เอกสารวิชาการฉบบทั ี่ 1 /๒๕๕7 Technical Paper No. 1/2014

การศึกษาอุปนิสัยการกินอาหารของปลาม้า Boesemania microlepis Bleeker, 1858 ในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว Study on Feeding Habit of Soldier Croaker, Boesemania microlepis Bleeker, 1858 in Kraseaw Dam

ธนาภรณ์ จิตตปาลพงศ ์ Tanaporn Chittapalapong วิภารัตน์ ทองงอก Wiparat Thong-ngok อุไรวรรณ กว้างขวาง Uraiwan Kwangkhwang

ราชการบริหารส่วนกลาง Central Administrative Office กรมประมง Department of Fisheries กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ Ministry of Agriculture and Cooperatives

เอกสารวชาการฉบิ บทั ี่ 1 /๒๕๕7 Technical Paper No.1/2014

การศึกษาอุปนิสัยการกินอาหารของปลาม้า Boesemania microlepis Bleeker, 1858 ในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว Study on Feeding Habit of Soldier Croaker, Boesemania microlepis Bleeker, 1858 in Kraseaw Dam

ธนาภรณ์ จิตตปาลพงศ ์ Tanaporn Chittapalapong วิภารัตน์ ทองงอก Wiparat Thong-ngok อุไรวรรณ กว้างขวาง Uraiwan Kwangkhwang

ราชการบริหารส่วนกลาง Central Administrative Office กรมประมง Department of Fisheries ๒๕๕7 2014

รหัสทะเบียนวิจัย 57-1600-57085

สารบาญ

หน้า บทคัดย่อ 1 Abstract 1 คํานํา 3 วัตถุประสงค์ 3 วิธีดําเนินการ 4 ผลการศึกษาและวิจารณ์ผล 7 1. ปลาม้า 7 2. อาหารและการกินอาหาร 9 3. แนวโน้มการกินอาหารเมื่อความยาวปลาม้าเพิ่มขึ้น 12 สรุป 16 ข้อเสนอแนะ 16 เอกสารอ้างอิง 17 ภาคผนวก 18

สารบาญตาราง

ตารางที่ หน้า 1 น้ําหนัก ความยาว และปริมาณอาหารของปลาม้าในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว 9 2 ปริมาณกลุ่มอาหารที่พบในทางเดินอาหารของปลาม้าในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว 11 3 น้ําหนัก ความยาว และปริมาณอาหารของปลาม้าขนาดต่างๆ ในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว 12 4 ปริมาณกลุ่มอาหารในทางเดินอาหารของปลาม้าที่ขนาดความยาวต่างๆ 14

สารบาญภาพ

ภาพที่ หน้า 1 อ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี 4 2 ปลาม้าในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี 7 3 (ก) ฟันใหญ่ที่ขากรรไกร (ข) กระเพาะลมของปลาม้า และ pair of appendages (ลูกศรชี้) 8 4 ทางเดินอาหารของปลาม้า 10 5 ร้อยละของกลุ่มอาหารที่พบในทางเดินอาหารของปลาม้าในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว 11 6 ปริมาณกลุ่มอาหารในทางเดินอาหารของปลาม้า (ร้อยละ) ที่ขนาดความยาวต่างๆ 14 7 ภาพ 2 มิติของการวิเคราะห์ MDS ขององค์ประกอบของอาหารที่พบในทางเดินอาหารปลา 15 ม้าโดยจําแนกตามขนาดความยาวลําตัวปลา

ภาพผนวกที่ หน้า 1 กลุ่มปลา 18 2 กลุ่มกุ้ง 18 3 กลุ่มหอย 19 4 กลุ่มไส้เดือน 19 5 กลุ่มตัวอ่อนแมลง 20 6 กลุ่มแมลงตัวเต็มวัย 20 7 กลุ่มเหาน้ํา 21 8 กลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ 21

การศึกษาอุปนิสัยการกนอาหารของปลามิ ้า Boesemania microlepis Bleeker, 1858 ในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว Study on Feeding Habit of Soldier Croaker, Boesemania microlepis Bleeker, 1858 in Kraseaw Dam

ธนาภรณ์ จิตตปาลพงศ์*1 วิภารัตน์ ทองงอก2 และ อุไรวรรณ กว้างขวาง2 Tanaporn Chittapalapong*1 Wiparat Thong-ngok2 And Uraiwan Kwangkhwang2

บทคัดย่อ

การศึกษาอุปนิสัยการกินอาหารของปลาม้าในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว ระหว่างเดือนเมษายนถึง กันยายน 2552 ได้ตัวอย่างรวม 352 ตัว มีผลสรุปดังนี้ ปลาม้ามีความยาวเหยียดเฉลี่ย 29.32 เซนติเมตร น้ําหนัก เฉลี่ย 355.9 กรัม ทางเดินอาหารยาวเฉลี่ย 15.3 เซนติเมตร หรือ 0.52 เท ่าของความยาวเหยียด มีความจุอาหาร ในกระเพาะเฉลี่ยที่ระดับ 3 และมีปริมาณอาหารในทางเดินอาหารเฉลี่ย 1.7512 กรัม หรือร้อยละ 0.69 ของ น้ําหนักตัวปลา โดยกินอาหาร 8 กลุ่ม ได้แก่ ปลา กุ้ง ตัวอ่อนแมลง หอย แพลงก์ตอนสัตว์ แมลงตัวเต็มวัย ไส้เดือน น้ํา และเหาน้ํา โดยอาหารหลักเป็นปลา ส่วนตัวอ่อนแมลงเป็นอาหารรอง ปลาม้ามีการเปลี่ยนแปลงการกินอาหาร ที่ขนาด 9.1 20.1, 30.1, 50.1 และ 60.1 เซนติเมตร ตามลําดับ ปลาม้าจัดเป็นปลากินเนื้อ เป็นผู้ล่า และกินปลา ม้าด้วยกันเป็นอาหาร คําสําคัญ : ปลาม้า อุปนิสัยการกินอาหาร และอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว

Abstract

Three hundred and fifty two Soldier Croaker in Kraseaw dam were collected from April to September 2009 for study on feeding habit. They were investigated by analysis of stomach content. The average size was 29.32 cm. length, 355.9 g. weigh which gut and intestine was 15.3 cm length (0.52 of total length). The average stomach fullness and food was level 3 and 1.7512 g. (0.69 of body weigh). The results showed that food of Soldier Croaker composed of 8 groups such as fish, , insect larvae, mollusk, zooplankton, insect, oligochaeta and water mite. The staple food was fish, while its secondary staple was insect larvae. It changed the consumption at 9.1, 20.1, 30.1, 50.1 and 60.1 cm. respectively. Soldier Croaker was carnivorous and behaved as cannibalism. Key words : Soldier Croaker, feeding habit and Kraseaw dam

1 ราชการบริหารส่วนกลาง กรมประมง Central Administrative Office, Department of Fisheries 2 สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรประมงน้ําจืด กรมประมง 2

Inland Fisheries Resources Research and Development Institute *ผู้รับผิดชอบ : ชั้น 6 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง เกษตรกลาง เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2562-0542 Corresponding author: Floor 6 Chulaporn Building, Department of Fisheries, Chatuchak, Bangkok 10900 email: [email protected]

