สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน พ.ศ. 2561 ฉบับพิเศษ: สถาปัตยกรรมและการออกแบบ

* บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ* ** ข้อความและบทความที่พิมพ์ในสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นความคิดอิสระของผู้เขียน มิใช่ความรับผิดชอบของ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์หรือกองบรรณาธิการ** สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

เจ้าของ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ปรึกษา อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้อ�ำนวยการอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บรรณาธิการรับเชิญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิจชัย จิตขจรวานิช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กองบรรณาธิการ ศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว ข้าราชการบ�ำนาญ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.ศิราพร ณ ถลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลัยทักษิณ ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ วิริยะศักดิ์พันธุ์ นักวิชาการอิสระ รองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รองศาสตรจารย์ ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ทินรัตน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญยงค์ เกศเทศ นักวิชาการอิสระ รองศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ มีกุศล นักวิชาการอิสระ รองศาสตราจารย์ ดร.จารุวรรณ ธรรมวัตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รองศาสตราจารย์ ไพบูลย์ ดวงจันทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ รองศาสตราจารย์ ดร.พรพันธุ์ เขมคุณาศัย มหาวิทยาลัยทักษิณ รองศาสตราจารย์เรวัติ สุขสิกาญจน์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาโนช ดินลานสกุล มหาวิทยาลัยทักษิณ อาจารย์ ดร.เลิศชาย ศิริชัย นักวิชาการอิสระ อาจารย์ ดร.ฉันทัส ทองช่วย มหาวิทยาลัยทักษิณ อาจารย์ ดร.สุภาวดี เชื้อพราหมณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาจารย์จิตติมา เชาว์แก้ว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ ว่าที่ ร.ต. (หญิง) เพ็ญนภา วัยเวก นางสาวสายฝน จิตนุพงศ์ นางวิลาวัณย์ วิชัยดิษฐ นางสาวปริญญา สีหะรัตน์ นายโกสินธุ์ ศิริรักษ์ นายสราวุธ เลาหะสราญ

ติดต่อกองบรรณาธิการ อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ อาคารพลศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต�ำบลไทยบุรี อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 โทรศัพท์ 0-7567-2508-10 โทรสาร 0-7567-2507 อีเมล: [email protected] ภาพปกโดย ออกแบบปก สราวุธ เลาหะสราญ ภาพจาก http://www.gotonakhon.com จ�ำนวนพิมพ์ 100 ฉบับ พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด กรีนโซนอินเตอร์ 2001 155/2 ถนนปากนคร ต�ำบลท่าซัก อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 075-466-031, 086-471-5236, 086-479-8920 โทรสาร 075-466-550 อีเมล: [email protected], [email protected] สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ บทบรรณาธิการ บทบรรณาธิการ

วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ซึ่งใช้ชื่อว่า “สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ก�ำเนิดมาพร้อมกับการเปิดด�ำเนินการสอนของมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ เพราะในปี พ.ศ. 2541 มีคณะกรรมการทะนุบ�ำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อด�ำเนินการภารกิจที่ 4 ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก็ได้จัดท�ำ “สารคณะกรรมการ ทะนุบ�ำรุงศิลปะและวัฒนธรรม” ซึ่งมีจ�ำนวนหน้า 4 หรือ 6 หน้าในแต่ละฉบับ หลังจากนี้ มีการพัฒนามาตามล�ำดับ ทั้งการเพิ่มจ�ำนวนหน้า และปริมาณของเนื้อหา ครั้นหน่วยงาน ชั่วคราวนี้เปลี่ยนเป็น “โครงการอาศรมวัฒนธรรม” มีงบประมาณสนับสนุนมากขึ้น การปรับเปลี่ยนการจัดท�ำก็เกิดตามมา ท�ำให้จ�ำนวนหน้าและเนื้อหาเพิ่มมากขึ้นไปอีก เมื่อได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้เป็นหน่วยงานเป็นทางการชื่อว่า “อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์” มหาวิทยาลัยวลัยวลักษณ์ การปรับเปลี่ยนก็เกิดขึ้นค่อนข้าง เข้มข้นตามนโยบายการบริหารงานของหน่วยงานทะนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรม ก็มีมามากขึ้น จนถึงขั้นประกาศรับบทความจากภายนอกอย่างหลากหลายน�ำมาตีพิมพ์เผยแพร่ ครั้นต่อมารองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล ด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้เล็งเห็นว่า สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์มีอายุ ยาวนาน จึงผลักดันให้เข้าสู่มาตรฐานวารสารแห่งชาติ (TCI) จนกระทั่งเข้าสู่กลุ่มฐานที่ 2 ซึ่งมี นายโกสินธ์ สินธุรักษ์ สถาบันวิจัย และนางสาวเพ็ญนภา วัยเวก ผู้ช่วยบรรณาธิการ ร่วมกัน ตรวจสอบดูแลรูปแบบตามที่หน่วยงานมาตรฐานวารสารชาติก�ำหนดไว้ ความส�ำเร็จ จึงได้เกิดตามมา จากบัดนั้นถึงบัดนี้วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์มีความเข้มแข็งขึ้น ที่จะคิดต่อไป เพื่อพัฒนาไปสู่ฐานที่สูงขึ้น ทั้งนี้ก็ต้องเพิ่มความเข้มข้นของบทความ ไม่ว่าบทความวิจัยหรือบทความวิชาการหรืออื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบของความเป็น วารสารมาตรฐานชาติ บทความทุกบทความจะต้องผ่านการตรวจสอบความเหมาะสม และถูกต้องจากบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ หลังจากนี้จะส่งให้ผู้ทรงวุฒิทางวิชาการ สาขานั้นๆ อ่านตรวจสอบเพื่อคุณภาพอีกครั้งหนึ่ง หากผลการอ่านตรวจสอบผ่านจึงจะ น�ำตีพิมพ์ต่อไป บทความส่วนหนึ่งถูกส่งกลับไปให้เจ้าของบทความปรับปรุงใหม่ และ ส่งกลับมาเพื่อให้ผู้ทรงวุฒิสาขานั้นๆ อ่านอีกครั้งหากผ่านจึงจะตีพิมพ์ จึงขอให้ก�ำลังใจกับ ข สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

เจ้าของบทความบางบทความที่หากต้องด�ำเนินการตามวิธีปฏิบัติของอาศรมวัฒนธรรม วลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทั้งนี้ก็เพื่อการด�ำรงอยู่อย่างมีคุณภาพของวารสารฉบับนี้ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ฉบับนี้เป็นฉบับแรกของปี พุทธศักราช ๒๕๖๑ ซึ่งมีเนื้อหา เกี่ยวกับเรื่องสิ่งก่อสร้างหรือสถาปัตยกรรม ด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล เมื่ออยู่ในต�ำแหน่งรักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยได้ปรึกษาว่าทางส�ำนักวิชาสถาปัตยกรรม และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะน�ำเสนอ บทความวิจัยและบทความวิชาการ เนื่องในช่วงงานสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งวันสถาปนาคือวันที่ 29 มีนาคม การน�ำเสนอดังกล่าวนี้มีผู้รู้ด้านสถาปัตยกรรมและนักศึกษามาจากที่ต่างๆ จึงใคร่ ขอให้อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ช่วยตีพิมพ์บทความนี้น�ำเสนอแล้วทั้งหมด อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีช่วยให้มีบทความที่มีเนื้อหาโดยเฉพาะ ทางด้านสถาปัตยกรรม หรือการก่อสร้าง จึงตกลงรับด�ำเนินการดังที่มีบทความด้านนี้ ในอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ซึ่งท�ำให้สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์มีสีสันและ มีความเด่นเฉพาะอีกอย่างหนึ่งตามมา จึงขอขอบพระคุณรองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล และคณบดีส�ำนักวิชาสถาปัตยกรรม คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิจชัย จิตขจรวานิช ที่ช่วยตรวจสอบบทความทุกบทความให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด นอกจากนี้ ยังขอให้คณบดีส�ำนักวิชาสถาปัตยกรรมเขียนบทบรรณาธิการเฉพาะฉบับพิเศษ สถาปัตยกรรมและการออกแบบอีกด้วย เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจในเนื้อหาของ สาขาวิชานี้ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดน�ำเสนอบทความที่มี คุณภาพทั้งทางด้านมนุษยศาสตร์ มนุษยวิทยาวัฒนธรรม สัมคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และ เนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันที่รวมอยู่เป็น “ศิลปะและวัฒนธรรม” หรือ “วัฒนธรรม” อย่างต่อเนื่องปีละ 2 ฉบับ หรือ 6 เดือนต่อ 1 ฉบับ คณะกองบรรณาธิการจะพยายาม ในการน�ำพาวารสารฉบับนี้ให้มีการพัฒนาต่อไปให้ดีที่สุด ทั้งนี้เพื่อคุณค่าที่จะเกิดขึ้นตามมา อย่างต่อเนื่องทั้งส่วนบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานของประเทศชาติ ความเป็นไทย และ ชาวโลก เพราะนี่คือการสร้างสรรค์ที่ท�ำให้เกิดสิ่งที่ดีที่มั่นใจได้อย่างแน่นอน

รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ บรรณาธิการ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ บทบรรณาธิการ บทบรรณาธิการรับเชิญ

การจัดกลุ่มสถาปัตยกรรมและสาขาที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งได้แก่ การออกแบบ ให้อยู่ใน สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น เป็นเพราะในกระบวนการออกแบบต้องอาศัย แนวคิดและวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นเป็นตอน ส�ำหรับการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การตั้งสมมติฐาน การพิสูจน์และพัฒนาเป็นทฤษฎีของการออกแบบ หลังจากนั้นจึงปฏิบัติ เป็นงานออกแบบ โดยใช้เหตุและผลที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลงานขั้นสุดท้ายที่มีประโยชน์ แก่การใช้สอย พร้อมกับสุนทรียภาพที่แสดงถึงความงามเป็นที่พึงพอใจ นอกจากนี้ ในกระบวนการออกแบบยังต้องอาศัยความรู้ทางเทคโนโลยีในการผลิตผลงานให้เกิด ความแข็งแรง ทนทาน และสะท้อนถึงยุคสมัยของงานออกแบบนั้นๆ อย่างไรก็ตาม การออกแบบไม่ว่าจะเป็นงานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม การออกแบบภายใน หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องตอบสนองมนุษย์ผู้ใช้สอย และ ส่งผลต่อสภาพทางกายภาพของสังคม ด้วยสภาวะเช่นนี้ นักออกแบบทั้งหลายจึงต้อง ค�ำนึงถึงกลุ่มสาขาวิชาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพราะองค์ความรู้ทางด้านนี้ จะใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงงานออกแบบสู่ผู้คนที่อยู่ในสังคมจริงๆ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า งานสถาปัตยกรรม และสาขาที่เกี่ยวเนื่องเป็นสหวิทยาการ เป็นศาสตร์ที่ผสมผสานทั้งทางวิทย์และศิลป์ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ฉบับนี้เป็นฉบับพิเศษ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของ การน�ำเสนอในการประชุมวิชาการและงานสร้างสรรค์ระดับชาติครั้งที่ 1 : วิถีทรรศน์ สถาปัตยกรรมและการออกแบบ ซึ่งจัดโดยส�ำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ถือได้ว่าเป็นภารกิจส�ำคัญ ของสถาบันอุดมศึกษา อันก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย นักวิชาการ นักออกแบบ ตลอดจนนิสิตนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ โดยทั่วไป เป็นประโยชน์ในวงการและเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ ทั้งยังสร้างมาตรฐาน ที่ดีต่อไป บทความที่คัดสรรทั้งแปดบท แบ่งเป็นบทความทางสถาปัตยกรรม ชุมชน และ สภาพแวดล้อม ห้าบทความ และบทความทางการออกแบบอุตสาหกรรมและงานสร้างสรรค์ อีก สามบทความ โดยบทความแรก “มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมือง ง สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช” โดย ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ กล่าวถึงการอนุรักษ์และการพัฒนา เมืองประวัติศาสตร์ ในบริบทที่ยังมีผู้คนอยู่อาศัยและใช้ชีวิตประจ�ำวัน บทความที่สอง “จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานการปกครอง ส่วนท้องถิ่น” โดย สันต์ จันทร์สมศักดิ์ และสิริมาส เฮงรัศมี อธิบายถึงกระบวนการศึกษา ทางสถาปัตยกรรมที่ถูกน�ำเสนอสู่สังคม ซึ่งท�ำให้เห็นผลลัพธ์ ปัญหาและอุปสรรค และ ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา บทความที่สามและสี่ “ศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือก ตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้” โดย เจนจิรา ขุนทอง และปิยาภรณ์ อรมุต และ “การศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในด้วยใบยางพารา” โดย พิษณุ อนุชาญ และงามเพชร อัมพรวัฒนพงศ์ แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของวัสดุที่น�ำมาใช้ในระบบอุปกรณ์อาคาร และ การออกแบบตกแต่งภายในอาคาร ตามล�ำดับ บทความที่ห้า “การศึกษาปัจจัยที่ส่งผล ต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว จังหวัดตรัง” โดย โอปอร์ ชัยสง่าพงษ์ และนิศารัตน์ เจียวก๊ก ได้บทสรุปของประเด็น จากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการใช้พื้นที่เขตเมืองในช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่าน บทความที่หก “การศึกษาสภาพปัญหาและค้นหาแหล่งอารยธรรมโบราณที่สามารถน�ำลวดลายมาใช้สื่อถึง ตัวตนของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง จ.นครศรีธรรมราช” โดย กษิญา เก้าเอี้ยน น�ำเสนอการประยุกต์กระบวนการทางวิชาการมาสู่ชุมชนในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มี อัตลักษณ์ บทความต่อมา “การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่มีแนวความคิดจาก ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้” โดย ชัชวาลย์ รัตนพันธุ์ อธิบายกระบวนการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ โดยใช้วิธีวิจัยเป็นเครื่องมือช่วยศึกษาความเหมาะสมด้านต่างๆ และบทความ สุดท้าย “การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต” โดย ฤธรรมรง ปลัดสงคราม กล่าวถึงกระบวนการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยใช้วิธีวิจัยในการประเมินการรับรู้และความพึงพอใจ ทั้งนี้ เพื่อให้เติมเต็มครบถ้วนตามสาขา ที่ส�ำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และ การออกแบบได้มีการเปิดหลักสูตร ทั้งสถาปัตยกรรมศาสตร์ การออกแบบอุตสาหกรรมและ ผลิตภัณฑ์ การออกแบบภายใน และภูมิสถาปัตยกรรม จึงได้เพิ่มบทความวิจารณ์หนังสือ ที่เกี่ยวกับความรู้ทางภูมิสถาปัตยกรรมเข้าไปด้วย นั่นคือ “หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น” ของชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ ซึ่งเป็นเกล็ดความรู้ทางด้านการออกแบบสวน ในวัฒนธรรมตะวันออก สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จ บทบรรณาธิการ

ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ช่วยอ่าน ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพของบทความ ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ ขอขอบคุณคณะกองบรรณาธิการที่ช่วยกันท�ำให้การด�ำเนินงาน ในขั้นตอนต่างๆ ส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และมีมาตรฐาน เหมาะสมกับการเป็นวารสาร ระดับชาติ เพราะสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ได้รับการพิจารณาให้อยู่ในฐานข้อมูล ระดับชาติ TCI กลุ่ม 2 และขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกเรื่องที่ส่งบทความที่มีคุณภาพ เข้าร่วมงานประชุมวิชาการและตีพิมพ์ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ขอขอบคุณ มาในโอกาสนี้ด้วยความจริงใจ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิจชัย จิตขจรวานิช บรรณาธิการรับเชิญ ฉ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal 11 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2561

สารบัญ

หน้า

บทบรรณาธิการ ก บทบรรณาธิการ (ฉบับพิเศษ) ค มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์ 1 นครศรีธรรมราช ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับ 25 หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น สันต์ จันทร์สมศักดิ์ และสิริมาส เฮงรัศมี การศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ 47 เจนจิรา ขุนทอง และปิยาภรณ์ อรมุต การศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคารด้วยใบยางพารา 67 พิษณุ อนุชา และงามเพชร อัมพรวัฒนพงศ์ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดิน 83 และพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว จังหวัดตรัง โอปอร์ ชัยสง่าพงษ์ และนิศารัตน์ เจียวก๊ก การศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของ 101 กลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิง จังหวัดนครศรีธรรมราช กษิญา เก้าเอี้ยน สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ฉ Walailak Abode of Culture Journal

สารบัญ (ต่อ) หน้า

การน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบ 119 ของที่ระลึก ชัชวาลย์ รัตนพันธุ์ การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชน 137 ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ฤธรรมรง ปลัดสงคราม บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น (2557) ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ 161 กิจชัย จิตขจรวานิช สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 1 มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์ นครศรีธรรมราช

ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ ภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520 อีเมล: [email protected]

บทคัดย่อ แนวคิดในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน ได้ถูกพัฒนา ภายใต้การถกเถียงที่ผ่านประสบการณ์ของโลกตะวันตก และบริบทที่ต่างเงื่อนไขกับบริบท ของไทย นับแต่อิโคโมสสากลได้มีการออกกฎบัตรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์เมือง และชุมชนเมืองประวัติศาสตร์ (Charter for the Conservation of Historic Towns and Urban Areas) หรือ Washington Charter ในปี ค.ศ. 1987 หลังจากการออกสนธิสัญญา มรดกโลก (World Heritage Convention) ในปี ค.ศ. 1972 ในขณะที่แนวคิดเรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองนั้นก�ำลังเอาชนะคะแนนกันด้วยเหตุผลของการเติบโต ทางเศรษฐกิจและเหตุผลของความสมดุลทางทรัพยากร มรดกทางวัฒนธรรมเองถูกวางตัว ให้เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่เหมาะสมและยั่งยืน หลังจาก การประชุมที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร และมีการประกาศวาระแห่งศตวรรษที่ 21 (Agenda 21) ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน กระบวนการวางแผนอนุรักษ์ที่บูรณาการเข้ากับกระบวนการ ด้านผังเมืองและแผนพัฒนาเมือง ได้มีนัยยะส�ำคัญ เรื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ามาด้วย ผนวกกับแนวคิดด้านการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ดังตัวอย่างหนึ่งจากการประชุม Conservation and Urban Sustainable Development : A Theoretical Framework ณ ประเทศบราซิล ซึ่งให้ความส�ำคัญกับ “การอนุรักษ์อย่างบูรณาการ (Integrated Conservation)” อย่างไรก็ดีการพัฒนาเมืองนั้นมีพลวัตสูง ท�ำให้เมืองประวัติศาสตร์ 2 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

หลายแห่งได้ถูกอิทธิพลของการพัฒนาด้วยสถาปัตยกรรมร่วมสมัยเข้าคุกคาม คณะกรรมการ วิชาการด้านหมู่บ้านและเมืองประวัติศาสตร์ของอิโคโมสจึงได้ผลักดันให้มีการประชุมว่าด้วย World Heritage and Contemporary Architecture-Managing the Historic Urban Landscape ที่กรุงเวียนนา ในปี 2005 นับเป็นการผสานการมองเมืองประวัติศาสตร์ ด้วยแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรม จนมาเป็นเอกสาร “บันทึกแห่งกรุงเวียนนา (Vienna Memorandum)” ว่าด้วยแนวคิด “ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ (Historic Urban Landscape)” และล่าสุดกับหลักการแห่ง Valletta ว่าด้วยการปกป้องและบริหารจัด การเมืองและย่านชุมชนประวัติศาสตร์ (The Valletta Principles for the Safeguarding and Management of Historic Cities, Towns and Urban Areas) ในปี ค.ศ. 2011 โดยเน้นที่การด�ำรงอยู่ร่วมกันขององค์ประกอบทางกายภาพและไม่ใช่กายภาพภายใต้บริบท แวดล้อมที่แตกต่างกันในเมืองและย่านชุมชนประวัติศาสตร์ รวมไปถึงการท�ำความเข้าใจ ต่อการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ และกระบวนการแทรกแซงที่เหมาะสม เมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ผ่านพัฒนาการมาหลายยุคสมัย แต่ละสมัย ได้สั่งสม ถ่ายทอด และแสดงออกซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมจากยุคสมัยต่างๆ ตกทอดมาถึง ปัจจุบัน เคียงคู่กับวิถีชีวิตประจ�ำวันของผู้คน มีการใช้งาน คึกคัก หลากหลาย เป็นพื้นที่ที่เป็น “เมือง” อย่างแท้จริง ค�ำถามซึ่งบทความชิ้นนี้พยายามจะอธิบายให้เห็นภาพรวมของพื้นที่ ที่ถูกเรียกว่าเมืองแห่งนี้ คือ ความสมดุลของการอนุรักษ์และการพัฒนา กับความเป็นไป อย่างปกติของภูมิทัศน์แห่งชีวิตประจ�ำวัน เพื่อความเป็นเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่นั้น จะมีทิศทางและประกอบไปด้วยมิติต่างๆ อย่างไร ตามเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

ค�ำส�ำคัญ: ชีวิตประจ�ำวัน, การพัฒนา, เมืองประวัติศาสตร์, ย่านที่หลากหลาย, การอนุรักษ์ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 3 มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

Everyday Heritage and the Vibrancy in the Historic Town of Nakhon Si Thammarat

Poon Khwansuwan Department of Architecture and Planning Faculty of Architecture, King Mongkut’s Institute of Technology, Ladkrabang, Bangkok 10520, e-mail: [email protected]

Abstract The concept of conservation and development of the present-day cities was developed under the controversy of the Western world and Thai context. Since the Charter for the Conservation of Histoic Towns and Urban Areas or Washington Charter had been adopted by ICOMOS in 1987 after the World Heritage Convention had been issued in 1972. The balance of the development and protection of cultural resources is a core idea to drive sustainable development under Agenda 21. One example from the Conservation and Urban Sustainable Development : A Theoretical Framework Conference in Brazil emphasized on the issue of Integrated Conservation. However, cities have dynamic development which forces the historic cities to face the new constructions and contemporary architecture. The ICOMOS’s International Committee on Historic Towns and Villages adopted the Vienna Memorandum on Historic Urban Landscape in 2005 to promote the idea of historic urban landscape as well as the Valletta Principles for the Safeguarding and Management of Historic Cities, Towns and Urban Areas in 2011 which encourage the co-existence of tangible and intangible aspects in the diversity 4 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal of the historic cities to establish a better change and intervention within historic values. The Historic Town of Nakhon Si Thammarat periodically developed and layering different meaning which expresses cultural identity until present days along with the everyday life of people and the vibrancy districts in the town and urban. Question would be raised on the ordinary of everyday landscape which balancing the development, conservation and daily practice of people in order to reach the Sustainable Development Goals (SDGs).

Keywords: Everyday life, Development, Historic town, Vibrancy districts, Conservation สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 5 มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

บทน�ำ

The urban is where ‘social relations … project themselves into a space, becoming inscribed there, and in the process producing the space itself’ Henri Lefebvre

เมือง คือ ภาพสะท้อนของสังคม บทความนี้มุ่งหวังจะอธิบายปรากฏการณ์ของ ความเป็นเมือง ที่ประกอบไปด้วยผู้คน กิจกรรม และสถานที่ ภายใต้บริบทและความมุ่งหวัง ของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช อันมีพระบรมธาตุเจดีย์และวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหารเป็นศูนย์กลาง ไปสู่การเป็นมรดกโลก และการยังด�ำรงไว้ซึ่งความเป็นเมืองที่มี ผู้คน มีชีวิตชีวา มีความหลากหลาย ในกระบวนการเป็นเมืองของเมืองประวัติศาสตร์ที่มีอดีตที่ต่อเนื่องมาเป็น ระยะเวลาหลายยุคสมัยนั้นจ�ำเป็นที่จะต้องท�ำความเข้าใจกระบวนการดังกล่าวและผลผลิต จากกระบวนการนั้นด้วย ทั้งด้านกายภาพ และด้านสังคมวัฒนธรรม ชีวิต และกิจกรรม ทางวัฒนธรรม โดยธรรมชาติของเมืองเก่าหรือเมืองประวัติศาสตร์ที่ผ่านการอยู่อาศัย ที่ต่อเนื่องมาแต่อดีต สิ่งส�ำคัญที่จะต้องพิจารณาก็คือการสั่งสมของเนื้อเมืองทางประวัติศาสตร์ (historic fabric) มีชั้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่หลากหลายและมีความซ้อนทับกันสูง มีคุณค่าและคุณภาพซึ่งเกิดจากองค์ประกอบที่ส�ำคัญส่งผลซึ่งกันและกัน ลักษณะของเมือง ประวัติศาสตร์จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุเวลา (life span) และการใช้งานของเมือง รวมไปถึง การซ้อนทับทางประวัติศาสตร์ (historic layers) อันเป็นปัจจัยส�ำคัญในการด�ำเนินการ อนุรักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมืองประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีการใช้งานมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หรือ เมืองประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิต ในประเทศไทยนั้น เมืองประวัติศาสตร์ที่มีความส�ำคัญ ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางเมืองในปัจจุบันแทบทั้งสิ้น การวางแผนอนุรักษ์ เมืองประวัติศาสตร์ต้องคิดควบคู่ไปพร้อมกับการวางแผนพัฒนาเมืองด้วย เครื่องมือที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกระบวนการ เป็นเมือง และการด�ำรงอยู่ของมรดกทางวัฒนธรรม ประการหนึ่ง ได้แก่ กระบวนการ 6 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ทางผังเมือง ดังเห็นได้จากเอกสารแนวทางการจัดการโบราณสถานในบัญชีมรดก ทางวัฒนธรรมของโลก ได้มีเนื้อหาเฉพาะเกี่ยวกับการผังเมืองและเมืองมรดกโลก (Urban Planning and World Heritage Towns) ได้กล่าวถึงคุณภาพของเมืองประวัติศาสตร์ และองค์ประกอบทางประวัติศาสตร์มีความเกี่ยวข้องและความต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของ บริบทของเมือง และองค์ประกอบเหล่านี้ยังท�ำหน้าที่ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในปัจจุบัน และได้กล่าวถึงการคุกคามเมืองทางประวัติศาสตร์ว่าเป็นผลจากการพัฒนา เช่น การเจริญเติบโตของประชากร การเพิ่มขึ้นของยานพาหนะส่วนตัว การเปลี่ยนแปลง ระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงการพัฒนาที่ดินที่ไม่เข้าใจคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ในเอกสารนี้ได้เสนอจุดมุ่งหมายของการวางแผนไว้ว่า ต้องเป็นแนวทางอนุรักษ์แบบ บูรณาการ (Integrated Conservation) เป็นการผสานการอนุรักษ์เข้ากับการวางแผน พัฒนาเมืองให้เป็นเรื่องเดียวกันและจะต้องมีการควบคุมการเปลี่ยนแปลง (Control of Change) เพื่อไม่ให้การพัฒนาเมืองมาท�ำให้คุณค่าของเมืองประวัติศาสตร์สูญสลาย เสื่อมสภาพไป (Feilden & Jokilehto, 1998) จะเห็นได้ว่าเนื้อหาสาระของเอกสารดังกล่าวได้ถูกพัฒนาและรวบรวม แนวความคิดจากกฎบัตรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์เมืองและชุมชนเมืองประวัติศาสตร์ ที่มีหลักการและวัตถุประสงค์ที่ว่า การอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์ และชุมชนเมืองอื่นๆ จะต้องผสานเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมและของ การวางผังเมือง ผังภูมิภาคในทุกระดับ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และคุณลักษณะที่จะต้อง สงวนรักษาไว้ประกอบด้วย ลักษณะทางประวัติศาสตร์ของเมือง และชุมชนเมืองและ องค์ประกอบทางวัตถุและทางจิตใจซึ่งแสดงถึงลักษณะทางประวัติศาสตร์นี้โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ก) รูปแบบแผนผังของเมืองที่เห็นได้จากการแบ่งพื้นที่ดินและโครงข่ายถนน ข) ความสัมพันธ์ระหว่างอาคารและพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง ค) รูปลักษณ์ภายในและ ภายนอกของอาคารที่เห็นได้จากสัดส่วน ขนาด รูปแบบ การก่อสร้าง วัสดุสี และการตกแต่ง ง) ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองหรือชุมชนเมืองและแหล่งที่ตั้งที่แวดล้อมอยู่ทั้งที่เป็นธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น และ จ) การใช้สอยที่หลากหลายที่มีอยู่ในเมือง หรือชุมชนเมือง ตามกาลเวลา การกระท�ำใดๆ ก็ตามต่อคุณลักษณะดังกล่าวมาแล้วนั้นจะต้องค�ำนึงถึง ความเป็นของดั้งเดิมของเมืองและชุมชนเมืองประวัติศาสตร์ (International Council on สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 7 มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

Monuments and Sites [ICOMOS], 1987) หลังจากการประชุมที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร และมีการประกาศวาระแห่งศตวรรษที่ 21 (Agenda 21) ที่ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน กระบวนการวางแผนอนุรักษ์ที่บูรณาการ เข้ากับกระบวนการด้านผังเมืองและแผนพัฒนาเมือง ได้มีนัยยะส�ำคัญเรื่องการพัฒนา ที่ยั่งยืนเข้ามาด้วย ผนวกกับแนวคิดด้านการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ดังจะเห็นได้จาก เอกสารการประชุม Conservation and Urban Sustainable Development : A Theoretical Framework ณ ประเทศบราซิล ในส่วนบทน�ำ Michel Bonnette ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนอนุรักษ์เมืองมรดกโลกได้กล่าวย�้ำถึง “การอนุรักษ์อย่างบูรณาการ (Integrated Conservation)” ว่า เมื่อมองเมืองในฐานะภูมิทัศน์วัฒนธรรมแล้ว แนวคิด ด้านการอนุรักษ์อย่างบูรณาการน�ำพาไปสู่การอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมซึ่งต้องมีการผสาน การเมือง เศรษฐกิจ ความเป็นจริงของสังคม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา เทคโนโลยี ความงาม รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ และเหนือสิ่งอื่นใดคือ ผู้คน และน�ำพาไปสู่ แนวคิดใหม่ในการอนุรักษ์อย่างเป็นองค์รวม ในเชิงระบบนิเวศ (ในที่นี้จะรวมหมายถึง ระบบนิเวศทางธรรมชาติและทางสังคม) Bonnette ยังเน้นอีกว่า เราจะอนุรักษ์ชุมชนเมือง ชาวประมงเก่าไปท�ำไม ในเมื่อโรงงานที่เหนือน�้ำยังคงท�ำลายสภาพนิเวศของน�้ำและฆ่าสัตว์น�้ำ อยู่ เมืองนั้นเป็นระบบนิเวศองค์รวม เป็นระบบชีวิตที่ด�ำรงอยู่ร่วมกัน (1999) ด้วยการพัฒนาเมืองมีความเป็นพลวัตสูงและเมืองประวัติศาสตร์ที่เป็นเมืองมรดกโลก ได้ถูกอิทธิพลของการพัฒนาด้วยสถาปัตยกรรมร่วมสมัย โดยฝีมือของสถาปนิกเอก คณะกรรมการวิชาการด้านหมู่บ้านและเมืองประวัติศาสตร์ของอิโคโมสและคณะกรรมการ มรดกโลกได้ผลักดันให้มีการประชุมว่าด้วย World Heritage and Contemporary Architecture-Managing the Historic Urban Landscape ที่กรุงเวียนนา ในปี ค.ศ. 2005 นับเป็นการผสานการมองเมืองประวัติศาสตร์ด้วยแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรม (UNESCO, 2005) ผลจากการประชุมดังกล่าวได้ออกเอกสาร “บันทึกแห่งกรุงเวียนนา (Vienna Memorandum)” ว่าด้วยแนวคิด “ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ (Historic Urban Landscape)” เพื่อที่จะส่งเสริมคุณภาพของวิถีชีวิต โดยมีหลักการและเป้าหมาย ที่ตอบสนองต่อพลวัตของการพัฒนาในขณะเดียวกันก็เคารพต่อภูมิทัศน์เมืองที่ด�ำรงสืบต่อ กันมาผ่านการเพิ่มเติมของการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่มีคุณภาพสูง ด้วยวิธีการเชิงนโยบาย 8 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ในด้านแผนการจัดการ ที่ผสานกลไกทางกฎหมาย เครื่องมือ และกระบวนการส�ำหรับ การอนุรักษ์ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ รวมไปถึงมุมมองปัจจัยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะก�ำหนดเป้าหมายส�ำหรับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในระยะยาว โดยพัฒนา ออกมาเป็นเอกสารข้อแนะน�ำด้านภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ (Recommendation on the Historic Urban Landscape) ในปี ค.ศ. 2011 (UNESCO, 2011) และในปีเดียวกันคณะกรรมการหมู่บ้านและเมืองประวัติศาสตร์แห่งอิโคโมสสากล ได้น�ำเสนอเอกสารเพื่อปรับทิศทางในการอนุรักษ์เมืองและย่านประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง และผ่านการรับรอง (Adopted) ในที่ประชุม ICOMOS General Assembly ครั้งที่ 17 คือ เอกสาร หลักการแห่ง Valletta ว่าด้วยการปกป้องและบริหารจัดการเมืองและย่านชุมชน ประวัติศาสตร์ (The Valletta Principles for the Safeguarding and Management of Historic Cities, Towns and Urban Areas) โดยมีเนื้อหาหลักในการปรับกระบวนคิด คือ การขยายอาณาเขตการรับรู้ไปยังระดับภูมิภาค มากกว่าแค่เขตพื้นที่ชุมชนเมือง คุณค่า ทางด้านจิตวิญญาณ เช่น ความต่อเนื่องของกิจกรรมและอัตลักษณ์ ความสัมพันธ์ของ การบูรณาการปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจและปัจจัยแห่งสภาพแวดล้อม เป็นต้น โดยค�ำนึงถึง การประสานรวมมาสู่ประโยชน์ใช้สอยทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของห้วงเวลา ปัจจุบัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ประวัติศาสตร์ โดยมีหลักการในการ พิจารณาองค์ประกอบของเมืองเก่าและย่านชุมชนเก่าแบบไม่แยกส่วน โดยองค์ประกอบทาง กายภาพ (Tangible elements) (ได้แก่ โครงสร้างของเมือง องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์ทั้งในและนอกเมือง สิ่งหลงเหลือทางโบราณคดี ภาพมุมกว้าง เส้นขอบฟ้า เส้นมุมมอง ที่ตั้งอันเป็นภูมิสัญลักษณ์) และองค์ประกอบที่ไม่ใช่กายภาพ (Intangible Elements) (ได้แก่ กิจกรรม การใช้งานเชิงความหมายและประวัติศาสตร์ การสืบปฏิบัติ ทางวัฒนธรรม ประเพณี ความทรงจ�ำ สิ่งอ้างอิงทางวัฒนธรรม) จะอยู่ร่วมกันเสมอ โดยไม่พิจารณาแยกจากกัน ภายใต้บริบทแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นบริบทเมือง หรือชนบทที่มี ความเป็นธรรมชาติสูง โดยองค์ประกอบเหล่านี้ต้องพิจารณาร่วมกันภายใต้เงื่อนไข การเปลี่ยนแปลง (changes) ในลักษณะต่างๆ กัน โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นด�ำรงอยู่และ เกิดขึ้นต่อปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้าง การใช้งานและสิ่งแวดล้อมของสังคม และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับมรดกที่ไม่ใช่กายภาพ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 9 มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

ดังนั้น วิธีการในการด�ำเนินการจะต้องค�ำนึงถึงปัจจัยมิติด้านต่างๆ คือ คุณค่า คุณภาพ ปริมาณ ความเชื่อมโยง ความสมดุลและความเข้ากันได้ ห้วงเวลา วิธีการ ธรรมาภิบาล ความร่วมมือข้ามศาสตร์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม (ICOMOS, 2011) และ ควรค�ำนึงถึงการซ้อนทับกันของมิติต่างๆ ภายในเมือง (Layers of the city) ซึ่งภูมิทัศน์ ประวัติศาสตร์นั้นเป็นผลของการซ้อนทับ (Layering) และเกี่ยวพันกัน (Intertwining) ของคุณค่าทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่พัฒนาการร่วมกันผ่านช่วงเวลา และไม่ใช่บริเวณใด บริเวณหนึ่งที่มีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ากันเท่านั้น ยังจะต้องพิจารณา ความสัมพันธ์ดังกล่าวในบริบทและสภาพแวดล้อมที่กว้างขึ้น (UNESCO, 2013) หากแต่ในทางปฏิบัตินั้น ยังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในการอนุรักษ์เมืองเก่า จากฝั่งภาคประชาชน ต่อนโยบายจากภาครัฐ ทั้งจากประสบการณ์จากกรุงรัตนโกสินทร์ และประสบการณ์ตรงจากชุมชนในพื้นที่เมืองเก่าที่ต่างๆ ซึ่งมีปัญหาในการรุกล�้ำ โบราณสถาน การพยายามแยกองค์ประกอบแห่งยุคสมัยต่างๆ ออกจากกัน และ การพยายามก�ำหนดพื้นที่ชั้นในให้มีกิจกรรมเฉพาะอย่าง โดยไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ที่สั่งสมและเกิดขึ้นมาก่อนหน้า ท�ำให้มีการตั้งแง่ต่อแผนด�ำเนินการดังกล่าว ภาครัฐเอง โดยเฉพาะรัฐบาลท้องถิ่นก็ไม่สามารถด�ำเนินการศึกษาและหาแนวทางที่เป็นรูปธรรม ที่เหมาะสม ทั้งนี้หากมีการคลี่คลายท�ำความเข้าใจในเรื่องของคุณค่าของเมืองเก่าซึ่งเกิดจาก ความเข้าใจร่วมกันแล้ว ภาพรวมของทิศทางในอนาคตซึ่งเป็นภาพที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน จะสามารถเกิดขึ้นได้ ปัจจัยบางประการในการพิจารณาคุณค่าของเมืองเก่าหรือ เมืองประวัติศาสตร์ ที่พอจะอภิปรายได้ มีดังนี้ (Khwansuwan & Yodsurang, 2007) ช่วงอายุเวลา (life span) ดังที่กล่าวแล้วว่าลักษณะเฉพาะของเมืองเก่า คือเมือง ที่มีช่วงอายุเวลามาแต่ครั้งอดีต แต่สิ่งท้าทายต่อการวางแผนอนุรักษ์ในอนาคตก็คือ จะขีดเส้นใด เป็นจุดจบของช่วงอายุเวลาของเมืองเก่า ช่วงอายุเวลาดังกล่าว รวมไปถึงองค์ประกอบเมือง สถาปัตยกรรม และโครงสร้างของเมืองตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ จะสามารถรวมเอา สถาปัตยกรรมร่วมสมัย (50 ปี) รวมไปถึงบ้านเรือนพื้นถิ่นทั่วไป เป็นส่วนหนึ่งของคุณค่า โดยรวมของเมืองเก่านั้นได้หรือไม่ ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า (delimitation area/old town boundary) การก�ำหนด ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่ามีนัยยะส�ำคัญหลายประการ ทั้งในแง่ของการเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย ช่วงอายุเวลา (life span) ดังที่กล่าวแล้วว่าลักษณะเฉพาะของเมืองเก่าคือเมืองที่มีช่วงอายุเวลามาแต่ครั้ง อดีต แต่สิ่งท้าทายต่อการวางแผนอนุรักษ์ในอนาคตก็คือ จะขีดเส้นใดเป็นจุดจบของช่วงอายุเวลาของเมืองเก่า ช่วง อายุเวลาดังกล่าว รวมไปถึงองค์ประกอบเมือง สถาปัตยกรรม และโครงสร้างของเมืองตามพัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ จะสามารถรวมเอาสถาปัตยกรรมร่วมสมัย (50 ปี) รวมไปถึงบ้านเรือนพื้นถิ่นทั่วไป เป็นส่วนหนึ่ง ของคุณค่าโดยรวมของเมืองเก่านั้นได้หรือไม่10 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า (delimitation area/old town boundary) การก าหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า มีนัยยะส าคัญหลายประการ ทั้งในแง่ของการเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย หรือเป็นเพียงแค่การสื่อสารและการแปล ความหมายของเมืองเก่าหรือเป็นเพียงแค่การสื่อสารและการแปลความหมายของเมืองเก่า ดังที่กล่าวแล้วว่า ภาคประชาชนมีความไม่แน่ใจในวัตถุประสงค์ดังกล่าว ดังที่กล่าวแล้วว่า เพราะวิธีการอาจ สามารถทภาคประชาชนมีความไม่แน่ใจในวัตถุประสงค์ดังกล่าว าได้หลายแบบ แน่นอนว่าควรมีการควบคุมดูแลการพัฒนาที่ไม่เหมาะสม เพราะวิธีการอาจสามารถท� ในพื้นที่ที่มีความสำได้ าคัญ แต่ยัง อยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์เมืองเก่าที่ยังมีชีวิตหลายแบบ แน่นอนว่าควรมีการควบคุมดูแลการพัฒนาที่ไม่เหมาะสม ยังมีชุมชน ยังมีย่านที่หลากหลาย ในพื้นที่ที่มีความส� ำคัญ แต่ยังอยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์เมืองเก่าที่ยังมีชีวิต ยังมีชุมชน ยังมีย่านที่หลากหลาย

ภาพที่ 1: แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่เมืองเก่านครศรีธรรมราชและองค์ประกอบที่มีความส าคัญ ที่มา: Officeภาพที่ of Natural 1 : แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่เมืองเก่านครศรีธรรมราชและองค์ประกอบที่มี Resources and Environmental Policy and Planning (2010) ความส�ำคัญ ย่านที่หลากหลายในเมืองประวัติศาสตร์ ที่มา : (Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning, เมืองนั้นประกอบไปด้วยพื้นที่ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า 2010) “ชุมชน” โดย Anan Ganjanapan ได้อธิบายนิยามของ ค าว่า ชุมชนไว้ว่า “ค าว่า ชุมชน เป็นค าใหม่ในภาษาไทยเพราะไม่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 สันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มใช้หลังจากนั้นเล็กน้อย โดยแปลมาจากค าภาษาอังกฤษว่า Community ใน ระยะที่อิทธิพลของวิชาสังคมศาสตร์ตะวันตกได้เริ่มแพร่เข้ามาในประเทศไทยเพื่อศึกษาสังคมชนบท และต่อมา รัฐบาลได้ใช้ค านี้ หลังจากที่ตื่นตัวในการพัฒนาหมู่บ้าน จนตั้งหน่วยงานใหม่คือ กรมพัฒนาชุมชน ขึ้นมาเพื่อท า หน้าที่ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2505 ด้วยเหตุนี้ ในระยะแรกชุมชนจะมีความหมายใกล้เคียงกับค าว่า บ้าน หรือหมู่บ้าน

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 11 มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

ย่านที่หลากหลายในเมืองประวัติศาสตร์ เมืองนั้นประกอบไปด้วยพื้นที่ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ชุมชน” โดย Ganjanapan (2001) ได้อธิบายนิยามของค�ำว่า ชุมชนไว้ว่า “ค�ำว่า ชุมชน เป็นค�ำใหม่ในภาษาไทยเพราะไม่ปรากฏ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 สันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มใช้หลังจากนั้น เล็กน้อย โดยแปลมาจากค�ำภาษาอังกฤษว่า Community ในระยะที่อิทธิพลของวิชา สังคมศาสตร์ตะวันตกได้เริ่มแพร่เข้ามาในประเทศไทยเพื่อศึกษาสังคมชนบท และต่อมา รัฐบาลได้ใช้ค�ำนี้ หลังจากที่ตื่นตัวในการพัฒนาหมู่บ้าน จนตั้งหน่วยงานใหม่คือ กรมพัฒนา ชุมชน ขึ้นมาเพื่อท�ำหน้าที่ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2505 ด้วยเหตุนี้ ในระยะแรกชุมชนจะมี ความหมายใกล้เคียงกับค�ำว่า บ้าน หรือหมู่บ้าน ในภาษาไทยที่มีมาก่อนหน้านั้น ในฐานะ เป็นหน่วยการปกครองที่มีขอบเขตแน่นอนภายใต้การควบคุมของรัฐ” จะเห็นได้ว่าค�ำว่า “ชุมชน” ถูกสถาปนาขึ้นในฐานะส่วนหนึ่งของวาทกรรมการพัฒนาของชาติเพื่อก�ำหนดพื้นที่ ขึ้นมาเพื่อส่งผลต่อนโยบายการพัฒนา Jiraprasertkun (2010) ได้เสนอถึงนิยามของค�ำว่า community ว่าเป็นการรวมกลุ่มของคนซึ่งประกอบกิจกรรมร่วมกัน มีเอกลักษณ์ หรือประวัติศาสตร์ร่วมกัน และมุ่งแสวงหาสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน ซึ่งหากมองในแง่นี้แล้ว หากจะมององค์ประกอบของ ชุมชน ตามความหมายของ community นี้แล้วก็อาจจะไม่ได้ หมายถึงพื้นที่ทางกายภาพเพียงอย่างเดียวก็ได้ หากแต่เป็นพื้นที่ทางสังคมที่เกิดการรวมกลุ่ม ร่วมกัน ดังที่ Ganjanapan (2001) กล่าวว่า “...ถ้าหากจะมองชุมชนในเชิงทฤษฎีทาง สังคมศาสตร์แล้ว เราไม่อาจจ�ำกัดชุมชนให้ติดอยู่เฉพาะพื้นที่ทางกายภาพหรือพื้นที่ทาง ภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่จะต้องครอบคลุมทั้งพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมและพื้นที่ทางอุดมการณ์ ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันยังมีความเคลื่อนไหวในการช่วงชิงความหมายของพื้นที่ต่าง ๆ เหล่านี้อย่างเข้มข้นอีกด้วย” อย่างไรก็ตาม ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ อย่างน่าสนใจว่า “นักพัฒนาใช้ค�ำว่า ชุมชน ผมใช้ค�ำว่า หมู่บ้าน ตอนหลังเลยเรียกรวมว่า ชุมชนหมู่บ้าน (village communities) เดี๋ยวนี้ก็ยังใช้ชุมชนหมู่บ้าน แต่แนวคิดเราเรียก แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน” (Yodkamolsart, 1997) ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ผลผลิตของการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ต่างๆ ของเมืองประวัติศาสตร์ เช่น ย่านชุมชนพักอาศัย ย่านการค้า ย่านตลาด ย่านราชการ จึงเกิดเป็นพื้นที่เฉพาะที่มีความหมายแก่เมือง 12 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอย การใช้งาน และความทางจิตวิญญาณและสัญลักษณ์ เมื่อชุมชนเกิดการรวมตัวกันมาเป็นเวลานานและสั่งสมคุณค่าด้านประวัติศาสตร์เอาไว้ และสะท้อนออกมาในลักษณะทางกายภาพ คือ สถาปัตยกรรม เส้นทาง สถานที่ และ องค์ประกอบทางประวัติศาสตร์อื่นๆ ในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เคยท�ำมาร่วมกัน แต่เดิมได้ลดน้อยถอยลงตามการเปลี่ยนแปลงของเมืองซึ่งเป็นบริบทแวดล้อมที่มีอิทธิพล ต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชน กิจกรรมการอนุรักษ์จึงได้ถูกน�ำเข้ามาพร้อมกับกิจกรรม ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ๆ เข้ามาในพื้นที่ ย่านชุมชนที่มีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์และมีคุณค่าทางเอกลักษณ์ทาง สถาปัตยกรรมและชุมชนเป็นอย่างสูง ในเอกสารเผยแพร่ของ Fine Arts Department (1990) ได้ก�ำหนดและให้นิยามความหมายของย่านชุมชนเก่า หรือ ย่านประวัติศาสตร์ (Historic ) ไว้ว่าหมายถึง พื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเมือง หรือ พื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งซึ่งมีความส�ำคัญ ทางประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี อันประกอบไปด้วยอาคารและองค์ประกอบ ทางประวัติศาสตร์หรือแหล่งโบราณคดีหลายแหล่งรวมกันเป็นพื้นที่หนึ่ง ในลักษณะย่านประวัติศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของเมืองนั้น จะปรากฏ อยู่ในเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลง จนเหลือเฉพาะพื้นที่ส่วนนั้นเป็นพื้นที่ ประวัติศาสตร์ของเมือง โดยส่วนใหญ่จะเป็นย่านใจกลางเมืองซึ่งเป็นย่านธุรกิจ หรือการปกครองเมือง และบ่อยครั้งอาจเป็นย่านพักอาศัยของเมือง หรือแม้กระทั่ง เป็นย่านชุมชนหมู่บ้านในชนบทก็ได้ จากการศึกษาของ ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ และคณะ ซึ่งได้ศึกษาให้กับส�ำนักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ONEP, 2012) ได้ก�ำหนดกรอบนิยาม ของย่านชุมชนเก่า ที่มีความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ และสะท้อนกับสภาพความเป็นจริง ของสังคม ดังนี้ ย่านชุมชนเก่า หมายถึง พื้นที่ทางกายภาพที่แสดงออกถึงลักษณะของการ ตั้งถิ่นฐาน/ก่อก�ำเนิดที่แตกต่างกันตามบริบทแวดล้อม ทั้งที่เป็นเมืองหรือในพื้นที่ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 13 มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

ชนบท มีพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐาน/ก่อก�ำเนิดดังกล่าวที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประจักษ์ได้จากทั้งสภาพทางกายภาพที่โดดเด่น เช่น โครงสร้างของชุมชน ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์แวดล้อม และสภาพทางสังคมวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ประเพณี และกิจกรรมของชุมชน ประกอบควบคู่กันอย่างเหมาะสม ภายใต้บริบทสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้าง (Built Environment) และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ (Natural Environment) ย่านหลากยุคในเมืองนครศรีธรรมราช – ประวัติศาสตร์ที่ไม่หยุดนิ่ง “มีโรงเรือนราษฎรสองฟากถนนบริเวณตลาดท่าวังมีคนจีนมาก สร้างเป็นตึก (อาคารก่ออิฐถือปูน) ก็มี เป็นอาคารไม้ก็มี ถ้าเป็นร้านขายของ เช่น เครื่องของช�ำ เครื่องนุ่งห่มใช้สอยต่างๆ โดยมากเป็นของชาวจีน” จาก หนังสือชีวิวัฒน์ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ฯ สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่ง ในการศึกษาประวัติศาสตร์พัฒนาการของเมือง นครศรีธรรมราช จากเอกสารและการศึกษาวิจัยหลายชิ้น พบว่า มักจะกล่าวถึงพัฒนาการ ของเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งแต่การก่อก�ำเนิดเมืองจากหลักฐานทางโบราณคดี จนมาถึง ประมาณยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 เท่านั้น เช่น ....ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394) ทรงเห็นว่า เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เป็นผู้มีความสามารถในการปกครอง บริหารราชการแผ่นดิน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งเสริมอ�ำนาจหน้าที่เมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้ดูแลเมืองถลางและหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตกรวมทั้ง เมืองตรัง และทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้ส�ำเร็จราชการเมืองไทรบุรีและท�ำหน้าที่ดูแล ผลประโยชน์ทางการค้ากับอังกฤษด้วยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองเพื่อความมั่นคงของพระราชอาณาจักรต่อ การคุกคามของอังกฤษ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองนครศรีธรรมราชและ เมืองสงขลาเข้าอยู่ในมณฑลเดียวกัน เรียกว่า มณฑลนครศรีธรรมราช เมื่อปี 14 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราชคนแรกในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เป็นอุปราชปักษ์ใต้ ปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งหมดต่อมาพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ยุบต�ำแหน่งอุปราชปักษ์ใต้ในปี พ.ศ. 2469 และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ก็มีการยุบมณฑลหัวเมือง ปักษ์ใต้ทั้งหมด โดยนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของราช อาณาจักรไทยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา…. (ONEP, 2010) จากงานวิจัยของ Huachiew Chalermprakiet University (1997) ให้ข้อมูลว่า.... จนกระทั่งถึงสมัยปฏิรูปการปกครอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ได้เปลี่ยนวิธีการ ปกครองบ้านเมืองเป็นแบบสมัยใหม่ และได้ขยายตัวเมืองเดิมที่อยู่เฉพาะภายในก�ำแพงเมือง ออกมานอกก�ำแพงกว้างขวางขึ้น ได้ตัดถนนราชด�ำเนินจากในเมือง สร้างสะพานข้ามคูเมือง หรือคลองหน้าเมืองในปัจจุบันมายังท่าวัง จึงท�ำให้ชุมชนท่าวังหรือบ้านท่าวังกลายเป็น ส่วนหนึ่งของตัวเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งแต่สมัยนั้น... เมื่อบริบทของความเป็นเมือง เปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากเมืองที่ต้องการองค์ประกอบเชิงสัญลักษณ์และคูเมืองก�ำแพงเมือง ได้ขยายเขตแดนรวมเอาพื้นที่ที่สนองประโยชน์ใช้สอยด้านการค้าขายของเมือง คือ ย่านท่าวัง เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนครในที่สุด อีกทั้งเมื่อการพัฒนาเส้นทางรถไฟ ได้มาถึง ที่ตั้งของสถานีรถไฟนครศรีธรรมราชก็ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เชื่อมต่อกับย่านการค้า ตลาดท่าวังอีกด้วย ในขณะที่พัฒนาการของเมืองยังคงความหลากหลายและด�ำเนินต่อไป ยังมีพื้นที่ย่านหลากยุค หลากวัฒนธรรมเกิดขึ้นในพื้นที่เมืองนครศรีธรรมราช ได้แก่ แยกตลาดแขก ซึ่งมีมัสยิดญาเมี๊ยะ เป็นศูนย์กลาง ตลาดท่าม้า อันเป็นพื้นที่ของส�ำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นต้น นั่นแสดงให้เห็นว่า ภายในกรอบของพื้นที่ที่ถูก ก�ำหนดเป็นเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ภายใต้ความส�ำคัญของพระบรมธาตุเจดีย์ และวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นอกเหนือไปจากเขตแดนทางมโนทัศน์และจินตภาพของ เมือง หรือคลองหน้าเมืองในปัจจุบันมายังท่าวัง จึงท าให้ชุมชนท่าวังหรือบ้านท่าวังกลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวเมือง นครศรีธรรมราชมาตั้งแต่สมัยนั้น... เมื่อบริบทของความเป็นเมืองเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากเมืองที่ต้องการ องค์ประกอบเชิงสัญลักษณ์และคูเมืองก าแพงเมือง ได้ขยายเขตแดนรวมเอาพื้นที่ที่สนองประโยชน์ใช้สอยด้าน การค้าขายของเมือง คือ ย่านท่าวัง เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนครในที่สุด อีกทั้งเมื่อการพัฒนาเส้นทางรถไฟ ได้มาถึง ที่ตั้งของสถานีรถไฟนครศรีธรรมราชก็ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เชื่อมต่อกับย่านการค้าตลาดท่าวังอีกด้วย ในขณะ ที่พัฒนาการของเมืองยังคงความหลากหลายและด าเนินต่อไป ยังมีพื้นที่ย่านหลากยุค หลากวัฒนธรรมเกิดขึ้นใน พื้นที่เมืองนครศรีธรรมราช ได้แก่ แยกตลาดแขก ซึ่งมีมัสยิดญาเมี๊ยะสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นศูนย์กลาง ตลาดท่าม้า อันเป็นพื้นที่ของ15 ส านักงานทรัพย์สินส่วนพระมหามรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่กษัตริย์ เป็นต้น นั่นแสดงให้เห็นว่าานที่หลากหลายของเมืองประวัติศ ภายในกรอบของพื้นที่ที่ถูกกาสตร์นครศรีธรรมราช าหนดเป็นเมือง ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ภายใต้ความส าคัญของพระบรมธาตุเจดีย์ และวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นอกเหนือไปจากเขตแดนทางมโนทัศน์และจินตภาพของคูเมืองก าแพงเมือง ยังมีชีวิตของผู้คน จากรุ่นสู่รุ่น คนใน คูเมืองก�ำแพงเมือง ยังมีชีวิตของผู้คน จากรุ่นสู่รุ่น คนในคนนอก ถ่ายเทปลูกฝัง ผ่านการปฏิบัติ คนนอก ถ่ายเทปลูกฝัง ผ่านการปฏิบัติทางวัฒนธรรม ผ่านการใช้ชีวิตประจ าวัน ฉายภาพลงบนพื้นที่ทางกายภาพ อันเป็นผลผลิตเปลี่ยนแปลงและสืบเนื่องมาทางวัฒนธรรม ผ่านการใช้ชีวิตประจ� ำวัน ฉายภาพลงบนพื้นที่ทางกายภาพ อันเป็นผลผลิต เปลี่ยนแปลงและสืบเนื่องมา

