<<

REPORT

พฤศจิกายน 2559 Claire A. Beastall, Jamie Bouhuys and Anna Ezekiel TRAFFIC REPORT

TRAFFIC, the wild­life trade monitoring net­work, is the leading non-governmental organization working globally on trade in wild animals and plants in the context of both biodiversity conservation and sustainable development. TRAFFIC is a strategic alliance of WWF and IUCN.

Reprod­uction of material appearing in this report requires written­ permission from the publisher.

The designations of geographical entities in this publication, and the presentation of the material, do not imply the expression of any opinion whatsoever on the part of TRAFFIC or its supporting ­organizations con­cern­ing the legal status of any country, territory, or area, or of its authorities, or concerning the delimitation of its frontiers or boundaries.

The views of the authors expressed in this publication are those of the writers and do not necessarily reflect those of TRAFFIC, WWF or IUCN.

Published by TRAFFIC. Southeast Asia Regional Office Unit 3-2, 1st Floor, Jalan SS23/11 Taman SEA, 47400 Petaling Jaya Selangor, Malaysia Telephone : (603) 7880 3940 Fax : (603) 7882 0171

Copyright of material published in this report is vested in TRAFFIC.

© TRAFFIC 2016. ISBN no: 978-983-3393-70-1 UK Registered Charity No. 1076722.

Suggested citation: Beastall, C.A., Bouhuys, J., and Ezekiel, A. (2016). Apes in Demand: For and wildlife attractions in Peninsular Malaysia and . TRAFFIC. Petaling Jaya, Selangor, Malaysia.

Front cover photograph: Orangutan used as a photo prop at a theme park in Thailand

Credit: Jamie Bouhuys/TRAFFIC อุรังอุตังถูกน�ำมาเป็นฉกประกอบที่สวนสนุกในประเทศไทย​ and AnnaEzekiel Claire A.Beastall,JamieBouhuys

© Jamie Bouhuys/TRAFFIC © Jamie Bouhuys/TRAFFIC

กิตติกรรมประกาศ iii สรุปผู้บริหาร iv

บทน�ำ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 5 ชนิดพันธุ์พื้นเมือง 5 กฎหมายในมาเลเซีย 6 กฎหมายในประเทศไทย 7 มาตรฐานวิชาชีพส�ำหรับสวนสัตว์ 8 ศูนย์ช่วยเหลือบนคาบสมุทรมลายู 9 ศูนย์ช่วยเหลือในประเทศไทย 9

วิธีวิจัย 11 การส�ำรวจ 11 หนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์นานาชาติ 14 ข้อมูลการค้าไซเตส 14 การค้าออนไลน์ 15 อัตราแลกเปลี่ยน 15

ผลการวิจัยและการอภิปราย 16 คาบสมุทรมลายู 16 การส�ำรวจ 16 ฐานข้อมูลการค้าไซเตส 18 หนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ระหว่างประเทศ 18 การค้าออนไลน์ 20 ประเทศไทย 20 การส�ำรวจ 20 ฐานข้อมูลการค้าไซเตส 25 หนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ระหว่างประเทศ 25 การค้าออนไลน์ 26

บทสรุป 28 ข้อแนะน�ำ 30 อ้างอิง 33

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ ii

ผู้เขียนขอขอบคุณ คุณ Chris R. Shepherd ผู้อ�ำนวยการ TRAFFIC ส�ำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้กรุณาให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับฉบับร่างของรายงานนี้ เราได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลและองค์กรต่างๆ มากมาย ทั้งในประเทศไทยและมาเลเซีย ซึ่งบางท่านไม่ประสงค์ที่จะออกนาม เราขอกล่าวถึงความช่วยเหลือจาก คุณ Nancy Gibson และคุณพลอยสิร สิร จากมูลนิธิรักสัตว์ป่า (Love Wildlife Foundation) คุณ Jan Schmidt-Burbach และคุณ Delphine Ronfot คุณ Edwin Wiek และคุณ Nicole Vooijs จากมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า คุณ Pharanee Deters แห่งมูลนิธิ William E. Deters Foundation คุณ Gary van Zuylen คุณ Adam Oswell คุณ Matt Backhouse แห่งศูนย์สวัสดิภาพ สัตว์ลันตา (Lanta Animal Welfare) ส่วนในประเทศมาเลเซีย เราได้รับความช่วยเหลือจากคุณ Loretta Ann Shepherd และคุณ Fareea Ma เราขอขอบคุณ คุณ Tine Griede จาก Van Hall Larenstein University of Applied Sciences คุณ Iris Schapelhouman และคุณ Warner Jens จาก Apenheul คุณ Tilo Nadler และคุณ Vincent Nijman ผู้ซึ่งให้ความ ช่วยเหลือในการจ�ำแนกชนิดพันธุ์ ขอขอบคุณกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย และกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช (PERHILITAN) บนคาบสมุทรมลายู ที่ได้ให้การช่วยเหลือ เราขอขอบคุณผู้อ่านเอกสารที่ ไม่ประสงค์ออกนาม และเจ้าหน้าที่ของ TRAFFIC ส�ำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณ Kanitha Krishnasamy คุณ Elizabeth John และคุณ Aqeela Abdul Jalil และสมาชิกของ TRAFFIC Global Team คือคุณ Teresa Mulliken คุณ James Compton คุณ Monica Zavagli และคุณ Sabri Zain. พวกเราขอแสดงความ ขอบคุณต่อมูลนิธิ ARCUS ที่ได้กรุณาสนับสนุนเงินทุนวิจัยครั้งนี้

iii รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ

รายงานฉบับนี้ส�ำรวจชนิดพันธุ์ จ�ำนวน และแหล่งที่มา ของลิงไม่มีหางที่อยู่ในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มี สัตว์ป่า ในประเทศมาเลเซียฝั่งคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย และตอบสนองต่อความกังวลเกี่ยวกับความต้องการลิง ไม่มีหางทั่วโลกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกลิงวัยอ่อน เพื่อใช้ในการแสดงที่สวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่า และ การน�ำลิงไม่มีหางเหล่านี้ออกมาจากป่าอย่างผิดกฎหมาย

การลักลอบค้าลิงไม่มีหางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับความสนใจจากนานาประเทศเป็นอย่างยิ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ด้วยตัวอย่างที่ตกเป็นเป้าสายตาของประชาชนทั้งในคาบสมุทรมาเลเซียและประเทศไทย ในช่วงเวลานี้ สวนสัตว์ ของทั้งสองประเทศได้รับค�ำวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับความน่าสงสัยในสถานะด้านกฎหมาย และสภาวะที่สัตว์ได้รับ การดูแล

การจัดหาลิงวัยเยาว์มาให้แก่สวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่า รวมทั้งการใช้แสดงนับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่ความไม่ชัดเจนในกรณีที่สัตว์มีอายุมากเกินกว่าจะใช้เพื่อการแสดง แต่ยังเกี่ยวข้องกับการจับลูกลิง ออกมาจากป่า ซึ่งย่อมจะมีผลกระทบต่อจ�ำนวนประชากรในป่าที่ลดลง โดยทั่วไปจ�ำนวนของลิงไม่มีหางที่ปรากฏในการค้านั้น เชื่อว่ามีจ�ำนวนน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับจ�ำนวนลิงที่ตายเนื่องจากกระบวนการจับและขนย้ายจนกว่าจะถึงมือผู้ซื้อ ความสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับการจับสัตว์วัยอ่อนออกมาจากป่า มีมากกว่าความสูญเสียจากการจับสัตว์ตัวเต็มวัย เพราะการ จับลูกลิงวัยเด็กย่อมที่จะเกี่ยวข้องกับการตายของแม่ลิง ในกรณีของอุรังอุตัง มีการประเมินว่า ทุกๆ หนึ่งตัววัยอ่อนที่จับ ออกมา จะมีอุรังอุตังที่ต้องตายเป็นจ�ำนวนระหว่าง 2 ถึง 11 ตัว

รายงานฉบับนี้ ใช้ข้อมูลที่ได้จากการส�ำรวจสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่า การส�ำรวจทางออนไลน์ ข้อมูล การค้าของไซเตส และหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์นานาชาติของอุรังอุตัง (Pongo spp.) และกอริลล่าตะวันตก (Gorilla gorilla) เพื่อระบุจ�ำนวน ต้นก�ำเนิด และเมื่อเป็นไปได้ก็จะบันทึกอายุโดยประมาณ ณ ตอนที่จับลิงไม่มีหางและชะนีตามสวนสัตว์ และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่า ทั้งในคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า มีลิงไม่มีหางในสวนสัตว์และ แหล่งท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนที่มีนัยส�ำคัญในสองประเทศนี้ ที่มีต้นก�ำเนิดมาจากป่าหรือไม่ทราบต้นก�ำเนิด โดยเป็นสัดส่วนที่มี นัยส�ำคัญเช่นกันที่ลิงวัยอ่อนหรือวัยเยาว์ถูกจับมาเลี้ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคาบสมุทรมลายู สัตว์หลายตัวเหล่านี้ได้ถูกย้าย จากศูนย์ช่วยเหลือของรัฐบาลไปยังสวนสัตว์ต่างๆ ในขณะที่อาจเป็นไปได้ว่า บางตัวเดินทางมาสู่กรงเลี้ยงโดยการลักลอบค้า ที่ผิดกฎหมาย ซึ่งส�ำคัญมากที่ต้องหมายเหตุไว้ว่า การจัดหาสัตว์เหล่านั้นโดยสวนสัตว์ถือว่าถูกกฎหมาย

การวิจัยเกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2013 และมีนาคม 2014 โดยส�ำรวจสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยว ที่มีสัตว์ป่าในคาบสมุทรมลายู 35 แห่ง และส�ำรวจสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าในประเทศไทย 59 แห่ง ซึ่งพบสัตว์ ในกลุ่มลิงใหญ่ 48 ตัว ชะนี 51 ตัว ในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าในคาบสมุทรมลายู และสัตว์ในกลุ่มลิงใหญ่ 88 ตัว ชะนี 162 ตัว ในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าในประเทศไทย ทั้งหมดนี้ ไม่ได้รวมสัตว์ที่ไม่ได้น�ำออกแสดง ในช่วงที่มีการส�ำรวจเยี่ยม หรือสัตว์ที่ถูกเลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ที่อยู่ในศูนย์ช่วยเหลือของเอกชนหรือรัฐบาลที่ปิดไม่ ให้ประชาชนเข้าชม

พบลิงไม่มีหาง 11 ชนิดพันธุ์ ระหว่างที่มีการส�ำรวจ โดยมีกลุ่มลิงใหญ่ 4 ชนิด คืออุรังอุตังบอร์เนียน (Pongo pygmaeus) อุรังอุตังสุมาตรา (P. abelii) ชิมแปนซี (Pan troglodytes ) และกอริลล่าตะวันตก (Gorilla gorilla) และ

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ iv ชะนี 7 ชนิดคือ ชะนีมือด�ำ (Hylobates agilis) ชะนีมือขาว (H. lar) ชะนีมงกุฏ (H. pileatus) ชะนีชวา (H. moloch) ชะนีบอร์เนียนมูลเลอร์ (H. muelleri) ชะนีด�ำใหญ่ (Symphalangus syndactylus) และชะนีแก้ม (Nomascus spp.) ลิงไม่มีหางทุกชนิดพันธุ์อยู่ในรายการบัญชีไซเตสหมายเลข 1 และถูกประเมินไว้ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ ธรรมชาติว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ (อุรังอุตังสุมาตรา กอริลล่าตะวันตก และชะนีแก้มบางชนิด) หรือเป็นสัตว์ที่มีความเสี่ยง ขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (ชนิดอื่นๆ ที่เหลือที่พบในการส�ำรวจนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น)

ต้นก�ำเนิดของลิงไม่มีหางที่ได้สังเกตระหว่างการส�ำรวจ มีพื้นฐานการตรวจสอบโดยการตั้งค�ำถามแก่เจ้าหน้าที่ ของสวนสัตว์ การลงบันทึกในหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์นานาชาติที่มี และบันทึกการน�ำเข้า การส่งออกบนฐานข้อมูลการค้า ไซเตส ข้อมูลเกี่ยวกับต้นก�ำเนิดของลิงไม่มีหางได้มาจากเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ค่อนข้างยาก แต่ในคาบสมุทรมลายู พบว่ามีบางตัว ที่เจ้าหน้าที่บอกในตอนแรกว่าส่วนใหญ่ได้มาจากป่า

โดยเฉพาะในประเทศไทย ระหว่างการส�ำรวจพบว่ามีลิงไม่มีหางที่เป็น ชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทย มากกว่าจ�ำนวนที่ถูกบันทึกว่าน�ำเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย ท�ำให้เกิดความกังวลว่าสัตว์เหล่านี้จะมาถึงยังกรงเลี้ยงอย่างผิด กฎหมาย ทั้งนี้ ไม่พบหลักฐานว่าเคยมีการน�ำเข้ากอริลล่าตะวันตกหรือชะนีแก้มสู่ประเทศไทย แต่ก็พบสัตว์ทั้งสองประเภท ระหว่างการส�ำรวจ นอกเหนือไปจากนี้ ข้อมูลของไซเตสบันทึกว่ามีการน�ำอุรังอุตังเข้ามายังประเทศไทยเพียง 5 ตัว นับตั้งแต่ ปี 1975 เป็นต้นมา

กว่าครึ่งหนึ่งของอุรังอุตังจ�ำนวน 180 ตัวที่บันทึกในหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์นานาชาติ มีความเชื่อมโยงกับ คาบสมุทรมลายูและประเทศไทยนั้น ถูกระบุไว้ว่าได้มาจากป่าหรือไม่ทราบต้นก�ำเนิด อายุโดยเฉลี่ยของสัตว์ที่มีการบันทึก อยู่ที่ 6 ปี ในคาบสมุทรมลายู และ 5 ปี ในประเทศไทย ในขณะที่เป็นไปได้ว่า ส่วนมาก มีการบันทึกจ�ำนวนอุรังอุตังใน สวนสัตว์บนคาบสมุทรมลายูลงในหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์นานาชาติ แต่ไม่อาจกล่าวได้ว่าเกิดการปฏิบัติเช่นเดียวกันนั้น ในประเทศไทย การส�ำรวจพบว่ามีอุรังอุตัง 51 ตัวในประเทศไทย แต่ในหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์นานาชาติแจ้งไว้ว่ามีอยู่ 21 ตัว การจับสัตว์ออกมาจากป่าถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อดักจับมาตอนที่ยังเป็นวัยอ่อน หรือวัยเด็ก

การส�ำรวจพบสัดส่วนของลิงไม่มีหางที่เป็นวัยเด็ก/วัยรุ่น (อายุน้อยกว่า 10 ปี) ตามที่ประเมินจากการสังเกต ซึ่งมี มากอย่างมีนัยส�ำคัญ ในสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย (51%) เมื่อเทียบกับคาบสมุทรมลายู (25%) ถึงแม้ว่าลิงไม่มีหางบางตัว ที่พบจะเกิดในกรงเลี้ยง ในสถานที่สามแห่งในประเทศไทย นักวิจัยไม่พบว่ามีตัวเต็มวัย ในขณะที่อีกแห่งหนึ่ง พบว่ามีจ�ำนวน ตัววัยเด็กมากกว่าตัวเต็มวัยถึงห้าเท่า

ในขณะที่ไม่พบว่า มีการใช้ลิงไม่มีหางเพื่อการแสดงในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าในคาบสมุทรมลายู การส�ำรวจกลับพบว่า ในประเทศไทย มีลิงไม่มีหางตัววัยรุ่นถูกเลี้ยงในสถานที่ที่มีการใช้ลิงไม่มีหางเพื่อการแสดงและการ ถ่ายรูป ท�ำให้เกิดความเป็นห่วงด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสัตว์เหล่านี้ เมื่อมันมีอายุมากเกินไปที่จะใช้เพื่อการแสดง รวมไปถึง การจัดหาลูกลิงออกมาจากป่า ซึ่งมีผลกระทบต่อจ�ำนวนประชากรในป่าที่ลดลง

หน่วยงานที่มีอ�ำนาจในการบังคับใช้กฎหมายทั้งของคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย ได้พยายามที่จะยับยั้งการ ลักลอบค้าลิงไม่มีหาง เมื่อเร็วๆ นี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (PERHILITAN) บนคาบสมุทรมลายู ได้ตั้งข้อหา แก่ผู้ต้องสงสัยสี่คนภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการอนุรักษ์สัตว์และพืชป่า ที่เชื่อมโยงกับการยึดอุรังอุตังสุมาตราไว้ได้ 2 ตัว ในปี 2015 และมีการส่งกลับคืนไปยังประเทศอินโดนีเซียสามเดือนหลังจากที่มีการยึดไว้ ในประเทศไทย แม้ว่าจะมีการจับ ยึดบ้าง แต่ความพยายามในการด�ำเนินการยับยั้งการลักลอบค้าลิงไม่มีหางชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทยยังคง ติดขัดด้วยกฎหมายที่ไม่เข้มแข็งพอ v รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ การค้นพบของรายงานฉบับนี้ ชี้ให้เห็นความล้มเหลวของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่า ที่จะส่งเสริม มาตรฐานของอุตสหากรรม หลายกรณี เป็นเพราะการปฏิบัติตามข้อก�ำหนดทางกฎหมายส�ำหรับการจัดหาสัตว์ภายใต้การ ดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยในกรณีที่ไม่มีต้นก�ำเนิดของลิงไม่มีหางที่พบในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่า การด�ำเนินการยังห่างไกลกับที่ระบุไว้ในมติข้อตกลง 69.1 ของสมาคมสวนสัตว์และอควอเรี่ยมโลก (WAZA) ซึ่งพบว่า เป็นเพราะ ช่องโหว่ของกฎหมายในประเทศไทยที่มีอยู่มีส่วนรับผิดชอบต่อการสอบสวนและการด�ำเนินคดี กับสถานที่ที่เก็บสัตว์ป่าที่ได้ มาจากการจัดหาที่ผิดกฎหมายนั้น มีอยู่ไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายหลักของประเทศไทยที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อ คุ้มครองสัตว์ป่าอย่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (1992) แต่กลับไม่ได้ครอบคลุมลิงไม่มีหางที่เป็น ชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทย นอกจากนี้ แม้ว่าจะมีชนิดพันธุ์ที่ครอบคลุมภายใต้กฎหมาย รัฐบาลก็ยังเผชิญภาระใน การพิสูจน์หลักฐานเพื่อการฟ้องร้อง เพราะเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลที่จะต้องพิสูจน์ว่า สัตว์ป่านั้นได้มาอย่างผิดกฎหมาย มากกว่าที่จะให้เจ้าของสัตว์ป่าเป็นผู้พิสูจน์ว่าได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

รายงานฉบับนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความส�ำคัญของระบบที่เชื่อถือได้และมีความโปร่งใสในการติดตามตั้งแต่การเกิด การเคลื่อนย้าย และการตายของลิงในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่า การขาดระบบดังกล่าว เปิดโอกาสให้มีการ ปกปิดการจัดหาซื้อสัตว์ที่มาจากแหล่งที่ผิดกฎหมาย ข้อแนะน�ำ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า สวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าโชว์ ได้สัตว์มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและ ยั่งยืน และเพื่อส่งเสริมให้มีการปฎิบัติดูแลอย่างเหมาะสมต่อสัตว์เหล่านั้น TRAFFIC จึงขอเสนอข้อแนะน�ำต่อไปนี้

หน่วยงานที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย ควรจะได้รับอ�ำนาจที่จ�ำเป็นในการกีดกันการลักลอบน�ำเข้าและครอบครองสัตว์ ในกลุ่มลิงไม่มีหางที่ไม่ใช่ชนิดพันธุ์ท้องถิ่น และส่งเสริมการดูแลและรักษาที่เหมาะสมแก่สัตว์ในกรงเลี้ยง พระราชบัญญัติสงวน และรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนี้ ยังไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ลิงไม่มีหางที่เป็นชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทย หรือ มีการปรับโทษใดๆ หากพบว่ามีสัตว์ซึ่งได้มาจากการน�ำเข้าที่ผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง

ในประเทศไทย การพิสูจน์เพื่อแสดงให้เห็นว่าลิงไม่มีหางที่เป็นชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทยที่ถูกตั้ง ค�ำถามว่ามีที่มาจากการได้มาอย่างผิดกฎหมายหรือดูแลอย่างไรนั้น ความรับผิดชอบตกอยู่ที่หน่วยงานราชการที่เป็นผู้พิสูจน์ จึงควรที่จะมีการเปลี่ยนกฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าในประเทศไทย เพื่อให้รวมเอาการสันนิษฐานว่า การครอบครองลิงไม่มีหางที่เป็นชนิด พันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทยโดยไม่มีใบอนุญาตนั้น ถือว่าเป็นการกระท�ำเพื่อ หรือเป็นผลมาจากการค้าอย่างผิดกฎหมาย นอกเสียจากว่าผู้มีไว้ในครอบครองจะสามารถพิสูจน์ไปในทางตรงกันข้าม

ในประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรส�ำรวจทางเลือกใหม่ในการส่งกลับสัตว์ที่ยึดไว้ หรือช่วยเหลือมาให้เร็วขึ้น ในสถานการณ์ที่ไม่มีการด�ำเนินคดีทางอาญา แทนที่จะต้องรอถึงห้าปี ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระ ให้แก่ศูนย์ช่วยเหลือของรัฐบาล