3

คํานํา

ภายหลังจากสถาบันวิจัยประมงน้ําจืด ได้ประสบความสําเร็จในการผสมเทียมปลาม้าเป็นครั้งแรก ในเดือนมกราคม 2534 สถานีประมงน้ําจืดจังหวัดชัยนาท และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ําจืดจังหวัดสุพรรณบุรี ทําการเพาะปลาม้าได้โดยวิธีธรรมชาติ และได้นําลูกปลาม้าไปปล่อยในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียวในเดือนมกราคม 2546 หลังจากนั้นปลายปี 2549 ได้มีผลจับปลาม้าขึ้นที่ท่ารับซื้อปลาที่อ่างเก็บน้ํา และมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในปีล่าสุด 2552 มีปริมาณปลาม้าถึง 24 ตัน (ที่มา: หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ําจืดเขื่อน กระเสียวจังหวัดสุพรรณบุรี) โดยในแหล่งน้ําธรรมชาติ ปี 2553 มีปริมาณปลาม้า 5.77 ตัน มูลค่า 531,710 บาท (กรมประมง, 2555) และในปี 2554 มีปริมาณปลาม้า 13.35 ตัน มูลค่า 1,424,480 บาท (กรมประมง, 2556) อาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยสําคัญที่ทําให้ปลาม้าเจริญเติบโต จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว แทนบางปลาม้า และดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักตกปลา ที่นิยมมาตกปลาม้าที่อ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว การศึกษาอุปนิสัยการกินอาหารของปลาม้าในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว จะทําให้ทราบถึงข้อมูลต่างๆ เช่น ชนิด อาหารที่ปลาม้าชอบ การเปลี่ยนชนิดอาหารเมื่อมีอายุ หรือเมื่อมีความยาวเพิ่มขึ้น ผลที่ได้จากการศึกษาจะนําไปใช้ ในการเลี้ยงปลาม้าเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต อ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว (ภาพที่ 1) เกิดจากการปิดกั้นลําน้ํากระเสียว ที่ตําบลด่านช้าง อําเภอ ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี กรมชลประทานได้ดําเนินการก่อสร้างเมื่อปี 2512 และเริ่มเก็บกักน้ําเมื่อปี 2521 กั้น ห้วยกระเสียว สาขาของแม่น้ําท่าจีนตอนที่เรียกว่า แม่น้ําสุพรรณบุรี ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนลูกรังปนดินเหนียว มีความ ยาวสันเขื่อนประมาณ 4.25 กิโลเมตร สูง 35.50 เมตร สันเขื่อนกว้าง 8 เมตร ฐานตอนกว้างที่สุด 170 เมตร ระดับ สันเขื่อน 92.50 ม.ร.ท.ก. สามารถเก็บกักน้ําได้สูงสุด 390 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื้อที่ผิวน้ํา 28,750 ไร่ มีพื้นที่รับ น้ําฝนประมาณ 1,220 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ําไหลเข้าอ่างโดยเฉลี่ยประมาณ 168 ล้านลูกบาศก์เมตร ราษฎรที่ อาศัยอยู่รอบๆ อ่างเก็บน้ํา มีอาชีพทํากสิกรรมและทําการประมง

วัตถุประสงค ์

ศึกษาองค์ประกอบของชนิดอาหารที่พบในทางเดินอาหารของปลาม้า

4 N

3

ท่าปลาร้า 2

ทุ่งดินดํา

1

ทับกระดาษ

2 mi

2 km

ภาพที่ 1 อ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี จุดเก็บตัวอย่าง

วิธีดําเนนการิ

1. สถานเกี ็บตวอยั ่าง

รวบรวมตัวปลาม้าโดยการซื้อจากท่าขึ้นปลา 3 แห่งในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียวที่ได้จากการจับ โดยใช้เครื่องมือข่ายและอวน จุดเก็บตัวอย่างที่ 1 บริเวณบ้านทับกระดาษ จุดเก็บตัวอย่างที่ 2 บริเวณท่าปลาร้า 5

จุดเก็บตัวอย่างที่ 3 บริเวณเขาจงอาง โดยเก็บตัวอย่างในเดือนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน 2552

2. วิธีการเก็บตัวอย่างปลา

แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้ 2.1 วิธีการนอกสนาม รวบรวมตัวอย่างปลาม้าโดยใช้เครื่องมือประมง ได้แก่ ข่าย อวน และซื้อตัวอย่างจากท่าขึ้นปลา ในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี วัดความยาวตัวปลา ชั่งน้ําหนัก จดบันทึกลงในแบบฟอร์ม ตัดส่วน ของกระเพาะอาหารและลําไส้ เก็บรักษาในน้ํายาฟอร์มาลิน 10% นําตัวอย่างกระเพาะมาวิเคราะห์ใน ห้องปฏิบัติการ 2.2 วิธีการในห้องปฏิบัติการ นําทางเดินอาหารของปลาออกมา ทําการยืดกระเพาะและทางเดินอาหาร วัดความยาวทางเดิน อาหาร วิเคราะห์ตัวอย่างโดยผ่ากระเพาะด้วยกรรไกร รีดอาหารในกระเพาะ และทางเดินอาหารลงใน petri dish ให้หมด นําไปชั่งน้ําหนักดัวยเครื่องชั่งทศนิยม 4 ตําแหน่ง แล้วนํามาทําการศึกษาองค์ประกอบของอาหารใน กระเพาะ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 2.2.1 จําแนกกลุ่มของอาหารโดยการศึกษาแบบหยาบผ่านกล้องจุลทรรศน์กําลังขยายต่ํา 2.2.2 ศึกษากลุ่มอาหารอย่างละเอียดผ่านกล้องจุลทรรศน์กําลังขยายสูง โดยสุ่มตัวอย่างอาหาร ที่ไม่สามารถจําแนกได้ (debris) มาทําสไลด์โดยเกลี่ย (smear) ตัวอย่างอาหาร กับกลีเซอร์ลีนในสไลด์หลุม ปิด ด้วยแผ่นปิดสไลด์ (cover glass) ทาขอบแผ่นปิดสไลด์ให้ติดกับสไลด์ ด้วยน้ํายาทาเล็บ โดยสไลด์ที่ทําเก็บได้นาน เกินกว่า 1 ปี นําสไลด์มาวิเคราะห์ชนิดอาหารด้วยกล้องจุลทรรศน์กําลังขยายสูง ตั้งแต่ 80, 200, 800 และ 2,000 เท่า การจําแนกกลุ่มของอาหารใช้เอกสารอ้างอิงของ ธนาภรณ์ และวิชมัย (2550) Needham and Needham (1957) Usinger (1968) และ Brandt (1974)

3. การวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 การวิเคราะห์ชนิด และปริมาณอาหาร ตรวจสอบชนิด และปริมาณอาหารที่ปลาม้ากินเข้าไปในเชิงปริมาณ และคุณภาพโดยใช้วิธีของ ธนาภรณ์ และคณะ (2552) โดยแบ่งชนิดอาหารที่พบออกเป็น 8 กลุ่ม ซึ่งให้ค่าของกลุ่มอาหารตามปริมาตร ขนาด ที่ยังมีชีวิต ความสําคัญของการให้พลังงาน และขนาดของชนิดปลาชนิดปลาที่นํามาศึกษาดังนี้ (ภาพผนวกที่ 1- 8) 3.1.1 กลุ่มปลา เป็นอาหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ให้พลังงานมาก มีค่าเท่ากับ 1 ได้แก่ปลาม้า ปลา แป้นแก้ว และปลาอื่นๆที่จําแนกไม่ได้ (ภาพผนวกที่ 1) 3.1.2 กลุ่มกุ้ง เป็นอาหารที่มีขนาดใหญ่ ให้พลังงานมาก มีค่าเท่ากับ 0.5 ได้แก่ กุ้งฝอย (ภาพ ผนวกที่ 2) 6

