ICT Silpakorn Journal : Vol. 2 No. 1, January - June 2015 149

รายการการแข่งขันร้องเพลง: ประเภทย่อยของรายการเรียลลิตี้โชว์ Singing Contest TV Programs: Sub Genres of Reality Programming

ทัพพ์เทพ ภาปราชญ์ อาจารย์ประจำ�คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

หากสังเกตรายการในโทรทัศน์ ณ ปัจจุบัน จะพบว่ามีรายการประกวดร้องเพลงมากกว่า 10 รายการ โดยนับจากเวทีประกวด เช่น รายการเคพีเอ็นอวอร์ด (KPN Awards) จัดโดย กลุ่มสยามกลการ รายการทรู อคาเดมี แฟนเทเชีย (True Academy Fantasia) รายการ เดอะ สตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว (The Star ค้นฟ้าคว้าดาว) โดยบริษัทเอ็กแซกท์ รายการกิ๊กดู๋ สงครามเพลง โดยบริษัทเจเอสแอล รายการมาสเตอร์คีย์เวทีแจ้งเกิด ของทีวีธันเดอร์ รายการ ตีสิบ ในช่วงดันดารา รวมถึงการประกวดนักร้องลูกทุ่งในรายการชุมทางเสียงทอง ชิงช้า สวรรค์ และลูกทุ่งเงินล้าน รายการที่เรียกได้ว่าประสบความส�ำเร็จที่สุดคงหนีไม่พ้นรายการเดอะ วอยซ์ () เสียงจริง ตัวจริง ซึ่งเป็นรายการแข่งขันร้องเพลงที่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก แต่ ในซีซั่นที่ 3 นี้ เกิดการตั้งค�ำถามถึงผลของการแข่งขันในหลายช่วงรายการขณะที่ออกอากาศ ซึ่งเห็นได้จากสื่อออนไลน์ที่โจมตีโค้ชและผู้ผลิตรายการว่า ผู้ผ่านเข้ารอบและการคัดคน ออกในแต่ละรอบ ไม่เหมาะสมหรือไม่ตรงใจของผู้ชม ฉะนั้นในบทความนี้จึงจะน�ำเสนอถึง จุดเริ่มต้นของรายการประเภทนี้มีความเป็นมาอย่างไร การก้าวเข้ามาของรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์ที่น�ำเข้าจากต่างประเทศ (TV Format Franchise) ได้สร้างความพึงพอใจให้คนไทยที่ชอบดูอะไรที่เติมเต็มให้ชีวิตมีความสุข รายการประเภทนี้น�ำเสนอว่าหน้าตาและรูปลักษณ์ไม่ใช่ปัจจัยแห่งความส�ำเร็จอีกต่อไป คน ธรรมดาทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการแข่งขัน ขอให้มีความสามารถจริง ๆ เช่น รายการ ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ (Thailand Got Talent) รายการไทยแลนด์เน็กซ์ท็อปโมเดล (Thailand Next Top Model) เป็นต้น ปีที่ผ่านมามีรายการที่น�ำเข้าจากต่างประเทศในรูปแบบการแข่งขันร้องเพลงอยู่ 2 รายการคือ รายการเดอะ วอยซ์ เสียงจริง ตัวจริง ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี สีช่อง 3 และ รายการร้องสู้ไฟ Keep Your Light Shining ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 7 150

