â¤Ã§¡ÒäÇÒÁÁÑ蹤§ÈÖ¡ÉÒ (Security Studies Project) â¤Ã§¡ÒäÇÒÁÁÑ蹤§ÈÖ¡ÉÒàÃÔèÁ¢Ö鹨ҡ¤ÇÒÁÁØ‹§»ÃÐʧ¤·Õè¨Ð·´Åͧ¨Ñ´µÑé§ “·Ôé§á·Œ§¤ ´ŒÒ¹¤ÇÒÁÁÑ蹤§” (Security Think Tank) ¢Öé¹ã¹Êѧ¤Áä·Â ´ŒÇ¤ÇÒÁµÃÐË¹Ñ¡Ç‹Ò ÊÀÒÇÐ áÇ´ÅŒÍÁ´ŒÒ¹¤ÇÒÁÁÑ蹤§ã¹ÃдѺâÅ¡ ÃдѺÀÙÁÔÀÒ¤ áÅÐã¹ÃдѺªÒµÔ¢Í§ä·Â Ōǹᵋ༪ÔÞ ¡Ñº¤ÇÒÁ·ŒÒ·ÒÂãËÁ‹æ Í‹ҧäÁ‹à¤Â»ÃÒ¡¯ÁÒ¡‹Í¹ ¤ÇÒÁà»ÅÕè¹á»Å§·Ñé§ËÅÒ¹ÕéŌǹ໚¹ ¼ÅÊ׺à¹×èͧÍ‹ҧÊÓ¤ÑÞ¨Ò¡¡ÒÃÊÔé¹ÊØ´¢Í§Ê§¤ÃÒÁàÂç¹ã¹»‚ 2532/2533 µÅÍ´ÃÇÁ¶Ö§¡Òà ¡‹Í¡ÒÃÌҷÕèà¡Ô´¢Ö鹡ѺÊËÃÑ°ÍàÁÃÔ¡Òã¹Çѹ·Õè 11 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2544 áÅÐã¹Ê‹Ç¹¢Í§ä·Âàͧ ËÅѧ¨Ò¡¡ÒÃÂصԢͧʧ¤ÃÒÁ¤ÍÁÁÔǹÔʵÀÒÂã¹»ÃÐà·È¨¹¶Ö§à˵ءÒó»ÅŒ¹»„¹¤‹Ò·ËÒÃã¹ ¨Ñ§ËÇÑ´¹ÃÒ¸ÔÇÒÊàÁ×èÍÇѹ·Õè 4 Á¡ÃÒ¤Á 2547 ¡ç»ÃÒ¡¯ãËŒàË繶֧¤ÇÒÁà»ÅÕè¹á»Å§¢Í§»˜ÞËÒ ¤ÇÒÁÁÑ蹤§ä·Â ·Õè»ÃÐà´ç¹¤ÇÒÁ¤ÇÒÁÁÑ蹤§ãËÁ‹äÁ‹ä´Œ¼Ù¡µÔ´ÍÂÙ‹¡ÑºàÃ×èͧ¢Í§Ê§¤ÃÒÁàÂç¹ àª‹¹ã¹Í´Õµ ¼Å¨Ò¡¤ÇÒÁà»ÅÕè¹á»Å§àª‹¹¹Õé ·ÓãËŒÃÑ°áÅÐÊѧ¤Á¨ÓµŒÍ§à˧ÊÌҧͧ¤¤ÇÒÁÃÙŒ´ŒÒ¹ ¤ÇÒÁÁÑ蹤§ à¾×èÍ㪌໚¹à¤Ã×èͧÁ×Í㹡Òõ‹ÍÊÙŒ¡Ñº¤ÇÒÁ·ŒÒ·ÒÂãËÁ‹·Õèà¡Ô´¢Öé¹ã¹ºÃÔº·µ‹Ò§æ ´Ñ§¹Ñé¹ ã¹ª‹Ç§»ÅÒ»‚ 2547 â¤Ã§¡ÒäÇÒÁÁÑ蹤§ÈÖ¡ÉÒ¨Ö§¶×Í¡Óà¹Ô´¢Öé¹ â´Â์¹ ¡ÒôÓà¹Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁã¹ 3 ʋǹËÅÑ¡ 䴌ᡋ 1) ¡ÒÃÇԨѴŒÒ¹¤ÇÒÁÁÑ蹤§ (Security Research) ໚¹â¤Ã§¡ÒÃÇÔ¨ÑÂÃÐÂÐÊÑé¹ à¾×è͵ͺʹͧµ‹Í¤ÇÒÁµŒÍ§¡Òâͧ਌Ò˹ŒÒ·Õè ˹‹Ç§ҹ¤ÇÒÁÁÑ蹤§ä·Â ã¹ËÑÇ¢ŒÍ·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñº»ÃÐà´ç¹»˜ÞËÒ¤ÇÒÁÁÑ蹤§ ·Õè»ÃÐà·È¡ÓÅѧ༪ÔÞ ËÃ×ͤҴNjҨÐà¡Ô´¢Öé¹ã¹Í¹Ò¤µ 2) ¡ÒÃàÊǹҴŒÒ¹¤ÇÒÁÁÑ蹤§ (Security Forum) ໚¹¡ÒÃà»´àÇ·ÕàÊǹÒà¾×èÍáÅ¡à»ÅÕ蹤ÇÒÁàËç¹áÅлÃÐʺ¡Òó ÃÐËÇ‹Ò§ ¹Ñ¡ÇÔªÒ¡ÒáѺ਌Ò˹ŒÒ·Õè¼ÙŒ»¯ÔºÑµÔ§Ò¹ã¹»ÃÐà´ç¹»˜ÞËÒ¤ÇÒÁÁÑ蹤§ 3) àÍ¡ÊÒÃÇÔªÒ¡ÒôŒÒ¹¤ÇÒÁÁÑ蹤§ (Security Paper) â¤Ã§¡ÒÃä´Œ¨Ñ´¾ÔÁ¾ “¨ØÅÊÒäÇÒÁÁÑ蹤§ÈÖ¡ÉÒ” ÍÍ¡à¼Âá¾Ã‹ãËŒ¤ÇÒÁÃÙŒà¡ÕèÂǡѺ »ÃÐà´ç¹»˜ÞËÒ¤ÇÒÁÁÑ蹤§ã¹á§‹ÁØÁµ‹Ò§æ ᡋ਌Ò˹ŒÒ·Õè˹‹Ç§ҹ¤ÇÒÁÁÑ蹤§ áÅÐá¡‹Êѧ¤Áä·Âã¹Ç§¡ÇŒÒ§

â¤Ã§¡ÒäÇÒÁÁÑ蹤§ÈÖ¡ÉÒ ÁÕ ÃÈ. ´Ã. ÊØÃªÒµÔ ºÓÃاÊØ¢ ໚¹ËÑÇ˹ŒÒâ¤Ã§¡ÒÃÏ จุลสารความมั่นคงศึกษา พฤษภาคม 2553 ฉบับที่ 76

ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา The Temple of “Preah Vihear” : History and Cambodian Nationalism

พงษ์พันธ์ พึ่งตน เขียน สุรชาติ บำรุงสุข บรรณาธิการ

สนันสนุนการพิมพ์โดย สถาบันการข่าวกรอง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ 76 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา ผู้เขียน พงษ์พันธ์ พึ่งตน บรรณาธิการ สุรชาติ บำรุงสุข พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พฤษภาคม 2553 จำนวนพิมพ์ 1,000 เล่ม การพิมพ์ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการข่าวกรอง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ เจ้าของ โครงการความมั่นคงศึกษา ตู้ ปณ. 2030 ปณฝ. จุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ 10332 E-mail : [email protected] โทรศัพท์และโทรสาร 0-2218-7264

บรรณาธิการ รศ. ดร. สุรชาติ บำรุงสุข ผู้ช่วยบรรณาธิการ นาง ธนา ยศตระกูล ประจำกองบรรณาธิการ นางสาว กุลนันทน์ คันธิก นาย ศิบดี นพประเสริฐ ที่ปรึกษา พลโท วุฒินันท์ ลีลายุทธ พลเรือโท อมรเทพ ณ บางช้าง พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร พิมพ์ที่ บริษัท สแควร์ ปริ๊นซ์ 93 จำกัด 59, 59/1, 59/2 ซ.ปุณณวิถี 30 ถ.สุขุมวิท 101 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2743-8045 แฟกซ์. 0-2332-5058

สารบัญ Contents

คำนำ ก Preface

ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 1 The Temple of “Preah Vihear” : History and Cambodian Nationalism

เอกสารอ้างอิง 34 References

หมายเหตุผู้เขียน : ในจุลสารนี้จะใช้คำว่า “พระวิหาร” ในความหมายเฉพาะที่หมายถึงมุมมองของฝ่าย กัมพูชาซึ่งแตกต่างจากพระวิหารที่จะหมายถึงความเห็นของคนไทย ตามหลักการการถอดคำเขมร ด้วยอักษรไทยพึงเรียกโบราณสถานนี้ว่า เปรียะฮ์วิเฮีย แต่เนื่องจากคำคำนี้เป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้ ทาง “การเมืองวัฒนธรรม” ระหว่างทั้งสองฝ่ายคือไทยและกัมพูชา การเลือกใช้คำในแบบภาษา เขมรย่อมกระทบความสัมพันธ์เชิงอำนาจในหลายมิติโดยเฉพาะในฝั่งไทย ดังนั้นการเลือกใช้คำว่า พระวิหารในเครื่องหมายคำพูด ( “พระวิหาร” ) จึงเป็นสิ่งเหมาะสมที่จะใช้สื่อสารกับชาวไทยใน ปัจจุบัน

ที่มา : จุลสารนี้ตัดตอนจากวิทยานิพนธ์ของ พงษ์พันธ์ พึ่งตน, ปราสาทพระวิหาร: การเมือง วัฒนธรรมในกัมพูชายุคสังคมราษฎร์นิยม ค.ศ. 1955-1970 วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 คํานํา “A nation is only at peace when it’s at war.” Hugh Kingsmill (1889-1949) English man of letters นับตั้งแตรัฐบาลกัมพูชาไดขอจดทะเบียน “ปราสาทพระวิหาร” เปนมรดกโลก ในชวงตนป 2550 เปนตนมา ความสัมพันธระหวางไทยกับกัมพูชาคอยๆ ทรุดลงเปนลําดับ และยิ่งเมื่อผนวกกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายในหลังจากรัฐประหารกันยายน 2549 ที่ กรุงเทพฯ โดยในป 2551 ไดมีการเคลื่อนไหวใหญของกลุมพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย ที่นอกจากจะขับเคลื่อน “กระแสตอตานทักษิณ” ในรูปของการรณรงคภายใต ทิศทางแบบ “ตอตานทุนนิยม” ดวยการสรางวาทกรรม “ทุนนิยมสามานย” แลว กลุมพันธมิตรฯ หรืออาจจะเรียกเปนเชิงสัญลักษณวา “กลุมเสื้อเหลือง” ยังได ขับเคลื่อนโดยอาศัยการปลุกระดมประเด็น “ชาตินิยม” ทีมีกรณีปราสาทพระวิหารเปน ศูนยกลางของปญหา ผลของการผนวกการเปดประเด็น “ไมเอาทุนนิยม” เขากับประเด็น “เอาชาตินิยม” ทํา ใหอารมณความรูสึกของผูคนในสังคมไทยถูกกระตุนอยางมาก อันทําใหเกิดขอสังเกตในป 2551 วากระแสขวาไดกอตัวขึ้นอยางรวดเร็วและรุนแรงในสังคมไทย จนทําใหเกิดความกังวล มาโดยตลอดวา รัฐไทยอาจจะเกิดอาการ “เอียงขวา” อยางหนัก จนนโยบายตางประเทศไทยถูก ครอบดวยเพียงแนวคิดชาตินิยม ที่มองเห็นประเทศเพื่อนบานเปนศัตรู และมองไมเห็น ผลประโยชนดานอื่นๆ ปรากฏการณของนโยบายเอียงขวาที่ชัดเจนในชวงระยะเวลาดังกลาว สะทอนใหเห็น ไดจากความหมิ่นเหมที่ประเทศไทยและกัมพูชา มีสภาวะที่เกือบเขาสูสงครามระหวางกัน ซึ่งความ ขัดแยงที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเปนประเด็นหลักก็คือ กรรมสิทธิ์ในการครอบครองปราสาท “พระวิหาร” อีกทั้งเมื่อยิ่งมีการปลุกระดมดวยกระแสลัทธิชาตินิยมบนพื้นฐานวาทกรรม “เราเสีย ดินแดนไมไดแมแตตารางนิ้วเดียว” แลว สังคมไทยก็แทบจะหมุนเวลากลับไปสูอดีตของ วิกฤตการณสยาม – ฝรั่งเศส พ.ศ. 2483...จะขาดก็แตเพียงไมมีเพลงปลุกใจจากกรมโฆษณาการ ใหเราไดรูสึก “คึกคัก” ในจิตใจ กอนจะยกกําลังทหารขามเสนเขตแดนเขาไปสูพื้นที่อินโดจีน !

ก ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา ข คํานํา แตสิ่งหนึ่งที่จะตองตระหนักอยางมากก็คือ เมื่อกระแสของลัทธิชาตินิยมถูกปลุกใน “A nation is only at peace when it’s at war.” ดานหนึ่งของเสนเขตแดนแลว ก็ปฏิเสธไมไดวายอมจะกอใหเกิดกระแสชาตินิยมในอีกดาน Hugh Kingsmill (1889-1949) หนึ่งของเสนเขตแดนไมแตกตางกัน หรือเราคงจะตองยอมรับวา เมื่อไทยมี “ชาตินิยมสยาม” English man of letters ในปญหาความสัมพันธกับประเทศเพื่อนบานฉันใด ประเทศเหลานั้นก็มีชาตินิยมของเขาใน ความสัมพันธกับไทยฉันนั้น นับตั้งแตรัฐบาลกัมพูชาไดขอจดทะเบียน “ปราสาทพระวิหาร” เปนมรดกโลก ปรากฏการณเชนนั้นปฏิเสธไมไดวา ผลจากสถานะทาง “ภูมิรัฐศาสตร” ของรัฐที่มี ในชวงตนป 2550 เปนตนมา ความสัมพันธระหวางไทยกับกัมพูชาคอยๆ ทรุดลงเปนลําดับ พรมแดนอยูติดกัน ยอมมีประวัติศาสตรทั้งบวกและลบเปนเสนทางของความสัมพันธที่มี และยิ่งเมื่อผนวกกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายในหลังจากรัฐประหารกันยายน 2549 ที่ พัฒนาการเรื่อยมาจากอดีตจนถึงปจจุบัน ซึ่งก็ขึ้นอยูกับวารัฐและสังคมนั้นๆ จะหยิบเอา กรุงเทพฯ โดยในป 2551 ไดมีการเคลื่อนไหวใหญของกลุมพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประเด็นเชิงบวกหรือปญหาเชิงลบมาเปนทิศทางหลักในการกําหนดความสัมพันธกับประเทศ ประชาธิปไตย ที่นอกจากจะขับเคลื่อน “กระแสตอตานทักษิณ” ในรูปของการรณรงคภายใต เพื่อนบาน ทิศทางแบบ “ตอตานทุนนิยม” ดวยการสรางวาทกรรม “ทุนนิยมสามานย” แลว จุลสารเลมนี้เปนอีกหนึ่งในความพยายามของโครงการความมั่นคงศึกษา ที่จะทํา กลุมพันธมิตรฯ หรืออาจจะเรียกเปนเชิงสัญลักษณวา “กลุมเสื้อเหลือง” ยังได ความเขาใจในเรื่องของความสัมพันธของไทยกับประเทศเพื่อนบาน ซึ่งถือวาเปนหนึ่งในปญหา ขับเคลื่อนโดยอาศัยการปลุกระดมประเด็น “ชาตินิยม” ทีมีกรณีปราสาทพระวิหารเปน ความมั่นคงไทยที่สําคัญ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของปราสาทพระวิหาร และกอนหนานั้น ศูนยกลางของปญหา โครงการฯ ไดนําเสนอเรื่องราวเหลานี้มาแลวในหลายฉบับ แตสําหรับฉบับนี้เปนการเสนอ ผลของการผนวกการเปดประเด็น “ไมเอาทุนนิยม” เขากับประเด็น “เอาชาตินิยม” ทํา ปญหาพระวิหารในมุมมองของกัมพูชา ใหอารมณความรูสึกของผูคนในสังคมไทยถูกกระตุนอยางมาก อันทําใหเกิดขอสังเกตในป โครงการฯ หวังวา จุลสารฉบับนี้จะชวยใหเกิดความเขาใจตอปญหาที่เกิดขึ้นใน 2551 วากระแสขวาไดกอตัวขึ้นอยางรวดเร็วและรุนแรงในสังคมไทย จนทําใหเกิดความกังวล ทัศนะของฝายกัมพูชา โดยเฉพาะอยางยิ่งจากบริบทของประวัติศาสตรการเมืองในยุคหลัง มาโดยตลอดวา รัฐไทยอาจจะเกิดอาการ “เอียงขวา” อยางหนัก จนนโยบายตางประเทศไทยถูก สงครามโลกครั้งที่ 2 ของการเมืองภายในของกัมพูชา ครอบดวยเพียงแนวคิดชาตินิยม ที่มองเห็นประเทศเพื่อนบานเปนศัตรู และมองไมเห็น สําหรับการจัดพิมพจุลสารฉบับนี้ โครงการฯ ตองขอขอบคุณ คุณพงษพันธ พึ่งตน ที่ ผลประโยชนดานอื่นๆ ไดจัดทําฉบับยอของวิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต เรื่อง ปราสาทพระวิหาร: การเมือง ปรากฏการณของนโยบายเอียงขวาที่ชัดเจนในชวงระยะเวลาดังกลาว สะทอนใหเห็น วัฒนธรรมในกัมพูชายุคสังคมราษฎรนิยม ค.ศ. 1955 – 1970 เพื่อใชสําหรับการเผยแพร ซึ่ง ไดจากความหมิ่นเหมที่ประเทศไทยและกัมพูชา มีสภาวะที่เกือบเขาสูสงครามระหวางกัน ซึ่งความ โครงการฯ เชื่อวาสาระเหลานี้จะเปนประโยชนตอหนวยงานความมั่นคงและแกผูสนใจ ขัดแยงที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเปนประเด็นหลักก็คือ กรรมสิทธิ์ในการครอบครองปราสาท “พระวิหาร” โดยทั่วไป อีกทั้งเมื่อยิ่งมีการปลุกระดมดวยกระแสลัทธิชาตินิยมบนพื้นฐานวาทกรรม “เราเสีย ดินแดนไมไดแมแตตารางนิ้วเดียว” แลว สังคมไทยก็แทบจะหมุนเวลากลับไปสูอดีตของ วิกฤตการณสยาม – ฝรั่งเศส พ.ศ. 2483...จะขาดก็แตเพียงไมมีเพลงปลุกใจจากกรมโฆษณาการ โครงการความมั่นคงศึกษา ใหเราไดรูสึก “คึกคัก” ในจิตใจ กอนจะยกกําลังทหารขามเสนเขตแดนเขาไปสูพื้นที่อินโดจีน ! พฤษภาคม 2553

