BROADCAST YOURSELF LAH! วีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบและอุดมการณ์ภาษาในสิงคโปร์ยุคดิจิทัล

โดย

นายเควินทร์ ลัดดาพงศ์

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2561 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Ref. code: 25615808030521AIP BROADCAST YOURSELF LAH! วีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบและอุดมการณ์ภาษาในสิงคโปร์ยุคดิจิทัล

โดย

นายเควินทร์ ลัดดาพงศ์

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2561 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Ref. code: 25615808030521AIP

BROADCAST YOURSELF LAH! SINGLISH COMEDY SKETCHES IN YOUTUBE AND LANGUAGE IDEOLOGIES IN ’S DIGITAL AGE

BY

MR. KEVIN LADDAPONG

A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF ARTS IN ANTHROPOLOGY FACULTY OF SOCIOLOGY AND ANTHROPOLOGY THAMMASAT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2018 COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY

Ref. code: 25615808030521AIP

(1)

หัวข้อวิทยานิพนธ์ Broadcast Yourself Lah! วีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบ และอุดมการณ์ภาษาในสิงคโปร์ยุคดิจิทัล ชื่อผู้เขียน นายเควินทร์ ลัดดาพงศ์ ชื่อปริญญา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

ภาษาซิงลิช (Singlish) หรือภาษาอังกฤษพื้นถิ่นสิงคโปร์ที่เป็นทั้งความภาคภูมิใจและ น่าอับอายของคนสิงคโปร์ ถูกใช้ในยูทูบ (YouTube) ผู้ให้บริการสตรีมวีดิโอและสื่อสังคมรายใหญ่ ที่สุดในโลกอย่างไร จากการศึกษาภาคสนามของการผลิตวีดิโอยูทูบตลกในสิงคโปร์ด้วยวิธีการสังเกต อย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดเก็บวัตถุดิจิทัล วิทยานิพนธ์นี้เสนอการวิเคราะห์เชิง ชาติพันธุ์นิพนธ์และภาษาศาสตร์ของค าถามข้างต้น ผู้เขียนส ารวจความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพ (affordance) ของยูทูบกับการใช้ภาษาของมนุษย์เพื่อศึกษาอุดมการณ์ภาษาและสื่อที่แอบซ่อนอยู่ใน สิงคโปร์ยุคดิจิทัล นอกจากนั้น วิทยานิพนธ์นี้ยังได้น าแนวคิดความกันเองทางวัฒนธรรม (cultural intimacy) มาวิเคราะห์ปฏิบัติการทางสังคมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สิงคโปร์ควบคู่ไปกับอุดมการณ์ วิทยานิพนธ์นี้เริ่มต้นด้วยภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์ของสิงคโปร์ยุคหลัง อาณานิคมและวิธีการใช้ภาษาในการแสดงตลกของสิงคโปร์ดั้งเดิม จากนั้นผู้เขียนเสนอการผลิตวีดิโอ ตลกในระบบการผลิตสื่อดิจิทัล ผู้เขียนน าผู้กระท าการทางสังคมที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติการทางสังคม และภาษามาวิเคราะห์ และพบว่าภาษาซิงลิชถูกใช้อย่างมีกลยุทธ์ทั้งโดยฝ่ายรัฐบาลและประชาชน (ยูทูเบอร์) พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของภาษาซิงลิช ผู้เขียนยังพบว่าศักยภาพของยูทูบได้แบ่งแยก ความแตกต่างของภาษาซิงลิชจนกลายไปเป็น “ภาษาซิงลิชรูปแบบต่าง ๆ” ดังที่จะเห็นได้จากแนวคิด เกี่ยวกับภาษาซิงลิชที่ยูทูเบอร์และผู้ชมได้สะท้อนออกมา เช่น “ภาษาซิงลิชดั้งเดิม” และ “ภาษา ซิงลิชกลาง” ผู้เขียนสรุปวิทยานิพนธ์นี้ด้วยความเป็นไปได้ของการสร้างมาตรฐานภาษาและวิถีปฏิบัติ พื้นถิ่นในสื่อดิจิทัลของสิงคโปร์ ซึ่งแสดงให้เห็นรูปแบบของความกันเอง การควบคุม และความ สร้างสรรค์ในสิงคโปร์ปัจจุบัน

Ref. code: 25615808030521AIP (2)

ค าส าคัญ: อุดมการณ์ภาษา, ยูทูบ, สิงคโปร์

Ref. code: 25615808030521AIP (3)

Thesis Title BROADCAST YOURSELF LAH! SINGLISH COMEDY SKETCHES IN YOUTUBE AND LANGUAGE IDEOLOGIES IN SINGAPORE’S DIGITAL AGE Author Mr. Kevin Laddapong Degree Master of Arts Major Field/Faculty/University Anthropology Faculty of Sociology and Anthropology Thammasat University Thesis Advisor Associate Professor Yukti Mukdawijitra, Ph.D. Academic Years 2018

ABSTRACT

The main question of this thesis is how Singlish, an appreciative yet embarrassing Colloquial English in Singapore, is uttered in YouTube, the world’s biggest video streaming plus social media service provider. Conducting both ethnographic and digital fieldworks in comedy sketches productions in Singapore by various methods such as participant observation, in-depth interview, and digital curation, this thesis presents both ethnographic and linguistic analysis of the addressed question. I explore the relationship between YouTube’s affordances and human language capacity, revealing some of the underlying language and media ideologies in Singapore’s digital age. Besides, this thesis also applies the concept of cultural intimacy to analyse social practices in Singapore’s creative industry alongside ideologies. This thesis is set up with the historical and linguistic background of postcolonial Singapore and language use in traditional Singaporean comedy shows. I then move to digital media production of Singlish comedy sketches. Putting social actors and the social and linguistic practices under scrutiny, this thesis argues that both government and citizens (YouTubers) strategically use Singlish. I also found that, in tandem with language change, YouTube’s affordance differentiates Singlish variety

Ref. code: 25615808030521AIP (4) into “Singlishes” under conceptualised terms such as “original Singlish” and “neutral Singlish”. I conclude the thesis with a potential of standardisation of colloquial language and digital vernacular practices, unveiling the current forms of intimacy, control, and creativity in Singapore.

Keywords: language ideologies, YouTube, Singapore

Ref. code: 25615808030521AIP (5)

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธ์นี้เกิดขึ้นด้วยความรัก ความรักของผู้เขียนที่มีต่อภาษาและวัฒนธรรมอัน แตกต่างหลากหลายบนโลกใบนี้ ประกอบกับความรักของผู้เขียนที่มีต่อเพื่อนชาวสิงคโปร์คนหนึ่ง ที่ เริ่มต้นด้วยความสงสัยว่า “ภาษาซิงลิชคืออะไร” และเปลี่ยนแปลงมาสู่ “ภาษาซิงลิชมีความหมายเชิง สังคมและวัฒนธรรมอย่างไร” ผู้เขียนขอขอบคุณอาจารย์อนุสรณ์ ลูกปัด และพี่อู๊ด ที่อยู่ด้วยกันตลอด วิชาสัมมนาหัวข้อวิทยานิพนธ์ และช่วยท าให้ผู้เขียนตกผลึกจนกระทั่งท าให้หัวข้อวิทยานิพนธ์นี้มีความ เหมาะสมในการท าวิจัยเชิงชาติพันธุ์นิพนธ์ ขอบคุณพี่บรอนวิน ที่สอนการท างานแบบนัก มานุษยวิทยาอย่างเข้มข้นตลอดการเป็นผู้ช่วยวิจัย และให้ก าลังใจเสมอว่า “น้องเควินท าได้!” วิทยานิพนธ์นี้เสร็จสิ้นด้วยความรัก ความรักของพ่อและแม่ที่ไม่เคยมองการศึกษาต่อของลูก เป็นภาระ ขอบคุณทุกคนในครอบครัวรวมถึงคอฟฟี่ เจ้าตัวน้อยของน้าแคร์ ที่การเติบโตของเธอชวน ให้ผู้เขียนมองอนาคตออกไปในระยะยาว ขอบคุณพี่ผิง ส้มโอ น้องอ้อม ชัช เต่า อาร์ม มาโนช พี่เก่ง พี่ตาล หลิว ปอ พี่แมน หย่ง และเพื่อน ๆ ที่ผู้เขียนอาจจ าไม่ได้ ณ ที่นี้ ที่คอยให้ก าลังใจ ติดตาม และ ให้ค าปรึกษามาตลอด ขอบคุณสถาบันวิจัยเอเชีย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ที่ให้ทุนวิจัย และ แนะน าผู้คนที่น่าสนใจให้ผู้เขียนรู้จักมากมายเช่นพี่ลินดา หมูตุ๋น วินนี่ และเพื่อนที่ร่วมรับทุนคนอื่น ๆ ขอบคุณที่ร่วมเปิดใจแลกเปลี่ยน และช่วยให้ผู้เดินนาพาความคิดเดินทางมาสู่จุดที่วิทยานิพนธ์นี้ส าเร็จ ลุล่วง ขอขอบคุณยูทูเบอร์ทุกคนที่ให้ข้อมูลผู้เขียน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะช่อง Wah!Banana ลิ่งอี๋ เจสัน เบ็นจามิน และไครแซนที่ไว้ใจให้ผู้เขียนเข้าไปทาตัวน่าสงสัยในกองถ่าย และให้ความอบอุ่นตลอดการท างานภาคสนาม ทั้งเชิงกายภาพและเชิงดิจิทัลมาเป็นเวลาแรมปี ขอบคุณเพื่อนชาวสิงคโปร์ทุกคนที่สนใจและให้ก าลังใจตลอดการทาวิทยานิพนธ์ โดยเฉพาะโจอี้ ที่เป็น ผู้สนับสนุนผู้เขียนในทุกด้าน ไนเช็ง ผู้ที่คอยเป็นห่วงว่าผู้เขียนจะหิวหรือเปล่า และบุนหัว ผู้เชี่ยวชาญ ภาษาฮกเกี้ยนและซิงลิชที่ยินดีให้ผู้เขียนปรึกษาตลอดเวลา เหนือสิ่งอื่นใด ขอบพระคุณอาจารย์ยุกติ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์สุดคูลที่ชี้นาแนวทาง ให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาที่มีความหมาย และส่งผ่านความรู้ในวิชามานุษยวิทยาภาษาให้กับ ผู้เขียนอย่างตั้งใจ และขอขอบพระคุณกรรมการทั้งสองท่าน อาจารย์พจนกและอาจารย์นิติ ที่ สนับสนุนและเมตตาลูกศิษย์คนนี้เสมอมา และขอขอบคุณพี่วิชัยและพี่หนึ่งที่คอยดูแลและเอาใจใส่ ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ใช้ชีวิตใน “ส านักท่าพระจันทร์” แห่งนี้

นายเควินทร์ ลัดดาพงศ์

Ref. code: 25615808030521AIP (6)

สารบัญ

หน้า บทคัดย่อภาษาไทย (1)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (3)

กิตติกรรมประกาศ (5)

สารบัญตาราง (9)

สารบัญภาพ (10)

บทที่ 1 บทน า 1

1.1 ความเป็นมา: ภาษาซิงลิชในยูทูบ 1 1.2 ภาษาซิงลิชคืออะไร? 4 1.3 นิเวศวิทยาของภาษาซิงลิช 12 1.4 มองยูทูบด้วยแว่นของนักมานุษยวิทยาภาษา 16 1.5 กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี 19 1.5.1 อุดมการณ์ 19 1.5.1.1 อุดมการณ์ภาษา 19 1.5.1.2 อุดมการณ์สื่อ 22 1.5.2 ความกันเองทางวัฒนธรรม 23 1.6 ค าถามการวิจัย 25 1.7 ขอบเขตของการศึกษา 26 1.8 วิธีด าเนินการวิจัย 28 1.9 สัญลักษณ์การถอดเสียง 29 1.10 เนื้อหาของวิทยานิพนธ์โดยสังเขป 30

Ref. code: 25615808030521AIP (7)

บทที่ 2 ภาษาซิงลิช: ความอับอายแห่งชาติและอารมณ์ขันของรัฐ 31

2.1 ยุคสร้างชาติ (ค.ศ. 1965-1980) 32 2.2 ยุคปฏิรูปการศึกษา (ค.ศ. 1980-1990) 36 2.3 ยุคโลกาภิวัตน์ (ค.ศ. 1990-2000) 44 2.4 ยุคสังคายนาวัฒนธรรม (ค.ศ. 2000-2012) 53 2.5 สรุป 55

บทที่ 3 วีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบและผู้คนที่อยู่เบื้องหลัง 58

3.1 จากซิลิคอนแวลีย์ถึงสิงคโปร์ 58 3.2 ก าเนิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และชุมชนยูทูเบอร์ในสิงคโปร์ 63 3.3 ชุมชนยูทูเบอร์สิงคโปร์ในปัจจุบัน 68 3.4 Smart Nation 72 3.5 สรุป 76

บทที่ 4 เบื้องหลังการถ่ายท า 78

4.1 การวางโครงเรื่องและเขียนบท: ความสร้างสรรค์ภายใต้กรอบ 78 4.2 การคัดเลือกนักแสดง: เรือนร่างที่ “มีบุคลิกภาพ” 82 4.3 การถ่ายท า: ระบบสตูดิโอปะทะเงื่อนไขระบบเศรษฐกิจใหม่ 84 4.4 การแสดงและก ากับการแสดง: ผสานเสียงเข้าสู่เรือนร่าง 85 4.5 กระบวนการหลังการถ่ายท า: ปรับวีดิโอให้เข้ากับยูทูบ 88 4.6 สรุป 89

บทที่ 5 “ประเภทต่าง ๆ ของผู้พูดภาษาซิงลิช” 91

5.1#spiaksinglish #talkcock 92 5.1.1 #cheenapiang #cheenapok 93 5.1.2 #orangmelayu #apunehneh 103

Ref. code: 25615808030521AIP (8)

5.2 #angmopai #chiakkantang 107 5.3 #neutralsinglish #standardsinglish 114 5.4 “ภาษาซิงลิชในยูทูบ” ในความคิดของยูทูเบอร์ 124 5.5 สรุป 125

บทที่ 6 บทสรุป 128

6.1 ภาษาซิงลิชและความใหม่ของยูทูบ 127 6.2 ความมาตรฐานของความไม่เป็นมาตรฐาน 129 6.3 ความกันเอง การควบคุม และความสร้างสรรค์ในสิงคโปร์ยุคดิจิทัล 131

รายการอ้างอิง 132

ประวัติผู้เขียน 144

Ref. code: 25615808030521AIP (9)

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า 1.1 แบบจ าลองการปรับตัวทางสังคมวัฒนธรรมของอัลซากอฟ 9 1.2 ยูทูเบอร์ผู้ผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิชยอดนิยม 10 อันดับ เรียงตามจ านวน 27 1.3 ผู้ลงทะเบียนติดตาม

Ref. code: 25615808030521AIP (10)

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า 1.1 แบบจ าลองความต่อเนื่องของภาษาของแพลต 4 1.2 แบบจ าลองสามเหลี่ยมขยายของพาคีร์ 6 1.3 แบบจ าลองวงกลมภาษาอังกฤษของคาชรู 8 2.1 การแสดงตลกของหวังซาและเหย่ฟงในปีค.ศ. 1973 35 2.2 ตัวละครผู้พูดภาษาซิงลิชในรายการ The Noose 55 3.1 บรรยากาศในงาน YouTube FanFest 2015 68 4.1 บทพูดของวีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบ 80 4.2 บรรยากาศการถ่ายท า 84 4.3 ผู้ก ากับและนักแสดงร่วมกันพิจารณาภาพที่ได้บันทึกไป 86 4.4 ดาร์ริลเมื่อแต่งกายเป็นเสี่ยวทีน่า 88 5.1 ตัวละคร unker และ auntee. จากช่องต่าง ๆ 93 5.2 ตัวละคร ah beng และ ah lian จากช่องต่าง ๆ 96

Ref. code: 25615808030521AIP 1

บทที่ 1 บทน า

1.1 ความเป็นมา: ภาษาซิงลิชในยูทูบ

ในการประกวดมิสสิงคโปร์เวิลด์ (Miss Singapore World) ประจ าปีค.ศ. 20091 ส านัก ข่าวออนไลน์แห่งหนึ่งได้เผยแพร่วีดิโอสัมภาษณ์ของผู้เข้าประกวดวัย 19 ปีคนหนึ่งที่ชื่อว่าริส โลว์ (Ris Low) ผ่านทาง “ยูทูบ (YouTube)” เว็บไซต์แบ่งปันวีดิโอ (video sharing) ที่ก าลังเริ่มได้รับ ความ นิยมในเวลานั้น จนกระทั่งกลายเป็น “คลิปไวรัล” ที่ถูกส่งต่ออย่างรวดเร็วโดยผู้คนจ านวนมากและ ท าให้ริส โลว์กลายเป็นคนดังในชั่วข้ามคืน วีดิโอสัมภาษณ์ในยูทูบของเธอท าให้คนทั้งชาติหันมา จับจ้องสนใจเวทีดังกล่าว ทั้ง ๆ ที่สิงคโปร์ไม่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นชาติที่กระตือรือร้นในเรื่องการประกวด นางงามแต่อย่างใด เหตุผลที่ท าให้เป็นเช่นนั้น ไม่ใช่เพราะว่าความงามบนดวงหน้า แต่เป็นเพราะ “ลักษณะการพูด” ของเธอ เธอพูดภาษาอังกฤษด้วยส าเนียงที่ห้วนและสั้น (sharp) ผสมค าภาษาท้องถิ่น หลากหลาย เช่น ภาษาฮกเกี้ยนและภาษามลายู เรียงร้อยเป็นประโยคที่แตกต่างไปจากภาษาอังกฤษ มาตรฐาน เหนือสิ่งอื่นใด เธอมักจะลงท้ายประโยคด้วยค าเสริมน้ าเสียง (discourse particle) เช่น lah! กอปรกับเสียงของเธอที่เอื่อยเฉื่อย และใช้คาเลียนเสียงธรรมชาติ (onomatopoeia) เช่นค าว่า “boomz” มาอธิบายความคิดของเธอ ท าให้เธอถูกตัดสินว่าเป็นนางงามที่ไม่มีความสามารถพูดได้ ชัดถ้อยชัดค า (articulate) อีกทั้งยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ถูกต้องและเหมาะสม แต่ด้วยความไม่คาดฝัน มงกุฎเกียรติยศได้ลงประทับบนศีรษะของริส โลว์เมื่อการ ประกวดเสร็จสิ้นลง เธอเป็นผู้ชนะสูงสุดในการประกวดและได้รับหน้าที่เป็นตัวแทนประเทศใส่ สายสะพายสิงคโปร์ในการประกวดระดับนานาชาติ ทว่า คนสิงคโปร์จ านวนมากไม่ยอมรับการตัดสิน ของคณะกรรมการ เพราะเชื่อว่าความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ไม่ได้มาตรฐานของเธอจะท าให้ ประเทศสิงคโปร์เป็นที่น่าอับอายในสายตาชาวโลก ความคิดเห็นของครูภาษาอังกฤษคนหนึ่งที่ว่า “หล่อนจะพูดภาษาซิงลิชบนเวทีมิสเวิลด์ แล้วท าให้พวกเราคนสิงคโปร์ทั้งหมดดูเป็นพวกบ้านนอก ไหม” (Lui, 2009) สรุปปฏิกิริยาของคนสิงคโปร์จ านวนมากได้เป็นอย่างดี

1 วิทยานิพนธ์นี้จะอ้างอิงช่วงเวลาตามปีคริสต์ศักราชเพื่อให้สอดคล้องกับระบบอ้างอิงในเอกสารของ ประเทศสิงคโปร์

Ref. code: 25615808030521AIP 2

นอกเหนือจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์เซ็งแซ่ วีดิโอสัมภาษณ์ในยูทูบของริสยังสร้างเสียง หัวเราะให้กับคนสิงคโปร์อย่างมากมาย เสื้อยืดพิมพ์ลาย “boomz” กลายเป็นเสื้อผ้ายอดนิยมที่สร้าง ความชวนหัวให้แก่ผู้ที่พบเห็น (Josh Review Everything, 2009) รายการโทรทัศน์หลายรายการน า วิธีการพูดของเธอไปล้อเลียน ผู้ใช้ยูทูบจ านวนมากนาวีดิโอสัมภาษณ์ของเธอมาตัดต่อใหม่ ปรับจังหวะ ใส่ดนตรีประกอบ แทรกค าบรรยายสัพยอกอย่างสนุกสนาน และนาไปอัปโหลด (upload) บนยูทูบอีก ครั้ง เพิ่มพื้นที่ให้ผู้คนหลากหลายรับรู้ วิพากษ์วิจารณ์ ล้อเลียน และแสดงความคิดเห็นต่อการใช้ภาษา ของเธอ หลังจากนั้นไม่นาน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจ านวนหนึ่งขุดคุ้ยประวัติเสื่อมเสียของเธอในอดีต จนกระทั่งสามารถกดดันให้เธอลาออกจากต าแหน่ง จากนั้น กองประกวดได้เลือกรองอันดับสอง นางสาวปิลาร์ อาลันโด (Pilar Arlando) สาวลูกครึ่งผู้พูดภาษาอังกฤษส าเนียงบริติชในชีวิตประจ าวัน ให้สวมสายสะพายสิงคโปร์ไปปฏิบัติหน้าที่แทน ปัจจุบัน ริส โลว์กลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง (celebrity) ที่มีภาพลักษณ์เป็นผู้หญิงจีนตลก ๆ ผู้ไม่ประสีประสาต่อภาษาอังกฤษ เธอกลายเป็น เป้าหมายในการล้อเลียนและโจมตีเรื่องการใช้ภาษาของเธอ แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่ตลกร้ายก็คือ “ลักษณะการพูดภาษาอังกฤษของริส โลว์ ไม่ได้แตกต่างจากลักษณะการพูดภาษาอังกฤษของคน สิงคโปร์ทั่วไปเลย” ภาษาซิงลิชถูกพูดและเป็นที่ได้ยินในทุกบล็อกเอชดีบี (HDB block/กลุ่มอาคารเคหะ จัดสรรของรัฐบาล) ที่คนสิงคโปร์กว่า ร้อยละ 80 เรียกว่าบ้าน (Housing and Development Board, 2019) ในทุกฮอกเกอร์เซนเตอร์ (hawker centre) ศูนย์อาหารชุมชนที่คนสิงคโปร์ทุกชนชั้น แวะเวียนไปฝากท้อง ผู้คนก็สนทนาด้วยภาษาซิงลิชในสถาบันทางการเช่นโรงเรียนหรือส านักงาน หรือ ในสถานที่ราชการเช่นค่ายทหาร ที่ชายชาวสิงคโปร์ทุกคนต้องเข้าไปใช้ชีวิตการเกณฑ์ทหาร (Bloom, 1986, p. 440) หรือแม้แต่บางครั้งในสถานการณ์ที่เป็นสุดยอดของสถาบันทางการ เช่น “การประชุม รัฐสภา” ที่ส านวนภาษาซิงลิชถูกพูดอยู่เป็นครั้งคราว (Khoo, 2015) อาจกล่าวได้ว่า “ภาษาซิงลิชถูก พูดในทุกหนทุกแห่งบนเกาะสิงคโปร์” ยิ่งไปกว่านั้น คนสิงคโปร์จ านวนมากโอบรับภาษาซิงลิชในฐานะอัตลักษณ์แห่งชาติที่ควร ค่าแก่การรักษา (Ortmann, 2009, p. 36) และเป็นเครื่องหมายของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันใน สังคมพหุวัฒนธรรม (Wong, 2014, p. 138) อย่างไรก็ตาม ภายใต้รัฐบาลพรรคเดียวที่ปกครอง สิงคโปร์มามากกว่ากึ่งศตวรรษ ภาษาซิงลิชถูกติเตียนว่าเป็นภาษาวิบัติ ผิดหลักไวยากรณ์ และเป็น ภาษาอังกฤษที่ “แย่” อันเป็นพิษเป็นภัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ครั้งหนึ่ง นายลี กวนยู (Lee Kuan Yew) บิดาผู้สร้างชาติสิงคโปร์เคยกล่าวว่า “ภาษาซิงลิชเป็นความพิกลพิการอันไม่พึงประสงค์ ของคนสิงคโปร์ทั้งหลาย” (Singapore Government Press Release, 1999) ด้วยเหตุนี้ สถานะ

Ref. code: 25615808030521AIP 3

ของภาษาซิงลิชในความคิดของคนสิงคโปร์จ านวนมากจึงตั้งอยู่บนความรวนเร (ambivalence) ระหว่างความภาคภูมิใจและความอับอาย (Wong, 2014, p. 138) ความก้าวหน้าสู่อนาคตและ รากฐานทางมรดกวัฒนธรรม (Blackburn, 2013) และความเป็นโลกนิยมกับท้องถิ่นนิยม (Alsagoff, 2007) ในพื้นที่สื่อกระแสหลัก ที่ทั้งหมดด าเนินการโดยหน่วยงานของรัฐบาล “เสียง” ของ ภาษาซิงลิชถูกควบคุมอย่างเข้มข้น ด้วยเหตุนี้ รายการต่าง ๆ ในวิทยุและโทรทัศน์ของสิงคโปร์จึงล้วน เป็นภาษาอังกฤษมาตรฐานส าเนียงบริติชและอเมริกัน แต่ถึงกระนั้น ภาษาซิงลิชยังถูกพูดอย่าง ต่อเนื่องอยู่ในทุกหัวถนน การปะทะกันระหว่างภาษาอังกฤษมาตรฐานและภาษาซิงลิชเกิดขึ้นเป็น ประจ าทุกวันในพื้นที่สื่อสิงคโปร์ เช่นผู้ใช้ถนนโทรศัพท์เข้ามารายงานสภาพจราจรในรายการวิทยุเป็น ภาษาซิงลิช แต่ผู้ด าเนินรายการพูดภาษาอังกฤษมาตรฐานส าเนียงบริติช หรือผู้สื่อข่าวภาคสนาม สัมภาษณ์ผู้ค้าในตลาดสดด้วยภาษาอังกฤษมาตรฐานส าเนียงอเมริกัน ในขณะที่อีกฝ่ายตอบเป็นภาษา ซิงลิช แต่ในปัจจุบัน ภาษาซิงลิชถูกใช้อย่างแพร่หลายบนพื้นที่สื่อดิจิทัล เช่น การสนทนาใน โปรแกรมแชท หรือการตั้งสถานะในเฟซบุ๊ก (Facebook) เหนือสิ่งอื่นใด แพลตฟอร์ม (platform) ของยูทูบที่ผสมผสานระหว่างการสตรีมวีดิโอ ที่ผู้ชมสามารถมองเห็นภาพและได้ยินเสียงในเวลา เดียวกัน กับสื่อสังคม (social media) ที่ผู้คนสามารถแบ่งปันและแสดงความคิดเห็นได้ทันที ได้ท าให้ ผู้คนจ านวนมหาศาล “ได้ยินเสียง” ของภาษาซิงลิช “มองเห็นภาพ” อีกมุมหนึ่งของสิงคโปร์ และ สามารถ “สนทนา” กับภาพและเสียงเหล่านี้ วีดิโอสัมภาษณ์ของริส โลว์ในปีค.ศ. 2009 ซึ่งถือว่าเป็นวีดิโอยูทูบภาษาซิงลิชเรื่องแรก ๆ ที่มีจ านวนผู้เข้าชมกว่าหลายแสนครั้งในยูทูบ จากวันนั้นที่ยูทูบก าลังเริ่มเป็นที่นิยม ในวันนี้ ยูทูบ เป็นเว็บไซต์ยอดนิยมอันดับที่สองในสิงคโปร์รองจากกูเกิล (Google) คนสิงคโปร์ชมยูทูบเฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อวัน ไล่หลังกับการชมโทรทัศน์อย่างใกล้ชิดที่ 2.1 ชั่วโมงต่อวัน สามารถกล่าวได้ว่ายูทูบเป็น แพลตฟอร์มสื่อดิจิทัลที่ถูกใช้มากที่สุดในสิงคโปร์ (TNS Global, 2016) ยิ่งไปกว่านั้น การสร้างสรรค์ เนื้อหา (content creation) ส่วนใหญ่ของวีดิโอยูทูบในสิงคโปร์ล้วนเป็นภาษาซิงลิช ชวนให้สนใจว่า การใช้สื่อดิจิทัลกับการใช้ภาษาซิงลิชมีความสัมพันธ์กันอย่างไร วิทยานิพนธ์นี้มุ่งวิจัยการใช้ภาษาซิงลิชในกระบวนการผลิตและสร้างสรรค์วีดิโอยูทูบ ผ่านการศึกษาเชิงชาติพันธุ์นิพนธ์กับกลุ่มยูทูเบอร์ (YouTuber) ผู้สร้างสรรค์และผลิตวีดิโอเผยแพร่ ผ่านยูทูบอย่างสม่าเสมอหรือแบบมืออาชีพในสิงคโปร์ โดยจะเน้นเพียงเฉพาะวีดิโอประเภทละครสั้น แนวตลก (comedy sketch) ซึ่งเป็นวีดิโอประเภทที่ได้รับความนิยมในการผลิตและรับชมสูงสุดใน ประเทศสิงคโปร์ เหนือสิ่งอื่นใด วีดิโอเหล่านี้ล้วนผลิตออกมาเป็นภาษาซิงลิช ประเด็นส าคัญของ

Ref. code: 25615808030521AIP 4

การวิจัยวิทยานิพนธ์นี้คือความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลง การเกิดขึ้นกลุ่ม คนผลิตและรับสื่อใหม่ กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์สังคมของประเทศสิงคโปร์ใน ยุคดิจิทัล นอกจากนี้ ผู้เขียนยังสนใจว่าปรากฏการณ์ “ภาษาซิงลิชในยูทูบ” มีความหมายทาง การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของประเทศสิงคโปร์อย่างไร

1.2 ภาษาซิงลิชคืออะไร?

เราสามารถมองภาษาซิงลิชในมิติทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างไร นักภาษาศาสตร์ สังคมจ านวนมากได้พัฒนาแนวคิดและแบบจ าลองทางภาษาศาสตร์ในการอธิบายภาษาซิงลิชมาอย่าง ยาวนาน ในส่วนนี้ผู้เขียนจะทบทวนแนวทางการศึกษาภาษาซิงลิชเพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อโต้เถียงและ การคลี่คลายทางความรู้เกี่ยวกับภาษาซิงลิชตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หลังจากนั้น ผู้เขียนจะสรุป ลักษณะทั่วไปของภาษาซิงลิชเพื่อเป็นพื้นฐานในการท าความเข้าใจเนื้อหาในบทต่อไปของวิทยานิพนธ์ นี้ ภาษาซิงลิชได้รับการวิเคราะห์เชิงภาษาศาสตร์สังคมเป็นครั้งแรกโดยจอห์น แพลต (John Platt) นักภาษาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย เขาอธิบายความแตกต่างหลากหลายของภาษาอังกฤษ ในสิงคโปร์ด้วยแบบจ าลองความต่อเนื่องของภาษา (lectal continuum) ซึ่งสามารถแสดงเป็น แผนภาพในลักษณะที่เป็นสเป็กตรัมไล่จากภาษาท้องถิ่น (basilect) ผ่านภาษากึ่งทางการกึ่งท้องถิ่น (mesolect) และจบที่ภาษาทางการ (arcolect) แพลตนิยามภาษาซิงลิชว่าเป็น “ความแตกต่าง ภายใต้รูปแบบของภาษาพื้นถิ่นที่สังคมไม่ยอมรับ (basilect) ที่ตั้งอยู่ในขั้วล่างสุดของความต่อเนื่อง ทางภาษาในประเทศสิงคโปร์” (Platt, 1975, p. 366) (ดูภาพที่ 1.1)

ภาษาซิงลิช ภาษาอังกฤษมาตรฐาน

ภาพที่ 1.1 แบบจ าลองความต่อเนื่องของภาษาของแพลต แปลเป็นภาษาไทยโดยผู้เขียน. จาก The Singapore English Speech Continuum and its Basilect ‘Singlish’ as a ‘creoloid’ (p.366), โดย J. Platt, 1975, Indianapolis: Trustees of Indiana University on behalf of Anthropological Linguistic

Ref. code: 25615808030521AIP 5

ปัจจัยส าคัญที่ก าหนดว่าผู้พูดแต่ละคนจะอยู่ในต าแหน่งใดของความต่อเนื่องดังกล่าวคือ ภูมิหลังทางสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา แพลตยังอธิบายอีกว่า “ผู้พูดที่อยู่ในต าแหน่งสูงกว่าจะ สามารถใช้ภาษาที่อยู่ในต าแหน่งต่ากว่าของความต่อเนื่องได้อีกด้วย” (Platt, 1975, p. 369) ดังนั้น ผู้พูดที่ตกอยู่ในต าแหน่งภาษาท้องถิ่นก็จะใช้ภาษาซิงลิชในทุกสถานการณ์ ส่วนผู้พูดในต าแหน่งภาษา กึ่งทางการกึ่งท้องถิ่นหรือสูงกว่า ก็จะมีรูปแบบภาษาซิงลิชเป็นตัวเลือกของกลยุทธ์การใช้ภาษาได้ (Koh, 2009, p. 23) ถึงแม้ว่าแพลตจะพยายามใช้แบบจ าลองนี้เพื่อท าให้เห็นภาพของการใช้ภาษาอังกฤษ ของคนสิงคโปร์ แต่นักภาษาศาสตร์รุ่นหลังจ านวนมากต่างโต้แย้งว่าแบบจ าลองเขาเขาสนับสนุน ความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่ไม่เท่าเทียมระหว่างผู้ใช้ภาษาอังกฤษมาตรฐานและภาษาซิงลิช เนื่องจาก แพลตท าให้ภาษาซิงลิชผูกติดอยู่กับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมและระดับการศึกษาที่ต่า ซึ่ง กระตุ้นให้ภาษาซิงลิชมีคุณค่าเชิงลบ ในทางกลับกัน ภาษาอังกฤษมาตรฐานที่มีภาพลักษณ์เชื่อมโยง กับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมและระดับการศึกษาที่สูง ท าให้ภาษาอังกฤษมาตรฐานถูกเชิดชูให้มี คุณค่าเชิงบวก (Alsagoff, 2007, p. 28) นอกจากนี้งานเขียนของแพลตยังถูกวิพากษ์ว่ามีลักษณะวัตถุ วิสัย (objectivism) มากเกินไป เพราะว่าเป้าหมายของแพลตคือความพยายามที่จะตัดสินว่า ภาษาซิงลิชควรถูกจัดประเภททางภาษาศาสตร์ประเภทใด (Wee, 2018, p. 169) ต่อมาในปีค.ศ. 1991 แอน พาคีร์ (Ann Pakir) นักภาษาศาสตร์ เสนอแบบจ าลอง สามเหลี่ยมขยาย (expanding triangle model) มาใช้อธิบายภาษาซิงลิช แบบจ าลองนี้เปรียบเทียบ พื้นที่ของสามเหลี่ยมกับความสามารถของคนสิงคโปร์ในการใช้เลือกใช้ภาษาอังกฤษที่มีความแตกต่าง หลากหลายในฐานะเครื่องมือทางการสื่อสาร พาคีร์อธิบายว่าการศึกษาและความเชี่ยวชาญทางด้าน ภาษาอังกฤษเป็นปัจจัยของความกว้างของพื้นที่การเลือกใช้เครื่องมือทางภาษา (ดูภาพที่ 1.2)

Ref. code: 25615808030521AIP 6

ภาพที่ 1.2 แบบจ าลองสามเหลี่ยมขยายของพาคีร์ แปลเป็นภาษาไทยโดยผู้เขียน. จาก The Range and Depth of English-Knowing Bilinguals in Singapore (p. 170), โดย A. Pakir, 1991, Singapore: ScholarBank@NUS on behalf of World Englishes.

จากภาพ แกนทางด้านซ้ายคือแนวโน้มความเป็นทางการของการสื่อสาร และทาง ด้านขวาเป็นแนวโน้มของความสามารถในการใช้ภาษา ยกตัวอย่างเช่นผู้พูดคนหนึ่งมีความรู้ ภาษาอังกฤษเพียงเล็กน้อย และในชีวิตประจ าวันก็ใช้ภาษาอังกฤษเพียงสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการ เช่น ซื้อของหรือถามทาง พื้นที่ของความสามารถทางการใช้ภาษาอังกฤษก็จะเล็กกว่าของนักการทูตที่ ต้องใช้ภาษาอังกฤษในระดับสูงและเป็นทางการอย่างสม่าเสมอ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแบบจ าลองของพาคีร์จะเพิ่มมุมมองด้านสังคมและแสดงให้เห็น ว่าผู้พูดภาษาซิงลิชมีอ านาจกระท าการมากยิ่งขึ้น แต่แบบจ าลองของพาคีร์ยังให้ความส าคัญกับปัจจัย ของความสามารถทางภาษาอังกฤษ ซึ่งมีแนวโน้มผลิตซ้ าข้อเสนอของแพลตที่ว่าผู้ที่สามารถพูด ภาษาอังกฤษมาตรฐานได้ดีกว่ามักจะสามารถมีทางเลือกในการใช้ภาษาที่มากกว่า แอนธีอา กุปตา (Anthea Gupta) นักภาษาศาสตร์ โต้เถึยงว่าแบบจ าลองของแพลต และพาคีร์ว่าสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้พูดภาษาซิงลิชดูเหมือนเป็นเหยื่อที่ไร้อ านาจต่อระบบการศึกษา จากนั้น เธอเสนอว่าคนสิงคโปร์สามารถสลับภาษาไปมาระหว่างภาษาอังกฤษมาตรฐานและ ภาษาซิงลิชได้ตลอดเวลา โดยการสลับภาษาของคนสิงคโปร์มีความหมายเชิงสังคมและวัฒนธรรม โดย

Ref. code: 25615808030521AIP 7

ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับการศึกษาแต่ประการใด (Gupta, 1998, p. 12) ดังนั้น เพื่อเป็นการปฏิเสธ แบบจ าลองของแพลตและพาคีร์ กุปตาเสนอแนวทางการศึกษาแบบทวิภาษณ์ (diglossia) แนวคิดทวิภาษณ์เป็นแนวคิดทางภาษาศาสตร์ที่เสนอโดยชาร์ลส์ เฟอร์กูสัน (Charles Ferguson) เขานิยามทวิภาษณ์ว่าเป็นสถานการณ์ที่ภาษาสองภาษาถูกใช้ในชุมชนภาษาเดียว โดย ภาษาทั้งสองจะมีสถานะติดตัว ได้แก่ ภาษาระดับล่าง (low register หรือ L) ที่เป็นภาษาที่คนใน ชุมชนใช้ทุกวันและเป็นภาษาท้องถิ่น กับภาษาระดับสูง (high register หรือ H) ที่ใช้เพียงใน สถานการณ์จ าเพาะ เช่น วรรณกรรม การศึกษามาตรฐาน หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่เรียกร้องความ เป็นทางการ แต่อย่างไรก็ตามภาษาเหล่านี้มักจะไม่ปรากฏการใช้ในชีวิตประจ าวัน และโดยส่วนใหญ่ ภาษาระดับสูงจะไม่มีผู้ใช้ภาษาที่มาจากสัญชาตญาณ (Ferguson, 1959, p. 315) กุปตาแทนค่าสมการทวิภาษณ์ของเฟอร์กูสัน ว่าภาษาอังกฤษมาตรฐานเป็นภาษา ระดับสูง (H) และภาษาซิงลิชเป็นภาษาระดับล่าง (L) โดยการเคลื่อนระหว่างภาษาอังกฤษมาตรฐาน และภาษาซิงลิชของผู้พูดจะเกิดขึ้นในฐานะที่เป็นตัวเลือกระหว่างการพูดคุย (Gupta, 1994) อย่างไรก็ ตาม ยาโคบ ไลม์กรูเบอร์ (Jakob Leimgruber) นักภาษาศาสตร์ โต้เถียงว่าการมองการใช้ ภาษาซิงลิชในลักษณะเป็นทวิภาษณ์เป็นปัญหา เพราะว่าชุมชนทวิภาษณ์โดยปกติไม่ได้สลับภาษา (code-switch) ระหว่างภาษาสูงและภาษาต่าภายในหนึ่งประโยค ดังนั้นรหัส (code) หรือภาษาทั้ง สองจะถูกพูดอย่างมีกลยุทธ์ ในเวลาต่อมา นักภาษาศาสตร์จ านวนมากเริ่มสนใจศึกษาโครงสร้างเชิงไวยากรณ์ของ ภาษาซิงลิช พวกเขาค้นพบว่าภาษาซิงลิชไม่ได้มีลักษณะเดาสุ่ม แต่กลับเป็นภาษาที่มีโครงสร้างอย่าง เป็นระบบและมีความซับซ้อน (Gupta, 1992; Wee, 2004) เพื่อสร้างความเข้าใจว่าภาษาซิงลิชไม่ใช่ ภาษาอังกฤษที่วิบัติและผิดหลักไวยากรณ์ จากกระแสความคิดนี้ ท าให้นักภาษาศาสตร์รุ่นต่อมาเริ่มมี แนวคิดที่ว่าภาษาซิงลิชคือภาษาอังกฤษอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้บนโลกใบนี้ และถือว่าการใช้ภาษาซิงลิช เป็นการใช้ภาษาอังกฤษในฐานะเจ้าของภาษาอีกรูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่ในฐานะภาษาต่างประเทศ ด้วย เหตุนี้ นักภาษาศาสตร์ในเวลาต่อมาจึงอธิบายภาษาซิงลิชในลักษณะเป็นภาษาอังกฤษต่าง ๆ ของโลก (World Englishes) (Alsagoff and Ho, 1998; Gupta, 1992; Wee, 2004) แนวคิดที่มีอิทธิพลของนักวิชาการกลุ่มนี้คือแนวคิดของบราจ คาชรู (Braj Kachru) นักภาษาศาสตร์ เขาเสนอแนวทางการศึกษาภาษาซิงลิชรูปแบบต่อมาด้วยแบบจ าลองวงกลม ภาษาอังกฤษ (Englishes Circle Model) (Kachru, 1985) เพื่ออธิบายให้เห็นว่าภาษาอังกฤษที่ใช้ใน พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ได้มีอยู่เพียงรูปแบบเดียว แบบจ าลองนี้มีลักษณะเป็นแผนภาพวงกลมที่ซ้อนกัน จ านวนสามวง โดยขนาดรัศมีของวงกลมแต่ละวงหมายถึงรัศมีการกระจายของภาษาอังกฤษ จาก ภาษาอังกฤษวงในสู่ภาษาอังกฤษวงนอกและภาษาอังกฤษวงขยาย (ดูภาพที่ 1.3)

Ref. code: 25615808030521AIP 8

ภาพที่ 1.3 แบบจ าลองวงกลมภาษาอังกฤษของคาชรู แปลเป็นภาษาไทยโดยผู้เขียน. จาก Standard, Codification and Sociolinguisitc Realism: The English Language in the Outer Circle (p. 15), โดย B. Kachru, 1985, Cambridge: Cambridge University Press

ภาษาอังกฤษวงใน (Inner Circle of English) คือขอบเขตชองชุมชนภาษาอังกฤษแรก ที่พัฒนาลักษณะของภาษาอังกฤษและแพร่กระจายสู่ที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ในอีกความหมายหนึ่งคือพื้นที่ที่ ผู้คนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และคนในชุมชนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก ในที่นี้คือ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ แคนาดา แอฟริกาใต้ และ ประเทศอดีตอาณานิคมอังกฤษในหมู่เกาะทะเลแคริบเบียน ต่อมา ภาษาอังกฤษวงนอก (Inner Circle of English) คือชุมชนภาษาที่รับภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางเพื่อการสื่อสาร และมีการใช้ ภาษาอังกฤษในระบบราชการ ระบบยุติธรรม และระบบการศึกษา โดยคนในชุมชนไม่ได้ใช้ ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาแม่ เช่น อินเดีย ไนจีเรีย มาเลเซีย แทนซาเนีย เคนยา และฟิลิปปินส์ สุดท้าย ภาษาอังกฤษวงขยาย (Expanding Circle of English) คือพื้นที่ที่ภาษาอังกฤษไม่ได้มี บทบาทในประวัติศาสตร์และการปกครอง แต่เป็นพื้นที่ที่ใช้ภาษาอังกฤษในฐานะการสื่อสารนานาชาติ เช่น จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เกาหลีใต้ อินโดนิเซีย (Kachru, 1985) ส าหรับคาชรู สิงคโปร์อยู่ในพื้นที่หมิ่นเหม่ระหว่างภาษาอังกฤษวงในและวงนอก เขา กล่าวว่า คนสิงคโปร์จ านวนมากเริ่มใช้ภาษาอังกฤษในครอบครัว แต่ภาษาอังกฤษก็ไม่ได้อยู่ในฐานะ

Ref. code: 25615808030521AIP 9

ภาษาแม่ ดังนั้นสิงคโปร์จึงเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่อัตลักษณ์การใช้ภาษาอยู่ในสถานะก้ากึ่งระหว่าง ความเป็นเจ้าของภาษาและผู้พูดภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สอง (Kachru, 1985) อย่างไรก็ดี แบบจ าลองของคาชรูเป็นที่วิพาษ์วิจารณ์ในเวลาต่อมา เพราะว่าแบบจ าลอง นี้ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ถึงความแตกต่างหลากหลายและพลวัตที่มีอยู่ภายในชุมชนภาษา และ ลักษณะการใช้ภาษาไม่สามารถก าหนดได้ตามพรมแดนของรัฐชาติ นอกจากนี้ นักภาษาศาสตร์ยัง วิพากษ์แนวคิดของคาชรูว่ามีแนวโน้มที่จะผลิตซ้ าความไม่เท่าเทียม ที่คาชรูต้องการโต้แย้งตั้งแต่ต้น เช่นการแบ่งแยกว่าใครเป็นหรือไม่เป็นเจ้าของภาษา (Park and Wee, 2009, p. 390) ต่อมาในปีค.ศ. 2007 ลูบนา อัลซากอฟ (Lubna Alsagoff) นักภาษาศาสตร์ เสนอ แบบจ าลองการรับรู้ทางวัฒนธรรม (cultural orientation) เธอพยายามโต้เถึยงว่าการเลือกใช้ความ แตกต่างหลายหลายทางภาษาอังกฤษของคนสิงคโปร์ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมายทางสังคม และวัฒนธรรม และไม่ได้เกี่ยวกับความสามารถทางภาษาอังกฤษ (Alsagoff, 2007) (ดูตาราง 1.1)

ตารางที่ 1.1 แบบจ าลองการปรับตัวทางสังคมวัฒนธรรมของอัลซากอฟ แปลเป็นภาษาไทยโดยผู้เขียน

ภาษาอังกฤษมาตรฐาน ภาษาอังกฤษแบบไม่เป็นทางการ โลกนิยม ท้องถิ่นนิยม

ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมวัฒนธรรม

อ านาจ ความเป็นมิตร

ความเป็นทางการ ความไม่เป็นทางการ

ระยะห่าง ความใกล้ชิด

ความส าเร็จทางการศึกษา ความเป็นสมาชิกในชุมชน หมายเหตุ. จาก Singlish: Negotiating Culture, Capital and Identity (น. 39), โดย L. Alsagoff, 2007, Rotterdam: Sense Publishers.

อัลซากอฟเสนอว่าผู้พูดชาวสิงคโปร์สามารถปรับตัวเลือกใช้ภาษาอังกฤษได้ทั้งสอง รูปแบบได้ตามความต้องการ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการจะเข้าสู่ทุนทางวัฒนธรรมแบบโลกนิยม (globalism) หรือแบบท้องถิ่นนิยม (localism) เช่นในสถานการณ์ที่ผู้พูดอยู่ในบริบทและต้องการ เข้าถึงทุนทางวัฒนธรรมแบบโลกนิยม ที่สามารถเขาอาจจะได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและ

Ref. code: 25615808030521AIP 10

อ านาจ เขาจะต้องใช้ภาษาทางการเพื่อแสดงความห่างเหินเพื่อการบรรลุผลทางวิชาการและการศึกษา และในทางกลับกัน ผู้พูดคนเดียวกันอาจต้องการความเป็นมิตร ที่ต้องใช้ภาษาไม่เป็นทางการเพื่อ แสดงความใกล้ชิดระหว่างผู้พูดและผู้ฟังเพื่อการบรรลุผลความเป็นส่วนหนึ่งกับสังคมและชุมชน ส าหรับการเข้าถึงทุนทางวัฒนธรรมแบบท้องถิ่นนิยม อย่างไรก็ดี งานศึกษาของอัลซากอฟยังไม่สามารถหลุดออกจากแนวคิดเชิงคู่ตรงข้าม ถึงแม้ว่าการใช้แนวคิดทวิภาษณ์หรือแนวคิดเชิงคู่ตรงข้ามมาวิเคราะห์ชุมชนภาษาจะท าให้เรามองเห็น การเมืองที่อุบัติขึ้นในชุมชนภาษา ที่สถานะของภาษาทั้งสองต่างคัดง้างและดึงดันกันในสังคม และ น าไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา การต่อสู้เชิงชนชั้น การขับเคี่ยวระหว่าง อัตลักษณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการต่อต้านอ านาจรัฐผ่านภาษามาตรฐาน แต่การอธิบายภาษาซิงลิชเช่นนี้ อาจเป็นอุปสรรค์ต่อการเปิดเผยมุมมองอื่น ๆ ที่น่าสนใจเมื่อผู้คนสื่อสารผ่านความแตกต่างหลากหลาย ทางภาษา ไลเนล วี (Lionel Wee) นักภาษาศาสตร์ ได้ให้มุมมองที่มีประโยชน์ต่อแนวทางภาษา ซิงลิชว่าความแตกต่างหลากหลายชองภาษาอังกฤษในสิงคโปร์ไม่สามารถอธิบายโดยตรงไปตรงมาได้ ดังนั้นการอธิบายภาษาซิงลิชด้วยแนวคิดต่าง ๆ ดังกล่าวมีลักษณะที่ไร้พลวัตมากเกินไป หนึ่งในเหตุผล ที่เป็นเช่นนั้นคือการพยายามจัดระเบียบว่าภาษาซิงลิชมีลักษณะทางภาษาศาสตร์ อย่างไร ดังนั้นภาษาซิงลิชจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงโดยอิทธิพลของ โลกาภิวัตน์ ดังนั้นการอธิบายภาษาซิงลิชควรมีพลวัตและยืดหยุ่นมากขึ้น (Wee, 2018) ไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักภาษาศาสตร์จ านวนไม่น้อยเสนอกรอบแนวคิดเกี่ยวกับภาษาซิงลิช กระแสรองที่น่าสนใจ เช่น การกลายเป็นสินค้าของภาษาซิงลิช (Wee, 2018) การมองภาษาซิงลิช ด้วยแนวคิดความโน้มเอียงทางอุปนิสัย (habitus) ในแบบปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Boudieu) (Koh, 2009) และการเริ่มมองที่การใช้ภาษาจริงในสถานการณ์ต่าง ๆ (Wong, 2014) อย่างไรก็ดี ไลม์กรูเบอร์ได้เสนอแนวคิดที่น่าสนใจ เขาเสนอว่านักภาษาศาตร์ควรมอง ภาษาซิงลิชในฐานะตัวบ่งชี้ (index) ที่สามารถชี้ให้เห็นบริบทเฉพาะ เขากล่าวว่า “การมอง ภาษาซิงลิชในฐานะตัวบ่งชี้ประกอบกับการพิจารณาความตระหนักรู้ของผู้พูดเมื่อใช้ความแตกต่าง หลากหลายทางภาษา สามารถชี้ให้เห็นถึงความหมายทางสังคมที่ซ่อนอยู่ของผู้พูด” (Leimgruber, 2013, p. 104) ด้วยแนวคิดของไลม์กรูเบอร์ ผู้เขียนจะมองภาษาซิงลิชในฐานะตัวบ่งชี้ ที่เมื่อหาก พิจารณาประกอบกับความตระหนักรู้ในการใช้ภาษา จะสามารถแสดงให้เห็นว่ายูทูเบอร์ใช้ภาษาซิงลิช เพื่อชี้ให้เห็นบริบทจ าเพาะใด แต่ถึงกระนั้น การท าความเข้าใจภาษาซิงลิชในฐานะที่เป็นคู่ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ มาตรฐานยังเป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลในสังคมสาธารณะของสิงคโปร์ ยกตัวอย่างเช่นคนสิงคโปร์จ านวน

Ref. code: 25615808030521AIP 11

มากยังใช้แบบจ าลองของแพลตอธิบายอัตลักษณ์การใช้ภาษาของตน “ให้มองภาษาซิงลิชในแบบส เป็กตรัมดีกว่า แทนที่จะตัดสินว่าอะไรเป็นภาษาอังกฤษ อะไรเป็นภาษาซิงลิช” ผู้ให้ข้อมูลคนหนึ่ง กล่าว (C. Tan, interview, July 5, 2019) ยูทูเบอร์คนหนึ่งกล่าวกับผู้เขียนพร้อมท าท่าทางประกอบ ว่า “(ยกมือซ้าย) อันนี้ภาษาซิงลิช (ยกมือขวา) อันนี้ภาษาอังกฤษ (ชี้นิ้วไปตรงกลาง) ผมพูดแบบนี้” (Y. Gung, interview, July 6, 2016)) โดยสรุป นักภาษาศาสตร์ผู้ศึกษาภาษาซิงลิชในปัจจุบันพยายามสร้างความเข้าใจว่า ลักษณะทางภาษาของภาษาซิงลิชไม่ได้มีลักษณะตายตัวและเป็นสารัตถะ ดังนั้นเราควรมองว่าภาษา ซิงลิชเป็นความแตกต่างหลากหลายทางภาษาที่ถูกพูดอย่างมีกลยุทธ์ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติความเป็น ตัวบ่งชี้บริบทได้อีกด้วย เพื่อให้เห็นภาพโดยคร่าวว่าภาษาซิงลิชถูกเข้าใจเชิงไวยากรณ์อย่างไร นักภาษาศาสตร์ได้สรุปลักษณะทั่วไปของภาษาซิงลิชได้อย่างกระชับดังนี้ (Koh, 2009; Lazar, 2010) 1) ค าเรียกในบริบทท้องถิ่น เช่น uncle และ aunty ในฐานะที่เป็นคาเรียกอ้างอิงอย่าง สุภาพต่อผู้ชายและผู้หญิงที่อาวุโสกว่าตามล าดับ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ญาติก็ตาม 2) การปนภาษา (code-mixing) ของภาษาท้องถิ่นในระดับค าและวลี เช่น She kenna (ภาษามลายู) scolded. (เธอถูกตะคอกใส่) 3) วลีและประโยคที่ถูกแปลโดยตรง (tranliteratation) จากภาษาท้องถิ่น โดยลักษณะ ที่พบได้บ่อยเช่น - การเน้นหัวเรื่อง (topic prominence) เช่น That boy so silly lah. (เด็ก หนุ่มคนนั้นโง่เหลือเกิน) The chair here you put your stuff lor. (กรุณาวางของบนเก้านี้ตรงนี้) Tomorrow I need to go shopping. (ฉันอยากไปซื้อของในวันพรุ่งนี้) She swimming also cannot one lah. (เธอว่ายน้าไม่เป็น) (Koh, 2009, p. 58) การละสรรพนาม (pro-drop) เช่น Try! Nice one! (ลองอันนี้สิ มันดีมาก) Can just eat without worrying weight gain meh? (เธอ สามารถกินโดยที่ไม่ต้องกลัวน้ าหนักขึ้นก็ได้เหรอ) Why take so long to come? (ท าไมใช้เวลานาน มากกว่าจะได้มันมา) I think dogs are gross, so when I see I kick lah. (ฉันว่าสุนัขน่ารังเกียจ ดังนั้นถ้าฉันเห็นฉันจะเตะมันเลย) (Koh, 2009, p. 59) - การละค ากริยา be (zero copula) เช่น ในประโยคส่วนเติม She famous meh? (เธอมีชื่อเสียงเหรอ) I damn naughty. (ฉันดื้อรั้นสุด ๆ) She very irritating ah? (เธอน่า ราคาญเหรอ) ประโยคกรรมวาจก (passive voice) เช่น She punished. (เธอถูกทาโทษ) ประโยค กริยาไม่แท้ (non-finite verb) เช่น He always firting non-stop lah! (เขาโปรยเสน่ห์ตลอดเวลา) (Koh, 2009, p 59)

Ref. code: 25615808030521AIP 12

- การละตัวแสดงกาลในภาษาอังกฤษ (absent tense marking) เช่น Last Christmas I shop until credit card maxed out. (ฉันซื้อของจนบัตรเครดิตเต็มวงเงินเมื่อวัน คริสต์มาสปีที่แล้ว) When he was in Perth I call him everyday. (เมื่อเขาอยู่ที่เพิร์ธ ฉันโทรหา เขาทุกวัน) (Koh, 2009, p. 60) - การใช้รูปประโยคภาษาซิงลิชอื่น ๆ เช่น การซ้ าคา (reduplication of word) เช่น They two friend friend one lah! (เขาทั้งสองเป็นเพื่อนกันเฉย ๆ) My boy boy cute one. (ลูกชายฉันน่ารัก) (Wee, 2004; Umberto, 2004) การใช้ค าว่า can แทนค าว่า 可以 /kěyǐ/ ใน ภาษาจีน หรือ boleh ในภาษามาเลย์ในฐานะคากริยาหลักที่แปลว่าได้ เช่น Like that also can one. (ทาอย่างนั้นก็ได้) (Wong, 2014, p. 141) 4) ค าเสริมน้ าเสียงท้ายประโยค (discourse particle) เช่น น้ าเสียงขัดแย้ง (contradictory) เช่น mah, what น้ าเสียงนาเสนอ (assertive) เช่น meh, geh, leh, nah, lah, lor, one, sia และน้ าเสียงไม่แน่ใจ (tentative) เช่น hor, hah, ah, eh (Gupta, 1992) 5) การออกเสียง เช่น เสียงควบกล้า /l/ เป็น /ɹ/ ในค าว่า play เสียง /θ/ เป็น /f/ ใน ค าว่า thing หรือ with และเสียง /ð/ เป็น /d/ ในค าว่า this หรือ those (Leimgruber, 2013, p. 67) แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการออกเสียงก็จะแตกต่างไปตามผู้ใช้ภาษาแม่ต่าง ๆ ด้วย เช่น คนมาเลย์สามารถออกเสียงพยัญชนะท้าย /l/ เช่นในค าว่า whirl หรือ call ได้มากกว่าผู้พูดภาษาแม่ อื่น ๆ เพราะในภาษามลายูมีพยัญชนะท้ายเสียง /l/ คล้ายในภาษาอังกฤษ เช่นค าว่า tinggal (อาศัย อยู่) หรือ hafal (จ า) (Wong, 2014)

1.3 นิเวศวิทยาของภาษาซิงลิช

ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้วว่าภาษาซิงลิชถูกพูดอยู่ในทุกหย่อมหญ้าของสิงคโปร์ ในส่วน นี้จะนาเสนอชีวิตทางภาษาศาสตร์สังคมของภาษาซิงลิช ว่าภาษาซิงลิชถูกใช้ในแต่ละสถานการณ์ ต่าง ๆ อย่างไร นักภาษาศาสตร์จ านวนมากต่างเห็นพ้องกันว่าภูมิทัศน์ทางภาษาของสิงคโปร์เต็มไปด้วย ความหลากหลายของภาษา เหตุเพราะภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ (ดูบทที่ 2) และความต้องการของ รัฐบาลให้ประชาชนในสิงคโปร์เป็นผู้ที่สามารถพูดได้สองภาษา ที่มีความรู้ในภาษาอังกฤษ (English- knowing bilingualism) (Pakir, 1991) เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลสิงคโปร์ท าให้ความแตกต่างหลากหลาย ทางภาษาให้กลายเป็นสถาบัน ภาษาซิงลิชจึงเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นภายในภูมิทัศน์ภาษาที่แตกต่าง หลากหลายของสิงคโปร์นี้

