มุมมองของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในเหตุการณ์ ผ่าน ภาพยนตร์ฮอลลีวูด: กรณีศึกษาภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl 2019 (HBO)

โดย

นางสาวภัทรกันย์ ชัยงาม

ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2562 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุมมองของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในเหตุการณ์ Chernobyl ผ่าน ภาพยนตร์ฮอลลีวูด: กรณีศึกษาภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl 2019 (HBO)

โดย

นางสาวภัทรกันย์ ชัยงาม

ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2562 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

STUDY OF THE AMERICAN PERSPECTIVE ON THE SOVIET IN CHERNOBYL THROUGH HOLLOWOOD: A CASE STUDY OF THE CHERNOBYL SEREIS 2019 (HBO)

BY

MISS PATTARAKAN CHAINGAM

A RESEARCH PAPER SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF BACHELOR OF ART RUSSIAN STUDIES PROGRAM FACULTY OF LIBERAL ARTS THAMMASAT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2019 COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์

ภาคนิพนธ์

ของ

นางสาวภัทรกันย์ ชัยงาม

เรื่อง

มุมมองของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในเหตุการณ์ Chernobyl ผ่านภาพยนตร์ฮอลลีวูด: กรณีศึกษาภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl 2019 (HBO)

ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติ ให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต

เมื่อ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ประธานกรรมการสอบภาคนิพนธ์ (อาจารย์ วัฒนะ คุ้นวงศ์)

กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงศักดิ์ พงษ์หิรัญ)

กรรมการสอบภาคนิพนธ์ (อาจารย์ ดร. กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ) (1)

หัวข้อภาคนิพนธ์ มุมมองของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในเหตุการณ์ Chernobyl ผ่านภาพยนตร์ฮอลลีวูด: กรณีศึกษา ภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl 2019 (HBO) ชื่อผู้เขียน นางสาวภัทรกันย์ ชัยงาม ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย สาขารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงศักดิ์ พงษ์หิรัญ ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

ภาคนิพนธ์นี้ศึกษาเกี่ยวกับมุมมองของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในเหตุการณ์ Chernobyl ผ่านภาพยนตร์ฮอลลีวูด: กรณีศึกษาภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl 2019 (HBO) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทของโซเวียตในเหตุการณ์ Chernobyl ผ่านภาพยนตร์ชุด Chernobyl และศึกษาความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและความเป็นจริงกับบทภาพยนตร์ ชุด เรื่อง จากภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl อีกทั้งยังศึกษามุมมองของอเมริกาที่มีต่อโซเวียตผ่าน ภาพยนตร์ชุด เรื่อง Chernobyl การตีแผ่ข้อบกพร่องในการปกครองช่วงสหภาพโซเวียตที่ผู้จัดท าภาพยนตร์น าเสนอ ได้ มีส่วนสร้างผลกระทบต่อรัสเซียในปัจจุบัน กล่าวคือ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงใน Chernobyl ใน ระยะเวลาที่ผ่านแต่ครั้งที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย รัสเซียได้พยายามมาโดยตลอดในการกอบกู้ความ เป็นมหาอ านาจจากในช่วงสหภาพโซเวียต รัสเซียเริ่มสร้างความมั่นคงภายในประเทศก่อนโดยเริ่มจาก การควบคุมกิจการภายในของรัสเซียทุกภาคส่วนให้ขึ้นตรงกับรัฐบาลทั้งในด้านการเมืองเศรษฐกิจและ สังคม ในขณะเดียวกันก็เกิดการควบคุมพลังงานส ารองของรัฐอีกครั้ง เป็นสินค้าที่ปูตินให้ความส าคัญ เป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศกลับคืนสู่สภาวะปกติได้ โดยมีผู้ช่วยในการดูแล กิจการภายในที่ส าคัญ คือ กลุ่ม Oligarch ด้วยกระบวนการรวมศูนย์ทางอ านาจ การปกครองรูปแบบ ใหม่และราคาสินค้าพลังงานที่สูงขึ้นท าให้รัสเซียกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง พื้นฐานการด าเนินนโยบาย ต่างประเทศของรัสเซียที่มีความเชื่อมั่นในโลกาภิวัตน์ รัสเซียมีความต้องการสร้างโลกที่มีหลายขั้ว อ านาจ เพราะระบบหลายขั้นอ านาจเป็นการรักษาสมดุลทางอ านาจ โดยในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา (2)

ภาพยนตร์ฮอลลีวูดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ส าคัญของสหรัฐอเมริกาเป็นการสร้างพลังแห่ง ระบบสื่อสารและข้อมูลข่าวสาร นับเป็นอาวุธส าคัญที่ช่วยให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทรงอิทธิพลด้านการ แผ่ขยายอุดมการณ์ทางการเมือง เพราะมีอ านาจในการครอบครองสื่อมวลชนทุกประเภท ส่งผลให้ ผู้รับสารมีพฤติกรรมการบริโภคที่ยึด ถือให้ สื่อจากฮอลลีวูดเป็นศูนย์กลางการผูกขาดข้อมูลข่าวสาร จนเกิดการบิดเบือนข้อมูล มีการผลิตซ ้าจนเกิดความเคยชิน ท าให้ประชากรทั่วโลกรับสารของฮอลลี วูดหรือสหรัฐอเมริกาแต่ฝ่ายเดียว ท าให้ผู้รับสารคล้อยตามและคลั่งไคล้ความเป็นสหรัฐอเมริกาโดยที่ ขาดการพิจารณาถึงข้อมูลที่แท้จริง อีกทั้งสื่อยังบิดเบือนความรู้ข่าวสาร ค่านิยม วัฒนธรรม ส่งผลต่อ จิตส านึกของผู้รับสารที่ได้เปลี่ยนไปตามความเป็นสหรัฐอเมริกา

ค ำส ำคัญ: ภาพยนตร์ฮอลลีวูด, สหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต, อุบัติภัย, สารกัมตรังสี

(3)

Research Paper Title Study of the American Perspective on the Soviet in Chernobyl Through Hollywood: A Case Study of the Chernobyl Series 2019 (HBO) Author Miss Pattarakan Chaingam Degree Bachelor of Arts Major Field/Faculty/University Russian Studies Program Faculty of Liberal Arts Thammasat University Research Advisor Asst. Prof. Songsak Phonghirun, Ph.D. Academic Years 2019

ABSTRACT

This term paper studies about the United States perspective on the in through Hollywood movies: a case study of the Chernobyl 2019 ( HBO) movie series. The objective to study the role of the Soviets in the Chernobyl disaster through the Chernobyl series and to study the differences between the events and the reality and the script from the Chernobyl series. The Soviet Union passed the movie Chernobyl. Exposing the flaws in Soviet rule that the filmmakers presented It has affected Russia today, that is, from the actual events in Chernobyl in the past, but the Soviet Union collapse. Russia has always tried to salvage superpowers from the Soviet Union. Russia began to create internal security first by controlling all internal affairs of Russia to directly correspond with the government, politically, economically and socially. At the same time, the control of the state's energy reserves again. Is a very important product for Vladimir Putin Because it will help the domestic economy return to normal conditions with an assistant to oversee the internal affairs of the Oligarch group. The new regime and higher energy prices have made Russia stronger again. Fundamentals of foreign policy implementation of Russia with confidence in (4) globalization Russia needs to create a world with multiple powers. Because many power systems maintain a balance of power Which in the past many years. Hollywood movies are one of the most important tools in the United States, creating the power of communication and information systems. It is an important weapon that has helped the United States to become a powerful political force. Because it has the power to possess all types of media as a result, the consumer's behavior is based on the Hollywood media as the center of information monopoly until information distortion occurs. Has been reproduced until used. Causing the entire population of the world to receive only Hollywood or the United States Causing the recipients to conform and become crazy about the United States of America without considering the true data The media also distorts knowledge, news, values, and culture, affecting the consciousness of recipients that have changed according to the United States.

Keywords: Hollywood movie, United States, Soviet Union, Accident, Radiation

(5)

กิตติกรรมประกำศ

ภาคนิพนธ์เล่มนี้ส าเร็จได้ด้วยดี เนื่องจากได้รับความกรุณา การชี้แนะที่เป็นประโยชน์ จากอาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์นี้ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงศักดิ์ พงษ์หิรัญ ที่คอยให้ ค าแนะน าต่าง ๆ และคอยตรวจสอบแก้ไขความถูกต้องเรียบร้อยของเนื้อหาภาคนิพนธ์เล่มนี้ อีกทั้ง ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ ดร.กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ ที่ได้สละเวลามาเป็นกรรมการสอบภาคนิพนธ์ เล่มนี้ อีกทั้งยังให้ความรู้ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพิ่มเติม ขอขอบคุณ คุณพ่อ คุณแม่รวมถึงเพื่อน ๆ รัสเซียศึกษาที่คอยเป็นก าลังใจและคอย สนับสนุนมาโดยตลอดขอบคุณนางสาวกวินธิดา พุดแก้ว และนางสาวธันยพร ศรีไพโรจน์ ที่ให้ความ ช่วยเหลือในการท าภาคนิพนธ์เล่มนี้ หากภาคนิพนธ์เล่มนี้ผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าขออภัยมา ณ ที่นี้ และจะท าการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป

นางสาวภัทรกันย์ ชัยงาม

(6)

สำรบัญ

หน้า บทคัดย่อภาษาไทย (1)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (2)

กิตติกรรมประกาศ (3)

สารบัญภาพ (8)

บทที่ 1 บทน า 1

1.1 ที่มาและความส าคัญ 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 1.3 ขอบเขตของการศึกษา 3 1.4 วิธีการศึกษา 4 1.5 สมมติฐานของการศึกษา 4 1.6 แผนการด าเนินงาน 4 1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5 1.8 นิยามศัพท์ 5 1.9 ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6

บทที่ 2 ประวัติความเป็นมาของเหตุการณ์เชอร์โนบิล 7

2.1 เมืองพริพยาต 7 2.2 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 8 2.2.1 การก าจัดเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว 9 2.2.2 ขั้นตอนการออกแบบความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 9 2.3 โรงไฟฟ้า Chernobyl 10 (7)

2.4 เหตุการณ์ Chernobyl 11

บทที่ 3 บทนำภาพยนตร์ชุด Chernobyl 17

3.1 เหตุการณ์ในของภาพยนตร์ 18

บทที่ 4 บทวิเคราะห์ บทบาทที่อเมริกามีต่อโซเวียตในเหตุการณ์เชอร์โนบิลผ่าน 33 ภาพยนตร์ภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl

4.1 บทวิเคราะห์ตัวละครและเหตุการณ์ในภาพยนตร์ 33 4.1.1 ตัวละคร 33 4.1.1.1 Valery Legasov 33 4.1.1.2 Ulana Khomyuk 35 4.1.1.3 Boris Shcherbina 36 4.1.1.4 Anatoly Dyatlov 37 4.1.1.5 Viktor Bryukhanov 38 4.1.1.6 Aleksandr Akimov 39 4.1.1.7 Leonid Toptunov 40 4.1.2 เหตุการณ์ในภาพยนตร์ 41 4.1.2.2 ตอนที่ 2 (PLEASE REMAIN CALM) 42 4.1.2.3 ตอนที่ 3 (OPEN WIDE, O EARTH) 44 4.1.2.4 ตอนที่ 4 (THE HAPPINESS OF ALL MANKIND) 46 4.1.2.5 ตอนที่ 5 (VICHNAYA PAMYAT) 48 4.2 การเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงและเหตุการณ์ในภาพยนตร์ 49 4.3 ผลกระทบของภาพยนตร์ฮอลลีวูด 55

บทที่ 5 บทสรุป 60

รายการอ้างอิง 62

(8)

ประวัติผู้เขียน

(9)

สำรบัญภำพ

ภาพที่ หน้า 2.1 แสดงรูปภาพ เมือง ในวันที่ 2 สิงหาคม ปี ค. ศ. 2005 7 2.2 แสดงรูปภาพ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Chernobyl ในปัจจุบัน 8 2.3 แสดงรูปภาพ แผนภาพวงจรของเครื่องปฏิกรณ์แบบ RBMK ในโรงไฟฟ้า 10 Chernobyl 2.4 แสดงรูปภาพ โรงไฟฟ้า Chernobyl ภายหลังการเกิดเหตุระเบิด 12 3.1 แสดงรูปภาพโปสเตอร์ภาพยนตร์ชุด Chernobyl โดย HBO ปี ค. ศ.2019 17 3.2 แสดงรูปภาพ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงหยิบเศษตะกั่วดำที่ได้ระเบิดออกมาจากแกน 18 เตาปฏิกรณ์ 3.3 แสดงรูปภาพบาดแผลของนักดับเพลิงที่ได้สัมผัสตะกั่วดำ 19 3.4 แสดงรูปภาพ เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ที่ระเบิด 19 3.5 แสดงรูปภาพ Dyatlov, Bryukhanov และFomin ร่วมกันสรุปผลของ 20 เหตุการณ์ที่จะต้องนำไปรายงานในที่ประชุม 3.6 แสดงรูปภาพ Sitnikov หนึ่งในเจ้าหน้าที่หลังจากสัมผัสกับรังสีโดยตรงส่งผลให้ 21 มีสีหน้าที่แดงก่ำ 3.7 แสดงรูปภาพ เสื้อผ้าที่ปนเปื้อนรังสีของผู้ป่วย 22 3.8 แสดงรูปภาพ Vasily Ignatenko หนึ่งในนักดับเพลิงที่ได้รับผลกระทบจากรังสี 23 3.9 แสดงรูปภาพ เฮลิคอปเตอร์เสียการควบคุมในขณะที่พยายามดับเพลิงด้วยทราย 23 และโบรอน 3.10 แสดงรูปภาพ Andrei glukhov หัวหน้าคนงานควบคุมการขุดเหมือง 25 3.11 แสดงรูปภาพ Ulana khomyuk สอบถามถึงความจริงจาก Leonid 25 Toptunov, หนึ่งในเหยื่อที่ได้รับสารกัมมันตรังสี 3.12 แสดงรูปภาพ Pavel เด็กผู้ชายถูกเกณฑ์เพื่อไปก าจัดสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง 26 3.13 แสดงรูปภาพ หุ่นยนต์ชื่อ Joker ถูกส่งขึ้นไปก าจัดเศษตะกั่วด า 27 3.14 แสดงรูปภาพ เจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator 27 3.15 แสดงรูปภาพ จ าเลยทั้ง 3 คนคือ Viktor Bryukhanov, Anatoly Dyatlov 28 และNikolai Fomin 3.16 แสดงรูปภาพ Shcherbina อธิบายลักษณการท างานของเตาปฏิกรณ์ 29

(10)

3.17 แสดงรูปภาพ Legasov ได้ท าการจ าลองความสมดุลของเตาปฏิกรณ์ด้วยการ 30 แบ่งสีป้าย 4.1 แสดงรูปภาพ Valery Legasov 33 4.2 แสดงรูปภาพ นักวิทยาศาสตร์ที่ให้ความช่วยเหลือ Legasov 35 4.3 แสดงรูปภาพ Ulana khomyuk 35 4.4 แสดงรูปภาพ Boris Shcherbina 36 4.5 แสดงรูปภาพ Anatoly Dyatlov 37 4.6 แสดงรูปภาพ Viktor Bryukhanov 38 4.7 แสดงรูปภาพ Aleksandr Akimov 39 4.8 แสดงรูปภาพ Leonid Toptunov 40 4.9 แสดงรูปภาพ Vasily Ignatenko หนึ่งในนักดับเพลิงที่เข้าดับเพลิงในวันเกิด 41 เหตุ 4.10 แสดงรูปภาพ Zharkov เจ้าหน้าที่ระดับสูงเป็นตัวแทนของภาครัฐสหภาพ 42 โซเวียต 4.11 แสดงรูปภาพ ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต Mikhail Gorbachev ขณะ 43 เข้าร่วมประชุมวางแผนแก้ปัญหาเหตุระเบิดในโรงไฟฟ้า Chernobyl 4.12 แสดงรูปภาพ เฮลิคอปเตอร์เสียการควบคุมในขณะที่พยายามดับเพลิงด้วย 43 ทรายและโบรอน Chernobyl 4.13 แสดงรูปภาพ นักด าน ้าเตรียมตัวลงไปเปิดวาล์วน ้าเพื่อระบายน ้าออกจากใต้ 44 เตาปฏิกรณ์ Chernobyl 4.14 แสดงรูปภาพ Lyudmilla Ignatenko ขณะพยายามเข้าเยี่ยม Vasily ผู้เป็น 44 สามี โดยได้ติดสินบนเจ้าพนักงาน 4.15 แสดงรูปภาพสายลับ KGB ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาครัฐเข้ามาแทรกแซงการ 45 ท างานของนักวิทยาศาสตร์ 4.16 แสดงรูปภาพ Ulana khomyuk สอบถามถึงความจริงจาก Leonid 45 Toptunov 4.17 แสดงรูปภาพ หญิงชราซึ่งเป็นหนึ่งในประชาชนที่ไม่ยอมอพยพออกจาก 46 พื้นที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี 4.18 แสดงรูปภาพ Anatoly Dyatlov 47 4.19 แสดงรูปภาพ Pavel 47 4.20 แสดงรูปภาพ หุ่นยนตร์ชื่อว่า Joker ที่ถูกส่งมาจากเยอรมัน 48 (11)

4.21 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ของเจ้าหน้าที่หน่วย 49 Liquidator 4.22 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของเจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator 49 4.23 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ของคนงานขุดเหมือง 50 4.24 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของคนงานขุดเหมือง 50 4.25 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ของหัวหน้าคนงานขุด 51 เหมือง 4.26 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของหัวหน้าคนงานขุดเหมือง 51 4.27 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ฉากเฮลิคอปเตอร์เสียการ 51 ควบคุม 4.28 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงขณะที่เฮลิคอปเตอร์เสียการ 51 ควบคุม 4.29 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ของนักข่าวที่ประกาศเหตุ 52 ระเบิดทางโทรทัศน์ 4.30 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของนักข่าวที่ประกาศเหตุระเบิด 52 ทางโทรทัศน์ 4.31 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ฉากการไต่สวนจ าเลยทั้ง 53 3 คนที่เป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ระเบิด 4.32 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงในวันไต่สวนจ าเลยทั้ง 3 คนที่เป็น 53 ต้นเหตุของเหตุการณ์ระเบิด 4.33 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ในฉากที่เจ้าหน้าที่หน่วย 54 Liquidator เก็บกวาดพื้นที่ 4.34 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของเจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator 54 เก็บกวาดพื้นที่ 4.35 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ของเจ้าหน้าที่หน่วย 54 Liquidator ที่ได้ขึ้นไปปักธงแดงบนเตาปฏิกรณ์มหายเลข 3 4.36 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของเจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator ที่ 54 ได้ขึ้นไปปักธงแดงบนเตาปฏิกรณ์มหายเลข 3 4.37 แสดงรูปภาพ Ulana Khomyuk (ในชุดพยาบาล) ถูก KGB (ในชุดนอก 56 เครื่องแบบ) จับกุมตัว

บทที่ 1 บทน ำ

1.1 ที่มำและควำมส ำคัญของปัญหำ

สื่อภาพยนตร์ฮอลลีวูดจัดว่ามีความส าคัญและมีอิทธิพลต่อโลกเป็นอย่างมาก ถือเป็น อุตสาหกรรมขนาดใหญ่และมีชื่อเสียง สามารถเข้าถึงผู้ชมทั่วโลกได้ง่ายและทั่วถึง อีกทั้งยังส่งผลให้มี อิทธิพลที่เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อต่อผู้ชมทั่วโลกไปโดยปริยาย ท าให้ผู้ศึกษาได้ สังเกตุเห็นว่ามีสิ่งที่สหรัฐอเมริกาต้องการจะสื่อให้ผู้ชมทั่วโลกได้รับรู้และเข้าใจความเป็นโซเวียตใน เหตุการณ์เชอร์โนบิลตามแบบฉบับของภาพยนตร์ฮอลลีวูด ซึ่งผู้ศึกษาได้เลือกศึกษาซีรีย์ฮอลลีวูด เรื่อง Chernobyl ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจริงเมื่อ 33 ปีที่แล้ว กลับมาเตือนสติให้โลกได้ตระหนักรู้ถึง ความร้ายแรงของ “นิวเคลียร์” ที่เกือบจะคร่าชีวิตมนุษย์กว่า 50 ล้านชีวิต และท าอันตรายต่อโลกได้ อย่างรุนแรงและยาวนาน Chernobyl เป็นมินิซีรีย์จ านวน 5 ตอนจบ ตอนละ 1 ชั่วโมง สร้างโดย HBO1 เริ่มฉาย เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 และจบเมื่อ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยซีรีย์นี้เป็นการเล่าเรื่องราว ของภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด แต่เมื่อหนังได้แพร่ภาพไป 2 – 3 ตอนแรก กลับ ได้รับเสียงตอบรับที่ดีบนโลกโซเชียล และที่เห็นเป็นภาพชัดเจน เมื่อคุณภาพของซีรีย์ถูกก าหนดวัด ออกมาเป็นคะแนนบน rottentomatoes2 ที่ 95% และ IMDB3 9.7 นับว่าเป็นคะแนนที่สูงมาก Chernobyl เป็นซีรีส์ที่กล่าวถึงเรื่องจริงในประวัติศาสตร์ โดยมีฉากหลังเป็นโซเวียต ภาพยนตร์พยายามสะท้อนให้เห็นสิ่งที่โซเวียตพยายามรับมือในขณะนั้น ที่เป็นปัญหาเทียบเท่าวิกฤต ระดับโลก แต่คนที่ถูกส่งเข้าไปแก้ปัญหามีเพียง 3 คน และเป็นปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในประเทศที่เทคโนโลยียังมีความล้าหลังและไม่ยอมรับความช่วยเหลือ ต้องประดิษฐ์คิดค้นการ

1 HBO เป็นช่องเคเบิลโทรทัศน์แบบเสียค่ารับชม สัญชาติอเมริกัน และเป็นเครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียม มีเจ้าของ คือ ไทม์วอร์เนอร์ ภายใต้การบริหารงานของบริษัทในเครือโฮม บ็อกซ์ ออฟฟิศ อิงค์ (Home Box Office Inc.) รายการในช่องเอช บีโอส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ ซีรีส์โทรทัศน์ รวมไปถึง ภาพยนตร์ที่ผลิตเพื่อออกอากาศในเคเบิลโดยเฉพาะ และยังมีสารคดี การ แข่งขันชกมวย สแตนด์อัพ คอเมดีและคอนเสิร์ตด้วย 2 Rotten tomatoes เป็นเว็บไซต์รวมค าวิจารณ์ภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทีวี และซีรีส์ 3 IMDB หรือ The Internet Movie Database เป็นฐานข้อมูลออนไลน์รวบรวมเกี่ยวกับเรื่องราวของ นักแสดง ผู้ ก ากับ และบุคคลที่เกี่ยวข้องในวงการภาพยนตร์ IMDb เปิดให้บริการตั้งแต่ปี ค. ศ.1990 และกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของ Amazon.com ตั้งแต่ปี ค. ศ.1998 นอกจากข้อมูลแล้ว IMDb ยังเป็นศูนย์รวมของคนดูภาพยนตร์ เพราะนอกจากข้อมูลของ ภาพยนตร์, ประวัตินักแสดง-ผู้ก ากับภาพยนตร์-ทีมงานภาพยนตร์แล้ว ยังได้รวบรวมคลิปของตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ไว้ และยังเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ด้วยการให้คะแนน

