Culinary Translation 1
Total Page:16
File Type:pdf, Size:1020Kb
Culinary Translation 1 บทที่ ๑ บทน า การแปลทางด้านอาหาร 2 Culinary translation ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยสมบัติทางวัฒนธรรม (เสถียรโกเศศ: 2514) คน ไทยมีอัตลักษณ์ที่เข้มแข็งและวิถีชีวิตที่เป็นตัวของตัวเอง ทั้งสองสิ่งดังกล่าวเป็นผลมาจากการสืบ ทอดและเพาะบ่มสิ่งดีงามจากชนรุ่นหนึ่งสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง ปัจจุบัน หากกล่าวถึงความหมายของค าว่า วัฒนธรรม อาจกล่าวได้ว่า มีหลากหลาย ความหมาย ซึ่งการมองค าว่า วัฒนธรรม นั้น ขึ้นอยู่กับการตีความค าดังกล่าวของแต่ละบุคคล บาง คนมองวัฒนธรรม หมายถึง เรื่องของวิถีการด ารงชีวิต ในขณะที่คนอื่นๆ อาจมอง ค าว่า วัฒนธรรม ในมุมของภาษา ศาสนา ศิลปะ สังคม รวมถึง เศรษฐกิจ การเมือง และ การพัฒนา หากจะกล่าวถึงวัฒนธรรมนั้นอาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมไม่ได้เป็นสหัชญาณ กล่าวคือ ไม่ได้เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง แต่เป็นผลที่ได้จากการสั่งสม เรียนรู้ ของชนรุ่นเก่า ดังนั้นการธ ารงไว้ซึ่ง วัฒนธรรมขึ้นอยู่กับการถ่ายทอดจากชนรุ่นหนึ่งสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง โดยบรรพบุรุษพยายามพัฒนา บ่ม เพาะวิถีการด ารงชีวิตของตนเองให้แทรกซึมเข้าไปในจิตใจของ ชนรุ่นลูกกรุ่นหลาน การธ ารงไว้ซึ่ง วัฒนธรรมจะเกิดขึ้นได้หากสมาชิกในสังคมนั้นๆ ตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมตนเองและ ร่วมมือที่จะสงวนรักษาไว้ให้ด ารงอยู่สืบไป ปัจจุบันวัฒนธรรมไม่สามารถแยกออกจากสังคมได้ ตราบใด ที่มีชุมชน สังคม ก็ย่อมมี วัฒนธรรมเกิดขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่าวัฒนธรรมมีบทบาทที่สาคัญยิ่งต่อชีวิตของมนุษย์ (ภาควิชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2531:91) แต่เมื่อวันเวลา ผ่านไป ไม่ใช่ทุกวัฒนธรรมจะสามารถธ ารงตนเองอยู่ได้ บางวัฒนธรรมค่อยๆ ถูกกลืนหายไปตาม กาลเวลา บางวัฒนธรรมยังคงอยู่ทั้งนี้เพราะคนในวัฒนธรรมนั้นๆ เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมตนเอง ผุ้เขียนหนังสือเล่มนี้เห็นว่าการธ ารงไว้ซึ่งวัฒนธรรมไม่เพียงแต่ขึ้นอ ยู่กับชนรุ่นหนังแต่เพียงเท่านั้น ทั้งนี้ต้องอาศัยปัจจัยด้านอื่นด้วยเช่นกันซึ่ง ได้แก่ การรับวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่เหมาะสมเข้ามาเพื่อผสมผสานวัฒนธรรม กล่าวได้ว่าวัฒนธรรม เกิดจากการปัจจัยหลากหลายผสมผสานร่วมกัน การรับ วัฒนธรรมเข้ามาเพื่อผสมผสานนั้นต้อง ค่อย ๆ กระท าทีละน้อยและผสมกลมกลืนจนกระทั่งคนในสังคมค่อยซึมซับไว้โดยที่ไม่รู้สึกแปลกแต่ อย่างใด นอกจากนั้นการเอาน าวิทยาการสมัยใหม่จากวัฒนธรรมอื่น ๆ เข้ามาปรับใช้ในวัฒนธรรม ตนเองก้อเป็นวิธีการที่สาคัญ ทั้งนี้ถ้าหากเราไม่ปรับตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมหรือสังคมอื่น ๆ ย่อม เป็นไปได้ว่า ต่อไปสังคมของเรา วัฒนธรรมของเราก็จะแปลกแยกจากสังคมอื่น จนอาจท าให้สังคม หรือวัฒนธรรมของเราสูญหายไปในที่สุด ประเด็นถัดมาการที่จะให้วัฒนธรรมธ ารงอยู่ได้นั้น เราต้องเผยแพร่วัฒนธรรมของเราเอง ให้โลกเห็น เสถียรโกเศศ (2514) กล่าวว่า วัฒนธรรมต่างจากทรัพย์สินอื่น ๆ ตรงที่ยิ่งเผยแพร่ ส่งต่อ การแปลทางด้านอาหาร ยิ่งงอกเงย เพิ่มพูน ทั้งนี้สมาชิกในสังคมต้องเห็นความสาคัญและภาคภูมิใจในคุณค่าของ Culinary Translation 3 วัฒนธรรมตนเอง เมื่อคนในสังคมยอมรับและเห็นค่าวัฒนธรรมของตน การสืบทอดจากรุ่นสู่ รุ่นจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ดังที่กล่าวไปข้างต้นเป็นแนวทางการธ ารงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการสืบทอด จากชนรุ่นหนึ่งสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง การผสมผสานวัฒนธรรมใหม่ ๆ เข้ากับวัฒนธรรมตนเอง รวมทั้งการเผยแพร่วัฒนธรรมตนเองให้โลกเห็น ซึ่งวิธีการทั้งหมดเราเรียกว่า การสื่อสารทาง วัฒนธรรมซึ่งการสื่อสารทางวัฒนธรรมนี้เราสามารถแบ่งออกได้เ ป็น 2 ทิศทาง กล่าวคือ การสื่อสารในทิศทางขึ้นลง เป็นการสื่อสารในกลุ่มคนที่อยุ่ในสังคม วัฒนธรรมเดียวกัน และ การสื่อสาร แนวระนาบ คือการสื่อสารระหว่างบุคคลในสังคม ในวัฒนธรรม เดียวกัน กับ บุคคลนอก จากประเด็นทางด้านวัฒนธรรมข้างต้น เห็นว่าประเด็นหนึ่งซึ่งสามารถอธิ บาย ภาพให้เห็นชัดเจนคือ วัฒนธรรมทางด้านอาหารซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวนับเป็นวัฒนธรรมที่มี ความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นจาก การที่เรานับอาหารเป็น หนึ่งในปัจจัยสี่ที่ท าให้มนุษย์สามารถด ารงชีวิตอยู่ได้ อีกทั้งพฤติกรรมการบริโภคยังเป็นสิ่งที่ แสดงอัตลักษณ์ประจ า ชาติ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของรสชาติ อาหาร ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ดังจะเห็นได้จาก ชาวจีนนิยมทานอาหารรสไม่จัด ในขณะที่ชาวญีปุ่นนิยมรับประทานปลา และสาหร่าย ซึ่งทั้งนี้ด้วยภูมิประเทศของญี่ปุ่นเป็นเกาะน้อยใหญ่ แต่ชาวตะวันตกนิยม รับประทานอาหารไขมันสูงเพร าะภูมิอากาศของประเทศในแถบทางตะวันตกจะค่อนข้าง หนาว จึงท าให้ต้องการไขมันเพื่อสร้างความอบอุ่น หากกล่าวถึงวัฒนธรรมไทย ค าว่า อาหาร นับเป็นลักษณะทางวัฒนธรรมที่โดด เด่นและมีความสาคัญ นับเป็นเอกลักษณ์ประจ าชาติ เพราะว่าคนไทยตระหนักถึง ความสาคัญของวัฒนธรรมทางด้านอา หาร วัฒนธรรมทางด้านอาหารนับได้ว่าเป็น ขบวนการสื่อสารทางวัฒนธรรมที่สมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทิศทางขึ้นลง (ส่งต่อจาก รุ่นสู่รุ่น) และการสื่อสารในแนวระนาบ (เผยแพร่ชื่อเสียงของอาหารไทยให้ชาวโลกรู้จักและ รับเอาวัฒนธรรมทางด้านอาหารจากชาติอื่นๆ เข้ามาผสมผสานให้เกิดเป็นอาหารจานใหม่ๆ ขึ้นมา) อาทิเช่น ขนมไทยโบราณ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เกิดขึ้นจากที่คนไทยในอดีต รับเอาวิธีการท าจากท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นหญิงชาวโปรตุเกส ที่เข้ามาในประเทศไทยใน ใน สมัยอยุธยา เช่นค าว่าอาหารไทยมีชื่อเสียงแพร่ขยายไปสู่วัฒนธรรมอื่น ๆ เคียงคู่กับค า ว่า วัฒนธรรมไทยมาช้านาน ปัจจุบันนี้ เห็นได้ว่ามีร้านอาหารไทยทั่วทุกมุมโลก ชาวต่างชาติที่ เคยมาและไม่เคยมาประเทศไทยเลยรู้จัก ต้มย ากุ้ง และ ผัดไทย ยิ่งไปกว่านั้นนักท่องเที่ยว จ านวนมากมาเที่ยวประเทศไทยโดยมีจุดประสงค์หลักคือ ได้ชิมอาหารไทยรสชาดดั้งเดิม การแปลทางด้านอาหาร 4 Culinary translation ดังนั้นจึง กล่าวได้ว่าอาหารไทยนับเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่ดีที่สุดรองจากอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยว ในโลกยุคปัจจุบันนี้ โลกเรานับเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ จะเห็นว่าการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปดั่งเช่นในอดีต คนเราสามารถสื่อสารกันได้จากทุกที่ทั่วโลก ทั้งนี้สืบเนื่องจาก การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากเทคโนโลยีแล้วสิ่งหนึ่งซึ่งไม่สามารถมองข้ามได้คือ ตัวกลางที่เราใช้ในการสื่อสาร นั่นคือ ภาษา ภาษา เป็นเครื่องมือทางด้านวัฒนธรรมซึ่งใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดความคิด ความ ต้องการและอารมณ์ ในแต่ละสังคมย่อมมีภาษาเป็นของตนเ อง เหตุผลที่เรานับว่าภาษาเป็น เครื่องมือทางด้านวัฒนธรรมเป็นเพราะคนเราใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางด้านวัฒธรรม ดังนั้นเราจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าภาษาเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แต่เรายังต้องกล่าวว่าภาษา ยังเป็นเครื่องมือ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารทางด้านวัฒนะรรมอีกด้วย ในอดีตกระบวนการสื่อสารทางด้านวัฒนธรรมมักจะ อยู่ในรูปของภาษาพูด (มุขปาฐถ ปากต่อปาก) มากกว่าภาษาเขียน แต่เมื่อเวลาผ่านไปวัฒนธรรมอันทรงค่าบางอย่างก็ถุกบิดเบือน ไปเพราะขาดการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ท าให้ในปัจจุบันเราพยายามบันทึกทุกสิ่งทุกอย่า งที่เป็นไป ได้โดยใช้ภาษาเขียน ไม่ว่าจะเป็น นิทาน เรื่องเล่า เหตุการณ์สาคัญ ความเชื่อต่าง ๆ กฎหมาย หรือ แม้กระทั่งสูตรการปรุงอาหาร ซึ่งการบันทึกสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีข้อดีคือสามารถเก็บรวบรวมและ สะสมได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในโลกยุคปัจจุบัน การบันทึกข้อมูลทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาเป็นภาษา ใดภาษาหนึ่งภาษาเดียวนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป อย่างเช่น ถ้าหากเราใช้ภาษาไทยในการเขียนคู่มือ การปรุงอาหาร บุคคลที่สามารถศึกษาได้ก็มีเพียคนไทย หรือชาวต่างชาติที่ศึกษาภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เราก็จะสามารถสื่อสารเฉพาะกับคนร่วมสังคม วัฒนธรรม เดียวกันกับเราเท่านั้น ซึ่งผุ้เขียนมีวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสาหรับปัญหานี้คือ การแปล การแปลทางด้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นจาก ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ ผู้แปลย่อมต้องมีทักษะทั้งทางด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤ ษอย่างดีเยี่ยม แต่ ไม่ใช่แค่ทักษะทางภาษาเท่านั้นที่ผู้แปลต้องมี ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม เพราะด้านอาหารนับเป็นประเด็นปัญหาทางด้านวัฒนธรรมสาหรับนักแปล อีกทั้งการท าอาหารไทย นับเป็นเศาสตร์ชิงช่างชั้นสูง ต้องท าด้วยความละเอียดอ่อน ด้วยเหตุนี้เองผู้ที่ท างานแปลด้านอาหาร จึงจ าเป็นต้องสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ภาษาต้นฉบับ (SL = Source Language) ทั้งในด้าน ของตัวภาษาและวัฒนธรรม แต่ทั้งนี้ตามหลักการแปล ผู้แปลต้องสื่อสารข้อความในภาษาฉบับ การแปลทางด้านอาหาร Culinary Translation 5 