Ref. code: 25615808030521AIP 13

อิงอิง ตัน (Ying-Ying Tan) นักภาษาศาสตร์ เสนอว่า “ภาษาซิงลิชก าเนิดขึ้นเพราะ นิเวศวิทยาทางภาษาของสิงคโปร์ ที่ถูกกรอบโดยการวางแผนนโยบายภาษาเป็นหลัก ตันเสนอว่าการที่ รัฐบาลสิงคโปร์ก าหนดให้คนสิงคโปร์เป็นผู้พูดสองภาษาผ่านระบบการศึกษาท าให้เกิดความแตกต่าง หลากหลายของการใช้ภาษา และท าให้ภาษาซิงลิชเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการที่รัฐบาล พยายามก าหนดให้คนสิงคโปร์พูดภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์มาตรฐานแสดงให้เห็น ถึงความย้อนแย้งที่ว่ารัฐบาลท าให้การพูดสองภาษาเป็นสถาบัน แต่ในขณะเดียวกันก็รับรองเพียง ลักษณะการพูดที่เป็นมาตรฐานเพียงลักษณะเดียวให้เป็นสถาบัน (Tan, 2017, p. 99)

ดังนั้นในทางกลับกัน การที่สิงคโปร์พยายามผลิตประชาชนที่มีความสามารถหลายภาษา เป็นการยอมรับโดยกลายอยู่แล้วว่านิเวศวิทยาภาษาของสิงคโปร์จะต้องเต็มไปด้วย ภาษาที่หลากหลาย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่ฟังขึ้นหากรัฐบาลจะเชื่อว่าภาษาซิงลิชและ ภาษาอังกฤษมาตรฐานไม่สามารถอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศเดียวกันได้ (Tan, 2017, p. 100)

จ็อก หว่อง (Jock Wong) นักภาษาศาสตร์ ได้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะการใช้ภาษาของคน สิงคโปร์ทั่วไป เขากล่าวว่า

คนสิงคโปร์จ านวนมากไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษมาตรฐานได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อคน สิงคโปร์พยายามพูดภาษาอังกฤษมาตรฐานในระยะเวลาที่ยาวนาน ลักษณะของภาษา ซิงลิชและภาษาที่ไม่เป็นมาตรฐานอื่น ๆ เช่น สแลง ก็มักจะปรากฏขึ้นในค าพูด แม้แต่ ครูสอนภาษาอังกฤษจ านวนมากก็พบการใช้ภาษาในลักษณะนี้ เหนือสื่งอื่นใด สิ่งนี้ หมายความว่าคนสิงคโปร์ไม่สามารถเข้าถึงภาษาอังกฤษมาตรฐานที่สมบูรณ์แบบหรือ ใกล้เคียงกับสมบูรณ์แบบได้ตลอดเวลา (Wong, 2014, p. 18)

นักภาษาศาสตร์จ านวนมากต่างสรุปว่าภาษาซิงลิชสามารถแสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิด และความเป็นท้องถิ่นของสังคมสิงคโปร์ (Alsagoff, 2007; Khoo, 2015) เวลดา คู (Velda Khoo) นักภาษาศาสตร์ ศึกษาการใช้ภาษาซิงลิชในการประชุมรัฐสภาของนักการเมืองฝ่ายค้าน พบว่า นักการเมืองกลุ่มนี้ใช้ภาษาซิงลิชเพื่อต่อต้านกับภาษาอังกฤษมาตรฐาน ที่เต็มไปด้วยอุดมการณ์ชนชั้น น านิยม (elitism) ของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล และเพื่อเพิ่มความเป็นท้องถิ่นและความเป็นสมาชิก

Ref. code: 25615808030521AIP 14

ภาพของชุมชน อย่างไรก็ตาม การสลับภาษาไปมาระหว่างภาษาซิงลิชและภาษาอังกฤษมาตรฐาน ยังคงมีความจ าเป็นในสายตาของนักการเมืองฝ่ายค้าน เพราะพวกเขาเชื่อว่าสิงคโปร์มีวาทกรรมอยู่ สองระบบที่ซ่อนอยู่ภายในบริบทของสิงคโปร์ และเพื่อต่อรองให้ “ไม่มีความเป็นชนชั้นน ามากเกินไป เหมือนกับพรรคกิจประชา (People’s Action Party) แต่ไม่ฟังดูไร้การศึกษามากเกินไป” (Khoo, 2015, p. 78) แสดงให้ถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนและหลากหลายระหว่างอุดมการณ์ภาษา ซึ่งผู้พูด สามารถจัดการในการใช้ภาษาจริง และสามารถน าไปสู่การก าเนิดขึ้นของอัตลักษณ์ได้ (Bucholtz & Hall, 2005) งานศึกษาของคูได้เปิดเผยให้เห็นว่าความเชื่อหลักเกี่ยวกับภาษาของสิงคโปร์ตั้งอยู่บน ภาวะ ทวิภาษณ์ (Ferguson, 1959) ที่แกว่งไปมาระหว่างความเป็นมาตรฐานและความไม่เป็น มาตรฐาน การต่อสู้กันระหว่างผู้สนับสนุนการใช้ภาษาซิงลิชและภาษาอังกฤษมาตรฐาน (ภายใต้ แนวคิดแบบทวิภาษณ์) เป็นโวหารหลักทางวัฒนธรรมของประเทศสิงคโปร์มาอย่างยาวนาน (Koh, 2009) โดยผู้สนับสนุกการใช้ภาษาอังกฤษมาตรฐานจะเน้นความส าคัญไปที่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ของชาติ และผู้ที่สนับสนุนการใช้ภาษาซิงลิชพยายามต่อสู้เพื่ออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Yoong, 2012, p. 1) อเดลีน โค้ว (Adeline Koh) เสนอเพิ่มเติมว่าภาษาซิงลิชยังสามารถบ่งชี้ถึงความสุภาพ ในบริบทสังคมของสิงคโปร์ เพราะในภาษาจีนกลางและภาษาจีนท้องถิ่น ค าเสริมน้ าเสียงท้ายประโยค สามารถบ่งบอกถึงทัศนคติของค าพูดในสิงคโปร์ ดังนั้นการยกลักษณะทางภาษาดังกล่าวเข้ามาสู่ ภาษาอังกฤษ ซึ่งคนสิงคโปร์ส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่าเป็นภาษาที่ก้าวร้าว (Oon, 2005) ท าให้การพูด ภาษาอังกฤษในลักษณะภาษาซิงลิชสามารถบ่งชี้ถึงความสุภาพ ภายใต้โครงสร้างสังคมที่เคารพความ อาวุโส (Koh, 2009) ในบริบทการศึกษา ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับนิเวศวิทยาของภาษาซิงลิช รานี รับดี (Rani Rubdy) นักการศึกษาส ารวจการใช้ภาษาซิงลิชในกลุ่มนักเรียนประถม พบว่าการสลับไป มาระหว่างภาษาอังกฤษมาตรฐานและภาษาซิงลิชเป็นสิ่งที่ครูพยายามกีดกัน เพราะครูจ านวนมากเชื่อ ว่าการใช้ภาษาซิงลิชเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการรู้หนังสือภาษาอังกฤษมาตรฐานของนักเรียน แต่ อย่างไรก็ตาม รับดีพบว่าการใช้ภาษาซิงลิชในห้องเรียนกลับเพิ่มขึ้น (Rubdy, 2007, p. 308) เมื่อ เวลาผ่านไป รวนนี ทูพาส (Ruanni Tupas) นักการศึกษาเสนอว่าการใช้ภาษาซิงลิชของคนสิงคโปร์ สามารถท าให้การใช้ภาษาอ้งกฤษมาตรฐานในเวลาเดียวกัน ดังนั้นการใช้เรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในห้องเรียนจะต้องใช้ภาษาซิงลิชอย่างมีกลยุทธ์และมีความรู้ โดยการเน้นไปที่ความเปลี่ยนแปลง เชิงทัศนคติและความหมายทางวัฒนธรรมของการสลับไปมาระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาซิงลิช (Tupas, 2016, p. 1)

Ref. code: 25615808030521AIP 15

จากมุมมองของชาวต่างชาติ ยุนฮี คัง (Yoonhee Kang) นักภาษาศาสตร์ ศึกษาการ ปรับตัวของชาวเกาหลีในนิเวศวิทยาภาษาของสิงคโปร์ พบว่ากลุ่มคนเกาหลีที่ศึกษาในสิงคโปร์ต้อง พยายามพิจารณาคุณค่าและให้ความหมายกับภาษาจีนกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาซิงลิช เพื่อ หลอมรวมตนเองให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมสิงคโปร์ โดยในกระบวนการชาวเกาหลีกลุ่มนี้มักจะ เน้นไปที่อภิวัจนปฏิบัติศาสตร์ (metapragmatic) ของการสลับภาษาในสิงคโปร์ กล่าวคือ พวกเขาจะ ใช้ภาษาแต่ละภาษาอย่างไรให้เหมาะสม และจะสลับภาษาอย่างไรให้เหมาะสม (Kang, 2012, p. 165) งานของคังแสดงให้เห็นถึงมุมมองที่มีต่อความแตกต่างหลากหลายทางภาษาในสิงคโปร์จาก มุมมองของคนนอก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความส าคัญของภูมิทัศน์ภาษาและวิธีการพูดและสลับแต่ละ ภาษาให้เหมาะสม โดยหากต้องการหลอมรวมกับสังคมสิงคโปร์ คนนอกจ าเป็นต้องปรับตัวและเรียนรู้ ล าดับชั้นของภาษาและการใช้ภาษาซิงลิชให้ถูกต้อง โดยสรุป จากงานศึกษาต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อหลักเกี่ยวกับภาษาซิงลิช ว่า ภาษาซิงลิชตั้งอยู่บนขั้วตรงข้ามกับภาษาอังกฤษมาตรฐาน ซึ่งมีชุดคุณค่าที่แตกต่างจากการใช้ ภาษาอังกฤษมาตรฐาน โดยความเชื่อเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างสูงกับความเป็นคนสิงคโปร์ เพราะว่าการ ใช้ชีวิตในสิงคโปร์จ าเป็นต้องเข้าใจวิธีการใช้ภาษาต่าง ๆ ในสิงคโปร์ และสร้างสมดุลในการสลับภาษา ต่าง ๆ ให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ โดยภาษาซิงลิชมีความหมายส าคัญต่อคุณค่าการเป็นคน ท้องถิ่นและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมสิงคโปร์ แต่ภาษาซิงลิชก็มักจะหอบหิ้วเครื่องหมายของการขาด การศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งสิงคโปร์อยู่ในสถานะผู้น าทางการศึกษาในระดับโลก จึงน่าอับอายไม่น้อย หากคนสิงคโปร์ ผู้ได้รับการศึกษาในระบบการศึกษาชั้นน าของโลก ไม่สามารถใช้ซิงลิช ซึ่งในอีกแง่ หนึ่งเป็นภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน ในขณะที่ภาษาซิงลิชยังปรากฏทั่วไปในค าพูด แต่ในสื่อทางการของรัฐอย่างเช่นโทรทัศน์ และวิทยุ ล้วนไม่ปรากฏภาษาซิงลิช นักแสดงคนหนึ่งของมีเดียคอร์ป (Mediacorp) บริษัทสื่อวิทยุ โทรทัศน์หลักของสิงคโปร์ ซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของ กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า

เวลาที่ผมแสดง ผมรู้สึกหนักใจมาก เพราะผมต้องพูดให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ถ้า คุณเป็นนักแสดงในมีเดียคอร์ปนะ และคุณพูดภาษาได้ไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นคน ที่แสดงได้เก่งที่สุด แสดงได้ตลกที่สุด หรือคุณอาจจะหน้าตาดีที่สุด แต่ค าพูดที่ออกมา จากปากของคุณเป็นขยะ คุณก็จะไม่มีทางไปได้ไกลในสายงานนี้ P. Fong (interview, November 1, 2018)

Ref. code: 25615808030521AIP 16

สิ่งที่นักแสดงผู้นี้กล่าวแสดงให้เห็นถึงความพยายามควบคุมภาษาในสื่อให้เป็นมาตรฐาน แต่ถึงกระนั้น ในวงการภาพยนตร์ ภาษาไม่ใช่ประเด็นส าคัญที่รัฐบาลคอยตรวจสอบและควบคุม แต่ เนื้อหาของภาพยนตร์ต่างหากที่เป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามตรวจพิจารณาอย่างหนัก โดยเนื้อหาที่สุ่ม เสี่ยงต่อการเซ็นเซอร์คือเนื้อหาเชิงเพศ การดูหมิ่นเชื้อชาติและศาสนา และเนื้อหาเชิงการเมือง (E. Khoo, interview, November 10, 2017) ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าสื่อโทรทัศน์ ที่ในสายตาของรัฐบาล อาจเป็นสื่อที่มีความฉับไว (immediacy) และมีความใกล้ชิด (intimacy) กับผู้ชมมากกว่าภาพยนตร์ จ าเป็นต้องได้รับการควบคุมภาษาอย่างเข้มข้นและรัดกุม การที่ภาษาซิงลิชปรากฏในยูทูบจึงเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการ เกิดเทคโนโลยีสื่อสังคมและสื่อดิจิทัล และน่าสนใจอย่างยิ่งว่าสื่อดิจิทัลที่มีความฉับไวและใกล้ชิดกว่า โทรทัศน์ในบริบทปัจจุบัน รัฐบาลมีบทบาทในการควบคุมอย่างไร และนักสร้างสรรค์ในสื่อดิจิทัล เช่น ยูทูเบอร์ มีปฏิบัติการในการสร้างสรรค์อย่างไร

1.4 มองยูทูบด้วยแว่นของนักมานุษยวิทยาภาษา

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 ยูทูบได้เปิดตัวขึ้นครั้งแรกบทพื้นพิภพอินเทอร์เน็ต ด้วยการก่อตั้งของสามอดีตพนักงานบริษัทเพย์พาล (PayPal) แชด เฮอร์ลีย์ (Chad Hurley) นักออกแบบ สตีฟ เฉิน (Steve Chen) และจาเว็ด คาริม (Jawed Karim) นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผู้ออกมาก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพ (startup company) เป็นของตนเอง ความตั้งใจตั้งต้นของทั้งสามคน คือการท าให้ยูทูบเป็นพื้นที่จัดเก็บวีดิโอออนไลน์ที่สามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลา (Goo, 2006) แต่ หลังจากนั้นในปี 2006 บริษัทกูเกิล (Google) ได้ซื้อกิจการจากพวกเขา และได้พัฒนายูทูบจนกระทั่ง กลายเป็นสื่อดิจิทัลที่มีแพลตฟอร์มผสมผสานระหว่างการสตรีมวีดิโอและสื่อสังคมออนไลน์ และมี เนื้อหาหลากหลายจากรายการบันเทิงสู่รายการการเมือง ยูทูบเติบโตเรื่อยมาจนกระทั่งในปัจจุบันได้ กลายเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าใช้มากที่สุดในโลกรองจากกูเกิล (O’Malley, 2006) นักมานุษยวิทยาจ านวนไม่น้อยเริ่มหันมาสนใจศึกษายูทูบในหลากหลายแง่มุม เช่น ยูทูบและการตระหนักรู้ตัวตน (Wesch, 2009) ยูทูบและการสร้างอัตลักษณ์ (Abidin, 2017) หรือ แม้กระทั่งยูทูบกับการเมืองระดับชาติ (Stein, 2012) ในส่วนนี้ ผู้เขียนจะนาเสนองานศึกษายูทูบของ นักมานุษยวิทยาภาษาและวิถีปฏิบัติการสื่อสาร เพื่อทบทวนว่าเราสามารถเข้าใจยูทูบในฐานะสื่อใหม่ และแหล่งข้อมูลด้านการใช้ภาษาและการสื่อสารอย่างไร ย้อนกลับไปที่มหากาพย์ดราม่าของริส โลว์ เหตุการณ์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึง บทเรียนพื้นฐานเกี่ยวกับสื่อดิจิทัล ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่สามารถท าให้เกิดวิถีปฏิบัติทางสังคม

Ref. code: 25615808030521AIP 17

ใหม่มากมาย เช่น ความรู้และข้อมูลไหลเวียนด้วยวิธีใหม่ (การรับชมข่าวการประกวดนางงามผ่าน ยูทูบแทนที่จะเป็นโทรทัศน์) การเข้าร่วมบทสนทนาทางสังคมแบบใหม่ (การแสดงความคิดเห็นและ การแบ่งปันวีดิโอในยูทูบ) บทบาทการสื่อสารแบบใหม่ (ส านักข่าวดิจิทัลและผู้ผลิตเนื้อหาล้อเลียนริส โลว์ในอินเทอร์เน็ต) และการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบใหม่ (การขับไล่นางงามที่ “ไม่เหมาะสม” ออกจากต าแหน่งบนพื้นที่อินเทอร์เน็ต) ดังนั้นเหตุการณ์ริส โลว์จึงเป็นปรากฏการณ์ส าคัญที่แสดงให้ เห็นถึงการเข้าสู่ช่วงเวลาส าคัญที่คนสิงคโปร์ก าลังรับมือกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับจากสื่อใหม่ นักมานุษยวิทยาภาษาเรียกประสบการณ์ใหม่จากการเผชิญหน้ากับสื่อใหม่ว่า “ความ ใหม่ (newness)” (Bate, 2013; Gershon and Bell, 2013; Gershon, 2010; Gershon, 2017) พวกเขาเสนอว่า “ความใหม่ของสื่อใหม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความใหม่ของเทคโนโลยี แต่ขึ้นอยู่กับ ปฏิบัติการทางวัตถุเชิงสังคม (sociomaterial practice) ของผู้คนเมื่อใช้ภาษาและสื่อ” (Bates, 2009) และ “ความใหม่เป็นสิ่งที่ถูกสร้าง โดยแต่ละบริบทก็สร้างปรากฏการณ์ใหม่ของผู้คนที่มีต่อสื่อ ใหม่ที่แตกต่างกัน” (Urban, 2011) ยิ่งไปกว่านั้น ความใหม่ของสื่อใหม่นี้สามารถนาพาสังคมไปสู่การ เปลี่ยนแปลง (Chun and Keenan, 2006; Gitelman 2006; Marvin, 1988; Peters, 1999; Silverstone, 1999; Thorburn, Jenkins and Seawell, 2003) วิธีการหนึ่งที่ท าให้เรามองเห็นความใหม่ของสื่อใหม่คือการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ของโครงสร้างผู้เข้าร่วม (participant structure) หรือการจัดวางเชิงโครงสร้างในปฏิสัมพันธ์ว่าจะ ประกอบไปด้วยหน้าที่ทางการสื่อสารใดบ้าง และหน้าที่เหล่านี้ถูกจัดการอย่างเป็นระบบอย่างไร (Philips, 1972, p. 306) การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างผู้เข้าร่วมมักจะเกิดขึ้นเมื่อช่องทางการ สื่อสารใหม่ได้รับการแนะนาเข้ามาในโครงสร้างผู้เข้าร่วมที่สื่อเก่าสร้างไว้ และท าให้เกิดหน้าที่การ สื่อสารใหม่มากมาย (Peters, 1999) โดยเฉพาะในกรณียูทูบ ที่เปลี่ยนแปลงความเข้าใจเกี่ยวกับ ต าแหน่งทางการสื่อสารของผู้คนที่ตั้งอยู่บนความต่อเนื่องระหว่างการสื่อสารระหว่างบุคคลกับ การสื่อสารมวลชน เช่น ยูทูเบอร์กลายมาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และมีผู้คนจ านวนมากได้ยินเสียงของ เขา และผู้ชมยูทูบที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือรายงานความไม่เหมาะสมของวีดิโอได้ทันที จีน เบอร์เจส (Jean Burgess) และโจชัว กรีน (Joshua Green) นักวิชาการด้านสื่อ เสนอว่าลักษณะการใช้งานที่หลากหลาย เช่นการชมวีดิโอ การแสดงความคิดเห็น และการแบ่งปัน วีดิโอ และความเข้าถึงง่ายของยูทูบเปิดโอกาสให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างบทสนทนาและ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่แตกต่างหลากหลาย สนับสนุนให้เกิดในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าวัฒนธรรมการมี ส่วนร่วม (participatory culture) นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของผู้คนจ านวนมากในหลากหลาย ลักษณะท าให้ยูทูบมีเนื้อหา (content) ที่แตกต่างหลากหลาย ท าให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง

Ref. code: 25615808030521AIP 18

ความสัมพันธ์เชิงอ านาจระหว่างอุตสาหกรรมสื่อและผู้บริโภค ซึ่งผู้คนสามารถสื่อสารย้อนกลับกับสื่อ กระแสหลักที่พวกเขาบริโภค (Burgess and Green, 2009, p. 10) การเคลื่อนของของโครงสร้างผู้เข้าร่วมในสื่อใหม่ยังรบกวน (disrupt) การรับรู้ของผู้คน ที่มีต่ออัตลักษณ์ โดยเฉพาะอัตลักษณ์ที่ผูกโยงอย่างใกล้ชิดกับวิธีการพูด ความเปลี่ยนแปลงของ โครงสร้างผู้เข้าร่วมท้าทายเสถียรภาพและความเป็นมาตรฐานของอัตลักษณ์เก่าที่ถูกผลิตซ้ าจน กลายเป็นเรื่องธรรมดา (Bucholtz and Hall, 2005; Lempert and Silverstein, 2012; Mendoza-Denton, 2011) แกรฮ์ม โจนส์ (Graham Jones) และแบมบี ชีฟเฟอลิน (Bambi Schieffelin) นักมานุษยวิทยาภาษา ศึกษาการแสดงความคิดเห็นในยูทูบของวีดิโอโฆษณาที่ใช้ภาษาแชท ซึ่ง ประกอบด้วยการย่อคา การตัดคา และการใช้สัญลักษณ์ (emoticon) พวกเขาค้นพบว่าความก ากวม ที่เกิดขึ้นเมื่อโฆษณามาอยู่บนยูทูบ ที่โฆษณาเคยเป็นการสื่อสารทางเดียวในสื่อกระแสหลัก สะท้อนให้ เห็นความหวาดกลัวว่าความไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาแชทเป็นโรคติดต่อทางภาษาที่ท า ให้ภาษามาตรฐานเน่าเปื่อย แต่การไหลเวียนของวีดิโอโฆษณาในยูทูบเชิญชวนให้ผู้คนมีบทสนทนา สองทาง โดยเฉพาะบทสนทนาเกี่ยวกับอุดมการณ์ภาษา ที่ท าให้วัยรุ่นและผู้ที่มองว่าภาษาแชทไม่ใช่ อาชญากรรมสามารถแบ่งปันพื้นที่กับผู้ใหญ่และผู้อนุรักษ์ภาษาได้ (Jones and Shieffelin, 2009, p. 1075) แพลตฟอร์ม (platform) ของยูทูบที่มีทั้งการสตรีมวีดิโอ (video streaming) และสื่อสังคม (social media) แสดงให้เห็นความหลากหลายของวิธีการที่ไม่เป็นทางการ และได้รบกวนความเป็น มาตรฐานและสามารถลดความเป็นทางการในวงกว้าง (Baron, 2008, p. 164) อย่างไรก็ตาม ความใหม่ของสื่อในอีกแง่หนึ่งยังอาจเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการสร้าง มาตรฐานของการใช้สื่อ ไมเคิล ซิลเวอร์สตีน (Micheal Silverstein) นักมานุษยวิทยาภาษา กล่าวว่า สื่อใหม่ไม่สามารถสร้างกรอบการมองโลกใหม่ และท าให้ผู้คนจ านวนมากมีอุดมการณ์ทางความหมาย ในแนวทางเดียวกัน และโอบรับอัตลักษณ์ใหม่ได้อย่างง่ายดาย (Silverstein, 2000) ในปัจจุบัน ที่ ยูทูบเริ่มกลายเป็น “สื่อกระแสหลัก” ค าถามส าคัญคือยูทูบกลายมาเป็นการสื่อสารแบบมาตรฐาน เมื่อไร และแรงงานประเภทได้เป็นส่วนหนึ่งที่ท าให้ยูทูบสร้างความเป็นมาตรฐานได้ส าเร็จ (Gershon, 2010; Lampland and Star, 2009) ดังนั้นในวิทยานิพนธ์นี้จะมองยูทูเบอร์ในฐานะผู้ที่มีหน้าที่การสื่อสารอันเกิดขึ้นมาใหม่ จากโครงสร้างผู้เข้าร่วมที่เปลี่ยนแปลงโดยยูทูบ ว่าการใช้ยูทูบของพวกเขาก็สามารถแสดงให้เห็นว่า สภาวะความเป็นสื่อ (mediality) ของยูทูบได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้เข้าร่วมใหม่อย่างไร และ ผู้เข้าร่วมใหม่เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัติในการใช้ภาษาซิงลิช อย่างไร

Ref. code: 25615808030521AIP 19

1.5 กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี

1.5.1 อุดมการณ์ ค าว่าอุดมการณ์ในภาษาอังกฤษ (ideology) เป็นคายืมมาจากภาษาฝรั่งเศส (idéologie) ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 มีความหมายว่า “วิธีการหรือเนื้อหาของการคิดของปัจเจก บุคคล กลุ่มคน หรือวัฒนธรรม ที่สามารถสร้างวาระทางการเมืองและสังคม โดยมักจะเกิดจาก วิสัยทัศน์หรือการมอง” (Merriam-Webster Dictionary) นักมานุษยวิทยาวิเคราะห์และโต้เถียง ประเด็นเชิงอุดมการณ์มาอย่างยาวนาน (Asad, 1979) เพื่อท าความเข้าใจถึงกระบวนการเกิดของชุด ความคิดและวิถีปฏิบัติในการใช้ชุดความคิดเหล่านั้น ในวิทยานี้จะใช้ 2 กรอบการวิเคราะห์อุดมการณ์ ที่เชื่อมโยงกันประกอบด้วย 1) อุดมการณ์ภาษา และ 2) อุดมการณ์สื่อ

1.5.1.1 อุดมการณ์ภาษา นักมานุษยวิทยาภาษาค้นพบประโยชน์ของการวิเคราะห์ความแตกต่าง ระหว่าง “ภาษาที่ใช้” กับ “ความเชื่อของผู้คนที่มีต่อภาษา” พวกเขาเรียกกรอบการวิเคราะห์ ความเชื่อ ความรู้สึก กลยุทธ์ และทัศนคติของผู้คนที่มีต่อโครงสร้างและการใช้ภาษาว่าอุดมการณ์ ภาษา (language ideologies) (Krokristy, 2010; Silverstein 1979; Woolard and Schieffelin 1994) อุดมการณ์ภาษามักจะชี้ให้เห็นผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ ของผู้พูด ไม่ว่าจะในระดับป้จเจกบุคคล กลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ หรือแม้กระทั่ง ระดับรัฐชาติ (Kroskrity, 2010, p. 192) ค าว่า “ภาษา” ในอุดมการณ์ภาษาไม่ได้หมายถึงเพียงค าพูด แต่ยังหมายถึงส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ปรากฏในพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์เช่นเสียง (voice) ทาเนียบภาษา (register) แนว (genre) ลีลา (style) หรือปรากฏการณ์ทางภาษาเช่นการปนภาษา (code-mixing) และการสลับภาษา (code-switching) (Hauck, 2017, p. 12) พอล ครอสคริตี (Paul Kroskrity) นักมานุษยวิทยาภาษา ได้เสนอสาม แนวทางส าคัญในการศึกษาอุดมการณ์ภาษาประกอบด้วย ความไม่เป็นกลาง (positionality) ความ หลากหลาย (multiplicity) และความตระหนักรู้ (awareness) (Kroskrity, 2015) ความไม่เป็นกลางหมายถึงความมีจุดยืนของภาษา ที่ “อุดมการณ์ภาษา เป็นภาพแทนของการรับรู้ของผู้คนที่มีต่อภาษาและวาทกรรม ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาด้วยเงื่อนไขเชิง ผลประโยชน์ของกลุ่มทางสังคม (Kroskrity, 2015, p. 98) เห็นได้ชัดจากอุดมการณ์ในการสร้าง มาตรฐานให้กับภาษา (language standardisation) ที่โรสินา ลิปปิ-กรีน (Rosina Lippi-Green)

Ref. code: 25615808030521AIP 20

นักภาษาศาสตร์อภิปรายว่าเป็นอุดมการณ์ที่ท าให้ภาษาพูดกลายมามี “ความเป็นกลาง เป็นนามธรรม เป็นอุดมการณ์ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันถูกก าหนดและรักษาโดยสถาบันที่มีอ านาจกับชนชั้นกลาง และชนชั้นสูง (Lippi-Green, 1997, p. 64) บาร์บารา จอห์นสโตน (Barbara Johnstone) นักภาษาศาสตร์ เสนอว่าธรรมเนียมของการสร้างรัฐชาติแบบยุโรปยังคงเกี่ยวพันกับการสร้าง มาตรฐานทางภาษา แต่เหนือสิ่งอื่นใด ระบบทุนนิยมได้สร้างวิธีการใหม่ของการสร้างมาตรฐานให้กับ ภาษา โดยในที่สุดจะก่อให้เกิดพรมแดนทางภาษาศาสตร์อันคลุมเครือ ที่สามารถก่อให้เกิดแบ่งแยก ความแตกต่างทางภาษา (Johnstone, 2016, p. 349) ความหลากหลายคืออีกแนวทางหนึ่งในการเข้าสู่อุดมการณ์ภาษา เพราะ อุดมการณ์มักจะมีชีวิตอยู่ในความแตกต่าง (heterogeneity) ที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานประสบการณ์ทาง สังคม “ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความเป็นพหุลักษณ์ของการแบ่งแยกทางสังคมที่มีความหมาย (เช่น ชนชั้น เพศสภาวะ เครือญาติ ชนชั้นผู้นา ช่วงวัย ฯลฯ) ภายในกลุ่มทางสังคมและวัฒนธรรม อัน สามารถสร้างมุมมองที่แตกต่างในการแสดงออกถึงความเป็นกลุ่มทางสังคมของพวกเขา” (Kroskrity, 2015, p. 99) ดังนั้นอุดมการณ์ภาษาในสังคมจึงอาจไม่ได้มีเพียงลักษณะเดียว แต่สิ่งที่ส าคัญคือ อุดมการณ์ภาษาใดมีความนิยมมากกว่าอุดมการณ์ภาษาอื่น ๆ อย่างไร สุดท้าย ความตระหนักรู้เตือนให้นักมานุษยวิทยาภาษาท าความเข้าใจว่า เมื่อไรที่ผู้ให้ข้อมูลมีความตระหนักและรู้สึกตัวต่ออุดมการณ์ภาษาที่เขายึดถืออยู่ ความตระหนักรู้ “สามารถมองได้เห็นจากการแสดงออกผ่านวิถีปฏิบัติหลังวาทกรรม (meta-discursive practice)” (Kroskrity, 2015, p. 101) เช่นเมื่อผู้ให้ข้อมูลกล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับภาษาซิงลิชอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา “ซึ่งเป็นความคิดที่ฝังลึก (internalise) และถูกท าให้เป็นเหตุเป็นผล (rationalise) ใน ฐานะสามัญส านึก” (Rumsey, 1990) คุณค่าที่ไม่เท่ากันระหว่างภาษาซิงลิชและภาษาอังกฤษมาตรฐานใน สิงคโปร์แสดงให้เห็นถึงการเมืองของภาษาในสิงคโปร์ ซี่งการแบ่งแยกความแตกต่างทางภาษา (linguistic differentiation) เป็นกระบวนการส าคัญที่แฝงฝังอยู่ในนั้น จูดิธ เออร์ไวน์ (Judith Irvine) และซูซาน แกล (Susan Gal) นักมานุษยวิทยาภาษา (Irvine and Gal, 2000) นิยามการ แบ่งแยกความแตกต่างทางภาษาว่าเป็น “แนวคิดที่มีต่อความหลากหลายของภาษา (language variety) ที่สร้างร่วมกันระหว่างผู้ใช้ภาษา (คนในสังคม) และผู้สังเกตการณ์ (เช่นนักภาษาศาสตร์ นักมานุษยวิทยา หรือนักประวัติศาสตร์) ซึ่งแนวคิดนี้มักจะสร้างความเข้าใจที่มีต่อการใช้ภาษาใน ลักษณะต่าง ๆ ที่ผูกโยงกับความเข้าใจที่มีต่อผู้คน เหตุการณ์ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความหมายต่อ พวกเขา” (Irvine and Gal, 2000, p. 35)

Ref. code: 25615808030521AIP 21

นอกจากนี้ เออร์ไวน์และแกลชี้ให้เห็น 3 กระบวนการเชิงสัญญะที่ท าให้ เกิดการแบ่งแยกความแตกต่างทางภาษาเชิงอุดมการณ์ อันประกอบด้วยการกลายเป็นรูป (iconisation) การผลิตซ้ าเพียงบางส่วน (fractal recursivity) และการลบล้าง (erasure) โดย กระบวนการต่าง ๆ นี้ไม่ได้เกิดขึ้นในลักษณะที่เรียงล าดับกัน แต่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นพร้อมกัน อย่างไร้ล าดับ การกลายเป็นรูปหมายถึงการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ ระหว่าง “ลักษณะทางภาษา” กับ “ภาพทางสังคม” ท าให้ลักษณะทางภาษาสามารถแสดงภาพทาง สังคมให้โดดเด่นและเห็นได้อย่างชัดเจน และยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถแสดงให้เห็นว่าลักษณะทางภาษา ดังกล่าวเป็นความจริงทางธรรมชาติของความเป็นสังคมนั้น กระบวนการกลายเป็นรูปนี้จะเชื่อมโยง ลักษณะทางภาษาเข้ากับกลุ่มคน ท าให้เกิดการตีตราว่ากลุ่มคนลักษณะใดจะต้องมีลักษณะการใช้ ภาษาแบบใด (Irvine and Gal, 2000, p. 37) ต่อมา การผลิตซ้ าเพียงบางส่วนเป็นกระบวนการที่ความคิดคู่ตรงข้ามมี ความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่ไม่เท่ากัน และการเบียดขับให้สิ่งที่มีอ านาจน้อยกว่ากลายเป็นชายขอบ และ ความเป็นชายขอบนี้ถูกผลิตซ้ าหรือท าซ้ าท่ามกลางระดับความขัดแย้งอื่น ๆ (Wilson, 2019, p. 9) ซึ่ง ผลักดันให้เกิดการเคลื่อนของชุมชน อัตลักษณ์ ตัวตน และบทบาทต่าง ๆ ในหลากหลายระดับ แต่ ภายใต้สนามวัฒนธรรมเดียว (Irvine and Gal, 2000, p. 38) สุดท้าย การลบล้างเป็นกระบวนการที่อุดมการณ์ท าให้ผู้คนบางกลุ่ม กิจกรรมบางอย่าง หรือปรากฏการณ์ทางภาษาศาสตร์สังคมบางปรากฏการณ์เลือนหายไป ไม่ว่าจะ ด้วยการเพิกเฉยหรือการอธิบายเพื่อหักล้างข้อเท็จจริง หรือจะกล่าวได้ว่าสิ่งใดที่ไม่สามารถเข้าพวกกับ โครงสร้างการตีความของชุมชนภาษาก็จะถูกละเลยและถูกเปลี่ยนแปลงไป (Irvine and Gal, 2000, p. 39) ข้อเสนอของเออร์ไวน์และแกลที่ประกอบด้วยกระบวนการเชิญสัญญะทั้ง สามนี้มีคุณูปการอย่างสูงต่อการมองว่าอุดมการณ์สามารถกลายมาเป็นสิ่งที่คนทั่วไปเชื่ออย่าง กว้างขวาง และในที่สุดกลายเป็นสิ่งทุกคนคิดว่าเป็นความจริงทางธรรมชาติได้อย่างไร (Wilson, 2019) ดังนั้น ด้วยแนวคิดอุดมการณ์ภาษา ผู้เขียนจะวิเคราะห์ความเชื่อ กลยุทธ์ และทัศนคติที่มีต่อ การใช้ภาษาของยูทูเบอร์ในสิงคโปร์ เพื่อพิจารณาว่าอุดมการณ์ภาษาที่ซ่อนอยู่ในกระบวนการผลิต วีดิโอตลกภาษาซิงลิชมีลักษณะอย่างไร โดยเฉพาะมุมมองเกี่ยวกับการสร้างมาตรฐานและ การ แบ่งแยกความแตกต่างทางภาษา

Ref. code: 25615808030521AIP 22

1.5.1.2 อุดมการณ์สื่อ ต่อยอดจากแนวคิดอุดมการณ์ภาษา แนวคิดอุดมการณ์สื่อ (media ideologies) เป็นกรอบการศึกษาความเชื่อ ทัศนคติ และกลยุทธ์ของผู้คนที่มีต่อสื่อที่พวกเขาใช้ รวมถึงฐานคิดของผู้คนเกี่ยวกับสื่อว่าสามารถท าให้การสื่อสารของมนุษย์สามารถส าเร็จลุล่วงได้ อย่างไร (Gershon, 2010, p. 391) ซึ่งความคิดเหล่านี้เกิดจากกระบวนการทางประวัติศาสตร์ของ ชุมชนผู้ใช้สื่อ และได้แฝงฝังในมุมมองทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสาร ว่าเทคโนโลยีใด เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับชุมชนภาษา (Weidman, 2010, p. 294) วิธีหนึ่งที่จะสามารถช่วยอธิบายอุดมการณ์สื่อของผู้คนคือการวิเคราะห์ affordance ของเทคโนโลยีของช่องทางการสื่อสาร เจมส์ กิบสัน (James Gibson) นักจิตวิทยา ประดิษฐ์ค าว่า affordance และเสนอแนวคิดนี้เป็นคนแรก เขานิยาม affordance ว่าหมายถึงวัตถุ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมที่มอบให้แก่สัตว์ผ่านการมอง (Gibson, 1979, p. 127) และวัตถุ นั้นก็ได้สร้างสมดุล (commensurate) กับร่างกายของสัตว์ (Gibson, 1979, p. 150) ต่อมาเอียน ฮัทช์บี (Ian Hutchby) นักสังคมวิทยาภาษา ได้ดัดแปลงแนวคิดของกิบสันมาอธิบายเทคโนโลยี การ สื่อสารด้วยการพิจารณาศักยภาพของสื่อในฐานะที่สื่อสามารถมอบความเป็นไปได้ของการกระท า (Hutchby, 2001, p. 447) ดังนั้น เมื่อผู้คนมีความเชื่อว่าสื่อได้มอบศักยภาพของการกระท า ซึ่ง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างไรนั้น มักจะเกี่ยวข้องกับการรับรู้ของพวกเขาที่มีต่อ ศักยภาพของสื่อ ไม่ว่าจะในทางบวกหรือทางลบก็ตาม (Gershon, 2017, p. 18) ยกตัวอย่างเช่น งาน ศึกษาของดอนนา เดวิส (Donna Davis) และทอม โบเอลล์สตอร์ฟ (Tom Boellstorff) กับกลุ่ม ผู้ป่วยโรคพาร์คินสัน ว่าพวกเขาเข้าใจความเป็นไปได้ของความสร้างสรรค์ผ่านศักยภาพของโลก เสมือนที่เกม The Second Life มอบให้ ในฐานะที่สามารถสร้างประสบการณ์ทางเลือกของร่างกาย ของผู้ป่วย (Davis and Boellstorff, 2016) อุดมการณ์ภาษาและอุดมการณ์สื่อมักจะมีความสัมพันธ์อย่างมากใน สถานการณ์ที่ลักษณะการใช้ภาษายังไม่สามารถเชื่อมประสานกับเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ได้ เช่น เจสสิกา เทย์เลอร์ (Jessica Taylor) นักมานุษยวิทยาภาษา ได้แสดงให้เห็นว่าในกระบวนการ เปลี่ยนแปลงจากภาพยนตร์เงียบไปสู่ภาพยนตร์เสียงในฮอลลิวูดช่วงทศวรรษที่ 1920 ผู้คนที่เกี่ยวข้อง ในอุตสาหกรรมต่างพบกับความยากล าบากในการผสมเสียงให้สอดคล้องไปกับภาพลักษณ์ของ นักแสดงที่มีอิทธิพลของภาพเหมารวมทางเพศและชาติพันธุ์ก าหนดอยู่อย่างไร นอกจากนี้เสียงที่เข้า กับภาพเหล่านี้ได้สร้างอิทธิพลที่ต่อการรับรู้ของผู้ชมว่านักแสดงฮอลลิวูดควรจะมีบุคลิกลักษณะ อย่างไร (Taylor, 2009)

Ref. code: 25615808030521AIP 23

เพอร์รี เชอเราส์ (Perry Sherouse) นักมานุษยวิทยาสื่อ ได้ศึกษาใน ประเด็นดังกล่าวภายใต้บริบทการใช้สื่อดิจิทัล ว่าในประเทศจอร์เจีย ผู้คนมีความเชื่อว่าต้องใช้ภาษา รัสเซียในการบอกหมายเลขโทรศัพท์และในห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เพราะว่าระบบเลขฐานยี่สิบ (vigesimal) ของภาษาจอร์เจียสามารถท าให้เกิดความสับสนและน าไปสู่ความเข้าใจผิดได้ เชอเราส์ สรุปว่าความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ภาษารัสเซียในการบอกหมายเลขโทรศัพท์ของคนจอร์เจียเกี่ยวโยง อย่างใกล้ชิดกับวิธีการมองความเป็นสมัยใหม่ของพวกเขา และที่ส าคัญ ความเชื่อนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ การอาวรณ์ถึงอดีตภายใต้ยุคโซเวียต (Sherouse, 2014) การส ารวจความแตกต่างระหว่างอุดมการณ์สื่อและวิธีการใช้สื่อจริงของ ผู้ให้ข้อมูลท าให้มองเห็นความรวนเรทางความรู้สึกของการใช้สื่อ (media ambivalence) ซึ่งมี แนวโน้มที่จะท าให้เกิดความเชื่อว่าสื่อควรถูกใช้อย่างไร แม้ว่าจะขัดต่อความเป็นจริงก็ตาม การศึกษา ด้วยแนวทางนี้จะช่วยท าให้นักมานุษยวิทยามองเห็นกระบวนการที่ท าให้วิถีปฏิบัติด้านสื่อ (media practice) รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งกลายเป็น “มาตรฐาน” (Hagood, 2011; Spyer, 2001; Umble, 2000) ประเด็นส าคัญนักมานุษยวิทยาควรตั้งค าถามเมื่อวิเคราะห์ตามแนวทางดังกล่าวประกอบด้วย 1) การกลายเป็นมาตรฐานของวิธีปฏิบัติด้านสื่อและอุดมการณ์สื่อนี้ได้กลายเป็นขนบเมื่อไร 2) การท า ให้เป็นมาตรฐานนี้มีลักษณะแบบใด 3) ผู้คนและแรงงานใดบ้างที่ท าให้การสร้างมาตรฐานของ อุดมการณ์สื่อบรรลุผลส าเร็จ (Lampland and Star, 2009) 4) การที่เทคโนโลยีการสื่อสารถูกท าให้ กลายเป็นบรรทัดฐาน 4) เทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ต้องกลายเป็นมาตรฐานหรือไม่ และ 5) อุดมการณ์ สื่อมีปฏิสัมพันธ์กับอุดมการณ์ภาษาอย่างไร (Gershon, 2010) ดังนั้นในวิทยานิพนธ์นี้ ผู้เขียนจะใช้แนวคิดอุดมการณ์สื่อมาพิจารณาการ ใช้ยูทูบของเหล่ายูทูเบอร์ ว่าพวกเขามีวิถีปฏิบัติที่อาจชี้ให้เห็นถึงการแบ่งแยกความแตกต่างทางภาษา และการสร้างความเป็นมาตรฐานให้แก่วิธีการสื่อสารอย่างไร ด้วยการพิจารณาประกอบกับอุดมการณ์ ภาษา ว่าอุดมการณ์ทั้งสองด้านของยูทูเบอร์มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร และได้ท าให้เรามองเห็นการเชื่อม ประสานระหว่างภาษาซิงลิชและเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่เช่นยูทูบอย่างไร

1.5.2 ความกันเองทางวัฒนธรรม อีกหนึ่งแนวคิดหนึ่งที่ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ภาษาซิงลิชในยูทูบคือแนวคิด ความกันเองทางวัฒนธรรม (cultural intimacy) ที่เสนอโดยไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ (Micheal Herzfeld) นักมานุษยวิทยาภาษา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับอุดมการณ์ชาตินิยมและ อัตลักษณ์ชาติในบริบทรัฐชาติสมัยใหม่

Ref. code: 25615808030521AIP 24

เฮิร์ซเฟลด์นิยามความกันเองทางวัฒนธรรมว่า “การรับรู้มุมมองต่าง ๆ ของ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ถูกเข้าใจโดยคนนอกว่าเป็นบ่อเกิดแห่งความน่าอับอาย แต่อัตลักษณ์ ดังกล่าวสามารถประกันความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางสังคมของคนใน” (Herzfeld, 2016, p. 7) ดังนั้นความกันเองทางวัฒนธรรมจึงเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับการรักษาความลับที่เป็นที่รู้กันของ “คนใน” และความพยายามปกป้องไม่ให้ “คนนอก” รับรู้ถึงความลับดังกล่าว วิธีการส าคัญในการศึกษาความกันเองทางวัฒนธรรมคือการมองไปที่ภาวะ ทวิภาษณ์ ที่ความขัดแย้งและความย้อนแย้งระหว่างส านวนภาษาทางการและการพูดของคนทั่วไป เป็นส่วนหนึ่งกับสังคม ซึ่งในที่สุดความย้อนแย้งดังกล่าวจะกลายเป็นเครื่องมือของการแบ่งแยกทาง สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ยิ่งไปกว่านั้น ความกันเองทางวัฒนธรรมยังให้ความส าคัญกับภาวะ ทวิสัญลักษณ์ (disemia) เช่น ความเงียบ ท่าทาง ดนตรี สภาพแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ ผู้คน และ คุณค่าทางสังคม ที่อาจมีความแตกต่างระหว่างแบบทางการและแบบไม่เป็นทางการ สิ่งต่าง ๆ ที่ เป็นอวัจนภาษาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งกับภาษาในฐานะความต่อเนื่องทางความหมาย ซึ่งในที่สุดสิ่ง เหล่านี้สามารถสร้างบริบทขึ้นมาได้ (Herzfeld, 2016, p. 20) ดังนั้นการวิเคราะห์ภาวะทวิสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นอวัจนภาษาและภาวะทวิภาษณ์ซึ่งเป็นวัจนภาษา สามารถท าความเข้าใจความกันเองทาง วัฒนธรรมได้อย่างลึกซึ้ง เฮิร์ซเฟลด์ได้เน้นย้าว่าสิ่งเล็ก ๆ และรายละเอียดยิบย่อย ทั้งที่ส่งเสียงได้และ ส่งเสียงไม่ได้ ล้วนมีความส าคัญในงานเชิงชาติพันธุ์นิพนธ์ โดยเฮิร์ซเฟลด์เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “การเมือง ของสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นการเมือง (politics of mereness)” (Herzfeld, 1997) ภาษิตแบบทางการอาจมาในรูปแบบที่เฮิร์ซเฟลด์เรียกว่าฉันทลักษ์ทางสังคม (social poetic) ที่เขานิยามว่า “อ านาจทางการเมืองที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดให้แก่การแสดงออก เชิงสร้างสรรค์ของตัวตนปัจเจก” (Herzfeld, 2016, p. 2) และเป็น “ฉันทลักษณ์ที่สร้างสัญลักษณ์ที่ สื่อสารระหว่างกัน อันเนื่องมาจากการเชื่อมโยงระหว่างตัวบทของโฆษณาชวนเชื่อที่มีลักษณะเป็น ภาษา กับการกระท าเชิงสร้างสรรค์อันแนบเนียนที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นภาษา” (Herzfeld, 2016, p. 181-182) ดังนั้นวิธีส าคัญในการเรียนรู้ความกันเองทางวัฒนธรรมคือการมองความรวนเรระหว่าง ฉันทลักษณ์ทางสังคมที่ล่องลอยอยู่ในบรรยากาศและวิถีปฏิบัติเชิงสร้างสรรค์ในชีวิตจริงของผู้คน ดังนั้น ค าถามส าคัญของแนวคิดความกันเองทางวัฒนธรรมคือ “ประโยชน์อะไรที่ผู้กระท าการทาง สังคมเสาะหาในการใช้ ดัดแปลง และนาเสนอภาษิตทางการใหม่ เพื่อจะได้มาซึ่งเป้าหมายส่วนตัวที่ไม่ เป็นทางการอย่างยิ่ง และการกระท า (ที่มักจะเป็นการกระท าที่กระด้างกระเดื่องโดยตรงต่ออ านาจรัฐ) เหล่านี้ได้สร้างรัฐไปพร้อมกับอัตลักษณ์ชาติและอัตลักษณ์อื่น ๆ ในวงกว้างอย่างไร” (Herzfeld, 2016, p. 6) ซึ่งเฮิร์ซเฟลด์เรียกการกระท าดังกล่าวว่า “ความดื้อรั้นเชิงสร้างสรรค์ (creative dissent)”

Ref. code: 25615808030521AIP 25

อย่างไรก็ดี เฮิร์ซเฟลด์กล่าวว่า รหัสลับต่าง ๆ อาจจะแสดงออกมาให้เห็นสู่คน ภายนอกผ่านภาพแทน หรืออาจเป็น “ภาพเหมารวม” ผู้คนในสังคม (Herzfeld, 2016, p. 53) ดังนั้นความกันเองทางวัฒนธรรมมีความเกี่ยวเนื่องอย่างยิ่งกับภาพเหมารวมที่คนในสังคมสร้างขึ้นมา เอง (self-stereotypes) หรือ “ลักษณะนิสัยประจ าชาติ” ดังนั้นเขาจึงสนใจสุภาษิต ค าพังเพย และ โวหารที่ผู้คนนิยมพูดในสังคมว่าสะท้อนการประกอบสร้างอัตลักษณ์แห่งชาติอย่างไร เฮิร์ซเฟลด์เสนอ ว่าในบางครั้ง ผู้คนกระท าการและตัดสินใจโดยมีภาพเหมารวมเป็นฐานคิด ซึ่งเป็นอาวุธแห่งอ านาจที่ อ้อมค้อมและไม่ตรงไปตรงมา (Herzfeld, 2016, p. 181) เช่น การสร้างภาพเหมาท าให้เราตีตราผู้คน ได้อย่างฉับไวและไม่รู้ตัว ดังนั้นการศึกษาปฏิบัติการของภาพเหมารวมนี้จะสามารถท าให้เห็น ความสัมพันธ์เชิงอ านาจของผู้ให้ข้อมูลในสนามเชิงชาติพันธุ์วรรณนาได้ เฮิร์ซเฟลด์ยังเสนอว่าการใช้ ภาพเหมารวมยังเกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ของการทาลายล้าง เช่นในเยอรมนียุคนาซี ที่ขับเน้นความ เป็นชาตินิยมเยอรมันเพื่อสร้างความเป็นอารยชนของชนกลุ่มใหญ่ให้ชัดเจน เพื่อกดทับชนกลุ่มน้อย ในความหมายนี้ เฮิร์ซเฟลด์มองว่านี่เป็นค าพูดที่มีการแสดงให้เห็นการกระท าอย่างโหดร้าย และมักจะ มีผลที่ตามมาเชิงวัตถุ (Herzfeld, 2016, p. 181) โดยองค์รวม เฮิร์ซเฟลด์มีจุดมุ่งหมายในการเสนอแนวคิดนี้เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า “รัฐที่ประสบความส าเร็จในการสร้างเสถียรภาพทางสังคมคือรัฐที่ยอมให้การต่อต้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดขึ้น” (Herzfeld, 2016, p. 1) ในวิทยานิพนธ์นี้ ผู้เขียนจะนาแนวคิดความกันเองทางวัฒนธรรมมา พิจารณาในรายละเอียดของการใช้ภาษา และการกระท าในการผลิตเนื้อหาวีดิโอตลก รวมไปถึง วิถีปฏิบัติในการสร้างสรรค์วีดิโอยูทูบ เพื่อดูว่าภายใต้บริบทการควบคุมของรัฐบาล ยูทูเบอร์สร้างสรรค์ เนื้อหาอย่างไร และความสร้างสรรค์นี้แสดงให้เห็นถึงความกันเองทางวัฒนธรรมของประเทศสิงคโปร์ ในปัจจุบันอย่างไร

1.6 ค าถามการวิจัย

1. ภาษาซิงลิชมีต าแหน่งแห่งที่ในสังคมและวัฒนธรรมสิงคโปร์อย่างไร และถูกใช้ในการ แสดงตลกอย่างไร 2. กลุ่มคนใดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์เนื้อหาของวีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบ พวกเขามีความสัมพันธ์เชิงความกันเอง การควบคุม และการสร้างสรรค์อย่างไร 3. ยูทูเบอร์ใช้ภาษาในการสร้างสรรค์วีดิโอยูทูบอย่างไร และแสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์ ภาษาและอุดมการณ์สื่อที่ซ่อนอยู่อย่างไร

Ref. code: 25615808030521AIP 26

1.7 ขอบเขตของการศึกษา

วิทยานิพนธ์นี้จะเน้นศึกษาเฉพาะวีดิโอยูทูบประเภทละครสั้นแนวตลก (comedy sketch) (ต่อจากนี้จะเรียกว่า “วีดิโอตลก” “วีดิโอตลกภาษาซิงลิช” หรือ “วีดิโอตลกภาษาซิงลิชใน ยูทูบ” เพื่อความกระชับ) ซึ่งเป็นวีดิโอที่ได้รับความนิยมทั้งในแง่การผลิตและการรับชมในสิงคโปร์ ตั้งแต่ปีค.ศ. 2012 จนถึงปัจจุบัน วีดิโอเหล่านี้สร้างสรรค์ขึ้นมาจากการเขียนบทและการแสดงเป็นตัว ละครเป็นหลัก ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จะไม่วิเคราะห์วีดิโอประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีกระบวนการสร้างใน ลักษณะเดียวกัน เช่น วล็อก (vlog) หรือวีดิโอบล็อก (video blogs) ที่บันทึกการพูดหรือกิจกรรมใน ชีวิตประจ าวันของยูทูเบอร์ หรือวีดิโอสารคดี (documentary) และวีดิโอเชิงการศึกษา (educational videos) ที่นาเสนอความรู้และข้อเท็จจริง วีดิโอตลกมักจะมีความยาวตั้งแต่ 2 ถึง 15 นาทีและมักจะประกอบด้วยหลากหลายฉาก วีดิโอตลกหนึ่งเรื่องอาจมีเส้นเรื่องเพียงหนึ่งเส้นที่เล่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งตั้งแต่ต้นจนจบ หรือ อาจมีหลายเส้นเรื่องที่แต่ละเรื่องอาจจะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน วีดิโอเหล่านี้มักจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการ ล้อเลียนบุคคล สถานการณ์ หรือแนวคิดต่าง ๆ เช่น Types of Singaporean Aunties (ประเภทต่าง ๆ ของมนุษย์ป้าชาวสิงคโปร์) หรือ Types of Ah Bengs (ประเภทต่าง ๆ ของจิ๊กโก๋) และ Types of People in Hawker Centre (ประเภทต่าง ๆ ของคนในศูนย์อาหาร) หรือการท าให้ปฏิสัมพันธ์ทาง สังคมในสิงคโปร์กลายเป็นละคร เช่น Awkward Situations Only Singaporeans Understand (เหตุการณ์น่ากระอักกระอ่วนที่มีแต่คนสิงคโปร์เข้าใจ) Awkward Moment in the Office (สถานการณ์น่ากระอักกระอ่วนใจในส านักงาน) และ Signs You Are Dating Someone Crazy (สัญญาณต่าง ๆ ที่บอกว่าคุณก าลังคบกับคนบ้า) เหนือสิ่งอื่นใด วีดิโอตลกที่ผลิตในสิงคโปร์ล้วนใช้ ภาษาซิงลิช ในสิงคโปร์ การผลิตและการรับชมวีดิโอตลกมีความนิยมที่สูงมาก ช่องยูทูบ (YouTube channel) ของสิงคโปร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่าหนึ่งล้านคนมีเพียง 3 ช่อง ซึ่งสองในสามเป็นช่องยูทูบ วีดิโอตลก หากนับคร่าว ๆ มีช่องวีดิโอตลกในสิงคโปร์กว่า 30 ช่อง ซึ่งถือว่ามีส่วนแบ่งทางการตลาด ของเนื้อหาวีดิโอยูทูบของสิงคโปร์ในระดับสูง ในตารางด้านล่างนี้เป็นรายชื่อของช่องยูทูบที่ผลิตวีดิโอ ตลกในสิงคโปร์เรียงตามจ านวนผู้ลงทะเบียนติดตาม (subscriber) สูงสุด 10 อันดับ และผู้เขียนได้ใช้ เพียงวีดิโอของช่องยูทูบเหล่านี้เท่านั้นมาเป็นวัตถุการศึกษาหลักในวิทยานิพนธ์นี้

Ref. code: 25615808030521AIP 27

ตารางที่ 1.2 ยูทูเบอร์ผู้ผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิชยอดนิยม 10 อันดับ เรียงตามจ านวนผู้ลงทะเบียนติดตาม

ล าดับ ช่อง จ านวนผู้ติดตาม จ านวนการรับชม

1 JianHao Tan 3,097,651 680,647,080

2 Wah!Banana 1,188,189 322,378,027

3 Night Owl Cinematics 917,771 322,918,124

4 TreePotatoes 396,681 68,126,469

5 Dee Kosh 305,830 66,526,926

6 cheokboardstudios 220,635 41,083,831

7 MunahHirziOfficial 149,645 11,074,487

8 Ministry of Funny 133,229 18,011,140

9 Nubbad TV 66,013 4,171,317

10 The Michelle Chong Channel 62,865 10,149,249 หมายเหตุ. จาก Top 250 YouTubers in Singapore Sorted by Subscrubers, โดย socialblade.com, 2019, https://socialblade.com/youtube/top/country/sg

อย่างไรก็ดี ยูทูเบอร์ผู้ผลิตวีดิโอตลกเหล่านี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ดิจิทัล (digital creative industry) ในสิงคโปร์ และยูทูเบอร์ที่ผลิตวีดิโอประเภทอื่น ๆ ก็ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตวีดิโอตลกเป็นเฉพาะกรณี ดังนั้นผู้เขียนจะพิจารณานาวีดิโอภาษาซิง ลิชที่ผลิตโดยยูทูเบอร์ประเภทอื่น ๆ มาศึกษาประกอบ เพื่อให้เห็นภาพรวมของการแสดงตลกใน สิงคโปร์ยุคดิจิทัล นอกจากนี้ เนื่องด้วยจ านวนผู้ชมวีดิโอตลกภาษาซิงลิชที่มีอยู่อย่างมหาศาลและเวลา อันจ ากัดในการศึกษาภาคสนามในสิงคโปร์ ผู้เขียนจะเน้นศึกษาจากฝั่งผู้ผลิตวีดิโอเป็นหลัก และไม่ เน้นการศึกษาจากฝั่งผู้ชม

Ref. code: 25615808030521AIP 28

1.8 วิธีด าเนินการวิจัย

ชาติพันธุ์นิพนธ์คลาสสิคคือการอธิบาย (account) ชาติพันธุ์นิพนธ์หลังสมัยใหม่คือการ พรรณนา (narrative) ส่วนชาติพันธุ์นิพนธ์ดิจิทัลคือสื่อหลายมิติ (hypermedia) (Wali, 2010, p. 147)

