นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road Initiative) : ความร่วมมือและความขัดแย้ง กรณีศึกษากวาดาร์พอร์ต รัฐบาโลจิสถาน (Gwadar Port, Balochistan) ประเทศปากีสถาน

โดย

นาย อดิ๊บ ยูซุฟ

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการระหว่างประเทศและการทูต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2560 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Ref. code: 25605903030525DHV นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road Initiative) : ความร่วมมือและความขัดแย้ง กรณีศึกษากวาดาร์พอร์ต รัฐบาโลจิสถาน (Gwadar Port, Balochistan) ประเทศปากีสถาน

โดย

นาย อดิ๊บ ยูซุฟ

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการระหว่างประเทศและการทูต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2560 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Ref. code: 25605903030525DHV

One Belt One Road Initiative cooperation and conflict case study Gwadar Port Balochistan Pakistan

BY

MR. ADEEB YUSUF

A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF POLITICAL SCIENCE IN INTERNATIONAL RELATIONS AND DIPLOMACY FACULTY OF POLITICAL SCIENCE THAMMASAT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2017 COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY

Ref. code: 25605903030525DHV

(1)

หัวข้อวิทยานิพนธ์ นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road Initiative) : ความร่วมมือและความขัดแย้ง กรณีศึกษา กวาดาร์พอร์ตรัฐบาโลจิสถาน (Gwadar Port, Balochistan) ประเทศปากีสถาน ชื่อผู้เขียน นาย อดิ๊บ ยูซุฟ ชื่อปริญญา รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย การระหว่างประเทศและการทูต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.บรรพต ก าเนิดศิริ ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ

นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road Initiative) ถือเป็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับโลกที่มีความส าคัญอย่างยิ่ง และเป็นที่น่าจับตามองในทุก ๆ มิติ ถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นไปในรูปแบบความร่วมมือและความขัดแย้งซึ่งเกิดขึ้นจากการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับโลกดังกล่าว งานชิ้นนี้จะเน้นไปที่การน าเสนอ และอธิบายปฏิสัมพันธ์ทั้ง ในด้านความร่วมมือและความขัดแย้งในทุกระดับที่เกิดขึ้น จากรูปแบบ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ซึ่งเป็นหนึ่งใน รูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศหนึ่งภายใต้ นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางผ่าน กรอบแนวคิดการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ว่ารัฐบาลปากีสถาน มีความเข้าใจ และมีการประเมินรวมถึงการจัดการภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากโครงการดังกล่าวในทุก ระดับอย่างไร รวมถึงท าการเปรียบเทียบว่ารูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่าง ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้น ถือเป็นรูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจตามทฤษฎีภารกิจนิยม หรือเป็นรูปแบบของจักรวรรดินิยมใหม่โดยจีน การวิจัยได้ผลสรุปว่าผลประโยชน์ของปากีสถานที่ ได้รับจากระเบียงความร่วมมือทางเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้น จะเป็นผลประโยชน์ในทางด้านความ มั่นคงมากกว่าความมั่งคั่งหรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งขัดกับรูปแบบของความร่วมมือตาม แนวทางทฤษฎีภารกิจนิยม ส่วนความสูญเสียที่มีอัตราที่ลดลงในรัฐบาโลจิสถานนั้น แสดงให้เห็นว่า

Ref. code: 25605903030525DHV (2)

รัฐบาลกลางปากีสถานมีความเข้าใจ และมีการจัดการภัยคุกคามที่ประสบผลส าเร็จในระดับหนึ่ง ตาม รูปแบบการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่

ค าส าคัญ: นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง, ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน, ประเมินภัยคุกคาม, ภารกิจนิยม, จักรวรรดินิยมใหม่

Ref. code: 25605903030525DHV (3)

Thesis Title One Belt One Road Initiative cooperation and conflict case study Gwadar Port Balochistan Pakistan Author Mr. Adeeb Yusuf Degree Master of Political Science Major Field/Faculty/University International Relations Political Science Thammasat University Thesis Advisor Assoc. Prof. Bunpot Gumnerdsiri, Ph.D. Academic Years 2017

ABSTRACT

The Chinese government’s One Belt One Road Initiative (OBOR) also known as The Belt and Road, (B&R) and The Belt and Road Initiative, (BRI) is one of the most important contemporary global economic development strategies. As a global economic development strategy its impact is noticed in every dimension of international cooperation and conflict issues. This research work based on Threat Assessment Neo-classical realist model studies the Pakistan's Gwadar port project as a case study of international economic cooperation between China and Pakistan through China-Pakistan Economic Corridor (CPEC). As an already operational project of the One Belt One Road Initiative this research describes the international interactions relating to Gwadar port in terms of its impact for cooperation and conflict at all levels. It analyses the project from the Pakistan government’s perception of how to assess and manage threats at all levels. This research also compares the patterns of international economic cooperation through China-Pakistan Economic Corridor according to the theory of functionalism or as a new form of neo-imperialism from China. In conclusion, Pakistan gained from the China-Pakistan Economic Corridor (CPEC) increased the security interest more than the economic interests. This contrasts from the expected pattern cooperation based on the functionalism theory. It also brought

Ref. code: 25605903030525DHV (4) a decline in the mortality rate caused by insurgency in Balochistan. This proves that the Federal Government of Pakistan now has an improved perception and management of threat as expected from the model of threat assessment based on the neo-classical Realist model.

Keywords: One Belt One Road Initiative, China-Pakistan Economic Corridor, Threat Assessment, Functionalism, Neo-imperialism

Ref. code: 25605903030525DHV (5)

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธ์นี้ส าเร็จไปได้ด้วยดี เนื่องจากผู้เขียนได้รับความกรุณาจาก ศาสตราจารย์ ดร.จรัญ มะลูลีม ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.บรรพต ก าเนิดศิริ กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ที่ได้ให้ ค าปรึกษา และค าแนะน า อันมีค่ายิ่งในการปรับปรุงแก้ไขซึ่งผู้เขียนต้องขอกราบขอบพระคุณเป็น อย่างสูง

นอกจากนี้ผู้เขียนขอขอบคุณ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกท่าน ที่ได้มีส่วนร่วม อารมณ์ สั่งสอน และส่งเสริมให้ข้าพเจ้าส าเร็จการศึกษาดังที่ตั้งใจ และท้ายที่สุดผู้เขียน ของขอบคุณผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องทุกท่านซึ่งได้มีส่วนร่วมในการท าให้วิทยานิพนธ์เล่มนี้ส าเร็จลงไปได้ ด้วยดี

นาย อดิ๊บ ยูซุฟ

Ref. code: 25605903030525DHV (6)

สารบัญ

หน้า บทคัดย่อภาษาไทย (1)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (3)

กิตติกรรมประกาศ (5)

สารบัญตาราง (9)

สารบัญภาพ (10)

บทที่ 1 บทน า 1

1.1 ความส าคัญชองปัญหา 1 1.2 ประเด็นค าถามวิจัย 4 1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 5 1.4 กรอบการวิเคราะห์ 5 1.5 สมมติฐาน 9 1.6 ขอบเขตการวิจัย 9 1.7 ข้อมูลตัวแปร 9 1.8 วิธีการวิจัย 10 1.9 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 10

บทที่ 2 วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 11

2.1 กลุ่มของวรรณกรรมที่ศึกษาเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และเศรษฐกิจของจีน 11 สมัยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง งานในกลุ่มนี้มีงานชิ้นส าคัญ

Ref. code: 25605903030525DHV (7)

2.2 กลุ่มของวรรณกรรมที่ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทจีนในการด าเนินโครงการหนึ่งแถบ 12 หนึ่งเส้นทาง และความร่วมมือที่เกี่ยวพันกับปากีสถาน 2.3 กลุ่มของวรรณกรรมที่ศึกษาเกี่ยวกับสภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของ 13 ปากีสถาน รวมถึงนโยบายต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ภายในรัฐบาโลจิสถาน

บทที่ 3 นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจของจีน อันน าไปสู่โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง 16

3.1 นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจระดับโลกของจีน 16 3.2 นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกับความร่วมมือในระดับโลก 20 3.3 นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคที่สัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียใต้ 25 3.4 นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจของจีนที่สัมพันธ์กับประเทศปากีสถาน 27

บทที่ 4 สภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของปากีสถาน รวมถึงนโยบายของรัฐบาล 30 ปากีสถานต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ภายในประเทศ

4.1 ภูมิหลังของประเทศปากีสถาน 30

บทที่ 5 ภูมิหลังปัญหาความขัดแย้งภายในดินแดนรัฐบาโลจิสถานและความขัดแย้งกับรัฐบาล 50 กลางปากีสถาน

5.1 ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช 50 5.2 ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในช่วงยุคล่าอาณานิคม 56 5.3 ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในช่วงหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ 68

บทที่ 6 ภูมิหลังความสัมพันธ์ระหว่าง สาธารณรัฐประชาชนจีน - สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน 74

6.1 ความสัมพันธ์หลังจากการก่อตั้งประเทศปากีสถาน 74 6.2 ความสัมพันธ์ในช่วงยุคสงครามเย็นและหลังสงครามเย็น 76 6.3 ความสัมพันธ์ในช่วงการตกลงความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน 92 6.4 เปรียบเทียบความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน ว่าเป็นไปในทิศทาง 96 ของทฤษฎีภารกิจนิยม (Functionalism) หรือจักรวรรดินิยมใหม่ (Neo Colonialism)

Ref. code: 25605903030525DHV (8)

บทที่ 7 ความขัดแย้งภายใน และภายนอกรัฐบาลูจิสถาน หลังความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ 101 จีน–ปากีสถาน

7.1 ความเข้าใจของรัฐบาลปากีสถานต่อภัยคุกคามภายนอกประเทศในระดับภูมิภาค 102 และระดับโลกหลังความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน–ปากีสถาน

บทที่ 8 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 113

รายการอ้างอิง 129

ภาคผนวก 136

ประวัติผู้เขียน 145

Ref. code: 25605903030525DHV (9)

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า

5.1 แสดงมูลค่างบประมาณที่รัฐบาลกลางปากีสถานกระจายให้รัฐต่าง ๆ ในปากีสถาน 71 6.1 แสดงมูลค่าทางการค้าของปากีสถานในการการส่งออกและน าเข้าสินค้าจากจีน 90 7.1 แสดงตัวเลขความสูญเสียจากการก่อการร้ายและการตอบโต้จากเจ้าหน้าหน่วยงานทาง 108 ด้านความมั่นคงของรัฐบาลกลางปากีสถานทุกภาคส่วน (ถึงวันที่ 19 มีนาคม ปี ค.ศ. 2017) 7.2 แสดงตัวเลขอัตราการว่างงานของประชากรในรัฐบาโลจิสถานตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 – 2013 109

Ref. code: 25605903030525DHV (10)

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า

3.1 แสดงเส้นทางส าหรับการค้าทางบกและทางทะเลในนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน 23 5.1 แสดงแผนที่ของจังหวัดสิสถานและบาโลจิสถานของอิหร่าน และรัฐบาโลจิสถานของ 53 ปากีสถาน 5.2 แสดงแผนที่ของแผ่นดินขาลัท (บาโลจิสถาน) ช่วงการปกครองของ เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 54 5.3 แสดงแผนที่เส้นทางการขนส่งเสบียงของกองทัพอังกฤษแห่งสินธุ ที่ก าลังอยู่ในระหว่าง 57 การเดินทางมุ่งสู่เมืองกันดาฮาร์ 5.4 แสดงแผนที่เส้นทางการแบ่งขาลัทเป็น 4 ส่วนของ อังกฤษในปี ค.ศ. 1877 60 5.5 แสดงแผนที่บริเวณดินแดนชาราวาน (Sarawan) และจาห์ลาวาน (Jhalawan) 64 5.6 แสดงแผนที่บริเวณดินแดนชาราวาน ซาร์ฮาด (Sarhad) 66 5.7 แสดงเส้นทางที่ มิร บาโลช ข่าน โนเชอร์วานี พร้อมกับนักรบ 300 คนของเขาได้ท าลาย 67 ป้อมของทหารอังกฤษในเมืองต่าง ๆ ของดินแดนมาขาราน 6.1 แสดงมูลค่าโดยประมาณของการค้าระหว่างจีนและปากีสถาน ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 82 1952-1962 (หน่วยเป็นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 6.2 จดหมายจากนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล ถึง เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง 83 การต่างประเทศสหรัฐฯ 6.3 แสดงมูลค่าโดยประมาณของการค้าระหว่างจีนและปากีสถาน ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 88 1977-1991 (หน่วยเป็นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 7.1 แสดงให้เห็นถึงรัฐที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือน้ าลึกกว่าดาร์ และชาฮาบาร์ ที่ก าลังเป็นที่จับตามอง 103 ถึงการแข่งกันและการขยายอิทธิพลและอ านาจของรัฐมหาอ านาจในระดับภูมิภาคและระดับโลก ในภูมิภาคเอเชียใต้

Ref. code: 25605903030525DHV 1

บทที่ 1 บทน า

1.1 ความส าคัญชองปัญหา

นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road Initiative) เป็นยุทธศาสตร์ใหม่ ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนที่เสนอโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ในปี ค.ศ. 2013 โดยมีการมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อและความร่วมมือระหว่างประเทศในแถบเอเชียและยุโรปบางส่วน โดยเฉพาะการรื้อฟื้นเส้นทางการค้าโบราณอย่างเส้นทางสายไหมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ทั้งเส้นทางการค้า ทางบก และเพิ่มเติมเส้นทางการค้าทางทะเล โดยรัฐบาลจีนได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนา เส้นทางต่าง ๆ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ กว่า 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลยุทธ์ที่จีนใช้ในยุทธศาสตร์นี้แสดงให้เห็นถึงแรงผลักดันของจีนที่ต้องการจะมีบทบาท ที่มากขึ้น ในกิจการทางเศรษฐกิจในระดับโลกและความปรารถนาที่จะประสานก าลังการผลิตและ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ ในด้านต่าง ๆ เช่น การผลิตเหล็ก การส่งเสริมในการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเชื่อมต่อทางการค้า ระหว่าง จีนและประเทศต่าง ๆ 1 โดยเส้นทางทางการค้าส าคัญเส้นหนึ่งที่เป็นประตูทางออกที่สองให้จีน (ประตู ทางออกที่หนึ่งจากทะเลจีนใต้ผ่านช่องแคบมะละกา) ไปสู่มหาสมุทรอินเดียได้ก็ คือ ท่าเรือน้ าลึก กวาดาร์พอร์ต ในรัฐบาโลจิสถาน ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งของประเทศปากีสถาน ท่าเรือน้ าลึกนี้เกิดขึ้นหลังจาก ปากีสถานและจีนตกลงกันในเรื่องระเบียงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน (China– Pakistan Economic Corridor) ในปี ค.ศ. 2013 ซึ่งก็เป็นรูปแบบของความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่จีนมักจะเข้าไปสร้างเสริมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและน าเสนอรูปแบบของความร่วมมือให้เห็นถึง ผลประโยชน์ร่วมกันที่จะตามมาระหว่างจีนและประเทศที่ร่วมมือด้วย 2

1 Willy Lam Wo-lap, “Getting lost in One Belt, One Road,” Hong Kong Economic Journal, Ejinsight, accessed Octorber 2, 2017, www.ejinsight.com/20160412-getting-lost- one-belt-one-road. 2 Tom Hussain, “China's Xi in Pakistan to cement huge infrastructure projects, submarine sales,” Mcclatchydc, accessed Octorber 2, 2017, www.mcclatchydc.com/ news/nation-world/world/article24783286

Ref. code: 25605903030525DHV 2

ตามข้อตกลงความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน นั้น จีนได้ให้งบประมาณใน การสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นทางต่าง ๆ เช่น ถนน ทางรถไฟ ทางยกระดับ ทางด่วน เขต เศรษฐกิจพิเศษ ศูนย์ผลิตและพัฒนาพลังงานทดแทนส าหรับการขนส่ง เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางทางบก และการขนส่งทางน้ าที่ท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์พอร์ตสู่มหาสมุทรอินเดียต่อไปซึ่งจะเป็นประโยชน์และ สร้างความสะดวกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น งบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน นี้มีสูงถึง 62,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามความร่วมมือนี้ก็ได้สร้างผลกระทบ ตามมาด้วยเช่นกัน คือการเพิ่มผลกระทบทางลบจากภายนอกประเทศไปสู่ประเด็นความขัดแย้ง ภายในประเทศ หลังจากการที่จีนและปากีสถานได้มีการตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจตามข้อตกลง ระเบียงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน และได้มีการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการ เชื่อมต่อตั้งแต่ชายแดน จีน-ปากีสถาน ไปจนถึงท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์พอร์ต ที่รัฐบาโลจิสถาน ได้สร้าง ความไม่พอใจให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลชที่อาศัยอยู่ในรัฐบาโลจิสถาน ที่มีความไม่ พอใจรัฐบาลกลางเป็นทุนเดิมอยู่แล้วยิ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม โดยพวกเขาเห็นว่ารัฐของตนถูกเอาเปรียบ จากรัฐบาลกลางมาตลอดจากการดูดทรัพยากรจากรัฐตนไปสู่ส่วนกลางและมิได้กระจายความเจริญ กลับมาสู่รัฐตนอย่างเท่าเทียมหรือท าให้เกิดความพึงพอใจแก่กลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช (Baloch-คือกลุ่มชนชาติที่อาศัยอยู่ในรัฐบาโลจิสถาน) 3 ชาวบาโลชเชื่อว่าโครงการขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในบาโลจิสถาน อย่างการสร้างท่าเรือ น้ าลึกกวาดาร์พอร์ตนั้น มิได้เอื้อผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะผลประโยชน์ที่ให้แก่ ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว ชาวบาโลชนั้นไม่ได้มีความรู้สึก ต่อต้านจีนเป็นทุนเดิม แต่พวกเขาต่อต้านโครงการขนาดใหญ่นี้ที่ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่พวกเขา แม้กระทั่งในกระบวนการเจรจา กลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชก็ไม่ได้ร่วมอยู่ในโต๊ะเจรจาด้วย จึงก่อให้เกิด ความไม่พอใจและกระตุ้นความบาดหมางกับส่วนกลางที่มีอยู่เดิมให้เพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากการต่อสู้ ของกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช ด้วยวิธีการการก่อการร้ายเพื่อท าลายล้างฝ่ายความ มั่นคงของรัฐบาลกลางปากีสถาน รวมถึงการลอบสังหารแรงงานที่ก าลังท างานอยู่ตลอดเส้นทาง ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน และท่าเรื่อน้ าลึกกวาดาร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2114 มาจนถึงปัจจุบัน

3 Khaleeq Kiani, “CPEC investment pushed from $55b to $62b,” Dawn, accessed Octorber 2, 2017, https://tribune.com.pk/story/1381733/cpec-investment- pushed-55b-62b/.

Ref. code: 25605903030525DHV 3

ซึ่งมีแรงงานเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 44 ราย4 และจากข้อมูลทางสถิติของหน่วยงานเฝ้าระวังการ ก่อการร้ายแห่งเอเชียใต้ของสถาบันจัดการความขัดแย้งจากประเทศอินเดีย (South asia terrorism portal, Institute for Conflict Management : ICM) ได้น าเสนอว่า ปี ค.ศ. 2013 ที่มีการริเริ่ม โครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานจนถึงวันที่ 19 มีนาคม ปี ค.ศ. 2017 มีผู้เสียชีวิตจากการก่อ การร้ายและการตอบโต้จากฝ่ายรัฐบาลรวมแล้วประมาณ 2,904 ราย และช่วงปี ค.ศ. 2011-2013 นั้น ความสูญเสียจะตกอยู่ที่หน่วยงานทางด้านความมั่นคงของรัฐบาลกลางปากีสถานเสียมากกว่า 5 จากความสูญเสียเช่นนี้ท าให้รัฐบาลปากีสถานต้องส่งกองก าลังทหารไปมากถึง 15,111 นาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในรัฐบาโลจิสถาน และรักษาความปลอดภัยให้แก่เหล่าแรงงานที่ก าลัง ท างานอยู่ตลอดเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานรวมถึงท่าเรื่อน้ าลึกกวาดาร์ด้วย ซึ่งเป็น แรงงานชาวจีนจ านวนกว่า 7,1116 ราย และแรงงานชาวปากีสถานบางส่วน เหตุการณ์ดังกล่าวแสดง ให้เห็นถึงความเข้าใจของรัฐบาลปากีสถานถึงภัยคุกคามภายในประเทศตนจากประเด็นปัญหาดังกล่าว ตามรูปแบบของการอธิบายสถานการณ์ผ่าน กรอบแนวคิดการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎี สัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ (Threat assessment Neo-classical realist model) ซึ่งจะกล่าวโดย ละเอียดในส่วนของแนวคิดและกรอบการวิเคราะห์ต่อไป7

4 Raza Syed Hassan, “Attacks have killed 44 Pakistan is working on China corridor since 2114,” Reuters, accessed Octorber 2, 2017, www.reuters.com/article /us-pakistan-china-idUSKCN11E1EP. 5 South Asia Terrorism Portal, "Balochistan Assessment - 2017" Institute for Conflict Management, accessed March 25, 2018, http://www.satp.org/ satporgtp/countries/pakistan/Balochistan/index.html. 6 Rajeev Deshpande, “15K Pakistanis guarding 7K Chinese working on China- Pakistan Economic Corridor,” The Times of India, accessed Octorber 25, 2117, https://timesofindia.indiatimes.com/world/pakistan/15K-Pakistanis-guarding-7K- Chinese-working-on-China-Pakistan-Economic-Corridor/articleshow/54283612.cms 7 Sudha Ramachandran, “CPEC takes a step forward as violence surges in Balochistan,” Atimes, accessed Octorber 2, 2017, www.atimes.com/cpec-takes-step- forward-violence-surges-balochistan/.

Ref. code: 25605903030525DHV 4

จะเห็นได้ว่ารูปแบบของความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคีระหว่าง จีนและ ปากีสถาน ได้ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐและได้ท าให้เกิดความขัดแย้ง ภายในประเทศปากีสถานที่ตามมาหลังจากรูปแบบความร่วมมือนั้น ซึ่งจีนในฐานะประเทศมหาอ านาจ ก็มีความต้องการที่จะให้เกิดเสถียรภาพและความราบรื่นทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมใน ประเทศที่ตนมีปฏิสัมพันธ์ทางความร่วมมือด้วยเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันดังที่ตนได้น าเสนอต่อคู่ ปฏิสัมพันธ์ซึ่งดูจะเป็นการอธิบายได้ในกรอบของทฤษฎีภารกิจนิยม แต่จะมีความเหลื่อมล้ ามาก เพียงใดส าหรับผลประโยชน์ที่ทั้งสองประเทศจะได้รับนั้นจ าเป็นต้องท าการศึกษาและวิเคราะห์กัน ต่อไปในงานชิ้นนี้ รวมถึงประเด็นของรากฐานความขัดแย้งภายในปากีสถานเองว่าถูกกระตุ้นและ ทวีความรุนแรงมากขึ้นเพียงใดจากปฏิสัมพันธ์ของความร่วมมือระหว่างสองประเทศ

1.2 ประเด็นค าถามวิจัย

1.2.1 การก ากับดูแลของจีนในการสร้างเส้นทางสายไหมใหม่ออกสู่ทะเลอาหรับผ่าน ปากีสถาน มีความแตกต่างหรือความสมดุลในผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศมากน้อย เพียงใด จะกลายเป็นรูปแบบของความร่วมมือ ตามทฤษฎีจักรวรรดินิยมใหม่ หรือภารกิจนิยม? 1.2.2 เหตุใดความขัดแย้งภายในรัฐบาโลจิสถานของปากีสถานซึ่งมีมาอย่างยาวนานจึง ทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากมีการตกลง ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน รวมถึงการ เข้ามาก ากับดูแลของจีนในการสร้างท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์พอร์ต? 1.2.3 ความขัดแย้งภายในรัฐบาโลจิสถาน ท าให้รัฐบาลปากีสถานเกิดความเข้าใจในภัย คุกคามที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ภายนอกประเทศในระดับภูมิภาคและในระดับโลกอย่างไร และส่งผล ต่อการก าหนดนโยบายต่างประเทศของปากีสถานอย่างไร โดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศที่ปากีสถาน ต้องด าเนินต่อรัฐมหาอ านาจอย่างจีน? 1.2.4 ปัญหาการเมืองภายในปากีสถานที่เกิดขึ้นในรัฐบาโลจิสถาน หลังจากความ ร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน ตลอดจนการสร้างท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์พอร์ต ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ของจีนนั้น ส่งผลให้เกิดความเคลื่อนไหวของการเมือง ระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค และในระดับโลกอย่างไร?

Ref. code: 25605903030525DHV 5

1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.3.1 เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบถึงความแตกต่างและความสมดุลของผลประโยชน์ ร่วมกัน ในภารกิจระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจของจีนและปากีสถาน รวมถึงความเป็นไปได้ถึง รูปแบบของจักรวรรดินิยมใหม่โดยจีน 1.3.2 เพื่อท าความเข้าใจถึงสาเหตุของความร่วมมือและความขัดแย้งในระดับต่าง ๆ ทั้ง การเมืองภายในและภายนอกประเทศปากีสถาน ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตกาลและหลังจากความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจระหว่าง จีนและปากีสถาน หลังจากที่มีการตกลงความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจของทั้ง สองประเทศ 1.3.3 เพื่อวิเคราะห์วิธีการก าหนดนโยบายต่างประเทศของปากีสถาน ที่เป็นผลมาจาก ประเด็นความขัดแย้งภายในรัฐบาโลจิสถาน รวมถึงความเข้าใจในภัยคุกคามที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ภายนอกประเทศในระดับภูมิภาคและในระดับโลกของปากีสถาน โดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศที่ ปากีสถานด าเนินต่อรัฐมหาอ านาจอย่างจีน 1.3.4 เพื่อให้เข้าใจความเคลื่อนไหวของการเมืองระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคและ ในระดับโลกที่ได้รับผลกระทบมาจากประเด็นปัญหาของการเมืองภายในปากีสถานที่เกิดขึ้นใน รัฐบาโลจิสถาน และความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน ตลอดจนการสร้างท่าเรือน้ าลึก กวาดาร์พอร์ต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ของจีน

1.4 กรอบการวิเคราะห์

วิทยานิพนธ์นี้จะใช้กรอบแนวคิดของ สตีเวน อี ลอบเบลล์ (Steven E. Lobell) ซึ่งมี กรอบแนวคิดที่อยู่ในสายสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ (Neo-Classical Realism) ในงานของเขาคือ “Threat assessment, the state, and foreign policy: a Neo-Classical Realist model” ซึ่งได้น าเสนอถึงการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ (Threat assessment Neo-classical realist model) แนวคิดของ เดวิด มิททรานี (David Mitrany) ที่ได้เสนอแนวคิดภารกิจนิยม (Functionalism) ในงานของเขาคือ “The functional theory of politics” แนวคิดของ นอม ชอมสกี (Noam Chomsky) และ ฌอง-โปล ซาร์ต (Jean-Paul Sartre) ที่ได้เสนอแนวคิดจักรวรรดินิยมใหม่ (Neo-colonialism) ในงานของพวกเขาคือ “The Washington Connection and Third World Fascism” แ ล ะ “Colonialism and Neo- colonialism”

Ref. code: 25605903030525DHV 6

การประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ (Threat assessment Neo-classical realist model) รูปแบบของกรอบแนวคิดดังกล่าวอธิบายให้เห็นถึง การประเมินและความเข้าใจต่อภัย คุกคามรวมถึงการจัดการต่อภัยคุกคามของรัฐในระดับต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของการก าหนดนโยบาย ต่างประเทศของรัฐ โดยเขาได้ชี้ให้เห็นถึงรูปแบบต่าง ๆ ในการด าเนินนโยบายต่างประเทศของชาติ มหาอ านาจระดับโลก รวมถึงการแยกแยะลักษณะการด าเนินนโยบายต่างประเทศของมหาอ านาจ ระดับภูมิภาคไปจนถึงจุลรัฐ โดยจะเน้นไปที่ตัวแปรภายในและภายนอกรัฐนั้นก็คือ เรื่องของกิจการ ภายในรัฐและกิจการระหว่างประเทศที่รัฐนั้น ๆ มีส่วนเกี่ยวพันด้วย ซึ่งภัยคุกคามนั้นสามารถที่จะมา ได้จากทั้งสองตัวแปรหรือสองแหล่ง ความย้อนแย้งของเรื่องภายในและเรื่องระหว่างประเทศจะเป็นตัว จ ากัดหรือเปิดช่องทางให้แก่การก าหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐนั้น ๆ เช่น ผู้น าอาจแสดงท่าทีใน เวทีระหว่างประเทศเพื่อเหตุผลของเรื่องภายในประเทศ หรือแสดงท่าทีภายในประเทศเพื่อเหตุผลของ เรื่องระหว่างประเทศ8 มหาอ านาจเป็นศูนย์กลางของการเมืองระหว่างประเทศ ตามสายสัจนิยมคลาสสิกแนว ใหม่ และเห็นว่าเดิมผู้น านั้นมีอ านาจอย่างเสรีในการใช้ศักยภาพทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถ ทางทหารของประเทศมาใช้ในการก าหนดและด าเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐนั้น ๆ รัฐนั้น คือผู้แทรกแซงระหว่างระบบระหว่างประเทศและนโยบายต่างประเทศ ลักษณะของรัฐที่เข้มแข็งหรือ อ่อนแอนั้นสัมพันธ์กับ สภาพทางสังคม ศักยภาพของระบบราชการที่สามารถก ากับดูแลเรื่อง ภายในประเทศได้อย่างดี รัฐได้รับแรงจูงใจในการอยู่รอดของระบอบการปกครอง โดยต้องมีกลุ่ม ความคิดที่ไร้ซึ่งความเกลียดชังและไม่กระทบต่อกระบวนการตัดสินใจในการก าหนดนโยบาย ต่างประเทศ การก าหนดนโยบายต่างประเทศนั้นย่อมมีความเกี่ยวพันระหว่างการเมืองภายในและ ภายนอกประเทศ และจะต้องเน้นการด าเนินนโยบายต่างประเทศไปที่การแสวงหาดุลอ านาจทั้งใน ระบบระหว่างประเทศระดับโลกและระดับย่อยหรือภูมิภาค รวมถึงดุลแห่งอ านาจของการเมือง ภายในประเทศ แนวคิดของ สตีเวน อี ลอบเบลล์ (Steven E. Lobell) ได้มีการอธิบายถึงการก าหนด รูปแบบของภัยคุกคามของรัฐตั้งแต่ระดับมหาอ านาจที่อาจเผชิญกับภัยคุกคามได้จากการเปลี่ยนแปลง ของระบบระหว่างประเทศในระดับโลกและการเปลี่ยนแปลงของการเมืองภายในของรัฐตนเอง

8 Steven E. Lobell, Norrin M. Ripsman, Jeffrey W. Taliaferro, Neoclassical Realism, the State, and Foreign Policy, (Cambridge: Cambridge University Press, 2009), 45-75.

Ref. code: 25605903030525DHV 7

ส่วนมหาอ านาจระดับภูมิภาคอาจเผชิญกับภัยคุกคามได้จากการเปลี่ยนแปลงของระบบระหว่าง ประเทศในระดับย่อยหรือระดับภูมิภาค ภัยคุกคามนั้นอาจเกิดขึ้นไม่เพียงแค่หนึ่งปรากฏการณ์แต่จะ มาเป็นเครือค่ายหรือหลายปรากฏการณ์ที่เป็นประเด็นปัญหา งานนิพนธ์นี้จะเน้นไปที่รูปแบบการประเมินภัยคุกคามภายในประเทศ (Domestic Threats) ที่ลอบเบลล์ได้อธิบายไว้ในงานของเขาว่าเป็นรูปแบบของการแข่งขันและความขัดแย้ง ภายในประเทศระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาต่าง ๆ ภายใน รัฐซึ่งจะมีผู้น าเป็นของตัวเอง และอาจจะมีแนวความคิดอุดมการณ์รวมถึงความจงรักภักดีต่อรัฐบาล กลางที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ถือครองทุนมากที่สุดก็จะเป็นกลุ่มที่ถือครองอ านาจของ รัฐและไม่ยอมที่จะสละความมั่งคั่งและอิทธิพลของกลุ่มตนให้กลุ่มอื่น และมักมองกลุ่มย่อยอื่น ๆ เป็นภัยคุกคามหลักที่ควรจัดการให้ได้เสียก่อนภัยคุกคามจากภายนอก และหากต้องการให้เกิดความ มั่นคงของรัฐขึ้นต้องจัดการให้เกิดดุลอ านาจทางเศรษฐกิจและการเมืองของกลุ่มต่าง ๆ ให้ได้เสียก่อน ซึ่งในประเด็นนี้จะเห็นได้ชัดในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งในรัฐบาโลจิสถาน ที่รัฐบาลปากีสถาน ต้องเผชิญมาตั้งแต่การก่อตั้งประเทศและล่าสุดที่เป็นอุปสรรคในความร่วมมือระหว่างประเทศกับจีน โดยได้มีการส่งทหารไปถึง 15,111 นาย เพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้เหล่าแรงงานที่ก าลัง ท างานอยู่ตลอดเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานรวมถึงท่าเรื่อน้ าลึกกวาดาร์ด้วย และอีก หลายเหตุการณ์ซึ่งจะมีการศึกษาและวิเคราะห์ต่อไปในงานชิ้นนี้ รวมถึงรูปแบบของความเข้าใจใน เรื่องภัยคุกคามของรัฐบาลปากีสถานและวิธีการจัดการต่อภัยคุกคามเหล่านั้นโดยเฉพาะภัยคุกคาม จากภายในประเทศ ลอบเบลล์ยังได้อธิบายไปถึงรูปแบบการประเมินภัยคุกคามระหว่างประเทศในระดับ ภูมิภาค (Subsystemic Threats) อีกด้วยซึ่งก็มีประเด็นที่น่าสนใจระหว่าง ปากีสถานและอินเดีย แต่งานชิ้นนี้ก็อาจจะไม่ลงลึกในประเด็นนี้มากนัก เนื่องจากจะเกินขอบเขตของการศึกษาและการ วิเคราะห์ ซึ่งในระดับภูมิภาคนั้นจะมีความเป็นพลวัติในรูปแบบภัยคุกคามที่เป็นรูปแบบเฉพาะของ ตนเอง โดยมีรูปแบบกึ่งปกครองตนเองภายในภูมิภาค แต่มิได้แยกออกไปจากระบบระหว่างประเทศ ในระดับโลกและเรื่องของผลกระทบจากการเมืองภายในมากนัก จะเป็นรูปแบบของการแข่งขัน ระหว่างรัฐต่าง ๆ ในภูมิภาคนั้นที่รัฐต่าง ๆ มองกันเองว่าเป็นภัยคุกคามของรัฐตนที่มีความพยายามที่ จะเป็นผู้น าของภูมิภาคและเป็นมหาอ านาจแห่งภูมิภาคนั้น ๆ9 ซึ่งในประเด็นนี้จะเห็นได้จากกรณีของ การแข่งขันทางอ านาจและการสร้างความไม่ด้อยกว่าระหว่างอินเดียและปากีสถานในภูมิภาคเอเชียใต้

9 Ibid., 60-75.

Ref. code: 25605903030525DHV 8

ภารกิจนิยม (Functionalism) ทฤษฎีนี้น ามาใช้อธิบายให้เห็นว่าประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน จะเกิดผลประโยชน์ของแต่ละประเทศ (ในความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ) และผลประโยชน์ร่วมกัน หากมีการร่วมมือกันโดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ โดยที่มีการแทรกแซงที่มีขอบเขตจ ากัด ระหว่างรัฐในด้านต่าง ๆ การร่วมมือกันระหว่างรัฐนั้นจะเสริมสร้างความจงรักภักดีของประชาชน ทั้งสองประเทศระหว่างกัน และขยายขอบเขตการบูรณาการร่วมกันระหว่างรัฐ ซึ่งจะมีระดับความ ร่วมมือต่าง ๆ ที่ใกล้ชิดและสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการพัฒนาแบบตัวหารร่วมน้อย โดยเริ่มจากการจัดตั้ง เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม และสหภาพเศรษฐกิจ เมื่อมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน ภูมิภาคอย่างดีแล้ว ความร่วมมือนั้นจะขยายขอบเขตไปสู่ความร่วมมือในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งด้านการเมืองซึ่งจะน าไปสู่การเกิดของสหภาพเหนือรัฐซึ่งมีเสถียรภาพสูงในการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ ระหว่างรัฐสมาชิก10 ซึ่งจะเข้ากับประเด็นของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง จีนและปากีสถาน ในข้อตกลงระเบียงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ต่อเนื่องไปถึงถึงความเหลื่อมล้ าของผลประโยชน์ ร่วมกันระหว่าง จีนและปากีสถาน ว่ามีความแตกต่างหรือไม่และมากน้อยเพียงใด เป็นการบูรณาการ ที่เกิดขึ้นภายในกรอบของเสรีภาพของมนุษย์หรือไม่ มีการถ่ายทอดความรู้และความเชี่ยวชาญในด้าน ต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนความร่วมมือมากน้อยเพียงใด รวมถึงรัฐคู่กรณีนั้นมีการเอาเปรียบในกระบวนการนี้หรือไม่ ซึงข้อสังเกตเหล่านี้จะเป็นตัวก าหนดว่า ความร่วมมือระหว่างสองประเทศนั้นเป็นไปตามทฤษฎีภารกิจนิยมหรือไม่ จักรวรรดินิยมใหม่ (Neo-colonialism) วิทยานิพนธ์นี้น ามาใช้เพื่อพยายามอธิบายความเป็นเจ้าอาณานิคมใหม่ทางเศรษฐกิจ ของจีน โดยการใช้ทุนและประโยชน์ของโลกาภิวัตน์ รวมถึงความเป็นเจ้าอาณานิคมทางวัฒนธรรมที่มี การเผยแพร่ค่านิยมของจีนไปยังประเทศต่าง ๆ ที่จีนมีปฏิสัมพันธ์ด้วยเพื่อเพิ่มอิทธิพลของประเทศตน และสร้างความมั่นใจในความมั่นคงและความมั่งคั่งให้แก่ประเทศก าลังพัฒนาต่าง ๆ รวมถึงได้รับการ สวามิภักดิ์จากประเทศก าลังพัฒนาต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของจีน แทนการควบคุมทางทหาร

10 David Mitrany, The Functional Theory of Politics, (London: London School of Economics & Political Science, 1975), 85-115.

Ref. code: 25605903030525DHV 9

โดยตรงแบบเจ้าอาณานิคมในอดีต หรือการควบคุมทางการเมืองโดยอ้อมจากค่านิยมของความเป็น เจ้าโลกที่มีขีดความสามารถทางทหารสูงสุด เช่น สหรัฐอเมริกาหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็น11

1.5 สมมติฐาน

ระเบียงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน เกิดขึ้นเพื่อสร้างทางออกที่สองสู่ มหาสมุทรอินเดียตามเส้นทางสายไหมใหม่ เป็นการครอบง าประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้เกิดอิทธิพล และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีนรวมถึงผลพลอยได้ของปากีสถาน และส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ของการเมืองภายในรัฐบาโลจิสสถานที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะระหว่างรัฐบาลกลางกับประชาชนและ กลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนในรัฐบาโลจิสถาน

1.6 ขอบเขตการวิจัย

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะศึกษาความร่วมมือและความขัดแย้ง ในระดับระหว่างประเทศและ ภายในประเทศปากีสถานที่รัฐบาโลจิสถาน หลังจาก โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และระเบียง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน ตลอดจนผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในระดับ ภูมิภาค และระดับโลก จากความร่วมมือและความขัดแย้งดังกล่าวในทุกระดับ

1.7 ข้อมูลตัวแปร

11 Noam Chomsky, The Washington Connection and Third World, (New york: South End Press Boston, 1999), 53-60. see also : Jean-Paul Sartre, Colonialism and Neocolonialism (Abingdon-on-Thames: Routledge, 2001), 17-53.

Ref. code: 25605903030525DHV 10

1.8 วิธีการวิจัย

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร เป็นการศึกษา จากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นและค าถามของการวิจัยเพื่อน ามาวิเคราะห์และตอบค าถาม อย่างมีเหตุผลหลักการที่ชัดเจน และมีน้ าหนัก ใช้การสัมภาษณ์ในการหาข้อมูลทั้งจากคนในพื้นที่ ที่เกิดความขัดแย้งและเป็นคนในกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช บุคลากรในรัฐบาลกลาง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุดในการศึกษาและการวิเคราะห์ และน ามาตอบค าถาม วิจัยในลักษณะ Analytical Research ซึ่งมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รวมรวมมา เพื่ออธิบาย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแบบ Explanatory Research ยังผลให้เกิดผลการวิจัยที่สมบูรณ์ที่สุด

1.9 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ความรู้ความเข้าใจในประเด็นเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการหนึ่งแถบหนึ่ง เส้นทาง และระเบียงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน ทั้งความร่วมมือและความขัดแย้ง ภายในและระหว่างประเทศ และสามารถน าไปต่อยอดเพื่อวิเคราะห์ความร่วมมือและความขัดแย้ง จากประเด็นดังกล่าวที่ก าลังจะมีความเป็นพลวัติและเข้มข้นขึ้นอีกในอนาคต

Ref. code: 25605903030525DHV 11

บทที่ 2 วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 กลุ่มของวรรณกรรมที่ศึกษาเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และเศรษฐกิจของจีนสมัย ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง งานในกลุ่มนี้มีงานชิ้นส าคัญ 3 ชิ้นดังนี้

Steve Tsang, Honghua Men “China in the Xi Jinping Era” หนังสือเล่มนี้อธิบาย ถึงประเทศจีนในสมัยของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ทั้งประเด็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการ ต่างประเทศ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่จีนใช้เพื่อจูงใจประเทศคู่ปฏิสัมพันธ์ทั้งหลายให้เห็นชัดถึง ผลประโยชน์เมื่อมีความร่วมมือกับจีนในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ1 Bal Krishan Sharma & Nivedita Das Kundu “China’s One Belt One Road Initiative, Challenges and Prospects” หนังสือเล่มนี้อธิบายถึงรูปแบบของนโยบายเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศอย่าง โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางในมุมของจีนเองและอินเดีย รวมถึงการ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียใต้ที่เกิดขึ้นหลังจากการด าเนินการตามนโยบายโครงการหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางของจีน ซึ่งรวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างจีนและปากีสถานด้วยเช่นกัน2 Sumita Kumar “The China-Pakistan Strategic Relationship: Trade, Investment, Energy and Infrastructure” งานชิ้นนี้กล่าวถึงรูปแบบของความร่วมมือในด้าน เศรษฐกิจระหว่างจีนและปากีสถาน ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน การเข้ามาลงทุนในการสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน และการเข้าถึงทรัพยากรในปากีสถานของจีนรวมถึงเส้นทางทางเลือกใหม่ทาง การค้าเพื่อออกสู่ทะเลอาหรับอย่าง กวาดาร์พอร์ต3

1 Steve Tsang, and Honghua Men. China in the Xi Jinping Era. (London: Palgrave Macmillan UK, 2015). 2 Krishan Bal Sharma, and Das Nivedita Kundu. China’s One Belt One Road Initiative, Challenges and Prospects. (New Delhi: VIJ Books Pty Limited, 2016). 3 Sumita Kumar, “The China-Pakistan Strategic Relationship: Trade, Investment, Energy and Infrastructure,” Strategic Analysis Vol. 31, Issue 5 (2007): 757-790.

Ref. code: 25605903030525DHV 12

2.2 กลุ่มของวรรณกรรมที่ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทจีนในการด าเนินโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และความร่วมมือที่เกี่ยวพันกับปากีสถาน

งานในกลุ่มนี้มีงานชิ้นส าคัญ 3 ชิ้นดังนี้ Safdar Sial “The China-Pakistan Economic Corridor: an assessment of potential threats and constraints.” งานชิ้นนี้อธิบายถึงรูปแบบความร่วมมือดังกล่าวและความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้นในรัฐบาโลจิสถาน รวมถึงผลกระทบที่เพิ่มขึ้นหลังจาก China-Pakistan Economic Corridor ที่สร้างความไม่พอใจให้กลุ่มชาติพันธุ์ภายในรัฐบาโลจิสถานถึงขั้นใช้ความรุนแรงและต่อต้าน รัฐบาลกลาง รวมถึงมีการวิเคราะห์รูปแบบของการก่อการร้ายที่มีมากขึ้นภายในปากีสถานหลังจากมี ความร่วมมือดังกล่าว แต่งานนี้ไม่ได้มีการอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยการใช้ทฤษฎีในด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการอธิบายแต่จะเป็นการพูดถึงรูปแบบการจัดการภัยคุกคามที่รัฐบาล กลางด าเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเสียมากกว่า และไม่ได้ลงลึกถึงประเด็นภูมิหลังความขัดแย้ง ทางชาติพันธุ์มากเท่าใดนัก4 Swarajya Staff “China’s One Belt One Road Initiative Gathers Momentum” งานชิ้นนี้อธิบายถึงรูปแบบเส้นทางต่าง ๆ ของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และปัญหาอุปสรรค ต่าง ๆ ที่จีนจะต้องจัดการ เช่น ปัญหาความไม่สงบในรัฐบาโลจิสถาน การแข่งขันและความขัดแย้ง ระหว่างปากีสถานและอินเดีย ความมั่นคงปลอดภัยของเส้นทาง และปัจจัยต่าง ๆ ที่จีนต้องค านึงถึง เพื่อให้เส้นทางสายไหมใหม่นี้มีความราบรื่นในการขนส่งและเกิดประโยชน์สูงสุด5 Sudha Ramachandran “CPEC takes a step forward as violence surges in Balochistan” บทความชิ้นนี้กล่าวถึง ปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรงเพิ่มขึ้นหลังจาก China-Pakistan Economic Corridor โดยเฉพาะในรัฐบาโลจิสถานว่าเป็นอย่างไร มีการก่อการในรูปแบบใดบ้าง

4 Safdar Sial, “The China-Pakistan Economic Corridor: an assessment of potential threats and constraints,” Academia, accessed Octorber 25, 2017, www.academia.edu/13018116/The_China-akistan_Economic_Corridor_an_assessment _of_potential_threats_and_constraints. 5 Swarajya Staff, “China’s One Belt One Road Initiative Gathers Momentum,” Swarajyamag, accessed Octorber 25, 2017, www.swarajyamag.com/world/chinas-one- belt-one-road-initiative-gathers-momentum.

Ref. code: 25605903030525DHV 13

รวมถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่มชาติพันธุ์หัวรุนแรงจะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มก่อการร้ายที่เป็น องค์กรข้ามชาติในระดับโลกอย่าง กลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลาม (Islamic State: IS)6

2.3 กลุ่มของวรรณกรรมที่ศึกษาเกี่ยวกับสภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของปากีสถาน รวมถึงนโยบายต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ภายในรัฐบาโลจิสถาน

งานในกลุ่มนี้มี 6 ชิ้นส าคัญดังนี้ Husain Haqqani “Between Mosque and Military” หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายถึง สภาพทางการเมืองในปากีสถาน ที่มีอัตลักษณ์ทางการเมืองที่โดดเด่นจากการขับเคลื่อนการเมืองโดย ความสัมพันธ์ระหว่างสองสถาบันหลักอย่าง สถาบันทางศาสนาและกองทัพ รวมถึงชี้ให้เห็นถึง พัฒนาการของอุดมการณ์ทางการเมืองของบรรดารัฐบุรุษผู้ก่อตั้งประเทศ สู่การปกครองในสภาพ ความเป็นจริง7 Paul Titus “Marginality and Modernity: Ethnicity and Change in Post- Colonial Balochistan.” หนังสือเล่มนี้เป็นงานชิ้นคลาสสิกที่ศึกษาถึงภูมิหลังความเป็นมาของชาว บาโลช และการอพยพย้ายถิ่นฐาน การเมือง การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมแก่กลุ่มชาติพันธุ์ของตน ผลพวงจากความรู้สึกชาตินิยมของชาวบาโลจิสถาน การจัดการทรัพยากรที่ถูกเอาเปรียบโดย ผู้ครอบครองดินแดนบาโลจิสถาน เป็นต้น8 S. Akbar Zaidi “The new game changer in Pakistan” บทความชิ้นนี้กล่าวถึงการ เปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของปากีสถานภายหลังความร่วมมือ ระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน ในยุคสมัย

6 Sudha Ramachandran, “CPEC takes a step forward as violence surges in Balochistan,” Atimes, accessed Octorber 25, 2017, http://www.atimes.com/cpec- takes-step-forward-violence-surges-balochistan/. 7 Husain Haqqani, Between Mosque and Military (Washington, D.C.: Carnegie Endowment for International Peace, 2005). 8 Paul Titus, Marginality and Modernity: Ethnicity and Change in Post-Colonial Balochistan (Karachi: Ameena Saiyid, Oxford University Press, 1997).

Ref. code: 25605903030525DHV 14

ของ นายกรัฐมนตรี นาวาซ ชารีฟ ของปากีสถาน โดยอธิบายถึงรูปแบบของโครงการและความร่วมมือ ระหว่างสองประเทศ รวมถึงความคาดหมายทางการเมืองของพรรคฝ่ายรัฐบาลในอนาคต9 Paul Titus and Nina Swidler “KNIGHTS, NOT PAWNS: ETHNO-NATIONALISM AND REGIONAL DYNAMICS IN POST-COLONIAL BALOCHISTAN.” งานชิ้นนี้ศึกษาถึงความเป็น ชาตินิยมของกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช พลวัติของการต่อสู้และความขัดแย้งกับรัฐบาล กลางที่มีมาอย่างยาวนาน ความเกี่ยวพันและความแตกแยกกับรัฐบาลกลาง การถูกก ากับดูแลจาก ภาครัฐในรูปแบบที่แตกต่างจากชาติพันธุ์อื่น ๆ ในปากีสถาน10 Imtiaz Ali “BALOCHISTAN PROBLEM.” งานชิ้นนี้กล่าวถึงภูมิหลังความเป็นมาของ ชาวบาโลช ตั้งแต่ยุคโบราณเป็นต้นมา รวมถึงปัญหาที่กลุ่มชาติพันธุ์นี้ต้องเผชิญในแต่ละยุคสมัยแสดง ให้เห็นถึงการถูกกดขี่และการต่อสู้ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมจนถึงความขัดแย้งกับรัฐบาลกลางของ ปากีสถานในปัจจุบัน11 Aarushi Prakash “Peace or War Journalism: Case Study of the Balochistan Conflict in Pakistan.” งานชิ้นนี้ศึกษาถึงวิวัฒนาการของความขัดแย้งภายในรัฐบาโลจิสถาน รวมถึง ตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งและทัศนคติที่แปรเปลี่ยนเกิดความขัดแย้งกับ ฝ่ายรัฐบาลและประชาชนด้วยกันเอง จากบทบาทของสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผล อย่างมากในการท าให้ความขัดแย้งมีความรุนแรงจากการน าเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีการแต่งเติมและ เกินจริง12

9 S. Akbar Zaidi, “The new game changer in Pakistan," The Hindu, accessed Octorber 25, 2017, http://www.thehindu.com/opinion/lead/The-new-game-changer- in-Pakistan/article14342869.ece. 10 Paul Titus, and Nina Swidler, “KNIGHTS, NOT PAWNS: ETHNO-NATIONALISM AND REGIONAL DYNAMICS IN POST-COLONIAL BALOCHISTAN,” International Journal of Middle East Studies Vol. 32, No. 1 (2000): 47-69. 11 Imtiaz Ali, “The Balochistan Problem,” Pakistan Horizon Vol. 58, No. 2 (2005): 41-62. 12 Aarushi Prakash, “Peace or War Journalism: Case Study of the Balochistan Conflict in Pakistan” Strategic Analysis Vol. 37, Issue 5 (2013): 621-636.

Ref. code: 25605903030525DHV 15

จากการทบทวนวรรณกรรม จะเห็นได้ว่าวรรณกรรมที่ศึกษาถึงปัญหาความขัดแย้งที่ เพิ่มขึ้นในรัฐบาโลจิสถาน หลังจากระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor) นั้นยังไม่ได้ลงลึกไปถึงรูปแบบของขบวนการชาติพันธุ์ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนในปัจจุบัน มากนัก จะเน้นไปที่ปัญหาในอดีตและความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังจากระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน เสียมากกว่า แต่ก็เปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้ศึกษาและวิเคราะห์ต่อไป โดยใช้การอธิบายในกรอบแนวคิด การประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิคแนวใหม่ ส่วนในประเด็นของผลประโยชน์ ร่วมกันที่มีความแตกต่างและเหลื่อมล้ าระหว่างสองประเทศที่เป็นค าถามวิจัยข้อสองนั้น ผู้เขียนยังไม่ พบวรรณกรรมใดที่ศึกษาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็จะท าให้งานชิ้นนี้เกิดคุณค่าและควรแก่การศึกษาและ วิเคราะห์ต่อไปว่า รูปแบบของทฤษฎีภารกิจนิยมหรือจักรวรรดินิยมใหม่จะเหมาะสมแก่การน ามา วิเคราะห์และอธิบายปรากฏการณ์มากกว่ากัน

Ref. code: 25605903030525DHV 16

บทที่ 3 นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจของจีน อันน าไปสู่โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

3.1 นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจระดับโลกของจีน

หลังจาก นาย สีจิ้น ผิง ก้าวขึ้นสู่ต าแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลจีนได้ด าเนินการปฏิรูปรูปแบบการด าเนินนโยบายต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น การปฏิรูปการก ากับดูแลจากภาครัฐ การต่อต้านการทุจริต การก าหนดมาตรฐานรูปแบบใหม่ทาง เศรษฐกิจ (New Normal) และนโยบายต่างประเทศที่สดใหม่อย่าง นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เป็นต้น สีจิ้น ผิง ได้พูดในการประกาศนโยบายในช่วง มีนาคม ปี ค.ศ. 2013 ซึ่งมีค าขวัญที่น่าสนใจ อย่างความฝันจีน (Chinese Dream) ซึ่งเป็นค าใหม่ที่ใช้อธิบายชุดอุดมคติของสาธารณรัฐประชาชน จีนในยุคของเขา เพื่อคืนพลังชาติ พัฒนาการด ารงชีพของประชาชน ความมั่งคั่ง การสร้างสังคมที่ ดีกว่าและการเสริมก าลังทหารของจีน จีนกลับไปให้ความส าคัญกับภูมิรัฐศาสตร์เมื่อจีนแข็งแกร่งขึ้น เศรษฐกิจและผลประโยชน์ของจีนก็จะมีความเป็นสากลมากขึ้นและท าให้นโยบายต่างประเทศของจีน นั้นมีความหลากหลาย กล้าที่จะท าในสิ่งที่มีผลกระทบไปในวงกว้างในส่วนต่าง ๆ ของโลกมากขึ้น1 นโยบายปักหมุดเอเชียของประธานาธิบดี โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกานั้นกลายเป็น แรงผลักดันให้จีนต้องต้องตอบโต้ด้วยยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศใหม่ การรุกคืบเข้ามาของ สหรัฐอเมริกาในเอเชีย แนวคิดเรื่อง เส้นทางสายไหมใหม่หรือนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนใน ยุคของ สี จิ้นผิง นั้นได้กลายเป็นรูปแบบการตอบโต้ทางภูมิรัฐศาสตร์ของจีนต่อการปักหมุดเอเชียของ สหรัฐอเมริกาอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากจะเป็นการแผ่ขยายความร่วมมือและอิทธิพลของจีนไปยัง เส้นทางสายไหมใหม่ส าหรับการค้าทั้งทางบกและทางทะเลที่รุกคืบไปยังภูมิภาคแอฟริกา ผ่านทะเล อาหรับ และยุโรปโดยผ่านเอเชียกลาง เพื่อสร้างความมั่งคั่งและอิทธิพลของจีนไปตลอดเส้นทาง รวมถึงภาพลักษณ์ใหม่ของจีนในเวทีระดับโลกในฐานะมหาอ านาจที่ให้ความส าคัญต่อการส่งเสริม รูปแบบการบูรณาการทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกแทนที่สหรัฐอเมริกาหลังจากการเข้าสู่ อ านาจทางการเมืองของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีนโยบายผลักดันให้สหรัฐอเมริกาผู้น าแห่ง โลกเสรีแปรเปลี่ยนไปกลายเป็นประเทศที่เน้นการด าเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในรูปแบบ

1 Steve Tsang, Honghua Men, China in the Xi Jinping Era (London: Palgrave Macmillan UK, 2015), 4-10.

Ref. code: 25605903030525DHV 17

ของกีดกันทางการค้า (Protectionism) มากขึ้นจากการที่สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียเม็ดเงินออกไป นอกประเทศมากมายในการท าหน้าที่เป็นอภิมหาอ านาจผู้น าโลกเสรี2 3.1.1 จีนกับการเมืองระหว่างประเทศในระดับโลก ในเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศในระดับโลกนั้น จีนได้เสนอรูปแบบของ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ (New Type of International Relations) โดยจะเน้นไป ที่จัดการความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ และมหาอ านาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสหรัฐอเมริกา โดยจะ ลดการแข่งขันและความเป็นปฏิปักษ์ของมหาอ านาจทั้งสองลง ซึ่งจีนมองว่าไม่ส่งผลดีใด ๆ กับจีน ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จีนจะให้ความส าคัญต่อ ผลประโยชน์หลักของ แต่ละฝ่ายและผลประโยชน์ร่วมกัน ในปฏิสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายร่วมกันใน การปกป้องระบบพื้นฐานทางการปกครองและความมั่นคงของชาติ การรักษาอธิปไตยและบูรณภาพ แห่งดินแดน รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่มั่นคงและยั่งยืน จีนจะหลีกเลี่ยงรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ที่จะก่อให้เกิดการแทรกแซงกิจการ ภายในประเทศระหว่างกัน นาย หวัง ยี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้อธิบาย เพิ่มเติมว่า การที่จีนเน้นนโยบายต่างประเทศไปที่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ นั้น เป็นไปเพื่อสร้างรูปแบบของความร่วมมือที่สมประโยชน์ทุกฝ่าย (win-win cooperation) เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่คู่ปฏิสัมพันธ์ในความร่วมมือต่าง ๆ และจะเน้นไปที่รูปแบบลักษณะ ความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนมากกว่าพันธมิตรทางค่านิยมที่ต้องมีค่านิยมเหมือนกันดังค่ายโลกเสรีหรือ ค่ายสังคมนิยมในอดีต แต่จะเน้นไปที่รูปแบบหุ้นส่วนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การสื่อสารและ เชื่อมต่อผ่านเขตแดนรูปแบบใหม่ และส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างจีนกับ ประเทศคู่ปฏิสัมพันธ์3 มาตรการแรกที่ สี จิ้นผิง ตอบโต้สหรัฐอเมริกานั้นก็คือการพัฒนาความสัมพันธ์ ทางการทูตกับรัสเซียที่ห่างเหินมานานพอสมควร และเป็นการส่งข้อความไปถึงสหรัฐที่ก าลังให้ ความส าคัญกับการปักหมุดในเอเชียอยู่ในขณะนั้น ท าให้โลกตระหนักว่าจีนมีความกระตือรือร้น ต่อการรักษาความสมดุลระหว่างมหาอ านาจในเวทีระหว่างประเทศ ตามหลักยุทธศาสตร์กระดาน หมากรุก แต่จีนก็ยังไม่ได้ยกระดับกิจการต่างประเทศให้อยู่ในระดับสูงสุดในการตัดสินใจ จีนคงเน้นไป

2 Willy Lam Wo-lap, “Getting lost in One Belt, One Road” ejinsight, accessed Octorber 20, 2017, www.ejinsight.com/20160412-getting-lost-one-belt-one-road/. 3 Antonina Habova, “Silk Road economic belt: China’s Marshall plan, pivot to Eurasia or China’s way of foreign policy,” KSI Transactions on Knowledge Society Vol 8, No. 1 (2015): 64-70.

