ตลาดอาหาร Plant-Based Meat ออสเตรเลีย

1. ภาพรวมตลาดอาหาร Plant - Based Meat ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ตลาดอาหารประเภท Plant- Based Meat ในออสเตรเลียมีการเติบโตอย่าง ต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคอาหารประเภท Plant- Based มีความหลากหลายและไม่ได้จ ากัดอยู่เฉพาะแค่กลุ่ม ผู้บริโภคอาหารเจหรืออาหารมังสวิรัติเท่านั้น อีกทั้งชาวออสเตรเลียหันมาใส่ใจต่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และความเป็นอยู่ที่ดีโดยให้ความส าคัญต่ออาหารที่รับประทานในแต่ละวันมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกลุ่ม ผู้บริโภคในตลาดที่มีความคิดในการหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์เพื่อลดการท าลายสิ่งแวดล้อมจากภาค การผลิตปศุสัตว์รวมไปถึงกระแสการต่อต้านการฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร (Cruelty-free eating) ดังนั้น ด้วย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลให้ปัจจุบันอาหารประเภท Plant- Based Meat ไม่ใช่ตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) อีกต่อไป อีกทั้งยังมีกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ Gen Z และกลุ่ม Millennials (ประมาณ 2.25 ล้านคน) เป็นแรงขับเคลื่อนตลาดที่ส าคัญและมีศักยภาพในการซื้อสินค้าประเภทดังกล่าว และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในรัฐ และรัฐ ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น และมีก าลังซื้อ 2. สถานการณ์การผลิตภายในประเทศและความต้องการของตลาด ในปี 2562 อุตสาหกรรมการผลิตอาหารประเภท Plant- Based Meat ออสเตรเลียมีมูลค่า 30 ล้าน เหรียญออสเตรเลีย และความต้องการในตลาดมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาหารพร้อม รับประทาน โดยชาวออสเตรเลีย 1 ใน 3 คนหันมาเลือกรับประทานอาหารประเภท Plant- Based Meat เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 12 ของประชากรออสเตรเลียทั้งหมด (25.6 ล้านคน) โดยจะพิจารณาเลือก Plant- Based Meat ที่มีรสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก โดยส่วนใหญ่จะนิยม Plant- Based Meat ในรูปแบบของ Burger เนื้อบด ไส้กรอกและเบคอน นอกจากนี้ Innova Market Insights ได้ส ารวจความต้องการสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของผู้บริโภค ออสเตรเลีย ในปี 2562 พบว่า อาหารประเภท Plant- based และอาหารโปรตีนทางเลือกใหม่ (โปรตีนจาก แมลงและพืช) เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากเป็นอันดับ 2 (รองจากอาหารและเครื่องดื่มที่มีความแปลกใหม่) ส่งผลให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในออสเตรเลียต่างปรับตัวและให้ความส าคัญในการพัฒนาสินค้าดังกล่าว เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดให้ได้มากที่สุด ซึ่งองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม แห่งเครือจักรภพ (CSIRO) ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2573 มูลค่าตลาดสินค้าอาหารประเภท Plant - Based Meat จะเพิ่มเป็น 6 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย (ภาพรวมตลาดอาหาร Plant- Based คาดว่าจะขยายตัวสูง

Page | 1

ถึง 25 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย) โดยได้สรุปประเภทอาหารที่มีแนวโน้มจะขยายตัวในตลาดออสเตรเลียในอีก 10 ปีข้างหน้า ไว้ดังนี้ อาหารเพื่อสุขภาพที่มีแนวโน้มขยายตัวสูง ได้แก่ - อาหารเสริมหรือเพิ่มประสิทธิภาพการท างานของร่างกาย - อาหารที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติหรืออาหารประเภท Free form รวมไปถึงอาหารออร์แกนิค - วิตามินเสริมสุขภาพและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพต่างๆ - อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเฉพาะกลุ่ม (กลุ่ม Vegan, กลุ่มผู้แพ้อาหาร กลุ่มผู้ออกก าลังกาย และกลุ่มผุ้สูงอายุ เป็นต้น) สินค้าเพื่อความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ได้แก่ - อาหารโปรตีนทางเลือกเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์และอาหารทะเล - สินค้าแปรรูปจากของเหลือทิ้ง - อาหารที่มีบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ 3. ภาวะการแข่งขันในตลาดอาหารประเภท Plant-Based Meat ออสเตรเลีย