นักมานุษยวิทยาดิจิทัลต่างได้พัฒนาวิธีวิทยาในการวิจัยสังคมปัจจุบันที่สื่อดิจิทัลและสื่อ สังคมมีอิทธิพลกับการสื่อสารของมนุษย์อย่างสูง ไมเคิล เวช (Micheal Wesch) ได้ทดลองการใช้สื่อ หลายมิติ ที่เป็นการผสมผสานระหว่างภาพ เสียง วีดิโอ ข้อความ และไฮเปอร์ลิงค์ (hyperlink) เพื่อ ถ่ายทอดข้อมูลที่มีลักษณะไม่เป็นเส้นตรง (Wesch, 2009) การทดลองของเวชได้สร้างแรงบันดาลใจ ในการออกแบบวิธีด าเนินการวิจัยของวิทยานิพนธ์นี้เพื่อท าความเข้าใจกับการใช้ภาษาซิงลิชในสื่อ ดิจิทัลในปัจจุบัน เนื่องด้วยลักษณะของสนามและข้อมูลมักจะกระจัดกระจายตามที่ต่าง ๆ ดังนั้น วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งท าหน้าที่เป็นสื่อหลายมิติ ที่รวบรวมข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูล หลากหลาย ข้อมูลประเภทแรกคือข้อมูลจากเอกสารและงานเขียนต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และนโยบายภาษาในสิงคโปร์ ซึ่งถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของ วิทยานิพนธ์นี้ นอกจากนี้ยังจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในสิงคโปร์และข้อมูลเชิง เทคนิคของยูทูบ เอกสารทีิิเกี่ยวข้องประกอบด้วยบทความและหนังสือเชิงวิชาการ เอกสารราชการ ข่าว เนื้อหาในเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นของผู้คนในสื่อสังคม ต่าง ๆ ข้อมูลประเภทที่สองคือเนื้อหนังของวิทยานิพนธ์นี้ ซึ่งคือภาพ เสียง และวีดิโอ ภาพและ เสียงของวิทยานิพนธ์นี้ส่วนใหญ่ได้มาจากการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์กับกลุ่ม ยูทูเบอร์ ซึ่งเวลาส่วนใหญ่ผู้เขียนได้ใช้ไปกับช่องยูทูบ Wah! Banana ที่เปิดโอกาสให้ผู้เขียนเข้าไป สังเกตการณ์ในฐานะทีมงาน ผู้เขียนได้สังเกตวิธีการท างาน การสร้างสรรค์เนื้อหา และการใช้ภาษา ของผู้คนในช่องทั้งในและนอกกองถ่าย เพื่อวิเคราะห์อุดมการณ์ภาษาและอุดมการณ์สื่อของพวกเขา โดยเฉพาะการกระท าที่เป็นความกันเองทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ ผู้เขียนยังสัมภาษณ์ทีมงานและ นักแสดงในช่องเพื่อเปรียบเทียบระหว่างวิถีปฏิบัติที่ผู้เขียนสังเกตกับวิถีปฏิบัติหลังวาทกรรมของ ยูทูเบอร์ เพื่อวิเคราะห์ความตระหนักรู้ของอุดมการณ์ภาษาด้วย ผู้เขียนยังได้สัมภาษณ์และ สังเกตการณ์ระหว่างการถ่ายท ากับช่องยูทูบอื่น ๆ เพื่อข้อมูลที่รอบด้านของวิทยานิพนธ์นี้

Ref. code: 25615808030521AIP 29

นอกจากนี้ ยังมียูทูเบอร์ผู้ผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิชจ านวนมากที่ผู้เขียนไม่สามารถ เข้าถึงได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงศึกษาข้อมูลของยูทูเบอร์กลุ่มนี้จากการสัมภาษณ์ในสื่อและวีดิโอที่เปิด สาธารณะต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้ถึงวิธีการการท างานและสร้างสรรค์ผลงานของพวกเขา และสามารถ ประกอบเป็นภาพรวมของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในสิงคโปร์ด้วย เพื่อเพิ่มเติมมุมมองอื่น ๆ เกี่ยวกับภาษาซิงลิชและประเทศสิงคโปร์ ผู้เขียนจะสัมภาษณ์ ผู้คนจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น นักเขียน ผู้ก ากับภาพยนตร์ และผู้ท างานในละครโทรทัศน์ และ ข้อมูลเชิงจุลภาคจากการสัมภาษณ์คนสิงคโปร์ทั่วไป โดยเฉพาะประเด็นว่าคนสิงคโปร์ใช้ภาษาในแต่ ละยุคอย่างไร โดยผู้เขียนจะสัมภาษณ์ผู้คนที่มีช่วงวัยแตกต่างกัน เช่นผู้ที่เกิดก่อนการเป็นอิสรภาพ ของสิงคโปร์ในปีค.ศ. 1965 ผู้ที่ใช้ชีวิตนักเรียนและวัยรุ่นในศตวรรษที่ 1980 และ 1990 รวมไปถึง การใช้ยูทูบในฐานะผู้ชมด้วย อย่างไรก็ตาม ด้วยความอ่อนไหวของข้อมูลที่อาจเป็นความลับทางธุรกิจหรือ การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ผู้เขียนจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลด้วยการใช้นามสมมติใน การนาเสนอข้อมูลที่ผู้เขียนได้มาเองและที่ไม่ได้เปิดการเข้าถึงเป็นสาธารณะ นอกจากนี้ ผู้เขียนยังศึกษาการใช้ภาษาและการถ่ายทอดเนื้อหาจากการดูและถอด ความ (transcribe) โดยมีทั้งวีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบ เพื่อท าความเข้าใจการใช้ภาษาซิงลิชเพื่อ การสื่อสารแนวตลกในปัจจุบัน และวีดิโอฉากตลกในรายการโทรทัศน์ในอดีต เพื่อท าความเข้าใจกับ ลักษณะการใช้ภาษาและการเล่นมุกตลกของละครตลกสิงคโปร์ในยุคต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อให้เห็นภาพ และได้ยินเสียงของความแตกต่างหลากหลายของภาษาอังกฤษในวีดิโอยูทูบสิงคโปร์ รวมไปถึง ความ หลากหลายมิติข้อมูล ผู้เขียนจะถอดความจากตัวอย่างวีดิโอที่ผู้เขียนเลือกมาจากการเกิดซ้ าส่วนใหญ่ และส่วนแตกต่างที่น่าสนใจและแนบคิวอาร์โค้ด (qr code) ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่วีดิโอที่ถูกถอด ความได้อย่างทันทีด้วย

1.9 สัญลักษณ์การถอดเสียง

. โทนเสียงตก ! โทนเสียงหยุดเน้นหนัก ? โทนเสียงยกสูงหรือคาถาม : การยืดเสียง , ท่วงท านองเสียงต่อเนื่อง underline การเน้นเสียง

Ref. code: 25615808030521AIP 30

(hhh) เสียงหัวเราะ (( )) วงเล็บซ้อนหมายถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้เสียงหรือทิศทาง การสนทนา [ ] วงเล็บก้ามปูหมายถึงท่าทางเชิงกายภาพของผู้พูด “ ” เครื่องหมายอัญประกาศคู่หมายถึงการอ้างอิงค าพูดที่มาจากผู้อื่น หรือนอกบทสนทนาในขณะนั้น italic ตัวเอียงหมายถึงคา วลี หรือประโยคภาษามลายู หรือภาษาอื่น ๆ ที่ถูกนับว่าเป็นภาษาซิงลิช 汉子 อักษรจีนหมายถึงคา วลี ประโยคภาษาจีนกลางหรือภาษาจีนถิ่น

1.10 เนื้อหาของวิทยานิพนธ์โดยสังเขป

บทที่ 1 บทน า นาเสนอความเป็นมาและประเด็นส าคัญของการวิจัย บททบทวน วรรณกรรมและแนวคิดที่นามาวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงคาถามการวิจัย ขอบเขตและวิธีด าเนินการวิจัย บทที่ 2 ภาษาซิงลิช: ความอับอายแห่งชาติและอารมณ์ขันของรัฐ อธิบายภูมิหลังทาง ประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์สังคมของประเทศสิงคโปร์ เพื่อวิเคราะห์ว่าภาษาซิงลิชกลายมาเป็นมี สถานะเป็นความอับอายแห่งชาติในกระบวนการทางประวัติศาสตร์อย่างไร และดูว่าในแต่ละยุคสมัย การแสดงตลกในสิงคโปร์มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร บทที่ 3 วีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบและผู้คนที่อยู่เบื้องหลัง อภิปรายถึงเครือข่ายของ การผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิช ว่ามีผู้คนกลุ่มใดเกี่ยวข้องกับรูปแบบของเนื้อหา และพวกเขามี ความสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อท าความเข้าใจว่าบริบทของการผลิตวีดิโอยูทูบในสิงคโปร์มีลักษณะ อย่างไร บทที่ 4 เบื้องหลังการถ่ายท า อธิบายกระบวนการสร้างสรรค์วีดิโอตลกภาษาซิงลิช ว่า วีดิโอถูกสร้างและกลายเป็นรูปแบบที่ผู้ชมรับชมอย่างไร โดยจะเน้นไปที่การใช้ภาษาและประเด็น เกี่ยวกับภาษาซิงลิชและยูทูบ บทที่ 5 “ประเภทต่าง ๆ ของผู้พูดภาษาซิงลิช” เป็นการวิเคราะห์การใช้ภาษาและ เนื้อหาในวีดิโอตลกภาษาซิงลิช ว่ามีอุดมการณ์ภาษาใดซ่อนอยู่ โดยเฉพาะการแบ่งแยกความแตกต่าง ทางภาษาเชิงอุดการณ์ บทที่ 6 บทสรุป สรุปเนื้อหาและประเด็นส าคัญในวิทยานิพนธ์ และนาเสนอข้อเสนอ ของผู้เขียนต่อการท าความเข้าใจอุดมการณ์ภาษาและอุดมการณ์สื่อในการใช้ภาษาซิงลิชและยูทูบ

Ref. code: 25615808030521AIP 31

บทที่ 2 ภาษาซิงลิช: ความอับอายแห่งชาติและอารมณ์ขันของรัฐ

หลิ่ว ชูนบูน (Liew Choon Boon) ผู้อ านวยการกองพัฒนาศิลปะและมรดก (Arts and Heritage Development Division) กระทรวงข้อมูล การสื่อสารและศิลปะ (Ministry of Information, Communication and the Arts) กับโฮ เพ็ง (Ho Peng) ผู้อ านวยการกองการ วางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning Division) กระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education) กล่าวในบทความที่เขียนร่วมกันว่า

ถึงแม้ว่าภาษาซิงลิชอาจเป็นประเด็นทางวิชาการที่น่าสนใจส าหรับนักภาษาศาสตร์ ส าหรับเอาไว้เขียนบทความ แต่สิงคโปร์ไม่มีความสนใจที่จะเป็นตัวอย่างสัตว์แปลกให้ นักวิชาการชาแหละและพรรณนาถึง ความสนใจที่ส าคัญกว่าของคนสิงคโปร์คือใช้ภาษา อย่างเชี่ยวชาญเพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเรา และนั่นหมายความ ว่าเราเน้นความสนใจไปที่ภาษาอังกฤษมาตรฐานมากกว่าภาษาซิงลิช (The Straits Times, 12 December 2008)

ความคิดเห็นของหลิ่วกับโฮได้แสดงให้เห็นถึงกลไกการป้องกันของข้าราชการระดับสูงใน สิงคโปร์ เพื่อไม่ให้ความน่าอับอายและความตลกขบขันของภาษาซิงลิชปรากฏสู่สายตาของ ผู้สังเกตการณ์ กลไกการป้องกันนี้ ที่ท าให้เกิดความขัดแย้งระหว่างการนาเสนอวัฒนธรรมแห่งชาติกับ การนาเสนอตัวตนของคนทั่วไป ภายในความกันเองและความใกล้ชิดของพื้นที่ที่เป็นรัฐชาติ (Herzfeld, 2016, p. 2) เนื้อหาในบทนี้เน้นท าความเข้าใจกับประเด็นดังกล่าว เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ ความกันเองทางวัฒนธรรม การควบคุม และความสร้างสรรค์ในสังคมสิงคโปร์ว่ามีลักษณะอย่างไร และท าความเข้าใจโดยคร่าวว่าอุดมการณ์ภาษาและอุดมการณ์สื่อซ่อนอยู่ในการแสดงตลกในสื่อ กระแสหลักของสิงคโปร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างไร ผู้เขียนจะอภิปรายภูมิหลังทางภาษาศาสตร์ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างภาษาที่ ผู้คนพูดกับบริบททางสังคมที่รายล้อมในแต่ละยุคสมัย ถึงแม้ว่าวิทยานิพนธ์นี้จะไม่ได้เน้นศึกษาที่ ประวัติศาสตร์ของภาษาซิงลิช แต่การศึกษาข้อมูลลักษณะนี้จะช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์ทาง ภาษาศาสตร์สังคมในปัจจุบัน เพราะว่าประสบการณ์ที่มีชีวิตของภาษาและวิธีการสื่อสารของผู้คนใน ปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องมาจากบริบททางประวัติศาสตร์จ าเพาะของชุมชนภาษา (Hauck, 2017, p.

Ref. code: 25615808030521AIP 32

15) นอกจากนี้ ภาพแทนทางสังคมของภาษาในปัจจุบันยังมีอิทธิพลมาจากปรากฏการณ์ทาง ภาษาศาสตร์สังคมในอดีตด้วย (Irvine and Gal, 2000, p. 36) นอกจากนี้ อีกหนึ่งเป้าหมายของการอภิปรายในบทนี้คือการท าให้เห็นภาพว่าวิธีการใช้ ภาษาและเนื้อหาในการแสดงตลกในสิงคโปร์มีความเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัยอย่างไร เพื่อท า ความเข้าใจว่าภาษาซิงลิชถูกใช้ในการแสดงตลกอย่างไร และคนสิงคโปร์หัวเราะต่ออะไร ผู้เขียนจะแบ่งการเล่าประวัติศาสตร์เชิงภาษาศาสตร์สังคมของประเทศสิงคโปร์ออกเป็น 4 ยุคตามจุดเปลี่ยนส าคัญในประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของสิงคโปร์ ประกอบด้วย 1) ยุคสร้างชาติ 2) ยุคปฏิรูปการศึกษา 3) ยุคโลกาภิวัตน์ และ 4) ยุคสังคายนาวัฒนธรรม หลังจากนั้น ผู้เขียนจะ อธิบายบริบทในปัจจุบันโดยคร่าวและสรุปเนื้อหาในบทนี้

2.1 ยุคสร้างชาติ (ค.ศ. 1965-1980)

หลังจากที่จักรวรรดิอังกฤษปล่อยดินแดนในกลุ่มเกาะมลายู (Malay archipelago) ให้ เป็นอิสระเมื่อปีค.ศ. 1963 ดินแดนต่าง ๆ เหล่านี้ (ยกเว้นบรูไน) ต้องการรวมประเทศและสร้างรัฐชาติ ใหม่ที่มีชื่อว่ามาเลเซีย แต่ทว่า การรวมชาติครั้งนี้กลับส าเร็จเพียงบางส่วน ในปีค.ศ. 1965 รัฐบาล กลางกัวลาลัมเปอร์ประกาศขับไล่สิงคโปร์ออกจากการร่วมอธิปไตย ท าให้นับแต่นั้น สิงคโปร์กลายเป็น รัฐอิสระและต้องสร้างรัฐชาติใหม่อย่างไม่ได้ตั้งใจ (Lee, 2008) นายลี กวนยู นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ในขณะนั้น ถ่ายทอดสดการแถลงข่าวประกาศเอกราชของสิงคโปร์ด้วยความเศร้าโศก ท่ามกลาง ความไม่แน่นอนและความเปราะบาง โจทย์หลักของการสร้างชาติสิงคโปร์คือการสร้างสเถียรภาพทั้งทางการเมือง ที่ปัญหา ความแตกต่างทางเชื้อชาติของประชาชนในประเทศยังคุกรุ่นและเป็นชนวนของความรุนแรง และการ เป็นรัฐที่มีชาวจีนเป็นประชากรหลักที่ถูกประกบโดยสองรัฐอิสลามขนาดใหญ่ (Chua, 1995, p. 48) และทางเศรษฐกิจ ที่ทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่มีอยู่อย่างจ ากัด และความมั่นคงทาง โครงสร้าง พื้นฐานที่สิงคโปร์ ด้วยปัญหาเร่งด่วนรอบด้านเช่นนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ในขณะนั้นด าเนินนโยบายด้วยแนวคิด ปฏิบัตินิยม (pragmatism) อุดมการณ์ที่ให้คุณค่ากับสิ่งที่จับต้องได้และนาไปใช้ได้จริง (Lee, 2010) ฉั่ว เบ็งฮวด (Chua Beng Huat) นักสังคมวิทยาชาวสิงคโปร์กล่าวว่า “แนวคิดปฏิบัตินิยมของ สิงคโปร์ถูกควบคุมโดยหลักเหตุผลเชิงบริบทเฉพาะ เพื่อให้ได้ผลเพียงระดับหนึ่งและเพียงระยะเวลา หนึ่งเท่านั้น อีกทั้งยังใส่ใจกับความเป็นระบบและความความสอดคล้องเพียงเล็กน้อย ในฐานะที่เป็น เพียงหลักเกณฑ์เชิงเหตุผลจ าเป็นส าหรับการกระท า” (Chua, 1995, p. 58) ดังนั้น ผลที่ได้รับจาก

Ref. code: 25615808030521AIP 33

การด าเนินนโยบายเช่นนี้คืออุดมการณ์ปฏิบัตินิยมที่ถูกท าให้กลายเป็นการเมือง และเน้นไปที่ เศรษฐกิจมากเกินไปจนลืมมิติทางวัฒนธรรม เพราะว่าการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจถูกมอง ว่าเป็นสิ่งที่ประกันความมีเสถียรภาพทางสังคมและการเมืองที่ดีที่สุด (Lee, 2010, p. 4) หนึ่งในการด าเนินนโยบายแบบปฏิบัตินิยมของรัฐบาลสิงคโปร์ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการ ประกาศให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง (lingua franca) ส าหรับการสื่อสารข้ามชาติพันธุ์และการ ท างาน นายลี กวนยูกล่าวในประเด็นนี้ว่า

เราเปลี่ยนมาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาส าหรับการท างาน แม้ว่าเพียงจะเป็นการ เปลี่ยนแปลงครั้งแรก แต่เป็นสิ่งที่เราตัดสินใจเป็นอย่างแรกหลังการจากการแยกจาก มาเลเซียเพียงไม่กี่สัปดาห์ เพราะว่าเราต้องมีภาษาที่ไว้ใช้ท างาน แต่ก่อนอื่น เรา พยายามท าให้ภาษามลายูเป็นภาษาประจ าชาติ หลังจากนั้น เราต้องเชื่อมโยงกับโลก ภายนอก และด้วยเหตุนี้ที่ท าให้เราต้องตัดสินใจมาใช้ภาษาอังกฤษ (Han et. al, 1998, p. 83 as cited in Koh, 2009)

ภาษาอังกฤษถูกท าให้กลายเป็นสถาบันในฐานะที่เป็นภาษาราชการ (official language) ที่มีความเป็นกลาง เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเชื้อชาติและกลุ่มภาษา ซึ่งวิธีการดังกล่าว เป็นกลยุทธ์พื้นฐานของนักสร้างชาติแนวปฏิบัตินิยม (Lim, 1989, p. 530) ถึงแม้ว่าภาษาอังกฤษยังกลายมาเป็นภาษาที่ใช้ในกิจการของชาติ แต่สิงคโปร์ยังต้องการ เก็บรักษาภาษาประจ าเชื้อชาติไว้ (Lee, 2010, p. 5) รัฐบาลก าหนดอีกสามภาษาประจ าเชื้อชาติให้ เป็นภาษาราชการ ประกอบด้วยภาษามลายู ภาษาจีนกลาง และภาษาทมิฬ ภาษาเหล่านี้ถูกเรียกว่า ภาษาแม่ (mother tounge) อย่างไรก็ดี ภาษาแม่ไม่ได้หมายความว่าเป็นภาษาแรก (native language) ของผู้พูดชาวสิงคโปร์ เช่นภาษาจีนกลางที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากภาษาท้องถิ่นจีนที่ คนสิงคโปร์ส่วนใหญ่พูด เช่นภาษาฮกเกี้ยน ภาษากวางตุ้ง ภาษาแต้จิ๋ว และภาษาแคะ หรือประชากร ชาวอินเดียกว่าร้อยละ 46 ไม่ใช่ผู้พูดภาษาทมิฬ (Department of Statistic, 2017) การจ าแนกภาษาตามเชื้อชาตินี้ ถึงแม้ว่าจะดูเป็นการสนับสนุนนโยบายพหุวัฒนธรรม แต่ก็เป็นการแบ่งแยกเชื้อชาติที่สามารถถูกท าให้กลายเป็นการเมือง วาทกรรมการจ าแนกเชื้อชาติเป็น ที่รับรู้ของคนสิงคโปร์ในนามว่าระบบ CMIO (Chinese-Malay-Indian-Others model) โดยนัก รัฐศาสตร์กล่าวว่า “การแบ่งแยกประชาชนตามเชื้อชาติเป็นหนึ่งในวิธีจัดการโครงสร้างของประชาชน ที่ง่ายที่สุดของนักปฏิบัตินิยม” (Benjamin, 1976, p. 120)

Ref. code: 25615808030521AIP 34

การจ าแนกเชื้อชาติกลายเป็นการรับรู้ทางสังคมและวัฒนธรรมพื้นฐานของสิงคโปร์ เชื้อชาติของคนสิงคโปร์จะปรากฏเด่นชัดบนบัตรประชาชน เชื้อชาติของคนสิงคโปร์มีส่วนก าหนด สิทธิทางการเมือง ความช่วยเหลือจากรัฐบาล การศึกษา และการจัดหาที่อยู่อาศัย (Kathiravelu, 2017) และการถูกก าหนดให้ใช้และเรียนภาษาแม่ที่เป็นตัวแทนของเชื้อชาติ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้สะท้อนอัต ลักษณ์และภาษาดั้งเดิมของตนแสดงให้เห็นถึงปัญหาส าคัญของการจ าแนกคนให้เป็นประเภทคร่าว ๆ ดังเช่นนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลสิงคโปร์ คนสิงคโปร์มีข้อเรียกร้องให้เป็นผู้พูดสองภาษาที่รู้ภาษาอังกฤษ (English-knowing bilingualism) ท าให้ภาษาอังกฤษกลายเป็นเครื่องมือของการสร้างความเป็นคนสิงคโปร์ ในขณะที่ ภาษาแม่มีสถานะเป็นภาษาสารอง (Bloom, 1986; Pakir, 1992) ถึงแม้ว่านักเรียนจ านวนมากจะไม่ สามารถฝึกฝนภาษาทั้งสองให้เชี่ยวชาญได้ในโรงเรียน แต่รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงพยายามผลักดันให้ ประชากรสิงคโปร์เป็นผู้พูดสองภาษาที่ทั้งความสามารถในการใช้ภาษาทั้งสองมีความเชี่ยวชาญที่ เท่ากัน (Lee, 2010, p. 5) กระบวนการเปิดรับภาษาอังกฤษของคนสิงคโปร์ในสมัยสร้างชาติก็ไม่ได้เป็นไปอย่าง ราบรื่น จากการสารวจสามะโนประชากรในปีค.ศ. 1980 สิบห้าปีหลังการประกาศให้ภาษาอังกฤษเป็น ภาษากลางส าหรับการสื่อสาร พบว่ามีเพียงครัวเรือนสิงคโปร์เพียงร้อยละ 13.55 ใช้ภาษาอังกฤษเป็น ภาษาหลักของครอบครัว โดยภาษาที่มีปริมาณการใช้สูงสุดในสิงคโปร์คือภาษาถิ่นจีนต่าง ๆ ที่ร้อยละ 61.25 และในขณะนั้นครัวเรือนสิงคโปร์ใช้ภาษาจีนกลางเพียงร้อยละ 10.45 (Singapore Census, 1980, p. 3) จากสถิติท าให้เห็นว่าภาษาท้องถิ่นจีนยังมีอิทธิพลเหนือภูมิทัศน์ภาษาของสิงคโปร์ใน ช่วงเวลานั้น ถึงแม้ว่าคนจ านวนหนึ่งยังไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเชี่ยวชาญ แต่ในสิงคโปร์ยัง มีภาษากลางอื่นที่ยังถูกพูดอย่างแพร่หลาย ภาษานั้นคือภาษามลายูตลาด (Pasar Melayu) ภาษา ดังกล่าวเป็นภาษามลายูที่โครงสร้างไวยากรณ์ถูกท าให้ง่ายขึ้น และมีคายืมจากภาษาต่าง ๆ เช่นภาษา ฮกเกี้ยนและภาษากวางตุ้งปะปนเข้ามาในค าพูด ทุกชาติพันธุ์ในสิงคโปร์ช่วงหลังยุคอาณานิคมต่า เข้าใจภาษามลายูตลาด และสามารถใช้ได้ทั้งในบริบทการค้าและการใช้ชีวิตประจ าวัน (Chew, 2013, p. 88) ค าศัพท์และโครงสร้างของภาษามลายูตลาดได้รับอิทธิพลจากภาษาฮกเกี้ยนมากที่สุด เช่น ค าสรรพนาม “ฉัน” และ “เธอ” จะใช้ค าว่า “gwa (我)” และ “lu (汝)” แทนที่จะเป็นค าภาษา มลายู “saya” และ “awak” ตามล าดับ ส่วนในระดับโครงสร้างประโยคได้รับอิทธิพลมาจาก โครงสร้างภาษาฮกเกี้ยน เช่น ล าดับการเรียงค านามหลักและค าขยาย โดยภาษาฮกเกี้ยนมีโครงสร้างที่ ค าขยายขึ้นก่อนและตามด้วยค านามหลัก ส่วนภาษามลายูจะเริ่มด้วยค านามหลักก่อนและต่อด้วยค า ขยาย เช่นวลีว่า “เดือนนี้” (ภาษาไทยมีโครงสร้างแบบเดียวกับภาษามลายูในโครงสร้างไวยากรณ์นี้)

Ref. code: 25615808030521AIP 35

ในภาษามลายูตลาดจะนิยมพูดว่า “ini bulan (นี้-เดือน)” แทนที่จะเป็น “bulan ini (เดือน-นี้)” (Chew, 2013, p. 89) ภาษามลายูตลาดแสดงให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนหลากหลาย ท าให้ภาษาต่าง ๆ ผสมกันในหลากหลายระดับ อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าในพื้นที่แบบสิงคโปร์ ที่อยู่ ท่ามกลางแรงผลักดันของการเคลื่อนย้ายและความแตกต่างหลากหลายของภาษา (Stroud and Wee, 2012) สามารถสร้างความเป็นไปได้ของการผสมผสานและสร้างรูปแบบภาษาใหม่ที่มีพื้นฐาน มาจากภาษากลางในสังคม รายการตลกจับจองเวลาในโทรทัศน์สิงคโปร์ตั้งแต่วันแรกของการเปิดสถานีในปี ค.ศ. 1963 (SingaporeInfopedia, 2006) สองนักแสดงตลกผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้นคือหวัง ซา (Wang Sa) และเหย่ ฟง (Ye Fong) เขาทั้งสองมักจะแสดงร่วมกันในรูปแบบตลกลูกคู่แบบจีน (xiangsheng) ซึ่งเป็นฉากสนทนาระหว่างนักแสดงสองคน การสนทนาข้ามไปข้ามมาของเขาทั้งสองมีลักษณะการปน ภาษาที่น่าสนใจ ผู้เขียนได้ศึกษาตัวอย่างการแสดงตลกของเขาที่ออกฉายทางโทรทัศน์ในปีค.ศ. 1973 (สื่อวีดิโอ 2.1) พบว่าพวกเขาสนทนาข้ามไปมาระหว่างภาษาจีนกลาง ภาษาแต้จิ๋ว ภาษากวางตุ้ง และ ภาษาอังกฤษ

ภาพที่ 2.1 การแสดงตลกของหวังซาและเหย่ฟงในปีค.ศ. 1973 จาก https://youtu.be/axX- qjzPJ9I

สื่อวีดิโอ 2.1 การแสดงตลกของหวังซาและเหย่ฟงในปีค.ศ. 1973 จาก https://youtu.be/axX- qjzPJ9I

Ref. code: 25615808030521AIP 36

หวังและเหย่เปิดตัวออกมาจากหลังเวที ผู้คนตบมือเกรียวกราว เหย่ทักทายผู้ชมด้วย ภาษาจีนกลางด้วยท่าทางที่เป็นทางการ จากนั้น หวังทักทายผู้ชมด้วยภาษาอังกฤษในข้อความ เดียวกันที่เหย่พูด หวัง ซายิงมุกตลกแรกของการแสดงทันทีด้วยการแสดงความประหลาดใจถึง ความสามารถทางภาษาอังกฤษของเหย่ ฟง และถามว่า “เดี๋ยวนี้หัดพูดภาษาฝรั่งแล้วเหรอ” ด้วย ภาษาฮกเกี้ยน หลังจากนั้นพวกเขาด าเนินการแสดงต่อด้วยภาษาฮกเกี้ยนและภาษาแต้จิ๋ว โดยมี ค าศัพท์ภาษาจีนกลาง ภาษากวางตุ้งและภาษาอังกฤษแทรกมาเล็กน้อย จากการสอบถามผู้พูดภาษาฮกเกี้ยน เนื้อหาการแสดงครั้งนี้ของหวังและเหย่ ประกอบด้วยสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกของการแสดงกล่าวถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมของ ภาษาอังกฤษและภาษาจีน เหย่ขอให้หวังแปลภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษ และพบว่าการแปลคาพังเพย ภาษาจีนให้เป็นภาษาอังกฤษอาจท าให้คนอังกฤษรู้สึกโกรธ เพราะความยอกย้อนและไม่ตรงไปตรงมา ของภาษาจีน และส่วนที่สอง พวกเขากล่าวถึงความแตกต่างหลากหลายของภาษาในสิงคโปร์ โดย เหย่บอกว่าโรงเรียนสมัยนี้สอนเป็นอย่างต่า 4 ภาษา จากนั้นเขาเล่นตลกกับความแตกต่างระหว่าง ภาษาถิ่นต่าง ๆ โดยเหตุการณ์แรกเป็นการเปรียบเทียบระหว่างภาษากวางตุ้งและภาษาแต้จิ๋ว ใน ส านวนเดียวกัน ภาษาแต้จิ๋วใช้คาประหยัดกว่า ต่อมาพวกเขายกเหตุการณ์ที่สองคือระหว่างภาษา ฮกเกี้ยนและภาษาแต้จิ๋ว โดยพูดว่าภาษาฮกเกี้ยนเป็นภาษาที่ตรงไปตรงมาและใช้คาน้อยกว่าภาษา แต้จิ๋ว สุดท้ายเหย่เฟิงยกตัวอย่างกลับไปหาภาษาอังกฤษว่ามีความตรงไปตรงมากว่าภาษาฮกเกี้ยนเสีย อีก เนื่องจากการใช้ค าที่ประหยัดกว่าภาษา แต่พวกเขาท าทีเป็นไม่รู้ว่าภาษาอังกฤษที่เขาพูดกลับเป็น ภาษาอังกฤษที่แปลตรงตัวจากภาษาจีน และไม่สมเหตุสมผลในสายตาของผู้พูดภาษาอังกฤษแม้แต่ น้อย ด้วยการแสดงเป็นตัวละครที่พูดภาษาอังกฤษผิดด้วยท่าทีที่ไม่รู้ว่าตัวเองผิด ท าให้สามารถเรียก เสียงหัวเราะครืนจากผู้ชมได้ทั้งห้องส่ง ถึงแม้ว่าภาษากลางของโทรทัศน์ในขณะนั้นคือภาษาอังกฤษ แต่การแสดงตลกภาษา ฮกเกี้ยนของหวังซาและเหย่ฟงในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะการใช้ภาษาในสื่อสิงคโปร์ยุคสร้างชาติ ที่การผสมผสานของภาษาต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์ภาษา ในการแสดงตลกว่าจีนกลางยังคงมีความเป็นอื่น แต่มีความเป็นอื่นไม่เท่ากับภาษาอังกฤษ

2.2 ยุคปฏิรูปการศึกษา (ค.ศ. 1980-1990)

ในสายตาของรัฐบาล ระบบการศึกษาของสิงคโปร์ในช่วงทศวรรษ 1970 มีปัญหา มากมาย เช่นระดับการรู้หนังสือภาษาอังกฤษที่ต่าและผู้สอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานมีจ านวนน้อย (Goh and Gopinathan, 2016, p. 20) ประกอบกับความเชื่อว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ควรขับเคลื่อนด้วย

Ref. code: 25615808030521AIP 37

ความรู้ ไม่ใช่อุตสาหกรรมเหมือนในอดีต (Yue, 2001) ท าให้ในช่วงทศวรรษ 1980 รัฐบาลสิงคโปร์ ด าเนินการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ หนึ่งในกลยุทธ์การปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลสิงคโปร์คือการควบรวมกิจการโรงเรียน ทั้งหมดในสิงคโปร์ให้เป็นรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ยังก าหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการสอน ส าหรับทุกวิชา ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปการศึกษาถือเป็นครั้งแรกที่ท าให้คนสิงคโปร์ทุกคนไม่ว่าชนชั้นใด สามารถเข้าถึงและต้องใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจ าวัน (Oon, 2015) นอกจากนี้ ผู้ปกครองจ านวน มากยังนิยมส่งเสริมให้บุตรหลานเรียนภาษาอังกฤษ เพราะเชื่อว่าภาษาอังกฤษเป็นบันไดสู่ความส าเร็จ ในสิงคโปร์ (Wee, 2014) นักภาษาศาสตร์ต่างเห็นพ้องกันว่าภาษาซิงลิชเริ่มเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 อัน ผูกโยงกับคนสิงคโปร์รุ่นที่สองหลังจากการได้รับเอกราช (Lazar, 2010) และในช่วงทศวรรษ 1980 ภาษามาเลย์ตลาดถูกสับเปลี่ยนกับภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางได้ส าเร็จ ท าให้การมีอยู่ของภาษา ซิงลิชเริ่มกลายเป็นที่พูดถึงของคนสิงคโปร์ทั่วไป ในปีค.ศ. 1980 นักเขียนชาวสิงคโปร์ที่มีชื่อว่ามิแรน ดา เต (Miranda Tay) เขียนบทความหนังสือพิมพ์ Come On Lah, What’s Wrong with Singlish (ปัดโธ่ ภาษาซิงลิชมันแย่ตรงไหน) ซึ่งเป็นบทความที่มีเนื้อหาถกเถียงเกี่ยวกับภาษาซิงลิชชิ้นแรก (Oon, 2015, p. 18) หลังจากนั้นในปีค.ศ. 1982 หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาซิงลิชเล่มแรก Eh! Goondu (นี่! เจ้าโง่) โดยนักเขียนชาวสิงคโปร์ ซิลเวีย โต (Sylvia Toh) ได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลาเดียวกัน รัฐบาลเริ่มสนใจวางแผนนโยบายทางวัฒนธรรมเป็นครั้งแรก ด้วย การเน้นย้าให้คนสิงคโปร์ยึดถือคุณค่าแบบเอเชีย ผ่านการใช้คาสอนของศาสนาและอุดมการณ์ของคน ท้องถิ่นเป็นพื้นฐานในการนาเสนอความเป็นสมัยใหม่แบบเอเชีย (Chun, 1996, p. 60) โดยเป็นการ ตอบโต้เชิงวัฒนธรรมกับกระบวนการโลกาภิวัตน์แบบตะวันตก และความคิดเกี่ยวกับสิทธิ ปัจเจกนิยม การแข่งขัน และอธิปไตยส่วนตัว (Lee, 2010, p. 6) วิชาศาสนาและจริยธรรมถูกเน้นย้าในหลักสูตร ระดับมัธยมศึกษาตั้งแต่ค.ศ. 1982 เพื่อสร้างประชาชนที่พึงประสงค์เชิงคุณธรรม นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาต้องเลือกเรียนคาสอนจากศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื๊อ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และศาสนาคริสต์ตามความเชื่อของตน แต่ในขณะที่นักเรียนส่วนใหญ่ในสิงคโปร์มีเชื้อ ชาติจีนและไม่นับถือศาสนา ดังนั้นการสอนจริยธรรมแบบขงจื๊อจึงเป็นที่นิยมที่สุด (Lee, 2010, p. 5) ในช่วงเวลาเดียวกัน รัฐบาลก็ผลักดันให้คนเชื้อชาติจีนในสิงคโปร์ใช้ภาษาจีนกลาง ส าหรับการสื่อสารภายในชาติพันธุ์ และละทิ้งภาษาถิ่นของตน ด้วยการเดินหน้าสนับสนุนโครงการพูด ภาษาจีนกลาง (Speak Mandarin Campaign, p. 17) ภายใต้คาขวัญ “Speak More Mandarin and Less Dialects (พูดภาษาจีนกลางให้มากขึ้น พูดภาษาถิ่นให้น้อยลง” รัฐบาลสิงคโปร์ส่งเสริม การเรียนและการพูดภาษาจีนกลางในประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่นาเข้าครูสอนภาษาจีนจากไต้หวัน

Ref. code: 25615808030521AIP 38

เปิดรับประชากรย้ายถิ่นจากประเทศจีน และปรับเปลี่ยนโรงเรียนภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ให้สอน ภาษาจีนกลางและภาษาอังกฤษ (Chew and Lee, 1991) นักวิชาการแสดงความคิดเห็นว่า การ เปลี่ยนแปลงให้ชาวจีนสิงคโปร์มาใช้ภาษาจีนกลางร่วมกัน “เพื่อท าให้คนจีน ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของ ประชากร เงียบลงและให้คานึงถึงการเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนสิงคโปร์” (Birch, 1993) “เพื่อลด อ านาจและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มภาษาถิ่นจีนต่าง ๆ” (Chew, 2012) และ “เพื่อตอบรับการผงาด ขึ้นของมหาอ านาจจีน” ด้วย (Lee, 2010) ในปัจจุบัน ภาษาจีนกลางเป็นภาษาที่พูดอย่างแพร่หลาย ในสิงคโปร์ ยูทูเบอร์คนหนึ่งพูดติดตลกว่า “ภาษามลายูอาจเป็นภาษาแห่งชาติทางการ แต่ภาษาจีน กลางเป็นภาษาแห่งชาติที่ไม่เป็นทางการ” (H. Zulkiflie, interview, July 1, 2018) พร้อมกับการขับเคลื่อนโครงการพูดภาษาจีนกลาง การแสดงตลกและโฆษณาบน โทรทัศน์เปลี่ยนมาใช้ภาษาจีนกลางทั้งหมด ท าให้ละครที่ใช้ภาษาถิ่นจีน เช่น ละครภาษากวางตุ้งจาก ฮ่องกง ก็ต้องพากย์ภาษาจีนกลางทับก่อนการออกอากาศในสิงคโปร์ (Sin Chew Jit Poh, 1 November 1979) ผู้ให้ข้อมูลวัย 38 ปีคนหนึ่งเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าในละครโทรทัศน์ภาษาจีนในสมัย เธอเด็ก ๆ (ทศวรรษ 1980) เสียงของนักแสดงชาวสิงคโปร์ทุกคนจะถูกพากย์ทับโดยนักพากย์มือ อาชีพ แม้ว่าเสียงดั้งเดิมของพวกเขาจะพูดภาษาจีนกลางอยู่แล้ว (J. Lim, interview, November 15, 2017) ผู้เขียนตั้งข้อสันนิษฐานว่าหน่วยงานควบคุมภาษาในสิงคโปร์อาจต้องการใช้เสียงภาษาจีน กลางที่ผู้ชมจะได้ยินเป็นเสียงที่ได้มาตรฐาน และนักแสดงชาวสิงคโปร์เหล่านี้อาจมีส าเนียงและการ ออกเสียงภาษาจีนกลางที่ไม่เป็นมาตรฐานพอ นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ภาษาจีนถิ่น มาใช้ภาษาจีนกลาง รายการ ตลกที่ผลิตในสิงคโปร์ได้เปลี่ยนแปลงในยุคนี้หลากหลายด้าน จากการสนทนาสลับแบบตลกลูกคู่จีน รายการตลกในสิงคโปร์ในยุคนี้เริ่มเล่นเป็นฉาก มีอุปกรณ์ประกอบฉาก เล่าเป็นสถานการณ์ และจบใน ฉาก ในแต่ละฉากมีนักแสดงเพียงไม่กี่คน จากการศึกษาเปรียบเทียบฉากตลกของพวกเขาที่ ออกอากาศในรายการโทรทัศน์ช่วงปีค.ศ. 1980 ผู้เขียนพบว่ามีลักษณะการใช้ภาษาและเล่นตลกที่ น่าสนใจ ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างที่ลักษณะพิเศษของการแสดงตลกของหวังซาและเหย่ฟงที่เห็นได้ชัดเจน ที่สุด

ตัวอย่างถอดความ 2.1 สถานการณ์: ในร้านอาหาร หวังซาและเหย่ฟงพบความยากล าบากในการสั่งอาหารด้วยภาษาอังกฤษ ผู้หญิงที่นั่งโต๊ะข้าง ๆ เลยต้องยื่นมือเข้ามาช่วย

Ref. code: 25615808030521AIP 39

1 Wang 来, 叫... 叫... 叫... 叫... 叫东西吃吗? Lái, jiào... jiào... jiào... jiào... Jiào dōngxī chī ma? หวัง เอาหละ สั่ง สั่ง สั่ง สั่ง สั่งอาหารกันไหม 2 Ye 你现在饿了? Nǐ xiànzài è le? เหย่ นายหิวตอนนี้แล้วเหรอ

3 Wang 饿了, 饿了, 饿了. 我的英语七七八八啦. Èle, èle, èle. Wǒ de yīngyǔ qīqībābā la. หวัง หิวแล้ว หิวแล้ว หิวแล้ว ภาษาอังกฤษฉันงู ๆ ปลา ๆ นะ 4 这个高级的餐厅 (0.5) 全部讲英语的. Zhège gāojí de cāntīng quánbù jiǎng yīngyǔ de. ร้านอาหารหรูขนาดนี้ ต้องพูดภาษาอังกฤษทั้งหมด 5 Ye Ah, 对.可以. Ah. Hello! ((ฟังไม่ได้ศัพท์)) duì. Kěyǐ. เหย่ อ่า ใช่ ได้ อ่า สวัสดี 6 Waitress Hello! Good morning sir? พนักงาน สวัสดี อรุณสวัสดิ์ค่ะท่าน 7 Ye Hi good morning. Ah… can you give me er er er menu? เหย่ ดี อรุณสวัสดิ์ อ่า ฉันขอ เอ่อ เอ่อ เอ่อ เมนูหน่อยได้ไหม 8 Waitress Menu? พนักงาน เมนูเหรอคะ 9 Ye Yeah. เหย่ ใช่ 10 Waitress Sure. พนักงาน ได้ค่ะ 11 Wang Thank you. ขอบคุณ 12 Ye Wah! 这个小姐不错. Wah! 很高啊。她的腿很长. Zhège xiǎojiě bùcuò. Hěn gāo a. Tā de tuǐ hěn cháng. เหย่ โอ้โห แม่สาวคนนี้ใช้ได้ โห ตัวสูง ขายาวมาก ๆ

Ref. code: 25615808030521AIP 40

13 Wang Hello! I… I… I… want to order (0.1) you! in! out! in! out! Order! หวัง สวัสดี ฉัน ฉัน ฉัน อยากจะสั่ง คุณ เข้า ออก เข้า ออก สั่ง 14 Waitress No otak here. We only have pork chop, lamp chop. No otak. พนักงาน ที่นี่ไม่มีห่อหมกย่างค่ะ เรามีแค่สเต็กหมู สเต็กแกะ ไม่มีห่อหมกย่างค่ะ 15 Wang Order หวัง สั่งอาหาร 16 Waitress No otak here. We have chicken chop lamp pork chop steak. No otak. พนักงาน ที่นี่ไม่มีห่อหมกย่างค่ะ เรามีแค่สเต็กไก่ สเต็กแกะ สเต็กหมู ไม่มีห่อหมกย่างค่ะ 17 Wang 我的英语她都听不懂. Order order you know order Wǒ de yīngyǔ tā dōu tīng bù dǒng หวัง ฉันพูดภาษาอังกฤษ เธอฟังไม่เข้าใจหมดเลย สั่งอาหาร สั่งอาหาร เข้าใจไหม สั่งอาหาร 18 Waitress No otak here พนักงาน ไม่มีห่อหมกย่างที่นี่ค่ะ 19 Ye Eh. Miss. My friend he want to eat you know he want to eat so so you order เหย่ นี่ คุณผู้หญิง เพื่อนของผมอยากกินข้าว คุณเข้าใจไหม เขาอยากจะกินข้าว ดังนั้น คุณสั่ง 20 Waitress Oh, order? พนักงาน อ๋อ สั่งอาหาร 21 Wang Har? หวัง หา 22 Ye Order เหย่ สั่งอาหาร 23 Waitress Orh. Oder พนักงาน อ๋อ สั่งอาหาร 24 Wang 我们没有吃 otak 嘛 Wǒmen méiyǒu chī ma หวัง เราไม่ได้จะกินห่อหมกย่างสักหน่อย

Ref. code: 25615808030521AIP 41

25 Ye 因为你的英语太深了,她都听不懂. Yīnwèi nǐ de yīngyǔ tài shēnle, tā dōu tīng bù dǒng เหย่ เพราะว่าส าเนียงภาษาอังกฤษของนายมันแปร่ง เธอเลยฟังไม่เข้าใจทุกอย่าง 26 Wang 对对对,can you give me one plate. Duì duì duì หวัง ใช่ ๆ ผมขอจานหนึ่งใบ 27 Waitress Plate? พนักงาน จานเหรอคะ 28 Wang Yeah. หวัง ใช่ 29 Waitress You eat plate? พนักงาน คุณกินจานเหรอ 30 Ye Yeah, plate. เหย่ ใช่ จาน 31 Waitress Okay, plate. โอเค จานค่ะ 32 Ye Okay thank you. เหย่ โอเค ขอบคุณ 33 Wang 英语也不会听啊. Yīngyǔ yě bù huì tīng a. พนักงาน ภาษาอังกฤษแค่นี้ก็ฟังไม่ออก 34 Ye 你的英语很深啊. Nǐ de yīngyǔ hěn shēn a. เหย่ ก็ภาษาอังกฤษของนายมันแปร่งเกินไป 35 Wang 对对对,我们快差不多了。 Duì duì duì, wǒmen kuài chàbùduō le. พนักงาน ใช่ ๆ ๆ พวกเราใกล้แล้ว 36 Waitress Excuse me sir [เสิร์ฟจาน] พนักงาน ขออภัยนะคะ 37 Ye Why inside no eat! เหย่ ท าไมข้างในไม่มีกิน

Ref. code: 25615808030521AIP 42

38 Wang I, I, I, I want the plate, you give me the 盘. phua หวัง ฉัน ฉัน ฉัน ฉันจะเอาจาน (ภาษาอังกฤษ) เธอเอาจาน (ภาษาฮกเกี้ยน) มาให้ 39 Waitress You’ve asked for a plate, right? พนักงาน ก็คุณสั่งจานมานี่คะ ถูกไหม 40 Ye Yeah, plate. Eat. Eat. Eat. Empty! Eat! Eat! Eat! เหย่ ใช่ จาน กิน กิน กิน ว่างเปล่า กิน กิน กิน 41 Waitress This is the plate? พนักงาน ก็อันนี้จานไงคะ 42 Woman Uncle. 你们要 order 什么? Nǐmen yào shénme ผู้หญิง คุณลุงคะ จะสั่งอะไรเหรอคะ 43 Ye 我要面包啦,可是她拿盘子给我 Wǒ yào miànbāo la, kěshì tā ná pánzi gěi wǒ เหย่ ฉันจะเอาขนมปัง แต่เธอให้จานฉันมา 44 Woman 面包啊?你那个音差一点点 Miànbāo a? Nǐ nàgè yīn chà yī diǎndiǎn. ผู้หญิง ขนมปังเหรอ ลุงออกเสียงผิดไปนิดเดียวเอง 45 Ye 是吗? Shì ma เหย่ จริงเหรอ 46 Woman 面包是 bread Miànbāo shì ผู้หญิง ขนมปังคือ เบรด 47 Wang bread หวัง เบรด 48 Woman Ah,不是 plate bùshì ผู้หญิง อ่า ไม่ใช่เพลท 49 Wang 差不多嘛 Chàbùduō ma หวัง ก็ต่างกันนิดเดียวเอง

Ref. code: 25615808030521AIP 43

50 Woman 差很多 leh Chà hěnduō ผู้หญิง ต่างกันเยอะมากเลยค่ะ 51 Waitress Alright, I’ll get you the bread. พนักงาน เอาหละค่ะ ฉันจะเอาขนมปังมาให้ 52 Ye 为什么你的英文老是她听不懂的 Wèishéme nǐ de yīngwén lǎo shì tā tīng bù dǒng de เหย่ ท าไมเธอไม่เข้าใจภาษาอังกฤษของนายเสมอเลย 53 Wang 对 leh. 我的英文太深的关系吗? Duì Wǒ de yīngwén tài shēn de guānxì ma? หวัง นั่นน่ะสิ มันเกี่ยวกับว่าภาษาอังกฤษของฉันแปร่งเกินไปหรือเปล่า 54 Ye 不是太深 lah. 可能你年纪大 hor, 舌头硬,转不过来了. Bùshì tài shēn Kěnéng nǐ niánjì dà , shétou yìng, zhuǎn bùguò láile. เหย่ ไม่ใช่แปร่งไปหรอก แต่นายอายุเยอะแล้ว ลิ้นแข็งหมดแล้ว ม้วนไม่ไปแล้ว 55 讲英文要 slang, slang. [กลั้วลิ้น] 这样 slang. Jiǎng yīngwén yào zhèyàng พูดภาษาอังกฤษมันต้อง แสลง แสลง แบบนี้ แสลง 56 你看我,我一定对的. Nǐ kàn wǒ, wǒ yīdìng duì de. นายดูฉันไว้ ฉันไม่ผิดหรอก

(Comdedy Restaurant Talk, จากรายการ Xiao Kan Dang Nian [ตลกทันเหตุการณ์])

ตลกของหวังซาและเหย่ฟงในช่วงทศวรรษ 1980 เน้นไปที่ความไม่ลงรอยกันระหว่าง ภาษาท้องถิ่นและภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงความเป็นสิงคโปร์แบบเก่าและแบบใหม่ เขาทั้งสองมักจะ รับบทเป็นชายสูงอายุที่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ในสังคมสิงคโปร์ที่เปลี่ยนแปลงมาสู่การใช้ ภาษาอังกฤษ และใช้ช่องว่างระหว่างภาษาเป็นกลเม็ดสร้างเสียงหัวเราะ เช่น การออกเสียง ภาษาอังกฤษผิดและมั่นใจว่าออกเสียงถูกแล้ว (เช่นในมุกตลกตั้งแต่บรรทัดที่ 25 ออกเสียงค าว่า bread - ขนมปังเป็น plate - จาน) หรือการฟังภาษาอังกฤษผิดเป็นภาษาซิงลิช (เช่นมุกตลกตั้งแต่ บรรทัดที่ 13 ฟังเสียงค าว่า order เป็น otak - ห่อหมกย่าง) แสดงให้เห็นถึงความไม่ลงรอยและของ

Ref. code: 25615808030521AIP 44

คนสิงคโปร์ยุคเก่าที่ไม่สามารถปรับตัวหรือพยายามปรับตัวเกินไปในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสู่สิงคโปร์ ยุคใหม่ นอกจากนี้ การแสดงตลกของหวังซาและเหย่ฟงหลายเรื่องเน้นย้าถึงคุณค่าของการพูด ภาษาอังกฤษในสิงคโปร์ เช่นในบรรทัดที่ 7 หรือในการแสดงเรื่องอื่น ที่เหย่ฟงกล่าวกับหวังซาว่า “ใน สิงคโปร์ คุณพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ไม่มีใครนับถือคุณหรอก” เห็นได้ชัดว่าอุดมการณ์ภาษาของ สิงคโปร์ในศตวรรษที่ 1980 ที่มีต่อภาษาอังกฤษคือภาษาที่อยู่บนล าดับชั้นทางสังคมสูงที่สุดในบรรดา ภาษาทั้งหมด และความพยายามเรียนรู้และพูดภาษาอังกฤษคือสิ่งที่ดีงามในสังคมสิงคโปร์ จากการสารวจสามะโนประชากรในปีค.ศ. 1990 ในระยะเวลา 10 ปี การใช้ ภาษาอังกฤษในครอบครัวเพิ่มจาก 13.55 มาเป็นร้อยละ 18.8 และพบว่าคนสิงคโปร์รู้หนังสือ ภาษาอังกฤษถึงร้อยละ 62.8 (Department of Statistic, 1990) นอกจากนี้ ในตัวอย่าง ถอดความเห็นได้ชัดว่าสิงคโปร์ที่หวังซาและเหย่ฟงมีชีวิตอยู่ ภาษามลายูตลาดและภาษาจีนถิ่นได้ถูก แทนที่โดยภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลางในฐานะภาษากลางส าหรับการสื่อสารในพื้นที่สาธารณะได้ อย่างส าเร็จ

2.3 ยุคโลกาภิวัตน์ (ค.ศ. 1990-2000)

ในช่วงทศวรรษ 1990 สิงคโปร์ก็เหมือนกับประเทศอื่น ๆ ที่เริ่มเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ (globalisation) ที่ผู้คน ธุรกิจ และรัฐบาลทั่วโลกต่างหลอมรวมเข้าหากัน ท าให้เกิดพัฒนาการทาง เทคโนโลยีที่รุดหน้า แต่ก็ยังทิ้งปัญหาความเหลื่อมล้าในหลากหลายมิติ เพื่อตอบรับการเข้าสู่ยุค โลกาภิวัตน์และความเป็นเมืองระดับโลก รัฐบาลมองว่าการเน้นคุณค่าตามแบบศาสนานั้นอาจจะท าให้ เป็นอุปสรรคต่อความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนาในสิงคโปร์ การเรียนการสอนวิชา ศาสนาจึงถูกยกเลิก แต่ในขณะเดียวกัน คุณค่าแนวคิดแบบท้องถิ่นเอเชียในบริบทสิงคโปร์ก็ได้สุกงอม เต็มที่ (Chun, 1996) ในปีค.ศ. 1990 รัฐบาลสิงคโปร์ดัดแปลงแนวคิดขงจื๊อและบัญญัติ “คุณค่าร่วม ของเรา (Our Shared Value)” และได้กลายเป็นวาทกรรมส าคัญในระบบคุณค่าของสิงคโปร์ (Hill and Lian, 2000, p. XX) โดยประกอบด้วยข้อต่าง ๆ ดังนี้

1) ประเทศชาติมาก่อนชุมชนและสังคม ซึ่งอยู่เหนือตัวตน (Nation Before Community And Society Above Self) 2) ครอบครัวเป็นหน่วยพื้นฐานของสังคม (Family As The Basic Unit Of Society)

Ref. code: 25615808030521AIP 45

3) ชุมชนสนับสนุนและเคารพปัจเจกบุคคล (Community Support And Respect For The Individual) 4) ฉันทามติ ไม่ขัดแย้งกัน (Consensus, Not Conflict) 5) สามัคคีกันระหว่างเชื้อชาติและศาสนา (Racial And Religious Harmony) (White Paper, 1991, p. 10 as cited in Lee, 2010)

ทศวรรษ 1990 ยังเป็นช่วงเวลาที่ส าคัญของสิงคโปร์ เพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่นายลี กวน ยูลงจากต าแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่มากว่า 30 ปี และนายโก๊ะ จ๊กตง (Goh Chok Tong) ได้ขึ้นมารับต าแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ ยุคนี้เป็นยุคที่รัฐบาลพยายามควบคุมสื่อ ภาษา และวัฒนธรรม อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น สถาบันทางวัฒนธรรมหลายแห่งก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในยุคนี้เพื่อจัดการและควบคุม วัฒนธรรมแห่งชาติสิงคโปร์ เช่น คณะกรรมการมรดกแห่งชาติ (National Heritage Board) สภา ศิลปะแห่งชาติ (National Art Council) คณะกรรมการหอสมุดแห่งชาติ (National Library Board) ที่ถูกตั้งขึ้นมาพร้อมกันในปีค.ศ. 1993 (Lee, 2010) หนึ่งในองค์กรทางวัฒนธรรมที่ถูกตั้งขึ้นใหม่พร้อม ๆ กันคือคณะกรรมการควบคุมการ กระจายเสียงสิงคโปร์ (Singapore Broadcasting Authority) ที่ตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1994 เพื่อสนับสนุน การเปิดเสรีให้กับกิจการกระจายเสียงสาธารณะในสิงคโปร์ (Lee, 2010) และท าให้บริษัทกระจาย เสียงสิงคโปร์ (Singapore Broadcasting Company) ผู้ผูกขาดกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของสิงคโปร์ มาอย่างยาวนานได้แตกออกเป็นบริษัทมากมาย (Keshishoglou and Aquilla, 2005) หนึ่งในนั้นคือ สหการโทรทัศน์แห่งสิงคโปร์ (Television Corporation of Singapore) ที่มีลักษณะเป็นบริษัท มหาชน ในปีค.ศ. 1995 โทรทัศน์สิงคโปร์เริ่มออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงเป็นครั้งแรก โดย ประกอบด้วย 3 ช่องคือช่อง 5 ที่เป็นรายการภาษาอังกฤษ ช่อง 8 รายการภาษาจีน และช่อง 12 รายการภาษามลายู ภาษาทมิฬ และภาษาต่างประเทศอื่น ๆ (Channel News Asia, 2019) ต่อมาใน ปี 1999 ช่องแชนแนลนิวส์เอเชีย (Channel News Asia) เปิดตัวเป็นครั้งแรก เพื่อให้เป็นช่องที่มี เนื้อหาเป็นข่าวโดยเฉพาะ และท าหน้าที่เป็นช่องข่าวนานาชาติจากสิงคโปร์ (Keshishoglou and Aquilla, 2005) ในช่วงเวลานี้ โทรทัศน์เป็นที่นิยมอย่างสูงในครัวเรือนของสิงคโปร์ โดยพบว่าในปี 1990 มีการเปิดโทรทัศน์กว่า 1.7 ล้านครั้งต่อวัน (Birch, 1993, p. 37) สหการโทรทัศน์แห่งสิงคโปร์ (Television Cooperation of Singapore) ได้ท าให้ กิจการโทรทัศน์สิงคโปร์ก้าวขึ้นสู่ยุคใหม่ ด้วยการผลิตละครเรื่อง Master of the Sea ซึ่งเป็นรายการ บันเทิงภาษาอังกฤษรายการแรกที่ผลิตโดยประเทศในทวีปเอเชียในปีค.ศ. 1994 หลังจากนั้นละคร