Ref. code: 25605903030525DHV 18

ที่การจัดล าดับความส าคัญของสถานการณ์ในประเทศที่จีนยังมองว่าส าคัญกว่า แม้ว่าจีนจะเป็น ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกและมีผลประโยชน์ที่แผ่ขยายไปทั่วโลก เนื่องจากจีน นั้นยังคงถูกจ ากัดด้วยปัญหาภายในของตัวเองรวมถึงการเพิ่มขึ้นของลัทธิชาตินิยมของกลุ่มชาติพันธุ์ ต่าง ๆ ความบกพร่องในเรื่องของประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การปฏิรูปการเมืองที่ล้าหลัง เศรษฐกิจที่ไม่สมดุลในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ และอันตรายที่เกิดจากสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลง และก้าวหน้ามากขึ้น ปัญหาดังกล่าวท าให้นโยบายต่างประเทศจีนมุ่งเน้นในการหลีกเลี่ยงปัญหาไม่ สร้างการเผชิญหน้าหรือศัตรูเนื่องจากต้องการจัดการกับปัญหาภายในประเทศที่มีอยู่มากเสียก่อน จีนต้องการจะเข้าสู่สถานะอภิมหาอ านาจอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีข้อขัดแย้งระหว่าง ประเทศ แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปัญหาในเรื่องข้อพิพาททางดินแดนก็ยังไม่ถดถอย ทั้งกับ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนามและอินเดีย ท าให้จีนมีการใช้จ่ายงบประมาณด้านการป้องกันเพิ่มขึ้นเพื่อลดความ หวาดระแวงและความรู้สึกไม่มั่นคงของตน รวมถึงปฏิบัติการแผ่ขยายอิทธิพลในทะเลจีนใต้ของตน พันธมิตรของอเมริกาในภูมิภาคนี้ก็สนับสนุนให้อเมริกา “ปรับสมดุล” ในเอเชีย ท าให้เห็นว่าจีนนั้น ไม่ได้เข้าสู่สถานะอภิมหาอ านาจโดยราบรื่น แต่ก็ไม่ถึงกับมีความขัดแย้งจนถึงขั้นใช้ความรุนแรงและ การท าสงคราม4 3.1.2 จีนกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระดับโลก ในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระดับโลกนั้น จีนตระหนักถึงความหวาดระแวง ของประเทศอื่น ๆ ที่มีต่ออ านาจทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นของจีน ดังนั้นจีนจึงด าเนินนโยบายเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศที่เน้นการสร้างความมั่นใจให้กับประเทศอื่นๆที่มีปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนว่า ทุกประเทศนั้นสามารถเป็นผู้ชนะได้ และให้ความส าคัญไปที่ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ คู่ปฏิสัมพันธ์ เน้นการท างานร่วมกันเพื่อบทบาทที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน ลดข้อจ ากัดต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ ด าเนินการได้สะดวก แนวทางดังกล่าวบรรจุอยู่ในนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road Initiative) อย่างเห็นได้ชัด ความร่วมมือและปฏิสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ตามโครงการไม่ค่อย มีข้อจ ากัดในความร่วมมือมากนักดังเช่นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของชาติตะวันตก จีนเน้นไปที่รูปแบบของระดับความร่วมมือต่าง ๆ ที่ใกล้ชิดและสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการพัฒนา ความสัมพันธ์ร่วมกันแบบตัวหารร่วมน้อย (การพัฒนาความร่วมมือจากการด าเนินการในสิ่งที่ประเทศ สมาชิกทั้งหมดสามารถท าได้ก่อน) ซึ่งจีนใช้รูปแบบเช่นนี้ในการขับเคลื่อนความร่วมมือและปฏิสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจตามทฤษฎีภารกิจนิยม แนวคิดนี้เน้นความร่วมมือระหว่างสองรัฐขึ้นไปให้เข้ามา ปฏิสัมพันธ์และด าเนินการภารกิจใดๆร่วมกัน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และไม่ก่อผลเสียอย่างร้ายแรง

4 Li Zhu, “The Construction Model of “One Belt and One Road,” Annual Report on the Development of the Indian Ocean Region 2015, No. 1(2015): 111-127.

Ref. code: 25605903030525DHV 19

ภายในขอบเขตความร่วมมือ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจ าเป็นต้องได้รับการวิเคราะห์ในบทต่อ ๆ ไปว่าเป็น เช่นนั้นจริงหรือไม่ หรือเป็นรูปแบบของการเอาเปรียบโดยประเทศมหาอ านาจ จีนใช้ความเป็น มหาอ านาจของตนที่ได้เปรียบเหนือกว่าคู่ปฏิสัมพันธ์ ในการลงทุนเพื่อแสวงหาผลก าไรในโครงการที่ ตนเห็นว่าได้เปรียบและยังผลประโยชน์แก่จีนมากกว่าโดยไม่ได้ค านึงถึงผลประโยชน์ร่วมกันของ ประเทศคู่ปฏิสัมพันธ์มากเท่าใดนัก จนกลายเป็นรูปแบบของจักรวรรดินิยมใหม่ซึ่งผู้เขียนจะท าการ วิเคราะห์ในบทต่อ ๆ ไป จีนที่น าโดย สี จิ้นผิง นั้นมีท่าทีตอบโต้นโยบายการกีดกันทางการค้าและกระแสต้าน โลกาภิวัตน์ ของสหรัฐอเมริกาที่น าโดยผู้น าฝ่ายขวาอย่าง นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ไม่เห็นด้วยกับรูปแบบ การบูรณาการทางเศรษฐกิจที่มีการเปิดเสรีและไร้การกีดกันทางการค้า เห็นได้ชัดจากการที่ สหรัฐอเมริกาตัดสินใจถอนตัวออกจาก ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership - TPP) สี จิ้นผิง ใช้เวทีการประชุมเศรษฐกิจโลกต้นปี ศ.ค. 2117 เพื่อประกาศจุดยืน ใหม่ที่จะต่อต้านการกีดกัดกันทางการค้าและเปิดประตูสู่ระบบเศรษฐกิจโลก “เศรษฐกิจโลกเปรียบกับ มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ที่คุณไม่สามารถว่ายหนีออกมาได้"5 คือประโยคจากสุนทรพจน์ของ สี จิ้นผิง ที่ ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจโลกในทัศนะของประธานาธิบดีจีนคนแรกที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ค ากล่าวของ สี จิ้นผิง สอดคล้องกับแนวนโยบายของตนที่มีความสดใหม่และเต็มไปด้วยรูปแบบของการพัฒนาและ ปฏิรูป ส่อสัญญาณแห่งความก้าวหน้าใหม่ของจีน และแสดงให้เห็นว่าจีนพร้อมแล้วที่จะก้าวขึ้นมาเป็น ผู้น าเศรษฐกิจโลกประเทศใหม่ มีความมั่นใจในศักยภาพของตนเองในช่วงที่สหรัฐฯสนใจแต่ตัวเอง การที่จีนมีท่าทีสนับสนุนกระแสโลกาภิวัตน์นั้น เป็นเรื่องที่ถูกตั้งค าถามอยู่มากเนื่องจากรูปแบบ เศรษฐกิจของจีนนั้นเป็นระบบเศรษฐกิจที่จีนอ้างว่าเป็น ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy) ที่ภาครัฐไม่แทรกแซงระบบเศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นรัฐบาลจีนยังมีการ แทรกแซงระบบเศรษฐกิจอยู่มาก ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับบัญชา (command economy) ของจีน นี้มีความขัดแย้งกับรูปแบบการเปิดเสรีทางการค้าและการบูรณาการทางเศรษฐกิจทั้งในระดับโลกและ ระดับภูมิภาค ความปรารถนาที่จีนจะก้าวเป็นผู้น าเศรษฐกิจโลกแทนที่สหรัฐอเมริกานั้นจะเป็นจริง ขึ้นได้หากจีนพัฒนารูปแบบนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของตนให้เป็นวาระของคนทั้งโลก เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ มิใช่มุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและตัวเลขของขนาด เศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ดังที่สหรัฐอเมริกาเคยท าไว้ในยุคของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ในประเด็นด้านสังคม สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่จีนยังมีปัญหาในเรื่องของการ

5 Chinadaily, “Xi in Davos: Quatable Quotes” chinadaily, accessed Octorber 21, 2117, chinadaily.com.cn/business/2117wef/17/content27982667.

Ref. code: 25605903030525DHV 20

พยายามเข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่พิพาทในทะเลจีนใต้ ซึ่งยังไม่เป็นที่ยอมรับจากนานาชาติที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็นความเคลื่อนไหวทางทหารของจีนในภูมิภาคดังกล่าว รวมถึงปัญหาภายในของจีนที่ รัฐบาลก าลังแก้ไขอยู่ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ภาพรวมของการค้าโลกที่มีแนวโน้มจะชะลอตัวลงตาม สภาพเศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอการเติบโตลงอย่างต่อเนื่อง แม้จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจ ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่ราว 6.7% ในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งช้าสุดในรอบ 26 ปี ประเทศต่าง ๆ ที่จะพึ่งพาจีนในทางด้านเศรษฐกิจอาจจะพึ่งพาได้เพียงระยะสั้น เท่านั้นเนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจของจีนที่อยู่ในช่วงขาลงอาจจะประสบปัญหาวิกฤติทาง เศรษฐกิจในอนาคตได้ หลังจากที่การเติบโตทางเศรษฐกิจเริ่มอิ่มตัวแล้วดังที่จีนบอกว่าเป็นสภาวะ มาตรฐานความปกติในรูปแบบใหม่ทางเศรษฐกิจ (New Normal) ซึ่ง สี จิ้นผิง ก าลังต้องการจะ ปรับเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจของจีนที่จะเน้นไปที่ การขยายออกไปนอกประเทศ เช่น การสร้างรถไฟ ขนส่งสินค้าไปยังลอนดอน การสร้างเส้นทางขนส่งทางบกที่เชื่อมต่อสู่ท่าเรื่อน้ าลึกที่จีนได้เข้าไปสร้าง ในประเทศต่าง ๆ เพื่อเป็นทางออกสู่มหาสมุทรที่หลากหลายของจีน เช่น ท่าเรือกวาดาร์พอร์ตที่จีน เข้าไปสร้างที่ปากีสถานจากความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน ธุรกิจด้านการบริการ การ ขนส่งสินค้า การพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น เนื่องจากจีนได้ตระหนักถึง ค่าแรงของแรงงานในประเทศตนที่เริ่มสูงขึ้น และมีคู่แข่งมากขึ้นจากฐานผลิตในประเทศด้อยพัฒนา หรือประเทศก าลังพัฒนาที่มีค่าแรงถูกกว่า เช่น ในประเทศอินโดนีเซีย เมียนมาร์ และกัมพูชา เป็นต้น

3.2 นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกับความร่วมมือในระดับโลก

3.2.1 ภูมิหลังของนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt and One Road) นั้นถือเป็นนโยบายที่ จีนต้องการรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมขึ้นมาใหม่ ซึ่งเส้นทางสายไหมนั้นเป็นเส้นทางการค้าและวัฒนธรรม ที่ทอดยาวจากภูมิภาคเอเชียในทิศตะวันออกไปสู่ภูมิภาคตะวันตก โดยเส้นทางดังกล่าวมีความยาว ประมาณ 6,437 กิโลเมตร เส้นทางนี้ได้ชื่อว่า “เส้นทางสายไหม” เนื่องจากเป็นเส้นทางการค้าของ ชาวจีนที่ได้ก าไรมาจากการค้าผ้าไหมเป็นเงินจ านวนมากมาตลอดเส้นทาง ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น และ ต่อมาได้มีการขยายเส้นทางการค้าในภูมิภาคเอเชียกลางราว 114 ปีก่อนคริสตกาล การค้าดังกล่าว เป็นการค้าผ่านทางคณะทูตและการส ารวจของผู้แทนทางการทูตของจักรวรรดิจีน ที่ริเริ่มโดย จาง เชียน (Zhang Qian) ทูตของราชส านักจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น เส้นทางสายไหมนั้นถือเป็นเส้นทาง ส าคัญยิ่งต่อการพัฒนาอารยธรรมใน จีน อินเดีย เปอร์เซีย ยุโรปและคาบสมุทรอาหรับ แม้ว่าผ้าไหม จะเป็นสินค้าหลักของจีนที่ส่งขายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ผ่านเส้นทางสายไหม แต่ก็มีการค้าสินค้า ประเภทอื่นอีกเป็นจ านวนมากบนเส้นทางนี้ เช่น เครื่องเคลือบดินเผา ใบชา ฯลฯ นอกจากการค้า

Ref. code: 25605903030525DHV 21

จีนก็ยังใช้เส้นทางนี้ในการเผยแพร่แนวความคิดทางด้านศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ และเทคโนโลยี ต่าง ๆ ไปตามเส้นทางนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเส้นทางสายไหมก็ยังเป็นเส้นทางทางวัฒนธรรมอีกด้วย นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt and One Road) จึงถือเป็นเส้นทาง การค้าและเป็นยุทธศาสตาร์ทางเศรษฐกิจใหม่ของจีน ที่มีรากฐานมาจากการรื้อฟื้นเส้นทางทางการค้า เก่า อย่างเส้นทางสายไหม จีนภายใต้การน าของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง และนายกรัฐมนตรี หลี่ เคอ เฉียง ได้มีการน าเส้นทางการค้าที่ชื่อว่า “เส้นทางสายไหม” ที่เคยประสบความส าเร็จในอดีต ทั้งในแง่ ของการขยายอิทธิพลทางการค้าและเผยแพร่วัฒนธรรมของจีนกลับมารื้อฟื้น และปรับปรุงพัฒนาขึ้น ใหม่เพื่อขยายอิทธิพลทางการค้าและวัฒนธรรมของจีนออกไปในเวทีระดับโลกมากขึ้น ทั้งนี้ ชื่อของ เส้นทางสายไหม (Silk Road) เดิมนั้นจะมีการเปลี่ยนชื่อใหม่ว่าเป็น หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt and One Road) หรืออีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางแห่งการริเริ่ม (Belt and Road Initiative) ซึ่งเส้นทางนี้จะมีทิศทางหลัก ๆ สามทิศทาง : เส้นทางที่หนึ่งจากประเทศจีนไปยังเอเชีย กลางและรัสเซียแล้วไปยังยุโรป เส้นทางที่สองจากจีนผ่านเอเชียกลางและเอเชียตะวันตกไปยังอ่าว เปอร์เซียและสิ้นสุดที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเส้นทางที่สามจากจีนผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ไปยังมหาสมุทรอินเดียและต่อไปยังแอฟริกา รวมถึงท่าเรือ ณ นครเวนิสในอิตาลี ตามแผนที่ ประกอบในรูปภาพที่ 3.16 ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 2113 ระหว่างการเดินทางไปยังประเทศในเอเชียกลาง หลังจากที่ สี จิ้นผิง เข้ารับต าแหน่งประธานาธิบดี เขาได้ประกาศนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ในการกล่าวสุนทรพจน์ที่ มหาวิทยาลัยนาซาร์เบเยฟ (Nazarbayev University) ประเทศคาซัคสถาน โดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เสนอให้จีนและเอเชียกลางร่วมมือกันสร้างสายพานเศรษฐกิจสายไหมใหม่ เพื่อเพิ่มความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างกัน การด าเนินนโยบายเช่นนี้ของจีนก็จะก่อให้เกิดการ เชื่อมต่อเส้นทางส าหรับการค้าทางทะเลจากมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังทะเลบอลติก และก่อให้เกิดการ เชื่อมต่อเส้นทางส าหรับการค้าทางบก จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกไปยังเอเชียตะวันตก เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ รวมถึงในระดับโลกก็จะมีการขยายเส้นทางไปยังแอฟริกาและยุโรป โดยจีนจะส่งเสริมไปในเรื่องของการอ านวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การหมุนเวียนเงิน การให้การสนับสนุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแก่ประเทศต่าง ๆ บนเส้นทางให้มีความพร้อมต่อ การขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางต่าง ๆ มากขึ้น โดยการเข้าไปลงทุนสร้าง ถนน รางรถไฟ ทางด่วน เขตเศรษฐกิจพิเศษ และศูนย์วิจัยพลังงานทดแทนเพื่อการขนส่งเป็นต้น นโยบายเช่นนี้ของ สี จิ้นผิง ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในเดือนพฤศจิกายน

6 Chen Jia, "'Belt and Road' takes new route,” China Daily, accessed Octorber 25, 2017, europe.chinadaily.com.cn/business/2015-04/15/content_20435638.htm.

Ref. code: 25605903030525DHV 22

ปี ค.ศ. 2113 และในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2115 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน นาย หวัง ยี่ ได้ประกาศว่าเป้าหมายส าคัญของนโยบายต่างประเทศจีนใน ปี ค.ศ. 2115 นั้นคือความ คืบหน้าในทุก ๆ ด้านของ นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน และการฟื้นฟูพื้นที่ยูเรเซียซึ่งจีนยินดี จะให้การสนับสนุนอย่างยิ่ง7 นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road Initiative) นั้นเป็นนโยบาย ใหม่ทางเศรษฐกิจของจีนที่เป็นรากฐานของนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระดับโลก ซึ่งจะเน้น ไปที่การเชื่อมต่อและความร่วมมือระหว่างประเทศในแถบเอเชีย ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา รวมถึงภูมิภาคอื่น ๆ ในอนาคตที่จีนได้เข้าไปลงทุนทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งเสมอมาในภูมิภาค ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยต้องการรื้อฟื้นเส้นทางการค้าเดิมอย่างเส้นทางสายไหมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ทั้งเส้นทางการค้าทางบก และเพิ่มเติมเส้นทางการค้าทางทะเล โดยรัฐบาลจีนได้สนับสนุนงบประมาณ เพื่อการพัฒนาเส้นทางต่าง ๆ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ กว่า 120,000 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนนั้นเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นไป ตามวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่าง รัฐสมาชิก ความเคารพซึ่งกันและกันในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกันและกัน มีความสัมพันธ์ระหว่างกันที่มีความเสมอภาค และเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบ เหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่จ าเป็นส าหรับรัฐสมาชิกที่ต้องการเข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจตาม นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของรัฐบาลจีน นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนนั้นมีวิสัยทัศน์ในการด าเนินโดยเน้นไปที่ หลักการของความสามัคคีของรัฐสมาชิกทั้งหลาย หล่อหลอมความเป็นปึกแผ่นระหว่างอารยธรรมใน ระหว่างการรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมใหม่ขึ้นมาอีกครั้งรวมถึงเส้นทางใหม่ทางทะเล ความคิดริเริ่มของ จีนนี้ไม่ได้เน้นว่าประเทศอื่นควรด าเนินการรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมใหม่ตามแบบแผนเส้นทางและการ พัฒนาของจีน เนื่องจากจีนไม่ต้องการที่จะท าลายวัฒนธรรมและอารยธรรมของประเทศอื่น ๆ ที่ด ารง อยู่ระหว่างเส้นทาง แต่จีนจะเคารพทางเลือกของเส้นทางและการพัฒนาโมเดลเส้นทางของประเทศ อื่น ๆ รวมถึงให้การสนับสนุนอีกด้วย โดยมีการหารือระหว่างรัฐสมาชิกที่มีอารยธรรมที่แตกต่างกัน ใน หลักการของการแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่างในการรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมขึ้นมาใหม่ร่วมกัน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกประเทศที่ตั้งอยู่บนเส้นทางที่สามารถจะร่วมรื้อฟื้นและด ารงอยู่ร่วมกันได้

7 Wong Billy, “One Belt, One Road Initiative: The Implications for Hong Kong,” HKTDC Research, accessed Octorber 25, 2017, www.economists-pick-research. hktdc.com/business-news/article/Research-Articles/One-Belt-One-Road-Initiative-The- Implications-for-Hong-Kong/rp/en/1/1X000000/1X0A23WV.htm.

Ref. code: 25605903030525DHV 23

อย่างสันติเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจตามนโยบายหนึ่งแถบหนึ่ง เส้นทางของรัฐบาลจีน การด าเนินนโยบายต่างประเทศเช่นนี้ของจีนนั้นจะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ ความร่วมมือทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่จะสร้างผลดีสูงสุดแก่ ภูมิรัฐศาสตร์ของจีน ซึ่งจะท าให้จีนมีอิทธิพลมากขึ้นบนเส้นทางที่ทอดผ่านมหาทวีปยูเรเซียและขยาย ไปถึงแอฟริกา รวมถึงจะเป็นการตอบโต้การครอบง ามหาทวีปนี้โดยประเทศโลกตะวันตกเพียงฝ่าย เดียวได้อีกด้วย8

ภาพที่ 3.1 แสดงเส้นทางส าหรับการค้าทางบกและทางทะเลในนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน, James McBride, "Building the New Silk Road," Council on Foreign Eelations, accessed Octorber 25, 2117, www.cfr.org/backgrounder/building-new-silk-road.9

8 Usman W. Chohan, “What is One Belt One Road? A Surplus Recycling Mechanism Approach”, Social Science Research Network, accessed Octorber 25, 2017, www.ssrn.com/abstract=2997650. 9 James McBride, “Building the New Silk Road," Council on Foreign Eelations,” accessed Octorber 25, 2017, www.cfr.org/backgrounder/building-new-silk-road.

Ref. code: 25605903030525DHV 24

3.2.2 การริเริมนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง จุดเริ่มต้นของนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางนั้นมีการประกาศอย่างเป็นทางการครั้ง แรก โดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในปี ค.ศ. 2113 โดยนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางถือเป็นโครงการ เพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจพหุภาคีในระดับโลกของจีน ประกอบด้วยเส้นทาง 2 เส้นทางคือ เส้นทางสายไหมใหม่ส าหรับการค้าทางบก (Silk Road Economic Belt) คือเส้นทางที่ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ประกาศข้อริเริ่มอย่างเป็นทางการในขณะที่เดินทางไปเยือนประเทศคาซัก สถาน โดยเส้นทางทางการค้าทางบกนั้น เป็นเส้นทางทางการค้าที่มีการเชื่อมโยงประเทศที่ตั้งอยู่บน เส้นทางสายไหมเดิม คือประเทศอินเดีย เปอร์เซีย ประเทศในทวีปยุโรป และประเทศริมคาบสมุทร อาหรับ ผ่านภูมิภาคเอเชียกลาง เอเชียตะวันตก (ตะวันออกกลาง) เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยุโรป ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีการร่วมกันพัฒนาเส้นทางทางการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่นนี้ ถือเป็นการบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลกเนื่องจากจีนเองก็ไม่ได้กีดกัน ประเทศในทวีปอเมริกาในการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ด้วย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้ ด าเนินการโดยผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่าง ๆ บนเส้นทาง และความร่วมมือทาง เศรษฐกิจย่อยตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่จะกล่าวต่อไปด้วยเช่นกัน มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการ ขยายการค้าและเส้นทางทางการค้าที่มีความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น เส้นทางสายไหมใหม่ส าหรับการค้าทางทะเล (Maritime Silk Road) คือเส้นทาง ที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง พูดถึงระหว่างการเยือนอินโดนีเซีย ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2113 ซึ่งจะเป็น เส้นทางการค้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างจีนกับ ประเทศในแถบภูมิภาคติดกับทะเลจีน ได้แก่ เอเชียตะวันออกฉียงใต้ โอเชียเนีย แอฟริกาเหนือ เอเชีย แปซิฟิก ทะเลอาหรับรวมถึงมหาสมุทรอินเดีย ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในเส้นทางหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือเส้นทางสายไหมใหม่นั้น ล้วนแต่เป็นประเทศที่เข้าร่วมหรือให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แห่งเอเชีย (The Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB) ซึ่งมีจีนเป็นประเทศผู้ก่อตั้งและ ผู้ด าเนินงานหลัก เพื่อที่จะเป็นธนาคารหลักในการสนับสนุนและพัฒนารูปแบบโครงสร้างพื้นฐานของ ประเทศต่าง ๆ บนเส้นทางสายไหมใหม่ควบคู่กับความร่วมมือต่าง ๆ ไปในเวลาเดียวกัน การด าเนิน ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ท าให้จีนมีความได้เปรียบด้าน ภูมิศาสตร์ เนื่องจากในเส้นทางต่าง ๆ ของยุทธศาสตร์ได้สร้างรูปแบบของการโอบล้อมประเทศคู่แข่ง ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ในเอเชียไว้ได้เกือบทั้งหมดจนท าให้ประเทศเหล่านั้นยอมผ่อนปรนและมีการ หารือในการตกลงให้ความร่วมมือกับจีนอย่างเช่น อินเดีย แม้จะยังไม่มีความคืบหน้ามากก็ตาม นอกจากนี้ยังมีรูปแบบความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่นๆที่เป็นการท้าท้ายนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ของจีนอยู่ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป นอกจากนี้บนเส้นทางทางการค้าทั้งสองของยุทธศาสตร์หนึ่งแถบ

Ref. code: 25605903030525DHV 25

หนึ่งเส้นทาง จีนก็ก าลังเตรียมจัดท านโยบายส่งเสริม คุ้มครอง และอ านวยความสะดวกแก่นักลงทุน ต่างชาติให้มีความเป็นเสรีมากขึ้นโดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศบนเส้นทางสายไหมใหม่ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้าน การค้า การลงทุน การคมนาคมขนส่ง เรื่องพลังงานทดแทน การรวมกลุ่มทางภูมิภาคและอนุภูมิภาค รวมถึงการใช้สกุลเงินหยวน เหมือนใน องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ อีกด้วย เพื่อให้การบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศบนเส้นทาง ทางการค้าของนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งมีความแนบแน่นและใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น รวมถึงรูปแบบ กฎระเบียบที่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต

3.3 นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคที่สัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียใต้

ภูมิภาคเอเชียใต้นั้นถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ส าคัญของจีนเป็นทางผ่านไปสู่ทะเลอาหรับ ซึ่งจีนก็ให้ความสนใจ และขยายความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชียใต้โดยเข้าไปลงทุนสร้าง โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ท่าเรือน้ าลึกแฮมบันโตตาในศรีลังกา จากข้อตกลงระหว่างรัฐบาลจีนกับ รัฐบาลศรีลังกามูลค่ากว่า 36,711 ล้านบาท ท่าเรือกวาดาร์พอร์ตในปากีสถาน ที่เกิดขึ้นจากความ ร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน เป็นต้น ซึ่งรูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ ที่จีนมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียใต้นั้นสามารถจ าแนกเป็นรูปแบบระเบียงความร่วมมือทาง เศรษฐกิจที่ส าคัญได้ 3 สายทางย่อยดังนี้ 3.3.1 ระเบียงเศรษฐกิจบังกลาเทศ - จีน - อินเดีย - เมียนมาร์ (BCIM Economic Corridor) ผู้เสนอรูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้คือ นาย หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรี ของจีนเมื่อครั้งเยือนอินเดียในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2113 และได้ออกแถลงการณ์ร่วมระหว่าง สาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐอินเดีย โดยเสนอให้จัดตั้งระเบียงเศรษฐกิจบังกลาเทศ-จีน- อินเดีย-เมียนมาร์ อย่างเป็นทางการและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประเทศบังคลาเทศและ เมียนมาร์ ในวันที่ 9 มิถุนายน ปี ค.ศ. 2114 นายกรัฐมนตรีบังคลาเทศ ดร.ชีค ฮาซีนา ได้ตอบรับ ความร่วมมือดังกล่าวและพูดถึงรูปแบบความร่วมมือดังกล่าวว่าการพัฒนาประเทศบังคลาเทศ จ าเป็นต้องใช้ประโยชน์จากรูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างระเบียงเศรษฐกิจบังกลาเทศ - จีน - อินเดีย - เมียนมาร์ โครงการดังกล่าวจะเป็นสิ่งส าคัญอย่างยิ่งส าหรับประเทศบังคลาเทศ ซึ่งในปี ค.ศ. 2014 ปริมาณการค้าระหว่าง จีนกับอินเดีย บังคลาเทศ และเมียนมาร์ มีสัดส่วนเกินกว่าหนึ่งในสี่ ของการค้าทั้งหมดของจีน ข้อเสนอของ หลี่ เค่อเฉียง นี้เคยถูกเสนอโดยนักวิชาการจากมณฑลยูน นานในประเทศจีนในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ซึ่งเดิมชื่อว่า BCIM Regional Economic Cooperation และได้การตอบรับเป็นอย่างดีจาก อินเดีย เมียนมาร์ และบังคลาเทศ ในปี ค.ศ. 1999

Ref. code: 25605903030525DHV 26

ในเวทีการประชุมความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชียใต้และจีนเป็นครั้งแรกในขณะนั้นซึ่งจัดขึ้นที่เมือง คุนหมิงและมีการจัดประชุมอย่างต่อเนื่องในเวลาต่อมา รูปแบบความร่วมมือนี้ถือเป็นส่วนส าคัญของ ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนในปัจจุบัน 3.3.2 ระเบียงเศรษฐกิจจีน – อินเดีย (China-India Economic Corridor) รูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้เริ่มการด าเนินการในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2115 หลังจากที่นายกรัฐมนตรีของอินเดีย นาย นเรนทระ โมดี ได้เดินทางไปเยือนประเทศจีนและ ได้มีการหารือกับผู้น าของประเทศจีน โดยผู้น าจีนได้เสนอให้มีการจัดท าระเบียงเศรษฐกิจจีน-อินเดีย โดยมีแผนการสร้างทางรถไฟข้ามทิเบตไปยังเนปาลและอินเดีย เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางทั้งสามประเทศ เข้าด้วยกันและมีการด าเนินการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการเพื่อช่วยเนปาลหลังประสบภัย พิบัติในฐานะเพื่อนบ้าน จีนเห็นว่าเนปาลเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งจีนจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งภายในประเทศของเนปาลให้ดีขึ้นเพื่อฟื้นฟู เนปาลและดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนให้มาเนปาลมากขึ้นอีกด้วย จะเห็นได้ว่าความร่วมมือในระเบียง เศรษฐกิจนี้จีนมุ่งเน้นไปที่ปฏิสัมพันธ์กับเนปาลที่เป็นจุดหมายในการขยายอิทธิพลเพื่อความมั่นคงใน ภูมิภาคเอเชียใต้ของจีน โดยชักชวนอินเดียในฐานะมหาอ านาจในภูมิภาคเอเชียใต้ให้เข้ามาร่วมใน รูปแบบความร่วมมือนี้ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างจีนกับอินเดียในประเด็นความร่วมมือ กันของจีนและเนปาลดังกล่าว 3.3.3 ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor) รูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้ถือเป็นรูปแบบที่มีความก้าวหน้าและมีความ เป็นรูปธรรมมากที่สุด เนื่องจากจีนลงทุนอย่างมากมายในปากีสถานในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ถนน รางรถไฟ ทางยกระดับ ทางด่วน เขตเศรษฐกิจพิเศษ ท่อส่งน้ ามันและ ก๊าซธรรมชาติ สายใยแก้วน าแสง และศูนย์ผลิตและพัฒนาพลังงานทดแทนส าหรับการขนส่ง เพื่อ อ านวยความสะดวกอย่างเต็มที่และทั่วถึง ในการเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งสินค้าที่เป็นเส้นทางสายไหม ใหม่ส าหรับการค้าทางบก จากจีนผ่านรัฐต่าง ๆ ของปากีสถานไปจนถึงท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์พอร์ต และออกสู่ทะเลอาหรับเป็นการเข้าสู่เส้นทางสายไหมใหม่ส าหรับการค้าทางทะเลต่อไป ซึ่งระเบียง เศรษฐกิจในส่วนนี้เป็นโครงการที่ผู้เขียนให้ความสนใจและน ามาเป็นกรณีศึกษาเนื่องจากยังมีปัญหา และค าถามมากมายที่ยังไม่ได้รับการตอบ จากเหตุการณ์ความร่วมมือและความขัดแย้งภายในและ ภายนอกในทุกระดับที่เกิดขึ้นหลังจากมีการจัดท าระเบียงเศรษฐกิจดังกล่าว

Ref. code: 25605903030525DHV 27

3.4 นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจของจีนที่สัมพันธ์กับประเทศปากีสถาน

ปากีสถานมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับจีนมาเป็นระยะเวลายาวนานตั้งแต่ก่อนยุค สงครามเย็น และมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1950 หลังจากที่ปากีสถานเป็นประเทศแรกที่ยุติความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับสาธารณรัฐ จีน (ไต้หวัน) และได้ให้การรับรองความเป็นรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่นั้นมาทั้งสอง ประเทศให้ความส าคัญกับการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดกัน รวมถึงมีความร่วมมือในด้าน ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกันตลอดมา ผู้น าทั้งสองประเทศให้ความส าคัญต่อการเดินทางไปเยือนระหว่างกันในระดับสูงอย่าง สม่ าเสมอ เป็นผลให้เกิดความร่วมมือและรูปแบบของข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างทั้งสองประเทศอย่าง มากทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร และการให้การช่วยเหลือระหว่างกัน จนนักวิชาการ หลายๆท่านเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศนั้นมีความใกล้ชิดถึงขั้นเป็นพันธมิตรทาง ยุทธศาสตร์ระหว่างกัน เนื่องจากทั้งสองประเทศนั้นมีความใกล้ชิดระหว่างกันในทางภูมิศาสตร์ และได้ เริ่มมีรูปแบบความร่วมมือในความช่วยเหลือทางทหารระหว่างกันในช่วงปี ค.ศ. 1966 จีนและปากีสถานเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันในปี ค.ศ. 1972 รวมถึงเริ่มมี ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1963 ประเทศจีนนั้นได้กลายเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดของ ปากีสถานในทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์โดย 63% ของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ปากีสถานมีในกองทัพเป็น การน าเข้ามาจากจีน10 และจีนก็ยังเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของปากีสถาน นอกจากนั้น จีนก็ยังให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ปากีสถานในการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ทั้งในทางทหาร และทางพลเรือนอีกด้วย ด้านการเมืองและความมั่นคง การรักษาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างทั้งสองประเทศนั้น จีนเห็นว่าเป็นสิ่งส าคัญ อย่างมากโดยเฉพาะในยุคสงครามเย็น เพื่อเป็นการกดดันและพยายามยับยั้งการเข้าแทรกแซงของ สหภาพโซเวียตในอัฟกานิสถาน รวมถึงเป็นยุทธศาสตร์ทางภูมิภาคในการตอบโต้การเคลื่อนไหวที่ไม่ เป็นผลดีต่อจีนของประเทศสัมพันธมิตรนาโต้ (NATO) และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ปากีสถานและ คิวบายังเป็นเพียงสองรัฐ ที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนหลังจากการเหตุการณ์

10 Abheet Singh Sethi, “China behind Pak’s growing confidence, supplies 63% of Islamabad’s arms need,” Hindustantimes, accessed Octorber 25, 2017, http://www.hindustantimes.com/india-news/china-behind-pak-s-growing-confidence- supplies-63-of-islamabad-s-arms-need/story-fnqRQYRHRRU73kDxmlILdL.html.

Ref. code: 25605903030525DHV 28

ประท้วงที่เทียนอันเหมินเมื่อ ปี ค.ศ. 1989 จีนและปากีสถานมีความสัมพันธ์ทางการทหารต่อกัน ปากีสถานได้รับความช่วยเหลือจากจีนในการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ให้กับกองก าลังทหาร ของปากีสถาน มีโครงการร่วมกันในการพัฒนาและผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เครื่องบินรบไปจนถึง เรือรบ และขีปนาวุธน าวิถี นอกจากนี้จีนก็ได้สนับสนุนจุดยืนและบทบาทของปากีสถานในแคชเมียร์ ขณะเดียวกันปากีสถานก็ให้การสนับสนุนจุดยืนและบทบาทของจีน ในกรณีเขตปกครองตนเอง ซินเจียงและไต้หวันเช่นกัน ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและยังคงมีเป้าหมายที่รักษา ความสัมพันธ์นี้ไว้เพื่อความเข้มแข็งทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศรวมถึงเพื่อความมั่นคง ทางภูมิรัฐศาสตร์ของทั้งสองประเทศต่อไป ด้านเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนที่สัมพันธ์กับปากีสถานและมีความส าคัญมาก ที่สุดในปัจจุบันคือ ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ระเบียงเศรษฐกิจจีน– ปากีสถาน นั้นน าเสนอโดย นาย หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน เมื่อครั้งเยือนประเทศปากีสถาน ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2113 และในระหว่างการเยือนปากีสถานของ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2115 เขาได้กล่าวถึงการเดินทางครั้งนี้กับสื่อปากีสถานว่า “ผมรู้สึกราวกับว่า ผมก าลังจะไปเยี่ยมบ้านพี่ชายของผมเอง”11 การกล่าวเช่นนี้ของ สี จิ้นผิง แสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ที่แน้นแฟ้นและเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่มีความส าคัญยิ่งจากการให้ความร่วมมือและ ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันในด้านต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลายาวนานระหว่างทั้งสองประเทศดังที่ กล่าวได้ข้างต้น ต่อมาเมื่อวันที่ 21 เมษายน ปี ค.ศ. 2115 จีนและปากีสถานก็ได้ลงนามในข้อตกลง แผนงานริเริ่มของระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน เพื่อให้จีนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ต่าง ๆ ด้วยงบประมาณที่มีมูลค่าถึง 46,111 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งคิดเป็นจ านวนเงินประมาณ 21% ของจีดีพีประจ าปีของปากีสถาน และปัจจุบันได้ขยายเป็นจ านวนเงินมูลค่า 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดเริ่มต้นของกลยุทธ์ร่วมกันนี้คือการเพิ่มการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างจีนและปากีสถาน ด้านการขนส่ง พลังงาน เสริมสร้างการเชื่อมต่อ และการส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน เส้นทางของ ระเบียงเศรษฐกิจระหว่างจีนและปากีสถานนี้เริ่มต้นที่เมือง คัชการ์ (Kashgar) ของจีน และ สิ้นสุดที่ เมือง กวาดาร์ (Gwadar) ของปากีสถานโดยมีระยะทางทั้งสิ้น 3111 กิโลเมตร เมืองกวาดาร์นั้นมีก๊าซ

11 Ankit Panda, “Xi Jinping on Pakistan: 'I Feel As If I Am Going to Visit the Home of My Own Brother,” The Diplomat, accessed Octorber 25, 2017, https://thediplomat.com/2015/04/xi-jinping-on-pakistan-i-feel-as-if-i-am-going-to-visit- the-home-of-my-own-brother/ 2015.

Ref. code: 25605903030525DHV 29

ธรรมชาติส ารองอยู่อย่างมากมายและเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ าลึกที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ท่าเรือ กวาดาร์พอร์ต (Gwadar Port) ซึ่งมีความยาวถึง 3.2 กิโลเมตร จีนได้เข้ามาพัฒนาจากท่าเรือน้ าลึกเดิมด้วยงบประมาณ 1.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งท่าเรือน าลึกนี้ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ส าคัญของเส้นทางสายไหมใหม่ เนื่องจากเป็นเส้นทางที่สามารถ ขนส่งสินค้าจากจีนออกไปยังทะเลอาหรับได้และเป็นทางออกที่สอง ต่อจากท่าเรือน้ าลึกที่จีนก าลัง เจรจาวางแผนกับมาเลเซียที่จะสร้างขึ้นใหม่ในช่องแคบมะละกา และเป็นเส้นทางที่สามารถน าสินค้า จากท่าเรือกวาดาร์พอร์ตน าเข้าขนส่งไปสู่ประเทศจีนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ผ่านทาง รถไฟและทางหลวงของปากีสถาน เส้นทางนี้จะเอื้อให้เรือสินค้าของจีนไม่ต้องผ่านมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกาเพื่อไปน าเข้าน้ ามันดิบและสินค้าจากตะวันออกกลางมาส่งมอบสินค้าในทาง ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนหรือทะเลจีนใต้อีกต่อไป ซึ่งจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการ เดินเรือถึง 2 ใน 3 และลดความเสี่ยงทางทะเลต่าง ๆ ได้มากขึ้นตามไปด้วย แต่อาจต้องไปเสีย ค่าใช้จ่ายส าหรับการขนส่งทางบกแทนซึ่งมากกว่าทางเรือที่จะผ่านเข้าเส้นทางเดินเรือผ่านช่องแคบ มะละกาถึง 4 เท่า รัฐบาลจีนสามารถประหยัดงบประมาณขนส่งมากขึ้นหากศูนย์ผลิตและพัฒนา พลังงานทดแทนเพื่อการขนส่งของจีนในปากีสถานนั้นมีการวิจัยเป็นผลส าเร็จและเป็นรูปธรรมมากขึ้น อย่างไรก็ตามเส้นทางสายไหมใหม่ส าหรับการค้าทางบกตั้งแต่กวาดาร์ถึงเมืองคัชการ์นั้น ต้องผ่านภูมิภาคแคชเมียร์ในส่วนที่ถูกควบคุมโดยปากีสถาน อินเดียจึงมีข้อกังวลอย่างมากเกี่ยวกับ เรื่องนี้เนื่องจากจีนและปากีสถานอาจพัฒนาและใช้เส้นทางนี้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารในอนาคต ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงที่ส าคัญในระเบียงเศรษฐกิจจีน- ปากีสถาน ภายใต้การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandums of Understanding: MoUs) ระหว่างทั้งสองประเทศ จ านวน 51 ฉบับ โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับส ารวจและขุดเจาะจัดเก็บพลังงานจากถ่านหิน โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการส ารวจและจัดเก็บก๊าซธรรมชาติ โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดเก็บพลังงานทดแทนจาก ลม น้ า และแสงอาทิตย์ โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลทางการเกษตร การจัดเก็บและจ าหน่าย อุปกรณ์การเกษตร รวมถึงระบบชลประทาน โครงการความร่วมมือทางด้านโทรคมนาคมและอวกาศ โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือทางความมั่นคงทางทะเล ผู้เขียนจะท าการอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ในบทที่ 6 ต่อไป

Ref. code: 25605903030525DHV 30

บทที่ 4 สภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของปากีสถาน รวมถึงนโยบายของรัฐบาล ปากีสถานต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ภายในประเทศ

4.1 ภูมิหลังของประเทศปากีสถาน

ปากีสถานเป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ในถูมิภาคเอเชียใต้และอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่ส าคัญ มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกโดยมีพรมแดนติดกับอินเดียในทางทิศตะวันออก ติดกับอัฟกานิสถานและ อิหร่านในทางทิศตะวันตก และติดกับจีนในทางทิศเหนือของประเทศ อยู่ระหว่างทางแยกของเอเชีย ตะวันตก เอเชียกลาง และเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่มหาอ านาจในการใช้ดินแดนนี้ เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างประเทศ ดังเช่นที่สหรัฐอเมริกาใช้ปากีสถานเป็นประเทศ อ าพรางการเยือนจีนอย่างลับ ๆ ในปี ค.ศ. 1971 ของ เฮนรี คิสซินเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในรัฐบาลของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ซึ่งเป็นการปูทางน าไปสู่ การเยือนจีนของเขาในปี ค.ศ. 1972 เพื่อริเริ่มการเจรจาเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และน าไปสู่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตอย่างเป็นทางการระหว่างสองประเทศในปี ค.ศ. 1979 รวมถึงการที่จีนใช้ปากีสถานในการขยายอ านาจและอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศในการปิด ล้อมอินเดียและสร้างความมั่นคงให้แก่จีนในภูมิภาคเอเชียใต้มาจนถึงปัจจุบัน ปากีสถานเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศและสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มี ความส าคัญมากมาย แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในการเมืองระหว่างประเทศอย่างทั่วถึงและอาจมี นัยยทางการเมืองระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน โดยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 31 กันยายน ปี ค.ศ. 1947 อยู่ในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement; NAM) องค์การ สนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization) องค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation) เครือจักรภพแห่งประชาชาติ (Commonwealth of Nations) องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ และกลุ่มประเทศก าลังพัฒนา G21 และ G77 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกขององค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (CERN) รวมทั้งเป็นประเทศผู้ลง นามในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเป็นความตกลง ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และข้อตกลงระหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights)

Ref. code: 25605903030525DHV 31

4.1.1 ช่วงการก่อตั้งประเทศและอุดมการณ์ของบิดาแห่งประเทศปากีสถาน ประเทศปากีสถานนั้นได้รับการสถาปนาขึ้นในรูปแบบของรัฐ-ชาติสมัยใหม่ในวันที่ 14 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1947 หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษจากการริเริ่มเพื่อขอแยกประเทศออก จากอินเดียและก่อตั้งประเทศปากีสถานโดย มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ อดีตผู้น าสันนิบาตมุสลิมแห่ง อินเดีย (All-India Muslim League) ในขบวนการเรียกร้องเอกราชและการจัดตั้งประเทศปากีสถาน และผู้เป็นบิดาแห่งประเทศปากีสถานในเวลาต่อมา เขาเป็นผู้เลื่อมใสในศาสนาอิสลาม นิกายชีอะห์ ส านักกุจราต อิสมาอิลลี่ ที่มีแนวความคิดแบบสมัยใหม่และเน้นกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ แม้ประเทศปากีสถานจะเป็นประเทศที่ใช้ค าว่า อิสลาม ในชื่อเต็มของประเทศคือ สาธารณรัฐอิสลามแห่งปากีสถาน แต่ประเทศปากีสถานในอุดมคติของจินนาห์นั้นคือ รัฐสมัยใหม่แบบ โลกียนิยม (Secularism) ไม่ได้ต้องการจะสร้างรูปแบบของรัฐอิสลามแต่อย่างใด ดังค ากล่าวของเขา ในฐานะข้าหลวงใหญ่แห่งปากีสถานในสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งปากีสถานเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1947 ว่า “ตอนนี้เราควรจะให้ความส าคัญต่ออุดมคติของเรา และคุณจะพบว่าคนที่เป็นฮินดู จะยุติการเป็นฮินดูและคนที่เป็นมุสลิมก็จะเลิกเป็นมุสลิม ขณะนี้ทุกคนไม่ได้อยู่ในความรู้สึกทาง ศาสนาเพราะนั่นคือความเชื่อส่วนบุคคลของแต่ละคน แต่ในแง่กิจการทางการเมืองนั้นทุกคนอยู่ใน ฐานะพลเมืองของรัฐ” 1 ค ากล่าวเช่นนี้ท าให้เห็นชัดถึงอุดมการณ์ของเขาที่มีความเป็นโลกียนิยม ค าว่า อิสลามที่อยู่ในชื่อของประเทศปากีสถานในความหมายของจินนาห์นั้น คือ ค าที่ใช้แบ่งแยกชาติพันธุ์ที่ แตกต่างกับคนฮินดูในอินเดียเพื่อให้เกิดการแบ่งแยกความเป็นรัฐชาติให้เกิดขึ้นตามชาติพันธุ์ที่จินนาห์ เชื่อว่ามีความแตกต่างระหว่างชาวอินเดียที่เป็นฮินดูและชาวอินเดียที่เป็นมุสลิม รวมถึงเพื่อหลีกเลี่ยง ความเสียเปรียบและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนมุสลิมในอินเดียทั้งในทางการเมืองและ สังคม2 4.1.2 จ านวนประชากรและพื้นที่ของปากีสถาน ปากีสถานเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลกโดยมีประชากร มากกว่า 207.77 ล้านคน และมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษา โดยประมาณ 44.68% เป็นคนปากีสถานเชื้อชาติปัญจาบ ประมาณ 15.42% เป็นคนปากีสถานเชื้อชาติปัชตุน ประมาณ 14.1% เป็นคนปากีสถานเชื้อชาติสินธ์ ประมาณ 8.38% เป็นคนปากีสถานเชื้อชาติสิไรกิ ประมาณ 7.57% เป็นคนปากีสถานเชื้อชาติมุฮาร์จิ ประมาณ 3.57% เป็นคนปากีสถานเชื้อชาติบาโลช และ ประมาณ 6.28% คนปากีสถานเชื้อชาติอื่นๆ มีพื้นที่เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 33 ของโลก

1 Husain Haqqani, Between Mosque and Military (Washington, D.C.: Carnegie Endowment for International Peace, 2005), 13. 2 Ibid., 14-18.

Ref. code: 25605903030525DHV 32

โดยมีพื้นที่ 881,913 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 รัฐคือ รัฐปัญจาบ (Punjab) รัฐไคเบอร์ปัคชตุนควา (Khyber Pakhtunkhwa) รัฐสินธ์ (Sindh) และ รัฐบาโลจิสถาน (Balochistan) มีแนวชายฝั่งทะเล ทอดยาวเป็นระยะทาง 1,046 กิโลเมตร ตามแนวชายฝั่งทะเลอาหรับและอ่าวโอมานทางตอนใต้ สภาพทางการเมืองภายในประเทศปากีสถาน หลังจากการก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1947 ก็ได้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ แห่งปากีสถานเพื่อท าการร่างรัฐธรรมนูญ ภายในช่วงไม่กี่ปีของการก่อตั้งประเทศปากีสถานต้องเผชิญ กับความท้าทายหลายอย่าง อย่างการจากไปของ จินนาห์ ด้วยโรคมะเร็งอย่างสงบที่บ้านของเขา ณ เมืองกาาราจีเมื่อวันที่ 11 กันยายน ปี ค.ศ. 1948 เวลา 11:21 น. ด้วยวัย 71 ปี ภายหลังเพียง 1 ปี หลังจากการก่อตั้งประเทศปากีสถาน3 และการลอบสังหารนายกรัฐมนตรีคนแรกของปากีสถาน ไลคัต อาลี ข่าน (Liaqat Ali Khan) เหตุการณ์เหล่านี้ท าให้บ้านเมืองเกิดความไม่สงบและข้อถกเถียงของ มุมมองที่ขัดแย้งกันในทิศทางของประเทศที่ควรด าเนินเนินต่อไป ซึ่งต้องใช้เวลาเกือบแปดปี ก่อนที่จะ ได้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของปากีสถานซึ่งแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1956 ส่งผลให้ปากีสถานกลายเป็น สาธารณรัฐ หลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญไปเพียงสองปีก็มีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญใน สมัยของประธานาธิบดี อิสกานเดอร์ มิรสา (Iskaner Mirza) หัวหน้าพรรคสันนิบาตมุสลิมเนื่องจาก เห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองไม่ได้ และเต็มไปด้วยกฎหมายการประนีประนอมที่เป็น อันตราย หลังจากนั้นก็เกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นในปากีสถานและเกิดรัฐประหารจากการเข้า ยึดอ านาจของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ไอยุบ ข่าน (Ayub Khan) และได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกในปี ค.ศ. 1961 นายพล ไอยุบ ข่าน ได้เข้าสู่ต าแหน่งประธานาธิบดี และได้ประกาศรัฐธรรมนูญฉบับที่สอง ในปี ค.ศ. 1962 โดยมีการวางรากฐานของระบบการเมืองโดยให้อ านาจและอิทธิพลแก่ทหาร เมื่อมาถึงจุดนี้ปากีสถานก็ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นภายในหลังความล้มเหลวที่จะชนะสงครามครั้งที่สอง กับอินเดียในปี ค.ศ. 1965 ประกอบกับการทุจริตและการขึ้นภาษีของภาครัฐที่สูงเกินไป รวมถึง ความสัมพันธ์ที่เสือมทรามลงกับภูมิภาคปากีสถานตะวันออก ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้ค่อย ๆ บ่อนท าลายอ านาจของ ไอยุบ ข่าน จนท าให้เขาลาออกในปี ค.ศ. 19694

3 B. R. Nanda, Road to Pakistan : the life and times of Mohammad Ali Jinnah (New Delhi: Routledge, 1917), 325-326. 4 James Wynbrandt, A brief history of Pakistan (New York: Infobase Publishing, 2009), 190–200.

Ref. code: 25605903030525DHV 33

4.2.1 การสัมผัสประชาธิปไตยครั้งแรกกับความแตกแยกภายใน ปากีสถานนั้นได้มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกบนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยใน ปี ค.ศ. 1971 ผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดคือ นาย ชีค มูจิบูร ระห์มาน (Shaikh Mujibur Rahman) จากพรรคสันนิบาติอะวามี (Awami League) จากภูมิภาคปากีสถานตะวันออก ผู้เป็นบิดาของ ประธานาธิบดีหญิงของบังกลาเทศในปัจจุบัน ชีค ฮาซีนา (Sheikh Hasina) อย่างไรก็ตามผลการ เลือกตั้งไม่ได้รับการยอมรับจากกองทัพภูมิภาคปากีสถานตะวันตก อ านาจในการปกครองไม่ได้ถูกโอน ไปยังผู้น าได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ความขัดแย้งระหว่างภูมิภาค ตะวันออกและตะวันตกของปากีสถาน ต่อมาในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1973 ชีค มูจิบูร ระห์มาน ได้ประกาศเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศ หลังจากมีสงครามกลางเมืองในปากีสถานมา นานถึง 9 เดือน ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1971 อินเดียก็ได้เข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในของ ปากีสถานและสนับสนุนภูมิภาคปากีสถานตะวันออกและก่อให้เกิดสงครามอินโด - ปากี (Indo-Pak war) หรือสงครามระหว่างอินเดียและปากีสถาน โดยผลของสงครามคือการยอมจ านนโดยกองทัพ ปากีสถาน และเป็นจุดเริ่มต้นของของการแยกประเทศของภูมิภาคปากีสถานตะวันออกกลายเป็น ประเทศบังคลาเทศ รวมถึงท าให้นายพล ยะห์ยา ข่าน ผู้สืบทอดอ านาจของประธานาธิบดี ไอยุบ ข่าน ลาออกจากต าแหน่ง 4.2.2 ผู้น าจากเสียงประชาชนและการวางรากฐานรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐ หลังจากการลาออกจากต าแหน่งประธานาธิบดีของนายพล ยะห์ยา ข่าน นายซัลฟิการ์ อาลี บุตโต (Zulfiqar Ali Bhutto) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศในสมัยของรัฐบาลนายพล ไอยุบ ข่าน และเป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคประชาชนปากีสถานซึ่งได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง ทั่วไปของปากีสถาน ในปี ค.ศ. 1971 ได้ก้าวขึ้นด ารงต าแหน่งประธานาธิบดี และยังเป็นผู้บัญชาการ ทหารสูงสุดคนแรกที่มาจากพลเรือนของปากีสถาน 5 4.2.3 รัฐธรรมนูญและโครงสร้างทางการเมืองของปากีสถาน สมัชชาแห่งชาติของปากีสถานได้อนุมัติร่างรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1973 เมื่อวันที่ 10 เมษายน ปี ค.ศ. 1973 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 สิงหาคมของปีนั้น ซึ่งรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1973 ของปากีสถานนั้น ได้ระบุว่าปากีสถานมีฐานะเป็นสหพันธรัฐในนามของสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจ าชาติ ปากีสถานเป็นสหพันธรัฐแบ่งเป็นสี่ภาคส่วนของสหพันธรัฐคือ รัฐปัญจาบ (Punjab) รัฐไคเบอร์ปัคชตุนควา (Khyber Pakhtunkhwa) รัฐสินธ์ (Sindh) และ รัฐบาโลจิสถาน (Balochistan) รัฐธรรมนูญนี้ระบุให้มีรูปแบบการปกครองของปากีสถานนั้นมีลักษณะ

5 Peter Blood, Pakistan: A Country Study (Washington: GPO for the Library of Congress, 1994), 54-58.

Ref. code: 25605903030525DHV 34

เป็นระบบรัฐสภาโดยมีสมาชิกสภานิติบัญญัติสองสภาคือ สภาแห่งชาติและวุฒิสภา แม้ว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับนี้เคยถูกระงับไว้ในระหว่างการปกครองของรัฐบาลทหารที่น าโดย พลเอก มูฮัมหมัด ฎิอาอุลฮัก (Muhammad Zia-ul-Haq) ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1978-1988 และมีการปรับปรุงถึง 19 ครั้ง แต่ใน ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ยังมีอ านาจควบคุมรัฐ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในครั้งที่ 18 ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2111 ก็ได้มีการยกเลิกการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใน ช่วงเวลาของรัฐบาลทหารด้วยเช่นกัน 4.2.3.1 โครงสร้างของฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1973 ของปากีสถานก าหนดไว้ว่าประธานาธิบดีเป็น ประมุขแห่งรัฐประธานาธิบดีมีหน้าที่ในการด าเนินการตามค าแนะน าของนายกรัฐมนตรีปากีสถาน และอาจถูกถอดถอนออกจากต าแหน่งหากมีการด าเนินการที่ละเมิดต่อรัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรง หรือ ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจจากกระท าผิดอย่างร้ายแรงในการปฏิบัติหน้าที่ โดยจะมีการลงคะแนนเสียง เพื่อตัดสินถอดถอนออกจากต าแหน่ง หากคะแนนการลงมติเพื่อการถอดถอนมีมากถึงสองในสามของ รัฐสภาก็สามารถถอดถอนประธานาธิบดีออกจากต าแหน่งได้ ประธานาธิบดีปากีสถานได้รับการ คัดเลือกจากการลงคะแนนลับโดย สมาชิกวุฒิสภา สมัชชาแห่งชาติ และสภาจังหวัด ต้องเป็นผู้ที่นับ ถือศาสนาอิสลามซึ่งมีอายุไม่น้อยกว่า 45 ปี และมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับเลือกให้เป็นสมาชิก สมัชชาแห่งชาติ จึงจะสามารถสมัครรับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีได้ ประธานาธิบดีมีวาระ 5 ปี ไม่สามารถด ารงต าแหน่งได้มากกว่าสองวาระ มีอ านาจในการแต่งตั้งนายพล ผู้พิพากษาศาลฎีกา ศาลสูง และหัวหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมถึงผู้ว่าการรัฐในแต่ละรัฐ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี เป็นผู้ที่ด ารงต าแหน่ง สมาชิกในสมัชชาแห่งชาติและต้องได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากรัฐสภา มีวาระในการด ารง ต าแหน่ง 5 ปี นายกรัฐมนตรีได้รับการช่วยเหลือจากคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลกลาง คณะรัฐมนตรีของ รัฐบาลกลางได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีตามค าแนะน าของนายกรัฐมนตรีประกอบด้วย รัฐมนตรีและที่ปรึกษา 4.2.3.2 โครงสร้างของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายนิติบัญญัติของปากีสถานประกอบด้วยสองส่วน คือ สมัชชาแห่งชาติ (Lower House) และวุฒิสภา (Upper House) สมัชชาแห่งชาติ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนชาวปากีสถานอายุ สิบแปดปีขึ้นไป สมัชชาแห่งชาติมีสมาชิกจ านวน 342 ที่นั่ง 272 คนมาจากการเลือกตั้งในแต่ละรัฐ

Ref. code: 25605903030525DHV 35

ส่วนที่เหลืออีก 71 ที่นั่ง เป็นที่นั่งมีไว้ส าหรับสตรี 61 ที่นั่ง และชาวปากีสถานที่ไม่ใช่มุสลิม 11 ที่นั่ง ซึ่งจะถูกจัดสรรบนพื้นฐานของการเป็นตัวแทนตามสัดส่วนให้แก่พรรคที่ชนะการเลือกตั้งมากกว่า 5% ของที่นั่งทั้งหมด ที่นั่งทั้งหมดจะถูกจัดสรรให้กับผู้แทนของแต่ละรัฐทั้งสี่รัฐ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ มีวาระ 5 ปี วุฒิสภา วุฒิสภามีสมาชิกที่เป็นตัวแทนในสัดส่วนเท่าเทียมกันจากแต่ละรัฐทั้ง 4 รัฐ จังหวัดซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาแห่งรัฐของแต่ละรัฐ ประธานวุฒิสภาจะท าหน้าที่แทนใน ตา แหน่งประธานาธิบดีเมื่อต าแหน่งประธานาธิบดีนั้นได้ว่างลง จนกว่าจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี คนใหม่อย่างเป็นทางการ เขตพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยที่ปกครองโดยรัฐบาลกลาง และเขตเมืองหลวง อิสลามาบัดมีต่างมีตัวแทนสมาชิกวุฒิสภาของตนด้วย ซึ่งวุฒิสภามีสมาชิกทั้งหมด 111 คน และมี วาระ 6 ปี ขั้นตอนการออกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งวุฒิสภาและสมัชชาแห่งชาติสามารถริเริ่มกระบวนการออกกฎหมาย ต่าง ๆ ได้ทั้งหมดยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณแผ่นดินที่เป็นหน้าที่ของสมัชชาแห่งชาติ เท่านั้นที่จะสามารถอนุมัติงบประมาณของรัฐบาลกลางทั้งหมดได้ ทั้งสองสภาเมื่อท าหน้าที่ในการออกกฎหมาย หากสภาใดผ่านร่าง พระราชบัญญัติด้วยเสียงข้างมากแล้ว พระราชบัญญัติก็จะถูกส่งไปที่อีกสภาหากพระราชบัญญัตินั้น ผ่านไปโดยไม่มีการแก้ไขก็จะถูกน าเสนอต่อประธานาธิบดีเพื่อลงนาม และประกาศใช้ แต่หากร่าง พระราชบัญญัติส่งไปยังอีกสภาหนึ่งแล้วไม่ผ่านการเห็นชอบภายในเก้าสิบวันหรือถูกปฏิเสธ จะมีการ พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นในการประชุมร่วมกันของทั้งสองสภา ถ้าร่างพระราชบัญญัติผ่านความ เห็นชอบของทั้งสองสภาด้วยคะแนนเสียงข้างมากแม้จะมีหรือไม่มีการแก้ไขก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติ นั้นก็จะถูกน าเสนอต่อประธานาธิบดีเพื่อขอการลงนาม ประธานาธิบดีจะต้องยินยอมให้ พระราชบัญญัติผ่านความเห็นชอบภายในสิบวัน อย่างไรก็ตามในพระราชบัญญัติทั้งหมดยกเว้นพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง กับการคลัง ประธานาธิบดีอาจส่งคืนพระราชบัญญัติให้กับทั้งสองสภาพร้อมด้วยข้อความที่จะขอให้ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติใหม่อีกครั้งได้ในประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าสมควร และหากมีการพิจารณา หรือการแก้ไขตามประเด็นที่ระบุไว้ในข้อความของประธานาธิบดีแล้ว ถ้าร่างพระราชบัญญัติยังผ่าน ความเห็นชอบจากเสียงข้างมากของทั้งสองสภาอีกครั้งแม้จะมีหรือไม่มีการแก้ไข ประธานาธิบดี จะต้องให้ความยินยอมภายในสิบวัน

Ref. code: 25605903030525DHV 36

4.2.3.3 โครงสร้างของฝ่ายตุลาการ รัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1973 ได้มีการจัดให้มีตุลาการที่มีความเป็นอิสระ รัฐธรรมนูญรับรองสิทธิในการเป็นพลเมืองต้องได้การคุ้มครองตามกฎหมาย และได้ก าหนดหน้าที่สอง ประการให้แก่พลเมืองเกี่ยวกับความจงรักภักดีต่อสาธารณรัฐและการเคารพกฎหมาย บุคคลที่พบว่ามี ความพยายามหรือวางแผนที่จะยกเลิกหรือล้มล้างรัฐธรรมนูญต้องได้ความผิดในฐานความเป็นกบฏ จากการทรยศ รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญได้มอบสิทธิขั้นพื้นฐานหลายประการให้กับพลเมือง เช่น สิทธิ ในการใช้ชีวิตที่มีเสรีภาพ ความเสมอภาค เสรีภาพในการพูดให้ความเห็นทางการเมือง และเสรีภาพใน การค้า รัฐธรรมนูญยังระบุว่ากฎหมายใด ๆ ที่ไม่สอดคล้องหรือเสื่อมเสียต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของ พลเมืองจะถือเป็นโมฆะ โครงสร้างของฝ่ายตุลาการของปากีสถานนั้นประกอบด้วย ศาลฎีกา ศาลสูง แห่งรัฐ และศาลอื่น ๆ ที่มีอ านาจน้อยกว่าในการใช้อ านาจทางแพ่งและอาญา ศาลฎีกาเป็นศาลที่สูง ที่สุดในล าดับชั้นศาลของปากีสถานซึ่งเป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทด้านกฎหมายและรัฐธรรมนูญขั้นสุดท้าย 4.2.4 โครงสร้างของระบบการเมืองและกรอบแนวคิดทางศาสนา รัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1973 ของปากีสถานซึ่งเป็นฉบับที่ใช้มาถึงปัจจุบันนั้นมีการ ระบุด้วยว่ากฎหมายทั้งหมดจะต้องสอดคล้องกับค าสั่งห้ามของศาสนาอิสลามในอัลกุรอานและ อัซซุนนะฮฺ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเลือนลางของอุดมการณ์แห่งรัฐแบบโลกียนิยมของจินนาห์ และเข้า สู่รูปแบบของรัฐที่แนวคิดของศาสนาอิสลามที่ไม่สามารถแยกเรื่องการเมืองและศาสนาออกจากกันได้ เข้าครอบง าในระบบการเมือง ในช่วงแรกที่การเมืองปากีสถานถูกรวบอ านาจการปกครองโดยกองทัพ นั้นก็มีรูปแบบการอ้างแนวคิดทางศาสนาอิสลามที่รุนแรง (Radical Islam) ในการสร้างความชอบ ธรรมให้แก่การปกครองของรัฐบาลทหาร ในช่วงหลังที่กองทัพลดบทบาททางการเมืองลงบางช่วงจนถึงปัจจุบัน การเมืองของ ปากีสถานก็มีรูปแบบของการประนีประนอมอยู่บ้าง ระหว่างรูปแบบการปกครองตามกฎหมายอิสลาม และรูปแบบของระบอบประชาธิปไตย ดังกรอบแนวคิด อิสลามนิยม (Islamism) ที่มีการผสมผสาน ระหว่างแนวคิดทางศาสนาของศาสนาอิสลามกับรูปแบบการเมืองในรัฐชาติโดยเฉพาะระบอบ ประชาธิปไตยที่มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมและโลกยุคสมัยใหม่ซึ่งมีบริบทที่แตกต่างไปจากบริบท ในคัมภีร์อยู่มาก จึงท าให้มีรัฐในโลกมุสลิมที่น ากรอบแนวคิดนี้ไปใช้อย่างเช่น อินโดนีเซีย ตูนิเซีย และ ปากีสถานในยุคปัจจุบัน หรือในตุรกีบางยุคสมัย

Ref. code: 25605903030525DHV 37

รัฐในโลกมุสลิมดังกล่าวนั้นมีรูปแบบการบังคับใช้กฎหมายในการจัดการทางสังคมที่ ไม่รุนแรงหรือป่าเถื่อนที่ตีความตามตัวอักษรของคัมภีร์เสียทุกอย่าง อย่างการลงโทษผู้กระท าผิด ประเวณีด้วยวิธีการขว้างหินจนตาย ดังที่เกิดขึ้นในซาอุดิอาระเบีย6 แต่อย่างไรก็ตามผู้ปกครองของ ซาอุดิอาระเบียเองก็มองว่ารัฐของตนเองก็มีรูปแบบการเมืองและการจัดการทางสังคมแบบอิสลาม นิยมเช่นกัน แต่นักวิชาการส่วนใหญ่จะจัดรูปแบบการเมืองและการจัดการทางสังคมแบบอิสลามนิยม ของซาอุดิอาระเบียไว้ให้อยู่ในอีกสายหนึ่งคือ อิสลามนิยมแบบวาฮะบี(wahhabism) คือสายของ อิสลามนิยมที่เน้นการตีความตามตัวอักษรจากหลักค าสอนของศาสนาที่มีความเข้มแข็งของ แหล่งข้อมูลที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของสาส์น รวมถึงการตีความที่มีจุดประสงค์แอบแฝงเพื่อ ผลประโยชน์ของผู้ปกครองและกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นชนชั้นน าของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งไม่มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามบริบทของสังคมโลกในยุคปัจจุบัน แต่เมื่อองค์รัชทายาท มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน อัล ซาอูด (Mohammad Bin Salman Al Saud) ได้เริ่มการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองของ ซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน ก็ได้มีการผ่อนปรนการบังคับใช้กฎหมายอิสลามในประเทศตนทีมีแนวทาง แบบอิสลามนิยมที่เน้นการตีความตามตัวอักษรในแบบฉบับของกลุ่มวะฮะบีให้อ่อนลงและเข้ากับ บริบทของสังคมโลกในยุคปัจจุบันมากขึ้น เช่น การลดบทบาทของต ารวจศาสนาที่เข้มงวดมากเกินไป ในการตักเตือนประชาชนลง การอนุญาตให้มีการเปิดโรงภาพยนตร์อีกครั้งในซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น การน าแนวคิดทางการเมืองแบบอิสลามนิยมไปใช้เป็นแนวทางการจัดการทางสังคม นั้น ขึ้นอยู่กับบริบท และกลุ่มผู้ครองอ านาจการปกครองว่าจะน าไปปรับใช้อย่างไร อย่างปัจจุบันใน ตุรกีที่พยายามใช้กรอบแนวความคิดในการปกครองแบบอิสลามนิยม แต่ก็มีการทรมานนักโทษและไม่ ค านึงถึงเรื่องของสิทธิมนุษยชนของกลุ่มขบวนการกูเลน (Gülen movement) ที่ถือเป็นศัตรูทาง การเมืองของฝ่ายรัฐบาลในปัจจุบัน หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มพูนอ านาจอย่างสูงแก่ต าแหน่ง ประธานาธิบดีและการแทรกแซงอ านาจตุลาการจากฝ่ายบริหาร เพื่อให้ผู้น าฝ่ายบริหารมีอ านาจเหนือ เบ็ดเสร็จทั้งในทางการเมือง (อาณาจักร) และตุลาการ (ศาสนาจักร) ดังต าแหน่งคอลีฟะห์ในอดีตของ รัฐอิสลาม

6 Helen Chapin Metz, Saudi Arabia : a country study (Washington, D.C. : The Division : For sale by the Supt. of Docs., U.S. G.P.O., 1993), 314.

Ref. code: 25605903030525DHV 38

ดังนั้นอิสลามนิยมจึงเป็นแนวความคิดที่อาจมีการปรับปรุงให้เข้ากับความต้องการ ของผู้ปกครองในรัฐต่าง ๆ ที่เอาไปใช้ในการจัดการทางสังคมของรัฐตน อาจมีความรุนแรงให้เห็นแบบ ในตุรกีในปัจจุบัน ซาอุดิอาระเบีย (อิสลามนิยมแบบวาฮาบี) หรือความเข้มงวดกว่าในอินโดนีเซีย และ ตูนีเซียในปัจจุบัน เป็นต้น7 4.2.5 บทบาทของกองทัพในการเมืองปากีสถาน สภาพทางการเมืองภายในประเทศปากีสถานมีการรวบอ านาจการปกครองอยู่ที่ กองทัพตลอดมาตั้งแต่ปีที่สองของการก่อตั้งประเทศเป็นเวลายาวนานถึง 38 ปี ปัญหาทางการเมืองใน ปากีสถานนั้นเกิดจากสองปัญหาใหญ่ ๆ คือ ปัญหาทางการเมืองระหว่างรัฐต่าง ๆ ภายในปากีสถาน ปัญหาระหว่างกลุ่มประชาชนที่มีแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองสมัยใหม่ กับกลุ่มทหารของ กองทัพปากีสถานที่อ้างแนวความคิดและอุดมการณ์แบบอิสลามที่เข้มข้นรุนแรง (Radical Islam) ทั้งสองปัญหานี้ท าให้ปากีสถานขาดซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง ในประเด็นของการอ้างแนวความคิด และอุดมการณ์แบบอิสลามที่เข้มข้นรุนแรงของรัฐบาลทหารนั้น มีความขัดแย้งในตนเองอยู่บ้าง ว่าเหตุใดในเมื่อรัฐบาลทหารมีอุดมการณ์ที่เข้มข้นรุนแรงแต่กลับไม่ได้จัดตั้งรูปแบบของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอิสลามที่มีการตีความออกมาจาก คัมภีร์และอัตซุนนะห์ โดยให้อ านาจการบริหารปกครองและอ านาจตุลาการอยู่ที่หัวหน้าฝ่ายบริหารที่ มีต าแหน่งเป็นคอลีฟะห์ ซึ่งถูกเลือกมาจากฝ่ายนิติบัญญัติอย่างสภาชูรอให้ด ารงต าแหน่ง ดังที่ได้กล่าว มาแล้วข้างต้น ศาสนา เครื่องมือทางการเมืองที่ส าคัญของผู้ปกครองเผด็จการทหาร การที่รัฐบาลทหารของปากีสถานอ้างรูปแบบการปกครองที่มีการยึดถือแนวคิดและ อุดมการณ์แบบอิสลามที่เข้มข้นรุนแรงนั้น สามารถวิเคราะห์ออกมาได้ว่าการกระท าเช่นนี้ของรัฐบาล ทหารปากีสถานนั้น อาจเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อประชาชนชาวปากีสถาน ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นการใช้ศาสนาเพื่อสร้างความชอบธรรมในบทบาททางการเมือง ของรัฐบาลทหารในขณะนั้น และเป็นการเปิดทางให้รัฐบาลทหารใช้อ านาจในการควบคุมสถานการณ์ ทางการเมืองได้อย่างเต็มที่และรัดกุมมากขึ้นจากการอ้างถึงความชอบธรรมและหลักกฎหมายของ ศาสนาอิสลามที่มีการตีความอย่างเข้มงวด การครองอ านาจการปกครองและอิทธิพลทางการเมืองของกองทัพปากีสถาน กองทัพปากีสถานมีบทบาทส าคัญในการเมืองปากีสถานเป็นอย่างมากโดยได้ท าการ รัฐประหารยึดครองอ านาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือนสี่ครั้ง ในช่วงหลังการประกาศใช้

7 อดิ๊บ ยูซุฟ, “กลุ่มภราดรภาพมุสลิมภัยคุกคามต่อซาอุดิอาระเบีย,” เอเชียพิจารณ์ ปีที่ 4, ฉ.8 (ธันวาคม 2561) : 11-55.

Ref. code: 25605903030525DHV 39

รัฐธรรมนูญฉบับแรกเพียงสองปีระหว่าง ปี ค.ศ. 1958-1969 เป็นรัฐบาลทหารที่น าโดย นายพล ไอยุบ ข่าน (Ayub Khan) ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1969-1971 เป็นรัฐบาลทหารที่น าโดย นายพล ยะห์ยา ข่าน (Yahya Khan) ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1978-1988 เป็นรัฐบาลทหารที่น าโดย นายพล ฎิอาอุลฮัก (Muhammad Zia-ul-Haq) และ ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2111-2118 เป็นรัฐบาลทหารที่ น าโดย นายพล เพอร์เวซ มุชัรรัฟ(Pervez Musharraf) ระยะเวลาการปกครองโดยรัฐบาลเผด็จ การทหารของประเทศปากีสถานนั้นกินเวลายาวนานเกือบครึ่งศตวรรษแห่งการด ารงอยู่ของประเทศ อิทธิพลและอ านาจของของกองทัพปากีสถานนั้นมีการขยายเกินกว่าบทบาทตามรัฐธรรมนูญแม้ใน ช่วงเวลาของรัฐบาลพลเรือน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้ท าหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลและกลุ่ม ผลประโยชน์ของรัฐอื่น ๆ และระหว่างผู้น าทางการเมือง มีแรงผลักดันที่แข็งแกร่งอยู่เบื้องหลังของการ ด าเนินนโยบายต่างประเทศของปากีสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับ อินเดียและอัฟกานิสถาน กองทัพปากีสถานภายใต้การน าของ เพอร์เวซ มุชัรรัฟยังมีผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจเป็นอย่างมากจากผลประโยชน์ทางธุรกิจการค้าอาวุธ ซึ่งส่งผลให้กองทัพปากีสถานติดอันดับ ประเทศที่มีกองก าลังทหารติดอาวุธที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก เป็นประเทศที่มีการครอบครอง อาวุธนิวเคลียร์และโครงการพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นประเทศเดียวในโลกมุสลิมที่มีสถานะดังกล่าว 4.2.6 พรรคการเมือง ปากีสถานนั้นมีพรรคการเมืองที่ส าคัญและมีบทบาทในทางการเมืองอยู่ 6 พรรค ได้แก่ พรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan People Party Parliamentarians : PPPP) พรรค สันนิบาติชาติมุสลิมปากีสถานนาวาซ (Pakistan Muslim League Nawaz) พรรคสันนิบาติชาติ มุสลิมปากีสถาน (Pakistan Muslim League) พรรคขบวนการมุตตักฮิดาความี (MuttahidaQaumi Movement) พรรคอะวามีแห่งชาติ (Awami National Party ANP) และพรรคปากิสถานตะห์หรี- กอินซาฟ Pakistan Tehreek-e-Insaf (PTI) พรรคประชาชนรัฐสภาปากีสถาน (Pakistan People Party Parliamentarians : PPPP) ในอดีตพรรคประชาชนปากีสถาน (PPP) เป็นพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์สายกลาง เอียงซ้าย ซึ่งยุคแรกของการก่อตั้งพรรคได้ส่งเสริมรูปแบบอุดมการณ์ทางการเมืองแบบสังคมนิยม แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์สายกลางมากขึ้น พรรคตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1967 โดย นายซัลฟิการ์ อาลี บุตโต (Zulfikar Ali Bhutto) ประธานาธิบดีคนที่ 4 ของปากีสถาน พรรค ประชาชนปากีสถานได้รับความนิยมและสนับสนุนเป็นอย่างมากจากประชาชนปากีสถาน ก่อนที่ ปากีสถานตะวันตกจะแตกแยกกับปากีสถานตะวันออกและเกิดการแยกประเทศ หลังจากชัยชนะของ พรรคสันนิบาติอะวามีที่ได้ครอบครองจ านวนที่นั่งของผู้แทนราษฎรในปากีสถานตะวันตกไว้ได้อย่าง มากมายในการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1971 แต่หลังจากการแยกประเทศพรรคประชาชนปากีสถานก็ได้

Ref. code: 25605903030525DHV 40

เข้าสู่อ านาจทางการเมืองกลายเป็นพรรครัฐบาล ด้วยค ามั่นสัญญาว่าจะให้อาหารเครื่องนุ่งห่มและที่ พักพิงกับประชาชนอย่างทั่วกัน ส่วนพรรคประชาชนรัฐสภาปากีสถาน (PPPP) เป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้น ในปี ค.ศ. 2112 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสานต่องานของพรรคประชาชนปากีสถาน และเพื่อให้ สอดคล้องกับกฎการเลือกตั้งที่ไม่อนุญาตให้พรรคประชาชนปากีสถานลงรับสมัครรับการเลือกตั้ง พรรคประชาชนรัฐสภาปากีสถาน (PPPP) เป็นพรรคการเมืองหลักในปากีสถานซึ่งน าโดยลูกสาวของ อดีตประธานาธิบดี ซัลฟิการ์ อาลี บุตโต คือ เบนาซิร บุตโต (Bhutto Benazi) อดีตนายกรัฐมนตรี หญิงคนแรกของปากีสถานที่ถูกลอบสังหารในปี ค.ศ. 2007 เมื่อเธอถูกลอบสังหาร ลูกชายของเธอ บิลาวาล บุตโต ซาดารี (Bilawal Bhutto ) ก็ได้ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคมาถึงปัจจุบัน พรรค ประชาชนปากีสถาน (PPP) และพรรคประชาชนรัฐสภาปากีสถาน (PPPP) ได้ท าการจัดตั้งรัฐบาล มาแล้ว 4 ครั้งนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรค และยังเป็นการเมืองที่ใหญ่ที่สุดของปากีสถานในปัจจุบัน เป็นพรรคเดียวที่มีการสนับสนุนจากประชาชนในทุกรัฐและดินแดนของปากีสถานซึ่งเป็นเหตุผลที่ ท าให้ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งมากที่สุด พรรคสันนิบาติชาติมุสลิมปากีสถานนาวาซ (Pakistan Muslim League Nawaz: PML-N) เป็นพรรคที่มีอุดมการณ์แบบสายกลางเอียงขวา ซึ่งได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง และมีการจัดตั้งรัฐบาลได้สามครั้ง พรรคก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1962 เพื่อเป็นกลุ่มผู้สืบทอดพรรค สันนิบาติมุสลิมที่ยกเลิกไปก่อนหน้านี้ และได้รับรางวัล (Nawaz) ในปี ค.ศ. 1993 ส าหรับผู้น าที่ดีเด่น อย่าง นาวาซ ชารีฟ (Nawaz Sharif) จากผลงานการทดลงนิวเคลียร์ที่บรรลุความส าเร็จในสมัยของ เขา พรรคสันนิบาติชาติมุสลิมปากีสถานนาวาซ เป็นพรรคที่ใหญ่เป็นอันดับสองในรัฐสภาปากีสถาน ผู้น าพรรค นาวาซ ชารีฟ ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีมาแล้วสามสมัย ในสมัยที่สามนาวาซได้น า ความมั่นคงทางเศรษฐกิจมหภาคเข้ามาสู่ปากีสถานด้วยความช่วยเหลือจากเงินกู้ยืมที่ส าคัญจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และข้อตกลงการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์กับประเทศจีน อย่างระเบียงเศรษฐกิจจีนปากีสถาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่จะกล่าว อย่างละเอียดต่อไป ถึงความสัมพันธ์เชิงนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศระหว่างรัฐบาลของ นาวาซ ชารีฟ และสี จิ้นผิง อย่างไรก็ตามรัฐบาลในสมัยของชารีฟก็ต้องเผชิญกับค าวิจารณ์ที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้น 35% ประกอบกับชื่อของคนในครอบครัวเขาที่ปรากฏอยู่ใน เอกสารปานามา (Panama Papers) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีให้แก่การด าเนินคดีคอรัปชั่นต่าง ๆ ทั่วโลกกับบุคคลส าคัญทางการเมือง ท าให้ชารีฟต้องลาออกจากฐานะนายกรัฐมนตรีปากีสถาน หลังจากได้รับการตัดสินจากศาลฎีกาของประเทศว่าเขาจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากต าแหน่ง ในคดี คอรัปชั่นที่เกิดขึ้นหลังจากการส ารวจความมั่งคั่งของครอบครัวของเขา หลังจากการเผยแพร่เอกสาร

Ref. code: 25605903030525DHV 41

ปานามาใน ปี ค.ศ. 2116 ซึ่งเชื่อมโยงถึงลูกของชารีฟกับบริษัทต่างประเทศ แต่ชารีฟได้ให้การปฏิเสธ การกระท าผิดใด ๆ เสมอมาในคดีนี้ กระนั้นก็ตามค าตัดสินของศาลก็ยังระบุว่า ชารีฟไม่มีความโปร่งใส ในการไม่เปิดเผยรายได้ของเขาจากบริษัทที่อยู่ในดูไบ ในเอกสารการเสนอชื่อของเขาในระหว่างการ เลือกตั้งทั่วไปปี ค.ศ. 2113 และหนึ่งในผู้พิพากษา อจาส อัฟซัล ข่าน (Ejaz Afzal Khan) กล่าวว่า “นาย ชารีฟ ไม่ได้เป็นสมาชิกรัฐสภาที่ซื่อสัตย์” แต่ล่าสุดในคดีทุจริตของเขาศาลปากีสถานได้ระงับ การพิจารณาคดีเกี่ยวกับการทุจริตของเขาออกไป พรรคสันนิบาติมุสลิมปากีสถาน (Pakistan Muslim League: PML-Q) เป็นอีกหนึ่งพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบสายกลางก่อตั้งขึ้นใน ปี ค.ศ.2111 เมื่อกลุ่มสันนิบาติมุสลิมปากีสถานแบ่งแยกออกเป็นหลายฝ่ายหลังจากการก าจัดรัฐบาล ชารีฟ โดยนาย มุชาราฟ พรรคนี้เป็นกลุ่มที่สนับสนุนอดีตประธานาธิบดี มุชาราฟ และมีอ านาจอยู่ใน ฐานะสมาชิกคนส าคัญของรัฐบาล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2112-2117 เป็นพรรคที่ใหญ่เป็นอันดับสามของ ปากีสถาน พรรคขบวนการมุตตักฮิดาความี (MuttahidaQaumi Movement) เป็นพรรคและขบวนการทางการเมืองที่เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่พูดภาษาอูรดูที่อาศัยอยู่ ในเมืองการาจีและไฮดราบัต ก่อตั้งขึ้นโดย อัลตาฟ ฮุเซน (Altaf Hussain) ผู้ซึ่งเนรเทศตัวเองไปอาศัย อยู่ ณ กรุงลอนดอนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 พรรคนี้เกิดจากกลุ่มองค์กรนักศึกษาชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยจาก มหาวิทยาลัยการาจี ในปี ค.ศ. 1978 มีแนวความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีนิยมและ โลกียนิยม ในการแสดงบทบาทและความคิดเห็นทางการเมืองหลายประเด็นที่ออกมาจากพรรคนี้ พรรคนี้มีจ านวนที่นั่งมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ในสมัชชาแห่งชาติของปากีสถาน พรรคอะวามีแห่งชาติ (Awami National Party ANP) พรรคชาติแห่ง Awami (ANP) เป็นพรรคที่มีแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมือง แบบฝ่ายซ้ายพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายซึ่งอิทธิพลมากในรัฐไคเบอร์ปัคชตุนควา ผู้น าปัจจุบันคือลูกหลาน ของผู้น ารัฐไคเบอร์ปัคชตุนควาในอดีตซึ่งเป็นพันธมิตรกับพรรคคองเกรสแห่งอินเดีย พรรคปากีสถานตะห์หรีกอินซาฟ Pakistan Tehreek-e-Insaf (PTI) พรรคนี้เป็นพรรคที่สถาปนาขึ้นโดย อดีตนักคริกเก็ตชาวปากีสถาน อินรอน ข่าน (Imran Khan) ในปี ค.ศ. 1997 ที่เริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในปากีสถานซึ่งเป็นขบวนการเพื่อความ ยุติธรรม (ภาษาอูรดู Tehreek e-Insaaf) และเป็นพรรคการเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดในปากีสถานใน ปัจจุบัน พรรคปากิสถานตะหรีฟอินซาฟ ก าลังสร้างตัวเองให้เป็นหนึ่งในพรรคแกนหลักของประเทศ ปากีสถาน มีการกล่าวถึงและได้รับการสนับสนุนอย่างมากในปากีสถานช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา

Ref. code: 25605903030525DHV 42

4.2.7 การปกครองในแต่ละรัฐ ปากีสถานมีรูปของรัฐเป็นแบบสหพันธ์รัฐแบ่งเป็น 4 รัฐคือ รัฐปัญจาบ (Punjab) รัฐไคเบอร์ปัคชตุนควา (Khyber Pakhtunkhwa) รัฐสินธ์ (Sindh) และรัฐบาโลจิสถาน (Balochistan) แต่ละรัฐจะมีผู้ว่าการรัฐและคณะรัฐมนตรีโดยหัวหน้าคณะรัฐมนตรีนั้นจะได้รับการแต่งตั้งโดยผู้ว่าการ รัฐและที่ประชุมของรัฐจังหวัด สมาชิกในสภาแห่งรัฐจะได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนของแต่ละรัฐ สภาแห่งรัฐนั้นได้มีการจัดที่นั่งส าหรับชนกลุ่มน้อยในแต่ละรัฐไว้ด้วย โดยรัฐบาลแห่งรัฐนั้นมีหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ชัดเจนแบ่งแยกจากรัฐบาลกลางในการก ากับดูแลในรัฐกิจด้านต่าง ๆ เช่น สาธารณสุข การศึกษา การเกษตรกรรม และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของรัฐ 4.2.8 สภาพทางการเมืองในสมัย นายกรัฐมนตรี นาวาซ ชารีฟ และความเกี่ยวพัน กับนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน อดีตนายกรัฐมนตรี นาวาซ ชารีฟ เป็นนักการเมืองที่มีประสบการณสูงและได้รับ ชัยชนะจากการเลือกตั้งด ารงต าแหน่งเป็นประธานาธิบดีมาแล้วสามสมัย รวมทั้งมีผลงานเด่นในการ ส่งเสริมและสนับสนุนการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของปากีสถานได้ส าเร็จในปี ค.ศ. 1998 เขาได้รับชัย ชนะในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2013 ซึ่งเป็นสมัยที่สามของเขาในการเข้าสู่ต าแหน่งฝ่ายบริหารซึ่งมี แนวทางที่เปลี่ยนไปจากการบริหารของเขาที่มีแนวทางอนุรักษนิยมในสองสมัยแรก เขาให้ค าจ ากัด ความอนาคตของปากีสถานว่าเป็น “ประเทศที่เน้นการศึกษา มีความก้าวหน้า และความพร้อม”8 โดยมีนโยบายที่สร้างความเป็นปึกแผ่นของสังคมปากีสถานลดความแตกแยกในสังคมดังค ากล่าวของ เขาในงานฉลองเทศกาลดิวาลีของศาสนาฮินดูของที่ว่า “ทุกชุมชนที่อาศัยอยู่ในปากีสถานไม่ว่าจะเป็น ชาวฮินดูมุสลิมหรือฟาร์ซีเป็นของผมและผมเป็นของพวกเขา ผมเป็นนายกรัฐมนตรีของทุกชุมชน"9 รวมทั้งเห็นด้วยในการประกาศให้วันส าคัญของศาสนาฮินดู อย่างวัน ดิวาลี และโอลี เป็นวันหยุด แห่งชาติ เห็นด้วยกับการบังคับใช้นโยบายของรัฐปัญจาบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันไปทั่วปากีสถาน ในการก าจัดรูปแบบการศึกษาทางศาสนาและความเชื่อที่รุนแรงสุดโต่งซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการ การก่อการร้ายออกไปจากปากีสถาน เห็นได้จากการยุบสถาบันการศึกษาทางศาสนาที่สุดโต่งอย่าง

8 Correspondent, “Will stand by you against injustice, PM tells Hindu community,” The Express Tribune, accessed November 3, 2017,https://tribune.com. pk/story/989453/will-stand-by-you-against-injustice-pm-tells-hindu-community. 9 Ibid.

Ref. code: 25605903030525DHV 43

ทะบิลกี จามาอัต (Tablighi Jamaat) ที่มีการเผยแพร่แนวคิดที่สุดโต่งและรุนแรงสร้างความแตกแยก ในสังคม10 ความเปลี่ยนแปลงของผู้น าอนุรักษนิยม นโยบายของรัฐบาลที่น าโดยนายกรัฐมนตรี นาวาซ ชารีฟ ในสมัยที่สามนี้มีนโยบาย ที่พยายามสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมสังคม และพยายามปฏิรูปปากีสถานให้ มีความเสรีมากขึ้นดังค ากล่าวของเขาที่ว่า “อนาคตของปากีสถานจะอยู่ในหนทางของระบอบ ประชาธิปไตยเสรีนิยม ที่ภาคเอกชนเจริญเติบโตและไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” 11รัฐบาลชุดนี้ มีการ ออกกฎหมายการคุ้มครองสิทธิของสตรีจากความรุนแรงของสามี12 เปิดการเข้าถึงสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ได้อย่างเสรี และพยายามให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ มีการเผยแพร่หลักค าสอนของศาสนาอิสลามที่มี ความเป็นสายกลางตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์กุรอ่านถึงการส่งเสริมให้ผู้ที่ศรัทธาในศาสนาอิสลามเป็น มีความอ่อนน้อม ยอมรับความแตกต่างในสังคม และสามารถ (وسطية) ประชาชาติสายกลาง ด ารงชีวิตอยู่กับกลุ่มชนต่างศาสนาในสังคมได้ จากรูปแบบการด าเนินนโยบายของรัฐบาลชารีฟ นั้นท าให้สามารถวิเคราะห์ออกมา ได้ว่าเป็นรูปแบบของรัฐบาลที่มีแนวคิดทางการปกครองรัฐเป็นไปในรูปแบบโลกียนิยม ตามแบบ อุดมการณ์ของบิดาแห่งชาติปากีสถานอย่างจินนาห์ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น รวมทั้งเป็นการน าหลัก ค าสอนของศาสนาอิสลามจากคัมภีร์ที่ส่งเสริมรูปแบบการอยู่ร่วมกันที่สันติสุขในสังคมระหว่างกลุ่มชน ต่าง ๆ มาใช้ในการปกครอง ดังที่เขาได้เรียกร้องให้นักวิชาการอิสลามในปากีสถานกระจาย ค าสอนที่แท้จริงของศาสนาอิสลามออกไปในสังคมและยืนหยัดต่อสู้กับผู้ที่ก่อให้เกิดความแตกแยกใน หมู่ชาวมุสลิมและชาวปากีสถาน ขณะเดียวกันการกระท าเช่นนี้ของรัฐบาลชารีฟก็จะเป็นการท้าทาย

10 Correspondent, “Tableeghi Jamat gathering: Govt accused of denying visas to 5,000 preachers,” The Express Tribune, accessed November 3, 2017, https://tribune.com.pk/story/1288663/tableeghi-jamat-gathering-govt-accused- denying-visas-5111-preachers. 11 Correspondent, “Nation’s future lies in democratic, liberal Pakistan, says Nawaz,” The News International, accessed November 3, 2017, www.thenews.com .pk/print/15541-nations-future-lies-in-democratic-liberal-pakistan-says-nawaz 12 Correspondent, “Women protection bill will cause divisions within families and increase divorce rate: JUI-F chief” The Express Tribune, accessed November 3, 2017, https://tribune.com.pk/story/1056246/religious-parties-flay-women-protection- bill-back-page.

Ref. code: 25605903030525DHV 44

กลุ่มนักวิชาการทางศาสนาที่มีแนวความคิดแบบประเพณีนิยมโดยเฉพาะกลุ่มนักวิชาการศาสนา อิสลามนิกายสุนนีย์หัวรุนแรง (Mullah) ในปากีสถาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทในทางการเมือง ปากีสถานเสมอมา และในยุคของรัฐบาล ชารีฟ เองก็มีการเคลื่อนไหวอยู่บ่อยครั้งที่เป็นการคัดค้าน การกระท าต่าง ๆ ของรัฐบาล วิสัยทัศน์ 7 เสาหลัก ค.ศ. 2025 ของ นาวาซ ชารีฟ 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนยั่งยืน 2. ธรรมาภิบาล 3. การปฏิรูปความทันสมัยของสถาบันภาครัฐ 4. พลังงานทดแทน 5. ความมั่นคงด้านอาหาร 6. การเติบโตของภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการแข่งขันทางการค้า 7. ความทันสมัยของโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่และการเชื่อมต่อระดับ ภูมิภาคที่เพิ่มมากขึ้น ความเกี่ยวพันกับนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน ในด้านของนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีชารีฟ จะเน้นไปที่การสร้าง สันติภาพในภูมิภาคดังเช่นนโยบายที่เขาประกาศไว้ในวันสาบานรับต าแหน่งอย่าง “นโยบายความสงบ สุขของเพื่อนบ้าน” เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินเดีย อัฟกานิสถาน อิหร่าน และจีน โดยในส่วนของนโยบายต่างประเทศที่เกี่ยวพันกับจีนนั้นมีความชัดเจนขึ้น หลัง นายกรัฐมนตรีจีน หลี่ เค่อ เฉียง ซึ่งเป็นผู้น ามหาอ านาจชาติแรกที่ได้ไปเยือนปากีสถานและแสดง ความยินดีกับชัยชนะในการเลือกตั้งของประธานาธิบดีชารีฟ เมื่อปี ค.ศ. 2013 หลังจากนั้นรัฐบาลจีนก็ได้ประกาศนโยบายและแผนการลงทุนเริ่มต้นมูลค่า 31.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปากีสถานภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ที่ส่วนใหญ่อยู่ใน การลงทุนด้านพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และการขยายท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ (Gwadar Port) รวมถึง มอเตอร์เวย์ ละฮอร์-การาจี เพื่อเป็นการเชื่อต่อเส้นทางสายไหมใหม่ให้เป็นไปตามแผนงานของจีน ทางรัฐบาลปากีสถานเองก็ได้ส่งมอบความรับผิดชอบให้กับกองทัพปากีสถานในการ รักษาความมั่นคงให้กับเจ้าหน้าและแรงงานของจีนที่เข้าท างานในปากีสถาน โดยเฉพาะแรงงานที่เข้า มาท างานตามแผนงานพัฒนาท่าเรือกวาดาร์ในรัฐบาโลจิสถาน และได้เสนอผลการคาดการก าไรจาก การลงทุนต่าง ๆ ของจีนในปากีสถานว่าจะได้รับมากถึง 38% ของเงินทุนที่จีนเข้ามาลงทุนใน ปากีสถาน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2014 นายชารีฟได้ลงนามในข้อตกลง 21 ฉบับกับรัฐบาล จีนที่ปักกิ่งซึ่งมีมูลค่ารวมกันทั้งหมดประมาณ 46,111 ล้านเหรียญสหรัฐ และชารีฟยังได้ประกาศถึง ความช่วยเหลือของจีนกับปากีสถานด้านความมั่นคง ในการต่อสู้กับขบวนการก่อการร้ายเตอร์กิสถาน

Ref. code: 25605903030525DHV 45

อิสลามตะวันออก (East Turkestan Islamic) ในเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 2015 จากนั้นปากีสถานก็ได้ กลายเป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 4 กันยายน ปี ค.ศ. 2016 นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีของปากีสถานก็ยังได้ให้ ความส าคัญกับการเจรจาข้อตกลงการป้องกันร่วมกันกับจีนในระยะยาวอีกด้วย ส่วนในเรื่องของความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีนนั้นชารีฟเห็นว่าปากีสถานนั้นเป็นสถานที่ที่เหมาะส าหรับการลงทุน แต่ศักยภาพและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของปากีสถานเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องมีการด าเนินการ พัฒนาอย่างเต็มที่ ปากีสถานเห็นด้วยในการเริ่มต้นส่งเสริมรูปแบบของการลงทุนการอย่างเสรีและเป็น มิตรกับจีน โดยพยายามที่จะสร้างความประทับใจให้แก่นักลงทุนผ่านการปฏิรูปกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทางการลงทุนที่เอื้อแก่การลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของพลังงานและ พลังงานทดแทนต่าง ๆ ให้มีปริมาณพลังงานส ารองมากขึ้นและเพียงพอแก่ความต้องการภายในและ ต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของถ่านหินที่มีประมาณการส ารองสูงถึง 175 พันล้านตัน และปริมาณ การส ารองของก๊าซธรรมชาติที่มีสูงถึง 115 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตในปากีสถาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็น สิ่งที่เอื้ออ านวยที่ดีเยี่ยมแก่โอกาสทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการลงทุนที่มากขึ้นใน ประเทศปากีสถาน รวมถึงมีเงินปันผลสูงสุดแก่ผู้ลงทุน ชารีฟเชื่อว่าโครงการระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน จะเป็นโครงการที่สร้างความแปลกใหม่และมีความน่าสนใจแก่นักลงทุนจากประเทศ ต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะบริษัทจากประเทศจีนที่ชารีฟยินดีต้อนรับการเข้ามาลงทุนในปากีสถาน และได้รับรองว่ารัฐบาลปากีสถานจะให้ความส าคัญอย่างยิ่งในการอ านวยความสะดวกและความ ช่วยเหลือที่เป็นไปได้เพื่อการบรรลุเป้าหมายและผลประโยชน์ร่วมกัน13 สภาพเศรษฐกิจและสังคมของปากีสถานในสมัย นายกรัฐมนตรี นาวาซ ชารีฟ สภาพทางเศรษฐกิจ ปากีสถานนั้นเป็นประเทศที่ระบบเศรษฐกิจแบบกึ่งอุตสาหกรรม มีธุรกิจภาค การเกษตรแบบครบวงจรและธุรกิจภาคบริการที่เพิ่มขึ้น ขนาดเศรษฐกิจของปากีสถานนั้นใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 25 ของโลกโดยมีมูลค่า GDP สูงถึง 283.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในแง่ของก าลังซื้อ ปากีสถานเป็นประเทศที่มีก าลังซื้อมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก รัฐบาลของชารีฟนั้นได้รับมรดก ทางเศรษฐกิจที่พิการจากรัฐบาลที่น าโดย เปอร์เวส อัสชราฟ (Pervaiz Ashraf) จากพรรคประชาชน รัฐสภาปากีสถาน ด้วยความท้าทายทางเศรษฐกิจจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ปัญหาการขาดแคลน

13 Pakistan Government, Board of Investment, China-Pakistan Economic Corridor Investment and Business Prospects (Board of Investment: Islamabad, 2117), II.

Ref. code: 25605903030525DHV 46

พลังงาน มูลค่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของปากีสถานที่อ่อนแอ มูลค่าหนี้สาธารณะที่สูง และการขาด ดุลงบประมาณจ านวนมาก ไม่นานหลังจากการที่เข้ามาเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของนาวาซ ชารีฟ เขาได้ ด าเนินการกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศใน ปี ค.ศ. 2013 เป็นมูลค่า 6.6 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ เพื่อรับมือกับวิกฤติทางเศรษฐกิจในประเทศปากีสถาน จากการขาดดุลงบประมาณ ราคาน้ ามัน ที่ลดลง และภาระของรัฐบาลในการช าระหนี้สาธารณะ รวมถึงเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยเน้นไปที่แผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 35 แห่งในประเทศตามหลักการของฉันทามติ วอชิงตัน14 เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจปากีสถาน ซึ่งการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของชารีฟ ในครั้งนี้ประสบผลส าเร็จโดยเศรษฐกิจของปากีสถานมีการเติบโตไปสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ที่ 4.3% ในปีงบประมาณ ค.ศ. 2014-2015 และสูงถึง 5.2% ในปีงบประมาณ ค.ศ. 2016-2017 แต่ในเรื่อง ของหนี้สาธารณะนั้นปากีสถานก็ยังคงมีอยู่สูงถึง 73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

14 ฉันทมติแห่งวอชิงตัน (Washington Consensus ) เป็นค าที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย จอห์น วิลเลียมสัน (John Williamson) จากบทความเรื่อง “What Washington Means By Policy Reform” ซึ่งเขาการประมวลชุดของนโยบายที่บรรดาสถาบันการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ต่าง ๆ ใน นครวอชิงตัน ดี.ซี. มีความเห็นร่วมกันว่าเป็นนโยบายที่เหมาะสมส าหรับการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดย วิลเลียมสัน ได้คัดสรรเฉพาะนโยบายที่มีผู้เห็นร่วมกันเป็นส่วนใหญ่โดยเจาะจงว่าจะใช้ในการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจในลาตินอเมริกาเท่านั้น วิลเลียมสัน น าเสนอนโยบายอันประกอบด้วยนโยบาย 10 ชุดส าหรับการปฏิรูประบบ เศรษฐกิจในลาตินอเมริกา คือ 1. วินัยทางการคลัง 2. การจัดล าดับความส าคัญของรายจ่ายรัฐบาล 3. การปฏิรูปการเก็บภาษี 4. อัตราดอกเบี้ย 5. อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา 6. การเปิดเสรีด้าน การค้าระหว่างประเทศ 7. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 8. การถ่ายโอนการผลิตจาก ภาครัฐบาลไปสู่ภาคเอกชน 9.การลดการควบคุมและการก ากับ 10. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ฉันทมติแห่งวอชิงตันในแบบฉบับของ จอห์น วิลเลียม อันประกอบด้วยนโยบาย 10 ชุดดังที่ กล่าวนี้ ถูกแปรสภาพเป็นนโยบายเศรษฐกิจโลก (Global Economic Policy) ที่ถูกน าไปปรับปรุง และใช้เป็นแนวนโยบายหลักแก่ประเทศสมาชิกผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) ดูเพิ่ม: รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ฉันทมติวอชิงตัน: เอกสารประกอบการเรียน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2115), 31-34.

Ref. code: 25605903030525DHV 47

ในเรื่องของนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในสมัยของชารีฟ ก็ได้มีการลงนามใน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานดังที่กล่าวมาแล้ว และได้มี การลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศเกาหลีใต้ และก าลังเจรจาจัดท าข้อตกลงเขตการค้า เสรีกับตุรกีและอิหร่าน รวมถึงมีการขยายขอบเขตความร่วมมือภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับ ประเทศไทยและมาเลเซีย รวมถึงการได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงจากสหรัฐฯ เป็นจ านวนเงินมากกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ความช่วยเหลือก็ได้ถูกระงับชั่วคราวเมื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศทวีความตึงเครียดขึ้นหลังจากเกิดการลอบสังหาร โอซามา บินลาเดน โดยกองก าลังของสหรัฐในปากีสถานปี ค.ศ. 2014 สภาพทางสังคม สภาพทางสังคมในปากีสถานภายใต้รัฐบาลของชารีฟนั้นยังมีความวุ่นวายอยู่เสมอ จากความเคลื่อนไหวของกลุ่มพรรคฝ่ายค้านสองพรรค คือ พรรคสันนิบาติมุสลิมปากีสถาน (Pakistan Muslim League: PML-Q) มีแนวคิดทางศาสนาอิสลามแบบประเพณีนิยมที่ขัดแย้งกับแนวคิด โลกียนิยมของรัฐบาลชารีฟ และพรรคอะวามีแห่งชาติ (Awami National Party ANP) ซึ่งเป็นพรรค ฝ่ายค้านที่มีแนวคิดทางการเมืองแบบฝั่งซ้าย การประท้วงน าโดย อิมรอน ข่าน (Imran Khan) และ ธาฮิร อุล คาดรี (Tahir-ul-Qadri) โดยพวกเขาเห็นว่าชารีฟควรลาออกจากต าแหน่งเนื่องจาก รัฐบาล ของชารีฟนั้นถูกจัดตั้งขึ้นมาด้วยการตอบแทนผลประโยชน์ระหว่างกันในรัฐบาลผสมใช้ระบบ การอุปถัมภ์ในการแต่งตั้งญาติและน้องชายของเขาให้ด ารงต าแหน่งส าคัญ ๆ ทางการเมือง เช่น มุขรัฐ ของรัฐปัจจาบ ชาบาส ชารีฟ (Shahbaz Sharif) 15 นอกจากนี้ยังมีการการประท้วงของกลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนใน ปากีสถาน ต่อกรณีที่ ซาบีน มะห์มูด (Sabeen Mahmud) นักสิทธิมนุษยชนที่ถูกยิงเสียชีวิตในการาจี หลังจากที่เธอเข้าร่วมการพูดคุยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐบาโลจิสถาน ซึ่งเธอได้ถูก สังหารหลังจากที่เธอได้ท าการเปิดเผยเรื่องที่เป็นการถกเถียงกันในรัฐบาโลจิสถานเกี่ยวกับการทารุณ

15 Salman Masood, “Khan’s call for long march: Renewed political challenges for the government,” The Nation(pak), accessed january 8, 2017, web.archive.org/ web/20140816134849/http://www.nation.com.pk/politics/28-Jun-2014/khan-s-call-for- long-march. See also: Correspondent, “Pakistan supreme court sacks prime minister Nawaz Sharif,” Thenational, accessed January 8, 2018, https://www.thenational.ae/ world/pakistan-supreme-court-sacks-prime-minister-nawaz-sharif-1.614947.

Ref. code: 25605903030525DHV 48

ประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ชารีฟเองก็ได้ประณามการสังหารครั้งนี้อย่างเป็นทางการ แต่ผู้ประท้วงก็เห็นว่ามีโอกาสน้อยมากที่ฆาตกรถูกน าตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม16 จะเห็นได้ว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีชารีฟ มีความพยายามจะใช้แนวคิดแบบ โลกียนิยมในการปกครองประเทศเพื่อความสันติสุขของประชาชนทุกฝ่ายในสังคมปากีสถาน แต่ก็ยัง เกิดปัญหาในสังคมปากีสถานจากกลุ่มผู้เห็นต่าง รวมถึงความไม่โปร่งใส่ของชารีฟเองในการเข้าสู่ ต าแหน่งทางการเมืองที่มีข้อกังขา และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ชารีฟไม่อาจควบคุมได้อย่างทั่วถึงโดยเฉพาะ รัฐที่มีความขัดแย้งเสมอมาอย่างรัฐบาโลจิสถานในปากีสถาน นโยบายของรัฐบาลปากีสถานต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ภายในประเทศ ชาติพันธุ์ในประเทศปากีสถานนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มเชื้อชาติใหญ่ ๆ คือ ปัญจาบ ปัชตุน สินธ์ สิไรกิ มุฮาร์จิ และบาโลช หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญของปากีสถานใน ปี ค.ศ. 1973 ปากีสถานก็ได้เปลี่ยนรูปแบบรัฐเป็นแบบสหพันธรัฐ โดยแบ่งเป็น 4 รัฐดังที่ได้กล่าว มาแล้วข้างต้นซึ่งรูปแบบการกระจายอ านาจการปกครองเช่นนี้ ท าให้กลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐต่าง ๆ มีอ านาจทางการเมืองมากขึ้นรวมทั้งอ านาจในการต่อรองกับรัฐบาลกลาง โดยหลังจากที่ ซัลฟิการ์ อาลี บุตโต ก้าวสู่ต าแหน่งประธานาธิบดีและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ปี ค.ศ. 1973 ที่ให้อิสระแก่ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีอ านาจในการปกครองมากขึ้น ท าให้รัฐบาลกลางไม่สามารถควบคุมอ านาจ และอิทธิพลทางการเมืองที่กระจายออกไปยังรัฐบาลของแต่ละรัฐได้ และกลายเป็นกลุ่มผู้ที่มีอ านาจใน การต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาลเป็นอย่างมาก และ ซัลฟิการ์ อาลี บุตโต ก็ไม่สามารถหาความ เป็นอัตลักษณ์ของชาติปากีสถานเพื่อที่จะสร้างความเป็นปึกแผ่นและความสามัคคีภายในชาติได้ส าเร็จ ส่งผลให้เกิดความเกลียดชังและความแตกแยกกันมากขึ้นระหว่างชนชั้นน าใหม่ที่มีบทบาททาง เศรษฐกิจมากขึ้นในเมืองการาจีซึ่งอยู่ในแคว้นสินธ์ที่พูดภาษาอูรดูกับชนชั้นน าเก่าชาติพันธุ์ชาวสินธ์ และชาติพันธุ์ชาวบาโลช ที่มีความไม่พอใจกับอ านาจปกครองของรัฐบาลกลางและต้องการเป็น เอกราช ในสมัยของรัฐบาล นายพล มูฮัมหมัด ฎิอาอุลฮัก ได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายต่อ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ภายในประเทศเสียใหม่เพื่อรับมือกับความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ภายในประเทศ โดยการพยายามปรับสมดุลทางอ านาจในแคว้นต่าง ๆ ที่มีความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ในแคว้นสินธ์เขาสนับสนุนกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาอูรดูในการต่อกรกับกลุ่มคนชาติพันธุ์สินธ์ท้องถิ่น ซึ่งสนับสนุนพรรคประชาชนชาวปากีสถาน ในบาโลจิสถานเขาสนับสนุนผู้น าชาติพันธุ์ชาวบาโลช

16 Zehra Abid, “Shooting the messenger in Pakistan,” Aljazeera, accessed January 8, 2018, http://www.aljazeera.com/news/2015/05/shooting-messenger- pakistan-150503055834700.html.

