66 The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) Vol.27 No.2 April - June 2021 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

ศักยภาพการผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา The Potential of Clay Brick Production of Bang Ban District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province ฤดี นิยมรัตน* Ruedee Niyomrath ชนกภัทร นรารัตนวันชัย** Chanokpat Nararatwanchai ณิชกานต เวียงจันทร** Nitchakan Wiangchan

Received : May 15, 2019 Revised : July 22, 2019 Accepted : October 17, 2019 บทคัดยอ การวิจัยครั้งนี้มีวตถั ุประสงคเพื่อศกษาระบบการผลึ ิตและประเมินศกยภาพการผลั ตอิ ิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยศึกษาจากผูผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจํานวน 28 ราย ดวยแบบสัมภาษณและแบบประเมินศักยภาพการผลิต การวิเคราะหขอมูลโดยใชการวิเคราะหเนื้อหา ประกอบคาสถิติความถี่และรอยละ ผลการวิจัยพบวา การผลตอิ ิฐดวยม ือและการผลิตอิฐดวยเครื่องมีระบบการ ผลิตที่คลายกัน ยกเวนดานปจจัยการผลิตที่พบวา การผลตอิ ิฐดวยเครื่องมีพื้นที่เพื่อการผลิตเกินความจําเปนใน การใชงาน และการผลิตอิฐดวยเครื่องมีการจางแรงงานเกือบทุกโรงงาน ดานกระบวนการผลตพบวิ า กําลังการ ผลิตตอวันของการผลิตอิฐดวยเครองสื่ ูงกวาการผลตอิ ิฐดวยมือ 2 เทา สําหรับดานผลผลิตพบวา อิฐที่ผลิตดวย เครื่องไดร ับการรับรองตามมาตรฐานผลตภิ ณฑั อุตสาหกรรม สวนอิฐผลิตดวยมือทุกรายเปนอาชีพที่สืบทอดจาก รุนพอแม ผลการประเมินศักยภาพการผลตอิ ิฐดินเผาพบวา การผลตอิ ิฐดินเผาของอําเภอบางบาลจังหวัด พระนครศรีอยุธยาทั้งสามดานไดแกดานผลิตภณฑั และความเขมแข็งของชุมชน ดานการตลาดและความเปนมา ของผลิตภณฑั  และดานคุณภาพผลิตภณฑั  และในภาพรวมอยูในระดับนอย

คําสําคัญ : ระบบการผลิต / ศักยภาพการผลิต / อิฐดินเผา

*อาจารยประจําสาขาวิชาการจดการอั ุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลยราชภั ฏสวนสั ุนันทา Lecturer in Industrial Management Faculty of Industrial Technology Suan Sunandha Rajabhat University **นกศั ึกษาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยอี ุตสาหกรรม มหาวิทยาลยราชภั ฏสวนสั ุนันทา Industrial Management Students Faculty of Industrial Technology Suan Sunandha Rajabhat University สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร (สทมส.) 67 ปที่ 27 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2564 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

ABSTRACT This research aims to study the production system, and to assessment the potential of clay bricks production of Bang Ban district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Data gathering form 28 manufacturers of clay bricks by structured interview form and potential assessment form. Data analysis by using descriptive statistics included frequency and percentage. The results found that brick production by hand and by machine have similar production systems. Except for the production factors showed that the production of bricks with machines has more space for production than necessary for use, and most of the production of bricks with machines have to hire workers. In the production process aspect, it was found that daily productivity of brick production with machines had 2 times higher than the production of bricks by hand. For the outputs of production, it was found that bricks manufactured with machine is certified according to the industrial product standards, and all the production of bricks by hand are a profession that inherits from the parents. The potential of clay bricks production shown that: Clay bricks had low level of production potential all 3 aspects and the overall.

Keywords : Production System / Production Potential / Clay Brick

ความเปนมาและความสําคัญของปญหา ในสมัยอยุธยาประเทศไทยมีความเจริญทางดานเศรษฐก ิจการคามีชื่อเสียงในภูมภาคเอเชิ ียและของโลก โดยมีกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานไทยระหวี าง พ.ศ. 1893-2310 รวมเวลาถึง 417 ป มีหลักฐานทางประวัติศาสตร และโบราณคดี ไดแก ตํานาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ ศลาจาริ ึก ตลอดจนโบราณสถานและแหลงโบราณคดี จํานวนมาก เรื่องที่นาสนใจเรื่องหนึ่งคือ การผลิตเครื่องปนดินเผา โดยเฉพาะอิฐดินเผาทเปี่ นวัสดุกอสรางที่ใช สําหรับสรางวัด ที่ยังคงหลักฐานจวบจนปจจุบัน แหลงผลิตอิฐดินเผาของประเทศไทยสวนใหญอยูในเขตทราบลี่ มภาคกลางุ อาทิ จังหวัดนนทบุรี จังหวัด ปทุมธานี จังหวัดอางทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวดพระนครศรั อยี ุธยา เปนตน แตเดิมดินที่นํามาทําอิฐดิน เผาเปนดินจากแมนา้ํ มีเนื้อละเอียดปนทราย มลี ักษณะพิเศษคือไมเหนียวมากเกินไป แตปจจบุ ันดินแมน้ําตอง เสียคาใชจายสูงมากรวมทั้งมีการนาเครํ ื่องจักรมาชวยขึ้นรูปอิฐ จึงใชดินจากพื้นที่ลุมทมี่ คี ุณสมบัตเหมิ ือนดิน แมน้ําคือเปนดินสองชั้น ชั้นบนเปนดินเหนียวปนทรายมาก สวนชั้นลางเปนดินเหนียวลวน เมื่อขุดมารวมกันจะได ดินเหนียวปนทรายสําหรับการขึ้นรูป นอกจากดินแลว การทําอิฐดินเผายังใชแกลบและเถาแกลบเปนสวนผสมให เขากัน ขึ้นรูป ตากแหง และเผาใหไดอิฐสสี มสดทั่วทั้งกอน แกรง สามารถนําไปใชงานได  “บางบาล” เปนอําเภอหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีการทําอิฐดินเผาดวยวิธีการดั้งเดิม ผสมผสานกับเทคโนโลยี ทําใหได อ ิฐที่ดีมีคุณภาพในเวลาที่รวดเร็วกวาเดิม ซึ่งการผลตอิ ิฐดินเผามี 2 วธิ คี ือ การ 68 The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) Vol.27 No.2 April - June 2021 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

