้พรท่านประทานแรงกายและแรงใจในการด าเนินชีวิต และเพื่อ เป็นการตอบแทนคุณต่อเทพเจ้า ชาวสลาฟจึงแสดง การขอบคุณโดยการบูชาเทพเจ้าด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบูชายัญ การร้องร าท าเพลง หรือ การสวดมนต์ แต่หนึ่งในการแสดงความขอบคุณต่อเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์คือการจัด เทศกาลเฉลิมฉลองซึ่งเทศกาลเหล่านี้จะมีพิธีกรรมต่าง ๆ มากมายในการสรรเสริญเทพเจ้า เพื่อ แ ส ด ง ถึ ง ความขอบคุณเทพเจ้าที่ได้ช่วยเหลือชาวสลาฟให้ผ่านพ้นช่วงเวลาไปอีกปี และยังท าให้คนจาก หมู่บ้านหรือสถานที่อื่น ๆ มารวมกันเพื่อสังสรรค์พักผ่อนจากการท างานของตน และอีกเทศกาล ประจ าปีที่ส าคัญต่อชาวสลาฟซึ่งจัดขึ้นในฤดูร้อนก่อนการเก็บเกี่ยวพืชครั้งใหญ่คือเทศกาล Kupala Night เทศกาล Kupala Night จัดขึ้นในช่วงวันที่ 22-26 มิถุนายน ซึ่งชาวสลาฟจะถือเอา วันครีษมายันเป็นวันเทศกาล โดยมีการเฉลิมฉลองเป็นเวลา 2 คืน 1 วัน เทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อ สักการะเทพคูปาลาผู้เป็นเทพสลาฟแห่งความอุดมสมบูรณ์และพระอาทิตย์ ชาวสลาฟจะบูชา เ ท พ อ ง ค์ นี้ ด้วยการช าระกายในแหล่งน้า ประดับศีรษะด้วยพวกหรีดจากพืชและดอกไม้ต่าง ๆ รวมถึงต้นไม้ ประจ าตัวท่านอย่างใบเฟิร์น ในเทศกาลยังมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการท านายเสี่ยงดวงชะตาอย่าง การลอยพวงหรีดดอกไม้ การกระโดดข้ามกองไฟและการหมุนวงล้อติดไฟลงเขา มีพิธีช าระกาย ในแหล่งน้าและการตากน ้าค้างในตอนเช้าเพื่อชะล้างสิ่งไม่ดีออกจากตัว นอกจากนี้ในเทศกาล Kupala Night ยังมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับไฟ การร้องเพลงและเต้นระบ าเป็นวงกลมเบื่อบูชาพระ อาทิตย์ การเก็บของป่าและสมุนไพรในคืนเทศกาลเพราะเชื่อว่าของเหล่านี้ได้รับพรวิเศษจาก 58

เทพเจ้าโดยเฉพาะและมีการออกตามหาต้นเฟิร์นที่ออกดอกซึ่งถือเป็นต้นไม้ของเทพคูปาลา เชื่อ กันว่าผู้ที่เจอต้นเฟิร์นนี้จะได้รับพลังจากธรรมชาติท าให้โชคดี และยังสามารถเข้าใจภาษาของ พืชและสัตว์ต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้เทศกาลคูปาลาเป็นเทศกาลที่ชายหนุ่มและหญิงสาวที่ยังไม่ แต่งงานได้มีโอกาสพบปะและพูดคุยสานสัมพันธ์กันอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ศึกษาจึงได้สรุปผลการศึกษาวิเคราะห์ว่าในเทศกาล Kupala Night นั้นมี ความเชื่อและวัฒนธรรมร่วมใดของชาวสลาฟอยู่บ้าง รวมถึงได้ศึกษาถึงบทบาท อิทธิพล และ ภาพสะท้อนของเทศกาลนี้ต่อชาวสลาฟ โดยชาวสลาฟในที่นี้คือชาวสลาฟในประเทศรัสเซีย ยูเครน เบลารุส โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็กและสโลวาาเกีย จากผลการศึกษาพบว่าชาวสลาฟนั้น เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติ ชอบการเข้าสังคมและพบปะสังสรรค์ ชอบท้า ทายและเสี่ยงดวง ชาวสลาฟมีความศรัทธาที่สิ่งที่เชื่ออย่างแรงกล้า แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดรับ สิ่งใหม่ ๆ อย่างศาสนาคริสต์ที่เข้ามามีอิทธิพลทั้งด้านความเชื่อ การด ารงชีวิต ภาษาและการ ปรับปรุงตัวอักษรใหม่ เทศกาล Kupala Night นี้ได้สะท้อนถึงสังคมเกษตรกรรมของชาวสลาฟ ในสมัยโบราณ ความเชื่อต่าง ๆ และยังเปิดโอกาสให้ชาวสลาฟได้มีปฏิสัมพันธ์กัน ได้รู้จักกัน มากขึ้น ด้วยการมีวัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยมแต่ยืดหยุ่น ท าให้ชาวสลาฟยังสามารถคงความ เป็นชาวสลาฟพร้อมกับสามารถรับเอาแนวคิดหรือสิ่งใหม่เข้ามาได้เสมอ และยังเป็นหนึ่งในชาติ พันธุ์ที่ทรงพลังที่สุดในปัจจุบัน

