ปญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน

เรื่อง

การเกิดยอดจากชอดอกออนของหยาดนาค้ํ าง ( burmannii Vahl) Shoots Regeneration from young of Drosera burmannii Vahl

โดย นางสาววิกนดาั อยูศรี

ควบคุมและอนุมัติโดย

______วนทั ี่ 20 เดอนื พฤษภาคม พ.ศ. 2546 (อ.ดร.เสริมศิริ จันทรเปรม)

______วันที่ 20 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2546 (อ.ดร.สุรพงษ  ดารงกํ ิตติกุล)

การเกิดยอดจากชอดอกออนของหยาดน้ําคาง (Drosera burmannii Vahl)

นางสาววิกันดา อยูศร ี

บทคัดยอ

หยาดน้ําคางเปนพืชที่มีคุณสมบัติทางยา แตในสภาพธรรมชาติมีอายุสั้น และพบเฉพาะ บางฤดูกาล จึงไดทําการทดลองขยายพันธุดวยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยนําสวนของชอดอก ออนจากตนที่เลี้ยงอยูในสภาพปลอดเชื้อ มาเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ซึ่งดัดแปลงโดยการเติม 6-benzylaminopurine (BA) ความเขมขน 0 0.5 1 1.5 และ 2 มิลลิกรัม/ลิตร น้ําตาลซูโครส 30 กรัม/ลิตร และวุน 6.5 กรัม/ลิตร pH 5.7 ในสภาพที่ไดรับแสง 28 µmol/m2/s 16 ชั่วโมง/วัน อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส เปนเวลานาน 90 วัน พบวา ชิ้นสวนชอดอกออนที่นํามาเพาะเลี้ยง ตอบสนองตอ BA ที่ใชดีมาก โดยสามารถชักนําใหเกิดยอดจํานวนมากไดจากชอดอกออน และ ระดับความเขมขนของ BA ที่ใช ไมทําใหจํานวนชิ้นของชอดอกออนที่เกิดยอดมีความแตกตางกัน แตจากการศึกษา พบวา อาหารที่เติม BA ความเขมขน 1 และ 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร มีแนวโนมทําให จํานวนชิ้นของชอดอกออนที่เกิดยอด และจํานวนยอด/ชิ้นสวนเริ่มตนเกิดขึ้นมากที่สุด

คําสําคัญ : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หยาดน้ําคาง BA สาขาวิชา : ปรับปรุงพันธุพืชและเทคโนโลยีชวภาพี ปญหาพิเศษ : ปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน มหาวทยาลิ ัยเกษตรศาสตร อาจารยท ี่ปรึกษา : อ.ดร.เสริมศิริ จันทรเปรม ปที่พิมพ  : 2546 จํานวนหนา : 12

Shoot Regeneration from Young Inflorescence of Drosera burmannii Vahl

Miss Wikanda Yoosri

Abstract

Drosera spp. are one of the medicinal that, in nature, can be seasonally found due to their shortlife. In this experiment, the attempted to micropropagate D. burmannii Vahl using young inflorescence explant was emploied. The in vitro young inflorescence were cultured on MS medium supplemented with 0, 0.5, 1, 1.5 and 2 mg/l BA plus 30 g/l sucrose, 6.5 g/l agar-agar powder and the pH of media were adjusted to 5.7. The cultures were incubated at 25±2 °C and 28 µmol/m2/s of 16 hr/d light for 90 days. The result demonstrated that the explants were highly response to BA supplemented to the medium and could produced high number of new plantlets. All concentrations of BA tested yielded similar high number of reqenerants. However, the MS media containing 1 or 1.5 mg/l BA yielded the highest number of regenerated explants and also highest number of regenerants per explant.

Key words : BA, Drosera burmanii, tissue culture Field : Crop Improvement and Biotechnology Degree : B.S. (Agric.), Department of Horticulture, Kasetsart University Adviser : Dr. Sermsiri Chanprame Year : 2003 Pages : 12