ภาพที่ 2-4: แสดงภาพบรรยากาศ กิจกรรม และลักษณะทางสถาปัตยกรรมในอดีตของบริเวณสี่แยกท่าวัง ที่มา:ภาพที่ เวบไซต์ 2www.got - 4 : onakhon.comแสดงภาพบรรยากาศ เข้าถึงเมื่อวันที่ กิจกรรม 1 กุมภาพันธ์ และลักษณะทางสถาปัตยกรรมในอดีต พ.ศ. 2561 ของบริเวณสี่แยกท่าวัง ที่มา : (http://www.gotonakhon.com เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) แนวคิดชีวิตประจ าวัน – ภาพสะท้อนแห่งความยั่งยืนต่อเนื่องของเมืองนครศรีธรรมราช แนวคิดชีวิตประจ�ำวัน – ภาพสะท้อนแห่งความยั่งยืนต่อเนื่องของเมืองนครศรีธรรมราช ตึกแถวขนาดย่อมๆ เหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยที่ชีวิตเมืองยังมี “ละแวก” อยู่ กิจกรรมในชีวิตอยู่นอกบ้าน หรือนอกตึกแถวไม่น้อยตึกแถวขนาดย่อม ตกเย็นปิดร้านแล้ว ๆ เหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยที่ชีวิตเมืองยังมี มีอาแป๊ะมานั่งชุมนุมเล่นดนตรีร่วมกัน “ละแวก” ชมรมหมากรุกอยู่ถัดไป อยู่ กิจกรรมในชีวิต และ นินทาสโมสรกระจายอยู่ทั่วไปอยู่นอกบ้านหรือนอกตึกแถวไม่น้อย นี่ไงครับ “ ชุมชนตกเย็นปิดร้านแล้ว” ของเมือง ซึ่งท าให้เมืองมีชีวิตมีอาแป๊ะมานั่งชุมนุมเล่นดนตรี ไม่ใช่ป่าคอนกรีต..... ร่วมกัน ชมรมหมากรุกอยู่ถัดไป และนินทาสโมสรกระจายอยู่ทั่วไป นิธินี่ไงครับ เอียวศรีวงศ์ “ชุมชน” ของเมือง ซึ่งท�ำให้เมืองมีชีวิต ไม่ใช่ป่าคอนกรีต..... (นิธิ เอียวศรีวงศ์)

16 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

หากเราฝึกที่จะมองเมือง เพื่อจะมองหาความเป็นจริงอันปกติธรรมดา โดยมิได้ จัดกลุ่ม แยกแยะ ผิดถูก หรือ เก่าใหม่ เราก็จะเห็นภูมิทัศน์ของเมืองในแง่มุมที่แตกต่าง ออกไป ในเมืองประวัติศาสตร์ก็เช่นกัน หากเรายอมรับถึงการด�ำรงอยู่ของกิจกรรม แห่งชีวิตประจ�ำวันที่หลากหลาย เพื่อมองให้เห็นความเป็นจริงของพื้นที่ ก่อนที่จะปฏิเสธว่า มันไม่มีอยู่จริง แต่มันเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากเราใช้กรอบคุณค่า ทางวัฒนธรรมในการมองบริบทของเมืองประวัติศาสตร์ หากแต่ตัววัฒนธรรมเองก็อาจไป สร้างอุปสรรคในการมองให้เห็นถึงความเป็นจริงในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลมาสู่การพยายาม แยกแยะว่า สิ่งใดคือผลผลิตของวัฒนธรรมเก่า (มรดกทางวัฒนธรรม?) และสิ่งใดเป็นผลผลิต ของวัฒนธรรมใหม่ (หรือวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง?) ซึ่งล้วนแต่เกิดขึ้นภายในพื้นที่เมือง Tepwongsirirat (2009) ได้อธิบายถึงแนวคิดชีวิตประจ�ำวันผ่านกรอบการมอง มองพื้นที่แบบ Everyday landscape, everyday urbanism ว่า ...เป็นการพยายามที่จะมองสิ่งที่เป็นไปตามที่เป็นอยู่จริงๆ พยายามท�ำความเข้าใจ กับภูมิทัศน์ธรรมดาๆ ในชีวิตประจ�ำวัน ทั้งนี้ย่อมหนีไม่พ้นที่จะมีพื้นที่ทับซ้อนกับ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และ (ภูมิ) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่ส่วนที่ต่างออกไปคือ Everyday Landscape หรือ Everyday Urbanism จะคลุมประเด็นที่ถูกปฏิเสธ หรือไม่ถูกให้ความส�ำคัญจากปริมณฑลอื่นๆ จะให้ความสนใจกับการบูรณาการ องค์ความรู้ หรือมุมมองจากศาสตร์อื่นๆ มากขึ้น เช่น การประยุกต์การศึกษา พฤติกรรมศาสตร์เข้ากับภูมิทัศน์วัฒนธรรม การมอง (ภูมิ) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ผ่านกรอบของเศรษฐศาสตร์การเมืองในชีวิตประจ�ำวัน (เช่น มองด้วยมุม consumer geography) หรือการมองวิถีชีวิตของคนทั่วไปจากบริบทของ การเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยด้วยกระบวนการโลกาภิวัตน์เป็นต้น.... โดยยังได้อ้างอิงถึงทฤษฎีของ Henry Lefebvre (1991) ซึ่งเขียนถึงพื้นที่ในเมืองว่า เป็นที่ๆ เราค่อยๆ สร้างประสบการณ์ของชีวิตประจ�ำวัน โดย Lefebvre ระบุประสบการณ์ ที่ว่าออกเป็น 3 ด้าน (Conceptual Triad) คือ ส่วนที่เรียกว่า spatial practices, representations of space, และ representational spaces ซึ่ง spatial practices คือ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 17 มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

ปฏิบัติการเชิงพื้นที่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ในพื้นที่ มีผลโดยตรงทางกายภาพและทางสังคม ส่วน representations of space หรือตัวตนของพื้นที่ คือ สัญญะเชิงสังคมของพื้นที่นั้น ที่คนทั่วไปเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นเชิงกายภาพวัตถุหรือเชิง spatial practices ส�ำหรับ representational spaces หรือพื้นที่ในการแสดงตัวตนนั้น Lefebvre หมายถึง ความหมาย หรือความคิดอ้างอิงเกี่ยวกับพื้นที่เชิงสังคม ไม่ว่าพื้นที่นั้นจะมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ และแนวคิดเรื่อง Habitus ของ Pierre Bourdieu ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าเป็น “ระบบของ การแสดงออกของนิสัยที่มีความคงทน และสามารถเปลี่ยนรูปได้ ที่บูรณาการเข้ากับ ประสบการณ์ในอดีต ท�ำหน้าที่ในทุกๆ ช่วงจังหวะเวลาของชีวิต เหมือนชุดข้อมูลที่มี การเชื่อมต่อกันระหว่างการรับรู้ การเห็นคุณค่า และการกระท�ำ เป็นระบบที่ท�ำให้งานต่างๆ ที่มีความหลากหลายอย่างไม่รู้จบลุล่วงไปได้” (Bourdieu, 1977) โดยทิ้งค�ำถามไปที่ การอนุรักษ์เมืองว่า ...การอนุรักษ์เมืองเก่า Florence และ Venice ให้เป็นพื้นที่ส�ำหรับกิจกรรม การท่องเที่ยวแต่วิถีชีวิตชาวเมืองจริงๆ ขยับย้ายออกไปอยู่ข้างนอก หรือการเลือก ที่จะเลือกรื้อทุบสิ่งที่มีอยู่ (ก�ำแพงเดิม คุกกลางเวียง) ของเมืองเชียงใหม่เพื่อที่จะ หวนกลับไปปลุกสร้างสิ่งที่เคยอยู่ในอดีต (ก�ำแพงรูปแบบที่เก่ากว่าเท่าที่จะหา หลักฐานพบในรูปภาพข่วงกลางเวียงโดยอิงแนวคิดจากแผนที่เก่าของเชียงใหม่ สมัยรุ่งเรืองก่อนที่จะถูก “ข่มเมือง” โดยกรุงเทพฯ) ให้อดีตที่สวยงามกลับมาอยู่ที่เดิม อีกครั้ง แม้จะกลับมาอยู่ในสภาพของใหม่ในเมืองเก่าก็ตาม ความคล้ายกันของ สถานที่ทั้งสองกลุ่มที่ว่ามาคือ แง่ที่เป็นการ “เลือกสร้าง” และ “เลือกเก็บ” สภาพของสิ่งแวดล้อมที่ผู้เลือกถือสิทธิตัดสินใจว่าเหมาะสมที่จะเป็นภาพของ สถานที่นั้นๆ ซึ่งในภายหลังก็จะกลายเป็น “ความจริง” ของสถานที่นั้นๆ ในการรับรู้ของสาธารณะ... ซึ่งประเด็นนี้ส่งผลต่อแนวคิดและการปฏิบัติในด้านการอนุรักษ์เมืองและชุมชน ประวัติศาสตร์ของผู้เขียนเป็นอย่างมาก อีกทั้งจากประสบการณ์ที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการ ฟื้นฟูชุมชนอัมพวา และพบว่า หลังจากการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวได้ครอบคลุมขยายพื้นที่ ถูก”ข่มเมือง”โดยกรุงเทพ) ให้อดีตที่สวยงามกลับมาอยู่ที่เดิมอีกครั้ง แม้จะกลับมาอยู่ในสภาพของใหม่ใน เมืองเก่าก็ตาม ความคล้ายกันของสถานที่ทั้งสองกลุ่มที่ว่ามาคือแง่ที่เป็นการ “เลือกสร้าง” และ “เลือก เก็บ” สภาพของสิ่งแวดล้อมที่ผู้เลือกถือสิทธิตัดสินใจว่าเหมาะสมที่จะเป็นภาพของสถานที่นั้นๆ ซึ่งใน 18 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailakภายหลังก็จ Abodeะกลายเป็น of Culture “ความจริง Journal” ของสถานที่นั้นๆในการรับรู้ของสาธารณะ ...

ซึ่งประเด็นนี้ส่งผลต่อแนวคิดและการปฏิบัติในด้านการอนุรักษ์เมืองและชุมชนประวัติศาสตร์ของผู้เขียน เป็นอย่างมาก อีกทั้งจากประสบการณ์ที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูชุมชนอัมพวา และพบว่าหลังจากการพัฒนา ชุมชนริมน�้กิจกรรมการท่องเที่ยวได้ครอบขยายพื้นที่ชุมชนริมน้ำและมีผู้คนดั้งเดิมนี้จนกระทั่งรูปแบบการใช้ชีวิตดั้งเดิมได้เปลี่ยนแปลงไป าและมีผู้คนดั้งเดิมนี้จนกระทั่งรูปแบบการใช้ชีวิตดั้งเดิมได้ เป็นอันมากเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก ร้านขายข้าวมันไก่ ร้านขายข้าวมันไก่ ส�ำหรับผู้คนในชีวิตประจ� ส าหรับผู้คนในชีวิตประจำวัน าวันไม่สามารถขายในวันธรรมดา ไม่สามารถขายในวันธรรมดาได้อีก ได้อีกต่อไปต่อไป เมื่อคนในไม่มีใครอยู่ เมื่อคนในไม่มีใครอยู่ เมืองก็ไร้ชีวิตชีวาแล เมืองก็ไร้ชีวิตชีวาและความคึกคักและกลับกลายเป็นะความคึกคักและกลับกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้คน สถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้คนพลุกพล่านในยามวันหยุดที่มีนักท่องเที่ยวเท่านั้นพลุกพล่านในยามวันหยุดที่มีนักท่องเที่ยวเท่านั้น

ภาพที่ภาพที่ 5 : 5:แสดงการผสมผสานกันของกิจกรรมและลักษณะทางสถาปัตยกรรมในยุคต่างๆ แสดงการผสมผสานกันของกิจกรรมและลักษณะทางสถาปัตยกรรมในยุคต่างๆในย่านท่าวัง ที่มา: ผู้เขียน ในย่านท่าวัง ถ่ายเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 19 มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

ภาพที่ 6: แสดงความหลากหลายของกิจกรรมและการซ้อนทับของการใช้งานพื้นที่บริเวณตลาดท่าม้า

ภาพที่ ภาพที่ที่มา:6 :ผู้เขียน 6:แสดงความหลากหลายของกิจกรรมและการซ้อนทับของการใช้งานพื้นที่บริเวณ แสดงความหลากหลายของกิจกรรมและการซ้อนทับของการใช้งานพื้นที่บริเวณตลาดท่าม้า ถ่ายเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 ที่มา: ผู้เขียน ตลาดท่าม้า ถ่ายเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

ภาพที่ 7: แสดงวิถีชีวิตและกิจกรรมในชีวิตประจ าวันของผู้คนบริเวณย่านตลาดแขกใกล้กับมัสยิดญาเมี๊ยะ

ที่มา:ภาพที่ ผู้เขียน 7: แสดงวิถีชีวิตและกิจกรรมในชีวิตประจ ถ่ายเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 าวันของผู้คนบริเวณย่านตลาดแขกใกล้กับมัสยิดญาเมี๊ยะ ภาพที่ ที่มา: 7 : ผู้เขียนแสดงวิถีชีวิตและกิจกรรมในชีวิตประจ� ถ่ายเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 ำวันของผู้คนบริเวณย่านตลาดแขกใกล้กับ

มัสยิดญาเมี๊ยะ บทสรุป – เมืองแห่งมรดกโลก เมืองของคนนคร หากเราไม่มีการพิจารณาประเด็นนี้อย่างถี่ถ้วน ข้อขัดแย้งที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นคือ ประเด็นในเรื่องของ บทสรุป – เมืองแห่งมรดกโลก เมืองของคนนคร การรักษาคุณค่าหากเราไม่มีการพิจารณาประเด็นนี้อย่างถี่ถ้วน และบูรณภาพ ของความส าคัญทางวัฒนธรรมเอาไว้กับชีวิตกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างคึกคัก ข้อขัดแย้งที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นคือ ประเด็นในเรื่องของ

การรักษาคุณค่า และบูรณภาพ ของความส าคัญทางวัฒนธรรมเอาไว้กับชีวิตกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างคึกคัก

20 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

บทสรุป – เมืองแห่งมรดกโลก เมืองของคนนคร หากเราไม่มีการพิจารณาประเด็นนี้อย่างถี่ถ้วน ข้อขัดแย้งที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นคือ ประเด็นในเรื่องของการรักษาคุณค่า และบูรณภาพ ของความส�ำคัญทางวัฒนธรรมเอาไว้ กับชีวิตกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างคึกคักหลากหลาย ทั้งที่เกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปและ การเกิดขึ้นอย่างฉับพลันของกิจกรรมแบบใหม่ๆ ในพื้นที่ต่างๆ ภายในเมืองที่อยู่นอกเหนือ จากการก�ำหนดให้เกิดกิจกรรมแบบเชิงเดี่ยวในแผนพัฒนาเมือง พื้นที่เหล่านี้มีพลังและ ความสร้างสรรค์ในตัวเอง มีกลไกที่เป็นพลวัตมากไปกว่าที่จะใช้หลักการมาตรฐานใด มาอธิบายและมีคุณลักษณะที่หลอมรวมความหลากหลายในมิติต่างๆ เอาไว้ (Lim, 2003) และการเกิดขึ้นและอยู่ร่วมกันของความหลากหลายนี้เองเป็นพลังให้เกิดย่านสร้างสรรค์ และเป็นพลังที่ส�ำคัญต่อการพัฒนาเมือง ภายในบริบทของความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ และการน�ำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์ สู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ผู้เขียนเอง ยังยืนอยู่บนจุดยืนที่ต้องการจะรักษาบูรณภาพ และความส�ำคัญของเมืองที่ยังสามารถรักษาคุณค่าของเมืองประวัติศาสตร์เอาไว้ พอๆ กับ การไม่เมินเฉยต่อการด�ำรงอยู่ และรักษาพื้นที่และกิจกรรม ที่คอยรองรับภาพสะท้อน แห่งชีวิตประจ�ำวันของผู้คนเอาไว้ คนนคร ยังคงได้สามารถจับจ่ายใช้สอย แสดงออก สัญจร เพื่อให้ชีวิตเคลื่อนไปได้ ผ่านย่านเล็กย่านน้อยในเมืองประวัติศาสตร์ สามารถตื่นขึ้นมา เพื่อไปจ่ายตลาด รับประทานขนมจีน ข้าวย�ำ อาหารปักษ์ใต้ และอาหารอื่นๆ อันหลากหลาย สามารถไปติดต่อราชการ ตัดผม เดินทางไปยังพื้นที่อื่นๆ พาลูกไปโรงเรียน ไปวัดที่ส�ำคัญ ต่างๆ ไปศาสนสถานตามความเชื่อศรัทธาในศาสนาต่างๆ ไปไหว้พระบรมธาตุเจดีย์ และร่วมกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบมาได้ เป็นเมืองที่นับรวมเอาผู้คน ที่หลากหลายและกิจกรรมที่หลากหลาย (Inclusive city) ทั้งต่างช่วงอายุ ทั้งต่างวัฒนธรรม ผ่านพื้นที่ทางกายภาพเก่าและใหม่ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและเหมาะสม บรรลุเป้าหมาย ของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ในพื้นที่เมืองที่ชื่อว่า เมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 21 มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

References

Bonnette, M. (1999). Urban Conservation and Sustainable Development: A Theoretical Framework, 2nd International Seminar, Conservation and urban sustainable development: A theoretical framework. Recife: Universidade Federal de Pernambuco. Bourdieu, P. (1977). Outline of a theory of practice. Cambridge: Cambridge University Press. Feilden, B.M. & Jokilehto, J. (1998). Management guidelines for world cultural heritage sites. Rome: ICCROM. Fine Arts Department. (1990). Thrissadi lae naeo patibatkan anurak anusonsathan lae laeng borannakhadi [Theory and Practice on Conservation of Historic Structures and Archeology Sites]. Bangkok: Hiranpat Prining. Ganjanapan, A. (2001). Withi khit choengson nai nganwichai chumchon [The Complex Thinking in Community Research]. Bangkok: Chulalongkorn University Press. Huachiew Chalermprakiet University. (1997). Raingan kanwichai sanong pra ratcha prasong suang Nakhon Si Thammarat korani suksa 1. Kan tang thinthan thi Krungching lae Phru Khuankhreng 2. Chin: Prawattisat borannakhadi phukhon lae watthanatham [Report of the Research under Royal Desirable on Nakhon Si Thammarat case study 1. Human Settlement at Krungching and Phru Khuankhreng 2. Chinese: History, Archaeology, People and Culture]. Samutprakarn: Dansuttha Printing. ICOMOS. (1987). Charter for the conservation of historic towns and urban areas. Paris: ICOMOS. 22 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ICOMOS. (2011). The Valletta principles for the safeguarding and management of historic cities, towns and urban areas. Paris: ICOMOS. Jiraprasertkun, C. (2010). Kan plianplaeng phummithat khong chumchonthongthin nai Krung Thep Mahanakhon lae parimonthon: phonkrathop chak kan tat khrongkhai thanon wongwaen rop nok fang tawantok khong Krung Thep Mahanakhon [The transformation of Bangkok’s Indigenous landscapes: The impacts from the constructions of the Outer Ring Road System on the west of Bangkok]. Bangkok: Thailand Research Fund. Khwansuwan, P. & Yodsurang, P. (2007). Kan su khwammai muang kao phan phaenthi moradok thang wattanatham : kan su khwannai chak chumchon thongthin [Interpretation of Old Town through Cultural Heritage Atlas: The Interpretation from the Local Communities]. In ICOMOS Thailand International Conference 2007. Bangkok: Amarin Printing. Lefebvre, H. (1991). The production of space. Oxford: Basil Blackwell. Lim, S.W. (2003). Alternative (post) modern: An Asian perspective. Singapore: Select Publishing. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP). (2010). Khringkan kamnot khopkhet phumthi muang kao Muang Nakhon Si Thammarat [The Delimitation of the Old Town Project: The Historic Town of Nakhon Si Thammarat]. Bangkok: ONEP. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 23 มรดกแห่งชีวิตประจ�ำวันในย่านที่หลากหลายของเมืองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

Office of Natural Resourcecs and Environmental Policy and Planning (ONEP). (2012). Khrongkan chattham mattrathan khunnaphap singwaetlom sinlapakam praphet yan chumchon kao nai phunthi phak klang lae phak tawan ok [Project on the Environmental Standard of the Cultural Environment in the category of Traditional Communities in the Central and Eastern Regions]. Bangkok: Property Printing. Tepwongsirirat, P. (2009). Everyday Landscape, Everyday Urbanism: chak mummong thammada khong chiwitprachamwan su singwaetlom sansang [Everyday Landscape, Everyday Urbanism : From the Ordinary Point of View to the Built Environment]. In n/a (Ed.). Krongkan chat oprom kanchattham nganwichai lae wichakan ruang Chimlang Singwaetlom Sansang 2009 [Training Project on the Research on The Pilot Project of the Built Environment Program 2009]. Bangkok: Faculty of Architecture, Kasetsart University. UNESCO. (2005). Vienna Memorandum on world heritage and contemporary architecture - managing the historic urban landscape. Paris: UNESCO. UNESCO. (2011). Recommendation on the Historic urban landscape. Paris: UNESCO. UNESCO. (2013). New Life for historic cities, the historic urban landscape approach explained. Paris: UNESCO. Yodkamonsart, S. (1997). Thamkhwan ruchak kap khwamkhit Dr.Chatthip Nartsupa chak setthasat Neo Classic su setthasat kanmuang naeo prawattisat lae watthanatham chumchon [Knowing the idea of Dr.Chatthip Nartsupa, from neo classic economy to historic and community culture economy]. Journal of Political Economy, 1, 24 - 50. 24 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 25 จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น

จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น

สันต์ จันทร์สมศักดิ์ และสิริมาส เฮงรัศมี ภาควิชาสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 961000 อีเมล: [email protected]

บทคัดย่อ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ด�ำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ สาธารณะและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างในพื้นที่เขตเทศบาลนครพิษณุโลก อันเป็นหนึ่งใน กิจกรรมภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวร กับเทศบาลนครพิษณุโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง 2560 นอกเหนือจากน�ำข้อมูลจาก สภาพการณ์และแนวนโยบายในการพัฒนาเมืองมาเป็นโจทย์ในการท�ำงานของกลุ่มนิสิต ชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตแล้ว ผลงานจากการศึกษาและสังเคราะห์ งานออกแบบของนิสิตจัดน�ำเสนอกลับสู่สังคมในรูปแบบของการจัดนิทรรศการ และ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมชมงานได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาดังกล่าว ผลตอบรับจากผู้เข้าชมงานตลอดระยะเวลา 4 ปี มีความพึงพอใจในระดับดีถึงดีมาก และส่วนใหญ่เห็นว่าผลงานดังกล่าวมีประโยชน์และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนา เมืองพิษณุโลก ปัญหาและอุปสรรคหลัก ที่ท�ำให้เกิดช่องว่างในการเรียนรู้และต่อยอดสู่ การปฏิบัติจริง คือ ปัญหาการสื่อสารและการท�ำความเข้าใจ ปัญหาการขาดความชัดเจนและ ต่อเนื่องของนโยบาย และปัญหาการขาดงบประมาณในการด�ำเนินการ ซึ่งการก้าวผ่านปัญหา และอุปสรรคดังกล่าวไปได้นั้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน ในการแก้ปัญหา และเสริมสร้างศักยภาพในการขับเคลื่อน เพื่อให้การท�ำงานร่วมกันดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ การพัฒนาเมืองพิษณุโลกที่ต่อเนื่องต่อไป 26 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ค�ำส�ำคัญ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, เทศบาลนครพิษณุโลก, การออกแบบสถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมยั่งยืน, การมีส่วนร่วม สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 27 จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น From Dream to Reality : Lessons to Learn from the Collaborative Works with the Municipality

Sant Chansomsak and Sirimas Hengrasmee Department of Architecture, Faculty of Architecture, Naresuan University Phitsanulok 961000, Thailand e-mail: [email protected]

Abstract The series of projects entitled the Development of Public Spaces and Built Environments in Phitsanulok Municipality were initiated by Faculty of Architecture, Naresuan University under the clause from the Memorandum of Understanding between the university and the municipality. The projects had spanned from the year 2013-2016. The projects were used as the base for design projects assigned to the 4th year of the bachelor of architecture programme. The final productions of the projects were then distributed back for feedbacks from the general public through a yearly exhibition. During the course of the 4 years of these programmes being active, the projects had been viewed kindly from the general public being given the rate of satisfaction between good and very good in overall. Most positive comments were towards its usefulness as well as its inspiration on constructive development of the community. However, the main drawbacks preventing the useful ideas from materialise into reality are limitation of communication, understandings, and stability of the development policy as well as the budget setting aside for such development. To overcome these obstacles will require participations 28 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal from stakeholders as basis for healthy development of the Phitsanulok community.

Keywords: Faculty of Architecture, Phitsanulok Municipality, Architectural Design, Sustainable Architecture, Participation สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 29 จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น

บทน�ำ ในปี พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ท�ำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับเทศบาลนครพิษณุโลกเพื่อด�ำเนินการกิจกรรมในการบูรณาการการบริการวิชาการ สู่การเรียนการสอนและการวิจัย สืบเนื่องจากข้อตกลงดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้ด�ำเนินการจัดท�ำโครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างในพื้นที่เขต เทศบาลนครพิษณุโลก (The Development of Public Spaces and Built Environments in Phitsanulok Municipality) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง 25601 โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ตามกรอบแนวทาง การพัฒนาของเทศบาลนครพิษณุโลก และสร้างความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น กับชุมชนและสังคม หากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพขึ้นในพื้นเขตเทศบาลนครพิษณุโลก บทความนี้เป็นการน�ำเสนอบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากกระบวนการท�ำงานร่วมกับ เทศบาลนครพิษณุโลกซึ่งเป็นหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 ปี ผลลัพธ์จากการท�ำงานโดยเฉพาะในส่วนที่นิสิตได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และด�ำเนินการ และในส่วนที่ชุมชนและสังคมได้รับประโยชน์จากการด�ำเนินการดังกล่าว รวมไปถึงปัญหา และอุปสรรค และการน�ำแนวคิดของนิสิตไปสู่การต่อยอดความคิดและการน�ำไปสู่ การประยุกต์สู่การปฏิบัติจริง

กระบวนการจัดการเรียนการสอนและการท�ำงาน แนวคิดหลักในการท�ำงานคือ การประสานข้อมูลจากสภาพการณ์และแนวนโยบาย ในการพัฒนาเมืองมาเป็นโจทย์ในการท�ำงานของกลุ่มนิสิตในรายวิชาหัวข้อพิเศษทาง การออกแบบสถาปัตยกรรม (Special topic in architectural design studio) ซึ่งเป็นรายวิชา ส�ำหรับนิสิตชั้นปีที่ 4 และน�ำผลจากการศึกษาและสังเคราะห์งานออกแบบของนิสิต จัดน�ำเสนอกลับสู่สังคมในรูปแบบของการจัดนิทรรศการ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมชมงาน ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาดังกล่าว

1 โครงการนี้ได้รับการอนุมัติในปีงบประมาณ 2557 ถึง 2560 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวจะตรงกับปีการศึกษา 2556 ถึง 2559 30 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

จากแนวคิดหลักข้างต้น ผู้สอนได้น�ำแนวคิดเรื่องการออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืน (Sustainable architecture) และการศึกษาอย่างยั่งยืน (Sustainable education) ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ในทั้งในส่วนของการออกแบบ สถาปัตยกรรมและการจัดการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวผู้สอนมีความมุ่งหวัง จะปลูกฝังให้นิสิตที่จบไปเป็นสถาปนิกและประชากรโลกที่มีความรับผิดชอบ (Responsible global citizens) ที่มีทั้งทักษะและความตระหนักรู้ถึงความส�ำคัญในการประยุกต์ใช้เทคนิค การออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และน�ำแนวคิดเรื่องความยั่งยืนมาใช้ในการออกแบบ และการใช้ชีวิตในอนาคต (Hengrasmee & Chansomsak, 2016)

ภาพที่ 1: แสดงกระบวนการทางานในการออกแบบของนิสิตกลุ่ม Green architecture design studio ภาพที่ 1 : แสดงกระบวนการท�ในรายวิชาหัวข้อพิเศษทางการออกแบบสถาปัตยกรรมำงานในการออกแบบของนิสิตกลุ่ม Green architecture design studio ในรายวิชาหัวข้อพิเศษทางการออกแบบสถาปัตยกรรม ในการเรียนการสอนด้านสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะวิชาออกแบบโดยทั่วไปมักจะใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning: PBL) ส าหรับการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มการออกแบบ สถาปัตยกรรมในการเรียนการสอนด้านสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะวิชาออกแบบโดยทั่วไปมักจะใช้สีเขียว (Green architecture design studio) ในรายวิชาหัวข้อพิเศษทางการออกแบบ วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาตั้งแต่ปีการศึกษา (Problem 2556 ถึง 2559 - นั้นนอกเหนือจากการดbased learning าเนินการตามแนวทางของ : PBL) ส�ำหรับการจัด การเรียนการสอนในกลุ่มการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียวPBL แล้ว ผู้สอนได้น าโครงการบริการวิชาการมาผสานเป็นโจทย์ในการก าหนดหัวข้อ (Greenในการออกแบบ architecture ซึ่งหัวข้อ design ดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนแนวคิดของเทศบาลนครพิษณุโลกในแต่ละช่วงเวลา โดยในช่วงปี studio)การศึกษา ในรายวิชาหัวข้อพิเศษทางการออกแบบสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 และ 2557 ทางเทศบาลนครพิษณุโลก มีแนวคิดที่จะสร้างการรับรู้กับชุมชนหากมีการ เปลี่ยนแปลงในกรณีการก่อสร้างสถานีรถไฟรางคู่และรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ผ่านมาในพื้นที่เขตเทศบาลนครพิษณุโลก และมีแนวคิดที่จะสนับสนุนให้มีการปรับปรุงเส้นทางและแหล่งท่องเที่ยว ในจังหวัด ในปีการศึกษา 2558 ทางเทศบาลนครพิษณุโลก ได้มีร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการ ขับเคลื่อนแนวคิด “พิษณุโลก 2020”2 (Phitsanulok songphanyisip khet setthakit mai si-yæk Indochine, 2015) ส าหรับในปีการศึกษา 2559 ทางเทศบาลนครพิษณุโลก ได้น าแนวคิดการออกแบบเมือง อัจฉริยะ (Smart city) มาเป็นหนึ่งในแนวคิดในการพัฒนาเมือง

2 ในเดือนพฤศจิกายน 2558 โดยจังหวัดพิษณุโลกได้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่ แยกอินโดจีน ท าหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนงานโครงการ ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานให้เติบโตอย่างยั่งยืน (Phitsanulok songphanyisip khet setthakit mai si-y�k Indochine, 2015)

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 31 จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น

2556 ถึง 2559 นั้นนอกเหนือจากการด�ำเนินการตามแนวทางของ PBL แล้ว ผู้สอน ได้น�ำโครงการบริการวิชาการมาผสานเป็นโจทย์ในการก�ำหนดหัวข้อในการออกแบบ ซึ่งหัวข้อดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนแนวคิดของเทศบาลนครพิษณุโลก ในแต่ละช่วงเวลา โดยในช่วงปีการศึกษา 2556 และ 2557 ทางเทศบาลนครพิษณุโลก มีแนวคิดที่จะสร้างการรับรู้กับชุมชนหากมีการเปลี่ยนแปลงในกรณีการก่อสร้างสถานีรถไฟ รางคู่และรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ - พิษณุโลก ผ่านมาในพื้นที่ เขตเทศบาลนครพิษณุโลก และมีแนวคิดที่จะสนับสนุนให้มีการปรับปรุงเส้นทางและ แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด ในปีการศึกษา 2558 ทางเทศบาลนครพิษณุโลก ได้มีร่วมกับ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนแนวคิด “พิษณุโลก 2020”2 (Phitsanulok songphanyisip khet setthakit mai si-yæk Indochine, 2015) ส�ำหรับในปีการศึกษา 2559 ทางเทศบาลนครพิษณุโลก ได้น�ำแนวคิดการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart city) มาเป็นหนึ่งในแนวคิดในการพัฒนาเมือง จากนโยบายและแนวคิดต่างๆ เหล่านี้ทางผู้สอนได้น�ำข้อมูลประกอบในจัดท�ำ หัวข้อในการออกแบบและให้นิสิตศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสาร การบรรยาย จากผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญ เช่น ผู้อ�ำนวยการส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง เทศบาล นครพิษณุโลก วิศวกรจราจรและรองผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทยและผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัย การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth Thailand Institute) เป็นต้น รวมทั้งลงพื้นที่ เพื่อส�ำรวจสภาพของเมือง เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพ สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่จะส่งผลต่อการออกแบบและวางผัง

2 ในเดือนพฤศจิกายน 2558 โดยจังหวัดพิษณุโลกได้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน ท�ำหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนงานโครงการ ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงานให้เติบโตอย่างยั่งยืน (Phitsanulok songphanyisip khet setthakit mai si-yæk Indochine, 2015) จากนโยบายและแนวคิดต่าง ๆ เหล่านี้ทางผู้สอนได้น าข้อมูลประกอบในจัดท าหัวข้อในการออกแบบและ ให้นิสิตศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสาร การบรรยายจากผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญ เช่น ผู้อ านวยการส่วนควบคุม อาคารและผังเมือง เทศบาลนครพิษณุโลก วิศวกรจราจรและรองผู้อ านวยการวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทยและผู้อ านวยการสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth Thailand Institute) เป็นต้น รวมทั้งลงพื้นที่เพื่อส ารวจสภาพของเมือง เพื่อวิเคราะห์ปัญหา 32 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ศักยภาพ สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจWalailak Abode of Culture สังคม Journalและสิ่งแวดล้อม และลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่จะส่งผลต่อการ ออกแบบและวางผัง

ภาพที่ 2: แสดงตัวอย่างกระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของนิสิต ภาพที่ 2 : แสดงตัวอย่างกระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของนิสิตโดยการให้ข้อมูลจากบุคลากรจากเทศบาลนครพิษณุโลก โดยการให้ข้อมูล จากบุคลากรจากเทศบาลนครพิษณุโลก การออกแบบและพัฒนาแบบจะแบ่งงานเป็นสองช่วงหลัก ได้แก่ งานออกแบบผังพื้นที่และองค์ประกอบ กายภาพของเมือง การออกแบบและพัฒนาแบบจะแบ่งงานเป็นสองช่วงหลัก และงานออกแบบสถาปัตยกรรม ในส่วนงานออกแบบผังพื้นที่และองค์ประกอบกายภาพของ ได้แก่ งานออกแบบ เมืองนั้นจะทผังพื้นที่และองค์ประกอบกายภาพของเมือง าในลักษณะงานกลุ่มในช่วงเวลาประมาณ 4- 6และงานออกแบบสถาปัตยกรรม สัปดาห์ โดยมีกิจกรรมในเชิงสัมมนา การส ในส่วน ารวจลง พื้นที่งานออกแบบผังพื้นที่และองค์ประกอบกายภาพของเมืองนั้นจะท� การจัดท าแบบร่าง (Sketch design) การตรวจแบบ และการจัดท าเอกสารรายงานำในลักษณะงานกลุ่ม ส าหรับในส่วนงาน ออกแบบงานสถาในช่วงเวลาประมาณปัตยกรรมจะเป็นการท 4-6 สัปดาห์ โดยมีกิจกรรมในเชิงสัมมนา างานในลักษณะงานเดี่ยวโดยนิสิตแต่ละคนจะเลือกท การส�ำรวจลงพื้นที่ การจัดท� าโครงการที่ำ สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของพื้นที่แบบร่าง (Sketch design) การตรวจแบบ เช่น และการจัดท�สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงำเอกสารรายงาน สนามบินนานาชาติพิษณุโลก ส�ำหรับในส่วน โรงพักสินค้าเพื่อปล่อยของงานออกแบบงานสถาปัตยกรรมจะเป็นการท�และบรรจุของที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์ำงานในลักษณะงานเดี่ยวโดยนิสิตแต่ละคน ศูนย์ไปรษณีย์พิษณุโลก สถาบันวิจัยและ โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรจะเลือกท�ำโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของพื้นที่ อาคารส านักงานและห้างสรรพสินค้า โรงแรมขนาดสี่ดาว เช่น สถานีรถไฟฟ้า โครงการปรับปรุง และพัฒนาย่านการค้ารอบสถานีรถไฟพิษณุโลก โครงการปรับปรุงตลาดและไนท์บาซ่าร์ (Night bazaar) โครงการ ความเร็วสูง สนามบินนานาชาติพิษณุโลก โรงพักสินค้าเพื่อปล่อยของและบรรจุของที่ขนส่ง ปรับปรุงที่อยู่อาศัยชุมชนชาวแพ โครงการที่พักอาศัยและคอนโดมิเนียม อุทยานการเรียนรู้จังหวัดพิษณุโลก โดยระบบคอนเทนเนอร์ ศูนย์ไปรษณีย์พิษณุโลก สถาบันวิจัยและโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลก พิพิธภัณฑ์พระราชวังจันทน์ เป็นต้น กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมนี้จะใช้เวลา ประมาณจากพืชสมุนไพร 10-12 สัปดาห์ อาคารส� ในการพัฒนาแบบและจัดทำนักงานและห้างสรรพสินค้า าผลงานน าเสนอขั้นสุดท้าย โรงแรมขนาดสี่ดาว ในการพัฒนาผลงานออกแบบนี้ โครงการปรับปรุง ผู้สอนได้กและพัฒนาย่านการค้ารอบสถานีรถไฟพิษณุโลก าหนดให้นิสิตน าแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืนมาเป็นแนวทางหลักในการพัฒนาแบบ โครงการปรับปรุงตลาดและไนท์บาซ่าร์ ผ่านกระบวนการ บรรยาย(Night สัมมนา bazaar) กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ โครงการปรับปรุงที่อยู่อาศัยชุมชนชาวแพ (Workshop) ตรวจแบบเดี่ยว และการตรวจแบบรวม โครงการที่พักอาศัยและ (Hengrasmee andคอนโดมิเนียม Chansomsak, 2016)อุทยานการเรียนรู้จังหวัดพิษณุโลก ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายนิสิตจะน าข้อมูลจากเอกสารรายงานในช่วงแรกและผลงาน พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลก พิพิธภัณฑ์ ออกแบบสถาปัตยกรรมมาจัดทพระราชวังจันทน์ เป็นต้น าแผ่นน กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมนี้จะใช้เวลาประมาณ าเสนอผลงาน แบบจ าลอง และวีดีทัศน์ เพื่อน ามาประกอบเป็นนิทรรศการ 10 - ผลงานออกแบบ12 สัปดาห์ ในการจัดนิทรรศการนี้ทางคณะทในการพัฒนาแบบและจัดท� างานได้รับการอนุเคราะห์จากห้างสรรพสินค้าำผลงานน�ำเสนอขั้นสุดท้าย ในการพัฒนาผลงาน Central Plaza ออกแบบนี้ ผู้สอนได้ก�ำหนดให้นิสิตน�ำแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืนมาเป็นแนวทางหลัก ในการพัฒนาแบบ ผ่านกระบวนการบรรยาย สัมมนา กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 33 จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น

ตรวจแบบเดี่ยว และการตรวจแบบรวม (Hengrasmee & Chansomsak, 2016) ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายนิสิตจะน�ำข้อมูลจากเอกสารรายงานในช่วงแรกและผลงาน ออกแบบสถาปัตยกรรมมาจัดท�ำแผ่นน�ำเสนอผลงาน แบบจ�ำลอง และวีดีทัศน์ เพื่อน�ำมา ประกอบเป็นนิทรรศการผลงานออกแบบ ในการจัดนิทรรศการนี้ทางคณะท�ำงานได้รับ การอนุเคราะห์จากห้างสรรพสินค้า Central Plaza สาขาพิษณุโลก ซึ่งได้ท�ำข้อตกลง ความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันกับมหาวิทยาลัยนเรศวร เอื้อเฟื้อพื้นที่จัดนิทรรศการ เป็นประจ�ำทุกปี นิทรรศการจัดแสดงผลงานออกแบบนี้ได้รับการออกแบบและจัดท�ำโดยนิสิต เป็นหลัก โดยมีผู้สอนเป็นผู้ตรวจสอบและเสนอแนะในการท�ำงาน และสนับสนุนการท�ำงาน โดยสถานการออกแบบทางศิลปะและสถาปัตยกรรมอันเป็นหน่วยงานหลักในการดูแล เรื่องการบริการวิชาการของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในเรื่องการประสานงานและ จัดท�ำเอกสารด้านการเงินและพัสดุ นิทรรศการจัดแสดงผลงานจะจัดอยู่ประมาณ 3 - 4 วัน โดยนิสิตจะพลัดเปลี่ยนไปดูแลผลงานและให้ข้อมูลกับผู้เข้าชมงาน นอกจากผู้มีเกียรติ เช่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก ประธานหอการค้าจังหวัด พิษณุโลก และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก ที่ได้รับเชิญมาร่วมพิธีเปิดและ เข้าชมนิทรรศการแล้ว ประชาชนในจังหวัดพิษณุโลกยังได้มีโอกาสร่วมชมนิทรรศการและ แสดงความคิดเห็นกับผลงานการออกแบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเมืองที่นิสิต ได้จัดท�ำข้อมูลความคิดเห็นต่างๆ จะได้รับการเก็บรวบรวมผ่านแบบสอบถามและ แผ่นบันทึกกระดาษ (Post-it note) โดยนอกเหนือจากการประเมินผลการจัดนิทรรศการ ในรูปแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) แล้ว การส�ำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ และโครงการออกแบบจะเป็นรูปแบบค�ำถามในลักษณะปลายเปิด (Open-end) ให้ผู้ชม แสดงความคิดเห็นโดยไม่มีกรอบชี้น�ำ (Martin & Hanington, 2012, pp. 172 - 173) ความคิดเห็นดังกล่าวได้รับการน�ำเสนอกลับสู่เทศบาลนครพิษณุโลกและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งถูกน�ำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและน�ำไปสู่การขอทุนสนับสนุน โครงการบริการวิชาการและการวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อมา 34 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ผลการท�ำงานและจัดนิทรรศการ ผลงานออกแบบช่วงงานออกแบบผังพื้นที่และองค์ประกอบกายภาพของเมืองนั้น เนื่องจากกลุ่มนิสิตท�ำงานในพื้นที่เดียวกันในช่วงเวลา 4 ปี ข้อเสนอแนะหลายอันจึงเป็น การน�ำเสนอปัญหาในประเด็นหรือพื้นที่เดียวกัน โดยทั้งนี้นิสิตได้ค�ำนึงถึงประเด็นต่างๆ ได้แก่ การอนุรักษ์น�้ำ การจราจรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ทางเดินเท้า ทางจักรยาน รถราง และระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบต่างๆ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและ สุขภาพ การสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน และการส่งเสริมการท่องเที่ยว ประเด็นเหล่านี้ ล้วนมีความสัมพันธ์กับมิติของความยั่งยืน 3 ด้าน อันได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และ ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งหากต้องการสร้างสรรค์ความยั่งยืนให้เกิดขึ้นแล้วนั้นจ�ำเป็นต้องก�ำหนด แนวทางพัฒนาที่สร้างความสมดุลของมิติทั้งสามด้าน มิได้ให้คุณค่าเพียงด้านใดด้านหนึ่ง เป็นส�ำคัญ ตัวอย่างของผลการออกแบบและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับมิติความยั่งยืน ปรากฏในตารางที่ 1 ด้านล่าง ส�ำหรับงานออกแบบงานสถาปัตยกรรมเป็นผลงานออกแบบที่ต่อเนื่องจาก ผลการวิเคราะห์และจากงานกลุ่มในช่วงแรก โดยนิสิตแต่ละคนจะมีโอกาสได้เลือกออกแบบ โครงการตามกรอบที่ก�ำหนดโดยผู้สอน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจักต้องเป็นโครงการที่มีพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 8,000 ตารางเมตร และมีความสัมพันธ์กับแนวนโยบายและแนวคิดของเทศบาล นครพิษณุโลก นอกเหนือจากนั้นนิสิตจะต้องน�ำแนวคิดเรื่องสถาปัตยกรรมยั่งยืนมาใช้ ในการออกแบบ กลยุทธ์ในการออกแบบไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์น�้ำ การอนุรักษ์พลังงาน การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม การออกแบบเพื่อส่งเสริมสุขลักษณะที่ดี (เช่น คุณภาพอากาศที่ดี อากาศถ่ายเท ปริมาณแสงเพียงพอ และการป้องกันมลพิษ) การส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดี และการสนับสนุน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Chansomsak & Vale, 2009; Hengrasmee & Chansomsak, 2016) ได้ถูกน�ำมาสอนในภาคบรรยาย ตรวจแบบ และกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งแนะน�ำและ ส่งเสริมให้น�ำมาใช้ในโครงการตามความเหมาะสมของแต่ละโครงการ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 35 จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Chansomsak and Vale, 2009; Hengrasmee and Chansomsak, 2016) ได้ ถูกน ามาสอนในภาคบรรยาย ตรวจแบบ และกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งแนะน าและส่งเสริมให้น ามาใช้ใน ตารางที่โครงการตามความเหมาะสมของแต่ละโครงการ 1 : แสดงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับมิติความยั่งยืน ตารางที่ 1: แสดงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับมิติความยั่งยืน

36 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ภาพที่ 3: แสดงตัวอย่างผลงานออกแบบของนิสิต โครงการปรับปรุงและพัฒนาย่านสถานีรถไฟพิษณุโลก ภาพที่ ที่มา3 : Leesakunrak,: แสดงตัวอย่างผลงานออกแบบของนิสิต Hengrasmee, and Chansomsak (2014). โครงการปรับปรุงและพัฒนาย่าน สถานีรถไฟพิษณุโลก

ที่มา : (Leesakunrak, Hengrasmee, & Chansomsak, 2014). สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 37 จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น

ตัวอย่างงานโครงการปรับปรุงและพัฒนาย่านสถานีรถไฟพิษณุโลก โดยนางสาวปารวีย์ ลี้สกุลรักษ์ ได้น�ำเสนอในรูปแบบโครงการเสนอแนะที่น�ำแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืนมาใช้ ในการออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ (Leesakunrak, Hengrasmee, & Chansomsak 2014) โครงการดังกล่าวตั้งบนพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟ (ซึ่งอาจจะ เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงในอนาคต) กับพื้นที่ริมแม่น�้ำน่าน โครงการดังกล่าว ครอบคลุมพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณรอบวงเวียนรถไฟและถนนนเรศวร กิจกรรมเสนอแนะในโครงการจะเน้นในเชิงพาณิชยกรรมในลักษณะของศูนย์การค้าชุมชน (Community mall) และการให้บริการส�ำหรับผู้คนในชุมชนและผู้โดยสารที่มาจากสถานี รถไฟและรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นการลดการใช้ทรัพยากรและ การก่อสร้าง งานออกแบบได้เลือกใช้วิธีการอนุรักษ์โครงสร้างของอาคารเดิมให้มากที่สุด ทั้งนี้มีการปรับเปลี่ยนบางพื้นที่เพื่อความเหมาะสมกับกิจกรรมและการเชื่อมต่อโดยรวม ส�ำหรับส่วนที่มีการรื้อถอนจะน�ำวัสดุจากการรื้อถอนมาใช้ในโครงการในส่วนของงาน ภูมิสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมบางส่วน นอกเหนือจากนั้น การออกแบบโครงการยังค�ำนึงถึงมิติทางสังคม โดยการผสานวิถีชีวิตเดิมกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านผู้อยู่อาศัยและการใช้งาน อีกทั้งในส่วนเปลือกอาคารบริเวณริมถนนหลักได้ถูก ออกแบบโดยอ้างอิงลักษณะเดิมโดยมีการเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงให้เกิด ความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นที่สีเขียว ทางเท้า ทางเดินเชื่อม ที่จอดรถได้รับ การออกแบบเพื่อสนับสนุนการสัญจรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการรองรับผู้สัญจร ด้วยการเดินเท้า จักรยาน และขนส่งมวลชน บริเวณบ้านพักของเจ้าหน้าที่การรถไฟ ได้ถูกออกแบบให้เป็นร้านค้า และพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะและงานระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย ของโครงการ ผลจากการออกแบบในลักษณะการพัฒนาในลักษณะผสมผสาน (mixed use) เช่นนี้ จะสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพของพื้นที่บริเวณรอบวงเวียนรถไฟ และพัฒนาคุณภาพ ชีวิตส�ำหรับผู้อยู่อาศัยในชุมชนและประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จากการด�ำเนินโครงการตลอด 4 ปี มีโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมจ�ำนวนรวม 25 โครงการ ซึ่งมีความหลากหลายของประเภทโครงการ โดยแบ่งเป็น ประเภทที่พักอาศัย รวม 5 โครงการ โครงการประเภทสถานีขนส่งและจุดพักรถ 4 โครงการ ประเภทพิพิธภัณฑ์ และศูนย์การเรียนรู้ 4 โครงการ ประเภทศูนย์ขนส่งสินค้าและไปรษณีย์ 3 โครงการ 38 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ประเภทโครงการปรับปรุงพื้นที่ย่านกลางเมือง 3 โครงการ ประเภทอาคารวิจัยและ การศึกษา 3 โครงการ ประเภทอาคารส�ำนักงานและห้างสรรพสินค้า ประเภทโรงแรม และประเภทโครงการบริการสังคมและชุมชน (โครงการศูนย์พัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ จังหวัดพิษณุโลก) อย่างละ 1 โครงการ ในบางโครงการมีออกแบบซ�้ำกันระหว่างปี และ/หรือ มีการใช้หัวข้อรวมกันในปีเดียวกัน เช่น โครงการสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงมีการออกแบบ ซ�้ำกัน 3 ปี โดยในปีการศึกษา 2556 มีผลงาน 1 ชิ้น ส่วนในปีการศึกษา 2558 และ 2559 มีผลงานปีละ 4 ชิ้น ทั้งนี้การซ�้ำกันของหัวข้อโครงการนั้นมิได้เป็นปัญหาในการท�ำงาน ของนิสิต อีกทั้งในการน�ำเสนอผลงานดังกล่าวในรูปแบบนิทรรศการยังเป็นการแสดงให้เห็น ถึงทางเลือกในการออกแบบของโครงการต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย ผลงานทั้งในส่วนของการออกแบบผังพื้นที่และองค์ประกอบกายภาพของเมือง และงานออกแบบสถาปัตยกรรมจะถูกน�ำมาปรับปรุงเพื่อจัดในรูปแบบนิทรรศการ โดยหัวข้อนิทรรศการที่จัดมาทั้ง 4 ปี ได้แก่ “นิทรรศการพิษณุโลก 10 ปีข้างหน้า” “นิทรรศการฝันของเด็กสร้างบ้าน” “Phitsanulok Episode 2020 : ตอนต่อไปของ เมืองพิษณุโลก” และ “Phitsanulok (City - Uni) Futuretopia”3 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย และแนวคิดในแต่ละช่วงเวลาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การจัดนิทรรศการนี้ได้รับผลการตอบรับ ที่ดีจากผู้เข้าชมงาน โดยตลอดระยะเวลา 4 ปีผู้เข้าชมงานที่ร่วมตอบแบบสอบถามกว่า 780 คน มีความพึงพอใจในระดับดีถึงดีมาก โดยมีความเห็นว่าเป็นผลงานที่มีประโยชน์และ สร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาเมืองพิษณุโลกถึง 4.43 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน รวมทั้ง เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเมืองพิษณุโลก 4.31 คะแนน นอกจากนี้ยังมี การร่วมแสดงความคิดเห็น ผ่านแผ่นบันทึกกระดาษ (Post-it note) และข้อเสนอแนะต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มีความต้องการให้มีการจัดกิจกรรมให้เป็นประจ�ำ รวมทั้งการเสนอแนะพื้นที่ ที่ต้องการให้เข้าพัฒนาทั้งในรูปแบบการชี้พื้นที่เฉพาะเจาะจงและการเสนอแนะให้ท�ำ ในภาพรวมทั้งจังหวัด

3 การจัดนิทรรศการทุกครั้งจะจัด ณ เซ็นทรัลพลาซา จังหวัดพิษณุโลกในช่วงเดือนพฤษภาคม ยกเว้น ในปีแรกที่จัดเดือนสิงหาคมซึ่งร่วมจัดพร้อมกับโครงการนิทรรศการ “สีสัน มหัศจรรย์ แห่งสองแคว” และ ในโครงการปีนั้นได้มีการร่วมท�ำพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวร และเทศบาล นครพิษณุโลกอีกด้วย ต่อไปของเมืองพิษณุโลก” และ “Phitsanulok (City-Uni) Futuretopia”3 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและแนวคิด ในแต่ละช่วงเวลาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การจัดนิทรรศการนี้ได้รับผลการตอบรับที่ดีจากผู้เข้าชมงาน โดยตลอด ระยะเวลา 4 ปีผู้เข้าชมงานที่ร่วมตอบแบบสอบถามกว่า 780 คน มีความพึงพอใจในระดับดีถึงดีมาก โดยมี ความเห็นว่าเป็นผลงานที่มีประโยชน์และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาเมืองพิษณุโลกถึง 4.43 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเมืองพิษณุโลกสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 4.31 คะแนน นอกจากนี้ยังมีการร่วม แสดงความคิดเห็น ผ่านแผ่นบันทึกกระดาษ (Post-it note) และข้อเสนอแนะต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มีความ 39 จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมให้เป็นประจ า รวมทั้งการเสนอแนะพื้นที่ที่ต้องการให้เข้าพัฒนาทั้งในรูปแบบการชี้ พื้นที่เฉพาะเจาะจงและการเสนอแนะให้ท าในภาพรวมทั้งจังหวัด

ภาพที่ 4: แสดงตัวอย่างแผนน าเสนอผลงานของนิสิตในการจัดนิทรรศการ ภาพที่ 4 : แสดงตัวอย่างแผนน� ำเสนอผลงานของนิสิตในการจัดนิทรรศการ

3 การจัดนิทรรศการทุกครั้งจะจัด ณ เซ็นทรัลพลาซา จังหวัดพิษณุโลกในช่วงเดือนพฤษภาคม ยกเว้นในปีแรกที่จัดเดือนสิงหาคมซึ่ง ร่วมจัดพร้อมกับโครงการนิทรรศการ “สีสัน มหัศจรรย์ แห่งสองแคว” และในโครงการปีนั้นได้มีการร่วมท าพิธีลงนามความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวร และเทศบาลนครพิษณุโลกอีกด้วย

ภาพที่ 5: แสดงภาพบรรยากาศของการจัดนิทรรศการ ประจ าปีการศึกษา 2559 ภาพที่“Phitsanulok 5 : แสดงภาพบรรยากาศของการจัดนิทรรศการประจ� (City-Uni) Futuretopia” ณ Central Plaza พิษณุโลกในวันที่ำปีการศึกษา 19-21 พฤษภาคม 2559 2560 “Phitsanulok (City - Uni) Futuretopia” ณ Central Plaza พิษณุโลก การอภิปรายผล ในวันที่ 19 - 21 พฤษภาคม 2560 ประโยชน์ของการท าโครงการออกแบบและจัดนิทรรศการในช่วง 4 ปีภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ สาธารณะและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างในพื้นที่เขตเทศบาลนครพิษณุโลก ที่ส าคัญและเด่นชัดคือเรื่องการเรียนรู้ของผู้ มีส่วนร่วมกับโครงการ โดยสามารถพิจารณาได้ใน 2 ด้านคือ ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนิสิต และประโยชน์ต่อ การเรียนรู้ของชุมชนและประชาชน ในด้านประโยชน์ต่อนิสิตนั้น นิสิตได้มีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะการ ออกแบบภายใต้กรอบที่อ้างอิงข้อมูลจริง โดยเฉพาะในส่วนของงานกลุ่มที่มีการน านโยบายมาประยุกต์ใช้ และการ แก้ปัญหาที่อยู่บนพื้นฐานของสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ ส าหรับในส่วนการ ออกแบบสถาปัตยกรรมนิสิตได้มีโอกาสทดลองน าเทคนิคการออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืนมาประยุกต์ใช้กับ โครงการออกแบบอย่างเต็มที่ ในการนี้ผู้สอนได้น าเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทย (Thai Green Building Institute, 2013) มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการชี้น าการออกแบบ ร่วมกับการท ากิจกรรมเชิงปฏิบัติการใน เรื่องสถาปัตยกรรมยั่งยืน เพื่อน าไปสู่ผลการออกแบบที่เหมาะสม (Hengrasmee and Chansomsak, 2016) นอกเหนือจากนั้นแล้วผลงานของนิสิตเมื่อได้น าไปจัดแสดง ท าให้นิสิตมีโอกาสได้เสวนากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและ ผู้ใช้งานจริงในอนาคต นิสิตได้รับทราบความคิดเห็น มุมมอง ที่แตกต่างจากผู้ที่ไม่อยู่ในสายงานออกแบบ ซึ่งเป็น การตรวจสอบคุณค่าของผลงานของนิสิตโดยทางอ้อมอีกด้วย ประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนความคิดนี้เป็นสิ่งที่ มีคุณค่าต่อนิสิตเป็นอย่างมาก อันจะเป็นพื้นฐานต่อการท างานในอนาคตของนิสิตต่อไป ในด้านการเรียนรู้ของชุมชนและประชาชนนั้นจะเกิดจากการจัดนิทรรศการเป็นหลัก การน าเสนอผลงาน ออกแบบที่เป็นภาพร่างของการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเป็นการจุดประกายความคิดและสร้างความตระหนักรู้ถึง ความส าคัญของการพัฒนาเมือง อีกทั้งยังท าให้ประชาชนได้เห็นภาพของทิศทางการพัฒนา ซึ่งแต่ละคนอาจมี บทบาทในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาได้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น เป็นคณะท างาน หรือในฐานะผู้ลงทุน หรือผู้ก าหนดนโยบาย ซึ่งเป็นผู้ที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง อย่างไรก็ดีการด าเนินการโครงการที่ผ่านมาก็ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคที่ท าให้เกิดช่องว่างในการเรียนรู้ และต่อยอดสู่การปฏิบัติจริง ประเด็นแรกคือ ปัญหาการสื่อสารและการท าความเข้าใจซึ่งเป็นปัจจัยส าคัญในการ พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Mattessich and Monsey, 1997: 30) โดยเฉพาะในเรื่องความเข้าใจในระดับของ ผลงานนิสิตและความเป็นจริง เนื่องจากผลงานออกแบบเหล่านี้เป็นเพียงโครงการเสนอแนะเพื่อการเรียนรู้ของ

