<<

วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านผลงานภาพยนตร์ตะวันตก กรณีศึกษา: ภาพยนตร์เรื่อง

โดย

นางสาวรักษยา ศีลตระกูล

ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2560 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านผลงานภาพยนตร์ตะวันตก กรณีศึกษา: ภาพยนตร์เรื่อง Captain America

โดย

นางสาวรักษยา ศีลตระกูล

ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2560 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ANALYZING HOW RUSSIA IS REFLECTED IN HOLLYWOOD FILMMAKING THROUGH THE CAPTAIN AMERICA FILMS

BY

MISS RAKSAYA SILTRAKUL

A RESEARCH PAPER SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF BACHELOR OF ARTS RUSSIAN STUDIES PROGRAM FACULTY OF LIBERAL ARTS THAMMASAT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2017 COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์

ภาคนิพนธ์

ของ

นางสาวรักษยา ศีลตระกูล

เรื่อง

วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านภาพยนตร์ตะวันตก กรณีศึกษา: ภาพยนตร์เรื่อง Captain America

ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติ ให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต

เมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ประธานกรรมการสอบภาคนิพนธ์ ______(อาจารย์ ดร. กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ) กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ ______(อาจารย์สิริมา โอชารส) กรรมการสอบภาคนิพนธ์ ______(ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรัณยา ชัยรัตน์)

(1)

หัวข้อภาคนิพนธ์ วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านผลงาน ภาพยนตร์ตะวันตก กรณีศึกษา: ภาพยนตร์เรื่อง Captain America ชื่อผู้จัดท าภาคนิพนธ์ นางสาวรักษยา ศีลตระกูล ชื่อปริญญา ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย รัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ อาจารย์ สิริมา โอชารส ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ภาพสะท้อนของรัสเซียผ่านการศึกษาภาพยนตร์ Captain America: The First Avenger เป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับซุปเปอร์ฮีโร่ของสหรัฐอเมริกา ภาพยนตร์เรื่องนี้ ออกฉายในปี 2011 ซึ่งเป็นการน าเรื่องราวมาจากตัวละครในหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลอย่าง กัปตันอเมริกา โดยภาพยนตร์อยู่ภายใต้การผลิตของบริษัท Marvel Studios และจัดจ าหน่าย โดยบริษัท Paramount Pictures อีกทั้งภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีภาคต่ออีก 2 ภาค ได้แก่ Captain America: The Winter Soldier (2014) และ Captain America: (2016) ในการวิเคราะห์ภาพสะท้อนของรัสเซีย ผู้วิจัยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น ภาพสะท้อนทางตรง และภาพสะท้อนทางอ้อม โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ เช่น แนวคิดเรื่องเล่าในภาพยนตร์ แนวคิด การสร้างภาพตัวแทน และแนวคิดวาทกรรมและการวิเคราะห์วาทกรรม ของมิเชล ฟูโกต์ ในส่วนของ ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการสื่อสาร และทฤษฎีสัญญะวิทยา หัวข้อหลักในการวิเคราะห์นั้นจะแบ่งออกเป็นภูมิหลังของเรื่อง ตัวละคร และเรื่องย่อ ซึ่งภาพ สะท้อนที่ปรากฏอยู่นั้นจะท าให้ผู้วิจัยเข้าใจเกี่ยวกับการสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียที่ปรากฏภายใน ภาพยนตร์ได้ดียิ่งขึ้น โดยผู้วิจัยท าการแยกเนื้อหาที่ส าคัญในแต่ละด้านออกไปตามบทต่าง ๆ ตามล าดับ โดยเริ่มต้น จากแนวคิดและทฤษฎีที่กล่าวมาข้างต้น แล้วจึงกล่าวถึงเรื่องราวของกัปตันอเมริกา เพื่อให้ผู้อ่านมี ความเข้าใจในส่วนของประวัติความเป็นมาของกัปตันอเมริกาและตัวละครต่าง ๆ ที่จะน ามาวิเคราะห์ ในบทต่อไป รวมไปถึงเรื่องย่อของภาพยนตร์ Captain America ทั้ง 3 ภาค และถัดไปคือ

(2)

การวิเคราะห์ภาพสะท้อนของรัสเซียที่ปรากฏภายในภาพยนตร์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งยังมี การวิเคราะห์โดยน าแนวคิดและทฤษฎีเข้ามาสร้างความชัดเจนต่อภาพสะท้อนเหล่านั้นยิ่งขึ้น ก่อนที่ จะสรุปความเชื่อมโยงต่าง ๆ ของเนื้อหาทุกบทในบทสุดท้าย

ค ำส ำคัญ: Captain America, รัสเซีย, ภาพลักษณ์, สหภาพโซเวียต

(3)

Research Paper Tittle ANALYZING HOW RUSSIA IS REFLECTED IN HOLLYWOOD FILMMAKING THROUGH THE CAPTAIN AMERICA FILMS Author Miss Raksaya Siltrakul Degree Bachelor of Arts Department/Faculty/University Russian Studies Liberal Arts Thammasat University Research Paper Advisor Miss Sirima Ocharos Academic Year 2017

Abstract

How Russia is reflected in Hollywood films was analyzed through an in-depth study of Captain America: The First Avenger, an American superhero film released in 2011, based on the character Captain America, produced by Marvel Studios and distributed by Paramount Pictures, as well as its two sequels, Captain America: The Winter Soldier (2014) and Captain America: Civil War (2016). Direct and indirect reflections were identified according to explicitness and trustworthiness by using narrative film, representation, discourse and discourse analysis by Michel Foucault, communication theories and semiotics theories. Essential topics were classified in the context of narrative background, characters and plot summaries. These finding should help author better understands the conceptualization of Russia and the Russian people in a series of Hollywood adventure films for mass consumption. The author has respectively divided each important topic in each chapter by starting from the concepts and the theories, and then the stories of Captain America, to illustrate the background stories of Captain America, the characters and the plot summaries of the films, and then analyzing the reflections of Russia, in the direct and indirect ways, including analysis by the concepts and theories to clarify those

(4) reflections. After that, including a correlative summary of all contents in the last chapter.

Keyword: Captain America, Russia, Image, Soviet Union.

(5)

กิตติกรรมประกำศ

ภาคนิพนธ์ฉบับนี้เป็นหนึ่งในความภูมิใจในชีวิตการศึกษาของผู้วิจัย ซึ่งผู้วิจัยได้ทุ่มเท แรงกายและแรงใจอย่างเต็มที่ เพื่อให้งานชิ้นนี้มีคุณภาพมากที่สุด โดยผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างาน ชิ้นนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่มีความสนใจในอนาคต และความส าเร็จทั้งหลายจะไม่สามารถลุล่วง ไปได้หากปราศจากความอนุเคราะห์จากบุคคลหลาย ๆ ท่าน ดังต่อไปนี้ ขอขอบพระคุณอาจารย์ สิริมา โอชารส ที่คอยตรวจทาน ชี้แนะพร้อมทั้งให้ค าปรึกษา ต่าง ๆ ตลอดการท าภาคนิพนธ์ฉบับนี้จนส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอขอบพระคุณอาจารย์ กรัณยา ชัยรัตน์ ที่สละเวลาอันมีค่าของท่านมาเป็นกรรมการ สอบภาคนิพนธ์ให้แก่ผู้วิจัย ขอขอบพระคุณอาจารย์ วรารัตน์ ทองยืน ที่สละเวลาอันมีค่าของท่านให้ค าปรึกษาและ ช่วยอธิบายเนื้อหาต่าง ๆ ให้แก่ผู้วิจัย ขอขอบพระคุณ ครอบครัว ที่คอยสนับสนุนและเป็นก าลังใจให้ผู้วิจัยเสมอมา ขอขอบคุณ พี่เตชวัฒน์ แช่มช้อย ที่ส่งภาคนิพนธ์มาให้ผู้วิจัยใช้ศึกษารวมไปถึงค าแนะน า ในการท าภาคนิพนธ์ฉบับนี้ ขอขอบคุณ พี่โนว่า (แอดมินเพจสมาคมผู้คลั่งไคล้ซุปเปอร์ฮีโร่) ที่เป็นธุระในการติดต่อพี่ แอดมินคนอื่น ๆ รวมไปถึงพี่ ๆ ที่เป็นเจ้าของแฟนเพจต่าง ๆ ที่สละเวลามาให้ค าแนะน าและ ค าปรึกษากับผู้วิจัย ขอขอบคุณ เพื่อน ๆ พี่ ๆ ทุกคนที่คอยรับฟังและให้ก าลังใจผู้วิจัยเสมอมา อีกทั้งยังให้ ค าแนะน าแก่ผู้วิจัยในหลาย ๆ เรื่อง สุดท้ายนี้หากภาคนิพนธ์ฉบับนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ผู้วิจัยขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

รักษยา ศีลตระกูล

(6)

สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย (1)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (3)

กิตติกรรมประกาศ (5)

สารบัญรูปภาพ (10)

บทที่ 1 บทน า 1

1.1 ที่มาและความส าคัญ 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 1.3 ขอบเขตของการศึกษา 4 1.4 วิธีการศึกษา 4 1.5 ข้อจ ากัดของการศึกษา 4 1.6 สมมติฐานของการศึกษา 5 1.7 แผนการด าเนินงาน 5 1.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6 1.9 นิยามศัพท์ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 6 1.10 ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 8

บทที่ 2 วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 10

2.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 10 2.1.1 ทฤษฎีการสื่อสาร (Communication Theory) 10 2.1.2 ทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology Theory) 12 2.1.3 แนวคิดเรื่องเล่าในภาพยนตร์ (Narrative Film) 13 2.1.4 แนวคิดการสร้างภาพตัวแทน (Representation) 14 (7)

2.1.5 แนวคิดวาทกรรมและการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse and 15 Discourse Analysis) ของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 16 2.2.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรัสเซียในการใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อหรือการสร้าง 17 ภาพตัวแทนแฝงภายในภาพยนตร์ 2.2.2 งานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัสเซียแต่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อ 21 หรือการสร้างภาพตัวแทนแฝงภายในภาพยนตร์ 2.3 กรอบแนวคิดในการวิจัย 25

บทที่ 3 Captain America 27

3.1 ภูมิหลังของ Captain America 27 3.1.1 The Golden Age 27 3.1.2 The Silver Age 29 3.1.3 The Modern Era 30 3.2 ตัวละครที่ส าคัญในภาพยนตร์ 32 3.2.1 ตัวละครหลัก 32 3.2.1.1 Steven Grant Rogers (Captain America) 33 3.2.1.2 James Buchanan Barnes (Winter Soldier) 35 3.2.1.3 Natalia Alianovna Romanova (Natasha Romanoff) 37 3.2.1.4 Samuel Thomas Wilson () 39 3.2.1.5 Brock Rumlow () 40 3.2.2 ตัวละครในภาค The First Avenger 41 3.2.2.1 Margaret Elizabeth Carter () 42 3.2.2.2 Johann Schmidt () 43 3.2.2.3 Abraham Erskine 45 3.2.2.4 Chester Phillips 46 3.2.3 ตัวละครในภาค The Winter Soldier 47 3.2.3.1 Alexander Goodwin Pierce 47 3.2.3.2 Nicholas Joseph () 48 3.2.3.3 49 (8)

3.2.4 ตัวละครในภาค Civil War 50 3.2.4.1 Anthony Edward Stark () 50 3.2.4.2 Wanda Maximoff () 51 3.2.4.3 Vasily Karpov 52 3.2.4.4 53 3.3 เรื่องย่อของ Captain America: The First Avenger (2011) 54 3.4 เรื่องย่อของ Captain America: The Winter Soldier (2014) 57 3.5 เรื่องย่อของ Captain America: Civil War (2016) 62

บทที่ 4 วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านภาพยนตร์ Captain America 66

4.1 ภาพสะท้อนของสหภาพโซเวียตหรือสหพันธรัฐรัสเซียที่ปรากฏภายในภาพยนตร์ 66 4.1.1 Captain America: The First Avenger 66 4.1.1.1 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางตรง 67 (1) ทีมส ารวจน ามันของรัสเซียพบวัตถุประหลาดที่วงกลมอาร์คติก 67 (2) ยุทธการณ์ที่เมืองเคียฟ ในปี 1943 (Battle of Kiev in 1943) 68 (3) แผนการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของไฮดรา 69 4.1.1.2 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางอ้อม 70 (1) การใช้พรอบพกันดาในช่วงสงครามโลก 70 (2) บทบาทของกองทัพสหรัฐอเมริกา 73 4.1.2 Captain America: The Winter Soldier 76 4.1.2.1 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางตรง 76 (1) นาตาชา โรมานอฟ 76 (2) วินเทอร์โซลเยอร์ 78 (3) โปรเจคอินไซท์ 79 4.1.2.2 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางอ้อม 81 (1) รายการสิ่งที่กัปตันอเมริกาต้องท า 81 4.1.3 Captain America: Civil War 84 4.1.3.1 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางตรง 85 (1) ชุดค าสั่งการวินเทอร์โซลเยอร์ 85 (2) พันเอกวาซิลี คาร์ปอฟ 87 (9)

(3) ฐานทัพไฮดราในเขตไซบีเรีย 88 4.1.3.2 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางอ้อม 90 (1) บทสนทนาระหว่างแซมและสตีฟที่กล่าวถึงบัคกี 90 (2) บทสนทนาระหว่างนาตาชาและโทนี่ 91 4.2 ทฤษฎีและแนวคิดแฝงที่ปรากฏในภาพยนตร์ Captain America 93 4.2.1 ทฤษฎีสัญญะวิทยาและแนวคิดภาพตัวแทน 93 4.2.2 แนวคิดวาทกรรมกับการวิเคราะห์วาทกรรม ของ มิเชล ฟูโกต์ 96

บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 101

5.1 สรุปผลการศึกษา 101 5.2 ข้อเสนอแนะ 106

รายการอ้างอิง 107

ประวัติผู้เขียน 114

(10)

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า 2.1 แสดงภาพ แผนภาพแสดงกรอบแนวคิดวิจัย 26 3.1 แสดงภาพ Captain America (Steven Grant Rogers) 33 3.2 แสดงภาพ Winter Soldier (James Buchanan Barnes) 35 3.3 แสดงภาพ Black Widow (Natalia Alianova Romanoff) 37 3.4 แสดงภาพ Falcon (Samuel Thomas Wilson) 39 3.5 แสดงภาพ Crossbones (Brock Rumlow) 40 3.6 แสดงภาพ Peggy Carter (Margaret Elizabeth Carter) 42 3.7 แสดงภาพ Red Skull (Johann Schmidt) 43 3.8 แสดงภาพ Abraham Erskine 45 3.9 แสดงภาพ Chester Phillips 46 3.10 แสดงภาพ Alexander Goodwin Pierce 47 3.11 แสดงภาพ Nick Fury (Nicholas Joseph Fury) 48 3.12 แสดงภาพ Maria Hill 49 3.13 แสดงภาพ Iron Man (Anthony Edward Stark) 50 3.14 แสดงภาพ Scarlet Witch (Wanda Maximoff) 51 3.15 แสดงภาพ Varsily Karpov 52 3.16 แสดงภาพ Helmut Zemo 53 3.17 แสดงภาพ Captain America: The First Avenger (2011) 54 3.18 แสดงภาพ Captain America: The Winter Soldier (2014) 57 3.19 แสดงภาพ Captain America: Civil War (2016) 62 4.1 แสดงภาพ ทีมส้ารวจน ้ามันของรัสเซียพบวัตถุประหลาดบางอย่างที่วงกลมอาร์คติก 67 4.2 แสดงภาพ ยุทธการณ์เมืองเคียฟ ในปี 1943 ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ 69 4.3 แสดงภาพ แผนที่แสดงการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ขององค์กรไฮดรา 70 4.4 แสดงภาพ ประกาศรับสมัครทหารของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั งที่ 2 72 4.5 แสดงภาพ ประกาศรับสมัครทหารของสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั งที่ 2 72 4.6 แสดงภาพ รูปภาพกลุ่ม Howling Commandors 74 4.7 แสดงภาพ นาตาชา โรมานอฟ ขณะที่ก้าลังปฏิบัติภารกิจซ้อน 78

(11)

4.8 แสดงภาพ วินเทอร์โซลเยอร์ ขณะก้าลังปฏิบัติภารกิจสังหารกัปตันอเมริกา 79 4.9 แสดงภาพ โปรเจคอินไซท์ 81 4.10 แสดงภาพ รายการสิ่งที่ต้องท้าของกัปตันอเมริกาในภาพยนตร์ที่ฉายในประเทศรัสเซีย 83 4.11 แสดงภาพ พันเอกวาซิลี คาร์ปอฟ 88 4.12 แสดงภาพ รถลุยหิมะ 91 4.13 แสดงภาพ แผนที่แสดงที่ตั งของหมู่บ้าน Оймякон 92

1

บทที่ 1 บทน ำ

1.1 ที่มำและควำมส ำคัญ

ในปัจจุบันผลงานภาพยนตร์ของทางตะวันตกต่างก็ได้รับความนิยม และมี ความแพร่หลายเป็นอย่างมากในหลาย ๆ ประเทศ ท าให้แนวคิดที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์แต่ละเรื่องนั้น มีการแพร่กระจายออกไปเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพยนตร์ Hollywood ของสหรัฐอเมริกา กล่าวได้ว่า สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการผลิตภาพยนตร์เป็นจ านวนมาก อีกทั้งยังมีความพร้อมที่ จะน าภาพยนตร์ของตนเองเข้าฉายในทุก ๆ ประเทศ และยังได้รับผลตอบรับที่ดีไม่ว่าจะ ภายในประเทศของตนหรือภายนอกประเทศก็ตาม ถือว่าภาพยนตร์เป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทส าคัญอย่างมากในสังคมปัจจุบัน การศึกษา ผ่านภาพยนตร์จะท าให้ทราบถึงทัศนคติต่าง ๆ ที่ทางผู้สร้างต้องการจะสื่อออกมา ในบางครั้งอาจจะมี การสอดแทรกแนวคิดเหล่านั้นลงไปอย่างโจ่งแจ้ง หรือบางครั้งก็เป็นการสร้างภาพตัวแทนขึ้นมาเพื่อใส่ ความคิดของตนเองลงไป ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ของ Marvel Studios1 โดยมีจุดเริ่มต้นมาจาก Marvel Comics2 ซึ่งเป็นค่ายการ์ตูนที่มีการสร้างสรรค์ยอดมนุษย์ (Superhero) และจอมวายร้าย (Super Villain) ต่าง ๆ ไว้มากมาย มีการตีพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม และหลังจากที่ตัวการ์ตูนเหล่านั้น เริ่มมีชื่อเสียงจึงมีการขายลิขสิทธิ์ออกไปตามบริษัทผลิตภาพยนตร์ต่าง ๆ แต่ในท้ายที่สุดทาง Marvel Entertainment3 ก็มีการก่อตั้ง Marvel Studios ขึ้นมาเพื่อผลิตภาพยนตร์จากตัวละครของ ทาง Marvel Comics แทนที่การขายลิขสิทธิ์ออกไปให้ทางค่ายอื่นเป็นผู้ผลิต จุดเริ่มต้นของการสร้างตัวการ์ตูนรูปแบบของซุปเปอร์ฮีโร่นั้น สร้างขึ้นเพื่อใช้สร้างความ บันเทิง แต่ในภายหลังก็ได้มีการสอดแทรกกระแสต่าง ๆ ของสังคมลงไป ไม่ว่าจะเป็นกระแสการปลุก ใจประชาชนในสมัยสงครามโลก หรือกระแสการสร้างค่านิยมให้เพิ่มมากขึ้นโดยผ่านตัวการ์ตูน เหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การตีพิมพ์การ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่อย่างกัปตันอเมริกา (Captain America)

1 Marvel Studios คือ บริษัทผลิตภาพยนตร์ ในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี 1993 โดยเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับ ซุปเปอร์ฮีโร่ที่เป็นตัวละครที่ถูกสร้างโดยบริษัท Marvel Comics 2 Marvel Comics คือ บริษัทผลิตหนังสือการ์ตูน ในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี 1939 โดย Martin Goodman ภายใต้ ชื่อบริษัท Time Publications และตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนที่เกี่ยวกับซุปเปอร์ฮีโร่ต่าง ๆ 3 Marvel Entertainment คือ บริษัทธุรกิจบันเทิงแห่งหนึ่งที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยเป็นผู้ครอบครองบริษัท Marvel Comics และ Marvel Studios และในปี 2009 Marvel Entertainment ก็ถูกบริษัท Walt Disney Company เข้าซื้อไปเป็น มูลค่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 2

ลงใน Captain America Comics #1 ฉบับปี ค.ศ.19414 ในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีการจัด จ าหน่ายออกไปตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม ในปี ค.ศ.1940 และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในปีถัดไป โดยฉากภายในหนังสือการ์ตูนเล่มนี้เป็นการเปิดตัวกัปตันอเมริกา และภาพหน้าปกของหนังสือการ์ตูน เป็นภาพการแสดงออกทางร่างกายที่ต่อต้านฝั่งนาซีอย่างชัดเจน คือ ตัวละครกัปตันอเมริกานั้นต่อย เข้าที่ใบหน้าของฮิตเลอร์จนอีกฝั่งเสียหลักล้มลงไป ซึ่งเราสามารถเรียกสถานการณ์เหล่านี้ว่า การโฆษณาชวนเชื่อหรือพรอบพกันดา (Propaganda) ซึ่งเป็นโฆษณาชวนเชื่อที่มีเนื้อหาในการยกยอ ชื่นชมฝ่ายของตนอย่างเกินจริงพร้อมทั้งดูถูกเสียดสีประเทศฝั่งตรงข้ามไปในตัว นอกเหนือไปจากการ แฝงแนวคิดโฆษณาชวนเชื่อแล้วในบางครั้งผู้สร้างเองก็มีการสอดแทรกในเรื่องของแนวคิดการสร้าง ภาพตัวแทน (Representation) รวมไปถึงมีการใช้ทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology Theory) มา สร้างสัญญะ (Sign) ต่าง ๆ แทนสิ่งที่ทางผู้สร้างต้องการจะสื่อความหมายออกไป โดยมักจะเป็น สัญลักษณ์ที่ผู้รับชมนั้นจะเป็นผู้ตีความเอาเอง โดยทั้ง 2 สิ่งนี้ท าให้ผู้สร้างสามารถอ้างอิงโลกแห่งความ เป็นจริง (Real World) กับโลกสมมติ (Virtual World) เข้าด้วยกันตามความหมายที่ต้องการจะสื่อไว้ ตั้งแต่ตอนต้น และเมื่อน าพรอบพกันดา ภาพตัวแทน พร้อมทั้งสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็น ส่วนประกอบในภาพยนตร์ที่มีการเผยแพร่ออกไปเป็นวงกว้างนั้น ก็ย่อมท าให้ความคิดหรือสิ่งที่ผู้สร้าง ต้องการจะสื่อออกไปนั้นแพร่หลายตามไปเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการวางบทบาทให้ฝั่งสหภาพโซเวียต และนาซีเยอรมันเป็นผู้ร้ายตลอดกาลหรือการวางบทบาทให้ทางสหรัฐอเมริกาเป็นฮีโร่ที่เข้ามาเพื่อขจัด เหล่าร้ายให้สิ้นซาก เป็นต้น ในภายหลังค่าย Marvel Studios ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนการ์ตูนให้มีความทันสมัยและ เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ในทุก ๆ วัย โดยเริ่มจากการน ายอดมนุษย์เหล่านั้นมาสร้างเป็นภาพยนตร์หรือ แม้กระทั่ง ซีรีส์ (Series) ซึ่งสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า ละครชุด เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงผลงานได้ ง่ายยิ่งขึ้น และมีความเข้าใจในสิ่งที่ทางผู้สร้างต้องการจะสื่อถึงมากยิ่งขึ้น โดยทั้งหมดนี้ยังคงมี การด าเนินการมาจนถึงปัจจุบัน นอกเหนือไปจากนี้ในการศึกษาการสะท้อนภาพลักษณ์ที่อยู่ภายในภาพยนตร์นั้นยังคง มีความส าคัญ เนื่องจากในอดีตทั้งสหรัฐอเมริกาและสหพันธรัฐรัสเซีย โดยมีชื่อเดิมว่าสหภาพโซเวียต นั้น มีบทบาทต่อเวทีในระดับโลกเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันทั้งสองจะไม่ใช่ผู้เล่นที่มีบทบาท มากที่สุดอีกต่อไป ทว่าในการแสดงออกต่าง ๆ ของทั้งคู่นั้นเรียกว่า มีอิทธิพลและส่งผลกระทบเป็น วงกว้าง ไม่ว่าทั้งสองประเทศจะท าการสิ่งใด หลายฝ่ายต่างก็ให้ความสนใจด้วยกันทั้งสิ้น ผู้วิจัยจึง คิดว่าหากทั้งคู่มีการสอดแทรกแนวทางความคิดที่ต้องการจะลดความน่าเชื่อถืออีกฝ่าย โดยการใช้

4 “Captain America Comics (1941) #1,” Marvel, http://marvel.com/comics/issue/7849/captain_ america_comics_1941_1 (สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2561). 3

ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือนั้นก็อาจจะท าได้ไม่ยากอีกทั้งยังเกิดผลดีอีกด้วย เพราะพวกเขาไม่จ าเป็นต้อง มาโจมตีกันอย่างตรงไปตรงมาอย่างสงครามในอดีต เนื่องจากมีการใช้สื่ออย่างภาพยนตร์เข้ามาแทนที่ การก่อให้เกิดสงครามระหว่างกัน จากผลการศึกษาของเตชวัฒน์ แช่มช้อย5 พบว่า พรอบพกันดานั้นยังคงเป็นเครื่องมือที่ จ าเป็นส าหรับรัฐบาลของทุกประเทศและทุกยุคสมัยทั้งนี้ต่างก็เพื่อใช้ในการรักษาผลประโยชน์ แห่งชาติของตนเป็นส าคัญ ถึงแม้ว่าจะไม่มีสถานการณ์ทางสงครามเกิดขึ้นมาดังเช่นในภาพยนตร์ เมื่อศึกษาจากความส าคัญข้างต้น ประกอบกับศึกษางานวิจัยที่ผ่านมา ผู้วิจัยเห็นว่ายัง ไม่พบผู้ใดที่ท าการวิเคราะห์ภาพสะท้อนของรัสเซียผ่านภาพยนตร์ภายใต้การผลิตของ Marvel Studios โดยส่วนใหญ่มักจะเน้นไปที่ภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ มากกว่า เช่น James Bonds โดย เตชวัฒน์ แช่มช้อย หรือ The Thirteen days โดย คัทรียา พรหมมานพ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะท าการศึกษาวิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซีย ผ่านผลงานภาพยนตร์ตะวันตก โดยจะเน้นในส่วนของภาพยนตร์ที่อยู่ภายใต้การจัดการของ Marvel Studios อย่าง Captain America ทั้ง 3 ภาค เพื่อสร้างความเข้าใจในมุมมองของ ชาวตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกาและเข้าใจในมุมมองของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อรัสเซียผ่านการศึกษาจาก ภาพยนตร์ ตลอดจนถึงศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเผยแพร่ภายใน ภาพยนตร์

1.2 วัตถุประสงค์ของกำรศึกษำ

1.2.1 เพื่อศึกษาเนื้อหาและรายละเอียดของภาพยนตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐ รัสเซียและสหภาพโซเวียต 1.2.2 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาพสะท้อนของสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพโซเวียต โดยอ้างอิงจากเหตุการณ์ในภาพยนตร์ 1.2.3 เพื่อศึกษาแนวคิดที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์ว่ามีความเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใดกับ สหพันธรัฐรัสเซียหรือสหภาพโซเวียต

5 เตชวัฒน์ แช่มช้อย,“พรอบพากันดาในวงการภาพยนตร์ตะวันตกว่าด้วยเรื่องสหภาพโซเวียตกับบริบทวายร้ายในยุค สงครามเย็น: กรณีศึกษาภาพยนตร์ 007 เจมส์บอนด์ (ค.ศ.1962-1967),” (วิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษา, สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558), 81-82. 4

1.3 ขอบเขตของกำรศึกษำ

ในการศึกษา “วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านผลงานภาพยนตร์ ตะวันตก กรณีศึกษา: ภาพยนตร์ Captain America” นั้น เป็นการศึกษาภาพยนตร์ฮอลลีวูดเพียง เรื่องเดียวเท่านั้น คือ Captain America ที่อยู่ภายใต้การผลิตของบริษัท Marvel Studios ซึ่งเป็น ค่ายผลิตภาพยนตร์ขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและภาพยนตร์ที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทนี้ต่าง ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากไม่ว่าจะภายในประเทศสหรัฐอเมริกาและภายนอกประเทศ จึงท าให้การศึกษาภาพสะท้อนภายในภาพยนตร์นั้นมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยผู้วิจัย จะท าการศึกษาทั้ง 3 ภาคของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แก่ (1) Captain America: The First Avenger ( 2011) ( 2) Captain America: The Winter Soldier ( 2014) ( 3) Captain America: The Civil War (2016) โดยจะมีการวิเคราะห์ผ่านตัวแปรต่าง ๆ ที่อยู่ภายในภาพยนตร์ ได้แก่ (1) ฉาก (2) ตัวละคร (3) พฤติกรรมของตัวละคร และ(4) บทสนทนาระหว่างตัวละคร และจะแบ่งการ สะท้อนออกเป็น 2 ส่วนคือ (1) ส่วนที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรง และ(2) ส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง โดยอ้อม

1.4 วิธีกำรศึกษำ

งานวิจัยเรื่อง “วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านผลงาน ภาพยนตร์ตะวันตก กรณีศึกษา: ภาพยนตร์เรื่อง Captain America” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Analysis) และการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) และเอกสารโดยส่วนใหญ่ที่ใช้ในการวิจัยครั้ง นี้เป็นข้อมูลในรูปแบบปฐมภูมิ (Primary Resources) ได้แก่ หนังสือ งานวิจัยต่าง ๆ และข้อมูลใน รูปแบบทุติยภูมิ (Secondary Resources) ได้แก่ ภาพยนตร์ บทความ ตลอดจนถึงข้อมูลสารสนเทศ อื่น ๆ จากอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

1.5 ข้อจ ำกัดของกำรศึกษำ

เนื่องจากผู้วิจัยมีเวลาในการศึกษาที่จ ากัด จึงท าได้เพียงศึกษาผ่านภาพยนตร์เพียงอย่าง เดียวเท่านั้น โดยก่อนหน้าที่จะมีการสร้างภาพยนตร์ขึ้น ตัวละครต่าง ๆ ที่ได้มาผลิตภาพยนตร์ล้วน แล้วแต่เป็นตัวการ์ตูนด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของ Marvel Comics ตั้งแต่ ค.ศ. 1939 5

จนถึงปัจจุบัน โดยเนื้อหาของภาพยนตร์แต่ละเรื่องนั้นได้ถูกเสริมเติมแต่งให้มีความทันสมัยและทัน ต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันมากขึ้น หากสามารถศึกษาผ่านการ์ตูนเหล่านั้นด้วยก็ย่อมจะท าให้เกิด ความเข้าใจในการสะท้อนด้านต่าง ๆ ยิ่งขึ้น อีกทั้งนอกเหนือไปจากภาพสะท้อนของรัสเซียหรือ สหภาพโซเวียตแล้ว ภายในภาพยนตร์ยังคงมีภาพสะท้อนของประเทศอื่น ๆ อีกมากมายแฝงอยู่ โดยการศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยเน้นไปในส่วนของภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับ สหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพโซเวียตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และท าการศึกษาจากภาพยนตร์เพียง เรื่องเดียวคือ Captain America โดยผู้วิจัยไม่ได้ศึกษาภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ที่มีตัวละคร กัปตันอเมริกาเข้าไปร่วมแสดง เนื่องมาจากขอบเขตของเนื้อหาที่ต้องการจะมุ่งเน้นไปยังภาพสะท้อนที่ มีความเกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐรัสเซียเพียงเท่านั้น และภายในภาพยนตร์ Captain America ทั้ง 3 ภาค นั้นสามารถตอบโจทย์ในการวิเคราะห์และศึกษาได้ดีที่สุด

1.6 สมมติฐำนของกำรศึกษำ

1.6.1 ผู้สร้างมีการใช้ภาพสะท้อนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐรัสเซียหรือ สหภาพโซเวียต รวมไปถึงการสร้างภาพของตัวละครให้มีรูปแบบตามจินตนาการของผู้สร้าง 1.6.2 ผู้สร้างมีการน าสัญญะและภาพตัวแทนที่มีความเกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐรัสเซีย หรือสหภาพโซเวียตเข้ามาใช้ในภาพยนตร์

1.7 แผนกำรด ำเนินงำน

ช่วงเวลาของแผนด าเนินการจะใช้เวลาทั้งหมด 9 เดือน หรือตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 2017 ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.7.1 เลือกหัวข้อและสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น โดยใช้เวลาตั้งแต่เดือนกันยายน ไปจนถึง เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 1.7.2 ค้นคว้ารวบรวมหนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาเป็นแนวทางในการท า วิจัย พร้อมทั้งก าหนดกรอบความคิดและเค้าโครงของงาน โดยใช้เวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 ไปจนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 1.7.3 รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ แปลข้อมูล วิเคราะห์ และจัดพิมพ์ เนื้อหารวมไปถึงสรุปผล โดยใช้เวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 2018 6

1.7.4 ตรวจทาน ปรับแก้เนื้อหา และจัดท ารูปเล่มพร้อมน าเสนอ โดยใช้เวลาตั้งแต่ เดือนเมษายน ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018

1.8 ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ

1.8.1 ท าให้ทราบถึงเนื้อหาและรายละเอียดของภาพยนตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ สหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพโซเวียต 1.8.2 ท าให้ทราบถึงภาพสะท้อนของสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพโซเวียตที่อยู่ภายใน ภาพยนตร์ 1.8.3 ท าให้ทราบถึงแนวคิดที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์ว่ามีความเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด กับสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพโซเวียต

1.9 นิยำมศัพท์ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

1.9.1 นิยำมศัพท์ “พรอบพกันดา” (Propaganda) หมายถึง การโฆษณาชวนเชื่อโดยการน า สื่อสารมวลชนไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามมาใช้เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ของชาติ โดยเจตนาที่จะชักจูง ความเห็น อารมณ์ ทัศนคติ พฤติกรรมของกลุ่มคนใด ๆ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ด าเนินการนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม “ภาพตัวแทน” (Representation) หมายถึง ผลผลิตทางด้านความหมายภายใน สมองของผู้รับสารผ่านภาษา เป็นการเชื่อมโยงความคิดและภาษาเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถท าให้เกิดการ อ้างถึงโลกวัตถุ ผู้คน เหตุการณ์ หรือจินตนาการถึงโลกสมมติ ผู้คน และเหตุการณ์สมมติได้ “ภาพยนตร์ฮอลลีวูด” (Hollywood) หมายถึง ภาพยนตร์บันเทิงประเภทเรื่อง เล่าของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสาร ใช้เงินทุนในการผลิตจาก ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก และผลิตภายใต้ระบบสตูดิโอ โดยเป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนให้เห็นถึง ลักษณะต่าง ๆ ของผู้คน สังคม หรือวัฒนธรรมของอเมริกา “ผู้รับสาร” หมายถึง ผู้ที่รับสารจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่ง หลังจากได้รับสาร มาแล้วผู้รับสารจะมีการตีความและตอบสนองต่อสารนั้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม โดยมีการส่ง ปฏิกิริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งสาร 7

1.9.2 แนวคิด 1.9.2.1 แนวคิดเรื่องเล่ำในภำพยนตร์ (Narrative Film) (1) เรื่องและพล็อต (Story and Plot) (2) เหตุและผล (Cause and Effect) (3) เวลา (Time) (4) สถานที่ (Place) (5) การเริ่มเรื่อง การพัฒนาเรื่อง และการจบเรื่อง (Beginning, Story Development and Ending) 1.9.2.2 แนวคิดกำรสร้ำงภำพตัวแทน (Representation) แนวคิดการสร้างภาพตัวแทน (Representation) มีการท างาน ที่คล้ายคลึงกับระบบการท างานของภาษา เนื่องจากภาพตัวแทน คือ ผลผลิตทางความหมายของ ระบบความคิดที่อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์โดยผ่านการท างานของภาษา ซึ่งเป็นตัวที่ท าให้มนุษย์ สามารถอ้างอิงถึงโลกแห่งความจริงของวัตถุ ผู้คน และเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมถึงโลกแห่งจินตนาการที่มี เพียงวัตถุ ผู้คน และเหตุการณ์ที่ถูกสร้างขึ้น 1.9.2.3 แนวคิดวำทกรรมและกำรวิเครำะห์วำทกรรม ของ มิเชล ฟูโกต์ (Discourse and Discourse Analysis of Michel Foucault) มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) มีการศึกษา วาทกรรม (Discourse) และนิยามวาทกรรมว่า “ระบบของภาษาภาพตัวแทน” (System of Representation) โดยเขาสนใจ วาทกรรมในแง่ของกฎเกณฑ์ (Rules) และการปฏิบัติการทางสังคม (Social Practice) ที่สามารถ สร้างความหมายต่าง ๆ จากเนื้อหา หรือสาร รวมทั้งสนใจวาทกรรมที่มีความหมายที่ต่างกันในแต่ละ บริบททางประวัติศาสตร์ 1.9.3 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1.9.3.1 ทฤษฎีกำรสื่อสำร (Communication Theory) ทฤษฎีการสื่อสาร คือ การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบวิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่าง มีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสารหรือปากค าของมนุษย์ 1.9.3.2 ทฤษฎีสัญญะวิทยำ (Semiology Theory) ทฤษฎีสัญญะวิทยานั้นพยายามที่จะให้ค าอธิบายสิ่งที่เรียกว่า สัญญะ (Sign) โดยหมายความถึง สิ่งของ วัตถุ หรือรูปภาพที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้มีความหมายแทนของจริงใน 8

ตัวบทและบริบทหนึ่ง ๆ และหากน าสัญญะดังกล่าวไปใช้ในบริบททางสังคมอื่น ๆ การเข้าใจ ความหมายของสัญญะนั้นก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคมนั้น ๆ

1.10 ทบทวนเอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.10.1 ภาคนิพนธ์การศึกษาภาพสะท้อนของการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาในช่วงยุคสงครามเย็นที่ปรากฏอยู่ภายในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ จัดท าโดย อรรถรจน์ ปรีชากุล ซึ่งได้อธิบายว่าภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์นั้น มีสิ่งที่แสดงถึง ภาพสะท้อนของการแข่งขันทางด้านการเมืองของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาในช่วงยุคสงคราม เย็นปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ที่สร้างในช่วงแรกและช่วงที่ 2 ส่วนภาพยนตร์ที่สร้างในช่วงที่ 3 นั้น บทบาทของสหภาพโซเวียตได้ลดลงไปเนื่องจากการล่มสลาย แต่ยังคงมีการสะท้อนถึงการเมืองที่เป็น ผลมาจากสงครามเย็นอยู่เช่นเดิม 1.10.2 ภาคนิพนธ์การศึกษาการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองตามหลักของ พรรคสังคมนิยมคอมมิวนิสต์: กรณีศึกษา ภาพยนตร์ในสมัยโซเวียตตอนต้น ค.ศ. 1918-1945 จัดท า โดย อัจฉรีย์ วัฒนสหโยธิน ซึ่งได้อธิบายว่าสื่อโฆษณาชวนเชื่อในสมัยสหภาพโซเวียต ณ ช่วงเวลานั้น ถือว่ามีความส าคัญต่อการเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐบาลโซเวียตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสื่อทางด้านภาพยนตร์ เนื่องจากภาพยนตร์ถือว่าเป็นโฆษณาชวนเชื่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน กระบวนการสื่อสารมวลชนของโซเวียต อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ให้คนทุกระดับ สามารถเข้าใจได้ง่าย จึงท าให้สื่อภาพยนตร์นั้นประสบความส าเร็จอย่างมากในการเผยแพร่อุดมการณ์ ทางการเมืองตามหลักของพรรคสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 1.10.3 ภาคนิพนธ์การศึกษาพรอบพกันดาในวงการภาพยนตร์ตะวันตกว่าด้วยเรื่อง สหภาพโซเวียตกับบริบทวายร้ายในยุคสงครามเย็น: กรณีศึกษาภาพยนตร์ 007 เจมส์บอนด์ (ค.ศ.1962-1967) จัดท าโดย เตชวัฒน์ แช่มช้อย ซึ่งได้อธิบายว่าพรอบพกันดานั้นยังคงเป็นเครื่องมือที่ ส าคัญและจ าเป็นส าหรับรัฐบาลของทุกประเทศและทุกยุคทุกสมัย ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายในด้านการรักษา ผลประโยชน์แห่งชาติของรัฐตนเองเป็นส าคัญ ถึงแม้ว่าจะไม่มีสถานการณ์สงคราม เกิดขึ้นมาเหมือนในภาพยนตร์แต่ประเด็นเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติทั้งในและนอกประเทศนั้นเป็นสิ่ง ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา 1.10.4 ภาคนิพนธ์การศึกษาการสื่อสารภาพตัวแทนของคุกชายในภาพยนตร์ไทย: ศึกษากรณีภาพยนตร์เรื่อง ‘น.ช.นักโทษชาย’ จัดท าโดย อัญมณี ภักดีมวลชน ซึ่งได้อธิบายว่าผู้รับสาร ทุกกลุ่มจะมีการรับรู้ถึงนักโทษ โดยการมองผ่านสายตาของตัวละครเอกที่เป็นนักโทษชาย ส่วน 9

การตีความของผู้รับสารที่มีประสบการณ์โดยตรง จะตีความตามประสบการณ์ตรงของตนเอง ในส่วน ของผู้รับสารที่มีประสบการณ์ผ่านสื่อก็จะตีความตามความหมายที่ภาพยนตร์น าเสนอ และในส่วนของ การสร้างความหมายทุก ๆ กลุ่มจะมีการสร้างความหมายตามวาทกรรมหลักของคุก คือ คุกเป็นพื้นที่ ของการฟื้นฟูพฤตินิสัยและคุกเป็นพื้นที่ที่มีการจัดระเบียบวินัยในแบบของคุก 1.10.5 ภาคนิพนธ์การศึกษาภาพตัวแทนความเป็นญี่ปุ่นในภาพยนตร์การ์ตูน โดราเอม่อน ตอนพิเศษ จัดท าโดย ธีรวัจน์ อุดมเจริญกิจ ซึ่งได้อธิบายว่าภาพตัวแทนความเป็นญี่ปุ่น ในภาพยนตร์การ์ตูนโดราเอม่อน ตอนพิเศษ ใช้การสื่อสารแบบอวัจนภาษามากกว่าวัจนภาษา เพราะ ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นใช้การสื่อสารแบบวัจนภาษา การพูด น้อยกว่าการแสดงออกด้วยท่าทาง แบบอวัจนภาษา นอกจากนี้ผู้วิจัยพบว่าภาพยนตร์การ์ตูนมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เพราะเป็นผลผลิต ที่เกิดขึ้นมาจากสภาพความเป็นไปของญี่ปุ่น และกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจ าวันของคนญี่ปุ่น อีกทั้งผลผลิตที่ส่งออกไปทั่วโลกยังได้มีการสอดแทรกความเป็นญี่ปุ่นในด้านของวัฒนธรรมลงไป 1.10.6 ภาคนิพนธ์การศึกษาการวิเคราะห์ภาพยนตร์ของจางอี้โหมวในเชิงบริบท ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และแนวคิดแบบอุดมคติเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต จัดท าโดย ธนิต ธนะกุลมาส ซึ่งอธิบายว่าภาพยนตร์จีนโดยผู้ก ากับจางอี้โหมวส่วนมากมักจะมีเนื้อหา ที่ประกอบไปด้วยสัญญะจ านวนมากมายที่ถูกเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน โดยมีรหัสทางวัฒนธรรมและ อุดมคติต่าง ๆ ที่สอดแทรกไว้ตามเจตจ านงของผู้สร้างภาพยนตร์ ดังนั้นจึงสามารถที่จะน าภาพยนตร์ ของจางอี้โหมวมาท าการวิเคราะห์เพื่อถอดรหัสที่เป็นสัญญะต่าง ๆ เพื่อค้นหาความหมาย เชิงวัฒนธรรมที่ถูกถ่ายทอดผ่านแต่ละช่วงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ครอบคลุมไปถึงสภาพความเป็น จริงในสังคมจีนยุคปัจจุบัน ตลอดจนค้นหาแนวคิดแบบอุดมคติที่มีเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนา ทางสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ชม 10

บทที่ 2 วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยเรื่อง วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านผลงานภาพยนตร์ ตะวันตก กรณีศึกษา: ภาพยนตร์เรื่อง Captain America นั้นเป็นงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและ วิเคราะห์ภาพสะท้อนต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ทางตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสหรัฐอเมริกาที่มีความเกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพโซเวียต โดย จะอาศัยแนวคิดและทฤษฎีหลัก ๆ คือ (1) ทฤษฎีการสื่อสาร (Communication Theory) (2) ทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology Theory) (3) แนวคิดเรื่องเล่าในภาพยนตร์ (Narrative Film) (4) แนวคิดการสร้างภาพตัวแทน (Representation) และ (5) แนวคิดวาทกรรมกับวิเคราะห์ วาทกรรม (Discourse and Discourse Analysis) ของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) เป็นแนวทาง ในการศึกษา ซึ่งผลจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับทั้งทฤษฎีและ แนวคิดข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นจากหนังสือ ต ารา และวิทยานิพนธ์ต่างๆ โดยผู้วิจัยสามารถสรุปเนื้อหา ออกมาได้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด ในงานวิจัยดังรายละเอียดต่อไปนี้

2.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แนวคิดและทฤษฎีหลักที่น ามาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ทฤษฎี การสื่อสาร ทฤษฎีสัญญะวิทยา แนวคิดเรื่องเล่าในภาพยนตร์ แนวคิดการสร้างภาพตัวแทน และ แนวคิดวาทกรรมกับการวิเคราะห์วาทกรรม ของ มิเชล ฟูโกต์ โดยทฤษฎีทั้งหมดตลอดจนถึงแนวคิด ดังกล่าวข้างต้นต่างก็มีความส าคัญกับงานวิจัย ดังต่อไปนี้

2.1.1 ทฤษฎีการสื่อสาร (Communcation Theory) การศึกษาความหมายของทฤษฎีสื่อสาร (Communication Theory) จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ พบว่า มีการให้ความหมายของค าว่า ทฤษฎีการสื่อสารเหมือนและแตกต่างกัน ออกไป กล่าวคือ คลังข้อมูลด้านสารสนเทศศาสตร์และการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ 11

มหาวิทยาลัยขอนแก่น1 ได้สรุปความหมายของทฤษฎีการสื่อสารไว้ว่า “การอธิบายการสื่อสารในด้าน ความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบวิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิด ของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการ อ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสารหรือปากค าของมนุษย์” โดยความหมายทั้งหมดนี้ได้ เป็นการรวบรวมมาจาก ทฤษฎีของการสื่อสาร (Theory of communication), ทฤษฎีในการสื่อสาร (Theories in communication), ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร (Theories for communication) และ ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร (Theories about communication) ในขณะที่ประมวลสาระชุดวิชา ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร (Philosophy of Communication Arts and Communication Theory) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช2 ได้สรุปความหมายของทฤษฎีการสื่อสารพร้อมทั้งจ าแนกออกมา เป็นส่วนย่อยต่าง ๆ ไว้ว่า “ความหมายและการแบ่งประเภทของสื่อนั้นมีความหลากหลายไปตาม แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ โดยจะมุ่งเน้นไปที่ความหมายและความส าคัญของสื่อตามแนวคิดทฤษฎีการ สื่อสารมวลชนของนักคิดและนักทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นและวิวัฒนาการมาจนถึงยุค ดิจิทัลในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีปรากฏการณ์ส าคัญและน่าสนใจของวิวัฒนาการเทคโนโลยีสื่อและการ สื่อสารก็คือการบรรจบกันหรือหลอมรวมสื่อ (Media Convergence)” โดยศาสตราจารย์ เฮนรี่ เจนคินส์ (Henrry Jenkins) แห่งสถาบันเทคโนโลยี แม็สซาซูแซท หรือ MIT ได้นิยามการหลอมรวมสื่อไว้ว่า “เป็นกระบวนการที่ด าเนินการไปอย่าง ต่อเนื่อง เกิดขึ้นเมื่อมีการบรรจบกันของความหลากหลายชนิดกันของเทคโนโลยีสื่อ อุตสาหกรรมสื่อ เนื้อหาสื่อ และผู้รับสื่อ” ทางด้านข้อมูลจาก หลักนิเทศศาสตร์ โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการ จัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา3 ได้กล่าวถึงความหมายของการสื่อสารไว้ทั้งหมด 2 มุมมอง ดังต่อไปนี้ (1) “การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการในการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนสาระระหว่าง คู่สื่อสารโดยผ่านสื่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน” และ (2) “การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการใน การสร้างความหมายร่วมกันระหว่างคู่สื่อสารซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันต่อเนื่องตลอดกิจกรรมการ สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างกัน”

1 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, “สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์,” คลังข้อมูลด้านสารสนเทศศาสตร์และการ สื่อสาร, สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2560, http://www.huso.kku.ac.th/wirat/comunication09.pdf. 2 พีระ จิรโสภณ, ประมวลสาระชุดวิชา: ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, ปรับปรุงครั้งที่ 1, (นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557), 12-5 - 12-10. 3 สุรัตน์ ตรีสกุล, หลักนิเทศศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: พ.ศ. พัฒนา, 2548), 49. 12

2.1.2 ทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology Theory) สัญญะศาสตร์4 (Semiotics) หมายถึง การศึกษาสัญญะ (Signs) และสัญลักษณ์ (Symbols) ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของการสื่อสาร โดยทฤษฎีสัญญะวิทยานั้นพยายามให้ ค าอธิบายสิ่งที่เรียกว่า สัญญะ (Sign) คือ สิ่งของ วัตถุ หรือรูปภาพที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้มีความหมาย แทนของจริงในตัวบทและบริบทหนึ่ง ๆ และหากน าสัญญะดังกล่าวไปใช้ในบริบททางสังคมอื่น ๆ การ เข้าใจความหมายของสัญญะนั้นก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคม ในการศึกษาภาพยนตร์นั้น สัญญะศาสตร์ คือ การศึกษาว่าความหมาย (Meaning) ถูกสร้างขึ้นในภาพยนตร์ได้อย่างไร ซึ่งเหมือนกับการศึกษาว่า ค า (ในทางภาษาศาสตร์) หรือภาพและเสียง (ในสาขาภาพยนตร์) เป็นสิ่งที่มีความหมายที่ซับซ้อนและหลายชั้นหรืออาจจะกล่าว ได้ว่า การศึกษาว่าภาพยนตร์สร้างความหมายและรหัสทางความหมายนั้นมีการเปลี่ยนแปลงจากยุค หนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง จากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง และจากผู้ก ากับคนหนึ่งเป็นผู้ก ากับคนอื่น ๆ การศึกษาสัญญะศาสตร์ในสาขาภาพยนตร์ ส่วนใหญ่มักจะมาจากการน าทฤษฎี จากภาษาศาสตร์หรือมานุษยวิทยามาใช้ในการวิเคราะห์ โดยทฤษฎีแรกที่ถูกดัดแปลงมาใช้จนเป็น ต้นแบบของการศึกษาสัญญะศาสตร์ในภาพยนตร์ เป็นของนักภาษาศาสตร์ชื่อ เฟอร์ดินองด์ เดอร์ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) โดยเขากล่าวว่า “ความหมายของค าไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และสร้างขึ้นจากสังคมรอบตัว” ซึ่งกล่าวได้ว่า ภาพยนตร์ คือ ภาษาที่ ต้องปฏิบัติตามกฎและขนบธรรมเนียมหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปแบบของเรื่องเล่า (Narrative Form) ประเภทของภาพยนตร์ (Genre) ซึ่งหมายถึง ผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ชมจะต้องคิดตามสิ่งที่ถูกก าหนด ไว้ เมื่อชมภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ไม่มีทางที่ผู้ชมจะสามารถคิดนอกเหนือไปจากสิ่งนั้นได้ โดยการตีความ นั้นเกิดขึ้นตามที่ผู้สร้างและสังคมรอบตัวที่ท าให้เราเข้าใจ คริสเตียน เมทซ์ (Christian Metz) เป็นนักทฤษฎีที่ส าคัญอีกคนหนึ่ง ถึงแม้จะมี พื้นฐานมาจากทางภาษาศาสตร์ แต่เขาก็เป็นเพียงนักทฤษฎีเพียงคนเดียวที่คิดค้นทฤษฎี สัญญะศาสตร์จากการศึกษาภาพยนตร์เป็นหลัก ในขณะที่นักคิดคนอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่มักจะพัฒนา ทฤษฎีมาจากเรื่องเล่ารูปแบบอื่น เช่น ต านานพื้นบ้านและนวนิยาย เป็นต้น เมทซ์มองว่าภาพยนตร์ก็เหมือนกับเป็นภาษาอีกภาษาหนึ่ง เป็นสิ่งที่สร้างและ เข้ารหัสเพื่อที่จะส่งสารให้สอดคล้องกับขนบทางวัฒนธรรมภาพยนตร์เป็นการรวบรวมภาพต่าง ๆ เพื่อ สร้างเป็นเรื่องเล่า และในการวิเคราะห์ภาพยนตร์ในเชิงสัญญะศาสตร์ ควรจะมองจากภาพรวม

