สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

The Use of Archive in Humanities Research: Experience of a Modern Linguist

Chetana Nagavajara Dr.phil. (Comparative Literature), Emeritus Professor, Silpakron University E-mail: [email protected] 3

ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 ก.ค. - Abstract ก.ย. In an age in which the humanities at the 2558 international level are awakening from a state of theoretical fixation, the importance of having access to primary sources is becoming more apparent. The use of archival materials enables researchers to give concrete answers to research questions, which naturally lends credibility to their research findings. The author discusses the tripartite relationships among the following factors: 1) The accumulation and preservation of data in the form of archival materials; 2) The systematic management of these materials that should create public awareness of cultural heritage and at the same time respond to scholarly needs; and 3) The utilization by, and the role of, users, which is the ultimate goal of all การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

archival activities. The author offers analyses of case studies based on general as well as his own experiences, both in foreign and Thai contexts, in order to reaffirm the point that archival materials can give answers that are denied to other forms of data. In , systematic archival enterprises are only just beginning and need all kinds of support. Not only the humanities are experiencing an archival renaissance, but other fields of study, such as the visual arts, are becoming conscious of the potential of archival data in enhancing the understanding and appreciation of the arts. On the negative side, the neglect or destruction of archival materials can leave irreparable knowledge gaps, as may be witnessed 4 from the case of the history of modern Thai theatre.

Vol. 21 Keywords : archive, humanities, primary source, No. 3 research Jul. - Sep. 2015 การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ การใช้จดหมายเหตุ ในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์ : ประสบการณ์ของครูภาษาตะวันตก*

เจตนา นาควัชระ Dr.phil. (วรรณคดีเปรียบเทียบ), ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยศิลปากร E-mail : [email protected]

5

ปีที่ 21 บทคัดย่อ ฉบับที่ 3 ในยุคที่วงวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ในระดับ ก.ค. นานาชาติก�ำลังฟื้นตัวจากการหมกมุ่นอยู่กับเรื่องของ - ทฤษฎี ความส�ำคัญของการเข้าถึงแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ก.ย. ก็เห็นประจักษ์ชัดขึ้น การใช้จดหมายเหตุในการวิจัย 2558 ช่วยให้นักวิจัยสามารถตอบโจทย์การวิจัยได้อย่างเป็น รูปธรรม ซึ่งท�ำให้ผลการวิจัยน่าเชื่อถือ ผู้เขียนอภิปราย ความเชื่อมโยงของ“ไตรภาคี” ของงานจดหมายเหตุ อันได้แก่ 1) การสะสมและเก็บรักษาข้อมูลในรูปของ จดหมายเหตุ 2) การจัดการกับจดหมายเหตุอย่างเป็น ระบบเพื่อสร้างความสนใจในเรื่องของมรดกทาง วัฒนธรรมให้แก่มหาชนและสนองความต้องการทาง วิชาการ และ 3) การน�ำไปใช้และบทบาทของผู้ใช้ อันเป็นจุดหมายปลายทางของกิจทั้งหลายที่ว่าด้วย * เรียบเรียงจากบทบรรยายในหัวข้อเดียวกัน ในรายการเสวนา “เล่าสู่กันฟังเรื่องหนังสือ" ครั้งที่ 5 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องสมุด ชั้น 7 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

จดหมายเหตุ ทั้งนี้ผู้เขียนวิเคราะห์ตัวอย่างที่เป็น รูปธรรม ทั้งที่เป็นประสบการณ์ทั่วไปและประสบการณ์ ของตนเองทั้งในและต่างประเทศ เพื่อยืนยันว่า จดหมายเหตุให้ค�ำตอบที่ข้อมูลประเภทอื่นมิอาจจะให้ ได้ ส�ำหรับวงวิชาการไทยนั้นกิจการด้านจดหมายเหตุ เพิ่งจะเริ่มก่อตัวอย่างเป็นระบบและต้องการ การสนับสนุนในทุกๆ ด้าน ไม่ใช่แต่เฉพาะวงการ มนุษยศาสตร์เท่านั้นที่การใช้จดหมายเหตุก�ำลัง ตื่นตัว แต่วิทยาการสาขาอื่น เช่น ทัศนศิลป์ ก็ส�ำนึกใน ศักยภาพของจดหมายเหตุในการสร้างความเข้าใจ และ ความชื่นชมที่พึงมีต่องานศิลปะ ในด้านลบ การละเลย จดหมายเหตุหรือท�ำลายหลักฐานประเภทนี้ก่อให้เกิด 6 ช่องว่างทางความรู้ที่ไม่อาจจะหาสิ่งใดมาทดแทนได้ Vol. 21 ดังตัวอย่างของการศึกษาประวัติการละครเวทียุคใหม่ No. 3 ของไทย Jul. - ค�ำส�ำคัญ : การวิจัย, ข้อมูลปฐมภูมิ, จดหมายเหตุ, Sep. มนุษยศาสตร์ 2015 การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

อารัมภบท : โศกนาฏกรรมบนล�ำน�้ำเจ้าพระยา จากประสบการณ์ของนักวิจัยในโครงการวิจัย สกว.การวิจารณ์ ซึ่ง ด�ำเนินการมาตั้งแต่ปี 2542 มีช่องว่างแห่งความรู้ประเภทหนึ่งที่นักวิจัย ไม่สามารถเติมเต็มได้ เพราะขาดหลักฐาน นั่นคือ ข้อมูลอันส�ำคัญที่เกี่ยวกับ ละครเวทีของไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นที่ทราบกันว่าช่วง 10 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยุคที่ละครเวทีสมัยใหม่ของไทยพัฒนาขึ้น อย่างรวดเร็วและกอปรด้วยคุณค่าในทางศิลปะ แต่จนบัดนี้ละครศึกษา (theatre studies) ของไทยก็ยังไม่สามารถที่จะสร้างความต่อเนื่องของ ประวัติการละครขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ได้ ทั้งนี้เพราะหลักฐานเอกสารจากช่วง เวลาดังกล่าวขาดหายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทละครส�ำคัญๆ เกือบทั้งหมด มิได้รับการตีพิมพ์ ข้อมูลที่ว่าด้วยละครไทยในยุคดังกล่าวมีปรากฏแต่เพียง 7 ในรูปของความทรงจ�ำที่เล่าต่อกันมาในแบบของมุขปาฐะ และผู้เขียนเองก็ อาจจะมีบทบาทอยู่บ้างในด้านนี้ในการให้ข้อมูล เพราะได้ชมละครบางเรื่อง ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 ที่ยังฝังใจผู้เขียนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะได้รับประสบการณ์ในขั้นเริ่มต้น ก.ค. เมื่อยังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมต้น - เหตุการณ์ที่จะน�ำมาถ่ายทอดต่อไปนี้จัดได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมทาง ก.ย. วิชาการ หรืออาจกล่าวให้จ�ำเพาะเจาะจงลงไปก็คือ เป็นโศกนาฏกรรมของ 2558 ประวัติการละครไทย เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2528 ภาควิชานาฏย สังคีต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เชิญนักแสดงระดับแนว หน้าของไทยสองท่าน คือ ส. อาสนจินดา กับ สุพรรณ บูรณะพิมพ์ มาร่วม อภิปรายในหัวข้อที่ว่าด้วย “ละครเวทีของไทย” (ภาพ 1) และข้อมูลที่สุพรรณ บูรณะพิมพ์ ซึ่งเป็นนักแสดงเอกฝ่ายหญิงที่โด่งดังที่สุดในยุคทศวรรษ 2490 และต่อมาผันตัวไปเป็นผู้ก�ำกับการแสดงละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ ได้ ให้ไว้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนขออนุญาตเรียกว่าเป็นโศกนาฏกรรม เธอเล่าว่ายุค ทองของละครเวทีไทยเกิดขึ้นได้ในช่วงทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะไม่มีภาพยนตร์มาเป็นคู่แข่ง เนื่องจากภาพยนตร์จากฮอลลีวูดซบเซา ไปในช่วงดังกล่าวด้วย และภาพยนตร์ไทยก็ยังมิได้ก่อตัวขึ้นมาเป็นกระแส การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

บันเทิงที่มีผู้ชมจ�ำนวนมาก นักประพันธ์ นักแต่งเพลง นักแสดง และนัก ดนตรีที่มีฝีมือจึงรวมตัวกันเป็นคณะละครออกแสดงที่โรงละครหลัก 2 แห่ง คือ ศาลาเฉลิมนคร (ใกล้สี่แยกเอสเอบี) และศาลาเฉลิมไทย (ปัจจุบันคือลาน เจษฎาบดินทร์) และมีการจัดแสดงเป็นครั้งคราวที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง และโรงละครศรีอยุธยา (ใกล้สี่กั๊กพระยาศรี) ผู้คนให้ความสนับสนุนกันอย่าง ล้นหลาม ณ จุดนี้ ผู้เขียนใคร่ขอยืนยันด้วยประสบการณ์ส่วนตัวว่ามีละคร หลายเรื่องที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมเป็นอันมาก แต่ภายในเวลาไม่ ถึง 10 ปี ภาพยนตร์ฮอลลีวูดก็กลับมาตีตลาด และภาพยนตร์ไทยก็เริ่มตั้ง ตัวได้ ท�ำให้ละครเวทีถูกแย่งเวทีไป สุพรรณ บูรณะพิมพ์ เล่าว่าเมื่อคณะ ละครที่ส�ำคัญๆ เช่น ศิวารมณ์ และ ผกาวลี (ในบางครั้งใช้ชื่อว่า “ลีลาศาสตร์ 8 สุนทร”) ต้องเลิกกิจการไป เธอรู้สึกว่าเป็นความสูญเสียอย่างมหันต์ แม้ว่า ตัวเองจะมีความสามารถในด้านการแสดงและก�ำกับการแสดงที่จะประกอบ Vol. 21 สัมมาชีพต่อไป วันหนึ่งด้วยอารมณ์สิ้นหวัง เธอจึงรวบรวมบทละครที่มีอยู่ No. 3 ซึ่งเข้าใจว่าคงมีจ�ำนวนหลายสิบเรื่อง จากนั้นหาเรือพายได้ล�ำหนึ่ง ออกไป Jul. - ลอยล�ำกลางแม่น�้ำเจ้าพระยา แล้วก็มอบเอกสารดังกล่าวฝากกลับไปสู่ธาตุ Sep. ทั้งสี่ผ่านผืนน�้ำเจ้าพระยาแห่งนั้น สิ่งที่สูญสลายหายไปกับกระแสน�้ำอาจ 2015 เรียกเป็นภาษาวิชาการได้ว่าจดหมายเหตุอันล�้ำค่า การสูญเสียบทละคร ต้นแบบไปท�ำให้ละครไทยขาดช่วง ต่อไม่ติด แม้ละครโทรทัศน์ที่เกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2498 อาจจะยังมีเชื้อไฟของยุคทองแห่งละครเวทีหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ ไม่ช้าไม่นานแรงกดดันจากการเรียกคนดูโดยหยิบยื่นปฏิกูลทางศิลปะให้แก่ มหาชนก็เข้ามาครอบง�ำวงการละครโทรทัศน์ของไทย สืบต่อสายพันธุ์มา จนกระทั่งทุกวันนี้ ที่ผู้เขียนน�ำเรื่องนี้มาเล่าต่อสู่กันฟังก็เพื่อต้องการจะ ตอกย�้ำประเด็นที่ว่า จดหมายเหตุมีความส�ำคัญยิ่งต่อการสร้างสรรค์และต่อ การสร้างเสริมสติปัญญาของสังคม ถ้านักการละครรุ่นต่อมาได้มีโอกาส สัมผัสแม้แต่บทละครที่เป็นแค่หลักฐานลายลักษณ์ พวกเขาก็คงยังจะได้ ส�ำนึกว่าบทละครที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างไร และเป็นหน้าที่ของพวกเขาใช่หรือ ไม่ที่จะต้องแข่งขันในการสร้างคุณค่าทางศิลปะกับนักการละครรุ่นเก่าที่ได้ การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

วางมาตรฐานเอาไว้สูงมาก บทความนี้เป็นเรื่องของจดหมายเหตุ ผู้เขียนจึง ไม่สามารถน�ำเอาประสบการณ์ตรงของการได้ชมละครดังกล่าวมาวิเคราะห์ ไว้อย่างพิสดารได้ จึงเพียงแต่จะขอกล่าวเอาไว้ว่า การสูญเสียผลงานในรูป ของเอกสารต้นฉบับ ท�ำให้วงการละครไทยถดถอยไปอย่างน่าเสียดาย คุณค่าของจดหมายเหตุจึงมิใช่สิ่งที่เราจะกล่าวกันอย่างลอยๆ แต่เป็นสิ่งที่ พิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ ดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น

9

ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 ก.ค. - ภาพ 1 : การอภิปรายเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2528 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ก.ย. (ด้วยความเอื้อเฟื้อของภาควิชานาฏยสังคีต คณะอักษรศาสตร์ 2558 มหาวิทยาลัยศิลปากร) ไตรภาคีของงานจดหมายเหตุ ประเด็นที่ว่าด้วยหลักการในเรื่องที่เกี่ยวกับจดหมายเหตุนั้น เราอาจจะต้องน�ำองค์ประกอบสามประการ (ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น “ไตรภาคี”) มาพิจารณา นั่นคือ ประการแรก ตัวจดหมายเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอกสาร แต่ก็อาจมีรูปลักษณะอื่นได้ อาทิ ภาพวาด หรือในยุคที่เทคโนโลยีเจริญขึ้น ก็อาจรวมถึงแถบบันทึกเสียงหรือแถบบันทึกภาพได้ด้วย รวมเรียกเป็นศัพท์ วิชาการว่า ตัวจดหมายเหตุ หรือ วัสดุจดหมายเหตุหรือข้อมูลจดหมายเหตุ (ภาษาเยอรมันใช้ค�ำเพียงค�ำเดียว คือ Archivalien ในขณะที่ภาษาอังกฤษ ต้องใช้วิธีพรรณนาด้วยค�ำ 2 ค�ำ คือ archival materials) ส�ำหรับในยุค การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

