Pleural Effusion

Pleural Effusion

1 เอกสารประกอบการสอน เรื่อง รังสีวิทยาระบบทางเดินหายใจ: การเลือกส่งตรวจและแปลผลภาพรังสีทรวงอก (Radiology of the chest: methods of investigation and plain film interpretation) โดย แพทย์หญิงวรรณพร บุรีวงษ์ 2 แผนการสอน หัวข้อ รังสีวิทยาระบบทางเดินหายใจ: การเลือกส่งตรวจและแปลผลภาพรังสีทรวงอก ผู้สอน พญ. วรรณพร บุรีวงษ์ เวลา 3 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อให้นิสิตแพทย์สามารถ 1. บอกวิธีการตรวจและข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจทางรังสีวิทยาของระบบทางเดินหายใจได้ 2. บอกท่าที่ใช้ถ่ายภาพรังสีทรวงอก และความเหมาะสมของเทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพได้ 3. สามารถอธิบายโครงสร้างและอวัยวะภายในของร่างกายที่พบบนภาพรังสีทรวงอกได้ เนื้อหาหัวข้อ 1. วิธีการตรวจทางรังสีวิทยาของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ Plain chest radiography (CXR), Computed tomography (CT), CT angiography, Magnetic resonance imaging (MRI), Ultrasonography, Angiography และ Radionuclide study 2. ลักษณะทางกายวิภาคเบื้องต้นของระบบทางเดินหายใจ (Normal anatomy of the chest) 3. ภาพถ่ายรังสีทรวงอกแบบปกติ (Normal chest radiography) การจัดประสบการณ์เรียนรู้ 1. บอกวัตถุประสงค์และบอกเนื้อหา 5 นาที 2. สอนบรรยายหัวข้อต่างๆ 60 นาที 3. กิจกรรม/สอนแสดง 90 นาที 4. สรุปเนื้อหาบทเรียน 15 นาที 5. นิสิตซักถาม 10 นาที สื่อการสอน 1. เอกสารประกอบการสอน 2. Power point ทั้งภาพนิ่งและ animation 3. ภาพถ่ายทางรังสี วิธีประเมินผล 1. ข้อสอบ Multiple choice question 5 ตัวเลือก 2. ข้อสอบบรรยายภาพถ่ายทางรังสี OSCE 3 หนังสือและเอกสารอ้างอิง 1. Sutton D. Textbook of radiology and imaging. 6th ed. China: Churchill Living stone, 1998 2. Herring W. Learning radiology: recognizing the basics. 2nd ed. Philadelphia: Elsevier Mosby, 2007. 3. Armstrong P, Wastie M, Rockall A. Diagnostic imaging. 5th ed. Massachusetts: Blackwell Publishing, 2004. 4. Collins J, Stern EJ. Chest radiology the essentials. 2nd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins, 2008. 4 THE NORMAL CHEST METHODS OF INVESTIGATION การตรวจทางรังสีวิทยาเพื่อประเมินพยาธิสภาพในช่องทรวงอกมีหลายวิธี1 ได้แก่ 1. Plain chest radiography หรือเรียกสั้นๆว่า chest x-ray (CXR) 2. Computed tomography (CT) 3. Magnetic resonance imaging (MRI) 4. Ultrasound 5. Conventional angiography 6. Radionuclide study ………….……………………………………………………………………………………………. Plain chest radiography (CXR) การถ่ายภาพรังสีของทรวงอกมีหลายท่าด้วยกัน แต่ที่ใช้มากที่สุดคือท่า postero-anterior (PA) รองลงมาคือท่า antero-posterior (AP) และ lateral ส าหรับCXR ในท่าอื่นๆ มีประโยชน์ในการดูรอยโรคที่ แตกต่างกัน ดังนี้ - Lateral decubitus film ใช้ตรวจหา pleural effusion - Lordotic view ใช้ดูรอยโรคบริเวณ lung apex - Oblique view ใช้ดูรอยโรคบริเวณ retrocardiac area, posterior costophrenic angles และ chest wall - Inspiratory and expiratory