40 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

การอภิปรายผล ประโยชน์ของการท�ำโครงการออกแบบและจัดนิทรรศการในช่วง 4 ปีภายใต้ โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างในพื้นที่เขตเทศบาลนครพิษณุโลก ที่ส�ำคัญและเด่นชัดคือ เรื่องการเรียนรู้ของผู้มีส่วนร่วมกับโครงการ โดยสามารถพิจารณา ได้ใน 2 ด้านคือ ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนิสิต และประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของชุมชนและ ประชาชน ในด้านประโยชน์ต่อนิสิตนั้น นิสิตได้มีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะ การออกแบบภายใต้กรอบที่อ้างอิงข้อมูลจริง โดยเฉพาะในส่วนของงานกลุ่มที่มีการน�ำ นโยบายมาประยุกต์ใช้ และการแก้ปัญหาที่อยู่บนพื้นฐานของสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ ส�ำหรับในส่วนการออกแบบสถาปัตยกรรมนิสิตได้มีโอกาส ทดลองน�ำเทคนิคการออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืนมาประยุกต์ใช้กับโครงการออกแบบ อย่างเต็มที่ ในการนี้ผู้สอนได้น�ำเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทย (Thai Green Building Institute, 2013) มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการชี้น�ำการออกแบบ ร่วมกับ การท�ำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องสถาปัตยกรรมยั่งยืน เพื่อน�ำไปสู่ผลการออกแบบ ที่เหมาะสม (Hengrasmee & Chansomsak, 2016) นอกเหนือจากนั้นแล้วผลงานของ นิสิตเมื่อได้น�ำไปจัดแสดง ท�ำให้นิสิตมีโอกาสได้เสวนากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ใช้งานจริง ในอนาคต นิสิตได้รับทราบความคิดเห็น มุมมอง ที่แตกต่างจากผู้ที่ไม่อยู่ในสายงานออกแบบ ซึ่งเป็นการตรวจสอบคุณค่าของผลงานของนิสิตโดยทางอ้อมอีกด้วย ประสบการณ์จาก การแลกเปลี่ยนความคิดนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อนิสิตเป็นอย่างมาก อันจะเป็นพื้นฐาน ต่อการท�ำงานในอนาคตของนิสิตต่อไป ในด้านการเรียนรู้ของชุมชนและประชาชนนั้นจะเกิดจากการจัดนิทรรศการ เป็นหลัก การน�ำเสนอผลงานออกแบบที่เป็นภาพร่างของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เป็นการจุดประกายความคิดและสร้างความตระหนักรู้ถึงความส�ำคัญของการพัฒนาเมือง อีกทั้งยังท�ำให้ประชาชนได้เห็นภาพของทิศทางการพัฒนา ซึ่งแต่ละคนอาจมีบทบาท ในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาได้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น เป็นคณะท�ำงาน หรือในฐานะผู้ลงทุนหรือผู้ก�ำหนดนโยบาย ซึ่งเป็นผู้ที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง อย่างไรก็ดีการด�ำเนินการโครงการที่ผ่านมาก็ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคที่ท�ำให้ เกิดช่องว่างในการเรียนรู้และต่อยอดสู่การปฏิบัติจริง ประเด็นแรกคือ ปัญหาการสื่อสาร สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 41 จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น

และการท�ำความเข้าใจซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Mattessich & Monsey, 1997, p. 30) โดยเฉพาะในเรื่องความเข้าใจในระดับของผลงานนิสิตและ ความเป็นจริง เนื่องจากผลงานออกแบบเหล่านี้เป็นเพียงโครงการเสนอแนะเพื่อการเรียนรู้ ของนิสิต แต่ประชาชนที่เข้ารับชมงานหลายคนมีความคาดหวังที่จะเห็นผลงานที่สมบูรณ์ และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ทั้งนี้การน�ำภาพร่างดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติจริง ยังคงต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ในกรณีของโครงการที่เกี่ยวข้องกับ พื้นที่ริมน�้ำ ทางเทศบาลต้องประสานงานกับกรมเจ้าท่าในการขออนุมัติด�ำเนินการ ในกรณี ของโครงการที่อยู่ในเขตเมืองเก่า การก่อสร้างต่างๆ จะต้องพิจารณาแนวโบราณสถาน และประสานงานกับกรมศิลปากร ในกรณีของโครงการที่ตั้งใกล้กับชุมชนต้องพิจารณา ความคิดเห็นของประชาชน ผลกระทบและสิทธิในการด�ำเนินการที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากนั้น ในส่วนของความสมบูรณ์ด้านรายละเอียดของแบบ ซึ่งเป็นเพียงแบบร่างแนวคิดมิใช่ แบบก่อสร้างที่สามารถน�ำไปใช้ประกอบการพิจารณาของบประมาณ หากแต่โครงการใดที่มี ศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดก็จ�ำเป็นต้องมีการของบประมาณและจัดท�ำแบบรายละเอียด เพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวอย่างของตัวชี้วัดที่ส่งผลต่อความเป็นไปได้ของ โครงการ หากผู้รับชมไม่ได้พิจารณาหรือเข้าใจความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ อาจท�ำให้เกิด ช่องว่างของการเข้าใจผลงานและน�ำไปสู่ความรู้สึกลบหากผลงานนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นจริง ประเด็นถัดมาคือ เรื่องความชัดเจนและต่อเนื่องของนโยบาย จากการท�ำงาน ในช่วงเวลา 4 ปี คณะท�ำงานพบว่า แนวทางนโยบายในการพัฒนายังขาดความชัดเจน และมีการเปลี่ยนแนวคิดตามกระแสและนโยบายหลักของประเทศ สิ่งที่ยังขาดไปคือ แผนแม่บทของการพัฒนาในภาพรวม ซึ่งเป็นแผนระยะยาวและอยู่บนรากฐานของศักยภาพ และความเหมาะสมของพื้นที่ นอกเหนือจากนั้นยังมีประเด็นด้านงบประมาณในการด�ำเนินการ ในปัจจุบัน เทศบาลนครพิษณุโลก ยังขาดงบประมาณเพื่อด�ำเนินการในเรื่องการวางแผนแม่บทของ การพัฒนา และการด�ำเนินการแก้ปัญหาเชิงกายภาพของพื้นที่ ท�ำให้โครงการต่างๆ ที่ได้รับ การเสนอแนะ ซึ่งถึงแม้ว่าทางเทศบาลนครพิษณุโลก จะเห็นด้วยแต่ยังไม่สามารถด�ำเนินการได้ อีกทั้งในหลายโครงการยังต้องอาศัยการลงทุนจากหน่วยงานรัฐอื่นๆ และหน่วยงานเอกชน เพื่อให้โครงการต่างๆ สามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ 42 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ผลประเมินโครงการที่ท�ำการส�ำรวจอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 4 ปี พบว่า การตอบรับของประชาชน รวมทั้งของผู้ที่มีส่วนร่วม เช่น นิสิตผู้เข้าร่วมโครงการ ตลอดจน ผู้บริหารทั้งระดับท้องถิ่น และผู้บริหารมหาวิทยาลัย เป็นไปในทิศทางที่ดี ประกอบกับ การท�ำกิจกรรมดังกล่าวเป็นการส่งเสริมความร่วมมือและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง สถาบันการศึกษากับหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาชุมชนร่วมกัน ซึ่งความส�ำเร็จของโครงการมีที่มาหลักจากความร่วมมือที่ผู้เกี่ยวข้องทุกด้านให้การสนับสนุน ต่อการด�ำเนินงานของกิจกรรม อย่างไรก็ดีเนื่องจากผลงานที่น�ำเสนอในโครงการนี้เป็นเพียงผลงานในลักษณะของ แบบร่างแนวคิด ของนิสิต ในช่วงระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ความละเอียดและครบถ้วนนั้น จึงเป็นไปได้แค่ระดับหนึ่ง ดังนั้น การน�ำแนวคิดต่างๆ เหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติจริง ยังต้องอาศัย ความรู้ความเข้าใจด้านเทคนิคและกระบวนการวางผังและสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ซึ่งกระบวนการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงควรต้องมีการพิจารณาซ�้ำและด�ำเนินการอย่างละเอียด เพิ่มขึ้น เพื่อให้ภาพร่างทางความคิดเหล่านี้กลายเป็นความจริงขึ้นมาได้

บทสรุปและอนาคต โดยรวมแล้วผลงานของนิสิตภายใต้โครงการบริการวิชาชิ้นนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ในการน�ำไปสู่การแก้ปัญหา หรือการพัฒนาในอนาคต บทบาทส�ำคัญของโครงการดังกล่าว จะอยู่ในส่วนของการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอน และ การสร้างการตระหนักรู้และแรงพลักดันในด้านการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อสังคม ของนิสิตและคนในชุมชน ทั้งนี้ในส่วนของการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและเสริมสร้าง ศักยภาพในการขับเคลื่อนให้ภาพความฝันนี้เป็นความจริง ยังคงต้องการการประสานงาน และการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของหลายภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีส�ำหรับแนวทาง การท�ำงานในลักษณะของการน�ำปัญหาของท้องถิ่นมาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนนั้น สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนด้านสถาปัตยกรรมในกรณีอื่น หรือเป็น แนวทางในการท�ำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ถึงแม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นการด�ำเนินการต่อยอดสู่การปฏิบัติจริงดังกล่าว ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนนัก มีเพียงบางโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางของเทศบาล สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 43 จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่มีอยู่แล้ว เช่น โครงการปรับปรุงพื้นที่ริมน�้ำหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ โครงการปรับปรุง ทางลอดใต้สะพาน และโครงการพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำด้วยตลิ่งสีเขียว ซึ่งก�ำลังอยู่ระหว่างการขอ งบประมาณด�ำเนินการ ทั้งนี้เป็นที่น่ายินดีที่ผลงานจากการด�ำเนินโครงการดังกล่าวได้รับ ความสนใจและขยายผลจากเทศบาลนครพิษณุโลกไปสู่ภาคเอกชน ในปีที่ผ่านมาทางคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับการประสานจากบริษัทพิษณุโลกพัฒนาเมือง4 ขอข้อมูลจาก การด�ำเนินโครงการที่ผ่านมาเพื่อจะน�ำไปเป็นแนวคิดเริ่มต้นในการพิจารณาด�ำเนินการ ร่วมกับแผนการพัฒนาอื่นๆ ของจังหวัด นอกเหนือจากนั้นทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้น�ำผลจากการด�ำเนินโครงการไปจัดท�ำเป็นหัวข้อวิจัยในการพัฒนาเมืองยั่งยืนต้นแบบ โดยการร่วมมือกับเทศบาลนครพิษณุโลก บริษัทพิษณุโลกพัฒนาเมือง หอการค้าจังหวัด พิษณุโลก สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก ในการเสนอขอทุนสนับสนุนงานวิจัยดังกล่าว ท้ายที่สุดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกันในครั้งนี้ได้น�ำเสนอโอกาสที่ส�ำคัญในการปรับเปลี่ยน จุดยืนของผลงานของนิสิตจากการเป็นแค่เพียงจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหา ให้กลายเป็น กระบวนการที่ต่อเนื่องส�ำหรับการพัฒนาเมืองพิษณุโลกต่อไป

4 บริษัทพิษณุโลกพัฒนาเมือง เป็น บริษัทที่จัดตั้งตามมติของเครือข่ายนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจ อุตสาหกรรมและภาคประชาชนของพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งและสาธารณูปโภคร่วมกับภาครัฐ 44 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

References

Chansomsak, S. & Vale, B. (2009). The Roles of architects in sustainable community development. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 6(3), 107 - 136. Hengrasmee, S. & Chansomsak, S. (2016). A novel approach to architectural education for sustainability: a quest for reformation and transformation. GJEE Global Journal of Engineering Education, 18(3), 160-166. Leesakunrak, P., Hengrasmee, S. & Chansomsak, S, (2014). Khrongkan prapprung læ phatthana yan lathani rotfai Phitsanulok [Renovation of Phitsanulok Raiway Station District]. Poster Presentation in the 10th Naresuan Research Conference, 22 - 23, July, 2014, Phitsanulok: Naresuan University. Martin, B. & Hanington, B. (2012). Universal methods of design. Beverly, Massachusetts: Rockport Publishers. Mattessich, P. & Monsey, B. (1997). community building: what make it work: a review of factors influencing successful community building. Saint Paul, Minnesota: Amherst H. Wilder Foundation. Phitsanulok songphanyisip khet setthakit mai si-yæk Indochine [Phitsanulok 2020: New Economic District at Indochina Intersection]. (2015). [Brochure] Phitsanulok: Committee to Driving Strategic Plan for Phitsanulok 2020: New Economic District at Indochina Intersection. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 45 จากความฝันสู่ความจริง : ถอดบทเรียนจากการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น

Thai Green Building Institute. (2013, January 16). Ken kanpramœn khwamyangyún thang phalangngan læ singwætlom Thai samrap kankosang læ prapprung khrongkan mai [Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability for Preparation of New Building Construction & Major Renovation (PRE NC)]. Retrieved from http:// www.tgbi.or.th/files/trees/2012-09-26-เกณฑ์-TREES-NC.pdf

46 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 4747 การศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

การศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้1

เจนจิรา ขุนทอง* และปิยาภรณ์ อรมุต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา 9000 *อีเมล: [email protected]

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถ ดูดซับเสียง โดยการทดลองจะศึกษาความยาวของเส้นใยและ ขนาดที่เหมาะสมในการน�ำมา ผลิตเป็นแผ่นผนัง (ความหนา 2 นิ้ว ขนาด 10 x 10 เซนติเมตร, 15 x 15 เซนติเมตร และ 20 x 20 เซนติเมตร) เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการดูดซับเสียง และศึกษาในช่วงความถี่ ของเสียงที่หูมนุษย์สามารถรับรู้ได้ดี คือ ช่วงที่ 400 – 4,000 Hz ผลการทดลองความสามารถในการดูดซับเสียงของเส้นใยจากเปลือกลูกตาลโตนด ที่ความหนา 2 นิ้ว รูปแบบที่จะท�ำเป็นผนังมี 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 คือ การตัดเส้นใย จากเปลือกตาลโตนดเพื่อให้เส้นใยมีความยาวของเส้นที่สม�่ำเสมอกันและเพื่อการยึดติด ของตัวประสาน รูปแบบที่ 2 คือ การน�ำเส้นใยที่ได้ไม่ผ่านกระบวนการตัดใดๆ ใช้ความยาว ของเส้นที่มี พบว่า แผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกลูกตาลโตนดสามารถดูดซับเสียงได้อยู่ที่ 400 – 1,400 Hz รูปแบบที่ 1 ความสามารถในการดูดซับเสียงอยู่ที่ 400 – 1,200 Hz หรืออยู่ที่ 2.6 – 7.8 dB, ส่วนรูปแบบที่ 2 ความสามารถในการดูดซับเสียงอยู่ที่ 400 – 1,400 Hz หรือ อยู่ที่ 2.6 – 9 dB

1 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่องศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับ เสียงได้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่ให้การสนับสนุน 48 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

จากผลการวิจัยดังกล่าวพบว่า การตัดเส้นใยท�ำให้ประสิทธิภาพในการดูดซับเสียง น้อยกว่าแบบที่ไม่ได้ตัดเส้นใยและ ขนาด ความหนาท�ำให้เกิดการจัดวางแผ่นผนังเส้นใย จากเปลือกลูกตาลโตนดหลายๆรูปแบบที่ไม่ซ�้ำกัน

ค�ำส�ำคัญ: แผ่นผนังเส้นในธรรมชาติ, ผนังเส้นใยเปลือกลูกตาลโตนด, ผนังเส้นใยที่สามารถ ดูดซับเสียง สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 4949 การศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

A Study of Sound Absorption Ability of Fiberboard from Palmyra Peel

Janejira Khunthong* and Piyaporn Oramut Faculty of Architecture, Rajamangala University of technology Srivijaya, Songkhla 9000, Thailand *e-mail: [email protected]

Abstract The objective of the research is to study fiberboard from palmyra palm peel for sound absorbance. The experiment will study the appropriate lengths of fiber and sizes for fiberboard (thickness : 2 inch, size 10 x 10 cm, 15 x 15 cm, and 20 x 20 cm) to get the performance to absorb sound, and study in the frequency range of the human ear can be perceived well is the range of 400 - 4000 Hz. The result of the test shows that ability to absorb sound of fiber from palmyra palm peel at 2 inches thickness. There are 2 types of Wallboard : the first form; Cutting the fibers from the eyelids to give the fibers have a uniform length of the line and for the adhesion of the binder. The second form; is the fiber has not undergone any cutting process, using the length of the fiber. It was found that the fibreboard from palmyra palm peel can absorb sound at 400 - 1,400 Hz. the first form, absorption capacity is 400 - 1,200 Hz or 2.6 - 7.8 dB. the first form, the sound absorption capacity is 400 - 1,400 Hz or 2.6 - 9 dB. The results showed that fiber cutting results in sound absorbing performance less than does not cutting the fiber, the size and thickness cause 50 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal the several unique styles placement of the fibreboard from palmyra palm.

Keywords: Natural fibreboard, Fibreboard from palmyra palm peel, Sound absorption ability of fibreboard สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 5151 การศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

บทน�ำ นวัตกรรมคือการน�ำสิ่งใหม่ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และ ได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย ในปัจจุบันมีงานวิจัยของหน่วยงานรัฐและสถานศึกษาในด้านการหาวัสดุทดแทน ที่สามารถผลิตขึ้นได้ใหม่โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ การหาวัสดุทดแทน ที่น�ำมาใช้นั้นเพื่อจะประหยัดพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุในขั้นตอนการผลิตและเป็นวัสดุ ที่ไม่ท�ำลายสภาพแวดล้อม การน�ำวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ทดแทนน่าจะช่วยให้การใช้ พลังงานในการผลิตวัสดุสังเคราะห์ลดลง การหาวัสดุที่จะน�ำมาทดแทนการใช้ไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีการใช้พลังงานในการผลิตสูงเพื่อหลอมแก้วในกระบวนการผลิตและท�ำให้เกิดมลพิษ ทางอากาศมากขึ้นด้วย จึงมีความคิดที่จะใช้เส้นใยธรรมชาติมาใช้ในการผลิตฉนวนป้องกัน เสียง (Suriyan, 2007) เส้นใยเปลือกตาลโตนดเป็นเส้นใยธรรมชาติที่น่าจะสามารถน�ำมา ท�ำเป็นแผ่นวัสดุที่ช่วยดูดซับเสียงได้ ซึ่งเส้นใยที่น�ำมาท�ำแผ่นวัสดุเพื่อใช้ทดลองก็ได้จาก ชาวบ้านที่มีอาชีพขึ้นตาลโตนด การน�ำเศษวัสดุที่เหลือจากการประกอบอาชีพกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าให้กับเศษวัสดุ งานวิจัยนี้ จึงมีแนวคิดที่จะน�ำเส้นใยจากเปลือกลูกตาลโตนดที่เหลือจาก การประกอบอาชีพ และน�้ำยางธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัสดุประสานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาท�ำการขึ้นรูปเป็นแผ่นผนังดูดซับเสียงจากเส้นใยจากเปลือกตาลโตนด เพื่อเป็นการเพิ่ม มูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เป็นการเพิ่มวัสดุทางเลือกใหม่ให้กับการก่อสร้าง เป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและเพื่อน�ำแนวทางไปประยุกต์ใช้ต่อไป จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการผลิตฉนวนดูดซับเสียงจากวัสดุเหลือทิ้ง ทางการเกษตรที่ผ่านมา พบว่า มีความส�ำเร็จในการผลิตฉนวนดูดซับเสียงจากวัสดุเหลือทิ้ง ธรรมชาติ เช่น เส้นใยทางใบปาล์ม ใยมะพร้าว (Thanompong, 2009; Suriyan, 2007) เป็นต้น แต่ยังไม่พบงานวิจัยที่เกี่ยวกับการน�ำเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดน�ำมาท�ำเป็นฉนวน ดูดซับเสียง ดังนั้น จึงน�ำมาผลิตเป็นแผ่นฉนวนดูดซับเสียงเพื่อลดเสียงภายในห้อง 52 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

กรอบแนวความคิดและกระบวนการสร้างสรรค์/วิธีด�ำเนินงานวิจัย ในการศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ เพื่อการ ทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซับเสียง มีขั้นตอนการท�ำวิจัยคือ 1) การเตรียมวัสดุเพื่อ การผลิต (เส้นใยลูกตาล, น�้ำยางธรรมชาติ) และแม่แบบเพื่อการผลิต 2) หาอัตราส่วน ที่เหมาะสมในการผลิต 3) ผลิตต้นแบบเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ

เตรียมวัสดุเพื่อการผลิต (เส้นใยลูกตาล, น�้ำยางธรรมชาติ)

ผลิตโดยใช้อัตราส่วนเส้นใยลูกตาล 1.3 ต่อ น�้ำยางธรรมชาติ 1 ส่วน

ขึ้นรูปแผ่นฉนวนดูดซับเสียงโดยไม่ใช้ความร้อน โดยมี 2 รูปแบบ 1) การตัดเส้นใยที่ความยาวเท่ากัน 2) การน�ำเส้นใยที่ได้ไม่ผ่านกระบวนการตัดใดๆ

การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียงของวัสดุ, เปรียบเทียบการดูดซับเสียง กับวัสดุแผ่น Acoustic Board

สรุปผลการทดลอง ภาพที่ 1 ขั้นตอนการท�ำวิจัย

1. ขั้นตอนและวิธีการทดลอง 1.1 รวบรวมเส้นใยจากอ�ำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา หลังจากเหลือทิ้งจาก การประกอบอาชีพและลูกที่แก่ตกจากต้น 1) โดยการน�ำลูกตาลดังกล่าวไปแช่น�้ำเพื่อให้ เส้นใยนิ่มและอ่อนตัว 2) งัดขั้วตาลและปลอกเปลือกลูกตาลออก 3) ตัดเส้นใยออกจากผล 4) น�ำเส้นใยที่ตัดแล้วแช่น�้ำต่อ 5) ล้างท�ำความสะอาดเส้นใยจนน�้ำที่ล้างใส 6) น�ำเส้นใย ตากแดดให้แห้ง และปลอกเปลือกลูกตาลออก 3) ตัดเส้นใยออกจากผล 4) น าเส้นใยที่ตัดแล้วแช่น้ าต่อ 5) ล้างท าความ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ สะอาดเส้นใยจนน้ าที่ล้างใส 6) น าเส้นใยตากแดดให้แห้ง 5353 และปลอกเปลือกลูกตาลออก 3) ตัดเส้นใยออกจากผลการศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ 4) น าเส้นใยที่ตัดแล้วแช่น้ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน าต่อ 5) ล้างท าความ และปลอกเปลือกลูกตาลออก 3) ตัดเส้นใยออกจากผล 4) น าเส้นใยที่ตัดแล้วแช่น้ าต่อ 5) ล้างท าความ สะอาดเส้นใยจนน้สะอาดเส้นใยจนน้ าที่ล้างใส าที่ล้างใส 6) น 6 าเส้นใยตากแดดให้แห้ง) น าเส้นใยตากแดดให้แห้ง

ภาพที่ 2 ขั้นตอนการยีเส้นใยลูกตาล (การเตรียมเส้นใยลูกตาล) ภาพที่ 2 ขั้นตอนการยีเส้นใยลูกตาล (การเตรียมเส้นใยลูกตาล) ภาพที่ 2 ขั้นตอนการยีเส้นใยลูกตาล (การเตรียมเส้นใยลูกตาล) 1.2 วัสดุประสานน�้ำยางธรรมชาติ 1.2 วัสดุประสานน้ภาพายางธรรมชาติ ที่ 2 ขั้นตอนการยีเส้นใยลูกตาล (การเตรียมเส้นใยลูกตาล) 1.2 วัสดุประสานน้ายางธรรมชาติ

1.2 วัสดุประสานน้ายางธรรมชาติ

ภาพที่ 3 น�้ำยางธรรมชาติ (น�้ำยางพารา) ภาพภาพที่ 3ที่ น้3 ายางธรรมชาติน้ ายางธรรมชาติ (น้(น้ ายางพารา) 1.3 น าเส้นใยที่ตากแดกแห้งแล้วมาต้มด้วยน้ าเปล่า เป็นการท าความสะอาดเส้นใยที่อุณหภูมิ 90-100 1.3 น าเส้นใยที่ตากแดกแห้งแล้วมาต้มด้วยน้1.3 น�ำเส้นใยที่ตากแดดแห้งแล้วมาต้มด้วยน�้ าเปล่า เป็นการทำเปล่า าความสะอาดเส้นใยที่อุณหภูมิ เป็นการท�ำความสะอาดเส้นใย 90-100 องศาเซลเซียสองศาเซลเซียส เพื่อเป็นการแยกเส้นใยให้เรียงตัวกันอย่างสม่ เพื่อเป็นการแยกเส้นใยให้เรียงตัวกันอย่างสม่ภาพที่ 3 น้ ายางธรรมชาติ าเสมอกันมากขึ้น าเสมอกันมากขึ้น (น้ ายางพารา) เมื่อต้มแล้ว เมื่อต้มแล้ว น ามาแช่น้ น ามาแช่น้ าสะอาดอีก าสะอาดอีก ที่อุณหภูมิครั้งเพื่อแยกส่วนไม่ใช่เส้นใยออก 90 - 100 องศาเซลเซียส น าไปตากแดดให้แห้ง เพื่อเป็นการแยกเส้นใยให้เรียงตัวกันอย่างสม�่ ำเสมอกัน ครั้งเพื่อแยกส่วนไม่ใช่เส้นใยออก 1.3 น าเส้นใยที่ตากแดกแห้งแล้วมาต้มด้วยน้ น าไปตากแดดให้แห้ง าเปล่า เป็นการท าความสะอาดเส้นใยที่อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียสมากขึ้น เมื่อต้มแล้วเพื่อเป็นการแยกเส้นใยให้เรียงตัวกันอย่างสม่ น�ำมาแช่น�้ำสะอาดอีกครั้งเพื่อแยกส่วนไม่ใช้เส้นใยออก าเสมอกันมากขึ้น เมื่อต้มแล้ว นน� ามาแช่น้ำไปตากแดด าสะอาดอีก ครั้งเพื่อแยกส่วนไม่ใช่เส้นใยออกให้แห้ง น าไปตากแดดให้แห้ง

ภาพที่ 4 แสดงการต้มเส้นใยลูกตาล

1.4 น าเส้นใยที่ตากแดดแห้งแล้วมาตัดที่ความยาวภาพที่ 4 แสดงการต้มเส้นใยลูกตาล เฉลี่ย 1-2 เซนติเมตรเนื่องจากเส้นใยลูกตาลมีความ

ยาวเฉลี่ย 11.15 เซนติเมตร เป็นเส้นใยที่มีความยาวและไม่มีความสม่ าเสมอ อาจท าให้น้ ายางธรรมชาติไม่สามารถ ภาพที่ 4 แสดงการต้มเส้นใยลูกตาล ประสานกับเส้นใยได้อย่างสม่1.4 น าเส้นใยที่ตากแดดแห้งแล้วมาตัดที่ความยาว าเสมอภาพ จึงต้องทที่ 4 แสดงการต้มเส้นใยลูกตาล าการย่อยเส้นใยด้วยวิธีการสับเส้นใยให้สั้นลง เฉลี่ย 1-2 เซนติเมตรเนื่องจากเส้นใยลูกตาลมีความ เพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัส ยาวเฉลี่ย 11.15 เซนติเมตร เป็นเส้นใยที่มีความยาวและไม่มีความสม่ าเสมอ อาจท าให้น้ ายางธรรมชาติไม่สามารถ ประสานกับเส้นใยได้อย่างสม่1.4 น าเส้นใยที่ตากแดดแห้งแล้วมาตัดที่ความยาว าเสมอ จึงต้องท าการย่อยเส้นใยด้วยวิธีการสับเส้นใยให้สั้นลง เฉลี่ย 1-2 เซนติเมตรเนื่องจากเส้นใยลูกตาลมีความ เพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัส ยาวเฉลี่ย 11.15 เซนติเมตร เป็นเส้นใยที่มีความยาวและไม่มีความสม่ าเสมอ อาจท าให้น้ ายางธรรมชาติไม่สามารถ ประสานกับเส้นใยได้อย่างสม่ าเสมอ จึงต้องท าการย่อยเส้นใยด้วยวิธีการสับเส้นใยให้สั้นลง เพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัส

54 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

1.4 น�ำเส้นใยที่ตากแดดแห้งแล้วมาตัดที่ความยาว เฉลี่ย 1 - 2 เซนติเมตร เนื่องจากเส้นใยลูกตาลมีความยาวเฉลี่ย 11.15 เซนติเมตร เป็นเส้นใยที่มีความยาวและ ไม่มีความสม�่ำเสมอ อาจท�ำให้น�้ำยางธรรมชาติไม่สามารถประสานกับเส้นใยได้อย่างสม�่ำเสมอ จึงต้องท�ำการย่อยเส้นใยด้วยวิธีการสับเส้นใยให้สั้นลง เพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัสระหว่างเส้นใย ระหว่างเส้นใยลูกตาลและน�้ลูกตาลและน้ำยางธรรมชาติให้มากขึ้น ายางธรรมชาติให้มากขึ้น และช่วยให้เส้นใยกระจายตัวตัวอย่างสม่และช่วยให้เส้นใยกระจายตัวอย่างสม�่ าเสมอมากขึ้นำเสมอ ท าให้ ระหว่างเส้นใยการยึดเกาะกันระหว่างเส้นใยลูกตาลและน้มากขึ้นลูกตาลและน้ ท�ำให้การยึดเกาะกันระหว่างเส้นใยลูกตาลและน�้ ายางธรรมชาติให้มากขึ้น ายางธรรมชาติยึดเกาะกันได้ดีขึ้น และช่วยให้เส้นใยกระจายตัวตัวอย่างสม่ำยางธรรมชาติยึดเกาะกันได้ดีขึ้น าเสมอมากขึ้น ท าให้ การยึดเกาะกันระหว่างเส้นใยลูกตาลและน้ ายางธรรมชาติยึดเกาะกันได้ดีขึ้น

ภาพที่ภาพ ที่5 5แสดงการชั่งน�้ แสดงการชั่งน้าหนักเส้นใยลูกตาลจากการค ำหนักเส้นใยลูกตาลจากการค�านวณปริมาณตามความหนาแน่นที่ก ำนวณปริมาณตามความหนาแน่นาหนด

1.5 ชั่งน้ ที่ก� าหนักเส้นใยด้วยการคำหนด านวณความหนาแน่นเส้นใยลูกตาลที่ โดยใช้อัตราส่วนเส้นใยลูกตาล 1.3ภาพ ส่วนที่ ต่อน้ 5 แสดงการชั่งน้ ายางธรรมชาติ าหนักเส้นใยลูกตาลจากการค 1 ส่วน านวณปริมาณตามความหนาแน่นที่ก าหนด 1.5 ชั่งน้ าหนักเส้นใยด้วยการค1.5 ชั่งน�้ำหนักเส้นใยด้วยการค� านวณความหนาแน่นเส้นใยลูกตาลที่ำนวณความหนาแน่นเส้นใยลูกตาลที่ โดยใช้อัตราส่วนเส้นใยลูกตาล โดยใช้ 1.3 ส่วน ต่อน้อัตราส่วนเส้นใยลูกตาล ายางธรรมชาติ 1 ส่วน 1.3 ส่วน ต่อน�้ำยางธรรมชาติ 1 ส่วน

ภาพที่ 6 แสดงการชั่งน้าหนักเส้นใยลูกตาลจากการค านวณปริมาณตามความหนาแน่นที่ก าหนด ตารางที่ 1 แสดงความหนาแน่นของเส้นใยลูกตาลและปริมาณเส้นใยลูกตาล

ความหนาแน่นของเส้นใยลูกตาล (กก./ลบ .ม.) ปริมาณเส้นใย (กรัม) ภาพภาพที่ที่ 6 แสดงการชั่งน้6 แสดงการชั่งน�้าหนักเส้นใยลูกตาลจากการค ำ150หนักเส้นใยลูกตาลจากการค� านวณปริมาณตามความหนาแน่นที่ก ำนวณปริมาณตามความหนาแน่น120 าหนด ตารางที่ 1 แสดงความหนาแน่นของเส้นใยลูกตาลและปริมาณเส้นใยลูกตาล ที่ก�ำหนด 200 160 250 200 ความหนาแน่นของเส้นใยลูกตาล300 (กก./ลบ.ม.) ปริมาณเส้นใย240 (กรัม) 150350 280 120 200 160 1.6 ค านวณปริมาณน้ ายางพารา ชั่งน้ าหนัก จากการทดลองผลิตในเบื้องต้น พบว่าอัตราส่วนการขึ้นรูป 250 200 จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการขึ้นรูปเส้นใย การผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อนจากเส้นใยลูกตาล ได้ท า การขึ้นรูปแผ่นฉนวนที่อัตราส่วน 300เส้นใยตาลโตนด 1.3 ส่วนต่อ น้ายางธรรมชาติ 1 ส่วน จึงได้ทดลองท240 าการขึ้นรูป ด้วยอัตราส่วนเดียวกัน พบว่า สามารถขึ้350 นรูปได้ (Ratanakorn, 2015) 280

ตารางที่1.6 ค านวณปริมาณน้2 แสดงอัตราส่วนที่เหมาะสมในการขึ้นรูปแผ่นฉนวนกันความร้อน ายางพารา ชั่งน้ าหนัก จากการทดลองผลิตในเบื้องต้น พบว่าอัตราส่วนการขึ้นรูป

จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการขึ้นรูปเส้นใยอัตราส่วน การขึ้นรูป การผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อนจากเส้นใยลูกตาลความสามารถในการขึ้นรูป ได้ท า การขึ้นรูปแผ่นฉนวนที่อัตราส่วน เส้นใยตาลโตนด 1.3 ส่วนต่อ น้ายางธรรมชาติ 1 ส่วน จึงได้ทดลองท าการขึ้นรูป ด้วยอัตราส่วนเดียวกัน พบว่า สามารถขึ้นรูปได้ (Ratanakorn , 2015)

ตารางที่ 2 แสดงอัตราส่วนที่เหมาะสมในการขึ้นรูปแผ่นฉนวนกันความร้อน

อัตราส่วน การขึ้นรูป ความสามารถในการขึ้นรูป

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 5555 การศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

ตารางที่ 1 แสดงความหนาแน่นของเส้นใยลูกตาลและปริมาณเส้นใยลูกตาล

ความหนาแน่นของเส้นใยลูกตาล (กก./ลบ.ม.) ปริมาณเส้นใย (กรัม) 150 120 200 160 250 200 300 240 350 280

1.6 ค�ำนวณปริมาณน�้ำยางพารา ชั่งน�้ำหนัก จากการทดลองผลิตในเบื้องต้น พบว่า อัตราส่วนการขึ้นรูปจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการขึ้นรูปเส้นใย การผลิต แผ่นฉนวนกันความร้อนจากเส้นใยลูกตาล ได้ท�ำการขึ้นรูปแผ่นฉนวนที่อัตราส่วน เส้นใย ตาลโตนด 1.3 ส่วนต่อ น�้ำยางธรรมชาติ 1 ส่วน จึงได้ทดลองท�ำการขึ้นรูปด้วยอัตราส่วน เดียวกัน พบว่า สามารถขึ้นรูปได้ (Ratanakorn, 2015)

ตารางที่ 2 แสดงอัตราส่วนที่เหมาะสมในการขึ้นรูปแผ่นฉนวนกันความร้อน

อัตราส่วน การขึ้นรูป ความสามารถในการขึ้นรูป เส้นใยลูกตาล น�้ำยางธรรมชาติ 3 1 ไม่ได้ ไม่สามารถขึ้นรูปได้ 2 1 ไม่ได้ ไม่สามารถขึ้นรูปได้ 1.5 1 ได้ สามารถขึ้นรูปได้ แต่สภาพการยึดเกาะไม่ดี สามารถดัดโค้งได้ 1.4 1 ได้ สามารถขึ้นรูปได้ แต่สภาพการยึดเกาะไม่ดี สามารถดัดโค้งได้ 1.3 1 ได้ สามารถขึ้นรูปได้ดี สภาพการยึดเกาะดี สามารถงอโค้งได้ 1.2 1 ได้ สามารถขึ้นรูปได้ดี สภาพการยึดเกาะดี สามารถงอโค้งได้ 56 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

1.7 ชั่งน�้ำหนักน�้ำยางธรรมชาติตามอัตราส่วนจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับ การขึ้นรูปเส้นใย วางทิ้งไว้ประมาณ 5 - 10 นาที เพื่อไล่แอมโมเนียที่รักษาสภาพน�้ำยาง ธรรมชาติ จากการทดลองผลิตในเบื้องต้น อัตราส่วนในการขึ้นรูปแผ่นฉนวนกันความร้อน จากเส้นใยลูกตาลและน�้ำยางธรรมชาติ ที่อัตราส่วนเส้นใยลูกตาล 1.3 ส่วนต่อน�้ำยาง ธรรมชาติ 1 ส่วน (Ratanakorn, 2015)

ตารางที่ 3 แสดงปริมาณเส้นใยลูกตาลและน�้ำยางธรรมชาติ

ปริมาณเส้นใย (กรัม) น�้ำยางธรรมชาติ (กรัม) 120 93 160 124 200 154 240 185 280 216

2. กระบวนการอัดแผ่นวัสดุ 2.1 น�ำเส้นใยลูกตาลกับน�้ำยางธรรมชาติที่ชั่งได้มาผสมกันขึ้นรูปในบล็อกเหล็ก ด้วยวิธีการฉีดพ่นประสานเพื่อการสัมผัสของน�้ำยางและเส้นใยเข้ากันได้ย่างสม�่ำเสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะของวัสดุประสานน�้ำยางธรรมชาติและเส้นใยลูกตาล

ภาพที่ 7 ภาพที่การน าเส้นใยลูกตาลกับน้ 7 การน�ำเส้นใยลูกตาลกับน�้ ายางธรรมชาติที่ชั่งได้มาผสมกันขึ้นรูปในบล็อกเหล็กด้วยวิธีการฉีดพ่นประสานำยางธรรมชาติที่ชั่งได้มาผสมกันขึ้นรูปในบล็อกเหล็ก ด้วยวิธีการฉีดพ่นประสาน 2.2 น าบล็อกเหล็กไปใส่ในเครื่องกดอัด เพื่อบีบให้แผ่นเหล็กทั้งสองอัดเส้นใยลูกตาลให้มีขนาดตามที่ ต้องการ กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร, กว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตรและ กว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร

ภาพที่ 8 แสดงการนาบล็อกเหล็กไปใส่ในเครื่องกดอัด

2.3 กดทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นใยลูกตาลและน้ ายางธรรมชาติคงรูปตามบล็อกที่ขึ้นรูปและมีความ แข็งตัวคงรูป

ภาพที่ 9 แสดงการกดอัดด้วยเครื่องอัดที่ไม่ใช้ความร้อนกดทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง

2.4 เมื่อได้แผ่นผนังจากใยลูกตาลโตนดแล้ว น ามาตัดให้เป็นวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 10 เซนติเมตร ก่อนน าเข้าเครื่องทดสอบด้านการดูดซับเสียง

ภาพที่ 10 แสดงชิ้นงานทดสอบ

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 5757 การศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

ภาพที่ 7 การนการน าเส้นใยลูกตาลกับน้ าเส้นใยลูกตาลกับน้ ายางธรรมชาติที่ชั่งได้มาผสมกันขึ้นรูปในบล็อกเหล็กด้วยวิธีการฉีดพ่นประสาน ายางธรรมชาติที่ชั่งได้มาผสมกันขึ้นรูปในบล็อกเหล็กด้วยวิธีการฉีดพ่นประสาน ภาพที่ 7

2.22.2 นน าบล็อกเหล็กไปใส่ในเครื่องกดอัด าบล็อกเหล็กไปใส่ในเครื่องกดอัด2.2 น�ำบล็อกเหล็กไปใส่ในเครื่องกดอัด เพื่อบีบให้แผ่นเหล็กทั้งสองอัดเส้นใยลูกตาลให้มีขนาดตามที่เพื่อบีบให้แผ่นเหล็กทั้งสองอัดเส้นใยลูกตาลให้มีขนาดตามที่ เพื่อบีบให้แผ่นเหล็กทั้งสองอัดเส้นใย ต้องการต้องการ กว้างลูกตาลให้มีขนาดตามที่ต้องการกว้าง 1010 เซนติเมตรเซนติเมตร ยาวยาว 1010 กว้างเซนติเมตรเซนติเมตร 10 เซนติเมตร,, กว้างกว้าง 1515 ยาว เซนติเมตรเซนติเมตร 10 เซนติเมตร, ยาวยาว 15กว้าง15 เซนติเมตรและเซนติเมตรและ 15 เซนติเมตร กว้าง กว้าง 2020 เซนติเมตรเซนติเมตรยาว ยาวยาว 15 2020 เซนติเมตร เซนติเมตรเซนติเมตร และกว้าง หนาหนา 55 เซนติเมตรเซนติเมตร 20 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร

แสดงการน�ำบล็อกเหล็กไปใส่ในเครื่องกดอัด ภาพที่ภาพที่ 88 แสดงการนแสดงการนาบล็อกเหล็กไปใส่ในเครื่องกดอัด าบล็อกเหล็กไปใส่ในเครื่องกดอัด ภาพที่ 8

2.32.3 กดทิ้งไว้กดทิ้งไว้2.3 2424กดทิ้งไว้ ชั่วโมงชั่วโมง 24 เพื่อให้เส้นใยลูกตาลและน้เพื่อให้เส้นใยลูกตาลและน้ ชั่วโมง เพื่อให้เส้นใยลูกตาลและน�้ ายางธรรมชาติคงรูปตามบล็อกที่ขึ้นรูปและมีความ ายางธรรมชาติคงรูปตามบล็อกที่ขึ้นรูปและมีความำยางธรรมชาติคงรูปตามบล็อก แข็งตัวคงรูปแข็งตัวคงรูปที่ขึ้นรูปและมีความแข็งตัวคงรูป

ภาพที่ 9 แสดงการกดอัดด้วยเครื่องอัดที่ไม่ใช้ความร้อนกดทิ้งไว้แสดงการกดอัดด้วยเครื่องอัดที่ไม่ใช้ความร้อนกดทิ้งไว้ 2424 ชั่วโมงชั่วโมง ภาพที่ภาพที่ 99 แสดงการกดอัดด้วยเครื่องอัดที่ไม่ใช้ความร้อนกดทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง

2.42.4 เมื่อได้แผ่นผนังจากใยลูกตาลโตนดแล้วเมื่อได้แผ่นผนังจากใยลูกตาลโตนดแล้ว นน ามาตัดให้เป็นวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางที่ ามาตัดให้เป็นวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 1010 เซนติเมตรเซนติเมตร ก่อนน าเข้าเครื่องทดสอบ 2.4 เมื่อได้แผ่นผนังจากใยลูกตาลโตนดแล้วด้านการดูดซับเสียง น�ำมาตัดให้เป็นวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง ก่อนน าเข้าเครื่องทดสอบที่ 10 เซนติเมตรด้านการดูดซับเสียง ก่อนน�ำเข้าเครื่องทดสอบด้านการดูดซับเสียง

ภาพที่ 10 แสดงชิ้นงานทดสอบแสดงชิ้นงานทดสอบ ภาพที่ 10

ภาพที่ 7 การน าเส้นใยลูกตาลกับน้ ายางธรรมชาติที่ชั่งได้มาผสมกันขึ้นรูปในบล็อกเหล็กด้วยวิธีการฉีดพ่นประสาน

2.2 น าบล็อกเหล็กไปใส่ในเครื่องกดอัด เพื่อบีบให้แผ่นเหล็กทั้งสองอัดเส้นใยลูกตาลให้มีขนาดตามที่ ต้องการ กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร, กว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตรและ กว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร

ภาพที่ 8 แสดงการนาบล็อกเหล็กไปใส่ในเครื่องกดอัด

2.3 กดทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นใยลูกตาลและน้ ายางธรรมชาติคงรูปตามบล็อกที่ขึ้นรูปและมีความ แข็งตัวคงรูป

ภาพที่ 9 แสดงการกดอัดด้วยเครื่องอัดที่ไม่ใช้ความร้อนกดทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง 58 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 2.4 เมื่อได้แผ่นผนังจากใยลูกตาลโตนดแล้วWalailak Abode of Culture Journal น ามาตัดให้เป็นวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 10 เซนติเมตร ก่อนน าเข้าเครื่องทดสอบด้านการดูดซับเสียง

ภาพที่ภาพ ที่10 10 แสดงชิ้นงานทดสอบ แสดงชิ้นงานทดสอบ

3. กระบวนการทดสอบคุณสมบัติด้านการดูดซับเสียง 3.1 การทดสอบคุณสมบัติด้านการดูดซับเสียง ก่อนน�ำเข้าเครื่องทดสอบได้ ชั่งน�้ำหนักและวัดขนาดของตัวชิ้นงาน ก่อนการทดสอบ หลังจากนั้นน�ำชิ้นตัวอย่างเข้าเครื่อง 3. กระบวนการทดสอบทดสอบคุณสมบัติด้านการดูดซับเสียงคุณสมบัติด้านการดูดซับเสียง 3.1 การทดสอบคุณสมบัติด้านการดูดซับเสียง ก่อนน าเข้าเครื่องทดสอบได้ชั่งน้ าหนักและ วัดขนาดของ ตัวชิ้นงานตารางที่ ก่อนการทดสอบ 4 แสดงสี ความหนา หลังจากนั้นน น�้ าชิ้นตัวอย่างเข้าเครื่องทดสอบำหนักของชิ้นตัวอย่าง คุณสมบัติด้านการดูดซับเสียง ตารางที่ 4 แสดงสี ความหนา น้ าหนักของชิ้นตัวอย่าง ล�ำดับ ชื่อชิ้นงาน สีกราฟทดสอบเสียง ความหนา (mm) น�้ำหนัก (g) ลักษณะ ล าดับ1 ใยตาลเล็กชื่อชิ้นงาน 1 สีกราฟทดสอบเสียง ความหนา38.41 (mm) น้66.5 าหนัก (g) ลักษณะ 1 ใยตาลเล็ก 1 38.41 66.5 2 ใยตาลเล็ก 2 43.55 66.2 ตัดเส้นใย 2 ใยตาลเล็ก 2 43.55 66.2 ตัดเส้นใย 3 ใยตาลเล็ก 3 43.94 71.7 3 ใยตาลเล็ก 3 43.94 71.7 4 4 ใยตาลเล็กใยตาลใหญ่ 4 4 53.6453.64 120.2120.2 ไม่ตัดเส้นใยไม่ตัดเส้นใย 5 5 ใยตาลเล็กใยตาลใหญ่ 5 5 53.4153.41 84.284.2

ภาพที่ภาพ ที่11 11 แสดงการใช้เครื่องทดสอบ แสดงการใช้เครื่องทดสอบ

การอภิปรายผล จากการทดลองท าการขึ้นรูปแผ่นผนังดูดซับเสียงจากเส้นใยลูกตาลโตนด กับน้ ายางธรรมชาติขนาด 1) ขนาด กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร หนา 2 นิ้ว 2) ขนาด กว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร หนา 2 นิ้ว 3) ขนาด กว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร หนา 2 นิ้ว และเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตรที่ ใช้ในการทดสอบ โดยใช้อัตราส่วนเส้นใยลูกตาลโตนด 1.3 ส่วน ต่อน้ ายางธรรมชาติ 1 ส่วน สามารถแบ่งขั้นตอน ออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) การเตรียมเส้นใยลูกตาลโตนดทั้งแบบการตัดเส้นใยและไม่ได้ตัดเส้นใยและน้ ายาง ธรรมชาติ 2) การขึ้นรูปแผ่นผนังดูดซับเสียงทั้ง 2 แบบ 3) การทดสอบแผ่นผนังดูดซับเสียง ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้ 1) การขึ้นรูปแผ่นผนังดูดซับเสียงจากเส้นใยตาลโตนด ขนาดของแผ่นที่ก าหนด เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร หนา 2 นิ้ว ที่ใช้ในการทดสอบ ตารางที่ 5 แสดงความหนาและน้ าหนักของแผ่นผนังดูดซับเสียง

ล าดับ ความหนา (mm) น้ าหนัก (g) รูปแบบ 1 38.41 66.5 ตัดเส้นใย 2 43.55 66.2 ตัดเส้นใย 3 43.94 71.7 ตัดเส้นใย

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 5959 การศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

การอภิปรายผล จากการทดลองท�ำการขึ้นรูปแผ่นผนังดูดซับเสียงจากเส้นใยลูกตาลโตนด กับ น�้ำยางธรรมชาติขนาด 1) ขนาด กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร หนา 2 นิ้ว 2) ขนาด กว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร หนา 2 นิ้ว 3) ขนาด กว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร หนา 2 นิ้ว และเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ที่ใช้ในการทดสอบ โดยใช้อัตราส่วนเส้นใยลูกตาลโตนด 1.3 ส่วน ต่อน�้ำยางธรรมชาติ 1 ส่วน สามารถแบ่งขั้นตอน ออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมเส้นใยลูกตาลโตนดทั้งแบบการตัดเส้นใยและไม่ได้ ตัดเส้นใยและน�้ำยางธรรมชาติ 2) การขึ้นรูปแผ่นผนังดูดซับเสียงทั้ง 2 แบบ 3) การทดสอบ แผ่นผนังดูดซับเสียง ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้ 1) การขึ้นรูปแผ่นผนังดูดซับเสียงจากเส้นใยตาลโตนด ขนาดของแผ่นที่ก�ำหนด เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร หนา 2 นิ้ว ที่ใช้ในการทดสอบ

ตารางที่ 5 แสดงความหนาและน�้ำหนักของแผ่นผนังดูดซับเสียง

ล�ำดับ ความหนา (mm) น�้ำหนัก (g) รูปแบบ 1 38.41 66.5 ตัดเส้นใย 2 43.55 66.2 ตัดเส้นใย 3 43.94 71.7 ตัดเส้นใย 4 53.64 120.2 ไม่ตัดเส้นใย 5 53.41 84.2 ไม่ตัดเส้นใย 60 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 4 Walailak Abode 53.64of Culture Journal 120.2 ไม่ตัดเส้นใย 5 53.41 84.2 ไม่ตัดเส้นใย

2) กราฟแสดงผลการทดสอบ2) กราฟแสดงผลการทดสอบคุณสมบัติด้านการดูดซับเสียงคุณสมบัติด้านการดูดซับเสียง

ภาพที่ 12 แสดงการความสามารถในการดูดซับเสียง ภาพที่ 12 แสดงความสามารถในการดูดซับเสียง สรุปผลจากกราฟ คิดที่ระยะ 400 Hz สีน้ าเงินมีช่วงในการดูดซับเสียงที่กว้างที่สุด ในขณะที่สีเหลืองเริ่มที่ สรุปผลจากกราฟ คิดที่ระยะ 400 Hz สีน�้ำเงินมีช่วงในการดูดซับเสียงที่กว้างที่สุด ความก่อน แต่ช่วงแคบกว่า และในขณะเดียวกัน สีด า สีแดงและ สีเขียว ก็ถือว่าดูดซับเสียงเช่นกัน แต่เริ่มที่ความ ในขณะที่สีเหลืองเริ่มที่ความอ่อน แต่ช่วงแคบกว่า และในขณะเดียวกัน สีด�ำ สีแดงและ ความถี่หลังสีเหลืองกับสีน้สีเขียว ก็ถือว่าดูดซับเสียงเช่นกัน าเงิน จึงท าให้สีน้ าเงินมีค่าความสามารถในการดูดซับเสียง แต่เริ่มที่ความความถี่หลังสีเหลืองกับสีน�้ดีที่สุดำเงิน จึงท�ำให้ ผลการทดลองความสามารถในการดูดซับเสียงของเส้นใยจากเปลือกลูกตาลโตนดที่ความหนาสีน�้ำเงินมีค่าความสามารถในการดูดซับเสียงดีที่สุด 2 นิ้ว รูปแบบที่จะท าเป็นผนังมี ผลการทดลองความสามารถในการดูดซับเสียงของเส้นใยจากเปลือกลูกตาลโตนด 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 คือ การตัดเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดเพื่อให้เส้นใยมีความ ยาวของเส้นที่สม่ที่ความหนา าเสมอกันและเพื่อการยึดติดของตัวประสาน 2 นิ้ว รูปแบบที่จะท�ำเป็นผนังมี 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ รูปแบบที่ 2 1คือ คือ การน การตัดเส้นใย าเส้นใยที่ได้ไม่ผ่าน กระบวนการตัดใดๆจากเปลือกตาลโตนดเพื่อให้เส้นใยมีความยาวของเส้นที่สม�่ ใช้ความยาวของเส้นที่มี พบว่าแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกลูกตาลโตนดสามารถดูดซับเสียงได้ำเสมอกันและเพื่อการยึดติด ของตัวประสาน รูปแบบที่ 2 คือ การน�ำเส้นใยที่ได้ไม่ผ่านกระบวนการตัดใดๆ ใช้ความยาว อยู่ที่ 400 – 1,400 Hz รูปแบบที่ 1 ความสามารถในการดูดซับเสียงอยู่ที่ 400 – 1,200 Hz 2.6 – 7.8 dB และ ของเส้นที่มี พบว่า แผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกลูกตาลโตนดสามารถดูดซับเสียงได้อยู่ที่ การดูดซับเสียงเริ่มต่400 าลง– 1,400 ส่วนรูปแบบที่ Hz รูปแบบที่ 2 ความสามารถในการดูดซับเสียงอยู่ที่ 1 ความสามารถในการดูดซับเสียงอยู่ที่ 400 –400 1, 400– 1,200 Hz 2.6 Hz – 9 dB และ การดูดซับเสียงเริ่มต่2.6 – าลง7.8 dBเมื่อน และการดูดซับเสียงเริ่มต�่ ามาเปรียบเทียบกับวัสดุที่มีอยู่ในท้องตลาดำลง ส่วนรูปแบบที่ 2 ความสามารถในการดูดซับเสียง สามารถดูดซับเสียงได้ในระดับหนึ่ง อาจจะไม่ดีกว่าแต่ก็ไม่ได้อยู่ที่ 400ด้อย – 1,400กว่าวัสดุที่มีตามท้องตลาด Hz 2.6 – 9 dB และการดูดซับเสียงเริ่มต�่ ำลง เมื่อน�ำมาเปรียบเทียบกับ

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 6161 การศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

วัสดุที่มีอยู่ในท้องตลาด สามารถดูดซับเสียงได้ในระดับหนึ่ง อาจจะไม่ดีกว่าแต่ก็ไม่ได้ ด้อยกว่าวัสดุที่มีตามท้องตลาด