The Voice Thailand ผลิตโดย ทรูมิวสิค เป็นรายการที่มีต้นแบบจาก ประเทศเน เธอแลนด์ โดยผู้สร้างสรรค์รายการคือ John de Mol ผู้คิดค้นรายการ Big Brother โดย มีแนวคิดว่า “ใคร ๆ ก็เข้ารอบรายการได้ ไม่มีคนสวยคนหล่อ มีแต่คนที่เสียงดีเท่านั้น” โค้ช 4 คนที่ถนัดกันคนละแนวเพลง จะเลือกลูกทีมของตัวเองและช่วยชี้แนะให้ลูกทีมของ ตนให้ได้เป็นผู้ชนะ ซึ่งจะแบ่งเป็นหลายรอบการแสดงโดยเริ่มตั้งแต่รอบ The Blind Au- dition ที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องร้องเพลงเพื่อให้โค้ชทั้ง 4 คนฟังโดยจะยังมองไม่เห็นผู้เข้า แข่งขันได้ยินเพียงแต่เสียงเท่านั้นเมื่อโค้ชต้องการนักร้องจะกดปุ่มสีแดงและจะมีค�ำว่า "I WANT YOU" และเก้าอี้จะหมุนหันมาให้เห็นหน้ากันเมื่อจบเพลงถ้ามีโค้ชกดคนเดียวผู้เข้า แข่งขันจะเข้าไปอยู่ในทีมนั้นๆโดยทันทีแต่ถ้ามีโค้ชกดปุ่มสีแดง หรือ "I WANT YOU" มากกว่า 1 คนผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกเองว่าจะอยู่ทีมใดที่กดเลือกมา โดยสรุปโค้ชแต่ละ ทีมจะมีสมาชิก 12 คนเพื่อผ่านเข้าสู่การแข่งรอบต่อไป รอบ The Battle สมาชิกในทีมของโค้ชแต่ละคนจะถูกจับคู่ให้มาร้องด้วยกันในเพลงเดียวกันที่จะแบ่งท่อน กันร้อง โค้ชจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกสมาชิกคนใดให้เข้ารอบถัดไปซึ่งในรอบนี้โค้ชคน อื่นสามารถแย่งชิงลูกทีมคนที่ตกรอบจากการ Battle นั้น ๆ (Steal) มาเข้าทีมตัวเองได้ 2 คนท�ำให้สุดท้ายจะเหลือสมาชิกในแต่ละทีม 8 คน รอบ The Knockouts ในรอบนี้โค้ช จะท�ำการจับลูกทีมกันเองเหมือนรอบ Battle แต่ต่างกันตรงที่จะร้องคนละเพลงแล้วตัดสิน ไปเลยว่าให้ใครผ่านเข้ารอบถัดไป และสุดท้ายคือรอบ Live Show ซึ่งส�ำหรับซีซั่น 3 โค้ช จะมีสิทธิ์ในการตัดสินใจ 50% และอีก 50%จะใช้ผลโหวตตัดสินในรอบย่อย Play off Live show จนรอบย่อย Final Live เพื่อหาผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียว

รายการร้องสู้ไฟ Keep Your Light Shining ผลิตโดยบริษัทเจ เอส แอล โกลบอลมีเดีย จ�ำกัด ร่วมกับบริษัท คอนเทนท์ แล็บ จ�ำกัด ซื้อ ลิขสิทธิ์จาก Global Agency ประเทศตุรกี ซึ่งเป็นตัวแทนการจัดจ�ำหน่ายรายการจากต่าง ประเทศ รายการร้องสู้ไฟ เป็นรายการแข่งขันร้องเพลงแนวใหม่ เพิ่งเป็นซีซั่นแรกในประเทศไทย และยังไม่สามารถสร้างความนิยมได้มากนัก แต่ก็มีกระแสเช่นเดียวกันว่า เป็นการแข่งขันร้อง เพลงที่เสียงของผู้เข้าแข่งขันไม่ได้มาตรฐาน และสู้ The Voice ไม่ได้ ทั้งนี้รายการนี้มีแนวคิด ว่า “รายการที่เฟ้นหานักร้องที่ไม่ใช่แค่ร้องดี หรือเสียงดี แต่ต้องครบเครื่องที่สุด คือมีความเป็น เอนเตอร์เทนเนอร์ในตัว” โดยเริ่มจากการคัดเลือกรอบออดิชัน (Audition) จนกระทั่งได้ผู้เข้า แข่งขันในรายการทั้งหมด 84 คนแบ่งผู้เข้าแข่งขันสัปดาห์ละ 7 คนทั้งหมด 12 สัปดาห์ ในแต่ละ สัปดาห์ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 7 คนจะต้องร้องเพลงเดียวกันโดยแต่ละคนจะได้ร้องเพลงคนละ 1 ท่อน ICT Silpakorn Journal : Vol. 2 No. 1, January - June 2015 151