คํานํา

หยาดน้ําคาง มีชื่อวิทยาศาสตรวา Drosera burmannii Vahl ชื่อสามัญคือ Sundew จัด อยูในวงศ และมีชื่อพื้นเมืองวา จอกบวาย พืชในวงศนี้พบกระจายตัวอยูในแถบ ประเทศอินเดีย คาบสมุทรอินโดจีน มาเลเซีย ญี่ปุน และทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ตามบริเวณที่ชื้นแฉะ หรือดินปนทราย (Smitinand และ Larsen,1987) ในประเทศไทยพบพืชชนิด นี้ขึ้นอยูทั่วไปทางเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชน อุทยานแหงชาติภูกระดึง เขตรักษาพันธุ สัตวปาภูหลวง หยาดน้ําคาง จัดเปนไมลมลุกที่ที่มีอายุสั้น เมื่อดินแหงตนจะตายหลังจากที่ผลิต เมล็ดจํานวนมาก ซึ่งจะงอก และเจริญเติบโตขึ้นเปนตนใหมในฤดูฝน ไมมีสวนของลําตน มีระบบ รากเปนรากฝอย ใบขึ้นเรียงซอนกันคลายกุหลาบ (rosette) แบนชิดกับดิน มีขนาดเสนผาน ศูนยกลาง 1-3 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวอมแดงรูปไขกลับ (obovate) ถึงรูปวงกลม (orbicular) สวน ปลายเปนแบบหยักซี่ฟน (toothed) ยาว 6-15 มิลลิเมตร กวาง 5-8 มิลลิเมตร ชอดอกเปนแบบ มี 1-3 ชอ/ตน ลักษณะตั้งตรงจากใจกลางตนยาว 7-20 เซนติเมตร ขึ้นอยูกับขนาดตน แกนกลาง (rhachis) ยาว 2-9 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยง ประกอบดวยดอกยอย 2-25 ดอก/ชอ กานดอก ยอยยาว 2-5 มิลลิเมตร กลีบดอกวงนอกรูปขอบขนาน (oblong) ยาว 2-3 มิลลิเมตร กลีบดอก วงในสีขาว รูปไขกลับ (obovate) ยาว 4-5 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผูและกานเกสรตัวเมียอยางละ 5 รังไขมี 5 carpells ฝกยาว 1-2 มิลลิเมตร (Smitinand และ Larsen,1987) ในดานสรรพคุณทางยาของตนหยาดน้ําคางนั้น Slack (1979) รายงานถึงประวัติการใช ประโยชนทางยาของพืชสกุล Drosera ซึ่งแนะนําใหใชปองกันโรคเกี่ยวกับปอด เชน วัณโรค และมี คุณสมบัติเปนยากระตุนกําหนัดเมื่อทดสอบในวัวและแกะตัวเมีย และ Finnie และ Staden (1993) กลาววาสาร plumbagin ที่สกัดจาก Drosera sp. เปนสารอยูในกลุม naphthoquinone มี คุณสมบัติทางยาใชรักษาโรคตาปลา หูด ใชเปนสวนประกอบในเครื่องสําอางเพื่อลดกระ และ รักษาอาการไหมที่ผิวหนังเนื่องจากแสงแดด ใชรักษาโรคทางหลอดลม ไอกรน นอกจากนี้พบวา สาร plumbagin มีองคประกอบประเภท liposoluble ที่สามารถปองกันโรควัณโรคที่เกิดจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis โดยสารนี้ไปยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียสาเหตุโรควัณโรค ดังกลาว ดวยคุณประโยชนดังกลาวของพืชในสกุลนี้จึงมีผูทําการศึกษาเพื่อขยายพันธุสําหรับปลูก เปนการคา การขยายพันธุพืชในสกุลนี้ตามธรรมชาติทําไดหลายวิธี (Finnie และ van Staden, 1993) เชน 2

