โครงการที่ปรึกษาส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน ประจ าปีงบประมาณ 2561

มณฑลเฮยหลงเจียง ( Province)

1. ข้อมูลทั่วไป[1]

ชื่อย่อ เฮย ที่ตั้ง มณฑลเฮยหลงเจียง เป็น 1 ใน 3 มณฑลที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของประเทศจีน ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับประเทศรัสเซีย ทิศใต้ติดกับมณฑลจี๋หลิน ทิศตะวันตกติดกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน พื้นที่ 473,000 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของประเทศจีน จ านวนประชากร 38.12 ล้านคน (ปี ค.ศ. 2017) อันดับที่ 15 ของประเทศ การปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็น 1 เทศบาลเมือง 11 เมือง 1 เขต 65 เทศบาลเมือง 17 เทศบาลอ าเภอ 45 อ าเภอ และ 1 เขตปกครองตนเอง ผู้บริหาร ชื่อ นายจาง ชิ่งเว่ย Mr. ต าแหน่ง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจ ามณฑลเฮยหลงเจียง เข้ารับต าแหน่งเมื่อ เดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2017 ภูมิล าเนาเดิม มณฑลหูเป่ย

1

โครงการที่ปรึกษาส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน ประจ าปีงบประมาณ 2561

ชื่อ นายหวัง เหวินเทา Mr. Wentao ต าแหน่ง ผู้ว่าการมณฑลเฮยหลงเจียง เข้ารับต าแหน่งเมื่อ เดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2017 ภูมิล าเนาเดิม มณฑลเจียงซู ภาษาราชการ ภาษาจีนแมนดาริน สกุลเงิน หยวน 2. เศรษฐกิจ ในปี 2017 มณฑลเฮยหลงเจียงมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือ GDP อยู่ที่ 1.62 ล้านล้าน หยวน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา[2] และจากข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของมณฑล เฮยหลงเจียงในปี 2017 พบว่า ส่งออกที่ส าคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รองเท้า อะไหล่ ปุ๋ย และผลิตภัณฑ์ด้านวัฒนธรรม เป็นต้น[3] มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือ GDP ของมณฑลเฮยหลงเจียงในปี 2017 อยู่อันดับที่ 21 ของประเทศจีน[4] 3. นิคมอุตสาหกรรม มณฑลเฮยหลงเจียงมีเขตอุตสาหกรรมระดับประเทศและระดับมณฑลจ านวนหลายแห่ง เช่น เขต พัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงสมัยใหม่ฮาร์บิน เขตพัฒนาเศรษฐกิจเมืองซวงยาซาน เขตพัฒนาเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีต้าชิ่ง เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่ฉีฉีฮาร์เอ่อ และเขตพัฒนาอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่เจียมู่ซือ เป็นต้น[5] • เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงสมัยใหม่ฮาร์บิน (Harbin High Tech Industrial Development Zone): เขตพัฒนาฯ ฮาร์บินได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จีนให้ตั้งขึ้นในเดือนกันยายน ปี 1988 โดยให้เป็นอุตสาหกรรมระดับประเทศแห่งแรกของ มณฑลเฮยหลงเจียง ครอบคลุมพื้นที่ขนาด 23.9 ตารางกิโลเมตร ปี 2002 เขตพัฒนาฯ ฮาร์ บินมีรายได้สะสมรวม 109,500 ล้านหยวน มูลค่าของอุตสาหกรรมโดยรวม 98,600 ล้าน หยวน มีก าไรและภาษี 14,800 ล้านหยวน เขตพัฒนาฯ แห่งนี้ได้สร้างบริษัทด้านเทคโนโลยี ขั้นสูงสมัยใหม่ที่มีศักยภาพจ านวนหนึ่ง เช่น BOCO Intel-Telecom, Kyushu Electric Power, Sihai CNC, Coslight Power และ Xinzhongxin Electronic เป็นต้น และอยู่ใน ระยะแรกของการสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงสมัยใหม่ มีบริษัทที่มีรายได้ มากกว่า 10 ล้านหยวนมากถึง 78 ราย และได้อนุมัติให้วิสาหกิจต่างชาติจาก 25 ประเทศ จ านวน 210 บริษัทเข้ามาลงทุนในเขตนี้ มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศเท่ากับ 310 ล้าน หยวน[6]