4 อัญชลี ชัยวรพร, ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น: เรื่องเล่าในภาพยนตร์ หน่วยที่ 1-8, พิมพ์ครั้งที่ 2, (นนทบุรี: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553), 252-253. 13

ของช็อต (Shot) ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ใช่การมองเพียงช็อตเดียว ซึ่งสามารถเรียกวิธีนี้ได้ว่า The Grande Syntagmatique วิธี The Grande Syntagmatique คือการก าหนดและแบ่งส่วนของเรื่องเล่า ออกเป็นตอนย่อย โดยในแต่ละตอนจะประกอบไปด้วยช็อตหลาย ๆ ช็อตผสมกัน ซึ่งจะเป็นตัวเล่า เรื่องในภาพยนตร์ ซึ่งจะสามารถสรุปสไตล์การท างานของผู้ก ากับคนนั้นได้ถูกต้อง และสามารถระบุได้ ถึงการเปลี่ยนแปลงทางภาษาของภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ หรือผู้ก ากับคนนั้น ๆ นักคิดคนสุดท้าย คือ โรแลนด์ บาร์ธ (Roland Barthes) เขาเป็นคนที่มีอิทธิพล ต่อการศึกษาภาพยนตร์ในแง่ของสัญญะศาสตร์โดยเฉพาะการมองความสัมพันธ์ระหว่างภาพยนตร์กับ ผู้ชม โดยเขาเชื่อว่าผู้ชมไม่ใช่ผู้เสพผลงานเพียงอย่างเดียว แต่ผู้ชมมิสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงเนื้อความ เพราะฉะนั้นเนื้อความอาจจะมีความหมายเปลี่ยนไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการตีความของผู้ชม 2.1.3 แนวคิดเรื่องเล่าในภาพยนตร์ (Narrative Film) การเล่าเรื่อง5 (Narration) หมายถึง การเล่าเรื่องไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องจริง หรือเรื่องที่แต่งขึ้นก็ตาม ซึ่งเรื่องราวเหล่านั้นจะเรียกได้ว่า เรื่องเล่า (Narrative) โดยในพจนานุกรม ทางงานประพันธ์ Narrative หมายถึง เหตุการณ์หนึ่ง หรือล าดับของเหตุการณ์ที่อาจเป็นเรื่องจริง หรือเรื่องแต่งขึ้น ส่วนทางภาพยนตร์ก็มีความหมายที่คล้ายคลึงกัน คือ เรื่องราวที่มีการเริ่มเรื่อง กลางเรื่อง และตอนจบ ในบางครั้งอาจจะรวมไปถึงเรื่องราวและพล็อต ล าดับของเหตุการณ์ที่ต้องมี ความสัมพันธ์กันในเชิงเหตุและผล โดยเกิดขึ้นตามเวลาและสถานที่ แต่ถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแต่ไม่มี ความสัมพันธ์กันในเชิงเหตุและผลแล้ว จะไม่ถือว่าเป็นเรื่องราวหรือเรื่องเล่าได้ โดยแนวคิดพื้นฐานของการเล่าเรื่องนั้นมีหลักอยู่ว่า เรื่องเล่าเป็นตัวสารที่ผู้เล่า เรื่องสร้างขึ้นหรือได้ยินจากผู้อื่นและถ่ายทอดออกไปให้ผู้ฟังโดยใช้รูปแบบที่แตกต่างกันไป ดังนั้น เรื่องเล่าจะประกอบไปด้วย ผู้ส่งสารหรือผู้เล่าเรื่อง สารหรือเรื่องเล่า ผู้รับสารหรือผู้ฟัง และช่องทาง ในการสื่อสาร เรื่องเล่าในภาพยนตร์ (Narrative in the Film) มักจะถูกใช้ในรูปแบบที่หมายถึง เรื่องเล่าในภาพยนตร์ที่มีโครงสร้างที่เน้นเนื้อเรื่อง เหตุการณ์ไม่พลิกแพลง เน้นการพัฒนาอารมณ์ โดยสามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบของการเล่าเรื่องมีดังต่อไปนี้ (1) เรื่องและพล็อต (Story and Plot) คือ เหตุการณ์หรือล าดับของเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นในเรื่องเล่าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเรื่องโดยตรงหรือความคิดของตัวละคร ส่วนพล็อต คือ โครงเรื่องโดยรวมของเรื่องเล่า เป็นส่วนที่สรุปโดยผู้เล่าเรื่องหรือผู้อ่าน

5 อัญชลี ชัยวรพร, ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น: เรื่องเล่าในภาพยนตร์ หน่วยที่ 1-8, พิมพ์ครั้งที่ 2, (นนทบุรี: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553), 220-235. 14

(2) เหตุและผล (Cause and Effect) เรื่องเล่าในภาพยนตร์นั้นจ าเป็นต้องด าเนิน ให้มีความต่อเนื่องกันโดยอาศัยหลักการของเหตุและผล เนื่องจากผู้ชมส่วนใหญ่มักจะคาดหวังถึงสิ่งที่ จะตามมาหลังจากเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งและจะต้องสมเหตุสมผลต่อกัน (3) เวลา (Time) คือ สิ่งที่เป็นหลักส าคัญในการสร้างโครงเรื่องของเรื่องเล่า ภาพยนตร์ โดยการด าเนินเรื่องราวผ่านการใช้ล าดับเวลา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วล าดับเวลาจะเรียงตาม การเกิดขึ้นของเหตุการณ์จากก่อนไปหลัง แต่ในบางครั้งอาจจะมีการสลับเหตุการณ์บางอย่างในอดีต (Flashback) หรือในอนาคต (Flashforward) เข้ามาแทรก (4) สถานที่ (Place) สถานที่ในเรื่องเล่าของภาพยนตร์นั้นเป็นองค์ประกอบที่ ส าคัญน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องของเหตุผลและเวลา แต่เป็นสิ่งส าคัญที่ท าให้ผู้ชมทราบถึง ที่มาของเหตุการณ์ภายในเรื่อง โดยเรื่องเล่าของภาพยนตร์ประเภทนี้จะต้องบอกอย่างชัดเจนว่าเกิด เหตุการณ์ขึ้นที่ใด และมีความส าคัญอย่างไร (5) การเริ่มเรื่อง การพัฒนาเรื่อง และการจบเรื่อง (Beginning, Story Development and Ending) ในการด าเนินเรื่องเล่าในภาพยนตร์นั้นมักจะมีโครงสร้างที่ส าคัญอยู่ 3 ประการ คือ การเริ่มเรื่อง การพัฒนาเรื่อง และการจบเรื่อง การเริ่มต้นของเรื่องเล่าในภาพยนตร์ คือ ช่วงแนะน าตัวละครและเหตุการณ์ที่ เป็นที่มาของเรื่อง โดยสามารถเรียกได้ว่า Exposition ในส่วนของการพัฒนาเรื่อง จะมีความแตกต่าง กันไปตามลักษณะของพล็อตของเรื่องและประเภทของภาพยนตร์ โดยบางเรื่องนั้นอาจจะเน้นไปที่ พัฒนาการของตัวละคร หรืออาจจะใช้เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งของตัวละครเป็นตัวด าเนินเรื่อง ใน ส่วนสุดท้ายคือ การจบเรื่อง เรื่องเล่าในภาพยนตร์ส่วนใหญ่มักจะมีฉากจบที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามก็ มีภาพยนตร์บางเรื่องที่จะไม่มีค าตอบที่แน่ชัด และจะให้ผู้ชมไปคิดต่อ โดยลักษณะเช่นนี้เป็นการจบ แบบปลายเปิด 2.1.4 แนวคิดการสร้างภาพตัวแทน (Representation) สจวร์ต ฮอลล์6 (Stuart Hall) กล่าวว่า ภาษาเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบอกได้ถึง ความหมายของสิ่งต่าง ๆ และจะเป็นตัวก าหนด จัดการความประพฤติและการปฏิบัติต่าง ๆ เช่นกัน

6 สจวร์ต ฮอลล์ (Stuart Hall) คือ นักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม นักกิจกรรมทางการเมือง ตลอดจนถึงนักสังคม วิทยา โดยส่วนใหญ่ผู้คนมักจะรู้จักเขาในนามของ บิดาแห่งความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม (Godfather of Multiculturalism) เขาเกิดที่ประเทศจาไมกา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1932 และย้ายมาท างานที่สหราชอาณาจักร เมื่อ ค.ศ. 1951 โดยเขาเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาวัฒนธรรมเบอร์มิงแฮม (The Bermingham School of Cultural Studies) ในขณะที่ เขาท างานอยู่นั้น เขาก็ออกหนังสือที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสังคมวิทยาออกมามากมาย ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 15

โดยความหมายของภาษาจะช่วยในการตั้งกฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน และขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่สั่งการ และควบคุมชีวิตของคนในสังคม7 ฮอลล์ มองว่า แนวคิดภาพตัวแทน (Representation) มีการท างานที่คล้ายคลึง กับระบบการท างานของภาษา เนื่องจากภาพตัวแทน คือ ผลผลิตทางความหมายของระบบความคิดที่ อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์โดยผ่านการท างานของภาษา ซึ่งเป็นตัวที่ท าให้มนุษย์สามารถอ้างอิงถึงโลก แห่งความจริงของวัตถุ ผู้คน และเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมถึงโลกแห่งจินตนาการที่มีเพียงวัตถุ ผู้คน และ เหตุการณ์ที่ถูกสร้างขึ้น ถึงแม้ว่าภาพตัวแทนจะมีการท างานที่คล้ายคลึงกับระบบภาษา แต่ยังคงมีความ แตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น ภาพตัวแทนจะมีการเลือกบางลักษณะของความเป็นจริงและน ามาดัดแปลง รวมไปถึงการสร้างความเป็นจริงขึ้นมาใหม่แต่ยังคงความหมายในบริบทเดิมไว้ นอกจากนี้ยังมีทัศนะของนักคิดแห่งส านักปรากฏการณ์วิทยาที่มีแนวคิดเรื่อง การสร้างความเป็นจริงทางสังคม (Social Construction of Reality) ซึ่งกล่าวว่า มนุษย์จะเป็นผู้สร้าง บริบทหรือสภาวการณ์ขึ้น โดยมีตัวตนเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบสังคมนั้น ๆ หรือสามารถกล่าวอีกนัย หนึ่งได้ว่า มนุษย์เป็นผู้สร้างสังคมขึ้นแล้วก าหนดความหมายของสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาตามที่เห็นสมควร นั่น หมายความว่า ความหมายของสิ่งต่าง ๆ ในสังคม วัฒนธรรม รวมไปถึงความเป็นจริงนั้นสามารถถูก ปรับเปลี่ยนความหมายได้ตลอดเวลาโดยการใช้ภาพตัวแทน 2.1.5 แนวคิดวาทกรรมและการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse and Discourse Analysis) ของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) มิเชล ฟูโกต์8 (Michel Foucault) มีการศึกษา วาทกรรม (Discourse) โดยเขา ได้นิยามวาทกรรมว่า “ระบบของภาษาภาพตัวแทน” (System of Representation) โดยเขาให้ ความสนใจวาทกรรมในแง่ของกฎเกณฑ์ (Rules) และการปฏิบัติการทางสังคม (Social Practice)

7 Stuart Hall, Representation: Cultural Representations and Signifying Practices, (London: Sage, 1997), 15. 8 มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) เป็นนักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ นักสังคมวิทยา ตลอดจนถึงนักวิจารณ์ เขาเกิดที่ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 โดยส่วนใหญ่ทฤษฎีของเขามักจะมีความเกี่ยวข้องกับ อ านาจ และความรู้ รวม ไปถึงวิธีการที่ใช้ควบคุมความหมายของสิ่งต่าง ๆ ทางสังคม อีกทั้งเขายังเป็นนักวิชาการที่มีบทบาทอย่างมากในการเคลื่อนไหวเพื่อ สิทธิของมนุษยชน เช่น สิทธิของประชาชาติที่ถูกกดขี่ คนกลุ่มน้อย คนที่ด้อยโอกาส คนที่ถูกกีดกัน หรือคนที่อาศัยอยู่บริเวณ ชายขอบ รวมไปถึงเขายังมีการร่วมต่อสู้เพื่อปกป้องชาวอิหร่าน โปแลนด์ สหภาพแรงงาน กลุ่มแพทย์ไร้พรมแดน สิทธิสตรี เลสเบี้ยน และเกย์ โดยงานเขียนส่วนใหญ่ของเขามักจะถูกละเลย เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะไม่สนใจปัญหาของคนที่ด้อยโอกาส ทั้งหลาย ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984 16

ที่สามารถสร้างความหมายต่าง ๆ จากเนื้อหาหรือสาร รวมทั้งสนใจวาทกรรมที่มีความหมายที่ต่างกัน ในแต่ละบริบท โดยเขาให้นิยามเพิ่มเติมว่า วาทกรรมเป็นกลุ่มของข้อความที่แสดงให้เห็นวิธีการ ที่ภาษาถูกใช้กล่าวถึงเรื่อง ๆ หนึ่งในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์และท างานผ่านกระบวนการที่เรียกว่า ความรู้ (Knowledge) ได้อย่างไร โดยสามารถสรุปได้ว่าเขาสนใจแนวคิด 3 แนวคิด ที่เชื่อมโยงกัน โดยกล่าวว่า วาทกรรมผลิตสิ่งที่เรียกว่าความรู้หรือในบางครั้งคือความจริงเพื่อสถาปนาอ านาจ ฟูโกต์สรุปว่า ความรู้ คือสิ่งที่ผู้มีอ านาจก าหนดว่าเป็นความรู้และบทบาทของ อ านาจในที่นี้ไม่ได้มาจากกลไกหรือชนชั้นการปกครองแต่อ านาจนี้จะอยู่ควบคู่ไปกับแบบแผนที่ถูกต้อง เป็นธรรมชาติหรือเป็นไปตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เมื่อความรู้กับอ านาจต่างมีความเกี่ยวข้องและส่งเสริม ซึ่งกันและกันก็ย่อมท าให้เกิดข้อสรุปว่า ความรู้ไม่เคยแยกตัวออกจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มี ความเกี่ยวข้องกับการใช้อ านาจครอบง าและในการหมุนเวียนของอ านาจจ าเป็นต้องผลิตวาทกรรมใน รูปของความรู้แบบต่าง ๆ ออกมาหมุนเวียนในสังคม9 นอกเหนือจากนี้ยังมีการเสนอแนวคิดที่ต่อยอดจากแนวคิดภาพตัวแทนว่า เป็นการประกอบสร้างโลกของความจริงโดยให้ความหมายไว้ว่าการประกอบสร้างไม่ได้มีเพียงแค่ การสร้างความหมายที่อาจมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนขึ้นมา แต่ยังมีเรื่องของอ านาจที่แฝงไว้ในการสร้าง ภาพตัวแทน เนื่องจากการประกอบสร้างนั้นจะแสดงถึงอ านาจของผู้สร้างที่ต้องการสื่อสารต่อผู้รับสาร

2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสะท้อนภาพลักษณ์ผ่านภาพยนตร์ หรือที่เรา สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า การใช้โฆษณาชวนเชื่อหรือพรอบพกันดา (Propaganda) ตลอดจนการ สร้างภาพตัวแทนขึ้นมา ทั้งงานวิจัยที่อยู่ในรูปของวิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่อยู่ในรูปของบทความ วิจัย เพื่อศึกษาว่า (1) ที่ผ่านมามีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อหรือการสร้าง ภาพตัวแทนที่แฝงอยู่ภายในภาพยนตร์อย่างไรบ้าง (2) การศึกษาในประเด็นของการใช้สื่อโฆษณาชวน เชื่อโดยเน้นไปที่การสะท้อนภาพลักษณ์ของอีกประเทศโดยผ่านผลงานภาพยนตร์อย่างไร (3) แนวคิด ใดบ้างที่ถูกน ามาใช้ในการศึกษาการสร้างภาพตัวแทนและโฆษณาชวนเชื่อผ่านผลงานภาพยนตร์ (4) มีการใช้ระเบียบวิจัยในการศึกษาการใช้โฆษณาชวนเชื่อและการสร้างภาพตัวแทนอย่างไร และ (5) ผลการศึกษาในการใช้โฆษณาชวนเชื่อและภาพตัวแทนเหล่านั้นเป็นอย่างไร

9 ธีรยุทธ บุญมี, มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault), พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: วิภาษา, 2557), 177-179. 17

จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่ามีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้พรอบพกันดาหรือโฆษณาชวน เชื่อทั้งในรัสเซียเองตลอดจนถึงประเทศอื่น ๆ หลายเล่ม ได้แก่ งานวิจัยของอรรถรจน์ ปรีชากุล ว่าด้วยเรื่องการศึกษาภาพสะท้อนของการแข่งขันทางการเมืองระหว่างสหภาพโซเวียตและ สหรัฐอเมริกาในช่วงยุคสงครามเย็นที่ปรากฏอยู่ภายในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ งานวิจัยของ อัจฉรีย์ วัฒนสหโยธิน ว่าด้วยเรื่องของการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองตามหลักของพรรค สังคมนิยมคอมมิวนิสต์: กรณีศึกษา ภาพยนตร์ในสมัยโซเวียตตอนต้น ค.ศ. 1918-1945 และงานวิจัย ของเตชวัฒน์ แช่มช้อย ว่าด้วยเรื่องการศึกษาพรอบพกันดาในวงการภาพยนตร์ตะวันตกว่าด้วยเรื่อง สหภาพโซเวียตกับบริบทวายร้ายในยุคสงครามเย็น: กรณีศึกษาภาพยนตร์ 007 เจมส์บอนด์ (ปี ค.ศ. 1962-1967) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเทศรัสเซียแต่เกี่ยวข้องกับ การใช้ภาพตัวแทนหรือพรอบพกันดาที่แฝงอยู่ภายในภาพยนตร์ อาทิเช่น งานวิจัยของ อัญมณี ภักดีมวลชน ว่าด้วยเรื่องการสื่อสารภาพตัวแทนของคุกชายในภาพยนตร์ไทย : ศึกษากรณี ภาพยนตร์เรื่อง “น.ช. นักโทษชาย” งานวิจัยของธีรวัจน์ อุดมสินเจริญกิจ ว่าด้วยเรื่อง ภาพตัวแทนความเป็นญี่ปุ่นในภาพยนตร์การ์ตูนโดราเอมอนตอนพิเศษ และงานวิจัยของ ธนิต ธนะกุลมาส ว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์ภาพยนตร์ของจางอี้โหมว ในบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และแนวคิดแบบอุดมคติ เพื่อการยกระดับคุณภาพของชีวิต เป็นต้น ดังนั้นการทบทวน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงแบ่งงานวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ ภาพตัวแทนหรือโฆษณาชวนเชื่อภายในภาพยนตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐรัสเซียและงานที่ไม่ เกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐรัสเซียแต่เกี่ยวข้องกับการใช้โฆษณาชวนเชื่อหรือเรื่องของภาพตัวแทนภายใน ภาพยนตร์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

2.2.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรัสเซียในการใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อหรือ การสร้างภาพตัวแทนแฝงภายในภาพยนตร์ งานวิจัยที่ท าการทบทวนในครั้งนี้ประกอบไปด้วยงานวิจัยของ อรรถรจน์ ปรีชากุล ว่าด้วยเรื่องของการศึกษาภาพสะท้อนของการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาในช่วงยุคสงครามเย็นที่ปรากฏอยู่ภายในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์, งานวิจัยของอัจฉรีย์ วัฒนสหโยธิน ว่าด้วยเรื่องของการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองตามหลัก ของพรรคสังคมนิยมคอมมิวนิสต์: กรณีศึกษา ภาพยนตร์ในสมัยโซเวียตตอนต้น ค.ศ. 1918-1945 และงานวิจัยของเตชวัฒน์ แช่มช้อย ด้วยเรื่องการศึกษาพรอบพากันดาในวงการภาพยนตร์ตะวันตกว่า ด้วยเรื่องสหภาพโซเวียตกับบริบทวายร้ายในยุคสงครามเย็น: กรณีศึกษาภาพยนตร์ 007 เจมส์บอนด์ (ปี ค.ศ. 1962-1967) 18

โดยงานวิจัยชิ้นแรกได้แก่ งานวิจัยของ อรรถรจน์ ปรีชากุล10 ว่าด้วยเรื่อง ของการศึกษาภาพสะท้อนของการแข่งขันทางการเมืองระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ในช่วงยุคสงครามเย็นที่ปรากฏอยู่ภายในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวมี วัตถุประสงค์ในการศึกษาดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษาถึงการแข่งขันทางด้านการเมืองของสหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาในช่วงยุคสงครามเย็น (2) เพื่อศึกษาถึงภาพสะท้อนของการแข่งขันทาง ด้านการเมืองของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาในช่วงยุคสงครามเย็นที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ อรรถรจน์ ปรีชากุล ได้แบ่งการวิเคราะห์เนื้อหาออกเป็น 3 ช่วง คือ (1) ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ที่มีการสร้างในช่วงที่น าวรรณกรรมของเอียน เฟลมมิ่งมาดัดแปลงเป็น บทภาพยนตร์ตามชื่อตอนจากหนังสือ (2) ภาพยนตร์ที่มีการสร้างขึ้นก่อนที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย โดยภาพยนตร์ที่สร้างในช่วงแรกและช่วงที่ 2 นั้นเป็นช่วงที่โลกยังอยู่ในสภาวะสั่นคลอนของ การแข่งขันทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอ านาจ 2 ขั้วอุดมการณ์นั่นคือ สหรัฐอเมริกาและ สหภาพโซเวียต โดยที่สหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นตัวแทนของประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย ส่วน สหภาพโซเวียต คือ ตัวแทนของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ขั้นรุนแรงและ การแย่งชิงอ านาจ ทางสหรัฐอเมริกาและอังกฤษที่เป็นประเทศที่ผลิตภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ โดย ทีมผู้สร้างได้สะท้อนให้เห็นปัญหาใหญ่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นบนโลกหากสถานการณ์ยังคงสับสนวุ่นวายอยู่ แต่ทั้งนี้ความหมายต่าง ๆ ที่แฝงลงไปในภาพยนตร์ก็ล้วนแต่มีไว้เพื่อรับใช้อุดมการณ์ฝ่ายตะวันตก ทั้งสิ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา แม้จะไม่เจาะจงฝ่ายดีฝ่ายร้ายว่าเป็นประเทศใด แต่มีการสอดแทรก เนื้อหาลงไปในบทสนทนาการสร้างมิติให้กับตัวละครและภาวะความขัดแย้งในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาในภาพยนตร์ (3) ภาพยนตร์ที่มีการสร้างขึ้นหลังที่สหภาพโซเวียล่มสลาย (ปี ค.ศ.1990) ถือว่าเป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ยุคใหม่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดมากมาย ทั้งนี้เพื่อปรับให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง สถานการณ์บนโลก แม้ว่าสหภาพโซเวียตจะล่มสลาย สงครามเย็นจะยุติและอเมริกาก็เป็น ประเทศมหาอ านาจเพียงประเทศเดียว ซึ่งเป็นผู้น าทั้งด้านเศรษฐกิจและคอยก าหนดความเป็นไปของ กระแสโลก ถึงอย่างนั้นก็ยังมีการสะท้อนผลของสงครามเย็นและการสะสมอาวุธนิวเคลียร์อยู่ รวมทั้ง ประเด็นใหม่ๆที่ร่วมสมัยอย่างการแสดงอ านาจทางการทหารของประเทศเล็ก ๆ เช่น เกาหลีเหนือ ซึ่ง ก่อให้เกิดปัญหาให้กับการฉายภาพยนตร์ การก่อการร้ายในเหตุการณ์เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิล์ดเทรดที่

10 อรรถรจน์ ปรีชากุล, “การศึกษาภาพสะท้อนของการแข่งขันทางการเมืองระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ในช่วงยุคสงครามเย็นที่ปรากฏอยู่ภายในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์,” (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550), 1-12. 19

อเมริกาและกลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนในแอฟริกา ซึ่งกล่าวได้ว่า ภาพยนตร์ยังคงด าเนินหน้าที่เดิม ที่เคยท าอยู่เป็นประจ าซึ่งส่งผลให้ตัวภาพยนตร์ดูมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการศึกษาดังกล่าวผู้วิจัยเลือกท าเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitive Research) ซึ่งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยมีการเลือกชมภาพยนตร์ ชุดเจมส์ บอนด์ในตอนที่ได้ระบุไว้ในขอบเขตของการวิจัยแล้วเก็บรวบรวมเนื้อหาที่ได้จากภาพยนตร์ แล้วคัดเลือกตอนที่มีความเกี่ยวข้องกับสงครามเย็นหรือสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาไว้ท า การวิจัยต่อไป รวมทั้งศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้น ในช่วงสงครามเย็น แล้วน ามาเชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์ ภาพสะท้อนที่ปรากฏออกมา จากผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า ในตัวภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์นั้น มีสิ่งที่ แสดงถึงภาพสะท้อนของการแข่งขันทางด้านการเมืองของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาในช่วงยุค สงครามเย็นปรากฎอยู่ในภาพยนตร์ที่สร้างในช่วงแรกและช่วงที่ 2 ส่วนภาพยนตร์ที่สร้างในช่วงที่ 3 นั้นบทบาทของสหภาพโซเวียตได้ลดลงไปเนื่องจากการล่มสลาย แต่ยังคงมีการสะท้อนถึงการเมืองที่ เป็นผลมาจากสงครามเย็นอยู่เช่นเดิม ส่วน อัจฉรีย์ วัฒนสหโยธิน11 ได้ท าการศึกษาเรื่อง “การเผยแพร่โฆษณา ชวนเชื่อทางการเมืองตามหลักของพรรคสังคมนิยมคอมมิวนิสต์: กรณีศึกษา ภาพยนตร์ในสมัยโซเวียต ตอนต้น ค.ศ. 1918-1945” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษาถึงการ ใช้โฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง (Propaganda) ตามหลักของพรรคสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ผ่านทาง ภาพยนตร์ในสมัยโซเวียตตอนต้น ปี ค.ศ. 1918-1945 (2) เพื่อศึกษาถึงการใช้ภาพยนตร์ในฐานะ เครื่องมือทางการเมืองตามหลักของพรรคสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของ ภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลต่อประชาชนในสมัยโซเวียตตอนต้น โดย อัจฉรีย์ วัฒนสหโยธิน ได้ศึกษาถึงที่มาและความส าคัญของวิวัฒนาการ ของโฆษณาชวนเชื่อ อีกทั้งอธิบายถึงประเภทของโฆษณาชวนเชื่อประเภทต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โฆษณาชวนเชื่อประเภทภาพยนตร์ ที่เป็นกรณีศึกษาของภาคนิพนธ์ฉบับนี้ที่ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทาง การเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ว่า มีอิทธิพลต่อผู้รับชมอย่างไรเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ได้เผยแพร่ ภาพยนตร์ออกไปสู่ประชาชน

11 อัจฉรีย์ วัฒนสหโยธิน, “การเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองตามหลักของพรรคสังคมนิยมคอมมิวนิสต์: กรณีศึกษาภาพยนตร์ในสมัยโซเวียตตอนต้น ค.ศ. 1918-1945,” (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554), 1-10.

20

ในการศึกษาดังกล่าวผู้วิจัยเลือกใช้วิธีพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) โดยใช้การล าดับข้อมูลตามช่วงเวลาเป็นส าคัญ เพื่อให้เข้าใจถึงกลยุทธ์รวมทั้งวิธีการของ โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองที่สื่อผ่านออกมาทางภาพยนตร์ รวมถึงเข้าใจในบทบาทของ โฆษณาชวนเชื่อตามล าดับเวลาและวิวัฒนาการได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสาร หรือบทความทางวิชาการ อีกทั้งยังศึกษาเพิ่มเติมจากการดู ภาพยนตร์ทั้ง 4 เรื่องที่ถูกน ามาใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง จากผลการศึกษาพบว่าสื่อโฆษณาชวนเชื่อในสมัยสหภาพโซเวียต ณ ช่วงเวลานั้นถือว่ามีความส าคัญต่อการเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐบาลโซเวียตเป็นอย่าง มาก โดยเฉพาะสื่อทางด้านภาพยนตร์ เนื่องจากภาพยนตร์ถือว่าเป็นโฆษณาชวนเชื่อที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในกระบวนการสื่อสารมวลชนของโซเวียต อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดเรื่องราวให้คนทุกระดับ สามารถเข้าใจได้ง่าย จึงท าให้สื่อภาพยนตร์นั้นประสบความส าเร็จอย่างมากในการเผยแพร่อุดมการณ์ ทางการเมืองตามหลักของพรรคสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ทางด้าน เตชวัฒน์ แช่มช้อย12 ได้ท าการศึกษาเรื่อง “พรอบพกันดาใน วงการภาพยนตร์ตะวันตกว่าด้วยเรื่องสหภาพโซเวียตกับบริบทวายร้ายในยุคสงครามเย็น: กรณีศึกษา ภาพยนตร์ 007 เจมส์ บอนด์ (ปี ค.ศ. 1962-1967)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและรายละเอียดของภาพยนตร์ที่ส่งผลให้เกิดทัศนคติเชิงลบต่อสหภาพโซเวียต (2) เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสหภาพโซเวียตภายหลังการเผยแพร่ภาพยนตร์ออกไป (3) เพื่อศึกษาความ เกี่ยวพันระหว่างรัฐต่าง ๆ ในบริบทสงครามเย็นที่มีส่วนในการด าเนินเรื่องของภาพยนตร์ (4) เพื่อน ามาเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงโดยการอ้างอิงจากภาพยนตร์ โดย เตชวัฒน์ แช่มช้อย ได้ศึกษาเรื่องของพรอบพกันดาแฝงให้มีความ น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นโดยการน าหลักทฤษฎีการวิจารณ์ “ศิลปภาพยนตร์” เข้ามาเกี่ยวข้องและ ใช้ทฤษฎีดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานในการวิเคราะห์พรอบพกันดาแฝง และยังเป็นการแยกเรื่องวิเคราะห์ ภาพยนตร์ออกจากสุนทรียศาสตร์ในการรับชมภาพยนตร์ เพื่อให้ตัวผู้วิจัยมีความเป็นกลางปราศจาก อคติต่อทั้งฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตยและฝ่ายโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และสามารถวิเคราะห์ พรอบพกันดาที่แฝงเข้ามาได้อย่างละเอียดและครบทุกแง่มุม อีกทั้งตัวผู้วิจัยยังได้สอดแทรกเนื้อหา ที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของยุคสงครามเย็นเข้ามาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

12 เตชวัฒน์ แช่มช้อย, “พรอบพกันดาในวงการภาพยนตร์ตะวันตกว่าด้วยเรื่องสหภาพโซเวียตกับบริบทวายร้ายในยุค สงครามเย็น: กรณีศึกษาภาพยนตร์ 007 เจมส์ บอนด์ (ปี ค.ศ. 1962-1967),” (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558), 1-7.

21

ที่ถูกต้องและสามารถใช้วิจารณญาณในการแยกแยะข้อเท็จจริงกับสิ่งที่ถูกบิดเบือนผ่านเครื่องมือ ทางจิตวิทยาที่เรียกว่าพรอบพกันดา การศึกษาดังกล่าวผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาดังต่อไปนี้ (1) ท าการศึกษา หาข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์ “007 เจมส์ บอนด์” ผ่านทางสื่อรูปแบบดีวีดีและสื่อออนไลน์ (2) ท าการศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลขั้นทุติยภูมิอื่นๆ เช่น หนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความ ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ “007 เจมส์ บอนด์” ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3) ท าการ เชื่อมโยงเหตุการณ์ส าคัญในภาพยนตร์เข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง (4) ท าการวิเคราะห์อุปนิสัย ของตัวละครหลักของเรื่องในแต่ละภาคที่ก่อให้เกิดพรอบพกันดาหรือโฆษณาชวนเชื่อแฝง จากผลการศึกษาพบว่าพรอบพกันดานั้นยังคงเป็นเครื่องมือที่ส าคัญและ จ าเป็นส าหรับรัฐบาลของทุกประเทศและทุกยุคทุกสมัย ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายในด้านการรักษา ผลประโยชน์แห่งชาติของรัฐตนเป็นส าคัญ ถึงแม้ว่าจะไม่มีสถานการณ์สงครามเกิดขึ้นมาเหมือน ในภาพยนตร์แต่ประเด็นเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติทั้งในและนอกประเทศนั้นเป็นสิ่งเกิดขึ้นอยู่ ตลอดเวลาตราบใดที่ยังคงมีค าว่า “รัฐ” อยู่เพราะปัจจัยของผลประโยชน์แห่งชาติภายใต้ตัวแปร ทุนนิยมที่ส่งเสริมการแข่งขันนั้น ประเทศมหาอ านาจยังคงพยายามที่จะรักษาผลประโยชน์และ กอบโกยเอาจากประเทศก าลังพัฒนา อีกทั้งเกิดการรวมกลุ่มขึ้นของประเทศก าลังพัฒนาเพื่อต่อกร กับประเทศมหาอ านาจจนท าให้ในปัจจุบันบริบททางการเมืองของโลกกลายเป็นพหุภาคี ซึ่งถือเป็น การพัฒนากลไกลทางการเมืองระหว่างประเทศครั้งใหญ่ แต่ในทางกลับกันยังเป็นการยกระดับภัย คุกคามต่าง ๆ เพิ่มขึ้นไปด้วย ทั้งในด้านการก่อการร้าย ปัญหาภาวะโลกร้อน หรือแม้กระทั่งอดีต ประเทศคอมมิวนิสต์อย่างสหพันธรัฐรัสเซียเอง ต่างก็สามารถกลายเป็นภัยคุกคามด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการปลูกฝังภัยคุกคามแก่ประชาชนในเรื่องของพรอบพกันดาแฝงภายในภาพยนตร์จึงเป็นเรื่อง ที่ส าคัญ ยิ่งในปัจจุบันความเป็นโลกาภิวัตน์ได้เข้ามามีบทบาทต่อสังคมโลกมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการ ถ่ายท าภาพยนตร์ การตัดต่อ การแฝงพรอบพกันดา ไปจนถึงการเผยแพร่สู่สาธารณะชนกลับ กลายเป็นสิ่งที่ท าได้ง่ายและไม่จ าเป็นต้องบังคับอีกต่อไป ประชาชนกลับกลายเป็นผู้เดินเข้าหา พรอบพกันดาเสียเอง ดังนั้นในขณะที่โลกพัฒนาขึ้น พรอบพกันดาแฝงก็จะยิ่งพัฒนาขึ้นตามกันไปและ จะยิ่งทวีความรุนแรงในเนื้อหามากยิ่งขึ้น และจะกลายเป็นเครื่องมือที่ส าคัญทางการเมืองทั้งในและ นอกประเทศที่มีความส าคัญมากในอนาคตต่อไป 2.2.2 งานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัสเซียแต่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อโฆษณาชวน เชื่อหรือการสร้างภาพตัวแทนแฝงภายในภาพยนตร์ ส าหรับงานวิจัยในกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัสเซียแต่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อ โฆษณาชวนเชื่อหรือการสร้างภาพตัวแทนแฝงในภาพยนตร์ประกอบไปด้วยงานวิจัยเรื่อง 22

“การสื่อสารภาพตัวแทนของคุกชายในภาพยนตร์ไทย: ศึกษากรณีภาพยนตร์เรื่อง ‘น.ช.นักโทษชาย’” “ภาพตัวแทนความเป็นญี่ปุ่นในภาพยนตร์การ์ตูนโดราเอม่อน ตอนพิเศษ” และ “การวิเคราะห์ภาพยนตร์ของจางอี้โหมวในเชิงบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และแนวคิดแบบ อุดมคติเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต” ผลจากการทบทวนพบว่า งานวิจัยเล่มแรกคือ งานวิจัยของอัญมณี ภักดีมวลชน13 ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับ “การสื่อสารภาพตัวแทนของคุกชายในภาพยนตร์ไทย: กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง ‘น.ช.นักโทษชาย’” โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์ภาพตัวแทนของคุกและการใช้อ านาจของคุกผ่านสื่อ ภาพยนตร์ของไทย (2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างการถอดรหัสภาพตัวแทนคุกของผู้รับสาร ที่มีประสบการณ์ตรง (พัศดีและนักโทษชาย) กับผู้รับสารที่มีประสบการณ์ผ่านสื่อภาพยนตร์ (ผู้ชมทั่วไป) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสารและทฤษฎีว่าด้วยอ านาจ ของมิเชล ฟูโกต์เป็นแกนหลักในการวิจัย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ตีความและอธิบายถึง “คุก” ที่เป็นโลกทัศน์ของผู้รับสารว่าผู้รับสารที่มีประสบการณ์ผ่านสื่อมวลชนรับรู้เรื่องของคุกอย่างไร และ มีความแตกต่างจากผู้รับสารที่มีประสบการณ์ภายในคุกโดยตรงหรือไม่ อย่างไร จากผลการศึกษางานวิจัยดังกล่าวพบว่าภาพตัวแทนของคุกแบ่งได้เป็น 9 ลักษณะ อันเป็นไปตามวาทกรรมหลักของการจัดระเบียบวินัย ตามหลักทัณฑวิทยา ดังนี้ (1) คุกเป็นแหล่งรวมคนที่กระท าความผิด (2) คุกเป็นสถานที่รวมของความเลวร้าย (3) คุกเป็นพื้นที่ ของพวกที่มีความคิดหรือพฤติกรรมที่แปลกไปจากกฎเกณฑ์ทางสังคม เช่น พวกวิกลจริต และ รักร่วมเพศ เป็นต้น (4) คุกเป็นพื้นที่ในการฟื้นฟูพฤตินิสัย (5) คุกเป็นพื้นที่ที่มีการจัดระเบียบวินัย (6) คุกเป็นพื้นที่ที่มีการใช้อ านาจ (7) คุกเป็นพื้นที่ที่ขาดอิสรภาพ (8) คุกเป็นพื้นที่ที่มีการต่อต้าน อ านาจ และ (9) คุกเป็นพื้นที่ที่มีทั้งคนดีและคนเลวปะปนกัน ในส่วนของการวิเคราะห์ผู้รับสาร ที่มีประสบการณ์โดยตรง ได้แก่ พัศดีในฐานะของผู้ใช้อ านาจ นักโทษในฐานะของผู้ถูกใช้อ านาจ และ ผู้รับสารที่มีประสบการณ์ผ่านสื่อภาพยนตร์ พบว่า ผู้รับสารทุกกลุ่มจะมีการรับรู้ถึงนักโทษ โดยการ มองผ่านสายตาของตัวละครเอกที่เป็นนักโทษชายออกไป ส่วนการตีความของผู้รับสาร ที่มีประสบการณ์โดยตรง จะตีความตามประสบการณ์ตรงของตนเอง ในส่วนของผู้รับสาร ที่มีประสบการณ์ผ่านสื่อก็จะตีความตามความหมายที่ภาพยนตร์น าเสนอ และในส่วนของการสร้าง ความหมาย ทุกกลุ่มจะมีการสร้างความหมายตามวาทะกรรมหลักของคุก คือ คุกเป็นพื้นที่ของการ ฟื้นฟูพฤตินิสัย และคุกเป็นพื้นที่ที่มีการจัดระเบียบวินัยของคุก

13 อัญมณี ภักดีมวลชน, “การสื่อสารภาพตัวแทนของคุกชายในภาพยนตร์ไทย: ศึกษากรณีภาพยนตร์เรื่อง ‘น.ช. นักโทษชาย’,” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552), 1-10. 23

งานวิจัยชิ้นต่อมาคือ งานวิจัยของธีรวัจน์ อุดมเจริญกิจ14 ซึ่งได้ศึกษา เกี่ยวกับ “ภาพตัวแทนความเป็นญี่ปุ่นในภาพยนตร์การ์ตูนโดราเอมอน ตอนพิเศษ” โดยมี วัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษาการน าเสนอแนวคิดหลักผ่านแก่นเรื่องของภาพยนตร์การ์ตูน โดราเอมอน ตอนพิเศษ (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะของภาพตัวแทนความเป็นญี่ปุ่นที่น าเสนอผ่าน ทางการ์ตูนโดราเอมอน ตอนพิเศษ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อศึกษาลักษณะภาพตัวแทนความเป็นญี่ปุ่นทางด้าน วัฒนธรรมที่ถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อภาพยนตร์การ์ตูนโดราเอมอน ตอนพิเศษ โดยมีแนวคิดทฤษฎี ที่ใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น (Anime) แนวคิดเรื่อง ภาพตัวแทน (Representation) แนวคิดการเล่าแบบบุคลาธิษฐาน (Personification) แนวคิดเรื่อง การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication) และแนวคิดเรื่องความเป็นญี่ปุ่น และสังคมญี่ปุ่นเชิงวัฒนธรรม จากการศึกษางานวิจัยดังกล่าวพบว่า ภาพตัวแทนความเป็นญี่ปุ่นใน ภาพยนตร์การ์ตูนโดราเอมอน ตอนพิเศษ ใช้การสื่อสารแบบอวัจนภาษามากกว่าวัจนภาษา เพราะใน วัฒนธรรมญี่ปุ่นใช้การสื่อสารแบบวัจนภาษา การพูด น้อยกว่าการแสดงออกด้วยท่าทางแบบ อวัจนภาษา นอกจากนี้ผู้วิจัยได้พบว่าภาพยนตร์การ์ตูนมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เพราะเป็นผลผลิตที่ เกิดขึ้นมาจากสภาพความเป็นไปของญี่ปุ่น และกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจ าวันของคนญี่ปุ่น อีกทั้งผลผลิตที่ส่งออกไปทั่วโลกยังได้มีการสอดแทรกความเป็นญี่ปุ่นในด้านของวัฒนธรรมลงไปอีก ด้วย งานวิจัยชิ้นต่อมาคือ งานวิจัยของธนิต ธนะกุลมาส15 ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับ “การวิเคราะห์ภาพยนตร์ของจางอี้โหมวในเชิงบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และแนวคิดแบบ อุดมคติเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต” โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์ถึงมุมมอง เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนที่น าเสนอในภาพยนตร์ของจางอี้โหมว (2) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นจริงทาง ประวัติศาสตร์ของสังคมจีนในแต่ละยุคสมัยที่บอกเล่าผ่านงานภาพยนตร์ของจางอี้โหมว

14 ธีรวัจน์ อุดมเจริญกิจ, “ภาพตัวแทนความเป็นญี่ปุ่นในภาพยนตร์การ์ตูนโดราเอมอน ตอนพิเศษ,” (วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต, คณะนิเทศน์ศาสตร์สารสนเทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2552), 1-25. 15 ธนิต ธนะกุลมาส, “การวิเคราะห์ภาพยนตร์ของจางอี้โหมวในเชิงบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และแนวคิด แบบอุดมคติเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต,” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547), 1-13. 24

(3) เพื่อชี้ให้เห็นแนวคิดแบบอุดมคติที่ปรากฏในภาพยนตร์ของจางอี้โหมว ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อ การยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวจีน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการ วิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และน าเสนอข้อมูลที่ได้ด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) โดยผู้วิจัยมุ่งศึกษาการน าเสนอเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมจีนในภาพยนตร์ของ ผู้ก ากับจางอี้โหมว รวมทั้งลักษณะการแสดงออกของวัฒนธรรมเหล่านั้น และวิเคราะห์ร่วมกับบริบท ทางประวัติศาสตร์ของจีนในยุคสมัยต่าง ๆ ที่ใช้เป็นฉากหลังของการน าเสนอภาพยนตร์ เพื่อวิเคราะห์ หาแนวคิดแบบอุดมคติของผู้ก ากับที่ถ่ายทอดผ่านงานภาพยนตร์ ผู้วิจัยมีความคาดหวังในเป้าหมาย ของภาพยนตร์ในเรื่องของการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ชมภาพยนตร์ โดยมีแนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็น กรอบในการวิเคราะห์คือ แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวัฒนธรรมศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม จีนและอุดมคติแบบจีน แนวคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์ในงานสื่อสารพัฒนาการเพื่อการพัฒนา คุณภาพชีวิต แนวคิดเกี่ยวกับศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง ทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology Theory) และ ทฤษฎีประพันธกร (Auteur Theory) จากการศึกษางานวิจัยดังกล่าวพบว่าภาพยนตร์จีนโดยผู้ก ากับจางอี้โหมว ส่วนมากมักจะมีเนื้อหาที่ประกอบไปด้วยสัญญะจ านวนมากมายที่ถูกเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน โดยมีรหัส ทางวัฒนธรรมและอุดมคติต่าง ๆ ที่สอดแทรกไว้ตามเจตจ านงของผู้สร้างภาพยนตร์ ดังนั้นจึงสามารถ ที่จะน าภาพยนตร์ของจางอี้โหมวมาท าการวิเคราะห์เพื่อถอดรหัสที่เป็นสัญญะต่าง ๆ เพื่อค้นหา ความหมายเชิงวัฒนธรรมที่ถูกถ่ายทอดผ่านแต่ละช่วงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ครอบคลุมไปถึง สภาพความเป็นจริงในสังคมจีนยุคปัจจุบัน ตลอดจนค้นหาแนวคิดแบบอุดมคติที่มีเป้าหมายเพื่อ ก่อให้เกิดการพัฒนาทางสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ชม กล่าวโดยสรุป จากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า (1) ที่ผ่านมามี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อหรือการสร้างภาพตัวแทนที่แฝงอยู่ภายในภาพยนตร์ (2) การศึกษาในประเด็นของการใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อโดยเน้นไปที่การสะท้อนภาพลักษณ์ของอีก ประเทศโดยผ่านผลงานภาพยนตร์เน้นไปที่การวิเคราะห์บริบทที่ปรากฏภายในภาพยนตร์ควบคู่ไปกับ ทฤษฎีที่หยิบยกขึ้นมาใช้ในการอธิบายบริบทนั้น ๆ (3) แนวคิดที่ถูกน ามาใช้ในการศึกษาการสร้าง ภาพตัวแทนและโฆษณาชวนเชื่อผ่านผลงานภาพยนตร์ ได้แก่ แนวคิดเรื่องทฤษฎีการสื่อสาร และ แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างภาพตัวแทน (4) การใช้ระเบียบวิจัยในการศึกษาการใช้โฆษณาชวนเชื่อและ การสร้างภาพตัวแทน ได้แก่ ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการวิเคราะห์ เนื้อหา (Content Analysis) และการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) (5) ผลการศึกษาในการใช้โฆษณาชวนเชื่อและภาพตัวแทนเหล่านั้นพบว่า ไม่เพียงแค่สหรัฐอเมริกา 25

และสหพันธรัฐรัสเซียเท่านั้นที่มีการใช้เครื่องมือทั้ง 2 อย่างนี้ แม้แต่ไทยและญี่ปุ่น ตลอดจน สาธารณรัฐประชาชนจีนเองก็ยังมีการน ามาใช้เช่นกัน โดยมีการใช้เพื่อการพัฒนาสังคม รวมไปถึงการ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ชม อีกทั้งการใช้โฆษณาชวนเชื่อตลอดจนถึงการสร้างภาพตัวแทนขึ้นมา นั้นได้ถูกน ามาใช้ตั้งแต่สมัยสงครามเย็นในช่วงของสหภาพโซเวียต และในปัจจุบันก็ยังคงมีการน ามา ใช้สืบเนื่องต่อมา โดยเครื่องมือในปัจจุบันนั้นยิ่งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเนื่องมาจากการ พัฒนาทางเทคโนโลยีต่าง ๆ เนื่องมาจากการเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ที่ท าให้โลกของเรานั้นไร้พรมแดน ในด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน จึงท าให้เครื่องมือทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มาก ขึ้นกว่าเดิม

2.3 กรอบแนวคิดในการวิจัย

จากการทบทวนแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยเลือกใช้แนวคิดเรื่องเล่า ในภาพยนตร์เป็นตัวที่ใช้จ าแนกสิ่งที่จะน ามาศึกษา ทฤษฎีสัญญะวิทยา แนวคิดการสร้างภาพตัวแทน และแนวคิดวาทกรรมกับการวิเคราะห์วาทกรรมมาใช้อธิบายเรื่องราวของภาพยนตร์ที่มี ความเกี่ยวข้องกับสหภาพโซเวียตหรือสหพันธรัฐรัสเซียว่าถูกก าหนดให้เป็นไปในทิศทางใด ตลอดจน การค้นหาภาพสะท้อนต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ภายในภาพยนตร์แต่ละภาคไม่ว่าจะเป็น สถานที่ที่ใช้ใน การถ่ายฉากนั้น ๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตอย่างไร รวมทั้งจาก บทสนทนาของตัวละครที่มีการกล่าวถึงสหภาพโซเวียตหรือสหพันธรัฐรัสเซียขึ้นมาแต่ละครั้งนั้น สามารถบ่งบอกได้ถึงความเกี่ยวข้องอย่างไร อีกทั้งในเรื่องของประวัติศาสตร์ก็เช่นกัน หากใน ภาพยนตร์ได้มีการหยิบยกประวัติศาสตร์ขึ้นมาแล้วมีส่วนเกี่ยวข้องกับสหภาพโซเวียตหรือ สหพันธรัฐรัสเซียแล้ว ฉากนั้นมีการบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใด ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาการสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านผลงาน ภาพยนตร์เรื่อง Captain America โดยมีตัวแปรอิสระคือ เนื้อหาของภาพยนตร์ในเรื่องนั้น ๆ ประกอบไปด้วย ฉาก ตัวละคร พฤติกรรมของตัวละคร ตลอดจนบทสนทนาของตัวละคร และมี ตัวแปรตามคือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้รับสารในเรื่องของความเข้าใจในบริบทนั้น ๆ ที่ทางผู้สร้าง ต้องการจะสื่อออกมา โดยมีตัวแปรควบคุมคือทฤษฎีที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น สามารถเขียนเป็น กรอบความคิดได้ดังนี้ (แผนภาพที่ 2.1) 26

ตัวแปรอิสระ ตัวแปรควบคุม ตัวแปรตาม

1. แนวคิดเรื่องเล่าในภาพยนตร์ - เรื่องและพล็อต (Story and Plot) แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา - เหตุและผล (Cause and Effect) 1. แนวคิดการสร้างภาพตัวแทน - เวลา (Time) (Representation) - สถานที่ (Place) 2. แนวคิดวาทกรรมและการวิเคราะห์ ผู้รับสารเกิดความเข้าใจในบริบท - การเริ่มเรื่อง การพัฒนาเรื่อง และ วาทกรรม (Discourse and ที่ผู้สร้างต้องการจะสื่อความหมาย การจบเรื่อง (Beginning, Story Discourse Analysis) ของ Development and Ending) มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) 2. เนื้อหาของภาพยนตร์ 3. ทฤษฎีสัญญะวิทยา Captain America (Semiology Theory) - ฉาก - ตัวละคร - พฤติกรรมของตัวละคร - บทสนทนาของตัวละคร

