การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

การศึกษาศักยภาพของพืนที้ เพื่ อพัฒนาที่ อย่ ู่อาศัยในพืนที้ โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภ่ ูมิ A Study of Potential Area for Housing Development in Surrounding Area of

ดนัย ศรีสังวร1* และ สญชัย ลบแย้ม1 Danai Srisungvorn1* and Sonchai Lobyaem1

บทคัดย่อ การวางแผนพัฒนาพื้นที่รอบท่าอากาศยาน ที่ให้ความสําคัญด้านการวางระบบเมืองและระบบอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง โดยมีหลักเกณฑ์สําคัญ คือ 1) การวางแผนด้านคมนาคม 2) การวางแผนและออกแบบพัฒนาพื้นที่ เศรษฐกิจ และ 3) การพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมและปลอดภัย ซึ่งใช้แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบท่า อากาศยานขนาดใหญ่ (Airport-Oriented Development: AOD) และทฤษฎีเมืองศูนย์กลางการบิน (Aerotropolis) ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาในระดับภูมิภาคมากขึ้น โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเทคนิค Potential Surface Analysis (PSA) และ Sieve Mapping ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ศึกษาจาก หน่วยงานและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาดําเนินการวิจัย ตั้งแต่ มีนาคม 2561 ถึง มกราคม 2562 เพื่อ เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาที่อยู่อาศัยพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยาน จากการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่มีความ เหมาะสมมากในการพัฒนาที่อยู่อาศัย อยู่ในพื้นที่อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่เขตประเวศ เขต มีนบุรี ของกรุงเทพมหานคร เมื่อนํามาคํานวนสัดส่วนในแต่ละพื้นที่แล้ว พบว่า พื้นที่ที่มีสัดส่วนมากที่สุดแยก ตามเขตการปกครองได้ดังนี้ คือ เขตสะพานสูง มีสัดส่วนคิดเป็น ร้อยละ 75.01 ของพื้นที่ รองลงมาเป็น เขต ประเวศ มีสัดส่วนคิดเป็น ร้อยละ 57.28 ของพื้นที่ และ เขตมีนบุรี มีสัดส่วนคิดเป็น ร้อยละ 35.91 ของพื้นที่

ABSTRACT The development plan for the areas surrounding airport which focuses on urbanization and other relevant systems in order criteria; 1) Transportation planning 2) Economic space development planning and designing 3) Residential area developing for suitability and safety through Airport- Oriented Development (AOD) which will expand the concept of Aerotropolis to be more clear and compliant with national development plan. The researcher employed the qualitative research methodology in this study the Potential Surface Analysis (PSA) technique and Sieve Mapping technique by collecting data in the study area from relevant departments and sources During the research period from March 2018 to January 2019 to study the area potential for residence development of the surrounding area Suvarnabhumi Airport. The objective of this study is to propose the recommendation for housing development in the area of Bang Phli District and , Min Buri District of . When calculating the proportion in each area, it is found that the area with the highest proportion can be divided according to administrative areas as follows: Saphan Sung District has a proportion of 75.01 percent of the area, followed by Prawet District with a percentage of 100 57.28 percent of the area and Min Buri area accounts for 35.91 percent of the area. Key words: land suitability analysis, airport-oriented development, air safety zones, Geographic Information System (GIS) * Corresponding author; e-mail address: [email protected] 1ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ 10200 1Department of Urban Design and Planning, Faculty of Architecture, Silpakorn University, Bangkok 10200

