Enterprise Singapore

Enterprise Singapore

Enterprise Singapore Enterprise Singapore (ESG) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2561 ซึ่งจะเป็นหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจแห่งใหม่ในสิงคโปร์ และจะเป็นหน่วยงานเดียว (one stop agency) ที่จะช่วยเหลือบริษัทในสิงคโปร์ โดยไม่ค านึงถึงสาขาของอุตสาหกรรม และระยะการเติบโตของบริษัท Enterprise Singapore จะท างานเพื่อ ส่งเสริมให้บริษัทปรับปรุงประสิทธิภาพ มีการใช้นวัตกรรม และขยายการส่งออกไปทั่วโลกได้ Enterprise Singapore สนับสนุนการเจริญเติบโตของสิงคโปร์ในฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าและสตารช์อัพ อีกทั้ง Enterprise Singapore รับผิดชอบเรื่องมาตรฐานแห่งชาติและเป็นหน่วยงานการรับรองมาตรฐาน Enterprise Singapore จะสร้งความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ทั้งนี้ Enterprise Singapore อยู่ ภายใต้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (MTI) Enterprise Singapore เป็นการรวมหน่วยงาน International Enterprise (IE) Singapore และ SPRING Singapore (The Standards, Productivity and Innovation Board) เข้าด้วยกัน ซึ่งที่ผ่านมา IE Singapore รับผิดชอบการพัฒนาผู้ประกอบการให้เติบโตและขยายตลาดไปต่างประเทศ ซึ่ง IE Singapore คือ Trade Development Board ในอดีต ส่วน SPRING Singapore รับผิดชอบการพัฒนา SMEs และ สตารช์อัพ เนื่องจากโลกได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยี ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับบริษัท อุตสาหกรรม และการด าเนิน ธุรกิจ ในขณะที่เอเซียเป็นภูมิภาคที่ขับเคลื่อนความเจริญเติบโตของโลก ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และ สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจ จึงจ าเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น Enterprise Singapore จึงถูกตั้งขึ้นเพื่อท างานกับภาคธุรกิจ จาก สตารช์อัพถึง SMEs และบริษัทที่มีการเจริญเติบโตสูงๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทสิงคโปร์หรือบริษัทต่างชาติ เพื่อให้สิงคโปร์เจริญเติบโตขึ้นไปอีก Enterprise Singapore มีเจ้าหน้าที่ 960 คนจากการรวมเจ้าหน้าที่ 2 หน่วยงานเข้าด้วยกัน โดยแบ่งโครงสร้างเป็น Industry Clusters, Global Markets, Capacity Programmes & Policies, Quality & Excellence, Corporate Development Leadership Office และ Infrastructure Office หลังจากการ ปรับปรุงแล้ว อุตสาหกรรมที่ Enterprise Singapore ครอบคลุม 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) การผลิตและวิศวกรรม 2) ไลฟ์สไตล์และคอนซูเมอร์ 3) การค้า การเชื่อมโยง ธุรกิจบริการ 4) โซลูชั่นของเมืองและการบริการการ ก่อสร้าง และ 5) สื่อ (Infocomm media) และการปรับสู่ดิจิตัลและอุตสาหกรรมใหม่ รายละเอียดโครงสร้าง และอุตสาหกรรมตามเอกสารแนบ Enterprise Singapore เป็นหน่วยงานของรัฐที่สนับสนุนการพัฒนาองค์กร เราท างานร่วมกับ บริษัทที่มุ่งมั่นในการสร้างขีดความสามารถ สร้างนวัตกรรม และเป็นสากล นอกจากนี้เรายังสนับสนุนการเติบโต ของบริษัทสิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางการค้าและการเริ่มต้นของโลก เป็นมาตรฐานระดับประเทศ และหน่วยงาน รับรองระบบงาน เรายังคงสร้างความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์และบริการของสิงคโปร์ผ่านทางด้านคุณภาพและ มาตรฐาน 2 Mr.Png Cheong Boon ได้รับแต่งตั้งให้เป็น Chief Executive Officer ของ Enterprise Singapore ได้กล่าวว่า Enterprise Singapore จะเป็นศูนย์กลางในการท างานร่วมกับบริษัทที่มุ่งมั่นปรับปรุง การให้ความช่วยเหลือเพื่อประสิทธิภาพ และยกระดับความเป็นหุ้นส่วนเพื่อให้เอกชนเข้าถึงความช่วยเหลือได้ มากขึ้น Mr.Png Cheong Boon เคยเป็น และ Deputy CEO ของ JTC Corporation (หน่วยงานที่วางแผน ส่งเสริม และพัฒนาการใช้พื้นที่ของอุตสาหกรรมของสิงคโปร์) CEO