กิตติกรรมประกาศ

คณะผู้จัดท ำขอขอบพระคุณ นำยครรชิต ศรีนพวรรณ หัวหน้ำอุทยำนแห่งชำติเขำใหญ่ และคณะ เจ้ำหน้ำที่อุทยำนแห่งชำติเขำใหญ่ทุกท่ำน ที่อ ำนวยควำมสะดวกและให้ควำมร่วมมือ ตลอดกำรท ำกำรส ำรวจ ควำมหลำกหลำยทำงชีวภำพจนประสบผลส ำเร็จไปได้ด้วยดี ขอขอบคุณ คุณสุคิด เรืองเรื่อ และคุณบำรมี สกลรักษ์ ที่ช่วยเหลือในกำรจ ำแนกชนิดพันธุ์พืชและเห็ด ในกำรส ำรวจครั้งนี้ กรำบขอบพระคุณอย่ำงสูงส ำหรับ คณำจำรย์ คณะวนศำสตร์ มหำวิทยำลัยเกษตรศำสตร์ ที่ประสิทธิ์ ประสำทวิชำกำรป่ำไม้จนสำมำรถท ำกำรส ำรวจและเขียนรำยงำน กำรส ำรวจควำมหลำกหลำยทำงชีวภำพครั้ง นี้ได้ส ำเร็จด้วยดี

คณะผู้จัดท า กลุ่มงานวิชาการ ส านักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี)

(ก) ค ำน ำ

การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพต้องอาศัยความรู้หลายสาขาวิชาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อให้ สามารถหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้ โดยมีการเปรียบเทียบลักษณะทางกายวิภาค ลักษณะสัณฐานวิทยาเพื่อตรวจสอบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังมีการศึกษาด้านนิเวศวิทยา เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตภายในสังคมพืชนั้นๆ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าความ หลากหลายทางชีวภาพมีคุณค่า และความส าคัญต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าที่มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ใน การด ารงชีวิต คุณค่าในการท าให้เกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อมนุษย์ถือเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบ นอกจากนั้นยังสามารถน าประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพไปใช้เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านต่างๆ เช่น ด้านโภชนาการ ด้านการแพทย์ ด้านการเกษตร เป็นต้น ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ เป็น แหล่งอนุรักษ์เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม รวมถึงเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

พื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็นพื้นที่ที่ถูกสงวนหวงห้ามไว้เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่า รวมไปถึงเพื่อ อนุรักษ์ความหลากหลายทางด้านชีวภาพอีกนัยหนึ่ง การศึกษา หรือการส ารวจเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลความ หลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์จึงเป็นงานวิจัยที่มีความจ าเป็นในอันดับแรก เพื่อน าข้อมูลที่ได้ไปใช้ ประกอบการวางแผนการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เล็งเห็นความส าคัญและได้ด าเนินโครงการส ารวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ ป่าอนุรักษ์ขึ้น โดยเริ่มต้นส ารวจในเขตอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ซึ่งรวมถึงอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้การด าเนินงานของ กลุ่มงานวิชาการ ส านักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) และรายงานฉบับนี้เป็นการน าเสนอผลการส ารวจความหลากหลายทางชีวภาพ ในส่วนของ สิ่งมีชีวิตในกลุ่มของพืช แมลง และเห็ดรา ในสังคมพืชป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่ง ด าเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

คณะผู้จัดท ำ กลุ่มงำนวิชำกำร ส ำนักบริหำรพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปรำจีนบุรี)

(ข) สำรบัญ

เรื่อง หน้ำ ค าน า (ก) สารบัญ (ข) สารบัญตาราง (ค) สารบัญภาพ (ง) สารบัญภาพชุด (ฉ) บทที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ด าเนินการ 1-1 บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม 2-1 บทที่ 3 อุปกรณ์ และวิธีการส ารวจ 3-1 บทที่ 4 ผลการศึกษา 4-1 ความหลากหลายของพรรณพืช 4-1 ความหลากหลายของแมลง 4-19 ความหลากหลายของเห็ดรา 4-38 บทที่ 5 สรุปและวิจารณ์ผลการส ารวจ 5-1 บทที่ 6 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ 6-1 เอกสารอ้างอิง 7-1 ภาคผนวก 8-1 คณะผู้จัดท า 9-1

(ค) สำรบัญตำรำง

ตำรำงที่ หน้ำ 1.1.1 ปริมาณน้ าฝนรายเดือน อุณหภูมิเฉลี่ย ในช่วงเดือนสิงหาคม 2558 - กรกฎาคม 2559 1-3 4.1.1 บัญชีรายชื่อพรรณไม้ของพรรณไม้ในระดับไม้ใหญ่ 4-3 4.1.2 บัญชีรายชื่อพรรณไม้ของพรรณไม้ในระดับไม้หนุ่ม 4-6 4.1.3 บัญชีรายชื่อพรรณไม้ของพรรณไม้ในระดับกล้าไม้ 4-8 4.1.4 ค่าดัชนีความคล้ายคลึงและค่าดัชนีความแตกต่าง ระหว่างแปลงส ารวจพรรณไม้ ตามระดับชั้นความสูงจากระดับน้ าทะเล โดยสมการของ Sorensen 4-13 4.2.1 จ านวนผีเสื้อตามรายแปลงในฤดูร้อนและฤดูฝน 4-21 4.2.2 บัญชีรายชื่อผีเสื้อกลางวันในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-26 4.2.3 บัญชีรายชื่อผีเสื้อกลางคืนในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-32 4.3.1 บัญชีรายชื่อเห็ดที่ส ารวจพบในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-39 4.3.2 ค่าดัชนีความคล้ายคลึง และค่าดัชนีความแตกต่าง ระหว่างแปลงส ารวจเห็ดในฤดูร้อน ป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-47 4.3.3 ค่าดัชนีความคล้ายคลึง และค่าดัชนีความแตกต่าง ระหว่างแปลงส ารวจเห็ดในฤดูฝน ป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-47

(ง) สำรบัญภำพ

ภำพที่ หน้ำ 1.1.1 ขอบเขตอุทยาน ลักษณะสังคมพืชที่ปกคลุม และการให้ประโยชน์ที่ดิน (land use ) บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ปราจีนบุรี สระบุรี และนครนายก 1-5 2.3.1 วงจรชีวิตของเห็ดในกลุ่มเบสิดิโอมายซีตีส 2-21 3.1.1 การวางแปลงขนาด 20x50 เมตร เพื่อศึกษาสังคมพืช 3-2 3.1.2 พื้นที่ส ารวจตามระดับชั้นความสูงในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครนายก 3-13 4.1.1 โครงสร้างทางด้านตั้ง (Profile diagram) ของหมู่ไม้ในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-2 4.1.2 การกระจายตามชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในพื้นที่ส ารวจโดยรวมและในแต่ละแปลง ตาม ความสูงจากระดับน้ าทะเล 4-10 4.1.3 ค่าดัชนีความหลากหลาย ของไม้ใหญ่ (tree) ไม้หนุ่ม (sapling) และกล้าไม้ (seedling) ในแต่ละพื้นที่ตามแนวระดับชั้นความสูง 4-11 4.1.4 ค่าดัชนีความสม่ าเสมอ ของไม้ใหญ่ (tree) ไม้หนุ่ม (sapling) และกล้าไม้ (seedling) ในแต่ละพื้นที่ตามแนวระดับชั้นความสูง 4-12 4.1.5 แผนภาพต้นไม้แสดงการจัดกลุ่มหมู่ไม้ ในพื้นที่ส ารวจตามแนวระดับชั้นความสูงจาก ระดับน้ าทะเลตั้งแต่ 1,200 – 1,350 เมตร บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-14 4.1.6 ลักษณะพื้นที่ส ารวจในกลุ่มที่ 1 ของหมู่ไม้ที่ 1 3 และ4 4-15 4.1.7 ลักษณะพื้นที่ส ารวจในกลุ่มที่ 2 ของหมู่ไม้ที่ 2 4-15 4.2.1 ผีเสื้อกลางวันจ าแนกตามวงศ์ 4-19 4.2.2 ผีเสื้อกลางวันจ าแนกตามรายแปลงส ารวจ 4-20 4.2.3 ผีเสื้อกลางวันจ าแนกตามฤดูกาล 4-20 4.2.4 จ านวนผีเสื้อกลางวันเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละแปลงกับในแต่ละฤดู 4-22 4.2.5 แผนภาพ Venn diagram จ าแนกชนิดผีเสื้อกลางวันจะพบในฤดูร้อนและฤดูฝน 4-23 4.2.6 ค่าดัชนีความหลากหลาย (H’) ค่าความสม่ าเสมอ (J’) และดัชนีความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ (d’) ของผีเสื้อกลางวันที่พบจ าแนกตามรายแปลงส ารวจ 4-24 4.2.7 ค่าดัชนีความหลากหลาย (H’) ค่าความสม่ าเสมอ (J’) และดัชนีความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ (d’) ของผีเสื้อกลางวันจ าแนกตามฤดูกาล 4-25 4.2.8 ผีเสื้อกลางคืนที่ส ารวจพบจ าแนกตามวงศ์ 4-29 4.2.9 ผีเสื้อกลางคืนที่ส ารวจพบจ าแนกตามฤดูกาล 4-30 4.2.10 แผนภาพ Venn diagramจ าแนกชนิดผีเสื้อกลางคืนที่พบในฤดูร้อนและฤดูฝน 4-30

(จ) สำรบัญภำพ (ต่อ)

ภำพที่ หน้ำ 4.2.11 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (H’) ค่าความสม่ าเสมอ (J’) และค่าดัชนีความชุก ชุมทางชนิดพันธุ์ (d’) ของผีเสื้อกลางคืนที่พบในฤดูร้อนและฤดูฝน 4-31 4.3.1 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (H’) ค่าดัชนีความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ (d’) และ ค่าความสม่ าเสมอ (J’) ในฤดูร้อนระหว่างแปลงส ารวจเห็ดในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-44 4.3.2 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (H’) ค่าดัชนีความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ (d’) และ ค่าความสม่ าเสมอ (J’) ในฤดูฝนระหว่างแปลงส ารวจเห็ดในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-45 4.3.3 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (H’) ค่าดัชนีความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ (d’) และ ค่าความสม่ าเสมอ (J’) ระหว่างฤดูร้อนและฤดูฝนของเห็ดในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-46 4.3.4 แผนภาพ Venn diagram จ าแนกชนิดเห็ดที่พบในฤดูร้อนป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-48

(ฉ) สำรบัญภำพชุด

ภำพชุดที่ หน้ำ 4.1.1 พรรณไม้ในพื้นที่ส ารวจ บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-16 4.2.1 ตัวอย่างผีเสื้อกลางวันในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-27 4.2.2 ตัวอย่างผีเสื้อกลางคืนในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 4-34 4.3.1 ชนิดเห็ดในฤดูร้อนโดยการจ าแนกด้วยรูปอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,200 เมตร 4-49 4.3.2 ชนิดเห็ดในฤดูฝนโดยการจ าแนกด้วยรูปอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,200 เมตร 4-50 4.3.3 ชนิดเห็ดในฤดูร้อนโดยการจ าแนกด้วยรูปอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,250 เมตร 4-53 4.3.4 ชนิดเห็ดในฤดูฝนโดยการจ าแนกด้วยรูปอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,250 เมตร 4-54 4.3.5 ชนิดเห็ดในฤดูร้อนโดยการจ าแนกด้วยรูปอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,300 เมตร 4-56 4.3.6 ชนิดเห็ดในฤดูฝนโดยการจ าแนกด้วยรูปอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,300 เมตร 4-58 4.3.7 ชนิดเห็ดในฤดูร้อนโดยการจ าแนกด้วยรูปอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,350 เมตร 4-59 4.3.8 ชนิดเห็ดในฤดูฝนโดยการจ าแนกด้วยรูปอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,350 เมตร 4-60 4.3.9 ชนิดเห็ดในฤดูร้อน Unknown 1-9 ตามล าดับ 4-61 4.3.10 ชนิดเห็ดในฤดูฝน Unknown 13-21 ตามล าดับ 4-63

1-1

บทที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ศึกษา

1.1 พื้นที่ศึกษา

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประวัติ เมื่อประมาณ 60-70 ปีที่แล้ว ราษฎรบ้านท่าด่านและบ้านท่าชัย จังหวัดนครนายก ได้บุก รุกถางป่าเพื่อท าการเกษตร และจับจองพื้นที่สร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่บนเขาใหญ่ ประมาณ 30 หลังคา เรือน ต่อมาได้ได้ยกฐานะขึ้นเป็นต าบลเขาใหญ่ ขึ้นอยู่กับอ าเภอปากพลี ท าให้เกิดกาบุกรุกท าลายป่าท าไร่ เลื่อนลอยมากขึ้น ต่อมากลายเป็นที่หลบซ่อนพักพิงของโจรผู้ร้ายและผู้ต้องหาที่หลบหนีคดีอาญาเพราะ การคมนาคมยากล าบาก ห่างไกลแหล่งชุมชนอื่นยากแก่การตรวจปราบปราม ด้วยเหตุนี้ทางราชการใน สมัยนั้นจึงยุบต าบลเขาใหญ่ และราษฎรที่อาศัยอยู่บนเขาใหญ่อพยพลงสู่ที่ราบ หมู่บ้าน และไร่ที่ท ากิน บริเวณป่าเขาใหญ่จึงถูกทิ้งร้างกลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาสลับกับป่าที่อุดมสมบูรณ์

ในปี พ.ศ.2502 ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจราชการทาง ภาคเหนือ เล็งเห็นถึงความส าคัญที่จะคุ้มครองรักษาธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ จึงได้ให้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทยร่วมมือ และประสานงานกันเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นใน ประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติการประชุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้ก าหนดป่าเขาใหญ่ จังหวัด นครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสระบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ จากนั้นกรมป่าไม้ได้เริ่มเตรียมการและวางแผนการจัดตั้งอุทยาน แห่งชาติขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจาก DR.GEORGE C.RUHLE ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุทยานแห่งชาติ ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN.) จากประเทศ สหรัฐอเมริกา

เมื่อกรมป่าไม้ได้ด าเนินการส ารวจและวางแผนส าเร็จแล้วจึงด าเนินการประกาศจัดตั้งอุทยาน แห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาก าหนดบริเวณป่าที่ดินเขาใหญ่ ในท้องที่ต าบลป่าขะ ต าบลบ้านพร้าว อ าเภอบ้านนา ต าบลหนองแสง ต าบลหินลาด อ าเภอปากพลี ต าบลสาริกา ต าบลหินตั้ง ต าบลพรหมณี อ าเภอเมือง จังหวัดนครนายก ต าบลประจันตคาม อ าเภอประจันตคาม ต าบลสัมพันตา ต าบลทุ่งโพธิ์ อ าเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ต าบลหมูสี อ าเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และต าบลมวกเหล็ก ต าบลซ าผักแพว อ าเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2505 ซึ่งลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79 ตอนที่ 89 ลงวันที่ 18 กันยายน 2505 รวมเนื้อที่ 1,355,468.75 ไร่ นับเป็น

1-2

อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และได้รับสมญานามว่าเป็น “อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศ อาเซียน” ตลอดจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นอุทยานแห่งชาติที่ส าคัญของโลก

ต่อมากองทัพอากาศได้มีหนังสือ ที่ กษ 0379/15739 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2519 ถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอกันพื้นที่ก่อสร้างสถานีเรดาร์และสถานีถ่ายทอดโทรคมนาคมออกจาก พื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้ลงมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2520 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2520 เห็นชอบให้กันพื้นที่ส่วนดังกล่าวได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยาน แห่งชาติป่าเขาใหญ่ บางส่วนในท้องที่ ต าบลหินตั้ง อ าเภอเมือง จังหวัดนครนายก ในปี พ.ศ. 2521 ซึ่งลง ประกาศในราช กิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 21 กันยายน 2521 เป็นเนื้อที่ประมาณ 71 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 1,355,396.96 ไร่ นับเป็น อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศตามที่กรมป่าไม้ได้จัดงานวันสถาปนากรมป่าไม้ครบรอบ 104 ปี เมื่อ วันที่ 18 กันยายน 2543 โดยได้จัดประกวดอุทยานแห่งชาติดีเด่นด้านการท่องเที่ยวประจ าปี 2543 เพื่อ เป็นการประชาสัมพันธ์ปีท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ 2543 และคณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกอุทยาน แห่งชาติดีเด่นด้านการท่องเที่ยว ปี 2543 ปรากฏว่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้รับรางวัล “รองชนะเลิศ อันดับ 2” ในการประกวด “อุทยานแห่งชาติดีเด่น ประจ าปี 2543”

ที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด 11 อ าเภอ ได้แก่ อ าเภอมวกเหล็ก อ าเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อ าเภอปากช่อง อ าเภอวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา อ าเภอนาดี อ าเภอ กบินทร์บุรี อ าเภอประจันตคาม อ าเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และอ าเภอปากพลี อ าเภอบ้าน นา อ าเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ได้รับการประกาศเป็น อุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีเนื้อที่ปกคลุม 2,168 ตารางกิโลเมตร (กองอุทยานแห่งชาติ, 2529)

สภาพภูมิประเทศ ลักษณะทั่วไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีระดับ ความสูงที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ระดับความสูงใกล้เคียงระดับน้ าทะเลตามแนวเขตอุทยานด้านทิศตะวันออก เฉียงใต้ จนถึงระดับที่มีความสูงมากที่สุดในบริเวณตอนกลางของพื้นที่คือ 1,351 เมตร จากระดับน้ าทะเล ทางทิศใต้ และทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชันโดดเด่นขึ้นมาลักษณะคล้ายก าแพง ภูเขาทอดไปตาม แนวอุทยานเรียกว่า เขาก าแพง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก โดยมียอดเขาที่ส าคัญอยู่ 6 ยอด ด้วยกันได้แก่ เขาแหลม (1,326 เมตร) บริเวณทิศเหนือ เขาร่ม (1,351 เมตร) และเขาเขียว (1,292 เมตร) บริเวณตอนกลาง เขาก าแพง (875 เมตร) บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเขาสามยอด (1,142 เมตร) เขาฟ้าผ่า (1,078 เมตร) และบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอุทยาน (อวยพร, ม.ป.ป.)

สภาพภูมิอากาศ ในช่วงระยะเวลาการย่อยสลายที่ท าการศึกษา (สิงหาคม 2557 ถึง กรกฎาคม 2558) ในป่าดิบแล้งได้ใช้ข้อมูลปริมาณน้ าฝนรายเดือน อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือน และความชื่นสัมพัทธ์เฉลี่ย รายเดือน จากสถานีอุตุนิยมวิทยา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ. นครราชสีมา (ตารางที่ 1.1.1)

1-3

ตารางที่ 1.1.1 ปริมาณน้ าฝนรายเดือน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด – ต่ าสุด (องศาเซลเซียส) ในช่วงเดือน สิงหาคม 2557-กรกฎาคม 2558

อุณหภูมิเฉลี่ย เดือน ปริมาณน้ าฝน (องศาเซลเซียส) (มม.) สูงสุด ต่ าสุด สิงหาคม 2558 401.4 23.44 17.92 กันยายน 2558 699.5 22.66 17.26 ตุลาคม 2558 265.2 23.59 17.68 พฤศจิกายน 2558 97.5 22.73 16.68 ธันวาคม 2558 37.1 23.20 16.37 มกราคม 2559 76.4 22.53 15.66 กุมพาพันธ์ 2559 0 23.43 15.31 มีนาคม 2559 69.9 25.96 17.83 เมษายน 2559 11.3 27.35 19.49 พฤษภาคม 2559 137 26.67 19.40 มิถุนายน 2559 677.4 23.36 18.26 กรกฎาคม 2559 300.8 23.10 18.1

ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาเขาเขียว (2559)

ลักษณะทางธรณีวิทยาและดิน สภาพธรณีวิทยาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เริ่มต้นในยุค Jurassic หรือประมาณ 180 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นหินเปลือก โลกชุดเก่าที่เรียกว่า “Indonesia” ครั้นต่อมาในยุคปลายของ Mesozoic น้ าทะเลเข้าแผ่ปลุกคลุมพื้นที่ ประกอบกับเกิดกระบวนการทางธรณีในยุค Cretaceous และยุคต้นของ Tertiary จึงท าให้ลักษณะทาง ธรณีบริเวณทิศตะวันออกและทิศใต้ของที่ราบสูงโคราชเกิดการยกตัวและระเบิดของภูเขาไฟ ซึ่งเป็นผลท า ให้เกิดเทือกเขาเพชรบูรณ์ทางด้านทิศตะวันออก และเทือกเขาพนมดงรักทางด้านทิศใต้ทอดตัวเป็นแนว ยาวตามชายแดนลาว-กัมพูชา-ไทย จนถึงอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ หินที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นหิน ทรายกลุ่มโคราช นอกจากนี้ยังพบหินปูนชุดราชบุรีด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หินตะกอนซึ่งเกิดจากการ ทับถมทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ หินดินดานกับหินทรายทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้

สังคมพืช ประกอบด้วย สังคมป่าเบญจพรรณ สังคมป่าดงดิบแล้ง สังคมป่าดงดิบชื้น สังคมป่าดิบ เขา สังคมทุ่งหญ้าและป่ารุ่น โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ภาพที่ 1.1.1 )

1-4

สังคมป่าเบญจพรรณ เป็นป่าชนิดที่พบในพื้นที่ลาดต่ า ทางทิศเหนือของพื้นที่ที่ระดับความสูงของ พื้นที่ที่ 400-600 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลาง ไม้ชั้นบนมีต้นไม้ผลัดใบหลายชนิดปะปนกันไป เช่น มะค่าโมง ประดู่ ตะแบกใหญ่ และปออีเก้ง เป็นต้น พืชชั้นล่างได้แก่ ไผ่ป่า และหญ้าชนิดต่างๆเป็นส่วนใหญ่

สังคมป่าดิบชื้น พบขึ้นทั่วไปในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บนพื้นที่ที่ระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลาง ป่าดิบชื่นบนพื้นที่ระดับต่ าๆ จะมีชนิดไม้คล้ายคลึงกะไม้ป่าดิบแล้ง เพียงแต่มีไม้วงศ์ยางขึ้นเป็นจ านวนมาก เช่น ยางกล่อง ยางขน ยางเสี้ยน และกระบาก ในบริเวณหุบเขา ในพื้นที่ที่ถูกรบกวนจะพบล าพูป่า กระทุ่ม ขึ้นอยู่ทั่วไป ในชั้นของพืชชั้นล่างจะแน่นทึบกว่าป่าดิบแล้ง แต่ ชนิดพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน บริเวณล าธารมักจะมีไผ่เป็นล าใหญ่ๆ คือไผ่ล ามะละกอ ขึ้นเป็นกลุ่มๆ จะพืชอาศัยจ าพวกเฟิร์น

สังคมพืชป่าดิบแล้ง สังคมป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม่ผลัดใบ ต้นไม้จะใกล้เคียงป่าดิบชื้น ดินจะเป็นดิน ร่วนปนทรายมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4.8 – 6.3 ดินค่อนข้างลึกสามารถกักเก็บน้ าได้ดี พอสมควร โดยบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่พบได้ทั้งบริเวณริมห้วยและบริเวณสันเขาที่มีความสูง ประมาณ 200–900 เมตร โดยมีพรรณไม้เด่นเป็นไม้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้ตระกูลยาง (Dipterocarpaceae) ไม้ชั้นล่างจะเป็นไม้ผสมระหว่างไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใบในอัตราส่วนใกล้เคียงกัน

สังคมป่าดิบเขาเป็นป่าไม่ผลัดใบชนิดหนึ่ง ซึ่งมักชอบขึ้นอยู่ในบริเวณพื้นสูงกว่าระดับน้ าทะเล ตั้งแต่ 900 เมตรขึ้นไป พบกระจายอยู่ทั่วไปเฉพาะบางภาคของประเทศ ส่วนมากจะพบทางภาคเหนือ ป่า ดิบเขาเป็นป่าที่มีความส าคัญ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือจะมีพรรณไม้มีค่าหลายชนิด และยัง เป็นแหล่งต้นน้ าล าธารที่จะปลดปล่อยน้ าลงสู่พื้นที่ตอนล่างต่อไป

สังคมป่าหญ้าหรือป่ารุ่น คือพื้นที่ที่เกิดจากการท าไร่เลื่อนลอยในระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา และ บริเวณที่ถูกแผ้วถางเพื่อสร้างถนนในเขตอุทยานฯ พืชหลักๆ ที่พบ ได้แก่ หญ้าชนิดต่างๆ พวกหญ้าคา พง แขมหลวง เลา ตองกง และยังมีกูดชนิดต่างๆ ขึ้นปะปนอยู่ด้วย พื้นที่ที่ไม่ถูกรบกวนจากไฟป่าจะมีพันธุ์ไม้ เบิกน าจ าพวก สอยดาว ล าพูป่า เลี่ยน กระจัดกระจายไปทั่ว ส่วนบริเวณที่ถูกแผ้วถางสองฝากถนน ตั้งแต่ ความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลางจะพบไม้เบิกน าอีกชนิดหนึ่ง คือ ปอหู เป็นจ านวน มาก และในพื้นที่สูงตั้งแต่ 1,000-1,300 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลางจะพบไม้เบิกน าน้อยชนิด ส่วนใหญ่เป็นต้นก าลังเสือโคร่ง

1-5

ภาพที่ 1.1.1 ขอบเขตอุทยาน ลักษณะสังคมพืชที่ปกคลุม และการให้ประโยชน์ที่ดิน (land use ) บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ปราจีนบุรี สระบุรี และนครนายก

ที่มา : ส านักอุทยานแห่งชาติ (2556)

ทรัพยากรสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า นานาชนิดสัตว์ป่าที่สามรถพบได้บ่อย ๆ และตามโอกาสอ านวย ได้แก่ เก้ง กวางป่า ตามทุ่งหญ้าทั่ว ๆไป นอกจากนี่ยังพบ เสือโคร่ง กระทิง เลียงผา หมี เม่นชะนี พญากระรอก หมาไม้ ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า นกชนิดต่างๆ จ านวน 250 ชนิด จากจ านวนไม่น้อยกว่า 340 ชนิด ที่ส ารวจพบอาศัยอยู่บริเวณป่าเขา ใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งหาอาหารและที่อาศัยอย่างถาวร นกที่น่าสนใจและพบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกกก นกเงือก กรามช้าง นกแก๊ก นกเงือกน้ าตาล นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟนกแต้วแล้วนกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังพบแมลงมากกว่า 5,000 ชนิด ที่สวยงามและพบเห็นบ่อย ได้แก่ ผีเสื้อมีรายงานว่าพบ 216 ชนิด

1-6

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่สะดวกได้ 2 เส้นทาง ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

1. จากถนนพหลโยธิน ผ่านรังสิต ประตูน้ าพระอินทร์ สระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ ก่อนถึงอ าเภอปากช่อง บริเวณ กม. 56 ชิดซ้ายขึ้นสะพานลอยไปตามถนนธนะรัชต์ ทางหลวงหมายเลข 2090 ถึง กม.23 จะพบด่านศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ เดินทางต่อไปอีก 15 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ท าการอุทยานฯ รวมระยะทางประมาณ 205 กิโลเมตร

2. จากถนนพหลโยธิน เลี้ยวขวาบริเวณรังสิต เข้าทางหลวงหมายเลข 305 สู่ตัวเมืองนครนายก แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 33 ( ถนนสุวรรณศร ) ถึงสี่แยกศาลนเรศวรเลี้ยวซ้ายตามเส้นทาง ปราจีนบุรี – เขาใหญ่ ผ่านด่านตรวจค่าธรรมเนียมบริเวณเชิงเขาแล้วเดินทางต่อจนถึงที่ท าการอุทยานแห่งชาติ รวม ระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตร

1.2. ขอบเขตของการศึกษา

ด าเนินการส ารวจความหลากหลายของพรรณพืช ความหลากหลายของแมลง และความ หลากหลายของเห็ดรา ในสังคมพืชป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี

1.3 ระยะเวลาที่ท าการศึกษา

ท าการศึกษาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 รวมระยะเวลา 1 ปี

2-1

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม

2.1 สังคมพืช

2.1.1 ความหมายของสังคมพืช

สังคมชีวนะ (biotic community) หรือสังคมแห่งชีวิตบนพื้นผิวโลกแต่ละส่วนมีความ แตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิอากาศ ดิน สิ่งมีชีวิต ไฟป่า และการกระท าของมนุษย์ ซึ่งรวมเรียกว่า สิ่งแวดล้อมของสภาพภูมิประเทศแต่ละแห่ง ความแตกต่างเหล่านี้ก่อให้เกิดพรรณพืชปกคุลมดิน (vegetative cover) ที่แตกต่างกันไปด้วย นักนิเวศวิทยาสาขาพืชมองพืชพรรณ (vegetative) ในแหล่ง ต่างๆ ในรูปของสังคม (community) ซึ่งหมายถึง การอยู่รวมกันโดยมีกฎเกณฑ์แห่งความสัมพันธ์ต่อกัน ภายในกลุ่มหรือสังคม อย่างไรก็ดี Tansley (1939) ได้สร้างแนวคิดเพิ่มเติมไว้ว่า พืชพรรณที่ขึ้นอยู่รวมกัน เป็นกลุ่มนั้นเป็นเพราะชนิดพืชต่างๆ แต่ละต้นฝังรากติดแน่นอยู่กับดินเป็นส่วนใหญ่ แล้วท าการเจริญ ทดแทน (regeneration) โดยสร้างส่วนขยายพันธุ์ (propagule) อย่างมากมายให้กระจายออกไป ใน รูปแบบของการโปรยเมล็ด สปอร์ แตกหน่อแตกตา ราก หรือหัวชนิดต่างๆ ด้วยการเจริญทดแทนนี้เองจึง ท าให้พบชนิดพืชเดียวกันขึ้นอยู่ใกล้ๆ กันปกคลุมพื้นที่กว้าง และถ้ามีพืชหลายชนิดในพื้นที่นั้นก็จะเป็นการ ขึ้นผสมกันตามโอกาสและความเหมาะสมของพื้นที่ที่เปิดทางให้ กลุ่มของพืชที่ขึ้นผสมกันและพบในพื้นที่ เป็นบริเวณกว้างเรียกว่า “สังคมพืช (plant community) ในแต่ละสังคมพืชนั้นๆ มิได้หมายความว่าต้อง มีชนิดพืช (plan species) ต่างๆ มาขึ้นอยู่รวมกันเท่านั้น แต่ชนิดพืชเหล่านี้ยังต้องจัดตัวเองให้อยู่ ร่วมกันได้อย่างสลับซับซ้อน

2.1.2 องค์ประกอบของชนิด (species composition)

องค์ประกอบของชนิดในสังคมพืชนับว่ามีความส าคัญอย่างยิ่ง เป็นลักษณะที่ใช้ในการจ าแนก สมาคมพืช (association) และหน่วยที่ย่อยๆ ลงไป หลายสังคมอาจมีลักษณะทางภาพลักษณ์ภายนอก เหมือนๆ กัน เช่น ป่าเต็งรังกับป่าเบญจพรรณ มีการผลัดใบในหน้าแล้งเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันที่ ชนิดไม้เด่นในสังคม โดยที่ป่าเต็งรังมีไม้ดัชนีที่ใช้ในการจ าแนกป่า คือ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด โดยต้องปรากฏพืชอย่างน้อยสองชนิดอยู่ร่วมกันเป็นไม้เด่นในสังคม ส่วนสังคมป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ ผลัดใบอื่นๆ ปรากฏเป็นไม้เด่น เช่น สัก ประดู่ แดง ชิงชัน และมะค่าโมง เป็นต้น

2-2

2.1.3 ความหลากชนิด (Species diversity)

ความหลากหลายชนิดเป็นลักษณะส าคัญของสังคมพืช มีส่วนเกี่ยวข้องกับความมากมายของชนิด (species richness) และความสม่ าเสมอของชนิด (species evenness) โดยที่ความมากมายของชนิดคือ จ านวนของชนิดในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดในสังคม ส่วนความสม่ าเสมอของชนิด หมายถึง จ านวนต้นในแต่ละ ชนิดภายในสังคม การเปรียบเทียบหรือการประเมินความหลากชนิดในสังคมพืชมักจะท ากันเฉพาะใน เรือนยอดหรือในกลุ่มของการจ าแนกเท่านั้น ไม่นิยมที่จะท า การประเมินในทุกๆ อย่างในสังคม (Barbour et al., 1987) ความหลากหลายด้านชนิดจึงอาจพิจารณาจากจ านวนต้นมวลชีวภาพ หรือผลผลิต ที่เป็นสิ่ง ที่ค่อนข้างมีความแน่นอนมาก (Whittaker, 1975) ปัจจุบันความหลากหลายด้านชนิดเป็นที่สนใจกันมาก มีการเปรียบเทียบเพื่อหาค่าตัววัดที่เหมาะสม ตรวจสอบถึงการแปรผันด้านความหลากหลายของชนิดตาม ความผันแปรของปัจจัยสิ่งแวดล้อม เพื่ออธิบายถึงความหลากหลายที่สัมพันธ์กับค่าทางนิเวศวิทยาบาง ประการในสังคมต่างๆ อย่างไรก็ตาม Barbour et al. (1987) เสนอแนะว่า ควรถือว่าค่าดัชนีนี้เป็นเพียง ลักษณะหนึ่งที่ใช้อธิบายหรือบรรยายสังคมเท่านั้น ซึ่งควรมีการใช้ควบคู่กับลักษณะอื่นๆ โดยเฉพาะบัญชี รายชื่อของชนิดในสังคมเพื่อท าความเข้าใจสังคมให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

พรรณพืชของประเทศไทยที่ได้รับการศึกษาทบทวน และบันทึกไวในหนังสือพรรณพฤกษชาติ ของประเทศไทยแลว มีประมาณ 2,819 ชนิด หรือประมาณรอยละ 23 ของจ านวนพืชที่มีทอล าเลียงของ ไทย ประมาณวา ประเทศไทยมีชนิดพรรณพืชที่มีทอล าเลียงอยูประมาณ 12,000 ชนิด เปนเฟน 658 ชนิด และกลวยไมมากกวา 1,000 ชนิด และประมาณวาในจ านวนพรรณพืชนี้ มีพืชที่เปนสมุนไพรที่ไดถูก ใชส าหรับเปนยารักษาโรคในทองถิ่น ประมาณ 1000 ชนิด ทั้งนี้ยังไมรวมเห็ดราที่มีประมาณ 3000 ชนิด ในปจจุบัน หอพรรณไมกรมอุทยานแหงชาติสัตวปา และพันธุพืช มีตัวอยางพรรณไมแหงที่เก็บสะสมไวถึง ประมาณ 200,000 ตัวอยาง เปนตัวอยางตนแบบ (type specimens) ประมาณ 255 ตัวอยาง ในจ านวน ตัวอยางพรรณไมแหงทั้งหมดนี้ ครอบคลุมพรรณพฤกษชาติที่มีทอล าเลียงของประเทศไมต ่ากวารอยละ 80 คาดวาถาหากมีการส ารวจและเก็บตัวอยางพรรณไมเฉพาะพื้นที่แบบตอเนื่องเพิ่มเติม จะตองพบชนิด พันธุใหมแนนอน (สิริกุล และสิตา, 2547)

