การศึกษาความพยายามของรัสเซียในการสร้างภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์ กรณีศึกษา : ภาพยนตร์ Guardians (2017)

โดย

นางสาวนัยนา พูลสวัสดิ์

ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2562 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การศึกษาความพยายามของรัสเซียในการสร้างภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์ กรณีศึกษา : ภาพยนตร์ Guardians (2017)

โดย

นางสาวนัยนา พูลสวัสดิ์

ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2562 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

THE STUDY OF RUSSIA'S ATTEMPT TO REPLICATE AMERICA'S SUPERHERO MOVIE: CASE STUDY THE RUSSIAN FILM CALLED "GUARDIANS" (2017)

BY

MISS. NAIYANA POOLSAWASD

A RESEARCH PAPER SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF BACHELOR OF ARTS RUSSIAN STUDIES PROGRAM FACULTY OF LIBERAL ARTS THAMMASAT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2019 COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์

ภาคนิพนธ์

ของ

นางสาวนัยนา พูลสวัสดิ์

เรื่อง

การศึกษาความพยายามของรัสเซียในการสร้างภาพยนตร์ ประเภทยอดมนุษย์กรณีศึกษา : ภาพยนตร์ Guardians (2017)

ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติ ให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาตรบัณฑิต

เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ประธานกรรมการสอบภาคนิพนธ์ (อาจารย์ วัฒนะ คุ้นวงศ์) กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ (อาจารย์ ก่อพงษ์ อัศวไชยวศิน) กรรมการสอบภาคนิพนธ์ (อาจารย์ ศิริรัตน์ คงสิริพิพัฒน์)

(1)

หัวข้อภาคนิพนธ์ การศึกษาความพยายามของรัสเซียในการสร้างภาพยนตร์ ประเภทยอดมนุษย์กรณีศึกษา : ภาพยนตร์ Guardians (2017) ชื่อผู้เขียน นางสาวนัยนา พูลสวัสดิ์ ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ อาจารย์ก่อพงษ์ อัศวไชยวศิน ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

ภาคนิพนธ์ฉบับนี้เป็นภาคนิพนธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาและวิเคราะห์ภาพยนตร์ Guadians (2017) ของผู้ก ากับ ซาริก อันเดรอซาน (Sarik Andreasyan) เป็นภาพยนตร์ประเภทยอด มนุษย์ หรือ ซูเปอร์ฮีโร่ของรัสเซีย ที่พยายามในการเดินตามสูตรส าเร็จของภาพยนตร์ประเภทเดียวกัน ของอเมริกา อีกทั้งเปรียบเทียบนัยส าคัญและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาในภาพยนตร์ระหว่าง ของรัสเซียและอเมริกา รวมถึงศึกษาหาสาเหตุของความล้มเหลวในการพยายามสร้างภาพยนตร์ ประเภทยอดมนุษย์ของรัสเซีย เมื่อเทียบกับความส าเร็จของภาพยนตร์ประเภทเดียวกันของอเมริกา ผลการศึกษาพบว่าภาพยนตร์ Guardians พยายามเดินตามสูตรส าเร็จของภาพยนตร์ อเมริกา อาทิ ลอกเลียนแบบตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ของอเมริกาจากภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง ในขณะที่ ภาพยนตร์อเมริกาที่ประสบความส าเร็จ การสร้างตัวละครซูเปอร์ฮีโร่จะต้องก าหนดวิถีชีวิต เชื้อชาติ เพศสภาพและอุดมคติของตัวละครนั้น ๆ ให้เป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งรูปแบบภาพยนตร์ Guardians มี ความคล้ายคลึงกับภาพยนตร์ Fantastic 4 ของอเมริกา ถึงแม้ว่ารัสเซียเองจะมีคอมมิคการ์ตูนของ เรื่อง Guardians ออกมาก่อนที่ภาพยนตร์ฉายลงจอในปีค.ศ. 2016 มีความแตกต่างจากในภาพยนตร์ แต่ภาพยนตร์กลับลอกเลียนแบบอเมริกาและท าให้ไม่ประสบความส าเร็จ นอกจากนี้ปัจจัยที่ท าให้ภาพยนตร์ Guardians ล้มเหลว ได้แก่โครงเรื่องของภาพยนตร์ ไม่มีความต่อเนื่อง และความสมเหตุสมผล ทุนที่ใช้สร้างภาพยนตร์ใช้น้อยมาก สัญญะที่สื่อถึงประเทศ รัสเซียน้อยและไม่ชัดเจน และไม่มีสิ่งที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของคนรัสเซียผ่านภาพยนตร์

ค าส าคัญ: ซูเปอร์ฮีโร่, คอมมิค, สัญญะ (2)

Research Paper Title THE STUDY AND ANALYSIS ON FACTORS OF POWER-SHARING BETWEEN REPUBLIC OF BASHKORTOSTAN AND RUSSIAN GOVERNMENT Author Miss Naiyana Poolsawasd Degree Bachelor of Arts Major Field/Faculty/University Russian Studies Liberal Arts Thammasat University Research Paper Advisor Kophong Assawachaiwasin Academic Years 2019

ABSTRACT

This research paper aimed to study and analysis the film Guardians (2017) of director Sarik Andreasyan. This film is about Russian superheroes that tried to follow fixed formula of the same genre American film. There is also comparison significance and symbols that reflected in film between Russia and United States as well as studying the reasons for failure to try to produce film about Russian superheroes compared to the super success American film in the same genre. The result of the study showed that Guardians film try to follow fixed formula of American film such as copying American superheroes characters from famous film while most of success films have to create unique characters and specify lifestyle, ethnicity, and gender including ideals. Moreover the Guardians film type is similar to American film’s Fantastic 4 even though Guardians released comic version in 2016 that have many differences but it still copied American film instead and made it unsuccessful. However the factors causing failure of Guardians film include the lack of continuity in its storyline and reasonability, low budget, the signs that mean to Russia are unclear and there is nothing to pass for culture or way of life in Russian people through movies.

Keywords: Superheroes, Comics, Sign (3)

กิตติกรรมประกาศ

ภาคนิพนธ์ฉบับนี้เป็นความภาคภูมิใจของผู้วิจัยอย่างยิ่ง ผู้วิจัยทุ่มเทในการศึกษานี้อย่าง ตั้งใจเพื่อที่จะให้ผลงานส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยคาดหวังว่าภาคนิพนธ์เล่มนี้จะสามารถเป็นข้อมูลที่ ส าคัญให้กับผู้ที่สนใจและอยากศึกษาต่อเกี่ยวกับภาพยนตร์ประเภทนี้ ขอขอบพระคุณ อาจารย์ก่อพงษ์ อัศวไชยวศิน อาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ฉบับนี้ที่รับ หัวข้อของผู้วิจัย อาจารย์คอยให้ค าปรึกษาแนะน า ให้ข้อมูลส าคัญที่เป็นประโยชน์อย่างมากส าหรับท า ภาคนิพนธ์ แก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ท าให้ภาคนิพนธ์เล่มนี้ส าเร็จลุล่วง ขอขอบพระคุณ อาจารย์ ศิริรัตน์ คงสิริพิพัฒน์ ที่สละเวลามาเป็นกรรมการสอบภาค นิพนธ์ และให้ค าแนะน าชี้แนะเพื่อที่จะแก้ไข้ข้อมูลให้ถูกต้องและส าเร็จ ขอขอบคุณ คุณซาริก อันเดรอซาน (Sarik Andreasyan) ผู้ก ากับภาพยนตร์ Guardians ที่สร้างภาพยนตร์ให้ผู้วิจัยได้ศึกษาหาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางให้กับภาพยนตร์ประเภทนี้ในอนาคต ขอขอบคุณ นายสมาธิวัชร อันสมศรี ที่ให้ค าแนะน าข้อมูลที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ และตัว ละครซูเปอร์ฮีโร่ในการท าภาคนิพนธ์เล่มนี้ ขอขอบคุณ นายนภนต์ พูลสวัสดิ์ พี่ชายที่ให้การสนับสนุน และรักษาสุขภาพจิตของ ผู้วิจัย อีกทั้งยังช่วยสร้างเป้าหมายให้ผู้วิจัยได้ไปถึงตามเป้า ขอขอบคุณ คุณคิม ซอกจิน คุณมิน ยุนกิ คุณคิม นัมจุน คุณจอง โฮซอก คุณพัค จีมิน คุณคิม แทฮยอง และคุณจอน จองกุก ที่ให้การสนับสนุน และคอยสร้างผลงานให้สามารถเป็นแรง บันดาลใจในการท าภาคนิพนธ์ อีกทั้งยังสร้างแรงผลักดันให้สู้ชีวิต ตั้งใจท างาน อดทนและรักตัวเอง ขอขอบคุณ คุณโฮลัง และคุณเสือที่คอยให้การสนับสนุนด้านก าลังใจ และให้ความ ช่วยเหลือในด้านการจัดรูปแบบการพิมพ์ของภาคนิพนธ์เล่มนี้ และสุดท้ายขอขอบคุณตัวเองที่สามารถสู้จนท าภาคนิพนธ์นี้ส าเร็จ และมีชีวิตที่ดีอยู่อีก ต่อไป

นางสาวนัยนา พูลสวัสดิ์ (4)

สารบัญ

หน้า บทคัดย่อภาษาไทย (1)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (2)

กิตติกรรมประกาศ (3)

สารบัญตาราง (7)

สารบัญภาพ (8)

บทที่ 1 บทน า 1

1.1 ที่มาและความส าคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 1.3 ขอบเขตของการศึกษา 3 1.4 วิธีการศึกษา 3 1.5 สมมติฐานของการศึกษา 4 1.6 แผนการดาเนินงาน 4 1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5 1.8 นิยามศัพท์ 5 1.9 ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7 1.9.1 แนวคิดการเล่าเรื่องภาพยนตร์ (Narrative Film) 7 1.9.2 แนวคิดสร้างภาพตัวแทน (Representation) 9 1.9.3 ทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology Theory) 11 1.9.4 แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการผลิตภาพยนตร์ 12 1.9.5 ทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Theory) 13 1.9.6 แนวคิดเกี่ยวกับต านาน 15 (5)

1.9.7 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 15

บทที่ 2 ประวัติและความเป็นมาของซูเปอร์ฮีโร่ 19

2.1 ต้นก าเนิดภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ 19 2.2 ลักกษณะเฉพาะของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ 22 2.3 แนวทางสูตรส าเร็จของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ในสหรัฐอเมริกา 27

บทที่ 3 ภาพยนตร์เรื่อง Guardians 31

3.1 เนื้อเรื่องภาพยนตร์ 32 3.2 ตัวละคร 39 3.2.1 เลอนิค หรือ เลอ (Lenik or Ler) 39 3.2.2 อาร์ซัส (Ursus) 40 3.2.3 ข่าน (Khan) 41 3.2.4 เซนย่า (Xenia) 42 43 3.2.5 อัฟกุส คูราตอฟ (Avgust Kuratov) 3.3 ความคล้ายคลึงของภาพยนตร์ Guardians เหมือนสูตรส าเร็จของ 44 ภาพยนตร์อเมริกา

บทที่ 4 วิเคราะห์ภาพยนตร์ Guardians (2017) 49

4.1 วิเคราะห์ภาพยนตร์ Guardians ด้วยแนวคิดการเล่าเรื่อภาพยนตร์ 49 (Narrative Film) 4.2 วิเคราะห์ภาพยนตร์ด้วยแนวคิดสร้างภาพตัวแทน (Representation) 55 4.2.1 วิเคราะห์ภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จด้วยแนวคิดสร้างภาพ 55 ตัวแทน 4.2.2 วิเคราะห์ภาพยนตร์ Guardians ด้วยแนวคิดสร้างภาพตัวแทน 58 4.3 วิเคราะห์ภาพยนตร์ด้วยทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology Theory) 61 4.3.1 วิเคราะห์ภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จด้วยทฤษฎีสัญญะวิทยา 61 4.3.2 วิเคราะห์ภาพยนตร์ Guardians ด้วยทฤษฎีสัญญะวิทยา 62 (6)

บทที่ 5 วิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ Guardians (2017) 65

65 5.1 วิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ Guardians ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับ

กระบวนการผลิตภาพยนตร์ 67 5.2 วิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ Guardians ด้วยทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Theory) 69 5.3 วิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับต านาน 69 5.3.1 วิเคราะห์ภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จด้วยแนวคิดเกี่ยวกับต านาน 72 5.3.2 วิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ Guardians ด้วยแนวคิด เกี่ยวกับต านาน

บทที่ 6 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 74

6.1 สรุปผลการศึกษา 74 6.2 ข้อเสนอแนะ 76

รายการอ้างอิง 77

ประวัติผู้เขียน 84

(7)

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า 4.1 ตารางเวลาของการปรากฏตัวของตัวละคร และเวลาต่อสู้เป็นวินาที 54

(8)

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า 1.1 Narrative structure in film 9 2.1 สไปเดอร์แมน (Spider-Man) ก าลังใช้ The Web Slinging 20 2.2 Sensation Comics ฉบับแรกกับภาพหน้าปกวันเดอร์วูแมน (Wonder 21 Woman) ออกแบบโดย H. G. Peter 2.3 Superman Returns (2006) 23 2.4 Spider-Man 3 (2007) 24 2.5 Batman Begins (2005) 25 2.6 Kick-Ass (2010) 26 2.7 Joker (2019) 27 2.8 Avengers: Endgame (2019) 29 3.1 Guardians (2017) 32 3.2 ข่าน (Khan) ก าลังถูกท าการทดลอง 33 3.3 อัฟกุส คูราตอฟ (Avgust Kuratov) ควบคุมหุ่นยนตร์ด้วย Module-1 34 3.4 เอลินา ลารินา (Elena Larina) เจรจาให้เลอ (Ler) เข้าร่วมทีมเพื่อท าภารกิจ 35 ก าจัดอัฟกุส คูราตอฟ (Avgust Kuratov) 3.5 ข่าน (Khan) เข้าจู่โจมกองทัพทหารโคลนนิ่งของอัฟกุส คูราตอฟ (Avgust 35 Kuratov) ด้วยอาวุธเคียวคู่ 3.6 เซนย่า (Xenia) ก าลังเรียนรู้และฝึกซ้อมกับอุปกรณ์ใหม่ 37 3.7 เหล่าผู้พิทักษ์รวมพลัง 39 3.8 Lenik 39 3.9 Ursus 40 3.10 Khan 41 3.11 Xenia 42 3.12 Avgust Kruatov 43 3.13 Whiplash 46 3.14 เลอ (Ler) ที่เหมือนกับตัวละคร Whiplash 46 3.15 Bucky Barnes 47 (9)

3.16 ข่าน (Khan) ที่เหมือนกับตัวละคร Bucky Barnes 47 3.17 Invisible Woman 48 4.1 Black Panther (2018) 56 4.2 X-Men: Days of Future Past (2014) 57 4.3 Wonder Woman (2017) 58 4.4 เลอ (Ler) ก าลังสวดภาวนา 59 4.5 ข่าน (Khan) และอาวุธเคียวคู่ 59 4.6 อาร์ซัส (Ursus) ในฉากเปิดตัวครั้งแรก 60 4.7 เซนย่า (Xenia) ท าการแสดง 60 4.8 Logan (2017) 62 4.9 ตราสัญลักษณ์ทีมแพทริออต (Patriot) 63 4.10 Ostankino Tower 64 5.1 Thor (2011) 70 5.2 X-Men: Dark Phoenix (2019) 71 5.3 Aquaman (2018) 72

1

บทที่ 1 บทน า

1.1 ที่มาและความส าคัญของปัญหา

ยอดมนุษย์ (Superheroes)1 เป็นตัวละครสมมุติที่มีพลังวิเศษและมีความสามารถ มากกว่ามนุษย์ทั่วไป โดยมีความมุ่งมั่นที่ต่อการปกป้องประชาชน ต่อกรกับอาชญากร และจอมวาย ร้าย (Supervillains) โดยการปรากฏตัวของยอดมนุษย์ครั้งแรกเริ่มต้นจากหนังสือการ์ตูนช่อง หรือ คอมิกส์ (Comics) ในช่วงศตวรรษที่ 20 ตอนต้น ยอดมนุษย์หรือซูเปอร์ฮีโร่มักจะปรากฏกายด้วย เครื่องแบบที่สีสันแปลกตา หรือบางครั้งก็ปรากฏกายพร้อมกับหน้ากากที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละ บทบาท โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อบันเทิงในรูปแบบหนึ่งโดยเนื้อหายังสอดแทรกไปด้วยวัฒนธรรม ศาสนา การเมือง หรือกระแสการสร้างค่านิยมให้เพิ่มมากขึ้นโดยผ่านตัวการ์ตูน ยกตัวอย่างเช่น วัน เดอร์วูแมน (Wonder Women) หรือสาวน้อยมหัศจรรย์ ปรากฏตัวครั้งแรกใน All Star Comics เล่มที่ 8 ในปีค.ศ. 1941 โดยส านักพิมพ์ ดีซี คอมิคส์2 เป็นหญิงสาวจากเผ่าอเมซอน โดยได้รับพลัง วิเศษจากเทพเจ้ากรีก โดยราชินีฮิปโปลิต้าและเทพเจ้าซุส โดยสวมชุดสีแดงที่มีรูปอินทรีย์สีทองเป็น สัญลักษณ์บนอก กางเกงน้ าเงินลายจุดรูปดาวสีขาว ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นสัญลักษณ์ของธงชาติอเมริกา อีกทั้งเหตุการณ์เริ่มต้นของเรื่องยังกล่าวถึงเหตุการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น สื่อบันเทิงที่ เกี่ยวกับยอดมนุษย์หรือซูเปอร์ฮีโร่นั้นไม่ได้มีเพียงแต่ประเทศในตะวันตก อย่างเอเชียเองก็มีสื่อที่ เกี่ยวกับยอดมนุษย์ ยกตัวอย่าง ประเทศญี่ปุ่นมีอุลตร้าแมน ออกอากาศครั้งแรกในรูปแบบของซีรี่ย์ใน ปีค.ศ. 1966 เป็นซูเปอร์ฮีโร่ที่ได้รับความนิยมทั้งเอเชียและตะวันตกได้ โดยลักษณะของตัวอุลตร้า แมนนั้นมีต้นแบบมาจากพระพุทธรูป เป็นสิ่งมีชีวิตที่มาจากนอกโลกท าหน้าที่ปราบเหล่าสัตว์ ประหลาดที่ท าลายเมืองในประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นยอดมนุษย์ หรือซูเปอร์ฮีโร่ไม่ใช่แค่สื่อบันเทิงเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นตัวละครที่ สะท้อนถึงความเป็นชาติ สังคมและวัฒนธรรม สามารถสร้างแรงขับเคลื่อนในการใช้ชีวิตได้ ท าให้ใน

1 "ยอดมนุษย์" ในภาษาไทย ผู้บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาคือสมโพธิ แสงเดือนฉาย นักสร้างภาพยนตร์ชาวไทยที่มีส่วนในการ สร้างซีรีส์อุลตร้าแมน โดยมีความหมายสื่อถึง พระพุทธเจ้าที่สามารถผจญเอาชนะมาร คือ ความชั่ว ได้ เพราะแก่นของซูเปอร์ฮีโร่ คือความดีย่อมชนะความชั่ว 2 ดีซีคอมมิคส์ หรือ DC Comics, Inc.เป็นผู้จัดพิมพ์หนังสือการ์ตูนชาวอเมริกันเป็นหนึ่งใน บริษัท หนังสือการ์ตูนที่ ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของอเมริกา มีตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์จ านวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งSuperman, Batman, Wonder Woman และอื่น ๆ อีกมากมาย 2

ปัจจุบันนี้มีซูเปอร์ฮีโร่มากมายจากหลากหลายชาติที่ปรากฏให้เห็นตามสื่อต่าง ๆ ทั้งภาพยนตร์ ซีรี่ย์ หรือการ์ตูนช่อง อีกทั้งซูเปอร์ฮีโร่เป็นสื่อที่เข้าถึงง่าย และเห็นภาพมากที่สุดแม้ว่าจะเป็นตัวละครที่ สมมุติขึ้นมาก็ตามแต่สามารถพาให้คนดูเข้าถึงเนื้อเรื่องนั้นได้อย่างถ่องแท้ ในปีค.ศ. 20173 รัสเซียจึงได้สร้างภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโร่ขึ้นมาเรื่อง “Guardians” ก ากับโดยผู้ก ากับภาพยนตร์ชาวรัสเซีย - อาร์เมเนีย ซาริก อันเดรอซาน (Sarik Andreasyan) ภาพยนตร์เรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวของกองทัพของโซเวียตที่สร้างซูเปอร์ฮีโร่ขึ้นในช่วง สงครามเย็น โดยน าคนมาทดลองจากหลากหลายที่และหลากหลายเชื้อชาติแตกต่างกันของสหภาพโซ เวียตน ามาดัดแปลงพันธุ์กรรมให้สามารถมีพลังพิเศษ จนเมื่อโครงการสร้างยอดมนุษย์ถูกท าลายลง เหล่ายอดมนุษย์ที่เหลือก็หลบซ่อนและใช้ชีวิต จนกระทั่งปัจจุบันสถานการณ์บีบบังคับท าให้ทางการ ของรัสเซียต้องตามหายอดมนุษย์ที่เหลือเพื่อมาปกป้องแผ่นดินรัสเซียอีกครั้ง ตัวละในภาพยนตร์ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นยอดมนุษย์หรือซูเปอร์ฮีโร่โดยสอดแทรกความเป็นรัสเซียเข้าไป ก่อนการ เปิดตัวภาพยนตร์ ได้มีการปล่อยหนังสือการ์ตูนภาพ โดยเผยแพร่อย่างอิสระที่ Comic Con Russia ในปีค.ศ. 2016 โดยมีหนังสือ Guardians เล่ม 1 ในชื่อตอน Guardians: The Broken Curtain เกี่ยวกับเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ต้องการหยุดยั้งและก าจัดวายร้าย ชื่อ "วา" จากการลอบสังหารผู้น าโซเวียต Leonid Brezhnev อย่างไรก็ตามมีการตีพิมพ์และจ าหน่ายหนังสือการ์ตูนหลายพันเล่มเพื่อส่งเสริมให้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการหลังจากนั้น ได้ตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนอีกเล่มชื่อว่า Guardians: A Comic of the New Superhero Universe และเปิดตัวเกมที่สามารถดาวน์โหลดได้ จาก iOS และ Android ที่ชื่อว่า Guardians - Defence of Justice ซึ่งผู้เล่นต้องต่อสู้กับการโจมตี ศัตรู ภายหลังจากการฉายของภาพยนตร์ก็ได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์เชิงลบเป็นจ านวนมาก ถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ อีกทั้งถูกกล่าวถึงว่าเป็นภาพยนตร์ที่เลวร้ายที่สุดของปี แม้ว่าการวางตัวละครและ เนื้อเรื่องจะเป็นที่น่าสนใจว่าจะสามารถสะท้อนความเป็นชาติรัสเซียได้ แต่การเล่าเรื่องภาพยนตร์กลับ ท าได้ล้มเหลว ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะการศึกษาความพยายามของรัสเซียในการสร้างภาพยนตร์ ประเภทยอดมนุษย์กรณีศึกษา : ภาพยนตร์ Guardians 2017 เพื่อท าความเข้าใจเหตุผลในการสร้าง ภาพยนตร์ยอดมนุษย์ หรือซูเปอร์ฮีโร่ของประเทศรัสเซีย และวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความล้มเหลวใน การสร้างตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ของตัวเองออกมาดังกล่าว

3 Stephanie Cookies, Zaschitniki (Guardians) is the Russian Superhero Film You’ve Been Looking For, Geek Girl Authority, accessed February 3, 2020, https://www.geekgirlauthority.com/zaschitniki/. 3

1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1.2.1 เพื่อศึกษารายละเอียดภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์ของรัสเซีย และความ พยายามในการเดินตามสูตรส าเร็จของภาพยนตร์ประเภทเดียวกันของอเมริกา 1.2.2 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบนัยส าคัญและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สะท้อน ออกมาในภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์ระหว่างภาพยนตร์ของประเทศรัสเซียและภาพยนตร์ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา 1.2.3 เพื่อศึกษาสาเหตุของความล้มเหลวในการพยายามสร้างภาพยนตร์ประเภทยอด มนุษย์ของสหพันธรัฐรัสเซีย เมื่อเทียบกับความส าเร็จของภาพยนตร์ประเภทเดียวกันของประเทศ สหรัฐอเมริกา

1.3 ขอบเขตของการศึกษา

การศึกษาความพยายามของรัสเซียในการสร้างภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์กรณีศึกษา : ภาพยนตร์ Guardians 2017 นั้นเป็นการศึกษาภาพยนตร์รัสเซียเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น คือ Guardians (2017) ของผู้ก ากับ ซาริก อันเดรอซาน

1.4 วิธีการศึกษา

การศึกษาความพยายามของรัสเซียในการสร้างภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์กรณีศึกษา : ภาพยนตร์ Guardians 2017 ภาคนิพนธ์เล่มนี้เป็นการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Analysis) และการพรรณนา เชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) และเอกสารโดยส่วนใหญ่ที่ใช้ในการวิจัยครั้ง นี้เป็นข้อมูลใน รูปแบบปฐมภูมิ (Primary Resources) ได้แก่ หนังสือ งานวิจัยต่าง ๆ และข้อมูลในรูปแบบทุติยภูมิ (Secondary Resources) ได้แก่ ภาพยนตร์ บทความ ตลอดจนถึงข้อมูลสารสนเทศอื่น ๆ จาก อินเทอร์เน็ต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

4

1.5 สมมติฐานของการศึกษา

1.5.1 ภาพยนตร์เรื่อง Guardians (2017) เป็นความพยายามของสหพันธรัฐรัสเซียใน การสร้างภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์ โดยพยายามเดินตามสูตรส าเร็จของภาพยนตร์ประเภท เดียวกันของประเทศอเมริกา 1.5.2 การน าเสนอสัญญะและภาพตัวแทนที่มีความเกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐรัสเซียหรือ สหภาพโซเวียตเข้ามาใช้ในภาพยนตร์ไม่มีความน่าโดดเด่นและน่าจดจ า เมื่อเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ ของประเทศอเมริกา รวมทั้งขาดเอกลักษณ์และความเป็นตัวของตัวเองในแบบฉบับโซเวียต-รัสเซีย 1.5.3 ภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์ของสหพันธรัฐรัสเซีย นอกจากขาดคุณภาพการ ถ่ายท า ยังขาดคุณภาพของการตกแต่งคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ ขาดโครงเรื่องที่น่าสนใจ และขาดการ แสดงที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ภาพยนตร์ยังพยายามลอกเลียนแบบภาพยนตร์ประเภทเดียวกับของ ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ประสบความส าเร็จ

1.6 แผนการด าเนินงาน

เดือน การด าเนินงาน สิงหาคม พ.ศ. 2562 – ตุลาคมพ.ศ. 2562 วางโครงร่างภาคนิพนธ์ เริ่มจัดท าบทที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวมข้อมูล จัดท าบทที่ 2-3 มีนาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล จัดท าบทที่ 4-5 เมษายน พ.ศ. 2563 ปรับปรุงแก้ไขและจัดท ารูปเล่ม 5

1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.7.1 ทราบถึงเนื้อหาและรายละเอียดของภาพยนตร์ ในเชิงเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ ประเภทเดียวกันของประเทศสหรัฐอเมริกา 1.7.2 ทราบถึงภาพสะท้อนของสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพโซเวียตที่อยู่ภายในภาพยนตร์ ประเภทยอดมนุษย์ของสหพันธรัฐรัสเซีย 1.7.3 ทราบถึงสาเหตุที่ท าให้ภาพยนตร์ประเภทเดียวกันจากทั้งสองประเทศมีความ แตกต่างกัน โดยภาพยนตร์ของสหพันธรัฐรัสเซียที่ล้มเหลว ในขณะที่ภาพยนตร์ของประเทศ สหรัฐอเมริกาประสบความส าเร็จ

1.8 นิยามศัพท์

“ยอดมนุษย์” (Superheroes) หมายถึง บทบาทตัวละครสมมุติที่มีพลังเหนือธรรมชาติ ยอดมนุษย์อาจจะเป็นตัวละครที่ความสามารถพิเศษ ไม่ได้จ ากัดว่าจะต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น บทบาท ตัวละครสมมุติในบางครั้งยอดมนุษย์ยังสามารถเป็นหุ่นยนตร์ เทพพระเจ้า สัตว์ ฯลฯ ยอดมนุษย์มักจะ ปรากฏตัวและท าหน้าที่เพื่อปกป้องผู้คน ประเทศชาติหรือโลกให้พ้นภัยอันตรายจากจอมวายร้ายต่าง ๆ ยอดมนุษย์ที่ใช้ส าหรับผู้หญิงจะเรียกว่า "Superheroine" “จอมวายร้าย” (Supervillains) หมายถึง บทบาทตัวละครสมมุติที่เป็นตัวแปรส าคัญใน เรื่องราวของซูเปอร์ฮีโร่ เช่นเดียวกับยอดมนุษย์ตัวละครวายร้ายไม่จ าเป็นต้องเป็นมนุษย์หรือมีพลัง พิเศษแต่ตัวละครจอมวายร้ายมีจุดประสงค์หลักก็คือต่อต้านซูเปอร์ฮีโร่ เช่น ก่ออาชญากรรม ก่อการ ร้าย หรือ ยึดครองโลก “ตัวเอกปฏิลักษณ์ หรือ แอนตี้ฮีโร่” (Antiheroes) หมายถึง บทบาทตัวละครสมมุติที่ ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้คนหรือประเทศชาติ ต่อต้านจอมวายร้ายเฉกเช่นเดียวกับซูเปอร์ฮีโร่ แอนตี้ฮี โร่ไม่จ ากัดว่าเป็นมนุษย์ที่มีพลังพิเศษหรืออาจจะไม่ใช่มนุษย์ แต่คุณสมบัติของตัวละครแอนตี้ฮีโร่ และ การปฏิบัติงานของแอนตี้ฮีโร่มักจะขาดคุณธรรมศีลธรรม ใช้ความรุนแรง ฆาตกรรม มีพฤติกรรมที่ไม่ดี หรือท าเรื่องผิดกฎหมาย “ไซด์คิกซ์” (Sidekicks) หมายถึง บทบาทตัวละครสมมุติที่เป็นคู่หู หรือเพื่อนร่วมงาน ของซูเปอร์ฮีโร่ ไซด์คิกซ์มักจะปฏิบัติหน้าที่ควบคู่ไปกับซูเปอร์ฮีโร่หรืออาจะเป็นแค่เพียงมนุษย์ ธรรมดาที่ไร้พลังความสามารถคนหนึ่งของซูเปอร์ฮีโร่ 6

“การ์ตูนช่อง หรือ คอมิค” (Comics) หมายถึง เป็นทัศนศิลป์รูปแบบหนึ่งที่ ประกอบด้วยรูปภาพที่จัดเป็นช่อง ๆ และข้อความที่อยู่ในบอลลูนค าพูดหรือเป็นค าบรรยายภาพโดย การ์ตูนที่น าเสนอเป็นเรื่องราวที่มีความต่อเนื่องกันจนจบ มีค าบรรยายหรือบทสนทนาภายในภาพ “พรอบพกันดา” (Propaganda) หมายถึง การโฆษณาชวนเชื่อโดยการน า สื่อสารมวลชนไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามมาใช้เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ของชาติ โดยเจตนาที่จะชักจูง ความเห็น อารมณ์ ทัศนคติ พฤติกรรมของกลุ่มคนใด ๆ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ด าเนินการนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม “ภาพตัวแทน” (Representation)4 หมายถึง การประกอบสร้างความหมายผ่านภาษา โดย ใช้สัญญะเพื่อสื่อสารอย่างมีความหมายกับผู้อื่น ผลผลิตทางด้านความหมายภายในสมองของผู้รับ สารผ่านภาษา เป็นการเชื่อมโยงความคิดและภาษาเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถท าให้เกิดการอ้างถึงโลก วัตถุ ผู้คน เหตุการณ์ หรือจินตนาการถึงโลกสมมติ ผู้คน และเหตุการณ์สมมติได้ "ชาตินิยม" (nationalism)5 คืออุดมการณ์ที่สร้างและบ ารุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็น มโนทัศน์ แสดงลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การ เป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็น คุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม “สัญรูป” (Icon) เป็นศัพท์บัญญัติสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากจะใช้ทางคอมพิวเตอร์แล้ว สัญรูปยังใช้สื่อความหมายของสิ่งต่าง ๆ ด้วย เช่น ช้อนส้อม หมายถึง ร้านอาหาร รูปผู้ชายผู้หญิง หมายถึง ห้องสุขา รูปกากบาท หมายถึง โรงพยาบาลเป็นต้น 6 สัญรูปที่เกี่ยวกับภาพยนตร์มีความหมายถึง ผู้มีชื่อเสียงเป็นสัญลักษณ์แทนบางสิ่ง "เค้าโครงเรื่อง" (Plot) หมายถึง ล าดับของเหตุการณ์ที่เรียงร้อยต่อเนื่องกันอย่างมี เหตุผลและมีจุดหมายปลายทาง จากเหตุการณ์นั้นน าไปสู่เหตุการณ์ต่อ ๆ มา

4 Brian Anthony Curtin, "Semiotics and Visual Representation," วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ฉ.1 (2551): น.35 5 ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อ านาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชน เผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับ สังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ 6 "สัญรูป," ส านักงานราชบัณฑิตยสภา, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563, http://www.royin.go.th/?knowledges= สัญรูป-๖-กรกฎาคม-๒๕๕๑. 7