ก ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา ข ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา The Temple of “Preah Vihear” : History and Cambodian Nationalism

พงษ์พันธ์ พึ่งตน

ปราสาทพระวิหารอันเป็นหนึ่งในปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ในปัจจุบัน ซึ่งหากพิจารณาจากมุมมองของชาวเขมรด้วยแล้ว อาจจะทำให้การ ศึกษาเรื่องพระวิหารในมุมมองที่แตกต่างออกไปนำมาซึ่งความรู้ความเข้าใจใหม่ๆ และก็อาจจะทำให้เราชาวไทยรู้และตระหนักถึงปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนหาทางแก้ปัญหาได้อย่างรอบด้านมากกว่าการทำความเข้าใจเรื่อง นี้เฉพาะในมุมมองที่เอาตัวเราเป็นใหญ่ และการอธิบายซ้ำๆ ด้วยวาทกรรมเรื่องการ เสียดินแดน ซึ่งก็จะกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นขยายตัวออกไป จนนำไป สู่ความขัดแย้งขนาดใหญ่ได้ ชื่อของปราสาทเขาพระวิหาร (Temple of Preah Vihear) นั้นมีที่มา จากสถานที่อันเป็นที่ตั้งของปราสาทซึ่งปรากฏครั้งแรกในบันทึกการเดินทางของคณะ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสคือ เอเตียง เอโมนิเยร์ (Etienne Aymonier) ที่เดินทาง พร้อมลูกหาบชาวเขมรในระหว่าง ค.ศ. 1882-1883 โดยในระหว่างที่เดินทางผ่าน หมู่บ้านเบ็งมลู (Bêng Melou) ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ชาวกูยและเขมรอาศัยอยู่ร่วมกันนั้น บันทึกได้กล่าวถึง “ยอดเปรียะวิเฮียร” (Peak Preah Vihear) และอนุสรณ์สถาน (Monument) บนยอดเขา ซึ่งคณะผู้เดินทางบันทึกด้วยอักษรโรมันไว้ว่า “เปรียะฮ์ วิเฮียร” (Prah Vihá r)1 นามอันเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ที่ชาวฝรั่งเศสทำการบันทึก ไว้นี้ ต่อมาได้ถูกทางการกัมพูชานำมาใช้ตั้งเป็นชื่อของ “ปราสาท” โดยได้ให้ ความหมายของคำว่า “พระวิหาร” อันมีรากศัพท์จากภาษาสันสกฤตว่า “วิหาร” ซึ่งถูกอธิบายว่าหมายถึงบุคคลหรือศาสนสถานซึ่งควรค่าต่อการสักการะ2 ใน ค.ศ. 1962 วารสาร Commentary ซึ่งเป็นวารสาร ภาษาอังกฤษที่ออกโดยกระทรวงข้อมูลข่าวสารของกัมพูชา ที่ออกเผยแพร่รายเดือน

 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา  ตั้งแต่ ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา ได้ลงบทความเรื่อง กรณี “พระวิหาร” จากเบื้องหลัง สู่ความขัดแย้งโดยได้กล่าวถึงประวัติของปราสาท “พระวิหาร” ว่า

“พระวิหาร” สร้างขึ้นในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9

ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อคราวที่อาณาจักรเขมรมีอำนาจ

สูงสุด ในส่วนของตัวปราสาทสร้างขึ้นใน ค.ศ. 889-900 โดย

พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ผู้สร้างเมืองพระนคร ในเวลาต่อมาปราสาท

หลังนี้ถูกปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1

(ค.ศ. 1002-1050) กษัตริย์พระองค์นี้เป็นเจ้าชายที่มีภูมิกำเนิด

จากที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ทรงเป็นกษัตริย์ผู้พิชิตบ้านเมือง

ในเขตที่ราบทะเลสาบเขมรจนถึงที่ราบแอ่งโคราช ต่อมาปราสาท

หลังนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเพิ่มเติมโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (ค.ศ. 1080-

1107) กษัตริย์พระองค์นี้ทรงตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้นมา ปราสาท

“พระวิหาร” สร้างเสร็จสมบูรณ์ในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมัน

ที่ 2 (ค.ศ. 1113-1145) ในรัชสมัยซึ่งมีการสร้างปราสาทนครวัด

ขึ้นมาเพื่อเป็นสุสานของพระองค์นั้น สิ่งนี้เป็นความสำเร็จสุดยอด

ทางสถาปัตยกรรมของชาวเขมรและทำให้แผนผังของปราสาท

“พระวิหาร” สะท้อนความคิดอันยอดเยี่ยมที่สัมพันธ์กับความ

ยิ่งใหญ่ของมหาวิหารแห่งเมืองพระนคร...3

จากข้อความที่เผยแพร่ในยุคสังคมราษฎร์นิยม (ค.ศ. 1962) คือช่วงเวลา ประมาณ 15 ปีนับจากกัมพูชาได้รับเอกราชและเป็นช่วงเวลาที่สมเด็จสีหนุมีบทบาท ในทางการเมืองก่อนที่จะถูกนายพลลอนนอลปฏิวัติออกจากอำนาจใน ค.ศ. 1970 ในบทความข้างต้นจะพบว่าผู้เขียนให้ความสำคัญอย่างมากกับตัวกษัตริย์ผู้สร้าง ปราสาทมากกว่าจะบอกว่าสิ่งก่อสร้างนี้เป็นศาสนสถาน เช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่ ฝรั่งเศสสามารถสถาปนาความเป็นผู้อารักขารัฐกัมพูชานั้น ฝรั่งเศสได้ใช้ ศาสนสถานหลังนี้ในการโฆษณาความสำเร็จของตน โดยทำการเผยแพร่ ผลการสำรวจเส้นทาง ตลอดจนการนำเอาโบราณวัตถุจากดินแดนที่รกร้าง

 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา  ภายใต้ควบคุมอย่างหลวมๆ มาจัดแสดงที่กรุงปารีส4 การดำเนินการโฆษณาความ สำเร็จของตนในข้างต้นทำให้โลก (ตะวันตก) ในยุคนั้นได้สัมผัสถึงความยิ่งใหญ่ ทางศิลปะจากเมืองพระนคร (Angkor Age) อันเป็นยุคที่อาณาจักรเขมรมีอำนาจ รุ่งเรืองสูงสุด ด้วยการเชื่อมโยงเรื่องประวัติความเป็นมาของศาสนสถานแห่งนี้กับอำนาจ ของอาณาจักรเขมร (Khmer Empire) ที่มีอำนาจในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9- 13 นั้น จึงเป็นผลมาจากความต้องการที่จะขยายอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ของฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งการเดินทางเพื่อสำรวจดินแดนของชาวฝรั่งเศส นำไปสู่การค้นพบศาสนสถานโบราณแห่งนี้ เมื่อผนวกกับกระบวนการสร้าง องค์ความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์ด้วยหลักฐานประเภทศิลาจารึกและ สถาปัตยกรรมที่หลงเหลือมาจากอดีต ในที่สุดฝรั่งเศสก็สามารถเขียนประวัติศาสตร์ ของอาณาจักรเขมรขึ้นว่า ชาวเขมรเป็นเจ้าของอารยธรรม/วัฒนธรรมที่เคยปกครอง ผู้คนในดินแดนที่ปัจจุบันคือ ประเทศไทย ลาว และกัมพูชา5 สำหรับนักสำรวจและข้าราชการชาวฝรั่งเศสแล้ว ในช่วงก่อนหน้าที่พวกเขา จะเดินทางมายังอินโดจีนนั้น ในฝรั่งเศสยังเป็นช่วงเวลาที่มีแนวคิดเกี่ยวกับชาติของ เออเนส เรน็อง (Ernest Renan) แพร่หลายอยู่ ซึ่งตามความคิดของเขา วัฒนธรรมของชาติมีปราสาทศาสนสถานและประเพณีเป็นสิ่งที่กำหนดลักษณะ เฉพาะของจิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่ของแต่ละชาติขึ้นมา แนวคิดนี้สอดคล้องกับ แนวคิดนักประวัติศาสตร์กลุ่มโรแมนติกนิยม (Romanticism) ของ จูลส์ มิเชเลต์ (Jules Michelet) ผู้เขียนหนังสือเรื่องประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสที่กล่าว ว่า “ศาสนสถานและประเพณีก็เช่นเดียวกับดินแดนและเชื้อชาติ คือล้วนเป็นสิ่งที่จะ ช่วยเพาะบ่มสำนึกใหม่เกี่ยวกับความสำคัญของชาติและอดีตที่ผ่านมา”6 ด้วยเหตุที่ ชาวฝรั่งเศสในช่วงนั้นเชื่อมโยงเรื่องของชาติและปราสาทเข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อนัก สำรวจดินแดนและเจ้าหน้าที่ผู้บริหารชาวฝรั่งเศสสำหรับการอธิบายถึงประเทศ กัมพูชาจึงได้ผนวกความหมายของชาติกับกษัตริย์ว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์อธิปัตย์ (Sovereignty)7 ฉะนั้นเมื่อเอเตียง เอโมนิเยร์ อธิบายถึงประเทศกัมพูชาจึงได้กล่าวว่า

 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา  ชาวกัมพูชามีความคิดที่คุ้นเคยมาอย่างยาวนานจนไม่อาจ แยกวิถีชีวิต หรือประเพณีของพวกเขาออกจากพระบรมมหาราช วัง (สำหรับพวกเขา) พระมหากษัตริย์คือผู้เสด็จอวตารลงมาใช้ ชีวิตอย่างควรค่าแก่การเคารพยำเกรงและถูกยกให้เป็นตัวแทนของ ความเป็นชาติ8

ในอีกด้านหนึ่ง หน้าที่ของนักวิชาการชาวฝรั่งเศสเช่น เอเตียง เอโมนิเยร์ และลูเนต์ เดอลาจองกีเอร์ (Lunet de la Jonquiere) ตลอดจนสมาชิกของ , สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (Ecole Française d Extrême Orient) ในช่วง เริ่มต้นของการเข้าไปตั้งถิ่นฐานของชาวฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิภาคและผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้เพื่อ ช่วยให้ชาวฝรั่งเศสสามารถบรรลุเป้าหมายในการยกระดับความเจริญทางอารยธรรม ให้แก่ชาวพื้นเมือง9 ด้วยเหตุนี้ทั้งคู่จึงรับหน้าที่สำคัญในการสำรวจดินแดนที่ชาว ฝรั่งเศสยังไม่รู้จัก โดยที่ เอเตียง เอโมนิเยร์ เดินทางสำรวจเส้นทางและรวบรวม ข้อมูลประเภทศิลาจารึกและข้อมูลโบราณสถานต่างๆ ในพื้นที่ซึ่งเป็นภาคอีสานของ ประเทศไทยและดินแดนในประเทศลาวปัจจุบันในระหว่าง ค.ศ. 1882-1883 โดยหลังจากสำรวจข้อมูลไม่นาน บันทึกการเดินทางและข้อมูลต่างๆ ของนักสำรวจ ชาวฝรั่งเศสก็ถูกนำออกตีพิมพ์เผยแพร่ และในปีเดียวกันนั้น เอเตียง เอโมนิเยร์ที่ เดินทางสำรวจและพบศาสนสถานที่ต่อมารู้จักกันในปัจจุบันชื่อปราสาทพระวิหารนั้น ก็ได้ตีพิมพ์บทความของตนลงในวารสาร ซึ่งระบุว่าโบราณสถานแห่งนี้มีชื่อที่ปรากฏ นามในศิลาจารึกว่า “ศรีศิขรีศวร” หรือ “บรรพตภูบาล”10 ในเวลาต่อมาใน ค.ศ. 1901 ผลงานการศึกษาปราสาทพระวิหารทั้งในแง่สถาปัตยกรรมและจารึกของ เอเตียง เอโมนิเยร์ ก็ได้ถูกเผยแพร่ในภาษาฝรั่งเศส โดยเอโมนิเยร์สรุปความสำคัญ ของโบราณสถานแห่งนี้ตามข้อความที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยของพระเจ้า สุริยวรมันที่ 1 และสุริยวรมันที่ 2 ว่า

 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา  พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 โปรดให้สร้างอนุสรณ์สถาน ปราสาท “พระวิหาร” ขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในนามของศรีศิขรีศวรหรือผู้เป็นใหญ่ในขุนเขา โดยพบจารึกของ กษัตริย์องค์เดียวกันกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดศรีสะเกษ...ต่อมา พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงโปรดให้สร้างโคปุระหลังกลางขึ้นเป็นที่ ประทับส่วนพระองค์ขึ้น โดยข้อความในจารึกที่ปรากฏนี้มีความ แบบเดียวกันปรากฏที่พนมสันดัก ระบุถึงการประกาศเฉลิมฉลอง การสร้างศาสนสถานครั้งสำคัญของยุค โดยจารึกหลักสุดท้ายที่พบ ซึ่งถูกจารขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ยังกล่าวถึงการขยายตัวของ การสร้างศาสนาสถานซึ่งสร้างอุทิศแด่อาณาจักรของชาวกัมพูชา11

ความคิดที่ปรากฏในช่วงแรกๆ ของการศึกษาโบราณสถานของนักวิชาการ ชาวฝรั่งเศสในช่วงแรกนั้นจึงสัมพันธ์กันสองส่วน หนึ่งคือโบราณสถาน และสองคือ กษัตริย์ที่ปรากฏพระนามหรือข้อความในจารึกว่าเกี่ยวข้องกับศาสนา โดยนักสำรวจ ชาวฝรั่งเศสยังขยายความต่อไปอีกว่า ศาสนสถานเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการขยายตัว ของอาณาจักรโบราณที่มีชนที่เรียกตัวเองว่า “กัมพูชา” (Kambuja) ด้วยการ เชื่อมโยงในลักษณะนี้ สิ่งที่เรียกว่าโบราณสถานจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงออกซึ่งอำนาจ ของกษัตริย์ อันเป็นผลมาจากพัฒนาการทางความคิดที่เริ่มต้นในช่วงต้นคริสต์ ศตวรรษที่ 19 ความคิดที่ว่าโบราณสถานเป็นเครื่องแสดงอำนาจของกษัตริย์หรือผู้ ปกครองจึงเป็นผลมาจากพัฒนาการทางความคิดที่เริ่มต้นในฝรั่งเศสก่อนที่จะพัฒนา เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสนสถานในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ในช่วงเวลาที่ฝรั่งเศสเข้า มายึดครองในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อมาในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฝรั่งเศสสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับปราสาท “พระวิหาร” ขึ้นมาใหม่ โดยปัญญาชนชาวสยามในขณะนั้นเองก็ ยอมรับเอาคำอธิบายของนักวิชาการชาวฝรั่งเศสมาเผยแพร่ต่อ ดังปรากฏข้อความ การอธิบายโบราณสถานแห่งนี้เมื่อครั้งที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อภิรัฐมนตรีและนายกราชบัณฑิตยสภาพร้อมด้วยพระธิดาคือ หม่อมเจ้าพัฒนายุ ดิศกุล หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล และหม่อมเจ้าพูนพิศสมัย ดิศกุล เสด็จพร้อม  ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา  ด้วยข้าราชการฝ่ายสยามเดินทางไปสำรวจโบราณสถานในมณฑลนครราชสีมาใน ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2472) ข้าหลวงฝรั่งเศส (Resident Superior) และผู้เชี่ยวชาญ ด้านโบราณคดี นาย อองรี ปาร์มองติเอร์ (Henri Parmentier) ได้รับเสด็จและนำ เสด็จทอดพระเนตรโบราณสถานแห่งนี้ โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เองก็ทรงนำความเข้าใจส่วนพระองค์ในข้างต้นมาเผยแพร่ในช่วงอีกหลายปี ต่อมาโดยทรงพระนิพนธ์ว่า

ปราสาทหินพระวิหารแปลกกับปราสาทหินแห่งอื่นๆ

หมด ทั้งในแดนเขมรและในแดนไทยไม่มีที่ไหนเหมือน ที่แปลก

นั้นเป็น 2 สถานคือ สถานหนึ่งทำรูปทรงเหมือนอย่างพลับพลา

ต่อติดกันไปหลายหลัง หลังคามีช่อฟ้าใบระกาตามมุขคล้ายกับ

ปั้นลมเรือนฝากระดานไม่มีปรางค์ ไม่มีพระระเบียง แลดูเหมือน

เป็นราชมณเฑียรที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินยิ่งกว่าเทวสถาน12