Ref. code: 25605903030525DHV 49

ผ่านข้อเสนอที่สร้างความพึงพอใจแก่กลุ่มชาติพันธุ์ ต่อมาในสมัยของรัฐบาล เบนาซิร บุตโต และ นาวาซ ชารีฟ (ทุกสมัย) ยังคงไม่สามารถควบคุมกองก าลังปลดปล่อยของแต่ละชาติพันธุ์ได้ และมี สถานการณ์การก่อความไม่สงบในแคว้นต่าง ๆ ที่เลวร้ายยิ่งขึ้นทุก ๆ วัน ต่อมาในสมัยของรัฐบาล นาย พล เพอร์เวซ มุชัรรัฟมีการจัดตั้งกองก าลังพิเศษในการด าเนินการปราบปรามกลุ่มชาติพันธุ์หัวรุนแรง ต่าง ๆ ในปากีสถาน รวมถึงพยายามก าจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สร้างความสุดโต่งแก่กลุ่มชาติพันธุ์ ต่าง ๆ เช่นสถาบันการศึกษาที่เผยแพร่ค าสอนทางศาสนาที่บิดเบือน และรุนแรงน าไปสู่การก่อตั้ง กลุ่มชาติพันธุ์หัวรุนแรงรวมถึงกลุ่มก่อการร้ายต่าง ๆ ในประเทศ ซึ่งการกระท าเช่นนี้ของ เพอร์เวซ มุชัรรัฟ เป็นรากฐานแนวนโยบายจัดการกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ แก่รัฐบาลสมัยต่อ ๆ มา จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันสมัยของรัฐบาลปากีสถานที่น าโดย ชาฮีด ขาข่าน อับบาซี (Shahid Khaqan Abbasi) เน้นไปที่การลดความรู้สึกถูกทอดทิ้งจากรัฐบาลกลางต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ ชาวบาโลช การส่งเสริมสวัสดิการและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงแผนงานที่กระจายความเจริญและ ลดปัญหาความขาดแคลนในรัฐต่าง ๆ เช่น การขยายโครงการส ารวจก๊าซธรรมชาติและถ่านหินในรัฐ ต่าง ๆ การขุดเชื่อมคลองคาชิ (Kacchi Canal) ระหว่างรัฐปัญจาบและรัฐบาโลจิสถานเพื่อลดความ แห้งแล้งในรัฐบาโลจิสถานที่มีการท าเกษตรกรรมอยู่มากในรัฐ และนโยบายต่อกลุ่มชาติพันธุ์ของ รัฐบาลชุดนี้จะเน้นไปที่การลดความขัดแย้งกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชซึ่งถือเป็นชนกลุ่มน้อยของ ประเทศ และอาศัยอยู่ในรัฐบาโลจิสถานที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ส าคัญมากของปากีสถานในโครงการ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกับจีนดังที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น

Ref. code: 25605903030525DHV 50

บทที่ 5 ภูมิหลังปัญหาความขัดแย้งภายในดินแดนรัฐบาโลจิสถาน และความขัดแย้งกับรัฐบาลกลางปากีสถาน

5.1 ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช

เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชนั้นเป็นสิ่งหายากในเอกสารทาง ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ1 เนื่องจากชาวบาโลชนั้นเป็นกลุ่มชนเผ่าเร่ร่อน ไม่ได้มีบทบาททางการเมือง ใด ๆ มากนักในยุคโบราณ เช่นเดียวกับกลุ่มชนเผ่าเร่ร่อนอื่น ๆ ของเปอร์เซียที่สืบเชื้อสายกันมาจาก กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ที่ราบสูงเปอร์เซียและเอเชียกลาง เอกสารทางประวัติศาสตร์ในยุคโบราณจึงยากที่ จะระบุและแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างชาวบาโลชและกลุ่มชนเผ่าเร่ร่อนอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ใน บริเวณที่ราบสูงเปอร์เซียและเอเชียกลาง เนื่องจากความขาดแคลนของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคโบราณเช่นนี้ จึงท าให้ ยากแก่การก าหนดแหล่งก าเนิดที่แน่นอนของกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช ในประเด็น เรื่องแหล่งก าเนิดของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชที่เชื่อว่ามาจากที่ราบสูงเปอร์เซียนั้นยังคงเป็นเรื่องของ การคาดเดา ในบางเอกสารทางประวัติศาสตร์ก็ได้อธิบายว่าชาวบาโลชนั้นเป็นกลุ่มนักรบในกองทัพ ของจักรวรรดิมีเดียน (Median) จักรวรรดิอะคีเมนิด (Achaemenid) และจักรวรรดิแซสซานิด (Sassanid) แห่งเปอร์เซีย ในขณะที่บางเอกสารระบุกว่ากลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชนั้นเป็นกลุ่มโจรกบฏ และคนป่าเถื่อน นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาว บาโลช กับจักรวรรดิเปอร์เซีย และการอ้างสิทธิในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชโดย ราชวงศ์ของจักรพรรดิเปอร์เซียอีกด้วย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางชิ้นชี้ให้เห็นว่าชาวบาโลชนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกองก าลัง ทหารของพระเจ้าไซรัส (Cyrus) เซอร์เซส (Xerxes) และแคมปีซิส (Cambyses) แห่งจักรวรรดิอะคี เมนิด นักกวีชาวเปอร์เซีย เฟอร์โดว์ซี (Firdausi) ได้เขียนถึงชาวบาโลชใน “หนังสือแห่งกษัตริย์” (Shahnama) ของเขาโดยอธิบายว่า ชาวบาโลชเป็นส่วนหนึ่งในกองทัพของจักรพรรดิแคมปีซิสแห่ง ราชวงศ์อะคีเมนิด และมีการกล่าวถึงชาวบาโลชเป็นครั้งที่สองใน “หนังสือแห่งกษัตริย์” ของเขา ระหว่างการปกครองของ โคสโรว์ ที่ 1 (Chosroes I) แห่งราชวงศ์แซสซานิด (Sassanid) ตั้งแต่

1 ยุคโบราณ (Ancient history) ในที่นี้หมายถึงช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์รู้จักการตั้ง ถิ่นฐานถาวร สร้างอารยธรรม วัฒนธรรม อักษรต่าง ๆ ขึ้นมาจนถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ตั้งแต่ 3,500 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 476

Ref. code: 25605903030525DHV 51

ปี ค.ศ. 531 ถึง ปี ค.ศ. 579 หลังจากนั้นก็ไม่มีข้อมูลของชาวบาโลชปรากฏในเอกสารทาง ประวัติศาสตร์ใด ๆ เป็นระยะเวลานานถึงหนึ่งพันปี และไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นกับ กลุ่มชาติพันธุ์นี้ในช่วงเวลานั้น ความขาดแคลนของข้อมูลประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยา ท าให้เกิด การคาดเดานับไม่ถ้วนเกี่ยวกับต้นก าเนิดของชาวบาโลช ความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับต้นก าเนิดของ ชาวบาโลชได้ถูกน ามาใช้พิจารณาว่าแท้จริงแล้วชาวบาโลชนั้นมาจากแห่งหนใด นักวิชาการต่าง ๆ ก็มี ความเห็นที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับเชื่อสายของชาวบาโลชว่าพวกเขามีเชื้อสาย อารยัน ยิว หรือ ธูรา เนียน บ้างก็เชื่อว่าชาวบาโลชมีเชื้อสายมาจาก ชาวเตอร์กิก เซมิติก บ้างก็จัดชาวบาโลชให้เข้าไปอยู่ใน พวกเดียวกับชนเผ่าราชพุต (Rajput) ในอินเดีย2 ในช่วงหลังของศตวรรษที่ยี่สิบมีการวิจัยที่กว้างขวางขึ้นเกี่ยวกับชาวบาโลชและค้นพบ ความเกี่ยวพันจากหลายภาษาของที่ราบสูงเปอร์เซียกับชาวบาโลช จึงสามารถเปิดเผยความเชื่อมโยงที่ แน่นอนของชาวบาโลชกับเผ่าพันธุ์อื่น ๆ ในที่ราบสูงเปอร์เซีย และทฤษฎีที่อธิบายถึงแหล่งก าเนิดเชื้อ ชาติของชาวบาโลชว่ามาจากที่ราบสูงเปอร์เซียเป็นพวกอินโด-อิรานิก (Indo-Iranic) ได้รับการยอมรับ ในวงการวิชาการ จากหลักฐานที่มีอยู่เกี่ยวกับแง่มุมทางด้านภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมก็สามารถ สรุปได้ว่าชาวบาโลชได้อพยพไปพร้อมกับชนเผ่าอินโด-อิรานิกอื่น ๆ ที่อพยพจากเอเชียกลางไปยัง บริเวณทะเลสาบแคสเปียน (Caspian Sea) จากที่ราบสูงเปอร์เซียประมาณ 1200 ปี ก่อน คริสต์ศักราช และได้ตั้งถิ่นฐานรกรากอยู่ที่ภาคเหนือของเปอร์เซียใกล้กับทะเลสาบแคสเปียนและ รอบ ๆ ภูเขา เอลโบรส (Elborz) บริเวณที่พ านักของพวกเขามีชื่อเรียกว่า บาลาชาขาน (Balashakan) ในภาษาเปอร์เซีย ชาวบาโลชตั้งถิ่นฐานที่นี่พร้อมกับชนเผ่าอื่น ๆ เป็นเวลานานและสร้างความผูกพัน กับกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ 3 จากมุมมองการศึกษาทางภาษาศาสตร์และทางวัฒนธรรมชี้ให้เห็นว่าชาวบาโลช และ ชาวเคิร์ด เป็นกลุ่มชนเผ่าขนาดใหญ่ 2 กลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่ท าไมชาวบาโลชทั้งหมดถึง ได้ย้ายออกจากที่ตั้งถิ่นฐานเดิมอย่างบาลาชาคานไปยังดินแดนที่เรียกว่าบาโลจิสถาน (Balochistan) ในปัจจุบัน ในขณะที่ชาวเคิร์ดยังคงอยู่ในสถานที่เดิม ประเด็นนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดในเอกสารทาง ประวัติศาสตร์ยุคกลาง อย่างไรก็ตามกลุ่มคนบางส่วนของชนเผ่าเคิร์ดก็ได้ตัดสินใจที่จะย้ายถิ่นฐานไป พร้อมกับชาวบาโลชในการเดินทางไปทางทิศตะวันออก และพวกเขาก็ได้รวมตัวกันเป็นเอกลักษณ์ของ ชาวบาโลชในรัฐบาโลจิสถาน เหตุผลหนึ่งที่สามารถน ามาอธิบายว่าเหตุใดจึงไม่มีข้อมูลทาง

2 Naseer Dashti, The Baloch and Balochistan: A Historical Account from the Beginning to the Fall of the Baloch State (Trafford: Trafford 2012), 3. 3 Ibid., 33

Ref. code: 25605903030525DHV 52

ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสาเหตุการย้ายถิ่นฐานของชาวบาโลชในยุคกลาง4 เนื่องจากนักประวัติศาสตร์ ชาวเปอร์เซียส่วนใหญ่ในยุคกลางได้เขียนประวัติศาสตร์จากมุมมองของมหาอ านาจเปอร์เซียที่ยิ่งใหญ่ ผู้มีชัยเหนือดินแดนต่าง ๆ และถือว่าอาณาจักรของตนเป็นศูนย์กลางของโลก นักเขียนทาง ประวัติศาสตร์เหล่านี้จึงหมกมุ่นอยู่กับการเขียนประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการกระท าอันรุ่งโรจน์ของ จักรวรรดิเปอร์เซีย โดยไม่สนใจเรื่องของชนเผ่าเร่ร่อน “คนป่าเถื่อน” อย่างชาวบาโลชซึ่งพวกเขาคิด ว่าเป็นพวกกลุ่มคนอ่อนแอไม่จ าเป็นต้องบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ใด ๆ ไว้ ขณะเดียวกันปัจจัยทางประวัติศาสตร์มีรูปลักษณ์แบบชาตินิยมของชาวบาโลชที่ได้ท า การย้ายถิ่นฐานมาอยู่ ณ ดินแดนที่เป็นเขตของรัฐบาโลจิสถานในปัจจุบันก็ได้มีการพูดถึงความยิ่งใหญ่ ของกลุ่มชาติพันธุ์ของตนโดยหนึ่งในข้อเรียกร้องทางประวัติศาสตร์ของพวกเขาที่มีชื่อเสียงคือ เหตุการณ์ที่บรรพบุรุษของพวกเขาเอาชนะกองทัพของ อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) ในขณะที่เขาพยายามหาทางกลับไปยังกรีซจากความเหนื่อยล้าที่อินเดีย ปัญญาชนชาวบาโลช อ้างว่าชื่อที่แท้จริงของชาวบาโลชคือ บาลูช (Baluch) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก บาลัช (Balus) พระนามของกษัตริย์แห่งบาบิโลนซึ่งเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อคือ นิมรอด (Nimrood) จึงชี้ให้เห็นว่า บาลูช (Baluch) เป็นค าจากภาษาเปอร์เซีย แต่รัฐบาลของรัฐบาโลจิสถาน (Balochistan) ในปี ค.ศ. 1990 ได้มีการดัดแปลงการสะกดจาก บาลูช (Baluch) เป็น บาโลช (Baloch) และบาลูจิสถาน (Baluchistan) เป็น บาโลจิสถาน (Balochistan) ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงค าเหล่านี้จะมีความเข้าใจที่ ถูกต้องหรือไม่แต่ความเข้าใจที่ชาวบาโลชมีเหมือนกันคือภูมิประเทศของรัฐของพวกเขานั้นมีความ เลวร้ายกระทบต่อการด ารงชีวิตที่ยากล าบาก ไม่ค่อยได้รับการก ากับดูแลที่ทั่วถึงจากรัฐบาลกลางท า ให้พวกเขากลายเป็นกลุ่มคนที่ยากล าบากในปากีสถาน5 จากการรุกรานจักวรรดิเปอร์เซียโดยชนเผ่า อาหรับในช่วงศตวรรษที่ 7 ประวัติศาสตร์ของชาวบาโลชที่ถูกบันทึกไว้กลายเป็นประวัติศาสตร์แห่ง การประหัตประหาร การเนรเทศ และการอพยพ แม้ว่าบางกลุ่มของชาวบาโลชในช่วงแรกจะให้ความ ร่วมมือและเข้าข้างชนเผ่าอาหรับ แต่ในไม่ช้าชาวอาหรับก็เริ่มกลั่นแกล้งชาวบาโลชด้วยข้ออ้างต่าง ๆ หลังจากความอ่อนแอทางอ านาจปกครองของชนเผ่าอาหรับในเปอร์เซีย เปอร์เซียได้ถูกปกครองโดย ราชวงศ์ท้องถิ่นต่าง ๆ และจักรวรรดิที่มีที่เข้มแข็งเป็นเวลาหลายศตวรรษ แต่ชาวบาโลชก็ยังต้อง เผชิญกับการก ากับดูแลจากผู้ปกครองที่เลวร้ายจากราชวงศ์ซัฟฟาริด (Saffarids dynasty) และ ราชวงศ์บูยิดส์ (Buyids dynasty) แห่งจักรวรรดิเปอร์เซีย, จักรวรรดิซามานิดส์ (Samanids

4 ยุคกลาง (Middle Ages) ในที่นี้หมายถึงช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของยุโรปตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 5 Imtiaz Ali, “The Balochistan Problem,” Pakistan Horizon Vol. 58, No. 2 (2005) : 41-62.

Ref. code: 25605903030525DHV 53 empire), จักรวรรดิกาสนาวิยะห์ (Ghaznavids empire), จักรวรรดิเซลจุค (Seljuqs empire) และ จักรวรรดิมองโกล (Mongols empire) ซึ่งราชวงศ์และจักรวรรดิเหล่านี้เป็นผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมใน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวบาโลช และการกระท าที่ทารุณโหดร้ายรวมถึงการผลักดันให้ชาวบาโลชออก จากจังหวัด เคอร์แมน (Kerman) และพื้นที่ภาคเหนือของของจังหวัดสิสถาน (Sistan) ไปทาง ตะวันออกลงสู่ทางใต้ของจังหวัดสิสถาน (Sistan) และแถบทะเลกึ่งทะเลทรายมาคุรัน (Makuran) ที่อยู่ในดินแดนของรัฐบาโลจิสถานของปากีสถานและจังหวัดบาโลจิสถานในอิหร่านปัจจุบัน

ภาพที่ 5.1 แสดงแผนที่ของจังหวัดสิสถานและบาโลจิสถานของอิหร่าน และรัฐบาโลจิสถานของ ปากีสถาน, simple.wikipedia.org/wiki/Ethnic_groups_of_Pakistan#/media/File:Major_ ethnic_groups_of_Pakistan_in_1980.jpg

Ref. code: 25605903030525DHV 54

การไหลบ่าชาวบาโลชที่มีจ านวนมากท าให้ภาพลักษณ์ทางสังคมและการเมืองใน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถานในปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก ในช่วงเวลาของการอพยพของ ชาวบาโลชท าให้ความเข้มข้นของภาษาและวัฒนธรรมในพื้นที่เริ่มที่จะเปลี่ยนไปเป็นลักษณะของชาว บาโลชที่อพยพเข้ามาท าให้ บาโลจี “Balochi” กลายเป็นภาษากลางของภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ ปากีสถานในปัจจุบันและท าให้ทั้งภาคได้รับการขนานนามว่า บาโลจิสถาน (Baluchistan) หรือ บาโลจิสถาน (Balochistan) ในปัจจุบันซึ่งหมายถึงดินแดนของชาวบาโลช เช่นนี้จึงสามารถสรุปได้ว่า ชาวบาโลชได้อพยพมาที่ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถานในปัจจุบันเนื่องจากการถูกท าร้าย กลั่นแกล้งรวมถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากราชวงศ์และจักรวรรดิต่าง ๆ ที่เข้ามาปกครองอิหร่านในช่วง หลังศตวรรษที่ 17 มาจนถึงช่วงการปกครองของจักรวรรดิมองโกล แผ่นดินใหญ่ที่ทอดยาวจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอิหร่านไปยังฝั่งตะวันออกของ แม่น้ าสินธุ ในรัฐปัญจาบของอินเดีย และจากจุดต่ าสุดของจังหวัด เฮลมานด์ (Helmand) ในอัฟกานิสถานไปยังมหาสมุทรอินเดียแผ่นดินนี้เรียกว่า บาโลจิสถาน (Balochistan) ดังภาพที่ 5.2 นิยามแผ่นดินบาโลจิสถานไว้เป็นลักษณะครึ่งวงกลมดังรูป 5.2 เป็นดินแดนส าคัญทางประวัติศาสตร์ และมีพื้นที่การเกษตรที่กว้างขวาง เป็นพรมแดนระหว่างอินเดียและอิหร่านและเป็นสะพานเชื่อม ระหว่างที่ราบสูงอิหร่านและคาบสมุทรอาหรับ

ภาพที่ 5.2 แสดงแผนที่ของแผ่นดินขาลัท (บาโลจิสถาน) ช่วงการปกครองของ เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2, http://www.davidrumsey.com/maps2887.html

Ref. code: 25605903030525DHV 55

บาโลจิสถานถูกแยกออกจากอัฟกานิสถานโดยธรรมชาติตามเขตแดนของจังหวัด (Helmand) และเทือกเขาทางตอนเหนือของ เควตตา (Quetta) และมหาสมุทรอินเดียก็ได้แยก บาโลจิสถานออกจากแผ่นดินของสุลต่านโอมานทางใต้ เนื่องจากการไหลบ่าเข้ามาของชาวบาโลชเข้าสู่บาลูจิถานในช่วงยุคกลางท าให้มีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรศาสตร์ และการเมืองภายในภูมิภาคที่เปลี่ยนไป ชาวบาโลชเริ่มมี อ านาจการปกครอง ในภูมิภาคนี้หลังจากการสถาปนานครรัฐ ขาลัท (Kalat) ในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ปี ค.ศ. 1666 กลายเป็นนครรัฐที่ท าให้ชาวบาโลชเป็นที่รู้จักมากขึ้น ถือเป็นยุคทองของชาวบาโลช และเป็นสัญลักษณ์แห่งอ านาจทางการเมืองของชาวบาโลชครั้งแรกและครั้งสุดท้าย ขาลัทเป็นนครรัฐ ที่รวมกลุ่มชนเผ่าชาวบาโลชที่รอดชีวิตมาได้เกือบสามร้อยปีหลังจากย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ดินแดน บาโลจิสถาน เป็นนครรัฐที่เป็นอิสระและกึ่งอิสระในช่วงการปกครองของอังกฤษในปี ค.ศ. 1839 ชาวบาโลชมีการต่อต้านของต่อการยึดครองและการแบ่งเขตนครรัฐขาลัทเป็นนครรัฐบาโลจิสถานจาก ต่างชาติทั้งอังกฤษ ราชวงศ์เปอร์เซีย และอินเดีย ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงที่สองของความทุกข์ยากของ ชาวบาโลช หลังจากโศกนาฏกรรมของพวกเขาในช่วงยุคกลาง อย่างไรก็ตามความแตกต่างในช่วงนี้ก็ คือตอนนี้พวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานในฐานะประเทศที่ถูกยึดครอง อะห์หมัด ยาร์ ข่าน (Ahmad Yar Khan) ได้ประกาศเอกราชของนครรัฐขาลัทในวันที่ 5 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1947 หลังการออกไปของอังกฤษจากภูมิภาคเอเชียใต้ แต่ไม่นานก็ถูกครอบครอง โดยปากีสถานใน ปี ค.ศ. 1948 หลังจากการเจรจาของ อะห์หมัด ยา ข่าน กับรัฐบาลปากีสถานที่ใช้ กลยุทธ์ทางการเมือง (การสนับสนุนหัวหน้าเผ่าส าคัญ ๆ ในนครขาลัทให้แข็งข้อกับความต้องการเป็น เอกราชของข่าน) ในการกดดัน อะห์หมัด ยา ข่าน ให้น านครรัฐของตนเข้าร่วมกับประเทศปากีสถาน ในที่สุดวันที่ 1 เมษายน ปี ค.ศ. 1948 ก็ได้มีการลงนามในตราสารแห่งการภาคยานุวัติ นักวิชาการ บางท่านก็เรียกว่าเป็นการลงนามในเอกสารที่เป็น “การบังคับทางประวัติศาสตร์”6 โดย อะห์หมัด ยาข่าน ผู้ปกครองนครขาลัทให้การยินยอมในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน ซึ่งท าให้ เจ้าชาย อับดุล การีม และ เจ้าชายมูฮัมหมัด รอฮีม (Princes Abdul Karim and Muhammad Rahim) เกิดความไม่พอใจและต่อต้านการตัดสินใจของพี่ชายของพวกเขา ซึ่งพวกเขามองว่าถูกบังคับโดย รัฐบาลปากีสถานและปฏิเสธที่จะวางอาวุธอันน าไปสู่การต่อสู้กับกองทัพปากีสถานจนถึง ปี ค.ศ. 1951 หลังจากความยากล าบากและขาดแขลนปัจจัยใจในการรบการต่อสู้กับรัฐบาลปากีสถาน พวกเขาจึงยุติการต่อสู้ลง

6 Rajkumar Singh, “Accession of Independent Balochistan to Pakistan” South Asia Journal, accessed January 13, 2118, http://southasiajournal.net/accession-of- independent-balochistan-to-pakistan.

Ref. code: 25605903030525DHV 56

5.2 ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในช่วงยุคล่าอาณานิคม

ในช่วงศตวรรษที่ 19 เปอร์เซียและอาณาจักรต่าง ๆ ในเอเชียกลางได้เห็นถึงความ วุ่นวายทางการเมืองจากดินแดนที่ห่างไกล จากเหตุการณ์ที่อังกฤษได้เข้ายึดครองดินแดนของอเมริกา จนกระทั่งอเมริกาได้ประกาศเอกราชใน ปี ค.ศ. 1776 และการที่ บริษัท อินเดียตะวันออก (East India Company) ของอังกฤษได้เข้ายึดครองอินเดียทั้งหมด อินเดียกลายเป็นอาณานิคมที่มีค่าที่สุด ของอังกฤษ การรักษาความมั่นคงของอินเดียจากภัยคุกคามใด ๆ เป็นหน้าที่ที่ส าคัญของอุปราชชาว อังกฤษในเมืองกัลกัตตา การที่รัสเซียขยายตัวไปสู่เอเชียกลางและเข้าสู่น่านน้ าอุ่นของมหาสมุทร อินเดียซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเป้าหมายสุดท้ายของจักรวรรดิรัสเซีย เป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อผลประโยชน์ ของอาณานิคมอังกฤษในอินเดียและตะวันออกกลาง การรักษาเอกราชของอัฟกานิสถานเป็น ยุทธศาสตร์ของอังกฤษในการท าให้อัฟกานิสถานเป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิรัสเซียและอังกฤษ รวมถึงท าให้อินเดียที่เป็นอาณานิคมที่ส าคัญที่สุดของอังกฤษในเอเชียมีความปลอดภัยจากภัยคุกคาม ของจักรวรรดิรัสเซีย ในขณะเดียวกันขาลัทก็ก าลังเผชิญหน้ากับความไม่สงบทางการเมืองภายเป็นเวลานาน การประกาศอิสรภาพของหัวหน้ากลุ่มต่าง ๆ จากศูนย์กลางอ านาจของผู้ปกครอง และความอ่อนแอ ในขาลัทจากการปะทะกันภายในท าให้ขาลัทกลายเป็นเหยื่อของสองมหาอ านาจแห่งยุคนั้นคือ จักรวรรดิรัสเซียและอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1839 กองก าลังของอังกฤษได้โจมตีและยึดครองนครรัฐขาลัท ถือเป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าในประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาวบาโลชซึ่งส่งผลต่อชีวิตทางสังคมและ การเมืองของพวกเขา การมาถึงของอังกฤษในขาลัทนั้นอยู่ในช่วงรัชสมัยของเมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 (Mehrab Khan II) ซึ่งอยู่ในช่วงที่อ่อนแอมากไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมจ านนต่ออังกฤษ ต่อมา เซอร์อเล็กซานเดอร์ เบิร์นส์ (Sir Alexander Burnes) ได้ส่งข้อตกลงไปยังขาลัทและได้มีการลงนาม ตกลงกันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1839 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่จะรับประกันอธิปไตยและพรมแดนของขาลัท และให้เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 รับผิดชอบด้านความปลอดภัยและความสะดวกในการเดินทางของกอง ทหารอังกฤษเพื่อแลกกับเงิน 15,000 รูปีต่อปี นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายของบทบัญญัติ ข้อตกลงนี้เป็น จุดเริ่มต้นของกระบวนการซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะท าให้รัฐขาลัทหมดอิสรภาพและเป็นอาณานิคมของ อังกฤษเนื่องจากความผิดพลาดในการปฏิบัติตามข้อตกลง7

7 C. Aitchison, A Collection of Treaties, Engagements and Sanads Relating to India and Neighbouring Countries (Calcutta: O.T. Cutter, Military Orphan Press 1865), 209 รายละเอียดของข้อตกลงให้ดูที่เอกสารอ้างอิงฉบับที่ 1 ในภาคผนวก

Ref. code: 25605903030525DHV 57

วัตถุประสงค์หลักของอังกฤษในการลงนามข้อตกลงกับเมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 แห่งขาลัท คือการควบคุมดูแลเส้นทางการขนส่งเสบียงให้กับกองทัพอังกฤษแห่งสินธุ ที่ก าลังอยู่ในระหว่างการ เดินทางมุ่งสู่เมือง กันดาฮาร์ (Kandahar) เริ่มจากแม่น้ าสินธุ ผ่านเมืองศิกราปุระ (Shikarpur) เมือง จาโคบาบัด (Jacobabad) ช่องเขาโบลานพาส (Bolan Pass) เมืองเควตตา (Quetta) และช่องเขา โคจัคพาส (Khojak Pass)

ภาพที่ 5.3 แสดงแผนที่เส้นทางการขนส่งเสบียงของกองทัพอังกฤษแห่งสินธุ ที่ก าลังอยู่ในระหว่างการ เดินทางมุ่งสู่เมืองกันดาฮาร์, Google map.

สิ่งที่น่าสนใจคือผลประโยชน์ของอังกฤษ ในขาลัทนั้นไม่ได้มีแต่เพียงความส าคัญทาง เศรษฐกิจเช่นเดียวกับดินแดนอื่น ๆ ของอินเดีย แต่มีผลประโยชน์ทางด้านการทหารและความมั่นคง อีกด้วย เนื่องจากขาลัทมีภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับความต้องการของกองทหารอังกฤษ วัตถุประสงค์ พื้นฐานของพวกเขาในขาลัทจึงเป็นการสร้างสถานีรักษาการเพื่อปกป้องเขตแดนของอังกฤษในอินเดีย จากภัยคุกคามใด ๆ ที่มาจากดินแดนของอิหร่านและอัฟกานิสถาน แลให้ขาลัทเป็นดินแดนที่เป็น ด่านหน้าในการป้องกันอินเดีย ในกรณีเกิดการรุกรานจากอาณานิคมอื่น ๆ ที่จะเข้ามายังอินเดียผ่าน อิหร่าน อัฟกานิสถาน หรือ มหาสมุทรอินเดีย เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 แห่งขาลัท มีความพยายามเป็นอย่างมากในการรักษาความสงบ เรียบร้อยภายในขาลัทและหลีกเลี่ยงการสร้างความขัดแย้งกับหัวหน้าชนเผ่าต่าง ๆ ในขาลัท แต่ใน ที่สุด เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 ก็ไม่สามารถรักษาความสงบภายในขาลัทได้ ความขัดแย้งภายในขาลัทเกิด

Ref. code: 25605903030525DHV 58

จากการที่หัวหน้าเผ่าต่าง ๆ ไม่พอใจเกี่ยวกับการยอมจ านนต่ออังกฤษของ เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 น าไปสู่ การก่อกบฏจากหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ ในขาลัทที่สมรู้ร่วมคิดกับสมาชิกคนอื่น ๆ ของราชวงศ์ในการ โค่นล้ม เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 แต่ก็ไม่ประสบความส าเร็จพวกเขาจึงมองไปที่การหาแรงสนับสนุนจาก ภายนอกโดยการเปิดทางให้อัฟกานิสถานสามารถครอบครองพื้นที่ส าคัญของขาลัทอย่างเมืองชาล (Shal) และ มาสทัง (Mastung) ท าให้อัฟกานิสถานกลายเป็นศัตรูกับ เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 เพราะการ สนับสนุนกบฏและให้ที่ลี้ภัยพักพิงแก่หัวหน้ากบฏอย่าง ชาห์ ชูจะห์ (Shah Shujah) ซึ่งภายหลัง กลายเป็นศัตรูที่อ านวยความสะดวกให้กับการบุกรุกขาลัทของอังกฤษ เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 กลายเป็น เป้าหมายหลักของพวกกบฏจากความไม่พอใจในการปกครองที่ไม่ได้ผลและไม่ได้เปรียบ ภายใน ราชส านักก็เต็มไปด้วยผู้คนที่ไม่มีความจงรักภักดีต่อเมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 และขาลัท ข้าราชบริพาร ชั้นสูงส่วนใหญ่รวมทั้งนายกรัฐมนตรีเป็นชาวอัฟกันที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางวัฒนธรรมและ สังคมของชาวบาโลช หัวหน้าเผ่าต่าง ๆ ก็มุ่งความสนใจไปที่ผลประโยชน์ส่วนตนไม่ใช่ความก้าวหน้า ของนครรัฐขาลัท และชาวต่างชาติโดยเฉพาะอัฟกานิสถานที่ได้รับการว่าจ้างจากข่านเพื่อให้ท างาน ให้กับรัฐบาลของเขาก็ได้สร้างความขัดแย้งระหว่างหัวหน้าชนเผ่าต่าง ๆ และสร้างความรู้สึกต่อต้าน ข่านไปพร้อม ๆ กัน การปกครองของ เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 นั้นเต็มไปด้วยอุปสรรค โดยเฉพาะการจงใจของ ข้าราชบริพารชั้นสูง อคัน มูฮัมหมัด ฮุสเสน (Akhund Muhammad Hassan) ที่ต้องการท าให้เกิด ความขัดแย้งระหว่าง เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 กับอังกฤษ โดยการท าให้อังกฤษต้องเผชิญกับปัญหาการ ขนส่งในขณะที่กองทัพอังกฤษเคลื่อนตัวผ่านช่องเขา โบลานพาส (Bolan Pass) พวกเขาถูกโจมตีโดย ชาวบาโลซึ่งต่อมาได้มีการพิสูจน์ว่าการโจมตีเกิดขึ้นโดยการสั่งการของ อคัน มูฮัมหมัด ฮุสเสน ข้าราชบริพารชั้นสูงของ เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 เพื่อเป็นการสร้างความขัดแย้งและความไม่ไว้วางใจ ระหว่างอังกฤษและ เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 ท าให้กองทัพอังกฤษโดยผู้บัญชาการ เซอร์อเล็กซานเดอร์ เบิร์นส์ (Sir Alexander Burnes) ได้เขียนจดหมายทวงถามถึงความรับผิดชอบของ เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 ในการละเมิดข้อตกลงที่ท าไว้ก่อนหน้านี้ เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 พยายามส่ง มุลเลาะห์ มูฮัมหมัด ฮัสซัน (Mullah Muhammad Hassan) ไปยังค่ายของกองทัพอังกฤษเพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นว่าไม่ได้เป็นค าสั่งของเขา แต่แทนที่ มุลเลาะห์ มูฮัมหมัด ฮัสซัน จะปกป้องข่านกลับพยายามปลุกระดมอังกฤษให้ต่อต้านข่านโดยการให้ ข้อมูลกับทหารอังกฤษว่า ข่านเป็นผู้สั่งให้กลุ่มชาวบาโลชโจมตีกองทัพอังกฤษขณะที่เคลื่อนตัวผ่าน ช่องเขาโบลานพาส ท าให้กองทัพอังกฤษไม่พอใจและน าไปสู่การยึดครองขาลัท ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1839 โดยกองทัพอังกฤษได้โจมตีเมืองหลวงของขาลัทหลังจากการทิ้งระเบิดที่รุนแรง เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 และกองก าลังของเขาที่มีจ านวนจ ากัดก็ยืนหยัดสู้อย่างเต็มที่และไม่ยอมจ านนต่อ กองทัพอังกฤษจน เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 ตัดสินใจตายในสนามรบในรูปแบบของชาวบาโลชโดยการเดิน

Ref. code: 25605903030525DHV 59

ตรงไปยังแนวยิงของข้าศึก ท าให้เขาเสียชีวิตภายใต้ปลอกกระสุนที่ระดมยิงมาจากกองทัพอังกฤษและ การสู้รบด้วยมือกับกองทัพอังกฤษเป็นวาระสุดท้าย การปกป้องนครขาลัทของเขาและเสียสละชีวิต ของตัวเองอย่างกล้าหาญและไม่ยอมแพ้ต่อศัตรูแม้ความตายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 จึงกลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ของชาวบาโลช การตายของเขาท าให้ชาว บาโลชในนครรัฐขาลัทลืมความผิดพลาดของเขาที่ยอมจ านนต่ออังกฤษและการใช้ข้าราชบริพารชั้นสูง ที่เป็นคนต่างชาติไม่สามารถไว้ใจได้ในการท างานใหญ่ ชาวบาโลชสนับสนุนลูกชายของเขาอย่างเต็มที่ และต้องการให้แก้แค้นกองทัพอังกฤษ8 หลังจากที่อังกฤษเข้ามายึดครองขาลัท อังกฤษได้ปราบดาภิเษกข่านคนใหม่ในขาลัท คือ มิร ชาร์ นาวาส ข่าน (Mir Shah Nawaz Khan) ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์นั้นเกิดความขัดแย้งรุนแรง ระหว่างกองทัพอังกฤษกับกับชาวบาโลชที่เป็นกองก าลังของกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เสมอมา เนื่องจาก ชาวบาโลชส่วนใหญ่เห็นว่า มิรนาซีร ข่าน ที่ 2 (Mir Naseer Khan II) ผู้เป็นทายาทของ เมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 มีความชอบธรรมในการครองราชย์มากกว่า มิร ชาร์ นาวาส ข่าน ซึ่งเป็นข่านที่อังกฤษ แต่งตั้งเพื่อเป็นข่านหุ่นเชิดของอังกฤษเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของอังกฤษ การสู้รบระหว่าง ชาวบาโลชและกองทัพอังกฤษด าเนินมาจนกระทั้งถึงรัชสมัยของ มิร คุดดาดาน ข่าน ที่ยอมจ านนต่อ อังกฤษ ในสนธิสัญญาของขาลัทในปี ค.ศ. 1876 (Treaty of Kalat 1876) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เป็น การโอนอ านาจอธิปไตยให้อังกฤษปกครองขาลัท ขาลัทนั้นเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความส าคัญทาง ยุทธศาสตร์ในบรรดาแผ่นดินที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ และอังกฤษได้สนับสนุนให้หัวหน้าชนเผ่า ต่าง ๆ (Sardars) มีอ านาจมากขึ้นและเป็นต าแหน่งที่อังกฤษใช้เพื่อควบคุมการด าเนินการต่าง ๆ ของ ข่านให้อยู่ในแนวทางที่อังกฤษพึงพอใจ การด าเนินการทั้งหมดนี้ของอังกฤษในขาลัทเป็นไปเพื่อการ ปกป้องเสรีภาพในการเคลื่อนทัพและการรักษาความปลอดภัยบนถนนเส้นทางที่กองทัพอังกฤษต้องใช้ ในการขนส่งสินค้าผ่านขาลัท สนธิสัญญาขาลัท (Treaty of Kalat 1876) น าไปสู่แผนการสร้างทางรถไฟของอังกฤษ ผ่านอาณาเขตของขาลัท การประจ าการอย่างถาวรของกองทัพอังกฤษที่เมืองเควตตา (Quetta) เงินอุดหนุนส าหรับข่านเพิ่มขึ้นเป็น 31,111 รูปีต่อปี และการแต่งตั้ง โรเบิร์ต แซนเดอร์แมน (Robert Sandeman) ให้เป็นเป็นตัวแทนผู้ว่าการของอังกฤษอยู่ที่มีส านักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเควตตา ต่อมาเมื่อ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1877 ได้มีการแต่งตั้งหน่วยงานตัวแทนของอังกฤษที่ขาลัทคือ (Foundation of the Balochistan Agency) อังกฤษได้ขยายอิทธิพลของตนไปทั่วขาลัท และได้ลด

8 Charles Masson, Narrative of Various Journeys in Balochistan, Afghanistan, the Punjab and Kalat (Karachi; New York: Oxford University Press, 1844), 97-110.

Ref. code: 25605903030525DHV 60

อ านาจการปกครองของข่านลง ในปี ค.ศ. 1877 โดยการแบ่งขาลัทออกเป็น 4 ส่วน (ตามภาพที่ 5.4) คือ 1. บริทิชบาโลจิสถาน (The British Balochistan) ซึ่งเป็นดินแดนที่ครอบคลุมดินแดน ชาฮรัก (Shahrag), ซีบี (Sibi), ดูคี (Duki), ปิสฮิน (Pishin) และ คามาน (Chaman) 2. ดินแดนของหน่วยงานของอังกฤษที่ควบคุมบริเวณ มาริ-บักตี (Mari- ) 3. ยุบเมืองที่อยู่ในเขตปกครองของข่านอย่าง เมืองอารันด์ (Arund) และ เมืองดาจาล (Dajal) ให้ไปรวมอยู่ในแคว้นปัญจาบ 4. ดินแดนที่ข่านยังมีอ านาจในการปกครองคือ ขาราน (Kharan), มาขาราน (Makuran) และ ลาสเบลา (Las Bela)

ภาพที่ 5.4 แสดงแผนที่เส้นทางการแบ่งขาลัทเป็น 4 ส่วนของ อังกฤษในปี ค.ศ. 1877, upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f9/Baluchistan_Agency_1931_Map .png/1200px-Baluchistan_Agency_1931_Map.png

Ref. code: 25605903030525DHV 61

ชาวบาโลชส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นดีในเรื่องที่อ านาจอธิปไตยในดินแดนของพวกเขาถูก ละเมิดโดยชาวอังกฤษ หัวหน้าเผ่าที่ต่อต้านการปกครองของอังกฤษก่อกบฏหลายครั้งแต่ก็ไม่เคย ประสบความส าเร็จเนื่องจากทุกชนเผ่าไม่มีความพยายามที่เป็นเอกภาพในการที่จะขับไล่อังกฤษ ออกไปจากนครรัฐขาลัท ประกอบกับความทันสมัยด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองก าลังติดอาวุธของ ชนเผ่าต่าง ๆ ยังห่างไกลจากกองทัพอังกฤษอยู่มาก กองก าลังติดอาวุธของชนเผ่าต่าง ๆ จึงถูกปราบ และจับกุมโดยกองทัพอังกฤษอย่างง่ายดาย จากความอ่อนแอของกองก าลังฝ่ายต่อต้านเอง และการ ช่วยเหลือของหัวหน้าชนเผ่าและข่านหุ่นเชิดที่ภักดีต่ออังกฤษ 5.2.1 การลุกฮือต่อต้านของกลุ่มชนเผ่ามาริ (Mari), ดอมบิกิ (Dombiki), ขีทราน () และบุกตี (Bugti) ในขาลัท การลุกฮือต่อต้านอังกฤษของชาวบาโลชก่อนหน้านี้ ในทศวรรษที่ 1830-1840 กองทัพอังกฤษนั้นยังไม่สามารถขจัดความกระด้างกระเดื่องต่ออังกฤษของชาวบาโลชออกไปได้ ทั้งหมด โดยเฉพาะกับกองก าลังชนเผ่าต่าง ๆ ที่สามารถหลบหนีจากการปราบปรามและจับกุมของ กองทัพอังกฤษไปได้ ใน ปี ค.ศ. 1859 กองทัพอังกฤษภายใต้การน าของ พันตรี กรีน (Major Green) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพของข่าน ซึ่งเป็นกองทัพที่มีการรวมกองก าลังของกลุ่มชนเผ่า ต่าง ๆ ที่ภักดีต่ออังกฤษเข้าไว้ด้วยกัน ได้เริ่มการรณรงค์การปราบปรามเพื่อบังคับให้กองก าลังของ ชนเผ่ามารีที่ลุกขึ้นต่อต้านยอมจ านนต่ออังกฤษ การปราบปรามครั้งนี้สร้างความเสียหายร้ายแรงใน พื้นที่ขาลัทจากการปะทะของกองทัพผสมของอังกฤษและข่านกับกองก าลังของมาริ ท าให้ผู้อาวุโสของ ชนเผ่ามาริเห็นว่าไม่มีมีโอกาสที่กองก าลังของพวกเขาจะประสบความส าเร็จในการลุกฮือครั้งนี้ ท าให้ พวกเขายอมจ านนและนักรบหลายคนของเผ่ามาริถูกน าตัวไปคุมขังในฐานะตัวประกันของอังกฤษ แต่ไม่นานหลังจากนั้นชนเผ่ามาริก็ลุกฮือขึ้นประท้วงอีกครั้งใน ปี ค.ศ. 1881 และ กองทัพอังกฤษก็ได้มีการต่อต้านการก่อการร้ายของกลุ่มชนเผ่ามาริ ภายใต้ค าสั่งของ นายพล แมคเกรเกอร์ (General MacGregor) กองก าลังของชนผ่ามาริได้รับความพ่ายแพ้ในการ ปะทะสู้รบหลายครั้งกับกองทับอังกฤษและข่าน ท าให้หัวหน้ากองก าลังของชนเผ่ามารียอมจ านน และ ตกลงที่จ่ายเงินจ านวนมหาศาลในแก่กองทัพอังกฤษและยอมให้ญาติหลายคนของเขาถูกจับไปเป็น ตัวประกัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อังกฤษได้เกณฑ์ทหารจากชายจ านวนมากในดินแดน อาณานิคมของตนโดยเฉพาะในภูมิภาคของอินเดีย ซึ่งหัวหน้าชนเผ่ามาริในขณะนั้นได้ปฏิเสธที่จะให้ กองทัพอังกฤษเข้ามาเกณฑ์ชายฉกรรจ์ในเผ่าของตนไปเป็นทหารเพื่อช่วยกองทัพอังกฤษสู้รบใน สมรภูมิต่าง ๆ ของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ท าให้เกิดความตึงเครียดเกิดขึ้นระหว่างกองทัพอังกฤษและ ชนเผ่ามาริ ต่อมาในช่วงต้นปี ค.ศ. 1918 กองก าลังของชนเผ่ามาริและขีทราน (Khetran) ได้ลุกขึ้น ต่อต้านก่อกบฏครั้งใหญ่ต่ออังกฤษ โดยมีการโจมตีหลายครั้งในสถานที่ปฏิบัติงานของกองทัพอังกฤษ

Ref. code: 25605903030525DHV 62

และค่ายพักแรมของกองทัพอังกฤษ กองก าลังของชนเผ่ามาริได้เผาศูนย์บริหารของอังกฤษที่เมืองโคลู (Kohlu) และ บาร์ขาน (Barkan) และมีการบุกเข้าไปในเมืองต่าง ๆ ที่เป็นที่พ านักของกองทัพอังกฤษ รถไฟของอังกฤษได้ถูกโจมตีและสายโทรศัพท์ส าหรับการสื่อสารของกองท าอังกฤษถูกตัดขาด ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1918 ชนเผ่ามาริภายใต้การบังคับบัญชาของ มิร ขูดาดาด มาริ (Mir Khudadad Mari) ได้สั่งการให้กองก าลังของชนเผ่ามาริโจมตีป้อมปราการของกองทัพอังกฤษที่ เมืองกัมบัด (Gumbud) ซึ่งท าให้นักรบของเผ่ามารีได้รับบาดเจ็บจ านวน 1,211 คน จากการถูกโจมตี ด้วยปืนใหญ่จากป้อมของกองทัพอังกฤษ หลังจากที่ล้มเหลวในการยึดครองป้อมชนเผ่ามาริได้ ใช้ยุทธวิธีการการโจมตีแบบโจมตีแล้วหนี (hit-and-run) กองทัพอังกฤษพยายามตอบโต้ด้วยการโจมตีอย่างหนักต่อกลุ่มติดอาวุธเผ่ามาริ เพื่อต่อต้านการลุกฮือที่ก าลังเกิดขึ้นทั่วดินแดนที่อังกฤษครอบครองในชาลัท โดยเริ่มจากการเข้ายึด เมืองโคลูคืนจากกองก าลังของเผ่ามาริและท าการเผาทุกสิ่ง โดยเฉพาะไร่พืชผลและผลไม้ของชาว บาโลช และการนองเลือดที่สมรภูมิฮาดาบ (Hadab) ท าให้ชาวบาโลชและกองก าลังของชนเผ่ามาริ ประสบความพ่ายแพ้อย่างหนัก มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมเป็นหลักพันคน ท าให้หัวหน้าของชนเผ่า มาริและผู้อาวุโสยอมจ านนในที่สุด เสียค่าปรับและภาษีอย่างมหาศาลแก่กองทัพอังกฤษ รวมถึงที่ดินที่ อยู่ในอาณาเขตของชนเผ่ามาริ แต่ใน ปี ค.ศ. 1919 ข้อตกลงเหล่านี้ก็ได้ถูกยกเลิกไป ในส่วนของการต่อต้านอังกฤษจากชนเผ่าโดมบิกิ (Dombiki) นั้นเป็นต่อต้าน กฎหมายต่าง ๆ ของอังกฤษและการปกครองในดินแดนขาชชิ (Kachchi) ชนเผ่าโดมบิกิมีส่วนร่วมใน การปะทะกับกองทัพอังกฤษ ในยุทธวิธีโจมตีและหนี ที่นายพลของกองทัพอังกฤษระบุว่าเป็น “การกระท าการโจรกรรมและการปล้นสะดม” ก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นสาเหตุให้กองทัพ อังกฤษด าเนินการจับกุมหัวหน้าของเผ่าโดมบิกิ มิร บิจจาร์ โดมบิกิ (Mir Bijjar Dombiki) ภายใต้ ข้ออ้างในการเชิญมาเจรจาสันติภาพ เรื่องนี้ท าให้เกิดการจลาจลของชนเผ่าโดมบิกิ ต่อกองทัพอังกฤษ ในเมืองขาชชิ (Kachchi) ในเวลาต่อมา แต่ก็ยุติการกระท าไปเองในเวลาต่อมา ส่วนการต่อต้านอังกฤษจากชนเผ่าบักตี (Bugti) และขีทราน (Khetran) เกิดใน ค.ศ. 1867 ซึ่งเป็นการร่วมกันโจมตีภายใต้ค าสั่งของ มิร กูลาม ฮุเสน มาโสรีบักตี (Mir Ghulam Hussain Masori Bugti) ในพื้นที่อารันด์ (Arund) ที่ต่อมาถูกอังกฤษยุบรวมไปอยู่ภายใต้การปกครองของแคว้น ปัญจาบ หลังจากเผชิญหน้ากับกองทัพอังกฤษกองก าลังของชนเผ่าบักตี และขีทราน ประสบความ พ่ายแพ้อย่างหนักและ มิร กูลาม ฮุเสน มาโสรีบักตี เป็นหนึ่งในร้อยของนักรบเผ่าบักตี และขีทราน ที่เสียชีวิตในสมรภูมิใกล้เมือง ชาร์ชา พาส (Chachar Pass) อย่างไรก็ตามการต่อสู้กับกองทัพอังกฤษ ยังคงด าเนินการต่อในเมืองดาราจัท (Derajat) เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน

Ref. code: 25605903030525DHV 63

5.2.2 การลุกฮือต่อต้านของชาวบาโลชในดินแดนชาราวาน (Sarawan) และจาห์ลา วาน (Jhalawan) หลังจากการจากไปของเมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 และการสูญเสียขาลัทให้แก่อังกฤษ ชาวบาโลชในชาราวานละจาห์ราวานมีความรู้สึกละอายใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ชนเผ่าต่าง ๆ ในซาราวาน จึงได้ก่อการจลาจลขึ้นและท าร้ายกองทัพอังกฤษหลายหน่วยงาน รวมถึงหน่วยงานทางทหารที่ก าลัง จะออกจากขาลัทหลังจากการยึดครองของอังกฤษใน ปี ค.ศ. 1839 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1840 กองก าลังของชาวบาโลชจากได้ก่อจลาจลร่วมกับเผ่าขาขาด (Kakad) ที่เมืองเควตตา แม้ว่าพวกเขาจะ ไม่สามารถยึดครองเมืองและครอบครองป้อมของทหารอังกฤษไว้ได้แต่พวกเขาก็สามารถล้อมป้อมไว้ เป็นเวลานาน ในปี ค.ศ. 1897 ชนเผ่าต่าง ๆ ของชาวบาโลชในดินแดนชาราวาน ภายใต้การน าของ มิร มีฮูลเราะห์ ไรซานี (Mir Mehrullah Raisani) ได้ก่อการลุกฮือต่อต้านการปกครองของอังกฤษ กลุ่มกบฏก่อการจลาจลโจมตีบนเส้นทางการขนส่งและระบบสื่อสารของของอังกฤษในช่องเขาโบลาน (Bolan Pass) และท าลายโรงเบียร์ในเมืองเควตตา กองทัพอังกฤษสามารถจับกุม มิร มีฮูลเราะห์ ไร ซานี พร้อมกับหัวหน้าเผ่าหลายคน มิร เจฟเฟอร์ ซาร์พารา (Mir Jaffer Sarpara) ผู้ซึ่งเป็นผู้น ากอง ก าลังของชาวบาโลชในการต่อสู้กับอังกฤษหนีไปยังเมืองขานดาฮาร์ (Kandahar) การลุกฮือต่อต้าน อังกฤษในชาราวานครั้งนี้จบลงด้วยการประกาศการนิรโทษกรรมจากอังกฤษให้แก่กลุ่ม กองก าลังของชนเผ่าต่าง ๆ ในขาลัท ในปี ค.ศ. 1899 การต่อต้านการปกครองของอังกฤษในดินแดนจาห์ลาวานนั้น น าโดย ซาดาร์ นูรุด ดีน เมนกัล (Sardar Noordin ) ซึ่งพยายามหาโอกาสที่จะโจมตีกองทัพอังกฤษหรือกองทัพ ของข่านที่สนับสนุนอังกฤษและเจ้าหน้าของกองทัพอังกฤษต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ในการโจมตีของเขา หลาย ๆ ครั้งได้รับการสนับสนุนจากซารัคไซ (Zarakzai) จาม มิร ข่าน (Jam mir khan) และ โนเชอร์วานี (Nosherwani) เจ้าเมืองขาราน (Kharan) ซาดาร์ นูรุดดีน เมนกัล และจาม มิรข่าน ถูกจับกุมใกล้กับ เมืองโซรกาส (Sorgaz) ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1865 ขณะที่พวกเขาพยายามที่จะ ครอบครองที่ดินที่ยังไม่มีการก าหนดเขตแน่นอน หลังจากการปล่อยตัว ซาดาร์ นูรุดดีน เมนกัล ได้วางแผนการจลาจลด้วยความช่วยเหลือของชนเผ่าเซะห์ริ (Zehri) ในปี ค.ศ.1871 ต่อมา ในปี ค.ศ. 1872 ซาดาร์ นูรุดดีน เมนกัล และ จาม มิร ข่าน ได้เข้าครอบครองดินแดนลาสเบลา (Las Bela) และโจมตีเมืองคูสดาร์ (Khuzdar) รวมถึงการท าลายสิ่งปลูกสร้างมากมายของข่านในเมืองนั้น ต่อมา ในปี ค.ศ. 1874 มิร กูฮาร์ ข่าน ซารักไซ (Mir Gauhar Khan Zarakzai) ก่อกบฏและเริ่มท าลายล้าง โครงการต่าง ๆ ของกองทัพอังกฤษและข่านในดินแดนบริเวณของชนเผ่าเซะห์ริ การต่อต้าน การปกครองของอังกฤษในดินแดนจาห์ลาวานได้รับความปราชัยอย่างรุนแรงโดยการก าจัดผู้น าอย่าง ซาดาร์ นูรุดดีน เมนกัล ซึ่งถูกฆาตกรรมอย่างอัปยศจาก มิร ขูดาดาด ข่าน (Mir Khudadad Khan)

Ref. code: 25605903030525DHV 64

ขณะที่อยู่ในช่วงของการพักรบที่ได้มีการลงนามในสัญญาโดยตัวเขาและข่านต่อหน้าคัมภีร์อัลกุรอาน หลังจากเผชิญหน้ากับกองทัพอังกฤษในการต่อสู้ที่กล้าหาญหลายครั้งท าให้กองก าลังของเขาที่น าต่อ โดย มิร กูวฮาร์ ข่าน ซารักไซ (Mir Gauhar Khan Zarakzai) ได้พ่ายแพ้และถูกสังหารใกล้เมือง การ์แมพ (Garmaap) ขณะที่กองก าลังของเขาก าลังต่อสู้กับกองทัพอังกฤษที่เหนือกว่า

ภาพที่ 5.5 แสดงแผนที่บริเวณดินแดนชาราวาน (Sarawan) และจาห์ลาวาน (Jhalawan), upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/66/Map_of_Baluchistan_from_The_Impe rial_Gazetteer_of_India_%281907-1909%29.jpg

Ref. code: 25605903030525DHV 65

5.2.3 การลุกฮือต่อต้านของชาวบาโลชในดินแดนซาร์ฮาด (Sarhad) ทันทีหลังจากความทุกข์ทรมานของเมะห์ราบ ข่าน ที่ 2 และการยึดครองขาลัทของ อังกฤษ ชนเผ่าเมนกัล (Mengal) ในเมืองโนชกี (Noshki) ลุกฮือขึ้นก่อจลาจลภายใต้การน าของซาดาร์ ฟาซุล ข่าน เมนกัล (Sardar Fazul Khan Mengal) กองทัพอังกฤษเผชิญหน้ากับพวกกบฏและ ตอบโต้ด้วยการปราบปรามสังหารและเผาหมู่บ้านมิรานไซ (Miranzai) ก่อนที่จะกลับไปที่ฐานทัพของ พวกเขา ในช่วงเวลาเดียวกันกองทัพของอังกฤษก็ถูกส่งไปที่เมืองพันจ์กูร (Punjgur) เพื่อป้องกัน การปฏิวัติที่น าโดยโนเชอร์วานี มีชาวบาโลชหลายคนถูกฆ่าตายและหมู่บ้านถูกปล้นและท าลายตาม ค าสั่งของข้าราชการอังกฤษ เลิฟ เดย์ (Love Day) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หัวหน้าเผ่าราขชาร์นี (Rakhshani) มิร ราฮีมข่าน ราขชาร์นี (Mir Rahim Khan Rakhshani) ได้น าก าลังลุกฮือต่อต้าน กองทัพอังกฤษในฐานทัพที่ในอัฟกานิสถาน เขาประสบความส าเร็จหลายอย่างในการบุกโจมตีขบวน รถของกองทัพอังกฤษ เจ้าหน้าที่อังกฤษหลายคนถูกสังหารในซุ่มโจมตีในพื้นที่เมืองโนชกี (Noshki), มาล (Mal) และดาลบาดิน (Dalbandin) กองทัพอังกฤษไม่สามารถควบคุมการลุกฮือต่อต้านของกอง ก าลังเผ่าราขชาร์นีหลายเดือน แต่ในที่สุดกองทัพอังกฤษได้จัดการกับกลุ่มผู้ก่อการจลาจลโดยการ จับกุมผู้น าของพวกเขา มิร ราฮีมข่าน ราขชาร์นี ด้วยความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่อัฟกานิสถานใน เมือง คาดาฮาร์ (Kandahar) ในปี ค.ศ. 1916 นายพลไดเยอร์ (General Dyer) ถูกส่งมาเพื่อจัดการการต่อต้าน และการก่อการการจลาจลของของชาวบาโลชต่ออังกฤษ ที่น าโดย มิร คาลิลข่าน กามชัดไซ (Mir Khalil Khan Ghamshadzai) และมิร ไจอาน ข่านยาราห์มัดไซ (Mir Jiand Khan Yarahmadzai) ในดินแดนซาร์ฮาด ในสมรภูมิใกล้เมือง ทัฟทัน (Taftan) แต่กองทัพอังกฤษได้รับ ชัยชนะและ มิร ไจอาน ข่านยาราห์มัดไซได้ยอมจ านนต่ออังกฤษที่เมืองมอร์พิช (Morpish) หลังจาก จับกุมที่ป้อมปราการขาวัช (Khwash) ต่อมานายพลไดเอร์ประกาศนิรโทษกรรมและปล่อยมิร ไจอาน ข่านยาราห์มัดไซ แต่ มิร ไจอาน ข่านยาราห์มัดไซ ยังคงแสดงความเป็นศัตรูต่ออังกฤษและถูกจับอีก ครั้งในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ.1916 กองทัพอังกฤษประสบความสูญเสียอย่างมหาศาลจากการซุ่มโจมตีของชาวบาโลชใน ดินแดนซาร์ฮาด มิร ไจอาน ข่านยาราห์มัดไซ และนักโทษกบฏคนอื่น ๆ ถูกปล่อยในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1916 นายพลไดเอร์ ได้รวมกองทัพอังกฤษครั้งใหญ่และเข้าโจมตีที่หลบภัยของ กองก าลังของชนเผ่าต่าง ๆ ชาวบาโลช ในดินแดนซาร์ฮาด มิร ไจอาน ข่านยาราห์มัดไซ ถูกบังคับให้ ยอมจ านน และถูกน าตัวไปที่เมืองเควตตา จากนั้นการจลาจลของชาวบาโลชในเมืองซาร์ฮาดก็ได้ สิ้นสุดลงในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากนั้น

Ref. code: 25605903030525DHV 66

ภาพที่ 5.6 แสดงแผนที่บริเวณดินแดนชาราวาน ซาร์ฮาด (Sarhad), Google map https://www.google.co.th/maps/place/Sarhad,+ปากีสถาน/@28.0448284,69.4048237, 15z/data=!3m1!4b1!4m5!3m4!1s0x3936ee5000e8abb1:0x38855c880b6c9036!8m2!3d28 .0466725!4d69.4129045?hl=th

5.2.4 การลุกฮือต่อต้านของชาวบาโลชในบริเวณทางตะวันออกของดินแดน มาขาราน (Makaran) ในดินแดนมาขาราน (Makaran) มีการลุกฮือต่อต้านกองทัพอังกฤษและข่านผู้ที่อยู่ ในอุปถัมภ์ของอังกฤษ โดย มิร ชาดาด กิชกี (Mir Shahdad Gichki) มิร ไบยาน ซีกรี (Mir Baiyan Zigri) และผู้น าศาสนา เรห์มัต (Rehmat) มีการก่อกบฏหลายครั้งในมาขารานและถูกควบคุม สถานการณ์ไว้ได้เมื่อ แซนเดอร์แมน เดินทางมายังมาขูรานใน ปี ค.ศ. 1890 อย่างไรก็ตามหลังจาก การจากไปของแซนเดอร์แมน มิร ชาดาด กิชกี ได้โจมตีค่ายของพันตรี เมอร์ (Major Meur) โดยมีการ สังหารและท าร้ายทหารอังกฤษที่อยู่ในค่ายบางส่วน อย่างไรก็ตามมิร ชาดาด กิชกี ถูกจับกุมและถูก คุมขังในไม่ช้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1898 การก่อจลาจลในมาขูรานปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม ปี ค.ศ. 1898 เมื่อ มิร เมะห์ราบ ข่าน กิชกี (Mir Mehrab Khan Gichki) จับกุมข้าราชการชาวอังกฤษในเมือง เคช (Kech) ต่อมาในวันที่ 9 มกราคม ปี ค.ศ. 1898 มิร บาโลช ข่าน โนเชอร์วานี (Mir Baloch Khan