"คอมพิวเตอร์กราฟิก" (Computer Graphics) หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ โดยการวาดภาพกราฟิกหรือน าภาพมาจากสื่ออื่น ๆ เช่น ภาพยนตร์ กล้องถ่ายรูป ภาพกราฟิกเหล่านี้ ประกอบด้วย เส้น สี แสง และเงาต่าง ๆ สามารถแสดงออกทางจอภาพหรือพิมพ์ออกมาทางอุปกรณ์ เช่น เครื่องพิมพ์ได้

1.9 ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยเรื่อง การศึกษาความพยายามของรัสเซียในการสร้างภาพยนตร์ประเภทยอด มนุษย์กรณีศึกษา : ภาพยนตร์ Guardians 2017 นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ในการ สร้างภาพยนตร์ และภาพสะท้อนที่รัสเซียพยายามน าเสนอผ่านภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์ของ รัสเซีย โดยเฉพาะวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความล้มเหลวในการสร้างบทบาทยอดมนุษย์ของรัสเซีย โดย จะใช้แนวคิดและทฤษฎีต่อไปนี้ (1) แนวคิดเล่าเรื่องภาพยนตร์ (Narrative Film) (2) แนวคิดสร้าง ภาพตัวแทน (Representation) (3) ทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology Theory) (4) แนวคิดเกี่ยวกับ กระบวนการผลิตภาพยนตร์ (5) ทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Theory) และ (6) แนวคิดเกี่ยวกับ ต านาน 1.9.1 แนวคิดการเล่าเรื่องภาพยนตร์ (Narrative Film) เรื่องเล่า หรือเรื่องราวต่าง ๆ (Narrative) หมายถึง เหตุการณ์หนึ่ง หรือ เรียงล าดับของเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องจริงหรือเรื่องที่แต่งขึ้น มีความสัมพันธ์กันในเชิงเหตุและผล เกิดขึ้น โดยมีเวลาและสถานที่เชื่อมโยงกัน เรื่องเล่ามีใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในการด าเนินชีวิตประจ าวันและ มีรูปแบบของการสื่อสารและศิลปะที่แตกต่างกันไป การเล่าเรื่องในภาพยนตร์จะต้องมีการล าดับ เหตุการณ์อย่างเป็นเหตุเป็นผล มีการน าเสนอเรื่องและโครงเรื่องอย่างชัดเจน และมีความแตกต่างกัน ไปในงานภาพยนตร์ที่เป็นเรื่องแต่งและสารคดี รายละเอียดที่แตกต่างกันไปตามลักษณะตระกูลของ ภาพยนตร์ และเป็นงานที่ผู้ก ากับภาพยนตร์สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะของตนได้ตามทฤษฎี ประพันธกร รวมทั้งเกี่ยวข้องกับการตีความในเชิงสัญญะวิทยา แนวคิดพื้นฐานของการเล่าเรื่อง หมายถึง เรื่องเล่าจะเป็นตัวสารที่ผู้เล่าเรื่องสร้าง ขึ้น หรือได้รับมาจากผู้อื่นมา และจะถ่ายทอดไปให้ผู้ฟังหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบลายลักษณ์อักษร เช่น ข่าว วิทยุ หนังสือพิมพ์ ภาพวาด การ์ตูน ละครเวที การเต้นร า รวมถึงการน าเสนอภาพและเสียง อย่างรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ เป็นต้น โดยทั่วไปสามารถแบ่งรูปแบบของเรื่องเล่าได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ เรื่องเล่าที่เป็นภาพ (Visual Category) เน้นน าเสนอผ่านการมองด้วยสายตา ได้แก่ ภาพวาด ประติมากรรม บัลเลต์ หนังสือการ์ตูน ละครใบ้ งานเขียนต่าง ๆ เป็นต้น เรื่องเล่าทางเสียง 8

(Auditory Category) เน้นน าเสนอการสื่อสารโดยใช้วาจา ได้แก่ ดนตรี เพลง วิทยุ และเรื่องเล่าที่ใช้ ทั้งภาพและเสียง ได้แก่ ภาพยนตร์ ละครเวที โรเบิร์ต อี เพียร์สัน (Robert E Pearson) ได้อธิบายเกี่ยวกับ เรื่องเล่าใน ภาพยนตร์ (Narrative Film) มีอยู่สองกระแสหลัก กรแสที่หนึ่งคือ ความพยายามจะหาโครงและแก่น เรื่องของภาพยนตร์โดยจะต้องมีเหตุการณ์ ตัวละคร และการกระท าที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน กระแส ที่สองคือ การศึกษาวิธีการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ โดยดูจากการคัดเรื่องและจัดล าดับเรื่อง มุมมอง ของผู้เล่า ดนตรีประกอบ มิสซองแซง (Mise-en-scène)7 เสียง ภาพ และการตัดต่อ โดยทั่วไปสรุปได้ ว่า องค์ประกอบส าคัญของการเล่าเรื่องภาพยนตร์ต้องมีสิ่งต่อไปนี้ (1) เรื่องและโครงเรื่อง (Story and Plot) คือ เหตุการณ์หรือล าดับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น และโครงเรื่องโดยรวมของเรื่องเล่า เรื่องและโครงเรื่องถือว่าเป็นองค์ประกอบส าคัญที่จะบอก แนวทางของภาพยนตร์นั้น ๆ ว่าจะไปในทิศทางไหน (2) เหตุและผล (Cause and Effect) การด าเนินงานเรื่องราวของภาพยนตร์โดย ใช้เหตุและผล บางครั้งก็ไม่จ าเป็นต้องจ าเสนอของมาโดยตรงบนจอภาพยนตร์ สามารถเปิดให้ผู้ชม สามารถตีความเองได้ หรือสังเกตเองโดยการสร้างสถานการณ์หนึ่งไว้ให้ผู้ชมคาดหวังเหตุการณ์ต่อมา อาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ (3) เวลา (Time) เรื่องของเวลาเป็นสิ่งที่ส าคัญที่สุดของการเล่าเรื่องภาพยนตร์ แม้ว่าจะเรียงล าดับเวลาก่อน-หลัง หรือไม่เรียงล าดับเวลาก็ตามแต่สิ่งที่ส าคัญคือทั้งหมดของการเล่า เรื่องสามารถต่อเรื่องราวได้ (4) สถานที่ (Space) เป็นสิ่งที่จะบอกให้ผู้ชมทราบถึงที่มาของเหตุการณ์ในเรื่อง การเล่าเรื่องภาพยนตร์จะบอกสถานที่เกิดเหตุในเรื่องอย่างชัดเจนว่าเกิดได้ขึ้นใด และมีความส าคัญ อย่างไร หรือไม่จะพิมพ์ตัวหนังสือแทรกไว้บนจอภาพยนตร์ในกรณีที่ไม่สามารถระบุสถานที่เกิดเหตุได้ (5) การเริ่มเรื่อง การพัฒนาเรื่อง และการจบเรื่อง (Beginning, Story Development, and Ending) การเริ่มต้นเล่าเรื่องภาพยนตร์จะเป็นช่วงแนะน าตัวละครที่มีส่วน ส าคัญในการด าเนินเหตุการณ์ในภาพยนตร์และเหตุการณ์การณ์ที่ท าให้เกิดเรื่องราว (Exposition) ใน ส่วนของการพัฒนาเรื่องจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภาพยนตร์ บางเรื่องอาจจะเน้นการพัฒนา ของตัวละคร โดยการเล่าเรื่องถึงการใช้ชีวิตของตัวละครตั้งแต่เด็กจนเติบโต หรือบางเรื่องอาจจะ

7 มิสซองแซง (Mise-en-scène) เป็นศัพท์ทางภาพยนตร์เชิงเทคนิคมาจากภาษาฝรั่งเศส ให้ความหมายว่า การจัด องค์ประกอบภาพหรือการจัดวางในฉาก เดิมที่ใช้กับการแสดงละครเวที ต่อมาเมื่อมีภาพยนตร์เกิดขึ้นก็ถูกน ามาใช้ในงานสร้าง ภาพยนตร์รวมถึงรายการโทรทัศน์

9

ก าหนดเป้าหมายบางอย่างเพื่อให้ตัวละครต้องการกระท าเพื่อไปถึงเป้าหมาย ส่วนสุดท้าย คือ การจบ เรื่อง ในปัจจุบันภาพยนตร์มีการจบเรื่องที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่จะสื่อฉากจบอย่างชัดเจน สมหวัง หรือไม่สมหวัง ดีหรือแย่ บางเรื่องราวของภาพยนตร์ที่สื่อฉากจบไม่แน่ชัดอาจจะส่งผลต่อให้เกิด เรื่องราวใหม่ขึ้นในภาพยนตร์ถัดไป หรือไม่ก็ให้ผู้ชมได้คิดและจินตนาการไปต่อได้

ภาพที่ 1.1 “Narrative structure in film,” Slideshare, accessed March 2, 2020, http://image.sli desharecdn.com/narrativestructureinfilm-130904142952-/95/narrative-structure-in-film-5-63 8.jpg?cb=1378305058.

1.9.2 แนวคิดสร้างภาพตัวแทน (Representation) ภาพแทน (Representation)8 คือ ผลผลิตความหมายของแนวคิด (Concept) ในสมองของมนุษย์ออกมาผ่านการสื่อสารเป็นภาษา เป็นการเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดและภาษา ท าให้ สามารถอ้างอิงถึงโลกวัตถุ ผู้คน เหตุการณ์ หรือจินตานาการโลกที่สมมุติขึ้น ภาพแทนความนั้นมี องค์ประกอบส าคัญคือ ความคล้ายคลึง (Resemblance) และกรอบจ ากัด (Limitation) ภาพสามารถ สื่อสารได้ตรงไปตรงมากว่าภาษาพูดเขียนซึ่งมักแปรปรวนไปตามแต่ละวัฒนธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็ คือมีแนวโน้มอย่างสูงที่คนเราจะไม่คิดถึง ภาพในฐานะที่เป็นภาษาแบบหนึ่ง แต่มักคิดถึงภาพในฐานะ สิ่งที่สื่อความได้ตรงไปตรงมา และมีความหมายที่เป็นสากลการทัศนศิลป์ความสัมพันธ์กับแนวคิด เกี่ยวกับการแสดงออก (Expression)9 การสร้างภาพแทนนั้นประกอบไปด้วยกระบวนการ 2 กระบวนการ ดังนี้ กระบวนการแรก คือ กระบวนการที่จะช่วยให้การจัดจ าแนกโลกวัตถุ ผู้คน และ เหตุการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับชุดแนวคิด (A Set Of Concept) หรือภาพแทนในความคิด (Mental

8 เอกรัฐ เลาหทัยวาณิชย์ , แนวคิดการสร้างภาพแทน (Representation), ผู้จัดท า | ปริญญาเอกสาขาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563, https://phdcommunication.wordpress.com/2013/03/07/แนวคิด การสร้างภาพแทน-representation/. 9 Brian Anthony Curtin, "Semiotics and Visual Representation," วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ฉ.1 (2551): 42-43. 10

Representation) ที่มีอยู่ในสมองของมนุษย์ทุกคน ความหมายนั้นจะขึ้นอยู่กับระบบความคิด และ ภาพ (Image) ที่ถูกสร้างขึ้นในความคิดต่าง ๆ เพื่อก่อรูปของความเข้าใจ (Idea) และความเห็นอย่าง ซับซ้อน ท าให้สามารถใช้แทนที่หรืออ้างอิงโลกวัตถุที่จะอ้างอิงถึงสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในสมองและนอก สมองของมนุษย์ การที่เรียกระบบที่ช่วยจ าแนกแยกแยะว่าเป็นระบบการสร้างภาพแทน เพราะว่า ไม่ได้ประกอบไปด้วยความคิดที่เป็นปัจเจกเท่านั้น แต่มีความหลากหลายในการรวบรวม การจัดกลุ่ม การจัดหมวดหมู่ การจัดประเภทของความคิด และสร้างความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างกันได้ การ ผสมและจับคู่ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดต่าง ๆ เพื่อก่อเป็นรูปของความเข้าใจ (Idea) และ ความเห็นอย่างซับซ้อนนั้นเป็นไปได้ก็เพราะ ความคิดของมนุษย์ถูกจัดการด้วยระบบการจัดจ าแนก ความแตกต่าง แผนที่ความคิด (Conceptual Map) ที่มีในสมองนั้นย่อมมีความแตกต่างกันไป ในแต่ละบุคคล นั่นท าให้สามารถตีความโลกและท าความเข้าใจโลกแตกต่างกัน หรืออาจกล่าวได้ว่าแต่ ละคนเข้าใจและตีความโลกในลักษณะเฉพาะและเป็นปัจเจก แต่อย่างไรก็ตามสามารถที่จะสื่อสารกัน ได้ เพราะการแบ่งปันแผนที่ความคิดที่มีความเหมือนกัน และท าความเข้าใจหรือตีความหมายโลกใน แนวทางที่คล้ายคลึงกันแบบกว้าง ๆ นั่นคือ ความหมายที่แท้จริง กระบวนการที่สอง คือ แผนที่ความคิดที่สามารถอ้างอิงหรือแลกเปลี่ยน ความหมายและความคิดได้ด้วย ดังนั้น ภาษาก็คือกระบวนการสร้างภาพแทนกระบวนการที่สอง ซึ่ง เกี่ยวข้องในกระบวนการสร้างความหมายทั้งหมด แผนที่ความคิดที่มนุษย์มีร่วมกันจะต้องถูกแปลไป เป็นภาษาที่เราใช้ทั่วไป จึงจะสามารถจับคู่ความคิดและความเข้าใจต่าง ๆ เข้ากับค าที่ต้องการเขียน เสียงที่ต้องการพูด หรือภาพที่ปรากฏได้อย่างแน่นอน โดยทั่ว ๆ ไปจะเรียกค า เสียง หรือภาพที่มี ความหมายว่าสัญญะ สัญญะเหล่านี้แทนที่หรืออ้างอิงความคิดหรือความสัมพันธ์ระหว่างความคิดต่าง ๆ ที่มนุษย์มีในสมอง พร้อม ๆ กับการสร้างระบบความหมายทางวัฒนธรรมของมนุษย์ขึ้นมา สัญญะถูกจัดการโดยภาษา ท าให้เราสามารถแปลงความคิดของเราไปสู่ถ้อยค า เสียงหรือภาพ และทันทีที่มีการใช้สัญญะ มันจะปฏิบัติการในฐานะภาษา แสดงความหมายและ สื่อสารความคิดไปยังคนอื่น ๆ ค าว่าภาษาในที่นี้นั้น มีความหมายกว้างขวาง ระบบการเขียนที่มีความ เฉพาะ หรือระบบการพูดที่มีความเฉพาะทั้งสองสิ่งนี้ถูกจัดเป็นภาษา อย่างไม่มีข้อสงสัยแต่ภาษายัง รวมถึงภาพต่าง ๆ ที่เห็นแม้ว่าจะสร้างขึ้นมาโดยใช้เครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์ หรืออื่น ๆ เมื่อถูกใช้แสดง ความหมาย จัดเป็นภาษาและยังรวมถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาศาสตร์ ซึ่งใช้แสดงความรู้สึกโดยทั่วไป ตัวอย่างเช่น ภาษาของการแสดงความรู้สึกทางสีหน้า ท่าทาง เป็นต้น แม้กระทั่งบทเพลงก็ถือเป็น ภาษาที่มีความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างเสียง และตัวโน๊ตต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกัน เสียง ค า ภาพ 11

หรือสิ่งใด ๆ ที่ท าหน้าที่ในฐานะสัญญะ และถูกจัดการด้วยสัญญะเข้าไปสู่ระบบ ซึ่งสามารถบรรจุและ แสดงความหมายได้ ในมุมมองนี้ล้วนถูกจัดเป็นภาษาทั้งสิ้น 1.9.3 ทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology Theory) สัญญะ (Sign)10 ในความหมายทั่วไปหมายถึง เครื่องหมายที่ท าขึ้นเพื่อให้จดจ า หรือก าหนดรู้ สัญญะอาจสื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา เช่น การส่งสัญญาณ (Signal) เพื่อสื่อ ความหมายตามที่เข้าใจกันทั่วไป หรืออาจจะเป็นสัญลักษณ์ (Symbol) เพื่อให้สื่อความหมายได้ลึกซึ้ง ยิงขึ้น ในทางสังคมวิทยามีการศึกษาเรื่องสัญญะและสัญลักษณ์เรียกว่า สัญวิทยา หรือ สัญญาณวิทยา (Semiology) ซึ่งพัฒนามาจากภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง (Structural Linguistics) โดย แฟร์ดินองด์ เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure)11 ได้นิยามสัญญะเป็นสองปัจจัย ได้แก่ ตัวสัญญะหรือสัญญาณ (Signifier) เช่น วัตถุสิ่งของ เสียง หรือเครื่องหมายที่ขีดเขียนขึ้นที่สามารถก่อให้เกิดมีความหมาย และ อีกสิ่งคือ สารสัญญะ (Signified) คือ ตัวความหมายที่มี่ลักษณะหรือรูปแบบในเชิงรูปธรรมที่สามารถ สัมผัสได้ เช่น เสียงของค า ภาพถ่าย ประเด็นส าคัญคือความสัมพันธ์ของสัญญาณกับ สัญญัติมีลักษณะ ไม่สมเหตุสมผล ชารลส์ แซนเดอร์ส เพียร์ซ์ (Charles Sanders Peirce)12 น าความคิดของโซซูร์ ไปต่อยอด โดยแบบจ าลองของเพียร์ซการสร้างความหมาย (Semiosis) เกิดขึ้นจากสามปัจจัย ประกอบด้วย (1) สัญญะ (Sign) คือ ใช้แทนสิ่งอื่น (2) ความแปล (Interpretant) หรือ ความหมาย (Meaning) ซึ่งในที่นี้เพียร์ซ หมายถึง การแปลความ (interpretation) หรือ ภาพในใจที่คนสร้างขึ้นจากปฏิสัมพันธ์กับสัญญะ (3) วัตถุ (Object) คือ สิ่งที่สัญญะอ้างถึง ดังนั้นทฤษฎีสัญญะวิทยาคือ การอธิบายการสื่อสารของมนุษย์ว่า การสื่อสารคือ จุดก าเนิดของความหมาย อีกทั้งเป็นแนวทางการศึกษาเชิงสังคมและวัฒนธรรมระหว่างผู้สื่อสารและ ผู้รับสาร ตลอดจนความหลากหลายของความหมายในระบบภาษาและวัฒนธรรม

10 จินดารัตน์ โพธิ์นอก, "สัญญะ," ส านักงานราชบัณฑิตยสภา, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563, http://www.royin. go.th/?knowledges=สัญญะ-๓๐-ตุลาคม-๒๕๕๗. 11 แฟร์ดินองด์ เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ มีบทบาทส าคัญในการ พัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20. 12 Brian Anthony Curtin, "Semiotics and Visual Representation," วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ฉ.1 (2551): 38-39. 12

โดยการศึกษาทฤษฎีสัญญะวิทยา จะเป็นตัวก าหนดของการสื่อสารตามสภาพ สังคมสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมนุษย์และสร้างความหมายตามจริง ซึ่งทฤษฎีสัญญะวิทยานี้ ผู้วิจัยจะได้น ามา เป็นกรอบในการวิเคราะห์ถึงวิธีการสร้างและถ่ายทอดสัญญะของความพยายามของรัสเซียในการสร้าง ภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์กรณีศึกษา : ภาพยนตร์ Guardians 1.9.4 แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการผลิตภาพยนตร์ กระบวนการผลิตภาพยนตร์จะต้องมีบุคลากรที่ช่วยผลิตภาพยนตร์ บุคลากร เหล่านี้มีส่วนส าคัญในการที่จะสร้างภาพยนตร์ให้ประสบความส าเร็จได้ลุล่วง เพราะการที่จะสร้าง ภาพยนตร์ได้แต่ละเรื่องนั้น จะต้องใส่ใจองค์ประกอบอย่างแม้ว่าจะเล็ก ๆ น้อย ๆ หากมีจุดผิดพลาด ภาพยนตร์เรื่องนั้นอาจจะล้มเหลวได้ ซึ่งบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการผลิตภาพยนตร์จะประกอบไปด้วย (1) ผู้อ านวยการผลิต (Producer) (2) ฝ่ายกฎหมาย (Legal Department) (3) ผู้ก ากับภาพยนตร์ (Film Director) (4) ผู้ช่วยก ากับภาพยนตร์ (Assistant Film Director) (5) ผู้ก ากับภาพ (Director of Photography) (6) ช่างกล้อง (Camera Operator) (7) ผู้ก ากับศิลป์ (Art Director) (8) ผู้ช่วยผู้ก ากับศิลป์ (Asst. Art Director) (9) ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉาก (Properties Master) (10) ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด (Story Board Visualizer) (11) ผู้ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (Costume Designer) (12) ผู้จัดคิวเสื้อผ้าเครื่องแต่ง (Wardrobe) (13) ผู้จัดการจัดหาสถานที่ถ่ายท าภาพยนตร์ (Location Manager) (14) ผู้คัดเลือกนักแสดง (Casting) นอกจากบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการสร้างภาพยนตร์แล้ว ทุกขั้นตอนของการผลิต ภาพยนตร์ยังจะต้องมีรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งเรื่องคน วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ การจัดการ รวมทั้ง เวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะการที่จะสร้างภาพยนตร์ขึ้นมานั้น จะต้องพบกับปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จึง ต้องท าให้เกิดปัญหาให้น้อยมากที่สุด ดังนั้นจะต้องมีการสมมุติฐานปัญหา โดยการต้องค าถามและตอบ ค าถามล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมการวางแผนขั้นตอนรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ก่อนที่จะผลิตภาพยนตร์ จะต้องเตรียมขั้นตอนได้แก่ Pre-production, Production และPost-production 13

Pre-production คือ ขั้นตอนของการเตรียมงานก่อนที่จะเริ่มถ่ายท าภาพยนตร์ นับเป็นขั้นตอนที่มีความส าคัญอย่างยิ่งก่อนที่จะเริ่มท าภาพยนตร์ การเตรียมงานได้แก่ เตรียมข้อมูล ก าหนดเค้าโครงเรื่อง ประสานงานกองถ่ายกับสถานที่ถ่ายท า ประชุมวางแผนการผลิตจัดเตรียม อุปกรณ์การถ่ายท ารวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การเตรียมขั้นตอนแรกให้ได้ดีท าให้การด าเนินงานขั้น ต่อไปราบรื่นและรวดเร็ว ขั้นตอนแรกของการเริ่มท าภาพยนตร์จึงสามารถก าหนดอนาคตได้ว่าจะดี หรือไม่ดี Production คือ ขั้นตอนของการถ่ายภาพยนตร์ การถ่ายท าภาพยนตร์จะต้อง ควบคุมทั้งสถานที่ ฉาก แสงไฟ เสียง นักแสดง จากการวางแผนในขั้นตอนแรก การถ่ายท าจะต้อง สมบูรณ์มากที่สุดเพื่อที่จะได้เตรียมการสู่ขั้นตอนต่อไป ถือเป็นการใช้ฝีมือและความสามารถให้มาก ที่สุดที่จะถ่ายทอดผลงานออกมา Post-production คือ ขั้นตอนสุดท้ายในการจัดการระเบียบ ตัดต่อก่อนที่จะ น าไปเผยแพร่ภาพยนตร์ ขั้นตอนนี้จะมีเทคนิคพิเศษในการใส่คอมพิวเตอร์กราฟิกและเทคนิคภาพ พิเศษ ใส่เสียงเพิ่มเติมหรือเสียงประกอบฉากภาพยนตร์เพื่อท าให้ภาพยนตร์ถ่ายทอดความรู้สึกมากขึ้น ถือเป็นการแก้ไขรายละเอียดครั้งสุดท้าย 1.9.5 ทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Theory) ความหมายของการตัดสินใจ (Decision Making) มีความแตกต่างกันไปตามที่ นักวิชาการให้จ ากัดความหมายไว้ ดังนี้ เชสเตอร์ บาร์นาร์ด (Chester Barnard)13 ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ ว่า คือเทคนิคในการที่จะพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ให้เหลือทางเลือกเดียว เฮอร์เบิร์ต ไซมอน (Herbert Simon)14 ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ว่า การตัดสินใจเป็นกระบวนการหาโอกาสตัดสินใจ การหาทางเลือกที่พอเป็นไปได้และทางเลือกต่าง ๆ จากที่มีอยู่ โดยรวมแล้วการตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการในการคัดเลือกเพื่อการปฏิบัติที่มี ทางเลือกอยู่หลายทาง และผลลัพธ์มีความแตกต่างกัน ในการตัดสินใจนี้จะมีขั้นตอนที่เริ่มต้นจากการที่ ได้ตระหนักถึงปัญหา และขั้นตอนสุดท้ายน าไปสู่การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ทางเลือกที่ต้องมีพิจารณา

13 เชสเตอร์ บาร์นาร์ด (Chester Barnard) เป็นผู้บริหารธุรกิจระดับสูงเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจชาวอเมริกัน และยังเป็นผู้ บุกเบิกในการจัดการทฤษฎีและศึกษาองค์กรในปี ค.ศ. 1938 14 เฮอร์เบิร์ต ไซมอน (Herbert Simon) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ส าหรับปี ค.ศ. 1978 จากผลงานค้นคว้าวิจัยในกระบวนการตัดสินใจภายในองค์การที่ประกอบการเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันมิได้ถูก ผูกขาดโดยผู้ประกอบการเพียงคนเดียว หากเป็นการตัดสินใจร่วมกันของบุคลากรหลายคนในองค์การนั้น ๆ 14

อย่างรอบคอบในการน าไปสู่ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง เป็นการตัดสินใจ อย่างมีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของบุคคลต่าง ๆ 15 ในบรรดาทฤษฎีที่ส าคัญของการตัดสินใจ สามารถจ าแนกได้อย่างน้อย 2 ประเภทดังนี้ ทฤษฎีบรรทัดฐาน (Normative Theory) เป็นทฤษฎีการตัดสินใจที่มีลักษณะ ส าคัญ กล่าวคือ จะต้องค านึงว่าแนวทางการตัดสินใจน่าจะเป็นหรือควรจะเป็นอย่างไร จึงจะสามารถ บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการตัดสินใจได้ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของบุคคลแต่ละคนไป ซึ่งอาจจะ คล้ายคลึงหรือแตกต่างกันก็ได้ดังนั้น การใช้ทฤษฎีตัดสินใจนี้ในประเด็นปัญหาใด ๆ ก็ตามจึงมีลักษณะ ที่ขึ้นอยู่กับมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือก าหนดปัญหานั้น ๆ น่าจะหรือควรจะ ตัดสินใจอย่างไรจึงจะดีที่สุดถูกต้องเหมาะสมที่สุด ในทรรศนะของบุคคลอื่นที่มีมาตรฐานความพึง พอใจที่แตกต่างกัน อาจจะเห็นว่าไม่เหมาะสมก็ได้ ด้วยเหตุนี้การตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีจึงมีลักษณะ การพรรณนาแบบอุดมทัศน์ (Idea Type) มากกว่าจะเป็นแบบวิเคราะห์ถึงสภาพที่แท้จริง ทฤษฎีพรรณนา (Descriptive Theory) คือ ทฤษฎีการตัดสินใจที่มีลักษณะ แตกต่างกับทฤษฎีบรรทัดฐาน กล่าวคือ เป็นทฤษฎีที่มีสาระส าคัญที่ว่าการตัดสินใจ เพื่อแก้ปัญหาหนึ่ง จะต้องท าอย่างไรจึงจะสัมฤทธิ์ผลได้ ไม่ว่าผลของการตัดสินใจนั้นจะเป็นที่ชื่นชอบหรือพึงพอใจของผู้ ตัดสินใจหรือไม่ก็ตาม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีนี้ จะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ ความรู้สึกนึกคิดใด หรือค่านิยมส่วนตัวของผู้ตัดสินใจมาเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจ โดยมุ่งเน้นให้ การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีเหตุผล มีความถูกต้องและเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป ดังนั้นจึงได้มีการ ก าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่แน่นอน ตลอดจนมีการน าเทคนิคสมัยใหม่ต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการ ตัดสินใจด้วย เพื่อที่จะให้การตัดสินใจนั้นมีความถูกต้องเหมาะสมที่สุด ดังนั้นกล่าวได้ว่าการตัดสินใจ คือ ผลสรุปหรือผลขั้นสุดท้ายของกระบวนการคิด อย่างมีเหตุผลเพื่อเลือกแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ทรัพยากร และบุคคล สามารถน าไปปฏิบัติและท าให้งานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ การตัดสินใจเป็น ส่วนหนึ่งของบทบาทของผู้บริหารที่เกิดจากต าแหน่งและอ านาจที่เป็นทางการคือ บทบาทการเป็น ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) บทบาทผู้จัดการสถานการณ์ที่เป็นปัญหา (Disturbance Handler) บทบาทผู้จัดทรัพยากร (Resource Allocator) และบทบาทผู้เจรจาต่อรอง (Negotiator)

15 “การบริหารและการตัดสินใจ (Management and Decision Making),” กองบัญชาการศึกษา ส านักงานต ารวจ แห่งชาติ, http://www.edupol.org/pknow/Course/C2/document/02/12_4_1.pdf. 15

1.9.6 แนวคิดเกี่ยวกับต านาน ต านาน (Myth) เป็นค าที่มาจากค าภาษาเขมรว่า ฎ ณาล (ด็อม-นาล) ใช้เป็นทั้ง ค ากริยาและค านามแปลว่า การพรรณนาเล่าเรื่องที่ผ่านมาแล้ว และเป็นค าเรียกเรื่องโบราณที่เล่าต่อ ๆ กันมา ซึ่งอาจพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่เพียงใด นอกจากนี้ต านานยังใช้เรียกเรื่องที่แต่งให้ เป็นประวัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วย16 ที่มาของต านานมาจากความต้องการให้เกิดความสนุกสนาน บันเทิง จึงผูกเรื่องขึ้นหรือ น าเรื่องไปผสมผสานกับเรื่องที่มีอยู่เดิม ต านานประกอบด้วยภาษาที่มีโครง เรื่อง มีรูปแบบ มีความงดงามทางคุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึก อีกทั้งมีความใกล้เคียงกับความ เป็นจริงอาจจะมีการอ้างอิงถึงสถานที่จริงเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ จุดประสงค์ของการถ่ายทอด เรื่องราวของต านานไม่ได้มีเพียงแต่ความสนุกสนาน แต่ยังสอดแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับสังคม ความเชื่อ จิตวิทยา สภาพแวดล้อม และวัฒนธรรม บรานิสลาฟ มาลินอฟสกี้ (Bronislaw Malinowski)17 ได้นิยามต านานไว้ว่า ต านานคือการศึกษาที่มีชีวิต โดยไม่ใช่ระบบสัญลักษณ์แต่เป็นการแสดงออกโดยตรง ไม่สามารถ อธิบายในรูปแบบของวิทยาศาสตร์ที่จับต้องได้ แต่เป็นการบรรยายถึงความจริงในสมัยโบราณที่ถูก บอกด้วยความพอใจอย่างลึกซึ้งในรูปแบบของค าสั่งสอนทางศาสนา ศีลธรรม การตกลงทางสังคม ต านานในวัฒนธรรมสมัยโบราณเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะแสดงถึงกฎเกณฑ์ความเชื่ออันเป็นส่วน ส าคัญของอารยธรรมมนุษย์ซึ่งไม่ใช่เพียงเรื่องอุดมคติ แต่เป็นพลังอันแรงกล้าที่สะท้อนความศรัทธา โบราณ ภูมิปัญญา และศีลธรรม ในสังคมมนุษย์ต านานเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่คู่กัน ดังนั้นการศึกษา ต านานจึงเป็นตัวสะท้อนบทบาทหน้าที่และจุดมุ่งหมายส าคัญในทางสังคมวัฒนธรรม ต านานในการอธิบายเชิงหน้าที่ เป็นส่วนส าคัญที่ช่วยให้สังคมคงอยู่ได้ด้วยตัวเอง และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบความเชื่อซึ่งนับว่ามีบทบาทส าคัญที่สุดในชีวิตทางสังคมของ มนุษย์ด้วยวิธีเช่นนี้ การอธิบายเชิงหน้าที่ (Functionalism) ของมาลินอฟสกี้ จึงมีพลังอย่างมากใน การคงอยู่ของต านาน 1.9.7 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง "ภาพยนตร์วิจารณ์"18 เขียนโดย กฤษดา เกิดดี ปีที่จัดพิมพ์ ค.ศ. 2016 โดย ส านักพิมพ์ The Writer's Secret หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเกี่ยวกับ ความหมายและความส าคัญของการ วิจารณ์ การวิจารณ์ภาพยนตร์ รวมถึงการตัดสินคุณค่าการก ากับภาพยนตร์ บทภาพยนตร์ การ ถ่ายภาพ และการล าดับภาพโดยมีทั้งหลักเกณฑ์ และแนวทางการตัดสินคุณค่า และกรอบแนวคิด ทฤษฎีในการวิเคราะห์และวิจารณ์ ตลอดจนแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ “Superheroes and Superegos: Analyzing the Minds Behind the Masks”19 เขียนโดย Sharon Packer MD ปีที่จัดพิมพ์ ค.ศ. 2010 โดยส านักพิมพ์ ABC-CLIO 16