2

โครงการที่ปรึกษาส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน ประจ าปีงบประมาณ 2561

• เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีต้าชิ่ง (Daqing Economic Development Zone): เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีระดับประเทศ มีพื้นที่ขนาด 323 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้กลายเป็นเขตส าคัญของระเบียงเศรษฐกิจฮาร์บิน-ต้าชิ่ง-ฉีฉีฮาร์เอ่อ เป็นฐานบ่มเพาะ วิสาหกิจขนาดกลางและเล็กระดับมณฑล และเป็นเขตร่วมสร้างอุตสาหกรรมส าคัญระดับ เมือง ปี 2012 เขตพัฒนาฯ แห่งนี้มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 21,290 ล้านหยวน มีมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม 9,560 ล้านหยวน มูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรม 8,620 ล้านหยวน ก าไรและ ภาษี 1,200 ล้านหยวน มูลค่าน าเข้า-ส่งออกรวม 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นที่ตั้งของ บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมีกว่า 260 ราย เช่น The China National Bluestar (Group) Co., Ltd., China Oil HBP Group และ Daqing Oilfield เป็น ต้น ในจ านวนนี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ 73 ราย ครอบคลุมพื้นที่ขนาด 8 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ ภายในเขตพัฒนาแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถาบันวิจัยระดับประเทศและระดับ มณฑล 7 แห่งจึงเป็นฐานการวิจัยวิทยาศาสตร์ที่ส าคัญของมณฑลเฮยหลงเจียง นอกจากนี้ เขตพัฒนาฯ แห่งนี้ยังมุ่งมั่นสร้างระบบอุตสาหกรรม “2+4” คือพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความ ได้เปรียบ 2 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ระดับ High-end และอุตสาหกรรม วัสดุใหม่ พร้อมทั้งบ่มเพาะอุตสาหกรรมเกิดใหม่ 4 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมประหยัด พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ อุตสาหกรรมยานยนต์ พลังงานใหม่ และอุตสาหกรรมบริการสมัยใหม่ [7] • เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเมืองซวงยาซาน (Shuangyashan Economic and Technological Development Zone): เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับมณฑลที่รัฐบาล มณฑลเฮยหลงเจียงอนุมัติให้จัดตั้งขึ้น มีพื้นที่ขนาด 60 ตารางกิโลเมตร ในปี 2001 ได้รับ รางวัล “100 เขตอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมที่มีศักยภาพในการพัฒนาของประเทศจีน” และ “เขตอุตสาหกรรมที่เศรษฐกิจเฟืองฟูที่สุดของประเทศจีน” [8] • เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่ฉีฉีฮาร์เอ่อ (Qigihar High Tech Industrial Development Zone): เป็นเขตพัฒนาระดับมณฑลที่รัฐบาลท้องถิ่นมณฑล เฮยหลงเจียงอนุมัติให้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม ปี 1992 มีพื้นที่ขนาด 3.31 ตารางกิโลเมตร ในปี 2001 ได้รับเลือกให้เป็น “เขตพัฒนาที่มีการบริหารทันสมัย” ของมณฑลเฮยหลงเจียง จากเขตพัฒนาทั้งหมด 33 แห่งของมณฑล ในปีเดียวกันได้ดึงดูดการลงทุนจ านวน 2 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 141 ล้านหยวน ประกอบด้วยโครงการความร่วมมือระหว่าง บริษัท Heilongjiang Zhongchao Nano Industrial กับบริษัท Juli เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ลูกปืนเซรามิกที่ใช้วัสดุนาโน โดยมีมูลค่าการลงทุน 125 ล้านหยวน อีกหนึ่ง โครงการคือ โครงการความร่วมมือระหว่าง Beijiang Group กับบริษัท Jinzhou Sihai High-new Tech เพื่อจัดตั้งบริษัท Qiqihar-Beijiang Composite Materials ผู้ผลิตหน้าต่าง และประตูไฟเบอร์กลาส โดยมีมูลค่าการลงทุน 16 ล้านหยวน นอกจากนี้ เขตพัฒนาฯ แห่งนี้ ยังมี “5 บริษัทเสาหลัก” ได้แก่ Jinya Group ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอเป็นหลัก HAWK Group ผู้ผลิตปืนเป็นหลัก Beijiang Group ผู้จ าหน่ายปูนเป็นหลัก Delong Group ผู้ผลิต