Ref. code: 25605903030525DHV 67

Nosherwani) ได้โจมตีค่ายของ พันตรี เบอร์เนส (Major Burnes) ซึ่งก าลังส ารวจพื้นที่ส าหรับการ เชื่อมต่อสายโทรเลข พันตรี เบอร์เนส หนีรอดไปได้ แต่ทหารที่เหลืออีกสิบหกคนถูกสังหาร และมีการ ปล้นค่ายของพันตรี เบอร์เนสในเวลาต่อมา ท าให้ที่การาจีกองก าลังเคลื่อนที่เร็วของอังกฤษถูกสั่งให้ เดินทางไปยังมาขูรานอย่างทันทีทันใดภายใต้ค าสั่งของผู้พัน ไมน์ (Colonel Mayn) กองก าลังของ ชาวบาโลชภายใต้การบัญชาการของมิร เมะห์ราบ ข่าน กิชกี และมิร บาโลช ข่าน โนเชอร์วานี รวมตัว กันที่เขตโกขโพช (Gokprosh) ใกล้เมืองเทอร์บัต (Turbat) เพื่อเผชิญหน้ากับกองก าลังเคลื่อนที่เร็ว ของอังกฤษ ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1898 มิร เมะห์ราบ ข่าน กิชกี ได้พเนจรอยู่ในสนาม โดยมิได้มีการสู้รบ ในขณะที่ มิร บาโลช ข่าน โนเชอร์วานี พร้อมกับนักรบ 300 คนของเขาได้ต่อสู้และ เสียชีวิตอย่างกล้าหาญกับกองก าลังเคลื่อนที่เร็วของอังกฤษ และสามารถท าลายป้อมของทหารอังกฤษ ในเมืองต่าง ๆ อย่างเทอร์บัต (Turbat), เชอร์บัค (Churbuk), บูเลดา (Buleda), และ ชาห์รัค (Shahrak) การจลาจลหลายครั้งในมาขารานท าเกิดการตอบโต้ที่โหดร้ายจากกองทัพอังกฤษ แล้ว สถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลงจากการจลาจลของมูฮัมหมัด โอมาร์ โนเชอร์วานี (Muhammad Ali Nosherwani) เป็นเวลาหลายปี

ภาพที่ 5.7 แสดงเส้นทางที่ มิร บาโลช ข่าน โนเชอร์วานี พร้อมกับนักรบ 300 คนของเขาได้ท าลาย ป้อมของทหารอังกฤษในเมืองต่าง ๆ ของดินแดนมาขาราน, Google map https://www.google. co.th/maps/@25.9906982,63.197553,8.71z?hl=th

Ref. code: 25605903030525DHV 68

ในปี ค.ศ. 1901 กองทัพอังกฤษโจมตีและท าลายป้อมโนดิส (Nodiz fort) กองก าลัง ชาวบาโลชจากชนเผ่าต่าง ๆ ต่อต้านกองทัพอังกฤษอย่างกล้าหาญภายใต้น าทัพของ มูฮัมหมัด โอมาร์ โนเชอร์วานี แต่ไม่สามารถต้านทานกองปืนใหญ่ของกองทัพอังกฤษไว้ได้ ท าให้นักรบชาวบาโลชหลาย คนถูกสังหาร และบางคนที่รอดชีวิตก็ถูกตัดสินจ าคุกเป็นระยะเวลายาวนาน ผู้บังคับบัญชาการทหาร ของชาวบาโลชบางก็ถูกตัดสินประหารชีวิตรวมถึง มิร ชีราน ดาด คารีม โกดี (Mir Sheran Dad Karim Goodi) ผู้ซึ่งอยู่เบื้องหลังในการวางแผนตีป้อมของกองทัพอังกฤษในหลาย ๆ เมือง การลุกฮือต่อต้านกองทัพของอังกฤษโดยกองก าลังของชาวบาโลชจากหลาย ๆ เผ่า ในช่วงยุคล่าอาณานิคม เป็นไปเพื่อต่อต้านการครอบง าของอังกฤษเหนือดินแดนของพวกเขา แต่การลุกฮือที่เกิดขึ้นเพื่อปลดปล่อยโบโลจิสถานจากอังกฤษไม่เป็นผลเนื่องจาก - ไม่ได้มีเอกภาพในการรับค าสั่งจากผู้บังคับบัญชาของกองทัพคนเดียวกัน - มีปัญหาภายในระหว่างชนเผ่าด้วยกันเอง - ไม่ได้มีการวางแผนส าหรับยุทธวิธีการการรบร่วมกัน - ความทันสมัยของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ยังห่างไกลกับกองทัพอังกฤษ - ประเทศเพื่อนบ้านที่มีความเข้มแข็งในการรบอย่างอิหร่านและอัฟกานิสถานก็ไม่ได้ อยู่ในสถานะที่จะช่วยเหลือชาวบาโลชในการสู้รบกับอังกฤษได้ เนื่องจากตนเองก็อยู่ภายใต้การ ควบคุมของอังกฤษเช่นกัน หลังจากนั้นชาวบาโลชเองก็ได้มีการลุกฮือต่อต้านกองทัพเปอร์เซียและอังกฤษ หลังจากที่ทั้งสองประเทศท าข้อตกลงแบ่งแยกและปกครองดินแดนของชาวบาโลชในช่วง ปี ค.ศ. 1866-1893 ปัจจัยเหล่านี้ท าให้การลุกฮือต่อต้านอังกฤษของชาวบาโลชเพื่อเอกราชไม่เคยที่จะประสบ ความส าเร็จจนกระทั้งหลังจากการให้เอกราชแก่อาณานิคมต่าง ๆ ของอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ สอง และการออกไปของอังกฤษจากภูมิภาคเอเชียใต้ในช่วง ปี ค.ศ. 1947 ส่งผลให้ อะห์หมัด ยาร์ ข่าน (Ahmad Yar Khan) ผู้ปกครองแห่งขาลัทประกาศเอกราชในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1947 แต่หลังจากได้อิสรภาพไม่นานขาลัทก็ถูกครอบครองโดยปากีสถานใน ปี ค.ศ. 1948 หลังจากการ เจรจาของ อะห์หมัด ยา ข่าน กับรัฐบาลปากีสถานดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

5.3 ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในช่วงหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ

หลังจากช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ดินแดนของชาวบาโลชได้รับเอกราชจากอังกฤษไม่นานก็ถูก กดดันจากรัฐบาลปากีสถานให้รวมประเทศ จากการเจรจาของ อะห์หมัด ยา ข่าน กับรัฐบาล ปากีสถานที่ใช้กลยุทธ์ทางการเมือง อะห์หมัด ยาร์ ข่าน ให้น านครรัฐของตนเข้าร่วมกับประเทศ ปากีสถาน โดยมีการลงนามในตราสารแห่งการภาคยานุวัติที่นักวิชาการบางท่านก็เรียกว่าเป็นการ

Ref. code: 25605903030525DHV 69

ลงนามในเอกสารที่เป็น “การบังคับทางประวัติศาสตร์” ในการท าให้ขาลัทเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ ปากีสถาน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ท าให้น้องชายของเขาเจ้าชาย อบดุล การีม และ เจ้าชายมูฮัม หมัด รอฮีม เกิดความไม่พอใจและต่อต้านการตัดสินใจของพี่ชายของพวกเขาที่เขามองว่าถูกบังคับโดย รัฐบาลปากีสถานและปฏิเสธที่จะวางอาวุธอันน าไปสู่การต่อสู้กับกองทัพปากีสถานจนถึงปี ค.ศ. 1951 หลังจากความยากล าบากและขาดแคลนปัจจัยในการรบ การต่อสู้กับรัฐบาลปากีสถานของพวกเขาจึง ยุติลง แต่ความต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดนของชาวบาโลชออกจากปากีสถานนั้นไม่เคยหมดลง ในช่วงปี ค.ศ. 1972 รัฐบาลของรัฐบาโลจิสถานที่มีมุขมนตรีจากพรรคสันนิบาติ อะวามี อย่าง อะตาอุลเลาะห์ เมนกาล (Ataullah Mengal) และคณะรัฐมนตรีที่มีผู้แทนมาจากพรรค จาไมคัทอูลามาอิสลาม (Jamiçat Ulama-i-Islam) ซึ่งเป็นพรรคของกลุ่มชาติพันธุ์ปัชตุนในดินแดน รัฐไคเบอร์ปัคชตุนควา ซึ่งต่อมาเพียงสิบเดือนหลังจากเข้ารับต าแหน่งของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ในเดือน พฤษภาคม คณะรัฐมนตรีชุดนี้และคณะรัฐมนตรีของรัฐไคเบอร์ปัคชตุนควา ได้ถูกปลดออกจาก ต าแหน่งและถูกจับกุมโดยค าสั่งของประธานาธิบดีซัลฟิการ์ อาลี บุตโต เนื่องจากเห็นว่า อะตาอุล เลาะห์ เมนกาล และพวกต้องการจะแบ่งแยกดินแดนและประกาศเอกราชให้รัฐบาโลจิสถาน การกระท าเช่นนี้ของประธานาธิบดีซัลฟิการ์ อาลี บุตโต ท าให้เกิดความไม่พอใจเป็น อย่างมากแก่ชาวบาโลช จากการที่ถูกแทรกแซงทางการเมืองภายในรัฐตนจากส่วนกลาง ท าให้ชาว บาโลชและคนของพรรคสันนิบาติอะวามีรวมถึงพรรคจาไมคัทอูลามาอิสลาม มีการรวมกลุ่มและจัดตั้ง กองก าลังติดอาวุธเพื่อแบ่งแยกดินแดนรัฐไคเบอร์ปัคชตุนควา และบาโลจิสถานออกจากปากีสถาน โดยกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนนี้แตกออกไปเป็นหลาย ๆ กลุ่ม แต่จะมีเป้าหมายเป็นไปในทิศทาง เดียวกันคือการปล่อยตัวมุขมนตรีของบาโลจิสถาน อะตาอุลเลาะห์ เมนกาล และบรรดารัฐมนตรี ทั้งหลาย กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้รับกาสนับสนุนที่พักพิง อาวุธ เสบียง เงิน และฝึกซ้อม การรบแบบกองโจรจากรัฐบาลอัฟกานิสถานในขณะนั้นรวมถึงน าปัญหานี้เข้าสู่สมัชชาแห่ง สหประชาชาติเพื่อเรียกร้องหาความเป็นธรรมและความช่วยเหลือจากชาติต่าง ๆ ในสหประชาชาติ อีกด้วย การแบ่งแยกดินแดนของรัฐบาโลจิสถานด าเนินไปอย่างรุนแรงจากการต่อสู้ของกลุ่มขบวนการ ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในพื้นที่ที่มีกองก าลังชาวบาโลชรวมแล้วสูงถึง 55,111 นาย 9 แต่เมื่อเกิดการ ลอบสังหารหัวหน้าพรรคกลุ่มชาติพันธุ์ชาวปัชตุน (Pashtunkhwa Milli Awami Party) ซามาด ข่าน อชัคไซ (Samad Khan Achakzai) ท าให้ มูฮัมหมัด ข่าน (Mahmud Khan) ลูกของเขาต้อง สืบต่อต าแหน่งแทน และท าให้เกิดความอ่อนลงในอุดมการณ์การแบ่งแยกดินแดนร่วมกับ

9 Paul Titus, and Nina Swidler, “KNIGHTS, NOT PAWNS: ETHNO-NATIONALISM AND REGIONAL DYNAMICS IN POST-COLONIAL BALOCHISTAN,” International Journal of Middle East Studies Vol. 32, No. 1 (2000): 47-69.

Ref. code: 25605903030525DHV 70

พรรคสันนิบาติอะวามี ที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยลูกพรรคส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจในการแบ่งแยก ดินแดนด้วยความรุนแรงอีกแล้วเนื่องจากการก่อการที่ไม่คืบหน้าและมองไม่เห็นถึงความส าเร็จ ท าให้ การแบ่งแยกดินแดนของชาวบาโลชและปัชตุนเริ่มลดความเข้มข้นลง ในช่วงระหว่างการปกครองของรัฐบาลทหารที่น าโดย พลเอก มูฮัมหมัด ฎิอาอุลฮัก (Muhammad Zia-ul-Haq) ที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกและควบคุมสถานการณ์ความรุนแรง ต่าง ๆ ด้วยกองก าลังทหารอย่างเต็มที่ท าให้ควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ ไว้ได้ และต่อมาก็ได้ปล่อยตัว มุขมนตรี อะตาอุลเลาะห์ เมนกาล และคณะรัฐมนตรีของเขาทั้งหมด รวมถึงหัวหน้ากลุ่มแบ่งแยก ดินแดนต่าง ๆ ที่เคยถูกจับกุมไว้ ท าให้พวกเขาได้แยกย้ายกันออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในวิธีที่ แตกต่างกันไป อย่างการปรับโครงสร้างพรรคใหม่ของพรรคสันนิบาติอะวามี โดย วาลี ข่าน (Wali Khan) การตั้งพรรคแห่งชาติปากีสถานในรูปแบบของชาวบาโลช (Pakistan National Party) โดย มิร ฮาซิล ข่าน ไบเซโจ (Mir Hasil Khan Bizenjo) เพื่อการต่อสู้ทางการเมืองตามกฎหมาย นาวาบ ขาไอร์ บัคช์ มารริ (Nawab Khair Bakhsh ) ผู้น าขบวนการแย่งแยกดินแดนของเผ่า มาริในบาโลจิสถานก็ได้กลับไปที่แหล่งกบดานของพวกเขาในอัฟกานิสถานเพื่อให้ขบวนการของเขาใน การแบ่งแยกดินแดนไม่สิ้นสุดลง แต่ในที่สุดเขาก็ได้กลับสู่ปากีสถานในปี ค.ศ. 1992 ส่วนอาทูลเลาะห์ เมนกาลก็ได้ท าการลี้ภัยทางการเมืองไปที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ปัญหาหลัก ๆ ที่ท าให้ชาวบาโลชและกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลชไม่พอใจ รัฐบาลกลางและมีความต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดนเพื่อให้ได้อิสรภาพและเอกราชของพวกเขาคืน มาก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับการก ากับดูแลที่ไม่เท่าเทียมกันจากรัฐบาลกลาง ความไม่พอใจทางเศรษฐกิจใน รัฐของตนที่ถูกส่วนกลางดูดทรัพยากรโดยเฉพาะทางด้านพลังงานและแร่ธาตุไปใช้ประโยชน์ แต่ไม่ได้ กระจายความเจริญกลับมาสู่รัฐบาโลจิสถานมากเท่าใดนักเห็นได้จากจ านวนของเยาวชนใน รัฐบาโลจิสถานที่ 60% ของเยาวชนทั้งหมดไม่ได้รับการศึกษา รวมทั้งงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร จากรัฐบาลกลางก็มีปริมาณน้อยกว่ารัฐอื่น ๆ อย่างน้อยประมาณเกือบ 1 เท่าตัวในสิบปีให้หลังดัง ตารางที่ 5.1

Ref. code: 25605903030525DHV 71

ตารางที่ 5. 1 แสดงมูลค่างบประมาณที่รัฐบาลกลางปากีสถานกระจายให้รัฐต่าง ๆ ในปากีสถาน (หน่วยเป็นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ปีงบประมาณ ปัญจาบ สินธ์ ไคเบอร์ปัคชตุนควา บาโลจิสถาน 2008 – 2009 2,993.84 1,799.29 802.609 320.632 2009 - 2010 2,998.50 1,801.68 803.676 321.058 2010 - 2011 4,468.50 2,528.09 1,449.78 898.641 2011 - 2012 5,294.27 2,832.38 1,784.53 1,009.14 2012 - 2013 6,415.09 3,374.36 2,183.38 1,203.54 2013 - 2014 5,951.73 3,435.08 2,122.85 1,254.95 2014 - 2015 7,339.92 4,190.24 2,561.75 1,442.24 2015 - 2016 8,095.74 4,361.16 2,720.44 1,545.99 2016 - 2017 9,211.248 5,003.70 3,102.16 1,838.35 2017 - 2018 10,490.70 5,531.39 3,520.19 1,986.26 ที่มา: Government of Pakistan, The Budget in Brief - Government of Pakistan, Finance Division, (Islamabad): Govt. of Pakistan, Finance Division, annual Vol. 2008 - 2018.

สิ่งเหล่านี้จึงเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างความไม่พอใจต่อรัฐบาลกลางปากีสถาน ของชาวบาโลช ท าให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงหลายครั้งจากการก่อการร้ายโดยกลุ่มชาติพันธุ์ แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช ซึ่งการก่อการที่ส าคัญและส่งผลกับโครงการต่าง ๆ ในระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถานก็คือการสังหารแรงงานจีนและปากีสถานที่ท างานในแผนงานต่าง ๆ โดยเฉพาะ การพัฒนาท่าเรือกวาดาร์พอร์ตที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความไม่พอใจที่รัฐบาลกลางร่วมมือกับ รัฐบาลจีนสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลายอย่าง แต่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนของชาวบาโลชมีสิทธิเข้า ร่วมการเจรจาใด ๆ โดยเฉพาะตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชที่มีบทบาทสูงอย่าง กลุ่มกองทัพ ปลดปล่อยบาโลจิสสถาน (Balochistan Liberation Army) เพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐตนกับ รัฐบาลกลางและรัฐบาลจีนแม้แต่น้อย เช่นนี้จึงท าให้พวกเขาเกิดความไม่พอใจมากขึ้นไปอีกนอกจาก ความไม่พอใจที่เคยถูกกดขี่โดยเจ้าอาณานิคม และการกดดันจากรัฐบาลปากีสถานให้เข้าร่วมเป็น ส่วนหนึ่งของปากีสถานที่มีอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

Ref. code: 25605903030525DHV 72

บทสัมภาษณ์ชาวบาโลชอดีตสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดน ผู้เขียนได้ท าการสัมภาษณ์ชาวบาโลชอดีตสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดน ถึงสาเหตุของความขัดแย้ง และผลกระทบจากโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานกับความ เป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ได้ให้ข้อมูลกับผู้เขียนว่า ชาวบาโลชส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการถูก ปกครองโดยรัฐบาลกลางปากีสถานหลังจากถูกกดดันให้รวมชาติในปี 1948 หลังจากการเจรจาของ อะห์หมัด ยา ข่าน กับรัฐบาลปากีสถานดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เห็นว่ารูปแบบของการกระจาย อ านาจและกระบวนการประชาธิปไตยในการเมืองของรัฐบาโลจิสถานนั้นไร้ความหมายถูกครอบง า โดยรัฐบาลกลางตลอดเวลา เขาเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ในรัฐบาโลจิสถานของรัฐบาลกลาง ปากีสถานว่า ใช้พื้นที่ของรัฐบาโลจิสถานในการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรและผลประโชน์ ต่าง ๆ ถึงร้อยละ 71 แต่กระจายความเจริญกลับคืนมาเพียงน้อยนิดประมาณร้อยละ 4-5 ตาม ความรู้สึกของเขา โดยเฉพาะความเศร้าสลดต่อการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาลกลางปากีสถาน ในเมือง ชากี (Chagi) ของรัฐบาโลจิสถานท าให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาโดยเฉพาะโรคลูคีเมียที่พราก ชีวิตชาวบาโลชไปหลายรายและไม่มีการเยียวยาจากรัฐบาลกลางปากีสถาน ในเรื่องของความมั่นคงของมนุษย์ของชาวบาโลชในรัฐบาโลจิสถานนั้นเขาเห็นว่าย่ าแย่ มากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องปกติ มีการทารุณผู้ต้องหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยก ดินแดนอยู่เสมอถึงขั้นการข่มขืนคนในครอบครัวต่อหน้าผู้ต้องหาเพื่อจะให้พูดความจริงและสนองกาม อารมณ์ของทหารปากีสถาน มีการลอบสังหารก่อเหตุสถานการณ์ความไม่สงบรายวันทั้งจากฝ่ายกลุ่ม ชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช และฝ่ายรัฐบาลเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ผู้น ารัฐบาลกลาง ปากีสถานหลาย ๆ คนก็ได้แต่โฆษณาชวนเชื่อว่าจะช่วยเหลือชาวบาโลชแต่ความช่วยเหลือนั้นไม่เคย เข้าถึงชาวบาโลชอย่างแท้จริงท าให้รัฐบาลกลางปากีสถานไม่สามารถชนะใจชาวบาโลชได้ การเรียน การสอนในภาษาของชาวบาโลชถูกแทนที่ด้วยภาษาอูรดูของชาวปัญจาบ ท าให้ชาวบาโลชไม่รู้สึกว่า รัฐบาโลจิสถานเป็นเหมือนบ้านของตัวเองส่งผลให้เกิดความต้องการเอกราช และสิทธิในการปกครอง ตนเองเสมอมาตั้งแต่การรวมประเทศปากีสถาน ส่วนในเรื่องของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้นเขากล่าวว่าโครงการนี้เป็นโครงการ ที่ไม่ได้เปิดให้มีการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและพิจารณาโดยกลุ่มของชาวบาโลชแต่อย่างใดและไม่ได้ สร้างความพึงพอใจแก่ชาวบาโลชมากนักท าให้ยังมีการก่อการร้ายของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนต่อ ฝ่ายรัฐบาลอยู่เสมอ และมีการทุจริตสูงของข้าราชการระดับต่าง ๆ ที่ปฏิบัติติงานในรัฐบาโลจิสถาน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ โครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน10

10 Former member of Baloch insurgent group, Interview by Adeeb Yusuf, Bangkok, December 16, 2017.

Ref. code: 25605903030525DHV 73

บทสัมภาษณ์อดีตสมาชิกกาชาดสากลที่ปฏิบัติงานที่รัฐบาโลจิสถานกว่า 10 ปี ผู้เขียนได้ท าการสัมภาษณ์อดีตสมาชิกกาชาดสากลที่เคยปฏิบัติงานที่รัฐบาโลจิสถาน ถึงสาเหตุของความขัดแย้ง และผลกระทบจากโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานกับความ เป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของความขัดแย้งในรัฐบาโลจิสถาน เป็นไปในทิศทางเดียวกับชาวบาโลชอดีตสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนข้างต้น และเห็นว่า ยังไม่มีสัญญาณของการประนีประนอมที่จะเป็นหนทางสู่สันติภาพ ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยก ดินแดนกับฝ่ายรัฐบาล รัฐบาลกลางปากีสถานเองก็พยายามใช้ความเป็นอิสลามนิยมในการเจือจาง ความรู้สึกชาตินิยมและความกระด้างกระเดื่องของชาวบาโลชให้ลดลงไป เพื่อหวังที่จะความคุมกลุ่ม ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ก่อการอยู่ในรัฐบาโลจิสถานได้ง่ายขึ้น ส่วนในเรื่องของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้น เขากล่าวว่าประชาชนชาวบาโลช ในรัฐบาโลจิสถานที่เขาได้ปฏิบัติงานด้วย ไม่เห็นถึงความส าคัญของท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ ในรัฐบาโลจิสถานและมองว่าท่าเรือนี้เป็นผลประโยชน์ของชาวปัญจาบและรัฐบาลกลางปากีสถานที่ จะกอบโกยจากพวกเขา เรื่องของการกระจายความเจริญและการจ้างงานเป็นสิ่งที่พวกเขาเห็นว่ายาก ที่จะจับต้องได้จากโครงการนี้11 จะเห็นได้ว่าชาวบาโลชมีความกระหายในเสรีภาพและเอกราชเสมอมา ตั้งแต่ในยุคของ การล่าอาณานิคมจากการลุกฮือที่นับไม่ถ้วนของพวกเขากับอังกฤษ และในปัจจุบันก็ยังมีการต่อต้าน รัฐบาลกลางอยู่เสมอแม้พวกเขาจะได้สถานะซึ่งความเป็นรัฐของตนเองแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากถูก แทรกแซงทางการเมืองจากส่วนกลางอยู่บ่อยครั้งประกอบกับการกระท าต่าง ๆ ที่พวกเขามองว่าถูก เอาเปรียบจากรัฐบาลกลาง จึงท าให้ความกระหายที่จะได้เสรีภาพและเอกราชของพวกเขาโดยเฉพาะ ของกลุ่มกองทัพปลดปล่อยบาโลจิสสถานนั้นไม่เคยหมดลง

11 Former member of International Red Cross and Red Crescent Movement, Interview by author, Bangkok, December 17, 2017.

Ref. code: 25605903030525DHV 74

บทที่ 6 ภูมิหลังความสัมพันธ์ระหว่าง สาธารณรัฐประชาชนจีน - สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน

6.1 ความสัมพันธ์หลังจากการก่อตั้งประเทศปากีสถาน

ปฏิสัมพันธ์แรกที่สาธารณรัฐอิสลามปากีสถานมีต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน คือการที่ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถานให้การยอมรับความเป็นรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1951 ซึ่งปากีสถานนั้นเป็นประเทศที่ไม่ได้มีรูปแบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ชาติที่สาม และเป็น ประเทศมุสลิมประเทศแรกที่ให้การยอมรับความเป็นรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งสองประเทศ ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1951 เริ่มจากที่ปากีสถานได้มีการ เสนอชื่อของ พลตรี เอ็นเอ็ม ราซา (Major General N.M. Raza) ให้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็น เอกอัครราชทูตคนแรกของปากีสถาน ณ กรุงปักกิ่ง ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 19511 ในช่วงเวลานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างปากีสถานและจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งหรือพิเศษไปกว่าประเทศอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีนเท่าใดนัก ปัญหาในบริเวณชายแดนปากีสถานและจีนก็ ยังคงไม่มีความสงบ และท่าทีของจีนก็ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับกรณีข้อพิพาทในแคชเมียร์ รวมถึงในช่วง นั้นจีนก็ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอินเดียอยู่ ในด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีนและปากีสถานได้ริเริ่มมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันครั้ง แรกเมื่อปี ค.ศ. 1952 ที่ทั้งสองประเทศได้มีการขยายขอบเขตทางการค้าระหว่างกัน ภายใต้ข้อตกลง การแลกเปลี่ยนทางการค้า โดยการที่ปากีสถานจะส่งออกฝ้ายมูลค่า 97.2 ล้านรูปีปากีสถาน ไปยังจีน เพื่อแลกเปลี่ยนกับถ่านหินและปอกระเจา2 ซึ่งในขณะนั้นมูลค่าการส่งออกของปากีสถานไปยังจีนมีสูง ถึง 84 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกของจีนมายังปากีสถานนั้นมีเพียง 2.2 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาที่ถือเป็นผู้น าของค่ายโลกเสรีในขณะนั้น ปากีสถานก็ได้บรรลุข้อตกลงความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงินจากสหรัฐฯภายใต้โครงการ พอยท์โฟร์ (Point-Four Programme) ซึ่งมีการลงนามร่วมกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แฮรี่ ทรูแมน

1 B. N. Goswami, Pakistan and China: A Study of their Relation (Bombay: Allied Publishers, 1971), 14. 2 Aabha Dixit, “Sino-Paki Relations and Their Implications for India,” Strategic Analysis Vol 11, Issue 9 (1987) :1167.

Ref. code: 25605903030525DHV 75

สัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างจีนและปากีสถานที่ ใกล้ชิดมากขึ้นนั้นเกิดขึ้นในช่วงการประชุมบันดุง (Bandung Conference) ปี ค.ศ. 1955 หลังจากที่ มูฮัมหมัด อาลี บอกรา (Muhammad Ali Bogra) นายกรัฐมนตรีของปากีสถานในขณะนั้น ได้พบปะ พูดคุยกับ โจว เอินไหล (Chou Enlai) นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณะรัฐประชาชนจีน ถึงการสร้างความ เข้าใจซึ่งกันและกันในเรื่องบทบาทของทั้งสองประเทศในระบบโลกยุคสงครามเย็น และความต้องการ ที่จะพัฒนาความสัมพันธ์รวมถึงความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ความสนใจของมหาอ านาจที่มีต่อปากีสถาน ภูมิศาสตร์ของปากีสถานที่ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ในเอเชียใต้นั้น เป็นเสมือนแม่เหล็กที่ ดึงดูดมหาอ านาจต่าง ๆ รวมถึงจีน ให้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับปากีสถาน ในช่วงแรกดินแดนของ ปากีสถานประกอบด้วยสองส่วน คือ ปากีสถานตะวันตก (ปากีสถานปัจจุบัน) และปากีสถาน ตะวันออก (บังคลาเทศปัจจุบัน) ทั้งสองส่วนไม่ได้อยู่ติดกัน และไม่ได้มีการสร้างความเป็นอัตลักษณ์ใน ความเป็นชาติของปากีสถานร่วมกัน ประกอบกับความแตกแยกในภูมิภาคต่าง ๆ ของปากีสถาน ท าให้ ปากีสถานมีจุดอ่อนจากความขัดแย้งภายในประเทศ และการที่รัฐบาลปากีสถานบังคับใช้นโยบาย ทางด้านความมั่นคงภายในอยู่เสมอเพื่อแก้ไขกับปัญหาความขัดแย้งความแตกแยกภายในประเทศ ท าให้ปากีสถานเป็นที่สนใจของมหาอ านาจ เนื่องจากมหาอ านาจเหล่านั้นเห็นว่าปากีสถานเป็น ประเทศที่ยังไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง รวมถึงเอกภาพที่เข้มแข็งเท่าใดนัก สภาพการณ์เช่นนี้จึงท า ให้มหาอ านาจเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของปากีสถานได้อย่างง่ายดาย มหาอ านาจต่าง ๆ จึงมี ความต้องการที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือรัฐบาลกลางปากีสถาน ในการสร้างความเข้มแข็งทางความ มั่นคงเพื่อต่อกรกับภัยคุกคามต่าง ๆ ภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจากความ ช่วยเหลือเช่นนี้ของมหาอ านาจก็มีจุดประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ทางทรัพยากรที่มี อยู่มากมายในปากีสถานเป็นสิ่งตอบแทน จีนในฐานะที่เป็นประเทศมหาอ านาจและเป็นประเทศเพื่อนบ้านของปากีสถาน จึงเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ดังกล่าว ท าให้มีความต้องการที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับปากีสถานไว้ใน ทุกยุคสมัยตั้งแต่การเริ่มก่อตั้งประเทศจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับในช่วงปี ค.ศ. 1961 ที่ปากีสถานได้ สร้างความพึงพอใจแก่สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นอย่างมากในการลงมติให้สาธารณรัฐประชาชนจีน มีความชอบธรรมในการเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ท าให้ความสัมพันธ์ระหว่างปากีสถานและ สาธารณรัฐประชาชนจีนยิ่งมีความใกล้ชิดและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอีก ในอีกด้านหนึ่งการเสื่อมลงของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอินเดียจากในสงครามจีน อินเดียในปี ค.ศ. 1962 ได้สร้างโอกาสให้แก่ปากีสถานในการขยายขอบเขตของความร่วมมือกับจีน โดยการลงนามในข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือบริเวณชายแดนระหว่างประเทศทั้งสอง

Ref. code: 25605903030525DHV 76

และโครงการก่อสร้างถนนจากปากีสถานเพื่อเชื่อมโยงไปยังเขตปกครองตนเองซีนเจียงอุยกูร์ (Xinjian-Uygur) ของจีน ในปี ค.ศ. 1963

6.2 ความสัมพันธ์ในช่วงยุคสงครามเย็นและหลังสงครามเย็น

ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและปากีสถานในช่วงยุคสงครามเย็นนั้นมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และถือเป็นกลยุทธ์ที่ทั้งสองประเทศใช้ในการตอบโต้สหภาพโซเวียต และพันธมิตรที่ส าคัญในภูมิภาค เอเชียใต้อย่างอินเดียในช่วงทศวรรษ 1971 และ 1981 ซึ่งเป็นประเทศคู่ปรับคู่ขัดแย้งตลอดกาลของ ปากีสถานรวมทั้งจีนหลังจากที่ได้ท าสงครามกันมาก่อน ประกอบกับในช่วงเวลาครึ่งหลังของทศวรรษ ที่ 1961 จีนและโซเวียตเริ่มมีความขัดแย้งกันเองภายในค่ายโลกคอมมิวนิสต์ ความสัมพันธ์ระหว่างจีน และปากีสถานที่มีความเน้นแฟ้นในด้านหนึ่งจึงเป็นไปเพื่อการลดอิทธิพลของโซเวียตและอินเดียใน ภูมิภาคเอเชียใต้รวมถึงตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในอัฟกานิสถานที่จีนมองว่าเป็นเป้าหมายในการยึด ครองของโซเวียตที่เป็นไปเพื่อการปิดล้อมจีน หลังจากที่ได้ครอบครองคีร์กิซสถานและทาจิกิสถานไว้ อยู่ในสหภาพของตนแล้ว จีนจึงต้องเร่งรีบในการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งมีความส าคัญต่อความมั่นคงของจีนด้วยวิธีการเสริมสร้างพันธมิตรที่แน่นแฟ้นกับปากีสถาน เพื่อสร้างดุลแห่งอ านาจในภูมิภาค และเพื่อขยายอิทธิพลในภูมิภาคนี้ต่อไป การรักษาความสัมพันธ์กับสหรัฐฯและจีน ในช่วงปี ค.ศ. 1954 ปากีสถานจ าเป็นต้องให้ความส าคัญกับภัยคุกคามทางด้านความ มั่นคงจากความรู้สึกไม่มั่นคงต่อประเทศใกล้เคียงอย่างอินเดีย ที่ก าลังได้รับการสนับสนุนในการเพิ่ม ขีดความสามารถทางทหารอย่างแข่งขันกันในการซื้อใจอินเดียให้เข้ามาอยู่ในค่ายของตนจาก มหาอ านาจผู้น าค่ายโลกเสรีอย่างสหรัฐฯ และค่ายโลกคอมมิวนิสต์อย่างสภาพโซเวียต โดยปากีสถาน ให้การยอมรับความช่วยเหลือจากจีนเพื่อยกระดับเทคโนโลยีทางทหารระหว่างกัน ในอีกด้านหนึ่ง สหรัฐฯเองก็ก าลังวางแผนที่จะควบคุมการลุกลามของคอมมิวนิสต์ในเอเชีย โดยการรวมกลุ่มความ มั่นคงร่วมกันทางการเมืองอย่าง องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization: SEATO) และองค์การสนธิสัญญากลาง (Central Treaty Organization: CENTO) หรือ องค์การสนธิสัญญาตะวันออกกลาง (Middle East Treaty Organization: METO) ซึ่งองค์การเหล่านี้ก็เป็นที่สนใจของปากีสถานเช่นกัน ปากีสถานได้ให้ความสนใจในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการรวมกลุ่มความมั่นคงร่วมกัน ทางการเมือง ภายใต้ผู้น าโลกโลกเสรีอย่างสหรัฐฯหลังจากได้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางทหาร ระดับสูงในการเยี่ยมเยือนระหว่างกันกับสหรัฐฯ และประเทศกลุ่มพันธมิตรในนาโต้อย่างตุรกี เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันทางด้านความมั่นคง และรูปแบบของการรวมกลุ่มความมั่นคงร่วมกัน

Ref. code: 25605903030525DHV 77

ทางการเมืองที่สหรัฐฯ ได้จัดตั้งขึ้นในภูมิภาคเอเชีย หลังจากนั้นปากีสถานก็ได้ลงนามข้อตกลงที่ส าคัญ สองฉบับกับสหรัฐฯ ได้แก่ องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1954 และองค์การสนธิสัญญากลาง (CENTO) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1955 หรือที่รู้จักกันในช่วงแรกว่าสนธิสัญญาแบกแดด (Baghdad Pact) แม้ว่าหลังจากการลงนามรัฐบาลปากีสถานจะยินยอมสหรัฐฯในการจัดตั้งฐานทัพทหาร ในเมืองเพชาวาร์ (Peshawar) ในทางตะวันออกเฉียงเหนือของปากีสถาน แต่ปากีสถานก็ไม่สามารถ เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้มากนักจากการรวมกลุ่มความมั่นคงร่วมกันทางการเมืองจากองค์การทั้งสอง ที่สหรัฐฯ ได้จัดตั้งขึ้นมา เนื่องจากองค์การเหล่านั้นไม่มีรูปแบบของการป้องกันร่วมกัน (Collective Defence) ของกลุ่มประเทศรัฐสมาชิก ดังเช่นที่ระบุไว้ในมาตราที่ 5 แห่งกฎบัตรแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Charter) ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization: NATO)3 ยกเว้นความช่วยเหลือทางด้านทหารที่เน้นไปที่การให้ค าปรึกษา และการเงิน ระหว่างกัน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างปากีสถานกับสหภาพโซเวียตในขณะนั้นก็เกิดความตึงเครียด ขึ้นหลังจากการปากีสถานปฏิเสธที่จะไปเยือนมอสโกตามค าเชิญของรัฐบาลโซเวียตซึ่งน าไปสู่การ รณรงค์ต่อต้านปากีสถานของรัฐบาลโซเวียต โดยการสร้างความวุ่นวายในดินแดนทางตะวันตก เฉียงเหนือของปากีสถานที่ปัจจุบันคือส่วนของ รัฐไคเบอร์ปัคชตุนควา (Khyber Pakhtunkhwa) ผ่านอัฟกานิสถาน โดยให้การสนับสนุนการลุกฮือของประชาชนและกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเพื่อเอกราช ของประเทศปัคชตุนิสถาน (Pakhunistan) ในดินแดนดังกล่าว และการสนับสนุนท่าทีของอินเดียใน กรณีแคชเมียร์ จีนได้กล่าวหาว่าท่าทีของสหรัฐฯในการจัดตั้งองค์การความมั่นคงร่วมกันทางทหาร ต่าง ๆ ในเอเชียในขณะนั้นว่า เป็นไปเพื่อการล้มล้างความชอบธรรมในอ านาจการปกครองของรัฐบาล ของประเทศสมาชิก และแทรกแซงกิจการภายในของรัฐบาลประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวของส านักข่าว พีเพิลส์เดย์ลี่ (People’s Daily) สื่อท้องถิ่นของจีนก็ได้วิเคราะห์และพยายาม ตักเตือนรัฐบาลปากีสถานว่าข้อตกลงความมั่นคงทางทหารหล่านี้จะท าให้ปากีสถานกลายเป็นฐานทัพ ของชาวอเมริกันและเป็นอันตรายต่อความมั่นคงและอธิปไตยของปากีสถานเสียเอง4 ท าให้ต่อมา หลังจากการประชุมมนิลา (Manila Conference) ในปี ค.ศ. 1954 เกี่ยวกับการเข้าร่วมองค์การ

3 มาตรา 5 แห่งกฎบัตรแอตแลนติกเหนือ ก าหนดให้ประเทศสมาชิกนาโต้ทั้งหมดจะต้องให้ ความร่วมมือกันช่วยเหลือประเทศสมาชิกใด ๆ ที่ถูกคุกคามหรือถูกรุกราน โดยให้ถือว่าการโจมตี ประเทศสมาชิกนาโต้ประเทศใดประเทศหนึ่ง ถือเป็นการโจมตีประเทศสมาชิกนาโต้ทั้งหมด 4 Anwar Syed Hussai, “China and Pakistan: Diplomacy of an Entente Cordiale” Amherst: The University of Massachusetts Press (1974), 56-58.

Ref. code: 25605903030525DHV 78

สนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เอกอัครราชทูตปากีสถาน ณ กรุงมนิลา ได้ให้ค ายืนยันต่อ นายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนและปากีสถานจะยังคง เฟื่องฟูต่อไปโดยไม่จ าเป็นต้องค านึงถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างปากีสถานกับสหรัฐฯ จีนและ ปากีสถานจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติต่อจากนี้ไป และทางรัฐบาลปากีสถานยินดีที่จะตอบรับค าเชิญ ของ นายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล เพื่อเข้าร่วมการประชุมบันดุง และการเข้าร่วมการประชุมบันดุง ครั้งนี้ก็ได้น าไปสู่การพบปะของ มูฮัมหมัด อาลี บอกรา นายกรัฐมนตรีของปากีสถานและ โจว เอินไหล ท าให้มีการพูดคุยสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันในเรื่องบทบาทของทั้งสองประเทศใน ระบบโลกยุคสงครามเย็น และความต้องการของทั้งสองประเทศที่จะพัฒนาความสัมพันธ์รวมถึงความ ร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ท าให้เป็นการริเริ่มรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง จีนและปากีสถานที่มีความใกล้ชิดมากขึ้นดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในการประชุมที่บันดุงครั้งนี้มีประเทศที่มีแนวนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดจากทวีปเอเชีย และแอฟริกา (non-aligned Afro-Asian states) เข้าร่วม โจว เอินไหล ในฐานะตัวแทนของ มหาอ านาจในเอเชีย ได้เสนอรูปแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างประเทศที่วางตัวเป็นกลาง ต่าง ๆ ในสภาวะสงครามเย็น ด้วยหลักการปัญจศีล (Panchsheel accord) ที่เคยใช้กับการแก้ปัญหา ในกรณีเขต ทิเบต เมื่อปี ค.ศ. 1954 ที่มีหลักการในการรักษาสันติภาพที่ส าคัญอยู่ 5 ปะการ ได้แก่ - การเคารพในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนระหว่างกัน - การไม่รุกรานระหว่างกัน - การไม่แทรกแซงกิจการภายในระหว่างกัน - ความเสมอภาคและความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน - การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มูฮัมหมัด อาลี บอกรา เห็นด้วยกับหลักการดังกล่าวที่ถูกเสนอโดย โจว เอินไหล เพื่อรักษาสันติภาพในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา และเขาได้แสดงความมั่นใจกับ โจว เอินไหล ว่าปากีสถานไม่มีความหวาดระแวงใด ๆ ต่อจีนในเรื่องของการรุกราน และปากีสถานจะไม่เข้าร่วมใน สงครามใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐฯกับจีน รวมทั้งจะไม่เป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านจีน ในขณะเดียวกัน โจว เอินไหล ก็ได้แสดงออกถึงความเข้าใจ ในท่าทีของปากีสถานใน องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ว่าปากีสถานได้ลงนามใน องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) กับอเมริกาเพียงเพื่อความมั่นคง ของปากีสถานที่หวาดระแวงต่อประเทศอินเดียที่ในขณะนั้นก าลังเอนเอียงเข้าไปอยู่ในค่ายโลก คอมมิวนิสต์และได้รับการสนับสนุนในมิติทางด้านความมั่นคงจากสหภาพโซเวียต ปากีสถานจึงต้อง เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เพื่อเป็นการสร้างความ มั่นใจในความรู้สึกมั่นคงให้แก่ตนเอง และเป็นการถ่วงดุลอ านาจกับอินเดียในฐานะมหาอ านาจใน

Ref. code: 25605903030525DHV 79

ระดับภูมิภาค และสหภาพโซเวียตที่เป็นมหาอ านาจในระดับโลกอีกด้วย ซึ่งท่าทีการเคลื่อนไหวเช่นนี้ ของปากีสถานก็สามารถน ามาวิเคราะห์ได้ตามทฤษฎีดุลแห่งอ านาจของส านักสัจจนิยมใหม่ ที่ถูก ปรับปรุงและน าเสนอโดย Kenneth N. Waltz ที่เห็นว่าการที่รัฐต่าง ๆ จะอยู่รอดในสภาวะ อนาธิปไตยของระบบการเมืองระหว่างประเทศได้นั้น ต้องมีการสร้างดุลแห่งอ านาจ ซึ่งสามารถสร้าง ได้ด้วย 2 วิธีการ คือ การสร้างดุลแห่งอ านาจผ่านการพัฒนาตัวแปรต่าง ๆ ภายในรัฐ โดยการใช้ ทรัพยากรภายในรัฐ ในการเพิ่มพูนขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ การพัฒนากลยุทธ์ที่ชาญฉลาด ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังความเป็นไปได้ในการเพิ่มพูดขีดความสามารถทางทหารของรัฐ เพื่อสร้าง ความรู้สึกมั่นคงให้แก่รัฐต่อไป รวมถึงชื่อเสียงทางทหาร ทั้งในทางนามธรรม เช่น ขนาดของกองทัพ จ านวนของอาวุธยุทโธปกรณ์ เทคโนโลยีทางทหาร เป็นต้น และในทางรูปธรรม เช่น การชนะสงคราม การป้องกันการรุนรานที่ประสบความส าเร็จ เป็นต้น การสร้างดุลแห่งอ านาจภายนอกรัฐ จะเกิดขึ้นเมื่อรัฐมีความรู้สึกไม่มั่นคงเนื่องจาก ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความอ่อนด้อยในด้านขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถทาง ทหาร ซึ่งวิธีการที่จะสร้างความรู้สึกมั่นคงให้แก่รัฐเพื่อความอยู่รอดในสภาวะอนาธิปไตยของระบบ การเมืองระหว่างประเทศได้นั้น ก็คือการสรรหารัฐพันธมิตรเพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคงให้แก่รัฐตนและ เพิ่มพูนอ านาจในการต่อรองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น5 วิธีการเช่นนี้ก็เคยถูก อังกฤษน าไปใช้เพื่อลดอิทธิพลของมหาอ านาจไม่ให้มีอ านาจน าหรือความเป็นเจ้าโลก ในช่วงก่อน สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ค.ศ. 1684-1914 ที่ระบบการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้นเป็นรูปแบบ หลายขั้วอ านาจ (Multi-Polar System) และมีการสร้างดุลแห่งอ านาจอยู่เสมอ การประชุมบันดุงจบลงไปด้วยการสร้างความมั่นใจร่วมกันทางความมั่นคงระหว่าง ปากีสถานและจีน และท าให้ความสัมพันธ์ทางการทูต ทางวัฒนธรรม การค้า และความสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศเป็นไปอย่างราบรื่นและงดงาม ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากการประชุม บันดุง ฮุสเซ็น ชาฮีด ชูราวาร์ดี (Huseyn Shaheed Suhrawardy) นายกรัฐมนตรีของปากีสถานคน ต่อมาหลังจาก มูฮัมหมัด อาลี บอกรา และ โจว เอินไหล ยังมีท่าทีตอกย้ าว่าประเทศทั้งสองไม่มีความ แตกต่างกันในเรื่องการด าเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นไปเพื่อการใฝ่หาสันติภาพและความสงบ เรียบร้อย แต่ในท่าทีของจีนในเรื่องของปัญหาแคชเมียร์ จีนยังคงต้องการให้อินเดียและปากีสถาน ระงับข้อพิพาทลงโดยสันติวิธี

5 Kenneth N. Waltz, Theory of International Politics (Long Grove: Waveland Press, 2010), 118-121.

Ref. code: 25605903030525DHV 80

ในช่วงหลังจากการก่อตั้งประเทศ ปากีสถานเองก็ต้องเผชิญปัญหาความขัดแย้งภายใน ที่รุนแรงทั้งจากการลุกฮือของประชาชนและการรุกรานของอินเดียในดินแดนทางตะวันออกอย่าง แคชเมียร์ (Kashmir) การลุกฮือของประชาชนในดินแดนปากีสถานตะวันออกที่ต้องการแยกประเทศ เป็นบังกลาเทศ การลุกฮือของประชาชนเพื่อเอกราชของประเทศปัคชตุนิสถาน (Pakhunistan) ของชาวปัชตุนในดินแดนทางตะวันตก และการลุกฮือของประชาชนเพื่อเอกราชของประเทศ บาโลจิสถาน (Balochistan) ของชาวบาโลชในดินแดนทางใต้ของปากีสถาน ท าให้ปากีสถานไม่ ต้องการมีศัตรูและปัญหาทางความมั่นคงใด ๆ เพิ่มขึ้นอีกจากที่เป็นอยู่ และไม่ต้องการยืนอยู่ข้างใดใน สภาวะความตึงเครียดระหว่างค่ายเสรีนิยมและคอมมิวนิสต์ในสงครามเย็น การที่ปากีสถานให้การยอมรับที่จะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดแน่นแฟ้นกับจีนในฐานะที่ เป็นประเทศมหาอ านาจนั้น เนื่องจากปากีสถานไม่ต้องการมีปัญหาใด ๆ กับประเทศเพื่อนบ้านอีกและ ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการตอบโต้อินเดียผู้ซึ่งกลายเป็นมหาอ านาจแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ในเวลา ต่อมา การร่วมมือกับจีนอย่างใกล้ชิดในโครงการต่าง ๆ ก็เป็นการสร้างความเข้มแข็งทั้งทางด้านความ มั่นคงและความมั่งคั่งให้แก่ปากีสถานไปในตัวด้วย ตามแนวทฤษฎีสัจนิยม (Realism) ที่เห็นว่าเป็น เรื่องปกติเมื่อรัฐมีความอ่อนแอก็ต้องแสวงหาพันธมิตรเพื่อความมั่นคงอยู่รอดของรัฐตนในระบบ การเมืองระหว่างประเทศที่มีสภาวะเป็นอนาธิปไตย ท าให้ปากีสถานให้การยอมรับและส่งเสริม ความสัมพันธ์ระหว่างกันกับจีนอย่างเต็มที่เสมอมาจนถึงปัจจุบัน จีนเองก็ได้ให้การสนับสนุนปากีสถาน ในความช่วยเหลือด้านการทหารและเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 ที่จีนสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ ทางทหารที่แก่กองทัพปากีสถาน ช่วยสร้างโรงงานผลิตกระสุน ให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีและ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในช่วงปี ค.ศ. 1963 จีนได้ให้ปากีสถานกู้ยืมงินไร้ดอกเบี้ยเป็นมูลค่า สูงถึง 50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของปากีสถาน และได้เริ่ม มีรูปแบบความร่วมมือในความช่วยเหลือทางทหารระหว่างกันในช่วง ปี ค.ศ. 1966 รวมถึงการให้การ สนับสนุนกองทัพปากีสถานในสงครามกับอินเดียในปี ค.ศ. 1965 6.2.1 ความสัมพันธ์กับจีนปลายทศวรรษที่ 1960 ในช่วงสงครามปี ค.ศ. 1965 ระหว่างอินเดียกับปากีสถาน จีนไม่ได้เพียงสนับสนุน ปากีสถานในด้านต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น แต่ท่าทีของจีนในกรณีปัญหาแคชเมียร์ที่จีนเคย ต้องการให้อินเดียและปากีสถานระงับข้อพิพาทลงโดยสันติวิธี ได้เปลี่ยนไปกลายเป็นการสนับสนุน ท่าทีของปากีสถานในประเด็นแคชเมียร์ และวิจารณ์ท่าทีของอินเดียว่าเป็นการรุกรานอธิปไตยของ ปากีสถาน ส่วนสหภาพโซเวียตในขณะนั้นยังคงวางตัวเป็นกลางในช่วงสงครามอินเดีย-ปากีสถาน แต่สหรัฐอเมริกาได้ท าการคว่ าบาตรต่อทั้งอินเดียและปากีสถาน เหตุการณ์เช่นนี้ท าให้ปากีสถานได้ เห็นชัดถึงความแตกต่างในสายใยมิตรภาพของตนกับสหรัฐอเมริกาและจีน

Ref. code: 25605903030525DHV 81

เหตุการณ์ดังกล่าวเอื้อให้ปากีสถานและจีนมีการได้มีการลงนามในข้อตกลงทางการค้าที่ อยู่บนหลักการปฏิบัติอย่างชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favored Nation Treatment: MFN) ในช่วงปี ค.ศ. 1966 และ 1967 ที่ทั้งสองประเทศได้มีการลงนามในการขยายขอบเขตข้อตกลง การค้าทางทะเล6 ท่าทีและปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเช่นนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความแน่นแฟ้นที่ มากขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างปากีสถานและจีนได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ผู้บัญชาการสูงสุดแห่ง กองทัพปากีสถานก็ยังได้เดินทางเยือนกรุงปักกิ่งอีกหลายครั้งต่อปี และจีนก็ได้ให้การสนับสนุน เครื่องจักรหนักแก่ปากีสถานมูลค่า 15 ล้านรูปี ส าหรับอุตสาหกรรมหนัก และอุตสาหกรรมทางทหาร ในเมืองตักสิลา (Heavy Mechanical Complex in Taxila) ที่แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 19687 นอกจากนี้ จีนยังให้เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยจ านวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯแก่ปากีสถาน เพื่อเป็นการช่วยเหลือทาง เศรษฐกิจ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็กในปากีสถาน แต่ในช่วง ทศวรรษที่ 1950 และ 1960 ปริมาณการค้าระหว่างปากีสถาน – จีนมีการปรับตัวลดลงเนื่องจากการ ปฏิวัติทางวัฒนธรรมในจีนในช่วงปี ค.ศ. 1966 และสภาพความสูญเสียหลังสงครามในปากีสถานที่ได้ มีการสู้รบในสงครามกับอินเดียถึงสองครั้ง

6 Ministry of Foreign Affairs, Important Documents on Relations Between the People’s Republic of China and the Islamic Republic of Pakistan (Beijing: Ministry of Foreign Affairs, 2116), 72. 7 Anwar Syed Hussai, China and Pakistan: Diplomacy of an Entente Cordiale, University of Massachusetts Press, 1974, 207.

Ref. code: 25605903030525DHV 82

USD

ภาพที่ 6.1 แสดงมูลค่าโดยประมาณของการค้าระหว่างจีนและปากีสถาน ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1952-1962 (หน่วยเป็นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) , Umbreen Javaid and Asifa Jahangir, "Pakistan-China Strategic Relationship: A Glorious Journey of 55 Years," Journal of the Research Society of Pakistan vol. 52, (2015): 168.

ความส าเร็จทางการทูตของปากีสถานในยุคสงครามเย็น นักวิชาการชาวตะวันตกและอินเดียมักให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าปากีสถาน ได้รับโล่เกราะที่แข็งแกร่งยิ่งเพื่อใช้ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้แก่รัฐของตน จากการพัฒนา ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดแน่นแฟ้นกับจีน และผู้เขียนเองก็เห็นว่าการด าเนินนโยบายต่างประเทศ ปากีสถานในช่วงสงครามเย็นเป็นรูปแบบของการด าเนินนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาด ซึ่งสามารถ แบ่งแยกออกได้เป็นสองประเด็นดังนี้ - การให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในฐานะผู้น าแห่งค่ายโลกเสรี โดยการเข้าร่วมเป็น ส่วนหนึ่งขององค์การที่มีรูปแบบความร่วมมือเพื่อความมั่นคงร่วมกันทางการเมืองในเอเชียอย่าง SEATO และ CENTO ซึ่งมีเป้าหมายในการจ ากัดการแพร่ขยายของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชีย - การให้ความร่วมมือ การยอมรับ และการใฝ่หาโอกาสที่เหมาะสมในการสร้างความ ประทับใจบนเวทีโลกหลาย ๆ ด้านกับจีน ซึ่งได้กลายเป็นมหาอ านาจที่แข็งแกร่งแห่งภูมิภาคเอเชียใน เวลาต่อมา รวมทั้งมีอ านาจต่อรองสูงกับมหาอ านาจผู้น าทั้งค่ายเสรีและคอมมิวนิสต์ การด าเนินนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาดเช่นนี้ของปากีสถานจึงท าให้ปากีสถานลด ความเสี่ยงต่อภัยคุกคามภายนอกประเทศที่มีสาเหตุมาจากผลกระทบของสงครามเย็นไปได้มาก รวมทั้งปากีสถานยังเป็นช่องทางที่ส าคัญช่องทางหนึ่งของสหรัฐฯ ในการติดต่อสร้างความเข้าใจและ

Ref. code: 25605903030525DHV 83

รื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตให้กลับคืนสู่สภาพปกติกับจีนอีกด้วย ดังที่ปรากฏในจดหมายของ นายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล ถึง เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศสหรัฐฯ หลังจากที่สหรัฐฯ พ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม ประกอบกับการปรับเปลี่ยน รูปแบบนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน

ภาพที่ 6.2 จดหมายจากนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล ถึง เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศสหรัฐฯ8

8 เนื้อหาบางส่วนในจดหมายจากนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล ถึง เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่มีการแสดงความขอบคุณแก่ประธานาธิบดี ยะห์ยา ข่าน ของปากีสถานที่ช่วยเหลือในการติดต่อ ระหว่างประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน และนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล ก่อนการเดินทางเยือนจีนที่เป็นความลับของ เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger secret visit) ผ่านปากีสถาน See also : William Bur, “The Beijing-Washington Back-Channel and Henry Kissinger's Secret Trip to China,” The National Security Archive, accessed january 22, 2018, nsarchive2.gwu.edu/NSAEBB/NSAEBB66/#docs. ดูฉบับเต็มได้ที่ภาคผนวก จดหมายฉบับที่ 1

Ref. code: 25605903030525DHV 84

ในขณะเดียวกันเมื่อใดที่เกิดปัญหาหรือสงคราม ปากีสถานก็มีมหาอ านาจอย่างจีนที่คอย ให้การสนับสนุนอยู่เสมอ ดังที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามกับอินเดียทั้งสองครั้ง และปากีสถานไม่ได้เข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะความตึงเครียดและความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างรุนแรงระหว่างมหาอ านาจค่าย โลกเสรีและค่ายคอมมิวนิสต์ (สงครามเย็น) เห็นได้จากการที่ไม่มี สงครามตัวแทน (Proxy War) เกิดขึ้นในดินแดนของปากีสถาน มีแต่ความขัดแย้งความต้องการแบ่งแยกดินแดน และการ ก่อความไม่สงบภายใน ที่มีอยู่มาแต่เดิมหลังก่อตั้งประเทศในส่วนของดินแดนที่ปัจจุบันคือ รัฐบาโลจิสกาน และ รัฐไคเบอร์ปัคชตุนควา ที่ฝ่ายกบฏจะได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือจาก สหภาพโซเวียตมาตลอดช่วงสงครามเย็นจนถึงปี ค.ศ. 1988 ที่อิทธิพลของ มีคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) เริ่มมีสูงขึ้นในฝ่ายบริหารของสหภาพโซเวียต และการเริ่มมีการปฏิรูปปรับ โครงสร้างระบบการเมืองและเศรษฐกิจตามนโยบาย กลาสนอสต์ และเปเรสตรอยคาของเขา (glasnost & perestroika) ที่ท าให้สหภาพโซเวียตเริ่มลดบทบาทในห้วงความขัดแย้งในพื้นที่ส่วน ต่าง ๆ ของโลกลงและน าไปสู่จุดสิ้นสุดของสงครามเย็นและการล้มสลายของสหภาพโซเวียตในที่สุด ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1961 จีนได้ให้การสนับสนุนปากีสถานอย่างเต็มที่ ในการ ช่วยเหลือปากีสถานในเรื่องการเรียกร้องความเป็นธรรมจากสังคมโลกเกี่ยวกับกรณีปัญหาในแคชเมียร์ และให้การร่วมมือทางวัฒนธรรมที่เพิ่มขึ้นภายใต้ข้อตกลงทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและปากีสถาน ในช่วงปี ค.ศ. 1966 ท าให้ปากีสถานตอบแทนจีนในเวทีระดับโลก โดยการสนับสนุนความชอบธรรม ในที่นั่งของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเปิดเผยในสหประชาชาติดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และทั้ง สองประเทศก็ยังมีท่าทีร่วมกันในเรื่องการจ ากัดและปลดอาวุธนิวเคลียร์สากล (Universal Disarmament) นอกจากนี้จีนยังได้ให้เงินช่วยเหลือแก่ปากีสถานมูลค่า 445 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อการพัฒนาประเทศตลอดช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1965-19719 การที่จีนประสบความส าเร็จในการทดลองระเบิดไฮโดรเจนของจีนในปี ค.ศ. 1967 ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ของผู้ทรงบทบาทระดับโลกต่าง ๆ แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งจีนในการพัฒนาอาวุธ นิวเคลียร์ได้แต่อย่างใด จุดนี้ท าให้ปากีสถานตระหนักว่าจีนนั้นมีอ านาจและอิทธิพลในทางด้านความ มั่นคง และทางเศรษฐกิจ รวมถึงอ านาจในการต่อรองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก และถือเป็นประเทศมหาอ านาจที่ปากีสถานควรรักษาความสัมพันธ์ให้ดีอยู่เสมอดังที่ปากีสถานได้ ปฏิบัติกับจีนเสมอมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1951 ท าให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและปากีสถานมี ความแนบแน่นมากจนถึงปัจจุบัน

9 Bhola, P. L, “Pakistan-China Relations: Search for Politico-Strategic Relationship,” Jaipur: R.B.S.A. Publishers (1986): 221.