หนังสือเล่มนี้เล่าถึงประวัติความเป็นมา และต้นก าเนิดของยอดมนุษย์ หรือซูเปอร์ฮีโร่ ภาพสะท้อน สังคมผ่านตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ รวมถึงบอกเล่าเกี่ยวกับการน าหนังสือการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่สู่จอภาพยนตร์ “Thinking About Movies: Watching, Questioning, Enjoying”20 เขียน โดย Peter Lehman & William Luhr ปีที่จัดพิมพ์ ค.ศ. 2003 โดยส านักพิมพ์ Wiley-Blackwell หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเกี่ยวกับการแนะน าส าหรับผู้ที่ชื่นชอบรับชมภาพยนตร์อย่างมีวิจารณญาณ และ การคิดวิเคราะห์ บอกถึงวิธีการถ่ายทอดการน าเสนอและสร้างสรรค์ภาพยนตร์ให้บรรลุผลส าเร็จ แนะน าการท าความเข้าใจภาพยนตร์ในรูปแบบของการบรรยายและวัฒนธรรมที่ส าคัญที่แฝงใน ภาพยนตร์ “The Phantom Unmasked: America's First Superhero”21 เขียนโดย Kevin Patrick ปีที่จัดพิมพ์ ค.ศ. 2017 โดยส านักพิมพ์ University of Iowa Press หนังสือเล่มนี้บอก เล่าเกี่ยวกับ The Phantom ตัวละครยอดมนุษย์ (Superheroes) ผู้บุกเบิกหนังสือการ์ตูนประเภท ซูเปอร์ฮีโร่สู่การสร้างภาพเคลื่อนไหวแฟรนไชส์มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ เป็นตัวละครยอดมนุษย์ที่ มีมาก่อน Superman และ Batman แม้ว่าตัวละคร The Phantom จะมีต้นก าเนิดมาจาก สหรัฐอเมริกาแต่ได้รับความนิยมจากผู้ชมต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในออสเตรเลีย สวีเดนและ อินเดียที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์นิตยสารและหนังสือการ์ตูน Kevin Patrick ได้น าเสนอเรื่องราว เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมสื่อสมัยใหม่นอกจากนี้เขายังส ารวจความเชื่อมโยงระหว่าง ปัจจัยทางวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ และประวัติศาสตร์ที่เป็นตัวกระตุ้นความนิยมระดับ นานาชาติของตัวละคร

16 "ต านาน," ส านักงานราชบัณฑิตยสภา, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563, http://www.royin.go.th/?knowledges= ต านาน-๑-กันยายน-๒๕๕๖. 17 บรานิสลาฟ มาลินอฟสกี้ (Bronislaw Malinowski) เป็นนักมานุษยวิทยาชาวออสเตรียฮังการี ที่มีผลงานเกี่ยวกับ กลุ่มชาติพันธุ์, ทฤษฎีสังคมและการวิจัยภาคสนามมีอิทธิพลยาวนานในระเบียบวินัยของมานุษยวิทยา 18 กฤษดา เกิดดี, ภาพยนตร์วิจารณ์, (กรุงเทพมหานคร: The Writer's Secret, 2016) 19 Sharon Packer MD, Superheroes and Superegos: Analyzing the Minds Behind the Masks, (California: ABC-CLIO, 2010) 20 Peter Lehman & William Luhr, Thinking About Movies: Watching, Questioning, Enjoying, (New Jersey: Wiley-Blackwell, 2003) 21 Kevin Patrick, The Phantom Unmasked: America's First Superhero, (Iowa: University of Iowa Press, 2017) 17

“The Encyclopedia of Superheroes on Film and Television”22 เขียนโดย John Kenneth Muir ปีที่จัดพิมพ์ ค.ศ. 2014 โดยส านักพิมพ์ McFarland หนังสือ สารานุกรมฉบับสมบูรณ์ 50 ปีเล่มนี้บอกเล่าเกี่ยวกับวิวัฒนาการเหล่ายอดมนุษย์ (Superheroes) จากหนังสือภาพการ์ตูนสู่จอโทรทัศน์ และภาพยนตร์ เช่น Superman, Spiderman และ Batman รวมรายละเอียดรายชื่อซูเปอร์ฮีโร่และวายร้ายรวมถึงประวัติ ภาพประกอบโดยละเอียด พลังวิเศษของ เหล่ายอดมนุษย์ นักแสดงบทบาทสมมุติ เนื้อหาของภาพยนตร์ ค าวิจารณ์จากภาพยนตร์ อีกทั้งยังมี ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตสื่อเกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโร่ที่ดีที่สุดและยอดแย่ที่สุดตั่งแต่ช่วงปีค.ศ. 1951 ถึงปี ค.ศ. 2008 “How to Be a Superhero”23 เขียนโดย Mark Edlitz ปีที่จัดพิมพ์ ค.ศ. 2015 โดยส านักพิมพ์ BearManor Media หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเกี่ยวกับเบื้องหลังของภาพยนตร์ ซูเปอร์ฮีโร่ยอดนิยมและรายการโทรทัศน์ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา หนังสือเล่มนี้มีบทสัมภาษณ์ที่มากกว่า 35 เรื่องราวเกี่ยวกับนักแสดงชายและนักแสดงหญิงที่เล่นบทบาทเป็น ยอดมนุษย์(Superheroes) จอมวายร้าย (Supervillains) แอนตี้ฮีโร่ (Antiheroes) รวมถึงคู่หูซูเปอร์ฮีโร่ (Sidekicks) ที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดในโลกเป็นที่น่าจดจ า และยังกล่าวถึงท าอย่างไรจึงจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่ รวบรวมการบรรจบกันของจินตนาการและความเป็นจริงไว้เข้าด้วยกันอย่างลงตัว “What is a Superhero?”24 เขียนโดย Robin S. Rosenberg & Peter Coogan ปีที่จัดพิมพ์ ค.ศ. 2013 โดยส านักพิมพ์ Oxford University Press หนังสือเล่มนี้บอกเล่า เกี่ยวกับการตอบค าถาม Superhero คืออะไร และยังขยายค าจ ากัดความของตัวละซูเปอร์ฮีโร่กับจอม วายร้ายท าไมว่าถึงมีบทบาทที่มีความส าคัญต่อเนื้อเรื่อง ไม่เพียงแต่ส่องแสงรูปแบบ Pop แบบนี้ เท่านั้น แต่ยังท าให้ส่องแสงสว่างกับความเพ้อฝันและความเชื่อของคนอเมริกันสู่คนทั่วโลกอีกมาก โดย นักจิตวิทยา Robin Rosenberg และนักวิชาการการ์ตูน Peter Coogan “Super Heroes: A Modern Mythology”25 เขียนโดย Richard Reynolds ปีที่จัดพิมพ์ ค.ศ. 1994 โดยส านักพิมพ์ University Press of Mississippi หนังสือเล่มนี้บอกเล่า เกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโร่ที่เปรียบเสมือนเป็นวัตถุดิบหลักของหนังสือการ์ตูนสมัยใหม่ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1930 ภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จอย่างยอดเยี่ยมอย่าง Superman และ Batman ท าให้ทั้งสอง

22 John Kenneth Muir, The Encyclopedia of Superheroes on Film and Television, (North Carolina: McFarland, 2014) 23 Mark Edlitz, How to Be a Superhero, (Orlando: BearManor Media, 2015) 24 Robin S. Rosenberg & Peter Coogan, What is a Superhero, (Oxford: Oxford University Press, 2013) 25 Richard Reynolds, Super Heroes: A Modern Mythology, (Mississippi: University Press of Mississippi, 1994) 18

คนเป็นฮีโร่ในหนังสือการ์ตูนทั่วโลกที่ทุกคนคุ้นเคย ส ารวจต้นก าเนิดของซูเปอร์ฮีโร่โดยบันทึกว่า วีรบุรุษได้ปรากฏออกมาจากหนังสือการ์ตูนประเภทใดและมีการก าหนดทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์ และความคาดหวังของผู้ชม โดยศึกษามุ้งเน้นจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง The X-Men, The Dark Knight Returns และ Watchman ซึ่งเป็นการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่ที่มีอิทธิพลและหลายบทบาทซ่อนอยู่ มากมาย “วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านผลงานภาพยนตร์ตะวันตก กรณีศึกษา: ภาพยนตร์เรื่อง Captain America”26 โดย นางสาวรักษยา ศีลตระกูล ปี พ.ศ.2560 ภาคนิพนธ์นี้วิเคราะห์ภาพสะท้อนของรัสเซียผ่านภูมิหลังของเรื่อง ตัวละคร และเรื่องย่อ ของ ภาพยนตร์ Captain America: The First Avenger เป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับซูเปอร์ฮีโร่ของ สหรัฐอเมริกา ภาพยนตร์เรื่องนี้ ออกฉายในปีค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นการน าเรื่องราวมาจากตัวละครใน หนังสือการ์ตูนของมาร์เวล (Marvel) อย่าง กัปตันอเมริกา โดยภาพยนตร์อยู่ภายใต้การผลิตของ บริษัท Marvel Studios และจัดจ าหน่าย โดยบริษัท Paramount Pictures “ภาพสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมรัสเซีย ในช่วงสหภาพโซเวียต ผ่าน ภาพยนตร์ «Москва слезам не верит» (ค.ศ. 1980)”27 โดย นางสาวพนัชกร วงศ์จันทร์ ปี พ.ศ.2561 ภาคนิพนธ์เรื่องนี้บอกเล่าเกี่ยวกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมรัสเซียในช่วงสหภาพโซเวียต ที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์ โดยศึกษาจากรายละเอียดของภาพยนตร์และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ การเมืองในสมัยของนิกิตา ครุสชอฟ และลีโอนิด เบรชเนฟ เพื่อเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทางสังคมที่ เกิดขึ้นภายใต้กรอบเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ ภาพยนตร์ในยุคโซเวียตเรื่องนี้จึงเปรียบเสมือนกระจก สะท้อนสภาพสังคม และวัฒนธรรมภายใต้ม่านเหล็กให้เห็นได้อย่างชัดเจน ผ่านบทบาทของตัวละคร และการด าเนินเรื่องราวที่เกี่ยวพันกับบริบททางสังคม อีกทั้งยังสร้างความบันเทิงและให้ข้อคิดจากการ รับชม ภาพยนตร์จึงเหมาะแก่การใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาสภาพสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม รัสเซียเป็นอย่างดี

26 รักษยา ศีลตระกูล, “วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านผลงานภาพยนตร์ตะวันตก กรณีศึกษา: ภาพยนตร์เรื่อง Captain America,” (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตร์ บัณฑิต,สาขารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2560) 27 นางสาวพนัชกร วงศ์จันทร์,”ภาพสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมรัสเซีย ในช่วงสหภาพโซเวียต ผ่านภาพยนตร์ «Москва слезам не верит» (ค.ศ. 1980),” (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตร์ บัณฑิต,สาขารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561) 19

บทที่ 2 ประวัติและความเป็นมาของภาพยนตร์ ประเภทยอดมนุษย์ (Superheroes)

ในปัจจุบันจ านวนของซูเปอร์ฮีโร่เพิ่มขึ้นเป็นจ านวนมากจากความนิยมที่ฉายในโรง ภาพยนตร์ เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าการขยายตัวของภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์ หรือซูเปอร์ฮีโร่ใน ปัจจุบันเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่หลายเรื่องมักจะมีพื้นฐาน เรื่องราวมาจากหนังสือการ์ตูน หรือคอมมิคส์ ซูเปอร์ฮีโร่บางเรื่องต้นฉบับเรื่องราวเริ่มจากจอโทรทัศน์ หรือรายการทีวี ซึ่งปรากฏการณ์ของซูเปอร์ฮีโร่ได้สร้างความประทับใจให้กับคนทั่วโลกและเป็นที่จดจ า น าไปสู่การสร้างรายได้มหาศาลจากผู้เข้าชมภาพยนตร์

2.1 ต้นก าเนิดภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่

การเพิ่มขึ้นของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่แท้จริงได้เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ภาพยนตร์มากกว่าสี่สิบเรื่องได้ถูกดัดแปลงให้เข้ากับจอเงินพร้อมกับตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ภาพยนตร์ Spider-Man ไตรภาค (2002-2007) ของ Sam Raimi, The Dark Knight (2008), X-Men (2000 – 2019), และ The Avengers (2012 – 2019) ดึงดูดผู้ชมหลายร้อยล้านคนทั่วโลกและ ติดอันดับภาพยนตร์ที่ท ารายได้สูงสุด ด้วยการฟื้นฟูครั้งนี้ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ได้วิวัฒนาการ เป็นหนึ่งใน ประเภทที่ใหญ่ที่สุดและประสบความส าเร็จในเชิงพาณิชย์มากที่สุดในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ซูเปอร์ฮีโร่ ส่วนใหญ่เป็นไอคอนอเมริกันอย่างปฏิเสธไม่ได้ พวกเขาถูกสร้างขึ้นในช่วงปีค.ศ. 1930 โดยผู้สร้างหนังสือ การ์ตูนรูปแบบศิลปะอเมริกัน วิถีชีวิตของซูเปอร์ฮีโร่ส่วนใหญ่จะมีที่มาและต้นก าเนิดจากสภาพแวดล้อม หรือภูมิประเทศนั้น ๆ ขึ้นอยู่กับชีวิตในเมืองอเมริกันสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น The Web Slinging อาวุธ ประจ ากายของสไปเดอร์แมน (Spider-Man) ที่พ่นใยแมงมุมออกมาเพื่อที่จะสามารถเคลื่อนที่ไปที่ต่าง ๆ โดยเกาะกับตึกระฟ้า แน่นอนว่าถ้าหากสไปเดอร์แมนไม่ได้อยู่ในเมืองที่มีตึกสูงการใช้งานของ The Web Slinging แทบจะไม่เกิดขึ้น

20

ภาพที่ 2.1 สไปเดอร์แมน (Spider-Man) ก าลังใช้ The Web Slinging, “Spider-Man: Homecoming (2017),”IMDB, accessed March 2, 2020, http://www.imdb.com/title/tt2250912/mediaviewer/ rm1911959296.

ลัทธิอเมริกันนิยม (Americanism) ของซูเปอร์ฮีโร่ได้เผยแพร่ค่านิยมและอุดมคติอย่าง ซูเปอร์แมน (Superman) เป็นซูเปอร์ฮีโร่ที่เรียกได้ว่าเก่าแก่ที่สุดและโด่งดังที่สุดในช่วงปีค.ศ. 1940- 1950 เป็นการต่อสู้เพื่อความจริง ความยุติธรรม และวิถีอเมริกัน ในท านองเดียวกันกัปตันอเมริกา (Captain America) ถือเป็นซูเปอร์ฮีโร่ที่ถอดแบบความเป็นลัทธิอเมริกันนิยมอย่างเห็นได้ชัด สังเกตได้ จากเครื่องแต่งกายที่ใช้สัญลักษณ์ของธงชาติอเมริกันและมีบทบาทหน้าที่ในช่วงสงครามโลกต่อสู้กับพวก ทหารนาซีในปีค.ศ. 1940 การแสดงความรักชาติของกัปตันอเมริกา นักวิชาการได้เสนอว่าความคิดตัว ละครนี้แสดงถึงความเป็นผู้น าที่สามารถช่วยมนุษยชาติ เป็นผลพลอยได้จากอุดมการณ์ของลัทธิอเมริกัน นิยม ถึงแม้ว่าซูเปอร์ฮีโร่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวอเมริกันที่เปรียบเสมือนแฮมเบอร์เกอร์ที่เป็นอาหาร สัญลักษณ์ของประจ าชาติอเมริกา แต่วัฒนธรรมซูเปอร์ฮีโร่นี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกนอกจากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา สิ่งหนึ่งที่ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ในปัจจุบันได้ดึงดูดผู้ชมหลายร้อยล้านคน นอกจาก ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพิจารณาได้จากภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่ท ารายได้สูงสุดจนถึงปัจจุบัน เช่น ภาพยนตร์ The Avengers ได้รับรายได้ไปทั้งหมด 622,217,210 ดอลลาร์สหรัฐ และอีก 882,300,000 ดอลลาร์สหรัฐจากทั่วโลก รายได้เหล่านี้เป็นตัวชี้วัดถึงการประสบความส าเร็จซึ่งการประสบความส าเร็จ ของภาพยนตร์จะต้องมีเสน่ห์ความเป็นสากล สามารถเผยแพร่ขยายวัฒนธรรมได้ครอบคลุมมากกว่า วัฒนธรรมป๊อบอเมริกัน ในความเป็นจริงซูเปอร์ฮีโร่หลายคนนั้นมีความเป็นมาคล้ายกับวีรบุรุษในต านานเก่าแก่จาก หลาย ๆ วัฒนธรรม เจอร์รี่ ซีเกล (Jerry Siegel)1 และ โจ ชัสเตอร์ (Joe Shuster)2 ผู้มีส่วนร่วมสร้างตัว

1 เจอร์รี่ ซีเกล (Jerry Siegel) เป็นนักเขียนหนังสือการ์ตูนชาวอเมริกัน ในนามแฝงปากกา Joe Carter และ Jerry Ess เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 1914 นอกจากผลงานสร้างตัวละครซูเปอร์แมนแล้ว เจอร์รี่ได้สร้างตัวละครซูเปอร์ฮีโร่อื่นอีกเช่น Spectre, Superboy, Doctor Occult เป็นต้น 2 โจ ชัสเตอร์ (Joe Shuster) เป็นนักเขียนหนังสือการ์ตูนชาวแคนาดา-อเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 21

ละครซูเปอร์ฮีโร่อย่างซูเปอร์แมนในปีค.ศ. 1938 ได้ให้ข้อมูลว่า ต านานเรื่องเล่าเก่าแก่เป็นแรงบันดาลใจ ที่ส าคัญในการที่จะสร้างตัวละคร คืนหนึ่งระหว่างที่เขาก าลังข่มตาหลับเขาได้จินตนาการถึงต านาน เกี่ยวกับเทพเจ้าเฮอร์คิวลีส (Hercules) แซมซั่น (Samson) และคนอื่น ๆ เท่าที่เขาจะนึกได้ จากนั้นเขา ก็ลุกจากเตียงเพื่อเขียนบันทึกท าซ้ าแล้วซ้ าเล่าตลอดทั้งคืน จนกระทั่งในตอนเช้าได้ตัวละครที่สมบูรณ์3

ภาพที่ 2.2 Sensation Comics ฉบับแรกกับภาพหน้าปกวันเดอร์วูแมน (Wonder Woman) ออกแบบโดย H. G. Peter. ,“The Surprising Origin Story of Wonder Woman,” Smithsonian Magazine, accessed March 2, 2020, https://www.smithsonianmag.com/arts-culture/origin-story-wonder-woman-180952710/.

ซีเกลชี้ให้เห็นว่าการประดิษฐ์ซูเปอร์ฮีโร่อเมริกันสมัยใหม่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากต านาน และเรื่องราวของวีรบุรุษโบราณ อิทธิพลนี้ได้สร้างชื่อเสียงและสร้างความส าเร็จให้กับซูเปอร์แมนในเชิง พาณิชย์ของช่วงปีค.ศ. 1930 เป็นสิ่งที่มีค่าและกลายเป็นที่รู้จักในฐานะยุคทอง หรือ The Golden Age ของการ์ตูนอเมริกันภายหลังของการเปิดตัวซูเปอร์แมนก็มีตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ที่มีชื่อเสียงก าเนิดขึ้นอีก และเริ่มเข้ามามีบทบาทในจอเงินในช่วงปีค.ศ. 1990 และ ค.ศ. 2000 อาทิแบทแมน (Batman) วันเดอร์ วูแมน (Wonder Woman) เดอะแฟลช (The Flash) เดอะ กรีนแลนเทิร์น (The Green Lantern) และ กัปตันอเมริกา (Captain America) เป็นต้น นอกจากนี้ซูเปอร์ฮีโร่บางตัวละครยังได้รับอิทธิพลจากสภาพ สังคมในสมัยนั้น และผสมสานเข้ากับต านานวีรบุรุษ ยกตัวอย่าง ตัวละครซูเปอร์ฮีโร่หญิงอย่าง วันเดอร์วู แมน (Wonder Woman) เดิมทีชื่อ ไดอาน่า (Princess Diana of Themyscira) เป็นเจ้าหญิงที่อาศัย อยู่เผ่าอเมซอน ในเกาะเทอมิสกีร่า ได้รับพลังจากเหล่าเทพเจ้าแห่งเขาโอลิมปุส (Gods of Olympus) ท าให้พลังของเธอมีความหลากหลายนอกจากนี้ผู้สร้างยังได้แรงบันดาลใจมาจากสตรีนิยม (Feminism)

3 Fingeroth, “Hotel Switchboard Operators”, From The Saturday Evening Post, (June 21, 1941). 22

2.2 ลักษณะเฉพาะของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่

ความกล้าหาญเป็นหัวใจส าคัญของการท างานของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตและโลกวัฒนธรรมที่ ใหญ่ขึ้น ความกล้าหาญสามารถแสดงออกมาได้หลากหลายรูปแบบ แต่ความกล้าหาญที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ความกล้าหาญที่จะเอาชนะความกลัว ความวิตกกังวล หรือจุดอ่อนของตัวเอง จิตใจมนุษย์ได้พัฒนา ศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่าความกล้าหาญ ภายใต้ความวิตกกังวลเพราะสติปัญญา มักจะชี้น าให้เรา เลือกหลีกเลี่ยงความเสี่ยงใดๆก็ตามที่อาจน าไปสู่ความตาย หรือหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆที่เรากลัว โดยการยก เหตุผลต่าง ๆ มาเป็นข้ออ้างไม่ให้เราเอาชนะความกลัว แต่ความกล้าหาญจะไม่ได้อ้างอิงตามหลักเหตุผล ความกล้าหาญไม่ได้ต้องการความสมเหตุสมผล แต่ความกล้าหาญที่จะยอมรับตนเองว่าก าลังกลัว แต่ เลือกที่จะเผชิญหน้ากับความกลัวที่เราหลีกเลี่ยงมาตลอด สิ่งนี้เองจะช่วยให้ผู้คนตระหนักถึงความไม่จีรัง ยั่งยืนของชีวิต และเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ที่จะหลีกเลี่ยงความตายของตัวเอง วัฒนธรรมภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่พยายามน าเสนอว่า ทุกคนสามารถที่จะเป็นซูเปอร์ฮีโร่ใน ตนเองได้ และความกล้าหาญเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบที่คนแต่ละคนพึงมีต่อสังคม ความกล้า หาญของคนหนึ่งคนจะส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง และสังคมให้ลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหาของตนเอง ด้วยเช่นกัน ความกล้าหาญช่วยสร้างแรงบันดาลใจท าให้ผู้คนเชื่อว่า พวกเขาสามารถจัดการเอาชนะใจ เอาชนะความกลัวของตนเอง และความวิตกกังวลที่มีอยู่ได้ด้วยการโน้มน้าวตัวเองว่า พวกเขาสามารถ บรรลุสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายที่ยั่งยืนสิ่งที่ท าให้ตัวเองอยู่ได้นานกว่าหรืออย่างน้อยก็ส่องแสงความ ตายและการเสื่อมสลายของตัวเอง ด้วยเหตุนี้วัฒนธรรมสามารถให้แนวทางแก่ผู้คนโดยที่พวกไม่ได้ แตกต่างจากซูเปอร์ฮีโร่ในภาพยนตร์ และพวกเขาก็มีดีพอที่จะเป็นซูเปอร์ฮีโร่ในแบบตนเอง ก าหนด อนาคตของตนเอง และมีสิทธิที่จะสามารถบรรลุสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายที่ยั่งยืนของชีวิตได้4 ซูเปอร์ฮีโร่ช่วยให้เป็นแรงขับเคลื่อนในการใช้ชีวิตของผู้คน ยิ่งไปกว่านั้นฮีโร่ยังแสดง ความสามารถที่จะเอาชนะภัยอันตรายของมนุษย์ กล่าวได้อีกอย่างคือ ซูเปอร์ฮีโร่มักจะแสดงด้านที่ไม่รัก ตัวกลัวตายเมื่อต้องเผชิญหน้ากับวิกฤต การวิจัยของ TMT (Technology, Media & Telecommunications) เป็นกลุ่มบริษัทที่ท าการวิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ท าการ วิจัยเกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโร่สะท้อนอะไรให้กับผู้ชม จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้คนเมื่อพิจารณาถึงความ กังวลเรื่องการเสียชีวิต มีแนวโน้มที่จะละเลยหรือไม่สนใจต่อโรคและอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง ตัวอย่าง ภาพยนตร์ Superman Returns (2006) มีฉากหนึ่งที่เป็นที่น่าจดจ าเมื่อซูเปอร์แมนได้เดินไป

4 Gary S. Becker, A Theory of Marriage: Part I, (Chicago: The University of Chicago Press, 1973), 5. 23

หามือปืนคนหนึ่งอย่างใจเย็นโดยที่ก าลังถูกยิงกระสุนใส่หลายนัด แม้ซูเปอร์แมนจะเดินเข้ามาใกล้จนถึง ระยะประชิด มือปืนได้ยิงกระสุนใส่ที่ดวงตาของซูเปอร์แมน ท าให้ผู้ชมได้เห็นถึงความสมบูรณ์แบบของ ดวงตาซูเปอร์แมนที่สามารถสะท้อนกระสุนปืนได้ โดยที่กระสุนปืนไม่สามารถท าอะไรซูเปอร์แมนได้เลย5

ภาพที่ 2.3 “Superman Returns (2006),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt0348150/mediaviewer/rm183061504.

นอกจากปัจจัยภายนอกที่ซูเปอร์ฮีโร่ต้องการจะเอาชนะแล้ว ยังมีปัจจัยภายในที่ซูเปอร์ ฮี โร่ต้องต่อสู้ด้วยเหมือนกัน หรือจะกล่าวได้อีกอย่างคือ ซูเปอร์ฮีโร่เองก็มีด้านที่ต้องต่อสู้กับตัวเองเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ Spider-Man 3 (2007) เมื่อตัวละคร ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ (Peter Parker) หรือสไปเดอร์แมนสูญเสียการควบคุมตัวเอง บุคลิกของเขาเปลี่ยนไปกลายเป็นคนใช้ความรุนแรง ชุดของ เขาจากสีแดงกลับกลายเป็นสีด า เพราะถูกศัตรูที่เรียกว่า เวน่อม (Venom) เข้ายึดร่างของสไปเดอร์แมน แม้ว่าเวน่อมจะให้พลังมหาศาลแก่สไปเดอร์แมน แต่กลับท าให้เขากลายเป็นคนเลว จึงท าให้เกิดการต่อสู้ กับตัวเองเพื่อทวงคืนความยุติธรรม นั่นแสดงให้เห็นว่าซูเปอร์ฮีโร่มักจะแสดงด้านที่มีความกล้าหาญแม้ว่า จะไม่กลัวเจ็บ หรือกลัวตาย ซูเปอร์ฮีโร่จะเป็นผู้ที่เสียสละและยึดมั่นในอุดมคติปกป้องพิทักษ์มนุษย์ ประเทศ หรือโลก ถึงแม้ว่าซูเปอร์ฮีโร่จะมีพลังเหนือธรรมชาติซึ่งมีความได้เปรียบกว่ามนุษย์ทั่วไป แต่ ซูเปอร์ฮีโร่ท าให้มนุษย์รู้สึกกล้าหาญพร้อมที่จะปกป้องหรืออยากจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่เช่นกันโดยที่ไม่ ค านึงถึงความตาย

5 Jamie L Goldenberg & Jamie Arndt, Psychological Review, (Washington: APA PsycNET, 2008), 1032- 1033 24

ภาพที่ 2.4 “Spider-Man 3 (2007),”IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt0413300/mediaviewer/rm1494325248

หลักฐานจากอดีตชี้ให้เห็นว่าซูเปอร์ฮีโร่อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ความรู้สึกคล้ายกับนักบุญ ตัวอย่างเช่นนักแสดงภาพยนตร์ที่รับบทเป็นซูเปอร์แมนสี่เรื่องแรก คริสโตเฟอร์ รีฟ (Christopher Reeve) ซึ่งเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในช่วงยุคปี ค.ศ. 1970-1980 การตอบรับแฟน ๆ ของรีฟนั้น คล้ายคลึงกับวิธีการทางศาสนา ผู้ที่เชื่อถือจะปฏิบัติ และแสดงความเคารพท าให้รู้สึกถึงจิตวิญญาณ เหมือนมี สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ รีฟได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า มันเป็นเรื่องยากมากส าหรับเขาที่จะต้องสวมบทบาทซูเปอร์แมนแม้กระทั่งนอกจอภาพยนตร์ เพราะเขาเห็นได้ทันทีว่าพวกเขาสามารถเปลี่ยนความคิดของผู้คนได้ เขาเคยเห็นเด็กที่ก าลังจะตายด้วยโรค เนื้องอกในสมอง แต่ด้วยค าขอของเป็นครั้งสุดท้ายเขาจึงได้พบกับเด็กคนนั้นเพื่อพูดคุยและส่งสู่สุขคติด้วย ความสุขสุดท้ายที่ปรารถนา ความเชื่อในตัวละครประเภทนี้มันไม่ได้เสียหายหรือเลวร้ายอะไรเลย เขาเห็นว่า ซูเปอร์แมนมีความส าคัญจริง ๆ มันไม่ใช่ตัวละครการ์ตูนที่ไร้สาระ พวกเขาก าลังเชื่อมต่อกับบางสิ่งที่มีความ ธรรมดามาก ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค ความสามารถในการเข้าใจความยากล าบากและหันหลัง ให้กับมัน6

6 Otto Friedrich, Up, up, and awaaay!!!, “Time”, accessed March 20, 2020, http://content.time.com/ time/magazine/article/0,9171,966978,00.html 25

ตัวละครซูเปอร์ฮีโร่บางบทบาทก็ใช้อารมณ์เหนือตรรกะ ขึ้นอยู่กับปัจเจกบุคคล อารมณ์ แรงจูงใจเฉพาะบุคคล และความเห็นต่อต้านต่อแนวคิดสังคมที่ก้าวหน้าเป็นส่วนหนึ่งของจิตใจของบทบาท ซูเปอร์ฮีโร่ ยกตัวอย่างเช่น แบทแมน (Batman) เป็นตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ที่มีความยอดนิยมและมีชื่อเสียง อย่างมาก แม้ตัวละครนี้จะต่อสู้กับเหล่าอาชญากรรมตามกฎหมาย แต่บางครั้งกลับใช้อารมณ์และก าจัด อาชญากรรมด้วยศาลเตี้ย เหตุผลจูงใจที่ท าให้ตัวละครแบทแมนต้องใช้ความรุนแรงซึ่งขัดแย่งกับความเป็น ซูเปอร์ฮีโร่ที่ต้องน าเสนอความยุติธรรม เพราะความฝังใจในวัยเด็กของแบทแมนที่อาชญากรได้พรากพ่อและ แม่จากเขาไปในขณะที่เขายังเด็ก จากเหตุการณ์ในอดีตนี้ จึงเป็นชนวนให้ตัวละครต้องการที่จะล้างแค้นให้ พ่อและแม่ของเขาเพื่อหยุดการกระท าของเหล่าอาชญากรรม จากตัวอย่างนี้จึงเป็นเหมือนอารมณ์ความรู้สึก เหนือตรรกะในรูปแบบแนวคิดเพ้อฝัน (Romanticism) ดังนั้นความเห็นอกเห็นใจของซูเปอร์ฮีโร่ในบางครั้ง ครอบคลุมไปถึงความเห็นแก่ตัวของตัวเอง7

ภาพที่ 2.5 “Batman Begins (2005),”IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt0372784/mediaviewer/rm277354496

ซูเปอร์ฮีโร่เป็นบุคคลเชิงสัญลักษณ์ที่เมื่อมนุษย์นึกถึงจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับการกอบกู้โลก ช่วยชีวิตผู้คนหรือต่อต้านการก่อการร้าย แม้ว่าซูเปอร์ฮีโร่มักจะปรากฏแต่ในภาพยนตร์ หรือสื่อบันเทิง อื่น ๆ แต่ก็สามารถกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนและตระหนักคิดว่าในชีวิตจริงของคนเรานั้นจะ

7 Mason Woodard, Superheroes: emotions over logic, “Romanticism and the Rise of the Superhero : Who Are the Saviours of the Oppressed?”, accessed March 20, 2020, http://www.globalresearch.ca/romantici ism-and-the-rise-of-the-superheroes-who-are-the-saviours-of-the-oppressed/5669032. 26

สามารถมีซูเปอร์ฮีโร่หรือเราเองจะสามารถเป็นซูเปอร์ฮีโร่ได้ ความคิดนี้ได้รับพัฒนาและสร้างเป็น ภาพยนตร์เรื่อง คิกแอส (Kick-Ass) ที่เข้าฉายครั้งแรกในปีค.ศ. 2010 เป็นภาพยนตร์ที่น าเสนอมุมมอง ของซูเปอร์ฮีโร่ได้แปลกใหม่สไตล์คอมเมดี้ (Comedy) โดยภาพยนตร์บอกเล่าเรื่องราวของวัยรุ่นชื่อ เดฟ ไลซูสกี้ (Dave Lizewski) ผู้เป็นแฟนพันธุ์แท้หนังสือการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่ที่ตัดสินใจน าความหลงใหลของ ตัวเองมาเป็นแรงบันดาลใจสร้างตัวเขาให้เป็นซูเปอร์ฮีโร่ในชีวิตจริง ตามธรรมเนียมของซูเปอร์ฮีโร่ทั่วไป เขาตั้งฉายาให้ตัวเองว่า คิกแอส เขาออกแบบตัดชุดเองหาหน้ากากมาใส่แล้วออกไปปราบเหล่าร้าย ติด ปัญหาอยู่อย่างเดียวนั่นคือ คิกแอสไม่มีซูเปอร์พาวเวอร์หรือพลังพิเศษอะไรเลย ดังนั้นในโลกอันเสมือน จริงนี้จึงใช้ได้เพียงอาวุธธรรมดาแต่แก้ปัญหาอาชญากรรม แม้ว่าเรื่องราวภาพยนตร์คิกแอสจะได้รับเสียง วิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากเรื่องความเหมาะสม เพราะเนื้อหามีความหยาบคายและการใช้ความรุนแรง ของเด็ก ซึ่งขัดแย้งกับภาพลักษณ์ของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่หลายเรื่อง แต่คิกแอสได้รับการตอบรับอย่าง ดีจากนักวิจารณ์และผู้ชม ในปีค.ศ. 2011 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัล Empire Award สาขา ภาพยนตร์อังกฤษยอดเยี่ยม และท าเงินได้มากกว่า 12 ล้านเหรียญสหรัฐในระดับนานาชาติก่อนเปิดฉาย ในสหรัฐอเมริกา และเปิดตัวในสหรัฐอเมริกาท ารายได้ถึง 19.8 ล้านเหรียญสหรัฐ8

ภาพที่ 2.6 “Kick-Ass (2010),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt1250777/mediaviewer/rm633638656.