ผลิตอิฐดวยมือทตี่ องใชแรงงานผลิต อิฐที่ไดมีลักษณะผิวเรียบ แทงตัน ทนทานมากกวาอิฐแบบใชเครื่อง รวมทั้งมี ราคาสูงกวาอิฐใชเครื่อง สวนอิฐผลิตโดยใชเครื่อง ลักษณะเปนแทงสี่เหลี่ยม มรี ู 2-4 รู หรืออาจเปนแทงตันผลิต ขนรึ้ ูปไดเร ็วกวาอิฐผลิตดวยมือแตม ีราคาขายต่ํากวา ในอําเภอบางบาลมีตาบลทํ ผลี่ ิตอิฐอยเปู นจํานวนมาก เชน ตําบลไทรนอย ตําบลสะพานไทย ตําบลกบเจา และตําบลมหาพราหมณ เปนตน ในการวิจัยเรื่องศักยภาพการผลตอิ ิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการศึกษา ระบบการผลิตอิฐดินเผา ครอบคลมทุ ั้งระบบการผลติ (System of Manufacturing) ที่ประกอบดวย (1) ปจจัย การผลิต (Inputs) โดยพิจารณาจากทรัพยากรเพื่อการผลิต (Productive Resources) 4 ประเภทคือ ที่ดิน แรงงาน ทุนและผูประกอบการ ประกอบกับปจจัยพื้นฐานการดําเนนธิ ุรกิจ 4 ประการ (4M) ไดแก พนักงาน (แรงงาน) วัตถุดิบ เครื่องจักรอุปกรณ และวิธีการผลติ (Korbuakaew, 2009, p.4) (2) กระบวนการผลิต (Manufacturing Process) ทั้งดานผลิตภาพ (Productivity) คุณภาพ (Quality) ตนทุนและราคา (Cost and Price) การขนสงและการสงมอบ (Delivery) ความปลอดภัยและสุขภาพ (Safety) ขวัญกําลังใจ (Moral) สิ่งแวดลอม (Environment) รวมทั้งภาพพจนและจรรยาบรรณของผูผลิต (Image/Ethics) (Niyomrath, 2008, pp.85-89) และ (3) ผลผลติ (Outputs) ที่ครอบคลุมความสามารถในการสงออก (Exportable) ตราสนคิ า (Brand Equity) การผลิตอยางตอเนื่องและคณภาพเดุ ิม (Continuous & Consistent) ความมีมาตรฐาน (Standardization) คุณภาพ (Quality) ความพึงพอใจของลูกคา (Satisfaction) และประวัติความเปนมาของ ผลิตภณฑั  (Story of Product) แลวจึงประเมินศักยภาพจํานวน 3 ดาน ไดแก (1) ดานผลิตภัณฑและความ เขมแข็งของชุมชน (2) ดานการตลาดและความเปนมาของผลตภิ ณฑั  และ (3) ดานคุณภาพผลิตภณฑั  (Office of the Official Information Commission, 2016) จากการศึกษางานวิจัยท่เกี ี่ยวกับการพัฒนาอิฐดินเผาพบวา มีการวิจยทั ี่หลากหลายมมมองุ โดยเฉพาะ การวิจัยที่เกี่ยวของกับผลิตภณฑั  (อิฐดินเผา) เชน การออกแบบและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลคาอ ิฐดินเผา (Janbuala, et al., 2011) การทําสวนผสมที่เหมาะสมในการทําอิฐดินเผา (Srisomsak, 2005) และการพัฒนาคณภาพอุ ิฐดิน เผาตามมาตรฐานผลตภิ ณฑั ชุมชน (Samart, 2016) นอกจากนี้มีงานวิจัยที่ศึกษาในมุมมองของลูกคาไดแก ศึกษาการตัดสินใจซื้ออิฐดินเผา (Boonpradap, 2009) ครอบคลุมถงความรึ ับผดชอบติ อสังคม (Ratrung, 2014) สุขภาพอนามัยของชุมชน (Aunkham, 2012) และของพนักงาน (Bunkhao, Polraksa & Tippila, 2016) รวมทั้งผลกระทบตอสิ่งแวดลอม (Chaiwong, 2003) เปนตน สําหรับการผลิตอิฐดินเผาพบงานวิจัยที่ศึกษาความเปนไปไดในการผลิตอิฐดินเผา (Torroungwatthana, 2005) การวิเคราะหตนทุนและผลตอบแทนในการลงทุนผลิตอิฐดินเผา (Arsakun, 2007) การศึกษา กระบวนการผลตและปิ ญหาการผลิต (Sllvannatsiri, 2008) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลตอิ ิฐดินเผา (Saweatnai & Wongmanee, 2008) และการลดอิฐเสียจากกระบวนการเผา (Saiyawut, et al., 2018) เปนตน จากการศึกษาคนควางานวิจัยทเกี่ ยวขี่ องกับการพัฒนาการผลิตพบวาม ีการศึกษาวิจัยที่หลากหลาย ซึ่งใน การวิจัยครั้งนี้มีวตถั ุประสงคเพื่อศกษาระบบการผลึ ิตและประเมินศกยภาพการผลั ตอิ ิฐดินเผาของชุมชนผูผลติ สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร (สทมส.) 69 ปที่ 27 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2564 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

อําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยพิจารณาปจจัยนําเขาหรือปจจัยการผลิตที่เปนทรัพยากรของ ชุมชน เพื่อนําเขาสูกระบวนการผลิตใหไดผลผลิตทไดี่ ร ับออกมาเปนสินคาหรือบริการขั้นสุดทายทตอบสนองี่ ความพอใจ ของผูผลิตและลูกคา ผลของการวิจัยครั้งนรวมที้ ั้งกระบวนการวิจัยชวยกระตุนเศรษฐกิจรากหญา สงเสริมธุรกิจในชุมชนใหมีรายได สามารถพึ่งพาตนเองไดและมคี ุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นดวยการนําภูมิปญญาท องถิ่น และทรัพยากรทองถิ่นที่มีอยูมาปรบใชั ในการผลิตและพัฒนาผลตภิ ณฑั ที่เปนขนบธรรมเนยมประเพณี ีและ ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน (Office of the National Economic and Social Advisory Council, 2004) ที่นําไปสูการพัฒนาผลิตภณฑั  เสรมสริ างคณคุ าของผลิตภัณฑใหเป นที่ยอมรับแกบุคคลทั่วไป สามารถใชเปน แหลงสรางรายได และความเขมแขงให็ กับชุมชน ชวยกระตุนใหเกิดกระบวนการมีสวนรวมของผูผลิต/ ผูประกอบการ OTOP และชุมชนในการพัฒนาผลตภิ ณฑั 

วัตถุประสงคของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระบบการผลตอิ ิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อประเมินศักยภาพการผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วิธีดําเนินการวิจัย ในการวิจัยเรื่องศักยภาพการผลตอิ ิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการ ดําเนินการวิจยดั ังตอไปน ี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาระบบการผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการ สัมภาษผูผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ประกอบดวย ขอมูลดานปจจยการผลั ิต กระบวนการผลติ และผลผลิต จํานวน 80 ราย และเลือกตัวอยางจานวนํ 28 ราย จากผูผลิตที่มีความพรอมและ เต็มใจใหขอมลู โดยใชแบบสมภาษณั แบบมีโครงสราง (Structured Interview) ซึ่งแบงเปน 4 ตอนคอื ตอนที่ 1 สัมภาษณขอมลของผู ูผลิต/เจาของโรงงานและขอมลโรงงานู /ผลตภิ ณฑั  ตอนที่ 2 สัมภาษณปจจยการผลั ิต ที่ ครอบคลมุ 6 ประเด็น ไดแก (1) ที่ดิน (2) แรงงาน (3) ทุน (4) วัตถุดิบ (5) เครื่องมือ เครื่องจักรและอปกรณุ  และ (6) วิธีการผลติ ตอนที่ 3 สัมภาษณกระบวนการผลติ จํานวน 8 ประเด็น ไดแก (1) ผลิตภาพ (2) คุณภาพ (3) ตนทุนและราคา (4) การขนสงและการสงมอบ (5) ความปลอดภยและสั ุขภาพ (6) ขวัญกําลังใจ (7) สิ่งแวดลอม และ (8) ภาพพจนและจรรยาบรรณของผผลู ติ ตอนที่ 4 สัมภาษณผลผลิต จํานวน 7 ประเด็น ไดแก (1) ความสามารถในการขายและการสงมอบ (2) ตราสินคา (3) การผลิตอยางตอเนื่องและการรักษาไวซึ่ง คุณภาพเดิม (4) ความมีมาตรฐาน (5) คุณภาพ (6) การสรางความพงพอใจแกึ ลูกคา และ (7) ประวัติความ เปนมาของผลตภิ ณฑั  การวเคราะหิ ขอมูลโดยการวเคราะหิ เนื้อหา (Content Analysis) แลวนําเสนอขอมูลเปน ความเรยงี ประกอบคาความถี่ (Frequencies) และรอยละ (Percentage) ขั้นตอนที่ 2 สอบถามความพึงพอใจที่มีตออิฐดินเผาจากลูกคาที่เปนผูซื้อและผูใชงานอิฐดินเผาของ อําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปนผูตอบแบบสอบถาม จํานวนตัวอยางที่ใชเพื่อการศึกษา จํานวน 77 ราย ไดจากการคํานวณตามสตรทู ี่ไมทราบจํานวนประชากรและเหมาะสมกับสภาพประชากรและพื้นท ี่ 70 The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) Vol.27 No.2 April - June 2021 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

(Cochran, 1977, p. 75) n = Z2Pq / e2 (เมื่อ Z = 1.96 ที่ระดับความเชื่อมั่นรอยละ 95, สัดสวนของตัวอยาง ที่ตองการสุม (P) = 15%, คาความผิดพลาด (e) = .08) โดยใชแบบสอบถามความพึงพอใจของลูกคาที่เปนผูซื้อ/ ผูใชอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีลักษณะการตอบเปนแบบมาตราสวนประมาณคา (Rating Scale) จํานวน 5 ระดับคะแนน การวิเคราะหขอมลโดยการหาคู าเฉลยี่ (Mean) และคาเบยงเบนี่ มาตรฐาน (Standard Deviation, S.D.) รายขอ และในภาพรวม โดยแปลความหมายระดบคั าเฉล่ยดี ังนี้ (ชัชวาลย เรืองประพันธ, 2543, น. 30) คาเฉลี่ย 4.50-5.00 หมายถึง มีความพอใจมากที่สุด คาเฉลี่ย 3.50-4.49 หมายถึง มีความพอใจมาก คาเฉลี่ย 2.50-3.49 หมายถึง มีความพอใจปานกลาง คาเฉลี่ย 1.50-2.49 หมายถึง มีความพอใจนอย คาเฉลี่ย 1.00-1.49 หมายถึง มีความพอใจนอยที่สุด ขั้นตอนที่ 3 ประเมินศักยภาพการผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จํานวน 28 ราย ที่เปนผูใหขอมูลระบบการผลิต โดยใชแบบประเมินศักยภาพการผลตอิ ิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปรับปรงจากแบบประเมุ ินการคดสรรสั ุดยอดหนึ่งตําบลหนึ่งผลตภิ ณฑั  (OTOP Product Champion: OPC) (สานํ ักงานคณะกรรมการขอมูลขาวสารของทางราชการ, 2559) ประเมนโดยการิ ใหคะแนนตามเกณฑที่กําหนดรายขอ รายประเด็นของ 3 ดาน ไดแก  (1) ดานผลิตภณฑั และความเขมแข็งของ ชุมชน (2) ดานการตลาดและความเปนมาของผลิตภณฑั  และ (3) ดานคุณภาพผลตภิ ณฑั  การวเคราะหิ ขอมูล โดยการรวมคาคะแนนประเมินแตละด านทั้ง 3 ดาน และในภาพรวม นําคะแนนมาเทียบกับเกณฑตามระดับ ศักยภาพดังนี้ (สํานักงานคณะกรรมการขอมูลขาวสารของทางราชการ , 2559) รอยละ 90-100 หมายถึง มีศักยภาพดีมาก รอยละ 80-89 หมายถึง มีศักยภาพดี รอยละ 70-79 หมายถึง มีศักยภาพปานกลาง รอยละ 50-69 หมายถึง มีศักยภาพนอย ต่ํากวารอยละ 50 หมายถึง มีศักยภาพนอยมาก

สรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาระบบการผลตและประเมิ ินศักยภาพการผลิตของผผลู ตอิ ิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จํานวน 28 ราย ซึ่งเปนผูผลิตอิฐดวยมือ จํานวน 14 ราย (รอยละ 50) สวนที่เหลือ จํานวน 14 ราย (รอยละ 50) เปนผูผลิตอิฐโดยใชเครื่อง ผผลู ตอยิ ูในเขต 4 ตําบล ไดแก ตําบลไทรนอย จํานวน 18 ราย (รอยละ 64.29) ตําบลสะพานไทย จํานวน 5 ราย (รอยละ 17.86) ตําบลกบเจา จํานวน 4 ราย (รอยละ 14.29) และอีกจํานวน 1 ราย (รอยละ 3.57) อยูในเขตตําบลมหาพราหมณ โดยสรปแลุ วพบวาการผลตอิ ิฐดวย มือและการผลิตอิฐดวยเครื่องมระบบการผลี ิตที่คลายกัน ยกเวนการผลิตอิฐดวยเครื่องมีพื้นที่เพื่อการผลิตเกิน ความจําเปนในการใชงาน และมีการจางแรงงานเกือบทุกโรงงานแตกตางจากการผลิตอิฐดวยมือ รวมทั้งกําลัง สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร (สทมส.) 71 ปที่ 27 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2564 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