Ref. code: 25605903030525DHV 85

ช่วงปี ค.ศ. 1965-1967 ปากีสถานได้ท าสงครามกับอินเดีย สหรัฐฯ จึงได้สร้าง แรงกดดันต่อปากีสถานที่มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับจีน โดยการยกเลิกการให้ความช่วยเหลือทาง เศรษฐกิจทั้งหมดในช่วงนั้น และน าไปยื่นให้อินเดียแทน ท าให้อินเดียกลายเป็นป้อมปราการของ สหรัฐฯ ในการต่อต้านปากีสถานและอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชียใต้ ท่าทีของสหรัฐก็ได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงปลายทศวรรษที่ 1961 หลังจากที่ ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้ก้าวขึ้นสู่อ านาจ และได้เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ให้เป็นไปในรูปแบบของการลดบทบาทในกรณีความขัดแย้ง การแข่งขันเชิงอ านาจ และสงครามต่าง ๆ ที่มีสาเหตุมาจากสภาวะความตึงเครียดและความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างรุนแรงระหว่างมหาอ านาจค่าย โลกเสรีและค่ายคอมมิวนิสต์ (สงครามเย็น) รวมถึงการถอนทหารออกจากเอเชียเพื่อลดการสูญเสีย ของกองทัพและทรัพยากรของสหรัฐฯ ในสมรภูมิต่าง ๆ โดยเฉพาะในเวียดนาม และหันมาให้ ความส าคัญในการติดต่อฟื้นฟูความส าพันธ์ทางการทูตกับจีนผ่านช่องทางการติดต่อที่เอื้ออ านวยโดย รัฐบาลปากีสถาน ท าให้เกิดการเยือนจีนที่เป็นความลับของ เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger secret visit) ผ่านปากีสถานในปี ค.ศ. 1971 น าไปสู่การเยือนจีนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ในปี ค.ศ. 1972 ท าให้ทั้งสองประเทศได้พูดคุยปรับความสัมพันธ์ระหว่างกัน และมี ท่าทีร่วมกันในการต่อต้านการขยายตัวของสหภาพโซเวียตในภูมิภาคเอเชีย ในเรื่องนี้ปากีสถานถือว่ามี บทบาทส าคัญอย่างมากในการขจัดความขมขื่นในความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา นักวิชาการบางท่านก็เห็นว่าในขณะนั้น ปากีสถานนั้นเป็นช่องทางเดียวส าหรับสหรัฐฯ ที่จะได้ติดต่อ กับจีน เนื่องจากปากีสถานเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับจีนและไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ เลวร้ายกับสหรัฐฯ10 และต่อมาสหรัฐฯ ก็ให้การยอมรับในความเป็นรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนว่าเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน รวมทั้งสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับ สาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 1 มกคราคม ค.ศ. 1979 6.2.2 ความสัมพันธ์กับจีนในช่วงการผ่อนคลายความตึงเครียด (Détente) ของยุค สงครามเย็น ในช่วงทศวรรษที่ 1970 เป็นยุคแห่งการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ แต่ในภูมิภาคเอเชียใต้นั้นเริ่มต้นด้วยการเข้าแทรกแซงทางการเมืองในปากีสถานของอินเดีย ทางดินแดนฝั่งตะวันออก และให้การสนับสนุนแก่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวบังกาลี รวมทั้งพรรค สันนิบาติอะวามี (Awami League) ที่น าโดย นาย ชีค มูจิบูร ระห์มาน ผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุด คือในการเลือกตั้งทั่วไปของปากีสถานซึ่งเป็นครั้งแรกบนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยใน

10 Bruce Riedel, and Pavneet Singh, “US.-China Relations: Seeking Strategic Convergence in Pakistan,” Policy Paper of Brookings No. 18 (2010): 3.

Ref. code: 25605903030525DHV 86

ปี ค.ศ. 1971 แต่ผลการเลือกตั้งกลับไม่ได้รับการยอมรับจากผู้น ากองทัพในภูมิภาคปากีสถาน ตะวันตก ท าให้อ านาจในการปกครองไม่ได้ถูกโอนไปยังผู้น าที่ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้น ของวิกฤตการณ์ความขัดแย้งระหว่างภูมิภาคตะวันออกและตะวันตกของปากีสถานเกิดสงครามกลาง เมืองในปากีสถาน รวมทั้งสงครามกับอินเดีย 13 วัน ในช่วงปลาย ปี ค.ศ. 1971 โดยผลของสงคราม คือการยอมจ านนโดยกองทัพปากีสถาน และเป็นจุดเริ่มต้นของของการแยกประเทศของภูมิภาค ปากีสถานตะวันออกกลายเป็นประเทศบังคลาเทศ ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1971 สภาพการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ได้ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบที่ชัดเจนของการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายและการเผชิญหน้าของรัฐในภูมิภาคและ มหาอ านาจนอกภูมิภาค

PAKISTAN INDIA PRC. VS USSR. UNITED STATES

โดยกลุ่มรัฐฝั่งทางด้านซ้าย (ปากีสถาน,จีน,สหรัฐ) มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น หลังจากมีการปรับความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหรัฐฯ ด้วยความช่วยเหลือ อ านวยความสะดวกในการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท (Good Offices) โดยปากีสถาน ส่งผลให้รัฐทั้ง สามมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและมีท่าทีต่อการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้เป็นไปใน รูปแบบทิศทางเดียวกันที่จะต่อต้านอิทธิพลของสหภาพโซเวียตและอินเดีย ที่พึ่งจะลงนามร่วมกันใน สนธิสัญญามิตรภาพและสันติภาพระหว่างกัน (USSR-India Treaty of Friendship and Peace) ในปี ค.ศ. 1971 ในสายความสัมพันธ์ระหว่าง สหรัฐฯ ปากีสถาน และจีน นั้นสามารถวิเคราะห์สายใย ความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ดังนี้ - จีนและสหรัฐฯ ใช้ปากีสถานเป็นตัวกลาง ในการอ านวยความสะดวก เพื่อปรับ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน - สหรัฐฯ ใช้ความสัมพันธ์อันดีกับปากีสถานและจีน สร้างดุลแห่งอ านาจในภูมิภาค เอเชียใต้ เพื่อถ่วงดุลกับอิทธิพลของสหภาพโซเวียตและอินเดียในภูมิภาคนี้

Ref. code: 25605903030525DHV 87

อย่างไรก็ตามในสายใยความสัมพันธ์ดังกล่าวก็ยังมีความระหองระแหงระหว่างกันอยู่ โดยเฉพาะระหว่างปากีสถานและสหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ปากีสถานในช่วง สงครามกับอินเดียในช่วงปี ค.ศ. 1971 ส่งผลให้ปากีสถานได้ถอนตัวออกจาก SEATO CENTO ในช่วง ปี ค.ศ. 1972 และ 1979 ตามล าดับ และการต่อต้านโครงการนิวเคลียร์ของปากีสถานอย่างหนักของ สหรัฐฯ ท าให้เกิดการคว่ าบาตรต่อปากีสถานในความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร จึงส่งผล ให้สหรัฐฯ ไม่ได้ให้การสนับสนุนทางทหารใด ๆ แก่ปากีสถานในช่วงที่สหภาพโซเวียตพยายามยึดครอง อัฟกานิสถานที่ถูกครอบครองโดยกลุ่มติดอาวุธ ซุนหนี่มูจาฮีดีน (Sunni Mujahideen) ในช่วงปี ค.ศ. 1979-1989 ในทางกลับกัน แม้จีนจะไม่ได้ให้การสนับสนุนทางทหารแก่ปากีสถานมากนักในช่วง สงครามกับอินเดียช่วงปี ค.ศ. 1971 เนื่องจากไม่ต้องการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ในการรุกราน ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน แต่จีนก็ได้ประนามอินเดียที่ได้กระท าการแทรกแซงกิจการภายในของ ปากีสถานจนเกิดความขัดแย้งบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองและสงครามระหว่างประเทศ ว่าการ กระท าดังกล่าวของอินเดียนั้นเป็นการรุกรานปากีสถาน ในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง สหประชาชาติในปี ค.ศ. 197111 จีนและปากีสถานยังได้ตกลงเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน ซึ่งมีการพัฒนาความเข้มข้นของความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ตลอดช่วงทศวรรษที่ 1971 และ 1981 ส่งผลให้จีนได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ปากีสถานรวมกันทั้งหมดเป็นมูลค่าสูงถึง 631 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาดังกล่าว12 ส่งผลให้จีนกลายเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดของปากีสถาน ในทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ และจีนได้ให้ความช่วยเหลือปากีสถานในโครงการนิวเคลียร์ที่เริ่มมา ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1972 จนประสบความส าเร็จในการทดลอง รวมทั้งจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดเป็น อันดับหนึ่งของปากีสถานในช่วงทศวรรษ 1971 อีกด้วย นอกจากนั้นจีนยังให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ปากีสถานในการพัฒนาเทคโนโลยี นิวเคลียร์ทั้งในทางทหารและทางพลเรือน ความร่วมมือของทั้งสองประเทศเช่นนี้ได้น าพาทั้งสอง ประเทศไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจการค้าและเทคโนโลยีในปี ค.ศ. 1982 ต่อมา ในปี ค.ศ. 1996 ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน (Jiang Zemin) ของจีนได้เดินทางไปเยือนปากีสถาน และทั้งสองประเทศมีความตั้งใจที่จะพัฒนาให้ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันครอบคลุมใน ทุกมิติ ความร่วมมือที่ใกล้ชิดเช่นนี้ระหว่างจีนและปากีสถานตลอดยุคสงครามเย็นท าให้เห็นว่า

11 Golam W.Choudhury, China in World Affairs: The Foreign Policy of the PRC Since 1970 (Boulder: Westview Press, 1982), 254-256. 12 Aabha Dixit, “Sino-Paki Relations and Their Implications for India” Strategic Analysis Vol. 11, Issue 9 (1987): 1167-1181.

Ref. code: 25605903030525DHV 88

จีนและปากีสถานนั้นมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันมาตลอดตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการ ทูตระหว่างกันในช่วงปี ค.ศ. 1951 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อตั้งประเทศของทั้งสองประเทศไม่นานนัก

USD

ภาพที่ 6.3 แสดงมูลค่าโดยประมาณของการค้าระหว่างจีนและปากีสถาน ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1977-1991 (หน่วยเป็นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ), Umbreen Javaid and Asifa Jahangir, “Pakistan-China Strategic Relationship: A Glorious Journey of 55 Years,” Journal of the Research Society of Pakistan vol. 52, (2015) : 174.

จากภาพที่ 6.3 แสดงให้เห็นได้ว่ามูลค่าทางการค้าระหว่างจีนและปากีสถานเพิ่มขึ้นเป็น หลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับกราฟมูลค่าทางการค้าระหว่างจีนและปากีสถานในช่วงทศวรรษที่ 1951 ทั้งนี้เนื่องจากความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศมีความแน่นแฟ้นและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยรูปแบบ ความร่วมมือที่มีบทบาทมากในการกระตุ้นตัวเลขทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและปากีสถาน ได้แก่ ข้อตกลงความเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันในช่วงทศวรรษที่ 1971 และ 1981 ท าให้มีการ สนับสนุนเม็ดเงินจ านวนมากที่ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหารของปากีสถาน การค้าขายอาวุธ และโครงการนิวเคลียร์ที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 เป็นจ านวนมาก รวมถึงเม็ดเงินความช่วยเหลือ จากจีนในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของปากีสถาน และจัดการกับปัญหาผู้ลี้ภัยชาว อัฟกานิสถานในช่วงปี ค.ศ. 1977 ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1981 มีคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ได้ริเริ่มการ การผ่อนคลายความตึงเครียด (détente) ของสงครามเย็น โดยการเจรจารื้อฟื้นและปรับความสัมพันธ์ กับจีนและสหรัฐอเมริกาส่งผลให้เกิดการถอนกองก าลังโซเวียตออกจากพื้นที่ความขัดแย้งต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งอัฟกานิสถาน ท าให้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียตและปากีสถานได้

Ref. code: 25605903030525DHV 89

ผ่อนคลายลงไปด้วย แต่ในกรณีความขัดแย้งระหว่างปากีสถานและอินเดียนั้นยังคงด าเนินต่อไป โดยเฉพาะความไม่พอใจจากรัฐบาลอินเดียต่อนโยบายด้านอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาล เบนาซีร์ บุตโต (Benazir Bhutto) ในขณะนั้นของปากีสถาน แม้รัฐบาลของบุตโตมีความพยายามที่จะรื้อฟื้นและปรับ ความสัมพันธ์ทางการทูตกับอินเดียก็ตาม 6.2.3 ความสัมพันธ์กับจีนในช่วงยุคหลังสงครามเย็น หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต สหรัฐฯ ได้กลายเป็นอภิมหาอ านาจของระบบ การเมืองระหว่างประเทศในยุคหลังสงครามเย็น และพยายามท าตัวเป็นต ารวจโลก รวมทั้งรณรงค์ สนับสนุนค่านิยมของประชาธิปไตยไปทั่วโลก ในช่วงปี ค.ศ. 1989 สหรัฐอเมริกาได้วิพากษ์วิจารณ์จีน ว่าเป็นประเทศที่มีรูปแบบการปกครองที่กดขี่ค่านิยมประชาธิปไตยรวมทั้งคุกคามสิทธิมนุษยชนของ ประชาชนในประเทศตนเอง ทั้งนี้สหรัฐฯ เองก็ได้เรียกร้องให้ปากีสถานประเทศที่มีความใกล้ชิดในแง่ ภูมิศาสตร์และความสัมพันธ์ทางการทูตที่ใกล้ชิดกับจีนท าการคว่ าบาตรจีนเนื่องจากประเด็นดังกล่าวที่ สหรัฐฯ ได้ท าการวิพากษ์วิจารณ์จีน โดยเฉพาะกรณีความสูญเสียจากเหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ปากีสถานไม่ได้ให้ความสนใจต่อค าเรียกร้องของสหรัฐฯ มากเท่าใดนัก ในทางตรงกัน ข้ามปากีสถานกลับให้การสนับสนุนนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงแห่งชาติของประเทศจีน ในกรณีของ ทิเบต ไต้หวัน และฮ่องกง แต่ภายหลังยุคสงครามเย็นจีนเริ่มมีท่าทีผ่อนปรนต่ออินเดีย มากขึ้น นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หลี่ เผิง ได้เสนอให้ปากีสถานแก้ไขปัญหา ข้อพิพาททั้งหมดที่เกิดขึ้นกับอินเดียในรูปแบบสันติวิธี เพื่อให้เอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่มีความสงบและ สันติเต็มไปด้วยเสถียรภาพทางความมั่นคงและพร้อมที่จะพัฒนาไปพร้อม ๆ กันกับจีน ความสัมพันธ์ที่ เป็นมิตรระหว่างประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมดในภูมิภาคนี้ รวมทั้งจีนจึงจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ส าหรับความ มั่นคงและการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคนี้ แต่อย่างไรก็ตามจีนยังคงให้การส่งเสริมปากีสถานในการ สร้างศักยภาพในการป้องกันประเทศต่อไปโดยเฉพาะในโครงการนิวเคลียร์ของปากีสถาน แม้จะมีแรง กดดันจากสหรัฐฯ ความส าเร็จของการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของปากีสถานในช่วงปี ค.ศ. 1998 ท าให้เกิด ดุลอ านาจของประเทศผู้ถือครองอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นในภูมิเอเชียใต้ระหว่างปากีสถานและอินเดีย แต่ทั้งนี้ปากีสถานก็ยังมีมหาอ านาจนิวเคลียร์ที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนพร้อมทั้งเป็นพันธมิตรที่ แน่นแฟ้นกับปากีสถาน ในประเด็นนี้จึงเป็นสิ่งที่อินเดียให้ความส าคัญและระมัดระวังอยู่เสมอในการ แสดงท่าทีระหว่างประเทศใด ๆ ที่มีผลกระทบในด้านลบต่อปากีสถานแต่ก็ใช่ว่าจะหมดไปซึ่งใน ประเด็นนี้จะกล่าวในบทถัดไป ในประเด็นของการประเมินภัยคุกคามภายนอกประเทศของรัฐบาล ปากีสถาน

Ref. code: 25605903030525DHV 90

ในแง่ของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและปากีสถานในยุคหลังสงครามเย็น นั้นมูลค่าทางการค้าระหว่างกันลดลง และปากีสถานกลายเป็นฝ่ายที่ขาดดุลการค้าจากจีน ในอีกด้าน หนึ่งอินเดียได้เปลี่ยนท่าทีในความสัมพันธ์กับจีน ที่เน้นการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนให้ มากขึ้น และพยายามขยับไปสู่การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างกันที่เป็นปกติระหว่างกันในช่วงต้นของ ยุคหลังสงครามเย็น ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1991-2114 มูลค่าการน าเข้าสินค้าจากจีนของปากีสถานสูงกว่า การส่งออกสินค้าของปากีสถานไปยังจีน ท าให้ปากีสถานขาดดุลทางการค้ากับจีนในทุก ๆ ปีของ ช่วงเวลาดังกล่าวผิดกับช่วงทศวรรษที่ 1981 โดยสิ้นเชิง แต่ทั้งนี้ก็อาจเป็นผลมาจากความเข้มแข็งและ ความทันสมัยของเทคโนโลยีทางการผลิตของจีน รวมถึงโรงงานนับหมื่นที่จัดตั้งขึ้นเพื่อธุรกิจการ ส่งออก และมีแรงงานค่าจ้างต่ าจ านวนมหาศาล จึงส่งผลให้การส่งออกของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในช่วงยุคหลังสงครามเย็น แม้จะมีการริเริ่มโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน ปากีสถาน แล้วก็ตามในช่วง ปี ค.ศ. 2113 ปากีสถานก็ไม่อาจปฏิเสธสินค้าส่วนใหญ่จากจีนที่เริ่มมีคุณภาพดีและราคาถูก ยากแก่การแข่งขันจากสินค้าที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมภายในของประเทศตน เช่นนี้จึงอาจท าให้มองเห็น ถึงสัญญาณบางอย่างแห่งความร่วมมือของระเบียงเศรษฐกิจจีน ปากีสถาน ที่จะวิเคราะห์ในหัวข้อ สุดท้ายของบทนี้

ตารางที่ 6.1 แสดงมูลค่าทางการค้าของปากีสถานในการการส่งออกและน าเข้าสินค้าจากจีน (หน่วย เป็นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ปี มูลค่าการส่งออก มูลค่าการน าเข้า 1991 66.91 336.68 1991 61.36 358.44 1992 54.12 421.78 1993 59.97 436.59 1995 121.16 515.26 1996 118.88 574.27 1997 158.21 584.81 1998 154.96 422.75 1999 181.72 446.76 2111 244.65 551.11 2111 289.38 487.12

Ref. code: 25605903030525DHV 91

ตารางที่ 6.1 แสดงมูลค่าทางการค้าของปากีสถานในการการส่งออกและน าเข้าสินค้าจากจีน (หน่วย เป็นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) (ต่อ) ปี มูลค่าการส่งออก มูลค่าการน าเข้า 2112 236.37 698.54 2113 259.64 957.33 2114 311.58 1,488.77 2115 435.68 2,349.39 2116 516.64 2,914.93 2117 1,114.7 6,591.5 2118 915.5 3,774.1 2119 973.8 7,629.2 2111 1,573 7,629 2111 1,931 9,282 2112 2,856 11,217 2113 2,916 12,117 2114 2,519 14,573 ที่มา: Umbreen Javaid and Asifa Jahangir, “Pakistan-China Strategic Relationship: A Glorious Journey of 55 Years,” Journal of the Research Society of Pakistan vol. 52, (2015): 177. และ Ahmad Rashid Malik, “The Pakistan-China Bilateral Trade:The Future Trajectory,” Strategic Studies, Vol. 37 No.1, (2117): 81-83.

ปากีสถานและจีนได้ริเริ่มการเจรจาทางการค้าเพื่อน าไปสู่รูปแบบของเขตการค้าเสรี ระหว่างจีนและปากีสถาน ในช่วงปี ค.ศ. 2113 ซึ่งข้อตกลงเขตการค้าเสรีจีน ปากีสถาน ได้มีผลบังคับ ใช้ในปี ค.ศ. 2116 ซึ่งจะเห็นได้จากตารางว่าในปีต่อมาคือ ค.ศ. 2117 นั้นมูลค่าการน าเข้าสินค้าจาก จีนและมูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังจีนของปากีสถานได้เพิ่มไปเป็นอีกหนึ่งเท่าตัว เนื่องจากทั้งสอง ประเทศได้ท าลายก าแพงภาษีระหว่างกัน เนื่องจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่เป็นไปเพื่อลดการกีดกัด ทางการค้าระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม ปากีสถานก็ยังเป็นฝ่ายขาดดุลทางการค้าเนื่องจากขนาดฐานผลิตที่ใหญ่ และทันสมัยกว่าของจีนท าให้ปากีสถานยากที่จะปฏิเสธสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูกจากจีน รวมถึง ยากที่จะน าสินค้าประเภทเดียวกันจากปากีสถานไปแข่งขันในตลาดจีน นอกจากจะเป็นประเภทสินค้า

Ref. code: 25605903030525DHV 92

ที่จีนมีความต้องการสูงอย่างเช่น สินค้าจ าพวกพลังงาน แร่ธาตุต่าง ๆ ที่ปากีสถานจะสามารถส่งออก ไปขายในจีนได้ ทั้งนี้ตั้งแต่จัดตั้งเขตการค้าเสรีกับจีนขึ้นมา และได้เห็นถึงการขาดดุลในการค้ากับจีน แล้ว แต่รัฐบาลชุดต่าง ๆ ของปากีสถานยังคงมียุทธศาสตร์ร่วมกันที่จะมุ่งเน้นนโยบายส่งเสริมการ ส่งออกมากกว่ากลยุทธ์การทดแทนการน าเข้า และเห็นว่าควรขยายขอบเขตการส่งออกไปยังประเทศ จีนให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศปากีสถาน ตลอดจนการเสริมสร้างความ แข็งแกร่งของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน

6.3 ความสัมพันธ์ในช่วงการตกลงความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน

ในประเด็นนี้ผู้เขียนได้อธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจีนและปากีสถานในช่วงการ ตกลงความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีนปากีสถานไปแล้วในช่วงท้ายของบทที่ 3 ในบทนี้ผู้เขียนจึงขอ เน้นไปที่รายละเอียดโครงการต่าง ๆ ที่จีนและปากีสถานด าเนินการร่วมกันหลังการลงนามในบันทึก ความเข้าใจ (Memorandums of Understanding: MoUs) ระหว่างทั้งสองประเทศ จ านวน 51 ฉบับเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกัน ในระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่ม โครงการความร่วมมือต่าง ๆ ได้ดังนี้ 6.3.1 กลุ่มโครงการความร่วมมือเกี่ยวกับส ารวจและขุดเจาะจัดเก็บพลังงานจาก ถ่านหิน พลังงานถ่านหินถือเป็นโครงการเรือธงที่ได้รับการจัดล าดับความส าคัญเป็นโครงการ ที่ส าคัญที่สุดในความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน โดยบริษัทของทั้งสองประเทศอย่าง Sindh Engro Coal Mining (SECMS) ของปากีสถาน และ บริษัท Sino Sindh Resources (Pvt.) Limited (SSRL) ของจีนที่ได้รับทุนจากสถาบันทางการเงินของจีน เพื่อให้เข้ามาท าการพัฒนาและ ส ารวจขุดเจาะหาถ่านหิน โดยมีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลของรัฐสินธ์ (Sindh) เพื่อร่วมกันส ารวจถ่านหินและน ามาผลิตไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทั้งหมด 2411 เมกกะวัตต์ ภายใน ปี 2118 ในรัฐบาโลจิสถานก็มีโรงไฟฟ้าถ่านหินมูลค่า 971 ล้านเหรียญสหรัฐ ใกล้เมืองศูนย์กลาง ทางพลังงานอย่างการาจี โดยมีก าลังการผลิต 961 เมกกะวัตต์ ที่จะมีการพัฒนาโดยการรวมทุนของ จีนและปากีสถาน โดย บริษัท China Power Investment Corporation ของจีน และ บริษัท Hub Power ของปากีสถาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขนาดใหญ่ถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพัฒนา ให้มีก าลังผลิตพลังงานจากถ่านหินให้ได้ 1,321 เมกกะวัตต์ รวมถึงในรัฐปัญจาบของปากีสถานก็มี โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เมืองชาฮิวาล (Sahiwal) ที่มีมูลค่า 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยได้ ด าเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม ปี 2116 และมีก าลังการผลิตไฟฟ้าสูงถึง

Ref. code: 25605903030525DHV 93

1,321 เมกกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหินนี้ถูกสร้างโดย การร่วมทุนของสองบริษัทจากจีนคือ บริษัท Huaneng Shandong company และ บริษัท Shandong Ruyi Science & Technology Group โดยทั้งสองบริษัทจะร่วมกันเป็นเจ้าของและด าเนินการผลิตไฟฟ้าให้รัฐบาลปากีสถานในราคา 8.36 เซนต์สหรัฐ / กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง โดยก าลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบันของปากีสถานคือ 24,831 เมกะวัตต์ แม้ว่าประเทศก าลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนพลังงานมากกว่า 4,511 เมกกะวัตต์เป็น ประจ า โดยมีการตัดกระแสไฟฟ้าเป็นประจ าถึง 5 ชั่วโมงต่อวันในปากีสถาน เรื่องของพลังงานนั้นถือ เป็นประเด็นส าคัญ ของความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน และเมื่อโครงการได้มีการ ด าเนินงานอย่างสมบูรณ์ก็จะเพิ่มพลังงานได้ถึง 11,411 เมกะวัตต์ ในช่วงเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2118 และจะส่งไปยังรัฐต่าง ๆ ในประเทศปากีสถานและประเทศจีน13 6.3.2 โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการส ารวจและจัดเก็บก๊าซธรรมชาติ โครงการก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas) ถือเป็นอีกโครงการที่มี ความส าคัญในความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถานเช่นกัน โดยรัฐบาลจีนได้ประกาศความ ตั้งใจที่จะสร้างท่อส่งก๊าซ 711 กิโลเมตรมูลค่า 2,511 ล้านเหรียญสหรัฐจากเมือง กวาดาร์ (Gwadar) ของรัฐบาลูจิสถาน ถึงเมือง นาวาบชาฮ์ Nawabshah ของรัฐสินธ์ในปากีสถาน และท่อส่งก๊าซนี้ได้ถูก ออกแบบมาให้เป็นส่วนหนึ่งของท่อส่งก๊าซอิหร่าน - ปากีสถานซึ่งมีระยะทางยาวถึง 2,775 กิโลเมตร โดยมีระยะห่าง 80 กิโลเมตรระหว่างเมือง กวาดาร์ กับชายแดนอิหร่านเพื่อเชื่อมต่อแต่ท่อส่วนนี้ก็ได้มี การปลดการเชื่อมต่อลงตามมาตรการคว่ าบาตรอิหร่าน ท่อส่งก๊าซภายใต้ความร่วมมือระเบียง เศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน นั้นถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทจากรัฐบาลจีน China National Petroleum Corporation ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้วและมีความสามารถในการขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวได้ ถึง 1 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจะสามารถเพิ่มก าลังการผลิตได้อีกอีก 500 ล้านลูกบาศก์ฟุตเมื่อ การสร้างสถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลวนอกชายฝั่งแล้วเสร็จ โดยโครงการนี้จะช่วยให้จีนมีความสะดวก ในการจัดหาเส้นทางส าหรับการน าเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวของตนจากปากีสถานด้วยเช่นกัน14

13 Shahram Haq, “Chinese bank promises $1b for Thar coal mining,” The Express Tribune, accessed January 25, 2018, https://tribune.com.pk/story/856019 /chinese-bank-promises-1b-for-thar-coal-mining/ See also: Dilawar Hussain, “Hubco’s. 14 Saeed Shah, “China to Build Pipeline From Iran to Pakistan,” The Wall Street Journal, accessed January 25, 2018, www.wsj.com/articles/china-to-build- pipeline-from-iran-to-pakistan-1428515277.

Ref. code: 25605903030525DHV 94

6.3.3 กลุ่มโครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดเก็บพลังงาน ทดแทนจาก ลม น้ า และแสงอาทิตย์ ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน ทั้งสองประเทศได้มีความร่วมมือในการส่งเสริม และพัฒนารูปแบบการเก็บพลังงานทดแทนจากลม น้ า และพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายไว้ ว่าจะมีพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต่าง ๆ รวมกันเป็นมูลค่าเกือบ 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2117 และรัฐบาลปากีสถานนั้นมีเป้าหมายที่จะผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนให้ได้ ถึง 25% ของพลังงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันภายในปี 2131 โดยจีนจะให้ความร่วมมือผ่านภาคเอกชน ต่าง ๆ ของจีน เช่นการให้ บริษัท Zonergy ของจีนในการด าเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งใช้พื้นที่ 6,511 เอเคอร์ ในปากีสถานที่ Quaid-e-Azam Solar Park ใกล้เมืองบาฮาวาพูร (Bahawalpur) และจะท าให้มีก าลังการผลิตไฟฟ้าประมาณ 1111 เมกกะวัตต์ ซึ่งโครงการนี้ได้ท าการก่อสร้างเสร็จไปแล้วใน ปี ค.ศ. 2016 และยังมีโรงไฟฟ้าพลังงานลมภายนอก ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน ของ Jhimpir ที่สร้างโดย บริษัท Zorlu Enerji ของตุรกี ก็ได้เริ่มจ าหน่ายไฟฟ้า 56.4 เมกะวัตต์ให้แก่รัฐบาลปากีสถานแล้ว รวมถึงฟาร์มกังหันลม Dawood ณ เมืองบานบฮอร์ (Banbhore) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การพัฒนาโดย บริษัท HydroChina ที่ได้รับ งบประมาณสูงถึง 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 51 เมกกะวัตต์ ภายในปี ค.ศ. 2016 ในส่วนของพลังงานน้ า ก็มี บริษัท SK Hydro Consortium ที่ได้ท าการสร้าง โรงไฟฟ้าพลังน้ า Suki Kinari ในหุบเขา Kaghan ของปากีสถาน ซึ่งจะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ ถึง 871 เมกกะวัตต์ และทั้งสองประเทศก็ก าลังก่อสร้างเขื่อนกะรอต (Karot Dam) ซึ่งจะมีก าลังการ ผลิตไฟฟ้าถึง 721 เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน แต่จะได้รับเงินทุน 14,111 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แยกต่างหากจากกองทุนเส้นทาง สายไหม (Silk Road Fund) ของจีน15 6.3.4 โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลทางการเกษตร การจัดเก็บ และจ าหน่ายอุปกรณ์การเกษตร รวมถึงการพัฒนาระบบชลประทาน กลุ่มโครงการความร่วมมือภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ในเรื่องของการ จัดการข้อมูลทางการเกษตร การจัดเก็บและจ าหน่ายอุปกรณ์การเกษตร รวมถึงโครงการก่อสร้าง โครงการชลประทานส าหรับเกษตรกรรม มีโครงการในการสาธิตวิธีการและการให้เช่าเครื่องจักร เพื่อผลิตปุ๋ยถึง 800,000 ตัน และปุ๋ยชีวภาพอินทรีย์ถึง 100,000 และมีการลงนามร่วมกันในข้อตกลง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค ในการให้ค ามั่นที่จะถ่ายทอดเทคนิคทางวิทยาศาสตร์

15 T.Zofeen Ebrahim, “World's largest solar park to light up Pakistan's future” Dawn, accessed January 25, 2018, www.dawn.com/news/1205484.

Ref. code: 25605903030525DHV 95

ในการผลิตฝ้ายผ่านการใช้ห้องปฏิบัติการทางชีวเคมีฝ้ายร่วมกันระหว่างจีนและปากีสถาน รวมทั้งจีน ยังให้ค ามั่นที่จะจัดตั้งศูนย์วิจัยทางทะเลร่วมกันกับปากีสถานในอนาคต16 6.3.5 โครงการความร่วมมือทางด้านโทรคมนาคมและอวกาศ ในเดือนพฤษภาคมปี ค.ศ. 2016 ทั้งสองประเทศก็ได้ท าการการวางเครือข่ายสายใยแก้ว น าแสงจากประเทศปากีสถานไปถึงประเทศจีนโดยมีระยะทางยาว 820 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะเป็นสายเคเบิลใยแก้วน าแสงที่จะช่วยยกระดับการสื่อสารโทรคมนาคมที่ ดีขึ้นในภูมิภาคกิลกิต-บัลทิสสถาน (Gilgit-Baltistan) และจีน รวมถึงจีนยังให้ค ามั่นที่จะจัดตั้ง ศูนย์วิจัยทางอวกาศร่วมกันกับปากีสถานในอนาคต17 6.3.6 โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือทางความมั่นคงทาง ทะเล ในเรื่องของความมั่นคงภายใต้กรอบความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ได้มีการพัฒนาความร่วมมือในด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่างสองประเทศ ให้แน่นแฟ้นมากขึ้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศโดยเฉพาะในบริเวณท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์พอร์ตที่มีการ ลงทุนทรัพยากรของทั้งสองประเทศไปอย่างมหาศาล กองทัพเรือปากีสถานและกองทัพเรือจีนจึงมี ความร่วมมือในการร่วมกันรักษาความปลอดภัยของเส้นทางการค้าทางทะเลร่วมกันในบริเวณทะเล อาหรับในทางใต้ของปากีสถาน และปากีสถานเองก็พยายามที่จะขยายบทบาทของกองทัพเรือตั้งแต่ เดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2015 โดยกองทัพเรือปากีสถานได้จัดตั้งหน่วยงานพิเศษ TF-88 เป็นกองเรือที่ ใช้ในการรักษาความปลอดภัยเรือสินค้าต่าง ๆ บนน่านน้ าที่ใกล้เคียงกับปากีสถาน เพื่อให้แน่ใจว่าการ เดินเรือต่าง ๆ บนน่านน้ าใกล้เคียงปากีสถานนั้นเป็นการเดินเรือเพื่อการค้า และกองทัพปากีสถานก็ได้ มีการวางแผนและจัดส่งก าลังนาวิกโยธินของปากีสถานเพื่อเข้าไปป้องกันท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์และ เส้นทางการค้าทางทะเลดังกล่าว กองทัพเรือจีนก็ได้วางแผนจะย้ายเรือรบ 4 ล าไปยังน่านน้ าใกล้

16 Shahbaz Rana, “CPEC to introduce technology in agriculture” The Express Tribune, accessed January 25, 2018, tribune.com.pk/story/1472703/cpec-opportunity- agriculture/. 17 Irfan Haider, “Details of agreements signed during Xi's visit to Pakistan” Dawn, accessed January 25, 2018, dawn.com/news/1177129.

Ref. code: 25605903030525DHV 96

ปากีสถานในทะเลอาหรับประกอบด้วยเรือรบ PMSS Hingol 2 ล า และ เรือรบ PMSS Basol 2 ล า เพื่อความมั่นคงทางทะเลของทั้งสองประเทศ18

6.4 เปรียบเทียบความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน ว่าเป็นไปในทิศทางของทฤษฎี ภารกิจนิยม (Functionalism) หรือจักรวรรดินิยมใหม่ (Neo Colonialism)

อธิบายรูปแบบความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน ผ่านทฤษฎีภารกิจนิยม ในส่วนของทฤษฎีผู้เขียนได้อธิบายสาระส าคัญของทฤษฎีไว้แล้วในบทที่ 1 ในที่นี้จึงจะ ขอกล่าวถึงหลักการส าคัญของทฤษฎีภารกิจนิยมซึ่งมีดังนี้ - เมื่อเกิดความร่วมมือของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน จะส่งผลให้ เกิดผลประโยชน์ของแต่ละประเทศ (ในความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ) และผลประโยชน์ร่วมกัน หากมีการร่วมมือกันโดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ - ความร่วมมือนั้นจะมีการแทรกแซงระหว่างกันที่มีขอบเขตจ ากัดระหว่างรัฐคู่ ปฏิสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ - เป้าหมายของความร่วมมือระหว่างรัฐนั้นเป็นไปเพื่อ สันติภาพและความมั่งคั่งร่วมกัน การเสริมสร้างความจงรักภักดีของประชาชนทั้งสองประเทศระหว่างกัน และขยายขอบเขตการ บูรณาการร่วมกันระหว่างรัฐ จากการพัฒนาแบบตัวหารร่วมน้อย จากการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ไปสู่ จุดสูงสุดอย่างการเกิดของสหภาพเหนือรัฐ - การบูรณาการต่าง ๆ ระหว่างรัฐคู่ปฏิสัมพันธ์ต้องเป็นไปในรูปแบบที่ไม่ขัดกับเสรีภาพ ของมนุษย์ ส่งเสริมการพัฒนาทางความรู้และทักษะตามความต้องการของประชาชนรัฐคู่ปฏิสัมพันธ์ - กระบวนการในความร่วมมือของรัฐคู่ปฏิสัมพันธ์จะไม่เป็นไปในรูปแบบที่เป็นการก่อ วินาศกรรม (sabotage) หรือการเอารัดเอาเปรียบต่อกัน19

18 Correspondent, “ Pakistan Navy's special 'Task Force-88' set up to guard Gwadar port’s sea lanes” Dawn, accessed January 25, 2018, dawn.com/news/1302102 See also: Correspondent, “Two maritime patrol vessels arrive at Gwadar Port from China” Dunyanews, accessed January 25, 2018, http://dunyanews.tv/en/Pakistan /370365-Two-maritime-patrol-vessels-arrive-at-Gwadar-Port 19 David Mitrany, The Functional Theory of Politics, 85-115. See also: .Jonathan Olsen and John McCormick, The European Union: Politics and Policies, (Boulder: Westview press, 2017), 14.

Ref. code: 25605903030525DHV 97

หากมองรูปแบบของความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานผ่านหลักการของ ทฤษฎีภารกิจนิยมจะเห็นว่า ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ และ ผลประโยชน์ร่วมกันทางเศรษฐกิจของจีนและปากีสถานนั้น เป็นไปในรูปแบบที่มีความแตกต่างกัน มากในเชิงของตัวเลขเศรษฐกิจดังที่ปรากฏในตารางที่ 6.1 ที่ปากีสถานขาดดุลทางการค้าจากจีนอยู่ หลายเท่าตัวในปี ค.ศ. 2113 ซึ่งเป็นปีแห่งการริเริ่มโครงการความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน– ปากีสถาน แต่ในประเด็นของตัวเลขทางเศรษฐกิจนี้ก็อธิบายได้เนื่องจากขนาดก าลังผลิตและราคา สินค้าของจีนที่มีความเหนือกว่า จึงยากแก่ประเทศโลกที่สามหรือโลกที่สองจะได้มูลค่าทางการค่าที่ เกินดุลกับประเทศจีน แม้ในทางเศรษฐกิจปากีสถานจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก แต่ในด้านความมั่นคง ของปากีสถานที่จีนได้ช่วยสนับสนุนขีดความสามารถทางทหารแก่ปากีสถานเสมอมาจนกระทั้งประสบ ความส าเร็จในการทดลองนิวเคลียร์ดังที่กล่าวมาแล้ว ส่งผลให้เกิดความรู้สึกมั่นคงแก่ปากีสถานต่อ ความกังวลที่จะถูกรุนรานจากต่างชาติได้เป็นอย่างดี แต่ในประเด็นด้านความมั่นคงนี้ไม่ได้เป็น เป้าหมายหลักของความร่วมมือระหว่างรัฐภายใต้กรอบทฤษฎีภารกิจนิยม ซ้ าร้ายยังอาจจะเป็น ประเด็นที่กระตุ้นความหวาดระแวงระหว่างรัฐต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งอาจน าไปสู่รูปแบบการ แข่งขันทางอาวุธ จนกลายเป็นฉนวนแห่งสงครามในอนาคตซึ่งขัดกับเป้าหมายของทฤษฎีภารกิจนิยม ส่วนในหลักการของการแทรกแซงระหว่างกันที่ต้องมีขอบเขตจ ากัดระหว่างรัฐคู่ ปฏิสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าจีนสามารถเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของปากีสถานได้ อย่างง่ายดาย เช่น การเข้าไปควบคุมบริหารโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของปากีสถานอย่าง เต็มที่ ตั้งแต่ระดับทรัพยากรมนุษย์ จนถึงระดับสิทธิในการควบคุมจัดการเหนือบริเวณสิ่งปลูกสร้าง ต่าง ๆ ของจีน เช่น ทางรถไฟ ท่าเรือน้ าลึก ซึ่งถือว่าเป็นการก้าวล่วงอธิปไตยของปากีสถานอย่างเห็น ได้ชัด ซึ่งในประเด็นนี้ก็ได้สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนชาวปากีสถานเป็นอย่างมากโดยเฉพาะ ภายในรัฐบาโลจิสถานซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว สภาพการณ์เช่นนี้จึงไม่ได้เป็นการเสริมสร้างความจงรักภักดีของประชาชนทั้งสอง ประเทศระหว่างกันตามทฤษฎีภารกิจนิยมแต่อย่างใด รวมทั้งยังขัดกับหลักการ การบูรณาการระหว่าง รัฐคู่ปฏิสัมพันธ์ที่จะต้องเป็นไปในรูปแบบที่ไม่ขัดกับเสรีภาพของมนุษย์ เนื่องจากประชาชน ในรัฐบาโลจิสถาน และรัฐอื่น ๆ ไม่ได้มีสิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วม และการแสดงความคิดเห็น ในการส่งตัวแทนเข้าไปบนโต๊ะเจรจากับจีน ที่มีการหารือเกี่ยวข้องกับการด าเนินการโครงการต่าง ๆ ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน รวมทั้งขัดกับหลักการเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาทาง ความรู้และทักษะตามความต้องการของประชาชนรัฐคู่ปฏิสัมพันธ์ เนื่องจากประชาชนของทั้งสอง ประเทศไม่สามารถเรียกร้องให้รัฐบาลทั้งสองประเทศช่วยเหลือในประเด็นเรื่องของการส่งเสริมในการ พัฒนาความรู้และทักษะใด ๆ ระหว่างกัน แม้กระทั้งการส่งเสริมอาชีพจากโอกาสในการเข้าร่วมเป็น

Ref. code: 25605903030525DHV 98

แรงงานของชาวปากีสถานเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในปากีสถานภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจ จีน–ปากีสถาน ก็ถูกปิดกั้นโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ดังนั้น หากท าการวิเคราะห์โดยอย่างละเอียดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ผู้เขียนได้น าเสนอใน วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ตั้งแต่ช่วงแรก จะเห็นชัดว่าระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นและ ขับเคลื่อนในแนวทางที่ใกล้เคียงกับรูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐภายใต้ทฤษฎีภารกิจนิยมแต่อย่าง ใด และเห็นได้ชัดถึงความเสียเปรียบของปากีสถานในประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงของม นุษย์ และเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ของประชาชนชาวปากีสถานอีกด้วย อธิบายรูปแบบความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน ผ่านทฤษฎีจักรวรรดิ นิยมใหม่ หลักการส าคัญของทฤษฎีจักรวรรดินิยมใหม่มีดังนี้ - ความเป็นจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม เกิดขึ้นจากการที่ประเทศพัฒนา แล้วสามารถเข้าไปครอบง าประเทศที่ด้อยพัฒนา โดยการใช้ทุน ความช านาญทางเศรษฐกิจเฉพาะ ด้าน ความเหนือกว่าทางด้านเทคโนโลยี การศึกษา วัฒนธรรม และประโยชน์ของโลกาภิวัตน์ - ประเทศด้อยพัฒนาต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อพึ่งพาความ เหนือกว่าเหล่านั้นโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ จึงส่งผลให้ประเทศด้อยพัฒณาถูกครอบง าโดยประเทศ พัฒนาแล้วที่มีศักยภาพที่เหนือกว่า แต่ประเทศด้อยพัฒนาที่ถูกครอบง านั้นยังคงมีความเป็นเอกราช อย่างสมบูรณ์ในทางกฎหมาย ไม่ได้เป็นอาณานิคมของเจ้าอาณานิคมแบบในช่วงก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 - เป้าหมายของประเทศพัฒนาแล้วในการครอบง าประเทศก าลังพัฒนา เป็นไปเพื่อการ ใฝ่หา ผลประโยชน์แห่งชาติของตนทั้งทางเศรษฐกิจและความมั่นคง เช่น การขยายตลาด การแสวงหา ทรัพยากร การขยายฐานการผลิต การขยายอิทธิพลเพื่อความรู้สึกมั่นคงที่สูงขึ้นของประเทศตน ซึ่งอาจด าเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ หรือโดยรัฐบาลของประเทศ พัฒนาแล้วโดยตรง20 เมื่อมองรูปแบบของความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานผ่านหลักการของ ทฤษฎีจักรวรรดินิยมใหม่จะเห็นว่า จีนนั้นมีความเป็นจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจต่อปากีสถานอย่าง เห็นได้ชัด ผ่านปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ กับปากีสถาน ไม่ว่าจะเป็นเขตการค้าเสรีไปจนถึง

20 Noam Chomsky, The Washington Connection and Third World, 53-60 See also: Diana Haag, “Mechanisms of Neo-Colonialism: Current French and British Influence in Cameroon and Ghana,” SSRN Electronic Journal, accessed January 25, 2018, ssrn.com/abstract=2033138

Ref. code: 25605903030525DHV 99

รูปแบบของข้อตกลงในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในปากีสถานทั้ง ถนน ทางรถไฟ รวมไปถึง ท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ ซึ่งเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีนทั้งสิ้น ซึ่งมีมากกว่าผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจของปากีสถาน ทั้งในทางด้านการขนส่ง สิทธิของจีนในการบริหารจัดการบนดินแดนที่ ถือเป็นอธิปไตยของปากีสถาน การแสวงหาทรัพยากรทางพลังงานที่เป็นที่ต้องการยิ่งของจีนใน ปากีสถานโดยผ่านโครงการทางพลังงานต่าง ๆ โดยเฉพาะถ่านหินภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจ จีน–ปากีสถานดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การขยายตลาดของจีนในปากีสถานที่เกิดผลดังตารางที่ 6.1 ถึงตัวเลขมูลค่าทางการค้าที่จีนได้ดุลจากปากีสถานเสมอมาตั้งแต่ยุคหลังสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน และมีมูลค่าสูงกว่ามากแบบก้าวกระโดดในช่วงปี ค.ศ. 2117 เป็นต้นมาหลังการจัดตั้งเขตการค้าเสรี จีนปากีสถาน จีนยังได้ผลประโยชน์จากการขยายอิทธิพลของตนเองในภูมิภาคเอเชียใต้และทะเล อาหรับอีกด้วย เนื่องจากจีนก าลังได้จะฐานทัพเรือแห่งใหม่ที่ท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ ทางด้านความมั่นคงของจีนในภูมิภาคเอเชียใต้ที่เปรียบเสมือนเหลังบ้านของจีนที่ส าคัญยิ่ง ซึ่งผลประโยชน์เหล่านี้ของจีนที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน นั้น ถือว่าจีนได้ใช้ความช านาญทางเศรษฐกิจเฉพาะด้าน ความเหนือกว่าทางด้านเทคโนโลยี และประโยชน์ของโลกาภิวัตน์ ในการเข้าครอบง าประเทศปากีสถานได้อย่างเต็มที่ และปากีสถานเอง ก็พร้อมที่จะด าเนินนโยบายใด ๆ ที่เป็นการสร้างความมั่นใจแก่จีนในการเข้ามาลงทุนในปากีสถาน เช่น การส่งทหาร 15,111 นาย เพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้เหล่าแรงงานที่ก าลังท างานอยู่ ตลอดเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน รวมถึงท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ด้วย เพื่อเป็นการสร้าง เสถียรภาพและความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานซึ่งเป็น สิ่งส าคัญที่จีนต้องการ รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างปากีสถานเช่นนี้เป็นไปตามหลักการของทฤษฎีจักรวรรดิ นิยมใหม่ทั้งสิ้น จากการที่ผู้เขียนได้วิเคราะห์ออกมาโดยละเอียดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ผู้เขียนได้น าเสนอ ถึงปฏิสัมพันธ์ของประเทศทั้งสองตั้งแต่ช่วงแรก ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานนั้นแสดงให้เห็นชัดถึงความเสียเปรียบของปากีสถาน โดยเฉพาะในผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ และการด าเนินนโยบายที่พยายามสร้างความมั่นใจให้แก่ รัฐบาลจีนอยู่เสมอเกี่ยวกับเสถียรภาพในโครงการต่าง ๆ ที่ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือต่อกันของ รัฐบาลปากีสถาน แสดงให้เห็นถึงความต้องการพึ่งพาจีนเป็นอย่างมากเพื่อผลประโยชน์ทางความ มั่นคงที่มักถูกท้าทายจากปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศโดยกลุ่มกบฏในประเทศ และจาก ภายนอกประเทศจากประเทศเพื่อนบ้านคู่ปรับตลอดการอย่างอินเดีย ซึ่งในปัจจุบันก็มีสัมพันธ์ที่ดีกับ อิหร่าน และอัฟกานิสถาน ที่มีการพัฒนาท่าเรือน้ าลึกชาบาฮาร์ (Chabahar Port) ซึ่งเปรียบเสมือน เป็นคู่แข่งของท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ ประกอบกับท่าทีที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันในการสนับสนุนกลุ่ม

Ref. code: 25605903030525DHV 100

กองก าลังแบ่งแยกดินแดนในรัฐบาโลจิสถาน และไคเบอร์ปัคชตุนควา ของประเทศทั้งสามเพื่อท าลาย ปากีสถานจากภายใน ท าให้ปากีสถานต้องพึ่งพาจีนเพื่อสร้างดุลอ านาจในภูมิภาคเอเชียใต้และลด ความรู้สึกไม่มั่นคงของตนจากโอกาสของการรุกรานและการสนับสนุนกลุ่มกบฏภายในประเทศตน จากประเทศเพื่อนบ้านทั้งสาม โดยที่ไม่ได้ค านึงถึงความเสียเปรียบของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของ ปากีสถาน ความมั่นคงของมนุษย์ และเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ของประชาชนตนเองมากเท่าใดนัก จีนจึงใช้ความรู้สึกหวาดระแวงของปากีสถานเช่นนี้ครอบง าปากีสถาน ซึ่งเป็นไปในรูปแบบของ จักรวรรดินิยมใหม่ โดยการสร้างความมั่นใจทางความมั่นคงให้แก่ปากีสถานผ่านความช่วยเหลือในการ พัฒนาขีดความสามารถทางทหารของปากีสถานเสมอมาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 1971 ท าให้ช่วงปลาย ทศวรรษที่ 2111 จนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่จีนต้องการค่าตอบแทน จากการสนับสนุน ความช่วยเหลือทางด้านความมั่นคงดังกล่าวคืนเสียบ้าง ผ่านระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน

Ref. code: 25605903030525DHV 101

บทที่ 7 ความขัดแย้งภายใน และภายนอกรัฐบาลูจิสถาน หลังความร่วมมือ ระเบียงเศรษฐกิจ จีน–ปากีสถาน

ในบทนี้ผู้เขียนจะอธิบายสภาพการณ์หลังความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน – ปากีสถาน ตามกรอบแนวคิดการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ (Threat assessment Neo-classical realist model) ที่ถูกเสนอโดย สตีเวน อี ลอบเบลล์ (Steven E. Lobell) ซึ่งสาระส าคัญของตัวแบบนั้นผู้เขียนได้ท าการน าเสนอไปแล้วในบทที่ 1 ในที่นี้จึงจะ กล่าวถึงหลักการส าคัญ ๆ ของตัวแบบดังนี้ - การประเมินและความเข้าใจต่อภัยคุกคาม เป็นที่มาของการก าหนดนโยบาย ต่างประเทศของรัฐ ภัยคุกคามต่อรัฐเกิดขึ้นได้จากตัวแปรภายในและภายนอกรัฐ - ความย้อนแย้งของเรื่องภายในและเรื่องระหว่างประเทศจะเป็นตัวจ ากัดหรือเปิด โอกาสให้แก่การก าหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐนั้น ๆ เช่น ผู้น าอาจแสดงท่าทีในเวทีระหว่าง ประเทศเพื่อเหตุผลของเรื่องภายในประเทศ หรือแสดงท่าทีภายในประเทศเพื่อเหตุผลของเรื่อง ระหว่างประเทศ1 - การก าหนดนโยบายต่างประเทศนั้นย่อมมีความเกี่ยวพันระหว่างการเมืองภายในและ ภายนอกประเทศ และจะต้องเน้นการด าเนินนโยบายต่างประเทศไปที่การแสวงหาดุลอ านาจทั้งใน ระบบระหว่างประเทศระดับโลก และในระดับภูมิภาค รวมถึงดุลแห่งอ านาจของการเมือง ภายในประเทศ - การประเมินภัยคุกคามระหว่างประเทศในระดับระบบโลก หรือภัยคุกคามหลายขั้น (Multi-tiered Threats) รัฐมหาอ านาจอาจเผชิญกับภัยคุกคามได้จากการเปลี่ยนแปลงของระบบ ระหว่างประเทศในระดับโลก และการเปลี่ยนแปลงของการเมืองภายในของรัฐตนเอง ส่วนมหาอ านาจ ระดับภูมิภาคอาจเผชิญกับภัยคุกคามได้จากการเปลี่ยนแปลงของระบบระหว่างประเทศในระดับย่อย หรือระดับภูมิภาค ภัยคุกคามนั้นอาจเกิดขึ้นไม่เพียงแค่หนึ่งปรากฏการณ์ แต่อาจจะเกิดขึ้นเป็น เครือข่ายหรือหลายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

1 Steven E. Lobell, Norrin M. Ripsman, Jeffrey W. Taliaferro, Neoclassical Realism, the State, and Foreign Policy, 45-75.