3

โครงการที่ปรึกษาส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน ประจ าปีงบประมาณ 2561

หน้าต่างพลาสติกใหม่เป็นหลัก และ Beitu Group ที่ท าการค้าอาหารและธัญพืชเป็นหลัก [9] • เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงสมัยใหม่เจียมู่ซือ (Jiamusi High Tech Industrial Development Zone): ได้รับการอนุมัติให้ก่อตั้งเป็นเขตเทคโนโลยีขั้นสูง สมัยใหม่เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ปี 2009 มีพื้นที่ขนาด 192 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น “1 เขต 5 สวน” โดย “1 เขต” คือ เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่เจียมู่ซือ และ “5 สวน” คือ สวนอุตสาหกรรมเกิดใหม่เจียมู่ซือ สวนอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการ ส่งออกตุ้ยเอ๋อ สวนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเจียมู่ซือ สวนอุตสาหกรรมเชิง นิเวศเจียงเป่ย และสวนสาธิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรสมัยใหม่ โดยถูกจัด ให้เป็นหนึ่งใน “เขตเศรษฐกิจใหญ่ทั้งแปด” ของมณฑลเฮยหลงเจียง ปัจจุบัน เขตพัฒนาฯ แห่งนี้ได้จัดตั้งตัวแทนของอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าทางการเกษตรเชิงลึก ใช้เครื่องจักรถ่าน หิน เครื่องจักรกล และเครื่องเก็บเกี่ยวแบบผสม[10] 4. อุตสาหกรรม มณฑลเฮยหลงเจียงมีอุตสาหกรรมหลัก 4 ประเภท คือ อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมการผลิต เครื่องจักร อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นอกจากนี้ มณฑลเฮยหลงเจียงยังมีอุตสาหกรรมที่ ส าคัญอีกจ านวนมาก เช่น อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุใหม่ อุตสาหกรรมการผลิตยาชีวภาพ อุตสาหกรรมการ ประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) อุตสาหกรรมการบินพลเรือน และอุตสาหกรรมการผลิต หุ่นยนต์ เป็นต้น • อุตสาหกรรมพลังงาน: ปี 2015 ปริมาณการใช้พลังงานของมณฑลเฮยหลงเจียงเท่ากับ 121.26 ล้านตัน ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปี ฉบับที่ 12 มีการเติบโตโดยเฉลี่ย ร้อยละ 1.7 ปริมาณการใช้ไฟฟ้า 86,900 ล้าน kWh. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี ปริมาณการ บรรจุไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 6.71 ล้าน KW. เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 ปริมาณการจ่าย กระแสไฟฟ้า 12,600 ล้าน kWh. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 ปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของทั้ง มณฑลสูงถึง 3,600 ลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ต่อปี มณฑลเฮยหลงเจียงมีการลงทุน สร้างโครงการแปรรูปน้ ามันและถ่านหิน เช่น การขยายฐานการผลิตเอทานอลของ Daqing Petrochemical โครงการผลิต CDQ ปีละ 1 ล้านตันของ Henggang Zhengnan Coal Chemical Co., Ltd. โครงการผลิตแอมโมเนียสังเคราะห์ 300,000 ตันต่อปี และยูเรีย 520,000 ตันต่อปีของ Zhonghai Petroleum Hua Hemeihua Co., Ltd. เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการลงทุนเชื่อมโยงระบบการขนส่งไฟฟ้าโดยตรงจีน-รัสเซียที่เมืองเฮยเหอ โดยบรรลุการซื้อไฟฟ้าจากรัสเซีย 14,000 ล้าน kWh. เมื่อสิ้นปี 2558 มณฑลเฮยหลงเจียงมี บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าจ านวน 15 รายที่มีการซื้อขายไฟฟ้าโดยตรง จ านวนผู้ใช้ไฟฟ้า 16 ราย และปริมาณการซื้อขายไฟฟ้าเกือบ 900 ล้าน kWh.[11] • อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร: เป็น 1 ใน 4 อุตสาหกรรมหลักที่ส าคัญของมณฑลเฮยหลงเจียง จากข้อมูลสถิติในปี 2016 พบว่า อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรมีมูลค่าเพิ่ม 29,370 ล้าน หยวน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.1 ของทั้งประเทศ โดยมีบริษัทชั้นน าของอุตสาหกรรมนี้หลาย ราย เช่น บริษัท Sanmen Nuclear ที่ประสบความส าเร็จในการผลิตอุปกรณ์ AP 1000 ชุดแรก บริษัท Harbin Electric ผู้ผลิตแก็สเทอร์ไบน์หมุนเวียนซึ่งอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ บริษัท 4