ภาพที่ 13 แสดงการน าชิ้นงานมาท าเป็นผนัง ภาพที่ 13 แสดงการน�ำ ชิ้นงานมาท�ำเป็นผนัง ได้ชิ้นงานต้นแบบที่สามารถน าไปใช้งานและ รูปแบบในงานจัดวางชิ้นงานไม่มีรูปแบบตายตัวขึ้นอยู่กับ ผู้ใช้งานในการจัดวาง ได้ชิ้นงานต้นแบบที่สามารถน� ำไปใช้งาน และรูปแบบในงานจัดวางชิ้นงานไม่มีรูปแบบ ตายตัวขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานในการจัดวางวิจารณ์ผลการทดลอง 1) ค่าการการดูดซับเสียงสะท้อน (SOUND REFLECTION) การทดลองแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนด พบว่าความหนาแน่นและ ความหนาของแผ่นผนังเส้นใย วิจารณ์ผลการทดลองจากเปลือกตาลโตนดมีผลต่อการดูดซับเสียงสะท้อน โดยมีการเพิ่มความหนาที่ความหนาแน่นเดียวกันน่าจะส่งผล ให้การดูดซับเสียงสะท้อนดีขึ้นด้วยเช่นกันและ1) ค่าการดูดซับเสียงสะท้อน หาก(SOUNDส่วนที่ความหนาแน่นต่างกันจะมีความสามารถในการดูดซับ REFLECTION) เสียงมากในฉนวนที่ควการทดลองแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดามหนาแน่นสูง เนื่องแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความหนาแน่นน้อยมีช่องว่าง พบว่า ความหนาแน่นและ ความหนาของแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดมีผลต่อการดูดซับเสียงสะท้อนอากาศมากกว่า ท าให้เสียงสะท้อนที่แผ่นผนังกลับมายังตัวรับเสียงได้มากกว่าแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่ โดยมี มีความหนาแน่นมากช่องว่างอากาศระหว่างเส้นใยอัดตัวกันแน่นกว่า ท าให้พลังงานเสียงถูกดูดซับไว้มากกว่า จึง การเพิ่มความหนาที่ความหนาแน่นเดียวกันน่าจะส่งผลให้การดูดซับเสียงสะท้อนดีขึ้นด้วยสะท้อนกลับมายังตัวรับมีค่าลดลง เช่นกันและหากส่วนที่ความหนาแน่นต่างกันจะมีความสามารถในการดูดซับเสียงมากผลจากการทดลองการดูดซับเสียงสะท้อน ที่มีความหนาแน่นเดียวกัน การเพิ่มความหนามีค่าการดูดซับ ในฉนวนที่ความหนาแน่นสูงเสียงสะท้อนได้ดีกว่ามากโดยที่มีความหนา เนื่องแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความหนาแน่นน้อย 2 นิ้ว มีช่องว่างอากาศมากกว่า2) ค่าการการดูดซับเสียงส่งผ่าน ท�ำให้เสียงสะท้อนที่แผ่นผนังกลับมายังตัวรับเสียงได้มากกว่าแผ่นผนัง (SOUND TRANSMISSION LOSS) การทดสอบแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนด พบว่าความหนาแน่นและความหนาของแผ่นผนังเส้นใย เส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความหนาแน่นมากช่องว่างอากาศระหว่างเส้นใยอัดตัวกันจากเปลือกตาลโตนด มีผลต่อการดูดซับเสียงส่งผ่าน โดยการเพิ่มขึ้นของความหนาที่ความหนาแน่นเดียวกันส่งผล แน่นกว่าให้การดูดซับเสียงส่งผ่านดีขึ้น ท�ำให้พลังงานเสียงถูกดูดซับไว้มากกว่า และหากส่วนที่ความหนาแน่นต่างกันจะมีความสามารถ จึงสะท้อนกลับมายังตัวรับมีค่าลดลงในการดูดซับเสียงส่งผ่านใน ฉนวนที่ความหนาแน่นสูงผลจากการทดลองการดูดซับเสียงสะท้อน เนื่องแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความหนาแน่นน้อยมีช่องว่างอากาศ ที่มีความหนาแน่นเดียวกัน การเพิ่ม ความหนามีค่าการดูดซับเสียงสะท้อนได้ดีกว่ามากโดยที่มีความหนามากกว่า ท าให้เสียงส่งผ่านที่แผ่นผนังกลับมายังตัวรับเสียงได้มากกว่าแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความ 2 นิ้ว หนาแน่นมากช่องว่างอากาศระหว่างเส้นใยอัดตัวกันแน่นกว่า ท าให้เสียงส่งผ่านกระทบกับเส้นใยจากเปลือก ตาลโตนดมากกว่า ท าให้พลังงานเสียงถูกดูดซับไว้มากกว่า จึงส่งผ่านกลับมายังตัวรับมีค่าลดลง ผลจากการทดลองการดูดซับเสียงส่งผ่าน ที่มีความหนาแน่นเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของความหนามีค่าการ ดูดซับเสียงส่งผ่าน (SOUND TRANSMISSION LOSS) ได้มากขึ้น แสดงว่าเสียงส่งผ่านได้น้อยลง

62 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

2) ค่าการดูดซับเสียงส่งผ่าน (SOUND TRANSMISSION LOSS) การทดสอบแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนด พบว่า ความหนาแน่นและความหนา ของแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนด มีผลต่อการดูดซับเสียงส่งผ่าน โดยการเพิ่มขึ้น ของความหนาที่ความหนาแน่นเดียวกันส่งผลให้การดูดซับเสียงส่งผ่านดีขึ้น และหากส่วนที่ ความหนาแน่นต่างกันจะมีความสามารถในการดูดซับเสียงส่งผ่านในฉนวนที่ความหนาแน่นสูง เนื่องแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความหนาแน่นน้อยมีช่องว่างอากาศมากกว่า ท�ำให้เสียงส่งผ่านที่แผ่นผนังกลับมายังตัวรับเสียงได้มากกว่าแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือก ตาลโตนดที่มีความหนาแน่นมาก ช่องว่างอากาศระหว่างเส้นใยอัดตัวกันแน่นกว่า ท�ำให้เสียง ส่งผ่านกระทบกับเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดมากกว่า ท�ำให้พลังงานเสียงถูกดูดซับไว้ มากกว่า จึงส่งผ่านกลับมายังตัวรับมีค่าลดลง ผลจากการทดลองการดูดซับเสียงส่งผ่าน ที่มีความหนาแน่นเดียวกัน การเพิ่มขึ้น ของความหนามีค่าการดูดซับเสียงส่งผ่าน (SOUND TRANSMISSION LOSS) ได้มากขึ้น แสดงว่าเสียงส่งผ่านได้น้อยลง

สรุปผลการทดลอง จากกราฟที่ได้จะเห็นว่าเส้นสีน�้ำเงินมีช่วงในการดูดซับเสียงที่กว้างที่สุด ในขณะที่ สีเหลืองเริ่มที่ความอ่อน แต่ช่วงแคบกว่า และในขณะเดียวกัน สีด�ำ สีแดงและ สีเขียว ก็ถือว่า ดูดซับเสียงเช่นกัน แต่เริ่มที่ความถี่หลังสีเหลืองกับสีน�้ำเงิน จึงท�ำให้สีน�้ำเงินมีค่า ความสามารถในการดูดซับเสียงดีที่สุด ซึ่งจะท�ำให้เห็นว่าเส้นสีน�้ำเงิน สีเขียว สีด�ำและสีแดง ที่มีความหนาและน�้ำหนักใกล้เคียงกันมีค่าความสามารถในการดูดซับเสียงที่ใกล้เคียงกัน เพราะอาจจะเกิดจากกระบวนการอัดขึ้นรูปที่มีผลต่อขนาดและน�้ำหนักที่เกิดขึ้น ส่วนเส้น สีเหลืองที่มีค่าความสามารถในการดูดซับเสียงได้น้อยที่สุดน่าจะมีผลมาจากกระบวนการ อัดขึ้นรูปเช่นกัน ผลจากการทดลองจะเห็นว่า แผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดสามารถดูดซับ เสียงได้ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 6363 การศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

ข้อเสนอแนะ 1) เมื่อได้เส้นใยลูกตาลมาแล้วควรเก็บไว้ที่แห้งสนิทหรือควรน�ำเส้นใยไปอบแห้ง ก่อนที่จะน�ำเส้นใยมาใช้เพื่อการขึ้นรูป เนื่องจากเส้นใยลูกตาลเป็นเส้นใยเซลลูโลสธรรมชาติ ชนิดหนึ่งที่มีปริมาณความชื้นและน�้ำอยู่จึงควรเก็บในที่แห้ง ถ้าเก็บไม่ดีอาจจะส่งผลต่อ การทดสอบด้านปริมาณความชื้นหรืออัตราการดูดซึมน�้ำ 2) การผลิตก่อนการกดอัดควรใช้แผ่นกระดาษอบขนมปังหรือแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกันการติดเมื่อดึงแผ่นออกจากบล็อกหรือเครื่องกดอัดแบบไม่ใช้ความร้อน 3) ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากฝีมือแรงงานอาจส่งผลต่อผลการทดสอบที่ได้ ดังนั้น จึงควรมีกรรมวิธีในการผลิตที่ได้มาตรฐานเพื่อให้สามารถควบคุมการกระจายตัวและ ความสม�่ำเสมอของเส้นใยตลอดจนการควบคุมแรงอัดที่ใช้อัดแผ่นให้คงที่และแน่นอนได้ มากขึ้น 4) เส้นใยที่ใช้ในการทดสอบการดูดซับเสียงไม่ควรตัดให้มีขนาดที่เท่ากันเพราะ จะท�ำให้ค่าความสามารถในการดูดซับเสียงน้อยลง 5) ควรน�ำไปอบให้แห้งสนิทเพราะความชื้นอาจจะมีผลต่อการทดลอง 6) ควรมีการน�ำไปทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง เพื่อได้เห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณการสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ให้การดูดซับเสียงส่งผ่านดีขึ้นให้การดูดซับเสียงส่งผ่านดีขึ้น และหากส่วนที่ความหนาแน่นต่างกันจะมีความสามารถ และหากส่วนที่ความหนาแน่นต่างกันจะมีความสามารถในการดูดซับเสียงส่งผ่านในในการดูดซับเสียงส่งผ่านใน ให้การดูดซับเสียงส่งผ่านดีขึ้น และหากส่วนที่ความหนาแน่นต่างกันจะมีความสามารถฉนวนที่ความหนาแน่นสูง ฉนวนที่ความหนาแน่นสูงเนื่องแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความหนาแน่นน้อยมีช่องว่างอากาศในการดูดซับเสียงส่งผ่านใน เนื่องแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความหนาแน่นน้อยมีช่องว่างอากาศ ฉนวนที่ความหนาแน่นสูง เนื่องแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความหนาแน่นน้อยมีช่องว่างอากาศมากกว่า ท าให้เสียงส่งผ่านที่แผ่นผนังกลับมายังตัวรับเสียงได้มากกว่าแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความมากกว่า ท าให้เสียงส่งผ่านที่แผ่นผนังกลับมายังตัวรับเสียงได้มากกว่าแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความ มากกว่า ท าให้เสียงส่งผ่านที่แผ่นผนังกลับมายังตัวรับเสียงได้มากกว่าแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่มีความหนาแน่นมากช่องว่างอากาศระหว่างเส้นใยอัดตัวกันแน่นกว่าหนาแน่นมากช่องว่างอากาศระหว่างเส้นใยอัดตัวกันแน่นกว่า ท าให้เสียงส่งผ่านกระทบกับเส้นใยจากเปลือก ท าให้เสียงส่งผ่านกระทบกับเส้นใยจากเปลือก หนาแน่นมากช่องว่างอากาศระหว่างเส้นใยอัดตัวกันแน่นกว่าตาลโตนดมากกว่า ท าให้ท าให้พลังงานเสียงถูกดูดซับไว้มากกว่าเสียงส่งผ่านกระทบกับเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดมากกว่า ท าให้พลังงานเสียงถูกดูดซับไว้มากกว่า จึงส่งผ่านกลับมายังตัวรับมีค่า จึงส่งผ่านกลับมายังตัวรับมีค่าลดลง ลดลง ตาลโตนดมากกว่า ท าให้พลังงานเสียงถูกดูดซับไว้มากกว่า ผลจากการทดลองการดูดซับเสียงส่งผ่านจึงส่งผ่านกลับมายังตัวรับมีค่าผลจากการทดลองการดูดซับเสียงส่งผ่านลดลง ที่มีความหนาแน่นเดียวกัน ที่มีความหนาแน่นเดียวกันการเพิ่มขึ้นของความหนามีค่าการ การเพิ่มขึ้นของความหนามีค่าการ ผลจากการทดลองการดูดซับเสียงส่งผ่านดูดซับเสียงส่งผ่าน ที่มีความหนาแน่นเดียวกัน (SOUNDดูดซับเสียงส่งผ่าน TRANSMISSION การเพิ่มขึ้นของความหนามีค่าการ (LOSSSOUND) ได้มากขึ้น TRANSMISSION แสดงว่าเสียงส่งผ่านได้น้อยลง LOSS) ได้มากขึ้น แสดงว่าเสียงส่งผ่านได้น้อยลง ดูดซับเสียงส่งผ่าน (SOUND TRANSMISSION LOSS ) ได้มากขึ้น แสดงว่าเสียงส่งผ่านได้น้อยลง สรุปผลการทดลอง สรุปผลการทดลอง สรุปผลการทดลอง จากกราฟที่ได้จะเห็นว่าเส้นสีน้จากกราฟที่ได้ าเงินมีช่วงในการดูดซับเสียงที่กว้างที่สุดจะเห็นว่าเส้นสีน้ าเงินมีช่วงในการดูดซับเสียงที่กว้างที่สุด ในขณะที่สีเหลืองเริ่มที่ความก่อน ในขณะที่สีเหลืองเริ่มที่ความก่อน จากกราฟที่ได้จะเห็นว่าเส้นสีน้ าเงินมีช่วงในการดูดซับเสียงที่กว้างที่สุดแต่ช่วงแคบกว่า และในขณะเดียวกันแต่ช่วงแคบกว่า ในขณะที่สีเหลืองเริ่มที่ความก่อน สีด า สีแดงและ และในขณะเดียวกัน สีเขียว ก็ถือว่าดูดซับเสียงเช่นกัน สีด า สีแดงและ สีเขียว แต่เริ่มที่ความความถี่หลังสีก็ถือว่าดูดซับเสียงเช่นกัน แต่เริ่มที่ความความถี่หลังสี แต่ช่วงแคบกว่า และในขณะเดียวกัน สีด า สีแดงและเหลืองกับสีน้ สีเขียว ก็ถือว่าดูดซับเสียงเช่นกัน าเงิน จึงท าให้สีน้เหลืองกับสีน้ าเงินมีค่าความสามารถในการดูดซับเสียงดี แต่เริ่มที่ความความถี่หลังสี าเงิน จึงท าให้สีน้ าเงินมีค่าความสามารถในการดูดซับเสียงดีที่สุด ซึ่งจะท าให้เห็นว่าเส้นสีน้ที่สุดาเงิน ซึ่งจะท สี าให้เห็นว่าเส้นสีน้ าเงิน สี เหลืองกับสีน้ าเงิน จึงท าให้สีน้ าเงินมีค่าความสามารถในการดูดซับเสียงดีเขียว สีด าและ สีแดงที่มีความหนาและน้ที่สุดเขียว ซึ่งจะท สีด าและ าให้เห็นว่าเส้นสีน้ าหนักใกล้เคียงกันมีค่าความสามารถในการดูดซับเสียงที่ใกล้เคียงกัน สีแดงที่มีความหนาและน้ าเงิน สี าหนักใกล้เคียงกันมีค่าความสามารถในการดูดซับเสียงที่ใกล้เคียงกัน เขียว สีด าและ สีแดงที่มีความหนาและน้ าหนักใกล้เคียงกันมีค่าความสามารถในการดูดซับเสียงที่ใกล้เคียงกันเพราะอาจจะเกิดจากกระบวนการอัดขึ้นรูปที่มีผลต่อขนาดและน้เพราะอาจจะเกิดจากกระบวนการอัดขึ้นรูปที่มีผลต่อขนาดและน้ าหนักที่เกิดขึ้น ส่วนเส้นสีเหลืองที่มีค่า าหนักที่เกิดขึ้น ส่วนเส้นสีเหลืองที่มีค่า เพราะอาจจะเกิดจากกระบวนการอัดขึ้นรูปที่มีผลต่อขนาดและน้ความสามารถในการดูดซั าหนักที่เกิดขึ้นบเสียงได้น้อยที่สุดน่าจะมีผลมาจากกระบวนการอัดขึ้นรูปเช่นกันความสามารถในการดูดซั ส่วนเส้นสีเหลืองที่มีค่าบเสียงได้น้อยที่สุดน่าจะมีผลมาจากกระบวนการอัดขึ้นรูปเช่นกัน ความสามารถในการดูดซับเสียงได้น้อยที่สุดน่าจะมีผลมาจากกระบวนการอัดขึ้นรูปเช่นกัน ผลจากการทดลองจะเห็นว่า ผลจากการทดลองจะเห็นว่า แผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดสามารถดูดซับเสียงได้ แผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดสามารถดูดซับเสียงได้ ผลจากการทดลองจะเห็นว่า แผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดสามารถดูดซับเสียงได้ ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ 1) เมื่อได้เส้นใยลูกตาลมาแล้วควรเก็บไว้ที่แห้งสนิทหรือควรน1) เมื่อได้เส้นใยลูกตาลมาแล้วควรเก็บไว้ที่แห้งสนิทหรือควรน าเส้นใยไปอบแห้งก่อนที่จะน าเส้นใยไปอบแห้งก่อนที่จะน าเส้นใยมาใช้ าเส้นใยมาใช้ 1) เมื่อได้เส้นใยลูกตาลมาแล้วควรเก็บไว้ที่แห้งสนิทหรือควรนเพื่อการขึ้นรูป เนื่องจากเส้นใยลูกตาลเป็นเส้นใยเซลลูโลสธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีปริมาณความชื้นและน้ าเส้นใยไปอบแห้งก่อนที่จะนเพื่อการขึ้นรูป เนื่องจากเส้นใยลูกตาลเป็นเส้นใยเซลลูโลสธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีปริมาณความชื้นและน้ าเส้นใยมาใช้ าอยู่จึงควร าอยู่จึงควร เพื่อการขึ้นรูป เนื่องจากเส้นใยลูกตาลเป็นเส้นใยเซลลูโลสธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีปริมาณความชื้นและน้เก็บในที่แห้ง ถ้าเก็บไม่ดีอาจจะส่งผลต่อการทดสอบด้านปริมาณความชื้นหรืออัตราการดูดซึมน้เก็บในที่แห้ง ถ้าเก็บไม่ดีอาจจะส่งผลต่อการทดสอบด้านปริมาณความชื้นหรืออัตราการดูดซึมน้ าอยู่จึงควร า า เก็บในที่แห้ง ถ้าเก็บไม่ดีอาจจะส่งผลต่อการทดสอบด้านปริมาณความชื้นหรืออัตราการดูดซึมน้2) การผลิตก่อนการกดอัดควรใช้แผ่นกระดาษอบขนมปังหรือแผ่นพลาสติกเพื่อป้องกันกา2) การผลิตก่อนการกดอัดควรใช้แผ่นกระดาษอบขนมปังหรือแผ่นพลาสติกเพื่อป้องกันกา า รติดเมื่อดึงแผ่น รติดเมื่อดึงแผ่น 2) การผลิตก่อนการกดอัดควรใช้แผ่นกระดาษอบขนมปังหรือแผ่นพลาสติกเพื่อป้องกันกาออกจากบล็อกหรือเครื่องกดอัดแบบไม่ใช้ความร้อนออกจากบล็อกหรือเครื่องกดอัดแบบไม่ใช้ความร้อนรติดเมื่อดึงแผ่น ออกจากบล็อกหรือเครื่องกดอัดแบบไม่ใช้ความร้อน 3) ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากฝีมือแรงงานอาจส่งผลต่อผลการทดสอบที่ได้ดังนั้นจึงควรมีกรรมวิธีใน3) ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากฝีมือแรงงานอาจส่งผลต่อผลการทดสอบที่ได้ดังนั้นจึงควรมีกรรมวิธีใน 3) ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากฝีมือแรงงานอาจส่งผลต่อผลการทดสอบที่ได้ดังนั้นจึงควรมีกรรมวิธีในการผลิตที่ได้มาตรฐานเพื่อให้สามารถควบคุมการกระจายตัวและความสม่การผลิตที่ได้มาตรฐานเพื่อให้สามารถควบคุมการกระจายตัวและความสม่ าเสมอของเส้นใยตลอดจนการควบคุม าเสมอของเส้นใยตลอดจนการควบคุม การผลิตที่ได้มาตรฐานเพื่อให้สามารถควบคุมการกระจายตัวและความสม่แรงอัดที่ใช้อัดแผ่นให้คงที่และแน่นอนได้มากขึ้น าเสมอของเส้นใยตลอดจนการควบคุมแรงอัดที่ใช้อัดแผ่นให้คงที่และแน่นอนได้มากขึ้น แรงอัดที่ใช้อัดแผ่นให้คงที่และแน่นอนได้มากขึ้น 4) เส้นใยที่ใช้ในการทดสอบกา4) เส้นใยที่ใช้ในการทดสอบการดูดซับเสียงไม่ควรตัดให้มีขนาดที่เท่ากันเพราะจะทรดูดซับเสียงไม่ควรตัดให้มีขนาดที่เท่ากันเพราะจะท าให้ค่าความสามารถ าให้ค่าความสามารถ 4) เส้นใยที่ใช้ในการทดสอบการดูดซับเสียงไม่ควรตัดให้มีขนาดที่เท่ากันเพราะจะทในการดูดซับเสียงน้อยลง ในการดูดซับเสียงน้อยลง าให้ค่าความสามารถ ในการดูดซับเสียงน้อยลง 5) ควรน าไปอบให้แห้งสนิทเพราะความชื้นอาจจะมีผลต่อการทดลอง5) ควรน าไปอบให้แห้งสนิทเพราะความชื้นอาจจะมีผลต่อการทดลอง 5) ควรน าไปอบให้แห้งสนิทเพราะความชื้นอาจจะมีผลต่อการทดลอง 6) ควรมีการน าไปทดสอบในส 6) ภาพแวดล้อมจริงควรมีการน าไปทดสอบในส เพื่อได้เห็นผลลัพธ์ภาพแวดล้อมจริงที่ดีขึ้น เพื่อได้เห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น 6) ควรมีการน าไปทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง เพื่อได้เห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น กิตติกรรมประกาศ กิตติกรรมประกาศ 64 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณWalailak Abodeการสนับสนุน of Culture Journalทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยขอขอบคุณ การสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ขอขอบคุณการสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

References References References Chantharaamporn,ReferencesChantharaamporn, YY.. (2009).(2009Chantharaamporn,). Phanang Phanang yai yai kluai kluaiY. [Banana(2009 [Banana). PhanangFiber Fiber Panels] yaiPanels (Master’skluai] ( Master[Banana ’s FiberThesis, Panels Kasetsart] (Master ’s Thesis, Kasetsart Chantharaamporn, Y. (2009). Phanang yai kluai [BananaUniversityThesis, Fiber Kasetsart). Panels University).] (MasterUniversity’s Thesis,). Kasetsart University). Hancharoen,Hancharoen, K K.. ((2013).2013). KanHancharoen, watwat kha kha sa saK .phap (phap2013 kan). kan Kan nam nam wat khwam khwamkha saro̜n phapro n̜ kho̜ng kho kanng̜ nam chanuan khwam kan ro khwamn̜ khong̜ chanuan kan khwam Hancharoen, K. (2013). Kan wat kha sa phap kan ronamchanuann̜ chak khwam senyai kan ro khwamn̜ sapparotkhong̜ roro̜n chanuann̜ chakduai chak senyaiwithikankan senyai khwam sapparot sapparotsop̜ klap duai duai thang withikanwithikan trong so[Measuringp̜ klap thang Thermal trong [Measuring Thermal ron̜ chak senyai sapparot duai withikan soso̜pp̜ klap klap thang thang trongtrong [Measuring[Measuring Thermal Thermal Conductivity of Thermal Insulation fromCellulose Fiber of Pineapple by The Direct Traceability ConductivityMethod].Conductivity (Master’ of of Thermal Thermal Thesis, Insulation Insulation Kasetsart fromCellulose fromCelluloseUniversity). Fiber Fiber of of Pineapple Pineapple by by The The Direct Direct Kudngaongarm,TraceabilityTraceability P. (2006). Method Method Kanphalit].] .( Master(Master ’phæn ’Thesis, Thesis, phanang Kasetsart Kasetsart phainai University University akhan).) . thi tham Kudngaongarm, Kudngaongarm,chak ton P P. .thup( 2006(2006 [Production).). Kanphalit Kanphalit ofphæn phæn Interior phanang phanang Partition phainai phainai from Typhaakhan akhan spthi thi ; tham Familytham chak chak ton ton thup thup [ProductionThphaceae].[Production of of(Master’s Interior Interior Partition Thesis,Partition Kasetsart from from Typha Typha University. sp sp ; ;Family Family Thphaceae Thphaceae].] .( Master(Master’s’ sThesis, Thesis, Nor, M.J.M.,KasetsartKasetsart Jamaludin, University University N. . &. Tamiri, F.M. (2004). A preliminary study of 70 Nor, Nor, M M.J..JMsound.M.,. ,Jamaludin, Jamaludin, absorption N N. .& & Tamiri, usingTamiri, multi-layerF F.M.M. .( 2004(2004). ). coconutA A preliminary preliminary coir study fiber.study of Malaysia:of 70 70 sound sound absorption absorption usingUniversityusing multi multi -Kebangsaanlayer-layer coconut coconut Malaysia. coir coir fiber fiber. .Malaysia Malaysia: :University University Kebangsaan Kebangsaan Malaysia Malaysia. . Phisudsiang,Phisudsiang,Phisudsiang, CC. C. .((2011). 2011(2011).). Prasitthiphap Prasitthiphap kan kan popongkan pongkan̜ ngkan̜ khwam khwam roron ron̜ n̜ khokhong khong̜ ng̜ chanuan chanuan bai bai yangphara yangphara [Energybai[Energy yangphara - -Efficient Efficient [Energy of of insulation insulation - Efficient produced produced of insulation from from rubber rubberproduced leaf leaf ]from.] .( Master(Master rubber Thesis Thesis , , Chulalongkornleaf].Chulalongkorn (Master Thesis, University University Chulalongkorn).) . University). Ratanakorn,Ratanakorn,Ratanakorn, S S.S. .( (2015).2015(2015).). Kanphalit KanphalitKanphalit phæn phænphæn chanuan chanuanchanuan kan kankan khwam khwam ro ronron̜ n̜ chak chak senyai senyai luktan luktan [ Thermal[Thermal InsulationluktanInsulation [Thermal Produced Produced Insulation from from Sugar Sugar ProducedPalm Palm Fiber Fiber ]from.] .( Master(Master Sugar’s’ sThesis, Thesis, Palm Kasetsart KasetsartFiber]. University University).) . Siripetch, Siripetch,(Master’s P P. .( 2007(2007). Thesis,). Phæn Phæn Kasetsartdutsap dutsap siang siangUniversity). chak chak sang sang khaophot khaophot [ Sound[Sound absorption absorption Material Material from from Siripetch,corncorn P. (2007). cob cob].] . ( MasterPhæn(Master dutsap’s’ sThesis, Thesis, siang Kasetsa Kasetsa chakrt rtsang University University khaophot).) . [Sound absorption Material from corn cob]. (Master’s Thesis, Kasetsart University). Suriyan,Suriyan, S S. .( 2007(2007).). Phæn Phæn chanuan chanuan kan kan siang siang chak chak yai yai maphrao maphrao [ Sound[Sound Insulation Insulation Material Material from from Suriyan, S. (2007). Phæn chanuan kan siang chak yai maphrao [Sound CoconutCoconut Fiber Fiber].] .( Master(Master’s’ sThesis, Thesis, Kasetsart Kasetsart University University).) . Sharp, BInsulation.H. (1978). MaterialPrediction from Methods Coconut for theFiber]. Sound (Master’s Transmission Thesis, of Kasetsart Building Elements. Noise Sharp, B.HUniversity).. (1978). Prediction Methods for the Sound Transmission of Building Elements. Noise ControlControl Engineering, Engineering, 11 11(2(2),) ,53 53-63-63. . Thanompong,Thanompong, T T. .( 2009(2009).). Senyai Senyai thang thang bai bai pam pam at at phæn phæn samrap samrap dut dut sap sap siang siang [ Palm[Palm Fiber Fiber AcousticAcoustic Board Board].] .( Master(Master’s’ sThesis, Thesis, Kasetsart Kasetsart University University).) .

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 6565 การศึกษาแผ่นผนังเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดที่สามารถดูดซับเสียงได้ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

Sharp, B.H. (1978). Prediction Methods for the Sound Transmission of Building Elements. Noise Control Engineering, 11(2), 53-63. Thanompong, T. (2009). Senyai thang bai pam at phæn samrap dut sap siang [Palm Fiber Acoustic Board]. (Master’s Thesis, Kasetsart University). 66 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 67 การศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคารด้วยใบยางพารา

การศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคารด้วยใบยางพารา1

พิษณุ อนุชาญ* และงามเพชร อัมพรวัฒนพงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา 9000 *อีเมล: [email protected]

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับใบยางพารา ส�ำหรับน�ำมา เป็นแนวทางในผลิตเป็นวัสดุตกแต่งอาคาร ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบเพื่อพัฒนารูปแบบ ให้รองรับการตกแต่งภายในอาคาร การแปรรูปใบยางพารา มี 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 หมักแช่ทิ้งไว้ 3 เดือน วิธีที่ 2 ต้มในน�้ำที่ผสมโซดาไฟ น�้ำ 5 ลิตร ต่อ โซดาไฟ 500 กรัม ใช้เวลาต้ม 3 ชั่วโมง ใช้อุณหภูมิในการต้มคงที่ 100 องศาเซลเซียส การทดลองวัสดุ แบ่งได้ 3 วิธี คือ วิธีที่ 1 ใช้น�้ำยางพารา วิธีที่ 2 ใช้กาวน�้ำผสมน�้ำ วิธีที่ 3 ใช้ยูนีเทน ผลการวิจัย พบว่า ประโยชน์จากใบยางพารา ส่วนใหญ่น�ำไปประดิษฐ์เป็นดอกไม้ ผีเสื้อ โคมไฟ กระดาษห่อสบู่ กระดาษจากเนื้อเยื่อใบยาง ส�ำหรับการน�ำมาเป็นแนวทางในการ ผลิตเป็นวัสดุตกแต่งอาคารนั้น ผู้วิจัยได้ออกแบบฉากบังตาด้วยใบยางพารา โดยเลือกใช้ กาวน�้ำผสมน�้ำเป็นตัวประสาน เนื่องจากใบยางมีการประสานได้ดี โปร่งแสง อากาศทะลุผ่าน ได้ดี มีความยึดหยุ่น มีพื้นผิวใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด

ค�ำส�ำคัญ: ใบยางพารา, วัสดุตกแต่งอาคาร

1 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่องการศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคารด้วยใบยางพารา ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่ให้การสนับสนุน 68 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

The Study Materials Designed Interior with Rubber Leaves

Phitsanu Anucharn* and Ngampetch Ampornvattanapong Faculty of Architecture, Rajamangala University of Technology Srivijaya Songkhla 9000, Thailand *e-mail: [email protected]

Abstract The purposes of this research were to collect data on the benefits of rubber leaves for a guide in the production of building materials; to use as a design to develop a model to support the interior of the building. The process of studying information, documents, textbooks and survey about raw materials. There are 2 ways to processed rubber leaves products : The first form; fermented soaked in 3 months. The second form; boiled in caustic soda with water, 5 liters of water per 500 g of caustic soda, boiled for 3 hours, temperature is fixed at 100° C. Materials testing can be divided into 3 ways : The first form; use rubber latex. The second form; use water-based adhesive. The third form; use polyurethane. The experiment found that the second method is suitable for further development. The research found that; It was found that most of them were used to fabricate flowers, butterflies, lamps, Soap wrapping paper from rubber leaf tissue. The collected data on the benefits of the leaves of rubber for a guide in the production of building materials. Design the scene from rubber leaves, use water-based adhesive as a binder lead to the air can be adequately สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 69 การศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคารด้วยใบยางพารา ventilated and flexible the surface is the closest to nature.

Keywords: Rubber leaves, Building decoration materials 70 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

บทน�ำ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากใบยางพารายังจ�ำกัดอยู่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่เน้นทางด้าน งานประณีตเสียส่วนใหญ่ เช่น ผีเสื้อจากใบยางพารา ดอกไม้จากใบยางพารา และอื่นๆ ไม้ยางพารา ซึ่งใช้ประโยชน์ในการตกแต่งบ้านเรือน โต๊ะท�ำงาน สถานที่ต่างๆ แต่ถ้าหาก น�ำใบยางเหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งอาคาร ซึ่งจะท�ำให้อาคารนั้นดูโดดเด่น ด้วยเอกลักษณ์ทางด้านเกษตรกร บนสถาปัตยกรรมการออกแบบอาคาร ผู้วิจัยจึงเห็นว่าใบยางพาราสามารถน�ำมาพัฒนารูปแบบที่ต่างจากเดิม จึงมีแนวคิด ที่จะน�ำใบยางพารามาพัฒนาเป็นต้นแบบ โดยการศึกษาออกแบบวัสดุต้นแบบส�ำหรับตกแต่ง ภายในอาคารด้วยใบยางพารา เพื่อที่จะน�ำมาพัฒนาโดยศึกษาในรายละเอียดรูปแบบ การออกแบบ ความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย ขั้นตอนการผลิต การแปรรูป การทดลองขึ้นรูป และน�ำมาพัฒนาสร้างสรรค์ให้เกิดความแปลกใหม่ สามารถน�ำไปประยุกต์ได้ จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า Saelee and Sikkha (2012) ได้มี การน�ำหญ้าคา ธูปฤาษีและกระถินยักษ์ ที่มีความเหนียวในตัวน�ำไปผลิตเป็นของตกแต่งบ้าน ด้วยวิธีการถักทอ การอัดเป็นแผ่น ปั้นและการหล่อขึ้นรูป การพัฒนาแผ่นฝ้าและฉนวน กันความร้อน ตัวประสานที่เหมาะสมคือ กาวลาเท็กซ์ น�้ำยางพารา ยูนีเทน เป็นตัวประสาน ใช้การอัดเป็นแผ่น และการหล่อขึ้นรูปเป็นแผ่นฝ้าและฉนวนกันความร้อนจากเส้นใยพืช Suybangdum and et al. (2007). พัฒนากระดาษจากใบสับปะรดเพื่อใช้ การบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับสินค้า Sangrutsamee (2012). การพัฒนาวัสดุผสมเยื่อกระดาษเหลือใช้ส�ำหรับ ผลิตเฟอร์นิเจอร์และวัสดุตกแต่งอาคาร Thongmit and et al. (1997). การผลิตเยื่อกระดาษจากเนื้อเยื่อใบยาง โดยใช้ เนื้อเยื่อของใบยางที่ได้จากการต้มใบยางสดน�ำมาปั่นรวมกับน�้ำ จากนั้นน�ำไปฟอกสีด้วย น�้ำยาไฮเตอร์ โดยมีอัตราส่วนระหว่างไฮเตอร์ต่อน�้ำ 1 : 5 จะเป็นวิธีการที่ใช้เวลา 30 นาที และเมื่อน�ำมาผสมผสมสารจับ 2 ชนิด คือ กาวลาเท็กซ์และน�้ำยางสดเจือจางด้วยน�้ำ 4 อัตรา คือ 1 : 20, 1 : 30, 1 : 40 และ 1 : 50 จากการศึกษา พบว่า ยังไม่มีงานวิจัยที่มีการน�ำใบยางพารา จึงเห็นว่าควรน�ำ ใบยางพารามาพัฒนาเป็นวัสดุส�ำหรับการตกแต่งภายในอาคาร Thongmit and et al. (1997). การผลิตเยื่อกระดาษจากเนื้อเยื่อใบยาง โดยใช้เนื้อเยื่อของใบยาง ที่ได้จากการต้มใบยางสดน ามาปั่นร่วมกับน้ า จากนั้นน าไปฟอกสีด้วยน้ ายาไฮเตอร์ โดยมีอัตราส่วน ระหว่างไฮเตอร์ต่อน้ า 1:5 จะเป็นวิธีการที่ใช้เวลา 30 นาที และเมื่อน ามาผสมผสมสารจับ 2 ชนิด คือ กาว ลาเท็กซ์และน้ ายางสดเจือจางด้วยน้ า 4 อัตรา คือ 1:20, 1:30, 1:40 และ 1:50 จากการศึกษาพบว่ายังไม่มีงานวิจัยที่มีการน าใบยางพารา จึงเห็นว่าควรน าใบยางพารามาพัฒนา เป็นวัสดุส าหรับการตกแต่งภายในอาคาร

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 71 การศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคารด้วยใบยางพารา

กรอบแนวความคิดและกระบวนการสร้างสรรค์/วิธีด� ำเนินงานวิจัย ในการศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคาร ด้วยใบยางพารามีขั้นตอนการท�ำ วิจัยคือกรอบแนวความคิดและกระบวนการสร้างสรรค์/วิธีด 1) การเตรียมวัสดุเพื่อการผลิต (ใบยางพารา, าเนินงานวิจัย วัสดุประสาน) 2) การทดลองวัสดุ ใบยางพารา ในการศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคาร (การแปรรูปวัสดุ, การขึ้นรูปวัสดุ 3) ผลิตต้นแบบเพื่อเป็นแนวทางในผลิตเป็น ด้วยใบยางพารามีขั้นตอนการท าวิจัยคือ 1) การ วัสดุตกแต่งอาคารเตรียมวัสดุเพื่อการผลิต (ใบยางพารา,วัสดุประสาน) 2) การทดลองวัสดุใบยางพารา (การแปรรูปวัสดุ, การ ขึ้นรูปวัสดุ 3) ผลิตต้นแบบเพื่อเป็นแนวทางในผลิตเป็นวัสดุตกแต่งอาคาร เตรียมวัสดุเพื่อการผลิต (ใบยางพารา, วัสดุประสาน) ประสาน)

การทดลองวัสดุใบยางพารา (การแปรรูปวัสดุ, การขึ้นรูปวัสดุ)

ผลิตต้นแบบเพื่อเป็นแนวทางในการผลิตเป็นวัสดุตกแต่งอาคาร)

สรุปผลการทดลอง)

ภาพที่ภาพที่ 1 ขั้นตอนการวิจัย1 ขั้นตอนการวิจัย

1. ขั้นตอนและวิธีการทดลอง 1.1 การส�ำรวจข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ 1) วิธีการเก็บวัตถุดิบ ควรเลือกใบยางพาราที่กิ่งมีความสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีร่องรอย ฉีกขาด รอยไหม้หรือ มีจุดด่าง 2) การเตรียมวัตถุดิบ ท�ำการแยกก้านและใบออกจากกันแล้ว จากนั้นน�ำใบยางพารา ที่เลือกแล้วไปล้างด้วยน�้ำให้สะอาด โดยล้างทีละใบและเช็ดคราบสกปรก หรือคราบน�้ำยางพารา ออกให้หมด

1. ขั้นตอนและวิธีการทดลอง 1.1 การส ารวจข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ 72 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์1) วิธีการเก็บวัตถุดิบ ควรเลือกใบยางพาราที่กิ่งมีความสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีร่องรอยฉีกขาด รอยไหม้หรือWalailak มีจุดด่าง Abode of Culture Journal 2) การเตรียมวัตถุดิบ ท าการแยกก้านและใบออกจากกันแล้ว จากนั้นน าใบยางพาราที่เลือก แล้วไปล้างด้วยน้ าให้สะอาด โดยล้างทีละใบและเช็ดคราบสกปรก หรือคราบน้ ายางพาราออกให้หมด 1.2 การทดลองวัสดุใบยางพารา 1)1. 2การแปรรูปวัสดุ การทดลองวัสดุใบยางพารา มีการทดลองแปรรูปด้วยกัน 2 วิธีคือ วิธีที่ 1 น�ำใบยางพาราแช่น�้ำ ในถังปิดฝา 1) ประมาณการแปรรูป วัสดุ90 มีวันการทดลองแปรรูป และวิธีที่ 2 ด้วยกันน�ำใบยางพาราที่ได้คัดเลือกไว้ไปต้มในน�้ 2 วิธีคือ วิธีที่ 1 น าใบยางพาราแช่น้ าในถังปิดำ ที่ผสมโซดาไฟฝา ประมาณ 90 วันในอัตราส่วนผสม และวิธีที่ 2 น าใบยางพาราที่ได้คัดเลือกไว้ไปต้มในน้ น�้ำ 5 ลิตร ต่อโซดาไฟ 500 ากรัมที่ผสมโซดาไฟ ใช้เวลาต้ม ในอัตราส่วนผสม 3 ชั่วโมง ใช้อุณหภูมิในการต้มคงที่น้ า 5 ลิตร ต่อ โซดาไฟ 500 100กรัม องศาเซลเซียส ใช้เวลาต้ม 3 ชั่ วโมงจากนั้นจึงน� ใช้อุณหภูมิในการต้มำใบยางพาราขึ้นท�คงที่ 100ำความสะอาด องศาเซลเซียส ใช้แปรงสีฟันขูดเนื้อเยื่อที่ติดอยู่ออกให้หมดให้เหลือแต่เส้นใยหรือโครงใบยางพาราจากนั้นจึงน าใบยางพาราขึ้นท าความสะอาด ใช้แปรงสีฟันขูดเนื้อเยื่อที่ติดอยู่ออกให้หมดให้เหลือแต่เส้นใย จากนั้น หรือโครงใบยางพารา จากนั้นล้างน้ าให้สะอาด ล้างน�้ำให้สะอาด

ภาพที่ภาพที่ 2 ขั้นตอนการแปรรูป2 ขั้นตอนการแปรรูป (การเตรียมใบยางพารา)(การเตรียมใบยางพารา)

2) การขึ้นรูปวัสดุ 2) การขึ้นรูปวัสดุ มีการทดลองขึ้นรูปด้วยกัน มีการทดลองขึ้นรูปด้วยกัน 3 วิธีวิธี วิธีที่ 1 โดยวิธีการประสานด้วยน�้วิธีที่ 1 โดยวิธีการประสานด้วยน้ำยางพารา ายางพารา ขั้นตอนที่ขั้นตอนที่ 1 ฉีดน�้ 1 ฉีดน้ำยางลงบนแผ่นรองพลาสติก ายางลงบนแผ่นรองพลาสติก จากนั้นน�จากนั้นน าใบยางพาราที่ผ่านำใบยางพารา ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปก่อนหน้านี้กระบวนการแปรรูปก่อนหน้านี้ น ามาวางเรียงเป็นแผ่นขนาด น�ำมาวางเรียงเป็นแผ่นขนาด 25 ซม. X 25 ซม. โดยให้มีขนาดใบที่คละกัน 25 ซม. X 25 ซม. โดยให้มีขนาดใบที่คละกันขั้นตอนที่ 2 พ่นน้ ายางพาราห่างประมาณ 1 ฟุต และไม่ควรพ่นน้ ายางพาราซ้ า มากจนเกินไป เพราะน้ ขั้นตอนที่ ายางพาราอาจจะจับตัวเป็นก้อน 2 พ่นน�้ำยางพาราห่างประมาณ จากนั้นให้วางใบยางพาราซ้อนทับลงไปอีกชั้น 1 ฟุต และไม่ควรพ่นน�้ำยางพารา ให้ ซ�้พ่นน้ำมากจนเกินไป ายางพารา ให้ท เพราะน�้ าขั้นตอนนี้รวมำยางพาราอาจจะจับตัวเป็นก้อน 3 ครั้ง จากนั้นให้วางใบยางพาราซ้อนทับ ลงไปอีกชั้น ให้พ่นน�้ำยางพาราขั้นตอนที่ ให้ท�3 เมื่อครบตามที่กำขั้นตอนนี้รวม าหนด 3 ครั้งให้น าแผ่นใบยางพาราที่ได้ ไปตากแดดจนแห้ง สนิท สังเกตได้จากใบยางพาราจะมีลักษณะใสขึ้น ขั้นตอนที่ 3 เมื่อครบตามที่ก� ำหนด ให้น�ำแผ่นใบยางพาราที่ได้ ไปตากแดด จนแห้งสนิท สังเกตได้จากใบยางพาราจะมีลักษณะใสขึ้น

1. ขั้นตอนและวิธีการทดลอง 1.1 การส ารวจข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ 1) วิธีการเก็บวัตถุดิบ ควรเลือกใบยางพาราที่กิ่งมีความสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีร่องรอยฉีกขาด รอยไหม้หรือ มีจุดด่าง 2) การเตรียมวัตถุดิบ ท าการแยกก้านและใบออกจากกันแล้ว จากนั้นน าใบยางพาราที่เลือก แล้วไปล้างด้วยน้ าให้สะอาด โดยล้างทีละใบและเช็ดคราบสกปรก หรือคราบน้ ายางพาราออกให้หมด 1.2 การทดลองวัสดุใบยางพารา 1) การแปรรูปวัสดุ มีการทดลองแปรรูปด้วยกัน 2 วิธีคือ วิธีที่ 1 น าใบยางพาราแช่น้ าในถังปิด ฝา ประมาณ 90 วัน และวิธีที่ 2 น าใบยางพาราที่ได้คัดเลือกไว้ไปต้มในน้ าที่ผสมโซดาไฟ ในอัตราส่วนผสม น้ า 5 ลิตร ต่อ โซดาไฟ 500 กรัม ใช้เวลาต้ม 3 ชั่วโมง ใช้อุณหภูมิในการต้มคงที่ 100 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงน าใบยางพาราขึ้นท าความสะอาด ใช้แปรงสีฟันขูดเนื้อเยื่อที่ติดอยู่ออกให้หมดให้เหลือแต่เส้นใยสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 73 การศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคารด้วยใบยางพารา หรือโครงใบยางพารา จากนั้นล้างน้ าให้สะอาด

ภาพที่ภาพที่ 3 การขึ้นรูปวัสดุโดยวิธีการประสานด้วยน�้32 การขึ้นรูปวัสดุโดยวิธีการประสานด้วยน้ ขั้นตอนการแปรรูป (การเตรียมใบยางพารา ายางพาราำยางพารา )

วิธีที่ 2 โดยวิธีการประสานด้วยกาวน�้วิธีที่ 2 โดยวิธีการประสานด้วยกาวน้ำ า 2) การขึ้นรูปวัสดุ มีการทดลองขึ้นรูปด้วยกัน 3 วิธี ขั้นตอนที่ขั้นตอนที่ 1 น�1ำ ใบยางพาราที่ผ่านกระบวนการแปรรูปก่อนหน้านี้น าใบยางพาราที่ผ่านกระบวนการแปรรูปก่อนหน้านี้ แช่น้ แช่น�้ าให้ชุ่มำ วิธีที่ 1 โดยวิธีการประสานด้วยน้ ายางพารา นให้ชุ่มน� ามาวางเรียงเป็นแผ่นขนาดำมาวางเรียงเป็นแผ่นขนาด 25 ซม. X 2525 ซม. ซม. โดยให้มีขนาดใบที่คละกัน X 25 ซม. โดยให้มีขนาดใบที่คละกัน ขั้นตอนที่ขั้นตอนที่ขั้นตอนที่ 2 12จากนั้นให้พ่นกาว จากนั้นให้พ่นกาวฉีดน้ ายางลงบนแผ่นรองพลาสติก ที่ผสมด้วย กาวน้ กาวน�้ า 1ำ ส่วน1 จากนั้นนส่วน ต่อ น้ต่อ า 5าใบยางพาราที่ผ่านน�้ ส่วนำ 5 โดยพ่นส่วน กระบวนการแปรรูปก่อนหน้านี้ให้ห่างประมาณโดยพ่นให้ห่างประมาณ 1 ฟุต พ่นจนทั่วแผ่น 1 น ฟุต ามาวางเรียงเป็นแผ่นขนาด พ่นจนทั่วแผ่น จากนั้นให้วางใบยางพาราซ้อนทับลงไปอีกชั้น จากนั้นให้วางใบยางพาราซ้อนทับลงไปอีกชั้น 25 ซม. X 25 ซม. โดยให้มีขนาดใบที่คละกัน ให้ท าขั้นตอนนี้รวม 3 ครั้งให้ท� ำขั้นตอนนี้รวม ขั้นตอนที่3 ครั้ง 2 พ่นน้ ายางพาราห่างประมาณ 1 ฟุต และไม่ควรพ่นน้ ายางพาราซ้ า มากจนเกินไป เพราะน้ ายางพาราอาจจะจับตัวเป็นก้อนขั้นตอนที่ขั้นตอนที่ 3 เมื่อครบตามที่ก� 3 เมื่อครบตามที่กำ าหนดหนด จากนั้นให้วางใบยางพาราซ้อนทับลงไปอีกชั้น ให้นให้น� าแผ่นใบยางพาำแผ่นใบยางพาราที่ได้ราที่ได้ ไปตากแดดจนแห้ง ไปตากแดด ให้ จนแห้งสนิท พ่นน้ ายางพาราสนิท ให้ท าขั้นตอนนี้รวม 3 ครั้ง ขั้นตอนที่ 3 เมื่อครบตามที่ก าหนด ให้น าแผ่นใบยางพาราที่ได้ ไปตากแดดจนแห้ง สนิท สังเกตได้จากใบยางพาราจะมีลักษณะใสขึ้น

ภาพที่4 การขึ้นรูปวัสดุโดยวิธีการประสานด้วยกาวน้ า ภาพที่ 4 การขึ้นรูปวัสดุโดยวิธีการประสานด้วยกาวน�้ำ วิธีที่ 3 โดยวิธีการประสานด้วยยูนีเทน วิธีที่ 3 โดยวิธีการประสานด้วยยูนีเทน ขั้นตอนที่ 1 น าใบยางพาราที่ผ่านกระบวนการแปรรูปก่อนหน้านี้ น ามาวางเรียง ขั้นตอนที่ 1 น�ำใบยางพาราที่ผ่านกระบวนการแปรรูปก่อนหน้านี้ น�ำมา เป็นแผ่นขนาด 25 ซม. X 25 ซม. โดยให้มีขนาดใบที่คละกัน วางเรียงเป็นแผ่นขนาด 25 ซม. X 25 ซม. โดยให้มีขนาดใบที่คละกัน ขั้นตอนที่ 2 ใช้ยูนีเทนทาให้ทั่วแผ่น จากนั้นให้วางใบยางพาราซ้อนทับลงไปอีก ขั้นตอนที่ 2 ใช้ยูนีเทนทาให้ทั่วแผ่น จากนั้นให้วางใบยางพาราซ้อนทับ ชั้น ให้ท าขั้นตอนนี้รวม 3 ครั้ง เมื่อครบตามที่ก าหนด ลงไปอีกชั้น ให้ท�ำขั้นตอนนี้รวม 3 ครั้ง เมื่อครบตามที่ก�ำหนด ขั้นตอนที่ขั้นตอนที่ 3 เมื่อครบตามที่ก� 3 เมื่อครบตามที่กำหนด าหนด ให้น� ให้นำแผ่นใบยางพาราที่ได้ าแผ่นใบยางพาราที่ได้ ไปตากแดดจนไปตากแดด แห้งสนิทจนแห้งสนิท

ภาพที่5 การขึ้นรูปวัสดุโดยวิธีการประสานด้วยยูนีเทน

ภาพที่3 การขึ้นรูปวัสดุโดยวิธีการประสานด้วยน้ ายางพารา

วิธีที่ 2 โดยวิธีการประสานด้วยกาวน้ า ขั้นตอนที่ 1 น าใบยางพาราที่ผ่านกระบวนการแปรรูปก่อนหน้านี้ แช่น้ าให้ชุ่ม น ามาวางเรียงเป็นแผ่นขนาด 25 ซม. X 25 ซม. โดยให้มีขนาดใบที่คละกัน ขั้นตอนที่2 จากนั้นให้พ่นกาว ที่ผสมด้วย กาวน้ า 1 ส่วน ต่อ น้ า 5 ส่วน โดยพ่น ให้ห่างประมาณ 1 ฟุต พ่นจนทั่วแผ่น จากนั้นให้วางใบยางพาราซ้อนทับลงไปอีกชั้น ให้ท าขั้นตอนนี้รวม 3 ครั้ง ขั้นตอนที่ 3 เมื่อครบตามที่ก าหนด ให้น าแผ่นใบยางพาราที่ได้ ไปตากแดดจนแห้ง สนิท

ภาพที่4 การขึ้นรูปวัสดุโดยวิธีการประสานด้วยกาวน้ า

วิธีที่ 3 โดยวิธีการประสานด้วยยูนีเทน ขั้นตอนที่ 1 น าใบยางพาราที่ผ่านกระบวนการแปรรูปก่อนหน้านี้ น ามาวางเรียง เป็นแผ่นขนาด 25 ซม. X 25 ซม. โดยให้มีขนาดใบที่คละกัน ขั้นตอนที่ 2 ใช้ยูนีเทนทาให้ทั่วแผ่น จากนั้นให้วางใบยางพาราซ้อนทับลงไปอีก ชั้น ให้ท าขั้นตอนนี้รวม 3 ครั้ง เมื่อครบตามที่ก าหนด 74 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abodeขั้นตอนที่ of Culture 3 Journalเมื่อครบตามที่ก าหนด ให้น าแผ่นใบยางพาราที่ได้ ไปตากแดดจน แห้งสนิท

ภาพที่ภาพที่ 5 การขึ้นรูปวัสดุโดยวิธีการประสานด้วยยูนีเทน5 การขึ้นรูปวัสดุโดยวิธีการประสานด้วยยูนีเทน

2. ขั้นตอนการออกแบบ 2.1 แนวคิดในการออกแบบ (Conceptual Design) ได้ท�ำการศึกษาแนวคิดเพื่อน�ำไป ออกแบบชิ้นงานโดยได้สรุปแนวทางการออกแบบ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ควรแสดงคุณค่าของธรรมชาติ ที่มีความเป็น เอกลักษณ์ กรรมวิธีที่ผลิต ใช้สอยได้จริงตามสภาพท้องถิ่น มีความคิดสร้างสรรค์ ความสวยงามและน่าสนใจ 2) พื้นฐานทางด้านศิลปะ ความงามด้านสุนทรียศาสตร์ รูปร่าง รูปทรง ต้องสร้าง ความแตกต่าง มีแนวคิดในการออกแบบได้อย่างชัดเจน สีสันและลวดลาย 3) คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ต้องมีความแปลกใหม่ในเรื่องวัสดุ รูปแบบ การน�ำเสนอ มีประโยชน์ใช้สอยแตกต่างไปจากเดิม มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน อากาศถ่ายเทได้ มีความโปร่งแสง สามารถมองผ่านทะลุได้บ้าง พับงอได้ 2.2 การออกแบบชิ้นงาน (Prototype) จากการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยจึงได้สรุปรูปแบบของวัสดุที่ใช้ในการออกแบบ เพื่อน�ำมา ทดลองขึ้นรูปชิ้นงาน (Prototype) ซึ่งผู้วิจัยเลือก ท�ำฉากบังตา มาทดลองในการ ท�ำเป็นต้นแบบชิ้นงาน เนื่องจากท�ำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ขั้นตอนไม่ซับซ้อน และสามารถน�ำไป ปรับใช้ในรูปแบบต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม

2. ขั้นตอนการออกแบบ 2.1 แนวคิดในการออกแบบ (Conceptual Design) ได้ท าการศึกษาแนวคิดเพื่อน าไปออกแบบชิ้นงาน โดยได้สรุปแนวทางการออกแบบ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตกรรม ควรแสดงคุณค่าของธรรมชาติ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ กรรมวิธีที่ผลิต ใช้สอยได้จริงตามสภาพท้องถิ่น มีความคิดสร้างสรรค์ ความสวยงามและน่าสนใจ 2) พื้นฐานทางด้านศิลปะ ความงามด้านสุนทรียศาสตร์ รูปร่าง รูปทรง ต้องสร้างความแตกต่าง มีแนวคิดในการออกแบบได้อย่างชัดเจน สีสันและลวดลาย 3) คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ต้องมีความแปลกใหม่ในเรื่องวัสดุ รูปแบบ การน าเสนอ มีประโยชน์ ใช้สอยแตกต่างไปจากเดิม มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน อากาศถ่ายเทได้ มีความโปร่งแสง สามารถมองผ่าน ผ่านทะลุได้บ้าง พับงอได้

2.2 การออกแบบชิ้นงาน (Prototype) จากการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยจึงได้สรุปรูปแบบของวัสดุที่ใช้ในการออกแบบ เพื่อน ามาทดลอง สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 75 ขึ้นรูปชิ้นงาน (Prototype) ซึ่งผู้วิจัยใจเลือกการศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคารด้วยใบยางพารา ท าฉากบังตา มาทดลองในการท าเป็นต้นแบบชิ้นงาน เนื่องจากท าได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ขั้นตอนไม่ซับซ้อน และสามารถน าไปปรับใช้ในรูปแบบต่างๆ ได้ตามความ เหมาะสม

ภาพที่6 แสดงแนวความคิดในการออกแบบ แสดงแนวความคิดในการออกแบบ ภาพที่ 6

ภาพที่ภาพที่ 77 แสดง แสดงการออกแบบชิ้นงานการออกแบบชิ้นงาน

3. ขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นงาน3. ขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นงาน น าไม้กระดานอัดน�ำไม้กระดานอัด หนา 5 มม.หนา เข้าเครื่องตัดโดยให้มีขนาดความกว้าง 5 มม. เข้าเครื่องตัดโดยให้มีขนาดความกว้าง 2.5 ซม. ยาว 2.5 150 ซม. ซม. จ านวนยาว 4 ชิ้น150 ขนาด ซม. จ�27.5ำนวน ซม. 4 ชิ้นจ านวน ขนาด 6 27.5ชิ้น และ ซม. ขนาดความกว้าง จ�ำนวน 6 ชิ้น และ2 ซม. ขนาดความกว้าง จ านวน 4 ชิ้น 2น าแผ่นใบซม. ยางพาราจ�ำนวน ตัดให้มีขนาดความกว้าง 4 ชิ้น น�ำแผ่นใบยางพารา 30 x 30 ตัดให้มีขนาดความกว้างซม. จ านวน 1 แผ่น ขนาดความกว้าง 30 x 30 ซม. 30 จ�xำ 40นวน ซม. 1 จแผ่น านวน 3 แผ่น นขนาดความกว้าง าแผ่นใบยางพารา 30 มาเรียงในกรอบไม้กระดาษอัด x 40 ซม. จ�ำนวน 3 แผ่น น�ทากาวลาเท็กซ์ำแผ่นใบยางพารา ยิงลงในแผ่นไม้กระดานอัดที่ มาเรียงในกรอบไม้ เตรียมไว้โดยยิงทุกระยะกระดาษอัด ทากาวลาเท็กซ์ 20 ซม. ระหว่างยิงควรดึงแผ่นใบยางพาราให้ดึงไว้ตลอดเวลา ยิงลงในแผ่นไม้กระดานอัดที่เตรียมไว้โดยยิงทุกระยะ เมื่อท าการประกอบ 20 ซม. 4 ด้านเสร็จสิ้นแล้วระหว่างยิงควรดึงแผ่นใบยางพาราให้ดึงไว้ตลอดเวลา เมื่อท�ำการประกอบ 4 ด้าน เสร็จสิ้นแล้ว