2.1.4 พืชถิ่นเดียวหรือพืชเฉพาะถิ่น

พืชชนิดที่พบขึ้นและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นพืชที่มีเขตการกระจายทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจ ากัด มักจะพบพืชถิ่นเดียวบนพื้นที่ที่มีลักษณะ จ ากัดทางระบบนิเวศ เช่น บนเกาะ ยอดเขา หน้าผาของภูเขาหินปูน และพรุ เป็นต้น ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมี สภาพจ ากัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเฉพาะที่ (microclimate) พืชถิ่นเดียวของไทยหลาย ชนิดพบขึ้นเฉพาะบนภูเขาหินปูนหรือดินที่สลายมาจากหินปูน ส่วนพืชหายาก (rare plants) คือ พืชชนิด

2-3

ที่มีประชากรขนาดเล็ก ยังไม่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (endangered) แต่มีความเสี่ยงที่จะเป็นพืชที่ ใกล้จะสูญพันธุ์ได้ พืชหายากเป็นพืชที่ทราบจ านวนประชากรที่มีอยู่ตามแหล่งต่างๆ และส่วนใหญ่มีจ านวน น้อยเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ พืชถิ่นเดียวที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (flora of Thailand) ส่วนใหญ่เป็นพืชหายาก โดยเมื่อจ าแนกพืชเฉพาะถิ่นตามระบบนิเวศพบว่าระบบนิเวศที่มีพืช เฉพาะถิ่นจ านวน 7 สังคมพืช ได้แก่ สังคมพืชป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น 260 ชนิด สังคมพืชบนเขาหินปูน 239 ชนิด สังคมพืชป่าดิบเขา 193 ชนิด สังคมพืชป่าผลัดใบ 35 ชนิด สังคมพืชบริเวณทุ่งหญ้า 15 ชนิด ระบบนิเวศน้ าจืด 13 ชนิด และสังคมพืชป่าพรุ 2 ชนิด (ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม, 2558)

2.1.5 ลักษณะสังคมที่ท าการศึกษา

ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ป่าดิบเขาจ าแนกได้โดยไม้ดัชนีและลักษณะโครงสร้าง ของสังคมในด้านการผสมกันของชนิดไม้เป็นหลักแต่การปรากฏของไม้ดัชนีของป่านี้มีความสัมพันธ์กับ สภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งความหนาวเย็นในประเทศไทยมักขึ้นกับความสูงจากระดับน้ าทะเล ดังนั้น จึงกล่าวกันว่า ป่าดิบเขาเป็นป่าที่ขึ้นปกคลุมอยู่บนยอดเขาสูงที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี โดยทั่วไปสภาพ ดังกล่าวมักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีระดับความสูงเกิน 1,200 เมตรจากระดับน้ าทะเล แต่การจ าแนกป่าชนิดนี้ โดยแท้จริงแล้วพิจารณาที่การปรากฏของไม้ดัชชีต่อไปนี้คือ การปรากฏของไม้วงศ์ไม้ก่อ (Fagaceae) ใน สกุล Quercus, Lithocarpus และ Castanopsis ผสมกับไม้ในกลุ่มจิมโนสเปิร์ม (Gymnosperm) ใน สกุล Podocarpus, Dacrydium, Cephalotaxus, Gnetum และ Cycas ผสมกับไม้ในเขตอบอุ่นอีก หลายชนิด ชนิดที่ถือได้ว่าเป็นไม้ดัชนีของสังคมได้แก่ ก่อก้างด้าง (Lithocarpus garrettianus) ก่อแดง (Lithocarpus trachycarpus) ก่อน้ า (Lithocarpus thomsonii) ก่อหมู (Lithocarpus sootepensis) ก่อใบเหลื่อม (Castanopsis tribuloides) ป่าดิบเขาอาจพบได้ในทุกภาคของประเทศในบริเวณที่เป็น ยอดเขาสูงใต้สุดปรากฏที่ยอดเขาหลวง ชนิดไม้ส าคัญ เช่น ขุนไม้ (Nageia wallichianus) สนสามพันปี (Dacrydium elatum) มะขามป้อมดง (Cephalotaxus mannii) เมื่อย (Gnetum montanum) ก าลัง เสือโคร่ง (Betula alnoides) จันทร์ทอง (Fraxinus excels) ลูกลีบ (Ulmus lancaefolia) คางคาก (Nyssa javanica) ก่วมแดง (Acer Calcaratum) กุหลาบแดง (Rhododendron simsii) และกุหลาบ ขาว (Rhododendron ludwigianum) เป็นต้น ป่าดิบเขาในประเทศไทย แบ่งย่อยตามลักษณะ โครงสร้างป่าออกได้เป็น 2 สังคมย่อย (ธวัชชัย, 2528)

1.โครงสร้างป่าดิบเขาระดับต่ า (lower hill evergreen forest) พบบนภูเขาที่สูงกว่า ระดับน้ าทะเลปานกลางตั้งแต่ประมาณ 1,000 เมตร จนถึง 1,900 เมตร สภาพป่ามีเรือนยอดแน่นทึบมีไม้

2-4

พื้นล่างหนาแน่นคล้ายคลึงกับป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งบนที่ต่ าแต่แตกต่างกันในองค์ประกอบของพรรณไม้ ป่าดิบเขาต่ าประกอบด้วยพรรณไม้เขตอบอุ่น (temperate species) และพรรณไม้เขา (montane species) ที่ต้องการอากาศค่อนข้างหนาวเย็นตลอดปี ส่วนใหญ่ได้แก่ ไม้ก่อ นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้ใน ระดับต่ า (lowland species) ที่เป็นพรรณไม้เด่น ของป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งขึ้นอยู่ปะปนอยู่ด้วย พรรณ พืชจ าพวกหมากปาล์มที่เป็นต้น กอ หรือหวาย มีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับป่าดิบชื้นหรือดิบแล้ง เช่นเดียวกับเถาวัลย์ชนิดต่างๆ จะพบอยู่ค่อนข้างน้อย ในป่าดิบเขาต่ า ความสูงของเรือนยอดชั้นบนของ ป่าดิบเขาต่ า ประมาณ 20-35 เมตร ความสูงของเรือนยอดจะลดลงตามระดับความสูงของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันป่าดิบเขาต่ าที่สมบูรณ์เหลืออยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะถูกชาวเขาแผ้วถางท าไร่เลือนลอย พื้นที่ป่า ดิบเขาต่ าตามธรรมชาติ เมื่อถูกท าลายแล้ว ทิ้งร้างไว้นานๆ จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นป่าดิบเขาต่ ารุ่นสอง เช่น ป่าไม้ก่อ ป่าไม้ก่อ-ไม้สน ป่าดิบเขาต่ าดั้งเดิมปัจจุบันเหลืออยู่เป็นหย่อมๆ บนภูเขา เช่น ดอย อินทนนท์ ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่, ดอยภูคา จังหวัดน่าน, เทือกเขาสูงในป่าทุ่งใหญ่ จังหวัด กาญจนบุรี, เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี, บนภูเขาหินทราย จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ภูหลวง จังหวัดเลย และบนภูเขาสูงทางภาคใต้ เช่น เขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช ไม้ต้นที่พบทั่วไปใน ป่าดิบเขาต่ า เช่น ไม้ก่อชนิดต่างๆ ของวงศ์ Fagaceae เช่น ก่อเดือย Castanopsis acuminatissima , ก่อหรั่ง C. armata, ก่อน้ า C. calathiformis, ก่อแป้น C. diversifolia, ก่อหนาม C. echinocarpa, ก่อแหลม C. ferox, ก่อตาหมู C. fissa, ก่อตี C. indica, ก่อหิน C. piriformis, ก่อดาน C.purpurea, ก่อ ขี้หมู C. rhamnifolia, ก่อใบเลื่อม C. tribuloides, ก่อหมี Lithocarpus auriculatus, ก่อผัวะ L. dealbatus, ก่อหม่น L. grandifolius, ก่อพวง L. fenestratus,ก่อเลือด L. garrettianus, ก่อด่าง L. lindleyanus, ก่อแงะ L. polystachyus, ก่อหัวหมู L. sootepensis, ก่อหม่น L. thomsonii, ก่อด า L. truncates, ก่อหนุน Quercus brandisiana, ก่อตลับ Q. eumorpha, ก่อตาคลอด Q. lenticellata, ก่อด่าง Q. myrsinifolia, ก่อหมวก Q. oidocarpa, ก่อสีเสียด Q. poilanei, ก่อตาหมูหลวง Q. semiserrata และก่อแอบ Q. vestita เป็นต้น พรรณไม้ชนิดอื่น เช่น จ าปีหลวง Michelia rajaniana, แก้มมหาวัน M. floribunda, จ าปีป่า M. baillonii, มณฑาดอย Manglietia garrettii, ตองแข็ง Magnolia hodgsonii, จ าปีดง M. henryi (Mangnoliaceae), ทะโล้ Schima wallichii (Theaceae), ตองลาด Actinodaphne henryi, แกง Cinnamomun tamala, เชียดขาว Lindera pulcherrima, สะหมี่ Litsea monopetala, หมี่บ้ง L. semecarpifolia, ทัง L. beusekomii, กะทัง L. martabanica, ทัน Phoebe tavoyana (Lauraceae), จันทร์หอง Fraxinus floribundus, มวกกอ Olea salicifolia (Oleaceae), มะกอกเลื่อม Canarium subulatum (Burseraceae), ลูกลีบ Ulmus lancaefolia (Ulmaceae), ก่วมแดง Acer calcaratum, ก่วมขาว A. laurinum, ก่วม A. oblongum (Aceraceae), มะมือ Choerospondias axiliaris, แกนมอ Rhus succedanea, มะม่วงขี้ไต้ Mangifera syivatica (Anacardiaceae), ประสงค์ Aglaia chittagonga, ยมหอม Toona ciliate,

2-5

ขี้อ้าย Walsura robusta (Meliaceae), สารภีดง Mammea hamandii, กระนวน Garcinia merguensis (Gulliferae), มุ่นดอย Elaeocarpus braceanus, กุนเถื่อน E. floribundus, มุ่นดอย E.prunifolius, ก่อเรียน Sloanea sigun, สตี S. tomentosa (Elaeocarpaceae), มะชัก Sapindus rarak (Sapindaceae), ตีนจ าดง Adinandra integerrima, เมี่ยงอาม Camellia connata, เหมือด เม็ก C. oleifera, ขี้ผึ้ง Gordonia dalglieshiana, เมี่ยงอีอาม Pyrenria camelliiflora (Theaceae), เหมือดหอม Symplocos racemose, เหมือดหอม Symplocos racemose, เหมือดปลาซิว S. sumuntia (Symplocaceae), มะเนียงน้ า Aesculus assamica (Hippocastanaceae), คางคก Nyssa javanica (Nyssaceae), ช้าส้าน Saurauia nepaulensis, ส้านเห็บ S. roxburghii (Actinidiaceae), มะยอมหิน Meliosma pinnata (Sabiaceae), ตะเกราน้ า Eriobotrya bengalensis (Rosaceae), เหมือดคนดง Helicia formosana, เหมือดคน Heliciopsis terminalis (Proteaceae), หว้าเขา Syzygium angkae (Myrtaceae) และขางขาว Xanthophyllum virens (Xanthophyllaceae) เป็นต้น ไม้ต้นเนื้ออ่อนจ านวนพวกสนเขา (conifer) ได้แก่ มะขามป้อมดง Cephalotaxus mannii (Cephalotaxaceae), พญาไม้ Podocarpus neriifolius และขุนไม้ Nageia wallichianus (Podocarpaceae) เป็นต้น ปาล์มที่พบขึ้นกระจัดกระจาย ได้แก่ เต่าร้างยักษ์ Caryota sp., เต่าร้าง C. urens, เขือง Wallichia caryotoides, ค้อ Livistona speciosa (Palmae) ส่วนบริเวณ พื้นที่ชุ่มแฉะในป่าดิบเขาต่ าจะพบเกี่ยงป่า Pandanus furcatus (Pandanaceae), กูดต้น หรือเฟินต้น Cyathea spp. (Cyatheaceae) และเฟินยังแฮก Dipteris conjugate (Dipteridaceae), มะพร้าวเต่า Cycas simplicipinna (Cycadaceae) ขึ้นกระจัดกระจาย

2. โครงสร้างป่าดิบเขาระดังสูงหรือป่าเมฆ (upper montane rain forest หรือ cloud forest) ป่าดิบเขาสูงขึ้นปกคลุมตามสันเขาและยอดเขา ที่สูงกว่า 1,900 เมตรขึ้นไป ส่วนใหญ่จะมีเมฆ/ หมอกปกคลุมประจ า เรียกอีกชื่อหนึ่งคือ “ป่าเมฆ” ป่าดิบเขาตามธรรมชาติที่สมบูรณ์ ขึ้นปกคลุมสันเขา และยอดดอยอินทนนท์เป็นผืนใหญ่ ป่าดิบเขาสูง มีลักษณะเด่นของเรือนยอดชั้นบนระหว่าง 16-23 เมตร แน่นทึบมากและการปกคลุมของเมฆ/หมอก ท าให้พื้นล่างของป่าร่มครึ้มตลอดวันไม้ชั้นรองลงมาจึงมี ขนาดเล็กมากและขึ้นห่างๆ อยู่ตามบริเวณที่มีแสงสว่างบ้างในป่า เนื่องจากอากาศอันหนาวเย็นและความ ชุ่มชื้นในป่าที่สูงมากตามล าต้นและกิ่งของต้นไม้ปกคลุมด้วยพืชอิงอาศัยจ าพวกมอส และไลเคนหนาแน่น โดยเฉพาะมอสชนิดต่างๆ จะปกคลุมลงมาถึงโคนต้นและคลุมพื้นดินออกไปโดยรอบ ตามชายป่าดิบเขาสูง จะปรากฏชั้นของไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร ได้แก่ ฮ้อมดง Strobilanthe sinvolucratus (Acanthaceae) พรรณพืชจ าพวกเฟินพบขึ้นตามพืชป่า (terrestrial fern) และอิงอาศัย (epiphytic fern) ตามล าต้นและ กิ่งไม้หนาแน่นบางครั้งเรียกป่าดิบเขาสูงอีกชื่อว่า mossy forest ไม้ต้นที่พบทั่วไปในป่าดิบเขาสูง เช่น ก่อ ตลับ Quercus eumorpha, ก่อจุก Lithocarpus aggregatus, ก่อดาน Castanopsis purpurea

2-6

(Fagaceae), ทะโล้ Schima wallichii, แมงเม่านก Eurya nitida, ขี้ผึ้ง Gordonia dalglieshiana (Theaceae), เอียน Neolitsea foliosa, เมียดต้น Litsea martabarnica, มะเขื่อขื่น Beilschmiedia spp., แกง Cinnamomum tamala, จวงหอม Neocinnamomum caudatum (Lauraceae), พันชุลี Mastixia euonymoides (Cornaceae), เอี้ยบ๊วย Myrica esulenta (Myricaceae), เหมือดคนดง Helicia formosana var. ob;anceolata, เหมือดคน Heliciopsis terminalis (Proteaceae), ก่วม ขาว Acer laurinum, ก่วมแดง A. calcaratum (Aceraceae), โพสามหาง Symingtonia populnea (Hamamelidaceae), เหมือดดอย Myrsine semiserrata (Myrsinaceae), เข็มดอย Osmanthus fragrans (Oleaceae), เหมือดเงิน Symplocos dryophila (Symplocaceae), ต้าง Macropanax dispermun (Araliaceae) และมะก้อม Turpinia cochinchinensis (Staphyleaceae) เป็นต้น ตามชายป่าดิบเขาสูงที่เป็นที่ทุ่งโล่งบนไหล่เขาที่ลาดชันจะพบกลุ่มไม้ขนาดเล็ก ได้แก่ กุหลาบพันปี Rhododendron arboreum (Ericaceae) และไม้พุ่มจ าพวกช้ามะยมดอย Gaultheria crenulata (Ericaceae) ไม้พุ่มอิงอาศัยที่พบมาก เช่น สะเภาลม Agapetes hosseana, กายอม Rhododendron veitchianum (Ericaceae) และโพอาศัย Neohymenopogon parasiticus เป็นต้น

2.1.6 ระบบนิเวศของป่าดิบเขา

สังคมป่าดิบเขาในระดับสูงและระดับต่ าค่อนข้างจะมีความแตกต่างกันในด้านการหมุนเวียน ของสารและการไหลเลื่อนของพลังงาน สังคมป่าดิบเขาระดับต่ ามีการหมุนเวียนของสารและการไหลเลื่อน ของพลังงานค่อนข้างรวดเร็ว พลังงานที่ตกลงสู่ป่านี้ค่อนข้างมากตลอดปี เพียงพอที่พืชจะน ามาใช้ในการ สังเคราะห์แสง ธาตุอาหารในดินในป่าธรรมชาติมักไม่แสดงการขาดแคลนทั้งนี้เนื่องจากการเพิ่มจาก ตะกอนที่ไหลลงมาจากพื้นที่ในระดับสูงและการสลายตัวของหินและดินในส่วนลึกช่วงเวลากลางวัน โดยทั่วไปมีอุณหภูมิสูงพอเพียงส าหรับขบวนการทางชีววิทยาของพืชทุกชนิด ดังนั้นป่าดิบเขาระดับต่ าจึง สามารถที่จะสร้างผลผลิตมูลฐานได้ตลอดปี ปกติผลิตผลสดที่ผลิตขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเรือนยอด ชั้นบน ใบอ่อน ดอก และผลของไม้ใหญ่เป็นส่วนที่สัตว์ป่าน าไปใช้มาก พื้นป่าโดยทั่วไปไม่รกทึบมากแต่ก็มี พืชล้มลุกและพืชหัวขึ้นผสมกับลูกไม้ท าให้มีสัตว์กินพืชที่ผิวดิน เช่น กวางป่า อีเด้ง สามารถด ารงชีวิตอยู่ได้ ในปริมาณที่มากพอสมควร ระบบนิเวศของป่าดิบเขาระดับสูง โดยทั่วไปมีการผลิตมวลพืชสดแต่ละปี ค่อนข้างต่ า ทั้งนี้เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างเย็นและมักมีปัญหาเรื่องลมที่พัดจัด อีกทั้งมีเมฆปก คลุมอยู่เสมอ อากาศที่หนาวและชื้นท าให้พืชล้มลุกภายใต้เรือนยอดป่ามีน้อยแต่ปกคลุมด้วยมอสส์และ เฟิร์นค่อนข้างหนาแน่นซึ่งพืชในกลุ่มนี้ค่อนข้างโตช้า ซากพืชที่ร่วงหล่นลงบนดินมีการสลายตัวได้ค่อนข้าง ช้าเนื่องจากความหนาวเย็น ในบางตอนที่ค่อนข้างชื้นจัดและมีน้ าขังมักก่อตัวเป็นพีท (peat) บางๆ ปก คลุมผิวดิน การท างานของสัตว์หน้าดินไม่มีประสิทธิภาพที่จะสลายซากพืชให้หมดไปได้ในช่วงรอบปี

2-7

2.1.7 สังคมพืชป่าดิบเขาต่ า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

มีระดับความสูง 950-1,400 เมตร จากระดับน้ าทะเลมีฝนตกรายปีประมาณ 3,000 มิลลิเมตร ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่มีความสูงปานกลาง ประมาณ 20-25 เมตร เรือนยอดเล็ก มีกิ่งก้านเรียว ล าต้นส่วนใหญ่จะ เรียวกว่าต้นไม้ในป่าดิบชื้น (rain forest) ปกติแล้วต้นไม้จะไม่มีรากค้ ายัน (buttress) มีพวกไม้เลื้อยขึ้นอยู่ บ้างแต่ส าหรับพวกไผ่ หวายและปาล์มต่างๆ มีน้อยหรือไม่มีเลย พืชล้มลุกมีน้อย พรรณไม้เด่นที่พบ คือ ไม้ ในวงศ์ไม้ก่อ (Fagaceae) ทั้ง 3 สกุล ได้แก่ สกุล Castanopsis, Lithocarpus และQuercus ส่วนไม้ที่ขึ้น ปะปนอยู่ ได้แก่ ทะโล้ (Schima wallichii) สนสามพันปี (Dacrydium elatum) และซางจิง (Podocarpus nerriifolius) (ธนพงศ์, 2542)

2.1.8 การศึกษาโครงสร้างในเชิงปริมาณ

การศึกษาสังคมพืชโดยอาศัยลักษณะเชิงปริมาณ (quantitative characteristics) เป็นการ น าเอาลักษณะเชิงปริมาณของตัวเลข มาบรรยายลักษณะของสังคมนั้นๆ ลักษณะเชิงปริมาณ ได้แก่ ความหนาแน่น (density) เพื่อให้เห็นความส าคัญทางนิเวศวิทยาของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดสังคมจึงรวบรวม ลักษณะเชิงปริมาณอย่างน้อย 2 ลักษณะของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดเข้าด้วยกันและเพื่อเปรียบเทียบ ความส าคัญของพันธุ์ไม้ในสังคมจึงแปลงลักษณะเชิงปริมาณเป็นค่าเชิงสัมพัทธ์ (relative) เช่น ความถี่ สัมพัทธ์ (relative frequency) ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (relative density) และค่าความเด่นสัมพัทธ์ (relative dominance) ผลรวมของค่าทั้งสามนี้คือ ค่าความส าคัญ (Importance Value; IV) (Curtis, 1959) ซึ่งเป็นค่าที่ใช่แสดงถึงความส าเร็จทางนิเวศวิทยาของชนิดพันธุ์ในการครอบครองพื้นที่นั้นๆ พรรณไม้ชนิดใดที่มีค่าความส าคัญสูง แสดงว่าพรรณไม้ชนิดนั้นเป็นไม้เด่นและมีความส าคัญในพื้นที่นั้นๆ (สมศักดิ์, 2520; ดอกรัก, 2538; อุทิศ, 2542; รุ่งสุริยา, 2545; สคาร และ พงศักดิ์, 2546)

2.1.9 ความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงแนวคิดและทฤษฎี (Biodiversity as a concept)

ในทางทฤษฎีความหลากหลายทางชีวภาพ ครอบคลุมสิ่งมีชีวิต ทั้งจุลินทรีย์ พืช สัตว์และ มนุษย์ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมแตกต่างกันออกไป เพื่อให้สามารถปรับตัวกับ ได้กับสภาพแหล่งที่อยู่อาศัยในแต่ละท้องถิ่น ปัจจัยส าคัญที่มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยทางด้านนิเวศวิทยา (ecological process) 2) กระบวนการวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิต (evolution) และ3) กระบวนการท าลายและการอนุรักษ์ (disturbance and conservation) ที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์ ในทางทฤษฎีสามารถจ าแนกความหลายหลายทางชีวภาพได้ 4 ประเภท

2-8

ย่อย คือ 1) ความหมายในเชิงระดับของสิ่งมีชีวิต 2) ความหมายในเชิงระบบนิเวศ 3) ความหมายในเชิง ขนาดพื้นที่ และ4) ความหมายในเชิงมิติของเวลา

1. การจ าแนกความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงระดับของสิ่งมีชีวิต (organism hierarchy) สามารถจ าแนกออกได้ 3 ระดับ คือ

ความหลากหลายของพันธุกรรม (genetic diversity) พันธุกรรมหรือยีนในรูปร่าง ต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างมากมายและเป็นตัวก าหนดรูปร่างและการท างานของสิ่งมีชีวิต ประกอบไป ด้วย DNA และสารประกอบของสารพันธุกรรมทั้งหมดที่มีอยู่ในเซลล์เรียกว่าจีโนม (genome) สามารถ สังเกตได้จาก 2 ลักษณะคือ ลักษณะที่แสดงออกทางภายนอก (phenotype) และลักษณะภายใน (genotype)

ความหลากหลายของชนิด (species diversity) จ านวนหน่วยของสิ่งมีชีวิตหรือ ประชากร (population) ที่เป็นสมาชิกของชนิดนั้นๆ ที่มีอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยที่ใดที่หนึ่ง การจ าแนก สิ่งมีชีวิตที่พบเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน พิจารณาจาก ความหมายเชิงลักษณะสัณฐานภายนอก และความหมายเชิงชีวภาพ

ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecosystem diversity) ความผันแปรของถิ่นที่ อย ่อาศัยู (habitat) หรือระบบนิเวศ (ecosystem) ที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีการ เปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในระบบนิเวศ และระบบนิเวศจะเปลี่ยนแปลงไปตาม ลักษณะของปัจจัยสิ่งแวดล้อมเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอาจท าให้เกิดการสูญเสียความ หลากหลายทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางชนิด จนไม่สามารถปรับตัวและสูญพันธุ์ได้

2. การจ าแนกความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงระบบนิเวศ (ecological component) ความหลากหลายทางชีวภาพอาจจ าแนกในเชิงระบบนิเวศได้ 3 องค์ประกอบ คือ 1) เชิง องค์ประกอบ (composition) 2) เชิงโครงสร้าง (structure) และ 3) เชิงหน้าที่ (Fuction) (Noss, 1990; สมศักดิ์, 2545)

ความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงองค์ประกอบ (compositional diversity) ใน พื้นที่หนึ่งประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตอะไรบ้าง โดยแบ่งเป็นรายชื่อพืช รายชื่อสัตว์ และจุลินทรีย์เป็นต้น

2-9

ความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงโครงสร้าง (structural diversity) เป็นความ หลากหลายของการกระจายสิ่งมีชีวิตในแนวดิ่ง (vertical) และในแนวนอน (horizontal) หรือการ กระจายของขนาดชั้นความโตของพืช

ความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงหน้าที่ (functional diversity) ดูได้จาก กระบวนการทางนิเวศวิทยา เช่น การหมุนเวียนธาตุอาหาร การย่อยสลาย และการถ่ายทอดพลังงานตาม ห่วงโซ่อาหาร พื้นที่ใดมีสิ่งมีชีวิตในปริมาณ การกระจายและสัดส่วนที่เหมาะ พื้นนั้นจะมีความหลากหลาย ทางชีวภาพเชิงหน้าที่ดีและระบบนิเวศมั่นคง

3. การจ าแนกความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงขนาดพื้นที่ (spatial extent dimension) ความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงขนาดพื้นที่ มีหลายระดับตั้งแต่บริเวณที่มีเนื้อที่ขนาดเล็ก จนถึงพื้นที่ขนาดใหญ่

พื้นที่ขนาดเล็กหรือหย่อม (patch) หมายถึง บริเวณที่ถูกรบกวนและมีลักษณะ โครงสร้างและองค์ปะกอบเหมือนกัน เช่น พื้นที่ช่องว่างในป่าที่เกิดจากไม้ใหญ่ล้มแล้วท าให้ไม้บริเวณ ใกล้เคียง หรือพื้นที่ที่เกิดจากการทดแทนเป็นหย่อมๆ (micro succession)

หมู่ไม้ (stand) หรือสังคมพืช หรือประเภทของป่าไม้ที่มีกลุ่มพืชขึ้นอยู่ และมี ลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกันทั้งหมู่ เช่น สังคมพืชป่าเต็ง

ภูมิทัศน์ (landscape) หมายถึง บริเวณอาณาเขตกว้างขวางและมีความสม่ าเสมอ คือมีสังคมพืชและระบบนิเวศหลายประเภทต่างๆ กัน แต่มีความเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์กัน

4. การจ าแนกความหลากหลายทางชีวภาพในเชิงมิติของเวลา (temporal dimension) ความหลากหลายทางชีวภาพที่ปรากฏในแต่ละประเภท อาจเป็นเพียงความหลากหลาย ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง (temporal) สังคมพืชและสิ่งมีชีวิต จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นพลวัต (dynamics) ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสิ่งแวดล้อม และปัจจัยทางชีวภาพ เช่น ป่าเต็งรัง ป่า เบญจพรรณ หากมีการป้องกันไฟป่าอย่างเข้มงวด อีก 50 ปีข้างหน้าอาจเปลี่ยนเป็นป่าดงดิบแล้ง

2-10

2.2 ความหลากหลายของแมลง

2.2.1 ความหลากหลายของแมลง

แมลง () เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรสัตว์ ไฟลัม (Phylum) Arthopoda ชั้น (class) ซึ่งจัดว่าเป็นชั้นที่มีจ านวนชนิดของสิ่งมีชีวิตมากที่สุดถึง 1.5 ล้านชนิด หรือ มีมากถึงร้อยละ 70-72 % ของจ านวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลก โดยจะพบว่าแมลงกระจายอยู่ทั่วไปไม่ว่าเป็นบนภูเขาสูง ในป่าเขา ในทะเลทรายที่แห้งแล้งมาก ในเขตหนาวเย็น เช่น ขั้นโลก หรือแม้แต่ในน้ าที่เป็นน้ าจืดและน้ าเค็ม รวมทั้ง ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ เป็นเพราะแมลงมรการปรับตัวในด้านสัณฐาน สรีระ และพฤติกรรม เพื่อให้มีความสามารถในการด ารงชีวิตอยู่ในสถานที่ต่างๆ ของโลกได้เป็นอย่างดี

2.2.2 ความหลากหลายของแมลงในประเทศไทย

จากการสัมมนาชีววิทยา ครั้งที่ 7 เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย โดย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และ องค์การยูเสด (2532) ได้รายงานไว้ ที่พิพิธภัณฑ์แมลง กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร ได้ท า การเก็บรวบรวมและรักษาตัวอย่างแมลงที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 50,000 ตัวอย่าง แต่ที่สามารถ วินิจฉัยชนิดได้มีเพียง 5,666 ชนิดเท่านั้น แมลงที่เก็บในพิพิธภัณฑ์แมลงส่วนใหญ่ เป็นแมลงที่มีประโยชน์ และแมลงที่เป็นศัตรูท าลายผลผลิตทางการเกษตร โดยมีแมลงแบ่งตามอันดับได้ดังนี้ อับดับ Orthoptera 214 ชนิด, Isoptera 41 ชนิด, Homoptera 512 ชนิด, Hemiptera 270 ชนิด, Coleoptera 1,703 ชนิด, 2,488 ชนิด, Diptera 299 ชนิด, Hymenoptera 409 ชนิด

ส าหรับแมลงเฉพาะกลุ่ม Amnuay (1988 a, b, c, d, e, f) ได้ท าการส ารวจผีเสื้อกลางวัน พบ 1,200 ชนิด แยกเป็นวงศ์ได้ดังนี้ วงศ์ Papilionidae มี 89 ชนิด, Nanaidae มี 46 ชนิด, Pieridae มี 78 ชนิด, Amathusiidae มี 37 ชนิด, Nymphalidae มี 167 ชนิด, Lygaenidae มี 472 ชนิด, Hesperidae มี 149 ชนิด, Satyridae มี 125 ชนิด, Libytheidae มี 5 ชนิด และRiodinidae มี 32 ชนิด ในส่วนของผีเสื้อกลางคืน Cook et al.(1987) ได้ท าการส ารวจผีเสื้อกลางคืนวงศ์ Limacodidae ที่ ท าความเสียหายแก่ปาล์มและมะพร้าวในประเทศไทย มี 114 ชนิด และ Inove et al.(1983) ได้ท าการ ส ารวจผีเสื้อกลางคืนวงศ์ Sphingidae ในประเทศไทย มี 176 ชนิด

2-11

2.2.3 แมลงในระบบนิเวศ

จากการที่แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายมากที่สุดในโลก และยังมีวิวัฒนาการที่ ยาวนานกว่าสัตว์ทุกชนิด โดยคาดว่าน่าจะมีก าเนิดมาตั้งแต่ 400 ล้านปีที่แล้ว ก่อนการก าเนิดของ ไดโนเสาร์ แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในทุกระบบนิเวศ มีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ทุดสถานะ มี บทบาทหน้าที่ในระบบนิเวศ โดยเฉพาะระบบนิเวศป่าไม้ เป็นผู้บริโภคอันดับแรกและในขณะเดียวกัน ก็ เป็นผู้ถูกบริโภคเช่นกัน รวมทั้งบางชนิดยังท าหน้าที่เป็นผู้ย่อย (Litter transformer) ได้แก่ ปลวก หรือ ด้วงมูลสัตว์ ผู้ปรับปรุงดิน (Soil engineering) เช่น มด ปลวก และสุดท้าย เป็นผู้ล่าเสียเอง คือ ตัวห้ า (Predators) และตัวเบียน (Parasites)

แมลงในระบบนิเวศป่าไม้มีความส าคัญมาก บทบาทหน้าที่ต่างๆ ของแมลงจะก่อให้เกิดทั้งโทษ ท าให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ยุง และแมลงวัน รวมทั้งสร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรหรือป่าไม้ ในส่วนแมลงที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ การผลิตเส้นไหม ช่วยผสมเกสร และเป็นศัตรูธรรมชาติ เช่น ตัวห้ า และตัวเบียน หรือเป็นทั้งโทษและประโยชน์ภายในอายุขัยเดียวกัน เช่น ตัวหนอนผีเสื้อซึ่งในระยะตัวอ่อน จะแสดงพฤติกรรมกินใบพืชป่าไม้ เจาะล าต้น เจาะเมล็ด รวมทั้งเป็นตัวห้ า แต่ในระยะตัวเต็มวัย ช่วยใน การผสมเกสรของพรรณไม้ต่างๆ แม้แต่ในระยะดักแด้สามารถน ามาผลิตเป็นเส้นไหมจากปลอกดักแด้ได้ เป็นต้น

แมลงหลายชนิดมีบทบาทหน้าที่ที่ส าคัญ เรียกว่า “ชนิดพันธุ์ก ากับการ” (Keystone species)ภายในระบบนิเวศ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยต่างๆ แมลงเหล่านี้จะ ได้รับผลกระทบด้วย จากการที่แมลงมีบทบาทหน้าที่ส าคัญนี้จึงสามารถเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพของ สิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เช่น การใช้แมลงน้ า เช่น ตัวอ่อนชีปะขาว ตัวอ่อนของสโตนฟลาย เพื่อประเมิน คุณภาพของแหล่งน้ า การใช้ปลวกเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ การใช้มดเป็นดัชนีชี้ว่าผืนป่ามี ความอุดมสมบูรณ์เพียงใด เป็นต้น ซึ่งกลุ่มของแมลงที่มักจะถูกใช้ จึงมักจะพิจารณาจากบทบาทหน้าที่ ภายในระบบนิเวศนั้นๆ รวมถึงการแพร่กระจายในพื้นที่ ที่กล่าวมาแล้วว่า แมลงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสัน หลัง ที่มีขาเป็นปล้อง เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายมากที่สุด มีการแบ่งแยกได้ถึง 30-33 อันดับ จะมีความหลากหลายแตกต่างกัน และมีลักษณะที่เด่นแตกต่างกันไปด้วย