Ref. code: 25615808030521AIP 46

ท้องถิ่นภาษาอังกฤษก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น และมีการผลิตขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่า ละคร Master of the Sea เป็นหมุดหมายส าคัญของการเคลื่อนของสถานะของภาษาอังกฤษใน สิงคโปร์ แนวตลกถือว่าเป็นแนวหลักของภูมิทัศน์สื่อบันเทิงในช่วงทศวรรษ 1990 เนื่องจาก ความนิยมอย่างสูงและผูกโยงกับชีวิตของคนทั่วไปในสิงคโปร์ เหนือสิ่งอื่นใด ละครเหล่านี้ล้วนมีบทพูด ภาษาซิงลิชแทรกอยู่ เช่นละครตลกภาษาอังกฤษเรื่องแรก Under One Roof (ค.ศ. 1995-2003) ที่มี เนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตในแฟลตรัฐบาล ที่คนทุกเชื้อชาติอาศัยร่วมกัน หรือภาพยนตร์เรื่อง Army Daze (ค.ศ. 1996) ที่เกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร เทปคาสเซ็ทเพลงล้อเลียน Why U so like Dat? (ค.ศ. 1991) ได้รับเสียงตอบรับอย่างโด่งดัง แต่ถึงกระนั้น เรื่องที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดคือละครซิทคอม เรื่อง Phua Chu Kang Pte Ltd (1997-2007) ซึ่งมีอัตราการชม (rating) สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ สิงคโปร์ (Lazar, 2010, p. 127) ละครซิทคอมเรื่อง Phua Chu Kang Pte Ltd เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชายชาวจีนคนหนึ่ง ที่มีชื่อว่าพัว ชูกังกับครอบครัวของเขา ชูกังมีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างที่ร่ารวยขึ้นมาจากการท า ธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว เขาอาศัยในบ้านเดี่ยว ใขณะที่เพื่อนร่วมชาติอีกกว่าร้อยละ 80 ต่างพักอาศัยอยู่ ในแฟลตรัฐบาล จุดเด่นของเขาคือผมหยิกหยอง ไฝเม็ดยักษ์ที่มุมปาก และเดินไปเดินมาด้วยรองเท้า บูทยางสีเหลือง ค าพูดติดปากของเขาคือ “Don’t play play (อย่าท าเป็นเล่น)” และ “use your brain (ใช้สมองคิดหน่อย)” ละครเรื่องนี้ในฤดูกาลแรก ทุกตัวละครพูดภาษาซิงลิชอย่างมีสีสัน และ ผลิตวรรคทองติดปากคนสิงคโปร์จ านวนมาก ผู้เขียนบทละครเรื่องนี้ให้สัมภาษณ์กับผู้เขียนว่า “ที่ฉัน ใช้ภาษาซิงลิชในการเขียนบท ก็เป็นเพราะว่ามันสามารถสร้างจังหวะและพลวัตของอารมณ์ที่คน สิงคโปร์ทั่วไปสามารถมีได้” (S. Toh, interview, November 17, 2017) สื่อบันเทิงแนวตลกในยุคนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าคนสิงคโปร์ยอมรับว่าความแตกต่างหลากหลายของภาษาอังกฤษ รวมถึง การพูดภาษาซิงลิช เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถชี้ให้ถึงความเป็นคนสิงโปร์ ถือว่าในช่วงทศวรรษ 1990 ถือว่า เป็นช่วงที่ตลาดการกระจายเสียงเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเสียงของคนสิงคโปร์สามารถออกอากาศได้ อย่างเสรี การถกเถียงเกี่ยวกับภาษาซิงลิชก็เริ่มขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์นี้ มีจดหมายจ านวนมากที่ ส่งไปยังเดอะ เสตรทส์ ไทมส์ (The Straits Times) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นสิงคโปร์ เพื่อถกเถียงเกี่ยวกับ ภาษาซิงลิชเชิงวัฒนธรรมโดยเฉพาะ โดยผู้ที่เห็นด้วยกับการใช้ภาษาซิงลิชมองว่า “ภาษาซิงลิชเป็น ภาษาที่คนสิงคโปร์สบายใจ และการพูดภาษาอังกฤษส าเนียงตะวันตกเป็นสิ่งที่ก้าวร้าว” “ภาษาซิงลิช เป็นอัตลักษณ์ที่แท้จริงของสิงคโปร์ เพราะพัฒนาขึ้นมาหลังจาการเป็นเอกราช” และ “รัฐบาลไม่ควร เข้ามาจัดการ เพราะภาษาควรเป็นในแบบที่มันเป็น ภาษาซิงลิชเป็นวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นมาจากคน

Ref. code: 25615808030521AIP 47

ทั่วไป ไม่ใช่เหมือนคุณค่าทางวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการบังคับของรัฐบาล” (Oon, 2015) ในทางกลับกัน กลุ่มอนุรักษ์นิยมก็แสดงความรู้สึกต่อภาษาซิงลิชในอีกด้านเช่นเดียวกันว่า “ควรรักษา ภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาอังกฤษ และไม่ควรมีการปนภาษา” นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการสร้าง มาตรฐานกับภาษาอื่น ๆ เช่น “ควรให้คนสิงคโปร์พูดภาษาจีนกลางถูกต้อง ไม่ผสมภาษาอังกฤษ” (Oon, 2015) การรับสื่อของคนสิงคโปร์ในช่วงทศวรรษ 1990 แสดงให้เห็นถึงความเป็นโลกยุค โลกาภิวัตน์ได้อย่างชัดเจน เพราะคนสิงคโปร์ชมโทรทัศน์สลับไปมาระหว่างช่องภาษาแม่และ ภาษาอังกฤษ และวัฒนธรรมประชานิยม (pop culture) จากโลกตะวันตกก็กลายเป็นตลาดที่คน สิงคโปร์เลือกบริโภคเป็นหลัก (Birch, 1993, p. 69) นักภาษาศาสตร์มองว่ารูปแบบของการพูดสอง ภาษาของคนสิงคโปร์ถูกสร้างจากพลวัตการบริโภคดังกล่าว ท าให้มีลีลาของการเลือกและเปลี่ยน ภาษา (Stround and Wee, 2012, p. 218) ตัวอย่างถอดความต่อไปนี้ผู้เขียนได้มาจากละครเรื่อง That One Not Enough (ค.ศ. 1999) แสดงให้เห็นถึงลักษณะการสลับภาษาภายใต้บริบทการสื่อสารข้ามชาติพันธุ์

ตัวอย่างถอดความที่ 2.2 สถานการณ์: กั๋วหรง (Guorong) และอาคุน (A Kun) ต่อรองซื้อคอมพิวเตอร์กับพนักงานขายสินค้า ชาวมลายูในร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง

1 Retailer Yes? Can I help you? พนักงาน คะ มีอะไรให้ช่วยไหมคะ 2 Guorong 这个多少钱 ah ? Zhège duōshǎo qián กั๋วหรง อันนี้กี่เหรียญอะ 3 Retailer Sorry? พนักงาน ขอโทษนะคะ 4 Guorong 他不听华语的 Tā bù tīng huáyǔ de. กั๋วหรง เขาฟังภาษาจีนไม่ออกนะเนี่ยะ 5 A Kun 你看不出 meh? Nǐ kàn bù chū อาคุน นายดูไม่ออกเหรอ

Ref. code: 25615808030521AIP 48

6 Guorong You donno Chinese ah? don’t know กั๋วหรง คุณไม่รู้ภาษาจีนเหรอ 7 Retailer No พนักงาน ไม่ค่ะ 6 Guorong Okay lah. I speak English lah. กั๋วหรง โอเคก็ได้ ฉันพูดภาษาอังกฤษก็ได้ 5 A Kun 你会吗? Nǐ huì ma อาคุน นายพูดได้เหรอ 6 Guorong 放心啦。我起码也谈到小六。 Fàngxīn la. Wǒ qǐmǎ yě tán dào xiǎo liù. กั๋วหรง วางใจเถอะ ฉันเรียนภาษาอังกฤษถึงป. 6 7 My friend want to buy this computer ah. เพื่อนผมอยากซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องนี้น่ะ 8 Because he want to play in… 什么 net ah? Ah! Indian net ah. shénme เพราะว่าเขาอยากจะเล่นเน็ต อะไรแล้วนะ อ๋อ อินเดียนเน็ตอะ 9 Retailer Er er er Indian net? พนักงาน เอ่อ เอ่อ อินเดียนเน็ตเหรอคะ

10 Guorong Indian net ah. กั๋วหรง อินเดียนเน็ตอะ 11 Retailer Internet, you mean sir. พนักงาน คุณหมายถึงอินเทอร์เน็ตหรือเปล่า 12 A Kun (hhh) อาคุน หัวเราะ 13 Guorong Aiya, same same what. I say you also understand what. กั๋วหรง ไอ้หยา เหมือนกันไม่ใช่เหรอ ผมพูดคุณก็เข้าใจไม่ใช่เหรอ

Ref. code: 25615808030521AIP 49

14 A Kun Okay. How many money ah? อาคุน โอเค เงินเยอะเท่าไร 15 Retailer How many money? พนักงาน เงินเยอะเท่าไร 16 Guorong 你英语很差。没人这样讲的啦。How many dollar ah? Nǐ yīngyǔ hěn chà. Méi rén zhèyàng jiǎng de la กั๋วหรง ภาษาอังกฤษนายแย่มาก ไม่มีใครพูดแบบนี้หรอก ดอลลาร์เยอะเท่าไรนะ 17 Retailer How many dollar? (1.0) How much is it sir! ดอลลาร์เยอะเท่าไร ราคาเท่าไรค่ะคุณ 18 Guorong Aiya, How much, how much, how much lah กั๋วหรง ไอ้หยา ราคาเท่าไรก็ราคาเท่าไร 19 Retailer Depend on your requirement sir. For this one is very good. พนักงาน ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณค่ะ ส าหรับเครื่องนี้ดีมาก 20 Speed is very fast. It got 65 megabyte ram. Ah ha ความเร็วเร็วมาก มันมีแรม 65 เมกาไบท์ อ่าฮะ 21 A Kun Okay lah. How many money hor? อาคุน โอเค เงินเยอะเท่าไร 22 Guorong How much lah. How much lah. กั๋วหรง ราคาเท่าไรต่างหาก ราคาเท่าไรต่างหาก 23 Retailer For this one 1,999 dollar. พนักงาน ส าหรับอันนี้ 1,999 เหรียญค่ะ 24 Guorong Wah! 千九贵啦。 chien kow guì la กั๋วหรง โอโห พันเก้าแพงมาก 25 A Kun 这么贵啊。 Zhème guì a. 这种我在外面臭臭可以买两台,你跟她讲。 Zhè zhǒng wǒ zài wàimiàn chòu chòu kěyǐ mǎi liǎng tái, nǐ gēn tā jiǎng. อาคุน แพงขนาดนี้นะ แบบนี้ฉันไปเดินซื้อข้างนอกตัวเหม็น ๆ ซื้อได้ตั้งสองเครื่อง บอกเธอเร็ว

Ref. code: 25615808030521AIP 50

24 Guorong My friend say ah, he go outside smelly smelly buy two computer ah, this price. กั๋วหรง เพื่อนผมบอกนะ เขาไปข้างนอกตัวเหม็น ๆ ซื้อได้ 2 คอมพิวเตอร์อะ ราคานี้ 25 Retailer Uncle this is market price. Everywhere is the same พนักงาน คุณอา นี่มันราคาตลาด ที่ไหนก็เหมือนกันหมด 24 A Kun 你跟他说,别叫我 uncle. 你要砍我菜头是吗? Nǐ gēn tā shuō, bié jiào wǒ Nǐ yào kǎn wǒ cài tóu shì ma? อาคุน นายบอกเธอไปเลย อย่าเรียกฉันว่าคุณอา แบบนี้ จะสับหัวผักฉันใช่ไหม 25 Guorong My friend say ah, you don’t think you call him uncle har. กั๋วหรง เพื่อนผมพูดนะ คุณอย่าคิดว่าตัวเองไปเรียกเขาคุณอาได้นะ 26 You want to chop his vegetable head ah? คุณจะสับหัวผักเขาถูกหรือเปล่า 27 Retailer Vegetable? Chop his vegetable head? พนักงาน ผัก สับหัวผัก 28 Guorong Ketuk us lah. กั๋วหรง หลอกเราไง 29 Retailer Oh no, I didn’t. พนักงาน โอ้ ไม่ค่ะ ฉันไม่ได้จะมหลอก 30 A Kun 你跟她讲吧,你水水好,我会水水答应 leh. Nǐ gēn tā jiǎng ba, nǐ shuǐ shuǐ hǎo, wǒ huì shuǐ shuǐ dāyìng อาคุน นายบอกเธอนะ คุณท าสวย ๆ ดี ๆ เราก็จะตอบแทนอย่างงาม ๆ เลย 31 我再买打印机。你讲。 Wǒ zài mǎi dǎyìnjī. Nǐ jiǎng. ฉันจะซื้อเครื่องปรินท์ด้วยเลย นายพูดซิ 32 Guorong He say ah, you beautiful beautiful give him. กั๋วหรง เขาบอกนะ คุณให้เขาสวยๆ 33 He also beautiful beautiful give you. He shiok, he buy a printer for you ah. from เขาก็จะให้คุณสวย ๆ เขาสบายใจ เดี๋ยวเขาจะซื้อเครื่องปรินท์จากคุณด้วย

Ref. code: 25615808030521AIP 51

34 Retailer But our printer is also very beautiful. What beautiful are you taking about sir? พนักงาน แต่เครื่องปรินท์ของเราสวยอยู่แล้ว คุณก าลังพูดถึงอะไรสวยอยู่เหรอคะ

35 Guorong Wah lao! 她的英语很差。我说十句她九句听不懂。 Tā de yīngyǔ hěn chà. Wǒ shuō shí jù tā jiǔ jù tīng bù dǒng. กั๋วหรง เวรเอ้ย ภาษาอังกฤษเธอแย่มาก ฉันพูด 10 ประโยค ไม่เข้าใจเสีย 9ประโยค 36 A Kun 怎么办 leh. Zěnme bàn อาคุน ท าไงดีหละ 37 Guorong Okay okay okay okay. กั๋วหรง โอเค ๆ ๆ ๆ 38 My friend ah, he big company boss lah. Cannot tell right? เพื่อนของผมนะ เขาเป็นเจ้านายบริษัทใหญ่นะ ดูไม่ออกใช่มั๊ย 39 He want to buy 10 computer for you. wants from เขาอยากซื้อคอมพิวเตอร์จากคุณ 10 เครื่อง 40 You give he (0.2) low price (0.2) cheap cheap. him คุณให้เขา ราคาต่า ถูก ๆ 41 He shiok shiok happy happy. He buy for you. เขาสบายใจ ๆ มีความสุข ๆ เขาจะซื้อจากคุณ 42 Then your target this year sales ah. Ah. You no horse run already. จากนั้นเป้าการขายของคุณปีนี้นะ อะนะ ไม่มีม้าวิ่ง (นาคนอื่นลิ่ว) ไปเลย 43 A Kun Weh weh weh, angmoh 有这个话 no horse run meh? yǒu zhège huà อาคุน นี่ ๆ ๆ ฝรั่งมีค าว่าไม่มีม้าวิ่งเหรอ 44 Guorong Angmo 也走马嘛。没马跑他们也听得懂。 yě zǒumǎ ma. Méi mǎ pǎo tāmen yě tīng dé dǒng. กั๋วหรง ฝรั่งก็ขี่ม้าไม่ใช่เหรอ ถ้าไม่มีม้าขี่พวกเขาก็ฟังรู้เรื่อง

Ref. code: 25615808030521AIP 52

45 A Kun 你跟她讲,卖这么贵我倒隔壁去。 Nǐ gēn tā jiǎng, mài zhème guì wǒ dào gébì qù. นายบอกเธอไปนะ ขายแพงอย่างนี้เดี๋ยวฉันไปซื้อร้านข้าง ๆ 46 Guorong Okay. Now my friend not happy already. กั๋วหรง โอเค ตอนนี้เพื่อนของผมไม่พอใจแล้ว 47 He say ah, if you give he your telephone number ah. him เขาบอกนะ ถ้าคุณให้เบอร์โทรศัพท์กับเขานะ 48 He buy computer for you. from เขาจะซื้อคอมพิวเตอร์คุณ 49 A Kun Nabeh lah! 你以为这句我不会听啊? Nǐ yǐwéi zhè jù wǒ bù huì tīng a? แม่แกสิ นายคิดว่าฉันจะไม่เข้าใจที่นายพูดเหรอ 50 泡 zhabor 也不是这么泡啦. Pào yě bùshì zhème pào la. จีบผู้หญิงใครเขาจีบกันแบบนี 51 Okay okay I buy you no need telephone number, โอเค ๆ ฉันซื้อของคุณ ไม่ต้องให้เบอร์โทรศัพท์ I give you telephone number. 明白吗. Míngbái ma ฉันให้เบอร์โทรศัพท์คุณ เข้าใจไหม

(That One Not Enough, 1999)

จากตัวอย่างถอดความ พบว่าเริ่มมีการใช้ภาษาซิงลิชในแบบที่นักวิชาการวิเคราะห์ และสรุป ซี่งเป็นที่เข้าใจของคนโดยทั่วไป เช่น การซ้ าคาในบรรทัดที่ 24 (smelly smelly) บรรทัดที่ 32 และ 33 (beautiful beautiful) บรรทัดที่ 40 (cheap cheap) ซึ่งเป็นการแปลตรงตัวจากการ ซ้ าคาคุณศัพท์ในภาษาจีน และการใช้ส านวนภาษาซิงลิช ที่แปลโดยตรงมาจากท้องถิ่น เช่น chop

Ref. code: 25615808030521AIP 53 vegetable head (หลอกลวง) ในบรรทัดที่ 26 และ 27 และ no horse run (ชนะอย่างไร้คู่แข่ง) ใน บรรทัดที่ 42 และ 43 จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ว่าการใช้ภาษาซิงลิชในการแสดงตลกเต็มไปด้วยค าศัพท์ที่ รุ่มรวย และมากกว่าในปัจจุบัน อาจแสดงให้เห็นว่าการใช้ภาษาซิงลิชในสื่อในช่วงปีค.ศ. 1990-2000 ซึ่งเป็นช่วงเสรี เต็มไปด้วยการใช้ภาษาซิงลิชที่สร้างสรรค์และไร้การควบคุม

2.4 ยุคสังคายนาวัฒนธรรม (ค.ศ. 2000-2012)

ในช่วงปีทศวรรษ 2000 เป็นช่วงเวลาที่สิงคโปร์สังคายนาวัฒนธรรมของประเทศให้เป็น มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมชั้นสูงเช่นคณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์สร้างภาพลักษณ์ให้สิงคโปร์ เป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าหรู พร้อมกับการสร้าง The Esplanade โรงละครริมรูปทรงทุเรียนชื่อดัง ริมอ่าวมารินา (Marina Bay) ที่เป็นศูนย์กลางของการแสดงระดับโลก เช่น บัลเลต์ ละครเวทีมิวสิคัล คอนเสิร์ตดนตรีออเครสตา (Lee, 2010) โดยความพยายามเช่นนี้ และความพยายามควบคุมให้คน สิงคโปร์พูดภาษาอังกฤษให้ได้มาตรฐานอาจแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลสิงคโปร์ส่งเสริมภาพลักษณ์ให้ ประเทศสิงคโปร์และคนสิงคโปร์มีลักษณะเป็นผู้รอบรู้ (cosmopolitan) ในยุคโลกาภิวัตน์ ในปีค.ศ. 2000 รัฐบาลสิงคโปร์รู้สึกเป็นห่วงต่อการแพร่หลายของภาษาซิงลิชในพื้นที่สื่อ นายโก๊ะ จ๊กตง (Goh Chok Tong) นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นติเตียนการใช้ภาษาซิงลิชในละครเรื่อง ดังกล่าวอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา (Koh, 2009) รัฐบาลสิงคโปร์เปิดตัวโครงการ “Speak Good English Movement (ขบวนการพูดภาษาอังกฤษที่ดี)” เพื่อลดการพูดภาษาซิงลิชของคนสิงคโปร์ โครงการนี้ส่งเสริมการผลิตตาราภาษาอังกฤษแจกจ่ายให้กับคนสิงคโปร์ทั่วประเทศ การแก้ไขหลักสูตร การสอนภาษาอังกฤษให้เน้นไวยากรณ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน และการควบคุมการใช้ภาษาซิงลิชใน สื่ออย่างเข้มข้น (Wee, 2014) บุคคลบนสื่อ เช่น พิธีกรหรือนักแสดง ถูกสั่งห้ามให้พูดภาษาซิงลิชและ ต้องได้รับการทดสอบและฝึกฝนภาษามาตรฐานอยู่ตลอดเส้นทางอาชีพ (Free-To-Air Radio Programme Code, 10.1) รายการที่มีภาษาซิงลิชที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ถูกจัดเป็นประเภท “เด็กอายุต่ า กว่า 13 ปีควรได้รับคาแนะนา เนื่องจากมีภาษาไม่มาตรฐานและภาษาถิ่น” ยูทูเบอร์คนหนึ่งกล่าวกับ ผู้เขียนว่า “หากนักจัดรายการวิทยุผู้ใดเผลอพูดภาษาซิงลิชจะต้องจ่ายค่าปรับให้กับหน่วยงานควบคุม พัฒนาสื่อ (Media Development Authority) ของรัฐบาล” (J. Tan, personal communication, September 9, 2015) คนเขียนบทละครโทรทัศน์คนหนึ่งบอกกับผู้เขียนว่า “ถ้าฉันใช้ภาษาซิงลิช เขียนมากเกินไป ทางช่องก็จะบอกว่าให้เพลา ๆ หน่อย” (K. Hsi, interview, July 19, 2018)

Ref. code: 25615808030521AIP 54

เมื่อกล่าวถึงหน่วยงานควบคุมพัฒนาสื่อ หน้าที่ของหน่วยงานนี้คือการก าหนดสัดส่วน รายการที่ฉายในโทรทัศน์แห่งชาติว่าจะเป็นรายการท้องถิ่นและรายการต่างประเทศในอัตราส่วน เท่าใด อีกทั้งยังมีอ านาจในการควบคุมและเซ็นเซอร์สื่อต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อคนสิงคโปร์ทั่วไปในการมอง ต าแหน่งแห่งที่ของตนในฐานะประชากรของรัฐ และผลย้อนกลับนี้ก็ยังมีอิทธิพลต่อความคิดที่มีต่อ คุณค่าและจริยธรรมเชิงสังคม การเมือง และวัฒนธรรมภายใต้บริบทสิงคโปร์ (Thompson, 1997, p. 2) ถึงแม้ว่าหน่วยงานเหล่านี้จะมีหน้าที่จัดการอุตสาหกรรมสื่อและศิลปะต่าง ๆ แต่อ านาจการควบคุม เหล่านี้เป็นอ านาจรวมศูนย์ที่มีอ านาจควบคุมปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและสังคมของคนสิงคโปร์ใน ชีวิตประจ าวัน (Lee, 2014, p. 10) เนื่องด้วยการควบคุมภาษาซิงลิชอย่างหนักหน่วง ภาษาซิงลิชถูกท าให้กลายเป็น การเมืองและเป็นที่ถกเถียงในประเด็นที่จริงจังยิ่งขึ้นเช่นอัตลักษณ์ชาติและอิสระของการแสดงความ คิดเห็น (Ortman, 2009; Lee, 2010) ดังนั้นในบริบทของสิงคโปร์ รูปแบบภาษาอังกฤษที่แตกต่าง หลากหลายเริ่มมีคุณค่าที่ไม่เท่ากัน โดยภาษาอังกฤษมาตรฐานกลายเป็นภาษาที่แสดงให้เห็นถึงความ เป็นพลเมืองคุณภาพ และภาษาอังกฤษที่ถูกเบียดให้เป็นชายขอบโดยรัฐบาลท าให้การพูดภาษาซิงลิช ในพื้นที่สาธารณะในปัจจุบันจึงกลายเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ทั้ง ๆ ที่ผู้พูดภาษาซิงลิชมีอยู่จ านวนมาก ซึ่งโดยจ านวน ภาษาซิงลิชไม่ใช่ความชายขอบเลย ในช่วงทศวรรษที่ 2000 ท่ามกลางการควบคุมภาษาซิงลิช รายการตลกท้องถิ่นสิงคโปร์ เน้นการเล่นตลกกับภาพเหมารวมที่คนสิงคโปร์คุ้นเคย เช่นในรายการ The Noose ที่มีตัวละครกว่า 30 ตัวที่ล้อเลียนผู้ที่มีลักษณะการพูดแบบต่าง ๆ เช่น ผู้ประกาศข่าวท้องถิ่นที่ดัดส าเนียงภาษาอังกฤษ เกินไป คนจีนย้ายถิ่นผู้พูดภาษาอังกฤษส าเนียงจีน และชายรักร่วมเพศชาวไทยที่ชอบพูดเรื่องเพศใน ส าเนียงไทย ผู้พูดภาษาซิงลิชก็ถูกนามาล้อเลียนด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนสังเกตว่าสิ่งที่รายการ The Noose นามาล้อเลียนเป็นเพียงการออกเสียงและส าเนียง แต่ในระดับคาและประโยค ภาษาอังกฤษกลับเป็นภาษามาตรฐาน ตัวละครที่พูดส าเนียงซิงลิช เช่น คนขับแท็กซี่ คนมาเลเซียผู้ อาศัยในรัฐยะโฮร์ (Johor) ผู้ซึ่งข้ามพรมแดนมาสิงคโปร์บ่อย ๆ เพื่อเล่นการพนันถูกกฎหมาย และ ยาม ซึ่งอาจแสดงให้เห็นถึงการผลักไสอัตลักษณ์ของผู้พูดภาษาซิงลิชให้กลายเป็นคนชนชั้นล่างหรือ เป็นคนคนนอก แต่ถึงกระนั้น ยังอาจมองได้ว่ารายการ The Noose สามารถหลบหลีกอย่าง ประนีประนอมกับผู้ควบคุมสื่อให้ลักษณะบางอย่างของภาษาซิงลิชยังสามารถอยู่บนพื้นที่สื่อ

Ref. code: 25615808030521AIP 55

ภาพที่ 2.2 ตัวละครผู้พูดภาษาซิงลิชในรายการ The Noose (จาก Mediacorp Channel 5)

ภาษาซิงลิชบนพื้นที่สื่ออื่น ๆ ก็พบได้น้อย ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะควบคุมสื่อภาพยนตร์ด้วย มาตรฐานที่ยืดหยุ่นกว่าโทรทัศน์และวิทยุ แต่ภาษาซิงลิชก็มักจะปรากฏออกมาเป็นครั้งคราว โดย ภาษาในภาพยนตร์สิงคโปร์ในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาจีนกลาง แต่ถึงกระนั้น ภาษาซิงลิชยังถูกพูด อยู่ในสังคมนอกพื้นที่สื่อ โดยเฉพาะในวงการตลกเดี่ยวไมโครโฟน (stand up comedy) ที่เริ่มได้รับ ความนิยมในยุคสมัยนี้ เช่น คูมาร์ (Kumar) ศิลปินเดี่ยวไมโครโฟนชื่อดังก็ใช้ภาษาซิงลิชและมุกตลก ท้องถิ่นเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชม เหนือสิ่งอื่นใด ด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตที่เริ่มแพร่หลาย ตลกที่มีกลิ่น รสท้องถิ่นเผยตัวให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น TalkingCock.com ถือว่าเป็นเว็บไซต์ตลกเสียดสีที่ได้รับ ความนิยมอย่างสูงในช่วงทศวรรษที่ 2000 เพราะรัฐบาลไม่ได้ปิดกั้นสื่อบนอินเทอร์เน็ตในลักษณะ เดียวกับสื่อสารมวลชนดั้งเดิม แต่ถึงกระนั้น Talking Cock เป็นประเด็นถกเถียงอย่างร้อนแรงใน รัฐสภาระหว่างช่วงปี 2000-2010 (Garrison, 2011) เว็บไซต์ดังกล่าวได้ผลิตแผ่นซีดีบันทึกเสียงการ เล่นตลก ภาพยนตร์ตลกสองเรื่อง และหนังสือพจนานุกรมภาษาซิงลิช Coxford Singlish Dictionary ซึ่งพจนานุกรมเล่มนี้ถือว่าเป็นความพยายามที่ส าเร็จในสายตาของคนสิงคโปร์ทั่วไป ใน การต่อสู้กับความพยายามควบคุมภาษาพื้นถิ่นของรัฐบาล

2.5 สรุป

การเปลี่ยนแปลงนโยบายวัฒนธรรมสามารถบอกเล่าพัฒนาการของภาษาอังกฤษใน สิงคโปร์ได้อย่างดี แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่างอ านาจรัฐ เทคโนโลยีการสื่อสาร และการ ปรับตัวของประชาชน ในยุคสร้างชาติ รัฐบาลสิงคโปร์เน้นพัฒนาเศรษฐกิจ และในสายตาของนัก ปฏิบัตินิยมก็หวังให้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเชิง เศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมพหุชาติพันธุ์ แต่เนื่องด้วย

Ref. code: 25615808030521AIP 56

การเปลี่ยนมาใช้ภาษาอังกฤษเพียงชั่วข้ามคืนไม่เป็นผล ในยุคปฏิรูปการศึกษา รัฐบาลสิงคโปร์จึง เดินหน้าสนับสนุนภาษาอังกฤษให้คนสิงคโปร์ในทุกชนชั้นใช้ ไม่จ ากัดเพียงชนชั้นสูงอีกต่อไป อย่างไรก็ ตาม ด้วยภูมิทัศน์ภาษาของสิงคโปร์ที่มีความแตกต่างหลากหลาย ภาษาซิงลิชก็พัฒนาในชีวิตทาง สังคมส่วนตัวของคนสิงคโปร์ เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวและระหว่างเพื่อนตั้งแต่ยุคปฏิรูป การศึกษาและยุคโลกาภิวัตน์ แต่ในยุคที่สิงคโปร์เดินหน้าปรับโฉมประเทศในยุคสังคายนาวัฒนธรรม ภาษาซิงลิชที่ดูขัดต่อภาพจินตนาการของสิงคโปร์ในฐานะเมืองระดับโลกก็ถูกท าให้เป็นชายขอบ ทั้ง ๆ ที่คนจ านวนมากยังพูดภาษาซิงลิช ด้วยอ านาจรัฐและการสร้างความเป็นสิงคโปร์ในฐานะประเทศโลก ที่หนึ่ง หากมองจากการผลิตสื่อตลก เราก็สามารถมองเห็นพัฒนาการของรูปแบบการใช้ภาษา ที่เปลี่ยนแปลงไป ภาษาจีนท้องถิ่นที่สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ก็ถูกเปลี่ยนมาให้ใช้ภาษาจีนกลางในช่วง ปฏิรูปการศึกษา ท าให้ชาวสิงคโปร์เชื้อชาติจีน ผู้ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ นอกเหนือจากต้องปรับตัวมาพูด ภาษาอังกฤษด้วยแล้ว ในอีกด้านก็ยังต้องปรับตัวมาพูดภาษาจีนกลางอีกด้วย และในช่วงปีค.ศ. 1994 ที่สิงคโปร์เริ่มผลิตรายการภาษาอังกฤษเอง ความสร้างสรรค์แบบท้องถิ่นก็ผลิบานขึ้นในสิงคโปร์ ด้วย ละครภาษาซิงลิชจ านวนมาก แต่เนื่องด้วย Speak Good English Movement ที่มุ่งควบคุมภาษาซิง ลิชในสื่อ ก็ท าให้การใช้ภาษาซิงลิชเหลือเพียงความน่าขันของคนนอกหรือคนชนชั้นล่าง ในปัจจุบัน Speak Good English Movement ได้ลดบทบาทลงตั้งแต่ปีค.ศ. 2015 แต่ บาดแผลของความน่าอับอายของภาษาซิงลิชยังคงอยู่ในชีวิตประจ าวัน ภาษาอังกฤษที่รัฐบาลสิงคโปร์ มีความตั้งใจที่จะท าให้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างชาติพันธุ์ และเป็นภาษาที่มีความเป็นกลาง กลับ กลายเป็นภาษาที่ไม่มีความเป็นกลางอย่างยิ่ง เช่นเดียวกันในพื้นที่สื่อ ที่สื่อดั้งเดิมยังคงรักษาความเป็น ภาษามาตรฐาน แต่อินเทอร์เน็ตก็ได้ท าให้ภาษาซิงลิชที่ยังถูกใช้อยู่ทั่วไปในพื้นที่ที่ไม่เป็นทางการได้เผย ตัวขึ้น พัว ชูกัง ตัวละครผู้พูดภาษาซิงลิชชื่อดัง ผู้ถูกตักเตือนโดยนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ให้เบาการใช้ ภาษาซิงลิชลงไป ก็ได้กลับขึ้นมาบนพื้นที่อินเทอร์เน็ต เขา (ในตัวละคร) กล่าวว่า

รายการนี้นะ อย่าท าเป็นเล่นไป (don’t pray pray) เพราะว่าอินเทอร์เน็ตใช่มะ (mah) ผมจะพูดอะไรก็ได้ ผมพูดว่า มะ (mah) ก็ได้ ผมพูดว่า เลยอะ (leh) ก็ได้ ผมพูดว่าจิง ปะ (hannor) ก็ได้ อ้า ผมพูดแย่แล้ว (jialat) ก็ได้ (PCK Walkabout, 2017)

ในรายการที่เขาพูดอยู่นี้ เป็นรายการที่ผลิตโดยช่อง Toggle ซึ่งเป็นช่องทางการ เผยแพร่รายการของมีเดียคอร์ปผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ทั้ง ๆ ที่เป็นสื่อที่ผลิตโดยรัฐบาล เหตุใดภาษา

Ref. code: 25615808030521AIP 57

ซิงลิชถึงถูกพูดได้อย่างไม่ต้องแอบซ่อนเหมือนบนสื่อดั้งเดิม ในบทต่อไป ผู้เขียนจะย้ายจากสื่อดั้งเดิม ไปสู่ยูทูบ วัตถุการศึกษาหลักของวิทยานิพนธ์นี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่าภาษาซิงลิชถูกใช้อย่างไรท่ามกลาง เงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรมของสิงคโปร์ในปัจจุบัน

Ref. code: 25615808030521AIP 58

บทที่ 3 วีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบและผู้คนที่อยู่เบื้องหลัง

ส าหรับนักมานุษยวิทยาสื่อ ปราการด่านสุดท้ายของการท าความเข้าใจสื่อคือการศึกษา ภาคสนามในโลกทางสังคมของสถาบันสื่อ ที่ “อุดมการณ์หลัก” ของสังคมในวงกว้างถูกสร้างขึ้นมา (Ginsburg, Abu-Lughod and Larkin, 2002) เช่นเดียวกับปัจจุบัน หากต้องการท าความเข้าใจกับ เนื้อหาในสื่อดิจิทัล นักมานุษยาวิทยาอาจจ าเป็นต้องเข้าไปใช้เวลากับผู้ผลิตสื่อในช่องทางการสื่อสาร ใหม่นี้ เหนือสิ่งอื่นใด ด้วยจ านวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีจ านวนมหาศาล การผลิตสื่อดิจิทัลก็อาจ กลายเป็นช่องทางหนึ่งที่ผลิต “อุดมการณ์หลัก” เช่นเดียวกันกับสื่อดั้งเดิม เนื้อหาในบทนี้จะอภิปราย ว่าผู้คนกลุ่มใดบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์เนื้อหา และท าให้วีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบ เป็นในแบบที่ผู้คนทั่วไปได้รับชม

3.1 จากซิลิคอนแวลีย์ถึงสิงคโปร์

ทุกครั้งที่ยูทูบเปลี่ยนแปลงระบบของตน ยูทูเบอร์จ านวนมากต่างแสดงความรู้สึกเศร้า ผิดหวัง และสับสนต่อการเปลี่ยนแปลงของยูทูบ ยูทูเบอร์ชาวสิงคโปร์คนหนึ่งกล่าวกับผู้เขียนว่า “ยูทูบนับวันยิ่งตั้งตัวเป็นศัตรูกับพวกเรามากขึ้นเรื่อย ๆ” (J. Hau, interview, November 16, 2017) “เดี๋ยวนี้เราต้องรู้ว่ายูทูบท างานอย่างไร อัลกอริทึมของยูทูบเป็นอย่างไร เราไม่สามารถเพียงแค่ อัปโหลดวีดิโอเฉย ๆ เหมือนเมื่อก่อนแล้ว” (D. Koshy, interview, May 1, 2018) ยูทูเบอร์อีกคน แสดงความคิดเห็นอย่างละเอียดกับการเปลี่ยนแปลงของยูทูบว่า

เราสร้างวีดิโอในยูทูบมานานเกือบสิบปี ตลอดเวลาที่ผ่านมายูทูบเปลี่ยนแปลงไปมาก สมัยก่อนท าวีดิโอในยูทูบมันสนุกกว่านี้ ไม่ต้องสนใจอะไร แต่เดี๋ยวนี้ยูทูบเปลี่ยนแปลง กฎใหม่มากมาย แล้วเราจ าเป็นต้องทาตามถ้าเรายังอยากท าวีดิโอในยูทูบต่อไป เรา เข้าใจได้นะ มันก็เป็นเหตุเป็นผลเกี่ยวกับการให้ค่าตอบแทน แต่ตอนที่เราทายูทูบแรก ๆ เรื่องเงินหรือค่าตอบแทนไม่ใช่เหตุผลในการเลือกใช้ยูทูบของเราเลย คนจ านวนมากหา ประโยชน์จากยูทูบ แล้วคนพวกนี้ก็เปลี่ยนยูทูบไป P. Wong (interview, January 12, 2017)

Ref. code: 25615808030521AIP 59

เสียงสะท้อนจากผู้ที่ต้องพึ่งพิงยูทูบเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงอ านาจกระท าการของยูทูบใน ฐานะเทคโนโลยี ดังนั้น การสารวจเบื้องหลังการสร้างวีดิโอยูทูบในสิงคโปร์จะเริ่มต้นที่ซิลิคอนแวลีย์ (Silicon Valley) นิคมเทคโนโลยีอันทรงอิทธิพลของโลกในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา บ้านเกิด ของยูทูบและสื่อสังคมระดับโลกอื่น ๆ ในส่วนนี้ ผู้เขียนต้องการเสนอว่าวิศวกรระบบ นักออกแบบ ประสบการณ์ (UX designer) และชาวซิลิคอนแวลีย์อื่น ๆ ที่ท างานในยูทูบมีส่วนก าหนดและควบคุม ลักษณะเนื้อหาและรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกระบวนการผลิตวีดิโอยูทูบ ผ่านการออกแบบ และผลิตแพลตฟอร์ม อัลกอริทึม และข้อก าหนดต่าง ๆ ของยูทูบ ซึ่งเป็นโครงสร้างทางเทคโนโลยีของ ยูทูบที่มอบ affordance หรือศักยภาพที่ก่อให้เกิดความเป็นไปได้ของการกระท าแก่ผู้ใช้ยูทูบ เริ่มต้นที่แพลตฟอร์ม แพลตฟอร์มของสื่อดิจิทัลหมายถึงพื้นที่บนโลกออนไลน์ที่ผู้ใช้ สามารถกระท าการ (เช่นซื้อขาย แบ่งปัน และสื่อสาร) กับเนื้อหาที่ถูกสร้าง (Defining Digital Media, 2018) ดังนั้นแพลตฟอร์มของยูทูบโดยคร่าวคือการสตรีมวีดิโอและสื่อสังคม ที่ผู้ใช้สามารถ เข้าชมวีดิโอและแสดงความคิดเห็นต่อวีดิโอเหล่านั้น แพลตฟอร์มของยูทูบในช่วงแรกเริ่มเมื่อปีค.ศ. 2005 ที่เป็นเพียงพื้นที่จัดเก็บวีดิโอ ได้ เพิ่มการใช้งานสื่อสังคม ในปีค.ศ. 2006 เมื่อกูเกิลเข้าซื้อยูทูบ โดยการเพิ่มช่องแสดงความคิดเห็น (comment section) และการให้คะแนนวีดิโอ (rate) และในปี 2007 ยูทูบก็เกิดการเปลี่ยนแปลง แพลตฟอร์มครั้งใหญ่ ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงระดับความเป็นส่วนตัวของวีดิโอและระบบการ ติดตามผู้ใช้ และเพิ่มแพลตฟอร์มแบบท้องถิ่นแต่เดิม ผู้ใช้ยูทูบสามารถเลือกระดับความเป็นส่วนตัว ของวีดิโอเป็นรายเรื่อง โดยเจ้าของวีดิโอสามารถก าหนดให้วีดิโอแต่ละเรื่องเป็น “วีดิโอสาธารณะ (public video)” ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ หรือเป็น “วีดิโอส่วนตัว (private video)” ที่การเข้าถึง วีดิโอจะต้องผ่านการอนุมัติจากเจ้าของวีดิโอ ว่าจะให้ “ผู้ติดตาม (follower)” ผู้ที่ติดตามเจ้าของ วีดิโอเพียงฝ่ายเดียว หรือเพียง “เพื่อน (friends)” ผู้ที่เจ้าของวีดิโอติดตามซึ่งกันและกัน สามารถ เข้าถึงวีดิโอได้ (Lange, 2009; Rotman & Preece, 2010) ส่วนระบบการติดตามผู้ใช้ ยูทูบได้ยกเลิกระบบผู้ติดตามและเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบบ “การลงทะเบียนติดตาม (subscribe)” ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน ระบบความเป็นส่วนตัวของวีดิโอก็เพิ่ม ความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย “วีดิโอสาธารณะ” “วีดิโอนอกรายการ (unlisted)” ที่วีดิโอจะ ไม่ปรากฏบนรายการค้นหา แต่ผู้ชมสามารถเข้าถึงได้หากได้รับการแบ่งปันลิงก์ที่อยู่หน้าเว็บไซต์ (URL) และ “วีดิโอส่วนตัว” ที่เจ้าของวีดิโอสามารถเข้าถึงได้เพียงคนเดียว ถึงแม้ว่าระบบการอนุมัติ ผู้ติดตามได้ยกเลิกไปแล้ว แต่เจ้าของวีดิโอสามารถควบคุมการรับชมวีดิโอด้วยการสั่งห้ามให้ผู้ใช้ จ าเพาะเข้าถึง (ban) (Major, 2015, p.10)

Ref. code: 25615808030521AIP 60

การเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบบการลงทะเบียนติดตามท าให้วิธีสร้างสรรค์เนื้อหาในยูทูบ เปลี่ยนไป จากเดิมที่เนื้อหาส่วนใหญ่ในยูทูบจะเป็นวีดิโอส่วนตัว เช่นโฮมวีดิโอ หรือวีดิโอที่ตัดต่อมา จากสื่อกระแสหลัก เช่นข่าวหรือรายการโทรทัศน์ เปลี่ยนแปลงมาสู่วีดิโอที่เน้นการสร้างเนื้อหา เฉพาะเจาะจงส าหรับการเผยแพร่ในยูทูบ ที่มุ่งเน้นไปยังกลุ่มเป้าหมายสาธารณะมากกว่า กลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม ท าให้ยูทูบเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีเนื้อหาที่มีลักษณะเฉพาะตัว (Major, 2015, p.10) ยกตัวอย่างเช่นวีดิโอประเภทวล็อก (vlog) หรือย่อมาจากวีดิโอบล็อก (video blog) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจ าวันและความสนใจของผู้ผลิต โดยไม่ได้พึ่งพิงอยู่กับการเขียนบท (Figueiredo, Almeida, Benevenuto, & Gummadi, 2014; Lange, 2007) รวมไปถึงวีดิโอ ภาพยนตร์สั้น (sketch) ที่ถึงแม้ว่าจะมีคุณภาพแบบมือสมัครเล่น แต่ได้สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการผลิตเนื้อหาในสื่อดิจิทัลอย่างยิ่ง (Biel & Gatica-Perez, 2009) โดยวีดิโอตลกในยูทูบ ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในประเภทวีดิโอภาพยนตร์สั้นด้วย การผลิตวีดิโอเพื่อมุ่งเป้าให้ผู้คนจ านวนมากเข้าถึง ได้ก่อให้เกิดหน้าที่ทางการสื่อสารใหม่ ซึ่งก็คือ “ยูทูเบอร์” ในการเปลี่ยนแปลงช่วงปีเดียวกัน ยูทูบก็เริ่มเปิดตัวแพลตฟอร์มแบบท้องถิ่นใน 17 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้ผู้ใช้ที่ไม่พูดภาษาอังกฤษสามารถใช้ยูทูบได้ แพลตฟอร์มแบบท้องถิ่นรับรู้ ต าแหน่งประเทศของผู้ใช้จากหมายเลขไอพี (IP address) หมายเลขสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่มีรหัส ก าหนดโดยเขตประเทศ นอกเหนือจากภาษาท้องถิ่นในหน้าเว็บไซต์ แพลตฟอร์มท้องถิ่นจะจัดเรียง และแสดงวีดิโอที่ผลิตในประเทศขึ้นมาก่อน ยิ่งไปกว่านั้น แพลตฟอร์มแบบท้องถิ่นจากการแบ่ง ประเทศของยูทูบนี้ยังสามารถจ ากัดการเข้าใช้ตามภูมิศาสตร์ (geoblock) ที่ผู้ใช้ยูทูบในบางประเทศ จะถูกจ ากัดการเข้าถึงในวีดิโอบางเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลจากลิขสิทธ์หรือเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดย การปิดกั้นการเข้าถึงวีดิโอตามเขตประเทศจะมาจากคาขอร้องจากเจ้าของวีดิโอ หรือคารายงาน (report) ของผู้ใช้ โดยยูทูบจะเป็นผู้พิจารณา (Sayer, 2007) ในปัจจุบัน ยูทูบมีแพลตฟอร์มแบบ ท้องถิ่นกว่า 90 ประเทศ และยังด าเนินการไม่ส าเร็จสมบูรณ์ทั่วโลก โดยในสิงคโปร์ ยูทูบได้เปิด แพลตฟอร์มท้องถิ่นในปีค.ศ. 2011 ปัจจุบัน ยูทูบพัฒนาเทคโนโลยีการส่งสัญญาณข้อมูลจนกระทั่งสามารถเป็นผู้น า ทางด้านสื่อดิจิทัลที่ให้บริการแพลตฟอร์มการสตรีมวีดิโอ ในขณะที่เว็บไซต์แบ่งปันวีดิโออื่น ๆ ใช้จาวา (Java) และช็อคเวฟเพลเยอร์ (shockwave player) กับคุณภาพภาพวีดิโอ (video quality) เพียง ระดับเดียว ซึ่งท าให้การเล่นวีดิโอติดขัดเมื่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เข้มข้นพอ แต่ยูทูบใช้ภาษา โปรแกรมหลากหลายตั้งแต่ C, C++, Python, Java และ Go ประกอบกับกับระบบการปรับคุณภาพ ความคมชัดของภาพอัตโนมัติ ตั้งแต่ 240p จนถึง 1080p เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ชมสามารถชมวีดิโอได้

Ref. code: 25615808030521AIP 61

อย่างไม่ติดขัด แม้ว่าสัญญานอินเทอร์เน็ตจะอ่อนก็ตาม (Wikipedia, 2018) นอกจากนี้ ยูทูบยังมี อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต (bandwidth) สูงกว่าเว็บไซต์อื่น ๆ (Scott, 2017) นอกจากนี้ยูทูบยังพัฒนาการใช้งานอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ส าหรับยูทูเบอร์ เช่นการ ถ่ายทอดสด (live streaming) ข้อความเชิงอรรถ (annotation) ส าหรับอธิบายและแนบลิงก์เพิ่มเติม จากวีดิโอ การใช้งานสื่อสังคมใหม่ที่ยูทูเบอร์สามารถโพสต์ข้อความหรือรูปภาพเพื่อสื่อสารกับผู้ ลงทะเบียนติดตาม อีกทั้งยังพัฒนาระบบยูทูบสตูดิโอ (YouTube Studio) ที่เก็บข้อมูลเชิงสถิติและ ประชากรศาสตร์ในการเข้าชมวีดิโอของช่อง เพื่อช่วยให้ยูทูบวางแผนการผลิตได้อีกด้วย ส่วนต่อมาคืออัลกอริทึม ขั้นตอนและชุดกฎเกณฑ์ส าหรับการค านวณ การจัดเรียงข้อมูล และระบบปฏิบัติการแก้ไขปัญหา (Rogers, 1987, p. 1) โดยเฉพาะในบริบทยูทูบหมายถึงระบบการ ค านวณวิธีการจัดเรียงข้อมูลว่าผู้ใช้ยูทูบจะได้เห็นวิดิโอเรื่องใดก่อน (Cooper, 2019) ในปีค.ศ. 2012 ยูทูบได้เปลี่ยนแปลงระบบอัลกอริทึมครั้งส าคัญ จากการค านวณปริมาณการคลิกเข้าชม (view) โดย ไม่นับว่าผู้ชมจะรับชมนานเท่าใด มาสู่การนับเวลาในการเข้าชม (watch time) ว่าผู้ชมชมวีดิโออย่าง ต่อเนื่องนานเท่าไร เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงมาสู่เวลาในการเข้าชมคือการแก้ไขปัญหาคลิกเบท (clickbait) หรือการตั้งชื่อวีดิโอหรือภาพหัวเรื่องวีดิโอที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของวีดิโอ เพื่อเรียกร้อง ความสนใจและการคลิกจากผู้ชมและท าให้วีดิโอหรือช่อง (channel) ของตนได้รับความนิยม ยูทูบ มองว่าการคลิกเบทเป็นการหาประโยชน์แบบผิด ๆ จากแพลตฟอร์ม (Nalts, 2011) พฤติกรรม คลิกเบทส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ภาพเชิงเพศเป็นภาพหัวเรื่อง ชื่อวีดิโอที่มีความท้าทาย หรือการตั้ง แท็กประเภทของวีดิโอผิด นอกเหนือจากการตอบโต้กับการคลิกเบท การเปลี่ยนแปลงมาสู่การค านวณเวลาในการ เข้าชมยังท าให้ปริมาณการรับชมผูกติดอยู่กับช่อง แทนที่จะผูกติดกับวีดิโอ ท าให้ยูทูเบอร์เน้นผลิต วีดิโอเพื่อสร้างความนิยมให้กับช่องทั้งช่องของตัวเอง แทนที่จะท าให้วีดิโอเพียงหนึ่งเรื่องได้รับความ นิยม (Major, 2015, p.12) อย่างไรก็ตาม อัลกอริทึมของยูทูบจะแนะนาวีดิโอที่มีความยาวก่อน ท าให้ วีดิโอที่ขนาดสั้นเช่นวีดิโอตลกและวีดิโอบล็อก ที่เน้นให้มีความสั้นและเหมาะแก่การดูซ้ า ได้รับความ นิยมน้อยกว่าวีดิโอที่มีความยาวกว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ท าให้ยูทูบในฐานะแพลตฟอร์มเคลื่อนจาก เนื้อหาที่เน้นการตัดต่อและแบ่งปันต่อได้ง่าย ที่เน้นที่คุณภาพและการแบ่งปันต่อได้ง่าย ไปเป็น แพลตฟอร์มที่เน้นวีดิโอที่มีความยาว ที่ยอมให้วีดิโอที่มีความเฉพาะกลุ่มได้รับความนิยมขึ้นมา (Major, 2015, p.12) ประกอบกับการแพลตฟอร์มแบบท้องถิ่นตามประเทศ ยูทูบจัดอันดับวีดิโอยอดนิยม (trending on YouTube) ของประเทศต่าง ๆ ด้วยการค านวณจากจ านวนการเข้าชม อัตราการ

Ref. code: 25615808030521AIP 62

เติบโตของการเข้าชม การรับชมวีดิโอจากแหล่งอื่นนอกเหนือจากยูทูบ และอายุของวีดิโอ โดยวีดิโอ จะต้องมีเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้ชมทุกวัย ไม่เป็นคลิกเบท และต้องมีความสร้างสรรค์ การจัดอันดับนี้ จะเปลี่ยนทุก 15 นาทีโดยอัตโนมัติ (YouTube Help, 2019) ซึ่งทุกครั้งที่ยูทูเบอร์ที่วิทยานิพนธ์นี้ ศึกษาอัปโหลดวีดิโอใหม่ในทุกสัปดาห์ วีดิโอของพวกเขาก็จะขึ้นทาเนียบอันดับวีดิโอยอดนิยมใน อันดับต้น ๆ เสมอ และเมื่อท้ายปี ยูทูบจะรวบรวมข้อมูล และประมวลผลว่าวีดิโอเรื่องใดเป็นที่นิยม มากที่สุดสิบอันดับของแต่ละประเทศประจ าปี นอกจากนี้ สิ่งหนึ่งที่ยังช่วยท าให้ยูทูเบอร์ยังผลิตเนื้อหาป้อนให้กับยูทูบคือระบบการ จ่ายค่าตอบแทน ที่เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี 2006 ผู้ใช้อัปโหลดวีดิโอสามารถเลือกฟังก์ชันสร้างวีดิโอให้เป็น เม็ดเงิน (monetisation) หากยอมให้กูเกิลแทรกโฆษณาในหน้าจอวีดิโอ ซึ่งยูทูบจะค านวณเม็ดเงิน จากอัตราการมองเห็นและคลิกโฆษณา (โดยปกติ 3-10 เหรียญสหรัฐต่อ 1,000 การมองเห็นและการ คลิก) ระบบระดมทุนจากเงินที่ซื้อโฆษณาท าให้ยูทูบสามารถด าเนินกิจการและพัฒนาการให้บริการได้ อย่างต่อเนื่อง และระบบการให้ค่าตอบแทนแก่ผู้ผลิตวีดิโอท าให้สามารถดึงดูดผู้ใช้สร้างเนื้อหาและ ผลิตวีดิโอให้แก่ยูทูบ (Major, 2015, p. 8) ในท านองเดียวกัน ยูทูบแนะนา “โปรแกรมผู้ร่วมธุรกิจกับยูทูบ (YouTube Partner Program)” ที่ยูทูบเองจะเชิญชวนผู้ผลิตวีดิโอที่มีความน่าสนใจผลิตวีดิโอในฐานะผู้ร่วมธุรกิจ (YouTube Blog, 2007) โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้เพิ่มจากฟังก์ชันสร้างวีดิโอให้เป็นเม็ดเงิน คือสามารถ ในการอัปโหลดวีดิโอได้ยาวขึ้นจาก 10 นาทีเป็น 15 นาที สามารถเบิกเงินจากระบบยูทูบ และ สามารถสร้างภาพหัวเรื่อง (thumbnail) ของวีดิโอได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโปรแกรมนี้จะมี ผู้ติดตามประมาณ 5,000 ถึง 10,000 คน (Cha et. al., 2007) ในปัจจุบัน โปรแกรมผู้ร่วมธุรกิจกับยูทูบได้ควบรวมกับระบบจ่ายค่าตอบแทนทั่วไป และเพิ่มความซับซ้อนในหลักเกณฑ์มากยิ่งขึ้น ในค.ศ. 2018 ยูทูบได้เปลี่ยนข้อก าหนดใหม่ของ โปรแกรมผู้ร่วมธุรกิจกับยูทูบ จากเดิมที่ช่องยูทูบจะต้องมีปริมาณการรับชมรวมขั้นต่า 10,000 ครั้ง มาสู่ “เวลารับชมรวมขั้นต่า 4,000 ชั่วโมงภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา และมีผู้ลงชื่อติดตามขั้นต่ า 1,000 คน” การเปลี่ยนกฎเกณฑ์ให้ยากขึ้นท าให้ยูทูเบอร์รายเล็กจ านวนมาก ที่เคยผ่านเกณฑ์ในแบบ เก่า ถูกถอดถอนออกจากสิทธิ์ที่สามารถได้รับเงินจากยูทูบดังกล่าว นอกจากนี้ ยูทูบยังพัฒนาระบบตรวจจับลิขสิทธิ์จากการจับภาพและเสียง ว่ายูทูเบอร์ นาภาพหรือเสียงของผู้ผลิตวีดิโอคนอื่นมาใช้โดยละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งผู้แจ้งลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่มักจะ เป็นค่ายภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ หรือค่ายเพลงขนาดใหญ่ ระบบยูทูบจะท าการแจ้งเตือนทุก ครั้งเมื่อตรวจจับได้ว่าผู้ผลิตวีดิโอละเมิดลิขสิทธิ์ หรือมีผู้แจ้งลิขสิทธิ์เหนือเนื้อหาในวีดิโอเหล่านั้น ท า ให้ยูทูเบอร์ต้องพยายามสร้างสรรค์เนื้อหาให้มีความดั้งเดิม อีกทั้งยังท าให้ธุรกิจคลังภาพและเพลง

Ref. code: 25615808030521AIP 63

ส าหรับวีดิโอยูทูบขยายตัวขึ้นอีกด้วย เพราะว่าการซื้อภาพหรือเพลงจากคลังเหล่านี้อย่างถูกต้องจะท า ให้ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยสรุป การที่ยูทูบเคลื่อนจากสื่อที่มีเป้าหมายกลุ่มคนดูเฉพาะมาสู่กลุ่มสาธารณะท าให้ เกิดหน้าที่ทางการสื่อสารใหม่ที่เรียกว่า “ยูทูเบอร์” ที่จ าเป็นต้องสร้างเนื้อหาที่มีลักษณะเฉพาะและมี ความดั้งเดิม ซึ่งเนื้อหาจะถูกควบคุมโดยเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่นอัลกอริทึม การตรวจจับลิขสิทธิ์ และ ระบบการจ่ายค่าตอบแทน นอกจากนี้ ระบบการจ่ายค่าตอบแทนยังท าให้ยูทูบกลายเป็นแพลตฟอร์ม เชิงธุรกิจที่เปิดโอกาสให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่มากมาย ซึ่งท าให้วีดิโอยูทูบมีแนวโน้มที่จะมี เนื้อหาเชิงธุรกิจมากกว่าวีดิโอที่แสดงความเป็นตัวตน และท าให้ยูทูเบอร์ต้องปรับตัวกับกฎเกณฑ์และ โครงสร้างทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ เสมอ ยิ่งไปกว่านั้น การขยายการให้บริการของยูทูบในลักษณะแพลตฟอร์มแบบท้องถิ่นก็ได้ สนับสนุนการผลิตวีดิยูทูบในระดับท้องถิ่น ท าให้เนื้อหาของวีดิโอยูทูบมีความแตกต่างหลากหลายทั้ง ในด้านเนื้อหา ภาษา และลีลาการสร้างสรรค์ แต่อย่างไรก็ตามแพลตฟอร์มแบบท้องถิ่นเหล่านี้ก็ยัง ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎและโครงสร้างทางเทคโนโลยีที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาจากผู้คนในซิลิคอนแวลีย์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการออกแบบ พัฒนา และผลิตโครงสร้างทางเทคโนโลยีของยูทูบจากซิลิคอนแวลีย์มี ส่วนในการก าหนดเนื้อหาของวีดิโอยูทูบที่ผลิตจากทั่วโลก รวมถึงสิงคโปร์ ซึ่งในส่วนต้องไปผู้เขียนจะ ขยายให้ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของสิงคโปร์ ที่โครงสร้างทางเทคโนโลยีของยูทูบมีส่วนอย่างยิ่งใน การก าหนดความสัมพันธ์และวิถีปฏิบัติในระบบการผลิตสื่อของยูทูบอย่างมีนัยส าคัญ

3.2 ก าเนิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และชุมชนยูทูเบอร์ในสิงคโปร์

เครือข่ายการผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิชประกอบด้วยช่องยูทูบกว่า 30 ข่องในประเทศ สิงคโปร์ โดยช่องเหล่านี้เริ่มผลิตวีดิโอตลกในปีค.ศ. 2012 แต่ยูทูเบอร์ผู้ผลิตวีดิโอเหล่านี้จ านวนมาก ต่างเคยผลิตวีดิโอประเภทอื่น ๆ ในยูทูบมาอย่างยาวนาน เช่น ดาร์ริล โคชี (Darryl Koshy) จากช่อง Dee Kosh เริ่มผลิตวล็อกและวีดิโอเรียงความ (video essay) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นและ เรื่องราวต่าง ๆ ที่เขาสนใจตั้งแต่ปีค.ศ. 2006 หรือช่อง Munah Hirzi Official ของคู่หูมูนาห์ บาการิบ (Munah Bagharib) กับฮีร์ซี ซุลคิฟลี (Hirzi Zulkiflie) ที่เริ่มผลิตวีดิโอมาตั้งแต่ค.ศ. 2008 โดยเป็น เนื้อหาประเภทวล็อกและวีดิโอการเต้น รวมไปถึงเจี้ยนหาว ตัน (Jianhao Tan) จากช่อง JianHao Tan ที่เริ่มผลิตวีดิโอตั้งแต่ช่วงปี 2009 โดยมีลักษณะเป็นวีดิโอที่ถ่ายเล่นกับเพื่อนในโรงเรียนมัธยม ของเขา

