บทความวิจัย

ความหลากชนิดของปลาในแม่น ้างิม จังหวัดพะเยา Diversity of in Ngim River, Phayao Province เกรียงไกร สีตะพันธุ์1*, เจนจิรา แก้วติ๊บ2, ชินวิชญ์ สุภาวรรณ์1, อาทิตยา วงศ์วุฒิ1, อิฐสะราม แสนสุภา1, จักรพันธ์ ฐานิจสรณ์1, เศกสรรค์ อุปพงศ์1 และ สทิ ธิศกั ดิ์ ปิ่นมงคลกุล2 Kriengkrai Seetapan1*, Jenjira Kaewtip2, Chinnawit Supawan1, Athitaya Wongwut1, Itsaram Saensupa1, Jakkaphan Tanitsorn1, Seksan Uppaphong1 and Sitthisak Pinmongkholgul2 1 สาขาวิชาการประมง คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา 2 สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 1 Department of Fishery, School of Agriculture and Natural Resources, University of Phayao 2 Department of Biology, School of Science, University of Phayao Received : 8 April 2019 Revised : 20 August 2019 Accepted : 24 September 2019

บทคัดย่อ การสารวจความหลากชนิดของปลาในแม่น ้างิม อ าเภอปง จังหวัดพะเยา ตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 ถึงเดือนมกราคม 2562 โดยใช้เครื่องมือท าการประมงท้องถิ่นได้แก่ แห ข่าย และสวิง ตลอดจนรวบรวมปลาจากคนในท้องถิ่น พบชนิดปลาใน แม่น ้างิมทั้งสิ้น 5 อันดับ (order) 11 วงศ์ (family) 20 สกุล () และ 27 ชนิด (species) โดยปลาในอันดับที่มีจ านวนชนิด มากที่สุด ได้แก่ จ านวน 17 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 63 รองลงมาคือ Siluriformes จ านวน 4 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 15 และ Perciformes จ านวน 3 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 11 ตามล าดับ ส าหรับวงศ์ที่มีจ านวนชนิดมากที่สุดคือ วงศ์ Cyprinidae จ านวน 11 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 41 รองลงมาคือ Balitoridae จ านวน 6 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 22 และวงศ์ Sisoridae จ านวน 2 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 7 ทั้งนี้สถานภาพการอนุรักษ์ IUCN พบปลาที่อยู่ในสถานะสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต ่าต่อการสูญพันธุ์ จ านวน 22 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 81 ปลาที่อยู่ในสถานะสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอจ านวน 4 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 15 และปลา ที่อยู่ในสถานะสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่ได้รับการประเมินความเสี่ยงจ านวน 1 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 4

คาส าคัญ : ความหลากหลายของชนิดปลา, แม่น ้างิม, จังหวัดพะเยา

*Corresponding author. E-mail : [email protected]

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 270

บทความวิจัย

Abstract A survey on diversity of fish in the Ngim River (a Tributary of Upper River Basin) in Pong District, Phayao Province, Northern Thailand was conducted from April 2018 to January 2019. In this survey, fish specimens were collected by cast net, long line net, and hand dip net, including by purchased from merchant. Five orders, 11 families, 20 genera, 27 species of were collected. The most dominant order is Cypriniformes (17 species [63%]), followed by Siluriformes (4 species [15%]) and Perciformes (3 species [11%]). The most dominant family is Cyprinidae (11 species [41%]), followed by Balitoridae (6 species [22%]) and Sisoridae (2 species [7%]). However, the IUCN conservation status was found in 22 species (81%) least concern, 4 species (15%) data deficient and 1 species (4%) not evaluated.