โครงการที่ปรึกษาส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน ประจ าปีงบประมาณ 2561

Dongan Group ผู้ผลิตระบบท่อส่งแก็ส (Gas Turbine) ทั้งแบบยึดติดและเคลื่อนที่ โดยมีทั้ง ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เป็นต้น ในปี 2015 ผู้ผลิตเครื่องจักรของมณฑลเฮยหลงเจียงมีการ ท าสัญญาการลงทุนกับต่างชาติทั้งสิ้น 4,146 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ามาก ถึง 3 เท่า อยู่ในอันดับที่ 15 ของประเทศ ในเดือนตุลาคม ปี 2015 Harbin Electric Group และ Saudi International Power ร่วมกันสร้างและด าเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เทคโนโลยีสะอาด Hassyan เฟส 1 ที่ดูไบ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ว่าวิสาหกิจประเทศจีนได้เข้า สู่ตลาดพลังงานไฟฟ้าระดับไฮเอนด์ในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย[12] • อุตสาหกรรมอาหาร: ปี 2017 ปริมาณการแปรรูปอาหารของมณฑลเฮยหลงเจียงเพิ่มขึ้นร้อย ละ 26 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา รายได้จากการจ าหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 และมีก าไรเพิ่มขึ้น 1.6 เท่าจากปีที่ผ่านมา รายได้ของธุรกิจที่ด าเนินการแปรรูปผักเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.7 ปริมาณ และมูลค่าผลผลิตของวิสาหกิจที่ประกอบธุรกิจด้านอาหารอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 และ 9.7 ตามล าดับ รายได้จากธุรกิจนมและเนื้อสัตว์เติบโตร้อยละ 19.6 และ 11.3 ตามล าดับ และมี พัฒนาการการสร้างรูปแบบการแปรรูปอาหารสีเขียวและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มี ลักษณะพิเศษของมณฑลเฮยหลงเจียง จนสิ้นปี 2017 วิสาหกิจแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ของทั้งมณฑลมีจ านวน 1,942 ราย บริษัทชั้นน าด้านอุตสาหกรรมเกษตร 550 ราย รายได้ และก าไรของธุรกิจแปรรูปอาหารคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.3 และ 36.8 ของอุตสาหกรรมทั้ง มณฑลตามล าดับ อยู่ในอันดับที่ 1 