(20-30 วินาที) เท่านั้นเมื่อไฟไปตกที่ใครคนนั้นจะต้องเป็นคนร้องเพลงอย่างเต็มความ สามารถ ขณะที่ผู้เข้าแข่งขันก�ำลังปะทะกันอยู่นั้นผู้ชมทั้ง 300 คนในห้องส่งจะเป็นผู้โหวต ให้คะแนนแต่ละคนเมื่อเพลงจบลงไฟสีแดงสามดวงจะส่องไปยังผู้มีคะแนนต�่ำที่สุดสาม อันดับกรรมการมีสิทธิ์คัดเลือกผู้เข้าแข่งขันไว้ 2 คนส่วนคนที่ไม่ถูกคัดเลือกจะตกรอบไป และเมื่อผู้เข้าแข่งขันเหลือเพียง 4 คนจะมีไฟแดงเหลือเพียง 2 ดวงและกรรมการสามารถ คัดเลือกผู้เข้าแข่งขันไว้ได้เพียงคนเดียวเท่านั้นเมื่อเหลือ 2 คนสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้อง Battle กันโดยมีผู้ชมในห้องส่งเป็นผู้ตัดสินและเฟ้นหาผู้ชนะประจ�ำสัปดาห์เพื่อเข้าสู่รอบ ชิงชนะเลิศต่อไป รอบชิงชนะเลิศผู้ชนะประจ�ำสัปดาห์ทั้ง 12 คนและผู้แข่งขันอีก 1 คนที่ตกรอบไปและ มีคะแนนโหวตให้กลับมาสูงที่สุดผ่านการโหวตทางเว็บไซต์จะเข้ามาแข่งขันในรอบชิงชนะ เลิศเพื่อหาผู้ชนะสูงสุด จากกฎกติกาการแข่งขันของทั้งสองรายการ จะเห็นได้ว่า จุดเริ่ม ต้นจริง ๆ แล้ว ถูกคิดขึ้นเพื่อเป็นรายการเรียลลิตี้ที่ใช้การแข่งขันร้องเพลง มาเป็นตัวเล่า เรื่องซึ่งวิวัฒนาการของรายการประเภทนี้ ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่รายการ America’s Got Talent รายการ X Factor รายการ American Idol รายการ The Sing Off และตาม มาด้วยรายการ The Voice ซึ่งรายการแข่งขันร้องเพลงใหม่ล่าสุดในอเมริกาคือ Rising Star เพียงแต่โจทย์และกติกาหรือภารกิจมีการปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างความแตกต่างในเชิง ของการผลิตรายการ

รายการประเภทเรียลิตี้ทีวี Kilborn (1994) ให้ค�ำอธิบายรายการเรียลิตี้ทีวี (Reality TV) ไว้ว่าเป็นรายการลูกผสม ระหว่างรูปแบบรายการที่มีผู้ด�ำเนินรายการ (Presenter Talk) การถ่ายท�ำแบบติดตามดู พฤติกรรมของคนในรายการเพื่อให้เผยความจริงออกมาเองโดยไม่ต้องมีการก�ำกับหรือชี้น�ำ (Cinéma vérité) การสร้างภาพแทนเรื่องจริง (Reconstruction) และการมีส่วนร่วมของ คนดู (Audience participation) รายการประเภทเรียลลิตี้ได้มีพัฒนาการมาหลากหลายรูปแบบ ดังตารางที่ 1 152

ตารางที่ 1 รูปแบบรายการเรียลิตี้ทีวีประเภทต่างๆ

รูปแบบรายการเรียลิตี้ทีวี ลักษณะ/จุดเด่น ตัวอย่างรายการ

การซ่อนกล้อง 1. Hidden Camera หรือการแอบถ่าย

รายการ Punk'd

การพยายามเปลี่ยนแปลงให้ 2. Self-Improvement บางอย่างดีขึ้น เช่น แต่งบ้าน หรือ Make over หรือท�ำให้ตัวตนของผู้ร่วม รายการดูดีขึ้น

รายการ Extreme Makeover: Home Edition

ก�ำหนดเงื่อนไขบางอย่างแล้ว 3. Social Experiment ถ่ายท�ำตามติดชีวิต เช่น ให้ หรือ Lifestyle series ทดลองการใช้ชีวิตในสังคม อีกรูปแบบ แล้วดูว่าแต่ละคน จะเป็นอย่างไร

รายการ Big Brother

เป็นการจ�ำลองเหตุการณ์ให้ 4. Documentary-style คล้ายละคร เล่าเรื่องเหมือน สารคดี

รายการ the Real Housewives ICT Silpakorn Journal : Vol. 2 No. 1, January - June 2015 153

ตารางที่ 1 (ต่อ)