การเพาะเมล็ด ทําการเพาะไดดีในชวงปลายฤดูหนาว โดยโรยเมล็ดลงบนผิวหนาดินผสม แลวเก็บรักษา ในสภาพอุณหภูมิต่ําและชื้น เปนเวลา 6 สัปดาห จากนั้นคลุมกระถางดวยถุงพลาสติกไวในสภาพ ที่ไดรับแสง จนกระทั่งเมล็ดเริ่มงอกจึงนําถุงพลาสติกออก เมื่อตนกลาโตทําการยายลงกระถาง การตัดชําใบ ใชวิธีตัดใบตรงบริเวณฐานใบ แลววางนอนบนผิวดินผสมใหดานที่มีขนอยูดานบน กลบ ปลายใบดวยดิน ระวังอยาใหกลบโดนขน จากนั้นคลุมกระถางดวยถุงพลาสติกไวในสภาพที่ไดรับ แสง ตนใหมจะเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห จึงนําถุงพลาสติกออก การตัดชําราก ตนหยาดน้ําคางที่มีรากขนาดใหญสามารถขยายพันธุโดยตัดสวนรากยาว 5 เซนติเมตร วางนอนบนผิวดินผสม แลวกลบดวยดินหนาประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นคลุมกระถางดวย ถุงพลาสติกไวในสภาพที่ไดรับแสง เมื่อมีตนใหมเกิดขึ้นจึงนําถุงพลาสติกออก นอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับการขยายพันธุพืชในสกุลนี้ เชน มีรายงานวานําเมล็ด มาขยายพันธุดวยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได (Finnie และ van Staden, 1993) ซึ่งสามารถทําไดทุก ฤดูกาล และไดตนปริมาณมากในระยะเวลาสั้น ทั้งนี้รังสฤษดิ์ (2540) กลาววา ในการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อพืชนั้น มักมีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโตลงในอาหารเพาะเลี้ยง เพื่อชวยในการเพิ่ม อัตราการเจริญเติบโตหรือการกําเนิดอวัยวะ สําหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสกุล Drosera ที่ผาน มานั้น มีงานวิจัยหลายงาน เชน Bonnet และคณะ (1984) พบวา D. rotundifolia ที่เลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเขมขน 10-5 โมลาร และเติมหรือไมเติม NAA สามารถชักนําใหเกิดยอดมากกวา 20 ยอด/ชิ้นสวนเริ่มตน และเมื่อเติม NAA ความเขมขน 10-5 โมลาร รวมกับ BA ความเขมขนต่ํา จะชักนําใหเกิดรากอยางเดียว Kukulczanka และ Czastka (1988) พบวา D. rotundifolia ที่เลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเขมขน 0.2 มิลลิกรัม/ลิตร รวมกับ BA ความเขมขน 1 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถ ชักนําใหเกิดยอดมากกวา 100 ยอด จากที่กลาวมาขางตนวา หยาดน้ําคางเปนพืชที่มีอายุสั้น และการขยายพันธตามธรรมชาตุ ิ ขึ้นอยูกับฤดูกาล การขยายพันธุโดยใชเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จึงเปนแนวทางหนึ่งที่จะชวย ขยายพันธุหยาดน้ําคางใหสามารถปลูกเลี้ยงไดในทุกฤดูกาล และใหตนปริมาณมากในระยะเวลา อันสั้น และจากงานวิจัยที่กลาวมาขางตน จะเห็นไดวา BA มีผลตอการชักนําใหเกิดยอดของ 3

พืชในวงศ Droseraceae ดังนั้น การทดลองนี้จึงมุงที่จะทดลองหาความเขมขนของ BA ที่สามารถ ชักนําใหเกิดยอดจํานวนมากใน D. Burmannii Vahl

4

อุปกรณและวิธีการ

นําตนหยาดน้ําคางที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ มาตัดสวนของชอดอกออนโดยใหติดกาน ชอดอกขนาดยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร แลวนําไปเลี้ยงบนอาหารสูตร MS (Murashige and Skoog ,1962) ที่เติม 6-Benzylaminopurine (BA) ระดับความเขมขน 0 0.5 1 1.5 และ 2 มิลลิกรัม/ลิตร น้ําตาลซูโครส 30 กรัม/ลิตร และวุน 6.5 กรัม/ลิตร pH 5.7 โดยวางชอดอกออนบน อาหารขวดละ 3 ชิ้น เลี้ยงในสภาพที่ไดรับแสง 28 µmol/m2/s 16 ชั่วโมง/วัน อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส เปนเวลานาน 90 วัน โดยถายเปลี่ยนอาหารทุก 30 วัน วางแผนการทดลองแบบ สุมตลอด (Completely Randomized Design ; CRD) มี 5 ทรีทเมนต ทรีทเมนตละ 15 ซ้ํา ซ้ําละ 1 ชิ้นชอดอกออน

บันทึกผลการทดลอง ภายหลังการเพาะเลี้ยงชอดอกออนเปนเวลา 90 วัน 1. นับจํานวนชิ้นชอดอกออนที่เกิดยอด 2. ใหคะแนนจํานวนยอดที่เกิดตอชิ้นสวนชอดอกออน

สถานที่ทําการทดลอง หองปฏิบัติการเพาะเลยงเนี้ อเยื้ ื่อ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลยเกษตรศาสตรั  วทยาเขตกิ ําแพงแสน จ.นครปฐม

ระยะเวลาในการทดลอง เริ่มทําการทดลองเดือนกันยายน 2545 และสิ้นสุดการทดลองเดือนพฤศจิกายน 2545 5