ภาพที่8 แสดงการขึ้นรูปชิ้นงาน

การอภิปรายผล

ภาพที่7 แสดงการออกแบบชิ้นงาน

3. ขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นงาน น าไม้กระดานอัด หนา 5 มม. เข้าเครื่องตัดโดยให้มีขนาดความกว้าง 2.5 ซม. ยาว 150 ซม. จ านวน 4 ชิ้น ขนาด 27.5 ซม. จ านวน 6 ชิ้น และ ขนาดความกว้าง 2 ซม. จ านวน 4 ชิ้น น าแผ่นใบ ยางพารา ตัดให้มีขนาดความกว้าง 30 x 30 ซม. จ านวน 1 แผ่น ขนาดความกว้าง 30 x 40 ซม. จ านวน 3 แผ่น น าแผ่นใบยางพารา มาเรียงในกรอบไม้กระดาษอัด ทากาวลาเท็กซ์ ยิงลงในแผ่นไม้กระดานอัดที่ เตรียมไว้โดยยิงทุกระยะ 20 ซม. ระหว่างยิงควรดึงแผ่นใบยางพาราให้ดึงไว้ตลอดเวลา เมื่อท าการประกอบ 4 ด้านเสร็จสิ้นแล้ว

76 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ภาพที่8 แสดงการขึ้นรูปชิ้นงาน ภาพที่ 8 แสดงการขึ้นรูปชิ้นงาน

การอภิปรายผลการอภิปรายผล จากผลการศึกษา พบว่า โครงการวิจัย “การศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคาร ด้วยใบยางพารา” นั้นมีความแปลกใหม่ในด้านการน� ำเสนอในเชิงที่ต่างจากโครงการวิจัยอื่นๆ โดยหลักการพื้นฐานหรือกรรมวิธีการผลิตจะใกล้เคียงกัน ดังหัวข้อดังต่อไปนี้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์จากใบยางพารา ส�ำหรับน�ำมาเป็นแนวทางในผลิตเป็นวัสดุตกแต่งภายในอาคาร โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ในแต่ละประเด็นดังนี้ 1) รูปแบบการออกแบบ จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในด้านการออกแบบ พบว่า การออกแบบ ควรออกแบบให้มีความเข้าใจได้ง่าย สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา รูปทรงเด่นชัด เรียบง่ายตามมาตราส่วน โดยเน้นให้สื่อถึงรูปทรงที่จริงของวัสดุที่ได้น�ำมาใช้ และตอบรับ กับพฤติกรรมการใช้งาน ดังชิ้นงานฉากบังตาที่มีแนวความคิดที่จะใช้รูปแบบและรูปทรง ดังเดิมของวัสดุที่ไม่ปรุงแต่งของเดิมมากนัก รวมทั้งตอนการใช้วัสดุที่หาได้ตามท้องถิ่น มีรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถดัดแปลง หรือออกแบบตามความคิดสร้างสรรค์ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 77 การศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคารด้วยใบยางพารา

ของแต่ละบุคคลได้ 2) ความสวยงาม จากการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลในด้านความสวยงาม งานวิจัยชิ้นนี้เน้นให้มี ความสวยงามด้านเนื้อแท้ของวัสดุ โดยไม่ท�ำลายสีสันดั้งเดิม ไม่ใช้การฟอกสีหรือผสมสี เหมือนกับงานวิจัยชิ้นอื่น หรือผลงานที่พบเห็นทั่วไปตามท้องตลาด เนื่องจากผู้วิจัยคิดว่า ความสวยงามควรมาจากตัววัสดุเอง โดยเพิ่มเติมเรื่องการออกแบบด้านสุนทรียศาสตร์ ความงาม การจัดองค์ประกอบ เพื่อให้งานดูดีและน่าสนใจ 3) ประโยชน์ใช้สอย ผลงานชิ้นนี้ผู้วิจัยต้องเน้น การใช้งานของสภาพสังคมของคนพื้นถิ่นที่มี สภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อน อบอ้าว การออกแบบชิ้นงานควรค�ำนึงถึงการน�ำไปใช้งานจริง เน้นการระบายหรือการถ่ายเทอากาศ ให้ลมพัดผ่านทะลุชิ้นงาน และสามารถน�ำไปปรับใช้ งานตามความต้องการของผู้ใช้ 4) ขั้นตอนการผลิต จากการศึกษาทดลองการขึ้นรูปวัสดุ โดยผู้วิจัยได้ท�ำการทดลองออกเป็น 3 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 ใช้น�้ำยางพารา ผลที่ได้ ด้านความสวยงาม พบว่า ไม่มีปัญหา ชิ้นงาน มีความยืดหยุ่น สามารถพับโค้งงอได้ แต่ปัญหาที่พบคือ กลิ่นที่เหม็นจากน�้ำยางพารา ซึ่งถ้าน�ำไปใช้ในพื้นที่ร่ม หรือในพื้นที่อับจะมีปัญหาเนื่องจากจะมีกลิ่นแรง อับชื้น อาจขึ้นราได้ แต่ถ้าหากมีการปรับปรุงหรือพัฒนาแก้ปัญหาในเรื่องของกลิ่นได้ ก็อาจมีความเหมาะสม ที่จะน�ำไปพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต วิธีที่ 2 ใช้กาวน�้ำผสมน�้ำ ผลที่ได้ โดยความคิดเห็นจากผู้วิจัยคิดว่าเป็นวิธี ที่เหมาะสมที่สุดอาจจะมีปัญหาในเรื่องของความทนต่อแรงดึงซึ่งถ้าเทียบกับวิธีอื่น อาจจะด้อยกว่า แต่สิ่งที่ได้มาคือ ความสวยงาม การถ่ายเทอากาศ ผิวสัมผัสที่ดูเป็นธรรมชาติ มากที่สุด และด้วยรูปแบบที่จัดท�ำคือ ฉากบังตาซึ่งไม่ต้องการแผ่นใบยางพาราที่มี ความเหนียวหรือรับแรงดึงมากนัก จึงท�ำให้ไม่จ�ำเป็นต้องมีความทนทานหรือรับแรงดึงมากๆ วิธีที่ 3 ใช้ยูนีเทน ผลที่ได้ แผ่นใบยางที่ได้จะมีความเหนียวและทนต่อแรงดึง ได้มากที่สุด ผิวของแผ่นใบยางมีความมันวาวเป็นอย่างมาก แต่มีจุดด้อยคือ ยูนีเทนไปเคลือบ ต้องการแผ่นใบยางพาราที่มีความเหนียวหรือรับแรงดึงมากนัก จึงท าให้ไม่จ าเป็นต้องมีความทนทานหรือรับ แรงดึงมากๆ 78 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ วิธีที่ Walailak3 ใช้ยูนีเทน Abode ofผลที่ได้ Culture แผ่นใบยางที่ได้จะมีความเหนียวและทนต่อแรงดึงได้มากที่สุดJournal ผิวของแผ่นใบยางมีความมันวาวเป็นอย่างมาก แต่มีจุดด้อยคือ ยูนีเทนไปเคลือบช่องว่างระหว่างแผ่น จึงท า

ให้ไม่สามารถที่ถ่ายเทอากาศได้ช่องว่างระหว่างแผ่น แต่ถ้าน จึงท�ำให้ไม่สามารถที่ถ่ายเทอากาศได้ าไปปรับปรุงหรือน าไปพัฒนาไปรูปแบบอื่นก็สามารถต่อยอดได้ แต่ถ้าน�ำไปปรับปรุงหรือน�ำไป ต่อไป พัฒนาไปรูปแบบอื่นก็สามารถต่อยอดได้ต่อไป

ภาพที่ภาพที่9 แสดง9 แสดงตัวอย่างแผ่นยางพาราตัวอย่างแผ่นยางพารา

5) การใช้สอยความคุ้มค่า ความคุ้มค่า หากมองในการใช้งานโดยการผลิตใช้เอง ก็มีความคุ้มค่าเนื่องจาก 5) การใช้สอยความคุ้มค่าเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นภาคใต้เนื่องจากสวนใหญ่ประกอบอาชีพท� ำสวนยางพารา ความคุ้มค่าจึงท�ำให้มีวัตถุดิบจ� หากมองในการใช้งานโดยการผลิตใช้เองำนวนมาก ซึ่งเพียงพอต่อการผลิตใช้ในครัวเรือน ก็มีความคุ้มค่าเนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้ ไม่ต้องเสียเงินซื้อ ท�ำให้ ง่ายตามท้องถิ่นภาคใต้เนื่องจากสวนใหญ่ประกอบอาชีพทประหยัดเงิน และถ้าหากสามารถน�ำไปพัฒนาก็อาจท� าสวนยางพาราำให้มีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นต่อไป จึงท าให้มีวัตถุดิบจ านวนมาก ซึ่ง เพียงพอต่อการผลิตใช้ในครัวเรือน ไม่ต้องเสียเงินซื้อ ท าให้ประหยัดเงิน และถ้าหากสามารารถน าไปพัฒนา สรุปผลการทดลอง ก็อาจท าให้มีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นต่อไป ผลการทดลองสรุปได้ว่า ในด้านการแปรรูปวัสดุทั้ง 2 วิธีนั้น ให้ผลที่ใกล้เคียงกัน แต่วิธีการต้มด้วยโซดาไฟจะรวดเร็วกว่าการแช่น�้ำทิ้งไว้ ในส่วนการใช้วัสดุประสาน พบว่า การใช้กาวน�้ำผสมน�้ำ ผลที่ได้ตรงกับแนวความคิดมากที่สุด เพราะได้ความสวยงาม สรุปผลการทดลอง การถ่ายเทอากาศ ผิวสัมผัสที่ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดแต่อาจจะมีปัญหาในด้านการรับ ผลการทดลองสรุปได้ว่าแรงดึงอาจท�ำให้ฉีกขาดได้ ในด้านการแปรรูปวัสดุ และด้านการออกแบบเป็นวัสดุตกแต่งภายในอาคารผู้วิจัยได้เลือกทั้ง 2 วิธีนั้น ให้ผลที่ใกล้เคียงกัน แต่วิธีการต้มด้วย โซดาไฟจะรวดเร็วกว่าการแช่น้ าทิ้งไว้ ในส่วนการใช้วัสดุประสานพบว่า การใช้กาวน้ าผสมน้ า ผลที่ได้ตรงกับ แนวความคิดมากที่สุด เพราะได้ความสวยงาม การถ่ายเทอากาศ ผิวสัมผัสที่ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดแต่ อาจจะมีปัญหาในด้านการรับแรงดึงอาจท าให้ฉีกขาดได้ และด้านการออกแบบเป็นวัสดุตกแต่งภายใน อาคารผู้วิจัยได้เลือกท าฉากบังตา เนื่องจากฉากบังตาซึ่งไม่ต้องการแผ่นใบยางพาราที่มีความเหนียวหรือรับ แรงดึงมากนัก จึงท าให้ไม่จ าเป็นต้องมีความทนทานหรือรับแรงดึงมากๆ อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยน รูปแบบและเคลื่อนย้ายได้สะดวกตามความต้องการของผู้ใช้งาน

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 79 การศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคารด้วยใบยางพารา

ท�ำฉากบังตา เนื่องจากฉากบังตาซึ่งไม่ต้องการแผ่นใบยางพาราที่มีความเหนียวหรือ รับแรงดึงมากนัก จึงท�ำให้ไม่จ�ำเป็นต้องมีความทนทานหรือรับแรงดึงมากๆ อีกทั้ง ยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบและเคลื่อนย้ายได้สะดวกตามความต้องการของผู้ใช้งาน

ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีการปรับปรุงกระบวนการผลิต การเลือกใช้วัสดุประสานที่แตกต่างไป จากเดิม เพื่อศึกษารูปแบบชิ้นงานที่ได้ หรือกระบวนการเตรียมวัตถุดิบ เช่น เปลี่ยนเป็น การใช้เนื้อเยื่อจากใบ หรือการน�ำเส้นใยไปปั่น การใช้สารเคมี การฟอกขาว หรือการท�ำสี เพื่อให้การทดลองมีความแตกต่างไปจากเดิม 2) สามารถน�ำข้อมูลเบื้องต้นที่ได้ไปพัฒนาวัตถุดิบประเภทอื่นๆ เพื่อน�ำไป ประยุกต์ใช้ในการพัฒนา หรือเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจมีผลประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจหรือชุมชนนั้นๆ 3) สามารถน�ำรูปแบบการออกแบบวิจัยนี้ ไปพัฒนาเพื่อใช้ส�ำหรับตกแต่งภายใน ในรูปแบบอื่นๆ

กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 5) การใช้สอยความคุ้มค่า ความคุ้มค่า หากมองในการใช้งานโดยการผลิตใช้เอง ก็มีความคุ้มค่าเนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้ ง่ายตามท้องถิ่นภาคใต้เนื่องจากสวนใหญ่ประกอบอาชีพท าสวนยางพารา จึงท าให้มีวัตถุดิบจ านวนมาก ซึ่ง เพียงพอต่อการผลิตใช้ในครัวเรือน ไม่ต้องเสียเงินซื้อ ท าให้ประหยัดเงิน และถ้าหากสามารารถน าไปพัฒนา ก็อาจท าให้มีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นต่อไป

สรุปผลการทดลอง ผลการทดลองสรุปได้ว่า ในด้านการแปรรูปวัสดุทั้ง 2 วิธีนั้น ให้ผลที่ใกล้เคียงกัน แต่วิธีการต้มด้วย โซดาไฟจะรวดเร็วกว่าการแช่น้ าทิ้งไว้ ในส่วนการใช้วัสดุประสานพบว่า การใช้กาวน้ าผสมน้ า ผลที่ได้ตรงกับ แนวความคิดมากที่สุด เพราะได้ความสวยงาม การถ่ายเทอากาศ ผิวสัมผัสที่ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดแต่ อาจจะมีปัญหาในด้านการรับแรงดึงอาจท าให้ฉีกขาดได้ และด้านการออกแบบเป็นวัสดุตกแต่งภายใน อาคารผู้วิจัยได้เลือกท าฉากบังตา เนื่องจากฉากบังตาซึ่งไม่ต้องการแผ่นใบยางพาราที่มีความเหนียวหรือรับ แรงดึงมากนัก จึงท าให้ไม่จ าเป็นต้องมีความทนทานหรือรับแรงดึงมาก ๆ อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยน รูปแบบและเคลื่อนย้ายได้สะดวกตามความต้องการของผู้ใช้งาน ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีการปรับปรุงกระบวนการผลิต การเลือกใช้วัสดุประสานที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อศึกษา รูปแบบชิ้นงานที่ได้ หรือกระบวนการเตรียมวัตถุดิบ เช่นเปลี่ยนเป็นการ ใช้เนื้อเยื่อจากใบ หรือการน าเส้น ใยไปปั่น การใช้สารเคมี การฟอกขาว หรือการท าสี เพื่อให้การทดลองมีความแตกต่างไปจากเดิม 2) สามารถน าข้อมูลเบื้องต้นที่ได้ไปพัฒนาวัตถุดิบประเภทอื่น ๆ เพื่อน าไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา หรือเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจมีผลประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจหรือชุมชนนั้น ๆ 3) สามารถน ารูปแบบการออกแบบวิจัยนี้ ไปพัฒนาเพื่อใช้ส าหรับตกแต่งภายในในรูปแบบอื่น ๆ

กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

80 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

References

Charoenwichianchai, W. (2009). Kan okbaep phalittaphanReferences khong toktaeng ban chakCharoenwichianchai, watsadu lưachai. [ProductW. (2009 Design). Kan ofokbae Homep phalittaphanDecoration from kho ng toktaeng ban chak Leftovers].watsadu Pathum lưachai Thani: . Faculty[Product of Design liberal of arts, Home Rajamangala Decoration from Leftovers]. Pathum University ofThani: Technology Faculty Thanyaburi. of liberal arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Jankong, J.Jankong, (2015). Kan J. ( 2015wikhro). Kphonlakaan wikhro rodam phonlaka nœn rongandam tam nœn lak nganpratya tam lak pratya setthakit setthakit phophophiangphiang̜ Khong samachik klum hatthakam dokmaidokmai yangphara hu rae yangphara hu rae [A performance analysis of a sufficiency economy philosophy practice of the handicraft maker’s group in Hu-Rae]. RMUTP Research Journal Special Issue ,The 5th Rajamangala University of Technology National Conference, pp. 59-66. Phisudsiang, C. (2010). Prasitthiphap kan prayat phalangngan khong chanuan bai yangphara [Energy - Efficient of insulation produced from rubber leaf]. (Master’s Thesis, Chulalongkorn University). Saelee, S. & Sikkha, S. (2012). Kansuksa krabuankan phalit lae sombat khong phae nafa lae phanang chanuan kan khwam ron chak phut nai khet phunthi prathet thai [The Development of Insulating Ceiling Boards and Wallsfrom Plants in Thailand]. Art and Architecture Journal Naresuan, 3(1), 15 - 24. Sangrutsamee, V. (2012). Watsadu toktaeng lae fenichœ chak yua kradat luachai thang luak mai [Decorative Products and Furniture from Newly Developed RecycledPaper Pulp]. Pathum Thani: Faculty of Architecture, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 81 การศึกษาออกแบบวัสดุตกแต่งภายในอาคารด้วยใบยางพารา

Suybangdum, P. et al. (2007). Kanphalit lae phatthanakara dat chak bai sapparot phua chai kan banchuphan samrap sinkha nung nung phalittaphan nai chumchon pa bak tambon pa bak pa bon changwat Phatthalung [Paper production and development from pineapple leaves touse the packaging for one Tambon one product in the community. Pa Sak Village, Pa Sak, Pa Bon, Phatthalung]. Bangkok: Office of the Higher Education Commission. Thongmit, S. et al. (1997). Kanphalit yua kradat chak nua yua bai yang [Tissue Paper Production from Rubber Leaves Tissue]. Rubber Research Report. 82 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 8383 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียนำบลย่านตาขาวฯ

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดิน และพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว จังหวัดตรัง1

โอปอร์ ชัยสง่าพงษ์* และนิศารัตน์ เจียวก๊ก ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง จังหวัดตรัง 92000 *อีเมล: [email protected]

บทคัดย่อ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่าง ในเขตเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว จังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านต่างๆ ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของการใช้ที่ดินและที่ว่างที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย ศึกษาพัฒนาการ และความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างของชุมชนเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว และ จ�ำแนกรูปแบบลักษณะของพื้นที่ว่างที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านต่างๆ โดยก�ำหนด ขอบเขตของการศึกษาโดยเลือกพื้นที่เทศบาลต�ำบลย่านตาขาวเป็นพื้นที่ศึกษา และ ศึกษาพัฒนาการโดยแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 5 ยุค ประกอบด้วย ยุคที่ 1 ช่วงก่อนปี พ.ศ.2499 ยุคที่ 2 ช่วงปี พ.ศ. 2499 - 2518 ยุคที่ 3 ช่วงปี พ.ศ. 2519 - 2538 ยุคที่ 4 ช่วงปี พ.ศ. 2539 - 2558 และยุคที่ 5 ช่วงปี พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน ซึ่งด�ำเนินการศึกษาจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพัฒนาการของการใช้ที่ดิน และที่ว่างที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย ซึ่งประกอบด้วย ภาพถ่ายเก่า แผนที่ ต�ำรา เอกสารและ ภาพถ่ายทางอากาศ การส�ำรวจพื้นที่และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องจากนั้นจึงน�ำข้อมูล มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ถึงเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่าง

1 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่องอัตลักษณ์ที่ว่างของพื้นที่ในชุมชนเมืองย่านตาขาว จังหวัดตรัง ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยภายใต้โครงการ ม.อ. เพื่อชุมชนเข้มแข็ง ประจ�ำปีงบประมาณ 2559 โดยฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ส�ำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 84 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

รวมไปถึงรูปแบบลักษณะของพื้นที่ว่างที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านต่างๆ แล้วจึงสรุปผลการวิจัย โดยผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบ การใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ำบลย่านตาขาวแบ่งออกเป็น 5 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัย ด้านการเพิ่มของจ�ำนวนประชากร 2. ปัจจัยด้านนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่น 3. ปัจจัยด้าน สภาพเศรษฐกิจ 4. ปัจจัยด้านลักษณะภูมิศาสตร์หรือภูมิประเทศ 5. ปัจจัยด้านสังคมและ วัฒนธรรม สามารถจ�ำแนกลักษณะประเภทของพื้นที่ว่างได้ออกเป็น 5 ประเภท ประกอบไปด้วย 1. พื้นที่ว่างบริเวณแหล่งเกษตรกรรม 2. พื้นที่ว่างบริเวณแหล่งน�้ำสาธารณะ 3. พื้นที่ว่าง สาธารณะ 4. พื้นที่ว่างตามแนวเส้นทางคมนาคม และ 5.พื้นที่ว่างในสถาบัน ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นตัวแปรส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดลักษณะการใช้ที่ดินหรือที่ว่างในแต่ละช่วงสมัยที่แตกต่างกัน จากความสัมพันธ์ของปัจจัยในแต่ละด้านกับรูปแบบพัฒนาการที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา เหล่านี้ ท�ำให้เห็นถึงแนวโน้มความต้องการพื้นที่ว่างสาธารณะของชุมชนที่มากขึ้นอย่าง ต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน เช่น สวนสาธารณะ สถานที่ออกก�ำลังกาย พื้นที่พักผ่อนหรือ พื้นที่ท�ำกิจกรรมร่วมกันของชุมชน ซึ่งแท้จริงนั้นย่านตาขาวมีพื้นที่ว่างอยู่จ�ำนวนมาก แต่กลับไม่ได้น�ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางสาธารณะเท่าที่ควร หรือน�ำมาใช้ได้อย่าง ไม่เต็มศักยภาพ

ค�ำส�ำคัญ: พื้นที่ว่างในชุมชนเมือง, การใช้ที่ดิน, ชุมชนเมือง, ศักยภาพของพื้นที่ว่าง, ย่านตาขาว สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 8585 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียนำบลย่านตาขาวฯ A Study of Factors that Affect the Development of the Forms of Land use and Open Space in Yantakhao, Trang Province

Opor Chaisangapong* and Nisarat Jiawkok Department of Architecture, Faculty of Architecture, Prince of Songkla University, Trang Campus Trang 92000, Thailand *e-mail: [email protected]

Abstract This study of factors impacting the character pattern of land uses and open space in the municipality of Yantakhao, Trang province, aims to investigate various factors that contribute to the development of land uses and open spaces in different timeframe. Also, this study aims to establish the relationship between the developments of land uses and analyse the patterns of open spaces that were occurred because of many factors. The study consists of five period : pre - 1956; 1956 - 1975; 1976 - 1995; 1996 - 2015; and 2016 - present. The study analyses data collected from old photos, maps, textbooks, documents, aerial photos, field survey, and interview with key informants. The study find that there are five factors that contribute to land uses and open spaces in the municipality of Yantakhao, Trang province : which are (1) demographic changes; (2) local development policy; (3) economic factor; (4) geographic factor; and (5) social and cultural contributions. Moreover, the open spaces can be categoried in five groups : which are, (1) open spaces around agricultural areas; (2) open spaces around public water areas; 86 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

(3) public open areas; (4) open spaces along transport lines; and (5) entry space in institutions. These factors played an important roles in land usage and open spaces in different time. From the past to the present, the relationship between the factors and the pattern of the land development demonstrates trends that community need more open space, for instance, public parks, exercise areas, recreation parks, and activity parks for the community. In fact, there are many open space areas in Yantakhao, but these spaces are not used up to their full potential.

Keywords: Open space in urban areas, land use, Urban community, Open spaces potential, Yantakhao. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 8787 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียนำบลย่านตาขาวฯ

บทน�ำ ปัจจุบันเมืองที่ได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งด้านสภาพสังคมเศรษฐกิจหรือ ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ส่งผลให้เกิดทั้งผลดีและปัญหาในด้านต่างๆ มากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากสังคมเมืองที่เจริญขึ้นมักดึงดูดให้คนต่างถิ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานหรือประกอบอาชีพ อยู่ในเมืองเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่เมืองมากขึ้น และ การพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วรวมไปถึงวิถีชีวิตของคน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของเมืองเช่นกัน อีกทั้งระดับการบริโภคทรัพยากรที่สูงขึ้น มลพิษ และการผลิตของเสีย หรือ มีความเข้มข้นของการใช้ประโยชน์ที่ดินมากขึ้น ล้วนแต่มีผลต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพ ชีวิตของผู้คนในชุมชนเมือง (Phongprayun, 1982) ปัญหาเหล่านี้ถือเป็นสิ่งส�ำคัญ ที่ควรค�ำนึงถึงอย่างยิ่งเพราะการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมไปถึงคุณภาพของสังคม จากสภาพปัญหาในด้าน คุณภาพชีวิตดังกล่าว การสร้างสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่นับเป็นสิ่งส�ำคัญของการอยู่อาศัย ในสังคมเมืองทุกๆ เมือง พื้นที่ว่างชุมชนเมือง หรือพื้นที่ว่างสาธารณะ จึงสามารถเป็นสิ่งที่ รองรับกิจกรรมต่างๆ ของคนในชุมชน เป็นศูนย์รวมที่ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์และ ความร่วมมือสามัคคีกันหรือช่วยส่งเสริมให้เกิดคุณภาพของชีวิตที่ดีได้ พื้นที่ว่างในเมืองมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น สวนสาธารณะ ทางเดิน ถนน ภูมิทัศน์ ลานกิจกรรม หรือสถานที่พักผ่อนต่างๆ ในเมือง ปัจจุบันชุมชนต่างๆ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มาจากสังคมเกษตรกรรมเข้าสู่สังคมเมืองที่ท�ำการค้าคือ พาณิชยกรรมมากขึ้น ท�ำให้ชุมชน เมืองขาดพื้นที่ว่างสาธารณะ (Arayanimitsakul, 1980) เพราะมีการใช้ที่ดินในการก่อสร้าง อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่อ�ำนวยต่อการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมการค้าเป็นหลัก ในอดีตการวางผังเมือง พื้นที่ว่างมักจะถูกพิจารณาเป็นอันดับสองรองลงมาจากอาคาร และ กลุ่มของอาคาร ในปัจจุบันการวางผังเมืองจึงควรค�ำนึงถึงที่ว่างทั้งในปัจจุบันและอนาคต เป็นส�ำคัญ จะพบว่าเมืองใดที่มีพื้นที่ว่างและธรรมชาติของพื้นที่ในเมือง เมืองนั้นจะมี ความสดชื่น และมีความน่าอยู่ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ว่างเป็นส่วนประกอบของเมือง ประการหนึ่งที่มีความส�ำคัญต่อชุมชนเมืองนั้นๆ ชุมชนเทศบาลต�ำบลย่านตาขาวนับเป็นชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งพิจารณาตามเกณฑ์ การจัดอันดับขนาดของเมือง (Rank – size rule) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม 88 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

เดิมเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว เป็นเพียงต�ำบลหนึ่งที่ขึ้นกับอ�ำเภอกันตัง จนกระทั่งในช่วง ปี พ.ศ. 2499 ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่มากขึ้น ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่ากิ่งอ�ำเภอย่านตาขาวมีความเจริญขึ้น มีประชาชนพลเมือง หนาแน่นขึ้น การคมนาคมผ่านย่านตาขาวระหว่างกิ่งอ�ำเภอและจังหวัดสะดวกและใกล้กว่า จะต้องผ่านไปทางอ�ำเภอกันตัง จึงได้ถูกยกฐานะเป็นอ�ำเภอย่านตาขาว เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2499 เนื่องจากในปัจจุบันย่านตาขาวมีพื้นที่ว่างในการน�ำมาใช้ท�ำกิจกรรม จึงเลือกพื้นที่ เทศบาลต�ำบลย่านตาขาวให้เป็นพื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดินและ พื้นที่ว่างของชุมชนในอดีตจนถึงปัจจุบัน จากการที่เทศบาลต�ำบลย่านตาขาวมีพื้นที่ว่างอยู่มาก แต่พื้นที่ว่างในเมืองไม่ได้รับ การพัฒนาเพื่อน�ำมาใช้ประโยชน์กับคนในชุมชนได้ตามศักยภาพของพื้นที่ว่างที่จะสามารถ พัฒนาต่อไปได้ ประเด็นปัญหาการใช้ที่ว่างของย่านตาขาวจึงต่างจากเมืองใหญ่อื่นๆ ที่ขาดแคลนพื้นที่ว่าง ซึ่งผลของการวิจัยในครั้งนี้ที่จะประกอบไปด้วยการศึกษาถึงพัฒนาการ รูปแบบลักษณะการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างและปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของเมืองนั้น มีความมุ่งหวังว่าจะสามารถน�ำไปใช้ในการออกแบบพัฒนาหรือจัดสรรพื้นที่ว่างสาธารณะ ให้แก่คนในชุมชนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. ศึกษาถึงปัจจัยด้านต่างๆ ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของการใช้ที่ดินและที่ว่าง ที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย 2. เพื่อเข้าใจพัฒนาการและความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างของชุมชน เทศบาลต�ำบลย่านตาขาว 3. สามารถเข้าใจและจ�ำแนกรูปแบบลักษณะของพื้นที่ว่างที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผล มาจากปัจจัยด้านต่างๆ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 8989 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียนำบลย่านตาขาวฯ

วิธีการวิจัย 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องพัฒนาการของ สวนสาธารณะ แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่ว่าง ลักษณะกิจกรรมในพื้นที่ว่าง และแนวคิดเรื่องพฤติกรรม การพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์ 2. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพัฒนาการของการใช้ที่ดินและที่ว่างที่เกิดขึ้น ในแต่ละยุคสมัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2.1 ข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบด้วย ภาพถ่ายเก่า แผนที่ ต�ำรา เอกสารและ ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ 2.2 ข้อมูลปฐมภูมิ ประกอบด้วย การส�ำรวจพื้นที่และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์รูปแบบลักษณะการใช้ที่ดินหรือพื้นที่ว่างของคนในพื้นที่ 3. สังเคราะห์ข้อมูล 3.1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของการใช้ที่ดินและที่ว่าง 3.2 รูปแบบลักษณะของพื้นที่ว่างที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านต่างๆ 4. สรุปผลการวิจัย

ขอบเขตของการศึกษา ขอบเขตด้านพื้นที่ เลือกศึกษาในพื้นที่เขตเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว ขอบเขตด้านเวลา เลือกศึกษาช่วงเวลาตั้งแต่ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2499 เป็นยุคที่ เทศบาลต�ำบลย่านตาขาวยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอ�ำเภอกันตัง ซึ่งเป็นช่วงต้นของพัฒนาการ จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2559 โดยการแบ่งช่วงเวลาหลังยุคที่เป็นส่วนหนึ่งของกันตังจะเริ่มจาก ปี พ.ศ. 2499 ซึ่งเป็นช่วงที่ย่านตาขาวเปลี่ยนสถานะเป็นอ�ำเภอย่านตาขาว จากนั้นจึงแบ่ง ช่วงเวลาศึกษาในช่วงทุกๆ 20 ปี จาก พ.ศ. 2499 จนถึง พ.ศ. 2559 ดังนั้น สามารถแบ่งช่วงเวลาที่จะศึกษาออกเป็น 5 ยุค ประกอบด้วย ยุคที่ 1 ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2499 ยุคที่ 2 ช่วงปี พ.ศ. 2499 - 2518 ยุคที่ 3 ช่วงปี พ.ศ. 2519 - 2538 ยุคที่ 4 ช่วงปี พ.ศ. 2539 - 2558 และยุคที่ 5 ช่วงปี พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน

90 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

แสดงขอบเขตพื้นที่ศึกษาในเขตเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว ภาพที่ภาพที่ 1 1 แสดงขอบเขตพื้นที่ศึกษาในเขตเทศบาลต าบลย่านตาขาว ที่มา : ที่มา(กองสวัสดิการสังคม,: กองสวัสดิการสังคม 2560)

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 9191 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียนำบลย่านตาขาวฯ

ผลการวิจัย จากการศึกษาข้อมูลพัฒนาการทางกายภาพของเนื้อที่เมืองในด้านการใช้ประโยชน์ ที่ดิน และพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว สามารถแบ่งยุคของพัฒนาการเมือง ออกได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ 1. ยุคที่ 1 ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2499 ย่านตาขาวในยุคที่เป็นส่วนหนึ่งของกันตังจากค�ำบอกเล่าของผู้อาวุโสหลายท่าน และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า บริเวณพื้นที่ย่านตาขาวนั้นมีลักษณะเป็นพื้นที่ดินลุ่มน�้ำ มีต้นไม้หลากพันธ์ุชนิด ในยุคนี้ไม่ปรากฏรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในด้านการก่อสร้าง หรือการพัฒนาการคมนาคมมากนัก อาศัยการติดต่อสัญจรทางเรือเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ลักษณะชุมชนก่อนตั้งเป็นอ�ำเภอย่านตาขาวเป็นลักษณะการกระจายตัวของชุมชนเล็กๆ ตามพื้นที่ที่เป็นเทศบาลต�ำบลย่านตาขาวปัจจุบัน ส่วนมากจะใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบอาชีพ ท�ำสวน ท�ำไร่ เลี้ยงสัตว์ และเริ่มมีการค้าขาย จึงท�ำให้มีการรวมตัวกันตั้งเป็นชุมชนในบริเวณ ตลาดเทศบาลในภายหลังอีกด้วย 2. ยุคที่ 2 ช่วงปี พ.ศ. 2499 - 2518 2.1 ลักษณะและขนาดชุมชน เนื่องจากผู้คนมีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัย อยู่กันหนาแน่นขึ้นท�ำให้มีการจัดตั้งพื้นที่ชุมชนนี้ให้เป็นอ�ำเภอย่านตาขาวเกิดขึ้นเพื่อรองรับ การขยายตัวของจ�ำนวนประชากร กิจกรรมของคนในพื้นที่ในยุคนี้ คือ ท�ำสวน ท�ำไร่ และ พาณิชยกรรม 2.2 พื้นที่ปลูกสร้าง สิ่งปลุกสร้างในยุคนี้มักเป็นบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ ซึ่งใช้ไม้ในการก่อสร้าง ซึ่งในปัจจุบันยังปรากฎตึกแถวไม้ 2 ชั้น ที่เหลืออยู่ในย่านพาณิชยกรรม ของเขตเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว และมีเรือนไม้ชั่วคราวจากยุคนี้ ที่ยังกระจายอยู่ตาม เรือกสวนไร่นารอบๆ เขตเทศบาลในปัจจุบัน เช่น ชุมชนท่าบันได ชุมชนบ้านหนองชุมแสง เป็นต้น 2.3 เส้นทางคมนาคมหลัก การคมนาคมหลักที่เกิดขึ้นในยุคนี้ คือ การคมนาคม ทางบก มีถนนสายส�ำคัญต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ถนนวรคีรี ที่เชื่อมต่อกับ ถนนตรัง - ปะเหลียน ท�ำให้บริเวณดังกล่าวนั้น เกิดเป็นศูนย์กลางการขยายตัวด้านธุรกิจการค้า 92 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

2.4 การใช้ประโยชน์ที่ดิน ลักษณะของชุมชนเทศบาลต�ำบลย่านตาขาวในยุคนี้ ชุมชนตั้งอยู่ติดริมคลองปะเหลียน พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม น�้ำขัง เป็นพื้นที่รับน�้ำ จากแนวเทือกเขาบรรทัด มีบ้านเรือนเกาะกลุ่มหนาแน่นอยู่สองข้างทางถนนตรัง - ปะเหลียน ถนนมีการตัดขยายกว้างถึงประมาณ 16 เมตร และยาวตลอดจากบริเวณด้านใต้ที่ติดกับ คลองปะเหลียนไปจนถึงศูนย์ราชการทางทิศเหนือ บริเวณที่มีความหนาแน่นมาก คือ บริเวณตลาด มีสิ่งปลูกสร้างประเภทห้องแถวหรือตึกแถวอยู่บริเวณศูนย์กลางชุมชน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบกิจการด้านธุรกิจการค้า ส่วนอาคารพักอาศัยจะกระจายอยู่ทั่วไป ในเขตเทศบาล 2.5 การใช้พื้นที่ว่าง ในยุคนี้ มีการใช้พื้นที่กระจุกตัวหนาแน่นอยู่บริเวณย่านตลาด และในบริเวณตามเส้นทางคมนาคม ถนนตรัง-ปะเหลียน มีการกระจายตัวของผู้คน อยู่บางเบา ในบริเวณนี้จึงมีพื้นที่ว่างเหลืออยู่มาก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นหลัก โดยพื้นที่เกษตรกรรมเหล่านี้จะโอบล้อมชุมชนอยู่ พื้นที่ว่างสาธารณะในยุคนี้ จึงมีเพียงสนามกีฬาบริเวณพื้นที่หน้าที่ว่าการอ�ำเภอเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่าง ประเภท คลอง หนอง บึง ลดน้อยลง พื้นที่ว่างประเภทสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ มีการจ�ำกัดการใช้ประโยชน์เพียงผู้ที่อยู่ในสถานที่ราชการเท่านั้นๆ ส่วนพื้นที่ว่างในสถาบัน การศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสนามกีฬาของโรงเรียนและการใช้ประโยชน์พื้นที่ว่างใน ศาสนสถานนั้นส่วนใหญ่ใช้เพื่อพิธีกรรมทางศาสนาและจัดงานเทศกาลต่างๆ 2.6 วิถีชีวิตผู้คน ในพื้นที่บริเวณใจกลางเมือง มีชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน อาศัยอยู่เป็นจ�ำนวนมาก มีการใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรม เทศกาลงานพิธีต่างๆ และยึดหลัก การปลูกบ้านในละแวกเดียวกันกับเครือญาติ 3. ยุคที่ 3 ช่วงปี พ.ศ. 2519 - 2538 3.1 ลักษณะและขนาดชุมชน ในยุคนี้ บริเวณที่มีการกระจุกตัวของประชากร ส่วนใหญ่ของเมืองยังคงเป็นรอบๆ บริเวณตลาดหน้าศาลเจ้าซึ่งปัจจุบันคือตลาดเทศบาล และได้เริ่มมีการกระจายตัวออกไปรอบนอกตามเส้นทางคมนาคม รวมถึงมีประชากร จากภายนอกที่เข้ามาอาศัยอยู่เพิ่มขึ้น มีการตัดถนนสายใหม่เกิดขึ้น เช่น ถนนท่าบันได ซึ่งตัดผ่านหน้าตลาดยาวไปถึงต�ำบลท่าบันได ในปัจจุบัน และมีการขยายตัวทางการค้า ออกไปเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 9393 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียนำบลย่านตาขาวฯ

3.2 พื้นที่ปลูกสร้าง พื้นที่ปลูกสร้างในยุคนี้ ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์หรือ ตึกแถวที่ใช้โครงสร้างไม้ผสมปูน มีการก่อสร้างอาคารศูนย์ราชการต่างๆ ยังคงมีการใช้พื้นที่ บริเวณในลานวัด ริมคลอง หรือหน้าที่ว่าการอ�ำเภอในการจัดกิจกรรม และเริ่มมีการบริหาร จัดการการใช้พื้นที่เพิ่มมากขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและประชากร 3.3 เส้นทางคมนาคมหลัก ในช่วงปี พ.ศ. 2519 นี้ การสัญจรหลักยังคงเป็น ทางบกหรือถนน และมีการใช้รถยนต์เป็นพาหนะหลักมากขึ้น มีการขยายตัวของเมือง ตามแนวของ ถนนตรัง - ปะเหลียน ไปทางทิศเหนือของใจกลางการค้าของเมือง และ เริ่มมีการปลูกบ้านเรือนขึ้นในบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม เพราะมีถนนตัดเข้าสู่พื้นที่ เกษตรกรรมมากขึ้น 3.4 การใช้ประโยชน์ที่ดิน มีการใช้ที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม เป็นส่วนใหญ่ ยังคงมีการพัฒนาตามยาวถนนเส้นหลักของเมือง และมีการขยายตัวของ ที่อยู่อาศัยไปตามระบบโครงข่ายถนน มีการก่อสร้างศูนย์ราชการ โรงพยาบาลและ สวนสาธารณะ ไปทางทิศเหนือของเขตเทศบาลเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต 3.5 การใช้พื้นที่ว่าง พื้นที่เกษตรกรรมคงรายรอบออกไปจากบริเวณตลาด บริเวณ ถนนตรัง - ปะเหลียน มีการแทรกตัวด้วยอาคารพาณิชย์แทนที่พื้นที่ว่างมากขึ้น การใช้พื้นที่ว่างสาธารณะในยุคนี้ยังไม่ชัดเจน ยังคงใช้พื้นที่บริเวณสนามกีฬาหน้าที่ว่าการ อ�ำเภอจัดงานเทศกาลต่างๆ อยู่เช่นเดิม มีการใช้พื้นที่ทางน�้ำลดลง พื้นที่ว่างประเภทสถาบัน สถานที่ราชการ ใช้เพื่อจัดงานเทศกาล 3.6 วิถีชีวิตผู้คน ถึงแม้ว่าประชากรจะมีความหนาแน่นขึ้น แต่วิถีชีวิตและ ขนบธรรมเนียมประเพณียังไม่เปลี่ยนไปมากนัก ยังมีการใช้พื้นที่ของบ้าน หรือศาสนสถาน ในการประกอบพิธีกรรมหรือจัดงานเทศกาลต่างๆ 4. ยุคที่ 4 ช่วงปี พ.ศ. 2539 - 2558 4.1 ลักษณะและขนาดชุมชน ในช่วงเวลานี้นับว่ามีการขยายตัวรวดเร็วอย่างเห็น ได้ชัดทั้งประชากรที่เพิ่มขึ้นและการตัดถนน ตรอก ซอยมากขึ้น และเริ่มมีการติดต่อท�ำการค้า กับเมืองทับเที่ยงซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้าของจังหวัดตรัง การค้าขายกับอ�ำเภอใกล้เคียง รวมไปถึงต่างจังหวัดมากขึ้น มีการสร้างสวนสาธารณะและสถานที่ท�ำกิจกรรมส่วนกลางของ ชุมชนเพิ่มมากขึ้น เริ่มมีการขยายตัวของชุมชนขึ้นไปทางทิศตะวันออกของคลองปะเหลียน 94 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

และมีการขยายตัวทางการค้าขาย ส่วนพื้นที่รอบนอกยังคงมีการท�ำเกษตรกรรมเพื่อส่ง ผลผลิตมาจ�ำหน่ายในเขตเขตบาลต�ำบลย่านตาขาวอยู่เช่นเดิม 4.2 พื้นที่ปลูกสร้าง มีการปลูกสร้างอาคารเพิ่มมากขึ้น ประเภทอาคารยังคงเป็น กลุ่มอาคารบ้านพักอาศัยและอาคารพาณิชย์ แต่เริ่มมีการใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มากขึ้น โดยเฉพาะใจกลางของเขตเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว และยังมีการสร้างอาคารที่เป็น ศูนย์รวมของชุมชน เช่น อาคารสมาคมคนย่านตาข่าว เป็นต้น ส่วนอาคารพักอาศัยโครงสร้าง ไม้และไม้ผสมคอนกรีตยังพบเห็นได้ตามชานเมืองโดยรอบ ส่วนอาคารไม้พักอาศัยชั่วคราว ในไร่นาพบเห็นได้น้อยลง 4.3 เส้นทางคมนาคมหลัก ในปี พ.ศ. 2539 ชุมชนเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว มีโครงข่ายถนนที่มากขึ้น การเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ง่ายขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่ท�ำให้ชุมชน มีการขยายตัวหนาแน่นขึ้นบริเวณสองข้างทางของถนนตรัง - ปะเหลียน ท�ำให้เริ่มมี การปลูกสร้างบ้านเรือนและอาคารพาณิชย์ในบริเวณนี้เพิ่มมากมาย การขยายตัวจากย่านการค้า ออกไปมากขึ้นเช่นกัน และมีการใช้ยานพาหนะประเภทรถยนต์หรือจักรยานยนต์มากขึ้น 4.4 การใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ที่ดินในปี พ.ศ. 2539 มีการสร้างอาคารพาณิชย์ มากขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัว ในช่วงนี้ชุมชนเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว มีการเติบโตและ ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว ท�ำให้พื้นที่ว่างในเมืองนั้นลดลง พื้นที่เกษตรกรรมถูกผลักตัว ออกไปรอบนอกอย่างชัดเจนแต่ยังคงมีให้เห็นบ้าง 4.5 การใช้พื้นที่ว่าง สภาพชุมชนเมืองยังถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรมอยู่ แม้ว่าการเจริญเติบโตของสิ่งปลูกสร้างจะเพิ่มตัวมากขึ้น พื้นที่ว่างส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่ เกษตรกรรม การเปิดใช้พื้นที่สาธารณะนั้น สวนสาธารณะหนองชุมแสงยังคงมีความส�ำคัญ ที่สุดซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ว่างสาธารณะที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของเมือง มีการใช้พื้นที่บริเวณริมน�้ำ เพื่อการนันทนาการ เป็นลักษณะการพักผ่อนที่อาศัยน�้ำ หรือจัดงานประเพณีและกิจกรรม ของชุมชน โดยเฉพาะบริเวณฝั่งซ้ายของคลองปะเหลียนใกล้ชุมชนเทศบาล เริ่มมีการใช้พื้นที่ ว่างริมถนนเพื่อการท�ำการค้าประเภทรถเข็นแผงลอย พื้นที่ว่างประเภทสถาบัน ยังคงใช้ เพื่อเป็นแหล่งนันทนาการ อีกทั้งอาคารและสถานที่หลายๆ แห่งเริ่มมีการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อรองรับคนในชุมชนที่เพิ่มมากขึ้นด้วย สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 9595 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียนำบลย่านตาขาวฯ

4.6 วิถีชีวิตผู้คน สถาบันครอบครัวเริ่มแยกห่างกัน ลูกหลานเข้าไปศึกษาและ ประกอบอาชีพในเมืองทับเที่ยงหรือต่างเมืองมากขึ้นขณะเดียวกันก็มีผู้คนจากต่างถิ่นเข้ามา ท�ำการค้าขายและอาศัยอยู่อีกด้วย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของคนในพื้นที่เริ่มเปลี่ยนไป เริ่มเข้าสู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น เริ่มมีการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะในการออกก�ำลังกาย การพักผ่อนในรูปแบบต่างๆ มีบทบาทมากขึ้นมาแทนที่ ส่วนวิถีชีวิตของคนในบริเวณรอบเขต เทศบาลยังไม่เปลี่ยนมากนัก ยังคงด�ำรงชีพด้วยกิจกรรมทางการเกษตรเป็นหลัก 5. ยุคที่ 5 ช่วงปี พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน 5.1 ลักษณะและขนาดชุมชน ชุมชนก็ยังมีการขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง และ มีการปรับปรุงพื้นที่เพื่อป้องกันและรองรับเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง มีการพัฒนาระบบ สาธารณูปโภคที่ดีและทั่วถึงมากขึ้น 5.2 พื้นที่ปลูกสร้าง มีอัตราการเพิ่มขึ้นของสิ่งปลูกสร้างที่น้อยลง เนื่องจากปัญหา ทางเศรษฐกิจ การขยายตัวส่วนใหญ่เป็นอาคารที่ใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีการสร้างโรงยิมขึ้นมาให้ชาวบ้านเคยใช้ออกก�ำลังกายและท�ำกิจกรรมของชุมชน 5.3 เส้นทางคมนาคมหลัก มีระบบการคมนาคมที่มีประสิทธิภาพขึ้น ท�ำให้ การเข้าถึงหรือติดต่อพื้นที่เมืองอื่นๆ สะดวกยิ่งขึ้น 5.4 การใช้ประโยชน์ที่ดิน มีศูนย์ราชการ ศูนย์การค้า สถานที่ส�ำคัญต่างๆ อยู่บริเวณ สองข้างทางถนนตรัง - ปะเหลียน เพิ่มขึ้น ท�ำให้บริเวณนี้มีการหนาแน่นของ ชุมชนมากขึ้น 5.5 การใช้พื้นที่ว่าง พื้นที่ว่างประเภทเกษตรกรรมถือได้ว่าเป็นที่ว่างที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในเมือง ซึ่งอัตราการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสาธารณะนั้นยังมีน้อยมากไม่ต่างจาก อดีตมากนัก ส่วนใหญ่เป็นเพียงการใช้ประโยชน์จากเจ้าของที่ดินเท่านั้น สวนสาธารณะ หนองชุมแสงยังคงใช้เป็นพื้นที่ในการจัดงานเทศกาลส�ำคัญ พื้นที่ว่างตามเส้นทางคมนาคม มีการปรับสภาพเป็นสวน หรือเป็นสถานที่ป้องกันอุทกภัยในอนาคต และยังมีการใช้พื้นที่ ริมถนนส�ำหรับร้านค้าประเภทรถเข็น แผงลอยอยู่อย่างต่อเนื่อง พื้นที่ว่างในสถาบัน และ อาคารทางศาสนา ยังคงใช้เพื่อการจัดกิจกรรมของชุมชนและเทศกาลต่างๆ เช่นเดิม

ว่างสาธารณะในการออกก าลังกาย การพักผ่อนในรูปแบบต่างๆมีบทบาทมากขึ้นมาแทนที่ ส่วนวิถีชีวิตของ คนในบริเวณรอบเขตเทศบาลยังไม่เปลี่ยนมากนัก ยังคงด ารงชีพด้วยกิจกรรมทางการเกษตรเป็นหลัก 5. ยุคที่5 ช่วงปี พ.ศ.2559 – ปัจจุบัน 5.1. ลักษณะและขนาดชุมชน ชุมชนก็ยังมีการขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุง พื้นที่เพื่อป้องกันและรองรับเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่ดีและทั่วถึงมาก ขึ้น 5.2. พื้นที่ปลูกสร้าง มีอัตราการเพิ่มขึ้นของสิ่งปลูกสร้างที่น้อยลง เนื่องจากปัญหาทาง เศรษฐกิจ การขยายตัวส่วนใหญ่เป็นอาคารที่ใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีการสร้างโรงยิมขึ้นมาให้ ชาวบ้านเคยใช้ออกก าลังกายและท ากิจกรรมของชุมชน 5.3. เส้นทางคมนาคมหลัก มีระบบการคมนาคมที่มีประสิทธิภาพขึ้น ท าให้การเข้าถึงหรือ ติดต่อพื้นที่เมืองอื่นๆสะดวกยิ่งขึ้น 5.4. การใช้ประโยชน์ที่ดิน มีศูนย์ราชการ ศูนย์การค้า สถานที่ส าคัญต่างๆ อยู่บริเวณ สองข้าง ทางถนนตรัง-ปะเหลียน เพิ่มขึ้น ท าให้บริเวณนี้มีการหนาแน่นของชุมชนมากขึ้น 5.5. การใช้พื้นที่ว่าง พื้นที่ว่างประเภทเกษตรกรรมถือได้ว่าเป็นที่ว่างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมือง ซึ่งอัตราการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสาธารณะนั้นยังมีน้อยมากไม่ต่างจากอดีตมากนัก ส่วนใหญ่เป็นเพียง การใช้ประโยชน์จากเจ้าของที่ดินเท่านั้น สวนสาธารณะหนองชุมแสงยังคงใช้เป็นพื้นที่ในการจัดงานเทศกาล ส าคัญ พื้นที่ว่างตามเส้นทางคมนาคมมีการปรับสภาพเป็นสวน หรือเป็นสถานที่ป้องกันอุทกภัยในอนาคต และยังมีการใช้พื้นที่ริมถนนส96 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ าหรับร้านค้าประเภทรถเข็น แผงลอยอยู่อย่างต่อเนื่อง พื้นที่ว่างในสถาบัน และอาคารทางศาสนาWalailak ยังคงใช้เพื่อการจัดกกิจกกรรมของชุมชน Abode of Culture Journal และเทศกาลต่างๆเช่นเดิม

ภาพแสดงการใช้พื้นที่สวนสาธารณะหนองชุมแสง ในเขตเทศบาลต�ำบลย่านตาขาว ภาพที่ 2 ภาพแสดงการใช้พื้นที่สวนสาธารณะหนองชุมแสง ในเขตเทศบาลต าบลย่านตาขาว ภาพที่ 2 ในการจัดกิจกรรมย่านตาขาววันวานในพื้นที่สวนสาธารณะหนองชุมแสง ที่มา : (อาจารย์วรรณศิริในการจัดกิจกรรมย่านตาขาววันวานในพื้นที่สวนสาธารณะหนองชุมแสง ศรีวราธนบูลย์, 2560) ที่มา: อาจารย์วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์ 5.6 วิถีชีวิตผู้คน วิถีชีวิตของผู้คนมีการอยู่ใกล้กันแบบเครือญาติ มีการประกอบ กิจกรรมร่วมกันอยู่เสมอ ในระดับของชุมชนมีทั้งงานเทศกาลประเพณีต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ จะจัดในส�ำนักงานเทศบาล เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางในการรวมกลุ่มของคนในชุมชนได้ดี

เริ่มมีการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะในการออกก�ำลังกาย การพักผ่อนในรูปแบบต่างๆ มีบทบาท มากขึ้น จากการศึกษาพัฒนาการของการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างของเขตเทศบาลต�ำบล ย่านตาขาวในแต่ละยุคข้างต้นนั้น ท�ำให้สามารถจ�ำแนกลักษณะประเภทของพื้นที่ว่าง ได้ออกเป็น 5 ประเภท ตามลักษณะของที่ตั้งและการใช้งาน ประกอบไปด้วย 1. พื้นที่ว่างบริเวณแหล่งเกษตรกรรม มีที่ตั้งและการกระจายตัวส่วนใหญ่อยู่บริเวณ ชานเมืองและรอบนอกเมือง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวยังมีความเป็นเมืองไม่มากนัก ประชากรยังมีอาชีพทางด้านเกษตรกรอยู่มาก สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 9797 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียนำบลย่านตาขาวฯ

2. พื้นที่ว่างบริเวณแหล่งน�้ำสาธารณะ เช่น ที่ว่างริมคลองปะเหลียน ที่ใช้เป็น ที่พักผ่อนของคนในชุมชน อีกทั้งยังใช้จัดกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนได้เช่นกัน เช่น แข่งเรือพาย ลอยกระทง เป็นต้น 3. พื้นที่ว่างสาธารณะ สวนสาธารณะหนองชุมแสง ทางเข้าอยู่ถนนพิกุลทอง ซอยรักษา เป็นสวนสาธารณะแห่งเดียวในเขตเทศบาลย่านตาขาว คนในชุมชนมาใช้พื้นที่ เพื่อออกก�ำลังกายและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ 4. พื้นที่ว่างตามแนวเส้นทางคมนาคม ที่ว่างตามแนวฟุตบาทถนน นับเป็นที่ว่าง ที่สามารถสร้างสภาพบรรยากาศให้แก่เมืองให้มีความน่าอยู่ แต่ยังพบมีการค้าขายแผงลอย อยู่บริเวณนี้ ซึ่งอาจท�ำให้พื้นที่บริเวณนี้สกปรกหรือไม่เรียบร้อยได้ 5. พื้นที่ว่างในสถาบัน ประกอบด้วย 5.1 พื้นที่ว่างในศาสนสถาน เช่น วัดนิกรรังสฤษฎ์ ซึ่งเป็นวัดส�ำคัญของเทศบาล ย่านตาขาว มีพื้นที่ว่างภายในเพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกิจกรรม ทางศาสนา นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่พักผ่อนของคนในชุมชนได้ตลอดทั้งวัน และภายในวัด ที่มีโรงเรียนอยู่ พื้นที่ว่างจะถูกใช้เพื่อกิจกรรมและการวิ่งเล่นของเด็กในโรงเรียนนั้นอีกด้วย 5.2 พื้นที่ว่างในสถาบันการศึกษา เช่น สนามกีฬาภายในโรงเรียนย่านตาขาว รัฐชนูปถัมภ์ ใช้ส�ำหรับจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนเอง และใช้เป็นพื้นที่ส�ำหรับเล่นกีฬา และ ออกก�ำลังกายในตอนเย็นของคนในพื้นที่ใกล้เคียง 5.3 พื้นที่ว่างในสถาบันราชการ เช่น พื้นที่ว่างบริเวณหน้าเทศบาลต�ำบล ย่านตาขาว ซึ่งเป็นสนามฟุตบอล ใช้ส�ำหรับเล่นฟุตบอล และใช้ส�ำหรับการจัดงานตาม เทศกาลต่างๆ งานวันส�ำคัญต่างๆ และงานประจ�ำปีของเทศบาล เป็นต้น

สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่าง พบว่า ในช่วงเวลา ตั้งแต่ยุคที่ย่านตาขาวเป็นส่วนหนึ่งของกันตังจนถึงช่วงยุค พ.ศ. 2499 นั้น อัตราการใช้ ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาพื้นที่ว่างสาธารณะยังไม่มากนักด้วยเพราะความหนาแน่น ของประชากรที่ยังน้อย ระบบสาธารรูปโภค การคมนาคมหรือวิถีชีวิตที่ยังเป็นรูปแบบของ การท�ำเกษตรกรรมส่วนใหญ่ จึงยังไม่ท�ำให้เห็นถึงปัญหาของการขาดพื้นที่ว่างสาธารณะ 98 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ของชุมชน ซึ่งต่างจากในช่วงหลังตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2519 จนถึง พ.ศ. 2559 ที่มีความหนาแน่น ของประชากรเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาด้านการคมนาคม ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่มากขึ้น รูปแบบการด�ำเนินชีวิตเปลี่ยนจากเกษตรกรรมสู่การค้ามากขึ้น ซึ่งส่งผลไปถึงการแข่งขัน ในด้านต่างๆ ท�ำให้ส่งผลไปถึงสภาพทางอารมณ์และความเครียดของคนในชุมชน ดังนั้น ท�ำให้เห็นแนวโน้มถึงความต้องการที่ว่างสาธารณะมากขึ้น เพื่อให้เป็นพื้นที่ส่วนกลางของ ชุมชนที่คนในชุมชนสามารถมาพักผ่อน ออกก�ำลังกายหรือพบปะพูดคุยสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างกันในชุมชนได้ จากการศึกษาพัฒนาการของการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างของชุมชนย่านตาขาว ท�ำให้สามารถวิเคราะห์ถึงเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างที่เกิดขึ้น ในแต่ละยุคสมัยได้ ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยด้านการเพิ่มของจ�ำนวนประชากร ซึ่งมีผลต่อการขยายตัวของพื้นที่และการสร้างที่อยู่อาศัยหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในชุมชน 2. ปัจจัยด้านนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญที่เกิดจากการ มองเห็นความต้องการของพื้นที่จากภาครัฐซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงทั้งด้านการพัฒนาพื้นที่ และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ของชุมชน 3. ปัจจัยด้านสภาพเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่ชวย ผลักดันให้โครงการพัฒนาต่างๆ สามารถด�ำเนินการต่อไปได้จนเสร็จสิ้น 4. ปัจจัยด้าน ลักษณะภูมิศาสตร์หรือภูมิประเทศ องค์ประกอบทางธรรมชาติถือเป็นข้อจ�ำกัดหนึ่ง ในการพัฒนาทั้งการขยายพื้นที่และการปรับปรุงทางกายภาพของที่ว่างสาธารณะ และ 5. ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่แสดงและสะท้อนถึงลักษณะการด�ำเนินชีวิต ของผู้คนในชุมชนอย่างแท้จริงรวมไปถึงรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจมี การเปลี่ยนแปลงได้ตามค่านิยมที่เปลี่ยนไป ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดลักษณะการใช้ที่ดินหรือที่ว่าง ในแต่ละช่วงสมัยที่แตกต่างกัน จากความสัมพันธ์ของปัจจัยในแต่ละด้านกับรูปแบบ พัฒนาการที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาเหล่านี้ ท�ำให้เห็นถึงปัญหาและข้อจ�ำกัดต่างๆ ที่สามารถน�ำไปเป็นข้อมูลหรือสิ่งที่ต้องค�ำนึงและวิเคราะห์เพื่อน�ำไปใช้ในการวางแผนพัฒนา หรือการออกแบบที่ว่างและการบริหารจัดการใช้ที่ดินของชุมชนย่านตาขาวให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากที่สุด และการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานหรือ ตระหนักถึงความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชุมชนด้วยเช่นกัน สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 9999 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินและพื้นที่ว่างในเขตเทศบาลต�ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียนำบลย่านตาขาวฯ

มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด และการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานหรือตระหนัก กิตติกรรมประกาศถึงความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชุมชนด้วยเช่นกัน งานวิจัยนี้สามารถสําเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์จากฝ่ายต่างๆ ขอขอบพระคุณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กิตติกรรมประกาศ ซึ่งสนับสนุนทุนวิจัยภายใต้โครงการ ม.อ. เพื่อชุมชนเข้มแข็ง ประจ�งานวิจัยนี้สามารถสำปีงบประมาณ 2559 าเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์จากฝ่ายต่าง ขอขอบคุณคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาประจ� ๆ ขอขอบพระคุณำคณะ มหาวิทยาลัยสงขลา สถาปัตยกรรมศาสตร์นครินทร์ ซึ่งสนับสนุนทุนวิจัยภายใ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต้โครงการ ม.อ. วิทยาเขตตรัง เพื่อชุมชนเข้มแข็ง ที่ให้การช่วยเหลือและ ประจ าปีงบประมาณ 2559 สนับสนุนในการด�ขอขอบคุณคณาจารย์ำเนินการวิจัย บุคคลากรและนักศึกษาประจ และที่ส�ำคัญยิ่ง ขอขอบพระคุณเทศบาลต� าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ำบลย่านตาขาว มหาวิทยาลัยสงขลา ชาวชุมชนย่านตาขาวนครินทร์ วิทยาเขตตรัง ตลอดจน ที่ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในการด คณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ซึ่งให้การช่วยเหลือ าเนินการวิจัย และที่ส าคัญยิ่ง และความอนุเคราะห์จนท�ขอขอบพระคุณเทศบาลตำ าบลย่านตาขาวให้งานวิจัยนี้ส�ำเร็จได้ด้วยดี ชาวชุมชนย่านตาขาว ตลอดจน คณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกท่าน ซึ่งให้การช่วยเหลือและความอนุเคราะห์จนท าให้งานวิจัยนี้ส าเร็จได้ด้วยดี References References Arayanimitsakun, J.J. KhwampenmakhoKhwampenmakhongboriwenlanlongngbo̜ riwenlanlong̜ [[BackgroundBackground ofof openopen space areas]. Academicspace areas]. Journal Academic of Faculty Journal of of Architecture Faculty of Architecture Chulalongkorn Chulalongkorn University , 23. DusadeeprasertUniversity,, C. 23.(1996). Naeothangkanwangphaenphuaphatthanasuansatharanachum- Dusadeeprasert,chonnaikhetchannaikhongkrungthepmahanakhon C. (1996). Naeothangkanwangphaenphuaphatthana- [Planning guidelines for the developmentsuansatharanachumchonnaikhetchannaikhongkrungthepmah of community parks in the inner districts of Bangkok metropolis ]. (Masteranakhon’s thesis [Planning). Chulalongkorn guidelines forUniversity the development, Bangkok. of community Kaewkeaw,parks T. (in1993 the). innerKansưksaru districtspbaeplae of Bangkokbotbatkhongthiwangnaichumchonmưangkrung metropolis]. (Master’s thesis). - thepmahanakhonChulalongkorn University, [A study Bangkok. of pattern and role of urban space, Bangkok Kaewkeaw,metropolis T. (1993).]. ( MasterKansưksarupbaeplaebotbatkhongthiwangnaichumchon-’s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok. Khlongwetsa,mưangkrungthepmahanakhon N. (1989). EkkasanprakopkansonWichakanwa [A study of pattern ngphaenlaeand role of ourbankbae psuansa- thaspace,ranalae Bangkoknanthanakan metropolis]. [The (Master’s teaching thesis). document Chulalongkorn of planning University, and design of parks andBangkok. recreation]. Bangkok: Faculty of architecture Chulalongkorn university. Khlongwetsa,Kitrakkun, N. ( 1982N. (1989).). Phumisat EkkasanprakopkansonWichakanwangphaenlaeok- [Geography]. Bangkok: Odeon Store. Phongprayun,baepsuansatharanalaenanthanakan C. (1982). Phumisatmuang [Urban [TheGeography teaching]. Bangkok document: Thai ofWatana Panich. Taveepetch,planning P. (2000 and). designKanprayukchairu of parks andpbae recreation].p “khuang” Bangkok:kapkanphatthanathilo Faculty of ngnai- muarchitectureang: Krani suChulalongkornksamưangchiangmai university. [The application of "Khuang" in urban open space development: a case study of Muang Chiangmai]. (Master’s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok.