517 การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

คํานํา องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (The International Civil Aviation Organization : ICAO) ได้ กําหนดความเหมาะสมในการเลือกที่ตั้งท่าอากาศยานไว้ว่า ต้องเป็นพื้นที่โล่ง ปราศจากสิ่งกีดขวางทางการบิน แต่เนื่องจากปัจจัยทางด้านความสะดวกในการเดินทาง ทําให้ท่าอากาศยานต้องไม่อยู่ห่างจากชุมชนเมืองมาก นัก (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2546) ท่าอากาศยานจึงกลายเป็นแรง ดึงดูดทางด้านเศรษฐกิจ เป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่ มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ส่งผลให้บริเวณโดยรอบท่าอากาศ ยานกลายเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง (ฐาปนา, 2559) ทั้งจากภาคเอกชนและนโยบายของรัฐและการ ลงทุนด้านต่าง ๆ เช่น จากแผนยุทธศาสตร์โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ทั้งนี้จากการที่ท่าอากาศยานเป็นองค์ประกอบสําคัญระดับประเทศมีพื้นที่ขนาด ใหญ่ครอบคลุมหลายเขตการปกครอง มีการตั้งถิ่นฐานเดิมและที่ขยายตัวขึ้นใหม่ ( Doxiadis, 1968) จาก นโยบายส่งเสริมให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นเมืองศูนย์กลางการบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจึงเป็น ศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางอากาศ ทางราง ทางถนน และทางนํ้า มีชุมชนขนาดเล็กในพื้นที่ศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น จํานวนมาก มีบทบาททั้งเป็นชุมชนหลัก รอง และ เป็นแหล่งงาน การค้าและการบริการ อุตสาหกรรม คลังสินค้า โลจิสติกส์ สถาบันการศึกษา สถาบันราชการ และศาสนาที่หลากหลาย ที่มีความซับซ้อนเชิงโครงสร้างเมืองระดับ ภูมิภาค การพัฒนาชุมชนต่าง ๆ โดยรอบท่าอากาศยาน ที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาที่ยังขาดแนวทางที่ชัดเจน เกิด การพัฒนาที่ไม่มีแบบแผน รวมถึงผลกระทบจากกิจกรรมของท่าอากาศยานที่ประกอบด้วยผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมต่อลักษณะของชุมชนโดยรอบท่าอากาศยาน ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่ ในระดับชุมชนไปจนถึงระดับภูมิภาค ซึ่งผลกระทบเหล่านี้มีแนวโน้มจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นตามการขยายตัว ของเมืองและท่าอากาศยาน (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2556)

อุปกรณ์และวิธีการ ผู้วิจัยจะใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเทคนิค (Potential Surface Analysis : PSA) วิเคราะห์ ศักยภาพของพื้นที่ เพื่อแสดงค่าคะแนนต่อพื้นที่ตามวัตถุประสงค์ ขั้นตอนที่ 1 การกําหนดปัจจัยในการวิเคราะห์พื้นที่โดยเป็นปัจจัยทางกายภาพที่เกี่ยวข้องและข้อมูล สารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล โดยมีพื้นที่ศึกษา บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขนาดพื้นที่ประมาณ 600 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตปลอดภัยใน การเดินอากาศ และบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของท่าอากาศยาน ประกอบด้วย พื้นที่ทั้งหมดของเขต ประเวศ เขตสะพานสูง เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง ของกรุงเทพมหานคร และ อําเภอบางพลี อําเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ขั้นตอนที่ 2 การกําหนดค่านํ้าหนักของปัจจัยและวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ด้วยการซ้อนทับข้อมูล ปัจจัยด้วยโปรแกรมประยุกต์ด้านภูมิสารสนเทศ โดยแสดงศักยภาพของพื้นที่ออกมาในรูปแบบของแผนที่ที่แสดง พื้นที่ที่มีความเหมาะสม หลักการที่สําคัญของ PSA คือ การให้ค่านํ้าหนักของปัจจัยต่าง ๆ โดยที่การให้ค่านํ้าหนักจะแสดงให้เห็น ถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์กับทางเลือก (Decision Rules) ทําให้ผู้วิจัยทราบว่า เมื่อวัตถุประสงค์ข้อใด