Keywords: fish species diversity, Ngim River, Phayao Province

บทน า แม่น ้างิมเป็นแม่น ้าสาขาที่ส าคัญสายหนึ่งของแม่น ้ายมตอนบน แหล่งน ้าดังกล่าวมีการใช้ประโยชน์ทั้งการอุปโภค การบริโภค และการท าการเกษตรของชุมชน ในเขตต าบลผาช้างน้อย อ าเภอปง จังหวัดพะเยา อดีตแม่น ้าสายนี้มีทรัพยากร สัตว์น ้าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม โดยเฉพาะปลา ซึ่งคนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงแหล่งน ้านี้ได้อาศัยปลาเป็นแหล่งอาหาร โปรตีนที่ส าคัญ แต่ในปัจจุบันพบว่าสภาพทางธรรมชาติของแม่น ้างิมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิมค่อนข้างมาก เนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ของคนในชุมชน เช่น การบุกรุกถางป่าต้นน ้าเพื่อใช้พื้นที่ท าการเกษตรกรรม เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าว รวมถึงพืชสวนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ยางพารา ลิ้นจี่ มะม่วง มะนาว ส้ม และลาไย เป็นต้น ซึ่งการท าการเกษตรของคนในพื้นที่ มีการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรแบบไม่ถูกต้องเป็นจ านวนมาก รวมถึงในบางพื้นที่มีการสร้างฝายเพื่อการกักเก็บน ้าเพื่อใช้ในฤดู แล้ง รวมถึงการปล่อยน ้าเสียและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงสู่แหล่งน ้าอย่างที่ไม่มีการจัดการที่ถูกต้อง กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผล กระทบต่อลักษณะทางกายภาพของแหล่งน ้าได้ และที่ส าคัญยังส่งผลเสียต่อคุณภาพน ้าโดยตรง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มี การชะล้างสิ่งต่างๆ ทั้งสารเคมีเพื่อการเกษตร การชะตะกอนหน้าดินลงสู่แหล่งน ้า ส่งผลให้เกิดการตื้นเขินของแม่น ้าในหลาย ๆ จุด ปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพน ้าของแม่น ้างิมท าให้แย่ลง ส่งผลให้จ านวนของปลาในแม่น ้างิมมีจ านวน ลดลง นอกจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ยังพบว่าในพื้นที่นี้มีการจับปลาแบบผิดกฎหมายหลายวิธี เช่น การใช้ไฟฟ้าช็อตปลา การใช้ระเบิดเพื่อจับปลาขนาดใหญ่ และการใช้ยาเบื่อปลา ซึ่งวิธีการที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ยังเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้จ านวน และชนิดของปลาในพื้นที่ดังกล่าวลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการส ารวจความหลากชนิดของปลาในแม่น ้างิม ซึ่งเป็นแม่น ้าสาขาของลุ่มแม่น ้ายมตอนบน ในเขตอ าเภอปง จังหวัดพะเยาครั้งนี้ จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานของทรัพยากรปลาที่ส าคัญให้กับชุมชน และท้องถิ่นเพื่อน าไปใช้เป็นแนวทางในการ บริหารจัดการทรัพยากรปลา และยังจะน าไปสู่แนวทางสาหรับการศึกษาวิจัยทางด้านการเพาะเลี้ยงปลาของลุ่ มน ้าแห่งนี้ต่อไป เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และวางแผนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรปลาอย่างยั่งยืน

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 271

บทความวิจัย

วิธีดาเนิน การวิจัย ส ารวจพรรณปลาในน ้างิม ต าบลผาช้างน้อย อ าเภอปง จังหวัดพะเยา (พิกัด 47Q0653509, UTM 2136463, ความ สูงจากระดับน ้าทะเล 470 เมตร) ลักษณะของพื้นลาธารเป็นหินขนาดเล็ก กรวด และมีโขดหินขนาดใหญ่ปะปนกัน เก็บตัวอย่าง ปลาด้วยเครื่องมือท าการประมงท้องถิ่นได้แก่ แห ข่าย และสวิง เลือกเก็บตัวอย่างให้ครอบคลุมทุกลักษณะแหล่งน ้า ได้แก่ บริเวณกลางน ้า บริเวณโขดหิน บริเวณริมน ้า และแอ่งน ้า เก็บตัวอย่างทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ เดือนเมษายน กรกฎาคม ตุลาคม พ.ศ. 2561 และมกราคม 2562 ท าการถ่ายภาพปลาแต่ละชนิดที่รวบรวมได้ในภาคสนาม จากนั้นน าตัวอย่างปลาทั้งหมดมา ตรึงสภาพในฟอร์มาลีนเข้มข้นร้อยละ 10 นาน 14 วัน เมื่อครบก าหนดน าตัวอย่างปลาดังกล่าวมาเก็บรักษาสภาพใน แอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ 75 ท าการจัดจ าแนกชนิดปลาโดยใช้เอกสารวิชาการด้านอนุกรมวิธานของปลาน ้าจืดในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ Kottelat (1990, 1998, 2000, 2001), Rainboth (1996), Roberts (1998, 1999) และ Smith (1945) เป็นต้น ตัวอย่างปลาที่รวบรวมได้ทั้งหมดเก็บรักษาไว้ที่ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาการประมง คณะเกษตรศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา การเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ปลาในการศึกษาครั้งนี้อ้างอิงตาม Kottelat (2013) น าข้อมูลชนิด และจ านวนปลาที่ได้ทั้งหมดมาหาค่าต่าง ๆ ดังนี้

1) วิเคราะห์ร้อยละโอกาสการพบชนิดปลา (Frequency of occurrence)

จ านวนครั้งที่พบปลาชนิดนั้นในการสุ่ม F (%) = × 100 จ านวนครั้งในการสุ่มตัวอย่าง

2) วิเคราะห์ค่าดัชนีความหลากชนิด (Diversity index) โดยใช้ Shonon-Weiner diversity index (Lokitsathaporn and Sinlapachai, 2008) ดังนี้

H= -∑ (pi log2 pi)