ภาพที่ 2.1 แผนภาพแสดงกรอบแนวคิดวิจัย 27

บทที่ 3 Captain America

3.1 ภูมิหลังของ Captain America

กัปตันอเมริกา (Captain America) เป็นตัวการ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่ที่ถูกสร้างขึ้น โดย นักเขียน โจ ไซมอน1 () และ นักวาด แจ็ค เคอร์บี2 () ภายใต้การจัดพิมพ์ ของบริษัท Timely Comics ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อในภายหลังเป็น Marvel Comics โดยตัวละครนี้ มีการตีพิมพ์ออกสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1941 ผ่านหนังสือ Captain America Comic #1 โดยภูมิหลังของตัวการ์ตูนกัปตันอเมริกาสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

3.1.1 The Golden Age ในยุค Golden Age นี้ถือว่าเป็นยุคหนึ่งที่เรียกว่า ประสบความส าเร็จที่สุดของ กัปตันอเมริกา โดยเริ่มต้นจาก ไซมอนและเคอร์บีสร้างตัวละคร สตีฟ โรเจอร์ส (Steve Rogers) ขึ้นมา พวกเขาวางลักษณะของตัวละครให้เป็นชายหนุ่มผู้ที่ต้องการเข้าร่วมกองทัพ ทว่ากลับถูกปฏิเสธ เนื่องจากขนาดตัวที่เล็กกว่ามาตรฐานที่ทางกองทัพก าหนดไว้ โดยหลังจากที่เขาทราบว่ามีการทดลอง ฉีดเซรุ่มเพื่อเข้าไปเปลี่ยนแปลงลักษณะกายภาพของร่างกาย เขาจึงไม่รีรอที่จะอาสาเข้ารับการทดลอง นี้ ภายหลังจากที่เขารับเซรุ่มมานั้น ร่างกายของเขาก็แปรเปลี่ยนไปเป็นสุดยอดทหาร และได้รับการ ขนานนามว่า กัปตันอเมริกา (Captain America) โดยเขาต้องสวมเครื่องแบบที่มีสีแดง ขาว และ น้ าเงิน พร้อมทั้งมีรูปดาวที่เป็นสัญลักษณ์ของธงชาติประจ าสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นเขาก็เข้าร่วม กองทัพและพบกับคู่หูของเขา คือ บัคกี้ บาร์นส์ ( Barnes) เรื่องราวในช่วงต้นนั้นมีแนวทางการด าเนินเนื้อเรื่องอย่างเรียบง่ายและ ตรงไปตรงมา คือ มีการต่อสู้กับวายร้ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคนหลังค่อมแห่งฮอลลีวูด (Hunchback of Hollywood) คางคกด า (Black ) และอีวานผู้เหี้ยมโหด (Ivan the Terrible) โดยตัวละครทั้ง 3

1 โจ ไซมอน (Joe Simon) เกิดวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1913 เป็นนักเขียนและนักวาดการ์ตูนชาวอเมริกา โดยเขาเป็น ผู้สร้างตัวการ์ตูนที่มีชื่อเสียงอย่างกัปตันอเมริกา แต่ในท้ายที่สุดเขาก็เสียชีวิตลงด้วยวัย 98 ปี ในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2011 2 แจ็ค เคอร์บี (Jack Kirby) เกิดวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1917 เป็นนักเขียนและนักวาดการ์ตูนชาวอเมริกา และใน ภายหลังเขาได้ด ารงต าแหน่งบรรณาธิการของส านักพิมพ์ โดยเขาคือผู้ร่วมสร้างตัวการ์ตูนกัปตันอเมริการ่วมกับ โจ ไซมอน และ เขาเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 28

นี้ต่างก็เป็นลูกน้องของ กะโหลกแดง (Red Skull) จอมวายร้ายสัญชาตินาซี3 เรื่องราวในการต่อสู้ของ กัปตันอเมริกานั้นด าเนินไปอย่างฉับไว ท าให้การ์ตูนเรื่องนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งถือว่า เป็นยุคทองยุคหนึ่งของหนังสือการ์ตูน โดยมีหลักฐานยืนยันจากจ านวนแฟนคลับหลังจากมีการ ประกาศก่อตั้งกลุ่มแฟนคลับของกัปตันอเมริกาขึ้น โดยใช้ชื่อว่า The Sentinels of Liberty4 เหล่า นักอ่านที่เข้าร่วมกลุ่มแฟนคลับนี้จะได้รับบัตรสมาชิกพร้อมทั้งเข็มกลัดเป็นของตอบแทน ซึ่งกลุ่มแฟน คลับนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนกระทั่งต้องยุติการแจกเข็มกลัดโลหะลงเนื่องจากปัญหาการ ขาดแคลนโลหะในช่วงสงครามโลก หนังสือการ์ตูนกัปตันอเมริกาได้รับความนิยมจนมียอดขายเป็นอันดับ 1 ในขณะนั้น5 เนื่องจากเป็นเรื่องราวในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีกัปตันอเมริกาและบัคกี้เป็นแนวหน้า ในการร่วมกันต่อสู้กับฝ่ายอักษะ6 อีกทั้งภาพหน้าปกของหนังสือการ์ตูนนั้นเป็นภาพที่กัปตันอเมริกา ต่อยเข้าที่ใบหน้าของฮิตเลอร์ผู้น าฝ่ายนาซีเยอรมันจนเซล้มลงไป ซึ่งภาพหน้าปกนั้นเปรียบเสมือน สัญลักษณ์ว่าอเมริกาสามารถต่อกรกับนาซีเยอรมันได้และได้รับชัยชนะในที่สุด โดยการที่หนังสือ การ์ตูนเล่มนี้ได้รับความนิยมก็มาจากพลังความรักชาติของชาวสหรัฐอเมริกา เนื่องจากในตอนที่ หนังสือการ์ตูนเล่มนี้เปิดตัวออกมาตอนนั้นทางสหรัฐยังคงวางตัวเป็นกลางในสงครามโลกจนกระทั่ง เกิดเหตุการณ์การโจมตีท่าเพิร์ลฮาร์เบอร์7 (Attack on Pearl Harbor) ขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 สหรัฐอเมริกาจึงประกาศตัวว่าต้องการที่จะเข้าร่วมสงคราม หลังจากที่หนังสือการ์ตูนถูกตีพิมพ์ ออกมาจ านวน 10 ฉบับ และทั้ง 10 ฉบับนั้นต่างก็ประสบความส าเร็จเป็นอย่างมาก โดยดูได้จาก ค าพูดของ โจ ไซมอน ที่ว่า “We were up to, after the first issue, close to the million marks,

3 นาซี มาจาก นาซีเยอรมัน โดยเป็นยุคยุคหนึ่งของประเทศเยอรมันในช่วง ค.ศ. 1933-1945 โดยมีผู้น าคือ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่ปกครองประเทศในรูปแบบของเผด็จการพร้อมด้วยพรรคนาซี จนท าให้ประเทศเยอรมันกลายเป็นรัฐ ฟาสซิสต์ซึ่งเข้ามามีบทบทต่อประชาชนในทุก ๆ ชนชั้น และในภายหลังสงครามโลกครั้งที่2สิ้นสุดลง นาซีก็สิ้นสุดตามไปเช่นกัน 4 The Sentinels of Liberty คือ ชื่อของกลุ่มแฟนคลับที่ทางส านักพิมพ์เป็นผู้ตั้งขึ้น โดยแฟนคลับเหล่านี้จ าเป็นต้อง เสียค่าสมาชิกและจะได้รับโปสการ์ดที่เขียนโดยกัปตันอเมริกากับเข็มกลัดเป็นสิ่งตอบแทน 5 Roy Thomas, 75 Years of Marvel from the Golden Age to the Silver Screen, (n.p.: Taschen, 2014), 18. 6 ฝ่ายอักษะ คือการรวมตัวกันทางการทหารของประเทศ 3 ประเทศ ได้แก่ นาซีเยอรมัน อิตาลี และจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยเป็นการรวมตัวเนื่องจากการลงนามกติกาสนธิสัญญาไตรภาคีในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 โดยฝ่ายอักษะนั้นจะเป็นกลุ่ม ประเทศที่มีการสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 7 การโจมตีท่าเพิร์ลฮาเบอร์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยเป็นการลอบโจมตีจากกองทัพเรือจักรวรรดิ ญี่ปุ่น ซึ่งการโจมตีครั้งนี้ท าให้สหรัฐอเมริกาที่เคยแสดงจุดยืนว่าไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลือกที่จะประกาศสงครามกับญี่ปุ่นใน วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 และประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่2 ในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยสหรัฐอเมริกาเลือกที่จะ สนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรที่ประกอบไปด้วย สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีน 29 and that was monthly.”8 ซึ่งหมายความว่า “หลังจากที่ตีพิมพ์ฉบับแรกไป ยอดขายของเราก็เกือบ ถึงล้านเหรียญ ทั้ง ๆ ที่พึ่งจะเดือนแรกเท่านั้น” ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าแค่เพียงเล่มแรกนั้นก็สามารถท า ยอดขายได้เกือบล้านฉบับ นักเขียนทั้ง 2 จึงถูกส านักพิมพ์คู่แข่งอย่าง DC Comics ซื้อตัวไป แต่ก็ ยังคงมีบรรณาธิการหนังสืออย่าง สแตน ลี9 () และเหล่านักวาดอีกหลาย ๆ คนเข้ามาดูแล การ์ตูนเรื่องนี้แทน ใน ค.ศ. 1944 ตัวการ์ตูนกัปตันอเมริกาถูกน าไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ชุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความเป็นเอกลักษณ์ในตัวการ์ตูนนี้ ทว่าหลังจากที่สงครามสิ้นสุดความนิยม ในตัวซุปเปอร์ฮีโร่ก็ลดลงตามไปด้วย ทั้งตัวกัปตันอเมริกาและบัคกี้ต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน จนในที่สุดทางส านักพิมพ์จ าเป็นต้องยุติการตีพิมพ์ลง จึงท าให้เรื่องราวของกัปตันอเมริกาใน หนังสือการ์ตูนเล่มสุดท้ายนั้นเป็นเรื่องของวันสุดท้ายในสงคราม ทั้งคู่พยายามที่จะหยุดเครื่องบิน ที่บรรทุกระเบิดไว้เต็มล าแต่ก็สายเกินไป เนื่องจากเครื่องบินล านั้นเกิดระเบิดขึ้นมาเหนือน่านน้ า มหาสมุทรแอตแลนติก ก่อนที่เรื่องราวทั้งหมดจะจบลงที่บัคกี้หายตัวไปจากแรงระเบิดและ กัปตันอเมริกาจมลงไปใต้น้ าในสภาพที่บาดเจ็บสาหัส10 หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีการผลิตการ์ตูนออกมาอย่างแพร่หลาย ยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวสยองขวัญ ตลกขบขัน โรแมนติก โดยมีการผลิตออกมาหลายประเภท ทว่ากลับไม่มีการตีพิมพ์เรื่องราวของฮีโร่อีกเลย แม้กระทั่งเรื่องราวของกัปตันอเมริกาก็เช่นกัน โดยหนังสือการ์ตูนกัปตันอเมริกานั้นยุติการตีพิมพ์ลงหลังจากฉบับสุดท้ายคือ ฉบับที่ 73 ที่ตีพิมพ์ ออกมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1949 หลังจากนั้น 4 ปีต่อมากัปตันอเมริกาก็ได้น ากลับมาตีพิมพ์อีก ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1954 โดยใช้ชื่อตอนว่า Commie Smasher! ผ่านฝีมือนักวาดอย่าง แม็คคาร์ที (McCarthy) แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเท่าที่ควรจึงท าให้ส านักพิมพ์ต้องยุติ การตีพิมพ์เรื่องราวของกัปตันอเมริกาลงอีกครั้ง 3.1.2 The Silver Age ในช่วง Silver Age ถือเป็นอีกยุคหนึ่งที่เรียกว่าเป็นการกลับมาได้รับความนิยม อีกครั้งของกัปตันอเมริกาหลังจากยุค Golden Age โดยเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ส านักพิมพ์มาร์เวลตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนเกี่ยวกับซุปเปอร์ฮีโร่ออกมามากมายและสร้างฐานผู้อ่านให้

8 Les Daniels, MARVEL Five Fabulous Decades of The World's Greatest Comics, (New York: ABRAMS Books, 1991), 43. 9 สแตน ลี (Stan Lee) เกิดวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1922 เป็นนักเขียน บรรณาธิการชาวอเมริกาและประธานของ บริษัทมาร์เวลคอมมิกส์ 10 “Captain America (Steve Rogers): Early years and World War 2,” Marvel, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561, http://marvel.com/universe /Captain_America_(Steve_Rogers)#axzz5AaJ6yYG4. 30

ขยายออกไปในวงกว้างยิ่งขึ้น ทางส านักพิมพ์จึงเล็งเห็นว่านี่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะน าตัวการ์ตูน กัปตันอเมริกากลับมาอีกครั้ง โดยการกลับมาในครั้งนี้กัปตันอเมริกาไปปรากฏตัวในหนังสือการ์ตูน #4 ใน ค.ศ. 1964 โดยเปิดเผยความจริงว่า สตีฟ โรเจอร์ส นั้นยังไม่ตาย เขาถูกแช่แข็ง อยู่ข้างใต้ผืนน้ าแข็งขนาดใหญ่ โดยเรื่องราวเริ่มต้นจากทีมอเวนเจอร์ส11 (Avengers) มาพบกับร่าง ของกัปตันอเมริกาที่ถูกแช่แข็งไว้ พวกเขาจึงพากลับไปและปลุกเขาขึ้นมาจากการหลับใหล หลังจาก นั้นกัปตันอเมริกาก็เข้าร่วมทีมอเวนเจอร์สและรับหน้าที่เป็นหัวหน้าของทีม ภายในปีเดียวกันนั้นทางส านักพิมพ์ก็ตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนของกัปตันอเมริกา ออกมาอีกครั้งโดยใช้ชื่อตอนว่า โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกัปตันอเมริกาและ ไอรอนแมน (Iron man) ในการกลับมาครั้งนี้ท าให้กัปตันอเมริกาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง แต่ยังคง น้อยกว่าในยุค Golden Age เมื่อดูจากยอดขายภายในปีนั้น ๆ ที่มีเพียง 252,23912 ฉบับ จากในตอน แรกที่เปิดตัวมาเกือบ 1,000,000 ฉบับ นอกจากนี้ยังมีการกลับมาท างานให้กับ Marvel Comics อีกครั้งของนักวาด การ์ตูนอย่าง แจ็ค เคอร์บี หลังจากที่เขาถูกค่ายคู่แข่งอย่าง DC Comics ซื้อตัวไป แต่เขาก็ไม่สามารถ พาการ์ตูนกัปตันอเมริกาให้กลับขึ้นไปอยู่ในระดับแนวหน้าของส านักพิมพ์ได้อย่างเดิม ซึ่งในตอนนั้น การ์ตูนที่มียอดขายเป็นล าดับต้น ๆ ของส านักพิมพ์ได้แก่ สไปเดอร์แมน (Spider-Man) และ แฟนทาสติกโฟว์ () แต่อย่างไรก็ตามตัวละครกัปตันอเมริกานั้นก็ถือว่าเป็นตัวละคร หลักตัวหนึ่งในจักรวาลของมาร์เวลในช่วงทศวรรษ 1960 3.1.3 The Modern Era ในช่วงทศวรรษ 1970 ลีและเคอร์บียุติการเขียนหนังสือการ์ตูนกัปตันอเมริกาอีก ครั้งเนื่องจากจ านวนยอดขายที่ลดลง ตัวละครกัปตันอเมริกาจึงถูกส่งต่อไปยังนักเขียนหนุ่มอย่าง สตีฟ เอนเกิลฮาร์ท (Steve Englehart) โดยเอนเกิลฮาร์ทด าเนินเรื่องราวของกัปตันอเมริกาไป ในทิศทางที่เข้มข้นกว่าเดิม เนื่องจากเขาเล่าเรื่องราวที่สะท้อนถึงความรู้สึกต่อต้านในคดีวอเตอร์เกท13

11 ทีมอเวนเจอร์ส คือ การรวมตัวของเหล่าซุปเปอร์ฮีโร่เพื่อช่วยกันขจัดเหล่าร้ายต่าง ๆ ที่มาท าลายโลก โดยได้รับแรง บันดาลใจมาจาก Justice League ของทางฝั่ง DC Comics โดยทีมอเวนเจอร์สนี้จะแตกต่างกับในส่วนของภาพยนตร์ในเรื่องของ สมาชิกในทีมโดยในตอนนี้จะมี ฮัลค์ ไอรอนแมน แอนท์แมน วาสป์ และธอร์ 12 John Jackson Miller, “Comic Book Sales Figures for 1966,” Comichron, สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561, http://www.comichron.com /yearly comicssales/postaldata/1966.html. 13 คดีวอเตอร์เกท คือ คดีอื้อฉาวทางการเมืองในช่วงทศวรรษ 1970 โดยในช่วงนั้นเป็นช่วงการด ารงต าแหน่งของ ประธานาธิบดีริชาร์ต นิกสัน โดยคดีนี้เป็นเหตุการณ์สืบเนื่องมาจากการลักลอบโจรกรรมส านักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต นั่นคือ อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์ ที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งเหตุการณ์นี้ถูกปกปิดและบิดเบือนหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดี ทั้งหมดจนในที่สุดก็น าไปสู่การลาออกของประธานาธิบดีนิกสัน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974 31

(Watergate Scandal) และยังพูดถึงประเด็นการสมรู้ร่วมคิด (Conspiracy) ภายในท าเนียบขาว โดยเขาใช้ชื่อตอนว่า Secret Empire ภายในตอนนี้ประกอบไปด้วยเรื่องราวการทุจริตต่าง ๆ ของรัฐบาล ท าให้กัปตันอเมริกามองว่าการกระท าเหล่านี้เปรียบเสมือนการทรยศต่อประเทศชาติ เขาจึงตัดสินใจที่จะลาออกจากการท างานให้รัฐบาล จึงท าให้เกิดชื่อเรียกตัวละครกัปตันอเมริกาอีก ชื่อหนึ่งว่า Nomad14 หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1975 เคอร์บี้ก็กลับมาเขียนการ์ตูนกัปตันอเมริกาอีกครั้ง โดยเขาพยายามที่จะด าเนินเรื่องราวออกไปคนละทางจากที่เอนเกิลฮาร์ทเขียนไว้ จนกระทั่ง ค.ศ. 1985 มาร์ค กรูนวัล (Mark Gruenwald) เข้ารับช่วงต่อจากเคอร์บี้ในการเขียนการ์ตูน กัปตันอเมริกา โดยเขาเน้นเรื่องราวให้แสดงถึงความเป็นสุดยอดฮีโร่ของตัวละครมากขึ้น หลังจากนั้น ใน ค.ศ. 1995 มาร์ค เวด (Mark Waid) ก็เข้ามารับช่วงต่อจากกรูนวัล โดยเขาพาเรื่องราวกลับไปใน ทิศทางเดิมของกัปตันอเมริกา คือ ก าหนดให้สตีฟเป็นเพียงชายคนหนึ่ง ทว่ากัปตันอเมริกานั้นถือว่า เป็นสัญลักษณ์ไปตลอดกาล โดยจะมีการสับเปลี่ยนให้ตัวละครอื่น ๆ มาสวมชุดกัปตันอเมริกา ใน ขณะที่สตีฟต้องไปปฏิบัติภารกิจอื่น โดยการวางโครงเรื่องของเวดนั้นถือเป็นแนวทางให้ เอด บรับบาเกอร์ (Ed Brubaker) น ามาใช้ต่อยอดในงานเขียนของเขาใน ค.ศ. 2005 บรับบาเกอร์ เขียนถึงเรื่องราวในการผจญภัยของกัปตันอเมริกาในสมัยที่เขายังอยู่ในกองทัพ และยังเขียนย้อนกลับ ไปในเรื่องราวการตายของบัคกี้ โดยเขาเฉลยว่าบัคกี้เพียงแค่แขนขาดเท่านั้น และเขารอดชีวิตเพราะ ได้รับการช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต โดยที่นักวิทยาศาสตร์ชาวโซเวียตนั้นสร้างแขนเทียมจากเหล็ก ขึ้นมาให้เขาและท าการล้างสมองให้เขาไม่สามารถจดจ าเรื่องราวใด ๆ ในอดีตได้อีก ก่อนที่จะน าเขาไป ฝึกให้กลายเป็นนักฆ่าที่เก่งกาจที่สุดและได้รับการขนานนามว่า วินเทอร์โซลเยอร์ (Winter Soldier) หลังจากที่วินเทอร์โซลเยอร์ปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้นแล้วเขาจะถูกน าไปแช่แข็งไว้ตามเดิม จึงท าให้เขาดู เหมือนอยู่ในช่วงอายุ 20 ปีมาโดยตลอด หลังจากการตายของสตีฟ โรเจอร์ส ใน ค.ศ. 2007 ท าให้บัคกี้ต้องกลับมาสวม บทบาทในการเป็นกัปตันอเมริกาแทน แต่หลังจาก 4 ปี ให้หลัง บัคกี้ก็ถูกจัดฉากให้ จบชีวิตลงใน ค.ศ. 2011 หลังจากนั้นสตีฟก็ถูกท าให้ฟื้นคืนชีพอีกครั้งและกลับมารับหน้าที่เป็น กัปตันอเมริกาต่อจากบัคกี้ ส่วนบัคกี้ก็กลับไปปฏิบัติภารกิจลับในฐานะของวินเทอร์โซลเยอร์ตามเดิม นอกจากนี้ในยุค Modern Era นั้นยังรวมไปถึงการปรากฏตัวของกัปตันอเมริกา ในที่อื่น ๆ นอกเหนือจากหนังสือการ์ตูน ไม่ว่าจะเป็นในละครโทรทัศน์ วีดีโอเกมต่าง ๆ ตลอดจน

14 Nomad ปรากฏตัวขึ้นใน Captain America #180 (December, 1974) โดยที่มาของชื่อนี้มาจากการที่เขาเลือกที่ จะท าตัวเป็นบุคคลเร่ร่อนไร้แผ่นดินอาศัย เพราะเขาหมดศรัทธาในระบบรัฐบาลของสหรัฐอีกในกรณีข่าวอื้อฉาวและการคอรัปชั่น ต่าง ๆ 32

ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง Captain America: The First Avenger ใน ค.ศ. 2011 ซึ่งถือเป็น การปรากฏตัวอีกครั้งหลังจากที่กัปตันอเมริกาห่างหายไปจากวงการภาพยนตร์เกือบ 70 ปี ในภาพยนตร์กัปตันอเมริกาครั้งนี้ได้รับกระแสการตอบรับที่ดีจากผู้ชมอย่างล้นหลามและสร้างความ พึงพอใจให้กับทีมผู้จัดเป็นอย่างมากจึงมีการสร้าง Captain America: The Winter Soldier ขึ้นใน ค.ศ. 2014 และ Captain America: Civil War ใน ค.ศ. 2016 ตามมา โดยทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นเรื่องราวความเป็นมาของตัวละครกัปตันอเมริกาตั้งแต่ จุดเริ่มต้นใน ค.ศ.1941 มาจนถึงปัจจุบัน จะเห็นว่าเมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้เขียนเรื่องราวของกัปตันก็ถูก เปลี่ยนตามไปด้วย แต่สุดท้ายแล้วภายในภาพยนตร์ก็เลือกที่จะน าเรื่องราวจากหนังสือการ์ตูนที่ ประสบความส าเร็จมากที่สุดมาใช้ในการสร้างภาพยนตร์

3.2 ตัวละครที่ส ำคัญในภำพยนตร์

เนื่องจากในภาพยนตร์ Captain America ทั้ง 3 ภาคนั้นมีตัวละครปรากฏอยู่มากมาย แต่ผู้วิจัยจะขออธิบายแต่ละตัวละครโดยจะยกขึ้นมาตามล าดับความส าคัญของตัวละครและจะแบ่ง ออกเป็นตัวละครในแต่ละภาคโดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

3.2.1 ตัวละครหลัก โดยภายในภาพยนตร์เรื่อง Captain America นั้นจะมีตัวละครหลักที่จะปรากฏ ตัวในภาพยนตร์ตั้งแต่ 2 ภาคขึ้นไป โดยมีตัวละครดังต่อไปนี้ (1) Steve Rogers (Captain America) (2) James Buchanan Barnes (Winter Soldier) (3) Natalia Alianova Romanoff (Black Widow) (4) Sam Wilson (Falcon) และ (5) Brock Rumlow (Crossbones)

33

3.2.1.1 Steven Grant Rogers (Captain America)

ภาพที่ 3.1 Captain America (Steven Grant Rogers), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelmovies/images/d/de/CaptainAmerica_Avengers_AOU-character- poster.jpg/revision/latest/scale-to-widthdown/1000?cb=20160512192321 (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561).

กัปตันอเมริกา หรือ สตีฟ โรเจอร์ส (Steve Rogers) เป็นเพียงคนเดียวที่ผ่านการ ทดลองเซรุ่มที่จะเปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นสุดยอดทหารของกองทัพสหรัฐอเมริกา โดย ดร.อับบราฮัม เออร์สไคน์ (Dr. Abraham Erskine) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และสุดยอด ทหารที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักชาตินี้ก็ถูกเรียกว่า กัปตันอเมริกา (Captain America) โดยเขาต่อสู้ กับพวกนาซี (Nazis) และองค์กรลับทางวิทยาศาสตร์ของนาซีอย่างไฮดรา15 () หลังจากนั้นเขา ก็ถูกแช่อยู่ภายใต้ก้อนน้ าแข็งนานกว่า 70 ปี และถูกท าให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้งในช่วงศตวรรษที่ 21 ก่อนที่ เขาจะเข้าร่วมขบวนการอเวนเจอร์ส16 (The Avengers) และเป็นหัวหน้าของกลุ่ม

15 ไฮดรา (HYDRA) คือ องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นโดยผู้พันโยฮันน์ ชมิดท์ นายทหารชาวนาซีเยอรมัน โดยเป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อผลิตอาวุธให้แก่กองทัพของนาซีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทว่าองค์กรนี้กลับไม่สิ้นสุดลงไปตามนาซีเยอรมันเนื่องจากมีการส่ง คนขององค์กรให้เข้าไปแทรกซึมในองค์กรอื่น ๆ ทั่วโลกจึงท าให้องค์กรไฮดรานั้นยังคงมีมาจนถึงปัจจุบัน 16 ขบวนการอเวนเจอร์ส (The Avengers) คือ การรวมตัวของเหล่าซุปเปอร์ฮีโร่ต่าง ๆ หรืออาจจะเรียกว่าเป็นกลุ่มฮีโร่ แห่งนครนิวยอร์ก พวกเขามีหน้าที่ช่วยปกป้องโลกจากเหล่าร้ายทั้งจากภายในหรือจากนอกโลก และมีการรวมตัวกันครั้งแรกเมื่อ ตอนที่โลกิพร้อมทั้งกองทัพของชิทอรี่บุกมายังโลกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 และมีผู้เข้าร่วมขบวนการ ได้แก่ กัปตันอเมริกา ไอรอนแมน แบล็ควิโดว์ ฮวอร์คอาย วิชั่น วอร์แมคชีน สการ์เล็ต วิทช์ ฟอลคอน ฮัลค์ และธอร์ 34

สตีฟ โรเจอร์ส เกิดที่เขตบรู๊คลิน รัฐนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 แม่ของเขาชื่อ ซาร่า โรเจอร์ส และพ่อของเขา คือ โจเซฟ โรเจอร์ส พ่อของเขาเป็นทหารอยู่ในกองทัพ และเสียชีวิตลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนแม่ของเขาเป็นนางพยาบาล และเสียชีวิตลงด้วย โรควัณโรค เขาจึงก าพร้าตั้งแต่เด็ก อย่างไรก็ตามเขายังมีเพื่อนสนิทอยู่หนึ่งคน คือ เจมส์ บาร์นส์ (James Barnes) หรือ บัคกี้ (Bucky) ด้วยขนาดตัวที่เล็กกว่ามาตรฐานของวัยรุ่นทั่วไปท าให้สตีฟถูก รังแกอยู่บ่อยครั้ง แต่บัคกี้ก็คอยเข้ามาช่วยเหลืออยู่ตลอดจึงท าให้ทั้งคู่สนิทกันมาก ต่อมาในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งสตีฟและบัคกี้ต่างก็ต้องการที่จะเข้าร่วมกองทัพเพื่อรับใช้ชาติ ทั้งคู่จึงยื่น ใบสมัครไปที่สถาบันเกณฑ์ทหารเข้าร่วมกองทัพที่รัฐนิวยอร์ก บัคกี้ผ่านการคัดเลือก แต่สตีฟกลับถูก ปฏิเสธเนื่องมาจากสภาพร่างกายของเขา ด้วยความไม่ยอมแพ้ของสตีฟ เขาจึงเลือกที่จะไปสมัครที่ เมืองอื่นแทน ในวันก่อนที่บัคกี้จะเข้าร่วมกองทัพทั้งคู่ก็เลือกที่จะมาเที่ยวงานนิทรรศการโลก ในอนาคต และที่นั่นเองที่ท าให้สตีฟได้พบกับ ดร.อับบราฮัม เออร์สไคน์ (Dr. Abraham Erskine) นักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการสร้างสุดยอดทหารโดยผ่านการฉีดเซรุ่ม เมื่อ ดร.อัมบราฮัม เห็นถึงความ ตั้งใจและแน่วแน่ของสตีฟ จึงตัดสินใจรับสตีฟเข้ามาร่วมฝึกภายใต้โปรเจครีเบิร์ท (Rebirth) โปรเจครีเบิร์ท คือ โปรเจคที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างสุดยอดทหารไว้ต่อสู้ กับกองทัพของฝ่ายอักษะ (Axis Power) โดยสตีฟเข้ารับการฝึกตามกฎของกองทัพและในที่สุด เขาก็ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับเซรุ่มเนื่องมาจากความกล้าหาญและความเสียสละของเขา หลังจาก ที่เขาได้รับเซรุ่มและกลายเป็นสุดยอดทหารแล้ว เขาก็ถูกรัฐบาลสหรัฐใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณา ชวนเชื่อให้ประชาชนซื้อตั๋วพันธบัตร เพื่อให้รัฐบาลน างบประมาณนั้นมาใช้สนับสนุนในด้านอาวุธ ของกองก าลังทหารต่อไป หลังจากที่เขาทราบข่าวว่าหน่วยรบของเพื่อนซี้เพียงคนเดียวอย่างบัคกี้ ถูกทาง กองทัพของไฮดราจับตัวไป เขาจึงอาสาที่จะออกไปจัดการกับกองทัพนั้นด้วยตัวของเขาเอง และใน ที่สุดเขาก็สามารถเอาชนะกองทัพไฮดราและพาทหารคนอื่น ๆ กลับมาที่ฐานได้ส าเร็จ หลังจากที่เขา สามารถช่วยตัวประกันทั้งหมดแล้วเขาก็ตัดสินใจตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อที่จะกวาดล้างกองก าลังไฮดราให้สิ้น ซาก โดยใช้ชื่อว่า ฮาวลิ่ง คอมมานโด17 () ทั้งเขา บัคกี้และทหารคนอื่น ๆ ต่างก็เต็มใจที่จะเข้าร่วมกลุ่มนี้ และพวกเขาทั้งหมดก็ช่วยกันก าจัดกองก าลังของไฮดราจนส าเร็จ

17 ฮาวลิ่ง คอมมานโด (Howling Commandos) คือ หน่วยรบพิเศษที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ภายใต้การ น าทีมของกัปตันอเมริกาโดยมีเป้าหมายหลักในการท าลายฐานทัพของไฮดราทั้งหมดที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป 35

แต่ในท้ายที่สุดแล้วช่วงก่อนที่จะจบสงครามโลกครั้งที่ 2 สตีฟก าลังต่อสู้อยู่ กับหัวหน้ากองก าลังไฮดรา และเขาก็เลือกที่จะขับเครื่องบินที่มีระเบิดอยู่เต็มล าลงไปในทะเลน้ าแข็ง บริเวณอาร์คติก ก่อนที่ร่างของเขาจะถูกแช่อยู่ข้างใต้ก้อนน้ าแข็งนานเกือบ 70 ปี

3.2.1.2 James Buchanan Barnes (Winter Soldier)

ภาพที่ 3.2 Winter Soldier (James Buchanan Barnes), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelmovies/images/d/de/CaptainAmerica_Avengers_AOU-character- poster.jpg/revision/latest/scale-to-width-down/1000?cb=20160512192321 (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561).

เจมส์ บูแคแนน บาร์นส์ (James Buchanan Barnes) หรือ บัคกี้ (Bucky) เป็นเพื่อนสนิทเพียงคนเดียวของสตีฟในวัยเด็ก เขาเกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1917 เขาเป็นคนที่มี ทักษะทางด้านกีฬาเป็นอย่างมากและยังเป็นเด็กที่ฉลาดคนหนึ่งของห้อง อยู่มาวันหนึ่งขณะที่เขาก าลัง เดินทางกลับบ้านเขาบังเอิญไปเจอสตีฟที่ก าลังถูกเหล่าอันธพาลรุมท าร้าย เขาก็ไม่ลังเลที่จะเข้าไป ช่วยเหลืออีกฝ่ายโดยทันที ซึ่งนั่นคือจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาทั้งคู่ ต่อมาในปี 1936 แม่ของสตีฟเสียชีวิตลง บัคกี้ก็พยายามที่จะชักชวนให้สตีฟไปอยู่ ด้วยกัน แต่สตีฟก็ยังยืนยันที่จะอยู่ตามล าพังและไล่ให้บัคกี้กลับไป แต่เขาก็เลือกที่จะไม่ไปไหนและ ยังให้ค าสัญญากับเพื่อนสนิทของตนว่าจะอยู่ด้วยกันไปจนสุดทางไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม 36

หลังจากนั้นบัคกี้ก็เข้ารับการเกณฑ์ทหารและเข้าประจ ากองพลทหารราบที่ 10718 ของสหรัฐอเมริกา (107th Infantry Regiment) ที่จะต้องไปประจ าที่เกาะอังกฤษในวันรุ่งขึ้น โดยเขาเลือกที่จะมาบอก ข่าวดีกับเพื่อนสนิทของเขาทันที เมื่อมาถึงเขาก็เห็นว่าสตีฟก าลังถูกท าร้ายอยู่ในซอยเล็ก ๆ เขาก็ไม่ ลังเลที่จะเข้าไปช่วยเหลือโดยทันที หลังจากนั้นเขาก็น าใบเกณฑ์ทหารให้สตีฟดู ก่อนที่จะชักชวนให้ไป เที่ยวงานนิทรรศการโลกในอนาคตด้วยกัน ในขณะที่เขาออกไปรบกับเหล่าทหารของไฮดรา ท าให้พลทหารที่อยู่ในหน่วย 107 ถูกจับไปเป็นตัวประกันและมีเพียงบางส่วนที่สามารถเอาชีวิตรอดกลับมาได้ จนในที่สุดเหล่าตัวประกัน ทั้งหมดรวมทั้งตัวบัคกี้เองก็ได้รับความช่วยเหลือจากกัปตันอเมริกา หลังจากนั้นเขาก็ตัดสินใจเข้าร่วม กลุ่มฮาวลิ่งคอมมานโด เพื่อช่วยกันกวาดล้างองค์กรไฮดราที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปให้หมดไป บัคกี้ถูกสันนิษฐานว่าเสียชีวิตเนื่องจากเขาตกลงมาจากตู้คอนเทนเนอร์บนรถไฟ ในขณะที่เขาและสตีฟถูกจัดฉากให้เข้าไปจัดการกับพวกไฮดรา ทว่าเขากลับรอดชีวิตโดยได้รับ การช่วยเหลือจาก ดร.โซล่า (Dr. Zola) นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นอาวุธให้กับกองทัพไฮดรา บัคกี้ถูก ฉีดเซรุ่มเช่นเดียวกันกับสตีฟและถูกล้างสมองจนท าให้เขาไม่สามารถจดจ าอดีตของตัวเองได้อีก เขาได้รับสมญานามใหม่ว่า วินเทอร์โซลเยอร์ (Winter Soldier) เขากลายเป็นนักฆ่ามือหนึ่ง ของไฮดราที่ถูกฝึกโดยโซเวียต และทุก ๆ ครั้งก่อนจะเรียกใช้งานเขาจะมีคาถาปลดผนึกภาษารัสเซีย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ หลังจากที่เขาปฏิบัติภารกิจลุล่วงแล้วเขาก็ถูกไฮดรา จับไปแช่แข็งเอาไว้ ก่อนจะน าออกมาปลดผนึกเมื่อต้องการให้ปฏิบัติภารกิจในครั้งใหม่ บัคกี้เป็นทหารที่มีความกล้าหาญและเป็นคนที่มีความเถรตรงเป็นอย่างมาก เขาเป็นคนที่ยึดมั่นในหน้าที่ของตนเองที่ต้องการท าประโยชน์ให้กับประเทศชาติและมีความมุ่งมั่น ที่จะขจัดบุคคลที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อประเทศของเขา แต่หลังจากที่เขาถูกไฮดราจับไปทดลอง และล้างสมองไปนั้นก็ท าให้เขากลายเป็นบุคคลอันตรายคนหนึ่ง เขาเป็นฆาตกรที่ถูกใช้ในภารกิจ ลอบสังหารผู้คนมากมายที่ขัดผลประโยชน์ต่อองค์กรไฮดรา โดยที่เขาจะต้องปฏิบัติทุก ๆ ภารกิจให้ ส าเร็จลุล่วงตามค าสั่งที่ได้รับมาเพียงเท่านั้น ถึงแม้ว่าเขาจะถูกสั่งให้ไปจัดการกับบุคคลที่เขารู้จักก็ตาม เพราะค าสั่งปลดล็อคของไฮดราท าให้เขาไม่สามารถปฏิเสธตัวตนของวินเทอร์โซลเยอร์ที่อยู่ภายใน จิตใจของเขา แต่เมื่อเขาได้รับค าสั่งให้จัดการกัปตันอเมริกา ก็ท าให้เขารู้สึกสับสนเนื่องจากสตีฟ พยายามท าทุกวิถีทางเพื่อดึงความทรงจ าของเขาให้ฟื้นคืนกลับมา

18 กองพลทหารราบที่ 107 ของสหรัฐอเมริกา (The 107th Infantry Regiment) คือ หน่วยทหารประจ านครนิวยอร์ก โดยหน่วยนี้ออกไปร่วมรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยพวกเขาเคยประสบกับปัญหาการถูกคุมคาม จากของทัพนาซีและถูกจับไปเป็นตัวประกัน แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจากกัปตันอเมริกา 37

3.2.1.3 Natalia Alianovna Romanova (Natasha Romanoff)

ภาพที่ 3.3 Black Widow (Natalia Alianova Romanoff), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelmovies/images/a/a3/BWCivilWar.jpg/revision/latest/scale-to-width- down/1000?cb=20160511014637 (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561).

นาตาเลีย อเลียโนฟนา โรมาโนวา (Natalia Alianovna Romanova) หรือ นาตาชา โรมานอฟ (Natasha Romanoff) หรือ แบล็ควิโดว์ (Black Widow) นั้นเป็นตัวละครที่ ปรากฏในเรื่อง Captain America: The Winter Soldier และ Captain America: Civil War โดย เธอเกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984 ที่เมืองสตาลินกราด (Stalingrad) ซึ่งในปัจจุบันคือเมือง โวลโกกราด (Volgograd) ในประเทศรัสเซีย โดยในตอนที่เธอยังอาศัยอยู่ที่รัสเซียนั้นเธอเคยเข้ารับ การฝึกในสถาบันเรดรูม19 (Red Room Academy) ที่จัดตั้งโดยองค์กรเลเวียธาน20 (Leviathan) แต่ ในภายหลังสถาบันเรดรูมก็ถูกรวมเข้าไปอยู่ใน K.G.B.21

19 สถาบันเรดรูม (Red Room Academy) คือ สถาบันลับของโซเวียตที่จัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกฝนสายลับหญิงโดยเฉพาะ โดย จะมีโปรแกรมส าหรับฝึกหญิงสาวในช่วงวัยรุ่นให้กลายเป็นนักฆ่าที่เก่งกาจและจับตัวได้ยาก 20 เลเวียธาน (Leviathan) คือ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาอาวุธและการจารกรรมข้อมูลให้กับสหภาพโซเวียต โดย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 องค์กรนี้ประสบปัญหากับทางสหรัฐอเมริกาเนื่องจากมีกาขโมยอาวุธระหว่างกัน 21 K.G.B. (Komitet Gosudarstvennoy Bezopasnosti) คือ หน่วยสืบราชการลับของสหภาพโซเวียต โดยเป็น หน่วยงานที่มีหน้าที่สืบหาข่าวกรองให้แก่รัฐบาล ตลอดจนดูแลความมั่นคงของสหภาพโซเวียต แต่ในท้ายที่สุดก็ถูกยุบลงใน ค.ศ. 1991

38

เธอได้รับการฝึกอย่างหนักจนกระทั่งเธอสามารถจบหลักสูตรสายลับหญิงอย่าง แบล็ควิโดว์ (Black Widow) เพียงคนเดียวของรุ่น จึงท าให้เธอถูกเรียกด้วยฉายานี้มาโดยตลอด และ หลังจากนั้นเธอก็เข้าท างานให้กับหน่วยข่าวกรองของโซเวียตอย่าง K.G.B. หลังจากที่เธอเข้าท างานที่นี่ พร้อมทั้งจารกรรมข้อมูลต่าง ๆ ของทางสหรัฐอเมริกามาเป็นจ านวนมากจึงท าให้เธอกลายเป็นหนึ่งใน บุคคลอันตรายที่จ าเป็นต้องถูกเก็บ ซึ่งคนที่ได้รับหน้าที่ให้มาจัดการกับเธอ คือ คลินท์ บาร์ตัน (Clint Barton) หรือ ฮวอร์คอาย () แต่เมื่อคลินท์เจอกับเธอเขากลับเลือกที่จะปล่อยชีวิต เธอไปและยื่นข้อเสนอให้นาตาชาเข้ามาท างานในองค์กรชิลด์22 (S.H.I.E.L.D.) ด้วยกัน ซี่งเธอก็ไม่ ปฏิเสธและหลังจากนั้นเธอก็เข้ามาท างานให้ชิลด์พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อตนเองเป็น นาตาชา โรมานอฟ อีกหนึ่งปัจจัยที่ท าให้เธอเลือกที่จะหันหลังให้บ้านเกิดของเธอนั้นมาจากการเข้าฝึก ในหลักสูตรสายลับนั้นท าให้เธอต้องสูญเสียตัวตนของเธอไป โดยในสถาบันเรดรูมนั้นเธอถูกจับให้เข้า เรียนหลักสูตรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก จิตวิทยา เทคโนโลยี การลอบสังหาร การจารกรรม การเอาตัวรอด และอื่น ๆ อีกมากมาย อีกทั้งเธอยังถูกบังคับให้ลงมือฆ่าเพื่อนสนิทเพียง คนเดียวของเธอเพื่อที่จะผ่านการทดสอบ และเมื่อเธอผ่านการทดสอบทั้งหลายมาจนหมดเธอก็ถูก ผ่าตัดและท าให้เธอกลายเป็นหมัน เพื่อที่จะมีสมาธิกับภารกิจต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องมีความ กังวลใด ๆ จากบรรดาตัวละครในหน่วยอเวนเจอร์ส ทั้งหมดนั้น นาตาชาดูเหมือนจะเป็นคน ที่เก็บอารมณ์และความรู้สึกได้ดีที่สุด เธอเป็นผู้หญิงที่กล้าหาญและมีไหวพริบในการแก้ปัญหาเป็น อย่างมาก เป็นเพราะในตอนที่เธอเป็นสายลับให้แก่ K.G.B. นั้นเธอได้รับการฝึกอย่างหนักตั้งแต่เด็กจึง ท าให้เธอเลือกที่จะเก็บความลับทุกอย่างรวมไปถึงอารมณ์ของเธอไว้ แต่เมื่อตอนที่เธอต้อง สู้กับวินเทอร์โซลเยอร์นั้นเธอกลับเกิดความกลัวขึ้นมาเสียอย่างนั้น เมื่อพบว่าคู่ต่อสู้ของเธอถูกฝึก โดยโซเวียตเช่นเดียวกับเธอ

22 S.H.I.E.L.D. (Strategic Hazard Intervention Espionage Logistics Directorate) ชิลด์ คือองค์กรอิสระที่ถูก ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยข่าวกรองของรัฐบาลในการใช้สืบราชการลับ ตลอดจนป้องกันภัยจากการก่อการร้ายไม่ว่าจากอาชญากร หรือจากอมนุษย์ก็ตาม ชิลด์ก่อตั้งขึ้นภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงมีการเปลี่ยนจากองค์กร SSR (Strategic Scientific Reserve) เดิมให้กลายเป็นชิลด์ โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งได้แก่ เพ็กกี้ คาร์เตอร์ (Peggy Carter) โฮเวิร์ด สตาร์ค (Howard Stark) และนายพลเชสเตอร์ ฟิลลิปส์ (Chester Philips)

39

3.2.1.4 Samuel Thomas Wilson (Falcon)

ภาพที่ 3.4 Falcon (Samuel Thomas Wilson), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/6/69/CACW_Sam_Textless_Poster.jpg/ revision/latest?cb=20160527050612 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

แซม วิลสัน (Sam Wilson) หรือ ฟอลคอน (Falcon) นั้นเป็นตัวละครที่ ปรากฏในเรื่อง Captain America: The Winter Soldier และ Captain America: Civil War โดย เขาเกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1978 โดยเขาเป็นอดีตนายทหารสังกัดกองทัพอากาศแห่ง สหรัฐอเมริกา23 (United States Air Force) ที่เคยเข้าร่วมภารกิจการช่วยเหลือตัวประกันใน อัฟกานิสถาน ทว่าภารกิจในครั้งนั้นท าให้เขาต้องสูญเสียเพื่อนร่วมงานของเขา จึงท าให้เขาเลือกที่จะ ปลดประจ าการตนเองและย้ายไปท างานในกรมทหารผ่านศึก24 (United States Department of Veterans Affairs) แทน โดยในทุกเช้าเขาจะตื่นมาออกก าลังกายและนั่นก็เป็นสาเหตุที่ท าให้เขาได้ เจอกับสตีฟ เนื่องจากพวกเขาทั้งคู่ต่างก็เป็นทหารเช่นเดียวกันจึงท าให้เข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายเป็น อย่างดี และท าให้พวกเขากลายเป็นเพื่อนต่อกัน โดยหลังจากที่สตีฟเข้ามาขอความช่วยเหลือจากแซม แซมจึงเปิดเผยตัวตน ว่าตนเองเคยไปปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือตัวประกันที่ประเทศอัฟกานิสถาน โดยเขารับหน้าที่เป็นพลร่ม

23 กองทัพอากาศแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Air Force) คือ หนึ่งในกองทัพประจ าสหรัฐอเมริกาที่รับผิดชอบ และดูแลการโจมตีต่าง ๆ บนน่านฟ้า 24 กรมทหารผ่านศึกแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Veterans Affairs) คือ หน่วยงานที่คอยดูแล และประสานงานระหว่างกรมทหารและทหารผู้ที่ได้รับการปลดประจ าการต่าง ๆ รวมถึงทหารที่ก าลังรบอยู่ในขณะนั้น 40

กู้ภัยที่สวมชุด EXO-7 Falcon ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยลักษณะของชุดนั้นจะเป็นเครื่องยนต์ที่มีปีก สองข้างคล้ายกับนก และผู้ที่สวมชุดจะเป็นผู้บังคับทิศทางการบินด้วยตนเอง นั่นจึงเป็นที่มาของฉายา ฟอลคอนที่เขาใช้ หลังจากที่เปิดเผยตัวตนกับสตีฟไปแล้ว เขาก็เลือกที่จะคอยช่วยเหลือและสนับสนุน สตีฟตลอดมาจนกระทั่งหลังจบการต่อสู้กับอัลตรอน25 () ที่โซโคเวีย26 (Sokovia) สตีฟก็ ชักชวนให้แซมเข้าร่วมทีมอเวนเจอร์สรุ่นที่ 2

3.2.1.5 Brock Rumlow (Crossbones)

ภาพที่ 3.5 Crossbones (Brock Rumlow), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/2/27/Crossbones-Profile- CACW.jpg/revision/latest?cb=20160229172341 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

25 อัลตรอน (Ultron) คือ ปัญญาประดิษฐ์ที่โทนี่ สตาร์ค ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการดูแลรักษาความสงบต่อประชาชน ทว่าเมื่อเจ้าสิ่งนี้ได้รับการถ่ายทอดพลังงานของไมด์สโตนเข้าไปจึงท าให้พวกมันมีความคิดเช่นเดียวกันกับมนุษย์และส่งผลให้เกิดผล เสียหลาย ๆ อย่างตามมา 26 โซโคเวีย (Sokovia) คือ ประเทศเล็ก ๆ ที่อยู่ในดินแดนยุโรปตะวันออก โดยที่แห่งนี้มักจะถูกรุกรานจากกลุ่ม ผู้ก่อการร้ายอยู่เป็นประจ า อีกทั้งในประเทศนี้ยังมีฐานทัพขององค์กรไฮดราตั้งอยู่ด้วย 41

บร็อค รัมโลว์ (Brock Rumlow) หรือ ครอสโบนส์ (Crossbones) นั้นเป็นตัว ละครที่ปรากฏในเรื่อง Captain America: The Winter Soldier และ Captain America: Civil War โดยในภาค The Winter Soldier นั้นเขารับบทเป็น รัมโลว์ หัวหน้าทีมสไตร์ค27 (S.T.R.I.K.E.) และ เป็นเจ้าหน้าที่ในองค์กรชิลด์ ซึ่งเขามักจะได้รับภารกิจร่วมกับสตีฟและนาตาชาอยู่เสมอ ๆ ด้วยความ เก่งกาจของสตีฟก็ท าให้เขามีความไม่พอใจอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากเขาเป็นถึงหัวหน้าทีมสไตร์คแต่กลับ ต้องมารับค าสั่งจากกัปตันอแมริกา และในที่สุดความจริงก็ปรากฏหลังจากพบผู้ทรยศในองค์กรชิลด์ ซึ่งรัมโลว์ก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นเดียวกัน โดยความจริงแล้วเขาคือคนขององค์กรไฮดราที่แฝงตัวเข้ามา ท างานให้กับองค์กรชิลด์เพื่อที่จะท าให้ไฮดรากลับมามีบทบาทอีกครั้งและไม่ต้องอยู่ภายใต้เงาของใคร โดยในตอนสุดท้ายของภาค The Winter Soldier นั้นเขาได้รับบาดเจ็บสาหัสจาก การถูกซากตึกถล่มใส่ จึงท าให้ผิวหนังของเขาเต็มไปด้วยรอยแผลจากกระจกมากมาย เขาจึงต้องใส่ หน้ากากไว้เพื่อบดบังรอยแผลเหล่านั้น และเขาก็ตั้งใจว่าเขาจะต้องกลับมาล้างแค้นกัปตันอเมริกาให้ ได้ ต่อมาในภาค Civil War เขาก็กลายเป็นตัวร้ายที่มีฉายาว่า ครอสโบนส์ โดยเขา วางแผนที่จะลวงให้กลุ่มของกัปตันออกมาโดยการเข้าไปขโมยอาวุธเคมีชีวภาพ ในสถาบันโรคติดต่อ ในเมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย โดยเขาตั้งใจที่จะสังหารกัปตันอเมริกาไปพร้อมกับตนเองด้วยการ จุดชนวนระเบิดที่ติดกับชุดขึ้น แต่ในที่สุดกัปตันอเมริกาก็สามารถรอดชีวิตมาได้ และมีเพียง ครอสโบนส์เท่านั้นที่เสียชีวิต

3.2.2 ตัวละครในภำค The First Avenger โดยภาพยนตร์ Captain America: The First Avenger นั้นเป็นภาคแรกของ ภาพยนตร์ไตรภาคในชุดนี้ ซึ่งในภาคนี้จะมีตัวละครต่าง ๆ ปรากฏอยู่มากมาย โดยจะมีตัวละคร ดังต่อไปนี้ (1) Margaret Elizabeth Carter (Peggy Carter) (2) Johann Schmidt (Red Skull) (3) Abraham Erskine (4) Chester Phillips

27 สไตร์ค (S.T.R.I.K.E.: Special Tactical Reserve for International Key Emergencies) เป็นหน่วยงานที่อยู่ ภายในองค์กรชิลด์ และมีหน้าที่คอยออกสนามเพื่อจัดการปัญหาต่าง ๆ ให้กับชิลด์ แต่ความจริงแล้วหน่วยงานนี้ท างานให้กับ องค์กรไฮดรา เนื่องจากรัมโลว์หัวหน้าหน่วยนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของไฮดราที่แฝงตัวมาท างานให้กับชิลด์ 42

3.2.2.1 Margaret Elizabeth Carter (Peggy Carter)

ภาพที่ 3.6 Peggy Carter (Margaret Elizabeth Carter), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelmovies/images/e/ed/Agent_Carter_Season_2_Promo_01.jpg/revision /latest/scale-to-width-down/1000?cb=20160106184753 (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561).