ปัจจุบันนั้นจดหมายเหตุดิจิตัลมีความส�ำคัญเพิ่มขึ้นทุกที ประการที่สอง กระบวนการจัดการซึ่งมิใช่แต่เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมไว้เท่านั้น แต่จะ ต้องมีการจัดระบบที่แตกต่างจากระบบของห้องสมุดสามัญที่เรารู้จักกัน (ทั้งนี้เพราะภารกิจของหอจดหมายเหตุ [archive] มีลักษณะที่เป็นตัวของ ตัวเองอยู่มาก) ประการที่สาม การน�ำไปใช้และบทบาทของผู้ใช้ ซึ่งเป็น จุดหมายปลายทางของกิจที่ว่าด้วยจดหมายเหตุ และเป็นองค์ประกอบที่ ชี้วัดให้เห็นถึงผลกระทบอันจะน�ำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการได้ จะขอขยายความในส่วนที่เกี่ยวกับ “ภาคี” ที่ 1 ที่ว่าด้วย การเก็บและ สะสมข้อมูลจดหมายเหตุ เป็นไปได้ว่าในบางครั้ง นักจดหมายเหตุ (archivists) อาจจะยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าตัวจดหมายเหตุมีความส�ำคัญ 10 อย่างไรหรือไม่ เพราะบางครั้งอาจเป็นจดหมายเหตุที่เจ้าของมิได้เป็นผู้ที่มี ชื่อเสียง หรือเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง แต่อาจเป็นนักสะสมข้อมูลบางอย่าง Vol. 21 ที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ เช่น ภาพถ่ายรุ่น No. 3 เก่า หรือไปรษณียบัตรรุ่นก่อนที่มีภาพของบ้านเมืองในยุคก่อนๆ ในกรณีนี้ Jul. - นักจดหมายเหตุจะต้องท�ำงานด้วยหลักการที่ว่า “รับเอาไว้ดีกว่าไม่รับ” หรือ Sep. ในบางครั้งก็ต้องอาศัยสัญชาตญาณซึ่งยากที่จะอธิบายเป็นเหตุเป็นผลได้ 2015 แต่ถ้ามีวัสดุบางอย่างที่เป็นตัวบ่งชี้ว่า ถ้าแกะรอยตามไปจะพบสิ่งที่มีคุณค่า คือ ถ้าพบไปรษณียบัตรโบราณเพียงแค่ 1-2 แผ่นก็น่าจะเป็นตัวชี้ทางไปสู่ การแสวงหาสภาวะของสังคมต้นก�ำเนิดได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาทาง “วัฒนธรรม” ของกิจการจดหมายเหตุก็คือ ทายาทของผู้วายชนม์มีความ สนใจเป็นทุนเดิมหรือไม่ คือคิดว่าสิ่งที่ญาติผู้ใหญ่ทิ้งเอาไว้น่าจะเป็นสิ่งที่มี คุณค่าในทางประวัติศาสตร์หรือไม่ ส่วนที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งก็คือ ผู้หลัก ผู้ใหญ่เองอาจจะสั่งเสียเอาไว้ว่า ให้โยนทิ้งหรือเผาทิ้งให้หมด กรณีเช่นนี้มี ตัวอย่างระดับโลกมาแล้ว เช่น นักประพันธ์ชาวเชคซึ่งเขียนงานเป็นภาษา เยอรมัน คือ Franz Kafka (ค.ศ. 1883-1924) ซึ่งก่อนจะถึงแก่กรรมได้สั่ง เพื่อนของเขาให้ท�ำลายต้นฉบับฉบับต่างๆ ไปเสียเมื่อเขาจากโลกนี้ไปแล้ว บังเอิญเพื่อนของเขาคือ Max Brod (ค.ศ. 1884-1968) เป็นผู้ที่มีวิจารณญาณ การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

จึงฝืนค�ำสั่งผู้ตาย น�ำต้นฉบับเหล่านั้นมาตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งงานเหล่านั้นก็ได้ กลายเป็นวรรณกรรมที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก (ภาพ 2) ในกรณีของ อาจารย์ของผู้เขียนซึ่งเป็นนักวรรณคดีชั้นน�ำของเยอรมนีก็เช่นกัน ท่านสั่ง ภรรยาไว้ว่าให้ท�ำลายเอกสารทั้งหลายทั้งปวงของท่านเสียเมื่อท่านถึง แก่กรรม แต่ภรรยาเป็นนักวิชาการจึงฝืนค�ำสั่งท่าน และมอบจดหมายเหตุ ให้แก่หอจดหมายเหตุวรรณคดีเยอรมันที่เมืองมาร์บัค (Deutsches Literaturarchiv Marbach) ไป ผู้เขียนเองได้มีโอกาสสัมผัสกับข้อมูลเหล่า นั้น และสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ในงานวิชาการที่ผู้เขียนเขียนขึ้นในวาระ ครบ 100 ปีชาตกาลของท่าน (ท่านถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 87 ปี) คือบทความ ขนาดยาวที่มีชื่อว่า “Kurt Wais: A Centenary Appraisal” (2006)1 ซึ่งมิใช่ เป็นการวิเคราะห์ผลงานของศาสตราจารย์ท่านนี้แต่เพียงเท่านั้น หาก 11 เป็นการให้ภาพของ “ยุคทอง” ของอุดมศึกษาเยอรมันไปด้วย ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 ก.ค. - ก.ย. 2558

ภาพ 2 : ต้นฉบับตัวเขียนของ Franz Kafka เรื่อง “คดีความ” (The Process) ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุวรรณคดีเยอรมัน เมืองมาร์บัค ที่มา : http://images.nzz.ch/eos/v2/image/view/620/-/text/inset/ bcfe7c67/1.18199034/1386277183/kafka-original.jpg

1 ตีพิมพ์ในวารสาร Manusya: Journal of Humanities, (Special Issue No. 11, 2006), 1-34 และรวมเล่มไว้ใน Chetana Nagavajara, Bridging Cultural Divides, (Nakorn Pathom: Faculty of Arts, 2014), 333-402. การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

กรณีที่เรียกได้ว่าสุดขั้วคือ กรณีของหนึ่งในบรรดาคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ของโลกตะวันตก คือ Johannes Brahms (ค.ศ. 1833-1897) (ภาพ 3) เป็น ที่ทราบกันดีว่า ท่านเป็นคนที่มุ่งรักษามาตรฐานอย่างสุดๆ(perfectionist) ท่านจึงไม่ทิ้งต้นร่างของผลงานของท่านเอาไว้เลย เราจะรู้จักงานของท่าน ก็แต่ในรูปของโน้ตที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น (ล่าสุดเพิ่งจะมี ผู้ไปพบเศษเสี้ยวของส�ำเนาผลงานของท่านเพียงชิ้นหนึ่ง!) ในกรณีที่ว่านี้ การมองตนเองด้วยวิจารณญาณที่เข้มข้นเกินไป (self-critical) อาจมีผลทาง ลบต่อการศึกษาวิจัยได้ เพราะโดยปกติแล้ว นักวิชาการย่อมใส่ใจที่จะค้นคว้า ให้ได้มาซึ่งวิวัฒนาการของการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน และก็ไม่มีหลัก ฐานใดจะบ่งชี้ขั้นตอนของการสร้างสรรค์และวิวัฒนาการทางความคิดของ 12 ศิลปินได้ดีไปกว่าต้นร่างของงาน ยิ่งถ้าได้ติดตามร่างที่ 1-2-3 ฯลฯ ไปจนถึง ฉบับที่ตีพิมพ์แล้ว ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง มิใช่แต่เพียงประโยชน์ในทาง Vol. 21 วิชาการเท่านั้น แต่จะช่วยนักดนตรีที่น�ำงานของศิลปินไปแสดงโดยตีความ No. 3 ให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่ผู้แต่งต้องการมากที่สุดได้ด้วย Jul. - Sep. 2015

ภาพ 3 : คีตกวีเยอรมัน Johannes Brahms ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Johannes_Brahms การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

อันที่จริง จดหมายเหตุมีความส�ำคัญต่อศาสตร์และศิลป์หลายแขนง มิใช่เฉพาะศาสตร์และศิลป์ที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมลายลักษณ์เท่านั้น ผู้เขียน ใคร่ขอยกตัวอย่างของการใช้จดหมายเหตุกับงานของทัศนศิลปิน มณเฑียร บุญมา (พ.ศ. 2496-2543) ผู้มีผลงานอันได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ นิทรรศการซึ่งกลุ่มนักวิชาการด้านศิลปะ ชื่อ “Thai Art Archives” จัดขึ้นที่ มูลนิธิจิม ทอมป์สัน เมื่อ ค.ศ. 2013 เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจยิ่งที่ยืนยันได้ ว่า จดหมายเหตุช่วยให้เราได้เข้าใจผลงานและกระบวนการสร้างสรรค์ของ ศิลปินได้ดียิ่งขึ้น ในบทวิจารณ์ภาษาอังกฤษชื่อ “Random Thoughts on Montien Boonma and the Archival Approach to His Life and Work” (ค.ศ. 2013)2 ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของนิทรรศการครั้งนี้ แต่สารที่มีน�้ำหนักที่สุดที่สื่อมายังมหาชนได้ก็คือ ความยิ่งใหญ่ของมณเฑียร 13 บุญมา มิใช่เป็นเรื่องของฝีมือเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความเป็นนักคิดของเขา ซึ่งได้รับทั้งการปลูกฝังและการท้าทายจากส�ำนักศิลปะฝรั่งเศสที่เขาได้ไป ปีที่ 21 ศึกษาต่อ และเขาก็ประกาศว่าเขาเป็นหนี้บุญคุณครูอาจารย์จากส�ำนักนี้ ฉบับที่ 3 ก.ค. มาตลอด ส�ำหรับวัสดุจดหมายเหตุบางชิ้นนั้น ผู้ชมที่เป็นไทยเท่านั้นที่จะ - เข้าใจได้ มีตัวอย่างของงานเขียนที่มณเฑียรส่งให้กับศาสตราจารย์ของเขา ก.ย. ซึ่งท�ำให้ท่านศาสตราจารย์งุนงง แต่คนไทยทุกคนจะเข้าใจได้ทันที นั่นก็คือ 2558 แนวคิดเชิงสุนทรียศาสตร์ของมณเฑียรที่ว่า งานสร้างสรรค์เป็นความจริงที่ “ยิ่งใหญ่” กว่าโลกแห่งความเป็นจริงอันเป็นต้นแบบ3 เขาเลือกใช้ค�ำภาษา ฝรั่งเศสว่า “large” ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสแปลได้แต่เพียงว่า “กว้าง” หรือ “ใหญ่” แต่ไปไม่ถึงความหมายว่า “ยิ่งใหญ่” ดังเช่นในภาษาไทย ท่านศาสตราจารย์ จึงไม่อาจเข้าใจความคิดของศิษย์ชาวไทยได้ เกร็ดเล็กๆ เหล่านี้ชวนให้ นิทรรศการที่น�ำจดหมายเหตุมาแสดงสามารถดึงดูดใจผู้ชมได้เป็นอย่างดียิ่ง (ภาพ 4) และวงการทัศนศิลป์น่าจะคิดจัดนิทรรศการเช่นนี้ขึ้นอีก ประเด็นที่

2 Chetana Nagavajara, “Random Thoughts on Montien Boonma and the Archival Approach to His Life and Work”, Bridging Cultural Divides, 287-295. 3 เรื่องเดียวกัน, 593-594. การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

ว่าด้วยการเก็บรวบรวมและจัดการนั้น เราอาจจะเห็นได้จากความพยายาม ของทายาทของศิลปินบางคน เช่น ในกรณีของจ่าง แซ่ตั้ง ผู้เป็นทั้งกวีและ จิตรกร ซึ่งบุตรชายรวบรวมจดหมายเหตุ อันรวมถึงต้นร่าง ต้นฉบับ และ ต้นแบบไว้อย่างเป็นระบบดียิ่ง รอวันที่จะมีผู้สนใจมาใช้ แต่วงการวรรณศิลป์ และทัศนศิลป์ของเราก็ยังไม่ตื่นตัว ไม่ประสีประสาในคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ เช่นเดียวกัน ทายาทของกวีและจิตรกร อังคาร กัลยาณพงศ์ ก็ก�ำลังรวบรวม จดหมายเหตุของท่านขึ้นมาอย่างเป็นระบบ และผู้เขียนก็คงจะเดาไม่ผิดอีก เช่นกันว่าความย่อหย่อนนั้นจะอยู่ที่ปลายทาง คือผู้ใช้ ซึ่งไม่รู้จักว่าของที่มี คุณค่าคืออะไร และจะเป็นประโยชน์อย่างไร

14

Vol. 21 No. 3 Jul. - Sep. 2015

ภาพ 4 : ภาพร่างของมณเฑียร บุญมา ที่มา : http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid= TUROc1lXUXdOREkyTURRMU5nPT0= โศกนาฏกรรมที่ว่าด้วย “จดหมายเหตุที่หายไป” ดังเช่นกรณีของ สุพรรณ บูรณะพิมพ์ อาจจะชวนให้คิดไปถึงกรณีของจดหมายเหตุที่หายไป ชั่วคราว และยังหาไม่พบ นั่นคือกรณีของศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัย ศิลปากร (ภาพ 5) ท่านเป็นทั้งผู้บริหาร นักการศึกษา และศิลปินแห่งชาติ ด้านวรรณศิลป์ เป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยสูงมาก และจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ไว้อย่างเป็นระบบ อันรวมถึงบันทึกประจ�ำวัน เช่น ท่านบันทึกไว้ทุกครั้งว่า ท่านมาที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์เมื่อใด และในแต่ละครั้งท่านได้ท�ำ กิจอันใดบ้าง ถ้ามีนักประวัติศาสตร์ต้องการจะเขียนประวัติของมหาวิทยาลัย ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ก็คงจะไม่มีหลักฐานใดที่จะเทียบได้กับ จดหมายเหตุของท่านศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล เนื่องจากท่านไม่มี ทายาท และท่านผู้หญิง ดุษฎี มาลากุล ภรรยาของท่านก็ถึงแก่กรรมลงใน เวลาที่ใกล้กับท่าน จึงไม่มีผู้ดูแลทรัพย์สินของท่านที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของ พินัยกรรม อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ใกล้ชิดกับท่านไปถึงบ้าน ท่านช้าเกินไปหลังจากท่านถึงแก่กรรม เอกสารต่างๆ อันเป็นต้นฉบับตัว เขียนของบทละคร นิราศ บันทึกประจ�ำวัน ปาฐกถา ฯลฯ ได้หายไปหมดสิ้น ไม่ทราบว่าตกไปอยู่ในมือใครบ้าง และเขาเหล่านั้นจะส�ำนึกถึงความส�ำคัญ 15 ของสิ่งเหล่านี้เพียงใด สิ่งที่มหาวิทยาลัยศิลปากรได้มา คือชุดลูกเสือ ซึ่ง ปัจจุบันน�ำมาตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมในหอสมุดพระราชวัง ปีที่ 21 สนามจันทร์ ปัญหานี้เป็นปัญหาระดับชาติ ถ้ามีการรณรงค์ประกาศหาสมบัติ ฉบับที่ 3 ก.ค. ที่หายไป แล้วน�ำมารวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เราก็คงจะได้ - หลักฐานที่ช่วยให้ภาพของการศึกษาไทยในช่วงเวลาร่วม 70 ปีชัดเจนขึ้น ก.ย. 2558