2

แก้ปัญหาด้วยเครื่องมือเครื่องใช้เท่าที่มี และที่โหดร้ายที่สุดเมื่อไม่มีอุปกรณ์ไฮเทคที่สามารถท าหน้าที่ แทนมนุษย์ได้ วิธีสุดท้ายก็คือการปลุกระดมความรักชาติ เพื่อให้ได้อาสาสมัครที่ยอมเข้าไปท าหน้าที่ ในจุดที่กัมมันตภาพรังสีรุนแรง หรือการส่งเข้าไปพลีชีพ เมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ.1986 เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ทาง ใกล้กับเมืองพริพยาท (Prypyat) ทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ได้เกิด เหตุการณ์โรงไฟฟ้าระเบิดขึ้น ในระหว่างการทดสอบระบบความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน เพื่อทดสอบว่าเครื่องปั่นไฟส ารองที่ให้พลังงานแก่เครื่องสูบน ้า หล่อเย็นหลักจะสามารถท างานได้นานเพียงใดหากระบบไฟฟ้าหลักถูกตัดขาด เหตุการณ์นี้ท าให้ผู้คนอีกหลายสิบล้านคนที่ได้รับรังสีในระดับที่สูงผิดปกติ ด้วยรังสีที่ถูก พัดไปตามกระแสลมไกลถึงฝรั่งเศสและอิตาลี สารกัมมันตรังสีเกือบทั้งหมดได้แพร่กระจายสู่ชั้น บรรยากาศ และขยายขอบเขตปกคลุมทางทิศตะวันตกของสหภาพโซเวียตและบางส่วนของยุโรป จน ต้องเร่งอพยพประชาชนมากกว่าสามแสนคนออกจากพื้นที่ แต่ยังมีประชาชนอีกนับแสนคนที่ยังอาศัย ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนกัมมันตรังสี หลายปีต่อมาพบปศุสัตว์ในพื้นที่จ านวนมากที่คลอดลูกออกมา พิกลพิการ เช่นเดียวกับประชาชนบางส่วนที่มีอาการเจ็บป่วยเนื่องจากการกระตุ้นของรังสี และคาดว่า จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในระยะยาว หลังเกิดอุบัติเหตุปัญหาการรั้วไหลของกัมมันตภาพรังสีที่ มองไม่เห็น ยังคงสร้างผลกระทบมาจนถึงทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การระเบิดของเชอร์โนบิล ท าให้สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิม่าและนางาซากิถึง 200 เท่า นับเป็น หายนะภัยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งรุนแรงที่สุดในโลก สิ่งที่ภาพยนตร์ต้องการจะสื่อสารกับผู้ชมพบว่าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจเข้าใจว่าตัว ร้ายของเรื่องก็คือ โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลที่ระเบิด และกระจายตัวกินอาณาเขตกว้างไกล แต่ความเป็น จริงภาพยนตร์ได้ลงลึกกว่านั้นโดยสะท้อนให้เห็นว่า ตัวร้ายจริง ๆ ของเรื่องนี้ก็คือ นักการเมืองและ ผู้บริหารที่โลภในต าแหน่งหน้าที่ มีการโกหกเพื่อปิดบังความผิดพลาดของตัวเอง ตั้งแต่มันยังไม่มีการ ระเบิด ต่างเพิกเฉยจนมันกลายเป็นวิกฤตการณ์ แม้กระทั่งในตอนสุดท้ายที่ได้เกิดการระเบิดขึ้น ต่างก็ มีการปกปิดความจริงจนลุกลามไปเกินควบคุม และนี่คือ “ราคาของค าโกหก” เป็นอีกหนึ่งความ สวยงามของบทภาพยนตร์เรื่องนี้ ภาพยนตร์ได้เปิดเรื่อง และ ปิดเรื่องด้วยค านี้ที่เป็นหัวใจของเรื่อง “What is the cost of lies?”

3

1.2 วัตถุประสงค์ของกำรศึกษำ

1.2.1 เพื่อศึกษาบทบาทของโซเวียตในเหตุการณ์ Chernobyl ผ่านภาพยนตร์ชุด เรื่อง จาก Chernobyl 1.2.2 เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและความเป็นจริงกับบท ภาพยนตร์ชุด เรื่อง จากภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl 1.2.3 เพื่อศึกษามุมมองของอเมริกาที่มีต่อโซเวียตผ่านภาพยนตร์ชุด เรื่อง Chernobyl

1.3 ขอบเขตของกำรศึกษำ

ศึกษาความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและความเป็นจริงกับบทภาพยนตร์ รวมถึงบทบาทของสหภาพโซเวียต ในเหตุการณ์ภัยพิบัติเชอร์โนบิล เมื่อปี ค.ศ. 1986 รวมถึงศึกษา มุมมองที่สหรัฐอเมริกามีต่อสหภาพโซเวียต ผ่านภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl ที่สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2019 โดย HBO

1.4 วิธีกำรศึกษำ

1.4.1 ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเชิงคุณภาพโดยจะรวบรวมข้อมูลเอกสารวิชาการที่จะต้อง ศึกษา 1.4.2 เอกสารทางวิชาการที่ใช้เป็นเอกสารในขั้นทุติยภูมิ ได้แก่ หนังสือประวัติศาสตร์ สื่อออนไลน์ บทความ และเว็บไซต์ของทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงทฤษฎีการเมืองผ่าน ภาพยนตร์ดังกล่าว 1.4.3 ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บทความ และเว็บไซต์ และน า เนื้อหาที่ได้จากภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl วิเคราะห์ภาพรวมต่าง ๆ แก่นที่มาของเหตุการณ์เชอร์ โนบิล

4

1.5 สมมติฐำนของกำรศึกษำ

จากภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl สร้างขึ้นจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้าระเบิดที่เกิดขึ้นจริง ในสมัยสหภาพโซเวียต เป็นการถ่ายทอดเหตุการณ์โดยใช้สื่อภาพยนตร์ฮอลลีวูดเป็นตัวกลาง ซึ่ง ภาพยนตร์ฮอลลีวูดมีอิทธิพลต่อผู้ชมทั่วโลก ท าให้ผู้คนสามารถคล้อยตามไปกับเนื้อหาว่าเหตุการณ์ใน นั้นเป็นความจริงทั้งสิ้น แต่ในความเป็นจริงในเหตุการณ์เชอร์โนบิลยังมีเรื่องราวส่วนที่ต่างไปจากในตัว บทภาพยนตร์

1.6 แผนกำรด ำเนินงำน

1.6.1 เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ท าการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจาก ภาพยนตร์ชุด Chernobyl ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งในหนังสือและอินเตอร์เน็ต 1.6.2 เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน น าข้อมูลที่ได้มาท าการวิเคราะห์ 1.6.3 เดือนพฤษภาคม เรียบเรียงข้อมูลและสรุปผลการวิจัย

1.7 ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ

1.7.1 เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ถึงมุมมองที่สหรัฐอเมริกามีต่อโซเวียตในเหตุการณ์ เชอร์โนบิลผ่านการถ่ายทอดของอเมริกาผ่านภาพยนตร์ฮอลลีวูด 1.7.2 เพื่อได้ทราบสถานการณ์และผลกระทบที่โซเวียตประสบในเหตุการณ์เชอร์โนบิล ผ่านภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl 1.7.3 ได้ทราบทฤษฎีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์เชอร์โนบิลและเรื่องราวที่เป็นในส่วน ของภาพยนตร์

1.8 นิยำมศัพท์

ภาพยนตร์ หมายถึง “กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วน าออกฉายในลักษณะที่ แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายท าแล้ว เป็นเพียงภาพนิ่งจ านวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย ต่อเนื่องกันเป็นช่วง ๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายท าและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือ

5

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจาก จินตนาการของผู้สร้างก็ได้” ฮอลลีวูด หมายถึง เขตพื้นที่ส่วนหนึ่งในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือของศูนย์กลางนคร ลอสแอนเจลิส เนื่องจากว่าฮอลลีวูดนั้นเป็นค าที่มีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในฐานะที่ เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์ของโรงถ่ายท าภาพยนตร์และดาราภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ชื่อของฮอลลีวูดจึงมักจะถูกเรียกเป็นชื่อแทนของโรงภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทุกวันนี้มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์จ านวนมากที่ได้แพร่กระจายไปรอบ ๆ พื้นที่ของแคลิฟอร์เนียและ ทางตะวันตกของนครลอสแอนเจลิส แต่อุตสาหกรรมภาพยนตร์หลัก ๆ ที่ส าคัญไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การใส่เทคนิคพิเศษ ผู้สนับสนุน การผลิตขั้นสุดท้าย และบริษัททางด้านแสงประกอบ ยังคงอยู่ใน ฮอลลีวูด ภาพยนตร์ฮอลลีวูด (Hollywood) ถือว่าสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ มาตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 ด้วยสไตล์อันโดดเด่นของภาพยนตร์อเมริกันคือ ภาพยนตร์คลาสสิก ฮอลลีวูด ที่พัฒนาขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1917 - 1960 และภาพยนตร์ที่สร้างเอกลักษณ์ก็สร้างขึ้นในยุคนี้ ขณะที่พี่น้องตระกูลลูมิแอร์จากฝรั่งเศส ได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ให้ก าเนิดภาพยนตร์สมัยใหม่ ภาพยนตร์ อเมริกันสามารถสร้างความโดดเด่นได้อย่างรวดเร็ว และเป็นแรงผลักดันอย่างชัดเจนให้กับ อุตสาหกรรมตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในสหรัฐสร้างรายได้ ประจ าปีได้สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ได้สร้างภาพยนตร์จ านวนมาก มีภาพยนตร์ภาษาอังกฤษมากกว่า 800 เรื่อง ออกฉายในแต่ละปี ขณะที่ภาพยนตร์ในอังกฤษมี 299 เรื่อง แคนาดา 206 เรื่องและ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก็ผลิตภาพยนตร์ในภาษาเดียวนี้ แต่ก็ไม่ถือว่าอยู่ในระบบภาพยนตร์ ฮอลลีวูด ถึงกระนั้นภาพยนตร์ฮอลลีวูดก็ถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์สหชาติ ภาพยนตร์คลาสสิกฮอลลีวูด ได้สร้างขึ้นเป็นหลายภาษาและใช้ชื่ออื่น โดยส่วนมากจะใช้เป็นภาษาสเปนและฝรั่งเศส เชอร์โนบิล ตั้งอยู่ในเขตของ เมืองพริพยาต (Pripyat) ประเทศยูเครน ซึ่งเป็นที่ตั้งของ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล ในสมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต ได้เกิดขึ้น หลังจากอุบัติเหตุครั้งประวัติศาสตร์ในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 เมื่อเครื่องปฏิกรณ์ตัวที่ 4 เกิด เหตุระเบิดขึ้นในระหว่างการทดสอบความปลอดภัยในภาวะฉุกเฉิน อุบัติเหตุจากการทดสอบดังกล่าว เป็นผลมาจากการออกแบบที่บกพร่อง การขาดความช านาญ รวมถึงการประสานงานของเจ้าหน้าที่ และกลายเป็นเหตุโศกนาฏกรรมช็อคโลกที่เรียกได้ว่า รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก จัดอันดับความรุนแรงไว้ที่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทาง

6

นิวเคลียร์ ที่ท าให้มีเหยื่อทั้งสังเวยชีวิตป่วยเป็นโรคมะเร็ง กลายพันธุ์ผ่าเหล่า หรือพิการไปเป็นจ านวน มาก

1.9 ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.9.1 หนังสือดิสโทเปียไม่สิ้นหวัง: ภาพยนตร์ฮอลลีวูดและการเมืองโลก ผู้เขียน สรวิศ ชัยนาม จัดพิมพ์โดยส านักพิมพ์สยามปริทัศน์ และจัดจ าหน่ายโดยสายส่งศึกษิต บริษัทเคล็ด ไทย หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงการตีความภาพยนต์ฮอลลีวูดกับสถานการณ์โลก มีการกล่าวถึง ทฤษฎีต่าง ๆ ที่การเมืองโลกเป็นอยู่ผ่านภาพยนตร์ฮอลลีวูด

บทที่ 2 ประวัติความเป็นมาของเหตุการณ์ Chernobyl

2.1 เมือง Pripyat

เมือง Pripyat นั้นเป็นเมืองที่อยู่ใกล้สถานที่เกิดเหตุมากที่สุด โดยอยู่ห่างออกไป 3 กิโลเมตร ก่อนเกิดภัยพิบัติ Chernobyl การเข้าถึงเมือง Pripyat นั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่ถูกจำกัด เหมือนในปัจจุบัน ในช่วงสมัยสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตมองว่าสถานีนิวเคลียร์ใน Pripyat เป็น สถานีพลังงานนิวเคลียร์ที่ปลอดภัยกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่น สถานีพลังงานนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่ถูก นำเสนอให้เป็นภาพลักษณ์ของความสำเร็จด้านวิศวกรรมของสหภาพโซเวียต

ภาพที่ 2.1 แสดงรูปภาพ เมือง Pripyat ในวันที่ 2 สิงหาคม ปี ค. ศ. 2005, “Pripyat,” flickr, accessed July 8 2020, https://www.flickr.com/photos/iaea_imagebank/8389777094/

เมือง Pripyat ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ปี ค. ศ.1970 นับเป็นเมืองนิวเคลียร์ใน สหภาพโซเวียต ช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์ระเบิด เมืองแห่งนี้เป็นที่พำนักของประชากรมากกว่า 49,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนงานและเจ้าหน้าที่ของสถานีผลิตกระแสไฟฟ้า Chernobyl เมือง Pripyat มี โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถม 15 แห่งสำหรับเด็ก 4,980 คน และโรงเรียนมัธยม 5 แห่งสำหรับ นักเรียน 6,786 คน มีร้านค้าและห้างสรรพสินค้า 25 แห่ง ร้านกาแฟ 27 แห่ง โรงอาหารและ

8

ร้านอาหารที่รวมกันสามารถให้บริการลูกค้าได้มากถึง 5,535 คนพร้อมกัน นอกจากนี้ยังมีคลังสินค้า 10 แห่งที่สามารถเก็บสินค้าได้ 4,430 ตัน หลังเหตุการณ์ภัยพิบัติ Chernobyl ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 ถึง ปี ค. ศ.1988 เมือง ถูกสร้างขึ้นเพื่อแทนที่ Pripyat โดยเมือง Slavutych สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่ออพยพ บุคลากรของโรงไฟฟ้าจาก Pripyat เมือง Slavutych ได้กลายมาเป็นเมืองใหญ่อันดับสองสำหรับการ รองรับพนักงานของโรงไฟฟ้าและนักวิทยาศาสตร์ในรัสเซีย ปัจจุบันแม้ว่าเมือง Pripyat จะถูกทิ้งร้าง แต่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของ Kiev และได้รับการบริหารโดยตรงจาก Kiev เมือง Pripyat ยังได้รับการ ควบคุมดูแลโดยกระทรวงฉุกเฉินของ ซึ่งจัดการดูแลกิจกรรมในเขต Chernobyl ทั้งหมด

2.2 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ภาพที่ 2.2 แสดงรูปภาพ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Chernobyl ในปัจจุบัน, “Chernobyl,” commons, accessed July 19, 2020, https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Chernobylreactor_1.jpg

โรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันและถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเป็นหนึ่งในสาเหตุภาวะโลกร้อนเนื่องจาก โรงไฟฟ้าดังกล่าวมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฝุ่นละอองออกมาปนเปื้อนในอากาศ แต่ ในทางกลับกัน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตร ไม่มีการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ ออกมาทำลาย ชั้นบรรยากาศของโลก อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาน้ำและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีราคาแพงขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากไม่สร้างก๊าซ เรือนกระจกและฝนกรด อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปริมาณมากและปริมาณของเสียน้อยเมื่อ

9

เทียบกับวิธีการผลิตไฟฟ้าแบบอื่น ๆ โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะใช้แหล่งเชื้อเพลิงสำคัญนั่นคือ แหล่ง เชื้อเพลิงยูเรเนียมเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สามารถขุดทำเหมืองยูเรเนียมและนำมา สกัดเป็นเม็ดเชื้อเพลิงยูเรเนียม จากนั้นนำเชื้อเพลิงยูเรเนียมมามัดรวมกันเป็นแกนเครื่องปฏิกรณ์ นอกจากนี้ภายในแกนเครื่องยังมีแท่งควบคุมปฏิกิริยาฟิชชัน1 ทำให้สามารถควบคุมพลังงานได้ตาม ต้องการ เครื่องปฏิกรณ์จะทำหน้าที่สร้างปฏิกิริยาฟิชชัน ซึ่งก็คือการนำเอานิวตรอนยิงเข้าใส่นิวเคลียส ของอะตอมยูเรเนียม-235 ให้เกิดการแตกตัว ซึ่งการแตกตัวแต่ละครั้งยูเรเนียม 235 จะปล่อยความ ร้อนและนิวตรอนออกมา 2-3 ตัวต่อ 1 ปฏิกิริยา โดยนิวตรอนที่เกิดใหม่จะวิ่งชนยูเรเนียมตัวอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ทำให้ได้ความร้อนที่เกิดจากการแตกตัวอย่างมหาศาล และ เมื่อปฏิกิริยาฟิชชันทำให้เกิดความร้อนขึ้น ก็จะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน น้ำที่รับความร้อนจาก เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนต่อให้กับน้ำในเครื่องกำเนิดไอน้ำ ส่วนน้ำใน เครื่องกำเนิดไอน้ำเมื่อได้รับความร้อนก็จะเดือดกลายเป็นไอน้ำ ไอน้ำที่ได้ก็จะไปหมุนกังหันไอน้ำ ซึ่ง ต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากลายมาเป็นไฟฟ้าให้ได้ใช้งาน

2.2.1 การกำจัดเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว เชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว หรือที่เรียกว่า Spent fuel จะถูกนำไปแช่ไว้ในบ่อน้ำ เพื่อรอ ให้ความร้อนและปริมาณรังสีลดลง จากนั้นจะถูกส่งไปแยกสกัดเพื่อนำเอาเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ไปใช้ได้ ใหม่ ส่วนที่เหลือจากการสกัดหรือที่เรียกว่า กากกัมมันตรังสี ซึ่งจะถูกนำไปหลอมรวมกับแก้วแล้ว นำไปฝังไว้ใต้ดินลึกประมาณ 500 เมตร – 1 กิโลเมตร และปล่อยให้สลายตัวไป

2.2.2 ขั้นตอนการออกแบบความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้มีการออกแบบให้มีความปลอดภัยหลายชั้น ได้แก่ 2.2.2.1 แท่งเชื้อเพลิงต้องทำด้วยเซอร์โคเนียมอัลลอย ที่ทนต่อการกัดกร่อนและ ความร้อนสูง เพื่อให้สามารถกักเก็บกัมมันตรังภาพรังสีที่เกิดขึ้นไว้ภายในได้ 2.2.2.2 แกนเครื่องปฏิกรณ์ต้องใส่ไว้ในถังที่ทนต่อแรงดันสูง หากแกนเครื่อง ปฏิกรณ์เกิดระเบิด ถังดังกล่าวจะต้องทนต่อแรงดัน เพื่อกักเก็บไม่ให้สารกัมมันตรังสีแพร่กระจายออก สู่ภายนอกได้ นอกจากนี้ภายในถังจะต้องมีน้ำหล่อเย็นอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการหลอมละลาย ของแท่งเชื้อเพลิง

1 ปฏิกิริยาฟิชชัน เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการที่นิวเคลียสของอะตอมแตกตัวออกเป็นส่วนเล็ก ๆ สองส่วน ในปฏิกิริยา นิวเคลียร์ฟิชชันเมื่อนิวตรอนชนเข้ากับนิวเคลียสของธาตุที่สามารถแตกตัวได้ เช่น ยูเรเนียม หรือ พลูโตเนียม จะเกิดการแตกตัว เป็นสองส่วนกลายเป็นธาตุใหม่ พร้อมทั้งปลดปล่อยอนุภาคนิวตรอนและพลังงานจำนวนหนึ่งออกมา

10

2.2.2.3 อาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ โดยต้องเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ ออกแบบให้มีความแข็งแรงสูง สามารถทนต่อแรงดันภายในและภายนอกอาคารได้ หากเกิดอุบัติเหตุ ใด ๆ เครื่องปฏิกรณ์จะไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนในเหตุการณ์ Chernobyl ที่โรงไฟฟ้าเกิดระเบิด เนื่องจากไม่มีอาคารคลุมเครื่อง

2.3 โรงไฟฟ้า Chernobyl

ภาพที่ 2.3 แสดงรูปภาพ แผนภาพวงจรของเครื่องปฏิกรณ์แบบ RBMK ในโรงไฟฟ้า Chernobyl, “Chernobyl,” Wikipedia, accessed July 10, 2020 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0 %B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8% A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A5

โรงไฟฟ้า Chernobyl เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ถือว่าใหญ่ที่สุดของสหภาพ โซเวียต ตั้งอยู่ในอำเภอ Chernobyl ในจังหวัด Kiev ของพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นทางเหนือสุดของ Ukraine ห่างจากเชอร์โนบิลไปทางเหนือราว 11 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้าจะพักที่ Pripyat เมืองใกล้ๆโรงไฟฟ้า Chernobyl ในโรงไฟฟ้ามีเตาปฏิกรณ์ทั้งหมด 4 เตา เป็นเตาปฏิกรณ์แบบ RBMK-1000 (Reaktor Bolshoy Moshchnosti Kanalniy) มีความหมายว่า การระบายความร้อน ด้วยน้ำ ตัวแท่งควบคุม (Control rod) ใช้แท่งตะกั่วดำ หรือ กราไฟต์ สามารถให้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดเตาละประมาณ 3200 MW ใช้เชื้อเพลิงเป็นยูเรเนียมได ออกไซด์ มีท่อความดันที่บรรจุแท่งเชื้อเพลิงทำด้วยโลหะผสมเซอร์โคเนียมเสียบอยู่ในตัวควบคุม

11

อัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า Graphite Moderator เครื่องปฏิกรณ์แบบนี้สามารถเปลี่ยนหรือเติมแท่ง เชื้อเพลิงได้ในขณะเดินเครื่องปฏิกรณ์ เป็นเครื่องปฏิกรณ์ที่ราคาไม่แพง สามารถเดินเครื่องได้ง่ายแต่มี ระบบควบคุมที่ซับซ้อน