การผลิตตอวันของการผลิตอิฐดวยเครื่องสูงกวาการผลิตอิฐดวยมือ 2 เทา และอิฐที่ผลิตดวยเครื่องไดรับการ รับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ อตสาหกรรมุ สวนอิฐผลิตดวยมือทกรายเปุ นอาชีพที่สืบทอดจากรุนพอแม  ผล การประเมินศักยภาพการผลตอิ ิฐดินเผาพบวา การผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทั้ง สามดานได แกด านผลิตภัณฑและความเขมแข็งของชุมชน ดานการตลาดและความเปนมาของผลตภิ ณฑั  และ ดานคุณภาพผลิตภัณฑ และในภาพรวมของโรงงานทั้งสองกลุมอยูในระดับนอย ซึ่งมรายละเอี ียดของผลการวิจัย ดังน ี้ 1. ผลการศึกษาระบบการผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการศึกษาระบบการผลติ โดยการศึกษาการดําเนินงานของผูผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ประกอบดวยปจจัยการผลิต กระบวนการผลิต และผลผลิต มีขอคนพบดงนั ี้ 1.1 ผลการศึกษาปจจัยการผลติ จากการศึกษาปจจัยการผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จํานวน 6 ดาน ไดแก ที่ดิน แรงงาน ทุน วัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ และ วิธีการผลติ มีขอคนพบดังน ี้ 1.1.1 การผลิตอิฐดวยมือพบวาผผลู ิต 13 ราย (รอยละ 92.86) มีปริมาณพื้นที่เหมาะสมกับ ความตองการ และ 1 ราย (รอยละ 7.14) มีปริมาณพื้นที่ไมเพียงพอ โดยสวนมาก (11 ราย รอยละ 78.57) เปนเจาของที่ดิน สวนอีก 2 ราย (รอยละ 14.29) เชาพื้นที่ และซื้อพื้นที่ใหม (1 ราย รอยละ 7.14) ผผลู ิต 5 ราย (รอยละ 35.71) จางแรงงานเพื่อการผลิตโดยจางแรงงานในพื้นที่ ทมี่ ีคาจาง 0.15 บาท/กอน ทุกแหงไมมี สวัสดิการ ผผลู ตสิ วนมาก (12 ราย รอยละ 85.71) ใชทุนสวนตัวและมีทุนสืบทอดจากบรรพบรุ ุษ มีเพยงสี วน นอยที่กูแหลงเงินทุน (2 ราย รอยละ 14.29) 1.1.2 การผลิตอิฐดวยเครื่องพบวาผูผลิต 10 ราย (รอยละ 71.43) มีปริมาณพื้นที่เหมาะสมกับ การใชงาน และ 4 ราย (รอยละ 28.57) มีปริมาณพื้นที่มากกวาการใชงาน โดยสวนมากเชาพื้นที่ (11 ราย รอยละ 78.57) และสวนนอย (3 ราย รอยละ 21.43) เปนเจาของที่ดนิ ผูผลิต 11 ราย (รอยละ 78.57) จาง แรงงานเพื่อการผลิต โดยจางแรงงานทั้งในและนอกพื้นที่ และจายคาจ างเปนรายกอนในราคา 0.11 บาท/กอน ทุกแหงไมมีสวสดั ิการ ผผลู ตสิ วนมาก (13 ราย รอยละ 92.86) ใชทุนสวนตัวและมีทุนสืบทอดจากบรรพบุรุษ มี เพียงสวนนอย (1 ราย รอยละ 7.14) ที่กูแหลงเงินทุน การผลิตอิฐใชวัตถุดิบเพียง 3 ชนิดไดแก ดิน ที่ซื้อจากภายนอกพื้นที่ (อําเภอปากชอง จังหวัด นครราชสมาี ) ราคา 2,000-2,500 บาท/คันรถสิบลอ และแกลบ ราคา 25,000 บาท/คันรถสิบสองลอ และ วัตถุดิบที่ไดจากกระบวนการเผาอ ฐิ ไดแก เถาแกลบ โดยมีเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ รวมทั้งวิธีการผลิต ตามตารางที่ 1

72 The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) Vol.27 No.2 April - June 2021 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

ตารางที่ 1 ขั้นตอนการผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณเพื่อการผลิตอิฐดินเผา

อิฐผลิตดวยมือ อิฐผลิตดวยเครื่อง ขั้นตอน เครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องจักร ผังกระบวนการ และอุปกรณ  และอุปกรณ  1. เตรียม 1. พลั่วตักดิน 1. พลั่วตักดิน เริ่ม วัตถุดิบ 2. เครื่องผสมดิน 2. เครื่องผสมดิน

หมักดิน

ผสมดินเหนยวี แกลบ เถาแกลบและน้ํา

2. ขึ้นรูป 1. ลองชัก 1. เครื่องผสมดินและ 2. ไมกระแทก ขึ้นรูป ทอดอิฐ รีดอิฐ 3. รถเข็นดิน 2. รถเข็นอิฐ

ทุบอฐิ ตัดอิฐ

ตะแคงอิฐ ผึ่งแดด

สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร (สทมส.) 73 ปที่ 27 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2564 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

ตารางที่ 1 (ตอ)

อิฐผลิตดวยมือ อิฐผลิตดวยเครื่อง ขั้นตอน เครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องจักร ผังกระบวนการ และอุปกรณ  และอุปกรณ  3. เผา 1. สังกะส ี 1. สังกะส ี 2. เขง เรียงอิฐเปนสเหลี่ ยมี่ 2. เขง 3. กระเตง 3. กระเตง ลอมสังกะส ี