มาร์กาเร็ต เอลิซาเบธ คาร์เตอร์ ( Margaret Elizabeth Carter) หรือ เพ็กกี้ (Peggy) เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1921 เธอเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความเก่งกาจเป็นอย่างมาก ในหน่วย SSR28 (Strategic Scientific Reserve) โดยเธอเป็นเจ้าหน้าที่ของอังกฤษที่คอยเข้ามา ช่วยเหลือและดูแลการทดลองฉีดเซรุ่มของกัปตันอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากใน ขณะนั้นอังกฤษอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร29 (Allies of World War II) หลังจากที่สงครามโลกทั้งหมดจบลง เธอก็เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์กร S.H.I.E.L.D. เพ็กกี้เป็นเจ้าหน้าที่หญิงคนแรกของอังกฤษที่เข้ามามีบทบาทในกองทัพ สหรัฐอเมริกา เธอเป็นผู้หญิงที่แข็งแกร่งและมีความเชื่อมั่นในพวกพ้องของเธออย่างมาก โดยเฉพาะ กัปตันอเมริกา และเธอเป็นเพียงคนเดียวที่สนับสนุนสตีฟออกไปถล่มโรงงานของไฮดรา

28 SSR (Strategic Science Reserve) คือ หน่วยงานราชการลับของสหรัฐอเมริกากับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยก่อตั้งขึ้นในปี 1940 เพื่อต่อสู้กับองค์กรของทางนาซีเยอรมันอย่างไฮดรา เมื่อหลังจากสงครามโลกจบลง องค์กร SSR ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น S.H.I.E.L.D. 29 ฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นกลุ่มที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเกิดขึ้นจาการรวมตัวกันของประเทศที่ ถูกฝ่ายอักษะรุกราน โดยมีแกนน าอยู่ 4 ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต และสาธารณรัฐประชาชน จีน 43

เพื่อช่วยเหลือตัวประกันที่ถูกจับไป ในขณะที่หัวหน้าของเธอเลือกที่จะผลักไสสตีฟให้ออกห่าง จากสงครามและกลับไปเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์การขายพันธบัตรในแต่ละรัฐแทน

3.2.2.2 Johann Schmidt (Red Skull)

ภาพที่ 3.7 Red Skull (Johann Schmidt), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/1/18/Captain-America-The-First- Avenger_519e83c9.jpg/revision/latest?cb=20120614221915 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

โยฮันน์ ชมิดท์ (Johann Schmidt) หรือ กะโหลกแดง (Red Skull) เป็นหัวหน้า องค์กรไฮดรา โดยองค์กรนี้เป็นฝ่ายผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้แก่ กองทัพนาซี แต่ด้วยความหลงใหลและกระหายในอ านาจของเขา เมื่อเขาทราบว่านักวิทยาศาสตร์ อย่าง ดร.เออร์สไคน์ สามารถผลิตเซรุ่มที่ท าให้เขามีพลังมากกว่าคนทั่ว ๆ ไป เขาก็ไม่ลังเลที่จะขโมย ตัวเซรุ่มนั้นมาฉีดให้ตนเอง ซึ่งมันก็ท าให้เขากลายเป็นผู้ที่มีพลังมากกว่าคนทั่ว ๆ ไป ทว่าเซรุ่มนั้นยังไม่ เสร็จสมบูรณ์ดีจึงท าให้เขาได้รับผลข้างเคียงมากมายไม่ว่าจะเป็นผิวหนังไหม้และลอกออกจนเหลือแต่ เนื้อสีแดงฉานและเส้นผมของเขาก็หายไปจนหมด ท าให้เขาได้รับฉายาว่าเรดสกอลล์ หรือ กะโหลกแดง 44

แต่ความกระหายในอ านาจของเขายังคงไม่หมดไปเพราะเขาเชื่อว่าหากเขา สามารถสร้างอาวุธสงครามจากพลังของอัญมณีที่อยู่ข้างในเทสเซอแรค30 (Tesseract) จะท าให้เขา สามารถยึดครองโลกใบนี้ได้ และเขาจะยิ่งใหญ่ยิ่งกว่า อดอล์ฟ ฮิตเลอร์31 (Adolf Hitler) เขาจึงออก ตาหาอัญมณีที่ว่านี้จนกระทั่งไปพบที่เมืองทอร์นสเบิร์ก ในประเทศนอร์เวย์ หลังจากที่เขาน ามัน กลับไปยังฐานทัพ เขาก็ให้นักวิทยาศาสตร์คนส าคัญอย่าง ดร.โซล่า อาร์นิม (Dr. Zola Arnim) ท าการ ทดลองผลิตอาวุธโดยใช้พลังจากอัญมณี เมื่อผลิตอาวุธส าเร็จเขาก็ตั้งใจจะส่งระเบิดเหล่านั้นออกไป ถล่มตามเมืองหลวงต่าง ๆ ทั่วโลกไม่เว้นแม้กระทั่งบ้านเกิดของเขาที่เมืองเบอร์ลิน ในประเทศเยอรมัน ในท้ายที่สุดกัปตันอเมริกาก็เข้ามายุติระเบิดเหล่านี้ไว้ได้ ทางด้านเรดสกอลล์ก็ถูก พลังของอัญมณีส่งให้เขาออกไปที่อาณาจักรอื่น32 แทน

30 เทสเซอแรค (Tesseract) คือ ก้อนลูกบาศก์ที่ภายในบรรจุอัญมณีชิ้นส าคัญอย่างสเปซสโตนไว้ โดยแต่เดิมนั้น เทสเซอแรคอยู่ที่แอสการ์ดแต่อยู่ ๆ ก็ลงมาปรากฏตัวที่โลกในเมืองทอร์นสเบิร์ก ประเทศนอร์เวย์ก่อนที่จะถูกเรดสกอลล์ขโมยไป ใช้สร้างอาวุธให้กับกองทัพนาซีเยอรมัน 31 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) คือ ผู้น ากองทัพนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเป็นผู้ที่สังหารชาวยิว ไปกว่า 1.6 ล้านคนในสมัยที่เขาขึ้นด ารงต าแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมัน 32 อาณาจักรทั้ง 9 ใน จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล โดยอาณาจักรทั้ง 9 นี้เป็นการอ้างอิงมาจากต านานเทพเจ้านอร์ส ของชาวไวกิ้ง โดยอาณาจักรเหล่านี้ปรากฏอยู่ทั้งในส่วนของหนังสือการ์ตูนและในส่วนของภาพยนตร์ และอาณาจักรทั้ง 9 ได้แก่ แอสการ์ด () มิดการ์ด หรือ โลกมนุษย์ (Midgard) วานาไฮม์ (Vanaheim) สวาร์ทาล์ฟไฮม์ (Svartalfheim) อัลฟ์ไฮม์ (Alfheim) ไนดาเวลเลียร์ (Nidavellir) มัสเปลไฮม์ (Muspelheim) นิฟล์ไฮม์ (Niflheim) 45

3.2.2.3 Abraham Erskine

ภาพที่ 3.8 Abraham Erskine, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/3/37/Abraham_Erskine.png/revision/ latest?cb=20120501081232 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

ดร.อับราฮัม เออร์สไคน์ (Dr. Abraham Erskine) นักวิทยาศาสตร์สัญชาติเยอรมัน ผู้คิดค้นเซรุ่มที่จะเปลี่ยนให้คนธรรมดากลายเป็นสุดยอดทหารที่มีพลังเหนือกว่าคนทั่ว ๆ ไป โดยเขา คิดค้นต้นแบบขึ้นมาครั้งแรกและถูกนายพลชมิดท์ขโมยไป หลังจากที่ได้รับผลข้างเคียงจากเซรุ่ม ชมิดท์ก็ออกค าสั่งตามล่า ดร.เออร์สไคน์ท าให้เขาต้องหลบหนีออกมาจากเยอรมัน และเขาก็เลือกที่จะ มาอยู่กับกองทัพของสหรัฐอเมริกาแทน เนื่องจากเขาทราบถึงความกระหายอ านาจของหัวหน้าองค์กร ไฮดราอย่างชมิดท์ และแต่เดิมเขาก็ไม่ชอบที่ฮิตเลอร์เข้ามีอ านาจเช่นกัน เมื่อเข้ามาท างานในหน่วย SSR เขาก็ได้เสนอการทดลองเซรุ่มนี้ขึ้นมาอีกครั้งโดยใช้ ชื่อโครงการว่า โปรเจครีเบิร์ท และผู้ที่เข้ารับเซรุ่มแบบสมบูรณ์เพียงคนแรกและคนเดียวก็คือ สตีฟ โรเจอร์ส เพราะหลังจากที่เขาฉีดเซรุ่มเข้าไปและมันประสบความส าเร็จเขาก็ถูกสายลับของ ไฮดราที่แฝงตัวเข้ามาชมการทดลองลอบยิงและเสียชีวิตไปในที่สุด

46

3.2.2.4 Chester Phillips

ภาพที่ 3.9 Chester Philips, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/0/02/Chester_Phillips.png/revision/latest? cb=20171028203842 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

นายพลเชสเตอร์ ฟิลลิปส์ (Chester Phillips) เป็นเจ้าหน้าที่ในกองทัพ สหรัฐอเมริกา และยังเป็นหัวหน้าหน่วย SSR และในภายหลังก็เป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรชิลด์ร่วมกับ เพ็กกี้ คาร์เตอร์ และโฮเวิร์ด สตาร์ค โดยในตอนแรกนั้นฟิลลิปส์ไม่ชอบสตีฟเนื่องจากขนาดร่างกายที่ผอมแห้งและขาด พละก าลังอย่างที่ชายชาติทหารควรจะมี อีกทั้งสตีฟยังมี ดร.เออร์สไคน์กับเพ็กกี้คอยสนับสนุนอยู่ก็ยิ่ง ท าให้เขาไม่ชอบสตีฟมากขึ้นไปอีก จนกระทั่งวันที่สตีฟเข้ารับเซรุ่มเพื่อที่จะเป็นกัปตันอเมริกา หลังจากการรับเซรุ่มเสร็จสิ้นลง และ ดร.เออร์สไคน์ถูกสังหาร ฟิลลิปส์ก็สั่งให้สตีฟไปอยู่ในห้องทดลอง เพื่อตรวจสอบเซรุ่มเนื่องจากเขาต้องการให้สร้างกองทัพสุดยอดทหารขึ้นมา แต่สตีฟกลับเลือกที่จะ ออกไปช่วยทางรัฐบาลขายพันธบัตรแทน หลังจากที่สตีฟกลับมาจากภารกิจช่วยเหลือตัวประกันในฐานทัพของไฮดราก็ท าให้ นายพลฟิลลิปส์เริ่มมองเขาเปลี่ยนไป จนในที่สุดทั้งคู่ก็มาร่วมรบด้วยกันที่ฐานทัพใหญ่ของไฮดรา ก่อนที่สตีฟจะตัดสินใจบินลงไปใต้ทะเลน้ าแข็งบริเวณอาร์คติก

47

3.2.3 ตัวละครในภำค The Winter Soldier โดยภาพยนตร์ Captain America: The Winter Soldier นั้นเป็นภาคที่ 2 ของ ภาพยนตร์ไตรภาคในชุดนี้ ซึ่งในภาคนี้จะมีตัวละครต่าง ๆ ปรากฏอยู่มากมาย โดยจะมีตัวละคร ดังต่อไปนี้ (1) Alexander Goodwin Pierce (2) Nicholas Joseph Fury (Nick Fury) และ (3) Maria Hill

3.2.3.1 Alexander Goodwin Pierce

ภาพที่ 3.10 Alexander Goodwin Pierce, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/3/3e/Alexander_Pierce_profile.png/ revision/latest?cb=20141025024305 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

อเล็กซานเดอร์ เพียร์ช () เขาคือหัวหน้าหน่วยไฮดราที่เข้ามา แฝงตัวอยู่ภายใต้องค์กรชิลด์ โดยเขาจะเป็นผู้ที่ติดต่อกับรัฐบาลสหรัฐ (United Government) รวม ไปถึงสภาความมั่นคงโลก (World Security Council) เขาเป็นผู้สั่งการของก าลังไฮดราที่แฝงตัวอยู่ภายในชิลด์ให้สร้างความปั่นป่วนต่อ โลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการปลุกมือสังหารอย่างวินเทอร์โซลเยอร์ขึ้นมาปฏิบัติภารกิจ รวมไปถึงการน า 48

โปรเจคอินไซท์33 (Project Insight) ไปใช้ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งแต่เดิมโปรเจคนี้ก าเนิดขึ้นเพื่อใช้ ต่อกรกับบุคลากรที่อาจจะก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อโลกในวันข้างหน้า โดยการท างานของมันจะต้อง อาศัยดาวเทียมเพื่อค้นหาที่อยู่ของบุคคลนั้น ๆ ก่อนที่ยานเฮลิแคริเออร์ส์ () ที่ติดอาวุธอยู่ ข้างใต้จะล็อคเป้าหมายทั้งหมดแล้วจึงเริ่มจัดการคนเหล่านั้น แต่แล้วแผนการทั้งหมดของเขาก็พังลง เพราะถูกขัดขวางจาก กัปตันอเมริกา นาตาชา โรมานอฟ ฟอลคอน มาเรีย ฮิลล์ และนิค ฟิวรี่ และในตอนท้ายเพียร์ชก็ถูกสังหารโดยฟิวรี่

3.2.3.2 Nicholas Joseph Fury (Nick Fury)

ภาพที่ 3.11 Nick Fury (Nicholas Joseph Fury), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/0/0a/Nick_Fury_Textless_AoU_Poster.jpg/ revision/latest?cb=20161119163035 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

นิค ฟิวรี่ (Nick Fury) เป็นอดีตนายทหารของกองทัพสหรัฐอเมริกา และหน่วยสืบ ราชการลับของซีไอเอ34 (C.I.A.) ในช่วงสงครามเย็น เขาเคยเป็นผู้อ านวยการองค์กรชิลด์ก่อนที่ชิลด์จะ ล่มสลายไปและเขายังเป็นผู้ริเริ่มโครงการอเวนเจอร์สขึ้นมาอีกด้วย

33 โปรเจคอินไซท์ (Project Insight) คือ โปรเจคลับของชิลด์ที่จัดท าขึ้นเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายทุกรูปแบบที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต โดยการก าจัดผู้คนที่น่าสงสัยผ่านการตรวจสอบข้อมูลของบุคคลเหล่านั้นจากดาวเทียมและใช้ยานบินเป็นตัวล็อค เป้าหมายในการโจมตี 34 C.I.A. (Central Intelligence Agency) คือ หน่วยข่าวกรอง หรือหน่วยสืบราชการลับประจ าสหรัฐอเมริกา โดยเป็น หน่วยงานที่จะเข้าไปสังเกตการณ์ในประเทศต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลของประเทศนั้น ๆ กลับมายังประเทศของตน 49

ในขณะที่เขายังคงด ารงต าแหน่งผู้อ านวยการของชิลด์เขาถูกพวกไฮดราส่ง วินเทอร์โซลเยอร์มาตามสังหาร เขาจึงต้องสร้างเรื่องขึ้นมาว่าเขาเสียชีวิตลงเพื่อที่จะจัดการองค์กร ไฮดราที่แฝงตัวอยู่ภายในชิลด์ แล้วเมื่อท าส าเร็จ เขาก็เลือกที่จะวางมือจากทุก ๆ สิ่งและผันตัวไปคอย ควบคุมเบื้องหลังแทน

3.2.3.3 Maria Hill

ภาพที่ 3.12 Maria Hill, Super Cinema Up, http://supercinemaup.com/wp-content/uploads/2016/08/minhaFoto90x90-1.jpg (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

มาเรีย ฮิลล์ (Maria Hill) เธอเป็นอดีตรองผู้อ านวยการองค์กรชิลด์ในช่วงก่อนที่ ชิลด์จะล่มสลาย โดยเธอจะมีหน้าที่บัญชาการชิลด์ในทุก ๆ ฐานแทนที่ฟิวรี่ ซึ่งถือว่าเธอคือบุคคลที่ ฟิวรี่ไว้วางใจที่สุด หากมีงานไหนที่เขาไม่สามารถลงไปปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเองได้เขาก็จะเรียกให้เธอ เป็นคนไปจัดการแทน แต่หลังจากที่ชิลด์ล่มสลายลง เธอก็ไปสมัครงานที่บริษัทสตาร์คอินดัสทรี่ส์35 () ซึ่งเป็นบริษัทของ โทนี่ สตาร์ค (Tony Stark) และยังเป็นผู้ควบคุมและ ประสานงานต่าง ๆ ให้กับหน่วยอเวนเจอร์ส

35 สตาร์คอินดัสทรี่ส์ (Stark Industries) โดยเจ้าของคนปัจจุบันคือ โทนี่ สตาร์ค เป็นบริษัทที่ผลิตเทคโนโลยีไว้ใน ครอบครองมากที่สุดซึ่งแต่เดิมนั้นเคยเป็นบริษัทค้าอาวุธที่พร้อมจะขายให้กับทุก ๆ กลุ่มที่มีก าลังซื้อ แต่ในภายหลังก็เป็นเพียง บริษัทที่ดูแลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและพลังงานบริสุทธิ์เท่านั้น 50

3.2.4 ตัวละครในภำค Civil War โดยภาพยนตร์ Captain America: Civil War นั้นเป็นภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ ไตรภาคในชุดนี้ ซึ่งในภาคนี้จะมีตัวละครต่าง ๆ ปรากฏอยู่มากมาย โดยจะมีตัวละครส าคัญดังต่อไปนี้ (1) Anthony Edward Stark (Iron man) (2) Wanda Maximoff (Scarlet Witch) (3) Vasily Karpov และ (4) Helmut Zemo

3.2.4.1 Anthony Edward Stark (Iron Man)

ภาพที่ 3.13 Iron Man (Anthony Edward Stark), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/2/26/IM_2_Mark_VI_Expo.png/revision/ latest?cb=20161020205803 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

แอนโทนี่ เอ็ดเวิร์ด สตาร์ค (Anthony Edward Stark) หรือ โทนี่ สตาร์ค (Tony Stark) หรือ ไอรอนแมน (Iron Man) เขาคือผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์คอินดัสทรี่ส์ เพื่อจัดจ าหน่าย อาวุธออกไปทั่วโลก แต่ในภายหลังเขาก็เลิกท าธุรกิจนี้และหันไปท าธุรกิจที่เกี่ยวกับพลังงานทางเลือก แทน โดยการสร้างแหล่งพลังงานบริสุทธิ์ขึ้นมาทดแทนพลังงานที่ใช้ในปัจจุบัน หลังจากที่เขาเคยสร้างอัลตรอนขึ้นและได้ท าลายประเทศโซโคเวียลงในช่วง Avengers: Age of Ultron36 ไปท าให้เขารู้สึกผิดเป็นอย่างมากเมื่อมีการเปิดให้ลงนามในข้อตกลง โซโคเวีย37 (Sokovia Accords) เขาก็ไม่ลังเลที่จะลงนาม ซึ่งนั่นคือสาเหตุที่ท าให้เขาและ

36 Avengers: Age of Ultron เป็นภาพยนตร์ภาคที่ 2 ของขบวนการอเวนเจอร์ส โดยเป็นเรื่องราวการต่อสู้ระหว่าง ปัญญาประดิษฐ์ที่โทนี่เป็นผู้สร้างขึ้น ทว่าพวกมันกลับได้รับอิทธิพลของไมด์สโตนจึงท าให้มีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตนเอง และ พวกมันต้องการที่จะท าลายล้างโลกเนื่องจากพวกมันมองว่าผู้สร้างปัญหาให้โลกใบนี้มากที่สุดคือมนุษย์ 37 ข้อตกลงโซโคเวีย (Sokovia Accords) เป็นข้อกฎหมายที่ผ่านมติเห็นชอบของทั้ง 117 ประเทศสมาชิกองค์กร สหประชาชาติ โดยใจความส าคัญของข้อตกลงนี้คือการที่ขบวนการอเวนเจอร์สนั้นจะไม่ใช่องค์กรอิสระที่คิดจะออกไปจัดการเหล่า ร้ายเมื่อไหร่ก็ได้ แต่จะต้องเข้าร่วมเป็นกองก าลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ และหากจะออกไปปฏิบัติภารกิจใด ๆ ก็ตาม จะต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมก่อนถึงจะได้รับการอนุมัติให้ออกไปปฏิบัติภารกิจนั้น ๆ 51

กัปตันอเมริกาต้องทะเลาะกัน และเขายังทราบว่าเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 หรือวันที่พ่อและ แม่ของเขาเสียชีวิตนั้นเป็นฝีมือของบัคกี้ที่ถูกป้อนค าสั่งไว้ จึงท าให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขาและสตีฟ ถึงจุดแตกหักอย่างสิ้นเชิงเมื่อสตีฟเลือกที่จะปกป้องบัคกี้ที่เป็นเพื่อนเพียงคนเดียวของเขา ทั้ง 3 ต่อสู้ กันภายในฐานทัพไฮดรา แต่ในท้ายที่สุดไอรอนแมนก็เป็นฝ่ายที่แพ้ไป แต่หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น สตีฟก็ส่งโทรศัพท์พร้อมกับแนบจดหมายมาให้ว่าหากโทนี่ต้องการความช่วยเหลือใดให้โทรมาเขาและ คนอื่น ๆ ในทีมพร้อมที่จะกลับมาช่วยเหลือโทนี่เสมอ

3.2.4.2 Wanda Maximoff (Scarlet Witch)

ภาพที่ 3.14 Scarlet Witch (Wanda Maximoff), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/9/9a/CW_Textless_Shield_Poster_03.jpg/ revision/latest?cb=20160515004602 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

แวนด้า แม็กซิมอฟ (Wanda Maximoff) หรือสการ์เล็ตวิชท์ (Scarlet Witch) เธอเป็นชาวโซโคเวียโดยก าเนิดที่อาสาเข้ารับการทดลองกับองค์กรไฮดราร่วมกับพี่ชายฝาแฝดของเธอ เพียร์โตร แม็กซิมอฟ (Pietro Maximoff) ในวัยเด็กของทั้งคู่ขณะที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นก็มี ระเบิดลูกหนึ่งพุ่งเข้ามาที่บ้านของเธอและระเบิดจนพ่อกับแม่ของเธอเสียชีวิต ก่อนที่ลูกที่ 2 จะตามมา และมันหยุดลงที่ห้องนอนของเธอ ทว่าระเบิดลูกนั้นกลับไม่ระเบิดและทางด้านข้างของระเบิดนั้นมีชื่อ ติดไว้ว่า สตาร์คอินดัสทรี่ส์ นับจากนั้นพวกเขาทั้ง 2 ก็มีความเคียดแค้นต่อโทนี่เป็นอย่างมาก 52

จนเมื่อได้เข้ามาอยู่ร่วมกับกลุ่มอเวนเจอร์สเธอก็เริ่มเข้าใจโทนี่มากขึ้นและความ เกลียดชังที่เธอมีต่อเขาก็ลดลง แต่เมื่อถึงคราวที่ต้องเลือกฝั่งจริง ๆ เธอกลับเลือกที่จะอยู่ทีมเดียวกับ กัปตันอเมริกาแทน และเธอก็ใช้พลังพิเศษของเธอช่วยเหลือกัปตันในการสู้รบต่าง ๆ อยู่เสมอ

3.2.4.3 Vasily Karpov

ภาพที่ 3.15 Vasily Karpov, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/0/0c/Vasily_Karpov_1.png/revision/latest? cb=20160916160458 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

นายพลวาซิลี คาร์ปอฟ (Vasily Karpov) เป็นชาวรัสเซียโดยก าเนิด เขา รับหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยไฮดราที่ตั้งอยู่ในรัสเซีย และเป็นผู้ดูแลโปรแกรมการฝึกของ วินเทอร์โซลเยอร์38 (Winter Soldier Program) รุ่นถัดมาจากบัคกี้ ซึ่งโปรแกรมฝึกนี้คือสาเหตุที่ท า ให้พ่อและแม่ของ โทนี่ สตาร์ค ต้องเสียชีวิตลงด้วยน้ ามือของบัคกี้ เนื่องจากบัคกี้จะต้องไปขโมยเซรุ่ม ที่ใช้สร้างสุดยอดทหารมาจากโฮเวิร์ด ผู้เป็นพ่อของโทนี่ สตาร์คและเขาต้องฆ่าเหยื่อทั้งคู่ทิ้งหลังจาก เสร็จสิ้นภารกิจ โดยคาร์ปอฟจะเป็นผู้อ่านชุดค าสั่งปลดล็อควินเทอร์โซลเยอร์ที่ซ่อนอยู่ในสมุด ปกแดงก่อนที่จะมอบหมายภารกิจให้วินเทอร์โซลเยอร์ออกไปปฏิบัติการ แต่เมื่อองค์กรไฮดรา ล่มสลายลงไปท าให้เขาเลือกที่จะหลบซ่อนตัวในประเทศอื่นแทน และในตอนสุดท้ายเขาก็ถูกฆ่าด้วย ฝีมือของ เฮลมุท ซีโม่ (Helmut Zemo)

38 โปรแกรมวินเทอร์โซลเยอร์ (Winter Soldier Program) คือ โปรเจคลับขององค์กรไฮดราที่ริเริ่มโดยนักวิทยาศาสตร์ อย่าง อาร์นิม โซล่า และบุคคลแรกที่ผ่านการฝึกโปรแกรมนี้คือ บัคกี้ โดยโปรแกรมนี้ได้เปลี่ยนให้เขากลายเป็นมือสังหารที่อันตราย ที่สุดของไฮดราโดยจะมีการฉีดเซรุ่มที่มีความคล้ายคลึงกับของกัปตันอเมริกาให้เข้าไปปรับสภาพร่างกายก่อนที่จะน าไปเข้า โปรแกรมฝึก 53

3.2.4.4 Helmut Zemo

ภาพที่ 3.16 Helmut Zemo, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/c/ca/Zemo1.jpg/revision/ latest?cb=20160625042701 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561).

เฮลมุท ซีโม่ (Helmut Zemo) เป็นชาวโซโคเวียโดยก าเนิด เขาต้องการที่จะล้าง แค้นเหล่าอเวนเจอร์ส เนื่องจากพวกเขาคือสาเหตุการเสียชีวิตของครอบครัวของเขาในตอนที่เกิด สงครามอัลตรอนขึ้นในโซโคเวีย โดยเขาคือผู้ที่ฆ่านายพลวาซิลี และเป็นผู้อ่านชุดค าสั่งเพื่อที่จะปลดล็อค วินเทอร์โซลเยอร์ขึ้นมาเพื่อถามถึงเรื่องราวของโปรแกรมวินเทอร์โซลเยอร์ และเมื่อเขาได้ข้อมูล ทั้งหมดเขาก็มุ่งหน้าไปยังฐานทัพไฮดราที่ตั้งอยู่ในรัสเซีย เพื่อที่จะปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ที่เหลือที่ถูก แช่แข็งไว้ขึ้นมา แต่เหมือนว่าจะสายเกินไปเนื่องจากทั้งหมดนั้นเสียชีวิตลงในระหว่างการ แช่แข็งจึงท าให้เขาต้องเปลี่ยนแผนการณ์ในการท าลายกลุ่มอเวนเจอร์ส และในที่สุดเขาก็ไปเจอกับ ไฟล์วีดีโอที่บันทึกเหตุการณ์ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ทั้งหมด และระบุได้อย่างชัดเจนว่าบุคคล ที่ลอบสังหารพ่อและแม่ของโทนี่คือบัคกี้ เมื่อเป็นเช่นนั้นเขาก็ไม่ลังเลที่จะน าวีดีโอนั้นมาเปิดให้กับ สตีฟ บัคกี้ และโทนี่ดู และแน่นอนว่ามันได้ผลเมื่อทั้ง 3 ต่างก็หันอาวุธเข้าหากันและต่อสู้กันอย่างไม่ ยอมแพ้ เขาก็เลือกที่จะหลบออกมาและฆ่าตัวตาย แต่กลับถูกใครบางคนเข้ามาห้ามไว้ และเป็นคนจับ เขาส่งให้กับศูนย์บัญชาการต่อต้านการก่อการร้าย39 (Joint Counter Terrorist Centre)

39 ศูนย์บัญชาการต่อต้านการก่อการร้าย (Joint Counter Terrorist Centre) เป็นองค์กรที่ปฏิบัติการภายใต้หน่วยสืบ ราชการลับของสหรัฐอเมริกา โดยมีหน้าที่หลักคือการจัดการและดูแลในเรื่องของสายลับและการก่อการร้ายข้ามชาติ 54

3.3 เรื่องย่อของ Captain America: The First Avenger (2011)

ภาพที่ 3.17 Captain America: The First Avenger (2011), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/8/81/CaptainAmericaTheFirstAvengerCom icConPoster.jpg/revision/latest/scale-to-width-down/1000?cb=20120122235032 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2561).

ภาพยนตร์เรื่อง Captain America: The First Avenger เป็นภาพยนตร์แนวซุปเปอร์ ฮีโร่ ค.ศ. 2011 โดยเรื่องราวในภาพยนตร์นั้นน ามาจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง Captain America ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ในล าดับที่ 5 ของจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล40 (Marvel Cinematic Universe) โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการก ากับโดย โจ จอห์นสตัน (Joe Johnston) และน าแสดง โดย คริส เอฟเว่นส์ (Chris Evans) ผู้รับบท สตีฟ โรเจอร์ส หรือกัปตันอเมริกา (Steve Rogers/ Captain America) เซบาสเตียน สแตน (Sebastian Stan) ผู้รับบท บัคกี้ บาร์นส์ ()

40 จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล คือ การผลิตภาพยนตร์ซุปเปอร์ฮีโร่หลาย ๆ เรื่องของมาร์เวลที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน โดย เริ่มต้นจากซุปเปอร์ฮีโร่แต่ละคน แล้วน าพวกเขามารวมกันในหนังอีกเรื่อง และเรื่องต่อ ๆ มาก็มีความเกี่ยวเนื่องกันอีก สามารถ เรียกอีกอย่างว่า แฟรนไชส์ภาพยนตร์ 55

ฮาร์เลย์ แอทเวล (Hayley Atwell) ผู้รับบท เพ็กกี้ คาร์เตอร์ (Peggy Carter) และ ฮิวโก้ วีฟวิ่ง (Hugo Weaving) ผู้รับบท โยฮันน์ ชมิดท์ หรือกะโหลกแดง (Johann Schmidt/ Red Skull) โดยในตอนต้นของภาพยนตร์นั้นเปิดฉากด้วยภาพทะเลน้ าแข็งที่บริเวณมหาสมุทร อาร์คติก มีชายหนุ่มชาวอเมริกัน 2 คนเดินทางมาจากวอชิงตันเพื่อมายังที่แห่งนี้เนื่องจากมีข่าวจาก นักส ารวจชาวรัสเซียว่าค้นพบวัตถุประหลาดรูปทรงคล้ายเครื่องบินใต้ผืนน้ าแข็ง เหล่านักส ารวจ พยายามเข้าไปส ารวจภายในนั้น และพวกเขาก็พบกับวัตถุทรงกลมประหลาดที่ประกอบไปด้วยสีแดง น้ าเงิน และสีขาวอยู่ภายใต้ผืนน้ าแข็ง หลังจากนั้นฉากของภาพยนตร์ถูกเปลี่ยนเป็น เดือนมีนาคม ค.ศ.1942 กองก าลังของ นาซีเข้าโจมตีหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองทอร์นสเบิร์ก ที่ประเทศนอร์เวย์ โดยพวกนาซีนั้นเข้าไปขโมย วัตถุโบราณชิ้นหนึ่งจากโบสถ์เล็ก ๆ ในหมู่บ้าน และหลังจากนั้นผู้คนในหมู่บ้านก็ถูกฆ่าตายจนหมด ในขณะเดียวกัน สตีฟ โรเจอร์ส ก็ถูกหน่วยเกณฑ์ทหารที่เมืองนิวยอร์ก ปฏิเสธที่จะรับ เขาเข้ากองทัพเนื่องจากขนาดตัวที่เล็กเกินกว่ามาตรฐาน และปัญหาเกี่ยวกับโรคประจ าตัวของเขา หลังจากนั้นเขากับเพื่อนสนิทอย่างบัคกี้จึงไปเที่ยวงานนิทรรศการโลกในอนาคตด้วยกัน และที่นั่นสตีฟ ก็เลือกที่จะไปสมัครเกณฑ์ทหารอีกครั้ง ในครั้งนี้เขาก็ได้พบกับ ดร.อับบราฮัม เออร์สไคน์ นักวิทยาศาสตร์ประจ ากองทัพที่ให้การรับรองเขาในการเข้าร่วมกองทัพเพื่อฝึกฝนและคัดเลือก มาทดลองในโปรเจครีเบิร์ทที่จะสร้างสุดยอดทหารให้แก่กองทัพสหรัฐอเมริกา ระหว่างการฝึกฝนนั้นก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่าสตีฟไม่มีพละก าลังมากพอที่จะฝึกอย่าง ทหารคนอื่น ๆ แต่ด้วยความกล้าหาญและความเสียสละของเขาก็ท าให้เขาได้รับการคัดเลือกเข้ามา ทดลองในโปรเจครีเบิร์ทและรับการฉีดเซรุ่มจนกลายมาเป็นสุดยอดทหารในที่สุด แต่หลังจากนั้นไม่ นาน ดร.เออร์สไคน์ก็ถูกคนของไฮดราลอบสังหารในที่สุด จึงท าให้กองทัพสหรัฐเหลือสุดยอดทหาร เพียงคนเดียวคือ สตีฟ โรเจอร์ส โดยในเวลานั้นสตีฟมีทางเลือกเพียง 2 ทาง คือ หากเขาไม่กลับไปที่ ห้องแลปเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ที่เหลือวิเคราะห์เซรุ่มที่ฉีดอยู่ภายในตัวของเขา เขาจ าเป็นต้องออกไป สร้างกระแสต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้ประชาชนหันมาสนับสนุนพันธบัตรของรัฐบาลเพื่อที่รัฐจะได้น าเงิน ส่วนนั้นมาจัดซื้ออาวุธต่าง ๆ แก่กองทัพและใช้ท าสงครามต่อไป แน่นอนว่าสตีฟเลือกที่จะออกมาเป็นเครื่องมือพรอพกันดา (Propaganda) ให้แก่ รัฐบาล เขาจ าเป็นต้องออกเดินทางไปตามหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อแสดงละครเวที ตลอดจนถ่ายรูปกับ ประชาชน ผู้คนส่วนใหญ่ต่างก็ให้การสนับสนุนเขาเป็นอย่างดีในแต่ละเมืองที่เขาไปท าการแสดงนั้นท า ให้ยอดขายพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ จนกระทั่งเขาต้องออกมาแสดงเพื่อสร้างขวัญก าลังใจแก่ กองทัพที่ออกไปรบ ทว่าเขากลับไม่ได้รับการตอบรับจากเหล่าทหารเท่าที่ควร และในภายหลังเขา ทราบจากเพ็กกี้ว่าทหารหน่วยที่มานั่งดูเขา คือ กองพลทหารราบที่ 107 หน่วยเดียวกันที่บัคกี้สังกัดอยู่ 56

แต่ตอนที่ขึ้นแสดงนั้นเขากลับไม่เห็นแม้แต่เงาของบัคกี้ ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยเพื่อนเพียงคนเดียว ของตนท าให้สตีฟเลือกที่จะไปถามหาข้อมูลของบัคกี้จากนายพลฟิลลิปส์ที่เป็นหัวหน้าหน่วยรบแห่งนี้ แต่แล้วเขาก็ต้องผิดหวังเมื่อทราบว่าบัคกี้ถูกจับไปเป็นตัวประกัน ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าตัวประกันเหล่านั้นจะ เป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่ด้วยความที่เขาเชื่อมั่นในตัวของบัคกี้ สตีฟจึงอาสาที่จะออกไปตามหาเพื่อน ของตนที่ฐานทัพของไฮดรา เมื่อเขาลอบเข้าไปในฐานทัพของศัตรู เขาก็เลือกที่จะตามหาเหล่าทหารที่ถูกจับมาทันที เขาสามารถช่วยเหลือตัวประกันทั้งหมด ทว่ากลับไม่เจอบัคกี้ในคุกใต้ดินนั้น เขาจึงต้องออกไปตามหา เพื่อนของเขาภายในอาคารแทน และในที่สุดเขาก็พบบัคกี้ที่ถูกมัดอยู่บนเตียงราวกับก าลังรอการ ทดลองอะไรบางอย่าง และที่นั่นก็ท าให้เขาเห็นแผนที่ที่แสดงถึงฐานทัพของไฮดราทั้งหมด หลังจากที่ เขาพาเพื่อนสนิทของตนออกมาแล้ว เขาก็พบกับ โยฮันน์ ชมิดท์ (Johann Schmidt) นายทหารนาซี ที่เป็นหัวหน้าองค์กรไฮดรา โดยชมิดท์นั้นได้รับเซรุ่มเช่นเดียวกับสตีฟแต่เนื่องจากในตอนที่เขารับเซรุ่ม นั้น ดร.เออร์สไคน์ ยังพัฒนาไม่เรียบร้อย เขาจึงได้รับผลข้างเคียงจาการฉีดเซรุ่มนั้นท าให้ผิวหนังของ เขากลายเป็นสีแดงฉานและเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูกเพียงเท่านั้น เขาจึงได้รับฉายาว่า กะโหลกแดง (The Red Skull) และชมิดท์ก็เปิดเผยตัวตนต่อหน้าสตีฟ บัคกี้ และ ดร.โซล่า ว่าเขามีร่างกายที่ผิด แปลกไปจากมนุษย์ทั่ว ๆ ไป หลังจากนั้นทั้งหมดก็รีบหนีออกจากฐานทัพก่อนที่ระเบิดจะท างาน สตีฟและทหารทั้งหมดที่ถูกจับไปเป็นตัวประกันพากันเดินเท้ากลับมายังฐานทัพของ พวกเขา พร้อมทั้งขนอาวุธของไฮดรากลับมามากเท่าที่จะสามารถขนได้ หลังจากภารกิจช่วยเหลือตัว ประกันจบลงสตีฟก็ได้รับต าแหน่งในหน่วยบัญชาการการรบ เขาจัดตั้งหน่วยของเขาขึ้นเพื่อที่จะ จัดการฐานทัพของเหล่าไฮดราให้หมดไป โดยหน่วยนั้นมีชื่อว่า ฮาวลิ่ง คอมมานโด และเจ้าหน้าที่ใน หน่วยนั้น คือ ทหารที่เขาไปช่วยเหลือมารวมทั้งบัคกี้เพื่อนรักของเขา ในขณะที่พวกเขาปฏิบัติภารกิจกวาดล้างหน่วยไฮดราอยู่นั้นก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ทันได้ คาดคิดขึ้นเมื่อสตีฟและบัคกี้ถูกจัดฉากให้ขึ้นไปอยู่บนรถไฟด้วยกัน และที่นั่นเองที่บัคกี้ตกจาก ตู้คอนเทนเนอร์ของรถไฟ เหตุการณ์ครั้งนั้นท าให้สตีฟเสียใจเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นเขาก็พยายาม กวาดล้างฐานทัพของไฮดราจนในที่สุดเหลือเพียงฐานทัพใหญ่ที่สุดในเยอรมันเท่านั้น เขาและเพื่อนๆ ในหน่วยต่างช่วยกันวางแผนอย่างรอบคอบที่สุด และในที่สุดเขาก็สามารถลอบเข้าไปในฐานทัพใหญ่ เพื่อไปจัดการกับชมิดท์ ทว่าชมิดท์กลับเลือกที่จะขับเครื่องบินหลบหนีออกไปจึงท าให้เขาต้องตามเข้า ไปในเครื่องบินล านั้นเช่นกัน ที่นั่นเขากับชมิดท์ต่อสู้กันอย่างดุเดือดแต่ด้วยอนุภาพของวัตถุโบราณที่ ชมิดท์ขโมยมาในตอนต้นนั้นท าให้อยู่ ๆ ชมิดท์ก็หายตัวไป ทิ้งไว้เพียงสตีฟและเครื่องบินที่บรรจุอาวุธ นิวเคลียร์ไว้เต็มล า สตีฟจึงเลือกที่จะบังคับเครื่องบินให้ตกลงไปในทะเลน้ าแข็งแทนที่จะบินต่อไปยัง เป้าหมายเดิมคือเมืองนิวยอร์ก และในที่สุดทั้งเครื่องบินและสตีฟก็จมลงไปใต้ทะเลน้ าแข็งผืนใหญ่ 57

ในตอนท้ายของภาพยนตร์นั้นสตีฟลืมตาขึ้นมาในโรงพยาบาลที่ถูกจัดฉากไว้ให้เหมือนใน ค.ศ.1940 แต่แล้วความจริงก็ถูกเปิดเผยเมื่อวิทยุที่ก าลังรายงานกีฬานั้น กลับเป็นงานเดียวกับที่สตีฟ เคยเข้าไปชมการแข่งขันจริงมาก่อน เขาจึงวิ่งหนีออกมาจากห้องนั้น จนในที่สุดเขาก็พบว่าเขาตื่น ขึ้นมาในยุคปัจจุบัน หลังจากที่เขาหลับไปเกือบ 70 ปี

3.4 เรื่องย่อของ Captain America: The Winter Soldier (2014)

ภาพที่ 3.18 Captain America: The Winter Soldier (2014), Marvel Cinematic Universe, http://marvelcinematicuniverse.wikia.com/wiki/Captain_America:_The_Winter_Soldier?file=Captain_America_ The_Winter_Soldier_main_poster.jpg (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2561).

ภาพยนตร์เรื่อง Captain America: The Winter Soldier เป็นภาพยนตร์แนว ซุปเปอร์ฮีโร่ใน ค.ศ. 2014 โดยเรื่องราวในภาพยนตร์นั้นน ามาจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง Captain America ในภาคนี้เป็นภาคที่ 2 ต่อจาก Captain America: The First Avenger และ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ล าดับที่ 9 ของจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกปล่อยออกมาให้แฟนๆในต่างประเทศชมเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2014 และเริ่มฉายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2014 ภายใต้การก ากับของพี่น้อง รุสโซ ได้แก่ โจ รุสโซ (Joe Russo) และ แอนโทนี่ รุสโซ (Anthony Russo) โดยมีนักแสดงน าคือ คริส เอฟเว่นส์ (Chris Evans) รับบท สตีฟ โรเจอร์ส หรือกัปตันอเมริกา (Steve Rogers/ 58

Captain America) สการ์เล็ต โจฮันสัน (Scarlett Johansson) รับบท นาตาชา โรมานอฟ หรือ แบล็ควิโดว์ (Natasha Romanoff/Black Widow) แอนโทนี่ แม็คกี้ (Anthony Mackie) รับบท แซม วิลสัน หรือฟอลคอน (Sam Wilson/Falcon) เซบาสเตียน สแตน (Sebastian Stan) รับบท บัคกี้ บาร์นส์ หรือวินเทอร์โซลเยอร์ (Bucky Barnes/Winter Soldier) โรเบิร์ต เรดฟอร์ด (Robert Redford) รับบท อเล็กซานเดอร์ เพียร์ช (Alexander Pierce) และ ซามูเอล แอล. แจ็คสัน (Samuel L. Jackson) รับบท นิค ฟิวรี่ (Nick Fury) ระยะเวลา 2 ปีหลังจากสงครามในนิวยอร์กสิ้นสุดลง สตีฟเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่ของ ตนเองต่อไปภายใต้การดูแลขององค์กรชิลด์ ในขณะที่เขาก าลังวิ่งออกก าลังกายยามเช้าเขาก็เจอกับ คนคนหนึ่ง ก่อนที่รู้ว่าคนคนนี้ คือ แซม วิลสัน นายทหารผ่านศึกที่เคยไปรบที่อัฟกานิสถาน และเขา ชักชวนให้สตีฟไปหาเขาที่กระทรวงการทหารผ่านศึกสหรัฐที่เขาท างานอยู่ ทั้งสองพูดคุยกันเพียงไม่ นานนาตาชาก็มาพาตัวสตีฟออกไปปฏิบัติภารกิจด้วยกัน ทั้งคู่ได้รับหน้าที่ให้มาช่วยเหลือตัวประกันที่ติดอยู่บนเรือเลเมอร์เรียนสตาร์ (Lemurian Star) ในขณะที่ทีมของสตีฟก าลังปฏิบัติภารกิจอยู่นั้นนาตาชาที่ได้รับภารกิจซ้อนก็หายตัว ไปปฏิบัติภารกิจอีกอย่างของตนเองเช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วสตีฟก็บังเอิญเจอว่านาตาชาก าลังส ารอง ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ลงฮาร์ดไดร์ฟของตัวเอง แต่นาตาชากลับบอกว่านี่เป็นอีกหนึ่งภารกิจที่เธอได้รับ มาจากฟิวรี่โดยตรง หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือตัวประกันบนเรือจบลงและตัวประกันทั้งหมด ปลอดภัยสตีฟก็กลับมายังที่ฐานของตนในองค์กรชิลด์ ก่อนที่เขาจะเข้าไปคุยกับฟิวรี่ในเรื่องของ นาตาชา เมื่อได้รับค าตอบแล้วสตีฟดูเหมือนจะไม่พอใจนัก ฟิวรี่จึงเลือกที่จะพาสตีฟลงไปยังคลังเก็บ อาวุธ ก่อนที่จะแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ชิ้นล่าสุดให้สตีฟดู โดยมีชื่อเรียกว่า โปรเจคอินไซท์ (Project Insight) ฟิวรี่บอกว่าเครื่องที่ว่านี้จะสามารถจัดการเป้าหมายที่จะสามารถก่อให้เกิดความไม่สงบใน อนาคตได้ในพริบตา แต่สตีฟกลับไม่เห็นด้วยกับวิธีการสังหารผู้คนจ านวนมากเพียงเพราะต้องการที่จะ ป้องกันเหตุการณ์เลวร้ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลังจากที่สตีฟปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือฟิวรี่เขาก็เดินทางไปที่สถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution) สถานที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับกัปตันอเมริกา และยังแวะไปเยี่ยม เพ็กกี้ คาร์เตอร์ รวมไปถึง แซม วิลสัน อีกด้วย ในขณะเดียวกันทางด้านฟิวรี่ที่น าของมูลในแฟลชไดร์ฟ ที่เขาให้นาตาชาไปส ารองข้อมูลมาจากเรือเลเมอร์เรียนนั้น เขากลับพบว่าข้อมูลที่เขาได้รับมีบางอย่าง ที่ผิดปกติ ท าให้เขาทราบได้ทันทีว่ามีคนในองค์กรชิลด์ที่ก าลังวางแผนชั่วร้ายอยู่ ฟิวรี่เลือกที่จะไปบอกข่าวคราวความผิดปกติที่เกิดขึ้นให้ อเล็กซานเดอร์ เพียร์ช รับรู้ และต้องการให้ชะลอเรื่องโปรเจคอินไซท์ออกไปก่อนเพื่อที่จะหาตัวคนร้ายภายในองค์กร หลังจากนั้น ฟิวรี่ก็เลือกที่จะติดต่อไปหาคนสนิทอย่าง มาเรีย ฮิลล์ เพื่อให้เธอเข้ามาจับตาดูบุคคลหน้าสงสัย แต่ 59

ระหว่างที่เขาก าลังขับรถอยู่นั้นกลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นเมื่อจู่ ๆ เขาก็ถูกต ารวจไล่ล่า และเขาก็ พบกับชายลึกลับคนหนึ่งที่สวมหน้ากากสีด าปกปิดใบหน้าของเจ้าตัวไว้ ทว่าฟิวรี่กลับไหวตัวทันและ หลบหนีไปเสียก่อนจึงท าให้เขาสามารถรอดชีวิตจากบุคคลลึกลับนั่น ในขณะที่สตีฟกลับมาที่ห้องพักของเขาหลังจากแวะไปหากแซม เขาก็พบบางอย่างที่ ผิดปกติไป เนื่องจากเพื่อนบ้านของเขาบอกว่าเขาลืมปิดวิทยุก่อนจะออกจากห้อง เขาจึงเลือกที่จะเข้า มาทางหน้าต่างแทน แล้วเขาก็ได้พบกับฟิวรี่ที่ก าลังบาดเจ็บนั่งอยู่บนเก้าอี้ในห้องของเขา ฟิวรี่บอกเขา ว่าภายในห้องของสตีฟถูกติดเครื่องดักฟังไว้หมดแล้วและเขาก็น าแฟลชไดร์ฟให้สตีฟเป็นคนเก็บไว้ ก่อนที่พวกเขาจะถูกลอบโจมตีจากตึกด้านข้าง สตีฟเลือกที่จะกระโดดออกไปทางหน้าต่างเพื่อตามหา คนร้ายแต่ทว่าก็ไม่เป็นผล เขาหยิบโล่ประจ าตัวขึ้นมาขว้างไปที่ผู้ต้องสงสัยที่ว่านั่น ทว่าคนคนนั้นกลับ รับโล่ของเขาไว้ได้เพียงมือเดียวก่อนที่ดวงตาคู่นั้นจะจ้องมองมาที่สตีฟอย่างไม่เป็นมิตรแล้วหลบหนีไป หลังจากนั้นฟิวรี่ที่ได้รับบาดเจ็บก็ถูกน าตัวส่งไปที่โรงพยาบาล ทว่าอยู่ ๆ หัวใจของเขาก็ หยุดเต้นไปเสียเฉย ๆ ในขณะที่ก าลังผ่าตัด ทีมแพทย์พยายามที่จะช่วยยื้อชีวิตของเขาไว้แต่ก็ล้มเหลว ร่างของเขาจึงถูกรักษาไว้โดยลูกน้องคนสนิทอย่าง มาร์เรีย ฮิลล์ ในขณะที่ทุกคนก าลังรอผลการตรวจ ของฟิวรี่ รัมโลว์ลูกน้องในทีมของกัปตันก็มาบอกให้สตีฟกลับไปที่ไทรสเคลเลี่ยน () ศูนย์ บัญชาการใหญ่ของชิลด์เนื่องจากมีประชุมด่วน สตีฟรู้สึกถึงความไม่ชอบมาพากลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เขาจึงเลือกที่จะน าแฟลชไดร์ฟ ที่ฟิวรี่ให้ซ่อนไว้ในตู้ขนมหยอดเหรียญในโรงพยาบาล หลังจากนั้นเขาจึงเข้าไปที่ศูนย์บัญชาการเพื่อ เข้าประชุมกับเพียร์ช แต่เมื่อตอนที่เพียร์ชถามถึงสตีฟก็เลือกที่จะโกหกไปทั้งหมดเนื่องจากฟิวรี่บอก เขาไว้ว่าอย่าเชื่อใจใครทั้งนั้น เมื่อจบการประชุมเขาจึงเลือกที่จะกลับมาเอาแฟลชไดร์ฟที่โรงพยาบาล ในขณะที่เขาก าลังลงลิฟต์เขาก็ถูกทีมสไตร์คที่น าโดยรัมโลว์เข้าโจมตี เขาจึงรับรู้ได้ทันที ว่าภายในชิลด์จะต้องมีคนทรยศอย่างแน่นอน เมื่อเขาสามารถจัดการกับลูกน้องของรัมโลว์ได้เขาก็รีบ กลับมาที่โรงพยาบาลทว่าแฟลชไดร์ฟของเขากลับถูกนาตาชาเอาไป และนาตาชาก็อาสาที่จะ ช่วยเหลือเขาในการแกะรอยต้นตอของแฟลชไดร์ฟชิ้นนี้ พวกเขาตามรอยไปจนถึงสถานที่ที่สตีฟเคยเข้ารับการฝึกก่อนที่จะถูกคัดเลือกให้เข้ารับ เซรุ่มในโปรเจครีเบิร์ท สถานที่แห่งนั้นถูกทิ้งร้างไว้ตั้งแต่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง แต่ สตีฟก็รู้สึกถึงความผิดปกติบางอย่าง เมื่อมีคลังเก็บอาวุธหลังหนึ่งตั้งอยู่ใกล้โรงนอนของทหารมากเกิน กว่าที่กฎหมายในช่วงนั้นก าหนดไว้ ทั้งเขาและนาตาชาจึงลอบเข้าไปในอาคาร เมื่อลงมาจนถึงชั้นใต้ ดินเขาก็พบกับห้องเก็บข้อมูลที่ยังคงใช้ท างานอยู่ในปัจจุบัน และแล้วทั้งเขาและนาตาชาก็ได้พบกับ ความจริงที่ว่าไฮดรานั้นได้แทรกซึมอยู่ภายในองค์กรชิลด์และรอวันที่จะกลับมาอีกครั้ง หลังจากที่พวก 60