2.4 เหตุการณ์ Chernobyl

โรงไฟฟ้า Chernobyl ของสหภาพโซเวียตเกิดระเบิดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 ทำให้เกิดการปลดปล่อยกัมมันตรังสีขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ แผ่กระจายเป็นวงกว้างทั่วทั้งทวีป ยุโรป นับเป็นอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงที่จัดอยู่ในระดับที่ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของมาตราระหว่างประเทศ ว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ที่สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ได้กำหนดมาตรฐานเพื่อ ประเมินความปลอดภัยไว้ 7 ระดับ โดยประเทศสวีเดนได้ตรวจพบว่ากัมมันตภาพรังสีในประเทศสูงขึ้น กว่าปกติ อีกทั้งยังได้ตรวจสอบธาตุรังสีที่เป็น fission products2 ไอโอดีนกัมมันตรังสีและสาร กัมมันตรังสีร้ายแรงอีกหลายชนิด อย่าง I-1313, Cs-1374, Sr-905 เป็นต้น ซึ่งสารกัมมันตรังสี I-131 อาจทำให้เกิดมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ได้ ส่วนสาร Cs-137 เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้ว Cs-137 จะไปอยู่ ตามเนื้อเยื่อค้ำจุนอวัยวะต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า soft tissue และทำให้เกิดอันตรายในระยะยาว เมื่อ ตรวจพบสารดังกล่าวจึงคาดว่าต้องเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่สหภาพโซเวียต ในทีแรกสหภาพโซ เวียตไม่ได้ออกมาแถลงข่าวหรือแจ้งเหตุใด ๆ ให้ทราบ จนกระทั่งหลังจากรัฐบาลสวีเดนได้ออกข่าว และติดต่อสอบถามเรื่องนี้ รัฐบาลสหภาพโซเวียตจึงได้แถลงข่าว โดยยอมรับว่ามีอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ Chernobyl แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดสำคัญ ดังนั้นจึงทำให้ไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิด การระเบิดครั้งนี้อย่างชัดเจน

2 fission products ผลผลิตจากการแบ่งแยกนิวเคลียส 3 I-131 คือ Iodine-131 หรือที่เรียกว่านิวไคลด์รังสีเป็นไอโซโทปรังสีที่ส าคัญของไอโอดีน จะสลายตัวโดยมีครึ่งชีวิต ประมาณ 8 วัน มีการน ามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และเป็นไอโซโทปรังสีที่มีอันตรายที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน เนื่องจากเป็นไอโซโทปที่มีผลต่อสุขภาพเมื่อแพร่ไปในอากาศ 4 Cs-137 หรือ Cesium-137 เป็นไอโซโทปของซีเซียมซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 55 มีครึ่งชีวิต (half-life) 30 ปี สลายโดยปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมา เป็นหนึ่งในผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส พบในฝุ่นกัมมันตรังสีที่ตกค้าง จากการทดลองลูกระเบิดอะตอม และจากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ 5 Sr-90 คือไอโซโทปกัมมันตรังสี ของธาตุโลหะชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยฟิชชันนิวเคลียร์

12

ภาพที่ 2.4 แสดงรูปภาพ โรงไฟฟ้า Chernobyl ภายหลังการเกิดเหตุระเบิด, “Chernobyl,” atom.rmutphysics, accessed July 10, 2020, http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/16/2/pic5/nuclear/index-5.html

ต่อมาในเดือนสิงหาคม ระหว่างวันที่ 25-29 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1986 ทบวงการพลังงาน ปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ได้จัดประชุมเกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนี้ที่กรุงเวียนนา มีนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร เจ้าหน้าที่ทางด้านพลังงานนิวเคลียร์จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ และสหภาพโซเวียตได้ทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด โดย กล่าวถึงข้อมูลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Chernobyl ที่มีเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมด 4 เครื่อง เป็นแบบ Light Water Cooled Graphite Moderated Reactor (LWGR) สหภาพโซเวียตเรียกว่าแบบ Reaktor Bolshoy Moshchnosti Kanalniy (RBMK) แปลว่าเตาปฏิกรณ์พลังงานสูงแบบท่อ จากรายงานที่สหภาพโซเวียตได้เสนอในที่ประชุม ได้อธิบายถึงสาเหตุของอุบัติเหตุมา จาก เจ้าหน้าที่และวิศวกรของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Chernobyl ต้องการทดสอบว่า ระบบเตาปฏิกรณ์ จะต้องการพลังงานเท่าไหร่ในช่วงที่เกิดไฟดับ และได้วางแผนทำการทดลองในขณะเครื่องปฏิกรณ์ ทำงานที่มีกำลังต่ำ ในขณะที่ระบบฉุกเฉินถูกปิดตัวลง ทำให้เกิดแรงกระชากอย่างรุนแรงในส่วนฝั่งขา ออกของการผลิตจนทำให้เตาปฏิกรณ์เกิดระเบิด มีการตรวจสอบพบว่าขั้นตอนการจัดการปัญหาใน

13

ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ทำให้ Graphite Moderator ไปสัมผัสกับอากาศจนเกิดการสันดาป6ลุก เป็นไฟ วันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1986 มีการวางแผนหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุง การทดสอบ ครั้งนี้มีขึ้นที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ซึ่งสภาพของเตาก่อนการทดสอบนับว่าไม่ดีนัก กล่าวคือเตา ปฏิกรณ์หมายเลข 4 มีสภาพที่กำลังจะสิ้นสุดวัฏจักรของเชื้อเพลิง หมายความว่ายูเรเนียมกำลังจะ หมดพลังงานซึ่งเป็นช่วงที่อันตรายที่สุดของวัฏจักร เพราะในช่วงนี้จะมีความร้อนจากการสลายตัวสูง มาก จึงจัดเป็นสถานการณ์ที่อันตรายตั้งแต่ก่อนทดสอบ รวมไปถึงเตาแบบ RBMK เป็นเตาที่มีค่า สัมประสิทธิ์ฟองไอเป็นบวก หมายความว่าเตาจะให้พลังงานมากขึ้นเมื่อสารหล่อเย็นกลายเป็นไอมาก ขึ้น ทำให้เตาแบบ RBMK จะเป็นอันตรายที่ระดับพลังงานต่ำ ตามกำหนดการเดิมการทดสอบจะเริ่มในช่วงเช้ามืดของ 25 เมษายน ค.ศ. 1986 เจ้าหน้าที่และวิศวกรที่ทำงานในช่วงกลางวันได้วางแผนทดลองว่า แรงเฉื่อยของกังหันไอน้ำหลังจาก หยุดเดินเครื่องจะสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้กับ circulation pump7 และแท่งควบคุมได้เป็น เวลานานเท่าใดก่อนที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองจะเข้าทำงาน (ประมาณ 20 วินาที) โดยการทดลอง ถูกออกแบบให้ใช้กำลังของเครื่องปฏิกรณ์ที่ 22%-32% ของการเดินเครื่องเต็มกำลัง แต่เมื่อได้ลด พลังงานลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้สถานีไฟฟ้าแห่งหนึ่งของ Kiev เกิดไฟฟ้าดับ ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้คุมข่าย ไฟฟ้า Kiev ขอให้เลื่อนการทดสอบออกไปก่อน จากนั้นได้หยุดทำการทดลองเนื่องจากมีความต้องการ ใช้ไฟสูง และได้ลดกำลังเครื่องปฏิกรณ์ลง 50% ทำให้ต้องเลื่อนแผนไปทำการทดสอบช่วงกลางคืน ซึ่ง ได้ทดสอบจริงในช่วงเวลาห้าทุ่ม แต่เจ้าหน้าที่ที่ได้ประสานงานในตอนเช้าต่างกลับบ้านเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงเจ้าหน้าที่ในช่วงกลางคืนเป็นผู้จัดการดูแล โดยตามกำหนดการเดิมเจ้าหน้าที่เหล่านี้มีหน้าที่ เดินเครื่องระบบหล่อเย็นและดูแลเรื่องทั่วไป เวลา 01:00 น. เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการเดินเตาปฏิกรณ์ได้เริ่มลดกำลังของเครื่อง ปฏิกรณ์ด้วยการสอดแท่งควบคุมลงไปขัดขวางการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ลดจากระดับปกติ คือ 3200 MW (thermal) ลงอย่างช้า ๆ เหลือ 700-1,000 MW 14:00 น. เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินเครื่องปฏิกรณ์ได้ปิดระบบระบายความร้อนฉุกเฉิน เพื่อเริ่มการทดลองต่อ หลายชั่วโมงต่อมาผู้ควบคุมมีความยากลำบากในการควบคุมเตาปฏิกรณ์ สาเหตุหนึ่งก็คือ ในขณะที่เครื่องปฏิกรณ์ทำงานที่กำลังต่ำ ๆ ผู้ควบคุมได้ปลดระบบอัตโนมัติและใช้

6 การสันดาปเป็นปฏิกิริยาการรวมตัวกันของเชื้อเพลิงกับออกซิเจนอย่างรวดเร็วพร้อมเกิดการลุกไหม้และคายความ ร้อน 7 circulating pump หรือระบบหล่อเย็น เป็นที่สูบน้ำในหม้อน้ำเครื่องยนต์ เพื่อให้น้ำหมุนเวียนถ่ายเทในระบบทำ ความเย็น

14

ระบบ manual แทน อีกสาเหตุก็คือ Xenon-1358 ที่สะสมอยู่ในเครื่องปฏิกรณ์เป็นตัวดูดกลืน นิวตรอนที่แกนเตา ส่งผลให้พลังงานของเตาลดลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีจุดหนึ่งต่ำกว่า 30 MW ห้องควบคุมต้องการให้ระดับพลังงานกลับมา เพื่อแก้ไขสถานการณ์นี้ผู้ควบคุมการ เดินเครื่องปฏิกรณ์ได้ดึงแท่งควบคุมขึ้นมากกว่าปกติ และมากกว่าที่ระบบความปลอดภัยกำหนด จึง สามารถทำให้กำลังของเครื่องปฏิกรณ์เพิ่มขึ้นเพียง 200 MW ซึ่งผลยังคงเป็นกำลังต่ำกว่าที่ต้องการใช้ ทดสอบผล ปรากฎการณ์ Xenon poisoning ทำให้สถานการณ์ของเครื่องปฏิกรณ์ขณะนี้ค่อนข้าง เสี่ยง เพราะการดึงแท่งควบคุมนี้ขึ้นทำให้ไม่สามารถชะลอปฏิกิริยาลูกโซ่ได้ และในกรณีฉุกเฉินการ ปล่อยแท่งควบคุมกลับคืนสู่เครื่องปฏิกรณ์ต้องใช้เวลาหลายวินาที วันที่ 26 เมษายน ปี ค. ศ.1986 ช่วงเวลา 01:00 น. เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินเครื่อง ปฏิกรณ์พบว่าปั๊มน้ำระบายความร้อนจำนวน 8 เครื่องทำงานด้วยกำลังต่ำ ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำในเครื่อง ปฏิกรณ์เริ่มเดือด จึงได้ต่อเครื่องสูบน้ำเพิ่มขึ้นอีก 2 เครื่อง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาคือ น้ำหล่อเย็น ได้ไหลผ่านแกนเครื่องปฏิกรณ์มากเกินไปทำให้ไอน้ำกลั่นตัวส่งผลให้ความดันไอและระดับน้ำในหม้อ ไอน้ำลดลง เหตุการณ์นี้อาจทำให้เครื่องปฏิกรณ์ดับฉุกเฉินและทำให้ทำการทดลองไม่ได้ ผู้ควบคุมจึง ต้องปิดสัญญาณจากเครื่องวัดความดันและระดับน้ำ ทำให้ส่วนสำคัญของระบบดับเครื่องฉุกเฉินไม่ ทำงาน ปกติระบบต้องหยุดการเดินเครื่องโดยอัตโนมัติ แต่ขณะนั้นระบบถูกปิดเพื่อดำเนินการทดลอง ต่อไป เมื่อเครื่องปฏิกรณ์อยู่ในสภาวะคงที่ จึงเริ่มการทดลองโดยการปิดสวิตช์ปั๊มหมุนเวียนน้ำ ระบายความร้อนจำนวน 4 เครื่อง เพื่อไม่ให้น้ำร้อนเข้าไปในเครื่องที่ต้องการทดสอบ และลดอัตราการ ไหลของน้ำหล่อเย็นเพื่อรักษาระดับความดันไป การกระทำเช่นนี้อาจทำให้เครื่องปฏิกรณ์ดับทันที หรือที่เรียกว่า scram แต่ผู้ทำการทดลองต้องการจะทดลองซ้ำหากครั้งแรกไม่ได้ผล ในขณะเดียวกันผู้ ควบคุมก็ไม่ต้องการติดเครื่องปฏิกรณ์ขึ้นมาใหม่ จึงได้เพิกเฉยต่อสัญญาณเตือนที่สั่งให้เครื่องปฏิกรณ์ ดับ เจ้าหน้าที่ได้ลดความเร็วในการหมุนเวียนน้ำลงเนื่องจากเกิดฟองไอน้ำ ขณะนั้นปฏิกิริยาฟิชชัน เพิ่มมากขึ้น ความร้อนก็เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากไม่สามารถควบคุมการเกิดฟองไอน้ำในเครื่องปฏิกรณ์ได้ เนื่องจากการออกแบบเตาปฏิกรณ์แบบ RBMK จะมีค่าสัมประสิทธิ์ฟองไอเป็นบวกทำให้ความร้อน เพิ่มขึ้นสูงมาก เมื่อน้ำหล่อเย็นเข้าไปในแกนเครื่องปฏิกรณ์น้อยลง ทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำร้อน สะสมขึ้นมากตาม เจ้าหน้าที่จึงกดปุ่มปิดเตาปฏิกรณ์ฉุกเฉินทำให้แท่งควบคุมทั้งหมดตกลงสู่เครื่อง ปฏิกรณ์ เพื่อหยุดปฏิกิริยาฟิชชัน ขณะนั้นกำลังของเครื่องปฏิกรณ์เพิ่มขึ้น 100 เท่าของปกติ ในเวลา

8 Xenon-135 หรือปรากฎการณ์ Xenon poisoning เป็นการดูดกลืนนิวตรอนจนปฏิกิริยานิวเคลียร์ลดน้อยลง

15

4 วินาที ด้วยการออกแบบแท่งควบคุมที่ผิดพลาด กล่าวคือหัวของแท่งควบคุมทำจากกราไฟต์ ซึ่งเป็น ตัวนำนิวตรอนแทนที่จะเป็นตัวซับนิวตรอน ส่งผลทำให้พลังงานของเตาเพิ่มสูงขึ้นอีกในช่วงเวลาสั้น เวลา 01:24 น. หลังจากกดปุ่มปิดเตาปฏิกรณ์ พลังงานจำนวนมหาศาลและแกนเตา ปฏิกรณ์ที่มีความร้อนเกินไปทำให้แท่งเชื้อเพลิงแตกหัก รวมถึงสารหล่อเย็นที่ระเหยไปหมด ส่งผลให้ ไม่สามารถคุมพลังงานของเตาปฏิกรณ์ได้ พลังงานของเตาปฏิกรณ์จาก 200 MW เพิ่มเป็น 530 MW ภายในสามวินาที และยังคงเพิ่มขึ้นไปถึง 30 GW Thermal ซึ่งมากกว่าระดับพลังงานสูงสุดตามปกติ ของเครื่องถึงสิบเท่า พลังงานความร้อนมหาศาลนี้ทำให้ไอน้ำมีแรงดันมหาศาล จนเกิดความดันสูงทำ ให้ฝาครอบเตาปฏิกรณ์ที่มีถึงหนักสองพันตันเปิดออก อีกทั้งการออกเตาปฏิกรณ์แบบ RBMK ที่มี ขนาดใหญ่และอาคารโรงไฟฟ้านั้นไม่ได้สร้างตามแบบแผนความปลอดภัย หลังคาตึกเครื่องปฏิกรณ์ ทะลุ เกิดไฟไหม้ขึ้น 30 จุดในบริเวณ กล่าวคือเกิดการระเบิดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกการระเบิดเกิดจากไอน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างทำให้ ท่อไอน้ำแตกออก ไอน้ำและน้ำร้อนนับพันตันถูกระเบิดออกมา หลังคาของอาคารปฏิกรณ์ถูกแรงดัน ของระเบิดไอน้ำกระแทกจนเปิดออก ทำให้ไอน้ำจากแกนปฏิกรณ์กระจายออกสู่บรรยากาศและเริ่ม แพร่กระจายสารกัมมันตรังสี ต่อมาการระเบิดครั้งที่ 2 เกิดจากอากาศได้ไหลย้อนกลับเข้าเครื่อง ปฏิกรณ์ แกนเครื่องปฏิกรณ์ซึ่งมีเชื้อเพลิงและกราไฟต์ได้ลุกไหม้ขึ้นจนทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เกิดก๊าซ ไฮโดรเจนจำนวนมาก เป็นเหตุให้สารกัมมันตรังสีจำนวนมากได้แพร่กระจายออกสู่ชั้นบรรยากาศ ทางสหโซเวียตได้พยายามดับไฟโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ขนตะกั่ว, โบรอน, ทราย จำนวน 5,000 ตัน มาถมลงบนเครื่องแกนปฏิกรณ์ แต่ก็ไม่สามารถดับการลุกไหม้ของกราไฟต์ได้ เจ้าหน้าที่ใช้ เวลา 12 วัน ในการดับเพลิงครั้งนี้ เกิดหน่วย Liquidator ที่มีหน้าที่เก็บกวาดเศษกัมมันตรังสีตาม บริเวณตัวอาคารและรอบอาคาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการเสียชีวิตจำนวน 31 นาย เจ้าหน้าที่หน่วยฉุกเฉินและเจ้าหน้าที่ ดับเพลิงที่เข้ามายังพื้นที่ใน 3 เดือนถัดมาได้เสียชีวิตจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี และ 200 กว่าคน กำลังจะป่วย เนื่องจากได้รับกัมมันตภาพรังสี อุบัติภัยนี้ทำให้ประชาชนจำนวน 135,000 คนที่อาศัยอยู่ภายในพื้นที่ 30 กิโลเมตร จากที่เกิดเหตุต้องอพยพออกจากที่อยู่ ประชาชนเหล่านี้ได้รับรังสีในปริมาณที่สูงมากจึงต้องมีการ ติดตามผลของการที่ได้รับรังสีในครั้งนี้ ชิ้นส่วนที่เป็นโครงสร้างบริเวณนั้น ก็ถูกแรงระเบิดกระจายขึ้นสู่ อากาศ กระเด็นไปไกลหลายล้านตารางไมล์เกิดมลภาวะเป็นพิษกระจายออกไป รวมทั้งฝุ่น กัมมันตภาพรังสีที่แพร่ไปในบรรยากาศ ทำให้สหภาพโซเวียตตะวันตกและยุโรปตะวันตกปนเปื้อน กัมมันตรังสี เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในทิศทางลมและฝนต่างก็ได้รับผลกระทบ สารกัมมันตรังสียังกระจายไป สัมผัสกับพืช, สัตว์ต่าง ๆ ถึงแม้ว่าปริมาณโดสที่ได้รับจะต่ำ แต่ค่าของรังสีจะยังคงอยู่เป็นเวลาหลาย สิบปี คนได้รับรังสีโดสต่ำเป็นเวลานานมีโอกาสเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น อีกทั้งรังสีเหล่านี้ยัง

16

สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางน้ำดื่มและอาหาร ฝุ่นกัมมันตรังสีที่ตกลงสู่พื้นดินแล้วมีสัตว์อย่างวัวเข้า ไปสัมผัสหรือกิน ทำให้นมวัวมีสารกัมมันตรังสีและสามารถส่งผ่านไปถึงคนที่ดื่มนมวัวที่ปนเปื้อนสาร กัมมันตรังสีเข้าไปด้วย หลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้มีการประเมินจำนวนของผู้เสียชีวิตจากการที่ได้รับรังสี แต่ไม่สามารถสรุปจำนวนได้เนื่องจากผลประเมินนั้นไม่ตรงกัน มีการติดตามผลระยะยาวของผู้ที่รับ รังสี อีกทั้งยังช่วยให้เราได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลของรังสีต่อร่างกายมนุษย์มากยิ่งขึ้น 20 ปีหลังเกิดเหตุมีการถกเถียงเรื่องจำนวนผู้เสียชีวิตตลอดมา เนื่องจากการ ประชาสัมพันธ์จากทางการสหภาพโซเวียตที่มีความวิตกกังวลถึงภาพลักษณ์ของประเทศ โดยทาง สหภาพโซเวียตได้สั่งห้ามไม่ให้เหล่าผู้ตรวจสอบออกมาบอกกับสื่อต่าง ๆ เรื่องชนิดของสารอันตรายที่ ทำให้ผู้คนเสียชีวิต ทำให้ข้อมูลของยอดผู้เสียชีวิตเป็นการประเมินโดยหน่วยงานภายนอก และระบุได้ ว่าผู้ได้รับผลกระทบ คาดว่ารวมทั้งสิ้นประมาณไม่ต่ำกกว่า 56 ล้านคน ภายหลังทางองค์การอนามัย โลกได้ออกมาสรุปว่า พลเรือนที่ไม่รวมจำนวนของเจ้าหน้าที่ทางการทั่วไป 4,000 คน ทาง Greenpeace9 กล่าวว่าจำนวนผู้เสียชีวิตมีมากกว่า 200,000 คน ส่วนสื่อมวลชนของรัสเซียได้สรุป ตัวเลขของผู้เสียชีวิต โดยสรุปว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986-2004 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 950,000 คน ที่ต้อง เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง และผู้เสียชีวิตเหล่านี้ล้วนอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ตามเส้นทางการแผ่กระจาย ของสารกัมมันตภาพรังสี อุบัติภัยครั้งนี้สรุปได้ว่า เกิดจากการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบ RBMK ของโซเวียตที่ ไม่มีความปลอดภัย อาคารเครื่องปฏิกรณ์ก็ไม่มีโครงสร้างอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ที่สามารถรับ แรงอัดแรงกระแทกรุนแรงได้ อีกทั้งปัญหาเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ยังขาดความรู้ ความสามารถในการจัดการ ไม่มีความชำนาญเพียงพอและฝ่าฝืนระบบความปลอดภัยของเครื่อง ปฏิกรณ์หลายประการด้วยกัน จึงนำมาซึ่งความเสียหายร้ายแรงจวบจนปัจจุบันนี้

9 Greenpeace เป็นองค์การสาธารณประโยชน์ (NGO) นานาชาติที่ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ

บทที่ 3 บทนำภาพยนตร์ชุด Chernobyl

ภาพยนตร์ชุด Chernobyl สร้างโดยสถานีโทรทัศน์ HBO ซึ่งเป็นช่องเคเบิล โทรทัศน์สัญชาติอเมริกัน ได้เริ่มออกอากาศภาพยนตร์ชุดทั้งหมด 5 ตอน เริ่มออกอากาศ ในวันที่ 6 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน ปี ค.ศ. 2019 กำกับการแสดงโดย Johan Renck และเขียนบทประพันธ์โดย Craig Mazin นำแสดงโดย Jared Harris, Stellan Skarsgård และEmily Watson