Ref. code: 25615808030521AIP 64

ภูมิทัศน์ของวีดิโอยูทูบในสิงคโปร์ช่วงก่อนปีค.ศ. 2012 มีเนื้อหาประเภทวีดิโอข่าวหรือ รายการวาไรตี้ที่ผลิตโดยสื่อดั้งเดิมมาอยู่ก่อนแล้ว เช่นช่อง RazorTV ของสิงคโปร์เพรสโฮลดิ้งส์ (Singapore Press Holding) ส านักพิมพ์ของรัฐบาลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงปี 2009 หรือ วีดิโอบล็อกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์และชีวิตประจ าวันของผู้ผลิตวีดิโอแต่ละคน เช่นช่อง Xiaxue ของเวนดี เช็ง (Wendy Cheng) บุคคลคนแรก ๆ ในสิงคโปร์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากการเขียน บทความในบล็อกส่วนตัวที่เริ่มหันมาผลิตเนื้อหาเป็นวีดิโอตั้งแต่ปีค.ศ. 2009 ในช่วงปีค.ศ. 2011 ที่ยูทูบเปิดแพลตฟอร์มแบบท้องถิ่นในสิงคโปร์ การผลิตวีดิโอยูทูบ ในลักษณะสตูดิโอที่ด าเนินการโดยบุคคลทั่วไปได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกโดยช่อง Clicknetwork TV ที่ นาโดยจิลเลียน ตัน (Gillian Tan) อดีตผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ชาวสิงคโปร์ในสหรัฐอเมริกา โดยเธอจะ ดึงดูดผู้ผลิตวีดิโออิสระที่มีเนื้อหาน่าสนใจร่วมผลิตวีดิโอ และเผยแพร่ผ่านช่องของเธอ ถือว่าเป็นช่อง ยูทูบที่บริหารงานแบบบริษัทของบุคคลทั่วไปช่องแรกในสิงคโปร์ โดยช่อง Clicknetwork TV มักจะมี เนื้อหาเกี่ยวกับความสวยความงาม สอนแต่งหน้า ทอล์คโชว์ และวีดิโอบล็อก จิลเลียนเล่าว่า

ตอนนั้นฉันอยากกลับบ้านมาที่สิงคโปร์ แต่สมัครงานที่ไหนก็ไม่มีใครรับ ฉันจึงเริ่มผลิต ตัวอย่างรายการทีวีเพื่อเสนอให้กับช่องมีเดียคอร์ป แต่สุดท้ายก็ไม่มีใครสนใจ โชคดีที่ว่า ยังมีอีกประตูเปิดอยู่ ฉันนารายการนี้มาอัปโหลดลงยูทูบ รายการนี้ได้รับความนิยม พอสมควร ฉันจึงเริ่มผลิตวีดิโอลงยูทูบและก่อตั้งช่อง Clicknetwork TV ขึ้นมา (Huang, 2011)

ช่อง Clicknetwork TV ได้รับความนิยมอย่างสูง และกลายเป็นช่องยูทูบที่มี ผู้ลงทะเบียนติดตาม (subscriber) หนึ่งล้านคนเป็นช่องแรกในสิงคโปร์เมื่อช่วงปีค.ศ. 2017 ด้วย ความส าเร็จของช่อง Clicknetwork TV ท าให้สตูดิโอที่ผลิตเฉพาะวีดิโอยูทูบเป็นแบบจ าลองธุรกิจที่ เป็นไปได้ในสิงคโปร์ ในช่วงปีค.ศ. 2012 ถือเป็นหมุดหมายส าคัญที่วีดิโอยูทูบประเภทละครตลกสั้นเริ่มผลิต ขึ้นในสิงคโปร์ โดยผู้ที่เริ่มผลิตวีดิโอประเภทดังกล่าวเป็นช่องแรก ๆ คือช่อง Wah!Banana ที่ก่อตั้ง โดยลิ่งอี๋ สยง (Lingyi Xiong) เจสัน เฮ่า (Jason Hau) และแอรอน คู (Aaron Khoo) พนักงานฝ่าย ผลิตสื่อของบริษัทกาเรนา (Garena) บริษัทเกมและความบันเทิงในอินเทอร์เน็ตสัญชาติสิงคโปร์ ช่อง Wah!Banana ผลิตวีดิโอตลกเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัท ผ่าน การสร้างสรรค์เนื้อหาที่สามารถเชื่อมโยงกับคนสิงคโปร์ วีดิโอเรื่องแรกของพวกเขา 20 Ways to Say Hello (20 วิธีในการทักทาย) ใช้ภาษาซิงลิชและนาลักษณะของผู้คนประเภทต่าง ๆ ในสิงคโปร์มา

Ref. code: 25615808030521AIP 65

ล้อเลียน เช่น ahbeng และ ahlian (อันธพาลชายและหญิง) (ดูบทที่ 4) หรือ NS men (ทหารเกณฑ์) ช่อง Wah!Banana ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และสิ่งที่ตามมาคือการตกลงเชิงธุรกิจกับบริษัทต่าง ๆ ให้ใช้การสร้างสรรค์ละครตลกของพวกเขาโฆษณาสินค้า ลิ่งอี๋เล่าให้ฟังว่า

เราใช้เวลา 10 เดือนในการสะสมผู้ลงทะเบียนติดตามได้ถึง 100,000 คน ซึ่งถือว่าเป็น หมุดหมาย (milestone) ของเรา และหลังจากที่เรามีผู้ลงทะเบียนติดตามครบ 100,000 คน เรามีโอกาสได้ร่วมงานกับแบรนด์สินค้าแรก ซึ่งก็คืออิเกีย (Ikea) L. Xiong (interview, July 13, 2016)

ต่อมาในปีเดียวกัน ช่อง Night Owl Cinematics ถูกสร้างขึ้นโดยคู่สามีภรรยา ไรอัน ตัน (Ryan Tan) และซิลเวีย ชาน (Sylvia Chan) ที่ก่อนหน้านั้นเปิดธุรกิจถ่ายท าวีดิโอส าหรับงาน แต่งงาน พวกเขาเผยแพร่วีดิโอเรื่องแรกของพวกเขา Shit Mahjong Players Say (เรื่องไร้สาระที่คน เล่นไพ่นกกระจอกพูด) ด้วยการล้อเลียนวัฒนธรรมการเล่นไพ่นกกระจอกของชาวสิงคโปร์และค าพูด ติดปากที่มักจะได้ยินในวงไพ่ แต่วีดิโอเรื่องนี้ยังไม่ได้รับเสียงตอบรับจากสาธารณะทันที แต่หลังจาก นั้นไม่นาน ไรอันและซิลเวียได้ชวนเพื่อน ๆ ของพวกเขามาแสดงวีดิโอด้วยกันในเรื่อง Shit Singaporean Girlfriends Say (เรื่องไร้สาระที่แฟนสาวชาวสิงคโปร์พูด) วีดิโอเรื่องนี้มีจ านวนผู้เข้า ชมนับหมื่นครั้งเพียงชั่วข้ามคืน และหลังจากนั้นช่องของเขาทั้งสองก็ได้รับความนิยมขึ้นมาเรื่อย ๆ ซิลเวียเล่าให้ฟังว่า

หลังจากที่เราปล่อยวีดิโอเรื่อง Shit Singaporean Girlfriends Say ไปไม่นาน ก็มี ลูกค้าอีเมลมาหาเรา บอกว่า ‘ถ้าเราเอาผลิตภัณฑ์ของเราไปไว้ในวีดิโอของคุณ เราจะ จ่ายเงินให้คุณ’ ฉันก็รู้สึกว่า อะไรนะ? คุณจะให้เงินฉันเหรอ? โอเค? ถึงแม้ว่ามันจะเป็น เงินแค่ร้อยกว่าเหรียญก็เถอะ ฉันก็รู้สึกดีใจมาก แต่สิ่งที่ฉันเห็นในตอนนั้นคือ ในสิงคโปร์ ไม่ค่อยมีใครท าให้ยูทูบเป็นช่องทางทาเงิน เราก็ท ามาเรื่อย ๆ แล้วมันก็ดีขึ้น เรื่อย ๆ S. Chan (interview, October 30, 2017)

ต่อมาในช่วงปี 2013 ยูทูเบอร์ผู้ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วในฐานะวล็อกเกอร์ (vlogger) หรือ ผู้ผลิตวล็อก เช่น มูนาห์และฮีร์ซี ดาริล โคชี และเจี้ยนหาว ตันได้ผันตัวมาผลิตวีดิโอตลก โดย เจี้ยนหาวเน้นผลิตวีดิโอแนวตลกเกี่ยวกับชีวิตวัยรุ่น ความรัก ความสัมพันธ์ และชีวิตในโรงเรียน ส่วนมูนาห์และฮีร์ซี ที่ได้โอกาสในการผลิตรายการโทรทัศน์ในช่องภาษามลายู ก็เริ่มผลิตวีดิโอเกี่ยวกับ

Ref. code: 25615808030521AIP 66

การเล่าปัญหาหรือกระแสสังคมในสิงคโปร์จากมุมมองของคนมลายู และดาริล โคชี ที่ได้กลายเป็น พิธีกรในโทรทัศน์และนักจัดรายการวิทยุ ก็เริ่มผลิตวีดิโอที่มีการแสดงผสมในวีดิโอเรียงความของเขา เมื่อยูทูเบอร์แต่ละกลุ่มได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง ท าให้ยูทูเบอร์แต่ละกลุ่มรู้จักผ่าน ชื่อเสียงความนิยมบนอินเทอร์เน็ต ในช่วงปี 2013 - 2014 ยูทูเบอร์หลากหลายกลุ่มต่างท างานข้าม กลุ่มเพื่อส่งเสริมชุมชนยูทูเบอร์ในสิงคโปร์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น โนอาห์ แย็ป (Noah Yap) ยูทูเบอร์ชาวสิงคโปร์คนหนึ่ง กล่าวถึงความส าคัญในการช่วยเหลือและร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่าง ยูทูเบอร์แต่ละกลุ่มในวีดิโอของเขาว่า “จะช่วยให้วีดิโอของแต่ละคนได้รับความนิยมไปพร้อมกัน และ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อชุมชนยูทูเบอร์ในสายตาของคนทั่วไป” เขายังต่อต้านการแบ่งแยกแบ่งกลุ่ม และโจมตีกันระหว่างกลุ่มยูทูเบอร์ประเภทต่าง ๆ ว่า “จะท าให้การวงการยูทูเบอร์ในสิงคโปร์เกิด ปัญหาและได้รับความนิยมลดลง” (Noah, Feb 13, 2017) ลิ่งอี๋จากช่อง Wah!Banana กล่าวว่า “เราร่วมงานกับยูทูเบอร์ทั้งในสิงคโปร์และมาเลเซียเพื่อแบ่งปันฐานแฟนของเรา” (L. Xiong, interview, July 13, 2016) ในช่วงปีค.ศ. 2014 อาจเป็นเพราะความนิยมในการรับชมและความส าเร็จทางธุรกิจ ช่องยูทูบที่เกิดใหม่ในสิงคโปร์ต่างผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิช เช่นช่อง Ministry of Funny ของฮาเรช ติลานี (Haresh Tilani) และเทอเรนซ์ เจีย (Terence Chia) และช่อง Cheokboard Studios ของโจ นาธาน เฉวิก (Jonathan Cheok) ท าให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจประเภทวีดิโอตลกภาษาซิงลิชมาก ยิ่งขึ้น ดาริล โคชีให้สัมภาษณ์ว่า

Wah!Banana ท าวีดิโอสารวจส านักงาน (office tour) ช่องยูทูบอีกประมาณ 17 ช่องก็ ท าตาม ยูทูเบอร์ใหม่มองความส าเร็จของ Night Owl Cinematics, Wah!Banana และเจี้ยนหาว คนพวกนี้ก็อยากเป็นแบบเขา การแข่งขันแบบนี้ท าให้ยูทูเบอร์ไม่ผลิต วีดิโอส าหรับตัวพวกเขาเองอีกต่อไป เขานาตัวเองออกจากการสร้างสรรค์ แล้วมันก็ กลายเป็นวีดิโอตลกในรูปแบบเดียวไปกันหมด เช่น 10 ประเภทของประตูในห้อง ประเภทต่าง ๆ ของหน้าต่าง มันไม่ผิดหรอก แต่มันทาออกมาเกินจริง เป็นเนื้อหาแบบ สิงคโปร์ที่พยายามดึงดูดตลาดมวลชนในยูทูบ D. Koshy (interview, May 1, 2018)

หลังจากนั้นในปีค.ศ. 2015 แอรอน คูลาออกจากช่อง Wah!Banana ด้วยความขัดแย้ง (J. Hau, interview, November 16, 2017) และออกมาเปิดช่องของตัวเองที่มีชื่อว่า Tree Potatoes กับนักแสดงของช่อง Wah!Banana อีกสองคน ในเวลาเดียวกันชุมชนยูทูเบอร์เริ่มปรากฏ

Ref. code: 25615808030521AIP 67

ความขัดแย้ง โดยเห็นได้จากการหยุดร่วมมือกันระหว่างกลุ่ม การนินทาและต่อว่ากันและกันทั้งในสื่อ สาธารณะและสื่อส่วนตัว ผู้เขียนสังเกตว่าความขัดแย้งดังกล่าวอาจเกิดจากการผลิตวีดิโอประเภท เดียวกัน การแข่งขันทางธุรกิจและตัวเลขที่ดึงดูดให้ลูกค้าซื้อบริการสร้างวีดิโอและช่องทางของตน อีก ทั้งยังมีความขัดแย้งเชิงการนาเสนอเนื้อหาที่ทับซ้อนและคัดลอกซึ่งกันและกัน

เราเคยร่วมงานกับช่องอื่น ๆ แต่เวลาผ่านไปเราเริ่มไม่ยุ่งกับคนบางกลุ่ม และเราเริ่ม ท างานใกล้ชิดกับคนบางกลุ่ม เพราะฉันรู้สึกว่าพวกเรายึดถือคุณค่าและมีทิศทาง สร้างสรรค์ที่แตกต่างกัน เช่นเราอยากท าวีดิโอโง่ ๆ ที่ไม่มีคนมาดูเลย แต่เราชอบอะ แต่ มียูทูเบอร์บางคนที่มักจะกล่าวว่า ‘สิ่งนี้ไม่ได้ท าให้ฉันได้ไลค์เยอะ คนไม่ชอบที่ฉันทาสิ่งนี้ แล้วมันช่วยความนิยมของฉันขึ้นมาไม่ได้’ แล้วมันมาถึงจุดที่ว่าคุณท าวีดิโอในสิ่งที่คนอื่น อยากให้คุณท ามากกว่าสิ่งที่คุณอยากจะท าเอง มันหายากมากที่จะเจอคนช่างหัวมัน แบบเพื่อนของฉัน S. Chan (interview, October 30, 2017)

กูเกิลและยูทูบเปิดส านักงานใหญ่ประจ าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสิงคโปร์ พนักงาน ของยูทูบในสิงคโปร์มีขอบข่ายงานในการดูแลการผลิตวีดิโอยูทูบทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง รวมถึงประเทศไทยด้วย สิงคโปร์จึงกลายเป็นศูนย์กลางของการสร้างสรรค์และเจรจาธุรกิจของยูทูบใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยูทูเบอร์ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเดินทางมาสิงคโปร์ ก็ต้องมาร่วมือ ผลิตวีดิโอกับยูทูเบอร์ชาวสิงคโปร์ ในปีค.ศ. 2014 และ 2015 ยูทูบจัดงาน YouTube FanFest ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นงานที่ รวบรวมยูทูเบอร์ชื่อดังจากทั้งฝั่งสหรัฐอเมริกาและในสิงคโปร์ให้ได้พบปะกับผู้ชมที่ติดตามวีดิโอของ พวกเขา ช่องยูทูบในสิงคโปร์ที่ได้รับเชิญคือ JianHao Tan, Night Owl Cinematics, Dee Kosh, Wah! Banana, TreePotatoes และ Munah Hirzi Official ซึ่งหากยูทูเบอร์ช่องใดได้รับเชิญไป ร่วมงานถือว่าเป็นยูทูเบอร์ที่ประสบความส าเร็จและมีชื่อเสียง งาน YouTube FanFest ได้สะท้อนให้ เห็นว่าสังคมที่ก่อตัวอย่างแนบแน่นของยูทูเบอร์สิงคโปร์ยังสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทกูเกิลและยูทูบ ในการด าเนินธุรกิจในนอกโลกออนไลน์ด้วย แต่ถึงกระนั้น ความขัดแย้งและบรรยากาศการแข่งขัน อย่างสูงในชุมชนยูทูบสิงคโปร์ และความอิ่มตัวของธุรกิจของยูทูบในสิงคโปร์ และการเติบโตขึ้นของ ตลาดยูทูบในประเทศอื่น ๆ เช่นไทย อินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์ งาน YouTube FanFest เดินทางไป จัดในประเทศเหล่านี้ และปีค.ศ. 2015 เป็นปีสุดท้ายที่งานนี้ถูกจัดในสิงคโปร์

Ref. code: 25615808030521AIP 68

ภาพที่ 3.1 บรรยากาศในงาน YouTube FanFest 2015 (ภาพจาก Seed Image)

3.3 ชุมชนยูทูเบอร์สิงคโปร์ในปัจจุบัน

การผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิชกลายเป็นธุรกิจอย่างชัดเจนในปีค.ศ. 2015-2016 เพราะว่าการสร้างวีดิโอจากประเด็นที่ตนเองสนใจเริ่มน้อยลง และพึ่งพิงกับการจ้างงานจากลูกค้าและ การขายพื้นที่ของช่องเป็นช่องทางการโฆษณาเป็นหลัก ท าให้เหล่ายูทูเบอร์พยายามขยับงานสร้างไปสู่ อีกระดับ พวกเขาเริ่มเรียนรู้และพัฒนาทักษะ จากกล้องที่ถ่ายตรง ๆ เริ่มถ่ายท าแบบมีมุมกล้อง ภาพ ที่สั่นไหวเริ่มนิ่งเนื่องจากการพัฒนาอุปกรณ์การถ่ายท า เริ่มมีเทคนิคภาพพิเศษและคุณภาพเสียงที่ดี ขึ้น แสดงให้เห็นถึงมูลค่าการลงทุนที่สูงในธุรกิจนี้ และการแข่งขันในตลาดสื่อดิจิทัลมีความร้อนแรง มากขึ้น

ถ้าคุณจะเริ่มท าวีดิโอยูทูบในวันนี้ อย่างหวังท าเงินเลย หวังเพียงท าเนื้อหาดี ๆ ดีกว่า ตอนนี้มันโหดมาก โหดจริง ๆ เพราะมีคนท าให้ตลาดแข่งขันยาก (spoil market) ถ้า คุณอยากจะถ่ายวีดิโอตลกด้วยไอโฟนของคุณและโพสต์ลงยูทูบคงไม่มีคนมาดูแน่นอน เพราะคุณภาพมันห่วยแตก เสียงห่วยแตกอะไรประมาณนั้น Night Owl Cinematics ท าไว้ดีมาก คุณภาพทะลุเป้า Wah!Banana กับ TreePotatoes ก็ก าลังแข่งขันกัน ตอนนี้มาตรฐานสูงมาก อุตสาหกรรมนี้โหดมาก” D. Koshy (interview, May 1, 2018)

Ref. code: 25615808030521AIP 69

ด้วยความสามารถเข้าถึงช่องทางทุนมหาศาล ช่องยูทูบขนาดใหญ่ เช่น JianHao Tan, Wah!Banana และ Night Owl Cinematics มีอุปกรณ์กล้องที่ทันสมัย คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่เครื่อง ใหญ่สามารถรองรับการตัดต่อในปริมาณที่มากได้ มีตู้กันความชื้นเลนส์ราคาแพง เกิดการจ้างงานช่าง กล้องและทีมงานที่มีทักษะในการถ่ายท า ท าให้ยูทูเบอร์ผู้ที่ไม่เข้าถึงทุนต่าง ๆ ต้องเลิกผลิตไป เนื่องจากการสร้างวีดิโอให้มีคุณภาพตามความต้องการของ “ตลาด” ต้องใช้ต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้นในปัจจุบัน ลูกค้า (client) จึงมีบทบาทส าคัญของเนื้อหาของวีดิโอ เพราะเป็น แหล่งทุนส าคัญในการผลิตวีดิโอ ส าหรับช่องวีดิโอยูทูบที่มีผู้ลงทะเบียนติดตามจ านวนมาก เช่น Wah!Banana, Night Owl Cinematics และ JianHao Tan มักจะคิดราคาประมาณ 20,000 ถึง 50,000 เหรียญสิงคโปร์ต่อการผลิตวีดิโอหนึ่งเรื่อง (L. Xiong, interview, October 27, 2017) ลูกค้าสามารถเปลี่ยนเรื่องที่ต้องการจะเล่าได้ พวกเขาสามารถเน้นว่าจะให้ค าพูดคาไหนปรากฏบน วีดิโอ พวกเขาสามารถตัดฉากออกจากวีดิโอได้ หรือแม้แต่เปลี่ยนมุกตลกใหม่ได้ ท าให้ในปัจจุบัน ยูทูเบอร์ไม่สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาได้อย่างเต็มที่ ยูทูเบอร์คนหนึ่งกล่าวว่า

ลูกค้าที่ดีคือลูกค้าที่เปิดพื้นที่ให้เราแสดงความเป็นศิลปินและความสร้างสรรค์ที่ เฉพาะตัวของเรา ซึ่งยูทูเบอร์แต่ละคนก็จะมีลีลาและส าเนียงในการสร้างสรรค์ที่แตกต่าง กัน และลูกค้าควรรู้ว่ายูทูเบอร์แต่ละคนมีลีลาเป็นอย่างไร L. Xiong (interview, June 30, 2018)

ยูทูเบอร์จ านวนมากกล่าวว่าการใช้ภาษาซิงลิชไม่ใช่ประเด็นส าคัญในการผลิตวีดิโอตลก ลูกค้าจ านวนมาก โดยเฉพาะลูกค้าธุรกิจไม่สนใจว่าวีดิโอจะผลิตออกมาเป็นภาษาอะไร หรือตัวละคร จะมีลักษณะการพูดอย่างไร

เราไม่เคยถูกต าหนิที่ใช้ภาษาซิงลิชเลย บางทีฉันว่าเขาอาจจะไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ อะไร อีกอย่างอาจเป็นเพราะลักษณะของยูทูบเป็นสื่อสังคม ที่ไม่เป็นทางการและเน้น กลุ่มเป้าหมายไปที่เยาวชน แต่บางที่ถ้ามันฮกเกี้ยนมาก ๆ แล้วมีคาหยาบคายเข้ามา เรา ก็จะถูกต่อว่า เพราะวีดิโอของเรามีเยาวชนดูเยอะมาก K. Chua (interview, November 6, 2017)

ในช่วงปีค.ศ. 2016 ช่องยูทูบบางช่องได้รับความนิยมที่ลดลงและเลิกผลิตไป หรือผลิต ในปริมาณน้อยลง เช่น เจมส์ ฟง (James Fong) จาก Peanut Butter Studios ที่ผันตัวไปผลิต

Ref. code: 25615808030521AIP 70

ภาพยนตร์สั้นและเป็นนักแสดงในโทรทัศน์แห่งชาติ โนอาห์ แย็ป ที่ปัจจุบันกลายเป็นนักแสดง ภาพยนตร์ชื่อดัง หรือช่อง Tree Potatoes ที่ลดการผลิตวีดิโอในยูทูบ เนื่องจากได้รับงานจากช่อง โทรทัศน์แห่งชาติให้ผลิตละครให้แก่ช่อง Mediacorp 5 หรืออาจกล่าวได้ว่า Tree Potatoes ได้ขยับ ระดับงานของตนจากยูทูบไปสู่โทรทัศน์แล้ว เห็นได้ชัดว่าส าหรับยูทูเบอร์บางคน ยูทูบเป็นคล้าย ทางผ่านไปสู่เส้นทางอาชีพในสื่อกระแสหลัก แต่ในอีกมุมหนึ่งคือจ านวนวีดิโอตลกภาษาซิงลิชที่ล้น ตลาด และผู้นาในอุตสาหกรรมสร้างมาตรฐานไว้สูง การแข่งขันในเนื้อหาประเภทนี้จึงเป็นเรื่องที่ ยากล าบาก

เพื่อนยูทูเบอร์ของเราจ านวนมากหยุดสร้างวีดิโอ ช่องเราเองก็ไม่มีคนมาจ้างท าวีดิโอ แต่ เราก็อยู่ได้เพราะงานเล็ก ๆ อื่น ๆ แต่สิ่งที่เราท าคือเราเริ่มท าวีดิโอประเภทอื่น ๆ เช่น วีดิโออาหาร อาจจะฟังดูบ้า ที่เรามีวีดิโอตลกที่ปล่อยทุกวันอาทิตย์ และมีวีดิโอเล่นเกม อีกช่องหนึ่ง เศรษฐกิจสิงคโปร์ช่วงที่ผ่านมามันไม่ค่อยดีใช่มั๊ย เราท าเพิ่มสิ เรามีเวลาแล้ว ไงเพราะไม่ค่อยมีลูกค้าแล้ว เรายังรักในสิ่งที่เราท า และเราไม่หยุดที่จะท ามัน และเราท า เพิ่มด้วย S. Chan (interview, October 30, 2017)

นักแสดงในสื่อกระแสหลักบางคนก็ผันตัวมาผลิตสื่อในยูทูบ เช่นนักแสดงตลกชื่อดัง มิเชล ชง (Michelle Chong) ที่เคยแสดงในรายการ The Noose และละครท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน ได้ก่อตั้งช่อง The Michelle Chong Channel ในปีค.ศ. 2017 เธอกล่าวว่า

ฉันชอบล้อเล่นอยู่บ่อย ๆ ว่า ยูทูบ เฟซบุ๊กอะไรพวกนี้เป็นของขวัญจากพระเจ้า เพราะ ตอนที่ฉันยังท างานกับสถานีโทรทัศน์ ฉันเสนอความคิดรายการใหม่ ๆ อยู่เสมอ แต่อาจ เป็นเพราะมีเดียคอร์ปเป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือล าดับชั้นทางต าแหน่งอะไรก็ตาม ทุก คนมีหน้าที่ของตนเอง นักแสดงมีหน้าที่แสดง พิธีกรมีหน้าที่ด าเนินรายการ ไหนจะมีคน เขียนบท มีผู้อ านวยการสร้าง ดังนั้นมันยากมากที่จะท าอะไรสักอย่างเพื่อตัวเอง แต่พอ ฉันมาตั้งบริษัทเองและผลิตวีดิโอยูทูบ ฉันสามารถท าให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นมา ฉันก็ต่อว่า ตัวเองทุกวันว่าท าไมไม่เริ่มให้เร็วกว่านี้ ฉันมาช้าในเกมมาก ๆ แล้ว ดูคนหนุ่มสาวพวกนี้ สิ เซี่ยเสวี่ยรู้ทันมาเป็นชาติแล้ว และฉันก็รู้สึกว่าฉันสามารถเรียนรู้จากผลงานของคน เหล่านี้ เช่น Night Owl Cinematics หรือ Wah!Banana ฉันนับถือพวกเขามาก M. Chong (interview, September 1, 2018)

Ref. code: 25615808030521AIP 71

ท่ามกลางความขัดแย้งของช่องยูทูบหลากหลาย ยูทูเบอร์ที่มีความคิดเห็นไปในทาง เดียวกันและมีมิตรภาพที่แน่นแฟ้นก็จะจับกลุ่มกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่การผลิต เช่นช่อง JianHao Tan, Night Owl Cinematics และ Dee Kosh จับมือร่วมธุรกิจและผลิตวีดิโอร่วมกัน ซิลเวีย ชานจากช่อง Night Owl กล่าวว่า

เราอยู่คนละช่องกัน เราพัฒนาช่องในคนละทิศทางกัน แต่พวกเราสามคนรวมกันเป็น ทีม เช่นถ้าเขาอยากให้เราช่วยดูบท ช่วยดูเรื่องว่ามีความถูกต้องทางการเมืองไหม ฉันก็ จะสนับสนุนเขา แต่การตัดสินใจจะเป็นของเขา เราไม่ได้แข่งขันกัน ฉันและฉันไม่มีคู่แข่ง ด้วย ฉันไม่แคร์เลยที่จะแชร์ลูกค้ากับเพื่อน ถ้าเราร่วมกันแล้วแบ่งรายได้ครึ่ง ๆ ฉันก็ พอใจแล้ว จะหาเงินไปเยอะ ๆ เพื่ออะไร ฉันเก็บมิตรภาพดีกว่า S. Chan (interview, October 30, 2017)

ส่วนลิ่งอี๋และเจสัน ผู้ก่อตั้งช่อง Wah!Banana ขอซื้อช่องจากบริษัทกาเนรา ผู้ลงทุน หลัก และตั้งบริษัทใหม่เพื่อผลิตวีดิโอยูทูบให้กับช่อง Wah!Banana นอกจากนี้ ลิ่งอี๋และเจสันยัง ชักชวนยูทูเบอร์รายย่อยผู้ผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิชจ านวนหนึ่งที่ปิดช่องของตนไปแล้ว แต่ยังอยาก ผลิตวีดิโอตลกในยูทูบอยู่ ให้มาร่วมงานกับช่องในฐานะนักแสดงและทีมงาน ในขณะเดียวกันที่ยูทูเบอร์จับกลุ่มพันธมิตรต่าง ๆ ยูทูเบอร์แต่ละกลุ่มก็พยายามสร้าง พรมแดนความแตกต่างของเนื้อหาของตนเอง ลิ่งอี๋กล่าวว่า

พวกเราทั้งหมดค่อนข้างแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น เจี้ยนหาวมีฐานแฟนที่เป็นวัยรุ่น Night Owl Cinematics เชี่ยวชาญในการเล่นมุกตลกท้องถิ่น ฉันคิดว่าพวกเรา [Wah!Banana] มีอารมณ์ขันที่แห้ง และเนื้อหาของเราจะมีความทั่วไปมากกว่า ในแง่ ของกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย L. Xiong (interview, July 13, 2016)

ด้วยเหตุนี้ ชุมชนยูทูเบอร์ในปัจจุบันจึงเหลือเพียงผู้ที่มีอ านาจเข้าถึงทุน ที่เป็นยูทูเบอร์ เจ้าใหญ่ที่มีผู้ลงทะเบียนติดตามจ านวนมหาศาล จ านวนผู้ลงทะเบียนติดตามเป็นตัวเลขส าคัญ ที่ สามารถต่อรองกับราคาที่ลูกค้าจะต้องจ่ายและผลส าเร็จที่ลูกค้าสามารถคาดหวังที่จะได้รับได้ อย่างไร ก็ดี ในปัจจุบันยูทูเบอร์หน้าใหม่จ านวนมากเกิดขึ้น และผลิตเนื้อหาที่แตกต่างไป เช่น Nubbad TV

Ref. code: 25615808030521AIP 72

ช่องวีดิโอตลกภาษาซิงลิชที่เน้นมุกตลกแบบยอกย้อนและมีความ “ปัญญาชน” ที่มีฐานแฟนในเฟซบุ๊ก อยู่แล้ว ก็นาวีดิโอของตนที่อัปโหลดบนเฟซบุ๊กมาอัปโหลดบนยูทูบด้วย โดยช่อง Nubbad TV ยัง สามารถใช้ตัวเลขคนกดชื่นชอบเพจเฟซบุ๊กมาต่อรองกับลูกค้าเพิ่มเติมจากจ านวนผู้ลงทะเบียนติดตาม ในเฟซบุ๊กได้อีกด้วย จากการสอบถามจากยูทูเบอร์จ านวน 3 ช่อง พบว่ากลุ่มผู้ชมหลักคือวัยรุ่นจนถึงวัย ท างาน ตั้งแต่อายุ 13-34 ปี โดยผู้ชมมากกว่าร้อยละ 80 ของแต่ละช่องจะมาจากสิงคโปร์ รองมาเป็น มาเลเซีย อินโดนิเซีย สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย นอกจากนี้ ในทุก ๆ ปี ยูทูเบอร์แต่ละช่องก็จะจัด กิจกรรมพบปะกับแฟนคลับ ซึ่งผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นที่ก าลังเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยแฟนผู้ ที่มีอายุมากกว่านั้นมักจะไม่มาเข้าร่วมงานดังกล่าว ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ชมวีดิโอยูทูบ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ของสิงคโปร์จ านวนมากรับสื่อแนวตลกขบขันจากยูทูบ และเนื้อหา ของวีดิโอเหล่านี้อาจสะท้อนชีวิตของพวกเขาภายใต้เงื่อนไขทางสังคม วัฒนธรรม และภาษาของ สิงคโปร์

3.4 Smart Nation

Smart Nation เป็นโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลสิงคโปร์ที่มีจุดประสงค์ในการ พยายามใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัลและ อภิมหาฐานข้อมูล (big data) เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ประชาชน เช่น บัตรประชาชนดิจิทัล สังคมไร้เงินสด รถโดยสารไร้คนขับ และฐานข้อมูลที่เปิดเผย (open source) ของรัฐบาล (smartnation.sg, 2018) รัฐบาลเตรียมสิงคโปร์เข้าสู่ความเป็นชาติฉลาดมาอย่างยาวนานด้วยการสร้างโครงสร้าง พื้นฐานดิจิทัลเป็นชาติแรก ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นการวางสายเคเบิลใต้น้าตั้งแต่ ทศวรรษ 1990 เพื่อลาเลียงและเชื่อมข้อมูลดิจิทัลจากทั่วโลก และด้วยข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ท า ให้มีสายเคเบิลใต้น้าเชื่อมสิงคโปร์รอบทิศทางกว่า 15 สาย ซึ่งประเทศไทยมีเพียง 5 สาย (submarinecablemap.com, 2018) ท าให้สิงคโปร์สามารถเข้าถึงข้อมูลดิจิทัลจ านวนมหาศาลได้ รวดเร็วกว่า ค่าใช้จ่ายในระยะยาวน้อยกว่า และเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศและ ภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพมากกว่า (Brown, 2015) หรือการสร้างจุดแลกเปลี่ยนอินเทอร์เน็ต (internet exchange point) แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีค.ศ. 2001 ซึ่งปัจจุบันสิงคโปร์มี จุดแลกเปลี่ยนอินเทอร์เน็ต 5 จุด (Wikipedia, 2018) และหนึ่งในจุดล่าสุดที่สร้างในปีค.ศ. 2009 ก็มี ศักยภาพในการแลกเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SGIX, 2018) ประโยชน์

Ref. code: 25615808030521AIP 73

ของการมีจุดแลกเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตคือความราบรื่นมากในการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต และความถูกของค่าบริการและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตของทั้งผู้ลงทุนและผู้ใช้ (Krua, 2015) ประชาชนทั่วไปในสิงคโปร์สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกได้ในปีค.ศ. 1994 ซึ่ง ถือว่าเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสารวจของกระทรวงการสื่อสารและข้อมูล (Ministry of Communications and Information) พบว่าในปีค.ศ. 2016 อัตราการเข้าถึง อินเทอร์เน็ตของคนสิงคโปร์สูงถึงร้อยละ 91 ของประชากรทั้งหมด มีอัตราส่วนจ านวน โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากรรวมสูงถึงร้อยละ 148.8 และครอบครองคอมพิวเตอร์ส่วนตัวร้อยละ 87 (Ministry of Communications and Information, 2016) รัฐบาลสิงคโปร์ยังลงทุนสร้างสตูดิโอ Pixel ส าหรับยูทูเบอร์และนักสร้างสรรค์ในสื่อ ดิจิทัลที่มีพื้นที่กว่า 25,000 ตารางฟุต เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถ “ทดลองและสร้างประสบการณ์ สื่อดิจิทัลที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลางส าหรับอนาคต” (Pixel, 2019) โดย Pixel มีสิ่งอ านวยความสะดวก โปรแกรมการเรียนรู้และทดลอง ให้กลุ่มนักสร้างสรรค์ดิจิทัลเข้าไปใช้ เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลสิงคโปร์ พยายามสนับสนุนให้เกิดการสร้างธุรกิจสื่อดิจิทัล ด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ยูทูเบอร์จ านวน มากผู้ไม่มีสตูดิโอใหญ่ เช่น Wah!Banana และ The Ministry of Funny ต่างเข้าไปใช้สถานที่และ อุปกรณ์ของ Pixel เช่น ห้องถ่ายท าขนาดใหญ่ เครนส าหรับการถ่ายมุมสูง และกล้อง 360 องศา กลยุทธ์ของโครงการ Smart Nation คือการใช้งบประมาณของรัฐบาลมาลงทุนกับ ภาคเอกชนที่ท างานด้านเทคโนโลยี เช่นธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่ออุดหนุนให้ธุรกิจเหล่านี้สร้างโปรแกรม ประยุกต์ส าหรับใช้กับคนสิงคโปร์ในวงกว้าง เช่นการจ้างบริษัทพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ ให้สร้าง โปรแกรมประยุกต์ส าหรับการติดต่อราชการ เช่น การจ่ายภาษี การนัดท าหนังสือเดินทางและการแจ้ง ความกับต ารวจ (smartnation.sg, 2018) ในสายตาของรัฐบาล ช่องยูทูบที่สามารถตั้งตัวเองเป็นบริษัท เช่น Wah!Banana, Night Owl Cinematics และ JianHao Tan มีสถานะเป็น “ธุรกิจสตาร์ทอัพ” เหมือนกับบริษัทผู้พัฒนา แอปพลิเคชันอื่น ๆ หน่วยงานของรัฐบาลจ านวนมากว่าจ้างยูทูเบอร์เหล่านี้ให้ผลิตวีดิโอตลก เพื่อ ประชาสัมพันธ์โครงการและนโยบายต่าง ๆ ของตน ซึ่งการใช้งบประมาณของรัฐลงทุนกับธุรกิจใน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ถือว่าเป็นการด าเนินงานตามแผน Smart Nation อย่างเห็นได้ชัดเจน หน่วยงานที่เคยให้ยูทูเบอร์ผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิชเช่น กองก าลังต ารวจสิงคโปร์ (Singapore Police Force) ให้ช่อง Night Owl Cinematics ผลิตวีดิโอเรื่อง You Got Scammed (คุณถูกหลอกแล้ว) เพื่อเตือนให้คนสิงคโปร์ระวังอาชญากรรมหลอกลวงที่เกิดขึ้นรายวันในสิงคโปร์ กระทรวงวัฒนธรรม ชุมชน และเยาวชน (Ministry of Culture, Community and Youth) ให้ช่อง JianHao Tan สร้างวีดิโอเรื่อง The Act of Kindness (การกระท าแห่งความเมตตา) เพื่อ

Ref. code: 25615808030521AIP 74

ประชาสัมพันธ์ถึงโครงการส่งเสริมจริยธรรมในเยาวชน หรือแม้กระทั่งหน่วยงานควบคุมการพัฒนาสื่อ และข้อมูลสารสนเทศ ผู้ควบคุมภาษาอย่างเข้มข้นในสื่อดั้งเดิมของสิงคโปร์ ก็จ้างช่อง Wah!Banana ผลิตวีดิโอตลกที่พูดภาษาซิงลิชเรื่อง Being a Freelancer: Expectation vs Reality (การเป็นฟรี แลนซ์: สิ่งที่คาดหวังปะทะความจริง) เพื่อเป็นช่องทางให้ความรู้เกี่ยวกับความช่วยเหลือของรัฐบาลที่มี ให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระ “การท างานกับบางหน่วยงานรัฐไม่ใช่เรื่องง่าย” ยูทูเบอร์คนหนึ่งให้สัมภาษณ์ เธอกล่าว “บางทีฉันเสนอไอเดียไปบางอย่างแล้วฉันต้องเปลี่ยนใหม่หมดเลย บางทีห้ามใช้คาบางคา ยกตัวอย่าง เช่นห้ามพูดว่า ‘babe’ (ที่รัก) ให้พูดว่า ‘dear’ แล้วตอนนั้นเราถ่ายไปแล้ว เราต้องมาแก้ฉากนี้ใหม่ แค่เปลี่ยนจากพูดว่า ‘babe’ เป็น ‘dear’” ยูทูเบอร์อีกคนแบ่งปันประสบการณ์ว่า “บางทีลูกค้า รัฐบาลไม่ชอบมุกตลกของเรา แล้วบอกให้เราเปลี่ยนไปเล่นมุกตลกอื่น บางทีผมก็สงสัยว่าเราจะวัดได้ ไงว่าอะไรตลก อะไรไม่ตลก” ลูกค้ารัฐบาลบางเจ้าเข้มงวดกับการใช้ภาษามาก ยูทูเบอร์คนหนึ่งกล่าว ว่า ฉันจะไม่บอกนะว่าใคร แต่มีหน่วยงานหนึ่งให้เราไปท าวีดิโอ เราไปถ่ายท าที่ส านักงาน ของพวกเขา ท าให้เขาสามารถมาดูเราถ่ายท าได้ จากนั้นระหว่างถ่ายท า พวกเขาก็คอย คอมเมนต์ว่าท าไมนักแสดงของเราพูดภาษาอังกฤษได้ไม่เหมาะสม วันนั้นเราต้องระวัง ตัวเองมาก คุณกลับไปดูเลยก็ได้ว่าวีดิโอเรื่องไหนที่ภาษาอังกฤษมีความมาตรฐาน มากกว่าวีดิโออื่น ๆ ของเรา L. Xiong (interview, June 30, 2018)

แต่อย่างไรก็ตาม วีดิโอที่รัฐบาลเป็นผู้สนับจ านวนเกือบทั้งหมดก็ยังใช้ภาษาซิงลิชในการ ถ่ายทอดเรื่องราว ผู้เขียนถามยูทูเบอร์คนหนึ่งว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เธอให้ข้อคิดเห็นว่า “ฉันว่าพวก เขาอาจจะไม่ได้คิดว่าการพูดภาษาซิงลิชในวีดิโอของเขาเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ฉันเชื่อว่าหน่วยงาน รัฐบาลทุกที่มันคงจะมีกฎเกณฑ์อยู่ที่ไหนสักแห่ง ว่าอะไรพูดได้ อะไรพูดไม่ได้ มันมีเส้นอะไรบางอย่าง อยู่ ฉันไม่เคยข้ามเส้นนั้น” (L. Xiong, interview, June 30, 2018) ด้วยความเหมาะเจาะพอดี ฮีร์ซี จากช่อง Munah Hirzi Official ให้สัมภาษณ์ว่า “ถ้าสมมติว่ามีเส้นอยู่ตรงนี้ เราพยายามแตะมัน” (H. Zulkiflie, interview, July 1, 2018) น่าสนใจที่ว่าช่อง Munah Hirzi Official ไม่เคยได้งานจาก หน่วยงานรัฐบาลเลย ซิลเวีย โต (Sylvia Toh) ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับภาษาซิงลิชเล่มแรกในประวัติศาสตร์ และผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ในช่องโทรทัศน์แห่งชาติ ให้มุมมองที่น่าสนใจแก่ผู้เขียนว่า “รัฐบาลอยาก สื่อสารกับประชาชนตลอดมา และการพูดภาษาซิงลิชเหมือนเป็นหนึ่งในวีธีที่จะสามารถกุมใจผู้คนได้

Ref. code: 25615808030521AIP 75

ทุกครั้งที่หาเสียงหรืออยากขอร้องให้ประชาชนท าอะไรก็ตามก็จะพูดภาษาซิงลิช” (S. Toh (interview, November 17, 2017) แสดงให้เห็นว่าการใช้ภาษาซิงลิชสื่อสารผ่านวีดิโอตลกในยูทูบ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของรัฐบาลในการสื่อสารกับประชาชน ดังนั้น จึงเป็นการสร้างสถานะและคุณค่า ให้กับช่องทางการสื่อสารเหล่านี้ และท าให้การสื่อสารด้วยวีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบกลายเป็น มาตรฐาน โครงการ Smart Nation ก็ใช้วีดิโอตลกในยูทูบเป็นวิธีการประชาสัมพันธ์ โดยวีดิโอมี ลักษณะเป็นละครชุดทั้งหมด 8 ตอน ชื่อเรื่องว่า My Smart Ah Ma (อาม่าผู้ทันสมัยของผม) ที่มี เรื่องราวเกี่ยวกับหญิงชราคนหนึ่งผู้มีความรู้เท่าทันทางเทคโนโลยี และสามารถใช้เทคโนโลยีในการ อ านวยความสะดวกของตน และที่ตลกร้ายก็คือ ตัวละครที่แสดงเป็นอาม่าพูดภาษาซิงลิชอย่างออกรส ในทุกประโยค แสดงให้เห็นว่าการผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิชถือเป็นวิธีการที่รัฐบาลสิงคโปร์มองว่า สามารถสื่อสารกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความพยายามของรัฐบาลที่ให้ยูทูเบอร์ผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิชเพื่อเป็นกระบอกเสียง ของโครงการและนโยบายของตนอาจแสดงให้เห็นถึงท่าทีผ่อนคลายของรัฐบาลที่มีต่อภาษาซิงลิช หรือ รัฐบาลมองเห็นความเป็นจริงแล้วว่าภาษาซิงลิชไม่สามารถควบคุมได้ และต้องปล่อยให้ภาษาเป็นใน แบบที่มันเป็น อย่างไรก็ดี การใช้วีดิโอตลกที่ท าให้เนื้อหาหนัก ๆ เช่น กฎหมายการจ้างงาน นโยบาย การจัดหางาน หรือนโยบายการฝึกอาชีพ ถูกย่อยเป็นเรื่องเล่าตลกและใช้ภาษาซิงลิชในการสื่อสารที่ เข้าถึงง่ายอาจเป็นเพราะว่าภาษาซิงลิชเป็นภาษาไว้ใช้กับประชาชน เพื่อให้ได้ผลในสิ่งที่รัฐบาล ต้องการร้องขอจากประชาชน เช่นเดียวกับสถานการณ์อื่น ๆ ที่รัฐบาลต้องการสื่อสารกับหรือความ ร่วมมือจากประชาชน พวกเขาจะถอยห่างจากการเป็นผู้ควบคุมความถูกต้องของภาษา และพูดภาษา ซิงลิชอย่างสนุกสนานกับประชาชน อย่างไรก็ดี รัฐบาลสิงคโปร์ยังมีชะงักหลังที่จะก้าวสู่ Smart Nation เนื่องจากรัฐบาล สิงคโปร์อ่อนไหวต่อการวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างสูง ท าให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองบนอินเตอร์เน็ตที่ ตรงข้ามต่อแนวทางการท างานของรัฐบาลมักจะได้รับการควบคุมและจัดการ ในปีค.ศ. 2017 เป็น ช่วงเวลาส าคัญที่รัฐบาลสิงคโปร์มุ่งหน้าควบคุมการแสดงความคิดเห็นบนอินเทอร์เน็ต ด้วยการร่าง กฎหมาย (Fake News Law) ที่พยายามประกาศใช้ภายในปีค.ศ. 2018 นายเค ชานมูกาม (K. Shanmugam) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสิงคโปร์ กล่าวว่า “ในบางวีธีการ กฎหมายมีไว้เพื่อ จัดการกับแพลตฟอร์มของเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อท าให้ข่าวปลอมผิดกฎหมาย เพื่อช่วยให้ผู้คนมองให้ ออกว่าข่าวไหนเป็นข่าวปลอม จากนั้นใครที่เผยแพร่ข่าวปลอมด้วยความอาฆาตมาดร้ายหรือเพื่อ ผลประโยชน์ของตน เราจะหาทางจัดการกับผู้ปล่อยข่าวเหล่านั้น” (The Straits Times, 2017)

Ref. code: 25615808030521AIP 76

กฎหมายนี้เป็นที่เป็นห่วงของผู้ด าเนินธุรกิจสื่อดิจิทัลและนักวิชาการจ านวนมาก ว่าจะ เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน รวมถึงสิทธิ มนุษยชนด้านอื่น ๆ กลุ่มนักกิจกรรมในสิงคโปร์มองว่ากฎหมายนี้อาจเป็นผลเสียเนื่องจากรัฐบาลอาจ ใช้เป็นข้ออ้างในการก าจัดผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมือง (Vaswani, 2019) แต่ในที่สุดในปีค.ศ. 2019 กฎหมายนี้ก็ยังไม่ถูกประกาศใช้ นอกจากนี้ นายชานมูกามกล่าวเพิ่มเติมกับสื่อว่า “กฎหมายข่าว ปลอมจะมีผลกับเพียงข่าวที่นาเสนอในฐานะความจริง และไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น คาวิพากษ์วิจารณ์ ตลกเสียดสี และตลกล้อเลียน” (The Straits Times, 2019) แต่ถึงกระนั้น หลากหลายกรณีแสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น คา วิพากษ์วิจารณ์ ตลกเสียดสี และตลกล้อเลียนก็ยังไม่รอดพ้นจากการจัดการของรัฐบาล ยกตัวอย่าง เช่นในปีค.ศ. 2015 พรรคประชาธิปไตยสิงคโปร์ (Singapore Democratic Party) ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน ได้ผลิตวีดิโอยูทูบเรื่อง Pappy Washing Powder (ผงซักฟอกแพปปี) ที่มีเนื้อหาเสียดสีรัฐบาลพรรค กิจประชา (People’s Action Party) ที่ไม่มีความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และไม่สนับสนุน ประชาธิปไตย ท าให้ต่อมาวีดิโอนี้ถูกห้ามฉายภายใต้การบังคับของกฎหมายภาพยนตร์ (Today Online, 2015) นอกจากนี้ในปีเดียวกัน เอโมส ยี (Amos Yee) เด็กชายวัย 16 ปีในเวลานั้น ได้ผลิต วีดีโอตลกบนยูทูบที่มีชื่อเรื่องว่า Lee Kwan Yew is Finally Dead (ในที่สุดลี กวนยูก็ตายเสียที) เนื้อหาในวีดิโอเป็นการทบทวนว่าในลี กวนยูได้ใช้อ านาจในสมัยรัฐบาลของเขาอย่างไรบ้าง เอโมสใช้ ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามมาตรฐานในส าเนียงอเมริกันและมีข้อมูลอ้างอิงในทุกข้อกล่าวหาที่เขามีต่อ ลี กวนยู แต่เอโมสก็ยังถูกเพ่งเล็งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและจากประชาชนทั่วไป ต ารวจไปเยี่ยมบ้าน ของเขาอยู่เป็นประจ าและประชาชนมักจะวิ่งเข้ามาประทุษร้ายต่อร่างกายของเขาในที่สาธารณะ ยูทูเบอร์ที่วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาบางคนก็วิพากษ์วิจารณ์เอโมสกลับ เช่นเจี้ยนหาว ตัน ที่ผลิตวีดิโอตลก How Singaporeans Think about Amos Yee (คนสิงคโปร์มีความคิดเกี่ยวกับเอโมส ยีอย่างไร) เพื่อแสดงความคิดเห็นว่าสิ่งที่เอโมสท าเป็นสิ่งที่ผิด กรณีของพรรคประชาธิปไตยสิงคโปร์และเอโมส ยี แสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวต่อการวิพากษ์วิจารณ์ของรัฐบาลสิงคโปร์

3.5 สรุป

ในบทนี้ ผู้เขียนได้เสนอว่านักวิทยาการคอมพิวเตอร์ของยูทูบในซิลิคอนแวลีย์ ยูทูเบอร์ ลูกค้า รวมไปถึงหน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ มีส่วนในการก าหนดรูปแบบของเนื้อหาวีดิโอตลกภาษาซิงลิช ในแง่มุมที่แตกต่างกัน ชาวซิลิคอนแวลีย์มีส่วนอย่างมากในการก าหนดให้เนื้อหาของวีดิโอยูทูบมี

Ref. code: 25615808030521AIP 77

ลักษณะเฉพาะตัวและมีความดั้งเดิม แตกต่างจากสื่อดิจิทัลประเภทอื่น ๆ ผ่านการออกแบบ แพลตฟอร์มและอัลกอริทึมของยูทูบ เหนือสิ่งอื่นใด แนวทางการเข้าสู่ยูทูบเชิงธุรกิจ ที่ผู้เชี่ยวชาญ เหล่านี้ได้สร้างขึ้นก็ได้ก าหนดแนวทางความสร้างสรรค์ ความเสี่ยง และความล้มเหลวแบบ ซิลิคอนแวลีย์ ที่เน้นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและเสรีนิยมใหม่ (Jones, Semel and Le, 2015; Wilf, 2016) ซึ่งอาจก่อให้เกิดวิถีปฏิบัติแบบทุนนิยมและตัวตนเสรีนิยมใหม่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั่วโลก รวมไปถึงสิงคโปร์ นอกจากนี้ ยูทูเบอร์ ผู้ที่ได้ขึ้นชื่อว่ากุมอ านาจความสร้างสรรค์ในวีดิโอต่าง ๆ ก็ไม่ได้มี ความเป็นเจ้าของผลงานโดยสมบูรณ์ ด้วยการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจบนสื่อดิจิทัล ที่รัฐบาล มุ่งสนับสนุนอย่างเต็มที่ ก็ได้ท าให้ความสร้างสรรค์เกิดขึ้นเพียงบางส่วน และส่วนที่เหลือคือแรงขับ ของตลาดที่ก าหนดให้เนื้อหาแบบใดเป็นที่นิยม ประเด็นใดที่น่าสนใจและสามารถสร้างเป็นเม็ดเงินได้ หรือจะให้นักแสดงคนใดดึงดูดเลขการเข้าชมและท าให้วีดิโอเป็นที่นิยม เหนือสิ่งอื่นใด รัฐบาลสิงคโปร์เข้าหายูทูเบอร์ในฐานะธุรกิจสตาร์ทอัพ และลงทุนเข้าไป เพื่อให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลท างานให้กับรัฐ ท าให้เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลสิงคโปร์จะยอม ให้ภาษาซิงลิชมีตัวตนบนพื้นที่สื่อดิจิทัลในกรณีที่เป็นประโยชน์กับตน นอกจากจะเป็นรัฐที่มีจิต วิญญาณแบบปฏิบัตินิยมแล้ว ก็ยังเปิดเผยให้เห็นความกันเองทางวัฒนธรรม ที่รัฐบาลสามารถ ประนีประนอมให้ความดื้อรั้นเชิงสร้างสรรค์เกิดขึ้นในด้านหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งก็ใช้ความดื้อรั้นเชิง สร้างสรรค์ (Herzfeld, 2016) ให้เกิดประโยชน์กับโครงการของตน เปิดช่องทางเผยแพร่อุดมการณ์รัฐ ในสื่อดิจิทัล และด้วยอ านาจกระท าการของผู้คนต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ได้ก าหนดรูปแบบของวีดิโอตลก ยูทูบภาษาซิงลิชที่มีลักษณะเฉพาะตัว ที่ปรากฏบนเพียงยูทูบ และความสัมพันธ์และวิถีปฏิบัติระหว่าง ผู้คนก็ได้ก่อให้เกิดการแข่งขันทางด้านการสร้างสรรค์ ภายใต้กรอบความกันเองและการควบคุมใน บริบทสิงคโปร์

Ref. code: 25615808030521AIP 78

บทที่ 4 เบื้องหลังการถ่ายท า

ในบทที่แล้วผู้เขียนได้เสนอว่ามีผู้คนใดบ้างที่มีส่วนก าหนดเนื้อหาในวีดิโอภาษาซิงลิช ใน บทนี้จะเปิดม่านสู่เบื้องหลังการถ่ายท า และดูว่ายูทูเบอร์สร้างสรรค์ยูทูบอย่างไรตั้งแต่เริ่มต้น โดยจะ เน้นไปที่การใช้ภาษาและวิถีปฏิบัติทางการสื่อสาร แม้ว่าวีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบจะมีความยาวเพียงไม่ถึงสิบนาที แต่กระบวนการ สร้างวีดิโอยูทูบปัจจุบันในสิงคโปร์เต็มไปด้วยขั้นตอนและแรงงาน ในส่วนนี้ผู้เขียนจะอภิปราย กระบวนการสร้างสรรค์ทั่วไปของวีดิโอยูทูบภาษาซิงลิช เพื่อให้เห็นภาพว่าจากเริ่มต้นจนการเผยแพร่ วีดิโอในยูทูบ บุคคลเบื้องหลังมีการท างานและวิถีปฏิบัติอย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ภาษาและ วิธีการสื่อสาร โดยในแต่ละส่วนผู้เขียนจะแบ่งเป็นช่วงดังนี้ 1) การสร้างโครงเรื่องและการเขียนบท 2) การคัดเลือกนักแสดง 3) การแสดงและการก ากับการแสดง 4) การถ่ายท า และ 5) กระบวนการหลัง การถ่ายท า

4.1 การวางโครงเรื่องและเขียนบท: ความสร้างสรรค์ภายใต้กรอบ

กระบวนการสร้างสรรค์วีดิโอยูทูบเริ่มต้นที่การวางโครงเรื่องของวีดิโอแต่ละเรื่อง ซึ่งใน ปัจจุบันนี้แนวคิด (concept) และประเด็นหลัก (theme) ของการสร้างสรรค์โครงเรื่องจะขึ้นอยู่กับ ข้อเรียกร้องและโจทย์ของลูกค้า ผู้ว่าจ้างยูทูเบอร์เหล่านี้ผลิตวีดิโอและสร้างสรรค์เนื้อหาให้กับ ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ซึ่งการวางโครงเรื่องมักจะเกิดในที่ประชุมของทีมงาน รวมไปถึงนักแสดงใน บางกรณีด้วย

สมมุติว่าคุณเป็นลูกค้าของเรา ให้เราโฆษณาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยคุณ พวกเราก็จะ เริ่มยิงชื่อเรื่องกันมา เช่น ‘ประเภทต่าง ๆ ของนักวิจัย’ หรือ ‘ประเภทต่าง ๆ ของ งานวิจัย’ จากนั้นเราก็จะเลือกว่าตัวเลือกไหนดีที่สุด ต่อมา เราก็จะมาคิดกับหัวเรื่อง ย่อย ๆ ในวีดิโอ ว่าจะต้องมีงานวิจัยหรือนักวิจัยประเภทไหนบ้าง ... โดยในแต่ละ ประเภท เราก็จะยกตัวอย่างว่าเรื่องแบบไหนตลก คนแบบไหนตลก จะพูดอย่างไรถึงจะ ตลก และมุกตลกแบบไหนถึงจะเหมาะกับเรื่อง เราพยายามหาความเป็นไปได้ว่าในแต่ ละประเด็นเราจะท าให้กลายเป็นความตลกอย่างไรได้บ้าง K. Chua (interview, November 6, 2017)

Ref. code: 25615808030521AIP 79

เส้นเรื่องวีดิโอตลกส่วนใหญ่ของสิงคโปร์จะไม่ใช่เรื่องเดียวตั้งแต่ต้นจนจบวีดิโอ แต่มักจะ เป็นเรื่องย่อย ๆ หลายเรื่องในวีดิโอหนึ่งเรื่อง

ทีมงานของเราเสนอไอเดียในทุก ๆ สัปดาห์ เหมือนกับทีมเขียนบทของรายการโทรทัศน์ อื่น ๆ โดยทั่วไป เราสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยสูตรต่าง ๆ เช่น ‘5 วิธีลัดของ... (5 Hacks of ...)’ ‘ประเภทต่าง ๆ ของผู้คนใน... (Types of People in ...)’ ‘... ปะทะ ... (... vs. ...)’ ‘ผู้คนท า...อย่างไร (How people...)’ บางครั้งไอเดียเกิดขึ้นจากภาพยนตร์ เทศกาล หรือประเด็นที่ก าลังเป็นที่สนใจ แต่ละสัปดาห์เราจะเน้นไปที่รูปแบบและไอเดีย จ านวนหนึ่ง ต่อจากนั้นเราพัฒนาไอเดียออกมาหนึ่งถึงสองไอเดียในแต่ละวีดิโอ L. Xiong (interview, July 13, 2016)

เวลาเขียนโครงเรื่อง ยูทูเบอร์จ านวนมากพยายามหลีกเลี่ยงการโฆษณาสินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์ของลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา เพราะเชื่อว่า “คนดูจะรู้สึกเหมือนถูกบีบบังคับ” “ไม่มี ความคิดสร้างสรรค์ที่เพียงพอ” และ “จะกลายเป็นช่องยูทูบที่ไร้รสนิยม”

ช่องของเราเป็นช่องวีดิโอตลก มีการเขียนบท มีการแสดง ลูกค้าเขาต้องการเรา เพราะเราสามารถสร้างเรื่องราวให้กับสินค้าของเขา ซึ่งด้วยการเล่นตลกแบบเราก็จะสามารถจับใจคน ดูที่เป็นคนสิงคโปร์ได้ง่ายขึ้น J. Hau (interview, November 16, 2017)