518 การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

มีความสําคัญมาก ผลที่เกิดขึ้นกับการศึกษาจะเป็นอย่างไร สมการที่ใช้ในการศึกษา คือ Simple Additive Weighting Methods : SAW มีสมการดังนี้ S = W1(X1) + W2(X2) + W3(X3) + . . . . + Wn(Xn) เมื่อ S คือ ระดับค่าคะแนนรวมแสดงศักยภาพของพื้นที่ Wn คือ ค่าคะแนนรวมแสดงความสําคัญของปัจจัยที่ n (Weight) Xn คือ ค่าคะแนนความเหมาะสมของช่วงปัจจัยที่ n (Criteria Score) ในขั้นตอนการให้ค่านํ้าหนักของปัจจัยต่าง ๆ จะกระทําโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน พิจารณาถึง ลักษณะทางกายภาพ กฎหมาย ข้อกําหนด และข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ประเภทหนึ่งที่เก็บข้อมูลอยู่ในรูปแบบเวคเตอร์ (Vector) ใน 3 ลักษณะ คือ จุด (Point) เส้น (Line) และรูปปิด (Polygon) ซึ่งจะแยกเก็บออกเป็นชั้นข้อมูล (Layer)

การกําหนดค่าความสําคัญของปัจจัย ในการกําหนดค่าความสําคัญของปัจจัยจะอาศัยเทคนิคกระบวนการตัดสินใจแบบมีลําดับขั้น (Analytic Hierarchy Process : AHP) และเทคนิคการเปรียบเทียบเชิงคู่ (Pairwise Comparison) โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. กําหนดค่าความสําคัญของปัจจัยหลัก (Weighting Factor) โดยให้ผลรวมของปัจจัยหลักทั้งหมดเป็น 100 สําหรับปัจจัยหลักแต่ละด้าน จากการหารือผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 8 ท่าน โดยแยกเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง และสภาพแวดล้อม 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้าน เศรษฐศาสตร์ 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม 1 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมการบิน 1 ท่าน ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยดังนี้ - ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ค่าความสําคัญร้อยละ 27) - ปัจจัยด้านประชากรและความหนาแน่น (ค่าความสําคัญร้อยละ 16) - ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (ค่าความสําคัญร้อยละ 34) - ปัจจัยด้านกฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (ค่าความสําคัญร้อยละ 23)

2. กําหนดค่าความสําคัญของปัจจัยย่อย ซึ่งประกอบด้วย 2.1 ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน จํานวน 7 ปัจจัยย่อย ดังนี้ - พื้นที่ให้บริการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน - การเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตําบล - การเข้าถึงเส้นทางคมนาคมทางถนนสายประธานและถนนสายหลัก - การเข้าถึงเส้นทางคมนาคมทางถนนสายรองและถนนท้องถิ่น - การเข้าถึงสถานีรถโดยสารสาธารณะ เช่น สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า (ชูเกียรติ, 2554) - ระยะห่างจากศาสนสถาน เช่น วัด มัสยิด คริสตจักร - พื้นที่ให้บริการของสวนสาธารณะ สนามกีฬา แหล่งนันทนาการ สถานที่ท่องเที่ยว

519 การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

2.2 ปัจจัยด้านประชากรและความหนาแน่น จํานวน 2 ปัจจัยย่อย ดังนี้ - ความหนาแน่นที่อยู่อาศัย แยกตามพื้นที่ท้ายประกาศผังเมืองรวม - ระยะห่างจากพื้นที่ชุมชนเมืองเดิม 2.3 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม จํานวน 5 ปัจจัยย่อย ดังนี้ - พื้นที่ผลกระทบด้านเสียง (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2556) - พื้นที่ผลกระทบด้านอากาศ (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2556) - พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย (นํ้าท่วม) - ระยะห่างจากแหล่งนํ้าและทางนํ้าธรรมชาติ - พื้นที่อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อพื้นที่ชุมชน 2.4 ปัจจัยด้านกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 3 ปัจจัยย่อย ดังนี้ - เขตปลอดภัยทางเดินอากาศ - เขตควบคุมอาคาร - ข้อกําหนดด้านผังเมือง

ด้วยเทคนิคการเปรียบเทียบเชิงคู่ (Pairwise Comparison) เป็นการเปรียบเทียบความสําคัญของปัจจัย ย่อยทีละคู่ โดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้านตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อกําหนดหรือตัดสินว่าปัจจัยใดมี ความสําคัญมากกว่า สําหรับค่าความสําคัญในการเปรียบเทียบเชิงคู่มีหลักการให้คะแนน ดังนี้ - ถ้าปัจจัยในแนวตั้งมีความสําคัญมากกว่าปัจจัยในแนวนอน จะให้ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 3 - ถ้าปัจจัยในแนวตั้งมีความสําคัญเท่ากับปัจจัยในแนวนอน จะให้ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 2 - ถ้าปัจจัยในแนวตั้งมีความสําคัญน้อยกว่าปัจจัยในแนวนอน จะให้ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 1

