JOURNAL OF TROPICAL RESEARCH

JOURNAL OF TROPICAL PLANTS RESEARCH is published by Faculty of Forestry, Kasetsart University (KUFF). No material may be reproduced by any means without written permission from the editor. The Journal covers the fields of Systematic , Ecology, Physiology, Genetics, Biotechnology, Conservation and Utilization.

The Journal of Tropical Plants Research is a peer - reviewed journal which is issued once a year. Authors of scientific manuscripts should follow the standard format at http://www.forest.ku.ac.th

EDITORIAL ADVISORY BOARD

Prof. Dr. Kai Larsen Prof. Dr. Kunio Iwatsuki Prof. Dr. Niels Jacobsen Assoc. Prof. Dr.Utis Kutintara Dr. Chamlong Phengklai Prof. Dr. Niwat Ruangpanit Prof. Dr. Sanit Aksornkoae Prof. Dr. Thawatchai Santisuk Prof. Dr. Pongsak Sahunaru Assist. Prof. Suwit Sangtongpraw Assoc. Prof. Dr.Somkid Siripatanadilok Dr. Weerachai Nanakorn Assoc. Prof. Dr. Samakkee Boonyawat Dr. Sonjai Havanond

EDITORS

Editor-in-chief

Assist. Prof. Dr. Duangchai Sookchaloem

Associate Editor

Assist. Prof. Dr. Wichan Eiadthong

EDITORIAL BOARD Assoc.Prof. Dr. Minoru Tamura Dr. Trevor R. Hodkinson Assoc.Prof.Dr. Yingyong Paisooksantivatana Assoc. Prof. Sumon Masuthon Dr. Jesada Luangjame Assoc.Prof. Dr. Srunya Vajrodaya Assist.Prof. Dr. Payattipol Naro ngajavana Assoc.Prof. Dr. Vipak Jintana Assist. Prof. Dr. Yongyut Trisurat Assist. Prof. Dr. Nikhom Laemsak Assoc.Prof. Dr. Dokrak Marod Dr. Suthee Duangjai Dr. Sarawood Sungkaew Mr. Phruet Racharak Ms. Tassanee Klinhualn

Publisher Journal of Tropical Plants Research is published by Faculty of Forestry, Kasetsart University, .

Printed in Thailand at AKSORN SIAM PRINTING, Bangkok,Thailand

JOURNAL OF TROPICAL PLANTS RESEARCH

Organizers

- Faculty of Forestry, Kasetsart University - Faculty of Agriculture, Kasetsart University - Faculty of Science, Kasetsart University - The Forest management and Forest Product Research Office, Royal Forest Department - Forest and Conservation Research Office, Department of National Park Wildlife and Plant Conservation - Office of Mangrove Resources Conservation, Department of Marine and Coastal Resources

Sponsors

Forest Alumni society Forest Industry Organization PTT Public Company Limited Toyota Motor Thailand Co., Ltd. Singha Corporation Co., Ltd.

Front Cover : กรทัศน์ : Typhonium saraburiensis Sookchaloem, Murata and Hettercheid This plant is endemic to Thailand and found by Dr. Duangchai Sookchaloem, specimens collected from Saraburi Province, Thailand, usually occuring near limestone foothill area. Photographed by Dr. Wichan Eiadthong Back Cover : ว่านตรุ: Epigynum cochinchinensis (Pierre) D.J.Middleton This plant is rare species Photographed by Dr. Wichan Eiadthong

JOURNAL OF TROPICAL PLANTS RESEARCH

CONTENTS

Vegetative Cover Types Classification System of Thailand 1-21 Utis Kutintara Zingiberaceous Plant Genetic Resources in The Plant Genetic Conservation Project under The Royal Initiation of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirinhorn (Kanchanaburi) and Adjacent Area 22-30 Yingyong Paisooksantivatana and Chakkrapong Rattanamanee Studies on Species Diversity of Dipterocarpaceae in Hala-Bala Forest, Yala and Narathiwat Province 31-39 Manop Poopath and Duangchai Sookchaloem Classification of (; Bambusoideae) in Thailand inferred from a multi-gene region phylogenetic analysis 40-49 Sarawood Sungkaew and Trevor R. Hodkinson Phenology of Edible Plants at Sakaerat Forest 50-62 Boonlue Kachenchart, Tuenchai Kosakul and Taksin Artchawakom Systematic Studies of Alocasia (Schott) G. Don and Colocasia Schott (Araceae) in Thailand 63-74 Teerawoot Sangnin and Duangchai Sookchaloem Systematics and some ecological aspects of Artabotrys R.Br. (Annonaceae) in Thailand 75-82 Thawee Insura and Wichan Eiadthong Hosts of Epiphytic Orchids in Hill Evergreen Forest in Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, Uthai Thani Province 83-92 Panya Sooksomkit and Duangchai Sookchaloem Nipa Palm (Nypa fruticans Wurmb.) Cultivation in salt Affected Paddy Fields 93-102 Noparat Bamroongrugsa, Supaporn Buachum and Choathip Purintavaragu Tentatively survey on vegetation at Ko Kred, Nonthaburi Province 103-125 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 1-21. 2008.

ระบบการจ าแนกสังคมพืชคลุมดินของประเทศไทย Vegetative Cover Types Classification System of Thailand

อุทิศ กุฏอินทร์1 Utis Kutintara1

บทคัดย่อ ความต้องการในการจ าแนกสังคมพืชก็เพื่อการสื่อที่จะให้สามารถสร้างความเข้าใจที่เป็นอย่างเดียวกัน และเพื่อคความสดวกในการศึกษาวิจัยทางวิชาการ นักนิเวศวิทยาสาขาพืชได้พยายามพัฒนาระบบในการ จ าแนกขึ้นโดยเลียนแบบระบบการจ าแนกสิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ได้กระท ากันมาจนเป็นมาตรฐานยึดถือกันทั่วโลก การ จ าแนกสังคมพืชคลุมดินในระดับกว้างนิยมได้ใช้ลักษณะทางรูปลักษณ์ของพืชโดยรวมในสังคมที่ปรับตัวให้เข้า กับสภาพภูมิอากาศในภาพรวมโดยไม่เน้นที่ชนิดพันธุ์ แต่ในระดับรองๆ ลงไปตามล าดับนิยมจ าแนกโดยใช้ชนิด พันธุ์เป็นตัวชี้วัดการจ าแนกสังคมพืชคลุมดินของประเทศไทยที่เสนอไว้ก็ยึดหลักดังกล่าวนี้ โดยในภาพกว้างได้ แบ่งสังคมพืชคลุมดินออกเป็นสองกลุ่มสังคม โดยถือเอาการปรับตัวของพืชที่ตอบสนองต่อภูมิอากาศเป็นหลัก คือกลุ่มสังคมพืชที่ไม่ผลัดใบ Evergreen community type) และกลุ่มสังคมพืชที่ผลัดใบ (Deciduous Community Type) ในการแบ่งสังคมรอง (Sub-community)ในแต่ละกลุ่มจ าแนกโดยกลุ่มไม้ดัชนี (indicator species) ซึ่งมีแนวโน้มที่แสดงถึงความแตกต่างกันของสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี สังคมรองใน กลุ่มสังคมพืชที่ไม่ผลัดใบประกอบด้วน 8 สังคมรองได้แก่ 1) ป่าดงดิบชื้น 2) ป่าดงดิบแล้ง 3) ป่าสน 4) ป่าดง ดิบเขา 5) ป่าชายหาด 6) ป่าพรุ 7) ป่าชายเลน และ 8) สังคมพืชในบึง ส่วนกลุ่มสังคมพืชผลัดใบประกอบด้วย 4 สังคมรอง ได้แก่ 1) ป่าเบญจพรรณ 2) ป่าเต็งรัง 3) ป่าทุ่ง และ 4) ทุ่งหญ้าเขตร้อน การจ าแนกในระดับย่อย (Association) ลงไปอีกต้องพิจารณาที่ไม้เด่นในสังคมในชั้นเรือนยอดและไม้เด่นในชั้นรอง อาจต้องใช้วิธีการการ วิเคราะห์ในเชิงปริมาณและเทคนิคทางการวิเคราะห์ต่างๆ เข้ามาช่วย

บทน า การจัดตั้งชื่อสิ่งต่างๆ เป็นความจ าเป็นของสังคมมนุษย์เพื่อที่จะสื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ในทางชีววิทยาการตั้งชื่อพืชและสัตว์ได้มีการด าเนินการมาตั้งแต่ดึกด าบรรพ์ แต่ละชุมชนแต่ละภาษา ต่างก็ได้ก าหนดชื่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ กัน ตามแต่ละสังคม มีการถ่ายทอดต่อๆ กันมาจนสามารถที่จะสื่อให้ เข้าใจถูกต้องในสิ่งเดียวกัน อย่างไรก็ตามสามารถสร้างความเข้าใจกันได้เฉพาะในกลุ่มแคบๆ ที่มีการ ถ่ายทอดกันมา การสื่อต่าง กลุ่มกันก็ยังเป็นปัญหาอยู่ จากการพัฒนาวิชาการด้านชีววิทยามาถึงระดับหนึ่ง ความจ าเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานในการตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับและเกิดความเข้าใจที่ตรงกันก็มี ความจ าเป็น และเพื่อที่จะให้เข้าใจสิ่งมีชีวิตที่มีความคล้ายคลึงกันจึงได้มีการจัดกลุ่มขึ้น การตั้งชื่อสิ่งที่มีชีวิต

1 อดีตคณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2 Utis Kutintara

ในตอนแรกใช้ลักษณะจากโครงสร้างและถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นแนวทาง ผลจากการติดตามคาดว่าการจ าแนก และจัดตั้งชื่อพืชมีการกระท ากันมาในประเทศจีนก่อนคงในราว 2,700 ปี ก่อนคริตศักราช เป็นการตั้งชื่อ พืชที่ใช้เป็นยาสมุนไพร จากการบรรทึกปรากฏว่า Hippocrates ได้มีการตั้งชื่อพืชไว้ถึง 240 ชนิดเมื่อ ประมาณ 450 ปีก่อนคริตศักราช ต่อมา Aristotle ได้จ าแนกสัตว์และพืชไว้ถึง 500 ชนิด ส่วน Theophrastus ได้ให้ชื่อพืชในกลุ่มพืชล้มลุกและไม้ยืนต้นใว้ถึง 480 ชนิด ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ Inquiry into Plants (Speed, 1966) นักธรรมชาติวิทยาได้พยายามจัดตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตและจัดจ าแนกต่อมาตามล าดับจนในช่วงกลาง ของศตวรรษที่ 18 ได้มีนักชีววิทยาชาวสวีเดนผู้หนึ่งได้ผลิตผลงานในเรื่องนี้ที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการ วิชาการ คือ Carolus Linnaeus หรือ Karl von Linne’ ได้เสนอระบบการตั้งชื่อสิ่งที่มีชีวิตขึ้น คือ Binomial System of Nomenclature ในระบบนี้ชื่อของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่ชื่อสกุล () และ ชื่อเฉพาะของแต่ละชนิด (specific epithet) หรือชื่อชนิด (species) การจัดกลุ่มกระท าโดยใช้พื้นฐาน ตามลักษณะที่เห็นในส่วนที่คล้ายๆกัน (Nelsson,etc.1967; Solomon, 2002) ระบบการตั้งชื่อและการ จ าแนกสิ่งมีชีวิตตามแนวนี้ได้มีการพัฒนามาตามล าดับจนมีการใช้กันอยู่ในปัจจุบันและมีกฏเกณฑ์ใน การตั้งชื่อที่เป็นวิชาการยิ่งขึ้น จากชนิดพันธุ์มีการรวมกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นเป็นวงค์ (Family) ล าดับ (Order) ชั้น (Class) ไปจนถึงอาณาจักร (Kingdom) และมีการแตกย่อยออกไปได้อีกด้วย ในทางสังคมพืชคือการมองพรรณพืชที่มาปรากฏอยู่ร่วมกันในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดซึ่งมีลักษณะ แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ การที่จะสื่อให้เข้าใจกันอย่างชัดเจนก็มีความต้องการเช่นเดียวกันกับการตั้ง ชื่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ นั้นก็คือการที่จะมองกลุ่มของพรรณพืชคลุมดินเป็นหน่วยที่มีจริงและมีลักณะเฉพาะ ของแต่ละกลุ่ม อย่างไรก็ตามกลุ่มพืชแต่ละแห่งประกอบด้วยชนิดพันธุ์พืชมากมายมีความแปรผัน มากกว่าสิ่งมีชีวิตในชนิดพันธุ์เดียวกัน การก าหนดหน่วยหลักและการจัดจ าแนกจึงมีความยุ่งยากมาก แต่ นักนิเวศวิทยาสาขาพืชและนักสังคมพืชก็ได้พยายามด าเนินการในเรื่องนี้ แม้ว่าการยอมรับระบบที่เป็น มาตรฐานยังไม่ปรากฏเด่นชัดแต่ก็มีการด าเนินการที่สามารถเป็นสื่อที่สร้างความเข้าใจกันได้พอควร ปัญหาที่ประสพอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทยการเรียกพืชที่คลุมดินหรือป่าชนิดต่างๆยังมีความ สับสนอยู่พอควร การอ่านเอกสารทางวิชาการหลายเรื่องที่เกี่ยวกับพืชที่คลุมดินมักก่อให้เกิดความเข้าใจ ที่ไม่ตรงกัน บางเอกสารผู้เขียนได้แปลมาจากค าทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งท าให้ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจ ว่าเป็นป่าแบบใดในประเทศ ตัวอย่างเช่น ค าว่าป่าฝนหรือป่าฝนเขตร้อนซึ่งแปลมาจากค าว่า Rain Forest หรือ Tropical Rain Forest ซึ่งหมายถึงป่าในเขตร้อนโดยทั่วๆไป อีกค าหนึ่งที่มักมีการแปลกันมา ใช้มากแต่ยังไม่แน่ใจในความมุ่งหมายของผู้ใช้ คือ Monsoon Forest ซึ่งนิยมเรี่ยกกันว่าป่ามรสุม ถ้าหาก หมายถึงป่าที่ลมมรสุมพัดผ่านก็มีอยู่หลายชนิดป่ารวมถึงป่าดงดิบที่เรียกว่าป่าฝนด้วย ความสับสน เหล่านี้ควรที่จักได้แก้ปัญหากันให้ชัดเจน เพื่อเยาวชนจักได้ยึดถือกันต่อไป ปัจจุบันความจ าเป็นในการใช้ระบบสังคมพืชคลุมดินหรือชนิดของป่ามีมากขึ้น หน่วยงานต่างๆ นอกไปจากกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติแล้วก็ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องมีการเกี่ยวข้องกับป่าและ พืชคลุมดิน เช่นกรมพัฒนาที่ดิน ส านักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมทรัพยากรท้องทะเลและชายฝั่ง กรม

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 1-21. 2008. 3

แผนที่ทหาร และบริษัทที่ปรึกษาในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น มีอยู่บ่อยครั้งที่สภาพ สังคมพืชเหมือนกันแต่การจ าแนกกลายเป็นต่างชื่อกัน ซึ่งท าให้ผู้อ่านอาจพิจารณาเป็นป่าต่างชนิดกัน ผลเสียอาจเกิดขึ้นเมื่อมีความจ าเป็นที่จักต้องตัดสินใจในเรื่องส าคัญของประเทศ เอกสารฉบับนี้ต้องการ เรียกร้องให้นักวิชาการให้ความส าคัญในเรื่องการจ าแนกสังคมพืชคลุมดินของประเทศให้มากยิ่งขึ้นและ ช่วยกันก่อตั้งระบบการจ าแนกสังคมพืชคลุมดินในประเทศไทยให้เป็นระบบที่มีมาตรฐานเพื่อการใช้ใน กาลต่อไป

ระบบการจ าแนกพืชคลุมดินระดับโลก (World System of Vegetative Cover Types Classification)

การจ าแนกสังคมพืชคลุมดินระดับโลกมีอยู่สองแนวทางตามพื้นฐานของศาสตร์ทางพฤกษ์ ภูมิศาสตร์และทางนิเวศวิทยาสาขาพืช อย่างไรก็ตามยังมีการซ้อนทับกันอยู่จนอาจมองเห็นได้ยาก ใน แนวทางพฤกษ์ภูมิศาสตร์ยึดถือตามสภาพภูมิอากาศระดับโลกและการปรับตัวทางสันฐานวิทยา (morphology) ของชนิดพันธุ์ต่อสภาพภูมิอากาศ ส่วนแนวทางทางนิเวศวิทยาสาขาพืชเน้นที่โครงสร้าง ของสังคมเป็นหลัก โดยเฉพาะลักษณะทางรูปลักษณ์ (physiognomy) และรูปชีวิต (life forms)ที่ปกคลุม พื้นที่และสัมพันธุ์อย่างใกล้ชิดกับสภาพภูมิอากาศในวงแคบ (อุทิศ, 2542) ในทางภูมิศาสตร์การแบ่งเขตกลุ่มของสิ่งมีชีวิตได้เริ่มมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 โดยนักชีว ภูมิศาสตร์หลายท่านด้วยกันแต่ก็ไม่ประสพผลมากนัก (Udvardy, 1969) ความก้าวหน้าในการจ าแนก เกิดขึ้นในทางสัตวภูมิศาสตร์ ผลงานที่โดงดังมากได้แก่เป็นผลงานของ Philip Luthley Sclater ที่อาศัย การกระจายของนกเป็นข้อมูลในการจัดจ าแนก จากผลงานดังกล่าวนี้กระตุ้นให้มีนักชีววิทยาหลายท่าน ได้สร้างผลงานในด้านนี้ไว้ เช่น Gunther (1958), Huxley (1868), Wallace (1876) รวมทั้ง Allen (1871) การจ าแนกขอบเขตการกระจายของพรรณพืชในยุคต้นที่กระท ากันอย่างมีระบบคงเป็นผลงาน ของ Adolf Engler (1882 อ้างตาม Udvardy, 1969) ได้แบ่งพืชในยุคเทอเทียรีออกเป็นสี่กลุ่มเรียกว่า floral elements ได้แก่ (1) Arctotertiary element คือกลุ่มป่าสนทางซีกโลกเหนือและป่าทุ่งในอเมริกา เหนือ และเขตอบอุ่นของยูเรเชีย (2) Palaeotropical element เป็นกลุ่มพืชที่มีซากดึกด าบรรพ์ในเขตร้อน ของยุโรป (3) Naeotropical element เป็นกลุ่มพืชที่ประกอบด้วยซากดึกด าบรรพ์ของเขตรัอนในอเมริกา กล่าง และ (4) Old- Oceanic element เป็นกลุ่มพืชที่กระจายอยู่ทางซีกโลกใต้และเกาะต่างๆ จาก ผลงานดังกล่าวนี้กระตุ้นให้นักพฤกษ์ภูมิศาสตร์หลายท่านมีความสนใจที่จะปรับปรุงการจ าแนกเขต พรรณพืชของโลกต่อมา โดยเฉพาะ Walter (1954 อ้างตาม Udvardy, 1969) และ Good (1964) ได้ท า การแบ่งแยกพืชคลุมดินของซีกโลกเหนือไว้ 3 อาณาจักรและซีกโลกใต้ออกเป็น 3 อาณาจักร และยังได้ แบ่งย่อยออกเป็นเขต (region) เป็น 37 เขต พร้อมทั้งมีการจัดท าแผนที่ประกอบ (Udvardy, 1969) ความพยายามจ าแนกพืชคลุมดินในอเมริกาเหนือได้กระท าโดย Merriam (1894) มีการก าหนด แนวคิดเรื่อง Life Zone ขึ้น โดยยึดหลักที่ว่าการกระจายของพันธุ์พืชมีความสัมพันธ์กับเส้นรุ้งที่ชี้ถึง

4 Utis Kutintara

อิทธิพลของอุณหภูมิที่แปรผันไป (ผลงานได้เสนอไว้ในเอกสารชื่อว่า “Low of Temperature Control of the Geographical Distribution of Terrestrial Plants and Animals (Smith, 1966) กฏเกณฑ์ในการ จ าแนกได้ก าหนดไว้สองข้อคือ 1) การกระจายของพันธุ์พืชและสัตว์ขึ้นไปทางเหนือถูกควบคุมโดยผลรวม ของค่าบวกของอุณหภูมิของช่วงฤดูการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ และถือว่าอุณหภูมิที่ 6 องศาเซลเซียส หรือ 45 องศาฟาเรนไฮต์เป็นอุณหภูมิที่ท าให้สรีระของพืชเริ่มท างาน และ 2) การกระจายของพืชและสัตว์ ลงทางใต้ไปหาเส้นศูนย์สูตร ควบคุมโดยค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิในช่วงสั้นๆ ที่เป็นช่วงร้อนสุดในช่วงปี จาก หลักเกณฑ์ดังกล่าวเขาได้แบ่งสังคมพืชในอเมริกาเหนือออกเป็นสามเขตหลักคือ Boreal Zone, Austral Zone และ Tropical Zone ในแต่ละเขตก็มีการแบ่งเป็นเขตย่อยต่อไป ผลงานที่น่าสนใจอีกระบบหนึ่งในการจ าแนกพืชคลุมดินก็คือผลงานของ Holdridge (1967) แนวทางนี้ได้อาศัยอุณหภูมิ ปริมาณน้ าฝน การคายน้ าของพืชกับการระเหยน้ า (evapotranspiration) เป็นปัจจัยหลักสามประการในการในการสร้าง Biotemperature โดยสร้างตารางในสามแนวแกนขึ้นและ ก าหนดสังคมพืชลงในแต่ละช่องจากขั่วโลกลงมาถึงเขตร้อน ระบบนี้ก็ยังไม่นิยมน ามาใช้กันในช่วงต่อมา หน่วยการจ าแนกสังคมพืชทางนิเวศวิทยาได้พยายามพัฒนามาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 และ มีการให้ความสนใจกันมากในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีแนวทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นหลายแนวทางด้วยกัน เช่น The Zurich-Montpellier Tradition, The English Tradition, Northern Tradition, และ Uppsala School เป็นต้น (Shimwell, 1971) แนวทางการจ าแนกทั้งสิ้นมุ่งที่จะน าเอาระบบการจ าแนกสิ่งมีชีวิตเข้า มาใช้ในการจ าแนกสังคมพืช แต่ละแนวทางพยายามที่จะตั้งหน่วยหลักเช่นเดียวกับหน่วยชนิดพันธุ์ (species) และท าการรวมกลุ่มเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นและแยกย่อยเป็นหน่วยที่เล็กลง ระบบที่น่าสนใจดัง แสดงไว้ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 หน่วยการจ าแนกระบบ Synusiae และระบบสังคมตามแนว Northern Tradition โดย Du Rietz, 1930 (สรุปโดย Shimwell, 1971)

Idiobiological Unit Synusiae Plant Community Class Pan formation Pan formation Order Formation Formation Family Sub formation Subornation Tribe Federation Federation Genus Association Association Section Consociation Consociation Species Sociation Sociation

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 1-21. 2008. 5

ระบบการจ าแนกดังกล่าวก็มิได้นิยมน ามาใช้กันมากนักในยุคต่อๆมา บางค าที่มีการใช้กันอยู่ บ้างได้แก่

Formation-Type (Formation Class) หมายถึงกลุ่มของสังคมพืชที่มีการกระจายตามสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะทางรูปลักษณ์ (Physiognomic characteristic) และรูปชีวิต (Life Form) ที่ คล้ายคลึงกันและมีความสัมพันธ์กันกับภูมิอากาศและสภาพปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ

Formation หมายถึงกลุ่มของสังคมพืชในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งหรือทวีปใดทวีปหนึ่งที่มี ลักษณะที่ปรากฏคล้ายๆกันและสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศและสภาพสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

Association หมายถึงหน่วยของกลุ่มพืชต่างๆที่จ าแนกโดยลักษณะต่อไปนี้  a) เป็นกลุ่มพืชที่ขึ้นรวมกันมีลักษณะและชนิดพันธุ์ที่แตกต่างจากแหล่งอื่นและมีความคงที่ใน พื้นที่  b) การจ าแนกชั้นทางด้านตั้งและความคงที่ในพื้นที่  c) ชนิดพันธุ์ไม้เด่นชนิดใดชนิดหนึ่งหรือมากกว่า ซึ่งเป็นไม้เด่นในชั้นเรือนยอดบนสุด แต่ถ้าเป็น ไม้เด่นชนิดเดียวเรียกว่า Consociation  d) เป็นหน่วยของกลุ่มพืชถาวรที่เข้าถึงสภาพคงทนและไม่มีการพัฒนาต่อไป และ  e) หมายถึงชั้นเรือนยอดชั้นใดชั้นหนึ่งที่ใช้ในการจ าแนก  Union สังคมพืชที่แบ่งแยกตามชั้นด้านตั้งที่ประกอบด้วยชนิดพันธุ์หนึ่งชนิดพันธุ์ใดหรือหลาย ชนิดที่มีความสัมพันธ์ทางลักษณะรูปลักษณ์และรูปชีวิต หน่วยสังคมพืชอย่างอื่นที่มีใช้กันอยู่ได้แก่

Landscape Type สภาพพื้นที่โดยกว้างๆที่จ าแนกโดยสภาพจากทุกด้านที่เกี่ยวกับพรรณพืช และสิ่งแวดล้อม

Habitat Type กลุ่มของสังคมที่ใช้แทนกันได้โดยมองที่ความสัมพันธ์กับถิ่นที่อาศัย

Site Type กลุ่มของสังคมที่สัมพันธ์กันกับลักษณะบางอย่างของถิ่นที่อาศัย

Nodum เป็นหน่วยทางด้านแนวคิดที่ใช้ทั่วๆ ไปกับหน่วยของพรรณพืชในขอบข่ายใดๆ

6 Utis Kutintara

Community เป็นหน่วยที่ใช้เรียกกลุ่มพืชที่มีความสม่ าเสมอในด้านโครงสร้างและองค์ประกอบ ของชนิดพันธุ์ที่ระดับหนึ่ง มักใช้เรียกกลุ่มพืชคลุมดินกันทั่วๆ ไปอยู่ในปัจจุบัน

Stand หมายถึงหมู่ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่มที่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆ เป็นหน่วย เล็กสุดในการจ าแนกสังคมพืชคลุมดิน อาจก าหนดตามลักษณะเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเพื่อการ ศึกษาวิจัย

ระบบไบโอม (Biome)

การจ าแนกสังคมแห่งชีวิตของโลกหรือชีวมณฑล (Biosphere) ในปัจจุบันนิยมแบ่งเป็นไบโอม (Biome) ต่างๆ โดยอาศัยกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศของโลก ผลจากความแปรผัน ของภูมิอากาศในโลกที่เป็นไปตามระดับของเส้นรุ้งซึ่งสามารถจัดจ าแนกได้เป็นเขตภูมิอากาศต่างๆ จาก ขั้วโลกลงมาหาเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเริ่มจากอากาศเขตหนาว (Cold), เขตอบอุ่นหนาว (Cold Temperate) เขตอบอุ่น (Temperate) เขตอบอุ่นร้อน (Worm Temperate) เขตกึ่งร้อน (Subtropical) และเขตร้อน (Tropical ) ความแปรผันของภูมิอากาศในแต่ละเขตเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยบางอย่างที่ส าคัญได้แก่ ความ ใกล้ไกลจากมหาสมุทร ทิศทางของลมที่ให้ฝน และทิวเขาที่กั้นทางลม เป็นต้น จากสภาพภูมิอากาศที่ แปรผันไปดังที่กล่าวจึงก่อให้มีความแตกต่างกันในด้านสังคมพืชคลุมดินและมีผลต่อไปถึงสัตว์ที่เข้ามาใช้ ประโยชน์ สังคมพืชคลุมดินตามสภาพภูมิอากาศดังที่กล่าวก็คือไบโอมของโลก ไบโอมหลักที่ได้มีการจัด จ าแนกและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ 1) ทุ่งหญ้าในเขตหนาวอาร์คติก (Arctic Tundra Biome) 2) ป่าสน เขตหนาว (Boreal Forest Biome) 3) ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (Temperate Deciduous Biome) 4) ทุ่ง หญ้าในเขตอบอุ่น (Temperate Grassland Biome) 5) ป่าทุ่ง (Savanna Biome) 6) ทะเลทราย (Desert Biome) 7) ป่าสเคอโรฟีลัส (Sclerophyllous Biome) 8) ป่าผลัดใบเขตร้อน (Tropical Deciduous Biome) 9) ป่าดงดิบ (Tropical Rain forest Biome) ในแต่ละไบโอมยังมีการแบ่งแยกออกไปได้อีก (Cox et al., 1976)

ความหลากหลายของสังคมพืชคลุมดินในประเทศไทย ผลจากการจ าแนกไบโอมหลักของโลกท าให้พื้นที่ประเทศไทยตกอยู่ในไบโอมป่าพลัดใบเขตร้อน และป่าดงดิบเขตร้อน โดยที่ตอนบนของประเทศมีภูมิอากาศจัดอยู่ในเขตกึ่งร้อน (Subtropical Climate) มีสามฤดูคือฤดูฝน (Rainy Season) ฤดูอากาศเย็น (Cool Season) และฤดูร้อน (Hot Season) นอกจากนี้ยังได้รับอิทิพลจากลมมรสุมอีกด้วย ส่วนทางตอนใต้ของประเทศมีอยู่เพียงสองฤดู คือ ฤดูฝน (Rainy Season) ที่มีช่วงเวลาค่อนข้างยาว และฤดูแล้ง (Dry Season) และเนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อิทธิพลจากลมมรสุมไม่แสดงออกที่เด่นชัด ฉะนั้นโดยพื้นฐานทางตอนเหนือของประเทศจึงควรปกคลุม

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 1-21. 2008. 7

ด้วยป่าพลัดใบในเขตร้อนส่วนทางตอนใต้ควรเป็นถิ่นของป่าดงดิบ จากการที่มีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามามี อิทธิพลร่วมจึงท าให้เกิดความแปรผันขึ้นในทั้งสองส่วนก่อให้เกิดขนิดพืชคลุมดินหลายรูปแบบขึ้นสลับกัน ไปในแต่ละส่วน ปัจจัยหลักที่มีส่วนเข้ามาสร้างความแปรผันได้แก่ดิน สภาพภูมิประเทศ ความใกล้ไกล จากทะเล ปริมาณน้ าฝน และไฟป่า เป็นต้น

การพัฒนาการจ าแนกสังคมพืชคลุมดินในประเทศไทย การตั้งชื่อสังคมพืชคลุมดินของประเทศคงกระท ากันมานานทั้งนี้ก็เพื่อการสื่อกันระหว่างคนใน ท้องถิ่นของแต่ละภาค การให้ชื่อก็เป็นการใช้ลักษณะเด่นอย่างใดอย่างหนึ่งที่คนทั่วไปสามารถเห็นได้ เด่นชัด อาจเป็นชนิดพันธุ์ไม้เด่นในสังคม สภาพภูมิประเทศ ลักษณะดิน หรือธรรมชาติอย่างอื่น ระบบ การจ าแนกเช่นนี้มีกระท ากันทั่วไปมิใช้เฉพาะในประเทศไทย ตัวอย่างเช่นป่าเด็งรังที่เป็นที่รู้จักกันทาง ต้อนบนของประเทศ มีชื่อเรียกว่าป่าโคกเนื่องจากขึ้นอยู่บนเนินเป็นส่วนใหญ่ ป่าแดงเพราะขึ้นอยู่บนดิน ลูกรังที่มีสีแดง ป่าแพะเพราะขึ้นอยู่บนดินลูกรังที่มีกรวดขี้หนูปรากฏบนผิวดิน ป่าชายเลนเพราะขึ้นอยู่บน ดินเลนปากแม่น้ า หรือป่าโกงกางเพราะมีไม้โกงกางเป็นไม้เด่น ป่าสักเพราะมีไม้สักเป็นไม้เด่น ในระดับ ย่อยยิ่งมีความยุ่งยากแก่การสื่อมากยิ่งขึ้น เช่น ทางภาคเหนือเรียกป่าตอง ป่าตึง ป่าเปา ป่าเกี๊ย เป็นต้น การตั้งชื่อตามท้องถิ่นไม่เป็นระบบการจ าแนกที่มีหลักการที่จะน าไปปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการจ าแนก สังคมพืชใหม่ๆ ได้ การจ าแนกสังคมพืชคลุมดินที่เป็นทางการก็คงเป็นงานด้านการป่าไม้ ซึ่งได้แบ่งป่าเป็นสองกลุ่ม ใหญ่ตามการใช้ประโยชน์ในการท าไม้คือ ป่าสัก เป็นป่าที่มีไม้สักขึ้นอยู่และป่ากระยาเลยซึ่งเป็นป่าที่มี การท าไม้ชนิดอื่นๆที่มิใช้ไม้สัก นอกจากนั้นกรมป่าไม้ยังมีการจัดจ าแนกป่าในการส ารวจป่าไม้โดยมีการ จ าแนกป่าเป็นป่าดงดิบทางภาคใต้ ป่าสัก ป่าเบ็ญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าดงดิบเขา ผลงานที่เป็นเชิง วิชาการและมีระบบที่ติดตามได้คือผลงานของ Smitinand (1977) เป็นผลงานภายใต้ชื่อเรื่องว่า Vegetation and Ground Covers of Thailand ในเอกสารฉบับนี้ได้จ าแนกกลุ่มป่าใหญ่ๆ ของประเทศ เป็นสองกลุ่มด้วยกันคือกลุ่มป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forests) และกลุ่มป่าพลัดใบ (Deciduous Forest) ในแต่ละกลุ่มได้มีการแบ่งย่อยออกไปเป็นชนิดป่าตางๆ และได้อธิบายลักษณะป่าเหล่านั้นไว้ โดยเฉพาะชนิดไม้เด่นในชั้นต่างๆ ต่อมา อุทิศ (2542) ได้ท าการปรับปรุงระบบดังกล่าวให้มีความ เหมาะสมยิ่งขึ้นพร้อมทั้งก าหนดลักษณะในการจ าแนกป่าแต่ละชนิดพันธุ์ไม้ดัชนี้พร้อมรายละเอียดอื่นๆ ไว้ด้วย

แนวทางจ าแนกสังคมพืชคลุมดินส าหรัประเทศไทย เป้าหมายในส่วนนี้ก็เพื่อที่จะเสนอแนวทางในการจ าแนกสังคมพืชคลุมดินในประเทศไทยที่เป็น ระบบเพื่อการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในหมู่นักวิชาการด้านสังคมพืช ผู้ที่สนใจสามารถยึดถือเป็น หลักเกณฑ์ในการท าความรู้จักป่าและสังคมพืชต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง การสื่อความหมายต่อกันมีความ แน่นอนยิ่งขึ้น ที่ส าคัญยิ่งก็เพื่อเป็นแนวทางในการจัดระบบการจ าแนกสังคมพืชคลุมดินที่เป็นมาตรฐาน ของประเทศในอนาคต

8 Utis Kutintara

โดยทั่วไปการจ าแนกสังคมพืชทั่วโลกอาศัยลักษณะของพันธุ์พืชที่ปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมเป็น ฐานในการจ าแนก การปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมไม่ว่าภูมิอากาศ ดิน สภาพภูมิประเทศ สัตว์ และไฟป่า แสดงให้เห็นได้จากลักษณะรูปลักษณ์ (Physiognomic Characteristics) หมายถึงลักษณะภายนอกของ พืชหรือส่วนของพืชที่ปรากฏแก่สายตา เช่นสี ความดาดดื่น การแปรผันตามฤดูกาล และภาพรวมที่ สามารถพิจารณาได้โดยงายและรวดเร็วจากการประเมินด้วยสายตา สิ่งที่ปรากฏให้เห็นจากลักษณะทาง รูปลักษณ์ก็คือรูปชีวิต (Life Form) ลักษณะในด้านนี้ที่ใช้กันมากในการจ าแนกสังคมซึ่ง Shimwell (1971) ได้สรุปไว้ดังนี้ (a) ป่าไม้ (forest) พื้นที่ปกคลุมด้วยไม้ (woodland) ป่าพุ่ม (scrub) ป่าทุ่ง (savanna) ทุ่งหญ้า (grassland) ที่แฉะ (marsh) พรุ (bog) หนอง (mire) ทะเลทราย (desert) ทุ่งหญ้าเขตหนาว (tundra) (b) ไม้ใหญ่ (trees) ไม้พุ่ม (shrubs) พืชล้มลุก (herbs) หญ้า (grasses) ไม้เนื้อแข็งตั้งครง (erect woody plant) เถาวัลย์ (climbing woody plant) (c) ผลัดใบ (deciduous) ไม่ผลัดใบ (evergreen) ใบกว้าง (broadleaf) ใบเข็ม (needle leaf) ใบหนา (sclerophyll) อวบน้ า (succulent) (d) กลุ่มมอสส์และตะไคร่ (bryoids) ข้าวตอกฤษี (Sphagnum) พืชเกาะติด (epiphytes) พืชกอ (crusts) ไลเคนท์ (lichens) เห็ดรา (fungi) สาหร่าย (algae) หากพิจารณาตามแนวทางที่ Shimwell (1971) ที่เสนอไว้การจัดกลุ่มสังคมพืชภายในภูมิภาค หรือทวีปของโลกก็คือระดับฟอร์เมชั้น (Formation) ในภาษาไทยอาจใช้ระดับกลุ่มป่าหรือกลุ่มชนิดสังคม (Community Type) ในระดับนี้ควรจ าแนกจากลักษณะรูปลักษณ์ (Physiognomic Characteristics) ของ กลุ่มพรรณพืชในพื้นที่ที่สัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศและปัจจัยแวดล้อม ฉะนั้นการแบ่งสังคมพืชถาวรของ ประเทศตามแนวทางของ Smitinand (1977) เป็นกลุ่มป่าผลัดใบและกลุ่มป่าไม่พลัดใบซึ่งเป็นลักษณะ รูปลักษณ์จึงน่าจะมีความเหมาะสมและควรยึดถือเป็นหลักในการจ าแนกสังคมพืชคลุมดินของประเทศ ไทยที่ระดับใหญ่สุด ในระดับต่ ากว่าฟอร์เมชั้นหรือกลุ่มชนิดสังคมก็ควรเป็นฟอร์เมชั้นรอง Sub formation ซึ่งจ าแนก จากองค์ประกอบของชนิดพันธุ์ ชนิดพันธุ์ที่เป็นดัขนีของสังคม และความสม่ าเสมอ อาจยึดถือจากไม้เด่น ชนิดเดี่ยวหรือหลายชนิดในชั้นเรื่อนยอดหรือผสมกับไม้เด่นในชั้นรอง ฉะนั้นชนิดป่าต่างๆ ของประเทศจึง ควรจ าแนกจากชนิดพันธุ์ไม้เด่นเป็นหลัก อย่างไรก็ตามชนิดพันธุ์ไม้เด่นมักมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับปัจจัยแวดล้อมฉะนั้นการสังเกตุและจ าแนกจากปัจจัยแวดล้อมก็สท้อนไปสู่สังคมพืชในระดับนี้ได้ จาก การจ าแนกชนิดป่าที่เสนอไว้โดย Smitinand (1977)และอุทิศ (2542) จึงเป็นการจ าแนกสังคมพืชคลุมดิน ในระดับนี้ ในระดับย่อยของชนิดป่าต่างๆ อาจจ าแนกจากลักษณะพิเศษของพันธุ์ไม้เด่นในสังคมป่านั้นๆ และการขึ้นผสมกันสัดส่วนของการรวมตัวในสังคมของพันธุ์ไม้ลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างออกไป การจ าแนกในระดับนี้อาจต้องอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นระดับของ ความสม่ า เสมอหรือความเป็นเนื้อเดียวกัน (Uniformity หรือ homogeneity) ของแต่ละพื้นที่

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 1-21. 2008. 9

การจ าแนกระดับหมู่ไม้ (Stand) โดยทั่วไปหมู่ไม้ก็คือพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งที่นักวิชาการก าหนด ขึ้นเพื่อการศึกษาตามเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทางสังคมพืชเป็นพื้นที่ตัวแทนของพืชคลุมดินแบบ ใดแบบหนึ่งที่มีสภาพเฉพาะทางด้ายโครงสร้างและการรวมตัวของชนิดพันธุ์ หมู่ไม้ต่างๆ ที่ได้ท าการ ศึกษามาในเชิงปริมาณอาจน ามาวิเคราะห์หาความคล้ายคลึงกัน (Similarity) และจัดกลุ่มเพื่อจ าแนก สังคมพืชในระดับละเอียดได้

ระบบการจ าแนกสังคมพืชของประเทศไทย ยึดหลักตามแนวทางในการจ าแนกสังคมพืชคลุมดินดังที่ได้กล่าวมาแล้วในระดับต่างๆ สังคมพืช คลุมดินของประเทศไทยอาจจัดเป็นระบบได้ดังนี้

ตารางที่ 2 ระบบการจ าแนกสังคมพืชถาวร (Climax Communities) ของประเทศไทย

A. กลุ่มชนิดสังคมพืชไม่ผลัดใบ ลักษณะในการจ าแนก เป็นสังคมที่ประกอบด้วยลักษณะ ของพืชที่คง Evergreen Community Type ใบตลอดปี (Evergreen) รูปลักษณ์ที่เป็นพันธุ์ไม่ไม่ผลัดใบ มีความ (Formation ) เขียวตลอดปี ใบส่วนใหญ่ของแต่ละชนิดมีอายุเกินกว่าหนึ่งปี ป่าดงดิบชื้น (tropical Moist ลักษณะในการจ าแนก เป็นสังคมป่าไม่พลัดใบ ประกอบด้วยรูปชีวิตที่เป็นไม้ Evergreen Forest Community) ใหญ่ ไม้พุ่ม หมาก เถาวัลย์ มีเรือนยอดต่อเนื่องกันโดยตลอดทั้งด้านราบและ Sub formation ด้านตั้ง มีไม้แปะติดและกาฝากค่อนข้างมาก พื้นป่ารกทึบ ไม้ดัชนี เป็นไม้ในวงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) ที่ไม่พลัดใบ ได้แก่ยางยูง (Dipterocarpus grandiflorus) ยางเสียน (D. gracilis) ยางมันหมู (D. kerrii) ยางปาย (D. costatus) ยางใต้ (D.hasseltii) ยางวาด (D. chartaceus) ยางนา (D. alatus) ยางกล่อง (D. dyeri) สยาขาว (Shorea assamica) สยาเหลือง (S. curtisii) กาลอ (S. faguetiana) กระบากด า (S. farinosa) เต็งตานี (S. guiso) พนอง (S. hypochra) ตะเคียนสามพอน (S. laevis) สยาแดง (S. leprosura) ตะเคียนราก (Hopea foxworthyi) สยาด า (H. pedicellata) พันจ าใบใหญ่ (H. recopei) กระบกกรัง (H. helferi) สภาพแวดล้อม ปรากฏในพื้นที่ที่มีดินลึกเก็บน้ าได้ดี ปริมาณน้ าฝนสูงเกิน 1,600 ม.ม.ต่อปีอุณหภูมิต่ าสุดไม่ต่ ากว่า 10 องศาเซลเซียส กระจายอยู่ทาง ตอนใต้ของประเทศเป็นส่วนใหญ่ ปรากฏในเกาะต่างๆและตอนใต้ของภาค ตะวันออก สังคมย่อย (Association) ป่าดงดิบชื้นระดับต่ า (Lower Moist Evergreen Forest) Smitinand ป่าดงดิบชื้นระดับสูง (Upper Moist Evergreen Forest) Smitinand ป่าดงดิบชื้นแบบมาเลเชีย (MEF Malasian Type) Whitmore (1984) ป่าดงดิบชื้นแบบไทย (MEF Thai Type) Whitmore (1984)

10 Utis Kutintara

2) ป่าดงดิบแล้ง (Dry Evergreen ลักษณะในการจ าแนก เป็นป่าที่มีไม้พลัดใบและไม้ไม่ผลัดใบขึ้นผสมกันใน Forest Community) อัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน เห็นได้ชัดเจนในช่วงฤดูแล้ง เป็นสังคมกึ่งกลาง Sub formation ระหว่างป่าดงดิบกับป่าผลัดใบ มีไม้ชั้นเรือนยอดกับไม้ชั้นรองแยกกัน ค่อนข้างเด่นชัด ไม้ดัชนี พันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบได้แก่ ตะเคียนหิน (Hopea ferrea) เคี่ยมคนอง (Shorea henryana) ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus) กระบาก (Anisoptera costata) ไม้ผลัดใบได้แก่ มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa) ตะแบกใหญ่ (Lagerstroemia calyculata) ตะแบกแดง (L. ovalifolia) พยุง (Dalbergia cochinchinensis) เก็ดด า (D. ultrate) ไม้ ชั้นรองที่เป็นไม้ดัชนีได้แก่ พลองใบใหญ่ (Memecylon ovatum) พลองขี้นก (M floribunda) กัดลิ้น (Walsura trichostemon) กระเบากลัก (Hydnocarpus ilicifolius) ไม้ชั้นล่างที่เป็นตัวชี้วัดได้แก่ ข่อย หนาม (Streblus ilicifolius) หนามคัดเค้า (Randia sp.) เปล้าเงิน (Viburnum odoratissimum) สภาพแวดล้อม ปกคลุมในพื้นที่ที่มีดินลึกเก็บน้ าได้ดีพอควร มีช่วงความแห้ง แล้งที่ยาวนาน ไม่มีไฟป่ารบกวน ปรากฏในภาคกลาง ภาคใต้ตอนบน ภาคเหนือและภาคอีสาน สังคมย่อย (Association) ยังไม่มีการจ าแนกที่เด่นชัด 3) ป่าสน (Pine Forest) ลักษณะในการจ าแนก เป็นป่าที่มีไม้เด่นในชั้นเรือนยอดเป็นไม้ในกลุ่มที่เป็น Sub formation ไม้ใบเข็ม (needle leaf) ชั้นเรือนยอดเด่นด้วยไม้ชนิดเดียวหรือสองชนิดเป็น อย่างมาก ไม้ดัชนี พันธุ์ไม้ที่ใช้ในการจ าแนกสังคมนี้ได้แก่ ไม้สนสองใบ (Pinus merkusii) และ ไม้สนสามใบ (P. kesiya) เป็นไม้เด่นในชั้นเรือนยอดและมัก ไม่มีไม้อื่นผสมอยู่ในชั้นนี้ ในบางแห่งเกือบเป็นไม้สนล้วน สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมของสังคมนี้ที่เป็นตัวก าหนดการกระจายยัง ไม่ชัดเจน ปกติพบในพื้นที่ที่มีระดับสูงในช่วง 1,400 เมตรลงมา ดินลึก พอควร มีไฟป่าค่อนข้างบ่อยครั้งแต่ไม้ในสังคมมีเปลือกที่หนามากจึงไม่เป็น อันตราย ดินค่อนข้างเป็นกรด มีช่วงความแห้งแล้งยาวนาน สังคมย่อย (Association) สังคมสนเด่นเพียงอย่างเดียว (Pine Forest ) ฮุทิศ สังคมสนผสมไม้ก่อ (Pine-Oak Forest) อุทศ สังคมสนผสมเต็งรัง (Pine-Dipterocarp Forest) อุทิศ