ผู้คนได้กลิ่นโฆษณาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงพยายามสร้างเนื้อหาที่ท าให้คนดูวีดิโอเรา อย่างสบายใจ เราพยายามที่จะผสมผสานละครตลกเข้ากับโฆษณาให้ได้แนบเนียนที่สุด S. Chan (interview, October 30, 2017)

ยูทูบคือสื่อทางเลือก เขาไม่อยากดูทีวี เขาจึงมาดูยูทูบ การโฆษณาโดยตรงถือเป็นการไม่ ใช้ความคิดสร้างสรรค์เลย ถ้าจะท าแบบนั้นเขาไปจ้างเน็ตไอดอล (influencer) ไม่ดีกว่า เหรอ J. Tan (interview, July 10, 2016)

Ref. code: 25615808030521AIP 80

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่ายูทูเบอร์ผู้ผลิตวีดิโอตลกมองว่าความรับผิดชอบของตนคือการ สร้างเรื่องราวและเนื้อหาที่สร้างสรรค์ และใช้ความตลกขบขันที่คนสิงคโปร์สามารถเชื่อมโยงได้ดึงดูด ให้เข้ามาชม ต่อมาคือการเขียนบท ส่วนใหญ่การเขียนบทจะเกิดขึ้นโดยเพียงคนเดียว ซึ่งผู้รับหน้าที่ เขียนบทจะนาเรื่องที่ได้จากการประชุมเนื้อหา มาแปลงให้เป็นบทพูด คนเขียนบทส่วนใหญ่จะมีสอง ลักษณะด้วยกัน คือเป็นผู้อ านวยการสร้างที่มักจะเป็นคนก่อตั้งช่อง หรือเป็นทีมงานผู้รับหน้าที่เป็นคน เขียนบท ซึ่งคนเขียนบทที่ไม่ใช่ผู้อ านวยการสร้างหรือผู้ก่อตั้งช่องมักจะถูกจ้างในฐานะคนเขียนบท อิสระ และท าหน้าที่เป็นรายโครงการหรือวีดิโอหนึ่งเรื่องไป บทของวีดิโอมักจะประกอบด้วยชื่อฉาก บรรยากาศและเวลาในฉาก (กลางวันหรือ กลางคืน อารมณ์เป็นแบบใด) และบทพูด ในกระดาษของบทละครก็จะมีการเขียนก ากับว่าต้องการ อุปกรณ์ประกอบฉากใดบ้าง ต้องใช้สถานที่ใด และหมายเหตุว่าต้องซื้อ เช่า หรือยืมอุปกรณ์อะไรเพิ่ม และต้องขอสถานที่ใดบ้างในกรณีใช้สถานที่ของคนภายนอกช่องยูทูบ

ภาพที่ 4.1 บทพูดของวีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบ

Ref. code: 25615808030521AIP 81

กระบวนการเขียนบทมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังการประชุม โดยส่วนใหญ่ผู้เขียนบทจะมี เวลาเพียง 1-3 วันในการเขียนบทให้เสร็จ โดยจากการเล่าของยูทูเบอร์คนหนึ่ง กระบวนการเขียนบท ของเธอเป็นเช่นนี้

ฉันพยายามมองให้เห็นเป็นภาพ ฉันนึกภาพในหัวว่าฉากนี้จะต้องมีตัวละครใดบ้าง พวก เขามีบุคลิกลักษณะอย่างไร พวกเขามีความสัมพันธ์กันอย่างไร เขาคุยกันอย่างไร เขาจะ ท าท่าทางคร่าว ๆ อย่างไร เรื่องราวจะเกิดขึ้นในสถานที่ใด แล้วฉันก็จะเขียนมันออกมา พอเขียนได้ทุกฉากเสร็จฉันก็จะนาแต่ละฉากมาเรียงกัน ดูว่าอะไรควรเล่าก่อน อะไรควร เล่าทีหลัง เล่าแบบไหนจะตลก เล่าแบบไหนจะเวิร์ค L. Xiong (interview, June 30, 2018)

บทของวีดิโอยูทูบส่วนใหญ่จะถูกเขียนอย่างหลวม ๆ และเน้นไปที่การบ่งบอกว่าในฉาก นี้ต้องการนาเสนอประเด็นอะไร และภาพที่ออกมาจะต้องเป็นอย่างไร ประโยคต่าง ๆ ถูกเขียนโดย ภาษาอังกฤษมาตรฐาน และมีภาษาซิงลิชน้อยมาก ยกเว้นเพียงบทพูดบางบทที่คนเขียนบทต้องการให้ นักแสดงพูดภาษาซิงลิช ในกระบวนการนี้ท าให้ผู้เขียนสงสัยว่าภาษาซิงลิชมามีตัวตนบนวีดิโอได้ อย่างไร เมื่อบทเสร็จสิ้น คนเขียนบทก็จะแจกจ่ายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่นนักแสดง ทีมงาน ผู้จัดการกองถ่าย รวมไปถึงลูกค้า ยูทูเบอร์คนหนึ่งอธิบายให้ผู้เขียนฟังว่า

นักแสดงจะได้บทก่อนถ่ายท าหนึ่งวัน พวกเขาจะได้ลองอ่านและท าความเข้าใจกับตัว ละครที่เขาต้องเล่น และอารมณ์ในฉาก และพวกเขาจะได้เตรียมตัวเป็นตัวละคร หากตัว ละครเหล่านี้เขาไม่เคยเล่นมาก่อน เช่นให้ออลลี่ (นามสมมติ) มาเล่นเป็นคุณยาย เธอก็ สามารถไปศึกษาได้ว่าจะเล่นเป็นคุณยายได้อย่างไร ... ส่วนลูกค้า ส่วนใหญ่เขาจะไว้ใจ เรา และไม่ค่อยสนใจหรือจะมาแก้บท แต่เราก็ควรจะส่งเพราะว่าถ้าเขาไม่ถูกใจอะไรจะ ได้แก้ไขเลยทันที ไม่ใช่ถ่ายไปแล้วต้องมาถ่ายซ่อมทีหลัง L. Xiong (interview, July 13, 2016)

Ref. code: 25615808030521AIP 82

4.2 การคัดเลือกนักแสดง: เรือนร่างที่ “มีบุคลิกภาพ”

ในส่วนนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการคัดเลือกนักแสดงในสองระดับ หนึ่งคือการคัดเลือก นักแสดงให้เข้าสังกัดในช่องยูทูบตั้งแต่ต้น และการคัดเลือกนักแสดงให้เข้ากับบทบาทตัวละคร ช่องยูทูบต่าง ๆ มีวิธีคัดเลือกนักแสดงเข้าสังกัดช่องที่แตกต่างกัน เช่น ช่อง Wah!Banana จะเปิดการคัดเลือกนักแสดง (casting call) ปีละหนึ่งครั้ง ช่อง Night Owl Cinematics จะคัดเลือกจากคนที่มีศักยภาพที่จะเป็นคนดังได้ แต่ยังไม่มีชื่อเสียงในวงกว้าง โดย พิจารณาจากจ านวนผู้ติดตามในอินสตาแกรม (S. Chan, interview, October 30, 2017) ช่อง Nubbad TV ใช้พนักงานบริษัทของเจ้าของช่องมาเป็นนักแสดง หรือช่องยูทูบอื่น ๆ เช่น Jianhao Tan, Munah Hirzi Official, Ministry of Funny, The Michelle Chong Channel, Tree Potatoes และ Cheokboard Studios จะใช้เพื่อนหรือคนที่รู้จักกันอยู่แล้วมาเป็นนักแสดงของช่อง ยูทูเบอร์หลากหลายช่องต่างพูดตรงกันว่าคุณสมบัติหลักของนักแสดงที่จะให้เข้ามาร่วม งานคือ “การมีบุคลิก (to have personality)” โดยความหมายของการมีบุคลิกหมายถึง “การที่ผู้ชม ดูการแสดงแล้วจ าได้ มีความเป็นเอกลักษณ์” (D. Koshy, interview, May 1, 2018) “มีสเน่ห์ ดึงดูด ผู้ชมให้รู้สึกหลงรักและให้ก าลังใจ” (L. Xiong, interview, July 13, 2016) และ “มีท่วงท่าและ วิธีการพูดที่สามารถดึงดูดคนดูได้ (J. Hau, interview, November 16, 2017) ความสามารถในการ แสดงก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ยูทูเบอร์พิจารณา ยูทูเบอร์คนหนึ่งกล่าวว่า “คุณจะไม่สวย คุณจะไม่หล่อ แต่ ขอให้สามารถแสดงได้ (can act) บางครั้งการแสดงมันฝึกได้ แต่ถ้าไม่มีเซนส์ก็เข็นไม่ขึ้นจริง ๆ” (S. Chan, interview, October 30, 2017)) นอกจากนี้ พื้นฐานทางการแสดงประเภทอื่น ๆ เช่นการ เต้นและการเล่นดนตรี ยูทูเบอร์คนหนึ่งกล่าวว่า “เราเลือกนักเต้นมาเป็นนักแสดงเพราะคนเหล่านี้ สามารถใช้ร่างกายได้มากกว่าคนอื่น เขาสามารถแยกส่วนร่างกายได้ ท าให้ท่าทางที่เขาแสดงดูคมชัด และมีความหมาย” (L. Xiong, interview, July 13, 2016) การเลือกนักแสดงให้เข้ากับบทก็เป็นกระบวนการส าคัญของการสร้างสรรค์วีดิโอยูทูบ เพราะว่า “ผู้ชมจะเชื่อในเรื่องหรือตัวละครหรือไม่นั้น นักแสดงที่รับบทบาทจะต้องมีความสามารถใน การโน้มน้าวได้ (convincing)” (C. Lee, interview, November 16, 2017) ยูทูเบอร์คนหนึ่งอธิบาย กระบวนการคัดเลือกนักแสดงให้กับผู้เขียนฟังว่า

ฉันมักจะมีภาพในหัวอยู่แล้วว่าใครในวีดิโอแต่ละเรื่อง นักแสดงของเราจะรับบทเป็นตัว ละครอะไร ซึ่งฉันดูจากภาพรวมของเขา เช่น เขามีบุคลิกลักษณะอย่างไร มุกตลกอะไรที่

Ref. code: 25615808030521AIP 83

เขาชอบเล่นในจอและนอกจอ ระหว่างที่เราใช้เวลาร่วมกัน เขาแสดงความเป็นตัวตน ด้านที่ใกล้เคียงกับตัวละครต้านใดออกมา L. Xiong (interview, June 30, 2018)

ตัวละครในวีดิโอตลกเหล่านี้มักจะเป็นการล้อเลียนผู้คนลักษณะต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งภาพ ตัวละครที่อยู่ในความคิดของคนเขียนบทก็มักจะเป็นภาพแทนทางสังคมทางวัฒนธรรม เช่น วัยรุ่นชาว จีนในสิงคโปร์มีลักษณะอย่างไร ผู้สูงอายุชาวมาเลย์จะแต่งกายอย่างไร เด็กประถมจะมีท่าทางอย่างไร ซึ่งการจับคู่ตัวละครกับนักแสดงถือเป็นกระบวนการส าคัญที่ถ่ายทอดภาพแทนทางสังคมในอุดมการณ์ ออกมาเป็นภาพและบันทึกให้กลายเป็นวัตถุภาพและเสียง วีดิโอบางเรื่องของช่องยูทูบบางช่องมีนักแสดงเพียงคนเดียวที่โอบอุ้มวีดิโอทั้งเรื่อง เช่น ดาร์ริล โคชีจากช่อง Dee Kosh หรือมีเชล ชง จาก The Michelle Chong Channel ที่วีดิโอจ านวน มากของพวกเขามีเขาแสดงเพียงคนเดียว โดยเปลี่ยนเป็นตัวละครต่าง ๆ หลากหลาย ดาร์ริลแสดงเป็น ตัวละครหลากหลาย เช่น ชายชาวอินเดีย หญิงวัยรุ่นชาวจีน หญิงสูงอายุชาวมาเลย์ หญิงวัยกลางคน ชาวอินเดีย หรือชายชาวฟิลิปปินส์ ส่วนมิเชล ชงมีตัวละครที่เธอเคยแสดงจ านวนมากมาย เช่น หญิง สาวผู้ก๋ากั่น เด็กนักเรียนมัธยมต้น เจ้าของร้านคาราโอเกะชาวจีนแผ่นดินใหญ่ หรือดาราชาวไต้หวัน การที่นักแสดงคนหนึ่งแสดงบทที่หลากหลายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ก็แสดงให้เห็นถึงวิธีการตีความภาพ สังคมในความคิดของพวกเขา ว่าภาพลักษณ์ทางสังคมเหล่านี้จะมีวิธีการพูดและเรือนร่างอย่างใด เช่นเดียวกันกับนักแสดงในช่องอื่น ๆ ที่พวกเขาก็ต้องแสดงเป็นตัวละครหลากหลายในวีดิโอเรื่องต่าง ๆ นักแสดงเหล่านี้ที่แสดงเป็นตัวละครใหม่ในวีดิโอเรื่องใหม่ ก็ต้องตีความภาพทางสังคมในลักษณะ เดียวกันกับดาร์ริลและมิเชล อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนสังเกตว่านักแสดงมักจะรับบทเป็นตัวละครที่มีลักษณะซ้ าเดิมหรือ คล้ายกับบทบาทเดิมที่เคยแสดง ราวกับว่านักแสดงคนใดคนหนึ่งจะต้องรับบทเป็นตัวละครที่มี ลักษณะใดลักษณะหนึ่งตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่นตัวละครอันธพาลชาวจีน ผู้สูงอายุชายหญิง เด็ก ชายหญิงผู้ทรงเสน่ห์ เพศทางเลือก คนจีนแผ่นดินใหญ่ คนไทย หรือคนญี่ปุ่น ซึ่งจากการสังเกต การ รับบทเป็นตัวละครเหล่านี้มีปัจจัยเชิงร่างกายและการใช้ภาษาเป็นส าคัญ เช่นชายอันธพาลชาวจีน หรือที่ในภาษาซิงลิชเรียกว่า ah beng (ดูบทที่ 5) นักแสดงที่มักจะรับบทนี้จะเป็นชายชาวจีน ร่างกายเล็กผอม และสามารถพูดภาษาฮกเกี้ยนได้

Ref. code: 25615808030521AIP 84

4.3 การถ่ายท า: ระบบสตูดิโอดั้งเดิมปะทะเงื่อนไขเศรษฐกิจใหม่

เมื่อทีมงานฝ่ายบริหารกองถ่ายได้รับบทที่เสร็จสมบูรณ์ พวกเขาจะพิจาราณาจากบทว่า แต่ละฉากต้องใช้อุปกรณ์ประกอบฉากใดบ้าง ต้องใช้สถานที่ใดถ่ายท า ต้องใช้เสื้อผ้าใดบ้าง ต้องนัด นักแสดงคนใดมาถ่ายท าบ้าง เพื่อเตรียมจัดหาอุปกรณ์ สถานที่ และจัดการเวลาของนักแสดงและเพื่อ ป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นระหว่างการถ่ายท า เมื่อถึงเวลาถ่ายท า ทีมงานจะเขียนบนกระดานว่าในวีดิโอเรื่องที่ก าลังจะถ่ายจะต้องมี ฉากใดบ้าง เพื่อเตือนให้ทุกคนในกองถ่ายรู้และจ าได้ว่าวันนี้จะต้องท างานอย่างไร และเมื่อถ่ายฉาก เหล่านั้นเสร็จแล้ว ทีมงานก็จะไล่ขีดฆ่าไปจนกว่าการถ่ายท าจะเสร็จสิ้น การถ่ายท าส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในสถานที่ปิด ซึ่งมักจะเป็นภายในส านักงานของช่องหรือ บ้านของยูทูเบอร์เอง หรือหากฉากใดต้องใช้สถานที่พิเศษ เช่นในศูนย์อาหาร ห้างสรรพสินค้า สถานี รถไฟฟ้า หรือสนามบิน ก็มักจะถ่ายท าเลยโดยไม่ได้ขออนุญาต ยูทูเบอร์คนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า

เรามักจะเอาอุปกรณ์เล็ก ๆ ที่พกพาได้ง่ายไปใช้เมื่อถ่ายนอกสถานที่ เพราะเราไม่ ต้องการรบกวนคนที่ใช้สถานที่เหล่านั้น อีกอย่าง นี่อาจเป็นวัฒนธรรมสิงคโปร์ ที่เรา มักจะไม่ยุ่งเรื่องของคนอื่น เวลาเราถ่าย คนส่วนใหญ่ก็รู้แหละว่าเราถ่าย แต่พยายามท า เป็นมองไม่เห็นเรา เดินผ่านกล้อง มองผ่านกล้องไปเลย แม้ขนาดคนที่รู้ว่าพวกเราเป็น ยูทูเบอร์ พวกเขาก็ไม่เข้ามาทักทายเรา ซึ่งมันง่ายส าหรับเรามากในการท างาน” J. Hau (interview, November 16, 2017)

ภาพที่ 4.2 บรรยากาศการถ่ายท า

Ref. code: 25615808030521AIP 85

ผู้ก ากับ ช่างภาพ และฝ่ายเทคนิคอื่น ๆ ก็จะเตรียมอุปกรณ์กล้อง ขาตั้งกล้อง และ อุปกรณ์บันทึกเสียงก่อนการถ่ายท า อุปกรณ์เหล่านี้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีเลขอ้างอิงเพื่อป้องกัน การสูญหาย อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีการประกันการสูญเสีย และมีมุมส าหรับเก็บอุปกรณ์เหล่านี้ โดยเฉพาะ เมื่อถึงเวลาถ่ายท า นักแสดงก็จะเดินทางมาถึงสถานที่ถ่ายท าอย่างตรงเวลา และ เดินทางกลับเมื่อฉากที่ต้องถ่ายหมดสิ้นลงแล้ว ระหว่างการถ่ายท า ผู้ก ากับ ทีมงานและนักแสดงต่าง ท างานอย่างผ่อนคลาย เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ มุกตลก และการแซวเล่นกันอย่างสนุกสนาน โดย แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของสมาชิกในช่อง การสื่อสารในกองถ่ายมักจะใช้ภาษาอังกฤษมาตรฐานเนื่องจาก “บรรยาการการท างาน แบบมืออาชีพ” ยูทูเบอร์คนหนึ่งกล่าวว่า “เราท างานกันอย่างมืออาชีพ ดังนั้นเราจึงพูดภาษาอังกฤษ ทั่วไปกัน ซึ่งก็ไม่ได้ตั้งใจหรือบังคับให้ตัวเองพูด แต่อาจเป็นเพราะเราแยกออกว่าอะไรคืองาน อะไรคือ ส่วนตัว มันเลยออกมาด้วยตัวของมันเอง” J. Oh (interview, November 4, 2017) ผู้เขียนสังเกต ในสนามว่าการพูดภาษาซิงลิชมักจะเกิดขึ้นเมื่อการพยายามเล่นมุกตลก หรือเป็นค าพูดที่ติดปากจน กลายเป็นส านวนภาษาซิงลิชไปแล้ว เช่น can หรือคาลงท้ายเสริมน้ าเสียงต่าง ๆ ซึ่งปรากฏน้อยมาก ในสนาม

4.4 การแสดงและก ากับการแสดง: ผสานเสียงเข้าสู่เรือนร่าง

สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนสังเกตได้จากการแสดงของนักแสดงในวีดิโอยูทูบเหล่านี้คือการใช้ชื่อ ของตนเองเป็นชื่อตัวละคร ยูทูเบอร์คนหนึ่งกล่าวว่า

เรายังพึ่งพิงบุคลิกของนักแสดงมาเป็นตัวละคร เพราะคนดูส่วนใหญ่ที่มาดูวีดิโอของเรา ก็มักจะจ าได้ว่านักแสดงของเราเป็นนักแสดงประจ าช่องของเรา ซึ่งเมื่อเห็นนักแสดงใน วีดิโอของเราแล้ว คนดูก็จะรู้ทันทีว่าก าลังดูช่องวีดิโอของเราอยู่ ดังนั้นฉันจึงไม่เน้นให้ เขาต้องแสดงจนกระทั่งกลายเป็นคนอื่น ฉันปล่อยให้พวกเขาแสดงในแบบที่เขาอยาก แสดง ยกเว้นแต่ว่าเขาแสดงบทที่ตกต่างจากตัวเขาจริง ๆ เช่น คนแก่ เขาต้องสามารถ โน้มน้าวให้เราเชื่อพอเป็นพื้นฐานได้” C. Lee (interview, November 16, 2017)

Ref. code: 25615808030521AIP 86

ในกองถ่ายที่ผู้เขียนเข้าไปสังเกต ผู้ก ากับท าหน้าที่หลายอย่าง ทั้งก ากับการแสดง บันทึกภาพ และบันทึกเสียง ผู้ก ากับจะเน้นก ากับร่างกายของนักแสดง เพื่อให้ได้ภาพที่ดูสวยงามและ ถูกหลักการถ่ายภาพยนตร์ เช่น ความสมมาตร ความต่อเนื่อง และท่าทางที่ต้องไม่ซ้ ากันของนักแสดง ในฉาก ในฉากหนึ่งที่ผู้เขียนต้องไปแสดงเป็นตัวประกอบ ผู้ก ากับก็พยายามจัดแจงท่าทางของผู้เขียน ด้วยการนามือทั้งสองมาจัดท่า และบอกกับผู้เขียนว่าควรเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไร หรือท าท่าให้ดูว่า ผู้เขียนควรท าท่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงสังเกตว่าอารมณ์ น้ าเสียงและการใช้ภาษาของตัวละครจะขึ้นอยู่กับ การเลือกและตัดสินใจของนักแสดงเกือบทั้งหมด การด้นสด (improvisation) หรือการแสดงนอกบท ที่เกิดมาจากดุลยพินิจของนักแสดง เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือเพิ่มเติมให้บทพูดและตัวละครมี มิติมากขึ้น จึงเกิดขึ้นตลอดเวลาระหว่างการถ่ายท า ยูทูเบอร์คนหนึ่งกล่าวว่า

การด้นสดเกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งในมุมมองของคนเขียนบท ฉันคิดว่ามันช่วยเติมเต็มบท ของฉัน บางทีก็ใช้ได้ บางทีก็ใช้ไม่ได้ ไม่เป็นไร นักแสดงก็มักจะเพิ่มเติมสิ่งที่เขาคิดว่า ตลก เพราะถ้าหากมันเกิดตลกจริง ๆ ขึ้นมา วีดิโอทั้งเรื่องก็ตลก นักแสดงก็ได้ใช้ ความสามารถให้เกิดความตลกได้ เพราะพวกเขาก็อยากท าให้ทุกอย่างตลกอยู่แล้ว L. Xiong (interview, July 13, 2016)

ภาพที่ 4.3 ผู้ก ากับและนักแสดงร่วมกันพิจารณาภาพที่ได้บันทึกไป

Ref. code: 25615808030521AIP 87

การแสดงเป็นตัวละครอื่นก็มีประเด็นที่น่าสนใจ ดาร์ริล โคชีจากช่อง Dee Kosh ผู้ แสดงเป็นตัวละครอันหลากหลาย กล่าวถึงประสบการณ์ของเขาในการรับบท “เสี่ยวทีน่า (Xiao Tina)” หญิงวัยรุ่นชาวจีน ผู้มีผมเป็นสีชมพู และพูดภาษาซิงลิชตลอดเวลา

ผมมีเรื่องที่น่ากลัวมากจะเล่าให้ฟัง ผมมีตัวละครหนึ่งชื่อเสี่ยวทีน่า ผมสร้างตัวละครนี้ ขึ้นมาเพราะจะล้อเลียนพวกเน็ตไอดอล ที่บางทีพวกเธอก็ท าอะไรที่ดูโง่และพูดจารุนแรง เหลือเกิน ผมชอบดูตัวละครนี้ที่ผมเล่นมาก แต่ตอนที่ผมดูกับคนอื่น ผมไม่เคยเชื่อเลยว่า ตัวละครนี้จะเป็นตัวผมเอง แล้วผมก็ชอบสร้างสรรค์เนื้อหาเกี่ยวกับตัวเธอด้วย ผมชอบ ให้ตัวละครตัวนี้เล่นกับนักแสดง (talent) ของช่องผม กับเด็กหนุ่มสามคนนั้น เป็นคู่รัก หนุ่มสาวอะไรประมาณนี้ คล้าย ๆ กับละครซีรีย์สที่เชื่อมต่อกันหากคุณดูไปนาน ๆ แต่ ผมหยุดเล่นเป็นตัวนี้ได้สามถึงสี่เดือนแล้ว เพราะมันเริ่มกลายเป็นหน่อเนื้อใต้ผิวของผม ไปแล้ว (become under my skin) มีวันหนึ่ง ผมถ่ายเป็นตัวละครเสี่ยวทีน่าทั้งวัน แล้ว ผมก็ไปท างานที่สถานีวิทยุต่อ หลังจากนั้นก็มีเพื่อนส่งข้อความมาหาผมว่า ‘นี่ ท าไมนาย พูดภาษาซิงลิชในรายการวิทยุหละ’ แล้วผมก็รู้สึกตัวขึ้นมาว่าผมพูดแบบเสี่ยวทีน่าใน รายการวิทยุ ผมออกจากตัวละครนี้ไม่ได้อะ ผมยังพูดจาเหมือน Ah Lian (ดูบทที่ 5) ใน หัวของผม แล้วหลังจากนั้นมันก็แย่ลงไปเรื่อย ๆ คืนหนึ่งผมฝันว่าผมมีเพศสัมพันธ์กับ ผู้ชายคนหนึ่ง คนที่ผมรู้จักนี่แหละ มันน่ากระอักกระอ่วนใจมาก ผมจะไม่บอกว่าใคร แต่ ตอนในฝันที่ผมมองเข้าไปในกระจก มันไม่ใช่ผมที่แต่งตัวเป็นเสี่ยวทีน่า แต่เป็นผู้หญิงคน หนึ่งที่มีผมสีชมพู ผมตื่นมาผมกลัวมาก ดังนั้นผมจึงเลิกเล่นตัวละครนี้ไปสักพักก่อน เพราะทุกครั้งที่ผมเอาวิกสีชมพูขึ้นมาใส่ คืนนั้นผมมักจะมีความฝันแปลก ๆ เช่น ผมเป็น ตัวเธอไปช็อปปิ้ง D. Koshy (interview, May 1, 2018)

Ref. code: 25615808030521AIP 88

ภาพที่ 4.4 ดาร์ริลเมื่อแต่งเป็นเสี่ยวทีน่า ภาพจากอินสตาแกรม @xiaotinaluvsu

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับดาร์ริล การใช้ภาษาในการแสดงและการใช้ภาษาใน ชีวิตประจ าวันเกิดการไหลรวมเข้าหากัน แต่เมื่อภาษาซิงลิชชุ่มไปด้วยอุดมการณ์และวาระทาง การเมือง ท าให้การใช้ภาษาซิงลิชแบบ ah lian (หญิงสาวอันธพาก๋ากั่น) รบกวนความต่อเนื่องของ การใช้ภาษาอังกฤษมาตรฐาน โดยเฉพาะในฐานะนักจัดรายการวิทยุที่พึ่งพิงกับเสียงของภาษาอังกฤษ มาตรฐานส าเนียงบริติชหรืออเมริกันอย่างสูง

4.5 กระบวนการหลังการถ่ายท า: ปรับวีดิโอให้เข้ากับยูทูบ

เมื่อการถ่ายท าเสร็จสิ้นลง ยูทูเบอร์ที่ท าหน้าที่เป็นทีมงานในช่องก็ยังมีงานมากมายที่ จะต้องทา ประกอบด้วยการตัดต่อวีดิโอ การออกแบบกราฟฟิก การใส่ค าบรรยายใต้ภาพ (subtitle) และการประชาสัมพันธ์วีดิโอ การตัดต่อเริ่มขึ้นทันทีหลังจากการถ่ายท าเสร็จสิ้นลง จากกองถ่ายที่เสียงดัง เต็มไปด้วย เสียงหัวเราะและมุกตลก กลับกลายเป็นสถานที่ที่เงียบเฉียบ กระทั่งลมหายใจของผู้เขียนยังเสียงดัง เกินไป คนตัดต่อก็จะใส่หูฟังและตัดตนเองออกจะโลกภายนอก และมุ่งสนใจไปที่การตัดต่อวีดิโอ งาน ของการตัดต่อวีดิโอตลกคือการเชื่อมเรื่องราวต่าง ๆ ให้ประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน ลงเสียงที่บันทึกให้ ตรงกับภาพ ใส่ดนตรีประกอบและเสียงเอฟเฟกต์ รวมไปถึงการใส่ค าบรรยายใต้ภาพ วีดิโอยูทูบมักจะมีจังหวะการตัดต่อที่รวดเร็ว เช่นการเปลี่ยนฉากหรือการใส่เสียงที่มี จังหวะเร็ว หรือการใช้เทคนิคภาพพิเศษเพื่อดึงดูดให้ผู้ชมดูอย่างต่อเนื่อง

Ref. code: 25615808030521AIP 89

ค าบรรยายถือเป็นกลเม็ดส าคัญในการสร้างความตลกขบขันของวีดิโอยูทูบภาษาซิงลิช นอกเหนือจากจะแปลภาษาซิงลิชให้เป็นภาษาอังกฤษมาตรฐานที่คนทั่วโลกเข้าใจ ยูทูเบอร์สามารถ เน้นมุกตลกหรือค าพูดใดค าพูดหนึ่งให้เกิดความตลกขบขันด้วยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายวรรค ตอน คาแปลภาษาจีน การตั้งใจเขียนค าภาษาอังกฤษผิด ช่องยูทูบบางช่องใส่ค าบรรยายตรงตามที่ นักแสดงพูดทุกคา ยกเว้นค าภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่ก็จะถูกแปลออกมาเป็น ภาษาอังกฤษ หากนักแสดงพูดภาษาซิงลิช ค าบรรยายใต้ภาพก็เป็นภาษาซิงลิช โดยอาจปรับจุดส าคัญ ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แสดงให้เห็นถึงความส าคัญของการใส่ค าบรรยายใต้ภาพที่ช่วยให้มุกตลก มีมิติมากขึ้น วีดิโอยูทูบบางเรื่องมีค าบรรยายใต้ภาพ 4 ภาษาราชการของสิงคโปร์ โดยวีดิโอนั้นเป็น วีดิโอล้อเลียนภาพสังคมพหุวัฒนธรรมในสื่อกระแสหลักสิงคโปร์ งานออกแบบกราฟฟิกประจ าสัปดาห์คือการสร้างภาพหัวเรื่องให้กับวีดิโอ ลิ่งอี๋จากช่อง Wah!Banana กล่าวว่า “ภาพหัวเรื่องมีความส าคัญมาก เพราะมันสามารถบอกเรื่องราวของวีดิโอ ดังนั้น เวลาเราออกแบบภาพหัวเรื่อง เราจะท าให้มันใจว่าภาพสามารถบอกเรื่องราวของวีดิโอทั้งหมด ด้วยตัวของมันเอง” (L. Xiong, interview, July 13, 2016) ภาพหัวเรื่องของวีดิโอมักจะ ประกอบด้วยภาพของนักแสดงที่ปรากฏตัวทั้งหมดในวีดิโอเรื่องนั้น โดยชุดที่สวมใส่เป็นชุดที่ปรากฏใน วีดิโอ ประกอบกับตัวอักษรที่บอกชื่อเรื่องหรือคาส าคัญของวีดิโอ ประกอบกับภาพฉากหรือสถานที่ เพื่อท าให้เห็นบริบทของเรื่องราว นอกจากนี้ นักสื่อสังคม (social media specialist) ของช่องก็จะท าการประชาสัมพันธ์ วีดิโอ ด้วยการนาภาพบางส่วนของวีดิโอหรือภาพหัวเรื่องของวีดิโอไปโพสต์ในสื่อสังคมต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊กและอินสตาแกรม เพื่อให้ผู้ติดตามทราบว่าสัปดาห์นี้ช่องจะมีวีดิโอเรื่องใดออกมา

4.6 สรุป

จากที่ส ารวจการผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบ พบว่าลักษณะคล้ายกับการผลิต ภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อดังเดิม ซึ่งอาจมีขนาดย่อส่วนให้เล็กลง แสดงให้เห็นถึงจุด กึ่งกลางระหว่างระดับการผลิตสื่อที่กระจายออกจากศูนย์กลาง แต่ก็ไม่ได้ห่างเหินจากศูนย์กลางมาก นัก ซึ่งหากย้อนไปในบทที่ 3 รัฐบาลที่ควบคุมสื่อดั้งเดิมก็พยายามแทรกเข้ามาในอุตสหกรรม หรือ ยูทูบเองก็พยายามสร้างมาตรฐานให้กับการผลิตสื่อ และท าให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมยกระดับ เทคโนโลยีการผลิตให้ทัดเทียมสื่อดั้งเดิมอีกด้วย ผู้เขียนพบว่าในกระบวนการสร้างสรรค์ ยูทูบมองว่าสิ่งที่พวกเขาท าเป็นงาน ยิ่งท าให้ การสร้างสรรค์ต้องมีความเป็นมืออาชีพ และการใช้ภาษาอังกฤษมาตรฐานที่ปรากฏในบทและการถ่าย

Ref. code: 25615808030521AIP 90

ท าเป็นสิ่งที่พ่วงตามมา อย่างไรก็ตาม ความสร้างสรรค์ซึ่งเป็นคุณค่าหลักที่ยูทูเบอร์ยึดถือก็ได้ท าให้ การท างานเต็มไปด้วยแนวคิดอันหลากหลายและวิธีการใช้ภาษาอันหลากหลายของผู้คนในกองถ่ายอีก ด้วย ผ่านการ “ด้นสด” ที่พึ่งพิงอย่างใกล้ชิดกับความ “มีบุคลิกภาพ” ของเหล่านักแสดง นอกจากนี้ จากการศึกษาอุดมการณ์ภาษาของยูทูเบอร์ที่มีต่อภาษาซิงลิช ที่ส่วนใหญ่คิด ว่าการใช้ภาษาซิงลิชคือวิธีการหนึ่งที่สามารถดึงดูดผู้ชมชาวสิงคโปร์ด้วยความกันเอง และเปิดเผย วัฒนธรรมและคุณค่าท้องถิ่นให้ชาวต่างชาติมองเห็น ซึ่งอาจท าให้ความเป็นกันเองทางวัฒนธรรมและ อุดมการณ์ภาษาของสังคมสิงคโปร์เคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงไป เช่น ภาษาซิงลิชอาจเป็นภาษาที่ไม่ได้ จ ากัดเพียงคนสิงคโปร์แล้ว รวมไปถึงบทบาทของยูทูเบอร์ในสื่อดั้งเดิม ที่ลดความเป็นทางการของ ภาษาอังกฤษในสื่อสารมวลชนลง และเพิ่มความเป็นกันเองทางการใช้ภาษาในสังคมวงกว้าง รูปแบบการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลในสิงคโปร์มีลักษณะผสมผสาน ด้วยลักษณะของทั้งสื่อ ดั้งเดิม ที่เต็มไปด้วยการควบคุม ทั้งทางด้านเนื้อหาและการใช้ภาษา และวิธีการสร้างสรรค์สื่อใหม่ที่ เน้นไปที่ความกันเองและความสร้างสรรค์ ที่พยายามผลิตเนื้อหาที่ใกล้ชิดกับผู้ชม และเปิดพื้นที่ให้ ความสร้างสรรค์จากชีวิตประจ าวันให้ไปปรากฏบนยูทูบ ถือเป็นการต่อรองของภูมิทัศน์ภาษาของยูทู เบอร์ ในฐานะประชาชน และการแสดงท่าทีโอนอ่อนอย่างมีกลยุทธ์ของรัฐบาลต่อการใช้ภาษาซิงลิช ของคนสิงคโปร์ด้วย

Ref. code: 25615808030521AIP 91

บทที่ 5 “ประเภทต่าง ๆ ของผู้พูดภาษาซิงลิช”

“ประเภทต่าง ๆ ของ... (Types of …)” เป็นชื่อเรื่องวีดิโอตลกภาษาซิงลิชในจ านวน มาก เช่น Types of Singaporean Couples (ประเภทต่าง ๆ ของคู่รักชาวสิงคโปร์) Types of Singaporean Aunties (ประเภทต่าง ๆ ของมนุษย์ป้าชาวสิงคโปร์) และ Types Of People In The Hawker Centre (ประเภทต่าง ๆ ของผู้คนในฮอกเกอร์เซนเตอร์) วีดิโอเหล่านี้มีเนื้อหาล้อเลียน ประเภททางวัฒนธรรม (cultural categories) ของสิงคโปร์ที่ปรากฏออกมาผ่านบุคลิกลักษณะและ การพูดของผู้คน ผู้เขียนตั้งชื่อบทนี้ว่า “ประเภทต่าง ๆ ของผู้พูดภาษาซิงลิช” เพื่อล้อกับวิธีการ สร้างสรรค์เนื้อหาของยูทูเบอร์ ยิ่งไปกว่านั้น ค าว่า type ยังชวนให้นึกถึงค าว่า sterotype (ภาพเหมารวม) อคติทาง วัฒนธรรมและเชื้อชาติรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากแบ่งประเภททางสังคมและวัฒนธรรม (Wong, 2014) ในวีดิโอตลกภาษาซิงลิช ยูทูเบอร์ต่างใช้ภาพเหมารวมที่คนสิงคโปร์ต่างเข้าใจและสามารถเชื่อมโยง ได้มาเป็นกลยุทธ์เพื่อเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชม ซึ่งวิธีการดังกล่าวได้ผลเสมอส าหรับตลกล้อเลียน (Weidman, 2010, p. 300) วีดิโอเหล่านี้ได้ล้อเลียน ขยายใหญ่ และแสดงให้เห็นประเภททาง วัฒนธรรมของกลุ่มคนต่าง ๆ ในสิงคโปร์ ในบทที่แล้ว ผู้เขียนได้เสนอว่ายูทูเบอร์มีแน้วโน้มที่จะแสดงเป็นตนเอง เว้นแต่จะต้องรับ บทละครที่แตกต่างไปจากตน เช่น ผู้สูงอายุหรือผู้ที่ทาอาชีพอื่น ๆ ในบทนี้ ผู้เขียนจะมองว่ายูทูเบอร์ ใช้วิธีการทางภาษาศาสตร์แสดงออกมาเป็นตัวละครอย่างไร ผ่านการวิเคราะห์วิธีพูดของตัวละครที่ถูก นามาล้อเลียนในวีดิโอตลกอยู่บ่อยครั้ง เพื่อดูว่าวีดิโอตลกในยูทูบได้สร้างภาพแทนของ “คนพูดภาษา ซิงลิช” อย่างไร นอกจากนี้ ผู้เขียนจะนาสามกระบวนการเชิงสัญญะที่เออร์ไวน์และแกลได้นาเสนอ ได้แก่ 1) การกลายเป็นรูป 2) การผลิตซ้ าของส่วนคล้าย และ 3) การลบล้าง (Irvine and Gal, 2000) เพื่อวิเคราะห์ว่าการใช้ภาษาในการแสดงของยูทูเบอร์มีส่วนกับการแบ่งแยกความแตกต่างทางภาษา เชิงอุดมการณ์อย่างไร จากการพิจารณาวีดิโอตลกภาษาซิงลิชจากช่องยูทูบทั้งหมด 10 ช่อง (ดูบทที่ 1 ส่วนที่ 1.6) โดยละเอียด ผู้เขียนพบโดยคร่าวว่ามีผู้พูดภาษาซิงลิชทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ 1) ผู้พูดภาษาซิง ลิชตลอดเวลา 2) ผู้พูดภาษาอังกฤษ “เกินมาตรฐาน” สลับกับภาษาซิงลิช และ 3) ผู้พูดภาษาอังกฤษ มาตรฐานสลับกับภาษาซิงลิช ผู้เขียนจะตั้งชื่อส่วนต่าง ๆ ในบทนี้ตามคาเรียกกลุ่มคน (slur) ในลักษณะข้อความ แฮชแท็ก (hashtag) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ “การจัดประเภท” ข้อมูลโดยผู้ใช้สื่อดิจิทัล แฮชแท็กเป็น

Ref. code: 25615808030521AIP 92

ระบบข้อความเคลื่อนไหว (hypertext) ที่สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาจากพื้นที่ต่าง ๆ ในสื่อดิจิทัลด้วย การวางข้อความหัวเรื่องหลังเครื่องหมายสี่เหลี่ยม (#) เมื่อผู้ใช้สื่อดิจิทัลคลิกที่ข้อความแฮชแท็กนี้ เนื้อหาที่มีแฮชแท็กเดียวกันจากพื้นที่ต่าง ๆ ก็จะมารวมกันในพื้นที่เดียว ซึ่งท าให้ผู้ใช้สื่อดิจิทัลทราบ ว่าผู้อื่นก าลังมีบทสนทนาในประเด็นที่ตั้งแฮชแท็กเดียวกันอย่างไร ผู้เขียนนาเสนอบทนี้ในลักษณะ ดังกล่าวเพื่ออุปมากับการแสดงเป็นตัวละครของเหล่ายูทูเบอร์ ที่หากตัวละครต่าง ๆ เป็นแฮชแท็ก ยูทูเบอร์ช่องต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดตัวละครออกมาในลักษณะเดียวกัน วิทยานิพนธ์นี้ก็ได้รวบรวมตัวละคร ที่มีลักษณะเดียวกันในแฮชแท็กในส่วนต่าง ๆ ของบทนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่ได้ต้องการที่จะผลิตซ้ าภาพเหมารวมและการแบ่งประเภททาง วัฒนธรรมในสิงคโปร์ แต่ผู้เขียนต้องการวิพากษ์การแบ่งประเภทดังกล่าว ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าการกล่าวถึง ประเภททางวัฒนธรรมอย่างตรงไปตรงมาอาจเป็นวิธีพิจารณาปัญหาเหล่านี้ได้ดีที่สุด นอกจากนี้ การศึกษาภาพเหมารวมยังสามารถช่วยให้เราเข้าใจความหมายในการแบ่งแยกความแตกต่างทาง วัฒนธรรม ซึ่งมีความส าคัญเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชุมชนภาษา

5.1 #spiaksinglish #talkcock

เพื่อนชาวสิงคโปร์ของผู้เขียนคนหนึ่งบอกกับผู้เขียนว่า “ภาษาซิงลิชในวีดิโอที่คุณดูในยู ทูบมักจะเกินจริง (exaggerate) ไม่มีใครพูดภาษาซิงลิชแบบนั้นแล้ว lah” (W. Tan, personal communication, March 4, 2015) ถึงแม้ว่าจะน่าข าขันที่เขาปฏิเสธว่าคนสิงคโปร์ในชีวิตจริงไม่ได้ พูดภาษาซิงลิชเช่นเดียวกับในวีดิโอด้วยภาษาซิงลิช แต่ผู้เขียนเชื่อว่าสิ่งที่เขาบอกกับผู้เขียนมีความจริง ที่น่าสนใจ ในส่วนนี้จะเสนอบทวิเคราะห์ตัวละครที่พูดภาษาซิงลิชตลอดเวลาและทุกประโยค ซึ่ง ส่วนใหญ่มักจะเป็นภาษาซิงลิชที่เกินจริง ด้วยความพยายามเรียงร้อย (deliberate) ค าพูดให้เป็น ภาษาซิงลิช โดยผู้เขียนจะแบ่งการนาเสนออกเป็นสองประเภทย่อย คือ 1) ภาษาซิงลิชที่คนเชื้อชาติ จีนพูด ซึ่งเป็นเสียงของภาษาซิงลิชหลัก เพราะว่าจ านวนประชากรในสิงคโปร์ส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน และ 2) ภาษาซิงลิชที่คนมลายูและอินเดียพูด ในฐานะที่เป็นชนกลุ่มน้อย

Ref. code: 25615808030521AIP 93

5.1.1 #cheenapiang #cheenapok “Wah lau! He's super cheenapiang, man. Hear the way he speaks English!” (โอ้โห! เขา cheenapiang สุด ๆ ไปเลยพวก ฟังวิธีการพูด ภาษาอังกฤษของเขาสิ!) (TalkingCock, 2002)

ค าภาษาซิงลิช cheenapiang และ cheenapok มีความหมายเดียวกัน หมายถึงคาเรียกคนสิงคโปร์ผู้ถนัดพูดภาษาจีนมากกว่า โดยคนสิงคโปร์ผู้ที่ถนัดพูดภาษาอังกฤษ มากกว่า ซึ่งในสายตาของพวกเขา คนสิงคโปร์ที่ถูกเรียกว่า cheenapiang หรือ cheenapok คือผู้ที่ พูดภาษาอังกฤษที่ไม่เหมาะสมและน่าข าขัน ดังตัวอย่างที่ผู้เขียนได้เสนอไว้ข้างต้น วีดิโอตลกภาษาซิงลิชมีตัวละครจ านวนมากที่ล้อเลียนผู้คนที่มีลักษณะการพูดเป็น cheenapiang และ cheenapok ในลักษณะต่าง ๆ โดยตัวละครประเภทที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด คือกลุ่มผู้สูงอายุเชื้อชาติจีนในสิงคโปร์ หรือที่คนสิงคโปร์เรียกว่า anker (uncle คุณลุง) หรือ auntee (aunty คุณป้า)

เพราะว่าเรายังอายุไม่มาก การแสดงเป็น uncle จ าเป็นต้องนึกภาพว่าคน เหล่านั้นจะมีลักษณะอย่างไร เราก็มักจะนึกถึงพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ของเรา หรือ uncle ที่เราอาจพบเห็นได้ตามที่ต่าง ๆ เช่นฮอกเกอร์เซนเตอร์หรือบนรถประจ า ทาง” B. Zhong (interview, November 7, 2017)

ภาพที่ 5.1 ตัวละคร unker และ auntee. จากช่องต่าง ๆ

นอกเหนือจากภาพลักษณ์ผู้สูงอายุที่พบเห็นได้ทั่วไปเช่นศรีษะที่ล้าน หลังค่อม มี หนวดหรือริ้วรอย ยูทูเบอร์มักถ่ายทอดตัวละคร anker และ auntee ด้วยอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย

Ref. code: 25615808030521AIP 94

เช่นจากอารมณ์ปกติมาสู่อารมณ์โมโห โกรธ และราคาญได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการเปลี่ยนโทนน้ าเสียง มาสู่เสียงที่สูงและดัง ยูทูเบอร์มักจะถ่ายทอดตัวละครผู้สูงอายุเชื้อสายจีนในฐานะผู้ควบคุมศีลธรรม และกฎระเบียบแบบจารีต เช่นตัวละคร auntee ที่มักจะวิพากษ์วิจารณ์หญิงสาวผู้แต่งกายไม่มิดชิด เปิดเผยเนื้อตัวร่างกาย หรือตัวละคร anker ที่ บ่นพฤติกรรมการตื่นสายหรือความไม่รับผิดชอบของ บุตรหลาน หรือต่อว่าที่บุตรหลานไม่สามารถพูดภาษาจีนได้ หรือพูดภาษาอังกฤษส าเนียงที่เป็น ตะวันตกมากเกินไป ค าพูดติดปากของตัวละครเหล่านี้คือ “Back in my days ... (ในสมัยของฉัน นะ)” ที่มักจะอ้างถึงสภาพสังคมในอดีตที่ดีงาม ก่อนที่ความเป็นสมัยใหม่จะท าให้สิงคโปร์เปลี่ยนไป นอกจากนี้ประเด็นที่ตัวละครเหล่านี้ชอบยกคือความเป็น “ผู้สร้างชาติ” ที่มักจะปรากฏเมื่อคนวัยรุ่น ท าให้ไม่พอใจ เช่น “This is how you treat the people who built this nation? (เธอปฏิบัติตัว ต่อผู้คนที่สร้างประเทศชาตินี้ขึ้นมาแบบนี้หรือ)” ตัวอย่างต่อไปนี้มาจากวีดิโอเรื่อง Types of Singaporean Aunties (ประเภทต่าง ๆ ของมนุษย์ป้าในสิงคโปร์) จากช่อง Night Owl Cinematics

ตัวอย่างถอดความที่ 5.1 สถานการณ์: คุณป้าคนหนึ่งบุกเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์การแต่งตัวของหญิงสาวแปลกหน้า

1 Aunty (Tsk tsk tsk) /จึ๊ปาก/ 2 Girl Excuse me? ขอโทษนะคะ 3 Aunty Excuse me? What insolence har? ขอโทษอะไร จองหองอะไรขนาดนี้ หา 4 Back in my day, where got youngster talk like this so serious one. สมัยฉันนะ มีเด็กพูดจาแบบนี้ที่ไหนต้องมีเรื่อง 5 Girl But… แต่

Ref. code: 25615808030521AIP 95

6 Aunty You have no rights to talk to me. เธอไม่มีสิทธิ์ที่จะพูดกับฉัน 7 Huh? Back in my day, where got girls wear until so revealing one? หือ สมัยฉันนะ มีที่ไหนกัน เด็กใส่เสื่อผ้าวับ ๆ แวม ๆ ขนาดนี้ 8 You no manner, no moral. You stay away from me. เธอไม่มีมารยาท ไม่มีคุณธรรม ไปไกล ๆ ฉันเลยนะ 10 I call the police ฉันจะเรียกต ารวจ

(Types of Singaporean Aunties, Night Owl Cinematics, 4.55-5.22)

เสียงจึ๊ปากในบรรทัดที่ 1 เป็นเสียงที่ผู้เขียนพบในวีดิโอที่มีตัวละครผู้สูงอายุกว่า 10 เรื่อง แสดงให้เห็นถึงจินตนาการของยูทูเบอร์ที่มีต่อเสียงผู้สูงอายุในสิงคโปร์ นอกจากนี้ ตัวละคร aunty พูดว่า back in my day ในบรรทัดที่ 4 เพื่อเป็นการแบ่งแยกตนเองออกมาจากคนวัยหนุ่ม สาวและท าให้อยู่ในสถานะที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์คนวัยหนุ่มสาวได้ จากตัวอย่าง ตัวละคร aunty พูดภาษาซิงลิชทุกประโยค เช่นคาลงท้ายเสริม น้ าเสียงในบรรทัดที่ 3 (har) 4 (one) หรือการแปลตรงตัวค าว่า 哪有 /Nǎ yǒu/ (มีที่ไหนกัน) มาเป็น ค าว่า where got ในบรรทัดที่ 4 และ 7 เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยและปฏิเสธสิ่งที่มีอยู่หรือสิ่งที่เห็น และประโยคละคากริยา be ในประโยคส่วนเติมเต็ม (zero copula) ในบรรทัดที่ 8 นอกเหนือจาก การใช้ภาษาซิงลิชในการแสดงถึงอารมณ์โกรธ ที่วีดิโอตลกภาษาซิงลิชมักจะใช้วิธีดังกล่าว ยังแสดงให้ เห็นถึงการล้อเลียนความไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษมาตรฐานของคนรุ่นก่อนได้ ตัวละครที่พูดภาษาซิงลิชแบบจีนตลอดเวลาที่ยูทูเบอร์มักจะเลือกนามาถ่ายทอด คือ ah beng (阿明) และ ah lian (阿蓮) ค าทั้งสองมาจากภาษาฮกเกี้ยน ที่เป็นคาเรียกชื่อทั่วไป ของชายและหญิงชาวจีนตามล าดับในอดีต พอสามารถเปรียบเทียบกับค าว่า “สมชาย” และ “สมศรี” ในภาษาไทยนั่นเอง นักแสดงที่รับบท ah beng และ ah lian มักจะถ่ายทอดลักษณะภายนอก ออกมา เช่น ผมที่ย้อมสี มีสายตาไม่เป็นมิตร ร่างกายผอมแห้ง ใส่เสื้อผ้าตกยุค บ่อยครั้งจะกัดไม้จิ้ม

Ref. code: 25615808030521AIP 96

ฟัน หลอด หรือบุหรี่ มีรอยสักลายทั่วร่าง อากัปกิริยาวางท่าดูห้าวหาญ ตัวละคร ah beng และ ah lian และถ่ายทอดท่าทางและอากัปกิริยา เช่น การนั่งชันเข่า นั่งยอง การยกไหล่และชูคอ ความตลก ที่ได้จากตัวละครของ ah beng และ ah lian คือการพูดภาษาอังกฤษที่กระท่อนกระแท่น ผสม ภาษาจีนฮกเกี้ยน ที่มักจะเป็นคาหยาบคาย

ภาพที่ 5.2 ตัวละคร ah beng และ ah lian จากช่องต่าง ๆ

ตัวอย่างถอดความที่ 5.2 สถานการณ์: ในบริษัทแห่งหนึ่ง ah lian ต้องการเข้ามาสัมภาษณ์งานกับฝ่ายบุคคล

1 Interviewer So, do you know what this job entails? ผู้สัมภาษณ์ คุณรู้ใช่ไหมคะว่างานนี้พัวพันกับอะไรบ้าง 2 Lian Huh? Simi terr? เหลียน หา พัวอะไรนะ 3 Interviewer Do you know what you need to do in this job? ผู้สัมภาษณ์ คุณรู้ไหมว่าคุณต้องท า อะไรบ้างส าหรับงานนี้ 4 Lian Orh! Of course lah! Assistant Sales Manager niao ma. เหลียน อ๋อ แน่นอนสิ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายใช่ปะ 5 Eh! Limbu e sales ah. Sibei tok kong one lah. นี่ ข้าเป็นเซลล์นะ เก่งโคตร ๆ เลยแหละ 6 Interviewer Okay, so why don’t you show me how you would sell something nobody would buy? ผู้สัมภาษณ์ โอเค งั้นคุณก็แสดงให้ดูหน่อยดีไหม

Ref. code: 25615808030521AIP 97

ว่าคุณสามารถขายอะไรสักอย่างที่ไม่มีใครต้องการซื้อได้ 7 For example, like your highlights. ยกตัวอย่างเช่น ไฮไลท์สีผมของคุณ 8 Lian Oh, this one ah? 小姐,你真的很有眼光 leh. Xiǎojiě, nǐ zhēn de hěn yǒu yǎnguāng 眼光是 zuo me 翻译 ah? Yǎnguāng shì fānyì เหลียน โอ อันนี้เหรอ คุณผู้หญิง คุณนี่ช่างตาถึงจริง ๆ ตาถึงภาษาอังกฤษพูดไงนะ 9 Ah! Diao liao. You really got the eye light for the highlight ah. อ่า ใช่แล้ว คุณช่างมีความตาถึงส าหรับไฮไลท์สีผมเสียจริง ๆ 10 This color very special one ah. It’s call CN Brue blue สีนี้พิเศษมากเลยทีเดียว มันมีชื่อว่า ซีเอ็น บรู 11 It’s not a K-Pok lah. k-pop มันไม่ใช่เคป๊อกนะ 12 CN that’s mean ah, this hair dye from China one. ซีเอ็นที่หมายถึง เพราะผมนี้ย้อมมาจากเมืองจีน 13 But miss, don’t see this highlight no up hor. แต่คุณผู้หญิง อย่าดูถูกไฮไลท์สีผมนี้นะจ๊ะ 14 I use the shampoo ah wash my hair until cheng ki cheng ki ah ฉันใช้แชมพูนะ สระผมจนสะอาดเลย 15 Wah! The color ah still never 脱色 leh tuōsè โอโห สีไม่หลุดออกเลย 16 Three year already ah, the color still sama-sama สามปีแล้วนะ สียังคงเหมือนเดิม 17 Today I give you special price, 八十八块 per hair dry. bāshíbā kuài Bank transfer only. วันนี้ฉันให้คุณพิเศษเลย 88 เหรียญส าหรับย้อมสี โอนเงินมาเท่านั้น

Ref. code: 25615808030521AIP 98

18 But if you transfer 八百八十八块 to me ah. Bābǎi bāshíbā kuài I will give you the whole carton ah. แต่ถ้าคุณโอนมา 888 เหรียญให้ฉันนะ ฉันจะให้คุณทั้งแถวเลย

19 Plus one CN Blue 照片 Swee bo? 事不宜迟,get it now! zhàopiàn Shì bùyí chí แถมรูปภาพวง CN Blue ดีปะ ช้ากว่านี้ไม่ได้แล้ว ซื้อเลย

(Ah Lian VLOG #12: Premium Lian gets “premium” job!, The Michelle Chong Channel, 0.08-1.08)

ในตัวอย่างถอดความนี้ ตัวละคร Lian พูดภาษาซิงลิชสลับกับภาษาจีนกลางและ ภาษาฮกเกี้ยน โดยโครงสร้างภาษาซิงลิชที่พูดก็มีพื้นฐานมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยน (เช่นในบรรทัดที่ 5) แสดงให้เห็นถึงความถนัดในภาษาจีนกลางและภาษาฮกเกี้ยนมากกว่าภาษาอังกฤษ อีกทั้งในบรรทัดที่ 1 ถึง 3 ที่ Lian แสดงความไม่เข้าใจประโยคภาษาอังกฤษที่สุภาพหรืออ้อมค้อม แสดงให้เห็นว่าตัว ละครประเภทดังกล่าวเข้าใจแต่ภาษาอังกฤษที่พูดตรงไปตรงมา นอกจากนี้ยังพบการใช้ค าศัพท์ภาษา ท้องถิ่น ทั้งภาษาฮกเกี้ยนและภาษามลายูในประโยคอีกมากมาย ในส่วนแสดงความคิดเห็นของวีดิโอเรื่องนี้ ผู้ใช้ยูทูบคนหนึ่งกล่าวว่า “นี่คือภาษา ซิงลิชในแบบที่ดีที่สุด LOL! (ข าดัง) สงสัยว่าเพื่อคนที่ไม่ใช่คนสิงคโปร์/มาเลเซียจะเข้าใจที่เธอพูด ไหม” ผู้ใช้ยูทูบอีกคนหนึ่งตอบความเห็นข้างต้นว่า “เราเกิดมาพร้อมกับการพูด 6 ภาษา สมัยก่อนถือ เป็นเรื่องธรรมดามาก ดังนั้นเราจึงสามารถใช้ค าศัพท์จาก 5 ภาษามาพูดภาษาซิงลิชแบบดั้งเดิม เด็ก สมัยนี้ไม่โชคดีเหมือนเด็กสมัยผม แทนที่จะพูดได้ 6 ภาษา กลับพูดได้แค่หนึ่งภาษาครึ่ง ที่รู้เพียงแต่ ภาษาอังกฤษ กับภาษาจีนกลางหรือภาษามาเลย์แค่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ และไม่รู้ภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ดังนั้น นะ ถ้าฉันพูดค าภาษาฮกเกี้ยนหรือภาษากวางตุ้ง เด็กสมัยนี้คงงงกันเลยทีเดียว” เน้นไปที่ “ภาษาซิงลิชในแบบที่ดีที่สุด (Singlish at its best)” และ “ภาษา ซิงลิชดั้งเดิม (original Singlish)” จากความคิดเห็นของผู้ใช้ทั้งสองแสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์ภาษาว่า ภาษาซิงลิชที่มีส่วนผสมของภาษาฮกเกี้ยนกับภาษามาเลย์เล็กน้อย ประกอบกับโครงสร้างประโยคที่