Beyond Meat Naturli’Minced Chicken Free Chicken

ตลาดอาหารประเภท Plant-Based Meat ออสเตรเลียเริ่มมีการแข่งขันด้านราคามากขึ้น (เฉลี่ย 2 เหรียญออสเตรเลียต่อ 100 กรัม) และส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ผลิตในประเทศจากวัตถุดิบน าเข้าและสินค้าน าเข้า ตลาดอาหารประเภท Plant-Based Meat ออสเตรเลียมีผู้เล่นรายใหญ่จากต่างประเทศเป็นผู้น า ตลาด เช่น บริษัท Beyond Meat (ผู้ผลิต Plant-Based Meat จากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้น าตลาด) และ Funky Fields (ผู้ผลิต Plant-Based Meat ภายใต้แบรนด์ Naturli’Minced) ได้ผลิต Plant-Based Meat ในรูปแบบเบอร์เกอร์ และไส้กรอกจ าหน่ายในร้านอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหาร (McDonald, Hungry Jack’s, Domino’s, Lord of the Fries, Nando’s, Soul Burger, Mad Mex และ Grill’d) ที่ เน้นเจาะกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ Millennials เป็นหลัก

Page | 2

ในปี 2562 บริษัท Sunfed (บริษัท Startups จากนิวซีแลนด์) ได้เข้ามาเปิดตัว Chicken Free Chicken จ าหน่ายในตลาดออสเตรเลียเป็นครั้งแรก เนื่องจากเล็งเห็นว่า ตลาดอาหารประเภท Plant- Based Meat ออสเตรเลียยังอยู่ในระยะเริ่มต้นและคาดการณ์ว่าตลาดจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีผู้ผลิตอาหารประเภท Plant- Based รายย่อยจากต่างประเทศ ที่ท าตลาดอยู่ก่อน แล้วหลากหลายแบรนด์ รวมถึงแบรนด์สินค้าในท้องถิ่น อาทิ Fable และ V2Food (ผู้ผลิต Startup ร่วมทุน กับ Hungry Jack’s และได้รับการสนับสนุนการวิจัยโดย CSIRO) และบริษัท Impossible Foods (ผู้ผลิต Plant- Based Meat จากสหรัฐอเมริกา) ได้มีแผนเข้ามาท าตลาดในออสเตรเลียเช่นกัน ในปี 2562 ผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปออสเตรเลียได้ขยายรายการผลิตอาหารประเภท Plant-based และ Plant- Based Meat เพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคอาหารประเภท Plant-Based มากขึ้น โดย ได้เปิดตัวสินค้าใหม่ภายในงานแสดงสินค้าอาหาร Naturally Goods Expo 2019 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่มี ศักยภาพเกี่ยวกับสินค้าเพื่อสุขภาพและออร์แกนิค ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจ าทุกปี เช่น บริษัท Bertocchi (ผลิต Vegiredi Plant-Based Deli Slices) บริษัท Acai (ผลิต Tender Jack Fruit) และบริษัท MEET (ผลิต 100% Plant-based goodness)

นอกจากนี้ ผลส ารวจสินค้าอาหารประเภท Plant- Based Meat แบรนด์ต่างๆ ในออสเตรเลีย โดย Food Frontier พบว่า ชาวออสเตรเลียมีพฤติกรรมใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าประเภท Plant- Based เฉลี่ย 150 ล้าน เหรียญออสเตรเลียต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 4.6 พันล้านเหรียญออสเตรเลียภายในปี 2573 โดยมีสินค้า อาหารประเภท Plant- Based แบรนด์ต่างๆ จากผู้ผลิตรายย่อยในออสเตรเลียและผู้ผลิตจากต่างประเทศ (นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ เดนมาร์ก แคนาดา อังกฤษ ไทยและไต้หวัน) วางจ าหน่ายในตลาด ออสเตรเลีย ดังนี้ แบรนด์ The Alternative Meat, Bean Supreme, Coco & Lucas, Eaty, Field Roast, Fry’s Family Foods, Funky Field, Gardein, Linda McCartney, Loma Linda, Nature’s Kitchen, Next-Gen, Quorn, Sophie’s Kitchen, Tofurky, Unreal Co, Veef, The Vegan Factorและ Vegie Delights ซึ่งผลิตอาหารประเภท Plant- Based Meat ที่มีรสชาติไม่แตกต่างจากเนื้อสัตว์ และเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภครักสุขภาพและมังสวิรัติอย่างมาก

Page | 3

สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่วางจ าหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ในออสเตรเลีย อาทิ Woolworths, Coles, IGA และร้านอาหารเพื่อสุขภาพทั้งหมด ตารางที่ 1 แสดงสินค้าอาหาร Plant- Based Meat แบรนด์ต่างๆ ที่จ าหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตออสเตรเลีย แบรนด์ ช่องทางการจ าหน่าย แหล่งผลิต Beyond Meat สหรัฐอเมริกา