เขารับรู้ข้อมูลทั้งหมดอาคารที่พวกเขายืนอยู่นั้นก็ถูกขีปนาวุธพิสัยไกลเข้าโจมตี ทั้งสตีฟและนาตาชา จึงต้องเอาตัวรอดโดยการไปพึ่งพิงเพื่อนอีกคนของสตีฟอย่าง แซม วิลสัน ทั้งคู่เลือกที่จะเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้แซมฟังและแซมก็เข้าใจทั้งคู่เป็นอย่างดีพร้อมทั้ง ให้ความช่วยเหลือโดยการเสนอตัวเข้ามาร่วมปฏิบัติภารกิจนี้เช่นเดียวกัน แต่สตีฟและนาตาชา จ าเป็นต้องน าอาวุธที่เขาเคยใช้ในสมัยร่วมรบที่สงครามอัฟกานิสถานมานั่นก็คือชุดที่ใช้บินได้ โดยเป็น มอเตอร์ที่มีปีกคู่ใหญ่ติดอยู่ นั่นจึงเป็นที่มาของสมญานามว่า ฟอลคอน นั่นเอง หลังจากนั้นพวกเขาทั้งสามคนก็เลือกที่จะไปลักพาตัวเจ้าหน้าที่ระดับสูงของชิลด์อย่าง แจสเปอร์ ซิทเวล () เนื่องจากเขาคือสายลับของไฮดราที่แฝงตัวเข้ามาอยู่ในชิลด์ ใน ที่สุดพวกเขาก็สามารถเค้นเอาความลับจากซิทเวลมาได้ นั่นคือ ไฮดราต้องการที่จะน าโปรเจคอินไซท์ มาใช้ในการก าจัดเหล่าฮีโร่อย่างอเวนเจอร์สให้สิ้นซาก ในขณะที่พวกเขาก าลังกลับไปที่ฐานทัพชิลด์นั้น ทั้งสามก็ได้พบกับชายชุดด าอีกครั้ง ในอีกชื่อหนึ่งคือ วินเทอร์โซลเยอร์ กลุ่มของชายชุดด านั้นตรงเข้าโจมตีพวกเขาเข้าอย่างจังท าให้ทั้ง 3 คนต้องแยกย้ายกัน ไปคนละทิศละทางเพื่อจัดการกับคนคนนี้ พวกเขาต่อสู้กันจนการจราจรวุ่นวายไปหมด และในที่สุด สตีฟก็สามารถถอดหน้ากากของวินเทอร์โซลเยอร์ได้ แล้วเขาก็พบความจริงที่ว่าภายใต้หน้ากากที่ว่า นั้นคือเพื่อนซี้เพียงคนเดียวของเขา บัคกี้ บาร์นส์ สตีฟพยายามที่จะเรียกชื่ออีกฝ่ายแต่ดูเหมือนว่า วินเทอร์โซลเยอร์นั้นจะจ าเรื่องราวของเพื่อนสนิทของตนเองไม่ได้แม้แต่นิดเดียว และในที่สุดเขาก็ เลือกที่จะหลบหนีไป ทั้งสตีฟ นาตาชา และแซมต่างก็ถูกจับกุมโดยรัมโลว์ ในขณะที่พวกเขาถูกพา กลับไปยังที่ฐานทัพใหญ่ของชิลด์นั้นเจ้าหน้าที่ มาร์เรีย ฮิลล์ ก็เข้ามาช่วยเหลือ และพาพวกเขาทั้งสาม คนไปที่ศูนย์บัญชาการลับที่มีเพียงเธอและฟิวรี่เท่านั้นที่ทราบว่าศูนย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ใด เมื่อไปถึงที่นั่นทั้งสามคนก็พบว่าฟิวรี่ยังไม่ตาย และการตายในโรงพยาบาลนั้นเป็นการ จัดฉากโดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ฮิลล์ และ ดร.บรูซ แบนเนอร์ ก่อนที่ฟิวรี่จะอธิบาย เรื่องราวทั้งหมดและขอให้สตีฟเข้าไปจัดการกับยานเฮลิแคร์รีเออร์ส์ (The Helicarriers) ทั้ง 3 ล า โดยการน าการ์ดที่เจ้าหน้าที่ฮิลล์เป็นคนคิดค้นขึ้นมาใส่เข้าไปแทนที่การ์ดเดิมที่อยู่ในยานล านั้น เพื่อที่ ฟิวรี่จะสามารถกลับมามีอ านาจในการสั่งการให้โปรเจคอินไซท์ยุติลง หลังจากที่สตีฟฟังเรื่องราวทั้งหมดเขาก็เลือกที่จะออกมาด้านนอกแทนที่จะนั่งดูอาการ ฟิวรี่ข้างในเหมือนคนอื่น ๆ เขานึกถึงคืนวันเก่า ๆ ระหว่างเขาและบัคกี้ที่เคยให้สัญญาว่าพวกเขาจะ อยู่เคียงข้างกันไปจนสุดทาง แต่ก็เป็นตัวเขาเองที่ไม่สามารถช่วยเหลือเพื่อนรักของตนได้ในวันที่บัคกี้ ร่วงจากตู้รถไฟ กว่าที่เขาจะรู้สึกตัวอีกทีก็เป็นตอนที่แซมเดินเข้ามาพูดคุยกับเขาในเรื่องของบัคกี้ โดย แซมได้เตือนสติสตีฟว่า พวกเขาไม่สามารถช่วยเหลือบัคกี้ที่ในตอนนี้กลายเป็นอาชญากรข้ามชาติอีก ทั้งยังมีความอันตรายเป็นล าดับต้น ๆ ของโลกได้ แต่สตีฟก็ยังคงยืนยันที่จะช่วยเหลือบัคกี้ 61

ทางด้านบัคกี้ที่ถูกพาตัวกลับมายังห้องทดลองของไฮดราเพื่อรายงานภารกิจกับเพียร์ช บัคกี้เอาแต่พึมพ าถามทุกคนที่นั่นว่าใครคือบัคกี้ เพราะสตีฟเรียกชื่อนั้นขึ้นมาในระหว่างที่พวกเขาทั้งคู่ ก าลังต่อสู้กัน และเหตุการณ์ที่ก็ท าให้เขานึกย้อนไปในวันที่เขาตกลงมาจากรถไฟ ดร.โซล่า เป็นคน เข้ามาช่วยเขาเอาไว้ ในขณะเดียวกันก็ท าการล้างสมองของเขา จนเขาไม่สามารถจดจ าเรื่องราวใน อดีตได้อีก เมื่อบัคกี้เอาแต่ถามหาว่าใครคือบัคกี้ และผู้ชายที่อยู่บนสะพานนั่นคือใคร หัวหน้าองค์กร ไฮดราอย่างเพียร์ชก็สั่งให้นักวิจัยจับบัคกี้ล้างสมองอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าบัคกี้จะไม่มีวันจดจ าสตีฟได้ อีก หลังจากนั้นทั้งสตีฟ แซม และนาตาชาต่างก็พยายามที่จะสับเปลี่ยนการ์ดที่เจ้าหน้าที่ ฮิลล์สร้างขึ้นมากับการ์ดที่อยู่ภายในยานเฮลิแคร์ริเออร์ ภารกิจของสตีฟด าเนินไปได้ด้วยดีจนกระทั่ง มาถึงยานล าสุดท้าย เขาก็ได้เจอกับวินเทอร์โซลเยอร์อีกครั้ง ทั้งคู่ต่อสู้กันในขณะเดียวกันสตีฟก็ พยายามโน้มน้าวอีกฝ่ายไปด้วยโดยการพูดถึงเรื่องราวในอดีต โดยเขาหวังว่าอาจจะท าให้ความทรงจ า ของเพื่อนเขากลับมาสักเพียงนิดก็ยังดี หลังจากที่สตีฟสามารถเปลี่ยนการ์ดข้อมูลได้ส าเร็จ วินเทอร์โซลเยอร์ก็ยังคงโจมตีเขาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสตีฟร่วงหล่นลงไปในแม่น้ า แต่ก็เป็นวินเทอร์ โซลเยอร์ที่ตามลงไปช่วยและพาสตีฟขึ้นฝั่งก่อนที่เขาจะหายตัวไปอีกครั้ง แซม และนาตาชาพบสตีฟสลบอยู่ริมฝั่งแม่น้ าทั้งคู่จึงช่วยกันพาเขาไปส่งที่โรงพยาบาล และคอยเฝ้าดูอาการอยู่ไม่ห่าง หลังจากที่สตีฟฟื้นขึ้นมาเขาก็พบว่าองค์กรชิลด์ที่เขาท างานอยู่นั้นถูก ยุบไปเป็นที่เรียบร้อย รวมทั้งไฮดราเองก็หายไปเช่นเดียวกัน นิค ฟิวรี่ เองยังคงเป็นบุคคลเสียชีวิตอยู่ และเขาตั้งใจที่จะเดินทางไปอยู่ในประเทศอื่นแทน สตีฟและแซมมานัดพบกับนาตาชาที่หลุมศพของ ฟิวรี่ที่ถูกสร้างขึ้น และที่นั่นเองนาตาชาก็น าแฟ้มประวัติของวินเทอร์โซลเยอร์ที่เธอฝากให้เพื่อนที่ รัสเซียช่วยตามเรื่องราวมาให้สตีฟ หลังจากที่รับแฟ้มมาสตีฟก็ตั้งใจว่าจะออกตามหาบัคกี้ให้เจอ และ แซมเองก็ให้ความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน ทางด้านนาตาชานั้นจ าเป็นต้องหลบหนีไปเนื่องจาก เหตุการณ์ที่องค์กรชิลด์ล่มสลายท าให้ข้อมูลลับของเธอในสมัยที่เธอท างานให้กับ K.G.B. แพร่งพราย ออกไปเช่นกัน เธอจึงเลือกที่จะหนีไปกบดานตัวเอง หลังจากนั้นภาพยนตร์ก็ตัดภาพไปที่คุกแห่งหนึ่ง และภายในนั้นมีชายหญิงคู่หนึ่งที่ดู เหมือนว่าจะมีพลังเหนือมนุษย์อยู่ในนั้น ก่อนที่จะตัดภาพมาเป็นบัคกี้ที่แต่งตัวเหมือนคนทั่ว ๆ ไปก าลังยืนอ่านประวัติความ เป็นมาของกัปตันอเมริกาและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเขาเองในสถาบันสมิธโซเนียน

62

3.5 เรื่องย่อของ Captain America: Civil War (2016)

ภาพที่ 3.19 Captain America: Civil War (2016), Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/5/5c/Civil_War_Final_Poster.jpg/revision/ latest/scale-to-width-down/1000?cb=20160310172110 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2561).

ภาพยนตร์เรื่อง Captain America: Civil War เป็นภาพยนตร์แนวซุปเปอร์ฮีโร่ใน ค.ศ. 2016 โดยเรื่องราวในภาพยนตร์นั้นน ามาจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง Captain America ในภาคนี้เป็นภาคที่ 3 ต่อจาก Captain America: The First Avenger และ Captain America: The Winter Soldier ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ล าดับที่13 ของจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล โดยได้เริ่มฉายในต่างประเทศเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2016 และฉายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2016

ภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ภายใต้การก ากับของพี่น้องรุสโซ ได้แก่ โจ รุสโซ (Joe Russo) และ แอนโทนี่ รุสโซ (Anthony Russo) โดยมีนักแสดงน าคือ คริส เอฟเว่นส์ (Chris Evans) รับบท สตีฟ โรเจอร์ส หรือกัปตันอเมริกา (Steve Rogers/Captain America) โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ (Robert Downey Jr.) รับบท โทนี่ สตาร์ค หรือไอรอนแมน ( Tony Stark/Iron Man) เซบาสเตียน สแตน (Sebastian Stan) รับบท บัคกี้ บาร์นส์ หรือวินเทอร์โซลเยอร์ (Bucky Barnes/ Winter Soldier) สการ์เล็ต โจฮันสัน (Scarlett Johansson) รับบท นาตาชา โรมานอฟ หรือ 63

แบล็ควิโดว์ (Natasha Romanoff/Black Widow) แอนโทนี่ แม็คกี้ (Anthony Mackie) รับบท แซม วิลสัน หรือฟาลคอน (Sam Wilson/Falcon) ชาดวิค โบเซแมน (Chadwick Boseman) รับบท ทีชัลล่า หรือแบล็คแพนเทอร์ (T’Challa/Black Panther) เอลิซาเบธ โอลเซน (Elizabeth Olsen) รับบท แวนด้า แม็คซิมมอฟ หรือสการ์เล็ต วิช (Wanda Maximoff/Scarlet Witch) เจเรมี่ เรนเนอร์ (Jeremy Renner) รับบท คลินท์ บาร์ตัน หรือฮวอร์คอาย (Clint Barton/Hawkeye) พอล รัดด์ (Pual Rudd) รับบท สก็อต แลงค์ หรือแอนท์แมน (Scott Lang/Ant-Man) ทอม ฮอลล์แลนด์ (Tom Holland) รับบท ปีเตอร์ พาร์คเกอร์ หรือสไปเดอร์แมน ( Peter Parker/Spider-Man) แดเนียล บรูห์ล (Daniel Brühl) รับบท เฮลมุท ซีโม่ (Helmut Zemo) ภาพยนตร์เริ่มต้นขึ้นโดยย้อนกลับไปใน ค.ศ. 1991 ที่ฐานทัพของไฮดราที่ตั้งอยู่ใน สหภาพโซเวียต นายทหารชาวโซเวียตเดินเข้าไปภายในฐานทัพและท าการปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ ขึ้นมาโดยการใช้ค าสั่งภาษารัสเซียที่อยู่ในสมุดแดง ก่อนที่จะสั่งให้วินเทอร์โซลเยอร์ออกไปปฏิบัติ ภารกิจโดยการสังหารคนจ านวน 2 คนและน าบางสิ่งบางอย่างกลับมาที่ฐานทัพ ในปัจจุบันระยะเวลาหนึ่งปีหลังจากเหตุการณ์อัลตรอนเข้าถล่มโซโคเวียจบลง เหล่า อเวนเจอร์สก็ยังคงปฏิบัติภารกิจกันตามเดิม โดยคราวนี้พวกเขาต้องมาเฝ้าระวังกลุ่มไฮดราที่น าทีม โดยรัมโลว์ โดยเป้าหมายของไฮดราในครั้งนี้คือการเข้ามาขโมยอาวุธเคมีชีวภาพที่ยังไม่สามารถ ผลิตวัคซีนที่ใช้ในการรักษา ในสถาบันโรคติดต่อ ที่เมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย (The Institute for Infectious Diseases in Lagos, Nigeria) ทั้งรัมโลว์และสตีฟต่างก็ต่อสู้กันท่ามกลางหมู่ประชาชน ที่เข้ามามุงดูเหตุการณ์ แต่แล้วรัมโลว์ก็เลือกที่จะจุดชนวนระเบิดที่ติดอยู่กับตัวเขาและหวังว่าการ ระเบิดนี้จะท าให้สตีฟต้องตายเช่นเดียวกัน แต่ว่าแวนด้าเข้ามาช่วยไว้ ทว่าด้วยแรงระเบิดที่มากจนเกิด ไปท าให้เธอไม่สามารถควบคุมมัน จึงท าให้ระเบิดนั้นไปตกที่ตึกบริเวณด้านข้างและท าให้พนักงานที่ ก าลังท างานภายในตึกนั้นเสียชีวิตไปหลายคน และหนึ่งในนั้นก็มีประชาชนจากประเทศวากานด้าอยู่ ด้วย ในขณะเดียวกันที่สหรัฐอเมริกา โทนี่ก าลังท าการแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีล่าสุดของเขา ที่สามารถเข้าไปช่วยปรับแก้ความทรงจ าในอดีต และเขาก็ประกาศให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มี ผลงานประดิษฐ์ทุกคนในสถาบันเอ็มไอที41 (MIT - Massachusetts Institute of Technology) เพื่อสนับสนุนนักศึกษาให้มีการผลิตนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมา หลังจากที่งานจบโทนี่ก็

41 สถาบันเอ็มไอที หรือสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมนซาซูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีชื่อเสียงโด่งดังในงานวิจัยและการศึกษาค้นคว้าทางด้านฟิสิกส์ เคมี และวิศวกรรมศาสตร์ โดยตัวละคร โทนี่ สตาร์ค หรือไอรอนแมนก็เป็นศิษย์เก่าที่จบจากสถาบันแห่งนี้ โดยเขาเข้ารับการศึกษาที่สถาบันเอ็มไอที ในสาขา วิศวกรรมไฟฟ้า เมื่อตอนอายุ 15 ปี และส าเร็จการศึกษาตอนอายุ 17 ปี 64

เลือกจะหลบออกไปทางด้านหลังเวที และที่นั่นท าให้เขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่ง เธอคนนั้นกล่าวหา โทนี่ว่าเป็นต้นเหตุที่ท าให้ลูกชายของเธอเสียชีวิตลงเนื่องจากเหตุการณ์ที่กลุ่มอเวนเจอร์สต่อสู้ กับอัลตรอนในโซโคเวีย หนึ่งเดือนให้หลังจากอุบัติเหตุในเมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย ทีมอเวนเจอร์สก็พบกับ นายพลทัดเดส รอสส์ ผู้ที่เป็นรัฐมนตรีในกระทรวงความมั่นคงของสหรัฐเข้ามาท าข้อตกลงกับทีม อเวนเจอร์ส โดยนายพลรอสส์พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เมืองลากอสว่าที่ประชุมสหประชาชาติต่าง เห็นพ้องตกลงกันให้ทุกคนในทีมอเวนเจอร์สต้องลงนามในข้อตกลงโซโคเวียที่จะจัดตั้งคณะกรรมการ ระหว่างประเทศขึ้นเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของอเวนเจอร์สตลอดจนจับตามองพฤติกรรมของคนใน ทีมว่าต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ได้ท าข้อตกลงไว้ หลังจากที่นายพลรอสส์กลับไปแล้วอเวนเจอร์สก็พยายามพูดคุยกันในเรื่องที่เกิดขึ้นแต่ ในท้ายที่สุดก็ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งคือ ฝั่งที่จะลงนามในข้อตกลง ซึ่งน าทีมโดยโทนี่ และอีกฝั่งคือฝั่งที่ ไม่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการท างาน ซึ่งน าทีมโดยสตีฟ ในขณะที่ก าลังคุยกันนั้นสตีฟ ก็ทราบข่าวว่า เพ็กกี้ เสียชีวิตลงและก าลังจะด าเนินพิธีการที่อังกฤษ จึงท าให้เขาเลือกที่จะออกมาจาก ศูนย์บัญชาการของอเวนเจอร์ส ในขณะเดียวกัน นายทหารชาวโซเวียตอย่าง วาซิลี คาร์ปอฟ ที่ก าลังหลบซ่อนตัวอยู่ใน บ้านพักของตนก็พบกับ เฮลมุท ซีโม่ ที่มาถามหาถึงรายงานภารกิจใน ค.ศ. 1991 แต่คาร์ปอฟก็เลือก ที่จะไม่พูดอะไรออกไปจึงท าให้เขาถูกซีโม่ฆ่า ทีมอเวนเจอร์สที่เห็นด้วยกับการลงนามในข้อตกลงโซโคเวียนั้นเดินทางไปลงนามกันที่ กรุงเวียนนา แต่ในขณะที่กษัตริย์ทีชัลก้า แห่งประเทศวากานด้า ก าลังอ่านแถลงการณ์อยู่นั้นก็เกิด เหตุการณ์ระเบิดขึ้น โดยกล้องวงจรปิดสามารถจับภาพและระบุว่าผู้ต้องสงสัยในการวางระเบิดครั้งนี้ คือวินเทอร์โซลเยอร์ หลังจากที่สตีฟทราบข่าวเหตุการณ์ครั้งนี้เขาก็เลือกที่จะออกไปตามหาบัคกี้ทันที เพราะ ในตอนนี้บัคกี้กลายเป็นผู้ต้องสงสัยในการลอบสังหารกษัตริย์แห่งวากานด้า หลังจากที่เขาเจอตัวบัคกี้ และบัคกี้ก็ให้การปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้ลงมือฆ่าใครทั้งนั้นเพราะอาศัยอยู่ในเมืองบูคาร์เรสมาตั้งนาน แล้ว กัปตันอเมริกาก็เลือกที่จะเชื่อเพื่อนสนิทของตนและตั้งใจว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่บัคกี้ ทว่า พวกเขาทั้งหมดกลับถูกจับกุมตัวเสียก่อนและถูกส่งตัวไปที่กรุงเบอร์ลิน ที่นั่นท าให้บัคกี้ได้เจอกับซีโม่ และเขาถูกคาถาปลดล็อคครอบง าอีกครั้ง ซีโม่ถามหา รายงานภารกิจใน ค.ศ. 1991 และหลังจากนั้นซีโม่ก็หลบหนีไป ทางด้านสตีฟที่เห็นว่าเพื่อนรักของตน ก าลังจะหลบหนีก็ตามไปขวางทางไว้ แล้วพวกเขาก็หล่นลงไปในแม่น้ าทั้งคู่ หลังจากนั้นแซมก็เข้ามา ช่วยทั้งคู่ไว้ เมื่อบัคกี้ได้สติสตีฟจึงถามเรื่องราวทั้งหมดโดยบัคกี้เล่าว่าเหตุการณ์ใน ค.ศ. 1991 นั้น เขา 65

ไปขโมยเซรุ่มที่สามารถสร้างสุดยอดทหารมาให้ไฮดรา และไฮดราก็สร้างทหารเหล่านั้นขึ้นมาทั้งหมด 5 คน แต่องค์กรไม่สามารถควบคุมนักฆ่าทั้ง 5 คนนั้นได้จึงท าให้พวกเขาถูกแช่แข็งอยู่ในฐานทัพที่ ไซบีเรียมาจนถึงปัจจุบัน สตีฟเมื่อได้รับฟังเรื่องราวทั้งหมดก็ตัดสินใจที่จะไปรัสเซียเพื่อหยุดซีโม่ไม่ให้ ปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ที่เหลือขึ้นมา แต่ระหว่างทางนั้นเขาก็ถูกฝั่งไอรอนแมนเข้ามาขัดขวาง เนื่องจากบัคกี้ยังคงมีคดีติดตัวและฝั่งสตีฟเองก็ไม่ยอมไปลงนามในข้อตกลงโซโคเวีย จึง ท าให้ทางการประกาศให้พวกเขาทั้งหมดเป็นอาชญากรข้ามดินแดนและให้โทนี่เป็นคนมาจัดการ เรื่องราวทั้งหมด เมื่อทั้งฝั่งไอรอนแมนและฝั่งของกัปตันอเมริกามาเจอกันทั้งคู่ก็ต่อสู้กันจนเรียกถือว่า เป็นจุดแตกหักของทีมอเวนเจอร์สอย่างชัดเจน แต่ในท้ายที่สุดทั้งสตีฟและบัคกี้ก็สามารถเดินทางมาที่ รัสเซีย ทว่าพวกเขากลับมาช้ากว่าซีโม่ทั้งคู่จึงค่อย ๆ ลอบเข้าไปในฐานอย่างระมัดระวัง แต่แล้ว ไอรอนแมนก็เลือกที่จะตามพวกเขามาหลังจากที่เขาได้รับรู้ความจริงทั้งหมดว่าบัคกี้ไม่ใช่คนที่ วางระเบิดลอบสังหารกษัตริย์ทีชัลก้า และทราบว่าซีโม่มีแผนการณ์ที่จะปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ทั้งหมด ขึ้นมา เขาจึงตามมาช่วยกัปตันอีกแรงหนึ่ง แต่พวกเขากลับคิดผิดเมื่อซีโม่ไม่ได้ต้องการที่จะปลุก วินเทอร์โซลเยอร์ที่เหลือขึ้นมา เขาเพียงต้องการให้ทีมอเวนเจอร์สต้องพบกับความสูญเสียเช่นเดียวกัน เมื่อทั้ง 3 คนเข้ามายังห้องโถงใหญ่ซีโม่จึงเปิดเทปบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ขึ้นมา ซึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ที่วินเทอร์โซลเยอร์ได้รับภารกิจให้ไปฆ่านักวิทยาศาสตร์ 2 คน ที่ก าลังจะเดินทางไปยังต่างประเทศ โดยทั้ง 2 คือพ่อและแม่ของโทนี่ ภาพจากเทปบันทึกนั้นแสดงให้ เห็นถึงการฆ่าคนอย่างเหี้ยมโหดของวินเทอร์โซลเยอร์ จากการกระท านั้นจึงท าให้โทนี่ โกรธแค้นบัคกี้เป็นอย่างมากอีกทั้งสตีฟก็เลือกที่จะช่วยเหลือบัคกี้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าบัคกี้เป็นคนฆ่าพ่อแม่ของ โทนี่ก็ตาม ทั้ง 3 จึงต่อสู้กันและในที่สุดโทนี่ก็เป็นฝ่ายแพ้ เพราะถูกทั้งสตีฟและบัคกี้รุมตนเอง ก่อนที่ สตีฟจะพาบัคกี้ออกไปโทนี่ก็บอกให้ทิ้งโล่ที่พ่อของเขาท าให้สตีฟ เพราะสตีฟไม่คู่ควรกับโล่ชิ้นนี้แล้ว ทางด้านสตีฟเมื่อได้ยินดังนั้นก็เลือกที่จะทิ้งโล่ลงทันทีและรีบพาบัคกี้ที่แขนขาดออกไปจากตรงนั้น ในตอนสุดท้ายทีชัลล่าก็อาสาให้ความช่วยเหลือแก่สตีฟและบัคกี้ ทั้งคู่จึงไป อยู่ที่วากานด้าเพื่อพักรักษาอาการบาดเจ็บรวมทั้งหลบหนีข้อกล่าวหาจากทางรัฐบาลที่ทางฝั่งสตีฟ เลือกที่จะปฏิเสธการลงนามในข้อตกลงโซโคเวีย 66

บทที่ 4 วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านภาพยนตร์ Captain America

ในบทที่ 4 ผู้วิจัยจะท ำกำรวิเครำะห์ควำมหมำยของภำพสะท้อนต่ำง ๆ ที่มีควำม เกี่ยวข้องกับสหภำพโซเวียตและสหพันธรัฐรัสเซียที่ปรำกฏภำยในภำพยนตร์ ไม่ว่ำจะเป็นควำม เกี่ยวข้องทำงตรง หรือควำมเกี่ยวข้องทำงอ้อม รวมทั้งศึกษำเพิ่มเติมโดยกำรน ำทฤษฎีและแนวคิด ต่ำง ๆ ที่ปรำกฏใน บทที่ 2 เข้ำมำมีส่วนประกอบในกำรวิเครำะห์ภำพยนตร์ เพื่อสร้ำงกำรรับรู้และ ควำมเข้ำใจในภำพสะท้อนหรือแนวคิดแฝงต่ำง ๆ ที่ปรำกฏอยู่ภำยในภำพยนตร์ Captain America ทั้ง 3 ภำค

4.1 ภาพสะท้อนของสหภาพโซเวียตหรือสหพันธรัฐรัสเซียที่ปรากฏภายในภาพยนตร์

ในภำพยนตร์เรื่อง Captain America ทั้ง 3 ภำคนั้น จะเห็นว่ำมีกำรใส่เรื่องรำวเกี่ยวกับ รัสเซียเข้ำไปไม่ว่ำจะเป็นในส่วนของตัวละคร ในส่วนของบทสนทนำ หรือแม้กระทั่งฉำกก็ตำม ผู้วิจัย จะท ำกำรวิเครำะห์ภำพสะท้อนเหล่ำนั้น โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังต่อไปนี้ คือ (1) ภำพสะท้อน ที่มีควำมเกี่ยวข้องกับรัสเซียทำงตรง สำมำรถรับรู้และเข้ำใจได้อย่ำงชัดเจนว่ำผู้เขียนบทต้องกำรจะสื่อ ถึงรัสเซีย และ (2) ภำพสะท้อนที่มีควำมเกี่ยวข้องกับรัสเซียทำงอ้อม โดยจ ำเป็นต้องอำศัยบริบท ภำยในภำพยนตร์รวมไปถึงเหตุกำรณ์อื่น ๆ มำพิจำรณำเพิ่มเติม

4.1.1 Captain America: The First Avenger สำระส ำคัญในภำพยนตร์เรื่อง Captain America: The First Avenger นั้น จะเป็นเรื่องรำวของกำรเริ่มต้นตัวละครกัปตันอเมริกำในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มต้นตั้งแต่ สตีฟ ต้องกำรที่จะเข้ำร่วมกองทัพของสหรัฐ ทว่ำเขำกลับถูกทำงกองทัพปฏิเสธเนื่องจำกขนำดตัวของ เขำที่เล็กจนเกินไป แต่ในที่สุดก็ได้รับโอกำสในกำรเข้ำร่วมโปรแกรมกำรทดลองและ กำรทดลองครั้งนี้ได้เปลี่ยนให้เขำกลำยเป็นสุดยอดทหำรที่มีชื่อเรียกว่ำ กัปตันอเมริกำและเป็นผู้น ำใน กำรต่อสู้กับองค์กรของนำซีอย่ำงไฮดรำ โดยผู้วิจัยจะแบ่งกำรวิเครำะห์ในภำคนี้ออกเป็น (1) ภำพสะท้อนที่มี ควำมเกี่ยวข้องทำงตรง ได้แก่ กำรกล่ำวถึงคนงำนชำวรัสเซียที่พบเจอกัปตันอเมริกำในช่วงต้นของ ภำพยนตร์ กำรพำดหัวข่ำวของหนังสือพิมพ์ในเหตุกำรณ์ยุทธกำรณ์เคียฟ (Battle of Kiev) ในปี 1943 กำรโจมตีจำกตัวร้ำยภำยในภำพยนตร์ที่มุ่งเป้ำไปที่สหภำพโซเวียตอย่ำงชัดเจน

67

(2) ภำพสะท้อนที่มีควำมเกี่ยวข้องทำงอ้อม ได้แก่ กำรใช้พรอบพกันดำเพื่อเกณฑ์ให้ประชำชนเข้ำร่วม กองทัพและบทบำทของกองทัพของสหรัฐอเมริกำในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 4.1.1.1 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางตรง (1) ทีมส้ารวจน ้ามันของรัสเซียพบวัตถุประหลาดที่วงกลมอาร์คติก (Arctic Circle) โดยในตอนเริ่มต้นของภำพยนตร์นั้น มีกำรกล่ำวถึงทีมขุดเจำะน้ ำมันของ รัสเซียที่บังเอิญพบกับวัตถุต้องสงสัยบำงอย่ำงที่มีลักษณะคล้ำยกับยำนบินในขณะที่ท ำกำรส ำรวจ น้ ำมัน จึงท ำให้เจ้ำหน้ำที่ของหน่วยชิลด์ลงมำส ำรวจพื้นที่ด้วยตนเอง และในท้ำยที่สุดพวกเขำก็พบกับ ร่ำงของกัปตันอเมริกำที่ถูกปกคลุมไปด้วยน้ ำแข็ง เนื่องจำกบริเวณที่ภำพยนตร์กล่ำวถึงนั้น คือ บริเวณวงกลมอำร์คติก ซึ่ง เป็นบริเวณที่ตั้งอยู่ทำงตอนเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย และอีกหลำย ๆ ประเทศ ในตอนที่ภำพยนตร์ เรื่องนี้ออกฉำยนั้นอยู่ในปี 2011 แต่เนื้อหำของภำพยนตร์อยู่ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 จะเห็นว่ำเป็น ช่วงเดียวกับที่สหพันธรัฐรัสเซียมีกำรอ้ำงสิทธิ์ในพื้นที่บริเวณวงกลมอำร์คติกต่อองค์กำรสหประชำชำติ จึงกลำยเป็นว่ำกำรที่มีนักส ำรวจชำวรัสเซียเข้ำมำพบเจอกับยำนบินประหลำดนั้นเป็นเรื่องที่แสดงให้ เห็นถึงกำรเข้ำมำมีบทบำทของรัสเซียต่อพื้นที่บริเวณนี้ อีกทั้งยังเป็นเรื่องจำกประเด็นในกำรอ้ำงสิทธิ์ ในช่วงเวลำนั้น1

ภำพที่ 4.1 ทีมส ำรวจน้ ำมันของรัสเซียพบวัตถุประหลำดบำงอย่ำงที่วงกลมอำร์คติก, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvel cinematicuniverse/images/d/d4/CapShieldFrozen CATFA.png/revision /latest?cb=20140331042330 (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภำพันธ์ 2561).

1 “Evolution of Arctic Territorial Claims and Agreements: Timeline (1903 – Present),” Stimson Centre Innovative Ideas Changing the World, สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภำพันธ์ 2561, https://www.stimson.org/content/ evolution-arctic-territorial-claims-and-agreements-timeline-1903-present.

68

(2) ยุทธการณ์ที่เมืองเคียฟในปี 1943 (Battle of Kiev in 1943) ในขณะที่ สตีฟ ก ำลังรอผลกำรตรวจร่ำงกำยเพื่อที่จะเตรียม เกณฑ์ทหำรนั้น มีผู้ชำยที่นั่งอยู่ทำงด้ำนข้ำงของเขำก ำลังอ่ำนหนังสือพิมพ์อยู่ และพำดหัวข่ำวใหญ่ ของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นเป็นเหตุกำรณ์เกี่ยวกับยุทธกำรณ์เมืองเคียฟในปี 19432 โดยมีกำรกล่ำวว่ำ “Nazis Retake Zhitomir” ซึ่งแปลว่ำ “กองทัพนำซีเข้ำยึดจิโตมีร์อีกครั้ง” ในนำทีที่ 0:10:37 ซึ่งจำกกำรพำดหัวข่ำวนั้นท ำให้ทรำบได้ว่ำ เหตุกำรณ์ในกำรบุกยึดนี้ ไม่ใช่ครั้งแรก เนื่องจำกในครั้งแรกของยุทธกำรณ์เมืองเคียฟนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 19413 โดยเกิดเหตุกำรณ์ ที่กองทัพแดง4 (Red Army) ถูกกองทัพนำซีเข้ำปิดล้อมและบุกยึดเมืองเคียฟ ซึ่งเหตุกำรณ์นี้เป็น กำรแสดงถึงควำมพ่ำยแพ้ของกองทัพแดงและสหภำพโซเวียต โดยในวันสุดท้ำยของกำรต่อสู้กันนั้น สหภำพโซเวียตเสียนำยทหำรในกองทัพไปกว่ำ 600,000 นำย และมีนำยทหำรที่ได้รับบำดเจ็บกว่ำ 80,000 นำย5 ทว่ำในกำรบุกยึดจิโตมีร์นั้นเป็นเหตุกำรณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงยุทธกำรณ์ เมืองเคียฟในปี 1943 ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ที่กองทัพนำซีเยอรมันโจมตีประเทศในสหภำพโซเวียต อย่ำงยูเครน โดยกำรต่อสู้กันในครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 3 ตุลำคม ค.ศ. 1943 และสิ้นสุดลงในวันที่ 22 ธันวำคม ค.ศ. 1943 โดยทำงกองทัพแดงมีกำรก ำหนดแผนกำรรบออกมำเพื่อใช้ต่อสู้กับกองทัพ นำซีเยอรมันที่เข้ำมำบุกยึดตำมเมืองต่ำง ๆ ในช่วงที่มีกำรบุกยึดเมืองจิโตมีร์นั้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกำยน โดยในกำรรบครั้งนี้มีหน่วยพลทหำรรำบของทำงโซเวียตเข้ำร่วมสองหน่วย คือ หน่วยที่ 38 และ หน่วยที่ 60 ทว่ำในวันแรกของกำรรบพวกเขำไม่สำมำรถฝ่ำกองก ำลังของนำซีเยอรมันได้ จนวันต่อมำ

2 ยุทธกำรณ์เมืองเคียฟในปี 1943 เป็นยุทธกำรณ์ที่เกิดจำกำรโต้ตอบกลับของกองทัพแดงในช่วงปี 1943 โดยในขณะ นั้นกองทัพแดงได้แบ่งปฏิบัติกำรณ์ออกเป็น 3 ด้ำนเพื่อตอบโต้กองทัพนำซีเยอรมันและในท้ำยที่สุดทำงกองทัพแดงก็สำมำรถสร้ำง ชัยชนะให้แก่สหภำพโซเวียตได้ส ำเร็จ 3 ยุทธกำรณ์เมืองเคียฟในปี 1941 เป็นยุทธกำรณ์ที่กองทัพนำซีปิดล้อมกองทัพแดงในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 โดย เหตุกำรณ์กำรปิดล้อมครั้งนี้ถือว่ำเป็นกำรปิดล้อมที่ยำวที่สุดในประวัติศำสตร์กำรรบของทำงสหภำพโซเวียต โดยเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎำคม ไปจนถึง 26 กันยำยน ค.ศ. 1941 โดยยุทธกำรณ์เมืองเคียฟในปี 1941 ถือว่ำเป็นยุทธกำรณ์ที่สร้ำงควำมพ่ำยแพ้ต่อ ทำงสหภำพโซเวียตอย่ำงสิ้นเชิงเนื่องจำกมีทหำรมำกมำยที่ได้รับบำดเจ็บ รวมถึงเสียชีวิต และยังมีบำงคนที่ต้องหลบหนีไปเพรำะ กำรสู้รบครั้งนี้ 4 กองทัพแดง (Red Army) คือ กองทัพของสหภำพโซเวียต เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1917 หลังจำกที่มีกำรปฏิวัติเดือนตุลำคม ในรัสเซีย โดยกองทัพแดงได้ร่วมปฏิบัติกำรมำกมำยหลังจำกที่ถูกจัดตั้ง ไม่ว่ำจะเป็นในช่วงสงครำมกำรเมืองภำยในสหภำพโซเวียต รวมไปถึงสงครำมโลกครั้งที่ 1 และ 2 5 Sh. Ramazanov, “Kiev Defense: the 75th Anniversary of The Tragic Events (July – September 1941),” Storìnki Istorìï, no. 41 (2016): 124 – 138.

69

เขำก็ได้รับกองก ำลังเสริมจำกทำงยูเครนและในที่สุดทำงโซเวียตก็สำมำรถน ำเมืองเคียฟกลับคืนมำได้ หลังจำกนั้นทำงกองทัพแดงและของยูเครนก็ตำมไปต่อสู้กับกองทัพของนำซีเพื่อน ำเมืองคืนกลับมำ จนกระทั่งสงครำมสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ธันวำคม ค.ศ. 1943

รูปภำพ 4.2 ยุทธกำรณ์เมืองเคียฟ ในปี 1943 ที่ปรำกฏในหนังสือพิมพ์, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/0/0e/Zhitomir .png/revision/latest?cb=20141012175110 (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภำพันธ์ 2561).

(3) แผนการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ขององค์กรไฮดรา ในตอนที่กองทัพของนำซีนั้นเข้ำมำตรวจดูควำมเรียบร้อยขององค์กร ไฮดรำว่ำด้วยเรื่องของกำรผลิตอำวุธให้แก่กองทัพนั้น นำยทหำรทั้ง 2 ก็เข้ำมำเห็นแผนกำรของ นำยพลชมิดท์ ที่ต้องกำรจะโจมตีประเทศต่ำง ๆ ในแถบยุโรป รวมไปถึงต้องกำรที่จะโจมตี สหภำพโซเวียตด้วยเช่นกัน โดยมีเป้ำหมำยหลักที่กรุงมอสโก หำกอ้ำงอิงตำมเหตุกำรณ์ใน ประวัติศำสตร์แล้ว ถือว่ำมีควำมถูกต้องตรงตำมประวัติศำสตร์เนื่องจำกในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 ทั้ง นำซีเยอรมัน และสหภำพโซเวียตนั้นต่ำงก็เป็นศัตรูต่อกัน ดังนั้นในส่วนที่มีกำรอ้ำงอิงถึง สหภำพโซเวียตภำยในภำพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้มีกำรดัดแปลงหรือเติมแต่งขึ้นแต่อย่ำงใด เพรำะเป็น เหตุกำรณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศำสตร์โลก

70

รูปภำพที่ 4.3 แผนที่แสดงกำรโจมตีด้วยอำวุธนิวเคลียร์ขององค์กรไฮดรำ, Maps in Movies, https://www.mapsinmovies.com/index-of-films.html (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภำพันธ์ 2561).

4.1.1.2 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางอ้อม (1) การใช้พรอบพกันดาในช่วงสงครามโลก ในช่วงสงครำมโลกทั้งทำงสหรัฐอเมริกำและทำงสหภำพโซเวียตต่ำงก็ มีกำรใช้เครื่องมืออย่ำงพรอบพกันดำ เพื่อเกณฑ์ชำยฉกรรจ์ให้เข้ำมำร่วมรบในกองทัพ โดยทั้งคู่มีกำร ติดประกำศตำมสถำนที่ต่ำง ๆ ตลอดจนถึงใช้พรอบพกันดำเข้ำมำเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจ ำวันของ ประชำชน เช่น กำรฉำยภำพยนตร์ที่มีใจควำมสื่อไปในทำงที่ต้องกำรให้ประชำชนอำสำเข้ำร่วมรบ ตัวอย่ำงเช่นในภำพยนตร์ นำทีที่ 0:09:08 – 0:09:51 เป็นต้น ตลอดจนถึงกำรสร้ำงวีรบุรุษขึ้นมำ โดย ทำงสหรัฐอเมริกำนั้นก็ใช้ กัปตันอเมริกำ เข้ำมำเป็นตัวละครหลักของกำรพรอบพกันดำ ส่วนทำง รัสเซียก็มีกำรใช้สัญลักษณ์ต่ำง ๆ เช่น รูปของผู้น ำอย่ำง โจเซฟ สตำลิน (Joseph Stalin) เข้ำมำใน กำรสร้ำงขวัญและก ำลังใจต่อประเทศชำติ มีกำรใช้ถ้อยค ำบนประกำศที่สำมำรถเข้ำใจได้ง่ำยในกำร ชักชวนให้ประชำชนเข้ำมำสมัครเป็นทหำร กำรใช้พรอบพกันดำของทำงสหรัฐอเมริกำในช่วงสงครำมนั้นมีกำรใช้ ในสื่อต่ำง ๆ มำกมำย ไม่ว่ำจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ ตลอดจนถึงภำพยนตร์ เนื่องจำกพรอบพกันดำถือเป็น อำวุธที่มีควำมส ำคัญในกำรใช้ปลุกระดมกระแสต่ำง ๆ กับประชำชน โดยเนื้อหำส่วนใหญ่ของ พรอบพกันดำในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 นั้นมักจะเป็นกำรชักชวนให้ชำยฉกรรจ์เข้ำรับกำรเกณฑ์ ทหำร กำรแสดงภำพของประชำชนหรือแม้กระทั่งเด็กเล็ก ๆ ที่เข้ำมำมีส่วนร่วมในกำรช่วยเหลือสังคม ตลอดจนกำรสร้ำงภำพของศัตรูเพื่อให้ประชำชนมีกำรรับรู้ที่ตรงกันว่ำอีกฝั่งมีควำมโหดร้ำยเพียงใด

71

โดยหน่วยงำนที่ดูแลกำรใช้พรอบพกันดำโดยเฉพำะของทำงสหรัฐอเมริกำ คือ คณะกรรมกำรข้อมูล สำธำรณะ6 (The Committee on Public Information: CPI) ในส่วนของกำรใช้พรอบพกันดำของทำงฝั่งรัสเซียนั้นเริ่มต้นมำจำก กำรโจมตีของกองทัพนำซีเยอรมัน ในช่วงปี 1941 ทำงรัฐบำลของสหภำพโซเวียตจึงต้องกำรที่จะปลุก กระแสควำมรักชำติในกลุ่มประชำขน โดยกำรใช้วิธีกำรต่ำง ๆ ไม่ว่ำจะเป็นกำรน ำศำสนำกลับมำและ ใช้ศำสนำเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของประชำชน ตลอดจนกำรจัดตั้งหน่วยงำนโฆษณำและปลุกระดม7 (The Department of Agitation and Propaganda: Agitprop) ขึ้นเพื่อก ำหนดนโยบำยทำงศิลปะ และวัฒนธรรมให้เข้ำถึงประชำชนทุกระดับชั้นเพื่อเป็นกำรชี้แนะแนวทำงให้ผู้คนตระหนักถึงบทบำท และหน้ำที่ของพวกตนในช่วงสงครำม ภำพยนตร์ วรรณกรรม และแผ่นภำพต่ำง ๆ จึงกลำยมำเป็น เครื่องมือส ำคัญในกำรปลุกระดมควำมรักชำติและกำรต่อสู้เพื่อเอำชนะศัตรู โดยแผ่นภำพต่ำง ๆ ที่สหภำพโซเวียตใช้ในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 นี้ ต่ำงก็เป็นสิ่งที่สำมำรถสื่อเนื้อหำได้อย่ำงชัดเจน เนื่องจำกถ้อยค ำต่ำง ๆ ที่ปรำกฏอยู่บนแผ่นภำพ นั้นมีควำมกระชับและชัดเจน ส่งผลให้แนวทำงกำรโฆษณำชวนเชื่อผ่ำนสื่อต่ำง ๆ นั้นได้รับควำมนิยม และเป็นสิ่งที่เข้ำมำมีบทบำทอย่ำงมำกในช่วงสมัยนั้น สำมำรถกล่ำวได้ว่ำ กำรใช้พรอบพกันดำของทั้ง 2 ประเทศนั้น จะใช้ ผ่ำนสื่อบันเทิงต่ำง ๆ ไม่ว่ำจะเป็นภำพยนตร์ บทเพลง หรือแม้กระทั่งแผ่นภำพ เมื่อพรอบพกันดำ เหล่ำนั้นถูกเผยแพร่ออกมำสู่ประชำชน โดยมีกำรสื่อเนื้อหำอย่ำงชัดเจน และสำมำรถเข้ำใจได้ง่ำยย่อม ท ำให้กำรปลุกระดมกระแสต่ำง ๆ ในสังคมนั้นท ำได้ง่ำยขึ้น อีกทั้ง 2 ประเทศก็มีหน่วยงำนเฉพำะที่เข้ำ มำดูแลในเรื่องของกำรผลิตพรอบพกันดำ ก็สำมำรถแสดงให้เห็นว่ำทั้งคู่ต่ำงก็ให้ควำมส ำคัญกับกำรใช้ พรอบพกันดำเป็นอย่ำงมำก เนื่องจำกเป็นสิ่งที่สำมำรถกระจำยต่อได้อย่ำงรวดเร็วและไม่ได้ใช้ งบประมำณที่สูงมำกนัก

6 คณะกรรมกำรข้อมูลสำธำรณะ (The Committee on Public Information: CPI) เป็นหน่วยงำนอิสระของทำง รัฐบำลสหรัฐอเมริกำ โดยก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้ำงพรอบพกันดำต่ำง ๆ ในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 1 และ 2 รวมไปถึงสงครำมเย็น โดย ผู้ก่อตั้งหน่วยงำนนี้คือ ประธำนำธิบดี วู้ดโรล์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ในวันที่ 13 เมษำยน ค.ศ. 1917 7 หน่วยงำนโฆษณำและปลุกระดม (The Department of Agitation and Propaganda: Agitprop) เป็นหน่วยงำน ที่อยู่ภำยใต้กำรควบคุมของรัฐบำลกลำงโซเวียต โดยมีหน้ำที่อธิบำยเกี่ยวกับนโยบำยของพรรคคอมมิวนิสต์ให้แก่ประชำชน รวมถึง ใช้สร้ำงแรงจูงใจต่อผู้คนในสังคมเพื่อให้พวกเขำเชื่อมั่นในผลประโยชน์ที่พวกเขำจะได้รับในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมำเป็น รัฐบำล และในช่วงสงครำมโลกหน่วยงำนนี้จะมีหน้ำที่ออกพรอบพกันดำต่ำง ๆ เพื่อใช้ในกำรปลุกระดมกระแสควำมรักชำติให้ เกิดขึ้นในสังคมโซเวียต

72

รูปภำพ 4.4 ประกำศรับสมัครทหำรของสหรัฐอเมริกำในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2, Fed Smith, https://www.fedsmith.com/2016/02/11/should-the-selective-service-be-abolished/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภำพันธ์ 2561).

รูปภำพ 4.5 ประกำศรับสมัครทหำรของสหภำพโซเวียตในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2, All World Wars, http://www.allworldwars.com/Russian%20WWII%20Propaganda%20Posters.html (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภำพันธ์ 2561).

73

(2) บทบาทของกองทัพสหรัฐอเมริกา ในภำพยนตร์ได้มีกำรกล่ำวอ้ำงถึงหน่วยรบของสหรัฐอเมริกำอย่ำง หน่วยพลทหำรรำบที่ 107 (107th Infantry Regiment) ซึ่งเป็นหน่วยรบที่มีอยู่จริงและเข้ำร่วมรบ ในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 และยังกล่ำวถึงกลุ่มฮำวลิ่งคอมมำนโด ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอยู่ในภำพยนตร์ เพียงเท่ำนั้น โดยหน่วยพลทหำรรำบที่ 107 ก่อนหน้ำนี้ คือ หน่วยพลทหำรรำบที่ 7 ของรัฐนิวยอร์ก เนื่องมำจำกกองทหำรรักษำกำรณ์แห่งชำติในนิวยอร์กมองเห็นถึงเหตุกำรณ์ ควำมขัดแย้งที่เกิดขึ้น และสงครำมกลำงเมืองต่ำง ๆ รวมไปถึงสงครำมโลกครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 จึงมี กำรเปลี่ยนแปลงจำกหน่วยพลทหำรรำบที่ 7 ให้เป็นหน่วยที่ 1078 โดยปฏิบัติกำรครั้งแรกของหน่วย คือ กำรเคลื่อนพลจำกนิวยอร์กไปเป็นกองก ำลังเสริมที่ฝรั่งเศสในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 19 ส่วนกลุ่มฮำวลิ่งคอมมำนโด เกิดขึ้นมำจำกกำรรวมตัวของทหำรใน หน่วย 107 ที่กัปตันอเมริกำเข้ำไปช่วยเหลือมำจำกฐำนทัพของไฮดรำ โดยผู้น ำกลุ่มนี้คือ กัปตันอเมริกำ และสมำชิกภำยในกลุ่มทั้งหมดได้แก่ บัคกี้หรือ เจมส์ บูแคแนน บำร์นส์ ดัม ดัม ดูแกน () นำยทหำรชำวอเมริกำ จิม โมริต้ำ (Jim Morita) นำยทหำรชำวอเมริกำ เกบ โจนส์ (Gabe Jones) นำยทหำรชำวอเมริกำ จูเนียร์ จูนีเปอร์ (Junior Juniper) นำยทหำรชำว อเมริกำ แฮปปี้ แซม ซอว์เยอร์ (Happy Sam Sawyer) นำยทหำรชำวอเมริกำ เจมส์ มอนท์โกเมอรี่ ฟอล์สเวิร์ส (James Montgomery Falsworth) นำยทหำรชำวอังกฤษ พิงค์กี้ พิงเคอตัน (Pinky Pinkerton) นำยทหำรชำวอังกฤษ และแจ็คคิวส์ เดอร์นิเออร์ (Jacques Dernier) นำยทหำร ชำวฝรั่งเศส โดยกลุ่มนี้ถือว่ำเป็นกลุ่มที่มีกำรรวมพันธมิตรของสหรัฐอเมริกำในช่วงสงครำมโลก ครั้งที่ 2 เข้ำไว้ด้วยกันภำยในภำพยนตร์เรื่อง ไม่ว่ำจะเป็น ชำวอเมริกำ ชำวอังกฤษ ตลอดจนถึง ชำวฝรั่งเศส ที่ต่ำงก็อยู่ในฝ่ำยสัมพันธมิตรด้วยกันทั้งสิ้น แต่กลับไม่มีกำรปรำกฏตัวของนำยทหำร ชำวโซเวียตแม้แต่คนเดียว อีกทั้งภำยในภำพยนตร์นั้นก็ไม่มีกำรกล่ำวถึงสหภำพโซเวียตเลยทั้ง ๆ ที่ กำรสร้ำงชัยชนะในสงครำมครั้งนี้จะมีควำมร่วมมือจำกสหภำพโซเวียตด้วยก็ตำม จะเห็นว่ำทำงสหรัฐ เองไม่ได้มองควำมส ำคัญในจุดนี้ อีกทั้งในภำคที่ 2 ยังมีกำรอ้ำงไปว่ำ จ่ำสิบเอกบำร์นส์ ถูกกลุ่มไฮดรำ จับตัวไปและเปลี่ยนเขำให้กลำยเป็นอำวุธสังหำรที่ถูกฝึกฝนโดยโซเวียต

8 Harold C. Hansen, “107th Infantry Regiment World War One,” New York State Military Museum and Veterans Research Center, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนำคม 2561, https://dmna.ny.gov/historic/reghist/wwi/infantry/107 thInf/107thInfMain.htm 9 Gerald F. Jacobson, History of 107th infantry U.S.A, (New York: Seventh regiment armory, 1920), 7.