Ref. code: 25615808030521AIP 99

แตกต่างไปจากภาษาอังกฤษมาตรฐาน ซึ่งมักจะมาจากการแปลตรงจากภาษาท้องถิ่น เช่นในตัวอย่าง ที่ 4.2 บรรทัดที่ 13 see ... no up ซึ่งมาจากส านวน 看不上 /Kàn bú shàng/ ในภาษาจีน อัน หมายถึงการดูถูกหรือดูเบา เป็นภาษาซิงลิชที่มีความบริสุทธิ์และมีความดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ตัวละครที่ถ่ายทอดภาษาซิงลิชในลักษณะนี้ มักจะล้อเลียนคน สิงคโปร์เชื้อชาติจีนที่มีลักษณะที่ตรงข้ามกับความเป็นสิงคโปร์สมัยใหม่ เช่น ผู้สูงอายุที่พูดภาษาจีนได้ ดีกว่า และยึดถือคุณค่าแบบอนุรักษ์นิยม หรืออันธพาล ที่ไม่สนใจเข้าสู่ระบบการศึกษามาตรฐาน และ ละเมิดความเป็นสิงคโปร์สมัยใหม่ ที่เต็มไปด้วยการรักษาความปลอดภัยและควบคุมของกองก าลังของ รัฐบาล วีดิโอที่สนับสนุนโดยรัฐบาลจ านวนมากใช้ภาษาซิงลิชแบบ cheenapiang ที่เต็ม ไปด้วยค าศัพท์และโครงสร้างภาษาจีนท้องถิ่น ตัวอย่างที่ยกมานี้มาจากวีดิโอ You Got Scammed (คุณถูกหลอกแล้ว) จากช่อง Night Owl Cinematics โดยหน่วยงานที่จ้างให้ผลิตวีดิโอเรื่องนี้คือกอง ต ารวจสิงคโปร์ (Singapore Police Force) ที่พยายามสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับ ความปลอดภัยทางไซเบอร์และโจรกรรมในอินเทอร์เน็ต วีดิโอนี้ยังถือว่าเป็นวีดิโอเรื่องแรกที่หน่วยงาน รัฐบาลเริ่มเข้ามาลงทุนประชาสัมพันธ์ในช่องทางสื่อดิจิทัล โดยเฉพาะวีดิโอตลกในยูทูบ

ตัวอย่างถอดความที่ 5.3 สถานการณ์: กลุ่มมิจฉาชีพพยายามหลอกเหยื่อด้วยวิธีการต่าง ๆ

1 Wong I see a lonely charbor looking for stead หว่อง ฉันเห็นสาวน้อยโดดเดี่ยวอยากหาคู่ 2 sibei no romance, she’s the easiest target ไม่มีความรักสุด ๆ เธอคือเป้าหมายที่ง่ายที่สุด 3 Now she crazy for me and give me all her cash ตอนนี้เธอรักฉันหัวปักหัวปา แล้วเอาเงินทั้งหมดมาให้ฉัน 4 Who ask her so bak jiu tak stamp ใครบอกให้เธอหน้ามืดตามัว 98 5 Make decision so rash ตัดสินใจได้อย่างสะเพร่ามาก 6 Michelle Come wu eh bo eh number Is what you see มิเชล อยู่ดี ๆ มีเบอร์แปลกโทรมา

Ref. code: 25615808030521AIP 100

7 First you heard your son screaming แล้วได้ยินเสียงลูกชายของคุณกรีดร้อง 8 Ryan Mama! ไรอัน คุณแม่ 9 Michelle Then you transfer money มิเชล จากนั้นคุณก็โอนเงิน 10 After your money gone liao, you are too late หลังจากเงินหมดไปแล้ว คุณสายไปแล้ว 11 Cause all this time your son was swee swee snoring in bed เพราะตอนนั้นลูกชายของคุณก าลังนอนกรนสวย ๆ บนเตียง 12 Jonathan Wah lao! You win one million in this lucky draw โจนาธาน ตายแล้ว คุณได้เงินหนึ่งล้านในการจับฉลากนี้ 13 Pay admin fee, Then I give prize money hor จ่ายค่าด าเนินการ แล้วฉันจะให้เงินรางวัลคุณนะ 14 Then you can rilek at one corner wait long long จากนั้น คุณสามารถเอกเขนกสบาย ๆ รอไปนาน ๆ 15 and win kosong และได้เงินศูนย์เหรียญ 16 Sylvia You got scammed ซิลเวีย คุณโดนหลอก

17 Nina I call you like an officer, sound so convincing นีนา ฉันโทรหาคุณอย่างกับเป็นเจ้าพนักงาน ฟังดูน่าเชื่อถือ 18 Bluff you, cheat you, scare you, I’m so deceiving ขู่คุณ โกงคุณ ท าให้คุณกลัว ฉันก าลังหลอกลวงคุณอยู่ 19 If you want to continue to stay in Singapore หากคุณอยากจะอยู่ต่อในสิงคโปร์ 20 Give me some moolah or you bye bye lor ให้เงินฉันมา หรือเธอลาก่อนจ๊ะ 21 Jonathan Click click on that phone

Ref. code: 25615808030521AIP 101

โจนาธาน คลิ๊ก ๆ ซื้อโทรศัพท์นั่น 22 Click click on that bike คลิ๊ก ๆ ซื้อจักรยานนั้น 23 Le buay jin zuay mi kia ซื้อของไปหลายอย่าง 24 But it’s all a lie แต่ทั้งหมดโกหกทั้งเพ 25 You pay and you pay, use credit card so insane คุณจ่ายแล้วจ่ายอีก ใช้บัตรเครดิตอย่างบ้าคลั่ง 26 Then one year fly by nothing came แล้วปีนึงก็ผ่านไป ไม่มีอะไรกลับมา 27 Wong Oi you! We got some money, a very big amount หว่อง นี่คุณ เรามีเงินอยู่ จ านวนเยอะมาก 28 Please lend us use you bank account ให้เรายืมบัญชีธนาคารของคุณได้ไหม 29 Thanks! But we forget to say you broke the law ขอบคุณ แต่เราลืมบอกไปว่า คุณได้ละเมิดกฏหมาย 30 The mata is catch you wor! ต ารวจจะมาจับคุณนะจ๊ะ 31 Sylvia You got scammed ซิลเวีย คุณโดนหลอก 32 Jonathan We dare to do, dare to say โจนาธาน เรากล้าที่จะท า เรากล้าที่จะพูด 33 We love to dua your hard earned money เราชอบที่จะโกงเงินที่คุณหามาอย่างยากล าบาก 34 Sylvia You feel for us con men ซิลเวีย คุณสงสารคนร้ายอย่างเรา 35 We made you all pay เราให้คุณจ่ายทั้งหมด

Ref. code: 25615808030521AIP 102

36 Wong Take out your card, go to your ATM หว่อง เอาบัตรของคุณออกมา ไปที่ตู้เอทีเอ็มของคุณ 37 Ching chong ling long, your money all gone ช้งเช้งล้งเล้ง เงินของคุณหายไปหมด 38 Sylvia We suck you dry till gao gao until we look for our next cai tao ซิลเวีย เราจะสูบเลือดสูบเนื้อคุณจนพอใจ จนกว่าเราจะเจอเหยื่อรายต่อไป 39 You got scammed คุณโดนหลอก

(You Got Scammed!, Night Owl Cinematics, 0.20-3.01)

จากตัวอย่างเห็นได้ชัดว่าวีดิโอเรื่องนี้ใช้ภาษาซิงลิชทั้งในระดับค าศัพท์และ โครงสร้างในเกือบทุกประโยค ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีประโยคภาษาฮกเกี้ยนที่ถูกพูดทั้งประโยคในบรรทัดที่ 23 การใช้ภาษาซิงลิชในรูปแบบดังกล่าวมักจะสามารถบ่งชี้ไปถึงกลุ่มผู้พูดแลผู้ชมที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ไร้ การศึกษา และผู้ที่ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษมาตรฐานได้อย่างเชี่ยวชาญ และการที่โครงการของรัฐ จ านวนมากเลือกใช้ภาษารูปแบบดังกล่าวในการสื่อสารกับประชาชนก็อาจจะแสดงให้เห็นถึง อุดมการณ์ภาษาของฝ่ายรัฐ ซึ่งมักจะเป็นตัวแทนของชนชั้นสูง ได้ท าให้คนสิงคโปร์กลุ่มที่มีความสุ่ม เสี่ยงและเปราะบางกลายเป็นภาพ (iconisation) ด้วยการใช้ภาษาซิงลิชที่มีความตั้งใจให้เป็นท้องถิ่น ในระดับสูงประชาสัมพันธ์โครงการและนโยบายของรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ภาษาซิงลิชที่ปรากฏในวีดิโอนี้ถือได้ว่ามีการผสมผสาน ระหว่างภาษาที่หลากหลาย โดยผู้ผลิตเนื้อหาของวีดิโอดังกล่าวและผู้ชมที่เข้าใจมุกตลกจะต้องเป็นผู้ที่ มีความเข้าใจภาษา ซิงลิชอย่างลึกซึ้ง ซึ่งมักจะเป็นผู้รับชมมีความรอบรู้ในภาษาอันหลากหลาย ทั้ง ภาษาอังกฤษ ภาษาฮกเกี้ยน ภาษาจีนกลาง และภาษามลายู แสดงให้เห็นอีกมุมหนึ่งว่าผู้สร้างสรรค์ เนื้อหา (ยูทูเบอร์และกองต ารวจสิงคโปร์) กับผู้ชมที่กองต ารวจสิงคโปร์ต้องการสื่อสาร (กลุ่มที่มีความ สุ่มเสี่ยงต่ออาชญากรรมไซเบอร์) ก็ล้วนเป็นผู้ที่รอบรู้ภาษาอันหลากหลาย อีกทั้งใช้และรับฟังภาษา อย่างมีกลยุทธ์

Ref. code: 25615808030521AIP 103

5.1.2 #orangmelayu #apunehneh ในส่วนนี้ ผู้เขียนต้องการเสนอความแตกต่างหลากหลายของภาษาซิงลิชอีกมุม หนึ่ง คือภาษาซิงลิชที่ชาวมลายูและชาวอินเดียพูด ซึ่งเป็นเสียงของชนกลุ่มน้อยในสิงคโปร์ ผู้เขียนจะเริ่มต้นที่ผู้พูดภาษาซิงลิชเชื้อสายมาเลย์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะแสดงโดย นักแสดงชาวสิงคโปร์เชื้อสายมาเลย์เอง เช่นช่อง Munah Hirzi Official ที่เน้นผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับ ชุมชนและวัฒนธรรมของชาวมาเลย์ในสิงคโปร์ ชายหนุ่มชาวมาเลย์มักจะปรากฏออกมาเป็นภาพเหมา รวมตามสายอาชีพต่าง ๆ เช่น ต ารวจ ทหาร หรือพนักงานบริการในภาคส่วนต่าง ๆ เช่นร้านอาหาร หรือการคมนาคมขนส่ง ส่วนหญิงสาวชาวมาเลย์มักจะแสดงออกมาเป็นหญิงสาวทันสมัย แต่ก็ยังอยู่ใน กรอบประเพณีศาสนาอิสลาม เช่น การอดอาหารอย่างเคร่งครัดในเดือนรอมฎอน ช่อง Munah Hirzi Official นาภาพเหมารวมของชาวมาเลย์มาล้อเลียน เพื่อ เสียดสีกับภาพเหมารวมเหล่านั้น และท าให้ภาพเหมารวมเหล่านั้นดูไม่สมเหตุสมผล (absurd) และมี ความเหนือจริง เช่น คนมาเลย์ไม่ฉลาดจนแสดงออกคล้ายผู้พิการทางสมอง หรือคนมาเลย์เคร่ง ศาสนาจนดูคล้ายกับคนนิยมไสยศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ตัวละครชาวมาเลย์ที่ปรากฏในช่อง Munah Hirzi Official มักจะพูดภาษาซิงลิชสลับกับภาษาอังกฤษมาตรฐาน ซึ่งผู้เขียนจะเสนอในส่วนที่ 5.3 ผู้เขียนน าตัวอย่างมาจากการแสดงพูดคนเดียว (monologue) จากวีโอโอเรื่อง Reason Why I’m Single AF (ท าไมฉันจึงโสดสุด ๆ) จากช่อง Dee Kosh แสดงภาพหญิงสูงอายุ ชาวมาเลย์ที่ชื่อว่ารีอา วาร์เนอ (Ria Warna) ที่พูดภาษาซิงลิชแบบภาษามลายูตลอดเวลา

ตัวอย่างถอดความที่ 5.4 สถานการณ์: รีอา วาร์เนอ หญิงชาวมุสลิมวัย 50 ปี ราพันถึงความยากล าบากในการหาคู่ในประเทศ สิงคโปร์ปัจจุบันที่ใต้อาคารพักอาศัยในย่านอี้ซุ่น (Yishun) ที่คนสิงคโปร์จ านวนมากเชื่อว่าเป็นเขต เสื่อมโทรมของสิงคโปร์

1 [ผสานมือวางไว้บนตัก] OK. So, first, first. My friend told me, “Eh! Kak Ria Warna. you should try Tinder.” โอเค ก่อนอื่นนะ เพื่อนฉันบอกว่า นี่ พี่รีอา วาร์เนอ เธอควรลองใช้ทินเดอร์นะ 2 I say, “Apa sia? Tinder:.” ฉันบอกว่า อะไรกัน ทินเดอร์ 3 They say, It’s an application… [กวักมือ] on the phone, where you just swipe left if tak nak, and you swipe right if nak.

Ref. code: 25615808030521AIP 104

เขาบอกว่าเป็นแอปพลิเคชัน บนโทรศัพท์ ที่คุณปัดซ้ายถ้าไม่เอา และคุณปัดขวาถ้าเอา

4 So I say “OK lah. I try Tinder:.” ฉันก็เลยบอกว่า โอเคก็ได้ ฉันจะลองใช้ทินเดอร์ 5 You know because, you know, kak Ria Warna is a forward thinking [มือทาบอก] technological person:. คุณก็รู้ใช่มะ ว่าฉัน ก๊ะรีอา วาร์เนอเป็นคนหัวก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี 6 so I download Tinder, and then I say like, “Apa sia? That people on Tinder:.” ฉันจึงดาวน์โหลดทินเดอร์ ต่อจากนั้นฉันก็พูดประมาณว่า อะไรกัน คนพวกนั้นในทินเดอร์ 7 But I don’t understand lah. I don’t understand eh. ฉันก็ไม่เข้าใจหรอก ฉันไม่เข้าใจนะ 8 Because the only matches [จัดผ้าคลุมผม] I get is like this, [ชี้ไปที่ด้านบนซ้าย] ah… ah… you see the deskripsi? เพราะว่า คู่ที่จับได้ก็เป็นแบบนี้ อ่า อ่า ดูคาอธิบายสิ 9 “kena match by a match.” … Eh, [ชูฝ่ามือมาด้านหน้า] excuse me geh. Excuse me. คุณโดนจับคู่โดยไม้ขีดไป นี่ โทษทีนะคะ โทษที 10 There’s better way to light [มือทาบอก] my fire:. (hhhh) มันมีวิธีที่ดีกว่านี้ที่จะจุดไฟรักของฉัน 11 Actually I got match with this cute angmoh boy eh, call Spider Man. [กรีดร้อง] ที่จริงแล้ว ฉันได้จับคู่กับหนุ่มฝรั่งน่ารักคนนี้ด้วยแหละ ชื่อว่าสไปเดอร์แมน 11 [ก ามือทั้งสอง] Sedap! sedap! sedap:! I happy you know. แซ่บ แซ่บ แซ่บ ฉันมีความสุขมากรู้ไหม 12 Then we talking ah, for a while. And all of the sudden. จากนั้นเราก็คุยกันสักพัก แล้วหลังจากนั้นไม่นาน 13 He say, “Eh, Ria. I don’t feel so good.” And then he fade away. [แบมือยกขึ้นสูง] เขาก็บอกว่า นี่ รีอา ฉันรู้สึกไม่ค่อยดี จากนั้นเขาก็สลายตัวไป

Ref. code: 25615808030521AIP 105

14 I don’t understand what happen:. ฉันไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น

(Reason Why I’m Single AF, Dee Kosh, 0.34-1.44)

ตัวละครรีอา วาร์เนอเป็นตัวแทนหญิงวัยก่อนเกษียณชาวมาเลย์มุสลิม เสื้อผ้าที่เธอใส่จะเป็นชุดผ้าบาติกลายแบบมาเลย์ดั้งเดิมคล้ายกับลายของชุดพนักงานต้อนรับบน เครื่องบินของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airline) เหนือสิ่งอื่นใด เธอไม่เคยปรากฏตัว โดยไม่ได้สวมผ้าคลุมผม (hijab หรือ tondong) นอกจากนี้ เธอก็ไม่เคยปรากฏตัวในที่อื่นนอกจากใน ที่พักอาศัยของเธอในแฟลตรัฐบาลหรือใต้ตึกแฟลตที่เธอพักอาศัย ภาพเหล่านี้ถูกผลิตซ้ าอีกครั้งผ่าน เรื่องเล่าเชิงภาพเหมารวมของคนสิงคโปร์ที่มีต่อชาวมาเลย์ ว่าหญิงชาวมาเลย์มักจะแต่งตัวในลักษณะ นี้เมื่ออยู่ในบริเวณชุมชนที่พักอาศัย และมักจะจับจองที่นั่งใต้ตึก (void deck) ในระยะเวลาอัน ยาวนาน และอาจทาเสียงรบกวนผู้อื่นเช่นพูดคุยหรือเล่นดนตรีเสียงดัง ดาร์ริล โคชี นักแสดงผู้รับบทเป็นรีอา วาร์เนอ แสดงการใช้ภาษาอังกฤษของชาว มาเลย์ที่คนสิงคโปร์ต่างรับรู้โดยทั่วกัน เช่น โทนเสียงตกลากยาวท้ายคาและประโยคที่เกิดบ่อยครั้ง กว่าปกติในบรรทัดที่ 2, 4, 5, 6, 10, 11 และ 14 และการแทรกค าภาษามาเลย์ในภาษาอังกฤษใน บรรทัดที่ 1, 2, 3, 5, 6, 8, 9 และ 11 ต่อมาคือการถ่ายทอดตัวละครชาวสิงคโปร์เชื้อสายอินเดีย หรือในภาษาซิงลิช เรียกว่า apunehneh การล้อเลียนชาวอินเดียเป็นเรื่องที่ทุกคนต่างหลีกเลี่ยงในสิงคโปร์ เนื่องจากการ แสดงล้อเลียนซึ่งคาบลูกคาบดอกกับการเหยียดเชื้อชาติ และอาจกระทบเปราะบางของของความ ปรองดองระหว่างเชื้อชาติที่สิงคโปร์พยายามรักษา ดังนั้น ผู้ล้อเลียนคนเชื้อชาติอินเดียก็มักจะเป็นคน เชื้อชาติอินเดียเอง อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้ ภาพเหมารวมของชาวอินเดียที่นาเสนอในวีดิโอตลกภาษา ซิงลิชมักจะล้อเลียนชาวอินเดียหรือชาวบังคลาเทศที่อาศัยอยู่ในสิงคโปร์และท างานประเภทแรงงาน อย่างไรก็ตาม วีดิโอจ านวนหนึ่งได้นาภาพของชาวอินเดียออกมาในลักษณะต่าง ๆ เช่น เพื่อนบ้านผู้ทา อาหารส่งกลิ่นแรงออกมาจากครัว และผู้ชื่นชอบในภาพยนตร์บอลลิวูด ตัวอย่างถอดความต่อไปนี้มาจากวีดิโอเรื่อง Our Parents Vs Parents We'll Be (พ่อแม่ของเรา ปะทะ พ่อแม่ที่เราจะเป็น) จากช่อง Night Owl Cinematics ที่มีฉากหนึ่งมีตัว ละครชาวอินเดีย

Ref. code: 25615808030521AIP 106

ตัวอย่างถอดความ 5.5 สถานการณ์: เลชมีเห็นลูกสาวก าลังใส่กระโปงสั้นวิ่งไล่จับแมวบนชั้นสอง เธอจึงเตือนลูกสาวระวังเรื่อง ท่าทาง

1 Lechmi Stupid girl, what are you doing? Get down from there. เลชมี เด็กโง่ เธอท าอะไร ลงมาเดี๋ยวนี้นะ 2 Daughter Mom, I’m trying to save the cat. ลูกสาว แม่คะ หนูจะช่วยชีวิตแมวค่ะ 3 Lechmi To save the cat, is it? Everyone can see your meow, เลชมี จะช่วยชีวิตแมวงั้นเหรอ ทุกคนเห็นเหมียวของเธอหมดแล้ว 4 you are wearing a skirt. Meow Meow ลูกใส่กระโปรงอยู่ เหมียว เหมียว

5 Daughter Ma, stop! You are scaring the cat. ลูกสาว แม่คะ หยุดนะ แม่ก าลังท าให้แมวกลัวอยู่ 6 Lechmi Everybody can see your meow:::: เลชมี ทุกคนเห็นเหมียวของเธอหมดแล้ว 7 Daughter Hai! You see ah, the cat run away already: ลูกสาว โอ๊ย ดูสิ แมววิ่งหนีไปแล้ว 8 Lechmi Oh my god! You stupid girl. เลชมี โอ้พระเจ้า นังเด็กโง่ 9 You know what? Let the whole world see your meow, okay? รู้อะไรไหม ให้โลกทั้งใบเห็นเหมียวของเธอ โอเคไหม 10 Let your meow shout out loud to the world. ให้เหมียวของเธอตะโกนไปกู่ก้องโลก

Ref. code: 25615808030521AIP 107

11 Stupid ยัยโง่

(Our Parents Vs Parents We'll Be, Night Owl Cinematics, 1.54-2.29)

เช่นเดียวกันกับตัวอย่างถอดความที่ 4.3 ดาร์ริล โคชีแสดงเป็นตัวละครเลชมี แม่ ชาวอินเดียในตัวอย่างที่ 4.4 ซึ่งภาษาที่ถูกแสดงออกมาไม่ต่างกับภาษาซิงลิชแบบจีนมาก แต่การ ถ่ายทอดเสียงออกมามีลักษณะคล้ายกับเสียงของส าเนียงอินเดีย เช่นเสียง r รัวลิ้น ในค าว่า everyone (บรรทัดที่ 3) และค าว่า wearing (บรรทัดที่ 4) และออกเสียงอักษรนา w ด้วยเสียง /v/ เช่นค าว่า world ในบรรทัดที่ 9 และ 10 ลักษณะการพูดภาษาซิงลิชแบบมลายูและอินเดียมักจะถ่ายทอดเสียงที่รับรู้อยู่ แล้วในสังคมสิงคโปร์ แต่ด้วยยูทูบในฐานะสื่อใหม่ที่เป็นช่องทางที่ผู้คนทั่วไปสามารถผลิตเนื้อหาได้ ท า ให้เปิดโอกาสมีเนื้อหาที่หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยูทูเบอร์เหล่านี้ยังไปไกลมากกว่าเสียงด้วยการ แต่งกายที่ชุดแสดงออกถึงวัฒนธรรมโบราณ เช่นรีอาใส่ชุดพิมพ์ลาย หรือเลชมีใส่ชุดส่าหรี ท าให้เกิด ภาพที่สามารถอ้างอิงถึงภาพเหมารวมได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ด้วยการผลิตวีดิโอ ภาพและเสียง เหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดผ่านศักยภาพของยูทูบที่ท าให้เกิดกระบวนการสร้างสิ่งที่ผู้คนทั่วไปรับรู้อยู่แล้วนี้ แต่ไม่เคยมีลักษณะเป็นรูปธรรม ให้กลายเป็นสิ่งรูปธรรมได้ โดยในกรณีนี้เป็นตัวละครหญิงสูงวัยชาว มลายูและแม่ชาวอินเดียในชุดส่าหรีในความคิดของคนสิงคโปร์ในลักษณะถูกผลิตออกมาในลักษณะ สื่อวีดิโอ ซึ่งศักยภาพของยูทูบได้ส่งเสริมกระบวนการกลายเป็นรูป ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการของการ แบ่งแยกความแตกต่างทางภาษาเชิงอุดมการณ์

5.2 #angmopai #chiakkantang

ค าภาษาซิงลิช angmo pai มีส่วนผสมมาจากภาษาฮกเกี้ยน (angmo) และภาษาจีน กลาง (pai) โดยค าว่า angmo (紅毛) มีความหมายตรงตัวว่า “ขนสีแดง” ซึ่งเป็นลักษณะของ ชาวตะวันตกผมสีทอง ตรงกับค าว่า “ฝรั่ง” ในภาษาไทย และค าว่า pai (派) หมายถึงกลุ่มหรือพวก หรือการฝักไฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นค าว่า angmo pai จึงเป็นคาเรียกคนสิงคโปร์ที่พูดภาษาอังกฤษ ได้อย่างเชี่ยวชาญ แต่กลับสื่อสารภาษาแม่ไม่ได้ ซึ่งการเรียกนี้มักจะเกิดขึ้นโดยคนที่ถูกเรียกว่า cheenapiang ผู้ที่ถนัดใช้ภาษาท้องถิ่นมากกว่า (Angmohdan, 2014)

Ref. code: 25615808030521AIP 108

ส่วนค าว่า chiak kantang มีความหมายตรงตัวว่า “กินมันฝรั่ง” เป็นคาผสมระหว่าง ภาษาฮกเกี้ยน chiak (食) หมายถึงกิน และภาษามลายู (kantang) หมายถึงมันฝรั่ง chiak kantang เป็นการอุปมาถึงการเลิกกินข้าว และเลือกกินมันฝรั่งที่เป็นเครื่องเคียงส าหรับอาหารตะวันตก อีกทั้ง ยังหมายถึงภาพที่คนสิงคโปร์พูดภาษาอังกฤษส าเนียงตะวันตกที่ดูไม่ปลอมเปลือก และมีเสียง เหมือนกับพูดระหว่างมีมันฝรั่งร้อน ๆ อยู่ในปาก (TalkingCock, 2002) ในส่วนนี้ผู้เขียนจะอธิบายถึง วิธีการล้อเลียนคนที่พูดภาษาอังกฤษ “เกิน” มาตรฐานในวีดิโอตลกภาษาซิงลิช วีดิโอภาษาซิงลิชจ านวนมากล้อเลียนคนสิงคโปร์ผู้พูดภาษาอังกฤษส าเนียงตะวันตก ด้วยทัศนคติที่ว่าเมื่อคนสิงคโปร์พูดภาษาอังกฤษส าเนียงอังกฤษหรืออเมริกันเป็นส าเนียงที่ปลอมและ ดูก้าวร้าว (offensive) เช่นในวีดิโอเรื่อง Talk Singlish (คุยภาษาซิงลิช) ของช่อง Cheokboard Studios ที่วิพากษ์วิจารณ์และล้อเลียนคนสิงคโปร์ผู้พูดภาษาอังกฤษส าเนียงตะวันตกอย่างจริงจัง

ตัวอย่างถอดความ 5.6 สถานการณ์: จอห์นนีพบวิกตอเรียครั้งแรก จอห์นนี่รู้สึกประหลาดใจในส าเนียงตะวันตกของวิกตอเรีย

1 Victoria I haven’t been on a date in like a million years, you know. วิกตอเรีย ฉันไม่ได้ออกเดทมาแบบ ล้านปีแล้วรู้ป่าว 2 Cause I’ve been single and I was like heartbroken and stuff. เพราะฉันโสด แล้วก็อกหักอะไรประมาณนั้น 3 But I’m so glad you ask me out. แต่ฉันดีใจมากที่คุณชวนฉันออกมา 4 This like poolside idea was so such a great idea. แล้วไอเดียนั่งริมสระอะไรแบบนี้เป็นไอเดียที่เยี่ยมเลย 5 Cause it’s always so hot in Singapore, right? เพราะในสิงคโปร์อากาศร้อนมาก ใช่มั๊ย 6 You know what I mean? เข้าใจฉันป่าว 7 Johnny So, it is your real accent ah? จอห์นนี นี่มันส าเนียงของคุณจริง ๆ เหรอ

Ref. code: 25615808030521AIP 109

8 Victoria Yeah, of course, it is. วิกตอเรีย ใช่สิ แน่นอน 9 Well actually funny you asked, cause I went to the States for like, 4 months for school. ที่จริงแล้วมันตลกมากที่คุณถาม เพราะฉันไปเรียนอเมริกามาแบบ 4 เดือน 10 And then, I just can’t help this accent now. So, it’s like, it’s my relax. จากนั้น ฉันก็ติดส าเนียงนี้มาเลย ก็เลย แบบว่า เป็นแนวผ่อนคลาย 11 It’s pretty much my relax accent. You know what I mean? มันเป็นส าเนียงตอนที่ฉันผ่อนคลาย คุณเข้าใจฉันไหม 12 Johnny? Johnny, are you listening? จอห์นนี จอห์นนี คุณฟังอยู่หรือเปล่า

13 Johnny Man! I really hate girl talk with fake accent! จอห์นนี ให้ตายสิ ผมเกลียดผู้หญิงที่พูดส าเนียงปลอมเหลือเกิน

(Talk Singlish, Cheokboardstudios, 0.00-0.36)

วีดิโอเรื่องนี้วิพากษ์วิจารณ์คนสิงคโปร์ที่พูดภาษาอังกฤษด้วยส าเนียงตะวันตกอย่าง รุนแรงด้วยการใช้ค าว่า fake accent (ส าเนียงปลอม) ในบรรทัดที่ 13 และขึ้นข้อความขนาดใหญ่บน จอเพื่อเน้นย้าคากล่าวหาดังกล่าว อีกทั้งการแสดงตัวละครระหว่างวิกทอเรียกับจอห์นนีก็ใช้ความ แตกต่างของลักษณะการพูดและส าเนียงภาษาที่ดูตรงข้ามกัน เพื่อให้ความแตกต่างระหว่างภาษามี ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Ref. code: 25615808030521AIP 110

ในท านองเดียวกัน วีดิโอที่มีตัวละครพูดส าเนียงตะวันตกเรื่องอื่น ๆ ก็ใช้วิธีสร้างมุกตลก กับความขัดแย้งระหว่างเสียงหรือภาพที่ดูตรงข้ามกัน ผู้เขียนดึงตัวอย่างมาจากวีดิโอเรื่อง Singapore’s Next Big Model! (นายแบบและนางแบบใหญ่คนต่อไปของสิงคโปร์!) จากช่อง Night Owl Cinematics ที่ตั้งใจล้อเลียนรายการ Asia’s Next Top Model โดยตัวแสดงที่เป็นผู้เข้าแข่งขัน พูดภาษาอังกฤษส าเนียงสิงคโปร์และภาษาซิงลิช ส่วนตัวละครที่เป็นผู้สอนการถ่ายแบบประกอบด้วย ช่างภาพและนางแบบรุ่นพี่ พูดภาษาอังกฤษส าเนียงบริติชตลอดเวลาการแข่งขัน และพวกเขาจะ “หลุด” พูดภาษาซิงลิชเมื่อมีอารมณ์ เช่นโกรธหรือไม่พอใจ

ตัวอย่างถอดความที่ 5.7 สถานการณ์: ในคืนวันตัดสินในรายการประกวดนายแบบและนางแบบ ผู้เข้าแข่งขันเข้าพบกรรมการ เพื่อฟังข้อคิดเห็นจากการถ่ายแบบ

1 Saliva Welcome everyone! I hope you are well-rested. ซาลิวา ยินดีต้อนรับค่ะทุกคน ฉันหวังว่าทุกคนคงพักผ่อนมาอย่างดี I’m your main judge, Saliva C, and there are my co-judges, ฉันคือกรรมการหลักของคุณ ซาลิวา ซี และนี่คือกรรมการร่วมของฉัน Char Ming and Nancy. ชาร์ หมิง และแนนซี่ 2 Char/Nancy Hello ชาร์/แนนซี่ สวัสดี 3 Contestants Hi ผู้แข่งขัน สวัสดี 4 Saliva So, this afternoon, you guys had your very first photoshoot. ซาลิวา ก็ บ่ายวันนี้ คุณได้ถ่ายแบบเป็นครั้งแรก 5 Are you exited to see your pictures? พวกคุณตื่นเต้นที่จะได้ดูรูปไหม 6 Contestants Yes. ผู้แข่งขัน ครับ/ค่ะ 7 Saliva Give me more energy, youths! ซาลิวา ขอพลังงานอีกหน่อยจ่ะหนุ่มสาว

Ref. code: 25615808030521AIP 111

8 Contestants Yes! ผู้แข่งขัน ครับ/ค่ะ 9 Saliva But before that, let’s take a look at Nancy’s photo. ซาลิวา แต่ก่อนอื่น เรามาดูรูปของแนนซี่กัน 10 Char Wow! Now as you can see, Nancy is stunning model. ชาร์ โอ้โห จากที่คุณเห็นตอนนี้ แนนซี่เป็นนางแบบที่น่าทึ่งมาก 11 She is comfortable in her surroundings, and she is classy and elegant. เธอดูผ่อนคลายต่อสิ่งที่อยู่รอบข้าง เธอดูแพงและสง่า 12 Saliva And then we have your photos. ซาลิวา แล้วตอนนี้เรามาดูรูปของพวกคุณกัน 13 ((เปลี่ยนเป็นส าเนียงซิงลิช)) All 6 of you! Aaron, what is this? You channeling ‘xiao bitch’ is it? พวกคุณทั้งหมด 6 คน แอรอน นี่มันอะไร จะหาเรื่องกับเสี่ยวบิทช์เหรอ 14 You think you are ‘xiao boy’ lah 现在? xiànzài เธอคิดว่าเธอเป็นใครกัน เสี่ยวบอยเหรอตอนนี้ 15 Aaron I’m sorry. แอรอน ผมขอโทษ 16 Char Where the heck is your body? ชาร์ หุ่นของคุณไปไหนหมด 17 How come nobody told me we are filming for a poster ท าไมไม่มีใครบอกเลยว่าเราก าลังถ่ายใบปิด for a B-grade horror film? Har? หนังผีเกรดบีอยู่ หา 18 Saliva Olly, what’s the point of us, filling water inside the bathtub, ซาลิวา ออลลี่ เราจะท าแบบนี้ไปท าไมกัน เติมน้าเข้าไปในอ่างอาบน้า 19 if you gonna stand outside the bathtub? ถ้าคุณจะยืนนอกอ่างอาบน้า 20 Char Sam, you even worse! Walao eh! ชาร์ แซม คุณยังแย่กว่า พ่อมึงเอ๊ย

Ref. code: 25615808030521AIP 112

21 You made us take all the water from inside the bathtub, คุณให้เอาน้าในอ่างอาบน้าออกให้หมด 22 so that you can sit inside a dry bathtub. เพื่อให้คุณนั่งในอ่างอาบน้าที่แห้ง 23 Saliva Sonia, you know Chloe’s photo already look like a ซาลิวา ซอนญ่า คุณรู้ใช่ไหมว่ารูปของโคลอี้ดดูเหมือน B-grade horror film poster, right? ใบปิดหนังผีเกรดบีแล้วใช่มั๊ย 24 You go one step further leh. คุณท ามันเกินไปอีกขั้นเลย 25 Your picture ah, looks like a screengrab ah. รูปของคุณนะ ดูเหมือนภาพนะ 26 From you acting in the same B-grade horror flick. ที่มาจากหนังผีเกรดบีที่คุณแสดงเลย 27 Sonia I’m sorry. ซอนญ่า ฉันขอโทษค่ะ 28 Char Lionel, you are who? Thong Tham, is it? ชาร์ ไลเนล คุณเป็นใครกัน ทองธรรมเหรอ 29 No, you are Thong Tham customer, huh? ไม่ใช่สิ คุณคือลูกค้าร้านทองธรรมใช่มั๊ย 30 You put your feet so close to the camera for what? คุณจะเอาเท้าของคุณมาใกล้กล้องขนาดนี้เพื่ออะไรกัน 31 You need foot massage is it? อยากนวดฝ่าเท้าเหรอ 32 Lionel Sorry. ไลเนล ขอโทษ 33 Saliva Go back! ซาลิวา กลับไป 34 Contestants Ah! I’m so sorry. ผู้แข่งขัน หนูขอโทษ

Ref. code: 25615808030521AIP 113

35 Saliva ((เปลี่ยนมาเป็นส าเนียงบริติช)) Well, cheer up, don’t be sorry. ซาลิวา เอาหละ สู้หน่อย อย่าขอโทษเลย 36 Contestants What? Huh? ผู้แข่งขัน อะไรกัน 37 Char That’s right. We mean it. ชาร์ ใช่แล้ว เราพูดถูกแล้ว 38 Saliva What do you think we are looking for in your portfolio shots? ซาลิวา คุณคิดว่าเรามองหาอะไรในรูปพอร์ตโฟลิโอของคุณ 39 Char What is the theme of this competition? ชาร์ หัวข้อหลักของการแข่งขันนี้คืออะไร 40 Uniquely you. That’s right. คุณที่เป็นคุณ ใช่แล้ว 41 Saliva These shots are absolutely horrible, don’t get me wrong. ซาลิวา รูปพวกนี้แย่สุด ๆ ฉันพูดตรง ๆ 42 But each of your are beautiful, amazing, fantastic, แต่พวกคุณทุกคนสวยงาม น่าทึ่ง มหัศจรรย์ spectacular, wonderful, mind-blowing, and different individuals. น่ามอง พิเศษ น่าทึ่ง และเป็นบุคคลที่แตกต่าง 43 And we want you guys to celebrate that uniqueness. และเราก็อยากให้พวกคุณดีใจกับความเป็นเอกลักษณ์ของคุณ

(Singapore's Next Big Model!, Night Owl Cinematic, 13.20 to 15.58)

จากตัวอย่าง เมื่อผู้พูดพูดภาษาอังกฤษส าเนียงตะวันตก ร่างกายของเขามักจะปรากฏใน ท่วงท่าที่ดูสง่างาม เป็นระเบียบ และสุภาพ ใช้เสียงที่อ่อนนิ่ม ผู้พูดมีแนวโน้มที่จะใช้ค าศัพท์ที่เกินจริง

Ref. code: 25615808030521AIP 114

เช่นในบรรทัดที่ 42 ( beautiful, amazing, fantastic, spectacular, wonderful, mind-blowing) แต่เมื่อผู้พูดโกรธและพูดภาษาซิงลิช ลักษณะทางภาษาก็จะกลับไปสู่ภาษาซิงลิชในลักษณะที่เสนอใน ส่วนที่ 4.1 ที่ใช้ค าศัพท์และโครงสร้างภาษาท้องถิ่น เช่น คาถามกลับ (question tag) ที่ภาษาซิงลิช มักใช้ค าว่า is it ในทุกกรณี เช่นในบรรทัดที่ 13, 28, 31 หรือการเรียงประโยคคาถามใหม่ เช่นใน บรรทัดที่ 28 (You are who?) ที่แปลตรงมาจากภาษาจีน (你是誰?/Nǐ shì shuí/) การล้อเลียนตัวละคร angmo pai และ chiak kantang เปิดเผยให้เห็นอุดมการณ์ ภาษาของคนสิงคโปร์ที่ว่าการพูดภาษาอังกฤษแบบส าเนียงตะวันตกเป็นสิ่งที่คนสิงคโปร์ไม่ยอมรับ และการนามาเปรียบเทียบกับภาษาซิงลิชที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ภาษาที่จริงใจหรือใกล้ชิดกับอารมณ์ มากกว่า ก็แสดงให้เห็นว่าคนสิงคโปร์ที่พูดภาษาอังกฤษตะวันตกเป็นผู้ที่เสแสร้งและไม่มีความจริงใจ ดังนั้นการพูดภาษาซิงลิชหรือภาษาอังกฤษส าเนียงสิงคโปร์จึงเป็นที่ยอมรับในสังคมสิงคโปร์มากกว่า น ามาสู่ส่วนต่อไปที่ผู้เขียนจะนาเสนอผู้พูดในลักษณะดังกล่าว การเล่นตลกที่แกว่งไปมาระหว่างคู่ตรงข้าม (Keiselo, 2013) ที่ภาษาอังกฤษมาตรฐาน ส าเนียงตะวันตกและภาษาซิงลิชมีความแตกต่างทั้งในด้านเสียง โครงสร้างการใช้ภาษา อารมณ์ที่ใช้ใน การพูด และเรือนร่างของผู้พูด สามารถมองเป็นกระบวนการผลิตซ้ าส่วนคล้าย (Irvine and Gal, 2000) ที่เร่งการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างคู่ตรงข้ามให้มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดได้รวดเร็ว ยิ่งขึ้น และได้ท าให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของคู่ตรงข้ามมีความเป็นชายขอบมากกว่า ซึ่งในวีดิโอตลกเหล่านี้ ได้แสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์ภาษาที่น่าสนใจ ที่ว่าภาษาอังกฤษเกินมาตรฐานมีความเป็นชายขอบ มากกว่าภาษาซิงลิชในสังคมสิงคโปร์

5.3 #neutralsinglish #standardsinglish

ในส่วนนี้ ผู้เขียนจะนาเสนอการพูดในลักษณะที่ยูทูเบอร์จ านวนมาก รวมถึงคนสิงคโปร์ ทั่วไปเรียกว่า “neutral Singlish” หรือภาษาซิงลิชที่เป็นกลาง และในที่สุด ผู้เขียนจะเรียกการพูด ภาษาซิงลิชในลักษณะดังกล่าวว่า “ภาษาซิงลิชมาตรฐาน” ซึ่งผู้เขียนจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป ผู้เขียนได้เสนอในบทที่แล้วว่า ในเวลาส่วนใหญ่ ยูทูเบอร์จะแสดงเป็นตนเอง ด้วยการใช้ ชื่อและบุคลิกภาพส่วนตัวแสดงเป็นตัวละคร ในท านองเดียวกัน วิธีการพูดก็จะถูกยกเข้าไปในการ แสดงในวีดิโอยูทูบตลกด้วย การแสดงเป็นตัวเองนี้ถ่ายทอดกลุ่มคนสิงคโปร์ที่เป็นคนวัยหนุ่มสาวทั่วไป ที่ไม่ได้มีภาพเหมารวมที่เด่นชัดในสังคมสิงคโปร์ วิธีการพูดของตัวละครเหล่านี้มักจะพูดภาษาอังกฤษ มาตรฐานส าเนียงสิงคโปร์ และผสมลักษณะภาษาซิงลิชเพียงเล็กน้อย เช่น ค าเสริมน้ าเสียงท้าย

Ref. code: 25615808030521AIP 115

ประโยค เช่น lah, leh และ loh และส านวนบางส านวน เช่น can, already, one และ or not ซึ่ง ในสายตาของคนสิงโปร์ การพูดเหล่านี้ยังคงถูกนับว่าเป็นภาษาซิงลิช การสลับไปมาระหว่างภาษาซิงลิชและภาษาอังกฤษมาตรฐานมักจะถูกแสดงให้เห็นถึง ความสนิทสนมและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ในตัวอย่างถอดความต่อไปนี้ จากวีดิโอเรื่อง #KiasuSingaporeans จากช่อง Wah!Banana การสลับภาษาจากภาษาอังกฤษมาตรฐานมาสู่ภาษา ซิงลิชแสดงให้เห็นถึงระยะห่างของความสัมพันธ์และการใช้ภาษาในสิงคโปร์

ตัวอย่างถอดความที่ 5.8 สถานการณ์: ในร้านอาหาร-Audrey และ Matthew คุยกับพนักงานบริการเกี่ยวกับบุปเฟ่ต์กาแฟ

1 Waitress Our coffee is free flow! พนักงาน กาแฟของเราเป็นบุฟเฟต์ค่ะ 2 Matthew Can you fill this up for me? แมทธิว งั้นคุณช่วยเติมลงไปในขวดนี้ได้ไหมครับ 3 Audrey ((พูดกับแมธทิว)) Don’t make me paiseh, can or not? ออเดรย์ อย่าท าให้ฉันขายหน้าได้หรือเปล่า

4 ((พูดกับพนักงาน)) Don't listen to him. Just fill this one up instead. อย่าไปฟังเขาค่ะช่วยเติมให้ขวดนี้ดีกว่า

(#kiasusingaporeans, Wah!Banana, 1.38 to 1.49)

จากตัวบทท าให้เห็นว่าออเดรย์และแมทธิว ที่ในฉากได้รับบทเป็นเพื่อนสนิทกัน ออเดรย์ ได้ติเตียนแมทธิว เรื่องมารยาทในการรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ด้วยภาษาซิงลิช ในขณะที่ทั้ง แมธทิว และออเดรย์ต่างพูดภาษาอังกฤษมาตรฐานกับพนักงานบริการเพื่อแสดงระยะห่างและความไม่สนิท สนม แต่อย่างไรก็ตาม วีดิโอนี้เล่นตลกกับ “นิสัยประจ าชาติ” ของคนสิงคโปร์ หรือนิสัย kiasu การ

Ref. code: 25615808030521AIP 116

กลัวแพ้หรือเสียเปรียบที่มากเกินไป ที่ออเดรย์นาขวดน้าที่ใหญ่กว่ามาเติมกาแฟบุฟเฟ่ต์ ซึ่งจากการ วิเคราะห์วีดิโอที่ล้อเลียนลักษณะนิสัยเหล่านี้อย่างชัดเจน เช่นวีดิโอเรื่อง The Most Kiasu Man in Singapore (คน kiasu ที่สุดในสิงคโปร์) จากช่อง Tree Potatoes หรือวีดิโอเรื่อง Shit Kiasu Singaporeans Say (เรื่องไร้สาระที่คนสิงคโปร์เกียซูพูด) ของช่อง Night Owl Cinematics ตัวละคร ในเรื่องก็มักจะใช้ภาษาซิงลิชแสดงฉากตลกล้อเลียนนิสัยดังกล่าว การสลับมาใช้ภาษาซิงลิชจากภาษาอังกฤษมาตรฐานก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นส่วน หนึ่งของสังคมสิงคโปร์ หรือความเป็นคนสิงคโปร์ ตัวอย่างจากวีดิโอเรื่อง When Singaporeans Go Overseas (เมื่อคนสิงคโปร์ไปต่างประเทศ) จากช่อง Tree Potatoes สามารถแสดงให้เห็นภาพได้ อย่างดี

ตัวอย่างถอดความที่ 5.9 สถานการณ์: ในประเทศออสเตรเลีย เพื่อนสามคนเดินหาร้านอาหาร ชายหญิงสองในสามคนมาจาก ประเทศสิงคโปร์ ผู้ชายอีกคนหนึ่งเป็นชาวออสเตรเลีย

1 Woman Walao eh! This place damn ex leh. ผู้หญิง ให้ตายสิ ที่นี่แพงสุด ๆ เลย 2 You wanna eat Mc or not? เธอจะไปกินแมคกันป่าว 3 Man 1 What did she say? ผู้ชาย 1 เธอพูดว่าอะไรเหรอ 4 Man 2 She’s saying that this place is a little bit pricy. ผู้ชาย 2 เธอบอกว่าที่นี่ราคาแพงไปหน่อย 5 Perhaps we should go grab some Mackers? บางทีเราอาจจะไปกินแมคกันมั๊ย 6 Man 1 Yeah, sure. Sounds good. ผู้ชาย 1 ได้ แน่นอน ฟังดูดี

(When Singaporeans Go Overseas, Tree Potatoes, 0.31 to 0.42)

Ref. code: 25615808030521AIP 117

ในประโยคที่ 1 และ 2 เพื่อนชายหญิงชาวสิงคโปร์พูดคุยกันเองด้วยภาษาซิงลิช แต่เมื่อ เพื่อนชาวออสเตรเลียแทรกเข้ามาในบทสนทนาในบรรทัดที่ 3 ผู้ชาย 2 ที่เป็นชาวสิงคโปร์ก็อธิบายสิ่ง ที่พวกเขาคุยกันเป็นภาษาอังกฤษมาตรฐานกับเพื่อนชาวออสเตรเลียคนนั้น แสดงให้เห็นว่าคนสิงคโปร์ สามารถสลับภาษาไปมาอย่างอัตโนมัติเมื่อรู้ว่าต้องพูดกับผู้ฟังคนใด อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงผู้พูดที่มี ความเป็นผู้รอบรู้ (cosmopolitan) และเป็นผู้ที่มีความเป็นท้องถิ่นในเวลาเดียวกัน วีดิโอตลกที่พูดภาษาซิงลิชกลางจ านวนมากใช้กลวิธีสร้างความตลกขบขันที่แตกต่างไป จากการสลับภาษาระหว่างรูปแบบภาษาที่ตรงข้าม เช่น วีดิโอเรื่อง Sex Appeal & Jokes: Malays on Malay President (แรงดึงดูดทางเพศและเรื่องตลก: ว่าด้วยชาวมาเลย์กับประธานาธิบดีชาว มาเลย์) จากช่อง Munah Hirzi Official ที่ใช้กลวิธีอื่น ๆ ในการสร้างความตลกขบขันจากการใช้ ภาษาภายในภาษาอังกฤษมาตรฐาน

ตัวอย่างถอดความที่ 5.10 สถานการณ์: นักข่าวสัมภาษณ์ชายหนุ่มชาวมาเลย์เกี่ยวกับก าหนดให้เพียงชาวมาเลย์สามารถเป็น ประธานาธิบดีได้

1 Reporter I’ve got like, [ชาห์ขยี้จมูก] important things to talk to you about. นักข่าว ดิฉันมีเรื่องที่ส าคัญที่อยากจะพูดคุยกับคุณค่ะ 2 This whole election, it was only reserved for Malays? Are you for? เกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดนี้ ที่ต าแหน่งถูกจัดพิเศษให้เพียงชาวมาเลย์ คุณเห็นด้วยไหม 3 Shah For? ชาห์ ด้วย 4 Reporter For this… นักข่าว เห็นด้วยกับสิ่งนี้ไหม 5 Shah No, I’m 25 years old. ชาห์ ไม่ ผมอายุ 25 ปี 6 Reporter This presidential election was only reserved for Malays. นักข่าว การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้จัดต าแหน่งพิเศษให้ชาวมาเลย์

Ref. code: 25615808030521AIP 118

7 Shah Reserved for Malays:? ชาห์ พิเศษส าหรับชาวมาเลย์เหรอ 8 Reporter Yes. นักข่าว ใช่ 9 Shah Only? ชาห์ แค่คนมาเลย์เหรอ 10 Reporter Yes. นักข่าว ใช่ 11 Shah Like handicap people:? ชาห์ เหมือนคนพิการเหรอ 12 Reporter Huh? นักข่าว หา 13 Shah At the cars park? ชาห์ ในที่จอดรถ 14 Reporter Yeah yeah sort of. But only… นักข่าว ใช่ ๆ ประมาณนั้น แต่เพียงแค่... 15 Shah So Malay peoples are… are… handicap? ชาห์ งั้นคนมาเลย์ทุกคน พิการเหรอ 16 Reporter No Shah You’re not… นักข่าว ไม่ ชาห์ คุณไม่ได้... 17 Shah That explains a lot about me. ชาห์ มันบอกอะไรเกี่ยวกับตัวผมได้เยอะมาก 18 Reporter Do you like the idea of this? นักข่าว คุณชอบความคิดนี้ไหม 19 Shah I like the idea of this! (0.2) What is the idea? ชาห์ ผมชอบไอเดียนี้ ไอเดียอะไรเหรอ 20 Reporter That a Malay is for president. นักข่าว ที่จะให้คนมาเลย์เป็นประธานาธิบดี 21 Shah No! ชาห์ ไม่

Ref. code: 25615808030521AIP 119

22 Reporter Oh why? นักข่าว โอ้ ท าไม 23 Shah Because if you think about it. It’s like tokenism what? ชาห์ เพราะถ้าพวกคุณคิดดี ๆ มันเหมือนสัญลักษณ์ปลอม ๆ ไม่ใช่เหรอ 24 I feels that as a young Malay. we have been discredited by having this ผมรู้สึกว่า ในฐานะคนมาเลย์วันหนุ่ม ผมถูกดูถูกด้วยการมี 25 Every time this country must adhere to Malay people ทุกครั้งที่ประเทศนี้จะให้คนมาเลย์ร่วมท าอะไรสักอย่าง 26 Very petty light? right ช่างน่าสงสารเหรือเกิน ถูกมั๊ย 27 Have you heard of the Minister of Hindu Affairs? คุณเคยได้ยินรัฐมนตรีว่าการฮินดูไหม 28 Reporter No นักข่าว ไม่ 29 Shah Have you heard of the Minister of Buddhist Affairs? ชาห์ คุณเคยได้ยินรัฐมนตรีว่าการศาสนาพุทธไหม 30 Reporter No นักข่าว ไม่ 31 Shah Muslim affairs? ชาห์ การอิสลาม 32 Reporter Yes นักข่าว เคยค่ะ 33 Shah Because Malay can marry four. ชาห์ เพราะคนมาเลย์แต่งงานได้ 4 คน 34 Reporter Okay. You have to be serious okay? You cannot just like… do other things. นักข่าว โอเค คุณต้องจริงจังมากกว่านี้ โอเคไหม คุณอย่าทาแบบว่า อย่างอื่น

Ref. code: 25615808030521AIP 120

35 Shah Why so serious? ชาห์ ท าไมต้องจริงจังขนาดนั้น

(Sex Appeal & Jokes: Malays on Malay President, Munah Hirzi Official, 5.01-6.13)

ภูมิหลังของวีดิโอนี้คือในปีค.ศ. 2018 รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศว่าการต าแหน่ง ประธานาธิบดีครั้งต่อไปจะกันไว้ส าหรับชาวมาเลย์เท่านั้น เพราะว่าไม่มีตัวแทนจากเชื้อชาติมาเลย์ท า หน้าที่ประธานาธิบดีมาติดต่อกันแล้ว 6 สมัย ท าให้ผู้สมัครเลือกตั้งที่เป็นชาวจีนและชาวอินเดียหมด สิทธิ์ชิงต าแหน่งไปโดยปริยาย และท าให้นางฮาลิมะห์ ยาคอบ (Halimah Yacob) ผู้สมัครชาวมาเลย์ คนเดียวได้รับต าแหน่งประธานาธิบดีของสิงคโปร์ การก้าวสู่ต าแหน่งประธานาธิบดีของเธอถูก วิพากษ์วิจารณ์ว่าขัดต่อหลักการประชาธิปไตย เนื่องจากกฎการจองต าแหน่งตามเชื้อชาตินี้เป็นกฎที่ เพิ่งตั้งก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ ในฉากนี้ ตัวละครชาห์ พูดลักษณะของภาษาซิงลิชเพียง 1 ประโยคในบรรทัดที่ 23 (ค า ลงท้ายเสริมน้ าเสียง what) อย่างไรก็ตาม วีดิโอตลกที่ใช้ภาษาอังกฤษมาตรฐานใช้วิธีการอื่น ๆ ใน การสร้างความตลกเช่น การเล่นคาพ้องเสียง (pun) เช่นมุกตลกในบรรทัดที่ 2-5 มุกตลกที่อ้างอิงสู่สิ่ง ที่คล้ายกัน เช่นมุกตลกตั้งแต่บรรทัดที่ 6-16 ที่ใช้ค าว่า reserved (จองที่) ต าแหน่งประธานาธิบดีกับ การจองที่จอดรถของคนพิการ ซึ่งสามารถล้อเลียนสิทธิทางการเมืองอันบิดเบี้ยวในสิงคโปร์ หรือมุก ตลกที่เล่นกับทางเลือกที่ผิด เช่นมุกตลกตั้งแต่บรรทัดที่ 18-21 ที่ชาห์ตอบคาถามผิด หรือในมุกตลก ในบรรทัดที่ 27-33 ที่ชาห์ยกตัวอย่างผิด อย่างไรก็ดีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือยูทูบเปิดพื้นที่ให้กับยูทูเบอร์ผู้สนใจการเมือง สามารถผลิตวีดิโอวิพากษ์วิจารณ์การเมืองอย่างอ้อมค้อม ผ่านการแสดงตลกในวีดิโอได้ ซึ่งถือเป็น พื้นที่ที่น่าสนใจ หลักจากผู้กุมอ านาจการผลิตสื่อบันเทิงเป็นของรัฐบาลสิงคโปร์ตลอดมา และมักจะ หลีกเลี่ยงการพูดถึงการเมืองในสื่อบันเทิง ในพื้นที่แสดงความคิดเห็น ผู้ชมคนหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า “พระเจ้าช่วย ผมชอบ วีดิโอของคุณมากเพราะยูทูเบอร์สิงคโปร์ไม่ค่อยใช้แพลตฟอร์มของเขาแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา สังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในลักษณะที่ตลกและบันเทิง แต่ได้ความรู้แบบนี้” แสดงให้เห็นถึงผลกระทบ ทางสังคมที่วีดิโอตลกในยูทูบที่มีเนื้อหาใหม่ท าให้เกิดขึ้นได้

Ref. code: 25615808030521AIP 121

น่าสังเกตว่ารัฐบาลสิงคโปร์ที่อ่อนไหวต่อการวิพากษ์วิจารณ์ ยอมยูทูเบอร์ผู้ผลิตวีดิโอ ตลกที่ใช้ภาษาซิงลิชเหล่านี้ผลิตเนื้อหาโจมตีรัฐบาล แต่กลับไม่อ่อนข้อวีดิโอที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ด้วยภาษาอังกฤษมาตรฐาน ผู้เขียนมองว่าธรรมชาติของการเสียดสีและตลกขบขันของภาษาซิงลิชท า ให้การวิพากษ์วิจารณ์อ่อนลงและอ้อมค้อมมากขึ้น แต่การพูดภาษาอังกฤษมาตรฐานในสังคมสิงคโปร์ ถือเป็นการพูดที่เป็นทางการ และท าให้การวิพากษ์วิจารณ์มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานะของ “ส าเนียงซิงลิชกลาง” ยังคงพร่าเลือน เช่นในกรณีของเชรย์ ภาร์กะวา (Shrey Bhargava) นักแสดงสิงคโปร์เชื้อสายอินเดีย ที่โพสต์เฟซบุ๊กวิพากษ์วิจารณ์ทีม คัดเลือกนักแสดงของภาพยนตร์เรื่อง 4 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2017 ว่า “ตอน ที่ผมอยู่ที่นั่น ผมพูดส าเนียงซิงลิชกลาง และหัวหน้าฝ่ายคัดเลือกนักแสดงบอกกับผมว่า ‘เป็นอินเดีย ให้มากกว่านี้’ และ ‘ท าให้มันตลกหน่อย’ ... ผมรู้สึกว่าการที่เขาสั่งให้ผมแสดงภาพเหมารวมของเชื้อ ชาติของผม และลดทอนตัวตนของเขาเหลือเพียงส าเนียงอินเดียหนัก ๆ เพื่อท าให้เชื้อชาติส่วนใหญ่ใน สิงคโปร์รู้สึกสนใจ” (mothership.sg, 28 May 2017) โพสต์ของเชรย์แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของ เขาที่ว่าส าเนียงที่เขาพูดเป็นส าเนียงภาษาซิงลิชที่เป็นกลาง และเป็นมาตรฐาน แต่ความมาตรฐานนี้ อาจมีเพียงคนบางกลุ่มในสังคมเป็นเจ้าของ น่าประหลาดใจว่าเหตุการณ์ในลักษณะ ดังกล่าวได้ถูกนามาล้อเลียนแล้วในวีดิโอเรื่อง Awkward Situations only Indians Understand (เหตุการณ์ที่น่ากระอักกระอ่วนใจที่มีคนอินเดียเท่านั้นเข้าใจ) ของช่อง Ministry of Funny ที่ออก เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2017 ก่อนหน้าที่เหตุการณ์ของเชรย์เกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์ โดยฮาเรช ติลานี (Haresh Tilani) ผู้ผลิตวีดิโอนี้อ้างในวีดิโอเดียวกันว่าเหตุการณ์ที่อยู่ในวีดิโอสร้างขึ้นจาก ประสบการณ์จริงที่เขาเคยพบ

ตัวอย่างถอดความที่ 5.11 สถานการณ์: ผู้ก ากับสั่งคัทนักแสดงสองคนและขอร้องให้เทคต่อไปแสดงให้มีความเป็นอินเดียมาก ยิ่งขึ้น ส่วนคนแปลกหน้าเดินผ่านเมื่อเห็นนักแสดงเชื้อสายอินเดียสองคนก็คิดว่าเป็นการถ่ายท าละคร ของช่องภาษาทมิฬ ทั้ง ๆ ที่ละครใช้ภาษาอังกฤษแสดง

1 Actor I really mean it this time. I’ll never leave you. Ok? ครั้งนี้ผมพูดจริง ๆ นะ ผมจะไม่ทิ้งคุณ โอเคไหม 2 Actress Ok. โอเคค่ะ

Ref. code: 25615808030521AIP 122

3 Director Cut! That was good! That was good! คัท ดีมาก ดีมาก 4 Lines were good. [ยื่นมือมาข้างหน้า] Feelings were good. But… But… บทดี อารมณ์ได้ แต่ 5 Actors But what แต่อะไร 6 Director It’s just lacking a little… [ห่อนิ้ว] มันขาดอะไรนิดหน่อย 7 Actors A little what… อะไรนิดหน่อย 8 Director It’s not Indian enough. [ผู้ก ากับแบมือไปด้านข้าง] You know like, like, Indian? มันอินเดียไม่พอ แบบว่า อินเดีย คุณเข้าใจมั๊ย 9 We need a little bit of this. [โยกหัว] เราอยากได้แบบนี้นิดหน่อย 10 We need to go a little Mustafa on it. เราจะต้องท าให้มันดูพาหุรัดหน่อย