3. การหาค่าความสําคัญของปัจจัยย่อย เมื่อทําการเปรียบเทียบความสําคัญของปัจจัยย่อยด้วยเทคนิค การเปรียบเทียบเชิงคู่จนครบแล้ว ให้ทําการหาผลรวมค่าความสําคัญจากการเปรียบเทียบเชิงคู่ของปัจจัยย่อยนั้น และทําการหาร้อยละของค่าความสําคัญของปัจจัยย่อยที่อยู่ในปัจจัยหลักนั้นๆ โดยเมื่อนําร้อยละของค่า ความสําคัญของปัจจัยย่อยที่อยู่ในปัจจัยหลักนั้น ๆ มาคูณกับค่าความสําคัญของปัจจัยหลัก จะได้เป็นค่า ความสําคัญของปัจจัยย่อยนั้น ดังสมการ

ค่าความสําคัญของปัจจัยย่อย = ค่าความสําคัญของปัจจัยหลัก x ร้อยละค่าความสําคัญของ ปัจจัยย่อยที่อยู่ในปัจจัยหลักนั้นๆ

การกําหนดพืนที้ กันออกในปัจจัยย่อย่ ในปัจจัยย่อยต่างๆ จะมีการกําหนดพื้นที่ที่ไม่สามารถนํามาใช้ในการวิเคราะห์ศักยภาพได้ เนื่องจากมี ข้อกําหนดหรือกฎหมายที่สงวนหรือห้ามใช้พื้นที่ดังกล่าว หรือเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งอาจเกิดอันตรายหรือ ความไม่ปลอดภัยหากมีการพัฒนาหรือมีกิจกรรมของสถานที่รองรับฯ ซึ่งมีรายละเอียดของพื้นที่กันออกและ ข้อกําหนดหรือกฎหมายที่นํามาใช้อ้างอิง ดังนี้

520 การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

1. พื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามประกาศ กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2549 และ พื้นที่ท่าอากาศยาน ของสํานักงานการบินพลเรือน: CAAT 2. พื้นที่อุตสาหกรรมและคลังสินค้า อ้างอิงพื้นที่ตามประกาศ ผังเมือง กรุงเทพมหานคร และ สมุทรปราการ ปี พ.ศ. 2556 3. พื้นที่ตั้งของบริการพื้นฐานของพื้นที่เมือง เช่น สถานศึกษา สถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งของ สาธารณูปโภค และสาธารณูปการต่าง ๆ เป็นโครงสร้างที่จําเป็นต่อการพัฒนาเมืองซึ่งต้องกําหนดให้เป็นพื้นที่กัน ออก จากพื้นที่ที่จะนํามาพัฒนาเมือง เช่น บ่อบําบัดนํ้าเสีย โรงงานกําจัดขยะ โรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้า พื้นที่ฝังกลบ สารพิษ เขตทหาร เป็นต้น 4. พื้นที่ที่ควรอนุรักษ์และฟื้นฟูไว้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (ณัฐวุฒิ, 2561) เนื่องจากผล จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอาจส่งผลทําให้พื้นที่ที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์หลายแห่งมีสภาพทรุด โทรม ขาดการดูแลเอาใจใส่และการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณโดยรอบทําให้เกิดความขัดแย้งในการใช้ ประโยชน์ที่ดินบริเวณโดยรอบพื้นที่แหล่งประวัติศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรุกลํ้าของพื้นที่เมืองและกิจกรรม ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เข้าไปในพื้นที่ประวัติศาสตร์อย่างรวดเร็ว ทําให้เกิดการบุกรุกและทําลายโบราณสถานต่าง ๆ ซึ่งจะยากต่อการบริหารจัดการพื้นที่ในอนาคต ดังนั้นพื้นที่เหล่านี้ควรจะได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูมรดกทาง วัฒนธรรมที่มีคุณค่าเหล่านี้ไว้ไม่ให้สูญหายและถูกทําลายไป โดยพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์และฟื้นฟูไว้เป็นแหล่ง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอนุภาคจะประกอบด้วย แหล่งศิลปกรรม พื้นที่โบราณสถานที่มีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ เป็นต้น 5. พื้นที่ที่อยู่ห่างจากแหล่งนํ้าผิวดินน้อยกว่า 50 เมตร พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 6. พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดนํ้าท่วมซํ้าซาก อ้างอิงตามแผนที่นํ้าท่วมซํ้าซากของศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศ กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) 7. พื้นที่ที่อยู่ห่างจากแนวสายส่งไฟฟ้าศักย์สูงน้อยกว่า 40 เมตร อ้างอิงตามประกาศการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย เรื่อง ข้อกําหนดเพื่อความปลอดภัยในเขตเดินสายไฟฟ้า ได้กําหนดบริเวณที่จะเดินสายส่งไฟฟ้า มีความกว้างจากแนวศูนย์กลางของเสาสายส่งไฟฟ้าด้านละไม่เกิน 40 เมตร รวมทั้งกําหนดข้อห้ามการกระทํา การใด ๆ ในเขตเดินสายฟ้าเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยในการส่งพลังงานไฟฟ้า