เมื่อ H = ดัชนีความหลากหลาย Pi = สัดส่วนของจ านวนสิ่งมีชีวิตที่ i ต่อจ านวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในตัวอย่าง

3) วิเคราะห์ค่าดัชนีความมากชนิด (Richness index) โดยใช้ Margalef diversity index (Lokitsathaporn and Sinlapachai, 2008) ดังนี้ R = (S - 1) / ln (N)

เมื่อ R = ค่าดัชนีความมากชนิด S = จ านวนชนิดทั้งหมดที่พบ N = จ านวนตัวทั้งหมดที่พบ ln = natural logarithm

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 272

บทความวิจัย

4) วิเคราะห์ค่าดัชนีความเท่าเทียม (Evenness index) โดยใช้สูตรของ Pielous evenness index (Keawkhiew et al., 2013) ดังนี้

E = H/ ln S

เมื่อ E = ดัชนีความเท่าเทียม H = ดัชนีความหลากหลาย S = จ านวนชนิดที่พบในสถานีสารวจ หรือ เดือนสารวจนั้น ๆ

ทั้งนี้ งานวิจัยนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการจรรยาบรรณการใช้สัตว์ มหาวิทยาลัยพะเยา เลขที่รับรอง โครงการ 59 01 04 0036 โดยยึดหลักเกณฑ์จรรยาบรรณการใช้สัตว์ สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ผลการวิจัย การศึกษาความหลากหลายของชนิดปลาในแม่น ้างิม จังหวัดพะเยา ท าการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ เดือน เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม พ.ศ. 2561 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 พบปลาทั้งหมด 5 อันดับ (order) 11วงศ์ (family) 20 สกุล (genus) 27 ชนิด (species) โดยปลาในอันดับ Cypriniformes มีจ านวนชนิดมากที่สุด 17 ชนิดรองลงมาคือ อันดับ Siluriformes มีจ านวน 4 ชนิด และอันดับ Perciformes มีจ านวน 3 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 63, 15 และ 11 ตามลาดับ สาหรับวงศ์ ที่มีชนิดมากที่สุด คือ วงศ์ Cyprinidae (วงศ์ปลาตะเพียน) มีจ านวน 11 ชนิด รองลงมาได้แก่วงศ์ Balitoridae (วงศ์ปลาผีเสื้อ ติดหิน และปลาค้อ) จ านวน 6 ชนิด และวงศ์ Sisoridae (วงศ์ปลาแค้) จ านวน 2 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 41, 22 และ 7 ตามลาดับ (ตารางที่ 1, ภาพที่ 1) เมื่อค านวณร้อยละความถี่ของการพบปลาแต่ละชนิด ซึ่งเป็นค่าที่ชี้ลักษณะการกระจายพันธุ์ปลาแต่ละชนิดในเชิง คุณภาพ โดยจะแสดงความสามารถในการอยู่อาศัย และการกระจายตามระยะทางและช่วงเวลาที่ดีที่สุด พบว่าชนิดปลาที่มี ความถี่ของการพบมากที่สุด (100 %) จ านวน 14 ชนิด ได้แก่ ปลาน ้าหมึก (Opsarius pulchellus) ปลามูด (Garra fuliginosa) ปลามอน (Scaphiodonichthys acanthopterus) ปลามะไฟ (Pethia stoliczkana) ปลาเวียน (Tor tambra) ปลาผีเสื้อติดหิน น่าน (Hemimyzon nanensis) ปลาผีเสื้อติดหิน (Homalopteroides smithi) ปลาผีเสื้อติดหิน (Balitoropsis sexmaculata) ปลาค้อเชียงตุง (Schistura kengtungensis) ปลาค้อนิโคล (Schistura nicholsi) ปลาไหลนา (Monopterus albus) ปลา กระทิง (Mastacembelus armatus) ปลาบู่น ้าตกเชียงใหม่ (Rhinogobius chiengmaiensis) ปลาก้าง (Channa gachua) และชนิดปลาที่พบน้อยที่สุด (25%) คือ ปลาน ้าหมึกโคราช (Opsarius koratensis) (ตารางที่ 1)