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 1-21. 2008. 11

ตารางที่ 2 (ต่อ)

4) ป่าดงดิบเขา (Hill Evergreen ลักษณะในการจ าแนก เป็นป่าที่ขึ้นอยู่ในระดับสูง ปกติปรากฏที่ระดับเกิน Forest) กว่า 1,200 เมตรจากระดับน้ าทะเลขึ้นไป ป่าค่อนขางแน่นทึบ มีพืชแปะติด Sub formation และมอสส์ตามกิ่งและล าต้นไม้ใหญ่หนาแน่น ในระดับสูงมากๆและลมพัดจัด ต้นไม้ค่อนข้างเตี้ย กิ่งคดงอมีใบเป็นกระจุกเป็นก้อนๆ มีพันธ์ไม้ในสกุลที่ ปรากฏในเขตอบอุ่นขึ้นผสมอยู่มาก ไม้ดัชนี การจ าแนกมักถือเอาการปรากฏของไม้ในวงค์ไม้ก่อ (Fagaceae) เป็นกลุ่มไม้ดัชนี้ไม้ก่อที่ใช้ในการจ าแนกได้แก่ ก่อก้างด้าง (Lithocarpus garrenttianus) ก่อแดง (L. trachycarpus) ก่อน้ า (L. annamensis) ก่อพวง (L. fenestratus) ก่อเดือย (Castanopsis acuminatissima) ก่อใบเลื่อม (C. tribuloides) ก่อแป้น (C. diversifolia) ก่อลิ้ม (C. indica) ก่อแหลม (C. ferox) ก่อสีเสียด (Quercus poilanei) ก่อตลับ (Q. rambottomii) ก่อตี้ (Q. kingiana) และก่อแอบ (Q. helferiana) พันธุ์ไม้ในกลุ่มเมล็ดเปลือย (Gymnosperm) ที่ใช้เป็นไม้ดัชนีได้แก่กลุ่มพญาไม้ (Podocarpus) สนสาม พันปี (Dadrydium elatum) สกุล Cephalotaxus, Gnetum และ Cycas ไม้ หลายสกุลที่เด่นอยู่ในเขตอบอุ่นที่เขามาปรากฏในสังคมนี้ เช่น Prunus, Betula, Gordonia, Camellia,และ Rhododendron สภาพแวดล้อม ป่าดงดิบเขาขึ้นอยู่ในดินที่ค่อนข้างลึก มีความชื้นสูงและ อากาศเย็น อุณหภูมิในบางช่วงของปีต่ ากว่า 10 องศาเซลเซียส บางฤดูกาล มีเมฆปกคลุม สังคมย่อย (Association) ป่าดงดิบเขาระดับต่ า (Lower Hill Evergreen Forest) Smitinand ป่าดงดิบเขาระดับสูง (Upper Hill Evergreen Forest) Smitinand ป่าซับอัลพร์ (Sub alpine Forest) ธวัชชัย

5) ป่าชายหาด (Beach Forest) ลักษณะในการจ าแนก เป็นป่าในที่ดอนที่ได้รับอิทธิพลจาดไอเค็ม (salt Sub formation spray) จากท้องทะเล ปรากฏบริเวณชายหาดหรือหน้าผาริมทะเล ดินเป็นดิน ทรายจัดหรือบริเวณหาดทรายเก่า พืชส่วนใหญ่เป็นพืชทนความเค็ม (halophytes) บางแห่งปรากฏพืชทนความแห้งแล้ง (xerophytes) ขึ้นผสม อยู่ด้วย ไม้ดัชนี พันธุ์ไม้ที่ส าคัญในการจ าแนกสังคมนี้ได้แก่ เกด (Manilkara hexandra) กระทิง (Calophyllum inophyllum) หูกวาง (Terminalia catappa) มะเกลือเลือด (T. corticosa ) เมา (Eugenia grandis) รังกะแท้ (Kadelia candel) โพธิ์กริ่ง (Hermandia peltata) หลุมพอทะเล (Intsia

12 Utis Kutintara

ตารางที่ 2 (ต่อ)

5) ป่าชายหาด (Beach Forest) bijuga) กระหนาย (Pterospermum littorale) ล าเจียก (Pandanus Sub formation (ต่อ) tectorium) และสนทราย (Baeckia frutescens) ส่วนสนทะเล (Casuarina equisetifolia) และเสม็ดขาว (Melaleuca leucandrendron) มักพบเป็น สังคมที่เป็นไม้เด่นน าเดี่ยวในหลายพื้นที่ สภาพแวดล้อม เป็นป่าที่ได้รับอิทธิพลจากทะเลจึงปรากฏอยู่บริเวณชายฝัง ทะเลทั้งทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศ ภูมิอากาศค่อนข้างร้อน มีฝนตกชุกแต่เนื่องจากเป็นดินทรายจึงเสียน้ าไปอย่างรวดเร็ว สังคมย่อย (Association) ป่าสนทะเล (Casuarina forest) อุทิศ ป่าชายหาดผสม (Mixed Beach Forest) อุทิศ ป่าเสม็ดขาว (Melaleuca forest) อุทิศ(สังคมกึ่งถาวร) สังคมป่าหน้าผาชายทะเล (Rocky Cliff Community) อุทิศ

6) ป่าพรุ (Swamp Forest) ลักษณะในการจ าแนก เป็นป่าที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มมีน้ าขังตลอดปีหรือ Sub formation ในบางฤดูกาล ดินเป็นดินพีท (peat) มีการสะสมของซากพืชค่อนข้างหนา พันธุ์พืชแสดงออกถึงการปรับตัวกับการมีน้ ามาก (Hydrophytes) รากแผ่ กว้าง มีรากค้ ายัน (stilt roots or prop roots) รากหัวเข่า (knee roots) และ รากหายใจ (pneumatophores) โคนต้นมีพูพอนใหญ่ (buttress) เรือนราก แผ่กว้าง ไม้ดัชนี พันธุ์ไม้ที่ใช้ในการจ าแนกป่าพรุได้แก่ สะเตียว ( Ganua motleyana) ยากา (Bkumeodendron kurzii) ละไมป่า (Baccaurea bracteata) อ้าย บ่าว (Stemonurus malaccensis) มะฮัง (Macaranga pruinosa) หลุมพี (Eleiodoxa conferta) กระพ้อแดง (Licuala longecalycata) สาคู (Metroxylon sagus) ชุมแสง (Xynthophyllum glaucum) กระเบาน้ า (Hydnocarpus sumatrana) กุ่มน้ า (Crateva magna) สะแกนา (Combretum quadrangulare) อินทนินน้ า (Lagerstroemia speciosa) กันเกรา (Fagraea fragrns) และจิกน้ า (Barringtooia acutangula) สภาพแวดล้อม ปรากฏส่วนใหญ่ทางภาคใต้และริมแม่น้ าในภาคอีสาน ในที่ ลุ่มที่เป็นแอ่งขังน้ าไว้ไดนาน ซากพืชทับถมกันหนาเนื่องจากการย่อยสลาย เป็นไปได้ช้า น้ าในป่าพรุโดยทั่วไปเป็นกรดจัด สังคมย่อย (Association) พรุดินพีท (Peat Swamp Forest) ธวัชชัย ป่าบุ่งป่าทาม (Riverine Swamp Forest) ธวัชชัย

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 1-21. 2008. 13

ตารางที่ 2 (ต่อ)

7) ป่าชายเลน (Mangrove Forest) ลักษณะในการจ าแนก เป็นป่าที่ปกคลุมบนดินเลนในแหล่งน้ ากร่อยหรือน้ า Sub formation ทะเลท่วมถึง ลักษณะดินอ่อนนิ่มน้ าในดินเค็มเนื่องจากน้ าทะเล พันธุ์พืชต้อง ปรับตัวกับปัจจัยหลักคือดินที่อ่อนนิ่ม น้ าในดินที่เค็มและการขาดออกซิเจน ในดิน พันธุ์พืชส่วนใหญ่จึงต้องมีรากค้ ายัน (stilt roots or prop roots) ราก หายใจ (pneumatophores) แลมีต่อมคายเกลือ (salt gland) และใบหนา เพื่อลดการคายน้ า ไม้ดัชนี พันธุ์ไม้ดัชนีของป่าชนิดนี้ได้แก่ไม้ในสกุลโกงกาง (Rhizophora) เช่น โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) สกุลล าพู ล าแพน (Sonneratia) ได้แก่ ล าพู (S. caseolaris) ล าพูทะเล (S. alba) ล าแพน (S. ovata) ล าแพนหิน (S. griffithii) สกุลถั่ว (Bruguiera) เช่น ถั่วขาว (B. cylindrical) ถั่วด า (B. parviflora) ประสักแดง (B. sexangula) โกงกางหัวสุ่ม (B. gymnorrhiza) ไม้อื่นๆที่ใช้ในการจ าแนกได้แก่ รังกะแท้ (Kandelia candel) โปร่ง แดง (Xylocarpus moluccensis) ตะบูนขาว (X. granatum) ตาตุ่ม (Excoecaria agallocha) หงอนไก่ทะเล (Heritiera littoralis) รักทะเล (Scaevola taccada) และจาก (Nypa fruticans) สภาพแวดล้อม การขึ้นลงของน้ าทะเล ความใกล้ไกลจากปากแม่น้ า ความ เค็มของน้ า ความตื้นลึกของเลน การผสมของทราย และความแข็งของเลน ก่อให้เกิดการแปรผันของสังคมย่อยในป่าชนิดนี้ โดยปกติป่าชายเลนปรากฏ ที่ปากแม่น้ าที่ดินเลนก่อตัวจากตะกอนที่พัดพาลงมาจากระบบนิเวศตอนบน การท าลายป่าและการท าการเกษตรก่อให้เกิดเลนงอกใหม่อย่างรวดเร็ว สังคมย่อย (Association) สนิท อักษรแก้ว (2532) ได้แบ่งป่าชายเลนออกเป็นแถบดังนี้ แถบแสมผสมล าพู (Avicennia- Sonneratia Zone) แถบโกงกาง (Rhizophora Zone) แถบถั่วและรังกะแท้ ((Bruguiera – Kandelia Zone) แถบฝาด-ตะบูนและโปร่ง (Lumitzera-xylocarpus- Bruguiera Zone)

8) สังคมพืชในบึง (Pond ลักษณะในการจ าแนก เป็นกลุ่มพืชที่ขึ้นอยู่ในน้ าขอบทะเลสาปและบึง Vegetation) ประกอบด้วยรูปชีวิตแบบ Helophytes และ Hydrophytes ได้แก่กลุ่มพืชใต้ Sub formation น้ า (submerged aquatics) กลุม่พืชลอยน้ า (floating aquatics) พืชที่ราก หยังในดินใบปริมน้ า (rooted aquatics) กลุ่มพืชรากอยู่ในดินในน้ าใบชูพ้น น้ า (reed swamp) กลุ่มพืชในดินโคลน (sedge marsh) ไม้ดัชนี จอกแหน (Lemna trisulca) จอกหูหนู (Salvinia cucullata)

14 Utis Kutintara

ตารางที่ 2 (ต่อ)

8) สังคมพืชในบึง (Pond บัวเผื่อน (Nymphaea nouchali) บัวหลวง (Nelumbo nucifera) จูดหนู Vegetation) (Eleocharis ochrostachys) กระจุด (Scirpus mucronatus) กกสามเหลี่ยม Sub formation (ต่อ) (Cyperus spp.) และธูปฤาษี (Typha angustifolia) สภาพแวดล้อม ปกคลุมในที่น้ าตื้นแสงส่องถึงพื้นดิน พบบริเวณบึงน้ าขนาด ใหญ่และขอบทะเลสาป สังคมย่อย (Association) ยังไม่มีการจ าแนก

B. กลุ่มชนิดสังคมพืชผลัดใบ กลุ่มสังคมป่าผลัดใบจ าแนกโดยลักษณะรูปลักษณ์ที่มีการผลัดใบของพันธุ์ Deciduous Community Type ไม้เกือบทั้งหมดในสังคม ในเขตร้อนรูปลักษณ์แบบนี้เป็นการตอบสนองต่อ (Formation ) การขาดแคลนน้ าในดินที่จะมาป้อนขบวนการทสรีรวิทยาโดยเฉพาะการคาย น้ า พืชในสังคมจึงผลัดใบทิ้งตั้งแต่ปลายฤดูหนาวไปจนถึงฤดูรัอน หลายชนิด มีการแตกหน่อได้

1) ป่าเบญจพรรณ (Mixed ลักษณะในการจ าแนก จ าแนกโดยไม้เด่นในชั้นเรือนยอดและชั้นรองเป็นไม้ Deciduous Forest ใบกว้างที่ผลัดใบ ชนิดพันธุ์ในชั้นเรือนยอดประกอบด้วยไม้หลายชนิดจาก Sub formation หลายวงค์และหลายสกุล แต่ไม่มีไม้ในกลุ่มไม้ยาง (Dipterocarpaceae) ปกติไม่มีหญ้าบนพื้นป่าหรือมีอยู่น้อย มักมีไฟป่าทุกปี ไม้ดัชนี้ ป่าชนิดนี้จ าแนกได้จากไม้ดัชนีในชั้นเรือนยอดได้แก่ สัก (Tectona grandis) รกฟ้า (Terminalia alata)สมอภิเพก (T. bellerica) ตะเคียนหนู (Anogeissus acuminate var. lanceolata) มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa) งิ้วป่า (Bombax anceps) ไม้ในสกุลตะแบกและเสลา (Lagerstroemia spp.) สกุลผาเสี้ยน (Vitex spp.) แดง (Xylia xylocarpa) ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ในหลายสังคมย่อยมีไม้ไผ่ที่พลัดใบปรากฏ อยู่ด้วย ชนิดที่ส าคัญในการจ าแนกได้แก่ ไผ่ซาง (Dendrocalamus strictus) ไผ่หก (D. hamiltonii) ไผ่บง (Bambusa nutans) ไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis) และไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata) สภาพแวดล้อม เป็นป่าที่สัมพันธ์กับไฟป่า ดินลึกและอุดมสมบูรณ์พอควร มี ช่วงความแห้งแล้งไม่น้อยกว่าสี่เดือน สังคมย่อย (Association) Smitinand (1977) แบ่งสังคมย่อยตามสภาพภูมิประเทศเป็น: -ป่าเบ็ญจพรรณระดับสูงชื้น (Moist Upper Mixed Deciduous Forest) -ป่าเบ็ญจพรรณระดับสูงแล้ง (Moist Upper Mixed Deciduous Forest) -ป่าเบ็ญจพรรณระดับต่ า (Lower Mixed Deciduous Forest)

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 1-21. 2008. 15

ตารางที่ 2 (ต่อ)

1) ป่าเบญจพรรณ (Mixed อุทิศ กุฏอินทร์ (2542) แบ่งสังคมย่อยโดยยึดไม้เด่นในชั้นเรือนยอดและชั้น Deciduous Forest รองเป็นหลัก ได้แก่ Sub formation (ต่อ) -ป่าเบ็ญจพรรณมีไม้สักผสมไม้ไผ่ -ป่าเบ็ญจพรรณมีไม้สักไม่ผสมไม้ไผ่ -ป่าเบ็ญจพรรณไม่มีไม้สักผสมไม้ไผ่ -ป่าเบ็ญจพรรณไม่มีไม้สักไม่ผสมไม้ไผ่

2) ป่าเต็งรัง (Deciduous ลักษณะในการจ าแนก เป็นสังคมป่าผลัดใบที่มีไม้ในวงค์ไม้ยาง Dipterocarp Forest) (Dipterocarpaceae) ที่ผลัดใบเป็นไม้เด่นในชั้นเรือนยอดบนสุด พื้นป่า Sub formation ประกอบด้วยหญ้าและพืชล้มลุกที่แห้งตายในช่วงฤดูแล้ง ไม้ดัชนี ไม้ที่ใช้ในการจ าแนกสังคมนี้ได้แก่ เต็ง (Shorea obtusa) รัง (S. siamensis) เหียง (Dipterocarpus obtusifolius) พลวง (D. tuberculatus) และยางกราด (D. intricatus) พืชชั้นล่างที่ใช้จ าแนกได้แก่ปรงเหลี่ยม (Cycas siamensis) ไผ่แพ็ค (Arundinaria puslla) และโจด (A. ciliata) สภาพแวดล้อม ขึ้นอยู่ในที่ที่มีดินตื้น เป็นดินลูกรังมีฝนตกน้อย ช่วงความ แห้งแล้งยาวนาน และมีไฟป่าเป็นประจ า สังคมย่อย (Association) อุทิศ ฏุฏอินทร์ (2542) ได้จ าแนกสังคมนี้ออกเป็นสองสังคมย่อย -ป่าเต็งรังสมบูรณ์ (Deciduous Dipterocap High Forest) -ป่าเต็งรังแคระ (Deciduous Dipterocap Scrub Forest)

3) ป่าทุ่ง (Savanna) ลักษณะในการจ าแนก เป็นสังคมพืชที่มีไม้ใหญ่หรือไม้พุ่มหรือทั้งสองกลุ่ม Sub formation ผสมกันและขึ้นอยู่ห่างๆ ในระหว่างไม้เหล่านั้นปกคลุมด้วยหญ้า โดยมี สัดส่วนของพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยหญ้ามากกว่าห้าถึงสิบเท่าที่ปกคลุมด้วยเรือน ยอดไม้ใหญ่และไม้พุ่ม ไม้ดัชนี นอกจากไม้เด่นในป่าเต็งรังและในป่าเบ็ญจพรรณแล้วไม้ที่ใช้เป็นตัว จ าแนกสังคมได้แก่ หนามหัน (Acacia comosa) หนามมะเค็ด (Canthium parvifolium) หนามหัน (Caesalpinia godefroyana) พุดทราป่า (Zizyphus mauritiana) หนามเล็บแมว (Capparis tenera) หนามพรม (Carissa cochinchinensis) ส่วนที่เป็นหญ้าประกอบด้วยกก หญ้าชนิดต่างๆ เฟิร์น และพืชล้มลุกที่มีหัวหลายชนิด สภาพแวดล้อม ปรากฏในที่แห้งแล้งจัด มีดินตื้น และมีไฟป่ารุนแรงเป็น ประจ าทุกปี ที่เป็นธรรมชาติโดยแท้มีอยู่น้อย สังคมย่อย (Association)

16 Utis Kutintara

ตารางที่ 2 (ต่อ)

3) ป่าทุ่ง (Savanna) อุทิศ กุฏอินทร์ (2542) ได้แบ่งป่าทุ่งออกเป็นสองสังคมย่อยตามกลุมไม้เด่น Sub formation (ต่อ) ในสังคม ได้แก่ -ป่าทุ่งเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Savanna) -ป่าทุ่งเบ็ญจพรรณ (mixed Deciduous Savanna) 4) ทุ่งหญ้าเขตร้อน (Tropical ลักษณะในการจ าแนก เป็นสังคมพืชที่เด่นด้วยรูปลักษณ์ของพรรณพืชกลุ่ม Grassland) หญ้า มีไม้ใหญ่และไม้พุ่มน้อยมาก Sub formation พืชดัชนี เป็นพืชที่มีรูปชีวิตในกลุ่ม Therophytes, Hemicriptophytes และ Geophytes สภาพแวดล้อม ปรากกฏในพื้นที่ที่มีดินเค็มจัด ดินตื้น น้ าท่วมขังในบาง ฤดูกาลในบางพื้นที่ มีไฟป่าเป็นประจ าทุกปี สังคมย่อย ยังมิได้มีการจ าแนก

สรุป

การจ าแนกสังคมพืชก็เช่นเดียวกันกับการจ าแนกสิ่งที่มีชีวิต ทั้งนี้ก็เพื่อการสื่อให้เข้าใจที่ตรงกัน การ จ าแนกสิ่งที่มีชีวิตอาจกระท าได้ง่ายกว่าการจ าแนกสังคมพืช ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มพืชในแต่ละพื้นที่ประกอบด้วย พืชมากมายหลายชนิดที่มาอยู่ร่วมกันอย่างสุ่มจึงมีช่วงความแปรผันที่กว้างมาก จึงยากต่อการจัดกลุ่ม นัก นิเวศวิทยาสาขาพืชพยายามที่จะสร้างระบบการจ าแนกสังคมพืชขึ้น ส่วนใหญ่ให้ความส าคัญกับรูปลักณ์และรูป ชีวิตเป็นฐานหลักในการจ าแนกกลุ่มพืชในระดับกว้าง รูปลักษณ์และรูปชีวิตของพืชส่วนใหญ่เป็นการวิวัฒนาการ ตอบสนองต่อปัจจัยแวดล้อมด้านต่างๆ ที่ส าคัญได้แก่ภูมิอาการและถิ่นที่อาศัย การจ าแนกในขั้นละเอียดที่ลึกลง ไปต้องใช้ชนิดพันธุ์ในสังคมซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น ส่วนการจ าแนกในระดับย่อยลง ไปอีกต้องใช้ชนิดพันธุ์เด่นที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนที่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆ หากจ าแนกสังคมพืชคลุมดิน ที่เป็นสังคมถาวรของประเทศไทยตามระบบนี้ โดยให้หน่วบใหญ่เป็นระดับ Formation (สังคมหลัก) รองลงมา เป็น Sub formation (สังคมรอง) และหน่วยย่อยเป็น Association (สังคมย่อย) สังคมพืชคลุมดินของประเทศก็ แบ่งได้เป็นสองสังคมหลัก คือ สังคมพืชหลักไม่ผลัดใบ และสังคมพืชหลักผลัดใบ ในสังคมพืชหลักไม่ผลัดใบประกอบด้วยสังคมรองทั้งสิ้นที่ได้มีการจ าแนกไปแล้ว 8 สังคมรอง คือ 1) ป่า ดงดิบชื้น 2) ป่าดงดิบแล้ง 3) ป่าสน 4) ป่าดงดิบเขา 5) ป่าชายหาด 6) ป่าพรุ 7) ป่าชายเลน และ 8) สังคมพืชในบึง ส่วนสังคมหลักผลัดใบ ประกอบด้วยสังคมรอง 4 สังคมรอง คือ 1) ป่าเบญจพรรณ 2) ป่าเต็งรัง 3) ป่าทุ่ง และ 4) ทุ่งหญ้าเขตร้อน นักนิเวศวิทยาสาขาพืชได้พยายามจัดจ าแนกสังคมย่อยในสังคมรองแต่ละ สังคมไว้บ้างแล้วแต่งยังไม่สมบูรณ์ บางท่านยังใช้ระบบที่ไม่เป็นแนวทางเดียวกัน จึงควรมีการจัดสัมมนาเพื่อ ก าหนดแนวทางที่เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 1-21. 2008. 17

ข้อคิดเห็น ระบบการจ าแนกสังคมพืชโดยทั่วไปใช้กับสังคมพืชที่เป็นสังคมถาวร (climax community) อาจใช้ได้ กับสังคมถาวรน า (pre-climax community) หรือสังคมถาวรหลัง (post-climax community) หรือสังคมถาวร ถูกท าลาย (plagio-climax community) ตามแนวคิดแบบสังคมหนึ่งเดียว (Mono-climax Concept) หรือสังคม ถาวรตามแนวคิดสังคมถาวรหลากหลาย (Poly climax Concept) สังคมพืชที่อยู่ในขั้นของการทดแทนในช่วง สุดท้ายอาจยอมรับได้ที่จะจัดจ าแนกตามระบบนี้ ในการจ าแนกสังคมย่อยควรด าเนินการในทุกสังคมรองและก าหนดระบบการจ าแนกตามหลักการ คือ ใช้พันธุ์ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดบนสุดเละไม้ชั้นรองเป็นหัวข้อในการพิจารณา การจัดท าแผนที่การกระจายของสังคมพืชคลุมดินของประเทศควรเร่งด าเนินการ โดยเฉพาะในพื้นที่ คุ้มครองทั้งหมดของประเทศ เช่น ในอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

เอกสารอ้างอิง ธวัชชัย สันติสุข. 2528. การอนุรักษ์พันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและสังคมพืชภูเขากึ่งอัลไพน์บนดอยเชียงดาว. ใน การ อนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทยในแง่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ โดย ธวัชชัย สันติสุข, เต็ม สมิตินันท์, และ W. Y. Brocskelman. สยามสมาคม, กรุงเทพฯ. p.237-242. อุทิศ กุฏอินทร์. 2542. นิเวศวิทยา: พื้นฐานเพื่อการป่าไม้. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. Allen, J. A. 1871. On the mammals and winter birds of East Florida. Bull. Museum Comp. Zool. II, 3:161-450. Cox, C. B.,I. N. Healy and P. D. Moore. 1976. Biogeography: An ecological and evolutionary approach. Blackwell Scientific Pub., Oxford. Du Rietz, G. E. 1930. Vegetationsforschung auf Soziationsanalytischer Grundlage. Handb. Biol arbeitsmeth. (อ้างตาม Mueller-Dombois and Ellenberg. 1974) Good, R.D. 1964. A geography of flowering plants. (3 rd ed). John Wiley& Sons, New York. Gunther, A.1958.On the zoogeographical distribution of reptiles. London Proc. Zool. Soc.21:373-398. Holdridge, R. L. 1967. Life zone ecology. (2nd ed.). Trop. Res. Center, San Jose, Costa Rica. Huxley, T. H. 1868. On the Classification and distribution of the Alectoromorphae and Heteromorphae. Proc. Zool. Soc., London. p.294-319. Merriam, C. H. 1894. Law of temperature control of geographic distribution of terrestrial mammals and plants. Nat. Geogr. Mag. 6: 229-238. Mueller-dombois, D. and H. Ellenberg. 1974. Aims and methods of vegetation ecology. John Wiley and Sons, New York. Nelson, G. N., G. G. Robinson, R. A. Boolootian. 1967. Fundamental concepts of biology. (2 rd. ed.) John Wiley and Sons, Inc.

18 Utis Kutintara

Shimwell, D. W. 1971. The description classification of Vegetation. Univ. of Washington Press, Seattle. Smith, R. L. 1966. Ecology and field biology. Harper & Row Pub., New York. Smitinand, T. 1977. Vegetation and ground cover of Thailand. The For. Herbarium, Royal For. Dept., Bangkok, Thailand. Solomon, E. P.,L. R. Berg and D. W. Martin. 2002. Biology. (6th. ed). Books/Cole, Thomson Learning. Speed, F. M. 1966. General Biology. Charles E. Merrill Books, Inc., Columbus, Ohio. Udvardy, D. F. M. 1969. Dynamic zoogeography. Van Nostrand Reinhold Comp., New York. Wallace, A. R. 1976. The geographical distribution of animals. (2nd ed.) Reprinted 1962, Hafner, New York. Whitmore, T. C. 1984. Tropical rain forest of the Far East. Clarendon, Oxford.

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 1-21. 2008. 19

ภาคผนวก สังคมพืชคลุมดินของประเทศไทย สังคมพืชหลักไม่ผลัดใบ (Evergreen Formation) สังคมรอง (Sub-formation) สังคมย่อย (Association) 1) ป่าดงดิบชื้น (Moist Evergreen Sub-formation) ก. สังคมป่าดงดิบประเภทไทย (Moist Evergreen Forest Thai Type) ข. สังคมป่าดงดิบประเภทมาเลเชีย (Moist Evergreen Forest Malasian Type) 2) ป่าดงดิบแล้ง (Dry Evergreen Sub-formation) ไม่มีข้อมูล (Non information) 3) ป่าสน (Pine Sub-formation) ก. ป่าสนล้วน (Pine Consociation) ข. ป่าสนผสมเต็งรัง (Pine-Dipterocarp Association) ค. ป่าสนผสมก่อ (Pine-Oak Association) 4) ป่าดงดิบเขา (Hill Evergreen Sub-formation) ก. ป่าดงดิบเขาระดับสูง (Upper Hill Evergreen Association) ข. ป่าดงดิบเขาระดับต่ า (Lower Hill Evergreen Association) ค. ป่าซับอัลไพน์ (Sub alpine Association) 5) ป่าชายหาด (Beach Sub-formation) ก.ป่าสนทะเล (Casuarina Consociation) ข. ป่าชายหาดผสม (Mixed Beach Forest Association) ค. ป่าเสม็ดขาว (Melaleuca Forest Consociation ,สังคมกึ่งถาวร) ง. สังคมป่าหน้าผาชายทะเล (Rocky Cliff Association) 6) ป่าพรุ (Swamp Sub-formation) ก. พรุดินพีท (Peat Swamp Association) ข. ป่าบุ่งป่าทาม (Riverside Swamp Association) 7) ป่าชายเลน (Mangrove Sub-formation) ก. สังคมแสมผสมล าพู (Avicennia- Sonneratia Association) ข.สังคมโกงกาง (Rhizophora Association) ค. สังคมถั่วและรังกะแท้ ((Bruguiera – Kandelia Association) ง. สังคมฝาด-ตะบูนและโปร่ง (Lumitzera-Xylocarpus- Bruguiera Association) 8) สังคมพืชในบึง (Mash and Pond Sub-formation) ไม่มีข้อมูล (Non information)

20 Utis Kutintara

สังคมพืชหลักผลัดใบ(Deciduous Formation) สังคมรอง (Sub-formation) สังคมย่อย (Association) 1) ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Sub-formation) ก. ป่าเบ็ญจพรรณมีไม้สักผสมไม้ไผ่ (Teak Association) ข. ป่าเบ็ญจพรรณมีไม้สักไม่ผสมไม้ไผ่ (Teak with Association) ค. ป่าเบ็ญจพรรณไม่มีไม้สักผสมไม้ไผ่ (Mixed Deciduous with Bamboo Association) ง. ป่าเบ็ญจพรรณไม่มีไม้สักไม่ผสมไม้ไผ่ (Mixed Deciduous without Bamboo Association) 2) ป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Sub-formation) ก. ป่าเต็งรังสมบูรณ์ (Deciduous Dipterocap High Forest Association) ข. ป่าเต็งรังแคระ (Deciduous Dipterocap Scrub Forest Association) 3) ป่าทุ่ง (Savanna Sub-formation) ก. ป่าทุ่งเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Savanna Association) ข. ป่าทุ่งเบ็ญจพรรณ (Mixed Deciduous Savanna Association) 4) ทุ่งหญ้าเขตร้อน (Tropical Grassland Sub-formation) ไม่มีข้อมูล (Non information)

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 1-21. 2008. 21

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 22-30. 2008.

ทรัพยากรพันธุ์พืชวงศ์ขิงในเขตพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ. จังหวัดกาญจนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง Zingiberaceous Plant Genetic Resources in The ‘Plant Genetic Conservation Project under The Royal Initiation of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn (Kanchanaburi)’ and Adjacent Area

ยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา 1 Yingyong Paisooksantivatana จักรพงษ์ รัตตะมณี1 Chakkrapong Rattamanee

ABSTRACT Surveying and collecting of Zingiberaceous plant genetic resources in the ‘Plant Genetic Conservation Project under The Royal Initiation of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn (Kanchanaburi)’ and adjacent area in the western forests were conducted during October 2003 – September 2004 and March 2007 - Febuary 2008. The objective of this project is to reveal and to conserve our plant resource for future development and utilization. Total of 10 genera including Alpinia, Amomum, Boesenbergia, Curcuma, Kaempferia, Elettariopsis, Etlingera, Geostachys, Globba and Zingiber were identified. Two new species were discovered from the area i.e. Globba praecox Chokthaweep., K.J. Williams & Paisooks. and Zingiber cornubracteatum P. Triboun (in ed).

Key words: Zingiberaceae, Plant Germplasm Conservation, Western forests, Kanchanaburi Email address: [email protected], [email protected]

บทคัดย่อ ส ารวจและเก็บตัวอย่างพืชวงศ์ขิงในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ. จังหวัดกาญจนบุรี และ พื้นที่ใกล้เคียงในผืนป่าตะวันตก ระหว่างเดือน ตุลาคม 2546 - กันยายน 2547 และมีนาคม 2550 - กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อทราบแหล่งทรัพยากรพืชและเก็บมาอนุรักษ์ไว้เพื่อการพัฒนาใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป พบพืชวงศ์นี้จ านวน 10 สกุล ได้แก่ Alpinia, Amomum, Boesenbergia, Curcuma, Kaempferia, Elettariopsis, Etlingera, Geostachys, Globba และ Zingiber เป็นพืชชนิดใหม่ 2 ชนิด คือ Globba praecox Chokthaweep., K.J. Williams & Paisooks. และ Zingiber cornubracteatum P. Triboun (in ed.) ค าส าคัญ: พืชวงศ์ขิง, อนุรักษ์พันธุกรรมพืช, ป่าตะวันตก, กาญจนบุรี

1 ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 Department of Horticulture, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok 10900 Yingyong Paisooksantivatana and Chakkrapong Rattamanee 23

ค าน า พรรณพืชวงศ์ขิงส่วนใหญ่เป็นไม้พื้นล่างของป่าในเขตร้อน แต่เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ป่าถูกบุกรุก ท าลายลดลงอย่างรวดเร็วท าให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง พืชในวงศ์ขิงได้รับผลกระทบอย่างมาก บาง สกุล เช่น สกุลกระวาน (Amomum) ซึ่งเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วในป่าธรรมชาติ ในขณะที่บางสกุลเช่น กระเจียว (Curcuma) และกระชาย (Boesenbergia) ถูกขุดออกจากป่า เพื่อน าไป ขายเป็นสินค้าจ านวนมากในแต่ละปีจนท าให้ปริมาณลดลง การศึกษาทางอนุกรมวิธานเพื่อให้ทราบถึง สถานภาพและศักยภาพทางการเกษตรของทรัพยากรพืชวงศ์ขิงในประเทศไทย จึงเป็นสิ่งจ าเป็นที่จะต้อง ด าเนินการโดยรีบด่วน เนื่องจากการศึกษาวิจัยพืชวงศ์ขิงในผืนป่าตะวันตกของประเทศไทยยังมีจ านวนไม่ มากนัก เช่นรายงานการส ารวจของอุไร(2544) และหทัยรัตน์(2544)พบว่ามีพืชวงศ์ขิง 9 สกุล 24 ชนิด ใน บริเวณป่าเต่าด า ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยคบริเวณติดชายแดนประเทศพม่า

วิธีวิจัย ส ารวจพรรณพืชวงศ์ขิงให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกสภาพนิเวศวิทยา ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช อพ.สธ. จังหวัดกาญจนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง ในผืนป่าตะวันตก ทุก 3 เดือน ท าการเก็บ ตัวอย่างให้สมบูรณ์ โดยมีส่วนของใบและดอกหรือผล เพื่อท าตัวอย่างแห้ง ส าหรับส่วนของดอกและช่อ ดอกน ามาดองในแอลกอฮอล์ 70% บันทึกหมายเลขตัวอย่างพืช สถานที่และวันเดือนปีที่เก็บ ระดับความ สูงจากระดับน้ าทะเล (เมตร) สภาพนิเวศน์ ลักษณะทั่วไปของพืช น าตัวอย่างที่ได้มาอบให้แห้งสนิท แล้ว น ามาอาบน้ ายาเชลล์ไดรท์ ป้องกันแมลง โดยผสมกับแคปแทน เพื่อป้องกันเชื้อรา แล้วน ามาอบให้แห้ง สนิทอีกครั้ง น าข้อมูลและตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่ได้ไปตรวจระบุชื่อวิทยาศาสตร์ เก็บตัวอย่างสดเพื่อ น ามาศึกษาศักยภาพ และปลูกอนุรักษ์ไว้ที่ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ผลและวิจารณ์ จากการด าเนินการส ารวจและเก็บตัวอย่างพืชวงศ์ขิงในพื้นที่ในเขตโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชด าริสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อ าเภอไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงในอ าเภอศรีสวัสดิ์และอ าเภอทองผาภูมิ ระหว่างเดือน ตุลาคม 2546 - กันยายน 2547 และระหว่างเดือนมิถุนายน 2550 - กุมภาพันธ์ 2551 สามารถรวบรวมตัวอย่างพืชวงศ์ขิง ได้ 10 สกุล และจ าแนกชนิดได้รวม 33 ชนิด (ตารางที่ 1, 2) ชนิดที่มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง พบ ในทุกพื้นที่ส ารวจได้แก่ Curcuma parviflora Wall. ในขณะที่ Geostachys smitinandii K. Larsen ซึ่ง พบเฉพาะในภาคใต้ ก็พบกระจายพันธุ์ห่าง ๆ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เช่นเดียวกับ Zingiber 24 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 22-30. 2008. cornubracteatum P. Triboun ซึ่งพบครั้งแรกที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็พบกระจายพันธุ์ในเขตอุทยาน แห่งชาติล าคลองงู ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณผืนป่าตะวันตกเป็นพื้นที่ซึ่งรวมเอาความหลากหลายของพืชและ สิ่งมีชีวิตอื่นจากภูมิภาคหิมาลัย อินโดจีน และจากเส้นศูนย์สูตร (มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, 2544) เมื่อพิจารณาความหลากชนิดในพื้นที่ส ารวจพบว่า บริเวณพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืช ฯ อ าเภอ ไทรโยค ซึ่งมีสภาพส่วนใหญ่เป็นป่าไผ่ และป่าเบญจพรรณ พบว่ามีความหลากชนิดของพืชสกุล Kaempferia สูงสุด ในขณะที่บริเวณเหมืองป่าเต่าด าในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยค ซึ่งมีสภาพป่าดิบเขา ผสมป่าไผ่ และป่าเบญจพรรณ พบว่าพืชสกุล Amomum มีความหลากชนิดที่สุด ส่วนสกุล Curcuma และสกุล Zingiber พบว่ามีความหลากชนิดมากที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์และล าคลอง งู ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไผ่

ตารางที่ 1 จ านวนสกุลและชนิดของพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ. จังหวัดกาญจนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงใน อ.ไทรโยค อ.ศรีสวัสดิ์ และอ.ทองผาภูมิ เขตพื้นที่ จ านวนสกุลและชนิดของพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) สกุล (Genera) ชนิด (Species) 1. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตาม พระราชด าริสมเด็จพระเทพฯ (อพ.สธ.) (ช่องเขาขาด อ.ไทรโยค) 7 18 2. อุทยานแห่งชาติไทรโยค (บริเวณเหมืองป่าเต่าด า) 10 24 3. อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ 10 26 4. อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ 8 20 5. อุทยานแห่งชาติล าคลองงู 7 21 6. อุทยานแห่งชาติเขาแหลม 9 18

Yingyong Paisooksantivatana and Chakkrapong Rattamanee 25

ตารางที่ 2 รายชื่อชนิดของพืชวงศ์ขิงที่สามารถระบุชนิดได้

เขตพื้นที่/อุทยานแห่งชาติ

ชื่อสกุล ชื่อชนิด

.

สธ

.

อพ า ป่าเต่าด ทองผาภูมิ เขื่อนศรี นครินทร์ าคลองงู ล เขาแหลม Alpinia A. malaccensis (Burm.) Roscoe  A. zerumbet (Pers.) Burtt & R.M.Sm.  Amomum A. aculeatum Roxb.    A. koenigii C.F.Gmelin   A. rivale Ridl.  A. testaceum Ridl.   Boesenbergia B. longiflora (Wall.) Kuntze    B. pulcherrima (Wall.) Kuntze      B. rotunda (L.) Mansf.   B. siamensis (Gagnep.) Sirirugsa   Curcuma C. comosa Roxb.   C. longa L.  C. parviflora Wall.       C. roscoeana Wall.     Elettariopsis E. curtisii Baker   Etlingera E. littoralis (Koen.) Giseke   Geostachys G. smitinandii K. Larsen  Globba G. albiflora Ridl.   G. pendula Roxb.  G. praecox Chokthaweep., K.J. Williams & Paisooks.  G. substrigosa King ex Backer  Kaempferia K. elegans Wall. ex Baker     K. parviflora Wall. ex Baker     K. roscoeana Wall.  K. rotunda L. 

26 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 22-30. 2008.

ตารางที่ 2 (ต่อ)

เขตพื้นที่/อุทยานแห่งชาติ

ชื่อสกุล ชื่อชนิด

.

สธ

.

อพ า ป่าเต่าด ทองผาภูมิ เขื่อนศรี นครินทร์ าคลองงู ล เขาแหลม Zingiber Z. bisectum D.Fang.  Z. chysostachys Ridl.  Z. corallinum Hance    Z. cornubracteatum P. Triboun (ined.)  Z. gramineum Bl.   Z. idea P. Triboun & K. Larsen  Z. thorelii Gagnep.  Z. zerumbet (L.) Sm.   

การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นพิสูจน์ทราบแหล่งกระจายพันธุ์ของพืชวงศ์ขิงสกุลต่าง ๆในธรรมชาติ ส าหรับ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของแต่ละสกุลนั้นยึดตามข้อมูลที่ Larsen and Larsen (2006) ได้บรรยายไว้ ดังนี้

สกุลขิง (Zingiber) พบพืชสกุลนี้ ที่ระบุได้ทั้งหมด 8 ชนิด โดยมีความหลากชนิดที่สุดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขื่อน ศรีนครินทร์ และล าคลองงู ตามป่าไผ่และป่าโปร่ง ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้าแตกแขนง อวบมีเนื้อ ส่วนเหนือดินเป็นล าต้นเทียม ใบมีจ านวนมาก โคน ก้านใบป่องออก ลิ้นใบยาวหรือสั้น ผิวเรียบหรือมีขน ลักษณะ เด่นของพืชสกุลนี้คืออับเรณูที่ยืด ยาวคล้ายเขา สัตว์ หุ้มรอบก้านเกสรเพศเมียที่ชูเหนืออับเรณู ช่อดอกส่วนใหญ่เกิดจากตาข้างของเหง้า ก้านช่อดอกอาจยาว หรือสั้นจนช่อดอกบางส่วนจมอยู่ในดิน ในชนิดที่มีก้านช่อดอกยาว ใบประดับบนช่อดอกจะซ้อนกันแน่นท าให้ ช่อดอกมีรูปร่างทรงกรวย ส่วนชนิดที่ช่อดอกอยู่ในดิน หรือบางส่วนฝังอยู่ในดิน ใบประดับช่อดอกจะหลวม กว่า ที่ปลายช่อดอกจะมีชั้นเมือกหนาป้องกันดอกที่ยังอ่อน สกุลกระชาย (Boesenbergia) ในการศึกษาครั้งนี้พบพืชสกุลนี้ระบุได้ 4 ชนิด กระจายพันธุ์ทั่วไปตามป่าโปร่งและป่าไผ่ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ขนาดเล็ก เหง้าสั้น อวบมีเนื้อ ล าต้นเทียมสั้น ใบเรียงติดกันที่ฐาน ช่อดอกอาจ ออกที่ปลายยอดระหว่างซอกใบ หรือแตกจากด้านข้างจาก โคนของล าต้นเทียม ดอกเริ่ม บานจากยอดของช่อ เชิงลด มีใบประดับรองรับดอกแต่ละดอก ใบประดับบางและเหลื่อมซ้อนติดกัน กลีบปากมีรูปร่างที่ Yingyong Paisooksantivatana and Chakkrapong Rattamanee 27

หลากหลาย ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นถุง สีขาวถึงสีครีม และมีจุดสีม่วง พืชสกุลนี้พบทั่วไปในเอเชียอาคเนย์ มี ศูนย์กลางความหลากหลายอยู่สองแหล่งคือ ในประเทศไทยและที่เกาะบอร์เนียว ซึ่งสามารถพบพืชสกุลนี้ที่ เป็นพืชเฉพาะถิ่นได้จ านวนมากในทั้งสองศูนย์กลาง โดยเฉพาะพื้นที่เขาหินปูน สกุลเปราะ (Kaempferia) พบพืชสกุลนี้ระบุชนิดได้ 4 ชนิด โดยพบมากที่สุดในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ฯ ที่ช่องเขา ขาด อ.ไทรโยค ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดเล็ก เหง้าสั้นมีรากสะสมอาหาร ใบจ านวนน้อย เกิดจากเหง้าใต้ดิน ผิวใบ ด้านบนมักเรียบลื่น ด้านล่างเขียวเข้มถึงม่วง ดอกขาวหรือม่วง กลีบข้างที่เปลี่ยนจากเกสรเพศผู้เป็นหมันมี ขนาดใหญ่ กลุ่มหนึ่งมีกลีบปากเป็นสองแฉกลึกรวมกับกลีบข้างจากเกสรเพศผู้เป็นหมัน รวมเป็นดอกแบน ราบ ดูคล้ายกับเป็นดอกที่มีสี่กลีบ บางชนิดดอกคล้ายรูปแตร ปากกว้าง รยางค์อับเรณูด้านบนเด่นสะดุดตา และมักมีสี พืชสกุลนี้กระจายทั่วไปในเอเชียเขตร้อนโดยที่ศูนย์กลางการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตมรสุมของ เอเชีย รวมทั้งประเทศไทยที่มีจ านวนชนิดอยู่มาก ส่วนใหญ่ในสกุลนี้จะมีดอกจ านวนมาก ท าให้สามารถพบ ทั้งดอกบานและผลสุกได้พร้อมกัน สกุลกระเจียว (Curcuma) พบพืชสกุลนี้ ระบุได้ 4 ชนิด โดยพบหลากชนิดที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติล าคลองงู ตามป่าไผ่และ ป่าเบญจพรรณ ศูนย์กลางความหลากหลายของสกุลนี้อยู่แถบมรสุมของทวีปเอเชีย ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่ง ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายมากที่สุด บางชนิดที่พบทางภาคเหนือจะมีช่อดอกในฤดูแล้ง และจะเกิดต้นใหม่ ขึ้นมาภายหลัง แต่ส่วนใหญ่จะออกที่ปลายล าต้นเทียมเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ ไม้ล้มลุกขนาดเล็กอายุหลายปี มีเหง้าที่พัฒนาดีและมักมีรากสะสมอาหาร ล าต้นเทียมมักสั้นและ เกิดจากส่วนเหง้า ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก ออกที่ปลายล าต้นเทียมหรือแยกเกิดขึ้นเป็นล าใหม่จากเหง้า ใบ ประดับกว้าง มักจะโค้งลง ใบประดับใบล่างมักจะเชื่อมกันที่ฐานเกิดเป็นช่องคล้ายกระเป๋าหน้าท้อง หายากที่ ใบประดับล่างจะไม่เชื่อมติดกัน แต่ละกระเป๋ามีช่อดอกย่อย และมีกลีบบาง ๆ หุ้มดอกอ่อนอยู่จนกระทั่งผลแก่ ส่วนใหญ่ที่ส่วนปลาย ช่อดอก มีใบประดับที่ไม่มีช่อดอกย่อยอยู่ และมีสีสันมากกว่าใ บประดับชั้นล่างลงมา เรียกใบประดับนี้ว่า coma ดอกจะมีหลายสีคือ ขาว เหลือง แดง ม่วง หรือน้ าเงิน อับเรณูส่วนใหญ่จะเป็นแบบ ติดไหวได้ บางครั้งมีรยางค์ด้านบนสั้น ๆ และมีหลายชนิดที่มีรยางค์ที่โคนอับเรณูสองอัน

สกุลหงส์เหิน (Globba) ในพื้นที่ส ารวจพบ ระบุได้ 4 ชนิด ซึ่ง G. praecox เป็นพืชชนิดใหม่ของโลกพบครั้งแรกที่บริเวณป่า เต่าด า ตามพื้นที่ร่มชื้นข้างร่องน้ า มีลักษณะเด่นตรงช่อดอกเกิดก่อนใบในช่วงต้นฤดูฝน จากนั้นใบจึงเจริญ ตามมา

28 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 22-30. 2008.

ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดเล็ก มีเพียงบางชนิดที่สูงมากกว่า 1 เมตร เหง้าสั้น ช่อดอกออกที่ปลายล า ต้นเทียม มีลักษณะหลากหลาย จากช่อเชิงลดอัดแน่น มีใบประดับเหลื่อมซ้อนกัน จนถึงแบบช่อโปร่งหรือแบบ ช่อกระจุกแยกแขนงกระจายห่างกัน รวมเป็นช่อดอก ใบประดับสีเขียว ขาว หรือม่วง ดอกมีสีหลากหลาย ตั้งแต่ขาวและม่วง ถึงสีเหลือง ส้ม และแดง วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอดหรือรูประฆัง หลอดดอกยาว มีพูเป็นรูปคุ่ม กลีบข้างที่พัฒนาจากเกสรเพศผู้เป็นหมันเห็นได้ชัดเจน กลีบปากหยักเป็นสองพู หรือกลีบเรียบ เชื่อมติดกับ ก้านชูอับเรณูเหนือกลีบข้าง ก้านชูอับเรณูและก้านเกสรเพศเมียยืดยาวออก ส่วนปลายโค้งคล้ายหน้าไม้ เมื่อ ดอกบานเต็มที่ ก้านเกสรเพศเมียจะหลุดเป็นอิสระออกมาคล้ายเป็นสายของหน้าไม้ อับเรณูไม่มีรยางค์ ด้านบนแต่จะมีรยางค์ด้านข้างหรือไม่มีก็ได้ ผลเสดแบบแคปซูล เมล็ดมีเยื่อหุ้ม รูปร่างและพื้นผิวผล หลากหลาย มีหลายชนิดที่ดอกบางดอกบนช่อดอกหรือทั้งหมดสามารถเปลี่ยนเป็นหัวย่อยอยู่บนช่อดอก หรือ บางครั้งอาจเกิดในซอกใบประดับด้วย พืชสกุลนี้พบได้ในสังคมพืชทุกแบบในประเทศไทยและเพื่อนบ้าน ตั้งแต่ป่าลึกในป่าไม่ผลัดใบทางภาคใต้ จนถึงป่าเต็งรังและป่าสนทางภาคเหนือ ซึ่งพบได้จนถึงระดับ 2,000 เมตร บางชนิดพบได้ตามทุ่งหญ้าหรือริมทางในป่า สกุลข่า (Alpinia) พบระบุชนิดได้ 2 ชนิด ตามป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างร่มชื้นในเขตป่าเต่าด าและอุทยานแห่งชาติ ทองผาภูมิ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ต้นสูง เหง้าหนา แข็งแรง เป็นสกุลที่มีความสูงมากที่สุดในวงศ์ คือ Alpinia boia จากหมู่เกาะฟิจิ สูงได้มากกว่า 10 เมตร ในประเทศไทย แม้ว่าจะต่ ากว่ามากแต่ก็สูงได้ถึง 2-3 เมตร ช่อ ดอกออกที่ปลายล าต้นเทียม วงกลีบดอกเป็นท่อ ขนาดใกล้เคียงกับวงกลีบเลี้ยง กลีบปากอาจเป็นถุง หรือ กลีบเรียบ หรือหยักเป็นพู มักมีสีเขียว ขาว ม่วง หรือ เหลือง-ส้ม มีแต้มสีเข้มหรือเส้นสีแดง ผลเป็นแคปซูล กลมหรือรี เกลี้ยงหรือมีขน ข้างในมีเมล็ดสีด าจ านวนมาก มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาว ช่อดอกมีรูปร่างหลากหลาย จากช่อเชิงลดมีไม่กี่ดอก จนถึงช่อกระจุกแยกแขนงที่มีกิ่งก้านมากมาย ดอกขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ และ มันวาว สกุลกระวาน (Amomum) พบในพื้นที่ส ารวจและระบุชื่อได้ 4 ชนิด โดยพบมากในพื้นที่ป่าเต่าด าและทองผาภูมิ เป็นสกุลที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ต้นสูงได้ถึง 3 เมตร แต่มีเหง้าที่ผอมเล็ก อยู่ใต้ผิวดิน บางชนิดเป็นรากค้ ายัน ล าต้นเทียมมีใบตั้งแต่ที่ความสูง 2/3 ของล าต้นขึ้นไป ช่อดอกมีก้านสั้น หรือในบางชนิดช่อดอกจมอยู่ใต้ดิน มองเห็นเฉพาะส่วนบนของช่อดอก ไม่มีวงใบประดับอยู่ใต้ช่อดอก ใบ ประดับย่อยเป็นหลอด กลีบปากเว้าเข้าด้านใน สั้นและกว้าง สีขาวหรือสีเหลือง มีแถบสีแดง วงเกสรเพศผู้สั้น กว่ากลีบปาก รยางค์ด้านบนของอับเรณูขนาดเล็กหรือพัฒนาดี เช่นบางชนิดเป็นรยางค์รูปคล้ายหู ออกจาก ปลายอับเรณูทั้งสองข้าง ผลมี 2 แบบ ผลผนังเรียบบาง แห้งเมื่อแก่ และอีกแบบเป็นผลผนังหนา มีหนามหรือ เป็นริ้ว ลักษณะของผลเป็นลักษณะส าคัญที่สามารถใช้ในการตัดสินใจระบุชนิดได้อย่างถูกต้องในหลายชนิด Yingyong Paisooksantivatana and Chakkrapong Rattamanee 29

สกุลปุดสิงห์ (Elettariopsis) ส ารวจพบเพียง 1 ชนิด ในพื้นที่ป่าเต่าด าและอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ตามที่ร่มและชื้นเย็น เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ขนาดเล็กถึงชนาดกลาง เหง้าเล็กยาว ล าต้นเทียมสูง 10-20 เซนติเมตร อาจสูงได้ถึง 2 เมตร แต่พบน้อยมาก มีใบน้อย เป็นกระจุกอยู่ใกล้ราก มักจะมีก้านใบผอมยาว แผ่นใบเรียว จนถึงปลายใบที่ยืดแหลมยาวคล้ายหาง ดอกออกจากด้านข้างของเหง้า ก้านช่อดอกและแกนช่อดอกทอด นอนอยู่ใต้ผิวดิน ช่อดอกไม่แน่น คล้ายกับในสกุลกระวาน บางชนิด กลีบปากกว้าง ตรง เป็นพูหลายแบบ หรือ เรียบ สีขาว มีแถบสีแดง รยางค์อับเรณูด้านบนขนาดใหญ่ มักเป็นสี่เหลี่ยม หลายชนิดจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของน้ ามันหอมระเหย บางชนิดมีกลิ่นรุนแรงคล้ายกลิ่นพืชสกุลมะนาว บางชนิดกลิ่นฉุน เหมือนแมลง พืชสกุลนี้ส่วนใหญ่พบได้ทั่วไปในป่าทางภาคใต้ สกุลปุดเต็ม (Geostachys) การส ารวจครั้งนี้พบเพียง 1 ชนิดในเขตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ตามที่ลาดชันสูงและป่า เบญจพรรณ ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดกลาง สูงได้ถึง 3 เมตร มีล าต้นเทียมอยู่หลายต้นบนเหง้าเดียวกัน เหง้าชู ขึ้นเหนือผิวดิน โดยมีรากค้ ายันจ านวนมาก ใบส่วนใหญ่เป็นรูปใบหอกแคบ ช่อดอกแตกจากเหง้า ไม่ฝังอยู่ใต้ ดิน แต่มีก้านช่อดอกสั้น หุ้มด้วยกาบ แข็งสีแดง แกนกลางช่อดอกตั้งตรง หรือโค้ง ดอกกระจายห่างเท่า ๆ กัน อยู่บนทุกด้านของแกนช่อดอก หรือดอกอาจเรียงชี้ขึ้นอยู่ด้านเดียวกัน ใบประดับเหลื่อมซ้อนกันหลวม ๆ มองเห็นแกนกลางได้ ดอกสีเหลืองหรือสีฟางข้าว มักมีแถบหรือจุดประสีแดงอยู่ด้วย กลีบปากส่วนใหญ่มัก แยกเป็น 3 พู ยาวกว่าพูของวงกลีบดอกเล็กน้อย พืชในสกุลนี้ส่วนใหญ่อยู่บนภูเขาทางภาคใต้ สกุลดาหลา (Etlingera) ในการส ารวจครั้งนี้พบจ าแนกได้ 1 ชนิด กระจายพันธุ์ในป่าเต่าด าและอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ตามที่ชื้นริมบึงน้ า พืชสกุลนี้สูงได้ถึง 8 เมตร มีเหง้าใหญ่แข็งแรง และอาจมีรากค้ ายัน ช่อดอกแตกออกมาจากเหง้า ห่างจากล าต้นเทียม ถ้าแบ่งตามลักษณะของช่อดอกจะแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ช่อดอกบางส่วนฝังอยู่ใต้ดิน มีแต่เฉพาะดอกที่โผล่พ้นขึ้นมาจากดิน อีกกลุ่มคือ ช่อดอกมีก้านช่อยาวโผล่พ้นขึ้นมาจากดิน ตัวช่อดอกเป็น รูปกลม หรือรูปกระสวย ล้อมรอบด้วยวงใบประดับที่เห็นได้ชัดเจน ใบประดับย่อยมักเป็นหลอด ด้านปลาย กลีบปากจะโค้งตรงหลังจากดอกบาน กลีบปากแต่ละชนิดจะต่างกัน อาจเป็นพูหลายแบบหรือกลีบเรียบ สี แดงหรือแดงและมีสีส้มที่ขอบกลีบ ก้านชูอับเรณูสั้นมาก ทั้งวงเกสรตัวผู้สั้นกว่ากลีบปากมาก กลีบปากและ ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นท่อแยกอยู่เหนือกลีบดอก ไม่มีรยางค์ด้านบนอับเรณู ผลเป็นแบบแคปซูลไม่แตก บางชนิดผลฝังอยู่ใต้ดิน บางครั้งผลจะเชื่อมติดกับเป็นผลรวมขนาดใหญ่ คล้ายผลเตย ส่วนใหญ่กระจายใน ป่าฝนทางภาคใต้ของไทย

30 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 22-30. 2008.

พืชวงศ์ขิงที่ส ารวจพบ เป็นพืชที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพืชปลูกที่ส าคัญในกลุ่มเครื่องเทศและ สมุนไพรหลายชนิด เช่น ข่าป่า ในสกุล Alpinia, สกุลกระวานและเร่ว ( Amomum), กระชายป่า (Boesenbergia ) ซึ่งพบมากในพื้นที่นี้ รวมทั้งยังมีพืชกลุ่ม ขิง ไพล และกระทือ (Zingiber) ขมิ้น ปทุมมา กระเจียว (Curcuma) เป็นต้น ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความหลากหลายของ ทรัพยากรพันธุกรรมพืชวงศ์ขิงเป็นอย่างมาก และยังพบพืชชนิดใหม่ของโลกจ านวน 1 ชนิด คือ Globba praecox Chokthaweep., K.J. Williams & Paisooks. (Choketaweepanich et al., 2005) และพบพืชที่มี ถิ่นฐานการกระจายพันธุ์ใหม่ (new locality) 1 ชนิดคือ Zingiber cornubracteatum ที่อุทยานแห่งชาติเขื่อน ศรีนครินทร์ (หน่วยดงใหญ่) และที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลม (หน่วยลิเจีย) มีการพบขิงชนิดนี้ครั้งแรกที่จังหวัด แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นชนิดใหม่ของโลกโดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ (ติดต่อส่วนตัว) ทรัพยากรเหล่านี้สามารถ น ามาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรง เช่น ใช้รับประทานเป็นผัก สมุนไพร หรือพัฒนาเป็นไม้ประดับเพื่อเป็น ทางเลือกให้เกษตรกรปลูก หรือใช้ประโยชน์ทางอ้อม เช่น ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจชนิดเดิมให้มี คุณสมบัติดีขึ้น เช่น พืชในสกุล Boesenbergia, Curcuma หรือ Zingiber สามารถน ามาใช้ปรับปรุงพันธุ์ กระชาย ขิง หรือขมิ้น ให้ต้านทานโรครากเน่าได้

สรุปและเสนอแนะ พบพืชวงศ์ขิงจ านวน 10 สกุล ระบุชื่อวิทยาศาสตร์ได้ 33 ชนิด เป็นพืชชนิดใหม่ 2 ชนิด คือ Globba praecox Chokthaweep., K.J. Williams & Paisooks. และ Zingiber cornubracteatum (in ed.) ในจ านวน นี้มีพืชที่อยู่ในสกุล Alpinia, Amomum, Boesenbergia, Curcuma, Kaempferia, Elettariopsis, Etlingera, Geostachys, Globba และ Zingiber ซึ่งการส ารวจยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดอย่างละเอียด จ าเป็นต้อง ส ารวจซ้ าอีกหลายครั้งให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และควรเก็บตัวอย่างที่มีชีวิตมาเพื่อการศึกษาและใช้ประโยชน์ ทางการเกษตรเพิ่มเติมต่อไป

เอกสารอ้างอิง มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. 2544. ป่าตะวันตก: ป่าใหญ่ผืนสุดท้ายของประเทศไทย. โรงพิมพ์เดือนตุลา, กรุงเทพฯ. หทัยรัตน์ โชคทวีพาณิชย์. 2544. การส ารวจพรรณพืชวงศ์ขิงในป่าเต่าด า จ.กาญจนบุรี. ปัญหาพิเศษปริญญาโท คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อุไร จิรมงคลการ. 2544. ศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพรรณพืชบริเวณป่าเต่าด า จังหวัด กาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Choketaweepanich, H., K. Williams, and Y. Paisooksantivatana. 2005. A highly unusual new species of Globba (Zingiberaceae) from Thailand. Harvard Paper in Botany, 10(1): 57-60. Larsen, K. and S.S. Larsen. 2006. Gingers of Thailand. Queen Sirikit Botanic Garden, The Botanical Garden Organization, Ministry of Natural Resources and Environment.

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 31-39. 2008

การศึกษาความหลากชนิดของพรรณไม้วงศ์ยางในป่าฮาลา-บาลา จังหวัดยะลาและนราธิวาส Studies on Species Diversity of Dipterocarpaceae in Hala-Bala Forest, Yala and Narathiwat Provinces

มานพ ผู้พัฒน์ 1 Manop Poopath ดวงใจ ศุขเฉลิม 2 Duangchai Sookchaloem ABSTRACT Studies on species diversity of Dipterocarpaceae in Hala-Bala Forest were carried out based on their morphological characters, ecology, ecological distribution, key to genera and species. Two hundred and twenty specimens were collected during April 2004 to December 2006. Seven genera, fourty three species and one subspecies were found as follows: Anisoptera (3 species), Dipterocarpus (8 species), Vatica (8 species), Neobalanocarpus (1 species), Parashorea (1 species), Hopea (8 species), and Shorea (14 species, 1 subspecies). Sixteen species and one subspecies are newly recorded for Thailand. Therefore 78 species and 1 subspecies of Dipterocarpaceae were enumerated for Thailand. They were grouped into the newly described section: section Brachypterae F. Heim and subsection Sphaerocarpae (F. Heim) P.S. Ashton. In addition, three species are proposed to be new locality record of Yala and Narathiwat provinces.

Key word : Dipterocarpaceae, Species Diversity, Hala-Bala Forest, Yala and Narathiwat Email address: [email protected] บทคัดย่อ การศึกษาความหลากชนิดของพรรณไม้วงศ์ยางในป่าฮาลา-บาลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ สัณฐานวิทยา นิเวศวิทยา และนิเวศวิทยาการกระจายพันธุ์ รวมทั้งจัดท ารูปวิธานจ าแนกสกุลและชนิด โดยการ ส ารวจเก็บตัวอย่างพรรณไม้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2547 ถึงธันวาคม 2549 จ านวน 220 ตัวอย่าง พบไม้วงศ์ยาง ทั้งสิ้น 7 สกุล 43 ชนิด และ 1 ชนิดย่อย ได้แก่ สกุลกระบาก ( Anisoptera) 3 ชนิด สกุลยาง ( Dipterocarpus) 8 ชนิด สกุลพันจ า ( Vatica) 8 ชนิด สกุลตะเคียนชันตาแมว ( Neobalanocarpus) 1 ชนิด สกุลไข่เขียว (Parashorea) 1 ชนิด สกุลตะเคียน (Hopea) 8 ชนิด และสกุลสยา (Shorea) 14 ชนิด กับ 1 ชนิดย่อย การศึกษาครั้ง นี้พบว่ามีพืชที่พบเป็นครั้งแรกของประเทศไทย (new record) 16 ชนิด กับ 1 ชนิดย่อย ดังนั้นท าให้ในปัจจุบันจ านวน ไม้วงศ์ยางในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 78 ชนิด 1 ชนิดย่อย การพบพืช new record และการจ าแนกชนิดตามรูปวิธาน ของ Ashton (1982) ส่งผลให้เป็นพืช กลุ่มใหม่ (new sectional record) 1 กลุ่ม (Brachypterae F. Heim) และกลุ่ม ย่อยใหม่ (new subsectional record) 1 กลุ่มย่อย (Sphaerocarpae (F. Heim) P.S. Ashton) นอกจากนี้พบว่ามี 3 ชนิด เป็นพืชที่พบเป็นครั้งแรกของจังหวัดยะลาและนราธิวาส (new locality record)

1 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ Department of National park, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. 2 ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; Forest Biology Department, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok.

32 Manop Poopath and Duangchai Sookchaloem

ค าน า พรรณไม้วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) เป็นพืชที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย และภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากความหลากชนิด และมีอยู่อย่างมากมาย เนื้อไม้นิยมใช้ในอุตสาหกรรมไม้ หลายประเภทเช่น ก่อสร้าง ต่อเรือ ไม้อัด ไม้บาง ดังนั้นไม้วงศ์ยางจึงถูกตัดมาใช้ประโยชน์เป็นจ านวนมาก และมีจ านวนลดลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีกฎหมายคุ้มครองให้เป็นไม้หวงห้ามแล้วก็ตาม Pooma (2003) รายงานว่าประเทศไทยพบไม้วงศ์ยางทั้งสิ้น 8 สกุล 62 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่พบบริเวณภาคใต้ Symington (1943) กล่าวว่าศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของไม้วงศ์ยางอยู่บนเกาะบอร์เนียวพบมากถึง 9 สกุล 276 ชนิด รองลงมาคือคาบสมุทรมาเลเซียพบ 9 สกุล 168 ชนิด ซึ่งตั้งอยู่ตอนใต้และติดต่อกับผืนป่าฮาลา-บาลา ใน จังหวัดยะลาและนราธิวาส จากการตรวจสอบตัวอย่างพรรณไม้แห้งในพิพิธภัณฑ์พืช ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เก็บมา จากพื้นที่แห่งนี้พบทั้งสิ้น 6 สกุล 26 ชนิด ทว่าจากการศึกษาของ Symington (1943) พบไม้วงศ์ยางบริเวณ รัฐชายแดนที่ติดต่อกับจังหวัดยะลา และนราธิวาสของไทยมากถึง 8 สกุล 84 ชนิด จึงเป็นไปได้ที่การศึกษาไม้ วงศ์ยางในป่าแห่งนี้ยังไม่สมบูรณ์พอ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความยากต่อการเข้าถึงพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นความ ห่างไกลในการเดินทาง ความกว้างขวางของป่า ตลอดจนปัญหาความไม่สงบจากการก่อการร้าย แต่ ความส าคัญในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่แห่งนี้ถือได้ว่ามีมากพอที่จะน ามากล่าว อ้างไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าป่าแห่งอื่นๆ ของไทย เพราะปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่ารอบด้านโดยอาศัยสถานการณ์ ดังกล่าวเป็นโอกาส ความเป็นเอกลักษณ์ของป่าที่มีพรรณพืชแบบมาเลเซีย ( Malesian floristic region) ซึ่ง พบตั้งแต่จังหวัดสงขลาตอนใต้ลงมา (Steenis, 1950) โดยร้อยละ 80 ของพื้นที่ป่าแบบนี้ คือ ป่าฮาลา-บาลา อันเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นผืนใหญ่ติดต่อกันและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง การศึกษาไม้ วงศ์ยางในครั้งนี้จึงน่าจะเป็นการน าเสนอข้อมูลอันเป็นตัวแทนของป่าฮาลา-บาลา หรือข้อมูลใหม่ของประเทศ ไทยได้เป็นอย่างดี น าไปสู่การตระหนักถึงคุณค่าของผืนป่าและการอนุรักษ์ทรัพยากรอื่นๆ ที่มีค่าต่อไป

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อทราบความหลากชนิด (species diversity) และจัดท ารูปวิธานจ าแนกสกุลและชนิด (key to genera and species) ของพรรณไม้วงศ์ยางในป่าฮาลา-บาลา 2. เพื่อศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา (morphology) นิเวศวิทยา (ecology) นิเวศวิทยาการกระจาย พันธุ์ (ecological distribution) อุปกรณ์

ถุงพลาสติกเก็บตัวอย่างพรรณไม้ กรรไกรตัดกิ่ง กล้องถ่ายภาพ แอลกอฮอล์ 95 % น้ ายากันเชื้อรา เวอร์เนียคาลิปเปอร์ เครื่องมือจับพิกัด แผ่นป้ายหมายเลขตัวอย่าง ขวดเก็บตัวอย่าง แบบฟอร์มบันทึกข้อมูล กล้องส่องทางไกล กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ แผงอัดพรรณไม้ กระดาษแข็ง

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 31-39. 2008 33

วิธีการ 1. วางแผนการศึกษา 1.1 ค้นหาข้อมูลพื้นที่ศึกษา และการศึกษาพรรณไม้วงศ์ยางที่เคยมีมาในพื้นที่ศึกษาจากเอกสาร และตัวอย่างพรรณไม้แห้งในพิพิธภัณฑ์พืช 1.2 วางแผนการด าเนินงานและการเก็บข้อมูล

2. การปฏิบัติงานภาคสนาม 2.1 เก็บตัวอย่างพรรณไม้ในพื้นที่ศึกษาเดือนละ 1 ครั้งๆ ละประมาณ 2 สัปดาห์ให้ทั่วทุกสังคมพืช และผืนป่า 2.2 บันทึกข้อมูลนิเวศวิทยา สัณฐานวิทยา ถ่ายภาพ และเก็บตัวอย่างพืช

3. การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ 3.1 น าตัวอย่างพืชที่เก็บมาจัดท าเป็นตัวอย่างพิพิธภัณฑ์พืช ( herbarium specimen) 3.2 วินิจฉัยตัวอย่างแห้งหรือตัวอย่างดอง(ดอก) โดยเปรียบเทียบกับเอกสารพรรณพฤษชาติ และ ตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์พืช

4. สรุปผลการศึกษา วิเคราะห์ วิจารณ์ผลการศึกษา และจัดท ารูปวิธานพรรณไม้วงศ์ยางของป่าฮาลา-บาลา

สถานที่ท าการศึกษาและระยะเวลาท าการศึกษา ส ารวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้วงศ์ยางในพื้นที่ป่าฮาลา-บาลา ซึ่งมีพื้นที่ 836,000 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่อ าเภอบันนังสตา เบตง ธารโต จังหวัดยะลา และอ าเภอแว้ง สุคิริน จะแนะ ศรีสาคร จังหวัด นราธิวาส วิเคราะห์ข้อมูลและปฏิบัติงานในหอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ( BKF) และห้องปฏิบัติการภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะเวลาท าการศึกษา เริ่มท าการศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ถึง ธันวาคม 2549

ผลการศึกษา การศึกษาไม้วงศ์ยางในป่าฮาลา-บาลา สามารถเก็บตัวอย่างพืชได้ประมาณ 220 ตัวอย่าง พบไม้วงศ์ ยางซึ่งระบุชนิดได้ตามรูปวิธานของ Symington (1943) และ Ashton (1982) ทั้งสิ้น 7 สกุล 43 ชนิด 1 ชนิด ย่อย ในจ านวนนี้มี 16 ชนิด กับอีก 1 ชนิดย่อย เป็นพืชที่มีการศึกษาพบเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ( new record) และมี 3 ชนิดเป็นพืชที่พบเป็นครั้งแรกของจังหวัดยะลาและนราธิวาส (new locality record) การพบ new record และการจ าแนกชนิดตามรูปวิธานของ Ashton (1982) พบพืชกลุ่มย่อยใหม่ (new subsectional record) 1 กลุ่มย่อย และพืชกลุ่มใหม่ของไทย (new sectional record) 1 กลุ่ม นอกจากนี้ยังมีอีก 2 ตัวอย่างที่ ยังไม่สามารถระบุชนิดได้คือ Hopea sp.1 ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นพืชชนิดใหม่ (new species) และ Vatica sp.1 ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นพืชชนิดย่อยใหม่ (new subspecies) ของ Vatica umbonata (Hook.f.) Burck บัญชี

34 Manop Poopath and Duangchai Sookchaloem

รายชื่อไม้วงศ์ยางที่พบในการศึกษานี้มีรายละเอียดและปรากฏตาม Table 1 และรูปวิธานจ าแนกสกุลไม้วงศ์ ยางที่พบมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

รูปวิธานจ าแนกสกุลไม้วงศ์ยางในป่าฮาลา-บาลา 1. ดอกและผลมีกลีบเลี้ยงเรียงจรดกันที่โคน รังไข่อยู่กึ่งใต้วงกลีบ 1/4-1/2 ส่วน เผ่ายาง (Tribe Dipterocarpeae) 2. ช่อดอกแบบกระจะ หรือแบบช่อแยกแขนงที่มีช่อดอกย่อยแบบกระจะ เกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่มสีขาว หรือสีน้ าตาลอ่อน ปีกยาวของผลมีเส้นปีกชัดเจน 3 เส้น 3. กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลืองอมขาว ยาวไม่เกิน 1 ซม. อับเรณูยาวไม่เกิน 2.5 มม. ทั้งผลฝังอยู่ใน ฐานรองผล กลีบเลี้ยงแยกถึงโคน เส้นปีกย่อยแบบขั้นบันได 1. สกุลกระบาก Anisoptera( ) 3. กลีบดอกสีขาวมีแถบตามยาวสีชมพูเข้มหรือสีส้มคาดกลาง ยาวเกินกว่า 2.5 ซม. อับเรณูยาว มากกว่า 4 มม. ผลมีหลอดกลีบเลี้ยงโอบรอบ เฉพาะโคนผลฝังอยู่ในฐานรองผล เส้นปีกย่อย แบบร่างแห 2. สกุลยาง (Dipterocarpus) 2. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงที่มีช่อดอกย่อยไม่แน่นอนระหว่างช่อกระจะ-ช่อกระจุก มีขนสั้นนุ่มสีน้ าตาลแดง ปีกยาวของผลมีเส้นปีกชัดเจน 5-7 เส้น หรือปีกไม่พัฒนา เป็นเพียงติ่งแข็งและสั้นกว่าผล 3. สกุลพันจ า (Vatica) 1. ดอกและผลมีกลีบเลี้ยงเรียงซ้อนเหลื่อมกันมากหรือน้อยที่โคน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบเผ่าสยา (Tribe Shoreae) 4. ดอกหรือผลมีกลีบเลี้ยงซ้อนเหลื่อมกันเล็กน้อย ผิวผลมีช่องอากาศจ านวนมาก ผลมีปีกยาวใกล้เคียง กัน 5 ปีก อับเรณูมีขนสั้นปกคลุม 4. สกุลไข่เขียว (Parashorea) 4. ดอกหรือผลมีกลีบเลี้ยงซ้อนกันมาก ผิวผลเรียบ ผลมีหรือไม่มีปีก อับเรณูเกลี้ยง 5. อับเรณูรูปขอบขนานแกมรูปแถบ ยาวประมาณ 2 มม.ปลายมีรยางค์สั้นกว่า 0.1 เท่าของความ ยาวอับเรณู ผลรูปไข่ หรือรูปทรงกระบอก ไม่มีปีก แต่เป็นกลีบแข็งหุ้มที่โคน 5. สกุลตะเคียนชันตาแมว (Neobalanocarpus) 5. อับเรณูรูปค่อนข้างกลม หายากที่มีรูปขอบขนาน ยาว 0.3-0.5 (1) มม.ปลายมีรยางค์ยาวกว่า 0.5 เท่าของความยาวอับเรณู ผลมีปีกยาวใกล้เคียงกันหรือยาวกว่าผล หายากที่ไม่มีปีก ซึ่งกลีบ เลี้ยงจะหุ้มผลมิด 6. ผลมี 2 ปีกยาว และ 3 ปีกสั้น ถ้าไม่มีปีก จะเป็นเพียงกลีบเลี้ยงแข็งหนาหุ้มผลมิด 6. สกุลตะเคียน (Hopea) 6. ผลมี 3 ปีกยาว และ 2 ปีกสั้น 7. สกุลสยา(Shorea)

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 31-39. 2008 35

Table 1. Species of Dipterocarpaceae in Hala-Bala Forest, Yala and Narathiwat Provinces No. Section / Subsection Species New taxa 1 Sect. Anisoptera Anisoptera curtisii Dyer ex King 2 A. laevis Ridl. New record Sect. Glabrae 3 A. scaphula (Roxb.) Kurz New locality record 4 Dipterocarpus acutangulus Vesque New record 5 D. crinitus Dyer New record 6 D. costatus C.F. Gaertn. 7 D. gracilis Blume 8 D. grandiflorus (Blanco) Blanco 9 D. hasseltii Blume 10 D. kerrii King 11 D. retusus Blume New locality record 12 Vatica cuspidata (Ridl.) Symington New record 13 V. maingayi Dyer New record 14 Sect. Vatica V. nitens King New record 15 V. odorata (Griff.) Symington 16 V. lowii King New record 17 V. bella Slooten 18 V. stapfiana (King) Slooten Sect. Sunaptea 19 V. umbonata (Hook.f.) Burck 20 Vatica sp.1 New subspecies ? 21 Sect. Dryobalanoides Subsect. Dryobalanoides Hopea dryobalanoides Miq. New record 22 H. latifolia Symington

23 H. pedicellata (Brandis) Symington 24 Hopea sp.1 New species ? 25 Subsect. Sphaerocarpae H. bracteata Burck New record 26 (new subsection record) H. montana Symington New record 27 H. sublaceolata Symington New record 28 Sect. Hopea H. odorata Roxb. 29 H. sangal Korth. 30 Neobalanocarpus heimii (King) P.S. Ashton

36 Manop Poopath and Duangchai Sookchaloem

Table 1. (Continued) No. Section / Subsection Species New taxa 31 Parashorea stellata Kurz 32 Sect. Shorea Shorea giuso (Blanco) Blume 33 S. ochrophloia Strugnell ex Symington New record 34 Sect. Richetioides S. faguetiana F. Heim 35 S. longisperma Roxb. New record 36 Sect. Anthoshorea S. assamica Dyer subsp. globifera (Ridl.) Symington 37 S. bracteolata Dyer New record 38 S. gratissima (Wall. ex Kurz) Dyer New locality record 39 Sect. Brachypterae S. pauciflora King New record (new section record) 40 Sect. Mutica Subsect. Auriculatae S. macroptera Dyer 41 Subsect. Mutica S. singkawang (Miq.) Miq. 42 S. leprosula Miq. 43 S. curtisii Dyer ex King

44 S. ovata Dyer ex Brandis New record 45 S. parvifolia Dyer 46 S. parvifolia Dyer subsp. velutina P.S. Ashton New subspecies record 16 new record, 1 new ssp. record, 3 new 46 taxa 43 species, 1 subspecies and 2 new taxa? locality record, 1 new sp.? and 1 new ssp.?

นิเวศวิทยาการกระจายพันธุ์ จากการส ารวจพื้นที่ครอบคลุมระดับความสูงระหว่าง 40-1,490 ม. พบว่าไม้วงศ์ยางสามารถขึ้นอยู่ ได้ที่ระดับความสูงต่ ากว่า 1,200 ม. ลงมา โดยแบ่งสังคมไม้วงศ์ยางตามองค์ประกอบชนิดไม้วงศ์ยาง และ วงศ์อื่นๆ ที่ขึ้นผสม โครงสร้างของป่า ระดับความสูงจากระดับน้ าทะเล สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ได้ เป็น 3 ประเภท คือ ป่าไม้วงศ์ยางระดับต่ า ( lowland dipterocarp forest: ต่ ากว่า 300 ม.) พบไม้วงศ์ยาง 34 ชนิด ป่าไม้วงศ์ยางระดับสูง ( hill dipterocarp forest; 300–800 ม.) พบไม้วงศ์ยาง 32 ชนิด ( 34 taxa) และ ป่าไม้วงศ์ยางเขา (upper dipterocarp forest; 800-1,200 ม.) พบไม้วงศ์ยาง 12 ชนิด (Figure 1)

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 31-39. 2008 37

ceolata

40 m

n

.1

sp

subla

sangal

pedicellata

odorata

.

.

.

. .

.

H

H

H

H

H

46.

45.

44.

43. 42. 42.

HOPEA

bracteata

300 m 300

montana

latifolia dryobalanoides

dryobalanoides

.

.

.

H

H

H

Hopea

41.

40.

39. 38.

38.

43 44 45 46 46 45 44 43 38 39 40 42 42 40 39 38

MOIST EVERGREEN FOREST 42 40 39 38

sp.1

umbonata

stapfiana

odorata

.

.

.

V. V.

V

V

V

r e s t s e r r e s t s e r

t s e r

t

t

800 m 800

37.

36.

35.

34.

43 44 43 39 41 39

41 39

VATICA

bella

st

st

nitens

maingayi

lowii

cuspidata

.

.

.

V

V

V. V.

V Vatica

Vatica

33.

32.

31.

30.

29.

29 32 33 35 33 32 29 41

41

29

34 36 37 36 34

31 32 32 31

1,200 1,200 m heimii

heimii

stellata

29 30

28

Forest Forest

Forest

PARASHOREA

27 28 27

Parashorea

Neobalanocarpus

NEOBALANOCARPUS

28

1,490 m.

28. 27.

27.

Montane

Montane

24 curtisii

curtisii

24 25 26 25 24

Lower Lower

Lower Lower

16

scaphula laevis

laevis

17 23

24 25 26 25 24

.

.

A

A

Anisoptera

ANISOPTERA

Bala forest, Yala and Narathiwat Narathiwat and provinces. Yala forest, Bala

26.

25.

24.

-

3 5

7 11

16 17 19 17 16

20 22 23 22 20

U U p p e i t r c D p r o o e p F a r r e U U p p e i t r c D p r o o e p F a r r e

U p p e i t r c D p r o o e p F a r r e acutangulus

acutangulus

20 21 22 21 20

17 18 19 19 18 17

H i l D i p t e r o c a r p F o r e s

H i l D i p t e r o c a r p F o r e s 1 3 4 5 4 5 3 1

4 5 3 1

retusus

kerrii

hasseltii

grandiflorus

gracilis

crinitus

costatus

.

.

.

.

.

D

D. D.

D

D

D

D. D.

D

Dipterocarpus

DIPTEROCARPUS

6 7 8 9 11 8 6 7

12 13 14 15 15 14 13 12

23.

22.

21.

20.

19.

18.

17. 16.

16. ata

ata

L o w l a n d D i p t e r o c a r p F o o F p r ca o r e t p D i d n a l w o L

L o w l a n d D i p t e r o c a r p F o o F p r ca o r e t p D i d n a l w o L

velutin

. sp

sp

.

ub

s

8 10 12 14 15 15 14 12 10 8 1 2 3 4 5 6 7 6 5 4 3 2 1

7 6 5 4 3 2 1

singkawang

pauciflora

parvifolia

parvifolia

ovata

ochrophloia

macroptera

longisperma

.

.

.

.

.

.

.

S

S

S

S

S

S. S.

S S

S

15.

14.

13.

12.

11.

10.

9.

8.

.

sp S H O R E A E H S R O

A E H S R O

ub

s

assamica

so

i

leprosula

gu

gratissima

faguetiana

curtisii

bracteolata

.

.

.

.

.

. lobifera

lobifera

S

S

S

S

S

S

g

Shorea

7.

6.

5.

4.

3.

2. 1. 1.

Hala in of Dipterocarpaceae distribution FigureEcological 1

38 Manop Poopath and Duangchai Sookchaloem

วิจารณ์ ไม้วงศ์ยางในป่าฮาลา-บาลา ถือว่ามีความหลากชนิดมากที่สุดในประเทศไทยหรือคิดเป็นร้อยละ 56 ของที่พบทั้งหมดในประเทศ (78 ชนิด 1 ชนิดย่อย) มีลักษณะสัณฐานวิทยาที่ซับซ้อนใกล้เคียงกันมาก การ จ าแนกชนิดจ าเป็นอย่างยิ่งต้องมีตัวอย่างพรรณไม้ที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย ใบ ดอก ผล และบางครั้งรวมไป ถึงลักษณะของเปลือก โคนต้น และชัน ลักษณะส าคัญที่ใช้ประกอบในการวินิจฉัยชนิดได้แก่ รูปร่างใบ การ เรียงตัวของเส้นใบและเส้นแขนงใบ รูปร่างผล และบางครั้งจ าเป็นต้องใช้ลักษณะของช่อดอก กลีบเลี้ยง กลีบ ดอก เกสรเพศผู้ หูใบ และสิ่งปกคลุมตามส่วนต่างๆ ประกอบด้วย

เมื่อพิจารณากลุ่มไม้วงศ์ยางตามเขตพรรณพฤกษชาติที่จ าแนกจากการศึกษาของ Ashton (1964) และ Smitinand et al. (1980) พบว่าร้อยละ 86 (37 ชนิด) ของไม้วงศ์ยางในป่าฮาลา-บาลา เป็นพรรณ พฤกษชาติแบบมาเลเซีย ( Malesian floristic regions) ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 14 (6 ชนิด) อยู่ในกลุ่มพรรณ พฤกษชาติแบบอินโดจีน (Indo-Chinese floristic regions) การศึกษาครั้งนี้เป็นไม้วงศ์ยางที่พบครั้งแรกของ ไทย 16 ชนิด กับ 1 ชนิดย่อย และอีก 2 ตัวอย่างที่ยังไม่สามารถระบุชนิดได้ ( Hopea sp.1 และ Vatica sp.1) รวมถึงไม้วงศ์ยางที่มีสถานะภาพการพบเฉพาะในผืนป่าแห่งนี้หรือในภาคใต้ตอนล่างรวมทั้งสิ้นประมาณ 25 ชนิด ไม้วงศ์ยางเหล่านี้ถือว่ามีสถานภาพเป็นพรรณไม้หายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย หากไม่มีมาตรการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัญหาการบุกรุกป่าอย่างรุนแรง กอปรเป็นพื้นที่อันตราย จากการก่อความไม่สงบของผู้ก่อการร้ายและห่างไกลจากการดูแลของเจ้าหน้าที่

สรุป การศึกษาไม้วงศ์ยางในป่าฮาลา-บาลา ในพื้นที่จังหวัดยะลา และนราธิวาส พบไม้วงศ์ยางทั้งหมด 7 สกุล 43 ชนิด 1 ชนิดย่อย ในจ านวนนี้พบพืชที่พบเป็นครั้งแรกของประเทศไทย 16 ชนิด 1 ชนิดย่อย และเป็น พืชที่พบเป็นครั้งแรกของจังหวัดยะลา และนราธิวาส 3 ชนิด นอกจากนี้มี 2 ตัวอย่างที่ไม่สามารถระบุชนิดได้ คือ Hopea sp.1 และ Vatica sp.1

ส าหรับนิเวศวิทยาการกระจายพันธุ์ของไม้วงศ์ยางสามารถขึ้นได้ในป่าดงดิบชื้นที่ระดับความสูงต่ า กว่า 1,200 ม. ลงมา โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ป่าไม้วงศ์ยางระดับต่ า ป่าไม้วงศ์ยางระดับสูง และป่าไม้วงศ์ ยางเขา

เอกสารอ้างอิง Ashton, P.S. 1964. Ecological stydies in the mixed dipterocarp forests of Brunei State. Oxf. For. Men. 25: 1-75. . 1982. Dipterocarpaceae. Flora Malesiana Ser. I, 9(2): 237-552. Pooma, R. 2003. Dipterocarpaceae in Thailand: Taxonomic and Biogeographical Analysis. Doctor of Philosophy (Botany), Kasetsart University.

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 31-39. 2008 39

Smitinand, T., T. Santisuk and C. Phengklai. 1980. The Manual of the Dipterocarpaceae of Mainland South East Asia. Thai For. Bull. (Bot.) 12: 1-133. Steenis, C.G.G.J. van. 1950. The Delimitation of and its Main Plant Geographical Division. Flora Malesiana. Series 1, 1: 70-75. Symington, C.F. 1943. Forester’s Manual of Dipterocarps. Malayan Forest Records No.16, 2nd ed: 1-519.

Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 40-49. 2008.