ภาพ 5 : ศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/ new/cmsdetail/knowledge /26306/ การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

กรณีที่กล่าวถึงนี้เป็นเรื่องของนักเขียน นักคิด และนักวิชาการที่ อาจมีความนอบน้อมถ่อมตนเกินไป จนประเมินตนเองไว้ต�่ำ และมิได้เตรียม การใดๆ ไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับจดหมายเหตุของท่านเอง แต่ในทางที่กลับกัน ก็เป็นไปได้ที่บางท่านอยากจะฝากมรดกทางความคิดเอาไว้ในรูปของวัสดุ จดหมายเหตุ (ที่เกินขอบเขตของงานที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว) เพื่อไว้ให้ คนรุ่นหลังได้รับรู้และน�ำไปศึกษา เราไม่ควรประณามท่านว่า “หลงตัวเอง” เพราะเมื่อได้สร้างงานที่ได้รับการยอมรับต่อเนื่องมาในระดับหนึ่ง ท่านเหล่า นั้นก็น่าจะมีสิทธิ์ที่จะคิดว่างานของท่านมีค่า และข้อมูลทั้งหลายที่สัมพันธ์ กับงานที่ท่านสร้างขึ้นก็ควรที่จะได้รับการเก็บรักษาไว้เช่นกัน ตัวอย่างที่ใคร่ จะน�ำมาเสนอคือ จดหมายเหตุของกวีและนักประพันธ์ละครระดับแนวหน้า 16 ของโลกตะวันตก คือ (ค.ศ. 1898-1956) แม้จะต้องเร่ร่อนลี้ ภัยไปในประเทศต่างๆ ในโลกตะวันตก (“เปลี่ยนประเทศบ่อยครั้งกว่าเปลี่ยน Vol. 21 รองเท้า” ดังข้อความในกวีนิพนธ์บทหนึ่ง) ก่อนที่จะไปพ�ำนักอยู่ใน No. 3 สหรัฐอเมริกาจนเลิกสงคราม เบรชท์ก็พยายามเก็บเอกสารต่างๆ ของตน Jul. - เอาไว้ ในเรื่องนี้ ภรรยาของเขา ซึ่งเป็นนักแสดงระดับแนวหน้าของเยอรมัน Sep. คือ Helene Weigel (ค.ศ. 1900-1971) ถือได้ว่าเป็นผู้มีคุณูปการเป็นอย่าง 2015 ยิ่ง เพราะเธอเก็บรวบรวมเอกสารนานาชนิดของเบรชท์เอาไว้ อันรวมถึง เศษกระดาษแผ่นเล็กๆ ซึ่งเบรชท์เขียนสั่งงานที่เกี่ยวกับการแสดงหรือกิจ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องเบรชท์จะทราบดีว่า ไม่ใช่เศษ กระดาษธรรมดาๆ แต่สามารถบ่งชี้ความคิดของมหากวีผู้นี้ได้ด้วย หลังจาก ที่เบรชท์ถึงแก่กรรม เธอกับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ชื่อ Herta Ramthum (ค.ศ. 1907-1988) ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสท�ำความรู้จักเมื่อปีค.ศ. 1987 ได้ ร่วมกันสร้างหอจดหมายเหตุแบรทอล์ทเบรชท์ (Bertolt-Brecht-Archiv) ขึ้น มา ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นระบบ และเอื้อต่อการวิจัยเป็นอย่างมาก ดังที่ผู้เขียนจะได้กล่าวต่อไปในการบรรยายประสบการณ์การวิจัยของผู้เขียนเอง ส�ำหรับนักวิชาการนั้น จดหมายเหตุก็มีความส�ำคัญเช่นกัน นักวิชาการเป็นผู้ที่สร้างงานเคียงไปกับงานสร้างสรรค์ของศิลปิน และ การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

งานวิชาการก็มีบทบาทอันส�ำคัญในการสร้างความเข้าใจและความชื่นชมต่อ งานศิลปะให้แก่มหาชน ในบางครั้ง เราอาจจะกล่าวไปถึงขั้นว่า งานของ ศิลปินบางคนมีชีวิตยืนยาวต่อเนื่องมาได้ก็ด้วยบทบาทเกื้อหนุนของนัก วิจารณ์และนักวิชาการ กรณีที่จะกล่าวถึงเป็นเรื่องของศาสตราจารย์ด้าน วรรณคดีเปรียบเทียบและวรรณคดีเยอรมัน คือศาสตราจารย์ Eberhard Lämmert (ค.ศ. 1924-2015) ท่านเป็นทั้งนักวิชาการและผู้บริหารที่ได้รับ การยอมรับนับถือ (ภาพ 6) เคยด�ำรงต�ำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัย เบอร์ลินเสรี (Freie Universität Berlin เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Free University Berlin) เป็นประธานสมาคมชิลเลอร์แห่งเยอรมนี (Deutsche Schillergesellschaft) ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นผู้ก�ำกับการด�ำเนินงานของ หอจดหมายเหตุวรรณคดีเยอรมัน (Deutsches Literaturarchiv) เป็นเวลา 17 ต่อเนื่องถึง 14 ปี เป็นผู้กอบกู้มรดกของเยอรมันตะวันออกในด้านวรรณคดี ศึกษาขึ้นมาในรูปของสถาบันใหม่ ซึ่งรวมทั้งนักวิชาการจากฟากตะวันออก ปีที่ 21 และตะวันตกให้มาท�ำงานร่วมกัน คือ ศูนย์วิจัยวรรณคดีแห่งเบอร์ลิน ฉบับที่ 3 ก.ค. (Zentrum fÜr Literaturforschung Berlin เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Centre - for Literary Research Berlin) ประสบการณ์ของท่านจึงมีความเข้มข้นทั้ง ก.ย. ในด้านเนื้อหาวิชาการ และความจัดเจนในการบริหารองค์กรทางวิชาการ 2558 เมื่อท่านอายุประมาณ 88-89 ปี ท่านเริ่มสะสางเอกสารจดหมายเหตุของ ท่านทีละเล็กทีละน้อยให้เป็นระบบ และในปี 2014 ก็สามารถส่งจดหมายเหตุ ของท่านไปยัง Deutsches Literaturarchiv Marbach ได้ ท่านถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2015 หลังจากที่จัดการกับงานจดหมายเหตุเสร็จ เรียบร้อยแล้ว แสดงว่าท่านไม่ตั้งอยู่ในความประมาท สมกับที่เคยบริหาร งานประเภทนี้อยู่ถึง 14 ปี กรณีที่กล่าวถึงเป็นเรื่องของความสมัครใจของ เจ้าของจดหมายเหตุในการมอบสมบัติเหล่านี้ให้กับหอจดหมายเหตุ เรื่องของศาสตราจารย์แลมเมิร์ต ซึ่งมอบจดหมายเหตุให้ก่อนที่จะถึง แก่กรรม เป็นธรรมเนียมปฏิบัติแบบใหม่ที่ท�ำให้เกิดศัพท์ภาษาเยอรมัน ค�ำใหม่ขึ้น คือ Vorlass ค�ำว่า “lass” มาจากค�ำกริยา “lassen” แปลว่า การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

ภาพ 6 : Prof. Eberhard Lämmert กล่าวประกาศเกียรติคุณ 18 ในวาระการประสาทปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้แก่นักวิชาการไทย ณ มหาวิทยาลัย TÜbingen ค.ศ. 2009 (ด้วยความเอื้อเฟื้อของมหาวิทยาลัย TÜbingen) Vol. 21 No. 3 “ทิ้งไว้ให้” ส่วนค�ำว่า “Vor” แปลว่า"ล่วงหน้า" หมายความว่า มอบให้ก่อน Jul. - ที่จะจากโลกนี้ไป แต่เดิมในกิจการของจดหมายเหตุ จะรู้จักกันแต่เฉพาะ Sep. จดหมายเหตุที่ได้มาทีหลัง คือหลังจากที่บุคคลคนนั้นถึงแก่กรรมไปแล้ว 2015 เรียกว่าเป็น Nachlass ค�ำว่า “Nach” แปลว่า "ข้างหลัง" หรือ "ภายหลัง" คือหมายถึงสิ่งที่ทิ้งไว้ให้กับคนรุ่นหลัง ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นขนบของ วิทยาทาน คือทั้งเจ้าตัวและทายาทมอบจดหมายเหตุให้เป็นวิทยาทาน โลก ยุคใหม่เป็นโลกของธุรกิจที่เงินเป็นใหญ่ แนวปฏิบัติใหม่จึงเกิดขึ้นในรูปของ การซื้อขายวัสดุจดหมายเหตุ เรามักจะได้รับข่าวอยู่เสมอว่า ต้นฉบับตัวเขียน หรือจดหมายเหตุของนักประพันธ์เลื่องชื่อของโลก ถูกน�ำมาขายด้วยการ ประมูลโดยกลุ่มวาณิชตัวกลางผู้มากด้วยรสนิยมในกรุงลอนดอน ด้วยจ�ำนวน เงินที่สูงไม่แพ้กับจิตรกรรมบันลือโลก เป็นที่น่าสังเกตว่าในระยะหลังนี้ มิติเชิงพาณิชย์ได้เข้ามามีบทบาทใน กิจของจดหมายเหตุ โดยที่เจ้าของหรือแม้แต่ผู้ให้ก�ำเนิดตัวจดหมายเหตุ เหล่านั้น หรือทายาทของเขา น�ำมาขายให้กับหอจดหมายเหตุ บางครั้งใน การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ราคาที่สูงมาก ในฐานะครูภาษาตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูภาษาและ วรรณคดีเยอรมัน ผู้เขียนจะขอใช้ตัวอย่างที่มาจากวงการของเยอรมัน ตัวอย่างแรก เป็นเรื่องของนักปรัชญาเอกของศตวรรษที่ 20 คือ Martin Heidegger (ค.ศ. 1889-1976) (ภาพ 7) ในช่วงปัจฉิมวัย ท่านได้น�ำข้อมูล จดหมายเหตุอันเป็นต้นฉบับงานทางปรัชญาอันเลื่องชื่อของท่านมาขายให้ กับหอจดหมายเหตุวรรณคดีที่เมืองมาร์บัค นับเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความ ประหลาดใจให้กับมหาชน และท�ำให้ผู้คนส่วนหนึ่งตั้งข้อกังขากับนักคิดระดับ แนวหน้าของเยอรมันผู้นี้ เพราะโดยทั่วไปแล้ว ผู้ทรงปัญญาในระดับนี้มักจะ ส�ำนึกในความส�ำคัญกับผลงานของตัวเอง ถึงขั้นที่จะมอบให้เป็นวิทยาทาน ต่อมหาชน (ดังเช่นในกรณีของ“จารึกวัดโพธิ์” ของไทยเราเองที่สร้างขึ้นให้ เป็น “public domain”) แน่นอนที่สุดที่หอจดหมายเหตุอันเลื่องชื่อย่อมจะต้อง 19 ตัดสินใจที่จะเข้าครอบครองมรดกทางความคิดของ Heidegger และรัฐก็ พร้อมที่จะให้การสนับสนุน เพราะมิเช่นนั้น นักสะสมหรือองค์กรทางวิชาการ ปีที่ 21 ของสหรัฐอเมริกาก็คงจะไม่มองข้ามสมบัติอันล�้ำค่าเหล่านี้ไปเป็นแน่ ฉบับที่ 3 ก.ค. - ก.ย. 2558

ภาพ 7 : ต้นฉบับงานของนักปรัชญา Martin Heidegger ที่มา: http://img.welt.de/img/literarischewelt/crop102008514/ 5896934706-ci3x2l-w900/Marbach-Teaser-DW-Politik-Marbach.jpg

กรณีที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับจดหมายเหตุของส�ำนักพิมพ์ที่ได้รับการ ยอมรับนับถือมากที่สุดในเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คือ การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