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 273

บทความวิจัย

ตารางที ่ 1 ข้อมูลปลาที่พบในแม่น ้างิมและร้อยละโอกาสการพบชนิดปลา (Frequency of occurrence: F%) อันดับ/วงศ์/ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย สถานภาพการอนุรักษ์ การศึกษาในครั้งนี้ (เดือน) F (%) สถานภาพใน สถานภาพ เม.ย. ก.ค. ต.ค. ม.ค. ประเทศไทย1 ของ IUCN2 Order Cypriniformes Family Cyprinidae Devario laoensis (Pellegrin & Fang, 1940) ปลาซิวใบไผ่ C LC + + + 75 Rasbora paviana (Tirant, 1885) ปลาซิวควายแถบด า C LC + + + 75 Opsarius koratensis (Smith, 1931) ปลาน ้าหมึกโคราช C LC + 25 Opsarius pulchellus (Smith, 1931) ปลาน ้าหมึก C LC + + + + 100 Garra cambodgiensis (Tirant, 1884) ปลาเลียหิน C LC + + + 75 Garra fuliginosa (Fowler, 1934) ปลามูด C LC + + + + 100 Poropuntius laoensis (Günther, 1868) ปลาจาดลาว C LC + + + + 75 Scaphiodonichthys acanthopterus (Fowler, 1934) ปลามอน C LC + + + + 100 Systomus rubripinnis (Valenciennes, in Cuvier & Valenciennes, 1842) ปลาแก้มช ้า C NE + + + 75 Pethia stoliczkana (Day, 1870) ปลามะไฟ C LC + + + + 100 Tor tambra (Valenciennes, in Cuvier & Valenciennes, 1842) ปลาเวียน C DD + + + + 100 Family Balitoridae Hemimyzon nanensis (Doi & Kottelat, 1998) ปลาผีเสื้อติดหินน่าน E DD + + + + 100 Homalopteroides smithi (Hora, 1932) ปลาผีเสื้อติดหิน E LC + + + + 100 Balitoropsis sexmaculata (Fowler, 1934) ปลาผีเสื้อติดหิน C DD + + + + 100 Schistura kengtungensis (Fowler, 1936) ปลาค้อเชียงตุง C LC + + + + 100 Schistura menanensis (Smith, 1945) ปลาค้อแม่น ้าน่าน E DD + + + 75

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 274

บทความวิจัย

ตารางที ่ 1 (ต่อ) ข้อมูลปลาที่พบในแม่น ้างิมและร้อยละโอกาสการพบชนิดปลา (Frequency of occurrence: F%) อันดับ/วงศ์/ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย สถานภาพการอนุรักษ์ การศึกษาในครั้งนี้ (เดือน) F (%) สถานภาพใน สถานภาพ เม.ย. ก.ค. ต.ค. ม.ค. ประเทศไทย1 ของ IUCN2 Schistura nicholsi (Smith, 1933) ปลาค้อนิโคล C LC + + + + 100 Order Siluriformes Family Bagridae Hemibagrus nemurus (Valenciennes, in Cuvier & Valenciennes, 1840) ปลากดเหลือง C LC + + 50 Family Amblycipitidae Amblyceps platycephalus (Ng & Kottelat, 2000) ปลาดักหัวแบน C LC + + 50 Family Sisoridae Glyptothorax buchanani (Smith, 1945) ปลาแค้ติดหิน C LC + + + 75 Glyptothorax laosensis (Fowler, 1934) ปลาแค้ติดหิน C LC + + 50 Order Beloniformes Family Belonidae Xenentodon cancila (Hamilton, 1822) ปลากระทุงเหวน ้าจืด C LC + + + 75 Order Synbranchiformes Family Synbranchidae Monopterus albus (La Cepède, 1800) ปลาไหลนา C LC + + + + 100 Family Mastacembelidae Mastacembelus armatus (La Cepède, 1800) ปลากระทิง C LC + + + + 100 Order Perciformes Family Ambassidae Parambassis siamensis (Fowler, 1937) ปลาแป้นแก้ว C LC + + 50

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 275

บทความวิจัย

ตารางที ่ 1 (ต่อ) ข้อมูลปลาที่พบในแม่น ้างิมและร้อยละโอกาสการพบชนิดปลา (Frequency of occurrence: F%) อันดับ/วงศ์/ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย สถานภาพการอนุรักษ์ การศึกษาในครั้งนี้ (เดือน) F (%) สถานภาพใน สถานภาพ เม.ย. ก.ค. ต.ค. ม.ค. ประเทศไทย1 ของ IUCN2 Family Gobiidae Rhinogobius chiengmaiensis (Fowler, 1934) ปลาบู่น ้าตกเชียงใหม่ C LC + + + + 100 Family Channidae Channa gachua (Hamilton, 1822) ปลาก้าง C LC + + + + 100 หมายเหตุ : 1 ที่มาของสถานภาพในประเทศไทย : Vidthayanon (2005), Living National Treasures (2015); C = Common species, E = Endemic species, I = Introduced species, N.A. = Not available because of unidentified species 2 ที่มาของสถานภาพของ IUCN: IUCN (2019); CR = Critically endangered species, EN = Endangered species, VU = Vulnerable species, NT = Near threatened species, DD = Data deficient species, NE = Not evaluated species, LC = Least concern species, N.A. = Not available because of unidentified species