การศึกษาทางด้านวงศ์วานวิวัฒนาการเพื่อการจัดจ าแนกไผ่ในประเทศไทย Classification of Bamboos (Poaceae; Bambusoideae) in Thailand inferred from a multi-gene region phylogenetic analysis

สราวุธ สังข์แก้ว1 Sarawood Sungkaew Trevor R. Hodkinson 2

ABSTRACT As the account for the Flora of Thailand on Poaceae (including bamboos) is due to finish within 2009, it is important to have a stable classification of bamboos. However, conflicts among bamboo classifications, based primarily on morphology, have prompted phylogenetic studies to help resolve taxonomic issues. Sixty-four taxa, representing all the bamboo subtribes of the tribe and related non-bambusoid grasses were sampled. A combined analysis of five plastid DNA regions, trnL intron, trnL-F intergenic spacer, atpB-rbcL intergeneric spacer, rps16 intron, and matK, was used to study the phylogenetic relationships among the bamboos in general and the woody bamboos in particular. Bambuseae, the woody bamboos, as currently recognized were not monophyletic. A new classification for Bambusoideae was proposed. Several other novel phylogenetic relationships among bamboos were also reported. Keyword: Bambusoideae, Bambuseae s.s., Email address: [email protected]

บทคัดย่อ การจัดท าหนังสือพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (Flora of Thailand) ส าหรับวงศ์หญ้า (Family Poaceae) ซึ่งรวมไผ่ด้วยนั้น มีก าหนดจะแล้วเสร็จภายในปี 2552 จึงจ าเป็นต้องเข้าใจระบบการจัดจ าแนกไผ่ อย่างไรก็ตาม ระบบการจัดจ าแนกไผ่ซึ่งใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาเป็นหลักมีความขัดแย้งกัน การศึกษาทางด้าน วงศ์วานวิวัฒนาการ (phylogenetic studies) อาจเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว จากการสุ่มตัวอย่างไผ่และ หญ้าจ านวน 64 ชนิดมาหาล าดับนิวคลีโอไทด์จาก 5 ยีน (trnL intron, trnL-F intergenic spacer, atpB-rbcL intergeneric spacer, rps16 intron, และ matK) ในคลอโรพลาสดีเอ็นเอ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ในสายวิวัฒนาการ (phylogenetic relationships) พบว่า กลุ่มของไผ่มีเนื้อไม้ (Bambuseae) แต่เดิมที่เคยยอมรับกันนั้น ไม่เป็นกลุ่มวงศ์ วานเดี่ยว (non-monophyletic group) การศึกษาครั้งนี้จึงได้เสนอแนะและปรับปรุงระบบการจัดจ าแนกไผ่ในรูปแบบ ใหม่ขึ้น รวมทั้งรายงานความสัมพันธ์อื่นๆ ในสายวิวัฒนาการของพืชในกลุ่มไผ่อีกหลายประการ

ค าส าคัญ: วงศ์ย่อยไผ่ เผ่าไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อน เผ่าไผ่มีเนื้อไม้เขตหนาว

1 ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Forest Biology Department, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. 2 Department of Botany, Trinity College Dublin, University of Dublin, Dublin2, Ireland

Sarawood Sungkaew and Trevor R. Hodkinson 41

ค าน า ไผ่ (Poaceae; Bambusoideae) ในโลกนี้มีประมาณ 80–90 สกุล ประมาณ 1,000–1,500 ชนิด (Judziewicz et al., 1999; Ohrnberger, 1999; Soderstrom & Ellis, 1987) แพร่กระจายตามธรรมชาติในทุก ทวีปของโลก ยกเว้นยุโรปและแอนตาร์กติกา ประมาณ 90% ของไผ่ทั้งโลกเป็นไผ่มีเนื้อไม้ (woody bamboos; Bambuseae) ไผ่ในประเทศไทยเป็นไผ่มีเนื้อไม้ทั้งหมด มีประมาณ 15–20 สกุล 80–100 ชนิด (Sungkaew et al., 2006) ไผ่มีเนื้อไม้สามารถจ าแนกออกเป็นสองกลุ่มอย่างง่ายโดยอาศัยสภาพภูมิศาสตร์ (Ohrnberger, 1999) คือ ไผ่มี เนื้อไม้เขตร้อน (tropical woody bamboos) และไผ่มีเนื้อไม้เขตหนาว (temperate woody bamboos) แต่หาก ใช้การศึกษาทางด้านชีววิทยาโมเลกุลเข้ามาช่วย (Clark et al., 1995; Ni Chonghaile, 2002) ไผ่มีเนื้อไม้เขต ร้อนสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีกเป็น ไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนโลกเก่า (palaeotropical woody bamboos) ไผ่มีเนื้อไม้ เขตร้อนโลกใหม่ ( neotropical woody bamboos) ระบบการจัดจ าแนกของไผ่ที่ใช้ กันอยู่ในปัจจุบันซึ่งอาศัย ลักษณะทางสัณฐานวิทยาเป็นหลักมีความขัดแย้งกัน (Clayton & Renvoize, 1986; Soderstrom & Ellis, 1987; Dransfield & Widjaja, 1995; Li, 1998; Ohrnberger, 1999) มีการศึกษาทางด้านวงศ์วานวิวัฒนาการในระดับ โมเลกุลของไผ่พอสมควร (Clark et al., 1995; Kelchner & Clark, 1997; Hodkinson et al., 2000; Sun et al., 2005; Clark et al., 2007; Yang et al., 2007) แต่การศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์รวมจากข้อมูลหลายๆยีนและ การสุ่มตัวอย่างให้ได้ตัวแทนครอบคลุมไผ่ทั้งหมดมีค่อนข้างน้อย (Ni Chonghaile, 2002; Sungkaew, 2008; Sungkaew et al., submitted) การศึกษาครั้งนี้ได้สุ่มตัวอย่างไผ่ที่เป็นตัวแทนครบทุกเผ่าย่อยตามระบบการจ าแนกทั้งแบบเก่าและใหม่ (Clayton & Renvoize, 1986; Ohrnberger, 1999) จากนั้นท าการหาล าดับนิวคลีโอไทด์จาก 5 ยีน (trnL intron, trnL-F intergenic spacer, atpB-rbcL intergeneric spacer, rps16 intron, และ matK; trnL intron และ trnL- F intergenic spacer ต่อไปนี้จะเรียกรวมเป็น trnL-F เนื่องจากเป็นช่วงของยีนที่อยู่ต่อเนื่องกั น) ซึ่งเป็นยีนที่มี การศึกษามาแล้วว่าเหมาะสมส าหรับการศึกษาวงศ์วานวิวัฒนาการตั้งแต่ระดับชนิด (species) จนถึงระดับวงศ์ (family) (Ni Chonghaile, 2002; Soltis & Soltis, 1998; Liang & Hilu, 1996; Hilu et al., 1999; Oxelmann et al., 1997; Asmussen et al., 2000; Andersson & Chase, 2001) และการวิเคราะห์รวมจากข้อมูลหลายๆ ยีนจะช่วยปรับปรุงรายละเอียดของการศึกษาวงศ์วานวิวัฒนาการได้ดียิ่งขึ้น (Reeves et al., 2001) วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ1) เปรียบเทียบระบบการจ าแนกไผ่แบบเก่าและใหม่2) ก าหนดกลุ่มหลักๆ ของไผ่และพิจารณาความเป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว3) ศึกษาความสัมพันธ์ของไผ่และหญ้าอื่นๆ ที่ใกล้เคียง อุปกรณ์และวิธีการ ตัวอย่างพืช มีทั้งหมด 64 ชนิด (ดูภาคผนวก) โดยเก็บตามวิธีการของ Chase and Hills (1991) เป็นไผ่ 52 ชนิด และหญ้า 12 ชนิด โดยใช้หญ้าในวงศ์ย่อย (Subfamily) Panicoideae จ านวนสามชนิดเป็นหญ้านอกกลุ่มศึกษา (outgroup) เนื่องจากอยู่นอก BEP clade (Bambusoideae s.s., Ehrhartoideae (=Oryzoideae), และ Pooideae; GPWP, 2001) ซึ่งเป็นกลุ่มพืชที่สนใจศึกษา(ingroup) Phuphanochloa เป็นไผ่สกุลใหม่ของโลก (Sungkaew et al., accepted) การสกัด DNA โดยใช้ 2xCTAB (Doyle & Doyle, 1987; Hodkinson et al., 2007) DNA ของพืชทุกชนิดสกัด จากการศึกษาครั้งนี้ ยกเว้น Oreobambos buchwaldii สกัดโดย Ni Chonghaile (2002) การเพิ่มจ านวน DNA โดยเทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR) ยีน trnL-F atpB-rbcL และ rps16 ใช้คู่ primers และเทคนิคตามการศึกษาของ Taberlet et al. (1991), Samuel et al. (1997) และ Oxelmann et al. (1997) ตามล าดับ ส่วนสองคู่ primers ของยีน matK ใช้คู่ primers และเทคนิคตามการศึกษา ดังนี้ ‘19F’ 42 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 40-49. 2008.

(Molvray et al., 2000) และ ‘9R’ (Hilu et al., 1999) ‘390F’ (Cuènoud et al., 2002) และ ‘trnK2R’ (Johnson & Soltis, 1994) จากนั้นท าการอ่าน ล าดับนิวคลีโอไทด์โดยใช้ BigDye terminator kits v.1.1; Applied Biosystems บนเครื่อง 310 automated DNA sequencer การปรับแก้ การเข้าคู่สาย ล าดับนิวคลีโอไทด์ และการวิเคราะห์วงศ์วานวิวัฒนาการ การปรับแก้ การเข้า คู่สายล าดับนิวคลีโอไทด์ท าโดยใช้ AutoAssembler Software, version 2.1 จากนั้นท าการน าเข้าล าดับนิวคลีโอไทด์ สู่ PAUP 4.0* Beta 2 (Swofford, 1998) เพื่อท าการจัดต าแหน่งโดยใช้ตาเปล่าเพื่อสร้างเมตริก ช่องว่าง (gap) ถูก บันทึกให้เป็น binary characters (present/absent; โดยจะบันทึกให้เป็นลักษณะใหม่บนพื้นฐานของช่องว่างที่มี ขนาดเท่ากันและอยู่ในต าแหน่งเดียวกันเท่านั้น ) เมตริกที่ได้ท าการวิเคราะห์โดยวิธีมัธยัสถ์สูงสุด (maximum parsimony) โดยใช้การค้นหาแบบหยาบ (heuristic search) ผลการศึกษาและวิจารณ์ ผลการศึกษาและวิจารณ์ในที่นี้จะน าเสนอเฉพาะภาพกว้างของระบบการจ าแนกไผ่ และความ สัมพันธ์ ในสายวิวัฒนาการของพืชในกลุ่มไผ่เป็นหลักรายละเอียด ที่ลึกกว่านี้สามารถหาอ่านได้ใน Sungkaew (2008) เมตริกที่ ได้จาก 5 ยีน มีความยาว5,322 bp โดย 339 ลักษณะถูกตัดออกจากการวิเคราะห์ ส่วนลักษณะที่ ใช้ในการวิเคราะห์ จ านวน 4,983 ลักษณะนั้นจ าแนกเป็นลักษณะที่คงที่ 3,326 ลักษณะ เป็นลักษณะที่ ผันแปรแต่ parsimony- uninformative 738 ลักษณะ และเป็นลักษณะที่ parsimony informative 919 ลักษณะ จากการวิเคราะห์พบว่า มีแผนภูมิต้นไม้ที่มัธยัสถ์ที่สุดพอๆกัน (most equally parsimonious trees) จ านวน 3 แผนภูมิ โดยมีความยาว 2,688 steps มีค่าทางสถิติ Consistency Index (CI) และ Retention Index (RI) เท่ากับ 0.72 และ 0.79 ตามล าดับ (ภาพที่ 1) ค่าเปอร์เซ็นต์สนับสนุน Bootstrap (%BS) ที่น ามาพิจารณา มีค่า ≥50%BS ขึ้นไป โดย แบ่งเป็น สนับสนุนระดับต่ า (50–74%BS) สนับสนุนระดับปานกลาง (75–84%BS) และ สนับสนุนระดับสูง (85– 100%BS) สามารถก าหนดหน่วยหลักทางอนุกรมวิธานและกลุ่มหลักๆ รวมถึงความสัมพันธ์ในสายวิวัฒนาการ ได้ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 หน่วยหลักทางอนุกรมวิธานและกลุ่มหลักๆรวมถึงความสัมพันธ์ในสายวิวัฒนาการ จากการ วิเคราะห์ข้อมูลแบบรวม 5 ยีน โดยพิจารณาจากค่าเปอร์เซ็นต์สนับสนุน Bootstrap (%BS) หน่วยหลักทางอนุกรมวิธานและกลุ่มหลักๆรวมถึงความสัมพันธ์ในสายวิวัฒนาการ %BS BEP clade 100 วงศ์ย่อยไผ่ (Subfamily Bambusoideae s.s.) 100 วงศ์ย่อยข้าวเหนียว (Subfamily Ehrhartoideae) 100 วงศ์ย่อยข้าวบาร์เลย์ (Subfamily Pooideae) 100 วงศ์ย่อยข้าวบาร์เลย์เป็นพี่น้องกับวงศ์ย่อยไผ่ (Pooideae sister to Bambusoideae s.s.) 99 เผ่าไผ่ล้มลุก (Tribe Olyreae) 100 เผ่าไผ่มีเนื้อไม้ (Tribe Bambuseae) X ไผ่มีเนื้อไม้เขตหนาว (Temperate woody bamboos) 100 ไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนโลกใหม่ (Neotropical woody bamboos) 77 ไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนโลกเก่าและออสเตรเลีย (Palaeotropical and Austral woody bamboos) 91 เผ่าไผ่ล้มลุกเป็นพี่น้องกับเผ่าไผ่มีเนื้อไม้ (Olyreae sister to Bambuseae) X เผ่าไผ่ล้มลุกเป็นพี่น้องกับไผ่มีเนื้อไม้ไม้เขตร้อนโลกเก่าและออสเตรเลียเท่านั้น [Olyreae sister to only palaeotropical 57 and Austral woody bamboos, not temperate ones (hence, non-monophyly Bambuseae)] เผ่าย่อยไผ่ข้าวหลามเป็นพี่น้องกับสมาชิกที่เหลือของไผ่มีเนื้อไม้ไม้เขตร้อนโลกเก่าและออสเตรเลีย (Subtribe 91 Melocanninae sister to the rest of palaeotropical and Austral woody bamboos) Sarawood Sungkaew and Trevor R. Hodkinson 43

0 1 Dendrocalamus asper 1 65 Gigantochloa scortechinii 0 2 Dendrocalamus latiflorus 0 88 Dendrocalamus minor 8 Bambusa oliveriana 6 0 100 Dendrocalamus giganteus 0 Dendrocalamus membranaceus BAM BAM 0 Dendrocalamus strictus 1 Dendrocalamopsis valida 1 Melocalamus compactiflorus 0 Bambusa bambos 1 Bambusa tulda 1 P 1 Gigantochloa ligulata 3 61 0 94 Thyrsostachys siamensis 0 Vietnamosasa ciliata ? 1 RAC 62 1 Vietnamosasa pusilla ? 1 Oreobambos buchwaldii BAM BEP clade 6 Bambuseae 1 100 Oxytenanthera abyssinica MEL 3 2 94 1 Bambusa beecheyana BAM 0 Bambusoideae Bambusa oldhamii 2 0 BAM s.s. 80 Bambusa malingensis 1 2 0 63 86 Neosinocalamus affinis 4 Phuphanochloa speciosa ? ? 10 1 Temochloa liliana ? ? 61 5 Mullerochloa moreheadiana ? ? 8 6 Dinochloa malayana BAM BAM 99 6 P 100 6 Neololeba atra ? ? 7 Temburongia simplex ? HIC 0 4 Neohouzeaua kerrii 3 99 0 91 jaculans 3 4 96 Cephalostachyum pergracile 5 P 6 Schizostachyum zollingeri MEL MEL 99 0 13 7 Neohouzeaua fimbriata 21 0 100 100 Schizostachyum grande 91 4 Pseudostachyum polymorphum 32 18 Arthrostylidium glabrum 19 ART 11 100 Rhipidocladum racemiflorum BAM 93 61 23 N 5 Guadua angustifolia GUA 57 77 58 Chusquea patens ARU CHU

119 Olyreae 53 Cryptochloa granulifera 100170 28 Lithachne pauciflora 100 25 52 Piresia sp. 100 66 Olyra latifolia 29 0 100 Borinda sp. ? THA 1 3 62 Chimonobambusa quadrangularis ARU SHI

1 Bambuseae 8 Menstruocalamus sichuanensis ? ARU 0 97 Phyllostachys nigra 49 0 BAM SHI 85 Phyllostachys edulis T 5 5 Pseudosasa cantorii 101 37 ARU 97 8 99 100 Oligostachyum glabrescens 0 BAM 57 Chimonocalamus pallens 1 THA 99 Chimonocalamus sp. 130 60 Arrhenatherum elatius 86 63 100 Alopecurus pratensis Pooideae 100 103 79 Lolium perenne 100 162 86 Nardus stricta 100 100 Lygeum spartum 0 81 Oryza rufipogon 100 0 10 Ehrhartoideae 95 Oryza sativa 100 100 91 159 Leersia hexandra 100 200 Ehrharta calycina 7 83 Saccharum officinarum 100 16 Miscanthus sinensis OUTGROUP 100 Panicum virgatum

ภาพที่ 1 หนึ่งในสามแผนภูมิต้นไม้ที่มัธยัสถ์ที่สุดพอๆ กัน ตัวเลขเหนือกิ่งแสดงจ านวน steps ของแต่ละกิ่ง ตัวเลขใต้ กิ่งแสดงค่าเปอร์เซ็นต์สนับสนุน bootstrap BEP clade และ การจัดจ าแนกไผ่ในระดับวงศ์ย่อย ระดับเผ่า (คอลัมน์แรกขวาสุด) อ้างตาม GPWG (2001) การแบ่งกลุ่มไผ่ตามลักษณะภูมิศาสตร์ (คอลัมน์ที่สองจาก ขวา) อ้างตาม Clark et al. (1995) และ Ni Chonghaile (2002) การจัดจ าแนกไผ่ในระดับเผ่าย่อย อ้างตาม Clayton and Renvoize (1986)--(คอลัมน์ ซ้ายสุด) และ Ohrnberger (1999)--(คอลัมน์ที่สองจากซ้าย) ตามล าดับ N=Neotropical woody bamboos; P=Palaeotropical woody bamboos; T=Temperate woody bamboos; ART=Arthrostylidiinae; ARU=Arundinariinae; BAM=Bambusinae; CHU=Chusqueinae; GUA=Guaduinae; HIC=Hickeliinae; MEL=Melocanninae; RAC=Racemobambosinae; SHI=Shibataeinae; THA=Thamnocalaminae. 44 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 40-49. 2008.

BEP clade เป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว โดยมีค่าสนับสนุนระดับสูง (100%BS) ความเป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยวของแต่ละวงศ์ ย่อย (Subfamily) ก็มีค่าสนับสนุนระดับสูงเช่นกัน (100%BS) วงศ์ย่อย Pooideae เป็นพี่น้อง (sister) กับวงศ์ย่อย Bambusoideae s.s. โดยมีค่าสนับสนุนระดับสูง (99%BS) และ วงศ์ย่อย Ehrhartoideae เป็นพี่น้องกับกลุ่ม Pooideae และ Bambusoideae s.s. (ที่ 100%BS) (ดูภาพที่ 1 และ ตารางที่ 1 ประกอบ) ผลการศึกษานี้สอดคล้อง กับการศึกษาอื่นๆ เช่น Clark et al. (1995) ซึ่งเรียกว่า BOP clade และ Zhang (2000) Bambusoideae s.s. ตามการนิยามของ GPWG (2001) เป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว (100%BS) โดยวงศ์ย่อยนี้ ประกอบด้วยสองเผ่า (Tribe) ได้แก่ ไผ่ล้มลุก (herbaceous bamboos; tribe Olyreae) และ ไผ่มีเนื้อไม้ (woody bamboos; tribe Bambuseae) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาอื่นๆ (เช่น Hilu et al., 1999; Zhang, 2000; Zhang & Clark, 2000) Olyreae and Bambuseae เผ่า Olyreae (ซึ่งเป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว ที่ 100%BS) เป็นพี่น้องกับ tropical Bambuseae เท่านั้น (แม้ว่ามีค่าสนับสนุนระดับต่ าที่ 57%BS) ไม่ใช่ Bambuseae ทั้งหมด นั่นหมายความว่า Bambuseae ที่ยอมรับกันมาแต่ในอดีตนั้นไม่เป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว การค้นพบนี้สอดคล้องกับข้อมูลใหม่ล่าสุดของ Bouchenak-Khelladi et al. (in press) และ BPG (Bamboo Phylogeny Group, การติดต่อส่วนตัว ) นั่น หมายความว่าการจัดจ าแนกไผ่โดยเฉพาะระดับเผ่าของวงศ์ย่อย Bambusoideae s.s. ควรปรับปรุง นั่นคือโดยหลักๆ แล้ว Bambuseae ของเดิมจะต้องมีขนาดเล็กลง เพราะ temperate Bambuseae จะต้องมีเผ่าใหม่มารองรับ ซึ่งใน ที่นี้จะใช้ชื่อเผ่า Arundinarieae Nees ex Ascherson & Graebner ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้ถูกต้องแล้วโดย Ascherson and Graebner (1902) ดังนั้นรูปแบบของการจัดจ าแนกของไผ่ ควรเป็นดังนี้ วงศ์ย่อย Bambusoideae ประกอบด้วย 3 เผ่า (ดูภาพที่ 2 ประกอบ) คือ 1. Arundinarieae Nees ex Ascherson & Graebner, Syn. Mitteleurop. Fl. 2(1): 770. 1902. [TYPE: Arundinaria Michaux] เป็นเผ่าของไผ่มีเนื้อไม้เขตหนาว (temperate woody bamboos) ซึ่งประกอบไปด้วย 3 เผ่าย่อย ได้แก่ 1.1) Aruninariinae Bentham [TYPE: Arundinaria Michaux] 1.2) Shibataeinae (Nakai) Soderstrom & Ellis [TYPE: Shibataea Makino ex Nakai] 1.3) Thamnocalaminae P.C. Keng [TYPE: Thamnocalamus Munro] 2. Bambuseae Kunth ex Dumort., Anal. Fam. Pl.: 63. 1829. [TYPE: Bambusa Schreber] เป็นเผ่าของไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อน (tropical woody bamboos) ทั้งโลกเก่าและโลกใหม่ และ ออสเตรเลีย ซึ่งประกอบไป ด้วย 7 เผ่าย่อย ได้แก่ 2.1) Bambusinae J.S. Presl [TYPE: Bambusa Schreber] 2.2) Hickeliinae A. Camus [TYPE: Hickelia A. Camus] 2.3) Melocanninae Bentham [TYPE: Melocanna Trinius] 2.4) Racemobambosinae Stapleton [TYPE: Racemobambos Holttum] 2.5) Arthrostylidiinae Bews [TYPE: Arthrostylidium Ruprecht] 2.6) Chusqueinae Bews [TYPE: Chusquea Kunth] 2.7) Guaduinae Soderstrom & Ellis [TYPE: Guadua Kunth] 3. Olyreae Kunth ex Spenner, Fl. Friburg. 1: 172. 1825. [TYPE: Olyra Linnaeus กลุ่มไผ่มีเนื้อไม้สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มโดยอาศัย ลักษณะการกระจายทางภูมิศาสตร์ (Clark et al., 1995; Ni Chonghaile, 2002) ได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ไผ่มีเนื้อไม้เขตหนาว ไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนโลกเก่า และไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนโลก ใหม่ โดยที่ไผ่มีเนื้อไม้เขตหนาว (=Arundinarieae) เป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว ที่ 100%BS และเป็นพี่น้องกับกลุ่ม ไผ่ ล้มลุกและไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อน (ซึ่งเป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว ที่ 91%BS) นอกจากนั้น ไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนนั้นประกอบด้วย ทั้งไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนโลกเก่า และ ไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนโลกใหม่ และ Mullerochloa moreheadiana จาก Australia และ Neololeba atra จาก South Mindanao จนถึง Australia (กลุ่มนี้ต่อไปนี้จะเรียก palaeotropical and Austral woody bamboos=Bambuseae s.s.) กลุ่มไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนโลกใหม่ เป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว ที่ 77%BS ในขณะที่ กลุ่ม palaeotropical and Austral woody bamboos เป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว ที่ 61%BS ในกลุ่มของไผ่มีเนื้อไม้เขตหนาวนั้น ไม่มีเผ่าย่อย (Subtribe) ใดเลยที่เป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว ไม่ว่าตามระบบของ Clayton and Renvoize (1986) หรือของ Ohrnberger (1999) Sarawood Sungkaew and Trevor R. Hodkinson 45

Arthrostylidiinae ซึ่งมีตัวแทนคือ Arthrostylidium และ Rhipidocladum เป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว ที่ 100%BS Guadua (Guaduinae) เป็นพี่น้องกับ Arthrostylidiinae ที่ 93%BS Chusquea (Chusqueinae) เป็นพี่น้องกับกลุ่ม Arthrostylidiinae และ Guaduinae ที่ 77%BS เผ่าย่อย Melocanninae (Schizostachydinae) ตามระบบของ Ohrnberger (1999) เป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว ที่ 100%BS) และยังเป็นพี่น้องกับสมาชิกที่เหลือของ palaeotropical and Austral Bambuseae ที่ 91%BS Temburongia ซึ่งเป็นตัวแทนเผ่าย่อย Hickeliinae ตามระบบของ Ohrnberger (1999) เป็นพี่น้อง (ที่ 99%BS) กับ palaeotropical and Austral Bambuseae ที่เหลือ ความสัมพันธ์นี้ควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติมเนื่องจากในครั้งนี้มี ตัวแทนจาก Hickeliinae เพียงชนิดเดียวเท่านั้น เผ่าย่อย Bambusinae ตามระบบของ Ohrnberger (1999) ไม่เป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยว เพราะว่า Vietnamosasa (ซึ่ง เขาจัดไว้ให้อยู่ในเผ่าย่อย Racemobambosinae) ฝังตัวอยู่ในเผ่าย่อย Bambusinae และเผ่าย่อยนี้ตามระบบของ Clayton and Renvoize (1986) ก็ไม่เป็นกลุ่มวงศ์วานเดี่ยวเนื่องจากตัวแทนไผ่ในเผ่าย่อยนี้กระจายไปทั่วทั้งแผนภูมิ ต้นไม้จากการศึกษาครั้งนี้ (ภาพที่ 1)

rP&A เผ่าไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อน

วงศ์ย่อยไผ่ วงศ์ย่อยไผ่

(

Bambuseaes.s.

ไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนโลกเก่าและออสเตรเลีย (Palaeotropical and Austral Bambuseae)

M (Bambusoideae s.s.)

)

ไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนโลกใหม่ Neotropical Bambuseae

เผ่าไผ่ล้มลุก (Olyreae)

เผ่าไผ่มีเนื้อไม้เขตหนาว (Arundinarieae)

B E วงศ์ย่อยข้าวบาร์เลย์

P (Pooideae) วงศ์ย่อยข้าวเหนียว (Ehrhartoideae)

หญ้านอกกลุ่มศึกษา; วงศ์ย่อยข้าวนก (OUTGROUP; Panicoideae) ภาพที่ 2 แคลโดแกรมแสดงความสัมพันธ์ภายในวงศ์ย่อยไผ่ (Bambusoideae s.s.) และหญ้าอื่นๆที่ใกล้เคียง BEP clade และการจัดจ าแนกไผ่ในระดับวงศ์ย่อย (คอลัมน์แรกขวาสุด) อ้างตาม GPWG (2001) การจัดจ าแนก ไผ่ในระดับเผ่าย่อยได้จากการศึกษาครั้งนี้ ซึ่ง Arundinarieae และ Bambusineae s.s. ได้รับการจัดจ าแนกใหม่ การแบ่งกลุ่มไผ่ตามลักษณะภูมิศาสตร์ อ้างตาม Clark et al. (1995) และ Ni Chonghaile (2002) M=Melocanninae ตามระบบของ Ohrnberger (1999) เป็นพี่น้องกับ rP&A (=the rest of Palaeotropical and Austral woody bamboos ไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อนโลกเก่าและออสเตรเลียที่เหลือ ) การกระจายของ Olyreae ที่เป็นสี จางหมายถึงไม่แน่ใจว่าเป็นเป็นพืชพื้นเมือง (native) หรือไม่ การกระจายของ Arundinarieae ที่พบในเขตร้อนจะ เป็นบริเวณที่สูงจากระดับน้ าทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 1,000 ม ถึง 3,630 ม (Ohrnberger, 1999) แผนที่การกระจาย ของไผ่ปรับปรุงจาก http://www.eeob.iastate.edu/research/bamboo/maps.html โดยได้รับอนุญาตจาก Dr Lynn Clark. 46 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 40-49. 2008.

ค าขอบคุณ ขอบคุณ ผศ. ดร. ดวงใจ ศุขเฉลิม ที่ให้ความช่วยเหลือในหลายๆ ด้านต่องานวิจัยชิ้นนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ขอบคุณ Dr Soejatmi Dransfield, Dr Wang Hong, Dr Surrey Jacobs, Dr Wong Khoon Meng, Dr Ruth Kiew, และ Ms Atchara Teerawatananon ที่ให้ใช้และ/หรือช่วยในการเก็บตัวอย่างส าหรับการศึกษาครั้งนี้ ขอบคุณ Dr Vincent Savolainen, Dr Mark Chase, และ Mr Laszlo Csiba ที่ให้ความช่วยเหลือขณะท าการศึกษาวิจัยอยู่ที่ Jodrell Laboatory, Royal Botanic Gardens, Kew, England งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก the TRF/BIOTEC Special Program for Biodiversity Research and Training grant T_147003; a Trinity College Dublin, Ireland Postgraduate Studentship, and the Trinity College Postgraduate Travel Reimbursement Fund; and Faculty of Forestry Kasetsart University, Bangkok, Thailand เอกสารอ้างอิง Ascherson, P. and P. Graebner. 1902. Synopsis der mitteleuropäischen Flora. Leipzig 2(1): 770. Andersson, L. and M.W. Chase. 2001. Phylogeny and classification of Marantaceae. Botanical journal of the Linnean Society 135: 275–287. Asmussen, C.B., M.W. Chase, W.J. Baker, and J. Dransfield. 2000. Phylogeny of the palm family (Arecaceae) based on rps16 intron and trnL-trnF plastid DNA sequences. In K.L. Wilson and D.A. Morrison [eds.], Monocots: Systematics and Evolution, 525–535. CSIRO, Collingwood. Bouchenak-Khelladi, Y., N. Salamin, V. Savolainen, F. Forest, M. van der Bank, M.W. Chase, and T.R. Hodkinson. in press. Large multi-gene phylogenetic trees of the grasses (Poaceae): progress towards complete tribal and generic level sampling. Molecular Phylogenetics and Evolution. Chase, M.W. and H.H. Hills. 1991. Silica gel: An ideal material for field preservation of leaf samples for DNA studies. Taxon 40: 215–220. Clark L.G., S. Dransfield, J.K. Triplett, and J.G. Sánchez-Ken. 2007. Phylogenetic relationships among the one- flowered, determinate genera of Bambuseae (Poaceae: Bambusoideae). Aliso 23: 315–332 Clark, L.G., W. Zhang, and J.F. Wendel. 1995. A phylogeny of the grass family (Poaceae) based on ndhF sequence data. Systematic Botany 20: 436–460. Clayton, W.D. and S.A. Renvoize. 1986. Genera Graminum, grasses of the world. Kew Bulletin Additional Series XIII. Cuènoud, P., V. Savolainen, L.W. Chatrou, M. Powell, R.J. Grayer, and M.W. Chase. 2002. Molecular phylogenetics of Caryophyllales based on nuclear 18S rDNA and plastid rbcL, atpB, and matK DNA sequences. American Journal of Botany 89: 132–144. Doyle, J.J. and J.L. Doyle. 1987. A rapid DNA isolation procedure for small quantities of fresh leaf tissue. Phytochemical Bulletin for the Botany Society of America 19: 11–15. Dransfield, S. and E.A. Widjaja. 1995. Plant resources of South-East Asia No. 7: Bamboos, 80–83. Backhuys Publishers, Leiden. GPWG (Grass Phylogeny Working Group). 2001. Phylogeny and subfamily classification of the grasses (Poaceae). Ann Missouri Bot Gard 88(3): 373–430 Hilu, K.W., L.A. Alice, and H.P. Liang. 1999. Phylogeny of Poaceae inferred from matK sequences. Annals of the Missouri Botanical Garden 86(4): 835–851. Hodkinson, T.R., S.A. Renvoize, G. Ní Chonghaile, C.M.A. Stapleton, and M.W. Chase. 2000. A comparison of ITS nuclear rDNA sequence data and AFLP markers for phylogenetic studies in Phyllostachys (Bambusoideae, Poaceae). Journal of Plant Research 113: 259–269. Hodkinson, T.R., S. Waldren, J.A.N. Parnell, C.T. Kelleher, K. Salamin, and N. Salamin. 2007. DNA banking for plant breeding, biotechnology and biodiversity evaluation. Journal of Plant Research 120(1): 17–29. Sarawood Sungkaew and Trevor R. Hodkinson 47

Johnson, L.A. and D.E. Soltis. 1994. matK DNA sequences and phylogenetic reconstruction in Saxifragaceae sensu stricto. Systematic Botany 19: 143–156. Judziewicz, E.J., L.G. Clark, X. Londoño, and M.J. Stern. 1999. American bamboos. Smithsonian Institution Press, Washington and London. Kelchner, S.A. and L.G. Clark. 1997. Molecular evolution and phylogenetic utility of the chloroplast rpl16 intron in Chusquea and the Bambusoideae (Poaceae). Molecular Phylogenetics and Evolution 8(3): 385–397. Li, D.Z. 1998. and biogeography of the Bambuseae (Gramineae: Bambusoideae). In A.N. Rao and V.R. Rao [eds], Proceedings of training course/workshop 10–17 May 1998, Kunming and Xishuanbanna, Yunnan, China, 14–23. Liang, H. and K.W. Hilu. 1996. Application of the matK gene sequences to grass systematics. Canadian Journal of Botany 74: 125–134. Molvray, M., P.J. Kores, and M.W. Chase. 2000. Polyphyly of mycoheterotrophic orchids and functional influences on floral and molecular characters. In K.L. Wilson and D.A Morrison [eds.], Monocots: systematics and evolution, 441–448. CSIRO Publishing, Collingwood, Victoria, Australia. Ni Chonghaile, G. 2002. Molecular systematics of the woody bamboos (Bambuseae). PhD Thesis, University of Dublin, Trinity College, Dublin, Ireland. Ohrnberger, D. 1999. The bamboos of the world: annotated nomenclature and literature of the species and the higher and lower taxa. Elsevier Science B.V., Amsterdam, The Netherlands. Oxelmann, B., M. Liden, and D. Berglund. 1997. Chloroplast rps16 intron phylogeny of the tribe Sileneae (Caryophyllaceae). Plant Systematics and Evolution 206: 257–271. Reeves, G., M.W. Chase, P. Goldblatt, P. Rudall, M.F. Fay, A.V. Cox, B. Lejeune, and T. Sousa-Chies. 2001. Molecular systematics of Iridaceae: evidence from four plastid DNA regions. American Journal of Botany 88: 2074–2087. Samuel, R., W. Pinsker, and M. Kiehn. 1997. Phylogeny of some species of Cyrtandra (Gesneriaceae) inferred from the atpB/rbcL cpDNA intergene region. Botanica Acta 110(6): 503–510. Soderstrom, T.R. and R.P. Ellis. 1987. The position of bamboo genera and allies in a system of grass classification. In T.R. Soderstrom, K.W. Hilu, C.S. Campbell, and M.E. Barkworth [eds.], Grass systematics and evolution, 225–238. Smithsonian Institution Press, Washington, D.C. Soltis, D.E. and P.S. Soltis. 1998. Choosing and approach and an appropriate gene for phylogenetic analysis. In D. E. Soltis, P. S. Soltis, and J. J. Doyle [eds.], Molecular systematics of Plants II, DNA sequencing, 1– 41. Kluwer Academic Publishers. Sun, Y., N.H. Xia, and R. Lin. 2005. Phylogenetic analysis of Bambusa (Poaceae: Bambusoideae) based on Internal Transcribed Spacer sequences of nuclear ribosomal DNA. Biochemical Genetics 43: 603–612. Sungkaew, S. 2008. Taxonomy and Systematics of Dendrocalamus (Bambuseae; Poaceae). PhD Thesis, University of Dublin, Trinity College, Dublin, Ireland. Sungkaew, S., C.M.A. Stapleton, N. Salamin, and T.R. Hodkinson. submitted. Non-monophyly of the woody bamboos (Bambuseae; Poaceae): a multi-gene region phylogenetic analysis of Bambusoideae s.s. Journal of Plant Research. Sungkaew, S., A. Teerawatananon, K. Jindawong, and B. Thaiutsa. 2006. Diversity of highland bamboos. (mimeograph) Sungkaew, S., A. Teerawatananon, J.A.N. Parnell, C.M.A. Stapleton, and T.R. Hodkinson. accepted. Phuphanochloa, a new bamboo genus (Poaceae: Bambusoideae) from Thailand. Kew Bulletin. Swofford, D.L. 1998. Phylogenetic analysis using Parsimony (PAUP) version 4.0. Sinauer Associates, Sunderland MA. 48 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 40-49. 2008.

Taberlet, P., L. Gielly, G. Pautou, and J. Bouvet. 1991. Universal primers for amplification of three non-coding regions of chloroplast DNA. Plant Molecular Biology 17(5): 1105–1109. Yang, H.Q., S. Peng, and D.Z. Li. 2007. Generic delimitations of Schizostachyum and its allies (Gramineae: Bambusoideae) inferred from GBSSI and trnL-F sequence phylogenies. Taxon 56(1): 45–54. Zhang, W. 2000. Phylogeny of the grass family (Poaceae) from rpl16 intron sequence data. Molecular Phylogenetics and Evolution 15(1): 135–146. Zhang, W. and L.G. Clark. 2000. Phylogeny of classification of the Bambusoideae (Poaceae). In S. W. L. Jacobs and J. E. Everett [eds.], Grasses: systematics and evolution, 35–42. CSIRO Publishing, Collingwood, Victoria.

Sarawood Sungkaew and Trevor R. Hodkinson 49

ภาคผนวก ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา (วงศ์ย่อย เผ่า (;เผ่าย่อย) ชนิด[ผู้เก็บตัวอย่าง หมายเลขตัวอย่าง/หอพรรณพรรณไม้ที่ มีตัวอย่างอยู่])

Bambusoideae Arundinarieae Borinda sp.1[Stapleton 1347/KEW]; Chimonobambusa quadrangularis (Fenzi) Makino[SS&AT 105/THNHM&KUFF]; Chimonocalamus pallens Hsueh & Yi2[Stapleton 1340/KEW]; Chimonocalamus sp.2[Piya s.n./KUFF]; Menstruocalamus sichuanensis (Yi) Yi3[Stapleton 1319/KEW]; Oligostachyum glabrescens (Wen) P.C. Keng & Z.P. Wang4[Stapleton 1302/KEW]; Phyllostachys edulis (Carriere) Houzeau De Lehaie[SS&AT 107/THNHM&KUFF]; Phyllostachys nigra (Loddiges ex Lindley) Munro[SS&AT 106/THNHM&KUFF]; Pseudosasa cantorii (Munro) P.C. Ken[Stapleton 1/KEW] Bambuseae; 1) Neotripical Bambuseae Arthrostylidium glabrum R.W. Pohl[Hodkinson 572/TCD]; Chusquea patens L.G. Clark[Hodkinson 571/TCD]; Guadua angustifolia Kunth subsp. chacoensis (N. Rojas Acosta) S.M. Young & W. Judd[Stapleton1308/KEW]; Rhipidocladum racemiflorum (Steudel) McClure[Hodkinson 576/TCD]; 2) Palaeotripical and Austral Bambuseae (2.1) Melocanninae Cephalostachyum pergracile Munro5[SD 1435/KEW] Neohouzeaua fimbriata S.Dransf., Pattan. & Sungkaew5[SS&RP 12/KEW&BKF]; Neohouzeaua kerriana S.Dransf., Pattan. & Sungkaew5[SS&RP 13/KEW&BKF]; Pseudostachyum polymorphum Munro5[SS&AT 176/THNHM&KUFF]; Schizostachyum grande Ridley[SS&AT 100704-6/THNHM&KUFF]; Schizostachyum jaculans Holttum[SS&AT 307/THNHM&KUFF]; Schizostachyum zollingeri Steudel[SS&AT 090704-1/THNHM&KUFF] (2.2) The rest of palaeotripical and Austral Bambuseae Bambusa bambos (L.) Voss[SS&AT 030704-16/THNHM&KUFF]; Bambusa beecheyana Munro[Stapleton 1313/KEW]; Bambusa malingensis McClure[Stapleton 1332/KEW]; Bambusa oldhamii Munro[SS&AT 111/THNHM&KUFF=Sinocalamus oldhamii (Munro) McClure]; Bambusa oliveriana Gamble[Stapleton 1321/KEW]; Bambusa tulda Roxburgh[Stapleton 1328/KEW]; Dendrocalamus asper (J.H. Schultes) Backer ex K. Heyne[BAM6 1]; Dendrocalamus giganteus Munro[BAM6 45]; Dendrocalamus latiflorus Munro[SS&AT 113/THNHM&KUFF=Sinocalamus latiflorus (Munro) McClure]; Dendrocalamus membranaceus Munro[SS&AT 020704-4/THNHM&KUFF]; Dendrocalamus minor (McClure) Chia & H.L. Fung[Stapleton 1317/KEW]; Dendrocalamus strictus (Roxburgh) Nees[SS&AT 718/THNHM&KUFF]; Dendrocalamopsis valida Q.H. Dai7[SS&AT 625/THNHM&KUFF&TCD]; Dinochloa malayana S. Dransfield[SD 1412/KEW]; Gigantochloa ligulata Gamble[SS&AT 090704-4/THNHM&KUFF]; Gigantochloa scortechinii Gamble[SS&AT 309/THNHM&KUFF]; Melocalamus compactiflorus (Kurz) Bentham[SS&AT 175/THNHM&KUFF]; Mullerochloa moreheadiana (F.M. Bailey) K.M. Wong8[Hodkinson NSW33/TCD]; Neololeba atra (Lindley) Widjaja9[Hodkinson NSW32/TCD]; Neosinocalamus affinis (Rendle) P.C. Keng10[SS&AT 624/THNHM&KUFF&TCD]; Oreobambos buchwaldii K. Schumann[Kare s.n./Uganda, TCD]; Oxytenanthera abyssinica (A. Richard) Munro[Stapleton 1307/KEW]; Phuphanochloa speciosa Sungkaew & A. Teerawatananon11[SS&AT 191/THNHM&KUFF&TCD]; Temburongia simplex S. Dransfield & K.M. Wong12[Ahmed et al. 20038/21774]; Temochloa liliana S. Dransfield13[SS&AT 100704-15/THNHM&KUFF]; Thyrsostachys siamensis Gamble[SS&AT 020704-3/THNHM&KUFF]; Vietnamosasa ciliata (A. Camus) Nguyen14[SS&AT 208/THNHM&KUFF]; Vietnamosasa pusilla (A. Chevalier & A. Camus) Nguyen14[SD 1466/KEW] Olyreae Cryptochloa granulifera Swallen[Hodkinson 554/TCD]; Lithachne pauciflora (Swartz) Palisot De Beauvois ex Poiret[Mejia s.n./TCD]; Olyra latifolia Linnaeus[Hodkinson 614/TCD]; Piresia sp.[Hodkinson 601/TCD]

Ehrhartoideae Ehrharteae Ehrharta calycina Sm.[Hodkinson G25/TCD] Oryzeae Leersia hexandra Sw.[Hodkinson 636/TCD]; Oryza rufipogon Griff.[AT&SS 164/THNHM]; Oryza sativa L.[Hodkinson 46/TCD]

Pooideae Lygeeae Lygeum spartum Loefl. ex L.[Hodkinson 18/TCD] Nardeae Nardus stricta L.[Hodkinson & Curran 5/TCD] Poeae Lolium perenne L.[Hodkinson 29/TCD] Aveneae; Alopecurinae Alopecurus pratensis L.[Hodkinson 30/TCD]; Aveninae Arrhenatherum elatius (L.) P. Beauv. ex J. Presl & C. Presl[Hodkinson 27/TCD]

Panicoideae Paniceae; Setariinae Panicum virgatum L.[Hodkinson 120/TCD] Andropogoneae; Saccharinae Saccharum officinarum L.[Hodkinson & Renvoize 104/KEW]; Miscanthus sinensis Anderss.[Hodkinson & Renvoize 5/KEW]

หมายเหตุ; KEW, Kew herbarium, England; KUFF, Herbarium of Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok, Thailand; TCD, Herbarium, School of Botany, Trinity College, Dublin, Ireland; THNHM, Thailand Natural History Museum, National Science Museum, Techno Polis, Pathum Thani, Thailand; AT, A. Teerawatananon; RP, R. Pattanavibool; SD, S. Dransfield; SS, S. Sungkaew

1 genus established in 1994, in Thamnocalaminae in Ohrnberger (1999), but Thamnocalamus in Arundinariinae in Clayton and Renvoize (1986); 2 genus under Sinarundinaria, Arundinariinae in Clayton and Renvoize (1986); 3 genus established in 1992, in Arundinariinae in Ohrnberger (1999); 4 genus under Arundinaria, Arundinariinae in Clayton and Renvoize (1986); 5 Bambusetum, Rimba Ilmu Botanic Garden, University of Malaya, Kuala Lumpur, Malaysia; specimen collected by K.M. Wong; 6 genus under Bambusa (Clayton and Renvoize 1986); 7 genus under Dendrocalamus in Clayton and Renvoize (1986), but under Bambusa in Ohrnberger (1999); 8 new genus and a new species (Sungkaew et al. in press); 9 genus established in 1996, in Hikeliinae in Ohrnberger (1999), but Hickelia in Bambusinae in Clayton and Renvoize (1986); 10 genus established in 2000, no subtribe applied; 11 genus establisted in 1990, not present in Clayton and Renvoize (1986), but in Racemobambosinae in Ohrnberger (1999), but Racemobambos placed in Bambusinae by Clayton and Renvoize (1986); 12 genus under Schizostachyum in Clayton and Renvoize (1986); 13 genus established in 2005, no subtribe applied; 14 genus established in 1997, no subtribe applied Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 50-62. 2008.

ฟีโนโลยีของพันธุ์ไม้ที่ใช้เป็นอาหารในป่าสะแกราช Phenology of Edible Plants at Sakaerat Forest

บุญลือ คะเชนทร์ชาติ1 Boonlue Kachenchart เตือนใจ โก้สกุล2 Tuenchai Kosakul ทักษิณ อาชวาคม3 Taksin Artchawakom

ABSTRACT Phenology is the changes of the time of shoot growth, flowering and fruit set in one year cycle, there were 174 species of edible plants at Sakaerat Forest which consisted of 62 families and found that ZINGIBERACEAE family was the largest family with 9 species (5.3%). Six characters of phenological studies were selected. The first one was life form, tree (phanerophytes) was found with mostly with 86 spiecies (49.4%) and climbers 37 species (21.3%). Flowering period in 3 month was found with 80 species (52.3%), where were 46 species (27.6%) and 29 species (17.4%) of white and yellow color of flower respectively. 65 species (53.1%) of fruit set in 3 months and of 63 species (42.9%) was found. was defined in Dipterocarp forest was the best habitat for edible plants as 129 species (56.1%) found. Season for plant utilization found almost in rainy season with 86 species (53.1%). Part of plant for utilization, shoot was the best part for uses with 84 species (24.5%). Finally, natural propagation by seed germination was the best method with 159 species (67.4%).