Ref. code: 25605903030525DHV 102

- การประเมินภัยคุกคามระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค (Subsystemic Threats) นั้นจะมีความเป็นพลวัตในรูปแบบภัยคุกคามที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตนเอง โดยมีรูปแบบกึ่งปกครอง ตนเองภายในภูมิภาค แต่มิได้แยกออกไปจากระบบระหว่างประเทศในระดับโลก และเรื่องของ ผลกระทบจากการเมืองภายในมากนัก จะเป็นรูปแบบของการแข่งขันระหว่างรัฐต่าง ๆ ในภูมิภาคนั้น ที่รัฐต่าง ๆ มองกันเองว่าเป็นภัยคุกคามของรัฐตนที่มีความพยายามที่จะเป็นผู้น าของภูมิภาคและเป็น มหาอ านาจแห่งภูมิภาคนั้น ๆ2 - การประเมินภัยคุกคามภายในประเทศ (Domestic Threats) เป็นรูปแบบของการ แข่งขันและความขัดแย้งภายในประเทศระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ และ ศาสนาต่าง ๆ ภายในรัฐ กลุ่มที่ถือครองทุนมากที่สุดก็จะเป็นกลุ่มที่ถือครองอ านาจของรัฐและไม่ยอม ที่จะสละความมั่งคั่งและอิทธิพลของกลุ่มตนให้กลุ่มอื่น และมักมองกลุ่มย่อยอื่น ๆ เป็นภัยคุกคามหลัก ที่ควรจัดการให้ได้เสียก่อนภัยคุกคามจากภายนอกรัฐ และหากต้องการให้เกิดความมั่นคงของรัฐขึ้น ต้องจัดการให้เกิดดุลอ านาจทางเศรษฐกิจและการเมืองของกลุ่มต่าง ๆ ให้ได้เสียก่อน

7.1 ความเข้าใจของรัฐบาลปากีสถานต่อภัยคุกคามภายนอกประเทศในระดับภูมิภาคและระดับ โลกหลังความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน–ปากีสถาน

7.1.1 ความเข้าใจของรัฐบาลปากีสถานและรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันต่อภัยคุกคาม ระหว่างประเทศในระดับระบบโลก หรือภัยคุกคามหลายขั้น (Multitiered Threats) ในประเด็นนี้สามารถอธิบายตามรูปแบบการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎี สัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ (Threat assessment Neo-classical realist model) ได้ว่า ภัยคุกคาม นั้นเกิดได้จากการเปลี่ยนแปลงของระบบระหว่างประเทศในระดับโลก ในที่นี้ก็คือรูปแบบของระบบ การเมืองระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันที่เป็นไปในรูปแบบระบบหลายขั้วอ านาจ (Multipolar System) ซึ่งภัยคุกคามนั้นอาจเกิดขึ้นไม่เพียงแค่หนึ่งปรากฏการณ์ แต่อาจจะเกิดขึ้นเป็นเครือข่าย หรือหลายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

2 Ibid., pp.60-75

Ref. code: 25605903030525DHV 103

ภาพที่ 7.1 แสดงให้เห็นถึงรัฐที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือน้ าลึกกว่าดาร์ และชาฮาบาร์ ที่ก าลังเป็นที่จับตา มองถึงการแข่งกันและการขยายอิทธิพลและอ านาจของรัฐมหาอ านาจในระดับภูมิภาคและระดับโลก ในภูมิภาคเอเชียใต้, DailyMail, http://bharatshakti.in/wp-content/uploads/2017/05/ Chabahar-Route-Daily-Mail.jpg จากภาพที่ 7.1 จะเห็นได้ชัดถึงความเกี่ยวพันของมหาอ านาจทั้งในระดับโลกและระดับ ภูมิภาค รวมถึงจุลรัฐต่าง ๆ กับท่าเรือน้ าลึกกว่าดาร์ของปากีสถาน และท่าเรือน้ าลึกชาฮาบาร์ของ อิหร่าน ที่แสดงให้เห็นถึงนโยบายต่างประเทศของรัฐต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจต่อภัยคุกคาม ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคงของรัฐต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการสนับสนุนและสนใจที่จะเข้า ใช้รวมถึงพิทักษ์ท่าเรือน้ าลึกทั้งสองอย่างแข่งขันกัน ก่อเกิดเป็นท่าทีทางการเมืองระหว่างประเทศเพื่อ สร้างรูปแบบของดุลอ านาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงดุลอ านาจ ทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับโลก สภาพการณ์เช่นนี้จึงท าให้เห็นได้ชัดถึงรูปแบบของภัยคุกคามหลายขั้น (Multi-tiered Threats) ที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นเครือข่ายหรือหลายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อกันทั้งในระดับ ภูมิภาคและระดับโลกตามทฤษฎีของลอบเบลล์ดังนี้ - รัฐมหาอ านาจระดับโลกอย่าง สหรัฐฯ จีน และรัสเซีย ก าลังเผชิญกับภัยคุกคามจาก การเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองระหว่างประเทศในระดับโลกในยุคปัจจุบันที่ตอนนี้เป็นรูปแบบ หลายขั้วอ านาจ ท าให้รัฐมหาอ านาจในระดับโลกทั้งหลายพยายามถ่วงดุลอ านาจทางการเมือง

Ref. code: 25605903030525DHV 104

เศรษฐกิจ และความมั่นคง ไว้อยู่เสมอในทุกภูมิภาคของโลก เพื่อรักษาสถานะความเป็นมหาอ านาจใน ระดับโลกของตนไว้ - การเปลี่ยนแปลงของการเมืองภายในของรัฐมหาอ านาจระดับโลกอย่างสหรัฐฯ ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจไปสู่รูปแบบของพาณิชย์นิยม (Mercantilism) และมี รูปแบบการด าเนินนโยบายต่างประเทศแบบลัทธิโดดเดี่ยว (Isolationism) มากขึ้น หลังจากที่ ประธานาธิบดีทรัมป์เห็นว่าก่อนหน้านี้สหรัฐฯ เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการระหว่างประเทศมากเกินไปท า ให้สหรัฐฯ สูญเสียผลประโยชน์แห่งชาติไปมหาศาล เช่นนี้จึงส่งผลให้สหรัฐฯ ยังไม่ได้ท าการตัดสินใจ เกี่ยวกับท่าทีในการให้การสนับสนุนต่อท่าเรือน้ าลึกทั้งสองเช่นไรเพราะยังคงเห็นว่าท่าเรือทั้งสองยังไม่ มีผลประโยชน์แก่สหรัฐฯ มากเท่าใดนัก - มหาอ านาจระดับโลกอีกสองประเทศคือ จีน และรัสเซีย จึงสามารถที่จะกอบโกย ผลประโยชน์จากท่าเรือกวาดาร์พอร์ตไปได้อย่างเต็มที่ในภูมิภาคเอเชียใต้ทั้งในด้านเศรษฐกิจ อิทธิพล ทางการเมือง และความมั่นคง โดยที่รัฐบาลกลางปากีสถานยินดีกับการกระท าของมหาอ านาจทั้งสอง และเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ปากีสถานเองเสียด้วย - จีน รัสเซีย และปากีสถาน มีความเข้าใจต่อภัยคุกคามร่วมกันในเอเชียใต้ว่าต้องร่วมกัน สร้างความมั่นคงในภูมิภาคนี้เพื่อลดอิทธิพลของมหาอ านาจในภูมิภาคอย่างอินเดียไม่ให้มีมากเกินไป ทั้งในทุกด้าน รวมทั้งเป็นการท าให้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางมีความสมบูรณ์ ในแถบและเส้นทาง หนึ่งที่จะเชื่อมต่อจากทะเลอาหรับไปยังภูมิภาคยุโรปเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทางเศรษฐกิจ - มหาอ านาจระดับภูมิภาคอย่างอินเดียมีความเข้าใจต่อภัยคุกคามในภูมิภาคของตน ที่มาจากจีนและปากีสถานเป็นอย่างดีตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นมา ท าให้มีความพยายามที่ จะท าลายหรือสร้างอุปสรรคในความร่วมมือระหว่างจีนและปากีสถานเสมอมาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว รวมทั้งการใฝ่หาพันธมิตรอย่างอัฟกานิสถานและอิหร่านในการจัดตั้งรูปแบบความร่วมมือต่าง ๆ ทั้งในทางเศรษฐกิจ อย่างการสร้างท่าเรือน้ าลึกชาฮาบาร์ และความมั่นคงอย่างการแลกเปลี่ยนข้อมูล ของหน่วยสืบราชการลับระหว่างกัน เพื่อเป็นการถ่วงดุลอ านาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสร้าง ความรู้สึกมั่นคงให้แก่ตนเองที่มีความกังวลเกี่ยวกับรูปแบบความร่วมมือของจีนและปากีสถานเสมอมา ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดเจนจากสภาพการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวว่าความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคาม ของทั้งรัฐมหาอ านาจในระดับโลก รัฐมหาอ านาจในระดับภูมิภาค และจุลรัฐต่าง ๆ ที่ส่งผลก่อให้เกิด เป็นท่าที และนโยบายต่างประเทศของรัฐต่าง ๆ มากมายดังกล่าวนั้น เกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางการเมือง ระหว่างประเทศที่เป็นเครือข่ายหรือหลายปรากฏการณ์ซึ่งส่งผลกระทบต่อกันทั้งในระดับภายในรัฐ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ตามทฤษฎีของลอบเบลล์

Ref. code: 25605903030525DHV 105

7.1.2 ความเข้าใจของรัฐบาลปากีสถานต่อภัยคุกคามภายนอกประเทศในระดับ ภูมิภาค (Subsystemic Threats) ความเข้าใจของปากีสถานถึงภัยคุกคามในภูมิภาคนั้นยังคงเห็นว่าอินเดียคือภัยคุกคาม อันดับหนึ่ง และถือเป็นรัฐคู่ปรับของปากีสถานเสมอมา ทั้งสองประเทศมีความขัดแย้งกันที่รุนแรงไป ถึงขั้นการท าสงครามกันในช่วงปี ค.ศ. 1965 และ 1971 และความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาถึงปัจจุบันใน กรณีแคชเมียร์ การแข่งขันกันเสริมสร้างขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ และทางทหารได้ปรากฏ ออกมาในรูปแบบของการแข่งขันทางอาวุธในช่วงปลายทศวรรษ 1961 -1991 ที่อินเดียและปากีสถาน ได้ริเริ่มโครงการนิวเคลียร์ และด าเนินการไปจนกระทั้งประสบความส าเร็จในการทดลองอาวุธ นิวเคลียร์ของทั้งสองประเทศ ความขัดแย้งและการแข่งขันกันดังกล่าวนั้นเป็นไปเพื่อรักษาสถานะ ความเป็นมหาอ านาจในระดับภูมิภาคเอเชียใต้ของอินเดีย และความต้องการก้าวสู่สถานะความเป็น มหาอ านาจในภูมิภาคเอเชียใต้ของปากีสถาน ซึ่งในเรื่องนี้ก็จะไปสอดคล้องกับการประเมินภัยคุกคาม ตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ (Threat assessment Neo-classical realist model) ที่ถูกเสนอโดย สตีเวน อี ลอบเบลล์ ในประเด็นของการแข่งขันระหว่างรัฐต่าง ๆ ในภูมิภาคเพื่อความ เป็นมหาอ านาจในภูมิภาคนั้นในที่นี้ก็คือปากีสถาน และอินเดีย ที่มีความเข้าใจว่าอีกฝ่ายเป็นภัย คุกคามของรัฐตนเสมอมาในภูมิภาคนี้ เป็นอุปสรรคแก่การได้มาซึ่งสถานะความเป็นมหาอ านาจ และ การรักษาไว้ซึ่งสถานะความเป็นมหาอ านาจในภูมิภาคเอเชียใต้ของกันและกันจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเหตุการณ์แห่งความขัดแย้งของปากีสถาน และอินเดีย ที่น าไปสู่ความเข้าใจต่อภัยคุกคามภายนอก ประเทศในระดับภูมิภาคของปากีสถานหลังความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานมีดังนี้ - สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่แห่งความขัดแย้งอย่างแคชเมียร์ ที่ยังมีความยืดเยื้อ มาถึงปัจจุบัน กองทัพปากีสถานนั้นได้ให้การเฝ้าระวังในพื้นที่ความขัดแย้งนี้เป็นพิเศษ เนื่องจาก เส้นทางของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้นมีส่วนหนึ่งที่ทอดผ่านบริเวณนี้ ทางรัฐบาลปากีสถาน จึงไม่ต้องการให้ความขัดแย้งในพื้นที่ดังกล่าวกระทบต่อเส้นทางของโครงการ เนื่องจากจะเป็นการ แสดงให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพในการก ากับดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ของปากีสถาน ซึ่งเป็น สิ่งที่จีนไม่ต้องการให้เกิดขึ้นในทุกจุดของเส้นทางของนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน และ ปากีสถานเองก็มีความเข้าใจว่าความไม่สงบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวที่ใกล้เคียงกับเส้นทาง ของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้น เป็นความตั้งใจของอินเดียที่จะก่อกวนและสร้างอุปสรรคใน เส้นทางดังกล่าวให้แก่ปากีสถาน - การส่งสายลับของอินเดียเข้ามาในปากีสถานเพื่อก่อการในการขัดขวาง และท าให้การ ด าเนินงานโครงการต่าง ๆ ของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน มีความยากล าบาก ดังที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของปากีสถาน อาลาม คัททาค ได้กล่าวถึงข้อมูลที่ได้รับจากการ จับกุมและสอบสวน นาย คุลบุชชาน วาดาฟ ในปี ค.ศ. 2016 ที่ให้การว่าเขาเป็นสมาชิกในหน่วยสืบ

Ref. code: 25605903030525DHV 106

ราชการลับของอินเดียที่มีเป้าหมายมุ่งเน้นไปที่การท าลายเสถียรภาพของโครงการระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน ซึ่งหน่วยงานนี้ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติของอัฟกานิสถาน และอิหร่านด้วยเช่นกัน โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันที่จะก่อวินาศกรรมต่อโครงการต่าง ๆ ของระเบียง เศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ซึ่งทางการปากีสถานเชื่อว่าเขาได้เข้ามาในปากีสถานผ่านชายแดนที่ติดกับ ประเทศอิหร่านในรัฐบาโลจิสถาน เพื่อเข้ามาก่อความไม่สงบและให้ความช่วยเหลือกลุ่มก่อการร้าย เตะห์รีค-ตาเลบัน (Tehrik-i-Taliban) และกองทัพปลดแอกบาโลจิสถาน (Balochistan Liberation Army) ในการขัดขวางการด าเนินงานของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ในพื้นที่ รัฐบาโลจิสานซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับข้อมูล จากหน่วยข่าวกรองของรัฐบาลจีน3 จะเห็นได้ชัดเจนถึงความเข้าใจในภัยคุกคามระดับภูมิภาคของปากีสถานที่มีต่ออินเดีย ที่ปากีสถานมองว่าอินเดียเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่ง และถือเป็นรัฐคู่ปรับของปากีสถานเสมอมา ในการที่ปากีสถานจะก้าวขึ้นสู่การเป็นมหาอ านาจในภูมิภาคเอเชียใต้ สภาพการณ์เช่นนี้จึงท าให้ ปากีสถานมีนโยบายต่างประเทศที่เป็นไปในรูปแบบของนโยบายผ่อนปรน (Appeasement Policy) ต่อจีน เพื่อเป็นการรักษาความสัมพันธ์กับจีนให้มีความมั่นคงและแน่นแฟ้นอยู่เสมอ เพื่อถ่วงดุลอ านาจ กับมหาอ านาจอย่างอินเดียในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายและผลประโยชน์หลักที่ ปากีสถานจะได้จากความสัมพันธ์และโครงการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ กับจีน แม้ปากีสถานจะต้อง ยอมสละผลประโยชน์แห่งชาติตนบางส่วนไป ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว 7.1.3 ความเข้าใจของรัฐบาลปากีสถานต่อภัยคุกคามภายในประเทศ (Domestic Threats) ในส่วนของความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามภายในประเทศของรัฐบาลปากีสถานนั้นเห็น ได้ชัดว่า รัฐบาลปากีสถานมองกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีกองก าลังติดอาวุธอย่างเช่น กลุ่มกองทัพปลดปล่อย บาโลจิสสถาน (Balochistan Liberation Army) กลุ่มก่อการร้ายเตะห์รีค-ตาเลบัน (Tehrik-i- Taliban) เป็นภัยคุกคามต่อกิจการภายในของรัฐบาลปากีสถาน เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มีความ

3 Correspondent, “RAW at frontline to sabotage Economic Corridor, China warns Pakistan,” The Express Tribune, accessed February 10, 2018, tribune.com.pk /story/890650/raw-at-frontline-to-sabotage-economic-corridor-china-warns-pakistan/ See also: Saleem Shahid, “India out to sabotage CPEC: Raheel” Dawn, accessed February 10, 2018, dawn.com/news/1251784 Mateen Haider, “RAW runs special cell to sabotage CPEC, says secretary defence” Dawn, accessed February 10, 2018, dawn.com/news/1251860.

Ref. code: 25605903030525DHV 107

ต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดนและก่อตั้งรัฐของตนเองซึ่งในประเด็นนี้ก็ถือเป็นภัยคุกคามเกี่ยวกับ อ านาจอธิปไตยของรัฐบาลปากีสถานโดยตรง ประกอบกับการที่กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มองว่ารัฐบาล กลางปากีสถานเป็นผู้ที่กดขี่เอาเปรียบพวกตนและประชาชนเสมอมา โดยเฉพาะในรัฐบาโลจิสถานที่ เปี่ยมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมหาศาลนี้ ที่ถูกรัฐบาลกลางน าไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่มิได้กระจายความมั่งคั่ง กลับคืนมาสู่รัฐบาโลจิสถานด้วยตัวเลขงบประมาณที่สมเหตุสมผล ดังที่ระบุไว้ในตารางที่ 5.1 ในบทที่ 5 ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม เช่น ความยากจน การศึกษาที่ไร้ประสิทธิภาพและทั่วถึง การขาดแคลนปัจจัยในการยังชีพของประชาชนเป็นต้น ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์ที่ติดอาวุธมีความไม่พอใจรัฐบาลกลาง ปากีสถาน ท าให้เกิดการก่อความไม่สงบในรัฐบาโลจิสถานและพยายามสร้างอุปสรรคในการ ด าเนินการในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลปากีสถานเสมอมา โดยเฉพาะโครงการต่าง ๆ ในระเบียง เศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ด้วยวิธีการการก่อการร้ายเพื่อท าลายล้างฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลกลาง ปากีสถานแบบรายวัน เช่น การระเบิดฆ่าตัวตายของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชบนถนนอลัมดาร์ ณ เมืองเควตตารัฐบาโลจิสถาน ในวันที่ 10 มกราคม ปี ค.ศ. 2113 ท าให้มีผู้เสียชีวิต 105 ราย และ ผู้บาดเจ็บ 169 ราย การระเบิดฆ่าตัวตายของกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช ณ เมืองมัสตุง รัฐบาโลจิสถาน ในวันที่ 12 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 2117 ท าให้มีผู้เสียชีวิต 28 ราย และผู้บาดเจ็บ 40 ราย การระเบิดฆ่าตัวตายของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชในโรงพยาบาล ณ เมืองเคตตา รัฐบาโลจิสถาน ในวันที่ 8 สิหาคม ปี ค.ศ. 2116 ท าให้มีผู้เสียชีวิต 75 ราย และผู้บาดเจ็บ 100 ราย เป็นต้น4 รวมถึง การลอบสังหารแรงงานที่ก าลังท างานอยู่ตลอดเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน และท่าเรือน้ า ลึกกวาดาร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2114 มาจนถึงปัจจุบันซึ่งมีแรงงานเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 44 ราย 5 และจากข้อมูลทางสถิติของหน่วยงานเฝ้าระวังการก่อการร้ายแห่งเอเชียใต้ของสถาบันจัดการ ความขัดแย้งจากประเทศอินเดีย (South asia terrorism portal, Institute for Conflict Management : ICM) ได้น าเสนอว่า ปี ค.ศ. 2013 ที่มีการริเริ่มโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน- ปากีสถานจนถึงวันที่ 19 มีนาคม ปี ค.ศ. 2017 มีผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายและการตอบโต้จาก

4 South Asia Terrorism Portal, “Suicide Attacks in Balochistan, 2003-2018” Institute for Conflict Management, accessed March 25, 2018, http://www.satp.org /satporgtp/countries/pakistan/Balochistan/data/suicideattacks.htm. 5 Raza Syed Hassan, “Attacks have killed 44 Pakistan is working on China corridor since 2114,” Reuters, accessed Octorber 2, 2017,www.reuters.com/article/us- pakistan-china-idUSKCN11E1EP.

Ref. code: 25605903030525DHV 108

ฝ่ายรัฐบาลรวมแล้วประมาณ 2,904 ราย และช่วงปี ค.ศ. 2011-2013 นั้นความสูญเสียจะตกอยู่ที่ หน่วยงานทางด้านความมั่นคงของรัฐบาลกลางปากีสถานเสียมากกว่า6 จากความสูญเสียเช่นนี้ท าให้ รัฐบาลปากีสถานต้องส่งกองก าลังทหารไปมากถึง 15,111 นาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ในรัฐบาโลจิสถาน และรักษาความปลอดภัยให้แก่เหล่าแรงงานที่ก าลังท างานอยู่ตลอดเส้นทางระเบียง เศรษฐกิจจีน–ปากีสถานรวมถึงท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ด้วย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 1

ตารางที่ 7.1 แสดงตัวเลขความสูญเสียจากการก่อการร้ายและการตอบโต้จากเจ้าหน้าหน่วยงาน ทางด้านความมั่นคงของรัฐบาลกลางปากีสถานทุกภาคส่วน (ถึงวันที่ 19 มีนาคม ปี ค.ศ. 2017) ปี พลเรือน ทหาร/ต ารวจ ผู้ก่อการร้าย รวม 2011 542 122 47 711 2012 690 178 86 954 2013 718 137 105 960 2014 347 83 223 653 2015 247 90 298 635 2016 251 153 229 633 2017 5 12 6 23 รวม 2800 775 994 4569 ที่มา: South Asia Terrorism Portal, "Balochistan Assessment - 2017" Institute for Conflict Management, accessed March 25, 2018, http://www.satp.org/satporgtp/countries/ pakistan/Balochistan/index.html

ประกอบกับตัวเลขของอัตราการว่างงานในรัฐบาโลจิสถานที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 จนถึงปี ค.ศ. 2013 ที่รัฐบาลกลางปากีสถานยังเผยแพร่ตัวเลขออกมาสู่สาธารณชน และ รายงานของสื่อท้องถิ่นของปากีสถานในปี ค.ศ. 2016 ที่รายงานว่าประชาชนชาวบาโลจิสถานส าเร็จ การศึกษาในระดับต่าง ๆ ประมาณ 25,000 คนต่อปี แต่มีเพียง 2,000 คนเท่านั้นที่ยังคงรักษางาน ของตนไว้ได้7 และในปี ค.ศ. 2017 สื่อท้องถิ่นอีกส านักหนึ่งก็ได้รายงานถึงอัตราการว่างงานใน

6 South Asia Terrorism Portal, “Balochistan Assessment – 2017” 7 Correspondent, “Unemployment in Balochistan” Dawn, accessed January 25, 2118).https://www.dawn.com/news/1274819.

Ref. code: 25605903030525DHV 109

รัฐบาโลจิสถานที่สูงขึ้นถึง 60% ของประชากรทั้งหมดในรัฐบาโลจิสถาน8 ตัวเลขและข้อมูลทางสถิติ พวกนี้จึงเป็นตัวเลขที่สามารถจะยืนยันความเกี่ยวพันระหว่าง สาเหตุของความขัดแย้งใน รัฐบาโลจิสถาน และผลกระทบที่ตามมาจากฝ่ายที่ไม่พึ่งพอใจต่อรัฐบาลกลางปากีสถานได้เป็นอย่างดี

ตารางที่ 7.2 แสดงตัวเลขอัตราการว่างงานของประชากรในรัฐบาโลจิสถานตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 – 2013 ปี อัตราการว่างงานของประชากร 2009 – 2010 60,000 คน 2010 - 2011 70,000 คน 2012 - 2013 100,000 คน ที่มา : Government of Pakistan Ministry of Finance, “Population, Labour Force and Employment” Government of Pakistan Ministry of Finance, accessed march 25, 2018, http://www.finance.gov.pk/survey/chapters_14/12_Population.pdf

เหตุการณ์ที่รุนแรงจากการก่อการร้ายเช่นนี้ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ติดอาวุธอย่างกองทัพ ปลดปล่อยบาโลจิสสถาน (BLA) และกลุ่มอื่น ๆ แม้จะเป็นไปในรูปแบบของการก่อความไม่สงบภายใน รัฐ แต่ก็ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อกิจการระหว่างประเทศของรัฐบาลปากีสถาน เนื่องจากเป็นการท าให้ เสถียรภาพ และความสงบในพื้นที่ของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานมีการสั่นคลอน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ จีนไม่ต้องการให้เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง ในทุกพื้นที่ที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของ จีน รัฐบาลปากีสถานจึงต้องพยายามจัดการกับภัยคุกคามนี้ให้หมดสิ้นไปเพื่อสร้างความมั่นใจแก่จีน โดยการส่งกองก าลังทหารไปมากถึง 15,000 นาย เพื่อรักษาความปลอดภัยในทุก ๆ พื้นที่ของ โครงการในระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน โดยเฉพาะสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของระเบียงเศรษฐกิจจีน- ปากีสถานอย่างท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ ซึ่งในประเด็นนี้จะเห็นได้ถึงความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดการ ประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ ที่ถูกเสนอโดย ลอบเบลล์ ในส่วนของ การประเมินและจัดการภัยคุกคามภายในประเทศที่ส่งผลต่อกิจการและนโยบายต่างประเทศ รวมถึง ความเกี่ยวพันในเรื่องกิจการภายในและระหว่างประเทศที่จะเป็นตัวก าหนดนโยบายต่างประเทศและ ท่าทีระหว่างประเทศของรัฐนั้น ๆ ซึ่งในที่นี้คือการด าเนินนโยบายทางทหารของรัฐบาลปากีสถาน ในการปกป้องเส้นทางต่าง ๆ ในระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ถือเป็นการแสดงท่าทีภายในประเทศ

8 HafeezUllah FM, “Unemployment in Balochistan” Daily Times, accessed January 25, 2018, https://dailytimes.com.pk/159717/unemployment-in-balochistan/.

Ref. code: 25605903030525DHV 110

เพื่อเหตุผลของเรื่องระหว่างประเทศ ในที่นี้ก็คือเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่จีนในความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนแลปากีสถาน ในรูปแบบของนโยบายแห่งการเอาใจต่อจีน บทสัมภาษณ์ นาย อซิม อิฟติค็อร อะห์หมัด (Asim Iftikhar Ahmad) เอกอัครราชทูตปากีสถานประจ าประเทศไทย ผู้เขียนได้ท าการสัมภาษณ์เอกอัครราชทูตปากีสถานประจ าประเทศไทย ถึงสถานการณ์ ความรุนแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐบาโลจิสถาน ท่านเอกอัครราชทูตได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า เป็นธรรมชาติของรัฐรูปแบบสหพันธรัฐอาจจะต้องมีกลุ่มที่คิดต่างและเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลกลาง ซึ่งในที่นี้คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ติดอาวุธต่าง ๆ ในรัฐบาโลจิสถาน ทางรัฐบาลกลางปากีสถานเห็นว่ากลุ่ม เหล่านี้เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ และอดีตนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพล ที่ขอลี้ภัยในต่างประเทศ โดยรัฐบาลปากีสถานจะยึดรูปแบบของการจัดการขบวนการก่อการร้ายตาม มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1373 ในการจัดการกับกลุ่มขบวนการก่อการร้าย ต่าง ๆ ในรัฐบาโลจิสถาน ท่านเอกอัครราชทูตเห็นว่าโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน เป็น โครงการที่เหมาะสมที่สุดส าหรับปากีสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรัฐบาโลจิสถานในการสร้างความมั่ง คั่ง และรูปแบบของการพัฒนาให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสร้างอาชีพให้แก่แรงงานชาวปากีสถานที่อาศัย อยู่ในรัฐบาโลจิสถานและรัฐอื่น ๆ ตลอดเส้นทางของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน เนื่องจาก แรงงานชาวปากีสถานมีค่าแรงที่ต่ ากว่าแรงงานชาวจีน จึงท าให้เกิดการจ้างงานอย่างมหาศาลใน ปากีสถานหลังจากการริเริ่มโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน และยืนยันว่าแรงงานที่ท างานอยู่ ตลอดเส้นทางของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้นส่วนใหญ่เป็นแรงงานชาวปากีสถาน ท่านเอกอัครราชทูตได้ยังได้กล่าวถึงมาตรการในการหาทางออกที่ยั่งยืนของปัญหา ในรัฐบาโลจิสสถาน คือ หากมีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชที่ไม่เห็นด้วยกับการปกครองของรัฐบาลกลาง ปากีสถาน ที่ได้ผ่านกฎหมายรูปแบบของการกระจายอ านาจในการบริหารจัดการตนเองในแต่ละรัฐ โดยรัฐบาลของแต่ละรัฐอย่างเต็มที่ในปี ค.ศ. 2111 ดังที่ปรากฏอยู่ในมาตราที่ 18 ของรัฐธรรมนูญของ ปากีสถานแล้วนั้น ก็ขอให้กลุ่มชาวบาโลชนั้น ๆ เข้าสู่กระบวนการแบบประชาธิปไตยโดยการหาเสียง และชนะเลือกตั้งเพื่อเขาไปมีที่นั่งอยู่ในสภาแห่งชาติปากีสถานและเสนอกฎหมายหรือข้อเรียกร้อง ใด ๆ ที่เป็นไปในรูปแบบของการก าหนดใจตนเอง หากสภาแห่งชาติปากีสถานให้การยอมรับมติ ดังกล่าว รัฐบาลกลางปากีสถานก็จ าเป็นจะต้องยอมรับในการก าหนดใจตนเองอันน าไปสู่เอกราชหรือ การปกครองตกเองของรัฐบาโลจิสถานผ่านกระบวนการตามกฎหมายดังกล่าว แต่หากกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวบาโลชใช้วิธีการก่อความไม่สงบการก่อการร้ายใด ๆ ก็ไม่ถือว่าเป็นการเรียกร้องที่เป็นไปเพื่อการ ก าหนดใจตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าว แต่ถือเป็นการก่อการร้ายที่กระทบต่อความมั่นคงและ

Ref. code: 25605903030525DHV 111

อธิปไตยของปากีสถานซึ่งรัฐบาลปากีสถานต้องด าเนินการจัดการอย่างเด็ดขาดเพื่อความสงบ เรียบร้อยภายในปากีสถานและถือว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลทุกชาติควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว9 จะเห็นได้ว่า ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ท่านเอกอัครราชทูตนั้นอาจมีบางส่วนที่เป็นไปใน ทิศทางที่สวนทางกับข้อมูลเชิงสถิติที่ผู้เขียนได้ท าการค้นคว้าและน าเสนอมาข้างต้น ในเรื่องของอัตรา การว่างงานที่นับวันยิ่งยากจะเข้าถึงโดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นรายงานของรัฐบาลกลางปากีสถาน อย่างไรก็ตามการให้สัมภาษณ์ของท่านเอกอัครราชทูตว่ามีการจ้างงานแรงงาน ชาวปากีสถานอย่างมหาศาลหลังการริเริ่มโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน แต่เหตุการณ์ ความไม่สงบในรัฐบาโลจิสถานก็ยังด าเนินไปอยู่เรื่อย ๆ มีความสูญเสียของพลเรือน ทหาร ต ารวจ และกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลชเป็นจ านวนมาก ตามตารางที่ 7.1 ก็แสดงให้เห็นว่ายังมี ความไม่พึงพอใจต่อท่าทีของรัฐบาลกลางปากีสถานอยู่ในพื้นที่ของรัฐบาโลจิสถาน แต่ก็อาจกล่าวได้ว่า ความเข้าใจและการจัดการภัยคุกคามในประเทศของรัฐบาลกลางปากีสถานจากเหตุการณ์ความ ไม่สงบในรัฐบาโลจิสถานที่มีก่อการโดยกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช เป็นการจัดการภัย คุกคามที่ประสบผลส าเร็จในระดับหนึ่งวัดได้จากข้อมูลเชิงสถิติในตารางที่ 7.1 ที่ตัวเลขของความ สูญเสียในปี ค.ศ. 2014, 2015 และ 2016 มีการลดลงจากปี ค.ศ. 2013 ตามล าดับ แม้จะเป็นตัวเลข ที่สูงอยู่ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอัตราการจ้างงานที่สูงขึ้นตามค าสัมภาษณ์ของท่านเอกอัครราชทูต ในช่วงปี ค.ศ. 2014, 2015, 2016, 2017 ที่ยังไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับอัตราการ ว่างงานในรัฐบาโลจิสถานของรัฐบาลกลางปากีสถานเหมือนปีก่อน แต่ถึงแม้จะยังไม่มีข้อมูลเชิงสถิติ ยืนยันแต่ก็อาจมีความเป็นไปได้ ประกอบกับงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นส าหรับรัฐบาโลจิสถานตามตาราง ที่ 5.1 ในบทที่ 5 รวมถึงการปราบปรามกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลชอย่างหนักหน่วงของ ฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลกลางปากีสถาน โดยการส่งกองก าลังทหารไปมากถึง 15,000 นาย เพื่อรักษาความปลอดภัยในทุก ๆ พื้นที่ของโครงการในระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน จึงอาจเป็น ปัจจัยที่ท าให้ตัวเลขของความสูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐบาโลจิสถานมีอัตราลดลงตาม ตารางที่ 7.1 ระดับของการประเมินและการจัดการกับภัยคุกคาม จากการอธิบายสภาพการณ์หลังความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน ตามกรอบแนวคิดการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ ที่ถูกเสนอโดย สตีเวน อี ลอบเบลล์ สามารถแบ่งระดับของการประเมินและการจัดการกับภัยคุกคามได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

9 H.E. Asim Iftikhar Ahmad, Interview by author, Bangkok, March 16, 2018.

Ref. code: 25605903030525DHV 112

- การประเมินภัยคุกคามระหว่างประเทศในระดับระบบโลก หรือภัยคุกคามหลายขั้น (Multi-tiered Threats) ระหว่างปากีสถาน จีน และรัสเซีย กับ อินเดีย อิหร่าน และอัฟกานิสถาน - การประเมินภัยคุกคามระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค (Subsystemic Threats) ระหว่างปากีสถาน กับ อินเดีย - การประเมินภัยคุกคามภายในประเทศ (Domestic Threats) ซึ่งเกี่ยวพันกับกิจการ ระหว่างประเทศของปากีสถาน ระหว่างรัฐบาลปากีสถาน และ จีน กับ กลุ่มชาติพันธุ์ที่ติดอาวุธอย่าง กองทัพปลดปล่อยบาโลจิสสถาน ในแต่ละระดับของการประเมินและการจัดการกับภัยคุกคามนั้นก็มีรูปแบบของการ ปฏิสัมพันธ์ทั้งความขัดแย้งและความร่วมมือ ภายในและระหว่างประเทศที่แตกต่างกันไปในแต่ละ ระดับ รวมถึงความเชื่อมโยงของผู้แสดงบทบาทที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างระดับ เช่น ความช่วยเหลือของ หน่วยสืบราชการลับของอินเดียต่อกองทัพปลดปล่อยบาโลจิสสถาน รัฐบาลอินเดียกับการขยายความ ขัดแย้งและการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียใต้ระหว่างอินเดียและปากีสถาน ไปสู่รูปแบบของความขัดแย้ง และการแข่งขันในระดับระบบโลก หรือภัยคุกคามหลายขั้น ระหว่างปากีสถาน จีน และรัสเซีย กับ อินเดีย อิหร่าน และอัฟกานิสถาน ในกรณีของท่าเรือน้ าลึกกว่าดาร์ และชาฮาบาร์ เป็นต้น

Ref. code: 25605903030525DHV 113

บทที่ 8 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road Initiative) เป็นยุทธศาสตร์ใหม่ ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน มุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อและความร่วมมือระหว่างประเทศในแถบ เอเชียและยุโรปบางส่วน เพื่อรื้อฟื้นเส้นทางการค้าโบราณอย่างเส้นทางสายไหมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ทั้งเส้นทางการค้าทางบก และเพิ่มเติมเส้นทางการค้าทางทะเล เส้นทางทางการค้าส าคัญเส้นหนึ่งที่เป็นประตูทางออกที่สองให้จีน (ประตูทางออกที่ หนึ่งจากทะเลจีนใต้ผ่านช่องแคบมะละกา) ไปสู่มหาสมุทรอินเดียได้ก็คือ ท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์พอร์ตใน รัฐบาโลจิสถาน ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งของประเทศปากีสถาน ท่าเรือน้ าลึกนี้เกิดขึ้นหลังจากปากีสถานและจีน ตกลงกันในเรื่องระเบียงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน (China–Pakistan Economic Corridor) ในปี ค.ศ. 2013 ซึ่งก็เป็นรูปแบบของความร่วมมือระหว่างประเทศที่จีนมักจะเข้าไปสร้าง เสริมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและน าเสนอรูปแบบของความร่วมมือให้เห็นถึงผลประโยชน์ร่วมกันที่จะ ตามมาระหว่างจีนและประเทศที่ร่วมมือด้วย ตามข้อตกลงความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถานนั้น จีนได้ให้งบประมาณใน การสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อย่างไรก็ตามความร่วมมือนี้ก็ได้สร้างผลกระทบ ตามมาด้วยเช่นกัน คือการเพิ่มผลกระทบทางลบจากภายนอกประเทศไปสู่ประเด็นความขัดแย้ง ภายในประเทศ หลังจากการที่จีนและปากีสถานได้มีการตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจตามข้อตกลง ระเบียงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถาน และได้มีการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการ เชื่อมต่อตั้งแต่ชายแดน จีน-ปากีสถาน ไปจนถึงท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์พอร์ต ที่รัฐบาโลจิสถาน ได้สร้าง ความไม่พอใจให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลชที่อาศัยอยู่ในรัฐบาโลจิสถาน ที่มีความไม่ พอใจรัฐบาลกลางเป็นทุนเดิมอยู่แล้วยิ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม โดยพวกเขาเห็นว่ารัฐของตนถูกเอาเปรียบ จากรัฐบาลกลางมาตลอด จากการดูดทรัพยากรจากรัฐตนไปสู่ส่วนกลางและมิได้กระจายความเจริญ กลับมาสู่รัฐตนอย่างเท่าเทียมหรือท าให้เกิดความพึงพอใจแก่กลุ่มชาติพันธุ์ของชาวบาโลช (Baloch- คือกลุ่มชนชาติที่อาศัยอยู่ในรัฐบาโลจิสถาน) ชาวบาโลช และกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช เชื่อว่าโครงการขนาดใหญ่ที่ เกิดขึ้นในบาโลจิสถาน อย่างการสร้างท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์พอร์ตนั้น มิได้เอื้อผลประโยชน์ที่เป็นธรรม แก่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะผลประโยชน์ที่ให้แก่ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชที่อาศัยอยู่ในบริเวณ ดังกล่าว ชาวบาโลชนั้นไม่ได้มีความรู้สึกต่อต้านจีนเป็นทุนเดิม แต่พวกเขาต่อต้านโครงการขนาดใหญ่ ที่ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่พวกเขา แม้กระทั่งในกระบวนการเจรจา กลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชก็ไม่ได้ร่วม

Ref. code: 25605903030525DHV 114

อยู่ในโต๊ะเจรจาด้วย จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจและกระตุ้นความบาดหมางกับส่วนกลางที่มีอยู่เดิมให้ เพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากการต่อสู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลช ด้วยวิธีการการก่อการร้ายเพื่อท าลาย ล้างฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลกลางปากีสถาน รวมถึงการลอบสังหารแรงงานที่ก าลังท างานอยู่ตลอด เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน และท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ จากความสูญเสียเช่นนี้ท าให้ รัฐบาลปากีสถานต้องส่งกองก าลังทหารไปมากถึง 15,111 นาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ในรัฐบาโลจิสถาน และรักษาความปลอดภัยให้แก่เหล่าแรงงานที่ก าลังท างานอยู่ตลอดเส้นทางระเบียง เศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน รวมถึงท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ด้วย ซึ่งเป็นแรงงานชาวจีนจ านวนกว่า 7,111 ราย และแรงงานชาวปากีสถานบางส่วน เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจของรัฐบาล ปากีสถานถึงภัยคุกคามภายในประเทศตน จากประเด็นปัญหาดังกล่าวตามรูปแบบของการอธิบาย สถานการณ์ผ่านกรอบแนวคิดการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ รูปแบบของความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคีระหว่างจีนและปากีสถาน ได้ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐ และได้ท าให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศ ปากีสถานที่ตามมาหลังจากรูปแบบความร่วมมือนั้น ซึ่งจีนในฐานะประเทศมหาอ านาจก็มีความ ต้องการที่จะให้เกิดเสถียรภาพและความราบรื่นทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในประเทศที่ ตนมีปฏิสัมพันธ์ทางความร่วมมือด้วยเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันดังที่ตนได้น าเสนอต่อคู่ปฏิสัมพันธ์ ซึ่งจะสามารถอธิบายได้ตามกรอบของทฤษฎีภารกิจนิยม แต่จะมีความเหลื่อมล้ ามากเพียงใดส าหรับ ผลประโยชน์ที่ทั้งสองประเทศ จะกลายเป็นรูปแบบของจักรวรรดินิยมหรือไม่ ผู้เขียนก็ได้ท าการศึกษา และวิเคราะห์มาเรียบร้อยแล้วในส่วนท้ายของงานวิจัยซึ่งจะท าการอธิบายต่อไปในช่วงท้ายของ บทสรุป ในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระดับโลกนั้น จีนตระหนักถึงความหวาดระแวงของ ประเทศอื่น ๆ ที่มีต่ออ านาจทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นของจีน ดังนั้นจีนจึงด าเนินนโยบายเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศที่เน้นการสร้างความมั่นใจให้กับประเทศอื่น ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนว่า ทุกประเทศนั้นสามารถเป็นผู้ชนะได้ และให้ความส าคัญไปที่ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ คู่ปฏิสัมพันธ์ เน้นการท างานร่วมกันเพื่อบทบาทที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน ลดข้อจ ากัดต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ ด าเนินการได้สะดวก แนวทางดังกล่าวบรรจุอยู่ในนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road Initiative) อย่างเห็นได้ชัด ความร่วมมือและปฏิสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ตามโครงการไม่ค่อย มีข้อจ ากัดในความร่วมมือมากนักดังเช่นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของชาติตะวันตก จีนเน้นไปที่รูปแบบของระดับความร่วมมือต่าง ๆ ที่ใกล้ชิดและสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการพัฒนา ความสัมพันธ์ร่วมกันแบบตัวหารร่วมน้อย (ขยายความ) ซึ่งจีนใช้รูปแบบเช่นนี้ในการขับเคลื่อนความ ร่วมมือและปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจตามทฤษฎีภารกิจนิยม แนวคิดนี้เน้นความร่วมมือระหว่างสองรัฐ ขึ้นไปให้เข้ามาปฏิสัมพันธ์และด าเนินการภารกิจใด ๆ ร่วมกัน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และไม่ก่อ

Ref. code: 25605903030525DHV 115

ผลเสียอย่างร้ายแรงภายในขอบเขตความร่วมมือ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจ าเป็นต้องได้รับการวิเคราะห์ ในบทต่อ ๆ ไปว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ หรือเป็นรูปแบบของการเอาเปรียบโดยประเทศมหาอ านาจ จีนใช้ความเป้ามหาอ านาจของตนที่ได้เปรียบเหนือกว่าคู่ปฏิสัมพันธ์ ในการลงทุนเพื่อแสวงหาผลก าไร ในโครงการที่ตนเห็นว่าได้เปรียบและยังผลประโยชน์แก่จีนมากกว่า โดยไม่ได้ค านึงถึงผลประโยชน์ ร่วมกันของประเทศคู่ปฏิสัมพันธ์มากเท่าใดนัก จนกลายเป็นรูปแบบของจักรวรรดินิยมใหม่ จีนที่น าโดย สี จิ้นผิง นั้นมีท่าทีตอบโต้นโยบายการกีดกันทางการค้าและกระแสต้าน โลกาภิวัตน์ ของสหรัฐอเมริกาที่น าโดยผู้น าฝ่ายขวาอย่าง นายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ไม่เห็นด้วยกับรูปแบบ การบูรณาการทางเศรษฐกิจที่มีการเปิดเสรีและไร้การกีดกันทางการค้า เห็นได้ชัดจากการที่ สหรัฐอเมริกาตัดสินใจถอนตัวออกจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership - TPP) สี จิ้นผิง ใช้เวทีการประชุมสภาเศรษฐกิจโลกต้นปี ค.ศ. 2117 เพื่อประกาศ จุดยืนใหม่ที่จะต่อต้านการกีดกัดกันทางการค้าและเปิดประตูสู่ระบบเศรษฐกิจโลก “เศรษฐกิจโลก เปรียบกับมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ที่คุณไม่สามารถว่ายหนีออกมาได้" คือประโยคจากสุนทรพจน์ของ สี จิ้นผิง ที่ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจโลกในทัศนะของประธานาธิบดีจีนคนแรกที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ค ากล่าวของ สี จิ้นผิง สอดคล้องกับแนวนโยบายของตนที่มีความสดใหม่และเต็มไปด้วยรูปแบบของ การพัฒนาและปฏิรูป ส่อสัญญาณแห่งความก้าวหน้าใหม่ของจีน และแสดงให้เห็นว่าจีนพร้อมแล้วที่ จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้น าเศรษฐกิจโลกประเทศใหม่ มีความมั่นใจในศักยภาพของตนเองในช่วงที่สหรัฐฯ สนใจแต่ตัวเอง การที่จีนมีท่าทีสนับสนุนกระแสโลกาภิวัตน์นั้น เป็นเรื่องที่ถูกตั้งค าถามอยู่มาก เนื่องจากรูปแบบเศรษฐกิจของจีนนั้นเป็นระบบเศรษฐกิจที่จีนอ้างว่าเป็น ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy) ที่ภาครัฐไม่แทรกแซงระบบเศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นรัฐบาลจีนยังมี การแทรกแซงระบบเศรษฐกิจอยู่มาก ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง (planned economy) ของจีนนี้ มีความขัดแย้งกับรูปแบบการเปิดเสรีทางการค้า และการบูรณาการทาง เศรษฐกิจที่ในระดับโลกและระดับภูมิภาค นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนนั้นมีวิสัยทัศน์ในการด าเนินโดยเน้นไปที่หลักการ ของความสามัคคีของรัฐสมาชิกทั้งหลาย หล่อหลอมความเป็นปึกแผ่นระหว่างอารยธรรม ในระหว่าง การรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง รวมถึงเส้นทางใหม่ทางทะเล การคิดริเริ่มของจีนนี้ไม่ได้ เน้นว่า ประเทศอื่นควรด าเนินการรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมใหม่ตามแบบแผนเส้นทางและการพัฒนา ของจีน เนื่องจากจีนไม่ต้องการที่จะท าลายวัฒนธรรมและอารยธรรมของประเทศอื่น ๆ ที่ด ารงอยู่ ระหว่างเส้นทาง แต่จีนจะเคารพทางเลือกของเส้นทางและการพัฒนาโมเดลเส้นทางของประเทศอื่น ๆ รวมถึงให้การสนับสนุนอีกด้วย โดยมีการหารือระหว่างรัฐสมาชิกที่มีอารยธรรมที่แตกต่างกัน ใน หลักการของการแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่างในการรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมขึ้นมาใหม่ร่วมกัน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกประเทศที่ตั้งอยู่บนเส้นทางที่สามารถจะร่วมรื้อฟื้นและด ารงอยู่ร่วมกันได้

Ref. code: 25605903030525DHV 116

อย่างสันติเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจตามนโยบายหนึ่งแถบหนึ่ง เส้นทางของรัฐบาลจีน การด าเนินนโยบายต่างประเทศเช่นนี้ของจีนนั้นจะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ ความร่วมมือทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่จะสร้างผลดีสูงสุดแก่ภูมิ รัฐศาสตร์ของจีน ซึ่งจะท าให้จีนมีอิทธิพลมากขึ้นบนเส้นทางที่ทอดผ่านมหาทวีปยูเรเซียและขยายไป ถึงแอฟริกา รวมถึงจะเป็นการตอบโต้การครอบง ามหาทวีปนี้โดยประเทศโลกตะวันตกเพียงฝ่ายเดียว ได้อีกด้วย ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor) ถือเป็น รูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความก้าวหน้าและมีความเป็นรูปธรรมมากที่สุด เนื่องจากจีนมี การลงทุนอย่างมากในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ถนน รางรถไฟ ทางยกระดับ ทางด่วน เขตเศรษฐกิจพิเศษ ท่อส่งน้ ามันและก๊าซธรรมชาติ สายใยแก้วน าแสง และศูนย์ผลิตและ พัฒนาพลังงานทดแทนส าหรับการขนส่ง ในปากีสถานเพื่อการอ านวยความสะดวกอย่างเต็มที่และ ทั่วถึง ในการเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งสินค้าที่เป็นเส้นทางสายไหมใหม่ส าหรับการค้าทางบก จากจีนผ่าน รัฐต่าง ๆ ของปากีสถาน ไปจนถึงท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์พอร์ต และออกสู่ทะเลอาหรับเป็นการเข้าสู่ เส้นทางสายไหมใหม่ส าหรับการค้าทางทะเลต่อไป ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้น มีโครงการ ต่าง ๆ ที่จีนและปากีสถานด าเนินการร่วมกัน หลังการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandums of Understanding: MoUs) ระหว่างทั้งสองประเทศ จ านวน 51 ฉบับเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่าง กัน ในระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ได้ ดังนี้ - โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับส ารวจและขุดเจาะจัดเก็บพลังงานจากถ่านหิน - โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการส ารวจและจัดเก็บก๊าซธรรมชาติ - โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดเก็บพลังงานทดแทนจาก ลม น้ า และแสงอาทิตย์ - โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลทางการเกษตร การจัดเก็บและ จ าหน่ายอุปกรณ์การเกษตร รวมถึงระบบชลประทาน - โครงการความร่วมมือทางด้านโทรคมนาคมและอวกาศ - โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือทางความมั่นคงทางทะเล ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน เป็นเป็นโครงการที่ผู้เขียนให้ความสนใจและน ามาเป็น กรณีศึกษา เนื่องจากยังมีปัญหาและค าถามมากมายที่ยังไม่ได้รับการตอบ จากเหตุการณ์ความร่วมมือ และความขัดแย้งทางการเมืองภายในและภายนอกประเทศในทุกระดับที่เกิดขึ้นหลังจากมีการจัดท า ระเบียงเศรษฐกิจดังกล่าว

Ref. code: 25605903030525DHV 117

ปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ส าคัญประเด็นหนึ่งในปากีสถานหลังความร่วมมือ ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน นั้นเกิดขึ้นจากการที่ชาวบาโลชและกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดน ชาวบาโลชในรัฐบาโลจิสถาน มีความไม่พอใจรัฐบาลกลางและมีความต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดน เพื่อให้ได้อิสรภาพและเอกราชของพวกเขาคืนมา ประกอบกับปัญหาเกี่ยวกับการก ากับดูแลที่ไม่เท่า เทียมกันจากรัฐบาลกลาง ความไม่พอใจทางเศรษฐกิจในรัฐของตนที่ถูกส่วนกลางดูดทรัพยากร โดยเฉพาะทางด้านพลังงานและแร่ธาตุไปใช้ประโยชน์ แต่ไม่ได้กระจายความเจริญกลับมาสู่ รัฐบาโลจิสถานมากเท่าใดนักเห็นได้จากจ านวนของเยาวชนในรัฐบาโลจิสถานที่ 60% ของเยาวชน ทั้งหมดไม่ได้รับการศึกษา รวมทั้งงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลกลางก็มีปริมาณน้อยกว่า รัฐอื่น ๆ อย่างน้อยประมาณเกือบ 1 เท่าตัวในสิบปีให้หลัง ดังที่กล่าวมาแล้วในบทที่ 5 ตารางที่ 5.1 สิ่งเหล่านี้จึงเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างความไม่พอใจต่อรัฐบาลกลางปากีสถาน ของชาวบาโลช ท าให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงหลายครั้งจากการก่อการร้ายโดยกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดน ชาวบาโลช ซึ่งการก่อการที่ส าคัญและส่งผลกับโครงการต่าง ๆ ในระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ก็คือการสังหารแรงงานจีนและปากีสถานที่ท างานในแผนงานต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาท่าเรือ กวาดาร์พอร์ตที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความไม่พอใจที่รัฐบาลกลางร่วมมือกับรัฐบาลจีนสร้าง โครงสร้างพื้นฐานหลายอย่าง แต่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนของชาวบาโลชมีสิทธิ์เข้าร่วมการเจรจา ใด ๆ โดยเฉพาะตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาโลชที่มีบทบาทสูงอย่าง กลุ่มกองทัพปลดปล่อย บาโลจิสสถาน (Balochistan Liberation Army) เพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐตนกับรัฐบาลกลาง และรัฐบาลจีนแม้แต่น้อย เช่นนี้จึงท าให้พวกเขาเกิดความไม่พอใจมากขึ้นไปอีก นอกจากความไม่ พอใจที่เคยถูกกดขี่โดยเจ้าอาณานิคม และการกดดันจากรัฐบาลปากีสถานให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ ปากีสถานที่มีอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จากการสัมภาษณ์ชาวบาโลช อดีตสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดน ก็ได้ความว่า ชาวบาโลชส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการถูกปกครองโดยรัฐบาลกลางปากีสถาน หลังจากถูกกดดันให้รวม ชาติในปี 1948 หลังจากการเจรจาของ อะห์หมัด ยา ข่าน กับรัฐบาลปากีสถาน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในบทที่ 5 และเห็นว่ารูปแบบของการกระจายอ านาจและกระบวนการประชาธิปไตยในการเมืองของ รัฐบาโลจิสถานนั้นไร้ความหมายถูกครอบง าโดยรัฐบาลกลางตลอดเวลา ในเรื่องของความมั่นคงของ มนุษย์ของชาวบาโลชในรัฐบาโลจิสถานนั้นเขาเห็นว่าย่ าแย่มาก มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็น ธรรมชาติ มีการทารุณผู้ต้องหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนอยู่เสมอถึงขั้นข่มขืนคนใน ครอบครัวต่อหน้าผู้ต้องหา เพื่อจะให้พูดความจริงและสนองกามอารมณ์ของทหารปากีสถาน มีการ ลอบสังหาร ก่อเหตุสถานการณ์ความไม่สงบรายวัน ทั้งจากฝ่ายกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดน ชาวบาโลช และฝ่ายรัฐบาลเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ผู้น ารัฐบาลกลางปากีสถานหลาย ๆ คนก็ได้ แต่โฆษณาชวนเชื่อว่าจะช่วยเหลือชาวบาโลช แต่ความช่วยเหลือนั้นไม่เคยเข้าถึงชาวบาโลชอย่าง

Ref. code: 25605903030525DHV 118

แท้จริง ท าให้รัฐบาลกลางปากีสถานไม่สามารถชนะชาวบาโลชได้ การเรียนการสอนในภาษาของชาว บาโลชถูกแทนที่ด้วยภาษาอูรดูของชาวปัญจาบ ท าให้ชาวบาโลชไม่รู้สึกว่ารัฐบาโลจิสถานเป็นเหมือน บ้านของตัวเองส่งผลให้เกิดความต้องการเอกราชและปกครองตนเองเสมอมาตั้งแต่การรวมประเทศ ปากีสถาน ส่วนในเรื่องของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้นเขากล่าวว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ ไม่ได้เปิดให้มีการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและพิจารณาโดยกลุ่มของชาวบาโลชแต่อย่างใดและไม่ได้ สร้างความพึงพอใจแก่ชาวบาโลชมากนัก ท าให้ยังมีการก่อการร้ายของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนต่อ ฝ่ายรัฐบาลอยู่เสมอ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน จากการสัมภาษณ์อดีตสมาชิกกาชาดสากลที่ปฏิบัติงานที่รัฐบาโลจิสถานกว่า 11 ปี ก็ได้ ความว่า สาเหตุของความขัดแย้งในรัฐบาโลจิสถานเป็นไปในทิศทางเดียวกับชาวบาโลชอดีตสมาชิก กลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนข้างต้น และเห็นว่ายังไม่มีสัญญานของการประนีประนอมที่จะเป็น หนทางสู่สันติภาพ รัฐบาลกลางปากีสถานพยายามใช้ความเป็นอิสลามนิยมในการเจือจางความรู้สึก ชาตินิยมและความกระด้างกระเดื่องของชาวบาโลชให้ลดลงไป เพื่อหวังที่จะควบคุมกลุ่มชาติพันธุ์ ต่าง ๆ ที่ก่อการอยู่ในรัฐบาโลจิสถานได้ง่ายขึ้น ส่วนในเรื่องของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้น เขากล่าวว่าประชาชนชาวบาโลชในรัฐบาโลจิสถานที่เขาได้ปฏิบัติงานด้วย ไม่เห็นถึงความส าคัญของ ท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ในรัฐบาโลจิสถาน และมองว่าท่าเรือนี้เป็นผลประโยชน์ของชาวปัญจาบและ รัฐบาลกลางปากีสถานที่จะกอบโกยจากพวกเขา เรื่องของการกระจายความเจริญและการจ้างงานเป็น สิ่งที่พวกเขาเห็นว่ายากที่จะจับต้องได้จากโครงการนี้ จะเห็นได้ว่า ชาวบาโลชมีความกระหายในเสรีภาพและเอกราชเสมอ และในปัจจุบันก็ ยังมีการต่อต้านรัฐบาลกลางอยู่เสมอ แม้ประชาชนชาวบาโลชจะได้อ านาจในการปกครองตนเองใน ระดับท้องถิ่น คือการมีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลมลรัฐผ่านการลงสมัครรับเลือกตั้งแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากถูกแทรกแซงทางการเมืองจากรัฐบาลกลางอยู่บ่อยครั้ง ประกอบกับการกระท า การก ากับ ดูแลต่าง ๆ ที่พวกเขามองว่าถูกเอาเปรียบจากรัฐบาลกลาง จึงส่งผลให้ความกระหายที่จะได้เสรีภาพ และเอกราชของพวกเขา โดยเฉพาะของกลุ่มกองทัพปลดปล่อยบาโลจิสสถานนั้นไม่เคยหมดลงในรัฐ บาโลจิสถาน หากมองรูปแบบของความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานผ่านหลักการของ ทฤษฎีภารกิจนิยม จะเห็นว่า ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ และ ผลประโยชน์ร่วมกันทางเศรษฐกิจของจีนและปากีสถานนั้น เป็นไปในรูปแบบที่มีความแตกต่างกัน มากในเชิงของตัวเลขเศรษฐกิจ ดังที่ปรากฏในบทที่ 6 ตารางที่ 6.1 ที่ปากีสถานขาดดุลทางการค้า จากจีนอยู่หลายเท่าตัวในปี ค.ศ. 2113 ซึ่งเป็นปีแห่งการริเริ่มโครงการความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน–ปากีสถาน แต่ก็อาจเป็นเพราะเนื่องจากขนาดก าลังผลิตและราคาสินค้าของจีนที่มีความเหนือกว่า จึงยากแก่ประเทศโลกที่สามหรือโลกที่สองจะได้มูลค่าทางการค้าที่เกินดุลกับประเทศจีน