ตามพระนิพนธ์เกี่ยวกับพระวิหารข้างต้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพทรงเน้นการอธิบายถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถาน แล้ว นำไปสู่คำอธิบายที่ว่า โบราณสถานนี้มีความเกี่ยวพันกับปราสาทราชวังมากกว่าเป็น เทวสถาน ซึ่งพระดำรินี้มีความใกล้เคียงกับคำอธิบายของผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสที่ อธิบายให้พระองค์เมื่อสิบสี่ปีก่อนเมื่อครั้งที่เสด็จขึ้นไปบนเขาพระวิหาร ใน ค.ศ. 1930 เทียบกับเวลาที่ทรงพระนิพนธ์หนังสือนิทานโบราณคดีคือใน ค.ศ. 1944 จะเห็นว่าคำอธิบายเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก เช่นเดียวกับเมื่อ ยอร์ช โกรส์ลิเยร์ (Gorges Goslier) นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส เขียนบทความเรื่อง “พระวิหาร” (Prak Vihêar) เพื่อเผยแพร่ในหนังสือความรู้ใน อินโดจีน (Connaissance de L’ Indochina) โดยทางฝั่งนักวิชาการชาว ฝรั่งเศสซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการหน่วยการศึกษาทั่วไปในอินโดจีน (Public Education of Indochina) โกรส์ลิเยร์ก็ได้เพียงแต่อธิบายถึง สถาปัตยกรรมของ “พระวิหาร” และความงดงามของปราสาทหลังนี้ว่า

 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา  ปราสาทหลังนี้มีที่ตั้งอยู่ราวกับรังของนกอินทรีบนยอดเขา พนมดองแร็ก โดยมีบันไดช่วงละ 25 ขั้นเป็นเครื่องนำทางชาว เขมรเข้าไปยังโบราณสถาน ความยิ่งใหญ่ของโบราณวัตถุสถานจะ ทำให้ผู้อ่านตกตะลึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ทราบว่าปราสาท หลังใหญ่เช่นนี้ผู้สร้างใช้เพียงมือเปล่าและสิ่ว13

ความคิด ความเข้าใจ และวิธีการอธิบายของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพที่ทรงได้รับอิทธิพลมาจากคำอธิบายของผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสร่วมสมัย กับพระองค์นั้น มีความใกล้เคียงกันอย่างมากทั้งในเรื่องวิธีการอธิบาย และตีความ ได้ว่าโบราณสถานแห่งนี้เป็นเครื่องแสดงอำนาจทางการเมืองของกษัตริย์เขมร แนวทางการอธิบายนี้อาจถือได้ว่าเป็นแนวคิดกระแสหลักของฝรั่งเศสในอินโดจีน ซึ่งคำอธิบายเช่นนี้ถูก ยอร์ช เซเดส์ (Gorge Coedès) วิจารณ์ว่าเป็นพวกบูชา ลัทธิโรแมนติก (Romanticism) เพราะมีรสนิยมค่อนข้างโรแมนติกกับซาก โบราณสถานที่ลี้ลับมักจะชอบที่จะเชื่อทั้งๆ ที่มีหลักฐานที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อ ของตน14 สำหรับเซเดส์แล้วคำอธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของโบราณสถานตาม แนวทางที่เรียกว่าลัทธิโรแมนติกเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลกับหลักฐานที่มีนัก หากแต่เมื่อครั้งที่ต้องดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพา , ทิศ (Ecole Française d Extrême Orient) เซเดส์เองก็ไม่มีทางเลือกมากนักจึง จำต้องเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ตามแนวทางที่รัฐบาลวิชี่ (Vichy) ซึ่งขึ้นมามีอำนาจหลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐที่ 3 พ่ายแพ้แก่เยอรมนี รัฐบาลวิชี่ต้องการลดความคิดแบบรวมศูนย์ของตนเองด้วยการเผยแพร่แนวคิด เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของชนพื้นเมืองแต่ละกลุ่ม โดยหวังว่าแนวทางนี้จะช่วยลด อิทธิพลความคิดในการปฏิวัติของชาวสยามและญี่ปุ่น โดยเซเดส์ให้เหตุผลที่ต้องนำ เอาข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือนั้นมาใช้ว่า

 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา  แม้ว่าจะมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ แต่เอกสาร ประวัติศาสตร์ของเขมรก็ยังคงเป็นที่มาของข้อมูลซึ่งมีความสำคัญ ที่สุดในการเขียนประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งจดหมายเหตุบันทึก การเดินทางของชาวจีนหรือชาติตะวันตกอื่นๆ ที่แม้มีความน่า เชื่อถือมากกว่า แต่งานเขียนของชาวเขมรกลับให้ข้อมูลความ ต่อเนื่องของเรื่องราวได้มากกว่า15

ยอร์ช เซเดส์ เป็นหนึ่งในคณะผู้มีความชำนาญการด้านวัฒนธรรม (high erudite cultural team) ซึ่งรับนโยบายของรัฐบาลวิชี่มาปรับใช้กับชาวพื้นเมือง โดยลดทอนความคิดในการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centralization) แบบที่ รัฐบาลสาธารณรัฐที่ 3 แห่งฝรั่งเศสเคยใช้ แล้วหันมาใช้แนวนโยบายที่ให้ชาว พื้นเมืองมีอิสระมากขึ้นในการเผยแพร่เรื่องราวตำนานพื้นเมือง16 เช่น ได้ปลูกฝัง เรื่องราวตำนานต่อต้านการรุกรานของจีนของพี่น้องตระกูลเตรียง (Trang) ใน เวียดนาม ส่วนในกัมพูชาตำนานการต่อต้านการรุกรานของสยามและความยิ่งใหญ่ ของพระบาทชัยวรมันที่ 7 โดยเรื่องราวความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์แห่งกัมพูชา พระองค์นี้ซึ่งเป็นผลงานการเขียนของเซเดส์ได้ถูกแปลเผยแพร่เป็นภาษาเขมรตั้งแต่ ค.ศ. 1935 โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการเผยแพร่เรื่องราวทางพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมเช่นราชบรรณาลัยประจำพระนคร (Bibliothèque Royale) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพุทธศาสนบัณฑิตย์ทำหน้าที่แปลผลงานของเซเดส์ โดยใน ตอนหนึ่งของผลงานแปลระบุว่า การศึกษาในช่วง 30 ปีให้หลังนี้ ได้สร้างความเข้าใจที่ ชัดเจนสมบูรณ์ขึ้นในเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ที่ปรากฏพระนาม เพียงในพงศาวดารซึ่งเขียนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ว่าเป็น กษัตริย์ ในตอนนี้เราทราบว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่สุดในเมืองเขมร โดยทรงขยายพระราชอาณาเขตพรมแดนของ พระนครออกไปอย่างกว้างขวาง พระองค์ทรงได้ครอบครองเมือง จาม และทรงดำริให้สร้างปราสาทขนาดใหญ่เพื่อสร้างความเจริญ รุ่งเรืองแก่พระนครอย่างไม่มีกษัตริย์องค์ใดเคยปฏิบัติ17  ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา  ความยิ่งใหญ่ของพระบาทชัยวรมันที่ 7 ตามที่เซเดส์อธิบายเป็นข้อเท็จจริง ที่ได้มาจากการตีความข้อความที่ปรากฏอยู่บนศิลาจารึกต่างๆ ที่พบในประเทศ กัมพูชา โดยเมื่อผนวกกับแนวคิดที่เซเดส์เองก็โจมตีว่าเป็นแบบโรแมนติก (Romanticism) หรือลัทธิโรแมนติกแบบฝรั่งเศส (French Romanticism) ซึ่งได้แก่ ความคิดที่ให้ความสำคัญกับอดีต เพราะเห็นคุณค่าของอดีตไม่เพียงแต่ใน ฐานะที่เป็นสิ่งที่น่าศึกษาเท่านั้น หากแต่เห็นว่าอดีตแฝงไว้ซึ่งความดีงามบางอย่างที่ ดำรงความเป็นชาติของตนไว้ พร้อมไปกับการพรรณนาอดีต งานเขียนประวัติศาสตร์ สกุลนี้จึงสร้างความรู้สึกทางชาตินิยมอย่างรุนแรงไปด้วย18 ด้วยแนวคิดที่อยู่ เบื้องหลังการตีความเช่นนี้ ข้อความที่ปรากฏในจารึกซึ่งเป็นการประกาศถึงความ ยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ผู้ทรงดำริให้จารึกข้อความนั้น จึงได้รับการอธิบายว่าเป็นเรื่องของ การขยายอำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเขมร (Khmer Empire) และต่อมาใน ค.ศ. 1944 หนังสือเรื่องรัฐที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรม , , ฮินดูในอินโดจีนและอินโดนีเซีย (Les Etats Hindouisès d Indochine et d Indonèsie) ซึ่งเป็นหนังสือที่เซเดส์ประมวลความรู้ผลงานค้นคว้าของนักวิจัยชาว ฝรั่งเศสร่วมสมัยของตนไว้นั้น เซเดส์จึงสรุปถึงการพบจารึกของพระบาทชัยวรมัน ที่ 7 ในสถานที่ต่างๆ กัน ว่า

พระบาทชัยวรมันที่ 7 ทรงขยายอำนาจการปกครองออก

ไปอย่างกว้างใหญ่ ทางเหนือขยายไปจนถึงประเทศเวียดนามและ

ลาว ทางตะวันตกทรงขยายอำนาจของกัมพูชากลับไปครอบครอง

พื้นที่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้ง ในสมัยของพระองค์

เขตแดนของกัมพูชาที่ขยายออกไปมีขนาดใหญ่เท่าอาณาเขตของ

อาณาจักรฟูนัน19

คำว่า “ฟูนัน” ซึ่งเป็นคำที่ปรากฏอยู่ในบันทึกของจีนเมื่อกล่าวถึง อาณาจักรของชนภายนอกที่ราชสำนักจีนทำการติดต่อด้วยได้ถูกยอร์ช เซเดส์ อธิบายด้วยหลักนิรุกติศาสตร์ว่าหมายถึงคำว่า พนม (bnam) ในภาษาเขมรโบราณ อันหมายถึงเนินเขาเตี้ยๆ ของเมืองบาพนมที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ

 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 10 กัมพูชา20 ทำให้ประวัติศาสตร์กัมพูชาตามทัศนะที่ยอร์ช เซเดส์อธิบายนั้นมีทั้ง ความยิ่งใหญ่และมีความสืบเนื่องยาวนานมาตั้งแต่ช่วงต้นคริสตกาล อีกทั้งมีความ ยิ่งใหญ่ทางการเมืองในระดับที่บันทึกของจีนเรียกว่าเป็น “อาณาจักร” ซึ่งในเวลา ต่อมาคำอธิบายเช่นนี้ได้สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาวเขมรอย่างมาก ในสมัยต่อมา เมื่อฝรั่งเศสมอบเอกราชให้กัมพูชาแล้ว แนวคิดที่ฝรั่งเศสวางรากฐานไว้ก็ยังคงถูก นักประวัติศาสตร์กัมพูชานำมาใช้ เช่น ในหนังสือแบบเรียนวิชาพงศาวดารสำหรับ สอบแข่งขันในยุคสังคมราษฎร์นิยมกล่าวถึงอดีตของประเทศไว้ว่า

ในสมัยอดีตกาล ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศในโลก

ตะวันออกประเทศหนึ่งที่มีความมั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติและอำนาจ

พระมหากษัตริย์เขมรได้สร้างปราสาทหินที่มีความวิจิตรสวยงามไว้

มากมายดังปรากฏอยู่ทั่วพระราชอาณาจักร จนถึงทุกวันนี้ตาม

กำแพงผนังของปราสาททั้งหลายนั้นยังพบว่ามีอักษรเขมรโบราณ

หรือภาษาบาลีสันสกฤตสลักไว้ ข้อความที่บันทึกไว้นี้ผู้บันทึกล้วน

ทำขึ้นตามพระราชประสงค์ขององค์พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์

ผู้ทรงต้องการแสดงพระบรมเดชานุภาพประกาศความเป็นเจ้าของ

แผ่นดิน21

ฝรั่งเศสไม่ได้เพียงสร้างให้ชาวเขมรรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของโบราณสถาน ที่หลงเหลือซากมาถึงในปัจจุบันเท่านั้น หากแต่ยังได้อธิบายให้ชาวเขมรในขณะนั้น เข้าใจว่าตนเองเป็นทายาทผู้สืบทอดความยิ่งใหญ่จากอาณาจักรเขมรโบราณ โดยมี ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาช่วงศตวรรษที่ 19-20 เป็นผู้เข้ามาช่วยฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ให้ ฟื้นคืนหลังจากสิ้นสุดยุคเมืองพระนคร22 โดยเซเดส์ได้อ้างถึงข้อความที่ปรากฏใน จารึกหลักต่างๆ ว่าเป็นสิ่งที่เชื่อมอดีตอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นที่ ปรากฏเป็นที่รับรู้แก่ชาวเขมร เช่น การตีความศิลาจารึกหลักที่ K. 381 ซึ่งพบ บริเวณโคปุระด้านทิศตะวันตกของปราสาท “พระวิหาร” ว่า กษัตริย์เขมรได้โปรด ให้จารึกเกียรติยศของราชตระกูลและชัยชนะในการศึกสงครามของพระองค์ โดยทรง ให้พราหมณ์ปุโรหิตจารึกข้อความซึ่งประกาศเกียรติยศของพระวงศ์และประกาศนาม ของไว้ ณ กัมรเตง ชคัต ศรีศิขรีศวร23  ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 10 ชื่อ “พระวิหาร” ที่รู้จักกันในปัจจุบันจึงเป็นชื่อเรียกแบบใหม่ในปัจจุบันและ แฝงความหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์กัมพูชาตามแบบที่ฝรั่งเศสอธิบายไว้ ตัวอย่างของความพยายามของฝรั่งเศสที่จะเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจต่อเมือง พระนครแบบที่ฝรั่งเศสค้นคว้าให้เป็นที่รับรู้และแพร่หลายในหมู่ชาวเขมรโดยผนวก ปราสาท “พระวิหาร” ไว้ในคำอธิบายประวัติศาสตร์นั้น ด้วยเหตุนี้ใน ค.ศ. 1927 ในหนังสือนำเที่ยวเมืองพระนคร (Guide d’ Angkor) ที่นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ที่มี ยอร์ช เซเดส์ เป็นแกนนำในการเผยแพร่ จึงได้ร่วมมือกับสถาบันพุทธศาสนา บัณฑิต (Buddhist Institute) ทำการแปลความรู้เกี่ยวกับเมืองพระนครที่ฝรั่งเศส ค้นคว้าไว้เป็นภาษาเขมร โดยใน ค.ศ. 1957 หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจาก ฝรั่งเศส ได้มีการแปลหนังสือนำเที่ยวเมืองพระนครขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยในหน้า 37 ได้ระบุว่า ปราสาท “พระวิหาร” เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นด้วยวิทยาการที่มีความ ก้าวหน้าทางสถาปัตยกรรมจึงสามารถสร้างปราสาทบนภูเขาได้ โดยในส่วนคำนำ ของการพิมพ์ครั้งใหม่ภายใต้การปกครองรัฐบาลสังคมราษฎร์นิยม ภิกขุปาง ขัต ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาททางการเมืองมาตั้งแต่ยุคอาณานิคมได้กล่าวถึงเป้าหมาย ในการพิมพ์หนังสือครั้งใหม่ในคำนำของหนังสือว่า

ปรารถนาให้ชาติเขมรตื่นขึ้น ให้มีความมุมานะในการ

แสวงหาความรู้ เพื่อให้เกิดความเจริญและมีอารยธรรมเหมือนกับ

สมัยพระนคร...เมื่อ (เยาวชน) ได้ไปเยือนเมืองพระนครขอให้นึก

เสมอว่า ไปบูชาปูชนียสถานที่บรรจุอัฐิของบรรพบุรุษเรา พึงบูชา

บรรพบุรุษอยู่เสมอด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ผลที่เราจะได้จากการบูชา

คือการทำให้จำเรื่องปราสาทขนาดใหญ่เหล่านี้ได้ โดยสิ่งนี้ยังจะ

เป็นพลังในการสร้างความมุ่งมั่นในการเรียนและการทำกิจการต่างๆ 24 ให้สำเร็จให้มีความเจริญเหมือนสมัยพระนคร

คำอธิบายของเซเดส์และนักวิชาการชาวฝรั่งเศสแม้จะถูกวิจารณ์จาก นักวิชาการในยุคหลังทั้งในแง่ของการใช้หลักฐานที่ยึดถือความเห็นของชนชาติจีนที่ นิยมให้ความสำคัญกับชนชาติที่ตนติดต่อทางการค้าด้วยอย่างเกินเลยจากความเป็น จริง25 จนกระทั่งตีความหลักฐานประเภทจารึกโดยไม่เข้าใจธรรมชาติของหลักฐาน 11 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 12 ประเภทนี้ ที่มีลักษณะเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งที่กษัตริย์ใช้เพื่อประกาศความ ยิ่งใหญ่และความชอบธรรมในการปกครองของพระองค์หรือราชวงศ์ในสมัยโบราณ อย่างไรก็ตาม ข้อความที่ปรากฏบนแผ่นศิลาจารึกที่ปรากฏอยู่ในสถานที่ ต่างๆ ยังคงมีอิทธิพลต่องานเขียนประวัติศาสตร์ของกัมพูชาในช่วงเวลาต่อมา แม้ว่า กัมพูชาจะได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้ว โดยคำอธิบายเช่นนี้ดูจะสร้างความภาคภูมิใจ ให้แก่ปัญญาชนชาวเขมรที่กำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ เช่นภัยคุกคามของ ประเทศเพื่อนบ้านทั้งเวียดนามและไทย โดยเฉพาะการที่ไทยอ้างสิทธิเข้าครอบครอง ปราสาท “พระวิหาร” ดังนั้นจึงพบว่าเมื่อทางการกัมพูชากับไทยมีความขัดแย้งกัน ขึ้น ในเอกสารที่เผยแพร่โดยหน่วยงานของรัฐบาลกัมพูชาจึงเผยแพร่ข้อความซึ่งระบุ ถึงอาณาบริเวณของปราสาท “พระวิหาร” ว่า