Keywords: phenology, edible plants, Sakaerat Environmental Research Station Email address: [email protected]

บทคัดย่อ ฟีโนโลยีเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของการแตกยอด ออกดอก และติดผลที่เกิดขึ้นในรอบปีของ พันธุ์ไม้ที่ใช้เป็นอาหารในป่าสะแกราชจ านวน 174 ชนิด โดยจัดแบ่งตามวงศ์ได้ 62 วงศ์ พบ วงศ์ ZINGIBERACEAE มากที่สุด จ านวน 9 ชนิด ( 5.3%) ฟีโนโลยีที่ศึกษามี 6 ลักษณะ ลักษณะแรกคือรูปชีวิต (Life form) เป็นไม้ยืนต้น มากที่สุด จ านวน 86 ชนิด (49.4%) รองลงมา คือ ไม้เถาหรือไม้เลื้อย จ านวน 37 ชนิด (21.3%) เดือนที่ออกดอก (flowering month) พบว่าออกดอกในช่วงเวลา 3 เดือน มากที่สุด จ านวน 80 ชนิด (52.3%) เป็นดอก (flower color) สีขาวมากที่สุด จ านวน 46 ชนิด (27.6%) รองลงมา คือ สีเหลือง จ านวน 29 ชนิด (17.4%) เดือนที่ออกผล (month of fruit set) พบว่าออกดอกในช่วง 3 เดือน มากที่สุด จ านวน 65 ชนิด (44.2%) รองลงมา คือ 2 เดือน จ านวน 63 ชนิด (42.9%) แหล่งที่พบ หรือ ถิ่นอาศัย (habitat) พบในป่าเต็งรังมากที่สุด จ านวน 129 ชนิด (56.1%) ฤดูกาลใช้

1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330 Biological Sciences Program, Faculty of Science, Chulalogkorn University, Bangkok 10330 2 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330 Department of Botany, Faculty of Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330 3 สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช โคราช. Department of Botany, Chulalongkorn University, Bangkok 10330 Tuenchai Kosakul and et.al. 51

ประโยชน์ (season for utilization) พบในฤดูฝนมากที่สุด จ านวน 86 ชนิด (53.1%) ส่วนของพืชที่น ามาใช้ประโยชน์ (part of plant for utilization) คือส่วนยอดของพืชมากที่สุด จ านวน 84 ชนิด (24.5%) และการขยายพันธุ์ พบว่าใช้การเพาะเมล็ดมากที่สุด จ านวน 159 ชนิด (67.4%)

ค าส าคัญ: ฟีโนโลยี พรรณพืชที่รับประทานได้ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช

ค าน า การศึกษานิเวศวิทยาของพืชโดยการศึกษาโครงสร้างของสังคม เช่น Richards ได้เสนอวิธีศึกษา สังคมพืชของป่าเขตร้อนโดยใช้ไซนูเซีย (synusiae) ค าว่า ไซนูเซีย ก็คือกลุ่มพืชที่มีรูปชีวิต (life form) คล้ายคลึงกันและมีบทบาทคล้ายคลึงกันด้วย ไซนูเซียก็เปรียบได้เหมือนกับชั้นสังคมของมนุษย์ การศึกษาฟีโนโลยีของการร่วงหล่นของใบ การเติบโต และชีวมวลของรากในป่าที่คืนสภาพของป่าใน ปากน้ าอะเมซอนเป็นการศึกษาฟีโนโลยีกับปริมาณน้ าฝนเพื่อให้สัมพันธ์การเติบโต การร่วงหล่นของใบ และ การเติบโตของพืช ( Cattanio et al., 2004) รวมทั้งการศึกษาฟีโนโลยีโดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการออกดอก และการติดผล ข้อมูลของฟีโนโลยีที่ศึกษานี้ให้ ความสัมพันธ์กับข้อมูลทางนิเวศวิทยาของค่าดัชนีความเด่น ทางนิเวศวิทยาในพืช 56 ชนิดที่ศึกษาบนเกาะคอมบุ การศึกษารูปแบบการออกดอกซึ่งเป็นการศึกษาฟีโนโลยีของต้นไม้ในป่าเขตร้อนที่ราบต่ าที่คอสตาริกา ซึ่งเป็นการจัดกลุ่มใหม่และมีรูปแบบที่แตกต่างเนื่องจากความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ (Newstrom et al., 1994) พืชที่ใช้เป็นอาหารมีอยู่มากมายในป่า การศึกษาทั่วไปมักจะเก็บรวบรวมพันธุ์พืชที่ สามารถจะเก็บรวบรวมได้ จากนั้นก็จะสรุปโดยการบรรยายลักษณะทางสัณฐานวิทยา และอนุกรมวิธาน แต่ ยังมีการวิจัยที่ไม่ค่อยได้มีการศึกษาได้แก่ การวิจัยพืชที่ใช้เป็นอาหารในด้านนิเวศวิทยา โดยการสังเคราะห์ ข้อมูลที่ได้เพื่อให้ทราบเรื่องในแง่มุมอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ลักษณะภายนอกในการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในรอบปีหรือ ที่เรียกว่า ฟีโนโลยี (phenology) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับรูปชีวิต (Life form) เดือนที่ออกดอก (flowering month) สีดอก (flower color) เดือนที่ออกผล (month of fruit set) แหล่งที่พบ หรือ ถิ่นอาศัย ( habitat) ฤดูกาลใช้ประโยชน์ (season for utilization) ส่วนของพืชที่น ามาใช้ประโยชน์ ( part of plant for utilization) และการขยายพันธุ์

วิธีการทดลอง ข้อมูลพันธุ์พืชที่ใช้เป็นอาหารจากป่าสะแกราชที่ทางสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (วว.) อ าเภอวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา ได้รวบรวมโดยการบันทึก ข้อมูลที่ท าการศึกษาทุกเดือนเป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2548 – 2549) ทั้งที่พบในป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าคืน สภาพจากป่าดิบแล้ง จากนั้นน าข้อมูลทั้งหมดมาสังเคราะห์เพื่อหาจ านวนวงศ์และจ านวนชนิดพืชที่พบซึ่ง ข้อมูลที่ได้บันทึกรูปชีวิต (life form) เดือนที่ออกดอก (flowering month) สีดอก (flower color) เดือนที่ออกผล 52 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 50-62. 2008.

(month of fruit set) แหล่งที่พบหรือ ถิ่นอาศัย ( habitat) ฤดูกาลใช้ประโยชน์ (season for utilization) ส่วน ของพืชที่น ามาใช้ประโยชน์ ( part of plant for utilization) และการขยายพันธุ์ ( propagation) น าข้อมูล ดังกล่าวมาแจกแจงข้อโดยการแปรผลในรูปกราฟ และเปอร์เซ็นต์เพื่อเป็นการสรุปผลของการสังเคราะห์ข้อมูล ดังกล่าวซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาทางนิเวศวิทยาต่อไป

ผลการทดลองและวิจารณ์ จ านวนชนิดทั้งหมดของพืชที่ใช้เป็นอาหารที่ได้รวบรวมจากป่าสะแกราชของป่าทั้ง 3 ประเภทพบ ทั้งหมด 174 ชนิด ดังตารางที่ 1 โดยมีรายละเอียดดังนี้ การจัดกลุ่มวงศ์ (Family) พบว่า Zingeberaceae มากที่สุด จ านวน 9 ชนิด (5.3%) รองลงมาตามล าดับ ได้แก่ Euphorbiaceae จ านวน 8 ชนิด (4.7%) Leguminosae-Caesalpinioideae, Leguminosae - Mimosoideae, Moraceae อย่างละจ านวน 7 ชนิด (4.2%) Annonaceae จ านวน 6 ชนิด (3.6%) Anacardiaceae, Celastraceae, Guttiferae, Leguminosae -Papilionoidae, Meliaceae, Sapindaceae อย่างละจ านวน 5 ชนิด มี 3 % Apocynaceae, Bignoniaceae, Capparaceae, Combretaceae, Cucurbitaceae, Ebenaceae, Palmae, Rubiaceae อย่างละจ านวน 4 ชนิด (2.4%) Araceae, Compositae, Labiatae, Menispermaceae, Myrtaceae, Rutaceae, Vitaceae อย่างละจ านวน 3 ชนิด (1.8%) Asclepiadaceae, Bombacaceae, Dioscoreaceae, Dipterocapaceae, Lecythidaceae, Melastomaceae, Passifloraceae, Smilacaceae, Tiliaceae, Umbelliferae อย่างละจ านวน 2 ชนิด (1.2%) และ Ancistrocladaceae, Asparagaceae, Burseraceae, Chrysobalanaceae, Connaraceae, Costaceae, Dilleniaceae, Dracaenaceae, Erythroxylaceae, Fagaceae, Flacourtiaceae, Gramineae, Hydrocharitaceae, Irvingiaceae, Leeaceae, Musaceae, Olacaeae, Opiliaceae, Piperraceae, Poplygonaceae, Rhamnaceae, Schizaeaceae อย่างละจ านวน 1 ชนิด (0.6%) ตามล าดับดังภาพที่ 1 Tuenchai Kosakul and et.al. 53

ตารางที่ 1 รายชื่อพืชกินได้ในป่าสะแกราช ล าดับ ประเภท ประเภท ชื่อสามัญ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อพฤกษศาสตร์ ที่ ของป่า ล าดับที่ ของป่า 1 กระเจียวขาว Curcuma parviflora Wall. ป่าเต็งรัง 88 บุกเขา Pseudodracontium ป่าเต็งรัง kerrii Gagnep. 2 กระเจียวบัว Curcuma sparganifolia ป่าเต็งรัง 89 บุกคางคก Amorphophallus ป่าดิบแล้ง Gagnep. paeoniifolius (Dennst.) Nicolson 3 กระชาย Boesenbergia rotunda (L.) ป่าดิบแล้ง 90 ปอแก่นเทา Grewia eriocarpa Juss. ป่าเต็งรัง Mansf. 4 กระโดน Careya sphaerica Roxb. ป่าเต็งรัง 91 ปีบ Millingtonia ป่าเต็งรัง hortensis L.f. 5 กระถินพิมาน Acacia harmandiana ป่าเต็งรัง 92 ปุ่มเป้ง Phoenix acaulis Roxb. ป่าเต็งรัง (Pierre) Gagnep. 6 กระทงลาย Celastrus paniculata Willd. ป่าดิบแล้ง/ 93 เปราะป่า Kaempferia roscoeana ป่าดิบแล้ง/ ป่าเต็งรัง Wall ป่าเต็งรัง 7 กระท้อน Sandoricum koetjape ป่าดิบแล้ง 94 ผักคราด Acmella oleracea (L.) ป่าดิบแล้ง (Burm.f.) Merr. R.K. Jansen 8 กระทือ Zingiber zerumbet (L.) ป่าดิบแล้ง 95 ผักชีล้อม Oenanthe javanica ป่าดิบแล้ง Sm. (Blume) DC. 9 กระบก Irvingia malayana Oliv. ป่าดิบแล้ง/ 96 ผักสาบ Adenia viridiflora ป่าเต็ง รัง ex A.W.Benn. ป่าเต็งรัง Craib 10 กระสัง Peperomia pellucida ป่าเต็งรัง 97 ผักหนาม Lasia spinosa (L.) ป่าดิบแล้ง (L.) Humb., Bonpl. & Thwaites Kunth 11 กรุงเขมา Cissampelos pareira L. ป่าดิบแล้ง/ 98 ผักหวานบ้าน Sauropus androgynus ป่าดิบแล้ง var. hirsuta ( Buch. ex ป่าเต็งรัง ( L.) Merr. DC.) Forman 12 Polyalthia debilis ป่าเต็งรัง 99 ผักเค็ด Senna sophera (L.) กล้วยเต่า (Pierre) Finet & Gagnep. Roxb. ป่าดิบแล้ง 13 กล้วยป่า Musa acuminata Colla ป่าคืน 100 ผักหวานป่า Melientha suavis ป่าเต็งรัง สภาพ Pierre 14 กล้วยอีเห็น Uvaria dac Pierre ex ป่าดิบแล้ง 101 ผักเอื้อง Persicaria orientalis Finet & Gagnep. (L.) Spach ป่าเต็งรัง 15 กลอย Dioscorea ป่าดิบ Gigantochloa ป่าไผ่ hispida Dennst.var. แล้ง hispids 102 ไผ่ไร่ sibocillists (Munro) Munro Lithocarpus polystachyus (A.DC.) ป่าเต็งรัง Albizia lebbeck (L.) ป่าเต็งรัง 16 ก่อนก Rehder 103 พฤกษ์ Benth. Polyalthia cerasoides ป่าดิบแล้ง/ Memecylon ovatum ป่าดิบแล้ง 17 กะเจียน (Roxb.) Benth. ex Bedd. ป่าเต็งรัง 104 พลองกินลูก Sm.

54 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 50-62. 2008.

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ล าดับ ประเภท ประเภท ชื่อสามัญ ชื่อพฤกษศาสตร์ ล าดับที่ ชื่อสามัญ ชื่อพฤกษศาสตร์ ที่ ของป่า ของป่า Microcos tomentosa ป่าดิบแล้ง/ ป่าเต็งรัง 18 กะทกรก Passiflora foetida L. 105 พลับพลา Sm. ป่าเต็งรัง Walsura trichostemon Shorea roxburghii G. ป่าดิบแล้ง ป่าเต็ง รัง 19 กัดลิ้น Miq. 106 พะยอม Don Glochidion coccineum (Buch.– Ham. ) ป่าดิบแล้ง Oroxylum indicum (L.) ป่าคืนสภาพ 20 กาน้ า Müll.Arg. 107 เพกา Kurz Momordica ป่าดิบแล้ง/ Vitex peduncularis cochinchinensis (Lour.) ป่าคืนสภาพ ป่าเต็งรัง 21 กาสามปีก Wall. ex Schauer 108 ฟักข้าว Spreng. Flemingia sootepensis Adenanthera pavonina ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง 22 กาสามปีก 2 Craib 109 มะกล่ าต้น L. Zanthoxylum limonella ป่าดิบแล้ง Spondias pinnata (L.f) ป่าดิบแล้ง/ 23 ก าจัดต้น (Dennst.) Alston 110 มะกอก Kurz ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง/ Canarium subulatum ป่าดิบแล้ง/ 24 ก าแพงเจ็ดชั้น Salacia chinensis L. ป่าเต็งรัง 111 มะกอกเกลื้อน Guillaumin ป่าเต็งรัง Lannea coromandelica ป่าเต็งรัง Bridelia stipularis (L.) ป่าเต็งรัง 25 กุ๊ก (Houtt.) Merr. 112 มะกาเครือ Blume Crateva magna (Lour.) ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรัง 26 กุ่มน้ า DC. 113 มะเกลือ Diospyros mollis Griff. Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรัง 27 กุ่มบก Jacobs 114 มะขามป้อม Phyllanthus emblica L. Dendrolobium lanceolatum (Dunn) ป่าเต็งรัง Sindora siamensis ป่าเต็งรัง 28 แกลบหนู Schindl. 115 มะค่าแต้ Teijsm. & Miq. Erythroxylum cuneatum Afzelia xylocarpa ป่าดิบแล้ง/ ป่าเต็งรัง 29 ไกรทอง (Miq.) Kurz 116 มะค่าโมง (Kurz) Craib Ecotone Siphonodon ป่าดิบแล้ง/ 30 ขจร Telosma minor Craib ป่าเต็งรัง 117 มะดูก celastrineus Griff. ป่าเต็งรัง 31 ขมิ้นต้น - ป่าเต็ง รัง 118 มะเดื่อปล้อง Ficus hispida L.f. ป่าเต็งรัง ป่าคืน ป่าดิบแล้ง 32 ข่อย Streblus asper Lour. สภาพ 119 มะเดื่ออุทุมพร Ficus racemosa L. ป่าเต็งรัง Parinari anamense ป่าเต็งรัง 33 ขางครั่ง Dunbaria bella Prain 120 มะพอก Hance ป่าเต็งรัง Baccaurea ramiflora ป่าดิบแล้ง 34 ข้าวตาก Grewia hirsuta Vahl 121 มะไฟ Lour. Globba nisbetiana ป่าดิบแล้ง Mangifera caloneura ป่าเต็งรัง 35 ขิงป่า Craib. 122 มะม่วงป่า Kurz

Tuenchai Kosakul and et.al. 55

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ล าดับ ประเภท ประเภท ชื่อสามัญ ชื่อพฤกษศาสตร์ ล าดับที่ ชื่อสามัญ ชื่อพฤกษศาสตร์ ที่ ของป่า ของป่า Diplocyclos palmatus มะม่วงหัวแมง Buchanania lanzan ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรัง 36 ขี้กาลาย (L.) C.Jeffrey 123 วัน Spreng. Terminalia triptera ป่าดิบแล้ง/ Momordica charantia ป่าคืนสภาพ 37 ขี้อ้าย Stapf. ป่าเต็งรัง 124 มะระขี้นก L. ป่าดิบแล้ง/ Dialium cochinchinense ป่าดิบแล้ง/ Lepisanthes rubiginosa ป่าเต็งรัง 38 เขลง Pierre ป่าเต็งรัง 125 มะหวด (Roxb.) Leenh. Leea rubra Burm ex Dioscorea myriantha ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรัง 39 เขือง Spreng. 126 มันเทียน Kunth Dracaena angustifolia Antidesma ป่าเต็งรัง 40 ค้อนหมาขาว Roxb. ป่าดิบแล้ง 127 เม่าไข่ปลา ghaesembilla Gaertn. Nephelium ป่าคืน Antidesma acidum ป่าดิบแล้ง 41 คอแลน hypoleucum Kurz สภาพ 128 เม่าสร้อย Retz. Aglaia edulis (Roxb.) ป่าดิบแล้ง Aganosma marginata ป่าเต็งรัง 42 ค้างคาว Wall. 129 โมกเครือ (Roxb.) G.Don Willughbeia edulis Wrightia arborea ป่าเต็งรัง 43 คุย Roxb. ป่าดิบแล้ง 130 โมกมัน (Dennst.) Mabb. Toddalia asiatica (L.) ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง 44 เครืองูเห่า Lam. 131 ยอป่า Morinda coreia Ham. Markhamia tipulate ป่าคืน Dipterocarpus intricatus ป่าเต็งรัง 45 แคหัวหมู Seem. Var. stipulata สภาพ 132 ยางกราด Dyer Fernandoa adenophylla Amomum villosum Lour. ป่าคืน (Wall. Ex G.Don) Var. xanthioides ป่าดิบแล้ง สภาพ 46 แคหางค่าง Steenis 133 เร่ว T.L.Wu & S.Chen ป่าคืน Corypha lecomtei ป่าเต็งรัง 47 งิ้ว Bombax ceiba L. สภาพ 134 ลาน Becc. Bombax anceps Pierre ป่าคืน Paranephelium ป่าดิบแล้ง 48 งิ้วป่า var. anceps สภาพ 135 ล าไยป่า xestophyllum Miq. Barringtonia Ancistrocladus tectorius ป่าดิบแล้ง 49 จิกนา acutangula (L.) Gaertn. ป่าเต็งรัง 136 ลิ้นกวาง (Lour.) Merr. Maerua siamensis Ficusb pyriformis ป่าดิบแล้ง 50 แจง (Kurz) Pax ป่าเต็งรัง 137 ลูกคล้าย Hook. & Arn. Syzygium siamense Parkia sumatrana Miq. (Craib) Chantar. & J. ป่าดิบแล้ง Subsp.streptocarpa ป่าดิบแล้ง 51 ชมพู่น้ า Parn. 138 ลูกดิ่ง (Hance) H.C.F. Hopkins Garcinia cowa Roxb. ป่าดิบแล้ง/ Ziziphus oenoplia (L.) ป่าเต็งรัง 52 ชะมวง Ex DC. ป่าเต็งรัง 139 เล็บเหยี่ยว Mill. Var. oenoplia Capparis micracantha ป่าดิบแล้ง/ ป่าคืนสภาพ 53 ชิงชี่ DC. ป่าเต็งรัง 140 เลี่ยน Melia azedarach L.

56 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 50-62. 2008.

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ล าดับ ประเภท ประเภท ชื่อสามัญ ชื่อพฤกษศาสตร์ ล าดับที่ ชื่อสามัญ ชื่อพฤกษศาสตร์ ที่ ของป่า ของป่า Bridelia harmandii ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรัง 54 ซ าซาเตี้ย Gagnep. 141 เลียบ Ficus infectoria Roxb. Xylia xylocarpa (Roxb.) Terminalia Taub. var. kerrii I.C. ป่าเต็งรัง calamansanai (Blanco) ป่าเต็งรัง 55 แดง Nielsen 142 สกุณี Rolfe Paederia linearis Hymenodictyon ป่าเต็งรัง 56 ตดหมูตดหมา Hook.f. ป่าเต็งรัง 143 ส้มกบ orixense (Roxb.) Mabb. Diospyros rhodocalyx ป่าเต็งรัง Ampelocissus martinii ป่าเต็งรัง 57 ตะโกนา Kurz 144 ส้มกุ้ง Planch. Diospyros castanea ป่าเต็งรัง / ป่าเต็ง รัง 58 ตะโกพนม Fletcher Ecotone 145 ส้มขี้มอด - Diospyros malabarica ( ป่าดิบแล้ง/ Desr.) Kostel. var. Acacia concinna ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรัง 59 ตะโกสวน malabarica 146 ส้มป่อย (Willd.) DC. Aganonerion ป่าเต็ง รัง Flacourtia indica ป่าเต็งรัง polymorphum Pierre ex 60 ตะขบป่า (Burm.f.) Merr. 147 ส้มลม Spire Schleichera oleosa ป่าดิบแล้ง/ 61 ตะคร้อ (Lour.) Oken ป่าเต็งรัง 148 ส้มสันดาน Cissus hastata Miq. ป่าเต็งรัง Salacia verrucosa ป่าดิบแล้ง Terminalia chebula ป่าเต็งรัง 62 ตากวาง Wight 149 สมอไทย Retz. var. chebula Filicium decipiens ป่าดิบแล้ง/ (Wight & Arn.)Thwaites ป่าเต็งรัง Terminalia bellirica Ecoton 63 ตานเสี้ยน & Hook. 150 สมอภิเพก (Gaertn.) Roxb. 64 ตานหม่อน Vernonia elliptica DC. ป่าเต็งรัง 151 สลอดน้ า Ficus heterophylla L.f. ป่าดิบแล้ง Clausena harmandiana Solena amplexicaulis ป่าเต็งรัง (Pierre) Pierre ex ป่าเต็งรัง 65 ต าลึงตัวผู้ (Lam.) Gandhi 152 ส่องฟ้า Guillaumin Cratoxylum ป่าเต็งรัง cochinchinense (Lour.) Lophopetalum ป่าเต็งรัง 66 ติ้วเกลี้ยง Blume 153 สองสลึง duperreanum Pierre Cratoxylum formosurm Azadirachta indica (Jack) Dyer subsp. ป่าเต็งรัง A.Juss. var. siamensis ป่าเต็งรัง 67 ติ้วขน pruniflorum Gogel. 154 สะเดา Valeton Cratoxylum formosum ป่าเต็งรัง Ottelia alismoides (L.) ป่าดิบแล้ง 68 ติ้วขาว (Jack) Dyer 155 สันตะวา Pers. Caryota bacsonensis Dillenia ovata Wall. ex ป่าเต็งรัง 69 เต่าร้าง Magalon ป่าดิบแล้ง 156 ส้านใบเล็ก Hook.f. & Thomson Albizia procera (Roxb.) ป่าเต็งรัง Asparagus racemosus ป่าเต็งรัง 70 ถ่อน Benth. 157 สามสิบ Willd. Tuenchai Kosakul and et.al. 57

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ล าดับ ประเภท ประเภท ชื่อสามัญ ชื่อพฤกษศาสตร์ ล าดับที่ ชื่อสามัญ ชื่อพฤกษศาสตร์ ที่ ของป่า ของป่า ถอบแถบ Connarus สารภีดอก Mammea harmandii ป่าดิบแล้ง ป่าดิบแล้ง 71 เครือ semidecandrus Jack 158 ใหญ่ Kosterm. Syzygium gratum Parthenocissus ป่าเต็งรัง (Wight) S.N. Mitra var. ป่าดิบแล้ง 72 เถาคันแดง quinquefolia (L.) Planch. 159 เสม็ดชุน gratum Streptocaulon juventas ป่าเต็งรัง Bauhinia malabarica ป่าเต็งรัง 73 เถาประสงค์ (Lour.) Merr. 160 เสี้ยวใหญ่ Roxb. Smilax lanceifolia Senna garrettiana ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง 74 เถายั้งดง Roxb. 161 แสมสาร (Craib) lrwin & Barneby Tiliacora triandra Lygodium flexuosum ป่าดิบแล้ง/ ป่าดิบแล้ง 75 เถาย่านาง (Colebr.) Diels 162 หญ้ายายเภา (L.) Sw. ป่าเต็งรัง Derris scandens ป่าเต็งรัง Pachygone dasycarpa ป่าเต็ง รัง 76 เถาวัลย์เปรียง (Roxb.) Benth. 163 หนามพรม Kurz ป่าเต็งรัง Rothmannia wittii ป่าเต็ง รัง 77 เถาวัลย์ยั้ง Smilax ovalifolia Roxb. 164 หมักหม้อ (Craib) Bremek. Erythrina subumbrans ป่าคืน Alpinia oxymitra ป่าดิบแล้ง 78 ทองหลางป่า (Hassk.) Merr. สภาพ 165 หลาว K.Schum. Clerodendrum ป่าคืน petasites (Lour.) สภาพ Syzygium cumini (L.) ป่าเต็งรัง 79 เท้ายายม่อม S.Moore 166 หว้า Skeels Buchanania siamensis ป่าเต็งรัง Calamus siamensis ป่าดิบแล้ง 80 ธนนไชย Miq. 167 หวายขม Becc. Melodorum hahnii ป่าดิบแล้ง ป่าดิบแล้ง 81 นมควาย (Finet & Gagnep.) Bân 168 หวายเขียว Dracaena reflexa Polyalthia evecta Emilia sonchifolia (L.) ป่าดิบแล้ง ป่าดิบแล้ง 82 นมน้อย (Pierre) Finet & Gagnep. 169 หางปลาช่อน DC. Ellipeiopsis cherrevensis (Pierre ex ป่าดิบแล้ง/ ป่าดิบแล้ง Finet & Gagnep.) Artocarpus lacucha ป่าเต็งรัง 83 นมแมวป่า R.E.Fr. 170 หาด Roxb. Clerodendrum ป่าคืน paniculatum L. var. Memecylon scutellatum ป่าเต็งรัง สภาพ 84 นมสวรรค์ paniculatum 171 เหมือดจี้ Naudin Olax psittacorum Peltophorum ป่าดิบแล้ง / ป่าเต็งรัง 85 น้ าใจใคร่ (Willd.) Vahl 172 อะราง dasyrachis (Miq.) Kurz ป่าคืนสภาพ 86 บอน Alocasia sp. ป่าดิบแล้ง 173 อาวแดง Curcuma sessilis Gage ป่าเต็งรัง Centella asiatica (L.) Costus speciosus ป่าดิบแล้ง ป่าดิบแล้ง 87 บัวบก Urb. 174 เอื้องหมายนา (Koen.) Sm. หมายเหตุ: ป่าคืนสภาพ หมายถึง ป่าดิบแล้งที่คืนสภาพ 58 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 50-62. 2008.

รูปชีวิต (life form) พบว่า ไม้ยืนต้น มีมากที่สุด จ านวน 86 ชนิด มี 49.4 % รองลงมา คือ ไม้เถาหรือไม้เลื้อย จ านวน 37 ชนิด (21.3%) ไม้พุ่ม จ านวน 28 ชนิด (16.1%) พืชอายุปีเดียว (Therophytes) จ านวน 13 ชนิด มี 7.5 % และ ไม้พุ่มเตี้ย ตามีชีวิตได้นานใกล้ผิวดิน หรือสูงจากดินน้อยกว่า 25 เซนติเมตร (Chamaephytes), หญ้าต่าง ๆ climber เล็ก ๆ ตามีชีวิตอยู่ได้นานใต้ผิวดินเล็กน้อย ส่วนบนจะตาย ช่วย ปกป้องตา (Hemicryptophytes), ไม้น้ า อย่างละจ านวน 1 ชนิด (0.6%) ตามล าดับ ดัง ภาพที่ 2

เดือนที่ออกดอก พบว่า 3 เดือนมากที่สุด จ านวน 80 ชนิด (52.3%) รองลงมา คือ 2 เดือน จ านวน 63 ชนิด (41.2%) 4 เดือน จ านวน 6 ชนิด (3.9%) 5 เดือน จ านวน 3 ชนิด (2%) และ 12 เดือน จ านวน 1 ชนิด (0.7%) ตามล าดับ ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 1 การจัดกลุ่มวงศ์ (Family) ของพืชที่ใช้เป็นอาหารในป่าสะแกราช

100

) 90 ด ิ 80 น 70

ช 60 (

น 50 ว 40

น 30 า 20 จ 10 0 ย ้น มุ่ อื้ า้ ต ้พ ล ้น ืน ม ้เ ม ้ย ไ ม ไ ม ไ ไ ือ ร ห า Cryptophytes Therophytes ้เถ Chamaephytes ม ไ Hemicryptophytes

Life Form

ภาพที่ 2 การจัดกลุ่มรูปชีวิตของพืชที่ใช้เป็นอาหารในป่าสะแกราช

Tuenchai Kosakul and et.al. 59

90 80

70

) ด

ิ 60

น ช

( 50 น

ว 40

น า

30 จ 20 10 0 2 เดือน 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน 12 เดือน เดือนทอี่ อกดอก

ภาพที่ 3 การจัดกลุ่มเดือนที่ออกดอกของพืชที่ใช้เป็นอาหารในป่าสะแกราช

สีดอก พบว่า สีขาว มากที่สุด จ านวน 46 ชนิด (27.6%) รองลงมา คือ สีเหลือง จ านวน 29 ชนิด (17.4%) สี เหลืองอ่อน จ านวน 22 ชนิด (13.2%) สีขาวอมเขียว,สีขาวอมเหลือง,สีแดง อย่างละจ านวน 6 ชนิด (3.6%) สีเขียวอ่อน จ านวน 5 ชนิด (3%) สีเขียว, สีเขียวแกมเหลือง, สีชมพู , สีม่วงอมแดง อย่างละจ านวน 4 ชนิด (2.4%) สีนวล, สีขาวครีม อย่างละจ านวน 3 ชนิด (1.8%) สีขาวแกมเหลืองอ่อน, สีขาวอมชมพู, สีเหลือง แกมเขียว, สีเหลืองอ่อนแกมนวล, สีน้ าตาล, สีส้ม, สีส้มแดง, สีม่วงอมน้ าเงิน อย่างละจ านวน 2 ชนิด (1.2%) และสีขาวปนเขียวอ่อน , สีขาวอมแดง, สีเหลืองแดง, สีแดงม่วง, สีเขียวอ่อนแกมเหลือง, สีเขียวแกมเหลือง อ่อน, สีชมพูอ่อน, สีชมพูอมเหลือง, สีม่วง อย่างละจ านวน 1 ชนิด (0.6%) ตามล าดับ ดังภาพที่ 4

50 45

) 40

ด ิ

น 35

ช 30 (

น 25

ว 20

น า 15 จ 10 5 0 ว ง ู ีม น ง ง น ง ล น ง ง ง ล ร ่อ ือ ด ่อ ีย า ่อ ือ พ ือ ด ด ว อ ล แ ข ด ต ล ม ล แ น ค ว อ เ แ า้ อ ห ช ห แ าว เห ม ง ม ว เ เ ้ม ม ีย ม อ ือ ก น ีย ม ม ส อ ข เข ว ล แ ข ก อู ง อ า ห ง เ แ ่ว น าว ข เ ือ ว พ ม วป ข ล ีย ม า ห ข ช ข เ เ สดี อก

ภาพที่ 4 การจัดกลุ่มสีดอกของพืชที่ใช้เป็นอาหารในป่าสะแกราช

เดือนที่ออกผล พบว่า ออกดอก 3 เดือนพบมากที่สุด จ านวน 65 ชนิด มี 44.2 % รองลงมา คือ 2 เดือน จ านวน 63 ชนิด (42.9%) 4 เดือน จ านวน 10 ชนิด (6.8%) 5 เดือน จ านวน 3 ชนิด (2%) 8 เดือน จ านวน 2 ชนิด (1.4%) และ 6,7,10,12 เดือน อย่างละจ านวน 1 ชนิด (0.7%) ตามล าดับ ดังภาพที่ 5 60 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 50-62. 2008.

70

60

) 50

ิ น

ช 40

( น

ว 30

จ 20 10

0 2 เดือน 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน 6 เดือน 7 เดือน 8 เดือน 10 เดือน 12 เดือน เดือนทอี่ อกผล

ภาพที่ 5 การจัดกลุ่มเดือนที่ออกผลของพืชที่ใช้เป็นอาหารในป่าสะแกราช

แหล่งที่พบ ป่าเต็งรังพบมากที่สุด จ านวน 129 ชนิด (56.1%) รองลงมา คือ ป่าดิบแล้ง จ านวน 73 ชนิด (31.7%) และป่าดิบแล้งที่คืนสภาพ จ านวน 28 ชนิด (12.2%) ตามล าดับ ดังภาพที่ 6

ฤดูกาลใช้ประโยชน์ พบว่า ฤดูฝนมากที่สุด จ านวน 86 ชนิด (53.1%) รองลงมา คือ ตลอดปี จ านวน 46 ชนิด (28.4%) ฤดูหนาว จ านวน 7 ชนิด (4.3%) ฤดูร้อน,ฤดูหนาวต่อฤดูร้อน อย่างละจ านวน 4 ชนิด (2.5%) ฤดูร้อนต่อฤดูฝน จ านวน 3 ชนิด (1.9%) ฤดูฝนต่อฤดูหนาว,ดอกแห้ง-ตลอดปี อย่างละจ านวน 2 ชนิด (1.2%) และ ดอก-ฤดูหนาว, ผล-ฤดูร้อน, ผล-ฤดูหนาว, ผลอ่อน-ฤดูฝน, ผลแก่-ฤดูหนาว, ยอด-ฤดูฝน, หัว-ฤดูหนาว, ใบ- ฤดูฝน อย่างละจ านวน 1 ชนิด (0.6%) ตามล าดับ ดังภาพที่ 7

140

120

) 100

ิ น

ช 80

(

น ว

น 60

จ 40 20

0 ปา่ ดิบแล้ง ปา่ เต็งรัง ปา่ คืนสภาพ แหลง่ ทพี่ บ

ภาพที่ 6 การจัดกลุ่มแหล่งที่พบของพืชที่ใช้เป็นอาหารในป่าสะแกราช หมายเหตุ: ป่าคืนสภาพ หมายถึง ป่าดิบแล้งที่คืนสภาพ

Tuenchai Kosakul and et.al. 61

100

) 90 ด ิ 80 น 70

ช 60

( น

ว 50

40

น า 30

จ 20 10 0 ว ว า น า น ว น น น น ้อ า ้อ ูร น ูห น ูร ูฝ ูฝ ูฝ ด ูห ด ูห ด ด ด ด ด ฤ ด ฤ ฤ ฤ ฤ ่อ ฤ - - - ฤ ฤ - ต - น น ่อ ูฝ อ ด อ บ ด ก ล ล ใ ฤ อ ผ ผ ย ด

ฤดูกาลใช้ประโยชน์

ภาพที่ 7 การจัดกลุ่มฤดูกาลใช้ประโยชน์ ของพืชที่ใช้เป็นอาหารในป่าสะแกราช

ส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์ พบว่า ส่วนยอดใช้มากที่สุด จ านวน 84 ชนิด (24.5%) รองลงมา คือ ผล จ านวน 72 ชนิด (21.0%) ใบ จ านวน 69 ชนิด (20.1%) ดอก จ านวน 40 ชนิด (11.7%) เนื้อของผล จ านวน 25 ชนิด (7.3%) เมล็ด จ านวน 11 ชนิด (3.2%) หน่อ จ านวน 8 ชนิด (2.3%) ล าต้น จ านวน 7 ชนิด (2.0%) เนื้อใน เมล็ด จ านวน 6 ชนิด (1.8%) ก้านใบ,ราก,หัว,ฝัก อย่างละจ านวน 3 ชนิด (0.9%) เถา,เปลือก,เหง้า อย่างละ จ านวน 2 ชนิด (0.6%) และก้านดอก,ไหลบอน,หยวก อย่างละจ านวน 1 ชนิด (0.3%) ตามล าดับ ดังภาพที่ 8

การขยายพันธุ์ พบว่า การเพาะเมล็ด มากที่สุด จ านวน 159 ชนิด (67.4%) รองลงมา คือ การปักช า จ านวน 34 ชนิด (14.1%) การตอนกิ่ง จ านวน 15 ชนิด (6.4%) การแยกหน่อ จ านวน 12 ชนิด (5.1%) ใช้เหง้า จ านวน 10 ชนิด (4.2%) ใช้หัว จ านวน 3 ชนิด (1.3%) และการแยกต้น,ไหล, สปอร์ อย่างละจ านวน 1 ชนิด (0.4%) ตามล าดับดังภาพที่ 9

90 80

) 70

ด ิ

น 60

ช (

น 50

ว 40

น า 30 จ 20 10 0 น ก ้น ด ื้อ วั ก า้ บ ล ต อ ว ง ใ อ ผ า้ อ เน ห บ ย ห ด ล ย ล ห เ ห ไ

สว่ นทใี่ ช้ประโยชน์

ภาพที่ 8 การจัดกลุ่มส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์ของพืชที่ใช้เป็นอาหารในป่าสะแกราช

62 Journal of Tropical Plants Research Vol.1: 50-62. 2008.

180 160

) 140

ด ิ

น 120 ช

( 100 น

ว 80

น า 60 จ 40 20 0 ์ ็ด า้ ิ่ง ่อ ้น ร ล า้ ล วั ช ก ง น ต ห อ ห เม กั น ห ห ก ไ ป ะ ป อ เ ก ย ส า ต ย แ เพ แ การขยายพนั ธุ์

ภาพที่ 9 การจัดกลุ่มการขยายพันธุ์ของพืชที่ใช้เป็นอาหารในป่าสะแกราช

ผลการสังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดของฟีโนโลยีสามารถน าไปใช้เป็นข้อมูลและสารสนเทศด้าน พฤกษศาสตร์ที่ไปใช้ประโยชน์เพื่อการวางแผนการจัดการใช้ประโยชน์ และอนุรักษ์ความหลากหลายทาง ชีวภาพอย่างยั่งยืนและสอดคล้องสมดุลกับกิจกรรมการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เช่น การก าหนดมาตรฐานการ ใช้ประโยชน์จากผลิตผลที่ไม่ใช่เนื้อไม้ (Non timber products) เพื่อจัดรอบการเก็บผลผลิต การวางแผนการ ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อมศึกษา ห้องเรียนธรรมชาติ ตลอดจนสนับสนุนการจัดท าฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์ใน ระดับชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการน าความรู้ด้านวิทยาศ าสตร์สู่ชุมชนให้มีการจัดการอย่างมั่นคงใน อนาคตได้ และยังน าไปจัดสร้างโมเดลเพื่อพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่สัมพันธ์กับข้อมูล ของฟีโนโลยีที่ศึกษาได้ เช่นเดียวกับการศึกษาของ Post and Stenseth (1999)

เอกสารอ้างอิง Cattanio, J., Anthony Anderson., John S. RomboldI., Daniel C. NepstadII. 2004. Phenology, litterfall, growth, and root biomass in a tidal floodplain forest in the Amazon estuary. Rev. Bras. Bot. 27(4 ): 703-712. Newstrom, L.E., G.W. Frankie and H.G.Baker.1994. A New Classification for Plant Phenology Based on Flowering Patterns in Lowland Tropical Rain Forest Trees at La Selva, Costa Rica. Biotropica, 26(2):141-159. Post, Eric and Stenseth, N.C.1999. Climatic Variability, Plant Phenology, and Northern Ungulat. Ecology, 80(4):1322-1339.

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 63-74. 2008.