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในประเทศไทย ควรน�ำข้อก�ำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานของสวนสัตว์ มาใช้ เช่นที่มีการแนะน�ำคู่มือการด�ำเนินงานสวนสัตว์ในมาเลเซีย (Garis Panduan Standard Zoo Malaysia) บนคาบสมุทร มลายู และควรรวมถึงแนวทางการใช้สัตว์ป่าในการแสดงด้วยเช่นกัน

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ vi กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรสั่งห้ามไม่ให้มีการแสดงและการถ่ายภาพที่ใช้ลิงไม่มีหาง เพราะกิจกรรม เหล่านี้ เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้สัตว์วัยเด็ก หากยังคงอนุญาตให้มีการแสดง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควร ได้รับการแจ้งเมื่อมีการปลดเกษียนลิงที่ใช้แสดง หน่วยงานผู้มีอ�ำนาจควรจะได้รับการแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับแผนการดูแลและ การจัดที่อยู่อาศัยในอนาคตด้วย เช่นที่มีการแนะน�ำโดย คณะท�ำงานพิเศษ CITES/GRASP แห่งประเทศไทยและประเทศ กัมพูชา (Anon., 2007b)

TRAFFIC สนับสนุนความพยายามของ PERHILITAN ในคาบสมุทรมลายู และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ในประเทศไทยในการตรวจสอบสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าภายใต้ขอบเขตอ�ำนาจที่มี และส่งเสริมให้มี การตรวจสอบสถานที่เหล่านั้นอย่างสม�่ำเสมอโดยไม่ต้องมีการแจ้งล่วงหน้า ซึ่ง TRAFFIC แนะน�ำว่าส่วนหนึ่งของการตรวจสอบ ควรจะบอกแหล่งที่มาของลิงไม่มีหางทั้งหมดได้ หากว่ายังมีส่วนที่ยังไม่ทราบ

หากพบว่าสถานที่ใดมีการละเมิดมาตรา 716 หรือมาตรา 686 ในคาบสมุทรมลายู หรือ พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติกรมศุลกากร พ.ศ. 2469 ในประเทศไทย รวมทั้งในเรื่องการจัดหาลิง ไม่มีหาง ควรจะยกเลิกใบอนุญาตและใบประกอบการ

สัตว์ที่ถูกจับ หรือได้มาจากการละเมิดกฎหมายเหล่านี้ ควรจะยึดเป็นของกลางและจัดหาที่อยู่ที่เหมาะสมให้ หรือ ส่งกลับตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี

ควรมีการฟ้องร้องผู้ที่กระท�ำผิดทุกคนที่พบว่ากระท�ำผิดตามมาตรา 716 หรือมาตรา 686 ในคาบสมุทรมลายู หรือ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติกรมศุลกากร พ.ศ. 2469 ในประเทศไทย

การท�ำงานร่วมกันและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีอ�ำนาจในการบังคับใช้กฎหมายทั้งภายในประเทศและ ระหว่างประเทศต้องมีมากกว่านี้

ควรจะมีการน�ำส่งข้อมูลในการจัดหา เกิด ตาย และการจ�ำหน่ายลิงไม่มีหางทั้งหมดที่อยู่ในสวนสัตว์และแหล่ง ท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าบนคาบสมุทรมลายูและประเทศไทยให้แก่ PERHILITAN และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อช่วยในการติดตามสถานที่เหล่านี้

มีการใช้ไมโครชิพและตรวจสอบดีเอ็นเอ เพื่อการจ�ำแนกอุรังอุตังที่อยู่ในกรงเลี้ยงครั้งแรก โดย PERHILITAN ในปี 2004 คณะท�ำงานพิเศษ CITES/GRASP เกี่ยวกับอุรังอุตังแห่งประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้บันทึกความส�ำคัญของ การเก็บตัวอย่างทางชีววิทยาจากสัตว์แต่ละตัว ในกรณีที่ต้องมีการจัดท�ำโปรไฟล์ดีเอ็นเอ (Anon., 2007b) ซึ่งในสถานที่ที่ยัง ไม่มีการกระท�ำดังกล่าว ควรน�ำวิธีปฏิบัตินี้มาใช้

vii รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ

เป้าหมายของ WAZA คือให้แนวทางและความสนับสนุนแก่สวนสัตว์ทั่วโลก ซึ่งแนะน�ำว่าควรเป็นอย่างยิ่งที่จะเพิ่ม ระดับการมีส่วนร่วมกับสวนสัตว์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสมาคมฯ ควรให้ความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง การเลี้ยงสัตว์ สวัสดิการ และการจัดแสดงให้แก่สวนสัตว์ที่ต้องการความช่วยเหลือและได้ส่งค�ำขอรับความช่วยเหลือมา ความช่วยเหลือดังกล่าว ควรที่จะครอบคลุมไปถึงการให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับการจัดหาสัตว์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และหลัก ความยั่งยืนให้แก่สถานที่ซึ่งขณะนี้ยังพึ่งพาการจัดหาสัตว์อย่างผิดกฎหมาย

WAZA ควรส่งเสริมให้สมาชิกปฏิบัติตามมติข้อตกลงและแนวทางการปฏิบัติ และหากเป็นไปได้ ท�ำงานผ่านทาง องค์กรพันธมิตรเช่น SEAZA โดยรวมมติข้อ 69.1 ตามหลักกฎหมาย ความยั่งยืน และหลักจริยธรรมในการจัดหาสัตว์ ถึงแม้ว่า WAZA จะมีองค์กรสมาชิกแค่ห้าสถาบันในประเทศไทย (สวนสัตว์ภายใต้องค์กรสวนสัตว์ทั้งหมด) และหนึ่งสถาบันในมาเลเซีย (Zoo Negara) แต่ SEAZA มีจ�ำนวนสมาชิกมากกว่า ซึ่งจะช่วยเปิดทางให้ WAZA เข้าถึงได้มากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย สวนสัตว์หลายแห่งด�ำเนินการโดยไม่อ้างอิงกับกลุ่มสวนสัตว์นานาชาติและภูมิภาค ซึ่งควรที่จะมีความพยายามโดยกลุ่มสวนสัตว์นานาชาติและภูมิภาคส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น รวมทั้งการส่งข้อมูล เกี่ยวกับสัตว์ไปยังหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ที่เกี่ยวข้อง

หากมีกฎหมายใดๆ ท�ำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการกระท�ำที่ผิดกฎหมาย ควรมีการสื่อสารให้ประชาชนทราบ ถึงการบังคับใช้และผลที่ตามมาอย่างชัดเจน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชของทั้งสองประเทศ ควรเผยแพร่การ บังคับใช้กฎหมายเมื่อมีอาชญากรรมต่อสัตว์ป่าและรายละเอียดของบทลงโทษอย่างสม�่ำเสมอมากขึ้น ซึ่งควรรวมถึงข้อมูล ของการลงโทษบังคับภายใต้มาตรา 686 และ 716 ในคาบสมุทรมลายู และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติกรมศุลกากร พ.ศ. 2469 ในประเทศไทย

สื่อมวลชน ควรให้ความช่วยเหลือในการเผยแพร่ การด�ำเนินการบังคับใช้และการฟ้องร้องที่เกี่ยวกับอาชญากรรม ต่อสัตว์ป่า และเรียกร้องให้มีความโปร่งใสและความสม�่ำเสมอมากขึ้น ในการจัดการที่เกี่ยวกับอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า

ต้องมีการกระตุ้นหน่วยงานราชการและสื่อมวลชนในคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย ให้ส่งเสริมการสร้างความ ตระหนักแก่ประชาชนทั่วไป ในเรื่องการลักลอบค้าสัตว์ในกลุ่มลิงใหญ่อย่างผิดกฎหมาย และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นตามมา

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ viii เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ภัยคุกคามต่อสัตว์ในอันดับลิงไม่มีหาง (Apes) ที่ส�ำคัญคือการสูญเสียถิ่นอาศัยและ การล่า แต่กับบางชนิด ภัยคุกคามหลักคือการค้า (Nijman et al., 2011) ลิงไม่มีหางมีมูลค่าสูงมาในการค้าเพื่อการแสดง การวิจัยทางการแพทย์ อาหาร ยา และการน�ำมาเป็นสัตว์เลี้ยง ในช่วงระหว่างปี 2005 และ 2011 มีการลักลอบจับลิงไม่มีหาง ประมาณ 1,800 ตัว (ลิงชิมแปนซี Pan troglodytes ลิงโบโนโบ Pan paniscus กอริลล่า Gorilla spp. และอุรังอุตัง Pongo spp.) ออกมาจากป่า โดยพบส่วนมากเป็นลิงชิมแปนซีและอุรังอุตัง (Stiles et al., 2013) ซึ่งในจ�ำนวนนั้น เป็นตัวแทน เพียงส่วนน้อยของสัตว์ที่ต้องตายระหว่างทางของห่วงโซ่การค้า โดยสาเหตุของการตายเกิดขึ้นในขณะถูกจับ การขนส่ง เมื่อถึงมือผู้ค้า และรวมทั้งเมื่อถึงมือผู้ซื้อ โดยประเมินความสูญเสียที่เชื่อมโยงกับการพรากสัตว์วัยเยาว์และผลกระทบต่อ ประชากรสัตว์ในป่า ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลบนเอกสารเท่านั้น (Nijman, 2009) มีลิงอุรังอุตัง 2 ถึง 10 ตัว ที่ต้องตายเมื่อมี การน�ำลูกลิง 1 ตัวมาขาย (Cantor, 1999; Anon., 2006a; Anon., 2015a)

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลักลอบค้าสัตว์ในกลุ่มลิงไม่มีหางในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ได้รับความสนใจ ในระดับนานาชาติค่อนข้างมาก โดยมีกรณีตัวอย่างเด่นๆ เกิดขึ้นทั้งในคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย (ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน กรอบที่ 1 และ 2) ทั้งสองประเทศ พบว่าบทลงโทษหากละเมิดกฎหมายที่ควบคุมการค้าและการครอบครองสัตว์ในอันดับ ไพรเมทยังไม่ค่อยมี และไม่ได้ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวาง และเนื่องจากขาดการยืนยันข้อมูลอย่างเป็นทางการ จึงเป็นการยาก ที่จะนับจ�ำนวนสัตว์ที่ถูกจับ เคลื่อนย้าย และ/หรือถูกส่งกลับคืนป่าในมาเลเซียและไทย

มีความกังวลเกี่ยวกับความต้องการลิงไม่มีหางที่ยังมีชีวิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยอ่อน ในปี 2007 CITES และ Great Ape Survival Partnership (GRASP) ได้ปฏิบัติภารกิจเฉพาะในประเทศไทยและมาเลเซียฝั่งตะวันออก (Anon., 2007a and 2007b). ในประเทศไทย มีการแนะน�ำให้ปรับปรุงการสะกดรอยและติดตามสัตว์ป่าในสวนสัตว์ ตรวจ สอบสถานที่ที่เป็นที่พักอาศัย และให้มีการลงโทษบุคคลหรือองค์กรที่ฝ่าฝืนกฎหมายข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดหาและการ ปฏิบัติต่อสัตว์ป่า (Anon., 2007b)

ลิงไม่มีหางถือเป็นสัตว์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการน�ำมาแสดง ซึ่งทั้งประเทศไทยและมาเลเซียถูกวิจารณ์ อย่างหนักเกี่ยวกับการดูแลสภาพความเป็นอยู่ของสัตว์ และสถานะทางกฎหมายของสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ (Anon., 2003a; Anon., 2007b; Corrigan, 2010; Yoga, 2012)

รายงานฉบับนี้สืบสาวไปยังแหล่งที่มาของลิงไม่มีหางและชะนี ทั้งที่เป็นสัตว์ท้องถิ่นและชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิด ในประเทศไทยที่พบในสวนสัตว์และตามแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดง (wildlife attractions) ทั้งบนคาบสมุทรมลายูและ ประเทศไทย จ�ำนวนของสัตว์วัยอ่อนที่พบในสถานที่เหล่านี้ และความถี่ในการน�ำสัตว์ออกมาแสดงโชว์ ซึ่งรายงานฉบับนี้ จัด เป็นรายงานฉบับที่สี่ของ TRAFFIC ที่เน้นในเรื่องของการค้าลิงไม่มีหางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรายงานฉบับ ก่อนหน้านี้ เน้นในเรื่องการค้าลิงอุรังอุตังและชะนีในอินโดนีเซีย ตรวจสอบการค้าที่เกิดขึ้นในรัฐกาลิมันตัน (Nijman, 2005a), เกาะชวาและบาหลี (Nijman, 2005b) และเกาะสุมาตรา (Nijman, 2009) ตามล�ำดับ

1 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ กรอบที่ 1: ตัวอย่างการลักลอบค้าลิงไม่มีหางและความเชื่อมโยงกับคาบสมุทรมลายู การลักลอบค้าสัตว์กลุ่มลิงไม่มีหางอย่างผิดกฎหมายในมาเลเซียทางฝั่งคาบสมุทร มีข่าวออกมาอย่างเป็นทางการ เพียงไม่กี่ครั้ง ซึ่งข้อมูลต่อไปนี้ ได้มาจากแหล่งข่าวภายในประเทศและข่าวต่างประเทศ

2001: พบกอริลล่า 4 ตัว ถูกน�ำมาจากประเทศไนจีเรียเข้ามายังสวนสัตว์ไทปิง (Taiping Zoo) โดยใช้ใบอนุญาตน�ำเข้า และส่งออกของไซเตสในการแจ้งว่าเป็นสัตว์ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ ภายหลังพบว่า เป็นสัตว์ที่จับได้จากป่า ในประเทศแคเมอรูน (Stiles et al., 2013) ได้มีการส่งสัตว์กลับไปยังประเทศแอฟริกาใต้ในปี 2004 และคืนสู่ ประเทศแคเมอรูนในปี 2007 ไม่มีการด�ำเนินคดีภายในประเทศมาเลเซีย 2004: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (PERHILITAN) ของประเทศมาเลเซียได้จัดท�ำบัญชีส�ำรวจและเก็บ ตัวอย่าง DNA จากอุรังอุตัง 58 ตัวที่ถูกเลี้ยงอยู่ในสวนสัตว์ 7 แห่ง (Anon., 2006b) พบว่าเป็นอุรังอุตังบอร์เนียน 46 ตัว และอุรังอุตังสุมาตรา 12 ตัว มาจากการน�ำเข้าอุรังอุตังสุมาตรา 5 ตัว สู่มาเลเซียก่อนปีค.ศ. 1975 (ก่อน ที่จะมีไซเตส) ที่เหลืออีก 7 ตัวนั้น ยึดมาได้จากเอฟอร์โมซ่า ซาฟารี เวิล์ด (A’Famosa ) 6 ตัว และจากสวนสัตว์ยะโฮร์ 1 ตัว (Gerald, 2005) อุรังอุตังเกือบทั้งหมด ถูกส่งกลับคืนไปยังอินโดนีเซียในเดือน ธันวาคม ปี 2005 และตัวสุดท้ายส่งกลับไปในปี 2006 (Anon., 2013a) ซึ่งทั้งหมดนี้ ไม่มีบันทึกการด�ำเนินคดี อย่างเป็นทางการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านี้ ~2008: ยึดอุรังอุตัง 2 ตัว ที่ถูกลักลอบน�ำเข้ามาที่สวนสัตว์ซาเลง (Saleng Zoo) ในปี 2009 ทางสวนสัตว์ประกาศว่า ได้รับตัวเมียจาก PERHILITAN มาแทนที่ และก�ำลังรอให้ตัวผู้มาถึงในขณะนั้น (Anon., 2009a) ในปี 2010 PERHILITAN ได้ยืนยันว่าสัตว์สองตัวที่ยึดมาได้นั้น มีการแทนที่ด้วยอุรังอุตังหนึ่งคู่จาก Bukit Merah Orangutan Island (อ้างถึงในชื่อ Bukit Merah Lake Town Resort) ข่าวรายงานว่า ไม่มีการเรียกคืนใบอนุญาตกรณี พิเศษในการเลี้ยงอุรังอุตังของสวนสัตว์ หลังจากที่มีการจับได้ว่ามีการลักลอบน�ำอุรังอุตังคู่แรกมาที่สวนสัตว์ (Chew, 2010) ไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการด�ำเนินคดีใดๆ และข่าวก็ไม่ได้ระบุว่ามีการเรียกปรับ สวนสัตว์แต่อย่างใด 2009: มีการยึดลูกอุรังอุตัง 3 ตัว ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัตว์ในห้าตัวที่มีการลักลอบเข้าสู่ประเทศ (Chew, 2009) ตัวหนึ่ง ได้จาก ผู้เพาะเลี้ยงกวาง ซึ่งภายหลังถูกลงโทษฐานที่ครอบครองลูกอุรังอุตังโดยผิดกฎหมาย ส่วนอีกสองตัว ได้มาจาก สวนสัตว์ไทปิง ซึ่งทางสวนสัตว์ฯ ได้อ้างว่ามีผู้น�ำมาปล่อยไว้ที่สวนสัตว์ 2-3 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการยึดเป็น ของกลาง (Koh, 2009) การลงโทษดังกล่าวไม่ได้ถูกน�ำออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ และไม่มีข้อมูลที่จะสามารถ ระบุได้ว่าสัตว์อีก 2 ตัวที่เหลือถูกย้ายไปที่ใดหรือไม่ 2013: มีการอ้างว่ายึดอุรังอุตังสุมาตรา 3 ตัว ในปี 2006, 2007 และ 2009 ถูกส่งจากมาเลเซียกลับไปยังอินโดนีเซีย (Anon., 2013a) ไม่มีข้อมูลว่าสัตว์มีที่มาจากใด หรือสถานการณ์ที่อธิบายว่าการได้มานั้นรับรองโดย PERHILITAN ไม่มีการประกาศเกี่ยวกับการลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการยึดของกลาง 2015: มีการประกาศทางกลุ่มลับบนเฟซบุคว่า พบอุรังอุตัง 2 ตัวที่โรงแรมแห่งหนึ่งนอกเมืองกัวลาลัมเปอร์ โดยการ ท�ำงานร่วมกันของแผนกติดตามอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ของ PERHILITAN คณะท�ำงานสื่อสารและมัลติมีเดีย CyberSecurity Malaysia และ Interpol (TRAFFIC, 2015) มีการจับกุมและปรับชาวมาเลเซีย 2 คน และ ชาวอินโดนีเซีย 2 คน โดยชาวอินโดนีเซียทั้งสองถูกปรับเพิ่มในฐานะที่ลักลอบน�ำเข้าของต้องห้ามอีก 30,000 ริงกิต ถึง 100,000 ริงกิต (USD 6,840 – 22,800) และจ�ำคุกสามปี คนหนึ่งรับสารภาพและขอลดหย่อนโทษเหลือเพียง 6 เดือน การพิสูจน์ดีเอ็นเอพบว่าเป็นอุรังอุตังสุมาตราทั้งคู่ จึงถูกส่งกลับไปยังอินโดนีเซียในวันที่ 20 ตุลาคม (PERHILITAN, 2015)

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 2 กรอบที่ 2: ตัวอย่างการลักลอบค้าลิงไม่มีหางในประเทศไทยและที่เชื่อมโยงกับประเทศไทย