74

รูปภำพ 4.6 รูปภำพกลุ่ม Howling Commandors, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/f/f0/Barnes_ planning.jpg/revision/latest?cb=20120526204619 (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภำพันธ์ 2561).

ภำยในภำพยนตร์ Captain America: The First Avengers นั้นไม่ได้ให้ควำมส ำคัญ กับรัสเซียมำกนัก มีเพียงกำรกล่ำวถึงแค่เพียงเล็กน้อยเท่ำนั้น ทั้ง ๆ ที่ในควำมเป็นจริง สหภำพโซเวียต และสหรัฐอเมริกำต่ำงก็เป็นพันธมิตรต่อกัน และช่วยกันต่อสู้กับนำซีเยอรมันจนท้ำยที่สุดก็สำมำรถ บุกยึดเยอรมันและปิดฉำกสงครำมโลกครั้งที่ 2 ส ำเร็จ ทว่ำภำยในภำพยนตร์นั้นกลับไม่มีกำรกล่ำวถึง ควำมสัมพันธ์ของทั้ง 2 มหำอ ำนำจแต่อย่ำงใด และโดยส่วนใหญ่แล้วในภำพยนตร์ยังเน้นไปทำง สหรำชอำณำจักร และประเทศอื่น ๆ ในฝั่งยุโรปมำกกว่ำ เช่น ในตอนที่หน่วยพลทหำรรำบที่ 107 ต้องเดินทำงไปประจ ำกำรที่สหรำชอำณำจักร หรือในตอนที่กัปตันอเมริกำจะต้องไปออกงำนแสดงตัว กับส.ส.ของสหรัฐอเมริกำที่สหรำชอำณำจักรเช่นกัน อำจจะเป็นเพรำะทำงมำร์เวลนั้นมีกำรวำงตัว ละครที่เป็นรัสเซียให้กลำยเป็นตัวร้ำยในภำคถัดไปก็เป็นได้จึงท ำให้ในภำคนี้ไม่มีกำรกล่ำวถึงเรื่องรำว ของรัสเซียมำกนัก ในตอนต้นของเรื่องที่มีกำรกล่ำวถึงทีมขุดเจำะน้ ำมันของทำงรัสเซียที่พบยำนบินทรง ประหลำดนั้นก็เป็นเหมือนกำรกล่ำวว่ำที่ดินในบริเวณวงกลมอำร์คติกนั้นมีชำวรัสเซียเข้ำมำส ำรวจอยู่ เป็นประจ ำเนื่องจำกกรณีข้อพิพำททำงด้ำนดินแดนทำงตอนเหนือที่ต่ำงฝ่ำยต่ำงก็อ้ำงสิทธิ์เป็นของ ตนเอง ต่อมำในส่วนของภำพหัวข้อข่ำวในหนังสือพิมพ์ ในนำทีที่ 0:08:19 โดยมีหัวข้อข่ำวว่ำ “Nazis Retake Zhitomir” ซึ่งหมำยควำมว่ำ นำซีเข้ำบุกเข้ำยึดเมืองจิโตมีร์อีกครั้ง ในช่วงยุทธกำรณ์ เมืองเคียฟครั้งที่ 2 ในปี 1943 หำกมองจำกพำดหัวข่ำวนั้นจะสำมำรถตีควำมได้ว่ำภำพยนตร์ต้องกำร เน้นย้ ำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่ำต้องกำรจะน ำเสนอเรื่องรำวในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 แต่ในส่วนของพำดหัว ข่ำวนั้นมีกำรจงใจให้เห็นถึงควำมพ่ำยแพ้ของสหภำพโซเวียตเนื่องจำกมีกำรใช้ค ำว่ำ “Retake”

75

ซึ่งแปลว่ำ “บุกยึดอีกครั้ง” โดยหัวข้อข่ำวนี้แสดงให้เห็นถึงควำมล้มเหลวทำงกำรรบของ โซเวียตเนื่องจำกในยุทธกำรณ์เมืองเคียฟนั้น โซเวียตเคยพ่ำยแพ้ต่อกองทัพทหำรของนำซีเยอรมันใน ครั้งแรกที่เกิดกำรบุกขึ้นในปี 1941 แต่เมื่อพิจำรณำจำกบริบทของภำพยนตร์จึงท ำให้สำมำรถเข้ำใจได้ ว่ำกำรบุกยึดของนำซีเยอรมันในครั้งนี้ไม่ใช่ ยุทธกำรณ์เมืองเคียฟ ปี 1941 แต่เป็นยุทธกำรณ์ เมืองเคียฟ ปี 1943 ซึ่งในภำยหลังทำงกองทัพแดงสำมำรถกุมชัยชนะในกำรสู้รบครั้งนี้ กำรโจมตีสหภำพโซเวียตโดยกลุ่มไฮดรำ ในส่วนนี้เป็นกำรแสดงถึงท่ำทีที่ไม่ถูกกันของ ทั้ง 2 ฝ่ำยคือ ทำงไฮดรำที่เป็นองค์กรย่อยของนำซีเยอรมันและสหภำพโซเวียต ซึ่งหำกอิงตำม ประวัติศำสตร์จะเห็นว่ำทั้ง 2 ประเทศนั้นถึงแม้จะมีกำรลงนำมในสัญญำสงบศึกระหว่ำงกันใน ข้อสัญญำนำซี-โซเวียต (Nazi-Soviet Pact) หรือข้อสัญญำโมโลตอฟ-ริบเบนตอฟ (Molotov- Ribbentrop Pact) ซึ่งเป็นสนธิสัญญำว่ำด้วยกำรไม่รุกรำนซึ่งกันและกันโดยเริ่มลงนำมเมื่อวันที่ 23 สิงหำคม ค.ศ. 193910 แต่ในท้ำยที่สุดทำงเยอรมันเองก็เลือกที่จะเพิกเฉยต่อสนธิสัญญำนั้นและ ตัดสินใจบุกโซเวียต จนน ำไปสู่กำรสู้รบระหว่ำงกัน ในส่วนของภำพสะท้อนทำงอ้อมนั้นเป็นกำรเปรียบเทียบโดยผู้วิจัย ซึ่งผู้วิจัยมองว่ำ ในส่วนของกำรใช้พรอบพกันดำเข้ำมำมีบทบำทในกำรเรียกให้ชำยฉกรรจ์เข้ำมำรับสมัครทหำรนั้นต่ำง ก็มีกำรท ำในทุก ๆ ประเทศ ซึ่งในตอนนั้นทำงโซเวียตเองก็มีกำรน ำพรอบพกันดำในส่วนนี้ขึ้นมำใช้ เช่นกัน ในส่วนสุดท้ำยคือบทบำทของกองทัพสหรัฐอเมริกำ โดยในกำรท ำงำนของกองทัพนั้นมี กำรพูดถึงควำมร่วมมือระหว่ำงทำงสหรัฐอเมริกำและสหรำชอำณำจักรอยู่บ่อยครั้ง เช่น ในนำทีที่ 0:10:53 บัคกี้ได้กล่ำวว่ำตนเข้ำบรรจุในหน่วยพลทหำรรำบที่ 107 และจะลงเรือไปประจ ำอยู่ที่ เกำะอังกฤษในตอนเช้ำ และเจ้ำหน้ำที่คำร์เตอร์ที่เข้ำมำช่วยดูแลในหน่วย SSR นั้นเป็นเป็นเจ้ำหน้ำที่ หญิงที่มำจำกอังกฤษเป็นต้น ก็แสดงให้เห็นว่ำสหรัฐมีกำรส่งก ำลังทหำรของตนเองเข้ำไปประจ ำใน สหรำชอำณำจักร แต่กลับไม่มีกำรพูดเกี่ยวกับรัสเซียแม้แต่นิดเดียว ถึงแม้ว่ำทั้ง 2 ประเทศจะมีกำร ประชุมหำรือกัน ก่อนที่จะเข้ำบุกยึดเยอรมันหรือหลังจำกนั้น แต่ทำงภำพยนตร์ก็ไม่ได้ให้ควำมส ำคัญ ในส่วนนี้มำกนัก รำวกับต้องกำรจะให้คนจดจ ำภำพของโซเวียตในแบบที่ควรจะเป็นไว้ ก่อนที่จะมำ สร้ำงบทบำทให้แก่โซเวียตอีกครั้งในภำพยนตร์ Captain America ภำคที่ 2 และ 3

10 “German – Soviet Nonaggression Pact,” HISTORY, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนำคม 2561, https://www. history.com/topics/world-war-ii/german-soviet-nonaggression-pact.

76

4.1.2 Captain America: The Winter Soldier สำระส ำคัญในภำพยนตร์เรื่อง Captain America: The Winter Soldier นั้นเริ่ม ขึ้นจำกระยะเวลำ 2 ปีหลังจำกศึกในนิวยอร์กสิ้นสุดลง กัปตันอเมริกำยังคงอำศัยอยู่ใน กรุงวอชิงตัน ดีซี เขำกลำยเป็นสำยลับท ำงำนให้กับองค์กรชิลด์ โดยมีเพื่อนสนิทอย่ำง แบล็ควิโดว์ อดีตสำยลับชำวรัสเซียที่ในปัจจุบันผันตัวมำท ำงำนให้ทำงสหรัฐอเมริกำ และฟอลคอน อย่ำงไรก็ตำม ในขณะที่ศัตรูของหัวหน้ำชิลด์นั้นสร้ำงอำวุธสังหำรหมู่ขึ้นมำโดยให้เหตุผลว่ำต้องกำรที่จะปกป้องโลก แต่ควำมจริงแล้วกลับต้องกำรที่จะท ำลำยโลกและสร้ำงโลกขึ้นมำใหม่แทน เขำและเพื่อนร่วมทีม จ ำเป็นต้องหยุดกำรใช้อำวุธนี้ แต่เรื่องรำวมันกลับซับซ้อนยิ่งขึ้น เมื่อสตีฟพบกับเพื่อนสนิทอย่ำง บัคกี้ ที่กลำยเป็นผู้ร้ำยที่รู้จักกันในนำมของ วินเทอร์โซลเยอร์ นักฆ่ำที่ผ่ำนกำรฝึกฝนมำจำกโซเวียต โดยผู้วิจัยจะแบ่งกำรวิเครำะห์ในภำคนี้ออกเป็น (1) ภำพสะท้อนที่มีควำม เกี่ยวข้องทำงตรง ได้แก่ ตัวละครนำตำชำ วินเทอร์โซลเยอร์ และโปรเจคอินไซท์ (2) ภำพสะท้อนที่ มีควำมเกี่ยวข้องทำงอ้อม ได้แก่ รำยกำรสิ่งที่กัปตันอเมริกำต้องท ำ 4.1.2.1 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางตรง (1) นาตาชา โรมานอฟ ตัวละครนำตำชำ หรือชื่อจริงของเธอคือ นำตำเลีย อำเลียโนฟนำ โรมำโนว่ำ เป็นชำวรัสเซียมำแต่ก ำเนิด เนื่องจำกบ้ำนเกิดของเธออยู่ที่เมืองสตำลินกรำด (Stalingrad) หรือในปัจจุบันก็คือ เมืองโวลโกกรำด (Volgograd) จึงท ำให้เธอนั้นมีลักษณะที่แสดงออกถึงควำมเป็น รัสเซียอย่ำงชัดเจน อีกทั้งเธอยังเคยถูกฝึกให้เป็นสำยลับของหน่วยข่ำวกรองของรัสเซียจึงท ำให้กำร กระท ำแต่ละอย่ำงของเธอดูจะมีบำงสิ่งบำงอย่ำงซ่อนอยู่ข้ำงในนั้นเสมอ ไม่ว่ำจะเป็นลักษณะกำรพูด ท่ำทำงกำรแสดงออกต่ำง ๆ แต่เธอเลือกที่จะเก็บควำมเป็นรัสเซียของเธอลงไปเพรำะเธอตั้งใจจะมำ เริ่มต้นชีวิตใหม่ในสหรัฐอเมริกำ อย่ำงที่หลำย ๆ ฉำกในภำพยนตร์กล่ำวไว้เช่น ฉำกที่สตีฟพูดว่ำ “Stop lying!” ซึ่งแปลว่ำ “หยุดโกหกสักที!” ในนำทีที่ 0:52:13 นั่นคือเขำบอกให้เธอหยุดโกหกสักที ซึ่งหมำยควำมว่ำที่ผ่ำนมำเขำไม่เคยเชื่อใจเธอเลยสักครั้ง ถึงแม้ว่ำทั้งคู่จะท ำงำนอยู่ภำยใต้องค์กร เดียวกันอย่ำงชิลด์ ออกปฏิบัติภำรกิจด้วยกันมำโดยตลอด แต่เพรำะควำมเป็นสำยลับของเธอและ กำรที่เธอเลือกที่จะปิดบังทุกสิ่งแล้วซ่อนมันไว้ภำยใต้หน้ำกำกของนำตำชำ โรมำนอฟ ท ำให้เขำไม่ไว้ใจ เธอ แต่ภำยหลังจำกที่เธอพิสูจน์ตัวเองให้เขำเห็นว่ำเธอพร้อมที่จะต่อสู้ไปกับเขำก็ท ำให้สตีฟค่อย ๆ เปลี่ยนมุมมองไปจำกเดิม อีกทั้งในตอนที่เธอบอกกับสตีฟว่ำ “The truth is a matter of circumstances, it's not all things to all people all the time. And neither am I.”

77

ซึ่งแปลว่ำ “ควำมจริงมันก็ขึ้นอยู่กับสถำนกำรณ์นั่นแหละ มันไม่ได้มีควำมหมำยต่อใคร ๆ นักหรอก รวมถึงตัวฉันก็ด้วย” ในนำทีที่ 0:57:50 นั่นคือ ควำมจริงมันมีหลำยด้ำนและคนทั่ว ๆ ไปเขำก็ไม่ได้ ใส่ใจมำกนัก ฉันเองก็เหมือนกัน หมำยถึงเธอพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนควำมจริงต่อไปเรื่อย ๆ ตรำบใดที่ มันจะไม่ท ำให้เธอเดือดร้อน เนื่องจำกสตีฟถำมเธอเรื่องเกี่ยวกับกำรสร้ำงเรื่องรำวต่ำง ๆ ในชีวิตขึ้นมำ ซึ่งในส่วนนี้อำจจะสื่อถึงกำรที่เธอปกปิดควำมจริงเกี่ยวกับตัวตนของเธอในสมัยที่เธอยังท ำงำนให้กับ โซเวียต เพรำะหลังจำกที่เธอเลือกที่จะมำอยู่ที่สหรัฐอเมริกำและท ำงำนให้กับองค์กรชิลด์ เธอจ ำเป็นที่ จะต้องปิดควำมลับของเธอที่เคยท ำไว้ในสมัยที่ยังท ำงำนให้กับ K.G.B. เพื่อควำมปลอดภัยของตัวเธอ เอง ในส่วนนี้เองก็แสดงให้เห็นว่ำควำมเป็นรัสเซียของเธออีกทั้งกำรที่เธอ เคยเป็นสำยลับของโซเวียตมำนั้นท ำให้เธอใช้ชีวิตที่อื่นล ำบำกจนต้องเลือกที่จะปกปิดควำมลับนั้น เอำไว้ และเธอเองก็พร้อมที่จะฝังควำมลับนั้นไว้กับตัวเธอเองตลอดกำล ต่อมำในตอนที่ทั้งคู่เดินเข้ำไปในสมองกลของดร.โซล่ำ ปัญญำประดิษฐ์นั้นพูดถึงชื่อจริงของเธอรวมทั้งปี เกิด แต่เธอก็เลือกที่จะตอบกลับไปว่ำ “Some kind of recording.” ซึ่งแปลว่ำ “มันน่ำจะเป็นกำรอัดเสียงไว้นะ” ในนำทีที่ 1:02:53 โดยเธอตั้งใจจะสื่อ ว่ำ ไม่มีใครที่รับรู้เรื่องรำวของเธออีก เสียงที่เอ่ยออกมำก็เป็นเพียงเทปที่เคยอัดทิ้งไว้ แต่แล้วเธอกลับ ต้องผิดคำดเพรำะนั่นไม่ใช่เทปที่ถูกอัดไว้แต่มันคือกำรตอบโต้ของสมองกลที่องค์กรไฮดรำสร้ำงขึ้นมำ ในส่วนนี้แสดงให้เห็นได้ว่ำเธอคิดว่ำควำมลับของเธอไม่ควรจะมีใครในสหรัฐอเมริกำรับรู้ แต่ท้ำยที่สุด เธอก็หนีควำมจริงว่ำเธอคือสำยลับชำวโซเวียตไม่พ้นอยู่ดี ในตอนสุดท้ำยที่เธอเลือกที่จะเผยแพร่ข้อมูลทุกอย่ำงของชิลด์และ ไฮดรำลงอินเตอร์เน็ตเพื่อเปิดโปงควำมจริงที่อยู่เบื้องหลังโปรเจ็คอินไซท์ เพียร์ชก็ได้พูดประโยคหนึ่ง กับเธอว่ำ “If you do this, none of your past is gonna remain hidden. Are you sure you're ready for the world to see you as you really are?” ซึ่งแปลว่ำ “ถ้ำเธอท ำแบบนี้เรื่องรำว ในอดีตของเธอที่ถูกซ่อนไว้มันจะถูกเปิดเผยขึ้นมำ เธอแน่ใจแล้วหรือที่จะให้โลกได้รับรู้ตัวตนที่แท้จริง ของเธอ” ในนำทีที่ 1:43:00 นั่นหมำยถึงเขำต้องกำรที่จะรู้ว่ำเธอพร้อมที่จะให้โลกรับรู้ตัวตนที่แท้จริง ของเธอ รับรู้ในสิ่งที่เธอปกปิดมำตลอดตั้งแต่เข้ำท ำงำนให้กับชิลด์จริง ๆ หรือ แต่นำตำชำเองก็พร้อมที่ จะเดิมพันในสิ่งนี้เพรำะในท้ำยที่สุดเธอก็เลือกที่จะเปิดโปงทุกสิ่งรวมทั้งข้อมูลของเธอเอง และในส่วน นี้ก็ท ำให้เธอถูกสภำควำมมั่นคงแห่งชำติ (UNSC) เรียกตัวไปสอบสวน เพรำะเธอเคยสร้ำงภัยคุกคำม ต่อสหรัฐอเมริกำมำกมำยไม่ว่ำจะเป็นกำรจำรกรรมข้อมูลของรัฐในสมัยที่เธอยังท ำงำนให้กับ K.G.B. แต่เธอก็เลือกที่จะท้ำทำยผู้ประชุมตรงนั้นทั้งหมดว่ำให้จับเธอเข้ำคุกถ้ำคิดว่ำสำมำรถรับมือกับ

78

เหตุกำรณ์เลวร้ำยอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนำคต เนื่องจำกเธอก็เป็นส่วนหนึ่งของขบวนกำรอเวนเจอร์สที่ เคยช่วยกอบกู้โลกเมื่อ 2 ปีก่อน ก่อนที่เธอจะต้องหลบหนีออกจำกประเทศไป และในตอนท้ำยของภำพยนตร์เธอก็น ำแฟ้มข้อมูลของ วินเทอร์โซลเยอร์มำให้กัปตันอเมริกำ โดยเธอบอกว่ำเธอใช้เส้นสำยที่เธอมีอยู่ในมอสโกเพื่อน ำข้อมูล ส่วนนี้มำให้กับเขำแล้วเธอก็เดินจำกไป

รูปภำพ 4.7 นำตำชำ โรมำนอฟ ขณะที่ก ำลังปฏิบัติภำรกิจซ้อน, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/1/1f/Widowsmirk.jpg/revision/ latest?cb=20141127042556 (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภำพันธ์ 2561).

(2) วินเทอร์โซลเยอร์ ตัวละครวิเทอร์โซลเยอร์นั้นแต่เดิมคือ จ่ำสิบเอก เจมส์ บูแคแนน บำร์นส์ ที่หล่นจำกรถไฟในขณะที่ก ำลังปฏิบัติภำรกิจของกลุ่มฮำวลิ่งคอมมำนโด โดยในภำพยนตร์มี กำรเล่ำเรื่องรำวว่ำเขำถูกไฮดรำจับตัวไปและน ำไปฝึกให้กลำยเป็นเครื่องมือสังหำรโดยโซเวียต ในเรื่องเขำได้มีกำรพูดภำษำรัสเซียขึ้นในขณะที่เขำก ำลังจัดกำร เป้ำหมำยอย่ำงกัปตันอเมริกำและนำตำชำ โดยประโยคที่ว่ำคือ “Она у меня. Найди его.” ซึ่งแปลว่ำ “ผู้หญิงเป็นของฉัน ไปตำมหำผู้ชำยซะ” ในนำทีที่ 1:19:18 โดยประโยคนี้หมำยควำมว่ำ วินเทอร์โซลเยอร์จะเป็นคนจัดกำรนำตำชำ และให้ลูกน้องที่เหลือไปจัดกำรสตีฟแทน ซึ่งในส่วนนี้ไม่ จ ำเป็นต้องใส่บทพูดของวินเทอร์โซลเยอร์เป็นภำษำรัสเซียก็ได้ เพรำะหลังจำกนี้เขำก็สำมำรถสื่อสำร ภำษำอังกฤษปกติ แต่เพรำะกำรฝึกที่โซเวียตนั้นท ำให้เขำได้เรียนรู้ภำษำต่ำง ๆ มำกมำย แต่ในส่วนนี้ ทำงภำพยนตร์ต้องกำรจะเน้นว่ำ วินเทอร์โซลเยอร์นั้นคือมือสังหำรที่ถูกฝึกจำกโซเวียตโดยตรง ที่ สำมำรถสื่อสำรเป็นภำษำรัสเซีย แต่ในภำยหลังเขำก็สำมำรถปรับตัวให้เข้ำกับสภำวะแวดล้อมโดยรอบ และเปลี่ยนมำใช้ภำษำที่ทุก ๆ คนใช้กัน

79

โดยในตอนที่เขำเป็นวินเทอร์โซลเยอร์และได้รับมอบหมำยภำรกิจมำ จัดกำรสตีฟและนำตำชำนั้น เขำจะไม่สำมำรถจ ำตัวตนเดิมที่เป็นจ่ำสิบเอก เจมส์ บูแคแนน บำร์นส์ได้ เพรำะทุก ๆ ครั้งหลังจำกที่เสร็จสิ้นภำรกิจ เขำก็จะถูกล้ำงสมองก่อนที่จะน ำไปแช่แข็งเพื่อเก็บรักษำ เซลล์เอำไว้ และพอไฮดรำต้องกำรจะใช้งำนเขำ เขำก็จะถูกน ำออกมำจำกตู้แช่แข็งและล้ำงสมองอีก ครั้งเพื่อป้อนภำรกิจใหม่เข้ำไป จึงท ำให้เขำแทบจะไม่หลงเหลือควำมทรงจ ำใด ๆ ก่อนที่จะถูกจับมำ แต่แล้วสตีฟก็พยำยำมท ำให้เขำนึกขึ้นได้อีกครั้ง ในส่วนนี้ก็เปรียบได้ว่ำจิตใต้ส ำนึกของคนเรำทุกคน เมื่อพบเจอกับควำมคุ้นเคยแล้วก็จะสำมำรถนึกย้อนช่วงเวลำเก่ำ ๆ ขึ้นมำ ถึงแม้ว่ำควำมทรงจ ำ เหล่ำนั้นจะเลือนลำงจนกลำยเป็นเพียงเศษเสี้ยวควำมทรงจ ำก็ตำม ต่อให้ไฮดรำจะล้ำงสมอง วินเทอร์โซลเยอร์มำกเพียงใด แต่ในท้ำยที่สุดเขำก็ยังคงจ ำ สตีฟ คนที่เป็นเพื่อนรักของเขำได้อยู่ดี

รูปภำพ 4.8 วินเทอร์โซลเยอร์ ขณะก ำลังปฏิบัติภำรกิจสังหำรกัปตันอเมริกำ, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/4/43/ Winter_Soldier%27s_Prosthetic_Arm.jpg/revision/latest?cb=20140505000227 (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภำพันธ์ 2561).

(3) โปรเจคอินไซท์ โปรเจคอินไซท์ คือ โปรเจคที่ชิลด์สร้ำงขึ้นมำเพื่อใช้ก ำจัดต้นตอของ เหล่ำวำยร้ำย หรือบุคคลที่อำจจะก่อให้เกิดภัยอันตรำยต่อมวลมนุษยชำติในอนำคต ไม่ว่ำจะเป็นกลุ่ม ผู้ก่อกำรร้ำยต่ำง ๆ ตลอดจนถึงอำชญำกรข้ำมชำติ ในส่วนของโปรเจคนี้ตัวละครอเล็กซำนเดอร์ เพียร์ชมีกำรยกตัวอย่ำง ขึ้นมำว่ำ “It's just a matter of time before a dirty bomb goes off in Moscow” ซึ่งแปลว่ำ “อย่ำงไรก็ตำมไม่ช้ำก็เร็วก็ต้องมีนิวเคลียร์ไปตกที่มอสโกอยู่ดี” ในนำทีที่ 1:46:10 หมำยควำมว่ำ ไม่ ว่ำจะช้ำหรือเร็วสักวันหนึ่งมอสโกก็จะต้องถูกระเบิดนิวเคลียร์เล่นงำนอยู่ดี เปรียบได้ว่ำหำกยำน เฮลิแคริเออร์ส์ไม่ถูกปล่อยขึ้นไปนั้นอำจจะเกิดเหตุกำรณ์ระเบิดนี้ขึ้นมำก็เป็นได้ โดยเหตุผลที่เขำ ยกตัวอย่ำงมอสโกขึ้นมำนั้น เนื่องจำกสหพันธรัฐรัสเซียนั้นก็เป็นอีกหนึ่งประเทศมหำอ ำนำจที่มี

80

บทบำทบนเวทีโลกอยู่บ่อยครั้ง และในเมืองหลวงของรัสเซียอย่ำงมอสโกก็เคยประสบกำรถูกลอบวำง ระเบิดมำหลำยครั้งเช่นกัน ดังตัวอย่ำงต่อไปนี้ ในวันที่ 6 กุมภำพันธ์ ค.ศ. 2004 เกิดเหตุระเบิดขึ้นในรถไฟใต้ดินทำง ตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงมอสโก ช่วงเวลำ 8 นำฬิกำ 40 นำที ขณะรถไฟขบวนนี้ก ำลังเดินทำงจำก สถำนีปำเวเลสกำย่ำ ไปสู่สถำนีอัฟโตซำโวดสกำย่ำ จำกเหตุกำรณ์ในครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตกว่ำ 41 คน และ บำดเจ็บกว่ำ 120 คน11 ต่อมำในวันที่ 29 มีนำคม ค.ศ. 2010 เกิดเหตุระเบิดขึ้นอีกครั้งในบริเวณ สถำนีรถไฟใต้ดินของมอสโก ในครำวนี้เกิดเหตุระเบิดขึ้นถึง 2 ครั้งภำยในวันเดียวกัน โดยครั้งแรก เกิดขึ้นที่สถำนีลูบยำนก้ำ ช่วงเวลำ 7 นำฬิกำ 56 นำที และครั้งที่ 2 เกิดขึ้นที่สถำนีพำร์ค คูลตูรึย ช่วงเวลำ 8 นำฬิกำ 37 นำที จำกเหตุกำรณ์ข้ำงต้นมีผู้เสียชีวิตรวมกว่ำ 40 คน โดยแบ่งเป็นที่สถำนี ลูบยำนก้ำ 26 คน และสถำนีพำร์ค คูลตูรึยอีก 14 คน นอกจำกนี้ยังมีผู้ได้รับบำดเจ็บจำกเหตุกำรณ์ ดังกล่ำวกว่ำ 102 คน12 เหตุกำรณ์ต่อมำในวันที่ 24 มกรำคม ค.ศ. 2011 เกิดเหตุระเบิดขึ้นใน มอสโกอีกครั้ง และครำวนี้เกิดที่ท่ำอำกำศยำนบินนำนำชำติโดโมเดโดโว เป็นท่ำอำกำศยำนที่ใหญ่ที่สุด ในรัสเซีย โดยตั้งอยู่ห่ำงจำกมอสโกไปทำงตะวันออกเฉียงใต้ประมำณ 40 กิโลเมตร ในช่วงเวลำ 16 นำฬิกำ 32 นำที จำกเหตุกำรณ์ในครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตกว่ำ 37 คน และบำดเจ็บกว่ำ 173 คน13 จำกเหตุกำรณ์ทั้ง 3 เหตุกำรณ์ข้ำงต้นนั้น ถือว่ำมอสโกเผชิญกับสถำนกำรณ์ ควำมไม่สงบอยู่บ่อยครั้ง อำจเป็นเพรำะมอสโกนั้นคือเมืองหลวงของสหพันธรัฐรัสเซีย และประเทศ รัสเซียเองก็เป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนำดใหญ่ อีกทั้งยังเป็นประเทศมหำอ ำนำจ และหำกต้องกำรที่จะ สร้ำงกำรก่อกำรร้ำยจนเกิดข่ำวโด่งดังไปทั่วก็ถือว่ำรัสเซียเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี และถ้ำหำกกลุ่ม ผู้ก่อกำรร้ำยต้องกำรที่จะท ำลำยประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็มักจะมุ่งตรงไปที่เมืองหลวงอยู่เสมอ ๆ โดย กำรยกตัวอย่ำงนี้ถือได้ว่ำเป็นกำรบ่งบอกถึงกำรกระท ำของผู้ก่อกำรร้ำยที่อำจจะเกิดขึ้นในอนำคต หำกไม่เร่งก ำจัดเสียตั้งแต่ตอนนี้โดยกำรใช้ยำนเฮลิแคริเออร์ที่อยู่ภำยใต้กำรท ำงำนของโปรเจคอินไซท์

11 Jill Dougherty, “Moscow metro blast kills 39,” CNN, สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษำยน 2561, http://edition. cnn.com/2004/WORLD/europe/02/06/moscow.blast/. 12 “Moscow metro hit by deadly suicide bombings,” BBC, สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษำยน 2561, http://news. bbc.co.uk/2/hi/europe/8592190.stm. 13 “Moscow bombing: Carnage at Russia’s Domodedovo airport,” BBC, สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษำยน 2561, http://www.bbc.com/news/world-europe-12268662.

81

รูปภำพ 4.9 โปรเจคอินไซท์, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/8/89/Project_Insight.png/revision/ latest?cb=20141126042706 (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภำพันธ์ 2561).

4.1.2.2 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางอ้อม (1) รายการสิ่งที่กัปตันอเมริกาต้องท้า รำยกำรสิ่งที่ต้องท ำของกัปตันอเมริกำ เนื่องจำกเขำหลับใหลอยู่ใต้ น้ ำแข็งนำนเกือบ 70 ปี จึงท ำให้สิ่งต่ำง ๆ ในยุคปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ส ำหรับเขำทั้งสิ้น เขำจึง ต้องปรับตัวโดยกำรตำมข่ำวสำรต่ำง ๆ ในระหว่ำงที่เขำยังคงไม่ฟื้นขึ้นมำ โดยในส่วนของรำยกำรนี้มี กำรเปลี่ยนแปลงไปตำมแต่ละประเทศที่มีกำรฉำยภำพยนตร์ เช่น สหรำชอำณำจักร ประเทศ ไอร์แลนด์ ประเทศเกำหลี ประเทศสเปน ประเทศอิตำลี ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศบรำซิล ประเทศเยอรมัน และกลุ่มประเทศในอเมริกำกลำงและอเมริกำใต้ เมื่อภำพยนตร์กัปตันอเมริกำเข้ำฉำยที่ประเทศรัสเซีย ทำงมำร์เวลก็มีกำรปรับเปลี่ยนรำยกำรสิ่งที่ต้อง ท ำต่ำง ๆ เช่นกัน โดยสิ่งที่เปลี่ยนไปนั้น เป็นสิ่งที่มีควำมส ำคัญต่อประเทศนั้น ๆ รำยกำรสิ่งที่เขำต้อง ท ำที่ปรำกฏในขณะที่ภำพยนตร์ฉำยในประเทศรัสเซีย สิ่งที่กัปตันเขียนไว้ ได้แก่ Yuri Gagarin, Vladimir Vystosky, Soviet Union Dissolution – 1991 และ Moscow doesn't believe in tears โดยทั้ง 4 อย่ำงนี้ต่ำงก็เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงควำมเป็นรัสเซียอย่ำงชัดเจน 1. ยูริ กำกำริน14 (Yuri Gagarin) เขำคือนักบินอวกำศชำวโซเวียต คน แรกของโลกที่สำมำรถกลับมำยังโลกได้อย่ำงปลอดภัย ซึ่งเขำไม่ใช่คนแรกที่โซเวียตส่งออกไปท่องใน อวกำศ แต่เขำคือคนที่กลับมำโลกในสภำพที่ปกติเป็นคนแรก ในวันที่ 12 เมษำยน ค.ศ. 1961 เป็น ครั้งแรกของโลกที่มีกำรออกไปท่องในอวกำศ โดยใช้ยำนอวกำศที่ชื่อว่ำ วำสต็อก 1 (Vostokk 1) ยูริ กำกำริน ได้ท ำกำรโคจรรอบโลกที่มีระยะทำง 302 กิโลเมตร โดยใช้เวลำ 108 นำที ที่ควำมเร็ว

14 “Yuri Gagarin: Life in the Pictures,” Russian Archive Online, สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภำพันธ์ 2561, http:// www.russianarchives.com/gallery /gagarin/index.html.

82

18,000 ไมล์ต่อชั่วโมง เขำคือมนุษย์คนแรกที่มองเห็นโลกจำกด้ำนนอกว่ำลักษณะของโลกนั้นเป็น ทรงกลม มีส่วนประกอบของพื้นดินและพื้นน้ ำ 2. วลำดีมีร์ วึยซอสกี้15 (Vladimir Vystoskiy) เขำคือนักแสดง นักประพันธ์เพลง และนักร้องชำวรัสเซีย ที่พยำยำมสื่อถึงสภำพสังคมและกำรเมืองในช่วง สหภำพโซเวียตว่ำมีควำมเป็นอยู่ที่ยำกล ำบำกเพียงใด ในขณะนั้นทำงกำรต่ำงก็เพ่งเล็งเขำและไม่พอใจ กับสิ่งที่เขำสื่อออกมำ ทว่ำในภำยหลังเขำกลำยเป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งที่ชำวรัสเซียต่ำงก็ให้ ควำมส ำคัญ 3. กำรล่มสลำยของสหภำพโซเวียตในค.ศ. 199116 (Soviet Union Dissolution – 1991) เป็นเหตุกำรณ์ที่ส ำคัญมำกเหตุกำรณ์หนึ่งในประวัติศำสตร์โลก เนื่องจำกกำร ล่มสลำยของสหภำพโซเวียตนั้นท ำให้ประเทศที่ใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งหำยไปจำกแผนที่โลก โดย เหตุกำรณ์เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครำมเย็น เนื่องจำกในตอนที่กัปตันอเมริกำยังอยู่ในกองทัพนั้นเป็น ช่วงเวลำสงครำมโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในตอนนั้นสหรัฐอเมริกำยังคงเป็นพันธมิตรกับสหภำพโซเวียต แต่พอ หลังจำกสงครำมโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ก็เกิดสงครำมเย็นตำมมำและในตอนนั้นทั้งคู่กลำยเป็นศัตรูต่อ กัน แต่ภำยหลังจำกสงครำมเย็นสิ้นสุดลง ในวันที่ 25 ธันวำคม ค.ศ. 1991 ประธำนำธิบดี มิคำร์อิล กอร์บำชอฟก็ประกำศลำออกจำกต ำแหน่งเนื่องด้วยปัจจัยต่ำง ๆ ไม่ว่ำจะเป็นทำงด้ำน กำรเมือง สังคม หรือเศรษฐกิจในสมัยนั้น และในวันที่ 31 ธันวำคม ค.ศ. 1991 สหภำพโซเวียต ก็ล่มสลำยลง 4. ภำพยนตร์ Moscow doesn’t believe in tears17 เป็นภำพยนตร์ ที่บอกเล่ำเรื่องรำวชีวิตของหญิงสำวที่เป็นเพื่อนกัน 3 คน โดยจะเป็นเรื่องรำวของพวกเธอตั้งแต่ช่วง วัยรุ่นไปจนถึงวัยกลำงคน และจะเป็นเรื่องรำวที่เกี่ยวกับควำมฝัน ควำมหวัง ควำมรัก ควำมผิดหวัง ควำมแตกต่ำงทำงอำชีพ และควำมรักที่เกือบจะสำยเกินไป โดยภำพยนตร์เรื่องนี้เริ่มฉำยในวันที่ 11 กุมภำพันธ์ ค.ศ. 1980 ซึ่งเป็นช่วงของสหภำพโซเวียต อีกทั้งภำพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับรำงวัล ออสกำร์ ในสำขำภำพยนตร์ภำษำต่ำงประเทศ เมื่อปี 1981

15 Mariya Shkolnikova, “Vladimir Vysotsky: The Biography,” Vladimir Vysotsky The Official Site, สืบค้น เมื่อวันที่ 23 กุมภำพันธ์ 2561, http:// www.kulichki.com/vv/eng/bio.html. 16 “Soviet Union” HISTORY, สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภำพันธ์ 2561, http://www.history.com/topics/history- of-the-soviet-union. 17 “Moscow Doesn’t Believe in Tears,” IMBD, สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภำพันธ์ 2561, http://www.imdb.com /title/tt0079579/.

83

ภำพที่ 4.10 รำยกำรสิ่งที่ต้องท ำของกัปตันอเมริกำ ในภำพยนตร์ที่ฉำยในประเทศรัสเซีย, Comics Alliance, http://comicsalliance.com/captain-america-the-winter-soldier-movie-international-list-differences/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภำพันธ์ 2561).

ภำยในภำพยนตร์ Captain America: The Winter Soldier จะมีตัวละครหลักที่ สำมำรถโยงให้เกี่ยวข้องกับรัสเซีย นั่นก็คือ นำตำชำ โรมำนอฟ และ วินเทอร์โซลเยอร์ โดยนำตำชำนั้น เป็นตัวละครที่มีจุดก ำเนิดอยู่ที่รัสเซียโดยตรง อีกทั้งยังได้รับกำรฝึกสอนต่ำง ๆ จำกสถำบันฝึกสำยลับ ของโซเวียตจนได้รับฉำยำว่ำ แบล็ควิโดว์ มำในที่สุด แต่สุดท้ำยแล้วเธอก็เลือกที่จะทิ้งบ้ำนเกิดของเธอ และหันมำท ำงำนให้ทำงสหรัฐอเมริกำ หรือเข้ำรับหน้ำที่ภำยใต้องค์กรชิลด์ แต่ในส่วนของ วินเทอร์โซลเยอร์นั้น เขำถูกกลุ่มไฮดรำจับตัวไปก่อนที่จะน ำเขำไปประจ ำที่ฐำนทัพไฮดรำในไซบีเรีย โดยเขำจะถูกล้ำงสมองทุกครั้งหลังจำกที่ได้รับค ำสั่งมำ เพื่อให้เขำเป็นเครื่องมือสังหำรอย่ำงเต็ม รูปแบบ ซึ่งในส่วนนี้ตัววินเทอร์โซลเยอร์นั้นเรียกได้ว่ำเป็นผู้ถูกกระท ำโดยที่เขำไม่มีควำมยินยอมที่จะ ปฏิบัติภำรกิจต่ำง ๆ ด้วยควำมเต็มใจ แต่ในส่วนของนำตำชำนั้น เธอเลือกที่จะเข้ำรับกำรฝึกจนกระทั่ง ได้รับบรรจุเข้ำหน่วยข่ำวกรองของโซเวียตอย่ำง K.G.B. แต่ท้ำยที่สุดเธอก็เลือกที่จะละทิ้งหน้ำที่ตรง ส่วนนั้นและหันหน้ำมำช่วยทำงฝั่งศัตรูของบ้ำนเกิดเธอเองอย่ำงสหรัฐอเมริกำ โดยผู้วิจัยเลือกตัวละคร ทั้ง 2 ตัวนี้ขึ้นมำเนื่องจำกภำยในภำพยนตร์นั้นมีกำรให้ควำมส ำคัญต่อตัวละครทั้ง 2 รองลงมำจำก กัปตันอเมริกำ และทั้งคู่ยังมีควำมเกี่ยวพันกับรัสเซีย ทั้งนำตำชำและวินเทอร์โซเยอร์นั้นต่ำงก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งของทำงรัสเซีย แต่ในขณะที่นำตำชำสำมำรถเลือกที่จะทิ้งอดีตของตัวเองไว้และเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ทำง วินเทอร์โซลเยอร์กลับท ำไม่ได้ เหตุเพรำะเขำถูกล้ำงสมองทุก ๆ ครั้งจนท ำให้ไม่สำมำรถจดจ ำเรื่องรำว ในอดีตได้อีก อย่ำงไรก็ตำมด้วยควำมที่เป็นเครื่องมือสังหำรจึงท ำให้พวกเขำไม่ได้รับควำมไว้วำงใจ เท่ำที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่ำงของนำตำชำไม่ว่ำจะเป็นค ำพูดของกัปตันอเมริกำ หรืออเล็กซำนเดอร์ เพียร์ช ในส่วนของวินเทอร์โซลเยอร์นั้นถึงแม้ว่ำเขำจะเป็นมือสังหำรที่ได้รับกำรขนำนนำมว่ำมีควำม

84

เหี้ยมโหดเป็นอย่ำงมำก และไม่เคยปฏิบัติภำรกิจพลำดสักครั้ง จึงท ำให้เขำกลำยเป็นบุคคลอันตรำย คนหนึ่งที่ทุก ๆ คนต้องระวัง แต่กลับมีเพียงสตีฟที่เป็นเพื่อนสมัยเด็กของเขำเท่ำนั้นที่รู้ว่ำนิสัยที่แท้จริง ของเพื่อนตัวเองเป็นอย่ำงไร และสตีฟก็พร้อมที่จะเข้ำไปช่วยเหลือเพื่อนของเขำอย่ำงสุดควำมสำมำรถ จะเห็นได้จำกหลำย ๆ ฉำกในภำพยนตร์ที่สตีฟเลือกที่จะพูดค ำต่ำง ๆ เพื่อย้ ำเตือนเรื่องรำวในอดีต ระหว่ำงเขำกับวินเทอร์โซลเยอร์ ถึงแม้ว่ำจะไม่สำมำรถท ำให้อีกคนจดจ ำเขำได้ในทันที แต่ท้ำยที่สุด จิตใต้ส ำนึกของวินเทอร์โซลเยอร์ก็ท ำให้เขำเริ่มที่จะจดจ ำเรื่องรำวในอดีต ในส่วนของโปรเจคอินไซต์นั้นจะเห็นว่ำค ำพูดของเพียร์ชที่กล่ำวไว้ว่ำ “It's just a matter of time before a dirty bomb goes off in Moscow” ซึ่งตีควำมได้ว่ำจำกเหตุกำรณ์ ควำมไม่สงบที่ผ่ำนมำนั้นรัสเซียก็ประสบกับกำรถูกลอบวำงระเบิดบ่อยครั้ง ดังนั้นหำกผู้ก่อกำรร้ำยยัง ไม่ถูกก ำจัดโดยกำรใช้โปรเจคอินไซท์นี้ รัสเซียก็จะยังคงมีควำมเสี่ยงที่จะเกิดเหตุกำรณ์ควำมไม่สงบที่มี ระดับที่รุนแรงขึ้น โดยในครำวนี้อำจจะไม่ใช่เพียงระเบิดทั่ว ๆ ไปแต่ว่ำเป็นระเบิดนิวเคลียร์แทน ดังนั้นหำกต้องกำรให้โลกสงบสุขก็ควรที่จะปล่อยยำนเฮลิแคริเออร์ขึ้นไปและจัดกำรเป้ำหมำยตำมที่ วำงแผนไว้ในโปรเจครีเบิร์ท สุดท้ำยในส่วนของรำยกำรสิ่งที่ต้องท ำของกัปตันอเมริกำนั้นเรียกว่ำ เป็นกำรเปลี่ยนเพื่อ เอำใจประเทศที่ภำพยนตร์เข้ำฉำย เนื่องจำกไม่ได้มีเพียงประเทศรัสเซียเท่ำนั้น ยังมีประเทศอื่น ๆ ได้แก่ สหรำชอำณำจักร ประเทศไอร์แลนด์ ประเทศเกำหลี ประเทศสเปน ประเทศอิตำลี ประเทศ ออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศบรำซิล ประเทศเยอรมัน และกลุ่มประเทศ ในอเมริกำกลำงและอเมริกำใต้ โดยจะมีเพียง 4 อย่ำงที่จะยังคงเดิม แต่ที่เหลือจะมีกำรเปลี่ยนไปตำม ประเทศดังที่กล่ำวข้ำงต้น และ 4 อย่ำงที่คงเดิมได้แก่ อำหำรไทย ภำพยนตร์ Star Wars และ Star Trek วงดนตรี Nirvana นักมวย Rocky และเพลง Trouble man เพื่อเป็นกำรแสดงถึงสิ่งที่ กัปตันอเมริกำจ ำเป็นต้องรู้ในแต่ละประเทศ ในภำพยนตร์ Captain America: The Winter Soldier มีกำรสะท้อนถึงรัสเซียทำงตรง เป็นจ ำนวนมำก และยังมำกกว่ำใน Captain America: The First Avenger อีกด้วย โดยเรื่องรำว ส่วนใหญ่มีกำรกล่ำวถึงรัสเซียมำกขึ้นจำกเดิม 4.1.3 Captain America: The Civil War สำระส ำคัญของภำพยนตร์เรื่อง Captain America: The Civil War นั้นเริ่มต้น ขึ้นโดย กัปตันอเมริกำพำทีมอเวนเจอร์ไปจัดกำรเหล่ำร้ำยที่ต้องกำรมำขโมยอำวุธเคมีชีวภำพ แต่ ระหว่ำงกำรต่อสู้กันนั้นกลับเกิดเหตุกำรณ์ไม่คำดคิดขึ้นเรื่องมำจำกผลกระทบจำกกำรต่อสู้ของพวก เขำท ำให้ประชำชนคนอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุกำรณ์ต้องเสียชีวิตลงไปหลำยรำย ทำงรัฐบำลจึง ต้องกำรที่จะเข้ำมำควบคุมกลุ่มอเวนเจอร์นี้โดยให้ท ำงำนภำยใต้กำรดูแลขององค์กรสหประชำชำติ ใน

85

กำรท ำข้อตกลงนี้ท ำให้กลุ่มอเวนเจอร์แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง โดยฝ่ำยหนึ่งคือ กัปตันอเมริกำ เขำมองว่ำ เขำต้องกำรที่จะปกป้องโลกต่อไปโดยปรำศจำกกำรแทรกแซงของรัฐบำล ส่วนอีกฝ่ำยคือ ไอรอนแมน ที่ต้องกำรให้ทีมอเวนเจอร์ยังคงสำมำรถปฏิบัติหน้ำที่ได้ถูกต้องตำมกฎหมำยและอยู่ภำยใต้กำรดูแล ของรัฐบำล โดยผู้วิจัยจะแบ่งกำรวิเครำะห์ในภำคนี้ออกเป็น (1) ภำพสะท้อนที่มีควำม เกี่ยวข้องทำงตรง ได้แก่ คำถำปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ ตัวละครผู้พันวำซิลี คำร์ปอฟ และฐำนทัพของ ไฮดรำในเขตไซบีเรีย (2) ภำพสะท้อนที่มีควำมเกี่ยวข้องทำงอ้อม ได้แก่ ค ำพูดของแซมที่พูดถึงบัคกี้ และค ำพูดของ โทนี่ สตำร์ค ที่ว่ำนำตำชำ โรมำนอฟ 4.1.3.1 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางตรง (1) ชุดค้าสั่งการวินเทอร์โซลเยอร์ ในตอนเริ่มต้นภำพยนตร์นั้นมีกำรบัคกี้ออกมำจำกหลอดแก้วและ มีนำยทหำรคนหนึ่งอ่ำนค ำภำษำรัสเซียเพื่อใช้ปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ขึ้นมำรับมอบหมำยภำรกิจ โดยค ำภำษำรัสเซียเหล่ำนั้นได้แก่ желание, ржавый, семнадцать, рассвет, печь, девять, доброкачественный, возвращение на родину, один และ грузовой вагон 1. желание หมำยถึง ควำมปรำรถนำ โดยในส่วนนี้ทำงผู้วิจัยคิดว่ำ หมำยถึง ควำมปรำรถนำที่จะปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ที่ฝังอยู่ในจิตใจของบัคกี้ขึ้นมำ เนื่องจำกตอนที่น ำ เขำออกมำจำกตู้แช่แข็งนั้นเขำยังคงเป็นบัคกี้ หรือจ่ำสิบเอก เจมส์ บูแคแนน บำร์นส์ เท่ำนั้นแต่พอ เขำได้ยินคำถำนี้เข้ำไปเขำก็จะกลำยเป็นวินเทอร์โซลเยอร์เต็มตัว และพร้อมที่จะรับมอบภำรกิจ ต่อไป 2. ржавый หมำยถึง เป็นสนิม โดยค ำค ำนี้ผู้วิจัยเลือกที่จะตีควำมไป ถึงตัวตนของบัคกี้ที่เป็นเจ้ำของร่ำงกำย เนื่องจำกหำกในวันนั้นบัคกี้ไม่ได้รับกำรช่วยเหลือจำกองค์กร ไฮดรำเขำก็เป็นเพียงร่ำงที่บำดเจ็บและเสียชีวิตไปในที่สุด ก็เปรียบเสมือนร่ำงกำยของเขำนั้นคือสิ่งที่ ถูกสนิมกัดกินเมื่อไม่ช้ำก็ต้องผุกร่อนไปตำมกำลเวลำ 3. семнадцать หมำยถึง 17 โดยเลขนี้มีควำมหมำยถึงเลขที่ปรำกฏ อยู่บนหน้ำแฟ้มที่นำตำชำน ำมำให้สตีฟในตอนท้ำยของ Captain America: The Winter Soldier ซึ่ง หมำยถึง เลขรหัสแฟ้มงำนของวินเทอร์โซลเยอร์ 4. рассвет หมำยถึง รุ่งสำง เนื่องจำกกำรปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ ขึ้นมำนั้น เป็นเหมือนกำรชุบชีวิตใหม่ให้กับบัคกี้ เพรำะหำกไม่มีไฮดรำช่วยเหลือเขำไว้ในตอนที่ตกจำก รถไฟเขำก็อำจจะเสียชีวิตอยู่ใต้หุบเขำตรงนั้น รุ่งสำงจึงหมำยควำมถึงกำรเริ่มต้นใหม่ และกำรเป็น วินเทอร์โซลเยอร์ก็เท่ำกับกำรเริ่มต้นชีวิตครั้งใหม่ของบัคกี้

86

5. печь หมำยถึง เตำหลอม ในกำรปลุกวินเทอร์โซลเยอร์นั้น จ ำเป็นต้องอำศัยควำมร้อนเนื่องจำกหลังจำกเสร็จสิ้นภำรกิจในแต่ละครั้งบัคกี้ก็จะถูกไฮดรำจับไป แช่แข็งไว้ดังเดิม ดังนั้นทุก ๆ ครั้งก่อนที่จะรับมอบภำรกิจ เขำก็จะถูกละลำยน้ ำแข็งออก โดยกำรเพิ่ม อุณหภูมิภำยในหลอดแก้วที่แช่เขำอยู่ จึงเปรียบเสมือนกำรน ำเขำเข้ำไปในเตำหลอม 6. девять หมำยถึง 9 ในที่นี่หมำยถึงจ ำนวนหัวของไฮดรำ ซึ่งเป็น ชื่อองค์กรที่จับตัวบัคกี้ไป โดยหำกพิจำรณำตำมเทพนิยำยของกรีกโรมันนั้น ไฮดรำ เป็นสัตว์ที่มีหัว จ ำนวน 9 หัว18 และเมื่อหัวใดหัวหนึ่งของมันถูกตัดออกไปจะมีหัวใหม่งอกแทนที่ขึ้นมำถึงสองหัว แต่ ในบำงต ำนำนก็บอกว่ำไฮดรำมีจ ำนวนหัวมำกกว่ำ 100 หัว 7. доброкачественный หมำยถึง สิ่งที่ดี แต่ในบำงครั้งก็หมำยถึง เนื้องอกได้เช่นเดียวกัน ในที่นี่ผู้วิจัยขอแปลว่ำเนื้องอกเนื่องจำกสิ่งที่องค์กรไฮดรำสร้ำงให้บัคกี้นั้นคือ แขนเหล็ก โดยยึดติดเข้ำกับบริเวณหัวไหล่ข้ำงซ้ำยของเขำ ซึ่งเปรียบเสมือนเนื้องอกและเป็นเพรำะ เนื้องอกนี้จึงท ำให้บัคกี้ต้องกลำยเป็นวินเทอร์โซลเยอร์ หรือเครื่องจักรสังหำรให้กับไฮดรำ 8. возвращение на родину หมำยถึง กำรกลับมำยังบ้ำนเกิด เป็นเหมือนกำรเรียกให้วินเทอร์โซลเยอร์นั้นกลับมำยังบ้ำนเกิดของตนคือที่รัสเซีย ที่เป็นสถำนที่สร้ำง วินเทอร์โซลเยอร์ขึ้นมำ และเป็นกำรเตรียมพร้อมรับมอบภำรกิจต่อ ๆ ไป และภำยในภำพยนตร์นั้นก็ มีประโยคที่ตัวละครซีโม่กล่ำวกับบัคกี้ก่อนที่เขำจะท่องคำถำทั้ง 10 ค ำ ออกมำ นั่นคือ “Why don't we discuss your home? Not Romania. Certainly not Brooklyn, no. I mean, your real home.” โดยซีโม่ต้องกำรที่จะพูดกับบัคกี้ถึงสถำนที่ที่สร้ำงวินเทอร์โซลเยอร์ขึ้นมำ เขำจึงใช้ค ำว่ำ บ้ำนที่แท้จริง (Real home) 9. один หมำยถึง 1 เนื่องจำกบัคกี้คือวินเทอร์โซลเยอร์คนแรกที่ถูก สร้ำงขึ้นและประสบควำมส ำเร็จ โดยเลข 1 ในที่นี้เปรียบเสมือนรหัสแทนตัวของเขำที่ว่ำเขำคือ วินเทอร์โซลเยอร์ที่ถูกสร้ำงขึ้นเพียงคนเดียว ณ ตอนนั้น รวมไปถึงเป้ำหมำยของภำรกิจในแต่ละ ภำรกิจที่วินเทอร์โซลเยอร์ต้องท ำ นั่นคือเขำจ ำเป็นต้องปฏิบัติภำรกิจให้ลุล่วงในที่สุดไม่ว่ำจะเกิดอะไร ขึ้นก็ตำม เขำไม่มีแผนส ำรองหรือข้อต่อรองใด ๆ ในภำรกิจนั้น สิ่งที่ต้องท ำคือ รับมอบ และจัดกำร เป้ำหมำยให้ส ำเร็จตำมที่องค์กรต้องกำร 10. грузовой вагон หมำยถึง ตู้รถไฟขนส่งสินค้า ซึ่งหมายถึง สถานที่ที่บัคกี้และสตีฟถูกกับดักของไฮดราลวงให้เข้าไปติดกับ และเขาก็ตกจากรถไฟในที่สุด และ หลังจากนั้นเขาก็ถูกจับมาทดลองและเปลี่ยนเขาให้กลายเป็นวินเทอร์โซลเยอร์

18 Dr. Know [นำมแฝง], สัตว์ประหลาดในเทพนิยายกรีก – โรมัน, (กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป, 2551), 126 - 129.