การศึกษาอนุกรมวิธานของพรรณไม้สกุล Alocasia (Schott) G. Don และสกุล Colocasia Schott (Araceae) ในประเทศไทย Systematic Studies of Alocasia (Schott) G. Don and Colocasia Schott (Araceae) in Thailand

ธีรวุฒิ แสงนิล¹ Teerawoot Sangnin ดวงใจ ศุขเฉลิม² Duangchai Sookchaloem ABSTRACT Systematic studies of Genus Alocasia (Schott) G. Don and Colocasia Schott were conducted by collecting plant specimens in various ecological habitats from natural forests in Thailand. Morphological characters and ecological habitats were recorded. All specimens were analysed for plant identification, key to species and character description. Ten species of Genus Alocasia and four species of Colocasia were found as follows, Alocasia acuminata Schott, A. alba Schott, A. cucullata (Lour.) G. Don, A. hypnosa J.T. Yin, Y.H. Wang & Z.F. Xu, A. longiloba Miq., A. macrorrhizos (L.) G. Don, A. navicularis (K. Koch & C.D. Bouché) K. Koch & C.D. Bouché, A. odora (Lindl.) K. Koch, A.perakensis Hemsl. and Alocasia sp., Colocasia esculenta (L.) Schott, C. fallax Schott, C. gigantea (Blume) Hook.f., and C. lihengiae C.L. Long & K.M. Liu

Key words: Alocasia (Schott) G. Don, Colocasia Schott, Araceae, Thailand Email: [email protected], kan_5561@hotmail. บทคัดย่อ การศึกษาอนุกรมวิธานของพรรณไม้สกุล Alocasia (Schott) G. Don และสกุล Colocasia Schott ใน ประเทศไทย ศึกษาโดยการส ารวจพรรณไม้จากป่าธรรมชาติในหลายระบบนิเวศ พร้อมทั้งบันทึกลักษณะทาง สัณฐานวิทยา ถิ่นอาศัย ลักษณะทางนิเวศ จากนั้นน าตัวอย่างพรรณไม้มาวิเคราะห์จ าแนกชนิด จัดท ารูปวิธานและ ค าบรรยายลักษณะ จากการศึกษาพบพรรณไม้สกุล Alocasia (Schott) G. Don จ านวน 10 ชนิด และสกุล Colocasia Schott จ านวน 4 ชนิด ดังนี้ บอนขาว ( Alocacia acuminata Schott) กระดาดขาว (A. alba Schott) ว่านนกคุ่ม (A. cucullata (Lour.) G. Don) กระดาด (A. hypnosa J.T.Yin,Y.H. Wang & Z.F. Xu) แก้วหน้าม้า (A. longiloba Miq.) กระดาด ( A. macrorrhizos (L.) G. Don) บอนก้านเดียว (A. navicularis (K. Koch & C.D. Bouché) K. Koch & C.D. Bouché) เมาะ (A. odora (Lindl.) K. Koch) บอนเลื้อย (A. perakensis Hemsl.) และ

______¹ ส านักบริหารกลาง ส านักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม General Adiministration Bureau, Office of the Permanent Secretary Ministry of Natural Resources and Environment ² ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Department of Forest biology, Faculty of Forestry, Kasetsart University

64 Teerawoot Sangnin and Duangchai Sookchaloem

Alocasia sp. พรรณไม้สกุล Colocasia ได้แก่ บอน ( Colocasia esculenta (L.) Schott) บอนดอย (C. fallax Schott) คูน (C. gigantea (Blume) Hook.f.) และบอนยูนนาน (C. lihengiae C.L. Long & K.M. Liu )

ค าน า พรรณไม้สกุล Alocasia (Schott) G. Don และสกุล Colocasia Schott จัดอยู่ในวงศ์ บุก บอน (Araceae) พรรณไม้ในวงศ์นี้มีการกระจายอยู่ในป่าเขตร้อนทั่วโลก พบประมาณ 104 สกุล และ 3,300 ชนิด (Mayo et al., 1998) พรรณไม้ในสกุล Alocasia (Schott) G. Don พบกระจายทั่วโลกประมาณ 70 ชนิด และสกุล Colocasia Schott พบกระจายทั่วโลกประมาณ 8 ชนิด (Mayo et al, 1997) พรรณไม้ทั้ง 2 สกุลนี้ สามารถน ามาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น เผือก (C. esculenta (L.) Schott) น าหัวใต้ดินมาใช้ ท าอาหารและมีการเพาะปลูกเพื่อการค้า ภายในประเทศอีกด้วย บางชนิดน ามา ปลูกเป็นไม้ประดับได้ เช่น ว่านนกคุ่ม (A.cucullata (Lour.) G. Don) พรรณไม้ทั้ง 2 สกุลนี้มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่ใกล้เคียงกันมาก อีกทั้งความแปรผันของลักษณะของพรรณไม้วงศ์นี้ค่อนข้างสูง นอกจากนี้พรรณไม้ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ระบุว่า เป็นชนิดเดียวกันแต่มีชื่อเรียกท้องถิ่นต่างกันท าให้เข้าใจผิดว่าเป็นคนละชนิดกัน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของพรรณไม้ทั้งสองสกุลนี้มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันมากทั้งลักษณะของล าต้น ใบ ช่อดอก โดยความแตกต่าง กันของพืชในสกุล Alocasia (Schott) G. Don กับ สกุล Colocasia Schott คือในสกุล Alocasia (Schott) G. Don มีออวุล (ovule) จ านวนน้อย การจัดเรียงตัวของออวุลเป็นแบบพลาเซนตาที่ฐาน (basal placentation) ส่วนในสกุล Colocasia Schott มีออวุลจ านวนมาก และมีการจัดเรียงตัวของออวุลเป็นแบบ พลาเซนตาตาม แนวตะเข็บ (parietal placentation) (ดวงใจ, 2546; Hay, 1998) ดังนั้นการศึกษาอนุกรมวิธานของพรรณไม้ สกุล Alocasia (Schott) G. Don และสกุล Colocasia Schott วงศ์ Araceae ท าให้ทราบลักษณะของพรรณไม้ แต่ละชนิด จ านวนชนิด ลักษณะนิเวศและการกระจาย และสามารถหาข้อยุติในการเรียกชื่อที่ถูกต้อง ซึ่งผล การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์โดยน าไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อน าไปประยุกต์ในการศึกษาในสาขาวิชา ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถน าไปพัฒนาประเทศเกี่ยวกับอุตสาหกรรมพืชเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการอนุรักษ์พันธุกรรมของพืชกลุ่มนี้ต่อไป

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา (morphology) นิเวศวิทยา ( ecology) การกระจาย (distribution) และการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้สกุลAlocasia (Schott) G. Don และสกุล Colocasia Schott ในประเทศไทย 2. เพื่อจัดท ารูปวิธานจ าแนกชนิด (key to species) ของพรรณไม้สกุล Alocasia (Schott) G. Don และสกุล Colocasia Schott ในประเทศไทย Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 63-74. 2008. 65

วิธีการ 1. วางแผนและค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้นของพรรณไม้สกุล Alocasia (Schott) G. Don และสกุล Colocasia Schott จากเอกสารอ้างอิง จากรายงานการส ารวจพรรณไม้ต่าง ๆ และจากตัวอย่างพรรณไม้แห้ง 2. ส ารวจ และเก็บตัวอย่างพรรณไม้สกุล Alocasia (Schott) G. Don และสกุล Colocasia Schott จากแหล่งธรรมชาติต่าง ๆ ที่หลากหลายระบบนิเวศทั่วประเทศ 3. ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพรรณไม้สกุล Alocasia (Schott) G. Don และสกุล Colocasia Schott ในภาคสนาม ลักษณะทางนิเวศวิทยาตลอดจนการกระจายของพรรณไม้ ถ่ายรูปบันทึก น าตัวอย่างมาอบแห้งและเก็บตัวอย่างบางส่วนดองในแอกอฮอล์ 4. จ าแนกชนิดพรรณไม้ บรรยายลักษณะ วาดภาพลายเส้นประกอบ พร้อมทั้งจัดท ารูปวิธานจ าแนก ชนิด สถานที่ท าการศึกษา 1. ป่าธรรมชาติและพื้นที่อนุรักษ์ในประเทศไทย 2. ห้องปฏิบัติการภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3. หอพรรณไม้ ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 4. พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ กรมวิชาการเกษตร ระยะเวลาท าการศึกษา เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2544 ถึงเดือน เมษายน 2546 ผลการศึกษา พรรณไม้สกุล Alocasia (Schott) G. Don ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเป็นกระจุกที่ปลาย ยอดล าต้นเหนือดิน หรือออกจากข้อ ห่าง ๆ แผ่นใบ รูปไข่ รูปไข่กว้าง รูปรี รูปหัวใจ รูปสามเหลี่ยม รูปเงี่ยงลูกศร ก้านใบติดที่แผ่ นใบด้านล่างหรือ ติดที่ฐานของแผ่นใบ ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบหุ้ม กาบหุ้มช่อดอกมีรอยคอด กาบหุ้มช่อดอกใต้ รอยคอดม้วนเป็นหลอด กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอด แผ่ขยายออก ช่อดอกมีก้านหรือไม่มี ดอกย่อยเป็น ชนิดดอกแยกเพศอยู่ร่วมช่อ ไม่มีกลีบเลี้ยงไม่มีกลีบดอก ปลายช่อ ดอกเป็นรยางค์ กลุ่มดอกเพศผู้ มีดอก เพศผู้จ านวนมากอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอกถัดมาจากรยางค์ที่ปลายช่อดอก กลุ่มดอกเพศเมีย ติดรอบ แกนช่อดอกที่โคนช่อดอก กลุ่มดอกที่เป็นหมันอยู่ระหว่างกลุ่มดอกเพศผู้และกลุ่มดอกเพศเมีย ดอกเพศผู้ มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อมกัน จ านวน 3-8 อัน หรือเชื่อมกันตามแนวยาว อับเรณูแตกที่ปลาย ดอกเพศเมีย รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดที่ฐาน ผล แบบผลสดมีเนื้อนุ่ม เมล็ด จ านวน 1-3 เมล็ด รูปค่อนข้างกลม พืชสกุล Alocasia (Schott) G. Don พบในประเทศไทย 10 ชนิด

66 Teerawoot Sangnin and Duangchai Sookchaloem

รูปวิธานจ าแนกชนิดในสกุล Alocasia (Schott) G. Don ในประเทศไทย 1. ก้านใบแข็ง โคนก้านใบไม่ขยายเป็นกาบ ใบมีจ านวน 1-2 ใบ (ปกติมี 1 ใบ) 7. A. navicularis 1. ก้านใบนุ่ม อวบน้ า โคนก้านใบขยายเป็นกาบ ใบมีจ านวนมาก (ปกติเกิน 2 ใบ) 2. ใบเรียงสลับ ออกตามข้อของล าต้นเหนือดิน 9. A. perakensis 2. ใบเรียงเวียน ออกเป็นกระจุกที่ปลายยอดของล าต้นเหนือดิน 3. ก้านใบติดที่ด้านล่างของแผ่นใบ 4. กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดโค้งงอเข้าหาช่อดอก 5. แผ่นใบรูปสามเหลี่ยมถึงรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ฐานใบเว้ารูปเงี่ยงลูกศร ก้านใบมีลายสีด า ตลอดทั้งก้าน ยอดเกสรเพศเมียรูปดาวเป็นแฉกลึก ความกว้างเกือบเท่าหรือเท่ากับความกว้าง ที่ฐานของรังไข่ 5. A. longiloba 5. แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมเงี่ยงลูกศร ฐานใบเว้ารูปหัวใจ ก้านใบไม่มีลาย ยอดเกสรเพศ เมีย เป็นแฉกตื้น ความกว้างเป็นครึ่งหนึ่งของความกว้างที่ฐานของรังไข่ 1. A. acuminata 4. กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดอยู่ในแนวขนานกับช่อดอก 6. ดอกเพศเมียเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 หรือมากกว่า ออวุล 1-2 อัน รยางค์ที่ปลายช่อดอก ยาว 0.7-4 ซม. 3. A. cucullata 6. ดอกเพศเมียแยกกันอิสระ ออวุล 10-12 อัน รยางค์ที่ปลายช่อดอก ยาว 7-13 ซม. 8. A. odora 3. ก้านใบติดที่ฐานของแผ่นใบ 7. กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดโค้งงอเข้าหาช่อดอก 8. ดอกเพศเมียรูปทรงกลม ความกว้างของยอดเกสรเพศเมีย : ฐานของรังไข่ = 1 : 1 ล าต้นไม่มีไหล กาบหุ้มช่อดอกสีเขียวหรือสีเหลืองอมเขียว 2. A. alba 8. ดอกเพศเมียรูปขอบขนาน ความกว้างของยอดเกสรเพศเมีย : ฐานของรังไข่ = 1 : 2 ล าต้นมีไหล กาบหุ้มช่อดอกสีขาวแกมสีชมพูอมม่วง 4. A. hypnosa 7. กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดอยู่ในแนวขนานกับช่อดอก 9. รยางค์ที่ปลายช่อดอก ลักษณะเป็นร่อง ขนาดและรูปร่างไม่สม่ าเสมอ ดอกเพศผู้เชื่อมกันเป็นแถบยาว 10. Alocasia sp. 9. รยางค์ที่ปลายช่อดอก ลักษณะเป็นแท่งรูปทรงกระบอก อัดกันแน่นในแนวตั้งฉากกับแกนช่อ ดอก ดอกเพศผู้แยกกันอิสระ 6. A. macrorrhizos

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 63-74. 2008. 67

1. Alocasia acuminata Schott, Bonplandia 7: 28. 1859 ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดกลางสูง 1 ม. ใบรูปไข่ รูปหัวใจ เส้นแขนงใบ 5-11 คู่ ก้านใบติดที่ ด้านล่างของแผ่นใบ ช่อดอก จ านวน 1-2 ช่อ กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 8-11 ซม. รูปร่างคล้ายรูปเรือ โค้งงอเข้าหาช่อดอก สีขาว ปลายช่อดอกเป็นรยางค์รูปกรวยคว่ ายาว 2.5-5 ซม. สีขาว กลุ่มดอกเพศผู้ยาว 1.5- 4 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 1-2 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมันยาว 2-4 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อมติดกัน 4- 8 อัน ดอกเพศเมียรูปไข่ รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดที่ฐาน 4-8 อัน ก้านชูยอดเกสรเพศเมียยาว 0.5-2 มม. ยอด เกสรเพศเมีย 3-4 แฉก ผลรูปทรงค่อนข้างกลม สีเขียวเมื่อสุกสีส้มถึงสีแดง เมล็ด จ านวน 1-2 เมล็ด รูป ค่อนข้างกลม นิเวศวิทยา: พบขึ้นเป็นกลุ่มหรือกระจายในป่าดิบชื้น ตามริมล าธาร บนเขาหินปูน ที่มีความชุ่มชื้น ความสูง 300-1100 เมตรจากระดับน้ าทะเล ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม ติดผลเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน การกระจาย: พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ ต่างประเทศพบที่ประเทศพม่า 2. Alocasia alba Schott, Oesterr. Bot. Wochenbl. 2: 59. 1852; Miq ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดใหญ่สูงถึง 2 ม. ใบรูปไข่ รูปเงี่ยงลูกศรแกมรูปไข่ เส้นแขนงใบ 9-11คู่ ก้านใบติดที่ฐานของแผ่นใบ ช่อดอกจ านวน 1-2 ช่อ กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 11-17 ซม. รูปร่าง คล้ายรูปเรือ โค้งเข้าหาช่อดอก ปลายช่อดอกเป็นรยางค์รูปกรวยคว่ า ยาว 5.5-8 ซม. กลุ่มดอกเพศผู้ยาว 2.5- 4 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 1.5-2.5 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมันยาว 1-3 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อม ติดกัน 5-8 อัน ดอกเพศเมียรูปทรงค่อนข้างกลมรังไข่มี 1ช่อง ออวุลติดที่ฐาน 4-6 อัน ยอดเกสรเพศเมียรูป ดาว 3-4 แฉก ผลรูปทรงค่อนข้างกลม สีเขียวเมื่อสุกสีส้มถึงสีแดง นิเวศวิทยา: พบขึ้นเป็นกลุ่มหรือกระจายในป่าดิบชื้น ใต้ร่มเงาหรือที่โล่ง ตามริมล าธารที่มีความชุ่มชื้น ความ สูง 200-800 เมตรจากระดับน้ าทะเล ออกดอกเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ติดผลเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม การกระจาย: ประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ต่างประเทศพบในประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย 3. Alocasia cucullata (Lour.) G. Don in R.Sweet, Hort. Brit., ed. 3: 361. 1839 ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบรูปหัวใจหรือรูปไข่กว้าง เส้นแขนงใบ 4-8 คู่ ก้านใบติดที่แผ่นใบด้านล่าง ช่อดอก จ านวน 1-2 ช่อ กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 5-30 ซม. รูปร่างคล้ายรูปเรือหรือรูปขอบขนาน ปลายช่อดอกเป็นรยางค์รูปทรงกรวยคว่ า ยาว 0.7-4 ซม. กลุ่มดอกเพศผู้ยาว 2-3 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 1-2 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมันยาว 2-3.5 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อมกัน 5-8 อัน ดอกเพศเมียรูป ทรงกระบอกเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม 3 อันหรือมากกว่า รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดที่ฐาน 1-2 อัน ยอดเกสรเพศ เมียค่อนข้างกลม มีแฉก 2-3 แฉก ผล แบบผลสดมีเนื้อนุ่ม ค่อนข้างกลม มักไม่ติดผล นิเวศวิทยา: พบขึ้นในที่โล่งมีแสงส่องถึงหรือในที่ร่ม ปลูกเป็นไม้ประดับ ออกดอกเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ติดผลเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 68 Teerawoot Sangnin and Duangchai Sookchaloem

การกระจาย: ปลูกเป็นไม้ประดับพบได้ทั่วประเทศไทย พบที่ความสูงตั้งแต่ 0-1,000 เมตรจากระดับน้ าทะเล ต่างประเทศพบที่พม่า จีน ไต้หวัน ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับ 4. Alocasia hypnosa J.T. Yin, Y.H. Wang & Z.F. Xu, Ann. Bot. Fenn. 42: 395. 2005. ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงถึง 1.5 ม. ล าต้นเป็นไหลออกมาพร้อมหัวกลม ใบ รูปไข่ รูปไข่กว้าง เส้นแขนงใบ 8-10 คู่ ช่อดอก จ านวน 1-3 ช่อ กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาวถึง 25 ซม. แผ่ขยายคล้ายรูปเรือกว้าง สีขาวต่อมาเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วง ปลายช่อดอกเป็นรยางค์รูปทรงกรวยคว่ า แคบยาว ยาวถึง 16.5 ซม. สีขาว กลุ่มดอกเพศผู้ ยาว 2-3.5 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 1.5-3 ซม. กลุ่มดอกที่ เป็นหมันยาว 3-6 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อมติดกัน 5-8 อัน ดอกเพศเมียรูปทรงขอบขนาน รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดที่ฐาน 3-4 อัน ก้านชูยอดเกสรเพศเมียยาว 1 มม. ยอดเกสรเพศเมียมี 3-4 แฉก ผลรูปทรง ค่อนข้างกลม สีเขียวเมื่อสุกสีส้มหรือสีแดง เมล็ด 1-2 เมล็ด ค่อนข้างกลม นิเวศวิทยา: พบขึ้นเป็นกลุ่มในป่าดิบชื้น ป่าดิบชื้นผสมไผ่ ใกล้ล าธาร บนเขาหินปูนที่มีความชุ่มชื้น ความ สูง 200-1000 เมตรจากระดับน้ าทะเล ออกดอกเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม ติดผลเดือนกันยายนถึง กุมภาพันธ์ การกระจาย: พบทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ต่างประเทศพบที่ประเทศจีน (ยูนนาน) 5. Alocasia longiloba Miq., Fl. Ned. Ind. 3: 207. 1856; Bot. Zeit 14: 561. 1856. ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบรูปสามเหลี่ยม รูปเงี่ยงลูกศร เส้นแขนงใบ 6-12 คู่ ก้านใบติดที่ด้านล่าง ของแผ่นใบ ช่อดอก จ านวน 1-2 ช่อ กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 6-12 ซม. ขยายคล้ายรูปเรือหรือรูป หอก โค้งเข้าหาช่อดอก ปลายช่อดอกเป็นรยางค์รูปทรงกระบอกปลายแหลม ยาว 3.5-10 ซม. กลุ่มดอกเพศผู้ ยาว 1.5-2.5 ซม.กลุ่มดอกเพศเมียยาว 1-2 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมันยาว 0.7-1.5 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ ที่เชื่อมติดกัน 4-8 อัน ดอกเพศเมียรูปทรงกลม รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดที่ฐาน 5-10 อัน ยอดเกสรเพศเมียรูป ดาว 3-4 แฉก ผลรูปทรงค่อนข้างกลม สีเขียวเมื่อสุกสีส้มถึงสีแดง เมล็ด จ านวน 1-3 เมล็ด ค่อนข้างกลม นิเวศวิทยา: พบกระจายในป่าดิบชื้น ริมล าธาร น้ าตก ป่าพรุ บนภูเขาหรือเขาหินปูนที่มีความชุ่มชื้น ความ สูง 0-800 เมตรจากระดับน้ าทะเล ออกดอกเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน ติดผลเดือนมิถุนายนถึง ธันวาคม การกระจาย: ประเทศไทยพบทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ต่างประเทศพบที่ แถบอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับ เข้ายาแก้ไข้แก้โรคต่างๆ 6. Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don in R. Sweet, Hort. Brit. ed. 3: 631. 1839. ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดใหญ่สูงถึง 2.5 ม. ใบรูปไข่กว้าง รูปเงี่ยงลูกศรแกมรูปไข่ เส้นแขนงใบ 6- 10 คู่ ก้านใบติดที่ฐานของแผ่นใบ ช่อดอก จ านวน 1-2 ช่อ กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 20-30 ซม. ขยายออกเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายช่อดอกเป็นรยางค์รูปทรงกระบอกปลายแหลม ยาว 12-20 ซม. Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 63-74. 2008. 69

กลุ่มดอกเพศผู้ยาว 3-7 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 1-2 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมันยาว 1-3 ซม. ดอกเพศผู้มี เกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน 5-8 อัน ดอกเพศเมีย รูปทรงค่อนข้างกลม รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดที่ฐาน 5-7 อัน ยอด เกสรเพศเมียรูปดาว มี 3-5 แฉก มักไม่ติดผล นิเวศวิทยา: พบขึ้นในที่โล่งแจ้ง ในสวนยางพาราที่มีแสงร าไร ใต้ร่มเงา ตามแหล่งน้ า ระดับความสูง 10-800 เมตรจากระดับน้ าทะเล ออกดอกเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม การกระจาย: พบได้ทุกภาคของประเทศ ต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา พม่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับ 7. Alocasia navicularis (K. Koch & C.D. Bouché) K. Koch & C.D. Bouché, index Seminun 2. 1855. ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบรูปไข่หรือรูปไข่กว้าง เส้นแขนงใบ 6-10 คู่ ก้านใบติดที่ด้านล่างของแผ่นใบ ช่อดอก จ านวน 1 ช่อ กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 7-10 ซม. ขยายคล้ายรูปเรือ ปลายช่อดอกเป็น รยางค์รูปกรวยคว่ ายาว3 -5 ซม. กลุ่มดอกเพศผู้ยาว 1.5-2 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 1-2 ซม. กลุ่มดอกที่เป็น หมันยาว 2-2.5 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อมติดกัน 4-6 อัน ดอกเพศเมียรูปไข่ รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติด ที่ฐาน 3-6 อัน ก้านชูยอดเกสรเพศเมีย ยาว 1.5-3 มม. ยอดเกสรเพศเมียมี 3-4 แฉก แฉกค่อนข้างกลม ผล รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม สีเขียว นิเวศวิทยา: พบขึ้นกระจายในป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ตามริมล าธาร ความสูง 400-1,700 เมตรจาก ระดับน้ าทะเล ออกดอกเดือนมกราคมถึงมีนาคม ติดผลเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม การกระจาย: ประเทศไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ต่างประเทศพบที่พม่า 8. Alocasia odora (Lindl.) K. Koch, Index Seminum. 2.1854. ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดใหญ่สูงถึง 2.5 ม. ใบรูปไข่ รูปไข่กว้าง เส้นแขนงใบ 6-10 คู่ ก้านใบติดที่ ด้านล่างของแผ่นใบ ช่อดอก จ านวน 1-2 ช่อ กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 10-20 ซม. ขยายออกคล้าย รูปเรือ ปลายช่อเป็นรยางค์รูปกรวยคว่ ายาว 7-13 ซม. กลุ่มดอกเพศผู้ยาว 3-5 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 2-4 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมันยาว 2-2.5 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อมติดกัน 3-8 อัน ดอกเพศเมียรูป ทรงกระบอก รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดที่ฐาน 10-12 อัน ยอดเกสรเพศมีแฉกนูนยื่นออกมา 3-4 แฉก ผลรูปไข่ สีส้มหรือส้มปนแดง เมล็ดค่อนข้างกลม นิเวศวิทยา: พบขึ้นเป็นกลุ่มในป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ตามริมล าธาร ใกล้แหล่งน้ า ระดับความสูง 500-1,400 เมตรจากระดับน้ าทะเล ออกดอกเดือนสิงหาคมถึงกุมภาพันธ์ ติดผลเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม การกระจาย: ประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ต่างประเทศพบที่ประเทศจีน ฟิลิปปินส์ 9. Alocasia perakensis Hemsl., J. Bot. 25: 205. 1887; A. Hay, Gard. Bull. Sing. 50(2): 316. 1998. ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบออกตามข้อห่าง ๆ จ านวนใบขึ้นอยู่กับความยาวของล าต้น ใบรูปรี เส้น แขนงใบ 4-5 คู่ ก้านใบติดที่ด้านล่างของแผ่นใบ ช่อดอกเป็นช่อเชิงลด จ านวน 1-2 มีก้านยาว 0.4 ซม. กาบ 70 Teerawoot Sangnin and Duangchai Sookchaloem

หุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 3 ซม. ช่อดอกเชิงลด ปลายช่อดอกเป็นรยางค์รูปทรงกระบอกแคบ ยาว 2.5 ซม. กลุ่มดอกเพศผู้ยาว 1.5 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 0.7 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมันยาว 2.5 ซม. ดอกเพศผู้ มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อมติดกัน 3-5 อัน ดอกเพศเมีย ทรงกลม ยอดเกสรเพศเมีย 2-3 แฉก ผลสีเขียวเมื่อสุกสี แดงสด นิเวศวิทยา: พบขึ้นเป็นกลุ่มในป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ตามริมล าธาร ใกล้แหล่งน้ า ความสูง 500-1,400 เมตรจาก ระดับน้ าทะเล ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม ติดผลเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน นิเวศวิทยา: พบขึ้นในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ระดับความสูง 1,000-1,250 เมตรจากระดับน้ าทะเล การกระจาย: ประเทศไทยพบทางภาคใต้ที่จังหวัดยะลา (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบาลา-ฮาลา) ต่างประเทศ พบที่ประเทศมาเลเซีย 10. Alocasia sp. ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดใหญ่สูงถึง 3 ม. ใบรูปไข่ รูปไข่กว้าง เส้นแขนงใบ 9-10 คู่ ก้านใบติดที่ ฐานของแผ่นใบ ช่อดอก จ านวน 1-2 ช่อ กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 25-30 ซม. รูปหอกแกมขอบ ขนาน ปลายช่อดอกเป็นรยางค์รูปทรงกระบอกปลายแหลม ยาว 6-15 ซม. กลุ่มดอกเพศผู้ยาว 12-16 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 3-4 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมันยาว 7-15 ซม. ดอกเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นแถบยาว ดอก เพศเมียรูปทรงขอบขนาน รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดที่ฐาน 10-12 อัน ยอดเกสรเพศเมีย 3-5 แฉก ผลรูปไข่ สี เขียวเมื่อสุกสีส้มอมแดง เมล็ดค่อนข้างกลม นิเวศวิทยา: พบขึ้นเป็นกลุ่มในป่าดิบชื้น ใกล้แหล่งน้ า ในสวนยางพารา ความสูง 50-500 เมตรจากระดับ น้ าทะเล ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี การกระจาย: ประเทศไทยพบทางภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ตรัง และกระบี่

พรรณไม้สกุล Colocasia Schott ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนออกเป็นกระจุกปลายยอด ปลายใบแหลม ฐาน ใบก้นปิด เส้นกลางใบนูนทางด้านล่าง เส้นแขนงใบย่อยเรียงจรดกันเป็นร่างแห ก้านใบติดที่ด้านล่างของ แผ่นใบ ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดมีกาบหุ้ม กาบหุ้มช่อดอกมีรอยคอด กาบหุ้มช่อดอกใต้รอยคอดม้วน เป็นหลอด กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดขยายออก ดอกช่อเชิงลดมีก้านหรือไม่มี ดอกแยกเพศอยู่ร่วมช่อ ไม่ มีกลีบเลี้ยงไม่มีกลีบดอก ปลายช่อเป็นรยางค์หรือไม่มี กลุ่มดอกเพศผู้ มีดอกเพศผู้จ านวนมากติดกันแน่น รอบแกนช่อดอกต่ าลงมาจากรยางค์ กลุ่มดอกเพศเมีย ติดรอบแกนช่อดอกที่โคนช่อดอก กลุ่มดอกที่เป็น หมันอยู่ระหว่างกลุ่มดอกเพศผู้และกลุ่มดอกเพศเมีย ดอกเพศผู้ มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อมกัน จ านวน 3-8 อัน ดอกเพศเมีย รูปทรงกลมถึงทรงกระบอก รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลจ านวนมาก ติดที่ตามแนวตะเข็บ ผล แบบ ผลสดมีเนื้อนุ่ม รูปขอบขนานเว้าตามแนวตะเข็บ เมล็ด รูปทรงรี มีสันนูนตามยาวรอบเมล็ด พืชสกุล Colocasia พบในประเทศไทย 4 ชนิด

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 63-74. 2008. 71

รูปวิธานจ าแนกชนิดในสกุล Colocasia Schott ในประเทศไทย 1. ไม่มีรยางค์ที่ปลายช่อดอก เนื้อใบหนา 4. C. lihengiae 1. มีรยางค์ที่ปลายช่อดอก เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ 2. กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดเบนออกตั้งฉากกับช่อดอก 2. C. fallax 2. กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดอยู่ในแนวขนานกับช่อดอก 3. อับเรณูมีช่องเปิดที่ด้านบน กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดสีเหลืองปกติล าต้นมีไหล 1. C. esculenta 3. อับเรณูมีช่องเปิดที่ด้านข้างตอนบน กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดสีขาว ล าต้นไม่มีไหล 3. C. gigantea

1. Colocasia esculenta (L.) Schott in Schott & Endlicher, Melet. Bot. (1832) 18. 1832 ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบรูปไข่ รูปไข่กว้าง รูปหัวใจ เส้นแขนงใบ 5-10 คู่ ช่อดอก จ านวน 1-5 ช่อ มี กลิ่นหอมเอียน กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 12-33 ซม. ขยายเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน สีเหลือง ปลายช่อดอกเป็นรยางค์รูปกรวยคว่ า ยาว 1-5 ซม. กลุ่มดอกเพศผู้ยาว 3-7 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 2 -5 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมัน ยาว 1-3 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อมติดกัน 3-6 อัน ดอกเพศเมียรูปทรงกลมหรื อรูปขอบขนาน รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดตามแนวตะเข็บ จ านวน 2-4 แนว ผลรูปขอบขนานเว้าตามแนวตะเข็บ สีเขียวเมื่อสุกสีเขียวอมเหลือง เมล็ดจ านวนมาก รูปทรงรี นิเวศวิทยา: พบขึ้นในแหล่งน้ า ที่ชื้นแฉะ จนถึงบนภูเขาสูง ระดับความสูง0 -1,600 เมตรจากระดับน้ าทะเล ออกดอกติดผลเกือบทั้งปี การกระจาย: พบกระจายทั่วทั้งประเทศไทย ต่างประเทศพบในเขตร้อน กึ่งเขตร้อนของทวีปเอเชีย ประโยชน์: เผือก หัวใต้ดินน ามารับประทานได้ 2. Colocasia fallax Schott, Bomplandia 7: 28, 1859. ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดเล็ก ใบรูปไข่ รูปไข่กว้าง รูปหัวใจ เส้นแขนงใบ 4-5 คู่ ช่อดอก จ านวน 1- 2 ช่อ กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 5-9 ซม. ขยายและเบนออกตั้งฉากกับช่อดอก สีขาว ปลายช่อดอก เป็นรยางค์รูปทรงกระบอกปลายแหลม ยาว 2-4.5 ซม. กลุ่มดอกเพศผู้ยาว1.5-2 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 1- 1.5 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมันยาว 1-2 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อมติดกัน 3-6 อัน ดอกเพศเมียรูปทรง ค่อนข้างกลม รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดตามแนวตะเข็บ จ านวน 2-3 แนว ผลรูปขอบขนานเว้าตามแนวตะเข็บ สีเขียวเมื่อสุกสีเขียวอมเหลือง เมล็ดจ านวน 1-5 เมล็ด รูปทรงรี มีสันนูนตามยาวรอบเมล็ด นิเวศวิทยา: พบขึ้นในป่าดิบชื้น ตามล าธาร เขาหินปูน บนภูเขาสูง ระดับความสูง 500-1,400 เมตร ออกดอก เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ติดผลเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน การกระจาย: ประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่างประเทศพบที่อินเดีย เนปาล จีน (ยูนนาน) 72 Teerawoot Sangnin and Duangchai Sookchaloem

3. Colocasia gigantea (Blume) Hook.f., Fl. Brit. Ind. 6: 524 1893. ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดใหญ่ สูงถึง 2 ม. ใบรูปหัวใจ รูปไข่กว้าง เส้นแขนงใบ 8-11 คู่ ช่อดอก จ านวนถึง 7 ช่อ ออกคล้ายรูปพัด กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 7-20 ซม. ขยายคล้ายรูปเรือ สีขาว ปลายช่อดอกเป็นรยางค์เป็นติ่งแหลม ยาว 0.5-1.2 ซม. กลุ่มดอกเพศผู้ยาว 5-12 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 2-2.5 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมันยาว 2.5-4 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ที่เชื่อมติดกัน 4-8 อัน ดอกเพศเมียรูป ทรงกระบอก รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดตามแนวตะเข็บ จ านวน 3-4 แนว ผลรูปขอบขนานเว้าตามแนวตะเข็บ สี เขียวเมื่อสุกสีเขียวอมเหลือง เมล็ดรูปทรงรี มีสันนูนตามยาวรอบเมล็ด นิเวศวิทยา: พบขึ้นในป่าดิบที่มีแสงแดดส่อง ป่าถูกท าลายที่ชุ่มชื้น เขาหินปูน ความสูง 50-500 เมตรจาก ระดับน้ าทะเล ออกดอกเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน ติดผลเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม การกระจาย: ประเทศไทยพบทางภาคเหนือ (ปลูก) ภาคกลาง (ปลูก) ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ต่างประเทศพบที่แถวอินโด-จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ทางใต้ของญี่ปุ่น ประโยชน์: ใบ ก้านใบ น ามารับประทานได้ 4. Colocasia lihengiae C.L. Long & K.M. Liu, Bot. Bull. Acad. Sin. 42: 313. 2001. ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีไหล ใบรูปเงี่ยงลูกศรแกมรูปไข่ เส้นแขนงใบ 6-8 คู่ ช่อดอก จ านวนถึง 5 ช่อ กาบหุ้มช่อดอกเหนือรอยคอดยาว 10-15 ซม. ขยายออกเป็นแผ่น สีเหลือง ปลายช่อดอกไม่มีรยางค์ กลุ่มดอก เพศผู้ ยาว 2-3.5 ซม. กลุ่มดอกเพศเมียยาว 1-2.5 ซม. กลุ่มดอกที่เป็นหมันยาว 1-2 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศ ผู้ที่เชื่อมติดกัน 3-6 อัน ดอกเพศเมียรูปทรงกลม รังไข่มี 1 ช่อง ติดตามแนวตะเข็บ จ านวน 2-4 แนว ยอดเกสร เพศเมียค่อนข้างกลม 3-5 แฉก ผลรูปขอบขนานเว้าตามแนวตะเข็บ สีเขียวเมื่อสุกสีเขียวอมเหลือง เมล็ด รูปทรงรี มีสันนูนตามยาวรอบเมล็ด นิเวศวิทยา: พบขึ้นเป็นกลุ่มในป่าดิบชื้น ตามล าธาร ริมน้ าตก ที่ความสูง 800-1,200 เมตรจาก ระดับน้ าทะเล ออกดอกเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม ติดผลเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน การกระจาย: ประทศไทยพบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่างประเทศพบที่จีน (ยูนนาน)

สรุป จากการส ารวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย วิเคราะห์ตัวอย่าง พรรณไม้แห้งในพิพิธภัณฑ์พืช และเอกสารอ้างอิง พบพืชในสกุล Alocasia (Schott) G. Don 10 ชนิด และ สกุล Colocasia Schott 4 ชนิด ดังนี้ สกุล Alocasia ได้แก่ บอนขาว (A.acuminata Schott) กระดาดขาว (A.alba Schott) ว่านนกคุ่ม (A. cucullata (Lour.) G. Don) กระดาด (A. hypnosa J.T.Yin, Y.H. Wang & Z.F. Xu) แก้วหน้าม้า (A. longiloba Miq.) กระดาด (A. macrorrhizos (L.) G. Don) บอนก้านเดียว (A. navicularis (K. Koch & C.D. Bouché) K. Koch & C.D. Bouché) เมาะ (A. odora (Lindl.) K. Koch) บอนเลื้อย (A. perakensis Hemsl.) และ A. sp. สกุล Colocasia ได้แก่ บอน (C. esculenta (L.) Schott) บอนดอย (C. fallax Schott) คูน Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 63-74. 2008. 73

(C. gigantea (Blume) Hook.f.) และบอนยูนาน (C. lihengiae C.L. Long & K.M. Liu)

กิตติกรรมประกาศ ผลงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการ ทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย ซึ่งร่วมจัดตั้งโดยส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ รหัสโครงการ BRT T_145009

เอกสารและสิ่งอ้างอิง ดวงใจ ศุขเฉลิม. 2546. กุญแจจ าแนกสกุลพืชในวงศ์ Araceae. เอกสารประกอบการบรรยายอบรม พฤกษศาสตร์ป่าไม้. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Hay, A. 1998. The Genus Alocasia (Araceae-Colocasieae) in West Malesia and Sulawesi. Gard. Bull. Sing. 50(2) : 221-334. Mayo, S.J., J. Bogner and P.C. Boyce. 1997. The Genera of Araceae. Continental Printing. Belgium. _. 1998. Araceae. pp. 26-74. In K. Kubitzki (ed.). The Family and Genera of Vascular Plants Vol. 4 Flowering Plants, , Alismatanae and Commelinanae (except Gramineae). Spring Verlag. Berlin.

74 Teerawoot Sangnin and Duangchai Sookchaloem

ภาพถ่ายพรรณไม้สกุล Alocasia (Schott) G. Don ในประเทศไทย

A.acuminata A.alba A. cucullata

A. hypnosa A. longiloba A. macrorrhizos

A. navicularis A.odora A. perakensis Alocasia sp. ภาพถ่ายพรรณไม้สกุล Colocasia Schott ในประเทศไทย

C. esculenta C. fallax

C. giganta C. lihengiae Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 75-82. 2008.

อนุกรมวิธานและนิเวศวิทยาบางประการของพรรณไม้สกุลการเวกในประเทศไทย Systematics and some ecological aspects of Artabotrys R.Br. (ANNONACEAE) in Thailand

ทวี อินสุระ1 Thawee Insura วิชาญ เอียดทอง2 Wichan Eiadthong

ABSTRACT The studies of systematics and some ecological aspect of Artabotrys were conducted to explore and specimens to collection in all parts of Thailand for species identification. We found 14 species namely, Artabotrys aereus Ast, A. blumei Benth., A. brevipes Craib, A. burmanicus A.DC., A. grandifolius King, A.harmandii Finet & Gagnep., A. hexapetalus (L.f.) Bhandari, A. multiflorus C.E.C.Fisch., A. oblanceolatus Craib, A. siamensis Miq., A. spinosus Craib, A. suaveolens Blume, A. sumatranus Miq. and A. vanprukii Craib. Of which, three newly recorded species native to Thailand are report Artabotrys aereus Ast, A. blumei Benth. and A. sumatranus Miq..The corolla shape and the stamen apex were primarily used to construct the key to species, in which 2 major groups; platypetala and anguspetala. As for the ecological studies, 6 species are found could be devided in mix deciduous forest, 4 species in evergreen forest, 2 specie in hill evergreen forest,1 specie in dry evergreen forest, and 1 exotic specie which can only be found in cultivation and used as ornamental plant. Keywords: Systematics, Ecology, Annonaceae, Artabotrys R.Br. Email address: [email protected]

บทคัดย่อ อนุกรมวิธานและนิเวศวิทยาบางประการของพรรณไม้สกุลการเวกในประเทศไทย ได้ ด าเนินการส ารวจและ เก็บตัวอย่างพรรณไม้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและจัดท ารูปวิธานจ าแนกชนิด ผลการศึกษาพบจ านวน 14 ชนิด คือ การเวกกระ การเวกแดง การเวกหนัง นมชะนี นมงัว การเวกใบใหญ่ กระดังงาจีน การเวกช่อ กระดังงาเขา การเวก นาวน้ า ก๋าย การเวกสุมาตราและสะบันงาเครือ โดยมีการค้นพบถิ่นกระจายพันธุ์ใหม่ของไทย 3 ชนิด คือ การเวกกระ การเวกแดงและการเวกสุมาตรา ลักษณะที่ใช้ในการจัดท ารูปวิธาน คือ รูปร่างกลีบดอกและปลายยอดเกสรเพศผู้ รูป วิธานจ าแนกได้ 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มกลีบดอกกว้างและกลุ่มกลีบดอกแคบ พรรณไม้สกุลการเวก กระจาย พบอยู่ใน ป่าเบญจพรรณ 6 ชนิด ป่าดิบชื้น 4 ชนิด ป่าดิบเขา 2 ชนิด ป่าดิบแล้ง 1 ชนิด และเป็นพืชต่างประเทศน าเข้าปลูก ประดับทั่วทุกภาค 1 ชนิด

ค าส าคัญ : อนุกรมวิธาน, นิเวศวิทยา, วงศ์กระดังงา, พรรณไม้สกุลการเวก

1,2 ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 Department of Forest Biology, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok 10900, Thailand

76 Thawee Insura and Wichan Eiadthong

ค าน า พรรณไม้ในสกุลการเวก( Artabotrys R.Br.) เป็นพรรณไม้สกุลหนึ่งของวงศ์กระดังงา (Annonaceae) ที่มี ความหลากชนิดสูงซึ่งขึ้นกระจายอยู่ในเขตร้อนชื้นและมีศักยภาพในการน ามาพัฒนาไปใช้ประโยชน์ในแง่ของ การปลูกประดับ ท าเครื่องหอม สมุนไพรและยารักษาโรค ตามรายงานมีการใช้ประโยชน์อยู่เพียง 2-3 ชนิด เท่านั้น พรรณไม้สกุลการเวกมีวิสัยเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง (Woody climber) หรือไม้พุ่มรอเลื้อย (Scandent shrub) ในประเทศไทยมี 1 ชนิดที่เป็นไม้พุ่ม ถิ่นกระจายพันธุ์ของพรรณไม้สกุลนี้ พบได้ทั่วไปในเขตร้อนของ เอเชีย ภูมิภาคอินโดมาลายัน (Indomalayan) นิวกินีและแอฟริกา (Kessler, 1993) ทั่วโลกพบประมาณ 100 ชนิด (Burkill, 1966) ส าหรับในประเทศไทยมีนักพฤกษศาสตร์หลายท่าน ที่ได้ท าการศึกษาและเก็บตัวอย่าง ของพรรณไม้สกุลการเวก ดังเช่น Craib (1922) ศึกษาและรายงานว่าพรรณไม้สกุลการเวกในประเทศไทยมี จ านวน 1 ชนิด คือ สะบันงาเครือ ต่อมา Craib (1925) ได้รายงานเพิ่มเติมอีก 2 ชนิดคือ นาวน้ าและกระดังงา เขา เต็ม (2544) ได้ศึกษาและรายงานความหลากชนิดของพรรณไม้สกุลการเวกในประเทศไทยจ านวน 7 ชนิด คือ นมชะนี นมงัว กระดังงาจีน การเวก นาวน้ า ก๋ายและสะบันงาเครือ และ ปิยะ (2544) ได้รายงานเพิ่มอีก 1 ชนิดคือ การเวกใบใหญ่ ด้วยเหตุที่พรรณไม้ในสกุลนี้มีลักษณะทางสัณฐานที่คล้ายกันมาก ท าให้เกิดสับสนในการ จ าแนก ชนิดและในประเทศไทยยังไม่มีข้อยุติในการระบุชื่อพฤกษศาสตร์ของพรรณไม้ในสกุลนี้ ประกอบกับยังไม่มี การจัดท ารูปวิธานในหนังสือพรรณพฤกษชาติของไทย จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะท าการศึกษาทบทวน พรรณไม้ในสกุลการเวก ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลลักษณะทางพฤกษศาสตร์ อัน ได้แก่ วิสัย, สัณฐานของล าต้นใบ ดอก ผลและเรณูวิทยาที่มีความผันแปรแตกต่างกันและจัดท าอนุกรมวิธาน เพื่อใช้ประกอบเป็นข้อมูลเอกสารทบทวนแก่พรรณไม้วงศ์น้อยหน่า ของไทย ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานใน การศึกษา อนุรักษ์ พัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการ การศึกษาในครั้ง นี้ได้ด าเนินการส ารวจและเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน มีนาคม พ.ศ. 2548 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2551 รวมระยะเวลา 3 ปี มีวิธีการศึกษาวิจัยโดยสรุป ดังนี้ 1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพรรณไม้สกุลการเวกจากตัวอย่างพรรณไม้แห้งในพิพิธภัณฑ์พืชและ เอกสารอ้างอิงทางพฤกษศาสตร์ 2. ส ารวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้งและตัวอย่างพรรณไม้ดองโดยการเก็บส่วนของกิ่ง ใบ ดอก ผล 5-10 ตัวอย่างในแต่ละต้น น ามาถ่ายรูปและบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับสัณฐานและลักษณะ นิเวศ ได้แก่ ลักษณะวิสัย ความสูง สีของเปลือกนอก สีของเปลือกใน รายละเอียดของใบ ดอก ผล ตัวอย่างพรรณไม้ส่วน หนึ่งน ามาอัดแห้งเพื่อท าตัวอย่างพรรณไม้แห้งและบางส่วนดองในแอลกอฮอล์ 70% โดยบันทึกรายละเอียด เกี่ยวกับสีของส่วนต่างๆ ก่อนดอง Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 75-82. 2008. 77

3. ศึกษารายละเอียดต่างๆ ของลักษณะทางสัณฐานของตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บมาซึ่งได้แก่ ใบ ดอก ผล บันทึกข้อมูลขนาด ถ่ายภาพและบรรยายลักษณะของพรรณไม้โดยละเอียด 4. วิเคราะห์และจ าแนกชนิด ที่เก็บมาได้โดยการตรวจสอบจากเอกสารอ้างอิงและเทียบเคียง ตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่ระบุชนิดแล้วในพิพิธภัณฑ์พืช พร้อมทั้งจัดท ารูปวิธานจ าแนกชนิด (Key to species)

ผลการทดลองและวิจารณ์ ความหลากชนิดของพรรณไม้สกุลการเวก จากการศึกษาในพิพิธภัณฑ์พืชของหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และ พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร กรมวิชาการเกษตร พบตัวอย่างพรรณไม้แห้งของพรรณไม้สกุลการเวก มีอยู่จ านวน 132 ตัวอย่าง แบ่ง เป็นตัวอย่างพรรณไม้แห้งจากหอพรรณไม้จ านวน 81 ตัวอย่าง และจากพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร จ านวน 51 ตัวอย่าง จากจ านวนตัวอย่างทั้งหมดเป็นตัวอย่างที่เก็บในพื้นที่ประเทศไทยและมีการระบุชนิดแล้ว จ านวน 82 ตัวอย่าง จ านวนที่สามารถจ าแนกชนิดได้มี 12 ชนิดคือ การเวกหนัง นมชะนี นมงัว กระดังงาจีน การเวกใบใหญ่ การเวกช่อ กระดังงาเขา การเวก นาวน้ า ก๋าย และสะบันงาเครือ เมื่อตรวจสอบข้อมูลการเก็บ ตัวอย่างพืชพบว่า สะบันงาเครือ มีการเก็บตัวอย่าง เมื่อ 80 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบัน ไม่มีการเก็บตัวอย่าง เพิ่มเติมอีก ส่วนชนิดที่มีการเก็บตัวอย่างมากที่สุดและมีการเก็บอยู่อย่างต่อเนื่องคือการเวก การศึกษาของคณะผู้วิจัย ได้ เก็บตัวอย่างพรรณไม้สกุลการเวกจ านวน 1 72 ตัวอย่าง รวมจ านวน ทั้งหมด 1,520 ชิ้น สามารถจ าแนกชนิดพรรณไม้ได้ 1 4 ชนิดคือ นมชะนี นมงัว กระดังงาจีน การเวกใบใหญ่ การเวกหนัง การเวกช่อ การเวก นาวน้ า ก๋าย สะบันงาเครือ การเวกกระ กระดังงาเขา การเวกแดงและการเวก สุมาตรา โดยมีจ านวนชนิดเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเก็บไว้ตามพิพิธภัณฑ์พืช 3 ชนิดคือ การเวกกระ การเวก แดงและการเวกสุมาตรา รายละเอียดความหลากชนิดและชื่อไทยที่ใช้แสดงใน ตารางที่ 1

78 Thawee Insura and Wichan Eiadthong

ตารางที่ 1 ความหลากชนิด ชื่อไทย วิสัย การแบ่งกลุ่มทางอนุกรมวิธาน ภูมิภาคการกระจายพันธุ์และนิเวศการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ลักษณทางนิเวศ (Ecological characteristics) ล าดับที่ ชนิด ชื่อไทย1 วิสัย กลุ่มอนุกรมวิธาน ความสูงจาก ภูมิภาคการกระจายพันธุ์2 ชนิดป่า3 (No.) (Species) (Thai name1) (Habit) (Taxonomic groups) ระดับน้ าทะเล (Regions in Thailand2) (Forest type3) (Elevation (m)) 1 A. aereus Ast การเวกกระD Woody climber platypetala N, NE HEF 1,000-1,700 2 A. blumei Benth. การเวกแดงD Woody climber anguspetala PEN MEF 100-200 3 A. brevipes Craib การเวกหนังD Woody climber platypetala NE DEF 500-800 4 A. burmanicus A.DC. นมชะนีA Woody climber platypetala N, NE, SW MDF 100-600 5 A. harmandii Finet & Gagnep. นมงัวA Woody climber platypetala NE, E, C,SE MDF 100-500 6 A. hexapetalus (L.f.) Bhandari กระดังงาจีนA Woody climber platypetala N, NE, E, C, SW, PEN Cultivation 50-800 7 A. grandifolius King การเวกใบใหญ่C Woody climber platypetala PEN MEF 0-600 8 A. multiflorus C.E.C.Fisch. การเวกช่อC Woody climber anguspetala SW HEF 1,000-1,500 9 A. oblanceolatus Craib กระดังงาเขาB Woody climber platypetala E MDF 100-200 10 A. siamensis Miq. การเวกA Woody climber platypetala N, NE, E, C, SW MDF 100-500 11 A. spinosus Craib นาวน้ าA Shrub platypetala NE, E MDF 100-300 12 A. suaveolens Blume ก๋ายA Woody climber anguspetala SE, PEN MEF, PSF 0-800 13 A. sumatranus Miq. การเวกสุมาตราD Woody climber anguspetala PEN MEF 100-200 14 A. vanprukii Craib สะบันงาเครือA Woody climber platypetala N, E, SW MDF 100-400

หมายเหตุ (Remarks): 1) Thai name followed from A= เต็ม (2544), B=Craib (1925), C= ปิยะ (2544), D= author 2) N = Northern, NE=Northeastern, E=Eastern, SW=Southwestern, C=Central, SE=Southeastern, PEN=Peninsular (เต็ม, 2544) 3) DDF = Dry dipterocarp forest, MDF = Mixed deciduous forest, DEF = Dry evergreen forest, MEF = Moist evergreen forest, PSF = Peat swamp forest, HEF = Hill evergreen forest Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 75-82. 2008.