ซากปรักหักพังของปราสาทแห่งเปรียะฮ์วิเฮียร อัน

ศักดิ์สิทธิ์และน่าเลื่อมใสตั้งอยู่บนเทือกเขาฎองแร็กอันเป็น

จุดภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรเขมร ตั้งตระหง่านอยู่

ริมของทางทิศใต้ของทิวเขาอันเป็นส่วนปลายของอาณาเขตของ

อาณาจักรทางตะวันตก26

ด้วยความเข้าใจตรงกันระหว่างนักวิชาการชาวฝรั่งเศสและชาวเขมรที่ว่า ปราสาทหมายถึงศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองการปกครองของอาณาจักรแบบ โบราณของเขมรที่มีศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองอยู่ที่เมืองพระนครหรืออังกอร์ ในช่วงเวลาที่คดีความเรื่อง “เขาพระวิหาร” อยู่ในการพิจารณาไต่สวนของศาล ยุติธรรมระหว่างประเทศ เรื่อง “ปราสาท” จึงได้กลายเป็นปัญหาข้อพิพาทเรื่อง อธิปไตยเหนือดินแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ความคิดความเข้าใจที่ว่าปราสาทหรือ ซากโบราณสถานเป็นสิ่งที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับอำนาจทางการเมืองได้กลายเป็น แรงกระตุ้นให้นักเขียนปัญญาชนของเขมรและไทยต่างเกิดการหยิบข้อมูลหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ที่ตนมีมาใช้เพื่อโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสร้างความชอบธรรมในการ ครอบครองอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งนี้ เช่น ฝ่ายกัมพูชาได้อ้างถึงศิลาจารึกซึ่งพบ บริเวณที่ตั้งของปราสาท “พระวิหาร” มายืนยันความชอบธรรมในการครอบครอง ปราสาทแห่งนี้ว่า ปราสาทสร้างขึ้นโดยกษัตริย์เขมรแห่งเมืองพระนคร ดังนั้น 11 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 12 ปราสาทหลังนี้จึงควรเป็นของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

ในเรื่องของจารึกที่เขียนขึ้นที่นี้ทั้งหมดพบว่าเป็นภาษา เขมรกับภาษาสันสกฤตซึ่งถูกเขียนขึ้นตามดำริของพระมหากษัตริย์ เขมรหรือขุนนางชนชั้นสูงทั้งหลายตั้งแต่สมัยของพระบาท ยโศวรมันที่ 1 ผู้สร้างเมืองพระนครจนถึงพระบาทสุริยวรมันที่ 2 ผู้ดำริให้สร้างปราสาทนครวัด (นอกจากนี้) ยังมีจารึกที่มี ประโยชน์อย่างมากต่อประวัติศาสตร์กัมพูชาคือจารึกของทิวากร บัณฑิตผู้เป็นราชครูของพระมหากษัตริย์ทั้งหลายผู้ทรงครองราชย์ สืบสันตติวงศ์ตั้งแต่พระบาทหริสยวรมันจนถึงพระบาทชัยวรมันที่ 7 เรื่องทั้งหลายนี้สรุปได้ว่า “พระวิหาร” มีความเชื่อมโยงกับ 27 ปราสาทนครวัด การนำเอาองค์ความรู้เกี่ยวกับปราสาท “พระวิหาร” มาใช้ในการสร้าง ความชอบธรรมในคำฟ้องของรัฐบาลกัมพูชา ด้านหนึ่งเป็นการนำเอาความรู้ความ เข้าใจแบบสมัยใหม่กลับไปอธิบายเรื่องราวในอดีต กล่าวคือ ความสำเร็จในการ สำรวจทำแผนที่และการขยายดินแดนเข้ามาในภูมิภาคของฝรั่งเศสทำให้ชาวเขมรใน ยุคต่อมารับเอาการใช้แผนที่ของยุโรปมาใช้ โดยการมองโลกด้วยทัศนะแบบแผนที่ สมัยใหม่ที่ฝรั่งเศสนำเข้ามานี้เอง ได้ทำให้ชาวเขมรเริ่มให้ความสำคัญกับการ ครอบครองเป็นเจ้าของดินแดน และมองว่าในอดีตกาลอันรุ่งโรจน์ของอาณาจักร เขมร ชนชาวเขมรมีความยิ่งใหญ่ ดังนั้นชาวเขมรในปัจจุบันเองซึ่งเป็นบุตรหลาน จึงมีความชอบธรรมที่จะอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนหรือพื้นที่หนึ่งๆ ที่มีหลักฐาน เช่น ศิลาจารึก หรือซากของโบราณสถานปรากฏอยู่เป็นสิ่งที่แสดงถึงการมีอำนาจอยู่ของ บรรพบุรุษของตน ในยุคที่ฝรั่งเศสเข้ามาขยายอำนาจในกัมพูชา ฝรั่งเศสเองก็ตกอยู่ภายใต้ อิทธิพลทางความคิดเดียวกันนี้ ดังนั้นเมื่อนักวิชาการชาวฝรั่งเศสเขียนถึง ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรที่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นอักษรเขมร จึงเท่ากับว่าได้ สร้างความเข้าใจชุดหนึ่งที่เชื่อมโยงชาวเขมรในยุคหลังและก่อให้เกิดจินตนาการถึง อดีตแบบหนึ่งร่วมกัน ด้วยเหตุนี้การขยายดินแดนในอาณานิคมจึงช่วยผสมผสาน 13 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 14 ความคิดเรื่อง “เชื้อชาติ” (Race) และ “อาณาเขตของดินแดน” (Territory) เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นการสร้างอัตลักษณ์ (Identity) หรือบุคลิกร่วมกันของคน ใน “ชาติ” ซึ่งรวมถึงชนชาติเขมรในฐานะส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสในอินโดจีนขึ้นมา28 โดยกระบวนการสร้างอัตลักษณ์นี้ถูกรัฐบาลกัมพูชาหลังได้รับเอกราชดำเนินการต่อ ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น หลักสูตรการศึกษา หนังสือแบบเรียน และวารสาร ตัวอย่างเช่นวารสารสำหรับผู้สอนหนังสือในยุคสังคมราษฎร์นิยม ชื่อวารสาร “กรู บ่องรีน” ซึ่งพิมพ์เผยแพร่โดยกระทรวงศึกษาธิการในยุคสังคมราษฎร์นิยมเพื่อให้ เป็นแนวทางในการสอนหนังสือของครูชาวเขมรภายหลังจากที่ศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศได้ตัดสินให้กัมพูชาได้ครอบครองปราสาท “พระวิหาร” และได้มีการตีพิมพ์ ภาพปราสาท “พระวิหาร” ไว้ในแผนที่ของประเทศกัมพูชา และก็สอนให้เด็กหัด วาดแผนที่นี้ในชั่วโมงวิชาภูมิศาสตร์29 ด้วยวิทยาการของการทำแผนที่ ทำให้ชาวยุโรปประสบความสำเร็จในการ กำหนดความหมายของพื้นที่และขณะเดียวกันก็สร้างผลกระทบให้กับดินแดนใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนที่ได้กลายเป็นเครื่องมือที่เชื่อมโยงให้คนจินตนาการถึง พื้นที่ในความหมายเดียวกัน ซึ่งช่วยสร้างความสะดวกสบายในการทำงานในระบบ ราชการซึ่งรวมไปถึงการวางระบบการศึกษาแบบใหม่ แผนที่ได้กลายเป็นเครื่องมือ ทางการทหารสำหรับขยายอาณาเขตของชาติตะวันตก แผนที่เป็นเครื่องมือซึ่งทรง พลังในการนิยามคุณค่าให้กับดินแดนที่ยังไม่มีใครอ้างความเป็นเจ้าของมาก่อน ชัยชนะสำคัญของแผนที่สมัยใหม่คือการทำลายความเชื่อหรือระบบภูมิศาสตร์แบบ จารีตที่ยึดโยงจินตนาการว่าด้วยจักรวาลและศาสนาเข้าด้วยกัน ทำให้ดินแดนในโลก ตะวันออกกลายเป็นเพียง “พื้นที่” (Space) หรือเป็นเพียงที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่ง รัฐบาลหรือผู้ทรงอำนาจจากตะวันตกสามารถเข้าไปจับจอง30 ตลอดจนสร้างความ จงรักภักดีให้กับผู้คนท้องถิ่นเพื่อทำให้ชาวอาณานิคมยอมรับในการปกครองแบบ ใหม่ของตน สำหรับกัมพูชาแล้วแผนที่สมัยใหม่ฉบับแรกของประเทศกัมพูชาถูกฝรั่งเศส ร่างขึ้นใน ค.ศ. 1863 โดยมี ชาสเซอลูป โลบาต์ (Chasseloup Laubat) รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงอาณานิคมเป็นผู้ดำเนินการจัดทำ โดยมีรายละเอียดสองส่วนสำคัญ เฉพาะปราสาทนครวัดและตนเลสาป (ทะเลสาบเขมร)31 13 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 14 หลักฐานการศึกษาพื้นที่ในเชิงวิทยาศาสตร์อันนำไปสู่การกำหนดแผนที่ ประกอบกับดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสผนวกกับความรู้สึกเป็นเจ้าของ ปราสาท “พระวิหาร” ทำให้เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างกัมพูชากับไทยขึ้น ฝ่ายกัมพูชาจึงอ้างถึงรายละเอียดในคำฟ้องว่า การค้นพบปราสาทแห่งนี้เป็น ผลงานของคณะสำรวจชาวฝรั่งเศสที่มีนายเอเตียง เอโมนิเยร์ และนายลูเนต์ เดอลา จองกีเอร์ ซึ่งเดินทางมาสำรวจดินแดนลาวในเขตไทยในระหว่าง ค.ศ. 1883-1884 โดยมีการพบจารึก “พระวิหาร” และมีการแปลจารึกออกเป็นภาษาฝรั่งเศสและพิมพ์ เผยแพร่ใน ค.ศ. 189832 องค์ความรู้เกี่ยวกับตัวปราสาท “พระวิหาร” หรืออมตะศิลปะตามคำฟ้องของกัมพูชาจึงเป็นสิ่งที่ชาวกัมพูชาได้รับการถ่ายทอดมา จากฝรั่งเศส นับแต่ยุคที่กัมพูชายังอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสให้ เอกราชแก่กัมพูชาใน ค.ศ. 1953 กัมพูชาจึงยังคงสืบทอดการอ้างสิทธิ์ความเป็น เจ้าของเหนือปราสาท “พระวิหาร” ตามเส้นอาณาเขต และอ้างอธิปไตยเหนือ ดินแดนตามข้อตกลงที่ฝรั่งเศสและไทยทำต่อกันระหว่าง ค.ศ. 1883-1953 ว่าเปรียบเหมือนเมื่อบิดาสิ้นชีวิตไปกรรมสิทธิ์ต่างๆ ก็ตกถึงบุตร33 หลังเกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาแล้ว จะพบว่าข้อโต้เถียงต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาเรื่องปราสาทมักตรงข้ามกันระหว่างประเทศทั้งสอง แต่ประชาชนชาว ไทยและเขมรต่างมีความเห็นตรงกันประการหนึ่งเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร / “พระวิหาร” คือ ความเป็นศาสนสถานซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรักอันเป็น ชายแดนของทั้งสองประเทศ ข้อแตกต่างกลับอยู่ที่ข้ออ้างที่แต่ละฝ่ายใช้อ้างเพื่อ แสดงความเป็นเจ้าของปราสาทหลังนี้ โดยขณะที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างว่าตามสนธิสัญญา ระหว่างสยามและฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1904 กำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วม เพื่อร่างแผนที่ขึ้นได้ระบุไว้อย่างชัดเจนถึงเส้นเขตแดนระหว่างกันนั้นเป็นเหตุให้ ปราสาท “พระวิหาร” ตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชาโดยอ้างถึงข้อผูกมัดใน สนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศสที่ว่า เขตแดนระหว่างกันให้ยึดปฏิบัติตามสันปันน้ำระหว่าง แม่น้ำเสนกับอีกฝั่งของแม่น้ำกงและแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ติดกับพนม บาจ็อง โดยให้ยึดเส้นตามยอดเขาตรงไปยังทิศตะวันออกจนถึง แม่น้ำกง34

15 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 16 ฝ่ายไทยนั้นก็ได้อ้างถึงสนธิสัญญาฉบับเดียวกัน แต่กลับให้ความสำคัญที่ คำว่าให้ยึดปฏิบัติตามสันปันน้ำ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ปราสาทเขาพระวิหารตกอยู่ใน อาณาเขตของประเทศไทย35 ด้วยหลักการอันเดียวกันนี้เองใน ค.ศ. 1940 เมื่อ รัฐบาลไทยในยุคจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ดำเนินการสำรวจดินแดนระหว่างไทย กับฝรั่งเศสในอินโดจีน และพบความผิดพลาดในการกำหนดเส้นเขตแดนระหว่าง กันหลายจุดจึงได้แจ้งให้รัฐบาลฝรั่งเศสทราบ และขอให้ดำเนินการปรับปรุงเส้น เขตแดนเพื่อความยุติธรรม โดยฝ่ายไทยขอให้มีการเปลี่ยนการกำหนดเส้นเขตแดน ระหว่างกันขึ้นใหม่ เพื่อแลกกับการที่รัฐบาลฝรั่งเศสขอให้ทางการไทยลงสัตยาบันว่า จะไม่รุกรานกันและกันในระหว่างที่ฝรั่งเศสกำลังมีสงครามติดพันกับเยอรมนีและ ฝ่ายอักษะในยุโรป36 การย้อนกลับไปทำความเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง ทั้งในมุมมองของไทยและกัมพูชา จึงจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในจุดร่วมของ เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างกัน ซึ่งในปัจจุบันเมื่อความขัดแย้งเรื่องปราสาท พระวิหารระหว่างสองประเทศปะทุขึ้นอีกครั้งหนึ่งใน ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) ก็ยังปรากฏว่าทัศนะของปัญญาชนชาวไทยและชาวเขมรนั้นยังสอดคล้องกับ เหตุการณ์ในครั้งอดีต กล่าวคือต่างมองย้อนกลับไปในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเล่าย้อนถึงมูลเหตุของปัญหาปราสาทพระวิหารในมุมมองของตน ตัวอย่าง เช่น หนังสือเรื่องสงครามอินโดจีนและสนธิสัญญาที่ทำให้ไทยต้องเสียเขาพระวิหาร ของ ทัศนา ทัศนมิตร อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชาวไทยในช่วงที่เกิดความ ขัดแย้งเรื่องปราสาทพระวิหารครั้งแรกในระหว่าง พ.ศ. 2502-2505 ผู้เขียนได้ อธิบายสาเหตุที่ไทยต้องเสียดินแดน โดยเล่าย้อนกลับไปที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งไทยต้องการปรับปรุงดินแดนที่เสียไปให้ฝรั่งเศส37 ซึ่งไม่แตกต่างนักกับฝ่าย กัมพูชาในปัจจุบันที่ยังคงคำอธิบายมูลเหตุของความขัดแย้งไม่แตกต่างจากสมัย สังคมราษฎร์นิยมนัก ด้วยมีการถ่ายทอดคำอธิบายที่ว่าไทยต้องการเขียนแผนที่ ระหว่างประเทศขึ้นใหม่ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน โดยความ เห็นเช่นนี้ก็ปรากฏในแบบเรียนของกัมพูชาในปัจจุบันโดยได้ระบุว่า

15 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 16 ประเทศไทยได้ยกทัพเข้ามายังปราสาท “พระวิหาร” ซึ่งเป็นผลงานทางศิลปะของเขมรที่ตั้งอยู่บนพนมเปรียะวิเฮีย การกระทำของไทยนี้คือความพยายามขโมยมรดกในประวัติศาสตร์ ของเขมร และพยายามที่จะเขียนแผนที่ของตัวเองขึ้นมาใหม่ ประเทศกัมพูชาจึงร้องเรียนไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ กรุงเฮก หลังการพิจารณาศึกษาระยะหนึ่ง ศาลโลกก็ได้ออกคำสั่ง ในวันที่ 15 มิถุนายน 1962 ให้ไทยถอนกำลังทหารออกจาก