2-12

2.2.4 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผีเสื้อ

ผีเสื้อเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มแมลงที่มีโครงร่างภายนอก (Exoskeleton) จัดอยู่ในอันดับเลพิดอป เทอรา (Order Lepidoptere) ประกอบด้วยผีเสื้อกลางวัน (Butterflies) และผีเสื้อกลางคืน () ส าหรับผีเสื้อกลางวัน แยกได้ 2 ซูเปอร์แฟมิลี่ (Superfamily) คือ 1.ซูเปอร์แฟมิลี่ Papilionoidea (True butterflies) เป็นผีเสื้อที่มีพฤติกรรมการหากินในเวลากลางวัน ประกอบด้วย 4 วงศ์ คือ วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Papilionidae) เป็นผีเสื้อกลางวันขนาดใหญ่ ลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือ ปีกคู่หลังจะขยายเป็นหางยาว ออกโดยส่วนมากมีพื้นปีกสีด า วงศ์ผีเสื้อขาวเหลือง หรือผีเสื้อหนอนกะหล่ า (Pieridae) เป็นผีเสื้อขนาด กลาง มักมีสีขาวหรือสีเหลืองเป็นพื้น และมีแต้มสีเหลืองหรือส้ม ขาทั้ง 3 คู่เจริญเท่ากัน มีรายงานว่าพบ แมลงในวงศ์นี้ในประเทศไทยประมาณ 124 ชนิด ตัวหนอนผีเสื้อในวงศ์นี้หลายชนิดเป็นแมลงศัตรูพืช วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nymphalidae) เป็นผีเสื้อที่มีความหลากหลายที่สุด ลักษณะพิเศษคือขาคู่หน้ามี ขนาดเล็กกว่าขาคู่อื่นจึงท าให้เห็นแค่สี่ขา โดยเวลาเกาะจะพับขาคู่หน้าไว้กับอก วงศ์ผีเสื้อสีน้ าเงิน (Lycaenidae) เป็นผีเสื้อขนาดเล็กบอบบาง เพศผู้กับเพศเมียอาจมีสีต่าง ที่ปีกหลังมักมีติ่งเรียวยาว บิดพลิ้วติดอยู่ ตัวอ่อนของผีเสื้อวงศ์นี้บางชนิดอาศัยอยู่ร่วมกับรังมด 2.ซูเปอร์แฟมิลี่ Hesperioidea (Skippers) วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Hesperiidae) เป็นผีเสื้อกลางวันที่มีล าตัวอ่อนสั้นและมีขนปกคลุมมาก คล้ายผีเสื้อกลางคืน ที่ปลายหนวดงอเป็นตะขอ ขณะเกาะอยู่กับที่จะกางปีกโดยมีปีกหน้าและปีกหลังท า มุมกับล าตัวต่างกัน

ความแตกต่างระหว่างผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืน ผีเสื้อกลางวันจะมีปลายหนวดพองโต คล้ายกระบอง บางพวกมีปลายหนวดโค้งงอเป็นตะขอ เวลาเกาะจะชูหนวดขึ้นเป็นรูปตัววี (V) ส่วนผีเสื้อ กลางคืนมีหนวดรูปร่างต่างกันหลายแบบ เช่น คล้ายเส้นด้าย รูปฟันหวี หรือแบบพู่ขนนก เวลาเกาะพักจะ วางหนวดแนบไปกับขอบปีกคู่หน้า การออกหากินผีเสื้อกลางวันส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางวัน แต่มีบางชนิดออกหากินในเวลาเช้ามืด หรือ เวลาใกล้ค่ า ในขณะที่ผีเสื้อกลางคืน จะออกหากินในเวลา กลางคืน ดังที่เราพบเห็นบินมาเล่นแสงไฟตามบ้านเรือนแต่มีบางชนิดที่ออกหากินเวลากลางวัน เช่น ผีเสื้อ ทองเฉียงพร้า ซึ่งมีสีสันฉูดฉาดสวยงามไม่แพ้ผีเสื้อกลางวัน การเกาะพัก ผีเสื้อกลางวันขณะเกาะพักมักจะ หุบปีกขึ้นตั้งตรง แต่มีบางชนิดที่เวลาเกาะจะกางปีกตลอดเวลา เช่น ผีเสื้อในสกุลผีเสื้อกะลาสี ส่วนผีเสื้อ กลางคืน จะกางปีกออกแนบกับพื้นที่เกาะ ขอบปีกด้านหน้าจะอยู่ข้างล าตัวต่ ากว่าระดับของหลังเป็นรูป สามเหลี่ยมหน้าจั่ว หรือคล้ายกระโจม และคลุมปีกคู่หลังจนมิด การเชื่อมติดของปีก เพื่อให้ปีกกระพือไป พร้อมกันเวลาบิน ผีเสื้อกลางวันปีกคู่หลังจะขยายกว้างยื่นเข้าไปซ้อนทับและแนบสนิทอยู่ใต้ปีกคู่หน้า แต่ในผีเสื้อกลางคืนจะมีขนแข็งจากปีกคู่หลังซึ่งอาจจะมี 1 หรือ 2 เส้น สอดเข้าไปเกี่ยวกับตะขอเล็กๆ ที่โดนปีกด้านใต้ของปีกคู่หน้าลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงลักษณะกว้างๆ ที่คนทั่วไปพอจะแยก

2-13

ได้เท่านั้น ยังไม่อาจชี้ชัดลงไปโดยเด็ดขาดว่าเป็นผีเสื้อกลางวันหรือผีเสื้อกลางคืน ยังมีรายละเอียด ปลีกย่อยอีกมากต้องอาศัยความช านาญในการสังเกตร่วมด้วย

1 รูปร่างและลักษณะทั่วไปของผีเสื้อ

ผีเสื้อประกอบด้วยล าตัวที่ไม่มีโครงกระดูกภายในเช่นเดียวกับแมลงอื่นๆ แต่มีเปลือกนอกแข็ง เป็นสารจ าพวกไคติน (chitin) ห้อหุ้มร่างกาย ภายในเปลือกแข็งเป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการ เคลื่อนที่ ล าตัวของผีเสื้อแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ทั้ง 3 ส่วนประกอบด้วยวง แหวนหลายๆ วงเรียงต่อกัน เชื่อมยึดด้วยเยื่อบางๆ เพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก วงแหวนที่เชื่อมต่อกันเป้น ล าตัวของผีเสื้อทั้งหมด 14 ปล้อง แบ่งออกเป็นส่วนหัว 1 ปล้อง ส่วนอก 3 ปล้อง และส่วนท้อง 10 ปล้อง (จารุจินต์, 2527)

ปีกมี 2 คู่ ไม่มีปีกนอกปีกใน ปีกคู่หน้าจะซ้อนทับปีกคู่หลังบางส่วน ปีกของผีเสื้อเป็นเยื่อบางๆ ประกบกัน มีเส้นปีกเป็นโครงร่างให้ปีกคงรูปอยู่ได้ เส้นปีกของผีเสื้อจึงเปรียบได้กับโครงกระดูกของสัตว์ ชนิดอื่นๆ ปกติผีเสื้อส่วนใหญ่จะมีเส้นปีก ในปีกหน้า 12 เส้น และในปีคู่หลัง 9 เส้น การจัดเรียงของเส้น ปีกเป็นลักษณะส าคัญในการแยกชนิดของผีเสื้อ พื้นที่ที่อยู่ระหว่างเส้นปีกเรียกว่า ช่องปีก (Space) เกล็ดสี เล็กๆ บนปีกเรียงตัวกันเป็นแถวซ้อนกันแบบกระเบื้องมุงหลังคานอกจากนี้ยังมีเกล็ดพิเศษเรียกว่า แอน โดรโคเนีย (Androconia) เกล็ดพิเศษนี้ตอนโคนต่อกับต่อมกลิ่น อาจอยู่กระจัดกระจายหรืออยู่เป็นกลุ่ม เรียกว่า แถบเพศ (Brand) ท าหน้าที่กระตุ้นความต้องการทางเพศของตัวเมีย (จารุจินต์ และเกรียงไกร, 2544)

ผีเสื้อบางพวกอาจมีจ านวนเส้นปีกน้อยกว่าหรือมากกว่า 12 เส้น บางพวกเหลือเพียง 10 เส้น เส้นปีกส่วนมากจะเริ่มจากโคนปีกหรือจากเซลล์ปีก เซลล์ปีกเป็นบริเวณที่ว่างรูปสามเหลี่ยมอยู่บริเวณ กลางปีก ค่อนไปทางข้างหน้า ถ้าปลายเซลล์มีเส้นปีกกั้นอยู่เรียกว่า เซลล์ปีกปิด แต่ถ้าไม่มีเส้นกั้นเรียกว่า เซลล์ปีกเปิด บางเส้นจะแตกสาขามาจากเส้นอื่น ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อบินเร็วมีเส้นปีกเป็นเส้นเดี่ยว ไม่มีการ แตกสาขาเลย (จารุจินต์, 2527)

ผีเสื้อมีตารวมใหญ่อยู่คู่หนึ่งอยู่ด้านข้างของส่วนหัว สามารถรับรู้ภาพของวัตถุที่เคลื่อนที่ได้เร็ว จึงบินได้ว่องไว ตามจับได้ยาก บางทีอาจพบมีตาเดี่ยว (Simple Eye) 2 ตา เชื่อกันว่าใช้ในการรับแสงมืด หรือสว่าง

2-14

หนวดมี 1 คู่ อยู่ระหว่างตารวม เป็นอวัยวะรูปยาวเรียว คล้ายเส้นด้าย ต่อกันเป็นข้อๆท า หน้าที่ส าหรับรับความรู้สึกหรือการดมกลื่น

ปากส่วนใหญ่เป็นท่อหรือวงยาวใช้ดูดกิน (Siphoning Type) มีน้อยชนิดที่มีปากแบบกัดกิน บางชนิดไม่มีปากและไม่กินอาหารเมื่อเจริญเต็มวัยเต็มที่แล้วริมฝีปากบนเล็กเป็นชิ้นแคบๆ อยู่ที่ฐานของ งวง กรามมักไม่มี ส่วน Galea ของ Maxillae จะมีลักษณะเป็นงวงยาวและม้วนอยู่ใต้หัว Labial Palps มักจะเจริญดีแล้วยื่นออกไปด้านหน้า ตารวมโตส่วนใหญ่มีตาเดี่ยวสองตา อยู่ใกล้กับขอบของตารวม (สุ ธรรม, 2510)

เกล็ดปีก เกิดขึ้นจากเกล็ดชิ้นเล็กๆที่เรียงซ้อนกันแบบกระเบื้องมุงหลังคา ปกคลุมอยู่ทั่วแผ่น ปีก ในหนึ่งตารางนิ้วจะมีเกร็ดเรียงซ้อนกันอยู่ตั้งแต่ 500 ถึง 125,000 ชิ้น เกล็ดเหล่านี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เกล็ดที่มีเม็ดสี และเกล็ดที่ไม่มีเม็ดสีโดยสีสัน ลวดลาย และความแวววาวของปีกผีเสื้อนั้นเกิด จากการผสมผสานกันของเกล็ดทั้ง 2 ประเภท (ส่วนพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ ส านักวิจัยการอนุรักษ์ ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช)

1.เกล็ดที่มีเม็ดสี(pigment)ภายใน ส่วนหนึ่งได้มาจากการแปลงรูปของสารเคมีในพืช บางอย่างที่หนอนกินเข้าไป ก่อให้เกิดสีต่างๆ เช่น สีเหลืองของผีเสื้อบินเร็วและวงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่มาจาก สารฟลาโวน (flavone) ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในดอกไม้ ส่วนสีด าเกิดจากการเมลานิน (melanin) ที่ผีเสื้อ สร้างขึ้นเองภายในตัวเดียวกับสีด าที่เกิดในคนและสัตว์

2.เกล็ดที่ไม่มีเม็ดสีภายใน แต่ที่เห็นเป็นสีนั้นเกิดจากการสะท้อนแสงของเกล็ดที่มีรูปร่าง เป็นสันนูนขึ้นมาคล้ายแท่งผลึกหรือเกล็ดที่เป็นเยื่อบางๆ ซ้อนกันอยู่ท าให้เห็นเป็น สีเขียว สีขาว สีม่วงอม ฟ้า สีแวววาวคล้ายโลหะเกล็ดที่มีอากาศอยู่ภายในจะสะท้อนให้เห็นเป็นสีขาว เราจะมาเห็นเกล็ดเหล่านี้ เป็นสีต่างๆ ในบางมุมเท่านั้น และจะเห็นได้ชัดขึ้นในขณะที่ผีเสื้อขยับปีกเคลื่อนไหว

2 วงจรชีวิต (Life Cycle)

ผีเสื้อมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบ Complete Metamorphosis หรือเรียกอีกอย่างว่า Holomatabolous คือการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์แบ่งเป็น 4 ระยะ ด้วยกัน คือ ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย (สมศรี, 2535๗ การเจริญในแต่ละขั้นตอนผีเสื้อจะมีโครงสร้างและ

2-15

อุปนิสัยที่ไม่เหมือนกัน ข้อดีส าหรับการเจริญแบบนี้คือ แต่ละช่วงของวงจรชีวิตต้องการอาหารแตกต่างกัน และอาจอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน มีศัตรูต่างชนิดกัน ท าให้การเจริญเติบโตในแต่ละระยะ นั้นมีอัตราเสี่ยงต่อการถูกท าลายน้อยลง (เกรียงไกร, 2540)

ระยะไข่ (Egg Stage) ผีเสื้อเมียจะวางไข่ใกล้ๆ หรือบนพืชอาหารของตัวหนอน ไข่จะมีขนาด รูปร่าง และลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปผีเสื้อจะวางไข่ฟองเดี่ยวๆ แต่ผีเสื้อบางชนิด จะวางไข่เป็นกลุ่มๆ ขณะที่วางไข่จะขับสารเหนียวออกมาเพื่อให้ไข่ยึดติดกับใบพืช ส่วนมากไข่ของผีเสื้อจะ มีสีขาวเหลืองอ่อน หรือเขียว แต่เมื่อไข่จะฟักสีจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม (คณาจารย์ภาควิชากีฏวิทยา, 2538)

ระยะหนอน (Larval Stage) หนอนจะใช้ปากเจาะเปลือกไข่ให้แตกออก และกินเปลือกไข่เป้น อาหารมื้อแรกเพราะเปลือกไข่มีสารอาหารที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของหนอนผีเสื้อ หลังจากนั้นตัว หนอนจะเริ่มกินใบพืชเป็นอาหารจนเข้าดักแด้ หนอนผีเสื้อบางชนิดไม่กินใบพืชแต่จะกินเพลี้ยอ่อนเป็น อาหาร เช่น หนอนผีเสื้อใยวงศ์ Lycaenidae (คณาจารย์ภาควิชากีฏวิทยา, 2538)

ระยะดักแด้ (Pupal Stage) ระยะที่เป็นดักแด้จะไม่มีการกินอาหารผีเสื้อส่วนใหญ่จะอยู่ใน ดักแด้ประมาณ 10-15 วัน หากสภาพอุณหภูมิภายนอกไม่เหมาะสมอาจยืดเวลาออกไปอีกหลังจากนั้น ผีเสื้อจะใช้ขาดันให้เปลือกแตกออก และขยับตัวออกมาขณะที่ผีเสื้อออกจากดักแด้ใหม่ๆ ยังบินไม่ได้ต้อง เกาะห้อยปีกลงด้านล่าง เพื่อให้ปีกแห้งและกางออกเต็มที่จนมีความแข็งแรงพอ จึงเริ่มบินออกหากิน (คณาจารย์ภาควิชากีฏวิทยา, 2538)

ระยะตัวเต็มวัย (Adult Stage) ลักษณะของผีเสื้อตัวเต็มวัยประกอบด้วย ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง โดยส่วนหัวประกอบด้วย ตา หนวด และปาก ตารวมมีขนาดใหญ่เคลื่อนไหวไม่ได้ อาจมี หรือไม่มีขนปกคลุมประกอบด้วย Facets Corneal Lens จ านวนมาก หนวดมี 1 คู่ อยู่ระหว่างตา ท า หน้าที่ในการดมกลิ่น ปากเป็นท่อ (Proboscis) ส าหรับดูดอาหารที่เป็นของเหลว เช่น น้ าหวาน ขณะที่ ไม่ได้กินอาหารปากจะถูกม้วนเก็บเป็นวงคล้ายขดลานนาฬิกา (จารุจินต์ และเกรียงไกร, 2544)

2.2.5 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับด้วง

ด้วง เป็นแมลงในอันดับ Coleoptera (มาจากศัพท์ภาษากรีก คือ koleos หมายถึง แผ่น และ pteron หมายถึง ปีก) จัดเป็นอันดับของแมลงที่มีความหลากหลายมากที่สุด สามารถพบได้ทุกหน ทุกแห่ง ลักษณะที่เด่นชัดที่สุดของแมลงในอันดับนี้คือ มีปีกคู่หน้าที่แข็งเท่า หรือแข็งกว่าล าตัว และ ไม่มี

2-16

เส้นปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นบางใส เห็นเส้นปีกชัดเจน พับซ่อนอยู่ใต้ปีกคู่หน้า แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มกินพืช กลุ่มกินเนื้อสัตว์ และ กลุ่มกินมูลสัตว์ หรือซากพืช ซากสัตว์ ด้วงกลุ่มกินพืช ตั้งแต่ระยะ ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัย กินทุกส่วนของพืชเป็นอาหาร เช่น กินใบ เจาะต้น เจาะผล และกัดรากไม้ เป็นต้น ตัว อ่อนบางชนิดอาศัยอยู่ในล าต้นพืช ส่วนตัวเต็มวัยกินเปลือกไม้อ่อนๆ เป็นอาหาร ด้วงประเภทนี้มีอยู่ราว 20,000 ชนิด ขนาดและสีแตกต่างกันไป ได้แก่ ด้วงหนวดยาว ด้วงงวง ซึ่งมักพบเป็นศัตรูพืช เช่น ด้วง หนวดยาวเจาะต้นประดู่ ด้วงหนวดยาวเจาะต้นยางนา และด้วงงวงเจาะหน่อไม้ไผ่ ด้วงกลุ่มกินเนื้อสัตว์ จัดเป็นแมลงห้ าช่วยก าจัดแมลงศัตรูพืช เช่น ด้วงดิน หิ่งห้อย ด้วงเต๋าลาย และด้วงก้นกระดก ด้วงกลุ่มกิน มูลสัตว์ ซากพืชซากสัตว์ อาหารของด้วงกลุ่มนี้ได้แก่ มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ ซากสัตว์ ที่เน่าเปื่อย ด้วงกลุ่ม นี้เป็นผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยจะเก็บกินสิ่งสกปรกทั้งปวง ด้วงกลุ่มนี้ได้แก่ ด้วงมูลสัตว์เป็นต้น

1 ลักษณะทั่วไปของด้วง

เป็นแมลงขนาดเล็ก-ใหญ่ มีปีก 2 คู่ ปีกคู่หน้าเป็นแผ่นแข็งหนา ขณะเกาะขอบล่างของปีก หน้าจะจรดกันที่กึ่งกลางของสันหลังของล าตัวพอดี ปีกคู่หลังเป็นแผ่นยาวมักจะยาวกว่าปีกคู่หน้าเมื่อพับ ปีกจะซ้อนเข้าเก็บใต้ปีกคู่หน้า ลักษณะการวางของส่วนหัวส่วนใหญ่เป็นแบบหัวเชิด ปากแบบกัดกิน ตา รวมใหญ่ หนวด 8-10 ปล้อง tarsi 3-5 ปล้อง การเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์

แมลงในอันดับ Coleoptera แบ่งออกเป็น 2 อันดับย่อย โดยเอาลักษณะด้านล่างของปล้อง ท้องแรกเป็นหลักคือ

1. อันดับย่อยเอดีฟาก้า (Adephaga) ฐาน coxa ของขาคู่หลังยื่นออกแบ่งด้านล่างของ ส่วนท้องปล้องแรกมองเห็นเป็น 3 ส่วน tarsi มี 3 ปล้อง หนวดแบบเส้นด้าย ตัวหนอนเป็นแบบ campodeiform ส่วนใหญ่เป็นตัวห้ ากินแมลงอื่นเป็นอาหาร

2. อันดับย่อยโพลีฟาก้า (Polyphaga) ฐาน coxa ของขาคู่หลังไม่ยื่นออกเหมือนใน อันดับ Adephaga จ านวนปล้องของ tarsi แบบของหนวด และตัวหนอนแตกต่างกัน

2-17

2.3 ความหลากหลายของเห็ดรา

2.3.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ดรา

ดอกเห็ดที่พบเห็นกันทั่วไป คือส่วนหนึ่งของส่วนสืบพันธุ์ของ “รา” ที่ท าหน้าที่สร้างหน่วย สืบพันธุ์ หรือ spore ราที่สามารถสร้างดอกเห็ด ส่วนใหญ่อยู่ใน subdivision Basidiomycotina และ บางส่วนของ subdivision Ascomycotina ราในกลุ่มที่สร้างเห็ดได้มักเรียกรวมๆ กันว่า “ราขั้นสูง” โดยทั่วไป ผู้คนมักจะคิดถึงดอกเห็ดที่มีสีสันสดใส เช่น ดอกเห็ด Amanita สีแดงสดที่พบในภาพวาด เห็ดที่ น ามาท าเป็นอาหาร เช่น พวกเห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดที่น ามาเป็นเครื่องสมุนไพร ยารักษาโรค หรือยา บ ารุงต่างๆ เช่น เห็ดหลินจือ เห็ดหอม แต่หน้าที่หลักของสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้ คือ การท าหน้าที่เป็นผู้ย่อย สลาย (decomposer) ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ราด ารงชีวิตด้วยการย่อยสลายทั้งเศษซากพืชและสัตว์ที่ ตายแล้ว หรือเป็นการอยู่ร่วมกับรากพืชแบบได้ประโยชน์ร่วมกัน (mycorrhizas) หรือด ารงชีวิตเป็นปรสิต (parasit) ท าให้เกิดโรคที่สร้างความเสียหาย ลักษณะที่ส าคัญของรา คือ การมีชีวิตเป็นแบบเส้นใยขนาด เล็ก ที่ซอกซอนไปมาส่วนปลายของเส้นใยมีความสามารถพิเศษในการผลิต enzyme เพื่อย่อยสลาย สารประกอบได้หลากหลาย ซึ่งราบางชนิดสามารถสร้าง enzyme ที่ย่อยสลายได้ทั้ง Cellulose Hemicellulose และ lignin ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อไม้ ให้ผุสลายและถูกใช้ต่อไปโดยจุลินทรีย์ ชนิดอื่น ในระบบนิเวศบก ความหลากหลายของราท าให้การย่อยสลายเศษซากพืชที่ร่วงหล่น เช่น ไม้ล้ม ท่อนไม้ กิ่งไม้ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมาก หมุนเวียนธาตุอาหารกลับคืนสู่ระบบนิเวศใช้ประโยชน์ได้อีก (ส านักงานความหลากหลายทางชีวภาพป่าไม้, 2554)

2.3.2 ลักษณะโครงสร้างของดอกเห็ด

เห็ดแต่ละชนิดจะมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยส่วน ต่างๆดังต่อไปนี้

1.หมวกเห็ด (pileus หรือ Cap) เป็นส่วนบนของดอกเห็ดที่เจริญเติบโตไปในอากาศ เมื่อเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะกางออกคล้ายร่ม รูปร่างหมวกอาจแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด เช่น เป็นรูป กรวยหรือรูประฆัง ผิวด้านบนเรียบ ขรุขระ มีเกล็ด หรือมีขนซึ่งอาจติดแน่น หรือฉีกขาดได้ง่าย สีหมวก อาจแตกต่างจากส่วนอื่นๆ ของดอกเห็ด ขอบหมวกอาจเรียบเสมอกัน ฉีกขาดกะรุ่งกะริ่ง มีเส้นลายเป็น เส้นรัศมีโดยรอบหรือเป็นริ้ว บางชนิดหยักเป็นคลื่น เนื้อหมวกหนาบางแตกต่างกัน บางชนิดเมื่อหมวกเห็ด ฉีกขาดหรือช้ าจะเปลี่ยนสีได้ ผิวแห้ง เปียกชื้น ลื่น หรือหนืดมือ หมวกของดอกเห็ดบางชนิดยึดติดแน่นกับ ก้าน บางชนิดหลุดออกจากก้านได้ง่าย

2-18

2. ครีบ (Lamella หรือ Gill) เป็นแผ่นบางๆ ที่อยู่ด้านล่างของหมวก เรียงเป็นรัศมี ออกไปรอบก้าน บางชนิดเชื่อมติดกันบางตอน ครีบมีความหนาบางและการเรียงระยะถี่ห่างแตกต่างกัน จ านวนครีบและความยาวก็แตกต่างกันในเห็ดแต่ละชนิด ครีบเป็นแหล่งก าเนิดสปอร์ ครีบของเห็ดบาง ชนิดมีวิวัฒนาการเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นรูพรุน (Pores) หรือซี่ฟัน (Teeth) เช่น เห็ดขอนแดง เห็ดหลินจือ เป็นต้น

3. ก้าน (Stipe หรือ Stalk) มีขนาด รูปร่าง และสีสันแตกต่างกัน ตอนบนยึดติดกับ หมวกหรือติดรอบก้านตอนบน เนื้อก้านประกอบด้วยเส้นใยหยาบที่สานกันแน่นหรือสานกันอย่างหลวมๆ บางชนิดถูกตัด ฉีกขาด หรือช้ าจะเปลี่ยนสี หลายชนิดมีรูกลวงตรงกลาง ใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ชนิด ก้านอยู่ กึ่งกลางหรือเยื้องไปข้างใดข้างหนึ่ง บางชนิดไม่มีก้าน เช่น เห็ดเผาะ บางชนิดมีรากยาวหยั่งลึกลงไปในดิน เช่น เห็ดโคน

4. แอนนูลัส (Annulus หรือ Ring) เป็นวงแหวนหรือม่าน (Veil) ที่ยึดก้านดอกและขอบ หมวกไว้เมื่อเป็นดอกอ่อน เมื่อหมวกบานเยื่อดังกล่าวจะขาดแยกจากขอบหมวก คงเหลือส่วนที่ยึดติดกับ ก้านเป็นวงแหวน เรียกว่า เยื่อขอบหมวก เห็ดหลายชนิดไม่มีแอนนูลัส เช่น เห็ดตับเต่า เป็นต้น

5. เยื่อหุ้มดอกเห็ด (Volva) เป็นเยื่อชั้นนอก เมื่อดอกเห็ดเจริญขึ้น ตอนบนของเยื่อจะ แตกออกเพื่อให้หมวกและก้านยืดตัวสูงขึ้น เยื่อหุ้มคงค้างเป็นรูปถ้วยอยู่ที่โคนเช่น เห็ดฟาง บางชนิดเยื่อ หุ้มไม่เป็นรูปถ้วย แต่เป็นเกล็ดรอบโคนก้าน บางชนิดมีเส้นใยหยาบคล้ายเส้นด้านท าหน้าที่ยึดดอกเห็ดให้ ติดกับพื้น

6. เนื้อในเห็ด (Context) เป็นเนื้อที่อยู่ใต้ผิดหมวกและเนื้อในก้าน

7. เยื่อหุ้มส่วนสร้างสปอร์ (Peridium) เยื่อหุ้มอับสปอร์หรือเยื่อหุ้มดอกเห็ด

8. สปอร์ (Spore) สปอร์จะสร้างจากครีบดอก มีขนาดเล็กมาก ไม่มีสี มีรูปร่างแตกต่าง กันออกไป ท าหน้าที่เป็นอวัยวะสืบพันธุ์คล้ายเมล็ดพืช (ราชบัณฑิตยสถาน, 2534)

2-19

2.3.3 การด ารงชีวิตของเห็ด

เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มักพบทั่วไปในฤดูฝนบนพื้นดินที่มีอินทรียวัตถุสูง ฟางที่ผุ พัง และขอนไม้ผุ จึงจัดได้ว่าเห็ดเป็นพวก เฮทเทอโรโทรฟ (Heterotroph) ซึ่งหมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ไม่ สามารถสังเคราะห์อาหารได้เองจ าเป็นต้องได้รับอาหารซึ่งเป็นอินทรีย์สารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นแล้ว การ ด ารงชีวิตของเห็ด จ าแนกออกเป็น 4 ประเภทคือ

1.แบบปรสิต (Parasite) เป็นการด ารงชีวิตโดยอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่นโดยเฉพาะ ต้นไม้ยังไม่ตาย ตัวอย่างเช่น เห็ดหิ้ง

2.แบบแซโพรไฟต์ (Saprophyte) เป็นการด ารงชีวิตโดยอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตที่ตาย แล้วตัวอย่างเช่น เห็ดนางรม เห็ดฟาง เห็ดหอม

3.แบบปรสิตตามโอกาส (Facultative parasite) เป็นการด ารงชีวิต โดยอาศัยอาหาร จากสิ่งมีชีวิต และสิ่งที่ตายแล้ว ตัวอย่างเช่น เห็ดกระด้าง

4.แบบซิมไบโอซิส (Symbiosis) เป็นการด ารงชีวิตอยู่ร่วมกันระหว่างเห็ดกับสิ่งมีชีวิตอื่น โดยต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน เส้นใยเห็ดจะดูดซึมธาตุอาหาร และความชื้นภายในดินให้แก่ รากพืช ขณะเดียวกันก็จะได้รับคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และน้ ามันจากรากพืช ตัวอย่างเช่น เห็ดตับเต่า เห็ด เผาะ เห็ดเสม็ด

2.3.4 วงจรชีวิตของเห็ด

วงจรชีวิตของเห็ดจะมีลักษณะหมุนเวียน โดยเริ่มจากสปอร์ (เบสิดิโอสปอร์หรือแอสโคสปอร์) เมื่อปลิวไปตกในที่เหมาะสม ก็จะงอกเส้นใยออกมา และเส้นใยเหล่านี้จะรวมตัวกัน และพัฒนาไปเป็น ดอกเห็ด จากนั้นก็จะสร้างสปอร์หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ วงจรชีวิตของเห็ดแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน แแต่ตามปกติจะมีระยะการเจริญเติบโต 9 ระยะ (เฉพาะเห็ดในกลุ่มเบสิดิโอมายซีตีส) (ภาพที่ 2.3.1) คือ

1. มีโครโมโซมเป็น haploid เมื่อสปอร์ได้รับสภาวะการเจริญที่เหมาะสมก็จะงอก mycelium ออกมา

2-20

2. Mycelium ในระยะนี้เรียก primary mycelium ซึ่งมีโครงสร้างโครโมโซมเป็น haploid (n) จึงเรียกว่า homokaryotic mycelium ในระยะนี้เส้นใยจะแบ่งตัวเป็นจ านวนมาก สร้าง ผนังกั้นเซลล์ แต่ละเซลล์จะมี 1 นิวเคลียส เส้นใยในระยะไม่สามารถสร้างดอกเห็ดได้ จะต้องมีการรวม เส้นใยซึ่งมี mating type ต่างกันก่อน

3. ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายสาระส าคัญในเซลล์ (Plasmogamy) เป็นระยะที่ primary mycelium เชื่อมต่อกัน และไซโตพลาสม ของเส้นใยทั้งสองฝ่ายมารวมตัวกัน ท าให้นิวเคลียสทั้งสองอัน มารวมอยู่ในเซลล์เดียวกัน จากนั้นก็มีการพัฒนาไปเป็น secondary mycelium ระยะนี้เซลล์จะมี 2 นิวเคลียสการเกิด secondary mycelium แบ่งได้ 2 กรณีคือ

3.1 Homothallic เป็นลักษณะการรวมตัวของเส้นใยที่เจริญมาจากสปอร์ เดียวกันแล้วเจริญไปเป็น secondary mycelium โดยไม่ต้องเกิดการรวมตัวของ primary mycelium ที่ งอกจากสปอร์อื่นๆ ลักษณะการรวมตัวของเส้นใยที่งอกจากสปอร์ตัวเองนี้เรียกว่า มีวงจรชีวิตแบบ Homothallic Life Cycle

3.2 Heterothallic เห็ดบางชนิดจะเจริญเติบโตเป็นดอกได้จะต้องผ่านการ รวมตัวกันระหว่าง เส้นใยที่เจริญมาจากสปอร์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมต่างกัน จึงจะพัฒนาไปเป็น secondary mycelium และสามารถรวมตัวกันเป็นดอกเห็ดได้ จึงเรียกเห็ดที่มีวงจรชีวิตแบบนี้ว่า Heterothallic Life Cycle

4. ขั้นตอนการรวมนิวเคลียส (Karyogamy) เป็นระยะที่นิวเคลียสสองอันรวมตัวกัน ถ้า เป็นเชื้อราขั้นต่ าจะเกิดอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเป็นเชื้อราขั้นสูง ระยะการรวมตัวจะใช้เวลาพาสมควร จึงท าให้ เห็นว่าภายในเซลล์มีสองนิวเคลียส (binucleus) ซึ่งเรียกระยะว่า Dikaryon secondary mycelium จะ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

5. Secondary mycelium จะเจริญเพิ่มปริมาณมากขึ้นและมีการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน เรียกเส้นใยนี้ว่า Tertiary mycelium ซึ่งเป็นพวก dikaryon mycelium เส้นใยส่วนหนึ่งจะมีการ เปลี่ยนแปลง มีการต่อเชื่อมกันเกิด clamp connection เส้นใยอื่นๆ จะเริ่มพัฒนารวมตัวกันไปเป็นกลุ่ม คล้ายเนื้อเยื่อ รูปร่างภายนอกมองเห็นเป็นตุ่มดอกเล็กๆ และค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ

2-21

6. ดอกเห็ดระยะนี้ มีการพัฒนาไปเป้นดอกเห็ดที่คล้ายร่ม และมีการสร้างเบสิเดียม รูปร่างคล้ายกระบอง ในแต่ละเบซิเดียม จะมีนิวเคลียสอยู่ 2 อัน

7. นิวเคลียสทั้ง 2 อัน (n+n) ในเบซิเดียมจะรวมตัวกัน และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะ ทางพันธุกรรมกัน นิวเคลียสในระยะนี้เรียกว่า diploid nucleus (2n)

8. นิวเคลียสที่รวมตัวกันจะมีการแบ่งตัวแบบ meiosis ลดจ านวนโครโมโซมเป็น haploid 4 อัน 9. เบซิเดียม จะมีการสร้างก้านชูสปอร์ (sterigma) 4 อัน และนิวเคลียสทั้ง 4 อัน จะ เคลื่อนที่สู่ปลาย Sterigma และทั้งหมดจะพัฒนาไปเป็น basidiospore

ภาพที่ 2.3.1 วงจรชีวิตของเห็ดในกลุ่มเบสิดิโอมายซีตีส ที่มา : http://biology-forums.com/gallery/medium_27_19_11_13_7_47_42.jpeg

2-22

2.3.5 การจัดแบ่งกลุ่มเห็ด เห็ดสามารถแบ่งกลุ่มได้ 3 กลุ่มหลักๆ คือ

1. ตามความสามารถในการรับประทาน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1.1 เห็ดที่รับประทานได้ ได้แก่ เห็ดที่เพาะเลี้ยงเป็นการคือ เช่น เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ด สกุลนางรม และเห็ดป่าบางชนิดซึ่งไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ เช่น เห็ดเผาะ เห็ดตับเต่า เห็ดหล่ม เห็ดโคน เห็ดระโงก และเห็ดน้ าหมาก เป็นต้น

1.2 เห็ดที่รับประทานไม่ได้หรือเห็ดพิษ เช่น เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่นกเค้า นอกจากนี้ยังมี เห็ดบางชนิดที่รับประทานได้แต่จัดเป็นเห็ดพิษได้หากไม่รู้จักวิธีการบริโภคที่ถูกต้อง ซึ่งอาการที่เกิดจาก การบริโภคที่ถูกต้อง ซึ่งอาการที่เกิดจากการบริโภคเห็ดพิษมีอยู่หลายอย่างขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด

2. ตามการด ารงชีวิต แบ่งเป็น 3 ประเภทโดยดูจากความสัมพันธ์ของเห็ดกับแหล่งอาศัยที่เห็ด เจริญอยู่หรือที่ให้อาหารกับเห็ด ได้แก่

2.1 เห็ดย่อยสลายสารอินทรีย์ (saprophytic mushroom) เจริญบนเศษซากของ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้แก่ กิ่งไม้ ท่อนไม้ ซึ่งเป็นส่วนส าคัญในการหมุนเวียนธาตุอาหารในระบบนิเวศ เช่น เห็ด หูหนู เห็ดสกุลนางรม

