1 รายงานชุดโครงการวิจัย ชุดโครงการวิจัย และพัฒนาเห็ด Research and Development on Mushroom หัวหน้าชุดโครงการวิจัย อลงกรณ์ กรณ์ทอง Alongkorn Korntong ปี พ.ศ. 2558 2 รายงานชุดโครงการวิจัย ชุดโครงการวิจัย และพัฒนาเห็ด Research and Development on Mushroom หัวหน้าชุดโครงการวิจัย อลงกรณ์ กรณ์ทอง Alongkorn Korntong ปี พ.ศ. 2558 3 คําปรารภ กรมวิชาการเกษตรมีภารกิจเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย และพัฒนาพืชให้ได้พืชพันธุ์ดี เพื่อถ่ายทอด เทคโนโลยีการผลิตพืชสู่กลุ่มเปูาหมายทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ซึ่งการวิจัยและพัฒนาเห็ดก็เป็น ภารกิจหนึ่งของกรมที่ดําเนินการมาตลอด ชุดโครงการวิจัย และพัฒนาเห็ด ประกอบด้วยโครงการวิจัย 3 โครงการคือ โครงการวิจัยและพัฒนา เห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ โครงการวิจัยและพัฒนาการอารักขาเห็ด และ โครงการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีการใช้วัสดุและอาหารเสริมเพาะเห็ดเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพื่อคัดเลือก ผสมพันธุ์ ประเมินสายพันธุ์เห็ด ต่างๆ ให้ได้สายพันธุ์ที่มีคุณภาพและผลผลิตสูงเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในแต่ละพื้นที่เป็นทางเลือก และ พัฒนาวิธีการเพาะเห็ดที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และแบบการผลิต ตลอดจนการศึกษาการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์ และการศึกษาความหลากหลายของเห็ดในธรรมชาติ อีกทั้งยังศึกษาการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและ อุตสาหกรรมอีกหลายชนิด เพื่อเป็นวัสดุเพาะหลักหรืออาหารเสริมสําหรับเพาะเลี้ยงเห็ดทําให้ผู้เพาะเห็ดมี ทางเลือกปัจจัยด้านการผลิตได้เพิ่มขึ้น และรวมการศึกษาวิจัยวิธีการปูองกันกําจัดศัตรูเห็ดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการเจริญและคุณภาพของเห็ด นําไปจัดการกับปัญหาศัตรูเห็ดในระดับฟาร์มเพาะเห็ดได้ เริ่มดําเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 และสําเร็จลุล่วงในปี 2558 ต้องขอขอบคุณกรมวิชาการเกษตรที่ สนับสนุนงบประมาณ คณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการกรมวิชาการเกษตรและของหน่วยงานต้นสังกัดในการ พิจารณาด้านวิชาการ ขอบคุณหัวหน้าการทดลองและคณะที่ได้ดําเนินงานทดลองภายใต้แต่ละโครงการ และท้ายสุดต้องขอขอบคุณเกษตรกรผู้เพาะเห็ดทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวิจัย คณะผู้วิจัยหวังเป็นอย่าง ยิ่งว่าผลงานวิจัยเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดและผู้สนใจ อลงกรณ์ กรณ์ทอง หัวหน้าชุดโครงการวิจัย 4 สารบัญ หน้า ผู้วิจัย (ก1-3) บทนํา 1 1.โครงการวิจัยที่ 1: วิจัยและพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ 5 2.โครงการวิจัยที่ 2: วิจัยและพัฒนาการอารักขาเห็ด 215 3.