3.1.3 กลุ่มหอย เป็นอาหารที่มีขนาดปานกลาง ให้พลังงานปานกลาง มีค่าเท่ากับ 0.4 ได้แก่ หอย ฝาเดียว และหอย 2 ฝา (ภาพผนวกที่ 3) 3.1.4 กลุ่มไส้เดือนน้ํา เป็นอาหารที่มีขนาดปานกลาง ให้พลังงานปานกลาง มีค่าเท่ากับ 0.3 (ภาพผนวกที่ 4) 3.1.5 กลุ่มตัวอ่อนแมลง เป็นอาหารที่มีปานกลาง ให้พลังงานปานกลาง มีค่าเท่ากับ 0.3 ได้แก่ หนอนแดง ริ้น หนอนปลอกน้ํา แมลงชีปะขาว แมลงปอ (ภาพผนวกที่ 5) 3.1.6 กลุ่มแมลงตัวเต็มวัย เป็นแมลงที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในน้ํา (ไม่สามารถจําแนกได้) เป็นอาหารที่มี ขนาดปานกลาง ให้พลังงานปานกลาง มีค่าเท่ากับ 0.3 (ภาพผนวกที่ 6) 3.1.7 กลุ่มเหาน้ํา เป็นอาหารที่มีขนาดเล็ก ให้พลังงานน้อย มีค่าเท่ากับ 0.05 (ภาพผนวกที่ 7) 3.1.8 กลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหารที่มีขนาดเล็ก มีค่าเท่ากับ 0.05 ได้แก่ ไรแดง ไรขาว ไรหิน ไรหอยกาบ และโรติเฟอร์ (ภาพผนวกที่ 8) นําจํานวนกลุ่มอาหารที่พบในปลาแต่ละตัวมาบวกกัน จะได้เท่ากับน้ําหนักอาหารที่ชั่งได้ของปลา ตัวนั้น ตัวอย่างเช่น ปลาตัวที่ 1 พบอาหาร 5 กลุ่ม ได้แก่ ปลา กุ้ง ตัวอ่อนแมลง และแพลงก์ตอนสัตว์ โดยมีน้ําหนักอาหารในกระเพาะ 0.8946 กรัม ปลา + กุ้ง + ตัวอ่อนแมลง + แพลงก์ตอนสัตว์ = 0.8946 1+ 0.5 + 0.3 + 0.05 = 0.8946 หรือ 1.85 = 0.8946 ดังนั้น ปลาตัวนี้กินอาหารประกอบด้วย 1) กลุ่มปลา 0.4836 กรัม 2) กลุ่มกุ้ง 0.2418 กรัม 3) กลุ่มตัวอ่อนแมลง 0.1451 กรัม 4) และกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ 0.0242 กรัม 3.2 ความจุของทางเดินอาหาร หรือ Stomach fullness index คือ ปริมาณอาหารในทางเดิน อาหารแบ่งได้เป็น 5 ระดับดังนี้ fullness ร้อยละของอาหาร 0 0 1 1-24 2 25-49 3 50-74 4 75-99 5 100 ความจุของทางเดินอาหารโดยเฉพาะที่ระดับ 5 บอกให้ทราบถึงปริมาณอาหารที่ปลากินได้มาก ที่สุด เมื่อชั่งอาหารทั้งหมดในทางเดินอาหารนํามาหารด้วยน้ําหนักของปลาตัวนั้นคูณด้วยร้อยะ ผลที่ได้เป็นร้อยล ของอาหารของที่ปลากินต่อน้ําหนักตัวปลา ทําให้ทราบว่าเมื่อนําปลาชนิดและขนาดนั้นมาเลี้ยงควรให้อาหารเท่าใด 3.3 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป นําข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์โปรแกรมสําเร็จรูป Plymouth Routines In Multivariate Ecological Research (Clarke and Gorley, 2001) เป็นโปรแกรมสําเร็จรูปที่พัฒนาสําหรับใช้กับข้อมูลทางด้าน นิเวศวิทยาโดยเฉพาะในการศึกษาครั้งนี้ ได้ใช้วิธีวิเคราะห์แบบหลายตัวแปร (Multivariate analysis) ด้วยวิธี non-metric multi-dimensional scaling (MDS) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่ใช้เทคนิคการจับกลุ่มโดยออดิเนชัน 7

(ordination) ด้วยการนําค่าความคล้ายคลึง (similarity) ของกลุ่มชนิดอาหาร (ปริมาณ) ที่พบในทางเดินอาหาร ของปลาม้าในแต่ละขนาดเป็นตัวแปร มากําหนดตําแหน่งบนภาพออดิเนชัน MDS ที่เป็นภาพ 3 มิติ สําหรับ การศึกษาในครั้งนี้ ใช้รูปภาพ 2 มิติ อธิบายผล โดยจุดในภาพที่อยู่ใกล้กัน แสดงว่า ตัวอย่างปลาจะมีองค์ประกอบ ของชนิดอาหารคล้ายคลึงกันมากกว่าตัวอย่างที่แสดงด้วยจุดที่อยู่ห่างออกไป โดยมีค่าความเครียด หรือ stress value เป็นค่าวัดความถูกต้องแม่นยําระหว่างสัญลักษณ์ที่แสดงระยะห่างระหว่างตัวอย่างที่แท้จริง ถ้าค่าต่ํากว่า 0.1 แสดงว่า ภาพที่ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ซึ่งค่า stress ไม่ควรเกิน 0.2 โดยผลที่ได้ทําให้ทราบเมื่อปลาม้า เจริญเติบโตทุก 10 เซนติเมตร มีการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารหรือไม่ การวิเคราะห์และรายงานผล นําเสนอในรูปตาราง กราฟ และการอธิบายในเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาและวิจารณ์ผล

1. ปลาม้า

30 เซนติเมตร

ภาพที่ 2 ปลาม้าในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี

ปลาม้า Soldier croaker หรือ Boeseman croaker (ภาพที่ 2) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Boesemania microlepis Bleeker, 1858 ปลาม้าเป็นปลาขนาดใหญ่ สามารถส่งเสียงร้องได้เหมือนม้าในช่วงฤดู 8