หาบแกลบขึ้นเตาเพื่อคลมอุ ิฐ

เผาอิฐ

สิ้นสุด

1.2 ผลการศึกษากระบวนการผลิต จากการศึกษากระบวนการผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จํานวน 8 ดาน ไดแก ผลิตภาพ คุณภาพ ตนทุนและราคา การขนสงและการสงมอบ ความปลอดภัยและสุขภาพ ขวัญกําลังใจ สิ่งแวดลอม และภาพพจนและจรรยาบรรณของผูผลิต มีขอคนพบดังนี้ 1.2.1 การผลิตอิฐดวยมือ พบวามปรี ิมาณการผลติ 1,000-4,000 กอน/วัน/คน ปรมาณการเผาิ อิฐ 200,000-500,000 กอน/เตา และมีความถี่ในการเผาอิฐ 3 เตา/2 เดือน มีตนทุน 0.5-1.0 บาท/กอน มี วิธีการขายคือลูกคามาซื้อเองและมีรถมารับไปสงใหลูกคา มีความถี่ในการขาย 1-4 ครั้ง/เดือน 1.2.2 การผลิตอิฐดวยเครื่อง พบวามีปริมาณการผลิต 2,000-10,000 กอน/วัน/คน ปริมาณการ เผาอิฐ 200,000-600,000 กอน/เตา และมีความถี่ในการเผาอิฐ 3 เตา/2 เดือน มตี นทุน 0.45-1.0 บาท/กอน มี วิธีการขายคือลูกคามาซื้อเองและมีรถมารับไปสงใหลูกคา มีความถี่ในการขาย 1-4 ครั้ง/เดือน 1.3 ผลการศึกษาผลผลิตการศึกษาผลผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จํานวน 7 ดาน ไดแก ความสามารถในการขายและการสงมอบ ตราสินคา การผลิตอยางตอเนื่องและการรักษาไว ซึ่งคุณภาพเดิม ความมีมาตรฐาน คุณภาพ สรางความพึงพอใจแกลูกคา และประวัติความเปนมาของผลิตภัณฑ มี ขอคนพบดังน ี้ 1.3.1 การผลิตอิฐดวยมือ ผผลู ตเกิ นคริ ึ่งเล็กนอย (8 ราย รอยละ 57.14) มียอดขายในระยะ 3 ปคงท ี่ สวนที่เหลือมียอดขายในระยะ 3 ปลดลง (6 ราย รอยละ 42.86) ผูผลิตเกือบทั้งหมด (13 ราย รอยละ 74 The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) Vol.27 No.2 April - June 2021 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

92.86) ขายสงใหกับลูกคาประจํา ในรอบ 3 เดือนที่ผานมาไมมีการหยุดผลิต (13 ราย รอยละ 46.43) มีเพียง 1 ราย (รอยละ 7.14) หยุดผลตเพราะฝนตกไมิ สามารถขึ้นรปอู ิฐได ผูผลิตทุกรายไมม ีตราสินคาและไม ได รับ มาตรฐานสินคา มีคณภาพของอุ ิฐดินเผาเหมือนเดิมไมเปลี่ยนแปลงโดยคุณภาพของอิฐดินเผาแปรผันตาม คุณภาพของดิน ผผลู ตสิ วนนอย (3 ราย รอยละ 21.43) มีการสอบถามความพอใจของลูกคาดวยวาจา ผูผลิต ทั้งหมด (14 ราย รอยละ 100) ประกอบอาชีพผลตอิ ิฐดินเผาเพราะเปนอาชีพที่ทํากันมาอยางยาวนาน มีการสืบ ทอดมาจากพอแม และทํามามานานกวา 5 ป 1.3.2 การผลิตอิฐดวยเครื่อง ผูผลตเกิ ินครึ่งเล็กนอย (8 ราย รอยละ 57.14) มียอดขายในระยะ 3 ปคงที่ สวนที่เหลือ (6 ราย รอยละ 42.86) มียอดขายในระยะ 3 ปลดลง ผูผลิตทุกรายไมมีตราสินคา ผูผลิต ทั้งหมด (14 ราย รอยละ 100) ขายสงใหกับลูกคาประจํา ในรอบ 3 เดือนที่ผานมาไมม ีการหยุดผลติ (14 ราย รอยละ 100) ผูผลิตสวนมาก (13 ราย รอยละ 92.86) ไมไดร ับมาตรฐานสินคา มผี ูผลิตเพียง 1 ราย (รอยละ 7.14) ไดรับมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม (มอก. 77-2545 อิฐกอสรางสามัญหรืออิฐมอญตัน) มคี ณภาพของุ อิฐดินเผาเหมือนเดิมไมเปลี่ยนแปลง โดยคณภาพของอุ ิฐดินเผาแปรผันตามคุณภาพของดิน ผูผลิตสวนนอย (5 ราย รอยละ 35.71) มีการสอบถามความพอใจของลูกคาดวยวาจา ผูผลิตประกอบอาชีพผลตอิ ิฐเพราะเปน อาชีพที่ทํากันมาอยางยาวนาน มีการสืบทอดมาจากพอแม เปนเจาของกิจการ และมรายไดี ดี (6 ราย รอยละ 42.86) ผูผลิตทั้งหมดทํามานานกวา 5 ป สําหรับผลการศึกษาความพึงพอใจของลูกคาที่มีตออิฐดินเผา พบวาในภาพรวมมีความพอใจ ระดับมาก (คาเฉลยี่ 3.65) เมื่อพิจารณารายขอพบวา ลูกคามีความพอใจระดับมาก (คาเฉลี่ย 3.50-4.49) จํานวน 12 ขอ มีเพียง 1 ขอ ที่มีความพอใจระดับปานกลาง (คาเฉลี่ย 3.30) ไดแก ตราสินคาทระบี่ ุ ผผลู ิตและแหลงผลติ ดังรายละเอียดตามภาพที่ 1 สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร (สทมส.) 75 ปที่ 27 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2564 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

3.58 ความแข็งแรงทนทานของผลิตภัณฑ 3.77 3.65 ตราสินคาที่ระบุผูผลิตและแหลงผล ติ 3.3 3.61 ความหลากหลายของระดับราคา 3.53 3.62 ความปลอดภัยตอการใชงาน 3.75 3.71 ชื่อเสียง ความนาเชื่อถือของผูผลิต 3.75 3.77 ผลิตภัณฑเปนภมู ิปญญาของทองถิ่น 3.75 3.64 รวม 3.65 3 3.5 4

ภาพที่ 1 คาเฉลี่ยความพึงพอใจของลูกคาที่มีตออิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2. ผลการประเมินศักยภาพการผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จงหวั ัดพระนครศรีอยุธยา การประเมินศักยภาพการผลตอิ ิฐดินเผาจํานวน 3 ดาน ไดแก ดานผลิตภณฑั และความเขมแข ็งของ ชุมชน ดานการตลาดและความเปนมาผล ิตภณฑั  และดานคุณภาพผลิตภณฑั  รวมทั้งในภาพรวมจําแนกตาม ประเภทของอิฐตามวิธีการผลิตเปน 2 ประเภทคือ อิฐผลตดิ วยมือและอิฐผลิตดวยเครื่อง ผลการวิจัยมีดังนี้ 2.1 ศักยภาพการผลิตอิฐดานผล ิตภัณฑและความเขมแข็งของชุมชน พบวาการผลตอิ ิฐดวยมือ สวนมากมีศักยภาพปานกลาง (รอยละ 57) รองลงมามีศักยภาพนอย (รอยละ 21) นอยมาก (รอยละ 14.29) และมีศักยภาพการผลิตดี (รอยละ 7.14) ตามลําดับ การผลตอิ ิฐดวยเครื่องสวนมากมีศักยภาพการผลิตนอย (รอยละ 85.71) สวนที่เหลือมีศักยภาพปานกลาง (รอยละ 14.29) สําหรับศักยภาพการผลตอิ ิฐดินเผาดาน ผลิตภณฑั และความเขมแข ็งของชุมชนในภาพรวมสวนมากอยูในระดับนอย (รอยละ 53.57) ดังแสดงตาม ภาพที่ 2 76 The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) Vol.27 No.2 April - June 2021 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