ภาพที่ 3.1 แสดงรูปภาพโปสเตอร์ภาพยนตร์ชุด Chernobyl โดย HBO ปี ค. ศ.2019, accessed July 7, 2020, https://www.amazon.co.uk/Craftylittlepenguin-Chernobyl-Poster-Print-Maxi/dp/B07SX9TKJL

18

ภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl เป็นภาพยนตร์ที่ถูกดัดแปลงขึ้นมาจากเรื่อง จริงของเหตุการณ์ภัยพิบัติ Chernobyl เป็นการเล่าถึงเรื่องราวอุบัติเหตุการระเบิดของ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Chernobyl ในเดือนเมษายน ปี ค. ศ.1986 มีการนำเสนอขั้นตอนการ แก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่สหภาพโซเวียตที่พยายามจะควบคุมการแพร่ระบาดของ กัมมันตภาพรังสีจนกลายมาเป็นโศกนาฏกรรมที่ยังส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน

3.1 เหตุการณ์ในภาพยนตร์

เนื้อหาของภาพยนตร์ เริ่มต้นที่เมือง Pripyat ถูกสร้างขึ้นเพื่อโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ซึ่ง เมือง Pripyat ถือเป็นแหล่งพลังงานยุคใหม่ในสมัยสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต มีเตาปฏิกรณ์ทั้งหมด 4 เตาใน Chernobyl ที่จ่ายไฟหล่อเลี้ยงประชาชนในหลายเมือง โดยโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลเป็นแหล่ง ต้นกำเนิดจากธาตุกัมมันตรังสี เป็นหนึ่งในความภูมิใจของโซเวียตที่รับประกันว่าทันสมัยและปลอดภัย ที่สุด แต่ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้น Vasily Ignatenko ชายนักดับเพลิงรวมถึงเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดถูกเรียกตัวให้ไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งเรียกตัวด่วน โดยรายงานนั้นกล่าวเพียงว่าเป็นเหตุเพลิง ไหม้ธรรมดาบนหลังคาเท่านั้น จากรูป 3.2 และรูปที่ 3.3 ขณะปฏิบัติหน้าที่หนึ่งในเจ้าหน้าที่ดับเพลิง สัมผัสกับตะกั่วดำที่กระจายอยู่ตามพื้น ส่งผลให้มีรอยแผลไหม้ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้สั่งให้เจ้าหน้าที่บางส่วนขึ้นไปยังบนหลังคาที่เปิดโล่ง โดยตรง เพื่อจะได้ดับไฟจากด้านบน พลเรือนในเมืองต่างมาเฝ้าชมเหตุการณ์ครั้งนี้พร้อมกับเศษฝุ่นที่ กระจายไปทั่วเมืองพร้อมกับรสชาติเหล็กที่รับรู้ได้ภายในปาก

ภาพที่ 3.2 แสดงรูปภาพ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงหยิบเศษตะกั่วดำที่ได้ระเบิดออกมาจากแกนเตา ปฏิกรณ์, accessed July 10, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022861X0

19

ภาพที่ 3.3 แสดงรูปภาพบาดแผลของนักดับเพลิงที่ได้สัมผัสตะกั่วดำ, accessed July 14, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022861X0

หลังจากเกิดเหตุระเบิดเสียงสัญญาณฉุกเฉินได้ดังเตือนทั่วสถานี เจ้าหน้าที่กำลังทดสอบ ระบบความปลอดภัยของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 Anatoly Dyatlov รองหัวหน้าวิศวกรประจำ โรงไฟฟ้า Alexandr Akimov และ Leonid Toptunov วิศวกรระดับสูง พยายามควบคุมเตาปฏิกรณ์ Perevozchenko เจ้าหน้าที่ส่วนหน้าได้แจ้งว่าแกนของเตาปฏิกรณ์ได้ระเบิดเรียบร้อยแล้ว Dyatlov มองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เพราะเตาปฏิกรณ์ RBMK นั้นถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี และฝาครอบ เตาปฏิกรณ์ที่ มีน้ำหนักถึง 2,000 ตัน ไม่มีปัจจัยใดที่จะทำให้ระเบิดได้ Dyatlov จึงมอบหมายให้ เจ้าหน้าที่ 2 คนไปตรวจที่เตาปฏิกรณ์ด้วยตัวเอง Akimov และ Toptunov ได้เปิดวาล์วระบายน้ำใต้ เตาปฏิกรณ์เพื่อไม่ให้เกิดการระเบิดซ้ำ และเป็นที่ทราบดีว่าในน้ำนั้นปนเปื้อนสารพิษ แต่ทั้งคู่ จำเป็นต้องทำเพื่อแก้ไขปัญหา

ภาพที่ 3.4 แสดงรูปภาพ เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ที่ระเบิด, accessed July 9, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022861X0

20

เวลา 01.25 น. เสียงระเบิดดังขึ้นมีอาคารบางส่วนเสียหาย จากรูปที่ 3.4 เป็นฉากความ เสียหายของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 หลังระเบิดเจ้าหน้าที่ส่วนหน้าได้ใช้เครื่องวัดระดับรังสีที่รั่วไหล ออกมาและพบว่าค่าวัดนั้นอยู่ที่ 3.6 R1 แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่ใช่ค่าจริง เนื่องจากค่านี้เป็นเพียง ค่าสูงสุดเท่าที่เครื่องวัดจะอ่านได้ และพบว่ามีกลุ่มไอน้ำหนาที่กำลังลอยขึ้นไม่หยุด ฝาของเตาปฏิกรณ์ หมายเลข 4 ได้ระเบิดไปแล้ว จึงได้แจ้งข้อมูลนี้ให้ Dyatlov รับรู้แล้วแต่ Dyatlov กลับมอบหมายให้ Akimov เขียนรายงานว่าไม่มีเหตุร้ายแรง เป็นเพียงอุบัติเหตุเล็กน้อยเท่านั้น หลังจากเกิดเหตุระเบิด เวลา 02.30 น. หัวหน้าวิศวกร Nikolai Fomin และ ผู้อำนวยการโรงงานไฟฟ้า Viktor Bryukhanov ผู้บริหารทั้ง 3 คน ได้ไปประชุมร่วมกัน เพื่อทำ รายงานสรุปผลต่อการประชุมร่วมกับคณะกรรมการ ในการประชุมกัน Dyatlov ได้ปิดบังความจริง เรื่องสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ภาพที่ 3.5 แสดงรูปภาพ Dyatlov, Bryukhanov และFomin ร่วมกันสรุปผลของเหตุการณ์ที่จะต้องน าไปรายงาน ในที่ประชุม accessed July 14, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022861X0

จากรูปที่ 3.5 Dyatlov กล่าวว่าทุกอย่างนั้นสามารถควบคุมได้และปลอดภัย มีรังสีเพียง เล็กน้อยเท่านั้นที่รั่วออกมา ซึ่งบริเวณเตาปฏิกรณ์ค่ารังสีที่วัดได้ก็มีเพียง 3.6 R ต่อชั่งโมงเท่านั้น ซึ่งจะ ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อผู้คนในเมือง เมื่อประชุมเสร็จก็นำไปรายงานให้คณะกรรมการ Zharkov ผู้อาวุโสสูงสุดในการประชุมครั้งนี้ มองว่าเหตุการณ์นี้เป็นเป็นเรื่องเล็กน้อยจะทำให้โซเวียตที่ยิ่งใหญ่

1 R (roentgen) คือหน่วยวัดเรินเกนท์ ใช้หน่วยวัดนี้ในการฉายรังสีเอกซ์และรังสีแกมมา

21

เสียเกียรติไม่ได้ และได้ออกคำสั่งปิดเมืองจึงถูกประกาศใช้ในทันท ทำให้ประชาชนไม่ได้อพยพ ย้ายออก

ภาพที่ 3.6 แสดงรูปภาพ Sitnikov หนึ่งในเจ้าหน้าที่หลังจากสัมผัสกับรังสีโดยตรงส่งผลให้มีสีหน้าที่แดงก่ำ, accessed July 10, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022861X0

Sitnikov หัวหน้าฝ่ายวิศวกรภาคปฏิบัติการ ได้ส่งหน่วยวัดรังสีพร้อมเครื่องมือขนาดใหญ่ ที่สามารถตรวจค่าได้ถึงหลักพันเข้าไปในที่เกิดเหตุ ซึ่งเครื่องสามารถวัดค่าสูงสุดได้เพียง 200 R แต่ หน้าปัดของเครื่องกลับวิ่งเต็มตลอดเวลาทั้งที่วัดรอบนอกบริเวณอาคาร โดยที่ยังไม่ได้เข้าไปถึงเตา ปฏิกรณ์ ผลการวัดค่านี้ทำให้ทราบได้ว่าค่า 3.6 R ที่วัดได้ในตอนแรกนั้นไม่น่าเชื่อถือ สิ่งเดียวที่ทำให้ เกิดรังสีรั่วไหลมากเท่านั้นก็คือ การระเบิดของเตาปฏิกรณ์ จากรูปที่ 3.6 Sitnikov ขึ้นไปยังหลังคา ช่องลมที่ใกล้ที่สุดและตรวจดูเตาปฏิกรณ์ด้วยตัวเอง จึงพบว่าเตาปฏิกรณ์นั้นระเบิดจริง การตรวจครั้ง นี้ทำให้Sitnikov จำเป็นต้องสัมผัสกับรังสีโดยตรงส่งผลให้มีสีหน้าที่แดงก่ำ Valery Legasov รองผู้อำนวยของสถาบันปรมณู kurchatov ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน นิวเคลียร์จากสถาบันปรมนูแห่งชาติ และ Boris Shcherbina รองประธานคณะมนตรีบริหารและ หัวหน้าสำนักงานเชื้อเพลิงและพลังงาน ได้เข้าร่วมการประชุมสำคัญที่มี Mikhail Gorbachev ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตได้เข้าร่วมด้วย Legasov ได้อ่านรายงานที่สรุปจาก Chernobyl และได้ แย้งว่าแม้ในรายงานไม่ได้เขียนถึงสิ่งที่ร้ายแรงไว้ แต่มีส่วนที่เขียนถึงอาการบาดเจ็บของนักดับเพลิง รายหนึ่งที่บาดเจ็บด้วยแผลไฟไหม้หลังจากสัมผัสเข้ากับวัตถุสีดำ ผิวเป็นมันเรียบและกระจายอยู่เต็ม พื้น นั่นคือตะกั่วดำหรือกราไฟต์ซึ่งเป็นแร่ที่พบได้ในส่วนแกนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เท่านั้น จึง สันนิษฐานว่าหากมีวัตถุนี้กระจายออกมาภายนอกหมายความว่าส่วนของแกนเตาปฏิกรณ์นั้นระเบิด ออกมาแล้วแน่นอน รวมไปถึงตัวเลขการวัดค่ารังสีมาจากเครื่องที่ไม่ได้มาตรฐาน Legasov จึงมี

22

ความเห็นว่าค่าของรังสีเป็นไปได้ว่ามากกว่านั้นหลายพันเท่า ที่โรงไฟฟ้า Chernobyl เป็นเตาปฏิกรณ์ ที่ใช้แร่ยูเรเนียม-235 เป็นหลัก เมื่อถูกปล่อยออกมาก็จะแผ่รังสีไปทุกที่และสร้างความเสียหายกับ สิ่งมีชีวิตทุกชนิด รังสีสามารถทะลุวัตถุต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก, ไม้ หรือคอนกรีต ไม่มีสถานที่ ปลอดภัย รังสีจะปนเปื้อนทั้งในน้ำ อาหาร อากาศ สิ่งที่ Legasov กล่าวมาทำให้การสรุปผลการ ประชุมในครั้งนี้มอบหมายให้ Legasov และ Shcherbina ได้ทำหน้าที่ควบคุมงานแทน Bryukhanov และ Fomin โดยหน้าที่แรกคือการตรวจวัดหาค่ารังสีโดยละเอียด และได้ตรวจวัดค่ารังสีจึงพบว่าค่าที่ ตรวจได้นั้นไม่ใช่ 3.6 R แต่เป็น 15,000 Legasov ได้เสนอให้มีการอพยพแต่ไม่ได้รับการอนุมัติ โรงพยาบาลในเมือง Pripyat แพทย์และพยาบาลปฏิบัติหน้าที่กันอย่างแข็งขัน เนื่อง ด้วยผู้บาดเจ็บจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากรังสี จากภาพ 3.7 ผู้ป่วยเหล่านี้เป็นผู้ที่เข้าใกล้ โรงไฟฟ้าหลังการระเบิด เสื้อผ้าที่ปนเปื้อนรังสีของผู้ป่วยนั้นถูกถอดทิ้งไว้ยังชั้นใต้ดินในทันที ในขณะ นั้น Lyudmilla Ignatenko พบว่า Vasily ผู้เป็นสามีคือหนึ่งในผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบและถูกส่งตัว ไปรักษายังมอสโคว ที่โรงพยาบาลหมายเลข 6

ภาพที่ 3.7 แสดงรูปภาพ เสื้อผ้าที่ปนเปื้อนรังสีของผู้ป่วย, accessed July 11, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022861X0

วันที่ 30 เมษายน Lyudmilla ได้พบกับ Vasily จากรูปที่ 3.8 คืออาการของผู้ที่ได้รับ รังสีโดยตรง อย่างนักดับเพลิง, เจ้าหน้าที่โรงงานไฟฟ้าและนักดำน้ำ คือรังสีจะเข้าไปทำลายเซลล์ใน ร่างกายไปจนถึงผิวหนังจะกลายเป็นรอยไหม้สีแดงและดำลง ไขกระดูกได้เสื่อมสลายลงรวมทั้งการ สูญเสียระบบภูมิคุ้ม เส้นเลือดเริ่มรั่วออกและอวัยวะต่าง ๆ และเนื้อเยื่ออ่อนในร่างกายจะเน่าเปื่อย อาการจะดำเนินต่อไป 3 สัปดาห์ จนเสียชีวิตในที่สุด

23

ภาพที่ 3.8 แสดงรูปภาพ Vasily Ignatenko หนึ่งในนักดับเพลิงที่ได้รับผลกระทบจากรังสี, accessed July 14, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022862X0

ร่างของ Vasily ถูกฝังอยู่ในโรงตะกั่วถมทับด้วยคอนกรีด เพราะร่างกายมีการปนเปื้อน และสามารถแผ่รังสีออกมาได้ตลอดเวลา ส่วนเรื่องราวของ Lyudmilla Ignatenko ผู้เป็นภรรยก็ได้ แท้งลูก มีผู้คนจำนวนมากที่ตั้งครรภ์อยู่ในระหว่างการแพร่กระจายของรังสีก็ประสบภาวะแท้งลูก เช่นกัน แต่ลูกในท้องได้ดูดซับรังสีแทนแม่ที่ตั้งครรภ์ ในตอนเช้าของวันที่ 27 เมษายน 30 ชั่วโมงหลังการระเบิด ปฏิบัติการดับเพลิงของเตา ปฏิกรณ์ก็ได้เริ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ได้ใช้ธาตุอย่างทรายและโบรอนที่มีคุณสมบัติสามารถยึดจับรังสีเหล่านี้ ขนส่งด้วยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อที่จะเทลงไปยังแกนกลางของเตาปฏิกรณ์แต่ท าได้อย่างยากล าบาก เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ไม่สามารถเคลื่อนเข้าไปได้โดยตรง จากรูกที่ 3.9 เฮลิคอปเตอร์ล าแรกเสียการ ควบคุมทันทีที่เข้าใกล้กลุ่มควัน เจ้าหน้าที่ยังคงพยายามหลายครั้ง จนกระทั่งไฟได้ดับลง

ภาพที่ 3.9 แสดงรูปภาพ เฮลิคอปเตอร์เสียการควบคุมในขณะที่พยายามดับเพลิงด้วยทรายและโบรอน, accessed July 11, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022862X0

24

กัมมันตรภาพรังสีได้แผ่ไปถึงสวีเดนและเยอรมัน ทางอเมริกาที่ได้ใช้ดาวเทียมและตรวจ พบกลุ่มควันและไฟไหม้ การที่ทั่วโลกได้รับรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน Chernobyl เป็นการบีบบังคับ ให้รัฐบาลต้องสั่งเคลื่อนย้ายประชาชนทั้งหมดออกจากเมือง Pripyat พลเรือนตระหนักถึงอันตรายที่ เกิดขึ้น การอพยพเกิดขึ้น 36 ชั่วโมงหลังการระเบิด Ulana Khomyuk หนึ่งในเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เดินทางมายังเมือง Pripyat ได้เข้า พบกับ Legasov เพื่ออธิบายถึงปัญหาที่ก าลังจะเกิดขึ้นกล่าวคือ แม้ไฟจะดับลงไปแล้ว แต่แกนของ เตาปฏิกรณ์นั้นยังมีอุณหภูมิสูงจนสามารถละลายทรายที่ทับถมไว้ กลายเป็นลาวาอุณหภูมิสูงมากกว่า 2,000 องศา และลาวาจะหลอมพื้นที่รองรับ ซึ่งแท่งน ้าใต้เตาปฏิกรณ์ได้มีน ้าขังอยู่ หากลาวาและน ้า ได้สัมผัสกันจะท าให้เกิดระเบิดไอน ้าขนาดใหญ่ พื้นที่ 30 กิโลเมตรโดยรอบจะถูกท าลาย รวมไปปถึง เตาปฏิกรณ์อีก 3 เตาที่ยังเหลืออยู่ด้วย ส่งผลให้พื้นที่ที่เกิดผลกระทบจะขาดแคลนน ้าและอาหารเกือบ ถาวร อัตรามะเร็งและพิการตั้งแต่ก าเนิดจะสูงขึ้น ส าหรับ Belarus และ Ukraine ที่จะโดนผลกระทบ โดยตรงนั้นหมายถึงว่าพื้นบริเวณนั้นจะไม่สามารถอาศัยอยู่ได้เลยเป็นเวลาอย่างต ่า 100 ปี โดยเหลือ เวลาไม่ถึง 48-72 ชั่วโมงเพื่อจัดการปัญหานี้ มีการส่งเจ้าหน้าที่ด าน ้าเพื่อเปิดวาล์วระบายน ้าออกจาก ใต้เตาปฏิกรณ์ ในวันที่ 28 เมษายน เจ้าหน้าที่สามารถยับยั้งโอกาสที่จะเกิดระเบิดความร้อนได้ส าเร็จ แต่สภาพแกนผุกร่อนเร็วกว่าที่คาด แผ่นคอนกรีตรับน ้าหนักได้ 6-8 สัปดาห์ คาดว่ามีโอกาส 50 % ที่ เชื้อเพลิงเจาะแผ่นคอนกรีดแล้วละลายไปผสมกับน ้าใต้ดิน น ้าใต้ดินจะไหลไปยังแม่น ้า Pripyat แล้ว ซึ่งจะไหลไปลงแม่น ้า Dnieper ซึ่งเป็นแหล่งน ้าหลักที่ประชากรกว่า 50 ล้าน ใช้อุปโภคบริโภค ยังมี พืชผลและผลผลิตจากปศุสัตว์ที่จะใช้การไม่ได้ จึงจ าเป็นต้องติดตั้งเครื่องถ่ายความร้อนใต้คอนกรีด เพื่อลดอุณหภูมิแกนและชะลอการละลาย ซึ่งต้องใช้ไนโตรเจนเหลวทั้งหมดในโซเวียตจึงจ าเป็นต้องให้ คนงานเหมืองช่วยในการขุดเจาะโดยเริ่มในวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 30 พฤษภาคม จากรูปที่ 3.10 Andrei glukhov ซึ่งเป็นหัวหน้าคนงานเหมืองได้ ขุดอุโมงค์ใต้เตาปฏิกรณ์ แล้วฉีดไนโตรเจนเหลวเป็นก าบังไม่ลาวากัมมันตรังสีนั้นจะไหลลงไปปนกับ น ้าบาดาล และเจ้าหน้าก็ได้ปฏิบัติงานจนส าเร็จ

25

ภาพที่ 3.10 แสดงรูปภาพ Andrei glukhov หัวหน้าคนงานควบคุมการขุดเหมือง, accessed July 14, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022862X0

ต่อมา Khomyuk และ Legasov ได้ร่วมกันวางแผนหาสาเหตุที่แท้จริงที่ท าให้เตา ปฏิกรณ์ระเบิด ทั่วทั้งโซเวียตมีเตาปฏิกรณ์แบบเดียวกันหลายแห่ง จึงจ าเป็นต้องหาวิธีป้องกันเพื่อ ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ ้าอีก Khomyuk จึงได้เดินทางมายังโรงพยาบาลที่ 6 ในกรุงมอสโคว คอม ยุคมาเพื่อหาข้อมูลจากผู้ประสบเหตุในวันที่ 26 โดยตรง จากรูปที่ 3.11 Khomyuk ไปสอบถาม สาเหตุจาก Toptunov

ภาพที่ 3.11 แสดงรูปภาพ Ulana khomyuk สอบถามถึงความจริงจาก Leonid Toptunov, หนึ่งในเหยื่อที่ได้รับ สารกัมมันตรังสี, accessed July 14, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022863X0

และได้ความว่า Leonid Toptunov มีอายุเพียง 25 ปี ได้ด ารงต าแหน่งหัวหน้าวิศวกร อาวุโสหน่วยควบคุมเตาปฏิกรณ์ โดยที่งานได้เพียง 6 เดือน ในคืนที่ทดสอบ ระดับพลังงานที่ลด ลงนั้น เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้เจ้าหน้าที่จะได้กดปุ่ม AZ-5 ที่เป็นปุ่มหยุดฉุกเฉินแต่ระดับพลังงานและ

26

อุณหภูมิกลับไม่ลดลงและทันทีที่กดปุ่มนั้นเสียงระเบิดได้ดังขึ้น แต่การมาสืบหาข้อเท็จจริงของ Khomyuk ครั้งนี้ผู้สะกดรอยตามมา นั่นคือเจ้าหน้าที่ KGB2 ที่พยายามเข้ามาจับกุมตัว Khomyuk มี การสอดแนมเพื่อความมั่นใจว่าจะมีไม่บ่อนท าลายชาติ สิงหาคม 4 เดือนหลังจากการระเบิด มีกากกัมมันตรังสีและสิ่งปนเปื้อนจ านวนมากที่ กระจายออกไปทั่วบริเวณพื้นที่ 2,600 ตารางกิโลเมตร ประชากรทั้งภูมิภาคจะต้องถูกอพยพ ดังนั้น การอพยพรอบโรงไฟฟ้า Chernobyl นั้นจึงได้ด าเนินขึ้น ประชาชนในเมืองต้องย้ายออกจากที่อยู่เดิม สัตว์ที่รอดชีวิตและอาศัยในบริเวณนั้นต้องถูกก าจัดรวมไปถึงพืชและต้นไม้ต้องถูกโค่นและฝังลงดิน แต่ ยังมีพลเรือนบางส่วนที่ไม่ยอมย้ายออก จากรูปที่ 3.12 มีการเกณฑ์ผู้ชายอายุ 18 – 22 เพื่อไปก าจัด สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง ซึ่ง Pavel เป็นหนึ่งในผู้อาสาสมัครในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้