ผสมพันธุ์ เนื่องจากมีถุงลม air bladder ขนาดใหญ่ มีเกล็ด cyloid ขนาดเล็กมาก ติดแน่นกับลําตัว ciliated scales ส่วนหัวและแก้มมีเกล็ดปกคลุม รูปร่างเพรียวเล็กไปทางด้านท้ายลําตัว ที่ฐานครีบหางชี้ หน้าผากเว้าลึก ตาอยู่สูงไปทางด้านบนของหัว ปากกว้างแบบ terminal sub inferior เฉียงเล็กน้อย ขากรรไกรบนขยายไป ด้านหลังถึงใต้ขอบตา มีฟันหลากหลายทั้งใหญ่และเล็กที่ขากรรไกร แต่ไม่มีเขี้ยว ฟันใหญ่สุดอยู่ที่ขากรรไกรบน (ภาพที่ 3) ไม่มีฟันบน vomer palatine หรือบนลิ้น มีรูด้านบน 3 รู rostral pores และใต้คางมีรูเล็ก ๆ 5 รู แต่ ไม่มีหนวด ครีบหลังยาวตลอดส่วนหลัง ตอนหน้าเป็นก้านครีบแข็ง ตอนท้ายเป็นก้านครีบอ่อน โคนหางเรียวเล็ก ครีบก้นมีก้านครีบแข็งอันใหญ่หนา ครีบอกยาว ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นยาว เช่นเดียวกับครีบหาง ลําตัวสีเทาอ่อน เหลือบเงิน ด้านหลังมีสีคล้ํา ด้านข้างลําตัวมีแถบสีคล้ําจาง เป็นแนวเฉียงหลายแถบ รูปร่างเพรียว มีความยาว 25- 30 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 1 เมตร และ มีน้ําหนักถึง 18 กิโลกรัม อยู่ในวงศ์เดียวกับปลาจวด และ มีลักษณะภายนอกคล้ายกันมาก ไม่สามารถแยกปลาม้าจากปลาจวดได้ ทําให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน เมื่อพบปลาจวดในแม่น้ํา โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ําเค็มเข้าถึง เช่นแม่น้ําบางปะกงจะรายงานว่าพบปลาม้า โดยปลา ม้าและปลาจวดแตกต่างกันที่กระเพาะลม หรือ swimming bladder มีรูปร่างคล้ายผลแครอต ด้านบนของ กระเพาะลมปลาม้า จะมีเส้นสายเป็นฝอย (pair of appendages) ด้านหน้า 1 คู่ และด้านหลัง 5-6 คู่ (ภาพที่ 3) ซึ่งปลาจวดไม่มี ปลาม้าเป็นปลาน้ําจืด มีถิ่นกําเนิดในทวีปเอเชีย ได้แก่ ไทย เวียดนาม และเกาะสุมาตรา ชอบอาศัย อยู่ในน้ําไหล เช่น แม่น้ําบางปะกง และในน้ํานิ่ง เช่น บ่อปลา deep pool พบในแถบภาคกลาง ภาคเหนือ และ แม่น้ําโขงภาคอีสาน นิยมเลี้ยงเพื่อบริโภค และเป็นปลาสวยงาม มีการจัดเรียงลําดับตามอนุกรมวิธาน ดังนี้ (Carperter, 2001) Kingdom Animalia Phylum Chordata Class Order Family Genus Boesemania Species Boesemania microlepis Bleeker, 1858 (L

ก ข

ภาพที่ 3 (ก) ฟันใหญ่ที่ขากรรไกร (ข) กระเพาะลมของปลาม้า และ pair of appendages (ลูกศรชี้) 9

ตารางที่ 1 น้ําหนัก ความยาว และปริมาณอาหารของปลาม้าในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว

ลักษณะบางประการ จํานวน (ตัว) 352 ความยาวลําตัวเฉลี่ย (เซนติเมตร) 29.32 (9.1-95.2) น้ําหนักเฉลี่ย (กรัม) 355.90 (6.1-8800) ความยาวทางเดินอาหารเฉลี่ย (เซนติเมตร) 15.3 (3.5-65.5) น้ําหนักอาหารเฉลี่ย (กรัม) 1.7512 (0-87.6155) กระเพาะเปล่า (ตัว) 29 ความจุอาหาร fullness เฉลี่ย 3 (0-5) ความยาวทางเดินอาหาร/ความยาวตัวเฉลี่ย 0.5225 (0.2397-1.3679) นน.อาหาร/นน.ตัว เฉลี่ย 0.0069 (0-0.0468) นน.อาหาร/นน.ตัว มากที่สุด (ร้อยละ) 4.68

2. อาหาร และการกินอาหาร

ปลาม้ามีทางเดินอาหารประกอบด้วย คอหอย กระเพาะ ลําไส้เล็ก และลําไส้ใหญ่ โดยมีสัดส่วน ความยาวทางเดินอาหารต่อความยาวเหยียดเฉลี่ย (total length) ร้อยละ 52.25 หรือเพียงแค่ครึ่งเดียวของความ ยาวตัวปลาม้า ซึ่งเป็นลักษณะของปลาที่กินสัตว์เป็นอาหาร หรือ carnivore มีกระเพาะขนาดใหญ่ยาว เกือบ ครึ่งหนึ่งของความยาวทางเดินอาหารทั้งหมด (ตารางที่1 และภาพที่ 4) ปลาม้า 352 ตัวอย่างของอ่างเก็บน้ําเขื่อน กระเสียว มีความยาวเฉลี่ย 29.32 เซนติเมตร น้ําหนักเฉลี่ย 355.9 กรัม และความยาวทางเดินอาหารเฉลี่ย 15.3 เซนติเมตร กระเพาะว่างโดยไม่มีอาหารในทางเดินอาหารเลย (fullness 0) 29 ตัวอย่าง โดยมีความจุอาหาร fullness เฉลี่ยระดบั 3 น้ําหนักอาหารในทางเดินอาหารเฉลี่ย 1.7512 กรัม หรือ ร้อยละ 0.69 ของน้ําหนักตัวปลา และมีค่าสูงสุดที่ร้อยละ 4.68 หรือเป็นน้ําหนักอาหาร 10.5832 กรัม จากปลาม้าขนาด 30.5 เซนติเมตร หนัก 226 กรัม ปลาม้ากินอาหาร 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลา กลุ่มตัวอ่อนแมลง กลุ่มกุ้ง กลุ่มหอย กลุ่มแมลงตัวเต็มวัย กลุ่ม แพลงก์ตอนสัตว์ กลุ่มไส้เดือนน้ํา และกลุ่มเหาน้ํา มีปริมาณเฉลี่ย 1.2622, 0.2818, 0.1512, 0.0168, 0.0133, 0.0109, 0.0120 และ0.0030 กรัม (ตารางที่ 2 และภาพที่ 5) ตามลําดับ ตัวอย่างปลาม้าที่มีน้ําหนักอาหารใน ทางเดินอาหารมากที่สุด 87.6155 กรัม หรือร้อยละ 2.92 ของน้ําหนักตัว พบในปลาม้าขนาด 70 เซนติเมตร น้ําหนัก 3,000 กรัม ทางเดินอาหารยาว 51.5 เซนติเมตร หรือร้อยละ 73.57 ของความยาวเหยียด มีความจุอาหาร ระดับ 5 อาหารที่พบเป็นกลุ่มปลา สําหรับตัวอย่างปลาม้าที่มีความจุอาหารระดับ 5 ที่มีปริมาณอาหารในทางเดิน อาหารต่อน้ําหนักปลามากที่สุดถึงร้อยละ 4.683 จากปลาม้าขนาด 30.5 เซนติเมตร น้ําหนัก 226 กรัม มีทางเดิน อาหารยาว 18.5 เซนติเมตร หรือร้อยละ 60.66 ของความยาวเหยียด น้ําหนักอาหารในทางเดินอาหาร 10.5832 กรัม ประกอบไปด้วย กลุ่มปลา กลุ่มกุ้ง และกลุ่มหอย พบตัวอย่างปลาม้าขนาด 68.5 เซนติเมตร หนัก 2253.8 กรัม มีทางเดินอาหารยาว 31.2 เซนติเมตร หรือร้ อยละ 45.55 ของความยาวเหยียด มีน้ําหนักอาหารในทางเดิน อาหาร 46.6883 กรัม หรือร้อยละ 2.16 ของน้ําหนักตัว ความจุอาหารระดับ 5 อาหารที่พบประกอบด้วยซากปลา ม้า (ภาพผนวกที่ 1) ความยาว 12 เซนติเมตร น้ําหนัก 37.49 กรัม และปลาที่ไม่สามารถจําแนกชนิดได้อีก 1 ตัว 10