100 80 57 85.71 53.57 60 35.71 40 21 14.29 14.29 20 7.14 3.57 7.14 0 อิฐผลิตมืออิฐผลิตเครื่อง รวม ดีมาก (90-100%) ดี (80-89%) 7.14 3.57 ปานกลาง (70-79%) 57 14.29 35.71 นอย (50-69%) 21 85.71 53.57 นอยมาก (นอยกวา 50%) 14.29 7.14

ภาพที่ 2 รอยละของผูผลิตอิฐดินเผาจําแนกตามศักยภาพการผลตดิ านผล ตภิ ณฑั และความเขมแข็งของชุมชน

2.2 ศักยภาพการผลิตดานการตลาดและความเปนมาของผลตภิ ณฑั  พบวาการผลตอิ ิฐดวยมือ สวนมากมีศักยภาพนอย (รอยละ 57.14) สวนที่เหลือมีศักยภาพปานกลาง (รอยละ 42.86) การผลิตอิฐดวย เครื่องมีศักยภาพการผลตนิ อยเชนกัน (รอยละ 57.14) รองลงมามีศกยภาพการผลั ตปานกลางและนิ อยมาก เทากัน (รอยละ 21.43) สวนศักยภาพการผลิตอิฐดินเผาดานการตลาดและความเปนมาของผลตภิ ณฑั ใน ภาพรวมสวนมากอยูในระดับนอย (รอยละ 57.14) ดังแสดงตามภาพที่ 3 100 57.14 57.14 57.14 6080 42.86 32.14 40 21.43 21.43 10.71 200 อิฐผลิตมืออิฐผลิตเครื่อง รวม ดีมาก (90-100%) ดี (80-89%) ปานกลาง (70-79%) 42.86 21.43 32.14 นอย (50-69%) 57.14 57.14 57.14 นอยมาก (นอยกวา 50%) 21.43 10.71

ภาพที่ 3 รอยละของผูผลิตอิฐดินเผาจําแนกตามศักยภาพการผลตดิ านการตลาดและความเป นมาของผลิตภณฑั 

2.3 ศักยภาพการผลิตดานคุณภาพผลิตภัณฑ พบวาการผลิตอิฐดวยมือมีศักยภาพนอย (รอยละ 100) เชนเดียวกับการผลตอิ ิฐดวยเครื่องทมี่ ีศักยภาพการผลิตนอยเชนกัน (รอยละ 92.86) รองลงมามศี ักยภาพ การผลิตนอยมาก (รอยละ 7.14) ศักยภาพการผลตอิ ิฐดินเผาดานคณภาพผลุ ตภิ ณฑั ในภาพรวมสวนมากอยูใน ระดับนอย (รอยละ 96.43) ดังแสดงตามภาพที่ 4 สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร (สทมส.) 77 ปที่ 27 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2564 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

100 100 92.86 96.43 80 60 40 7.14 20 3.57 0 อิฐผลิตมืออิฐผลิตเครื่อง รวม ดีมาก (90-100%) ดี (80-89%) ปานกลาง (70-79%) นอย (50-69%) 100 92.86 96.43 นอยมาก (นอยกวา 50%) 7.14 3.57

ภาพที่ 4 รอยละของผูผลิตอิฐดินเผาจําแนกตามศักยภาพการผลตดิ านค ุณภาพผลตภิ ณฑั 

2.4 ศักยภาพการผลตในภาพรวมิ พบวาการผลิตอิฐดวยมือสวนมากมีศักยภาพการผลตนิ อย (รอยละ 92.86) สวนที่เหลือมีศักยภาพปานกลาง (รอยละ 7.14) สวนการผลิตอิฐดวยเครื่องมีศักยภาพการผลิต นอย (รอยละ 100) ศักยภาพการผลิตอิฐดินเผาในภาพรวมสวนมากอยูในระดับนอย (รอยละ 96.43) ดังแสดง ตามภาพที่ 5 100 92.86 100 96.43 80 60 40 7.14 20 3.57 0 อิฐผลิตมืออิฐผลิตเครื่อง รวม ดีมาก (90-100%) ดี (80-89%) ปานกลาง (70-79%) 7.14 3.57 นอย (50-69%) 92.86 100 96.43 นอยมาก (นอยกวา 50%)

ภาพที่ 5 รอยละของผูผลิตอิฐดินเผาจําแนกตามศักยภาพการผลตในภาพรวมิ

อภิปรายผลการวิจัย 1. จากผลการศึกษาระบบการผลตพบวิ าการผลิตอิฐดวยมือและการผลิตอิฐดวยเครื่องมีวัตถดุ ิบที่ใช (ดิน แกลบ และเถาแกลบ) และกระบวนการผลิต (ขึ้นรูป ผึ่งแหง เผา) ที่คลายกัน ความแตกตางกันที่พบคอื อิฐที่ผลิต ดวยมือมีราคาสูงและวงการกอสรางยอมร ับมากกวาอิฐที่ผลิตดวยเครื่อง แตทั้งนี้การผลตอิ ิฐดวยมือตองใชพื้นที่ 78 The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) Vol.27 No.2 April - June 2021 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