2003: อุรังอุตัง 36 ตัว ถูกลักลอบส่งออกจากประเทศไทยไปที่เกาะกงซาฟารีเวิล์ดในกัมพูชาในปี 2003 และ 2004 (Anon., 2006c) โดยกระทรวงเกษตรของกัมพูชาออกใบอนุญาตในการน�ำเข้าครั้งแรก ภายใต้เงื่อนไขระบุไว้ว่า บริษัทจะท�ำงานร่วมกับหน่วยงานบริหารป่าไม้และคณะไซเตส เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นการด�ำเนินการอย่างถูกกฎหมาย (Cochrane, 2004) ทางซาฟารีเวิล์ดถูกปรับและอนุญาตให้เก็บสัตว์ไว้ (Anon., 2007b) ในปี 2007 คณะ ผู้เชี่ยวชาญ CITES/GRASP ลงพื้นที่และพบว่ามีอุรังอุตัง 34 ตัว โดยทางสวนแจ้งว่าอีก 2 ตัว เสียชีวิตแล้ว (Anon., 2007b) 2003: พบลูกอุรังอุตังแช่แข็งในบ้านที่ต้องสงสัยว่าเป็นของผู้ลักลอบค้าสัตว์ผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นลงบันทึกไว้ว่า เป็นสัตว์ที่ส่งเข้ามาจากอินโดนีเซียอย่างผิดกฎหมาย ในเวลาเดียวกันกับอีกสองตัวที่ช่วยเหลือออกมาจาก โรงฆ่าสัตว์เถื่อนหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น (Hongthong and Kaewmorakot, 2004) ~2003: ระหว่างปี 2003 และ 2004 พบลูกอุรังอุตัง 4 ตัว ในบ้านแห่งหนึ่งใกล้กรุงเทพมหานคร พร้อมกับเสือ 6 ตัว หมี 5 ตัว ซากเสือจ�ำนวนหนึ่ง และอุ้งตีนหมี 21 ชิ้น (Anon., 2004) 2004: มีการเข้าค้นและตรวจสอบซาฟารีเวิล์ด ในเขตใกล้กรุงเทพมหานคร (ไม่คิดว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับสวนที่พบใน กัมพูชา) โดยเจ้าหน้าที่ต�ำรวจในเดือนกรกฎาคม หลังจากที่มีข้อมูลส่งไปที่ส�ำนักงานเลขาธิการไซเตส โดยองค์กร เอกชนจ�ำนวนหนึ่ง รายงานว่ามีอุรังอุตังอยู่ที่บ้านนั้น ในเดือนกันยายน เจ้าหน้าที่ต�ำรวจท�ำการยึดอุรังอุตัง 102 ตัว ไว้เป็นของกลาง และส่งไปยังคณะกรรมการบริหารไซเตสของประเทศ (Anon., 2007b) เพราะจ�ำนวน 45 ตัว ที่มีอยู่ “เกินอ�ำนาจทางกฎหมายของเจ้าหน้าที่” เนื่องจากก่อนหน้านี้ มีการน�ำเข้า 14 ตัว เข้ามาก่อนที่จะมีการ ใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับไซเตส และอีก 31 ตัว เป็นรุ่นลูกของอุรังอุตังเหล่านั้น (Anon., 2007b) บริษัทถูกตั้ง ข้อหาเนื่องจากมีสัตว์อยู่ 57 ตัว ภายใต้กฎหมายศุลกากร พ.ศ. 2469 และต้องส่งมอบสัตว์เหล่านั้นให้แก่ เจ้าหน้าที่ (Anon., 2007b) อุรังอุตัง 4 ตัวเสียชีวิตขณะที่อยู่ในความดูแลของทางการ โดยมีการส่งอุรังอุตัง 5 ตัว ไปยังเชียงใหม่ซาฟารีปาร์ค (Anon, 2006c) ส่วนอีก 48 ตัว ถูกส่งกลับไปยังอินโดนีเซียในปี 2006 ~2004: รายงานของคณะท�ำงานพิเศษ CITES/GRASP ระบุไว้ว่าพบอุรังอุตัง 10 ตัว ขณะที่มีการเข้าตรวจในสวนสัตว์ เอกชนและของรัฐ โดยปฏิบัตตามค�ำสั่งของรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทางสวนสัตว์ได้แจ้งว่า อุรังอุตัง 5 ตัว ได้มาจากการบริจาคโดยผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างขั้นตอนการด�ำเนินคดีฟ้องร้อง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในการเข้ายึดสัตว์ ขณะที่มีการเขียนรายงานโดย CITES/GRASP (Anon., 2007b) 2008: มีการยึดอุรังอุตังบอร์เนียน 1 ตัว เป็นของกลางที่จังหวัดชุมพร (Anon., 2010a) รายงานระบุว่าเป็นสัตว์ที่ยึด มาจากสวนสัตว์เอกชนของรีสอร์ท ไม่มีการด�ำเนินคดี (Wiek, 2015) 2009: รายงานต่อไซเตสฉบับปี 2007 – 2009 ซึ่งจัดท�ำทุก 2 ปี ระบุว่ามีการยึดอุรังอุตังบอร์เนียน 11 ตัวเป็นของกลาง ที่จังหวัดภูเก็ต (Anon., 2010a) รายงานว่าพบอยู่ในลังข้างถนน (Wiek, 2012, Wipatayotin, 2015) ในเดือน พฤศจิกายน 2015 อุรังอุตัง 14 ตัวถูกส่งกลับคืนไปยังอินโดนีเซีย (ตัวหนึ่งมาจากการยึดของกลางในปี 2008) อีก 11 ตัว คือกลุ่มที่ยึดจากภูเก็ต และอีก 2 ตัว เกิดในช่วงที่พักอยู่สถานีเพาะเลี้ยง (Wiek, 2015) ไม่มีการ ลงโทษใดๆ 2011: มีการจับกุมชาวอาหรับ 1 คน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ หลังจากพบชะนีหนึ่งตัวและสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ในกระเป๋า เดินทาง ซึ่งถูกเปรียบเทียบปรับและปล่อยตัวไปเมื่อมีการขอประกันตัว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่มีการ แทรกแซงของนักการเมือง มีการคืนหนังสือเดินทางและเขาสามารถเดินทางกลับประเทศได้โดยไม่มีการถูกลงโทษ ไม่พบว่ามีการสืบสวนใดๆ หลังจากนั้น (Anon., 2011)

3 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ © TRAFFIC อุรังอุตัง 14 ตัว ขณะรอส่งจากประเทศไทยกลับไปยังประเทศอินโดนีเซีย © TRAFFIC อุรังอุตังสุมาตราหนึ่งในสองตัวที่ถูกยึดในปี 2015 โดย PERHIILITAN และถูกส่งกลับไปยังอินโดนีเซีย หลังจากนั้นไม่นาน

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 4 สัตว์ในกลุ่มลิงไม่มีหาง 4 ชนิด จากทั้งหมด 6 ชนิด พบในทวีปแอฟริกา ส่วนอุรังอุตังทั้ง 2 ชนิด และชะนีทั้ง 17 ชนิด เป็นสัตว์ที่พบในเอเชีย ลิงไม่มีหางทั้งหมดเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่า ท�ำให้มีความเสี่ยงในการมีชีวิตเมื่อมีกิจกรรม เช่น การเปลี่ยนผืนป่า การตัดไม้ และอุตสาหกรรมขุดหน้าดินอื่น เช่น การท�ำเหมือง การขุดเจาะน�้ำมัน (Rainer et al., 2014) นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากการลักลอบจับไปขายที่ผิดกฎหมาย และเนื่องจากสัตว์เหล่านี้ มีอัตราการสืบพันธุ์ต�่ำ (เช่น O’Brien et al., 2003, Kormos et al., 2014 etc.) การสูญเสียสัตว์เพียงไม่กี่ตัว จึงมีผลกระทบต่อประชากรสัตว์ ไปอีกหลายปี

การส�ำรวจเพื่อการท�ำรายงานฉบับนี้ ได้ท�ำการสังเกตลิงไม่มีหาง 4 ชนิด และชะนีอย่างน้อย 7 ชนิด ในสวนสัตว์ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ บนคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย

สัตว์ในวงศ์ลิงใหญ่ มีสองชนิดที่ขึ้นบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ คือ อุรังอุตังบอร์เนียน (Pongo pygmaeus) และชิมแปนซี (Pan troglodytes) (Ancrenaz et al., 2008 and Oates et al., 2008) ส่วนอีก สองชนิดคือ อุรังอุตังสุมาตรา (P. abelii) และกอริลล่าตะวันตก (Gorilla gorilla) ขึ้นบัญชีไว้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความเสี่ยง ขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (Singleton et al., 2008 and Walsh et al., 2008) โดยเชื่อว่าจ�ำนวนประชากรของทั้งสี่ชนิดมี จ�ำนวนลดลงเป็นอย่างมาก การลักล้อบค้าเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง นับว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่ออุรังอุตังทั้งสองชนิด (Ancrenaz et al., 2008 and Singleton et al., 2008) และการถูกล่าเพื่อกินเนื้อ (ซึ่งท�ำให้มีการจับลูกลิงมาขายผิดกฎหมาย) นับว่า เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งทั้งส�ำหรับกอริลล่าตะวันตกและชิมแปนซี (Walsh et al., 2008 and Oates et al., 2008)

จากรายการชะนีทั้งหมดที่พบนั้น มีอยู่ 6 ชนิด ที่ขึ้นบัญชีแดงไว้ว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ (Anon., 2014) โดยระบุว่า จ�ำนวนประชากรของทั้งหมดนั้น มีจ�ำนวนลดลง การค้าเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของสี่ชนิดที่พบ (ชะนีมือด�ำ Hylobates agilis ชะนีมือขาว H. lar ชะนีบอร์เนียนมูลเลอร์ H. muelleri และชะนีมงกุฏ H. pileatus (Anon., 2014) ในขณะที่อีกสองชนิด (ชะนีชวา H. moloch และชะนีด�ำใหญ่หรือเซียมัง Symphalangus syndactylus) พบว่ามีการค้าเกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย (Nijman, 2005b and pers. comm., cited in Nijman and Geissmann, 2008) ชะนีอื่นที่พบคือ ชะนีแก้ม (Nomascus spp.) พบเฉพาะในเวียดนาม สปป. ลาว กัมพูชา และตอนใต้ของจีน แม้จะมีการคาดการณ์ว่ามาจาก 4 ชนิด (Northern White-cheeked Gibbon Nomascus leucogenys, Southern White-cheeked Gibbon N. siki, Black Crested Gibbon N. concolor, and Red-cheeked Gibbon N. gabriellae), การจ�ำแนกท�ำได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวที่เป็นพันธุ์ผสม ดังนั้นชะนีในกลุ่มชะนีแก้มจึงถูกบันทึกไว้ว่าเป็น Nomascus spp. ซึ่งจ�ำนวนประชากรของทั้งสี่ชนิดนั้นลดลงจากการถูกล่าเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง อาหาร และยา อันนับว่าเป็น ภัยคุกคามต่อความอยู่รอด ในสองชนิดที่พบ คือ Northern White-cheeked Gibbon และ Black Crested Gibbon อยู่ในบัญชีแดงในฐานะที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์ (Bleisch et al., 2008a and 2008b) ในขณะที่อีกสองชนิด จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์ (Manh Ha et al., 2008 and Geissmann et al., 2008)

พบลิงใหญ่ 6 ชนิด ในมาเลเซียและประเทศไทย โดยพบอุรังอุตังบอร์เนียนและชะนีบอร์เนียนมูลเลอร์ทางฝั่ง มาเลเซียตะวันออกในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัค ส่วนอีกสามชนิดที่พบทั้งบนคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย คือ ชะนีมือด�ำ ชะนีมือขาว และชะนีด�ำใหญ่ ในขณะที่ชะนีมงกุฏเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่พบในประเทศไทยเท่านั้น

5 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ การคุ้มครองสัตว์ป่าในมาเลเซีย เกิดขึ้นจากการท�ำงานของสามหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (NRE) ท�ำงานในบทบาทของคณะท�ำงานบริหารส่วนกลางเพื่อ CITES ซึ่งประเทศได้เป็นสมาชิกเมื่อปี 1977 (Anon., undated a) โดยที่มีรัฐต่างๆ 11 รัฐ และรัฐบาลกลางท�ำงานในส่วนของกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (PERHILITAN) รับผิดชอบในการน�ำไปปฎิบัติและบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการอนุรักษ์สัตว์และพืชป่าค.ศ. 2010 (มาตรา 716) ส่วน ธุระที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าในรัฐซาบาห์และซาราวัค อันเป็นรัฐบนเกาะบอร์เนียว (เป็นที่รู้จักในฐานะมาเลเซียตะวันออก) รับผิดชอบโดยหน่วยงานเดียวตามแม่บทกฎหมายของแต่ละรัฐ

มาตรา 716 ได้ขึ้นบัญชีลิงไม่มีหางทั้งหมดไว้ว่าเป็นสัตว์คุ้มครอง หากมีครอบครองหรือใช้ ต้องได้รับใบอนุญาต พิเศษซึ่งออกให้โดย NRE เท่านั้น (Anon., 2010b) นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายและข้อบังคับอื่นๆ เกี่ยวกับสวนสัตว์และ แหล่งท่องเที่ยวด้วย รวมทั้ง ข้อก�ำหนดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า (ปฏิบัติการสวนสัตว์) คศ. 2012 ซึ่งก�ำหนดค่าใบอนุญาต ในการด�ำเนินกิจการสวนสัตว์ไว้ที่ 1,000 ริงกิต (USD 228 เหรียญสหรัฐ) โดยมีการก�ำหนดขนาดของกรงอย่างน้อยส�ำหรับสัตว์ แต่ละประเภทเอาไว้ และข้อก�ำหนดอื่นๆ ในการด�ำเนินการสวนสัตว์ รวมทั้งการปศุสัตว์ การบันทึกข้อมูล และการอบรม เจ้าหน้าที่ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีคู่มือการด�ำเนินงานสวนสัตว์ในมาเลเซีย (Garis Panduan Standard Zoo Malaysia) ให้ข้อมูลเพิ่มเติม (Anon., undated b) เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2012 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมได้ประกาศว่า หากสวนสัตว์ใดไม่ปฏิบัติตามข้อก�ำหนดเหล่านี้ จะถูกปฏิเสธใบอนุญาตเมื่อครบก�ำหนดระยะ ผ่อนผัน 6 เดือน หลังจากมีการน�ำใช้ข้อก�ำหนดใหม่ (Sukumaran, 2012) มีสวนสัตว์ 6 แห่งถูกสั่งปิดโดย PERHILITAN โดยทาง PERHILITAN ได้ระบุว่าสัตว์จากสวนสัตว์เหล่านั้นจะถูกน�ำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติหลังจากที่มีการฟื้นฟูสภาพ (สัตว์ท้องถิ่น) หรือส่งให้สวนสัตว์อื่น (Ng, 2012)

ในปี 2011 มีสถานที่ทั้งหมด 44 แห่งที่อยู่ในข่ายเป็นสวนสัตว์บนคาบสมุทรมลายู (Ismail, 2011) ในปี 2013 มี การปรับแก้ ข้อก�ำหนดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า (ปฏิบัติการสวนสัตว์) คศ. 2012 โดยเปลี่ยนค�ำจ�ำกัดความของสวนสัตว์ จาก “สถานที่หรือบริเวณซึ่งรวบรวมสัตว์ป่าไว้เพื่อประโยชน์แก่การอนุรักษ์ การศึกษา การค้นคว้าวิจัย หรือการพักผ่อน หย่อนใจ และเปิดให้ประชาชนทั่วไป” (Anon., 2012) เป็น “สถานที่หรือบริเวณซึ่งรวบรวมหรือมีสัตว์ป่ามากกว่า 50 ชนิด โดยมีจ�ำนวนรวมตั้งแต่ 100 ตัวขึ้นไป ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ การศึกษา การค้นคว้าวิจัย หรือการพักผ่อน หย่อนใจ และเปิดให้ประชาชนทั่วไป” (Anon., 2013b ) มีสวนสัตว์ 12 แห่งที่ได้รับใบอนุญาตในปี 2013 และมีการเฝ้า ติดตามเป็นระยะ (Anon., 2013c) ส่วนสถานที่ซึ่งไม่เหมาะแก่การเป็นสวนสัตว์ ได้จัดให้เป็นสถานแสดงสัตว์ถาวรหรือ เคลื่อนที่ (“เป็นการจัดแสดงสัตว์ป่า [ไม่ว่าจะถาวร/ชั่วคราว] ในสถานที่ใดๆ ก็ตามและเปิดให้ประชาชนเข้าชม”) (Anon., 2013d) ในปี 2013 PERHILITAN ได้ออกใบอนุญาต 21 ใบ ให้แก่สถานที่แสดงถาวร และอีก 10 ใบ ให้แก่การแสดงแบบ มีการเคลื่อนย้าย จากจ�ำนวนที่สมัครขอเข้ามาทั้งหมด 38 ใบสมัคร (Anon., 2013c) ทั้งนี้ ได้มีการออกใบอนุญาตให้แก่ สวนสัตว์และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดงทั้งหมด 43 แห่ง ในปี 2013

ข้อก�ำหนดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า (ปฏิบัติการสวนสัตว์) คศ. 2013 ไม่ได้รวมการแสดงแบบมีการเคลื่อนย้าย เพื่อแยกกลุ่มลิงไม่มีหางและการน�ำสัตว์ป่าทุกชนิดออกมาแสดง โดยอนุญาตให้มีการจัดแสดงได้โดยสวนสัตว์ ที่มีการขอ ใบอนุญาตจาก PERHILITAN ก่อนเท่านั้น คู่มือการด�ำเนินงานสวนสัตว์ในมาเลเซีย ได้ระบุไว้ค่อนข้างละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอน การฝึกที่อนุญาต และการดูแลสัตว์เพื่อใช้ในกิจกรรมเหล่านี้ โดยไม่อนุญาตให้มีการใช้เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้าใดๆ ที่ ล้อเลียนหรือเสียเกียรติแก่สัตว์เหล่านั้น (Anon., undated b)

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 6 มาตรา 716 มีข้อเรียกร้องให้สวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าต้องปฏิบัติมากกว่าบทเก่า คือพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการอนุรักษ์สัตว์และพืชป่าค.ศ. 1972 (มาตรา 76) บทลงโทษบางอย่างที่เกี่ยวกับการค้าลิงไม่มีหางอย่างผิดกฎหมาย ระบุอยู่ในมาตรา 76 (ตามกรอบที่ 1) แต่เนื่องจากมาตรา 716 ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง ความผิดที่ท�ำตามบทบัญญัติเก่า ไม่สามารถน�ำมาพิจารณาตามบทบัญญัติฉบับปัจจุบัน (Seong, 2012)

มีการออกคู่มือเพื่อใช้ในการขอมีสัตว์ป่า ให้แก่สวนสัตว์ ประชาชนทั่วไป หรือหน่วยงานเอกชน (Anon., undated c) สวนสัตว์ในมาเลเซียมักจะได้รับสัตว์ป่าที่พลัดหลงหรือบาดเจ็บซึ่งพบโดยประชาชนทั่วไปอยู่บ่อยๆ อาจรวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ ไม่ต้องการด้วย (ข้อสังเกตส่วนบุคคล) ด้วยเหตุนี้ ขั้นตอนเหล่านี้จะมีความเชื่อมโยงกับกรณีของการพบอุรังอุตังสองตัวที่ สวนสัตว์ไทปิง ที่มีการอ้างว่าได้รับบริจาคโดยผู้ไม่ประสงค์ออกนาม (ดูในกรอบที่ 1)

พระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ ใกล้สูญพันธุ์ คศ. 2008 (มาตรา 686) เป็นกฎหมายที่สนับสนุนการด�ำเนินการทางกฎหมายของไซเตสในประเทศมาเลเซีย ถือว่าเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลกลาง และมีผลบังคับใช้ทั้งฝั่งคาบสมุทรและฝั่งมาเลเซียตะวันออก กฎหมายฉบับนี้ อนุญาตให้มีการลงโทษบุคคลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยมีบทลงโทษเหมือนกันตามจ�ำนวนการฝ่าฝืน (น�ำเข้าและส่งออก อย่างผิดกฎหมาย การครอบครอง การขาย การโฆษณา การแสดงในที่สาธารณะ การขนย้ายภายในประเทศโดยไม่มี ใบอนุญาตที่ถูกต้อง การเพาะเลี้ยงโดยไม่มีใบอนุญาตจากคณะกรรมการบริหารไซเตส และครอบครอง ขาย โฆษณา หรือ น�ำสัตว์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงดังกล่าวออกแสดง การน�ำเข้าโดยละเมิดข้อก�ำหนด) ผู้ละเมิดจะถูกเรียกปรับ 100,000 ริงกิต (22,800 เหรียญสหรัฐ) ต่อสัตว์หนึ่งตัว และสูงสุดถึง 1,000,000 ริงกิต (227,800 เหรียญสหรัฐ) และ/หรือโทษจ�ำคุกไม่เกิน 7 ปีต่อบุคคล โทษปรับแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องสูงถึง 200,000 ริงกิต (45,600 เหรียญสหรัฐ) ต่อสัตว์หนึ่งตัว และสูงถึง 2,000,000 ริงกิต (455,996 เหรียญสหรัฐ) ต่อหน่วยงาน พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้ก�ำหนดรายการของชนิดสัตว์ต่างๆ ไว้ด้วย ซึ่งได้รวมลิงไม่มีหางทุกชนิด

ประเทศไทยเป็นสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ในปีคศ. 1983 แต่เนื่องจากความไม่เข้มแข็งของกฎหมายและความถี่ของการลักลอบส่งกลับชนิดพันธุ์ออกไป (รวมถึงลิง ไม่มีหาง) ในปี 1991 ส�ำนักเลขาธิการไซเตสได้แนะน�ำให้ประเทศสมาชิกระงับการค้าชนิดพันธุ์ทุกชนิดที่ขึ้นอยู่ในบัญชีกับ ประเทศไทย การระงับดังกล่าวได้รับการยกเลิกในปี 1992 ภายหลังจากที่ได้มีการออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (1992) ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่ท�ำให้การปฏิบัติตามข้อก�ำหนดไซเตสของประเทศมีผลบังคับใช้ โดยมีผลครอบคลุมการ คุ้มครองสัตว์ป่าภายในประเทศด้วย ซึ่งหลายปีถัดมา รัฐบาลไทยได้ออกมายอมรับว่า การระงับการค้านั้น ส่งผลให้ประเทศ สูญเสียรายได้มูลค่าเป็นพันล้านบาท (Rubthong, 1999) พรบ. ฉบับใหม่นี้ ด�ำเนินการโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โครงการกฎหมายไซเตสระดับชาติ เป็นโครงการประเมินความสามารถของกฎหมายระดับประเทศที่จะท�ำงาน ตามอนุสัญญาฯ ได้ประเมินกฎหมายของประเทศไทยในกลุ่มที่หนึ่ง คือมีความเป็นไปได้สูงสุด พระราชบัญญัติสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (1992) ได้ก�ำหนดสัตว์ป่าไว้ราวๆ 1,300 ชนิด โดยมีเพียง 11 ชนิดเท่านั้น ที่เป็นสัตว์มีกระดูก สันหลังชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทย ชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทยล่าสุดที่เพิ่งเพิ่มเติมเข้ามาคือ ช้าง แอฟริกัน Loxodonta Africana ซึ่งน�ำเข้ามาอยู่ในบัญชีนี้เมื่อปี 2015 เพื่อการต่อสู้ปราบปรามการค้างาช้างในประเทศไทย ในปี 2007 คณะท�ำงานพิเศษ CITES/GRASP ได้บันทึกไว้ในขณะนั้นว่าก�ำลังมีการร่างกฎหมายใหม่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าว ก�ำลังด�ำเนินการอยู่ในขณะนี้