5.3 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Field Roast สหรัฐอเมริกา

1.9 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม Tofurky สหรัฐอเมริกา

2.6 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Morning Star Farms สหรัฐอเมริกา

2.4 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม The Alternative Meat ออสเตรเลีย

2 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม Funky Field ออสเตรเลียและ เดนมาร์ก

2.2 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม Coco & Lucas ออสเตรเลีย

1.8 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Eaty ออสเตรเลีย

1.6 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Page | 4

Nature’s Kitchen ออสเตรเลีย

2.4 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Next-Gen ออสเตรเลีย

1.7 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Unreal Co. ออสเตรเลีย

2.3 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม Veef ออสเตรเลีย

2.8 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Vegie Delights ออสเตรเลีย

1.7 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม Syndian ออสเตรเลีย

2.3 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Made with Plants ออสเตรเลีย

2.2 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Macro ออสเตรเลีย

1.5 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Bean Supreme นิวซีแลนด์

2.13 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Page | 5

Sunfed นิวซีแลนด์

3.6 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Quorn อังกฤษ

2.5 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Linda McCartney อังกฤษ

2.2 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Gardein แคนาดา

2.6 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Alternative Kitchen แคนาดา

4.59 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Yves แคนาดา

1.41 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม Fry’s 100% ฝรั่งเศส

2.0 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Fry’s Family Foods แอฟริกาใต้

1.5 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม Harvest Gourmet สาธารณรัฐเช็ก

5.3 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Page | 6

The Vegan Factor เนเธอร์แลนด์

2.3 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม Loma Linda ไทย

1.65 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Sophie’s Kitchen ไต้หวัน

2 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Plant Asia มาเลเซีย

2.2 เหรียญออสเตรเลียต่อ100 กรัม

Source: Food Frontier/ Woolworths/ Coles 4. ช่องทางการจ าหน่ายในตลาดออสเตรเลีย ปี 2562 ชาวออสเตรเลียใช้จ่ายในการซื้ออาหารเนื้อ Plant-based มีมูลค่า 150 ล้านเหรียญ ออสเตรเลีย (เป็นมูลค่าตลาดค้าปลีก 115 ล้านเหรียญออสเตรเลียและ Foodservice มูลค่า 35 ล้านเหรียญออสเตรเลีย) ตลาดค้าปลีกในออสเตรเลียมีซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ครองตลาด คือ Woolworths และ Coles ซึ่ง มีสัดส่วนตลาดรวมกันร้อยละ 59.5 ของตลาดค้าปลีกในออสเตรเลียทั้งหมด กราฟที่ 1 แสดงสัดส่วนตลาดของซุปเปอร์มาร์เก็ตในออสเตรเลีย

Source: Roymorgan

Page | 7

Woolworths เป็นผู้น าตลาด มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ร้อยละ 32.9 (995 สาขา) รองลงมา คือ Wesfarmers (Coles) มีส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 26.6 (807 สาขา) ALDI มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12.4 (628 สาขา) Metcash (IGA, Friendly Grocers and Foodland) (มีซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าอิสระ ประมาณ 1,400 สาขา) มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7.3 และร้านค้าปลีกรายย่อยและร้านสะดวกซื้ออื่นๆในท้องถิ่น มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20.9 5. แนวทางในการขยายตลาด 5.1 การพัฒนาสินค้านวัตกรรมใหม่ควบคู่กับการออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบ eco-package จะได้รับ การตอบรับเป็นอย่างดีเนื่องจากชาวออสเตรเลียให้ความส าคัญต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและ กระบวนการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน สะอาดและปลอดภัย 5.2 น าเสนอสินค้าใหม่ในงานแสดงสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ งานแสดงสินค้า Naturally Good Expo และงาน Fine Food เพื่อสร้างโอกาสในการพบปะผู้น าเข้า ผู้กระจายสินค้าในประเทศ  งาน Naturally Good Expo เป็นงานเจรจาธุรกิจในกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพที่มีวัตถุดิบจากธรรมชาติ อาทิ สินค้าออร์แกนิค อาหาร เสริม วิตามิน ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์ จัดขึ้นทุกปี งานครั้งต่อไปจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2564 ที่ International Convention Centre ซิดนีย์  งาน Fine Food Australia เป็นงานแสดงสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย (มีโซน สินค้าออร์แกนิคและสินค้าเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะ) จัดขึ้นทุกปี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก ผู้น าเข้าและบริษัทตัวแทนจ าหน่ายได้พบปะและเจรจาธุรกิจร่วมกัน 6. ปัญหาและอุปสรรค 6.1 ด้านช่องทางการกระจายสินค้าผ่านซุปเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากปัจจุบันออสเตรเลียมีซุปเปอร์มาร์ เก็ตรายใหญ่ครองตลาดหลักๆ เพียง Woolworths และ Coles และมีเงื่อนไขการน าสินค้ามา จ าหน่ายบนชั้นวางค่อนข้างเข้มงวดและซับซ้อน ประกอบกับการผลิตและจ าหน่ายสินค้าภายใต้ แบรนด์สินค้าของตน (Private label) วางจ าหน่ายในราคาถูกควบคู่ไปกับสินค้าแบรนด์อื่นด้วย ซึ่งท าให้ตลาดสินค้าประเภท Plant- Based มีการแข่งขันสูงทั้งด้านราคาและจ านวนคู่แข่ง อาจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการสินค้าดังกล่าวมีผลก าไรน้อย 6.2 ผู้ผลิตรายย่อยในออสเตรเลียเริ่มหันมาท าตลาดอาหารประเภท Plant- Based Meat มากขึ้นเพื่อ ตอบสนองความต้องการในตลาด อีกทั้งผู้บริโภคออสเตรเลียมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าที่ให้ ความส าคัญในการเลือกซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ผลิตในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากมีความ

Page | 8

เชื่อมั่นด้านปลอดภัยและคุณภาพในการผลิตของสินค้าในประเทศมากกว่าสินค้าน าเข้าจาก ต่างประเทศ รวมถึงเป็นการสนับสนุนผู้ผลิตในประเทศด้วย จึงท าให้การเข้ามาท าตลาดออสเตรเลีย มีการแข่งขันสูงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศและต่างประเทศที่เข้ามาท าตลาดเป็นจ านวนมาก 7. กฎระเบียบการน าเข้า การน าเข้าอาหารบรรจุหีบห่อในออสเตรเลียผู้น าเข้าสามารถน าเข้าได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตและมี ภาษีน าเข้าเป็นศูนย์ ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี TAFTA แต่สินค้าน าเข้าต้องเป็นไปตามข้อก าหนดความ ปลอดภัยของอาหาร Imported Food Control Act 1992 และมาตรฐานด้านสุขอนามัย Biosecurity Act 2015 รวมทั้งมาตรฐานสินค้าอาหารออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ Australia New Zealand Food Standards Code ซึ่งก าหนดให้สินค้าอาหารที่จ าหน่ายในออสเตรเลียต้องแสดงรายละเอียดบนฉลาก อาทิ ระบุชื่ออาหาร วันหมดอายุ แหล่งผลิต ส่วนผสมและสารปรุงแต่ง (รายการสารเคมี ธัญพืช สัตว์น้ าที่มีเปลือกแข็ง ไข่ นม ถั่ว และอื่นๆที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้) ระดับสารเจือปนในอาหาร (ต้องไม่สูงเกินกว่าปริมาณที่ก าหนด Australia New Zealand Food Standards Code: Schedule19) แสดงค าเตือนหรือค าแนะน าบนฉลาก ค าแนะน า วิธีการใช้และการเก็บรักษา และข้อมูลทางโภชนาการ เป็นต้น ผู้ส่งออกหรือผู้น าเข้าสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขการน าเข้าสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://bicon.agriculture.gov.au/BiconWeb4.0 และรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าอาหารเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.foodstandards.gov.au/code/Pages/default.aspx และ www.legislation.gov.au เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสินค้ามาถึงด่านศุลกากรออสเตรเลียและการเรียกคืนสินค้าในภายหลัง 8. ข้อเสนอแนะ การจ าหน่ายอาหารประเภท Plant- Based Meat ส่วนใหญ่จะวางจ าหน่ายผูกขาดกับซุปเปอร์มาร์เก็ต รายใหญ่ Woolworths และ Coles ท าให้เกิดการต่อรองด้านราคารับซื้อสูง ดังนั้นการเข้ามาท าตลาดใน ออสเตรเลีย ควรด าเนินการในรูปแบบการตลาดผสมผสานทั้งการเข้ามาเปิดตัวสินค้าในประเทศอย่างเป็น รูปธรรม ควบคู่ไปกับการท าตลาดออนไลน์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นต่อตัวสินค้า ตลอดจนสร้าง โอกาสในการพบปะผู้น าเข้าและศึกษาความต้องการของตลาดในท้องถิ่นโดยตรง เนื่องจากชาวออสเตรเลียจะ ให้ความไว้วางใจกับสินค้าที่ผลิตในประเทศมากกว่าสินค้าจากต่างประเทศ ………………………………………………….. ส านักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ มิถุนายน 2563

ที่มา

ผลการวิจัย Food Frontier / CSIRO / www.7news.com.au/ www.businessinsider.com.au

Page | 9