เพื่อการผึ่งแหงมากกวา ตองขึ้นรูปในที่แจงกอนพระอาทิตยขึ้น เพื่อใชเวลาในการผึ่งแหงตลอดวันกอนจัดเรียง ซอนกันไดตอนเย็น สวนการขึ้นรูปอิฐดวยเครื่องสามารถผลตไดิ ทั้งวันในที่รม การผึ่งแหงสามารถซอนทับกันได ดังนั้นการผลิตอิฐดินเผาของไทยในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศจึงมีการผลิตโดยใชเครื่อง ผึ่งแหงในลานที่มหลี ังคา การผลิตอิฐดวยมือไมใชธุรกิจใหมคงเหล ือเพียงผผลู ตรายเดิ มทิ ี่ผลิตตอเนื่องมาตั้งแตบรรพบุรุษ การสงเสร ิมและ พัฒนาการผลิตอิฐดินเผาดวยมือเปนเพื่อการอนุรักษ และการสรางอิฐเพื่อซอมแซมสิ่งกอสรางโบราณโดยเฉพาะ วัด และกําแพงเมือง สําหรับอิฐดนเผาทิ ี่ผลิตโดยใชเครื่องจักรควรพฒนาสั ูมาตรฐานรวมทั้งการแกปญหาใหไดอิฐ ที่ไดรับการยอมรับในวงการกอสรางท ัดเทียมอิฐที่ผลิตดวยมือ 2. การผลตอิ ิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุกโรงงานดําเนินการผลิตมานาน กวา 5 ป ผูผลิตมีความชํานาญในการดําเนินธรกุ ิจ และการผลตอิ ิฐดินเผามีขอไดเปร ียบผลิตภณฑั ชนดอิ ื่นๆ หลายประการไดแก รูปแบบของอิฐดินเผาเพื่องานกอสรางไมตองการการออกแบบและพัฒนามาก เปนส ินคาที่ สามารถผลิตซ้ําไดในปรมาณมากิ รักษาคุณภาพคงเดิมไดงาย ใชวัตถุดิบในประเทศทั้งหมด และไมต องดูแลรักษา สินคามาก (Office of the Official Information Commission, 2016) รวมทั้งเปนวัสดุกอสรางที่สาคํ ัญและ รูจักแพรหลายทุกประเทศในโลก สงผลใหม ีความตองการสินคามากอยางตอเนื่อง ผูผลตใชิ การผลิตแบบเดิมตาม ความเคยชิน แกปญหาโดยใชประสบการณเฉพาะตน คุณภาพของอิฐดินเผาจึงไมสม ่ําเสมอ อีกทั้งเนนการผลิต เชิงปริมาณใหได อิฐดินเผาจํานวนมากชดเชยกับคาใชจายดานค าแรง คาวัตถุดิบและคาด ําเนินงานเพื่อการผลตทิ ี่ เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง ประกอบกับราคาขายที่กําหนดไมได  จากสภาพขางตนอาจกลาวไดวาปญหาของการผล ิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จําแนกเปน 2 ประเภทคือปญหาทผี่ ูผลิตควบคมไมุ ได เชนปญหาราคาอิฐตกต่ํา ปญหาหย ดุ การผลิตจากฝนตก ปญหาวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น เปนตน และปญหาทผี่ ูผลิตสามารถคนหาสาเหตุเพื่อควบคุมและ แกไขปญหาได อันไดแก ปญหาดานคุณภาพของอิฐไมสม ่ําเสมอ อิฐไมเรียบรอยไมประณตี และมีอิฐเสยหลี ังการ เผาปรมาณมากิ (รอยละ 5) ซึ่งปญหาการผลตดิ ังกลาวนเปี้ นจุดเริ่มตนทางการสญเสู ยี ไมวาจะเปนความสูญเสยี ในดานคุณภาพสินคา สูญเสียตนทุน ความนาเชื่อถือขององคกรและความพึงพอใจของลูกคา ดังนั้นผูผลิตจึง จําเปนตองวิเคราะหปญหา เพื่อนาสํ ูการปองกันปญหาและหาวิธีการแกปญหาตามแนวทางการควบคมคุ ุณภาพ (Niyomrath, 2008, pp.137-142) ซึ่งสอดคลองกับผลการวิจัย Saiyawut, et al. (2018) ที่พบวาปญหาความ สูญเสียในกระบวนการผลตอิ ิฐดินเผาที่เกิดมากที่สุดคือเกิดการเสยหายระหวี างการเผาทั้งการแตกราว ระเบดิ และเกดรอยดิ าไหมํ  จึงวิเคราะหหาสาเหตุและปรับปรุงแกไขปญหา สงผลใหสามารถลดอ ิฐเสยจากการเผาไดี  รอยละ 54.72 3. กระบวนการผลิตอิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขั้นตอนการเผาอิฐโดยใช แกลบ เกิดควันจากการเผาไหม และเกดฝิ ุนจากเถาแกลบทสี่ งผลกระทบตอสุขภาพดานรางกายของบคคลทุ ี่อยู ในโรงงานและบุคคลที่อาศัยในชุมชนรอบโรงงานเชน อาการระคายเคืองเยื่อบุตา ปญหาดานระบบทางเดิน หายใจเชน ไอ จาม ภมู ิแพ เปนตน อีกทั้งผลกระทบตอสุขภาพดานจิตใจไดแก หงุดหงิด รําคาญใจ เปนต น และ สงผลกระทบตอสุขภาพดานส ังคมไดแก ความไมเขาใจกัน การทะเลาะเบาะแวง (Aunkham, 2012) ซึ่งปญหา สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร (สทมส.) 79 ปที่ 27 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2564 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

และผลกระทบดังกลาวนี้พบไดกับการผลิตอิฐดินเผาของทุกแหงในประเทศไทยที่ใชแกลบเปนเชื้อเพลิงเพื่อ การเผา นอกจากผลกระทบตอสิ่งแวดลอมและสังคมของกระบวนการเผาอิฐดังกลาวแลว การผลิตอิฐดิน เผายังมโอกาสการเกี ิดอุบตั ิเหตจากการทุ ํางานในขั้นตอนของการขึ้นรูปและการเคลื่อนยายอิฐที่ใชทาทางไม ถูกตองรวมทั้งเครื่องจักรเพื่อการขึ้นรูปและผสมดินมีเสยงดี ังโดยปราศจากอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคล (Bunkhao, Polraksa & Tippila, 2016)