รูปแบบรายการเรียลิตี้ทีวี ลักษณะ/จุดเด่น ตัวอย่างรายการ

5. Competition ผสมผสานการแข่งขันแบบ /Game shows เกมส์โชว์เข้าไปด้วย

รายการ American Idol

คือ การเอาผู้ร่วมรายการ 6. Supernatural ไปอยู่ในสถานการณ์ที่ผิด and Paranormal ปกติไม่ธรรมดา

รายการ Fear Factor

ปัจจุบันเรียลลิตี้ เป็นได้ทั้งการแข่งขันร้องเพลง สารคดี หรือสามารถน�ำเสนอเรื่องราวอะไร ก็ได้ ซึ่งเรียกกันว่า Hybrid Program คือเป็นรายการที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบรายการที่ หลากหลายเพื่อสร้างความแตกต่างจากความบันเทิงในรูปแบบเดิมๆ แต่แก่นส�ำคัญ ก็คือ ต้องการความสดใหม่ ความเป็นเนื้อแท้ และความแท้จริง ซึ่งจะเกิดผลลัพธ์ทางความรู้สึกกับ ผู้ชมได้ง่ายกว่า ถ้าใช้ผู้ร่วมรายการที่เป็นบุคคลทั่วไปไม่ใช่ดาราหรือนักแสดง การผลิตรายการเรียลลิตี้จะเริ่มจากการหาแก่นของไอเดียแล้วโปรดิวเซอร์กับครีเอทีฟ จะช่วยกันตรวจสอบว่าประเภทย่อย (Sub Genre) ของเรียลลีตี้นี้ควรจะเป็นรูปแบบไหน ส�ำหรับแก่นไอเดียของ The Voice คือรายการที่ค้นหาเสียงจริงตัวจริงไม่ใช่หน้าตา และ รายการร้องสู้ไฟ Keep Your Light Shining คือรายการที่ค้นหานักร้องที่ไม่ใช่แค่ร้องดี ที่สุด หรือเสียงดีที่สุดแต่ต้องครบเครื่องที่สุด นั่นคือมีคุณสมบัติการเป็น Entertainer Sub Genre หรือรูปแบบที่เลือกใช้มาผสมกับความเป็นเรียลลิตี้ คือ Competition / Elimina- tion การแข่งขันแบบแพ้คัดออก แต่รายการร้องสู้ไฟ Keep Your Light Shining จะมี ลูกผสมความเป็นเกมโชว์เข้าไปด้วย 154

โดยปกติ รายการเรียลลิตี้จะไม่มีการท�ำสคริปท์ แต่จะมีการท�ำเป็น Shooting Script คือการเตรียมงานที่เน้นวางแผนเพื่อการถ่ายท�ำ และหัวใจของการถ่ายท�ำ ก็คือ การถ่าย ความเป็นมนุษย์ (Shooting people) ซึ่งต้องเป็นปุถุชนธรรมดา (Ordinary people) เพื่อให้ได้มาซึ่งความสมจริงที่สุด โดยกลุ่มคนธรรมดาเหล่านี้ จะถูกจับใส่เข้าไปใน สถานการณ์ ภารกิจ หรือกติกาต่าง ๆ ซึ่งก็คืออุปสรรคให้ต้องฟันฝ่าตามที่รายการก�ำหนด และควบคุมเอาไว้ โปรดิวเซอร์และครีเอทีฟรายการจะออกแบบการวางต�ำแหน่งของกล้อง และการเล่าเรื่องด้วยภาพ รวมไปถึงการจดบันทึกในระหว่างการถ่ายท�ำว่าในแต่ละตอน ต้องใช้เสียงผู้บรรยายช่วงไหนเพื่อมาเชื่อมต่อให้เกิดความราบรื่น ทั้งคู่จะท�ำหน้าที่เป็นนัก เล่าเรื่องและจัดวางจังหวะว่าจะเกิดอะไร โดยมุ่งเน้นให้เกิดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความ รู้สึกกระทบใจผู้ชม (Dramatic situation) ให้มากที่สุด ผู้ชมจะต้องคอยลุ้นว่าผู้เข้าแข่งขัน จะรับมือกับโจทย์ของการแข่งขันอย่างไร รวมไปถึงความขัดแย้งในตัวของโค้ชหรือกรรมการ เองที่จะต้องเลือกว่าจะเก็บใครเอาไว้ให้ไปต่อ ทั้งสองรายการจะให้ผู้ชมท�ำความรู้จักปูมหลัง ความฝันหรือความต้องการในชีวิตของผู้เข้าแข่งขันและเปิดโจทย์ภารกิจ ซึ่งก็คือกติกาการ แข่งขันในแต่ละรอบซึ่งจุดสูงสุดของสถานการณ์ ก็คือการได้ผ่านเข้ารอบ และมีสิทธิ์ได้ร้อง เพลงต่อไปจนเป็นผู้ชนะพร้อมรางวัลก้อนใหญ่ กติกาคือโครงสร้างที่เรียลลิตี้ควบคุมไว้ และให้คนดูรอชมไปพร้อมๆ กันว่าจะเกิดอะไร ขึ้นกับผู้เข้าแข่ง ส่วนปัจจัยที่ไม่ได้ควบคุมไว้ท�ำได้เพียงแค่กะเกณฑ์ว่าน่าจะได้ผลลัพธ์ ประมาณไหน ก็คือความรู้สึกของผู้ชมขณะที่ก�ำลังรับชมรายการ (ดังภาพที่ 1)