100 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

Kitrakkun, N. (1982). Phumisat [Geography]. Bangkok: Odeon Store. Phongprayun, C. (1982). Phumisatmuang [Urban Geography]. Bangkok: Thai Watana Panich. Taveepetch, P. (2000). Kanprayukchairupbaep “khuang” kapkanphatthana- thilongnaimuang: Kranisuksamưangchiangmai [The application of “Khuang” in urban open space development: a case study of Muang Chiangmai]. (Master’s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 101 การศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิงฯ

การศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ ของกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิง จังหวัดนครศรีธรรมราช

กษิญา เก้าเอี้ยน ส�ำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 อีเมล: [email protected]

บทคัดย่อ เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงเป็นกลุ่มที่ท�ำการผลิตเครื่องปั้นดินเผามาเป็นระยะเวลา ยาวนาน ปัจจุบันได้มีการรวมตัวจัดตั้งขึ้นเป็นกลุ่มเครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านมะยิง ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาของกลุ่มไม่มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นแตกต่างจากพื้นที่อื่น ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาชนิดผิวเรียบและลายเชือกทาบ ผู้วิจัยจึงด�ำเนินการศึกษา สภาพปัญหาและค้นหาแหล่งอารยธรรมโบราณที่สามารถน�ำลวดลายมาใช้สื่อถึงตัวตน ของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง จ.นครศรีธรรมราช ด้วยเครื่องมือแบบสังเกตและ แบบสัมภาษณ์ พบว่า เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงขาดความเป็นตัวตนอันบ่งบอกถึงลักษณะ เฉพาะของกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของลวดลายที่ปัจจุบันใช้อุปกรณ์สร้างลาย ของพื้นที่อื่นรวมถึงลายการ์ตูนที่หาซื้อได้ทั่วไป โดยต้องค�ำนึงถึงรูปแบบการผลิตเดิม ความต้องการ และความสามารถในการน�ำอุปกรณ์สร้างลายไปใช้ร่วมกับกระบวนการผลิต ของกลุ่ม และจากการค้นหาพื้นที่แหล่งอารยธรรมโบราณที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง พบว่า มีลวดลายปรากฏอยู่ในโบราณวัตถุที่ค้นพบในพื้นที่โบราณสถานวัดโมคลาน จึงมี ความเป็นไปได้ในการน�ำลวดลายจากพื้นที่ดังกล่าวมาสร้างเป็นลวดลายเฉพาะให้กับ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง โดยก่อให้เกิดประโยชน์กับผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิมให้มี อัตลักษณ์มากยิ่งขึ้นจากพื้นที่วัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ สามารถน�ำไปปรับใช้ทดแทน ลวดลายเดิม ให้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงที่มีลักษณะเฉพาะตัว แตกต่าง 102 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

จากพื้นที่อื่น

ค�ำส�ำคัญ: เครื่องปั้นดินเผา อัตลักษณ์ กลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิง สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 103 การศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิงฯ

Study to Develop Pottery Products Showing the Identity of Farmers Group Ban Ma Ying, Nakhon Si Thammarat

Kasiya Goweian School of Architecture and Design, Walailak University, Nakhon Si Thammarat 80160, Thailand e-mail: [email protected]

Abstract Pottery’s Ban Ma Ying is a group that produces pottery for a long time. At present, the group has been set up as a Farmers group pottery’s Ban Ma Ying. The pottery of the group has no distinctive characteristics that distinguish it from other areas. Most of the pottery is smooth and striped. The researcher investigated the problem and found ancient civilizations that can be used to convey the identity of the Ban Ma Ying pottery group, Nakhon Si Thammarat Province with observation tools and interviews, it was found that Pottery’s Ban Ma Ying lacked a sense of identity that indicated the characteristics of the group. Especially in terms of patterns that are currently used to create stripes of other areas as well as common cartoon designs. The need for and the ability to use the device to create a pattern together with the production process of the group. And from the area of ancient civilizations in the neighborhood. Found in the ancient artifacts in The ancient temple Mokhalan. It is possible to bring the pattern from the area to create a specific pattern for Pottery’s Ban Ma Ying. By bringing the benefits of traditional products to a greater identity from the historical cultural space. 104 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

Can be used to replace the original pattern, Pottery’s Ban Ma Ying products are unique and different from other areas.

Keywords: Pottery, Identity, Farmers group’s Ban Ma Ying สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 105 การศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิงฯ

บทน�ำ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงตั้งอยู่ในหมู่ที่ 9 ต�ำบลหัวตะพาน และหมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 11 ต�ำบลโมคลาน อ�ำเภอท่าศาลา ซึ่งมีการค้นพบร่องรอยทางโบราณคดี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการขุดค้นพบเศษภาชนะดินเผาหม้อสามขาและเครื่องมือ หินขัดตามเชิงเขาและถ�้ำที่เป็นวัฒนธรรมในยุคหินขัด มีร่องรอยการติดต่อการค้าทางทะเล กับทางตอนใต้ของประเทศจีน ในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นมีร่องรอยการติดต่อค้าขายกับ ทั้งจีน และอินเดีย มีการพัฒนาชุมชนขึ้นเป็นบ้านเมือง จนเข้าสู่สมัยทวารวดีและศรีวิชัย โดยเมื่อปี พ.ศ. 2521 ชวน เพชรแก้ว และคณะจากศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันราชภัฏ นครศรีธรรมราช (Provincial Administrative Organization of Nakhon Si Thammarat, 1996) ได้ส�ำรวจการท�ำภาชนะดินเผาบ้านมะยิง พบว่า พื้นที่นี้เป็นเนินดินขนาดใหญ่ที่ทับถม ด้วยเศษภาชนะดินเผา จากการที่ชาวบ้านเคยขุดดินบนเนินเพื่อขยายเตาเผาแล้วพบ เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเป็นจ�ำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าชุมชนในบริเวณนี้ได้ท�ำการผลิต เครื่องปั้นดินเผามาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ไม่มีข้อมูลระบุแน่ชัดว่าเกิดขึ้นในยุคสมัยใด มีเพียงข้อมูลบอกเล่าต่อกันมาว่าในสมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้าน ที่เลี้ยงม้าของท่านขุนคนหนึ่ง เพราะมีความอุดมสมบูรณ์มีแม่น�้ำล้อมรอบ มีทุ่งกว้างทาง ทิศตะวันตกและจากการที่หมู่บ้านนี้เลี้ยงม้าเป็นจ�ำนวนมากจึงมีคนเรียกว่า บ้านม้ายิ่ง ต่อมา ได้เกิดโรคระบาดท�ำให้มีคนล้มตายและอพยพหนีออกจากหมู่บ้าน หลังจากนั้นในสมัย รัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ. 2425 ชาวบ้านมะยิงที่มีอาศัยอยู่เพียงไม่กี่ครอบครัว รวมถึงครอบครัว ของนายด้วง นางนาค ได้มีการท�ำเครื่องปั้นดินเผาจ�ำพวกหม้อหุงข้าว หม้อต้มยา โดยท�ำ ใช้เองส่วนหนึ่งและแบ่งให้ญาติ ต่อมามีผู้คนอพยพย้ายเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านมากขึ้น จึงได้มี การแลกเปลี่ยน สิ่งของจนถึงขั้นท�ำการค้าขาย ท�ำให้ครอบครัวนี้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเพิ่มขึ้น โดยที่ไม่มีใครทราบว่าครอบครัวนายด้วง นางนาค ได้รับการถ่ายทอดวิธีการผลิตเครื่องปั้น ดินเผามาจากใคร (Nakhon Si Thammarat Cultural Office, 2006) ปัจจุบันได้มีการรวมตัวจัดตั้งขึ้นเป็นกลุ่มเครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านมะยิงในปี พ.ศ. 2541 (Prayat, 2014) ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาของกลุ่มไม่มีลักษณะเฉพาะ ที่โดดเด่นที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นสอดคล้องกับที่ สุจิตต์ วงษ์เทศ (Wongthet, 2007) กล่าวไว้ ว่าเครื่องปั้นดินเผาที่ค้นพบในพื้นที่ภาคใต้มีอัตลักษณ์ที่ยังไม่ลงตัว แม้เป็นดินแดนที่มีคนอยู่ 106 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการส�ำรวจและขุดค้น ในขณะนี้ยังไม่สามารถระบุให้เห็นว่ามีชุมชนที่ตั้งหลักแหล่งเป็นเวลานานจนมีรูปแบบของ ภาชนะดินเผาที่แสดงถึงเอกลักษณ์พื้นถิ่นอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาชนิด ผิวเรียบและลายเชือกทาบเช่นเดียวกับที่อื่น อีกทั้งยังไม่พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบในพื้นที่ บริเวณภาคใต้ แม้ในภาคใต้จะไม่มีผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายหรือรูปทรงที่โดดเด่น แต่กลับมีวัฒนธรรมอันยาวนาน เห็นได้จากการตั้งถิ่นฐานและโบราณสถานวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสิ่งแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง และการสืบทอด รักษาวัฒนธรรมมาจนถึงปัจจุบัน (Wetprasit, 2012) ท�ำให้ผู้วิจัยเกิดความสนใจที่จะค้นหา ลวดลายจากโบราณสถานซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่อยู่ใกล้พื้นที่ตั้งกลุ่มเครื่องปั้น ดินเผาบ้านมะยิง ที่สามารถน�ำมาต่อยอดใช้เป็นลวดลายที่บ่งบอกตัวตนของกลุ่มบนผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาได้

วัตถุประสงค์ ศึกษาสภาพปัญหาและค้นหาแหล่งอารยธรรมโบราณที่สามารถน�ำลวดลายมาใช้ สื่อถึงตัวตนของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง จ.นครศรีธรรมราช

วิธีด�ำเนินงานวิจัย 1. ใช้แบบสังเกตผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา และแบบสัมภาษณ์หัวหน้ากลุ่ม เครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. ใช้แบบสังเกตพื้นที่โบราณสถานที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่กลุ่มเครื่องปั้น ดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลการวิจัย ผู้วิจัยลงพื้นที่สังเกตรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาของกลุ่มและสัมภาษณ์ คุณจ�ำเป็น รักษ์เมือง หัวหน้ากลุ่มเครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง อ�ำเภอ ท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 พบว่า มีปัญหา สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 107 การศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิงฯ

ตรงตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวไปข้างต้น กล่าวคือ เครื่องปั้นดินเผาในอดีตเป็นแบบ ชนิดผิวเรียบและลายเชือกทาบ โดยแบบผิวเรียบยังคงมีการผลิตมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจาก ประหยัดเวลาและขั้นตอนการท�ำงาน ผลิตง่าย ท�ำให้มีราคาถูกขายง่ายกว่ารูปแบบอื่นๆ แต่ไม่มีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างจากพื้นที่อื่นดังภาพที่ 1 และได้น�ำเครื่องปั้นดินเผาโบราณ ที่ขุดพบในพื้นที่มาแสดงให้เห็นถึงลวดลายแบบเชือกทาบ นอกจากนี้ยังมีลายอื่นประกอบอีก คือ มีลักษณะของการขุดร่อง การประทับลายให้เป็นจุดนูน และมีการใช้ไม้ตีลายที่เป็น ลวดลายและเครื่องมือในสมัยโบราณ ดังภาพที่ 2 ซึ่งลักษณะลายดังกล่าวไม่เป็นที่ต้องการ ต่อผู้บริโภคในปัจจุบัน เนื่องจากเกิดร่องรอยสกปรกได้ง่ายและยากต่อการท�ำความสะอาด

จึงไม่มีการผลิตลวดลายนี้ในปัจจุบัน

ภาพที่ 1 เครื่องปั้นดินเผาแบบผิวเรียบ ภาพที่ 1 เครื่องปั้นดินเผาแบบผิวเรียบที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560

ภาพที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายแบบดั้งเดิม และเครื่องมือที่ใช้ในการท าให้เกิดลาย ที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560 แต่ได้มีการน าเครื่องมือตกแต่งลายจากแหล่งอื่นดังภาพที่ 3 ซึ่งได้หาซื้อมาจากจังหวัดราชบุรีและ ตัวประทับลวดลายการ์ตูนที่มีขายตามท้องตลาดน ามาใช้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ดังภาพที่ 4

ภาพที่ 1 เครื่องปั้นดินเผาแบบผิวเรียบ ที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560 108 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ภาพที่ภาพที่ 22 เครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายแบบดั้งเดิมเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายแบบดั้งเดิม และเครื่องมือที่ใช้ในการท� และเครื่องมือที่ใช้ในการทำให้เกิดลาย าให้เกิดลาย ที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560 แต่ได้มีการน�ำเครื่องมือตกแต่งลายจากแหล่งอื่นดังภาพที่ 3 ซึ่งได้หาซื้อมาจาก แต่ได้มีการนจังหวัดราชบุรีและตัวประทับลวดลายการ์ตูนที่มีขายตามท้องตลาดน� าเครื่องมือตกแต่งลายจากแหล่งอื่นดังภาพที่ 3 ซึ่งได้หาซื้อมาจากำมาใช้กับผลิตภัณฑ์จังหวัดราชบุรีและ ตัวประทับลวดลายการ์ตูนที่มีขายตามท้องตลาดนของกลุ่ม ดังภาพที่ 4 ามาใช้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ดังภาพที่ 4

ภาพที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการท าให้เกิดลายแบบราชบุรี ภาพที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการท�ำให้เกิดลายแบบราชบุรีที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560

ภาพที่ 4 ลวดลายการ์ตูนบนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560 ผลการสอบถามเพิ่มเติมพบว่าที่ผ่านมาได้มีกลุ่มคนเข้าไปพัฒนารูปแบบและลวดลาย เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง แต่กลับกลายเป็นการเพิ่มขั้นตอนการผลิตเช่น การปั้นชิ้นงานเป็นรูปดอกไม้มา ตกแต่งเพิ่มดังภาพที่ 5 หรือการทาสีดังภาพที่ 6 สิ่งเหล่านี้เป็นงานที่ต้องใช้เวลา เพิ่มต้นทุน และค่าแรงใน การผลิต ท าให้ทางกลุ่มไม่สามารถน าวิธีการเหล่านี้มาปรับใช้ในการผลิตจริงได้

ภาพที่ 5 การปั้นชิ้นงานเป็นรูปดอกไม้มาตกแต่งเพิ่มบนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง

ภาพที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการท าให้เกิดลายแบบราชบุรี ที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560

ภาพที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการทสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ าให้เกิดลายแบบราชบุรี 109 การศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิงฯที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560

ภาพที่ 4 ลวดลายการ์ตูนบนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง

ภาพที่ 4 ลวดลายการ์ตูนบนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560 ภาพที่ 4 ลวดลายการ์ตูนบนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ผลการสอบถามเพิ่มเติมพบว่าที่ผ่านมาได้มีกลุ่มคนเข้าไปพัฒนารูปแบบและลวดลายที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560 เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ผลการสอบถามเพิ่มเติมพบว่าที่ผ่านมาได้มีกลุ่มคนเข้าไปพัฒนารูปแบบและลวดลายผลการสอบถามเพิ่มเติม แต่กลับกลายเป็นการเพิ่มขั้นตอนการผลิตเช่น พบว่า ที่ผ่านมาได้มีกลุ่มคนเข้าไปพัฒนารูปแบบและ การปั้นชิ้นงานเป็นรูปดอกไม้มา เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงลวดลายเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง แต่กลับกลายเป็นการเพิ่มขั้นตอนการผลิตเช่น แต่กลับกลายเป็นการเพิ่มขั้นตอนการผลิต การปั้นชิ้นงานเป็นรูปดอกไม้มา เช่น การปั้น ตกแต่งเพิ่มดังตกแต่งเพิ่มดังภาพที่ชิ้นงานเป็นรูปดอกไม้มาตกแต่งเพิ่มดังภาพที่ 5 หรือการทาสีดังภาพที่ 5 หรือการทาสีดังภาพที่ภาพที่ 6 6สิ่งเหล่านี้เป็นงานที่ต้องใช้เวลา สิ่งเหล่านี้เป็นงานที่ต้องใช้เวลา 5 หรือการทาสีดังภาพที่ เพิ่มต้นทุน6 สิ่งเหล่านี้เป็นงาน เพิ่มต้นทุน และค่าแรงใน และค่าแรงใน การผลิต ท าให้ทางกลุ่มไม่สามารถนการผลิตที่ต้องใช้เวลา ท าให้ทางกลุ่มไม่สามารถน เพิ่มต้นทุน าวิธีการเหล่านี้มาปรับใช้ในการผลิตจริงได้ และค่าแรงในการผลิต าวิธีการเหล่านี้มาปรับใช้ในการผลิตจริงได้ ท�ำให้ทางกลุ่มไม่สามารถน� ำ วิธีการเหล่านี้ มาปรับใช้ในการผลิตจริงได้

ภาพที่ 5 การปั้นชิ้นงานเป็นรูปดอกไม้มาตกแต่งเพิ่มบนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง

ภาพที่ 5 การปั้นชิ้นงานเป็นรูปดอกไม้มาตกแต่งเพิ่มบนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงภาพที่ 5 การปั้นชิ้นงานเป็นรูปดอกไม้มาตกแต่งเพิ่มบนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง

110 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Cultureที่มา Journal : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560

ภาพที่ 6 การทาสีตกแต่งเพิ่มบนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ภาพที่ 6 การทาสีตกแต่งเพิ่มบนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560 ผลการสังเกต พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงไม่มีลวดลายที่เป็น อัตลักษณ์ชัดเจน แม้จะอยู่ในพื้นที่ชุมชนโบราณโมคลานที่อยู่ใกล้แหล่งผลิตมากที่สุด จึงเป็น ผลการสังเกตพบว่าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงไม่มีลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์ชัดเจน แม้จะ ที่น่าเสียดายหากไม่มีการน�ำแหล่งอารยธรรมโบราณที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างคุณค่า อยู่ในพื้นที่ชุมชนโบราณโมคลานที่อยู่ใกล้แหล่งผลิตมากที่สุดและลวดลายที่มีลักษณะเฉพาะ ส่งผลให้ผู้วิจัยสนใจที่จะท� จึงเป็นที่น่าเสียดายหากไม่มีการนำการศึกษาพื้นที่ตั้งของกลุ่ม าแหล่งอารย ธรรมโบราณที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างคุณค่าและลวดลายที่มีลักษณะเครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง และแหล่งอารยธรรมโบราณที่อยู่ใกล้เคียงเฉพาะ ส่งผลให้ผู้วิจัย สนใจที่จะ ท าการศึกษาพื้นที่ตั้งโดยค้นหาแหล่งอารยธรรมโบราณที่อยู่ภายในอ�ของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิงำเภอท่าศาลา ซึ่งเป็นอ�ำ เภอที่ตั้งของกลุ่มและแหล่งอารยธรรมโบราณ เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงและคัดเฉพาะโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียน โดย ที่อยู่ใกล้เคียง โดยค้นหาแหล่งอารยธรรมโบราณที่อยู่ภายในอ าเภอท่าศาลา ซึ่งเป็นอ าเภอที่ตั้งของกลุ่ม กรมศิลปากร เป็นการแสดงให้เห็นถึง ความมีคุณค่าในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และ เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงและคัดโบราณคดี จากการคัดเลือกดังกล่าวจึงได้เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเฉพาะโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร เป็นการ แสดงให้เห็นถึงกับกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ความมีคุณค่าในด้านประวัติศาสตร์ ดังภาพที่ 7ศิลปะ และโบราณคดี จากการคัดเลือกดังกล่าวจึงได้ เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ดังภาพที่ 7

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 111 การศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิงฯ

ภาพที่ 7 แผนที่ตั้งกลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ภาพที่ 7 แผนที่ตั้งกลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงที่มา : Google Maps. 2560 ที่มา : (Google Maps, 2560) จากภาพที่ 7 แสดงให้เห็นจุดด าคือกลุ่มเครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง จุดขาวทั้ง จากภาพที่ 7 แสดงให้เห็นจุดด�ำคือกลุ่มเครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร สองจุดคือแหล่งอารยธรรมโบราณที่อยู่บริเวณใกล้เคียง โดยจุดขาวด้านซ้ายคือโบราณสถานตุมปังที่อยู่ห่าง ไปทางทิศตะวันตกบ้านมะยิง จุดขาวทั้งสองจุดคือ และจุดขาวด้านขวาคือ แหล่งอารยธรรมโบราณที่อยู่บริเวณใกล้เคียงโบราณสถานวัดโมคลานที่อยู่ห่างไปทางทิศใต้ จากข้อมูลดังกล่าว โดยจุดขาว จึงได้ลงพื้นที่ทด้านซ้ายคือ าการสังเกต โบราณสถานตุมปังที่อยู่ห่างไปทางทิศตะวันตก และจุดขาวด้านขวาคือ โบราณสถานวัดโมคลานที่อยู่ห่างไปทางทิศใต้ ผลการลงพื้นที่สังเกตแหล่งโบราณสถานตุมปัง จากข้อมูลดังกล่าวจึงได้ลงพื้นที่ท� พบว่ามีเพียงฐานอิฐของโบราณสถานำ การสังเกตท่ามกลางป่า ไม้ที่ขึ้นหนาทึบ ผลการลงพื้นที่สังเกตแหล่งโบราณสถานตุมปัง ท าให้มองภาพรวมของพื้นที่ได้ยาก ดังภาพที่ 8พบว่า มีป้ายบอกเล่าข้อมูล มีเพียงฐานอิฐของโบราณสถานติดตั้งอยู่ด้านหน้า ทางเข้าท่ามกลางป่าไม้ที่ขึ้นหนาทึบดังภาพที่ 9 โดยมีรายละเอียดกล่าวถึง ท�ำให้มองภาพรวมของพื้นที่ได้ยาก การเข้าไปส ารวจของกรมศิลปากรเมื่อปี ดังภาพที่ 8พ.ศ. มีป้ายบอกเล่า2520 พบเห็น ว่ามีอิฐกระจายอยู่โดยทั่วไปและมีต้นยางขนาดใหญ่และขนาดกลางข้อมูลติดตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าดังภาพที่ 9 โดยมีรายละเอียดกล่าวถึง พันธุ์พืชต่างๆ การเข้าไปส� เป็นจ านวนำรวจของมาก สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันที่พบเห็น อีกทั้งข้อมูลจากการส ารวจของกรมศิลปากรในครั้งนั้นยังได้ขุดพบรูป เคารพท่อนล่าง นักโบราณคดีคาดการณ์ว่าเป็นรูปพระนารายณ์หรือพระวิษณุ หลังจากนั้นกรมศิลปากรก็ ไม่ได้ด าเนินการต่อ เนื่องจากขาดงบประมาณในการด าเนินการเพื่อให้ได้ค าตอบว่าสถานที่แห่งนี้มีความ

112 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

กรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2520 พบเห็นว่ามีอิฐกระจายอยู่โดยทั่วไปและมีต้นยางขนาดใหญ่ และขนาดกลาง พันธุ์พืชต่างๆ เป็นจ�ำนวนมากสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันที่พบเห็น อีกทั้ง ข้อมูลจากการส�ำรวจของกรมศิลปากรในครั้งนั้นยังได้ขุดพบรูปเคารพท่อนล่าง นักโบราณคดี คาดการณ์ว่าเป็นรูปพระนารายณ์หรือพระวิษณุ หลังจากนั้นกรมศิลปากรก็ไม่ได้ด�ำเนินการต่อ เนื่องจากขาดงบประมาณในการด�ำเนินการเพื่อให้ได้ค�ำตอบว่าสถานที่แห่งนี้มีความเป็นมา อย่างไร ต่อมาใน พ.ศ. 2544 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานและ เป็นมาอย่างไร ต่อมาใน พ.ศ.2544 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานและได้ทราบว่าเป็น ได้ทราบว่าเป็นโบราณสถานเก่าแก่มาก มีมาก่อน พ.ศ. 1800 เป็นวัดส�ำคัญสมัยพระเจ้า โบราณสถานเก่าแก่มาก มีมาก่อน พ.ศ.1800 เป็นวัดส าคัญสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งศรีธรรมราช ศรีธรรมาโศกราชแห่งศรีธรรมราชมหานครมหานคร และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของระดับชนชั้นผู้น และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของระดับ า ชนชั้นผู้น� ำ

ภาพที่ 8 โบราณสถานตุมปัง ภาพที่ที่มา 8 :โบราณสถานตุมปัง กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560

ภาพที่ 9 ป้ายข้อมูลโบราณสถานตุมปัง ภาพที่ 9ที่มา ป้ายข้อมูลโบราณสถานตุมปัง : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560

ผลการสังเกตแหล่งโบราณสถานวัดโมคลาน พบว่ามีเพียงฐานอิฐของโบราณสถานดังภาพที่ 10 โดยข้อมูลจากป้ายแหล่งโบราณคดีวัดโมคลานกล่าวว่าแต่เดิมเป็นศาสนสถานของพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ก าหนดอายุประมาณศตวรรษที่ 12-14 หลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบันได้แก่ แนวเสาหิน หินแกะสลักกรอบ ประตูอาคาร ธรณีประตู ชิ้นส่วนโยนิและศิวลึงค์ สระน้ าโบราณ แท่นตั้งเทวรูป โดยกรมศิลปากรได้ประกาศ ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2518

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 113 การศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิงฯ

ผลการสังเกตแหล่งโบราณสถานวัดโมคลาน พบว่า มีเพียงฐานอิฐของโบราณสถาน ดังภาพที่ 10 โดยข้อมูลจากป้ายแหล่งโบราณคดีวัดโมคลานกล่าวว่าแต่เดิมเป็นศาสนสถาน ของพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ก�ำหนดอายุประมาณศตวรรษที่ 12 - 14 หลักฐานที่ปรากฏ ในปัจจุบัน ได้แก่ แนวเสาหิน หินแกะสลักกรอบประตูอาคาร ธรณีประตู ชิ้นส่วนโยนิและ ศิวลึงค์ สระน�้ำโบราณ แท่นตั้งเทวรูป โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2518

ภาพที่ 10 โบราณสถานโบราณสถานวัดโมคลานโมคลาน ภาพที่ที่มา 10 : กษิญา โบราณสถานวัดโมคลาน เก้าเอี้ยน. 2560

มีการมีการแสดงให้เห็นถึงรูปทรงและลวดลายที่แฝงอยู่บนชิ้นส่วนของโบราณสแสดงให้เห็นถึงรูปทรงและลวดลายที่แฝงอยู่บนชิ้นส่วนของโบราณสถานและโบราณวัตถุถานและ โบราณวัตถุอย่างลวดลายที่เห็นได้ชัดจากเสากรอบประตูสลักลวดลายดังภาพที่ อย่างลวดลายที่เห็นได้ชัดจากเสากรอบประตูสลักลวดลายดังภาพที่ 11 11

ภาพที่ 11 เสากรอบประตูสลักลวดลายเสากรอบประตูสลักลวดลาย ภาพที่ 11 เสากรอบประตูสลักลวดลาย ที่มา:: ป้ายบอกข้อมูลโบราณสถานวัดโมคลาน

ผลการลงพื้นที่สังเกตโบราณสถานทั้งสองแห่งแสดงให้เห็นว่ามีลักษณะที่ถูกทิ้งร้าง เหลือเพียงฐานเหลือเพียงฐาน อิฐของโบราณสถานเหมือนกันเหมือนกัน แต่โบราณสถานวัดโมคลานมีการขุดค้นแต่โบราณสถานวัดโมคลานมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุโบราณวัตถุ และลวดลายที่ หลงเหลือบนโบราณสถานซึ่งมีรูปลักษณ์ชัดเจน แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการน าลวดลายมาพัฒนา ต่อได้มากกว่าพื้นที่โบราณสถานตุมปัง

สรุป จากการลงพื้นที่สังเกตและสัมภาษณ์กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงท าให้เห็นถึงปัญหาเดิมของ กลุ่มที่ขาดความเป็นตัวตนอันบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของกลุ่ม และค้นพบลวดลายจากพื้นที่โบราณสถานวัดโมโบราณสถานวัดโม คลาน จึงต้องการน ามาประยุกต์ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง โดยก่อโดยก่อให้เกิดประโยชน์กับให้เกิดประโยชน์กับ

114 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ผลการลงพื้นที่สังเกตโบราณสถานทั้งสองแห่งแสดงให้เห็นว่ามีลักษณะที่ถูกทิ้งร้าง เหลือเพียงฐานอิฐของโบราณสถานเหมือนกัน แต่โบราณสถานวัดโมคลานมีการขุดค้นพบ โบราณวัตถุ และลวดลายที่หลงเหลือบนโบราณสถานซึ่งมีรูปลักษณ์ชัดเจน แสดงให้เห็นถึง ความเป็นไปได้ในการน�ำลวดลายมาพัฒนาต่อได้มากกว่าพื้นที่โบราณสถานตุมปัง

สรุป จากการลงพื้นที่สังเกตและสัมภาษณ์กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงท�ำให้เห็นถึง ปัญหาเดิมของกลุ่มที่ขาดความเป็นตัวตนอันบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของกลุ่ม และค้นพบ ลวดลายจากพื้นที่โบราณสถานวัดโมคลาน จึงต้องการน�ำมาประยุกต์ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง โดยก่อให้เกิดประโยชน์กับผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิมให้มีอัตลักษณ์ มากยิ่งขึ้นจากพื้นที่วัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ สามารถน�ำไปปรับใช้ทดแทนลวดลายเดิม ให้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงที่มีลักษณะเฉพาะตัว แตกต่างจากพื้นที่อื่น เกิดเป็นแนวคิดในการพัฒนาและออกแบบเครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่ม เกษตรกรบ้านมะยิง จังหวัดนครศรีธรรมราช ดังภาพที่ 12 ผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิมให้มีอัตลักษณ์มากยิ่งขึ้นจากพื้นที่วัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ สามารถน าไปปรับใช้ ทดแทนลวดลายเดิม ให้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิงที่มีลักษณะเฉพาะตัวสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ แตกต่างจากพื้นที่อื่น115 เกิดเป็นแนวคิดในการพัฒนาและออกแบบเครื่องปั้การศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิงฯนดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิง จังหวัดนครศรีธรรมราช ดังภาพที่ 12

ภาพที่ภาพที่ 12 แนวคิดในการพัฒนาและออกแบบเครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของ12 แนวคิดในการพัฒนาและออกแบบเครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของ กลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิงกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มา : กษิญา เก้าเอี้ยน. 2560

116 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ข้อเสนอแนะ 1. การสร้างลวดลายเฉพาะบนชิ้นงานเครื่องปั้นดินเผาให้กับกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา บ้านมะยิงต้องค�ำนึงถึงรูปแบบการผลิตเดิม ความต้องการ และความสามารถในการใช้ อุปกรณ์และเครื่องมือมาสร้างลายไปใช้ร่วมกับกระบวนการผลิตของกลุ่ม 2. ศึกษาลวดลายเพิ่มเติมจากโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบในโบราณสถานวัดโมคลาน ที่ถูกน�ำไปเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เพื่อรวบรวมข้อมูล ลวดลายในยุคสมัยเดียวกันมาท�ำการคลี่คลายองค์ประกอบ ก่อให้เกิดความหลากหลาย น�ำไปพัฒนาต่อยอดเป็นเครื่องมือในการสร้างลวดลายที่สอดคล้องกับความต้องการของ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง 3. วิเคราะห์ลวดลาย และรูปทรง ที่เพิ่มมูลค่าและมีความเหมาะสมกับพฤติกรรม การใช้งานในชีวิตประจ�ำวัน

กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณกลุ่มเครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และคุณจ�ำเป็น รักษ์เมือง

References

Nakhon Si Thammarat Cultural Office. (2006). Khruangpan dinphao Ban Ma Ying [Ban Ma Ying’s Pottery]. Nakhon Si Thammarat: Project Phum Ban Phum Muang The Wisdom of Folk Crafts. Nakhon Si Thammarat: Nakhon Si Thammarat Cultural Office. Prayat, T. (2014). Dinphao ban ma ying supsan chiwit dangdœm su sinkha otop [Ban Ma Community Organizations Development Institute (CODI). (2014, September). Ying’s Potterry Bring Original Life to Otop’s Product]. Reteieved from http://www.codi.or.th/index.php/ 2015-08-04-11-01- 52/12583-2014-09-29-13-22-36 2. ศึกษำลวดลำยเพิ่มเติมจำกโบรำณวัตถุที่ขุดค้นพบในโบรำณสถำนวัดโมคลำนที่ถูกน ำไปเก็บ รักษำในพิพิธภัณฑสถำนแห่งชำติ นครศรีธรรมรำช เพื่อรวบรวมข้อมูลลวดลำยในยุคสมัย 2. ศึกษำลวดลำยเพิ่มเติมจำกโบรำณวัตถุที่ขุดค้นพบในโบรำณสถำนวัดโมคลำนที่ถูกนเดียวกันมำท ำกำรคลี่คลำยองค์ประกอบ ก่อให้เกิดควำมหลำกหลำย น ำไปพัฒนำต่อยอดเป็น ำไปเก็บ รักษำในพิพิธภัณฑสถำนแห่งชำติเครื่องมือในกำรสร้ำงลวดลำยที่สอดคล้องกับควำมต้องกำรของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผำบ้ำนมะยิง นครศรีธรรมรำช เพื่อรวบรวมข้อมูลลวดลำยในยุคสมัย 3. เดียวกันมำทวิเครำะห์ลวดลำย ำกำรคลี่คลำยองค์ประกอบ และรูปทรง ที่เพิ่มมูลค่ำและมีควำมเหมำะสมกับพฤติกรรมกำรใช้งำนใน ก่อให้เกิดควำมหลำกหลำย น ำไปพัฒนำต่อยอดเป็น เครื่องมือชีวิตประจในกำรสร้ำงลวดลำยที่สอดคล้องกับควำมต้องกำรของกลุ่มเครื่องปั้นดินเผำบ้ำนมะยิง ำวัน 3. วิเครำะห์ลวดลำย และรูปทรง ที่เพิ่มมูลค่ำและมีควำมเหมำะสมกับพฤติกรรมกำรใช้งำนใน

กิตติกรรมประกาศชีวิตประจ ำวัน ขอขอบคุณกลุ่มเครื่องปั้นดินเผำกลุ่มแม่บ้ำนเกษตรกรบ้ำนมะยิง อ ำเภอท่ำศำลำ จังหวัด กิตติกรรมประกาศนครศรีธรรมรำช และคุณจ ำเป็น รักษ์เมือง ขอขอบคุณ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผำกลุ่มแม่บ้ำนเกษตรกรบ้ำนมะยิง อ ำเภอท่ำศำลำ จังหวัด นครศรีธรรมรำช และคุณจ ำเป็น รักษ์เมือง References Nakhon Si Thammarat Cultural Office. (2006). Khruangpan dinphao Ban Ma Ying [Ban Ma Ying’s Pottery]. Nakhon Si ThammaratReferences: Project Phum Ban Phum Muang The Nakhon SiWisdom Thammarat of Folk Cultural Crafts Office. Nakhon. (2006). Si Thammarat Khruangpan: Nakhon dinphao Si Ban Thammarat Ma Ying [ BanCultural Ma Office. Prayat,Ying T. ’(s2014 Pottery). Dinphao]. Nakhon ban Si Thammaratmaสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ying supsan: Project chiwit Phum dangdœm Ban Phum su Muang sinkha117 The otop [Ban Ma Communityการศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านมะยิงฯWisdom Organizations of Folk Crafts Development. Nakhon Si Thammarat Institute: Nakhon(CODI). (2014,Si Thammarat September Cultural). Ying Office’s Potterry. Prayat,Bring OriginalT. (2014 )Life. Dinphao to Otop ban’s maProduct ying ].supsan Reteieved chiwit fromdangdœm http:// suwww sinkha.codi otop.or.th [Ban/ Ma Communityindex Organizations.php/ 2015 -Development08-04-11-01- 52/12583Institute (CODI)-2014.- 09(2014,-29- 13September-22-36 ). Ying’s Potterry ProvincialBringProvincial AdministrativeOriginal Administrative Life to OtopOrganization’s OrganizationProduct ].of ReteievedNakhon of Nakhon Si from Thammarat. Si http Thammarat://www (1996)..codi. (1996)..or San.th /San Nakhon Si NakhonindexThammarat, Si.php Thammarat,/ 2015 Bangkok-08 -Bangkok:04-11: Edison-01- 52/12583Edison Press Press -Product2014 Product.-09.- 29-13-22-36 Wongthet,ProvincialWongthet, S. (2007). Administrative S. Khruangpan(2007). Khruangpan Organization dinphao dinphao læof Nakhon khruangkhluap læ Sikhruangkhluap Thammarat kap phatthanakan. (1996). kap phatthanakanSan Nakhon Si thang thangThammarat,Setthakit Setthakit læ læBangkok sangkhomsangkhom: Edison khokhong Pressng̜ Sayam Product [Pottery[Pottery. andand porcelainporcelain with with the socio- Wongthet,the socio-economiceconomic S. (2007). developmentKhruangpan development dinphao of Siam of Siam].læ]. Bangkokkhruangkhluap Bangkok:: Matichon Matichon. kap. phatthanakan thang Wetprasit,Wetprasit, S. (2012).Setthakit S .Kansuksa (2012). læ sangkhom Kansuksa attalak khokhong attalakng̜ Sayamphra kho bqrommathat [ng̜ Pottery phra andbqrommathat nakhonporcelain si thamwith nakhon the rat socio si tham- rat phua phuaeconomic okok baep developmentsaphawa waetlom of Siam phainai]. Bangkok akhanakhan: Matichon asomasom. watthanathamwatthanatham mahawitthayalai Wetprasit,mahawitthayalaiWalailak S. (2012). changwat Kansuksa Walailak nakhonattalak changwat khosi tham ng̜ nakhon phra rat bqrommathat [siThe tham identity rat [The studynakhon identity of s iPhramahathat tham rat phua Nakorn studyok Siof baep ThammaratPhramahathat saphawa Transform Nakornwaetlom Si Thammaratinteriorphainai environmentakhan Transform asom interiorwatthanatham for Culture environment Heritage mahawitthayalai Center, Walailak for CultureWalailakUniversity, Heritage changwat Nakhon Center, nakhon Si ThammaratWalailak si tham University, rat]. [(TheMaster identityNakhon’s Thesis study Si Thammarat].) .of Silpakorn Phramahathat University Nakorn, Nakhon Pathom. (Master’sSi Thammarat Thesis). SilpakornTransform University, interior environment Nakhon Pathom. for Culture Heritage Center, Walailak University, Nakhon Si Thammarat]. (Master’s Thesis). Silpakorn University, Nakhon Pathom.

118 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 119 การน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก

การน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบ ของที่ระลึก

ชัชวาลย์ รัตนพันธุ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280 อีเมล: rattanapanchatchawan @gmail.com

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สร้างแนวความคิด จากศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ 2) ทดลองสร้างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบ โดยมี ล�ำดับขั้นตอนการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด ใช้วิธีเลือกโดยจงใจ สอบถามความคิดของผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ จ�ำนวน 5 คน 2) ท�ำการออกแบบและร่างแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกโดยแปรผลจาก ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ แนวความคิดจาก 12 เมืองนักษัตร แนวความคิดจากหัตถกรรม การแกะหนังตะลุง แนวความคิดจากหัตถกรรมร้อยลูกปัดมโนราห์ แนวความคิดจาก หัตถกรรมผ้ามัดย้อม แนวความคิดจากหัตถกรรมผ้าบาติก แนวความคิดจากหัตถกรรม การทอหางอวน แนวความคิดจากหัตถกรรมกระจูด แนวความคิดเครื่องปั้นดินเผา แนวความคิดจาศิลปมาลายู 3) ท�ำการออกแบบและร่างแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก แล้วน�ำไป สอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์จ�ำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบคือแบบสอบถามมาตราส่วน ค่าระดับ (Rating Scale) แล้วน�ำมาแปรผล เพื่อปรับปรุงแก้ไขงานออกแบบผลิตภัณฑ์ให้แล้วเสร็จก่อนท�ำการผลิต ชิ้นงานต้นแบบ 4) ท�ำการผลิตชิ้นงานของที่ระลึกต้นแบบ 5) สอบถามความพึงพอใจของ

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 120 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ผู้บริโภค 5 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ กลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่ พัฒนาชุมชนจังหวัด กลุ่มที่ 3 ผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมในท้องถิ่น กลุ่มที่ 4 ผู้ประกอบการ จ�ำหน่ายของที่ระลึก กลุ่มที่ 5 นักท่องเที่ยว รวมทั้งหมด 25 คน โดยพิจารณา 3 ด้าน คือ ด้านความเหมาะสมด้านเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ด้านความเหมาะสม กับความสวยงาม และด้านความเหมาะสมวัสดุและกรรมวิธีการผลิต เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามการประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติความถี่ และร้อยละเพื่อวัดผล ความพึงพอใจของผู้บริโภค แล้วน�ำมาแปรผลและอภิปรายผล ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่มีแนวความคิดจากศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นภาคใต้ด้านความเหมาะสมด้านเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 (SD. 0.61) อยู่ในระดับที่ดี ถัดมาด้านความเหมาะสมกับวัสดุและ กรรมวิธีการผลิตมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 (SD.0.674) อยู่ในระดับที่ดี และด้านความเหมาะสม กับความสวยงามระดับความคิดเห็นน้อยที่สุดเท่ากับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 (SD.0.61) อยู่ในระดับที่ดี

ค�ำส�ำคัญ: ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น, การสร้างมูลค่าเพิ่ม สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 121 การน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก

The Design Process of Souvenirs by using the Inspiration of Arts and Culture in the South of Thailand

Chatchawan Rattanapan Faculty of Industrial Technology, Nakhorn Si Thammarat Rajabhat University Nakhorn Si Thammarat 80280, Thailand e-mail: [email protected]

Abstract This research aims to study 1) the design process of souvenirs by using the inspiration of arts and culture in the south of Thailand and 2) the creation of souvenirs’ prototypes. The process of the research is as follows : step 1) to collect the data, purposive sampling method was usedto select 5 experts of arts and culture in the south of Thailand. An open-ended questionnairewas used to ask the opinions of the expertsabout concepts of arts and culture in the south of Thailand. Step 2) the concepts ofarts and culture in the south of Thailand were divided into 9 groupsbased on materials used and processeswhich are (a) 12 Thai zodiac sign (b) leather carving of the shadow puppet (c) threading Nora beads (d) tie dye clothing (e) Batik clothing (f) Hang Aoanweaving – weaving fresh palm leaves (g) Krajudweaving – weaving a family of plants as well as reed (h) pottery craft and (i) Malay arts. The souvenir’s prototypeswere designed and draftedby usingtheabove materials and processes.Step 3) after designing and drafting the souvenirs’prototypes, rating scale questions were used to ask the opinions and suggestions of 5 experts which were used to develop the souvenir design. Step 4) the souvenirs’ 122 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal prototypeswereproduced. Step 5) rating scale questions were used to ask to rate the souvenirs’ prototypes. For this step, 25 individuals were dividedinto 5 groups which are the experts of product design, provincial development officers, craft producers in communities, souvenir shop owners, and tourists. There are 3 aspects asking consumers’ satisfaction : presenting identities of arts and culture in the south of Thailand, presentingthe beauty, and materials used and manufacturing process. The consumers’ satisfaction was analyzed by using frequency, mean, and percentage of descriptive statistics. The research shows that the most satisfying aspect is presenting identities of arts and culture in the south of Thailand with the high level (X = 4.38 and SD = 0.61). The second satisfying aspect is the materials used and manufacturing processwith the high level (X = 4.10 and SD = 0.674). The least satisfying aspect is presenting the beautywith the high level (X = 4.04 and SD = 0.61).