views ใช้ดู air trapping และ diaphragm movement ในเด็กนิยม ใช้เมื่อสงสัยสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ ในการตรวจหาความผิดปกติเบื้องต้นของระบบทางเดินหายใจ CXR เป็นวิธีแรกของการตรวจทางรังสี วิทยาที่ควรส่ง ข้อบ่งชี้ที่พบบ่อยในการส่งตรวจ CXR ได้แก่ 1. มีอาการหรืออาการแสดงของระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจ หรือช่องท้องส่วนบน 2. เพื่อติดตามอาการของผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพในช่องทรวงอกอยู่เดิม 3. สงสัยภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง 5 4. สงสัยสิ่งแปลกปลอมในท่อทางเดินหายใจ 5. การบาดเจ็บของช่องทรวงอก 6. Pre- and post operative การ screening CXR ในผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ หรือ screening ก่อนเข้าท างาน เพื่อตรวจหาการติดเชื้อวัณโรคนั้น ยังไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ควรพิจารณาเป็นรายๆไป …………………………………………………………………………………………………………………….. Computed tomography (CT) 1). CT chest (conventional CT scanning) เป็นการตรวจภาพตัดขวางของทรวงอกโดยใช้รังสีเอ็กซ์ อาจตรวจ ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสีด้วยหรือไม่ก็ได้ขึ้นกับพยาธิสภาพที่สงสัย ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ CT chest ได้แก่ 1. เพื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากความผิดปกติที่พบบน CXR เช่น - บอกระยะของมะเร็ง (staging malignancy) - ประเมินรอยโรคที่เกิดใน chest wall หรือ pleura - ประเมิน lung mass, hilum or mediastinal lesion 2. หาความผิดปกติในผู้ป่วยที่มีอาการทางปอดหรือในช่องทรวงอก แต่ไม่พบความผิดปกติจาก CXR เช่น - ตรวจหาการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่ปอด (detecting pulmonary metastasis from known extrathoracic malignancy) - ตรวจหาสาเหตุของอาการไอเป็นเลือด เช่น endobronchial lesion, subtle bronchiectasis 2). High resolution CT of the chest (HRCT) เป็นการตรวจภาพตัดขวางของทรวงอกโดยใช้ slice thickness ที่น้อยกว่า conventional CT ท าให้เห็นรายละเอียดของเนื้อปอดได้ดีขึ้น ซึ่งท าให้ผู้ป่วยได้รับรังสีมากกว่าวิธี ธรรมดาด้วย จึงต้องตัดภาพเฉพาะบางส่วนและละเว้นบางส่วนไว้ การตรวจด้วยวิธีนี้จึงใช้ส าหรับผู้ป่วยที่สงสัย interstitial lung disease และ small airway disease เท่านั้น 3). CT angiography หรือ CTA เป็นการตรวจภาพตัดขวางของทรวงอกร่วมกับการฉีดสารทึบรังสีเพื่อดูหลอด เลือดแดง pulmonary arteries และ thoracic aorta - CTA pulmonary artery ใช้ดูพยาธิสภาพใน pulmonary arteries เช่น pulmonary embolism - CTA thoracic aorta ใช้ดูพยาธิสภาพใน aorta เช่น thoracic aortic dissection และ aortic aneurysm 6 Magnetic resonance imaging (MRI) เป็นการตรวจภาพตัดขวางของทรวงอกโดยใช้หลักการเหนี่ยวน าอนุภาคในสนามแม่เหล็กเป็นตัวสร้าง ภาพ อาจตรวจร่วมกับการฉีดสารทึบรังสีด้วยหรือไม่ก็ได้ขึ้นกับพยาธิสภาพที่สงสัย เนื่องจาก MRI มี soft tissue contrast resolution ที่ดีจึงมีประโยชน์ในการประเมินเนื้องอกที่รุกล ้าเข้าไปในผนังทรวงอกหรือ mediastinum (tumor invasion