น้ําหนัก 9.1793 กรัม นอกจากนี้ยังพบจํานวนซากปลามากที่สุดถึง 14 ตัว ในทางเดินอาหารของปลาม้าขนาด 43.7 เซนติเมตร หนัก 632 กรัม ที่ความจุอาหารระดับ 3 โดยมีน้ําหนักอาหารในทางเดินอาหาร 4.2257 กรัม หรือ ร้อยละ 0.67 ของน้ําหนักตัวปลา ซึ่งประกอบด้วย ปลาแป้นแก้ว 10 ตัว ที่เหลือ 4 ตัว จําแนกชนิดไม่ได้ ส่วนปลา ม้ากินอาหารมากกลุ่มที่สุด คือ 5 กลุ่ม จากตัวอย่างปลาขนาด 16 เซนติเมตร น้ําหนัก 31.7 กรัม มีน้ําหนักอาหาร ในทางเดินอาหาร 0.2741 กรัม หรือร้อยละ 0.86 ของน้ําหนักตัวปลา ความจุอาหารที่ระดับ 3 อาหาร ประกอบด้วย กลุ่มปลา กลุ่มแมลงตัวเต็มวัย กลุ่มตัวอ่อนแมลง กลุ่มไส้เดือน และกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ และ ตัวอย่างปลาม้าขนาด 39.5 เซนติเมตร น้ําหนัก 420 กรัม มีน้ําหนักอาหารในทางเดินอาหาร 1.8911 กรัม หรือ ร้อยละ 0.45 ของน้ําหนักตัวปลา ความจุอาหารที่ระดับ 2 อาหารประกอบด้วย กลุ่มปลา กลุ่มแมลงตัวเต็มวัย กลุ่มตัวอ่อนแมลง กลุ่มเหาน้ํา และ กลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ แตกต่างจากสนธิพันธ์ และคณะ (2525) ที่ได้ ทําการศึกษาชีวประวัติปลาม้าที่รวบรวมได้จากท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ในเดือน ธันวาคม 2524 ถึง เดือนมีนาคม 2525 จํานวน 31 ตัว ขนาดความยาว 23.6-72.3 เซนติเมตร น้ําหนัก 94-3,310 กรัม ลําไส้ยาว 12.3-39.8 เซนติเมตรชนิดอาหารที่พบได้แก่ ปลา กุ้ง ตัวอ่อนแมลง และปู

ภาพที่ 4 ทางเดินอาหารของปลาม้า

11

ตารางที่ 2 ปริมาณกลุ่มอาหารที่พบในทางเดินอาหารของปลาม้าในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว

กลุ่มอาหาร ปริมาณ (กรัม) ปลา 1.2622(0-87.6155) กุ้ง 0.1512(0-17.6728) แพลงก์ตอนสัตว์ 0.0109(0-01.4022) แมลงตัวเต็มวัย 0.0133(0-1.2478) ตัวอ่อนแมลง 0.2818(0-8.4133) ไส้เดือนน้ํา 0.0120(0-0.4503) หอย 0.0168(0-2.4257) เหาน้ํา 0.0030(0-0.1820)

ปลา กุง แพลงกตอนสัตว แมลงตัวเต็มวัย ตัวออนแมลง ไสเดือนน้ํา หอย เหาน้ํา

0.7% 1.0% 0.2%

0.8% 16.1% 0.6%

8.6%

72.1%

ภาพที่ 5 ร้อยละของกลุ่มอาหารที่พบในทางเดินอาหารของปลาม้าในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว

12

ตารางที่ 3 น้ําหนัก ความยาว และปริมาณอาหารของปลาม้าขนาดต่างๆ ในอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว

ความยาวปลา (เซนติเมตร) ลักษณะบางประการ 9.1-20.0 20.1-30.0 30.1-40.0 40.1-50.0 50.1-60.0 60.1-95.2 จํานวน (ตัว) 110 116 41 55 17 13 ความยาวลําตัวเฉลี่ย (เซนติเมตร) 16.93 23.31 35.69 44.84 53.54 70.48 พิสัย (เซนติเมตร) 9.1-20.0 20.1-29.2 30.2-40 40.4-49.8 50.4-58 60.1-95.2 น้ําหนักเฉลี่ย (กรัม) 43.18 93.81 328.12 657.34 1090 3193.08 พิสัย (กรัม) 6.1-62.5 41.4-181.7 188-438.8 435.5-873.1 322-1400 1651-8800 ความยาวทางเดินอาหารเฉลี่ย (เซนติเมตร) 8.84 12.12 18.87 23.03 28.41 37.23 พิสัย (เซนติเมตร) 3.5-13.2 7-18.2 14.2-28.7 13.7-29.7 20.6-33.8 21.5-65.5 น้ําหนักอาหารเฉลี่ย (กรัม) 0.3503 0.6786 1.6654 1.7957 7.2251 16.1005 พิสัย (กรัม) 0-1.2742 0-3.3417 0-10.5832 0-10.7291 0.0826-53.0183 0-87.6155 กระเพาะเปล่า (ตัว) 8 9 5 3 0 4 ความจุอาหาร fullness เฉลี่ย 3 3 2 2 2 2 พิสัย 0-5 0-5 0-5 0-5 1-5 0-5 ความยาวทางเดินอาหาร/ความยาวตัวเฉลี่ย 0.5226 0.5232 0.53 0.5129 0.5318 0.5218 พิสัย 0.3138-0.8811 0.2397-0.7019 0.3134-0.7455 0.3086-0.6674 0.3725-0.6548 0.3359-0.7357 นน.อาหาร/นน.ตัว เฉลี่ย 0.0092 0.0074 0.0055 0.0028 0.0066 0.0060 พิสัย 0-0.03 0-0.0346 0-0.0468 0-0.172 0.00008-0.0379 0-0.0292 นน.อาหาร/นน.ตัว มากที่สุด (ร้อยละ) 3.00 3.46 4.68 1.72 3.79 2.92