8 Kick-Ass (2010), The Numbers - Where Data and the Movie Business Meet, accessed March 2, 2020, https://www.the-numbers.com/movie/Kick-Ass#tab=summary. 27

นอกจากซูเปอร์ฮีโร่แล้ว เหล่าวายร้ายเองก็มีความส าคัญต่อบทบาทภาพยนตร์เช่นกัน เพราะ บทบาทของวายร้าย เป็นตัวกระตุ้นที่ช่วยสร้างความรู้สึกของผู้คนต่อการให้ความส าคัญต่อชีวิต ความเกลียด ชังและความพ่ายแพ้ เป็นความจริงที่จะสร้างให้เรามีชีวิตชีวาและกระตุ้นเพื่อที่จะเอาชนะมัน แม้ว่าจะเป็น วิธีที่ถูกหรือผิดก็ตาม ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่องโจ๊กเกอร์ (Joker) ค.ศ. 2019 เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอด มุมมองของต้นก าเนิดวายร้ายอย่างโจ๊คเกอร์ที่เป็นคู่ปรับตลอดกาลของแบทแมน เป็นภาพยนตร์ที่ตีความตัว ละครโจ๊คเกอร์ได้แตกต่าง จากที่เคยได้พบตัวละครโจ๊คเกอร์จากภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ภาพยนตร์เรื่องนี้ ถ่ายทอดออกมาตรงข้ามกับภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่อย่างมาก เนื่องจากภาพยนตร์น าเสนอถึงความรุนแรงแต่ กลับสะท้อนสังคม ท าให้ผู้คนตระหนักคิดและวิเคราะห์ตัวละครมากกว่าซูเปอร์ฮีโร่ และท าให้เรามองเห็นอีก มุมของตัวร้ายรวมถึงสภาพสังคมของเมืองกอธแฮม (Gotham)9

ภาพที่ 2.7 “Joker (2019),”IMDB, accessed March 2, 2020, http:// www.imdb.com/title/tt7286456/mediaviewer/rm3353122305.

2.3 แนวทางสูตรส าเร็จของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ในสหรัฐอเมริกา

ภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จไม่เพียงแค่ชี้วัดจากรายได้และยอดคนดู แต่ยังสามารถเป็นที่ จดจ าแม้ว่าจะผ่านมาแล้วหลายปี สามารถต่อยอดเรื่องราวไปเป็นรูปแบบอื่นเช่น ซีรี่ย์ หรือวิดีโอเกมเพื่อ สร้างรายได้เพิ่มเติม สามารถปรับความคิดและสร้างแรงบัลดาลใจให้กับชีวิตได้ ในปัจจุบันเองภาพยนตร์

9 ปารณพัฒน์ แอนุ้ย, “เปิดบทวิเคราะห์หนัง ‘โจ๊กเกอร์’ JOKER กับความรุนแรงที่ตลกไม่ออก,” Workpoint News, สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563, https://workpointnews.com/2019/10/03/joker-movies/. 28

ซูเปอร์ฮีโร่มีเป็นจ านวนมากและส่วนใหญ่มักจะประสบความส าเร็จ ที่เห็นได้ชัดมากที่สุดภาพยนตร์ที่ประสบ ความส าเร็จจากมาร์เวลสตูดิโออย่าง The Avenger ทั้ง 3 ภาคสามารถสร้างรายได้จ านวนมหาศาล โดยเฉพาะ Avengers: Endgame (2019) ที่สามารถโกยรายได้ไปทั้งหมด 2,797,800,564 เหรียญสหรัฐ กลายเป็นภาพยนตร์ที่สามารถท ารายได้มากที่สุดในโลก โดยใช้ทุนสร้าง 356 ล้านเหรียญสหรัฐ จนสามารถ ต่อยอดรายได้ไปในสื่อบันเทิงอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นซีรี่ย์ อาทิ Agents of S.H.I.E.L.D. Agent Carter หรือ รูปแบบเกมอย่างเกมมือถือ Marvel: Future Fight และสินค้าต่าง ๆ ที่ใช้ตราสัญลักษณ์เกี่ยวกับ The Avenger ได้ หลักการส าคัญที่ท าให้ภาพยนตร์ของมาร์เวลสตูดิโอประสบความส าเร็จได้นั้น คือ Marvel Cinematic Universe หรือ MCU โดยการผลิตภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่หลาย ๆ เรื่องของมาร์เวลที่มีความ เกี่ยวเนื่องกัน เริ่มต้นจากการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโร่แต่ละคน จนท าให้ผู้ชมรู้สึกผูกพันและ คุ้นเคยกับตัวละคร และจากภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่ฉายเดี่ยวของแต่ละคนนั้น น าไปสู่การรวมตัวกันใน ภาพยนตร์ Marvel’s The Avengers และ Avengers: Age of Ultron เรียกได้ว่าเป็นแฟรนไชส์ภาพยนตร์ ที่มีความต่อเนื่องกัน กลยุทธ์ MCU นี้มีระบบการท างานที่เริ่มตั้งแต่การเขียนบท การคัดเลือกนักแสดง ทุก ขั้นตอนของการสร้างภาพยนตร์แต่ละเรื่องจะต้องมีความต่อเนื่องกัน ผู้ก ากับภาพยนตร์จากหลาย เรื่อง จะต้องพูดคุยและวางแผนให้ทิศทางของภาพยนตร์มีความสอดคล้องกัน รวมถึงกลวิธีการเล่าเรื่องจากมาร์ เวลสตูดิโอนั้นในตอนจบเองจะมีเอนเครดิต (End Credit) ที่จะเป็นการบอกใบ้ถึงฉากหรือตัวละครส าคัญที่ จะปรากฏในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ของมาร์เวลในเรื่องต่อไปในอนาคต10 นอกจากนี้มาร์เวลสตูดิโอสามารถ เล่าเรื่องราวของซูเปอร์ฮีโร่ได้น่าสนใจ แม้ว่าซูเปอร์ฮีโร่ตัวละครนั้นเป็นตัวละครที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน โดยเฉพาะผู้ชมที่ไม่ได้เป็นแฟนซูเปอร์ฮีโร่คอมมิคมาก่อน ก็สามารถเข้าใจถึงตัวละครที่มาร์เวลจะสื่อ และ สามารถติดตามเรื่องราวจนกลายเป็นแฟนฮีโร่จากภาพยนตร์ได้

10 กัญญาธิภัทร กฤดาภร และ อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์, "การเล่าเรื่องและการประกอบสร้างตัวละครในภาพยนตร์ ซุปเปอร์ฮีโร่ที่ท ารายได้สูงสุดของมาร์เวลสตูดิโอ," (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวารสารการสื่อสารและการจัดการ คณะ นิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560).

29

ภาพที่ 2.8 “Avengers: Endgame (2019),”IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4154796/mediaviewer/rm2775147008.

การเล่าเรื่องในภาพยนตร์ของมาร์เวลจะเน้นในการน าเสนอในรูปแบบของ Power Theme หรือเกี่ยวกับพลังเหนือมนุษย์ พร้อมกับสอดแทรกเรื่องราวความสัมพันธ์ของตัวละคร การแย่งชิงพลังอ านาจ ความไม่ลงรอยกันระหว่างทีม จากภาพยนตร์ตัวอย่าง The Avengers ทั้ง 3 ภาคจะมีโครงเรื่องที่ไม่ซับซ้อน แสดงให้เห็นถึงการใช้พลังสามัคคีของเพื่อนร่วมทีมระหว่างกันในการก าจัดวายร้าย นอกจากความขัดแย้งกับ ตัววายร้ายโดยตรงแล้ว ยังมีการน าเสนอความขัดแย้งภายในทั้งเพื่อนร่วมทีมด้วยกันเอง และจิตใจของตัว ละคร ท าให้อุปนิสัยของตัวละครแต่ละตัวมีความโดดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อถึงสถานการณ์คับขัน ตัวละครแต่ละตัวจะมีวิธีการจัดการกับตนเองที่ต่างกัน มีทั้งตัดสินใจถูกและผิด อีกปัจจัยส าคัญที่ท าให้การเล่าเรื่องภาพยนตร์ของมาร์เวลนั้นประสบความส าเร็จ นั่นคือบท สนทนา ถือเป็นรายละเอียดส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ที่สร้างจุดสนใจให้กับเนื้อเรื่องภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถแสดงถึงทัศนคติ ความคิดของตัวละคร บางตัวละครมีอุปนิสัยที่ก้าวร้าว บางตัวละครมี อุปนิสัยที่ใจเย็น ผู้ชมสามารถรับรู้ได้จากการพูดคุยกันของตัวละครในภาพยนตร์ ในส่วนของการเล่ามุมมอง ของเรื่องภาพยนตร์ หากเป็นภาพยนตร์มาร์เวลที่มีซูเปอร์ฮีโร่หลายตัวละคร จะเป็นการเล่าเรื่องจากมุมมอง ที่เป็นตัวกลาง (The Objective) โดยเป็นการเล่าเรื่องที่ไม่เจาะจงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นมุมมองของ คนนอกที่สังเกต และรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นกลางตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทางด้านภาพยนตร์มาร์เวลในสังกัดของ 20th Century Fox ซึ่งเป็นสังกัดแยกของภาพยนตร์ ตระกูล The Avengers ภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จได้แก่ X-men โดย X-men ฉายครั้งแรกในปี ค.ศ. 2000 การเล่าเรื่องของภาพยนตร์ X-menนั้น มีความแตกต่างจาก The Avengers อย่างสิ้นเชิง ภาพยนตร์ X-men ไม่ได้มีการปูเรื่องราวตัวละครจากภาพยนตร์แยกของแต่ละตัวละครมาก่อน ท าให้ผู้ชมไม่รู้จักตัว 30

ละครในภาพยนตร์มากเท่าที่ควร สิ่งที่ท าให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความส าเร็จได้ ปัจจัยแรก คือ แฟน ซูเปอร์ฮีโร่คอมมิคจากภาพยนตร์เรื่องนี้มีความชื่นชอบอย่างเหนียวแน่น ปัจจัยที่สอง คือ การขับบทตัว ละครจากนักแสดงโดยเฉพาะตัวละคร วูล์ฟเวอร์รีน (Wolverine) แสดงโดย ฮิว แจ็กแมน (Hugh Jackman) จนกลายเป็นไอคอนวูล์ฟเวอร์รีน และกลายเป็นตัวละครที่สร้างจุดขายให้กับภาพยนตร์ท าให้ฮิว แจ็กแมนต้องรับบทวูล์ฟเวอร์รีนเป็นเวลา 17 ปี นอกจากนี้ตัวละคร วูล์ฟเวอร์รีน ยังเป็นตัวละครที่เป็น แอนตี้ฮีโร่ (Anti-Heroes) ที่น าเสนอรูปแบบการจัดการกับความชั่วร้ายที่แตกต่างจากภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ ทั่วไปอีกด้วย อีกปัจจัยหนึ่ง ภาพยนตร์ X-men น าเสนอพลังพิเศษของซูเปอร์ฮีโร่ได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะฉากต่อสู้ที่ต้องใช้พลังพิเศษของแต่ละตัวละครประชันกัน ฉากต่อสู้ของ X-men จึงมีลูกเล่นที่ หลากหลาย แต่จุดอ่อนที่ท าให้ภาพยนตร์ X-men ไม่สามารถท ารายได้เทียบเท่ากับภาพยนตร์ตระกูล The Avengers นั่นคือ เรื่องราวภาพยนตร์ไม่มีความแปลกใหม่นอกจากการต่อสู้ของมนุษย์และผู้มีพลัง พิเศษ เมื่อเทียบกับฝั่ง The Avengers ที่มีตัวแปรของภาพยนตร์หลายอย่างที่ท าให้เกิดการต่อสู้ อีกทั้งการ ใส่ตัวละครที่มีพลังพิเศษเป็นจ านวนมากท าให้ตัวละครบางตัวขาดความน่าสนใจ ไม่ท าให้เกิดความรู้สึก ผูกพันกับตัวละคร ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่ประสบความส าเร็จอีกค่ายหนึ่งที่เป็นคู่แข่งกับมาร์เวลนั่นคือ ดีซีคอม มิค ได้แก่ ภาพยนตร์ตระกูล The Dark Knight หลักการส าคัญที่ดีซีคอมมิคใช้ในการถ่ายทอดภาพยนตร์ คือ การอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง จากภาพยนตร์ The Dark Knight ตัวละครหลักอย่าง แบทแมน (Batman) เป็นตัวละครที่ไม่พลังพิเศษใด ๆ นอกจากฐานะที่ร่ ารวย และความสามารถในการสร้างอาวุธที่ หลากหลาย จุดขายของภาพยนตร์เรื่องนี้จึงไม่ใช่การต่อสู้ที่ใช้ความสามารถแบบซูเปอร์ฮีโร่อื่น ๆ แต่เป็น การน าเสนอของความรับผิดชอบตัวดี ที่สอดแทรกไปด้วยการเมือง สภาพความเป็นอยู่ของผู้คน การ สะท้อนสังคม อาชญากรรม ดังนั้นอารมณ์ของผู้ชมที่ได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่เหมือนกับภาพยนตร์ ซูเปอร์ฮีโร่ทั่วไปแต่กลายเป็นภาพยนตร์ปรัชญา การตีความของตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ให้ความรู้สึกมืดมนและ กดดันผู้ชมเช่นเดียวกับความรู้สึกตัวละคร อีกทั้งการเล่าเรื่องตัวละครวายร้ายอย่างโจ๊คเกอร์ (Joker) ที่ แตกต่างจากโจ๊คเกอร์ในคอมมิคอย่างมากพร้อมกับคาแรคเตอร์ที่แตกต่างในภาพยนตร์ท าให้ผู้ชมรู้สึก เข้าใจถึงเหตุผลของการกลายเป็นวายร้ายอย่างเต็มตัวโดยใช้หลักการพื้นฐานความเป็นจริงที่ปราศจาก พลังวิเศษ อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดตัวละครให้ผู้ชมรู้สึกถึงความเห็นใจของวายร้ายตัวละครนี้ 31

บทที่ 3 ภาพยนตร์เรื่อง Guardians (2017)

ภาพยนตร์ Guardians หรือชื่อในภาษารัสเซีย Защитники เป็นภาพยนตร์ประเภท ผจญภัย (Adventure) แอคชั่น (Action) และ ไซ-ไฟ (Sci-Fi) ของรัสเซียในปีค.ศ. 2017 ก ากับโดย ซาริก อันเดรอซาน ผู้กับกับชาวรัสเซีย-อาร์เมเนียที่เคยมีผลงานภาพยนตร์อย่าง Moms (Мамы) ปี ค.ศ. 2012 American Heist ปีค.ศ. 2014 Earthquake ปีค.ศ. 2016 และ Unforgiven (Непрощенный) ปีค.ศ. 2018 ภาพยนตร์ Guardians อยู่ภายใต้การผลิตของบริษัทภาพยนตร์ Enjoy Movies1 เริ่มถ่ายท าภาพยนตร์วันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2015 และเริ่มออกฉาย 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการปล่อยตัวจากสื่อในประเทศสหรัฐอเมริกาโดย Shout! Factory2 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 20173 โดยใช้ทุนสร้างทั้งหมดมูลค่า 5.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (320 ล้านรู เบิล) ภาพยนตร์ใช้เวลาในการด าเนินเรื่องทั้งหมด 89 นาที แสดงน าโดย เซบาสเตียน ซีซัค (Sebastien Sisak) ซานช่า เมดิเยฟ (Sanzhar Madiyev) อันโตน พามพุชนึย (Anton Pampushnyy) และ เอลิน่า ลาลีน่า (Alina Lanina) ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นช่วงสงครามเย็น โดยองค์กรลับที่เรียกตัวเองว่า "แพทริออต" ได้จัดตั้งทีมซูเปอร์ฮีโร่ขึ้นมา โดยการดัดแปลงดีเอ็นเอให้อาสาสมัครมีความสามารถเหนือ มนุษย์ มีจุดประสงค์เพื่อให้พวกเขาปกป้องแผ่นดินมาตุภูมิ ทีมนี้มีสมาชิกจากมาหลายประเทศใน สหภาพโซเวียต หลายปีที่พวกเขาต้องซ่อนอยู่อย่างลับ ๆ ไม่ให้ใครรู้ตัวตน แต่เมื่อสถานการณ์บีบ บังคับท าให้พวกเขาต้องเผยตัวเพื่อลุกขึ้นสู้อีกครั้ง ภายหลังจากการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รับกระแส ลบอย่างเป็นจ านวนมาก ทั้งในรัสเซียและต่างประเทศต่างลงความเห็นว่าเป็นภาพยนตร์ที่เลวร้าย แม้ว่ารายได้ Box office ของรัสเซียจะติดอันดับในช่วงของการฉายครั้งแรกโดยได้รับรายได้ทั้งหมด 15.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (950 ล้านรูเบิล) แต่ต่อมาได้ตกอันดับลงไปอย่างรวดเร็ว

1 Enjoy Movies เป็นบริษัทผลิตภาพยนตร์ของรัสเซียก่อตั้งขึ้นในปี 2010 โดยผู้ก ากับ ซาริก อันเดรอซาน บริษัทตั้งอยู่ ที่กรุงมอสโกประเทศรัสเซีย 2 Shout! Factory เป็นบริษัทผลิตสื่อวิดีโอและเพลงสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 ที่ตั้งส านักงานใหญ่อยู่ที่ ลอส แองเจลิส, แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 3 Kevan Farrow, Shout Factory Bringing Russian Superhero Flick Guardians to Disc, “SCREAM - The World's Number One Horror Magazine,” accessed April 1, 2020, http://www.screamhorrormag.com/shout- factory-bringing-russian-superhero-flick-guardians-disc/. 32

3.1 เนื้อเรื่องภาพยนตร์

ภาพที่ 3.1 “Guardians (2017),”IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm2713138944.

ภาพยนตร์เริ่มต้นฉากเปิดตัวในช่วงสงครามเย็น ช่วงปลายทศวรรษ 1940 องค์กรลับที่ รู้จักกันในชื่อ แพทริออต (Patriot) ก าลังวางแผนที่จะรวบรวมและสร้างทีมฮีโร่ของโซเวียต จึงท าการ ค้นหาจากคนที่อาศัยในสหภาพโซเวียตรวมถึงสัตว์ คนที่ได้รับคัดเลือกจ านวนมากจากทั่วอาณาเขตรัฐ มาท าการแก้ไขและตัดแต่ง เพื่อปกป้องดินแดนจากภัยคุกคามเหนือมนุษย์ ทีมฮีโร่ประกอบด้วย ตัวแทนจากหลายเชื้อชาติของสหภาพโซเวียต ในภาพยนตร์จะเห็นคนที่ถูกจับมาทดลอง 4 คน คน แรก คือ เซนย่า (Xenia) เป็นผู้หญิงคนเดียวในกลุ่มผู้พิทักษ์ เธอมีพลังพิเศษที่สามารถเปลี่ยนร่างกาย ให้กลายเป็นน้ า และสามารถพรางตัวท าให้ล่องหนได้ คนต่อมา คือ ข่าน (Khan) เขามีพลังพิเศษที่ สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วเทียบเท่ากับความเร็วแสง อีกทั้งยังมีศิลปะต่อสู้ที่ผสมผสาน หลากหลายรูปแบบทั้งกังฟู หรือ นินจามีความพิเศษกว่าคนทั่วไป คนต่อมา คือ อาร์ซัส (Ursus) เขามี พลังพิเศษที่สามารถเปลี่ยนร่างกายให้กลายเป็นหมีสีน้ าตาลขนาดใหญ่ มีสัญชาติญาณการต่อสู้เหมือน สัตว์ป่ามีพลังกระแทกรุนแรงสูงถึง 1-2 ตัน คนสุดท้าย คือ เลนิก (Lernik) หรือ เลอ (Ler) เขามีพลัง พิเศษที่สามารถเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กได้ ควบคุมธาตุจากระยะไกลด้วยพลังจิตขั้นสูง ทั้ง 4 คน เป็นยอดมนุษย์ที่ได้จากการทดลองโดย อัฟกุส คูราตอฟ (Avgust Kuratov) ซึ่งเขาต้องการที่จะ เอาชนะศาสตราจารย์วิคเตอร์ โดบรานรารอฟ (Viktor Dobronravov) หัวหน้าโครงการพันธุศาสตร์ แพทริออต 33

ภาพที่ 3.2 ข่าน (Khan) ก าลังถูกท าการทดลอง,“ Защитники (2017),” Киномания, доступ 11 мая 2020 года, https://www.kinomania.ru/film/786755/trailers/46856.

อีกโครงการหนึ่ง คูราตอฟก็พยายามสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า Module-1 ซึ่งเป็นรีโมต ที่สามารถควบคุมยานพาหนะ แต่การทดลองของคูราตอฟล้มเหลวและถูกสั่งให้ยกเลิกโครงการนี้ท า ให้เขารู้สึกอิจฉาโดบรานรารอฟที่ประสบความส าเร็จในการสร้างยอดมนุษย์ คูราตอฟจึงขโมยงานวิจัย เกี่ยวกับพันธุศาสตร์ของโดบรานรารอฟมาและท าการทดลองแบบลับ ๆ เป็นการทดลองโดยการใช้คน บริสุทธิ์จ านวนมากมาเป็นเหยื่อซึ่งผิดกฎหมาย ท าให้คูราตอฟพยายามหลบหนีจากการถูกจับกุมและ ระเบิดห้องทดลองของเขาทิ้ง พลังระเบิดรุนแรงอย่างมากท าให้สารเคมีที่รั่วไหลที่อยู่ในห้องทดลอง แทรกซึมเข้าไปในร่างกายของคูราตอฟ ท าให้เขามีพละก าลังมากขึ้นกว่ามนุษย์ทั่วไป และสามารถ หลบหนีได้ส าเร็จ ภายหลังจากเหตุการณ์ระเบิดท าให้เหล่ายอดมนุษย์ทดลองแยกย้ายหลบซ่อนตัว จนเหตุการณ์เกิดในช่วงปัจจุบัน ในพื้นที่ฝึกลับสุดยอดของกระทรวงกลาโหมรัสเซียมี การท าการสาธิตทดลองหุ่นยนต์ต่อสู้ที่ไม่ใช้คนควบคุม สามารถท าลายเป้าหมายได้อย่างแม่นย าและ รุนแรง ระหว่างการสาธิตหุ่นยนต์ตัวอย่างมีปฏิกิริยาเปลี่ยนไปและเริ่มจู่โจมทหาร รถถัง รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ทุกคนจนเสียชีวิต พร้อมกับการปรากฏตัวของคูราตอฟ แต่การปรากฏตัวของคูราตอฟครั้งนี้ ท าให้เห็นว่าระหว่างที่เขาหายไปตั้งแต่สงครามเย็นนั้น เขาประดิษฐ์ Module-1 ได้ส าเร็จและสามารถ ควบคุมยานพาหนะทุกอย่างตามที่เขาต้องการ การกลับมาของคูราตอฟท าให้กระทรวงกลาโหม จัดการประชุมและตัดสินใจที่จะรื้อฟื้นโครงการแพทริออตอีกครั้ง และตามหาผู้พิทักษ์ที่หายไป ดังนั้น พลตรีนิโคไล ดอลกอฟ (Nikolai Dolgov) จึงมอบหมายให้ พันตรีเอลินา ลารินา (Elena Larina) รับผิดชอบโครงการแพทริออตต่อ

34

ภาพที่ 3.3 อัฟกุส คูราตอฟ (Avgust Kuratov) ควบคุมหุ่นยนตร์ด้วย Module-1,“Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm1029256192.

ลาริน่าได้ข้อมูลของผู้พิทักษ์ทั้ง 4 คนและเริ่มตามหาแต่ละคน โดยเริ่มจากเลอที่หลบ ซ่อนอยู่ที่ประเทศอาร์เมเนียบริเวณภูเขาอารารัต4 เลอก าลังขอพรพระเจ้าในวิหารคริสต์ใน Khor Virap เขาท างานเป็นคนเลี้ยงแกะ คนต่อมาข่านที่หลบซ่อนอยู่ที่ทะเลสาบแห่งอารัล5ในประเทศ คาซัคสถาน อาร์ซัสหลบซ่อนอยู่ไซบีเรีย ที่เทือกเขาพูโตรานา-เพลโต6 และคนสุดท้าย เซนย่าท างาน เป็นนักแสดงละครเวทีที่มอสโก แต่เซนย่ากลับต่อสู้จู่โจมกับเลอและข่าน เซนย่าจ าเพื่อนร่วมทีมของ ตัวเองไม่ได้ เพราะตัวเธอนั้นความจ าเสื่อมตั้งแต่ปี 1978 หลังจากการต่อสู้จบลงเซนย่าได้พูดถึงปม ปัญหาในใจว่าจ าความอะไรไม่ได้ แต่จ าชื่อตัวเองได้จากแหวนที่ตัวเองสวมใส่ได้สลักชื่อของเธอไว้ เซนย่าต้องสูญเสียเพื่อนพ้อง และคนรอบข้างเพราะอายุขัยของเธอไม่เหมือนมนุษย์ทั่วไป ร่างกายเธอ ไม่แก่ลงแม้เวลาผ่านไปหลายสิบปี เซนย่ากลัวคนสงสัยในตัวเธอจึงย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ และต้องอยู่ อย่างโดดเดี่ยว แต่เธอยังสามารถใช้พลังพิเศษได้ สามารถหายตัว ผิวหนังของเธอสามารถต้านความ ร้อน สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ในทุกสภาวะ เซนย่าจึงยอมเข้าร่วมกับทีมผู้พิทักษ์เพื่อใช้พลัง พิเศษของเธอให้เป็นประโยชน์ และเธอจะไม่ได้รู้สึกโดดเดี่ยวอีก

4 ภูเขาอารารัต (Mount Ararat) เป็นภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะและเป็นภูเขาไฟที่สงบนิ่งจุดสูงสุดของภูเขาคือ 5,137 เมตร (16,854 ฟุต) จุดต่ าสุดคือ 3,896 เมตร (12,782 ฟุต)และมีขนาดกว้างประมาณ 35 กิโลเมตร (22 ไมล์) เป็นพรมแดน ประเทศระหว่าง ตุรกี อิหร่าน อาร์เมเนีย และอาร์เซอร์ไบจาน อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ประจ าชาติส าคัญของประเทศอาร์เมเนีย 5 ทะเลสาบอารัล (The Aral Sea) เป็นทะเลปิดที่อยู่ในเอเชียกลาง อยู่ระหว่างประเทศคาซัคสถานกับสาธารณรัฐคารา คัลปัคสถานซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศอุซเบกิสถาน ปัจจุบันปริมาณน้ าในทะเลลดลงมากจนทะเลถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ทะเลอารัลเหนือ ทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันออกและทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันตก 6 พูโตรานา-เพลโต (Putorana Plateau) เป็นภูเขาพื้นที่ในสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่หรือที่ราบสูงที่ตัด ผ่านเทือกเขาด้านตะวันตกเฉียงเหนือของกลางไซบีเรีย เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติส าคัญได้แก่ หินอัคนี หินบะซอลต์ แร่เหล็ก และถ่านหิน 35

ภาพที่ 3.4 เอลินา ลารินา (Elena Larina) เจรจาให้เลอ (Ler) เข้าร่วมทีมเพื่อท าภารกิจก าจัดอัฟกุส คูราตอฟ (Avgust Kuratov),“Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, http://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm861484032.

หลังจากที่ลาริน่าได้รวบรวมเหล่าผู้พิทักษ์ครบจึงมอบหมายภารกิจให้โจมตีห้องทดลอง ของคูราตอฟที่โรงงานร้างแห่งหนึ่ง แต่การลักลอบโจมตีคูราตอฟล้มเหลวและถูกจับได้โดยเหล่าทหาร โคลนนิ่งที่คูราตอฟสร้างขึ้นมา การต่อสู้ท าให้เผยให้เห็นจุดอ่อนของทีมผู้พิทักษ์ ข่านประมาทและไม่มี ชุดป้องกันท าให้ถูกยิงยาสลบได้อย่างง่ายดาย อาร์ซัสเมื่อกลายร่างเป็นหมีแล้วจะไม่สามารถควบคุม ประสิทธิภาพการต่อสู้ได้มากพอ ท าให้ถูกจับด้วยปืนตาข่าย เซนย่าเมื่อล่องหนร่างกายจะเป็นน้ าแต่ไม่ สามารถเล็ดลอดจากกล้องจับอุณหภูมิของทหารโคลนนิ่งได้จึงสกัดและถูกแช่แข็ง ส่วนเลอแม้ว่าพลัง จะสามารถควบคุมหินและใช้ต่อสู้กับคูราตอฟตัวต่อตัว แต่ความแข็งแกร่งไม่สามารถเทียบเท่ากันได้จึง ถูกคูราตอฟเล่นงานและสาหัสมากที่สุด คูราตอฟทิ้งร่างที่ไม่ได้สติของเลอไว้และจับผู้พิทักษ์ 3 คนที่ เหลือกักขังและเจรจาให้พวกเขาที่เหลือเข้าร่วมแผนการยึดครองโลกกับเขา แต่พวกเหล่าผู้พิทักษ์ ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับคูราตอฟ

ภาพที่ 3.5 ข่าน (Khan) เข้าจู่โจมกองทัพทหารโคลนนิ่งของอัฟกุส คูราตอฟ (Avgust Kuratov) ด้วยอาวุธเคียวคู่, “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, http://www.imdb. com/title/tt4600952/mediaviewer/rm3663213568.