ข้อเสนอแนะ 1. ในการท าภาคนิพนธ์ครั้งต่อไปอาจเป็นการเปรียบเทียบระหว่างเทศกาล Kupala Night กับเทศกาลในประเทศไทยอย่างเช่นการเผาเทียนเล่นไฟ วันลอยกระทงว่ามีความต่าง ความเหมือนกันอย่างไร 2. ควรมีข้อมูลที่มากพอก่อนการท าภาคนิพนธ์เนื่องจากแหล่งอ้างอิงหลายแหล่งอาจมี ความคล้ายคลึงกัน ท าให้เนื้อหามีน้อยเกินไปได้ 3. หากต้องการท าภาคนิพนธ์เกี่ยวกับชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมสลาฟ ควรเลือกหัวข้อที่ สามารถหาข้อมูลได้ง่ายและไม่ซับซ้อนเกินไป

59

รายการอ้างอิง

ภาคนิพนธ์

ญาณิศา พันเนตร. (2552). เทศกาลอีวาน คูปาลา ในประเทศรัสเซียกับวิถีชีวิตของชาวรัสเซีย. ภาคนิพนธ์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์. กฤตพัช กรนุ่ม. (2558). การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ทางด้านคติชนวิทยาของต านานรูซาลกาซึ่ง สัมพันธ์กับประเพณีและวิถีชีวิตของชาวสลาฟตะวันออก.ภาคนิพนธ์. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์.

สื่ออิเลก็ ทรอนิกส์

ก าเนิดยอห์นผู้ถวายบัพติศมา. สืบค้นจาก https://www.churchofjesuschrist.org/study/manual /new-testament-stories/chapter-3-john-the-baptist-is-born?lang=tha ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์. (27 มิถุนายน 2552). เพเกิ้น “ศาสนานอกศาสนา”. สืบค้นจาก http:// sinchaichao.blogspot.com/2015/06/pagan.html อมรรัตน์ เทพกัมปนาท. (ม.ป.ป.). ความหมาย แนวคิดและประเด็นที่เกี่ยวกับ “วัฒนธรรม”. สืบค้นจาก http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/anth/19.htm อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (30 กันยายน 2559). ชาตินิยมทางวัฒนธรรมสองแนวทาง. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639085 New Thai Version Foundation. (ม.ป.ป.). ยอห์นประกาศข่าวประเสริฐ. สืบค้นจาก https://www .biblegateway.com/passage/?search=มั ท ธิ ว +3&version=NTV-BIBLE#th-NTV- BIBLE-23599 New Thai Version Foundation. (ม.ป.ป.). ยอห์นถูกตัดศีรษะ. สืบค้นจากhttps://www. biblegateway.com/passage/?search=มัทธิว%2014&version=NTV-BIBLE

60

Interview

Buyanova, M. A. Student. (2021, April 15) Interview.