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 276

บทความวิจัย

การศึกษาดัชนีบ่งชี้โครงสร้างประชาคมปลาในแม่น ้างิม อ าเภอปง จังหวัดพะเยา พบว่า ค่าดัชนีความหลากชนิด ดัชนีความมากชนิด และดัชนีความเท่าเทียม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.98, 1.52 และ 0.64 ตามล าดับ เมื่อพิจารณาตามรายเดือน พบว่าเดือนมกราคมมี ค่าดัชนีความหลากชนิด ค่าดัชนีความมากชนิด และดัชนีความเท่าเทียมสูงสุด เท่ากับ 3.12, 2.01 และ 0.72 ตามลาดับ (ตารางที่ 2)

ตารางที ่ 2 ดัชนีทางนิเวศของชนิดพันธุ์ปลา ในน ้างิม จังหวัดพะเยา เดือน ค่าดัชนี ค่าเฉลี่ย เมษายน กรกฎาคม ตุลาคม มกราคม ดัชนีความหลากชนิด 2.87 2.97 2.99 3.12 2.98 (Diversity index) ดัชนีความมากชนิด 1.25 1.62 1.20 2.01 1.52 (Richness index) ดัชนีความเท่าเทียม 0.60 0.62 0.65 0.72 0.64 (Evenness index)

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 277

บทความวิจัย

ปลาซิวใบไผ่ (Devario laoensis) ปลาซิวควายแถบดา (Rasbora paviana)

ปลาน ้าหมึกโคราช (Opsarius koratensis) ปลาน ้าหมึก (Opsarius pulchellus)

ปลาเลียหิน (Garra cambodgiensis) ปลาเลียหิน (Garra fuliginosa)

ปลาจาดลาว (Poropuntius laoensis) ปลามอน (Scaphiodonichthys acanthopterus)

ปลาแก้มช ้า (Systomus rubripinnis) ปลามะไฟ (Pethia stoliczkana)

ภาพที ่ 1 ชนิดปลาที่พบจากการศึกษาครั้งนี้

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 278

บทความวิจัย

ปลาเวียน (Tor tambra) ปลาผีเสื้อติดหินน่าน (Hemimyzon nanensis)

ปลาผีเสื้อติดหิน (Homalopteroides smithi) ปลาผีเสื้อติดหิน (Balitoropsis sexmaculata)

ปลาค้อเชียงตุง (Schistura kengtungensis) ปลาค้อแม่น ้าน่าน (Schistura menanensis)

ปลาค้อนิโคล (Schistura nicholsi) ปลากดเหลือง (Hemibagrus nemurus)

ปลาดักหัวแบน (Amblyceps platycephalus) ปลาแค้ติดหิน (Glyptothorax buchanani)

ภาพที ่ 1 (ต่อ) ชนิดปลาที่พบจากการศึกษาครั้งนี้

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 279

บทความวิจัย

ปลาแค้ติดหิน (Glyptothorax laosensis) ปลากระทุงเหวน ้าจืด (Xenentodon cancila)

ปลาไหลนา (Monopterus javanensis) ปลากระทิง (Mastacembelus armatus)

ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis) ปลาบู่น า้ ตกเชียงใหม่ (Rhinogobius chiengmaiensis)

ปลาก้าง (Channa gachua)

ภาพที ่ 1 (ต่อ) ชนิดปลาที่พบจากการศึกษาครั้งนี้

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 280

บทความวิจัย

วิจารณ์ผลการวิจัย การศึกษาความหลากหลายของชนิดปลาในแม่น ้างิม จังหวัดพะเยา จากการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ เดือน เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม พ.ศ. 2561 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 พบปลาทั้งหมด 5 อันดับ 11 วงศ์ 20 สกุล 27 ชนิด โดยปลาในวงศ์ปลาตะเพียนมีจ านวนชนิดมากที่สุด (11 ชนิด, ร้อยละ 41) สอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ของ Berra (2001) และ Nelson (2006) ที่รายงานว่าปลาในวงศ์ปลาตะเพียนเป็นวงศ์ที่มีชนิดมากที่สุดในระบบน ้าจืด รองลงมาเป็นปลาในวงศ์ ปลาผีเสื้อติดหินและปลาค้อ (6 ชนิด, ร้อยละ 22) ปลาเหล่านี้สามารถพบอาศัยตามพื้นท้องน ้าของล าธารต้นน ้า มีกระแสน ้า ไหลเชี่ยว น ้ามีความใสมาก หรือแม่น ้าสายหลักที่มีลักษณะเป็นแนวกรวด หรือหินขนาดใหญ่ขวางทางน ้า (Kottelat,1990) ซึ่ง สอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพของล าน ้างิมที่ท าการศึกษาครั้งนี้ นอกจากนี้ปลาในวงศ์นี้ยังจัดเป็นกลุ่มปลาที่บ่งบอกถึง คุณภาพน ้าของลาน ้างิมว่ามีคุณภาพที่ดี (indicator species) สาหรับปลาในวงศ์ปลาแค้บางชนิด เช่น ปลาแค้ (Glyptothorax buchanani และ G. laosensis) จัดเป็นปลาที่จะพบได้ในลาธารพื้นที่สูง มีกระแสน ้าไหลเชี่ยว และพื้นเป็นก้อนหินขนาดต่าง ๆ (Rainboth, 1996; Kottelat, 2001) นอกจากนี้ยังพบว่าชนิดปลาในลาน ้างิมมีความคล้ายคลึงกับชนิดปลาที่สารวจพบในแม่น ้า สาขาของแม่น ้ายม และแม่น ้าน่าน (Lothongkham, 2008; Lothongkham et al., 2009) ซึ่งปลากลุ่มดังกล่าวเกือบทั้งหมดถือ ว่าเป็นปลาต้นน ้า สาหรับปลาที่พบว่ามีความชุกชุมมากที่สุด คือ ปลาจาดลาว (Poropuntius laoensis) ซึ่งปลาชนิดนี้สามารถ พบอาศัยในบริเวณน ้าไหล และบริเวณที่มีน ้านิ่ง หรือน ้าไหลเอื่อย ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าปลาชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้ทั้ง ในล าน ้าเล็ก ๆ จนถึงแม่น ้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับแหล่งที่อยู่อาศัย ของปลาชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบการศึกษานี้กับการศึกษาของ Muang-ngern et al. (2007) ที่ได้ส ารวจความหลากหลาย ของชนิดปลาเบื้องต้นในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง จังหวัดพะเยา โดยในรายงานดังกล่าวมีการเก็บตัวอย่างจากแม่น ้า งิมบริเวณใกล้เคียงกัน พบปลาในแม่น ้างิม จ านวน 9 วงศ์ 23 ชนิด โดยวงศ์ที่พบมากที่สุด ได้แก่ วงศ์ปลาตะเพียน โดยพบ 8 สกุล 9 ชนิด รองลงมาคือวงศ์ปลาผีเสื้อติดหินและปลาค้อ พบ 3 สกุล 7 ชนิด ส าหรับการศึกษาครั้งนี้ พบว่ามีปลาทั้งหมด 27 ชนิด จาก 20 สกุล 11 วงศ์ โดยการศึกษาครั้งนี้พบปลา 8 ชนิด ที่ไม่มีการรายงานในการศึกษาของ Muang-ngern et al. (2007) ได้แก่ ปลาน ้าหมึก (Opsarius koratensis), ปลามะไฟ (Pethia stoliczkana), ปลาผีเสื้อติดหิน (Homaloptera sexmaculata), ปลาค้ อ (Schistura menanensis), ปลาดักหัวแบน (Amblyceps platycephalus), ปลากดเหลือง (Hemibagrus nemurus), ปลาแค้ ติดหิน (Glyptothorax laosensis) และปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis) (ตารางที่ 1) นอกจากนี้ ยังพบอีกว่ามีปลาจ านวน 5 ชนิดที่การศึกษาครั้งนี้ไม่พบ แต่การศึกษาของ Muang-ngern et al. (2007) พบ ได้แก่ ปลาขี้ยอก (Mystacoleucus obtusirostris) ปลาผีเสื้อติดหิน (Homaloptera cf. yunnanensis) ปลาค้อ (Schistura amplizona และ S. bucculenta) และปลานิล (Oreochromis niloticus) ทั้งนี้สาเหตุที่การศึกษาทั้ง 2 นี้ให้ผลที่ แตกต่างกันในบางส่วน อาจมีสาเหตุจากการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ช่วงเวลาที่ด าเนินการส ารวจแตกต่างกัน จุดเก็บตัวอย่างไม่ใช่ต าแหน่งเดียวกัน และจ านวนครั้งของการส ารวจไม่เท่ากัน ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ได้ท าการเก็บตัวอย่างปลา ทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งมากกว่าการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ท าการเก็บตัวอย่างเพียงครั้งเดียว จากการศึกษาดัชนีบ่งชี้โครงสร้างประชากรปลาในแม่น ้างิม อ าเภอปง จังหวัดพะเยา พบว่า ค่าดัชนีความหลากชนิด ดัชนีความมากชนิด และดัชนีความเท่าเทียม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.98, 1.52 และ 0.64 ตามล าดับ เมื่อพิจารณาตามรายเดือน พบว่าเดือนมกราคมมีค่าดัชนีความหลากชนิด ค่าดัชนีความมากชนิด และดัชนีความเท่าเทียมสูงสุด เท่ากับ 3.12, 2.01 และ

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 281

บทความวิจัย

0.72 ตามล าดับ ซึ่ง Soe-been & Musigathum (2008) ได้กล่าวไว้ว่า ค่าดัชนีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตหากอยู่ระหว่าง 1 - 3 หมายความว่าแหล่งน ้าดังกล่าวยังมีความเหมาะสมต่อการดารงชีวิตของสัตว์น ้า แต่ถ้ามีค่าต ่ากว่า 1 แสดงว่าแหล่งน ้านั้น มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมส าหรับการอาศัยของสิ่งมีชีวิต ถ้ามีค่ามากกว่า 3 ขึ้นไปแสดงว่า มีสภาพที่เหมาะสมต่อการด ารงชีวิต และเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน ้านั้น ชนิดปลาที่พบจ านวนมากทั้งระยะเจริญพันธุ์และลูกปลาตลอดการศึกษา ได้แก่ ปลาจาดลาว ปลาเลียหิน ปลามอน ปลามะไฟ ปลาบู่น ้าตกเชียงใหม่ ปลาก้าง และปลาค้อชนิดต่าง ๆ สันนิษฐานได้ว่าปลาเหล่านี้เป็นปลาที่อยู่ประจ าที่ในพื้นที่ที่ ศึกษา สาหรับปลาในกลุ่มปลาผีเสื้อติดหินพ บเฉพาะปลาตัวเต็มวัยเป็นจ านวนมากแต่ไม่พบลูกปลา นอกจากนี้ยังพบปลาเวียน ขนาดเล็ก ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งวางไข่ และอนุบาลตัวอ่อนของปลาเวียน โดยปลาเวียนจะว่ายขึ้นมาวางไข่ ในช่วงฤดูน ้าหลากของทุกปี จากข้อมูลดังกล่าวทางผู้วิจัยเล็งเห็นว่าปลาจาดลาว ปลาเลียหิน และปลาเวียน ซึ่งปลาทั้ง 3 ชนิด นี้เป็นปลาที่คนในพื้นที่นิยมจับมาบริโภค อาจจะมีศักยภาพพัฒนาต่อเป็ นแหล่งโปรตีนราคาถูกให้กับชุมชนหากสามารถ เพาะพันธุ์ และส่งเสริมให้ชุมชนในพื้นที่เลี้ยง หรือมีการวางแผนเพาะพันธุ์และปล่อยสู่แหล่งน ้าธรรมชาติและส่งเสริมให้ชุมชนมี การวางแผนสร้างเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น ้าเพื่อให้มีสัตว์น ้าสาหรับจับบริโภคตลอดปี นอกจากนี้ยังมีปลาอีกหนึ่งชนิดที่ สามารถพัฒนาเป็นปลาสวยงามได้ ได้แก่ ปลาน ้าหมึก เนื่องจากปลาชนิดนี้ตลาดปลาสวยงามมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังขาดข้อมูลในด้านการเพาะขยายพันธุ์ และชีววิทยาด้านต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาในด้านนี้ต่อไป ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการ และคนในพื้นที่อย่างมาก โดยเฉพาะด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสัตว์น ้า อย่างไรก็ตามข้อมูลจ านวนชนิดปลาที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้อาจจะไม่ครอบคลุม และสมบูรณ์ เนื่องจาก ในช่วงฤดู ฝน กระแสน ้าในบริเวณที่เก็บตัวอย่างมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก และไหลเชี่ยวมาก จึงส่งผลให้ไม่สามารถเก็บตัวอย่างปลาบริเวณ กลางน ้าได้ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถน ามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนจัดการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติภายในพื้นที่ต าบลผาช้างน้อย อ าเภอปง จังหวัดพะเยา รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับท้องที่เป็นประจ า จะได้น าไปใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน บริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น หรือน าไปต่อยอดในด้านการเพาะเลี้ยงปลาท้องถิ่นบางชนิดที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพทางเลือกอันจะส่งผลดีต่อชุมชนได้ในอีกทางหนึ่ง รวมถึงข้อมูลบางส่วนยังสามารถน าไปเป็นข้อมูล เบื้องต้นสาหรับผู้ที่สนใจท าการศึกษาทางด้านชีววิทยาของสัตว์น ้าภายในพื้นที่ดังกล่าวและพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป

สรุปผลการวิจัย การศึกษาความหลากหลายของชนิดปลาในแม่น ้างิม จังหวัดพะเยา ท าการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ เดือน เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม พ.ศ. 2561 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 พบปลาทั้งหมด 11 วงศ์ 20 สกุล 27 ชนิด โดยแยก เป็นวงศ์ Cyprinidae จ านวน 8 สกุล 11 ชนิด วงศ์ Balitoridae จ านวน 3 สกุล 6 ชนิด วงศ์ Amblycipitidae จ านวน 1 สกุล 1 ชนิด วงศ์ Bagridae จ านวน 1 สกุล 1 ชนิด วงศ์ Sisoridae จ านวน 1 สกุล 2 ชนิด วงศ์ Belonidae จ านวน 1 สกุล 1 ชนิด วงศ์ Synbranchidae จ านวน 1 สกุล 1 ชนิด วงศ์ Mastacembelidae วงศ์ Ambassidae จ านวน 1 สกุล 1 ชนิด วงศ์ Gobiidae จ านวน 1 สกุล 1 ชนิด และวงศ์ Channidae จ านวน 1 สกุล 1 ชนิด

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 282

บทความวิจัย

กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ปี 2561 มหาวิทยาลัยพะเยา ทางคณะผู้วิจัยใคร่ ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี่ และสุดท้ายนี้ขอขอบคุณทีมส ารวจความหลากหลายปลาของสาขาวิชาการประมง คณะเกษตรศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ได้ช่วยให้การปฏิบัติงานภาคสนามสาเร็จลุล่วงด้วยดี

เอกสารอ้างอิง Berra, T.M. (2001). Freshwater fish distribution. Academic Press, San Diego, USA. International Union for Conservation of Natureand Natural Resources. (2019). The IUCN (International Union for Conservation of Natureand Natural Resources) Red List of Theatened Species. Retrieved March 8, 2019, from http://www.iucnredlist.org Keawkhiew, P., Keawtip, S., Seetakoses, P. & Montien-art, B. (2013). Biodiversity of fish in Maesaw Creek at the intiative highland agricultural development station project, Ban Santisuk, Khunkual subdistrict, Phong district, Phayao province. Journal of Fisheries Technology Research, 7(2), 70-81. (in Thai) Kottelat, M. (1990). Indochinese Nemacheilines. A Revision of Nemacheiline Loaches (Pisces: Cypriniformes) of Thailand, Burma, Laos, Cambodia and southern Viet Nam. Verlag Dr. Friedrich Pfeil, Munchen, Germany. Kottelat, M. (1998). Fishes of the Nam Theun and Xe Bangfai basin, Laos, with diagnoses of twenty-two new species (Teleostei: Cyprinidae, Balitoridae, Cobitidae, Coiidae and Odontobutidae). Ichthyological Exploration of Freshwaters, 9(1), 1-128. Kottelat, M. (2000). Diagnoses of a new genus and 64 new species of fishes from Laos (Teleoatei: Cyprinidae, Balitoridae, Bagridae, Syngnathidae, Chaudhuriidae and Tetraodontidae). Journal of South Asian natural history, 5(1), 37-82. Kottelat, M. (2001). Fishes of Laos. Gunaratne Offset Ltd., Sri lanka. Kottelat, M. (2013). The fishes of the Inland Waters of Southeast Asia: A Catalogue and Core Bibliography of the Fishes Known to Occur in Freshwaters, Mangroves and Estuaries. The Raffles Bulletin of Zoology, 27, 1–663. Living National Treasures. (2015). Checklists of endemics. Retrieved March 8, 2019, from: http://lntreasures.com/thailandff.html Lokitsathaporn, A. & Sinlapachai, W. (2008). Abundance and diversity of benthic fauna in Phra Ong Chao Chaiyanuchit Canal. Technical Paper, Department of Fisheries. 24, 1-84. (in Thai) Lothongkham, A. (2008). Species diversity of fishes in the Nan River Basin (the Chao Phraya River system) in Nan province, Northern Thailand. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 283

บทความวิจัย

Lothongkham, A., Changsarn, J. & Chaichorfa, A. (2009). Survey on diversity of fish species in Hang river, the tributary of upper Nan river, northern Thailand. In Proceedings of 47th Kasetsart University Annual Conference: Fisheries. (pp. 517-524). Bangkok: Thailand. (in Thai) Muang-ngern, S., Sanguanreung, R. & Seetapan, K. (2007). Preliminary survey on fish species diversity in Dio Pha Chang Wildlife Sanctuary, Phayao province. In Proceedings of 45th Kasetsart University Annual Conference: Fisheries. (pp. 688-695). Bangkok: Thailand. (in Thai) Nelson, J.S. (2006). Fishes of the world. 4th ed. John Wiley and Son, Inc., New York. Rainboth, W.J. (1996). Fishes of Cambodian Mekong. FAO Species Identification Field Guide for Fisheries Purpose. Mekong River Commission, FAO and DANIDA. Roberts, T.R. (1998). Review of the Tropical Asian cyprinid fish genus Poropuntius, with description of new species and trophic morphs. The Natural History Bulletin of the Siam Society, 46(1), 105-135. Roberts, T.R. (1999). Fishes of the cyprinid genus Tor in Nam Theun watershad (Mekdng basin) of Laos, with description of a new species. The Raffles Bulletin of Zoology, 47(1), 225-236. Smith, H.M. (1945). The Freshwater Fish of Siam or Thailand. United States Government Printing office, Smithsonion Institution. Bull. no. 188. Washington. Soe-been, S. & Musigathum, P. (2008). Structure and distribution of fish community in Kwan Phayao, Phayao province. Technical Paper. Department of Fisheries. 3, 1-54. (in Thai) Vidthayanon, C. (2005). Thailand Red Data Fishes. Bangkok, Thailand. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. Bangkok, Thailand.

วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 25 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2563 284