87

(2) พันเอกวาซิลี คาร์ปอฟ พันเอกวำซิลี คำร์ปอฟ เป็นคนขององค์กรไฮดรำที่แฝงตัวอยู่ในกอง ทหำรของรัสเซีย โดยเขำเป็นผู้คิดค้นโปรแกรมวินเทอร์โซลเยอร์คนแรกขึ้นมำ และยังเป็นคนสร้ำง วินเทอร์โซลเยอร์รุ่นต่อไปไว้ใช้ในอนำคตอีกด้วย เขำคือนำยทหำรที่อยู่ในกองทัพของรัสเซีย ถึงแม้ว่ำเขำเองจะเป็นคน ขององค์กรไฮดรำ แต่อย่ำงไรก็ตำมเขำก็ยังคงมีควำมเป็นชำยชำติทหำรที่ฝังอยู่ในจิตใจ ด้วยกำรที่ไม่ ว่ำเขำจะถูกทรมำนอย่ำงไรก็ตำมเขำจะไม่มีวันแพร่งพรำยควำมลับขององค์กรออกไปเด็ดขำด ซึ่งจะ เห็นได้จำกเหตุกำรณ์ที่ซีโม่พยำยำมเค้นเอำค ำตอบจำกวำซิลี แต่เขำก็เลือกที่จะไม่บอกสิ่งใดพร้อมทั้ง ยอมรับควำมตำยที่จะเกิดขึ้นอย่ำงเต็มภำคภูมิ หำกเปรียบเทียบกับองค์กรไฮดรำคนอื่น ๆ ยกตัวอย่ำง เช่น ใน Captain America: The First Avenger คนขององค์กรไฮดรำที่สตีฟไปเจอนั้นเลือกที่จะกิน ยำพิษที่ซ่อนไว้ข้ำงใต้ฟันเพื่อจบชีวิตของตัวเองลง หำกเปรียบเทียบกับผู้พันวำซิลีแล้วเขำมีควำมเป็น ทหำรมำกกว่ำ อีกทั้งยังน้อมรับควำมตำยอย่ำงเต็มใจมำกกว่ำที่จะบอกข้อมูลออกไป ถือว่ำเขำมีควำม รับผิดชอบเป็นอย่ำงสูงต่อหน้ำที่ของตนเอง ซึ่งถ้ำเขำเป็นผู้บอกซีโม่เกี่ยวกับเหตุกำรณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 16 ธันวำคม ค.ศ. 1991 เขำก็จะกลำยเป็นบุคคลที่ทรยศต่อทั้งองค์กรไฮดรำ และบ้ำนเกิดของตนเอง เช่นกัน เนื่องจำกกลุ่มวินเทอร์โซลเยอร์รุ่นที่ 2 นั้นยังคงถูกกักตัวไว้ที่ฐำนทัพในเขตไซบีเรีย ซึ่งทั้ง 5 คนนั้นเขำไม่สำมำรถควบคุมจิตใจของทั้งหมดได้เนื่องจำกพวกเขำเป็นนักฆ่ำมือหนึ่งที่ผ่ำนกำรฝึกจำก โซเวียตอย่ำงหนักก่อนที่จะได้รับเซรุ่มเพื่อเปลี่ยนพวกเขำให้กลำยเป็นซุปเปอร์โซลเยอร์ และเข้ำ โปรแกรมกำรฝึกวินเทอร์โซลเยอร์ ซึ่งพวกเขำเหล่ำนี้ต่ำงก็แตกต่ำงกับบัคกี้ที่แต่เดิมเป็นเพียงพลทหำร เท่ำนั้น และพึ่งมำได้รับกำรฝึกฝนในภำยหลัง แต่ทั้ง 5 คนนี้ถูกฝึกเพื่อเป็นมือสังหำรโดยตรง ทั้งหมด จึงมีควำมสำมำรถที่เฉพำะมำกกว่ำบัคกี้ และนั่นเองเป็นสิ่งที่ท ำให้วำซิลีไม่สำมำรถควบคุมจิตใจของ พวกเขำทั้งหมด เนื่องจำกควำมเป็นชำวรัสเซียแต่ก ำเนิดของเขำถึงท ำให้ส ำเนียงใน กำรพูดภำษำอังกฤษของเขำแตกต่ำงออกไปในหลำย ๆ ค ำ ถึงแม้ว่ำเขำจะสำมำรถพูดให้มีกำรออก เสียงที่คล้ำยคลึงกับชำวอเมริกำ แต่เมื่อถึงยำมที่เขำไม่เหลือสิ่งใดที่จะเสียเขำก็หลุดพูดส ำเนียงดั้งเดิม ของตนเองออกมำ สังเกตได้จำกที่เขำโต้ตอบกับซีโม่ และในฉำกอื่น ๆ ที่เขำปรำกฏตัวขึ้นมำนั้นจะมี กำรสื่อสำรโดยใช้ภำษำรัสเซียทั้งสิ้น ตัวอย่ำงเช่น ในฉำกเริ่มต้นของภำพยนตร์เขำก็เป็นคนพูด ชุดค ำสั่งเพื่อที่จะมอบหมำยภำรกิจให้แก่วินเทอร์โซลเยอร์ หลังจำกนั้นเขำก็ทักทำยวินเทอร์โซลเยอร์ ด้วยภำษำรัสเซียที่ว่ำ “Доброе утро, солдат” ซึ่งแปลว่ำ “อรุณสวัสดิ์ทหำร” ในนำทีที่ 0:01:31 “у меня есть для тебя миссия, санкционируй и извлекай без свидетелей” ซึ่งแปลว่ำ “ฉันมีภารกิจส าหรับคุณ จงเข้าแทรกแซงและชิงมันออกมา โดยอย่าให้มีพยาน” ในนาทีที่ 0:01:36

88

ซึ่งภารกิจที่ว่าคือ วินเทอร์โซลเยอร์จะต้องเข้าไปชิงเซรุ่มที่จะสร้างสุดยอดทหารมาจาก พ่อของโทนี่ สตาร์ค และเขาจ าเป็นต้องฆ่าพยานที่เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด เป็นต้น

ภำพที่ 4.11 พันเอกวำซิลี คำร์ปอฟ, Marvel Cinematic Universe, https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/f/ff/Vasily_Karpov_8.png/revision/ latest?cb=20160916160650 (สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภำพันธ์ 2561).

(3) ฐำนทัพไฮดรำในเขตไซบีเรีย ฐำนทัพของไฮดรำที่ตั้งอยู่ในเขตไซบีเรียนั้นอยู่ภำยใต้กำรจัดกำรของ กลุ่มไฮดรำที่แฝงตัวอยู่ในกองทัพของรัสเซีย โดยสถำนที่แห่งนี้เป็นศูนย์ฝึกนักฆ่ำภำยใต้โปรแกรม วินเทอร์โซลเยอร์ และเป็นที่ใช้กักกันวินเทอร์โซลเยอร์ในหลอดแช่แข็งเมื่อไม่มีภำรกิจ หำกเปรียบเทียบกับสิ่งที่ภำพยนตร์ได้กล่ำวถึงบริเวณเขตไซบีเรียนั้น ถือได้ว่ำบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่ห่ำงไกลควำมเจริญอยู่มำก กำรเดินทำงเข้ำไปนั้นเป็นเรื่องที่ยำกล ำบำก มำก อีกทั้งยังมีอำกำศที่หนำวเย็นอยู่ตลอด จึงท ำให้ศูนย์แห่งนี้อยู่รอดพ้นจำกกำรกวำดล้ำงองค์กร ไฮดรำไปได้ และยังคงมีอยู่มำจนถึงปัจจุบันถึงแม้ว่ำในตอนนี้จะไม่มีกำรเปิดใช้งำนแล้วก็ตำม ถ้ำมองจำกควำมเป็นจริง บริเวณเขตไซบีเรียนั้น เป็นเขตที่มีพื้นที่ กว้ำงมำกที่สุดจำกบรรดำเขตต่ำง ๆ ของรัสเซีย โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่มักจะรู้จักเขตไซบีเรียในชื่อ เอเชียทำงตอนเหนือ โดยหำกอธิบำยตำมหลักภูมิศำสตร์แล้ว เขตไซบีเรีย คือ บริเวณที่อยู่ถัดจำก เทือกเขำอูรำลไปทำงฝั่งตะวันออกไปจนถึงบริเวณสันปันน้ ำระหว่ำงมหำสมุทรแปซิฟิกและมหำสมุทร อำร์คติก โดยเขตไซบีเรียนี้ถือเป็นเขตที่ส ำคัญแห่งหนึ่งของรัสเซียตั้งแต่สมัยจักรวรรดิ เนื่องจำกตำม ประวัติศำสตร์รัสเซียในบริเวณนี้ถือเป็นดินแดนที่ใช้เนรเทศนักโทษต่ำง ๆ ที่มีควำมผิด หรือเนรเทศ บุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับระบอบกำรปกครองในสมัยนั้น ทว่ำในปัจจุบันในบริเวณเขตไซบีเรียนี้กลำยเป็น พื้นที่ที่ส ำคัญแห่งหนึ่งของรัสเซีย มีโรงงำนอุตสำหกรรมตั้งอยู่ในพื้นที่นี้ และยังมีกำรพัฒนำไปไกลจำก เดิมมำกเนื่องจำกมีกำรเข้ำมำลงทุนจำกต่ำงชำติ

89

ทว่ำในภำพยนตร์นั้นมีกำรกล่ำวว่ำบริเวณฐำนทัพนี้ตั้งอยู่ในเขต ไซบีเรีย แต่เมื่อผู้วิจัยวิเครำะห์จำกสิ่งต่ำง ๆ ภำยในภำพยนตร์ประกอบกลับพบว่ำ ฐำนทัพแห่งนี้ อำจจะไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตไซบีเรีย แต่ตั้งอยู่ที่เขตตะวันออกไกล (The Russian Far East) โดยเขต ตะวันออกไกลนั้นคนทั่วไปมักจะเข้ำใจว่ำเขตตะวันออกไกล คือ ดินแดนด้ำนตะวันออกของเอเชีย ยกตัวอย่ำงเช่น จีน เกำหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น แต่ในควำมเป็นจริงนั้นรัสเซียก็มีพื้นที่ที่อยู่ในเขตนี้ เช่นเดียวกัน โดยเขตตะวันออกไกลนั้นจะอยู่ถัดจำกเขตไซบีเรียไปจนสุดพื้นที่ของรัสเซีย โดยใน ปัจจุบันบริเวณตะวันออกไกลนั้นถือว่ำเป็นอีกหนึ่งเขตเศรษฐกิจที่ส ำคัญของรัสเซีย หลังจำกที่มีกำร จัดกำรประชุมว่ำด้วยเรื่องของเศรษฐกิจในเขตตะวันออกครั้งที่ 3 ภำยใต้หัวข้อ ดินแดนตะวันออกไกล ของรัสเซียและกำรสรรค์สร้ำงสิ่งใหม่ ๆ เมื่อปี 2017 (The Eastern Economic Forum ‘The Russian Far East: Creating a New Reality’: EEF 2017) ที่เมืองวลำดิวอสต็อก (Vladivostok) ใน วันที่ 6-7 กันยำยน โดยภำยหลังจำกำรประชุมมีกำรลงนำมในข้อตกลงร่วมกันโดยมีมูลค่ำร่วมกว่ำ 2,400 ล้ำนรูเบิล19 อีกทั้งก่อนหน้ำนี้ในเขตตะวันออกไกลยังมีกำรเข้ำมำลงทุนของต่ำงชำติ ไม่ว่ำจะเป็น ประเทศจีน ที่เข้ำมำลงทุนในกำรจัดสร้ำงโครงกำร One Belt, One Road20 ตั้งแต่ปี 201321 และในอนำคตยังมีโครงกำรระหว่ำง รัสเซีย-อินเดีย22 ที่จะเข้ำมำลงทุนในเขตนี้ เช่นกัน โดยผู้วิจัยพิจำรณำจำกฉำกในภำพยนตร์ที่ตัวละครซีโม่เข้ำไปอยู่ใน ร้ำนขำยของขณะที่ก ำลังรอเช่ำรถลุยหิมะเพื่อเข้ำไปที่ฐำนทัพ ที่บริเวณข้ำงรถมีค ำภำษำรัสเซียปรำกฏ อยู่ว่ำ Оймякон через снегу аренда โดยค ำว่ำ Оймякон นั้น เป็นชื่อหมู่บ้ำนแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ ใน Оймяконский улус ที่อยู่ในบริเวณตะวันออกไกลของรัสเซีย ซึ่งอยู่ถัดจำกทำงฝั่ง

19 “Round-up of the Eastern Economic Forum 2017,” Eastern Economic Forum, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษำยน 2561, https://forumvostok.ru/en/media/eef-2017-outcomes/. 20 One Belt, One Road หรือ หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทำง คือ เส้นทำงสำยไหมในศตวรรษที่ 21 ที่ริเริ่มโดยประเทศจีน ใน เดือนกันยำยน ค.ศ. 2013 ประธำนำธิบดีจีนได้ไปเยือนคำซัคสถำนและแถลงกำรณ์เปิดตัวโครงกำรแถบเศรษฐกิจเส้นทำงสำยไหม ขึ้น โดยประกอบไปด้วย กำรสร้ำงเครือข่ำยถนนและเส้นทำงรถไฟเชื่อระหว่ำงประเทศจีนกับทวีปยุโรป โดยผ่ำนบริเวณเอเชียกลำง กำรสร้ำงเส้นทำงสำยไหมทำงทะเล โดยกำรสร้ำงทำงเชื่อมบริเวณท่ำเรือของจีน กับท่ำเรือในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ทำงฝั่งยุโรป โดยจะใช้เส้นทำงสำยไหมนี้เป็นโครงกำรก่อสร้ำงโครงสร้ำงพื้นฐำนด้ำนกำรขนส่งของโลก ที่จะมีส่วนช่วยในกำร พัฒนำเศรษฐกิจและกำรค้ำต่ำง ๆ 21 “Russia’s Eastern Economic forum to Attract Over $20bn in Foreign Investment,” RT, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษำยน 2561, https://www.rt.com/business/400857-eef-far-east-investment/. 22 Dipanjan Roy Chaudhury, “In Balancing Act, Russia Opens Far East Region to India,” The Economic Times, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษำยน 2561, https://economictimes.indiatimes.com/news/defence/in-balancing-act- russia-opens-far-eastern-region-to-india/articleshow/60283658.cms.

90

ไซบีเรียตะวันออกไป หำกมองจำกมุมนี้จะเห็นได้ว่ำมีควำมเป็นไปได้ที่ฐำนทัพแห่งนี้อำจจะตั้งอยู่ที่เขต ตะวันออกไกลมำกกว่ำ แต่ที่ทำงภำพยนตร์เลือกที่จะใช้ค ำว่ำไซบีเรียนั้น เนื่องจำกเป็นสิ่งที่สำมำรถ บอกถึงควำมเป็นรัสเซียได้อย่ำงชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีคนรู้จักบริเวณตะวันออกไกลมำกนัก เมื่อเทียบกับเขตไซบีเรีย อีกทั้งถ้ำมีกำรกล่ำวถึงตะวันออกไกล หรือ Far East แทนนั้นอำจจะมี หลำย ๆ คนเข้ำใจว่ำเป็นพื้นที่ของทำงเอเชียมำกกว่ำรัสเซีย

ภำพที่ 4.12 รถลุยหิมะ, 2x2tv, https://2x2tv.ru/blog/civil-war-easter-eggs/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภำพันธ์ 2561).

ภำพที่ 4.13 แผนที่แสดงที่ตั้งของหมู่บ้ำน Оймякон, Водитель Петербурга, http://spbvoditel.ru/mm/items/2013/2/7/0033/map.jpg (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษำยน 2561).

4.1.3.2 ภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียทางอ้อม (1) บทสนทนาระหว่างแซมและสตีฟที่กล่าวถึงบัคกี หลังจำกที่สตีฟช่วยเหลือบัคกี้ที่ถูกชุดค ำสั่งของไฮดรำควบคุมจิตใจ เขำจึงพำบัคกี้เข้ำมำหลบในโรงงำนร้ำงแห่งหนึ่งเพื่อรอให้อีกฝ่ำยฟื้นขึ้นมำ หลังจำกที่บัคกี้ฟื้น เขำก็ พูดคุยกับสตีฟและเล่ำเรื่องรำวในสมัยเด็กที่ไม่สำมำรถหำอ่ำนได้ตำมพิพิธภัณฑ์เพื่อยืนยันว่ำ ในตอนนี้

91

เขำไม่ได้อยู่ภำยใต้กำรควบคุมของชุดค ำสั่งไฮดรำนั้นแล้ว แต่แซมที่ยืนอยู่ข้ำงสตีฟกลับเอ่ยขึ้นมำว่ำ “Just like that, we’re supposed to be cool?” ซึ่งแปลว่ำ “แค่เท่ำนี้ก็ไว้ใจเขำได้เลยหรอ” ใน นำทีที่ 1:11:41 เนื่องจำกก่อนหน้ำนี้ที่บัคกี้ตกอยู่ภำยใต้กำรควบคุมของชุดค ำสั่งนั้น เขำไม่สำมำรถ จดจ ำเรื่องรำวใดได้นอกเหนือจำกภำรกิจที่ได้รับมอบหมำยมำ และเขำยังท ำร้ำยทุกคนที่เข้ำมำต่อกร กับเขำรวมไปถึงสตีฟก็เช่นกัน แซมจึงกล่ำวประโยคนี้ขึ้นมำเพื่อแสดงว่ำ เขำไม่ไว้วำงใจบัคกี้แม้แต่ น้อย และเขำก็ไม่รู้ว่ำบัคกี้จะกลับมำเล่นงำนพวกเขำอีกครั้งเมื่อไหร่ เพรำะพวกเขำไม่ได้ถูกบัคกี้เล่น งำนเป็นครั้งแรก เมื่อมองย้อนกลับไปในช่วง Captain America: The Winter Soldier พวกเขำก็เคย ต่อสู้กับวินเทอร์โซลเยอร์มำก่อน ซึ่งในส่วนนี้ก็เปรียบเสมือนว่ำแซมนั้นไม่เคยลืมที่บัคกี้คือ วินเทอร์โซลเยอร์และเคยเข้ำเล่นงำนพวกเขำใน Captain America: The Winter Soldier มำก่อน จึงท ำให้เขำไม่ไว้วำงใจในตัวของอีกฝ่ำย และคิดว่ำควำมเป็นนักฆ่ำที่ถูกฝึกมำจำกโซเวียตนั้นยังคงติด อยู่ในจิตใจของบัคกี้ ถึงแม้ว่ำสตีฟจะเป็นคนพูดเองว่ำเรื่องที่บัคกี้เล่ำมำเป็นเรื่องที่ไม่สำมำรถหำอ่ำนได้ จำกที่ไหน แสดงให้เห็นว่ำกำรที่บัคกี้เคยเป็นนักฆ่ำให้กับไฮดรำนั้น ท ำให้เขำไม่ได้รับกำรไว้วำงใจจำก คนอื่น ๆ นอกเหนือจำกสตีฟที่เป็นเพื่อนสนิทกันตั้งแต่วัยเด็ก (2) บทสนทนาระหว่างนาตาชาและโทนี่ หลังจำกที่นำตำชำเลือกที่จะให้ควำมช่วยเหลือแก่สตีฟและบัคกี้ทั้ง ๆ ที่ตัวเองนั้นอยู่ฝ่ำยเดียวกับโทนี่ จึงท ำให้โทนี่ไม่พอใจเป็นอย่ำงมำก เขำจึงเผลอพูดประโยคหนึ่งกับ นำตำชำว่ำ “It must be hard to shake the whole double agent thing, huh? It sticks in the DNA.” ซึ่งแปลว่ำ “มันคงเป็นเรื่องยำกที่จะเอำเรื่องสำยลับสองหน้ำทิ้งไปสินะ เหมือนว่ำมันจะ ฝังเข้ำไปในดีเอ็นเอเสียแล้ว” ในนำทีที่ 1:48:09 เนื่องจำกกำรที่นำตำชำปล่อยให้สตีฟกับบัคกี้หนีไปได้ นั้นก็เหมือนเป็นกำรหักหลังโทนี่ เขำจึงตอกกลับด้วยประโยคนี้ที่ว่ำ โรคสำยลับ 2 หน้ำของนำตำชำ นั้นมันคงไม่มีวันที่จะรักษำหำย เพรำะมันคงฝังอยู่ใต้กระดูกด ำไปแล้ว หลังจำกที่เธอได้ยินประโยคนี้ จำกโทนี่ เพื่อนร่วมทีมอเวนเจอร์สที่เคยร่วมมือปรำบเหล่ำร้ำยต่ำง ๆ มำนับไม่ถ้วนนั้น เธอแสดง สีหน้ำออกมำด้วยควำมตกใจ และผิดหวังไปพร้อม ๆ กัน รำวกับว่ำสิ่งที่เธอเพียรพยำยำมท ำให้กลุ่มมำ ตลอดหลำยปีนั้นก็ไม่สำมำรถที่จะลดอคติที่มีต่อตัวตนเดิมของเธอได้เลย ซึ่งในส่วนนี้ก็เปรียบเสมือนว่ำโทนี่นั้นไม่เคยลืมอดีตหรือตัวตนของเธอ ว่ำเธอเริ่มต้นมำจำกไหน เธอเคยท ำสิ่งใดลงไปบ้ำงในตอนนั้น และเขำก็ยังคงคิดมำตลอดว่ำทุกสิ่งทุก อย่ำงที่เธอท ำนั้นมันก็เป็นเพียงกำรแสดงเท่ำนั้น ถือว่ำสำมำรถยืนยันได้อย่ำงชัดเจนผ่ำนบทสนทนำ ของทั้งคู่

92

ภำยในภำพยนตร์ Captain America: The Civil War ถือว่ำเป็นภำพยนตร์ที่กล่ำวถึง รัสเซียมำกที่สุดในบรรดำทั้ง 3 ภำค ของภำพยนตร์ Captain America โดยมีกำรกล่ำวถึงเรื่องรำวใน อดีตของวินเทอร์โซลเยอร์ ชุดค ำที่ใช้ปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ขึ้นมำก่อนที่จะรับมอบค ำสั่งต่ำง ๆ อีกทั้ง ฉำกที่เกิดขึ้นในฐำนทัพไฮดรำทั้งหมดก็มีกำรใช้ภำษำรัสเซียในกำรสนทนำ ในส่วนแรก คือ มีกำรใช้ภำษำรัสเซียมำเป็นคำถำที่ใช้ปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ทั้ง 10 ค ำ ได้แก่ желание, ржавый, семнадцать, рассвет, печь, девять, доброкачественный, возвращение на родину, один และ грузовой вагон โดยเปรียบเสมือนกำรยืนยันว่ำ วินเทอร์โซลเยอร์นั้นได้รับกำรฝึกและอำศัยอยู่ในรัสเซีย ดังนั้นหำกต้องกำรเรียกใช้งำน วินเทอร์โซลเยอร์ก็จ ำเป็นต้องอ่ำนค ำภำษำรัสเซียทั้ง 10 ค ำจำกสมุดปกแดงที่ถูกซ่อนไว้ โดยพันเอก วำซิลี คำร์ปอฟ อีกทั้งค ำรัสเซียทั้ง 10 ค ำนั้นไม่มีกำรจัดเรียงตำมล ำดับเนื่องจำกทำงผู้เขียนบทของ ภำพยนตร์ได้ออกมำกล่ำวว่ำต้องกำรที่จะดึงดูดควำมสนใจของผู้ชมภำพยนตร์ในกรณีที่มีกำรใช้ค ำที่ แปลกหูไป23 ต่อมำคือตัวละคร นำยพลวำซิลี คำร์ปอฟ ผู้ควบคุมศูนย์ไฮดรำในเขตไซบีเรีย โดยเขำ คือผู้ที่ดูแลทุก ๆ สิ่งภำยในศูนย์และเป็นผู้ออกค ำสั่งให้วินเทอร์โซลเยอร์ออกไปปฏิบัติภำรกิจ เนื่องจำกเขำเป็นชำวรัสเซียโดยก ำเนิดจึงท ำให้บทสนทนำในภำพยนตร์นั้นเป็นภำษำรัสเซียเป็นส่วน ใหญ่ จะมีก็เพียงฉำกที่คุยกับตัวละครอีกตัวคือ ซีโม่ ถึงจะมีกำรสนทนำด้วยภำษำอังกฤษ แต่ด้วย สภำวะแวดล้อมรอบตัวเขำที่เขำหนีไปกบดำนภำยหลังจำกที่องค์กรไฮดรำล่มสลำยที่เมืองคลีฟแลนด์ (Cleveland) ในรัฐโอไฮโอ (Ohio) ประเทศสหรัฐอเมริกำ แต่ในตอนท้ำยก่อนที่เขำจะเสียชีวิตเขำก็มี หลุดพูดภำษำอังกฤษในส ำเนียงของคนรัสเซียออกมำ ในส่วนของฐำนทัพไฮดรำในเขตไซบีเรีย เนื่องจำกทำงภำพยนตร์ไม่ได้มีกำรระบุอย่ำง ชัดเจนว่ำตั้งอยู่ในบริเวณไหนของไซบีเรีย แต่มีภำพของรถลุยหิมะที่มีชื่อหมู่บ้ำน Оймякон ที่ตั้งอยู่ ในเขตตะวันออกไกลของรัสเซีย จึงท ำให้ไม่ทรำบแน่ชัดว่ำฐำนทัพแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ใด อำจจะเป็นไปได้ที่ ทำงผู้จัดเลือกที่จะใช้ค ำว่ำไซบีเรีย เนื่องจำกมีควำมเป็นรัสเซียมำกกว่ำที่จะใช้ค ำว่ำตะวันออกไกล ทำงด้ำนภำพสะท้อนโดยอ้อมนั้น ภำยในภำพยนตร์ไม่ค่อยมีส่วนที่กล่ำวถึงมำกนักจะมีก็ เพียงบทสนทนำระหว่ำงแซมกับสตีฟที่พูดถึงบัคกี้ ในแง่ของกำรที่เขำไม่ไว้วำงใจใครอีกคนเพียงแค่ สำมำรถเล่ำเรื่องรำวในอดีตเพียงเท่ำนั้น เนื่องจำกก่อนหน้ำนี้บัคกี้เคยถูกชุดค ำสั่งของไฮดรำควบคุม

23 Eric Eisenberg, “Is There Any Significance to Bucky's Trigger Words in Civil War? Here's What the Writers Say,” Cinema Blend, สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภำพันธ์ 2561, https://www.cinemablend.com/new/There-Any- Significance-Bucky-Trigger-Words-Civil-War-Here-What-Writers-Say-130827.html.

93

จิตใจและไล่ท ำร้ำยทั้งเขำและสตีฟ จึงท ำให้เขำเกิดควำมรู้สึกที่ขัดแย้งกับสตีฟขึ้นมำ และมองว่ำเขำไม่ ควรไว้ใจบัคกี้ เพรำะเขำไม่สำมำรถรู้ได้ว่ำอีกฝ่ำยยังถูกชุดค ำสั่งนั้นควบคุมอยู่หรือไม่ ต่อมำในส่วนของบทสนทนำที่โทนี่คุยกับนำตำชำเรื่องควำมไว้ใจไม่ได้ของสำยลับ ซึ่งใน ส่วนนี้โทนี่อำจจะกล่ำวโดยรวมแต่เนื่องจำกนำตำชำนั้นเป็นสำยลับที่ได้รับกำรฝึกมำจำกโซเวียต โดยตรงอีกทั้งยังเคยท ำงำนในหน่วยข่ำวกรองอย่ำง K.G.B. ที่เคยเข้ำมำล้วงควำมลับของทำง สหรัฐอเมริกำมำกมำยหลำยครั้ง และยังมีกำรส่งสำยลับเข้ำไปแฝงตัวในประเทศต่ำง ๆ เพื่อน ำข้อมูล กลับมำยังหน่วย จึงท ำให้เขำพูดออกไปตำมที่คิด ถึงแม้ว่ำควำมเป็นเพื่อนระหว่ำงกันอีกทั้งยังเคยร่วม รบกันมำหลำยครั้งก็ยังไม่ท ำให้เขำไว้ใจนำตำชำได้แน่นอน แต่ด้วยควำมพูดไม่คิดนั่นเองจึงท ำให้เขำ เผลอหลุดปำกพูดไป และค ำพูดของเขำก็ท ำให้นำตำชำเสียใจไม่แพ้กัน ในภำคสุดท้ำยของภำพยนตร์ไตรภำคอย่ำง Captain America มีกำรกล่ำวถึงรัสเซียอยู่ บ่อยครั้งโดยส่วนใหญ่จะเป็นเหตุกำรณ์ภำยในฐำนทัพไฮดรำ และเรื่องรำวของตัวละคร วินเทอร์โซลเยอร์ที่ถูกป้อนค ำสั่งจำกนำยพลวำซิลี โดยทั้งคู่ต่ำงก็มีบทสนทนำระหว่ำงกันในภำษำ รัสเซีย ในส่วนของภำพสะท้อนทำงอ้อมนั้นก็เป็นกำรเหมำรวมของแซมและโทนี่ที่พวกเขำต่อว่ำบัคกี้ และนำตำชำว่ำด้วยเรื่องของกำรไว้ใจและเชื่อใจอีกฝ่ำย นอกเหนือจำกนี้เรื่องรำวในภำพยนตร์จะเน้น ไปที่ดัวละครกัปตันอเมริกำและเรื่องรำวที่ท ำให้เขำแตกหักกับเพื่อนร่วมทีมอย่ำงโทนี่ จนในที่สุดทั้งคู่ก็ ต้องแยกจำกกันไปคนละทำง

4.2 ทฤษฎีและแนวคิดแฝงที่ปรากฏในภาพยนตร์ Captain America

โดยส่วนใหญ่แล้วภำพยนตร์ฮอลลีวูดนั้นมักจะมีกำรสอดแทรกแนวคิดหรือทฤษฎีต่ำง ๆ ลงไปภำยในภำพยนตร์เสมอ ผู้วิจัยจะน ำแนวคิดที่กล่ำวไว้ในบทที่ 2 มำวิเครำะห์ภำพยนตร์ทั้ง 3 ภำค โดยประกอบไปด้วยแนวคิดและทฤษฎีที่สำมำรถเห็นได้อย่ำงชัดเจนที่สุดคือ (1) ทฤษฎีสัญญะวิทยำ และแนวคิดภำพตัวแทน (2) แนวคิดวำทกรรมกับกำรวิเครำะห์วำทกรรม ของ มิเชล ฟูโกต์ เพื่อน ำมำ สรุปกำรยืนยันในกำรรับรู้ทำงด้ำนทฤษฎีและแนวคิดที่ปรำกฏอยู่ในภำพยนตร์เรื่องนี้

4.2.1 ทฤษฎีสัญญะวิทยาและแนวคิดภาพตัวแทน ภำพยนตร์ Captain America: The First Avenger นั้นเป็นภำพยนตร์ภำคแรก จำกทั้งหมด 3 ภำค และในภำคนี้มีกำรกล่ำวถึงรัสเซียในตอนเริ่มภำพยนตร์เพียงเท่ำนั้น โดยที่เหลือ เป็นเพียงฉำกที่แสดงว่ำมีควำมเป็นรัสเซีย โดยจะเห็นได้ชัดว่ำทำงมำร์เวลนั้นตั้งใจที่จะวำงโครงเรื่องให้ เน้นไปที่ตัวละครกัปตันอเมริกำ และเรื่องที่จะใส่สัญลักษณ์ควำมเป็นวำยร้ำยให้แก่นำซีเยอรมัน

94

โดยสร้ำงองค์กรขึ้นมำคือ องค์กรไฮดรำ และน ำองค์กรนี้มำใช้เป็นตัวร้ำยตลอดทั้ง 3 ภำคของ ภำพยนตร์ องค์กรไฮดรำนั้นถูกสร้ำงขึ้นมำเพื่อเป็นภำพตัวแทนของนำซีเยอรมันที่มีควำมคิดที่ จะครองโลก และหำกมีใครที่คิดต่ำงออกไปหัวหน้ำองค์กรอย่ำง โยฮันน์ ชมิดท์ ก็พร้อมที่จะลงมือ จัดกำรด้วยตัวของเขำเอง ซึ่งในส่วนนี้แสดงให้เห็นถึงกำรสร้ำงองค์กรไฮดรำ เป็นสัญญะแทนโลก เผด็จกำรนำซี และน ำตัวสัญญะที่สร้ำงขึ้นมำนี้ใช้เป็นตัวร้ำยในกำรด ำเนินเรื่องรำวทั้งหมด กำรสร้ำงตัวละครกัปตันอเมริกำขึ้นมำนั้นก็เปรียบเสมือนกำรสร้ำงภำพตัวแทนของ สหรัฐอเมริกำ โดยตัวละครนี้แต่เดิมเป็นเพียงชำยหนุ่มขี้โรคทว่ำมีจิตใจรักชำติและต้องกำรเข้ำร่วม กองทัพเพื่อปรำบปรำมคนไม่ดีให้หมดไป จนในที่สุดเขำก็ได้รับโอกำสในกำรเข้ำเป็นส่วนหนึ่งของ โปรเจครีเบิร์ทที่จะเปลี่ยนพลทหำรธรรมดำให้กลำยเป็นสุดยอดทหำรภำยหลังจำกกำรฉีดเซรุ่ม จนใน ที่สุดที่เขำกลำยมำเป็นซุปเปอร์โซลเยอร์ และหลังจำกนั้นกัปตันอเมริกำก็ออกมำช่วยแก้ปัญหำต่ำง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 จนในที่สุดเขำก็สำมำรถเอำชนะโยฮันน์ ชมิดท์ ที่เป็นหัวหน้ำ องค์กรไฮดรำได้ส ำเร็จ แต่เขำก็จ ำเป็นต้องเลือกที่จะจบชีวิตตนเองลงยังผืนน้ ำแข็งในเขตอำร์คติกเพื่อ ปกป้องประชำชนในสหรัฐอเมริกำที่อำจจะเสียชีวิตหำกเขำดึงดันที่จะขับยำนบินที่บรรทุกระเบิดไว้ เต็มล ำกลับไป และภำยหลังจำกนั้นก็ไปพบกับร่ำงของกัปตันอเมริกำที่ยังคงหลับไหลอยู่ข้ำงใต้น้ ำแข็ง เมื่อน ำเขำกลับมำเขำก็สำมำรถที่จะกลับมำเป็นกัปตันอเมริกำได้ดังเดิมถึงแม้ว่ำจะมีปัญหำเกี่ยวกับ กำรปรับตัวให้เข้ำกับยุคสมัยปัจจุบันก็ตำม โดยในส่วนของภำพยนตร์มีกำรอิงเอำประวัติศำสตร์ในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 เข้ำมำเป็นเหตุกำรณ์ที่เกิดขึ้นภำยในภำพยนตร์ และมีกำรหยิบยกบำงเหตุกำรณ์ขึ้นมำเพื่อสร้ำง สถำนกำรณ์ให้ตัวละครกัปตันอเมริกำเข้ำมำมีบทบำทมำกขึ้น ในส่วนนี้เป็นเหมือนกำรเล่ำเรื่องรำวใน ประวัติศำสตร์อีกด้ำนหนึ่งซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใด ๆ ต่อเหตุกำรณ์ที่เกิดขึ้นจริงตำม ประวัติศำสตร์ เนื่องจำกองค์กรไฮดรำนั้นไม่มีอยู่จริงและวีรบุรุษอย่ำงกัปตันอเมริกำก็เป็นเพียงตัว ละครที่ถูกสร้ำงขึ้นเพื่อใช้เป็นภำพตัวแทนในกำรสร้ำงขวัญและก ำลังใจแก่ชำวอเมริกำในช่วง สงครำมโลกครั้งที่ 2 เพียงเท่ำนั้น ต่อมำในภำพยนตร์ Captain America: The Winter Soldier ซึ่งภำพยนตร์ เรื่องนี้เป็นภำคที่ 2 ของเรื่องกัปตันอเมริกำ โดยเรื่องรำวจะเป็นภำยหลังจำกภำพยนตร์เรื่อง The Avengers ที่เป็นกำรรวมตัวกันของเหล่ำซุปเปอร์ฮีโร่เพื่อมำขจัดวำยร้ำยที่มำจำกต่ำงดำว โดยใน ภำคที่ 2 นี้เป็นเรื่องรำวระหว่ำงกัปตันอเมริกำและองค์กรไฮดรำเช่นเดิม แต่มีกำรเพิ่มเติมตัวละคร อย่ำงวินเทอร์โซลเยอร์เข้ำมำ

95

หำกพิจำรณำจำกภำพยนตร์แล้วจะพบว่ำในภำคนี้องค์กรไฮดรำไม่ได้เป็นสัญญะ ของนำซีเยอรมันอีกต่อไป แต่องค์กรไฮดรำคือสัญญะของกลุ่มบุคคลที่ต้องกำรจะก ำจัดเหล่ำยอด มนุษย์ให้หมดไปจำกโลกใบนี้ ซึ่งยอดมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นก็อยู่ที่สหรัฐอเมริกำเกือบทั้งนั้น อีกทั้งองค์กร ไฮดรำในครำวนี้ยังมีกำรแฝงตัวเข้ำมำอยู่ใต้เงำของหน่วยงำนชิลด์ที่เป็นหน่วยงำนที่กัปตันอเมริกำ ท ำงำนให้ โดยเรื่องรำวในภำคนี้มีกำรเปิดตัววำยร้ำยเพิ่มขึ้นมำอีกหนึ่งคนนั่นคือ วินเทอร์โซลเยอร์ ซึ่ง ถือว่ำเขำเป็นสัญญะของรัสเซีย เนื่องจำกเขำถูกฝึกโดยองค์กรไฮดรำที่ตั้งอยู่ในรัสเซีย แต่วำยร้ำยคนนี้ ก็มีภูมิหลังคือ จ่ำสิบเอกเจมส์ บูแคแนน บำร์นส์ หรือบัคกี้ เพื่อนสนิทของกัปตันอเมริกำที่คิดว่ำ เสียชีวิตไปแล้วจำกกำรตกรถไฟในขณะที่ปฏิบัติภำรกิจด้วยกัน ซึ่งภำยในภำพยนตร์ก็มีกำรเล่ำ เรื่องรำวในตอนที่เปลี่ยนแปลงบัคกี้ให้กลำยเป็นวินเทอร์โซลเยอร์ หลังจำกที่เขำตกลงจำกรถไฟเขำก็ ได้รับกำรช่วยเหลือจำกไฮดรำในกำรต่อแขนเหล็กให้เขำโดยแลกกับอิสรภำพทั้งหมดในชีวิต นั่นคือเขำ จะถูกล้ำงสมองจนไม่สำมำรถจดจ ำเรื่องรำวในอดีตของเขำได้อีก และเขำก็กลำยเป็นเพียงเครื่องจักร สังหำรที่เมื่อมีภำรกิจก็จะถูกน ำมำละลำยน้ ำแข็งแล้วป้อนค ำสั่งให้ หลังจำกที่ภำรกิจเสร็จสิ้นลงเขำก็ จะถูกน ำกลับไปแช่แข็งไว้ตำมเดิม และตัวละครที่ส ำคัญอีกหนึ่งตัวละคร นั่นก็คือ นำตำชำ โรมำนอฟ โดยเธอเป็นสำยลับชำวรัสเซียที่ผันตัวเข้ำมำท ำงำนให้สหรัฐอเมริกำ ซึ่งเธอก็เปรียบเสมือนสัญญะของ รัสเซีย แต่ด้วยควำมที่เธอถูกฝึกมำให้เป็นสำยลับจึงท ำให้เธอเลือกที่จะหำสถำนที่ที่สำมำรถคุ้มครอง เธอได้ และที่นั่นก็คือองค์กรชิลด์ เธอเลือกที่จะมำท ำงำนให้ชิลด์โดยมีกำรปลอมแปลงชื่อของเธอ จำกเดิมเธอชื่อ นำตำเลีย อเลียโนฟนำ โรมำนอฟ ให้เหลือเพียงนำตำชำ โรมำนอฟ ในภำพยนตร์เรื่องนี้จะไม่ค่อยมีกำรสื่อควำมหมำยที่มีควำมเกี่ยวข้องกับรัสเซีย มำกนัก โดยจะเน้นไปที่แนวอุดมกำรณ์ที่แตกต่ำงกันระหว่ำงกัปตันอเมริกำและอเล็กซำนเดอร์ เพียร์ช หัวหน้ำองค์กรไฮดรำ จะมีก็เพียงตัวละคร 2 ตัวที่มีควำมเกี่ยวข้อง คือ วินเทอร์โซลเยอร์ และนำตำชำ โรมำนอฟ ต่อมำในภำพยนตร์ Captain America: The Civil War ภำพยนตร์เรื่องนี้เป็น เรื่องปิดไตรภำคของภำพยนตร์ในชุดกัปตันอเมริกำ โดยเป็นเรื่องรำวที่เกิดขึ้นภำยหลังจำกภำพยนตร์ The Avengers: Age of Ultron ที่มีกำรวมตัวกันของเหล่ำฮีโร่เพื่อช่วยกันก ำจัดวำยร้ำยที่อยู่ใน รูปแบบของอัลตรอน หรือหุ่นยนตร์ที่มีสมองกลเป็นของตนเองและมีควำมรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกันกับ มนุษย์ โดยในภำพยนตร์ Captain America ภำคที่ 3 นี้มีกำรลงรำยละเอียดที่มีควำมเกี่ยวข้องกับตัว ละครวินเทอร์โซลเยอร์ ที่เคยปรำกฏอยู่ในภำคที่ 2 ไม่ว่ำจะเป็นกำรปฏิบัติภำรกิจ หรือกำรใช้ชุดค ำสั่ง เพื่อปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ขึ้นมำ รวมไปถึงสถำนที่ที่ใช้ฝึกวินเทอร์โซลเยอร์ในช่วงที่ไม่มีภำรกิจ หำกพิจำรณำจำกภำพยนตร์เรื่องนี้มีกำรวำงสัญญะที่เปลี่ยนไปจำกเดิมคือ ในที่นี้ องค์กรไฮดรำไม่ใช่สัญญะของนำซีเยอรมันอีกต่อไป อีกทั้งยังไม่มีควำมเกี่ยวข้องกับชิลด์หรือ

96

สหรัฐอเมริกำ เนื่องจำกภำยในภำพยนตร์นั้นมีภำพแสดงอย่ำงชัดเจนว่ำ ไฮดรำคือสัญญะของโซเวียต หรือรัสเซีย โดยมีกำรใช้ภำพฐำนทัพที่อยู่ในเขตไซบีเรียเป็นตัวก ำหนด รวมไปถึงชุดค ำที่ใช้สั่งกำร วินเทอร์โซลเยอร์เป็นตัวแสดงว่ำสิ่งที่เกิดขึ้นในภำพยนตร์นั้นต้องกำรจะสื่อควำมไปถึงรัสเซีย มีกำร วำงให้ตัวละครวินเทอร์โซลเยอร์นั้นใช้ภำษำรัสเซียในกำรสื่อสำร และอำศัยอยู่ที่ฐำนทัพในเขตไซบีเรีย โดยเรื่องรำวภำยในภำพยนตร์นั้นมีกำรเล่ำย้อนไปยังเหตุกำรณ์ในอดีตในปี 1991 ซึ่งมีกำรปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ขึ้นมำเพื่อรับมอบภำรกิจให้ไปสังหำรบุคคลจ ำนวนหนึ่ง และน ำของสิ่ง นั้นกลับมำ โดยจะเห็นว่ำใน ค.ศ. 1991 นั้น ไม่มีนำซีเยอรมันหรือฮิตเลอร์อีกต่อไป ทว่ำไฮดรำก็ยังคง อยู่ และองค์กรไฮดรำในรัสเซียนั้นก็มีหัวหน้ำหน่วยเป็นของตนเอง คือ นำยพลวำซิลี คำร์ปอฟ นำยทหำรชำวรัสเซียเป็นผู้ดูแลฐำนทัพแห่งนี้ โดยเขำพยำยำมที่จะสร้ำงวินเทอร์โซลเยอร์ขึ้นมำเป็น เครื่องมือสังหำรอีก เนื่องจำกไม่มีผู้ใดที่จะสำมำรถควบคุมจิตใจของวินเทอร์โซลเยอร์ได้นอกจำกเขำ เนื่องจำกชุดค ำสั่งนั้นเป็นภำษำรัสเซียทั้งหมด 10 ค ำ อีกทั้งยังมีกำรจัดเรียงที่ไม่ปกติ แต่ผู้ที่ถือสมุด ปกแดงนั้นจะสำมำรถรู้ได้ว่ำทั้ง 10 ค ำนั้นมีกำรจัดเรียงอย่ำงไร เมื่อปลุกวินเทอร์โซลเยอร์ขึ้นมำแล้ว ค ำพูดแรกของเขำที่จะพูดขึ้นมำก็คือ “Я готов отвечать” แปลว่ำ “ฉันพร้อมตอบรับ” ซึ่งมี ควำมหมำยว่ำเขำพร้อมที่จะรับมอบหมำยภำรกิจแล้ว ไม่ว่ำใครจะเป็นคนพูดชุดค ำสั่ง 10 ค ำก็ตำม ทุกครั้งหลังจำกที่วินเทอร์โซลเยอร์ถูกปลุกขึ้นมำสิ่งแรกที่เขำจะเอ่ยก็คือ ประโยคภำษำรัสเซียที่ว่ำเขำ พร้อมรับภำรกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ำทำงผู้จัดต้องกำรจะสื่อว่ำวินเทอร์โซลเยอร์นั้นคือสัญญะของรัสเซีย ถึงแม้ว่ำตัววินเทอร์โซลเยอร์นั้นจะสำมำรถสื่อสำรได้หลำกหลำยภำษำเนื่องจำกเขำได้รับกำรฝึกเป็น สำยลับและต้องไปแฝงตัวในประเทศต่ำง ๆ เพื่อท ำภำรกิจแต่ค ำพูดแรกที่เขำจะพูดนั้นก็ยังคงเป็น ภำษำรัสเซียอยู่ดี โดยในส่วนนี้เรำสำมำรถเห็นได้จำกในภำคที่ 2 ที่วินเทอร์โซลเยอร์พูดกับทีมของเขำ เป็นภำษำรัสเซีย แต่ในตอนท้ำยเขำก็พูดภำษำอังกฤษขึ้นมำ และในภำคที่ 3 ขณะที่เขำเลือกที่จะทิ้ง ชีวิตสำยลับตนเองและหลบมำอยู่ที่เมืองบูคำร์เรสในประเทศโรมำเนียตำมล ำพังนั้น เขำก็สื่อสำรกับ พ่อค้ำเป็นภำษำโรมำเนียเช่นกัน จึงเป็นสิ่งที่ใช้ยืนยันว่ำเขำสำมำรถเข้ำใจได้มำกกว่ำ 1 ภำษำ แต่สิ่ง แรกที่เขำจะพูดขึ้นเมื่อได้ยินชุดค ำสั่งก็ยังคงเป็นภำษำรัสเซียอยู่ดีถึงแม้ว่ำผู้ที่เอ่ยชุดค ำนั้นจะไม่ใช่ ชำวรัสเซียก็ตำม 4.2.2 แนวคิดวาทกรรมกับการวิเคราะห์วาทกรรม ของ มิเชล ฟูโกต์ ควำมหมำยของวำทกรรมโดย มิเชล ฟูโกต์ กล่ำวไว้ว่ำ กำรใช้อ ำนำจในกำรสร้ำง ควำมจริงและควำมรู้เพื่อปิดกั้นควำมหมำยอื่น ๆ ที่แตกต่ำง ซึ่งผู้วิจัยสำมำรถน ำควำมหมำยของ วำทกรรมนี้มำประยุกต์ใช้ในกำรวิเครำะห์ภำพยนตร์ Captain America เมื่อท ำกำรพิจำรณำจำกภำพยนตร์ทั้ง 3 ภำค จะสำมำรถเห็นได้ชัดว่ำ ทำงผู้สร้ำง นั้นมีกำรน ำแนวคิดเกี่ยวกับอ ำนำจสอดแทรกเข้ำมำอยู่ในภำพยนตร์ โดยภำยในที่นี้หมำยถึง อ ำนำจใน