11 Indian? Ya? Ya? อินเดีย ได้มั๊ย ได้มั๊ย 12 Ah! I know. I know.

[พูดกับเล่อเอินและชี้ไปทางด้านขวา] Le En, you see that tree over there? อ้า ผมรู้แล้ว ผมรู้แล้ว เล่อเอิน คุณเห็นต้นไม้ตรงนั้นมั๊ย 13 You bring that tree over here? [ลากนิ้วมาด้านหน้า]

Ref. code: 25615808030521AIP 123

So that they can Indian around it. คุณเอาต้นไม้นั้นมาตรงนี้ พวกเขาจะได้กระท าการอินเดียรอบ ๆ มัน 14 Then they’ll understand, ok? [ผายมือมาด้านข้าง] เดี๋ยวเขาก็เข้าใจเอง โอเค 15 Indian around it, ok? Got it? อินเดียไปรอบ ๆ โอเคไหม เข้าใจไหม 16 Stranger Oh! Vasantham 在这边拍戏: ((พยักหน้า)) อ๋อ Vasantham (โทรทัศน์ภาษาทมิฬ) มาถ่ายหนังตรงนี้นี่เอง

(Awkward Situations only Indians Understand, Ministry of Funny, 2.09-2.55)

จากตัวอย่าง ตัวละครที่เป็นนักแสดงชาวสิงคโปร์เชื้อสายอินเดียและผู้ก ากับที่เป็นชาว สิงคโปร์เชื้อสายจีนต่างพูดภาษาอังกฤษส าเนียงสิงคโปร์กลาง แต่นักแสดงถูกขอร้องจากผู้ก ากับให้ นักแสดงพูดส าเนียงอินเดียและให้ใช้ร่างกายแสดงอากัปกิริยาตามภาพเหมารวมแบบอินเดีย อาจ แสดงให้เห็นถึงความกากวมและไม่ชัดเจนระหว่างความเป็นคนสิงคโปร์ กับความเป็นคนที่มีเชื้อสาย อินเดีย โดยส าเนียงซิงลิชกลางซึ่งหมายถึงอัตลักษณ์ของคนสิงคโปร์ทั้งชาติอาจถูกริบคืนเมื่อไรก็ได้ จากชนกลุ่มมาก ผู้เขียนไม่ได้มีความตั้งใจว่าจะผูกเหตุการณ์ของเชรย์กับเนื้อหาในวีดิโอของฮาเรชจะ เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกัน แต่ถ้าเรื่องที่เกิดขึ้นในวีดิโอที่ผู้เขียนถอดความมาเป็นเรื่องจริง นักแสดงชาว สิงคโปร์เชื้อสายอินเดียอย่างน้อย 2 คนในอุตสาหกรรมได้พบเจอกับคาขอร้องที่ว่า “เป็นอินเดียให้ มากกว่านี้” ดังนั้น ภาษาซิงลิชกลางอาจไม่ใช่ภาษากลางส าหรับทุกคนในสิงคโปร์อย่างที่ทุกคนเชื่อ จริง เพราะคนบางกลุ่มในสิงคโปร์ไม่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งการสลาย ความแตกต่างหลากหลายของภาษาอังกฤษในสิงคโปร์ให้เหลือเพียง “ภาษาซิงลิชกลาง” ก็เป็น การลบล้าง (Irvine and Gal, 2000) ความจริงที่ว่ายังมีวิธีการพูดที่หลากหลายที่สามารถแสดงออก ถึงความเป็นคนสิงคโปร์ได้ นอกจากนี้ ในขณะเดียวกันยังลบล้างชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เช่นชาวอินเดียใน กรณีนี้ออกจากความแตกต่างหลากหลายของผู้คนและรูปแบบการใช้ภาษาในสิงคโปร์

Ref. code: 25615808030521AIP 124

5.4 “ภาษาซิงลิชในยูทูบ” ในความคิดของยูทูเบอร์

ในส่วนนี้ ผู้เขียนจะนาเสนอความคิดของยูทูเบอร์ที่มีต่อภาษาซิงลิชและการผลิตวีดิโอ ของพวกเขา ซึ่งเป็นข้อมูลของวิถีปฏิบัติหลังวาทกรรม โดยข้อมูลประเภทนี้เป็นส่วนส าคัญในการท า ความเข้าใจความตระหนักรู้ของอุดมการณ์ภาษาของพวกเขา ยูทูเบอร์บางกลุ่มมองว่ายูทูบเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อ ท าให้การเสนอภาพแทนทาง สังคมเปลี่ยนไป เคนนีจากช่อง Nubbad TV กล่าวว่า

มีเดียคอร์ปเป็นผู้ผลิตสื่อบันเทิงหนึ่งเดียวในสิงคโปร์ แม้แต่เนื้อหาที่เป็นภาษาซิงลิช พวกเขาไม่สามารถใช้ภาษาซิงลิชมากได้ ยูทูบเพิ่มทางเลือกใหม่ ท าให้เนื้อหาภาษาซิงลิช มีมากขึ้นตามความสนใจของผู้คนที่แตกต่างกัน เช่นวีดิโออาหารภาษาซิงลิช วีดิโอตลก ภาษาซิงลิช วีดิโอแนะนาสินค้าภาษาซิงลิช ผู้เล่นในอุตสาหกรรมก็มีมากขึ้น ท าให้ ธรรมชาติของพื้นที่สื่อเปลี่ยนไป K. Chua (interview, November 6, 2017)

แอรอน คูจากช่อง Tree Potatoes กล่าวว่า “การแสดงความเป็นสิงคโปร์ในสื่อทั่วไป ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมามักจะเบี่ยงเบนไปจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและภาษาซิงลิช เราในฐานะยูทูเบอร์ พยายามที่จะโอบรับอัตลักษณ์ท้องถิ่นของเรา และข าไปกับลักษณะเฉพาะของมัน ผมคิดว่าเนื้อหาใน วีดิโอของเราช่วยแสดงให้ผู้ชมเห็นชีวิตอีกด้านของคนสิงคโปร์ ซึ่งในกรณีชาวต่างชาติ ถ้าเขาไม่สนิท กับเพื่อนคนสิงคโปร์ก็คงจะไม่สามารถมีประสบการณ์แบบที่เรานาเสนอในสิงคโปร์” (Escobado, 2017) ในท านองเดียวกัน ลิ่งอี๋จากช่อง Wah!Banana กล่าวว่า “การแสดงภาพสิงคโปร์ในสื่อ ต่างชาติมักจะแสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์มีความเป็นสมัยใหม่และพัฒนามากอย่างไร หรือเกี่ยวกับอาหาร ในฮอกเกอร์เซนเตอร์ มันดีที่ว่ามันเป็นประเพณีของเรา แต่รายการพวกนี้มันไม่เป็นท้องถิ่นพอ เช่น วีดิโอเรื่องประเภทต่าง ๆ ของผู้คนในฮอกเกอร์เซนเตอร์ของเราที่มอบความตลกขบขันที่ล้อเลียนได้ อย่างจริงจัง” (L. Xiong, interview, July 13, 2016) ยูทูเบอร์บางกลุ่มเฉลิมฉลองสถานะของภาษาซิงลิชอย่างชัดเจน เฮนรี่จาก Nubbad TV กล่าวว่า “ภาษาซิงลิชเป็นกาวทางสังคม ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนเชื้อชาติใด คุณก็จะเรียกสิ่งหนึ่ง เหมือนกัน” ซิลเวียกจากช่อง Night Owl Cinematics กล่าวว่า “เราเฉลิมฉลองภาษาซิงลิชและ ภาษาฮกเกี้ยน เรารู้สึกว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่ไม่ค่อยมีวัฒนธรรม และนี่อาจจะเป็นวัฒนธรรมหนึ่ง

Ref. code: 25615808030521AIP 125

เดียวที่ยัง ‘เหลือ’ อยู่ เราเลยอยากพูดในลักษณะแบบเดียวกับบรรพบุรุษของเราพูด แบบติดภาษา ฮกเกี้ยนหน่อย ถามหน่อยว่ามันแย่ตรงไหน ก็มันเป็นสไตล์ของเรานี่” (S. Chan, interview, January 16, 2015) ยูทูเบอร์หลายคนสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของยูทูบ ที่มีความส าคัญอย่างยิ่งต่อ การใช้ภาษาซิงลิชในยูทูบ เช่น ฟาเบียน (นามสมมติ) จากช่อง Wah!Banana กล่าวว่า “ยูทูบมี ธรรมชาติของความเป็นรากหญ้า ความตลกในยูทูบจะรุนแรงกว่า มุกตลกจะค่อนข้างติดดิน (grounded) และไม่ถูกต้องทางการเมืองมากนัก ซึ่งเป็นชีวิตจริงในสังคมสิงคโปร์” ลิ่งอี๋จากช่อง Wah!Banana เช่นกัน กล่าวว่า “ฉันคิดว่ามุกตลกภาษาซิงลิชบางมุกค่อนข้างมีเอกลักษณ์ มันอาจจะ ตลกถ้าหากคุณเป็นคนสิงคโปร์ ชาวต่างชาติอาจมีความยากล าบากในการท าความเข้าใจส าเนียงของ เราและเนื้อหาของเราเมื่อเขาชมวีดิโอครั้งแรก แต่ยูทูบมันเล่นกลับไปกลับมาได้ ท าให้พวกเขา สามารถใช้เวลาท าความเข้าใจภาษาซิงลิช” ในท านองเดียวกัน ยูทูบในฐานะสื่อดิจิทัลที่คนทั่วโลกสามารถเข้าถึง ท าให้คนทั่วโลก สามารถท าความเข้าใจกับภาษาซิงลิชได้ ซิลเวียจากช่อง Night Owl Cinematics กล่าวว่า

สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้คือ ทั้ง ๆ ที่เนื้อหาของเราเน้นไปที่ความเป็นสิงคโปร์นิยม (Singaporeanism) เรากลับได้รับความนิยมจากผู้ชมนอกสิงคโปร์ วีดิโอของเราแสดงให้ เห็นว่าเรามีพฤติกรรมอย่างไร เราเป็นคนอย่างไร เพื่อนและแฟนชาวต่างชาติของเรา บอกกับเราว่าวีดิโอของเราสอนให้เขามีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับเพื่อนร่วมงานชาวสิงคโปร์ ของพวกเขาอย่างไร ซึ่งถือได้ว่าเป็นประตูที่ไม่เป็นทางการสู่ความรู้และความเข้าใจที่มี ต่อสิงคโปร์” S. Chan (interview, October 30, 2017)

นอกจากเราจะพยายามเปิดเผยมุกตลกของเรา เรายังแสดงให้เห็นคุณค่าและ ขนบธรรมเนียมของสิงคโปร์ที่ซ่อนอยู่ในชีวิตประจ าวัน Y. Gung (interview, October 18, 2017)

5.5 สรุป

ผู้เขียนสามารถวิเคราะห์และแยกแยะการใช้ภาษาในลักษณะต่าง ๆ ได้เป็นเพราะว่า ยูทูบเปิดพื้นที่ให้มีสื่อภาพและเสียงจ านวนมหาศาลถูกอัปโหลดขึ้นในแพลตฟอร์ม และเปิดพื้นที่ให้มี

Ref. code: 25615808030521AIP 126

เสียงที่แตกต่างหลากหลาย แต่อย่างไรก็ตาม ยูทูบก็ได้ท าให้มองเห็นการแบ่งแยกความแตกต่างทาง ภาษาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในบทนี้ ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการแบ่งแยกความแตกต่างทางภาษาในสิงคโปร์ที่ ปรากฏให้เห็นในวีดิโอยูทูบภาษาซิงลิช โดยคร่าวประกอบด้วยผู้พูดภาษาซิงลิชตลอดเวลา ที่มักจะ ถ่ายทอดคนสิงคโปร์ที่ไม่เข้ากับความเป็นสิงคโปร์สมัยใหม่ ผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเกินมาตรฐานสลับกับ ภาษาซิงลิช แสดงให้เห็นถึงทัศนคติอันลบที่มีต่อคนสิงคโปร์ที่พูดภาษาอังกฤษส าเนียงตะวันตก และผู้ พูดภาษาอังกฤษมาตรฐานสลับกับภาษาซิงลิช อันเป็นภาษาซิงลิชที่คนสิงคโปร์เชื่อว่าเป็นภาษาซิงลิช ส าหรับคนสิงคโปร์ทุกคน ในเชิงอุดมการณ์ภาษา ยูทูบได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการแบ่งแยกความ แตกต่างทางภาษา หากพิจารณาภายใต้กรอบของเออร์ไวน์และแกล (Irvine & Gal, 2000) การ ถ่ายทอดลักษณะตัวละครที่อยู่ในหัวออกมาเป็นตัวละครที่มีชีวิตในยูทูบคือการท าให้ภาพสังคม กลายเป็นรูปร่าง (iconization) ที่ชัดเจนขึ้นมา แล้วด้วยวีดิโอยูทูบที่ภาพและเสียงถูกมองเห็นและได้ ยินในเวลาเดียวกัน ก็ได้ท าให้วิธีการพูดถูกจับคู่กับเรือนร่าง เช่น ผู้พูดภาษาซิงลิชนั่งชันเข่า แต่ผู้พูด ภาษาอังกฤษมาตรฐานยืนอย่างสง่างาม ซึ่งภาพและเสียงเหล่านี้อาจกลายเป็นความจริงทางธรรมชาติ (naturalised) เมื่อเกิดการผลิตซ้ าอย่างต่อเนื่อง ในวีดิโอตลกเหล่านี้ เสียงและภาษาที่ผูกพันอย่างใกล้ชิดกับต าแหน่งแห่งที่ทางสังคมใน สิงคโปร์กลายมามีความหมายเมื่อนาความแตกต่างหลากหลายของเสียงและภาษาต่าง ๆ มา เปรียบเทียบความแตกต่างอย่างสุดโต่งและมองเห็นอย่างชัดเจน เช่นการสร้างตัวละครที่พูดภาษาซิง ลิชตลอดเวลา ด้วยการแสดงที่ดูเกินจริงให้เป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ไร้การศึกษาเช่น ah beng หรือ ah lian และแสดงแบบจริง (realism) กับตัวละครที่พูดภาษาซิงลิชสลับกับภาษาอังกฤษมาตรฐาน แสดง ให้เห็นถึงรูปแบบการใช้ภาษาที่มีคุณค่าที่ไม่เท่ากัน และการผลิตซ้ าผู้พูดภาษาซิงลิชตลอดเวลาให้ดู กลายเป็นตัวละครที่ตลก อย่างไม่หยุดยั้งตั้งแต่รายการโทรทัศน์ในอดีตจนถึงวีดิโอยูทูบในปัจจุบันก็ เปิดเผยให้เห็นกระบวนการผลิตซ้ าของส่วนคล้าย (fractal recursivity) อย่างต่อเนื่อง และท าให้เสียง และเรือนร่างที่ถูกจับคู่กันกลายมาเป็นวัฒนธรรม (culturally structured voices) (Irvine, 1990, p. 128) นอกจากนี้ การลบล้างเกิดขึ้นพร้อมกับกระบวนการทั้งสองข้างตน เช่น การปฏิเสธถึง ความเป็นเจ้าของภาษาซิงลิชกลางของชนกลุ่มน้อยในสิงคโปร์ อย่างชาวอินเดียหรือชาวมลายู เนื่องจากเสียงภาษาซิงลิชกลางอาจไม่เข้าพวกกับใบหน้าและเรือนร่างที่แตกต่างไปจากเรือนร่างของ ชาวจีน หรือแม้แต่การกลืนภาษาซิงลิชที่มีความแตกต่างหลากหลายให้เหลือเพียงภาษาซิงลิชกลาง ก็ อาจถือว่าเป็นกระบวนการลบล้างเช่นเดียวกัน

Ref. code: 25615808030521AIP 127

บทที่ 6 บทสรุป

วิทยานิพนธ์นี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารของยูทูบกับการ ใช้ภาษาซิงลิชในบริบทสังคมสิงคโปร์ ผู้เขียนได้เริ่มต้นจากการอธิบายภูมิหลังทางภาษาศาสตร์และ ประวัติศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ และชี้ให้ว่ารายการตลกเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีสื่อ (media tradition) ของสิงคโปร์ตั้งแต่ยุคสร้างชาติ หลังจากนั้น ผู้เขียนได้เน้นมาที่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของ สิงคโปร์ ที่กลุ่มยูทูเบอร์ที่วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม ผู้เขียนพยายามเปิดเผย ให้เห็นอ านาจกระท าการทั้งทางตรงและทางอ้อมของผู้คนที่อยู่เบื้องหลังการผลิตเนื้อหาของวีดิโอตลก ภาษาซิงลิชในยูทูบและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับมัน และพบว่าอุดมการณ์สื่อที่ส่งผ่านมาจากเทคโนโลยี ที่มีฐานแนวคิดเสรีนิยมใหม่แบบซิลิคอนแวลีย์ผสานรวมกับการแข่งขันแย่งชิงพื้นที่ทางธุรกิจใน สิงคโปร์อย่างแนบเนียน และท าให้มีผลกระทบต่อเนื้อหาที่ผลิตด้วย ต่อมา ผู้เขียนเจาะลึกลงไปในกองถ่ายวีดิโอตลกภาษาซิงลิช และพบความไม่ลงรอยกัน ระหว่างอุดมการณ์ภาษาและอุดมการณ์สื่อ กับการใช้ภาษาและสื่อในทางปฏิบัติ แสดงให้เห็นถึง อุดมการณ์ภาษาที่ซ่อนอยู่ นอกจากนี้ ผู้เขียนยังศึกษาเบื้องหน้าของวีดิโอตลกภาษาซิงลิชและนามา พิจารณาประกอบกันกับข้อมูลที่ได้จากเบื้องหลัง จากข้อมูลที่เสนอไปทั้งหมด ผู้เขียนจะเสนอข้อสรุป ออกเป็น 3 ประเด็นส าคัญที่ซ้อนเหลื่อมกัน ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นสื่อใหม่กับภาษา ซิงลิช 2) การกลายเป็น “มาตรฐาน” ของภาษาซิงลิชและวิธีการสื่อสารในสิงคโปร์ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนในสิงคโปร์ยุคปัจจุบัน

6.1 ภาษาซิงลิชและความใหม่ของยูทูบ

การผลิตวีดิโอตลกภาษาซิงลิชในยูทูบได้เปิดเผยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยี ดิจิทัลกับการใช้ภาษาในบริบทต่าง ๆ ของคนสิงคโปร์ เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมของการสื่อสารผ่านสื่อภาพและเสียงจากโทรทัศน์สู่ยูทูบ “ยูทูเบอร์” ก าเนิดขึ้นมาในฐานะ หน้าที่ทางการสื่อสารใหม่ ในกรณีวีดิโอตลกภาษาซิงลิช เราสามารถเห็นปฏิบัติการทางสังคมใหม่ ๆ ที่ เกิดขึ้นจาก “ความใหม่” ของยูทูบ เช่น ช่องทางการไหลเวียนใหม่ของภาษาซิงลิช จากใน ชีวิตประจ าวันท่ามกลางแรงกดดันจากสื่อดั้งเดิมของรัฐบาล มาสู่บนยูทูบที่รัฐบาลสามารถเข้ามา ควบคุมได้เพียงบางส่วน การเข้าร่วมบทสนทนาทางสังคมแบบใหม่ ที่ยูทูเบอร์นากระแสทางสังคมมา เล่าและตีความผ่านการสร้างสรรค์เนื้อหา และการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบใหม่ ด้วยการ

Ref. code: 25615808030521AIP 128

วิพากษ์วิจารณ์ด้วยละครตลกของช่อง Munah Hirzi Official และ Ministry of Funny และการเป็น ส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์โครงการของรัฐบาล ที่วีดิโอจากช่อง Wah!Banana และ Night Owl Cinematics แพลตฟอร์มของยูทูบในฐานะพื้นที่การสตรีมวีดิโอและสื่อสังคม ศักยภาพ (affordance) (Gershon, 2017; Gibson, 1979; Hutchby, 2001) ของยูทูบสามารถท าให้ยูทูเบอร์ ผลิตภาพแทนของประเทศสิงคโปร์ผ่านคุณลักษณะของสื่อวีดิโอ ที่ภาพและเสียงถูกบันทึกและนา เสนอในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยูทูเบอร์สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมได้ทันที ท าให้การผลิตสื่อภาพ เสียงไม่ใช่เรื่องไกลตัวในสายตาของผู้คนทั่วไปอีกต่อไป ยูทูบท าให้ยูทูเบอร์ย้ายเสียงและค าพูดจากชีวิตประจ าวันไปสู่พื้นที่สื่อ และนาภาพของ “สังคมสิงคโปร์” ในความคิดของพวกเขาสร้างสรรค์ออกมาเป็นวีดิโอ ท าให้มองเห็นความเป็นจริงอีก ด้านของสังคมสิงคโปร์ที่แตกต่างไปจากจินตนาการของรัฐ ที่หน่วยงานด้านสื่อของรัฐ เช่นมีเดียคอร์ป ผูกขาดการเลือกเรื่องราวที่จะเล่า ภาพที่จะถ่ายทอด และเสียงที่ผู้ชมจะได้ยินมาอย่างยาวนาน เทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ของยูทูบได้แบ่งอ านาจต่าง ๆ ดังกล่าวมาสู่บุคคลทั่วไป ผ่านศักยภาพของ ยูทูบที่ท าให้การเล่าเรื่องเป็นวีดิโอที่มีภาพและเสียงเข้าถึงง่าย ในทางกลับกัน เราสามารถมองเห็นการแบ่งแยกความแตกต่างทางภาษาในการพูดและ การแสดงในวีดิโอตลกเหล่านี้ ที่วิธีการพูดอันแตกต่างหลากหลายที่มีอยู่ในภูมิทัศน์ภาษาของสิงคโปร์ ถูกเลือกมานาเสนอ ล้อเลียน เสียดสี และวิพากษ์วิจารณ์ออกมาเป็นวีดิโอที่ไหลเวียนในสื่อดิจิทัล ที่ แบ่งปันได้รวดเร็วและกลายเป็นที่นิยมได้ง่ายขึ้น การแสดงของยูทูเบอร์ท าให้เรามองเห็นการจับคู่ระหว่างเรือนร่างและวิธีการพูด ว่า ท่าทางและเรือนร่างแบบใดเหมาะสมกับรูปแบบการใช้ภาษาและเสียงแบบใด ซึ่งศักยภาพของยูทูบมี บทบทส าคัญในการแบ่งแยกความแตกต่างทางภาษานี้ ในแง่ที่ว่า สื่อดั้งเดิมที่ต้องระมัดระวังการใช้ ภาษาให้มีมาตรฐาน แต่บนยูทูบ ผู้ผลิตสื่อไม่จ าเป็นต้องระมัดระวังการใช้ภาษาเท่าสื่อดั้งเดิม การใช้ ภาษาที่ประกอบกับการใช้ภาพเหมารวมจึงเกิดขึ้นอย่างอิสระ และด้วยเหตุนี้ การแบ่งแยกความ แตกต่างทางภาษาในสังคมก็ถูกผลิตซ้ า หรือถูกยกมาปรากฏให้เห็นในวีดิโอยูทูบ การจับคู่ระหว่าง เรือนร่างและวีธีการพูดนี้ก็เป็นหนึ่งในวีธีการส าคัญในการแบ่งแยกความแตกต่างทางภาษาเชิง อุดมการณ์ อุดมการณ์สื่อก็มีส่วนส าคัญในประเด็นดังกล่าวเช่นเดียวกัน เพราะยูทูบเป็นองค์กรทุน นิยม ที่คาดหวังผลมากกว่ากระบวนการ ดังนั้นวีดิโอตลกในยูทูบก็มักจะใช้วิธีการเล่นกับเสียงและภาพ เหมารวมในการสร้างความตลกอย่างสนุกสนาน และภาพและเสียงเหล่านั้นก็ถูกท าให้เป็นเชื้อชาติ (racialised) และชนชั้น (classified) ประกอบกับความสามารถในการเข้าถึงและความนิยมของผู้คน

Ref. code: 25615808030521AIP 129

จ านวนมหาศาล และการท าให้ภาษาซิงลิชและภาพสังคมของสิงคโปร์กลายเป็นสินค้า ท าให้การ แบ่งแยกความแตกต่างทางภาษาดังกล่าวได้รับการสนับสนุน มองเห็นได้ชัด และท าให้ผู้คนจ านวน มากสามารถจินตนาการได้ถึงความขัดแย้งทางสังคมที่เกิดจากการแบ่งแยกทางภาษาเหล่านี้ ในวิทยานิพนธ์นี้ ผู้เขียนต้องการเสนอว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อมประสานกับการใช้ภาษา ของมนุษย์บนอุดมการณ์ โดยอุดมการณ์ดังกล่าวเป็นทั้งอุดมการณ์ภาษาที่เกี่ยวข้องกับความคิดและ ความเชื่อทางอัตลักษณ์ ทั้งในระดับตัวตนชองตนเอง ของผู้อื่น และในระดับรัฐชาติผ่านการใช้ภาษา และอุดมการณ์สื่อที่เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความคิดและความเชื่อที่มีต่อศักยภาพและความสามารถ ในการสื่อสารและถ่ายทอดความคิดของตนเอง ในกรณีการผลิตวีดิโอยูทูบตลกภาษาซิงลิช เหล่านักสร้างสรรค์ยูทูบมองต าแหน่งแห่งที่ ทางสังคมของตน ความสามารถในการเข้าถึงผู้ชมจ านวนมาก และวิธีการท างานผ่านโครงสร้างทาง เทคโนโลยีของยูทูบที่มีศักยภาพในการมอบความเป็นไปได้ของการกระท า ในขณะเดียวกัน เขาแสดง เป็นตัวละครด้วยความเชื่อว่าตัวละครที่เขาต้องการรถ่ายทอดจะต้องมีลักษณะอย่างไร โดยการดึง ลักษณะเชิงภาพเหมารวมด้วยวิธีการใช้ภาษาและแสดงอากัปกิริยา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกระบวนการ ทางสัญลักษณ์ที่เสียงและเรือนร่างกลายหลอมรวมกลายเป็นภาพเดียวกัน จนกระทั่งท าให้ตัวละครที่ อาจจะเคยเป็นเพียงภาพจ าจากเรื่องเล่ากลายมามีชีวิต และภาพและเสียงเหล่านั้นถูกบันทึกและ เผยแพร่เป็นวัตถุผ่านแพลตฟอร์มของยูทูบ

6.2 ความมาตรฐานของความไม่เป็นมาตรฐาน

ประเด็นต่อมาคือการกลายเป็น “มาตรฐาน” ของภาษาซิงลิชและการสื่อสารด้วยวีดิโอ ตลกในยูทูบ ถึงแม้ว่าการสร้างความเป็นมาตรฐานของภาษาและการใช้สื่อมักจะเกิดขึ้นภายในสถาบัน ทางวัฒนธรรมที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลหรือผู้มีอ านาจอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนพบว่า กระบวนการสร้างความมาตรฐานของภาษาซิงลิชเกิดขึ้นอย่างไม่ตรงไปตรงมาและไม่มีใครรู้ตัวว่า ภาษาซิงลิชก าลังจะกลายเป็นมาตรฐาน เนื่องจากการสร้างความเป็นมาตรฐานกระจัดกระจายใน วิถีปฏิบัติต่าง ๆ โดยเริ่มต้น ปฏิบัติการการแบ่งแยกความแตกต่างทางภาษา ที่ท าให้เกิดภาษามาตรฐาน และภาษาไม่มาตรฐาน หลอมรวมให้ในสังคมสิงคโปร์มีภาษาซิงลิชที่ยอมรับได้ และภาษาซิงลิชที่ ยอมรับไม่ได้ ซึ่งภาษาซิงลิชที่ยอมรับได้คือลักษณะการพูดที่ยูทูเบอร์รวมถึงคนสิงคโปร์จ านวนมาก เรียกว่า “ภาษาซิงลิชกลาง (neutral Singlish)” ผู้เขียนพบความไม่ลงรอยกันระหว่างอุดมการณ์ภาษาและการใช้ภาษาจริง ที่ยูทูเบอร์ มองภาษาซิงลิชในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม ที่มีความเป็นท้องถิ่นในระดับสูง แต่ในการใช้ภาษาจริง

Ref. code: 25615808030521AIP 130

พวกเขากลับพูดเพียงบางส่วนของลักษณะทางภาษาที่เขานิยามนั้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมองว่า ปรากฏการณ์นี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางภาษา (language change) ทั้งในเชิง ความหมายและการใช้ภาษา ที่การให้นิยามหรือเรื่องเล่าของภาษาซิงลิชแบบดั้งเดิม (original Singlish) ได้เปลี่ยนแปลงไปในระดับการใช้ภาษาจริง เช่น “หนึ่งประโยคเต็มไปด้วยภาษา หลากหลาย” “โครงสร้างที่ความซับซ้อนของกฎไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่หายไป” และ “ค าภาษา ฮกเกี้ยนและมลายูที่ทุกคนจากทุกเชื้อชาติต่างเข้าใจ” มาสู่การหลงเหลือไว้แต่การใช้ค าเสริมน้ าเสียง ท้ายประโยค เหลือแต่ค าภาษาท้องถิ่นที่เป็นที่นิยม และคาที่ไม่เป็นที่นิยมก็สูญหายไปในกาลเวลาและ ความเข้าใจในความหมายของคนรุ่นใหม่ อีกทั้งระบบการศึกษาที่รัฐบาลสิงคโปร์ได้วางไว้ และการเข้า สู่เมืองระดับโลกของสิงคโปร์ในยุคโลกาภิวัตน์ ก็ได้ท าให้การใช้ภาษาซิงลิชในระดับวัจนปฏิบัติ เปลี่ยนแปลงไป ทั้ง ๆ ที่ความหมายหลักของภาษาซิงลิชยังคงเดิม นอกจากนี้ แพลตฟอร์มและอัลกอริทึมของยูทูบที่สนับสนุนรูปแบบสื่อเพียงบางประเภท และการแข่งขันทางธุรกิจของยูทูเบอร์ ที่ท าให้คุณภาพภาพและเสียงของวีดิโอ และระเบียบวิธีการ ท างานมีมาตรฐาน ประกอบกับการยื่นมือเข้ามาลงทุนในธุรกิจการผลิตวีดิโอตลกของรัฐบาลสิงคโปร์ก็ มีแนวโน้มที่จะเลือกใช้เสียงของภาษาซิงลิชกลาง แสดงให้เห็นถึงการรับรองและยอมรับโดยทางอ้อม ว่าภาษาซิงลิชกลางเป็นภาษาซิงลิชที่ยอมรับได้ในสายตาของรัฐบาลในปัจจุบัน ท าให้การผลิตวีดิโอ ตลก “ภาษาซิงลิชกลาง” กลายเป็นวิธีการสื่อสารมาตรฐานระหว่างรัฐบาลกับประชาชนชาวสิงคโปร์ ส่วนภาษาอื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ภาษาซิงลิชกลาง เช่นภาษาซิงลิชของ ah beng ของชาวมาเลย์ หรือ ของชาวอินเดียก็ถูกผลิตซ้ าในฐานะภาษาที่ไม่ได้รับการยอมรับ และถูกท าให้ตลกขบขัน ในทาง กลับกัน อุดมการณ์ภาษาอีกชุดหนึ่งในสิงคโปร์ก็ได้ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านวีดิโอตลกเหล่านี้ เช่นการดู แคลนคนสิงคโปร์ผู้พูดภาษาอังกฤษที่มีรูปแบบการใช้ภาษาและส าเนียงแบบตะวันตก ก็กลายเป็น วิธีการเล่าเรื่องให้ตลกขบขันล้อเลียนชนชั้นสูงและลัทธิชนชั้นสูงนิยม (elitism) ในประเทศสิงคโปร์ ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ของตัวละครที่เป็นมีลักษณะงามสง่า แต่การกระท าออกมาในลักษณะที่ตรง ข้าม เทคโนโลยีดิจิทัลของยูทูบท าหน้าที่ก าหนดรูปว่าเสียงใดที่ควรได้ยิน และควรได้ยิน อย่างไร และเสียงที่ไม่ได้ยิน ก็ถูกท าให้เป็นชายขอบและลบเลือนไป ซึ่งภายใต้โฉมหน้าของยูทูบที่ สนับสนุนให้การผลิตสื่อกลายเป็นประชาธิปไตย ก็มีคราบของการแบ่งแยกความแตกต่างทางภาษา ระบบทุนนิยม ที่ยอมรับเฉพาะสิ่งที่ท าให้เกิดทุนและรายได้ (เสียงแบบไหนที่ท าให้เข้าถึงทุน ภาพแบบ ไหนที่ทาแล้วจะได้ตัวเลขการเข้าชมสูง) และระบบเสรีนิยมใหม่ที่สนับสนุนเพียงผู้ชนะ (เสียงของ ภาษามาตรฐาน หรือช่องยูทูบที่ผลิตวีดิโอที่มีคุณภาพสูง)

Ref. code: 25615808030521AIP 131

6.3 ความกันเอง การควบคุม และความสร้างสรรค์ในสิงคโปร์ยุคดิจิทัล

การใช้ภาษาและสร้างสรรค์เนื้อหาในวีดิโอยูทูบยังแสดงให้เห็นการอุบัติขึ้นของคนหนุ่ม สาวชนชั้นกลาง ที่ท าให้วีดิโอกลายเป็นวัตถุตัวกลางระหว่างประสบการณ์ทางสังคมในชีวิตของคน สิงคโปร์ ที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ทางภาษาและชาติพันธุ์และความกดดันทางสังคมภายใต้ รัฐบาลอ านาจนิยม กับคุณค่าภายนอกของสื่อดิจิทัลที่เน้นการแสดงออกและเสรีภาพในการพูด โดย ปฏิบัติการทางสังคมในการผลิตสื่อดิจิทัล เช่น การเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องของรัฐบาลก็ได้แสดงให้เห็น ถึงการปรับตัวของรัฐบาลที่มีต่อภูมิทัศน์สื่อและภูมิทัศน์ภาษาที่เปลี่ยนแปลง จากการศึกษากระบวนการผลิตและสร้างสรรค์วีดิโอยูทูบในสิงคโปร์ ผู้เขียนได้พบเห็น ถึงรูปแบบความกันเอง การควบคุม และความสร้างสรรค์ในสิงคโปร์ที่อาจเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงไป ในยุคดิจิทัล เช่นนิยามใหม่ของภาษาซิงลิชก็ได้ท าให้รัฐบาลยอมผ่อนคลายท่าทีที่มีต่อภาษาซิงลิช หรือ การยอมให้ผลิตวีดิโอตลกที่วิพากษ์วิจารณ์การเมืองทางอ้อมโดยการใช้ภาษาซิงลิช แสดงให้เห็นได้ อย่างชัดเจนว่าความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับภาษาซิงลิชเปลี่ยนแปลงไป มีระดับการควบคุมใหม่ มี กลยุทธ์การใช้ภาษาซิงลิชสื่อสารกับประชาชนแบบใหม่ และยอมให้ความสร้างสรรค์ที่ไม่เป็นพิษเป็น ภัย ในสายตาของรัฐบาลได้ท าให้ภาษาซิงลิชเกิดความหมายใหม่และวิธีการใหม่ในสังคมสิงคโปร์ แต่ อย่างไรก็ตาม การแบ่งแยกความแตกต่างทางภาษายังคงเป็นระเบิดเวลาที่ฝังลึกอยู่ในความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐกับประชาชนในสิงคโปร์ รวมไปถึงระหว่างประชาชนที่ความแตกต่างหลากหลายของ ภาษาอังกฤษยังคงมีความไม่เท่าเทียม

Ref. code: 25615808030521AIP 132

รายการอ้างอิง

Books and Book Articles

Abidin, C. (2017). Influencer Extravaganza: Commercial “Lifestyle” Microcelebrities in Singapore. In L. Hjorth, A. Galloway, H. Horst, & G. Bell (Eds.), The Routledge Companion to Digital Ethnography (pp. 158-168). New York: Routledge. Alsagoff, L. and Ho, C.L. (1998). The grammar of Singapore English. In J. A. Foley et al. (Eds.) English in New Cultural Contexts: Reflections from Singapore (pp. 127- 151). Singapore: Singapore Institute of Management/Oxford University Press. Alsagoff, L. (2007). Singlish: Negotiating Culture, Capital and Identity. In S. G. Viniti Vaish & Y. Liu (Eds.), Language, Capital, Culture: Critical Studies of Language and Education in Singapore (pp. 25 - 46). Rotterdam: Sense Publishers. Baron, N. S. (2008). Always On: Language in an Online and Mobile World. Oxford: Oxford University Press Benjamin, G. (1976). The cultural logic of Singapore's "multiracialism". In R. Hassan (Ed.), Singapore: Society in Transition (pp. 115-133). Kuala Lumpur: Oxford University Press. Bloom, D. (1986). The English Language and Singapore: A Critical Survey, In B. K. Kapur (Ed.), Singapore Studies: Critical Surveys of the Humanities and Social Sciences (pp. 337–452). Singapore: Singapore University Press. Birch, D. I. (1993). Singapore Media: Communication Strategies and Practices. Sydney: Longman Cheshire. Burgess, J., & Green, J. (2009). YouTube: Online Videos and Participatory Culture. Malden: Polity. Chew, P. G.-L. (2012). A Sociolinguistic History of Early Identities in Singapore. London: Palgrave McMillan. Chua, B. H. (1995). Communitarian ideology and democracy in Singapore. London ; New York: Routledge.

Ref. code: 25615808030521AIP 133

Chun, W. H. K., & Keenan, T. (2006). New media, old media : a history and theory reader. New York: Routledge. Department of Statistics. (2017). Population Trends 2017. Retrieved from Singapore Gibson, J. J. (1979). The Ecological Approach to Visual Perception. New York: Taylor and Francis Group Ginsburg, F. D., Abu-Lughod, L., & Larkin, B. (Eds.). (2002). Media Worlds: Anthropology on New Terrain. London: University of California Press. Gitelman, L. (2006). Always already new : media, history and the data of culture. Cambridge, Mass.: MIT Press. Gupta, A.F. (1992). Contact features of Singapore Colloquial English in K. Bolton and H. Kwok (Eds.) Sociolinguistics Today: international perspectives (pp.323-343). London: Routledge. Gupta, A.F. (1994). The Step-tongue: Children’s English in Singapore. Philadelphia: Multilingual Matters. Herzfeld, M. (2016). Cultural intimacy : social poetics and the real life of states, societies and institutions (Third Edition.). London ; New York: Routledge. Irvine, J. T., & Gal, S. (2000). Language ideology and linguistic differentiation. In P. V. Kroskrity (Ed.), Regime of language: Ideologies, polities, and identities (pp. 35- 84). Santa Fe: School of American Research Press. Kachru, B. B. (1985) Standards, codification and sociolinguistic realism: the English language in the outer circle. In R. Quirk and H.G. Widdowson (Eds.), English in the world: Teaching and learning the language and literatures (pp. 11-30). Cambridge: Cambridge University Press. Kathiravelu, L. (2017). Rethinking Race: Beyond the CMIO Categorisations. In L. K. Seng, T. P. Tjin, & J. M.-T. Chia (Eds.), Living with Myths in Singapore. (pp. 159- 168). Singapore: Ethos. Keshishoglou, J. E., Aquilia, P. (2005). Electronic broadcast media in Singapore and the region (2nd ed.). Singapore: Thomson.

Ref. code: 25615808030521AIP 134

Kroskrity, P. V. (2010). Language Ideologies—Evolving Perspectives.” In J. Jaspers, J. Östman, and J. Verschueren (Eds.), Society and Language Use: Handbook of Pragmatics Highlights 7 (pp. 92–211). Amsterdam: John Benjamins Publishing. Kroskrity, P. V. (2015). Language Ideologies: Emergence, Elaboration, and Application.” In N. Bonvillain (Ed.) The Routledge Handbook of Linguistic Anthropology (pp. 95–108). New York: Routledge. Lampland, M., & Star, S. L. (2009). Standards and their stories : how quantifying, classifying, and formalizing practices shape everyday life. Ithaca: Cornell University Press. Lazar, M. M. (2010). Language Ideologies and State Imperatives: The Strategic Use of Singlish in Public Media Discourse. In S. Johnson & T. M. Milani (Eds.), Language Ideologies and Media Discourse: Texts, Practices, Politics. (pp. 127–140). Chennai: Continuum. Lee, T. (2010). The Media, Cultural Control and Government in Singapore. London: Routledge. Leimgruber, J. R. E. (2013). Singapore English: Structure, Variation, and Usage. Cambridge: Cambridge University Press. Lempert, M., Silverstein, M. (2012). Creatures of Politics: Media, Message, and the American Presidency. Bloomington: Indiana University Press Lim, L.Y.C. (1989), “Social welfare”, In Sandhu, K.S. and Wheatley, P. (Eds), Management of Success: The Moulding of Modern Singapore, Chapter 8, (pp. 171-197). Institute of Southeast Asian Studies, Singapore, Marvin, C. (1988). When Old Technologies Were New: Thinking about Electric Communication in the Nineteenth Century. New York: Oxford University Press. Oon, C. (2015). Speak Good Singlish. In S. Long (Ed.), 50 Things to Love about Singapore (pp. 12-17). Singapore: Straits Times Press. Peters, J. D. (1999). Speaking into the Air: A History of the Idea of Communication. Chicago: University of Chicago Press Philips, S. (1972). Participant structures and communicative competence: Warm Springs children in community and classroom. In C. B. Cazden, V.P. John, D.

Ref. code: 25615808030521AIP 135

Hymes (Eds.) Functions of Language in the Classroom (pp. 270–394), New York: Teachers College Press. Rogers, H. (1987). Theory of Recursive Functions and Effective Computability, Cambridge: MIT Press Silverstein, M. (1979). Language Structure and Linguistic Ideology. In P. R. Clyne, W. F. Hanks, and C. L. Hofbauer (Eds.) The Elements: A Parasession on Linguistic Units and Levels (pp. 193–247). Chicago: Chicago Linguistic Society. Silverstein, M. (2000). Whorfianism and the linguistic imagination of nationality. in P. V. Kroskrity (Ed.), Regime of language: Ideologies, polities, and identities (pp. 85– 138). Santa Fe: School of American Research Press. Spyer, P. (2001). The Cassowary will (not) be photographed: the “primitive,” the “Japanese,” and the elusive “sacred” (Aru, Southeast Moluccas). In H. de Vries, S. Weber (Eds.) Religion and Media (pp. 304–20). Stanford: Stanford University Press Stroud, C., & Wee, L. (2012). Style, identity and literacy: English in Singapore. Singapore: Multilingual Matters. Thorburn, D., Jenkins, H., & Seawell, B. (2003). Rethinking media change : the aesthetics of transition. Cambridge, Mass.: MIT Press. Umble, D. Z. (2000). Holding the Line: The Telephone in Old Order Mennonite and Amish Life. Baltimore: Johns Hopkins Press Urban, G. (2001). Metaculture: How Cultures Moves Through the World. Minneapolis: University of Minnesota Press. Wee, L. (2004). Singapore English: Morphology and syntax. In B. Kortmann, K. Burridge, R. Mesthrie, E. W. Schneider and C. Upton (Eds.) A Handbook of Varieties of English, Vol. 2: Morphology and Syntax (pp. 1058-1072), Berlin: Mouton de Gruyter. Wee, L. (2018). The Singlish Controversy: Language, Culture and Identity in a Globalizing World. Cambridge: Cambridge University Press. Wong, J. (2014). The culture of Singapore English. Cambridge: Cambridge University Press.

Ref. code: 25615808030521AIP 136

Yue, C. S. (2001). Singapore: Towards a Knowledge-based Economy: Towards the 21st Century. In C. S. Yue (Ed.) Industrial Restructuring in East Asia, (pp. 1-30). Singapore: Institute of Southeast Asian Studies Publishing.

Articles

Asad, T. (1979). Anthropology and the Analysis of Ideology. Man, 14(4), 607-627. doi:10.2307/2802150 Bate, B. (2013). ‘To persuade them into speech and action’: vernacular oratory in a genealogy of the Tamil political. Comparative Studies in Society and History, 55, 142–166. doi:10.1017/S0010417512000618 Bucholtz, M., Hall, K. (2005). Identity and interaction: a sociocultural linguistic approach. Discourse Studies, 7, 585–614. doi: 10.1177/1461445605054407 Chun, A. (1996). Discourses of Identity in the Changing Spaces of Public Culture in Taiwan, Hong Kong and Singapore. Theory, Culture & Society, 13(1), 51-75. doi:10.1177/026327696013001003 Davis, D.Z., Boellstorff, T. (2016). Compulsive creativity: virtual worlds, disability, and digital capital. International Journal of Communication, 10, 2096–2118 Ferguson, C. (1959). Diglossia, WORD, 15(2), 325-340. doi: 10.1080/00437956. 1959.11659702 Gershon, I. (2010). Media Ideologies: An Introduction. Journal of Linguistic Anthropology, 20(2), 283-293. doi:10.1111/j.1548-1395.2010.01070.x Gershon, I. & Bell, J. A. (2013). Introduction: The Newness of New Media. Culture, Theory and Critique, 54(3), 259-264, doi: 10.1080/14735784.2013.852732 Gershon, I. (2017). Language and the Newness of Media. Annual Review of Anthropology, 46, 15-31. doi:10.1146/annurev-anthro-102116-041300 Hagood, M. (2011). Quiet Comfort: noise, otherness, and the mobile production of personal space. American Quarterly, 63, 573–589 Herzfeld, M. (1997). Anthropology and the Politics of Significance. Social Analysis, 41(3), 107-138.

Ref. code: 25615808030521AIP 137

Hutchby, I. (2001). Technologies, texts and affordances. Sociology, 35, 441–456 doi: 10.1177/S0038038501000219 Jones, G. M., & Schieffelin, B. B. (2009). Talking Text and Talking Back: “My BFF Jill” from Boob Tube to YouTube. Journal of Computer-Mediated Communication, 14(4), 1050-1079. doi:10.1111/j.1083-6101.2009.01481.x Jones, G., Semel, B. and Le, A. (2015). “There's no rules. It's hackathon.”: Negotiating Commitment in a Context of Volatile Sociality. Journal of Linguistic Anthropology 25(3), 322-345. doi: 10.1111/jola.12104 Kang, Y. (2012). Singlish or Globish: Multiple language ideologies and global identities among Korean educational migrants in Singapore. Journal of Sociolinguistics, 16(2), 165-183. doi:10.1111/j.1467-9841.2011.00522.x Khoo, Velda. 2015. Simultaneous Indexicalities: Linguistic Variation in Political Speech in Singapore. [Paper presented at the 23rd Annual Symposium about Language and Society], Austin, USA April 17-18. Mendoza-Denton, N. (2011). The semiotic hitchhiker’s guide to creaky voice: circulation and gendered hardcore in a Chicana/o gang persona. Journal of Linguistic Anthropology. 21, 261–80 Ortmann, S. (2009). Singapore: The Politics of Inventing National Identity. Journal of Current Southeast Asian Affairs, 28(4), 23-46. Pakir, A. (1991). The range and depth of English-knowing bilinguals in Singapore. World Englishes, 10(2). 167-179. Park, J., & Wee, L. (2009). The Three Circles Redux: A Market-Theoretic Perspective on World Englishes. Applied Linguistics, 30(3), 389-406. doi:10.1093/applin/amp008 Platt, J. (1975). The Singapore English speech continuum and its basilect ‘Singlish’ as a ‘creoloid’. Anthropological Linguistics, 17(7). 363-374. Rubdy, R. (2007). Singlish in the School: An Impediment or a Resource? Journal of Multilingual and Multicultural Development, 28(4), 308-324. doi:10.2167/ jmmd459.0 Sherouse, P. (2014). Hazardous digits: telephone keypads and Russian numbers in Tbilisi, Georgia, Language Communication, 37, 1–11

Ref. code: 25615808030521AIP 138

Silverstone, R. (1999). What’s new about new media?. New Media and Society, 1.10– 12 Stein, R. L. (2012). StateTube: Anthropological Reflections on Social Media and the Israeli State. Anthropological Quarterly, 85(3), 893-916. Tan, Y.-Y. (2017). Singlish: An illegitimate conception in Singapore's language policies?. European Journal of Language Policy, 9(1), 85-103. doi:10.3828/ejlp.2017.6 Taylor, J. (2009). “Speaking shadows”: a history of the voice in the transition from silent to sound film in the United States, Journal of Linguistic Anthropology, 19(1), 1–20. doi: 10.1111/j.1548-1395.2009.01016.x Tupas, R. (2016). Singlish in the classroom: is Singapore ready for additive bidialectalism? International Journal of Bilingual Education and Bilingualism, 1- 12. doi:10.1080/13670050.2016.1226757 Wali, A. (2010). Ethnography for the Digital Age: http://www.YouTube/ Digital Ethnography (Michael Wesch). American Anthropologist, 112(1), 147-148. doi:10.1111/j.1548-1433.2009.01204.x Wee, L. (2014). Language politics and global city. Discourse: Studies, The Cultural Politics of Education, 35(5), 649-660. doi: 10.1080/01596306.2014.922740 Wesch, M. (2009). Youtube and You: Experiences of Self-Awareness in the Context Collapse of the Recording Webcam, Exploring Media Ecology, 8(2): 19-34 Weidman, A. (2010). Sound and the City: Mimicry and Media in South India, Journal of Linguistic Anthropology, 20(2), 294-313. Wilf, E. (2016). The Post-it Note Economy: Understanding Post-Fordist Business Innovation through One of Its Key Semiotic Technologies. Current Anthropology, 57(6), 732-760 Woolard, K. A., & Schieffelin, B. B. (1994). Language Ideology. Annual Review of Anthropology 23, 55-82. doi:10.1146/annurev.an.23.100194.000415

Ref. code: 25615808030521AIP 139

Conference Papers

Biel, J.-I., & Gatica-Perez, D. (2009). Wearing a YouTube Hat: Directors, Comedians, Gurus, and User Aggregated Behavior. In Proceedings of the 17th ACM International Conference on Multimedia (pp. 833–836). New York, NY, USA: ACM. http://doi.org/10.1145/1631272.1631426 Cha, M., Kwak, H., Rodriguez, P., Ahn, Y.-Y., and Moon, S. (2007). I Tube, You Tube, Everybody Tubes: Analyzing the World’s Largest User Generated Content Video System. Paper presented at the Internet Measurement Conference 2007, San Diego, October, 24-26 Figueiredo, F., Almeida, J. M., Benevenuto, F., & Gummadi, K. P. (2014). Does Content Determine Information Popularity in Social Media?: A Case Study of Youtube Videos’ Content and Their Popularity. In Proceedings of the 32Nd Annual ACM Conference on Human Factors in Computing Systems (pp. 979–982). New York, NY, USA: ACM. http://doi.org/10.1145/2556288.2557285 Gupta A. F. (1998). Singapore Colloquial English? Or deviant Standard English? In J. Tent and F. Mugler (Eds.) SICOL, Proceedings of the Second International Conference on Oceanic Linguistics, Vol. 1. Language Contact (pp.43-57), Canberra: Pacific Linguistics.

Theses

Abidin, C. (2016). Please Subscribe! Influencers, Social Media, and the Commodification of Everyday Life. (Doctoral Dissertation). University of Western Australia. Hauck, J. D.. (2017). Making Language: The Ideological and Interactional Constitution of Language in an Indigenous Aché Community in Eastern Paraguay. (Doctoral Dissertation). University of California, Los Angeles. Koh, A. A. Z. (2009). A Bourdieuvian Analysis of the Use of Singlish by Youths in Singapore. (Master’s Thesis). University of Singapore, Singapore.

Ref. code: 25615808030521AIP 140

Major, N. L. (2015). Online Stars and the New Audience: How YouTube Creators Curate and Maintain Communities. (Master’s Thesis), University of California, Irvine. Wilson, W. T. (2019). /pol/itically Incorrect: Ideologies of Race, Anti-Semitism, Gender and Sexuality in the Everyday Linguistic Co-production of Transgression. (Master’s Thesis), University of California, Los Angeles.

Electronic Media

Brown, D. (2015). 10 Facts About the Internet's Undersea Cables. Retrieved from http://mentalfloss.com/article/60150/10-facts-about-internets-undersea-cables

Cooper, P. (2019). How Does the YouTube Algorithm Work? A Guide to Getting More Views. Retrieved from https://blog.hootsuite.com/how-the-youtube-algorithm- works/ Department of Statistics. (2016). Singapore Information & Communications Services Industries 2016. Retrieved from https://www.singstat.gov.sg/modules/infographics/information-and- communications Housing and Development Board. (2019). Public Housing – A Singapore Icon. Retrieved from https://www.hdb.gov.sg/cs/infoweb/about-us/our-role/public- housing--a-singapore-icon Huang, J. (2011). Clicknetwork.tv founder: Being a female director has its merits. Retrieved from https://www.techinasia.com/clicknetwork-tv-founder-being-a- female-director-has-its-merits Garrison, L. T. (2011, 10 August). Singlish, Subversion and the Singaporean Sitcom. Retrieved from https://www.vulture.com/2011/08/singlish-subversion-and-the- singaporean-sitcom.html Goo, S. K. (2006, October 7). Ready for Its Close-Up With Google Said to Be a Suitor, YouTubeEnters Mainstream. Retrieved from

Ref. code: 25615808030521AIP 141

https://www.washingtonpost.com/archive/business/2006/10/07/ready-for-its- close-up-span-classbankheadwith-google-said-to-be-a-suitor-youtube-enters- mainstreamspan/0e44070d-bb3a-4837-a166- 977741c82c11/?noredirect=on&utm_term=.97f0134e19c6 Josh Review Everything. (2009, November 9). BOOMZ: How a 19-year-old bikini model became the face of Singapore's cultural cringe [Web blog message]. Retrieved from https://josh.sg/2009/11/boomz_how_a_19-year-old_bikini/ Krua, J. (2015). Internet Exchange Point will Allow for Cheaper and Faster Communications. Retrieved from https://www.bushchicken.com/internet- exchange-point-will-allow-for-cheaper-and-faster-communications/ Lui, J. (2009). My bigini is BOOMZ. Retrieved from https://www.asiaone.com/News/Education/Story/ A1Story20090914- 167820.html Nalts. (2011). Sex Up Your Thumbnail: Increase YouTube Views Will Video for Food. Retrieved from http://willvideoforfood.com/2011/11/07/sex-up-your-thumbnail- increase-youtube-views/ O’malley, G. (2006, 21 July). YouTube is the Fastest Growing Website. Retrieved from https://adage.com/article/digital/youtube-fastest-growing-website/110632 Pixel. (2018). Content Creation. Retrieved from https://www.imda.gov.sg/impixel/programme/content-creation Sayer, Peter (2007, June 19). Google launches YouTube France News. PC Advisor. SGIX. (2018). We are SGIX (Singapore IX). Retrieved from https://www.sgix.sg/about- us/ smartnation.sg. (2019). Strategic National Projects. Retrieved from https://www.smartnation.sg/what-is-smart-nation/initiatives/Strategic-National- Projects submarinecablemap.com. (2018). Submarine Cable Map. Retrieved from https://www.submarinecablemap.com/ The Straits Times. (2017). Govt reviews how to tackle fake news. Retrieved from https://www.straitstimes.com/singapore/govt-reviews-how-to-tackle-fake-news

Ref. code: 25615808030521AIP 142

TNS Global. (2016) Kantar TNS Connected Life Study. Retrieved from http://connectedlife.tnsglobal.com/ TodayOnline.com. (2015). SDP video deemed party political film, prohibited under Films Act. Retrieved from https://www.todayonline.com/singapore/sdp-video- deemed-party-political-film-prohibited-under-films-act Vaswani, K. (2019). Concern over Singapore's anti-fake news law. Retrieved from https://www.bbc.com/news/business-47782470 Wikipedia. (2019). Singapore Internet Exchange. Retrieved from https://en.wikipedia.org/wiki/Singapore_Internet_Exchange Wong, C. (2019). No need to be overly worried about fake news laws, says Ong Ye Kung. Retrieved from https://www.straitstimes.com/singapore/no-need-to-be- overly-worried-about-fake-news-laws-says-ong YouTube Blog. (2007). YouTube Elevates Most Popular Users to Partners. Retrieved from http://youtubeglobal.blogspot.com/2007/05/youtube-elevates- mostpopular-users-to.html YouTube Help. (2019). Trending on YouTube. Retrieved from https://support.google.com/youtube/answer/7239739?hl=en

Interviews

Chan, S. YouTuber, Night Owl Cinematics. (2015, January 16). Interview. Chan, S. YouTuber, Night Owl Cinematics. (2017, March 1). Interview. Chan, S. YouTuber, Night Owl Cinematics. (2017, October 30). Interview. Chong, M. YouTuber, The Michelle Chong Channel. (2018, September 1). Interview. Chua, K. YouTuber, NubbadTV. (2017, November 6). Interview. Fong, P. Actor, Mediacorp. (November 1, 2018). Interview. Gung, Y. YouTuber, GregoryShampoo. (2016, July 6). Interview. Gung, Y. YouTuber, GregoryShampoo. (2017, October 18). Interview. Hsi, K. Freelance Writer, Mediacorp. (2018, July 19). Interview. J. Hau. Director, Wah!Banana. (2017, November 16). Interview.

Ref. code: 25615808030521AIP 143

Khoo, E. Director, Zhao Wei Film. (2017, November 10). Interview. Koshy, D. YouTuber, Dee Kosh. (2018, May 1). Interview. Lee, C. Crew, Wah!Banana. (2017, November 16). Interview. Lim, J. Singlish interlocutor. (2017, November 15). Interview. Oh, J. Actress, JianHao Tan. (2017, November 4). Interview. Tan, C. Singlish interlocutor. (2019, July 5). Interview. Tan, J. YouTuber, JianHao Tan. (2016, July 10). Interview. Tan, J. Singlish interlocutor. (2017, September 9). Personal Communication. Tan, W. Singlish interlocutor. (2015, March 4). Personal Communication. Toh, S. Writer, Singapore Printing House. (2017, November 17). Interview. Wong, P. YouTuber, Wongfu Productions. (2017, January 12). Interview. Xiong, L. Producer, Wah!Banana. (2016, July 13). Interview. Xiong, L. Producer, Wah!Banana. (2017, October 27). Interview. Xiong, L. Producer, Wah!Banana. (2018, June 30). Interview. Yap, N. YouTuber, Waitformelah. (2017, February, 13). Interview. Zhong, B. Actor, Wah!Banana. (2017, November 7). Interview. Zulkiflie, H. YouTuber, Munah Hirzi Official. (2018, July 1). Interview.

Ref. code: 25615808030521AIP 144

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ นายเควินทร์ ลัดดาพงศ์ วันเดือนปีเกิด 21 กุมภาพันธ์ 2533 วุฒิการศึกษา ปีการศึกษา 2561: ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาจีน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทุนการศึกษา 2018: Asian Graduate Student Fellowship, Asia Research Institute, National University of Singapore

ผลงานทางวิชาการ

เควินทร์ ลัดดาพงศ์. 2561. ภาษาซิงลิชในยูทูบ: การขับเคี่ยวอัตลักษณ์สิงคโปร์ในสื่อดิจิทัล. การสัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ครั้งที่ 17 วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2561. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. Laddapong, K. (2018). Singlish YouTube Sketches: Unveiling Cultural Intimacy in Singapore. Paper presented at the 13th Singapore Graduate Forum on Southeast Asian Studies, July 25-27, Singapore.

ประสบการณ์ท างาน 2561 อาจารย์ (ภาษาจีน) โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559-2561 ผู้ช่วยนักวิจัย Bronwyn Isaacs, Ph.D. (Candidate) Harvard University 2556-2558 พนักงานฝ่ายการตลาดเคมีภัณฑ์ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จ ากัด

Ref. code: 25615808030521AIP