Electronic Media

112.ua News Agency. (2020). Searching happiness on Kupala Night: Traditions and customs of the holiday. Retrieved from https://112.international/ukraine-top- news/in-search-of-happiness-on-kupala-night-traditions-and-customs-of-the-ho liday-52793.html Advantour. (n.d). Ivan Kupala Traditions in Russia. Retrieved from https://www.advan tour.com/russia/traditions/ivan-kupala.htm Allen, D. (2017). Mythological Girls: Kupala. Retrieved from https://www.girlmuseum .org/mythological-girls-kupala/ Belta. (2020). UNESCO to grant patronage to Kupala Night festival in Belarus this year Browne, W. Slavic languages. Retrieved from https://www.britannica.com/topic/Slavic- languages Glinski, M. (2016). What Is Known About Slavic Mythology. Retrieved from https:// culture.pl/en/article/what-is-known-about-slavic-mythology# Isaeva, K. (2016). Ivan Kupala night: Praying to pagan gods and saving the Slavic spirit. Retrieved from https://www.rbth.com/multimedia/pictures/2016/07/04/ivan-kupala- night_608543 Kafkadesk. (2020). Slavic mythology: Rod, and the birth of a new universe. Retrieved from https://kafkadesk.org/2020/10/05/what-about-slavicmythology/ Kafkadesk. (2020). What about Slavic mythology?. Retrieved from https:// kafkadesk.org/2020/10/05/what-about-slavic-mythology/ 61

Lennart, L. (2019) The Forgotten Holocaust: The systematic genocide on the Slavic people by the Nazis during the Second World War. Retrieved from https://studenttheses.universiteitleiden.nl/handle/1887/75106 M.C. (2020). What are the Slavic languages and which are the best to learn. Retrieved from https://www.tandem.net/slavic-languages-history-list-useful-tips McShee, S. (2019). The Slavic feast of Kupalo/a. Retrieved from https://wildhunt.org/2019/08/the-slavic-feast-of-kupalo-a.html Meet The Slavs Team. (2013). 15 Slavic Goddesses You Should Know About Retrieved from https://meettheslavs.com/slavic-goddesses/ Meet The Slavs Team. (2020). Gods of the Slavic Mythology. Retrieved from https://meettheslavs.com/ancient-slavic-deities/ Meet The Slavs Team. (2021). Kupala Night: What Is It & Why It Is Celebrated. Retrieved from https://meettheslavs.com/kupala-night/#Ivan_Kupala_Day Morgaine, S. (2017). The Goddess: Kupala. Retrieved from https:// mysticalshores.com/2017/07/01/the-goddess-kupala/ MustGo travel. (n.d). Slavic Language Branch. Retrieved from https://www. mustgo.com/worldlanguages/slavic-branch/ Private Prague Guide. (n.d). The Great Moravian Empire. Retrieved from https://www .private-prague-guide.com/article/the-great-moravian-empire/ RFE/RL. (2020). Ivana-Kupala In Belarus: A Folk Celebration. Retrieved from https:// www.rferl.org/a/ivana-kupala-in-belarus-a-folk-celebration/30711650.html Slavic wiki. Glagolitic script. ( n . d ). Retrieved from https://slav .fandom.com/wiki/Glagolitic_script# Slavic wiki . G reat M oravia. ( n . d ). Retrieved from https://slav.fandom .com/wiki/Great_Moravia Slavic wiki. Old Church Slavonic. (n.d). Retrieved from https://slav.fandom .com/wiki/Old_Church_Slavonic 62