ผล

ภายหลังจากที่ไดทําการเพาะเลี้ยงชิ้นสวนชอดอกออนของหยาดน้ําคางในสภาพ ปลอดเชื้อ ลงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ระดับความเขมขน 0 0.5 1 1.5 และ 2 มิลลิกรัม/ลิตร พบวา จํานวนชิ้นสวนชอดอกออนที่เกิดยอด หลังจากเลี้ยงบนอาหารที่เติม BA ความเขมขน ตางกัน ไมมีความแตกตางกันทางสถิติ แตอาหารที่เติม BA มีแนวโนมทําใหจํานวนชิ้นชอดอกออน ที่เกิดยอดมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารที่ไมไดเติม BA (control) โดยอาหารที่เติม BA ระดับ ความเขมขน 0.5-1.5 มิลลิกรัม/ลิตร มีแนวโนมทําใหมีจํานวนชิ้นชอดอกออนที่เกิดยอดมากที่สุด คือ 12 ชิ้น หรือคิดเปน 80 เปอรเซ็นต (ตารางที่ 1) และพบวา การเกิดยอดนั้นจะเกิดตรงรอยตัด ของกานชอดอก โดยเกิดเปนตุมเล็ก ๆ สีเขียวกอน แลวพัฒนากลายเปนยอด จากการศึกษาปริมาณการเกิดยอดจากชิ้นสวนชอดอกออน โดยใหคะแนนการเกิดยอด ตอชิ้นชอดอกออน (ภาพที่ 1) ภายหลังการเพาะเลี้ยงบนอาหารเปนเวลา 90 วัน พบวา อาหารที่ เติม BA สามารถชักนําใหเกิดยอดจํานวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณยอดที่เกิดจากชิ้นสวน ชอดอกออนที่เลี้ยงบนอาหารที่ไมเติม BA โดยอาหารที่เติม BA ที่ระดับความเขมขน 1-1.5 มิลลิกรัม/ลิตร มีคะแนนการเกิดยอดตอชิ้นชอดอกออนมากที่สุด คือ 3.8 คะแนน แตชอดอกออน ที่เลี้ยงบนอาหารที่ไมเติม BA มีคะแนนการเกิดยอดเพียง 0.8 คะแนน เทานั้น (ตารางที่ 1)

6

ตารางที่ 1 จํานวนชิ้นและเปอรเซ็นตที่เกิดยอดของชอดอกออนหยาดน้ําคางที่เลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเขมขน 5 ระดับ ภายหลังการเพาะเลี้ยงเปนเวลา 90 วัน จํานวนชอดอกออน เปอรเซ็นต  คะแนน สูตรอาหาร ที่เกิดยอด ชอดอกออน การเกิดยอด (ชิ้น) ที่เกิดยอด MS 8 53.3 0.8 MS + BA ความเขมขน 0.5 มก./ล. 12 80.0 3.4 MS + BA ความเขมขน 1.0 มก./ล. 12 80.0 3.8 MS + BA ความเขมขน 1.5 มก./ล. 12 80.0 3.8 MS + BA ความเขมขน 2.0 มก./ล. 11 73.3 3.4 F-test ns ns คาเฉลี่ยไมมีความแตกตางกันทางสถิติ