Suhrkump Verlag แห่งเมือง Frankfurt-am-Main ซึ่งเป็นส�ำนักพิมพ์ที่ นักประพันธ์ นักเขียน นักคิด และนักวิชาการระดับแนวหน้าของเยอรมนีให้ ความไว้วางใจด้วยการมอบงานให้น�ำไปตีพิมพ์เผยแพร่ เรียกได้ว่า การเผย แพร่ผลงานเป็นภาษาเยอรมันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและการสร้างความ คิดและความส�ำนึกใหม่ให้กับเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อยู่ ในอาณัติของส�ำนักพิมพ์นี้ทั้งสิ้น ในกรณีนี้ ผู้ก่อตั้งส�ำนักพิมพ์ได้ถึงแก่กรรม ไปแล้ว ทายาทให้ความส�ำคัญกับกิจการในเชิงพาณิชย์ จึงน�ำกรุเอกสารอัน รวมถึงตัวต้นฉบับออกมาเสนอขายให้กับหอจดหมายเหตุแห่งเมืองมาร์บัค เช่นกัน ซึ่งจะต้องซื้อมาด้วยภาษีอากรของราษฎร ท�ำให้ชาวเยอรมันส่วน หนึ่งเกิดความไม่พอใจว่า นายวาณิชย์เหล่านี้ขาดความส�ำนึกในเรื่องของ 20 มรดกทางวัฒนธรรมที่น่าจะมอบให้เป็นสมบัติของชาติ แต่ในท้ายที่สุดหอ จดหมายเหตุฯก็ตัดสินใจซื้อมาไว้ในครอบครอง เป็นอันว่ายุคใหม่เป็นยุค Vol. 21 ของการซื้อขาย ความคิด เรื่องวิทยาทานได้สูญสลายไปแล้วในสังคมที่ครั้ง No. 3 หนึ่งผู้คนทั่วโลกเคยยกย่องว่าเป็น แดนแห่งศิลปวัฒนธรรม Jul. - ภาคีที่ 2 เป็นเรื่องของ การจัดการ จัดได้ว่าเป็นศาสตร์ใหม่ที่ก�ำลัง Sep. ได้รับการเอาใจใส่เป็นอย่างมาก อีกทั้งการฝึกอบรมหรือการให้การศึกษาใน 2015 เรื่องนี้ก็ก�ำลังพัฒนาไปเป็นกิจเอกเทศที่ต่างจากกิจการห้องสมุดสามัญ ธรรมดา หลักการที่ส�ำคัญที่สุดก็คือ การมุ่งแต่จะเก็บกรุมหาสมบัติด้วยความ หวงแหนโดยไม่ค�ำนึงถึงประโยชน์ที่อาจบังเกิดมีต่อกลุ่มผู้ใช้ ซึ่งอาจเป็น กลุ่มบุคคลที่ยังไม่ปรากฏตัว (เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “potential users”) ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ล้าสมัย เทียบได้กับแนวคิดเรื่อง “หวงวิชา” ซึ่งรัชกาลที่ 3 ได้ทรงพยายามที่จะก�ำจัดให้หมดสิ้นไปด้วยการสร้าง “จารึกวัดโพธิ์” ขึ้น ในแง่นี้ การที่จะประเมินความส�ำคัญและอรรถประโยชน์ของเนื้อหาเป็นงาน ขั้นแรกที่จะต้องท�ำ ซึ่งนักจดหมายเหตุ (archivists) เองอาจไม่เชี่ยวชาญพอ ในความรู้บางสาขา จึงจ�ำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ด้านให้ช่วยประเมินและแยกแยะวัสดุจดหมายเหตุอย่างเป็นระบบ จริงอยู่ใน บางครั้ง เจ้าของจดหมายเหตุ หรือทายาท หรือศิษย์ ได้ช่วยจัดระบบให้ การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ล่วงหน้าแล้ว แต่หอจดหมายเหตุแต่ละแห่งก็มีระบบการจัดหมวดหมู่เอกสาร และวัสดุจดหมายเหตุของตนเอง การท�ำงานในขั้นที่ 2 นี้ เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ หอจดหมายเหตุบางแห่งวางระบบที่ว่าด้วยขอบข่ายเนื้อหาของวัสดุ จดหมายเหตุไว้แต่เริ่มแรกแล้ว เช่น หอจดหมายเหตุที่ผู้เขียนคุ้นเคยดี คือ หอจดหมายเหตุวรรณคดีเยอรมันที่เมืองมาร์บัค จดหมายเหตุที่รวบรวมไว้ เป็นทั้งงานของกวี นักประพันธ์ และนักคิด (อันรวมถึงนักปรัชญา) อีกทั้ง ยังเปิดทางไว้ให้ส�ำหรับนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องด้วย ผู้เขียนได้อ้างถึง จดหมายเหตุของนักวิชาการด้านวรรณคดีเปรียบเทียบและวรรณคดีศึกษา Prof. Eberhard Lämmert ไว้แล้วข้างต้น ผู้เขียนรู้จักกับท่านดี เพราะท่าน มีเมตตาต่อผู้เขียนมาก รับเป็นนักวิชาการพี้เลี้ยง (mentor) ในการวิจัยของ ผู้เขียนต่อเนื่องมาถึง 30 ปี ท่านเขียนงานวิเคราะห์งานด้านวรรณคดีศึกษา 21 ของผู้เขียนไว้อย่างละเอียดลึกซึ้ง และก็ให้เกียรติเป็นผู้กล่าวประกาศ เกียรติคุณในวาระที่มหาวิทยาลัย TÜbingen ประสาทปริญญาดุษฎีบัณฑิต ปีที่ 21 กิตติมศักดิ์ให้แก่ผู้เขียนเมื่อ ค.ศ. 2009 (ซึ่งความจริงเป็นมากกว่าค�ำประกาศ ฉบับที่ 3 ก.ค. เกียรติคุณ เพราะเป็นการวิจารณ์ซ้อนวิจารณ์ที่มีลักษณะเป็นวิชาการ - 4 สูงมาก) ก.ย. เมื่อท่านถึงแก่อนิจกรรมลงและผู้เขียนทราบว่าจดหมายเหตุของท่าน 2558 อยู่ในความดูแลของ Deutsches Literaturarchiv Marbach จึงรีบติดต่อกับ สถาบันแห่งนั้น โดยแจ้งไปว่า ผู้เขียนมีจดหมายของศาสตราจารย์ แลมเมิร์ตเท่าที่หาได้ทันทีอยู่ 3 ฉบับ ซึ่งน่าจะได้รับการพิจารณารวมไว้กับ คลังจดหมายเหตุของท่าน ผู้เขียนติดต่อไปทางอีเมลเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2015 หอจดหมายเหตุให้ค�ำตอบในวันที่ 28 กันยายน 2015 โดยระบุว่า หอจดหมายเหตุยินดีที่จะรับวัสดุจดหมายเหตุเฉพาะที่เป็นเรื่องวิชาการหรือ มีนัยทางวิชาการเท่านั้น ผู้เขียนตอบยืนยันเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2015 และ

4 กรกช อัตตวิริยะนุภาพ, “ขนบการมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์: กรณีศึกษาจาก มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน” วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปีที่ 31, 2558), 24-49. การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

ส่งเอกสารให้พร้อมค�ำอธิบายเนื้อหาไปทางไปรษณีย์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2015 หอจดหมายเหตุตอบยืนยันเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2015 ว่ายินดีรับ จดหมายดังกล่าวเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของคลังจดหมายเหตุของศาสตราจาร ย์แลมเมิร์ต เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบคาตาลอคของหอจดหมายเหตุ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้น ก็ปรากฏว่าจดหมายทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวจากศาสตราจารย์แลม เมิร์ตถึงผู้เขียนได้รับการบันทึกไว้ในคาตาลอคเรียบร้อยแล้ว สรุปได้ว่า เป็นการท�ำงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยเวลาเพียงไม่ถึง 2 เดือน นับแต่วันที่ได้เริ่มติดต่อกัน อนุมานได้ว่าหอจดหมายเหตุฯ มีระบบการ จัดการที่ดี และก็เป็นที่ทราบกันว่า มีนักวิชาการประจ�ำทั้งในงานด้านหอสมุด และในกิจการด้านจดหมายเหตุเป็นจ�ำนวนกว่า 100 คน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ 22 ที่ส�ำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก มีการก�ำหนดหน้าที่กว้างๆ ของหอ จดหมายเหตุและหอสมุดไว้ 3 ประการคือ 1) การสร้างความเข้มแข็งในทาง Vol. 21 วิชาการ 2) การท�ำหน้าที่ให้การศึกษา (ในความหมายที่กว้างมากของค�ำว่า No. 3 “Bildung” ในภาษาเยอรมัน ซึ่งรวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ การสร้าง Jul. - บุคลิกภาพ และการเสริมปัญญา) และ 3) การบริการ ได้มีการประเมินผล Sep. งานของหอจดหมายเหตุเป็นระยะๆ โดยไม่มีการพิจารณาจุดคุ้มทุนในความ 2015 หมายทางเศรษฐศาสตร์แต่ประการใดเลย ในเมื่อ “การบริการ” เป็นหนึ่งในสามของหน้าที่หลักของ หอจดหมายเหตุ การจัดการก็จ�ำเป็นจะต้องด�ำเนินไปตามนั้น การให้ค�ำ ปรึกษาในการใช้จดหมายเหตุเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ท�ำอยู่เป็นประจ�ำ เมื่อยุค ของ IT มาถึง หอจดหมายเหตุก็ปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่เดิมผู้ใช้จะต้อง เดินทางมาตรวจสอบด้วยตนเองว่า หอจดหมายเหตุมีวัสดุจดหมายเหตุอะไร ไว้ในครอบครองบ้าง ปัจจุบันคาตาลอคของทั้งส่วนที่เป็นจดหมายเหตุและ ห้องสมุดได้รับการปรับเข้าระบบ online แล้ว ผู้สนใจสามารถเข้าถึงคาตาลอค ได้อย่างเสรี ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ก็อาจสั่งหนังสือหรือ จดหมายเหตุล่วงหน้าได้ เมื่อเดินทางมาถึงมาร์บัคก็จะเริ่มงานศึกษาค้นคว้า ได้ทันที ถึงอย่างไรก็ตาม สถาบันแห่งนี้ยังรักษาขนบดั้งเดิมในการที่ให้ การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

โอกาสนักวิชาการได้สัมผัสกับเอกสารตัวจริงอยู่ และยังไม่คิดที่จะสร้าง digital archive ขึ้นมา และในรอบ 100 ปีนับแต่ก่อตั้งมา ยังไม่ปรากฏว่ามี เอกสารหายเลย! นั่นคือระบบเกียรติยศที่ผู้ให้และผู้รับร่วมกันรักษาไว้ ส่วน การที่ได้สัมผัสต้นฉบับ หรืองานต้นแบบนั้น ผู้เขียนเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของ “สุนทรียภาพแห่งการวิจัย”5 กล่าวโดยสรุป การรวบรวมและเผยแพร่จดหมายเหตุของกรณีตัวอย่าง ที่เมืองมาร์บัคนั้นเดินไปในทั้ง 2 ทาง คือ ถูกก�ำหนดโดยผู้ให้ (รวมถึงการ แสวงหาผู้ที่จะมอบจดหมายเหตุให้ หรือแม้แต่การลงทุนซื้อ) คือถ้ายิ่งสะสม จดหมายเหตุที่มีคุณค่าไว้เพียงใด เกียรติภูมิของตัวสถาบันเองก็จะยิ่ง เพิ่มพูนขึ้นตามล�ำดับ ในแง่นี้เรียกว่า “donor-oriented” แต่ถ้ามีมหาสมบัติ เอาไว้ แล้วไม่มีผู้ใช้ประโยชน์ ก็เท่ากับเสียเปล่า หรือกล่าวเป็นภาษาชาว 23 บ้านได้ว่า “เสียของ” ดังนั้นจึงจ�ำเป็นที่จะต้องให้ความสะดวกต่อผู้ใช้ให้มาก ที่สุดเท่าที่จะมากได้ (อันรวมถึงการสร้างหอพักนานาชาติที่เรียกว่า ปีที่ 21 “Collegienhaus” แปลตรงตัวว่า “เคหาสน์ของเพื่อนร่วมงาน [ทางวิชาการ]”) ฉบับที่ 3 ก.ค. และจะต้องมีการเผยแพร่ให้เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า หอจดหมายเหตุมีวัสดุ - จดหมายเหตุอะไรบ้างซึ่งนักวิจัยจะใช้ประโยชน์ได้ ในแง่นี้เรียกว่า “user- ก.ย. oriented” ผู้เขียนได้ให้ภาพอุดมคติของหอจดหมายเหตุมา ณ ที่นี้ โดยที่ 2558 ทราบตระหนักดีว่า มิใช่หอจดหมายเหตุทุกแห่งจะได้มาตรฐานที่เทียบเคียง กันได้กับมาร์บัค ความส�ำเร็จส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก “ความรักชาติในระดับ ท้องถิ่น” (local patriotism) ของแคว้นวืดเตมแบร์ก (WÜrttemberg) เอง ที่ริเริ่มงานด้วยการเก็บต้นฉบับของกวีและนักประพันธ์ของแคว้นนี้เอาไว้ ซึ่งต่อมาก็ขยายไปในระดับชาติ และมีการเพิ่มมิติเชิงวิชาการให้เข้มข้น ตลอดเวลา แต่ก็อีกนั่นแหละ สถาบันทางวิชาการใดๆ มิใช่ประกอบด้วย อาคารสถานที่ และเครื่องมือต่างๆ หากแต่ขึ้นอยู่กับคน ผู้เขียนเองได้ไปใช้

5 เจตนา นาควัชระ, “สุนทรียภาพแห่งการวิจัย,” จุดยืนของมนุษยศาสตร์, (กรุงเทพฯ: ชมนาด, 2558), 146-151. การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

หอจดหมายเหตุนี้ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 40 ปี และก็พอสังเกตได้ว่า เจ้าหน้าที่ ยุคเก่ามีไออุ่นของความเป็นมนุษย์มากกว่าผู้ร่วมงานยุคใหม่อย่างแน่นอน ความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยใดไม่ใช่หน้าที่ของบทความนี้ ที่จะต้องตอบ! ภาคีที่ 3 ซึ่งจะกล่าวถึงเป็นล�ำดับสุดท้าย คือ ผู้ใช้ ถือได้ว่ามีความ ส�ำคัญเป็นอย่างยิ่งในการด�ำเนินการของหอจดหมายเหตุ จะขอเริ่มต้นด้วย ตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยศิลปากรเอง เมื่อเริ่มต้นตั้งวิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร์ อธิการบดีในขณะนั้น คือ ศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเอื้อให้อาจารย์และนักศึกษาได้เข้าถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้วยความสะดวกสูงสุด ท่านมีความเห็นว่าจะต้องน�ำ 24 เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการนี้ให้ได้ เรื่องของหนังสือและห้องสมุดนั้น เป็นสิ่งที่สถาบันการศึกษาให้ความส�ำคัญอยู่แล้ว แต่เมื่อเทคโนโลยีในยุคนั้น Vol. 21 สามารถบันทึกข้อมูลด้วยการอัดเสียง ท่านจึงได้เริ่มสะสมแถบบันทึกเสียง No. 3 ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการวิจัย อาทิ แถบบันทึกเสียงของบุคคล Jul. - ส�ำคัญของโลก เช่น มหาตมะ คานธี และแถบบันทึกเสียงการแสดงละครของ Sep. กวีเอก เช่น เชกสเปียร์ แทนที่จะเก็บหลักฐานเหล่านั้นไว้ในรูปของ 2015 จดหมายเหตุธรรมดาๆ ท่านคิดถึงการบริการให้แก่ผู้ใช้ จึงได้ติดต่อบริษัท ที่เชี่ยวชาญด้านเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของต่างประเทศให้ช่วย ออกแบบเพื่อสร้าง ห้องสมุดเสียง (sound library) ขึ้น (ภาพ 8) โดยน�ำ แถบบันทึกเสียงต่างๆ บรรจุไว้ในคลังข้อมูล แล้วน�ำมาเผยแพร่พร้อมกันได้ ถึง 50 ช่อง โดยผู้ใช้สามารถใช้บริการด้วยการโทรศัพท์ติดต่อเข้ามา นวัตกรรมชิ้นนี้ได้รับการบันทึกไว้ในต�ำราโสตทัศนศึกษาทุกเล่มในขณะนั้น และห้องสมุดเสียงได้ให้บริการถึงพระต�ำหนักจิตรลดาฯ โดยผ่านระบบ โทรศัพท์ ผู้เขียนเองในฐานะอาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากรตั้งความหวัง ไว้สูงมาก และพยายามจะน�ำข้อมูลอันล�้ำค่าเหล่านั้นมาใช้ในการเรียน การสอน จ�ำได้ว่าครั้งหนึ่งได้รับมอบหมายให้สอนบทละครของเชกสเปียร์ ซึ่งอยู่ในหลักสูตรชั้นปีที่ 3 ของคณะอักษรศาสตร์ เมื่อสอนไปถึงตอนส�ำคัญ การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