การจ าแนกทางอนุกรมวิธาน การจัด จ าแนกพรรณไม้สกุลการเวก จ านวน 14 ชนิดในประเทศไทย ได้แบ่งพรรณไม้สกุลการเวก ออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ตามการจ าแนกของ Sinclair (1955) ที่แบ่งพรรณไม้ในสกุลนี้ออกเป็น กลุ่มกลีบดอก กว้าง (platypetala) ที่มีลักษณะอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างของกลีบดอกน้อยกว่า 3 เท่า มี 10 ชนิด ได้แก่ นมชะนี นมงัว กระดังงาจีน การเวกใบใหญ่ การเวก นาวน้ า สะบันงาเครือ การเวกหนัง การเวกกระและ กระดังงาเขาและกลุ่มกลีบดอกแคบ (anguspetala) ที่มีลักษณะอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างของกลีบ ดอกมากกว่า 3 เท่า มี 4 ชนิดได้แก่ การเวกช่อ ก๋าย การเวกแดงและการเวกสุมาตรา รายละเอียดแสดงใน ตารางที่ 1 และรูปวิธาน กลุ่มที่ 1 กลุ่มกลีบดอกกว้างมีสมาชิก 10 ชนิด ในการจัดแบ่งกลุ่มกลีบดอกกว้าง ได้จัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ตามลักษณะของปลายยอดเกสรเพศผู้ คือกลุ่มที่ 1 ปลายยอดเกสรเพศผู้มน และกลุ่มที่ 2 ปลาย ยอดเกสรเพศผู้เป็นติ่งแหลม โดยกลุ่มที่มีปลาย ยอดเกสรเพศผู้มนมี 3 ชนิดคือการเวกใบใหญ่, การเวกกระ และกระดังงาเขา กลุ่มที่มีปลายยอดเกสรเพสผู้เป็นติ่งแหลม มี 7 ชนิด คือ นมชะนี นมงัว กระดังงาจีน การเวก นาวน้ า สะบันงาเครือและการเวกหนัง การจ าแนกในระดับชนิดแสดงในรูปวิธาน กลุ่มที่ 2 กลุ่มกลีบดอกแคบ ได้จ าแนกออกเป็น 2 กลุ่มตามรูปร่างของกลีบดอก คือกลุ่มที่มีกลีบดอก รูปกระบองมี 1 ชนิดคือ ก๋าย ส่วนกลุ่มที่มีกลีบดอกรูปแถบมี 3 ชนิดคือ การเวกช่อ การเวกแดงและการเวกสุ มาตรา การจ าแนกในระดับชนิดแสดงในรูปวิธาน การจัดท าอนุกรมวิธานโดยการใช้สัณฐานของกลีบดอกเป็นสัณฐานหลัก โดยยึดตามการจ าแนกของ Sinclair (1955) และใช้สัณฐานของรูปร่างกลีบดอกและปลายอับเรณูเป็นสัณฐานรอง จะสามารถจ าแนกได้ ง่าย เนื่องจากกลุ่มกลีบดอกแคบและกลุ่มกลีบดอกกว้างมีความแตกต่างกัน หรือกลุ่มที่มีปลายยอดเกสรเพศ ผู้เป็นติ่งแหลมกับกลุ่มที่มีปลายยอดเกสรเพศผู้มนสามารถจ าแนกได้ง่ายทั้งในภาคสนามและใน ห้องปฏิบัติการ

รูปวิธานของพรรณไม้สกุลการเวกในประเทศไทย 1. กลีบดอกกว้าง – กลีบดอกทั้งสองชั้นกว้าง, แบนหรือรูปรี โดยมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างของกลีบ ดอกน้อยกว่า 3 เท่า 2. ปลายยอดเกสรเพศผู้มน 3. ใบมีขนาดกว้าง 8 – 11 ซม. และยาว 18 -30 ซม. ผลเกิดบนช่อดอกที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงและหนา 1. A .grandifolius (การเวกใบใหญ่) 3. ใบมีขนาดกว้าง 2 – 4.5 ซม. และยาว 7 - 13 15 ซม. ผลเกิดบนตะขอหรือช่อดอกสั้น 4. กลีบดอกชั้นนอกรูปหอก กลีบดอกชั้นในรูปขอบขนาน กิ่งตะขอ 1 ตะขอมีดอกย่อย 10 – 40 ดอก กลีบดอกชั้นนอกโค้งออกด้านนอก กลีบดอกชั้นในโค้งเข้าด้านใน เกสรเพศผู้ยาว 1 มม. ก้านดอกยาวมากกว่า 1.5 ซม. 2. A. aereus (การเวกกระ) 80 Thawee Insura and Wichan Eiadthong

4. กลีบดอกชั้นนอกรูปไข่ กลีบดอกชั้นในรูปไข่กว้าง กิ่งตะขอ 1 ตะขอมีดอกย่อย 1 - 3 ดอก เกสรเพศ ผู้ยาว 2 มม. ก้านดอกยาว 0.5 ซม. 3. A.oblanceolatus (กระดังงาเขา) 2. ปลายยอดเกสรเพศผู้มีติ่งแหลม 5. ใบมีขนสั้นนุ่มหรือขนยาวนุ่ม 6. ใบยาว 13.0 – 17.0 ซม. ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม 4. A. siamensis (การเวก) 6. ใบยาว 7.0 – 12.0 ซม. ผิวใบด้านล่างมีขนขนยาวนุ่ม 5. A. burmanicus (นมชะนี) 5. ใบเกลี้ยง 7.ใบกว้าง 2 – 3 ซม. ยาว 5 -8 ซม. ใบรูปไข่กลับ ปลายมนหรือเว้าบุ๋ม 6. A. spinosus (นมชะนี) 7. ใบกว้าง 3 - 7 ซม. ยาว 7 - 18 ซม. ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม 8. เมล็ดมีร่องเมล็ดตามยาวบริเวณด้านข้างของเมล็ด 2 ร่องและร่องตามขวางบริเวณฐาน เมล็ด 2 ร่อง 7. A. harmandii (นมงัว) 8. เมล็ดมีร่องเมล็ดตามยาวบริเวณด้านข้างของเมล็ด 2 ร่อง 9. ขอบใบ ม้วนลง 8. A. brevipes (การเวกหนัง) 9. ขอบใบ เรียบ 10. เกสรเพศผู้มีจุดแต้มสีแดงอยู่บริเวณปลายยอด เกสรเพศเมียยาว 5.5 ซม. 9.A. hexapetalus (กระดังงาจีน) 10. เกสรเพศผู้ไม่มีจุดแต้มสีแดงอยู่บริเวณปลายยอด เกสรเพศเมียยาว 3.5 ซม. 10. A. vanprukii (สะบันงาเครือ) 1. กลีบดอกแคบ– กลีบดอกทั้งสองชั้นรูปแถบหรือรูปทรงกระบอกกว้าง โดยมีอัตราส่วนความยาวต่อความ กว้างของกลีบดอกมากกว่า 3 เท่า 11. กลีบดอกทั้งสองชั้นรูปทรงกระบอกหรือคล้ายกระบองกว้าง 0.2 – 0.3 มม. ยาว 1.0 – 1.8 ซม. กลีบดอกสีขาวอมครีม 11. A. suaveolens (ก๋าย) 11. กลีบดอกรูปแถบ กว้าง 0.3 – 1.0 ซม. ยาว 3 – 5 ซม. 12. กลีบดอกกว้างมากกว่า 0.5 ซม. 12. A. multiflorus (การเวกช่อ) 12. กลีบดอกกว้างน้อยกว่า 0.5 ซม. 13. ใบกว้าง 5.0 – 8.5 ซม. และยาว 13.0 – 20.0 ซม. ผลกว้าง 1.8 – 2.2 ซม. ยาว 3.0 ซม. เมล็ดรูปไข่ ปลายมน 13. A. blumei (การเวกแดง) 13. ใบกว้าง 3.5 – 5.0 เซนติเมตร ยาว 10.0 – 13.0 ซม. ผลกว้าง 1 ซม. ยาว 1.5 ซม. เมล็ด รูปไข่ กลับ ปลายมน 14. A. sumatranus (การเวกสุมาตรา)

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 75-82. 2008. 81

ลักษณะนิเวศของพรรณไม้สกุลการเวก พรรณไม้ในสกุลนี้มีถิ่นกระจายพันธุ์ทั่วประเทศ การเวกเป็นชนิดที่มีพื้นที่กระจายพันธุ์กว้างที่สุด คือ พบได้เกือบทั่วประเทศยกเว้นในภาคใต้ ส่วนการเวกสุมาตรามี พื้นที่กระจายพันธุ์แคบ พบที่ภาคใต้ ในจังหวัด นครศรีธรรมราช พรรณไม้สกุลการเวกที่มี ถิ่นกระจายพันธุ์ใน ป่าเบญจพรรณมี 6 ชนิดคือ นมชะนี นมงัว กระดังงาเขา การเวก นาวน้ าและสะบันงาเครือ ป่าดิบชื้นมี 4 ชนิดคือ การเวกใบใหญ่ ก๋าย การเวกแดงและ การเวกสุมาตรา ป่าดิบเขามี 2 ชนิดคือ การเวกกระ และการเวกช่อ ป่าดิบแล้งมี 1 ชนิดคือ การเวกหนัง ใน ประเทศไทยมีการ น าเข้ามาปลูกประดับ 1 ชนิดคือกระดังงาจีน พรรณไม้สกุลการเวกพบในระดับความสูง ตั้งแต่ระดับน้ าทะเลจนถึง 1, 700 เมตร โด ยการเวกใบใหญ่ และก๋าย พบในระดับที่ต่ าที่สุดคือพบตั้งแต่ ระดับน้ าทะเล และการเวกกระ พบในระดับที่สูงที่สุดคือ 1,700 เมตรจากระดับน้ าทะเล พรรณไม้ในสกุลการเวก เมื่อน ามาจัดแบ่งเขตภูมิภาคการกระกระจายพันธุ์พืช ตามการจัดแบ่งของ เต็ม (2544) สามารถจัดแบ่งได้ดังนี้ ชนิดที่พบเฉพาะในภาคเดียวมี 6 ชนิด ดังนี้ การเวกแดง การเวกใบใหญ่และการเวกสุมาตราพบ เฉพาะในภาคใต้ การเวกหนังพบเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเวกช่อพบเฉพาะในภาคตะวันตก เฉียงใต้และกระดังงาเขาพบเฉพาะในภาคตะวันออก ชนิดที่พบกระจายใน 2 ภาคมี 3 ชนิด ดังนี้ การเวกกระ พบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นาวน้ าพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก และก๋ายพบในภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ชนิดที่พบกระจายครอบคลุม 3 ภาค มี 2 ชนิด ดังนี้ นมชะนี พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ สะบันงาเครือพบในภาคเหนือ ภาค ตะวันออกและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ชนิดที่พบกระจายครอบคลุม 4 ภาค มี 1 ชนิด คือ นมงัวพบในภาค ตะวันออกเฉียงแหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดที่พบกระจายครอบคลุม 5 ภาค มี 1 ชนิดคือ การเวกพบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางและภาค ตะวันตกเฉียงใต้ ชนิดที่น าเข้าปลูกประดับทั่วทุกภาคมี 1 ชนิด คือกระดังงาจีน ลักษณะนิเวศดังแสดงใน ตารางที่ 1

ค านิยม ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สนับสนุนทุนวิจัยระดับ บัณฑิตศึกษา และขอขอบคุณผู้ช่วยเหลือทุกท่านที่ท าให้งานวิจัยส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี

เอกสารอ้างอิง เต็ม สมิตินันท์. 2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). ส่วนพฤกษศาสตร์ ป่าไม้ ส านักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2544. พรรณไม้วงศ์กระดังงา. ส านักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 82 Thawee Insura and Wichan Eiadthong

Burkill, I.H. 1966. A Dictionary of The Economic Products of The Malay Peninsula. Ministry of Agriculture and co-operative, Kuala Lumpur. Craib, W.G. 1922. Contribution to The Flora of Siam. Bulletin of Miscellaneous Information. In Royal Botanic Gardens, Kew. Bulletin of Miscellaneous Information. 8(1):7-10. Craib, W.G. 1925. Contribution to The Flora of Siam. Bulletin of Miscellaneous Information. In Royal Botanic Gardens, Kew. Bulletin of Miscellaneous Information. 14(1):7-10. Kessler, P.J.A. 1993. Annonaceae. The Families and Genera of Vascular Plants. 2(1): 93-129. Sinclair, J. 1955. A Revision of the Malayan Annonaceae. Gard.bull. 14(2).

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 93-102. 2008.

การปลูกต้นจากในพื้นที่นาข้าว ที่ได้รับผลกระทบจากความเค็ม Nipa Palm (Nypa fruticans Wurmb.) Cultivation in Salt Affected Paddy Fields

นพรัตน์ บ ารุงรักษ์1 Noparat Bamroongrugsa สุภาพร บัวชุม1 Supaporn Buachum ช่อทิพย์ ปุรินทวรกุล1 Choathip Purintavaragu

ABSTRACT The experiment on planting of Nipa palm (Nypa fruticans Wurmb.), an economic mangrove plant, in salt affected paddy fields was carried out in Nakorn Si Thammarat Province, Southern Thailand. The results showed that land conditions had stronger effect on growth than seedling types or planting positions. The best growing condition for this experiment was found in wet-flat planting (low land) while slow and comparable growth rates were observed for normal flat and bed plantings. As for seedling types, bagged seedlings and wild seedlings (bare roots) showed less survival rates than growing from germinating fallen fruits. At 18 months after planting, however, maximum seedling height of 112.80 cm. was recorded for wet-flat planting whereas 50.30 cm. for fallen fruits grown in the middle of the bed and 89.86 cm. grown on the slope of furrow filled with water in the bed planting. The results indicated that soil moisture and/or soil compaction had a major role for growth and survival rates. Also, all seedlings showed higher survival rates in bed planting than normal flat planting.

Keywords: Nypa fruticans, Nipa cultivation, Planting Nipa in paddy fields, Nipa palm and salinity

บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องการปลูกต้นจากในพื้นที่นาข้าวที่ได้รับผลกระทบจากความเค็มในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมในการปลูกต้นจากซึ่งจัดเป็นพืชเศรษฐกิจบริเวณชายฝั่ง รวมทั้ง การผลิตน้้าตาลและแอลกอฮอล์ ผลการทดลองพบว่า สภาพพื้นที่ปลูกมีความส้าคัญมากเพราะพบว่าสภาพที่กล้า เจริญเติบโตดี และรวดเร็วได้นั้นต้องเป็นแปลงนาที่มีน้้าท่วมขังบ้างหรือชื้นแฉะ ส่วนนาข้าวที่น้้าแห้งในฤดูแล้ง หรือ การยกร่องให้มีน้้าหล่อเลี้ยงในคูนั้น กล้าไม้เจริญเติบโตช้ามากและมีอัตราการเจริญเติบโตไม่ต่างกันกัน นอกจากนี้ กล้าไม้ที่กระทบแล้งในปีที่ก้าลังทดลองโดยเฉพาะกล้าถอนจากป่าธรรมชาติและกล้าเพาะในถุง จะมีอัตราการรอด ตายน้อยกว่ากล้าที่ปลูกจากผลร่วง ในทางกลับกันแปลงนาที่ลุ่มแฉะ กล้าไม้เจริญเติบโตได้ดีมากถ้าใช้ผลร่วงปลูก คือ มีความสูง 112.80 ซม. เมื่ออายุ 18 เดือน แต่ กรณีนาข้าวที่น้้าแห้งในฤดูแล้ง เมื่อใช้ผลร่วงปลูกกลางร่อง กล้าไม้สูง เพียง 50.30 ซม. เมื่ออายุ 18 เดือน และเมื่อปลูกข้างร่องริมคูน้้า มีความสูง 89.86 ซม. นั่นคือ ปัจจัยของพื้นที่ปลูก รวมทั้งปริมาณความชื้น และความหนาแน่นของเนื้อดิน มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้าจาก คือ พื้นที่มีความชื้นมาก และดินร่วนซุยหน้าดินลึกจะเป็นที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการรอดตายของจาก นอกจากนี้ผลการทดลองยัง พบว่า พื้นนาที่น้้าแห้งในฤดูแล้ง การใช้กล้าถอน กล้าเพาะ และผลร่วง ปลูกในนาที่ยกร่องมีอัตราการรอดตายสูงกว่า นาที่ไม่ได้ยกร่อง ค าส าคัญ: ต้นจาก การปลูกต้นจาก ปลูกจากในนาข้าว ต้นจากกับความเค็ม

1 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ อ้าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112 Biology Department, Faculty of Science, Prince of Songkla University, Had Yai, Songkla, Thailand 90112 94 Noparat Bamroongrugsa and et.al.

ค าน า จากมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nypa fruticans Wurmb มีชื่อสามัญว่า Nipa Palm หรือ Nypah palm ต้น จากมีจ้านวนโครโมโซม 2n = 16 จัดอยู่ในวงศ์ (Family) Palmae หรือ Arecaceae บางคนจัดไว้ในวงศ์ Nypaceae และวงศ์ย่อย (Subfamily) Nypoidae เป็น genus ที่มีเพียง1 species เท่านั้น (Purseglove, 1972) จากมีล้าต้นอ้วนสั้น อาจเลื้อยตามผิวดินหากถูกน้้าเซาะหรืออยู่ใต้ผิวดินและสามารถแตกเป็น 2 ง่าม (dichotomous branching) เพื่อการขยายพันธุ์ และมีรากแตกออกมาจากล้าต้นด้านล่าง ล้าต้นใต้ดินหรือ เหง้านี้มีลักษณะอวบอ้วน แบนและแข็ง ต้นจากเจริญเติบโตได้ดีบริเวณชายฝั่งที่มีน้้ากร่อย แดดจ้า บริเวณ เขตร้อนทั่วไป ปัจจุบันจากมีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ศรีลังกา ปากแม่น้้าคงคา พม่า คาบสมุทรมาลายา อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ฟิลิปปินส์ และอาจไปทางเหนือถึงหมู่เกาะริวกิวในญี่ปุ่น ที่มีจาก ขึ้นบ้างประปราย หรือไปทางใต้จนถึงรัฐควีนแลนส์ ส่วนเหนือของประเทศออสเตรเลีย แต่ ต้นจากจะไม่ขึ้นใน ที่เค็มจัดจนเกินไป พื้นที่ลุ่มน้้าปากพนัง จ.นครศรีธรรมราชมีพื้นที่รวมกันประมาณ 1.9 ล้านไร่และ พื้นที่ส่วนใหญ่กว่า 5 แสนไร่ ใช้ท้านาและประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการท้านาและเคยรุ่งเรืองมากในอดีต แต่ในสภาพ ปัจจุบันพื้นที่ บางส่วนน้้าเสียที่เกิดมาจากการท้านากุ้งได้ไหลลงไปตามล้าน้้าต่างๆ ท้าให้พื้นที่บริเวณสองฝั่ง แม่น้้าปากพนังและล้าน้้าสาขามีสภาพเค็ม ไม่เหมาะที่จะท้าการเพาะปลูกข้าวอีกต่อไป นอกจากนั้นพืช เศรษฐกิจบางชนิด เช่น ต้นมะพร้าวและต้นตาลโตนด ก็ไม่อาจทนความเค็มของน้้าได้ นอกจากนี้ การถ่ายเท น้้าเสียซึ่งเป็นน้้าเค็มจากบ่อกุ้งระบายลงสู่ทางน้้าธรรมชาติ ท้าให้น้้าเค็มรุกล้้าพื้นที่นาข้าว ท้าให้เกิดสภาพดิน เค็มแพร่กระจายออกไป กลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงระหว่างราษฎรผู้ท้านากุ้งและที่ท้านาข้าวที่ ยากจะหา หาข้อยุติได้ ต้นจากเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของราษฎรบริเวณลุ่มน้้าปากพนัง โดยเฉพาะในการผลิตน้้าหวาน และน้้าตาล จึงได้มีการรณรงค์ปลูกต้นจากในบริเวณอ้าเภอปากพนัง เพื่อใช้เป็นพืชเศรษฐกิจในบริเวณพื้น ที่ดินเค็ม เพราะต้นจากเจริญเติบโตได้ดีในดินหรือ น้้าที่มี ความเค็ม ไม่สูงนัก จากการที่ได้ศึกษาเรื่องต้นจาก ในพื้นที่ลุ่มน้้าปากพนัง (นพรัตน์, 2540) พบว่า ต้นจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส้าคัญของประชาชนในลุ่มน้้าปาก พนัง เพราะต้นจากนอกจากมีคุณค่าทางนิเวศวิทยา เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้้าบริเวณชายฝั่งแล้ว ต้นจากยัง สามารถผลิตน้้าหวาน เพื่อท้าเป็นน้้าส้มสายชู ท้าแอลกอฮอล์ และท้าน้้าตาล โดยที่ 1 ก้านทะลายผล สามารถปาดเป็นชิ้นเล็กๆ ให้น้้าหวานวันละ 0.7 ลิตร หรือคิดเป็นผลผลิตน้้าตาลปี๊บ 165 กก.ต่อไร่ต่อเดือน จนท้าให้เกษตรกรที่อาศัยต้นจากมีมาตรฐานการครองชีพสูงกว่าอาชีพท้านาประมาณ 2-3 เท่า เช่นในพื้นที่ ต้นจากจ้านวน 3 ไร่ เมื่อผลิตเป็นน้้าตาลอย่างเดียวจะท้ารายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน และในต้าบล ขนาบนาก มีประมาณ 380 ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพนี้ เมื่อทดลองปลูกจากในนากุ้งทิ้งร้าง โดยการท้าลายคันนาบางส่วนเพื่อให้น้้าขึ้นลงได้ พบว่าหลังปลูก กล้าได้ 6 เดือน กล้าจะมีอัตราการรอดตายเกิน 75 เปอร์เซ็นต์ ทั้งกล้าอ่อนที่ใช้อายุ 2 เดือน และกล้าแก่อายุ 4 เดือน ส้าหรับอัตราการเจริญเติบโตของกล้านั้น พบว่ากล้าทั้งสองชนิดเมื่อมีอายุครบ 6 เดือน จะมีอัตราความ

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 93-102. 2008. 95

สูงและจ้านวนใบใกล้เคียงกันคือสูงประมาณ 105 ซม.และมีใบ 4 ใบ (นพรัตน์, 2540) ดังนั้น การที่น้าต้นจาก ไปปลูกทดแทนในนากุ้งทิ้งร้าง สามารถกระท้าได้ ถ้ามีการจัดการที่เหมาะสม ทั้งนี้นากุ้งดังกล่าว ควรเปิดทาง ระบายน้้าให้น้้าสามารถไหลเข้าออกได้บ้างเมื่อน้้าขึ้นลงหรือฝนชุก ดินควรเป็นดิน -โคลนหรือมีหน้าดินลึก เพียงพอให้ ล้าต้นใต้ดินของจากเจริญเติบโตได้ นอกจากพื้นที่นากุ้งร้าง แล้ว ยังมีพื้นที่อีกส่วนหนึ่งที่เป็นนา ข้าว จึงควรปรับปรุงพื้นที่นาข้าวที่ได้รับผลกระทบจากความเค็มที่ถูกทิ้งร้าง จากผลกระทบจากการเลี้ยงกุ้ง ด้วยการทดลองปลูกต้นจากดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้จึง มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ก.หาวิธีการและเทคนิคที่ เหมาะสมในการปลูกต้นจากในพื้นที่ที่เคยเป็นนาข้าว ที่ได้รับผลกระทบจากความเค็ม ข. เพื่อฟื้นฟู สภาพแวดล้อมจากการท้าลายของน้้าเค็ม ค. เพื่อขยายพื้นที่ของป่าต้นจากที่มีจ้ากัด และก้าลังจะถูกท้าลาย ให้เพียงพอกับการใช้ ประโยชน์ของชุมชนและ ง. เพื่อจัดท้าแปลงสาธิตการปลูกต้นจากในพื้นที่นาข้าวที่ได้รับ ผลกระทบจากความเค็ม อุปกรณ์และวิธีการ แบ่งพื้นที่ปลูกจากออกเป็น 3 ส่วน คือพื้นที่นาข้าวส่วนที่ท้าการปรับสภาพโดยการยกร่องส่วนที่เป็น พื้นที่นาข้าวซึ่งไม่ยกร่อง และพื้นที่นาข้าวที่ลุ่มชื้นแฉะ(ภาพที่1) ในส่วนที่ยกร่องนั้น ได้ยกร่องให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 4 เมตร ให้มีลักษณะลาดชันเพื่อปลูกต้นจากบนเนินลาดชันนั้น การยกร่อง ได้ช่วย แก้ปัญหาน้้าท่วมขังในฤดูฝนได้ระดับหนึ่ง เพราะต้นจากไม่ชอบสภาพน้้าท่วมขังอยู่ตลอด แบ่งพื้นที่ส่วนแรก ออกเป็น 3 แปลง (block) แต่ละแปลงมี 4 หน่วยทดลอง คือ ก. ปลูกด้วยกล้าถอนข้างร่อง (กล้าเปลือยราก อายุประมาณ 1 ปี) ข.ปลูกด้วยกล้าเพาะ (กล้าถุง) ข้างร่อง ค.ปลูกด้วยผลร่วงบนร่อง ง. ปลูกด้วยผลร่วงข้าง ร่อง ในแต่ละหน่วยทดลองปลูก 75 ต้นโดยกล้าถอนที่ใช้ทดลองจะคัดเลือกให้มีขนาดสม่้าเสมอกัน คือ ความสูงประมาณ 45-55 เซนติเมตร รอบกอ 10-15 เซนติเมตร และจ้านวนใบ 2-5 ใบ ปลูกกล้าถอนบริเวณ ข้างร่องเพื่อไม่ให้ต้นจากขาดน้้าในช่วงฤดูแล้ง การปลูกผลร่วง ได้คัดเลือกผลจาก ที่แทงหน่อแล้ว ความสูง ประมาณ 8-15 เซนติเมตร จะปลูกข้างร่องและบนร่องเนื่องจากได้มีการศึกษาที่พบว่ารากต้นจากจะงอกเร็ว มากหากปลูกจากผล (นพรัตน์ บ้ารุงรักษ์ และช่อทิพย์ ปุรินทวรกุล, 2543) ท้าให้เชื่อว่าหากปลูกในช่วงที่ดินมี ความชุ่มชื้น รากต้นจากจะสามารถดูดน้้าจากท้องร่อง ได้ในฤดูแล้ง ส่วนกล้าเพาะนั้น ได้คัดเลือกที่มีขนาด สม่้าเสมอและใกล้เคียงกับกล้าถอน ส้าหรับกล้าที่น้ามาปลูก ได้คัดเลือกกล้าพันธุ์ดีส้าหรับการท้าน้้าตาล ซึ่ง เป็นพันธุ์ในบริเวณ ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง จ. นครศรีธรรมราช และเริ่มปลูก เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 ในส่วนที่สองคือพื้นที่นาข้าวส่วนที่ไม่มีการยกร่อง แบ่งพื้นที่ส่วนนี้ออกเป็น 3 แปลง แต่ละแปลงมี 3 หน่วยทดลองคือ ปลูกด้วยกล้าถอน ผลร่วง และกล้าเพาะ แต่ละหน่วยทดลองปลูก 75 ต้นเช่นกัน ส่วนพื้นที่ที่ สาม ซึ่งเป็นพื้นที่นาข้าวที่ลุ่มซึ่งมีความชื้นสูง น้้าท่วมขังเกือบตลอดทั้งปี แล้วปลูกด้วยผลร่วง เพื่อทดสอบ ความสามารถในการอยู่รอดของผลร่วงทั้ง 3 ลักษณะพื้นที่ และพื้นที่ปลูกทั้ง 3 ส่วนนี้จะปลูกระยะห่าง 4x4 เมตร ท้าการบันทึกอัตราการเจริญเติบโตของต้นจาก โดยนับจ้านวนใบ วัดความสูงโดยวัดจากระดับชิดผิว

96 Noparat Bamroongrugsa and et.al.

ดินถึงปลายยอด และเส้นรอบวงโดยวัด รอบกอคือบริเวณก้านใบที่แผ่กว้างชิดดิน สุ่มวัดจ้านวน 10 ต้นใน 1 หน่วยทดลองของแต่ละแปลง และบันทึกอัตราการรอดตายเป็นระยะ ตั้งแต่เริ่มปลูก 2 4 8 12 และ 18 เดือน

ภาพที่ 1 แสดงการยกร่องปลูกจาก และการเจริญของจาก ในพื้นที่นาชุ่มน้้าตลอดปี

ผลการทดลองและวิจารณ์ การเจริญเติบโตด้านความสูง การเจริญเติบโตด้านความสูงของต้นจาก หน่วยทดลองต่างๆ พบว่า เมื่อต้นจากอายุ 18 เดือน ความสูงของ กล้าที่ปลูกด้วยผลร่วงในพื้นที่นาข้าวที่ลุ่มชื้นแฉะ มีความสูงเฉลี่ยสูงสุด คือ 112.80 เซนติเมตร ในขณะที่การ ปลูกด้วยผลร่วงในพื้นที่นาข้าวยกร่องปลูกบริเวณกลางร่อง มีการเจริญเติบโตด้านความสูงเฉลี่ยต่้าสุด คือ 50.30 เซนติเมตร ส่วนการปลูกด้วยผลร่วง-ไม่ยกร่อง กล้าเพาะ-ไม่ยกร่อง ผลร่วง-ยกร่อง (ปลูกข้างร่อง) กล้า ถอน-ไม่ยกร่อง และกล้าถอน- ยกร่อง มีความสูงเฉลี่ย 91.06 89.96 89.86 89.33 88.66 และ 87.96 ตามล้าดับ(กราฟที่1)

ผลร่วง ยกร่อง(กลางร่อง) ความสงู ของกลา้ จากชุดทดลองท ี่ 1 ผลร่วง ยกร่อง(ข้างร่อง) ความสงู (ซม.) 120 ผลร่วง ไม่ยกร่อง 100 ผลร่วง ที่ลมุ่ ชื้นแฉะ 80 60 กลา้ ถอน ยกร่อง 40 กลา้ ถอน ไม่ยกร่อง

20

่อ

่อ

่อ

ก ง

ร 0

่อ ก

) กลา้ เพาะ ยกร่อง

) ร

เดือน ม

่อ

่อ

ื้

่อ

ุ่

อ ่

18 ี

(

้า

้า ไ

12 ถ

ล า

้ กลา้ เพาะ ไม่ยกร่อง

้า

8 (

่อ

่ว

4 ล

่ว

่อ

ร ก

2 ก

ย ล

0

่ว

่ว

ร ผ ล ลกั ษณะกลา้ จาก ผ

กราฟที่ 1 เปรียบเทียบการเจริญเติบโตด้านความสูงเฉลี่ยของกล้าจากหน่วยทดลองต่างๆ ตั้งแต่ เริ่มปลูกจนถึงอายุ 18 เดือน (หมายเหตุ: สัญลักษณ์ได้อธิบายในภาพกราฟ)

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 93-102. 2008. 97

เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า การเจริญเติบโตด้านความสูงเฉลี่ยของผลร่วง ที่ปลูกในนา ข้าวที่ลุ่มชื้นแฉะสูงกว่ากล้าในหน่วยทดลองอื่นอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p<0.05) ตั้งแต่กล้าอายุ 12 จนถึง 18 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า การเจริญเติบโตด้านความสูงเฉลี่ยของผลร่วงที่ปลูกในนาข้าวที่ ลุ่มชื้นแฉะสูงกว่ากล้าในหน่วยทดลองอื่นอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p<0.05) ตั้งแต่กล้าอายุ 12 จนถึง 18 เดือน ในขณะที่ผลร่วงในนาข้าวยกร่องปลูกกลางร่อง มีการเจริญเติบโ ต ด้านความสูงเฉลี่ยต่้าสุดอย่างมี นัยส้าคัญ ทางสถิติ (ตั้งแต่กล้ามีอายุ 4 เดือน จนถึง 18 เดือน) อย่างไรก็ตามพบว่ากล้าที่ปลูกในแปลงยกร่อง และไม่ยกร่อง ทั้งกล้าถอน ผลร่วง (ปลูกข้างร่อง) และกล้าเพาะ มีการเจริญเติบโตด้านความสูงที่ไม่แตกต่าง กัน กล่าวคือ การปรับสภาพพื้นที่ด้วยการยกร่อง พบว่าไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตด้านความสูงของต้นจาก และเมื่อพิจารณา จากปัจจัยชนิดกล้า พบว่า เมื่อกล้าอายุตั้งแต่ 12 เดือนจนถึง 18 เดือน กล้าทุกชนิดมีการ เจริญเติบโตด้านความสูง ที่ไม่แตกต่างกัน

จ านวนใบของกล้าจากชุดทดลองที่ 1

จ านวนใบ 12 ผลร่วง ที่ลมุ่ ชื้นแฉะ 10 ผลร่วง ยกร่อง(กลางร่อง) ผลร่วง ยกร่อง(ข้างร่อง) 8 ผลร่วง ไม่ยกร่อง 6 กลา้ เพาะ ยกร่อง กลา้ เพาะ ไม่ยกร่อง 4 กลา้ ถอน ยกรอง่ กลา้ ถอน ไม่ยกร่อง

) 2

)

่อ

่อ

ื้

ง 0

่อ

่อ

่อ

ุ่

(

(

่อ

ี่

ง ร

18 ง

่ ย

เดือน ท

ม อ

12 ่

่อ

ะ ร

8 ง

่ว ก

4 ก

่ว

พ ไ

2 ย

ง า

0 ้

่ว

่ว

้า

้า

้า

ล ก

กราฟที่ 2 การเจริญเติบโตด้านจ้านวนใบของกล้าจากหน่วยทดลองต่างๆ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงอายุ 18 เดือน (หมายเหตุ: สัญลักษณ์ได้อธิบายในภาพกราฟ)

การเจริญเติบโตด้านจ้านวนใบของต้นจากในหน่วยทดลองต่างๆ พบว่า เมื่อกล้าจากอายุ 18 เดือน จ้านวนใบของกล้าที่ปลูกด้วยผลร่วงในนาข้าวที่ลุ่มชื้นแฉะ มีจ้านวนใบเฉลี่ยสูงสุดคือ 10.23 ใบ ในขณะที่การ ปลูกด้วยผลร่วงในนาข้าวยกร่องปลูกกลางร่อง มีจ้านวนใบเฉลี่ยต่้าสุด คือ 2.96 ใบ ส่วนการปลูกด้วย ผล ร่วง-ยกร่องปลูกข้างร่อง ผลร่วง -ไม่ยกร่อง กล้าเพาะ -ไม่ยกร่อง กล้าเพาะ -ยกร่อง กล้าถอน-ยกร่อง และ กล้าถอนไม่ยกร่อง มีจ้านวนใบเฉลี่ย 3.80 3.63 3.36 3.30 3.16 และ 3.16 ตามล้าดับ (กราฟที่ 2)เมื่อ ทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่า การเจริญเติบโตด้านจ้านวนใบเฉลี่ยของกล้าจากที่ปลูกด้วยผลร่วงใน

98 Noparat Bamroongrugsa and et.al.

นาข้าวที่ลุ่มมีการเจริญเติบโตด้านจ้านวนใบเฉลี่ยสูงกว่ากล้าปลูกอื่น อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อกล้ามีอายุตั้งแต่ 8 จนถึง 18 เดือน และพบว่ากล้าเพาะ กล้าถอน และ ผลร่วง (ยกร่อง-ข้างร่อง และไม่ ยกร่อง ) ที่ปลูกในแปลงยกร่องและไม่ยกร่องมีจ้านวนใบเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ กล่าวคือ การปรับสภาพพื้นที่ด้วยการยกร่องไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตด้านจ้านวนใบของต้นจาก แต่เมื่อ พิจารณาลักษณะกล้าต่างกันที่ปลูกในพื้นที่เดียวกัน พบว่า จ้านวนใบเฉลี่ยของกล้าเพาะและกล้าถอนไม่ แตกต่างกัน แต่จะแตกต่างจากจ้านวนใบของผลร่วง ซึ่งมีจ้านวนใบเฉลี่ยสูงกว่ากล้าชนิดอื่นอย่างมีนัยส้าคัญ ทางสถิติ นั่นคือลักษณะกล้าที่ต่างกันมีผลต่อการเจริญเติบโตด้านจ้านวนใบที่ต่างกัน

การเจริญเติบโตด้านเส้นรอบวง (รอบกอ) เจริญเติบโตด้านเส้นรอบวงบริเวณโคนกอของกล้าจากหน่วยทดลองต่างๆ พบว่าเมื่อกล้าอายุ 18 เดือน กล้าจากที่ปลูกด้วยผลร่วงในนาข้าวที่ลุ่มชื้นแฉะ มีการเจริญเติบโตด้านเส้นรอบวงเฉลี่ยสูงกว่าหน่วยทดลอง อื่นๆ คือ 98.70 เซนติเมตร ในขณะที่กล้าจากที่ปลูกด้วยผลร่วงพื้นที่ยกร่องปลูกกลางร่องมีการเจริญเติบโต ด้านเส้นรอบวงเฉลี่ยต่้าสุดคือ 15.16 เซนติเมตร ส่วน ผลร่วง-ยกร่อง (ปลูกข้างร่อง) กล้าเพาะ-ยกร่อง ผลร่วง- ไม่ยกร่อง กล้าถอน-ยกร่อง กล้าเพาะ - ไม่ยกร่อง และกล้าถอนไม่ยกร่อง มีเส้นรอบวงเฉลี่ย 21.53 21.36 21.20 21.10 20.90 และ 20.66 เซนติเมตร ตามล้าดับ (กราฟที่ 3)

เส้นรอบวงของกล้าจากชุดทดลองที่ 1 ผลรว่ ง ยกรอ่ ง(กลางรอ่ ง)

เส้นรอบวง (ซม.) ผลรว่ ง ยกรอ่ ง(ขา้ งรอ่ ง) 100

80 ผลรว่ ง ไมย่ กรอ่ ง 60

40 กล้าถอน ยกรอ่ ง

20

่อ

ง อ

่ 0

ื้น

่อ

)

)

ก อ

่ กล้าถอน ไมย่ กรอ่ ง

ุ่

ร อ

เดือน ่

่อ

่อ

ี่

้า

่ ง

18 า

่ว ล

12 (

ก ้

8 า

(

่อ

4 ล

่ว

้ า

2 ก

่อ

ร ก

0 ล กล้าเพาะ ยกรอ่ ง

่ว

่ว

ล ร

ผ ลักษณะกล้าจาก

ล ผ กล้าเพาะ ไมย่ กรอ่ ง

ผลรว่ ง ทลี่ ุ่มชื้นแฉะ

กราฟที่ 3 เส้นรอบวงของกล้า จากหน่วยทดลองต่างๆ ตั้งแต่เริ่มปลูก ถึง 18 เดือน

(หมายเหตุ: สัญลักษณ์ได้อธิบายในภาพกราฟ)

เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่า เมื่อกล้ามีอายุตั้งแต่ 4 เดือน จนถึง 18 เดือน กล้าจากที่ปลูก ด้วยผลร่วงในนาข้าวที่ลุ่มชื้นแฉะมีการเจริญเติบโตด้านเส้นรอบวงสูงกว่าหน่วยทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยส้าคัญ

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 93-102. 2008. 99

ทางสถิติ ในขณะที่กล้าจากอายุตั้งแต่ 8 เดือน ถึง 18 เดือนที่ปลูกด้วยผลร่วงในพื้นที่ยกร่องปลูกบริเวณกลาง ร่องนั้นมีการเจริญเติบโตด้านเส้นรอบวงน้อยกว่าหน่วยทดลองอื่น อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ ส่วนผลร่วง-ยก ร่อง (ปลูกข้างร่อง) ผลร่วง-ไม่ยกร่อง กล้าเพาะ-ยกร่อง กล้าเพาะ-ไม่ยกร่อง กล้าถอน-ยกร่อง และกล้าถอน ไม่ยกร่อง การเจริญเติบโตด้านเส้นรอบวงเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ เมื่อกล้าอายุ ตั้งแต่ 8 เดือนจนถึง 18 เดือน

อัตราการรอดตาย หลังจากสิ้นสุดการทดลอง เมื่อกล้าจากอายุ 18 เดือน พบว่ากล้าที่ปลูกด้วยผลร่วงในพื้นที่ยกร่อง และปลูกข้างร่องมีการรอดตายสูงสุด คือ 95 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่กล้าถอนในนาข้าวไม่ยกร่องมีอัตราการรอด ตายต่้าสุดคือ 48 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลร่วง-ยกร่อง (ปลูกบนร่อง) ผลร่วง-ไม่ยกร่อง ผลร่วง-นาข้าวชื้นแฉะ กล้า เพาะ-ยกร่อง กล้าถอน-ยกร่อง และกล้าเพาะ-ไม่ยกร่อง มีอัตราการรอดตาย 92, 90, 84, 80, 66 และ 58 เปอร์เซ็นต์ ตามล้าดับ (ตารางที่ 1) เมื่อเปรียบเทียบอัตราการรอดตายของกล้าชนิดเดียวกันในพื้นที่ต่างกัน พบว่า ทั้งกล้าถอน กล้าเพาะ และผลร่วง ที่ปลูกในพื้นที่ยกร่อง มีอัตราการรอดตายสูงกว่า กล้าที่ปลูกในพื้นที่ นาข้าวไม่ยกร่อง และจะพบว่าผลร่วงมีอัตราการรอดตายสูงสุด ส่วนกล้าถอนมีอัตราการรอดตายต่้าสุด การ ตายของกล้าจาก จะสูงในช่วง 2 เดือนแรก ยกเว้นผลร่วง หลังจากนั้นอัตราการตายจะค่อยๆ ลดลง จนกล้า อายุ 8 เดือน อัตราการรอดตายจะค่อยๆ คงที่

ตารางที่ 1 อัตราการรอดตายของกล้าจากหน่วยทดลองต่างๆ ช่วงอายุ ตั้งแต่ 2-18 เดือน

อายุกล้า อัตราการรอดตายแบบ ยกร่อง ( % ) อัตราการรอดตายแบบ ไม่ยกร่อง ( % ) จาก กล้า ผลร่วง กล้าเพาะ ผลร่วง กล้าถอน ผลร่วง กล้าเพาะ ผลร่วง ที่ลุ่ม (เดือน) ถอน (บนร่อง) (ข้างร่อง) ชื้นแฉะ 2 80 98 90 99 74 98 84 95 4 74 96 88 97 66 95 76 93 8 68 94 84 96 51 92 63 86 12 67 93 83 95 50 90 60 84 18 66 92 80 95 48 90 58 84

จากการทดลองปลูกต้นจากในพื้นที่นาข้าวที่กระทบความเค็มครั้งนี้ พบว่าสภาพพื้นที่ ที่กล้าจาก เจริญเติบโตได้ดีและรวดเร็วนั้น ต้องเป็นพื้นนาที่มีน้้าท่วมขังบ้างหรือชื้นแฉะ หรือพื้นนาตั้งอยู่ในที่ลุ่ม มีน้้าขัง พอควร ส่วนนาข้าวที่ไม่มีน้้าขังในฤดูแล้ง หรือท้าการยกร่องนั้น มีการเจริญเติบโตช้ามาก โดยมีระดับของการ เจริญเติบโตใกล้เคียงกัน ที่เป็นเช่นนี้น่าจะมีสาเหตุมาจาก ความแห้งแล้งของแปลงนาที่ยกร่อง และแปลงนา ในสภาพปกติที่ขาดแคลนน้้าที่เกิดขึ้นในระยะแรกของการปลูก คือการทดลองได้เริ่มในเดือนกันยายน พ .ศ. 2546 แต่ในเดือน มกราคม -เมษายน 2547 พื้นที่ปลูกประสบกับภัยแห้งแล้งอย่างหนัก ปริมาณน้้าฝนของ