Ordinary ปัจจัยที่ไม่ได้ควบคุม ความเป็นธรรมดา REALITY Constructed Situation สถานการณ์ที่ก�ำหนด/สร้างขึ้น ปัจจัยที่ควบคุมไว้ เวลา สถานที่

ภาพที่ 1 องค์ประกอบของรายการเรียลลิตี้ ที่มา: ดัดแปลงจาก Bignell, J., and Orlebar, J. (2005) ICT Silpakorn Journal : Vol. 2 No. 1, January - June 2015 155

The Voice มุ่งเน้นคุณภาพการร้องเป็นหลัก มีการเลือกเพลง เลือกคีย์ให้ตรงกับนัก ร้องแต่ละคน และลงทุนท�ำดนตรีให้ใหม่ในงบประมาณที่สูงมากเพื่อท�ำให้งานเพลงมี คุณภาพและขับพลังให้กับผู้ชมรู้สึกกับเสียงที่ดีที่สุดของแต่ละคนตามไอเดียของรายการ ปัจจัยที่รายการควบคุมได้ก็คือ ใช้กรรมการในการคัดคนออก ซึ่งเหมือนกับรายการร้องสู้ ไฟ Keep Your Light Shining ที่มีกรรมการเป็นคนคัดเลือกนักร้องให้ไปต่อได้ แต่รายการ นี้มุ่งเน้นให้ผู้ชมรู้สึกร่วมไปกับการเอาตัวให้รอดของผู้เข้าแข่งขันเพราะเพลงที่เลือกมา ทั้งหมดในการแข่งขันไม่มีการปรับคีย์ช่วยใครเหมือนThe Voice ผู้แข่งขันทุกคนต้องร้อง ให้ใกล้เคียงมาตรฐานเดิมของเพลงรวมทั้งมีสัญชาตญาณในการดัดแปลงคีย์เพื่อให้มีเสน่ห์ และได้ไปต่อ ดังนั้นตรงจุดนี้จึงมีความเป็นเกมโชว์มากกว่าเพราะกติกาไม่ได้ช่วยเหลือ ผู้เข้าแข่งขันคนไหนเป็นพิเศษ ถ้าการดูรายการประกวดแข่งขันร้องเพลงทางโทรทัศน์ และได้รู้ว่าจุดเริ่มต้นถูกคิดขึ้น ภายใต้ความเป็นเรียลลิตี้โชว์ที่ใช้การแข่งขันประกวดร้องเพลงมาเล่าเรื่องโดยมุ่งเน้นความ สมจริงจากบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ดาราหรือนักแสดง ซึ่งเป็นแก่นของรายการประเภทเรียลลิตี้ ที่ไม่ต้องการใช้ดารานักแสดงหรือคนสวยคนหล่อ เพราะผู้ชมส่วนใหญ่รับชมรายการ โทรทัศน์ ในลักษณะเพื่อตอบสนองความพึงพอใจและความต้องการหลายอย่างในชีวิตของ ปัจเจกชนที่ไม่มีหนทางจะบรรลุได้ในโลกแห่งความเป็นจริง ดังที่ กาญจนา แก้วเทพ (2536) กล่าวถึงมายาคติในการดูรายการโทรทัศน์ที่มีต่อโลกแห่งความเป็นจริงในระดับ ปัจเจกบุคคลไว้ว่า 1) ช่วยตอบสนองความต้องการหลายอย่างในชีวิตของปัจเจกชนที่ไม่มี หนทางจะบรรลุได้ในโลกแห่งความเป็นจริงให้สามารถทะลุเป้าหมายได้ในโลกแห่งความ ฝัน 2) แก้ไขความขัดแย้งที่ไม่อาจจะแก้ไขได้ในโลกแห่งความเป็นจริง ให้สามารถแก้ไขได้ ในโลกแห่งจินตนาการ และ 3) ช่วยท�ำให้ปัญหาบางอย่างในชีวิตของคนเราที่เกินขีด ความสามารถที่จะแก้ไขได้ผ่อนคลายไปโดยปริยาย เป็นความจริงที่ว่ารายการจะต้องยึดความสามารถของนักร้อง แต่สุดท้ายก็จะค�ำนึงถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากการเล่าเรื่องเป็นหลัก เพราะจะเห็นได้ว่าปัจจัยหลายอย่างที่ทางรายการได้ ควบคุมไว้สามารถช่วยนักร้องบางคนให้เข้ารอบต่อไปได้ เช่น การเลือกเพลง และการคัด เลือกของกรรมการ เป็นต้น ผู้ชมคนไทยอาจคุ้นชินกับการรับชมรายการโทรทัศน์ในลักษณะ ที่มุ่งแสวงหาความพึงพอใจผ่านรายการโทรทัศน์เพื่อเติมเต็มชีวิตจริงที่อาจไม่สวยงามอย่าง ที่ตัวเองคาดหวังดังเช่นเนื้อหาของรายการประเภทละครโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน ผู้ชมรู้สึกร่วมไปกับตัวละคร ผู้ชมรู้สึกกับผลการตัดสินที่ไม่ตรงใจกับความคาดหวัง จึงเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นมา ผลการแข่งขันอาจสร้างความพึงพอใจให้ผู้ชมกลุ่ม หนึ่งแต่ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้ผู้ชมที่ก�ำลังเอาใจช่วยนักร้องที่ 156