7 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ การเว้นโทษ 4 เดือน แก่ผู้ที่มีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองในปี 2003 ท�ำให้มีการจดทะเบียนสัตว์ป่ามากกว่า 1.1 ล้านชนิด (Anon., 2003b) มีการเข้าบุกค้นสวนสัตว์จ�ำนวนหนึ่งในช่วงที่ละเว้นโทษ ท�ำให้เกิดการประชุมระหว่าง ผู้ประกอบการสวนสัตว์และรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอร้องให้หยุดการบุกค้น เพราะท�ำให้ รายได้จากนักท่องเที่ยวลดลงถึง 30% ผู้อ�ำนวยการองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อสส.) ซึ่งเป็นผู้ด�ำเนินการบริหาร สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์ขอนแก่น สวนสัตว์โคราช สวนสัตว์เชียงใหม่ และสวนสัตว์สงขลา ยอมรับว่า ควรจะหยุดการใช้สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับการอนุญาตที่ถูกต้อง แต่การบุกเข้าสวนสัตว์ของต�ำรวจในเครื่องแบบ 100 นาย ไม่ใช่ วิธีที่ดีที่สุดที่จะท�ำให้เกิดผลดังกล่าว (Anon., 2003c)

พรบ. ฉบับ 2535 ยังมีความเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและด�ำเนินการสวนสัตว์ โดยที่สวนสัตว์จะต้องได้รับใบอนุญาต ที่จะต้องต่ออายุทุกๆ 5 ปี (Sukpanich, 2013a) ข้อมูลเกี่ยวกับชนิดและจ�ำนวนของสัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากของมันจะต้อง ส่งเมื่อได้รับใบอนุญาต แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับจ�ำนวนของสัตว์ก่อนการเปิดสวนสัตว์ ต้องมีการรายงานให้ทราบ ด้วยเช่นกัน ในปี 2013 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้บันทึกไว้ว่ามีสวนสัตว์เอกชนในประเทศ 40 แห่ง ที่ด�ำเนินการอย่างถูกกฎหมาย (Sukpanich, 2013b)

ภายหลังจากที่พบว่ามีอุรังอุตังจ�ำนวนมากที่ซาฟารีเวิล์ด ประเทศไทย ที่มาจากการลักลอบน�ำเข้านั้น ส�ำนักเลขาธิการ ไซเตสได้รับแจ้งว่าการครอบครองอย่างผิดกฎหมายของชนิดพันธุ์ที่อยู่ในบัญชีไซเตสนั้น ไม่ถือว่าผิดกฎหมายในประเทศไทย หากจะลงโทษ ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องหาตัวผู้กระท�ำผิดที่รับผิดชอบต่อการน�ำเข้าชนิดพันธุ์มาแสดง ช่องโหว่ใน กฎหมายนี้ ได้มีการน�ำพูดถึงหลายครั้งเมื่อเกี่ยวข้องกับชนิดพันธุ์ในบัญชีไซเตส (Shepherd and Nijman, 2008; Stiles, 2009; Todd, 2011, Doak, 2014; Nijman and Shepherd, 2014 and 2015)

การฟ้องร้องคดีซาฟารีเวิล์ดที่มีอุรังอุตังในครอบครองถึง 57 ตัว ในปี 2004 (ดูเพิ่มเติมในกรอบที่ 2) ได้ด�ำเนินการ ภายใต้พระราชบัญญัติกรมศุลกากร พ.ศ. 2469 (Anon., 2007b) ภายใต้มาตรา 27 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ระบุว่าให้ เรียกค่าปรับสูงถึงสี่เท่าของมูลค่าสินค้าที่ลักลอบน�ำเข้า รวมทั้งค่าอากร และโทษจ�ำคุกไม่เกิน 10 ปี โดยสามารถใช้กับการ ลักลอบน�ำเข้าทุกประเภท (Anon., 2009b)

สมาคมสวนสัตว์และอควอเรี่ยมโลก (World Association of Zoo and Aquariums: WAZA) มีสมาชิกมากกว่า 280 ราย โดยมีทั้งสมาคมระดับประเทศและภูมิภาคเข้าร่วม เช่น สมาคมสวนสัตว์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAZA) ที่เป็น หนึ่งในสมาชิก ประมวลจรรยาบรรณและสวัสดิภาพของสัตว์ที่ก�ำหนดโดย WAZA ได้ถูกน�ำมาใช้ในปี 2003 และก�ำหนดให้ สมาชิก “พยายามที่จะให้แน่ใจได้ว่าแหล่งที่มาของสัตว์เหล่านั้น มาจากสัตว์ที่เกิดภายใต้การดูแลของมนุษย์” และการได้มา ของสัตว์จากป่า “ไม่ท�ำให้เกิดผลร้ายต่อจ�ำนวนประชากรในป่า” (Anon., 2003d) ในปี 2014 WAZA ได้ออกมติ 69.1 เกี่ยวกับกฎหมาย ความยั่งยืน และจรรยาบรรณในการได้มาของสัตว์ ซึ่งได้แนะน�ำให้สมาชิกตรวจสอบที่มาของสัตว์ และ ธุรกิจใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาและขนส่งก่อนที่จะได้มา แม้ว่าเอกสารที่เกี่ยวข้องจะดูเหมือนว่าถูกต้อง หรือมีการ อ้างอิงว่าเป็นสัตว์ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงก็ตาม (Anon., undated d) WAZA ยังได้ขอให้สมาชิกไม่จัดแสดงหรือเกี่ยวข้อง กับการแสดงที่ท�ำให้สัตว์ต้องแสดงในสิ่งที่ต่างไปจากพฤติกรรมปกติ (Mellor et al., 2015)

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 8

ในมาเลเซีย สัตว์ที่ถูกยึดเป็นของกลางหรือช่วยเหลือออกมาจะกลายเป็นสมบัติของรัฐบาล โดยทาง PERHILITAN มีศูนย์ช่วยเหลือขนาดเล็กอยู่จ�ำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีที่ใดเน้นการดูแลลิงไม่มีหาง ก่อนเดือนมกราคม 2013 การดูแลสัตว์ที่ยึดไว้ เป็นของกลางส่วนมากจะด�ำเนินการโดยสวนสัตว์มะละกา แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจากรัฐบาลท้องถิ่น ไปสู่เอกชน PERHILITAN จึงสูญเสียสถานที่ในการรองรับส่วนนี้ไป

ในปี 2013 ข่าวท้องถิ่นรายงานว่า สัตว์เหล่านั้น (รวมทั้งชะนีมือขาว) ยังคงเก็บอยู่ที่ Mines Wonderland (สวนสัตว์ในเมืองขนาดเล็กที่อยู่ติดกับห้างสรรพสินค้า) สองปีให้หลังจากที่สวนสัตว์ถูกปิด (Panirchellvum, 2013a) นักวิจัยของ TRAFFIC เข้าไปตรวจดูสถานที่ในช่วงเวลาดังกล่าวและยืนยันว่ามีชะนีจ�ำนวนหนึ่งหลงเหลืออยู่ สถานที่ดังกล่าว มีลักษณะที่ห่างไกลจากคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ใน คู่มือการด�ำเนินงานสวนสัตว์ แต่ผู้แทนของแผนกดูแลได้กล่าวว่า เนื่องจาก สถานที่นั้นไม่ได้เปิดด�ำเนินการให้เข้าชม จึงไม่อยู่ในข่ายที่ต้องปฏิบัติตามข้อก�ำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวกับขนาดพื้นที่กรง (Panirchellvum, 2013b) ภายหลัง มีการสั่งให้ย้ายชะนีทั้งหมดไปยังสวนสัตว์ไทปิง (Panirchellvum 2013b)

รัฐบาลไทยได้จัดสรรทุนให้แก่ศูนย์ช่วยเหลือ 26 แห่งที่ด�ำเนินงานโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สัตว์ป่าส่วนมากที่ถูกยึดไว้เป็นของกลาง พบ หรือน�ำส่งให้แก่ทางการ หากไม่ได้มีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติโดยทันที ก็จะถูกส่ง ไปยังสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 1327) ตีความว่า ถ้าไม่ทราบตัวเจ้าของ ราชการ จะต้องเก็บรักษาทรัพย์สินนั้น (รวมถึงสัตว์) ไว้ห้าปีก่อนที่จะส่งคืนหรือจัดการด้วยวิธีอื่นที่เหมาะสม (Wipatayotin, 2015) ในปี 2013 กรมอุทยานฯ ยึดของกลางที่เป็นสัตว์มีชีวิตชนิดต่างๆ ได้มากกว่า 10,000 ตัว จากการลักลอบค้า และจับผู้ต้องหา ได้ 642 คน (Sarnsamak, 2014) ในปี 2012 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 20 ล้านบาท (USD 555,221 เหรียญสหรัฐ) เพื่อใช้ เป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์ในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าต่างๆ (Sukpanich, 2013a) โดยประเมินว่าในปี 2013 นั้น ค่าอาหาร ที่ให้แก่สัตว์เหล่านี้สูงถึงเดือนละ 1,700,000 บาท (47,194 เหรียญสหรัฐ) (Fuller, 2013)

© TRAFFIC ชะนีมือขาว Hylobates lar ที่สวนเสือด�ำเนินสะดวก ประเทศไทย

9 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีศูนย์ช่วยเหลือสัตว์อีกหลายแห่งที่เป็นของเอกชน ด�ำเนินการอยู่ในประเทศไทย ซึ่งบางแห่ง เน้นเฉพาะสัตว์บางชนิดเท่านั้น โดยมีสองแห่งที่เน้นเฉพาะการช่วยเหลือชะนี ขณะเดียวกัน ทางกรมอุทยานฯ ได้มีข้อตกลง ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสองแห่ง (เกษตรศาตร์และมหิดล) ที่อนุญาตให้ทั้งสองมหาวิทยาลัยให้ความช่วยเหลือดูแลสัตว์ ที่บาดเจ็บ (ไม่ระบุชื่อในขณะที่มีการสื่อสารเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2014) ขณะนี้ ในประเทศไทยยังไม่มีกลไกที่ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า เอกชนเหล่านี้จะสามารถจดทะเบียนกับกรมอุทยานฯ หรือขอใบอนุญาตหรือเอกสารที่อนุญาตให้ด�ำเนินการได้ ท�ำให้ศูนย์ต่างๆ เหล่านี้ต้องด�ำเนินการหาเงินทุนและด�ำเนินกิจกรรมโดยไม่มีใบอนุญาต

โดยทั่วไป สถานที่เหล่านี้ รายงานว่าได้ให้ความร่วมมือกับกรมอุทยานฯ ในการท�ำงาน โดยผ่านส�ำนักงานของ กรมอุทยานฯ ที่อยู่ในพื้นที่ หรือจากส่วนกลางที่กรุงเทพ ผู้ที่ได้พูดคุยกับนักวิจัยของ TRAFFIC ได้บอกว่า พวกเขาส่งรายงาน ให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่ได้รับชะนีเข้ามายังสถานที่ แต่ไม่มีการด�ำเนินการใดๆ จากทางกรมอุทยานฯ (ไม่ระบุชื่อในขณะที่มี การสื่อสารเมื่อเดือนมิถุนายน 2014) บางคนรายงานว่า ได้รับสัตว์จากประชาชนที่บริจาคให้หรือที่ถูกยึดเป็นของกลางโดย เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ (ไม่ระบุชื่อในขณะที่มีการสื่อสารเมื่อเดือนมิถุนายน 2014) เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ได้เข้าบุกค้นศูนย์ ช่วยเหลือที่ด�ำเนินการโดยองค์กรเอกชน โดยยึดสัตว์ทั้งหมดและส่งไปยังศูนย์ช่วยเหลือของรัฐบาล ซึ่งเป็นข่าวที่มีการรายงาน อย่างกว้างขวางโดยสื่อภายในและสื่อต่างประเทศ

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 10 การส�ำรวจเกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนกันยายน 2013 และเดือนมีนาคม 2014 โดยนักวิจัยสองคนเข้าเยี่ยมชม สถานที่ต่างๆ ในฐานะนักท่องเที่ยว จ่ายค่าเช้าชมเมื่อมีการเรียกเก็บ ท�ำการส�ำรวจพื้นที่ที่เปิดให้ประชาชนเข้าถึงทุกพื้นที่ และเข้าชมการแสดงหรือการโชว์ทุกรายการที่มี ส่วนสถานที่ที่ปิดท�ำการ หรือหยุดท�ำการในวันที่ไปส�ำรวจ ก็จะเข้าไปดูเท่าที่ ท�ำได้ หรือดูจากภายนอกหากไม่สามารถเข้าไป

ในการวิจัยได้มีการบันทึกลิงไม่มีหางทุกตัวที่พบและถ่ายรูปหากท�ำได้ มีการสังเกตประเมินอายุของลิงไม่มีหาง ทุกตัว โดยระบุว่าเป็นลูกลิง/วัยรุ่น (อายุน้อยกว่า 10 ปี) หรือตัวเกือบเต็มวัย/ตัวเต็มวัย (อายุ 10 ปีขึ้นไป) โดยมีการจ�ำแนก ลิงไม่มีหางทุกตัวเท่าที่ท�ำได้จนถึงระดับชนิดพันธุ์ อุรังอุตังที่พบในประเทศไทยถูกบันทึก ไว้ว่าเป็นชนิด Pongo แต่ในเมื่อ ทาง PERHILITAN ของมาเลเซียได้ด�ำเนินการทดสอบอุรังอุตังในสวนสัตว์จนถึงระดับดีเอ็นเอ เมื่อปี 2004 จึงเห็นว่าน่าที่จะ จ�ำแนกได้ในระดับชนิดพันธุ์ ส่วนการจ�ำแนกชนิดพันธุ์ของชะนี ได้ใช้หลักการจ�ำแนก Mootnick (2006) ส�ำหรับกลุ่มชะนี แก้ม (crested gibbons) บันทึกว่าเป็น Nomascus spp. เนื่องจากบันทึกที่ได้ ไม่สามารถจ�ำแนก ได้อย่างน่าเชื่อถือจากรูป ถ่ายที่ได้มาในขณะนั้น (T. Nadler and V. Nijman, pers. comm., 2014)

มีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัตว์จากเจ้าหน้าที่และป้ายของสวนสัตว์ตามที่ท�ำได้ แต่การพิสูจน์ยืนยันท�ำได้ ค่อนข้างยาก ในทุกกรณี จะมีการบันทึกหากเป็นสัตว์ที่แจ้งว่ามีอยู่ แต่นักวิชาการไม่ได้ท�ำการสังเกต โดยแยกชัดเจนในบันทึก จากสัตว์ที่พบจริงๆ จ�ำนวนของสัตว์ที่ระบุในรายงานฉบับนี้ จึงเป็นจ�ำนวนอย่างน้อยที่พบลิงไม่มีหางในแต่ละสถานที่ในช่วง ที่ท�ำการส�ำรวจ

รายชื่อของแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดง บนคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย ได้มาจากความรู้ท้องถิ่น การพูดคุย กับองค์กรเอกชนและบุคคลต่างๆ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งข่าว การค้นข้อมูลจากอินเตอร์เนต และรายชื่อของสถานที่ที่ได้รับ อนุญาตจาก กรมอุทยานฯ ซึ่งพบว่ามีอยู่ทั้งหมด 124 แห่ง อยู่ในมาเลเซีย 46 แห่ง ประเทศไทย 78 แห่ง โดยมีตั้งแต่สวนสัตว์ แบบดั้งเดิม พิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำ ฟาร์มผีเสื้อ สวนสัตว์เลี้ยง ฟาร์มจระเข้ เป็นต้น ภายหลัง ได้มีการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากที่มี การเขียนรีวิวออนไลน์ บล๊อก เวปไซต์ที่พูดคุยเกี่ยวกับสัตว์ เป็นต้น เพื่อที่จะแยกสถานที่ที่อาจจะไม่ได้เลี้ยงลิงไม่มีหางออกไป นอกจากนั้น สถานที่บางแห่งยังติดต่อทางโทรศัพท์ด้วย

นักวิจัยได้ทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่อีก 2 แห่งในมาเลเซีย และ 5 แห่งในประเทศไทยระหว่างที่ท�ำการวิจัย และได้เดินทางไปส�ำรวจ และยังได้ไปส�ำรวจสถานที่ที่รู้ว่าปิดท�ำการ เพราะไม่อาจแน่ใจได้ว่ามีการเคลื่อนย้ายสัตว์ออกจาก สถานที่ (Panirchellvum, 2013a) ทั้งหมดนี้ มีการส�ำรวจสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดง บนคาบสมุทรมลายู 35 แห่ง ในเดือนกันยายนและเดือนพฤศจิกายน 2013 (แผนภาพที่ 1)

11 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ source: TRAFFIC แผนภาพที่ 1 แผนที่ของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดงที่ได้ส�ำรวจเยี่ยมบนคาบสมุทรมลายู

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 12 ในประเทศไทย ได้ท�ำการส�ำรวจเยี่ยมสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดง 59 แห่ง (แผนภาพที่ 2)

เชียงใหม่

อุดรธานี

นครราชสีมา อุบลราชธานี

กรุงเทพมหานคร

สุราษฎร์ธานี

หาดใหญ่

source: TRAFFIC

แผนภาพที่ 2 แผนที่ของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดงที่ได้ส�ำรวจเยี่ยมในประเทศไทย

13 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ หนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ใช้ในการจัดการประชากรสัตว์นอกถิ่นอาศัย (ex situ) บางชนิด โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งที่มา การเกิด การขนย้าย และการตายของสัตว์แต่ละตัว เพื่อใช้ประเมินขนาดและสถานะของประชากรศาสตร์ของ กลุ่มสัตว์ที่ก�ำลังสนใจ และลงไปถึงระดับความหลากหลายทางพันธุศาสตร์ของประชากรสัตว์ในที่เลี้ยงกักขัง หนังสือแสดง สายพันธุ์สัตว์อ้างอิงการมีส่วนร่วมของสถาบันและการรายงานข้อมูลต่างๆ ซึ่งการเก็บข้อมูลระหว่างที่ท�ำวิจัยเกี่ยวกับลิง ไม่มีหางนี้ ได้มีการเปรียบเทียบข้อมูลหนังสือพันธุ์ประวัติสัตว์ 2 เล่ม ระหว่าง หนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ของกอริลล่า ปี 2010 (2010 International Studbook for the Western Lowland Gorilla) (Wilms, 2011) และ หนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ ของอุรังอุตัง ปี 2014 (2014 International Studbook of the Orangutan) และรายงานที่เกี่ยวข้อง (Elder, 2015)

ในแต่ละปี ภาคีของไซเตสจะต้องส่งรายงานประจ�ำปี แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการค้าชนิดพันธุ์ที่ขึ้นบัญชีไซเตส ระหว่างประเทศ โดยจะส่งข้อมูลเข้าไปในฐานข้อมูลการค้าไซเตส ซึ่งบริหารโดยศูนย์การติดตามการอนุรักษ์ของโลก ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme World Conservation Monitoring Centre: UNEP-WCMC) และมีการเก็บข้อมูลไว้กว่า 15 ล้านข้อมูล นับตั้งแต่ปี 1975 เป็นต้นมา โดยมีการตรวจ สอบฐานข้อมูลการค้าไซเตสเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศของลิงไม่มีหางเข้าและออกจากประเทศไทยและมาเลเซีย มาตั้งแต่ปี 1975 ฐานข้อมูลไม่สามารถระบุการเคลื่อนย้ายภายในประเทศ หรือการน�ำเข้า ส่งกลับออกไป หรือส่งย้อนกลับ ภายในประเทศได้ ท�ำให้ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า ในการค้าที่เกี่ยวข้องกับมาเลเซียนั้น มีการค้าใดมาจากฝั่งคาบสมุทร มากกว่าที่จะมาจากฝั่งมาเลเซียตะวันออก © TRAFFIC ลูกลิงชิมแปนซี Pan troglodytes ที่พบเพียงตัวเดียว ในมาเลเซีย พบที่สวนสัตว์ไทปิงและไนท์