2.2 เห็ดปาราสิต (parasitic mushroom) คือเห็ดที่เจริญบนสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น เห็ดที่ เจริญอยู่ข้างล าต้นของต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งมักเป็นศัตรูพืช เช่น เห็ดในสกุล Ganoderma เป็นต้น

3. เห็ดที่อยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นแบบพึ่งพาอาศัยกัน ได้แก่

3.1 เห็ดที่มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกับรากชั้นสูง จัดเป็นพวกไมคอร์ไรซ่า (mycorrhiza) โดยเห็ดได้รับสารอาหารจากพืช ส่วนพืชได้รับสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ จากเส้นใยของ เห็ดที่ดูดซับมาจากดินรอบๆ รากพืช เช่น เห็ดเผาะ เห็ดตับเต่า และเห็ดตะไคล เป็นต้น

3.2 เห็ดที่มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันกับแมลง ได้แก่ เห็ดโคน (สกุล Termitomyces) อาศัยอยู่ร่วมกันกับรังปลวกใต้ดิน และกลุ่มเห็ดราที่เป็นปาราสิตกับตัวแมลง เช่น เห็ด ราในสกุล Cordycep

2-23

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

อัฐสัณห์ (2528) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพรรณไม้กับสภาพแวดล้อม บริเวณป่าดิบเขาดอยสุ เทพ-ปุย เชียงใหม่ พบว่า มีพรรณไม้ขึ้นอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 46 ชนิด เป็นไม้ยืนต้น 23 ชนิด ไม้พุ่ม 9 ชนิด ไม้ล้มลุก 9 ชนิด และ ไม้เถาเลื้อย 5 ชนิด ไม้ที่ส าคัญและเป็นไม้เด่นของป่าดิบเขาแห่งนี้ คือ ไม้ก่อ (Fagaceae) ซึ่งพบประมาณ 10 ชนิด นอกจากนี้ยังมี ทะโล้ ก ายาน และส้มปี้ พรรณไม้เหล่านี้พบขึ้นตาม สภาพแวดล้อมในบริเวณที่มีความลาดชันของพื้นที่ตั้งแต่ 10-40 เปอร์เซ็นต์

สุคิด (2552) ศึกษาลักษณะโครงสร้างสังคมพืชป่าดิบเขาในประเทศไทย พบต้นไม้ทั้งหมดจ านวน 29,914ต้น (1,000ต้น/เฮกแตร์) จ าแนกเป็น 841 ชนิด 315 สกุล 90 วงศ์ มีพื้นที่หน้าตัดเฉลี่ย 43.75 ตารางเมตร/เฮกแตร์ โดยพันธุ์ไม้วงศ์ก่อ (Fagaceae) มีความหนาแน่นและพื้นที่หน้าตัดสูงสุด ซึ่งมีความ หนาแน่นเท่ากับ 275 ต้น/เฮกแตร์ และพื้นที่หน้าตัด 14.35 ตารางเมตร/เฮกแตร์ ส่วนพันธุ์ไม้วงศ์อบเชย (Lauraceae) มีจ านวนชนิดมากที่สุด ซึ่งพบมากถึง 97 ชนิด สามารถจ าแนกตามชนิดพันธุ์ไม้เด่นเป็น 6 สังคมย่อย คือ สังคมสกุลก่อหนาม สังคมก่อเดือย สังคมไม้วงศ์ก่อผสมอบเชย สังคม ก่อตลับ-ก่อตาหมู สังคมไม้วงศ์ก่อผสมสน และสังคมก่อหยุ

พงศ์เทพ (2552) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบความหลากหลายของผีเสื้อกลางวันของน้ าตกบางแห่ง ในพื้นที่มรดกโลก ดงพญาเย็น – เขาใหญ่ พบว่าจากการเปรียบเทียบความหลากหลายของผีเสื้อกลางวัน บริเวณน้ าตก 6 แห่งในผืนป่ามรดกโลก ดง พญาเย็น-เขาใหญ่ ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2552 – ธันวาคม 2553 โดยการเดินส ารวจตามเส้นทาง ตั้งแต่เวลา 8.00 – 15.00 น. ท าการส ารวจเดือนละครั้ง พบผีเสื้อ กลางวันทั้งหมด 306 ชนิด (33,260 ตัว) น้ าตกที่พบ ผีเสื้อกลางวันมากที่สุด คือ น้ าตกปางสีดา (243 ชนิด) รองลงมา คือ น้ าตกเหวสุวัต (198 ชนิด) น้ าตกสาริกา (192 ชนิด) น้ าตกเหวนรก (190 ชนิด) น้ าตกห้วยใหญ่ (162 ชนิด) และน้ าตกวังม่วง (135 ชนิด) ตามล าดับ โดยผีเสื้อกลางวันที่พบมากที่สุด คือ ผีเสื้อเณรยอดไม้1,374 ตัว ผีเสื้อเณรธรรมดา 1,207 ตัว ผีเสื้อหนอน พุทราธรรมดา 1,117 ตัว ผีเสื้อ หนอนพุทราแถบฟ้า 1,078 ตัว ผีเสื้อฟ้าขอบขนธรรมดา 1,004 ตัว เดือนที่ พบชนิดผีเสื้อมากที่สุดคือ เดือนธันวาคม 2553 และพบน้อยที่สุดในเดือนกันยายน 2552 โดยพบผีเสื้อ กลางวันในช่วงเช้า (275 ชนิด 21,365 ตัว) มากกว่าช่วงบ่าย (178 ชนิด 11,908 ตัว) เมื่อศึกษา ความสัมพันธ์ของปัจจัยทาง กายภาพกับผีเสื้อกลางวัน พบว่า จ านวนชนิดและจ านวนตัวของผีเสื้อกลางวันมี ความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันกับความชื้นสัมพัทธ์และความสูงจากระดับน้ าทะเล แต่มีความสัมพันธ์ในทิศ ทางตรงข้ามกับ อุณหภูมิและความเข้มแสง

2-24

นันทศักดิ์ และคณะ (2553) ได้ศึกษาอนุกรมวิธานและนิเวศวิทยาของผีเสื้อหนอนม้วนใบ วงศ์ย่อย Olethreutinae ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบว่า มีจุดเก็บ ตัวอย่างทั้งหมด 4 จุด ในพื้นที่ของ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง ในช่วงระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2552- ตุลาคม 2553 โดย ใช้อุปกรณ์หลอดไฟ blacklight ได้ตัวอย่างผีเสื้อหนอนม้วนใบวงศ์ย่อย Olethreutinae จ านวน 954 ตัวอย่าง 173 รูปแบบสัณฐาน แบ่งเป็น 8 เผ่าคือ Microcorsini, Endotheniini, Gatesclarkeanini, Bactrini, Olethreutini, Enarmoniini, Eucosmini, and Grapholitini สามารถจ าแนกระดับชนิดได้ 57 ชนิดใน 38 สกุล บางส่วนจ าแนกได้เพียง ระดับสกุลถึง 57 สกุลใน 79 รูปแบบสัณฐาน และอีก 37 รูปแบบสัณฐานยังไม่สามารถจ าแนกได้ สกุลที่พบในประเทศ ไทยเป็นครั้งแรก (genus as new recorded) จ านวน 15 สกุลและชนิดที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก (new record) จ านวน 6 ชนิด นอกจากนั้นยังพบว่าสังคมพืชป่าดิบเขามีค่าดัชนีความหลากหลายมากที่สุด รองมาเป็นป่าดิบชื้น ป่าเต็ง รังและป่าดิบแล้งตามล าดับ ส่วนค่าดัชนีความสม่ าเสมอนั้นมีค่ามากที่สุดในสังคมพืชป่าดิบชื้น รองลงมา คือ ป่าดิบเขา ป่า ดิบแล้งและป่าเต็งรังตามล าดับ และเปอร์เซ็นต์การปรากฎของผีเสื้อหนอนม้วนใบในทุก สังคมพืชส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มที่ พบได้น้อย

เสาวภา (2542) ได้ส ารวจความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนบริเวณดอยเชียงดาว บริเวณหน่วย พิทักษ์ป่าขุนแม่กอก หน่วยพิทักษ์ป่าขุนแม่งาย ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว และหน่วยจัดการต้นน้ า แม่ตะมาน ส านักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดอยเชียงดาว พบว่ามีผีเสื้อกลางคืน 19 แฟมิลี 78 จีนัส และ 92 สปีชีส์ โดยมีเพียง 2 สปีชีส์เท่านั้นที่พบได้ทั้ง 3 บริเวณ คือ Spilosoma casigneta และ Eterusia aedea มี 3 สปีชีส์ ที่พบได้ทั้งบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าขุนแม่กอกและขุนแม่งาย มี 6 สปีชีส์พบได้ ทั้งบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าขุนแม่งายและหน่วยจัดการต้นน้ าแม่ตะมาน และอีก 6 สปีชีส์พบได้ทั้งบริเวณ หน่วยพิทักษ์ป่าขุนแม่กอกและหน่วยจัดการต้นน้ าแม่ตะมาน ส่วนที่ได้จากแต่ละบริเวณโดยไม่ซ้ ากันมีดังนี้ บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าขุนแม่กอก มี 14 สปีชีส์ หน่วยพิทักษ์ป่าขุนแม่งายมี 32 สปีชีส์ และหน่วยจัดการ ต้นน้ าแม่ตะมานมี 35 สปีชีส์

ภัทธรวีรและคณะ (2557) ได้ท าการศึกษาความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ของเห็ดกินได้ ในสถานี วนวัฒนวิจัยแม่สะนาม อ าเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ที่ระดับความสูงจากจากระดับน้ าทะเล 900-1,100 เมตร สังคมพืชที่พบมีหลายสังคมเช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขาต่ า ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรังผสมสน และป่าเต็ง รังผสมก่อ ได้ด าเนินการตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 – เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2555 โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากชนิด ลักษณะทางสัณฐานวิทยา การจ าแนก และสัมภาษณ์ผู้สูงอายุใน ท้องถิ่นที่มีความรู้เกี่ยวกับเห็ด ผลการศึกษาพบชนิดเห็ดกินได้ 39 ชนิด ซึ่งจัดอยู่ใน 21 สกุล 17 วงศ์ สังคมพืชที่พบชนิดเห็ดมากที่สุดคือ ป่าเต็งรังผสมก่อ พบ 21 ชนิด ตามด้วยป่าเต็งรังผสมสน 17 ชนิด ส่วนชนิดป่าที่พบเห็ดน้อยที่สุดคือ ป่าดิบเขาต่ า วงศ์เห็ดที่พบมากที่สุดคือ วงศ์เห็ดน้ าหมากแดง (Russulaceae) 13 ชนิด ตามด้วยวงศ์เห็ดระโงกเหลือง (Pluteaceae) 4 ชนิด ตามด้วยวงศ์เห็ดโคน (Tricholomataceae) วงศ์เห็ดขมิ้นใหญ่ (Cantharellaceae) วงศ์เห็ดตับเต่า วงศ์ละ 3 ชนิดตามล าดับ

2-25

สุรางค์ (2545) ได้ศึกษาความหลากหลายของเห็ดราวงศ์ Xylariaceae ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ พบว่า ป่าไม้ในเขตอุทยานฯมีหลายชนิด ได้แก่ ป่าดงดิบเขา ป่าสน ป่าเบญจพรรณ และป่า เต็งรัง เห็ดราวงศ์ Xylariaceae เป็นเห็ดรากลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทย่อยสลายเศษ ซากพืชที่ร่วงหล่นลงบน พื้นดิน ซึ่งได้แก่ ต้นไม้ล้มที่หักโค่นหรือยืนต้นตาย กิ่งไม้ ใบไม้ ผล เมล็ด มูลสัตว์ และอินทรีย์วัตถุในดิน จากการส ารวจในปี 2538 ปี 2543 และปี 2545 พบเห็ดรา 7 สกุล (genera) 45 ชนิด (species) สกุลที่ พบ คือ Xylaria, Hypoxylon, Biscogniauxia, Nemania, Camillea, Kretzschmaria และ Rhopalostroma ป่าดงดิบเขามีความหลากหลายและความหนาแน่นของเห็ดรามาก Xylaria เป็นสกุล เด่นที่มีความหลากหลายของจ านวนชนิดมากที่สุด X. ianthino-velutina, X. culleniae, X. schweinitzii X. grammica และ X. cubensis เป็นเห็ดราเด่นที่พบมากในพื้นที่ป่าดงดิบเขาเช่นกัน นอกจากนี้ผลการตรวจสอบทางด้านอนุกรมวิธานได้พบเห็ดราชนิดใหม่ (new species) คือ Rhopalostroma kanyae Whalley & Thienhirun บนท่อนไม้บริเวณน ้าตกแม่กลาง ซึ่งได้ตีพิมพ์ในปี 2539 ในวารสาร Mycological

ธนาวรรณ และคณะ (2556) ได้ท าการศึกษาความหลากชนิดของเห็ดป่าในชุมชนพัฒนวรพงษ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าจากการสารวจความหลากชนิดของเห็ดในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2555 โดยน าตัวอย่างเห็ดที่เก็บได้มาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา เพื่อจ าแนกชนิดของ เห็ดถึงระดับจีนัสมาเปรียบเทียบกับค าบรรยายและรูปภาพจากคู่มือการจ าแนกเห็ด พบว่าเห็ดที่พบ ทั้งหมดมี 44 ชนิด 15 วงศ์ 6 อันดับ สามารถจ าแนกได้ 2 Phylum ได้แก่ Phylum Basidiomycota และ Phylum Ascomycota และจากการศึกษาทางอนุกรมวิธานสามารถจ าแนกชนิดลักษณะทาง สัณฐานวิทยาได้เป็น 6 กลุ่มเห็ดมีครีบ (Gilled fungi) จานวน 23 ชนิด กลุ่มเห็ดผึ้ง (Boletus fungi) จาน วน 3 ชนิด กลุ่มเห็ดที่มีลักษณะเป็นก้อนกลม (Puffballs fungi) จ านวน 2 ชนิด กลุ่มเห็ดหิ้ง (Polypores fungi) จ านวน 8 ชนิด กลุ่มเห็ดปะการัง (Coral fungi) จ านวน 3 ชนิด และกลุ่มเห็ดแตร (Cantharelles fungi) จ านวน 2 ชนิด เห็ดที่สามารถนามาบริโภคได้พบมากที่สุดอยู่ในวงศ์ Russulaceae รองลงมาวงศ์ Pluteaceae ส าหรับเห็ดที่ไม่สามารถบริโภคได้หรือเห็ดพิษพบมากที่สุดในวงศ์ Polyporaceae

เกียรติสยาม (2549) ศึกษาชีววิทยาและสัณฐานวิทยาของด้วงด า 2 ชนิด Heteronychus lioderes และ Alissonotum simile (Coleoptera: Scarabaeidae) พบว่าด้วงด า H. lioderes เริ่ม วางไข่ปลายเดือนกันยายนถึงปลายเดือนมกราคม โดยวางไข่มากที่สุดช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงปลาย เดือนธันวาคม ตลอดวงจรชีวิตวางไข่เฉลี่ย 189.81 ฟอง อายุ 7-13 วัน จึงฟักออกมาเป็นตัวหนอน และ พบมากที่สุดในเดือนธันวาคม ตัวหนอนใช้เวลาเจริญเติบโตประมาณ 5 เดือน ระยะดักแด้ใช้เวลา 12-21 วัน ส่วนตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 10 เดือน ซึ่งครอบคลุมตลอดช่วงฤดูการท านา ในขณะที่ด้วงด า A. simile เริ่มวางไข่ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน โดยแมลงวางไข่มากที่สุดช่วงเดือน ตุลาคม ตลอดวงจรชีวิตวางไข่เฉลี่ย 141.85 ฟอง อายุไข่ 4-9 วัน ตัวหนอนใช้เวลาเจริญเติบโต 4 เดือน ระยะดักแด้ใช้เวลาเฉลี่ย 10-16 วัน และตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 5 เดือน

3-1

บทที่ 3 อุปกรณ์ และวิธีส ำรวจ

3.1 วิธีกำรส ำรวจควำมหลำกหลำยของพรรณพืช 3.1.1 อุปกรณ์ 1. อุปกรณ์วางแปลงตัวอย่าง ได้แก่ เทปวัดระยะ เข็มทิศ หมุดเหล็ก และเครื่อง GPS 2. อุปกรณ์ติดป้ายหมายเลขต้นไม้ ได้แก่ ป้ายหมายเลข (Tag) ค้อน ตะปู 3. เทปวัดตัว 4. สมุดจดบันทึก ตารางบันทึกข้อมูล เครื่องเขียน 5. อุปกรณ์บันทึกภาพ 6. อุปกรณ์เก็บตัวอย่างพรรณไม้ ได้แก่ กรรไกรตัดกิ่ง ไม้สอย ถุงเก็บตัวอย่าง 7. อุปกรณ์อัดพรรณไม้แห้ง ได้แก่ แผงอัดพรรณไม้ กระดาษแข็ง กระดาษหนังสือพิมพ์ 8. หนังสือจ าแนกชนิดพันธุ์ไม้ ได้แก่ ต้นไม้เมืองเหนือ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ไม้ยางนาและไม้ในวงศ์ยาง เป็นต้น

3-2

3.1.2 กำรเก็บข้อมูล 1. ท าการวางแปลงถาวรขนาด 50x20 เมตร บริเวณยอดเขาเขียว ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยวางในพื้นที่ป่าดิบเขาที่เป็นตัวแทนที่ดี จ านวน 4 แปลง ตามแนวระดับชั้นความสูงที่ 1,200, 1,250, 1,300 และ1,350 เมตร จากระดับน้ าทะเล (ภาพที่ 3.1.2) ท าการจ าแนกชนิดพันธุ์ไม้และวัดขนาด ความโตที่ระดับ 1.3 เมตร ของไม้ที่มีขนาดเส้นศูนย์กลางเพียงอก (diameter at breast height, DBH) ตั้งแต่ 4.5 เซนติเมตรท าการวางแปลง 5x5 เมตร ในมุมใดมุมหนึ่ง เพื่อส ารวจไม้หนุ่ม (Sapling) โดย จ าแนกชนิดพันธุ์ไม้ที่สูงกว่า1.3 เมตร แต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก (diameter at breast height, DBH) ไม่ถึง2 เซนติเมตรท าการวางแปลง 1x1 เมตร ในมุมใดมุมหนึ่ง เพื่อส ารวจกล้าไม้ (Seeding)

2. ก าหนดให้แปลงย่อยที่ 1-5 รวมเป็นขนาด 10 x 50 ตารางเมตรเป็นแปลงที่เก็บข้อมูลเพื่อ ศึกษาโครงสร้างป่า (Profile Diagram) โดยท าการบันทึกพิกัดต้นไม้ การปกคลุมเรือนยอดตามแนวทิศ เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก ความสูงกิ่งแรก และความสูงทั้งหมดของต้นไม้ (ภาพที่ 3.1.1)

50 ม.

20

1

ม.

ม. 5

ม.

1 ม.

10

ม. 5 ม.

10 ม.

ภำพที่ 3.1.1 การวางแปลงขนาด 20x50 เมตร เพื่อศึกษาสังคมพืช

3.1.3 กำรวิเครำะห์ข้อมูล

1. ค านวณหาค่าความหนาแน่นความเด่นด้านพื้นที่หน้าตัดและความถี่พร้อมกับค านวณหาค่า ความหนาแน่นสัมพัทธ์ความเด่นสัมพัทธ์และความถี่สัมพัทธ์เพื่อน าไปวิเคราะห์หาค่าดัชนีความส าคัญโดย ใช้สูตรดังนี้

3-3

1.1 ความหนาแน่น (Density, D) คือจ านวนต้นไม้ทั้งหมดของชนิดที่ก าหนดที่ปรากฏใน แปลงตัวอย่างต่อพื้นที่ทั้งหมดที่ใช้ส ารวจ

จ านวนต้นทั้งหมดของชนิด A ที่ปรากฏในแปลงตัวอย่าง DA = พื้นที่ทั้งหมดที่ใช้ส ารวจ

1.2 ความเด่น (dominance, Do) ในที่นี้จะใช้ความเด่นด้านพื้นที่หน้าตัด (basal area, BA) คือผลรวมของพื้นที่หน้าตัดของล าต้นไม้ชนิดที่ก าหนดที่ได้จากการวัดที่ระดับความสูง 1.30 เมตรจาก พื้นดินต่อพื้นที่ทั้งหมดที่ใช้ส ารวจ

พื้นที่หน้าตัดรวมของไม้ชนิด A DoA = พื้นที่ทั้งหมดที่ใช้ส ารวจ 2 พื้นที่หน้าตัดส าหรับต้นไม้ทุกต้นหาได้จากสูตร d 4 เมื่อd = เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับสูงเพียงอก 22  = ค่าคงที่ประมาณ3.14 หรือ 7

1.3 ความถี่ (Frequency, F) คืออัตราร้อยละของจ านวนแปลงตัวอย่างที่ปรากฏพันธุ์ไม้ ชนิดที่ก าหนดต่อจ านวนแปลงตัวอย่างทั้งหมดที่ส ารวจ

จ านวนแปลงตัวอย่างที่ชนิด A ปรากฏ FA = x 100 จ านวนแปลงตัวอย่างทั้งหมดที่ส ารวจ

1.4 ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ (Relative density, RD) คือความหนาแน่นของชนิดไม้ที่ ต้องการต่อค่าความหนาแน่นรวมของไม้ทุกชนิดในสังคมคิดเป็นค่าร้อยละ

ความหนาแน่นของไม้ชนิด A RDA = x 100 ความหนาแน่นรวมของไม้ทุกชนิดในสังคม

1.5 ค่าความเด่นสัมพัทธ์ (Relative dominance, RDo) คือความเด่นของชนิดไม้ที่ ต้องการต่อค่าความเด่นรวมของไม้ทุกชนิดในสังคมคิดเป็นค่าร้อยละ

ความเด่นของไม้ชนิด A RDoA = x 100 ความเด่นรวมของไม้ทุกชนิดในสังคม

3-4

1.6 ค่าความถี่สัมพัทธ์ (Relative frequency, RF) คือความถี่ของชนิดไม้ที่ต้องการต่อ ความถี่รวมของไม้ทุกชนิดในสังคมคิดเป็นค่าร้อยละ

ความถี่ของไม้ชนิด A RFA = x 100 ความถี่รวมของไม้ทุกชนิดในสังคม

1.7 ค่าความส าคัญ (Importance value, IV) คือผลรวมของค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ ความเด่นสัมพัทธ์และความถี่สัมพัทธ์ของชนิดไม้นั้นในสังคมซึ่งหาได้จากสูตร

IVA = RDA + RDoA + RFA

2. ค านวณหาค่าดัชนีความหลากหลายจากสมการของ Shannon-Wiener (1949) เพื่อ เปรียบเทียบความหลากหลายของสังคมพืช ในแต่ละสังคมพืชตามช่วงเวลา s H'=  (Pi ln Pi) i=1 เมื่อH' = ค่าดัชนีความหลากหลายของ Shannon–Wiener S = จ านวนชนิดในสังคม Pi= สัดส่วนของจ านวนต้นชนิดที่ i (ni) ต่อผลรวมของจ านวนต้นทั้งหมดทุกชนิดใน สังคม (N)หรือPi = ,n ni i = 1, 2, 3,…, S N 3.ค่าความชุกชุมทางชนิดพันธุ์โดยใช้ดัชนีของมาร์กาเลฟ (Margarlef’s index :d’)

( S – 1 ) d = ln N S = ค่าจ านวนชนิดทั้งหมด N = ค่าจ านวนตัวทั้งหมด

4.ค่าดัชนีความสม่ าเสมอทางชนิดพันธุ์ของพีลู (Pielou’s evenness : J’)

H' J’ = H’ max

H' = ค่า ดัชนีความหลากหลายทางชนิด (Shannon-Wiener diversityindex H' max = ค่าความหลากหลายทางชนิดที่มีค่ามากที่สุดที่จะเป็นไปได้เมื่อสัตว์ตัวอย่าง ทุกชนิดมีความชุกชุมเท่ากันหมด ( = ln S)

3-5

3.1.4 กำรวิเครำะห์ค่ำดัชนีควำมคล้ำยคลึง (Similarity index, SI)

วิเคราะห์ค่าดัชนีความคล้ายคลึงของSorrensenระหว่างสังคมโดยใช้สมการค่าความ คล้ายคลึงของSorrensen (1948) ดังนี้

SI = 2W s A + B x 100

SIs = ค่าดัชนีความคล้ายคลึงของ Sorrensen W = จ านวนชนิดพันธุ์พืชที่ปรากฏทั้งในสังคม A และ B A = จ านวนชนิดพันธุ์พืชที่ปรากฏทั้งหมดในสังคม A B = จ านวนชนิดพันธุ์พืชที่ปรากฏทั้งหมดในสังคม B

3.1.5 กำรจัดกลุ่มของหมู่ไม้ (stand clustering)

จ าแนกสังคมพืชด้วยการวิเคราะห์การจัดกลุ่ม (cluster analysis) ด้วยวิธีการ Relative Sorensen Distance และ Ward’s Linkage Method โดยระยะทางของ Euclidean เป็นตัววัดความคล้ายคลึง ระหว่างกลุ่ม และใช้ระยะทางของ Euclidean ที่ใกล้ที่สุดเมื่อท าการเปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่ม หากหมู่ไม้ (stand) หรือหน่วยตัวอย่างใดมีค่าของ Euclidean distance ต่ าสุดก็จะถูกยุบรวมเป็นกลุ่มเดียวกัน จากนั้นท า การเปรียบเทียบหมู่ไม้อื่นๆ กับกลุ่มที่ได้ในการจ าแนกครั้งแรก โดยใช้หลักการพิจารณาคล้ายกันและกระท าต่อ เรื่อยๆ จนกระทั่งทุกกลุ่มถูกจ าแนกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ เพียงกลุ่มเดียว (ดอกรัก, 2549) โดยมีสูตรค านวณดังนี้

푠 2 푑(푗, 푘) = √∑푖=1(푁푖푗 − 푁푖푘)

ก าหนดให้ d(j, k)= Euclidean’s Distance ระหว่างหมู่ไม้ j และ k N =จ านวนตัวในแต่ละชนิดของหมู่ไม้ที่ท าการเปรียบเทียบ I =ชนิดพรรณที่ i S =จ านวนชนิดทั้งหมด

การสร้าง dendrogram โดยวิธี Ward’s Method เพื่อเชื่อมโยงระหว่างหน่วยตัวอย่างที่เหลือกับ หน่วยตัวอย่างที่จับคู่กันไปแล้ว หลักการของวิธีการนี้จะพิจารณาจากค่า Sum of the Squared Within-Cluster Distance โดยจะเรียกหมู่ไม้ (กัลยา, 2544) วิธี Ward’s Method น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดส าหรับวิธีการจัด ข้อมูลที่วิเคราะห์จากค่าประสิทธิ์ความคล้ายคลึงในการศึกษานี้ ท าการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูป PC- ORD version 5.10 (McCune and Mefford, 2011)

3-6

3.2 วิธีกำรส ำรวจควำมหลำกหลำยของแมลง

3.2.1 อุปกรณ์

1. สวิงโฉบแมลง 2. ซองเก็บตัวอย่างผีเสื้อ 3. เข็มฉีดยา 4. กล่องพลาสติก 5. Ethyl Acetate (เอทิล อะซิเตท) 6. สมุดบันทึก 7. ดินสอ หรือปากกา 8. หนังสือคู่มือผีเสื้อ (Butterflies of Thailand, Thailand BUTTERFLY GUIDE, ผีเสื้อที่ ปางสีดาบันทึกผีเสื้อ, คู่มือส ารวจผีเสื้อ, Moths of South East Asia) 9. หลอดไฟแบล็คไลท์ หรือหลอดแสงจันทร์ พร้อมชุดต่อเข้ากับแบตเตอรี่รถยนต์ 10. ฉากผ้าขาว 11. แบตเตอรี่รถยนต์ 12. ไฟลชีท 13. เชือกฟาง

3.2.2 วิธีกำรส ำรวจ

1. การส ารวจข้อมูลผีเสื้อกลางวัน

1.1 คัดเลือกพื้นที่เพื่อวางแปลงส ารวจ โดยใช้พื้นที่เดียวกับการส ารวจสังคมพืช จ านวน 4 แปลง ตามแนวระดับชั้นความสูง โดยแปลงส ารวจที่ 1 ที่ระดับความสูงความสูง 1200 เมตร, แปลง ส ารวจที่ 2 ที่ระดับความสูง 1,250 เมตร, แปลงส ารวจที่ 3 ที่ระดับความสูง 1,3000 เมตร, และแปลง ส ารวจที่ 4 ที่ระดับความสูง 1,350 เมตร จากระดับน้ าทะเล (ภาพที่ 3.1.2)

1.2 ในแต่ละแปลงส ารวจ ท าการวางแนวส ารวจ 2 เส้น ระยะทาง 100 เมตร โดยมี ระยะห่าง 50 เมตร ในแนวขนานกัน ทั้งสองแนวส ารวจ เก็บผีเสื้อกลางวันทุกตัวในรัศมีด้านละ 5 เมตร รวมทั้งบันทึกชนิดและจ านวนผีเสื้อทุกตัวที่พบ โดยไม่เก็บผีเสื้อกลางวันในระหว่างการเปลี่ยนเส้นส ารวจ

3-7

1.3 บันทึกชนิดและจ านวนผีเสื้อที่ส ารวจได้เพื่อน าไปท าบัญชีรายชื่อ โดยใช้หนังสือ (Butterflies of Thailand, Thailand BUTTERFLY GUIDE, ผีเสื้อที่ปางสีดา, ผีเสื้อ, บันทึกผีเสื้อ, คู่มือ ส ารวจผีเสื้อ, Moths of South East Asia) มาใช้ในการจ าแนกผีเสื้อ

1.4 แบ่งการส ารวจผีเสื้อออกเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน และ ฤดูฝน โดยในแต่ละ ฤดูกาล ส ารวจผีเสื้อ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า ส ารวจช่วงระหว่างเวลา 9.00-12.00 น. ช่วงบ่าย ส ารวจช่วง ระหว่างระหว่างเวลา 13.00-16.00 น. (ใช้เวลาแต่ละช่วง 2 ชั่วโมงส ารวจแบบต่อเนื่องโดยไม่หยุดพัก)

2. การส ารวจข้อมูลผีเสื้อกลางคืนและด้วง

1.1 คัดเลือกพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลผีเสื้อกลางคืนและด้วง จ านวน 1 จุด ให้อยู่บริเวณ เดียวกับพื้นที่ที่เก็บข้อมูลตัวอย่างผีเสื้อกลางวัน

1.2 ติดตั้งกับดักแสงไฟ โดยใช้หลอดไฟฟ้าแบบแบล็คไลท์ 18-20 วัตต์ (หลอดสั้น) ใช้จอ ผ้าขนาด 1.20x1.50 เมตร เป็นพื้นที่ดักแมลง

1.3 บันทึกภาพผีเสื้อกลางคืนและด้วงที่เกาะบนจอผ้า และบริเวณใกล้เคียง เช่น พื้นดิน เสา และต้นไม้ โดยบันทึกภาพเฉพาะผีเสื้อกลางคืนที่มีขนาดมากกว่า 4 เซนติเมตร บันทึกชนิดและ จ านวนผีเสื้อในเวลา 21.00 น. และ 06.00 น. เพื่อน าไปท าบัญชีรายชื่อ โดยใช้หนังสือ (Butterflies of Thailand, Thailand BUTTERFLY GUIDE, ผีเสื้อที่ปางสีดา, ผีเสื้อ, บันทึกผีเสื้อ, คู่มือส ารวจผีเสื้อ, Moths of South East Asia)

1.4 แบ่งการส ารวจผีเสื้อและด้วงกลางคืนออกเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน และ ฤดูฝน

หมำยเหตุ : เนื่องจากการแปลงส ารวจในแต่ละแปลงอยู่ห่างกันมากและมีสัตว์ป่าชุกชุม อาจเป็นอันตรายแก่ ผู้ส ารวจ จึงได้คัดเลือกแปลงที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันเพื่อวางกับดักผีเสื้อกลางคืนและด้วง แต่จ านวนชนิดที่พบยัง น้อยมาก เมื่อเทียบกับการไปเก็บตัวอย่างบริเวณค่ายทหารอากาศ ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยบริเวณนั้นจะ พบผีเสื้อและด้วงในจ านวนที่มาก เพียงพอต่อการเป็นตัวแทนในพื้นที่ได้

3-8

3.3.3 กำรวิเครำะห์ข้อมูล

1 ท าแผนผัง Venn diagram เปรียบเทียบข้อมูลของผีเสื้อกลางวันที่พบในฤดูร้อน และ ฤดูฝน

2. การวิเคราะห์ค่าดัชนีความคล้ายคลึง (Similarity index, SI) โดยวิเคราะห์ค่าดัชนีความ คล้ายคลึงของ Sorrensen ระหว่างสังคมโดยใช้สมการค่าความคล้ายคลึงของ Sorrensen (1948) ดังนี้

SI = 2W s A + B x 100

SIs = ค่าดัชนีความคล้ายคลึงของ Sorrensen W = จ านวนชนิดพันธุ์พืชที่ปรากฏทั้งในสังคม A และ B A = จ านวนชนิดพันธุ์พืชที่ปรากฏทั้งหมดในสังคม A B = จ านวนชนิดพันธุ์พืชที่ปรากฏทั้งหมดในสังคม B

3-9

3. ค านวณหาค่าดัชนีความหลากหลายจากสมการของ Shannon-Wiener (1949) เพื่อ เปรียบเทียบความหลากหลายของสังคมพืช ในแต่ละสังคมพืชตามช่วงเวลา s H'=  (Pi ln Pi) i=1 เมื่อ H' = ค่าดัชนีความหลากหลายของ Shannon–Wiener S = จ านวนชนิดในสังคม Pi= สัดส่วนของจ านวนต้นชนิดที่ i (ni) ต่อผลรวมของจ านวนต้นทั้งหมดทุก ชนิดในสังคม (N)หรือPi = , ni = 1, 2, 3,…, S

4. ค่าดัชนีความสม่ าเสมอทางชนิดพันธุ์ของพีลู (Pielou’s evenness : J’)

H' J’ = H’ max

H' = ค่า ดัชนีความหลากหลายทางชนิด (Shannon-Wiener diversityindex H' max = ค่าความหลากหลายทางชนิดที่มีค่ามากที่สุดที่จะเป็นไปได้เมื่อสัตว์ ตัวอย่างทุกชนิดมีความชุกชุมเท่ากันหมด ( = ln S)

5. ค่าความชุกชุมทางชนิดพันธุ์โดยใช้ดัชนีของมาร์กาเลฟ (Margarlef’s index :d’)

( S – 1 ) d = ln N

S = ค่าจ านวนชนิดทั้งหมด N = ค่าจ านวนตัวทั้งหมด

3-10

3.3 วิธีกำรส ำรวจควำมหลำกหลำยของเห็ดรำ

3.3.1 อุปกรณ์

1. อุปกรณ์ส าหรับใส่เห็ดที่มีโครงสร้างโปร่งและแข็ง เช่น ตะกร้า 2. กระดาษส าหรับห่อตัวอย่างเห็ด เช่น กระดาษไข หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ 3. มีดและพลั่วสนาม 4. แว่นขยาย หรือ hand lens 5. เครื่องมือบันทึกภาพ เช่น กล้องถ่ายรูป พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ 6. อุปกรณ์บันทึกข้อมูลได้แก่ดินสอปากกาสมุดและไม้บรรทัด 7. เครื่องมือระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS)