ของ SPRING Singapore และเคยท างาน ใน Economic Development Board ที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมาสู่สิงคโปร์ จากประสบการณ์ ดังกล่าว เชื่อว่าซึ่งจะมีความสามารถในหน้าที่ใหม่นี้ด้วย การท างานต่อไปของ Enterprise Singapore สรุปได้ดังนี้ 1. Enterprise Singapore จะเป็นศูนย์กลางการช่วยเหลือบริษัทสิงคโปร์เพียงหน่วยงานเดียว ท างานกับภาค ธุรกิจ จากสตารช์อัพถึงเพื่อให้บริษัทสิงคโปร์ และบริษัทที่มีการเจริญเติบโตสูงๆแข็งแรงขึ้นและ ขยายสู่ต่าง ประเทศได้ ส่งผลให้สิงคโปร์เจริญเติบโตขึ้นไปอีก Enterprise Singapore จะท างานร่วมกับบริษัท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ นวัตกรรม ใช้ดิจิตัลมากขึ้น พัฒนาบริษัทที่มีความสามารถพิเศษ และขยายตลาดไป ต่างประเทศ 2. ปรับปรุงการช่วยเหลือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น Productivity Solutions Grant (PSG) รวมการช่วยเหลือ 3 โครงการเดิม ให้บริษัทสามารถสมัครเพื่อขอรับความช่วยเหลือด้านการใช้โซลูชั่นและ เครื่องมือได้ง่ายขึ้น และ Enterprise Development Grant (EDG) สนับสนุนบริษัทให้เปลี่ยนแปลงและใช้ นวัตกรรม ซึ่งจะเริ่มต้นเดือนตุลาคม 2561 3. ใช้ประโยชน์จากหุ้นส่วนเพื่อให้เข้าถึงการช่วยเหลือมากขึ้น หุ้นส่วนที่ส าคัญ คือสมาคม การค้าต่งๆ และหอการค้า ต้องมีความร่วมมือกันมากขึ้น มีโครงการ Local Enterprise and Association Development (LEAD) เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนอุตสาหกรรมสิงคโปร์มากขึ้น เพื่อขยายความร่วมมือพัฒนา สิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางการค้าของโลกและสร้างความไว้วางใจให้สินค้าและบริการของสิงคโปร์ บริษัทสิงคโปร์มีประมาณ 200,000 บริษัท โดยแบ่งเป็น 1) มีบริษัท จ านวน 160,000 บริษัทที่มีรายได้ต่ ากว่า 1 ล้านเหรียญสิงคโปร์ มีการจ้างงาน 540,000 ต าแหน่ง (ประมาณ 18% ของแรงงาน) และสร้างรายได้ 4% ของ GDP 2) มีบริษัท จ านวน 30,000 บริษัทที่มีรายได้ 1 – 10 ล้านเหรียญสิงคโปร์ มีการจ้างงาน 830,000 ต าแหน่ง (ประมาณ 27% ของแรงงาน) และสร้างรายได้เกือบ 10% ของ GDP 3) มีบริษัท จ านวน 8,000 บริษัทที่มีรายได้ 10 – 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ มีการจ้างงาน 840,000 ต าแหน่ง (ประมาณ 27% ของแรงงาน) และสร้างรายได้ 20% ของ GDP 4) มีบริษัท จ านวน 2,000 บริษัทที่มีรายได้มากกว่า 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ มีการจ้างงาน 900,000 ต าแหน่ง (ประมาณ 30% ของแรงงาน) และสร้างรายได้ 65% ของ GDP การด าเนินการ Enterprise Singapore จะพิจารณาความต้องการเฉพาะของแต่ละกลุ่ม และ จะด าเนินการ โดย 1) จัดเตรียมโปรแกรมสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และครอบคลุมเพื่อช่วย ผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่ม 3 2) มุ่งเน้นโครงการ และพยายามช่วยให้บริษัทสามารถอัพเกรดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างสรรค์ และปรับเปลี่ยนให้เติบโต และขยายสู่ต่างประเทศได้ 3) Enterprise Singapore ท างานร่วมกับภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อ ให้บริการเฉพาะโดเมน เฉพาะอุตสาหกรรม และเฉพาะตลาด Singapore’s Enterprise การช่วยเหลือกลุ่มต่างๆ สตาร์ชอัพ (Startups) Enterprise Singapore ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น A*STAR, EDB, SG Innovate, MAS รวมถึงมหาวิทยาลัย เป็นต้น พัฒนากลุ่มสตาร์ชอัพให้เข้มแข็ง และเข้ากับสภาพนิเวศของสิงคโปร์ เช่น ฟินเทค ไบโอเม็ดดิเคิล โครงการ Startup SG อันเดิมจาก SPRING ยังได้รับการสนับสนุนต่อ นอกจากนี้ Enterprise Singapore ได้ท างานร่วมกับ EDB ในการตั้ง Global Innovation Alliance เพื่อเป็นสถานีเชื่อมนวัตกรรมในต่างประเทศ ดังนั้น สตาร์ชอัพ จะสามารถเชื่อมกับสังคมนวัตกรรม 4 และขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้ ทั้งนี้ มี การตั้ง Global Innovation Alliance