โครงการวิจัยที่ 3: วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้วัสดุและอาหารเสริม 216 เพาะเห็ดเศรษฐกิจ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยของชุดโครงการวิจัย โครงการวิจัยที่ 1: วิจัยและพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ 250 โครงการวิจัยที่ 2: วิจัยและพัฒนาการอารักขาเห็ด 264 โครงการวิจัยที่ 3: วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้วัสดุและอาหารเสริม 265 เพาะเห็ดเศรษฐกิจ ข้อเสนอแนะ โครงการวิจัยที่ 1: วิจัยและพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ 267 โครงการวิจัยที่ 2: วิจัยและพัฒนาการอารักขาเห็ด 269 โครงการวิจัยที่ 3: วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้วัสดุและอาหารเสริม 270 เพาะเห็ดเศรษฐกิจ บรรณานุกรม 272 ภาคผนวก โครงการวิจัยที่ 1: วิจัยและพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ 284 โครงการวิจัยที่ 2: วิจัยและพัฒนาการอารักขาเห็ด 294 โครงการวิจัยที่ 3: วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้วัสดุและอาหารเสริม 295 เพาะเห็ดเศรษฐกิจ 5 (ก-1) คณะผู้วิจัยโครงการวิจัยที่ 1: วิจัยและพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ สุวลักษณ์ ชัยชูโชติ 1/ นันทินี ศรีจุมปา 2/ ศิริพร หัสสรังสี 3/ Suvalux Chaichuchote Nantinee Srijumpa Siriporn Hassarangsee วราพร ไชยมา1/ ศิรากานต์ ขยันการ 2/ พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล 3/ Varaporn Chaiyama Sirakan Khayankarn Pacharaporn Leelapiromkul อนุสรณ์ ทองวิเศษ1/ สุธามาศ ณ น่าน 2/ ฉัตรสุดา เชิงอักษร 3/ Anusorn Tongwised Sutamas Na-nan Chatsuda Choengaksorn กรกช จันทร1/ วัชรพล บําเพ็ญอยู่ 2/ วิลาสลักษณ์ ว่องไว3/ Korakoch Chantorn Watcharaphon Bumphenyoo Wilasluk Wongwai รัชฎาภรณ์ ทองเหม 1/ สุทธินี ลิขิตตระกูลรุ่ง 3/ Ratchadaporn Thonghem อภิญญา สุราวุธ 5/ Suttinee Likhittragulrung Apinya Surawoot สิริพร มะเจี่ยว 3/ สุทธินี เจริญคิด 4/ ลักษมี สุภัทรา 5/ Siriphon Majiew Sutthinee Charoenkid Laksamee Supathra อนรรค อุปมาลี 3/ วิภาดา แสงสร้อย 4/ นันทิการ์ เสนแก้ว 5/ Anakoop Ooppamalee Vipada Sang soy Nuntika Sankaew ปริศนา หาญวิริยะพันธุ์ 3/ ประนอม ใจอ้าย 4/ ประสพโชค ตันไทย 5/ Prissana Hanviriyapant Pranom Chai-ai Prasobchok Tanthai คณิศร มนุษย์สม 4/ บุญพา ชูผอม 5/ Kanisorn Manusom Bunpa Choopaum สากล มีสุข 4/ อุดร เจริญแสง 5/ Sakol Meesuk Udon Charoensaeng 6 1/ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเห็ด สํานักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ 2/ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ. เชียงราย 3/ สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จ.เชียงใหม่ 4/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ จ.แพร่ 5/ สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 จ.สงขลา (ก-2) คณะผู้วิจัยโครงการวิจัยที่ 2: วิจัยและพัฒนาการอารักขาเห็ด ข้อมูลอยู่ที่หัวหน้าโครงการ 7 (ก-3) คณะผู้วิจัยโครงการวิจัยที่ 3: วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้วัสดุและอาหารเสริมเพาะเห็ดเศรษฐกิจ สุวลักษณ์ ชัยชูโชติ 1/ นันทินี ศรีจุมปา 2/ Suvalux Chaichuchote Nantinee Srijumpa รัชฎาภรณ์ ทองเหม 1/ ศิรากานต์ ขยันการ 2/ Ratchadaporn Thonghem Sirakan Khayankarn ศิริพร หัสสรังสี 3/ สุทธินี เจริญคิด 4/ Siriporn Hassarangsee Sutthinee Charoenkid พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล 3/ วิภาดา แสงสร้อย 4/ Pacharaporn Leelapiromkul Vipada Sang soy ฉัตรสุดา เชิงอักษร 3/ สากล มีสุข 4/ Chatsuda Choengaksorn Sakol Meesuk