36

หลังจากนั้นคูราตอฟเดินทางไปฐานลับของตนเองที่เมืองโนกินสค์ (Noginsk)7 เพื่อที่ จัดเตรียมกองทัพ และควบคุมยานพาหนะหุ้มเกราะจ านวนมาก รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ที่ประจ าอยู่ที่นั่น บุกไปยังกรุงมอสโกเพื่อที่จะใช้หอส่งสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุออสตานคีโน (Ostankino)8 ไปยัง สหพันธ์ทาวเวอร์ (Federation Tower)9 คูราตอฟท าเพื่อต้องการที่จะสร้าง Module-2 โดยการใช้ หอส่งสัญญาณเพื่อที่จะสามารถควบคุมสัญญาณดาวเทียม ถ้าหากคูราตอฟสามารถคุมดาวเทียม ทั้งหมดได้ส าเร็จ เขาจะสามารถควบคุมเทคโนโลยีทุกอย่างบนโลกได้ และเขาต้องการควบคุม แฮมเมอร์ สถานีอวกาศที่ถูกทิ้งร้างในชั้นบรรยากาศตั้งแต่สมัยสงครามเย็น ถือเป็นอาวุธที่สามารถ ท าลายล้างโลกได้ คูราตอฟใช้สนามพลังจากพลังพิเศษของเขามาคุ้มกันหอส่งสัญญาณท าให้เครื่องบิน รบที่ต้องการมาหยุดยั้งหลายล าถูกท าลาย ระหว่างที่คูราตอฟก าลังเคลื่อนย้ายหอส่งสัญญาณ พลตรีนิโคไลได้ปรากฏตัวขึ้นเพื่อขอเจรจากับคูราตอฟเพื่อขอรางวัลจากเขา พลตรีนิโคไลเป็นคน หักหลังทีมผู้พิทักษ์และหลอกล่อให้เหล่าผู้พิทักษ์ติดกับพร้อมกับส่งให้คูราตอฟ แต่คูราตอฟไม่ได้ ประโยชน์อะไรจากพลตรีนิโคไลอีกต่อไปจึงบีบคอเขาจนเสียชีวิต อีกด้านหนึ่งลาริน่าได้พบกับร่างของเลอที่บาดเจ็บสาหัสและถูกทิ้งเพียงคนเดียว จึงส่ง เลอกลับฐานเพื่อฟื้นฟูและรักษาร่างกายของเขา เมื่อเลอฟื้นขึ้นจึงได้เล่าถึงปมปัญหาชีวิตของเขาให้ ลาริน่าฟัง พลังพิเศษในร่างกายของเขาท าให้เขาไม่แก่ชราเหมือนกับเซนย่า เขาแต่งงานมีภรรยาและ ลูกสาว เลอเฝ้ามองพวกเขาจนเติบโตและตายจากเขาไป ในขณะที่ลาริน่าก าลังฟังปัญหาของเลอ ศาสตราจารย์ วิคเตอร์ โดบรารารอฟ ผู้ที่คิดค้นยอดมนุษย์ทดลองได้มาขอพบลาริน่าหลังจากที่เขาได้ เห็นข่าวเกี่ยวกับการปรากฏตัวของคูราตอฟจึงเดินทางมาเพื่อให้ความช่วยเหลือกับทีมผู้พิทักษ์และ รักษาร่างกายให้เลอ หลังจากรักษาเสร็จเขาจึงเดินทางไปศึกษาร่างโคลนนิ่งของคูราตอฟ ลาริน่าและ เหล่าทหารเดินทางไปช่วยเหลือทีมผู้พิทักษ์คนอื่นที่ถูกขังไว้ได้ส าเร็จ หลังจากกลับฐานลาริน่าเจออาร์ ซัสที่ก าลังร้อนใจจึงถามไถ่อาร์ซัส อาร์ซัสจึงเปิดใจคุยกับลาริน่าว่าเขาเองได้ติดตามและดูแลเซนย่ามา โดยตลอดแต่เซนย่าจ าเขาไม่ได้ และเขาพูดถึงพลังพิเศษของเขาที่กลายร่างเป็นหมี อาร์ซัสรู้สึกล าบาก มากเวลาที่เขากลายร่างแต่ละครั้งเพราะความรู้สึกความเป็นมนุษย์หายไป อาร์ซัสกลัวว่าซักวันหนึ่งถ้า หากเขากลายร่างเป็นหมีอย่างเต็มตัวแล้ว เขากลัวที่จะไม่สามารถเป็นมนุษย์อีกตลอดกาล

7 เมืองโนกินสค์ (Noginsk) เป็นเมืองและศูนย์อ านวยการบริหารของอ าเภอโนกินสค์สกี้ (Noginsky District) ในกรุง มอสโกแคว้นปกครองตนเอง ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1389 การผลิตภาคอุตสาหกรรมของเมืองเน้นไปที่เซรามิกส์ อาหาร เครื่องดื่ม (หนึ่งในผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียตั้งอยู่ใกล้โนกินสค์) และวัสดุก่อสร้าง 8 หอส่งสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุออสตานคีโน (Ostankino) เป็นอาคารที่สูงที่สุดในยุโรปและรัสเซียและเป็น สิ่งก่อสร้างที่สูงเป็นอันดับที่ 14 ของโลกมีความสูงของอาคารอยู่ที่ 540.1 เมตร 9 สหพันธ์ทาวเวอร์ (Federation Tower) เป็นตึกระฟ้าสองตึกที่ตั้งอยู่กรุงมอสโกศูนย์ธุรกิจนานาชาติ (MIBC) ตึก ระฟ้าสองแห่งนี้มีชื่อว่า Tower East หรือ Vostok และ Tower West หรือ Zapad 37

ในระหว่างที่ศาสตราจารย์วิคเตอร์ก าลังศึกษาข้อมูลร่างโคลนนิ่งในฐานวิจัยลับ คูราตอฟ ได้ปรากฏตัวและปล่อยก๊าซพิษเพื่อฆ่าศาสตราจารย์วิคเตอร์ เพราะความแค้นและความอับอายที่เขา ล้มเหลวในอดีตและสิ่งนี้ยังคงเป็นบาดแผลในใจของคูราตอฟ เขาต้องการเป็นคนที่เก่งที่สุดเพียงคน เดียวในโลก อีกด้านหนึ่งลาริน่าได้พบกับข่านที่ก าลังทอดมองท้องฟ้าอย่างโดดเดี่ยว ข่านได้พูดถึงปม ในใจว่าเขาเคยมีพี่ชายในวัยเด็กคนหนึ่ง เขาได้เรียนวิชาการต่อสู้จากพี่ชายทั้งดาบและกังฟู พี่ชายเป็น คนที่เก่งมากแต่ข่านกลับอ่อนกว่าพี่ชายในทุกเรื่อง ในช่วงที่ข่านก าลังอ่อนแอก็ได้พบกับคูราตอฟ เขาเสนอให้ข่านได้รับชีวิตใหม่และมีพลังที่ไม่มีขัดจ ากัด ข่านตอบตกลงโดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองต้องโดน ทดลองอย่างทรมาน หลังจากที่ได้รับพลังวิเศษมาข่านได้พบกับพี่ชายและขอประลองท้าสู้กับเขา ระหว่างต่อสู่ข่านไม่สามารถควบคุมสติได้ จึงพลาดพลั้งฆ่าพี่ชายตัวเองตาย ท าให้ข่านแค้นคูราตอฟ อย่างมากที่ท าให้เขาเป็นแบบนี้ หลังจากที่เหล่าผู้พิทักษ์ได้รวมตัวกันเพื่อเตรียมการรับมือกับคูราตอฟ เหล่า นักวิทยาศาสตร์จึงสร้างชุดและอาวุธใหม่ให้กับผู้พิทักษ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้ อาร์ซัสได้รับ ปืนกลที่ท างานเชื่อมต่อกับระบบประสาทของเขา เมื่อเขาก้าวร้าวในร่างของหมีปืนกลจะท างาน ข่าน ได้รับชุดที่มีประสิทธิภาพป้องกันสูงมากขึ้นพร้อมกับอาวุธเคียวคู่อันใหม่ เลอได้รับแซ่ที่เป็นพลังงาน แม่เหล็กไปฟ้าโดยใช้ควบคู่กับพลังควบคุมหินของเขา อีกทั้งแซ่ของเขายังสามารถส่งพลังงาน ไฟฟ้าแรงสูงที่สามารถท าอันตรายต่อคู่ต่อสู้ได้ เซนย่าได้รับชุดใหม่ที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการหาย ตัวได้ดีขึ้นอีกทั้งยังสามารถสัมผัสสิ่งต่าง ๆ หายหรือล่องหนได้ เมื่อการฝึกซ้อมผ่านไปจึงเริ่มแผนการ เข้าจู่โจมคูราตอฟ เหล่าผู้พิทักษ์แบ่งหน้าที่กันจู่โจมในแต่ละด้าน อาร์ซัสและเซนย่าจัดการเหล่าทหาร โคลนนิ่งที่พื้นราบ เลอจัดการทหารโคลนนิ่งที่ชั้นใต้ดิน และข่านใช้เครื่องบินพยายามบินเหนือสนาม พลังของคูราตอฟ อาร์ซัส เซนย่า และเลอเคลียพื้นที่ด้านล่างได้ส าเร็จ จากนั้นจึงมุ่งหน้าไปที่ ห้างสรรพสินค้าที่เป็นทางเชื่อมต่อที่ไปยังหอส่งสัญญาณ แม้จะมีทหารโคลนนิ่งจ านวนมากมาขัดขวาง แต่พวกเขาจัดการมันได้ทั้งหมด

ภาพที่ 3.6 เซนย่า (Xenia) ก าลังเรียนรู้และฝึกซ้อมกับอุปกรณ์ใหม่, “Guardians (2017),”IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm2683511552. 38

อีกด้านหนึ่งลาริน่าได้ตามหาศาสตราจารย์วิคเตอร์และได้พบว่าเขายังไม่เสียชีวิต วิคเตอร์ได้บอกถึงพลังพิเศษที่เหล่าผู้พิทักษ์ยังไม่ทราบ นั่นคือผู้พิทักษ์สามารถเคลื่อนย้ายหรือ ถ่ายทอดพลังของตัวเองสู่ผู้พิทักษ์อีกคนได้ สาเหตุที่คูราตอฟท าร้ายเลอจนสาหัส เพราะคูราตอฟรู้ว่า เลอมีความสามารถพลังพิเศษมากกว่าคนอื่น เขาสามารถรวบรวมพลังพิเศษคนอื่นได้และยังสามารถ แบ่งแยกโลกได้ด้วยสนามแม่เหล็ก ถ้าหากเขาใช้พลังได้อยากไร้ขีดจ ากัด แต่การเคลื่อนย้ายพลังมี ขีดจ ากัดหากท าผิดพลาดพวกเขาสามารถเสียชีวิตได้ทั้งหมด เมื่อลาริน่าได้รับข้อมูลส าคัญจากวิคเตอร์ จึงรีบตามไปช่วยผู้พิทักษ์ที่เหลืออย่างเร่งด่วน ทางด้านเหล่าผู้พิทักษ์ทั้ง 4 ได้พบแกนพลังงานส าหรับ การส่งสัญญาณของคูราตอฟในหอส่งสัญญาณ เซนย่าสละตัวเองท าลายแกนพลังงานแม้ว่าจะไม่ได้ ท าลายอย่างเสร็จสมบูรณ์ แต่มันท าให้เกิดการลัดวงจร และสนามพลังที่ป้องกันหอส่งสัญญาณถูก ท าลายลง หลังจากจัดการแกนพลังงานผู้พิทักษ์ทั้ง 4 จึงได้ต่อสู้กับคูราตอฟที่หอคอยส่งสัญญาณ แต่ผู้พิทักษ์ไม่สามารถสู้กับคูราตอฟได้ ข่านเห็นท่าไม่ดีว่าเพื่อนร่วมทีมของเขาอ่อนก าลังลงจึงตัดสินใจ ใช้ความเร็วของเขาผูกเชือกกับเพื่อนร่วมทีมและผูกติดกับเครื่องบินเพื่อหลบหนีคูราตอฟ คูราตอฟที่ เห็นเหล่าผู้พิทักษ์ก าลังหลบหนีจึงควบคุมและรบกวนสัญญาณเครื่องบินท าให้เครื่องบินตก แต่ข่านตัด เชือกได้ทันก่อนที่ร่างทั้ง 4 ตกลงไปในแม่น้ า เมื่อผู้พิทักษ์ทั้ง 4 ขึ้นจากน้ าและตั้งหลักเพื่อที่จะหาวิธีจัดการกับคูราตอฟอีกครั้ง ลาริน่า ได้เดินทางมาถึงแล้วห้ามพวกเขา พร้อมบอกถึงพลังพิเศษของพวกเขาว่าสามารถรวมพลังให้ท าให้มัน กลายเป็นระเบิดพลังงานได้แต่อาจจะแลกมาด้วยชีวิต เหล่าผู้พิทักษ์ทั้ง 4 เมื่อได้ฟังก็ยอมตัดสินใจ ถ่ายทอดพลังที่พวกเขามีส่งผ่านเลอจนกลายเป็นพลังงานที่มีพลังมหาศาลระเบิดท าลายหอคอยจน พังทลายทั้งหมดและฆ่าคูราตอฟได้ส าเร็จ ภายหลังจบภารกิจอันหนักหน่วงเหล่าผู้พิทักษ์ทั้ง 4 ได้แยก ย้ายกันไปพักฟื้นและได้นัดพบกับลาริน่าที่สะพานแห่งหนึ่ง แม้ว่าพวกเขาจะตัดสินใจว่าจะกลับไปใช้ ชีวิตตามปกติของพวกเขา แต่พวกเขาก็จะเข้าร่วมภารกิจกับแพทริออตเพื่อรักษาชาติ ก่อนที่ผู้พิทักษ์ ทั้ง 4 จะแยกย้ายลาริน่าได้พูดทิ้งท้ายว่า “เราเจอผู้พิทักษ์คนอื่นอีก” 39

ภาพที่ 3.7 เหล่าผู้พิทักษ์รวมพลัง, “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, http:// www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm3612881920.

3.2 ตัวละคร

เนื่องจากภาพยนตร์ Guardians มีตัวละครปรากฎอยู่เป็นจ านวนมากผู้วิจัยจึงยกตัว หลักละครที่มีความส าคัญในการด าเนินดังต่อไปนี้ (1) เลอ (Ler) (2) อาร์ซัส (Ursus) (3) ข่าน (Khan) (4) เซนย่า (Xenia) และ (5) อัฟกุส คูราตอฟ (Avgust Kuratov)

3.2.1 เลอนิค หรือ เลอ (Lenik or Ler)

ภาพที่ 3.8 Lenik, “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm276564736.

40

เลอนิค หรือ เลอ รับบทโดย เซบาสเตียน ซีซัค (Sebastien Sisak) ฉายา Landman เขาเป็นคนที่มีความสามารถในการควบคุมพื้นดินและหิน สามารถควบคุมหินให้เป็นเกราะหุ้มตัวของ เขาได้ พร้อมกับอาวุธแซ่ไฟฟ้าที่มีหินเชื่อมต่อกัน แซ่ไฟฟ้าเป็นอาวุธพลังงานสูงสามารถส่ง กระแสไฟฟ้าใส่ศัตรูได้โดยตรงอีกทั้งยังโจมตีระยะไกลและเป็นโล่ป้องกันได้ ภายหลังจากการถูก ทดลองในช่วงสงครามเย็น เลอออกไปใช้ชีวิตปกติแต่งงานมีครอบครัว แต่เขาได้ค้นพบว่าพลังพิเศษที่ ได้จากการทดลองของตัวเขาท าให้อายุของเขายืนมากกว่ามนุษย์ทั่วไป เลอได้เห็นสมาชิกครอบครัว ของเขาแก่ลงและเสียชีวิตจากวัยชราทั้งภรรยา ลูกสาว และลูกหลาน เลอจึงตัดสินใจปลีกตัวมาใช้ชีวิต อย่างโดดเดี่ยวที่ประเทศอาร์เมเนียและบ าเพ็ญศาสนาในวิหาร Khor Virap ในภูเขาอารารัตจนได้มา พบกับพันตรีเอลินา ลารินา และชวนเขาเข้าร่วมโครงการแพทริออตอีกครั้ง ในตอนแรกเลอปฎิเสธที่ จะเข้าร่วมเพราะเขาผิดหวังจากชีวิตที่ถูกจับทดลองและถูกทิ้ง แต่ในท้ายที่สุดเลอก็ตัดสินใจเข้าร่วม กลุ่มผู้พิทักษ์เพื่อจ าก าจัดศัตรูอย่าง อัฟกุส คูราตอฟ 3.2.2 อาร์ซัส (Ursus)

ภาพที่ 3.9 Ursus, “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm1702628096.

41

อาร์ซัส (Ursus) รับบทโดย อันโตน พัมพุชนึย (Anton Pampushnyy) ฉายา Wildman เขาเป็นคนที่มีความสามารถในการแปลงร่างกายของตัวเองให้กลายเป็นหมีสีน้ าตาล ในร่างแรกเขา ยังคงสภาพความเป็นมนุษย์อยู่คือ ยังมีมือและช่วงล่างที่ยังดูเหมือนเป็นมนุษย์ แต่เมื่อถึงเวลาคับขัน หรือสถานการณ์บีบบังคับเขาสามารถกลายร่างเป็นหมีส าน้ าตาลได้อย่างเต็มตัว โดยที่ไม่หลงเหลือ ความเป็นมนุษย์อยู่เลย ร่างกายที่เป็นหมีของเขามีพละก าลังในการต่อสู้เป็นอย่างมากท าให้คนปกติ สามารถต่อกรได้ด้วยยาก นอกจากนี้อาร์ซัสมีอาวุธพิเศษเสริมที่ได้จากทีมพัฒนาแพทริออตนั่นคือ ปืนกลพิเศษที่ติดไว้กับหลังของเขา การท างานของปืนกลจะสอดคล้องกับกาต่อสู้ของเขา ปืนจะท างาน และจู่โจมเป้าหมายตามที่เขาต้องการโดยที่ไม่ต้องบังคับปืน ภายหลังจากการถูกจับทดลองในช่วง สงครามเย็นอาร์ซัสได้ใช้ชีวิตในบริเวณเทือกเขาพูโตรานา-เพลโตทางตอนเหนือของไซบีเรีย และ บางครั้งเขาก็ตามติดชีวิตของเซนย่า เพื่อที่ดูแลและคอยเฝ้าระวังชีวิตของเธอให้ปลอดภัย แม้ว่าพลัง พิเศษของอาร์ซัสจะวิเศษแค่ไหน แต่ตัวอาร์ซัสเองคิดว่าพลังพิเศษของเขาท าให้ชีวิตของเขาตกอยู่ใน อันตราย เพราะเขาคิดว่าถ้าหากวันหนึ่งที่เขาต้องกลายร่างเป็นหมี เขาอาจจะควบคุมพลังไม่ได้ตามที่ เขาต้องการและท าให้เขากลายเป็นหมีอีกทั้งสูญเสียความเป็นมนุษย์ไปตลอดกาล 3.2.3 ข่าน (Khan)

ภาพที่ 3.10 Khan, “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm192678656.

42

ข่าน (Khan) รับบทโดย ซานจาร์ เมดดี เยฟ (Sanzhar Madiyev) ฉายา Windman เขาเชี่ยวชาญในการใช้อาวุธใบมีดทุกประเภท รวมถึงศิลปะการต่อสู้หลายประเภท อาวุธประจ าตัว ของเขาคือ เคียวคู่ที่เหมือนพระจันทร์เสี้ยวซึ่งเป็นอาวุธมีแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก สามารถตัดโลหะ อย่างรถยนต์ได้โดยที่อาวุธไม่ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้เขายังได้รับพลังพิเศษจากการถูกทดลอง ท าให้ร่างกายของเขามีความเร็วสูง ข่านจึงใช้ความเร็วที่ได้รับมาประยุกต์กับการต่อสู้ได้หลากหลาย รูปแบบ แต่การจะใช้ความเร็วได้แต่ละครั้งเขาจะต้องรวบรวมสมาธิจนดวงตาของกลายกลายเป็นสี ขาว ในสภาวะที่ข่านใช้ความเร็วประสาทสัมผัสของเขาจะรับรู้ได้มากกว่ามนุษย์ทั่วไปภาพที่เขาเห็น คือทุกอย่างรอบข้างช้าลง และทุกครั้งที่เขาเคลื่อนที่จะปรากฏให้เป็นควันสีด าที่พุ่งออกมาจากตัวเขา พลังพิเศษของข่านได้มากจากการตัดสินใจเข้าร่วมการทดลองของแพทริออตในช่วงสงครามเย็นด้วย ตัวเอง เพราะเขาต้องการที่จะแข็งแกร่งเหนือพี่ชายของเขา ภายหลังจากการทดลองข่านได้พบกับ พี่ชายและขอท้าดวลต่อสู้กับเขา แต่ข่านไม่สามารถควบคุมพลังที่เขามีและสติของเขาท าให้เขาพลั้งมือ ฆ่าพี่ชายของตัวเอง ความผิดพลาดที่เขาท าลงข่านจึงเก็บตัวเงียบ ๆ ที่ประเทศคาซัคสถานจนได้พบ พันตรีเอลินา ลารินา และชวนเขาเข้าทีมเพื่อที่จะแก้แค้น อัฟกุส คูราตอฟ 3.2.4 เซนย่า (Xenia)

ภาพที่ 3.11 Xenia, “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm293341952.

43

เซนย่า (Xenia) รับบทโดย อาลิน่า ลานีน่า (Alina Lanina) ฉายา Waterwoman เธอ เป็นนักกายกรรมและศิลปิน ความสามารถจากพลังพิเศษของเธอคือ การเปลี่ยนร่างกายให้เป็นเหมือน ของเหลวใสจนแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แม้กระทั่งเส้นผมของเธอเอง เธอไม่สามารถรู้สึกถึงความ แตกต่างของอุณหภูมินั่นท าให้ร่างกายเธอทนความร้อนและความเย็นได้ และตัวของเธอเองยังสามารถ ควบคุมอุณหภูมิได้ ชุดของเซนย่าที่ได้จากทีมพัฒนาแพทริออตสามารถท าให้เธอล่องหนได้ตามที่เธอ ต้องการอีกทั้งยังสามารถท าให้สิ่งของหรือคนล่องหนได้เพียงแค่เธอจับต้องสิ่งนั้น ภายหลังจากที่เธอ ถูกทดลองในช่วงสงครามเย็นพลังวิเศษของเธอส่งผลกระทบต่อชีวิตของเธอเป็นอย่างมาก เนื่องด้วย อายุที่ยืนยาวกว่ามนุษย์ทั่วไป ท าให้เธอต้องใช้ชีวิตอย่างหลบซ่อนกลัวผู้คนสงสัยในตัวเธอ ท าให้เธอ ต้องอยู่เพียงล าพัง อีกทั้งในปี ค.ศ. 1978 เธอได้ความจ าเสื่อมอย่างไม่ทราบสาเหตุ ท าให้เธอไม่ สามารถจ าเลอ ข่าน และอาร์ซัสได้ ในปัจจุบันเธอท างานเกี่ยวกับการแสดงกายกรรมในโรงละครแห่ง หนึ่งที่เมืองมอสโก จนกระทั่งพันตรีเอลินา ลารินา ได้พบเธอและชวนเข้าร่วมกลุ่มผู้พิทักษ์ เซนย่า ตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มผู้พิทักษ์เพื่อที่จะตามหาความทรงจ าของเธอที่หายไป และเธอจะไม่รู้สึกโดดเดี่ยว อีกต่อไป 3.2.5 อัฟกุส คูราตอฟ (Avgust Kuratov)

ภาพที่ 3.12 Avgust Kruatov, “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm511445760.

44

อัฟกุส คูราตอฟ (Avgust Kuratov) รับบทโดย สตานิสลาฟ ชีรีน (Stanislav Shirin) เป็นตัวร้ายหลักของเรื่อง เดิมทีคูราตอฟเป็นนักวิทยาศาสตร์หัวหน้าทีมพัฒนาเทคโนโลยีแพทริออต เขามีเป้าหมายที่จะสร้างเครื่องจักรชื่อ Module-1 ซึ่งจะช่วยให้เขาสามารถควบคุมเทคโนโลยีได้ทุก อย่างที่ใช้ไฟฟ้ารวมถึงยานพาหนะทุกชนิด นอกแผนการสร้าง Module-1 แล้ว คูราตอฟยังมีโครงการ ลับที่จับมนุษย์มาทดลองเพื่อให้ได้มนุษย์กลายพันธุ์ที่เขาต้องการ แต่โครงการนี้ถูกสั่งให้ยกเลิกและถูก หมายจับจากทางการของสหภาพโซเวียต เนื่องจากโครงการของเขาละเมิดสิทธิมนุษยชน ต้องใช้คน บริสุทธิ์จ านวนมากท าการทดลอง คูราตอฟหลบหนีและพยายามที่จะท าการทดลองต่อจนกระทั่งจน มุมหนีเขาจึงระเบิดห้องทดลองเขาทิ้ง ส่งผลให้ร่างกายของเขาถูกอาบไปด้วยสารเคมีในห้องทดลอง แม้ว่าสภาพร่างกายเขาจะไม่สมบูรณ์เหมือนมนุษย์ทั่วไป แต่เขามีพละก าลังมหาศาลมาก คูราตอฟ หลบซ่อนเป็นเวลา 40 ปี เขาพยายามสร้าง Module-1 จนส าเร็จและสร้างกองทัพทหารโคลนนิ่งขึ้น เพื่อที่จะสร้างโครงการ Module-2 เป้าหมายของคูราตอฟ คือการที่เขาสามารถควบคุมเทคโนโลยีทุก อย่างบนโลกนี้ได้ โดยใช้หอส่งสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุออสตานคีโนเพื่อควบคุมดาวเทียม และ ต้องการใช้แฮมเมอร์ที่เป็นสถานีอวกาศร้างสมัยโซเวียตเป็นอาวุธท าลายโลก

3.3 ความคล้ายคลึงของภาพยนตร์ Guardians เหมือนสูตรส าเร็จของภาพยนตร์อเมริกา

ภาพยนตร์ Guardians ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบเป็นอย่างมาก เกือบทุกสื่อใน รัสเซียส่วนใหญ่วิจารณ์เกี่ยวกับการแสดงของตัวละคร คอมพิวเตอร์กราฟิกที่แย่ และเนื้อเรื่องไม่ สมเหตุสมผลเป็นอย่างมาก อย่างเช่น ฉากที่อาร์ซัสกลายร่างเป็นหมีเต็มตัวกางเกงของเขาถูกฉีกขาด แต่ฉากต่อมาที่เขาคืนร่างเดิมเป็นมนุษย์กางเกงของเขากลับมาเหมือนเดิม แม้ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ซูเปอร์ฮีโร่ยอดมนุษย์ที่มีครั้งแรกในรัสเซียน่าสนใจที่สุดในปีค.ศ. 2017 และก็กลายเป็นภาพยนตร์ที่ เลวร้ายที่สุดของปีเช่นกัน แม้ว่าภายหลังภาพยนตร์จบมีฉากหลังเครดิตที่จะสื่อถึงการถ่ายท าภาคต่อ ในอนาคต แต่มีความน่าสนใจเพียงแค่ยอดมนุษย์หมีสีน้ าตาลเท่านั้นที่ยังคงเป็นเอกลักษณ์ของความ เป็นรัสเซีย10 การด าเนินเนื้อเรื่องภาพยนตร์สื่อถึงอารมณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง จากตัวอย่างช่วงที่เหล่าผู้พิทักษ์ ได้บอกเล่าปัญหาของแต่ละคน ตัวละครได้ใช้เวลานานเป็นอย่างมาก แต่กลับไม่ได้ท าให้มีอารมณ์ร่วม ไปกับตัวละครนั้น ๆ แม้ว่าจะทราบถึงความเป็นมาของตัวละครในอดีต แต่ในปัจจุบันกลับไม่มีการ บอกว่าตัวละครนี้คือใครท าอะไร อีกทั้งเพลงประกอบฉากหลังไม่มีความเหมาะสม11 ตัวละครไม่มี ความน่าจดจ า ตัวละครอัฟกุส คูราตอฟ (Avgust Kuratov) มีการจัดการแต่งกายที่แย่ที่สุดร่างกาย ของเขาถูกปกคลุมไปด้วยยางที่ตกแต่งให้เหมือนเป็นกล้ามเนื้อ รวมถึงใบหน้าท าให้ตัวละครไม่สามารถ แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้าได้ 45

ภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นตอนสงครามเย็นและเกิดเหตุการณ์ขึ้นในศตวรรษที่ 21 ตัว ละครไม่ได้แก่ชราลง เนื่องด้วยพลังพิเศษ ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับ การเมือง แต่ยอดมนุษย์เหล่านี้ไม่ปรากฏตัวขึ้นเลย แสดงให้เห็นว่าบุคคลเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะปฏิเสธ ความเป็นการเมือง (Depoliticization) ในขณะที่ยอดมนุษย์ของอเมริกาท าหน้าที่หรือมีการขัดแย้ง กับรัฐบาล12ท าให้บทบาททางการเมืองยอดมนุษย์ของรัสเซียไม่ปรากฏในภาพยนตร์ สูตรส าเร็จที่ภาพยนตร์ Guardians ได้ท าการลอกเลียนแบบภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ของ อเมริกาที่ประสบความส าเร็จ ประการแรกคือ การสร้างตัวละครยอดมนุษย์ของอเมริกาจะต้องก าหนด วิถีชีวิต เชื้อชาติ เพศสภาพ และอุดมคติของตัวละครนั้นตั้งแต่แรก แต่ในทางกลับกันตัวละครของ ภาพยนตร์ Guardians กลับไม่มีที่มาที่ไปของตัวละครที่เด่นชัด อีกทั้งตัวละครยังลอกเลียนบุคลิกมา จากภาพยนตร์อเมริกา เช่น ตัวละครเลอ ข่าน และเซนย่า ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ ตัวละครเลอที่มีความสามารถพิเศษสามารถควบคุมหินได้แต่ในช่วงหลังของภาพยนตร์ กลับเปลี่ยนวิธีการต่อสู้และใช้แซ่ไฟฟ้าที่มีหิน และเครื่องแบบของเขามีสัญลักษณ์วงกลมที่เหมือน ใบพัดซึ่งท าให้ตัวละครนี้ไปมีความคล้ายคลึงกับจอมวายร้าย วิปแลช (Whiplash) หรือ อีวาน แวนโก้ (Ivan Vanko) จากภาพยนตร์ไอรอนแมน 2 (Ironman 2) ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่จากค่ายมาร์เวล สตูดิโอ ที่ฉายในปี ค.ศ. 2010 ที่มีอาวุธเป็นแซ่พลังงานและพลังงานที่หน้าอกของเขาในลักษณะ วงกลมเฉกเช่นเดียวกับเลอ

10 Антон Долин, “Защитники,” медведь снимает штаны, Meduza, доступ 11 мая 2020 года, https://meduza.io/feature/2017/02/23/filmy-na-nedelyu-patrioticheskie-i-uzhasayuschie-zaschitniki-a- takzhe-dzheki-toni-erdmann-i-slishkom-svobodnyy-chelovek. 11 Егор Москвитин, “Защитники,” Сарика Андреасяна: наш ответ Говарду-утке, Афиша Daily, доступ 11 мая 2020 года, https://daily.afisha.ru/cinema/4639-zaschitniki-nash-otvet- govardu-utke/. 12 SIDDHANT ADLAKHA, GUARDIANS Review: Russia’s Underwhelming Avengers, Birth.Movies.Death. , accessed March 20, 2020, https://birthmoviesdeath.com/2017/03/02/guardians-review-russias-underwhelming- avengers. 46

ภาพที่ 3.13 “Whiplash,” Marvel Cinematic Universe Wiki, accessed March 2, 2020, https://marvelcinematicuniverse.fandom.com/wiki/Whiplash.

ภาพที่ 3.14 เลอ (Ler), “SEBASTIEN SISAK,” AlloCine, accessed March 2, 2020, http:// www.allocine.fr/personne/fichepersonne-746243/photos/detail/?cmediafile=21397186.

ตัวละครต่อมาคือ ข่านที่มีพลังพิเศษที่สามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง พร้อมกับศิลปะ การต่อสู้ด้วยอาวุธเคียวคู่ผสมผสานกับซามูไร แม้ว่าตัวละครจะมีคุณสมบัติที่น่าสนใจแต่รูปลักษณ์ของ ตัวละครข่านและการต่อสู้รูปแบบนักกลอบสังหาร (Assassin) กลับเหมือนตัวละครอย่างบัคกี้ บาร์นส์ (Bucky Barnes) หรือฉายาวินเทอร์โซลเดอร์ ตัวละครซูเปอร์ฮีโร่จากค่ายมาร์เวล สตูดิโอที่ปรากฏใน ภาพยนตร์กัปตันอเมริกาและอเวนเจอร์ ความคล้ายคลึงกันของตัวละครทั้งสองนั้น อย่างแรกตัวละคร ทั้งสองมีเครื่องแต่งกายที่คล้ายกันอาทิ สีของชุด ที่ปิดปาก และชุดเกราะที่แนบตัว อย่างที่สอง ลักษณะกายภาพที่มีผมยาวเหมือนกัน และสุดท้ายคือ เป็นนักลอบสังหารเหมือนกัน

47

ภาพที่ 3.14 Bucky Barnes, “Captain America: The Winter Soldier (2014),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt1843866/mediaviewer/rm179882752.

ภาพที่ 3.16 ภาพเปรียบเทียบข่าน (Khan), “Movie review: 'Guardians' (2017),” flayrah, accessed March 2, 2020, http://www.flayrah.com/7153/movie-review-guardians-2017.

ตัวละครสุดท้ายคือ เซนย่าที่มีพลังพิเศษเปลี่ยนร่างกายให้เป็นน้ าและล่องหนได้ พลังพิเศษของเซนย่า และลักษณะกายภาพของเธอนั้นเหมือนตัวละครซูเปอร์ฮีโร่อย่าง ซู สตอร์ม (Sue Storm) หรือ สาวน้อยพลังล่องหน (Invisible Woman) จากภาพยนตร์ Fantastic 4 ตัวละคร จากมาร์เวลคอมมิค สังกัด 20th Century Fox ฉายครั้งแรกในปี ค.ศ. 2005 ตัวละครทั้งสองมีความ คล้ายกันในด้านพลังเศษที่สามารถล่องหนได้ตามใจนึก อีกทั้งลักษณะภายนอกของทั้งสองตัวละครมี ลักษณะเหมือนกันคือผมบลอนด์ทองและใส่ชุดรัดรูป

48

ภาพที่ 3.17 Invisible Woman, “Fantastic 4: Rise of the Silver Surfer (2007),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt0486576/mediaviewer/rm2199671808.