ภาพที่ 3.12 แสดงรูปภาพ Pavel เด็กผู้ชายถูกเกณฑ์เพื่อไปก าจัดสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง, accessed July 14, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022864X0

ในเดือนกันยายนทางด้านโรงไฟฟ้า Chernobyl ได้ด าเนินการขั้นสุดท้าย นั่นคือการ สร้างอาคารกักกันครอบเตาปฏิกรณ์ที่ระเบิดไว้ เพื่อป้องกันป้องกันการแพร่กระจายของรังสี แต่ยังคง มีปัญหาเศษตะกั่วด าที่อยู่บนหลังคาใกล้ช่องเตาปฏิกรณ์คือสิ่งที่ปล่อยรังสีออกมาซึ่งในบริเวณนั้นเป็น ที่ที่อันตรายเป็นอย่างมากเนื่องจากรังสีที่วัดได้ในบริเวณนั้นอยู่ที่ 20,000 R ต่อชั่วโมง จึงจ าเป็นต้อง ก าจัดเศษเหล่านี้ทิ้ง หากไม่เก็บกวาดหลังคาไม่ได้ก็จะสร้างก าบังคลุมไม่ได้ จากรูปที่ 3.13 จ้าหน้าที่จึง ส่งหุ่นยนต์ที่ส่งมาจากเยอรมันขึ้นไปก าจัดแต่ก็ไม่เป็นผลเพราะค่ารังสีที่สูงจนไปท าลายระบบหุ่นยนต์ อย่างไรก็ตามทางภาครัฐสหภาพโซเวียตเลือกที่จะไม่ขอความช่วยเหลือจากอเมริกา

2 KGB หรือ คณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ คืออดีตหน่วยงานกลางที่มีหน้าที่ดูแลการข่าว ความมั่นคง ตำรวจสันติบาล และ กิจการชายแดนของสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954-1991 โดยเคจีบีถูกยุบและถูกแทนที่โดยสำนักงาน ความมั่นคงกลางหรือ FSB

27

ภาพที่ 3.13 แสดงรูปภาพ หุ่นยนต์ชื่อ Joker ถูกส่งขึ้นไปก าจัดเศษตะกั่วด า, accessed July 15, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022864X0

จากรูปที่ 3.14 ท าให้ในเดือนตุลาคมเกิดหน่วย Liquidator มีเจ้าหน้าที่จ านวน 3,828 คน โดยเจ้าหน้าที่ในหน่วยมีหน้าที่เก็บกวาดรอบ ๆ บริเวณเมือง และงานที่อันตรายที่สุดคือการเก็บ กวาดตะกั่วด าบนหลังคาโรงไฟฟ้า โดยจะแบ่งการเก็บกวาดกันเป็นรอบ ๆ รอบหนึ่งไม่เกิน 4 คน มี เวลา 90 วินาทีในการเก็บกวาด และต้องกลับมาทันทีที่หมดเวลา

ภาพที่ 3.14 แสดงรูปภาพ เจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator, accessed July 15, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022864X0 มีการจัดประชุมด้านพลังงานที่เวียนนาเพื่อหารือถึงสาเหตุของเหตุการณ์ระเบิดที่ Chernobyl Legasov ไม่ได้เปิดเผยความจริงเพราะความหวาดเกรงต่อรัฐบาลสหภาพโซเวียตและ เลือกที่จะเจรจาประนีประนอมกับ Charkov หัวหน้าหน่วยราชการลับ KGB โดยหวังว่าเจ้าหน้าที่จะ แก้ไขข้อบกพร่องในเตาปฏิกรณ์โดยและกับการปกปิดข้อเท็จจริงต่อไป

28

จากรูปที่ 3.15 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1987 มีการไต่สวนความผิดของผู้บริหารโรงงาน ไฟฟ้านิว Chernobyl ผู้พิพากษาคือ Milan Kadnikov โดยมีฝ่ายจ าเลย 3 คนคือ Anatoly Dyatlov, Nikolai FominและViktor Bryukhanov

ภาพที่ 3.15 แสดงรูปภาพ จ าเลยทั้ง 3 คนคือ Viktor Bryukhanov, Anatoly Dyatlov และNikolai Fomin, accessed July 16, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022865X0

ส่วนฝ่ายพยานฟ้องคือ Boris Shcherbina, Valery Legasov และ Ulana Khomyuk การให้การจึงเริ่มต้นขึ้น โดย Shcherbina เป็นผู้เริ่มกล่าว ทุกอย่างของอุบัติเหตุครั้งนี้เริ่มต้นจากการ ทดสอบระบบความปลอดภัยของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ใน Chernobyl ถูกเปิดใช้งานมาตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ.1983 โดยถูกยืนยันจากเอกสารที่ Bryukhanov ได้ลงนามว่าเตาปฏิกรณ์นั้นเสร็จ สมบูรณ์แล้ว การลงนามเอกสาร ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นมีระบบรักษาความปลอดภัยอันหนึ่งนั้นยังไม่ เสร็จสิ้น จากรูปที่ 3.16 Shcherbina ได้อธิบายระบบการท างานของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ กล่าวคือ เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะสร้างความร้อนที่แกน ส่วนท่อสูบจะคอยส่งน ้าหล่อเย็นมายังแกนอย่าง ต่อเนื่อง ความร้อนที่แกนจะเปลี่ยนน ้าให้กลายเป็นไอน ้า ไอน ้าจะหมุนกังหันและก่อให้เกิดไฟฟ้า แต่ ถ้าหากโรงไฟฟ้าไม่มีพลังงาน ถ้าเกิดพลังงานที่หล่อเลี้ยงโรงไฟฟ้าเกิดหยุดชะงักไป ไม่ว่าจะด้วยเหตุ ไฟดับ, การติดตั้งที่ผิดพลาด หรือการโจมตีของต่างชาติ หากไม่มีพลังงานท่อก็จะส่งน ้ามายังแกนไม่ได้ ถ้าไม่มีน ้าแกนก็จะร้อนเกิน จนท าให้เชื้อเพลิงหลอมเหลว ท าให้เกิดหายนะนิวเคลียร์ ทางแก้ไขก็คือ ต้องใช้เครื่องก าเนิดไฟฟ้าส ารองพลังงานดีเซล 3 ตัว ต้องใช้เวลาราว ๆ 1 นาที ถึงจะสามารถให้ พลังงานท่อส่งน ้าได้ถึงระดับความเร็วที่จ าเป็นต่อการป้องกันการละลาย แต่เวลาราว ๆ 60 วินาทีนั้น นานเกินไป แกนของเตาปฏิกรณ์จะละลายไปก่อน และ Bryukhanov ก็ทราบดีว่าปัญหาไม่ได้รับการ แก้ไข

29

ต่อมาเป็นเรื่องการทดสอบความปลอดภัย ทฤษฎีคือ ถ้าหากอาคารสูญสียพลังงานไป กังหันที่หมุนจะต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อผ่อนความเร็วจนหยุด แล้วใช้พลังงานไฟฟ้าที่กังหันผลิตขึ้นเอง ส่งต่อไปยังท่อสูบน ้าได้ ถ้ากังหันที่ก าลังจะหยุดหมุนสามารถท าให้ท่อส่งน ้าท างานต่อไป นานพอที่จะ ไปอุดช่องว่าง 60 วินาที ที่เครื่องดีเซลท างาน จนกระทั่งเครื่องก าเนิดไฟฟ้าใช้การได้ เพื่อทดสอบ ทฤษฎี เตาปฏิกรณ์ถูกลดพลังงานลงเหลือ 700 MW เพื่อจะจ าลองสถานการณ์ไฟดับ จากนั้นกังหันก็ ถูกปิด และในขณะที่กังหันหมุนช้าลง เจ้าหน้าที่ได้วัดกระแสไฟที่ถูกผลิตดูว่าเพียงพอหรือไม่ ซึ่งตลอด 3 ปีที่มีการเปิดใช้งาน Bryukhanov ได้พยายามทดสอบระบบความปลอดภัย 3 ครั้ง โดยการทดสอบ นั้นล้มเหลวทั้ง 3 ครั้ง แต่ในการทดสอบครั้งที่ 4 นั่นก็คือวันที่ 26 เมษายน ค.ศ.1986

ภาพที่ 3.16 แสดงรูปภาพ Shcherbina อธิบายลักษณการท างานของเตาปฏิกรณ์, accessed July 16, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022865X0

Khomyuk ได้มากล่าวต่อ ก่อนการเกิดเหตุ 10 ชั่วโมง แท้จริงแล้วการทดสอบนั้นจะถูก จัดขึ้นในวันที่ 25 เมษายน ปกติแล้วโรงไฟฟ้า Chernobyl จะจ่ายไฟอยู่ที่ประมาณ 3200 MW แต่ถูก ลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 1600 MW และเตรียมที่จะลดต่อไปจนเหลือ 700 MW ซึ่งเป็นระดับที่ต้องการท า การทดสอบเพื่อที่จะได้จ าลองสถานการณ์ในกรณีที่เกิดไฟดับ แต่ก่อนที่จะทดสอบเช่นนั้นก็มีค าสั่งจาก เมืองหลวงว่าห้ามลดก าลังไฟฟ้าจนกว่าจะถึงเที่ยงคืน และเป็นช่วงสิ้นเดือนโรงงานต่าง ๆ มีความ ต้องการใช้ไฟฟ้าในการผลิต ท าให้การทดสอบถูกเลื่อนออก 10 ชั่วโมง ซึ่งในความเป็นจริงควรยุติการ ทดสอบ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดปัญหา 2 เรื่อง อย่างแรกคือความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการ ทดสอบ การทดสอบควรจัดขึ้นในตอนกลางวันซึ่งมีเจ้าหน้าที่ที่ช านาญในกะกลางวัน แต่ได้เปลี่ยนกะ ตอนเที่ยงคืนซึ่งกะกลางคืนนั้นขาดแคลนผู้ช านาญการเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่เคยท าการทดสอบ นี้มาก่อน รวมไปถึง Toptunov ที่มีประสบการณ์ท างานเพียง 6 เดือน รวมถึงมีเพียงข้อมูลต่าง ๆ

30

จากคู่มือที่ไม่สมบูรณ์ แม้มีเจ้าหน้าที่บางคนกล้าที่จะแย้งกับ Dyatlov ว่าไม่สามารถท าการทดสอบได้ แต่ Dyatlov ยังคงยืนยันให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จากรูปที่ 3.17 Legasov ก็ได้อธิบายว่าความล่าช้า 10 ชั่วโมงนั้นก่อให้เกิดปัญหาอีก อย่างคือเรื่องทางด้านวิทยาศาสตร์ Legasov ได้ท าการจ าลองความสมดุลของเตาปฏิกรณ์ด้วยการ แบ่งสีป้ายเพื่อง่ายต่อการเข้าใจ ฝั่งสีแดงคือการเพิ่มพลังงาน ส่วนฝั่งสีน ้าเงินคือการลดพลังงาน การ รักษาสมดุลระหว่างแร่กัมมันตรังสี, น ้า, ไอน ้า และอุณหภูมิ ทุกอย่างออกแบบมาให้อยู่ในสภาวะที่ สมดุลมั่นคง เป็นกระบวนการที่ให้พลังงานแก่คนทั้งเมืองโดยปราศจากควันและเปลวไฟ

ภาพที่ 3.17 แสดงรูปภาพ Legasov ได้ท าการจ าลองความสมดุลของเตาปฏิกรณ์ด้วยการแบ่งสีป้าย, accessed July 19, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022865X0

เตาปฏิกรณ์โดยปกติจะถูกออกแบบมาให้ท างานเต็มก าลังหากมีการลดพลังงานเหลือ ครึ่งเดียว จะท าให้เกิดสารตกค้าง นั่นก็คือสารซีนอน ยิ่งลดการท างานลงมากเท่าไหร่สารซีนอนก็จะ เพิ่มมากขึ้นตาม และเตาปฏิกรณ์หมายเลขได้ถูกลดก าลังไป 10 ชั่วโมง ท าให้ซีนอนไปสะสมที่แกนเตา ปฏิกรณ์จึงเกิดเป็นสภาวะการวางยาพิษเตาปฏิกรณ์ สมดุลของเตาเสียไป พลังงานลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างควบคุมไม่ได้จนต ่ากว่าระดับ 700 MW ซึ่งเป็นผลจากสารซีนอนที่สะสม ท าให้ไปขัดขวางการ ท างานของเตาปฏิกรณ์ เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมในตอนนั้นจึงเปลี่ยนระบบมาใช้แบบบังคับด้วยมือทั้งหมด แต่พลังงานยังคงลดลงจนแทบจะไม่มีพลังงานหลงเหลืออยู่ Akimov จึงได้เสนอให้ปิดเตาเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อให้สารตกค้างนั้นหายไปหมด แต่ Dyatlov ไม่เห็นด้วยเพราะการทดสอบครั้งนี้ โดย Dyatlov ให้เพิ่มระดับพลังงานพลังงานอย่างรวดเร็ว แท่งควบคุมพลังงานที่ปกติจะเสียบอยู่ที่เตา ปฏิกรณ์ทั้งหมด 221 แท่ง มีหน้าที่ลดความรุนแรงของกัมมันตภาพรังสี แท่งควบคุมถูกดึงออกจน ครึ่งหนึ่งพลังงานก็ยังไม่เพิ่มกลับมา เจ้าหน้าที่ควบคุมจึงตัดสินใจดึงแท่งควบคุมออกมาทั้งหมด สิ่งที่

31

ควบคุมแกนเตาปฏิกรณ์มีเพียงน ้าและสารซีนอน พลังงานได้เพิ่มขึ้นที่ 200 MW ระดับพลังงานนั้นต ่า เกินไปส่วนน ้าก็มีปริมาณมากเกินไประบบควบคุมอัติโนมัติยังคงส่งสัญญาณให้หยุดการท างานทันที เนื่องจากมีแท่งควบคุมไม่เพียงพอ ระบบคอมพิวเตอร์สกาล่าของเตาปฏิกรณ์จึงแนะน าให้ปิดเตา ปฏิกรณ์ลง แต่เจ้าหน้าที่ยังคงท าด าเนินการทดสอบต่อไป หลังจากนั้นท่อส่งน ้าก็ถูกปิดลง น ้าจึงไม่ถูก ส่งเข้าเตาปฏิกรณ์ ท าให้เสียสมดุลของเตาปฏิกรณ์โดยน ้าที่เหลืออยู่ในแกนได้กลายเป็นไอน ้าอย่าง รวดเร็ว พลังงานและอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วใน 1 วินาที สารซีนอนถูกเผาจนหมด เป็นปกติที่ทุกระบบของโรงงานทั่วไปจะมีปุ่มหยุดฉุกเฉิน หรือที่เรียกว่าปุ่ม AZ-5 และ ปุ่มมีหน้าที่ออกค าสั่งให้แท่งควบคุมทั้งหมดกลับมาเสียบประจ าที่ทันทีเพื่อปิดการท างานของเตา ปฏิกรณ์อย่างกะทันหัน Legasov เริ่มกล่าวถึงระบบที่ผิดพลาด ทั้งเรื่องการออกแบบ แท่งควบคุมที่ ปกตินั้นจะท าจากโบรอนซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งพลังงานนิวเคลียร์แต่หัวของแท่งควบคุมเปาปฏิกรณ์ หมายเลข 4 กลับท ามาจากตะกั่วด า ซึ่งจะให้ผลตรงกันข้ามแม้ว่าจะไม่ส่งผลมากนักเมื่ออยู่ในสภาะ ปกติแต่ในสภาวะเช่นนี้ที่แท่งควบคุมเกิดความเสียหายจากความร้อน แท่งควบคุมที่ถูกถอนออกจน หมดเริ่มเคลื่อนกลับลงไปในเตาปฏิกรณ์ แท่งที่ท าจากโบรอนซึ่งจะช่วยลดการท าปฏิกิริยาแต่ปลาย ของแท่งท าจากตะกั่วด า ซึ่งช่วยเร่งปฏิกิริยา ส่วนแรกที่กลับเข้าไปในแกนนั้นคือส่วนที่เป็นตะกั่วด า อุณหภูมิที่สูงอยู่แล้วจึงสูงขึ้นไปอีก โมเลกุลของน ้าถูกแปรสภาพเป็นไอน ้าในทันที ซึ่งท าให้ช่องแท่ง เชื้อเพลิงทั้งชุดขยายออกและเกิดรอยแตก แท่งควบคุมที่อยู่ในช่องก็ไม่สามารถเคลื่อนต่อไปได้ ท าให้ ตะกั่วด าค้างอยู่ในต าแหน่งเดิม เป็นการเร่งการท าปฏิกิริยาอย่างไม่รู้จบ ท าให้ระบบฉุกเฉินไม่เป็นผล และแรงดันไอน ้าที่เพิ่มสูงขึ้นจนฝาครอบไม่สามารถต้านไว้ได้ พลังงานในตอนนั้นเพิ่มสูงขึ้นเป็น 33,000 MW จากการท างานเต็มก าลังตามปกติที่ 3,200 MW และเมื่อมีออกซิเจนไหลเข้าไป ท าให้ ปฏิกิริยาการระเบิดเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 Chernobyl ในเวลา 01.23.45 น. การไต่สวนได้สิ้นสุดลง จ าเลยทั้ง 3 คนถือว่ามีความผิด และ Valery Legasov ได้ ประกาศต่อศาลว่าโซเวียตมีส่วนผิดในอุบัติเหตุครั้งนี้ เตาปฏิกรณ์แบบ RBMK ที่ออกแบบมี ข้อบกพร่องอยู่มาก การลดต้นทุนแบบไม่จ าเป็น แม้การกล่าวเช่นนั้นท าให้เลกาซอฟตกอยู่ในอันตราย จากรัฐบาลแต่ Legasov ก็เลือกที่จะไม่ปกปิดความจริงต่อไป กล่าวคือ เวลา 01.23.40 น. Akimov ได้กดปุ่ม AZ-5 เหตุผลที่ไม่มีอาคารล้อมรอบคารเตาปฏิกรณ์แบบของตะวันตก การไม่ใช้เชื้อเพลิงใน แกนที่มีอยู่มาก สร้างเตาปฏิกรณ์ด้วยตะกั่วด าที่ใช้น ้าเป็นตัวหล่อเย็น ซึ่งมีสัมประสิทธิ์ของไอน ้าเป็น บวก ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเป็นเพราะต้นทุนที่ถูกกว่า การพูดความจริงในครั้งนี้ส่งผลให้ Legasov ถูกจ ากัดสิทธิ์ต่าง ๆ และสิ่งที่ Legasov กล่าวในวันนั้นถูกเก็บเป็นความลับ ไม่มีสื่อรายงานออกไป ท้ายที่สุด Legasov ได้ตัดสินใจ อัตวินิบาตกรรม ในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ.1988 ก่อนเสียชีวิต Valery Legasov ได้บันทึกเทป

32

หลักฐานถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและส่งต่อให้คนรู้จักในแวดวงการวิทยาศาสตร์ คนเหล่านี้ไม่สามารถ เพิกเฉยต่อการเสียชีวิตของ Legasov ได้ เจ้าหน้าที่โซเวียตจึงได้ยอมรับว่าเตาปฏิกรณ์แบบ RBMK มี ข้อบกพร่อง และปรับปรุงในที่สุด เพื่อป้องกันให้มีเหตุการณ์แบบ Chernobyl เกิดขึ้นซ ้าอีก

บทที่ 4 บทวิเคราะห์ บทบาทที่สหรัฐอเมริกามีต่อสหภาพโซเวียตในเหตุการณ์เชอร์โนบิลผ่าน ภาพยนตร์ภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl

4.1 บทวิเคราะห์ตัวละครและเหตุการณ์ในภาพยนตร์

4.1.1 ตัวละคร 4.1.1.1 Valery Legasov

ภาพที่ 4.1 แสดงรูปภาพ Valery Legasov, “Plenty of Fantasy in HBO’s ‘Chernobyl,’ but the Truth Is Real,” nytimes, accessed July 19, 2020, https://www.nytimes.com/2019/06/02/arts/television/chernobyl-hbo.html

Valery Legasov เป็นหนึ่งในตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริง Legasov เกิดเมื่อ วันที่ 1 กันยายน ปี ค.ศ. 1936 ที่เมือง Tula ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย โดยเข้าสู่ ครอบครัวแรงงานโยธา เข้าโรงเรียนมัธยมใน Kursk ปี ค.ศ. 1949 – 1954 ที่โรงเรียนหมายเลข 56 ในมอสโกและจบการศึกษาพร้อมรางวัลเหรียญทอง โดยโรงเรียนได้ตั้งแสดงชื่อของ Legasov พร้อม กับสร้างรูปปั้นทองแดง ณ บริเวณทางเข้า ชีวิตสมรสได้แต่งงานกับ Margarita Mikhailovna มีลูก สาวคนหนึ่งชื่อ Inga Legasova ในปี ค.ศ. 1961 ส าเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรม เคมีฟิสิกส์ที่ สถาบันเคมีและเทคโนโลยี Mendeleev Moscow ได้เข้าท างานในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ Komsomol (กลุ่ม คอมมิวนิสต์เลนินนิสต์) ของสถาบันเทคโนโลยีเคมีแห่งมอสโก ในปี ค.ศ. 1962 ต่อมาได้เข้ารับ การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในภาควิชาฟิสิกส์โมเลกุลของ สถาบันพลังงานปรมาณู kurchatov เริ่มต้นด้วย ในฐานะนักวิจัยและชั้นปีสุดท้ายในฐานะหัวหน้าห้องปฏิบัติการ ในปี ค.ศ. 1967 ได้รับ