3.3.2 วิธีกำรส ำรวจ

1. คัดเลือกพื้นที่เพื่อวางแปลงส ารวจ โดยใช้พื้นที่เดียวกับการส ารวจสังคมพืช จ านวน 4 แปลง ตามแนวระดับชั้นความสูง โดยแปลงส ารวจที่ 1 ที่ระดับความสูง 1,200 เมตร, แปลงส ารวจที่ 2 ที่ระดับ ความสูง 1,250 เมตร, แปลงส ารวจที่ 3 ที่ระดับความสูง 1,300 เมตร, และแปลงส ารวจที่ 4 ที่ระดับความ สูง 1,350 เมตร จากระดับน้ าทะเล (ภาพที่ 3.1.2)

2. ส ารวจเห็ดที่พบในแปลงโดยเดินส ารวจทั่วทั้งแปลง

3. นับจ านวนดอกเห็ดที่พบทั้งหมด

4. ท าการบันทึกภาพ บันทึกสิ่งที่ดอกเห็ดขึ้นอยู่พร้อมรายละเอียดต่างๆ โดยรอบดอกเห็ด และ ท าการเก็บตัวอย่างเห็ดเพื่อน ามาท าการจ าแนกชนิดตามหลักอนุกรมวิธาน

5. การจ าแนกชนิดเห็ดราตามหลักอนุกรมวิธาน น าตัวอย่างเห็ดรามาท าการตรวจพิสูจน์ลักษณะ อย่างหยาบ (Macro-Identification) หรือลักษณะทางสัณฐานวิทยา เช่น ขนาด สี พิมพ์สปอร์ กลิ่น รสชาติ การเป็นเงา การมียางไหล ลักษณะหมวกเห็ด ครีบ รูท่อ ก้านดอก ห่วงหรือวงแหวน ปลอกก้าน ดอก สิ่งประดับดอกเห็ด เป็นต้น เพื่อตรวจสอบหาชนิด ตามกุญแจ (Keys) และข้อมูลชนิดพันธุ์ (Monographs of species descriptions) (นิวัฒ,2553)

3-11

3.3.3 กำรวิเครำะห์ข้อมูล

1. การวิเคราะห์ค่าดัชนีความคล้ายคลึง (Similarity index, SI) โดยวิเคราะห์ค่าดัชนีความ คล้ายคลึงของ Sorrensen ระหว่างสังคมโดยใช้สมการค่าความคล้ายคลึงของ Sorrensen (1948) ดังนี้

SI = 2W s A + B x 100

SIs = ค่าดัชนีความคล้ายคลึงของ Sorrensen W = จ านวนชนิดพันธุ์พืชที่ปรากฏทั้งในสังคม A และ B A = จ านวนชนิดพันธุ์พืชที่ปรากฏทั้งหมดในสังคม A B = จ านวนชนิดพันธุ์พืชที่ปรากฏทั้งหมดในสังคม B

2. ค านวณหาค่าดัชนีความหลากหลายจากสมการของ Shannon-Wiener (1949) เพื่อ เปรียบเทียบความหลากหลายของสังคมพืช ในแต่ละสังคมพืชตามช่วงเวลา s H'=  (Pi ln Pi) i=1 เมื่อ H' = ค่าดัชนีความหลากหลายของ Shannon–Wiener S = จ านวนชนิดในสังคม Pi= สัดส่วนของจ านวนต้นชนิดที่ i (ni) ต่อผลรวมของจ านวนต้นทั้งหมดทุก ชนิดในสังคม (N)หรือPi = , ni = 1, 2, 3,…, S

3. ค่าดัชนีความสม่ าเสมอทางชนิดพันธุ์ของพีลู (Pielou’s evenness : J’)

H' J’ = H’ max

H' = ค่า ดัชนีความหลากหลายทางชนิด (Shannon-Wiener diversity index) H' max = ค่าความหลากหลายทางชนิดที่มีค่ามากที่สุดที่จะเป็นไปได้เมื่อสัตว์ ตัวอย่างทุกชนิดมีความชุกชุมเท่ากันหมด ( = ln S)

3-12

4. ค่าความชุกชุมทางชนิดพันธุ์โดยใช้ดัชนีของมาร์กาเลฟ (Margarlef’s index :d’)

( S – 1 ) d = ln N

S = ค่าจ านวนชนิดทั้งหมด N = ค่าจ านวนตัวทั้งหมด

ภำพที่ 3.1.2 พื้นที่ส ารวจตามระดับชั้นความสูงในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครนายก

4-1

บทที่ 4 ผลการศึกษา

4.1 ความหลากหลายของพรรณพืช

4.1.1 โครงสร้างและองค์ประกอบของพรรณพืช

การศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของพรรณพืชบริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบว่า พื้นที่ส ารวจมีลักษณะเรือนยอดซ้อนทับกันหรือเรือนยอดเปิด (open canopy) โดยพิจารณาจากการปก คลุมเรือนยอดมีค่าเท่ากับ 196.28 ตารางเมตร หรือ 39.26 เปอร์เซ็นต์ ส าหรับลักษณะโครงสร้างสามารถ แบ่งได้ 3 ชั้นเรือนยอด คือ 1) เรือนยอดชั้นบน (crown layer) มีความสูง 15-20 เมตร พันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ ก่อหมวก (Quercus oidocarpa) หว้าหิน (Syzygium claviflorum) ทะโล้ (Schima wallichii) และ สารภีดอย (Anneslea fragrans) เป็นต้น 2) เรือนยอดชั้นรอง (middle layer) มีความสูง 10-15 เมตร พันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ เหมือดปลาซิว (Symplocos sumuntia) กระจับนก (Euonymus cochinchinensis) และแมงเม่านก (Eurya nitida) เป็นต้น และ3) ชั้นไม้พุ่ม (shrub layer) มีความสูง 5-10 เมตร พันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ เหมือดคนตัวแม่ (Helicia excelsa) เอียนเร (Neolitsea sp.) และ มวกกอ (Olea salicifolia) เป็นต้น (ภาพที่ 4.1) วงศ์ที่สามารถครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดโดยพิจารณาจากค่าความส าคัญ (IV) 5 วงศ์แรก คือ วงศ์ Pentaphylacaceae (วงศ์สารภีดอย) Symplocaceae (วงศ์เหมือด) Myrtaceae (วงศ์ชมพู่), Rubiaceae (วงศ์เข็ม) และFagaceae (วงศ์ก่อ) มีเปอร์เซ็นต์การครอบคลุม เท่ากับ 14.21, 11.63, 11.25, 9.71 และ8.01 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ

เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของพรรณไม้ในระดับไม้ใหญ่ (tree) พบพรรณไม้ทั้งหมด 76 ชนิด 54 สกุล 31 วงศ์ ไม่สามารถระบุชนิดได้ 5 ชนิด โดยมีความหนาแน่น (density) เท่ากับ 1,490 ต้นต่อเฮกแตร์ พื้นที่หน้าตัด (basal area) เท่ากับ 4.99 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ ค่าดัชนีความความหลากหลายของ Shannon-Wiener’s index : H’ เท่ากับ 5.09 มีค่าดัชนีความมากมายของ Margarlef’s index : d’เท่ากับ 8.14 และมีค่าดัชนีความความสม่ าเสมอของ Pielou’s evenness : J’เท่ากับ 0.81 พันธุ์ไม้เด่นที่พบ โดยพิจารณาจากค่าความส าคัญ (IV) ได้แก่ สารภีดอย เหมือดปลาซิว กระจับนก ก่อหมวก และหว้าหิน เป็นต้น โดยมีค่าความส าคัญเท่ากับ 28.71, 26.18, 17.50, 16.92 และ16.18 ตามล าดับ (ตารางที่ 4.1.1)

ส าหรับในระดับไม้หนุ่ม (sapling) พบพรรณไม้ทั้งหมด 48 ชนิด 38 สกุล 18 วงศ์ โดยมีความ หนาแน่น เท่ากับ 6,330 ต้นต่อเฮกแตร์ มีค่าดัชนีความความหลากหลายเท่ากับ 3.95 มีค่าดัชนีความ มากมาย เท่ากับ 5.05 และมีค่าดัชนีความความสม่ าเสมอ เท่ากับ 0.71 เมื่อพิจารณาพรรณไม้เด่นที่พบ โดย

4-2

พิจารณาจากค่าความส าคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ เอียนเร สนกระ แมงเม่านก เกล็ดแส้น และเปล้า เป็นต้น มีค่าความส าคัญเท่ากับ 36.77, 28.36, 17.12, 15.92 และ10.35 ตามล าดับ (ตารางที่ 4.1.2)

ส่วนกล้าไม้ (seeding) พบพรรณไม้ทั้งหมด 36 ชนิด 31 สกุล 21 วงศ์ โดยมีความหนาแน่น เท่ากับ 1,160 ต้นต่อเฮกแตร์ มีค่าดัชนีความความหลากหลาย เท่ากับ 4.66 มีค่าดัชนีความมากมาย เท่ากับ 5.10 และ มีค่าดัชนีความความสม่ าเสมอ เท่ากับ 0.92 พรรณไม้เด่นที่พบโดยพิจารณาจากค่าความส าคัญ (IV) 5 อันดับ แรก ได้แก่ สนกระ กระจับนก พะบ้าง หว้าหิน และเอียนเร เป็นต้น มีค่าความส าคัญเท่ากับ 20.43, 17.02 15.32, 13.62 และ13.62 ตามล าดับ (ตารางที่ 4.1.3)

ภาพที่ 4.1.1 โครงสร้างทางด้านตั้ง (Profile diagram) ของหมู่ไม้ในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขา ใหญ่

4-3

ตารางที่ 4.1.1 บัญชีรายชื่อพรรณไม้ พื้นที่หน้าตัด (Basal area, Ba) ต่อเฮกแตร์ความหนาแน่น (Density, D) ต่อเฮกแตร์ ค่าความส าคัญ (Importance value , IV) ของพรรณไม้ในระดับไม้ใหญ่

ล าดับ ชื่อพื้นเมือง ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อวงศ์ Ba D IV 1 กระจับนก Euonymus cochinchinensis Celastraceae 0.472 57.5 17.05 2 ก่อด า Lithocarpus truncatus Fagaceae 0.131 7.5 4.00 3 ก่อเดือย Castanopsis acuminatissima Fagaceae 0.028 17.5 2.60 4 ก่อหมวก Quercus oidocarpa Fagaceae 0.380 70 16.92 5 กะอวม Acronychia pedunculata Rutaceae 0.008 5 1.08 6 กาแฟป่า Diplospora puberula Rubiaceae 0.027 32.5 5.31 7 กาลังกาสาตัวผู้ Ardisia nervosa Primulaceae 0.001 2.5 0.47 8 เกล็ดแส้น Olea brachiata Oleaceae 0.021 40 5.98 9 แกงเลียงใบเล็ก Aidia parvifolia Rubiaceae 0.014 12.5 2.56 10 แกนมอ Rhus succedanea Anacardiaceae 0.010 2.5 0.66 11 ขางขาว Xanthophyllum virens Xanthophyllaceae 0.001 2.5 0.48 12 ขี้ใต้ Syzygium lineatum Myrtaceae 0.001 2.5 0.47 13 เข็มโคม Pavetta indica Rubiaceae 0.005 2.5 0.55 14 เขากวาง Homalium dasyanthum Salicaceae 0.018 7.5 1.44 15 ไข่นกกะทาดง Distylium annamicum Hamamelidaceae 0.002 2.5 0.50 16 คัดเค้า Oxyceros sp. Rubiaceae 0.002 5 0.95 17 คันแหลน Psydrax nitida Rubiaceae 0.029 37.5 5.69 18 ค่างเต้นเขา Canthium cochinchinense Rubiaceae 0.033 45 8.01 19 ไคร้มดขน Glochidion eriocarpum Euphorbiaceae 0.001 2.5 0.48 20 ไคร้มันปลา Glochidion sphaerogynum Euphorbiaceae 0.008 2.5 0.61 21 เงาะป่า Nephelium melliferum Sapindaceae 0.002 2.5 0.50 22 ดีงู Elaeocarpus petiolatus Elaeocarpaceae 0.024 7.5 1.85 23 แดงหิน Syzygium helferi Myrtaceae 0.011 2.5 0.67 24 ตังหนใบเล็ก Calophyllum calaba Calophyllaceae 0.149 15 5.43 25 ต าเสา Ternstroemia wallichiana Theaceae 0.012 5 1.15 26 ทะโล้ Schima wallichii Theaceae 0.451 50 16.13 27 นิ้วมือพระนารายณ์ Schefflera elliptica Arariaceae 0.002 5 0.95 28 นีเลง Gomphandra quadrifida Temonuraceae 0.007 2.5 0.59 29 นูดต้น Prunus arborea Rosaceae 0.005 7.5 1.47

4-4

ตารางที่ 4.1.1 (ต่อ)

ล าดับ ชื่อพื้นเมือง ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อวงศ์ Ba D IV 30 เน่าใน Ilex umbellulata Aquifoliaceae 0.001 2.5 0.47 31 ประค าดีควาย Sapindus rarak Sepindaceae 0.005 2.5 0.56 32 ปอผ่าสาม Sterculia lanceolata Malvaceae 0.010 5 1.12 33 เปล้า Croton kerrii Euphorbiaceae 0.001 2.5 0.49 34 เปล้าน้ าเงิน Croton argyratus Euphorbiaceae 0.003 5 0.69 35 ผนังช้าง Heynea trijuca Meliaceae 0.004 5 1.00 36 พญามะขามป้อม Dacrycarpus imbricatus Podocarpaceae 0.193 35 8.24 37 พระอง Calophyllum polyanthum Calophyllaceae 0.001 2.5 0.47 38 พลองง่าม Memecylon minutiflorum Melastomataceae 0.011 5 1.14 39 พะบ้าง Mischocarpus pentapetalus Sapindaceae 0.022 20 3.22 40 เพลี้ยกระทิง Euodiaroxbu rghiana Rutaceae 0.007 7.5 1.50 41 มวกกอ Oleasa licifolia Oleaceae 0.043 45 7.91 42 มะม่วงป่า Mangifera caloneura Anacardiaceae 0.001 2.5 0.47 43 มะมุ่น Elaeocarpus lanceifolius Elaeocarpaceae 0.035 2.5 1.16 44 เมียดต้น Litsea martabanica Lauraceae 0.009 12.5 2.18 45 แมงเม่านก Eurya nitida Pentaphylacaceae 0.055 105 13.91 46 ยมต่อม Dysoxylum sp. Meliaceae 0.001 2.5 0.48 47 รามยูนาน Rapanea yunnanesis Primulaceae 0.001 2.5 0.47 48 สตีต้น Sloanea sigun Elaeocarpaceae 0.022 10 1.99 49 สนกระ Prismatomeris tetrandra Rubiaceae 0.012 35 6.05 50 สารภีดอย Anneslea fragrans Pentaphylacaceae 0.843 107.5 28.71 51 เสม็ดแดง Syzygium antisepticum Myrtaceae 0.261 20 8.58 52 หมักฟักดง Apodytes dimidiata Icacinaceae 0.001 2.5 0.48 53 หมีอิน Beilschmiedia inconspicua Lauraceae 0.001 2.5 0.47 54 หว้าเขา Syzygium toddalioides Myrtaceae 0.150 12.5 5.28 55 หว้าใบหอม Cleistocalyx nervosum Myrtaceae 0.019 2.5 0.83 56 หว้าป่าสน Syzygium mekongense Myrtaceae 0.041 5 1.74 57 หว้าหิน Syzygium claviflorum Myrtaceae 0.516 40 16.18 58 เหมือดคนด า Symplocos longifolia Symplocaceae 0.004 10 1.62 59 เหมือดคนตัวผู้ Helicia nilagirica Proteaceae 0.022 37.5 4.97 60 เหมือดคนตัวแม่ Helicia excels Proteaceae 0.052 80 10.44

4-5

ตารางที่ 4.1.1 (ต่อ)

ล าดับ ชื่อพื้นเมือง ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อวงศ์ Ba D IV 61 เหมือดจี้ดง Memecylon plebejum Melastomyrtaceae 0.002 5 0.96 62 เหมือดปลาซิว Symplocos sumuntia Symplocaceae 0.338 177.5 26.18 63 เหมือดสันนูน Symplocos lucida. Symplocaceae 0.128 37.5 7.10 64 อบเชย Cinnamomum bejolghota Lauraceae 0.003 2.5 0.51 65 เอนอ้า Osbeckia stellataBuch. Melastomataceae 0.041 70 7.83 66 เอียนเร Neolitsea sp. Lauraceae 0.029 75 9.07 67 ฮ้อยจั่น Engelhardtia serrata Juglangdaceae 0.001 2.5 0.48 68 Dysoxylum sp. Dysoxylum cauliflorum Meliaceae 0.007 2.5 0.59 69 Lindera sp. Lindera caudata Lauraceae 0.004 5 0.70 70 Lithocarpus sp. Lithocarpus sp. Fagaceae 0.003 2.5 0.53 71 Prunus Prunus sp. Rosaceae 0.006 7.5 1.20 72 Unknow 74 Unknow 74 Unknow 74 0.014 2.5 0.73 73 Unknow 85 Unknow 85 Unknow 85 0.063 7.5 2.34 74 unknow148 unknow148 unknow148 0.001 2.5 0.47 75 Unknow150 Unknow150 Unknow150 0.017 2.5 0.80 76 unknow169 unknow169 unknow169 0.134 2.5 3.14 รวม 4.993 1490 300 Shannon-Wiener’s index: H’= 5.09 Margarlef’s index: d’ = 8.14 Pielou’s evenness: J’ = 0.89

4-6

ตารางที่ 4.1.2 บัญชีรายชื่อพรรณไม้จ านวนต้น (Number of stems, No) ความหนาแน่น (Density, D) ต่อ เฮกแตร์ ค่าความส าคัญ (Importance value , IV) ของพรรณไม้ ในระดับไม้หนุ่ม

ล าดับ ชื่อพื้นเมือง ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อวงศ์ No D IV 1 กระจับนก Euonymus theifolius Celastraceae 17 170 8.526 2 ก่อเดือย Castanopsis acuminatissima Fagaceae 1 10 0.547 3 ก่อหมวก Quercus oidocarpa Fagaceae 7 70 2.664 4 กาแฟป่า Diplospora puberula Rubiaceae 2 20 1.095 5 กาลังกาสาตัวผู้ Ardisia nervosa Primulaceae 1 10 0.547 6 ก าลังหนุมาน Dracaena conferta Asparagaceae 2 20 1.095 7 เกล็ดแส้น Olea brachiata Oleaceae 49 490 15.924 8 แกงเลียงใบเล็ก Aidia parvifolia Rubiaceae 2 20 1.095 9 แข้งกวางดง Wendlandia paniculata Rubiaceae 1 20 0.547 10 ไข่นกกระทา Distylium indicum Hamamelidaceae 1 10 0.547 11 ครืน Aporosa frutescens Phyllanthaceae 3 30 1.642 12 คัดเค้า Oxyceros sp. Rubiaceae 19 190 6.508 13 คันแหลน Psydrax nitida Rubiaceae 2 20 1.095 14 ค่างเต้นเขา Canthium cochinchinense Rubiaceae 4 40 2.189 15 ไคร้มันปลา Glochidion sphaerogynum Euphorbiaceae 1 10 0.547 16 แดงหิน Syzygium helferi Myrtaceae 1 10 0.547 17 ตังหนใบเล็ก Calophyllum calaba Calophyllaceae 2 20 1.095 18 ตานหกขน Litsea verticillata Primulaceae 1 10 1.715 19 ต าเสา Ternstroemia wallichiana Theaceae 1 10 0.547 20 ทะโล้ Schima wallichii Theaceae 2 20 1.095 21 นกนอน Cleistanthus helferi Phyllanthaceae 1 10 0.547 22 เน่าใน Ilex umbellulata Aquifoliaceae 1 10 0.547 23 ปอผ่าสาม Sterculia lanceolata Malvaceae 1 10 0.547 24 เปล้า Croton kerrii Euphorbiaceae 31 310 10.353 25 เปล้าน้ าเงิน Croton argyratus Euphorbiaceae 1 10 0.547 26 ผักหวานโขลงช้าง Phyllanthus acutissimud Phyllanthaceae 1 10 0.547 27 ฝิ่นต้น Chionanthus microstigma Oleaceae 1 10 0.547 28 พญามะขามป้อม Dacrycarpus imbricatus Podocarpaceae 1 10 0.547 29 พลองง่าม Memecylon minutiflorum Melastomataceae 8 80 3.211 30 พะบ้าง Mischocarpus pentapetalus Sapindaceae 5 50 2.737

4-7

ตารางที่ 4.1.2 (ต่อ)

ล าดับ ชื่อพื้นเมือง ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อวงศ์ No d IV 31 เพลี้ยกระทิง Euodia roxburghiana Rutaceae 7 70 3.053 32 มวกกอ Olea salicifolia Oleaceae 14 140 4.939 33 มะเม่า Antidesma laurifolium Phyllanthaceae 9 90 3.759 34 มะเม่าสาย Antidesma sootepense Phyllanthaceae 4 40 1.800 35 เมี่ยงอีอาม Camellia oleifera Theaceae 3 30 1.253 36 เมียดต้น Litsea martabanica Lauraceae 6 60 2.895 37 แมงเม่านก Eurya nitida Pentaphylacaceae 59 590 17.118 38 ลูบลีบ Ulmus sp. Ulmaceae 2 20 1.095 39 สนกระ Prismatomeris tetrandra Rubiaceae 103 1030 28.360 40 เสม็ดแดง Syzygium antisepticum Myrtaceae 8 80 2.433 41 หว้าหิน Syzygium claviflorum Myrtaceae 3 30 1.642 42 เหมือดคนตัวผู้ Helicia nilagirica Proteaceae 2 20 1.095 43 เหมือดคนตัวแม่ Helicia excelsa Proteaceae 19 190 4.952 44 เหมือดปลาซิว Symplocos sumuntia Symplocaceae 17 170 6.970 45 เอนอ้า Osbeckia stellata Melastomataceae 9 90 2.591 46 เอียนเร Neolitsea sp. Lauraceae 166 1660 36.772 47 Phyllanthus sp. Phyllanthus sp. Phyllanthaceae 16 160 5.255 48 Rutaceae - Rutaceae 15 150 4.319 รวม 632 6330 200 Shannon-Wiener’s index: H’=3.95 Margarlef’s index: d’ =5.05 Pielou’s evenness: J’ =0.71

4-8

ตารางที่ 4.1.3 บัญชีรายชื่อพรรณไม้จ านวนต้น (Number of stems, No) ความหนาแน่น (Density, D) ต่อ เฮกแตร์ ค่าความส าคัญ (Importance value , IV) ของพรรณไม้ ในระดับกล้าไม้

ล าดับ ชื่อพื้นเมือง ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อวงศ์ No D IV 1 กระจับนก Euonymus theifolius Celastraceae 10 100 17.024 2 ก่อเดือย Castanopsis acuminatissima Fagaceae 1 10 1.702 3 ก่อหมวก Quercus oidocarpa Fagaceae 2 20 3.405 4 กาแฟป่า Diplospora puberula Rubiaceae 1 10 1.702 5 ก าลังหนุมาน Dracaena conferta Asparagaceae 1 10 1.702 6 เกล็ดแส้น Olea brachiate Oleaceae 3 30 5.107 7 ขางแข้งแคระ Alchornea parviflora Euphorbiaceae 1 10 1.702 8 ครืน Aporosa frutescens Phyllanthaceae 1 10 1.702 9 คัดเค้า Oxyceros sp. Rubiaceae 1 10 1.702 10 ค่างเต้นเขา Canthium cochinchinense Rubiaceae 2 20 3.405 11 ตังหนใบเล็ก Calophyllum calaba Calophyllaceae 2 20 3.405 12 ต าเสา Ternstroemia wallichiana Theaceae 1 10 1.702 13 เปล้า Croton kerrii Euphorbiaceae 6 60 10.214 14 พญามะขามป้อม Dacrycarpus imbricatus Podocarpaceae 5 50 8.512 15 พญาไม้ Podocarpus neriifolius Podocarpaceae 2 20 3.405 16 พลองง่าม Memecylon minutiflorum Melastomataceae 1 10 1.702 17 พะบ้าง Mischocarpus pentapetalus Sapindaceae 9 90 15.322 18 เพลี้ยกระทิง Euodia roxburghiana Rutaceae 3 30 5.107 19 มวกกอ Olea salicifolia Oleaceae 1 10 4.223 20 มะมุ่น Elaeocarpus lanceifolius Elaeocarpaceae 1 10 1.702 21 มะเม่า Antidesma laurifolium Phyllanthaceae 3 30 5.107 22 เมียดต้น Litsea martabanica Lauraceae 2 20 3.405 23 แมงเม่านก Eurya nitida Pentaphylacaceae 2 20 3.405 24 สนกระ Prismatomeris tetrandra Rubiaceae 12 120 20.429 25 สุรามะริด Cinnamomum subavenium Lauraceae 1 10 1.702 26 หมักฟักก้านใส Mastixia pentandra Cornaceae 1 10 1.702 27 หมักฟักดง Apodytes dimidiata Icacinaceae 2 20 3.405 28 หว้าหิน Syzygium claviflorum Myrtaceae 8 80 13.619 29 เหมือดคนตัวผู้ Helicia nilagirica Proteaceae 1 10 1.702 30 เหมือดคนตัวแม่ Helicia excels Proteaceae 6 60 10.214

4-9

ตารางที่ 4.1.3 (ต่อ)

ล าดับ ชื่อพื้นเมือง ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อวงศ์ No D IV 31 เหมือดปลาซิว Symplocos sumuntia Symplocaceae 5 50 8.512 32 เอนอ้า Osbeckia stellata Melastomataceae 1 10 1.702 33 เอียนเร Neolitsea sp. Lauraceae 8 80 13.619 34 Apocynaceae - Apocynaceae 4 40 6.810 35 Phyllanthus sp. Phyllanthus sp. Phyllanthaceae 5 50 8.512 36 Rutaceae - Rutaceae 1 10 1.702 รวม 116 1160 200 Shannon-Wiener’s index: H’=4.66 Margarlef’s index: d’ =5.10 Pielou’s evenness: J’ =0.90

4-10

4.1.2 การรักษาโครงสร้างของป่า

การศึกษาการรักษาโครงสร้างของป่าในพื้นที่ส ารวจโดยรวมและในแต่ละแปลง ตามความสูงจาก ระดับน้ าทะเล โดยพิจารณาจากกระจายของพันธุ์ไม้ตามระดับชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง พบว่า ความ หนาแน่นของจ านวนต้นมีแนวโน้มลดลง เมื่อระดับชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของพันธุ์ไม้เพิ่มขึ้น มีการ กระจายเป็นแบบ การเพิ่มแบบชี้ก าลังเชิงลบ (Negative exponential growth form) คือ มีต้นไม้ขนาด เล็กจ านวนมากที่สามารถสืบต่อพันธุ์ทดแทนไม้ใหญ่ได้ในอนาคต (ภาพที่ 4.1.2)

ภาพที่ 4.1.2 การกระจายตามชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในพื้นที่ส ารวจโดยรวมและในแต่ละแปลง ตามความสูงจากระดับน้ าทะเล; (A) แปลงส ารวจที่ความสูง 1,200 ม. (B) แปลงส ารวจที่ความสูง 1,250 ม. (C) แปลงส ารวจที่ความสูง 1,300, (D) แปลงส ารวจที่ความสูง 1,350 และ(E) พื้นที่ส ารวจโดยรวม,

4-11

4.1.3 ความหลากหลายของพรรณไม้

การศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความหลากหลายในแต่ละแปลง ส ารวจ ในระดับไม้ใหญ่ ไม้หนุ่ม และกล้าไม้ พบว่า ในระดับไม้ใหญ่แปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1,300 เมตร จะมีค่าดัชนีความหลากหลายสูงสุด มีค่าเท่ากับ 4.65 พบพรรณไม้ทั้งหมด 44 ชนิด และแปลงส ารวจที่ระดับ ความสูง 1,250 เมตร จะมีค่าดัชนีความหลากหลายต่ าสุด มีค่าเท่ากับ 3.36 พบพรรณไม้ทั้งหมด 21 ชนิด ในระดับไม้หนุ่มแปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1,350 เมตร จะมีค่าดัชนีความหลากหลายสูงสุด มีค่าเท่ากับ 4.05 พบพรรณไม้ทั้งหมด 20 ชนิด และแปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1,250 เมตร จะมีค่าดัชนีความ หลากหลายต่ าสุด มีค่าเท่ากับ 2.47 พบพรรณไม้ทั้งหมด 15 ชนิด และในระดับกล้าไม้แปลงส ารวจที่ระดับ ความสูง 1,200 เมตร จะมีค่าดัชนีความหลากหลายสูงสุด มีค่าเท่ากับ 3.83 พบพรรณไม้ทั้งหมด 34 ชนิด และ แปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1,300 เมตร จะมีค่าดัชนีความหลากหลายต่ าสุด มีค่าเท่ากับ 1.89 พบพรรณไม้ ทั้งหมด 7 ชนิด (ภาพที่ 4.1.3)

5.00 4.65 4.17 4.23 4.05 4.00 3.78 3.83 3.36 3.51 3.32 3.00 1200 เมตร 3.00 2.47 1250 เมตร 2.00 1.89 1300 เมตร 1350 เมตร 1.00

0.00 ไมใ้ หญ ่ (Tree) ไมห้ นุ่ม (Salping) กล้าไม้ (Seedling) Shannon-Wiener diversity index : H'

ภาพที่ 4.1.3 ค่าดัชนีความหลากหลาย ของไม้ใหญ่ (tree) ไม้หนุ่ม (sapling) และกล้าไม้ (seedling) ใน แต่ละพื้นที่ตามแนวระดับชั้นความสูง

4-12

4.1.4 ความสม่ าเสมอของพรรณไม้

การศึกษาความสม่ าเสมอของพรรณไม้โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสม่ าเสมอในแต่ละแปลงส ารวจ ในระดับไม้ใหญ่ ไม้หนุ่ม และกล้าไม้ พบว่า ในระดับไม้ใหญ่แปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1,300และ1350 เมตร จะมีค่าดัชนีความสม่ าเสมอสูงสุด มีค่าเท่ากับ 0.85 และแปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1,250 เมตร จะ มีค่าดัชนีความสม่ าเสมอต่ าสุด มีค่าเท่ากับ 0.76 ในระดับไม้หนุ่มแปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1,350 เมตร จะ มีค่าดัชนีความสม่ าเสมอสูงสุด มีค่าเท่ากับ 0.94 และแปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1,250 เมตร จะมีค่าดัชนี ความสม่ าเสมอต่ าสุด มีค่าเท่ากับ 0.63 และในระดับกล้าไม้แปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1,350 เมตร จะมี ค่าดัชนีความสม่ าเสมอสูงสุด มีค่าเท่ากับ 0.93 และแปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1,300 เมตร จะมีค่าดัชนี ความสม่ าเสมอต่ าสุด มีค่าเท่ากับ 0.67 (ภาพที่ 4.1.4)

1 0.94 0.93 0.9 0.82 0.85 0.85 0.84 0.8 0.79 0.76 0.75 0.74 1200 เมตร 0.7 0.63 0.67 0.6 1250 เมตร 0.5 1300 เมตร 0.4 0.3 1350 เมตร 0.2 0.1 0 ไมใ้ หญ่ (Tree) ไมห้ นุ่ม (Salping) กล้าไม้ (Seedling) Pielou's evenness : J'

ภาพที่ 4.1.4 ค่าดัชนีความสม่ าเสมอ ของไม้ใหญ่ (tree) ไม้หนุ่ม (sapling) และกล้าไม้ (seedling) ใน แต่ละพื้นที่ตามแนวระดับชั้นความสูง

4.1.5 ค่าดัชนีความคล้ายคลึงของพรรณไม้

เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความคล้ายคลึงในแต่ละแปลงส ารวจในระดับไม้ใหญ่ ไม้หนุ่ม และกล้าไม้ พบว่าในระดับไม้ใหญ่แปลงส ารวจที่ระดับชั้นความสูง 1,200และ1250 เมตร จะมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกัน มากที่สุด คือร้อยละ 54.55 มีพรรณไม้ที่พบร่วมกันจ านวน 15 ชนิด และแปลงส ารวจที่ระดับชั้นความสูง 1,200และ1300 เมตร มีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันน้อยที่สุด คือร้อยละ 38.46 มีพรรณไม้ที่พบร่วมกัน จ านวน 15 ชนิด ในระดับไม้หนุ่มแปลงส ารวจที่ระดับชั้นความสูง 1,300และ1350 เมตร จะมีค่าดัชนีความ คล้ายคลึงกันมากที่สุดคือร้อยละ 53.33 มีพรรณไม้ที่พบร่วมกันจ านวน 12 ชนิด และแปลงส ารวจที่ระดับชั้น ความสูง 1,200และ1250 เมตร มีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันน้อยที่สุด คือร้อยละ 36.84 มีพรรณไม้ที่พบ ร่วมกันจ านวน 7 ชนิด ในระดับกล้าไม้แปลงส ารวจที่ระดับชั้นความสูง 1,300และ1350 เมตร จะมีค่าดัชนี

4-13

ความคล้ายคลึงกันมากที่สุดคือร้อยละ 53.33 มีพรรณไม้ที่พบร่วมกันจ านวน 12 ชนิด และแปลงส ารวจที่ ระดับชั้นความสูง 1,250และ1300 เมตร มีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันน้อยที่สุด คือร้อยละ 35 มีพรรณไม้ที่พบ ร่วมกันจ านวน 7 ชนิด

ตารางที่ 4.1.4 ค่าดัชนีความคล้ายคลึง (Similarity Index: IS) ด้านบน และค่าดัชนีความแตกต่าง (DissimilarityIndex: ID) ด้านล่าง ระหว่างแปลงส ารวจพรรณไม้ ตามระดับชั้นความสูงจากระดับน้ าทะเล โดยสมการของ Sorensen

ระยะ IS 1200 1250 1300 1350 ID 1200 100 54.55 38.46 39.39 1250 45.45 100 43.08 41.51 ไม้ใหญ่ 1300 61.54 56.92 100 52.63 1350 60.61 58.49 47.37 100 IS 1200 1250 1300 1350 ID 1200 100 36.84 44.9 51.16 ไม้หนุ่ม 1250 63.16 100 39.02 40 1300 55.1 60.98 100 53.33 1350 48.84 60 46.67 100 IS 1200 1250 1300 1350 ID 1200 100 42.42 44.44 46.15 กล้าไม้ 1250 57.58 100 35 35.29 1300 55.56 65 100 52.17 1350 53.85 64.71 47.83 100

4-14

4.1.5 การจัดกลุ่มหมู่ไม้

การจัดกลุ่มตามค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงของ sorrensen .ในรูปแผนภาพต้นไม้ (dendrogram) ด้วยวิธี Ward’s method สามารถแบ่งกลุ่มของสังคมพืช ที่ระดับความคล้ายคลึง 60 เปอร์เซ็นต์ ได้ 2 กลุ่ม เมื่อพิจารณาจากบนลงล่าง (ภาพที่ 4.1.5 )

ภาพที่ 4.1.5 แผนภาพต้นไม้แสดงการจัดกลุ่มหมู่ไม้ ในพื้นที่ส ารวจตามแนวระดับชั้นความสูงจาก ระดับน้ าทะเลตั้งแต่ 1,200-1,350 เมตร บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