ประการที่สองรูปแบบของเรื่องภาพยนตร์ Guardians มีความคล้ายคลึงกับภาพยนตร์ เรื่อง Fantastic 4 ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการเล่าเรื่องของตัวละครแต่ละคนที่ถูกกลายพันธุ์จาก วิทยาศาสตร์และรวมตัวกันไปจัดการจอมวายร้าย พร้อมกับเสนอปมปัญหาความรักกับเพื่อนร่วมทีม เหมือนกัน ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องใช้เวลาในการด าเนินประมาณภาพยนตร์แค่ 1 ชั่วโมง 45 นาที เช่นเดียวกันซึ่งถือว่าใช้เวลาไม่มากนัก ท าให้การเล่าที่มาที่ไปของตัวละครค่อนข้างจ ากัดและส่งผลต่อ เนื้อเรื่องภาพยนตร์ท าให้ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องมีปัญหาที่เหมือนกันนั่นคือเนื้อเรื่องและท าให้ถูก วิพากษ์วิจารณ์พอสมควร ประการสุดท้ายก่อนที่จะมีการเปิดตัวภาพยนตร์ ได้มีการปล่อยหนังสือการ์ตูนภาพ หรือ คอมมิค โดยถูกเผยแพร่อย่างอิสระที่ Comic Con Russia ในปี ค.ศ. 2016 โดยมีหนังสือ Guardians เล่ม 1 ในชื่อตอน Guardians: The Broken Curtain เกี่ยวกับเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ต้องการหยุดยั้งและ ก าจัดวายร้าย ชื่อ “วา” จากการลอบสังหารผู้น าโซเวียตเลโอนิด เบรชเนฟ มีการตีพิมพ์และจ าหน่าย หนังสือการ์ตูนหลายพันเล่ม เพื่อส่งเสริมให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้น ได้ตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนอีกเล่มชื่อว่า Guardians: A Comic of the New Superhero Universe ซึ่ง ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ของอเมริกาเองนั้น ก่อนที่จะสร้างภาพยนตร์เรื่องต่างๆ ได้มีการน าเนื้อเรื่องและ ตัวละครจากคอมมิคที่มีอยู่แล้วเช่นเดียวกัน โดยจะเลือกตัวละครที่ได้รับความยอดนิยมสูงสุดแล้วสร้าง เป็นภาพยนตร์ เพื่อท าให้ผู้ชมรู้สึกคุ้นเคยในตัวละครนั้นและเข้าถึงได้ง่ายมากกว่า 49

บทที่ 4 วิเคราะห์ภาพยนตร์ Guardians (2017)

ในบทที่ 4 นี้ผู้วิจัยจะท าการวิเคราะห์สิ่งที่ภาพยนตร์ปรากฏและต้องการจะสื่อให้ผู้ชม เข้าใจ โดยการน าแนวคิดและทฤษฎีเข้ามามีส่วนประกอบในการวิเคราะห์ภาพยนตร์ เพื่อสร้างความรู้ และความเข้าใจของภาพยนตร์ การวิเคราะห์ภาพยนตร์ Guardians ของประเทศรัสเซีย ต้องใช้ แนวคิดและทฤษฎี 3 อย่างได้แก่ แนวคิดการเล่าเรื่องภาพยนตร์ (Narrative Film) แนวคิดสร้างภาพ ตัวแทน (Representation) และทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology Theory)

4.1 วิเคราะห์ภาพยนตร์ Guardians ด้วยแนวคิดการเล่าเรื่องภาพยนตร์ (Narrative Film)

การเริ่มต้นเล่าเรื่องภาพยนตร์ ถือเป็นช่วงแนะน าตัวละครที่มีส่วนส าคัญในการด าเนิน เหตุการณ์ในภาพยนตร์ และเหตุการณ์การณ์ที่ท าให้เกิดเรื่องราว ในช่วงก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาของ ภาพยนตร์ Guardians เป็นช่วงของเพลงเปิดภาพยนตร์ (Opening Music) มีฉากแสดงให้เห็นถึง เหล่ายอดมนุษย์ทั้งสี่ที่ก าลังถูกทดลองและพลังของพวกเขา แต่ผู้ชมยังไม่ทราบชื่อของตัวละคร เป็น ฉากที่ที่ใช้เวลาสั้น ๆ ตัวละครไม่มีการพูดคุยใด ๆ ท าให้ไม่ทราบถึงจุดประสงค์ของการทดลองอย่าง แน่ชัดว่าต้องการสร้างคนที่มีพลังพิเศษขึ้นมาเพื่ออะไร แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดที่แสดงได้ถึงช่วงเวลาของฉาก นี้คือรูปปั้น วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) และหนังสือพิมพ์สมัยโซเวียต ท าให้ทราบว่าตัวละคร เหล่านี้ได้รับพลังในช่วงของสหภาพโซเวียต ในช่วงสงครามเย็น ภายหลังจบเพลงเปิดของภาพยนตร์ ภาพยนตร์ได้เล่าถึงการทดลองของกองทัพทหาร รัสเซียและได้พบกับการปรากฏตัวของคูราคอฟตัวร้ายหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้แสดงอาวุธพิเศษ ของเขาที่สามารถควบคุมเทคโนโลยีอย่างหุ่นยนตร์โจมตีได้และสังหารเจ้าหน้าที่ทหาร น าไปสู่อีกฉาก ที่พูดถึงการประชุมเล่าเรื่องราวของคูราตอฟ และตามหาเหล่าผู้พิทักษ์ที่คูราตอฟเคยทดลอง จากนั้น ภาพยนตร์ได้เปลี่ยนฉากอย่างรวดเร็วไปยังคูราตอฟที่ก าลังควบคุมรถของทหาร ซึ่งภาพยนตร์ก็ยัง ไม่ได้แสดงจุดประสงค์ในการโจมตีของคูราตอฟให้เห็น เป็นฉากที่ใช้เวลาถึง 30 วินาทีโดยที่ตัวละคร ไม่มีการพูดคุยอะไรนอกจากขับเคลื่อนพาหนะออกไป ฉากต่อมา พลตรีนิโคไล ดอลกอฟ และพันตรี เอลินา ลารินา ได้เดินทางไปยังสถานที่ต้นก าเนิดโครงการแพทริออตโดยใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อเดินทาง ถึงที่หมาย ภาพยนตร์ได้ถ่ายทอดให้เห็นความยิ่งใหญ่ของแพทริออตและตราสัญลักษณ์ขนาดใหญ่ ดอลกอฟได้มอบหมายงานให้ลารินารับผิดชอบในภารกิจตามหาตัวผู้พิทักษ์ ลาริน่าถามถึงชื่อของ 50

ภารกิจนี้ ภาพยนตร์จึงได้ฉายชื่อภาพยนตร์ Guardians (Защитники) เพื่อเป็นค าตอบถึงชื่อของ ภารกิจนี้ และยังแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ก าลังจะเริ่มต้นขึ้น ตั้งแต่ช่วงเริ่มเปิดเรื่องของภาพยนตร์จนถึงช่วงที่ภาพยนตร์ได้แสดงชื่อภาพยนตร์นั้น ใช้ เวลาไปประมาณ 12 นาทีการเล่าเรื่องของภาพยนตร์แม้ว่าจะไล่ล าดับช่วงเวลาการเกิดก่อน-หลัง ตามล าดับ แต่ฉากกลับเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว โดยที่ยังไม่ทราบชื่อตัวละครอย่างชัดเจน นอกจาก คูราตอฟ ภาพยนตร์ด าเนินการไปด้วยการที่ให้ตัวละครคนหนึ่งพูดเล่าเรื่องราวเป็นส่วนใหญ่มากกว่า บทสนทนาที่ตอบโต้กันในช่วงตอนต้นนี้จึงเปรียบเสมือนการเล่านิทานมากกว่า อีกทั้งจุดประสงค์และ เป้าหมายของตัวละครที่ภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องนั้นไม่แสดงให้เห็นชัดเจน ผู้ชมจึงไม่ทราบว่าทหารเหล่านี้ สังกัดอะไร หรือภารกิจนี้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซียหรือไม่แทนที่จะเป็นบทสนทนาตามปกติ ภายหลังจากการเปิดชื่อภาพยนตร์ลาริน่าได้เตรียมงานกับเหล่าลูกน้องให้เตรียมข้อมูล เกี่ยวกับผู้พิทักษ์ ในจุดนี้ภาพยนตร์ได้แสดงให้เห็นถึงข้อมูลผู้พิทักษ์ที่อยู่ในที่ต่าง ๆ ข้อมูลแรกที่ได้พบ ค้นคลิปวิดีโอที่พบมนุษย์ที่มีความเร็วอาศัยอยู่ที่คาซัคสถาน คนต่อมาให้ข้อมูลว่าได้พบเด็กหญิงคน หนึ่งที่ได้ค้นพบว่าสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงจิตใจของเธอได้ ข้อมูลต่อมาได้พบว่าที่ไซบีเรียได้มีกลุ่ม นายพรานล่าสัตว์ประหลาดบางอย่าง ข้อมูลต่อมาพูดถึงเด็กคนหนึ่งบอกเล่าถึงห้องใต้ดินของเขามี ต้นไม้พูดได้ ข้อมูลต่อมาที่พบมีคนหนึ่งที่สามารถท านายเหตุการณ์น้ าท่วมได้ และข้อมูลสุดท้ายที่พบ คือ ที่อาร์เมเนียนักท่องเที่ยวได้ค้นพบคนที่สามารถควบคุมหินได้จ านวนมหาศาลเหมือนน้ าตก ฉากนี้ ผู้ชมจะสังเกตได้ว่ามีข้อมูลผู้พิทักษปรากฏแค่สามคนเท่านั้น ไม่มีข้อมูลที่พูดถึงเซนย่าที่มีพลังพิเศษใน การหายตัวได้และผู้คนที่เหลือไม่ได้ปรากฏในภาพยนตร์ ในฉากนี้สามารถตีความได้หลายมุมมอง ใน มุมมองแรกอาจจะแค่เพียงฉากอธิบายถึงข้อมูลที่ผู้พิทักษ์ซ่อนตัวทั่วไปที่ไม่ได้ใส่รายละเอียดมากพอ อีกมุมมองหนึ่งคนที่มีพลังพิเศษคนอื่นที่ไม่ได้ปรากฏอาจจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่ที่อาจจะแสดงตัวให้เห็นใน ภาพยนตร์ในอนาคต เพราะภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ส่วนใหญ่มักจะแฝงอีสเตอร์เอก (Eater Egg)1 เพื่อ บอกใบ้ความเชื่อมโยงเนื้อเรื่องไปยังภาคต่อไป อย่างไรก็ตาม ในจุดนี้ผู้ชมอาจจะยังไม่รู้สึกว่า จะมีตัว ละคร 4 คนและฉากนี้ไม่ได้ทิ้งปมอะไรให้คิดได้ว่า จะมีตัวละครที่สี่นอกเหนือจากสามคนที่ปรากฏจาก ภาพยนตร์ ซึ่งหากย้อนกลับมาดูในภายหลัง ก็จะยังไม่สามารถหาเหตุผลได้อยู่ดีว่าท าไมจึงมีแค่สามคน

1 อีสเตอร์เอก (Eater Egg) ในภาพยนตร์คือสิ่งที่ผู้ก ากับสร้างบางอย่างให้เป็นการเชื่อมโยงเรื่องราว บอกใบ้เหตุการณ์ บางอย่าง แทนบุคคลหรือสัญลักษณ์ส าคัญ หรือเป็นการเชื่อมโยงภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในเฟรนไชส์เดียวกัน 51

ฉากต่อมาคือ ลาริน่าตามหาเลอที่ประเทศอาร์เมเนีย การพบกันระหว่างลาริน่าและเลอ ดูไม่ค่อยสบอารมณ์กันเท่าไหร่ จะสังเกตเห็นว่าเลอไม่พอใจที่ถูกน าตัวไปทดลองและได้ใช้พลังพิเศษ ควบคุมหินของเขาท าให้ลาริน่ารู้สึกไม่ปลอดภัย ลาริน่าได้ยื่นข้อเสนอให้เลอได้แก้แค้นกับคูราตอฟที่ เป็นคนน าเขาไปทดลอง เลอที่ท าท่าทีไม่พอใจในตอนแรกกลับชะงักแล้วยอมรับเข้าร่วมกับโครงการ แพทริออต การสนทนาระหว่าง ลาริน่าและเลอใช้เวลาเพียงแค่ 1 นาทีซึ่งเป็นบทสนทนาที่ไม่นานและ กระชับมาก ทั้งที่ท่าทีในตอนแรกเลอไม่ต้องการให้ความร่วมมือแต่อย่างใด ฉากต่อมาลาริน่าและเลอได้ไปตามหาข่านที่ทะเลสาบแห่งอารัลในประเทศคาซัคสถาน ในฉากนี้จะได้เห็นฝีมือการต่อสู้ของข่าน ที่ใช้พลังความเร็วควบคู่กับอาวุธเคียวคู่ของเขากับกลุ่มคน นิรนามที่ไม่ทราบที่มา นอกจากนี้ยังเห็นว่าอาวุธของข่านสามารถตัดรถยนต์ขาดได้ ภายหลังจากการ ต่อสู้กับกลุ่มนิรนาม เลอปรากฏขึ้นพร้อมกับเสนอให้ข่านเข้าร่วมการก าจัดคูราตอฟ ข่านไม่มีท่าที ปฏิเสธใด ๆ และยอมเข้าร่วมอย่างง่ายดาย ฉากนี้เน้นไปที่การต่อสู้มากกว่าบทสนทนาที่แสดงถึง ความสัมพันธ์ของตัวละครในภาพยนตร์ ฉากต่อมาเป็นฉากในไซบีเรีย ที่เทือกเขาพูโตรานา-เพลโต กลุ่มนายพรานได้เข้าไป ส ารวจบ้านพักไม้กลางป่า ภายในบ้านมีอุปกรณ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์จ านวนมาก จากนั้นนายพราน คนหนึ่งได้ถูกโยนออกนอกบ้านพร้อมกับการปรากฏตัวของอาร์ซัสในร่างกายของครึ่งคนครึ่งหมีสี น้ าตาล หลังจากสงบสติอารมณ์ชั่วครู่อาร์ซัสได้เห็นเลอ ข่าน และลาริน่า ที่ยืนมองเขาจัดกับการ นายพราน เลอได้กล่าวถึงอาร์ซัสว่าทีมพวกเราได้มารวมตัวกันแล้ว ลาริน่าจึงกล่าวยินดีต้อนรับกับอาร์ ซัส ในฉากนี้ภาพยนตร์แทบไม่ได้มีการถ่ายทอดถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครหลักอย่างซูเปอร์ฮีโร่ มากเท่าที่ควร อาร์ซัสในฉากนี้ไม่มีการพูดคุยกับตัวละครไหนเลย และไม่ได้มีท่าทีตอบสนองอะไรกับ ค าชักชวนเข้าร่วมทีมเช่นกัน ฉากต่อมาเป็นโรงละครของเซนย่าที่ก าลังแสดงการกระโดดน้ าแล้วร่างกายกลืนไปกับน้ า ซึ่งเป็นพลังพิเศษของเธอที่สามารถล่องหนได้เสมือนกับน้ า ภายหลังจบการแสดงในขณะที่เซนย่าก าลัง แต่งตัวในห้องแต่งตัวหลังเวที เธอได้พบกับข่านและเลอจึงเกิดการต่อสู้กัน ในฉากนี้ผู้ชมจะเห็นฝีมือ การต่อสู้ด้วยมือเปล่าของเซนย่านอกจากพลังล่องหนของเธอ อีกทั้งบทสนทนาของตัวละครนั้นมีมิติ มากขึ้นในระหว่างต่อสู้ เลอและข่านได้พูดถึงเซนย่าเกี่ยวกับวิธีการต่อสู้ของเธอนั้นได้รับฝึกฝนมาจาก พวกเขาเอง ท าให้เห็นว่าเซนย่าและพวกเขานั้นสนิทสนมกัน สุดท้ายการต่อสู้จบลงด้วยการที่อาร์ซัส เข้ามาห้ามปราม อาร์ซัสได้พูดถึงปัญหาของเซนย่าที่เธอต้องโดดเดี่ยวเพราะพลังพิเศษมานาน 40 ปี และชวนให้เข้าร่วมกับกลุ่มผู้พิทักษ์ การเล่าเรื่องราวของการรวมตัวผู้พิทักษ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ด าเนินไปค่อนข้างรวดเร็ว ในแต่ละฉากใช้เวลาท าความรู้จักกับเหล่าผู้พิทักษ์เพียงคนละไม่เกิน 1 นาที โดยทฤษฎีแนวคิดการเล่า 52

เรื่องภาพยนตร์ช่วงแนะน า ตัวละครมีความส าคัญในการด าเนินเหตุการณ์ในภาพยนตร์อย่างมาก เพราะการเล่าเรื่องราวของตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ในภาพยนตร์ ถือเป็นการปูพื้นฐานที่มาที่ไปให้น่าสนใจ และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น จะท าให้ภาพยนตร์น่าติดตามมากขึ้นและตัวละครจะน าพาเรื่องราวได้ต่อ ได้อย่างไม่มีสะดุด ทว่าในภาพยนตร์เรื่องนี้ ในช่วงของการพบกันของตัวละคร ภาพยนตร์ควรเน้นย้ า ไปถึงที่มาที่ไป เพื่อที่จะเชื่อมโยงประเด็นความสัมพันธ์ค่อนข้างที่จะซับซ้อน แต่กลับไม่ได้ให้ ความส าคัญเท่าไหร่นัก และท าให้เกิดความว่าตัวละครมีความตื้นเขิน ไม่สมจริงสมจังและไม่ สมเหตุสมผลพอ ผู้ชมไม่ทราบเหตุผลว่าท าไมทุกคนถึงตกลงใจที่จะเข้าร่วมขบวนการ และยอมเสี่ยง ชีวิตเพื่อสู้กับคูราตอฟ เพราะในบางฉากตัวละครนั้นดูเหมือนไม่สนิทกันแม้ว่าจะเคยพบกันมาก่อนใน อดีต แต่จู่ ๆ กลับยอมออกจากบ้านเกิดเมืองนอนไปกับคนที่ไม่เคยสนิทมาก่อน ท าให้ความรู้สึก เหมือนตัวละครไม่มีความผูกพันต่อกัน ฉากต่อมาเป็นฉากห้องทดลองคูราตอฟที่เต็มไปด้วยทหารโคลนนิ่ง เป็นฉากที่คูราตอฟ พูดคนเดียวประมาณ 20 วินาที เพื่อที่จะบอกว่าเขานั้นพร้อมแล้วส าหรับการใช้ทหารโคลนนิ่งของเขา หลังจากที่ใช้เวลานานครึ่งศตวรรษ ซึ่งในฉากนี้ ไม่ได้แสดงที่มาที่ไปที่ชัดเจนมากนักว่า เหตุใดคูราตอฟ ถึงมีความเคียดแค้นเป็นอย่างมากและต้องการจะท าลายล้างโลก ต่อมาเป็นฉากที่เซนย่าก าลังพูดถึง ความในใจกับเพื่อนร่วมทีมถึงความล าบากในการใช้ชีวิตคนเดียว ในฉากนี้ภาพยนตร์ใช้ดนตรีประกอบ เพื่อให้ความรู้สึกที่เศร้าและกินเวลาไปถึง 2 นาทีซึ่งมากกว่าช่วงเปิดตัวแนะน าตัวละคร และเซนย่าเอง พูดคนเดียวแทบทั้งหมดเกือบ 2 นาที สิ่งที่ได้จากฉากนี้คือ ข้อมูลที่ว่าเซนย่านั้นความจ าเสื่อมจึงไม่ สามารถจ าเพื่อนร่วมทีมได้จึงเกิดการต่อสู้ การใช้วิธีเล่าเรื่องภาพยนตร์ของทั้งสองฉากนี้ค่อนข้างใช้ เวลาไปโดยที่เนื้อหาแทบไม่ได้คืบหน้ามากเท่าไหร่ อีกทั้งไม่ได้ท าให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น ว่าจะ เกิดเหตุการณ์อะไรต่อไปในฉากล าดับถัดไป ทั้งทีสามารถใช้บทสนทนา เพื่อท าให้เกิดความรู้สึกว่าตัว ละครในทีมเริ่มมีความรู้สึกต่อกันและกัน หรือคูราตอฟมีที่มาที่ไปของอารมณ์ที่รุนแรงและเป็นสาเหตุ ที่เขาคิดอยากที่จะก าจัดทุกคน การกระจายบทตัวละครพูดค่อนข้างน้อย ตัวละครส่วนใหญ่มักจะมีผู้ พูดเพียงฝ่ายเดียวจึงแทบไม่เกิดบทสนทนาระหว่างตัวละคร ฉากต่อมาเป็นฉากที่เหล่าผู้พิทักษ์ได้รับมอบหมายให้โจมตีคูราตอฟและกองทัพทหาร โคลนนิ่ง ฉากนี้เน้นไปที่การต่อสู้ระหว่างเหล่าผู้พิทักษ์กับคูราตอฟและทหารโคลนนิ่ง ท าให้เห็นถึงการ ใช้พลังของแต่ละคนว่ามีวิธีการต่อสู้ที่แตกต่างกันไป แต่ในท้ายที่สุดทุกคนก็พลาดท่าและพ่ายแพ้ให้กับ ศัตรูและถูกจับขังไว้ เพื่อที่จะต่อรองให้เหล่าผู้พิทักษ์เข้าร่วมแผนการยึดครองโลกของเขา ยกเว้นเลอที่ ถูกทิ้งไว้ ฉากรวมนี้ภาพยนตร์เริ่มเผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวละครเล็กน้อยในช่วงที่โดนกักขังตัว เพื่อที่จะต่อรอง อาร์ซัสต้องการให้คูราตอฟปล่อยตัวเซนย่าเพียงเพราะว่าเธอความจ าเสื่อม แต่ คูราตอฟปฏิเสธภาพยนตร์กลับไม่ได้ทิ้งปมปริศนาใด ๆ ให้ติดตามว่า ท าไมเลอถึงถูกทิ้งไว้ 53

ในฉากต่อมาหลังจากที่คูราตอฟไม่สามารถต่อรองกับเหล่าผู้พิทักษ์ได้ จึงเริ่มลงมือด้วย ตัวเองและควบคุมยานพาหนะจ านวนมากบุกเข้าไปยังกรุงมอสโก เพื่อต้องการควบคุมสัญญาณโดยใช้ หอส่งสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุออสตานคีโน อีกด้านหนึ่งเลอก าลังถูกรักษาและได้เปิดเผยความในใจ ท าให้เห็นความยากล าบากของเลอ ฉากของเลอใช้วิธีเล่าเรื่องเหมือนกับฉากของเซนย่า คือ การที่ ปล่อยให้ตัวละครพูดเพียงฝ่ายเดียวนานกว่าสองนาที แม้ว่าจะมีตัวละครอย่างลารีน่าที่นั่งฟังเขาอยู่ แต่กลับกลายเป็นบทสนทนาเพียงฝ่ายเดียว อีกทั้งสองฉากใช้ดนตรีประกอบเหมือนกัน เพื่อที่จะสื่อถึง อารมณ์ที่เศร้าของตัวละคร ฉากต่อมาคือ ช่วงที่ลารีน่าต้องไปช่วยผู้พิทักษ์คนอื่นที่ถูกคูราตอฟกักขัง หลังจาก ช่วยเหลือออกจากการคุมขังได้ส าเร็จ ภาพยนตร์ด าเนินเข้าสู่ฉากเปิดเผยความในใจของอาร์ซัส การใช้ วิธีการเล่าเรื่องของอาร์ซัสใช้วิธีเฉกเช่นเดียวกับเลอและเซนย่า อีกด้านหนึ่งศาสตราจารย์ วิคเตอร์ โดบรารารอฟ ได้เผชิญหน้ากับคูราตอฟ บทสนทนาของทั้งคู่แสดงให้เห็นถึงความเกลียดชังที่มีต่อกัน แม้ว่าโดบราราอฟจะอธิบายเหตุผลแต่สุดท้ายคูราตอฟก็ฆ่าเขาโดยที่เขาเองไม่มีเหตุผลอะไร หลังจาก การฆ่าของเขาเป็นที่พอใจ ฉากก็เปลี่ยนไปเป็นการ้ตรียมตัวสร้าง Module-2 ฉากต่อมาเหล่าผู้พิทักษ์ก าลังเตรียมการรับมือที่จะขัดขวางไม่ให้คูราตอฟใช้งาน Module-2 ได้ส าเร็จ จากนั้นข่านมีการเปิดใจคุยกับลารีน่าเช่นเดียวกับเซนย่า เลอ และอาร์ซัส หลังจากการเปิดใจ ฉากต่อมาคือผู้พิทักษ์ทั้งสี่คนได้รับชุดและอาวุธใหม่จากทีมพัฒนาแพทริออต ชุด และอาวุธใหม่ของพวกเขาทั้งสี่ ท าให้การต่อสู้ของพวกเขาแตกต่างจากครั้งแรก แต่พวกเขาไม่สามารถ รับมือกับคูราตอฟได้ จนต้องถอยเพื่อกลับมาตั้งหลักและรวมพลังเฮือกสุดท้ายอีกครั้งเพื่อปล่อย พลังงานสูงจัดการคูราตอฟจนส าเร็จ ภายหลังจบการต่อสู้ ผู้พิทักษ์ทั้งสี่คนและลาริน่าได้มายืนคุยกันที่ สะพานก่อนที่จะแยกย้ายไปใช้ชีวิตนั้น ลาริน่าได้บอกทิ้งท้ายไว้กับทุกคนว่า “เราเจอผู้พิทักษ์คนอื่น อีก”

54

ล ำดับเวลำของกำรปรำกฏตัวละครในภำพยนตร์ (วินำที)

400

300

200

100

0 ข่าน (Khan) เลอ (Ler) เซนย่า (Xenia) อาร์ซัส (Arsus)

ฉากเปิดตัว ต่อสู้รวมครังที่ 1 ต่อสู้รวมครั้งสุดท้าย

ตารางที่ 4.1 ตารางเวลาของการปรากฏตัวของตัวละคร และเวลาต่อสู้เป็นวินาที

ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ส่วนใหญ่ในตอนจบฝ่ายดีมักจะชนะฝ่ายอธรรมเสมอ แต่สิ่งที่ท าให้ ภาพยนตร์น่าดึงดูดได้มากขึ้นนั่นคือ ฉากต่อสู้ที่ต้องใช้พลังของแต่ละตัวละครแสดงออกมาให้มากที่สุด ให้เป็นฉากที่ประทับใจและน่าจดจ า ภาพยนตร์เรื่องนี้มีฉากต่อสู้ที่ใช้เวลาน้อยในแต่ละฉากท าให้ผู้ชม ไม่สามารถจดจ ากับความสามารถพิเศษของตัวละครได้ เช่น ในฉากการต่อสู้ของเหล่าผู้พิทักษ์ในการ บุกไปที่รังของคูราตอฟ เซนย่ายังไม่ทันได้ต่อสู้ก็ถูกแช่แข็งไปก่อน ท าให้เธอไม่มีบทบาทในฉากนั้นเลย หรือฉากเปิดตัวของอาร์ซัสที่ใช้เวลาเพียงแค่ 20 วินาที โดยไม่มีการพูดหรือแนะน าตัวว่าตัวเองเป็น ใครตามที่ปรากฏในภาพแผนภูมิข้างต้น โดยรวมแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้แม้ว่าจะมีการเล่าเรื่องที่เรียงเวลาจากก่อนไปหลังและมีมุก ตลกสอดแทรก แต่ยังขาดความต่อเนื่องกันในแต่ละฉาก อีกทั้งมีการสับเปลี่ยนฉากอย่างรวดเร็วท าให้ ผู้ชมยังไม่ทันได้ซึมซาบกับความรู้สึกถึงตัวละครในแต่ละฉากว่าจะสื่อถึงอะไร หรือความรู้สึกแบบไหน อีกทั้งบทสนทนาของตัวละครนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นการพูดคนเดียวหรือเล่าเรื่อง มากกว่าบทสนทนา ระหว่างกัน ท าให้ผู้ชมไม่ทราบถึงความสัมพันธ์ของตัวละคร และท าให้ผู้ชมไม่รู้จักตัวละครมากขึ้น แม้ว่าบางฉากของภาพยนตร์จะสอดแทรกน าเสนอความสัมพันธ์ระหว่างเซนย่าและอาร์ซัส แต่ความ รักของพวกเขาทั้งสองไม่ชัดเจนมากพอ ท าให้ผู้ชมไม่มีอาทั้งสองคนหรือรู้สึกผูกพันไปกับตัวละครทั้ง สอง ความสมเหตุสมผลของภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีความขัดแย้งอยู่หลายอย่าง เช่น จุดประสงค์ของตัว ละครแต่ละคนยังไม่มีความรู้สึกที่จะแสดงความพยายาม และแสดงความชัดเจนที่จะต้องการเป็น ซูเปอร์ฮีโร่ ดังในฉากช่วงที่ลาริน่าตามหาผู้พิทักษ์แต่ละคน ผู้พิทักษ์ทั้งสี่คนมีความบาดหมางในใจจาก การถูกทดลองแต่กลับเข้าร่วมกับโครงการแพทริออตอย่างง่ายดาย นอกจากนี้การเล่าเรื่องของตัวละครแต่ละตัวไม่มีใครเป็นตัวเอกหลัก หรือตัวน าเรื่องของ ภาพยนตร์ นอกจากจอมวายร้ายอย่างคูราตอฟที่สามารถแสดงได้ชัดเจนว่านี่คือ ตัวร้ายหลักของ 55

ภาพยนตร์ แม้ว่าภาพยนตร์จะจบแบบปลายเปิดโดยทิ้งทวนค าไว้ว่า เราเจอผู้พิทักษ์คนอื่น อีกทั้งใน ตอนจบนั้น เหมือนเป็นการบอกใบ้ภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าอาจจะมีภาคต่อ

4.2 วิเคราะห์ภาพยนตร์ด้วยแนวคิดสร้างภาพตัวแทน (Representation)

4.2.1 วิเคราะห์ภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จด้วยแนวคิดสร้างภาพตัวแทน ภาพยนตร์เรื่องแรกที่สะท้อนแนวคิดสร้างภาพตัวแทน คือ ภาพยนตร์ Black Panther ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่จากค่ายมาร์เวล สตูดิโอ ฉายครั้งแรกในปีค.ศ. 2018 เป็นภาพยนตร์ ล าดับที่ 18 ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล หรือ Marvel Cinematic Universe (MCU) แรงบันดาลใจ ในการสร้างตัวละคร ทีชัลลา (T'Challa) หรือ Black Panther ของสแตน ลี (Stan Lee) และ แจ็ค เคอร์บี (Jack Kirby) คือ ความต้องการตัวละครผิวสีคนแรกของมาร์เวลคอมมิคขึ้นมาเพื่อให้ผู้อ่านที่ เป็นคนผิวสีรู้สึกว่าตัวเอกหรือซูเปอร์ฮีโร่ของเรื่องนี้เป็นอัตลักษณ์เดียวกับพวกเขาตัวละคร Black Panther จึงมีจิตส านึกทางการเมืองของประเทศ เพศสภาพ เชื้อชาติ รวมถึงความคิดและอุดมการณ์ มาตั้งแต่แรก ภาพยนตร์ Black Panther ถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มาร์เวล ยอมให้ ลงทุนสร้างหนังที่มีตัวละครเอกเป็นคนผิวสีและตัวละครหลักทั้งหมดเป็นคนแอฟริกันอเมริกัน และยัง เป็นครั้งแรกที่คนผิวขาวกลายเป็นตัวประกอบของภาพยนตร์ แตกต่างจากภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่องที่ มักจะใช้ตัวละครผิวสีให้กลายเป็นบทบาทส ารอง หรือบางครั้งก็ถ่ายทอดตัวละครคนผิวสีให้เป็นรับบท เป็นคนใช้ความรุนแรง เป็นตัวตลก เป็นอันธพาล หรือท าเรื่องผิดกฎหมาย ท าให้คนผิวสีกลายเป็น กลุ่มคนที่ไม่โดดเด่นเทียบเท่ากับกลุ่มผิวขาว ดังนั้นจึงไม่ค่อยพบเห็นภาพยนตร์ที่มีคนผิวสีเล่นเป็นตัว ละครหลักและประสบความส าเร็จ แต่ในทางกลับกันภาพยนตร์ Black Panther ได้สร้างภาพตัวแทนของกลุ่มคนผิว สีได้ประสบความส าเร็จอย่างล้นหลาม พร้อมกับถ่ายทอดวัฒนธรรมของชาวแอฟริกา การถ่ายทอด ภาพยนตร์ Black Panther สามารถท าให้คนไม่ว่าจะชนชาติใด ๆ ก็ตามสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ได้ ค านึงถึงสีผิว นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงความคิด และอุดมการณ์ของตัวละครในภาพยนตร์ถึงปัญหา พื้นฐานในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และสิทธิพลเมืองของคนผิวสีในอเมริกาไม่ว่าจะใช้วิธีการรุนแรง การ ก่อกบฏ การปฏิวัติ ในภาพยนตร์ Black Panther จะเห็นการต่อสู้ระหว่างทีชัลลา และอีริค คิลมอง เกอร์ (Erik Killmonger) จอมวายร้ายในเรื่อง ซึ่งเป็นการต่อสู้ของคนผิวสีด้วยกันเอง เนื่องด้วย อุดมการณ์ที่ต่างกัน จึงเป็นการสะท้อนประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่เป็นจริงของคนแอฟริกันอเมริกันจาก อดีตถึงปัจจุบันว่าเรื่องนี้ยังเป็นปัญหาของคนผิวสีในการสร้างรัฐและสังคมใหม่ของพวกเขาอยู่ 56

ภาพที่ 4.1 “Black Panther (2018),”IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt1825683/mediaviewer/rm172972800.