คือ ตอนที่ Hamlet กล่าว monologue อันเลื่องชื่อที่เริ่มต้นด้วย “To be, or not to be...” (องก์ที่ 3 ฉากที่ 1) ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายและวิเคราะห์ตัวบท มาล่วงหน้าอย่างดีแล้ว นักศึกษาจึงดื่มด�่ำกับข้อความนี้ ซึ่งผู้แสดงเป็น นักแสดงอาชีพที่สามารถใช้เสียงสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟังได้อย่าง ยอดเยี่ยม นักศึกษาคนหนึ่งยกมือขึ้นและขอฟังตัวบทละครตอนนี้ซ�้ำอีกครั้ง ปรากฏว่าระบบที่ออกแบบมาไม่สามารถก�ำกับให้แถบบันทึกเสียงถอยหลัง ได้ จ�ำต้องรอให้เดินหน้าไปอีกหลายชั่วโมงกว่าจะกลับมาถึงที่เดิม นั่นคือ ความล้มเหลวของการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ได้ยึดผู้ใช้เป็นสรณะ (user- oriented) ไม่ช้าไม่นานห้องสมุดเสียงก็ถูกทอดทิ้ง และเลิกกิจการไป ในปัจจุบันโลกดิจิตัลเปิดโอกาสให้มากมายเกินกว่าที่ห้องสมุดเสียงจะให้ได้ บทเรียนจากนวัตกรรมครั้งนี้ก็คือ ไม่ว่าในยุคใดสมัยใด มนุษย์ต้องเป็นผู้น�ำ 25 และเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ต้องเป็นผู้ตาม ถึงอย่างไรก็ตาม ห้องสมุด เสียงก็ได้ท�ำหน้าที่ของภาคีที่ 1 ในการสะสมวัสดุจดหมายเหตุอันทรงคุณค่า ปีที่ 21 เอาไว้ แต่มาย่อหย่อนในบทบาทของภาคีที่ 2 คือการจัดการ และล้มเหลว ฉบับที่ 3 ก.ค. ในการสนองตอบความต้องการของภาคีที่ 3 คือผู้ใช้ - ก.ย. 2558

ภาพ 8 : ห้องสมุดเสียง มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ (ด้วยความเอื้อเฟื้อของมหาวิทยาลัยศิลปากร)

สิ่งที่จ�ำเป็นต้องตอกย�้ำอยู่เสมอก็คือจดหมายเหตุเป็นสิ่งที่สนับสนุน การวิจัย ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 นักวิชาการด้านมนุษยศาสตร์หลงทาง ไปเป็นเวลาหลายทศวรรษ เพราะไปลุ่มหลงกับทฤษฎีที่ว่าโลกแห่งความ การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

เป็นจริงไม่ส�ำคัญ โลกแห่งความคิดฝันต่างหากที่เป็นตัวเสริมสร้างปัญญา ในด้านวรรณคดีศึกษามีการสร้างทฤษฎีที่มีผู้ตามอยู่จ�ำนวนไม่น้อยที่ว่า วรรณกรรมไม่มีความสัมพันธ์อันใดกับโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งรู้จักกันใน นามของมโนทัศน์ที่ว่าด้วย “non-referentiality” ตัวบทเท่านั้นคือสิ่งที่ควร ศึกษา ยิ่งไปกว่านั้นก็มีผู้เสแสร้งสร้างทฤษฎีที่ว่าด้วย “มรณกรรมของผู้แต่ง” (the death of the author) ขึ้นมา6 เพื่อเป็นการต่อต้านมรดกของยุคโรแมน ติกที่ยกย่องกวีและศิลปินว่าเป็นผู้น�ำแสงสว่างมาสู่โลก โดยกล่าวแบบสุดขั้ว เอาไว้ว่า วรรณกรรมคือการน�ำค�ำในพจนานุกรมมาเรียงต่อๆ กันเข้าไป เท่านั้นเอง นอกจากนั้นก็ยังมีการเลียนแบบความคิดทางวิทยาศาสตร์ว่า วรรณคดีศึกษาต้องไม่ท�ำหน้าที่ประเมินคุณค่า (non-evaluative) ซึ่งเกี่ยวกับ 7 26 เรื่องนี้ ผู้เขียนเองได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของ หลักฐานเอกสารอันบ่งบอกอย่างชัดแจ้งว่า นักวรรณคดีส่วนใหญ่ยังท�ำกิจ Vol. 21 ของการประเมินคุณค่าอยู่ มิได้หลงตามแนววิทยาศาสตร์นิยม (scientism) No. 3 เช่นที่กล่าวอ้างกัน สิ่งที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อไม่สนใจข้อมูล Jul. - โดยเฉพาะข้อมูลระดับปฐมภูมิ การศึกษาแนวชีวประวัติจึงถูกทอดทิ้งไปด้วย Sep. เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวคิดดังกล่าวได้เสื่อมถอยไปให้โลกตะวันตกหลาย 2015 ทศวรรษมาแล้ว แต่นักวิชาการไทยจ�ำนวนหนึ่งยังหลงอยู่กับแนวคิดที่ล้า สมัย ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปวิจัยในเยอรมนีทุกปี และไปเยี่ยม มหาวิทยาลัยเก่าในสหราชอาณาจักรเป็นบางปี ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และ สังเกตได้ว่า การวิจัยในแนวของชีวประวัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวประวัติเชิง ปัญญา (intellectual biography)8 ซึ่งจ�ำเป็นต้องใช้หลักฐานจดหมายเหตุ

6 โรลองด์ บาร์ธส์, “มรณกรรมของผู้แต่ง” แปลโดย ธีรา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา และเขียน บทวิเคราะห์โดย เจตนา นาควัชระ, ใน รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, พลังการวิจารณ์: วรรณศิลป์, (กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, 2547), 699 -714. 7 เจตนา นาควัชระ, แนวทางการประเมินคุณค่าวรรณคดีในวรรณคดีวิจารณ์ เยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ-อเมริกัน ในศตวรรษที่ 20, (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2539). 8 Seán Burke, The Death and Return of the Author, Second Edition, (Edinburgh: Edinburgh University Press, 2004). การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ก�ำลังเบ่งบานในวงการตะวันตก ในบ้านเราเอง นักประวัติศาสตร์เกาะกลุ่ม กันท�ำวิจัยที่ถือได้ว่าเป็นการบุกเบิกพรมแดนใหม่ โดยใช้ศิลาจารึกและ เอกสารชั้นต้น (แม้ว่าจะเป็นเอกสารที่ตีพิมพ์แล้วมากกว่าต้นฉบับตัวเขียน) ตัวบ่งชี้ในบริบทตะวันตกที่ว่าการให้ความส�ำคัญกับหลักฐานปฐมภูมิก�ำลัง ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากคือ ความคึกคักของหอจดหมายเหตุที่เมือง มาร์บัค เมื่อผู้เขียนเดินทางไปท�ำวิจัยที่นั่นล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายน 2015 โดยขอใช้บริการทั้งของหอสมุดและหอจดหมายเหตุ ปรากฏชัดว่า มีผู้ที่มาใช้หอสมุดมีจ�ำนวนไม่มากนัก ในขณะที่ห้องอ่านต้นฉบับตัวเขียน (เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Manuscript Reading Room) แน่นขนัดทุกวัน วันที่ผู้เขียนไปขอใช้วัสดุจดหมายเหตุนั้น เหลือที่ว่างเพียง 2 ที่เท่านั้น ผู้เขียนตีความว่าที่เป็นเช่นนี้มิใช่เหตุบังเอิญ แต่วงวิชาการ (ซึ่ง 27 หอจดหมายเหตุที่มาร์บัคมิได้ให้บริการแก่นักวิชาการชาวเยอรมันเท่านั้น แต่ผู้ใช้จ�ำนวนไม่น้อยเป็นนักวิชาการชาวต่างประเทศ) ก�ำลังกลับมาให้ ปีที่ 21 น�้ำหนักกับการแสวงหาความจริงที่ต้นตอ หลักฐานปฐมภูมิจึงกลับไปเป็น ฉบับที่ 3 ก.ค. เครื่องน�ำทาง สรุปได้ว่าหอจดหมายเหตุมิใช่โบราณสถานทางวิชาการที่ - หลงเหลือมาจากยุคก่อนอย่างแน่นอน ก.ย. วงการมนุษยศาสตร์ของไทยควรที่จะต้องให้ความส�ำคัญต่อเรื่องของ 2558 การใช้จดหมายเหตุให้มากกว่านี้ เพราะนักวิชาการน่าจะมุ่งที่จะเข้าถึงความ จริง หรือไปให้ถึงจุดที่ใกล้ความจริงมากที่สุด ทั้งนี้มิได้หมายความว่าหลัก ฐานปฐมภูมิเชื่อได้ในทุกกรณีไป นักวิจัยจ�ำเป็นที่จะต้องน�ำหลักฐานจาก หลายแหล่งมาเปรียบเทียบกัน การจัดท�ำวรรณกรรมฉบับวิจารณ์ (critical edition) โดยเฉพาะวรรณกรรมรุ่นเก่าก่อนมีการน�ำระบบการพิมพ์มาใช้ใน ประเทศไทย ยังเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา ในแง่นี้ นักวิชาการชาวตะวันตกบางคน ได้สร้างคุณูปการให้แก่วงการมนุษยศาสตร์ของไทยไว้ไม่น้อยเลย (ภาพ 9) ดังตัวอย่างของนักวรรณคดีชาวเยอรมัน Klaus Wenk (ค.ศ. 1927-2006) ผู้ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นว่า วรรณกรรมเอกของไทยที่อ่านกันอยู่และใช้ในสถาน ศึกษานั้นจัดพิมพ์ขึ้นโดยมิได้ยึดหลักการใดๆ ที่แน่ชัดในส่วนที่เกี่ยวกับฉบับตัว การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

เขียนที่ใช้เป็นต้นแบบ ซึ่งแต่ละเรื่องก็มีการเก็บรักษาไว้หลายฉบับใน หอสมุดแห่งชาติ มีการปรับ แปลง ตัด แต่งเติมโดยไม่เคยมีการอธิบาย หลักการใดๆ ที่น�ำมาใช้ หมายความว่าถึงแม้การเก็บรักษาวัสดุจดหมายเหตุ จะอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ แต่ก็ไปไม่ถึงปลายทาง คือไม่มีการน�ำต้นฉบับต่างๆ นั้นมาศึกษาเปรียบเทียบกัน แล้วจึงจัดท�ำฉบับสุดท้ายที่ถือได้ว่าเป็นตัวบท ที่ดีที่สุด9 ส�ำหรับ Wenk เองนั้น ก่อนจะแปลวรรณกรรมคลาสสิกของไทย เป็นภาษาเยอรมัน เขาจะศึกษาต้นฉบับตัวเขียนฉบับต่างๆ เสียก่อน แล้ว น�ำมาเปรียบเทียบกับฉบับที่หอพระสมุดฯ จัดพิมพ์ และเมื่อเขาตัดสินใจว่า จะใช้ส�ำนวนใด เขาจะระบุค�ำหรือข้อความที่แตกต่างออกไปในต้นฉบับต่างๆ พร้อมอธิบายเหตุผลในการเลือกเฟ้นของเขาไว้ด้วย10 28

Vol. 21 No. 3 Jul. - Sep. 2015

ภาพ 9 : หนังสือภาษาเยอรมันของ Klaus Wenk เล่มที่ 1 ในชุด “การศึกษาวรรณคดีไทย” (ภาพถ่ายจากต้นฉบับ) ล่าสุดนักวิชาการชาวอังกฤษ Dr.Chris Baker และภรรยา คือ ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ได้แปล ขุนช้างขุนแผน ออกเป็นภาษาอังกฤษ โดย ให้ชื่อว่า The Tale of Khum Chang Khun Phaen (2010) นอกจากจะเป็น

9 Klaus WenK, Studien zur Literatur der Thai, Band I (Hamburg: Gesellschaft für Natur- und Völkerkunde Ostasians. V., 1982), 16-18. 10 Op. cit., Band I (1982), Band II (1984). การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