ของอุตสาหกรรมการผลิต ท าให้เกิดการจ้างงานโดยตรง กว่า 200,000 คน น าพาให้เกษตรกรกว่า 75,000 คนเข้าสู่ธุรกิจเชิงอุตสาหกรรม ท าให้เกิด พื้นที่อาหารอินทรีย์ 76 ล้านมู่ (ประมาณ 31.6 ล้านไร่) โดยมีโครงการแปรรูปผลผลิตทาง การเกษตรที่รัฐบาลให้การสนับสนุน 141 โครงการ เริ่มก่อสร้างแล้ว 123 โครงการ เป็นเงิน ลงทุนทั้งสิ้น 18,990 ล้านหยวน ก่อสร้างแล้วเสร็จ 29 โครงการ และในปี 2018 โครงการ ส าคัญที่มีมูลค่ามากกว่าร้อยล้านหยวนมีจ านวน 150 โครงการ เป็นมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 20,000 ล้านหยวน • อุตสาหกรรมวัสดุใหม่: มณฑลเฮยหลงเจียงมีปริมาณส ารองแกรไฟต์มากถึง 2 ใน 3 ของ ประเทศ และประมาณ 1 ใน 3 ของโลก ในปี 2558 มูลค่าอุตสาหกรรมวัสดุใหม่แกรไฟต์ของ มณฑลเท่ากับ 2,500 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ถึงร้อยละ 150 มณฑลเฮยหลงเจียงมี แนวทางในการวางแผนสร้างความเข้มแข็งให้กับนโยบายการสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมการ ผลิตแกรไฟต์ที่เมืองจีซีและเมืองเหอกัง เพื่อดึงดูดบริษัทชั้นน า เช่น Shenzhen Baoan Group, BAIC Group และ Hongkong Haoshi Group เป็นต้น ให้เข้ามาอยู่ในคลัสเตอร์นี้ โครงการส าคัญหลายโครงการ เช่น โครงการแปรรูปแกรไฟต์ของ Jixi Beite Rui Graphite Industrial Park Co., Ltd., Jixihao New Energy Materials Co., Ltd. แ ล ะ Aoyu Graphite Group เป็นต้น สามารถเป็นที่พึ่งพาให้กับสถานศึกษาและหน่วยงานวิจัยของ มณฑล ทั้งนี้ มณฑลเฮยหลงเจียงได้จัดตั้งพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ของอุตสาหกรรมแกรไฟต์ สร้างฐานอุตสาหกรรมพิเศษตามแผนคบเพลิงของวัสดุใหม่ แกรไฟต์ และจัดตั้งศูนย์ทดสอบคุณภาพแกรไฟต์ระดับประเทศจ านวน 2 แห่ง • อุตสาหกรรมการผลิตยาชีวภาพ: มณฑลเฮยหลงเจียงมีทรัพยากรการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จ านวนมาก โดยเมืองฮาร์บินเป็นฐานการผลิตยาชีวภาพระดับประเทศ ในปี 2015 คลัสเตอร์

5

โครงการที่ปรึกษาส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน ประจ าปีงบประมาณ 2561