ตัวปราสาท38

ข้อเท็จจริงที่ว่าไทยเป็นฝ่ายเริ่มต้นรุกรานประเทศเพื่อนบ้านโดยอาศัยข้ออ้าง เรื่องการดำเนินการเพื่อการปรับปรุงเส้นเขตแดนกับฝรั่งเศสในแง่หนึ่ง ย่อมเป็นคำ อธิบายที่กระทบกับความคิดที่ว่าไทยเป็นชาติที่รักสงบ แต่เมื่อพิจารณาบริบท ทางการเมืองระหว่างประเทศในสมัยที่เจ้าอาณานิคมตะวันตกเข้ามาแสวงหาดินแดน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาจนทำให้ ราชอาณาจักรสยามต้องยอมรับสภาพความพ่ายแพ้ต่อการขยายอำนาจในภูมิภาค จนทำให้ต้องสูญเสียอำนาจความชอบธรรมเหนือดินแดนหลายๆ ส่วนด้วยความ จำยอม โดยได้สละอำนาจในการปกครองเหนือดินแดนบางแห่ง เช่น หัวเมืองต่างๆ ในมณฑลบูรพา ซึ่งแม้ว่าทางรัฐบาลสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้จัดให้มีการปฏิรูปการปกครองให้ทันสมัยขึ้น แต่ก็ไม่อาจ ยับยั้งความต้องการของฝรั่งเศสที่ต้องการดินแดนในส่วนนี้ได้ ในช่วงหลังจาก ค.ศ. 1902 (พ.ศ. 2445) หลังจากการเจรจาปัญหาเรื่อง คนในบังคับระหว่างไทย-ฝรั่งเศสไม่ประสบผลสำเร็จ ทางการไทยก็เลิกให้ความ สนใจกับการปรับปรุงการปกครองในมณฑลบูรพาและถอนกำลังทหารออกจากเขต 25 กิโลเมตร39 เมื่อครั้งที่ไทยเสียพระตระบองและมณฑลบูรพา ในสมัย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ บันทึกของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมพระยาดำรง ราชานุภาพแสดงออกได้อย่างดีถึงทัศนะของชนชั้นนำไทยมีต่อหัวเมืองเขมรว่า เป็นการยอมเสียดินแดนที่ไม่ใช่ของตนและสามารถสละได้เพื่อรักษาดินแดน ส่วนใหญ่ของราชอาณาจักรไว้ โดยบันทึกกล่าวว่า 17 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 18 จริงอยู่ที่ไทยต้องเสียดินแดนไปบ้าง แต่ดินแดนที่เสียไป ไม่เคยเป็นของไทยจริงๆ แต่โบราณมา และซ้ำร้ายเป็นดินแดนที่มี เชื้อโรคภัย ถ้ายังติดอยู่กับร่างกายคือประเทศไทยต่อไป พาให้ต้อง เป็นโรคเรื้อรังต้องเยียวยารักษา เสียทรัพย์ เปลืองชีวิต เปลือง กำลัง...จึงควรตัดเชื้อโรคร้ายให้สูญหายไปไม่ให้ติดต่อลุกลามถึง อวัยวะร่างกายและบ้านเมือง40

จากข้อความที่ยกมาข้างต้นจะเห็นว่า ตามทัศนะของข้าราชสำนักที่ รวบรวมพระราชดำรัสข้างต้นไม่ได้แสดงออกซึ่งความเจ็บช้ำน้ำใจในกรณีที่สยาม มอบดินแดนเขมรส่วนในให้แก่ฝรั่งเศสแต่อย่างใด โดยในทัศนะของพระองค์สิ่งนี้ดู จะเป็นความสำเร็จเพราะช่วยให้สยามมีอำนาจทางการศาลมากขึ้น ตามหลักฐานชิ้น นี้ทำให้ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ สรุปว่า ก่อนยุคสยามสมัยใหม่นั้นจึงยังไม่เกิดความ คิดเรื่อง “การเสียดินแดน” ให้กับฝรั่งเศสหรือ “ประวัติศาสตร์บาดแผล” ขึ้นแต่ อย่างใด โดยเฉพาะเมื่อมองถึงดินแดนที่เรียกมณฑลบูรพา เสียมราฐ พระตระบอง และศรีโสภณนั้น น้ำเสียงของข้าราชสำนักห่างไกลจากเรื่องการ “เสียดินแดน” อย่างสิ้นเชิง41 ความรู้สึกเป็นเจ้าของดินแดนที่คนไทยที่เชื่อว่าเป็นของตนก็ได้ขยายตัว ขึ้นพร้อมๆ กับนโยบายของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามที่ต้องการที่จะขยาย ดินแดนไปยังส่วนต่างๆ ที่เชื่อว่ามีคนเชื้อชาติไทยอาศัยอยู่ โดยหวังว่าเมื่อรวมคน เชื้อชาติไทยให้เป็นหนึ่งแล้วประเทศไทยจะกลายเป็นมหาประเทศ42 ดังนั้นจึงพบว่ามี การรณรงค์เรื่องความเป็นพี่น้องระหว่างคนไทยในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ขึ้นในช่วง เวลานั้น โดยฝ่ายไทยยังได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสร่วมทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) โดยเนื้อหาในสนธิสัญญาระบุว่า ฝรั่งเศสต้องยอมรับในอธิปไตยของไทยเหนือดินแดนบางส่วนบนฝั่งขวาของ แม่น้ำโขง ตามหลักการพรมแดนธรรมชาติและร่องน้ำลึก43 ซึ่งสำหรับฝ่ายไทยแล้ว หากมีการลงนามในครั้งนี้จะเป็นชัยชนะทางการทูตครั้งยิ่งใหญ่ เพราะมีค่าเท่ากับ การได้ดินแดนที่เสียไปให้แก่ฝรั่งเศสคืนกลับมา อย่างไรก็ดีในเวลาเพียงห้าวันต่อมา

17 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 18 คือในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) รัฐบาลฝรั่งเศสก็ได้ประกาศ ยอมจำนนต่อเยอรมนี ทำให้ข้อตกลงก่อนหน้านั้นที่ทำไว้กับไทยเป็นโมฆะไปด้วย โดยรัฐบาลหุ่นที่เมืองวิชี่ (Vichy) ที่เยอรมนีตั้งขึ้นได้ปฏิเสธสนธิสัญญาเดิม ด้านญี่ปุ่นเมื่อเห็นว่าฝรั่งเศสในอินโดจีนตกอยู่ในสถานการณ์เพลี่ยงพล้ำจึงได้ใช้ โอกาสนี้เคลื่อนกำลังเข้าสู่อินโดจีนโดยเข้ายึดครองไซ่ง่อนและฮานอยในปีเดียวกัน44 สำหรับฝ่ายไทยแล้วด้วยเหตุที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศญี่ปุ่น ผนวกกับกระแสความคิดชาตินิยมไทยของจอมพล ป. พิบูลสงครามที่ต้องการขยาย ราชอาณาจักรไทยให้มีอาณาเขตกว้างไกลออกไป ซึ่งในกรณีนี้คงไม่ได้เป็นเพียง ความเห็นของพลตรีหลวงพิบูลสงครามเท่านั้นที่เห็นความจำเป็นในการขยายดินแดน เข้าไปในอินโดจีน ทั้งเพื่อการขยายดินแดนเพิ่มไปในทางตะวันออก เพื่อเพิ่มความ มั่นคงและสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศ โดยแนวคิดนี้ได้รับความเห็นชอบจาก บุคคลอื่นๆ เช่น พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ผู้มีบทบาททางด้านการต่างประเทศ45 ในช่วงเวลานั้นเองที่ปราสาทพระวิหารซึ่งตั้งอยู่ชายแดนของสองประเทศได้รับความ สนใจจากเจ้าพนักงานทำแผนที่ของราชอาณาจักรไทย โดยปรากฏว่าได้มีการสำรวจ เส้นเขตแดนซึ่งมีการตีพิมพ์เป็นแผนที่ออกเผยแพร่ใน ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483)46 รัฐบาลไทยที่มีจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีและมีหลวงวิจิตร วาทการเป็นอธิบดีกรมศิลปากรได้สำรวจโบราณสถานตามพรมแดนด้านที่ติดกับ ฝรั่งเศส โดยพบว่าเส้นเขตแดนในแผนที่ฉบับ พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1910) เมื่อเทียบ ระหว่างข้อตกลงกับฝรั่งเศสที่ทำไว้ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับลักษณะ ภูมิศาสตร์ที่เป็นจริงนั้นปรากฏว่าไม่สอดคล้องกัน เพราะการกำหนดเส้นเขตแดน ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสนั้นไม่ได้ยึด “สันปันน้ำ” และร่องน้ำลึกตามหลักสากลใน การร่างแผนที่ ดังนั้นรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงเรียกร้องไปยังรัฐบาล ฝรั่งเศสเพื่อขอให้มีการประชุมตกลงกำหนดเส้นเขตแดนร่วมกันขึ้นใหม่ แต่ไม่ทันที่ จะได้ทำสัญญากันเพราะรัฐบาลฝรั่งเศสในอินโดจีนอ้างว่าตนเองไม่มีสิทธิ์ในการ ตัดสินใจ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลไทยจึงได้ใช้กำลังทหารเข้ายึดครองดินแดนสามจังหวัด คือ บัตด็อมบอง (พระตะบอง) เซะเร็ยโซพ็วน (ศรีโสภน) และเซียมเรียบ (เสียม เรียบ) จากอินโดจีนของฝรั่งเศส ในโอกาสนี้เองกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน

19 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 20 ปราสาทเขาพระวิหารเป็น “โบราณสถานแห่งชาติ” ตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 248447 จากการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในครั้งนี้ แสดงว่าราชอาณาจักรไทยได้ประกาศเป็นทางการถึงการเข้าครอบครอง ปราสาทเขาพระวิหารอย่างเปิดเผยตั้งแต่ พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) พร้อมๆ กับดินแดนอื่นที่ได้มาในสงครามครั้งเดียวกันนั้น การสู้รบทางบกของกองกำลังฝรั่งเศสซึ่งมีอาวุธยุทโธปกรณ์ไม่เพียงพอจึง ต้องพ่ายแพ้ต่อฝ่ายไทยหลายครั้ง ตรงข้ามกับการสู้รบทางเรือและอากาศที่ฝรั่งเศส ได้ชัยชนะโดยเฉพาะชัยชนะต่อกองทัพเรือของไทยในเดือนมกราคม ค.ศ. 1941 ฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งเกรงว่าฝ่ายไทยอาจต้องเสียหน้ามากไปกว่านี้จึงบังคับให้ฝรั่งเศสไป ตกลงเจรจาที่กรุงโตเกียว ผลการเจรจาทำให้ฝรั่งเศสต้องยกดินแดนบัตด็อมบอง (พระตระบอง) และเซียมเรียบ (เสียมเรียบ) ทั้งหมดและบางส่วนของลาวซึ่งเป็น พื้นที่กว่า 65,000 ตารางกิโลเมตรให้แก่ไทยเพื่อแลกกับเงินจำนวนเพียง 6 ล้านเปี๊ยต โดยฝรั่งเศสได้พยายามเจรจาขอให้ไทยคงเมืองพระนครไว้เพื่อเป็น สัญลักษณ์ในการพิทักษ์ชาวกัมพูชา48 ระหว่างที่ไทยเข้ายึดเมืองบัตด็อมบอง ได้มี การเปลี่ยนชื่อจังหวัดให้เป็นภาษาไทยว่า “พระตระบอง” และมีการจัดการเลือกตั้ง ขึ้นใน ค.ศ. 1946 โดยผู้แทนราษฏรหนึ่งในสองคนคือ นายชวลิต อภัยวงศ์ บุตรชายของพระยาคทาธรธรณินทร์ ข้าราชการฝ่ายไทยคนสุดท้ายที่ปกครองเมืองนี้ ก่อนที่จะเสียเขมรส่วนในหรือมณฑลบูรพาให้ฝรั่งเศส49 อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้เองที่ ปก คุณ (Poc Khun) ชาวเขมรผู้เคย ทำงานให้ฝรั่งเศสและเป็นน้องเขยของนายชวลิต อภัยวงศ์ ได้อาศัยบ้านสกุล อภัยวงศ์เป็นที่รวบรวมชาวเขมรเพื่อต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสในนามของ กลุ่มเขมรอิสระ (Free Khmer)50 ขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลทหาร และพลเรือนของไทย ซึ่งด้านหนึ่งต้องการที่จะทำให้ตนเองมีอิทธิพลหรือบุญคุณต่อ นักชาตินิยมที่ต่อต้านฝรั่งเศส51 และเป็นไปตามแนวนโยบายคำโฆษณาชวนเชื่อของ รัฐบาลไทยที่ได้รับอิทธิพลแบบเชื้อชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรม ศิลปากรในช่วงเวลาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยแนวคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของ นโยบายขยายดินแดนที่มีผู้อาศัยอยู่เป็นชนชาวไทย (Pan Thai Movement)

19 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 20 ซึ่งเริ่มดำเนินการในระหว่างที่รัฐบาลไทยรณรงค์ให้ประชาชนสนับสนุนแนวทางการ ต่อสู้เพื่อเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส ซึ่งมีการรณรงค์ดังข้อความว่า

ที่นั้นมีเลือดเนื้อเชื้อไทยเราอยู่ 24 ล้านคน ซึ่งยังถือตน

เป็นคนไทย พูดภาษาไทย มีชีวิตจิตใจเป็นไทย...ในไม่ช้าเราจะเป็น

ประเทศที่มีดินแดนราว 9,000,000 ตารางกิโลเมตร และมี 52 พลเมืองไม่น้อยกว่า 40 ล้านคน เราจะเป็นมหาประเทศ

ในระหว่างที่รัฐบาลไทยซึ่งนำโดยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เสริมสร้าง ความเป็นเจ้าของดินแดนที่ตนเองได้มาระหว่างสงครามและปราสาทเขาพระวิหารนั้น ทางฝ่ายกัมพูชาก็กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านผู้ปกครองอีกครั้ง เมื่อญี่ปุ่นบีบบังคับไม่ ให้รัฐบาลของฝรั่งเศสในอินโดจีนสามารถติดต่อกับประเทศแม่ในยุโรปได้ ส่งผล ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปกครองในกัมพูชาต้องหาทางทำให้ชาวพื้นเมืองยอมรับอำนาจการ ปกครองของฝรั่งเศสที่เสื่อมอำนาจในทางการทหารลง ในทางหนึ่งฝรั่งเศสเลือกที่จะ แต่งตั้งเจ้าชายนโรดม สีหนุ ผู้ไม่เป็นที่รู้จักมากนักและกำลังศึกษาอยู่ในไซ่ง่อนขึ้น เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา โดยหวังว่ายุวกษัตริย์ที่ตนเลือกขึ้นมาเป็นกษัตริย์ของชาว เขมรนี้จะช่วยปกป้องอำนาจของฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้ฝรั่งเศสจึงสนับสนุนให้สมเด็จ สีหนุเสด็จออกพบปะเยี่ยมเยือนราษฏรตามชนบท เพื่อทำให้ทรงเป็นที่ชื่นชอบของ ราษฎรและขณะเดียวกันก็ปกปิดความอ่อนแอของฝรั่งเศสที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของญี่ปุ่น53 ในส่วนกิจการภายในประเทศกัมพูชา ฝรั่งเศสยังได้เลือกที่จะขยายและ สร้าง “องค์ความรู้” ให้กับชาวกัมพูชาว่าด้วยความยิ่งใหญ่ของ “อารยธรรม พระนคร” อันมีนครวัดและนครธมเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ54 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวเขมรก็เริ่มถูกปลูกฝังความคิดที่ว่า “สยฺมกฺก” ภาพแกะสลักนูนต่ำที่ปรากฏอยู่ ที่ระเบียงปราสาทนครวัดคือภาพของชาวสยามหรือเสียมที่ถูกกษัตริย์แห่งกัมพูชา เกณฑ์มาเป็นไพร่พลในการทำสงครามกับพวกจาม ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงความ เหนือกว่าของชาวเขมร สิ่งนี้ถูกสร้างขึ้นและมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในกัมพูชา การที่ฝรั่งเศสสร้างความเข้าใจให้แก่ชาวเขมรก็เพื่อให้ยอมรับการปกครองของ

21 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 22 ฝรั่งเศส ในฐานะผู้ปลุกชาวเขมรให้รับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของตนในฐานะทายาทของ ผู้สร้างเมืองพระนคร โดยฝรั่งเศสได้อ้างอีกว่าภายหลังจากความ “เสื่อม” ของ อาณาจักรพระนครนั้น ชาวเขมรไม่อาจปกครองตนเองได้55 ด้วยเหตุนี้ฝรั่งเศสจึงเป็นทั้งผู้ที่เข้ามาพื้นฟูประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ให้แก่ ชาวเขมร และเป็นผู้ที่เข้ามาปกป้องชาวเขมรหลังจากเมืองพระนครล่มสลายจากการ รุกรานของประเทศเพื่อนบ้านทั้งไทยและเวียดนาม โดยในหนังสือเรื่องคำสอนของ ตาเมียะฮ์ ซึ่งถูกพิมพ์เผยแพร่โดยการสนับสนุนของฝรั่งเศสในยุคอาณานิคม56 เป็นตัวอย่างที่ดีที่ชี้ให้เห็นถึงบทบาทความสำคัญของฝรั่งเศสต่อชาวเขมร โดย ตาเมียะฮ์ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงที่สยามและเวียดนามแข่งขันกันมีอำนาจเหนือกัมพูชาว่า ในสังคมเขมรเต็มไปด้วยความวุ่นวายเดือดร้อน ตาเมียะฮ์ได้กล่าวถึงเป้าหมายใน การแต่งหนังสือเล่มนี้ขึ้นว่า เพราะฝรั่งเศสนั้นช่วยปราบปรามความไม่สงบทั้งการ กบฏภายในและการรุกรานจากภายนอก ดังนั้นลูกหลานชาวเขมรจึงควรรักและ นับถือฝรั่งเศสซึ่งเป็นครูและมิตรที่พึงพาได้57 ในหนังสือของตาเมียะฮ์ยังสะท้อน ความคิดของชาวเขมรปัญญาชนผู้รู้หนังสือ และมีความใกล้ชิดกับฝรั่งเศสในยุค อาณานิคมออกมาว่า

ตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระนโรดมมาจนถึงบัดนี้ ในเมือง

เขมรทางด้านวิชาความรู้มีความเจริญและรุ่งเรืองขึ้นมากกว่าเดิม

ด้วยไม่มีศัตรูมาเบียดเบียนเพราะผู้มีบุญ (คือฝรั่งเศส) ซึ่งให้

ความคุ้มครองแก่เรานั้นก็ได้ปกครองพวกญวน และสยามเองก็ไม่

กล้ามาเบียดเบียนเรา58

ในช่วงเวลาเดียวกับที่ความขัดแย้งตามชายแดนของทั้งสองประเทศกำลัง ปะทุอยู่นั้นเอง พระองค์เจ้ายุทธวงศ์ (Prince Yuthevong) หนึ่งในปัญญาชนชาว เขมรในฝรั่งเศสที่จะมีบทบาททางการเมืองในฐานะนักชาตินิยมได้นิพนธ์บทความ เพื่อตอบโต้การโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายไทยระหว่าง ค.ศ. 1940 ที่ระบุว่าปราสาท นครวัดเป็นส่วนหนึ่งเป็นมรดกของไทย โดยทรงยืนยันความคิดของฝรั่งเศสที่ว่า ชาวเขมรเป็นผู้สร้างนครวัดขึ้น ซึ่งต่อมาอาณาจักรถูกทำให้เสื่อมอำนาจลงไป