งานแปลที่ทรงคุณภาพแล้ว หนังสือ 2 เล่มใหญ่นี้ยังเป็นหลักฐานของ ประโยชน์ในการน�ำส�ำนวนต่างๆ มาเปรียบเทียบกัน และได้พบว่าฉบับหลวง (หรือฉบับหอพระสมุดฯ) ไม่ตรงกับฉบับที่พิมพ์ก่อนหน้านั้น เข้าใจว่าสมเด็จ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงมีวินิจฉัยไปในทางที่จะช�ำระต้นฉบับให้ เหมาะกับการน�ำไปใช้ในการศึกษาส�ำหรับเยาวชน จึงมีการแก้ไขและตัด ข้อความบางตอนที่เห็นว่าไม่เหมาะสม นอกจากนี้ วรรณคดีไทยที่ได้รับการ ฟื้นฟูในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีที่มาจากขนบมุขปาฐะ จึงมีต้นฉบับที่ หลากหลาย ในการแปลนั้น ผู้แปลจึงมิได้ยึดฉบับพิมพ์ที่สมเด็จกรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพทรงเป็นบรรณาธิการ แต่เพียงฉบับเดียว11 เป็นอันว่าความ แม่นตรงของวิทยาการทางมนุษยศาสตร์ และความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ สัมพันธ์กับการรู้จักกลับไปหาต้นก�ำเนิด นักวิชาการรุ่นใหม่ที่หมกมุ่นอยู่กับ 29 การท่องบ่นทฤษฎีตะวันตก คงอดไม่ได้ที่จะมองนักวิชาการที่ให้ความส�ำคัญ กับหนังสือเก่าและจดหมายเหตุว่าคร�่ำครึ หรือเสียเวลาไปกับเรื่องที่ไร้สาระ ปีที่ 21 แต่เราท่านก็ไม่ควรจะลืมว่า จุดหมายปลายทางของวิทยาการไม่ว่าสาขาใด ฉบับที่ 3 ก.ค. ก็คือ การแสวงหาความรู้ที่น�ำไปสู่ความจริง ในแง่นี้การใช้จดหมายเหตุอาจจะ - เป็นการสร้างภูมิต้านทานต่อวิชาการก�ำมะลอที่เป็นเพียงกายกรรมทางปัญญา ก.ย. (intellectual acrobatics) ก็ได้ 2558 เมื่อพูดถึง “ปลายทาง” ของกิจแห่งหอจดหมายเหตุ เราคงจะหยุดอยู่ ที่กลุ่ม “ผู้ใช้” เท่านั้นไม่ได้ มหาชนทั่วไปก็จัดได้ว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายเช่นกัน แม้แต่ผู้ที่มิได้มีความสนใจทางวิชาการก็น่าที่จะได้รับรู้ว่า หอจดหมายเหตุ เป็นที่สะสมสมบัติทางวัฒนธรรมที่มีความหมายต่อพวกเขาในฐานะราษฎร ผู้เสียภาษีอย่างไร หอจดหมายเหตุจึงมักใส่ใจที่จะจัด นิทรรศการ เป็นครั้งคราว เพื่อน�ำเอาจดหมายเหตุที่ทรงคุณค่าและมีความหมายต่อมหาชนทั่วไป ออกมาแสดง โดยปกติมักจะเป็นต้นฉบับของงานที่ส�ำคัญๆ ของนักคิด นักเขียน ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ ส�ำหรับวงการ 11 Chris Baker and Pasuk Phongpaichit, The Tale of Khun Chang Khun Phaen, Chiang Mai: Silkworm Books, 2010, ix. การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

ตะวันตกนั้น ถ้ามีเอกสารโบราณ เช่น สมุดภาพทางศาสนาจากมัธยสมัย ก็มักจะได้รับความสนใจเป็นอย่างดี ผู้เขียนจ�ำเป็นต้องกลับมาพิจารณา ตัวอย่างจากมาร์บัคอีกครั้งหนึ่ง เพราะเจ้าหน้าที่ด้านวิชาการของหอจดหมายเหตุ แห่งนี้มีความเชี่ยวชาญสูงมากในการจัดนิทรรศการ พวกเขาจะไม่พึงพอใจ เพียงแต่จะน�ำเอกสารที่ส�ำคัญๆ มาแสดงเพียงเท่านั้น แต่มีความทะเยอทะยาน ถึงขั้นที่จะตั้งหัวข้อ (theme) เอาไว้ แล้วลงมือท�ำวิจัยเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าว เพื่อที่จะก�ำหนดให้ได้ว่าจะเลือกเฟ้นวัสดุจดหมายเหตุใดมาแสดง จะสร้าง ความเชื่อมโยงระหว่างเอกสารต่างๆ ได้อย่างไร หรือจะสร้างเอกภาพให้แก่ นิทรรศการด้วยวิธีการใด ที่ส�ำคัญก็คือเขาใช้จดหมายเหตุเป็นค�ำตอบให้แก่ โจทย์ที่ตั้งไว้ได้หรือไม่ จะขอยกตัวอย่างนิทรรศการครั้งหนึ่งที่พวกเขาตั้งชื่อ 30 ว่า “วรรณกรรมในยุคอุตสาหกรรม” (ภาพ 10) มีการน�ำหนังสือที่ตีพิมพ์ใน ยุคนั้น รวมทั้งงานวิชาการที่เกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวมาแสดง นอกจากนั้นก็ Vol. 21 มีการคัดสรรจดหมายและต้นฉบับของนักเขียนที่ส�ำคัญๆ รวมถึงข้อความที่ No. 3 คัดมาจากหนังสือพิมพ์ (ซึ่งมาร์บัคสะสมมาอย่างต่อเนื่อง) อีกทั้ง Jul. - ภาพประกอบจากแหล่งต่างๆ ทุกครั้งจะมีการจัดพิมพ์สูจิบัตร (catalogue) Sep. ที่เรียกได้ว่าเป็นผลของการวิจัยอันกว้างขวางและลึกซึ้ง ผู้คนเดินทางจาก 2015 ที่ต่างๆ มาชมนิทรรศการที่เมืองเล็กๆ แห่งนี้ และก็ได้รับความรู้ที่เป็นรูปธรรม มากกว่าหนังสือหรือต�ำราที่เขียนโดยศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์สังคม หรือวรรณคดีศึกษาเสียอีก แต่เดิมมีการจัดนิทรรศการที่อาคารหลังเก่าของ สมาคมชิลเลอร์แห่งเยอรมนี ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ต่อมา แคว้นบาเดน-วืตเตมแบร์กและรัฐบาลกลางร่วมกันจัดสรรงบประมาณให้ สร้างอาคารนิทรรศการหลังใหม่ขึ้น โดยมีการประกวดแบบ และผู้ชนะการ ประกวดเป็นสถาปนิกชาวอังกฤษที่มีผลงานระดับนานาชาติมาตลอด คือ David Chipperfield ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐให้เกียรติมาเปิดพิพิธภัณฑ์ วรรณคดียุคใหม่ (ที่รู้จักกันเป็นภาษาเยอรมันว่า “Literaturmuseum der Moderne”) (ภาพ 11) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2006 แล้วกล่าวสุนทรพจน์ ที่มีความตอนหนึ่งที่น่าประทับใจว่า “ถ้าเราจะค้นหาว่าจะหาที่อยู่สักแห่งใน การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

เยอรมนีให้แก่วรรณคดีแล้วละก็ เราก็ได้พบมันได้ที่มาร์บัค แน่นอนที่ประเทศ อื่นๆ คงจะไปตั้งสถาบันเช่นนี้ในเมืองหลวง แต่วัฒนธรรมในเยอรมนีมีเมืองหลวง หลายแห่ง นั่นคือความหลากหลายอันเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิภาพ เยอรมัน”12 เรื่องของจดหมายเหตุในที่นี้จึงกลายเป็นเรื่องของคนที่มีของดี รู้จักใช้ของดีนั้น และผู้คนก็เห็นพ้องว่าของนั้นดีจริง นั่นคือปรากฏการณ์ทาง “วัฒนธรรม” ที่เราควรยกย่อง

31

ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 ภาพ 10 : สูจิบัตรนิทรรศการ “วรรณคดีในยุคอุตสาหกรรม” ก.ค. ที่มา : http://ecx.images-amazon.com/ image /A1PvX3RtRhL.jpg - ก.ย. 2558

ภาพ 11 : พิพิธภัณฑ์วรรณคดียุคใหม่ (Literaturmuseum der Moderne) (ภาพถ่ายโดยผู้เขียน)

12 Chetana Nagavajara, Auf der Suche nach einer grenzüberschreitenden Wissenschaftskultur, (Nakorn Pathom: Department of German, , 2013), 36. ประเด็นที่เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ที่ผูกอยู่กับสถาปัตยกรรมและสถานที่ตั้ง ของหอสมุดได้รับการวิเคราะห์ไว้แล้วในบทความของผู้เขียน ชื่อ “สุนทรีภาพแห่งการวิจัย” (อ้างแล้ว) การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

เรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมมารองรับสมบัติ ทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่คนไทยรู้จักดี ถ้าเอ่ยถึงหอไตร เราก็จะสังเกตได้ ว่า หอไตรของพระอารามบางแห่งเป็นเพชรแห่งสถาปัตยกรรมไทย ในโลก ตะวันตกที่วัฒนธรรมลายลักษณ์เป็นใหญ่มาตั้งแต่ก่อนมีการประดิษฐ์แท่น พิมพ์ หอสมุดของวัดคริสต์ต่างๆ ตั้งแต่มัธยสมัยเป็นต้นมา มักเป็นแหล่ง เก็บมหาสมบัติที่เป็นทั้งหนังสือและจดหมายเหตุ และทุกยุคสมัย สถาปนิก จะแข่งขันกันในการออกแบบห้องสมุดที่นับได้ว่าเป็นงานชิ้นเอก โดยเฉพาะ ยุคบารอคมีผลงานที่ยอดเยี่ยมอยู่หลายแห่ง เมื่อประมาณ 15 ปีมาแล้ว ผู้เขียน ได้ไปประชุมทางวิชาการที่สวิตเซอร์แลนด์ในฤดูหนาว (เดือนมกราคม) และ ได้รับค�ำแนะน�ำจากชาวสวิสคนหนึ่งว่า ไม่ควรจะพลาดโอกาสที่จะไปเยี่ยม 32 วัดนิกายเบเนดิกตีนที่เมืองเล็กๆ บนภูเขาใกล้กับนคร ZÜrich ชื่อ Einsiedeln ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1130 ที่นั่นพระมีธรรมเนียมการสวดมนต์เย็น (Vesper) Vol. 21 ที่เคร่งขรึมและไพเราะต่อเนื่องกันมาเกือบหนึ่งพันปีแล้ว นอกจากนั้นยังมี No. 3 ห้องสมุดประจ�ำวัดที่สวยงามยิ่ง ผู้เขียนขึ้นรถไฟไปที่นั่นในขณะที่อุณหภูมิ Jul. ๐ - ภายนอกอยู่ที่ -10 C ได้ไปฟังการสวดมนต์เย็นที่ฟังแล้วน่าประทับใจ แต่ Sep. ก็ไม่สามารถฟังได้จนจบ เพราะอากาศในโบสถ์หนาวมาก เมื่อผันตัวจะไป 2015 ชมหอสมุดอันเลื่องชื่อ หลวงพี่ท่านหนึ่งก็บอกว่าปีหน้าจะมาใหม่ได้หรือไม่ เพราะตอนนี้ปิดซ่อม เป็นอันว่าผู้เขียนได้รับเพียงรสแห่งมนตราแห่งศาสนา คริสต์ แต่มิได้มีโอกาสชื่นชมวัฒนธรรมลายลักษณ์อันล�้ำค่า ประเด็นที่ว่าด้วยจดหมายเหตุกับการรวบรวม การจัดการ และ การสนองความต้องการของผู้ใช้และมหาชน ถือได้ว่าเป็นประเด็นที่บ่งชี้ ส�ำนึกของสังคม จดหมายเหตุจึงมิใช่มีความส�ำคัญแต่เฉพาะกับวงวิชาการ แต่เป็นดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของสังคมอารยะได้ด้วย

การใช้จดหมายเหตุในการวิจัย: กรณีศึกษา ผู้เขียนใคร่ขอน�ำประสบการณ์ส่วนตนที่เกี่ยวกับการใช้จดหมายเหตุ มาอภิปรายในที่นี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนประเด็นเชิงหลักการที่ได้เสนอมา การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ข้างต้น ทั้งนี้จ�ำเป็นที่จะต้องเท้าความไปถึงมูลเหตุที่กระตุ้นให้ผู้เขียนเลือก ท�ำวิจัยในแต่ละเรื่องไว้ด้วย งานวิจัยชิ้นแรกที่จะกล่าวถึง เป็นงานที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง กวีและนักการละครเอกของเยอรมัน คือ แบร์ทอลท์ เบรชท์ กับประเทศ ฝรั่งเศส ซึ่งผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อ Brecht and France (Bern: Peter Lang, 1994) ก่อนที่จะอภิปรายประเด็น เรื่องการใช้จดหมายเหตุในการค้นคว้าเรื่องเบรชท์ จะขออนุญาตเล่าภูมิหลัง เกี่ยวกับการที่ผู้เขียนให้ความสนใจกับงานของกวีและนักการละครเยอรมัน ผู้นี้ ในราวปี 1960 ขณะที่ผู้เขียนศึกษาระดับปริญญาตรีด้านภาษาปัจจุบัน อยู่ในประเทศอังกฤษ นักศึกษาของ Fitzwilliam House (ซึ่งต่อมาเปลี่ยน ชื่อเป็น Fitzwilliam College) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ น�ำละครเรื่อง ข้อ 33 ยกเว้นและกฎเกณฑ์ (ชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Exception and the Rule”) ออกแสดงเป็นภาษาอังกฤษ พวกเขากล้าถึงขนาดไปเช่าห้องประชุมของ ปีที่ 21 ศาลาว่าการเมืองเคมบริดจ์เป็นสถานที่จัดแสดง และก็ปรากฏว่ามีผู้คน ฉบับที่ 3 ก.ค. มาชมไม่ถึงครึ่งโรง แต่นั่นก็มิได้สกัดกั้นความรักที่มีต่อศิลปะการละครของ - พวกเขาแต่ประการใด พวกเขามีวิญญาณของ “ผู้รักสมัครเล่น” อย่างแท้จริง เมื่อ ก.ย. มองย้อนกลับไป ผู้เขียนคิดว่า พวกเขาแสดงได้ดีทีเดียว และการสร้างฉากที่ 2558 เรียบง่าย ถือได้ว่าเป็นความส�ำเร็จอย่างหนึ่ง นอกจากนั้น พวกเขาที่เรียน ดนตรีก็ยังกล้าหาญถึงขั้นที่จะใช้ดนตรีประกอบฉบับดั้งเดิม ซึ่งผู้แต่งคือ Paul Dessau (ค.ศ. 1894-1979) เป็นดนตรีที่เล่นยากมาก ผู้เขียนจ�ำได้ว่าคนที่ เล่นบัสซูน (bassoon) ต้องท�ำงานหนักมาก แต่ก็พาตัวไปจนรอด เสียงดนตรี ค่อนข้างจะแปร่งเพี้ยน (ด้วยความจงใจของผู้ประพันธ์) เข้ากับทฤษฎีของ เบรชท์ที่ว่าด้วย “การท�ำให้แปลก” (เรียกในภาษาเยอรมันว่า “Verfremdung”) ซึ่งเป็นตัวที่ชวนให้ผู้ดูผู้ชมต้องฉุกคิดอยู่ตลอดเวลา และเป็นตัวผลักดันให้ ละครของเบรชท์เป็นละครแห่งความคิดที่สร้างความหฤหรรษ์ไปพร้อมกันด้วย เชื้อไฟจากการได้ชมการแสดงของกลุ่มสมัครเล่นครั้งนั้น ท�ำให้ ผู้เขียนสนใจติดตามงานของเบรชท์ต่อมา การที่ได้ศึกษาภาษาและวรรณคดี การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