of mediastinum or chest wall) หรือใช้ตรวจหา pulmonary embolism ใน ผู้ป่วยที่มีข้อจ ากัดในการส่งตรวจ CT เช่น แพ้สารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ ข้อด้อยของ MRI คือไม่ สามารถให้รายละเอียดของรอยโรคในเนื้อปอดได้ …………………………………………………………………………………………………………………….. Ultrasonography (US) เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงโดยอาศัยหลักการสะท้อนและดูดกลืนคลื่นเสียงของเนื้อเยื่อที่ ต่างกันมาใช้ในกาสร้างภาพของอวัยวะภายใน ข้อจ ากัดของ ultrasound คือ คลื่นเสียงไม่สามารถผ่านอากาศ เข้าไปได้ จึงไม่สามารถใช้ดูความผิดปกติภายในปอดได้ มีเพียงรอยโรคที่ chest wall, pleura เช่น pleural effusion และ lung lesion ที่อยู่ชิดติดกับ chest wall เท่านั้นที่สามารถตรวจได้ด้วย ultrasound นอกจากนี้เรา สามารถใช้ ultrasound เพื่อ guide tapping chest wall lesion หรือ pleural effusion ได้ด้วย …………………………………………………………………………………………………………………….. Conventional angiography ใช้ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดต่างๆ ได้แก่ pulmonary vessel: pulmonary embolism, pulmonary arteriovenous malformation (AVM) หรือความผิดปกติของ thoracic aorta: aortic aneurysm, aortic dissection หรือความผิดปกติของหลอดเลือดอื่นๆ เช่น bronchial artery เนื่องจาก conventional angiography เป็นวิธีที่ invasive และความสามารถในการสร้างภาพของเครื่อง CT และ MRI ดีขึ้นมากใน ปัจจุบัน การส่งตรวจ conventional angiography จึงลดน้อยลงมาก ข้อบ่งชี้หลักของการส่งตรวจ conventional angiography ในปัจจุบันจึงเป็นเพื่อท าการรักษา เช่น embolization pulmonary AVM หรือ bronchial artery embolization ในผู้ป่วย massive hemoptysis …………………………………………………………………………………………………………………….. 7 Radionuclide study Positrom Emission Tomography (PET scan) เป็นการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้ศึกษาการ ท างานของอวัยวะเป้าหมายที่ต้องการ โดยฉีดสารกัมมันตรังสีติดฉลากกับสารเภสัชเข้าไปในหลอดเลือดแล้ว ถ่ายภาพการกระจายตัวของสารนั้นในร่างกาย การตรวจวิธีนี้จึงแสดงภาพของอวัยวะในแง่การท างานมากกว่า โครงสร้างทางกายวิภาค ส าหรับรอยโรคในทรวงอก PET สามารถใช้ในการตรวจผู้ป่วยมะเร็งเพื่อวินิจฉัยแยก สภาวะเนื้องอกออกจากสภาวะอื่นๆ และประเมินผลหลังการรักษา ในปัจจุบันมีการพัฒนาน าการตรวจ CT scan มาใช้ร่วมกับ PET scan เรียกว่า PET/CT scan เพื่อเพิ่มรายละเอียดทางด้านกายวิภาค ท าให้การตรวจนี้ มีความสมบูรณ์มากขึ้น ................................................................................................................................................................ CXR INTERPRETATION 3 ขั้นตอนส าคัญที่ต้องนึกถึงเมื่อจะแปลผลภาพรังสีทรวงอก (CXR) 1. ต้องรู้คุณภาพทางเทคนิคของภาพ CXR ที่จะแปลผลว่าดีเพียงพอหรือไม่ 2. ต้องรู้โครงสร้างปกติ (normal anatomy) ที่พบบนภาพ CXR จึงจะบอกได้ว่าสิ่งไหนผิดปกติ 3. เมื่อตัดสินใจได้ว่าภาพ CXR ที่เห็นนั้นมีความผิดปกติ ต้องมีหลักการคิดต่อไปว่าความผิดปกติที่เห็น นั้นคืออะไร 1). Technical adequacy การประเมินคุณภาพทางเทคนิคของ CXR