3. แนวโน้มการกินอาหารเมอความยาวปลามื่ ้าเพิ่มขึ้น

นําตัวอย่างปลาม้าแบ่งกลุ่มตามขนาดความยาว เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารเมื่อขนาด ความยาวเพิ่มขึ้นตาม optimal forage theory ของ Gerking (1994) ที่รายงานว่า ปลามีการกินอาหารที่ แตกต่างกันตามอายุ โดยอาหารชนิดหนึ่งที่เป็นอาหารที่ให้ประโยชน์สูงสุดในปัจจุบัน อาจไม่ใช่อาหารที่ให้ประโยชน์ สูงสุดอีกต่อไปเมื่อปลาโตขึ้น ทําการจําแนกการกินอาหารตามขนาดปลาเป็น 6 กลุ่ม (Piet, 1998) จากตารางที่ 3 – 4 และภาพที่ 6 ได้ดังนี้ 3.1 ปลาม้าขนาด 9.1 - 20.0 เซนติเมตร จํานวน 110 ตัวอย่าง ที่ความยาวเฉลี่ย 16.93 เซนติเมตร น้ําหนักเฉลี่ย 43.18 กรัม มีความยาวทางเดินอาหารเฉลี่ย 8.84 เซนติเมตร หรือร้อยละ 52.26 ของ ความยาวเหยียดตัวปลา โดยมีความจุอาหารเฉลี่ย fullness ที่ระดับ 3 กระเพาะว่างโดยไม่มีอาหารในทางเดิน อาหารเลย (fullness 0) 8 ตัวอย่าง น้ําหนักอาหารในทางเดินอาหารเฉลี่ย 0.3503 กรัม หรือ ร้อยละ 0.92 ของ น้ําหนักตัวปลา และที่ fullness ระดับ 5 (100%) มีน้ําหนักอาหารมากที่สุดที่ ร้อยละ 3 ของน้ําหนักตัวปลา ปลา กินอาหาร 8 กลุ่มได้แก่ กลุ่มตัวอ่อนแมลง กลุ่มปลา กลุ่มไส้เดือนน้ํา กลุ่มกุ้ง กลุ่มแมลงตัวเต็มวัย กลุ่มแพลงก์ตอน สัตว์ กลุ่มเหาน้ํา และกลุ่มหอย โดยมีกลุ่มตัวอ่อนแมลงเป็นอาหารหลัก และกลุ่มปลาเป็นอาหารรอง กินอาหารทั้ง ผิวน้ํา กลางน้ํา และระดับพื้นท้องน้ํา เป็นผู้ล่า 3.2 ปลาม้าที่มีขนาด 20.1- 30.0 เซนติเมตร จํานวน 116 ตัวอย่าง ที่ความยาวเฉลี่ย 23.31 เซนติเมตร น้ําหนักเฉลี่ย 93.81 กรัม มีความยาวทางเดินอาหารเฉลี่ย 12.12 เซนติเมตร หรือร้อยละ 52.21 ของ ความยาวเหยียดตัวปลา โดยมีความจุอาหาร fullness เฉลี่ย ที่ระดับ 3 กระเพาะว่างโดยไม่มีอาหารในทางเดิน อาหารเลย (fullness 0) 9 ตัวอย่าง น้ําหนักอาหารในทางเดินอาหารเฉลี่ย 0.6786 กรัม หรือ ร้อยละ 0.74 ของ 13

น้ําหนักตัวปลา และที่ fullness ระดับ 5 (100%) มีน้ําหนักอาหารมากที่สุดที่ร้อยละ 3.46 ของน้ําหนักตัว ปลากิน อาหาร 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลา กลุ่มตัวอ่อนแมลง กลุ่มกุ้ง กลุ่มแมลงตัวเต็มวัย กลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ กลุ่มไส้เดือน น้ํา กลุ่มหอย และกลุ่มเหาน้ํา แต่เปลี่ยนอาหารหลักเป็นกลุ่มปลา และ อาหารรองเป็นกลุ่มตัวอ่อนแมลง กินอาหาร ทั้งผิวน้ํา กลางน้ํา และระดับพื้นท้องน้ํา เป็นผู้ล่า 3.3 ปลาม้าขนาด 30.1 - 40.0 เซนติเมตร จํานวน 41 ตัวอย่าง มีความยาวเฉลี่ย 35.69 เซนติเมตร น้ําหนักเฉลี่ย 328.12 กรัม ความยาวทางเดินอาหารเฉลี่ย 18.87 เซนติเมตร หรือร้อยละ 53 ของความ ยาวเหยียดตัวปลา โดยมีความจุอาหาร fullness เฉลี่ย ที่ระดับ 2 กระเพาะว่างโดยไม่มีอาหารในทางเดินอาหาร เลย (fullness 0) 5 ตัวอย่าง น้ําหนักอาหารในทางเดินอาหารเฉลี่ย 1.6654 กรัม หรือ ร้อยละ 0.54 ของน้ําหนัก ตัวปลา และ fullness ที่ระดับ 5 (100%) มีน้ําหนักอาหารมากที่สุดที่ร้อยละ 4.68 กินอาหาร 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ปลา กลุ่มตัวอ่อนแมลง กลุ่มกุ้ง กลุ่มหอย กลุ่มแมลงตัวเต็มวัย กลุ่มเหาน้ํา และกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ โดยอาหาร หลักเป็นกลุ่มปลา และอาหารรองยังคงเป็นกลุ่มตัวอ่อนแมลง กินอาหารทั้งผิวน้ํา กลางน้ํา และระดับพื้นท้องน้ํา เป็นผู้ล่า 3.4 ปลาม้าขนาด 40.1-50.0 เซนติเมตร จํานวน 55 ตัวอย่าง มีความยาวเฉลี่ย 44.84 เซนติเมตร น้ําหนักเฉลี่ย 657.34 กรัม ความยาวทางเดินอาหารเฉลี่ย 23.03 เซนติเมตร หรือร้อยละ 51.29 ของความยาว เหยียดตัวปลา โดยมีความจุอาหาร fullness เฉลี่ย ที่ระดับ 2 กระเพาะว่างโดยไม่มีอาหารในทางเดินอาหารเลย (fullness 0) 3 ตัวอย่าง น้ําหนักอาหารในทางเดินอาหารเฉลี่ย 1.7957 กรัม หรือ ร้อยละ 0.28 ของน้ําหนักตัว ปลา และที่ fullness ระดับ 5 (100%) มีน้ําหนักอาหารมากที่สุดที่ร้อยละ 1.72 ของน้ําหนักตัว กินอาหาร 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลา กลุ่มตัวอ่อนแมลง กลุ่มกุ้ง กลุ่มแมลงตัวเต็มวัยกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ และกลุ่มเหาน้ํา โดยอาหาร หลักเป็นกลุ่มปลา และอาหารรองยังคงเป็นกลุ่มตัวอ่อนแมลง กินอาหารระดับผิวน้ํา และกลางน้ํา เป็นผู้ล่า 3.5 ปลาม้าขนาด 50.1 - 60.0 เซนติเมตร จํานวน 17 ตัวอย่าง มีความยาวเฉลี่ย 53.54 เซนติเมตร น้ําหนักเฉลี่ย 1,090 กรัม ความยาวทางเดินอาหารเฉลี่ย 28.41 เซนติเมตร หรือร้อยละ 53.18 ของ ความยาวเหยียดตัวปลา โดยมีความจุอาหาร fullness เฉลี่ย ที่ระดับ 2 กระเพาะว่างโดยไม่มีอาหารในทางเดิน อาหารเลย (fullness 0) 0 ตัวอย่าง น้ําหนักอาหารในทางเดินอาหารเฉลี่ย 7.2251 กรัม หรือ ร้อยละ 0.66 ของ น้ําหนักตัวปลา และfullness ที่ระดับ 5 (100%) มีน้ําหนักอาหารมากที่สุดที่ร้อยละ 3.79 กินอาหาร 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลา กลุ่มกุ้ง กลุ่มตัวอ่อนแมลง กลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ และกลุ่มเหาน้ํา โดยอาหารหลักเป็นกลุ่มปลา และ อาหารรองเปลี่ยนเป็นกลุ่มกุ้ง กินอาหารระดับผิวน้ํา และกลางน้ํา เป็นผู้ล่า 3.6 ปลาม้าขนาด 60.1 - 95.2 เซนติเมตร จํานวน 13 ตัวอย่าง มีความยาวเฉลี่ย 69.93 เซนติเมตร น้ําหนักเฉลี่ย 3,193.8 กรัม มีความยาวทางเดินอาหารเฉลี่ย 37.23 เซนติเมตร หรือร้อยละ 52.18 ของความยาว เหยียดตัวปลา โดยมีความจุอาหาร fullness เฉลี่ย ที่ระดับ 2 กระเพาะว่างโดยไม่มีอาหารในทางเดินอาหารเลย (fullness 0) 4 ตัวอย่าง น้ําหนักอาหารในทางเดินอาหารเฉลี่ย 16.1005 กรัม หรือ ร้อยละ 0.6 ของน้ําหนักตัว ปลา และ fullness ที่ระดับ 5 (100%) มีน้ําหนักอาหารมากที่สุดที่ร้อยละ 2.92 กินอาหาร 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลา กลุ่มกุ้ง กลุ่มตัวอ่อนแมลง กลุ่ยมหอ กลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ และกลุ่มเหาน้ํา โดยอาหารหลักเป็นกลุ่มปลา และ อาหารรองเป็นกลุ่มกุ้ง กินอาหารระดับ กลางน้ํา และพื้นท้องน้ํา เป็นผู้ล่า และยังเป็นปลาที่มีพฤติกรรมกินปลาม้า ด้วยกันหรือ cannibalism