เยอรมันเป็นหนึ่งในสองวิชาเอกในระดับปริญญาตรี ท�ำให้ค่อยๆ ซึมซับ รสแห่งศิลปะของเบรชท์ไปทีละเล็กละน้อย เมื่อได้ข้ามไปศึกษาต่อในระดับ ปริญญาเอกในเยอรมนี ก็ได้มีโอกาสชมละครของเบรชท์ที่เป็นต้นฉบับบ่อย ครั้งขึ้น เรียกได้ว่าเข้าใจทั้งตัวบทและชื่นชมกับการแสดง ซ�้ำเมื่อได้กลับ มายังประเทศไทยแล้ว ก็ได้มีโอกาสชมละครของเบรชท์อีกหลายเรื่อง ซึ่งมี ผู้ดัดแปลงเป็นภาษาไทย อาจกล่าวได้ว่าเรื่องที่ประทับใจผู้เขียนที่สุดคือ ข้อยกเว้นและกฎเกณฑ์ ซึ่งมีผู้ก�ำกับการแสดงจากเยอรมนีมาช่วยฝึกซ้อม นักแสดง และผู้เขียนก็ได้วิเคราะห์การแสดงครั้งนั้นไว้ในเอกสารที่น�ำไปเสนอ ต่อการประชุมของสมาคมวรรณคดีเปรียบเทียบนานาชาติ ณ กรุงนิวยอร์ก เมื่อ ค.ศ. 198213 34 ความสนใจอย่างต่อเนื่องท�ำให้ผู้เขียนใคร่ที่จะเสนอภาพรวมของ ผลงานการละครของเบรชท์ จึงได้เขียนหนังสือเรื่อง วรรณกรรมละครของ Vol. 21 แบร์ทอล์ท เบรคชท์ : การศึกษาเชิงวิจารณ์ ขึ้น (จัดพิมพ์โดยมูลนิธิโครงการ No. 3 ต�ำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เมื่อปี 2526) เป็นการวิเคราะห์บท Jul. - ละครทุกเรื่องของนักประพันธ์ท่านนี้ ซึ่งมิใช่เป็นเพียงการอ่านวรรณกรรม Sep. บทละคร แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการได้ชมการแสดงจริงทั้งในยุโรปและ 2015 ในประเทศไทยเอง หนังสือเล่มนี้เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในหมู่ผู้เรียนวิชาการ ละคร ผู้ก�ำกับการแสดง และนักแสดงของไทย ทั้งนี้เพราะนักแสดงของไทย จ�ำนวนหนึ่งสนใจเบรชท์อย่างจริงจัง ด้วยเหตุที่เนื้อหาปลุกความส�ำนึกเชิง สังคม เหมาะกับยุคสมัย และกลวิธีการละครก็เป็นนวัตกรรมที่ชักจูงให้ พวกเขาได้แสวงหาแนวทางที่จะต่อยอดจากละครเบรชท์ ละครไทยที่จัดได้ว่า สร้างขึ้นด้วยแรงดลใจจากเบรชท์ก็คือ คือผู้อภิวัฒน์ (ภาพ 12) ซึ่งเขียนบท และก�ำกับการแสดงโดย ค�ำรณ คุณะดิลก อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ซึ่งได้ไปใช้ชีวิตอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลาร่วมทศวรรษ ผู้เขียนได้

13 Chetana Nagavajara, Comparative Literature from a Thai Perspective, (: Press, 1996), 95-106. การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

วิเคราะห์งานชิ้นดังกล่าวที่ถือว่าเป็นหมุดหมายของพัฒนาการของการละคร สมัยใหม่ในประเทศไทยเอาไว้ด้วย14

ภาพ 12 : ละครเรื่อง “คือผู้อภิวัฒน์” และการแสดงโดยนักแสดงสมัครเล่น ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20100623/63792/63792.html 35

เมื่อได้ศึกษางานของเบรชท์มาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ผู้เขียนซึ่งได้ ปีที่ 21 ศึกษาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสมาด้วยอย่างต่อเนื่อง เกิดความคิดว่า ฉบับที่ 3 ก.ค. เบรชท์มีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับความคิดทางสังคม การเมือง และศิลปะของ - ฝรั่งเศส และก็ยังไม่มีนักวิชาการผู้ใดศึกษาประเด็นที่ว่าด้วยเบรชท์กับ ก.ย. ฝรั่งเศสไว้เลย มีแต่งานที่ว่าด้วยผลกระทบของละครเบรชท์ในประเทศ 2558 ฝรั่งเศส วิธีการศึกษาที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในกรอบของวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ ก็คือการน�ำตัวบทมาศึกษาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์ต่อกัน หรือไม่ เพียงใด จริงอยู่ในกรณีของเบรชท์ก็อาจใช้วิธีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า เบรชท์ได้รับอิทธิพลจากนักประพันธ์ฝรั่งเศสคนใดบ้าง และในลักษณะใด หรืออาจจะศึกษาว่าเบรชท์ “สนทนา” กับท่านเหล่านั้นอย่างไร เพียงเท่านั้น ก็อาจจะได้งานวิจัยในรูปแบบเดิมๆ ออกมาอีกเล่มหนึ่ง แต่ผู้เขียนคิดว่ายังมี มิติอีกหลายมิติที่ไม่สามารถจะสร้างความกระจ่างได้ด้วยการศึกษาแต่เพียง

14 เจตนา นาควัชระ, “คือผู้อภิวัฒน์ : ทางอันแจ่มใสของละครเวทีไทย”, ครุ่นคิดพินิจนึก, (กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, 2544), 198-206. การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

ตัวบท สิ่งที่น่าจะท�ำก็คือ หาหลักฐานเพิ่มเติมจากตัวบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เรื่องเบรชท์ หรือผู้ที่เคยได้ร่วมงานกับเบรชท์ ผลการวิจัยที่ได้จากการ สัมภาษณ์ท่านเหล่านั้น มิได้ให้ค�ำตอบดังที่ผู้เขียนต้องการ15 เพราะท่าน เหล่านั้นมิได้ให้ความสนใจต่อเรื่องความสัมพันธ์ทางความคิดระหว่างเบรชท์ กับฝรั่งเศส นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมันตะวันตกบางคนกล่าวอ้าง ว่า “ได้ส�ำรวจจดหมายเหตุมาหมดแล้ว ไม่มีข้อมูลที่ว่าเบรชท์สนใจฝรั่งเศส อย่างจริงจัง” ผู้เขียนเป็นนักวิชาการที่ไม่เชื่อลมปากผู้ใดอย่างง่ายดายนัก จนกว่าจะได้ลงมือค้นคว้าด้วยตนเอง การไปวิจัยในเยอรมนีตะวันออกใน ครั้งนั้น ถือว่าเป็นความเสี่ยงทางวิชาการอย่างมาก เพราะตัวที่น�ำทางก็คือ “ความสามารถในการดมทางทางวิชาการ” (serendipity) ซึ่งอธิบายเป็นเหตุ 36 เป็นผลไม่ได้ ทางออกทางเดียวที่มีอยู่ก็คือการเข้าถึงจดหมายเหตุ ที่ได้ รวบรวมเอาไว้ที่ “หอจดหมายเหตุ แบร์ทอลท์ เบรชท์” (Bertolt-Brecht- Vol. 21 Archiv) ณ กรุงเบอร์ลินตะวันออก การฝ่าก�ำแพงเบอร์ลินจากเบอร์ลินตะวันตก No. 3 ในปี 1987 นับว่าเป็นอุปสรรคอยู่ไม่น้อย แม้ว่าผู้เขียนจะมีจดหมายเชิญจาก Jul. - ผู้อ�ำนวยการของ “หอจดหมายเหตุ แบร์ทอลท์ เบรชท์” ติดตัวอยู่ ทั้งนี้เพราะ Sep. ด่านตรวจคนเข้าเมืองของเยอรมนีตะวันออกเข้มงวดกวดขันมาก และเจ้าหน้าที่ 2015 ก็ท�ำงานล่าช้ากว่าในอารยะประเทศมากนัก ส�ำหรับหอจดหมายเหตุนั้นตั้ง อยู่ในบ้านพักดั้งเดิมของเบรชท์เอง เนื้อที่ไม่มากนัก แต่ต้องยอมรับว่า การเก็บ เอกสารท�ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะจดหมายของเบรชท์ นักวิชาการ ด้านจดหมายเหตุของสถาบันแห่งนั้นได้อ่านส�ำเนาจดหมายทุกฉบับของ เบรชท์แล้ว (เบรชท์ชอบใช้พิมพ์ดีดมากกว่าเขียนด้วยลายมือ และเก็บส�ำเนา จดหมายเอาไว้) รวมทั้งจดหมายถึงเบรชท์ที่มีอยู่ด้วยจ�ำนวนหนึ่ง และได้ ย่อเนื้อหาไว้สั้นๆ รวบรวมด้วยกระดาษพิมพ์ดีดเป็นเล่มในรูปของดัชนี ซึ่ง อ�ำนวยความสะดวกอย่างอเนกอนันต์ต่อผู้วิจัย ดัชนีเล่มนั้นที่ผู้เขียนได้ใช้ อาจเป็นเล่มที่ 2 ที่มีอยู่ในโลกนี้ ส่วนเล่มที่ 1 ที่เป็นต้นฉบับนั้น 15 Chetana Nagavajara, “Chapter 1: Introduction”, Brecht and France, (Bern: Peter Lang, 1993.), 1-14. การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

หอจดหมายเหตุน่าจะเก็บรักษาไว้เอง ไม่ให้ผู้อื่นใช้ ภายในเวลาไม่กี่วัน ผู้เขียน ก็ลงความเห็นได้ว่า หัวข้อวิจัยนี้น่าจะส�ำเร็จลุล่วงไปได้อย่างแน่นอน เพราะ มีหลักฐานเอกสารที่เป็นรูปธรรมหนุนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวรรณคดี ฝรั่งเศส เรื่องของการน�ำคณะละคร Berlin Ensemble ไปแสดงในต่างประเทศ รวมทั้งปารีส เรื่องของความเฉยเมยของรัฐบาลเยอรมนีตะวันออกที่มีต่อผล งานของคณะละครของเบรชท์ในต่างประเทศ ซึ่งเบรชท์เขียนไปต่อว่าต่อขาน อย่างรุนแรง หลักฐานเหล่านี้มีน�้ำหนักต่อการวิจัยมาก ยิ่งไปกว่านั้นยังพบ หลักฐานว่าเบรชท์เองจัดได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญวรรณคดีฝรั่งเศส มีเอกสาร ฉบับหนึ่งซึ่งเป็นจดหมายตอบกระทรวงศึกษาธิการว่า หนังสือต่างประเทศ ที่นักเรียนมัธยมของเยอรมนีตะวันออกควรจะอ่านมีอะไรบ้าง ซึ่งปรากฏว่า มีงานที่เป็นวรรณคดีฝรั่งเศสอยู่เป็นจ�ำนวนมาก (ซึ่งนักเรียนก็คงจะต้องอ่าน 37 ฉบับแปล) นอกจากจดหมายเหตุที่เป็นเอกสารแล้ว หอจดหมายเหตุยังรักษา ปีที่ 21 ห้องสมุดส่วนตัวของเบรชท์ไว้อย่างดีมาก (ภาพ 13) ผู้เขียนพบหนังสือ ฉบับที่ 3 ก.ค. วรรณคดีและปรัชญาฝรั่งเศสเป็นจ�ำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นฉบับแปลเป็น - ภาษาเยอรมัน ซึ่งหมายความว่า ภาษาฝรั่งเศสของเบรชท์ที่ได้เรียนมาใน ก.ย. ระดับมัธยมนั้นอาจจะถดถอยไปบ้างแล้ว ในหนังสือส่วนใหญ่มีรอยขีดด้วย 2558 ดินสอเส้นหนา ทั้งที่เป็นการขีดแนวตั้งทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และเป็นการ ขีดเส้นใต้ ผู้เขียนไม่แน่ใจว่ารอยขีดเหล่านั้นเป็นของเบรชท์เองหรือไม่ นับเป็นโชคมหาศาลที่หนึ่งในผู้ก่อตั้งหอจดหมายเหตุฯ คือ Frau Herta Ramthum ยังมาท�ำงานที่นั่นเป็นบางวัน ผู้เขียนจึงไปขอความรู้จากท่าน ซึ่ง ท่านก็ได้ถ่ายทอดวิชาที่ว่านี้ให้ด้วยความเต็มใจ ท่านรู้จักเบรชท์เป็นอย่างดี และทราบว่าเขาชอบขีดลงบทหนังสือด้วยเส้นหนาๆ เป็นแนวตั้ง ทั้งนี้เพื่อ เน้นข้อความที่ถูกใจเขา ข้อแนะน�ำเพียงเท่านี้ก็ท�ำให้ผู้เขียนท�ำงานวิจัยก้าวไป อีกขั้นหนึ่ง ทั้งนี้เพราะคาดเดาอยู่แล้วว่า เนื้อหาบางตอนของหนังสือฝรั่งเศส เล่มนั้นเล่มนี้น่าจะตรงกับความคิดของเบรชท์เอง ตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ หนังสือบันทึกความทรงจ�ำฉบับภาษาเยอรมันของ Louis de Rouvroy, Duc การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

de Saint-Simon (ค.ศ. 1675-1755) ขุนนางในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่ง ดูถูกพระเจ้าหลุยส์มากว่าเป็นผู้อ่อนด้อยด้วยปัญญา และการสนับสนุนศิลป วัฒนธรรมของพระองค์นั้นเป็นเพียงการแสดงเพื่อเสริมบารมีอย่างหนึ่ง มี ข้อความตอนหนึ่งที่เขาเขียนเอาไว้ว่า “พระองค์ท่านไม่เคยอ่านหนังสือแม้แต่ เล่มเดียวในชีวิต”16 (ซึ่งในความจริงไม่น่าจะเป็นไปได้) ข้างๆ ข้อความนั้น พบว่ามีรอยขีดแนวตั้งอยู่หลายเส้นทั้งหน้าและหลัง การพิจารณาในด้าน เนื้อหาก็ย่อมจะชี้ไปในทางที่ว่า เบรชท์ต้องสะใจเป็นอันมากที่ข้าราชบริพาร ของพระเจ้าหลุยส์เองกล้าวิจารณ์พระราชาถึงเพียงนี้ แต่ถ้าไม่มีหลักฐาน รอยขีดเหล่านั้น ข้อสันนิษฐานของผู้เขียนก็ย่อมจะมีน�้ำหนักน้อย ผู้เขียน เป็นหนี้บุญคุณ Frau Ramthum เป็นอันมาก เพราะได้พบข้อความอีกหลาย 38 ตอนซึ่งมีรอยขีดในท�ำนองที่คล้ายคลึงกัน นับเป็นโชคอันมหาศาลที่ผู้เขียน ได้รับทอดวิชาดังกล่าวมา เพราะอีก 1 ปีหลังจากนั้น Frau Ramthum ก็ถึง Vol. 21 แก่กรรม หนังสือ Brecht and France ของผู้เขียนน่าจะมีช่องว่างมากมาย No. 3 ถ้าผู้เขียนมิได้มีโอกาสใช้เวลา 6 สัปดาห์ในการวิจัย ณ Bertolt-Brecht- Jul. - Archiv แห่งนั้น ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เล่าถึงแง่มุมทางด้านสังคมและสุนทรียภาพ 17 Sep. ที่ได้มาจากการไปวิจัยในครั้งนั้นไว้แล้วในบทความ “สุนทรียภาพแห่งการวิจัย” 2015