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 14

มีการค้นหาข้อมูลออนไลน์ จากเวบไซต์ที่ประกาศโฆษณาและทางสังคมออนไลน์ในคาบสมุทรมาเลเซียและ ประเทศไทยเพื่อค้นหาเกี่ยวกับลิงไม่มีหางและชะนี โดยมีการติดตามการค้าออนไลน์ในประเทศไทย ในช่วงระหว่างเดือน สิงหาคมถึงตุลาคมปี 2015 ค�ำหลักๆ ที่ใช้ในการค้นหา ได้แก่ gibbon (ชะนี) orangutan (อุรังอุตัง) Chimpanzee (ลิง ซิมแฟนซี) ape (ลิงไม่มีหาง) wildlife (สัตว์ป่า) rare animals (สัตว์หายาก) buy (ซื้อ) sell (ขาย) hunter (พรานป่า) hunting (ล่าสัตว์) wildlife for order (สัตว์ป่าสงวนตามใบสั่ง)

อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงจาก www.oanda.com/currency/converter เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2015

15 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ

มีการส�ำรวจพบลิงไม่มีหางทั้งหมด 99 ตัว จาก 8 ชนิดพันธุ์ ในแหล่งท่องเที่ยว 13 แห่งจากทั้งหมด 35 แห่งที่อยู่บน คาบสมุทรมลายู และมีการรายงานเพิ่มเติมอีก 26 ตัว ที่นักวิจัยไม่ได้เห็น แหล่งท่องเที่ยว 8 แห่ง (23%) พบว่ามีการเลี้ยงลิง ไม่มีหาง (ตารางที่ 1) และ 12 แห่ง (32%) มีชะนีอยู่ในความดูแล (ตารางที่ 2) ส่วนอุรังอุตังสุมาตรา ชิมแปนซี และชะนีชวา เป็นเพียงกลุ่มชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทยที่มีการส�ำรวจ สวนสัตว์มาละกามีจ�ำนวนชนิดพันธุ์ของลิงไม่มีหางมาก ที่สุด คือ 6 ชนิดพันธุ์ โดยเป็นลิงไม่มีหาง 2 ชนิดพันธุ์ และชะนี 4 ชนิดพันธุ์ นักวิจัยพบลิงไม่มีหาง 48 ตัวใแหล่งท่องเที่ยว 8 แห่ง โดยเจ้าหน้าที่ประจ�ำสถานที่รายงานแจ้งว่ายังมีเพิ่มเติมอีก 23 ตัว

อุรังอุตังบอร์เนียนเป็นลิงไม่มีหางที่พบมากที่สุด โดยมีถึง 31 ตัว ตามมาด้วยชิมแปนซีที่พบ 14 ตัว ซึ่งที่บูกิตเมรา อุรังอุตังไอร์แลนด์ (Bukit Merah Orangutan Island) มีจ�ำนวนลิงไม่มีหางมากที่สุด โดยพบอุรังอุตังบอร์เนียนถึง 14 ตัว ส่วนที่สวนสัตว์แห่งชาติ (Zoo Negara) เป็นสถานที่แห่งเดียวที่พบลิงไม่มีหางทั้งสามชนิดพันธุ์ และเป็นที่เดียวที่พบอุรังอุตัง สุมาตรา โดยแหล่งท่องเที่ยวทุกแห่งพบว่ามีการเลี้ยงลิงไม่มีหางมากกว่าหนึ่งตัว ยกเว้นที่ (Kuala Lipis Mini Zoo) ซึ่งพบ อุรังอุตังตัวเมียเพียงตัวเดียว ซึ่งต่อมาได้ถูกย้ายมาที่สวนสัตว์ไทปิง (Taiping Zoo) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2015 หลังจากที่ การส�ำรวจเสร็จสิ้นลง (Anon., 2015b)

ตารางที่ 1 สัตว์กลุ่มลิงใหญ่ในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดงบนคาบสมุทรมลายู

สถานที่ที่มีสัตว์ป่าแสดง อุรังอุตัง อุรังอุตัง อุรังอุตังอื่น ชิมแปนซี จ�ำนวนรวม สุมาตรา บอร์เนียน Pongo spp. A’Famosa Animal Safari 5 (7) 5 (7) Bukit Merah Orangutan Island* 14 (24) 14 (24) Johor Zoo* 3 3 Kuala Lipis Mini Zoo* 1 1 Melaka Zoo 2 (3) 1 3 (4) Taiping Zoo and 3 8 11 Zoo Kemaman 6 6 Zoo Negara 2 (5) 1 (3) 2 (7) 5 (15) จ�ำนวนรวม 2 (5) 31 (46) 1 14 (19) 48 (71)

หมายเหตุ: ตัวเลขที่อยู่นอกวงเล็บ แสดงให้เห็นจ�ำนวนของสัตว์ที่นักวิจัยได้ท�ำการสังเกต ตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บได้รวมจ�ำนวน สัตว์ที่มีการสังเกตและสัตว์ที่เจ้าหน้าที่แจ้งว่ามีอยู่ แต่ไม่ได้มีการส�ำรวจ * ถูกระบุไว้ว่าเป็นสถานท่องเที่ยวที่มีการแสดงสัตว์อย่างถาวร ตามพระราชบัญญัติการอนุรักษ์สัตว์ป่า 2010 (ข้อ 716) ฉบับแก้ไขปี 2013

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 16 จากการส�ำรวจของนักวิจัย พบว่ามีอุรังอุตัง 11 ตัวจากทั้งหมด 34 ตัว ที่ประเมินว่าเป็นลูกลิง/วัยรุ่น โดยมีอยู่ที่ บูกิตเมราอุรังอุตังไอร์แลนด์ 8 ตัว และที่ A’Famosa Animal Safari สวนสัตว์แห่งชาติ และ สวนสัตว์เคอมามัน ที่ละ 1 ตัว ข้อมูลที่ส่งไปยังหนังสือพันธุ์ประวัติสัตว์ของอุรังอุตังจากสามแห่งแรก (Elder, 2014) แจ้งว่าสัตว์เหล่านั้นเกิดในสถานที่ที่เลี้ยง ซึ่งทางสวนสัตว์เคอมามัน ไม่ได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ที่มีอยู่กับหนังสือพันธุ์ประวัติสัตว์ในขณะนี้ ส่วนชิมแปนซี พบว่ามีเพียง ตัวเดียวจากทั้งหมด 14 ตัว ที่เป็นลูกลิง ในช่วงที่ท�ำการส�ำรวจ (พบที่สวนสัตว์ไทปิง) ไม่มีหลักฐานใดๆ บ่งชี้ว่ามีการจัดแสดง ของลิงไม่มีหางในสถานที่เหล่านี้บนคาบสมุทรมลายู

ชะนีทั้งหมด 51 ตัว จาก 5 ชนิดพันธุ์ พบในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่า 12 แห่ง และมีรายงานเพิ่มเติมอีก 3 แห่ง แต่ไม่เจอขณะส�ำรวจ (ตารางที่ 2) ชนิดที่พบมากที่สุดคือชะนีมือขาว พบถึง 37 ตัวในสถานที่ 11 แห่ง ซึ่งมีอยู่ 5 แห่งที่เลี้ยง เฉพาะชะนี โดยที่สวนสัตว์มาละกา พบว่ามีชนิดพันธุ์ของชะนีมากที่สุดถึง 4 ชนิด และพบสัตว์ทั้งหมด 12 ตัว ส่วนชนิดพันธุ์ ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทย มีเพียงตัวเดียวที่พบคือชะนีชวาที่สวนสัตว์ยะโฮร์

ตารางที่ 2 ชะนีในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดงบนคาบสมุทรมลายู

สถานที่ที่มีสัตว์ป่าแสดง ชะนีมือขาว ชะนีมือด�ำ ชะนีชวา ชะนี ชะนีด�ำใหญ่ จ�ำนวนรวม Müller’s (เซียมัง) A’Famosa Animal Safari 1 1 Bukit Merah Ecopark* 3 3 Johor Zoo* 4 1 1 6 Kuala Lipis Mini Zoo* 1 1 Kuantan Mini Zoo* 2 2 Melaka Zoo 5 4 1 2 12 Mines Wonderland* 2 (5) 2 (5) Perlis Snake and Reptile 1 1 Farm* Sunway Lagoon Wildlife Park 2 2 Taiping Zoo and Night Safari 9 2 11 Zoo Kemaman* 2 2 Zoo Negara (สวนสัตว์แห่งชาติ) 6 2 8 จ�ำนวนรวม 37 (40) 5 1 1 7 51 (54)

หมายเหตุ: ตัวเลขที่อยู่นอกวงเล็บ แสดงให้เห็นจ�ำนวนของสัตว์ที่นักวิจัยได้ท�ำการสังเกต ตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บได้รวมจ�ำนวน สัตว์ที่มีการสังเกตและสัตว์ที่เจ้าหน้าที่แจ้งว่ามีอยู่ แต่ไม่ได้มีการส�ำรวจ * ถูกระบุไว้ว่าเป็นสถานท่องเที่ยวที่มีการแสดงสัตว์อย่างถาวร ตามพระราชบัญญัติการอนุรักษ์สัตว์ป่า 2010 (ข้อ 716) ฉบับแก้ไขปี 2013

ข้อมูลที่ได้จากเจ้าหน้าที่สวนสัตว์และป้ายข้อมูลที่แสดง ระบุว่าสวนสัตว์หลายแห่งได้รับลิงไม่มีหางมาจากสวนสัตว์ มาละกาหรือสวนสัตว์แห่งชาติ (Zoo Negara) โดยอดีตเจ้าหน้าที่จากสวนสัตว์แห่งชาติ ให้ข้อมูลว่ามีชิมแปนซีอย่างน้อย หนึ่งตัวที่ได้รับมาจากสวนสัตว์ลอนดอน และอีกตัวมาจาก (Johor Safari Park) ที่ปิดท�ำการไปนานแล้ว (ไม่ระบุชื่อในขณะที่ มีการสื่อสารเมื่อปี 2015) ชะนีบางตัวมีข้อมูลว่าได้มาจากป่า (ชะนีมือขาวทั้งหมดที่สวนสัตว์ควนตันมินิซูและที่ฟาร์มงูเปอร์ลิส

17 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ ชะนี Müller’s ที่มาละกา และชะนีชวาที่สวนสัตว์ยะโฮร์) หรือมีประชาชนน�ำมามอบให้ (ที่สวนสัตว์ควนตันมินิซูหนึ่งตัว และที่ยะโฮร์สองตัว)

ข้อมูลการค้าของไซเตส แสดงให้เห็นถึงการน�ำเข้าลิงไม่มีหางทุกชนิดพันธุ์ ที่ตรวจพบว่าเข้ามายังมาเลเซีย รวมทั้ง ชิมแปนซี กอริลล่าตะวันตก และชะนีชวา โดยพบว่ามีชิมแปนซีถึง 37 ตัวที่บันทึกไว้ว่าน�ำเข้ามายังมาเลเซีย และส่งออกไป 22 ตัว ตั้งแต่ปี 1975 อุรังอุตังบอร์เนียน 8 ตัวถูกน�ำเข้ามาระหว่างปี 1986 และ 1987 และส่งออกไป 20 ตัว ระหว่างปี 1995 และ 2007 อุรังอุตังสุมาตราที่จับได้ 6 ตัว ถูกส่งออกไปยังอินโดนีเซียในปี 2005 และสิงคโปร์รายงานว่าได้รับอุรังอุตัง สุมาตราที่เกิดในกรงเลี้ยง 1 ตัว จากมาเลเซีย ในปีเดียวกัน ไม่พบบันทึกการน�ำเข้าอุรังอุตังสุมาตรามายังมาเลเซีย คงมีแต่ ชะนีมือขาวที่มีการส่งออกเป็นจ�ำนวนมาก ด้วยจ�ำนวนถึง 21 ตัว ระหว่างปี 1980 และ 2009 โดยมีการบันทึกว่าน�ำเข้าเพียง ตัวเดียวในปี 1991 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ชะนีมือขาวทั้งหมดที่พบระหว่างการส�ำรวจนั้นมีที่มาจากภายในประเทศ ถึงแม้ว่าจะไม่พบกอริลล่าระหว่างการส�ำรวจบนคาบสมุทรมลายู แต่มีบันทึกว่ากอริลล่าตะวันตก 4 ตัวที่เกิดในกรงเลี้ยง ถูกส่ง มาจากประเทศไนจีเรียในปี 2001 (มีบันทึกว่า กอริลล่าที่จับได้จากป่า 3 ตัว ถูกส่งมาในปี 2002 จากไนจีเรียเช่นกัน) กอริลล่า ทั้ง 4 ตัว มีใบอนุญาตไซเตสอย่างถูกต้อง แต่ต่อมาภายหลังค้นพบว่า น่าจะถูกจับมาจากป่าในประเทศแคเมอรูน มากกว่าที่ จะเกิดในกรงเลี้ยงในประเทศไนจีเรียตามที่อ้าง ข้อมูลการค้าของไซเตสบันทึกการส่งออกกอริลล่าตะวันตกทั้ง 4 ตัว จาก มาเลเซียไปยังประเทศแอฟริกาใต้ในปีนั้น ก่อนที่จะมีการส่งกลับไปยังแคเมอรูน (ดูในกรอบที่ 1) ไม่พบบันทึกการส่งออกสัตว์ อีก 3 ตัวที่น�ำเข้ามาในปี 2002 และนี่เป็นเพียงแหล่งอ้างอิงเดียวที่พบสัตว์ทั้งสามตัวนั้น

หนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ของอุรังอุตัง ปี 2014 (Elder, 2015) เชื่อมโยงสัตว์ 141 ตัวกับสถานที่ 9 แห่งบน คาบสมุทรมลายู โดยมี 20 ตัว เดินทางมาถึงก่อนหรือระหว่างปี 1975 (ปีที่ไซเตสมีผลบังคับใช้) สัตว์ 45 ตัว ถูกบันทึกไว้ว่า ยังอยู่ในคาบสมุทรในสถานที่ 5 แห่ง คือ บูกิตเมราอุรังอุตังไอร์แลนด์ สวนสัตว์แห่งชาติ สวนสัตว์มะละกา เอฟอร์โมซา และ สวนสัตว์ไทปิง พบอุรังอุตังในสถานที่อีกสองแห่ง (กัวลาลิปิสมินิซูและสวนสัตว์เคอมามัน) ระหว่างการส�ำรวจ โดยทั้งสอง ที่ไม่ได้ส่งข้อมูลแจ้งไปยังหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ ส่วนอุรังอุตัวที่พบเพียงตัวเดียวที่กัวลาลิปิสมินิซูระหว่างการส�ำรวจนั้น ถูกบันทึกไว้ในหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ว่าได้มีการย้ายไปอยู่ที่สวนสัตว์ไทปิงในปี 2015

หนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ระบุว่า อุรังอุตังที่อยู่บนคาบสมุทรมลายู 75 ตัว จากที่บันทึกไว้ 141 ตัว เป็นสัตว์ที่มาจาก การจับออกมาจากป่าหรือไม่รู้ที่มา ข้อมูลจากรายงานของหนังสือฉบับดั้งเดิมแสดงให้เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับการกระท�ำ ของฝ่ายบังคับใช้กฎหมาย โดยพบว่า 52 ตัว มีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย หรือถูกบันทึกครั้งแรกที่สวนสัตว์ มาละกา (ซึ่งด�ำเนินการโดย PERHILITAN จนถึงปี 2013) ถึงแม้ว่าทั้ง 52 ตัวนี้ จะถูกน�ำมาอยู่ในกรงเลี้ยงอันเป็นผลเนื่องมาจาก การกระท�ำที่ผิดกฎหมาย แต่ไม่มีหลักฐานที่ะระบุว่าสวนสัตว์ที่รับสัตว์ไปดูแลต่อ ได้กระท�ำผิดกฎหมายในการขอไปเลี้ยง

ในปี 2004 เมื่อ PERHILITAN ได้ท�ำการทดสอบดีเอ็นเอกับอุรังอุตัง 58 ตัวที่อยู่ในความดูแลของสวนสัตว์ พบว่ามี อุรังอุตัง 24 ตัว จาก 26 ตัว ที่ไม่รู้แหล่งที่มาหรืออาจได้มาจากป่า และด้วยความเชื่อมโยงที่ไม่ชัดเจนกับการบังคับใช้กฎหมาย ก็จะถูกบันทึกว่าเป็นของขวัญในสวนสัตว์ที่มาเลเซีย ซึ่งมีอุรังอุตังสุมาตรา 6 ตัว ที่ย้ายมาจากเอฟอร์โมซา มาอยู่ที่สวนสัตว์ มาละกาในปี 2005 คาดว่าน่าจะเป็นสัตว์ที่มาจากการยึดเป็นของกลาง และถูกส่งกลับไปยังอินโดนีเซียในปีนั้น ซึ่งพอที่จะ สรุปได้ว่า PERHILITAN ไม่ได้ตั้งค�ำถามหรือด�ำเนินการอย่างถูกต้องทางกฎหมายกับสัตว์ที่เหลืออีก 18 ตัว

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 18 © TRAFFIC สถานอนุบาลอุรังอุตัง Pongo spp. ที่ Bukit Merah Orangutan Island ประเทศมาเลเซีย © TRAFFIC ชะนีมือขาว Hylobates lar ที่สวนสัตว์ควนตันมินิซู ประเทศมาเลเซีย

19 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ ในส่วนของรายละเอียดข้อมูลในหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ การระบุวันเกิดของอุรังอุตังที่เกิดในกรงเลี้ยงถือว่า “เป็นที่รู้กัน” ในขณะที่อุรังอุตังที่ได้มาจากป่าหรือไม่รู้ต้นก�ำเนิด จะใช้การประมาณอายุสัตว์ตอนที่มีการย้ายเข้าสู่กรงเลี้ยง โดยประมาณวันเกิด และลงบันทึกวันแรกที่มีการเคลื่อนย้าย ในบางกรณี การประมาณวันเกิดมีความแตกต่างกับความเป็นจริง แค่จ�ำนวนเดือน แต่ส่วนมากจะต่างอยู่ประมาณ 1- 2 ปี ในแต่ละกรณี ใช้วิธีประเมินปีเกิดก่อน มีอุรังอุตัง 18 ตัว ที่ต้องแยก จากการนับจ�ำนวน เพราะไม่มีการลงบันทึกวันเกิดในหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ ส่วนอายุแรกเริ่มที่มีการบันทึกสัตว์ในที่เลี้ยง อีก 60 ตัว มีความแตกต่างกันตั้งแต่อายุ 1 ปี จนถึง 25 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ 6 ปี โดยที่ไม่ค�ำนึงถึงการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่มี อ�ำนาจทางกฎหมายใดๆ สัตว์ 49 ตัว (82%) มีอายุ 10 ปีหรือน้อยกว่า ณ ตอนที่มีการบันทึกครั้งแรกที่ถูกน�ำมาเลี้ยงในกรง

มีการค้นหาทางอินเตอร์เนต เกี่ยวกับเวบไซต์ที่ลงการขายออนไลน์ที่เป็นที่รู้จัก แต่ไม่พบหลักฐานการขายลิงไม่มี หางอย่างผิดกฎหมาย แม้ว่านักวิจัยจะพบหลักฐานว่ามีการเสนอขายชะนีทางสื่อออนไลน์ การเข้ายึดลูกอุรังอุตังสองตัวที่ ประกาศขายทางเฟซบุคในเดือนกรกฎาคม 2015 ยืนยันว่าการลักลอบค้าเกิดขึ้นผ่านทางสื่อออนไลน์

ในประเทศไทย เจอลิงไม่มีหาง 250 ตัวในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดง 30 แห่งจากทั้งหมด 57 แห่ง จ�ำแนก ได้เป็น 6 ชนิดพันธุ์ และมี 2 ตัว ที่ไม่สามารถระบุถึงระดับสกุลได้ มีสัตว์อีก 22 ตัว ที่รายงานว่ามีอยู่ แต่นักวิจัยไม่ได้เห็น แหล่งท่องเที่ยว 13 แห่ง (23%) พบว่ามีการเลี้ยงลิงไม่มีหาง (ตารางที่ 3) และ 26 แห่ง (46%) มีชะนีอยู่ในความดูแล (ตารางที่ 4) ซึ่งชนิดพันธุ์ในกลุ่มลิงใหญ่ (อุรังอุตัง ชิมแปนซี และกอริลล่าตะวันตก) หรือกลุ่มชะนีแก้ม Nomascus spp. ทั้ง 14 ตัว ไม่ได้เป็นสัตว์ท้องถิ่นของประเทศไทย นักวิจัยยังได้เห็นชะนีมือขาวเพิ่มเติมอีก 7 ตัว และได้รับการเล่าให้ฟังว่า มีชะนีอีกตัวที่ถูกใช้เป็นองค์ประกอบฉากในการถ่ายรูปในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ชะนีทั้ง 7 ตัวนี้ ไม่ได้รวมอยู่ในผลการ วิจัยของรายงานฉบับนี้

อุรังอุตัง 51 ตัว ชิมแปนซี 36 ตัว และกอริลล่าตะวันตกอีก 1 ตัว ถูกพบในช่วงที่มีการส�ำรวจ โดยพบอุรังอุตัง ในแหล่งท่องเที่ยว 11 แห่งในประเทศไทย ซึ่ง 6 แห่ง ด�ำเนินการโดยองค์การสวนสัตว์ (อสส) (Anon., undated e) จากค�ำ บอกเล่าของเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ มีสัตว์ในกลุ่มลิงใหญ่จ�ำนวนหนึ่งที่ถูกเก็บไว้ในพื้นที่เชื่อมต่อกับสวนสัตว์ แต่ไม่เปิดให้ประชาชน เข้าชม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รวมอยู่ในการส�ำรวจ