14

ตารางที่ 4 ปริมาณกลุ่มอาหารในทางเดินอาหารของปลาม้าที่ขนาดความยาวต่างๆ

กลุ่มอาหาร ขนาดปลาม้า (เซนติเมตร) (กรัม) 9.1-20.0 20.1-30.0 30.1-40.0 40.1-50.0 50.1-60.0 60.1-95.2 ปลา 0.1243 0.3864 1.0894 1.3715 7.5750 13.5120 พิสัย 0-0.8742 0-2.5705 0-7.6510 0-8.2530 0-35.3455 0-87.6155 กุ้ง 0.01876 0.0362 0.1677 0.0546 1.6817 1.4031 พิสัย 0-0.6731 0-0.4998 0-2.7851 0-1.5575 0-17.6728 0-16.2294 แพลงก์ตอนสัตว์ 0.0033 0.0092 0.0027 0.0037 0.0551 0.1079 พิสัย 0-0.0374 0-0.1961 0-0.0556 0-0.1509 0-0.6942 0-1.4022 แมลงตัวเต็มวัย 0.0072 0.0114 0.0081 0.0406 0 0 พิสัย 0-0. 2292 0-0.4245 0-0.3337 0-1.2478 - - ตัวอ่อนแมลง 0.1657 0.2213 0.3288 0.3221 0.9434 0.8444 พิสัย 0-1.0922 0-1.7118 0-1.2559 0-5.4652 0-4.165 0-8.4133 ไส้เดือนน้ํา 0.0271 0.0086 0 0 0 0.0199 พิสัย 0-0.3304 0-0.4503 - - - 0-0.2598 หอย 0.0008 0.0034 0.0647 0 0 0.2132 พิสัย 0-0.0874 0-0.1788 0-2.2280 - - 0-2.4259 เหาน้ํา 0.0032 0.0022 0.0040 0.0032 0.0091 0 พิสัย 0-0.1820 0-0.0644 0-0.0556 0-0.1752 0-0.115 -

ปลา กุ้ง แพลงก์ตอนสัตว์ แมลงตัวเต็มวัย ตัวอ่อนแมลง ไส้เดือนน้ํา หอย เหาน้ํา

100% 90% 80%

์ 70% ็ นต

์ เซ 60% เปอร 50% 40% ิ มาณอาหาร ปร 30% 20% 10% 0% m<20 m30 m40 m50 m60 m>60 ขนาดปลาม้า ซม. ภาพที่ 6 ปรมาณกลิ ุ่มอาหารในทางเดินอาหารของปลาม้า (ร้อยละ) ที่ขนาดความยาวต่างๆ

นําข้อมูลการกินอาหารของปลาม้าที่จําแนกตามขนาดความยาวลําตัวปลา มาวิเคราะห์แบบหลาย ตัวแปร (Multivariate analysis) ด้วย MDS จากโปรแกรมสําเร็จรูป PRIMER 5.09 (Clarke & Gorley, 2001)

15

โดยไม่มีการแปลงข้อมูล ได้ค่า stress ที่ 0.00 จากภาพที่ 8 สามารถแบ่งกลุ่มจากการกินอาหารของปลาออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มท ี่ 1 ปลาม้าขนาด 9.1-20 เซนติเมตร กลุ่มท ี่ 2 ปลาม้าขนาด 20.1-30 เซนติเมตร กลุ่มท ี่ 3 ปลาม้าขนาด 30.1-40 และ40.1-50 เซนติเมตร กลุ่มท ี่ 4 ปลาม้าขนาด 50.1-60 เซนติเมตร กลุ่มท ี่ 5 ปลาม้าขนาด 60.1-95.2 เซนติเมตร

ปลาม้าแต่ละขนาดมีการกินอาหารแตกต่างกัน เริ่มจากขนาดตั้งแต่ 9.1- 20 เซนติเมตร ลงมากิน อาหาร 8 กลุ่ม เช่นเดียวกับกลุ่มขนาด 20.1-30 เซนติเมตร ต่างกันที่กลุ่ม 9.1- 20 เซนติเมตร กินตัวอ่อนแมลงเป็น อาหารหลัก แต่กลุ่มขนาด 20.1-30 เซนติเมตร กินปลาเป็นอาหารหลัก ส่วนกลุ่มขนาด 30.1-40 และ 40.1-50 เซนติเมตร กินอาหารคล้ายคลึงกัน โดยกินปลาเป็นอาหารหลัก และ ตัวอ่อนแมลงเป็นอาหารรอง และไม่พบ ไส้เดือนน้ํา สําหรับกลุ่มปลาม้าขนาด 50.1-60 เซนติเมตร กินอาหารเพียง 5 กลุ่ม และกลุ่มปลาม้าขนาด 60.1- 95.2 เซนติเมตร กินอาหาร 6 กลุ่ม (ภาพที่ 7) ปลาม้ามีการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารที่ขนาด 9.1 20.1, 30.1, 50.1 และ 60.1 เซนติเมตร ตามลําดับ

ภาพที่ 7 ภาพ 2 มิติของการวิเคราะห์ MDS ขององค์ประกอบของอาหารที่พบในทางเดินอาหารปลาม้า โดยจําแนกตามขนาดความยาวลําตัวปลา m<20.1 = 9.1-20 เซนติเมตร, m30 = 20.1-30 เซนติเมตร, m40 =30.1-40 เซนติเมตร, m50 =40.1-50 เซนติเมตร, m60 =50.1-60 เซนติเมตร, m>60 = 60.1-95.2 เซนติเมตร