97

กำรใช้สื่อต่ำง ๆ ของทำงสหรัฐอเมริกำที่มีกำรวำงบทบำทให้ชำติอื่น ๆ เป็นตัวร้ำย และสร้ำงให้ตนเอง เป็นพระเอก ซึ่งสำมำรถกล่ำวได้ว่ำ ผู้จัดนั้นมีกำรน ำควำมจริงและควำมรู้รวมเข้ำด้วยกัน คือ กำรสร้ำง ฮีโร่ขึ้นมำ และสำมำรถท ำให้คนทั่ว ๆ ไปรับรู้ได้ว่ำหำกกล่ำวถึงฮีโร่ ทุกคนจะต้องมีควำมเข้ำใจตรงกัน ว่ำ สหรัฐอเมริกำ และถ้ำกล่ำวถึงตัวร้ำย ทุกคนจะมีควำมเข้ำใจตรงกันว่ำ นำซีเยอรมัน รัสเซีย จีน เกำหลีเหนือ และอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งหำกน ำแนวคิดข้ำงต้นมำปรับใช้กับภำพยนตร์เรื่องนี้จะพบว่ำ ผู้สร้ำงยังคงมีกำร เน้นย้ ำว่ำ ฮีโร่ คือ สหรัฐอเมริกำอยู่เสมอ ๆ ทุกสิ่งที่ตัวละครกัปตันอเมริกำท ำลงไปนั้นต่ำงก็มีควำม เป็นเหตุเป็นผลและเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระท ำ ไม่ว่ำจะเป็นควำมรักชำติถึงแม้ว่ำตนเองจะมีร่ำงกำยที่ เล็กกว่ำคนอื่น ๆ แต่จิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยควำมมุ่งมั่นนั้นก็สำมำรถสร้ำงศรัทธำและควำมเชื่อมั่น ขึ้นมำได้ กำรยอมเสียสละตนเองเพื่อคนส่วนรวม โดยส่วนใหญ่แล้วสิ่งเหล่ำนี้ คือเรื่องพื้นฐำนของ ฮีโร่ในโลกอุดมคติ และสำมำรถเห็นได้อย่ำงชัดเจนจำกตัวละครกัปตันอเมริกำ ทำงด้ำนตัวร้ำย โดยในภำพยนตร์นั้นมีกำรเปลี่ยนตัวร้ำยไปตำมแต่ละภำค โดย ภำคแรกทำงผู้สร้ำงน ำนำซีเยอรมันเป็นตัวร้ำย เนื่องจำกภำพยนตร์เรื่อง Captain America: The First Avenger นั้นเป็นเรื่องรำวเกี่ยวกับสงครำมโลกครั้งที่ 2 ดังนั้นตัวร้ำยก็ควรจะเป็นนำซีเยอรมัน และในท้ำยที่สุดผู้ที่ชนะก็คือ ฮีโร่อย่ำงสหรัฐอเมริกำ ซึ่งในส่วนนี้กล่ำวได้ว่ำผู้สร้ำงมีกำรน ำเอำควำมรู้ ทำงประวัติศำสตร์ เข้ำมำสร้ำงข้อเท็จจริงที่ว่ำฮีโร่และตัวร้ำยในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 คือใคร ต่อมำในภำพยนตร์เรื่อง Captain America: The Winter Soldier เป็นเรื่องรำว ควำมขัดแย้งในโลกปัจจุบัน โดยครำวนี้ตัวร้ำยไม่ใช่นำซีเยอรมันอีกต่อไป แต่เป็นองค์กรไฮดรำที่ถูก สร้ำงขึ้นมำโดยนำซีตั้งแต่ในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 และตัวร้ำยอีกตัว คือ วินเทอร์โซลเยอร์ ซึ่งเป็น นักฆ่ำที่ถูกฝึกจำกโซเวียต โดยหำกมองในเรื่องของกำรแบ่งฝั่งตัวละครนั้น ฮีโร่ ก็ยังคงเป็น สหรัฐอเมริกำเช่นเดิม แต่ในตัวร้ำยนั้นกลับไม่ใช่นำซีเยอรมันอีกต่อไป เนื่องจำกในเวลำนั้นไม่มีนำซี และก็ไม่มีโซเวียตด้วยเช่นกัน มีเพียงแค่ในส่วนของอุดมกำรณ์ที่สร้ำงควำมแตกต่ำงอย่ำงชัดเจนของตัว ละครทั้ง 2 ฝั่งคือ โลกเสรีประชำธิปไตย และโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ กัปตันอเมริกำ คือ ตัวแทนของโลกเสรีประชำธิปไตย และองค์กรไฮดรำ กับ วินเทอร์โซลเยอร์นั้น คือ ตัวแทนของโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เนื่องจำกกำรที่กัปตันอเมริกำเลือกที่ จะต่อต้ำนกำรใช้โปรเจคอินไซท์ที่จะเข้ำมำสอดแนมกำรกระท ำของผู้คน และประเมิณว่ำใครมี แนวโน้มที่จะก่อเหตุกำรณ์ไม่สงบต่อประเทศชำติ เมื่อทรำบว่ำตัวกำรในกำรก่อควำมไม่สงบเหล่ำนั้น คือใครก็สำมำรถที่จะก ำจัดทิ้งได้โดยทันที ซึ่งกำรท ำงำนของโปรเจคนี้ถือว่ำเป็นกำรละเมิดสิทธิส่วน บุคคลอย่ำงเห็นได้ชัดและเป็นสิ่งที่โลกเสรีประชำธิปไตยไม่มีวันกระท ำเป็นอันขำดเนื่องจำกคนทุกคน ต่ำงก็มีควำมคิดเป็นของตนเอง มีสิทธิที่จะเลือกท ำสิ่งใดที่ตนอยำกท ำและสิ่งนั้นจะไม่ก่อควำม

98

เดือดร้อนให้ใครก็ตำม แต่ในทำงกลับกันโลกของสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์นั้นกลับเป็นสิ่งตรงกันข้ำม ผู้คนจะไม่มีสิทธิที่จะกระท ำในสิ่งที่ตนเลือกหรืออยำกจะท ำ เพรำะทุกอย่ำงได้ถูกก ำหนดไว้จำกรัฐบำล ไม่ว่ำประชำชนจะท ำสิ่งใดก็ต้องผ่ำนกำรตรวจสอบจำกรัฐบำลเสียก่อนว่ำจะอนุญำตให้ท ำได้หรือไม่ ซึ่งจำกกำรต่อต้ำนกำรโปรเจคอินไซท์นี้สำมำรถบ่งบอกได้ถึงควำมเป็นเสรีนิยมของ ทำงสหรัฐอเมริกำที่ไม่ต้องกำรจะตกอยู่ภำยใต้อ ำนำจกำรควบคุมของใครก็ตำม แต่ตัวละครในองค์กร ไฮดรำอย่ำง เพียร์ช รัมโลว์ และคนอื่น ๆ ในองค์กร กลับมองว่ำสิ่งที่โปรเจคอินไซท์ท ำนั้นเป็นสิ่งที่ ถูกต้อง หำกต้องกำรที่จะยุติกำรก่อกำรร้ำย เรำก็ควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่ำใครคือผู้กระท ำและท ำกำร จัดกำรให้แล้วเสร็จก่อนที่เหตุกำรณ์ควำมไม่สงบเหล่ำนั้นจะเกิดขึ้น โดยสิ่งเหล่ำนี้ถือเป็นกำรบ่งบอกให้ เห็นถึงควำมเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่เคยน ำแนวคิดเหล่ำนี้มำใช้ ในส่วนของวินเทอร์โซลเยอร์นั้น เนื่องจำกแต่เดิมเขำคือ จ่ำสิบเอก เจมส์ บูคำแนน บำร์นส์ คนที่เคยร่วมรบเคียงบ่ำเคียงไหล่กับกัปตันอเมริกำในภำคแรก แต่กลับถูก น ำไปล้ำงสมองและฝึกให้เป็นมือสังหำร แต่ควำมเป็นสหรัฐอเมริกำที่เป็นตัวต้นที่แท้จริงของเขำนั้นจะ คอยย้ ำเตือนตัวเขำอยู่เสมอ ซึ่งเรำจะเห็นได้จำกกำรที่เขำเอ่ยถำมถึงเป้ำหมำยของตน ซึ่งก็คือ กัปตันอเมริกำกับคนในองค์กรไฮดรำว่ำเขำเคยรู้จักคนคนนี้มำก่อน โดยสำมำรถเปรียบได้ว่ำ ตัวละคร วินเทอร์โซลเยอร์ คือ ประชำชนที่อยู่ในโลกของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เนื่องจำกเขำถูกบังคับให้ท ำใน สิ่งที่เขำไม่ต้องกำรจะท ำ แต่เขำเองก็ไม่มีทำงเลือกอื่น และไม่สำมำรถปฏิเสธภำรกิจเหล่ำนั้นได้ หำก เขำไม่ท ำเขำก็จะถูกลงโทษจำกผู้ที่มีอ ำนำจเหนือกว่ำ หำกเขำเลือกที่จะแสดงท่ำทีต่อต้ำนออกมำเขำก็ จะถูกจับไปล้ำงสมองเพื่อให้ลืมเรื่องรำวทุกอย่ำงไปจนหมด และกลับมำเริ่มต้นสร้ำงควำมทรงใหม่จ ำ อีกครั้ง ต่อมำในภำพยนตร์เรื่อง Captain America: Civil War เป็นเหมือนกำรย้ ำเตือนใน เรื่องของอุดมกำรณ์ที่แตกต่ำงกันอีกครั้ง กล่ำวคือ เรื่องที่เป็นประเด็นหลักและน ำไปสู่ควำมแตกแยก ภำยในกลุ่มอเวนเจอร์ส คือ ควำมแตกต่ำงทำงด้ำนควำมคิดในกำรลงนำมในสนธิสัญญำโซโคเวีย เนื่องจำกทำงกัปตันอเมริกำมองว่ำหำกลงนำมในสนธิสัญญำฉบับนี้ไปแล้วจะท ำให้พวกเขำถูกรัฐบำล เข้ำมำแทรกแซงกำรท ำงำนและอำจจะถูกสั่งให้ท ำในสิ่งที่ไม่ได้อยำกท ำ ส่วนสิ่งที่อยำกท ำกลับไม่ สำมำรถท ำได้เนื่องจำกถูกค ำสั่งห้ำมไว้ ในครำวนี้ตัวละครถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง อีกครั้ง คือ ฝั่งของกัปตันอเมริกำที่ไม่ ยินยอมจะลงนำมในสนธิสัญญำฉบับนี้ กับฝั่งของไอรอนแมนที่ต้องกำรจะลงนำมในสนธิสัญญำ ซึ่ง สนธิสัญญำสำมำรถเปรียบถึงกำรเข้ำมำควบคุมจำกทำงรัฐบำล เนื่องจำกหำกสมำชิกทีม อเวนเจอร์สคนใดที่ลงนำมไปแล้วจะต้องท ำงำนอยู่ภำยใต้กำรดูแลของหน่วยงำนสหประชำชำติ ซึ่ง

99

กำรถูกแทรกแซงนี้ก็เหมือนกับตอนโปรเจคอินไซท์ แต่ในทำงกลับกันผู้ที่ถูกแทรกแซงในครั้งนี้กลับ เป็นเหล่ำฮีโร่ ภำยในภำคนี้ยังมีกำรกล่ำวถึงประเด็นที่ว่ำ กัปตันอเมริกำเลือกที่จะช่วย วินเทอร์โซลเยอร์หลบหนี โดยจำกภำคที่แล้วนั้นท ำให้ทุกคนมีกำรรับรู้ที่ตรงกันว่ำวินเทอร์โซลเยอร์ คือ ตัวร้ำยที่ถูกฝึกให้เป็นมือสังหำรโดยโซเวียต แต่พอในภำคนี้หลังจำกที่กัปตันอเมริกำสำมำรถก ำจัด องค์กรไฮดรำไปจนหมดแล้ว วินเทอร์โซลเยอร์ก็เป็นเพียงเครื่องมือที่ไร้ค่ำ เพรำะไม่มีใครมำคอยสั่ง กำรอีกต่อไป จำกเดิมที่เขำเคยชินกับกำรที่มีคนคอยมอบหมำยภำรกิจให้กับเขำมำโดยตลอด กลำยเป็นว่ำในตอนนี้เขำเป็นอิสระแล้ว เนื่องจำกไม่มีใครที่สำมำรถอ่ำนชุดค ำสั่งของวินเทอร์โซลเยอร์ ได้ เขำจึงเลือกที่จะหลบตัวเองออกมำจำกกัปตันอเมริกำ เนื่องจำกเขำรู้ว่ำหำเขำยังคงอยู่ในสหรัฐยังไง สตีฟก็ต้องตำมตัวเขำเจอและหำทำงช่วยเหลือเขำอย่ำงแน่นอน ซึ่งเขำไม่ต้องกำรให้เป็นเช่นนั้นเพรำะ ตัวตนอีกครึ่งหนึ่งของเขำ คือ วินเทอร์โซลเยอร์ มือสังหำรที่คร่ำชีวิตผู้คนไปมำกมำย แต่แล้วเขำกลับ ถูกใส่ร้ำยว่ำเป็นผู้ก่อเหตุระเบิด ณ ตึกประชุมของสหประชำชำติ ในกรุงเวียนนำ ทุกคนต่ำงก็พุ่ง เป้ำหมำยไปที่วินเทอร์โซลเยอร์ แต่มีเพียงสตีฟเท่ำนั้นที่รู้ว่ำนิสัยที่แท้จริงของบัคกี้เป็นอย่ำงไร และ เลือกที่จะช่วยเหลือบัคกี้ให้พ้นจำกข้อกล่ำวหำที่เขำไม่ได้ก่อ จำกภำพยนตร์ Captain America ทั้ง 3 ภำคนั้นสำมำรถสรุปได้ว่ำ มีกำรใช้สัญญะ ต่ำง ๆ ที่ไว้ใช้สื่อควำมอยู่ภำยในภำพยนตร์ตำมทฤษฎีสัญญะวิทยำและแนวคิดภำพตัวแทน รวมถึง มีกำรใช้แนวคิดวำทกรรมกับกำรวิเครำะห์วำทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ เพื่อสร้ำงควำมให้เกิดควำมรู้และ ควำมจริง ตลอดจนมีกำรวำงภำพตัวแทนของสิ่งเหล่ำนั้นไว้โดยกำรอำศัยทฤษฎีสัญญะวิทยำเป็นตัว อธิบำยสัญญะต่ำง ๆ ว่ำต้องกำรจะสื่อภำพและควำมหมำยไปในทิศทำงใด และกำรใช้วำทกรรมเป็น ตัวเน้นย้ ำถึงควำมควำมหมำยของสิ่งเหล่ำนั้น ขบวนกำรสร้ำงภำพตัวแทน หรือกำรใช้ทฤษฎีสัญญะวิทยำเข้ำมำมีบทบำทในวงกำร ภำพยนตร์นั้นถือว่ำเป็นกำรสร้ำงชุดควำมคิดที่เหมือนกันให้กับผู้รับสำร และวิธีกำรนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อ ไม่นำนมำนี้ ทว่ำเกิดขึ้นมำตั้งแต่ในช่วงสงครำมเย็นที่สหรัฐอเมริกำและสหภำพโซเวียตมีกำร ก่อสงครำมเย็นระหว่ำงกันขึ้นมำ โดยทั้งคู่ต่ำงก็น ำแนวคิดและทฤษฎีดังกล่ำวเข้ำมำเป็นส่วนหนึ่งของ สื่อบันเทิงต่ำง ๆ ไม่ว่ำจะเป็นนวนิยำย บทละครวิทยุหรือโทรทัศน์ รวมไปถึงภำพยนตร์ โดยเรำ สำมำรถเรียกวิธีกำรนี้ว่ำ กำรพรอบพกันดำ ประเทศมหำอ ำนำจทั้งคู่ต่ำงก็เลือกที่จะใช้กำร พรอบพกันดำเป็นเครื่องมือในกำรต่อสู้กัน ซึ่งกำรพรอบพกันดำนั้นก็เปรียบเสมือนกำรเปลี่ยนชุดควำมคิดของคนให้เป็นไปตำมที่ ผู้ส่งสำรต้องกำรจะสื่อ อีกทั้งเมื่อถูกพรอบพกันดำเป็นเวลำนำน ก็ย่อมท ำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและถูกต้อง ตำมสิ่งที่ผู้ส่งสำรต้องกำรจะน ำเสนอ โดยในที่นี้ถือว่ำทำงสหรัฐอเมริกำมีควำมได้เปรียบเป็นอย่ำงมำก

100

เนื่องจำกทำงด้ำนเทคโนโลยีในกำรผลิตภำพยนตร์ อีกทั้งประเภทของภำพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ ภำพยนตร์ฮอลลีวูด ซึ่งเป็นภำพยนตร์ที่มีฐำนกำรตลำดเป็นวงกว้ำง เมื่อสหรัฐผลิตภำพยนตร์ขึ้นมำ และมีกำรใส่พรอบพกันดำเข้ำไปโดยกำรสร้ำงภำพว่ำรัสเซียคือวำยร้ำย หลังจำกที่ภำพยนตร์ส่งสำร นั้นมำยังผู้รับสำร ก็สำมำรถจัดระเบียบควำมคิดให้เป็นไปในทิศทำงเดียวกันได้ง่ำย และภำพยนตร์ทำง ฝั่งสหรัฐอเมริกำที่มีกำรวำงให้รัสเซียเป็นตัวร้ำยนั้นไม่ได้มีเพียงภำพยนตร์ในจักรวำลมำร์เวลเท่ำนั้น ยังมีเรื่องอื่น ๆ อีกมำกมำยที่มีรัสเซียเป็นตัวร้ำย

101

บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการศึกษา

จากในบริบทของโลกทั้งทางฝั่งของรัสเซียและฝั่งของอเมริกาเริ่มมีท่าทีไม่ลงรอยกัน ตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น โดยก่อนหน้านี้ทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็เป็นพันธมิตรทางสงครามระหว่างกันในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ทว่าเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงมหาอ านาจของโลกก็เปลี่ยนไป เมื่อต่างฝ่าย ต่างมีอุดมการณ์เป็นของตนเองและในท้ายที่สุดความแตกต่างทางอุดมการณ์นั้นก็น าไปสู่ความขัดแย้ง ระหว่างกัน คือ การเกิดสงครามเย็น ในสงครามครั้งนี้ท าให้ขั้วอ านาจของโลกถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งอย่างชัดเจน ฝั่งแรก คือ ฝั่งของโลกเสรีประชาธิปไตย โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้น า และอีกฝั่ง คือ โลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีสหภาพโซเวียตเป็นผู้น า โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะมีการใช้สงครามตัวแทนเป็นเครื่องมือในการโต้ตอบกัน รวมไปถึงการใช้พรอบพกันดาต่าง ๆ เพื่อจะขยายอุดมการณ์ของตนเองออกไปสู่ประเทศอื่น ๆ โดย ภาพยนตร์ก็เป็นหนึ่งในพรอบพกันดาที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากและยังคงมีบทบาทมาจนถึง ยุคปัจจุบันในการสร้างให้อีกฝ่ายมีภาพแทนตามที่ผู้สร้างต้องการจะให้เป็น และภาพยนตร์โดยส่วน ใหญ่นั้น ทางสหรัฐอเมริกาก็มักจะให้รัสเซียรับบทเป็นตัวร้ายเสมอ ๆ ในอดีตในช่วงสงครามเย็นระหว่างทั้ง 2 ประเทศนั้น มีการสร้างภาพยนตร์ขึ้นมา มากมายและผู้ที่มีบทบาทเป็นอย่างมาก คือ สหรัฐอเมริกา โดยภาพยนตร์ในยุคนั้นมักจะสร้างให้ รัสเซียหรือในขณะนั้นคือสหภาพโซเวียตรับบทเป็นตัวร้าย โดยตัวละครนั้น ๆ จะมีลักษณะนิสัยที่ แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นตัวร้ายหรือตัวโกง ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง James Bond 007 เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้ท าให้ทางสหรัฐอเมริกาน าพรอบพกันดาเข้ามามีส่วนช่วย ในการสร้างภาพแทนของประเทศที่มีอุดมการณ์ขัดแย้งกับประเทศของตน ให้กลายเป็นตัวร้ายไปโดย ปริยาย ทว่าในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาจากภาพยนตร์ของทางฝั่งตะวันตกอย่างเรื่อง Captain America จะพบว่า มีการปรากฏของภาพสะท้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับทางสหพันธรัฐรัสเซีย และสหภาพโซเวียตอยู่มากมาย โดยมีรูปแบบการสื่อออกมาอย่างชัดเจนตลอดจนถึงการบอกโดยอ้อม และผู้รับสารต้องน าไปวิเคราะห์ต่อเพื่อสร้างความเข้าใจต่อภาพสะท้อนนั้น ๆ ทว่าบริบทของสิ่งที่มี ความเกี่ยวข้องกับรัสเซียนั้นกลับไม่ใช่รูปแบบเดิมอย่างในช่วงสงครามเย็น เนื่องมาจากช่วงเวลาที่ แตกต่างกันรวมไปถึงสภาพแวดล้อมในขณะนั้น ๆ ซึ่งในช่วงสงครามเย็นนั้นจะเห็นได้ถึงความ 102

ตึงเครียดของทั้ง 2 ประเทศ ที่ต้องการเผยแพร่อุดมการณ์ของตนเองพร้อมทั้งโจมตีฝั่งตรงข้าม จึงท า ให้ตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นภาพแทนของอีกประเทศนั้นมีภาพลักษณ์ในด้านที่ไม่ดี ทว่าใน ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับตรงกันข้ามออกไป โดยสามารถแบ่งการสรุปออกเป็น 2 ส่วน ได้ดังต่อไปนี้ คือ ภาพสะท้อนที่เกี่ยวกับรัสเซียที่ปรากฏในภาพยนตร์ Captain America และการใช้สัญญะและ ภาพตัวแทนในภาพยนตร์ Captain America

5.1.1 ภาพสะท้อนที่เกี่ยวกับรัสเซียที่ปรากฏในภาพยนตร์ Captain America ภาพสะท้อนทั้งหลายที่ปรากฏภายในภาพยนตร์ Captain America ทั้ง 3 ภาค ต่างก็มีความแตกต่างกันไป ตามเนื้อหาของภาพยนตร์ โดยในแต่ละภาคนั้นจะมีการปรากฏของ ภาพสะท้อนดังต่อไปนี้ ในภาค The First Avenger นั้น ถือว่าเป็นภาคแรกที่เป็นจุดเริ่มต้นของตัวละคร กัปตันอเมริกาผ่านภาพยนตร์เพื่อให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยเหตุการณ์ภายในภาคนี้จะเน้นไป ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากในช่วงนั้น คือ ช่วงที่มีการสร้างตัวละครกัปตันอเมริกาขึ้นมา ดังนั้นเรื่องราวทั้งหมดจึงเป็นเรื่องของการสู้รบระหว่างฝ่ายอักษะและฝ่ายสัมพันธมิตร จึงท าให้ เรื่องราวของรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตมีความชัดเจนที่ไม่มากนัก ต่อมาในภาค The Winter Soldier โดยในภาคนี้คือภาคที่ 2 ของภาพยนตร์ ไตรภาคชุดนี้และยังมีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นเรื่องราวของอุดมการณ์ที่ แตกต่างกันโดยสื่อผ่านตัวละคร 2 ตัวที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน คือ ตัวละครกัปตันอเมริกาและ ตัวละครวินเทอร์โซลเยอร์ อีกทั้งวินเทอร์โซลเยอร์ยังเป็นสิ่งที่แทนความเป็นรัสเซียอย่างชัดเจน เนื่องจากตัวละครนี้ได้รับการฝึกฝนต่าง ๆ จากทางสหภาพโซเวียตโดยตรง ส่วนสุดท้ายคือ ภาค Civil War โดยภาคนี้ถือว่า เป็นภาคที่ใช้ปิดไตรภาคของ ภาพยนตร์ Captain America โดยเป็นการคลี่คลายปมของตัวละครวินเทอร์โซลเยอร์ทั้งหมด โดยใน ภาคนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องราวความขัดแย้งทางอุดมการณ์เช่นเดิม คือ การลงนามในข้อตกลงโซโคเวีย อีกทั้งในภาคนี้ยังมีการกล่าวย้อนกลับไปถึงสถานที่ที่ใช้ฝึกวินเทอร์โซลเยอร์อย่างไซบีเรีย ตลอดจนถึง บทสนทนาต่าง ๆ ในภาษารัสเซีย นอกเหนือจากนี้ตัวละครที่มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตนั้นจะ ถูกสร้างลักษณะนิสัยให้แปลกแยกออกไป มีท่าทีที่ไม่น่าไว้วางใจ หรือเป็นตัวละครที่มักจะถูกมองว่า เชื่อถือไม่ได้ โดยเฉพาะตัวละคร นาตาชา โรมานอฟ ที่เคยเป็นสายลับให้กับหน่วย K.G.B. ก่อนที่เธอ จะมาท างานให้ชิลด์ โดยเธอเลือกที่จะภักดีกับชิลด์ตั้งแต่วันที่เธอก้าวออกมาจากรัสเซีย แต่อย่างไรก็ ตามความเป็นรัสเซียที่ติดตัวเธอมาแต่เกิดนั้นก็ยังคงท าให้บรรดาเพื่อนร่วมงานของเธอไม่ไว้วางใจเธอ 103

อยู่ดี ยกตัวอย่างเช่นในตอนที่โทนี่และนาตาชาพูดคุยกัน และอยู่ ๆ โทนี่ก็เลือกที่จะพูดขึ้นมาว่า “It must be hard to shake the whole double agent thing, huh? It sticks in the DNA.” ซึ่ง แปลว่า “มันคงเป็นเรื่องยากที่จะเอาเรื่องสายลับสองหน้าทิ้งไปสินะ เหมือนว่ามันจะฝังเข้าไปในดีเอ็น เอเสียแล้ว” ในนาทีที่ 1:48:09 จากภาพยนตร์ Captain America: Civil War โดยในส่วนนี้แสดงให้ เห็นได้อย่างชัดเจนว่า แม้กระทั่งโทนี่คนที่เธอเคยท างานร่วมกันมานานก็ยังไม่ไว้วางใจเธอและยังคง คิดอยู่เสมอว่าเธอ คือ สายลับสองหน้าที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ เช่นเดียวกับ วินเทอร์โซลเยอร์ ถึงแม้ว่าแต่เดิมแล้วเขา คือ จ่าสิบเอก เจมส์ บูแคแนน บาร์นส์ ผู้ที่เคยเข้าร่วมรบในกองทัพสหรัฐอเมริกาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ หลังจากอุบัติเหตุที่ท าให้เขาพลัดตกลงไปจากรถไฟนั้นก็ท าให้ชีวิตที่เหลืออยู่ของเขาเปลี่ยนไป เขาถูก ไฮดราส่งไปฝึกฝนทักษะนักฆ่าที่โซเวียตและเมื่อใดก็ตามที่เขาได้ยินชุดค าสั่งภาษารัสเซียทั้ง 10 ค า เขาก็จะกลายเป็นนักฆ่าที่ไม่หลงเหลือความทรงจ าที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาในอดีตอีกต่อไป และนี่ก็เป็น อีกหนึ่งเหตุผลที่เขาไม่ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงานของกัปตันอเมริกา ยกตัวอย่างเช่น ใน ตอนที่แซมพูดกับสตีฟว่า “Just like that, we’re supposed to be cool?” ซึ่งหมายความว่า “แค่เท่านี้ก็ไว้ใจเขาได้เลยหรอ” ในนาทีที่ 1:11:41 จาก Captain America: Civil War โดยประโยค นี้แซมพูดขึ้นหลังจากที่บัคกี้พูดชื่อแม่ของสตีฟและเล่าเรื่องในอดีตสมัยที่ทั้งคู่เคยท าด้วยกัน ซึ่งหลังจากที่ฟังบัคกี้เล่าสตีฟก็เชื่อโดยทันทีว่าบัคกี้ได้สติกลับมาหลังจากที่เขาถูกซีโม่อ่าน ชุดค าสั่งการณ์วินเทอร์โซลเยอร์ก่อนหน้านี้ แต่จากค าพูดของแซมจะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เขาไม่ไว้วางใจบัคกี้แม้แต่น้อย ซึ่งนั้นเป็นผลมาจากที่เขารู้จักบัคกี้ในฐานะของ วินเทอร์โซลเยอร์ นักฆ่าที่ได้รับการฝึกจากโซเวียต อีกทั้งเขายังเคยเจอกับวินเทอร์โซลเยอร์ตอนที่ตามไล่ยิงพวกเขาใน Captain America: The Winter Soldier จึงท าให้เขามองว่าคนคนนี้ไม่น่าไว้วางใจและไม่รู้ว่า เมื่อไหร่ที่คนคนนี้จะหันมาฆ่าเขาเมื่อแต่ก่อนอีกครั้ง ในส่วนของสตีฟนั้นเลือกที่จะเชื่อว่า นี่คือบัคกี้ ไม่ใช่วินเทอร์โซลเยอร์ที่ถูกควบคุมโดยชุดค าสั่งการณ์อีกต่อไป เนื่องจากมีเพียงแค่เขาคนเดียวเท่านั้น ที่รู้จักบัคกี้ในฐานะของเจมส์ บูแคแนน บาร์นส์ เพื่อนที่เคยเคียงข้างกันตั้งแต่สนามเด็กเล่นไปจนถึง สนามรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยตัวละครทั้ง 2 นี้ถือว่าเป็นภาพสะท้อนระหว่างกัน หากมองในมุมมองของ ชาติก าเนิดของทั้งคู่ นาตาชา คือ ชาวโซเวียตแต่ก าเนิดที่เลือกจะมาท างานให้กับสหรัฐอเมริกา ส่วนบัคกี้ คือ ชาวอเมริกันตั้งแต่ก าเนิด เขาเคยเข้าร่วมกองทัพของสหรัฐอเมริกาแต่ในตอนท้ายเขาถูก จับไปล้างสมองและฝึกฝนทักษะการเป็นนักฆ่าที่โซเวียต ทั้งคู่ต่างก็มีความเกี่ยวพันกับรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตด้วยกันทั้งคู่ จึงท าให้พวก เขายังคงเป็นตัวละครที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่นไม่เต็มที่มากนัก อีกทั้งยังถูกมองว่าเป็นตัวร้ายที่ 104

คอยสร้างปัญหาต่าง ๆ เสมอ ซึ่งจะเห็นว่าทางผู้สร้างมีการวางรูปแบบของรัสเซียให้ออกมาในทิศทาง ที่มีท่าทีที่ไม่น่าไว้วางใจ มีความแปลกแยก และไม่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น โดยจะเห็นได้อย่าง ชัดเจนจากทั้ง 2 ตัวละครที่กล่าวมาข้างต้น 5.1.2 การใช้สัญญะและภาพตัวแทนภายในภาพยนตร์ Captain America การใช้สัญญะและภาพตัวแทนภายในภาพยนตร์เปรียบเสมือนการสร้าง ชุดความคิดระหว่างผู้รับสารและผู้สร้างภาพยนตร์ให้มีความคิดที่ตรงกัน โดยในแต่ละภาคจะมีการ ปรากฏของสัญญะและภาพตัวแทนดังต่อไปนี้ ในภาค The First Avenger นั้น มีการปรากฏสัญญะนาซีเยอรมันขึ้นมา โดยใช้ องค์กรไฮดราเป็นตัวภาพแทนของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทางสหรัฐอเมริกาและ เยอรมันเป็นศัตรูต่อกัน และตัวละครกัปตันอเมริกานั้น ก็เป็นสัญญะของสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่ในภาคนี้มักจะเน้นไปที่การสร้างกัปตันอเมริกาและภารกิจของเขา ในการกวาดล้างฐานทัพไฮดราในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจะมีการอิงประวัติศาสตร์เข้ามาเพื่อสร้าง ให้ตัวละครมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ต่อมาในภาค The Winter Soldier มีการปรากฏภาพของกลุ่มคนที่ต่อต้าน สหรัฐอเมริกา โดยใช้องค์กรไฮดราเป็นสัญญะ องค์กรไฮดราในภาคนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ นาซีเยอรมัน เนื่องจากช่วงเวลาของภาพยนตร์ในตอนนั้นไม่มีนาซีเยอรมันอีกแล้วและสัญญะต่อมาที่ ปรากฏขึ้นมาในภาคนี้ คือ วินเทอร์โซลเยอร์ โดยมีการวางให้ตัวละครนี้เป็นภาพของสหภาพโซเวียต เนื่องจากเขาถูกฝึกโดยที่นั่น รวมไปถึง นาตาชา โรมานอฟ ที่เคยท างานให้กับ K.G.B. ก่อนที่จะมา ท างานให้ชิลด์ นอกเหนือจากนี้ยังมีการสอดแทรกเรื่องของความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่าง กัน โดยการใช้ตัวละครกัปตันอเมริกา ที่เป็นภาพแทนของโลกเสรีประชาธิปไตย คือ ทุกคนมีสิทธิ์ มีเสียงเป็นของตนเอง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือกว่าควรจะท าอะไรต่อไป ไม่ใช่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มคนเข้ามาบงการชีวิตของตน ส่วนภาพแทนของโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่ปรากฏภายในภาคนี้ คือ องค์กรไฮดราและวินเทอร์โซลเยอร์ โดยองค์กรไฮดราเปรียบได้กับภาพชนชั้นปกครองของระบอบ สังคมนิยม โดยเขาต้องการที่จะควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างและพร้อมที่จะท าอย่างไรก็ตามให้ตนเองมีสิทธิ์ ที่จะท าเช่นนั้น ส่วนวินเทอร์โซลเยอร์นั้นเป็นภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในระบบสังคมนิยม เนื่องจากเขาไม่มีสิทธิ์และเสียงเป็นของตนเอง สิ่งที่เขาสามารถท าได้ คือ สิ่งที่ทางชนชั้นปกครองสั่งให้ ท าและเขาไม่สามารถที่จะปฏิเสธค าสั่งเหล่านั้นได้ ต่อมาในภาคสุดท้าย คือ Civil War การวางสัญญะก็ยังคงเป็นไฮดราเช่นเดิม แต่ในคราวนี้ไฮดราไม่ใช่ทั้งนาซีเยอรมันหรือกลุ่มผู้ที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกา แต่กลับเป็นสัญญะของ 105

รัสเซียหรือสหภาพโซเวียต เนื่องมาจากฐานทัพของไฮดราที่ปรากฏในภาคนี้ คือ ฐานทัพที่ตั้งอยู่ใน พื้นที่เขตไซบีเรียที่อยู่ในประเทศรัสเซียในปัจจุบัน โดยในภาพยนตร์จะเน้นไปที่ภูมิหลังของ วินเทอร์โซลเยอร์ในขณะที่เขาเก็บตัวอยู่ในฐานทัพแห่งนี้ อีกทั้งยังมีการใช้ภาษารัสเซียเข้ามาเพื่อ บ่งบอกว่า วินเทอร์โซลเยอร์ คือ มือสังหารของโซเวียตภายใต้การควบคุมของไฮดราและเป็นการเน้น ย้ าว่า วินเทอร์โซลเยอร์ คือ สัญญะของรัสเซีย นอกเหนือจากเรื่องของสัญญะภายในภาคนี้ยังมีการปรากฏของเรื่องอุดมการณ์ อีกเช่นกัน โดยเป็นการแบ่งฝั่งระหว่างกลุ่มที่อยู่ภายใต้ความดูแลของรัฐบาล โดยพวกเขามีหน้าที่ท า ตามค าสั่งที่ได้รับมาเพียงเท่านั้น หากมีการฝ่าฝืนนั่นหมายความว่าพวกเขามีความผิด กับอีกฝั่งที่เลือก จะไม่ให้รัฐบาลเข้ามาเเทรกแซงการท างาน เนื่องจากหากท าตามแต่ค าสั่งที่ได้รับมาแล้วหากมีประเทศ อื่น ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือแต่ทางรัฐบาลกลับไม่อนุญาตให้พวกเขาลงพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือ การเป็นฮีโร่ของพวกเขาก็ย่อมไร้ความหมาย สุดท้ายนี้อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ภาพสะท้อนต่าง ๆ ตลอดจนถึงการสร้างสัญญะและ ภาพตัวแทนภายในภาพยนตร์ของ Hollywood นั้นก็ยังคงมีเรื่องของพรอบพกันดาเข้ามาเป็นปัจจัย ส าคัญ ไม่ว่าจะตั้งแต่ช่วงสงครามเย็นมาจนถึงปัจจุบัน โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของ ลักษณะนิสัยของตัวละครที่ไม่แสดงออกตรง ๆ ว่าเป็นตัวร้ายดังเช่นในยุคสงครามเย็น แต่มักจะเน้นไป ที่ความไม่น่าไว้วางใจ มีความแปลกแยก และไม่ได้รับการยอมรับจากคนอื่น ๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ภาพยนตร์ Captain America นั้น เป็นอีกหนึ่งมิติของวงการภาพยนตร์ที่ไม่ได้สร้างภาพให้สิ่งที่มี ความเกี่ยวข้องกับรัสเซียนั้นเป็นตัวร้ายเหมือนภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ แต่เป็นการน าเอาภาพสะท้อน สัญญะ และภาพตัวแทนต่าง ๆ เข้ามาใช้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างแทน

106

5.2 ข้อเสนอแนะ

หากภาพยนตร์เรื่อง Captain America หรือภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ของ Marvel Studios ได้รับความสนใจหรือมีการศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับ รัสเซียและสหภาพโซเวียต ตลอดจนมีการศึกษาในประเด็นอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากนี้ ผู้วิจัยต้องการจะ เสนอแนะแนวทางดังต่อไปนี้ 1. เสนอให้มีการสัมภาษณ์ผู้รับสารที่มีความเกี่ยวข้องหรือมีความรู้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับ Marvel Studios ไม่ว่าจะเป็นในด้านของภาพยนตร์หรือด้านของหนังสือการ์ตูน ตลอดจนถึง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัสเซียหรือสหภาพโซเวียต เพื่อน าข้อมูลในส่วนนั้นมาประกอบการพิจารณาต่อไป 2. เสนอให้มีการศึกษาผ่านหนังสือการ์ตูนของ Marvel Comics ให้มากขึ้น เนื่องจาก ตัวละครและเรื่องราวที่ปรากฏในภาพยนตร์นั้นต่างก็เป็นการหยิบยกเรื่องราวมาจากหนังสือการ์ตูน ด้วยกันทั้งสิ้น

107

รายการอ้างอิง

หนังสือ

ธีรยุทธ บุญมี. มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิภาษา, 2557. พีระ จิรโสภณ. ประมวลสาระชุดวิชา: ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร. ปรับปรุงครั้งที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557. สุรัตน์ ตรีสกุล. หลักนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พ.ศ. พัฒนา, 2548. อัญชลี ชัยวรพร. ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น: เรื่องเล่าในภาพยนตร์ หน่วยที่ 1-8. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553. Dr. Know [นามแฝง]. สัตว์ประหลาดในเทพนิยายกรีก – โรมัน. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป, 2551.

วิทยานิพนธ์

เตชวัฒน์ แช่มช้อย. “พรอบพกันดาในวงการภาพยนตร์ตะวันตกว่าด้วยเรื่องสหภาพโซเวียตกับ บริบทวายร้ายในยุคสงครามเย็น: กรณีศึกษาภาพยนตร์ 007 เจมส์ บอนด์ (ปี ค.ศ. 1962- 1967).” วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558. ธนิต ธนะกุลมาส. “การวิเคราะห์ภาพยนตร์ของจางอี้โหมวในเชิงบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และแนวคิดแบบอุดมคติเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547. ธีรวัจน์ อุดมเจริญกิจ. “ภาพตัวแทนความเป็นญี่ปุ่นในภาพยนตร์การ์ตูนโดราเอมอน ตอนพิเศษ.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะนิเทศน์ศาสตร์สารสนเทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2552. อรรถรจน์ ปรีชากุล. “การศึกษาภาพสะท้อนของการแข่งขันทางการเมืองระหว่างสหภาพโซเวียตและ สหรัฐอเมริกาในช่วงยุคสงครามเย็นที่ปรากฏอยู่ภายในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550. อัจฉรีย์ วัฒนสหโยธิน. “การเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองตามหลักของพรรคสังคมนิยม คอมมิวนิสต์: กรณีศึกษา ภาพยนตร์ในสมัยโซเวียตตอนต้น ค.ศ. 1918-1945.” วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.

108

อัญมณี ภักดีมวลชน. “การสื่อสารภาพตัวแทนของคุกชายในภาพยนตร์ไทย: ศึกษากรณีภาพยนตร์ เรื่อง ‘น.ช.นักโทษชาย’.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และ สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. “สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์.” คลังข้อมูลด้าน สารสนเทศศาสตร์และการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2560. http://www.huso.kku.ac.th/wirat/comunication09.pdf.

Book

Gerald F. Jacobson. History of 107th infantry U.S.A. New York: Seventh regiment armory, 1920. Les Daniels. MARVEL Five Fabulous Decades of The World's Greatest Comics. New York: ABRAMS Books, 1991. Roy Thomas. 75 Years of Marvel from the Golden Age to the Silver Screen. n.p.: Taschen, 2014s. Sh. Ramazanov. “Kiev Defense: the 75th Anniversary of The Tragic Events (July – September 1941).” Storìnki Istorìï. no. 41 2016. Stuart Hall. Representation: Cultural Representations and Signifying Practices. London: Sage, 1997.

Electronic Media

“Abraham Erskine.” Marvel Cinematic Universe. Accessed March 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/3/37/Abra ham_Erskine.png/revision/latest?cb=20120501081232.

109

“Alexander Goodwin Pierce.” Marvel Cinematic Universe. Accessed March 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/3/3e/Alex ander_Pierce_profile.png/revision/latest?cb=20141025024305. “Americans’ Poster in World War.” Fed Smith. Accessed February 16, 2018. https://www.fedsmith.com/2016/02/11/should-the-selective-service-be- abolished/. “Black Widow (Natalia Alianova Romanoff).” Marvel Cinematic Universe. Accessed January 20, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelmovies/images /a/a3/BWCivilWar.jpgrevision/latest/scale-to-width-down/1000?cb=2016051 1014637. “Black Widow in Lemurian Star.” Marvel Cinematic Universe. Accessed February 16, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/1/ 1f/Widowsmirk.jpg/revision/latest?cb=20141127042556. “Captain America (Steve Rogers): Early years and World War 2.” Marvel. Accessed March 22, 2018. http://marvel.com/universe/Captain_America_(Steve_Rogers) #axzz5AaJ6yYG4. “Captain America (Steven Grant Rogers).” Marvel Cinematic Universe. Accessed January 20, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelmovies/images/d/ de/CaptainAmerica_Avengers_AOU-character-poster.jpg/revision/latest/scale- to-width-down/1000?cb=20160512192321. “Captain America Comics (1941) #1.” Marvel. Accessed January 5, 2018. http://marvel.com/comics/issue/7849/captain_america_comics_1941_1. “Captain America Frozen.” Marvel Cinematic Universe. Accessed February 15, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/d/ d4/CapShieldFrozen-CATFA.png/revision/latest?cb=20140331042330. “Captain America: Civil War (2016).” Marvel Cinematic Universe. Accessed January 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/5/ 5c/Civil_War_Final_Poster.jpg/revision/latest/scale-to-width-down/1000?cb=20 160310172110.

110

“Captain America: The First Avenger (2011).” Marvel Cinematic Universe. Accessed January 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse /images/8/81/CaptainAmericaTheFirstAvengerComicConPoster.jpg/revision/late st/scale-to-width-down/1000?cb=20120122235032. “Captain America: The Winter Soldier (2014).” Marvel Cinematic Universe. Accessed January 21, 2018. http://marvelcinematicuniverse.wikia.com/wiki/Captain_ America:The_Winter_Soldier?file=Captain_America_The_Winter_Soldier_main _poster.jpg. “Captain America’s to do list.” Comics Alliance. Accessed February 16, 2018. http://comicsalliance.com/captain-america-the-winter-soldier-movie- international-list-differences/. “Chester Philips.” Marvel Cinematic Universe. Accessed March 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/0/02/Che ster_Phillips.png/revision/latest?cb=20171028203842. “Crossbones (Brock Rumlow).” Marvel Cinematic Universe. Accessed March 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/2/27/Cros sbones-Profile-CACW.jpg/revision/latest?cb=20160229172341. “Easter Eggs in Captain America: Civil War ” 2x2tv. Accessed February 17, 2018. https://2x2tv.ru/blog/civil-war-easter-eggs/. “Evolution of Arctic Territorial Claims and Agreements: Timeline (1903 – Present).” Stimson Centre Innovative Ideas Changing the World. Accessed February 15, 2018. https://www.stimson.org/content/ evolution-arctic-territorial-claims-and- agreements-timeline-1903-present. “Falcon (Samuel Thomas Wilson).” Marvel Cinematic Universe. Accesed March 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/6/ 69/CACW_Sam_Textless_Poster.jpg/revision/latest?cb=20160527050612. “German – Soviet Nonaggression Pact.” HISTORY. Accessed March 31, 2018. https://www.history.com/topics/world-war-ii/german-soviet-nonaggressionpact.

111

“Helmut Zemo.” Marvel Cinematic Universe. Accessed March 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/c/ca/Zem o1.jpg/revision/latest?cb=20160625042701. “Howling Commandors.” Marvel Cinematic Universe. Accessed February 16, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/f/f0/Barn es_planning.jpg/revision/latest?cb=20120526204619. “Iron Man (Anthony Edward Stark).” Marvel Cinematic Universe. Accessed March 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/2/ 26/IM_2_Mark_VI_Expo.png/revision/latest?cb=20161020205803. “Map in Captain America: The First Avenger.”Maps in Movies. Accessed February 15, 2018. https://www.mapsinmovies.com/index-of-films.html. “Map of Оймякон.” Водитель Петербурга. Accessed April 1, 2018. http://spbvoditel.ru/mm/items/2013/2/7/0033/map.jpg. “Maria Hill.” Super Cinema Up. Accessed March 21, 2018. http://supercinemaup.com/wp-content/uploads/2016/08/minhaFoto90x90- 1.jpg. “Moscow bombing: Carnage at Russia’s Domodedovo airport.” BBC. Accessed April 25, 2018. http://www.bbc.com/news/world-europe-12268662. “Moscow Doesn’t Believe in Tears.” IMBD. Accessed February 23, 2018. http://www.imdb.com /title/tt0079579/. “Moscow metro hit by deadly suicide bombings.” BBC. Accessed April 25, 2018. http://news. bbc.co.uk/2/hi/europe/8592190.stm. “Nick Fury (Nicholas Joseph Fury).” Marvel Cinematic Universe. Accessed March 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/0/ 0a/Nick_Fury_Textless_AoU_Poster.jpg/revision/latest?cb=20161119163035. “Peggy Carter (Margaret Elizabeth Carter).” Marvel Cinematic Universe. Accessed January 20, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelmovies/images/e /ed/Agent_Carter_Season_2_Promo_01.jpg/revision/latest/scale-to-width- down/1000?cb=20160106184753.

112

“Project Insight.” Marvel Cinematic Universe. Accessed February 16, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/8/89/Proj ect_Insight.png/revision/latest?cb=20141126042706. “Red Skull (Johann Schmidt).” Marvel Cinematic Universe. Accessed March 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/1/18/Cap tain-America-The-First-Avenger_519e83c9.jpg/revision/latest?cb=20120614221 915. “Round-up of the Eastern Economic Forum 2017.” Eastern Economic Forum. Accessed April 1, 2018. https://forumvostok.ru/en/media/eef-2017-outcomes/. “Russia’s Eastern Economic forum to Attract Over $20bn in Foreign Investment.” RT. Accessed April 1, 2018. https://www.rt.com/business/400857-eef-far-east- investment/. “Russians’ Propaganda in WW2.” All World Wars. Accessed February 16, 2018. http://www.allworldwars.com/Russian%20WWII%20Propaganda%20Posters. html. “Scarlet Witch (Wanda Maximoff).” Marvel Cinematic Universe. Accessed March 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/9/ 9a/CW_Textless_Shield_Poster_03.jpg/revision/latest?cb=20160515004602. “Soviet Union.” HISTORY. Accessed February 23, 2018. http://www.history.com/topics /history-of-the-soviet-union. “Vasily Karpov.” Marvel Cinematic Universe. Accessed February 17, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/f/ff/Vasily _Karpov_8.png/revision/latest?cb=20160916160650. “Vasily Karpov.” Marvel Cinematic Universe. Accessed March 21, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/0/0c/Vasil y_Karpov_1.png/revision/latest?cb=20160916160458. “Winter Soldier (James Buchanan Barnes).” Marvel Cinematic Universe. Accessed January 20, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelmovies/images/d/ de/CaptainAmerica_Avengers_AOU-character-poster.jpg/revision/latest/scale- to-width-down/1000?cb=20160512192321.

113

“Winter Soldier’s Prosthetic Arm.” Marvel Cinematic Universe. Accessed February 16, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/4/ 43/Winter_Soldier%27s_Prosthetic_Arm.jpg/revision/latest?cb=201405050002 27. “Yuri Gagarin: Life in the Pictures.” Russian Archive Online. Accessed February 23, 2018. http:// www.russianarchives.com/gallery/gagarin/index.html. “Zhitomir.” Marvel Cinematic Universe. Accessed February 15, 2018. https://vignette.wikia.nocookie.net/marvelcinematicuniverse/images/0/0e/Zhit omir.png/revision/latest?cb=20141012175110. Dipanjan Roy Chaudhury. “In Balancing Act, Russia Opens Far East Region to India.” The Economic Times. Accessed April 1, 2018. https://economictimes.indiatimes.com/news/defence/in-balancing-act-russia- opens-far-eastern-region-to-india/articleshow/60283658.cms. Eric Eisenberg. “Is There Any Significance to Bucky's Trigger Words in Civil War? Here's What the Writers Say.” Cinema Blend, Accessed February 17, 2018. https://www.cinemablend.com/new/There-Any-Significance-Bucky-Trigger- Words-Civil-War-Here-What-Writers-Say-130827.html. Harold C. Hansen. “107th Infantry Regiment World War One,” New York State Military Museum and Veterans Research Center. Accessed March 31, 2018. https://dmna.ny.gov/historic/reghist/wwi/infantry/107thInf/107thInfMain.htm. Jill Dougherty. “Moscow metro blast kills 39.” CNN. Accessed April 25, 2018. http://edition. cnn.com/2004/WORLD/europe/02/06/moscow.blast/. John Jackson Miller. “Comic Book Sales Figures for 1966.” Comichron. Accessed March 23, 2018. http://www.comichron.com/yearlycomicssales/postaldata /1966.html. Mariya Shkolnikova. “Vladimir Vysotsky: The Biography.” Vladimir Vysotsky The Official Site. Accessed February 23, 2018. http://www.kulichki.com/vv/eng /bio.html.

114

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ รักษยา ศีลตระกูล วันเดือนปีเกิด 28 ตุลาคม พ.ศ. 2538 วุฒิการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น: 2553 โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มัธยมศึกษาตอนปลาย: 2556 โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลงานทางวิชาการ (ถ้ามี) - ประสบการณ์ท างาน ปี พ.ศ. 2557-2560: ติวเตอร์สอนภาษาอังกฤษ ส าหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย- ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น