แปลอย่างเป็นธรรมชาติและเป็นที่ยอมรับของภาษาฉบับแปล (TL = Target Language) โดยสามารถสื่อความหมายได้เทียบเคียงเท่างานในต้นฉบับ การแปลทางด้านอาหาร นับเป็นการแปลคู่มื ซึ่งดูเหมือนง่ายและไม่ซับซ้อน ถึงแม้ การแปลชนิดนี้ไม่จ าเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์อารมณ์ของตัวละคร เฉกเช่นการแปล วรรณกรรม แต่ถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดแม้เพียงน้ อยนิดงานแปลชิ้นนี้ก็สามารถส่งผลอัน ยิ่งใหญ่ต่อผู้อ่าน เพราะผู้อ่านอาจใช้ส่วนผสม เครื่องปรุง วัตถุดิบผิด แต่ถ้าเป็นงานแปล ด้านวรรณกรรมการแปลผิดเล้กน้อย ยังคงสามารถสื่อความแก่ผุ้อ่านได้ ทั้งนี้เพราะผู้อ่านจะ ท าความเข้าจากบริบทเหตุนี้เองจะเห็นได้ว่า การแปลทางด้ านอาหาร คุ้มค่าแก่การเรียนรู้ อีกทั้งการศึกษา การแปลทางด้านอาหาร ควรมุ่งเน้นไปในด้านของเทคนิค กลวิธีที่ผุ้แปล เลือกใช้เพื่อให้ผุ้อ่านงานแปลเข้าใจ จนสามารถใช้ส่วนประกอบได้อย่างถูกต้องปฎิบัติตาม ได้ทุกขั้นตอนเช่นเดียวกับอ่านคู่มือสอนท าอาหารในภาษาต้นฉบับ ซึ่งสิ่ง นี้เองนับเป็น จุดมุ่งหมายหลักที่สาคัญของการแปลคู่มือซึ่งเน้นการปฎิบัติจริงมากกว่าคามไพเราะของตัว ภาษา ทุกวันนี้คนไทยมีปฎิสัมพันธ์กับชาวต่างชาติมากกว่าในอดีต สารที่ใช้ในการสื่อสาร ส่วนใหญ่ก็เน้นหนักไปทางด้านของวัฒนธรรม แต่ปัญหาคือผู้ส่งสารที่เป็นคนไทยไม่รู้วิธีการ ที่จะท าให้ชาวต่างชาติเข้าใจวัฒนธรรมไทยได้อย่างถ่องแท้เพราะชาวต่างชาติในฐานะผู้รับ สารมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกับกับของเรา ดังนั้นการศึกษาการแปลทางด้าน อาหารจะเป็นประโยชน์สาหรับนักศึกษาต่อไป การแปลทางด้านอาหาร 6 Culinary translation การแปลทางด้านอาหาร Culinary Translation 7 บทที่ ๒ ทฤษฎีของนักวิชาการไทยและต่างชาติ การแปลทางด้านอาหาร 8 Culinary translation เป็นที่รู้โดยทั่ว ๆ ไปว่า เมื่อเอ่ยถึงค าว่า “การแปล” ย่อมมีคนส่วนใหญ่ให้ค าจัดความว่า การแปล คือ การแปลความหมายของภาษาหนึ่งมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง แต่ทั้งนี้จริง ๆ แล้ว การแปลมี ความลึกซึ้งม ากกว่านั้น ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจว่าการแปลคืออะไร จึงอยากให้ศึกษาแนวคิดของ นักวิชาการต่างชาติ ซึ่งได้เสนอแนวคิด ไว้ดังนี้ ไนดา (1964: 2) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการแปลไว้ว่า การแปลเป็นเรื่องของการ ถ่ายทอดความหมาย และรูปแบบของการน าเสนอความหมายของข้อความในภาษาหนึ่ ง เป็นอีก ภาษาหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไนดามีความคิดว่า การแปลนั้นไม่ใช่เรื่องของการน าเสนอความหมาย เท่านั้นแต่รวมไปถึงรูปแบบของการน าเสนอความหมาย ซึ่งหมายถึงการใช้เสียง ค า วลี หรือ ประโยค และข้อความที่ประกอบด้วยประโยคหลายๆประโยค ดังนั้น การเลือกค า การเรียงค า ให้ เป็นหน่วยทีใหญ่ขึ้นในระดับวลีและแม้แต่การจัดวางวลีใดก่อนหลัง นอกจากนี้เนื่องจากการแปล เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาษา จึงมักเป็นที่เข้าใจว่าทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการแปลคือทฤษฏีทาง ภาษาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้วทฤษฏีหรือหลักของการแปลนั้นไนดา (Nida อ้างถึง ในกรมวิชาการ, 2540:65-66) กล่าวว่ามีถึง 3 ทฤษฏีด้วยกันคือ