21 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 22 แล้วคนไทยก็ขึ้นมามีอำนาจแทนที่ หลังจากที่บทความชิ้นนี้ได้ถูกเผยแพร่ออกไป ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1941 ชาวเขมรในนามกลุ่มยุวชนอินโดจีนฝรั่งเศส (Franco Indochinese Youth) ราวหนึ่งหมื่นห้าพันคนได้มารวมตัวกันในกรุง พนมเปญ และในเวลาต่อมาเยาวชนกลุ่มนี้ได้เข้าร่วมกับฝรั่งเศสในสงครามกับไทย ในระหว่าง ค.ศ. 1940-194159 นวน เฆือน (Nuon Khoeun) นักประวัติศาสตร์ ชาวเขมรผู้มีชีวิตในช่วงที่ไทยเข้ายึดครองจังหวัดเสียมเรียบ และต้องพลัดพรากจาก บิดาในเหตุการณ์ครั้งนั้นได้บรรยายความรู้สึกว่า

ประเทศกัมพูชาต้องสูญเสียดินแดนจำนวนหนึ่งประมาณ

60,000 ตารางกิโลเมตร คือราว 1 ใน 3 ของดินแดนในปัจจุบัน

นี้ อันได้แก่ จังหวัดบัตดอมบองและสตรึงเตรงทั้งหมด บางส่วน

ของจังหวัดเสียมเรียบ (ยกเว้นนครวัด) และทางเหนือของจังหวัด

กำปงธม คือบริเวณสรุกฺพำกสานตฺและแสบ บรรดาชนชาวเขมร

กว่าครึ่งล้านคนต้องตกอยู่ใต้อำนาจของพวกเสียม (ประเทศไทย)

จนถึงปี 1946 ...ดินแดนในภูมิภาคตามที่หลวงวิจิตรวาทการได้

วาดภาพไว้จึงได้กลายเป็นของรัฐบาลไทย แต่นักประวัติศาสตร์

ย่อมตั้งคำถามว่า หากปราศจากซึ่งความช่วยเหลือด้านการเมือง

ของญี่ปุ่นที่มีอำนาจเหนือรัฐบาลของฝรั่งเศสแล้ว กำลังอันน้อยนิด

ของไทยจะทำการใหญ่เช่นนี้ได้หรือไม่60

การโฆษณาชวนเชื่อและขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนกัมพูชาของรัฐบาล ไทยในครั้งนั้นยังกระตุ้นให้นักเขียนชาวเขมรในยุคอาณานิคมและสังคมราษฎร์นิยม หยิบเอาสถานการณ์ในครั้งนั้นมาแต่งเป็นนวนิยายเพื่อบรรยายถึงความรู้สึกหวงแหน ในดินแดนที่ถูกไทยผนวกไป นู หาจ นักเขียนชาวเขมรผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัด บัตด็อมบอง และผ่านเหตุการณ์ที่ไทยเข้ายึดครองในครั้งนั้นได้แต่งนวนิยายเรื่อง ผกาซรอโปน (ดอกไม้เฉา) ขึ้น งานของ นู หาจ แม้จะไม่โจมตีไทยอย่างรุนแรง หากแต่ก็แสดงออกถึงความโหยหาอดีตในวัยเด็ก และความผูกพันกับเพื่อนร่วม ถิ่นเกิดผ่านการบรรยายถึงเมืองบัตด็อมบอง61 สิ่งที่ปรากฏในนิยายเรื่องนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงออกซึ่งความรู้สึกของ 23 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 24 ชาวเขมรที่เป็นเจ้าของดินแดนในช่วงนั้นได้ดี และดูจะสอดคล้องกับบริบทในยุค สังคมราษฎร์นิยมด้วย เมื่อความขัดแย้งเรื่องปราสาท “พระวิหาร” ระหว่างไทยและ กัมพูชาปะทุขึ้น งานของ นู หาจ ที่กำลังพิมพ์ออกจำหน่ายจึงได้รับความนิยม อย่างสูง และทั้งยังได้รับคัดเลือกให้เป็นหนังสืออ่านประกอบสำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาอีกด้วย62 ในช่วงเวลาที่ไทยกับฝรั่งเศสทำสงครามกันอยู่นั้น สมเด็จพระนโรดม สีหนุซึ่งได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของกัมพูชาทรงมีท่าทีตรงข้ามกับ ปัญญาชนชาวเขมรคนอื่นๆ ที่ต้องการเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองจาก ฝรั่งเศส ด้วยเหตุที่ต้องทรงอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเคร่งครัดของฝรั่งเศส ทำให้ ไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองอย่างชัดเจน พระองค์มิได้ทรงแสดงความเห็นใดๆ ต่อสาธารณชน ด้วยเกรงว่าหากทรงแสดงทัศนะใดๆ ออกมาก็จะทำให้ฝรั่งเศสที่ คุ้มครองและสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์เกิดความไม่พอใจ สิ่งนี้น่าจะเป็นปัจจัย สำคัญที่ทำให้พระองค์ทรงนิ่งเฉยกับการรุกรานของไทย และมิได้ทรงแสดงบทบาท ใดๆ รวมทั้งในเหตุการณ์ที่ไทยรุกรานประเทศของพระองค์ ดังนั้นในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1941-1953 การตกลงหรือดำเนินการใดๆ เรื่องปราสาทพระวิหารจึงเป็นเรื่อง ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส การต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิในการครอบครอง ปราสาท “พระวิหาร” ของกัมพูชาในช่วงก่อนได้รับเอกราชจึงเป็นบทบาทของ ฝรั่งเศสโดยตรงในการประท้วงการที่รัฐบาลไทยได้ส่งกำลังทหารและตำรวจเข้าไปยัง บริเวณปราสาท “พระวิหาร” แล้วไม่ยอมถอนกำลังออกตามคำประท้วงของ สถานทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ถึง 3 ครั้ง63 แม้ว่าในช่วงก่อนที่กัมพูชาจะได้รับเอกราช สมเด็จสีหนุจะมิได้ทรงแสดง ความไม่พอพระทัยต่อนโยบายการขยายดินแดนและการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาล ไทย แต่การโฆษณาชวนเชื่อนั้นก็ได้สร้างความไม่พอใจให้กับชาวเขมร โดยเฉพาะ กลุ่มปัญญาชนที่ต่างออกมาต่อต้าน ทั้งในรูปแบบของการใช้กำลังต่อต้านการรุกราน และใช้สติปัญญาในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทย เพื่อกระตุ้นความรู้สึกรักชาติหรือ ต่อต้านไทยให้แก่ชาวเขมร ดังพบว่าใน ค.ศ. 1959 หลังจากที่ทางรัฐบาลกัมพูชา ยื่นคดีความเรื่องปราสาท “พระวิหาร” ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลโลก จนทำให้เกิด การวิพากษ์วิจารณ์ทั้งจากประชาชนและสื่อมวลชนทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชา สาน ยูน 23 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 24 (San Yun) นักการเมืองผู้เป็นที่ไว้วางพระทัยของสมเด็จสีหนุจนได้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีสืบต่อจากพระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ระหว่าง ค.ศ. 1956-195764 ได้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆ เพื่อตอบโต้ท่าทีของสื่อมวลชน และรัฐบาลไทย โดยอ้างย้อนไปถึงคำโฆษณาชวนเชื่อของหลวงวิจิตรวาทการและ รัฐบาลไทย ที่รณรงค์ให้ประชาชนสนับสนุนแนวทางการต่อสู้เพื่อเรียกร้องดินแดน คืนจากฝรั่งเศส โดยโยงเข้ากับเรื่องปราสาท “พระวิหาร” ว่า

พวกเขาได้แต่งเรื่องไม่จริงทางประวัติศาสตร์ที่ว่า

ชาวกัมพูชาเป็นลูกผสมระหว่างพวกเขาชาวไทยกับเชื้อชาติอันน่า

พิศวงที่พวกเขาเรียกว่าขอม (Khom) ด้วยข้อสันนิษฐานเช่นนี้

ทำให้พวกเขาอ้างว่าปราสาท “พระวิหาร” เป็นของประเทศไทย

และด้วยเหตุผลเดียวกัน กัมพูชาจึงเป็นส่วนหนึ่งของ “แคว้นที่

เสียไป” ให้แก่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส65

ในช่วงท้ายของยุคสังคมราษฎร์นิยมหลังจากที่กัมพูชาได้ปราสาท “พระวิหาร” คืนกลับมาแล้ว สมเด็จพระนโรดมสีหนุยังได้ทรงนำเอาคำโฆษณาชวนเชื่อของไทย กลับมาเป็นชนวนสร้างความไม่พอใจและความรู้สึกโกรธเกลียดประเทศไทย ซึ่งถูก ถือว่าเป็น “ผู้กลืนกินดินแดนเขมร” ให้แก่ชาวเขมร โดยในครั้งนั้นทรงอ้างว่าเพราะ ฝ่ายไทยไม่ยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าไทยในสมัยโบราณเคยตกอยู่ใต้อำนาจของ บรรพบุรุษของชาวเขมร ชาวไทยจึงได้แต่งเรื่องโกหกขึ้นว่าชาวกัมพูชาเป็นลูกผสม ระหว่างชาวไทยกับชาวขอม (Khom) เพื่อให้ตนเองสามารถอ้างสิทธิในการ ครอบครองดินแดนของเขมร โดยทรงพระนิพนธ์ไว้ตอนหนึ่งว่า ความคิดที่หลวงวิจิตรวาทการสร้างไว้เมื่อครั้งที่ไทยผนวก ดินแดนของเราใน ค.ศ. 1941 ทั้งสองประการยังคงอยู่ในจิตใจ ของคนไทย หนึ่งคือความคิดที่ว่ากัมพูชาได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของประเทศไทยจนถึง ค.ศ. 1863 สอง พวกเขาได้อ้างว่าชาว เขมร/กัมพูชาไม่ใช่ชนกลุ่มเดียวกันกับขอม โดยที่ชาวกัมพูชา ทุกวันนี้มีเลือดไทยอยู่ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ด้วยความคิดทั้งสอง

25 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 26 ประการนี้นำไปสู่ความคิดของพวกเขาที่ว่า กัมพูชาคือดินแดนที่ พวกเขาเสียไปซึ่งไม่อาจลบเลือนได้จนกว่าพวกเขา (คนไทย) จะได้ดินแดนกลับคืน66

สามทศวรรษต่อมาหลังจากที่ฝรั่งเศสดำเนินการเปิดการเรียนการสอนพุทธ ศาสนาแบบสมัยใหม่ขึ้นในกัมพูชา ปัญญาชนชาวเขมรสามคนคือ เซิง ง็อก ทัญ (), เซิม วา () และปาจ เฌือน (Pach Chhoeun) ในฐานะสมาชิกของพุทธศาสนบัณฑิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งรวมและเผยแพร่ผลงานของ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวด้านภาษาและอักษรศาสตร์เขมร ได้ร่วมกันตั้ง หนังสือพิมพ์โนกอร์ว็วด [นครวัด] นับเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เด่นชัด และมัก ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นจุดกำเนิดของความคิดชาตินิยมเขมร หนังสือพิมพ์ รายสัปดาห์โนกอร์ว็วด [นครวัด] ได้รับยกย่องให้เป็นเครื่องหมายที่สำคัญ ของ “การปลุก” ชาวกัมพูชาให้พ้นจากภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น67 แม้ว่าในช่วงต้นของการออกหนังสือพิมพ์โนกอร์ว็วดนั้น คณะผู้จัดทำเพียง แต่ต้องการเรียกร้องสิทธิในการทำงานของชาวเขมรจากฝรั่งเศสแทนการนำเอาชาว เวียดนามเข้ามารับตำแหน่งในกัมพูชา ไม่ได้มีท่าทีในการปลุกระดมให้ชาวเขมรลุก ขึ้นมาต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสอย่างเปิดเผย68 แต่ด้วยเหตุที่หนังสือพิมพ์มี ยอดพิมพ์จำหน่ายใน ค.ศ. 1937 กว่า 5,000 ฉบับ สิ่งนี้จึงได้กลายเป็นสื่อกลางที่ ช่วยสร้างเครือข่ายของผู้อ่านให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ที่ราชบรรณาลัยประจำพระนคร (Royal Library) ในกรุงพนมเปญนั้น มีจำนวนผู้ขอใช้บริการอ่านหนังสือพิมพ์นี้ เพิ่มมากขึ้นจำนวนกว่า 5,000 คน โดยอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานที่ฝรั่งเศส ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1928 การออกหนังสือพิมพ์นี้เป็นเครื่องนำทางให้ชาวเขมรมีความ คิดไปในทิศทางเดียวกัน การเกิดขึ้นของสถาบันทางสังคมแห่งใหม่ๆ และจำนวน ปัญญาชนที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก (ที่สำคัญคือวิทยาลัยสีโสวัตถิ์ (Lycee Sisowath) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนในกรุงพนมเปญ เป็นที่ศึกษาของบรรดา นักการเมืองและปัญญาชนอีกกลุ่มที่มีบทบาทอย่างสูงในการตั้งพรรคประชาธิปไตย ขึ้นในเวลาต่อมา) รวมทั้งการศึกษาในโรงเรียนวัดที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ ได้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และก่อให้เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับ “ชาติ” 25 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 26 เพิ่มมากขึ้น69 สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งจากการออกหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็คือ การที่ คณะผู้จัดทำหนังสือพิมพ์ชาวเขมรเลือกตั้งชื่อของหนังสือพิมพ์ว่า “โนกอร์ว็วด” นั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเมืองพระนครหรือนครวัดที่เพิ่มสูงขึ้น ในหมู่ปัญญาชนเขมร นอกจากนี้ในด้านหนึ่งก่อนการได้เอกราชจากฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1953 นั้น ความคิดต้องการเป็นอิสระจากการถูกปกครองจากต่างชาติหรือต่อต้านการรุกราน ของคนต่างชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในหมู่ปัญญาชนชาวเขมร ดังนั้นผลจากกรณีที่ ไทยรุกรานดินแดนที่ไทยอ้างว่าเป็น “ดินแดน” ที่ไทยสูญเสียไปในระหว่าง ค.ศ. 1940-1941 นอกจากจะได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ปัญญาชนผู้ที่ได้รับความรู้แบบ ที่ฝรั่งเศสวางรากฐานคำอธิบายไว้แล้ว ความคิดแบบสมัยใหม่และเทคโนโลยี การพิมพ์ที่ฝรั่งเศสนำเข้ามายังได้ช่วยกระตุ้นให้ปัญญาชนชาวเขมรผู้อ่าน หนังสือพิมพ์ภาษาเขมรจำนวนมากรู้สึกถึงความเป็น “ชาติ” ร่วมกัน สามารถ เชื่อมโยงเรื่องการเข้ายึดครองดินแดนไทยเข้ากับความรู้สึก “สูญเสีย” โบราณสถาน จากยุคเมืองพระนคร ซึ่งปัญญาชนชาวเขมรเหล่านี้เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของ อารยธรรมในประวัติศาสตร์ของชาติตน ฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นในระหว่างการยึดครอง ของไทยก็คือการขยายตัวของความคิดต่อต้านไทยที่อ้างสิทธิ์เข้าครอบครองดินแดน และโบราณสถานจากยุคพระนครอันมีประสาท “พระวิหาร” เป็นสัญลักษณ์ใน อารยธรรมแห่งความยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษและวีรกษัตริย์ชาวเขมร (ตามอย่างการ อธิบายของนักวิชาการชาวฝรั่งเศสที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพระนคร) ผลดังกล่าวได้ ขยายไปสู่ความคิดต่อต้านไทยและขยายความรู้สึกหวงแหนไปยังปราสาท “พระวิหาร” อย่างไรก็ตาม คงจะต้องตระหนักว่าการขยายอำนาจเข้ายึดครองดินแดน กัมพูชาของไทยเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ปัญญาชนชาวเขมรส่วนหนึ่งรับรู้ถึงการมีอยู่ของ โบราณสถานแห่งพนมเปรียะฮ์วิเฮียนับตั้งแต่ก่อนที่กัมพูชาจะได้เอกราชจากฝรั่งเศส แล้ว ดังนั้นเมื่อมีกรณีความขัดแย้งเรื่องนี้เกิดขึ้นอีกในปัจจุบัน ก็เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ ไม่ยากนักว่าพวกเขาจะมีความรู้สึกอย่างไร !

......