กลุ่มที่1 ประกอบด้วย หมู่ไม้ที่ 1 (stand1) หมู่ไม้ที่ 3 (stand3) และหมู่ไม้ที่ 4 (stand 4) พรรณไม้เด่น เมื่อพิจารณาจากค่าความส าคัญ 10 ชนิดแรก ได้แก่ เหมือดปลาซิว (Symplocos sumuntia) แมงเม่านก (Eurya nitida) ก่อหมวก (Quercus oidocarpa) ทะโล้ (Schima wallichii) เหมือดคนตัวแม่ (Helicia excelsa) กระจับนก (Euonymus theifolius) เอียนเร (Neolitsea sp.) หว้าหิน (Syzygium claviflorum) เอนอ้า (Osbeckia stellata) และค่างเต้นเขา (Canthium cochinchinense) เป็นต้น มีค่าความส าคัญเท่ากับ 30.43, 20.08, 18.31, 15.42, 14.95, 14.52, 13.11, 12.54, 11.78 และ10.48 ตามล าดับ วงศ์ที่สามารถครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดโดยพิจารณาจากค่า ความส าคัญ (IV) 5 วงศ์แรก คือ Symplocaceae (วงศ์เหมือด), Rubiaceae (วงศ์เข็ม), Myrtaceae (วงศ์ชมพู่), วงศ์ Pentaphylacaceae (วงศ์สารภีดอย) และFagaceae (วงศ์ก่อ) มีเปอร์เซ็นต์การ ครอบคลุมเท่ากับ 13.7, 10.1, 9.3, 8.4 และ8.19 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ (ภาพที่ 4.1.6)

4-15

ภาพที่ 4.1.6 ลักษณะพื้นที่ส ารวจในกลุ่มที่ 1 ของหมู่ไม้ที่ 1 3 และ4

กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยหมู่ไม้ที่ 2 (stand 2 พรรณไม้เด่น เมื่อพิจารณาจากค่าความส าคัญ 10 ชนิด แรก ได้แก่ สารภีดอย (Anneslea fragrans) พญามะขามป้อม (Dacrycarpus imbricatus) เหมือดปลาซิว กาแฟป่า (Diplospora puberula) แกงเลียงใบเล็ก (Aidia parvifolia) กระจับนก หว้าหิน เสม็ดแดง (Syzygium antisepticum) สตีต้น (Sloanea sigun) และก่อหมวก (Quercus oidocarpa) มีค่าความส าคัญ เท่ากับ 113.22 37.91 26.84 22.77 11.90 10.62 9.58 9.43 7.97 และ7.03 ตามล าดับวงศ์ที่สามารถ ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดโดยพิจารณาจากค่าความส าคัญ (IV) 5 วงศ์แรก คือ วงศ์ Pentaphylacaceae, Rubiaceae, Podocarpaceae (วงศ์พญาไม้) Symplocaceae, และMyrtaceae มีเปอร์เซ็นต์การครอบคลุม เท่ากับ 37.74, 14.36, 12.64, 8.95 และ6.33 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ (ภาพที่ 4.1.7)

ภาพที่ 4.1.7 ลักษณะพื้นที่ส ารวจในกลุ่มที่ 2 ของหมู่ไม้ที่ 2

4-16

A B

C D

E F

ภาพชุดที่ 4.1.1 พรรณไม้ในพื้นที่ส ารวจ บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วงศ์ Myrtaceae (A-B) ; A: ขี้ใต้ Syzygium lineatum, B: หว้าป่าสน Syzygium mekongense วงศ์ Phyllanthaceae (C-D) ; C: นกนอน Cleistanthus helferi, D: มะเม่าสาย Antidesma sootepense วงศ์ Primulaceae (E-F); E: กาลังกาสาตัวผู้ Ardisia nervosa, F: มะจ้ าก้อง Ardisia colorata

4-17

A B

C D

E F

ภาพชุดที่4.1.1 (ต่อ) วงศ์ Anacardiaceae A: แกนมอ Rhus succedanea., วงศ์ Aquifoliaceae B: เน่าใน Ilex umbellulata, วงศ์ Calophyllaceae C: พระอง Calophyllum polyanthum, วงศ์ Ebenaceae D: กล้วยฤาษี Diospyros glandulosa, วงศ์ Elaeocarpaceae E: สตีต้น Sloanea sigun, วงศ์ Euphorbiaceae F: ผักหวานช้างโขลง Phyllanthus acutissimud

4-18

A B

C D

E F

ภาพชุดที่4.1.1 (ต่อ) วงศ์ Icacinaceae A: หมักฟักดง Apodytes dimidiata, วงศ์ Meliaceae B: ยมต่อม Dysoxylum sp., วงศ์ Moraceae C: ขางขาว Ficus capillipes, วงศ์ Rubiaceae D: ปัด Lasianthus sp, .วงศ์ Symplocaceae E: เหมือดสันนูน Symplocos lucida, วงศ์ Theaceae F: เมี่ยงอีอาม Camellia oleifera

4-19

4.2 ความหลากหลายของแมลง

4.2.1 การศึกษาความหลากหลายของผีเสื้อกลางวัน

จากการศึกษาความหลากหลายของผีเสื้อกลางวันในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ จ านวน 4 แปลง ตามแนวระดับชั้นความสูงจากระดับน้ าทะเล 1200, 1250, 1300 และ1350 เมตร เก็บข้อมูลในฤดูร้อนและฤดูฝน ผลการส ารวจครั้งนี้พบผีเสื้อกลางวันทั้งหมด 92 ตัว 26 ชนิด 4 วงศ์ โดยวงศ์ผีเสื้อกลางวันที่พบมากที่สุดได้แก่ วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nymphalidae) พบทั้งหมด 79 ตัว 23 ชนิด รองลงมา ได้แก่ วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Hesperiidae) พบทั้งหมด 6 ตัว 3 ชนิด รองลงมาเป็นอันดับที่ 3 ได้แก่ วงศ์ผีเสื้อขาวเหลือง (Pieridae) พบทั้งหมด 4 ตัว 2 ชนิด และผีเสื้อกลางวันที่พบมากน้อยที่สุด ได้แก่ วงศ์ผีเสื้อสีน้ าเงิน (Lycaenidae) พบทั้งหมด 3 ตัว 2 ชนิด (ภาพที่ 4.2.1)

100 79 80

60 จ านวนชนิด 40 23 จ านวนตัว 20 6 3 2 4 2 3 0 Nymphalidae Hesperiidae Pieridae Lycaenidae

ภาพที่ 4.2.1 จ านวนผีเสื้อกลางวันจ าแนกตามวงศ์

การศึกษาความหลากหลายของชนิดของผีเสื้อกลางวันรวมทั้ง 2 ฤดูกาล เมื่อน าจ าแนกตามราย แปลงส ารวจพบว่า แปลงส ารวจที่ 1 พบผีเสื้อกลางวันทั้งหมด 32 ตัว 13 ชนิด แปลงส ารวจที่ 2 พบ 35 ตัว 10 ชนิด แปลงส ารวจที่ 3 พบ 9 ตัว 7 ชนิด แปลงที่ 4 พบ 16 ตัว 7 ชนิด (ภาพที่ 4.2.2)

4-20

40 35 35 32 30 25 20 16 15 13 จ านวนชนิด 10 9 10 7 7 จ านวนตัว 5 0 แปลงส ารวจที่ 1 แปลงส ารวจที่ 2 แปลงส ารวจที่ 3 แปลงส ารวจที่ 4

ภาพที่ 4.2.2 จ านวนผีเสื้อกลางวันจ าแนกตามรายแปลงส ารวจ

เมื่อน าจ านวนชนิดและจ านวนตัวของผีเสื้อกลางวันที่ส ารวจพบทั้งหมดมาจ าแนกระหว่างฤดูกาล พบว่า พบผีเสื้อกลางวันในฤดูร้อนทั้งหมด 61 ตัว 18 ชนิด และพบผีเสื้อกลางวันในฤดูฝนทั้งหมด 31 ตัว 12 ชนิด ตัว ซึ่งพบว่าพบเสื้อที่พบในฤดูร้อนมากกว่าพบในฤดูฝน ทั้งจ านวนชนิดและจ านวนตัว (ภาพที่ 4.2.3)

70 61 60 50 40 31 30 จ านวนชนิด 18 20 12 จ านวนตัว 10 0 ฤดูร้อน ฤดูฝน

ภาพที่ 4.2.3 จ านวนผีเสื้อกลางวันจ าแนกตามฤดูกาล

4-21

จากการศึกษาผีเสื้อกลางวันทั้ง 4 แปลงส ารวจ ทั้ง 2 ฤดูกาลพบว่าชนิดผีเสื้อกลางวันที่พบมาก ที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ ผีเสื้อสายัณห์สีตาลธรรมดา (Melanitis leda) พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 จ านวน 28 ตัว รองลงมาเป็นอันดับที่ 2 คือ ผีเสื้อสีอิฐเล็ก (Cirrochroa surya) จ านวน 9 ตัว อันดับที่ 3 คือผีเสื้อ ลายเสือสีตาล (Parantica melaneus) จ านวน 8 ตัว อันดับที่ 4 มีจ านวน 2 ชนิดคือ ผีเสื้อจรกาเมียลาย (Euploea mulciber), ผีเสื้อสีตาลจุดตาห้าธรรมดา (Ypthima baldus) ชนิดละ 5 ตัว และผีเสื้อที่พบ มากเป็นอันดับที่ 5 ก็พบ 2 ชนิดเช่นกันคือ ผีเสื้อปีกไข่ใหญ่ (Hypolimnas bolina), ผีเสื้อฟ้าพุ่มธรรมดา (Acytolepis puspa) ชนิดละ 4 ตัว และผีเสื้อที่พบน้อยที่สุดชนิดละ 1 ตัว มี 9 ชนิด

ผีเสื้อกลางวันที่ส ารวจพบทั้งหมด 92 ตัว 26 ชนิด เมื่อน ามาจ าแนกเป็นรายแปลงส ารวจตาม 2 ฤดูกาล พบว่าแปลงส ารวจที่ 1 พบผีเสื้อกลางวันทั้งหมด 32 ตัว 13 ชนิด ซึ่งพบในฤดูร้อน 11 ตัว 8 ชนิด และพบในฤดูฝน 21 ตัว 9 ชนิด แปลงส ารวจที่ 2 พบผีเสื้อกลางวันทั้งหมด 35 ตัว 10 ชนิด ซึ่งพบในฤดู ร้อน 27 ตัว 6 ชนิด และพบในฤดูฝน 8 ตัว 4 ชนิด แปลงส ารวจที่ 3 พบผีเสื้อทั้งหมด 9 ตัว 7 ชนิด ซึ่ง พบในฤดูร้อน 8 ตัว 6 ชนิด และในฤดูฝน 1 ตัว 1 ชนิด และแปลงส ารวจที่ 4 พบผีเสื้อกลางวันทั้งหมด 16 ตัว 7 ชนิด ซึ่งพบในฤดูร้อน 15 ตัว 6 ชนิด และพบในฤดูฝน 1 ตัว 1 ชนิด (ตารางที่ 4.2.1)

ตารางที่ 4.2.1 จ านวนผีเสื้อตามรายแปลงในฤดูร้อนและฤดูฝน

ฤดูร้อน ฤดูฝน รวม 2 ฤดู แปลงที่ จ านวนตัว จ านวนชนิด จ านวนตัว จ านวนชนิด จ านวนตัว จ านวนชนิด 1 11 8 21 9 32 13 2 27 6 8 4 35 10 3 8 6 1 1 9 7 4 15 6 1 1 16 7 รวม 61 18 31 12 92 26

หมายเหตุ : ผลรวมของชนิดผีเสื้อกลางวันที่พบในแต่ละฤดูกาล โดยรวมชนิดที่พบไม่ซ้ ากันในแต่ละแปลงส ารวจ

4-22

เมื่อเปรียบเทียบการพบผีเสื้อกลางวันในแต่ละแปลงส ารวจกับการพบผีเสื้อกลางวันในแต่ละฤดูกาล พบว่าแปลงที่พบผีเสื้อกลางวันมากที่สุด 3 อันแรกมีดังนี้ แปลงส ารวจที่พบผีเสื้อกลางวันมากที่สุดคือ แปลง ส ารวจที่ 2 ที่ท าการส ารวจในฤดูร้อน พบผีเสื้อกลางวันทั้งหมด 27 ตัว รองลงมาคือ แปลงส ารวจที่ 1 ที่ส ารวจ ในฤดูฝน พบผีเสื้อกลางวัน 21 ตัว และอันดับที่ 3 คือแปลงส ารวจที่ 4 ที่ส ารวจในฤดูร้อน พบผีเสื้อกลางวัน 15 ตัว ส่วนผีเสื้อกลางวันที่พบในแปลงอื่นๆ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ภาพที่ 4.2.4)

จ านวนผีเสื้อ (ตัว) 30 27 25 21 20 15 15 11 ฤดูร้อน 10 8 8 ฤดูฝน 5 1 1 0 แปลงส ารวจที่ 1 แปลงส ารวจที่ 2 แปลงส ารวจที่ 3 แปลงส ารวจที่ 4

ภาพที่ 4.2.4 จ านวนผีเสื้อกลางวันเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละแปลงกับในแต่ละฤดูกาล

4-23

การค านวณหาค่าความคลายคลึง (Similarity Index, IS) โดยใช้สัมการของ Sorensen (Indices of similarity or Community coefficients) ของทั้ง 2 ฤดูกาลพบว่า มีความคล้ายคลึงกัน 26.67 % และเปรียบเทียบโดยใช้แผนภาพ Venn diagram จากผีเสื้อกลางวันทั้งหมด 26 ชนิด มีผีเสื้อ กลางวันที่พบทั้ง 2 ฤดูกาล จ านวน 4 ชนิด คือ ผีเสื้อแผนที่ธรรมดา (Cyrestis thyodamas), ผีเสื้อจรกา เมียลาย (Euploea mulciber), ผีเสื้อสายัณห์สีตาลธรรมดา (Melanitis leda) และผีเสื้อลายเสือสีตาล (Parantica melaneus) ซึ่งพบเฉพาะในฤดูร้อน 14 ชนิด และพบเฉพาะในฤดูฝน 8 ชนิด (ภาพที่ 4.2.5)

พบในฤดูร้อน 14 ชนิด พบในฤดูฝน 8 ชนิด

14 ชนิด 4 ชนิด 8 ชนิด

ค่าดัชนีความคล้ายคลึง 26.67 % % ภาพที่ 4.2.5 แผนภาพ Venn diagram จ าแนกชนิดผีเสื้อกลางวันที่พบในฤดูร้อนและฤดูฝน

4-24

เมื่อน าจ านวนผีเสื้อทั้งหมดทั้ง 2 ฤดูกาล มาหาค่าดัชนีความหลากหลายของชนิด (Species Diversity Index, H’) โดยใช้สมการของ Shanon-Wiener’s index, ค่าความสม่ าเสมอของชนิด (Species evenness, J’) โดยใช้สมการของ Pielou’s Evenness และค่าดัชนีความชุกชุมของชนิดพันธุ์ (Species richness, d’) โดยใช้สมการของ Margarlef's Index ของผีเสื้อกลางวันเมื่อจ าแนกเป็นราย แปลง พบว่าแปลงส ารวจที่ 1 มีค่า H’ เท่ากับ 2.25, ค่า J’ เท่ากับ 0.88, และค่า d’ เท่ากับ 3.46 แปลง ส ารวจที่ 2 มีค่า H’ เท่ากับ 1.81, ค่า J’ เท่ากับ 0.79, และค่า d’ เท่ากับ 2.53 แปลงส ารวจที่ 3 มีค่า H’ เท่ากับ 1.89, ค่า J’ เท่ากับ 0.97, และค่า d’ เท่ากับ 2.73 และแปลงส ารวจที่ 4 มีค่า H’ เท่ากับ 1.72, ค่า J’ เท่ากับ 0.88, และค่า d’ เท่ากับ 2.16 (ภาพที่ 4.2.6)

4.00 Shannon-Wiener's Index 3.46 3.50 Pielou's Evenness Index Margarlef's Index 3.00 2.73 2.53 2.50 2.25 2.16 1.89 2.00 1.81 1.72 1.50 0.97 1.00 0.88 0.79 0.88 0.50 0.00 แปลงส ารวจที่ 1 แปลงส ารวจที่ 2 แปลงส ารวจที่ 3 แปลงส ารวจที่ 4

ภาพที่ 4.2.6 ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิด (H’), ค่าความสม่ าเสมอของชนิด (J’) และค่าดัชนีความ ชุกชุมของชนิดพันธุ์ (d’) ของผีเสื้อกลางวันจ าแนกตามรายแปลงส ารวจ

เมื่อน าจ านวนผีเสื้อกลางวันทั้ง 4 แปลงส ารวจมาหาค่าดัชนีความหลากหลายของชนิด (Species Diversity Index, H’), ค่าความสม่ าเสมอของชนิด (Species evenness, J’), และค่าดัชนีความชุกชุม ของชนิดพันธุ์ (Species richness, d’) ของผีเสื้อกลางวันมาจ าแนกตามฤดูกาลพบว่า พบว่า ในฤดูร้อนมี ค่า H’ เท่ากับ 2.22, ค่า J’ เท่ากับ 0.77, และค่า d’ เท่ากับ 4.14 ส่วนในฤดูฝนมีค่า H’ เท่ากับ 2.16, ค่า J’ เท่ากับ 0.87, และค่า d’ เท่ากับ 3.20 และทั้ง 2 ฤดูกาลค่า H’ เท่ากับ 2.45, ค่า J’ เท่ากับ 0.75, และ ค่า d’ เท่ากับ 5.53 (ภาพที่ 4.2.7)

4-25

6.00 5.53 Shannon-Wiener's Index 5.00 Pielou's Evenness Index 4.14 Margarlef's Index 4.00 3.20 3.00 2.22 2.16 2.45 2.00 0.87 1.00 0.77 0.75 0.00 ฤดูร้อน ฤดูฝน รวม 2 ฤดูกาล

ภาพที่ 4.2.7 ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิด (H’), ค่าความสม่ าเสมอของชนิด (J’) และค่าดัชนีความ ชุกชุมของชนิดพันธุ์ (d’) ของผีเสื้อกลางวันจ าแนกตามฤดูกาล

เมื่อน าผีเสื้อกลางวันทั้งหมดที่ส ารวจพบ มาจ าแนกตามวงศ์ สกุล และชนิด แล้วจัดท าบัญชีรายชื่อ ผีเสื้อกลางวันในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตามฤดูกาลที่ส ารวจ พบว่า ในฤดูร้อน เพียงฤดูเดียวจากผีเสื้อกลางวันทั้งหมด 61 ตัว ผีเสื้อกลางวันที่พบมากที่สุด คือ ผีเสื้อสายัณห์สีตาลธรรมดา (Melanitis leda) และผีเสื้อลายเสือสีตาล (Parantica melaneus) มีจ านวน 24 ตัว และ 8 ตัว ตามล าดับ ส่วนในฤดูฝนจากผีเสื้อกลางวันทั้งหมด 31 ตัว ผีเสื้อกลางวันที่พบมากที่สุด คือ ผีเสื้อสีอิฐเล็ก (Cirrochroa surya) และผีเสื้อสีตาลจุดตาห้ามาเลย์ (Ypthima nebulasa) จ านวน 9 ตัว และ 5 ตัว ตามล าดับ (ตารางที่ 4.2.2)

4-26

ตารางที่ 4.2.2 บัญชีรายชื่อผีเสื้อกลางวันในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ชื่อไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์ จ านวน (ตัว) ล าดับ (Thai Name) (Scientific Name) (Family) ฤดูร้อน ฤดูฝน 1 ผีเสื้อปีกราบแถบทองสีคล้ า Celaenorrhinus auriuittatus Hesperiidae 1

2 ผีเสื้อป้ายขาวลายจุด Tagiades menaka Hesperiidae 3

3 ผีเสื้อปีกกึ่งหุบหางยาว Abisara neophron chelina Lycaenidae 1

4 ผีเสื้อฟ้าพุ่มธรรมดา Acytolepis puspa Lycaenidae 4

5 ผีเสื้อหางคู้สีฟ้าสด Pratapa puspa Lycaenidae 1

6 ผีเสื้อสีอิฐเล็ก Cirrochroa surya Nymphalidae 9

7 ผีเสื้อแผนที่ธรรมดา Cyrestis thyodamas Nymphalidae 1 1 8 ผีเสื้อจรกาเหลือบฟ้า Euploea camaralzeman Nymphalidae 1

9 ผีเสื้อจรกาเชิงขีดยาวใหญ่ Euploea doubledayi evalida Nymphalidae 2

10 ผีเสื้อจรกาเมียลาย Euploea mulciber Nymphalidae 3 2 11 ผีเสื้อปีกไข่ใหญ่ Hypolimnas bolina Nymphalidae 4

12 ผีเสื้อแถบเขียวอ่อน Limenitis daraxa Nymphalidae 1

13 ผีเสื้อสายัณห์สีตาลธรรมดา Melanitis leda Nymphalidae 24 4 14 ผีเสื้อตาลพุ่มแถบขาวเล็ก Mycalesis anaxias aemate Nymphalidae 3

15 ผีเสื้อลายเสือขีดสั้น Parantica agleoides Nymphalidae 1

16 ผีเสื้อลายเสือสีตาล Parantica melaneus Nymphalidae 8 1 17 ผีเสื้อลายเสือตาลแดง Parantica sita Nymphalidae 1

18 ผีเสื้ออะซีเรี่ยนใหญ่ Terinos atlita Nymphalidae 1

19 ผีเสื้ออะซีเรี่ยนมลายู Terinos clarissa Nymphalidae 1

20 ผีเสื้ออะซีเรี่ยนเล็ก Terinos terpander Nymphalidae 3

21 ผีเสื้อลายเสือฟ้าเข้ม Tirumala septentrionis Nymphalidae 1

22 ผีเสื้อสีตาลจุดตาห้าธรรมดา Ypthima baldus Nymphalidae 1

23 ผีเสื้อสีตาลจุดตาห้ามาเลย์ Ypthima nebulasa Nymphalidae 5

24 ผีเสื้อสีตาลจุดตาห้าเมืองสิงห์ Ypthima singorensis Nymphalidae 1

25 ผีเสื้อหนอนกุ่มอินทรา Appias indra Pieridae 1

26 ผีเสื้อเณรธรรมดา Eurema hecabe Pieridae 2

4-27

A B

C D

E F

ภาพชุดที่ 4.2.1 ตัวอย่างผีเสื้อกลางวันในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วงศ์ Nymphalidae (A-F) ; A: Cirrochroa surya, B: Cyrestis thyodamas, C: Euploea doubledayi evalida D: Tirumala septentrionis, E: Parantica melaneus, F: Terinos terpander

4-28

A B

C D

E ภาพชุดที่ 4.2.1 (ต่อ) ตัวอย่างผีเสื้อกลางวันในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วงศ์ Nymphalidae (A-F) ; A: Terinos atlita, B: Terinos clarissa, C: Ypthima baldus, D: Euploea mulciber วงศ์ Pieridae E: Eurema hecabe

4-29

4.2.2 การศึกษาความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืน

จากการศึกษาความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ จ านวน 4 แปลง ความสูงจากระดับน้ าทะเลปานกลาง 1200, 1250, 1300 และ1350 เมตร เก็บข้อมูลในฤดูร้อนและฤดูฝน ผลการส ารวจครั้งนี้พบผีเสื้อกลางคืนทั้งหมด 94 ตัว 45 ชนิด 23 วงศ์ สามารถจ าแนกชนิดได้ 82 ตัว 32 ชนิด 11 วงศ์ และยังไม่ทราบชนิดจ านวน 12 ตัว โดยวงศ์ผีเสื้อ กลางคืนที่พบมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ วงศ์ Notodontoidea พบทั้งหมด 35 ตัว 2 ชนิด รองลงมา ได้แก่ วงศ์ Geometridea พบทั้งหมด 19 ตัว 12 ชนิด รองลงมาเป็นอันดับที่ 3 ได้แก่ วงศ์ พบ ทั้งหมด 10 ตัว 5 ชนิด วงศ์ผีเสื้อกลางคืนที่พบมากเป็นอันดับ 4 ได้แก่ วงศ์ พบทั้งหมด 7 ตัว 7 ชนิด และวงศ์ผีเสื้อที่พบมากเป็นอันดับที่ 5 ได้แก่ วงศ์ Endromidae พบทั้งหมด 3 ตัว 1 ชนิด ส่วนวงศ์ผีเสื้อกลางคืนที่พบน้อยที่สุดมีทั้งหมด 4 วงศ์ พบวงศ์ละ 1 ตัว และยังไม่ทราบชนิดอีก 12 ตัว (ภาพที่ 4.2.8)

40 35 35 30 25 19 20 จ านวนชนิด 15 12 10 10 7 7 จ านวนตัว 5 3 5 2 1 1 2 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 0

ภาพที่ 4.2.8 ผีเสื้อกลางคืนที่ส ารวจพบจ าแนกตามวงศ์

เมื่อน าจ านวนชนิดและจ านวนตัวของผีเสื้อกลางคืนที่ส ารวจพบทั้งหมดมาจ าแนกระหว่างฤดูกาล พบว่า พบผีเสื้อกลางคืนในฤดูร้อนทั้งหมด 18 ชนิด 21 ตัว และพบผีเสื้อกลางคืนในฤดูฝน ทั้งหมด 30 ชนิด 73 ตัว ซึ่งพบว่าพบผีเสื้อที่พบในฤดูร้อนมากกว่าพบในฤดูฝน ทั้งจ านวนชนิดและจ านวนตัว (ภาพที่ 4.2.9)

4-30

80 73

60

40 จ านวนชนิด 30 จ านวนตัว 18 21 20

0 ฤดูร้อน ฤดูฝน ภาพที่ 4.2.9 ผีเสื้อกลางคืนที่ส ารวจพบจ าแนกตามฤดูกาล

การค านวณหาค่าความคลายคลึง (Similarity Index, IS) โดยใช้สมการของ Sorensen (Indices of similarity or Community coefficients) ของทั้ง 2 ฤดูกาลพบว่า มีความคล้ายคลึงกัน 12.50 % และเปรียบเทียบโดยใช้แผนภาพ Venn diagram จากผีเสื้อกลางคืนทั้งหมด 45 ชนิด มีผีเสื้อ กลางคืนที่พบทั้ง 2 ฤดูกาล จ านวน 3 ชนิด คือ Paralebeda lucifuga, Syntypistis viridipicta และ Abraxas lugubris) ซึ่งพบเฉพาะในฤดูร้อน 15 ชนิด และพบเฉพาะในฤดูฝน 27 ชนิด (ภาพที่ 4.2.5) ฤดูร้อน 15 ชนิด ฤดูฝน 27 ชนิด

15 ชนิด 3 ชนิด 27 ชนิด

ค่าดัชนีความคล้ายคลึง 12.50 % ภาพที่ 4.2.10 แผนภาพ Venn diagramจ าแนกชนิดผีเสื้อกลางคืนที่พบในฤดูร้อนและฤดูฝน

4-31

เมื่อน าจ านวนผีเสื้อกลางคืนทั้ง 4 แปลงส ารวจมาหาค่าดัชนีความหลากหลายของชนิด (Species Diversity Index, H’, ค่าความสม่ าเสมอของชนิด (Species evenness, J’), และค่าดัชนีความชุกชุมของ ชนิดพันธุ์ (d’) ของผีเสื้อกลางวันมาจ าแนกตามฤดูกาลพบว่า พบว่า ในฤดูร้อนมีค่า H’ เท่ากับ 2.82, ค่า J’ เท่ากับ 0.98, และค่า d’ เท่ากับ 5.58 ส่วนในฤดูฝนมีค่า H’ เท่ากับ 2.56, ค่า J’ เท่ากับ 0.75, และค่า d’ เท่ากับ 6.76 และทั้ง 2 ฤดูกาลค่า H’ เท่ากับ 3.07, ค่า J’ เท่ากับ 0.80, และค่า d’ เท่ากับ 9.90 (ภาพที่ 4.2.11)

12.00 9.90 10.00 8.00 6.76 6.00 5.58 Shannon-Wiener's Index Pielou's Evenness Index 4.00 2.82 3.07 2.56 Margarlef's Index 2.00 0.98 0.75 0.80 0.00 ฤดูร้อน ฤดูฝน รวม

ภาพที่ 4.2.11 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (H’) ค่าความสม่ าเสมอ (J’) และค่าดัชนีความชุกชุม ทางชนิดพันธุ์ (d’) ของผีเสื้อกลางคืนที่พบในฤดูร้อนและฤดูฝน

เมื่อน าผีเสื้อกลางคืนทั้งหมดที่ส ารวจพบ มาจ าแนกตามวงศ์ สกุล และชนิด แล้วจัดท าบัญชีรายชื่อ ผีเสื้อกลางคืนในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตามฤดูกาลที่ส ารวจ พบว่า ในฤดูร้อน เพียงฤดูเดียวจากผีเสื้อกลางคืนทั้งหมด 18 ชนิด ผีเสื้อกลางคืนที่พบมากที่สุด คือ ผีเสื้อ Mustilizans hepatica และ Buzura pustulata มีจ านวน 3 ตัว และ 2 ตัว ตามล าดับ ส่วนในฤดูฝน จากผีเสื้อกลางคืน ทั้งหมด 30 ชนิด ผีเสื้อกลางคืนที่พบมากที่สุด คือ ผีเสื้อ Syntypistis viridipicta พบ 31 ตัว, รองลงมาคือ ผีเสื้อ Eudocima phalonia, Platyja umminea, Sarcinodes sp., และผีเสื้อ Somera viridifusa พบชนิดละ 3 ตัว (ตารางที่ 4.2.3)

4-32

ตารางที่ 4.2.3 บัญชีรายชื่อผีเสื้อกลางคืนในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ล าดับ ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์ จ านวน (Scientific Name) (Family) ฤดูร้อน ฤดูฝน 1 Cossus cinereus Cossidae 2 2 Pygospila tyres Crambidae 1 3 Cyclidia orciferaria Drepanidae 1 4 Melanotus sp. Elateridae 1 5 Mustilizans hepatica Endromidae 3 6 Eudocima phalonia Erebidae 3 7 Iontha umbrina Erebidae 1 8 Lymantria marginalis Erebidae 1 9 Platyja umbrina Erebidae 2 10 Platyja umminea Erebidae 3 11 Abraxas lugubris Geometridea 1 1 12 Agathia codina Geometridea 2 13 Buzura pustulata Geometridea 2 14 Celerena signata Geometridea 1 15 Hypochrosis binexata Geometridea 1 16 Lulotrichia decarsaria Geometridea 2 17 Mixochlora vittata Geometridea 1 18 Pingasa subriridis Geometridea 1 19 Pingasa venusta Geometridea 2 20 Sarcinodes debitaria Geometridea 1 21 Sarcinodes sp. Geometridea 3 22 Thinopteryx crocoptera Geometridea 1 23 Paralebeda lucifuga Lasiocampidae 1 1 24 Agape chloropyga Noctuoidea 1 25 Artena dotata Noctuoidea 1 26 Cyana indonesia Noctuoidea 1

4-33

ตารางที่ 4.2.3 (ต่อ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์ จ านวน ล าดับ (Scientific Name) (Family) ฤดูร้อน ฤดูฝน 27 Dypterygina indica Noctuoidea 1 28 Eudocima homaena Noctuoidea 1 29 Euproctis catala pasttutasa Noctuoidea 1 30 Ischyia inferna Noctuoidea 1 31 Somera viridifusa Notodontoidea 3 32 Syntypistis viridipicta Notodontoidea 1 31 33 Thosea asigna Zygaenidae 1

4-34

A B

C D

E F

ภาพชุดที่ 4.2.2 ตัวอย่างผีเสื้อกลางคืนในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วงศ์ Cossidae; A: Cossus cinereus, วงศ์ Crambidae B: Pygospila tyres วงศ์ Drepanidae C: Cyclidia orciferaria, วงศ์ Erebidae (D-F) ; D: Eudocima phalonia, E: Iontha umbrina, F: Platyja umminea

4-35

A B

C D

E F

ภาพชุดที่ 4.2.2 ตัวอย่างผีเสื้อกลางคืนในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วงศ์ Erebidae A: Lymantria marginalisi, วงศ์ Geometridea (B-F); B: Pingasa venusta, C: Lulotrichia decarsaria, D: Abraxas lugubris E: Mixochlora vittata, F: Pingasa subriridis

4-36

A B

C D

E F

ภาพชุดที่ 4.2.2 ตัวอย่างผีเสื้อกลางคืนในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วงศ์ Geometridea; (A-E) A: Sarcinodes debitaria, B: Celerena signata, C: Agathia codina, วงศ์ Lasiocampidae D: Paralebeda lucifuga วงศ์ Noctuoidea (E,F); E: Syntypistis viridipicta, F: Somera viridifusa

4-37

4.2.3 การศึกษาความหลากหลายของด้วง

การศึกษาความหลากหลายของด้วงในป่าดิบเขา บริเวณเขาล่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ านวน 4 แปลง ตามระดับความสูงจากระดับน้ าทะเลปานกลาง 1200, 1250, 1300 และ1350 เมตร เก็บข้อมูล ในฤดูร้อนและฤดูฝน เก็บข้อมูลในฤดูร้อนและฤดูฝน ผลการส ารวจครั้งนี้ไม่พบด้วงในช่วงที่ท าการส ารวจ

4-38

4.3 ความหลากหลายของเห็ดรา

จากการส ารวจเห็ดในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบเห็ดทั้งหมด 88 ชนิด สามารถจ าแนกได้ 58 ชนิด จัดอยู่ใน 23 สกุล 18 วงศ์ โดยจ าแนกได้ในระดับสกุล (generic level) จ านวน 23 ชนิด และระดับชนิด (species level) จ านวน 8 ชนิด ส่วนเห็ดอีก 30 ชนิดไม่สามารถระบุชนิด (unidentified species) ได้ ซึ่งผลการส ารวจในแต่ละแปลงพบว่า แปลงส ารวจที่1 ในฤดูร้อนพบเห็ด 6 ชนิด และในฤดูฝนพบเห็ด 30 ชนิด แปลงส ารวจที่ 2 ในฤดูร้อนพบเห็ด 8 ชนิด และในฤดูฝนพบเห็ด 16 ชนิด แปลงส ารวจที่ 3 ในฤดูร้อนพบเห็ด 21 ชนิด และในฤดูฝนพบเห็ด 13 ชนิด และแปลงส ารวจที่ 4 ในฤดูร้อน พบเห็ด 5 ชนิดและในฤดูฝนพบเห็ด 11 ชนิด โดยพบเห็ดในวงศ์ Hymenochaetaceaeและ วงศ์ Tricholomataceae มากที่สุดตามล าดับ

จากชนิดเห็ดที่พบบริเวณป่าดิบเขาบริเวณยอดเขาร่ม พบทั้งหมด 88 ชนิดมีภาพตัวอย่างเห็ด ดังแสดงในภาพชุดที่ 4.3.1 - 4.3.10 บัญชีรายชื่อเห็ดที่พบในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ ดังแสดงในตารางที่ 4.3.1

ตารางที่ 4.3.1 บัญชีรายชื่อเห็ดที่ส ารวจพบในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

จ านวนดอกเห็ด ล าดับ ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์ ลักษณะการขึ้น ฤดูร้อน ฤดูฝน 1 Lepiota sp.1 Agaricaceae ดิน 1 2 Poronia gigantea Ascomyceae ขี้กระทิง 98 3 Pleurotellus sp. Cortinariaceae ขึ้นบนต้นไม้ 10 4 หิ้งแถบน้ าตาล-ชมพู Fomitopsis cajanderi Fomitopsidaceae ขอนไม้ 2 5 Ganoderma sp. Ganodermataceae บนดิน 2 5 6 Ganoderma sp.2 Ganodermataceae ขอนไม้ 31 7 Ganoderma sp.3 Ganodermataceae 22 8 Hydnum sp. Hydnaceae ขอนไม้ 13 9 กรวยทองตากู Microporus xanthopus Hymenochaetaceae กิ่งไม้ 64 16 10 Microporus sp. Hymenochaetaceae ขอนไม้ 43 11 Microporus sp.1 Hymenochaetaceae ต้นไม้ตาย 90 12 Microporus sp.2 Hymenochaetaceae กิ่งไม้ 5 13 Microporus sp.3 Hymenochaetaceae กิ่งไม้ 25 14 Microporus sp.4 Hymenochaetaceae กิ่งไม้ 6 41 15 เห็ดหิ้งสีน้ าตาล Hymenochaete sp. Hymenochaetaceae ล าต้นไม้ 11