สุทธินี ลิขิตตระกูลรุ่ง 3/ ประนอม ใจอ้าย 4/ Suttinee Likhittragulrung Pranom Chai-ai สิริพร มะเจี่ยว 4/ Siriphon majiew คณิศร มนุษย์สม 4/ Kanisorn manusom 1/ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเห็ด สํานักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กรุงเทพ 10900 2/ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย อ. เมือง จ. เชียงราย 57000 3/ สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จ.เชียงใหม่ 4/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ จ.แพร่ 8 บทนํา ความสําคัญและที่มาของชุดโครงการวิจัย ในปัจจุบันการเพาะเห็ดเป็นการค้ามีการขยายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องการเพาะเห็ดให้ผลผลิตเร็ว การลงทุนไม่สูงมากนัก และการดําเนินงานไม่ซับซ้อนหรือยุ่งยาก และเป็นอาชีพที่สามารถทํารายได้ตลอดปี ทําให้มีผู้สนใจที่จะเพาะเห็ดมากขึ้น การเพาะเห็ดให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพต้องเริ่มจากสายพันธุ์เห็ดที่จะ นํามาเพาะเลี้ยง เนื่องจากเชื้อเห็ดที่มีการเพาะเลี้ยงในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการคัดเลือกเชื้อพันธุ์จาก ธรรมชาตินํามาปรับปรุงให้อยู่ในสภาพโรงเรือนเหมาะที่จะปลูกเป็นการค้า ดังนั้นการคัดเลือก การผสมพันธุ์ การประเมินสายพันธุ์เห็ดสายพันธุ์ต่างๆ ให้ได้สายพันธุ์ที่มีคุณภาพและผลผลิตสูงเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใน แต่ละพื้นที่เป็นทางเลือก และพัฒนาวิธีการเพาะเห็ดที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และแบบการผลิต รวมทั้ง การศึกษาการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์และการศึกษาความหลากหลายของเห็ดในธรรมชาติ เป็นสิ่งจําเป็นที่จะต้อง ดําเนินการ เห็ดต้องการแหล่งอาหารหลักๆ เพื่อการเจริญเติบโตเช่นเดียวกับพืชได้แก่ คาร์บอน ไนโตรเจน ธาตุ อาหารและวิตามิน วัสดุหลักในการเพาะเห็ดได้แก่ขี้เลื่อยเพื่อเป็นแหล่งอาหารพวกคาร์บอน ไนโตรเจน อาหารเสริมซึ่งเป็นวัสดุเติมลงไปเพื่อให้ธาตุอาหารเฉพาะที่มีผลต่อการเจริญของเส้นใยและการเพิ่มผลผลิต ส่วนธาตุอื่นๆช่วยในการปรับสภาพอาหารเพาะให้เหมาะสมแก่การเจริญของเส้นใยเห็ดแล้ว ยังช่วยสร้าง ความแข็งแรงของเส้นใยและโครงสร้างของดอกเห็ดให้มีคุณภาพ การเพาะเห็ดนิยมเพาะในถุงพลาสติกโดยใช้ ขี้เลื่อยเป็นวัสดุเพาะหลัก และใช้รําเป็นอาหารเสริมที่เป็นแหล่งของโปรตีน ซึ่งหาได้ง่าย ราคาไม่แพง ซึ่งการ เลือกใช้ชนิดของอาหารเสริมขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด ชนิดของวัสดุเพาะหลักและการคํานึงถึงกระบวนการ ผลิต สภาพสิ่งแวดล้อมและปัญหาการเกิดเชื้อปนเปื้อนในวัสดุเพาะ แต่เมื่อมีการขยายการผลิตมากขึ้น ทําให้เกิดปัญหาในเรื่องของขี้เลื่อยซึ่งแหล่งผลิตจํากัด ทําให้เกิดการขาดแคลน และมีราคาสูงขึ้น ในขณะที่ บ้านเรายังมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมอีกหลายชนิด เช่น ฟางข้าว เปลือกและซังข้าวโพด ขี้ฝูาย ชานอ้อย เปลือกถั่ว กิ่งหม่อน ทลายปาล์ม กากเมล็ดกาแฟ ก้อนเห็ดเก่า และ หญ้า เป็นต้น ถ้า สามารถใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นกากกาแฟ หญ้า ฟางข้าวหรือเศษต้นข้าวโพดได้ จะทําให้ผู้เพาะ เห็ดมีทางเลือกปัจจัยด้านการผลิตได้เพิ่มขึ้นและเป็นการเพิ่มทางเลือกแก่ผู้ประกอบการเพาะเห็ดนําไป