Ref. code: 25605903030525DHV 119

แม้ในทางเศรษฐกิจปากีสถานจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก แต่ในด้านความมั่นคงของปากีสถานที่ จีนได้ช่วยสนับสนุนขีดความสามารถทางทหารแก่ปากีสถานเสมอมาจนกระทั่งประสบความส าเร็จใน การทดลองนิวเคลียร์ดังที่กล่าวมาแล้ว ส่งผลให้เกิดความรู้สึกมั่นคงแก่ปากีสถานต่อความกังวลที่จะถูก รุกรานจากต่างชาติได้เป็นอย่างดี แต่ในประเด็นด้านความมั่นคงนี้ไม่ได้เป็นเป้าหมายหลักของความ ร่วมมือระหว่างรัฐภายใต้กรอบทฤษฎีภารกิจนิยม ซ้ าร้ายยังอาจจะเป็นประเด็นที่กระตุ้นความ หวาดระแวงระหว่างรัฐต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งอาจน าไปสู่รูปแบบการแข่งขันทางอาวุธ จนกลายเป็นฉนวนแห่งสงครามในอนาคตซึ่งขัดกับเป้าหมายของทฤษฎีภารกิจนิยม ส่วนในหลักการของการแทรกแซงระหว่างกันที่ต้องมีขอบเขตจ ากัดระหว่างรัฐคู่ ปฏิสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าจีนสามารถเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของปากีสถานได้ อย่างง่ายดาย เช่น การเข้าไปควบคุมบริหารโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของปากีสถานอย่าง เต็มที่ ตั้งแต่ระดับทรัพยากรมนุษย์ จนถึงระดับสิทธิในการควบคุมจัดการเหนือบริเวณสิ่งปลูกสร้าง ต่าง ๆ ของจีน เช่น ทางรถไฟ ท่าเรือน้ าลึก ซึ่งถือว่าเป็นการก้าวล่วงอธิปไตยของปากีสถานอย่างเห็น ได้ชัด ซึ่งในประเด็นนี้ก็ได้สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนชาวปากีสถานเป็นอย่างมากโดยเฉพาะ ภายในรัฐบาโลจิสถานซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว สภาพการณ์เช่นนี้จึงไม่ได้เป็นการเสริมสร้างความจงรักภักดีของประชาชนทั้งสอง ประเทศระหว่างกันตามทฤษฎีภารกิจนิยมแต่อย่างใด รวมทั้งยังขัดกับหลักการ การบูรณาการ ระหว่างรัฐคู่ปฏิสัมพันธ์ที่จะต้องเป็นไปในรูปแบบที่ไม่ขัดกับเสรีภาพของมนุษย์ เนื่องจากประชาชนใน รัฐบาโลจิสถาน และรัฐอื่น ๆ ไม่ได้มีสิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วม และการแสดงความคิดเห็น ในการส่งตัวแทนเข้าไปบนโต๊ะเจรจากับจีน ที่มีการหารือเกี่ยวข้องกับการด าเนินการโครงการต่าง ๆ ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน รวมทั้งขัดกับหลักการเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาทาง ความรู้และทักษะตามความต้องการของประชาชนรัฐคู่ปฏิสัมพันธ์ เนื่องจากประชาชนของทั้งสอง ประเทศไม่สามารถเรียกร้องให้รัฐบาลทั้งสองประเทศช่วยเหลือในประเด็นเรื่องของการส่งเสริม ในการพัฒนาความรู้และทักษะใด ๆ ระหว่างกัน แม้กระทั่งการส่งเสริมอาชีพจากโอกาสในการเข้าร่วม เป็นแรงงานของชาวปากีสถานเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในปากีสถานภายใต้ระเบียง เศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน ก็ถูกปิดกั้นโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ดังนั้นจะเห็นชัดว่าระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นและขับเคลื่อน ในแนวทางที่ใกล้เคียงกับรูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐภายใต้ทฤษฎีภารกิจนิยมแต่อย่างใด และเห็น ได้ชัดถึงความเสียเปรียบของปากีสถานในประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงของมนุษย์ และเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ของประชาชนชาวปากีสถานอีกด้วย

Ref. code: 25605903030525DHV 120

ในส่วนของการอธิบายรูปแบบของโครงการความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน– ปากีสถานผ่านหลักการของทฤษฎีจักรวรรดินิยมใหม่จะเห็นว่า จีนนั้นมีความเป็นจักรวรรดินิยมทาง เศรษฐกิจต่อปากีสถานอย่างเห็นได้ชัด ผ่านปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ กับปากีสถาน ไม่ว่าจะเป็น เขตการค้าเสรีไปจนถึงรูปแบบของข้อตกลงในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในปากีสถาน ทั้ง ถนน ทางรถไฟ รวมไปถึงท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ ซึ่งเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีน ทั้งสิ้น ซึ่งมีมากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของปากีสถาน ทั้งในด้านการขนส่ง สิทธิของจีน ในการบริหารจัดการบนดินแดนที่ถือเป็นอธิปไตยของปากีสถาน การแสวงหาทรัพยากรทางพลังงาน ที่เป็นที่ต้องการยิ่งของจีนในปากีสถานโดยผ่านโครงการทางพลังงานต่าง ๆ โดยเฉพาะถ่านหินภายใต้ ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การขยายตลาดของจีนในปากีสถานที่เกิดผล ดังตารางที่ 6.1 ในบทที่ 6 ถึงตัวเลขมูลค่าทางการค้าที่จีนได้ดุลจากปากีสถานเสมอมาตั้งแต่ยุคหลัง สงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน และมีมูลค่าสูงกว่ามากแบบก้าวกระโดดในช่วงปี ค.ศ. 2117 เป็นต้นมา หลังการจัดตั้งเขตการค้าเสรีจีนปากีสถาน จีนยังได้ผลประโยชน์จากการขยายอิทธิพลของตนเองในภูมิภาคเอเชียใต้และทะเล อาหรับอีกด้วย เนื่องจากจีนก าลังได้ฐานทัพเรือแห่งใหม่ที่ท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ ทางด้านความมั่นคงของจีนในภูมิภาคเอเชียใต้ที่เปรียบเสมือนหลังบ้านของจีนที่ส าคัญยิ่ง ซึ่งผลประโยชน์เหล่านี้ของจีนที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน นั้น ถือว่าจีนได้ใช้ความช านาญทางเศรษฐกิจเฉพาะด้าน ความเหนือกว่าทางด้านเทคโนโลยี และ ประโยชน์ของโลกาภิวัตน์ ในการเข้าครอบง าประเทศปากีสถานได้อย่างเต็มที่ และปากีสถานเองก็ พร้อมที่จะด าเนินนโยบายใด ๆ ที่เป็นการสร้างความมั่นใจแก่จีนในการเข้ามาลงทุนในปากีสถาน เช่น การส่งทหาร 15,111 เพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้เหล่าแรงงานที่ก าลังท างานอยู่ตลอด เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน รวมถึงท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ด้วย เพื่อเป็นการสร้าง เสถียรภาพและความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานซึ่งเป็นสิ่ง ส าคัญที่จีนต้องการ รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างปากีสถานเช่นนี้เป็นไปตามหลักการของทฤษฎี จักรวรรดินิยมใหม่ทั้งสิ้น จากการที่ผู้เขียนได้วิเคราะห์ออกมาโดยละเอียดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ผู้เขียนได้ น าเสนอถึงปฏิสัมพันธ์ของประเทศทั้งสองตั้งแต่ช่วงแรก ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานนั้นแสดงให้เห็นชัดถึงความเสียเปรียบของปากีสถาน โดยเฉพาะในผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ และการด าเนินนโยบายที่พยายามสร้างความมั่นใจให้แก่ รัฐบาลจีนอยู่เสมอเกี่ยวกับเสถียรภาพในโครงการต่าง ๆ ที่ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือต่อกันของ รัฐบาลปากีสถาน แสดงให้เห็นถึงความต้องการพึ่งพาจีนเป็นอย่างมาก เพื่อผลประโยชน์ทางความ มั่นคงที่มักถูกท้าทายจากปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศโดยกลุ่มกบฏในประเทศ และจาก

Ref. code: 25605903030525DHV 121

ภายนอกประเทศจากประเทศเพื่อบ้านคู่ปรับตลอดการอย่างอินเดีย ซึ่งในปัจจุบันก็มีสัมพันธ์ที่ดีกับ อิหร่าน และอัฟกานิสถาน ที่มีการพัฒนาท่าเรือน้ าลึกชาบาฮาร์ (Chabahar Port) ซึ่งเปรียบเสมือน เป็นคู่แข่งของท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ ประกอบกับท่าทีที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันในการสนับสนุนกลุ่ม กองก าลังแบ่งแยกดินแดนในรัฐบาโลจิสถาน และไคเบอร์ปัคชตุนควา ของประเทศทั้งสามเพื่อท าลาย ปากีสถานจากภายใน ท าให้ปากีสถานต้องพึ่งพาจีนเพื่อสร้างดุลอ านาจในภูมิภาคเอเชียใต้และลด ความรู้สึกไม่มั่นคงของตนจากโอกาสของการรุกรานและการสนับสนุนกลุ่มกบฏภายในประเทศตน จากประเทศเพื่อนบ้านทั้งสาม โดยที่ไม่ได้ค านึงถึงความเสียเปรียบของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของ ปากีสถาน ความมั่นคงของมนุษย์ และเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ของประชาชนตนเองมากเท่าใดนัก จีนจึงใช้ความรู้สึกหวาดระแวงของปากีสถานเช่นนี้ในการครอบง าปากีสถาน ซึ่งเป็นไปในรูปแบบของ จักรวรรดินิยมใหม่ โดยการสร้างความมั่นใจทางความมั่นคงให้แก่ปากีสถานผ่านความช่วยเหลือในการ พัฒนาขีดความสามารถทางทหารของปากีสถานเสมอมา ตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 1971 ท าให้ช่วงปลาย ทศวรรษที่ 2111 จนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่จีนต้องการค่าตอบแทน จากการสนับสนุน ความช่วยเหลือทางด้านความมั่นคงดังกล่าวคืนเสียบ้าง ผ่านระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ในส่วนของการอธิบายรูปแบบของโครงการความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจ จีน–ปากีสถานผ่านกรอบแนวคิดการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ สามารถแบ่งความเข้าใจต่อภัยคุกคามของรัฐบาลปากีสถานได้เป็น 3 ส่วนคือ ความเข้าใจของรัฐบาล ปากีสถานและรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันต่อภัยคุกคามระหว่างประเทศในระดับระบบโลก หรือภัยคุกคาม หลายขั้น (Multitiered Threats) ความเข้าใจของรัฐบาลปากีสถานต่อภัยคุกคามภายนอกประเทศ ในระดับภูมิภาค (Subsystemic Threats) และความเข้าใจของรัฐบาลปากีสถานต่อภัยคุกคาม ภายในประเทศ (Domestic Threats) ความเข้าใจของรัฐบาลปากีสถานและรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันต่อภัยคุกคามระหว่างประเทศ ในระดับระบบโลก หรือภัยคุกคามหลายขั้น (Multitiered Threats) ในประเด็นนี้สามารถอธิบาย ได้ ว่าภัยคุกคามนั้นเกิดได้จากการเปลี่ยนแปลงของระบบระหว่างประเทศซึ่งในระดับโลก ในที่นี้ก็คือ รูปแบบของระบบการเมืองระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันที่เป็นไปในรูปแบบระบบหลายขั้วอ านาจ (Multipolar System) ซึ่งภัยคุกคามนั้นอาจเกิดขึ้นไม่เพียงแค่หนึ่งปรากฏการณ์แต่อาจจะเกิดขึ้นเป็น เครือข่ายหรือหลายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งในภูมิภาค เอเชียใต้นั้น จะเห็นได้ชัดถึงความเกี่ยวพันของมหาอ านาจทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาครวมถึง จุลรัฐต่าง ๆ (ตามภาพที่ 7.1 ในบทที่ 7) กับท่าเรือน้ าลึกกว่าดาร์ของปากีสถาน และท่าเรือน้ าลึก ชาฮาบาร์ของอิหร่าน ที่แสดงให้เห็นถึงนโยบายต่างประเทศของรัฐต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจต่อ ภัยคุกคามทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคงของรัฐต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการสนับสนุนและ สนใจที่จะเข้าใช้รวมถึงพิทักษ์ท่าเรือน้ าลึกทั้งสองอย่างแข่งขันกัน ก่อเกิดเป็นท่าทีทางการเมือง

Ref. code: 25605903030525DHV 122

ระหว่างประเทศเพื่อสร้างรูปแบบของดุลอ านาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงดุลอ านาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับโลก สภาพการณ์เช่นนี้จึงท าให้เห็นได้ชัดถึงรูปแบบของภัยคุกคามหลายขั้น (Multi-tiered Threats) ที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นเครือข่ายหรือหลายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อกันทั้งในระดับ ภูมิภาคและระดับโลก ตามกรอบแนวคิดการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิก แนวใหม่ดังนี้ รัฐมหาอ านาจระดับโลกอย่าง สหรัฐฯ จีน และรัสเซีย ก าลังเผชิญกับภัยคุกคามจากการ เปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองระหว่างประเทศในระดับโลกในยุคปัจจุบัน (รูปแบบหลายขั้วอ านาจ) ท าให้รัฐมหาอ านาจในระดับโลกทั้งหลายพยายามถ่วงดุลอ านาจระหว่างกันในทุกภูมิภาคของโลก เพื่อ รักษาสถานะความเป็นมหาอ านาจในระดับโลกของตนไว้ การเปลี่ยนแปลงของการเมืองภายในของรัฐมหาอ านาจระดับโลกอย่างสหรัฐฯ ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจไปสู่รูปแบบของพาณิชย์นิยม (Mercantilism) และมี รูปแบบการด าเนินนโยบายต่างประเทศแบบลัทธิโดดเดี่ยว (Isolationism) มากขึ้น จึงส่งผลให้สหรัฐฯ ยังไม่ได้ท าการตัดสินใจเกี่ยวกับท่าทีในการให้การสนับสนุนต่อท่าเรือน้ าลึกทั้งสองเช่นไรเพราะยังคง เห็นว่าท่าเรือทั้งสองยังไม่มีผลประโยชน์แก่สหรัฐฯ มากเท่าใดนัก มหาอ านาจระดับโลกอีกสองประเทศคือ จีน และรัสเซีย จึงสามารถที่จะกอบโกย ผลประโยชน์จากท่าเรือกวาดาร์พอร์ตไปได้อย่างเต็มที่ในภูมิภาคเอเชียใต้ทั้งในด้านเศรษฐกิจ อิทธิพล ทางการเมือง และความมั่นคง โดยที่รัฐบาลกลางปากีสถานยินดีกับการกระท าของมหาอ านาจทั้งสอง และเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่รัฐของตน จีน รัสเซีย และปากีสถาน มีความเข้าใจต่อภัยคุกคามร่วมกันในเอเชียใต้ว่าต้องร่วมกัน สร้างความมั่นคงในภูมิภาคนี้เพื่อลดอิทธิพลของมหาอ านาจในภูมิภาคอย่างอินเดีย รวมทั้งเป็นการท า ให้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางมีความสมบูรณ์ ในแถบและเส้นทางหนึ่งที่จะเชื่อมต่อจากทะเล อาหรับไปยังภูมิภาคยุโรปเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทางเศรษฐกิจ มหาอ านาจระดับภูมิภาคอย่างอินเดียมีความเข้าใจต่อภัยคุกคามในภูมิภาคของตน ที่มาจากจีนและปากีสถานเป็นอย่างดีจึงท าให้มีความพยายามที่จะท าลายหรือสร้างอุปสรรคในความ ร่วมมือระหว่างจีนและปากีสถาน รวมทั้งการใฝ่หาพันธมิตรอย่างอัฟกานิสถานและอิหร่านในการ จัดตั้งรูปแบบความร่วมมือต่าง ๆ ทั้งในทางเศรษฐกิจอย่างการสร้างท่าเรือน้ าลึกชาฮาบาร์ และ ความมั่นคงอย่างการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยสืบราชการลับระหว่างกัน เพื่อเป็นการถ่วงดุลอ านาจ ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสร้างความรู้สึกมั่นคงให้แก่ตนเองที่มีความกังวลเกี่ยวกับรูปแบบความ ร่วมมือของจีนและปากีสถานเสมอมา

Ref. code: 25605903030525DHV 123

จึงเห็นได้ชัดเจนว่าความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามของทั้งรัฐมหาอ านาจในระดับโลก รัฐมหาอ านาจในระดับภูมิภาค และจุลรัฐต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเป็นท่าที และนโยบายต่างประเทศของรัฐ ต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น เกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่เป็นเครือข่ายหรือหลาย ปรากฏการณ์ซึ่งส่งผลกระทบต่อกันทั้งในระดับภายในรัฐ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ตามกรอบ แนวคิดการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ของลอบเบลล์ ความเข้าใจของรัฐบาลปากีสถานต่อภัยคุกคามภายนอกประเทศในระดับภูมิภาค (Subsystemic Threats) ปากีสถานยังคงเห็นว่าอินเดียคือภัยคุกคามอันดับหนึ่งและถือเป็นรัฐคู่ปรับ ของปากีสถานเสมอมา ทั้งสองประเทศมีความขัดแย้งกันที่รุนแรงไปถึงขั้นการท าสงครามกันในช่วงปี ค.ศ. 1965 และ 1971 และความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาถึงปัจจุบันในกรณีแคชเมียร์ การแข่งขันกัน เสริมสร้างขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ และทางทหาร ได้ปรากฏออกมาในรูปแบบของการแข่งขัน ทางอาวุธในช่วงปลายทศวรรษ 1961 -1991 ที่อินเดียและปากีสถานได้ริเริ่มโครงการนิวเคลียร์ และ ด าเนินการไปจนกระทั่งประสบความความส าเร็จในการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของทั้งสองประเทศ ความขัดแย้งและการแข่งขันกันดังกล่าวนั้นเป็นไปเพื่อรักษาสถานะความเป็น มหาอ านาจในระดับภูมิภาคเอเชียใต้ของอินเดีย และความต้องการก้าวสู่สถานะความเป็นมหาอ านาจ ในภูมิภาคเอเชียใต้ของปากีสถาน ซึ่งในเรื่องนี้ก็จะไปสอดคล้องกับการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบ ทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ ในประเด็นของการแข่งขันระหว่างรัฐต่าง ๆ ในภูมิภาคเพื่อความเป็น มหาอ านาจในภูมิภาคนั้นในที่นี้ก็คือปากีสถาน และอินเดีย ที่มีความเข้าใจว่าอีกฝ่ายเป็นภัยคุกคาม ของรัฐตนเสมอมาในภูมิภาคนี้ เป็นอุปสรรคแก่การได้มาซึ่งสถานะความเป็นมหาอ านาจ และการ รักษาไว้ซึ่งสถานะความเป็นมหาอ านาจในภูมิภาคเอเชียใต้ของกันและกันจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเหตุการณ์ แห่งความขัดแย้งของปากีสถาน และอินเดีย ที่น าไปสู่ความเข้าใจต่อภัยคุกคามภายนอกประเทศใน ระดับภูมิภาคของปากีสถานหลังความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถานมีดังนี้ ประการแรก สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่แห่งความขัดแย้งอย่างแคชเมียร์ใน ปัจจุบัน กองทัพปากีสถานนั้นได้ให้การเฝ้าระวังในพื้นที่ความขัดแย้งนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากเส้นทาง ของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้นมีส่วนหนึ่งที่ทอดผ่านบริเวณนี้ รัฐบาลปากีสถานจึงไม่ต้องการ ให้ความขัดแย้งในพื้นที่ดังกล่าวกระทบต่อเส้นทางของโครงการ เนื่องจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึง ความไร้เสถียรภาพในการก ากับดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ของปากีสถาน ซึ่งเป็นสิ่งที่จีนไม่ ต้องการให้เกิดขึ้นในทุกจุดของเส้นทางของนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน และปากีสถานเข้าใจ ว่าความไม่สงบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวที่ใกล้เคียงกับเส้นทางของระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถานนั้น เป็นความตั้งใจของอินเดียที่จะก่อกวนและสร้างอุปสรรคในเส้นทางดังกล่าว

Ref. code: 25605903030525DHV 124

ประการต่อมา การส่งสายลับของอินเดียเข้ามาในปากีสถานเพื่อก่อการในการขัดขวาง และท าให้การด าเนินงานโครงการต่าง ๆ ของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน มีความยากล าบาก จากความร่วมมือร่วมกันกับหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติของอัฟกานิสถาน และอิหร่าน เป็นไปเพื่อ วัตถุประสงค์ร่วมกันที่จะก่อวินาศกรรมต่อโครงการต่าง ๆ ของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ดังนั้นจะเห็นได้ชัดเจนถึงความเข้าใจในภัยคุกคามระดับภูมิภาคของปากีสถานที่มีต่อ อินเดีย ที่ปากีสถานมองว่าอินเดียเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่ง และถือเป็นรัฐคู่ปรับของปากีสถานเสมอ มาในการที่ปากีสถานจะก้าวขึ้นสู่การเป็นมหาอ านาจในภูมิภาคเอเชียใต้ สภาพการณ์เช่นนี้จึงท าให้ ปากีสถานมีนโยบาต่างประเทศที่เป็นไปในรูปแบบของนโยบายผ่อนปรน (Appeasement Policy) ต่อจีน เพื่อเป็นการรักษาความสัมพันธ์กับจีนให้มีความมั่นคงและแน่นแฟ้นอยู่เสมอ เพื่อถ่วงดุลอ านาจ กับมหาอ านาจอย่างอินเดียในภูมิภาคเอเชียใต้ ความเข้าใจของรัฐบาลปากีสถานต่อภัยคุกคามภายในประเทศ (Domestic Threats) ในส่วนของความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามภายในประเทศของรัฐบาลปากีสถานนั้นเห็นได้ชัดว่า รัฐบาล ปากีสถานมองกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีกองก าลังติดอาวุธอย่างเช่น กลุ่มกองทัพปลดปล่อยบาโลจิสสถาน (Balochistan Liberation Army) กลุ่มก่อการร้ายเตะห์รีค-ตาเลบัน (Tehrik-i-Taliban) เป็นภัย คุกคามต่อกิจการภายในของรัฐบาลปากีสถาน เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มีความต้องการที่จะ แบ่งแยกดินแดนและก่อตั้งรัฐของตนเองซึ่งในประเด็นนี้ก็ถือเป็นภัยคุกคามเกี่ยวกับอ านาจอธิปไตย ของรัฐบาลปากีสถานโดยตรง ประกอบกับการที่กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มองว่ารัฐบาลกลางปากีสถาน เป็นผู้ที่กดขี่เอาเปรียบพวกตนและประชาชนเสมอมา โดยเฉพาะในรัฐบาโลจิสถานที่เปี่ยมไปด้วย ทรัพยากรทางธรรมชาติดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมหาศาลนี้ที่ถูกรัฐบาล กลางน าไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่มิได้กระจายความมั่งคั่งกลับคืนมาสู่ รัฐบาโลจิสถานด้วยตัวเลขงบประมาณที่สมเหตุสมผลดังที่ระบุไว้ในตารางที่ 5.1 ในบทที่ 5 ก่อให้เกิด ปัญหาทางสังคม เช่น ความยากจน การศึกษาที่ไร้ประสิทธิภาพและทั่วถึง การขาดแคลนปัจจัยในการ ยังชีพของประชาชนเป็นต้น ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้กลุ่มชาติพันธ์ที่ติดอาวุธมีความไม่พอใจรัฐบาลกลาง ปากีสถาน ท าให้เกิดการก่อความไม่สงบในรัฐบาโลจิสถานและพยายามสร้างอุปสรรคในการ ด าเนินการในโตรงการต่าง ๆ ของรัฐบาลปากีสถานเสมอมาโดยเฉพาะโครงการต่าง ๆ ในระเบียง เศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ด้วยวิธีการการก่อการร้ายเพื่อท าลายล้างฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลกลาง ปากีสถานแบบรายวัน รวมถึงการลอบสังหารแรงงานที่ก าลังท างานอยู่ตลอดเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ จีน–ปากีสถาน และท่าเรื่อน้ าลึกกวาดาร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2114 มาจนถึงปัจจุบันซึ่งมีแรงงานเสียชีวิตไป แล้วประมาณ 44 ราย และจากข้อมูลทางสถิติของหน่วยงานเฝ้าระวังการก่อการร้ายแห่งเอเชียใต้ของ สถาบันจัดการความขัดแย้งจากประเทศอินเดีย (South asia terrorism portal, Institute for

Ref. code: 25605903030525DHV 125

Conflict Management : ICM) ได้น าเสนอว่า ปี ค.ศ. 2013 ที่มีการริเริ่มโครงการระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถานจนถึงวันที่ 19 มีนาคม ปี ค.ศ. 2017 มีผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายและการตอบโต้จาก ฝ่ายรัฐบาลรวมแล้วประมาณ 2,904 ราย และช่วงปี ค.ศ. 2011-2013 นั้นความสูญเสียจะตกอยู่ที่ หน่วยงานทางด้านความมั่นคงของรัฐบาลกลางปากีสถานเสียมากกว่า จากความสูญเสียเช่นนี้ท าให้ รัฐบาลปากีสถานต้องส่งกองก าลังทหารไปมากถึง 15,111 นายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ในรัฐบาโลจิสถาน และรักษาความปลอดภัยให้แก่เหล่าแรงงานที่ก าลังท างานอยู่ตลอดเส้นทางระเบียง เศรษฐกิจจีน–ปากีสถานรวมถึงท่าเรื่อน้ าลึกกวาดาร์ด้วยดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 1 และตารางที่ 7.1 ในบทที่ 7 ประกอบกับตัวเลขของอัตราการว่างในรัฐบาโลจิสถานที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 จนถึงปี ค.ศ. 2013 (ในบทที่ 7 ตารางที่ 7.2) ที่รัฐบาลกลางปากีสถานยังเผยแพร่ตัวเลขออกมาสู่ สาธารณชน และรายงานของสื่อท้องของปากีสถานในปี ค.ศ. 2016 ที่รายงานว่าประชาชน ชาวบาโลจิสถานส าเร็จการศึกษาในระดับต่าง ๆ ประมาณ 25,000 คนต่อปี แต่มีเพียง 2,000 คน เท่านั้นที่ยังคงรักษางานของตนไว้ได้ และในปี ค.ศ. 2017 สื่อท้องถิ่นอีกส านักหนึ่งก็ได้รายงานถึง อัตราการว่างงานในรัฐบาโลจิสถานที่สูงขึ้นถึง 60% ของประชากรทั้งหมดในรัฐบาโลจิสถาน ตัวเลข และข้อมูลทางสถิติพวกนี้จึงเป็นตัวเลขที่สามารถจะยืนยันถึงความเกี่ยวพันระหว่าง สาเหตุของความ ขัดแย้งในรัฐบาโลจิสถาน และผลกระทบที่ตามมาจากฝ่ายที่ไม่พึ่งพอใจต่อรัฐบาลกลางปากีสถานได้ เป็นอย่างดี เหตุการณ์ที่รุนแรงจากการก่อการร้ายเช่นนี้ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ติดอาวุธอย่างกองทัพ ปลดปล่อยบาโลจิสสถาน (BLA) และกลุ่มอื่น ๆ แม้จะเป็นไปในรูปแบบของการก่อความไม่สงบภายใน รัฐ แต่ก็ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อกิจการระหว่างประเทศของรัฐบาลปากีสถานเนื่องจากเป็นการท าให้ เสถียรภาพ และความสงบในพื้นที่ของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานมีการสั่นคลอน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ จีนไม่ต้องการให้เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่งในทุกพื้นที่ที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของ จีน รัฐบาลปากีสถานจึงต้องพยายามจัดการกับภัยคุกคามนี้ให้หมดสิ้นไปเพื่อสร้างความมั่นใจแก่จีน โดยการส่งกองก าลังทหารไปมากถึง 15,000 นายเพื่อรักษาความปลอดภัยในทุก ๆ พื้นที่ของโครงการ ในระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน โดยเฉพาะสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน อย่างท่าเรือน้ าลึกกวาดาร์ ซึ่งในประเด็นนี้จะเห็นได้ถึงความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดการประเมิน ภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ ในส่วนของการประเมินและจัดการภัยคุกคาม ภายในประเทศที่ส่งผลต่อกิจการและนโยบายต่างประเทศ รวมถึงความเกี่ยวพันในเรื่องกิจการภายใน และระหว่างประเทศที่จะเป็นตัวก าหนดนโยบายต่างประเทศและท่าทีระหว่างประเทศของรัฐนั้น ๆ ซึ่งในที่นี้คือการด าเนินนโยบายทางทหารของรัฐบาลปากีสถานในการปกป้องเส้นทางต่าง ๆ ในระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ถือเป็นการแสดงท่าทีภายในประเทศเพื่อเหตุผลของเรื่องระหว่าง

Ref. code: 25605903030525DHV 126

ประเทศ ในที่นี้ก็คือเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่จีนในความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ของจีนและปากีสถาน ในรูปแบบของนโยบายแห่งการเอาใจต่อจีน จากการสัมภาษณ์เอกอัครราชทูตปากีสถานประจ าประเทศไทย ถึงสถานการณ์ ความรุนแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐบาโลจิสถาน ได้ความว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ในรัฐบาโลจิสถานนั้นถือ เป็นเรื่องเป็นธรรมชาติของรัฐรูปแบบสหพันธ์รัฐอาจจะต้องมีกลุ่มที่คิดต่างและเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล กลาง ซึ่งในที่นี้คือกลุ่มชาติพันธ์ที่ติดอาวุธต่าง ๆ ในรัฐบาโลจิสถาน ทางรัฐบาลกลางปากีสถานเห็นว่า กลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ และอดีตนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพล ที่ขอลี้ภัยในต่างประเทศ และท่านเห็นว่าโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน เป็นโครงการที่ เหมาะสมที่สุดส าหรับปากีสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรัฐบาโลจิสถานในการสร้างความมั่งคั่ง และ รูปแบบของการพัฒนาให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสร้างอาชีพให้แก่แรงงานชาวปากีสถานที่อาศัยอยู่ใน รัฐบาโลจิสถาน และยืนยันว่าแรงงานที่ท างานอยู่ตลอดเส้นทางของโครงการระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ปากีสถานนั้นส่วนใหญ่เป็นแรงงานชาวปากีสถาน แม้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ท่านเอกอัครราชทูตนั้นอาจมีบางส่วนที่เป็นไปในทิศทางที่ สวนทางกับข้อมูลเชิงสถิติที่ผู้เขียนได้ท าการค้นคว้าและน าเสนอมาในเรื่องของอัตราการว่างงานที่ นับวันยิ่งยากจะเข้าถึงโดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นรายงานของรัฐบาลกลางปากีสถาน แต่อย่างไรก็ตามการ ให้สัมภาษณ์ของท่านเอกอัครราชทูตว่ามีการจ้างงานแรงงานชาวปากีสถานอย่างมหาศาลหลังการ ริเริ่มโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน แต่เหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐบาโลจิสถานก็ยังด าเนิน ไปอยู่เรื่อย ๆ มีความสูญเสียของพลเรือน ทหาร ต ารวจ และกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนชาวบาโลช เป็นจ านวนมากตามตารางที่ 7.1 ในบทที่ 7 ก็แสดงให้เห็นว่ายังมีความไม่พึงพอใจต่อท่าทีของรัฐบาล กลางปากีสถานอยู่ในพื้นที่ของรัฐบาโลจิสถาน อาจกล่าวได้ว่าความเข้าใจและการจัดการภัยคุกคามในประเทศของรัฐบาลกลาง ปากีสถานจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐบาโลจิสถานที่มีก่อการโดยกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดน ชาวบาโลช เป็นการจัดการภัยคุกคามที่ประสบผลส าเร็จในระดับหนึ่งวัดได้จากข้อมูลเชิงสถิติตาม ตารางที่ 7.1 ในบทที่ 7 ก็ ที่ตัวเลขของความสูญเสียในปี ค.ศ. 2014, 2015 และ 2016 มีการลดลง จากปี ค.ศ. 2013 ตามล าดับแม้จะเป็นตัวเลขที่สูงอยู่ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอัตราการจ้างงานที่สูงขึ้น ตามค าสัมภาษณ์ของท่านเอกอัครราชทูต ในช่วงปี ค.ศ. 2014, 2015, 2016, 2017 ที่ยังไม่มีการ เผยแพร่ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับอัตราการว่างงานในรัฐบาโลจิสถานของรัฐบาลกลางปากีสถานเหมือนปี ก่อน แต่ถึงแม้จะยังไม่มีข้อมูลเชิงสถิติยืนยันแต่ก็อาจมีความเป็นไปได้ ประกอบกับงบประมาณที่เพิ่ม สูงขึ้นส าหรับรัฐบาโลจิสถานตามตารางที่ 5.1 ในบทที่ 5 รวมถึงการปราบปรามกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยก ดินแดนชาวบาโลชที่หนักหน่วงของฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลกลางปากีสถาน โดยการส่งกองก าลัง ทหารไปมากถึง 15,000 นาย เพื่อรักษาความปลอดภัยในทุก ๆ พื้นที่ของโครงการในระเบียงเศรษฐกิจ

Ref. code: 25605903030525DHV 127

จีน-ปากีสถาน จึงอาจเป็นปัจจัยที่ท าให้ตัวเลขของความสูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในรัฐบาโลจิสถานมีอัตราลดลงตามตารางที่ 7.1 จากการอธิบายสภาพการณ์หลังความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน ตามกรอบแนวคิดการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฎีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ ที่ถูกเสนอโดย สตีเวน อี ลอบเบลล์ จึงสามารถแบ่งระดับของการประเมินและการจัดการกับภัยคุกคามได้เป็น 3 ระดับดังนี้ - การประเมินภัยคุกคามระหว่างประเทศในระดับระบบโลก หรือภัยคุกคามหลายขั้น (Multi-tiered Threats) ระหว่างปากีสถาน จีน และรัสเซีย กับ อินเดีย อิหร่าน และอัฟกานิสถาน - การประเมินภัยคุกคามระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค (Subsystemic Threats) ระหว่างปากีสถาน กับอินเดีย - การประเมินภัยคุกคามภายในประเทศ (Domestic Threats) ซึ่งเกี่ยวพันกับกิจการ ระหว่างประเทศของปากีสถาน ระหว่างรัฐบาลปากีสถาน และจีน กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ติดอาวุธอย่าง กองทัพปลดปล่อยบาโลจิสสถาน ในแต่ละระดับของการประเมินและการจัดการกับภัยคุกคามนั้นก็มีรูปแบบของการ ปฏิสัมพันธ์ทั้งความขัดแย้งและความร่วมมือ ภายในและระหว่างประเทศที่แตกต่างกันไปในแต่ละ ระดับ รวมถึงความเชื่อมโยงของผู้แสดงบทบาทที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างระดับ จากการวิจัยของผู้เขียนทั้งหมดได้ผลการวิจัยที่คล้ายคลึงกับสมมติฐานที่ผู้เขียนได้ตั้ง เอาไว้แต่ต้นว่า ระเบียงความร่วมมือทางเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้นเกิดขึ้นเพื่อสร้างทางออกที่สองสู่ มหาสมุทรอินเดียตามเส้นทางสายไหมใหม่ เป็นการครอบง าประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้เกิดอิทธิพลและ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีน รวมถึงผลพลอยได้ของปากีสถาน และส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทาง การเมืองและความมั่นคงภายในรัฐบาโลจิสสถานที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะระหว่างรัฐบาลกลางกับ ประชาชน และกลุ่มชาติพันธุ์แบ่งแยกดินแดนในรัฐบาโลจิสถาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผลพลอยได้ของปากีสถานที่ได้รับจากระเบียงความร่วมมือทาง เศรษฐกิจจีน-ปากีสถานนั้น คือผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงมากกว่าความมั่งคั่งหรือผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ ส่วนในสมมติฐานที่กล่าวถึงผลกระทบของระเบียงความร่วมมือทางเศรษฐกิจจีน- ปากีสถานที่ส่งผลให้ความขัดแย้งทางการเมืองและความมั่นคงภายในรัฐบาโลจิสสถานที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ในส่วนนี้จากผลการวิจัยสรุปได้ว่ามีอัตราความขัดแย้งและความสูญเสียที่ลดลง เนื่องจากรัฐบาลกลาง มีความเข้าใจและมีนโยบายการจัดการภัยคุกคามที่ประสบผลส าเร็จในระดับหนึ่งวัดได้จากข้อมูลเชิง สถิติตามตารางที่ 7.1 ในบทที่ 7

Ref. code: 25605903030525DHV 128

ในส่วนของข้อเสนอแนะในการหาทางออกให้แก่ปัญหาที่เกิดขึ้นในรัฐบาโลจิสถาน จากการวิจัยวิทยานิพนธ์นี้ ผู้เขียนเห็นว่า หากรัฐบาลด าเนินการแก้ไขสาเหตุของปัญหาที่น ามาซึ่ง ความขัดแย้งและความสูญเสียในรัฐบาโลจิสถานอย่าง ความอยากจน การถูกก ากับดูแลที่ไม่เท่าเทียบ กันจากฝ่ายรัฐบาล การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ยังไม่ทั่วถึง ท าให้เยาวชนถูกชักจูงเข้าสู่กลุ่มชาติพันธุ์ แบ่งแยกดินแดนซึ่งมีวิธีการในการต่อสู้ด้วยวิธีการก่อการร้ายได้ง่าย และการกระจายความมั่งคั่งจาก รัฐบาลกลางปากีสถานให้กลับคืนสู่บาโลจิสถานยังไม่ค่อยมีความสมเหตุสมผล หากปัญหาเหล่านี้ถูก ขจัดด้วยนโยบายที่ยั่งยืนของรัฐบาลกลางในการให้การสนับสนุนระบบการศึกษา พัฒนาความมั่นคง ของมนุษย์ ให้ความเข้มงวดต่อรูปแบบการก ากับดูแลของเจ้าหน้าที่จากฝ่ายรัฐบาลให้มีการปฏิบัติต่อ ประชาชนชาวบาโลชด้วยความเป็นธรรม และเท่าเทียม รวมทั้งไม่มีการก้าวก่ายสิทธิมนุษยชน ความ รุนแรงและความสูญเสียในรัฐบาโลจิสถานจะมีอัตราที่ลดลง ดังตารางที่ 7.1 ในบทที่ 7 ที่ผู้เขียนได้ อธิบายมาแล้วข้างต้น ซึ่งค่าทางสถิติที่ดูดีขึ้นในเรื่องของอัตราความสูญเสียนี้ ก็เป็นผลมาจากการ กระจายความมั่งคั่งจากรัฐบาลกลางปากีสถานผ่านโครงการต่าง ๆ สู่รัฐบาโลจิสถานมากขึ้น ซึ่งใน ประเด็นนี้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางก็มีอิทธิพลสูงในการท าให้การกระจายทางความมั่งคั่งเพิ่ม สูงขึ้นในรัฐบาโลจิสถาน ผู้เขียนเห็นว่า ถ้าหากรัฐบาลกลางปากีสถานเคลื่อนตัวต่อไปในการแก้ไขในทุกสาเหตุ หลักของความขัดแย้งตามที่ผู้เขียนได้กล่าวมาแล้ว ปัญหาและความสูญเสียในรัฐบาโลจิสถานจะหมด ไปในที่สุด เนื่องจากหากประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในภาคครัวเรือน มีความมั่นคงของความเป็นมนุษย์ครบถ้วนจากการก ากับดูแลที่ดีของเจ้าหน้าที่รัฐ เยาวชนมีการศึกษา ที่ดีเป็นเกราะป้องกันในการถูกครอบง าทางความคิดให้ไปเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการชาติพันธุ์ หัวรุนแรง สิ่งเหล่านี้จะท าให้ความต้องการ และแรงจูงใจในการแบ่งแยกดินแดนของกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวบาโลชลดลงอย่างมากและอาจจะน าไปสู่การยอมรับรัฐบาลกลางปากีสถานในที่สุด ในส่วนของข้อเสนอแนะส าหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าต่อในประเด็นที่ใกล้เคียงกับ งานนิพนธ์ของผู้เขียน ผู้เขียนเห็นว่าหากต้องการศึกษาให้ลึกซึ้ง และเข้าถึงข้อมูล รวมถึงเกิดการ วิเคราะห์ที่ละเอียดไปมากกว่านี้ ผู้วิจัยควรมีทักษะในภาษา อูรดู ปัชโต บาโลจี ฟาร์ซี ภาษาใดภาษา หนึ่ง เป็นต้น เพื่อการเข้าถึงเอกสารชั้นต้นได้มากยิ่งขึ้น สามารถวิเคราะห์สถานการณ์รายวันจากสื่อ ท้องถิ่นได้ และเกิดความสะดวกแก่การลงไปศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ส าหรับการวิจัยจากพื้นที่จริง รวมถึงผู้วิจัยควรขยายขอบเขตของการศึกษาไปถึงผลกระทบจากความร่วมมือทั้ง นโยบายหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง และระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน กับการเมืองระหว่างประเทศในระดับโลก โดยเฉพาะท่าทีของสหรัฐฯ ที่ชัดเจนขึ้นต่อนโยบายดังกล่าวในอนาคต

Ref. code: 25605903030525DHV 129

รายการอ้างอิง

หนังสือและบทความในหนังสือ

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. ฉันทมติวอชิงตัน: เอกสารประกอบการเรียน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2115.

บทความวารสาร

อดิ๊บ ยูซุฟ. “กลุ่มภราดรภาพมุสลิมภัยคุกคามต่อซาอุดิอาระเบีย.” เอเชียพิจารณ์ ปีที่ 4, ฉ.8 (ธันวาคม 2561) : 11-55.

Books and Book Articles

Aitchison C.. A Collection of Treaties, Engagements and Sanads Relating to India and Neighbouring Countries. Calcutta: O.T. Cutter, Military Orphan Press 1865. Blood, Peter. Pakistan: A Country Study. Washington: GPO for the Library of Congress, 1994. Chomsky, Noam. The Washington Connection and Third World. New York: South End Press Boston, 1999. Choudhury, W Golam. China in World Affairs: The Foreign Policy of the PRC Since 1970. Boulder: Westview Press, 1982. Goswami, B. N. Pakistan and China: A Study of their Relation. Bombay: Allied Publishers, 1971. Haqqani, Husain. Between Mosque and Military. Washington, D.C.: Carnegie Endowment for International Peace, 2115. Hussai, Syed Anwar. China and Pakistan: Diplomacy of an Entente Cordiale. Amherst: The University of Massachusetts Press, 1974. Lobell, E. Steven, Norrin M. Ripsman, Jeffrey W. Taliaferro. Neoclassical Realism, the State, and Foreign Policy. Cambridge: Cambridge University Press, 2119.

Ref. code: 25605903030525DHV 130

Masson, Charles. Narrative of Various Journeys in Balochistan, Afghanistan, the Punjab and Kalat. Karachi; New York: Oxford University Press, 1844. Metz, Chapin Helen. Saudi Arabia : a country study. Washington, D.C. : The Division : For sale by the Supt. of Docs., U.S. G.P.O., 1993. Ministry of Foreign Affairs, Important Documents on Relations Between the People’s Republic of China and the Islamic Republic of Pakistan. Beijing: Ministry of Foreign Affairs, 2116. Mitrany, David. The Functional Theory of Politics. London: London School of Economics & Political Science, 1975. Nanda, B. R.. Road to Pakistan : the life and times of Mohammad Ali Jinnah. New Delhi: Routledge, 1917. Naseer Dashti. The Baloch and Balochistan: A Historical Account from the Beginning to the Fall of the Baloch State. Trafford: Trafford 2012. P. L, Bhola. Pakistan-China Relations: Search for Politico-Strategic Relationship. Jaipur: R.B.S.A. Publishers 1986. Pakistan Government. Board of Investment, China-Pakistan Economic Corridor Investment and Business Prospects. Board of Investment: Islamabad 2117. Sartre, Jean-Paul. Colonialism and Neocolonialism. Abingdon-on-Thames: Routledge, 2111. Sharma Bal Krishan and Kundu Nivedita Das. China’s One Belt One Road Initiative, Challenges and Prospects. New Delhi: VIJ Books Pty Limited, 2016. Tsang, Steve and Men, Honghua. China in the Xi Jinping Era. London: Palgrave Macmillan UK, 2015. Titus, Paul. Marginality and Modernity: Ethnicity and Change in Post-Colonial Balochistan. Karachi: Ameena Saiyid, Oxford University Press, 1997. Wynbrandt, James. A brief history of Pakistan. New York: Infobase Publishing, 2009. Waltz, N. Kenneth. Theory of International Politics, Long Grove: Waveland Press, 2010.

Ref. code: 25605903030525DHV 131

Articles

Ali, Imtiaz. “The Balochistan Problem.” Pakistan Horizon Vol. 58, No. 2 (2005): 41-62. Dixit, Aabha. “Sino-Paki Relations and Their Implications for India.” Strategic Analysis Vol. 11, Issue 9 (1987): 1167-1181. Habova, Antonina “Silk Road economic belt: China’s Marshall plan, pivot to Eurasia or China’s way of foreign policy.” KSI Transactions on Knowledge Society Vol 8, No. 1 (2015): 64-70. Kumar, Sumita. “The China-Pakistan Strategic Relationship: Trade, Investment, Energy and Infrastructure.” Strategic Analysis Vol. 31, Issue 5 (2117): 757-791. Prakash, Aarushi. "Peace or War Journalism: Case Study of the Balochistan Conflict in Pakistan." Strategic Analysis Vol. 37, Issue 5 (2013): 621-636. Riedel, Bruce, and Singh, Pavneet. "US.-China Relations: Seeking Strategic Convergence in Pakistan." Policy Paper of Brookings No. 18 (2111): 3. Titus, Paul and Swidler, Nina. “KNIGHTS, NOT PAWNS: ETHNO-NATIONALISM AND REGIONAL DY NAMICS IN POST-COLONIAL BALOCHISTAN.” International Journal of Middle East Studies Vol. 32, No. 1 (2000): 47-69. Zhu, Li. “The Construction Model of “One Belt and One Road.” Annual Report on the Development of the Indian Ocean Region 2015, No. 1(2015): 111-127.

Electronic, Media

Abid, Zehra. “Shooting the messenger in Pakistan.” Aljazeera. Accessed January 8, 2018, http://www.aljazeera.com/news/2015/05/shooting-messenger-pakistan- 150503055834700.html. Billy, Wong. “One Belt, One Road Initiative: The Implications for Hong Kong.” HKTDC Research. Accessed Octorber 25, 2017, www.economists-pick-research. hktdc.com/business-news/article/Research-Articles/One-Belt-One-Road- Initiative-The-Implications-for-Hong-Kong/rp/en/1/1X000000/1X0A23WV.htm. Chinadaily. “Xi in Davos: Quatable Quotes” chinadaily. Accessed Octorber 21, 2117, chinadaily.com.cn/business//17/content27982667.

Ref. code: 25605903030525DHV 132

Chohan, Usman W. “What is One Belt One Road? A Surplus Recycling Mechanism Approach.” Social Science Research Network. Accessed Octorber 25, 2017, www.ssrn.com/abstract=2997650. Correspondent. “Will stand by you against injustice, PM tells Hindu community.” The Express Tribune. Accessed November 3, 2017, https://tribune.com.pk/story/ 989453/will-stand-by-you-against-injustice-pm-tells-hindu-community Correspondent. “Tableeghi Jamat gathering: Govt accused of denying visas to 5,000 preachers.” The Express Tribune. Accessed November 3, 2017, https://tribune.com.pk/story/1288663/tableeghi-jamat-gathering-govt-accused- denying-visas-5111-preachers Correspondent. “Nation’s future lies in democratic, liberal Pakistan, says Nawaz.” The News International. Accessed November 3, 2017, www.thenews.com .pk/print/15541-nations-future-lies-in-democratic-liberal-pakistan-says-nawaz Correspondent. “Women protection bill will cause divisions within families and increase divorce rate: JUI-F chief” The Express Tribune. Accessed November 3, 2017, https://tribune.com.pk/story/1056246/religious-parties-flay-women- protection-bill-back-page Correspondent. “RAW at frontline to sabotage Economic Corridor, China warns Pakistan.” The Express Tribune. Accessed February 10, 2018, tribune.com.pk/story/890650/raw-at-frontline-to-sabotage-economic-corridor- china-warns-pakistan/. Correspondent. “Pakistan supreme court sacks prime minister Nawaz Sharif.” Thenational. Accessed January 8, 2018, https://www.thenational.ae /world/pakistan-supreme-court-sacks-prime-minister-nawaz-sharif-1.614947 Correspondent. “Pakistan Navy's special 'Task Force-88' set up to guard Gwadar port’s sea lanes.” Dawn. Accessed January 25, 2018, dawn.com/news/1302102. Correspondent. “Two maritime patrol vessels arrive at Gwadar Port from China.” Dunyanews. Accessed January 25, 2018, http://dunyanews.tv/en/ Pakistan/370365-Two-maritime-patrol-vessels-arrive-at-Gwadar-Port Correspondent. “Unemployment in Balochistan” Dawn. Accessed January 25, 2118, https://www.dawn.com/news/1274819.

Ref. code: 25605903030525DHV 133

HafeezUllah FM. “Unemployment in Balochistan” Daily Times. Accessed January 25, 2018, https://dailytimes.com.pk/159717/unemployment-in-balochistan/ Ebrahim, T.Zofeen. “World's largest solar park to light up Pakistan's future.” Dawn. Accessed January 25, 2018, www.dawn.com/news/1205484. Haag, Diana. “Mechanisms of Neo-Colonialism: Current French and British Influence in Cameroon and Ghana.” SSRN Electronic Journal. Accessed January 25, 2018, ssrn.com/abstract=2033138. Haider, Mateen. “RAW runs special cell to sabotage CPEC, says secretary defence.” Dawn. Accessed February 10, 2018, dawn.com/news/1251860. Haider, Irfan. “Details of agreements signed during Xi's visit to Pakistan.” Dawn. Accessed January 25, 2018, dawn.com/news/1177129. Haq, Shahram. “Chinese bank promises $1b for Thar coal mining.” The Express Tribune. Accessed January 25, 2018, https://tribune.com.pk/story/ 856019/chinese-bank-promises-1b-for-thar-coal-mining/. Hussain Dilawar, “Hubco’s power project on track — company’s CEO.” Dawn. Accessed January 25, 2018, https://www.dawn.com/news/1212406. Hassan, Syed Raza “Attacks have killed 44 Pakistan is working on China corridor since 2014.” Reuters. Accessed Octorber 2, 2017, www.reuters.com/article/us- pakistan-china-idUSKCN11E1EP. Hussain, Tom. “China's Xi in Pakistan to cement huge infrastructure projects, submarine sales.” Mcclatchydc. Accessed Octorber 2, 2117, www.mcclatchydc.com/news/nation-world/world/article24783286. Jia, Chen. “Belt and Road' takes new route.” China Daily. Accessed Octorber 25, 2017, europe.chinadaily.com.cn/business/2015-04/15/content_20435638.htm. Kiani, Khaleeq. “CPEC investment pushed from $55b to $62b.” Dawn. Accessed Octorber 2, 2017, https://tribune.com.pk/story/1381733/cpec-investment- pushed-55b-62b/. Masood, Salman. “Khan’s call for long march: Renewed political challenges for the government.” The Nation(pak). Accessed january 8, 2017, web.archive.org/ web/20140816134849/http://www.nation.com.pk/politics/28-Jun-2014/khan-s- call-for-long-march.

Ref. code: 25605903030525DHV 134

McBride, James. “Building the New Silk Road.” Council on Foreign Eelations. Accessed Octorber 25, 2017, www.cfr.org/backgrounder/building-new-silk- road. Panda, Ankit. “Xi Jinping on Pakistan: 'I Feel As If I Am Going to Visit the Home of My Own Brother.” The Diplomat. Accessed Octorber 25, 2017, https://thediplomat.com/2015/04/xi-jinping-on-pakistan-i-feel-as-if-i-am-going- to-visit-the-home-of-my-own-brother/ 2015. Rana, Shahbaz. “CPEC to introduce technology in agriculture.” The Express Tribune. Accessed January 25, 2018, tribune.com.pk/story/1472703/cpec-opportunity- agriculture/. Rajeev Deshpande. “15K Pakistanis guarding 7K Chinese working on China-Pakistan Economic Corridor.” The Times of India. Accessed Octorber 25, 2017, https://timesofindia.indiatimes.com/world/pakistan/15K-Pakistanis-guarding-7K- Chinese-working-on-China-Pakistan-Economic-Corridor/articleshow/54283602. cms. Sethi, Singh Abheet. “China behind Pak’s growing confidence, supplies 63% of Islamabad’s arms need.” Hindustantimes. Accessed Octorber 25, 2017, http://www.hindustantimes.com/india-news/china-behind-pak-s-growing- confidence-supplies-63-of-islamabad-s-arms-need/story-fnqRQYRHRRU 73kDxmlILdL.html. Shah, Saeed. “China to Build Pipeline From Iran to Pakistan.” The Wall Street Journal. Accessed January 25, 2018, www.wsj.com/articles/china-to-build-pipeline- from-iran-to-pakistan-1428515277. Shahid, Saleem. “India out to sabotage CPEC: Raheel.” Dawn. Accessed February 10, 2018, dawn.com/news/1251784. Sial, Safdar. “The China-Pakistan Economic Corridor: an assessment of potential threats and constraints.” Academia. Accessed Octorber 25, 2017, www.academia.edu/13018116/The_China-Pakistan_Economic_Corridor_ an_assessment_of_potential_threats_and_constraints.

Ref. code: 25605903030525DHV 135

Singh, Rajkumar. “Accession of Independent Balochistan to Pakistan.” South Asia Journal. Accessed January 13, 2118, http://southasiajournal.net/accession-of- independent-balochistan-to-pakistan South Asia Terrorism Portal. “Suicide Attacks in Balochistan, 2003-2018.” Institute for Conflict Management. Accessed March 25, 2018, http://www.satp.org/ satporgtp/countries/pakistan/Balochistan/data/suicideattacks.htm. South Asia Terrorism Portal. “Balochistan Assessment – 2017” Institute for Conflict Management. Accessed March 25, 2018, http://www.satp.org/satporgtp/ countries/ pakistan/Balochistan/index.html. Staff, Swarajya. “China’s One Belt One Road Initiative Gathers Momentum.” Swarajyamag. Accessed Octorber 25, 2017, www.swarajyamag.com/ world/chinas-one-belt-one-road-initiative-gathers-momentum. Sudha Ramachandran. “CPEC takes a step forward as violence surges in Balochistan.” Atimes. Accessed Octorber 2, 2017, www.atimes.com/cpec-takes-step- forward-violence-surges-balochistan/. Wo-lap, Willy Lam. “Getting lost in One Belt, One Road.” Hong Kong Economic Journal Ejinsight. Accessed Octorber 2, 2117, www.ejinsight.com/21161412- getting-lost-one-belt-one-road. Zaidi, S. Akbar. “The new game changer in Pakistan.” The Hindu. Accessed Octorber 25, 2017, http://www.thehindu.com/opinion/lead/The-new-game-changer-in- Pakistan/article14342869.ece.

Interviews

Former member of Baloch insurgent group. Interview by author, Bangkok, December 16, 2017. Former member of International Red Cross and Red Crescent Movement. Interview by author, Bangkok, December 17, 2017. H.E. Ahmad, Iftikhar Asim. Interview by author, Bangkok, March 16, 2018.

Ref. code: 25605903030525DHV 136

ภาคผนวก

เอกสารอ้างอิงฉบับที่ 1

Articles of the treaty between the British Government and Khan Mehrab Khan II signed at Kalat on March 28, 1839 are as follows (Aitchison, 1865, vii, pp. 71-72):

Article 1 As Naseer Khan and his descendants, as well as his tribe and sons, held possession of the country of Khelat, Kutchee, Khurasan, Mekran, Kedge, Bela, and the port of Soumeeanee in the time of the lamented Ahmad Shah Dooranee, they will in future be masters of their country in the same manner.

Article 2 The English Government will never interfere between the Khan, his dependants and subjects, particularly lend no assistance to Shah Newaz, Futteh Khan and the descendants of the Mahabutzye branch of the family, but always exert itself to put away evil from his house. In case of His Majesty the Shah’s displeasure with the Khan of Khelat, the English Government will exert itself to the utmost to remove the same in a manner which may be agreeable to the Shah and according to the rights of the Khan.

Article 3 As long as the British army continues in the country of Khurasan, the British Govern ment agrees to pay to Mehrab Khan the sum of one and a half lakh of Company’s Rupees from the date of this engagement, by half-yearly installment.

Article 4 In return for this sum the Khan, while he pays homage to the Shah and continues in friendship with the British nation, agrees to use his best endeavors to procure

Ref. code: 25605903030525DHV 137 supplies, carriage, and guards to protect provisions and stores going and coming from Shikarpore by the route of Bozan, Dadur, the Pass of Bolan, through Shamal, to Koochlak from one frontier to another.

Article 5 All provisions and carriage which may be obtained through the means of the Khan, the price of the same is to be paid without hesitation.

Article 6 As much as Mehrab shows his friendship to the British Government by service and fidelity to the Suddozye family, so much the friendship will be increased between him and the British Government, and on this he should have the fullest reliance and confidence.

Ref. code: 25605903030525DHV 138

เอกสารอ้างอิงฉบับที่ 2 จดหมายจากนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล ถึง เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศสหรัฐฯ

Ref. code: 25605903030525DHV 139

Ref. code: 25605903030525DHV 140

Ref. code: 25605903030525DHV 141

เอกสารอ้างอิงฉบับที่ 3 บันทึกความเข้าใจโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานทั้งหมด

Ref. code: 25605903030525DHV 142

Ref. code: 25605903030525DHV 143

Ref. code: 25605903030525DHV 144

Ref. code: 25605903030525DHV 145

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ นาย อดิ๊บ ยูซุฟ วัน เดือน ปี พ.ศ. เกิด 8 กุมภาพันธ์ 2537 วุฒิการศึกษา ปี ค.ศ. 2117 ปีการศึกษา 2558: รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามค าแหง

ผลงานทางวิชาการ อดิ๊บ ยูซุฟ. “กลุ่มภราดรภาพมุสลิมภัยคุกคามต่อซาอุดิอาระเบีย.” เอเชียพิจารณ์ ปีที่-4, ฉ.8 (ธันวาคม 2561) : หน้า 11-55.

ประสบการณ์ท างาน ปี ค.ศ. 2009 ฝ่ายจัดการคลังสินค้า บริษัท มีคาล เทรด ดิ้ง จ ากัด ปี ค.ศ. 2115 - ปัจจุบัน ธุรกิจส่วนตัว ClearEvo.com

Ref. code: 25605903030525DHV