4

-

39

ตารางที่ 4.3.1 (ต่อ)

จ านวนดอกเห็ด ล าดับ ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์ ลักษณะการขึ้น ฤดูร้อน ฤดูฝน 16 Hymenochaete sp.1 Hymenochaetaceae 18 17 Hymenochaete sp.2 Hymenochaetaceae 5 18 Hymenochaete sp.3 Hymenochaetaceae ต้นไม้ตาย 76 220 19 อบเชย, ขอนกรวยก้านขน Coltricia cinnamomea Hymenochaetaceae กิ่งไม้ 1 24 Amanita mira Pluteaceae ดิน 39 25 Amanita sp.2 Pluteaceae ดิน 2 26 Volvarriella sp. Pluteaceae ขอนไม้ 1

27 Polyporus sp.1 Polyporaceae กิ่งไม้ 2

28 Polyporus sp.2 Polyporaceae กิ่งไม้ 99

29 Polyporus sp.3 Polyporaceae ต้นไม้ตาย 1

30 Polyporus sp.4 Polyporaceae กิ่งไม้ 8

31 Polyporus sp.5 Polyporaceae กิ่งไม้ 10 7 32 Polyporus sp.6 Polyporaceae ขอนไม้ 3 33 Trametes sp.1 Polyporaceae 29 34 Russula nigricans Russulaceae ดิน 2

4

-

40

ตารางที่ 4.3.1 (ต่อ)

จ านวนดอกเห็ด ล าดับ ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์ ลักษณะการขึ้น ฤดูร้อน ฤดูฝน 35 Russula sp.1 Russulaceae ดิน 3 36 Lactarius sp.1 Russulaceae ดิน 3 37 Russula sp.2 Russulaceae กิ่งไม้ 17 38 Russula sp.3 Russulaceae ดิน 1 45 ร่มเปลือกไม้ขาว Mycena clavicularis Tricholomataceae ต้นไม้ตายล้ม 200 46 Mycena sp.1 Tricholomataceae ต้นไม้ 136 47 Mycena sp.2 Tricholomataceae ขอนไม้ 1 48 Mycena sp.3 Tricholomataceae กิ่งไม้ 2 49 Mycena sp.4 Tricholomataceae ขอนไม้ 2 50 Mycena alexandri Tricholomataceae ขอนไม้ 2 51 Collybia sp.3 Tricholomataceae กิ่งไม้ 19 52 Mycena sp.6 Tricholomataceae ก้านกล้วยไม้ 3 53 Mycena sp.7 Tricholomataceae กิ่งไม้ 12 54 Collybia sp.2 Tricholomataceae 7 55 Mycena sp.5 Tricholomataceae 24

4

-

41

ตารางที่ 4.3.1 (ต่อ)

จ านวนดอกเห็ด ล าดับ ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์ ลักษณะการขึ้น ฤดูร้อน ฤดูฝน 56 Xylaria sp.1 Xylariaceae ขอนไม้ 6 57 Xylaria sp.2 Xylariaceae ต้นไม้ล้ม 35 57 Xylaria sp.2 Xylariaceae ต้นไม้ล้ม 35 64 Unknown6 unknown6 29 65 Unknown7 unknown7 ขอนไม้ 17 66 Unknown8 unknown8 7 67 Unknown9 unknown9 27 68 Unknown10 unknown10 ขอนไม้ 3 69 Unknown11 unknown11 ขอนไม้ 200 70 Unknown12 unknown12 37 71 Unknown13 unknown13 กิ่งไม้ 13 72 Unknown14 unknown14 ดิน 1 73 Unknown15 unknown15 รากไม้สด 6 74 Unknown16 unknown16 ต้นไม้ใหญ่ 60 75 Unknown17 unknown17 ดิน 1

4

-

42

ตารางที่ 4.3.1 (ต่อ)

จ านวนดอกเห็ด ล าดับ ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ วงศ์ ลักษณะการขึ้น ฤดูร้อน ฤดูฝน 76 Unknown18 unknown18 ดิน 1 77 Unknown19 unknown19 ต้นไม้ตายท่อนเล็ก 2 78 Unknown20 unknown20 ดิน 1 79 Unknown21 unknown21 กิ่งไม้ 18 80 Unknown22 unknown22 ขอนไม้ 2 81 Unknown23 unknown23 ขอนไม้ 9 82 Unknown24 unknown24 ดิน 5 83 Unknown25 unknown25 ดิน 1 84 Unknown26 unknown26 กิ่งไม้ 47 85 Unknown27 unknown27 ดิน 1 86 Unknown28 unknown28 กิ่งไม้ 3000 87 Unknown29 unknown29 ซากไม้ผุ,ล้ม 21 88 Unknown30 unknown30 ไม้ยืนต้น(25) 101

4

-

43

4-44

เมื่อน าจ านวนดอกที่พบและจ านวนชนิดของเห็ดในฤดูร้อนที่ส ารวจพบมาค านวณหาค่าดัชนีความ หลากหลายของ Shannon - Wiener’s Index (H′) ค่าดัชนีความมากมายทางชนิดพันธุ์ตามสูตรของ Margarlef’s index (d’) และค่าความสม่ าเสมอตามสูตรของ Pielou’s Evenness (J′) พบว่า ค่าดัชนี ความหลากหลาย เท่ากับ 2.93 มีค่าดัชนีความมากมายทางชนิดพันธุ์ เท่ากับ 5.88 ค่าดัชนีความสม่ าเสมอ เท่ากับ 0.79 เมื่อพิจารณาในแต่ละแปลงศึกษา จะเห็นว่าค่าดัชนีความหลากหลาย ค่าดัชนีความมากมาย และค่าความสม่ าเสมอทางชนิดพันธุ์ในแปลงส ารวจที่ 3 จะมีค่ามากที่สุด มีค่าเท่ากับ 2.77 3.41 และ0.92 ตามล าดับ ส่วนแปลงส ารวจอื่นๆ จะมีค่าใกล้เคียงกันไม่แตกต่างกันมาก (ภาพที่ 4.3.1)

4 3.41 3.5 แปลงส ารวจที่ 1 3 2.77 แปลงส ารวจที่ 2 แปลงส ารวจที่ 3 2.5 แปลงส ารวจที่ 4

2 1.71 1.5 1.24 1.31 1.13 1.12 0.92 1 0.69 0.69 0.63 0.70 0.5

0 Shannon-Wiener index: H' Margarlef’s index : d' Pielou's evenness: J'

ภาพที่ 4.3.1 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (H’) ค่าดัชนีความมากมายทางชนิดพันธุ์ (d’) และ ค่าความสม่ าเสมอ (J’) ในฤดูร้อนระหว่างแปลงส ารวจเห็ดในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขา ใหญ่

4-45

เมื่อน าจ านวนดอกที่พบและจ านวนชนิดของเห็ดในฤดูฝนที่ส ารวจพบมาค านวณหาค่าดัชนีความ หลากหลายของ Shannon - Wiener’s Index (H′) ค่าดัชนีความมากมายทางชนิดพันธุ์ตามสูตรของ Margarlef’s index (d’) และค่าความสม่ าเสมอตามสูตรของ Pielou’s Evenness (J′) พบว่า ค่าดัชนีความ หลากหลาย เท่ากับ 1.71 มีค่าดัชนีความมากมายทางชนิดพันธุ์ เท่ากับ 6.76 ค่าดัชนีความสม่ าเสมอเท่ากับ 0.42 เมื่อพิจารณาในแต่ละแปลงศึกษา จะเห็นว่าค่าดัชนีความหลากหลาย ค่าดัชนีความมากมาย และค่าความ สม่ าเสมอในแปลงส ารวจที่ 1 จะมีค่ามากที่สุด มีค่าเท่ากับ 2.64 4.49 และ 0.77 ตามล าดับ และแปลงส ารวจ ที่ 3 จะมีค่าน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 0.33 1.48 และ0.12 ตามล าดับ (ภาพที่ 4.3.1)

5 4.49 4.5

4 3.5 แปลงส ารวจที่ 1 แปลงส ารวจที่ 2 3 2.64 2.54 แปลงส ารวจที่ 3 2.5 แปลงส ารวจที่ 4 1.84 2 1.65 1.42 1.48 1.5

1 0.77 0.66 0.59 0.5 0.33 0.12 0 Shannon-Wiener index: H' Margarlef’s index : d' Pielou's evenness: J'

ภาพที่ 4.3.2 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (H’) ค่าดัชนีความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ (d’) และค่า ความสม่ าเสมอ (J’) ในฤดูฝนระหว่างแปลงส ารวจเห็ดในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

4-46

เมื่อน าจ านวนดอกที่พบและจ านวนชนิดของเห็ดทั้งในฤดูฝนและฤดูร้อนที่ส ารวจพบมา ค านวณหาค่าดัชนีความหลากหลายของ Shannon - Wiener’s Index (H′) ค่าดัชนีความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ ตามสูตรของ Margarlef’s index (d’) และค่าความสม่ าเสมอตามสูตรของ Pielou’s Evenness (J′) พบว่า ค่า ดัชนีความหลากหลาย เท่ากับ 2.00 มีค่าดัชนีความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ เท่ากับ 10.26 ค่าดัชนีความสม่ าเสมอ เท่ากับ 0.45 เมื่อพิจารณาในแต่ละฤดูศึกษา จะเห็นว่าค่าดัชนีความหลากหลายในฤดูร้อนจะมีค่ามากกว่าใน ฤดูฝน แต่ค่าดัชนีความชุกชุมในฤดูฝนจะมีค่ามากกว่าในฤดูร้อน (ภาพที่ 4.3.1)

12 10.26 10

8 6.76 Shannon-Wiener index: H' 6 5.28 Margarlef’s index : d' Pielou's evenness: J' 4 2.83 2.00 2 1.71 0.79 0.42 0.45 0 ฤดูร้อน ฤดูฝน รวม

ภาพที่ 4.3.3 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (H’) ค่าดัชนีความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ (d’) และค่า ความสม ่าเสมอ (J’) ระหว่างฤดูร้อนและฤดูฝนของเห็ดในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความคล้ายคลึงในฤดูร้อนแต่ละแปลงส ารวจ พบว่า แปลงส ารวจที่ 1 และ 2 จะมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันมากที่สุดคือร้อยละ 30.77 มีเห็ดที่พบร่วมกันจ านวน 2 ชนิด รองลงมาคือ แปลงส ารวจที่ 1 และ 3 มีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันร้อยละ 7.41 มีเห็ดที่พบร่วมกันจ านวน 1 ชนิด และ แปลงที่มีค่าดัชนีความคล้ายคลึงน้อยที่สุด คือ แปลงส ารวจที่ 1 และ 4, แปลงส ารวจที่2 และ 4, และ แปลงส ารวจที่ 3 และ 4 ซึ่งไม่พบเห็ดร่วมกัน (ตารางที่ 4.3.2)

4-47

ตารางที่ 4.3.2 ค่าดัชนีความคล้ายคลึง (Similarity Index: SI) ด้านบน และค่าดัชนีความแตกต่าง (Dissimilarity Index: DI) ด้านล่าง ระหว่างแปลงส ารวจเห็ดในฤดูร้อนป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่

Similarity Index :SI

แปลง แปลงส ารวจที่ 1 แปลงส ารวจที่ 2 แปลงส ารวจที่ 3 แปลงส ารวจที่ 4

: DI :

แปลงส ารวจที่ 1 100 30.77 7.41 0 แปลงส ารวจที่ 2 69.231 100 7.14 0 แปลงส ารวจที่ 3 92.59 92.86 100 0

แปลงส ารวจที่ 4 100 100 100 100 Dissimilarity Index Dissimilarity

เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความคล้ายคลึงในฤดูฝนแต่ละแปลงส ารวจ พบว่า แปลงส ารวจที่ 1 และ 2 จะมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันมากที่สุดคือร้อยละ 22.73 มีเห็ดที่พบร่วมกันจ านวน 5 ชนิด รองลงมาคือ แปลงส ารวจที่ 2 และ 4 มีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันร้อยละ 22.22 มีเห็ดที่พบร่วมกันจ านวน 3 ชนิด และ แปลงที่มีค่าดัชนีความคล้ายคลึงน้อยที่สุด คือ แปลงส ารวจที่ 2 และ 3 ซึ่งมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงร้อยละ 6.90 มีเห็ดที่พบร่วมกัน 1 ชนิด (ตารางที่ 4.3.3)

ตารางที่ 4.3.3 ค่าดัชนีความคล้ายคลึง (Similarity Index: IS) ด้านบน และค่าดัชนีความแตกต่าง (Dissimilarity Index: ID) ด้านล่าง ระหว่างแปลงส ารวจเห็ดในฤดูฝนป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่

Similarity Index :SI

:DI แปลง แปลงส ารวจที่ 1 แปลงส ารวจที่ 2 แปลงส ารวจที่ 3 แปลงส ารวจที่ 4 แปลงส ารวจที่ 1 100 22.73 9.76 20.51 แปลงส ารวจที่ 2 77.27 100 6.90 22.22 แปลงส ารวจที่ 3 90.24 93.10 100 16.67

Dissimilarity Index Dissimilarity แปลงส ารวจที่ 4 79.49 77.78 83.33 100

4-48

เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความคล้ายคลึงระหว่างฤดูร้อนและฤดูฝน พบว่ามีค่าดัชนีความ คล้ายคลึงเท่ากับร้อยละ 10.64 มีเห็ดที่พบร่วมกัน 5 ชนิด

ฤดูร้อน 35 ชนิด ฤดูฝน 59 ชนิด

30 ชนิด 5 ชนิด 54 ชนิด

ภาพที่ 4.3.3 แผนภาพ Venn diagram จ าแนกชนิดเห็ดที่พบในฤดูร้อนป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่

4-49

A B C

D E F

ภาพชุดที่ 4.3.1 ชนิดเห็ดในฤดูร้อน โดยการจ าแนกด้วยรูปร่างอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,200 เมตร วงศ์ Ganodermataceae (A) ; A: Ganoderma sp.1, วงศ์ Hydnaceae (B) ; B: Hydnum sp.1 วงศ์ Hymenochaetaceae (C-F) ; C: กรวยทองตากู Microporusxanthopus, D: Microporus sp.1, E: เห็ดหิ้งน้ าตาล Hymenochaete sp.1, F: หิ้งอบเชยวาว Coltricia cinnamomea

4-50

A B C

D E F

G H I

ภาพชุดที่ 4.3.2 ชนิดเห็ดในฤดูฝน โดยการจ าแนกด้วยรูปร่างอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,200 เมตร วงศ์ Amanitaceae (A) ; A: Amannita mira, วงศ์ Hymenochaetaceae (B-D) ; B: กรวยทองตากู Microporus Xanthopus, C: Microporus sp.1, D: Microporus sp.2, วงศ์ Polyporaceae (E) ; E: Polyporus sp.1, วงศ์ Tricholomataceae (F-G) ; F: Collybia sp.1, G: Mycenaclavicularis, วงศ์ Xylariaceae (H) ; H: Xylaria sp.1, I: Xylaria sp.2

4-51

J K L

M N O

P Q R

ภาพที่ 4.3.2 (ต่อ) วงศ์ Ascomyceae (J) ; J: Poronia gigantean, วงศ์ Ganodermataceae (K-L) ; K: Ganoderma sp.1, L: Ganoderma sp.2, วงศ์ Marasmiaceae (M) ; M: Marasmius sp.1, วงศ์ Polyporaceae (N-O) ; N: Polyporus sp.2, O: Polyporus sp.3, วงศ์ Russulaceae (P) ; P: Russula nigricans, ; วงศ์ Sclerotiniaceae (Q) ; Q: Dicephalospora rufocornea ; วงศ์ Xylariaceae (R) ; R: Xylaria sp.3

4-52

S T

ภาพชุดที่ 4.3.2 (ต่อ) วงศ์ Polyporaceae (S) ; S: Polypora sp.4 ; วงศ์ Stereaceae (T) ; T: Stereum sp.1

4-53

A B C

D E F

G

ภาพชุดที่ 4.3.3 ชนิดเห็ดในฤดูร้อน โดยการจ าแนกด้วยรูปร่างอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,250 เมตร วงศ์ Cortinariaceae (A) ; A: Pleurotellus sp.1,วงศ์ Fomitopsidaceae (B) ; B: หิ้งแถบน้ าตาล-ชมพู Fomitops iscajanderi, วงศ์ Hymenochaetaceae (C-F) ; C: หิ้งพิมานน้ าตาล-เทา, ฮัง Phellinus igniarius, D: กรวยทองตากู Microporus xanthopus, E: Hymenochaete sp.1, F: Phellinus sp.1 วงศ์ Pluteaceae (G) ; G: Volvarriella sp.1

4-54

A B C

D E F

G H I

ภาพชุดที่ 4.3.4 ชนิดเห็ดในฤดูฝน โดยการจ าแนกด้วยรูปร่างอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,250 เมตร วงศ์ AGARICACEAE (A) ; A: Lepiota sp.1, วงศ์ Hymenochaetaceae (B) ; B: กรวยทองตากู Microporus xanthopus, วงศ์ Russulaceae (C) ; C: Russula sp.1, วงศ์ Tricholomataceae (D- H) ; D: Mycena sp.1, E: Mycena sp.2, F: Mycena sp.3, G: Mycena sp.1, H: ร่มเปลือกไม้ขาว Mycena clavicularis, วงศ์Pluteaceae (I) ; I: Amanita sp.1

4-55

J K L

M

ภาพชุดที่ 4.3.4 (ต่อ) วงศ์ Hymenochaetaceae (J) ; J: Microporus sp.1, วงศ์ Polyporaceae (K) ; K: Polyporus sp.2, วงศ์ Russulaceae(L) ; L: Lactarius sp.1, วงศ์ Sclerotiniaceae (M) ; M: Dicephalospora rufocornea

4-56

A B C

D E F

G H I

ภาพชุดที่ 4.3.5 ชนิดเห็ดในฤดูร้อน โดยการจ าแนกด้วยรูปร่างอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,300 เมตร วงศ์ Ganodermataceae (A) : A: Ganoderma sp.3, วงศ์ Hymenochaetaceae (B-E) ; B: Hymenochaete sp.1, C: Microporus sp.4, D: Hymenochaete sp.2, E: กรวยทองตากู Microporus Xanthopus, วงศ์ Polyporaceae (F-I) ; F: Trametes sp.1, G: Polyporus sp.5, H: Polyporus sp.2, I: Trametes sp.1

4-57

J K L

M N

ภาพชุดที่ 4.3.5 (ต่อ) วงศ์ Russulaceae (J) ; J: Russula sp.2, วงศ์ Stereaceae (K-L) ; K: Stereum sp.2, L: Stereum sp.3, วงศ์ Tricholomataceae (M-N) ; M: Collybia sp.2, N: Mycena sp.5

4-58

A B C

D E F

G H

ภาพชุดที่ 4.3.6 ชนิดเห็ดในฤดูฝน โดยการจ าแนกด้วยรูปร่างอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,300 เมตร วงศ์ Amanitaceae(A) ; A: Amannita mira, วงศ์ Hymenochaetaceae (B) ; B: Microporus sp.4, วงศ์ Polyporaceae (C-D) ; C: Polyporus sp.5, D: Polyporus sp.6, วงศ์ Russulaceae (E) ; E: Russula sp.2, วงศ์ Tricholomataceae (F-I) ; F: Mycena alexandri, G: Collybia sp.3, H: ร่มเปลือกไม้ขาว Mycena clavicularis

4-59

A

ภาพชุดที่ 4.3.7 ชนิดเห็ดในฤดูร้อน โดยการจ าแนกด้วยรูปร่างอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1,350 เมตร วงศ์ Hymenochaetaceae (A) ; A: Hymenochaete sp.3

4-60

A B C

D E F

G H I

ภาพชุดที่ 4.3.8 ชนิดเห็ดในฤดูฝน โดยการจ าแนกด้วยรูปร่างอย่างง่ายในแปลงระดับความสูง 1350 เมตร วงศ์ Ascomycetes (A) ; A: Poronia gigantean, วงศ์ Hymenochaetaceae (B-C) ; B: กรวยทองตากู Microporus xanthopus, C: Hymenochaete sp.3, วงศ์ Pluteaceae (D-E) ; D: Amanita mira, E: Amanita sp.2, วงศ์ Russulaceae (F) ; F: Russula sp.3,วงศ์ Tricholomataceae (G-I) ; G: ร่มเปลือก ไม้ขาว Mycena clavicularis, H: Mycena sp.6, I: Mycena sp.7

4-61

ภาพชุดที่ 4.3.9 ชนิดเห็ดในฤดูร้อน Unknown 1-9 ตามล าดับ

4-62

ภาพชุดที่ 4.3.9 (ต่อ) Unknown 10-12 ตามล าดับ

4-63

ภาพชุดที่ 4.3.10 ชนิดเห็ดในฤดูฝน Unknown 13-21 ตามล าดับ

4-64

ภาพชุดที่ 4.3.10 (ต่อ) Unknown 22-30 ตามล าดับ

5-1

บทที่ 5 สรุปและวิจารณ์ผลการศึกษา

5.1 ความหลากหลายของพรรณพืช

5.1.1 โครงสร้างและองค์ประกอบของพรรณพืช

การศึกษาลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบของพรรณพืชบริเวณเขาร่มอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบว่า พื้นที่ส ารวจมีลักษณะเรือนยอดซ้อนทับกันหรือเรือนยอดเปิด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีการล้มของไม้ต้น ขนาดใหญ่จึงท าให้เรือนยอดในบริเวณที่ส ารวจนั้นมีลักษณะเป็นเรือนยอดเปิด สามารถแบ่งชั้นเรือนยอดตาม ชั้นความสูงได้ 3 ชั้นเรือนยอด คือ 1) เรือนยอดชั้นบน มีความสูง 15-20 2) เรือนยอดชั้นรอง มีความสูง 10-15 เมตร และ3) ชั้นไม้พุ่ม มีความสูง 5-10 เมตร พรรณไม้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ไม่ผลัดใบนอกจากนี้ยังพบ ไม้เด่นใน วงศ์สารภีดอย วงศ์เหมือด และวงศ์ก่อ ซึ่งจะพบกระจายในแต่ละระดับชั้นเรือนยอด โดยวงศ์ที่พบ ส่วนใหญ่จะเป็นวงศ์เด่นของพรรณไม้ในป่าดิบเขาระดับต่ า (lower Hill evergreen forest) (ธวัชชัย, 2555) ส าหรับพรรณไม้เด่นในระดับไม้ใหญ่ ได้แก่ ก่อหมวก หว้าหิน ทะโล้ และสารภีดอย เป็นต้น ในระดับไม้ หนุ่ม ได้แก่ เหมือดปลาซิว กระจับนก และแมงเม่านก เป็นต้น และกล้าไม้ได้แก่ เหมือดคนตัวแม่ เอียนเร และมวกกอ เป็นต้น สอดคล้องกับรายงาน ของ อุทิศ, (2542) ; William, (1965) พบว่า ป่าดิบเขาระดับต่ า มี การกระจายตั้งแต่ระดับความสูง 950-1,400 เมตรจากระดับน้ าทะเล พรรณไม้ที่พบจะมีกิ่งก้านล าต้นเรียว ปกติจะไม่มีพูพอน (buttress) ลักษณะโครงสร้าง ของสังคมคล้ายกับป่าดิบแล้ง (dry evergreen forest) ใน ระดับสูง ต่างกันที่มีไม้ผลัดใบปรากฏอยู่น้อย จนยากที่จะสังเกตได้ เรือนยอดชั้นบนประกอบด้วยพันธุ์ไม้ใน วงศ์สารภีดอย เป็นพันธุ์ไม้ส าคัญ ส่วนพันธุ์ไม้อื่นๆ ที่พบในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ พันธุ์ไม้ในวงศ์เหมือด และ พันธุ์ไม้ในวงศ์ก่อ เป็นต้น

5.1.2 การรักษาโครงสร้างของป่า

จากการศึกษาการกระจายของขนาดชั้นอายุไม้หรือตามชั้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้ในป่า โดย พิจารณาในแต่ละแปลงและพื้นที่ส ารวจโดยรวม จะมีการกระจายเป็นแบบ การเพิ่มแบบชี้ก าลังเชิงลบ (Negative exponential growth form) สามารถบ่งบอกถึง การรักษาโครงสร้างของป่าตามธรรมชาติ เป็นไปอย่างปกติ กล่าวคือมีจ านวนต้นของไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้รุ่นมากกว่าในระดับไม้ต้นขนาดใหญ่ จึง ส่งผลให้สามารถเข้าไปเจริญทดแทนไม้ใหญ่ได้ดี แสดงให้เห็นว่าป่านั้นๆ อยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “stable stage”เนื่องจากมีการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติที่ดี (Bunyavejchewin et.al., 2001) สอดคล้องกับ รายงานของ Marod et al., 2012 พบว่า จ านวนต้นของพรรณไม้ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กมี

5-2

จ านวนมาก เนื่องจากมีพรรณไม้เด่นและพรรณไม้ทั่วไปหลากหลายชนิด แต่เมื่อขนาดชั้นเส้นผ่าน ศูนย์กลางเพิ่มขึ้น จ านวนพรรณไม้ที่พบจะลดลงเหลือแต่พรรณไม้เด่นไม่กี่ชนิดในชั้นเส้นผ่านศูนย์กลาง สูงสุด แสดงให้เห็นว่า พรรณไม้ชนิดนั้นๆ มีความส าเร็จในการตั้งตัวในพื้นที่สังคมพืชนั้น

5.1.3 ความหลากหลายของพรรณไม้

จากการศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ พบว่า แปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1,300 เมตร จะมี ค่าดัชนีความหลากหลายสูงกว่าแปลงอื่นในระดับไม้ใหญ่ (4.65) และจากการศึกษาความสม่ าเสมอของพรรณ ไม้ พบว่า แปลงส ารวจที่ระดับความสูง 1350 เมตร จะมีค่าดัชนีความสม่ าเสมอสูงกว่าแปลงส ารวจอื่นในทุก ระดับไม้ คือ ไม้ใหญ่ (0.85) ไม้หนุ่ม (0.94) และกล้าไม้ (0.93) โดยยงยุทธ (2553) ได้กล่าวว่า ถ้าค่า ดัชนีความหลากหลายมีค่าใกล้เคียง 5 แสดงว่าพื้นที่นั้นมีความหลากหลายสูง และถ้าค่าดัชนีความ สม่ าเสมอมีค่าใกล้เคียง 1 แสดงว่าพรรณไม้ทุกชนิดมีการกระจายของจ านวนต้นในอัตราเท่าๆ กัน เมื่อ พิจารณาพื้นที่จะเห็นว่าเมื่อระดับความสูงเพิ่มสูงขึ้น ค่าความหลากหลายจะมีแนวโน้มลดลง สอดคล้องกับ รายงานของ วิชญ์ภาส (2545), Bhattarai and Vetaas (2006) ได้กล่าวว่า ค่าความหลากหลายมี แนวโน้มลดลงอย่างมีนัยส าคัญตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น

5.1.4 ค่าดัชนีความคล้ายคลึงของพรรณไม้

จากการศึกษาค่าดัชนีความคล้ายคลึง พบว่า ในระดับไม้ใหญ่แปลงส ารวจที่มีค่าดัชนีความ คล้ายคลึงกันมากที่สุดอยู่ในระดับชั้นความสูง 1,200 เมตร และ 1,250 เมตร และในระดับไม้หนุ่มและกล้า ไม้แปลงส ารวจมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันมากที่สุดอยู่ในที่ระดับชั้นความสูง 1,300 เมตร และ 1,350 เมตร แสดงให้เห็นว่าในระดับความสูงที่ใกล้เคียงกันจะมีค่าความคล้ายคลึงของพรรณไม้สูง แตกต่างจาก พื้นที่ที่มีระดับความสูงที่ห่างกัน โดยจะเห็นว่าอิทธิพลของความสูงมีผลต่อปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการ กระจายและการเติบโตของพืชโดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับ (อุทิศ, 2542) ท าให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะ สังคมพืชตามระดับชั้นความสูงของน้ าทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น โดยพรรณไม้บางชนิดสามารถที่จะตั้งตัวในระดับ ความสูงระดับต่ า แต่เมื่อระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นพรรณไม้เหล่านั้นก็ไม่สามารถตั้งตัวได้ แต่จะมีพรรณไม้ ชนิดอื่นเข้ามาแทนที่พรรณไม้ชนิดนั้น ท าให้ค่าดัชนีความคล้ายคลึงที่ระดับความสูงที่ใกล้เคียงกันจะมี ความคล้ายคลึงกันมากกว่าในชั้นที่อยู่ถัดไป ดังนั้นเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้นในการจัดกลุ่มหมู่ไม้ควรมีการจัด กลุ่มโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงของ sorrensen .ในรูปแผนภาพต้นไม้ (dendrogram) ด้วยวิธี Ward’s method ในหัวข้อต่อไป

5-3

5.1.5 การจัดกลุ่มหมู่ไม้

การจัดกลุ่มของหมู่ไม้ที่ในแต่ละระดับความสูงจากน้ าทะเล 1,200-1,350 เมตร สามารถแบ่งกลุ่ม หมู่ไม้ได้ 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก เป็นสังคมสังคมป่าดิบเขาระดับต่ าที่มีไม้เด่นเป็นไม้ใน วงศ์เหมือด วงศ์เข็ม วงศ์ชมพู่, วงศ์สารภีดอย และวงศ์ก่อ เป็นหลัก ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นสังคมป่าดิบเขาระดับต่ าที่มีไม้เด่นเป็น ไม้ใน วงศ์สารภีดอย, วงศ์เข็ม, วงศ์เหมือด และวงศ์ชมพู่ ผสมกับไม้ในกลุ่มจิมโนสเปิร์ม (gymnosperm) ในวงศ์พญาไม้ สกุล Dacrycarpus เป็นหลัก ซึ่งในกลุ่มที่ 2 จะพบว่ามีการขึ้นร่วมกันระหว่างต้นสารภี ดอยและต้นพญามะขามป้อมเด่นมากคิดเป็นจ านวนต้น ร้อยละ 35 และ 13 ตามล าดับ โดยในกลุ่มที่ 2 ลักษณะพื้นที่จะมีความแตกต่างจากกลุ่มที่ 1 คือ มีลักษณะการปกคลุมของเศษซากใบไม้ มอส และเฟิน อย่างหนาแน่นจึงท าให้ดินมีความชื้นสูง ซึ่งอาจเหมาะต่อการตั้งตัวของไม้ทั้งสองชนิดนี้

5.2.1 ความหลากหลายของผีเสื้อกลางวัน

จากผลการส ารวจผีเสื้อกลางวันที่พบในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบ ผีเสื้อกลางวันทั้งหมด 26 ชนิด ใน 4 วงศ์ โดยวงศ์ผีเสื้อกลางวันที่พบมากที่สุดได้แก่ วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nymphalidae) พบ 23 ชนิด วงศ์ผีเสื้อที่พบจ านวนน้อยที่สุดคือ วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Hesperiidae) พบ 2 ชนิด ผีเสื้อกลางวันที่พบมากที่สุดได้แก่ ผีเสื้อสายัณห์สีตาลธรรมดา ผีเสื้อกลางวันที่ส ารวจพบในฤดูร้อน มี 18 ชนิด และพบในฤดูฝน 12 ชนิด ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดผีเสื้อกลางวันโดยรวมทั้ง 2 ฤดูกาลเท่ากับ 2.45 ในฤดูร้อนเท่ากับ 2.22 และในฤดูฝนเท่ากับ 2.16 เมื่อพิจารณาเป็นรายแปลงพบว่า ค่าดัชนีความหลากหลายแปลงส ารวจที่ 1 มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 2.25 น้อยที่สุดคือแปลงส ารวจที่ 4 เท่ากับ 1.72 ค่าความสม่ าเสมอของชนิดผีเสื้อกลางวันแปลงส ารวจที่ 3 มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 0.97 และ แปลงส ารวจที่ 2 น้อยที่สุด เท่ากับ 0.79 ค่าดัชนีความชุกชุมของชนิดผีเสื้อกลางวันแปลงส ารวจที่ 1 มีค่า มากที่สุด เท่ากับ 3.46 และแปลงส ารวจที่ 4 มีค่าน้อยที่สุด เท่ากับ 2.16 และค่าดัชนีความคล้ายคลึงของ ผีเสื้อกลางวันในฤดูร้อนและฤดูฝนเท่ากับ 26.67 เปอร์เซ็นต์ จากการส ารวจยังพบว่า ไม่พบผีเสื้อกลางวัน วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Papilionidae) ปรากฏอยู่เลย พบเพียง 4 วงศ์ เนื่องจากตัวหนอนผีเสื้อวงศ์ผีเสื้อหางติ่ง กินใบพืชเพียงไม่กี่วงศ์เท่านั้น ได้แก่ วงศ์กระเช้าสีดา (Aristolochiaceae), วงศ์ส้ม (Rutaceae), วงศ์ นมแมว (Annonaceae) และวงศ์จ าปา (Magnoliaceae) (วัฒนา และคณะ, 2554) แต่ในบริเวณที่วาง แปลงส ารวจมีเพียงวงศ์ส้มเท่านั้นที่มีชนิดไม้ปรากฏอยู่ และปรากฏอยู่เพียง 3 ชนิด ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อ การด ารงชีวิต ท าให้ไม่พบผีเสื้อวงศ์นี้ในบริเวณพื้นที่ที่ส ารวจ เมื่อท าการเปรียบเทียบใน 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน จะพบว่า ค่าความหลากหลายของชนิดผีเสื้อกลางวันที่ส ารวจพบในฤดูร้อนมีค่ามากว่า ฤดูฝน เนื่องจากลักษณะการหากินของผีเสื้อส่วนใหญ่จะออกหากินเมื่อมีแสงแดด อากาศแจ่มใส เนื่องจาก จ าเป็นต้องผึ่งปีกให้อบอุ่นก่อนเพื่อที่จะบินได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว หากสภาพอากาศมีเมฆปกคลุมมาก

5-4

ท้องฟ้าปิดมีความชื้นสัมพัทธ์สูงหรือลมแรงผีเสื้อจะเข้าหลบตามพุ่มไม้ (โอฬาร, 2551) และในฤดูร้อนมี ลักษณะของพื้นที่ที่เปิดโล่งมากกว่า เนื่องจากผีเสื้อกลางวันเป็นสัตว์เลือดเย็นชอบบินในที่โล่งที่มีแสงแดด ส่องถึงเพราะแสงแดดช่วยในเรื่องของการปรับอุณหภูมิในร่างกายให้มีความเหมาะสม และในการส ารวจ ครั้งนี้ในฤดูร้อนมีโอกาสพบมากกว่า (สุรชัย และคณะ, 2542)