7

0 คะแนน 1 คะแนน

3 คะแนน 5 คะแนน

ภาพที่ 1 เกณฑการใหคะแนนการเกิดยอดตอชิ้นสวนชอดอกออนของตนหยาดน้ําคาง 8

วิจารณ 

จากการเพาะเลี้ยงชอดอกออนของหยาดน้ําคางบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ที่ระดับ ความเขมขนตาง ๆ พบวา ในอาหารที่เติม และไมเติม BA สามารถชักนําใหเกิดยอดไดเชนเดียวกัน ทั้งนี้อาจเนื่องจากสวนของดอกสวนใหญประกอบดวยเซลล parenchyma (ประศาสตร, 2536) ซึ่งโดยทั่วไป เซลลดังกลาวมีความสามารถที่จะแบงตัวไดถึงแมวามีการเจริญเต็มที่แลว (เทียมใจ, 2542) และในสวนของกานดอกที่มีการแตกแขนงอาจมีเนื้อเยื่อเจริญอยูดวย (ประศาสตร, 2536) รวมทั้งมีฮอรโมนสะสมอยูในเนื้อเยื่อ เมื่อเลี้ยงบนอาหารที่ไมเติม BA จึงสามารถเกิดยอดได อยางไรก็ตาม จํานวนยอดที่เกิดขึ้นในอาหารที่ไมเติม BA มีจํานวนนอยมาก เนื่องจากฮอรโมนที่มี อยูภายในเนื้อเยื่อแมจะสามารถชักนําใหเซลลมีการพัฒนาเปนยอดได แตมีไมมากพอที่จะทําให เกิดการพัฒนาเปนยอดจํานวนมาก ดังนั้นจึงพบวาเมื่อระดับความเขมขนของ BA เพิ่มขึ้น ชอดอกออนมีแนวโนมในการพัฒนาเปนยอดเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคลองกับการทดลองของวิไลลักษณ (2524) ที่พบวา สามารถชักนํากานชอดอกออนของแกลดิโอลัสใหมีการสรางแคลลัสจํานวนมาก ซึ่งจะเจริญไปเปนยอดเมื่อเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเขมขน 0.1-6 มิลลิกรัม/ลิตร และงานวิจัยของ Seabrook และ Cummimg (1977) ซึ่งพบวา เมื่อเลี้ยงเนื้อเยื่อกานชอดอกของ วานสี่ทิศ บนอาหารสูตร MS ที่เติม NAA หรือ 2,4-D รวมกับ BA ความเขมขนตาง ๆ สามารถ ชักนําใหเกิดเปนตนออนได และ Chu และ Huang (1983) สามารถชักนํากานชอดอกของเยอบีรา ใหเกิดยอด เมื่อเลี้ยงบนอาหารสูตร MS โดยใชธาตุอาหารลดลงครึ่งเทา และเติม BA ความเขมขน 10 มิลลิกรัม/ลิตร รวมกับ IAA ความเขมขน 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร งานวิจัยเหลานี้แสดงใหเห็นวา BA มีผลตอการชักนําใหเกิดยอด ทั้งนี้เนื่องจาก BA เปนสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุมไซโตไคนิน มีผลตอสภาพทางสรีรวิทยาของพืชคือ สามารถชักนําใหเกิดการแบงเซลล การขยายขนาดของ เซลลและเนื้อเยื่อ โดยไซโตไคนินไปมีผลทําใหธาตุอาหาร วิตามิน และสารควบคุมการเจริญเติบโต อื่น ๆ เคลื่อนยายมายังบริเวณที่มีไซโตไคนิน (Arteca, 1995) Brock และ Kaufman (1991) และ Machackova (1992) รายงานวา ไซโตไคนินมีบทบาทสําคัญในการกระตุนการแบงเซลล โดย กระตุนการสังเคราะหโปรตีนที่จําเปนในระยะ translation สงเสริมการสราง ribosome ซึ่งมีผลตอ การชักนําใหเกิดตายอด เนื่องจาก ไซโตไคนินสามารถดึงสาร และกรดอะมิโนชนิดตาง ๆ เขาใกล ตัว ทําใหสามารถสราง RNA และ DNA ไดดี ซึ่งสารเหลานี้เปนสารที่จําเปนในการสรางโปรตีน (สมบุญ, 2544) พรทิพย (2528) พบวา ไซโตไคนินกระตุนใหเกิดการแบงเซลล ควบคุมการสราง อวัยวะ และมีผลตอการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของเนื้อเยื่อพืชเปนอยางมาก ทําใหเกิด organ ใหม 9

จากการใหคะแนนการเกิดยอดตอชิ้นสวนชอดอกออนของหยาดน้ําคาง พบวา ชิ้นสวน ชอดอกออนที่เลี้ยงบนอาหารที่ไมเติม BA มีคะแนนการเกิดยอดเฉลี่ยนอยที่สุดคือ 0.8 คะแนน ในขณะที่อาหารที่เติม BA ความเขมขน 1-1.5 มิลลิกรัม/ลิตร จะมีคะแนนการเกิดยอดเฉลยสี่ งทู สี่ ดุ คือ 3.8 คะแนน ซ่ึงจากการศึกษาพบวา ยอดที่เกิดในอาหารที่ไมไดเติม BA จะมีขนาดใหญกวา ยอดที่เกิดในอาหารที่เติม BA ซึ่งยอดมีขนาดเล็ก และอัดตัวกันแนน เนื่องจากสารในกลุม ไซโตไคนินสงเสริมการสังเคราะหโปรตีน กระตุนการแบงเซลล จึงสงผลใหเกิดการสรางยอดจํานวน มาก และการที่ยอดมีการเพิ่มจํานวนมาก อาจเปนเหตุใหจํานวนใบ การเจริญเติบโต และความ ยาวของใบลดลง เพราะธาตุอาหารตาง ๆ ถูกนําไปใชสรางยอดที่เกิดใหมแทน แตเมื่อความเขมข น ของ BA เพิ่มเปน 2 มิลลิกรัม/ลิตร คะแนนการเกิดยอดเฉลี่ยลดลงคือ 3.4 คะแนน แสดงวามี จํานวนยอดนอยลง ทั้งนี้อาจเนื่องจากความเขมขนดังกลาวอาจสูงเกินไปสําหรับชิ้นสวน ชอดอกออนของหยาดน้ําคาง ทําใหเปนพิษกับเนื้อเยื่อได 10