ขอเสนอแนะ ขอเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช 1. จากผลการวิจัยพบวา อิฐดินเผาที่ผลิตดวยเครื่องจักรจํานวน 1 โรงงาน ไดรับการรับรองมาตรฐาน ผลิตภณฑั อุตสาหกรรมชนิดอิฐกอสรางสามัญหรืออิฐมอญตัน (มอก. 77-2545) ซึ่งมาตรฐานฉบับนี้ครอบคลุมถึง อิฐดินเผาชนิดตันทั้งจากการผลิตดวยมือและผลิตดวยเครื่องจักร นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานผลิตภัณฑอ ุตสาหกรรม สําหรับอิฐดินเผาที่มีรูที่ขึ้นรูปดวยเครื่องจักรไดแก มอก.153-2540 อิฐกลวงกอแผงไมไดรับน้ําหนักและมาตรฐาน ผลิตภณฑั ชุมชน (มผช. 601/2547 ผลิตภณฑั อิฐมอญ) ดังนั้นการพฒนาผลั ตภิ ณฑั อิฐดินเผาใหสอดคลองกับ ความตองการของผผลู ิตทั้งดานคณภาพของอุ ิฐ ความแข็งแกรงของอิฐ ราคาขาย และการขยายตลาด จึงสามารถ นําเกณฑการควบคุมคุณภาพของอิฐดินเผาตามมาตรฐานผลิตภณฑั มาใช  ที่ชวยควบคุมดานขนาดและรูปทรงของ อิฐ กระบวนการขึ้นรูปและการเผาที่ดี ใหอิฐดินเผามีสี ความแข็งแรง และการดดซู ึมน้ําตามที่กําหนด นอกจาก เปนการพัฒนาคณภาพผลุ ิตภณฑั แล วยังเพิ่มโอกาสการไดร ับรองมาตรฐานคณภาพผลุ ตภิ ณฑั ตอไป 2. ผลการวิจยพบวั า อิฐดินเผาของอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุกรายไมม ีตราสินคา แมวาอิฐดินเผาจะผลตในเขตจิ ังหวัดพระนครศรีอยุธยามานานกวา 100 ป เปนภูมิปญญาทองถิ่นดั้งเดิม แตขาด การพัฒนาสรางเอกล ักษณของสินคาที่จะทําใหเกิดการรับรูวาเปนสนคิ าที่มาจากแหลงผลตใดิ ตางจากอิฐ บ.ป.ก. ของผูผลิตในตําบลบางปลากด อําเภอปาโมก จังหวดอั างทอง ที่สามารถสรางตราส ินคาใหกับอิฐดินเผาได ซึ่งการ พัฒนาตราสินคานี้อาจเริ่มตนจากผูผลิตเฉพาะรายทมี่ ีความพรอม แตการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักการพื้นฐานของ การพัฒนาสินคาชุมชนควรไดร ับการพัฒนาโดยชุมชน ดังนั้นหากมีการรวมกลุมผูผลิตโดยไดรับการสนบสนั ุนจาก ผูนําชุมชน หรือหนวยงานราชการที่เกี่ยวของเพื่อวิเคราะหเร ื่องราวความเปนมาของการผลตอิ ิฐดินเผาของอําเภอ บางบาล หรือของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นําสูการสรางตราสินคาท ี่นํามาใชเพื่อสรางเอกลักษณและสื่อสารตอ ลูกคาและสังคม ขอเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งตอไป ควรพิจารณาดําเนินการวิจยเพั ื่อพัฒนาระบบการผลิตทั้งในสวนของปจจัยนําเขา กระบวนการ และ ผลผลติ ไดแก  1. การศึกษาอัตราสวนผสมที่เหมาะสมเพื่อผลตอิ ิฐดินเผา โดยมีเปาหมายเพื่อลดความสูญเสีย หลังเผา และไดสมบ ัตตามมาตรฐานทิ ี่กําหนด 80 The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) Vol.27 No.2 April - June 2021 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

2. การปรับปรุงกระบวนการผลิตอิฐเพื่อลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมและเกิดสุขภาวะที่ดีของ ผูผลิต 3. การออกแบบตราสินคาที่เปนอตลั ักษณของชุมชน 4. การปรับปรุงคณภาพอุ ิฐดินเผาใหไดมาตรฐานผลตภิ ณฑั 

References Arsakun, N. (2007). Cost and return on investment of brick-making: A case study in Prabaht, Mueang, Changwat Lampang. Master's thesis Chiang Mai University, Muang District, Chiang Mai Province, . Aunkham, C. (2012). Impact management of common brick production on health of the people in Chang Thong village, Suthep sub-district, Mueang Chiang Mai district. Master's thesis Chiang Mai University, Muang District, Chiang Mai Province, Thailand. Boonpradap, C. (2009). Factors related to decision making in purchasing brick products of M.O.T. brick factory, . Master's thesis Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage, Khlong Luang District, Pathum Thani Province, Thailand. Bunkhao, L., Polraksa, C. & Tippila, J. (2016). Occupational health and safety risk assessment of a red clay brick factory in Warinchamrap district, Ubon Ratchathani province. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, 18(1), 39-46. Chaiwong, S. (2003). Contamination of fluoride in soil vegetation and air from brick factories at Bandongchapoo, Thumbol Chlongkhachen, Phijit. Master's thesis Naresuan University, Mueang District, Phitsanulok Province, Thailand. Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques. (3 rd ed.). New York : John Wiley & Sons. Janbuala, S., et al. (2011). The development and design for enhance marketing of bricks ceramic products at Middle part of north east province of Thailand. Bangkok : Suan Dusit University, Faculty of Science and Technology. Korbuakaew, S. (2009). Industrial production management. Bangkok : Faculty of Industrial Technology, Suan Sunandha Rajabhat University. Niyomrath, R. (2008). Quality management. Bangkok : Suan Sunandha Rajabhat University, Faculty of Industrial Technology. Office of the National Economic and Social Advisory Council. (2004). Community economic development policy: One Tambon One Product. Bangkok : Office of the National Economic and Social Advisory Council. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร (สทมส.) 81 ปที่ 27 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2564 ISSN 2408-0845 (Print) ISSN 2651-1487 (Online)

Office of the Official Information Commission. (2016). Guidelines and criteria for selection of the best One Tambon One Product of the year 2016 (OTOP Product Champion, OPC). Bangkok : Office of the Permanent Secretary for the Prime Minister. Ratrung, P. (2014). Effect of corporate social responsibility and marketing strategy toward business operation of clay brick entrepreneurs in Lampang province. Master's thesis Lampang Rajabhat University, Mueang District, Lampang Province, Thailand. Ruengpraprapan, C. (2000). Basic statistics with sample analysis using Minitab, SPSS, and SAS program. Khon Kaen : Khon Kaen University. Srisomsak, C. (2005). Development of burned clay brick mixed with rice husk ash. Master's thesis King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Thung Khru District, Bangkok, Thailand. Saiyawut, S, et al. (2018). Defect reduction in clay brick production process with modern management techniques. in Walailak University, the proceeding of Walailak Research national conference, No. 10. 27-28 March 2018. Nakhon Sri Thammarat, Thailand. Samart, N. (2016). The development of clay bricks quality to community standard with perlite. Master's thesis Ubon Ratchathani Rajabhat University, Mueang District, Ubon Ratchathani Province, Thailand. Saweatnai, K & Wongmanee, S.S. (2008). Research and development to increase the efficiency of brick production in industrial level in households and small establishments. Bangkok : King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, College of Industrial Technology. Sllvannatsiri, R. (2008). A study of manufacturing status and qualities of burned clay brick in the western region of Thailand; A case study in the Kanchanaburi, Ratchaburi, Nakhonpathom, and Petchaburi Provinces. Master's thesis King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Thung Khru District, Bangkok, Thailand. Torroungwatthana, N. (2005). Feasibility study of red brick manufacturing in Chiang Rai Province. Master's thesis Chiang Mai University, Muang District, Chiang Mai Province, Thailand.