ตกรอบเพราะไม่โดนใจกับจินตนาการที่พวกเขาสร้างขึ้นมาในระหว่างการรับชมผู้ชมต้อง ยอมรับความจริงว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องตอบโจทย์การตลาดและตอบโจทย์เพื่อความ เป็นโชว์ที่ดีที่สุดที่ผู้ผลิตได้ก�ำหนดไว้แล้ว แต่ทั้งหมดนี้คือเสน่ห์ของการรับชมรายการ ประเภทเรียลลิตี้ที่ผู้ชมจะต้องรอรับการหักมุมที่จะเกิดขึ้นให้ได้ราวกับดูละครหรือดู ภาพยนตร์อยู่ตลอดเวลา การแข่งขันร้องเพลงจึงเป็นเนื้อหาของรายการที่ได้รับความนิยม มากที่สุดในปัจจุบันที่ถูกหยิบมาใช้ในการผลิตรายการ เอกสารอ้างอิง กาญจนา แก้วเทพ. (2536). มายาพินิจ : การเมืองทางเพศของละครโทรทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เจนเดอร์เพรส. สมสุข หินวิมาน, ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ, ภัทธีรา สารากรบริรักษ์, อารดา ครุจิต, กรรณิกา รุ่งเจิรญพงษ์ และ กุลนารี เสือโรจน์. (2554). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. สมสุข หินวิมาน. (2545). สื่อบันเทิง: อ�ำนาจแห่งความไร้สาระ. กรุงเทพฯ: ออล อเบ้าท์ พริ้นท์. องอาจ สิงห์ล�ำพอง. (2557). กระบวนการผลิตละครโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน). Lyman A.Baker. (2000). Critical Concept. Dramatic Situation. Kansas State University. Cristin Maher. (2012). Best Singing Competition Series on Television : Readers Poll Retrieved November 11, 2014. from http://popcrush.com/ best-singing-competition-series-television-readers-poll/ Vinson, J. (2004). Shooting people: Adventures in reality TV. Velvet Light Trap, (54), 80-82. Winifred, F. M. (2014). How Reality TV Works. Retrieved November 11, 2014. from http://electronics.howstuffworks.com/reality-tv4.htm Kilborn, R. (1994). How Real Can You Get? : Recent Developments in “Reality” Television. European Journal of Communication, 9: 421-39. Bignell, J., and Orlebar, J. (2005). The Television Handbook. ( 3 r d e d . ) , Oxen: Routledge.