สรุป

จากการทดลองเพาะเลี้ยงชิ้นสวนชอดอกออนของหยาดน้ําคางบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ระดับความเขมขนตาง ๆ พบวา อาหารทุกสูตรที่ทดสอบสามารถชักนําใหเกิดยอดได โดย สูตรอาหารที่เหมาะสมที่สุดในการชักนําใหเกิดยอด คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 1 หรือ 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร 11

เอกสารอางอ ิง

เทียมใจ คมกฤส. 2542. กายวิภาคของพฤกษ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. 308 น.

ประศาสตร เกื้อมณี. 2536. เทคนิคการเพาะเลยงเนี้ อเยื้ ื่อพืช. สานํ ักพิมพโอเด ียนสโตร, กรุงเทพฯ. 158 น.

พรทิพย ธนูทอง. 2528. วธิ ีเพาะเลี้ยงเซลและเนื้อเยื่อพืช. มหาวิทยาลัยขอนแกน , ขอนแกน. 114 น.

รังสฤษดิ์ กาวตี ะ. 2540. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช : หลักการและเทคนิค. มหาวทยาลิ ัย เกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. 219 น.

วิไลลักษณ ชนะจิ ิตร. 2524. การศึกษาการเพาะเลยงเนี้ ื้อเยื่อแกลดโอลิ ัส. วทยานิ ิพนธ  ปริญญาโท. มหาวทยาลิ ัยเกษตรศาสตร, กรงเทพฯุ

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน. 2544. สรีรวทยาของพิ ืช. มหาวิทยาลยเกษตรศาสตรั , กรุงเทพฯ. 237 น.

Arteca, R.N. 1995. Plant Growth Substance : Principles and Applications. International Thomson Publishing, New York. 332 p.

Bonnet, M., M. Coumans, J.L. Ramaut and T. Gasper. 1984. Vegetative multiplication in vitro of the sundew Drosera rotundifolia. Arch. Int. Physiol. Biochem. 9 : 16-17.

Brock, T.C. and P.B. Kaufman. 1991. Growth regulators : an account of hormone and growth regulation, pp. 277-340. In F.C. steward (ed.). Plant Physiology : A Treatise. Vol 10 : Growth and Development. Academic Press Inc., London.

12

Chu, C.Y. and M.C. Huang. 1983. In vitro formation of gerbera (Gerbera hybrida Hort.) through excised scape culture. J. Japan. Soc. Hort. Sci. 52(1) : 45-50.

Finnie, J.F. and J. van Staden. 1993. Drosera spp. (sundew) : micropropagation and the in vitro production of plumbagin, pp. 165-177. In Y.P.S. Bajaj (ed.). Biotechnology in Agriculture and Forestry 24 : Medicinal and Aromatic Plants V. Springer-Verlag, Berlin.

Kukulczanka, K. and B. Czastka. 1988. In vitro cultures of Drosera sp. Acta Hort. 226: 631-634.

Machackowa, I. 1992. Growth and growth regulators, pp. 215-269. In J. Sebanek (ed.). Development in Crop Science 21 : Plant Physiology. Elsevier Science Publishers, The Netherlands.

Murashige, T. and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bioassays with tobacco tissue cultures. Physiol. Plant. 15 : 473-479

Seabrook, J.E.A. and B.G. Cumming. 1977. The in vitro propagation of amaryllis. In Vitro. 13 : 831-836.

Slack, A. 1979. Carnivorous plants. MIT Press, Cambridge.

Smitinand, T. and K. Larsen. 1987. Flora of Thailand. The Forest Herbarium, Royal Forest Department, Bangkok. 138 p.