ภาพยนตร์เรื่องต่อมา คือ ภาพยนตร์ตระกูล X-men จากค่าย 20th Century Fox ตัวละคร เรเวน ดาร์กโฮล์ม (Raven Darkholme) หรือมิสทีค (Mystique) เป็นจอมวายร้ายตัว ฉกาจของมาร์เวลคอมมิคทั้งในการ์ตูนคอมมิคและภาพยนตร์ X-men ในไตรภาคแรก จนกระทั่ง ภาพยนตร์ X-men รุ่น 1 (X-Men: First Class) ที่ฉายในปีค.ศ. 2011 เป็นต้นมา เริ่มตีความตัว ละครมิสทีคออกมาใหม่แตกต่างจากไตรภาคแรกที่ไม่ใช่ตัวละครที่เป็นจอมวายร้าย และในภาพยนตร์ เอ๊กซ์เมน อโพคาลิป (X-Men: Apocalypse) ที่ฉายในปี ค.ศ. 2016 ตัวละครมิสทีคกลายเป็น ซูเปอร์ฮีโร่อย่างเต็มตัว และยังกลายเป็นตัวละครส าคัญของภาพยนตร์ การสร้างภาพยนตร์ตัวแทน ของตัวละครมิสทีคในภาพยนตร์คือ การต่อสู้ด้วยอุดมการณ์ระหว่างมนุษย์กลายพันธุ์ หรือมิวแทน (Mutant) และมนุษย์ทั่วไปให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเสียสูญ ซึ่งการต่อสู้ อุดมการณ์ของมีสทีคสะท้อนแนวคิดคตินิยมสิทธิสตรี (Feminism) ที่ต้องการให้ความเท่าเทียมกัน ระหว่างมนุษย์กลายพันธุ์ และมนุษย์ทั่วไป กลายเป็นผู้น าที่มีความกล้าหาญและเป็นซูเปอร์ฮีเป็นแรง บันดาลใจให้กับซูเปอร์ฮีโร่ตัวอื่น ๆ ใช้พลังของตนเองปกป้องมนุษย์แทนที่จะท าลายมนุษย์ 57

ภาพที่ 4.2 “X-Men: Days of Future Past (2014),”IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt1877832/mediaviewer/rm2878803456.

ภาพยนตร์เรื่องต่อมาคือ ภาพยนตร์ Wonder Woman ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่ เป็นผู้หญิงเดี่ยวเรื่องแรกจากค่าย Warner Bros. Pictures และ DC Entertainment ฉายครั้งแรก ในปี ค.ศ. 2018 ตัวละครไดอาน่า (Diana) หรือ Wonder Woman ได้รับแรงบันดาลใจมากจากสตรี นิยมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพตัวแทนของตัวละคร Wonder Woman ในภาพยนตร์เป็นสิ่งที่ เกี่ยวข้องกับผู้หญิงที่มีความแข็งแกร่งและมีพลังผสมผสานกับความอ่อนโยนไร้เดียงสา ต้องมาท า หน้าที่ยุติสงคราม ซึ่งในความเป็นจริงบทบาทสตรีในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ค่อนข้างที่จะถูก จ ากัดอิสรภาพ สตรีถูกมองว่าอ่อนแอเกินกว่าที่จะมีบทบาทในสนามรบ และไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับ อย่างเป็นทางการ แต่ในทางกลับกันในภาพยนตร์ Wonder Woman ที่กล่าวถึงช่วงสงครามโลกครั้ง ที่ 2 นั้น หลาย ๆ ฉากในภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็นฉากในสมรภูมิรบ หรือฉากห้องประชุมจะพบว่ามีแต่ ตัวละครที่เป็นผู้ชาย เมื่อไดอาน่าปรากฏตัวท าให้ผู้ชายรู้สึกประหลาดใจว่า ผู้หญิงที่สง่างามนั้นจะ สามารถท าอะไรได้ ไดอาน่าจึงพิสูจน์ตัวเองเพื่อให้ผู้คนยอมรับในตัวของเธอในฐานะสตรีไม่ได้อ่อนแอ กว่าสุภาพบุรุษ

58

ภาพที่ 4.3 “Wonder Woman (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt0451279/mediaviewer/rm1404907776.

4.2.2 วิเคราะห์ภาพยนตร์ Guardians ด้วยแนวคิดสร้างภาพตัวแทน ภาพยนตร์ Guardians ถือเป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ของรัสเซีย ตัวละคร ซูเปอร์ฮีโร่นั้นจะต้องน าเสนอเป็นตัวแทนของความเป็นชาติ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ประวัติความเป็นมา เครื่องแบบ รวมถึงตัวภาพยนตร์เองเช่นกัน ตัวละครของภาพยนตร์ Guardians แม้ว่าจะไม่ได้มีเครื่องแบบที่สีฉูดฉาดชัดเจน จนเป็นเอกลักษณ์ของประเทศรัสเซียอย่างชัดเจน แต่ภาพยนตร์ยังถ่ายทอดวิถีชีวิตของตัวละครที่ สะท้อนความเป็นรัสเซียให้เห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ ตัวละครแรก เลอ (Ler) ผู้ที่มีความสามารถใน การควบคุมพลังหินได้ ในภาพยนตร์ฉากแรกที่ได้พบกับเลอคือ ที่ วิหาร Khor Virap ในประเทศ อาร์เมเนียที่เลอก าลังสวดภาวนากับพระเจ้าในวิหาร สะท้อนให้เห็นถึงความส าคัญของศาสนาคริสต์ นิกายออร์โธดอกซ์ แม้ว่าตัวเขาเองจะเป็นยอดมนุษย์ที่ไม่เหมือนมนุษย์ปกติ และมีอายุที่ยืนยาวกว่า มนุษย์ทั่วไปก็ตาม แต่ตัวเขายังเชื่อมั่นในพระเจ้าและนับถือเคารพ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าศาสนา เป็นที่ยึดเหยี่ยวจิตใจได้ เลอจึงเป็นตัวละครที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตของคนรัสเซียได้ 59

ภาพที่ 4.4 เลอ (Ler) ก าลังสวดภาวนา, “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, เมษายน 2563, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm844706816.

ตัวละครต่อมาข่าน (Khan) เป็นตัวละครที่มีกลิ่นอายของเอเชียออกมาอย่าง ชัดเจน ซึ่งประเทศรัสเซียเองนั้นเป็นประเทศที่มีเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ตัวละครข่านจึง เป็นตัวแทนของการผสมผสานระหว่างเอเชียและตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน เพราะเมื่อผู้คนนึกถึงคน รัสเซีย มักจะค านึงถึงคนที่มีผิวขาว ตาสีฟ้า ผมสีทองเหมือนคนยุโรปทั้วไป แต่ในความเป็นจริงคน รัสเซียมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ ไม่จ ากัดว่าจะต้องมีดวงตาสีฟ้า ผิวสีขาว ตัวละครข่านจึงเป็น ตัวละครที่ถ่ายทอดชาติพันธุ์ที่หลากหลายของรัสเซีย อีกทั้งวิธีการต่อสู้ของข่านได้รับอิทธิพลมาจาก การต่อสู้ผสมผสานระหว่างนินจา และซามูไรซึ่งเป็นวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

ภาพที่ 4.5 ข่าน (Khan) และอาวุธเคียวคู่, “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm911815680.

60

ตัวละครต่อมาอาร์ซัส (Ursus) เป็นตัวละครยอดมนุษย์ที่สามารถกลายร่างเป็น หมีน้ าตาลได้ (Brown bear) ตามธรรมชาติหมีน้ าตาลจะพบได้ในตอนเหนือของยูเรเซียและอเมริกา เหนือ ชื่ออาร์ซัส ของเขามีชื่อมาจาก Ursus arctos เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของหมีน้ าตาล ตัวละครนี้ เป็นตัวละครที่สื่อถึงความเป็นรัสเซียอย่างชัดเจน เพราะหมีสีน้ าตาลนั้นเป็นสัตว์ประจ าชาติของ ประเทศรัสเซียที่แสดงถึงความแข็งแกร่ง ความฉลาด ความยิ่งใหญ่ ความดุร้าย และความยืดหยุ่นซึ่ง เป็นลักษณะของคนรัสเซีย บุคลิกของตัวละครอาร์ซัสก็แสดงได้ออกมาอย่างชัดเจนเมื่อเขาต่อสู้กับ จอมวายร้ายโดยไม่เกรงกลัวอันตรายใด ๆ

ภาพที่ 4.6 Ursus, “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm1702628096.

คนสุดท้ายเซนย่า (Xenia) ในฉากที่เหล่าผู้พิทักษ์จะต้องตามหาเซนย่าจะพบว่า เธอก าลังท าการแสดงอยู่ในโรงละครของเธอเอง ในฉากนี้แสดงให้เห็นด้านสังคมและวัฒนธรรม แสดง ถึงวิถีชีวิตของคนรัสเซียที่ชื่นชอบการเข้าชมกิจกรรมที่เป็นการแสดงทางวัฒนธรรมและความบันเทิง โดยเฉพาะวัฒนธรรมประเภทคลาสสิค อาทิ บัลเลต์ โอเปร่า ละครเวที โรงละครสัตว์ เป็นต้น ซึ่ง กิจกรรมการแสดงวัฒนธรรมนี้เป็นที่ท าให้ชาวต่างชาติต้องการเข้าชม และสามารถสร้างรายได้ให้กับ ประเทศรัสเซียได้อีกด้วย ตัวละครเซนย่าเองได้แสดงถึงวิถีชีวิตของคนรัสเซียได้อย่างชัดเจน ถึงแม้ว่า ตัวเธอเองจะเป็นยอดมนุษย์แต่เธอก็ยังชื่นชอบ และรักในวัฒนธรรมของการแสดงละครเวทีพร้อมกับ น าเสนอให้ผู้คนได้ชม

ภาพที่ 4.7 เซนย่า (Xenia) ท าการแสดง, “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm710489088.

61

4.2 วิเคราะห์ภาพยนตร์ด้วยทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology Theory)

4.2.1 วิเคราะห์ภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จด้วยทฤษฎีสัญญะวิทยา ภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จของฮอลลีวูดที่จะน ามายกตัวอย่าง คือ ภาพยนตร์โลแกน (Logan) ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่ปิดต านานของตัวละครวูล์ฟเวอร์รีน (Wolverine) จากค่าย 20th Century Fox ที่ฉายในปี ค.ศ. 2017 สัญญะที่ปรากฏในภาพยนตร์นี้สามารถตีความ ได้หลากหลาย ประการแรกสัญญะที่เกี่ยวข้องกับพระอาทิตย์ในภาพยนตร์ แสงอาทิตย์ในภาพยนตร์ โลแกนสามารถสื่อความหมายได้ว่า พระอาทิตย์ขึ้นหมายถึง การเริ่มต้นเดินทางและพระอาทิตย์ตก หมายถึง การสิ้นสุดเดินทางของตัวละครโลแกน หลังจากที่ ฮิว แจ็กแมน (Hugh Jackman) กลายเป็น ไอคอนวูล์ฟเวอร์รีนและกลายเป็นตัวละครที่สร้างจุดขายให้กับภาพยนตร์มากมายในตระกูลภาพยนตร์ X-men ท าให้ฮิว แจ็กแมนต้องรับบทวูล์ฟเวอร์รีนเป็นเวลา 17 ปีและได้สิ้นสุดการเดินทางของเขาเอง และพระอาทิตย์อาจจะสื่อถึงศาสนาคริสต์นั่นคือ พระเจ้าได้อีกด้วย จากตัวอย่างในฉากที่ตัวละคร ชาร์ลส์ เซเวียร์ (Charles Xavier) ก าลังจะเสียชีวิต เพราะอาการชักของเขา ได้มีแสงอาทิตย์ที่สาด ส่องเข้ามาในโรงแรม และเขามองมันเปรียบเสมือนเขาใกล้จะไปหาพระเจ้าแล้ว ประการที่สองสัญญะที่สื่อถึงเสรีภาพ ในภาพยนตร์โลแกนมีเรื่องปมปัญหาของ มนุษย์ที่เอารัดเอาเปรียบมนุษย์กลายพันธุ์ ท าให้วูล์ฟเวอร์รีนต้องหลบซ่อนตัวเองแล้วพยายามหาเงิน จ านวนมากพาตัวเอง และชาร์ลส์ออกไปจากดินแดนแห่งนี้ สัญญะแรกที่เห็นคือ ป้ายไฟของโรงแรมที่ มีรูปของเทพีเสรีภาพที่เป็นสัญลักษณ์ของอเมริกา และข้อความ ‘Liberty’ ที่แปลว่า เสรีภาพแต่ไฟที่ ตัวอักษร ‘ber’ ดับไปสามารถสื่อได้ว่าดินแดนแห่งนี้ไม่มีอิสรภาพอีกแล้ว สัญญะเสรีภาพอีกอย่างที่ ปรากฏคือ รูปภาพนกที่ปรากฏขึ้นในห้องนอนของชาร์ลที่เสียชีวิตสามารถสื่อได้ถึงอิสรภาพจะได้รับ ต่อเมื่อตายไปแล้วนั่นเอง ประการสุดท้ายสัญญะที่สื่อถึงสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของผู้คน ภาพยนตร์ โลแกนถ่ายทอดเรื่องเล่าภาพยนตร์ไปในโทนและรูปแบบ Wild West แม้ว่าภาพยนตร์จะมีช่วงเวลาที่ เป็นอนาคต การใช้รูปแบบบ้านเมืองแบบสไตล์คาวบอย สามารถสื่อถึงรูปแบบสังคมที่ไม่ใช่สังคมกลุ่ม ใหญ่เหมือนในเมือง แต่เต็มไปด้วยอาชญากรรมทุกคนล้วนพกอาวุธ เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน ขาด เสรีภาพ ซึ่งเปรียบเสมือนสภาพสังคมที่เคยเกิดขึ้นจริงในสหรัฐอเมริกาที่มีการต่อสู้กันเพื่อนเสรีภาพใน Wild West และสามารถถ่ายทอดอารยะธรรมคาวบอยออกมาเช่นกัน

62

ภาพที่ 4.8 “Logan (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, http: //www.imdb.com/title/tt3315342/mediaviewer/rm1680749056.

4.2.2 วิเคราะห์ภาพยนตร์ Guardians ทฤษฎีสัญญะวิทยา สัญญะประการแรกที่ปรากฏในภาพยนตร์ Guardians คือ ตราสัญลักษณ์ของ ทีมเหล่าผู้พิทักษ์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับตราสัญลักษณ์ของสหภาพโซเวียต ตราสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้ พิทักษ์เป็นรูปของดาบที่คาดกับตัวอักษร З ที่ย่อมาจาก Защитники แปลว่า ผู้พิทักษ์ หรือ ผู้ปกป้อง ตรงที่ครอบหัวของด้ามดาบ มีตัวหนังสือสลักค าไว้ว่า ПАТРИОТ ที่มาจากค าว่า Patriot หมายถึง คนรักชาติ หรือพวกชาตินิยม ดาบยังมีความหมายสื่อถึงสัญลักษณ์ของการ ต่อสู้ ความกล้าหาญและสติปัญญา และถูกล้อมรอบด้วยช่อมะกอกที่สื่อถึงสัญลักษณ์ของผู้มีชัย ชนะ อิสรภาพ และความหวัง สัญลักษณ์ทั้งหมดเป็นรูปแบบโลหะแสดงถึงความแข็งแกร่ง ไร้เทียม ทาน โดยภาพรวมแล้วสัญลักษณ์นี้นอกจากจะสื่อถึงผู้พิทักษ์ปกป้องแล้ว ยังสื่อถึงความรักชาติ หรือชาตินิยม 63

ภาพที่ 4.9 ตราสัญลักษณ์ทีมแพทริออต (Patriot) , “Guardians (2017),” IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt4600952/mediaviewer/rm28318464.

สัญญะประการที่สองที่ปรากฏในภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับพลังพิเศษของเลอ คือ หิน ซึ่งหินอาจจะตีความหมายได้สามแบบ โดยความหมายแรก หมายถึง ความยั่งยืน ยาวนาน อัน หมายถึง ประวัติศาสตร์ของรัสเซียที่มีมาแต่เก่าแก่ ในส่วนนี้อาจจะมีการสื่อในทางอ้อมไปถึง ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ของฮอลลีวูดว่า รัสเซียมีความเก่าแก่กว่าอเมริกา ความหมายที่สอง หินอาจจะสื่อได้ถึงความอดทนเหมือนหินที่ทนทานต่อ กาลเวลา ซึ่งในกรณีนี้อาจสื่อไปถึงแนวคิดอุดมคติของคนรัสเซียที่มักจะอดทน และยอมแบกรับกับ ความเจ็บปวด หรือความทรมาน สุดท้ายจะสามารถทนทานต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ได้ ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นได้ในหลาย ๆ ฉากของเลอในภาพยนตร์ เช่น ฉากสุดท้ายของภาพยนตร์ที่ผู้พิทักษ์ ต้องรวมพลังกันก าจัดคูราตอฟ เลอรับพลังจากทุกคนและถ่ายทอดพลังผ่านร่างกายเขาการกระท า แบบนี้เสี่ยงให้เขาเสียชีวิตได้ แต่เลอยอมสละร่างกายเพื่อที่ก าจัดวายร้ายเพื่อปกป้องประเทศชาติ ความหมายสุดท้ายอาจจะหมายถึง ความศรัทธาอันแรงกล้าในศาสนาคริสต์ นิกายออร์โธด็อกซ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นในฉากที่เลอเปิดตัวขึ้นมาในโบสถ์ รวมทั้งการที่เลอเป็นผู้เดียวที่ ไม่ถูกคุมขัง และเป็นคนที่น าไปสู่การช่วยเหลือผู้พิทักษ์คนอื่น ๆ ภาพยนตร์อาจต้องการสื่อให้เห็นว่า ความศรัทธาในพระเจ้าเท่านั้นที่จะช่วยให้รอดและปลอดภัยจากศัตรูและได้รับชัยชนะ สัญญะประการที่สามที่ภาพยนตร์ถ่ายทอดออกมาคือ อาวุธของข่าน อาวุธของ ข่านนั้นเป็นเคียวคู่ ซึ่งเคียวนั้นมีความหมายส าคัญ และสัญลักษณ์ของสหภาพโซเวียตเองก็มีรูปเคียว เคียวด้วย นอกจากจะสื่อความหมายถึงเกษตรกรรมแล้ว ยังสามารถสื่อถึงความอดทน ความยุติธรรม ความเสียสละ ความกล้าหาญ และความเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอดมนุษย์พึงมี และข่านเองก็ ประพฤติตนเช่นนั้น สังเกตได้จากฉากที่เพื่อนร่วมทีมของเขาทั้งสามคนไม่สามารถต่อสู้กับคูราตอฟได้ ในขณะที่ก าลังขัดขวาง Module-2 ข่านจึงใช้ความเร็วของเขาผูกเชือกมัดเพื่อนร่วมทีม และปาอาวุธ เคียวของเขาไปที่เครื่องบินเพื่อที่จะพาเพื่อนของเขาหลบหนีจากการต่อสู้นั้น ความเสียสละและความ กล้าหาญของข่านท าให้เพื่อนร่วมทีมของเขาปลอดภัย 64

ประการสุดท้ายหอส่งสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุออสตานคีโน เป็นสิ่งก่อสร้างที่มี ความส าคัญในภาพยนตร์ เพราะคูราตอฟใช้เป็นตัวต่อสัญญาณและควบคุมทุกสิ่งอย่างได้ตามความ ต้องการ นอกจากนี้เหตุผลที่คูราตอฟต้องการใช้หอส่งสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุออสตานคีโน เนื่องจากสิ่งก่อสร้างนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1967 นั่นหมายถึงสิ่งก่อสร้างนี้มีมาตั้งแต่สมัยช่วงสงคราม เย็นในช่วงอาณาจักรสหภาพโซเวียต หอส่งสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุออสตานคีโนจึงเป็นสิ่งก่อสร้างที่ สื่อถึงสหภาพโซเวียต และเป็นเทคโนโลยีที่แสดงถึงความเจริญก้าวหน้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ภาพที่ 4.10 “Ostankino Tower,” Wikipedia, accessed March 2, 2020, https://en.wikipedia.org/wiki/File:Ostankino_Tower,_2015.JPG. 65

บทที่ 5 วิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ Guardians (2017)

ในบทที่ 5 นี้ผู้วิจัยจะท าการวิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ Guardians โดย การน าแนวคิดและทฤษฎีเข้ามามีส่วนประกอบในการวิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ ต้องใช้ แนวคิดและทฤษฎี 2 อย่างได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการผลิตภาพยนตร์ และทฤษฎีการ ตัดสินใจ (Decision Theory)

5.1 วิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ Guardians ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการผลิต ภาพยนตร์

ความล้มเหลวของภาพยนตร์ Guardians อย่างแรกคือ ทุนสร้างของภาพยนตร์ ภาพยนตร์ Guardians ใช้ทุนสร้างไปทั้งหมดเพียงแค่ 5.4 ล้านดอลลาห์สหรัฐ ซึ่งเมื่อเทียบกับ ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่เรื่องอื่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนสร้างไปน้อยที่สุด ทุนสร้างภาพยนตร์ต้องใช้ หลายส่วนในภาพยนตร์ อาทิ สถานที่ถ่ายท า การใช้เทคโนโลยีตัดต่อ รวมถึงการจ้างนักแสดง จาก การให้คะแนนจากเว็บไซต์รีวิวภาพยนตร์ จะพบกับความเห็นหลายความเห็นที่พูดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์กราฟิกของภาพยนตร์เรื่องนี้ไปในทางลบ เมื่อวิเคราะห์กับทุนสร้างภาพยนตร์ไปนั้นท า ให้เกิดความสมเหตุสมผลที่ท าให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกลดคะแนนไป ในทางกลับกันแม้ว่าทุนสร้างจะ พร้อมและมีจ านวนมากก็ยังท าให้ภาพยนตร์นั้นล้มเหลวได้ เนื่องจากการเล่าเรื่องที่ผิดพลาด ทางด้าน ประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็มีภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่ใช้ทุนสร้างจ านวนมหาศาล แต่ไม่ประสบ ความส าเร็จเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ Fantastic 4 (2015) เป็นภาพยนตร์ที่สร้างเนื้อเรื่อง ใหม่ทั้งหมดโดยใช้ทุนสร้างไปทั้งหมด 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นทุนที่สูงเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะ มีทุนสร้างที่เพียงพอ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับล้มเหลวไม่เป็นท่า อีกทั้งคะแนนจากเว็บรีวิวภาพยนตร์ ชื่อดังอย่าง IMDB และ Rotten Tomatoes ได้คะแนนวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิจารณ์น้อยมาก ซึ่ง คะแนนน้อยกว่าภาพยนตร์ Guardians ด้วยซ้ า ปัจจัยต่อมาการสร้างตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ ถ้าเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาจะพบว่าตัว ละครซูเปอร์ฮีโร่นั้นเฉิดฉายในคอมมิคเป็นเวลานาน ท าให้ผู้คนคุ้นเคยกับตัวละครนั้นอยู่แล้ว อีกทั้ง ลักษณะของตัวละครนั้นมีความเป็นเอกลักษณ์ท าให้จดจ าได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย ลักษณะ ทางกายภาพ หรือพลังพิเศษ แต่ในทางกลับกันภาพยนตร์ Guardians แม้ว่าจะมีคอมมิคมาก่อนที่ ภาพยนตร์จะฉายในปี ค.ศ. 2016 แต่ตัวคอมมิคเองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงเนื้อเรื่องที่ไม่ลงตัวและ 66

บุคลิกของตัวละครที่มีความคล้ายคลึงกับคอมมิคซูเปอร์ฮีโร่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง Fantastic 4 เช่น ตัวละคร เซนย่า (Xenia) จาก Guardians และ สาวน้อยพลังล่องหนจาก Fantastic 4 ตัวละครทั้ง สองตัวมีพลังพิเศษที่เหมือนกันคือ ความสามารถพิเศษในการล่องหนและสามารถท าให้ตัวเองและคน อื่น ๆ ล่องหนด้วยเช่นกัน ลักษณะทางกายภาพของตัวละครทั้ง 2 มีผมบลอนด์ทองเหมือนกัน นอกจากนี้ลักษณะของความสัมพันธ์ตัวละครทั้งสองมีปมปัญหาเกี่ยวกับความรักกับเพื่อนร่วมทีม เช่นกัน ทางด้านลักษณะและเครื่องแต่งกายของซูเปอร์ฮีโร่และจอมวายร้ายในภาพยนตร์ Guardians จะใช้สีไปในโทนสีด าเหมือนกันทุกตัวละครเมื่อเทียบกับซูเปอร์ฮีโร่ทางฝั่งอเมริกาที่ส่วน ใหญ่เครื่องแต่งกายมักจะมีรูปแบบหลากสีสันท าให้ขับคาแรคเตอร์ของตัวละครให้ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงจอมวายร้ายเช่นกัน โดยเฉพาะจอมว้ายร้ายจากภาพยนตร์ Guardians อย่างคูราตอฟทั้งตัว เขาหุ้มไปด้วยยางซิลิโคนรวมถึงศีรษะของเขา ท าให้การแสดงของตัวละครทั้งทางกายและสีหน้าท า ให้ดูฝืนเกร็งและไม่เป็นธรรมชาติขับบทให้ตัวละครว้ายร้ายนี้ไม่น่าสนใจ อีกทั้งคาแรคเตอร์ของตัวละครเองไม่มีความสมเหตุสมผล จะเห็นได้จากหลาย ๆ ฉากที่ คูราตอฟนั้นฆ่าคนโดยไม่มีเหตุผลใด ๆ ท าให้เป็นตัวละครที่ไร้เหตุผลแม้ว่าตัวเขาจะมีพลังวิเศษที่น่า เกรงขาม เมื่อเปรียบเทียบกับวายร้ายจากภาพยนตร์ทางฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะใส่ใจใน รายละเอียดวายร้าย และตัวละครวายร้ายบางตัวก็สร้างสีสันให้กับภาพยนตร์ และท าให้ผู้ชมเกิด ความเอ็นดูตัวละครมากกว่าเกลียดชังตัวละคร เช่น จอมวายร้ายอย่างโลกิ (Loki) จากภาพยนตร์ ตระกูล Thor และ The Avengers ภาพยนตร์ได้น าเสนอถึงปมปัญหาของตัวละครโลกิไว้อย่าง ชัดเจนทั้งเรื่องครอบครัว และความอิจฉาตัวละนั้น ท าให้ผู้ชมเข้าใจได้ว่า ท าไมเขาถึงได้กลายเป็น วายร้าย แต่ด้วยคาแรคเตอร์ของเขาที่แม้ว่าจะเป็นเทพเจ้า แต่กลับสร้างความขบขันท าให้ผู้ชมรู้สึก เอ็นดูตัวละและไม่รู้สึกเกลียดชังตัวละครได้ ปัจจัยที่สามที่ท าให้ภาพยนตร์ Guardians ล้มเหลวนั้นคือ การวางล าดับเนื้อเรื่องของ ภาพยนตร์ และตัวเนื้อเรื่องภาพยนตร์ การที่ภาพยนตร์จะเล่าเรื่องของตัวละครในแต่ละตัวภายใน เวลา 1 ชั่วโมง 40 ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก และภาพยนตร์ Guardians ได้ท าผิดพลาดไปจะ เห็นได้ว่าแต่ละฉากในภาพยนตร์ใช้เวลาไปไม่ถึง 1 นาทีในการเล่าเรื่องตัวละครแต่ละตัว โดย เฉพาะตัวละครหลัก ท าให้ผู้ชมไม่รู้สึกเกิดความสนใจในตัวละคร อีกทั้งขาดบทสนทนาและการเล่า เรื่อง ตัวละครในภาพยนตร์แทบไม่มีการพูดคุยอะไรกันนอกจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพูดคนเดียวเกือบทั้ง ฉาก เมื่อเทียบจากภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่จากทางฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกา บทสนทนาของตัวละครถือ ว่ามีความส าคัญอย่างมากที่จะช่วยสร้างให้ภาพยนตร์ประสบความส าเร็จ เพราะการสนทนาของตัว ละครท าให้ผู้ชมได้เห็นถึงทัศนคติของตัวละครออกมาทั้งซูเปอร์ฮีโร่และจอมวายร้าย ตัวอย่างเช่น 67

ภาพยนตร์ X-men (2000) ที่มีความยาวภาพยนตร์ 1 ชั่วโมง 44 นาทีและใช้ทุนสร้างไปทั้งหมด 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีตัวละครถึง 10 ตัว โดยแต่ละตัวละครมีพลังพิเศษที่แตกต่าง กัน แต่ภายในระยะเวลาที่จ ากัดภาพยนตร์สามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้โดยไม่มีความติดขัด ทั้งเนื้อเรื่อง และความสัมพันธ์ตัวละคร โดยไม่จ าเป็นต้องตัดฉากไปมาอย่างรวดเร็ว ปัจจัยสุดท้ายที่ท าให้ภาพยนตร์ Guardians ล้มเหลว คือ ขาดการสอดแทรกสิ่งส าคัญ ที่ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่พึงจะมี เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่จากทางฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกา จะผู้ชมสามารถเห็นถึงสภาพสังคม วิถีชีวิตผู้คน โดยเฉพาะการเมืองและเหตุการณ์ส าคัญใน ประวัติศาสตร์ จากภาพยนตร์หลายเรื่องซูเปอร์ฮีโร่ต้องท างานร่วมกับรัฐบาลหรือประเทศ หรือบาง เรื่องเองรัฐบาลก็ปฏิปักษ์ต่อตัวซูเปอร์ฮีโร่เอง แต่ภาพยนตร์ Guardians ไม่มีการพูดถึงรัฐบาลใน ภาพยนตร์ อีกทั้งช่วงสงครามเย็นที่เป็นตัวแปรส าคัญของการสร้างยอดมนุษย์ ภาพยนตร์กลับไม่มี การสื่อถึง หรือน าเสนอประเด็นทางการเมืองอย่างจริงจังจึง ท าให้ผู้ชมไม่ทราบว่าท าไมคูราตอฟถึง ต้องการสร้างยอดมนุษย์เป็นจ านวนมากในช่วงสงครามเย็น จากจุดนี้ท าให้เห็นว่าภาพยนตร์ไม่กล้าที่ จะน าเสนอรัฐบาลของประเทศรัสเซีย และเหตุการณ์ส าคัญออกมา เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ประเทศ สหรัฐอเมริกาที่มีอิสระในการสร้างภาพยนตร์มากกว่า ท าให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เติบโตไปได้ยาก เพราะ ไม่มีความสมเหตุสมผลที่จะมีซูเปอร์ฮีโร่โดยที่ไม่มีรัฐบาลมาควบคุม ความล้มเหลวของภาพยนตร์ Guardians มีความคล้ายคลึงกับภาพยนตร์ Fantastic 4 ทั้งรูปแบบการเล่าเรื่องไม่สมเหตุสมผล การวางบทบาทตัวละครในภาพยนตร์ที่ไม่มีความน่าดึงดูด ความยาวของภาพยนตร์ สิ่งที่แตกต่างกันมีเพียงแค่ทุนสร้างของภาพยนตร์ที่ Fantastic 4 ใช้ มากกว่าและกราฟิกที่ดีกว่า แต่ก็ไม่สามารถดึงภาพยนตร์ไปจุดที่ประสบความส าเร็จได้ อีกทั้งการ แสดงของตัวละครหลักทั้งสองไม่มีสิ่งที่น่าดึงดูดและไม่สอดแทรกอะไรให้ผู้ชมได้รับรู้ อีกทั้งภาพยนตร์ Guardians ไม่ค่อยที่จะสื่อความหมายที่เกี่ยวข้องกับประเทศรัสเซียทั้งภาพสะท้อนของภาพยนตร์ และตัวละครท าให้ขาดอัตลักษณ์ของซูเปอร์ฮีโร่ประจ าชาติ เช่นเดียวกับภาพยนตร์ Fantastic 4

5.2 วิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ด้วยทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Theory)

การวิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ Guardians ด้วยทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Theory) จะเป็นการถ่ายทอดมุมมองของผู้ชมจากความเห็นของผู้ชมจากเว็บรีวิว ภาพยนตร์อย่าง IMDB และ Rotten Tomatoes ประการแรกคือ ตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ประเทศ สหรัฐอเมริกาเองให้ก าเนิดซูเปอร์ฮีโร่มาตั้งแต่สมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเป็นรูปแบบสื่อบันเทิง การ์ตูนคอมมิคโดยตีตลาดที่วัยผู้ใหญ่มากกว่าเยาวชน ท าให้ซูเปอร์ฮีโร่เหล่านี้มีชื่อเสียงมายาวนาน 68