27 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 28 เชิงอรรถ

1 Etienne Aymonier, Isan Travelers Northeast Thailand’s Economy in 1883-1884 Trans. by Walter E.J. Tips. (Bangkok: White Lotus Press, 2008), pp. 182- 183. 2 KN He b s k k mµGciéRnþy(énRbeTskm¬uCaRbcMaenAGg­karshRb Ca Ca t i ,

bJºaR:saTRBHvihar (n.d.),RksYgBt(man, 1960 TMB&r 5 [คณะกรรมการถาวรของกัมพูชาประจํา องคการสหประชาชาติ, ปญหาปราสาท “พระวิหาร” (ม.ป.ท.): กระทรวงขอมูลขาวสาร, 1960), หนา 5] 3 “Preah Vihear Case Background to Dispute” Cambodian Commentary 3 (March 1962): 19. 4 Michael D. Coe, Angkor and the Khmer Civilization (Singapore: Thames and Hudson, 2003), p. 15. 5 ตัวอยางผลงานของนักวิชาการชาวฝรั่งเศสที่อธิบายความยิ่งใหญของอาณาจักร เขมรโบราณในลักษณะขางตนที่ไดรับการแปลเปนภาษาไทย เชน ยอรช เซเดส, ประวัติศาสตร เอเชียอาคเนยถึง พ.ศ. 2000 แปลโดย หมอมเจาสุภัทรดิศ ดิศกุล, พิมพครั้งที่ 4 (กรุงเทพฯ: สามลดา,

2549) หรือตัวอยางงานของยอรช เซเดส ที่ไดรับการแปลเปนภาษาเขมร เชน hSk sWEds,

kMBUlesþcRkugkmËuCaC&yvrµ&nTI 7 ERbecjPasaExµredayCMu emA (PñMeBj; RBHraCbN‚al&y, 1935) [ฮสก เซอแฎซ, กษัตริยผูยิ่งใหญที่สุดแหงกัมพูชา พระบาทชัยวรมันที่ 7 แปลโดย จุม เมา (พนมเปญ: พระราชบรรณาลัย, 1935)] 6 Penny Edwards, Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 (Ph. D. Thesis, Monash University, 1999), p. 12. 7 David Robinson, A Dictionary of Modern Politic 3th (London and New York: Europa Publication, 2002), p. 454. 8 Etienne Aymonier, Le Cambodge Tome I (Paris: Ernest Leroux, 1901), cited in Penny Edwards, Cambodge: The Cultivation of A Nation, 1860-1945, p. 12. 9 Milton E. Osborne, The French Presence in Cochin China and Cambodia (Bangkok: White Lotus, 1997), p. 37.

27 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 28 10 Etienne Aymonier, Journal Asiatique (April-June 1883): 451. อางใน สุริย วุฒิ สุขสวัสดิ์, ปราสาทเขาพระวิหาร: ศาสนบรรพตที่โดดเดนที่สุดในภาคพื้นเอเชีย อาคเนย (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2536), หนา 55. 11 Etienne Aymonier, Khmer Heritage in Thailand: With Special Emphasis on Temples, Inscriptions, and Etymology, Trans. By Walter E. J. Tips (Bangkok: White Lotus, 1999), pp. 256-257. 12 ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ, นิทานโบราณคดี พิมพครั้งที่ 13 (กรุงเทพฯ: รุงวัฒนา, 2513), หนา 350. 13 Georges Groslier, “Prak Vihêar” In Marguerite Triaire, Indochina Through Text (Hanoi: Gioi Publishers, 2000), p. 161. 14 ยอรช เซเดส, เมืองพระนคร นครวัด นครธม พิมพครั้งที่ 8 แปลโดย ปรานี วงษเทศ (กรุงเทพฯ: มติชน, 2546), หนา 21. 15 George Coedés, “Essai de Classification des Documents Historiques Conservées ãla Bibliothèque de Ecole Française d ' Extrême Orient,” BEFEO 18 (1918): 15. 16 Penny Edwards, Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 (Bangkok: Silkworm Books, 2008), p. 231. 17 s"nS sWeCn, kMBUlesþcRkugkmñuCaC&yvrµ&nTI 7 ERbecjPasaExµredayCMu emA

(PñMeBj;RBHraCbN‚al&y, 1935) TMB&r 5-6. [ยอรช เซเดส, กษัตริยผูยิ่งใหญที่สุดแหง กัมพูชา พระบาทชัยวรมันที่ 7 แปลโดย จุม เมา (พนมเปญ: พระราชบรรณาลัย, 1935), หนา 5-6] 18 นิธิ เอียวศรีวงศ, ประวัติศาสตรนิพนธตะวันตก พิมพครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2525), หนา 87. 19 George Coedés, The Making of Southeast Asia, Trans by H.M. Wright (California: University of California, 1966), p. 107. 20 George Coedés, Indianization of Southeast Asia (Honolulu: University of Hawaii, 1968), p. 61.

29 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 30 10 21 Etienne Aymonier, Journal Asiatique (April-June 1883): 451. อางใน สุริย r. eKaviT. Emer]nseg¡bBgSavtavRbeTskmËuCasMrab'karRblgepSg (PñMeBj: วุฒิ สุขสวัสดิ์, ปราสาทเขาพระวิหาร: ศาสนบรรพตที่โดดเดนที่สุดในภาคพื้นเอเชีย Duc QWT, 1959), TMB&r x. [โร โกวิต, แบบเรียนสังเขปพงศาวดารสําหรับการสอบตางๆ อาคเนย (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2536), หนา 55. (พนมเปญ: ฑุจฌืท, 1959), หนา ข.] 11 Etienne Aymonier, Khmer Heritage in Thailand: With Special Emphasis 22 David P. Chandler, A History of Cambodia 2nd (Chiang Mai: Silkworm on Temples, Inscriptions, and Etymology, Trans. By Walter E. J. Tips (Bangkok: Books, 1993), pp. 10-11. White Lotus, 1999), pp. 256-257. 23 George Coedés, Inscriptions du Cambodge VI (Paris: BEFEO, 1954): 261. 12 ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ, นิทานโบราณคดี พิมพครั้งที่ 13 24 :¨g xat´Ç mK

29 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 30 er]gRBHvihar” kmËuCsuriya 35 (mIna 1963): 327. [ฮู นึม, “เขมรเราไดรับชัยชนะใน ขั้นตนที่ศาลระหวางประเทศในคดี “พระวิหาร” กัมพุชสุริยา 35 (มีนาคม 1963): 327.] 34 KNHebskkmµGciéRTþy(énRbeTskm¬uCaRbcMaenAGg­karshRbCaCati, bJºaR:saTRBHvihar (n.p.),RksYgBt(man, 1960 TMB&r 10. [คณะกรรมการถาวรของ กัมพูชาประจําสหประชาชาติ, ปญหาปราสาท “พระวิหาร” ((ม.ป.ท.): กระทรวงขอมูลขาวสาร , 1960), หนา10] 35 International Court of Justice, Reports of Judgment, Advisory and Orders Case Concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) Merits Judgments of 15th June 1962, (the Netherlands: The Hague. 1962), p. 22. 36 ชาญวิทย เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500 พิมพครั้งที่ 5 (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2551), หนา 265. 37 ดูรายละเอียดใน ทัศนา ทัศนมิตร, สงครามอินโดจีน และสนธิสัญญาที่ทําให ไทยตองเสียเขาพระวิหาร (กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2552) 38 KNHkmµkarniBn, sikSasg­m 12 EpñkTI 1 PUmiRbvtþviTüa RbvtþviTüa e:HBum¬elIkTI 5 (PñMeBj ; RksUgGb'rM 2007), TMB&r 159. [คณะกรรมการแตง, ศึกษาสังคมแผนกที่ 1 ภูมิศาสตรประวัติศาสตร พิมพครั้งที่ 5 (พนมเปญ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2007), หนา 159.] 39 สุพัฒศรี วรสายัณห, “การปกครองแบบเทศาภิบาลมณฑลบูรพา,” ใน วุฒิชัย มูล ศิลป และ สมโชติ อองสกุล (บรรณาธิการ), มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะหเปรียบเทียบ (กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2524), หนา 251. 40 ประพัฒน ตรีณรงค, พระชีวประวัติและผลงานของสมเด็จกรมพระยาดํารงรา ชานุภาพ (กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.), 2518), หนา 339-340. 41 ชาญวิทย เกษตรศิริ, “ลัทธิชาตินิยมไทย-สยามกับกัมพูชา: ขอพิพาทปราสาทพระ วิหาร (กลับมาเยือน),” เอกสารประกอบการแสดงปาฐกถาพิเศษ ปวย อึ๊งภากรณ ครั้งที่ 11 จัด โดยคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552, หนา 93. 42 สายชล สัตยานุรักษ, ความเปลี่ยนแปลงในการสรางชาติไทยและความเปน ไทยโดยหลวงวิจิตรวาทการ (กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมติชน, 2545), หนา 31. 43 ไชยวัฒน ค้ําชู, (บรรณาธิการ), ญี่ปุนศึกษา (กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2530), หนา 773-776.

31 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 32 44 เพิ่งอาง, หนา 128. er]gRBHvihar” kmËuCsuriya 35 (mIna 1963): 327. [ฮู นึม, “เขมรเราไดรับชัยชนะใน 45 กอบเกื้อ สุวรรรณทัต-เพียร, นโยบายตางประเทศของรัฐบาลพิบูลสงคราม ขั้นตนที่ศาลระหวางประเทศในคดี “พระวิหาร” กัมพุชสุริยา 35 (มีนาคม 1963): 327.] 34 พ.ศ. 2481-2487 (กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2532), หนา 60. KNHebskkmµGciéRTþy(énRbeTskm¬uCaRbcMaenAGg­karshRbCaCati, 46 สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, หมอมราชวงศ, ปราสาทเขาพระวิหาร: ศาสนบรรพตที่โดด bJºaR:saTRBHvihar (n.p.),RksYgBt(man, 1960 TMB&r 10. [คณะกรรมการถาวรของ เดนที่สุดในภาคพื้นเอเชียอาคเนย (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2536), หนา 683. กัมพูชาประจําสหประชาชาติ, ปญหาปราสาท “พระวิหาร” ((ม.ป.ท.): กระทรวงขอมูลขาวสาร 47 ขรพรรษ ธรรมรส, ผลกระทบตอจังหวัดศรีสะเกษในกรณีพิพาทระหวางไทย , 1960), หนา10] 35 กับกัมพูชาเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร พ.ศ. 2502 – 2505 วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสต International Court of Justice, Reports of Judgment, Advisory and รมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2546, หนา 32. Orders Case Concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) 48 David P. Chandler, A History of Cambodia 2nd (Chiang Mai: Silkworm Merits Judgments of 15th June 1962, (the Netherlands: The Hague. 1962), p. 22. 36 Books, 1993), p. 166. ชาญวิทย เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500 พิมพครั้งที่ 49 ชาญวิทย เกษตรศิริ, “ลัทธิชาตินิยมไทย-สยามกับกัมพูชา: ขอพิพาทปราสาทพระ 5 (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2551), หนา 265. วิหาร (กลับมาเยือน),” เอกสารประกอบการแสดงปาฐกถาพิเศษ ปวย อึ๊งภากรณ ครั้งที่ 11 จัด 37 ดูรายละเอียดใน ทัศนา ทัศนมิตร, สงครามอินโดจีน และสนธิสัญญาที่ทําให โดยคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 ไทยตองเสียเขาพระวิหาร (กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2552) 50 38 “Etude sur les Mouvement Rebelles au Cambodge, 1942-1952” อางใน ชุม KNHkmµkarniBn, sikSasg­m 12 EpñkTI 1 PUmiRbvtþviTüa RbvtþviTüa พล เลิศรัฐการ, บทบาทเจาสีหนุ สงครามและสันติภาพกัมพูชาในการเมืองโลก (กรุงเทพ: e:HBum¬elIkTI 5 (PñMeBj ; RksUgGb'rM 2007), TMB&r 159. [คณะกรรมการแตง, ศึกษาสังคมแผนกที่ ธัญญาพับลิเคชัน, 2534), หนา 75. 51 1 ภูมิศาสตรประวัติศาสตร พิมพครั้งที่ 5 (พนมเปญ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2007), หนา 159.] David P. Chandler, The Tragedy of Cambodian History: Politics, War and 39 สุพัฒศรี วรสายัณห, “การปกครองแบบเทศาภิบาลมณฑลบูรพา,” ใน วุฒิชัย มูล Revolution since 1945 (Chiang Mai: Silkworm Books, 1991), p. 24. 52 ศิลป และ สมโชติ อองสกุล (บรรณาธิการ), มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะหเปรียบเทียบ วิจิตวาทการ, หลวง, “ปาฐกถาเรื่องการเสียดินแดนไทยใหแกฝรั่งเศสวันที่ 17 (กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2524), หนา 251. ตุลาคม 2493” อางใน สํานักธรรมเนียบรัฐบาล, วิจิตอนุสรณ คณะรัฐมนตรีพิมพเปนที่ 40 ประพัฒน ตรีณรงค, พระชีวประวัติและผลงานของสมเด็จกรมพระยาดํารงรา ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพลตรีหลวงวิจิตวาทการ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส ชานุภาพ (กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.), 2518), หนา 339-340. 16 สิงหาคม 2505 (กรุงเทพฯ: สํานักทําเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505), หนา 158. 41 ชาญวิทย เกษตรศิริ, “ลัทธิชาตินิยมไทย-สยามกับกัมพูชา: ขอพิพาทปราสาทพระ 53 Milton E. Osborne, Sihanouk: Prince of Light, Prince of Darkness วิหาร (กลับมาเยือน),” เอกสารประกอบการแสดงปาฐกถาพิเศษ ปวย อึ๊งภากรณ ครั้งที่ 11 จัด (Chiang Mai: Silkworm Books, 1994), pp. 30-31. โดยคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552, หนา 93. 54 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมไดใน Penny Edwards, Cambodge: The Cultivation of 42 สายชล สัตยานุรักษ, ความเปลี่ยนแปลงในการสรางชาติไทยและความเปน a Nation, 1860-1945 (Bangkok: Silkworm Books, 2008) ไทยโดยหลวงวิจิตรวาทการ (กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมติชน, 2545), หนา 31. 55 David P. Chandler, “The Burden of Cambodia’s Part” in Frederick Z. Brown 43 ไชยวัฒน ค้ําชู, (บรรณาธิการ), ญี่ปุนศึกษา (กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา and David G. Timberman (eds.), Cambodia and the International Community: The จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2530), หนา 773-776.

31 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 32 Quest for Peace, Development, and Democracy (Singapore: Asia Society Institute of Southeast Asian Studies, 1999), p. 37. 56 XIg hukDI. malIbTGkSrsil|¾ExµrstvtþTI 20‘PñMeBj; Gg­r, 2002’, TMB&r 54. [ฆีง ฮกฑี. บุษปมาลาวรรณกรรมเขมรคริสตศตวรรษที่ 20 (พนมเปญ: อองโกร, 2002), หนา 54.] 57 mas, bNþaMtamas e:HBumËpSayeday XIg hukDIÇ‘PñMeBj; Gg­r, 2007), TMB&r 32. [เมียะฮ, คําสั่งสอนของตาเมียะฮ พิมพเผยแพรโดยฆีง ฮกฑี (พนมเปญ: อองโกร, 2007), หนา 32.] 58 Ibid., p. 24. (ขอความในวงเล็บเปนของผูวิจัย) 59 Penny Edwards, Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 (Bangkok: Silkworm Books, 2008), pp. 232-233. 60 nYn eX}n, r&dðRbhar 1932BI es{m eTA ézLg < (PñMeBj; (n.p.) 1971), TMB&r 115-117. [นวน เฆือน, รัฐประหาร 1932 จากเสียมเปนไทยแลนด (พนมเปญ: (ม. ป.ท.), 1971), หนา 115-117.] 61 b"n sar,I eRb[beZ[ber}gCªaRseRBan nwger}gb"nvIrhSnI sarNabNabJ©bkarsikSa (PñMeBj; saklviTüal&yPUminPñMeBj, 2003), TMB&r 2 [บญน ซารี, เปรียบเทียบเรื่อง ผกาซรอโปน กับเรื่อง บญ วีรเสเนย (พนมเปญ: มหาวิทยาลัยภูมินทรพนมเปญ, 2003), หนา 2.] 62 XIg hukDI, malIbTGkSrsil|¾ExµrstvtþTI 20, TMB&r 131. [ฆีง ฮกฑี, บุษปมาลาวรรณกรรมเขมรคริสตศตวรรษที่ 20 (พนมเปญ: อองโกร, 2002), หนา 131.] 63 โปรดดู KNHebskkmµGciéRnþy(énRbeTskm¬uuCaRbcMaenAGg­karshRbCaCati, bJºaR:saTRBHvihar (n.p.):RksUgB(man, 1960. TMB&r 32-34. [คณะกรรมการถาวรของ กัมพูชาประจําสหประชาชาติ, ปญหาปราสาท “พระวิหาร” (ม.ป.ป.): กระทรวงขอมูลขาวสาร, 1960), หนา 32-34.] 64 Buy Ka, EsÈgyl'BI rC¯Pi:lkm¬uCaTImUy>kµugryHeBl 6 TsvtSr(cugRkay

(PMñeBj: BnWøExµr, 2006), TMB&r 56-57. [ปุย เคีย, การทําความเขาใจเกี่ยวกับรัฐบาล หนึ่งๆ ของประเทศกัมพูชาในชวงระยะเวลา 6 ทศวรรษหลัง (พนมเปญ: ปน เลือแขมร, 2006), หนา 56-57.]