สวนสัตว์พาต้ามีสัตว์แสดงอยู่ในพื้นที่สองชั้นบนสุดของห้างสรรพสินค้า และยังเก็บสัตว์ส่วนหนึ่งไว้บนดาดฟ้าซึ่ง ไม่ได้ให้ประชาชนเข้าชม นักวิจัยได้รับการบอกเล่าจากเจ้าหน้าที่ว่าทางสวนสัตว์ยังได้เลี้ยงอุรังอุตังตัวผู้ 3 ตัว และชิมแปนซี และชะนีอายุมากอีกจ�ำนวนหนึ่งไว้ที่นนทบุรี โดยสถานที่ที่นนทบุรีซึ่งเป็นของสวนสัตว์พาต้านี้ ได้ตกเป็นข่าวเกี่ยวกับการ เข้าบุกค้น โดยระบุว่ามีชิมแปนซีอยู่ในหมู่สัตว์ที่เก็บไว้ที่นั่น (Anon., 2003e) ไม่มีข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับแหล่งที่มาของลิงไม่มีหาง ที่ถูกเก็บรวมรวมจากเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ในประเทศไทย นักวิจัยได้เจออุรังอุตัง 26 ตัว ที่ซาฟารีเวิล์ด แต่ได้รับการบอกเล่าโดย พนักงานว่ามีทั้งหมด 30 ตัว ที่อยู่ในสวน ทั้งนี้ จากวีดิโอที่ไม่ได้ระบุวันที่ ซึ่งซื้อขณะที่ไปเยี่ยมชมสถานที่ ได้อ้างว่ามีอุรังอุตัง ทั้งหมด 60 ตัว และถูกเรียกว่าเป็น “ฝูงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย” (Anon., undated f)

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 20 ตารางที่ 3 วงศ์ลิงใหญ่ในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดงในประเทศไทย

สถานที่ที่มีสัตว์ป่าแสดง อุรังอุตัง ชิมแปนซี กอริลล่า ชิมแปนซี สวนสัตว์บึงฉวาก 2 2 เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี 1 (2) 1 (2) สวนสัตว์เชียงใหม่ 1 1 สวนสัตว์ดุสิต 1 4 5 สวนสัตว์เปิดเขาเขียว 4 (7) 2 (4) 6 (11) สวนสัตว์ขอนแก่น 1 (1) 1 (2) สวนสัตว์โคราช 2 4 (9) 6 (11) สวนสัตว์ลพบุรี 4 (7) 3 7 (10) สวนสัตว์พาต้า 5 2 1 8 สวนสัตว์ภูเก็ต 1 1 ซาฟารีเวิล์ด 26 (30) 1 27 (31) สวนสัตว์และฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ 4 18 22 สวนสัตว์สงขลา (1) 1 (2) 1 (3) จ�ำนวนรวม 51 (62) 36 (46) 1 88 (109)

หมายเหตุ: ตัวเลขที่อยู่นอกวงเล็บ แสดงให้เห็นจ�ำนวนของสัตว์ที่นักวิจัยได้ท�ำการสังเกต ตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บได้รวมจ�ำนวน สัตว์ที่มีการสังเกตและสัตว์ที่เจ้าหน้าที่แจ้งว่ามีอยู่ แต่ไม่ได้มีการส�ำรวจ

ชะนีทั้งหมด 162 ตัว พบในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่า 26 แห่ง ในประเทศไทย (ตารางที่ 4) โดยบันทึกไว้ว่ามี 4 ชนิดพันธุ์ และสามารถจ�ำแนกได้ถึงระดับสกุลแค่เพียง 16 ตัว (เป็นกลุ่มชะนีแก้ม Nomascus spp. 14 ตัว และชะนี Hylobates spp. อีก 2 ตัว) โดยพบว่ามีสถานที่ 2 แห่ง ที่มีชะนีถึง 21 ตัว ถือว่าเป็นจ�ำนวนที่มากที่สุดที่พบภายในสถานที่เดียว ได้มีการพบชะนีที่เป็นชนิดพันธุ์ท้องถิ่นทั้ง 4 ชนิด ซึ่งพบว่าเจอชะนีมือขาวมากที่สุด (107 ตัว ในสถานที่ 24 แห่ง) โดยใน 15 แห่ง ชะนีมือขาวเป็นเพียงชนิดเดียวที่มีการเลี้ยง ส่วนชนิดที่พบมากที่สุดอันดับสองคือ ชะนีมงกุฏ พบ 34 ตัวในสถานที่ 11 แห่ง ส่วนชะนีมือด�ำพบแค่เพียง 2 ตัว และชะนีใหญ่หรือเซียมัง พบ 3 ตัวเท่านั้น นอกจากนั้น พบชะนีแก้ม (crested gibbons) ที่เป็นชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทย 14 ตัว จากสถานที่ 7 แห่ง

21 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ ตารางที่ 4 ชะนีในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าแสดงในประเทศไทย

สถานที่ที่มีสัตว์ป่าแสดง ชะนีมือขาว ชะนีมือด�ำ ชะนีมงกุฏ ชะนีอื่นๆ ชะนีแก้มขาว ชะนีด�ำใหญ่ จ�ำนวนรวม (Nomascus spp.) สวนสัตว์มินิซูเอเชียซาฟารี เขาหลัก 2 2 สวนสัตว์บึงฉวาก 5 2 7 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง* 17 1 18 สวนสัตว์เชียงใหม่ 4 1 1 2 8 สวนเสือด�ำเนินสะดวก 2 2 สวนสัตว์ดุสิต 5 7 3 15 หัวหินซาฟารีแอนแอดเวนเจอร์พาร์ค (1) (1) สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย/ 18 3 21 สวนสัตว์หัวหิน* ไอส์แลนด์ซาฟารีเกาะสมุย 1 1 สวนสัตว์เปิดเขาเขียว 2 2 3 3 10 ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขา 3 3 ท่าเพชร ศูนย์ลิงสมุย 1 1 ฟาร์มงูและศูนย์ฝึกลิงกระบี่ 2 2 สวนสัตว์ลพบุรี 8 2 10 โรงเรียนลิงเชียงใหม่ 2 2 มอนสเตอร์เวิล์ดพัทยา 1 1 สวนสัตว์โคราช 10 9 2 21 สวนนงนุช พัทยา 1 1 สวนสัตว์พาต้า 1 3 2 1 7 สนามยิงปืนภูเก็ตและโรงเรียนฝึกสอนลิง 2 2 สวนสัตว์ภูเก็ต 5 5 สวนสัตว์เปิดซาฟารีปาร์ค กาญจนบุรี 1 1 ซาฟารีเวิล์ด 1 1 ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้ 3 3 สามพราน สวนสัตว์และฟาร์มจระเข้ 3 3 6 สมุทรปราการ สวนสัตว์สงขลา 7 1 2 10 สวนช้างไทยทอง เทพประสิทธิ์ 2 2 จ�ำนวนรวม 107 (108) 2 34 2 14 3 162 (163)

หมายเหตุ: ตัวเลขที่อยู่นอกวงเล็บ แสดงให้เห็นจ�ำนวนของสัตว์ที่นักวิจัยได้ท�ำการสังเกต ตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บได้รวมจ�ำนวน สัตว์ที่มีการสังเกตและสัตว์ที่เจ้าหน้าที่แจ้งว่ามีอยู่ แต่ไม่ได้มีการส�ำรวจ * ถูกระบุไว้ว่าเป็นสถานีเพาะเลี้ยงของรัฐบาลแต่เปิดให้ประชาชนเข้าชม

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 22 จากจ�ำนวนอุรังอุตัง 51 ตัว ที่พบในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย พบว่ากว่า 30 ตัว (58%) ถูกจ�ำแนก ว่าเป็นวัยเด็ก/วัยรุ่น เกือบทั้งหมดอยู่ในสถานที่ 3 แห่ง คือ ซาฟารีเวิล์ด มี 22 ตัว สวนสัตว์ลพบุรี มี 4 ตัว และที่สวนสัตว์ พาต้า มี 3 ตัว ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นตัวอ่อนที่ยังอยู่ในความดูแลของแม่ โดยมีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้อยู่ในสถานที่ข้างต้น สถานที่ทั้งสามแห่งดังกล่าวเลี้ยงลูกอุรังอุตังและวัยรุ่น มากกว่าตัวเกือบเต็มวัยและตัวเต็มวัย (แผนภาพที่ 3) และมีโชว์แสดง และ/หรือการถ่ายรูปคู่โดยใช้อุรังอุตัง ลูกอุรังอุตังที่เหลือพบที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ซึ่งมีรายงานว่าเป็นสัตว์ที่เกิดในกรงเลี้ยง

แผนภาพที่ 3 จ�ำนวนอุรังอุตังวัยเด็ก/วัยรุ่น (infant/juvenile) และตัวเกือบเต็มวัย/ตัวเต็มวัย (sub-adult/adult) ที่พบในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าในประเทศไทย

อักษรย่อ: BC: Bueng Chawang (บึงฉวาก), CMZ: Zoo (สวนสัตว์เชียงใหม่), DZ: (สวนสัตว์ดุสิต), KKO: (สวนสัตว์เปิดเขาเขียว), KKZ: Khon Kaen Zoo (สวนสัตว์ขอนแก่น), KZ: Korat Zoo (สวนสัตว์โคราช), LZ: Lopburi Zoo (สวนสัตว์ลพบุรี), PZ: (สวนสัตว์พาต้า), PhZ: (สวนสัตว์ภูเก็ต), SW: Safari World (ซาฟารีเวิล์ด), SCF: Samutprakarn Farm & Zoo (ฟาร์มจระเข้และสวน สัตว์สมุทรปราการ)

พบว่ามีชิมแปนซี 15 ตัว (42%) จากจ�ำนวน 36 ตัวที่พบในประเทศไทย ถูกจ�ำแนกว่าเป็นวัยเด็ก/วัยรุ่น (แผนภาพ ที่ 4) โดยพบที่ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ 13 ตัว และยังพบว่ามีตัวเกือบเต็มวัย/ตัวเต็มวัยอีก 5 ตัว ส่วนที่ สวนสัตว์เชียงใหม่และซาฟารีเวิล์ด พบที่ละ 1 ตัว ซึ่งที่ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการและซาฟารีเวิล์ดมีการจัด แสดงโชว์และถ่ายรูปคู่กับชิมแปนซี

23 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ แผนภาพที่ 4 จ�ำนวนชิมแปนซีวัยเด็ก/วัยรุ่น (infant/juvenile) และตัวเกือบเต็มวัย/ตัวเต็มวัย (sub-adult/adult) ที่พบในสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าในประเทศไทย

KKZ SCF

อักษรย่อ: BC: CMNS: (เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี), DZ: Dusit Zoo (สวนสัตว์ดุสิต), KKO: Khao Kheow Open Zoo (สวนสัตว์เปิดเขาเขียว), LZ: Lopburi Zoo (สวนสัตว์ลพบุรี), KZ: Korat Zoo (สวนสัตว์โคราช), PZ: Pata Zoo (สวนสัตว์พาต้า), SW: Safari World (ซาฟารีเวิล์ด), SCF: Samutprakarn Crocodile Farm & Zoo (ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ) , SZ: Songkhla Zoo (สวนสัตว์สงขลา) © TRAFFIC ชะนีแก้ม Nomascus spp. ที่สวนสัตว์ลพบุรี

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 24 ข้อมูลการค้าของไซเตสบันทึกการน�ำเข้าลิงไม่มีหางที่มีชีวิตทั้งสามชนิดสู่เมืองไทยตั้งแต่ปี 1975 เป็นชนิดพันธุ์ ท้องถิ่นหนึ่งชนิด (ชะนีมือขาว) และอีกสองชนิดที่ไม่ใช่พันธุ์ท้องถิ่น (ชิมแปนซีและอุรังอุตังบอร์เนียน) มีบันทึกการส่งออก ลิงไม่มีหาง 109 ตัว จากประเทศไทยตั้งแต่ปี 1975 โดย 61 ตัว (56%) อยู่ในรายการแหล่งที่มาว่าเป็น code I หมายถึง ได้มาจากการจับหรือยึดเป็นของกลาง ในจ�ำนวนนี้ รวมอุรังอุตังบอร์เนียน 58 ตัวที่ถูกส่งกลับไปยังอินโดนีเซียในปี 2006 และ 2007 บันทึกของไซเตสแสดงให้เห็นว่ามีการน�ำชิมแปนซีเข้ามายังประเทศไทยถึง 20 ตัวระหว่างปี 1979 และ 2001 โดยที่ไม่มีตัวใดมีต้นก�ำเนิดมาจากรัฐบอร์เนียวซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย พบว่ามี 5 ตัวที่มาจากอิสราเอลในปี 2001 โดยหนึ่งในนั้น ถูกบันทึกไว้ว่าถูกยึด (หมายเหตุ code I) มีการส่งชิมแปนซีออกจากประเทศไทย 8 ตัว โดยรวมถึง 6 ตัวที่มีต้นทางมาจาก รัสเซียที่ส่งไปยังฟิลิปปินส์ในปี 1994 ภายใต้หมายเหตุ code Q ซึ่งระบุไว้ว่าเพื่อการใช้ในละครสัตว์หรือการแสดง

ขณะส�ำรวจ ไม่พบบันทึกการน�ำเข้าของสัตว์สองชนิดพันธุ์ คือ กอริลล่าตะวันตก และชะนีแก้ม โดยพบว่ามีการส่ง ออกชะนีแก้มด�ำ (Black-crested Gibbon ) 4 ตัว จากประเทศไทย ทั้งหมดนี้ พบว่ามีการน�ำเข้าอุรังอุตัง 5 ตัว สู่ประเทศไทย มาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 2 ตัว ในปี 1982 และ เสียชีวิตหลังจากออกลูก 1 ตัว (ซึ่งยังไม่มีการผสมพันธุ์) ส่วนอีก 3 ตัว ที่เหลือนั้น ส่งมาจากประเทศไต้หวัน ในปี 2001 ซึ่งตกลูก 3 ตัว โดยมีเพียงตัวเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ เนื่องจากไม่มีข้อมูลการค้า ใดๆ เกี่ยวกับอุรังอุตังทั้ง 14 ตัว ที่บอกว่ามีการ น�ำเข้าเพื่อซาฟารีเวิล์ดก่อนที่จะมีการตรากฎหมายเพื่อการปฏิบัติตามไซเตส ในปี 1992 หรือการส่งอุรังอุตัง 36 ตัวจาก ประเทศไทยไปยังประเทศกัมพูชาในปี 2003 และ 2004 (ดูกรอบที่ 2)

หนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ของอุรังอุตัง ปี 2014 เชื่อมโยงสัตว์ 39 ตัวกับสถานที่ 7 แห่งในประเทศไทย โดยมี อุรังอุตัง 2 ตัว เดินทางมาถึงก่อนไซเตสมีผลบังคับใช้ สวนสัตว์ทั้ง 6 แห่ง ขององค์การสวนสัตว์ได้ให้ข้อมูลแก่หนังสือแสดง สายพันธุ์สัตว์เกี่ยวกับอุรังอุตังที่มีอยู่ รวมทั้งสวนสัตว์พาต้าด้วยที่มีการบันทึกไว้ว่ามีสัตว์อยู่ความดูแล สวนสัตว์พาต้า เชื่อมโยง กับสัตว์จ�ำนวน 5 ตัว โดยสองตัวถูกระบุไว้ว่ายังอยู่ แต่อีกสามตัวระบุไว้ว่า “ขาดการติดตาม” ซึ่งเป็นการระบุเมื่อไม่มีข้อมูล ล่าสุดที่สามารถใช้ได้ และไม่สามารถจะตรวจสอบได้ว่าสัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว

จากจ�ำนวน 39 ตัว มีอยู่ 13 ตัวที่บันทึกไว้ว่าเกิดในกรงเลี้ยง มีอยู่ 12 ตัวที่จับมาจากป่า และอีก 14 ตัวไม่ทราบ แหล่งที่มา ซึ่งอุรังอุตัง 21 ตัว ถูกบันทึกโดยหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ว่าอยู่ในสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย คิดเป็น 41% ของจ�ำนวนที่พบขณะที่มีการออกส�ำรวจ ไม่มีการบันทึกการซื้อใหม่หรือการเกิดลงในหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ตั้งแต่ที่การ ส�ำรวจเสร็จสิ้น

รายละเอียดเพิ่มเติมจากรายงานต้นฉบับของหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์เปิดเผยว่า มีสัตว์ 4 ตัว ที่ได้มาจาก ประชาชนหรือบุคคล และอีก 3 ตัว มาจากศูนย์ช่วยเหลือในไต้หวัน โดยมี 1 ตัว ที่เกิดที่นี่ อีกส่วนหนึ่ง ได้รับมาจากหน่วยงาน บังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย ซึ่งมี 2 ตัวที่เจ้าหน้าที่ต�ำรวจน�ำมามอบให้หลังจากที่พบในกระสอบ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะ สืบหาต้นก�ำเนิดของอุรังอุตังที่พบเจอในระหว่างการส�ำรวจ

เนื่องจากมีอุรังอุตังจ�ำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่พบขณะส�ำรวจ ที่มีข้อมูลในหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ จึงเป็น ไปไม่ได้ที่จะประเมินอายุเมื่อตอนที่มาถึงของประชากรสัตว์ที่อยู่ในสถานที่เลี้ยงในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลนี้ จากสัตว์ 26 ตัว ที่มาจากป่าหรือไม่ทราบแหล่งก�ำเนิด มีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้ประมาณวันเกิด ส่วนสัตว์อีก 25 ตัว มีการบันทึกอายุ ตอนที่มาถึงสถานที่เหล่านั้น โดยมีอายุในช่วง 1 ถึง 15 ปี โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ปี ซึ่งอุรังอุตัง 2 ตัวที่มีอายุมากกว่า 10 ปี ณ ตอน

25 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ ที่บันทึกครั้งแรกในสถานที่เลี้ยง เข้ามายังประเทศไทยจากประเทศไต้หวัน และไม่มีข้อมูลแสดงว่าสัตว์ทั้งสอง มีอายุเท่าไหร่ เมื่อตอนที่เดินทางไปถึงศูนย์ช่วยเหลือที่นั่น

หนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ของกอริลล่าป่าตะวันตก ปี 2010 (Wilms, 2011) บันทึกไว้ว่ามีกอริลล่าเพียง 2 ตัว ที่ เชื่อมโยงกับประเทศไทย ทั้งคู่เชื่อมโยงกับสวนสัตว์พาต้าและการจับมาจากป่า ตัวผู้ เดินทางมาถึงประเทศไทยในปี 1984 เมื่อมีอายุประมาณ 10 ปี แต่มีการบันทึกว่าถูกเลี้ยงไว้ที่ประเทศเยอรมันเมื่อตอนอายุได้ 4 ปี ทางสวนสัตว์ได้พยายามหา ตัวเมียจากสวนสัตว์อื่น แต่กลับได้มาจาก "แหล่งที่เรามีความมั่นใจ" (Anon., undated g) ประมาณวันเกิดของตัวเมียระหว่าง การส�ำรวจคือ เกิดในปี 1981 เดินทางมาถึงสวนสัตว์ในประเทศกินีตอนอายุประมาณ 7 ปี และอยู่โดยล�ำพังนับตั้งแต่ตัวผู้ ตายในปี 2007

การค้นหาโฆษณาประกาศขายออนไลน์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พบแค่การเสนอขายชะนีหนึ่งรายการ โดยประกาศราคาขายที่ 6,500 บาท (180.45 เหรียญสหรัฐ) ไม่มีการระบุอายุของชะนี ส่วนอีกเวบไซต์ มีข้อมูลเกี่ยวกับการ ดูแลชะนีที่เป็นสัตว์เลี้ยง โดยชายผู้เขียนบอกไว้ว่าเขาซื้อชะนีมาจากตลาดขณะที่พ่อค้าพยายามซุกซ่อนชะนีใส่ถุง ไม่มีการ เอ่ยถึงราคาที่ซื้อมา จากการค้นพบนี้ ได้ชี้ให้เห็นว่า อย่างน้อยที่สุดคือ มีการลักลอบค้าสัตว์ในกลุ่มลิงไม่มีหางทางออนไลน์ ไม่พบสัตว์ในกลุ่มลิงใหญ่ขายทางออนไลน์ แต่พบชะนีจาก 3 เวบไซต์ หนึ่งในนั้นเป็นกลุ่มเปิดที่มีสมาชิกมากกว่า 18,500 คน เวบไซต์เหล่านี้ ส่วนมากขายสัตว์ขนาดเล็ก เช่น มาร์มอเสท Callitrichidae ซึ่งไม่ได้อยู่ในบัญชีสัตว์คุ้มครองในประเทศไทย

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 26 © TRAFFIC ลูกลิงอุรังอุตัง Pongo sp. ที่สวนสัตว์พาต้า ประเทศไทย © TRAFFIC สวนสัตว์พาต้า ประเทศไทย เป็นสถานที่เดียวที่พบกอริลล่าตะวันตก Gorilla gorilla ระหว่างการส�ำรวจ