และสร้างฐานความรักกับแฟนคลับ ดังนั้นเมื่อมีภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่เหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะ ตัดสินใจไปชมภาพยนตร์ แต่ในทางกลับกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้จ ากัดเรื่อง สื่อบันเทิงต่าง ๆ ท าให้ไม่สามารถสร้างตัวละครซูเปอร์ฮีโร่เทียบเท่ากับสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังถูก จ ากัดในเรื่องของการถ่ายทอดมุมมองรัฐบาลของประเทศผ่านภาพยนตร์ ท าให้บทบาทของรัฐบาล นั้นไม่มีตัวตนในภาพยนตร์ ประการต่อมา คือ ฝีมือการแสดงของนักแสดงในภาพยนตร์การสนทนา (dialog) ค่อนข้างแข็งทื่อ และไม่เป็นธรรมชาติเหมือนการท่องบทมากกว่าบทสนทนา ในขณะที่ภาพยนตร์ ซูเปอร์ฮีโร่ของประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถสอดแทรกปรัชญา มุกตลก หรือข้อมูลส าคัญลงใน ภาพยนตร์ด้วย นอกจากนี้ภาพยนตร์ Guardians ยังละเลยข้อมูลตัวละครบางตัวอย่างเช่น ตัวละคร พลตรี นิโคไล ดอลกอฟ (Nikolai Dolgov) ภาพยนตร์ไม่เปิดเผยถึงเหตุผลท าไมตัวละครนี้จึงต้องท า ข้อตกลงกับคูราตอฟที่ต้องส่งตัวผู้พิทักษ์ให้เขา จุดประสงค์และความสัมพันธ์ของตัวละครทั้งสองไม่มี อะไรแสดงออกมาให้เห็น ทั้งที่ตัวละครนิโคไลเป็นตัวแปรส าคัญที่ท าให้ผู้พิทักษ์ต้องถูกรวมตัวกลับมา อีกครั้ง อีกทั้งคาแรคเตอร์ตัวละครนั้นมีความจ าเจเมื่อเทียบกับภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่จากหลาย ๆ เรื่อง ท าให้ผู้ชมไม่รู้สึกอยากจะตัดสินใจที่อยากดูภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะไม่มีความแปลกใหม่ คาด เดาง่าย ประการต่อมาการให้คะแนนภาพยนตร์ และค าวิจารณ์ภาพยนตร์ ภาพยนตร์ที่ประสบ ความส าเร็จส่วนใหญ่จะได้คะแนน หรือค าวิจารณ์ภาพยนตร์อย่างล้นหลามจากเว็บรีวิวภาพยนตร์ อย่าง IMDB และ Rotten Tomatoes รวมถึงเว็บบอร์ดต่าง ๆ ที่มีกระทู้เกี่ยวกับวิจารณ์ภาพยนตร์ ค าวิจารณ์ของเหล่านักวิจารณ์หรือผู้ชมต่าง ๆ มีส่วนท าให้ผู้บริโภคที่ยังไม่ได้รับชมภาพยนตร์เกิดการ ตัดสินใจว่าจะต้องการดูเรื่องนี้หรือไม่ ถ้าภาพยนตร์ที่มีคะแนนสูง และถูกพูดถึงว่าสนุกสนานและดี จะท าให้การตัดสินใจเข้าชมนั้นไม่ใช่เรื่องยากที่จะต้องยอมจ่ายเงินไปชม แต่กลับกันถ้าหาก ภาพยนตร์นั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างแย่ และได้รับคะแนนต่ า จะส่งผลให้คนไม่กล้าตัดสินใจที่จะ เข้าชมภาพยนตร์นั้น เพราะอาจจะไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป ซึ่งภาพยนตร์ Guardiansเองนั้นได้รับ คะแนนที่น้อยมาก และมีการรีวิวภาพยนตร์ที่น้อยเช่นกัน ภาพยนตร์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความ เลวร้ายในตัวบทพอสมควร ท าให้คนไม่อยากไปดูภาพยนตร์เรื่องนี้ แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะออกจาก โรงภาพยนตร์แล้วก็ไม่มีใครพูดถึงอีกเลย ประการสุดท้ายคือ ภาพยนตร์ Guardians นี้ไม่มีความสมเหตุสมผลและขาดหลักการ ที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงหลายอย่าง ผู้พิทักษ์ทั้ง 4 นั้นเกิดจากการทดลองวิทยาศาสตร์แต่ในฉาก สุดท้ายของพวกเขาที่ต้องก าจัดคูราตอฟนั้นกลับใช้การพลังรวมกันท าให้จากภาพยนตร์ไซไฟ (Sci-fi) กลับกลายเป็นภาพยนตร์แฟนตาซี (Fantacy) ที่ใช้เวทมนตร์ต่อกรกับคูราตอฟ นอกจากนี้ภาพยนตร์ 69

ไม่ได้ถ่ายทอดผู้คนอื่น หรือประชาชนทั่วไปนอกจากกองก าลังทหาร ท าให้ไม่รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่หรื อภัยอันตราย เช่น ฉากที่คูราตอฟนั้นยึดเมืองมอสโก แต่ไม่มีประชาชนปรากฏในภาพยนตร์เลย

5.3 วิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับต านาน

5.3.1 วิเคราะห์ภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จด้วยแนวคิดเกี่ยวกับตานาน การวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับต านานจะยกตัวอย่างภาพยนตร์ 3 เรื่องที่ประสบ ความส าเร็จโดยสะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับต านานและมีความเป็นเอกลักษณ์จากค่ายภาพยนตร์ 3 ค่าย ได้แก่ Marvel Studios, 20th Century Fox และ Warner Bros. Pictures กับ DC Entertainment ภาพยนตร์ที่สะท้อนเกี่ยวกับต านานเรื่องเล่าเรื่องแรกที่จะกล่าวถึงคือ ภาพยนตร์ เรื่อง Thor ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่จากค่ายมาร์เวล สตูดิโอ ฉายครั้งแรกในปีค.ศ. 2011 เป็นภาพยนตร์ ล าดับที่ 4 ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล หรือ Marvel Cinematic Universe (MCU) โดยตัวละคร หลัก Thor ได้รับแรงบัลดาลใจจากเทพปกรณัมนอร์สที่มีชื่อเดียวกัน เป็นเทพถือค้อนเป็นอาวุธที่ สามารถสร้างสายฟ้า พายุ และมีพละก าลังมหาศาล ซึ่งตัวละคร Thor ในคอมมิคการ์ตูนและ ภาพยนตร์นั้นมีลักษณะเดียวกัน นอกจากตัวละครเอกในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับ ต านาน ตัววายร้ายอย่าง โลกิ (Loki) ก็เป็นตัวละครที่ได้รับแรงบันดาลใจจากต านานเดียวกัน โลกิใน เทพปกรณัมนอร์สเป็นเทพที่นิสัยเกเรซุกซน โลกิเป็นผู้ที่ชอบช่วยเหลือผู้คน แต่บางครั้งก็เป็นผู้ท าลาย และสร้างปัญหาผู้คน ซึ่งโลกิในภาพยนตร์ธอร์ก็สะท้อนออกมาในลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้ ภาพยนตร์ Thor ยังบอกเล่าเรื่องราวปรัมปรานอร์ส หรือเรื่องปรัมปราสแกนดิเนเวียอย่างแปลกใหม่ แม้ว่าเรื่องปรัมปรานอร์สเคยเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์ส ซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิ ยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมา แม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ แต่ ภาพยนตร์ Thor ได้น าต านานเก่าแก่ผสมผสานกับความสมัยใหม่ ท าให้ตัวละครที่มีสถานะเป็นเทพใน ภาพยนตร์สามารถเป็นซูเปอร์ฮีโร่ได้และเข้าร่วมทีมต่อสู้กับมนุษย์ในภาพยนตร์ต่อมาของมาร์เวล สตูดิโออย่างลงตัว

70

ภาพที่ 5.1 “Thor (2011),”IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt0800369/?ref_=ttmi_tt.

ภาพยนตร์เรื่องต่อมา คือ ภาพยนตร์ตระกูล X-men จากค่าย 20th Century Fox ตัวละครจีน เกรย์ (Jean Grey) เป็นซูเปอร์ฮีโร่มาร์เวลคอมมิคที่มีพลังพิเศษสามารถควบคุมพลังจิต โทรจิต และได้รับพลังฟีนิกส์ฟอร์ส (Phoenix Force) เป็นแก่นสารพลังงานสูงที่มีอยู่ในจักรวาล ท าให้ จีน เกรย์เป็น X-men ที่มีพลังสูงสุดและอันตายที่สุด ซึ่งฟีนิกส์ฟอร์สมาจากต านานนกฟีนิกส์เป็นสัตว์ ในต านานที่ปรากฏในปกรณัมของหลาย ๆ ชนชาติ รวมถึงประเทศรัสเซียเองก็มีต านานที่เกี่ยวข้อง กับฟีนิกส์เช่นกัน นกฟีนิกซ์เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นอมตะ มีชีวิตยั่งยืนนิรันดร์ เพราะสามารถฟื้น คืนชีพได้ด้วยตัวเอง ฟีนิกส์ฟอร์สในภาพยนตร์เอกซ์เมนมีความคล้ายคลึงกับฟีนิกส์ในต านาน เป็นพลัง แห่งอมตะ ไร้ขีดก าจัด และไม่มีสิ้นสุด เปลวไฟมีพลังท าลายล้างสูงเมื่อพลังมาอยู่ในตัวละครจีน เกรย์ ท าให้เธอสามารถเปลี่ยนแปลงหรือแยกส่วนโมเลกุลของวัตถุได้ แม้ว่าเธอตายไปแล้ว แต่เธอสามารถ ฟื้นกลับขึ้นมาอีกครั้งในสภาพที่มีพลังมหาศาลท าได้อย่างใจนึก

71

ภาพที่ 5.2 “X-Men: Dark Phoenix (2019),”IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt0800369/?ref_=ttmi_tt.

ต่อมาภาพยนตร์ Aquaman ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่จากค่าย Warner Bros. Pictures และ DC Entertainment ฉายครั้งแรกในปี ค.ศ. 2018 ภาพยนตร์ Aquaman มีภาพสะท้อนต านาน เก่าแก่โบราณเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงถึงอาณาจักรแอตแลนตีส (Atlantis) เป็นอาณาจักรใต้ทะเลที่ มีเทคโนโลยีและเจริญก้าวหน้า แอตแลนตีสเป็นอาณาจักรโบราณในต านานโดย เพลโต (Plato) นัก ปรัชญาชาวกรีกโบราณได้กล่าวถึงแอตแลนตีสว่า อาณาจักรแอตแลนติสเป็นอาณาจักรหนึ่งที่อยู่ใน มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) มีเทคโนโลยีที่สูงส่ง ซึ่งภาพยนตร์ Aquaman ได้ถ่ายทอด อาณาจักรแอตแลนตีสเหมือนในต านานที่เพลโตกล่าวไว้ ประการที่สองภาพยนตร์ได้มีการถ่ายทอดถึงสัตว์ในต านานอย่างตัวละคร อสูรคาราเดน (Karathen) สัตว์ทะเลที่เฝ้าตรีศูลขอกษัตริย์แอตแลนตีส ได้รับแรงบันดาลใจมาจากต านานเลวีอาธาน (Leviathan) เป็นสัตว์ร้ายในทะเลจากต านานของชาวฮิบรูตามความในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลในศาสนา คริสต์ แม้ว่าต านานเลวีอาธานจะเป็นสัตว์ร้ายแต่ในภาพยนตร์ Aquaman กลับถ่ายทอดให้อสูรคารา เดนเป็นสัตว์รับใช้ของกษัตริย์แอตแลนตีส และ Aquaman ที่มีความจงรักภักดี

72

ประการสุดท้ายนักแสดง เจสัน โมโมอา (Jason Momoa) ผู้รับบทเป็น อาเธอร์ เคอร์รี่ (Arthur Curry) หรือ Aquaman เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า เขาต้องการถ่ายทอดความภาคภูมิใจของชาว เกาะทุกชาติพันธุ์ผ่านรอยสักของตัวเขาที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมของชาวโพลีนีเซีย (Polynesians) โดย Aquaman ในภาพยนตร์นี้จะเป็นเหมือนต านานเทพแห่งท้องทะเลคานาโลอา (Kanaloa) และ วีรบุรุษครึ่งคนครึ่งเทพเมาอี (Maui)1 ซึ่งบุคลิกของ Aquaman ในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ มีบุคลิกที่หยาบคาย ก้าวร้าว แต่มีความเสียสละและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น บุคลิกทั้งหมดนั้นสะท้อนมา จากเทพคานาโลอาและเมาอี

ภาพที่ 5.3 “Aquaman (2018),”IMDB, accessed March 2, 2020, https://www.imdb.com/title/tt0800369/?ref_=ttmi_tt.

5.3.2 วิเคราะห์ความล้มเหลวของภาพยนตร์ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับต านาน ต านานเป็นเครื่องมือที่ชี้ให้เห็นถึงวิถีการด าเนินชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมและ ความเชื่อเป็นสื่อทางวัฒนธรรมที่แสดงออกให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่บ่งบอกสัญลักษณ์แสดง ตัวตน หรือขยายสืบทอดประเพณี เกิดโครงสร้างสังคม และสร้างโลกทัศน์อันหนึ่งอันใดที่มีต่อ สภาพแวดล้อมในสังคมนั้น ท าให้เห็นถึงตัวตนของกลุ่มคนแต่ละกลุ่มผ่านเรื่องเล่าเหล่านั้นได้ ถึงแม้ว่า การเล่าเรื่องจะมีความแตกต่างกันในเชิงเนื้อหาและเค้าโครงเรื่อง ตามแต่ที่จะประดิษฐ์เนื้อหาขึ้นมา ใหม่หรือดัดแปลงไปจากเดิมอย่างไรก็ตาม แต่จุดเหมือนของต านานคือรูปแบบของเรื่องที่จะสามารถ ท าให้เราสามารถเข้าใจถึงความเชื่อและโลกทัศน์ของกลุ่มคนต่าง ๆ ที่อยู่รวมกันในสังคมนั้น ๆ ได้

1 ANDY CRUMP, “'Aquaman' Star Jason Momoa Talks Superhero Diversity”, Screen Rant, accessed March 20, 2020, https://screenrant.com/aquaman-movie-jason-momoa-justice-league-diversity/. 73

ภาพยนตร์ Guardiansของรัสเซีย ไม่มีภาพสะท้อนที่เกี่ยวข้องกับต านานใด ๆ ไม่มีความ เชื่อมโยงของตัวละครหลักทั้ง 5 คน กับต านานหรือวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่รัสเซียก าลังพยายามสร้างให้ ผู้คนตระหนักถึงร่วมกัน แม้ว่าประเทศรัสเซียเองนั้นมีต านานต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสนา รวมถึงตัวละครนิทานปรัมปรา หรือเทพนิยายมากมาย ที่สามารถสร้างเป็นตัวละคร และ ถ่ายทอดออกมาในภาพยนตร์ให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ของรัสเซียได้ บางต านานของประเทศรัสเซีย ก็สามารถเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับชนชาติอื่นได้ เช่น สัตว์ในต านานอย่าง ฟีนิกส์ เป็นสัตว์ในต านานที่ หลายคนรู้จัก อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดฟีนิกส์ผ่านมุมมองต านานของรัสเซียได้ว่าแตกต่างจากต านาน ชนชาติอื่นอย่างไร หรือตัวละครจากนิทานพื้นบ้านอย่างอีวานคนโง่ (Ivan the Stupid) สามารถน า บุคลิกตัวละครมาสร้างเป็นซูเปอร์ฮีโร่ที่มีพลังพิเศษที่โชคดี พร้อมกับบุคลิกที่โง่เขลาของเขาได้ ดังนั้นหนึ่งในปัจจัยปัจจัยที่จะท าให้ภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์ประสบความส าเร็จได้ นั่คือ การท าให้ซูเปอร์ฮีโร่เป็นเสมือนกับหนึ่งในสมาชิกของสังคม หรือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของ ตนเองที่ผู้คนในสังคมนั้นสามารถสัมผัส และเข้าถึงร่วมกันได้ วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะท าได้คือ การน าเอา ต านานต่าง ๆ ที่คนทั่วไปรู้จักอยู่แล้วมาดัดแปลงให้กลายมาอยู่ในบริบทสมัยใหม่ เหมือนในภาพยนตร์ Thor ภาพยนตร์ X-men และภาพยนตร์ Aquaman ที่กล่าวไปข้างต้น 74

บทที่ 6 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ

6.1 สรุปผลการศึกษา

สาเหตุของความล้มเหลวในการพยายามสร้างภาพยนตร์ประเภทยอดมนุษย์ของ สหพันธรัฐรัสเซียในกรณีศึกษา: ภาพยนตร์ Guardians (2017) นั้นมีหลายประการดังนี้ ประการแรก ภาพยนตร์ Guardians พยายามที่จะเดินตามแบบสูตรส าเร็จของ ภาพยนตร์อเมริกา โดยมีการลอกเลียนแบบตัวละครซูเปอร์ฮีโร่จากอเมริกาแต่ไม่ประสบความส าเร็จ อีกทั้งตัวละครของมาร์เวสตูดิโอเดิมทีมีชื่อเสียงจากการ์ตูนคอมมิคมาก่อนที่จะลงจอภาพยนตร์ ในขณะที่ภาพยนตร์ Guardians เพิ่งสร้างตัวละครผ่านคอมมิคก่อนภาพยนตร์ฉายเพียง 1 ปี ซึ่ง ระยะเวลายังไม่เพียงพอที่จะสร้างให้ตัวละครนั้นเติบโตพอ และมีเนื้อเรื่องที่มากพอที่จะสร้างเป็น ภาพยนตร์ อีกทั้งตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ไม่มีความน่าดึงดูด และไม่สร้างเอกลักษณ์ใด ๆ ที่สื่อถึงประเทศ รัสเซียท าให้ตัวละครไม่มีที่มาที่ไปและประวัติที่แน่ชัด ประการที่สอง การสร้างเนื้อเรื่องภาพยนตร์และตัวละคร ที่ขาดความเป็นเอกลักษณ์ จ าเจ ไม่มีความน่าดึงดูด และไม่มีสิ่งที่สามารถสื่อออกมาถึงความเป็นชาติรัสเซียได้ ตลอดจน ภาพยนตร์ Guardians มีความคล้ายคลึงกับภาพยนตร์ Fantastic 4 ทั้งเนื้อเรื่องและตัวละครนั้น ท า ให้ไม่รู้สึกถึงความแปลกใหม่ อีกทั้งการน าเสนอของตัวละครไม่มีความสนใจและผู้ชมไม่รู้สึกผูกพันกับ ตัวละครในภาพยนตร์ อีกทั้งภาพยนตร์ Guardians ไม่ค่อยน าเสนอถึงความเป็นประเทศรัสเซียทั้ง ผ่านตัวละคร เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่สามารถน าเสนอความเป็นอเมริกา นิยม รวมถึงสอดแทรกแนวคิดทางการเมืองผ่านภาพยนตร์อย่างชัดเจน นอกจากนี้ตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ และจอมวายร้ายของสหรัฐอเมริกาเองยังสร้างภาพสะท้อนความคิด ทัศคติ และปรัชญาท าให้ผู้ชม ได้รับแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต และน าเสนอที่มาที่ไป ความเป็นมาของตัววายร้ายว่าเกิดจากอะไร ท าไมคนธรรมดาคนหนึ่งถึงได้กลายมาเป็นวายร้ายได้ ในขณะที่ภาพยนตร์ Guardians ไม่ได้น าเสนอ แง่มุมนี้มากนัก และไม่สามารถให้ค าอธิบายแก่ผู้ชมได้อย่างชัดเจนว่า อะไรเป็นแรงจูงใจที่ท าให้คูรา ตอฟต้องสร้างกองทัพขนาดใหญ่และพยายามยึดครองมอสโก 75

ประการที่สาม ภาพยนตร์ Guardians มีสัญญะที่สื่อถึงประเทศรัสเซียน้อยมาก เมื่อ เทียบกับภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จของอเมริกาที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงความเป็นอยู่ผู้คน หรือ วัฒนธรรม ท าให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีกลิ่นอายความเป็นรัสเซียที่น้อยมาก ไม่มีความเชื่อมโยงทาง แนวคิด หรือสื่อที่จะท าให้ผู้ชมเข้าถึงอารมณ์ร่วมผ่านตัวละครในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ อีกทั้งบทบาท ของรัฐบาลในภาพยนตร์ไม่มีปรากฏให้เห็นท าให้ไม่น่าสนใจทั้งที่ซูเปอร์ฮีโร่นั้นเป็นถึงตัวแทน ระดับชาติที่ปกป้องแผ่นดินแต่กลับไม่มีบทบาทของรัฐบาลที่เปิดเผยตัวในเรื่อง ประการที่สี่ การวางโครงเรื่องของภาพยนตร์ Guardians ไม่ต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับความ ของซูเปอร์ฮีโร่ของมาร์เวล จะเห็นว่ามีการวางแผนโครงเรื่องที่ต่อเนื่องกัน โดยใช้การสร้างภาพยนตร์ เดี่ยวของแต่ละตัวละครมาก่อนที่จะสร้างภาพยนตร์รวมตัวกัน เพื่อสร้างความเข้าใจและผูกพันของตัว ละครต่อผู้ชม อีกทั้งการรวมตัวของซูเปอร์ฮีโร่ในภาพยนตร์โดยที่ไม่ได้มีเนื้อเรื่องของแต่ละตัวมาก่อน ท าให้การเล่าเรื่องของภาพยนตร์เสียเวลาในการที่จะปูเรื่องราวของแต่ละคนก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาหลัก นอกจากนี้ภาพยนตร์ Guardians ยังขาดบทสนทนาที่ท าให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของตัวละคร ทัศคติ หรือความคิดเมื่อเทียบกับภาพยนตร์ที่ประสบความส าเร็จ บทสนทนาถือเป็นจุดที่ส าคัญที่ท าให้ผู้ชม ทราบถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ จากตัวละครที่เล่าเรื่องราวออกมา ยิ่งไปกว่านั้นยังแสดงให้เห็นตัวแปรต่าง ๆ จากบทสนทนาที่ท าให้ภาพยนตร์ต้องด าเนินเรื่องแก้ปมปัญหานั้น ๆ ถ้าหากภาพยนตร์ Guardians เตรียมการสร้างภาพยนตร์แบบแผนโดยใช้หลักการเดียวกับมาร์เวลก็สามารถท าให้ภาพยนตร์เติบโต และประสบความส าเร็จขึ้นมาได้ ประการที่ห้า ทุนในการสร้างภาพยนตร์ Guardians นั้นน้อยมาก ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ ต้องใช้ทุนสร้างภาพยนตร์เป็นจ านวนพอสมควร แต่ไม่จ าเป็นต้องมากเกินไปเพื่อให้ผลงานออกมามี คุณภาพและไม่มีปัญหา อาทิ ฉาก สถานที่ถ่ายท า อุปกรณ์ถ่ายท าหรือตัดต่อ แต่ภาพยนตร์ Guardians ใช้ทุนสร้างเพียง 5.4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ท าให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ขาดคุณภาพอย่าง สมเหตุสมผล ประการที่หก การตีความภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ของภาพยนตร์ Guardians ขาดความ สมเหตุสมผล ทั้งตัวซูเปอร์ฮีโร่เองและตัวว้ายร้าย ตัววายร้ายของภาพยนตร์ Guardians ถูกตีความให้ กลายเป็นคนที่ไม่มีเหตุผลอะไรเลย นอกจากความต้องการที่จะครองโลก ส่วนตัวซูเปอร์ฮีโร่เอง ภาพยนตร์ไม่แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่ต้องการกลับมาเป็นผู้พิทักษ์ ท าให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ขาด ความน่าสนใจ เนื้อเรื่องสามารถคาดเดาง่าย ไม่มีปมปัญหาที่ท าให้ภาพยนตร์พลิกผัน 76

ประการสุดท้าย ประเทศรัสเซียเองมีต านานเรื่องเล่าเก่าแก่เป็นจ านวนมาก ไม่ว่าจะเป็น เทพปกรณัม หรือวีรบุรุษที่มีตัวจนจริงในประวัติศาสตร์ของรัสเซีย แต่ภาพยนตร์ Guardians กลับไม่ ใช้จุดนี้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งที่ในวัฒนธรรมและต านานของรัสเซีย มีวัตถุดิบให้เลือกมากมายที่สามารถ สะท้อนออกมาเป็นตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมรัสเซียผ่านภาพยนตร์ออกมาให้คนทั้ง โลกได้เห็น อีกทั้งยังสามารถสร้างเอกลักษณ์ให้ตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ของรัสเซียได้ด้วย สาเหตุดังกล่าวท า ให้ตัวละครของภาพยนตร์เรื่องนี้มีความจ าเจและไม่น่าแปลกใหม่ ส่งผลให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ประสบ ความส าเร็จ

6.2 ข้อเสนอแนะ

จากข้อมูลการวิจัยที่ได้ท าการศึกษาในชิ้นงาน สามารถสรุปและเรียบเรียงข้อเสนอแนะ ได้ดังนี้ 6.2.1 การสร้างตัวละครยอดมนุษย์หรือซูเปอร์ฮีโร่ จะต้องแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตตั้งแต่ แรก เพื่อที่จะท าให้ผู้ชมเข้าใจถึงความเป็นมาของตัวละคร และไม่จ าเป็นว่าซูเปอร์ฮีโร่ทุกคนจะต้อง เป็นคนที่มีพลังพิเศษ แต่ตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ต้องสามารถตีความและให้อะไรกับผู้ชมได้นอกเหนือจาก ฉากการต่อสู้ในภาพยนตร์ 6.2.2 หากประเทศไทยต้องการที่จะสร้างยอดมนุษย์หรือซูเปอร์ฮีโร่จะต้องค านึงถึง พื้นฐานความเป็นจริง และความสมเหตุสมผล ปัจจัยใดที่ท าให้เกิดซูเปอร์ฮีโร่และสร้างวายร้าย อีกทั้ง ต้องการสื่อความหมายใดให้กับผู้ชมได้รับ 6.2.3 ในการศึกษาการสร้างตัวละครยอดมนุษย์หรือซูเปอร์ฮีโร่ในเชิงลึกอาจจะต้องหา ข้อมูลโดยการสอบถามจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล 77

รายการอ้างอิง

หนังสือ

กฤษดา เกิดดี .ภาพยนตร์วิจารณ์ .กรุงเทพมหานคร: The Writer's Secret ,2016.

บทความวารสาร

Curtin, Brian Anthony, "Semiotics and Visual Representation," วารสารวิชาการ คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ฉ.1 (2551): 38-39.

ภาคนิพนธ์

กัญญาธิภัทร กฤดาภร และ อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์. การเล่าเรื่องและการประกอบสร้างตัวละครใน ภาพยนตร์ซุปเปอร์ฮีโร่ที่ท ารายได้สูงสุดของมาร์เวลสตูดิโอ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บัณฑิต, สาขาวารสารการสื่อสารและการจัดการ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560. พนัชกร วงศ์จันทร์. ภาพสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมรัสเซีย ในช่วงสหภาพโซเวียต ผ่าน ภาพยนตร์ «Москва слезам не верит» (คศ. 1980.). ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต, สาขา รัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561. รักษยา ศีลตระกูล. วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์ของรัสเซียผ่านผลงานภาพยนตร์ตะวันตก กรณีศึกษา ภาพยนตร์เรื่อง :Captain America. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต, สาขารัสเซีย ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์และบทความออนไลน์

“การบริหารและการตัดสินใจ (Management and Decision Making).” กองบัญชาการศึกษา ส านักงานต ารวจแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563. http://www.edupol.org/ pknow/Course/C2/document/02/12_4_1.pdf. 78

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. "สัญญะ." ส านักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563. http://www.royin.go.th/?knowledges=สัญญะ-๓๐-ตุลาคม-๒๕๕๗. "ต านาน." ส านักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563. http://www.royin. go.th/?knowledges=ต านาน-๑-กันยายน-๒๕๕๖. ปารณพัฒน์ แอนุ้ย. “เปิดบทวิเคราะห์หนัง ‘โจ๊กเกอร์’ JOKER กับความรุนแรงที่ตลกไม่ออก.” Workpoint News. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563. https://workpointnews.com/2019/10/03/joker-movies/. "สัญรูป." ส านักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม2563. http://www.royin.go.th/?knowledges=สัญรูป-๖-กรกฎาคม-๒๕๕๑. เอกรัฐ เลาหทัยวาณิชย์. “แนวคิดการสร้างภาพแทน (Representation).” ผู้จัดท า | ปริญญาเอก สาขาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563. https://phdcommunication.wordpress.com/2013/03/07/แนวคิดการสร้างภาพแทน- representation/.

Book and Book Articles

Becker, Gary S. A Theory of Marriage: Part I. Chicago: The University of Chicago Press, 1973 Edlitz, Mark. How to Be a Superhero. Orlando: BearManor Media, 2015 Fingeroth, “Hotel Switchboard Operators” ,From The Saturday Evening Post, )June 21, 1941(. Goldenberg, Jamie L, and Jamie Arndt. Psychological Review. Washington: APA PsycNET, 2008 Lehman, Peter, and William Luhr. Thinking About Movies: Watching, Questioning, Enjoying. New Jersey: Wiley-Blackwell, 2003 MD, Sharon Packer. Superheroes and Superegos: Analyzing the Minds Behind the Masks. California: ABC-CLIO, 2010 Muir, John Kenneth. The Encyclopedia of Superheroes on Film and Television. North Carolina: McFarland, 2014 79

Patrick, Kevin. The Phantom Unmasked: America's First Superhero. Iowa: University of Iowa Press, 2017 Reynolds, Richard. Super Heroes: A Modern Mythology. Mississippi: University Press of Mississippi, 1994 Rosenberg, Robin S, and Peter Coogan ,What is a Superhero. Oxford: Oxford University Press, 2013

Electronic Media

“Aquaman (2018).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/ title/tt0800369/?ref_=ttmi_tt. “Avengers: Endgame (2019).” IMDB. Accessed March 2, 2020.https://www.imdb. com/title/tt4154796/mediaviewer/rm2775147008. “Batman Begins (2005).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/ title/tt0372784/mediaviewer/rm277354496. “Black Panther (2018).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/ title/tt1825683/mediaviewer/rm172972800. 80

“Captain America: The Winter Soldier (2014).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title/tt1843866/mediaviewer/rm179882752. “Fantastic 4: Rise of the Silver Surfer (2007).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title/tt0486576/mediaviewer/rm2199671808. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm1029256192. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. http://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm861484032. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. http://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm3663213568. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm2683511552. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. http://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm3612881920. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm276564736. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm1702628096. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm192678656. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm293341952. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm511445760. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm844706816. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm911815680. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm1702628096. 81

“Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm710489088. “Guardians (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt4600952/mediaviewer/rm28318464. “Joker (2019).” IMDB. Accessed March 2, 2020.http://www.imdb.com/title/tt728 6456/mediaviewer/rm3353122305. Kevan Farrow. “Shout Factory Bringing Russian Superhero Flick Guardians to Disc, SCREAM - The World's Number One Horror Magazine.” Accessed March 2, 2020. http://www.screamhorrormag.com/shout-factory- bringing-russian-superhero-flick-guardians-disc/. “Kick-Ass (2010).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title /tt1250777/mediaviewer/rm633638656. “Logan (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. http://www.imdb.com/title /tt3315342/mediaviewer/rm1680749056. “Movie review: 'Guardians' (2017).” flayrah, Accessed March 2, 2020. http:// www.flayrah.com/7153/movie-review-guardians-2017. “Narrative structure in film.” Slideshare, Accessed March 2, 2020. http://image. slidesharecdn.com/narrativestructureinfilm-130904142952-/95/narrative- structure-in-film-5-63.jpg?cb=1378305058. “Ostankino Tower.” Wikipedia, Accessed March 2, 2020. https://en.wikipedia.org/wiki /File:Ostankino_Tower,_2015.JPG. “SEBASTIEN SISAK.” AlloCine, Accessed March 2, 2020.http://www.allocine.fr /personne/fichepersonne-746243/photos/detail/?cmediafile=21397186. SIDDHANT ADLAKHA. “GUARDIANS Review: Russia’s Underwhelming Avengers. Birth.Movies.Death.” Accessed March 20, 2020. https://birthmovies death.com/2017/03/02/guardians-review-russias-underwhelming-avengers. “Spider-Man 3 (2007).” IMDB. Accessed March 2, 2020.https://www.imdb.com/ title/tt0413300/mediaviewer/rm1494325248 82

“Spider-Man: Homecoming (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. http://www .imdb.com/title/tt2250912/mediaviewer/rm1911959296. Stephanie Cookies. “Zaschitniki (Guardians) is the Russian Superhero Film You’ve Been Looking For. Geek Girl Authority.” Accessed February 3, 2020. https://www.geekgirlauthority.com/zaschitniki/. “Superman Returns (2006).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb .com/title/tt0348150/mediaviewer/rm183061504. “The Surprising Origin Story of Wonder Woman.” Smithsonian Magazine, Accessed March 2, 2020. https://www.smithsonianmag.com/arts-culture/origin-story- wonder-woman-180952710/. “Thor (2011).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb.com/title/ tt0800369/?ref_=ttmi_tt. “Whiplash.” Marvel Cinematic Universe Wiki, Accessed March 2. 2020, https://marvel cinematicuniverse.fandom.com/wiki/Whiplash. “Wonder Woman (2017).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www.imdb. com/title/tt0451279/mediaviewer/rm1404907776. “X-Men: Dark Phoenix (2019).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https://www. imdb.com/title/tt0800369/?ref_=ttmi_tt. “X-Men: Days of Future Past (2014).” IMDB. Accessed March 2, 2020. https:// www.imdb.com/title/tt1877832/mediaviewer/rm2878803456.

Электронные Данные

“Защитники (2017).” Киномания. Доступ 11 мая 2020 года https://www.kinoma nia.ru/film/786755/trailers/46856.

83

Антон Долин. “Защитники.” медведь снимает штаны. Meduza. Доступ 11 мая 2020 года https://meduza.io/feature/2017/02/23/filmy-na-nedelyu- patrioticheskie-i-uzhasayuschie-zaschitniki-a-takzhe-dzheki-toni-erdmann-i- slishkom-svobodnyy-chelovek. Егор Москвитин. “Защитники.” Сарика Андреасяна. наш ответ Говарду-утке. Афиша Daily. Доступ 11 мая 2020 года,https://daily.afisha.ru/cinema/4639- zaschitniki-nash-otvet-govardu-utke/.

84

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ นางสาวนัยนา พูลสวัสดิ์ วันเดือนปีเกิด 8 มิถุนายน 2540 วุฒิการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา: ปีการศึกษา 2552-2557 โรงเรียน สตรีวัดระฆัง ระดับอุดมศึกษา: ปีการศึกษา 2558 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชารัสเซีย ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์