ประกอบอาชีพ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้วัสดุและอาหารเสริมเพาะเห็ดเศรษฐกิจจึงมีความ จําเป็นต้องดําเนินการอีกด้านหนึ่งด้วย ปัญหาที่สําคัญอีกอย่างหนึ่งของการผลิตเห็ดเป็นการค้า คือ ศัตรูเห็ดในโรงเรือนประกอบด้วย แมลง ไร และจุลินทรีย์ เนื่องจากโรงเรือนเพาะเห็ดเป็นโรงเรือนปิด ดังนั้นจึงมีปัญหาเรื่องการสะสมของศัตรูพืชได้ ตลอดเวลา ถ้าหากไม่มีการควบคุมหรือปูองกันกําจัดที่ดีจะทําให้การผลิตเห็ดประสบความล้มเหลวได้ ทําให้ เกษตรกรต้องใช้สารเคมีเพื่อปูองกันและกําจัดศัตรูเห็ด และเกิดพิษตกค้างเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค วิธีการ ปูองกันกําจัดศัตรูเห็ดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการเจริญและคุณภาพของเห็ด นําไปจัดการกับ ปัญหาดังกล่าวได้ในระดับฟาร์มเพาะเห็ดได้ และจะทําให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกรในการผลิตเห็ด ชนิดต่างๆที่มีคุณภาพดี มีราคาสูง เป็นที่ต้องการของตลาด การศึกษาวิจัยด้านอารักขาเห็ดจึงจําเป็นต้อง ดําเนินงานควบคู่กันไปด้วย 9 วัตถุประสงค์หลักของแผนงานวิจัย 1. โครงการวิจัยที่ 1: วิจัยและพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ 1.1 เพื่อรวบรวม คัดเลือก และประเมินสายพันธุ์เห็ดขอนขาว เห็ดลม เห็ดสกุล Coprinus เห็ดร่างแห เห็ดหูหนูขาว เห็ดลิ้นกวาง เห็ดหอม และเห็ดแครง ให้ได้สายพันธุ์ที่มีคุณภาพและผลผลิตสูงเพื่อ ส่งเสริมให้เกษตรกรในแต่ละพื้นที่ 1.2 เพื่อปรับปรุงพันธุ์เห็ดภูฏาน โดยการผสมพันธุ์และประเมินสายพันธุ์ ให้ได้เห็ดลูกผสม สายพันธุ์ใหม่อย่างน้อย 1 สายพันธุ์ เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรได้ใช้อย่างเหมาะสม 1.3 เพื่อศึกษาและพัฒนาวัสดุเพาะเห็ดต่งฝน ให้ได้ข้อมูลใช้แนะนําเกษตรกรให้นําไป ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและได้ผล และพัฒนาวิธีการเพาะเห็ดตับเต่า ( Phaeogyroporus protentosus ที่ เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และแบบการผลิต 1.4 เพื่อศึกษาการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์เห็ดตีนแรด เห็ด Oudemansiella spp. และเห็ดต่ง ฝนในน้ํากลั่นปลอดเชื้อเพื่อการนํากลับมาใช้ประโยชน์ 1.5. เพื่อศึกษาความหลากหลายของเห็ดในธรรมชาติเพื่อเพิ่มความหลากหลายของหน่วย พันธุกรรมสําหรับการศึกษาวิจัย โครงการวิจัยมีทั้งหมด 5 กิจกรรม ดังนี้ 1) กิจกรรม: เห็ดขอนขาว มี 1 การทดลอง 2) กิจกรรม : เห็ดลม มี 1 การทดลลอง 3) กิจกรรม : เห็ด Coprinus spp.มี 2 การทดลอง 4) กิจกรรม : เห็ดร่างแห มี 2 การทดลอง และ 2 การทดลองย่อย และ 5) กิจกรรม: เห็ดที่มีศักยภาพ มี 12 การทดลอง มีประเด็นวิจัยเพื่อ คัดเลือก ปรับปรุงพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ และประเมินสายพันธุ์เห็ดสายพันธุ์ต่างๆ พัฒนาวิธีการเพาะที่ เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และแบบการผลิต รวมทั้งศึกษาการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์ และ ศึกษาความหลากหลาย ของเห็ดในธรรมชาติ 2. โครงการวิจัยที่ 2: วิจัยและพัฒนาการอารักขาเห็ด 2.1เพื่อศึกษาเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคเห็ด
Details
-
File Typepdf
-
Upload Time-
-
Content LanguagesEnglish
-
Upload UserAnonymous/Not logged-in
-
File Pages310 Page
-
File Size-