27 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ การส�ำรวจวิจัยได้เก็บข้อมูลจากสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ และ ไม่ได้รวมสัตว์ที่เลี้ยงไว้ในฐานะสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะมีใบอนุญาตหรือไม่ก็ตาม ไม่รวมศูนย์ช่วยเหลือของเอกชน ศูนย์ช่วยเหลือ ที่ด�ำเนินการโดยหน่วยงานรัฐซึ่งส่วนมากจะปิดไม่ให้ประชาชนเข้าชม หรือสถานที่อื่นๆ เช่น วัด พบว่า ทั้งสองประเทศ จ�ำนวนของสัตว์ในกลุ่มลิงไม่มีหางที่อยู่ในที่เลี้ยง มีจ�ำนวนมากกว่าที่พบตามรายงานฉบับนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ในสวนสัตว์ใดๆ ก็ตาม สัตว์ทุกตัวไม่ได้ถูกน�ำมาออกโชว์ตลอดเวลา และแม้ว่าการส�ำรวจจะบันทึกจ�ำนวนของสัตว์ที่อ้างว่ามีอยู่ในสถานที่ เหล่านั้น แต่ไม่ได้เห็นตัว รายงานฉบับนี้ยืนยันการมีอยู่ของสัตว์ที่ได้เจอตัวจริงๆ รายละเอียดของข้อมูลจากหนังสือแสดง สายพันธุ์สัตว์อุรังอุตังได้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่วิจัยก�ำหนดอายุและแหล่งที่มาของสัตว์ชนิดพันธุ์นี้ได้เป็นจ�ำนวนมาก ทั้งใน ประเทศไทยและมาเลเซีย

ระหว่างการส�ำรวจ มีการบันทึกลิงไม่มีหางทั้งหมด 349 ตัว ในมาเลเซีย 99 ตัว ในประเทศไทย 250 ตัว แม้ว่า สถานการณ์ในประเทศทั้งสองจะมีความแตกต่างกันในหลายประเด็น แต่การวิจัยก็พบความคล้ายคลึงกันหลายประการ ลิง ไม่มีหางที่เป็นชนิดพันธุ์ท้องถิ่นทั้งหมดถูกบันทึกไว้ พร้อมด้วยชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทยอีกสามชนิดในมาเลเซีย และสี่ชนิดในประเทศไทย ส�ำหรับชนิดที่เป็นสัตว์ต่างถิ่น ไม่พบบันทึกการน�ำเข้าของไซเตสของอุรังอุตังสุมาตรามาสู่ประเทศ มาเลเซีย หรือกอริลล่าตะวันตกและชะนีแก้มทุกชนิดสู่ประเทศไทย สัตว์ทุกชนิดที่พบในรายงานฉบับนี้ เป็นสัตว์ที่อยู่ในบัญชี หมายเลขหนึ่งของไซเตส ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ต้องห้ามในการค้าระหว่างประเทศ แม้ว่าจะระบุไว้เช่นนี้ การน�ำเข้าอุรังอุตัง 14 ตัว สู่ประเทศไทยก่อนปี 1992 และการส่งออกอุรังอุตัง 36 ตัวจากประเทศไทยไปยังประเทศกัมพูชาระหว่างปี 2003 และ 2004 กลับพบว่าไม่ได้มีการรายงานไว้ เช่นเดียวกับการมาถึงของกอริลล่าตะวันตกสู่ประเทศไทยในปี 1984 และ 1987 โดยในช่วง ที่มีการค้าเหล่านี้เกิดขึ้น ประเทศไทย กัมพูชา และเยอรมัน ต่างก็เป็นสมาชิกของ CITES

ทั้งสองประเทศ พบอุรังอุตังเป็นจ�ำนวนมากที่สุดในกลุ่มของลิงใหญ่ และพบชะนีมือขาวมากกว่าชะนีชนิดอื่นทั้ง สองแห่ง

หลักฐานการค้าอย่างผิดกฎหมายทางออนไลน์พบว่าถูกใช้กับชะนีในประเทศทั้งสอง และการยึดอุรังอุตังสุมาตรา สองตัวได้จากการขายทางเฟซบุค ในปี 2015 แสดงให้เห็นถึงความน่าเป็นห่วงส�ำหรับกลุ่มลิงใหญ่

การวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ ถูกน�ำมาใช้ในการประเมินจ�ำนวนอุรังอุตังที่ได้มาจากป่าและที่ ไม่ทราบต้นก�ำเนิด และการบันทึกอายุเมื่อตอนที่ถูกจับครั้งแรกทั้งในคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย ข้อมูลนี้ ถือว่าค่อนข้าง สมบูรณ์ส�ำหรับคาบสมุทรมลายู เพราะสวนสัตว์เกือบทั้งหมดที่มีอุรังอุตังได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ ยกเว้นแค่เพียงสวนสัตว์หนึ่ง แห่ง ส่วนในประเทศไทย จากสวนสัตว์ 12 แห่ง ที่พบว่ามีอุรังอุตังอยู่นั้น มีสวนสัตว์เพียง 6 แห่ง ซึ่งเป็นขององค์การสวนสัตว์ ที่ส่งข้อมูลให้แก่หนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์

ทั้งสองประเทศ ข้อมูลจากหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ได้แสดงให้เห็นสัดส่วนส�ำคัญของจ�ำนวนอุรังอุตังในสวนสัตว์ และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่า ที่มาจากป่าหรือไม่ทราบต้นก�ำเนิด โดยรายงานจากหนังสือแสดงสายพันธุ์ ได้กล่าวถึงหน่วยงาน ที่มีอ�ำนาจบังคับกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกับสัตว์จ�ำนวนหนึ่งและในคาบสมุทรมลายู ซึ่งอนุมานว่าเป็นการกล่าวถึงสวนสัตว์ มาละกาในการบันทึกข้อมูลสัตว์ มีการเชื่อมโยงกับการใช้กฎหมายส�ำหรับสัตว์ที่มาจากป่าหรือไม่ทราบต้นก�ำเนิดในมาเลเซีย และบางส่วนในประเทศไทย ถึงแม้ว่าสัตว์เหล่านี้อาจจะถูกน�ำมาสู่กรงเลี้ยงผ่านการกระท�ำที่ผิดกฎหมาย การเข้าซื้อโดย สวนสัตว์ที่ดูแลพวกมันอยู่ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย จึงควรที่จะตระหนักว่า ข้อมูลจากรายงานแหล่งก�ำเนิดไม่น่าที่จะครบถ้วน สมบูรณ์ แต่การจับสัตว์จ�ำนวนมากจากป่า เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 28 การประเมินอายุเฉลี่ยของอุรังอุตังที่ได้มาจากป่าและที่ไม่ทราบต้นก�ำเนิด ถูกบันทึกที่กรงเลี้ยงเป็นครั้งแรกนั้น ได้ กระท�ำผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ และยืนยันความต้องการที่มีต่อลูกอุรังอุตัง การประเมินอายุของ ลิงใหญ่ที่พบระหว่างการส�ำรวจ แสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยมีความต้องการสัตว์เพื่อสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในขณะที่ลิงไม่มีหางจากป่าถูกจับมาในช่วงที่เป็นวัยเด็กหรือวัยรุ่น ซึ่งในการจับมาได้ย่อมที่จะเกี่ยวข้องกับการตายของตัวอื่นๆ อย่างน้อยที่สุดก็คือแม่ของพวกมัน

อุรังอุตังและชิมแปนซีวัยเด็กพบเป็นจ�ำนวนมากที่สวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็น ปัญหาส�ำคัญ เพราะจากการพบเห็นสัตว์เหล่านี้ อยู่ในสถานที่ที่มีการจัดแสดงโชว์ลิงไม่มีหางหรือให้มีการถ่ายรูปคู่กับ นักท่องเที่ยว ซึ่งไม่เพียงแต่จะเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับจ�ำนวนลิงที่น�ำออกมาจากป่า แต่ยังเป็นห่วงด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้น กับสัตว์เหล่านี้ เมื่อมันมีอายุมากเกินไปที่จะใช้เพื่อการแสดง รวมไปถึงมาตรฐานการดูแลที่จะได้รับ

การยอมรับมติข้อตกลง 69.1 โดย WAZA ในปี 2014 ได้แสดงความเป็นผู้น�ำในอุตสาหกรรมสวนสัตว์เพื่อที่จะ ระบุต้นก�ำเนิดที่ถูกกฎหมายของสัตว์ทุกชนิด รวมถึงลิงไม่มีหาง การที่ได้พบลิงไม่มีหางจ�ำนวนมากในสวนสัตว์และแหล่ง ท่องเที่ยวอื่นๆ ทั้งในคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยที่สุด สถานที่ต่างๆ ในภูมิภาคนี้ล้มเหลว ที่จะปฏิบัติตามสิ่งที่ควรถือว่าเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม

มีความพยายามของหน่วยงานที่มีอ�ำนาจหน้าที่ทั้งในคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย ในการจับยึด ดูแล และส่งคืน ลิงไม่มีหางที่ถูกน�ำมาค้าอย่างผิดกฎหมาย แต่ทั้งสองประเทศ มีความเป็นไปได้ว่าความพยายามในการบังคับใช้กฎหมาย ถูกจ�ำกัดเนื่องจากสถานการณ์ของศูนย์ช่วยเหลือ ในคาบสมุทรมลายู การมอบสวนสัตว์มาละกาให้แก่เอกชนเป็นผู้ด�ำเนินการ ในปี 2013 หมายถึงว่า รัฐบาลมีทางเลือกจ�ำกัดในการดูแลสัตว์ที่ได้มากการยึดเป็นของกลางหรือช่วยเหลือ ส่วนมาตรฐาน สวนสัตว์ฉบับใหม่และแนวทางที่เข้มขึ้น ซึ่งท�ำขึ้นเพื่อปรับปรุงสภาพการณ์ในขณะนี้ อาจจะท�ำให้สวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยว ไม่กล้าที่จะรับสัตว์ที่ถูกยึดมา ในประเทศไทย สถานีเพาะพันธุ์ต่างๆ ที่ได้รับงบประมาณและด�ำเนินการโดยหน่วยงานที่ รับผิดชอบ ก็ถูกมองว่าเป็นภาระของกรมอุทยานฯ ทั้งในด้านก�ำลังคนและงบประมาณ ในขณะที่ศูนย์ช่วยเหลือของเอกชนก็ ด�ำเนินการโดยไม่มีใบรับรอง ทั้งในคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย เป็นไปได้ว่าการขาดทรัพยากรดังกล่าว เป็นตัวบั่นทอน แรงจูงใจของเจ้าหน้าที่ในการยึดสัตว์ที่มาจากแหล่งผิดกฎหมายหรือถูกเลี้ยง หรืออาจท�ำให้เกิดภาวะที่สัตว์ที่ถูกยึดมาได้รับ การดูแลในสภาพที่ไม่เหมาะสม

ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดก็ตาม การคอรัปชั่นถือเป็นตัวกีดขวางประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายที่มีเพื่อ คุ้มครองสัตว์ป่าและการด�ำเนินคดีกับอาชญากรทางสัตว์ป่า ทั้งมาเลเซียและประเทศไทยก็ไม่เว้น โดยสวนสัตว์และแหล่ง ท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าในประเทศทั้งสอง เช่นเดียวกับหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย ควรที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นไปได้ ของการมีคอรัปชั่นเกี่ยวข้องกับการจัดหาสัตว์ ซึ่งการปลอมแปลงเอกสารของไซเตสเพื่อใช้ในการน�ำเข้ากอริลล่าสี่ตัวสู่ มาเลเซียในปี 2001 (Anon., 2003a) ได้แสดงให้เห็นว่าการคอรัปชั่นอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดหาสัตว์ในกลุ่มของ ลิงไม่มีหางให้แก่สวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่า แม้ว่าจะพบว่ามีเอกสารอย่างถูกต้องก็ตาม

29 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ

เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า สวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าโชว์ ได้สัตว์มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและ ยั่งยืน และเพื่อส่งเสริมให้มีการปฎิบัติดูแลอย่างเหมาะสมต่อสัตว์เหล่านั้น TRAFFIC จึงขอเสนอข้อแนะน�ำต่อไปนี้

หน่วยงานที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย ควรจะได้รับอ�ำนาจที่จ�ำเป็นในการกีดกันการลักลอบน�ำเข้าและครอบครอง สัตว์ในกลุ่มลิงไม่มีหางที่เป็นชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทย และส่งเสริมการดูแลและรักษาที่เหมาะสมแก่สัตว์ใน กรงเลี้ยง พระราชบัญญัติสงวนและรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนี้ ยังไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ลิงไม่มีหางที่เป็นชนิดพันธุ์ที่มิได้ มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทย หรือมีการปรับโทษใดๆ หากพบว่ามีสัตว์ซึ่งได้มาจากการน�ำเข้าที่ผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง

ในประเทศไทย การพิสูจน์เพื่อแสดงให้เห็นว่าลิงไม่มีหางที่เป็นชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทยที่ถูกตั้งค�ำถาม ว่ามีที่มาจากการได้มาอย่างผิดกฎหมายหรือดูแลอย่างไรนั้น ความรับผิดชอบตกอยู่ที่หน่วยงานราชการที่เป็นผู้พิสูจน์ จึงควร ที่จะมีการเปลี่ยนกฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าในประเทศไทย เพื่อให้รวมเอาการสันนิษฐานว่า การครอบครองลิงไม่มีหางที่เป็น ชนิดพันธุ์ที่มิได้มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทยโดยไม่มีใบอนุญาตนั้น ถือว่าเป็นการกระท�ำเพื่อ หรือเป็นผลมาจากการค้าอย่าง ผิดกฎหมาย นอกเสียจากว่าผู้มีไว้ในครอบครองจะสามารถพิสูจน์ไปในทางตรงกันข้าม

ในประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรส�ำรวจทางเลือกใหม่ในการส่งกลับสัตว์ที่ยึดไว้ หรือช่วยเหลือมาให้เร็วขึ้น ในสถานการณ์ที่ไม่มีการด�ำเนินคดีทางอาญา แทนที่จะต้องรอถึงห้าปี ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระ ให้แก่ศูนย์ช่วยเหลือของรัฐบาล

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในประเทศไทย ควรน�ำข้อก�ำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานของ สวนสัตว์มาใช้ เช่นที่มีการแนะน�ำคู่มือการด�ำเนินงานสวนสัตว์ในมาเลเซีย (Garis Panduan Standard Zoo Malaysia) บนคาบสมุทรมลายู และควรรวมถึงแนวทางการใช้สัตว์ป่าในการแสดงด้วยเช่นกัน

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรสั่งห้ามไม่ให้มีการแสดงและการถ่ายภาพที่ใช้ลิงไม่มีหาง เพราะ กิจกรรมเหล่านี้ เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้สัตว์วัยเด็ก หากยังคงอนุญาตให้มีการแสดง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควร ได้รับการแจ้งเมื่อมีการปลดเกษียนลิงที่ใช้แสดง หน่วยงานผู้มีอ�ำนาจควรจะได้รับการแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับแผนการดูแลและ การจัดที่อยู่อาศัยในอนาคตด้วย เช่นที่มีการแนะน�ำโดย คณะท�ำงานพิเศษ CITES/GRASP แห่งประเทศไทยและประเทศ กัมพูชา (Anon., 2007b)

TRAFFIC สนับสนุนความพยายามของ PERHILITAN ในคาบสมุทรมลายู และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ในประเทศไทยในการตรวจสอบสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าภายใต้ขอบเขตอ�ำนาจที่มี และส่งเสริม ให้มีการตรวจสอบสถานที่เหล่านั้นอย่างสม�่ำเสมอโดยไม่ต้องมีการแจ้งล่วงหน้า ซึ่ง TRAFFIC แนะน�ำว่าส่วนหนึ่งของการ ตรวจสอบ ควรจะบอกแหล่งที่มาของลิงไม่มีหางทั้งหมดได้ หากว่ายังมีส่วนที่ยังไม่ทราบ

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 30 หากพบว่าสถานที่ใดมีการละเมิดมาตรา 716 หรือมาตรา 686 ในคาบสมุทรมลายู หรือ พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติกรมศุลกากร พ.ศ. 2469 ในประเทศไทย รวมทั้งในเรื่องการจัดหา ลิงไม่มีหาง ควรจะยกเลิกใบอนุญาตและใบประกอบการ

สัตว์ที่ถูกจับ หรือได้มาจากการละเมิดกฎหมายเหล่านี้ ควรจะยึดเป็นของกลางและจัดหาที่อยู่ที่เหมาะสมให้ หรือส่งกลับตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี

ควรมีการฟ้องร้องผู้ที่กระท�ำผิดทุกคนที่พบว่ากระท�ำผิดตามมาตรา 716 หรือมาตรา 686 ในคาบสมุทรมลายู หรือ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติกรมศุลกากร พ.ศ. 2469 ในประเทศไทย

การท�ำงานร่วมกันและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีอ�ำนาจในการบังคับใช้กฎหมายทั้งภายในประเทศและ ระหว่างประเทศต้องมีมากกว่านี้

ควรจะมีการน�ำส่งข้อมูลในการจัดหา เกิด ตาย และการจ�ำหน่ายลิงไม่มีหางทั้งหมดที่อยู่ในสวนสัตว์และแหล่ง ท่องเที่ยวที่มีสัตว์ป่าบนคาบสมุทรมลายูและประเทศไทยให้แก่ PERHILITAN และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อช่วยในการติดตามสถานที่เหล่านี้

มีการใช้ไมโครชิพและตรวจสอบดีเอ็นเอ เพื่อการจ�ำแนกอุรังอุตังที่อยู่ในกรงเลี้ยงครั้งแรก โดย PERHILITAN ในปี 2014 คณะท�ำงานพิเศษ CITES/GRASP เกี่ยวกับอุรังอุตังแห่งประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้บันทึกความส�ำคัญของการ เก็บตัวอย่างทางชีววิทยาจากสัตว์แต่ละตัว ในกรณีที่ต้องมีการจัดท�ำโปรไฟล์ดีเอ็นเอ (Anon., 2007b) ซึ่งในสถานที่ที่ยังไม่มี การกระท�ำดังกล่าว ควรน�ำวิธีปฏิบัตินี้มาใช้

เป้าหมายของ WAZA คือให้แนวทางและความสนับสนุนแก่สวนสัตว์ทั่วโลก ซึ่งแนะน�ำว่าควรเป็นอย่างยิ่งที่จะเพิ่ม ระดับการมีส่วนร่วมกับสวนสัตว์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสมาคมฯ ควรให้ความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง การเลี้ยงสัตว์ สวัสดิการ และการจัดแสดงให้แก่สวนสัตว์ที่ต้องการความช่วยเหลือและได้ส่งค�ำขอรับความช่วยเหลือมา ความช่วยเหลือดังกล่าว ควรที่จะครอบคลุมไปถึงการให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับการจัดหาสัตว์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และหลัก ความยั่งยืนให้แก่สถานที่ซึ่งขณะนี้ยังพึ่งพาการจัดหาสัตว์อย่างผิดกฎหมาย

WAZA ควรส่งเสริมให้สมาชิกปฏิบัติตามมติข้อตกลงและแนวทางการปฏิบัติ และหากเป็นไปได้ ท�ำงานผ่านทาง องค์กรพันธมิตรเช่น SEAZA โดยรวมมติข้อ 69.1 ตามหลักกฎหมาย ความยั่งยืน และหลักจริยธรรมในการจัดหาสัตว์ ถึงแม้ว่า WAZA จะมีองค์กรสมาชิกแค่ห้าสถาบันในประเทศไทย (สวนสัตว์ภายใต้องค์กรสวนสัตว์ทั้งหมด) และหนึ่งสถาบันในมาเลเซีย (Zoo Negara) แต่ SEAZA มีจ�ำนวนสมาชิกมากกว่า ซึ่งจะช่วยเปิดทางให้ WAZA เข้าถึงได้มากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย สวนสัตว์หลายแห่งด�ำเนินการโดยไม่อ้างอิงกับกลุ่มสวนสัตว์นานาชาติและ ภูมิภาค ซึ่งควรที่จะมีความพยายามโดยกลุ่มสวนสัตว์นานาชาติและภูมิภาคส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น รวมทั้งการ ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ไปยังหนังสือแสดงสายพันธุ์สัตว์ที่เกี่ยวข้อง

31 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ หากมีกฎหมายใดๆ ท�ำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการกระท�ำที่ผิดกฎหมาย ควรมีการสื่อสารให้ประชาชน ทราบถึงการบังคับใช้และผลที่ตามมาอย่างชัดเจน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชของทั้งสองประเทศ ควรเผยแพร่ การบังคับใช้กฎหมายเมื่อมีอาชญากรรมต่อสัตว์ป่าและรายละเอียดของบทลงโทษอย่างสม�่ำเสมอมากขึ้น ซึ่งควรรวมถึง ข้อมูลของการลงโทษบังคับภายใต้มาตรา 686 และ 716 ในคาบสมุทรมลายู และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติกรมศุลกากร พ.ศ. 2469 ในประเทศไทย

สื่อมวลชน ควรให้ความช่วยเหลือในการเผยแพร่ การด�ำเนินการบังคับใช้และการฟ้องร้องที่เกี่ยวกับอาชญากรรม ต่อสัตว์ป่า และเรียกร้องให้มีความโปร่งใสและความสม�่ำเสมอมากขึ้น ในการจัดการที่เกี่ยวกับอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า