ผลการการวิเคราะห์ศักยภาพของพืนที้ ่ เมื่อผู้วิจัยได้วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ตามเงื่อนไขและเกณฑ์การให้คะแนนแล้ว จะทําการซ้อนทับ ข้อมูลปัจจัยด้วยโปรแกรมประยุกต์ด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ และแสดงศักยภาพของพื้นที่ออกมาในรูปของแผน ที่แสดงพื้นที่ที่มีความเหมาะสมตามลําดับ ซึ่งความเหมาะสมของพื้นที่เป็นไปตามเกณฑ์การวิเคราะห์ศักยภาพ ของพื้นที่ที่อยู่อาศัยจากคู่มือกรมโยธาธิการและผังเมือง (กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2552) ที่ใช้ในการศึกษานี้ เท่านั้น นอกจากนี้ สําหรับพื้นที่ที่ขาดความเหมาะสม นั้นไม่ได้หมายความว่า พื้นที่นั้นไม่สามารถตั้งหรือพัฒนา พื้นที่อยู่อาศัยชุมชนได้ แต่หมายถึงพื้นที่นั้นมีข้อด้อยเชิงพื้นที่ในบางปัจจัยจึงทําให้มีความเหมาะสมน้อยเท่านั้น ดังนั้น หากในอนาคตข้อกําหนดหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาจทําให้ความเหมาะสม ของพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นเดียวกัน

521 การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

การกําหนดระดับความเหมาะสมของพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อประมวลผลคัดกรอง พื้นที่ (Sieve Analysis) ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยนําค่าคะแนนของแต่ละปัจจัยคูณกับค่า ความสําคัญจะได้ผลเป็นค่าคะแนนรวมของแต่ละหน่วยพื้นที่ เพื่อให้สะดวกต่อการพิจารณาจึงกําหนดแบ่งระดับ ความเหมาะสมของพื้นที่ออกเป็น 4 ระดับ คือ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก (Most Suitable) พื้นที่ที่มีความ เหมาะสมปานกลาง (Moderate Suitable) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย (Less Suitable) และพื้นที่ที่ไม่มีความ เหมาะสมหรือพื้นที่กันออก (Restrictive Area) ดัง Figure 1 เมื่อทําการซ้อนทับกับข้อมูลต่าง ๆ ก็จะได้ข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ศักยภาพ ที่มีค่าคะแนนรวมของปัจจัย ต่าง ๆ มากที่สุด โดยผู้วิจัยสามารถนําข้อมูลที่วิเคราะห์ได้เบื้องต้นนี้ นําไปเป็นข้อมูลเพื่อใช้สําหรับวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับการกําหนดข้อเสนอเสนอแนะในพื้นที่

Figure 1 Results of area suitability analysis.