มี 5 ประการ2 1. ปริมาณรังสีที่ผ่านผู้ป่วยไปสู่แผ่นฟิล์ม (penetration or exposure) Exposure ของ CXR ที่เหมาะสมจะต้องเห็นกระดูกซี่โครงและกระดูกสันหลังที่อยู่หลังหัวใจ ถ้าฟิล์ม underexposure (ปริมาณรังสีผ่านผู้ป่วยน้อย) หัวใจจะขาวมากจนไม่เห็นกระดูกสันหลังและซี่โครงที่อยู่ ด้านหลัง ซึ่งจะเหมาะส าหรับดูรอยโรคในปอดเพราะเนื้อปอดจะไม่ด าจนเกินไป ส าหรับฟิล์ม overexposure (ปริมาณรังสีผ่านผู้ป่วยมาก) เหมาะส าหรับดูรอยโรคที่อยู่ใน mediastinum และหลังหัวใจ แต่จะไม่สามารถมองเห็นรอยโรคในปอดได้เพราะปอดด าเกินไป อย่างไรก็ตาม ความกังวลเรื่อง over หรือ underexposure ในปัจจุบันได้ลดลงไปมาก เนื่องจากมีการน าระบบภาพดิจิตอลมาใช้ในทางรังสีวินิจฉัย ท าให้สามารถปรับแต่งความสว่างคมชัดของภาพในภายหลังได้ 8 2. การหายใจเข้าขณะถ่ายภาพ (Inspiration) ขณะถ่ายภาพ CXR ผู้ป่วยจะต้องหายใจเข้าอย่างเต็มที่ (full inspiration) หากผู้ป่วยหายใจได้ไม่ เพียงพอ (poor inspiratory effort) เนื้อเยื่อบริเวณชายปอดจะถูกกดและรวมตัวกันท าให้เข้าใจผิดคิดว่า เป็นรอยโรคได้ เราสามารถประเมินว่าผู้ป่วยหายใจเข้าได้ดีเพียงพอหรือไม่ โดยนับจ านวน posterior ribs ที่อยู่เหนือ diaphragm (ควรอยู่ที่ posterior rib 8-9) ร่วมกับประเมินความโค้งของ dome diaphragm ถ้า ยิ่งโค้งมากแสดงว่าผู้ป่วยหายใจเข้าได้ไม่ดี แต่ถ้าหาก dome diaphragm แบนราบเกินไป และ posterior rib ที่อยู่เหนือ diaphragm มากกว่า 10 rib อาจบ่งชี้ถึงรอยโรคที่มีลมขังอยู่ในปอด เช่น emphysema ได้ 3. CXR ที่ถ่ายอยู่ในท่าตรงหรือไม่ (Rotation) การประเมินว่าฟิล์มผู้ป่วยในท่า posteroanterior (PA) หรือ anteroposterior (AP)อยู่ในท่าตรงหรือไม่ นั้น สามารถดูได้จากระยะห่างระหว่าง medial end ของ clavicle กับ spinous process ของ thoracic vertebral body ว่าทั้งสองข้างเท่ากันหรือไม่ การที่ CXR ไม่อยู่ในท่าตรงจะท าให้ normal anatomy บริเวณ heart, great vessels, hila และ hemidiaphragms เปลี่ยนไป โดยพบว่า hilum ข้างที่อยู่ห่างจาก ฟิล์มจะใหญ่กว่าอีกข้าง และ hemidiaphragm ข้างนั้นก็จะยกสูงกว่าอีกข้างเช่นกัน 4. การท าให้ภาพมีการขยายขนาดเกินจริง (Magnification) อวัยวะที่อยู่ห่างจากแผ่นฟิล์มมากจะมีขนาดที่ขยายใหญ่กว่าปกติได้

View Full Text

Details

  • File Type
    pdf
  • Upload Time
    -
  • Content Languages
    English
  • Upload User
    Anonymous/Not logged-in
  • File Pages
    90 Page
  • File Size
    -

Download

Channel Download Status
Express Download Enable

Copyright

We respect the copyrights and intellectual property rights of all users. All uploaded documents are either original works of the uploader or authorized works of the rightful owners.

  • Not to be reproduced or distributed without explicit permission.
  • Not used for commercial purposes outside of approved use cases.
  • Not used to infringe on the rights of the original creators.
  • If you believe any content infringes your copyright, please contact us immediately.

Support

For help with questions, suggestions, or problems, please contact us