ในกรุงเทพฯ ซึ่งจะเปิดปลาย เดือนนี้ กลุ่ม Micro enterprises & “First-time Upgraders” Enterprise Singapore ช่วยสนับสนุนกลุ่มนี้ โดยการให้ค าปรึกษา และข้อมูลออนไลน์ผ่าน SME Portal และศูนย์ SME 12 ศูนย์ การช่วยเหลือผ่านโครงการ Productivity Solutions Grant (PSG) ส าหรับผู้ที่พร้อมจะใช้ IT หรือพร้อมที่จะใช้เครื่องมือโซลูชั่นต่างๆ และเชื่อม SME เข้ากับหน่วยงานอื่นๆ เช่น Tech Depot and IMDA’s SMEs Go Digital ส าหรับด้านตลาด เช่น จีน อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีโครงการ Plug & Play Network ที่จะสนับสนุน SME เช่น ที่ปรึกษา B2B และ co-working spaces ส าหรับ การจัดตั้งธุรกิจแบบรวดเร็ว และหอการค้าสิงคโปร์-จีนที่เซี่ยงไฮ้ การสนับสนุน Micro enterprises & “First-time Upgraders” กลุ่ม Small and medium enterprises กลุ่มนี้ อาจจะเป็นกลุ่มที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงธุรกิจหรือขยายธุรกิจออกต่างประเทศ Enterprise Singapore สนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพ และพัฒนาความสามารถทางด้านนวัตกรรม โดย ช่วยผ่านศูนย์นวัตกรรม สถาบัน A*STAR การพัฒนาบุคลากร และการใช้บริการของส านักงานของ Enterprise Singapore ใน 35 ประเทศ และ โครงการ Plug & Play Network ในอีก 9 ศูนย์ การช่วยเหลือ ตามโครงการ Enterprise Development Grant ซึ่งจะช่วยการอัพเกรด การนวัตกรรม การปรับปรุงธุรกิจ และการขยายตลาด สู่ต่างประเทศ การช่วยพัฒนาบุลคากร ผ่านกระทรวงแรงงาน เป็นต้น 5 กลุ่มวิสาหกิจใหญ่ (Large enterprises) Enterprise Singapore สนับสนุนการขยายธุรกิจของวิสาหกิจหรือบริษัทใหญ่ๆ ในต่างประเทศ ให้กว้างขึ้นและลึกมากขึ้น อ านวยความสะดวกและเชื่อมโยงวิสาหกิจหรือบริษัทใหญ่ๆ เพื่อหาโอกาส ให้กับธุรกิจ นอกจากนี้ Enterprise Singapore จะใช้ PACT (Partnerships for Capability Transformation) เพื่อท างาน อย่างใกล้ชิดกับ EDB เพื่อให้บริษัทสิงคโปร์ขนาดใหญ่ และ MNCs ช่วยอัพเกรด SMEs และอ านวยความสะดวก ในการขยายตลาดไปต่างประเทศ ข้อคิดเห็น 1. การปรับโครงสร้างของ IE Singapore และ SPRING Singapore มีเป้าหมายที่จะให้บริษัทเข้าถึง ความช่วยเหลือได้ตรงความต้องการของบริษัทมากขึ้น ง่ายขึ้น และรวดเร็ว จะยิ่งให้บริษัทสิงคโปร์พัฒนาได้ รวดเร็ว ยิ่งสร้างความเจริญให้สิงคโปร์ 2. การช่วยเหลือของสิงคโปร์จะสามารถช่วยเหลือเป็นรายบริษัทได้ โดยต้องมีการพิจารณาแผน ธุรกิจว่าเป็นไปได้ที่จะส าเร็จ การให้เงินแบบให้เปล่า หากไม่ส าเร็จ ไม่มีการจ่ายค่าปรับ มีการให้ค่าใช้จ่ายตามที่ เอกชนต้องการ เช่น การจดทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ค่าทนาย การให้การบริการพัฒนาสินค้าให้ การ ให้ค าปรึกษษเรื่องการปรับคุณภาพและมาตรฐาน เป็นต้น ในขณะที่ระเบียบของไทยไม่สามารถท าได้ จึงท าให้มี บริษัทแข็งแกร่งขยายตลาดออกต่างประเทศได้ ---------------------------------------- ที่มา : Straits Times, www.enterprisesg.gov.sg สคต. สิงคโปร์ เมษายน 2561 .

View Full Text

Details

  • File Type
    pdf
  • Upload Time
    -
  • Content Languages
    English
  • Upload User
    Anonymous/Not logged-in
  • File Pages
    5 Page
  • File Size
    -

Download

Channel Download Status
Express Download Enable

Copyright

We respect the copyrights and intellectual property rights of all users. All uploaded documents are either original works of the uploader or authorized works of the rightful owners.

  • Not to be reproduced or distributed without explicit permission.
  • Not used for commercial purposes outside of approved use cases.
  • Not used to infringe on the rights of the original creators.
  • If you believe any content infringes your copyright, please contact us immediately.

Support

For help with questions, suggestions, or problems, please contact us