Keywords: Local Arts and Culture, Value Creation สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 123 การน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก

บทน�ำ กล่าวถึงภาคใต้โดยภาพรวมที่มีลักษณะเป็นแหลมแคบยาวขนาบด้วยทะเล ทั้งสองด้าน มีท�ำเลทางภูมิศาสตร์ที่เป็นคาบสมุทรและเป็นประตูติดต่อกับโลกภายนอก มีท่าจอดเรือธรรมชาติหลายแห่งทั้งสองฝั่ง และความเป็นดินแดนแห่งโภคทรัพย์ท�ำให้มี การติดต่อกับคนภายนอกทั้งในและนอกประเทศนับเนื่องมามากกว่า 1,000 ปี มีการรับเอา วัฒนธรรมจีน อินเดียฝ่ายใต้ ชวา มาลายู (Bussararat, 2008, pp. 27 - 50 quote in Nathalang, 2007, pp. 3 - 5) เกิดการหลอมรวมทางและศิลปประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถน�ำมาสร้างให้เกิด มูลค่าได้ เพราะแนวความคิดเรื่องการสร้างสรรค์คุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ (Value Creation) เป็นค�ำที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เพราะการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าสามารถท�ำได้ตั้งแต่ต้นน�้ำ จนถึงปลายน�้ำ เพื่อช่วยลดต้นทุน สามารถผลิตได้มากขึ้น วิสัยทัศน์ของผู้ผลิตต้องเปลี่ยน จาการรับจ้างผลิต (OEM : Original Enhance Manufacture) หรือการผลิตสิ้นค้าที่มี รูปแบบเหมือนคนอื่น เป็นการผลิตสิ้นค้าที่มารูปแบบเป็นของตนเอง มีความเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวของสินค้าที่ลอกเลียนแบบได้ยาก (Aimchotiwalich, 2008, pp. 34 - 36) ของที่ระลึกเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เป็นสิ่งที่แสดงถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งท�ำให้เป็นที่รู้จักและจดจ�ำได้ เป็นการสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ท้องถิ่นใดที่สามารถน�ำงานศิลปวัฒนธรรมมาส่งเสริม ให้กลายเป็นสินค้าที่ระลึก จึงเท่ากับเป็นการสืบทอดและฟื้นฟูฝีมือด้านหัตถกรรมดั้งเดิม และที่ส�ำคัญเป็นการเพิ่มมูลค่าที่เป็นทรัพยากรท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับแรงงานท้องถิ่น โดยใช้หลักการออกแบบของที่ระลึกดังนี้ 1) พยายามใช้ วัสดุภายในท้องถิ่นมากที่สุด 2) ผลงานที่ผลิตจะต้องแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น 3) ขนาด น�้ำหนัก ของสินค้าสามารถพกพาได้สะดวก 4) สินค้าควรมีความงามและแฝง ไปด้วยประโยชน์ใช้สอย 5) การประดิษฐ์คิดค้นรูปแบบใหม่ๆ ยังคงรักษาธ�ำรงคุณค่า ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น (Manuratchada, 2012, p. 57 quote in Li Suvun, 2010, pp. 129 - 136) ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นที่มาของการสร้างแนวความคิดในการน�ำ ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก เพราะมีความโดดเด่น 124 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

และมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารถน�ำมาสร้างคุณค่าเพิ่มด้วยกระบวนการ ออกแบบ ผลิต และจ�ำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 1. เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่มีแนวความคิดจากศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นภาคใต้ 2. เพื่อทดลองสร้างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบ

กรอบแนวคิดในการวิจัย

แนวความคิด จากศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้

องค์ประกอบของการออกแบบ การออกแบบ คือ รูปทรง แสง สี พื้นผิว ขนาดสัดส่วน พื้นที่ว่าง ประโยชน์ใช้สอย วัสดุ การขนส่ง

รูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ที่มีเอกลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้

ภาพที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 125 การน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก

ขอบเขตของโครงการวิจัย 1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกมีขอบเขตดังนี้ 1.1 การออกแบบของที่ระลึกจากการน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้าง แนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก ได้แก่ แนวความคิดจาก ประวัติศาสตร์เมือง 12 นักษัตร หัตถกรรมแกะหนังตะลุง หัตถกรรม เครื่องประดับชุดโนรา หัตถกรรมผ้ามัดย้อม หัตถกรรมผ้าบาติก หัตถกรรม หางอวน หัตถกรรมกระจูด หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา และศิลปะมาลายู 1.2 การวิเคราะห์รูปแบบเพื่อน�ำมาหาประสิทธิภาพความพึงพอใจของผู้บริโภค จ�ำนวน 5 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ จ�ำนวน 5 คน นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ จ�ำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยว จ�ำนวน 5 คน ผลิตผู้ผลิตสินค้าของที่ระลึก ในท้องถิ่น จ�ำนวน 5 คน ผู้ประกอบการร้านจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จ�ำนวน 5 คน

126 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailakคนผลิต Abodeผู้ผลิต ofสินค้าของที่ระลึกในท้องถิ่น Culture Journal จ านวน 5 คน ผู้ประกอบการร้านจ าหน่าย ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จ านวน 5 คน 5. วิธีด าเนินการวิจัยวิธีด�ำเนินการวิจัย

ภาพที่ 2 แสดงวิธีด าเนินการวิจัย

ภาพที่ 2 แสดงวิธีด�ำเนินการวิจัย 6. วิธีด าเนินการวิจัยตามวัตถุประสงค์ 6.1 วัตถุประสงค์วิธีด�ำเนินการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแนวความคิดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 1. วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแนวความคิด ภาคใต้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมที่ครอบคลุมทั้งด้าน โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งด้านประวัติศาสตร์ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยได้ข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางใน การออกแบบดังนี้ 6.1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ทั้งการลงพื้นที่ และศึกษา เอกสาร นิตยสาร หนังสือ ต ารา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6.1.2 การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เดิมเป็นสิ่งส าคัญ เพราะจะท าให้ค้นพบข้อด้อย ข้อดี ค้นหา ส่วนที่บกพร่อง เพื่อน าข้อมูลไปสังเคราะห์และน าไปสู่การออกแบบให้เกิดรูปลักษณ์ใหม่ที่ดีกว่า เดิม

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 127 การน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก

โดยได้ข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบดังนี้ 1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ทั้งการลงพื้นที่ และศึกษา เอกสาร นิตยสาร หนังสือ ต�ำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.2 การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เดิมเป็นสิ่งส�ำคัญ เพราะจะท�ำให้ค้นพบข้อด้อย ข้อดี ค้นหาส่วนที่บกพร่อง เพื่อน�ำข้อมูลไปสังเคราะห์และน�ำไปสู่การออกแบบให้เกิดรูปลักษณ์ ใหม่ที่ดีกว่าเดิม

ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง

วัสดุและกรรมวิธี ประโยชน์ทางกายภาพ ประโยชน์ทางจิตใจ การผลิต

โครงสร้าง ความสวยงาม รูปร่าง วัสดุในท้องถิ่น ประโยชน์ใช้สอย รูปทรง สีสัน ลวดลาย เทคโนโลยีที่เหมาะสม การขนส่ง พื้นผิว ความกลมกลืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย เรื่องราวความเป็นมา ง่ายต่อการท�ำความสะอาด คุณค่าทางวัฒนธรรม

ภาพที่ 3 แสดงการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง

1.3 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบ เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีรูปลักษณ์ใหม่ โดยมีกระบวนการวิเคราะห์ คือเทคนิคการวิเคราะห์ SCAMPER (Jantarasa, 2015, pp. 50 - 52 quote in Sutsung, 2000, p. 53) เป็นชื่อย่อที่ผสมขึ้นของตัวอักษรประกอบด้วย Substitute หมายถึง การใช้วัสดุอื่นทดแทน เช่น ใช่วัสดุที่ย่อยสะลายได้ เพื่อลดมลภาวะ Combine หมายถึง การผสมวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับผู้ใช้สอยในอีกสังคม หรืออีกในวัฒนธรรมหนึ่ง Adapt หมายถึง การดัดแปลง เช่น เปลี่ยนความหมาย

6.1.3 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบ เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีรูปลักษณ์ใหม่โดยมีกระบวนการ วิเคราะห์ คือเทคนิคการวิเคราะห์ SCAMPER (Jantarasa R. 2015 : 50-52 quote in Sutsung N.2000 : 53) เป็นชื่อย่อที่ผสมขึ้นของตัวอักษรประกอบด้วย Substitute หมายถึง การใช้วัสดุอื่นทดแทน เช่น ใช่วัสดุที่ ย่อยสะลายได้ เพื่อลดมลภาวะ Combine หมายถึง การผสมวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับผู้ใช้สอยใน อีกสังคมหรืออีกในวัฒนธรรมหนึ่ง Adapt หมายถึง การดัดแปลง เช่น เปลี่ยนความหมาย เปลี่ยนจุดประสงค์ เปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน เปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและลักษณะการใช้งานให้แตกต่างไปจากเดิม Magnify 128 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ หมายถึง การการขยายWalailak การลด Abode เพิ่มความถี่ of Culture Journalท าให้แปลกตากว่ารูปแบบเดิมที่มีอยู่ Minify หมายถึง การลด ท า ให้ขนาดเล็กลง ท าให้เพรียวขึ้น ท าให้เบาลง ลดชิ้นส่วนให้น้อยลง Put to other uses หมายถึง การใช้วิธีอื่น การน าวิธีการผลิตที่ง่ายและไม่ซับซ้อนเพื่อลดต้นทุนเปลี่ยนจุดประสงค์ เปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน Eliminateเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและลักษณะการใช้งาน หมายถึง การตัด ตัดส่วนที่ไม่จ าเป็นออก ตัด ให้แตกต่างไปจากเดิม Magnify หมายถึง การขยาย การลด เพิ่มความถี่ ท�ำให้แปลกตา พื้นที่บางส่วน กว่ารูปแบบเดิมที่มีอยู่เฉพาะส่วน Elaborate Minify หมายถึง หมายถึง การต่อเติม การลด ท� ำเช่นให้ขนาดเล็กลง การเพิ่มประโยชน์ใช้สอย ท�ำให้เพรียวขึ้น ท� ำจัดเก็บให้ ต่อเติมเนื้อ ที่ในการท างานเบาลง Reverse ลดชิ้นส่วนให้น้อยลง หมายถึง การกลับข้าง Put to other ท าให้เกิดผล uses หมายถึงรงข้ามที่ การใช้วิธีอื่นไม่เคยมี การน� เช่นำ วิธีการผลิตสลับที่ กลับด้าน กลับหัว ที่ง่ายและไม่ซับซ้อนเพื่อลดต้นทุน Eliminate หมายถึง การตัด ตัดส่วนที่ไม่จ�ำเป็นออก กลับ ตัดพื้นที่บางส่วน เฉพาะส่วน Elaborate หมายถึง การต่อเติม เช่น การเพิ่มประโยชน์ใช้สอย 6.1.4จัดเก็บ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ต่อเติมเนื้อที่ในการท�ำงาน สรุปได้ว่า Reverse สิ่งที่จูงใจผู้ซื้อผลิตภัณฑ์มี หมายถึง การกลับข้าง ท�ำให้เกิดผลตรงข้าม 3 สิ่งคือ สถานที่ (place) การ เลือกสถานที่จที่ไม่เคยมี าหน่ายสินค้า เช่น สลับที่ จ าเป็นต้องเลือกให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย กลับด้าน กลับหัวกลับ เวลา (time) การจัดร้านน าเสนอผลิตภัณฑ์ 1.4 การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย สรุปได้ว่า สิ่งที่จูงใจผู้ซื้อผลิตภัณฑ์มี 3 สิ่ง คือ มีความส าคัญพอๆกับการขายสถานที่ (place) การเลือกสถานที่จ� และคน (people)ำหน่ายสินค้า การให้ข้อมูลเรื่องราวของสินค้า จ�ำเป็นต้องเลือกให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย วัสดุ และกระบวนการ ท างานแก่พนักงานเวลา (time)และลูกค้าส การจัดร้านน� าคัญมากำเสนอผลิตภัณฑ์มีความส� เพราะเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ำคัญพอๆ กับการขาย และคน (people) (Akase H, 2016) การให้ข้อมูลเรื่องราวของสินค้า วัสดุ และกระบวนการท�ำงานแก่พนักงาน และลูกค้า ส�ำคัญมาก เพราะเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ (Akase, 2016) 6.1.5 1.5ขั้นตอนการออกแบบ ขั้นตอนการออกแบบ

ภาพที่ 3 แนวความคิด จากประวัติศาสตร์สิบสองเมืองนักษัตร ภาพที่ 3 แนวความคิด จากประวัติศาสตร์สิบสองเมืองนักษัตร

6.1.3 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบ เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีรูปลักษณ์ใหม่โดยมีกระบวนการ วิเคราะห์ คือเทคนิคการวิเคราะห์ SCAMPER (Jantarasa R. 2015 : 50-52 quote in Sutsung N.2000 : 53) เป็นชื่อย่อที่ผสมขึ้นของตัวอักษรประกอบด้วย Substitute หมายถึง การใช้วัสดุอื่นทดแทน เช่น ใช่วัสดุที่ ย่อยสะลายได้ เพื่อลดมลภาวะ Combine หมายถึง การผสมวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับผู้ใช้สอยใน อีกสังคมหรืออีกในวัฒนธรรมหนึ่ง Adapt หมายถึง การดัดแปลง เช่น เปลี่ยนความหมาย เปลี่ยนจุดประสงค์ เปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน เปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและลักษณะการใช้งานให้แตกต่างไปจากเดิม Magnify หมายถึง การการขยาย การลด เพิ่มความถี่ ท าให้แปลกตากว่ารูปแบบเดิมที่มีอยู่ Minify หมายถึง การลด ท า ให้ขนาดเล็กลง ท าให้เพรียวขึ้น ท าให้เบาลง ลดชิ้นส่วนให้น้อยลง Put to other uses หมายถึง การใช้วิธีอื่น การน าวิธีการผลิตที่ง่ายและไม่ซับซ้อนเพื่อลดต้นทุน Eliminate หมายถึง การตัด ตัดส่วนที่ไม่จ าเป็นออก ตัด พื้นที่บางส่วน เฉพาะส่วน Elaborate หมายถึง การต่อเติม เช่น การเพิ่มประโยชน์ใช้สอย จัดเก็บ ต่อเติมเนื้อ ที่ในการท างาน Reverse หมายถึง การกลับข้าง ท าให้เกิดผลรงข้ามที่ไม่เคยมี เช่น สลับที่ กลับด้าน กลับหัว กลับ 6.1.4 การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย สรุปได้ว่า สิ่งที่จูงใจผู้ซื้อผลิตภัณฑ์มี 3 สิ่งคือ สถานที่ (place) การ เลือกสถานที่จ าหน่ายสินค้า จ าเป็นต้องเลือกให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เวลา (time) การจัดร้านน าเสนอผลิตภัณฑ์ มีความส าคัญพอๆกับการขาย และคน (people) การให้ข้อมูลเรื่องราวของสินค้า วัสดุ และกระบวนการ ท างานแก่พนักงาน และลูกค้าส าคัญมาก เพราะเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ (Akase H, 2016)

6.1.5 ขั้นตอนการออกแบบ

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 129 การน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก ภาพที่ 3 แนวความคิด จากประวัติศาสตร์สิบสองเมืองนักษัตร

ภาพที่ 4 แนวความคิด จากหัตถกรรมการแกะหนังตะลุง ภาพที่ ภาพที่ 4 แนวความคิด4 แนวความคิด จากหัตถกรรมการแกะหนังตะลุง จากหัตถกรรมการแกะหนังตะลุง

ภาพที่ 5 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมเครื่องประดับมโนราห์ ภาพที่ 5 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมเครื่องประดับมโนราห์ ภาพที่ 5 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมเครื่องประดับมโนราห์

ภาพที่ 6 แสดงภาพที่แนวความคิด 6 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมผ้ามัดย้อม จากหัตถกรรมผ้ามัดย้อม ภาพที่ 6 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมผ้ามัดย้อม

ภาพที่ 7 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมผ้าบาติก

ภาพที่ 7 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมผ้าบาติก

ภาพที่ 4 แนวความคิด จากหัตถกรรมการแกะหนังตะลุง

ภาพที่ 5 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมเครื่องประดับมโนราห์

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 130 ภาพที่Walailak 6 แสดง Abodeแนวความคิด of Culture Journal จากหัตถกรรมผ้ามัดย้อม

ภาพที่ 7 แสดงภาพที่แนวความคิด 7 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมผ้าบาติก จากหัตถกรรมผ้าบาติก

ภาพที่ 8 แสดง แนวความคิด จากหัตถกรรมหางอวน

ภาพที่ 8 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมหางอวน

ภาพที่ 9 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมกระจูด ภาพที่ 9 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมกระจูด

ภาพที่ 10 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา

ภาพที่ 8 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมหางอวน

ภาพที่ 8 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมหางอวน

ภาพที่ 9 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมกระจูด

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 131 การน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก ภาพที่ 9 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมกระจูด

ภาพที่ 10 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา

แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ภาพที่ 10 ภาพที่ 10 แสดงแนวความคิด จากหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา

ภาพที่ 11 แสดงแนวความคิด จากศิลปะมาลายู ภาพที่ 11 แสดงแนวความคิด จากศิลปะมาลายู

6.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อทดลองสร้างผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึกต้นแบบ 2. วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อทดลองสร้างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบ

ภาพที่ 12 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบนาฬิกาตั้งโต๊ะเมืองสิบสองนักษัตร ภาพที่ 12 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบนาฬิกาตั้งโต๊ะเมืองสิบสองนักษัตร

ภาพที่ 13 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟหนังตะลุง และผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟมโนราห์

ภาพที่ 14 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋าผ้ามัดย้อม

ภาพที่ 11 แสดงแนวความคิด จากศิลปะมาลายู

ภาพที่ 11 แสดงแนวความคิด จากศิลปะมาลายู 6.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อทดลองสร้างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบ

6.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อทดลองสร้างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบ

ภาพที่ 11 แสดงแนวความคิด จากศิลปะมาลายู

6.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อทดลองสร้างผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบ

ภาพที่ 12 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบนาฬิกาตั้งโต๊ะเมืองสิบสองนักษัตร

ภาพที่ 12 แสดงผลิตภัณฑ์ ต้นแบบนาฬิกาตั้งโต๊ะเมืองสิบสองนักษัตร

สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 132 Walailak Abode of Culture Journal ภาพที่ 12 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบนาฬิกาตั้งโต๊ะเมือง สิบสองนักษัตร

ภาพที่ 13 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟ หนังตะลุง และผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟมโนราห์

ภาพที่ 13 แสดงผลิตภัณฑ์ ต้นแบบโคมไฟหนังตะลุง และผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟมโนราห์ ภาพที่ 13 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟหนังตะลุง และผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟมโนราห์ ภาพที่ 13 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟหนังตะลุง และผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟมโนราห์

ภาพที่ 14 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋าผ้ามัดย้อม ภาพที่ 14 แสดงผลิตภัณฑ์ ต้นแบบ กระเป๋า ผ้ามัดย้อม ภาพที่ 14 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋าผ้ามัดย้อม ภาพที่ 14 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋าผ้ามัดย้อม

ภาพที่ 15 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ้าพันคอบาติก

ภาพที่ 15 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ้าพันคอบาติก

ภาพที่ 15 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ้าพันคอบาติก

ภาพที่ ภาพที่ 15 แสดงผลิตภัณฑ์ 15 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบต้นแบบผ้าพันคอสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ผ้าพันคอบาติก บาติก 133 การน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก

ภาพที่ 16 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบ กระเป๋า ย่ามหางอวน และผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋าจากกระจูด

ภาพที่ 16 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋าย่ามหางอวน และผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋าจากกระจูด

ภาพที่ 16 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋าย่ามหางอวน และผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋า ภาพที่ ภาพที่ 16 แสดงผลิตภัณฑ์ 16 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบต้นแบบกระเป๋ากระเป๋าย่ามหางอวนย่ามหางอวน และผลิต และผลิตภัณฑ์ต้นแบบภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋ากระเป๋าจากกระจูดจากกระจูด จากกระจูด

ภาพที่ 17 แสดงผลิตภัณฑ์ภาพที่ 17 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงเทียนเครื่องปั้นดินเผาต้นแบบเชิงเทียนเครื่องปั้นดินเผา ภาพที่ 17 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงเทียนเครื่องปั้นดินเผา

ภาพที่ภาพที่ 17 แสดงผลิตภัณฑ์ 17 แสดงผลิตภัณฑ์ ต้นแบบต้นแบบเชิงเทียนเชิงเทียนเครื่องปั้นดินเผาเครื่องปั้นดินเผา

ภาพที่ 18 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระจกเงามาลายู

ภาพที่ภาพที่ 1 188 แสดงผลิตภัณฑ์ แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระจกเงามาลายูมาลายู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และค่าร้อยละ ภาพที่ภาพที่ 18 แสดงผลิตภัณฑ์ 18 แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบต้นแบบกระจกเงากระจกเงามาลายูมาลายู 7 7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ความถี่ และค่าร้อยละ และค่าร้อยละ

7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ความถี่ และค่าร้อยละ และค่าร้อยละ

134 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ผลการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยน�ำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ จากผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ การลงพื้นที่ ส�ำรวจรูปแบบผลิตภัณฑ์เดิม การสัมภาษณ์ ได้ท�ำการวิเคราะห์ดังนี้ คือ ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัสดุ และกรรมวิธีการผลิต จากผลการวิเคราะห์ และ ได้ข้อสรุปว่า ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่ท�ำการออกแบบมาจากแนวความคิดดังต่อไปนี้ แนวความคิดจากประวัติศาสตร์เมือง 12 นักษัตร ท�ำการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นนาฬิกา ตั้งโต๊ะ แนวความคิดจากการแกะหนังตะลุง ท�ำการออกแบบเป็นโคมไฟตั้งโต๊ะ แนวความคิด จากการร้อยลูกปัดมโนราห์ ท�ำการออกแบบเป็นโคมไฟตั้งโต๊ะ แนวความคิดจากมัดย้อม ท�ำการออกแบบเป็นกระเป๋าผ้า แนวความคิดจากผ้าบาติก ท�ำการออกแบบเป็นผ้าพันคอ แนวความคิดจากการทอหางอวนท�ำการออกแบบเป็นกระเป๋าย่าม แนวความคิดจาก จักรสานกระจูด ท�ำการออกแบบเป็นกระเป๋าเอกสาร แนวความคิดจากเครื่องปั้นดินเผา ท�ำการออกแบบเป็นเชิงเทียน แนวความคิดจากศิลปมาลายูท�ำการออกแบบเป็นกระจกเงา ติดผนัง 2. เมื่อท�ำการออกแบบร่างแบบจากแนวความคิดดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้น น�ำแบบร่างไปให้ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะข้อคิดเห็น แล้วท�ำการปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ 3. ท�ำการผลิตชิ้นงานต้นแบบ เมื่อเสร็จแล้วจึงน�ำไปให้ผู้บริโภคประเมินคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในภาพรวม

อภิปรายผล ผลการวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากแบบสอบถามโดยท�ำการประเมิน 3 ด้าน คือ ความเหมาะสมด้านเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ความเหมาะสมกับ ความสวยงาม ความเหมาะสมกับวัสดุและกรรมวิธีการผลิต พบว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์ของ ที่ระลึกที่มีแนวความคิดจากศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ด้านความเหมาะสมด้านเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 (SD. 0.61) เมื่อพิจารณา รายละเอียดในด้านนี้ พบว่า ผลิตภัณฑ์มีรูปแบบ สีสัน ลวดลายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 135 การน�ำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก

มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 (SD. 0.66) ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะของวิธีการท�ำ ผลิตภัณฑ์ มีวัสดุที่เอกลักษณ์เฉพาะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 (SD. 0.58) ผลิตภัณฑ์มีเรื่องราวที่มา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 (SD. 0.56) ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าของศิลปะและหัตถกรรมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.52 (SD. 0.58) รองลงมาด้านความเหมาะสมกับวัสดุและกรรมวิธีการผลิตมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.10 (SD. 0.674) เมื่อพิจารณารายละเอียดในด้านนี้ พบว่า วัสดุมีความเหมาะสมกับ กรรมวิธีการผลิต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 (SD. 0.57) วัสดุมีความแข็งแรงคงทนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.92 (SD. 0.70) การผสมผสานระหว่างวัสดุ 2 ชนิด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 (SD. 0.76) กรรมวิธีการผลิตเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 (SD. 0.59.) ง่ายต่อการท�ำความสะอาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 (SD. 0.72) และด้านความเหมาะสมกับความสวยงามมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.04 (SD. 0.61) เมื่อพิจารณารายละเอียดในด้านนี้พบว่า ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 (SD. 0.539) ลวดลายมีความสวยงามค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 (SD. 0.640) วัสดุมีความสวยงามผลิตภัณฑ์มีความสวยงามมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 (SD. 0.60) รูปทรงมีความสวยงามมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 (SD. 0.66) ความสวยงามของการผสมผสาน ระหว่างวัสดุ 2 ชนิดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 (SD. 0.64)

ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้เรียนรู้และมีข้อเสนอแนะเพื่อการน�ำผลวิจัยไปใช้และ เพื่อการวิจัยในครั้งต่อไป และข้อเสนอแนะเรื่องให้การน�ำผลวิจัยไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะว่าควรพิจารณา ดังต่อไปนี้ 1. ขั้นตอนการออกแบบ ผลิตภัณฑ์นั้นต้องมีความทันสมัย สอดคล้องกับประโยชน์ ใช้สอยและความต้องการของผู้ใช้ในยุคปัจจุบัน การน�ำวัสดุต่างชนิดมาประกอบเข้าด้วยกัน ต้องค�ำนึงถึงองค์ประกอบที่มีความกลมกลืนทั้งในด้านรูปทรง สี พื้นผิว และความยากง่าย ในการขึ้นรูป ขั้นตอนกระบวนการผลิต ผู้ประกอบการสามารถผลิตได้เอง โดย วัสดุ เทคโนโลยี การผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่น ภายใต้ความคุ้มทุนและมีผลก�ำไร 2. ข้อเสนอแนะส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ได้แก่ ต้องพัฒนา พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน บนฐานคิดของหลักการตลาด การผลิต การหาช่องทางการจ�ำหน่ายเพื่อส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ ชุมชน ท้องถิ่นมีความมั่นคงแข็งแรงทางเศรษฐกิจและสังคม ควรมีการพัฒนารูปแบบ 136 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ให้หลากหลาย และเน้นความคุ้มค่าและการใช้งานสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน วิเคราะห์ แนวโน้มความต้องการทางการตลาดเพื่อลดความเสี่ยง ธ�ำรงเอกลักษณ์ให้ชัดเจนที่บ่งบอก ถึงความเป็นภาคใต้ของไทย

Reference

Akase, H. (2016). Creating local handicrafts value. Retrieved November 2016, from https://www.facebook.com/craft.sustainable Amchotilich, C. (2008). Ceramics: value creation concept for ceramics. Ceramics, 16(4), 34 - 36. Bussararat, P. (2008). Songkhla Lake: The birth of shadow play and Nora. Thaksin Literature, 7(2), 27 - 50. Jantharasa, R. (2016). Design of Vetiver Grass Products. [scamper technical analysis ]. Bangkok: Chulalongkorn University. Manuratchada, P. (2012). Product design for souvenirs for sale in museum shops. Retrieved December 2012, from http://archmis.arch.nu.ac.th/ arch_ajnu/journal/article_file/ article_2012_48.pdf สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 137 การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต1

ฤธรรมรง ปลัดสงคราม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000 อีเมล: [email protected]

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต 2) เพื่อออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ สับปะรดภูเก็ต และ 3) เพื่อประเมินการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ผลิต กลุ่มผู้บริโภค และ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ที่ผู้วิจัย ออกแบบขึ้นใหม่ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจ�ำนวน 100 คน ร่วมกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ผลสดสับปะรดภูเก็ตยังไม่มี บรรจุภัณฑ์เพื่อจัดจ�ำหน่ายที่เหมาะสม จึงได้ด�ำเนินการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โครงสร้าง เป็นกระดาษลูกฟูกลอน E มีแกนกลาง กระดาษลูกฟูกลอน C บรรจุภัณฑ์เจาะรูทรงกลม จ�ำนวน 14 ช่องเล็กๆ ที่มีขนาดต่างกัน เพื่อชะลอการสุกของผลสับปะรด การบรรจุเก็บตัวจุก และก้านสับปะรดไว้ มีหูหิ้ว ขนาดบรรจุ 2 ผล น�้ำหนักบรรจุ 3 กิโลกรัม แนวคิดในการออกแบบลวดลายกราฟิกได้มาจากลักษณะโครงสร้างของสับปะรด ภูเก็ต ซึ่งเป็นพืชได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) มีความเป็นเอกลักษณ์

1 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่องการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยงาน ส�ำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต 138 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ของจังหวัดภูเก็ต โดยน�ำลวดลายนี้มาออกแบบใหม่ให้เป็นพื้นหลังของบรรจุภัณฑ์ มาผสมผสานกับแผนที่จังหวัดภูเก็ต ระบุพื้นที่ปลูกสับปะรดภูเก็ต แสดงถึงเอกลักษณ์ ของจังหวัดภูเก็ต โดยออกแบบให้ดูทันสมัยและบ่งบอกความเป็นตัวตนของจังหวัดภูเก็ต การใช้สีสัน พื้นหลังและตัวอักษรต้องการสื่อถึงผลิตภัณฑ์ ผลการประเมินการรับรู้ของกลุ่ม เป้าหมายอยู่ในระดับมาก (X = 4.25) (S.D = 0.68) และผลของการประเมินความพึงพอใจ ของกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับมาก (X = 4.15) (S.D = 0.74) งานวิจัยครั้งต่อไปควรมี การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ใหม่ ให้มีรูปทรงที่มีอัตลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ สามารถวัดค่าความสุก ของสับปะรดได้ และให้มีความสะดวก ต่อการใช้งานมากขึ้น

ค�ำส�ำคัญ: การออกแบบบรรจุภัณฑ์, สับปะรดภูเก็ต, อัตลักษณ์ภูเก็ต, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 139 การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต Design of Identity on the Packages for the Community Enterprise of Phuket Pineapple Products of Thalang District,

Ruethamrong Paladsongkram Faculty of Science and Technology, Phuket Rajabhat University, Phuket 83000, Thailand e-mail: [email protected]

Abstract The propose of the research is 1) to study the problems and needs in packaging design of Phuket pineapple products, 2) to design identity on packaging of Phuket pineapple products, and 3) to assess the perception and satisfaction of the manufacturers, consumers and packaging experts on the Phuket pineapple packaging that the researchers designed by 100 samples, with the tools used in the research. such as unstructured interviews and questionnaires to analyze percentage, mean and standard deviation. The results show that fresh pineapple in Phuket has no packaging for distribution. Therefore, we have designed the packaging with corrugated cardboard structure E that has core, corrugated cardboard structure C that has spheres 14 different sizes to control the maturation of pineapple. Head and stem of pineapple packed up for 2 pineapples and weight 3 kg. The concept of graphic design is derived from the structure of the Phuket Pineapple, a plant that has been recognized as a unique geographical indication (GI) in Phuket. This pattern is redesigned as the background of the packaging and combined with Phuket map and identified Phuket Pineapple 140 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

Growing Area, using colors, backgrounds and letters to convey the product. The results of the assessment of the target group were at a high level (X = 4.25) (S.D.= 0.68). The results of the satisfaction assessment of the target group were at a high level (X = 4.15) (S.D.= 0.74). The further research should be to design a new packaging design that has the identity of Phuket with packaging design that can measure the ripeness value of pineapple and make it more convenient to use.

Keywords: Packaging design, Phuket pineapple, Phuket identity, Community enterprise สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 141 การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

บทน�ำ ภูเก็ตเป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่มีชื่อเสียงมานาน เนื่องจากสับปะรดที่ปลูกในภูเก็ต มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว คือ เนื้อจะหวานกรอบ กลิ่นหอม มีเยื่อใยน้อย จึงเป็นที่ต้องการ ของผู้บริโภคมาก ความมีชื่อเสียงนี้ท�ำให้คนทั่วไปเรียก สับปะรดที่มาจากจังหวัดภูเก็ตว่า สับปะรดภูเก็ต ตามชื่อแหล่งปลูก การปลูกสับปะรดบนเกาะภูเก็ตสามารถปลูกได้ตลอดปี โดยเกษตรกรนิยมปลูกแซมในสวนยางพาราตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่ง ต้นยางอายุได้ 3 ปี ท�ำให้มีรายได้ก่อนที่จะได้รับผลผลิตจากยางพารา สับปะรดภูเก็ตจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส�ำคัญของจังหวัดภูเก็ต ได้รับการขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2552 เป็นสับปะรดที่อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ ควีน (Queen) ซึ่งปลูกในอ�ำเภอ เมืองภูเก็ต อ�ำเภอกะทู้ และอ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต พบการปลูกมากที่สุดในอ�ำเภอถลาง ลักษณะทางกายภาพ ใบมีสีเขียวอ่อนมีแถบ สีแดงบริเวณกลางใบ ขอบใบเรียบมีหนามสีแดงตลอดความยาวของใบผลรูปทรงกระบอก ขนาดกลาง มีน�้ำหนักตั้งแต่ 0.9 – 1.6 กิโลกรัม ตัวจุกมีลักษณะตรงหรือเอียงด้านใดด้านหนึ่ง ความยาวของจุกโดยเฉลี่ย 1/3 – 3/4 ของความยาวผลตาผล ตาลึก เนื้อมีสีเหลืองเข้ม สม�่ำเสมอ กลิ่นหอม เยื่อใยน้อย รสชาติหวานกรอบ แกนผลมีความกรอบมากรับประทานได้ ลักษณะทางเคมี ปริมาณกรดโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 0.6 และมีความหวานอยู่ระหว่าง 17 - 20º brix (Department of Intellectual Property, 2009) วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรร้อยละ 70.0 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.4 ปี มีขนาด ครัวเรือน 3 - 4 คน นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 80.0 มีสถานภาพสมรสร้อยละ 80.0 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 33.3 โดยเกษตรกรประกอบอาชีพ ปลูกสับปะรดเป็นอาชีพหลักร้อยละ 60.0 และปลูกสับปะรดเป็นอาชีพรองร้อยละ 52.2 เกษตรกรมีรายได้รวมครัวเรือนเฉลี่ย 564,800.00 บาท/ปี (Chukeaw, 2016) ผู้วิจัยลงพื้นที่ ส�ำรวจ พบว่า สับปะรดภูเก็ตนิยมขายเป็นผลสด 3 - 4 ผล 100 บาท บรรจุถุงแก้ว โครงสร้าง ของบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถป้องกันผลสับปะรดสด หรือยืดอายุได้ ขาดกราฟิกที่สวยงาม ดึงดูดใจผู้บริโภค และขาดเอกลักษณ์เฉพาะบนบรรจุภัณฑ์ ไม่มีข้อมูลผลิตภัณฑ์ ไม่มี ความแตกต่างจากสับปะรดทั่วไปที่วางขายตามท้องตลาด จึงท�ำให้ผู้วิจัยมีความสนใจ เล็งเห็นปัญหาและต้องการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์จังหวัดภูเก็ต โดยมีเกษตรจังหวัด 142 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ภูเก็ตเป็นหน่วยงานสนับสนุน และจัดท�ำโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจ�ำปีงบประมาณ 2560 เพื่อยกระดับคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ กิจกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ จากการศึกษาความต้องการวิสาหกิจชุมชน เบื้องต้น โดยสัมภาษณ์ คุณชาลี สิตบุศย์ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ และสารสนเทศ ส�ำนักงาน เกษตรจังหวัดภูเก็ต คุณวิชัย แซ่ตัน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต และสมาชิก กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภูเก็ตในเขตพื้นที่ อ�ำเภอถลาง จ�ำนวน 7 ราย พบว่า เกษตรกร ทั้งหมดประสงค์ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต เพื่อจะน�ำไปเป็นของฝาก มีน�้ำหนักเหมาะสมส�ำหรับการเดินทาง โดยผู้วิจัยเลือกออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ใหม่ ที่เป็นกล่องลูกฟูกให้สะดวกต่อการน�ำไปเป็นของฝาก น�ำพาสะดวก ตลอดจนออกแบบ อัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ให้รับรู้ถึงวัฒนธรรม โดยการเชื่อมโยงอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อน�ำมา สร้างเป็นภาพลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่างอย่างลงตัวให้กับผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต เพื่อแสดงตัวตนของสินค้าในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์พื้นถิ่นที่แตกต่าง และแสดงแหล่งที่มา ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงด�ำเนินการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาและความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตเพื่อออกแบบ อัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ ของผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต และเพื่อประเมินการรับรู้และ ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต โดยมุ่งเน้นที่จะออกแบบ บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย นักท่องเที่ยว กลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ที่ชอบ รับประทานสับปะรด ให้มีความทันสมัย ใช้สะดวกต่อการเดินทาง แสดงถึงตัวตนของ จังหวัด และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยน�ำเสนอภาพประกอบของลักษณะเด่น ของสับปะรดภูเก็ต และแหล่งที่มาผสมผสานอย่างลงตัวกับลวดลายพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่อาจจะช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วย ยกระดับมาตรฐานงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ของไทยให้เป็นที่ยอมรับของตลาดในประเทศ และต่างประเทศ ตลอดจนเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันยกระดับ คุณภาพสินค้าทางการเกษตรซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 143 การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

การทบทวนวรรณกรรม Srihirun (2017) ศึกษาการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมสมุนไพรไทย บ้านนาขุม จังหวัดพิษณุโลก โดยผู้วิจัยได้สนใจออกแบบบรรจุภัณฑ์แชมพูและครีมนวดผมสมุนไพรเพื่อจัดจ�ำหน่าย ที่เหมาะสม โดยการด�ำเนินการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยโครงสร้างเป็นขวดพลาสติกใส ท�ำจากวัสดุพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ฝาปิดเป็นแบบหัวปั้ม ขนาดบรรจุ 250 มิลลิลิตร แนวคิดในการออกแบบลวดลายกราฟิกได้มาจากผ้าทอลายดอกปีบ ซึ่งเป็นผ้าทอ พื้นเมืองจังหวัดพิษณุโลก โดยน�ำลวดลายนี้มาออกแบบใหม่ให้เป็นพื้นหลังของฉลาก และ ใช้ดอกปีบซึ่งเป็นดอกไม้ของต้นไม้ประจ�ำจังหวัดพิษณุโลกมาผสมผสานกับภาพประกอบ ที่แสดงถึงส่วนผสมหลักของสมุนไพรที่อยู่ในแชมพูและครีมนวดผม โดยออกแบบให้ดูทันสมัย และบ่งบอกความเป็นตัวตนของจังหวัดพิษณุโลก Kiguchi (2017) ศึกษาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรด นางแล : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรด และสมุนไพรซางค�ำ ต�ำบลนางแล อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบสับปะรด บรรจุภัณฑ์ สับปะรดผสมขิงกวน และบรรจุภัณฑ์ขิงผง โดยใช้แนวคิดจากสับปะรด ผู้ออกแบบ ได้คลี่คลายรูปร่างและรูปทรงของผลสับปะรด เพื่อใช้เป็นรูปลักษณะของบรรจุภัณฑ์ รวมถึง การใช้สีของสับปะรดมาออกแบบเป็นลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบสับปะรดและ บรรจุภัณฑ์สับปะรดผสมขิงกวน ส่วนบรรจุภัณฑ์ขิงผง ใช้สีของขิงและน�ำส่วนประกอบต่างๆ ของต้นขิงมาออกแบบเป็นลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ การออกแบบสัญลักษณ์ใช้รูปร่าง สับปะรดและไผ่ซาง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ Wiriyavit (2016) ศึกษาการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ เครื่องส�ำอางสมุนไพร กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนปาริชาต เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยการมีส่วนร่วมของผู้วิจัย วิสาหกิจชุมชนปาริชาต และผู้บริโภค และเพื่อประเมินผล บรรจุภัณฑ์และสื่อประชาสัมพันธ์จากแบบสอบถามจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ฉลาก และ สื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีความสวยงาม ทันสมัย ท�ำให้มีจุดดึงดูดความสนใจลูกค้าเพิ่มขึ้น 144 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ สับปะรดภูเก็ต 2) เพื่อออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต 3) เพื่อประเมินการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน สับปะรดภูเก็ต กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต

กรอบแนวความคิดและกระบวนการสร้างสรรค์ การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ได้น�ำรูปร่างของสับปะรดภูเก็ต มาเป็นแนวความคิดใน การออกแบบสัญลักษณ์ (Logo) โดยสัญลักษณ์เลือกใช้โทนสีจากผลสับปะรด และในส่วน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้เลือกใช้สีทอง และสีเขียว และเอกลักษณ์ของสับปะรดภูเก็ต มาเป็นแนวคิดในการออกแบบ และวิธีด�ำเนินการการศึกษารายละเอียดของการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ส�ำหรับผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ และความต้องการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของ วิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต เพื่อน�ำมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับผลิตภัณฑ์ สับปะรดภูเก็ตโดยการค้นคว้า และศึกษาความต้องการด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับ ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต

วิธีด�ำเนินงานวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ผู้บริโภคที่สนใจในผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต นักท่องเที่ยว ในเขตจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียง และผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ในภาครัฐ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 145 การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

กลุ่มตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้ มีจ�ำนวนรวม 100 ท่าน ได้แก่ ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต จ�ำนวน 3 ท่าน ผู้บริโภคในเขตจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ ใกล้เคียง จ�ำนวน 94 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ภาครัฐ จ�ำนวน 3 ท่าน การเลือก กลุ่มตัวอย่าง ประชากรและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งผู้วิจัยได้ตั้งเกณฑ์การเลือกกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นและตอบแบบสอบถาม โดยมีเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติดังนี้ กลุ่มผู้บริโภคเป็นนักท่องเที่ยวทุกเพศ ทุกวัยที่เคยซื้อหรือเคยบริโภคผลิตภัณฑ์สับปะรด ภูเก็ตมาก่อน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญทางด้าน งานออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ ไม่น้อยกว่า 5 ปี จ�ำนวน 3 ท่าน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้ ซื้อหรือเคย ขั้นตอนที่บริโภคผลิตภัณฑ์ 1 เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตมาก่อน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และมีความ เชี่ยวชาญทางด้านงานออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ ไม่น้อยกว่า 5 ปี จ านวน 3 ท่าน ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต 1. 2.แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ใช้เพื่อสัมภาษณ์ผู้ประกอบการวิสาหกิจ และแบบสอบถามที่ผู้วิจัย ชุมชนสับปะรดภูเก็ตสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรด ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ภูเก็ต แสดงดังภาพที่1. แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 1 ตัวอย่างค�ำถามแบบไม่มีโครงสร้าง ใช้เพื่อสัมภาษณ์ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต เช่น 1) ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของบรรจุภัณฑ์ผลิตภั 2)ณ ฑ์สับปะรดภูเก็ตท่านต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะอย่างไร แสดงดังภาพ 1 ตัวอย่างค าถามแบบไม่มี เพราะอะไรโครงสร้าง 3) เช่นท่านคิดว่าบรรจุภัณฑ์จะช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต 1) ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต 2) ท่านต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ มีลักษณะอย่างไร เพราะอะไร 3) ท่านคิดว่าบรรจุภัณฑ์จะช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตได้หรือไม่ ได้หรือไม่อย่างไรอย่างไร

ภาพ 1 การสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการ การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ภาพที่ 1 การสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการ การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สับปะรดภูเก็ต2. แบบสอบถามแบบชนิดเลือกตอบ (Check list) ใช้เพื่อสอบถามปัญหาและความต้องการของกลุ่ม ผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จากนั้นวิเคราะห์ ผลและบันทึกข้อมูลในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ส าหรับการจัดจ าหน่าย ตัวอย่างค าถามแบบชนิดเลือกตอบ เช่น ท่านต้องการภาพอะไรปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ที่สามารถสื่อถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต ( ) ผลสับปะรดภูเก็ต ( ) แผนที่แหล่งปลูกสับปะรดภูเก็ต ( ) แหลมพรหมเทพ ( ) วัดฉลอง ( ) ชายหาดป่าตอง เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 เพื่อออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปทรงบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตประกอบด้วย โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และลวดลายกราฟิกที่แสดงถึงอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบมีลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบ (Check list) ตอนที่ 2 เป็น แบบสอบถามความคิดเห็นของ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์เกี่ยวกับรูปทรงของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และ ลวดลายกราฟิกที่แสดงถึงอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ

146 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

2. แบบสอบถามแบบชนิดเลือกตอบ (Check list) ใช้เพื่อสอบถามปัญหาและ ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ ของผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จากนั้นวิเคราะห์ผลและบันทึกข้อมูลในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ส�ำหรับการจัดจ�ำหน่าย ตัวอย่างค�ำถามแบบชนิดเลือกตอบ เช่น ท่านต้องการภาพอะไร ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ที่สามารถสื่อถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต ( ) ผลสับปะรดภูเก็ต ( ) แผนที่แหล่งปลูกสับปะรดภูเก็ต ( ) แหลมพรหมเทพ ( ) วัดฉลอง ( ) ชายหาดป่าตอง เป็นต้น ขั้นตอนที่ 2 เพื่อออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปทรงบรรจุภัณฑ์สับปะรด ภูเก็ตประกอบด้วยโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และลวดลายกราฟิกที่แสดงถึงอัตลักษณ์บนบรรจุ ภัณฑ์ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบ (Check list) ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถาม ความคิดเห็นของ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์เกี่ยวกับรูปทรงของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และลวดลายกราฟิกที่แสดงถึงอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ ขั้นตอนที่ 3 เพื่อประเมินการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ประกอบการวิสาหกิจ ชุมชนสับปะรดภูเก็ต กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ที่ผู้วิจัยออกแบบ การประเมินการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน สับปะรดภูเก็ต กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ผู้วิจัยออกแบบและพัฒนาต้นแบบโครงสร้างพร้อมกราฟิกบน บรรจุภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของ ผู้ตอบมีลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบ (Check list) ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถาม เพื่อประเมินการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ผลิต กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ที่ผู้วิจัยออกแบบ และพัฒนา และตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 147 การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

3. การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นในขั้น ตอนที่ 1 ผู้วิจัยได้ท�ำการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต และท�ำการ ส�ำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้บริโภคเพื่อประเมินปัญหาและความต้องการก่อน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ในขั้นตอนที่ 2 ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ที่ผู้วิจัยออกแบบและ พัฒนา และในขั้นตอนที่ 3 ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินการรับรู้และความพึงพอใจของ ผู้ผลิตกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ สับปะรดภูเก็ต ที่ผู้วิจัยออกแบบออกแบบและพัฒนาใหม่ โดยทั้งหมดผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง 4. การวิเคราะห์ข้อมูล มีขั้นตอนการศึกษาวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการส�ำหรับเป็นแนวทาง ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ผู้วิจัยน�ำข้อมูลจากเนื้อหาของ การสัมภาษณ์มาแปรผลโดยการบรรยายและน�ำเสนอในรูปความเรียง จากนั้นน�ำแบบสอบถาม ที่ส�ำรวจแล้วมาวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 เพื่อออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ผู้วิจัยน�ำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่มี ต่อรูปแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์และลวดลายกราฟิกที่แสดงถึงอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ที่ผู้วิจัยออกแบบและพัฒนาใหม่ นั้นมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) มาสรุปวิเคราะห์ผลข้อมูลและแปรผลโดยการบรรยาย และน�ำเสนอในรูปความเรียง ขั้นตอนที่ 3 เพื่อประเมินการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ผลิต กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตที่ ผู้วิจัยออกแบบและพัฒนา ผู้วิจัยน�ำข้อมูลจากแบบสอบถามเพื่อประเมินการรับรู้และ ความพึงพอใจต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) มาสรุปวิเคราะห์ผลข้อมูลและแปรผลโดยการบรรยาย และน�ำเสนอในรูปความเรียงโดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบจากระดับตาม 148 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ความต้องการ ซึ่งใช้เกณฑ์ระดับ 5 คือ มากที่สุด มาก ปานกลางน้อย และน้อยที่สุด ใช้การแปลความหมายของค่าคะแนนค่าเฉลี่ย (X) เกณฑ์ในการวิเคราะห์พิจารณาช่วงของค่า เฉลี่ยเลขคณิตของแบบสอบถามแบบลิเคิร์ทสเกลเป็น ดังนี้ (Weigel & Newman, 1976) 4.50 - 5.00 หมายความว่า มีระดับการรับรู้และความพึงพอใจมากที่สุด 3.50 - 4.49 หมายความว่า มีระดับการรับรู้และความพึงพอใจมาก 2.50 - 3.49 หมายความว่า มีระดับการรับรู้และความพึงพอใจปานกลาง 1.50 - 2.49 หมายความว่า มีระดับการรับรู้และความพึงพอใจน้อย 1.00 - 1.49 หมายความว่า มีระดับการรับรู้และความพึงพอใจน้อยที่สุด

ผลการวิจัย ผลจากการศึกษาปัญหา และความต้องการการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตโดยสัมภาษณ์ คุณชาลี สิตบุศย์ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ และสารสนเทศ ส�ำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต คุณวิชัย แซ่ตัน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต คุณจิรายุ กี่ประเสริฐพงศ์ รองประธานผู้ปลูก สับปะรดภูเก็ต และสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภูเก็ตในเขตพื้นที่ อ�ำเภอถลาง พบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความต้องการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดผลสด จังหวัดภูเก็ต เพื่อจะน�ำไปเป็นของฝาก มีน�้ำหนักเหมาะสมส�ำหรับการเดินทาง เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์ผลสับปะรดผลสดเดิม วางจ�ำหน่ายเป็นริมถนน อ�ำเภอถลาง ผลสด 3 - 4 ผล 100 บาท มีป้าย ติดไว้ที่กองสับปะรด บรรจุภัณฑ์มีลักษณะเป็นถุงแก้วใส มีหูหิ้ว ซึ่งโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถป้องกันการทิ่มแทงของผลสับปะรดสดได้ หรือยืดอายุได้ ขาดกราฟิกที่สวยงามดึงดูดใจผู้บริโภค และขาดเอกลักษณ์เฉพาะบนบรรจุภัณฑ์ ไม่มีข้อมูล ผลิตภัณฑ์ ท�ำให้ไม่มีความแตกต่างจากสับปะรดทั่วไปที่วางขายตามท้องตลาด และพื้นที่ ใกล้เคียง แสดงดังภาพที่ 2 และจากการสอบถามผู้บริโภคสนใจเลือกซื้อสับปะรดภูเก็ตผลสด พบว่า ผู้บริโภคเองไม่มั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ว่าเป็นสับปะรดภูเก็ตแท้ๆ หรือไม่ เนื่องจาก ไม่สามารถบ่งบอกตัวตนของสับปะรด จังหวัดภูเก็ต สับปะรดจากจังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ หรือใกล้เคียงเป็นได้ 4.50 - 5.00 หมายความว่า มีระดับการรับรู้และความพึงพอใจมากที่สุด 3.50-4.49 หมายความว่า มีระดับการรับรู้และความพึงพอใจมาก 2.50-3.49 หมายความว่า มีระดับการรับรู้และความพึงพอใจปานกลาง 1.50-2.49 หมายความว่า มีระดับการรับรู้และความพึงพอใจน้อย 1.00-1.49 หมายความว่า มีระดับการรับรู้และความพึงพอใจน้อยที่สุด

ผลการวิจัย ผลจากการศึกษาปัญหา และความต้องการการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส าหรับวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตโดยสัมภาษณ์ คุณชาลี สิตบุศย์ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ และสารสนเทศ ส านักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต คุณวิชัย แซ่ตัน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต คุณจิรายุ กี่ประเสริฐพงศ์ รองประธานผู้ปลูกสับปะรดภูเก็ต และสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภูเก็ตในเขตพื้นที่ อ าเภอถลาง พบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีความต้องการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดผลสด จังหวัดภูเก็ต เพื่อจะน าไปเป็นของ ฝาก มีน้ าหนักเหมาะสมส าหรับการเดินทาง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ผลสับปะรดผลสดเดิม วางจ าหน่ายเป็นริมถนน อ าเภอถลาง ผลสด 3 - 4 ผล 100 บาท มีป้าย ติดไว้ที่กองสับปะรด บรรจุภัณฑ์มีลักษณะเป็นถุงแก้วใส มีหูหิ้ว ซึ่งโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถป้องกันการทิ่มแทงของผลสับปะรดสดได้ หรือยืดอายุได้ ขาดกราฟิกที่สวยงาม ดึงดูดใจผู้บริโภค และขาดเอกลักษณ์เฉพาะบนบรรจุภัณฑ์ ไม่มีข้อมูลผลิตภัณฑ์ ท าให้ไม่มีความแตกต่างจาก สับปะรดทั่วไปที่วางขายตามท้องตลาด และพื้นที่ใกล้สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์เคียง แสดงดังภาพที่ 2 และจากการสอบถามผู้บริโภคสนใจ เลือกซื้อสับปะรดภูเก็ตผลสด พบว่าผู้บริโภคเองไม่มั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ว่าเป็นสับปะรดภูเก็ตแท้ๆ หรือไม่ 149 การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากไม่สามารถบ่งบอกตัวตนของสับปะรด จังหวัดภูเก็ต สับปะรดจากจังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ หรือ ใกล้เคียงเป็นได้

ภาพที่ 2 การจัดวางจ าหน่ายผลิตภัณฑ์สับปะรดผลสด และบรรจุภัณฑ์เดิม ภาพที่ 2 การจัดวางจ� ำหน่ายผลิตภัณฑ์สับปะรดผลสด และบรรจุภัณฑ์เดิม เนื่องจากลักษณะผลสดมีความคล้าย หรือเหมือนกัน สับปะรดภูเก็ตซึ่งได้รับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว นั้น ควรสร้างอัตลักษณ์ให้มีความเข้าใจ สามารถเข้าถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ และความแตกต่างต่างได้ เมื่อซื้อ เนื่องจากลักษณะผลสดมีความคล้ายไปฝากสามารถมั่นใจในมาตรฐานคุณภาพสินค้า ทั้งนี้ หรือเหมือนกันกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจสับปะรดภูเก็ต สับปะรดภูเก็ตซึ่งได้รับรอง และเกษตรจังหวัด ภูเก็ตซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุน มีความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด เพื่อเป็นของฝากที่ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้วนั้นภาคภูมิใจ สะดวกต่อการใช้งาน ควรสร้างอัตลักษณ์ให้มีความเข้าใจ และสามารถยืดอายุสินค้าให้เก็บได้นานขึ้น ขนาดบรรจุ สามารถเข้าถึงแหล่งที่มา 2 ผลสด และน้ าหนัก ของผลิตภัณฑ์บรรจุ และความแตกต่างต่างได้3 กิโลกรัม ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรเมื่อซื้อไปฝากสามารถมั่นใจในมาตรฐานคุณภาพ และประชาสัมพันธ์พืชเศรษฐกิจสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้า ทั้งนี้ (GIกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจสับปะรดภูเก็ต) จังหวัดภูเก็ต มีบรรจุภัณฑ์เอกลักษณ์เฉพาะตัว ตลอดจนกราฟิกให้ดูมีความทันสมัย และเกษตรจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นหน่วยงาน และสามารถดึงดูดความ สนใจผู้บริโภคได้ รับรู้ถึงการเชื่อมโยงอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อน ามาสร้างเป็นภาพลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่างอย่าง สนับสนุน ลงตัวให้กับผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตมีความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด เพื่อแสดงตัวตนของสินค้าในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์พื้นถิ่ นที่แตกต่างเพื่อเป็นของฝาก และแสดง ที่ภาคภูมิใจ แหล่งที่มาสะดวกต่อการใช้งานสอดคล้องกับงานวิจัยของ และสามารถยืดอายุสินค้าให้เก็บได้นานขึ้น (Panusaumpon and Leelasuwat, 2012) เรื่องการพัฒนา ขนาดบรรจุ 2 ผลสด และน�้บรรจุภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐมำหนักบรรจุ 3 กิโลกรัม ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งผู้บริโภคมีความพอใจในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ และ ใหม่ทั้งด้านความสวยงามและประโยชน์ใช้สอยสามารถสื่อถึงเอกลักษณ์ของสินค้าจังหวัดนครปฐม ยืดอายุสินค้าให้ ประชาสัมพันธ์พืชเศรษฐกิจสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เก็บได้นานขึ้น ป้องกันการช ารุดเสียหาย สะดวกต่อการใช้งาน (GI) สร้างความมั่นใจในมาตรฐานคุณภาพสินค้าจังหวัดภูเก็ต มีบรรจุภัณฑ์เอกลักษณ์ บรรจุ เฉพาะตัว ตลอดจนกราฟิกให้ดูมีความทันสมัยภัณฑ์ มีความสวยงามเหมาะจะซื้อเป็นของฝาก ในขณะเดียวกันสามารถเผยแพร่ และสามารถดึงดูดความสนใจผู้บริโภคได้ แนะน าสถานที่ท่องเที่ยวของ จังหวัดนครปฐมได้เป็นอย่างดี เท่ากับเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว รับรู้ถึงการเชื่อมโยงอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม เพื่อน�ำมาสร้างเป็นภาพลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่าง ผลจากการส ารวจกลุ่มผู้บริโภค เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต พบว่า ภาพที่ต้องการเห็นปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต คือ ผลสับปะรดภูเก็ตที่เป็นภาพวาดหรือ ภาพเขียน สามารถสื่อสารถึงผลิตภัณฑ์ได้ชัดเจนที่สุด ล าดับสอง คือ แผนแสดงแหล่งที่ปลูกสับปะรดภูเก็ตเพื่อ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ (Kiguchi, 2017) ที่ได้ท าการวิจัยการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ส าหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดนางแล : กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดและ สมุนไพรซางค า ต าบลนางแล อ าเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พบว่า การใช้แนวคิดจากสับปะรด น ารูปร่างและ รูปทรงของผลสับปะรด ออกแบบเพื่อใช้เป็นรูปลักษณะของบรรจุภัณฑ์รวมถึงการใช้สีของสับปะรดมาออกแบบ

150 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

อย่างลงตัวให้กับผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต เพื่อแสดงตัวตนของสินค้าในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ พื้นถิ่นที่แตกต่าง และแสดงแหล่งที่มาสอดคล้องกับงานวิจัยของ (Panusaumpon & Leelasuwat, 2012) เรื่องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม ซึ่งผู้บริโภคมีความพอใจในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ทั้งด้านความสวยงาม และประโยชน์ใช้สอยสามารถสื่อถึงเอกลักษณ์ของสินค้าจังหวัดนครปฐม ยืดอายุสินค้า ให้เก็บได้นานขึ้น ป้องกันการช�ำรุดเสียหาย สะดวกต่อการใช้งาน สร้างความมั่นใจ ในมาตรฐานคุณภาพสินค้า บรรจุภัณฑ์ มีความสวยงามเหมาะจะซื้อเป็นของฝาก ในขณะเดียวกันสามารถเผยแพร่ แนะน�ำสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดนครปฐมได้เป็นอย่างดี เท่ากับเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม ผลจากการส�ำรวจกลุ่มผู้บริโภค เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบอัตลักษณ์ บนบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต พบว่า ภาพที่ต้องการเห็นปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ สับปะรดภูเก็ต คือ ผลสับปะรดภูเก็ตที่เป็นภาพวาดหรือภาพเขียน สามารถสื่อสาร ถึงผลิตภัณฑ์ได้ชัดเจนที่สุด ล�ำดับสอง คือ แผนแสดงแหล่งที่ปลูกสับปะรดภูเก็ตเพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ (Kiguchi, 2017) ที่ได้ท�ำการวิจัย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดนางแล : กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดและสมุนไพรซางค�ำ ต�ำบลนางแล อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พบว่า การใช้แนวคิดจากสับปะรด น�ำรูปร่างและรูปทรงของผลสับปะรด ออกแบบเพื่อใช้เป็นรูปลักษณะของบรรจุภัณฑ์รวมถึงการใช้สีของสับปะรดมาออกแบบ เป็นลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบสับปะรดและบรรจุภัณฑ์สับปะรดผสมขิงกวน ส่วนบรรจุภัณฑ์ขิงผง ใช้สีของขิงและน�ำส่วนประกอบต่างๆ ของต้นขิงมาออกแบบ เป็นลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ การออกแบบสัญลักษณ์ใช้รูปร่างสับปะรดและไผ่ซาง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ บรรจุภัณฑ์ส�ำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดนางแล ขั้นตอนที่ 2 สรุปผลการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ สับปะรดภูเก็ต แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) รูปแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อรูปทรงบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต รูปแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ เลือกใช้วัสดุกระดาษ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 151 การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ลูกฟูกลอน E เนื่องจากลอน E มีจ�ำนวนลอนต่อความยาวฟุตอยู่ที่ 94 ลอน ซึ่งท�ำให้กระดาษ ลูกฟูกลอน E มีความต้านทานแรงกระแทกสูงมากเป็นลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบสับปะรดและบรรจุภัณฑ์สับปะรดผสมขิงกวน และมีพื้นผิวที่เรียบตึง ส่วนบรรจุภัณฑ์ขิงผง สามารถท�ำไดคัท ใช้สีของขิงและน าส่วนประกอบต่าง ๆ ของต้นขิงมาออกแบบเป็นลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ การออกแบบ ได้ง่าย พิมพ์ลวดลายกราฟิกได้สวยงามสัญลักษณ์ใช้รูปร่างสับปะรดและไผ่ซาง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ และสามารถปกป้องสินค้าได้ดี ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึง จากการประเมิน พอใจที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ส าหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดนางแล ของผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบที่ 2 อยู่ในระดับที่มากที่สุด (X = 4.05) (S.D = 0.55) โดยรูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 สรุปผลการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต เป็นกล่องลูกฟูกลอนแบ่งออกเป็น E 2 ไดคัทส่วน คือ 1) รูปแบบโครงสร้างขนาดกล่องบรรจุภัณฑ์จาก 23.5กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปทรงบรรจุภัณฑ์สับปะรด x 11.5 x 35 เซนติเมตร แกนกลางกระดาษ ลูกฟูกลอน C และบรรจุสารสารดูดซับเอทิลีนภูเก็ต รูปแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ เลือกใช้วัสดุกระดาษลูกฟูกลอน 2) E เนื่องจากลอนรูปแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ E มีจ านวนลอนต่อความยาว ที่แสดงถึง ฟุตอยู่ที่ 94 ลอน ซึ่งท าให้กระดาษลูกฟูกลอน E มีความต้านทานแรงกระแทกสูงมาก และมีพื้นผิวที่เรียบตึง อัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์สามารถท าไดคัทได้ง่าย จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ พิมพ์ลวดลายกราฟิกได้สวยงาม และสามารถปกป้องสินค้า อยู่ในระดับที่มากที่สุดได้ดี จากการประเมินของ (X = 4.15) ผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบที่ 2 อยู่ในระดับที่มากที่สุด ( = 4.05) (S.D = 0.55) โดยรูปแบบเป็นกล่องลูกฟูกลอน E (S.D = 0.40) ภาพที่ต้องการไดคัท ขนาดกล่อง 23.5 x 11ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต.5 x 35 เซนติเมตร แกนกลางกระดาษลูกฟูกลอน C และบรรจุสารสารดูดซับเอทิลีน ที่สามารถสื่อถึง อัตลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต2) รูปแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ มากที่สุดคือ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ ผลสับปะรดภูเก็ต จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ และแผนที่แหล่งปลูกสับปะรด อยู่ในระดับที่ มากที่สุด ( = 4.15 ) (S.D = 0.40) ภาพที่ต้องการ ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ที่สามารถสื่อ ภูเก็ต และควรมีถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต QR code เพื่อบ่งชี้สวนผู้ผลิตสับปะรดภูเก็ต มากที่สุดคือ ผลสับปะรดภูเก็ต และแผนที่แหล่งปลูกสับปะรดภู แสดงดังภาพที่เก็ต และควรมี QR 3 code เพื่อบ่งชี้สวนผู้ผลิตสับปะรดภูเก็ต แสดงดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 ต้นแบบบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด ขนาดบรรจุ 2 ผล น้ าหนักสุทธิ 3 กิโลกรัม ภาพที่ 3 ต้นแบบบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสดขั้นตอนที่ 3 การประเมินการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ขนาดบรรจุ 2 ผล น�้ำหนักสุทธิต 3 กิโลกรัม กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด ผลการ ประเมินการรับรู้ต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด แสดงดังตารางที่ 1 เมื่อพิจารณา รายละเอียดรายด้านส าหรับการประเมินด้านการรับรู้ พบว่า 1) บรรจุภัณฑ์บ่งบอกถึงที่มาและเอกลักษณ์ของ ผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก ( = 4.37) (S.D=0.65) 2) การสื่อความหมายจากกราฟิกให้รับรู้ถึงตัวผลิตภัณฑ์อยู่ใน ระดับมาก ( = 4.22) (S.D=0.64) 3) การรับรู้ได้ว่าการใช้งานของผลิตภัณฑ์ใช้งานแบบใดอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.57) (S.D=0.73) และ4)การรับรู้ของการใช้สี เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์อยู่ ในระดับมาก ( = 3.84) (S.D=0.71) โดยภาพรวมด้านการรับรู้ต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด มีความพึงพอใจระดับมาก ( = 4.25) (S.D=0.68) ซึ่งสอดคล้องกับ (Paklamgeak, 2015) ที่กล่าวว่าการสื่อความหมายอย่างสร้างสรรค์ ความคิด การน าองค์ประกอบของรูปภาพ ลวดลาย สัญลักษณ์ตัวอักษร สี และรูปทรงพิเศษมาสร้างภาพลักษณ์ ภายนอกบรรจุภัณฑ์ และ ปุ่น คงเจริญเกียรติ (Kongcharoen, 1998) กล่าวว่า กราฟิกต้องสะท้อนถึงเอกลักษณ์ เฉพาะท้องถิ่น สามารถสื่อสารแก่ผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว ตลอดจนการให้รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ที่สื่อความ หมายถึงตัวผลิตภัณฑ์ภายในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น สอดคล้องกับ ผลิตภัณฑ์ภายใน ภาพประกอบ ตัวอักษร เครื่องหมายมาตรฐานและสัญลักษณ์ต่างๆ