34

ปริญญาของ candidate (ปริญญาด็อกเตอร์ขั้นแรก) ในปี ค.ศ. 1967 และ ปริญญาเอกวิชาเคมี ในปี ค.ศ. 1972 ปี ค.ศ. 1976 ได้รับการเสนอให้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่ง สหภาพโซเวียต ปี ค.ศ. 1978 - 1983 เป็นอาจารย์ที่สถาบันฟิสิกส์และเทคโนโลยีของ Moscow ปี ค.ศ. 1981 ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเต็มตัวของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่ง สหภาพโซเวียตในภาควิชาเคมีเชิงฟิสิกส์และเทคโนโลยีวัสดุอนินทรีย์ ปี ค.ศ. 1983 ได้รับต าแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชากัมมันตภาพรังสีและ เทคโนโลยีเคมี คณะเคมีที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมอสโกในปี ค.ศ. 1983 ได้รับต าแหน่งรองผู้อ านวยการ คนแรกส าหรับการท างานทางวิทยาศาสตร์ของสถาบันพลังงานปรมาณู kurchatov ก่อนเกิดเหตุภัยพิบัติเชอร์โนบิล Legasov เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ที่มีความ ต้องการหาวิธีรักษาความปลอดภัยรูปแบบใหม่เพื่อป้องกันภัยพิบัติครั้งใหญ่ อุบัติเหตุเชอร์โนบิลได้เกิด เมื่อวันที่ 26 เมษายน ปี ค.ศ. 1986 Legasov ในขณะนั้นเป็นรองผู้อ านวยการคนแรกของสถาบัน พลังงานปรมาณูคิชคอตอฟ Legasov ได้ท าหน้าเป็นหัวหน้ากรรมาธิการสอบสวนกรณีวิกฤตนิวเคลียร์ ของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสอบสวนสาเหตุของภัยพิบัติและวางแผนการบรรเทาผลกระทบ Legasov มี ส่วนตัดสินใจส าคัญในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุซ ้ารอยอีกและแจ้งให้รัฐบาลทราบถึง สถานการณ์ในพื้นที่ภัยพิบัติ อีกทั้ง Legasov ยังสื่อสารอย่างตรงประเด็นกับเหล่านักวิทยาศาสตร์และ สื่อมวลชนเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของโรงงานไฟฟ้าที่ระเบิด อีกทั้งมีส่วนส าคัญในการ ตัดสินอพยพประชากรทั้งหมดที่เมือง Pripyat ในทันที ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1986 ได้เสนอ รายงานของคณะผู้แทนสหภาพโซเวียตในการประชุมพิเศษของ International Atomic Energy Agency (IAEA) ในกรุงเวียนนา รายงานของ Legasov แสดงถึงการวิเคราะห์ปัญหาของการระเบิด Legasov ได้ท าการอัตวินิบาตกรรมในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ.1988 Legasov ได้อัดเทปเสียง บันทึกความทรงจ าจ านวน 5 เทป ที่แสดงมุมมองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน เชอร์โนบิล และได้ส่งให้เพื่อนในวงการวิทยาศาสตร์ ท าให้โซเวียตยอมรับข้อบกพร่องของเตาปฏิกรณ์ นิวเคลียร์และแก้ไขในที่สุด

35

4.1.1.2 Ulana Khomyuk

ภาพที่ 4.2 แสดงรูปภาพ นักวิทยาศาสตร์ที่ให้ความช่วยเหลือ Legasov, “Kiev doctors on the way to Chernobyl,” reddit, accessed July 17, 2020, https://www.reddit.com/r/chernobyl/comments/c0p7t0/kiev_doctors_on_the_way_to_chernobyl_ april_27_1986/

ภาพที่ 4.3 แสดงรูปภาพ Ulana khomyuk, “Chernobyl series: The real people the characters are based on, and what happened next,” cosmopolitan, accessed July 17, 2020, https://www.cosmopolitan.com/uk/reports/g27751591/chernobyl-hbo-series-real-people-what- happened-next/

ภาพที่ 4.2 คือกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จ านวนมากที่มีส่วนช่วยเหลือแก่ Legasov ในการแก้ปัญหาการระเบิดของโรงไฟฟ้า Chernobyl และท างานร่วมกันอย่างเหน็ดเหนื่อย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บางคนได้ออกมาแย้งเหตุการณ์ที่ทางการเผยแพร่ ได้ถูกภาครัฐประจานในที่ สาธารณะและถูกจับคุมขัง ส่วนภาพที่ 4.3 คือ Ulana Khomyuk ซึ่งเป็นตัวละครสมมติที่ไม่มีอยู่จริง ตัวละคร Ulana Khomyuk เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีลักษณะนิสัยที่รักความเป็นธรรม ปฏิบัติหน้าที่ อย่างมีความรับผิดชอบ และพยายามสืบหาข้อเท็จจริงของสาเหตุการระเบิดของ Chernobyl ผู้จัดท า ภาพยนตร์สร้างตัวละครนี้ขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ได้ให้ความช่วยเหลือ Legasov ในขณะนั้น

36

4.1.1.3 Boris Shcherbina

ภาพที่ 4.4 แสดงรูปภาพ Boris Shcherbina, “Chernobyl,” thesun, accessed July 19, 2020, https://www.thesun.ie/tvandshowbiz/television/4199687/chernobyls-cast-look-so-similar-to-the- real-life-people-they-play-and-fans-cant-believe-it/

Boris Shcherbina เป็นหนึ่งในตัวละครที่มีอยู่จริง เป็นตัวละครส าคัญที่ ได้เข้ามาแก้ปัญหาเหตุระเบิด Shcherbina เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1919 ในเมือง Debaltsevo ประเทศ Ukriane ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Shcherbina ได้เข้าร่วมพรรค คอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1939 Shcherbina ท าหน้าที่เป็นเลขานุการคนแรกของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ของเขตปกครองตนเองในTyumen ปี ค.ศ. 1976 ได้รับต าแหน่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการกลาง ของพรรคคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ. 1984 ได้รับต าแหน่งรองคณะมนตรีสหภาพและประธานของกรม เชื้อเพลิงและพลังงาน ซึ่งต่อมาได้รับหน้าที่ดูแลรับมือกับอุบัติโรงไฟฟ้าระเบิดเหตุที่ Chernobyl ในปี ค.ศ. 1986 Boris Shcherbina ได้เสียชีวิตในวัย 70 ปี เนื่องจากผลของสาร กัมมันตรังสี หลังจากถูกส่งไปปฏิบัติหน้าที่ใน Chernobyl เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1990

37

4.1.1.4 Anatoly Dyatlov

ภาพที่ 4.5 แสดงรูปภาพ Anatoly Dyatlov, “Chernobyl,” thesun, accessed July 28, 2020, https://www.thesun.ie/tvandshowbiz/television/4199687/chernobyls-cast-look-so-similar-to-the- real-life-people-they-play-and-fans-cant-believe-it/

Anatoly Dyatlov เป็นหนึ่งในตัวละครส าคัญที่มีอยู่จริง ด ารงต าแหน่ง เป็นรองหัวหน้าวิศวกรของโรงไฟฟ้า Chernobyl เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ควบคุมปฏิกรณ์หมายเลข 4 ในวันเกิดเหตุการณ์ระเบิดในโรงไฟฟ้า Chernobyl Dyatlov เกิดในวันที่ 3 มีนาคม ค. ศ. 1931 ที่เมือง Krasnoyarsk Krai ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย หลังจากส าเร็จการศึกษา Dyatlov ท างานในโรงงาน ต่อเรือในKomsomolsk-on-Amur รับหน้าที่ติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์ในเรือด าน ้า ปี ค.ศ. 1973 Dyatlov ย้ายไปเมือง Pripyat ประเทศ Ukraine เพื่อ ท างานที่โรงไฟฟ้า Chernobyl ด้วยประสบการณ์ท างานจากโรงงานต่อเรือเป็นระยะเวลา 14 ปี ท าให้ Dyatlov ได้รับต าแหน่งเป็นหนึ่งในผู้จัดการอาวุโสของโรงไฟฟ้า Chernobyl เมื่อวันที่ 26 เมษายน ค. ศ. 1986 ในวันเกิดเหตุระเบิด Dyatlov เป็น หนึ่งในเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมดูแลการทดสอบเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้า Chernobyl Dyatlov ได้ละเมิดข้อบังคับความปลอดภัยจนเป็นเหตุให้เกิดการระเบิด ส่งผลให้ Dyatlov ได้รับสาร กัมมันตรังสีในปนิมาณที่สูง ในปี ค.ศ. 1987 Dyatlov ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดเรื่องการละเมิด กฎระเบียบความปลอดภัยจนน าไปสู่การระเบิด ถูกตัดสินจ าคุกเป็นเวลา 10 ปี ต่อมาได้รับการ นิรโทษกรรมในปลายปี ค.ศ. 1990 และได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากการรับรังสีในปี ค.ศ. 1995

38

4.1.1.5 Viktor Bryukhanov

ภาพที่ 4.6 แสดงรูปภาพ Viktor Bryukhanov, “Chernobyl,” thesun, accessed July 19, 2020, https://www.thesun.ie/tvandshowbiz/television/4199687/chernobyls-cast-look-so-similar-to-the- real-life-people-they-play-and-fans-cant-believe-it/

Viktor Bryukhanov เป็นหนึ่งในตัวละครที่มีอยู่จริง เป็นตัวละครส าคัญ มีต าแหน่งเป็นผู้อ านวยการโรงไฟฟ้า Chernobyl และเป็นต้นเหตุที่ท าให้เกิดได้การระเบิดในโรงไฟฟ้า Chernobyl Bryukhanov เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1935 ในเมือง Tashkent ประเทศ Uzbekistan ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1966 Bryukhanov ได้เข้าท างานที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อน Slavyanskaya และได้เริ่มเป็นหัวหน้าคนงานอาวุโส จนได้รับต าแหน่งรองหัวหน้าวิศวกร และได้ ลาออกในปี ค.ศ. 1970 เพื่อมาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใน Ukraine ปี ค.ศ. 1966 เป็นสมาชิกคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพ โซเวียต ปี ค.ศ. 1970 และปี ค.ศ. 1986 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกของ ส านักงานเขตภูมิภาคของKiev ที่ Chernobyl และคณะกรรมการเมืองของพรรคของ Pripyat ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมอบหมายให้ Bryukhanov สร้าง โรงไฟฟ้าปรมาณูประกอบด้วยเครื่องปฏิกรณ์ RBMK Bryukhanov รับผิดชอบในการสร้างเครื่อง ปฏิกรณ์ตั้งแต่เริ่มต้น ในระหว่างการก่อสร้าง ก าหนดการที่จะสร้างเสร็จนั้นคลาดเคลื่อนเนื่องจากไม่มี อุปกรณ์ก่อสร้างและวัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้างมีความบกพร่อง และมีความล่าช้าเกินกว่าก าหนดการ ในท้ายที่สุดมีการเปิดตัวเครื่องปฏิกรณ์แรกของโรงไฟฟ้า Chernobyl ในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1977

39

Bryukhanov ได้ท าการทดสอบระบบความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ ทั้งหมด 3 ครั้ง และล้มเหลวทุกครั้ง จนกระทั่งการทดสอบครั้งที่ 4 การทดสอบได้ล้มเหลวอีกครั้ง กลายเป็นเหตุการณ์การระเบิดของโรงไฟฟ้า Chernobyl ในวันที่ 26 เมษายน ค. ศ 1986 4.1.1.6 Aleksandr Akimov

ภาพที่ 4.7 แสดงรูปภาพ Aleksandr Akimov, “Aleksandr Akimov,” Wikipedia, accessed July 28, 2020, https://en.wikipedia.org/wiki/Aleksandr_Akimov

Aleksandr Akimov เป็นตัวละครที่มีอยู่จริงและเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ผู้ ควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 Akimov เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 ที่เมือง Novosibirsk ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ปี ค.ศ. 1976 จบการศึกษาจากสถาบันวิศวกรรมพลังงานของ Moscow ในระดับผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและระบบอัตโนมัติของกระบวนการความร้อนและพลังงาน ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1979 Akimov ได้เริ่มท างานที่โรงไฟฟ้า Chernobyl โดยในช่วงปีแรก Akimov ด ารงต าแหน่งวิศวกรอาวุโสด้านการจัดการกังหันและหัวหน้า ห้องโถงกังหัน วันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1984 Akimov ได้รับการแต่งตั้งให้ด ารง ต าแหน่งหัวหน้างานของเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 ในคืนวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 Akimov ท าหน้าที่เป็นหัวหน้างาน ของหน่วยพลังงานที่ 4 ในการทดสอบระบบความปลอดภัยมีการลดระดับพลังงานของเครื่องปฏิกรณ์ แต่ Akimov ได้ปฏิเสธที่จะท าการทดสอบเนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์มีระดับพลังงานที่ต ่าและไม่เสถียร แต่การทดสอบยังคงด าเนินต่อไป ท าให้เครื่องปฏิกรณ์อยู่ในสถานะที่อาจเป็นอันตราย จนเกิดความ

40

เสียหายในที่สุด Akimov ได้รับสารกัมมันตรังสีจ านวนมากจากเหตุระเบิดในครั้งนี้ ส่งผลให้ Akimov เป็นโรครังสีเฉียบพลันในสองสัปดาห์หลังจากเกิดเหตุ และเสียชีวิตในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1986 ในวัย 33 ปี 4.1.1.7 Leonid Toptunov

ภาพที่ 4.8 แสดงรูปภาพ Leonid Toptunov, “Leonid Toptunov,,” Wikipedia, accessed July 28, 2020, https://en.wikipedia.org/wiki/Leonid_Toptunov

Leonid Toptunov หนึ่งในตัวละครที่มีจริงและเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ผู้ ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 ในวันเกิดเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้า Chernobyl Toptunov เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1960 ในเมือง Mykolaivka เขตปกครองตนเอง Sumy ปี ค.ศ. 1983 ได้ส าเร็จการศึกษาจากสถาบันวิศวกรรมพลังงาน Moscow และได้รับปริญญาด้านวิศวกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 1983 Toptunov เริ่มเข้าท างานที่โรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ Chernobyl รับต าแหน่งเป็นหัวหน้าวิศวกรอาวุโสหน่วยควบคุมเตาปฏิกรณ์ ในคืนวันที่ 26 เมษายน ปี ค. ศ. 1986 Toptunov ท างานอยู่ใน ห้องควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ ในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุการระเบิด Toptunov ได้สัมผัสกับปริมาณรังสี จ านวนมาก และเสียชีวิตจากการแผ่รังสีเฉียบพลันเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1986

41

4.1.2 เหตุการณ์ในภาพยนตร์ ภาพยนตร์ชุด Chernobyl มีทั้งหมด 5 ตอน โดยมีเหตุการณ์ส าคัญดังนี้ 4.1.2.1 ตอนที่ 1 (1:23:45) ตอนที่ 1 มีชื่อตอนว่า 1:23:45 ตัวเลขของชื่อตอนมีความหมายมาจาก เวลาที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 เกิดการระเบิด เริ่มมาด้วยความวุ่นวายในห้องควบคุมเตาปฏิกรณ์ เจ้าหน้าที่กะกลางคืนไม่มีความพร้อม ไม่มีทักษะมากพอในการท างาน เมื่อถึงเวลาทดสอบต่างไม่ เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น สิ่งใดคือต้นเหตุของปัญหา และยังปล่อยปะละเลยและขาดความรับผิดชอบ รวม ไปถึงมีการใช้อุปกรณ์ที่ไร้คุณภาพ เจ้าหน้าที่พยายามที่จะวัดค่ารังสีแต่เครื่องวัดไม่สามารถใช้งานได้ ปกติ และยังมีอุปกรณ์ที่ไม่พร้อมใช้งาน ผู้จัดท าภาพยนตร์ได้ยกตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริงอย่าง Vasily Ignatenko ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นหนึ่งในนักดับเพลิงที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในวันเกิดเหตุและได้รับสารกัมมันตรังสี โดยตรง เป็นตัวแทนส าคัญที่จะสื่อให้ผู้ชมเห็นว่า เหตุการณ์ในตอนนั้นประชาชนไม่ได้รับข่าวสารที่ตรง ตามความจริงและทันท่วงที เนื่องจากขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ Vasily นักดับเพลิงต้องไปยังจุดเกิดเหตุ โดยรับรู้เพียงว่าเป็นเหตุเพลิงไหม้ทั่วไป รวมไปถึงแพทย์และพยาบาลในโรงพยาบาลก็ไม่ทราบเหตุ และไม่มีการเตรียมไอโอดีนไว้ ทั้งที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์แต่ไม่มีการเตรียมยาเม็ด ไอโอดีนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะสามารถป้องกันสารกัมมันตรังสีได้ในเบื้องต้น

ภาพที่ 4.9 แสดงรูปภาพ Vasily Ignatenko หนึ่งในนักดับเพลิงที่เข้าดับเพลิงในวันเกิดเหตุ, accessed July 14, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022861X0

42

ภาพที่ 4.10 แสดงรูปภาพ Zharkov เจ้าหน้าที่ระดับสูงเป็นตัวแทนของภาครัฐสหภาพโซเวียต, accessed July 14, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022861X0

ในตอนที่ 1 นี้ผู้จัดท าภาพยนตร์ต้องการจะสื่อให้เห็นว่าการด าเนินงาน ของภาครัฐสหภาพโซเวียตมีความบกพร่องสูง โดยยกเหตุการณ์การประชุมคณะกรรมการที่ได้ออก ค าสั่งนโยบายปิดเมืองไม่ให้ประชาชนได้อพยพย้ายออกจากพื้นที่เสี่ยง การอพยพของประชากรอาจ ท าให้ข้อมูลของอุบัติเหตุนั้นรั้วไหลส่งผลให้สหภาพโซเวียตสูญเสียภาพลักษณ์อันดีงาม และลดความ เป็นมหาอ านาจลง มีนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่พยายามคัดค้านค าสั่งนี้แต่ไม่เป็นผลส าเร็จ ผู้จัดท า ภาพยนตร์ได้สร้างตัวละคร Zharkov ซึ่งไม่มีตัวตนอยู่จริง ขึ้นมาเป็นตัวแทนของภาครัฐ แสดงให้เห็น ว่าสังคมในสหภาพโซเวียต มีความเคารพต่อระบบอาวุโสเป็นอย่างมาก ท าให้เห็นว่าความส าคัญของ บุคคลอยู่ที่ยศต าแหน่ง ไม่ว่าการตัดสินใจของผู้น าที่ผิดเพี้ยนและไม่สมเหตุสมผลก็จะถูกตัดสินว่าเป็น สิ่งที่ถูกต้องเสมอ และไม่รับฟังความเห็นของผู้ที่ต าแหน่งน้อยกว่า 4.1.2.2 ตอนที่ 2 (PLEASE REMAIN CALM) ตอนที่ 2 มีชื่อว่า PLEASE REMAIN CALM ซึ่งแปลว่า โปรดรักษาความ สงบ ในตอนนี้เรื่องราวต่าง ๆ ท าให้ประชาชนทราบแล้วเกิดเหตุระเบิดขึ้นจริง เจ้าหน้าต้องท าการ อพยพประชาชน และมีประกาศทั่วทั้งเมืองให้ประชาชนอยู่ในความสงบ หลังจากประชาชนได้ทราบ ข้อมูลที่แท้จริงในตอนนี้ผู้จัดท าภาพยนตร์ได้บอกเล่าถึงการจัดการรับมือปัญหาของเจ้าหน้าที่สหภาพ โซเวียตในทุก ๆ ภาคส่วน ทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ดับเพลิง รวมไปถึงนักวิทยาศาสตร์

43

ภาพที่ 4.11 แสดงรูปภาพ ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต Mikhail Gorbachev ขณะเข้าร่วมประชุมวางแผน แก้ปัญหาเหตุระเบิดในโรงไฟฟ้า Chernobyl, accessed July 14, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022862X0

เหตุการณ์ในขณะนั้นเป็นช่วงของ ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต Mikhail Gorbachev ในตอนที่ 2 นี้ มีการประชุมเพื่อหารือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดย Gorbachev ได้เข้าร่วม ประชุมด้วย ภาพยนตร์สื่อให้เห็นความเป็นผู้น าของ Gorbachev ที่มีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาด สมเหตุสมผล การรับฟังเหตุผลของผู้อื่น และความใส่ใจต่อปัญหา ซึ่งสวนทางกับผู้น าส่วนใหญ่ใน ภาพยนตร์เรื่องนี้ที่หลาย ๆ ตัวละครมักจะละเลยและไม่ใส่ใจปัญหาที่เกิด อย่าง Anatoly Dyatlov หรือ หัวหน้าของ Ulana Khomyuk

ภาพที่ 4.12 แสดงรูปภาพ เฮลิคอปเตอร์เสียการควบคุมในขณะที่พยายามดับเพลิงด้วยทรายและโบรอน Chernobyl, accessed July 14, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022862X0

44

ภาพที่ 4.13 แสดงรูปภาพ นักด าน ้าเตรียมตัวลงไปเปิดวาล์วน ้าเพื่อระบายน ้าออกจากใต้เตาปฏิกรณ์ Chernobyl, accessed July 14, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022862X0

ในตอนนี้ผู้จัดท าภาพยนตร์ต้องการสื่อถึง เหตุการณ์ระเบิดครั้งนี้สร้าง ความเสียหายต่อโซเวียตเป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องงบประมาณจ านวนมหาศาล ตัวอย่างฉากที่ เฮลิคอปเตอร์เสียการควบคุมในขณะที่พยายามดับเพลิงด้วยทรายและโบรอนและประชากรที่ จ าเป็นต้องเสียสละเพื่อปฏิบัติหน้าที่รับมือแก้ไขปัญหาอย่างเจ้าหน้าที่ ที่รับอาสาเปิดวาล์วน ้าเพื่อ ระบายน ้าออกเนื่องจากมีน ้าขังใต้เตาปฏิกรณ์ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่อีกจ านวนมากที่ได้เสียชีวิตจากการ ปฏิบัติในหน้าที่ 4.1.2.3 ตอนที่ 3 (OPEN WIDE, O EARTH) ตอนที่ 3 เป็นการเล่าถึงโศกนาฏกรรมของมนุษยชาติ ความเจ็บปวดและ น่ากลัวของเหตุระเบิด ผู้จัดท าภาพยนตร์สื่อให้ผู้ชมทราบถึงผลร้ายของสารกัมมันตรังสีเมื่อร่างกาย ได้รับเข้าไป ทั้งเจ้าที่ที่ท าหน้าที่ควบคุมเตาปฏิกรณ์ในคืนเกิดเหตุ และความเป็นอยู่ของประชาชนชาว สหภาพโซเวียตในขณะนั้นที่ล้วนแต่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง รวมถึงรัฐที่คอยจับตามองทุกความ เคลื่อนไหวของเหล่านักวิทยาศาสตร์อย่างสม ่าเสมอเพราะเกรงว่าข้อมูลอาจรั้วไหลออกไป

ภาพที่ 4.14 แสดงรูปภาพ Lyudmilla Ignatenko ขณะพยายามเข้าเยี่ยม Vasily ผู้เป็นสามี โดยได้ติดสินบนเจ้า พนักงาน, accessed July 19, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022863X0

45

ผู้จัดท าภาพยนตร์ได้สอดแทรกลักษณะนิสัยของประชาชนชาวสหภาพโซ เวียตโดยการยกตัวละคร Lyudmilla Ignatenko ที่มีความพยายามที่จะเข้าเยี่ยม Vasily Ignatenko ผู้เป็นสามีซึ่งการเข้าเยี่ยมนั้นถูกสั่งห้ามไม่ว่ากรณีใดก็ตาม แต่ Lyudmilla เลือกที่จะติดสินบนเจ้า พนักงาน โดย Lyudmilla ได้วางเงินไว้ให้พยาบาล ท้ายที่สุดพยาบาลก็รับไปและยอมให้เข้าเยี่ยม เป็น สิ่งแสดงให้เห็นได้ชัดว่าในยุคโซเวียต ผู้คนต่างติดสินบนกันเป็นเรื่องปกติธรรมดา