5.2.2 ความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืน

ส่วนการส ารวจโดยใช้กับดักแสงไฟ พบผีเสื้อกลางคืนทั้งหมด 45 ชนิด 23 วงศ์ สามารถจ าแนก ชนิดได้ 82 ตัว 32 ชนิด 11 วงศ์ และยังไม่ทราบชนิดจ านวน 12 ตัว โดยวงศ์ผีเสื้อกลางคืนที่พบชนิดมาก ที่สุดได้แก่ วงศ์ Geometridea พบ 12 ชนิด ส่วนวงศ์ที่พบชนิดที่สุดมีทั้งหมด 5 วงศ์พบวงศ์ละ 1 ชนิด ได้แก่ วงศ์ Zygaenidae, Lasiocampidae, Cossidae, Crambidae และวงศ์ Drepanidae ผีเสื้อ กลางคืนที่พบมากที่สุดได้แก่ Syntypistis viridipicta ชนิดผีเสื้อที่พบในฤดูร้อนทั้งหมด 18 ชนิด และพบ ในฤดูฝน 30 ชนิด ค่าดัชนีความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนทั้ง 2 ฤดูกาลเท่ากับ 3.07 ในฤดูร้อนเท่ากับ 2.82 ในฤดูฝนเท่ากับ 2.56 ค่าความสม่ าเสมอและดัชนีความชุกชุมทางชนิดพันธุ์ของผีเสื้อกลางวันมีความ สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับจ านวนชนิดและจ านวนตัวที่พบ และค่าดัชนีความคล้ายคลึงของผีเสื้อ กลางคืนในฤดูร้อน และฤดูฝนเท่ากับ 12.50 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับการศึกษาของ เฉลิมยศ และคณะ (2004) ที่ท าการศึกษาผีเสื้อกลางคืนในหุบเขาล าพญา โดยพบว่า ช่วงเวลาที่พบผีเสื้อกลางคืนมากที่สุดจะ อยู่ในช่วงต้นฤดูฝน (พฤษภาคม) และปลายฤดูฝน (ตุลาคม) แต่ในพื้นที่ต้องมีอุณหภูมิไม่ต่ ากว่า 15 องศา และท้องฟ้าไม่มีเมฆปกคลุมหรือฝนตก

5.3 ความหลากหลายของเห็ดรา

จากการส ารวจเห็ดในป่าดิบเขา บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบเห็ดทั้งหมด 88 ชนิด สามารถจ าแนกได้ 58 ชนิด จัดอยู่ใน 23 สกุล 18 วงศ์ โดยจ าแนกได้ในระดับสกุล (generic level) จ านวน 23 ชนิด และระดับชนิด (species level) จ านวน 8 ชนิด ส่วนเห็ดอีก 30 ชนิดไม่สามารถระบุชนิด (unidentified species) ได้ ซึ่งผลการส ารวจในแต่ละแปลงพบว่า ในฤดูร้อนแปลงส ารวจที่1พบเห็ด 6 ชนิด แปลงส ารวจที่ 2 พบเห็ด 8 ชนิด แปลงส ารวจที่ 3 พบเห็ด 21 ชนิด และแปลงส ารวจที่ 4 พบเห็ด 5 ชนิด ใน ฤดูฝนแปลงส ารวจที่ 1 พบเห็ด 31 ชนิด แปลงส ารวจที่ 2 พบเห็ด 17 ชนิด แปลงส ารวจที่ 3 พบเห็ด 13 ชนิด และแปลงส ารวจที่ 4 พบเห็ด 11 ชนิด จ านวนชนิดเห็ดที่พบในแต่ละแปลง มีค่าแตกต่างกันทั้งนี้ เนื่องจากแปลงส ารวจแต่ละแปลงอยู่ในแต่ระดับชั้นความสูงที่แตกต่างกัน ท าให้มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัย แวดล้อม โดยเฉพาะอุณหภูมิจะมีค่าลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น จากรายงานของ เสาวลักษณ์ และคณะ(2542) พบว่า ปัจจัยส าคัญอย่างหนึ่งในการส ารวจพบเห็ดป่า คือ สภาพทางภูมิอากาศ ถ้าสภาพทางภูมิอากาศไม่ เหมาะสมเห็ดก็จะไม่สามารถเกิดได้หรืออาจเกิดจ านวนเพียงเล็กน้อย จ านวนชนิดของเห็ดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ลงตลอดปีเนื่องจากปัจจัยที่ส าคัญที่สุด 2 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณน้ าฝน และอุณหภูมิ ในช่วงฤดูฝนที่มีปริมาณ

5-5

น้ าฝนมากจะพบเห็ดออกมาปริมาณมาก ส่วนในช่วงที่ไม่มีฝนตกหรือฝนตกน้อยจึงไม่ค่อยพบเห็ด ส าหรับ อุณหภูมิก็มีส่วนส าคัญต่อการเจริญเติบโตของเห็ดเพราะเห็ดบางชนิดพบมากในฤดูร้อนเห็ดบางชนิดพบมากใน ฤดูฝน นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้วการเกิดของดอกเห็ดและความหลากชนิดของเห็ดยังขึ้นอยู่กับ ความเป็นกรด- ด่างค่าความเข้มแสงแต่จาการส ารวจชนิดเห็ดที่พบจะเห็นว่า มีจ านวนชนิดน้อย เพราะในพื้นที่ส่วนใหญ่มี ลักษณะหินโผล่กระจายทั่วไปในพื้นที่ ท าให้เห็ดขึ้นได้น้อย โดยจากการส ารวจพบเห็ดในวงศ์ Hymenochaetaceae จ าพวกเห็ดหิ้งมากกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มเห็ดที่มีเนื้อแข็ง อยู่ได้นานกว่า เห็ดในวงศ์อื่น และจากการศึกษายังพบเห็ดใน สกุล Ganodermasp.1 จากรายงานของ บารมี สกลรักษ์ และ คณะ (2553) พบว่าเห็ดดังกล่าวเป็นได้ทั้งเห็ดผู้ย่อยสลายอินทรียวัตถุและเห็ดที่เป็นสาเหตุโรคพืช แต่จากการ ส ารวจพบขึ้นที่ขอนไม้ผุแต่จ านวนที่พบน้อยจึงไม่สามารถที่จะก่อให้เกิดปัญหากับระบบนิเวศป่าไม้ เพียงแต่เป็น การเฝ้าระวังเบื้องต้นเพียงเท่านั้น

เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความหลากหลาย (H′) ค่าดัชนีความชุกชุมทางชนิดพันธุ์(d’) และค่าดัชนี ความสม่ าเสมอ (J′) พบว่าในฤดูร้อน แปลงส ารวจที่ 3 จะค่าดัชนีความหลากหลายและค่าดัชนีความชุกชุมทาง ชนิดพันธุ์มากที่สุด อาจเกิดจากแปลงส ารวจที่ 3 เป็นแปลงที่อยู่ในพื้นที่สูง (ที่ระดับ 1,300 เมตรจาก ระดับน้ าทะเล) ท าให้อุณหภูมิต่ าและความชื้นสูงเหมาะสมในการเกิดของเห็ดแต่ละชนิด ส่วนในแปลงส ารวจ อื่นๆ จะมีค่าใกล้เคียงกัน เมื่อค่าดัชนีความสม่ าเสมอของเห็ด จะเห็นว่า แปลงส ารวจที่ 1, 2 และ4 (ยกเว้นแปลง ส ารวจที่ 3) จะมีค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่า มีจ านวนเห็ดและชนิดเห็ดที่พบในแต่ละแปลงมีการกระจายใกล้เคียงกัน แต่เมื่อพิจารณาในช่วงฤดูฝนจะพบว่าแปลงส ารวจที่ 1 จะค่าดัชนีความหลากหลาย ค่าดัชนีความชุกชุม และค่า ดัชนีความสม่ าเสมอทางชนิดพันธุ์มากที่สุด อาจเกิดจากแปลงส ารวจที่ 1 เป็นแปลงที่อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อ การขึ้นของเห็ดบางชนิดในช่วงฤดูฝน แต่ในทางกลับกันจะเห็นว่าแปลงส ารวจที่ 3 ที่เคยมีค่าดัชนีทั้ง 3 สูงสุดใน ฤดูแล้งจะมีค่าต่ าสุดในฤดูฝน อาจเกิดจากในพื้นที่ดังกล่าวมีอุณหภูมิต่ าและความชื้นสูงมากไม่เหมาะสมในการ เกิดของเห็ดแต่ละชนิดในช่วงฤดูฝน ส่วนในแปลงส ารวจอื่นๆ จะมีค่าใกล้เคียงกัน

เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความคล้ายคลึงในแต่ละแปลงส ารวจในฤดูร้อนและฤดูฝน พบว่า แปลงส ารวจที่ 1และ 2 จะมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันมากที่สุด ส่วนแปลงอื่นๆ จะมีค่าเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน จาการศึกษา จะเห็นว่าอิทธิพลของความสูงมีผลต่อปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายและการเติบโตของเห็ด ท าให้ค่า ดัชนีความคล้ายคลึงที่ระดับความสูงที่ใกล้เคียงกันจะมีความคล้ายคลึงกันมากกว่าในชั้นที่อยู่ถัดไป

6-1

บทที่ 6 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ

ความหลากหลายของพรรณพืช แมลง และเห็ดรา

ปัญหา – อุปสรรค

การส ารวจผีเสื้อกลางวันในช่วงฤดูฝนนั้น ไม่สามารถส ารวจได้ครบตามเวลาที่ก าหนดได้ เมื่อฝนตกท าให้ ต้องหยุดการส ารวจผีเสื้อไว้กลางคัน ท าให้ไม่สามารถส ารวจได้อยากเต็มเวลา อาจท าให้มีการคลาดเคลื่อนของ จ านวนชนิดที่พบจริง

การส ารวจผีเสื้อกลางคืน คณะผู้ส ารวจไม่สามารถวางกับดักส ารวจผีเสื้อกลางคืนบนจุดส ารวจจริงได้ จึงได้ วางกับดักให้อยู่ในพื้นที่เดียวกับแปลงส ารวจแต่มีความปลอดภัยต่อคณะผู้ส ารวจ เนื่องจากพื้นที่ส ารวจจริงมีสัตว์ ป่าอาศัยอยู่ อาจจะท าให้เกิดอันตรายต่อคณะผู้ส ารวจได้

ข้อเสนอแนะ

ควรมีคู่มือในการจ าแนกชนิดให้หน่วยงานมีไว้เพื่อศึกษา เพื่อเป็นการพัฒนาหน่วยงานภาคสนามให้มี ความรู้เบื้องต้นในการส ารวจ ท าให้กลุ่มงานสามารถจ าแนกชนิด และลักษณะเบื้องต้นของแมลงและเห็ดราได้ ก่อน จะส่งให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

เนื่องจากการส ารวจผีเสื้อกลางคืนที่ท าการส ารวจนั้นพบจ านวนชนิดน้อยกว่า จ านวนชนิดที่พบในพื้นที่ที่มี แสงไฟตลอดเวลา ดังนั้นจึงควรวางกับดักผีเสื้อกลางคืน ในพื้นที่ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับพื้นที่ที่เปิดไฟตลอดเวลา เพื่อที่จะได้จ านวนความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

7-1

เอกสารอ้างอิง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2549. พรรณ ไม้ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทประชาชน จ ากัด. กรุงเทพฯ.

กองอุทยานแห่งชาติ. 2529. แผนการจัดการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พ.ศ. 2530-2534. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ

กัลยา วานิชย์กัญญา. 2544. การวิเคราะห์ตัวแปรปลายตัวด้วย SPSS for Windows. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

กิตติพงศ์ ทิมแป้น. 2551. สังคมพืชและลักษณะของดินป่าดิบเขาสูงในอุทยานแห่งชาติดอย อินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์. 2540. หนังสือชุดสังเกตธรรมชาติผีเสื้อ. ส านักพิมพ์สารคดี: กรุงเทพฯ.

เกษม สร้อยทอง. 2537. เห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทย. ศิริธรรม ออฟเซ็ท. อุบลราชธานี.

เกียรติสยาม แก้วดอกรัก. 2549. ชีววิทยาและสัณฐานวิทยาของด้วงด า 2 ชนิด Heteronychus lioderes และ Alissonotum simile (Coleoptera: Scarabaeidae). วิทยานิพนธ์ปริญญา โท. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คณาจารย์ภาคชีววิทยา. 2533. คู่มือปฏิบัติการนิเวศวิทยา. ภาควิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณาจารย์ภาควิชากีฏวิทยา. 2538. บทปฏิบัติการกีฏวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ.

จารุจินต์ นภีตะภัฏ. 2527. ผีเสื้อในประเทศไทย. สารานุกรมไทยส าหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 7 หน้า 28-55.

7-2

______. และเกรียงไกร สุวรรณภักดิ์. 2544. ผีเสื้อ. สานักพิมพ์วนา. กรุงเทพฯ.

เจมิกา อัครเศรษฐนนท์. 2557. ปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายของขนาด การงอก และความรอดของ ต้นกล้าและไม้หนุ่มของพืชวงค์โปโดคาร์เปซีอี ณ อุทยานแห่ชาติเขาใหญ่ ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เฉลิมยศ อุทยารัตน์, ประยูร ด ารงรักษ์, ฉันทนา รุ่งพิทักษ์ไชย, มูฮาหมัดตายุดิน บาฮะคีรี, คาเลาะ สา และ, พาตีเมาะ อาแยกาจิ และอาหะมะ มูละ. 2547. ผีเสื้อกลางคืนในหุบเขาล าพญา. ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ, มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, ยะลา

ดอกรัก มารอด. 2538. แบบแผนการทดแทนขั้นทุติยภูมิในป่าผสมผลัดใบของสถานีวิจัยต้นน้ าแม่ กลอง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรษศาสตร์.

เต็ม สมิตินันท์. 2520. พันธุ์ไม้ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. สมาคมเพื่อนเขาใหญ่, กรุงเทพฯ.

ถาวร จันนรา. 2556. การศึกษาความหลากหลายของผีเสื้อกลางวันในป่าเต็งรังพื้นที่เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าภูเขียว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง จังหวัดชัยภูมิ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์. ส านักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, นครราชสีมา.

ธนพงศ์ โพธิ์แท่น. 2542. ลักษณะโครงสร้างของป่าดิบเขาและป่าสนเขาบนอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนาวรรณ สุขเกษม, สุพจน์ เกิดมี, พวงผกา แก้วกรม, สุรางค์รัตน์ พันแสง และมหาวิทยาลัยราชภัฎ เพชรบูรณ์. 2556. โครงการการศึกษาความหลากชนิดของเห็ดป่าในชุมชนพัฒนวรพงษ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. สานักงานบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัย ในอุดมศึกษา และพัฒนา มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, เพชรบูรณ์.

ธวัชชัย กลิ่นศรี. 2541. ความหลากหลายของแมลงบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธวัชชัย สันติสุข. 2528. การอนุรักษ์พันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและสังคมพืชภูเขากึ่งอัลไพน์ บนดอยเชียงดาว. น. 267-242. ใน การอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทยในแง่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ. โดย ธวัชชัย สันติสุข, เต็ม สมิตินันท์ และ W.Y. Brocskelman. สยามสมาคม กรุงเทพฯ.

7-3

______. 2555. ป่าของประเทศไทย. ส านักหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. บริษัท ประชาชน จ ากัด, กรุงเทพฯ. 120 หน้า.

นิวัติ เรืองพาณิช. 2534. นิเวศวิทยาทรัพยากรธรรมชาติ. คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นิวัฒ เสนาะเมือง. 2553. เห็ดป่าเมืองไทย ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์. หจก ยูนิเวอร์แซล พริ้นติ้ง แอนด์ กราฟฟิก. กรุงเทพฯ.

บารมี สกลรักษ์ กิตติมา ด้วงแค จันจิรา อายะวงศ์ วินันท์ดา หิมะมาน และกฤษณา พงษ์พานิช. (2553). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของเห็ดราในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง. งานกีฎวิทยาและ จุลชีววิทยาป่าไม้ สานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ.

พงศ์เทพ สุวรรณวารี. 2553. ความสัมพันธ์ของความหลากหลายของผีเสื้อกลางวันและระบบนิเวศป่า แบบต่างๆ ในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

______. และ สุกัญญา ลาภกระโทก. 2555. การเปรียบเทียบความหลากหลายของผีเสื้อกลางวันของ น้ าตกบางแห่ง ในพื้นที่มรดกโลก ดงพญาเย็น – เขาใหญ่. สาขาวิชาชีววิทยา ส านักวิชา วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

ภัทธรวีร์ พรมนัส, วินัย สมประสงค์ และ มงคล ธรรมขจรเดช. 2557. ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ ของเห็ดกินได้ในสถานีวนวัฒนวิจัยแม่สะนาม อ าเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. แก่นเกษตร 42 ฉบับพิเศษ 2 : 340-344.

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และ องค์การยูเสด. 2532. สัมมนาชีววิทยา ครั้งที่ 7 เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศ ไทย. ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูค า 16-17 ตุลาคม 2532. เชียงใหม่.

ยงยุทธ ไตรสุรัตน์. 2549. ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้, คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ยูนิเวอร์แซล พริ้นติ้ง แอนด์ กราฟฟิก. กรุงเทพฯ.

7-4

ราชบัณฑิตยสถาน. 2534. เห็ดกินได้และเห็ดมีพิษในประเทศไทย. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิช ชิ่ง จ ากัด(มหาชน), กรุงเทพฯ.

รุ่งสุริยา บัวสาลี. 2545. ลักษณะของสังคมป่าผลัดใบชื้นในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชญ์ภาส สังพาลี. 2545. ลักษณะทางนิเวศวิทยาบางประการของสังคมพืชป่าผลัดใบ ตามการ เปลี่ยนแปลงความสูงเหนือระดับทะเลปานกลาง ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วนิดา ผ่องมณี. 2542. ความหลากหลายของเห็ดที่ขึ้นบนดินบริเวณป่าดิบเขาในอุทยานแห่งชาติดอยสุ เทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัฒนา ศักดิ์ชูวงษ์ , นงพงา ปาเฉย, นันทิยา รัตนจันทร์ และศิรประภา มนต์สว่าง. 2554. ผีเสื้อกลางวันใน สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และสวนวชิรเบญจทัศ. กลุ่มงานกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ ส านักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์ พืช. 104 น.

วันทนีย์ ปุรณะสกุล. 2549. ความหลากหลายของด้วงมอดไม้ (Coleoptera: Scolytidae และ Platypodiae) ในบริเวณป่าดิบผสมและป่าเต็งรังทางภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิชญ์ภาส สังพาลี. 2545. ลักษณะทางนิเวศวิทยาบางประการของสังคมพืชป่าผลัดใบ ตามการ วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สคาร ทีจันทึก และพงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. 2546. ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมพืชพรรณไม้ป่า และ ปัจจัย ทางด้านดิน ตามการเปลี่ยนแปลงความสูงของภูมิประเทศในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์. ภาควิชาวนวัฒนวิทยา, คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สง่า ก้อนในเมือง และยุพา ผึ้งน้อย. 2545. ความหลากหลายของเห็ดและความสัมพันธ์ของเห็ดกับ ต้นไม้ในป่า จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ. โครงการพัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์ใน สถาบันราชภัฏ. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สถานีอุตุนิยมวิทยา. 2559. รายงานอุตุนิยมวิทยา. สถานีอุตุนิยมวิทยาเขาเขียว, จังหวัดนครราชสีมา.

7-5

สัมฤทธิ์ เส็งเล็ก. 2556. อิทธิพลของบริเวณอับฝนต่อการกระจายของสังคมพืชในอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ส านักงานความหลากหลายทางชีวภาพป่าไม้. 2554. ความหลากของเห็ดราในพื้นที่ป่าภาคใต้ เล่มที่ 1. ส านักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงค์เคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2558. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ. โม โนกราฟ สตูดิโอ จ ากัด. กรุงเทพฯ. ส านักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช. 2554. คู่มือการส ารวจความหลากหลายของแมลง. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์. กรุงเทพฯ. 67 หน้า.

______. 2556. คู่มือส ารวจแมลงในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและ พันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

สิริกุล บรรพพงษ์ และสิตา ผลโชค. 2547. ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย. ส านักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 48 หน้า.

สุคิด เรื่อเรือง. 2552. ลักษณะโครงสร้างสังคมพืชป่าดิบเขาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุธีระ เหิมฮึก. 2557.การตั้งตัวของพันธุ์ไม้บริเวณแนวรอยต่อป่าดิบเขาระดับต่ า อุทยานแห่งชาติดอย สุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรชัย ชลด ารงค์กุล, พงษ์เทพ ทับเที่ยง, และศุภชัย แพแพทย์. 2542. คู่มือส ารวจผีเสื้อและสื่อ ความหมายธรรมชาติ. สทรีทพรินติ้ง จ ากัด. กรุงเทพฯ. สุรางค์ เธียรหิรัญ. 2545. ความหลากหลายของเห็ดราวงศ์ Xylariaceae ในพื้นที่อุทยาน แห่งชาติ ดอย อินทนนท์ รายงานการประชุมการป่าไม้ประจ าปี 2545. ศักยภาพของป่าไม้ต่อ การฟื้นฟู เศรษฐกิจไทย. กรมป่าไม้. กรุงเทพฯ. หน้า 13-22.

เสาวภา สนธิไชย. 2542. ความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนในบริเวณดอยเชียงดาว. วารสาร วิทยาศาสตร์ มศว ปีที่ 15 (2) : 23-30.

7-6

เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร เยาวลักษณ์ ติสระ วิไลลักษณ์ ริมวังตระกูล และวสันต์ เพชรรัตน์. 2542. ความ หลากหลายทางชีวภาพของเห็ดในป่าบาลา จังหวัดนราธิวาส. รายงานผลการวิจัยด้านความ หลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT.

อวยพร แสงเทียน. ม.ป.ป. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. ส่วนอุทยานแห่งชาติ ส านักอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.

อัฐสัณห์ นครศรี. 2528. ความสัมพันธ์ระหว่างพรรณไม้กับสภาพแวดล้อม บริเวณป่าดิบเขาดอยสุ เทพ-ปุย เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุทิศ กุฏอินทร์. 2542. นิเวศวิทยาพื้นฐานเพื่อการป่าไม้. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้, คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

______, สมคิด พัฒนาดิลก อุทัยวรรณ แสงวณิช นริศ ภูมิภาคพันธุ์ เดชา วิวัฒน์วิทยา วิชาญ เอียดทอง ดอกรัก มารอด สราวุธ สังข์แก้ว และสุธีร์ ดวงใจ. 2544. รายงานการวิจัยฉบับ สมบูรณ์เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพป่าในเขตร้อนและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง. ส านักงานสภาวิจัยแห่งขาติ กรุงเทพฯ.

โอฬาร ฤกษรุจิพิมล. 2551. ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวันในสวนรุกขชาติเขาพุทธทอง. สวนฟนฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษส านักบริหารพื้นที่อนุรักษที่ 4 กรมอุทยานแหงชาติสัตวปา

Barbour M. G., J. H. Burk, and W. D. Pitts. 1987. Terrestrial Plant Ecology. The Benjamin Cummings Pub. Comp. Inc., California.

Bhuttarai, K. R. and O. R. Vetaas. 2003. Variation in plant species richness of different lifeforms along a subtropical elevation gradient in the Himalayas, east Nepal. Global Ecology and Biogeography 12:327-340

Bunyavejchewin, S.,P.J.Baker, J.V.LaFrankie and P.S.Ashton. 2001. Stand Structure of seasonal dry evergreen forest at Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctury, Weatern Thailand. Natural History Bulletin of the Siam Society 49:89-106

Colinvaux, P. 1986. Ecology. John Wiley and Sons, New York.

7-7

Cook, M.J.W., H.C.J. Godfray, and J.D. Holloway, (eds.). Slug and Nettle Caterpillars: The Biology, Taxonomy and Control of the Limacodidae of Economic Importance on Palms in South – east Asia. Common wealth Agricultural Bureaux International, Wallingford, U.K.

Curtis, J. T. 1959. The Vegetation of Wisconsin: An ordination of plant communities. Univ of Wisconsin Press, Madison

Daubenmire, R. F. 1974. Plants and Environments: A textbook of plant autecology. John Wiley and Sons, New York

Gates, D. M. 1972. Man and his environment: Climate. Harper & Row, Pub., New York

Grau, O., J. A. Grytnes and H. J. B. Birks. 2007. A comparison of altitudinal species richness patterns of bryophytes with other plant groups in Nepal, Central Himalaya. Journal of Biogeography 34: 1907-1915.

Kimmins, J. P. 1987. Forest Ecology. Macmillan Publ. Comp., New York.

Kutintara, U. 1975. Structure of the dry Dipterocarp Forest. Ph.D. Thesis, Colo. State Univ. Fort Collins, Colo

Marod, D., L. A-sanok, p. Duengkae and A. Pattanavibool. 2012. Vegetation structure and floristic composition along the edge of montane forest and agricultural land in Um Phang Wildlife Sanctuary, Western Thailand. Kasetsart Journal (Natual Science) 46: 162-180.

McCune, B. and M. J. Mefford. 2006. PC-ORD. Multivariate Analysis of Ecological Data: Version 5. MjM Software, Gleneden Beach, Oregon, U.S.A.

Magurran. 2004. Ecological Diversity and Its Measurement. Princeton University Press, New York.

7-8

Morod D., U. Kutintara, H. Tanaka and T. Nakashizuka. 2002. The effect of drouht and fire on seed and seeding dynamics in a tropical seasonal forest in Thailand. Plant Ecol. 161:41-57.

Mueller-Dombois, D., and H. Ellenberg. 1974. Aims and Methods of Vegetation Ecology. John Wiley Sons, New York.

Rahbek, C. 2005. The role of spatial scale and the perception of large-scale species-richness patterns. Ecology Letters 8: 224-239

Shannon, C. E., and W. Weaver. 1949. Themathematical Theory of Communication. Urbana, Univ.of I11. Press

Sorrensen, T. 1948. A method of establishing groups of equal amplitude in plant society based on similarity of species content. Det Kong. Danske Vidensk. Selsk. Bil. Skr. 5(4):1-34.

Smith, R. L. 1966. Ecology and Field biology. Harper & Row Pub., New York.

Williams, L. 1965. Vegetation of Southeast Asia: A Studies of Forest Type. Dept. of Agricultural Research Service, Washington D.C.

8-1

ภาคผนวก

8-2

พิกัดจุดวางแปลงการสารวจ พรรณไม้ ผีเสื้อ ด้วง และเห็ดรา

แปลงส ารวจที่ E N Zone ระดับความสูง 1,200 เมตร (แปลง 1) 759993 1590302 47N ระดับความสูง 1,250 เมตร (แปลง 2) 760405 1590756 47N ระดับความสูง 1,300 เมตร (แปลง 3) 760815 1591102 47N ระดับความสูง 1,350 เมตร (แปลง 4) 761072 1591425 47N

หมายเหตุ : UTM Datum WGS 1984

8-3

ประมวลภาพการส ารวจความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังวัดนครราชสีมา ส ารวจความหลากหลายของพรรณไม้

8-4

ประมวลภาพการส ารวจความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ส ารวจความหลากหลายผีเสื้อและด้วง

8-5

ประมวลภาพการส ารวจความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ส ารวจความหลากหลายเห็ด

8-6

ประมวลภาพการส ารวจความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

8-7

บัญชีรายชื่อพรรณไม้ที่ส ารวจพบในป่าดิบเขาระดับต่ า บริเวณเขาร่ม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ล าดับ ชื่อพื้นเมือง ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ วิสัย 1 Dysoxylum cauliflorum Dysoxylum cauliflorum Meliaceae T 2 Lindera sp. Lindera caudata Lauraceae ST 3 Phyllanthus sp. Phyllanthus sp. Phyllanthaceae S 4 กระจับนก Euonymus cochinchinensis Celastraceae ST 5 กล้วยฤาษี Diospyros glandulosa Ebenaceae ST 6 ก่อด า Lithocarpus truncatus Fagaceae T 7 ก่อเดือย Castanopsis acuminatissima Fagaceae T 8 ก่อยูคา Lithocarpus eucalyptifolia Fagaceae T 9 ก่อหมวก Quercus oidocarpa Fagaceae T 10 กะอวม Acronychia pedunculata Rutaceae S/ST 11 ก้างปลา Ardisia helferiana Primulaceae S 12 กาลังกาสาตัวผู้ Ardisia nervosa Primulaceae T 13 ก าลังหนุมาน Dracaena conferta Asparagaceae S/ST 14 เก็ดส้าน Olea brachiata Oleaceae S/ST 15 แกงเลียงใบเล็ก Aidia parvifolia Rubiaceae T 16 แกนมอ Rhus succedanea Anacardiaceae T 17 ขางขาว Ficus capillipes Moraceae T 18 ขี้ใต้ Syzygium lineatum Myrtaceae S/ST 19 ขี้หนอนควาย Gironniera nervosa Cannabaceae T 20 เขากวาง Homalium dasyanthum Salicaceae T 21 แข้งกวางดง Wendlandia paniculata Rubiaceae ST 22 ครืน Aporosa frutescens Phyllanthaceae S/T 23 คัดเค้า Oxyceros sp. Rubiaceae T 24 คันแหลน Psydrax nitida Rubiaceae T 25 ค่างเต้นเขา Canthium cochinchinense Rubiaceae T 26 ไคร้มดขน Glochidion eriocarpum Euphorbiaceae ST 27 ไคร้มันปลา Glochidion sphaerogynum Euphorbiaceae T 28 เงาะป่า Nephelium melliferum Sapindaceae T 29 ดีงู Elaeocarpus petiolatus Elaeocarpaceae T

8-8

บัญชีรายชื่อพรรณไม้ (ต่อ)

ล าดับ ชื่อพื้นเมือง ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ วิสัย 30 แดงหิน Syzygium helferi Myrtaceae ST 31 ตองลาดใบยาว Actinodaphne henryi Lauraceae T 32 ตังหนใบเล็ก Calophyllum calaba Calophyllaceae T 33 ตานหกขน Litsea verticillata Lauraceae T 34 ตาปลา Ardisia sp. Primulaceae S 35 ตาลหกขน Litsea verticillata Lauraceae T 36 ต าเสา Ternstroemia wallichiana Theaceae T 37 เต้าปูนนก Quercus myrsinifolia Fagaceae T 38 ทะโล้ Schima wallichii Theaceae T 39 นกนอน Cleistanthus helferi Phyllanthaceae ST 40 นิ้วมือพระนารายณ์ Schefflera elliptica Arariaceae ES 41 นีเลง Gomphandra quadrifida Temonuraceae S 42 นูดต้น Prunus arborea Rosaceae T 43 เน่าใน Ilex umbellulata Aquifoliaceae T 44 ใบบางดอกกลม Glycosmis Craibii Rutaceae S 45 ประค าดีควาย Sapindus rarak Sapindaceae T 46 ปอผ่าสาม Sterculia lanceolata Malvaceae S 47 ปัด Lasianthus sp. Rubiaceae S 48 เปล้า Croton kerrii Euphorbiaceae S/T 49 เปล้าเงิน Croton argyratus Euphorbiaceae S/ST 50 ผนังช้าง Heynea trijuca Meliaceae T 51 ผักหวานช้างโขลง Phyllanthus acutissimud Phyllanthaceae S 52 ฝิ่นต้น Chionanthus microstigma Oleaceae T 53 พญามะขามป้อม Dacrycarpus imbricatus Podocarpaceae T 54 พญาไม้ Podocarpus neriifolius Podocarpaceae T 55 พลองง่าม Memecylon minutiflorum Melastomataceae T 56 พลูสลักใบดก Epiprinus siletianus Euphorbiaceae S/ST 57 พะบ้าง Mischocarpus pentapetalus Sapindaceae T 58 พะอง Calophyllum polyanthum Calophyllaceae T 59 เพลี้ยกระทิง Euodia roxburghiana Rutaceae ST

8-9

บัญชีรายชื่อพรรณไม้ (ต่อ)

ล าดับ ชื่อพื้นเมือง ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ วิสัย 60 มวกกอ Olea salicifolia Oleaceae S/ST 61 มะจ้ าก้อง Ardisia colorata Primulaceae S/ST 62 มะม่วงป่า Mangifera caloneura Anacardiaceae T 63 มะมุ่น Elaeocarpus lanceifolius Elaeocarpaceae T 64 มะเม่าสาย Antidesma sootepense Phyllanthaceae S/ST 65 เมี่ยงอีอาม Camellia oleifera Theaceae S/ST 66 เมียดต้น Litsea martabanica Lauraceae ST 67 แมงเม่านก Eurya nitida Pentaphylacaceae S/ST 68 ยมต่อม Dysoxylum sp. Meliaceae T 69 สตีต้น Sloanea sigun Elaeocarpaceae T 70 สนกระ Prismatomeris tetrandra Rubiaceae S 71 สามพันปี Dacrydium elatum Podocarpaceae T 72 สารภีดอย Anneslea fragrans Pentaphylacaceae T 73 สุรามะริด Cinnamomum subavenium Lauraceae ST 74 เสม็ดแดง Syzygium antisepticum Myrtaceae T 75 หมักฟักก้านใส Mastixia pentandra Cornaceae T 76 หมักฟักดง Apodytes dimidiata Icacinaceae ST 77 หมีอิน Beilschmiedia inconspicua Lauraceae ST/T 78 หว้าเขา Syzygium toddalioides Myrtaceae T 79 หว้าใบหอม Cleistocalyx nervosum Myrtaceae T 80 หว้าป่าสน Syzygium mekongense Myrtaceae T 81 หว้าหิน Syzygium claviflorum Myrtaceae T 82 เหมือดคนด า Symplocos longifolia Symplocaceae ST 83 เหมือดคนตัวผู้ Helicia nilagirica Proteaceae ST 84 เหมือดคนตัวแม่ Helicia excelsa Proteaceae T 85 เหมือดจี้ดง Memecylon plebejum Melastomataceae ST 86 เหมือดปลาซิว Symplocos sumuntia Symplocaceae S/ST 87 เหมือดสันนูน Symplocos lucida Symplocaceae ST 88 เหมือดหลวง Symplocos cochinchinensis Symplocaceae S/ST 89 แหลช่อ Persea declinata Lauraceae T

8-10

บัญชีรายชื่อพรรณไม้ (ต่อ)

ล าดับ ชื่อพื้นเมือง ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ วิสัย 90 อบเชย Cinnamomum bejolghota Lauraceae T 91 อูนป่า Viburnum sambucinum Adoxaceae S 92 เอนอ้า Osbeckia stellata Melastomataceae S 93 เอียนเร Neolitsea sp. Lauraceae S 94 ฮ้อยจั่น Engelhardtia serrata Juglandaceae T

9-1

คณะผู้จัดท ำ

ที่ปรึกษำ นายธนโรจน์ โพธิสาโร ผู้อ านวยการส านักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑ (ปราจีนบุรี)

คณะผู้ด ำเนินกำรศึกษำ นางอนุชยา ช านาญคิด หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ นางสาวพรจันทร์ บุษบา นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ นางสาวนุชนาฏ แสงอ่อน นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ นางสาวหทัยกาญจน์ ศุภพรโอฬาร นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ นายไกรสิทธ์ พาณิชย์สวย นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ นายสุขสวัสดิ์ สูงนารถ นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ นายภูธเรศ กาบค า พนักงานจ้างเหมา นายสุทธิพงษ์ ก าธร พนักงานจ้างเหมา นายพลกฤษณ์ ผิวคล้ า พนักงานจ้างเหมา นางสาวนิลวรรณ วิวิธชัยกูล พนักงานจ้างเหมา นายกฤษขจร แตงอ่อน พนักงานจ้างเหมา นางสาววิจิตรา สุขส่ง พนักงานจ้างเหมา นายอนิรุต พลฤทธิ์ พนักงานจ้างเหมา นายสัมฤทธิ์ ท าทอง พนักงานจ้างเหมา

กลุ่มงำนวิชำกำร ส ำนักบริหำรพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปรำจีนบุรี)