รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ชื่อโครงการ “การจัดการข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศในอาเซียน” Boundary Dispute Management in ASEAN สัญญาเลขที่ RDG5510034 โดย นายอัครพงษ์ ค่่าคูณ วันที่ 31 สิงหาคม 2558 สนับสนุนโดยส่านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (ความเห็นในรายงานนี้เป็นของผู้วิจัย สกว. และต้นสังกัดไม่จ่าเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป) บทคัดย่อ รหัสโครงการ: สัญญาเลขที่ RDG5510034 ชื่อโครงการ : การจัดการข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศในอาเซียน (Boundary Dispute Management in ASEAN) ชื่อนักวิจัยและสถาบัน: นายอัครพงษ์ ค่่าคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ E-mail Address: [email protected] ระยะเวลาวิจัย: 2 ปี 11 เดือน (กันยายน 2555 – สิงหาคม 2558) การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ท่าการส่ารวจข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศในอาเซียน (ยกเว้นประเทศไทย) จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งข้อพิพาทเขตแดนทางบกและทางทะเลจ่านวนทั้งสิ้น 20 คู่กรณี โดยในจ่านวนนี้มีข้อ พิพาทที่สามารถระงับได้ 13 คู่กรณี และข้อพิพาทที่ยังด่าเนินการแก้ไขอยู่ 7 คู่กรณี งานวิจัยนี้ อธิบายความ เป็นมาทางประวัติศาสตร์ของการก่าหนดและการปักปันเส้นเขตแดนระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (ยกเว้นไทย) โดยมุ่งเน้นไปที่การส่ารวจเอกสารสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง แผนที่ และเอกสารทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่าหนดเส้นเขตแดน ซึ่งถูกจัดท่าขึ้นในยุคที่ดินแดนภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มพัฒนาขึ้นมาจากรัฐราชอาณาจักร จนกระทั่งเข้าสู่ยุคอาณานิคมซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ เอกสารและข้อตกลงส่วนใหญ่มักจะส่งผลโดยตรงต่อการก่าหนดเส้นเขตแดนและอ่านาจอธิปไตยของแต่ละรัฐ ทั้งนี้ หลังจากการได้รับเอกราชของประเทศต่างๆ ก็มีการสืบสิทธิ์ตามกฎหมายและน่าไปสู่การก่าหนดสัณฐาน ของเส้นเขตแดนในปัจจุบัน ซึ่งเอกสารและการกระท่าต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคอาณานิคมได้กลายมาเป็นหลักฐาน และปัจจัยส่าคัญที่ท่าให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐที่มีพรมแดนติดกันดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยัง ท่าการศึกษากรอบความร่วมมือที่มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อพิพาทระหว่างประเทศ โดยพิจารณา จากกรอบความร่วมมือและกลไกภายในองค์กรอาเซียนจ่านวนรวม 12 กลไก และกลไกภายนอกอาเซียน จ่านวน 3 กลไก จากการศึกษาพบว่า ข้อพิพาทเขตแดนในอาเซียนสามารถแก้ปัญหาให้ยุติลงได้ด้วยปัจจัยส่าคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1.ความชัดเจนของข้อตกลงระหว่างกันของประเทศต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากเอกสารทาง ประวัติศาสตร์ เช่น สนธิสัญญา หรือแผนที่ ซึ่งทั้งสองฝ่ายยอมรับ 2.ความไว้เนื้อเชื่อใจของคู่เจรจา โดยข้อ พิพาทแต่ละกรณีมักได้รับการแก้ไขได้โดยง่ายด้วยความตกลงทวิภาคีหากมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง ประเทศ 3.รัฐบาลเองมีแนวโน้มที่จะน่าข้อพิพาทเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านมาใช้เป็นอาวุธทางการเมืองใน ภาวะที่รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพเพียงพอ แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถจะควบคุมข้อพิพาทไม่ให้กลายเป็นประเด็น สาธารณะได้ ซึ่งหากรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างนโยบายเพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทเส้นเขตแดนอย่างแท้จริงก็ย่อม สามารถอ่านวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติท่าหน้าที่และรับผิดชอบในการเจรจาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ แม้ว่ารัฐต่างๆ ในอาเซียนจะมีการน่าข้อพิพาทเขตแดนเข้าสู่กลไกระงับข้อพิพาทของศาลโลก (ICJ) แต่ในท้ายที่สุดข้อพิพาทเหล่านั้นก็ยังไม่เป็นที่ยุติได้จนถึงปัจจุบัน แต่ก็ยังสามารถท่าข้อพิพาทเหล่านั้นอยู่ใน สถานะเสมือนระงับ (semi-settlement) หรือท่าให้คู่พิพาทมีแนวทางในการจัดการความขัดแย้งได้ต่อไป ค าส าคัญ: ข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศ (international boundary dispute) เขตแดนทางบก (land boundary) เขตแดนทางทะเล (maritime boundary) การระงับข้อพิพาท (ASEAN dispute settlement) กลไกอาเซียน (ASEAN Mechanism) (1) Boundary Dispute Management in ASEAN Akkharaphong Khamkhun Abstract This study explores the boundary disputes among states in Southeast Asia (excludes Thailand) from the past up to the present. The total twenty cases of land and maritime boundary dispute, thirteen of them can be settled while another seven cases are being resolved, reveal the history of delimitation and demarcation process between the claimant states in Southeast Asia. This study aims to examine the treaties, conventions, agreements, maps, and other related official documents pertaining to the management of boundary line construction made prior and during the colonial period. The colonial period affects directly to the delimitation and demarcation of the international boundary lines that define the juridical sovereignty of Southeast Asian countries. The genesis of the boundary disputes is that after Southeast Asian countries became independence, they have inherited all related documents and used them as the basis evidences of the present-day boundary negotiation with the adjacent states. Moreover, this study also examines twelve dispute management mechanisms and frameworks under ASEAN as well as three international mechanisms outside ASEAN namely PCA, ICJ, and ITLOS. The study found that most of the boundary disputes in Southeast Asia can be settled by three factors; 1. The explicit and clearness of the boundary definitions existed in the historical official documents which the claimant states had mutual agreement since the colonial period. 2. The mutual trust between the claimant states effectively entertains the process of bilateral negotiation which also leads to the constructive international relations. 3. The government of the claimant states tends to use the international boundary disputes as a domestic political tool during the unstable situation of the government itself but at the end it becomes the uncontrollable public issues that affect to the international problem between its neighboring countries. If the government’s intention is to create the applicable policies towards the international boundary management, it will effectively facilitate the persons who are working and responsible for boundary negotiation. Many ASEAN states have brought the disputed case into the ICJ’s settlement process, nevertheless the conflict is not fully resolved, at the end, it can be considered as a semi-settlement which ICJ’s rule is a practical suggestion for another process of boundary management between the disputed states. Keywords: international boundary dispute, land boundary, maritime boundary, dispute settlement, ASEAN Mechanism (2) กิตติกรรมประกาศ ผู้เขียนขอขอบคุณส่านักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการจับตา อาเซียน (ASEAN Watch) ซึ่งมี ผศ.ดร.กิตติ ประเสริฐสุข ผู้ประสานงานโครงการที่ให้โอกาสผู้วิจัยได้รับทุนใน ครั้งนี้ ขอขอบพระคุณ ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ผู้เป็นครูบาอาจารย์ของผู้วิจัยเสมอมาและเป็นแรงบันดาลใจ ในการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยค่ากล่าวที่ว่า “เขตแดนของเรา เพื่อนบ้านอาเซียน ของเรา” รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่า พระจันทร์ ผู้สนับสนุนด้านหน้าที่การงานของผู้เขียนเสมอมา สว.พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ผอ.ดามพ์ บุญธรรม ผู้อ่านวยการกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบัน ด่ารงต่าแหน่งเป็นอัครราชทูตไทยประจ่ากรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่กรุณาให้ค่าแนะน่าเกี่ยวกับค่าศัพท์เทคนิคและช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศ อาจารย์สงวน คุ้มรุ่งโรจน์ ผู้ให้ค่าปรึกษาภาษาจีน ผศ.ดร.อรอนง ทิพย์พิมล ผู้ให้ค่าปรึกษาภาษาอินโดนีเซีย ดร.มรกตวงษ์ ภูมิพลับ กรรพฤทธิ์ ผู้ให้ค่าปรึกษาภาษาเวียดนาม รวมทั้ง รศ.ดร.พวงทอง ภวครพันธุ์ ที่กรุณา ส่งบทความที่เกี่ยวข้องมาให้ผู้วิจัย ที่ส่าคัญที่สุดขอขอบคุณ คุณปิยดา จูตะวิริยะ ผู้ประสานงานส่านักงาน กองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ที่อดทนกับความล่าช้าของผู้วิจัยและอ่านวยความสะดวกในการท่าวิจัยอย่าง ยอดเยี่ยม ขอบคุณคุณจิณณประภา งามแสง ค่่าคูณ เด็กชายกฤษฎ์กิติภพ (อชิ) และเด็กหญิงอังคนิภางค์ (เตรุ) ผู้เป็นทั้งก่าลังกายและก่าลังใจให้แก่ผู้เขียนเสมอมา กราบขอบพระคุณ คุณแม่ฉวีวรรณ สาธุจรัญ ผู้เป็นที่พึ่งอัน ประเสริฐของผู้วิจัยมาตั้งแต่เกิด รวมทั้งกัลยาณมิตรและผู้คนมากหน้าหลายตาที่มีส่วนร่วมกับงานวิจัยนี้ใน หลากหลายมิติ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้สนใจและผู้เชี่ยวชาญอีกมาก และหากมี ข้อบกพร่องประการใดผู้เขียนขอน้อมรับค่าชี้แนะและค่าติเตียนทั้งหมดไว้โดยดุษณีย์ และหากงานวิจัยนี้จะมีคุณประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการอยู่บ้าง โปรดจดจ่าเอาไว้ในหัวใจของท่าน ผู้อ่านและผู้สนใจศึกษาว่า “Make Love Not War among ASEAN – สร้างรัก ไม่สร้างศัตรู ในหมู่อาเซียน” (3) บทสรุปส าหรับผู้บริหาร การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ท่าการส่ารวจข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศในอาเซียน (ยกเว้นประเทศ ไทย) จากอดีตจนถึงปัจจุบัน จ่านวนทั้งสิ้น 20 คู่กรณี โดยในจ่านวนนี้มีข้อพิพาทที่ระงับได้ 13 คู่กรณี ข้อ พิพาทที่ยังด่าเนินการแก้ปัญหาอยู่ 7 คู่กรณี งานวิจัยนี้ อธิบายความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของก่าเนิดและ พัฒนาการของเส้นเขตแดนระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นไปที่การ ส่ารวจเอกสารสนธิสัญญา อนุสัญญา ข้อตกลง แผนที่ และเอกสารทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ ก่าหนดเส้นเขตแดน ซึ่งถูกจัดท่าขึ้นในยุคที่ดินแดนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มพัฒนาขึ้นมาจากรัฐ ราชอาณาจักร ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว “เส้นเขตแดน” ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นปรากฏการณ์ที่ ค่อนข้างใหม่ เพราะเพิ่งจะถูกก่าหนดให้มีขึ้นราวคริสตศตวรรษที่ 19 โดยผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ของสิ่งที่ เรียกว่า “แผนที่” เป็นเครื่องก่าหนดอาณาเขตอ่านาจทางการเมืองระหว่างผู้ปกครองกลุ่มต่างๆ ให้ชัดเจน มั่นคง ตายตัว ตามรูปแบบการปกครองสมัยใหม่ ที่เรียกว่า “รัฐชาติ หรือ รัฐประชาชาติ (nation state)” แต่ ก่อนหน้าที่จะมีการก่าหนดและการปักปันเขตแดนในรูปแบบของการท่าแผนที่สมัยใหม่นั้น ผู้ปกครองกลุ่ม ต่างๆ เช่น อาณาจักรทั้งหลาย มักรับรู้ปริมณฑลอ่านาจของตนว่า ครอบคลุมพื้นที่ไม่ชัดเจนและไม่มั่นคง เพราะขอบเขตอ่านาจอาจเปลี่ยนแปลงขยายกว้างออกหรือหดแคบเข้า มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับอ่านาจบารมี และอิทธิพลทางการทหาร และในบางครั้งพรมแดนอาจผลัดเปลี่ยนไปอยู่ใต้อ่านาจของอาณาจักรอื่นๆ ได้ หรือ บางพื้นที่อาจไม่มีอิทธิพลอ่านาจของอาณาจักรใดเลย ที่จะเคยแผ่เข้าไปถึงมาก่อน จนกระทั่งเข้าสู่ยุคอาณานิคม ซึ่งการที่ประเทศตะวันตกเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เบื้องต้น เป็นไปเพื่อการแสวงหาแหล่งทรัพยากรซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่ส่าคัญ รวมทั้งแรงงานและที่ดิน เพื่อขยายฐาน การผลิตและตลาดสินค้าตามแนวทางอุตสาหกรรมและพานิชยกรรมนิยม ความต้องการ “ที่ดิน/ดินแดน” นี่เอง ที่ท่าให้เกิดความจ่าเป็นต้องมีการ “ก่าหนดเขตแดน” ให้มีความ “ชัดเจน แน่นอน ตายตัว” เพื่อ ผลประโยชน์ทางการค้า
Details
-
File Typepdf
-
Upload Time-
-
Content LanguagesEnglish
-
Upload UserAnonymous/Not logged-in
-
File Pages353 Page
-
File Size-