ภาพ 13 : บ้านของเบรชท์ที่เบอร์ลิน ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์เเละหอจดหมายเหตุ ที่มา : http://static.bz-berlin.de/data/uploads/multimedia/ archive/00440/brecht-haus_440458a-1024x576.jpg

16 Chetana Nagavajara, Brecht and France, 87. 17 เจตนา นาควัชระ, “สุนทรียศาสตร์แห่งการวิจัย,” จุดยืนของมนุษยศาสตร์, 123-133. การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ตัวอย่างที่ 2 เป็นตัวอย่างจากการวิจัยที่ผู้เขียนยังมิได้เขียนรายงาน ฉบับสุดท้าย หัวข้อคือ การฟื้นตัวของวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบในเยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1945-1975) ซึ่งเขียนเป็นภาษาเยอรมัน ผู้เขียน ใช้ข้อมูลจดหมายเหตุ ทั้งที่ Deutsches Literaturarchiv Marbach และที่ หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยทือบิงเงน (Universitätsarchiv TÜbingen) โจทย์วิจัยนี้จัดได้ว่าเป็นช่องว่างทางความรู้ที่นักวิชาการเยอรมันยังมิได้ ด�ำเนินการแก้ไข ต�ำราและหนังสือที่เป็นเรื่องของประวัติของวิชาก็เขียนไว้ แต่เพียงคร่าวๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศาสตราจารย์เอแบร์ฮาร์ด แลมเมิร์ต พยายามที่จะสนับสนุนให้ผู้เขียนน�ำมาศึกษาอย่างจริงจัง และก็ได้ให้ค�ำ แนะน�ำที่เป็นประโยชน์เอาไว้ก่อนที่ท่านจะถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี 2015 ท่านคิดว่ามุมมองของบุคคลที่มิใช่ชาวเยอรมันและมีประสบการณ์ในการ 39 ศึกษาวิชานี้ในมหาวิทยาลัยเยอรมันด้วยตนเอง ย่อมจะมีความเป็นกลาง มากกว่าที่คนเยอรมันจะวิจัยเอง ผู้เขียนเองไม่กล้าที่จะกล่าวอ้างว่าจะท�ำได้ ปีที่ 21 ส�ำเร็จเท่าที่ท่านได้คาดหวังไว้หรือไม่ แต่เมื่อได้อ่านงานวิชาการของนักวิชาการ ฉบับที่ 3 ก.ค. เยอรมันก็พบว่า นักวิชาการแต่ละส�ำนักมักจะเขียนเชิดชูสถาบันของตัวเอง - ล่าสุดที่เห็นได้ชัดก็คือ หนังสือฉลอง 50 ปีของการก่อตั้ง สถาบันวรรณคดี ก.ย. ทั่วไปและวรรณคดีเปรียบเทียบ ของมหาวิทยาลัยเบอร์ลินเสรี ชื่อ Nach 2558 Szondi: Allgemeine und vergleichende Literaturwissenschaft an der Freien Universität Berlin 1965-2015, Berlin: Kulturverlag Kadmos, 2016 (ภาพ 14) (ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้เขียนบทความไปลงพิมพ์ไว้ด้วย ทั้งนี้ด้วยเหตุผล ของมิตรภาพที่เคยมีต่อศาสตราจารย์แลมเมิร์ต ที่ผู้เขียนเคารพนับถือเป็น อย่างยิ่ง) หนังสือเล่มนี้ยกย่องผู้ก่อตั้งชาวฮังกาเรียน คือ Peter Szondi (ค.ศ. 1929-1971) ไว้ราวกับเป็นเทพ ซึ่งความจริงท่านผู้นี้ก็เป็นผู้ที่สร้างคุณูปการ ไว้มากในช่วงชีวิตอันสั้นของท่าน (ซึ่งจบลงด้วยอัตวินิบาตกรรม อาจจะเป็น เพราะความกดดันจากการที่เคยถูกพวกนาซีจับเข้าค่ายกักกันในเยาว์วัย เพราะเขาเป็นยิว) การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

ภาพ 14 : ปกหนังสือ Nach Szondi: Allgemeine und vergleichende Literaturwissenschaft an der Freien UniversitÜt Berlin 1965-2015 (ภาพถ่ายจากต้นฉบับ) 40 การค้นคว้าโดยใช้จดหมายเหตุของผู้เขียนท�ำให้สามารถตอบประเด็น Vol. 21 ใหญ่ๆ และประเด็นเล็กๆ ไปได้พร้อมกัน จะขอกล่าวถึงประเด็นเล็กๆ ประเด็น No. 3 หนึ่งเสียก่อน คือ ข้อกล่าวหาที่ว่าครูของผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งวิชาวรรณคดี Jul. เปรียบเทียบขึ้นในเยอรมนีตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และสอนและวิจัย - วิชานี้มาจนเกษียณอายุในปี 1975 ข้อกล่าวหาที่ว่าก็คือ ท่านมีอคติในด้าน Sep. ของการต่อต้านชนเชื้อชาติยิว และร้ายยิ่งไปกว่านั้นคือเป็นสมาชิกของพรรค 2015 นาซี เรื่องนี้ยังเป็นที่เชื่อกันในวงการจนกระทั่งทุกวันนี้ แต่จากจดหมายเหตุ ของท่านทีเก็บรักษาไว้ที่มาร์บัคและทือบิงเงนมีหลักฐานชัดเจน ทั้งที่เป็น จดหมายส่วนตัวของท่านถึงนักวรรณคดีเปรียบเทียบอีกท่านหนึ่ง และทั้ง ที่เป็นจดหมายอันเป็นทางการจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยทือบิงเงนว่า ท่าน ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือองค์กรทางการเมืองใดๆ เลย1 8 ผู้เขียนได้โอกาสที่จะน�ำความจริงมาเผยแพร่ก่อนที่จะสรุปงานวิจัยชิ้นนี้เสียอีก เมื่อสภาวิชาการด้านศิลปะของแคว้นบาวาเรีย (Bayerische Akademie der

18 จดหมายภาษาเยอรมันเขียนด้วยลายมือจาก Kurt Wais ถึง Horst Rüdiger ลงวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1964 และจดหมายภาษาอังกฤษ ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 1945 จาก อธิการบดีมหาวิทยาลัย Tübingen ถึง The (American) Military Government. Hamburg (หมายเลขเอกสาร Universitätsarchiv Tübingen 431/1483) การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ สงขลานครินทร์ |ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

KÜnste) ได้เชิญให้ผู้เขียนเขียนบทความเกี่ยวกับ Kurt Wais ลงในสารานุกรม ชีวประวัติของเยอรมนีฉบับใหม่ (Neue Deutsche Biographie) ซึ่งขณะนี้ ก�ำลังเตรียมต้นฉบับ และกองบรรณาธิการก็ยอมรับการยืนยันความบริสุทธิ์ ของอาจารย์ของผู้เขียนแล้ว ประเด็นที่ส�ำคัญกว่านั้นซึ่งมาจากหลักฐานที่เก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ ของมหาวิทยาลัยทือบิงเงนก็คือ ความใจกว้างของผู้ชนะสงคราม ในที่นี้ก็คือ ฝรั่งเศส ที่สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนอย่างรวดเร็ว เมื่อสงครามสิ้นสุดลง และผลักดันให้มีการสอนและวิจัยในวิชาวรรณคดี เปรียบเทียบขึ้น เพื่อเป็นการเปิดแนวคิดใหม่ให้แก่วงการวิชาการของเยอรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิสิตนักศึกษาส่วนหนึ่งที่ก�ำลังกลับมาจากสงครามและ เริ่มศึกษาใหม่ จากหลักฐานที่ปรากฏ มหาวิทยาลัยทือบิงเงนเองก็มีความคิด 41 ไปในแนวทางเดียวกันว่า วิทยาการสาขานี้จะเป็นแสงส่องทางให้เกิดทัศนคติ ใหม่ที่จะจรรโลงประชาคมนานาชาติ ถ้าปราศจากข้อมูลที่เป็นจดหมายเหตุ ปีที่ 21 ผู้เขียนก็คงไม่มีทางได้ข้อสรุปไปในแนวทางนี้ ฉบับที่ 3 ก.ค. ข้อค้นพบอีกประการหนึ่งที่ได้จากจดหมายเหตุจากเมืองมาร์บัค - ก็คือ ความทุ่มเทของนักวิชาการรุ่นบุกเบิกในช่วงหลังสงครามที่จะสร้าง ก.ย. ความเป็นปึกแผ่นให้แก่วิทยาการสาขานี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การริเริ่ม 2558 วารสารด้านวรรณคดีเปรียบเทียบฉบับใหม่ ชื่อ Arcadia ซึ่งบรรณาธิการ ผู้ก่อตั้งคือ Horst RÜdiger (ค.ศ. 1908-1984) ผู้ซึ่งทุ่มเทก�ำลังกายและก�ำลัง ใจอย่างสุดความสามารถในการที่จะสร้างเวทีกลางนี้ขึ้นมา โดยได้รับความ ร่วมมือจากนักวิชาการรุ่นเดียวกันและรุ่นหลังเป็นอย่างดี ในจดหมายโต้ตอบ กับ Kurt Wais นักวิชาการทั้งสองเน้นย�้ำความส�ำคัญที่จะต้องสร้างความ แข็งแกร่งให้กับนักวิชาการรุ่นหลัง ค�ำว่า “Nachwuchs” ซึ่งแปลว่า (“ผู้ที่จะ เติบโตตามมา” ปรากฏขึ้นบ่อยครั้ง) นอกจากนี้กลุ่มของ Horst RÜdiger ยังริเริ่มการก่อตั้งสมาคมวรรณคดีเปรียบเทียบของเยอรมันขึ้นมาด้วย ส่วน Kurt Wais นั้น ด้วยการที่มีความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีของ หลากชาติ หลากภาษา และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จึงให้ความ การใช้จดหมายเหตุในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์:... | เจตนา นาควัชระ

ร่วมมือด้วยการน�ำวงการเยอรมันไปสัมผัสกับวงการนานาชาติผ่านองค์กร 2 องค์กรคือ International Comparative Literature Association (ICLA) และ Fédération Internationale des Langues et Littératures Modernes (FILLM) ซึ่ง Kurt Wais ได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานของทั้งสองสมาคม วิชาวรรณคดีเปรียบเทียบของเยอรมันจึงเป็นพันธมิตรกับประชาคม นานาชาติมาตลอด (เป็นที่น่าเสียดายว่า Peter Szondi ต่อต้านความร่วม มือระหว่าง Kurt Wais กับ Horst RÜdiger อย่างเต็มที่ด้วยความเข้าใจผิด ว่า Kurt Wais เป็นนาซี) ยังมีแง่มุมอื่นๆ ที่ข้อมูลทางจดหมายเหตุช่วยให้ ภาพของการก่อตั้งของวิชานี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้เขียนจะได้น�ำเสนอใน รายงานการวิจัยในโอกาสอันเหมาะสมต่อไป 42 ปัจฉิมบท : จากทุติยภูมิสู่ปฐมภูมิ Vol. 21 กรณีตัวอย่างทั้งสองที่เสนอมาข้างต้นนี้ย่อมชี้ให้เห็นแล้วว่า การวิจัยที่ใช้ No. 3 ข้อมูลจดหมายเหตุสามารถช่วยตอบค�ำถามทางวิชาการที่ส�ำคัญๆ ได้ ซึ่ง Jul. - วิธีการศึกษาค้นคว้าอย่างอื่นอาจจะท�ำไม่ได้ การละเลยการวิจัยเชิง Sep. จดหมายเหตุในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาจท�ำให้วิชาการด้าน 2015 มนุษยศาสตร์กลายเป็นวิชาการที่พึ่งการฟุ้งฝันและการคิดเป็นนามธรรม มากขึ้น ไม่ใส่ใจหลักฐานที่เป็นรูปธรรม จึงขาดความแม่นย�ำ แม่นตรง และ เที่ยงธรรม ที่วิชาการทุกสาขาพึงมี เป็นที่น่ายินดีว่า ในปัจจุบันนักวิชาการด้าน มนุษยศาสตร์กลับมาเห็นความส�ำคัญของจดหมายเหตุ และในบางประเทศ ได้มีการทุ่มเททรัพยากรในทุกๆ ด้าน อันรวมถึงทรัพยากรมนุษย์ ในการสร้าง ความแข็งแกร่งให้แก่งานจดหมายเหตุ ส�ำหรับบ้านเรานั้น ข้อมูลที่เป็น จดหมายเหตุมีอยู่มาก สิ่งที่ยังจ�ำเป็นจะต้องพัฒนาก็คือ การสร้างระบบการ จัดการ และการชักจูงให้นักวิชาการหันมาใช้จดหมายเหตุมากขึ้น ในท้าย ที่สุด วิทยาการด้านมนุษยศาสตร์ของเราจะก้าวข้ามกับดักแห่งการแสวงหา ความรู้ระดับทุติยภูมิ ไปสู่การแสวงหาความจริงในระดับปฐมภูมิได้ อันจะ เป็นปัจจัยหลักที่สร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่วงการของเรา