อุตสาหกรรมยาชีวภาพของเมืองฮาร์บินมีรายได้จากการขาย 30,000 ล้านหยวน ภายในเขต มีวิสาหกิจ 87 ราย ผ่านการรับรอง GMP จ านวน 30 กว่าราย วิสาหกิจด้านเทคโนโลยีชั้นสูง สมัยใหม่ระดับประเทศจ านวน 16 ราย เริ่มสร้างระบบการผลิตที่สมบูรณ์แบบที่รวมการวิจัย และพัฒนายา การผลิต บรรจุภัณฑ์ การจ าหน่าย การขนส่ง และการทดสอบเข้าไว้ด้วยกัน วิสาหกิจที่ส าคัญทั้ง 4 ได้แก่ Harbin Pharmaceutical Group, Sunflower Pharmaceutical, ZBD Pharmaceutical Company และ Gloria Pharmaceutical Company ยังคงรักษาแนวโน้ม การเติบโดได้ดี โดย Harbin Pharmaceutical Group บริษัทชั้นน าด้านอุตสาหกรรมยาของ มณฑลเฮยหลงเจียงมีรายได้จากการขาย 15,900 ล้านหยวน สร้างระบบห่วงโซ่อุตสาหกรรมยา ครบวงจรซึ่งประกอบด้วย การวิจัยและพัฒนา การผลิตและแปรรูป อุตสาหกรรมสนับสนุน และการบริการด้านสุขภาพ • อุตสาหกรรมการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing): มณฑลเฮยหลงเจียง เร่งวางโครงร่างและสร้างศูนย์กลางข้อมูลด้วยการพัฒนาวิทยาศาสตร์ มีการสร้างศูนย์ข้อมูล Cloud Computing จ านวน 23 แห่ง และอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 5 แห่ง และมีความร่วมมือ กับ China Unicom Group และ Tencent Company เป็นต้น ส่งเสริมการสร้างและ ประยุกต์ใช้โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ นับตั้งแต่ปี 2010 มณฑล เฮยหลงเจียงมุ่งมั่นผลักดันการสร้าง “China cloud valley” ที่เมืองฮาร์บิน รวบรวม บริษัทผู้ผลิตและผู้ให้บริการ 300 กว่าราย สร้างเป็นคลัสเตอร์ศูนย์กลาง Cloud Computing ขนาดร้อยตารางเมตร “China cloud valley” จึงกลายเป็นฐานอุตสาหกรรมการบริการ ข้อมูลขนาดใหญ่และเข้มข้นที่สุดของมณฑล • อุตสาหกรรมการบินพลเรือน: มณฑลเฮยหลงเจียงมุ่งมั่นผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมการ บินพลเรือนของเมืองฮาร์บินอย่างเต็มรูปแบบ โดยอาศัยเมืองใหม่อุตสาหกรรมฮาร์หนานใน การสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมการบินและอวกาศที่มีทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและ ผลิตภัณฑ์ การผลิต วัสดุการบินและอวกาศ บริการด้านการบินทั่วไป และพัฒนา อุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง สร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุตสาหกรรมการ บินและอวกาศที่มี Harbin Aircraft Industry Group และ Dongan Engine Group เป็น หัวใจส าคัญ เริ่มสร้างระบบการผลิตเครื่องน าทางและชิ้นส่วนที่มีขนาดมาตรฐาน ทั้งนี้ ฐาน อุตสาหกรรมฮาร์หนานผลิตเครื่องบินล าเลียงและเฮลิคอปเตอร์จ านวน 45 ล า มีระบบ aeroengine power transmission จ านวน 1,144 ชุด ผลิตแผ่นอลูมิเนียมชนิดต่างๆ กว่า 58,000 ตัน ผลิตวัสดุคอมโพสิตส าหรับการบิน 47 ชุด นอกจากนี้ Harbin Aircraft Industry Group และ Airbus ประเทศฝรั่งเศสยังได้ร่วมมือกันสร้างฐานการผลิตและวิจัยวัสดุคอมโพ สิตส าหรับการบินและอวกาศด้วย • อุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์: ในปี 2015 มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจ านวน 2,116 ราย อาทิ HIT Robot Group, Hanjie Group, Jiguang Communication Company และ Leida Communication เป็นต้น สวนอุตสาหกรรม หุ่นยนต์เมืองใหม่ฮาร์หนานได้กลายเป็นโครงการที่บ่มเพาะการผลิตหุ่นยนต์ที่ประสบ ความส าเร็จและเป็นที่ตั้งของบริษัท 50 กว่ารายที่ผลิตหุ่นยนต์ 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์บริการ และหุ่นยนต์ชนิดพิเศษ[13]

6

โครงการที่ปรึกษาส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน ประจ าปีงบประมาณ 2561

5. มูลค่าการค้าระหว่างไทยและจีน[14]

หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 2015 2016 2017 2017 2018 (ม.ค. – พ.ค.) (ม.ค. – พ.ค.) น าเข้า ส่งออก น าเข้า ส่งออก น าเข้า ส่งออก น าเข้า ส่งออก น าเข้า ส่งออก 40,912 23,311 42,030 23,799 44,239 29,506 11,668 17,230 20,020 12,442

6. จ านวนนักท่องเที่ยวจากไทยไปจีน[15]และจากจีนมาไทย[16] หน่วย : ต่อคน/เที่ยว 2015 2016 2017 ไทยไปจีน จีนมาไทย ไทยไปจีน จีนมาไทย ไทยไปจีน จีนมาไทย 690,000 7,936,795 730,000 8,757,646 750,000 9,800,000

7. อุตสาหกรรมเป้าหมายและบริษัทเป้าหมายที่ต้องการชักจูงการลงทุนจากมณฑลเฮยหลงเจียง อุตสาหกรรมเป้าหมาย 1. อุตสาหกรรมพลังงาน 2. อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร 3. อุตสาหกรรมอาหาร บริษัทเป้าหมาย 1. State Grid Heilongjiang Electric Power Co., Ltd. 2. China Railway Harbin Group 3. Daqing Oilfield Co., Ltd. 4. Harbin Pharmaceutical Group

7

โครงการที่ปรึกษาส่งเสริมการลงทุนไทย-จีน ประจ าปีงบประมาณ 2561

บรรณานุกรม

[1] https://baike.baidu.com/item/%E4%BA%91%E5%8D%97/206207?fromtitle=%E4%BA %91%E5%8D%97%E7%9C%81&fromid=18664752 [2] http://district.ce.cn/newarea/roll/201802/08/t20180208_28119620.shtml [3] http://harbin.customs.gov.cn/harbin_customs/467898/467900/467901/1709046/index. html [4] http://www.haojingui.com/gdp/5046.html [5] http://hlj.zhaoshang.net/yuanqu/list/200-0 [6] https://baike.baidu.com/item/%E5%93%88%E5%B0%94%E6%BB%A8%E9%AB%98%E 6%96%B0%E6%8A%80%E6%9C%AF%E4%BA%A7%E4%B8%9A%E5%BC%80%E5%8F %91%E5%8C%BA [7] https://baike.baidu.com/item/%E5%A4%A7%E5%BA%86%E7%BB%8F%E6%B5%8E%E 5%BC%80%E5%8F%91%E5%8C%BA/8281461 [8] https://baike.baidu.com/item/%E5%8F%8C%E9%B8%AD%E5%B1%B1%E5%B8%82%E 7%BB%8F%E6%B5%8E%E6%8A%80%E6%9C%AF%E5%BC%80%E5%8F%91%E5%8C %BA/8822592 [9] https://baike.baidu.com/item/%E9%BD%90%E9%BD%90%E5%93%88%E5%B0%94%E 9%AB%98%E6%96%B0%E6%8A%80%E6%9C%AF%E4%BA%A7%E4%B8%9A%E5%BC %80%E5%8F%91%E5%8C%BA [10] https://baike.baidu.com/item/%E4%BD%B3%E6%9C%A8%E6%96%AF%E9%AB%98%E 6%96%B0%E6%8A%80%E6%9C%AF%E4%BA%A7%E4%B8%9A%E5%BC%80%E5%8F %91%E5%8C%BA [11] http://gjss.ndrc.gov.cn/zttp/xyqzlxxhg/201712/t20171221_871263.html [12] http://www.hljdpc.gov.cn/module/download/downfile.jsp?classid=0&filename=a4b08 cbcc4f14608858f43a66ff7c2eb.pdf [13] http://www.moa.gov.cn/xw/qg/201806/t20180613_6151945.htm [14] http://www2.ops3.moc.go.th/# [15] http://thai.cri.cn/247/2018/01/18/233s263144.htm [16] https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=420&filename=index

8