33 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 34 Quest for Peace, Development, and Democracy (Singapore: Asia Society Institute of 65 San Yun, “Preah Vihear Who Is Behaving Properly?” Cambodian Southeast Asian Studies, 1999), p. 37. Commentary 3 (December 1959): 13. 56 66 , “The Eaters of Khmer Earth” Kambuja 9 (December XIg hukDI. malIbTGkSrsil|¾ExµrstvtþTI 20‘PñMeBj; Gg­r, 2002’, 1965): 15. TMB&r 54. [ฆีง ฮกฑี. บุษปมาลาวรรณกรรมเขมรคริสตศตวรรษที่ 20 (พนมเปญ: อองโกร, 67 ดูคําอธิบายเกี่ยวกับ “การตื่นขึ้น” ของปญญาชนชาวเขมรซึ่งเชื่อกันวาเปนจุด 2002), หนา 54.] 57 กําเนิดของความคิด “ชาตินิยม” ในเขมร ใน David P. Chandler, A History of Cambodia, , ; , mas bNþaMtamas e:HBumËpSayeday XIg hukDIÇ‘PñMeBj Gg­r pp. 163-164. คําอธิบายนี้ยังเปนที่ถกเถียงของบรรดานักวิชาการดานเขมรศึกษา เชน 2007), TMB&r 32. [เมียะฮ, คําสั่งสอนของตาเมียะฮ พิมพเผยแพรโดยฆีง ฮกฑี (พนมเปญ: คําอธิบายที่วาปรากฏการณนี้เปนเพียงสิ่งที่กระตุนใหบรรดาผูมีความคิด “ชาตินิยม” ที่เกิดขึ้น อองโกร, 2007), หนา 32.] แลวใหขยายการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกรองเอกราชตอไป ดูคําอธิบายตอปรากฏการณนี้ที่ 58 Ibid., p. 24. (ขอความในวงเล็บเปนของผูวิจัย) แตกตางไปของเพนนี เอ็ดเวิรด ใน Penny Edwards, “Introduction,” Cambodge: The 59 Penny Edwards, Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 Cultivation of a Nation, 1860-1945, pp. 1-23. . 68 (Bangkok: Silkworm Books, 2008), pp. 232-233. David P. Chandler, Brother Number One: A Political Biography of Pol 60 nYn eX}n, r&dðRbhar 1932BI es{m eTA ézLg < (PñMeBj; (n.p.) 1971), Pot (Bouldr: Westview Press, 1992), p. 163. 69 ธิบดี บัวคําศรี, (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2547), หนา 82. TMB&r 115-117. [นวน เฆือน, รัฐประหาร 1932 จากเสียมเปนไทยแลนด (พนมเปญ: (ม. ประวัติศาสตรกัมพูชา

ป.ท.), 1971), หนา 115-117.] ------61 b"n sar,I eRb[beZ[ber}gCªaRseRBan nwger}gb"nvIrhSnI sarNabNabJ©bkarsikSa ( ; ) [บญน ซารี, เปรียบเทียบเรื่อง PñMeBj saklviTüal&yPUminPñMeBj, 2003 , TMB&r 2 เอกสารอางอิง ผกาซรอโปน กับเรื่อง บญ วีรเสเนย (พนมเปญ: มหาวิทยาลัยภูมินทรพนมเปญ, 2003), หนา 2.] 62 , , . [ฆีง ฮกฑี, XIg hukDI malIbTGkSrsil|¾ExµrstvtþTI 20 TMB&r 131 ภาษาไทย บุษปมาลาวรรณกรรมเขมรคริสตศตวรรษที่ 20 (พนมเปญ: อองโกร, 2002), หนา 131.] 63 การตางประเทศ, กระทรวง, เขาพระวิหารคําพิพากษาศาลยุติธรรมระหวาง โปรดดู , KNHebskkmµGciéRnþy(énRbeTskm¬uuCaRbcMaenAGg­karshRbCaCati ประเทศ (พระนคร: โรงพิมพสํานักทําเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505) bJºaR:saTRBHvihar (n.p.):RksUgB(man, 1960. TMB&r 32-34. [คณะกรรมการถาวรของ กอบเกื้อ สุวรรรณทัต-เพียร, นโยบายตางประเทศของรัฐบาลพิบูลสงคราม กัมพูชาประจําสหประชาชาติ, (ม.ป.ป.): กระทรวงขอมูลขาวสาร, ปญหาปราสาท “พระวิหาร” พ.ศ. 2481-2487 (กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 1960), หนา 32-34.] 64 2532) , 6 Buy Ka EsÈgyl'BI rC¯Pi:lkm¬uCaTImUy>kµugryHeBl TsvtSr(cugRkay ขรพรรษ ธรรมรส. ผลกระทบตอจังหวัดศรีสะเกษในกรณีพิพาทระหวางไทย (PMñeBj: BnWøExµr, 2006), TMB&r 56-57. [ปุย เคีย, การทําความเขาใจเกี่ยวกับรัฐบาล กับกัมพูชาเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร พ.ศ. 2502 – 2505 วิทยานิพนธ หนึ่งๆ ของประเทศกัมพูชาในชวงระยะเวลา 6 ทศวรรษหลัง (พนมเปญ: ปน เลือแขมร, ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร มหาวิทยาลัย 2006), หนา 56-57.]

33 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 34 ศรีนครินทรวิโรฒ, 2546. ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ, นิทานโบราณคดี พิมพครั้งที่ 13 (กรุงเทพ: รุงวัฒนา, 2513) ชาญวิทย เกษตรศิริ, “ลัทธิชาตินิยมไทย-สยามกับกัมพูชา: ขอพิพาทปราสาทพระ วิหาร (กลับมาเยือน),” เอกสารประกอบการแสดงปาฐกถาพิเศษ ปวย อึ๊งภากรณ ครั้งที่ 11 จัดโดย คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 ชุมพล เลิศรัฐการ, บทบาทเจาสีหนุ สงครามและสันติภาพกัมพูชาในการเมือง โลก (กรุงเทพฯ: ธัญญาพับลิเคชัน, 2534) ทัศนา ทัศนมิตร, สงครามอินโดจีน และสนธิสัญญาที่ทําใหไทยตองเสีย เขาพระวิหาร (กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2552) ธิบดี บัวคําศรี, ประวัติศาสตรกัมพูชา (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2547) นิธิ เอียวศรีวงศ, ประวัติศาสตรนิพนธตะวันตก พิมพครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2525) ประพัฒน ตรีณรงค, พระชีวประวัติและผลงานของสมเด็จกรมพระยาดํารงราชา นุภาพ (กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.), 2518) ยอรช เซเดส, เมืองพระนคร นครวัด นครธม พิมพครั้งที่ 8, แปลโดย ปรานี วงษเทศ (กรุงเทพฯ: มติชน, 2546) สายชล สัตยานุรักษ, ความเปลี่ยนแปลงในการสรางชาติไทยและความเปน ไทยโดยหลวงวิจิตรวาทการ (กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมติชน, 2545) สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, หมอมราชวงศ, ปราสาทเขาพระวิหาร: ศาสนบรรพตที่โดดเดน ที่สุดในภาคพื้นเอเชียอาคเนย (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2536) วุฒิชัย มูลศิลป และ สมโชติ อองสกุล (บรรณาธิการ), มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะห เปรียบเทียบ (กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2524) สํานักธรรมเนียบรัฐบาล. วิจิตอนุสรณ คณะรัฐมนตรีพิมพเปนที่ระลึกในงาน พระราชทานเพลิงศพพลตรีหลวงวิจิตวาทการ ณ เมรุวัดเทพศิรินทรา

35 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 36 ศรีนครินทรวิโรฒ, 2546. วาส 16 สิงหาคม 2505 (กรุงเทพฯ: สํานักทําเนียบนายกรัฐมนตรี, ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ, นิทานโบราณคดี พิมพครั้งที่ 13 2505) (กรุงเทพ: รุงวัฒนา, 2513) ชาญวิทย เกษตรศิริ, “ลัทธิชาตินิยมไทย-สยามกับกัมพูชา: ขอพิพาทปราสาทพระ ภาษาอังกฤษ วิหาร (กลับมาเยือน),” เอกสารประกอบการแสดงปาฐกถาพิเศษ ปวย Aymonier, Etienne. Khmer Heritage in Thailand: With Special Emphasis อึ๊งภากรณ ครั้งที่ 11 จัดโดย คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร on Temples, Inscriptions, and Etymology Trans. By Walter E. J. วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 Tips (Bangkok: White Lotus, 1999) ชุมพล เลิศรัฐการ, บทบาทเจาสีหนุ สงครามและสันติภาพกัมพูชาในการเมือง Aymonier, Etienne. Isan Travelers Northeast Thailand’s Economy in โลก (กรุงเทพฯ: ธัญญาพับลิเคชัน, 2534) 1883-1884 Trans. by Walter E. J. Tips (Bangkok: White Lotus ทัศนา ทัศนมิตร, สงครามอินโดจีน และสนธิสัญญาที่ทําใหไทยตองเสีย Press, 2008) เขาพระวิหาร (กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2552) Chandler, David P. The Tragedy of Cambodian History: Politics, War ธิบดี บัวคําศรี, ประวัติศาสตรกัมพูชา (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2547) and Revolution since 1945 (Chiang Mai: Silkworm Books, 1991) นิธิ เอียวศรีวงศ, ประวัติศาสตรนิพนธตะวันตก พิมพครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: Chandler, David P. A History of Cambodia, 2nd (Chiang Mai: Silkworm มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2525) Books, 1993) ประพัฒน ตรีณรงค, พระชีวประวัติและผลงานของสมเด็จกรมพระยาดํารงราชา Chandler, David P. Brother Number One: A Political Biography of นุภาพ (กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.), 2518) (Bouldr: Westview Press, 1992) ยอรช เซเดส, เมืองพระนคร นครวัด นครธม พิมพครั้งที่ 8, แปลโดย ปรานี Coe, Michael D. Angkor and the Khmer Civilization (Singapore: Thames วงษเทศ (กรุงเทพฯ: มติชน, 2546) and Hudson, 2003) สายชล สัตยานุรักษ, ความเปลี่ยนแปลงในการสรางชาติไทยและความเปน Coedés, George. “Essai de Classification des Documents Historiques ไทยโดยหลวงวิจิตรวาทการ (กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมติชน, 2545) Conservées á la Bibliothèque de Ecole Française d ' Extrême สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, หมอมราชวงศ, ปราสาทเขาพระวิหาร: ศาสนบรรพตที่โดดเดน Orient” (BEFEO 18, 1918) ที่สุดในภาคพื้นเอเชียอาคเนย (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2536) Coedés, George. Inscriptions du Cambodge Tome IV (Paris: BEFEO, 1954) วุฒิชัย มูลศิลป และ สมโชติ อองสกุล (บรรณาธิการ), มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะห Coedés, George. Indianization of Southeast Asia (Honolulu: University of เปรียบเทียบ (กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2524) Hawaii, 1968) สํานักธรรมเนียบรัฐบาล. วิจิตอนุสรณ คณะรัฐมนตรีพิมพเปนที่ระลึกในงาน Coedés, George. The Making of Southeast Asia Trans. by H.M. Wright พระราชทานเพลิงศพพลตรีหลวงวิจิตวาทการ ณ เมรุวัดเทพศิรินทรา (California: University of California, 1966)

35 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 36 Edwards, Penny. Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 Ph.D. Thesis, Monash University, 1999. Edwards, Penny. Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 (Bangkok: Silkworm Books, 2008) Frederick Z. Brown and David G. Timberman (eds.), Cambodia and the International Community: The Quest for Peace, Development, and Democracy (Singapore: Asia Society Institute of Southeast Asian Studies, 1999) International Court of Justice., ICJ Reports Judgment 15 VI 1962 (the Netherlands: The Hague, 1962) Marguerite Triaire, Indochina Through Text (Hanoi: Gioi Publishers, 2000) Martin, Marie Alexandrine. Cambodia: A Shattered Society Trans. by Mark W. Mc Leod (Berkeley: University of California Press, 1994) Norodom Sihanouk. “The Eaters of Khmer Earth” Kambuja 9 (December 1965) Osborne, Milton E. Sihanouk: Prince of Light, Prince of Darkness (Chiang Mai: Silkworm Books, 1994) Osborne, Milton E. The French Presence in Cochin China and Cambodia (Bangkok: White Lotus, 1997) “Preah Vihear Case Background to Dispute” Cambodian Commentary 3 (March 1962) Robertson, David. A Dictionary of Modern Politics (London and New York: Europa Publication, 2002) San Yun. “Preah Vihear Who Is Behaving Properly?” Cambodian Commentary 3 (December 1959) Thongchai Winichakul, Siam Mapped: A History of the Geo-body of the Nation (Chiang Mai: Silkworm Book, 1994)

37 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 38 Edwards, Penny. Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 Edwards, Penny. Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 Ph.D. Thesis, Monash University, 1999. Ph.D. Thesis, Monash University, 1999. Edwards, Penny. Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 Edwards, Penny. Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 (Bangkok: Silkworm Books, 2008) (Bangkok: Silkworm Books, 2008) Frederick Z. Brown and David G. Timberman (eds.), Cambodia and the Frederick Z. Brown and David G. Timberman (eds.), Cambodia and the International Community: The Quest for Peace, Development, International Community: The Quest for Peace, Development, and Democracy (Singapore: Asia Society Institute of Southeast and Democracy (Singapore: Asia Society Institute of Southeast Asian Studies, 1999) Asian Studies, 1999) International Court of Justice., ICJ Reports Judgment 15 VI 1962 (the International Court of Justice., ICJ Reports Judgment 15 VI 1962 (the Netherlands: The Hague, 1962) Netherlands: The Hague, 1962) Marguerite Triaire, Indochina Through Text (Hanoi: Gioi Publishers, 2000) Marguerite Triaire, Indochina Through Text (Hanoi: Gioi Publishers, 2000) Martin, Marie Alexandrine. Cambodia: A Shattered Society Trans. by Martin, Marie Alexandrine. Cambodia: A Shattered Society Trans. by Mark W. Mc Leod (Berkeley: University of California Press, 1994) Mark W. Mc Leod (Berkeley: University of California Press, 1994) Norodom Sihanouk. “The Eaters of Khmer Earth” Kambuja 9 (December 1965) Norodom Sihanouk. “The Eaters of Khmer Earth” Kambuja 9 (December 1965) Osborne, Milton E. Sihanouk: Prince of Light, Prince of Darkness (Chiang Osborne, Milton E. Sihanouk: Prince of Light, Prince of Darkness (Chiang Mai: Silkworm Books, 1994) Mai: Silkworm Books, 1994) Osborne, Milton E. The French Presence in Cochin China and Cambodia Osborne, Milton E. The French Presence in Cochin China and Cambodia (Bangkok: White Lotus, 1997) (Bangkok: White Lotus, 1997) “Preah Vihear Case Background to Dispute” Cambodian Commentary 3 “Preah Vihear Case Background to Dispute” Cambodian Commentary 3 (March 1962) (March 1962) Robertson, David. A Dictionary of Modern Politics (London and New York: Robertson, David. A Dictionary of Modern Politics (London and New York: Europa Publication, 2002) Europa Publication, 2002) San Yun. “Preah Vihear Who Is Behaving Properly?” Cambodian Commentary San Yun. “Preah Vihear Who Is Behaving Properly?” Cambodian Commentary 3 (December 1959) 3 (December 1959) Thongchai Winichakul, Siam Mapped: A History of the Geo-body of the Thongchai Winichakul, Siam Mapped: A History of the Geo-body of the Nation (Chiang Mai: Silkworm Book, 1994) Nation (Chiang Mai: Silkworm Book, 1994)

37 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา 38 b"n sarI. eRb[beZ[ber}gCªaRsRBan nwger}gb"nvIrhSnI sarNabNbJ©bkarswkSa PñMeBj; saklviTüal&yPUminPñMeBj, 2003. [ปอน สารี, เปรียบเทียบ เรื่องผกาซรอโปน กับเรื่องปอลวีซีนี (พนมเปญ: มหาวิทยาลัย ภูมินทรพนมเปญ), 2003]

:¨g xat´. mK

QWT, 1959. [โร โกวิต. แบบเรียนสังเขปพงศาวดารกัมพูชาสําหรับ การสอบตางๆ (พนมเปญ: ฑุจฌืท), 1959] hSk sWEds, kMBUlesþcRkugkmñuCaC&yvrµ&nTI 7 ERbecjPasaExµredayCMu emA PñMeBj;RBHraCbN‚al&y, 1935. [ฮสก เซอแฎซ, กษัตริยผูยิ่งใหญที่สุด แหงกัมพูชา พระบาทชัยวรมันที่ 7 แปลโดยจุม เมา (พนมเปญ: พระ ราชบรรณาลัย), 1935] hU)nwm. “Exµrey]gTTUlC&yCMnHCaelIkdMbUgenAtulakarGRnþCatiGMBIrer]gRBHvihar”

kmËuCsuriya 35 (DsPa 1963): 545-548) [ฮู นึม, “เขมรเราไดรับชัยชนะ ในขั้นตนที่ศาลระหวางประเทศในคดี “พระวิหาร” กัมพุชสุริยา 35 (มีนาคม 1963): 545-548].

39 ปราสาท “พระวิหาร” : ประวัติศาสตร์กับชาตินิยมกัมพูชา PB }¤“˜Ÿ‘z•Ÿž²Ùz|–£w—Ÿ‰¢²ªw¢²•xi›|wž‹ªx‡«†Ù

}¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² }¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² lŽ¥¡‘ž„–Ÿ˜‡‘Ðx›|z•Ÿž²Ùz|®‰m l›Ÿ֟w‘‘xiŸ«†Ùm

}¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² }¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² l›ŸØŸ‹‘¡ª•Øªx‡«†Ù®‰m lÜ޳ى¢²Üž×ٟ‘h•m

}¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² }¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² lª˜iىŸ|™Ÿª“x lw‘Ø¢ªxŸÜ‘Ý•¡™Ÿ‘m wž‹z•Ÿž²Ùz|®‰m

}¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² }¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² lªx‡«†Ù®‰m lwŸ‘‹‘¡™Ÿ‘}ž†wŸ‘Ÿ«†Ùm

}¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² ~‹ž‹‰¢² lwŸ‘z•‹z¤Ÿ«†Ùm lܓž||ŸÙxiŸ«†Ùm

}¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² }¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² lw‘Ø¢ªxŸÜ‘Ý•¡™Ÿ‘m lܑ«†Ù–£w—Ÿm

}¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² }¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² lŒq֙Ÿªx‡«†Ù®‰ lŒ‘Ÿ˜Ÿ‰ªxŸÜ‘Ý•¡™Ÿ‘m }ŸwŒq}}¤‹žÙm

}¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² }¤“˜Ÿ‘~‹ž‹‰¢² lª˜•ÙŸÜ‘Ý•¡™Ÿ‘m lz†¢Œ‘Ÿ˜Ÿ‰Ü‘Ý•¡™Ÿ‘m