ตารางที่ 1 แสดงผลการประเมินการรับรู้ต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต

n = 100 รายการประเมิน ระดับความพอใจ S.D ด้านการรับรู้ 1. บรรจุภัณฑ์บ่งบอกถึงที่มา และเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ 4.37 0.65 มาก 2. การสื่อความหมายจากกราฟิกให้รับรู้ถึงตัวผลิตภัณฑ์ 4.22 0.64 มาก 3. การรับรู้ได้ว่าการใช้งานของผลิตภัณฑ์ใช้งานแบบใด 4.57 0.73 มากที่สุด

152 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินการรับรู้และความพึงพอใจของผู้ประกอบการวิสาหกิจ ชุมชนสับปะรดภูเก็ต กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบบรรจุ ภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด ผลการประเมินการรับรู้ต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด แสดงดังตารางที่ 1 เมื่อพิจารณารายละเอียดรายด้านส�ำหรับ การประเมินด้านการรับรู้ พบว่า 1) บรรจุภัณฑ์บ่งบอกถึงที่มาและเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก (X = 4.37) (S.D=0.65) 2) การสื่อความหมายจากกราฟิกให้รับรู้ถึง ตัวผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก (X = 4.22) (S.D=0.64) 3) การรับรู้ได้ว่าการใช้งานของ ผลิตภัณฑ์ใช้งานแบบใดอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.57) (S.D=0.73) และ 4) การรับรู้ ของการใช้สี เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์อยู่ ในระดับมาก (X = 3.84) (S.D = 0.71) โดยภาพรวม ด้านการรับรู้ต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด มีความพึงพอใจระดับมาก (X = 4.25) (S.D = 0.68) ซึ่งสอดคล้องกับ (Paklamgeak, 2015) ที่กล่าวว่าการสื่อ ความหมายอย่างสร้างสรรค์ความคิด การน�ำองค์ประกอบของรูปภาพ ลวดลาย สัญลักษณ์ ตัวอักษร สี และรูปทรงพิเศษมาสร้างภาพลักษณ์ภายนอกบรรจุภัณฑ์ และ ปุ่น คงเจริญเกียรติ (Kongcharoen, 1998) กล่าวว่า กราฟิกต้องสะท้อนถึงเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น สามารถ สื่อสารแก่ผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว ตลอดจนการให้รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ที่สื่อ ความหมายถึงตัวผลิตภัณฑ์ภายในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์มีลักษณะเฉพาะ ของท้องถิ่น สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ภายใน ภาพประกอบ ตัวอักษร เครื่องหมายมาตรฐาน และสัญลักษณ์ต่างๆ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 153 การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ตารางที่ 1 แสดงผลการประเมินการรับรู้ต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต

n = 100 รายการประเมิน ระดับความพอใจ X S.D ด้านการรับรู้ 1. บรรจุภัณฑ์บ่งบอกถึงที่มา และเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ 4.37 0.65 มาก 2. การสื่อความหมายจากกราฟิกให้รับรู้ถึงตัวผลิตภัณฑ์ 4.22 0.64 มาก 3. การรับรู้ได้ว่าการใช้งานของผลิตภัณฑ์ใช้งานแบบใด 4.57 0.73 มากที่สุด 4. การรับรู้ของการใช้สีในการแทนตัวผลิตภัณฑ์ 3.84 0.71 มาก ผลรวมด้านการรับรู้ 4.25 0.68 มาก

ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต แสดงดังตารางที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจด้านการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ จากผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต ผู้บริโภค และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์มีความพึงพอใจ โดยรวมต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต อยู่ในระดับมาก (X = 4.10) (S.D = 0.75) โดยมีผลรายละเอียดประเด็นในการประเมินดังนี้ 1) ความสะดวก ต่อการบรรจุผลิตภัณฑ์สับปะรดผลสด ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 4.15) (S.D = 0.79) 2) สามารถป้องกัน และคุ้มครองผลิตภัณฑ์สับปะรดผลสดได้ ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (X = 4.22) (S.D = 0.64) 3) โครงสร้าง และขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 4.12) (S.D = 73) และความสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ขนส่ง ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 4.09) (S.D = 75) ซึ่งผลดังกล่าวสอดคล้องกับ แนวคิดของ (Paklamgeak, 2015) คือการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ คือ การก�ำหนด แบบของบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับวัสดุ รูปแบบ รูปทรง มิติ ขนาด สมบัติ วิธีการบรรจุ การเปิด และการปิด ตลอดจนมีสมบัติในการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ได้ เมื่อพิจารณาความพึงพอใจด้านการตลาดและความสวยงาม จากผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต ผู้บริโภค และผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ โดยรวม พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมต่อด้านการตลาดและความสวยงาม อยู่ในระดับมาก (X = 4.21) 154 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

(S.D = 0.73) โดยมีผลรายละเอียดประเด็นใน การประเมินดังนี้ 1) กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ สามารถสื่อสารข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบถึงตัวผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน ความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมาก (X = 4.35) (S.D = 75) 2) กราฟิกสามารถสร้างแรงจูงใจต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 4.21) (S.D = 72) และ 3) กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ส่วนส่งเสริมด้านการตลาดให้กว้างขึ้น ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 4.27) (S.D = 79) และ 4) การใช้สีเพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์มีความเหมาะสม ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 3.39) (S.D = 68) ซึ่งผลดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของ (Tongrungrod, 2014) กล่าวว่า กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ เป็นตัวบ่งชี้ให้ผู้บริโภคทราบถึงชนิดของผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต สร้างทัศนคติอันดีงามให้กับผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต สื่อสารข้อมูล และอธิบายความแก่ผู้บริโภค รักษาเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ สร้างเสน่ห์ให้แก่บรรจุภัณฑ์ทราบทันทีว่าข้างในบรรจุสินค้า อะไรเพิ่มความเด่นเมื่อวางเรียงจ�ำหน่าย และช่วยเพิ่มยอดขาย สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 155 การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ตารางที่ 2 แสดงผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สับปะรด ภูเก็ต

n = 100 รายการประเมิน ระดับความพอใจ X S.D 1. ความพึงพอใจด้านการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ 1.1 ความสะดวกต่อการบรรจุผลิตภัณฑ์สับปะรดผลสด 4.15 0.79 มาก 1.2 สามารถป้องกัน และคุ้มครองผลิตภัณฑ์สับปะรด 4.05 0.72 มาก ผลสดได้ 1.3 โครงสร้าง และขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน 4.12 0.73 มาก 1.4 ความสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ขนส่ง 4.09 0.75 มาก ผลรวมด้านการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ 4.10 0.75 มาก 2. ความพึงพอใจด้านการตลาดและความสวยงาม 2.1 กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์สามารถสื่อสารข้อมูลให้ 4.35 0.75 มาก ผู้บริโภคทราบถึงตัวผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน 2.2 กราฟิกสามารถสร้างแรงจูงใจต่อการตัดสินใจ 4.21 0.72 มาก ซื้อสินค้า 2.3 กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ส่วนส่งเสริมด้านการตลาด 4.27 0.79 มาก ให้กว้างขึ้น 2.4 การใช้สีเพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์มีความ 4.15 0.68 มาก เหมาะสม ผลรวมด้านการตลาดและความสวยงาม 4.21 0.73 มาก รวม 4.15 0.74 มาก

การวิจารณ์และสรุปการวิจัย สับปะรดภูเก็ต ซึ่งเป็นพืชได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) มีความ เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันขาดส่งเสริม การประชาสัมพันธ์ และบรรจุภัณฑ์ สามารถป้องกันสินค้าหรือสะดวกในการซื้อเพื่อเป็นของฝาก ส�ำหรับนักท่องเที่ยว และ 156 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ขาดเอกลักษณ์เฉพาะท�ำให้ตัว ผลิตภัณฑ์ไม่มีความแตกต่างจากสับปะรดท้องถิ่นอื่นๆ ผู้วิจัย จึงออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด เพื่อแสดงตัวตนของสินค้าในรูปแบบ ที่มีเอกลักษณ์พื้นถิ่นที่แตกต่าง แสดงแหล่งที่มา และประเมินการรับรู้และความพึงพอใจ ของผู้ผลิต กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต ซึ่งการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ผู้วิจัยได้ศึกษาและ ออกแบบโครงสร้าง เลือกใช้กระดาษลูกฟูกลอน E มีแกนกลาง ท�ำจากกระดาษลูกฟูกลอน C สามารถป้องกันการกระแทกเสียหายระหว่างขนส่ง บรรจุภัณฑ์เจาะรูทรงกลม จ�ำนวน 14 ช่องเล็กๆ ที่มีขนาดต่างกัน เพื่อชะลอการสุกของผลสับปะรด และเลือกการบรรจุด้วย การตัวจุก และก้านสับปะรดไว้ มีหูหิ้ว ขนาดบรรจุ 2 ผล น�้ำหนักบรรจุ 3 กิโลกรัม สอดคล้อง กับงานวิจัยของ (Panusaumpon & Leelasuwat, 2012) ศึกษาวิจัยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สินค้าทางการเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม และบรรจุภัณฑ์ฝรั่งสด ตราไร่พรทิพย์ บรรจุภัณฑ์เป็นกล่องกระดาษหิ้วถือได้สะดวกพร้อมป้ายฉลากแสดง รายละเอียด ผู้ผลิต ส่วนผลหุ้มด้วยตาข่ายโฟมและพลาสติกใส ลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ น�ำเอกลักษณ์สับปะรดภูเก็ต ซึ่งเป็นพืชได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) มี ความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต มาผสมผสานกับบริบทพื้นที่ การปลูกสับปะรดภูเก็ต แสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต โดยออกแบบให้ ดูทันสมัยและบ่งบอกความเป็นตัวตน ของจังหวัดภูเก็ต การใช้สีสัน พื้นหลังและตัวอักษรต้องการสื่อถึงผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคมีใน รูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ทั้งด้านความสวยงาม และประโยชน์ใช้สอยสามารถ สื่อถึงเอกลักษณ์ ของสินค้าจังหวัดภูเก็ต ยืดอายุสินค้าให้เก็บได้นานขึ้น ป้องกันการช�ำรุดเสียหาย สะดวกต่อ การใช้งาน สร้างความมั่นใจในมาตรฐานคุณภาพสินค้า บรรจุภัณฑ์เหมาะจะซื้อเป็นของฝาก ในขณะเดียวกันสามารถเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตได้เป็นอย่างดี เท่ากับ เป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวจังหวัด จากผลการศึกษาวิจัย ได้ส่งมอบต้นแบบให้ส�ำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต พร้อมจัดพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ส�ำเร็จ จ�ำนวน 5,000 กล่อง และมอบสู่วิสาหกิจชุมชนจังหวัดภูเก็ต เพิ่มสร้าง มูลค่าสินค้าทางการเกษตรต่อไป แสดงดังภาพที่ 4 และภาพที่ 5 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 157 จากผลการศึกษาวิจัยการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส� ได้ส่งมอบต้นแบบให้สำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต านักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต พร้อมจัดพิมพ์บรรจุภัณฑ์ส จังหวัดภูเก็ต าเร็จ จ านวน 5,000 กล่อง และมอบสู่วิสาหกิจชุมชนจังหวัดภูเก็ต เพิ่มสร้างมูลค่าสินค้าทางการเกษตรต่อไป แสดงดัง ภาพที่ 4 และภาพที่ 5

ภาพที่ 4 การทดลองให้บรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตเ พื่อยกระดับคุณภาพสินค้าทางการเกษตร และส่ง ภาพที่มอบบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด 4 การทดลองให้บรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าทางการเกษตร สู่เกษตรจังหวัดภูเก็ต และมอบยังวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ตจังหวัดภูเก็ต และส่งมอบบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด สู่เกษตรจังหวัดภูเก็ต และมอบยัง ข้อเสนอแนะวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 1. การออกแบบชื่อของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาตรวจสอบกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่า สามารถจดชื่อนั้นได้หรือไม่ เช่นชื่อนั้นไปซ้ ากับผู้อื่นหรือไม่ หรือให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจซ้ าอีกครั้ง ข้อเสนอแนะ2. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด เป็นการน าร่องการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าชุมชน ของจังหวัดภูเก็ต1. การออกแบบชื่อของเครื่องหมายการค้า ซึ่งสินค้าประเภทอื่นๆ สามารถแนวทางการออกแบบ ต้องพิจารณาตรวจสอบกับกรมทรัพย์สินไปใช้ เช่น สินค้าประเภทของใช้ของประดับ ทางปัญญาว่าสามารถจดชื่อนั้นได้หรือไม่ตกแต่ง ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมต่างๆที่ผลิตในจังหวัดภูเก็ต เช่น อันจะเป็นการเชื่อมโยงสินค้ากับการท่องเที่ยวได้ ชื่อนั้นไปซ�้ำกับผู้อื่นหรือไม่ หรือให้ผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาตรวจซ�้3. งานวิจัยำครั้งต่อไปควรมีการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง ให้มีรูปทรงที่มีอัตลักษณ์ของจังหวัด ภูเก็ต ร่วมกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดภูเก็ตผลสด เป็นการน�ำร่องการพัฒนารูปแบบ

บรรจุภัณฑ์สินค้าชุมชนของจังหวัดภูเก็ตกิตติกรรมประกาศ ซึ่งสินค้าประเภทอื่นๆ สามารถแนวทาง การออกแบบไปใช้งานวิจัยเรื่องการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส เช่น สินค้าประเภทของใช้ของประดับตกแต่ง าหรับวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมต่างๆ ผลิตภัณฑ์สับปะรด ที่ผลิตในจังหวัดภูเก็ตภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต สามารถ อันจะเป็นการเชื่อมโยงสินค้ากับการท่องเที่ยวได้ด าเนินการจนลุล่วงไปได้ผู้วิจัยใคร่ขอขอบคุณ ส านักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต ที่ สนับสนุนเงินทุนการศึกษาวิจัย3. งานวิจัยครั้งต่อไปควรมีการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ใหม่ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต ให้มีรูปทรงที่มี อาจารย์ อัตลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ตสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คุณฉัตรชัย ร่วมกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ระเบียบธรรม รองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู ศรีเดช และผู้ช่วย ศาสตราจารย์ อรสา จิรภิญโญ เป็นอย่างสูงที่ให้ความช่วยเหลือ และให้ค าปรึกษาในงานวิจัยครั้งนี้ จนกระทั่ง สามารถท างานวิจัยจนลุล่วงไปได้ด้วยดี กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยเรื่องการออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส� ำหรับวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตReferences สามารถด� ำเนินการจนลุล่วงไปได้ผู้วิจัย ใคร่ขอขอบคุณChuKeaw, N. (2016). ส�ำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต Costs and returns of pineapple ที่สนับสนุนเงินทุนการศึกษาวิจัย rubber plantation of farmers สถาบันวิจัยin Thalang มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตDistrict, Phuket Province. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต (Master of Economics). Songkhla: Prince อาจารย์สาขาวิชาออกแบบ of Songkla University. ผลิตภัณฑ์Department ofคุณฉัตรชัย Intellectual Propertyระเบียบธรรม. (2009). Geographical รองศาสตราจารย์ Indication :ดร.วรัญญู GI : No.50100042 ศรีเดช. Phuket และ: Department of Intellectual Property. Ministry of Commerce. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรสา จิรภิญโญ เป็นอย่างสูงที่ให้ความช่วยเหลือ และให้ค�ำปรึกษา

158 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ในงานวิจัยครั้งนี้ จนกระทั่งสามารถท�ำงานวิจัยจนลุล่วงไปได้ด้วยดี

References

ChuKeaw, N. (2016). Costs and returns of pineapple rubber plantation of farmers in Thalang District, Phuket Province. (Master of Economics). Songkhla: Prince of Songkla University. Department of Intellectual Property. (2009). Geographical Indication : GI : No.50100042. Phuket: Department of Intellectual Property. Ministry of Commerce. Kiguchi, M. (2017). Packaging design for pineapple processing products: A case study of pineapple and pineapple processing enterprises, Chiang Mai. Proceedings of the 13th Naresuan Research Conference: Research and Innovation Economic and Social Propulsion, Phitsanulok: Naresuan University, pp. 1731 - 1740. Kongcharoen, P. and Kongcharoen, S. (1998). Food Packaging (1). Bangkok: Heng Heng Printing Company. Paklamgeak, M. (2015). Food packaging (1). Bangkok: Heng Heng Printing Company. Panusaumpon, S. and Leelasuwat, S. (2012). Developing packaging of agricultural products for tourism in Nakhon Pathom [Conference on the Future of Rural Thailand: Sustainable Foundations for Sustainable Development (2011: Khon Kaen)]. Khon Kaen: Khon Kaen University, pp. 336 - 341. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 159 การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

Srihirun, J. (2017). Design of identity on the packages for the community enterprise: Case study of Thai herbal hair nourishment products of Ban Nakhum, Phitsanulok: Naresuan University. Art and Architecture Journal Naresuan University, 8(1), 155-168. Tongrungrod, S. (2014). Packaging Design. Bangkok: Boss Printing Company. Wiriyavit, N. (2016). Kan Phatthana Banchu Phan Lae Sue Prachasamphan Phalittaphan Khrueangsam-ang Samunphrai Korani Sueksa: Wisahakit Chumchon Parichat Khet Min Buri Krungthepmahanakhon [Development of Packaging and Public Relations Tools of Herbal Cosmetic Products in Case Study of the Parichart Enterprise Community]. Journal of the Association of Researchers, 21(1), 143 - 153. 160 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 161 บทวิจารณ์หนังสือ : หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น (2557)วิจารณ์หนังสือ ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ (Book Riview)

หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น (2557) วิจารณ์หนังสือชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ (Book Review) หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น (2557) ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ กิจชัย จิตขจรวานิช ส�ำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบกิจชัย จิตขจรวานิช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ส านักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบนครศรีธรรมราช 80160 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อีเมล: [email protected]นครศรีธรรมราช 80160 อีเมลล์: [email protected]

ภาพ ปกหนังสือภาพ ปกหนังสือ “หิมะ “หิมะ พระจันทร์ พระจันทร์ ดอกไม้ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น : สวนญี่ปุ่น”” เรื่องราวทางสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่ถูกถ่ายทอดเป็นภาษาไทยเล่มแรกๆ ได้แก่ หนังสือ “สถาปัตยกรรม ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์และร่วมสมัยเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่ถูกถ่ายทอดเป็นภาษาไทยเล่มแรกๆ” (2512) โดย อนุวิทย์ เจริญศุภกุล แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร หนังสือเล่มนี้ ได้แก่ เกิดขึ้นในยุคสมัยที่กล่าวได้ว่า มีหนังสือ ต ารา หรือบทความทางสถาปัตยกรรม ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาไทยให้ หนังสือ “สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์และร่วมสมัย” (2512) โดย อนุวิทย์ เจริญศุภกุล นักศึกษาได้ค้นคว้าไม่กี่หยิบมือ และที่อ่านแล้ว จะเข้าใจแจ่มแจ้งแบบทะลุปรุโปร่ง ต้องนับว่าไม่ปรากฏ ที่เป็น แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นในยุคสมัยที่กล่าวได้ว่า มีหนังสือ ต�ำรา หรือ 1

162 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

บทความทางสถาปัตยกรรม ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาไทยให้นักศึกษาได้ค้นคว้าไม่กี่หยิบมือ และที่อ่านแล้ว จะเข้าใจแจ่มแจ้งแบบทะลุปรุโปร่ง ต้องนับว่าไม่ปรากฏ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ ระดับความยากที่จะเข้าใจในหลักปรัชญาของงานสถาปัตยกรรม อันเป็นศาสตร์ที่มิได้ อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับรากฐานทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และเรื่องราวทางมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ประกอบกับเทคโนโลยี ในความก้าวหน้าทันสมัย ที่ส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ แล้วออกแบบเป็น ผลลัพธ์ ปรากฏเป็นสิ่งปลูกสร้างทางกายภาพ เป็นสถาปัตยกรรม ปรากฏการณ์เช่นนี้ มีความยากแก่การอธิบายอย่างรวบรัด จ�ำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการรวบรวม สั่งสม องค์ความรู้ ทีละเล็กละน้อย แล้วน�ำมาประกอบเป็นภาพ เพื่อท�ำความเข้าใจ ในกระบวนการของการเรียนรู้ อนุวิทย์ เจริญศุภกุล จึงนับเป็นบุคลากร ที่เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของการจุดประกาย ความใคร่รู้จักวัฒนธรรมตะวันออกให้ประจักษ์ ชัดเจน เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางแสวงหาความรู้ ที่จะต้องข้ามผ่านให้ได้ หากต้องการ ท�ำความรู้จักกับ “สถาปัตยกรรม” ลักษณะเช่นเดียวกัน ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ คือบุคลากรในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ ท่านหนึ่ง ที่ส่งต่อเรื่องราวการศึกษาค้นคว้า และถ่ายทอดเป็นภาษาไทย หนังสือที่จะน�ำมา แนะน�ำ ณ ที่นี้ เป็นผลงานล�ำดับที่สี่ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น เพื่อช่วยให้นักศึกษาและ ผู้คนโดยทั่วไป ได้ประกอบภาพ ท�ำความเข้าใจในหลักปรัชญาและสาระเรื่องราวต่างๆ ทางสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ได้แจ่มกระจ่างมากขึ้น ส�ำหรับหนังสือในล�ำดับที่หนึ่งถึงสาม จะขอกล่าวแต่เพียงชื่อ เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจได้ติดตามหามาศึกษาเอง ได้แก่ หนึ่ง “ธรรมชาติ ที่ว่าง และสถานที่” (2543) สอง “รู้สึกและนึกคิด เรขาคณิตของทาดาโอะ อันโด” (2551) และสาม “คัทซึชิคะ โฮคุไซ” (2552) หนังสือสวนญี่ปุ่นเล่มนี้ ใช้ชื่อตามค�ำ ที่คนญี่ปุ่นเมื่อไปเที่ยวสวน ว่าไปชม “หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้” และผู้เขียนได้วางโครงสร้างของหนังสือไว้เป็นสามบท โดยเริ่มในบทแรก “หิมะ” ว่าด้วยเรื่องสุนทรียภาพที่ปรากฏจากความไม่เที่ยง ความเศร้าลึกๆ ความสงัด ความเสื่อมสลาย ความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ความทรงจ�ำ ความเปลี่ยวเหงา ความไม่สมบูรณ์ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 163 บทวิจารณ์หนังสือ : หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น (2557) ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์

ความว่างเปล่า ความสงบเงียบ ความโปร่งเบาสง่างามสว่างไสว ความคิดเชิงสัญลักษณ์ และ ความรู้จากสาระภายใน ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ผ่านการปรุงแต่งอย่างตั้งใจของมนุษย์ ผู้สร้างสรรค์ จากนั้น เข้าสู่เนื้อหาในบทที่สอง “พระจันทร์” ที่ว่าด้วยแนวคิดทางศาสนา ชินโต และภูมิพยากรณ์ของเมืองเฮอิอัน ซึ่งได้ถูกรวบรวมเป็นเอกสารอันเก่าแก่ที่เรียกว่า “สะคุเทะอิคิ” หนังสือสาระเกี่ยวกับการออกแบบและการก่อสร้างสวน เน้นเรื่องความเอาใจใส่ ในการท�ำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับธรรมชาติ สื่อสาระทั้งทางความหมายสัญลักษณ์และ ทางสุนทรียภาพจากธรรมชาติ แล้วจึงแบ่งประเภทของสวนออกมาได้ในลักษณะต่างๆ พร้อมตัวอย่างสวน ตามช่วงเวลาจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่อดีตกาลจนถึง ยุคร่วมสมัย และปิดท้ายในบท “ดอกไม้” ว่าด้วยการแปลงสุนทรียภาพจากความคิด ในเชิงนามธรรม จากรากฐานทางศาสนาและวัฒนธรรม ผ่านการออกแบบเป็นสวนญี่ปุ่น ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน มีรายละเอียดในการประกอบสร้างเป็นลักษณะทางกายภาพ โดยรวบรวมเป็นข้อมูลทางเทคนิคเกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐาน เป็นหัวข้อต่างๆ เพื่อสร้าง ความเข้าใจ ในบทแรก เนื้อหาหลักๆ คือการน�ำเสนอค�ำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น ที่ถ่ายทอด สุนทรียภาพทางวัฒนธรรมอันเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบสวนหรือการชมสวน ซึ่งสามารถพบได้ในเอกสารต่างๆ อาทิเช่น วรรณกรรม “เรื่องของเก็นจิ (Tale of Genji)” วรรณกรรมเรื่องแรกของญี่ปุ่น (และอาจจะเป็นวรรณกรรมเรื่องแรกของโลก) บทกวีไฮกุและ บทกวีโบราณ หลักปรัชญาทางศาสนาชินโต พุทธศาสนา และปรัชญาเซน รวมทั้งเรื่องราว บางประการที่ถ่ายทอดจากอารยธรรมจีนโบราณ ค�ำต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ โมะโนะโนะอะวะเระ (Mono no Aware) : การเดินชมสวนอันฉ�่ำชื้นภายใต้ความเงียบสงัด เป็นสุนทรียภาพที่เกิดขึ้นจากความเศร้าลึกๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ มุโจ (Mujo) : ใบไม้ที่ร่วงหล่นจนหมดต้น เป็นอนิจจัง ไม่จีรังยั่งยืน เป็นสุนทรียภาพที่ได้รับ อิทธิพลจากพุทธศาสนา 164 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

มะ (Ma) : พื้นที่ จะมีความหมายก็ต่อเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงไปในเวลา ความรู้สึก ที่สัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และเวลาที่พัฒนาไปสู่สุนทรียภาพ คิโอะคุ (Kioku) : พื้นที่สวนญี่ปุ่นถูกออกแบบให้กระบวนการรับรู้ทางสายตาเป็นรอง ผู้ชมสวนต้องกระตุ้นตัวเองให้ใช้ความทรงจ�ำ เพื่อประกอบสร้างลักษณะของ พื้นที่ขึ้นเอง วะบิ สะบิ (Wabi Sabi) : สุนทรียภาพที่เผยให้เห็นร่องรอยของการใช้สอยผ่านกาลเวลา ความยากไร้ ความขาดแคลน เป็นความงามจากความไม่สมบูรณ์แบบ โยะฮะคุ (Yohaku) : สุนทรียภาพที่เกิดจากความพยายามแสวงหาที่ว่าง เป็นความงาม ที่เปิดช่องว่างเอาไว้ให้แก่การตีความในทางปรัชญาเซน เป็นสุนทรียภาพที่ได้รับ อิทธิพลจากภาพเขียนหมึกด�ำแบบห้าน�้ำหนักความเข้มจากอารยธรรมจีน คิเระอิ สะบิ (Kirei Sabi) : สุนทรียภาพที่เกิดตามหลัง วะบิ สะบิ ถูกพิจารณาให้เข้ามาแทนที่ และผสมผสานด้วยความงามที่เกิดจากพื้นที่ที่กระจ่างมากขึ้น ใช้องค์ประกอบที่มี ความสง่างามมากขึ้น โชะโช (Shocho) : ความคิดเชิงสัญลักษณ์ในสวนญี่ปุ่นเป็นหัวใจของระบบทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็นการตั้งหิน สะพานมังกรทอดกาย การขุดสระเป็นตัวอักษรความหมายว่า หัวใจ หรือการยืมทิวทัศน์ภายนอกที่ไกลออกไป โมะโนะมะเนะ (Monomane) : สุนทรียภาพโดยการเลียนแบบสรรพสิ่ง แต่เป็นการเลียนแบบ สาระจากภายใน จนกระทั่งไม่ต้องเลียนแบบ กลายเป็นการสร้างสาระได้ เสมอเหมือนธรรมชาติด้วยรูปทรงใหม่

กล่าวได้ว่า สวนญี่ปุ่นเป็นมากกว่าสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่เป็นส่วนหนึ่งของ ชีวิตจิตใจคนญี่ปุ่น สวนอยู่ตรงกลาง ท�ำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ เป็นที่ตั้ง ของความคิดและปรัชญา สวนเป็นชีวิต ค�ำว่า สวน หรือ นิวะ (Niwa) ในความหมายดั้งเดิม สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 165 บทวิจารณ์หนังสือ : หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น (2557) ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์

ของจีนแปลว่า ลานกลางที่ล้อมรอบด้วยสิ่งปลูกสร้าง ญี่ปุ่นโบราณ หมายถึง สถานที่เกิดพิธี ศักดิ์สิทธิ์ พื้นที่นี้มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการเกษตร ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเทพในศาสนา ชินโต มีพัฒนาการทางความเชื่อที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ และเกื้อหนุนให้เกิดการด�ำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกษตรให้ได้ผลดี เหล่านี้จึงเป็นระบบของการให้ความส�ำคัญต่อพื้นที่ และพัฒนาความรู้ในการอ่านพื้นที่ จนเป็นระบบภูมิพยากรณ์พื้นถิ่น ต่อมา เมื่ออารยธรรม จากจีนได้เข้ามา และเผยแพร่ความรู้ในแง่ของการจัดระบบ จึงเกิดการผสมผสานจนเป็น ความกลมกลืน หลักฐานการใช้ความรู้ได้ปรากฏในเอกสารที่เรียกว่า “สะคุเทะอิคิ (Sakuteiki)” หนังสือที่ว่าด้วยการก่อสร้างสวนหรือคู่มือก่อสร้างสวนร่วมสมัย สวนแบบชินเด็น : ค�ำว่าชินเด็น (Shinden) แปลว่า เรือนนอน ในที่นี้คือชื่อเรียกที่อยู่อาศัย ของราชวงศ์และขุนนาง สวนในเมืองแบบนี้จึงอยู่ที่ด้านหลังทางทิศใต้ของตัวเรือน มีรั้วล้อมทั้งสี่ด้าน สายน�้ำไหลเข้ามาในบริเวณบ้านและสวนทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือ และไหลออกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามสัณฐานของเมืองเกียวโต รสนิยมประการหนึ่งที่นิยม คือการจัดสวนแบบอสมมาตร ซึ่งให้ผลที่ดูเป็น ธรรมชาติมากกว่า ชินเด็นนอกเมือง : บ้านขุนนางนอกเมือง เป็นเรือนที่สร้างไว้เพื่อพักผ่อนจากความแออัด การออกแบบอาคารและสวนใกล้เคียงกับแบบในเมือง แต่มีความสอดคล้องกับ ภูมิประเทศมากกว่า อาคารและสวนเหล่านี้มักถูกปริวรรตเป็นวัดในพุทธศาสนา ในสมัยต่อมา สวนสุขาวดีของพุทธศาสนา : สวนโจโดะ (Jodo) ในศาสนาพุทธนิกายมหายาน รับอิทธิพล สืบทอดอารยธรรมจากประเทศจีน โครงสร้างจากพระคัมภีร์ถูกถ่ายทอดเป็นภาพ แผนผัง ประกอบด้วยอาคารที่พระอมิตาภะประทับ หันหน้ามาทางสระน�้ำใหญ่ ซึ่งถูกแปลงเป็นรูปธรรมทางกายภาพอย่างตรงไปตรงมา สวนธรรมชาติ : ช่วงปลายศตวรรษที่ 12 พุทธศาสนานิกายเซนมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลง ศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่น สวนเซนเป็นสวนที่ใส่ใจในสภาวะของธรรมชาติและ 166 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ชีวิตในโลกที่ก�ำลังด�ำเนินอยู่ การวางผังตามลักษณะของพื้นที่เพื่อรักษาความเป็น ธรรมชาติไว้ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ในยุคสมัยนี้มีแต่ความวุ่นวายสับสน จากภาวะสงคราม แต่กลับเป็นอู่ก�ำเนิดสวนที่มีความงามลึกซึ้ง จนเป็นนามธรรม ที่เปิดกว้างแก่การตีความ สวนทิวทัศน์แห้ง : คะเระสันสุย (Karesansui) หรือสวนทิวทัศน์แห้ง ใช้องค์ประกอบ “แห้ง” ทั้งก้อนหินและกรวดแทนธรรมชาติจริง เน้นกระบวนการตีความธรรมชาติ โดยมนุษย์ เน้นสภาวะนามธรรมมาก ดังปรัชญาเซนที่กลายรูปมาเป็นสวน นั่นคือ การสร้างสวนที่ “ไร้สวน” สวนทางเดินฉ�่ำชื้น : สวนโระจิ (Roji) หรือสวนชา ค�ำว่าโระจิ หมายถึง ทางเดินในตรอก เป็นเส้นทางหรือถนนแคบๆ เล็กๆ เพื่อเข้าถึงพื้นที่ภายใน สวนโระจิจึงเป็นสวน เพื่อเป็นเส้นทางไปยังที่ชุมนุมชา โดยเน้นหลักสามประการคือ หนึ่ง ต้องสะอาด อย่างที่สุด สอง ต้องมีบรรยากาศของความหยาบและยากไร้ และสาม ต้องน�ำเสนอ ความรู้สึกต่อความละเอียดอ่อนต่อธรรมชาติ หลักการออกแบบสวนโระจิจึงไม่มี มุมมองภายนอก แต่เน้นสาระเข้าสู่ภายใน สวนทอดน่อง : พัฒนาการของสวนญี่ปุ่นที่มีการผสมผสานแนวคิดหลากหลายประเภท ท�ำให้เกิดสวนทอดน่อง ซึ่งเป็นสวนที่มีขนาดใหญ่มาก ใช้ทุนทรัพย์มาก ดังนั้น สวนแบบนี้จึงเป็นสวนของบรรดาไดเมียวหรือเจ้าครองเมืองต่างๆ เท่านั้น สวนแบบนี้เน้นการพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นสวนแบบมองออกสู่ภายนอกให้มากที่สุด สวนญี่ปุ่นแบบต่างๆ ล้วนมีองค์ประกอบพื้นฐานที่มีอยู่ในธรรมชาติ เมื่อน�ำมา ผสมผสานกับความคิดและปรัชญาที่ลึกซึ้ง โดยการปรุงแต่งและดัดแปลง จึงท�ำให้เกิด ลักษณะรูปทรงและให้ความหมายไม่จบสิ้น แท้จริงแล้วสวนญี่ปุ่นมีต้นก�ำเนิดจากสภาพ ตามภูมิประเทศของตัวเอง การเป็นประเทศเกาะที่อยู่ห่างแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นอุปสรรค ต่อการติดต่อในสมัยโบราณ ท�ำให้เกิดพัฒนาการภายในเป็นส�ำคัญ ในบทสุดท้าย เนื้อหา กล่าวถึงองค์ประกอบทั้งหมดที่ปรากฏในสวนญี่ปุ่น ซึ่งก็คือองค์ประกอบพื้นฐานตาม สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 167 บทวิจารณ์หนังสือ : หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น (2557) ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์

ธรรมชาตินั่นเอง หิน (ishi) : การก่อสร้างสวน คือการตั้งหิน หินจึงเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญที่สุด การตั้งหิน มักมีแนวโน้มที่จะจัดกลุ่มหินเป็นองค์ประกอบ เป็นภูเขา เป็นรูปเต่าและกระเรียน ถ้าใช้หินเป็นทางเดินจะมีรูปแบบการประกอบที่เลียนแบบมาจากธรรมชาติ ได้แก่ ฝูงห่านบิน ดอกไม้ร่วง ส่วนหินขนาดเล็กหรือกรวดในสวนทิวทัศน์แห้งมักจะโปรย เต็มพื้นที่แล้วคราดเป็นรูปแบบต่างๆ โดยมีความหมายเป็นสายน�้ำหรือทะเล สระน�้ำ / บึง (ike) : ความงามของน�้ำ การสะท้อนเงาของอาคารและบริเวณโดยรอบ รวมทั้ง ท้องฟ้า ให้เข้ามารวมอยู่ในสวนเป็นหน้าที่ของสระ สระน�้ำเป็นหัวใจของความรื่นรมย์ ในสวน แม้แต่สวนทิวทัศน์แห้งยังใช้ก้อนกรวดเป็นสัญลักษณ์แทนสายน�้ำไหลเป็น รูปแบบต่างๆ ทั้งแบบคลื่นและแบบน�้ำวน เกาะกลางน�้ำ (shima) : ความรู้สึกของคนญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศเกาะ มีน�้ำทะเลล้อมรอบ รวมทั้งการได้รับอิทธิพลจากปรัชญาจีนที่ให้ความหมายถึงเกาะแห่งการอ�ำนวยพร จากรูปทรงเต่าและกระเรียน ท�ำให้เกิดการก่อสร้างเกาะลงไปในสระน�้ำ สายน�้ำ (yarimizu) : ทางคตินิยม สายน�้ำจะถูกน�ำเข้ามาในบริเวณอาคารและสวนจาก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไหลลอดใต้อาคารผ่านไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งหมายถึง สายน�้ำบริสุทธิ์ของมังกรน�้ำเงินจากตะวันออก จะชะล้างความชั่วร้าย ออกไปทางเสือขาวทางตะวันตก ท�ำให้เจ้าบ้านเกิดแต่ความโชคดี น�้ำตก (taki) : น�้ำตกในสวน หมายถึง พระอจละนาท (Fudo Myoo) ในพุทธศาสนานิกาย มหายาน การท�ำสมาธิบางครั้งจึงเป็นการปฏิบัติธรรมโดยไปยืนอยู่ใต้น�้ำตก ที่รุนแรง เพื่อช่วยรักษาสภาวะสมาธิให้สงบนิ่ง สะพาน (hashi) : องค์ประกอบที่ใช้เชื่อมต่อแผ่นดินกับเกาะ ซึ่งรวมถึงสวนทิวทัศน์แห้ง ก็จ�ำเป็นต้องมีสะพานเป็นสัญลักษณ์ด้วย สะพานที่ใช้โครงสร้างไม้มีทั้งแบบ สะพานเรียบ สะพานโค้ง สะพานแบบมีหลังคาเป็นทางเดิน หากเป็นสะพานดิน 168 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ก็จะมีตะไคร่และมอสส์เติบโตบนสะพานได้ นอกจากนี้ยังมีสะพานหิน ก�ำแพงและรั้ว (hei and kaki) : วัสดุที่น�ำมาใช้มีทั้งแบบก�ำแพงไม้แผ่นมีหลังคา ก�ำแพงดิน มีหลังคาไม้ ก�ำแพงดินหนาวางตัวบนฐานดิน ส�ำหรับรั้วสร้างด้วยไม้ไผ่หลากหลาย เทคนิค หรือใช้ต้นไม้เป็นรั้วมีชีวิต การล้อมกั้นขอบเขตเป็นองค์ประกอบเพื่อให้ เห็นไกลกว่าสวน เชื่อมต่อสวนเข้ากับธรรมชาติภายนอก โดยใช้เทคนิคการยืม ทิวทัศน์ภายนอก การยืมทิวทัศน์ (shakkei) : เทคนิคนี้แต่เดิมเรียกว่า อิเคะริ (Ikedori) แปลว่า จับเป็นหรือ จับสัตว์โดยยังมีชีวิตอยู่ เมื่อใช้กับสวนจึงหมายถึงเทคนิคในการยืมทิวทัศน์ที่อยู่ ภายนอกขอบเขตสวน ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ด้านนอก หลังคาอาคาร ยอดเจดีย์ และ ภูเขาที่ไกลตาออกไป ให้เข้ามาอยู่ในองค์ประกอบของการออกแบบสวน มิตะเตะ (mitate) : การค้นพบความหมายใหม่จากของไร้ค่าเป็นสุนทรียภาพแบบต่อต้าน ความหรูหรา ตัวอย่างของมิตะเตะ ได้แก่ หินที่เคยรองรับเสาอาคารในศาสนา กลายมาเป็นหินรองรับเท้าในทางเดินของสวน ไม้ไผ่ที่มีรอยแมลงกัดแทะ กลายเป็นไม้ตักชา ตะกร้าส�ำหรับจัดดอกไม้มาจากอุปกรณ์จับปลาของชาวประมง อ่างหิน (tsukubai, chozu-bachi, suikinkutsu) : ค�ำว่า ทสึคุไบ แปลว่า ก้มตัวลง ถูกน�ำมา ใช้เรียกอ่างหินในสวนอาคารชุมนุมชา เพื่อให้เข้ากับความหมายในการลดตัวตน ตามปรัชญาของสวนชา อ่างแบบโจซึบะชิ คืออ่างที่ตั้งสูง ส่วนอ่างแบบสุยคินคุทสึ คืออ่างล้างมือและปาก (ถูกออกแบบให้มีเสียงน�้ำกระทบกับพื้น เมื่อมีการใช้งาน เสียงจะก้องสะท้อนเป็นจังหวะที่น่าฟัง) ต้นไม้ (niwaki) : ต้นไม้เป็นองค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด การใช้ต้นไม้มักจะใช้ต้นไม้ ท้องถิ่น ที่นิยม ได้แก่ ต้นสน ต้นฟุจิ ต้นซากุระ ต้นปรง (เป็นต้นไม้ที่ดูแลยาก เนื่องจากเป็นต้นไม้น�ำเข้าจากต่างประเทศ) ต้นไผ่ ต้นหญ้าคิเคียว ต้นสนไซเปรส ต้นหลิว ต้นจูดาส ต้นเมเปิล เป็นต้น สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 169 บทวิจารณ์หนังสือ : หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น (2557) ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์

ฤดูกาล (kisetsu) : รสนิยมการชื่นชมสวนมีความเกี่ยวข้องกับฤดูกาลทั้งสี่ของญี่ปุ่น การเปลี่ยนสีของใบไม้ ต�ำแหน่งที่หิมะตก ต�ำแหน่งที่พระจันทร์ขึ้น เหล่านี้คือ ปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้สวนมีแง่มุมที่เปลี่ยนแปลง ตะเกียงหิน (ishidoro) : องค์ประกอบส�ำคัญของสวนเพื่อสุนทรียภาพมากกว่าประโยชน์ ใช้สอยจากแสงสว่าง โดยปกติแล้วตะเกียงหินจะถูกใช้สอยยามที่มีการประกอบ ชุมนุมชาตอนกลางคืน แต่ก็ถูกออกแบบเป็นประติมากรรมเพื่อความงามในตอน กลางวัน ตัวไล่กวาง (shishidoshi) : ตัวไล่กวาง เป็นท่อไม้ไผ่ความยาวประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร วางบนแกนไม้ที่มีจุดกึ่งกลางที่สามารถกระดกขึ้นลงได้ เมื่อน�้ำเติมเข้าปลายกระบอก ไม้ไผ่ด้านหนึ่งจนเกิดน�้ำหนักมากพอ จะท�ำให้ปลายไม้ไผ่อีกข้างหนึ่งปล่อยน�้ำลงไป ที่อ่างหิน เมื่อน�้ำไหลออกหมด ท่อไม้ไผ่นี้ก็จะกลับมามีสภาพเหมือนเดิม ปลายไม้ไผ่จะกระดกไปกระแทกฐาน เกิดเสียงดัง “ป๊ก” องค์ประกอบนี้เป็นกลไก ที่ชาวนาคิดขึ้นเพื่อไล่กวางและหมูป่าที่มากินพืชผลในสมัยก่อน จังหวะของเสียง จึงขับเน้นถึงห้วงเวลาของความเงียบ เสียงที่เกิดขึ้นแล้วหายไป จึงเป็นการขยาย ขอบเขตพื้นที่ออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

โดยสรุปแล้ว หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น จึงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ เกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ ความเชื่อในเทพธรรมชาติ ระบบภูมิพยากรณ์ของคน ในสมัยก่อน การตีความของมนุษย์ ชุดความคิดนามธรรมแบบสมัยใหม่นิยม ธรรมเนียม การปฏิบัติแต่โบราณ เทคนิคการใช้วัสดุและการก่อสร้าง ทักษะในการสร้างปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ แล้วน�ำมาใช้ให้ปรากฏขึ้นใหม่ ทั้งหมดนี้ถูกน�ำมาร้อยเรียงเป็นข้อมูล เพื่อให้ ชื่นชมในรสนิยมแบบญี่ปุ่น และมีความกระหายอยากสัมผัสสุนทรียภาพแบบนี้ สวนญี่ปุ่น เป็นดั่งการเปรียบเปรยกับชีวิต เป็นที่ตั้งของความคิดและปรัชญา และเป็นศิลปะที่ต้อง “ดูด้วยใจ” การเปิดกว้างประสบการณ์ด้วยตนเองกับสวน อาจจะท�ำให้เกิดโอกาสเช่นเดียว กับ ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ ที่อธิบายถึงความรู้สึกแบบเสี้ยววินาทีหนึ่ง วินาทีที่จิตวิญญาณของ เราเชื่อมต่อกับจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ 170 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 171 ข้อแนะน�ำการเตรียมต้นฉบับ

ข้อแนะนำ�การเตรียมต้นฉบับ เวลาเผยแพร่ เป็นวารสารที่เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม – มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม)

สถานที่ติดต่อ – สถานที่ส่งบทความ อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ตำ�บลไทยบุรี อำ�เภอ ท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 โทรศัพท์ 075-672508-10, 075-672550 โทรสาร 075-672507 หรือ อีเมล: [email protected]

เจ้าของวารสาร เป็นวารสารวิชาการของอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเวทีวิชาการในการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสังคม ศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียน

ขอบเขตของวารสาร สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความ วิจัย และบทปริทัศน์หนังสือ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทาง วิชาการของสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับสหวิทยาการ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ทุกสาขา เช่น วัฒนธรรมศึกษา ภาษาและวรรณกรรม ศิลปกรรม ศิลปะการแสดง ดนตรี นาฏศิลป์ จิตรกรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภาษาศาสตร์ ประชากรศาสตร์ เอเชียศึกษา และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 172 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

มาตรฐานวารสาร ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่ สกอ. และ สกว. กำ�หนดโดยกองบรรณาธิการ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ และผู้ทรง คุณวุฒิระดับปริญญาเอก มีผลงานวิจัยต่อเนื่อง ที่มาจากสถาบันภายนอกเป็นส่วนใหญ่ และมาจากสถาบันภายในส่วนหนึ่ง และทุกบทความต้องผ่านผู้อ่านหรือผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำ�งานวิจัยในสาขาและมีผลงานวิจัย อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 2 คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยผู้อ่าน และผู้เขียนไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน

ประเภทของบทความที่รับพิจารณาลงตีพิมพ์ 1. บทความวิจัย (Research Articles) ประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ� วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำ�เนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล และเอกสารอ้างอิง 2. บทความวิชาการ (Articles) ประกอบด้วยบทคัดย่อ บทนำ� เนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง 3. บทความปริทัศน์หนังสือ (Book Review)

“การเตรียมต้นฉบับ” 1. บทความทุกบทต้องมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนทุกคน (กรณีผู้เขียนหลายคน) บทคัดย่อ คำ�สำ�คัญ ที่เป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษครบ โดยแยกไฟล์ จากตัวบทความที่มีเฉพาะชื่อเรื่องและเนื้อหา 2. หน้าแรกของบทความ ต้องระบุ ชนิดของบทความ แหล่งทุนสนับสนุนวิจัย สถานที่ทำ�งานของผู้เขียนครบทุกคนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 3. ให้ใช้การอ้างอิงตามแนว เอพีเอ (APA-American Psychological Association edition 6) เฉพาะเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาอังกฤษ 4. บทความ รวมเอกสารอ้างอิง และอื่น ๆ ความยาวไม่ควรเกิน 15 หน้า สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 173 ข้อแนะน�ำการเตรียมต้นฉบับ

5. หัวข้อในบทความประกอบด้วย - ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ - ชื่อผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยตำ�แหน่งวิชาการ ตำ�แหน่งงาน และสถานที่ทำ�งาน ที่อีเมล์ติดต่อ - บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวอย่างละ ไม่เกิน 250 คำ�หรือ ¾ หน้า A4 โดยให้เขียนเป็นความเรียงต่อเนื่อง ไม่ควรเป็นข้อ ๆ - คำ�สำ�คัญ (Keyword) ใต้บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ - เนื้อหา ประกอบด้วยหลักสำ�คัญ คือบทนำ�ที่กล่าวถึงความเป็นมาและ ความสำ�คัญของปัญหาให้รวมการทบทวนเอกสาร วัตถุประสงค์ กรอบ แนวคิดการวิจัย สมมติฐาน วิธีดำ�เนินการวิจัย (กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ ขั้นตอน ดำ�เนินการวิจัย) ผลการวิจัย (ให้นำ�เสนอข้อมูลหรือตารางผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์) สรุปอภิปรายผล ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติ ข้อเสนอแนะใน การวิจัยต่อไป และเอกสารอ้างอิง 174 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 175 รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความวิชาการบทกลอน

สถาปัตยกรรม

คนเกิดมาอาหารการกินอยู่ ต้องต่อสู้ใช้แรงอย่างแข็งขัน เพื่อให้ร่างกายยืนยงด�ำรงพันธ์ ุ ใช้ถ�้ำเป็นที่มั่นสมัยบรรพชน อยู่ในถ�้ำฉ�่ำเย็นเป็นที่พัก เก็บอาหารพืชผักฟักแฟงผล สร้างครอบครัวผัวเมียลูกของตน รวมเผ่าพลเมืองเรื่องโบราณ ครั้นนานมาภูมิปัญญาการสรรค์สร้าง น�ำไม้มาท�ำร่างอย่างเล่าขาน บ้างถากเหลาเอาที่แข็งมาเป็นคาน ใช้ใบไม้ทับประสานมุงหลังคา เข้าไปอยู่หมู่พวกพ้นแดดฝน สุขกมลนอนนั่งอย่างหรรษา เรียกว่าบ้านนานอนันต์จากนั้นมา พัฒนาการสร้างสรรค์ค่อยมั่นคง แปรรูปสร้างร่างประโยชน์โบสถ์วิหาร มหาราชวังตระการสถานระหง หลายหลากอย่างต่างวัสดุอยู่ยืนยง ปูนอิฐหินผสานลงบรรจงท�ำ เพิ่มเติมแต่งให้สวยด้วยสีสัน มีต่างพรรณน่าชื่นชมดูคมข�ำ เรียกค�ำรวมรวบรัด “สถาปัตยกรรม” หลายหลากท�ำออกมาปัญญาคน บ้านไทยภาคใต้ใช้ไม้สร้างเป็นหลัก เจาะเข้าด้วยอัตลักษณ์ประจักษ์ผล หลังคาจากฟากไม้ปูชิดชน นอนนั่งได้หลายคนบนทางไทย ทรงปั้นหยาหลังคาสง่าเห็น ความโดดเด่นงดงามตามวิสัย เมื่อเดือนปีรวีวารผ่านพ้นไป หลังคาปั้นหยาไทยก็เปลี่ยนแปลง รับวัฒนธรรมภายนอกออกแบบสร้าง มีปรับรูปประยุกต์ร่างต่างฝันแฝง ทั้งต่างภาคต่างชาติศาสตร์ศิลป์แสดง สื่อก่อสร้างขันแข่งให้ดูดี บ้านภาคกลางต่างออกไปจั่วสร้างแหลม ดูยิ้มแย้มอบอุ่นกรุ่นราศี ส่วนภาคเหนือเชื้อกาแลแถเมฆี ทางอีสานก็มีแบบบ้านตน สิ่งก่อสร้างอย่างที่เห็นเป็นประจักษ์ อัตลักษณ์แห่งชนชาติศาสตร์ศิลป์ผล บ้างเรียกสถาปัตยกรรมฉ�่ำกมล ภาษาสันสกฤตปะปนเรียกกันมา

รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 176 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 177 รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความวิชาการ

รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความวิชาการ (ฉบับพิเศษ)

ศาสตราจารย์อรศิริ ปาณินท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.วีระ อินพันทัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย์สมศักดิ์ ธรรมเวชวิถี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง รองศาสตราจารย์สุพัฒน์ บุณยฤทธิกิจ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง รองศาสตราจารย์อุดมศักดิ์ สาริบุตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง รองศาสตราจารย์บรรจงศักดิ์ พิมพ์ทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพร มูรพันธ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ญาดา ชวาลกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง 178 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิไล อัศวเดชศักดิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิติ คุปตะวาทิน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.ยศไกร ไทรทอง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 179 รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความวิชาการ

รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความวิชาการ

ศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว นักวิชาการอิสระ ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ นักวิชาการอิสระ ศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.โหม มุกดามณี มหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุเทพ เชาวลิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.รัตติยา สาและ นักวิชาการอิสระ ศาสตราจารย์สมบูรณ์ สุขส�ำราญ มหาวิทยาลัยรังสิต ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ นักวิชาการอิสระ ศาสตราจารย์ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง นักวิชาการอิสระ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อัจฉรา วงศ์โสธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุจริต เพียรชอบ นักวิชาการอิสระ รองศาสตราจารย์ ดร.จารุวรรณ ธรรมวัตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รองศาสตราจารย์ ดร.บุญยงค์ เกศเทศ นักวิชาการอิสระ รองศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ มีกุศล นักวิชาการอิสระ 180 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความวิชาการ (ต่อ)

รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ ดวงจันทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ รองศาสตราจารย์ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล นักวิชาการอิสระ รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ทินรัตน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พรพันธุ์ เขมคุณาศัย มหาวิทยาลัยทักษิณ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ มหาวิทยาลัยทักษิณ รองศาสตราจารย์ปรีชา ทิชินพงศ์ นักวิชาการอิสระ รองศาสตราจารย์ ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์พรพันธุ์ เขมคุณาศัย มหาวิทยาลัยทักษิณ รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ศรีสันติสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ ดร.ปาจรีย์ ผลประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏก�ำแพงเพชร รองศาสตราจารย์ประยูร ทรงศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย์ ดร.ประเวศ อินทองปาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.สมยศ ทุ่งหว้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ธรรมสัจการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.สีห์กุล กรรัตน์เสถียร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย ปัญญาดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ช่อแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ 181 รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความวิชาการ

รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความวิชาการ (ต่อ)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสฬส ศิริไสย์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยัลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภมรรัตน์ สุธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณะ บรรจง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิศาล ศรีมหาวโร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรศักดิ์ ทองนุ้ยพราหมณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทร พูนเอียด นักวิชาการอิสระ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ชอบตรง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปุณรัตน์ พิงคานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิวรรณ ศิรินันทนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร�ำไพพรรณี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภมรี สุรเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาโนช ดินลานสกุล มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรชัย นาคสีทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิเชษฐ กาญจนดิฐ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พุทธพล มงคลวรวรรณ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ดร.ฉันทัส ทองช่วย มหาวิทยาลัยทักษิณ ดร.เกตมาตุ ดวงมณี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดร.บาลี พุทธรักษา นักวิชาการอิสระ ดร.พรศักดิ์ พรหมแก้ว นักวิชาการอิสระ ดร.เลิศชาย ศิริชัย นักวิชาการอิสระ ดร.สมคิด แก้วทิพย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 182 สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ Walailak Abode of Culture Journal

ดร.สุมาลัย กาลวิบูลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดร.ไชยวัฒน์ เผือกคง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดร.พรรษา เอกพรประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดร.อมรา ศรีสุชาติ กรมศิลปากร ดร.อัมพร หมาดเด็น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาจารย์สมใจ สมคิด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์