ต้องมีการกระตุ้นหน่วยงานราชการและสื่อมวลชนในคาบสมุทรมลายูและประเทศไทย ให้ส่งเสริมการสร้างความ ตระหนักแก่ประชาชนทั่วไป ในเรื่องการลักลอบค้าสัตว์ในกลุ่มลิงใหญ่อย่างผิดกฎหมาย และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นตามมา

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 32 Ancrenaz, M., Marshall, A., Goossens, B., van Shaik, C., Sugardjito, J, Gumal, M. and Wich, S. (2008). Pongo pygmaeus. In: IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. http://www.iucnredlist. org/details/17975/0. Viewed 1st March 2014. Anon. (2003a). CITES Secretary-General calls for prosecutions of those involved in the illegal trade of gorillas. CITES website. http://www.cites.org/eng/news/pr/2003/030730_gorillas.shtml. Viewed 8th October 2013. Anon. (2003b). Thailand protected species – Over 1.1 million animals held in captivity. The Nation. http://www.wfft.org/wildlife-trade/thailand-protected-species-over-1-1-million-wild-animals-held- in-captivity/. Viewed 15th October 2003. Anon. (2003c). Zoo owners say raids hurting business. Wildlife1.org. http://www.wildlife1.org/news/246- zoo-owners-say-raids-hurting-business. Viewed 28th November 2013. Anon. (2003d). WAZA Code of Ethics and Animal Welfare. World Association of and Aquariums (WAZA) website. http://www.waza.org/files/webcontent/1.public_site/5.conservation/ code_of_ethics_and_animal_welfare/Code%20of%20Ethics_EN.pdf. Viewed October 2014. Anon. (2003e). Over 100 missing. Wildlife1.org. http://www.wildlife1.org/news/314-over-100- crocodiles-missing. Viewed 17th December 2013. Anon. (2004). Wildlife trade dimming hopes for endangered species. Wildlife1.org. http://www.wildlife1.org/ news/wildlife-trade-dimming-hopes-for-endangered-species/. Viewed 16th January 2013. Anon. (2006a). CITES/GRASP Orang-utan Technical Mission Indonesia. CITES website. http://www.cites. org/common/prog/ape/ID_mission06.pdf. Viewed 5th April 2013. Anon. (2006b). 2006 Annual Report. Department of Wildlife and National Parks Peninsular Malaysia (PERHILITAN). http://www.wildlife.gov.my/images/stories/penerbitan/laporan_tahunan/ lt2006.pdf. Viewed 18th March 2015. Anon. (2006c). Orangutan Odysseys in Southeast Asia. Plus D: Public Library of US Diplomacy. www. wikileaks.org/plusd/cables/06BANGKOK7146_a.html. Viewed 29th November 2013. Anon. (2007a). CITES/GRASP orang-utan technical missions Malaysia. http://cites.org/sites/default/files/ common/prog/ape/MY_mission.pdf. Viewed 17th April 2013. Anon. (2007b). CITES/GRASP orang-utan technical missions Thailand and Cambodia. http://www.cites.org/ common/cop/14/doc/E14-50A01.pdf. Viewed 5th April 2013. Anon. (2009a). Lonely and seeking love at Saleng Zoo. The Star Online. http://www.thestar.com.my/story.as px/?file=%2f2009%2f11%2f29%2fnation%2f5203288&sec=nation.Viewed 15th March 2014. Anon. (2009b). Customs Act, B.E. 2469 (1926). The Customs Department, Thailand. http://www.customs. go.th/wps/wcm/connect/14026c8a-44db-49a9-9095-7d8eedfd5d13/Customs_Act_2469. pdf?MOD=AJPERES. Viewed 20th March 2015. Anon. (2010a). Biennial report Thailand, 2007-2008. Notification No. 2005/035. CITES website. http://cites. org/sites/default/files/reports/07-08Thailand.pdf. Viewed 19 th March 2015 Anon. (2010b). Wildlife Conservation Act, 2010 (Act 716). https://www.academia.edu/3734442/WILDLIFE_ CONSERVATION_ACT_2010._Act_716._Malaysia. Viewed 23rd April 2015. Anon. (2011). Unnamed politician helps wildlife smuggler. Editorial: failure to curb smuggling. Bangkok Post. http://www.bangkokpost.com/learning/learning-from-news/241062/unnamed-politician- helps-wildlife-smuggler. Viewed 7th June 2013. Anon. (2012). Wildlife Conservation Act 2010. Wildlife Conservation (Operation of Zoo) Regulations 2012. Anon. (2013a). Critically Endangered Sumatran Orangutans Repatriated to Indonesia from Malaysia. Press release by Sumatran Orangutan Conservation Programme (SOCP) and North Sumatra Natural Resource Conservation Agency (BBKSDA). SOCP website. http://www.sumatranorangutan. org/2849.html. Viewed 11th October 2013. Anon. (2013b). Wildlife Conservation (Operation of Zoo) Regulations 2013. Department of Wildlife and National Parks (DWNP) Peninsular Malaysia, Official Website. http://www.wildlife.gov.my/ images/stories/akta/pua_20130412_PERATURAN-PERATURAN%20PEMULIHARAAN%20 HIDUPAN%20LIAR%20PENGENDALIAN%20ZOO%20PINDAAN%202013.pdf. Viewed 19th March 2015. Anon. (2013c). 2013 Annual Report. Department of Wildlife and National Parks Peninsular Malaysia (PERHILITAN). http://www.wildlife.gov.my/images/stories/penerbitan/laporan_tahunan/ LAPORAN%20TAHUNAN%20PERHILITAN%2013.pdf. Viewed 18th March 2015.

33 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ Anon. (2013d). Wildlife Conservation (Exhibition) Regulations 2013. Department of Wildlife and National Parks (DWNP) Peninsular Malaysia, Official Website. http://www.wildlife.gov. my/images/stories/akta/pua_20130412_P%20U%20%20A%20138%20-%20PERATURAN- PERATURAN%20PEMULIHARAAN%20HIDUPAN%20LIAR%20PAMERAN%202013.pdf. Viewed 20th March 2015. Anon. (2014). The IUCN Red List of Threatened Species. Version 2014.3. IUCN website. www.iucnredlist. org. Viewed 18th March 2015. Anon. (2015a). Orangutans: What are the Main Threats? Hunting and Illegal Trade. WWF website. http:// wwf.panda.org/what_we_do/endangered_species/great_apes/orangutans/. Viewed 18th March 2015. Anon. (2015b). Katerina “World’s Loneliest Orangutan”, transferred to Taiping Zoo. The Malaysian Insider. http://www.themalaysianinsider.com/malaysia/article/katarina-worlds-loneliest-orangutan- transferred-to-taiping-zoo. Viewed 14th February 2015. Anon. (undated a). Malaysia. National Contacts. CITES website. http://www.cites.org/eng/cms/index.php/ component/cp/country/MY. Viewed 18th March 2015. Anon. (undated b). Garis panduan standard zoo Malaysia [Guidelines for Zoo Standards in Malaysia]. Department of Wildlife and National Parks Peninsular Malaysia (PERHILITAN). http:// www.wildlife.gov.my/images/stories/muaturun/AKTA%20MUATTURUN%20 2014/GARISPANDUAN/STANDARD%20ZOO/GARIS%20PANDUAN%20 STANDARD%20ZOO%20MALAYSIA%20(PENGENDALIAN%20ZOO).pdf. Viewed 31st March 2015. Anon. (undated c). Garis panduan penyerahan hidupan liar oleh orang awam kepada zoo / pameran tetap / agensi awam dan swasta [Submission Guidelines for the Submission of Wildlife by the Public to a Zoo or Public or Private Agency]. Department of Wildlife and National Parks Peninsular Malaysia (PERHILITAN). http://www.wildlife.gov.my/images/stories/muaturun/AKTA%20MUATTURUN%202014/ GARISPANDUAN/PENYERAHAN%20HIDUPAN%20LIAR%20AWAM/GARIS%20 PANDUAN%20PENYERAHAN%20HIDUPAN%20LIAR%20OLEH%20ORANG%20AWAM%20 KEPADA%20ZOO%20PAMERAN%20TETAP%20AGENSI%20AWAM%20DAN%20SWASTA.pdf. Viewed 31st March 2015. Anon. (undated d). Press Releases: Notes to Editors. World Association of Zoos and Aquariums (WAZA) website. http://www.waza.org/en/site/pressnews-events/press-releases. Viewed 18th January 2015. Anon. (undated e). The Zoological Park Organization Under The Royal Patronage of H.M. The King. http://www.zoothailand.org/. Viewed 31st January 2015. Anon. (undated f). Safari World Bangkok Video. Safari World Public Company Limited, Bangkok. Anon. (undated g). The Gorilla Story of Pata Zoo. Pata Zoo, Bangkok. Bleisch, B., Geissmann, T., Manh Ha, N., Rawson, B. and Timmins, R.J. (2008a). Nomascus leucogenys. In: IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. http://www.iucnredlist.org/details/full/39895/0. Viewed 8th April 2014. Bleisch, B., Geissmann, T., Timmins, R.J. and Xuelong, J. (2008b). Nomascus concolor. In: IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. http://www.iucnredlist.org/details/full/39775/0. Viewed 8th April 2014. Cantor, D. (1999). Items of property. In: Cavalieri A., Singer P (Eds), The Great Ape Project. New York: St. Martin’s Griffin. Chew, H. (2009). Baby orang utans rescued. The Star Online. http://www.thestar.com.my/Story/?file=%2F20 09%2F6%2F30%2Fnation%2F4207442&sec=nation. Viewed 30th June 2015. Chew, H. (2010). Private zoo implicated in smuggling of orangutan. The Star Online. http://www.thestar. com.my/story.aspx/?file=%2f2010%2f3%2f5%2fnation%2f5796863&sec=nation. Viewed 5th March 2015. Cochrane, L. (2004). Safari World embroiled in animal trafficking controversy, again. Phnom Penh Post. http://www.phnompenhpost.com/national/safari-world-embroiled-animal-trafficking-controversy- again. Viewed 17th December 2015. Corrigan, A., with Ng, L., Williamson, M. (2010). An Investigation into the Welfare Standards of Zoos in Malaysia. Animal Concern Research and Education Society (ACRES) with World Society for the Protection of Animals (WSPA) for myZoo. http://www.zoocheck.com/Reportspdfs/ MalaysiaZooReport2010.pdf. Viewed 20th March 2015 Doak, N. (2014). Polishing Off the ivory: Surveys of Thailand’s Ivory Market. TRAFFIC International, Cambridge, UK.

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 34 Elder, M. (2015). 2014 International Studbook of the Orangutan (Pongo pygmaeus, Pongo abelii). Como Park Zoo and Conservatory, Saint Paul, Minnesota, USA. Fuller, T. (2013). A burden of care over seized exotic wildlife in Thailand. New York Times. http://www. nytimes.com/2013/02/05/world/asia/thailand-faces-a-noahs-ark-size-burden-of-wildlife-care.html. Viewed 4th February 2014. Gerald, J. (2005). Smuggled Orangutans Found. New Straits Times. https://groups.google.com/ forum/#!topic/ar-news/fAKJtV6FQE0. Viewed 8th October 2013. Geissmann, T., Manh Ha, N., Rawson, B., Timmins, R., Traeholt, C. and Walston, J. (2008). Nomascus gabriellae. In: IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. http://www.iucnredlist. org/details/full/39776/0. Viewed 8th April 2014. Hongthong, P. and Kaewmorakot, N. (2003). Dozens more animals found in second raid. The Nation.http:// lists.envirolink.org/pipermail/ar-news/Week-of-Mon-20031103/009281.html. Viewed 4th November 2014 Ismail. I. (2011). Big zoo overhaul. The Malay Mail. http://issuu.com/pekwan/docs/15_july_2011. Viewed 15th July 2014 Koh, C. (2009). Orang utans dropped off by donor, says Taiping Zoo. The Star Online. http://www.thestar. com.my/story.aspx/?file=%2f2009%2f7%2f1%2fnation%2f4227459&sec=nation. Viewed 1st July 2014. Kormos, R., Kormos, C.F., Hulme, T., Lanjouw, A., Rainer, H., Victurine, R., Mittermeier, R.A., Diallo, M.S., Rylands, A.B. and Williamson, E.A. (2014). Great Apes and Biodiversity Offset Projects in Africa: The Case for National Offset Strategies. PLoS One 9(11). http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/ articles/PMC4221092/ Viewed 15th October 2015. Manh Ha, N, Rawson, B., Geissmann, T. and Timmins, R.J. (2008). Nomascus siki. The IUCN Red List of Threatened Species 2008. http://dx.doi.org/10.2305/IUCN.UK.2008.RLTS.T39896A10272362.en Viewed 14th October 2014. Mellor, D.J., Hunt, S. and Gusset, M. (eds). 2015. “Caring for Wildlife” The World Zoo and Aquarium Animal Welfare Strategy. Gland: WAZA Executive Office. Mootnick, A.R. (2006). Gibbon (Hylobatidae) species identification recommended for rescue or breeding centres. Primate Conservation 21:103-138. http://primates.squarespace.com/storage/PDF/ PC21.hylobatid.species.pdf. Viewed 5th August 2013 Ng, E. (2012). Six zoos in Malaysia shut down. The Star/Asia News Network. http://news.asiaone.com/News/ AsiaOne+News/Malaysia/Story/A1Story20120830-368515.html. Viewed 30th August 2013. Nijman, V. (2005a). Hanging in the Balance: An Assessment of Trade in Orang-utans and Gibbons on Kalimantan, Indonesia. TRAFFIC Southeast Asia, Petaling Jaya, Malaysia. Nijman, V. (2005b). In Full Swing: An Assessment of Trade in Orangutans and Gibbons on Java and Bali, Indonesia. TRAFFIC Southeast Asia, Petaling Jaya, Malaysia. Nijman, V. (2009). An Assessment of Trade in Gibbons and Orang-utans in Sumatra, Indonesia. TRAFFIC Southeast Asia, Petaling Jaya, Malaysia. Nijman, V. and Geissmann, T. (2008). Symphalangus syndactylus. In: IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. http://www.iucnredlist.org/details/39779/0. Viewed 1st March 2014. Nijman, V., Nekaris, K.A.I., Donati, G., Bruford, M. and Fa, J. (2011). Overview. Primate Conservation: Measuring and Mitigating Trade in Primates. http://www.int-res.com/articles/esr_oa/n013p159.pdf. Viewed 31st March 2014. Nijman, V. and Shepherd, C.R. (2014). Analysis of a decade of trade of tortoises and freshwater turtles in Bangkok, Thailand. Biodiversity and Conservation. http://link.springer.com/article/10.1007/ s10531-014-0809-0#page-1. Viewed 1st September 2015. Nijman, V. and Shepherd, C.R. (2015). Ongoing trade in illegally-sourced tortoises and freshwater turtles highlights the need for legal reform in Thailand. Natural History Bulletin of the Siam Society 61(1): 3 – 6. Oates, J.F., Tutin, C.E.G., Humle, T., Wilson, M.L., Baillie, J.E.M. et al. (2008). Pan troglodytes. In: IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. http://www.iucnredlist.org/details/15933/0. Viewed 1st March 2014. O’Brien, T.G., Kinnaird, M.F., Nurcahyo, A, Prasetyaningrum, M. and Iqbal, M. (2003). Fire, demography and the persistence of siamang (Symphalangus syndactylus: Hylobatidae) in a Sumatran rainforest. Animal Conservation 6:115-121. Panirchellvum, V. (2013a). Mines Wonderland animals suffering from gross lack of care. The Sun Daily. http://www.thesundaily.my/news/836649. Viewed 23rd September 2013.

35 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ Panirchellvum, V. (2013b). Neglected animals to get new home. The Sun Daily. http://www.thesundaily.my/ news/837843. Viewed 24th September 2013. PERHILITAN. (2015). Penghantaran balik orang utan ke negara asal (Repatriation of orangutans to their country of origin). Statement made at Press Conference, Department of Wildlife and National Parks, PERHILITAN, Malaysia. Viewed 19th October 2015. Rainer, H., White, A. and Lanjouw, A. (Eds) (2014). State of the Apes: Extractive Industries and Ape Conservation. Cambridge University Press, Cambridge and New York. Rubthong, S. (1999). Thailand country report, UNEP/Env.Law/MEAs/17. Prepared for UNEP Workshop on Enforcement of, and Compliance with MEAs (12-14 July, 1999). Reprinted in: Reeve, R. (2002), Policing International Trade in Endangered Species: The CITES Treaty and Compliance. The Royal Institute of International Affairs. Sarnsamak, P. (2014). Up to 10,000 smuggled animals seized in past year. The Nation. http://www. nationmultimedia.com/national/Up-to-10000-smuggled-animals-seized-in-past-year-30228275. html. Viewed 4th March 2015. Seong, L.K. (2012). Zoos: no room for errant operators. New Straits Times. http://www2.nst.com.my/nation/ extras/zoos-no-room-for-errant-operators-1.148112. Viewed 25th September 2015. Singleton, I., Wich, S.A. and Griffiths, M. (2008). Pongo abelii. In: IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. http://www.iucnredlist.org/details/39780/0. Viewed 1st April 2014. Shepherd, C.R. and Nijman, V. (2008). Pet Freshwater Turtle and Tortoise Trade in Chatuchak Market, Bangkok, Thailand. TRAFFIC Southeast Asia, Petaling Jaya, Malaysia. Stiles, D. (2009). The Elephant and Ivory Trade in Thailand. TRAFFIC Southeast Asia, Petaling Jaya, Malaysia. Stiles, D., Redmond I., Cress, D., Nellemann, C., Formo, R.K. (Eds) (2013). Stolen Apes: The Illicit Trade in Chimpanzees, Gorillas, Bonobos and Orangutans. A Rapid Response Assessment. United Nations Environment Programme, GRID-Arendal. Sukpanich, T. (2013a). Unnatural selection: the plight of animals in private zoos. Bangkok Post. http://www. bangkokpost.com/lite/topstories/354162/unnatural-selection-the-plight-of-animals-in-private-zoos. Viewed 9th June 2014. Sukpanich, T. (2013b). Seized wildlife trapped in legal limbo. Bangkok Post. http://www.bangkokpost.com/ lite/topstories/331683/seized-wildlife-trapped-in-legal-limbo. Viewed 20th January 2014. Sukumaran, T. (2012). No licence for zoos which mistreat animals, warns ministry. The Star. http://www. thestar.com.my/News/Nation/2012/05/16/No-licence-for-zoos-which-mistreat-animals- warns-ministry/. Viewed 16th May 2013. Todd, M. (2011). Trade in Malagasy Reptiles and Amphibians in Thailand. TRAFFIC Southeast Asia, Petaling Jaya, Malaysia. TRAFFIC. (2015). Malaysia clamps down on illegal wildlife trade on social media. http://www.traffic.org/ home/2015/7/27/malaysia-clamps-down-on-illegal-wildlife-trade-using-social.html. Viewed 27th July 2015. Walsh, P.D., Tutin, C.E.G., Oates, J.F., Baillie, J.E.M., Maisels, F. et al. (2008). Gorilla. In: IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. http://www.iucnredlist.org/details/full/9404/0. Viewed 1st April 2014. Wiek, E. (2012). Opinion: Illegal orang-utan trade in Thailand still goes unpunished. The Nation. http:// www.nationmultimedia.com/opinion/Illegal-orang-utan-trade-in-Thailand-still-goes-un-30183325- showAds1.html. Viewed 2nd June 2013. Wiek, E. (2015). 14 Orang-utans to be returned to Indonesia. Press Release. http://www.wfft.org/wildlife- trade/press-release-on-14-orangutans-to-be-repatriated/. Viewed 10th September 2015. Wilms, T. (2011). International Studbook for the Western Lowland Gorilla Gorilla g. gorilla. Savage & Wyman 1847. Frankfurt Zoo, Frankfurt, Germany. Wipatayotin, A. Thailand to return 14 orangutans to Indonesia. Bangkok Post. 27th August 2015. http:// www.bangkokpost.com/news/asean/670416/thailand-to-return-14-orangutans-to-indonesia. Viewed 1st September 2015. Yoga, S.S. (2012). New regulation seeks to improve zoo conditions. The Star Online. http://www.thestar.com. my/Lifestyle/Features/2012/04/24/New-regulation-seeks-to-improve-zoo-conditions/. Viewed 24th April 2014.

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 36 ชิมแปนซี Pan​ troglodytes ซึ่งถูกน�ำมาถ่ายรูปกับผู้เยี่ยมชมสวนสัตว์ในประเทศไทย © Claire Beastall/TRAFFIC

37 รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ พฤศจิกายน 2559

TRAFFIC, the wildlife trade monitoring network, is the leading non-governmental organization working globally on trade in wild animals and plants in the context of both biodiversity conservation and sustainable development.

For further information contact: TRAFFIC Southeast Asia Regional Office Unit 3-2, 1st Floor Jalan SS23/11, Taman SEA 47400 Petaling Jaya Selangor, Malaysia

Telephone: (603) 7880 3940 Fax : (603) 7882 0171 Website: www.traffic.org

UK Registered Charity No. 1076722, Registered Limited Company No. 3785518.

is a strategic alliance of

รายงานของ TRAFFIC: เมื่อลิงไม่มีหางเป็นที่ต้องการของสวนสัตว์และแหล่งท่องเที่ยวในมาเลเซียและ 38