Sputnik. Что означает Купалье? Традиции и приметы праздника Ивана Купалы. (2020). Retrieved from https://sputnik.by/event/20200706/1029382058/kupale- tradicii-istoriya-i-obryady.html Stergar, R. (2017). Panslavism. Retrieved from https://encyclopedia.1914-1918- online.net/article/panslavism Tikhomirov, M. & Gafourov, B. (1965). The Slavs and the East. In Mame, Tours. UNESCO.UNESDOC digital library. Retrieved from https://unesdoc .unesco.org/ark:/48223/pf0000163604 Tsvetkova, S. (2021). What do Russian and Old Slavonic have in common?.Retrieved from https://www.rbth.com/education/333364-russian-old-slavonic-language The Editors of Encyclopaedia Britannica. (n.d). Moravia. Retrieved from https://www.britannica.com/place/Moravia The Editors of Encyclopaedia Britannica. ( n . d ) . S l a v . Retrieved from https://www.britannica.com/topic/Slav Violatti, C. (2014). Slavs. Retrieved from https://www.worldhistory.org/Slavs/ Watson, S. (n.d). 7 Slavic Gods of Kievan Rus. Retrieved from https://lidenz.ru/7-slavic- gods-kievan-rus/ Woods, E. T. (2015). Cultural Nationalism. Retrieved from https://stateofnationalism .eu/article/cultural-nationalism/ Wigington, P. (2019). Introduction to Slavic Mythology. Retrieved from https://www. thoughtco.com/slavic-mythology-4768524

Электронные Данные

Володихин, А. (2020). Поздравления с Иваном Купалой 2021. Retrieved from https://www.kp.ru/putevoditel/pozdravleniya/pozdravleniya-s-ivanom-kupaloj/ Гудкова, Е. (n.d). КАК ПРАВИЛЬНО ОТМЕЧАТЬ ПРАЗДНИК ИВАНА КУПАЛЫ?. Retrieved from https://www.culture.ru/s/vopros/ivan-kupala/ Зарбалиева, М. (n.d). Приметы на Ивана Купалу. Retrieved from https://www.kp.ru /putevoditel/kalendar-prazdnikov/ivan-kupala/primety-na-ivan-kupalu/ 63

Ивашкина, Д. (2020). Иван Купала в 2021 году: история и традиции праздника. Retrieved from https://www.kp.ru/putevoditel/kalendar-prazdnikov/ivan-kupala/ Кузнецова, Ю. (n.d). Бог летнего Солнца Купала. Retrieved from https://www.oum.ru/yoga/vedicheskaya-kultura/bog-letnego-solntsa-kupala/ Латыголец, С.М. (2016). День Купалы — летний солнцеворот. Retrieved from http://slav-museum.ru/kupala-solncevorot_latigolec/ Мастерская Ярило. (n. d). Купала. Retrieved from https://slavyanskieoberegi .ru/slavyanskie-bogi/kupala/ РИА Новости (2020). Иван Купала 2020 - как отмечать праздник. Retrieved from https://ria.ru/20200705/1573886478.html Славяне сборник славянских знаний. (n.d). Бог Купало или Купала — славянский Бог Летнего Солнца. Retrieved from https://xn--80aejvmu5h.xn--80aswg/bog- kupalo/ Федералное агенство новостей. (2020). Иван Купала 2020: что за праздник, гадания и приметы, что нельзя делать в купальскую ночь. Retrieved from https://riafan.ru/1291267-ivan-kupala-2020-chto-za-prazdnik-gadaniya-i-primety- chto-nelzya-delat-v-kupalskuyu-noch Энциклопедия мифологии. (n.d). Иван Купала. Retrieved from https://godsbay .ru/slavs/kupala.html

64

ประวตั ิผ้เู ขียน

ชื่อ นางสาวสุพรรณิการ์ เจริญรัตน์ วันเดือนปีเกิด 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 วุฒิการศึกษา มัธยมศึกษา โรงเรียนสงวนหญิง อุดมศึกษา ศิลปศาตรบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประสบการณ์ฝึกงาน/ ปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 2 เข้าร่วม โครงการ การศึกษาต่างประเทศ แลกเปลี่ยนนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับ มหาวิทยาลัยคู่สัญญา ณ มหาวิทยาลัยมอสโก กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย

ปีการศึกษา 2561 เข้าร่วมโครงการอาสาสมัคร AIESEC ณ สาธารณรัฐมอริเชียส (ระยะเวลา 1 เดือนครึ่ง)

ปีการศึกษา 2560 เข้าร่วมโครงการอาสาสมัคร AIESEC ณ สาธารณรัฐไต้หวัน (ระยะเวลา 1 เดือนครึ่ง)

ปีการศึกษา 2558 เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน วัฒนธรรม นานาชาติเอเอฟเอส รุ่นที่ 54 ณ สหพันธรัฐรัสเซีย