16

สรุป

ปลาม้าเป็นปลากินสัตว์เป็นอาหาร เป็นผู้ล่าหรือ Predator และยังเป็นปลาที่กินปลาม้าด้วยกัน เป็นอาหาร (cannibalism) โดยปริมาณอาหารในทางเดินอาหารเฉลี่ย 1.7512 กรัม ประกอบด้วยอาหารจํานวน 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลา กลุ่มตัวอ่อนแมลง กลุ่มกุ้ง กลุ่มหอย กลุ่มไส้เดือนน้ํา กลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ กลุ่มแมลงตัวเต็ม วัย และ กลุ่มเหาน้ํา โดยอาหารหลักเป็นกลุ่มปลา ส่วนกลุ่มตัวอ่อนแมลงเป็นอาหารรอง ความจุอาหารในทางเดิน อาหารเฉลี่ยระดับ 3 มีอัตราส่วนของน้ําหนักอาหารต่อน้ําหนักตัวปลามากที่สุดที่ร้อยละ 4.68 ของน้ําหนักตัวปลา ความยาวทางเดินอาหารเฉลี่ย 15.3 เซนติเมตรหรือร้อยละ 52.25 ของความยาวเหยียด เมื่อปลาม้าเจริญเติบโตขึ้น กินอาหารน้อยกลุ่มลง ปลาม้ามีการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารที่ขนาด 20.1, 30.1, 50.1 และ 60.1เซนติเมตร ตามลําดับ

ข้อเสนอแนะ

1. ในการเลี้ยงปลาม้าควรมีการคัดขนาด เพราะปลาม้ากินกันเอง 2. ในการเลี้ยงปลาม้าเชิงพาณิชย์อาหารที่ให้ควรมีโปรตีนสูง และไม่ควรให้อาหารเกินร้อยละ 5 ของน้ําหนักตัวปลา 3. สมควรที่จะนําปลาม้าไปปล่อยในแหล่งน้ําที่มีปลาขนาดเล็กที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ําชุกชุม เช่น ปลาแป้นแก้ว เพื่อใช้ควบคุมปริมาณของปลาเหล่านี้ในอนาคต 4. ควรมีการวิเคราะห์องค์ประกอบของเหาน้ํา เนื่องจากพบว่าปลาม้ากินเหาน้ําเป็นอาหาร ตั้งแต่ขนาด 9 เซนติเมตร ไปจนถึง 60 เซนติเมตร 5. ควรทําการศึกษาเพิ่มเติมการกินอาหารของปลาม้าท ี่ขนาดต่ํากว่า 10 เซนติเมตร เพื่อนําข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุง การเลี้ยงปลาม้าเชิงพาณิชย์ได้อย่างครบวงจรในอนาคต

17

เอกสารอางอ้ ิง

กรมประมง. 2555. สถิติผลการจับสัตว์น้ําจืดจากธรรมชาติประจําปี 2553. เอกสารฉบับที่ 11/2555. 31 หน้า. กรมประมง. 2556. สถิติผลการจับสัตว์น้ําจืดจากธรรมชาติประจําปี 2554. เอกสารฉบับที่ 10/2555. 35 หน้า. ธนาภรณ์ จิตตปาลพงศ์, มณฑรพ กากแก้ว, จารึก นาชัยเพิ่ม และแสงอรุณ เนื่องสิทธิ์. 2552. การกินอาหารของ ปลาสร้อยนกเขา ปลาแขยงใบข้าว และปลาแขยงข้างลาย ในแม่น้ําสงครามตอนล่าง. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 1/2552. สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรประมงน้ําจืด, สํานักวิจัยและพัฒนาประมงน้ําจืด, กรม ประมง. 38 หน้า. ธนาภรณ์ จิตตปาลพงศ์ และ วิชมัย โสมจันทร์ 2550. คู่มือประชาชน การจําแนกชนิดแพลงก์ตอนในแหล่งเลี้ยง สัตว์น้ํามาตรฐานปลอดภัย. กรมประมง. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพ. 147 หน้า. หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ําจืดเขื่อนกระเสียวจังหวัดสุพรรณบุรี.(อยู่ในระหว่างจัดทํารายงาน). สถิติท่า ขึ้นปลาของอ่างเก็บน้ําเขื่อนกระเสียว. สนธิพันธ์ ผาสุขดี สุรพงษ์ วิวัชรโกเศศ วสันต์ ศรีวัฒนะ. 2525. การศึกษาชีวประวัติปลาม้า.รายงานประจําป ี 2525.สถานีประมงจังหวัดชัยนาท. กองประมงน้ําจืด กรมประมง. หน้า 92-106. Brandt, R. A. 1974. The non-marine aquatic Mollusca of . Druck von W. Kramer&Co. Frankfurt am Main, 423 pp. Carpenter, K.E. 2001. FAO species identification guide for fishery purposes. The Bony part 3 (Menidae to Pomacentridae).Rome, FAO. pp. 2791-3380. Clarke, K. R. and R. N. Gorley. 2001. PRIMER v5: User Manual/Tutorial. Primer-E Ltd, UK. 91 pp. Gerking, S.D. 1994. Feeding Ecology of Fish. Academic Press, California. 415 p. Hynes, H. B. N. 1950. The Food of freshwater Stickleback (Gasterosteus aculeatus and Pygosteus pungitius), with a review of methods used in studies of the food of fishes. Journal of Ecology. 19:36-58. Hyslop, E. J. 1980. Stomach content analysis-a review of methods and application. J. Fish. Biol. 17: 411-429. Needham, James G. and Paul R. Needham. 1957. A Guide to the Study of Fresh-water Biology. Comstock Publishing Association, New York. 85 pp. Piet, G. J. 1998. Ecomorphology of a size structured tropical freshwater fish community. Environment Biology Fishes. 51: 67-86 . Usinger, R. 1963. Aquatic Insects of California. University of California Press L.A., 508 pp.

18

ภาคผนวก

ซากปลา ปลาแป้นแก้ว ปลาแป้นแก้ว

ก้างปลา ปลาม้า ซากปลา

ภาพผนวกที่ 1 กลุ่มปลา

ชิ้นส่วนกุ้ง กุ้ง หางกุ้ง

ส่วนหัวกุ้ง ชิ้นส่วนกุ้ง กุ้ง

ภาพผนวกที่ 2 กลุ่มกุ้ง 19

ชิ้นส่วนหอยฝาเดียว ชิ้นส่วนหอยสองฝา ชิ้นส่วนหอยฝาเดียว

หอยสองฝา หอยสองฝา

ภาพผนวกที่ 3 กลุ่มหอย

Setae Setae Setae

ภาพผนวกที่ 4 กลุ่มไส้เดือน

20

ชิ้นส่วนตัวอ่อนแมลง ชิ้นส่วนตัวอ่อนแมลง Ephemeroptera

ชิ้นส่วนตัวอ่อนแมลง ชิ้นส่วนตัวอ่อนแมลง ชิ้นส่วนตัวอ่อนแมลง

ภาพผนวกที่ 5 กลุ่มตัวอ่อนแมลง

ชิ้นส่วนแมลงบก ชิ้นส่วนแมลงบก ชิ้นส่วนแมลงบก

ชิ้นส่วนแมลงบก ชิ้นส่วนแมลงบก ชิ้นส่วนแมลงบก

ภาพผนวกที่ 6 กลุ่มแมลงตัวเต็มวัย 21

เหาน้ํา เหาน้ํา เหาน้ํา

เหาน้ํา เหาน้ํา เหาน้ํา

ภาพผนวกที่ 7 กลุ่มเหาน้ํา

ไรแดง Cladocera ไรขาว Copepoda ไรหอยกาบ Conchostraca

ไรหิน Ostracoda โรติเฟอร์ ชิ้นส่วน Conchostraca

ภาพผนวกที่ 8 กลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์