522 การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

สรุป จากผลการศึกษาพบว่าพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีข้อจํากัดและอุปสรรคในการพัฒนา ที่อยู่อาศัย คือ การกําหนดให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของบริเวณพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นพื้นที่รองรับ การระบายนํ้า ทําให้เป็นปัจจัยหลักที่ไม่อาจพัฒนาพื้นที่ให้เป็นที่อยู่อาศัยได้ ตลอดจนการกําหนดพื้นที่และ กิจกรรมที่ไม่ชัดเจนของพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยาน พื้นที่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของท่าอากาศยานอยู่ในเขตที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางเสียงอากาศ กิจกรรมของการบิน รวมทั้งเขตควบคุมอาคาร เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็น ปัจจัยหลักด้านกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องที่ทําให้ผลการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ในเขตสะพานสูงมีค่า คะแนนความเหมาะสมในการพัฒนาสูงที่สุด และพื้นที่อําเภอบางพลีมีค่าคะแนนความเหมาะสมในการพัฒนา น้อยที่สุด จากการศึกษายังพบว่าในบางพื้นที่ของพื้นที่ศึกษายังสามารถพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยที่ดีและสอดคล้อง กับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานได้ แต่ต้องกําหนดแผนการพัฒนาที่ชัดเจนและสอดคล้องกับปัญหา และข้อจํากัดของพื้นที่โดยอาศัยการวางระบบเมืองที่ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น

กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธ์นี้ได้รับความอนุเคราะห์จากบุคคลหลายฝ่าย ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ คณาจารย์ภาควิชาการ ออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ให้ความรู้ความเข้าใจ ทางด้านผังเมือง และให้คําแนะนําตลอดการดําเนินการวิจัย ผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมให้ความคิดเห็นในการวิจัย รวมทั้ง หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่ให้ความสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

เอกสารอ้างอิง กรมโยธาธิการและผังเมือง,กระทรวงมหาดไทย. 2552. การวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ทีดินและคมนาคม่ ขนส่ง เพื่อการวางผังเมืองรวมโดยโปรแกรมประยุกต์. กลุ่มงานพัฒนาเทคนิคการวางผัง สํานัก พัฒนามาตรฐานผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง, กรุงเทพฯ. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2556. การศึกษารูปแบบการ ใช้ทีดินเพื่ ่อลดผลกระทบด้านเสียงจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. กลุ่มอากาศ เสียงและความ สั่นสะเทือน ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ. ชูเกียรติ สลักคํา. 2554. ปั จจัยคุณภาพในกระบวนการวิเคราะห์ศักยภาพพืนที้ เพื่ ่อการเลือกทีอย่ ู่อาศัย บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว. วิทยานิพนธ์การวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม มหาบัณฑิต สาขาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม, มหาวิทยาลัยศิลปากร. ฐาปนา บุณยประวิตร. 2559. เกณฑ์การพัฒนาทีดินรอ่ บอู่ตะเภา (Online). http://tatp.or.th/aod-utapao, 5 มีนาคม 2561. ณัฐวุฒิ รัตนสุนทร. 2561. การใช้ประโยชน์พืนที้ โล่ง่ ว่างส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อดํารงอยู่ของภูมิ ทัศน์วัฒนธรรมชุมชนเก่าริมคลอง รอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ศึกษาเฉพาะกรณี ชุมชนตลาด เก่าบางพลี ริมคลองสําโรง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

523 การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

มานัส ศรีวณิช. 2559. การวิเคราะห์ศักยภาพด้านกายภาพทางพืนที้ เพื่ อการวางแผนพัฒนาพื่ นที้ บริเวณ่ รอบสถานีขนส่งมวลชนเชือมต่อกับชุมชนมหาวิทยาลัย.่ วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2546. โครงการวางแผนผังการพัฒนา เมืองศูนย์กลางการบินสุวรรณภูมิ. สํานักนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพฯ. Doxiadis, C.A. 1968. Ekistics: An Introduction to the Science of Human Settlements. Oxford University Press, London. Kasada, J.D. 2000. Aerotropolis: Airport – Driven Urban Development. ULI on the Future: Cities In the 21th Century. Urban Land Institute, Washington. D.C.

524