ภาพที่ 4.15 แสดงรูปภาพสายลับ KGB ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาครัฐเข้ามาแทรกแซงการท างานของนักวิทยาศาสตร์, accessed July 19, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022863X0

ตัวอย่างฉากที่ภาครัฐคอยแทรกแซงการท างานของเจ้าหน้าที่เพราะกลัว ข้อมูลส าคัญจะถูกเปิดเผยคือ ในขณะที่ Valery Legasov และ Boris Shcherbina ได้ออกมาพูดคุย กันข้างนอกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็มีสายลับ KGB ปรากฏตัวตามในภาพที่ 4.15 Shcherbina บอกให้ Legasov รู้ตัวว่าไม่ว่าจะท าสิ่งใดหรือจะพูดอะไรก็ตาม ภาครัฐได้เฝ้ามองอยู่อย่างสม ่าเสมอ

ภาพที่ 4.16 แสดงรูปภาพ Ulana khomyuk สอบถามถึงความจริงจาก Leonid Toptunov, accessed July 19, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022863X0

46

Ulana Khomyuk พยายามจะสืบหาต้นเหตุที่แท้จริงของการระเบิด จึง ไปสอบถามกับเจ้าหน้าที่ ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้น และได้ความว่า Leonid Toptunov เป็นหนึ่งใน นั้น ฉากนี้เผยให้เห็นว่าโซเวียตไม่ให้ความส าคัญต่อความปลอดภัยในการดูแล เตาปฏิกรณ์มากพอ เนื่องจาก Toptunov นั้น อายุ 25 ปี แต่กลับได้เป็นหัวหน้าวิศวกรอาวุโสหน่วย ควบคุมเตาปฏิกรณ์ และมีประสบการณ์ท างานเพียง 6 เดือนเท่านั้น ในตอนนี้ผู้จัดท าภาพยนตร์ ต้องการจือสื่อให้ผู้ชมรับรู้ถึงอันตรายร้ายแรงจากรังสี บุคลากรและการท างานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้รับการคัดกรองเจ้าหน้าที่จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติภัย 4.1.2.4 ตอนที่ 4 (THE HAPPINESS OF ALL MANKIND) ตอนที่ 4 ความสุขของมนุษยชาติทั้งหมด ชื่อตอนนั้นสวนทางกับ ความรู้สึกของประชาชนในขณะนั้นเพราะประชาชนต่างวิตกกังวลและมีตกอยู่ในสภาวะความเครียด สูงเนื่องจากผลกระทบจากเหตุระเบิด ในตอนนี้จะกล่าวถึงการท างานของเจ้าที่ในส่วนต่าง ๆ โดย เจ้าหน้าที่ได้เริ่มการอพยพประชากรให้ออกจากพื้นที่ปนเปื้อนอย่างจริงจัง รวมไปถึงการยับยั้งการ แพร่กระจายสารกัมมันตรังสีด้วยการจัดการพื้นที่และก าจัดสัตว์ป่ากับสัตว์เลี้ยงเพื่อยับยั้งการ แพร่กระจายของกัมมันตรังสี

ภาพที่ 4.17 แสดงรูปภาพ หญิงชราซึ่งเป็นหนึ่งในประชาชนที่ไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี, accessed July 19, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022864X0

เริ่มตอนด้วยการที่ทหารอพยพประชาชนออกจากเมือง ทหารพยายาม ขอให้หญิงชราย้ายออกไปเนื่องจากผลของกัมมันตรังสี ทหารได้ขู่บังคับให้หญิงชราทิ้งบ้านเรือนแต่ หญิงชรายืนยันที่จะอยู่ต่อไป สะท้อนให้เห็นว่าในจ านวนประชากรที่อพยพออกไปก็ยังคงมีประชากร

47

อีกส่วนหนึ่งเลือกที่จะอยู่ต่อเพราะเป็นถิ่นที่อยู่แต่ก าเนิดและไม่ต้องการจะย้ายไปไหน และไร้ซึ่ง ความสุขในการใช้ชีวิต

ภาพที่ 4.18 แสดงรูปภาพ Anatoly Dyatlov, accessed July 19, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022864X0

ตลอดทั้งเรื่องจะได้เห็นวัฒนธรรมเสพติดการสูบบุหรี่ของชาวรัสเซียที่มี มาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน ผู้จัดท าภาพยนตร์ได้สร้างบทบาทให้ตัวละครแทบทุกตัวละครสูบบุหรี่ อยู่เสมอ ตัวอย่างฉากที่ Dyatlov เป็นผู้ป่วยพักอยู่ในโรงพยาบาลและนั่งสูบบุหรี่ แสดงให้เห็นว่าชาว สหภาพโซเวียตเสพติดการสูบบุหรี่การสูบบุหรี่ในโซเวียตไม่ว่าจะสูบในสถานการณ์ใด ๆ ถือเป็นเรื่อง ไม่ผิดแปลก ไม่ว่าจะในที่ประชุมส าคัญ ๆ หรือแม้ในขณะป่วยมาก

ภาพที่ 4.19 แสดงรูปภาพ Pavel, accessed July 19, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022864X0

ในฉากที่ Pavel ได้อาสาสมัครมาก าจัดสัตว์เลี้ยงตามบ้านเรือนและสัตว์ ป่า เนื่องจากภาครัฐมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการกับพื้นที่และสัตว์ที่ปนเปื้อนรังสีจึงได้เกณฑ์ ผู้จัดท าภาพยนตร์จึงได้สร้างตัวละคร Pavel ซึ่งเป็นตัวละครที่อยู่จริง เป็นตัวแทนของประชากรผู้ชาย

48

ที่อายุระหว่าง 18 – 22 ปี มาช่วยปฏิบัติหน้าที่ ที่มีความจ าเป็นต้องก าจัดสัตว์ทุกตัวที่อยู่ในระยะ ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชายเหล่านี้มีจิตใจที่เป็นทุกข์อย่างมากในการปฏิบัติ หน้าที่ เพราะมีความจ าเป็นต้องก าจัดสัตว์ทุกชนิด

ภาพที่ 4.20 แสดงรูปภาพ หุ่นยนตร์ชื่อว่า Joker ที่ถูกส่งมาจากเยอรมัน, accessed July 19, 2020, Sanne Wohlenberg (Producer), Johan Renck (Director). (2019). Chernobyl [Motion picture]. https://www.hbogo.co.th/#series/022864X0

หุ่นยนตร์เก็บกวาดเศษตะกั่วด าเป็นสัญลักษณ์ว่า สหภาพโซเวียตห่วง ภาพลักษณ์ของประเทศมากขนาดไหน เนื่องจากโซเวียตขอความช่วยเหลือเป็นหุ่นยนตร์ก็บกวาดจาก เยอรมันแต่ไม่ได้บอกความจริงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและรัฐประกาศอย่างเป็นทางการว่าวิกฤตการณ์ นิวเคลียร์ไม่มีทางเกิดขึ้นในโซเวียตหุ่นยนตร์ที่ได้มาจึงใช้การไม่ได้เพราะผิดวัตถุประสงค์การใช้งาน และท าให้เครื่องพัง ในเรื่องสะท้อนมุมมองของผู้จัดท าภาพยนตร์อย่างชัดเจน ว่าสหภาพโซ เวียตนั้นไม่ชอบสหรัฐอเมริกามากแค่ไหน เนื่องจากสภาวะการเมืองโลกในขณะนั้นที่เป็นช่วงของ สงครามเย็น1 แม้สหภาพโซเวียตจะประสบปัญหายากล าบากแต่ก็เลือกที่จะไม่ขอความช่วยเหลือจาก สหรัฐอเมริกา 4.1.2.5 ตอนที่ 5 (VICHNAYA PAMYAT) ในตอนที่ 5 มีชื่อตอว่า VICHNAYA PAMYAT ซึ่งมีความหมายว่า “ความ ทรงจ าชั่วนิรันดร์” เป็นวลีที่มักจะใช้ในพิธีศพของรัสเซีย แสดงถึงการไว้อาลัยและแสดงถึงความ เคารพต่อทุกชีวิตที่ได้เสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จากโศกนาฏกรรมครั้งนี้ ในตอนนี้เป็นการ

1 สงครามเย็น คือ การต่อสู้กันระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบอบการเมืองต่างกัน เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายหนึ่งคือสหภาพโซเวียต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ และอีกฝ่ายหนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตรซึ่งปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งสองฝ่ายได้แข่งขันในด้านการ สะสมอาวุธ เทคโนโลยีอวกาศ การจารกรรม เศรษฐกิจ และทำสงครามผ่านสงครามตัวแทน

49

สรุปเรื่องราวทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การไต่สวนเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเตาปฏิกรณ์ในวันเกิดเหตุ ซึ่งมี Anatoly Dyatlov, Nikolai FominและViktor Bryukhanov ตลอดทั้งเรื่องผู้จัดท าภาพยนตร์ได้สร้าง ภาพลักษณ์ให้เจ้าหน้าที่ทั้ง 3 คนรวมถึงภาครัฐของสหภาพโซเวียตเป็นตัวร้าย เป็นต้นเหตุหลักที่ท าให้ เกิดการระเปิดของเตาปฏิกรณ์ โดยกล่าวถึงการท างานที่บกพร่องของเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ที่ไม่ได้ มาตรฐาน ท าให้ขาดความปลอดภัยจนกลายเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ทั้งต่อประชากรจ านวนมาก และต้องสูญเสียงบประมาณจ านวนมหาศาลในการเก็บกวาดเศษกัมมันตรังสี

4.2 การเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงและเหตุการณ์ในภาพยนตร์

ผู้จัดท าภาพยนตร์ต้องการเสนอความจริง โดยยกมาจากหลักฐานที่เกิดขึ้นจริง และ พยายามที่จะบิดเบือนเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ให้น้อยที่สุด เหตุการณ์ในภาพยนตร์และใน เหตุการณ์จริงนั้นมีความใกล้เคียงเป็นอย่างมาก จะสังเกตุเห็นว่าโทนสีของฉาก นักแสดง การแต่งกาย ฉากเหตุการณ์ต่าง ๆ ผู้ก ากับได้เก็บรายละเอียดของเหตุการณ์ได้อย่างครบถ้วนอย่าง ตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ การเปรียบเทียบภาพจะเป็นฉากจากภาพยนตร์ ส่วนภาพฝั่งขวาจะเป็นภาพจากเหตุการณ์ จริง

ภาพที่ 4.21 แสดงรูปภาพ เปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ของเจ้าหน้าที่หน่วย Liquidatorที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

ภาพที่ 4.22 แสดงรูปภาพ เปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของเจ้าหน้าที่หน่วย Liquidatorที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

เจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator หรือ ผู้เก็บกวาด มีหน้าที่เก็บกวาดเศษกัมมันตรังสีทั่ว บริเวณ ได้ขึ้นไปเก็บกวาดตะกั่วด าที่แผ่รังสีกัมมันตรังสี บนหลังคาของอาคารโรงไฟฟ้า ใน

50

สถานการณ์จริงมีเจ้าหน้าที่ผู้เก็บกวาดเหล่านี้ถูกส่งตัวไปเก็บกวาดสารกัมมันตรังสีกว่า 100 ตันออก จากพื้นที่

ภาพที่ 4.23 แสดงรูปภาพ เปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ของคนงานขุดเหมือง ที่มา : https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

ภาพที่ 4.24 แสดงรูปภาพ เปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของคนงานขุดเหมือง ที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

คนงานเหมืองช่วยกันขุดอุโมงค์ใต้เตาปฏิกรณ์ Chernobyl เพื่อฉีดไนโตรเจนเหลวเป็น ก าบังไม่ลาวากัมมันตรังสีนั้นจะไหลลงไปปนกับน ้าบาดาล ฉากในภาพยนตร์จะมีฉากที่คนงานเหมือง โป๊เปลือย สวมเพียงแค่หมวก เนื่องจัดผู้จัดท าภาพยนตร์ต้องการจะสื่อให้เห็นว่าการขุดอุโมงค์นั้นมี ความยากล าบากเป็นอย่างมากด้วยอุณหภูมิที่ร้อน 50 องศา แต่ในเหตุการณ์จริงในภาพที่...คนงาน เหมืองไม่ได้ถอดเสื้อผ้าเพราะร้อนเหมือนที่ภาพยนตร์ได้กล่าวไว้

51

ภาพที่ 4.25 แสดงรูปภาพ เปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ของหัวหน้าคนงานขุดเหมือง ที่มา:https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

ภาพที่ 4.26 แสดงรูปภาพ เปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของหัวหน้าคนงานขุดเหมือง ที่มา:https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

หัวหน้าคนงานเหมืองได้รับค าสั่งจากนายกกระทรวงให้ไปยัง Chernobyl เพื่อรับหน้าที่ ขุดอุโมงก์ใต้เตาปฏิกรณ์ แล้วฉีดไนโตรเจนเหลวเป็นก าบังไม่ลาวากัมมันตรังสีนั้นจะไหลลงไปปนกับ น ้าบาดาล และเจ้าหน้าก็ได้ปฏิบัติงานจนส าเร็จ ซึ่งทั้งเหตุการณ์จริงและเหตุการณ์ในภาพยนตร์นั้น ถ่ายทอดออกมาได้เหมือนกัน

ภาพที่ 4.27 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ฉากเฮลิคอปเตอร์เสียการควบคุม ที่มา:https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

ภาพที่ 4.28 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงขณะที่เฮลิคอปเตอร์เสียการควบคุม ที่มา:https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

52

ภาพที่ 4.27 เหตุการณ์ในภาพยนตร์เฮลิคอปเตอร์ไม่สามารถเคลื่อนเข้าไปได้โดยตรง โดยเฮลิคอปเตอร์ล าแรกเสียการควบคุมทันทีที่เข้าใกล้กลุ่มควันกัมมันตรังสี ความพยายามดับเพลิงใน ครั้งนี้ยากล าบากและเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ซึ่งนสถานการณ์จริงในภาพที่... เฮลิคอปเตอร์ ค่อย ๆ เสื่อมสมรรถภาพและพังลงในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งผู้สร้างภาพยนตร์ชี้แจงว่าการท าฉาก เฮลิคอปเตอร์ให้เสียการรควบคุมในทันทีนั้นเพื่ออรรถรสของผู้ชมและความกระชับของเนื้อหา

ภาพที่ 4.29 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ของนักข่าวที่ประกาศเหตุระเบิดทางโทรทัศน์ที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

ภาพที่ 4.30 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของนักข่าวที่ประกาศเหตุระเบิดทางโทรทัศน์ที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title ภาพที่ 4.29 เป็นภาพการประกาศข่าวเหตุการระเบิดของโรงไฟฟ้า Chernobyl โดย ผู้จัดท าภาพยนตร์ได้น าการออกอากาศข่าวในเหตุการณ์จริงในภาพที่ 4.30 มาใส่ไว้เป็นหนึ่งในฉาก ของภาพยนตร์เพื่อความสมจริง

53

ภาพที่ 4.31 แสดงรูปภาพ เปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ฉากการไต่สวนจ าเลยทั้ง 3 คนที่เป็นต้นเหตุของ เหตุการณ์ระเบิด ที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

ภาพที่ 4.32 แสดงรูปภาพ เปรียบเทียบเหตุการณ์จริงในวันไต่สวนจาเลยทั้ง 3 คนที่เป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ระเบิด ที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

การไต่สวนความผิดของผู้บริหารโรงงานไฟฟ้านิว Chernobyl ผู้พิพากษา โดยมีฝ่าย จ าเลย 3 คนคือ Viktor Bryukhanov, Anatoly Dyatlov และNikolai Fomin ตามล าดับ ผู้จัดท า ภาพยนตร์ได้จัดฉาก ต าแหน่งที่นั่งของตัวละคร รวมไปถึงค าให้การในวันไต่สวนได้ตรงกับเหตุการณ์ จริงทั้งหมด

54

ภาพที่ 4.33 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ในฉากที่เจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator เก็บกวาดพื้นที่ ที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

ภาพที่ 4.34 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของเจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator เก็บกวาดพื้นที่ที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

ภาพที่ 4.33 เป็นการเก็บกวาดสารกัมมันตรังสีของเจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator ที่ก าลัง ท าการเก็บกวาด ช าระล้างท าความสะอาดรอบเมือง ซึ่งตรงกับเหตุการณ์จริงในภาพที่ 4.34 เจ้าหน้าที่ต่างพากันเก็บกวาดอย่างละเอียดทั่วทั้งเมืองที่ได้รับการปนเปื้อน

ภาพที่ 4.35 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ในภาพยนตร์ของเจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator ที่ได้ขึ้นไปปักธงแดง บนเตาปฏิกรณ์มหายเลข 3 ที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

55

ภาพที่ 4.36 แสดงรูปภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์จริงของเจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator ที่ได้ขึ้นไปปักธงแดงบนเตา ปฏิกรณ์มหายเลข 3 ที่มา: https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&feature=emb_title

ในตอนที่ 4 จะมีฉากที่เจ้าหน้าที่หน่วย Liquidator หรือ ผู้เก็บกวาด ปีนขึ้นไปบนปล่อง ไฟเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 เพื่อปักธงสีแดงเป็นการแสดงว่าการเก็บกู้เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 เป็นอัน เสร็จเรียบร้อย ในปฏิบัติการจริงจะมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ 3 คน คือ คนถือเสาธง คนถือธง และคนสั่งการ ทางวิทยุ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะได้รับรางวัลเป็นเครื่องดื่มเป๊ปซี่คนละขวด ซึ่งฉากในภาพยนตร์และเหตุการณ์ จริงนั้นท าออกมาได้ตรงกัน

4.3 ผลกระทบของภาพยนตร์ฮอลลีวูด

วัฒนธรรมสมัยนิยม หรือ วัฒนธรรมร่วมสมัย (Pop culture) คือ วัฒนธรรมที่มีวิถี ปฏิบัติ ความเชื่อที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในสังคม เป็นสิ่งที่มาควบคู่กับ การเมืองเสมอและแอบแฝงด้วยอ านาจละมุน2 (Soft power) ซึ่งภาพยนตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมสมัยนิยม จัดเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีอิทธิพลส าคัญต่อมนุษย์และสังคม ในยุคปัจจุบัน ภาพยนตร์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งให้ความรู้ ความบันเทิง และสามารถโน้มน้าวความคิดของผู้ชมทุกเชื้อชาติและชนชั้น ตลอดจนกลายมาเป็นเครื่องมือของรัฐ สามารถปลุกเร้าอุดมการณ์ชาตินิยมและเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อ อย่างสหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศ มหาอ านาจที่มีแนวคิดแบบเสรีนิยม มีระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีและการเปิดเสรีทางการค้า เป็นผู้ ครองความเป็นใหญ่ด้านวัฒนธรรม ซึ่งเครื่องมืออย่างหนึ่งที่เป็นช่องทางที่สหรัฐอเมริกามีคือ สื่อ ภาพยนตร์ซึ่งเป็นสื่อที่มีความมั่นคงและทรงพลังมากเป็นที่รู้จักกันในนามของ ฮอลลีวูด (Hollywood) กล่าวคือ ฮอลลีวูดจะเป็นทั้งภาพยนตร์บันเทิงและภาพยนตร์ประเภทเรื่องเล่าของสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้ ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารและใช้เงินทุนของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก โดยภาพยนตร์จะ สะท้อนให้เห็นลักษณะต่าง ๆ ของผู้คนในสังคมและวัฒนธรรมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งภาพยนต์ฮอลลีวูด

2 อ านาจละมุน (Soft power) เป็นแนวคิดที่พัฒนาโดย Joseph Nye หมายถึงการดึงดูดและสร้างการมีส่วนร่วม มากกว่าการบังคับหรือให้เงิน ในปัจจุบันใช้ในการเปลี่ยนแปลงและสร้างอิทธิพลต่อความคิดของสังคมและประชาชนในประเทศอื่น โดยอาศัยทรัพยากรพื้นฐาน 3 ประการได้แก่ วัฒนธรรม (culture) ค่านิยมทางการเมือง (political values) และนโยบาย ต่างประเทศ (foreign policies)

56

เป็นสื่อรูปแบบหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาใช้ในการด าเนินนโยบายต่างประเทศในรูปแบบของอ านาจละมุนใน การแทรกซึมและครอบง าความคิดของคนในชาติและคนต่างชาติอย่างแยบยล ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และด้านสังคมวัฒนธรรม ซึ่งภาพยนตร์ชุด Chernobyl (HBO) เป็นหนึ่งในผลผลิตของ ฮอลลีวูด โดยเป็นการการเล่าเรื่องราวตามเหตุการณ์ระเบิดครั้งส าคัญในสหภาพโซเวียต ผ่านการ จัดท าภาพยนตร์ที่ต้องการส่งสารให้ผู้รับสารรับรู้ถึงมุมมองดังนี้ ภาพยนตร์ฮอลลีวูดเป็นเครื่องมือส าคัญในการรักษาอ านาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ของสหรัฐอเมริกา โดยภาพยนตร์ฮอลลีวูดมักจะน าเสนอในทิศทางที่สหรัฐอเมริกาเป็นวีรบุรุษ หรือ เป็นผู้พิทักษ์และปลดปล่อยผู้คนสู่โลกแห่งเสรีภาพ ในขณะที่สหภาพโซเวียตมักถูกตีกรอบให้ตัวบท ของเนื้อหาภาพลักษณ์และตัวละครเป็นอคติ อย่างเหตุการณ์หนึ่งในภาพยนตร์ Chernobyl (HBO)

ภาพที่ 4.37 แสดงรูปภาพ Ulana Khomyuk (ในชุดพยาบาล) ถูก KGB (ในชุดนอกเครื่องแบบ) จับกุมตัว ที่มา: จากภาพยนตร์เรื่อง Chernobyl (HBO), ปี ค.ศ.2019

ฉากดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการสืบหาข้อเท็จจริงเรื่องเหตุ ระเบิดในโรงไฟฟ้า Chernobyl แต่กลับถูก KGB จับกุมตัวและขู่บังคับไม่ให้นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมา เปิดเผยข้อเท็จจริง ฉากข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ภาพยนตร์ฮอลลีวูดได้สร้างให้ KGB ซึ่งเป็นตัวแทนของ รัฐบาลสหภาพโซเวียต หรือการกล่าวถึงชื่อกลุ่มหรือองค์กรต่าง ๆ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวร้ายหรือเป็น ภัยต่อมนุษยชาติ ผู้จัดท าภาพยนตร์พยายามน าเสนอปัจจัยการตีแผ่ข้อบกพร่องทางด้านการเมืองและ ข้อบกพร่องทางด้านการด าเนินนโยบายทางด้านสังคมของสหภาพโซเวียต รวมทั้งการสร้างตัวละคร ชนชั้นน าที่มีอิทธิพลในสหภาพโซเวียตหลายตัวละครและหนึ่งในนั้นคือ Zharkov ซึ่งเป็นตัวละคร สมมติที่ไม่มีอยู่จริง Zharkov เป็นผู้น าระดับสูงผู้มีอ านาจในการสั่งการปิดเมืองเพื่อไม่ให้ประชาชนได้ อพยพออกจากพื้นที่ เป็นการปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องเหตุการณ์ระเบิด ตัวละครนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็น เป็นตัวแทนของรัฐบาลสหภาพโซเวียตที่ปกครองอย่างไร้ประสิทธิภาพและไม่โปร่งใสส่งผลให้ความ เป็นอยู่ของประชาชนนั้นยากล าบาก ผู้จัดท าภาพยนตร์ต้องการให้ผู้ชมเชื่อว่าการปกครองในช่วง สหภาพโซเวียตนั้นมีความบกพร่อง การเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองเช่นนี้ ส่งผลให้ผู้รับสารมี ความรู้สึกร่วมและเกิดความเห็นไปในทิศทางในการต่อต้านโดยที่ไม่ต้องบังคับให้เชื่อหรือใช้ก าลัง

57

ประกอบกับค่านิยมเรื่องความผิดชอบชั่วดี ฝ่ายที่ไม่ดีก็ไม่สมควรได้รับสิ่งที่ดีจึงเป็นเรื่องง่ายของ อ านาจละมุนที่สอดแทรกแนวคิดจิตวิทยาทางการเมืองที่จะโน้มน าจิตใจของผู้ชมได้ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ การตีแผ่ข้อบกพร่องในการปกครองช่วงสหภาพโซเวียตที่ผู้จัดท าภาพยนตร์น าเสนอ ได้ มีส่วนสร้างผลกระทบต่อรัสเซียในปัจจุบัน กล่าวคือ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงใน Chernobyl ใน ระยะเวลาที่ผ่านแต่ครั้งที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย รัสเซียได้พยายามมาโดยตลอดในการกอบกู้ความ เป็นมหาอ านาจจากในช่วงสหภาพโซเวียต รัสเซียเริ่มสร้างความมั่นคงภายในประเทศก่อนโดยเริ่มจาก

การควบคุมกิจการภายในของรัสเซียทุกภาคส่วนให้ขึ้นตรงกับรัฐบาลทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ในขณะเดียวกันก็เกิดการควบคุมพลังงานส ารองของรัฐอีกครั้ง เป็นสินค้าที่ Vladimir Putin ให้ความส าคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศกลับคืนสู่ สภาวะปกติได้ โดยมีผู้ช่วยในการดูแลกิจการภายในที่ส าคัญ คือ กลุ่ม Oligarch ด้วยกระบวนการรวม ศูนย์ทางอ านาจ การปกครองรูปแบบใหม่และราคาสินค้าพลังงานที่สูงขึ้นท าให้รัสเซียกลับมา แข็งแกร่งอีกครั้ง พื้นฐานการด าเนินนโยบายต่างประเทศของรัสเซียที่มีความเชื่อมั่นในโลกาภิวัตน์ รัสเซียมีความต้องการสร้างโลกที่มีหลายขั้วอ านาจ เพราะระบบหลายขั้นอ านาจเป็นการรักษาสมดุล ทางอ านาจ โดยในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีหลายประเทศที่พยายามพัฒนาศักยภาพของตนเพื่อขึ้น เป็นมหาอ านาจอย่างต่อเนื่องรวมถึงรัสเซียที่มุ่งเน้นการสร้างสถานะของรัสเซียให้เป็นที่ยอมรับใน ฐานะมหาอ านาจและเพิ่มบทบาทในการแก้ไขปัญหาของสังคมโลก ความพยายามขึ้นเป็นมหาอ านาจ ของรัสเซีย ซึ่งมหาอ านาจหมายถึงการแผ่อิทธิพลในทุกด้านออกไปสู่ประชาคมโลกไปในหลาย ๆ ประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านการทหาร โดยเฉพาะอิทธิพลด้านพลังงาน รัสเซียเป็นผู้ส่งออกน ้ามัน และพลังงานธรรมชาติเป็นรายหลักของโลก ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจของรัสเซียจะเป็นการพึ่งพาการส่งออก สินค้าวัตถุดิบและสินค้าด้านพลังงานเป็นส่วนใหญ่ แต่ในทางกลับกันการพึ่งพาสินค้าดังกล่าวก็ถือว่า เป็นจุดแข็งที่ท าให้สถานะของรัสเซียนั้นยากที่จะถูกท าลาย เนื่องจากหลายประเทศในภูมิภาคยุโรป ตะวันออกรวมถึงอดีตประเทศสมาชิกสหภาพโซเวียตยังมีความต้องการพึ่งพาน ้ามันและก๊าซธรรมชาติ ของรัสเซียเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในประเทศ อย่าง โปแลนด์ สโลวาเกีย บัลแกเรีย ฮังการีและลิทัวเนีย ซึ่งประเทศส่วนใหญ่นั้น มีความพยายามที่จะน าเข้าแหล่งก๊าซธรรมชาติ อื่นมาทดแทน เพื่อลดการพึ่งพาการน าเข้าจากรัสเซียซึ่งแหล่งน าเข้าพลังงานธรรมชาติเป็นอันดับหนึ่ง ของสหภาพยุโรปนั้นมาจากรัสเซีย ท าให้ยากต่อการคว ่าบาตรรัสเซียอย่างเป็นทางการของสหภาพ ยุโรป โดยเฉพาะประเทศในหลายส่วนของทวีปยุโรปก าลังขยายความสัมพันธ์ทางการค้าด้านพลังงาน กับรัสเซีย อย่างในกรณีของ Viktor Orbán ผู้น าของประเทศฮังการีที่ด าเนินการขยายสถานีพลังงาน นิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียตเดิม ที่มีรัสเซียเป็นผู้จัดหาเงินทุน ให้ในโครงการนี้เหตุผลดังกล่าวจึงท า

58

ให้อิทธิพลของรัสเซียในทวีปยุโรปยังคงมีความมั่นคงผ่านปัจจัยด้านพลังงาน ซึ่งในขณะเดียวกันรัสเซีย ก็ก าลังเสาะหาตลาดในการท าการค้าพลังงานในพื้นที่อื่น ๆ อีกทั้งใน ค.ศ. 2019 Rosenergoatom บริษัทพลังงานนิวเคลียร์ของรัสเซีย เปิดเผยว่าปริมาณการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของรัสเซีย สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2.08 แสนล้าน kW ต่อชั่วโมง เป็นปีที่รัสเซียสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน นิวเคลียร์ได้สูงที่สุด ศักยภาพพลังงานของรัสเซียมีแนวโน้มที่จะก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีเดียวกันนี้มีการออกอากาศภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl (HBO) 2019 ผู้จัดท าภาพยนตร์ต้องการโฆษณาชวนเชื่อโดยใช้เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ มีการหยิบยกหลักฐานใน เหตุการณ์เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและการใช้เรื่องราวของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริงมาบอกเล่าความเป็น จริงที่ไม่ใช่ข้อมูลทั่วไปเหตุการณ์ที่เป็นข้อมูลลับ ที่มีเนื้อหาการน าเสนอข้อบกพร่องด้านพลังงาน นิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียต กล่าวคือ การเมืองโลกในขณะนั้นมีความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทาง การเมืองระหว่างประเทศทุนนิยมและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ท าให้ประเทศมหาอ านาจแบ่ง ออกเป็น 2 ขั้วอ านาจ คือสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ทั้ง 2 ประเทศต่างมุ่งขยายอิทธิพลใน ทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะสหภาพโซเวียตในขณะนั้นที่ต้องการขยายอิทธิพลด้านพลังงานนิวเคลียร์ เนื่องจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นสัญลักษณ์ส าคัญที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สหภาพ โซเวียตจึงเร่งขยายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ท าให้ในช่วงนั้นเกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จ านวนมากทั่วสหภาพ โซเวียต การเร่งขยายอ านาจเช่นนี้มีความจ าเป็นต้องใช้ทุนจ านวนมาก จึงได้ใช้ตะกั่วด าในการผลิต ทดแทนการใช้โบรอนเพื่อลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากมีงบประมาณที่ไม่เพียงพอ การหยิบยกประเด็น นี้ไปในภาพยนตร์ส่งผลให้ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือเป็นไปในทางลบ เป็นการน าเสนอเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ที่ซ่อนยุทธวิธีทางการเมือง ซึ่งส่งผลร้ายต่อรัสเซียท าให้เป็นที่กังขาระหว่างประเทศ คู่ค้าที่ต้องการลงทุนด้านพลังงานกับรัสเซีย เรื่องความปลอดภัยได้อย่างง่าย หลังจากภาพยนตร์ได้ ออกอากาศ ผลกระทบดังกล่าวสร้างไม่พอใจให้รัสเซีย โดยส านักข่าว Moscow Times รายงานว่า รัสเซียแสดงความไม่พอใจต่อสื่อโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกัน ภาพยนตร์ Chernobyl (HBO) สร้าง ความตื่นเต้นและเป็นที่สนใจต่อชาวรัสเซีย แต่สื่อรัสเซียพยายามลดความน่าสนใจของภาพยนตร์โดย การกล่าวว่าภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นเพียงภาพล้อเลียนและไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด อีกทั้งพรรค คอมมิวนิสต์รัสเซียได้เรียกร้องให้ Roskomnadzor ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมดูแลด้านการสื่อสารของ รัสเซีย ออกค าสั่งผลักดันให้มีการห้ามออกอากาศภาพยนตร์ชุด Chernobyl (HBO) โดยหนึ่งใน สมาชิกพรรค Sergey Malinkovich ได้ออกความเห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็น "เครื่องมือทาง อุดมการณ์" HBO ใช้สื่อนี้ในการท าให้เสื่อมเสียและท าลายภาพลักษณ์ของรัฐบาลสหภาพโซเวียตและ ประชาชนสหภาพโซเวียต และได้กล่าวเพิ่มเติมว่าเหตุการณ์และช่วงเวลาส าคัญ กลุ่มองค์กรและ สถาบันล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องหลอกลวง อีกทั้งทางพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซียได้มีการวางแผนด าเนินคดี

59

หมิ่นประมาทกับผู้จัดท าภาพยนตร์รวมทั้งผู้ที่อยู่เบื้องหลังการจัดท าภาพยนตร์ โดยบทภาพยนตร์เป็น การละเมิดกฎหมายมาตรา 129 แห่งประมวลกฎหมายอาญาของสหพันธรัฐรัสเซีย ภาพยนตร์ฮอลลีวูดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ส าคัญของสหรัฐอเมริกาเป็นการสร้างพลังแห่ง ระบบสื่อสารและข้อมูลข่าวสาร นับเป็นอาวุธส าคัญที่ช่วยให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทรงอิทธิพลด้านการ แผ่ขยายอุดมการณ์ทางการเมือง เพราะมีอ านาจในการครอบครองสื่อมวลชนทุกประเภท ส่งผลให้ ผู้รับสารมีพฤติกรรมการบริโภคที่ยึด ถือให้ สื่อจากฮอลลีวูดเป็นศูนย์กลางการผูกขาดข้อมูลข่าวสาร จนเกิดการบิดเบือนข้อมูล มีการผลิตซ ้าจนเกิดความเคยชิน ท าให้ประชากรทั่วโลกรับสารของ ฮอลลีวูดหรือสหรัฐอเมริกาแต่ฝ่ายเดียว ท าให้ผู้รับสารคล้อยตามและคลั่งไคล้ความเป็นสหรัฐอเมริกา โดยที่ขาดการพิจารณาถึงข้อมูลที่แท้จริง อีกทั้งสื่อยังบิดเบือนความรู้ข่าวสาร ค่านิยม วัฒนธรรม ส่งผลต่อจิตส านึกของผู้รับสารที่ได้เปลี่ยนไปตามความเป็นสหรัฐอเมริกา แม้เหตุการณ์จะผ่านไปเป็นระยะเวลายาวนานเหตุการณ์การระเบิดของโรงไฟฟ้า Chernobyl แต่กลับได้รับการกล่าวถึงอยู่เสมอ ไม่ว่าในยุคสมัยใด เป็นการบอกเล่าถึงความผิดซ ้าเดิม ของรัสเซีย เพราะ เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เพียงเหตุการณ์ที่ท าเป็นหนังแต่เป็นลักษณะของปัจจัยการตีแผ่ขอ บกพร่องทางด้านการเมือง ข้อบกพร่องทางด้านการด าเนินนโยบายทางด้านสังคม สามารถน ามาใช้ เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเป็นเหมือนการน าภาพฉายซ ้า

บทที่ 5 บทสรุป

จากการวิเคราะห์มุมมองของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในเหตุการณ์ Chernobyl ผ่านภาพยนตร์ฮอลลีวูด ภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl 2019 (HBO) ท าให้ผู้จัดท าทราบถึงข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Chernobyl ที่เกิดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน ปี ค. ศ.1986 อุบัติภัยในครั้งนี้ท าให้ประชาชนได้รับสารกัมมันตรังสีและมีผู้เสียชีวิตเป็น จ านวนมากท าให้ต้องอพยพย้ายออกจากพื้นที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสี ประชาชนเหล่านี้ได้รับรังสีใน ปริมาณที่สูงมากจึงต้องมีการติดตามผลของการที่ได้รับรังสีในครั้ง รวมทั้งฝุ่นกัมมันตภาพรังสีที่แพร่ไป ในบรรยากาศ ท าให้สหภาพโซเวียตตะวันตกและยุโรปตะวันตกปนเปื้อนกัมมันตรังสี อีกทั้งสาร กัมมันตรังสียังกระจายไปสัมผัสกับพืช, สัตว์ต่าง ๆ ถึงแม้ว่าปริมาณโดสที่ได้รับจะต ่า แต่ค่าของรังสีจะ ยังคงอยู่เป็นเวลาหลายสิบปี คนได้รับรังสีโดสต ่าเป็นเวลานานมีโอกาสเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น การสูญเสียครั้งนี้ส่งผลต่อความมั่นคงของสหภาพโซเวียตเกิดความสั่นคลอนเนื่องจากในสถานการณ์ การเมืองโลกในขณะนั้นแบ่งออกเป็นระบบแบบ 2 ขั้วอ านาจ ซึ่งมีสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา เป็นชาติมหาอ านาจใหญ่ มีการแข่งขันความเป็นผู้น าในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านพลังงาน อย่าง พลังนิวเคลียร์จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการเรืองอ านาจของสหภาพโซเวียต โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดที่โรงไฟฟ้า Chernobyl ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือใน ความเป็นมหาอ านาจของสหภาพโซเวียตเสื่อมถอยลง สหภาพโซเวียตได้สูญเสียงบประมาณในการ จัดการจ านวนมาก และก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในการต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ในระดับโลก รวมถึงสูญเสียพื้นที่การเกษตรราวหนึ่งในห้าเพราะการปนเปื้อนกัมมันตรังสี หลังจากเหตุการณ์การระเบิดของโรงไฟฟ้า Chernobyl ช่องเคเบิลโทรทัศน์สัญชาติ อเมริกันอย่าง HBO ได้น าเอาเหตุการณ์ครั้งนี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์ชุดเรื่อง โดยได้ออกประกาศทาง ช่อง HBO มีความยาวทั้งหมด 5 ตอน เป็นการเล่าถึงโศกนาฏกรรม Chernobyl เนื้อหาภาพยนตร์มี การน าเสนอที่มาของเหตุการณ์ระเบิด มีการกล่าวถึงการท างานของเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงเรื่องราว ภายในของภาครัฐ และได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ชมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นภาพยนตร์ชุดที่ อ้างอิงเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในภาพยนตร์มีทั้งเหตุการณ์ที่เป็นจริงและ เหตุการณ์ที่ไม่เป็นจริง ซึ่ง HBO เป็นหนึ่งในสื่อของฮอลลีวูดเปรียบเสมือนตัวแทนของความเป็น สหรัฐอเมริกา เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพล ภาพยนตร์ฮอลลีวูดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ส าคัญของสหรัฐอเมริกา เป็นการสร้างพลังแห่งระบบสื่อสารและข้อมูลข่าวสาร นับเป็นอาวุธส าคัญที่ช่วยให้สหรัฐอเมริกาเป็น ผู้ทรงอิทธิพลด้านการแผ่ขยายอุดมการณ์ทางการเมือง เพราะมีอ านาจในการครอบครองสื่อมวลชน

61

ทุกประเภท ส่งผลให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมการบริโภคที่ยึด ถือให้ สื่อจากฮอลลีวูดเป็นศูนย์กลางการ ผูกขาดข้อมูลข่าวสารจนเกิดการบิดเบือนข้อมูล สามารถแทรกแซงความรู้สึกนึกคิดของประขากรทั่ว โลกโดยใช้นโยบายต่างประเทศในรูปแบบของอ านาจละมุน ซึ่งอ านาจละมุนเป็นหนึ่งในนโยบายส าคัญ ในการเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมือง การที่สื่อฮอลลีวูดซึ่งทรงอิทธิพลต่อคนทั่วโลกได้ออกมา น าเสนอเหตุการณ์ Chernobyl ท าให้ง่ายต่อการชักน าจิตใจผู้รับชม เป็นการเล่าเรื่องราว ประวัติศาสตร์แต่แฝงไปด้วยการปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมือง หลังจากภาพยนตร์ได้ออกอากาศ ท าให้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัสเซียในเรื่องการจัดการด้านพลังงานระหว่างประเทศ ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ความน่าเชื่อถือได้ลดลงตามไปหลังจากสื่อภาพยนตร์ได้มีการ โฆษณาชวนเชื่อที่แอบแฝงไปด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองเพื่อลดทอนอ านาจของรัสเซียลง สื่อ ภาพยนตร์ สหรัฐอเมริกาต้องการน าเสนอข้อบกพร่องทางด้านเทคโนโลยีของสหภาพโซเวียตที่มีการใช้ วัสดุอุปกรณ์การผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ในขณะเดียวกันทางสหภาพโซเวียตได้ยืนยันมาตลอดว่าเป็น ความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมปฏิบัติงาน ไม่ใช่ข้อบกพร่องของภาครัฐแต่อย่างใดซึ่งยังเป็นข้อ ขัดแย้งที่ยังคงอยู่มาจวบจนปัจจุบัน ดังนั้น สรุปได้ว่าการวิเคราะห์มุมมองของสหรัฐอเมริกาต่อสหภาพโซเวียตในเหตุการณ์ Chernobyl ผ่านภาพยนตร์ฮอลลีวูดโดยศึกษาผ่านภาพยนตร์ชุดเรื่อง Chernobyl (HBO) ของภาค นิพนธ์เล่มนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการศึกษาที่ผู้จัดท าตั้งไว้

63

รายการอ้างอิง

หนังสือ

สรวิศ ชัยนาม. ดิสโทเปียสิ้นหวังภาพยนตร์ฮอลลีวูดและการเมืองโลก. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์ สยามปริทัศน์, 2561.

บทความวารสาร

สุรีย์ แขงโสภา. “เชอร์โนบิล” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว ปีที่ 2 (2529) ฉบับที่ 2 จงเดือน สุทธิรัตน์. “อิทธิพลสื่อภาพยนตร์ฮอลลีวูด: ความสัมพันธ์กับกิจการโลก.” เอกสารทาง วิชาการ กลุ่มงานบริการวิชาการ ๒ สำนักวิชาการ.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ศิลปาเมจ. “26 เมษายน 1986: หายนะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล.” ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ วันที่ 7 กรกฏาคม 2563, https://www.silpa-mag.com/this-day-in- history/article_1432. พิมพ์ชนก พุกสุข. “Chernobyl มินิซีรี่ส์ที่ตีแผ่ความจริง ความลวง และความตายของสหภาพโซ เวียต.” The momentum. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563, https://themomentum.co/chernobyl-series/ NGThai. “เกิดอะไรขึ้นในหายนะนิวเคลียร์แห่งเชอร์โนบิลง.” NGThai. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2563, https://ngthai.com/ Xinhuathai. “รัสเซียผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานนิวเคลียร์ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2019.” Xinhuathai สืบค้นเมื่อ วันที่ 13 กรกฏาคม 2563, https://www.xinhuathai.com/inter/65634_20200103

64

Books and Book Articles

David R. Marples. Chernobyl and nuclear power in the USSR. Hong Kong: Palgrave Macmillan, 1986.

Electronic

Aria Bendix. “HBO's 'Chernobyl' just won 10 Emmys — here's what it gets right (and wrong) about the world's worst nuclear power plant accident.” Accessed July 23, 2020. https://www.businessinsider.com/chernobyl-hbo-whats-true-myths- 2019-5#fact-the-soviets-tried-to-use-robots-to-clean-the-contamination-site- but-eventually-resorted-to-human-labor-2 Jake Bean. “10+ Ways HBO Changed 'Chernobyl' From The Real-Life.” Diply. Accessed July 16, 2020. Eventshttps://diply.com/5 9 8 0 8 / 1 0 - ways-hbo-changed- chernobyl-from-the-real-life-events Mubi. “HBO's Chernobyl vs Reality - Footage Comparison,” youtube, Accessed July 20, 2020. https://www.youtube.com/watch?time_continue=53&v=P9GQtvUKtHA&featur e=emb_title Wikipedia. “Aleksandr Akimov.” Wikipedia. Accessed July 20, 2020. https://en.wikipedia.org/wiki/Aleksandr_Akimov Wikipedia. “Anatoly Dyatlov.” Wikipedia. Accessed July 21, 2020. https://en.wikipedia.org/wiki/Anatoly_Dyatlov Wikipedia. “Valery Legasov.” Wikipedia. Accessed July 20, 2020. https://en.wikipedia.org/wiki/Valery_Legasov Wikipedia. “Boris Shcherbina.” Wikipedia. Accessed July 20, 2020. https://en.wikipedia.org/wiki/Boris_Shcherbina Wikipedia. “Viktor Bryukhanov.” Wikipedia. Accessed July 22, 2020. https://en.wikipedia.org/wiki/Viktor_Bryukhanov 65

Wikipedia. “Leonid Toptunov.” Wikipedia. Accessed July 23, 2020. https://en.wikipedia.org/wiki/Leonid_Toptunov Zack Sharf. “Russian Communist Party Wants to Ban HBO’s ‘Chernobyl,’ Seeks Lawsuit Against Creator.” Indiewire. Accessed July 14, 2020. https://www.indiewire.com/2019/06/russian-communist-party-ban-chernobyl- hbo- 1202150036/?fbclid=IwAR1py6h9fTSY1hFqYbn0F3rwwVRdIxRBKFaLYiIZbzmqs9- iesBaRY4

66

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ นางสาวภัทรกันย์ ชัยงาม วันเดือนปีเกิด 1 กันยายน พ.ศ. 2540 วุฒิการศึกษา พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2553 ประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2558 แผนการเรียนศิลป์-ภาษาจีน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2563 ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขารัสเซียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์