100 Noparat Bamroongrugsa and et.al.

พื้นที่ปลูกในระยะดังกล่าวอยู่ในช่วง 30-70 ซม.ต่อเดือน จนท้าให้น้้าในคู ขาดน้้าเลี้ยงต้นกล้าอย่างเพียงพอ ตลอดจน ดินบนเนินร่องก็มีความชื้นน้อย จนกล้าไม้มีสีเหลืองและแคระแกร็น กล้าไม้บางส่วนตายโดยเฉพาะ กล้าถอนจากธรรมชาติ และกล้าเพาะ ที่น่าสังเกตคือ กล้าที่ปลูกจากผลร่วง มีอัตรารอดตาย มากกว่ากล้าไม้ ชนิดอื่น (ตารางที่ 1) ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองชุดก่อนในพื้นที่นากุ้งทิ้งร้างที่พบว่าการปลูกผลร่วง กล้าไม้มี ความแข็งแรงและเจริญเติบโตทันกันกับกล้าไม้ชนิดอื่นในระยะเวลาหลัง 1 ปี (นพรัตน์ และ ช่อทิพย์, 2543) ในทางกลับกัน แปลงนาข้าวในที่ลุ่มแฉะ การปลูกผลร่วง กล้าไม้เจริญเติบโตดีมากโดยมีความสูง 112.80 ซม. เมื่ออายุ 18 เดือน เมื่อพิจารณาถึงความเค็มของน้้าในดิน พบว่าความเค็มในนาทุกแปลงมีค่าน้อยกว่า 4 psu ซึ่งเป็น ความเค็มที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นจาก จึงไม่น่าจะเป็นสาเหตุที่ท้าให้กล้าจากชะงักการ เจริญเติบโต ในท้านองเดียวกัน เมื่อพิจารณาถึงระดับของน้้าท่วมขัง ซึ่งมีระยะเวลาสั้นและไม่ท่วมยอดกล้า จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตเช่นกัน ส้าหรับคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีภาพ ของดิน พบว่านาข้าวที่ยกร่อง ดินแข็งมากกว่าแปลงอื่น ในขณะที่นาข้าวในที่ลุ่ม ดินอ่อนกว่าพื้นที่ทุกแปลง เชื่อว่าราก จากสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าทุกแปลง ดังนั้นการขาดน้้าในฤดูแล้งและความแข็งของดิน น่าจะเป็นปัจจัย จ้ากัดการเจริญเติบโตของกล้าจาก เพราะแม้ค่า pH ในแปลงป่าจากธรรมชาติอยู่ในช่วง 6-7 พบว่าใกล้เคียง กับพื้นที่นาข้าวยกร่องและไม่ยกร่อง ก็ไม่น่าส่งผลต่อการเจริญเติบโต ความแตกต่างด้านความสูงของกล้าในพื้นที่ต่างกัน คือ ในที่ลุ่มและที่แห้งเมื่ออายุ 18 เดือนเป็นสิ่งที่ น่าสนใจคือ กล้าที่ปลูกในนาข้าวที่ลุ่มแฉะ โดยผลร่วงมีความสูงถึง 112.80 ซม. ในขณะที่การใช้ผลร่วงปลูก กลางร่องสูงเพียง 50.30 ซม.(กราฟที่ 1) แสดงถึงปัจจัยของพื้นที่ปลูก คือ ปริมาณความชื้นและความ หนาแน่นของดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของจาก รวมถึง จ้านวนใบ (10.23 ใบ กับ 2.96 ใบ) และเส้นรอบวง (รอบกอ) ที่มีค่า 98.70 ซม. กับ 15.16ซม. (ซึ่งต่างกันประมาณ 6 เท่า) ค้าอธิบายที่อาจเป็นไปได้คือ กล้าไม้ที่ ปลูกกลางร่อง แบบยกร่องมีความชื้นน้อย รากจะชอนไชลงดินได้ยากกว่าดินชื้น เช่น ปลูกในที่ลุ่ม แฉะ หรือ ติดคูน้้า ท้าให้กล้าไม้ที่ปลูกกลางร่องเจริญเติบโตช้ากว่า อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยส้าคัญ ทางสถิติ ด้านความสูงของกล้า จ้านวนใบ และเส้นรอบวงของกอ จากการทดลองปลูกแบบอื่น ซึ่งแสดงว่าเมื่อ พื้นที่ขาดความชื้น การเจริญเติบโตของจากอยู่ในสภาพใกล้เคียงกัน นอกจากนี้อัตราการรอดตายของกล้าจากในชุดทดลองต่างๆ (ตารางที่ 1) พบว่า หลังจากปลูกได้ นาน 18 เดือนนั้น กล้าที่ปลูกด้วยผลร่วงข้างร่องมีอัตรารอดตายมากถึง 95% ในขณะที่การปลูกด้วยกล้าถอน ในนาข้าวไม่ยกร่องมีอัตรารอดตายน้อย คือเพียง 48% แสดงว่า การปลูกด้วยผลร่วงมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะรากสามารถชอนไชสู่พื้นดินได้ดี และรากแข็งแรง กว่ากล้าชนิดอื่น เพราะกล้าถอนหรือกล้าเพาะจะมี ปัญหาในการเจริญเติบโตของรากที่ช้ากว่า ยิ่งเมื่อมีความชื้นในดินน้อยด้วยแล้ว กล้าดังกล่าวจะประสบ ปัญหาในการฟื้นตัวและ การเจริญเติบโต เพราะอาหารที่หล่อเลี้ยงรากที่อยู่ในผล (endosperm) ถูกใช้หมดไป แล้ว ในขณะที่กล้าที่ปลูกจากผลจะมีระบบรากที่เจริญเติบโตดี และแทงดินได้ระดับลึก สามารถดูดความชื้น ได้ดีกว่า ผลร่วงจึงมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองชุดแรก (นพรัตน์ และช่อทิพย์, 2543)

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 93-102. 2008. 101

ดังนั้น การใช้ผลปลูกจึงน่าจะประหยัดเวลา เพราะน้าไปปลูกในพื้นที่ได้เลยไม่ต้องรอการเพาะกล้า และ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนย้ายกล้าและประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะแรก อย่างไรก็ตาม หากปลูกใน พื้นที่ที่มีระดับน้้าท่วมขังสูง หรือ มีวัชพืชหนาแน่น การปลูกด้วยกล้าที่มีความสูงระดับหนึ่ง เช่น กล้าเพาะ หรือ กล้าถอนจากธรรมชาติ จึงมีความจ้าเป็น อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า ทั้งการใช้กล้าถอน กล้าเพาะ และผลร่วง ปลูกในนาข้าวที่ยกร่อง มีอัตรารอดตาย สูงกว่านาข้าวที่ไม่ยกร่อง เหตุผลที่เป็นไปได้ในการอธิบาย เช่น ศัตรูพืช เนื่องจาก นาข้าวที่ยกร่องจะมี ปูนา กัดกินล้าต้น หรือ หนู มารบกวนกล้าไม้น้อยกว่านาข้าวไม่ยกร่องและนาข้าวใน ที่ลุ่มแฉะ การท่วมขังของน้้า บริเวณท้องร่องของนาที่ยกร่องจะช่วยให้ร่องมีความชื้นพอเลี้ยงกล้าได้ดีกว่านาที่แห้งขาดความชื้น นอกจากนี้ ปริมาณออกซิเจนในดินที่สูงกว่าของร่องที่ถูกยก ก็เป็นปัจจัยส้าคัญ เพราะดินมีลักษณะร่วนซุยกว่า (247.66 mv) พื้นนาที่ไม่ได้รบกวนดิน (158.66 mv) การมีออกซิเจนในดินสูง ท้าให้รากพืช มีการหายใจสะดวกกว่า ดิน แข็ง มีออกซิเจนน้อย ท้าให้มีอัตราการรอดตายในดินร่วนมากกว่า อย่างไรก็ตาม พบว่าในระยะ 2 เดือนแรก พบว่า กล้าไม้ตายมาก แต่อัตราการตายจะลดลงและคงที่ เมื่อกล้ามีอายุมากกว่า 8 เดือน ทั้งนี้เชื่อว่าในระยะ ต้นกล้าอ่อน จะเป็นช่วงที่อ่อนไหว (sensitive) ต่อปัจจัยแวดล้อม เหมือนพืชอื่นโดยทั่วไป แต่เมื่อเลยระยะ กล้าอ่อนไปแล้ว ต้นพืชจะสร้างเนื้อเยื่อที่ให้ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของรากและล้าต้น ดังนั้นในระยะ การเจริญเติบโตของกล้าก่อนอายุ 8 เดือน จะเป็นระยะที่ต้องดูแล เพิ่มความระมัดระวัง เอาใจใส่ต่อต้นจาก เป็นพิเศษ ทั้งความชื้นในดิน และปริมาณออกชิเจนในดิน

สรุปและข้อเสนอแนะ จากการวิจัย เรื่อง “การปลูกต้นจากในพื้นที่นาข้าวที่ได้รับผลกระทบจากความเค็ม ” สามารถสรุป สาระส้าคัญจากการวิจัย ได้ดังนี้ 1. สภาพพื้นที่เหมาะสมส้าหรับแปลงนากระทบความเค็ม เพื่อใช้ในการปลูกต้นจากนั้น ควรเป็น แปลงที่มีน้้าท่วมขัง หรือชื้นแฉะ หรือพื้นนาที่ตั้งอยู่ในที่ลุ่ม มีน้้าขังพอสมควรในฤดูแล้ง 2. ส้าหรับนาข้าวที่ไม่มีน้้าขังในฤดูแล้ง หรือ ท้าการยกร่อง โดยท้าคูเพื่อขังน้้านั้น พบว่า กล้าจาก เจริญเติบโตช้า และมีอัตราการตายสูง เมื่อกระทบแล้ง และดินแข็งกว่าแปลงชื้นแฉะ 3. เมื่อศึกษาการเจริญเติบโตของกล้าไม้อายุ 18 เดือน โดยใช้กล้าที่ปลูกจากผลร่วงในพื้นที่ลุ่มและ พื้นที่แห้งมีความแตกต่างของทั้งสองพื้นที่ค่อนข้างสูงคือ ความสูง 112.80 ซม. กับ 50.30 ซม. จ้านวนใบ 10.23 ใบกับ 2.96 ใบ เส้นรอบวงของกอ 98.70 ซม. กับ 15.16 ซม. ตามล้าดับ 4. การใช้ผลร่วงปลูกนั้น กล้าไม้ที่มีอัตรารอดตายมากกว่าการใช้กล้าเพาะ หรือกล้าขุดจาก ธรรมชาติ และกล้าจากผลร่วงสามารถเจริญเติบโตได้ทันกัน เมื่ออายุกล้ามากกว่า 1 ปี 5. เมื่อกล้าอายุ 18เดือน กล้าที่ปลูกด้วยผลร่วงข้างร่องมีอัตรารอดตายมากถึง 95% ในขณะที่ การปลูกด้วยกล้าถอนในนาข้าวไม่ยกร่อง มีอัตรารอดตายเพียง 48% แสดงว่า การปลูกข้างร่องน้้าและใช้ผล

จ านวนใบของกล้าจากชุดทดลองที่ 1

จ านวนใบ 12 ผลร่วง ที่ลมุ่ ชื้นแฉะ 10 ผลร่วง ยกร่อง(กลางร่อง) ผลร่วง ยกร่อง(ข้างร่อง) 8 102 ผลร่วง ไม่ยกร่อง Noparat Bamroongrugsa and et.al. 6 กลา้ เพาะ ยกร่อง

) กลา้ เพาะ ไม่ยกร่อง

)

ง อ

่ 4 กลา้ ถอน ยกรอง่

่อ

ร แ

ง กลา้ ถอน ไม่ยกร่อง

ง ง

ร่วงปลูกจะท้าให้กล้าจากรอดตายสูง จึงเสนอแนะให้ใช้ผลร่วงา 2 หากพื้นที่ขาดแคลนน้้าในฤดูแล้ง เพราะการใช้

่อ

ื้

่อ

่อ

่อ

(

(

ุ่ ก

ร 0

ี่

่อ

่อ

ม ม

ผลร่วงจะประหยัดในการขนส่ง ประหยัดเวลา และแรงงานในการปลูกท

ไ ย

18

ม ก เดือน ก

12 า

่ว

8 ย

่ว า

4 ร

ง ง

2 ร

้า

่ว

่ว

0 6. การใช้กล้าถอน กล้าเพาะล และผลร่วง ปลูกในนาข้าวที่ยกร่อง มีอัตรารอดตายสูงกว่านาข้าวที่ไม่

้า

้า

้า

ล ก

ยกร่อง แต่การเจริญเติบโตใกล้เคียงกันก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนาข้าวที่ยกร่องมีศัตรูพืช น้อยกว่า และมีความชื้น จากน้้าในคูช่วยหล่อเลี้ยงกล้าได้นานกว่า ดังนั้น การยกร่อง จึงควรพิจารณา หากประสงค์ให้มีกล้าไม้รอด ตายสูง 7. เนื่องจากธรรมชาติของต้นจากมักประสบปัญหาและอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง ของ

สภาพแวดล้อม ในระยะตั้งตัวของกล้า (establishment) แต่เมื่อพ้นระยะนี้ไปแล้ว จากการสังเกตพบว่า กล้า จากมักมี หัวใต้ดิน (rhizome) เกิดขึ้น มีการแตกของรากแขนงอีกมากมาย ต้นกล้า จะเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็ว เมื่อมีความชื้นพอเหมาะ แต่ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ระยะเวลาเพียงประมาณ 2 ปี เชื่อว่าในปีถัดไปจะ สามารถสังเกตการเจริญเติบโตของต้นจากในสภาพ การปลูกต่างๆได้ชัดเจนขึ้น 8. การปลูกจากในนาข้าวที่กระทบความเค็มนั้น พื้นที่ต้องได้รับน้้าหล่อเลี้ยงเพียงพอ โดยเฉพาะฤดู แล้ง ต้องท้าให้พื้นที่ปลูกมีน้้าอยู่เสมอ เพื่อการเจริญเติบโตของราก และการคืบคลานของล้าต้นใต้ดิน (rhizome) การขาดแคลนความชื้นยังท้าให้ดินแข็ง กล้ามีลักษณะซีดเหลือง และอาจตายได้

เอกสารอ้างอิง นพรัตน์ บ้ารุงรักษ์. 2540. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาด้านนิเวศวิทยา ประโยชน์ใช้สอย และ การขยายพันธุ์ต้นจากในพื้นที่ลุ่มน้้าปากพนัง จ. นครศรีธรรมราช. ส้านักงานคณะ กรรมการวิจัยแห่งชาติ. 65หน้า นพรัตน์ บ้ารุงรักษ์ และ ช่อทิพย์ ปุรินทวรกุล. 2543. รายงานการวิจัยเรื่องวิธีการปลูก, การเจริญ เติบโตและการเร่งน้้าหวาน เพื่อการผลิตน้้าตาลของต้นจากในพื้นที่นากุ้งทิ้งร้างของลุ่มน้้าปากพนัง. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 35 หน้า Purseglove, J.W. 1972. Tropical Crops: Monocotyledon., Vol.1 and 2 combined, Longman Group Ltd. pp. 427-428

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 83-92. 2008.

Hosts ของกล้วยไม้อิงอาศัยในป่าดิบเขาบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี Hosts of Epiphytic Orchids in Hill Evergreen Forest in Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary Uthai Thani Province

ปัญญา สุขสมกิจ1 Panya Sooksomkit ดวงใจ ศุขเฉลิม2 Duangchai Sookchaloem

ABSTRACT Study on hosts of epiphytic orchids in Hill Evergreen Forest in Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary (HKK), Uthai Thani Province was carried out by surveying and collecting data from selected areas of plant homogeneously distribution at mean several sea levels of 1000, 1100, 1200, 1300, and 1400 m.alt. with 2 stands (20x50 m./stand) per level, totaling of 10 stands were sampled to record and collect orchid specimens, the number of orchids, and host plant species. The orchids and host plant species were classified and identified. Thirty-three orchid species, from 18 genera were found, of which 26 species are epiphytic orchids. Forty-nine tree species from 39 genera (22 families) were found to be the hosts of those epiphytic orchids. The dominant hosts were Cleistocalyx nervosum (DC.) A.J.D.H. Kostermans and Vitex glabrata R.Br.

Keyword: epiphyte orchids, host, Hill Evergreen Forest, Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary. Email address: [email protected]

บทคัดย่อ

การศึกษา Hosts ของกล้วยไม้อิงอาศัย ในป่าดิบเขาบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัด อุทัยธานี ด่าเนินการโดยการส่ารวจและเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่มีการกระจายของพรรณไม้อย่างสม่่าเสมอ เก็บข้อมูลที่ ความสูงจากระดับน้่าทะเลเฉลี่ย 5 ระดับ คือ 1,000 เมตร 1,100 เมตร 1,200 เมตร 1,300 เมตร และ 1,400 เมตร ระดับละ 2 หมู่ไม้ รวม 10 หมู่ไม้ ในแต่ละหมู่ไม้ประกอบด้วยแปลงย่อยขนาด 10 x 10 เมตร จ่านวน 10 แปลง บันทึก ชนิดและจ่านวนกล้วยไม้ ชนิดต้นไม้ที่กล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัย จ่าแนกและวินิจฉัยชนิดกล้วยไม้และต้นไม้ที่กล้วยไม้ขึ้นอิง อาศัย จากการศึกษาพบกล้วยไม้ 33 ชนิด 18 สกุล เป็นกล้วยไม้ที่พบขึ้นอิงอาศัย บนต้นไม้ 26 ชนิด และต้นไม้ที่ กล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยพบจ่านวน 49 ชนิด 39 สกุล 22 วงศ์ ไม้เด่นที่กล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัย ได้แก่ หว้า (Cleistocalyx nervosum (DC.) A.J.D.H. Kostermans) และ ไข่เน่า (Vitex glabrata R.Br.) ค่าส่าคัญ : กล้วยไม้อิงอาศัย ป่าดิบเขา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

1 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation. 2 ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, Faculty of Forestry, Kasetsart University.

84 Panya Sooksomkit and Duangchai Sookchaloem

ค าน า

กล้วยไม้เป็นพืชที่มีความสวยงาม ตามหลักอนุกรมวิธานแล้วกล้วยไม้จัดอยู่ในวงศ์ Orchidaceae กระจายทั่วโลกประมาณ 25,000 ชนิด มีการส่ารวจกล้วยไม้ในประเทศไทยพบจ่านวน 177 สกุล 1,125 ชนิด กล้วยไม้ทุกชนิดในประเทศไทยถูกจัดให้เป็นพืชอนุรักษ์ (พืชป่าในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญา CITES) และของ ป่าหวงห้าม (ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาก่าหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ2530. ) แสดงให้เห็นถึงความส่าคัญของ การจะอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ให้คงไว้ การอนุรักษ์กล้วยไม้ให้คงอยู่กับธรรมชาติจ่าเป็นต้องทราบสภาพถิ่นที่อยู่ อาศัยของกล้วยไม้ และปัจจัยที่จ่าเป็นต่อการกระจายของกล้วยไม้ในธรรมชาติ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ส่าคัญ เพื่อการวางแผนในการอนุรักษ์กล้วยไม้ทั้งในถิ่นก่าเนิด (In-situ) และนอกถิ่น (Ex-situ) ในประเทศไทยมี กล้วยไม้อิงอาศัย (epiphytic orchid) จ่านวนประมาณ 65 % ของจ่านวนกล้วยไม้ทั้งหมด (วีระชัย, 2543) แต่ การศึกษาชนิดต้นไม้ที่เป็น Host ของกล้วยไม้อิงอาศัยยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน ในการศึกษาครั้งนี้จึงมี วัตถุประสงค์ที่จะศึกษา Hosts ของกล้วยไม้อิงอาศัยในป่าดิบเขา บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลชนิดต้นไม้ที่มีผลต่อกล้วยไม้อิงอาศัยในสภาพธรรมชาติ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถน่ามาใช้ใน การวางแผนการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่ามิให้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติและการพิจารณาในการน่ากล้วยไม้มาปลูก คืนสู่ธรรมชาติ

อุปกรณ์และวิธีการ

อุปกรณ์ 1. แผนที่ระวางมาตราส่วน 1: 50,000 2. เครื่องมือค้นหาพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Global Position System, GPS) 3. เข็มทิศ 4. เชือกและเทปวัดระยะทาง 5. แผนป้ายเขียนสัญลักษณ์ติดพันธุ์ไม้ (tag) 6. แอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ 7. กล้องส่องทางไกล 8. กล้องถ่ายรูป

วิธีการ 1. ส่ารวจพื้นที่และวิธีการสุ่มตัวอย่าง ส่ารวจพื้นที่และสุ่มเลือกหมู่ไม้ตัวอย่าง (stands) ในป่าดิบเขาบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขา แข้ง โดยวางแปลงตามระดับความสูงในช่วงที่มีการกระจายของป่าดิบเขา คือที่ระดับความสูงเฉลี่ย 1,000 เมตร, 1,100 เมตร 1,200 เมตร 1,300 เมตร 1,400 เมตรจากระดับน้่าทะเล ระดับละ 2 หมู่ไม้ รวมเป็น 10 หมู่ไม้ ในแต่ละหมู่ไม้ประกอบด้วยแปลงย่อยขนาด 10 x 10 เมตร จ่านวน 10 แปลง (0.1 เฮกแตร์/หมู่ไม้) Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 83-92. 2008. 85

2. การศึกษา Host ของกล้วยไม้อิงอาศัย บันทึกชนิดและจ่านวนกล้วยไม้ ชนิดต้นไม้ที่กล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัย จ่าแนกและวินิจฉัยชนิดกล้วยไม้ และต้นไม้ที่กล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัย

ผลการทดลองและวิจารณ์

จากการศึกษาพบว่ากล้วยไม้ที่พบในพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 33 ชนิด มีกล้วยไม้ที่พบขึ้นอิงอาศัยอยู่บน ต้นไม้ชนิดต่างๆ จ่านวน 26 ชนิด ตามตารางที่ 1 โดยขึ้นอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้ชนิดต่างๆ จ่านวน 49 ชนิด (39 สกุล 22 วงศ์) ตามตารางที่ 2

ชนิดไม้ที่พบกล้วยไม้หลากชนิดขึ้นอิงอาศัย เรียงล่าดับจากจ่านวนชนิดกล้วยไม้ที่มากสุดไปน้อย ที่สุดดังนี้ หว้า (Cleistocalyx nervosum (DC.) A.J.D.H. Kostermans) พบกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัย 17 ชนิด หว้าอ่างกา (Syzygium angkae (Craib) Chantar. & J.Parn.) 13 ชนิด ไข่เน่า (Vitex glabrata R.Br.) 12 ชนิด พะอง (Calophyllum polyanthum Wall. Ex Choisy) 11 ชนิด ไคร้ย้อย (Elaeocarpus grandiflorus Sm.) 10 ชนิด หว้าป่า (Syzygium tetragonum (Wight) Walp.) 9 ชนิด Canarium sp. 8 ชนิด Ehretia sp. และ สะทิบ (Phoebe paniculata (Nees) Nees) 7 ชนิด เมียดต้น (Litsea matabanica (Kurz) L.f) 6 ชนิด ส่วนพรรณไม้นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว มีกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่ประมาณ2- 5 ชนิด ได้แก่ Alseodaphne sp., สีเสื้อ (Homalium ceylanicum (Gardner) Benth.) ทังใบช่อ (Nothaphoebe umbelliflora Blume), Cryptocarya sp., Myrica sp., มะค่าดีควาย (Sapindus rarak DC.) อินป่า (Diospyros pendula Hasselt ex Hassk.) ก่อ (Lithocarpus 2) จวงหอม (Neocinnamomum caudatum Kosterm), Sarcosperma 2, Turpinia sp., Beilschmidia sp., มะมือ (Choerospondias axillaris (Roxb.) Bl. Burtt & Hill) นกนอน ใบแดง (Cleistanthus (cf.) rufus (Hook.f.) Gehrm.) ตะเกราน้่า (Eriobotrya bengalensis (Roxb.) Hook.f.) Glycosmis sp., เต้าดง (Macaranga indica Wight) คอแลน (Nephelium hypoleucum Kurz) มะคังดง (Ostodes paniculata Blume), ก่อปลายจักร (Quercus rex (Hemsl.) Schottky) ก่อ (Quercus sp.), Sterculia sp. และ อีแปะ (Vitex quinata (Lour.) F.N. Williums) ส่วนชนิดไม้ที่พบกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัย น้อยที่สุดเพียง 1 ชนิด ได้แก่ ต่อไส้ (Allophylus cobbe (L.) Raeusch.) แกง (Cinnamomum tamala (Hamilton) Nee & Eberm) กล้วยฤาษี (Diospyros glandulosa Lace) ล่าพูป่า (Duabanga grandiflora (Roxb. ex DC.) Walp.) ก้อม (Ehretia laevis Roxb.), ก่อ (Lithocarpus sp.1), Neolitsea sp., Persia sp., แหลบุก (Phoebe lanceolata (Wall.ex Nees) Nees) Prismatomeris sp., ตองเต่า (Pterospermum cinnamomeum Kurz) มะเหลี่ยม (Rhus javanica L. var. chinensis (Mill.) T. Yamaz.), Sarcosperma sp. 1, ปอแดง (Sterculia guttata Roxb.) กัดลิ้น (Walsura trichostemon Miq) และ Unknown 1 นอกจากนี้ยัง พบกล้วยไม้ 11 ชนิด อิงอาศัยบนต้นไม้ยืนต้นตาย

86 Panya Sooksomkit and Duangchai Sookchaloem

เมื่อเปรียบเทียบจ่านวนต้นของกล้วยไม้ที่ขึ้นอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้ ชนิดไม้ที่พบกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัย เรียงล่าดับจากจ่านวนต้นกล้วยไม้มากที่สุดไปน้อยที่สุดดังนี้ คือ ไข่เน่า (Vitex glabrata R.Br.) พบกล้วยไม้ ขึ้นอิงอาศัย 907 ต้น (37.65 %) หว้า (Cleistocalyx nervosum (DC.) A.J.D.H. Kostermans) 303 ต้น (12.58 %) หว้าอ่างกา (Syzygium angkae (Craib) Chantar.& J.Parn.) 239 ต้น (9.92 %) ไคร้ย้อย (Elaeocarpus grandiflorus Sm.) 132 ต้น (5.48 %) อีแปะ (Vitex quinata (Lour.) F.N. Williums) 109 ต้น (4.52 %) หว้าป่า (Syzygium tetragonum (Wight) Walp.) 99 ต้น (4.11%) Ehreria sp. 89 ต้น (3.69 %) มะค่าดีควาย (Sapindus rarak DC.) 81 ต้น (3.36 %) Canarium sp. พบกล้วยไม้ 61 ต้น (2.53 %) สะทิบ (Phoebe paniculata (Nees) Nees) 44 ต้น (1.83 %) พะอง (Calophyllum polyanthum Wall. Ex Choisy) 42 ต้น (1.74 %) เมียดต้น (Litsea matabanica (Kurz) L.f) 24 ต้น (1 %) ส่วนพรรณไม้ที่เหลืออีก 37 ชนิด พบกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่ระหว่าง 1-22 ต้น (0.04-0.91 %) และพบกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้ตาย 48 ต้น (1.99 %)

จากการศึกษาของประหยัด (2528) รายงานว่าพรรณไม้เด่น 6 ชนิด ของสังคมป่าดิบเขาในเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้แก่ ก่อลิ้ม (Castanopsis indica A.DC.) พะอง (Calophyllum polyanthum Wall) Sterculia sp. ก่อหนาม (Castanopsis costata Miq) คอแลน (Nephelium hypoleucum Kurz) หว้า (Syzygium spp.) เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาครั้งนี้ที่ศึกษาชนิดไม้ที่กล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัย กล่าวได้ว่าไม้เด่น ในพื้นที่มีบางชนิดที่กล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่จ่านวนมากชนิด แต่ไม่ได้หมายความว่ามีจ่านวนต้นกล้วยไม้ขึ้น เป็นจ่านวนมากที่สุดด้วย ในที่นี้ต้นไม้ที่กล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่มากชนิดที่สุดในการศึกษาครั้งนี้ คือ หว้า (Cleistocalyx nervosum (DC.) A.J.D.H. Kostermans) ซึ่งค่อนข้างเป็นไม้เด่นในพื้นที่ แต่ชนิดไม้ที่พบ จ่านวนต้นกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่มากที่สุด คือไข่เน่า (Vitex glabrata R.Br.) ซึ่งเป็นไม้ที่ไม่ใช่เป็นไม้เด่นใน พื้นที่ป่าดิบเขา แสดงให้เห็นว่าไม้แต่ละชนิดมีผลต่อการเจริญเติบโต การด่ารงชีพของกล้วยไม้ที่จะขึ้นอิงอาศัย อยู่ด้วย จึงท่าให้ไม้บางชนิดซึ่งแม้ว่าจะมีความเด่นในพื้นที่แต่กลับพบว่ากล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่ในปริมาณ น้อย แต่ไม้บางชนิดซึ่งแม้ว่าจะมีความเด่นในพื้นที่น้อยกลับพบกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยมาก ซึ่งน่าจะมีปัจจัย บางอย่างที่เป็นตัวก่าหนด หรือมีผลต่อการเจริญเติบโตและการด่ารงชีพของกล้วยไม้ ที่เหมาะสมกว่าพรรณ ไม้อื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับ Goh and Kluge (1989b) และ Dessler (1981) ได้เคยสันนิษฐานไว้ว่าการที่ต้นไม้ บางชนิดเหมาะส่าหรับเป็นแหล่งอิงอาศัยที่ดีของกล้วยไม้โดยดูจากจ่านวนของกล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่มาก ในขณะที่ ต้นไม้ชนิดอื่นในพื้นที่เดียวกันมีกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่น้อย หรืออาจไม่มีกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่เลยนั้น น่าจะ เกิดจากสภาพของกิ่งหรือเปลือกของต้นไม้ที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดกล้วยไม้ เป็นตัวก่าหนดว่ากล้วยไม้จะ เจริญเติบโตอยู่บนต้นไม้นั้นได้หรือไม่ ซึ่งอันที่จริงแล้วกล้วยไม้ต้องการเพียงซากอินทรีย์ที่สะสมอยู่บนพื้นผิวที่ กล้วยไม้ขึ้นอยู่ จากต้นไม้ที่ขึ้นอิงอาศัยเท่านั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้ (Goh and Kluge 1989b)

นอกจากนี้โครงสร้างภายนอกของต้นไม้ ได้แก่ ลักษณะโครงสร้าง (structure) ของเปลือกไม้มี ความส่าคัญต่อการงอกของเมล็ด และการตั้งตัวของต้นอ่อนของกล้วยไม้ (seedling) กล่าวคือลักษณะของ Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 83-92. 2008. 87

เปลือกที่มีการซึมซับน้่าได้ดีคล้ายฟองน้่า ผิวขรุขระ จะมีความสามารถในการเก็บรักษาน้่าไว้ได้นานและเก็บ น้่าได้ปริมาณเพียงพอที่จะท่าให้เกิดการงอกของเมล็ดและการรอดตายของต้นอ่อนของกล้วยไม้ และในทาง กลับกันเปลือกที่มีผิวเรียบจะท่าให้น้่าหรือความชื้นที่ผิวเปลือกแห้งเร็วซึ่งย่อมไม่เอื้ออ่านวยต่อการงอกของ เมล็ดกล้วยไม้ นอกจากนั้นปัจจัยทางด้านคุณสมบัติทางเคมีมีความส่าคัญเช่นกัน เช่นในป่าเมฆ (clould forest) ประเทศแม็กซิโก ก่อ (Quercus sp.) ชนิดที่มี gallic acid ต่่า พบว่ามีกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่จ่านวน มาก ในขณะที่ต้นไม้ชนิดอื่นที่มี gallic acid มากในเปลือกไม่พบกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่เลย (Goh and Kluge 1989c) ในการศึกษาที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งครั้งนี้พบว่าเปลือกของต้นไข่เน่า (Vitex glabrata R.Br.) พบกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่จ่านวนมากที่สุด มีลักษณะของเปลือกแตกเป็นร่องตื้นๆ (fissured bark) ตลอดล่าต้น ส่วนหว้า (Cleistocalyx nervosum (DC.) A.J.D.H. Kostermans) พบว่าบางส่วนของล่า ต้นเปลือกจะเรียบ จนถึงขรุขระ ผสมกับการแตกเป็นเสก็ด (scaly bark) และพบว่าเปลือกที่แตกร่อนเป็นเสก็ด ค่อนข้างนุ่มซึมซับน้่าและรักษาความชื้นได้ดี และพบว่าในที่ระดับสูง1,300 -1,400 เมตรจากระดับน้่าทะเลมักจะมี มอส เฟิร์นขึ้นอยู่ค่อนข้างหนาแน่นบนต้นไม้ชนิดนี้ จากลักษณะของเปลือกดังกล่าวน่าจะเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อ การงอกของเมล็ดกล้วยไม้ และสามารถเจริญเติบโตจนตั้งตัวได้ตามที่ได้กล่าวไว้ จึงท่าให้ต้นไม้ทั้ง 2 ชนิด เหมาะส่าหรับเป็นแหล่งอิงอาศัยที่ดีของกล้วยไม้ในพื้นที่ศึกษา

เมื่อเปรียบเทียบชนิดกล้วยไม้ที่พบขึ้นอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้ชนิดต่างๆ พบว่าเอื้องล่าต่อ (Pholidota articulata Lindl.) เป็นกล้วยไม้ที่ขึ้นบนต้นไม้หลากหลายชนิดที่สุด คือ ขึ้นบนต้นไม้ 24 ชนิด และยังพบขึ้นบน ต้นไม้ยืนต้นตายเช่นกัน ส่วนชนิดกล้วยไม้ระดับรองลงไป พบขึ้นบนต้นไม้จ่านวนหลากชนิดมากไปหาน้อย เรียงล่าดับดังนี้ เอื้องสายน้่าผึ้ง (Dendrobium primulinum Lindl.) พบขึ้นบนต้นไม้ 16 ชนิด เอื้องเทียนหนู (Coelogyne schultesii Jain & Das) 13 ชนิด และยังพบขึ้นบนต้นไม้ตายเช่นเดียวกัน ส่วนตะขาบสอง ตะพัก (Eria bipunctata Lindl.) และสามปอยนก (Vanda brunnea Rchb.f.) 12 ชนิด พบขึ้นบนต้นไม้ที่ตาย แล้ว สิงโตก้านหลอด (Bulbophyllum capillipes Parish & Rchb.f.) 11 ชนิด ส่วนชนิดกล้วยไม้ที่เหลือ ตัวอย่างเช่น เอื้องกลีบม้วนสีนวล (Liparis bistriata Par. & Rchb.f.) เอื้องเทียนใบรี (Coelogyne fimbriata Lindl.) เสือลาย (Gastrochilus calceolaris (Buch.-Ham. ex J.E.Sim.) D.Don) เอื้องเทียนล่าเขียว (Coelogyne lentiginosa Lindl.) เอื้องมณี (Schoenorchis gemmata (Lindl.) J.J.Sm.) เอื้องตะขาบขาว (Eria siamensis Schltr.) สามารถขึ้นอิงอาศัยบนต้นไม้ได้ 2-10 ชนิด ส่วนกล้วยไม้ที่พบขึ้นอิงอาศัยบน ต้นไม้ 1 ชนิด ได้แก่ กะเรกะร่อนปากแดง (Cymbidium dayanum Rchb.f.) เอื้องสายสามสี (Dendrobium crystallinum Rchb.f.) เอื้องปากคู้ (Liparis bootanensis Griff.) และเอื้องฟันปลา (Sunipia scariosa Lindl.)

ความสัมพันธ์ระหว่างกล้วยไม้กับชนิดต้นไม้ที่กล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่ในประเทศไทยยังไม่เคยมี การศึกษามาก่อน ในต่างประเทศมีการศึกษาในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย เคยมีรายงานว่าในประเทศมาเลเซีย กล้วยไม้ขึ้นเฉพาะเจาะจงกับชนิดต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น กล้วยไม้สกุล Phalaenopsis sps. 88 Panya Sooksomkit and Duangchai Sookchaloem

ประมาณ 80 % พบขึ้นอิงอาศัยอยู่บนต้น Diplodiscus paniculatus กล้วยไม้สกุลแวนด้า (Vanda sanderana ) มากกว่า 95 % พบขึ้นอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้กลุ่มไม้วงศ์ยาง (Dipterocarps) และ กล้วยไม้สกุล หวาย (Dendrobium taurinum) ไม่พบขึ้นอยู่บนต้นไม้ชนิดอื่นเลยนอกจากต้นไม้ในสกุล Pterocarpus L. (Goh and Kluge 1989b) แต่มีข้อโต้แย้งว่าในการส่ารวจอาจท่ากับไม้ที่เป็นชนิดเด่นในพื้นที่ศึกษา เช่น ในป่า ต่่า (lowland forest) มีไม้วงศ์ยาง (Dipterocarps) เป็นชนิดไม้เด่นในป่าที่ส่ารวจ หรืออาจเป็นเพราะว่ากลุ่ม ของต้นไม้ดังกล่าวมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในช่วงของปัจจัยแวดล้อมเดียวกันกับกล้วยไม้ จึงท่า ให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกล้วยไม้กับต้นไม้ที่ขึ้นอิงอาศัยอยู่ ภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน แต่เมื่ออยู่ใน สภาพแวดล้อมอื่น อาจสัมพันธ์กับต้นไม้ชนิดอื่นก็เป็นได้ (Goh and Kluge 1989a)

จากผลการศึกษาการกระจายของกล้วยไม้ในป่าดิบเขา บริเวณห้วยขาแข้งในครั้งนี้พบว่ากล้วยไม้ กลุ่มที่เป็นชนิดเด่นในพื้นที่ศึกษา ส่วนใหญ่จะขึ้นอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้มากชนิด ส่วนกล้วยไม้มีประชากรน้อย ในพื้นที่ศึกษา พบว่าขึ้นอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้น้อยชนิด แต่ไม่พบว่ากล้วยไม้ชนิดใดในพื้นที่ศึกษาเลือกขึ้น เฉพาะเจาะจงต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ตารางที่ 1 ชนิดกล้วยไม้อิงอาศัยที่พบ

ล าดับ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อพื้นเมือง 1 Bulbophyllum capillipes Parish & Rchb.f. สิงโตก้านหลอด 2 Bulbophyllum nigrescens Rolfe สิงโตรวงข้าวด่า 3 Coelogyne fimbriata Lindl. เอื้องเทียนใบรี 4 Coelogyne lentiginosa Lindl. เอื้องเทียนล่าเขียว 5 Coelogyne schultesii Jain & Das เอื้องเทียนหนู 6 Cymbidium dayanum Rchb.f. กะเรกะร่อนปากแดง 7 Dendrobium crystallinum Rchb.f. เอื้องสายสามสี 8 Dendrobium primulinum Lindl. เอื้องสายน้่าผึ้ง 9 Dendrobium thyrsiflorum Rchb.f. เอื้องมอนไข่ใบมน 10 Dendrobium wardianum Warner เอื้องมณีไตรรงค์ 11 Eria amica Rchb.f. นิมานรดี 12 Eria bipunctata Lindl. ตะขาบสองตะพัก 13 Eria discolor Lindl. เอื้องตาลหิน 14 Eria pannea Lindl. เอื้องนิ้วนาง

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 83-92. 2008. 89

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ล าดับ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อพื้นเมือง 15 Eria siamensis Schltr. เอื้องตะขาบขาว 16 Gastrochilus calceolaris (Buch.-Ham. Ex J.E.Sim.) D.Don เสือลาย 17 Liparis bistriata Par. & Rchb.f. เอื้องกลีบม้วนสีนวล 18 Liparis bootanensis Griff. เอื้องปากคู้ 19 Liparis caespitosa (Thou) Lindl เอื้องข้าวนก 20 Liparis viridiflora (Bl) Lindl. เอื้องดอกหญ้า 21 Otochilus fuscus Lindl. สร้อยระย้า 22 Pholidota xillaries Lindl. เอื้องเทียนหนู 23 Pholidota convallariae (Rchb.f.) Hook.f. เอื้องล่าต่อเล็ก 24 Schoenorchis gemmata (Lindl.) J.J.Sm. เอื้องมณี 25 Sunipia scariosa Lindl. เอื้องฟันปลา 26 Vanda brunnea Rchb.f. สามปอยนก

ตารางที่ 2 ชนิดต้นไม้ที่พบกล้วยไม้ขึ้นอิงอาศัยอยู่

ล าดับ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อพื้นเมือง ชื่อวงศ์ 1 Allophylus cobbe (L.) Raeusch. ต่อไส้ SAPINDACEAE 2 Alseodaphne sp. LAURACEAE 3 Beilschmiedia sp. LAURACEAE 4 Calophyllum polyanthum Wall. Ex Choisy พะอง GUTTIFERAE 5 Canarium sp. BURSERACEAE 6 Choerospondias xillaries (Roxb.) B.L.Burtt & Hill มะมือ ANACARDIACEAE 7 Cinnamomum tamala (Hamilton) Nees & Eberm. แกง LAURACEAE 8 Cleistanthus (cf.) rufus (Hook.f.) Gehrm. นกนอนใบแดง EUPHORBIACEAE 9 Cleistocalyx nervosum (DC.) A.J.D.H. Kostermans หว้า MYRTACEAE 10 Cryptocarya sp. LAURACEAE 11 Diospyros pendula Hasselt ex Hassk. อินป่า EBENACEAE 12 Diospyros glandulosa Lace กล้วยฤาษี EBENACEAE

90 Panya Sooksomkit and Duangchai Sookchaloem

ตารางที่ 2 (ต่อ)

ล าดับ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อพื้นเมือง ชื่อวงศ์ 13 Duabanga grandiflora (Roxb. ex DC.) Walp. ล่าพูป่า SONNERATIACEAE 14 Ehretia laevis Roxb. ก้อม BORAGINACEAE 15 Ehretia sp. BORAGINACEAE 16 Elaeocarpus grandiflorus Sm. ไคร้ย้อย ELAEOCARPACEAE 17 Eriobotrya bengalensis (Roxb.) Hook.f. ตะเกราน้่า ROSACEAE 18 Glycosmis sp. RUTACEAE 19 Homalium ceylanicum (Gardner) Benth. สีเสื้อ FLACOURTIACEAE 20 Lithocarpus sp. 1 ก่อ FAGACEAE 21 Lithocarpus sp. 2 ก่อ FAGACEAE 22 Litsea martabarnica (Kurz) L.f. เมียดต้น LAURACEAE 23 Macaranga indica Wight เต้าดง EUPHORBIACEAE 24 Myrica sp. MYRICACEAE 25 Neocinnamomum caudatum Kosterm. จวงหอม LAURACEAE 26 Neolitsea sp. LAURACEAE 27 Nephelium hypoleucum Kurz คอแลน SAPINDACEAE 28 Nothaphoebe umbelliflora Blume ทังใบช่อ LAURACEAE 29 Ostodes paniculata Blume มะคังดง EUPHORBIACEAE 30 Persia sp. LAURACEAE 31 Phoebe lanceolata (Wall. ex Nees) Nees แหลบุก LAURACEAE 32 Phoebe paniculata (Nees) Nees สะทิบ LAURACEAE 33 Prismatomeris sp. RUBIACEAE 34 Pterospermum cinnamomeum Kurz ตองเต่า STERCULIACEAE 35 Quercus rex (Hemsl.) Schottky ก่อปลายจัก FAGACEAE 36 Quercus sp. ก่อ FAGACEAE 37 Rhus javanica L. var. chinensis (Mill.) T.Yamaz. มะเหลี่ยมหิน ANACARDIACEAE 38 Sapindus rarak DC. มะค่าดีควาย SAPINDACEAE 39 Sarcosperma 1 SAPOTACEAE 40 Sarcosperma 2 SAPOTACEAE 41 Sterculia guttata Roxb. ปอแดง STERCULIACEAE Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 83-92. 2008. 91

ตารางที่ 2 (ต่อ)

ล าดับ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อพื้นเมือง ชื่อวงศ์ 42 Sterculia sp. STERCULIACEAE 43 Syzygium angkae (Craib) Chantar. & J.Parn. หว้าอ่างกา MYRTACEAE 44 Syzygium tetragonum (Wight) Walp. หว้าป่า MYRTACEAE 45 Turpinia sp. STAPHYLEACEAE 46 Vitex glabrata R.Br. ไข่เน่า LABIATAE 47 Vitex quinata (Lour.) F.N.Williams อีแปะ LABIATAE 48 Walsura trichostemon Miq. กัดลิ้น MELIACEAE 49 Unknown 1 50 ไม้ตาย

ค านิยม

ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวิทย์ แสงทองพราว และ รองศาสตราจารย์ จิตราพรรณ พิลึก ที่กรุณาให้ค่าปรึกษาแนะน่าในการท่าการวิจัย เจ้าหน้าที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางร่า กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทุกท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่า เขานางร่า ที่ช่วยในการเก็บข้อมูล และขอขอบคุณ คุณสุธิดา ศิลปสุวรรณ คุณศิริศักดิ์ ทนงรบ คุณอรุณ สิน บ่ารุง คุณสุคิด เรืองเรือ คุณธีรเดช วิเชียรฉันทน์ และ คุณบุษบา โคสารคุณ ที่ช่วยเหลือในการจ่าแนกพรรณ ไม้ ผลงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เอกสารอ้างอิง

ประหยัด ฐิตะธรรมกุล. 2528. การเปลี่ยนแปลงพืชพรรณตามระดับความสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วีระชัย ณ นคร. 2543. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ (เล่มที่ 6). โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์, กรุงเทพฯ. Goh, C.J. and M. Kluge. 1989a. Gas Exchange and Water Relations in Epiphytic Orchids, pp. 139-166. In U. Luttge (ed), as Epiphytes: Evolution and Ecophysiology. Springer-Verlag Berlin Heidelberg, Germany. 92 Panya Sooksomkit and Duangchai Sookchaloem

Goh, C.J. and M. Kluge. 1989b. Gas Exchange and Water Relations in Epiphytic Orchids, pp. 139-166. In U. Luttge (ed), Vascular Plant as Epiphytes: Evolution and Ecophysiology. Springer-Verlag Berlin Heidelberg, Germany. Cited F.W. Went. 1940. Soziologie der epiphyten eines tropischen Urwaldes. Annales du Jardin Botanique de Buitenzorg. 50: 1-98. Goh, C.J. and M. Kluge. 1989c. Gas Exchange and Water Relations in Epiphytic Orchids, pp. 139-166. In U. Luttge (ed), Vascular Plant as Epiphytes: Evolution and Ecophysiology. Springer-Verlag Berlin Heidelberg, Germany. Cited J.K. Frei. 1973. Orchid ecology in a cloud forest in the moutains of Oaxaca, Mexico. Am Orchid Soc Bull. 42: 307-314. and J.K. Frei. 1973b. Effect of bark substrate on germination and early growth of Encyclia tempensis seeds. Am Orchid Soc Bull. 42: 701-708. Dressler, S. H. 1981. The Orchid: Natural History and Classification. Harvard University Press, Massachusetts.

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125

การส ารวจพรรณพืชเบื้องต้นบริเวณเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี Tentatively Survey on Vegetation at Ko Kred, Nonthaburi Province

ดวงใจ ศุขเฉลิม1 และ มานพ ผู้พัฒน์ 2 Duangchai Sookchaloem 1 and Manop Poopath 2

ABSTRACT Tentatively survey on vegetation at Ko Kred, Nonthaburi province, were conducted during August 2006 - July 2007, to know plant diversity in Chaopraya basin area. The survey was undertaken in natural area and agriculture area along the Trail in Ko Kred. All plant specimens were analyzed for identification. 139 species were found in each habits as follows; 76, 12 and 36 species of tree, shrub and herb respectively. Plant species were found in two ecological habitats of abandon area and agriculture area . The abandon area or old orchard composed of 3 parts as follows: upper area, riparian area and marsh area. Plant species for instance; Streblus asper Lour., Azedirachta indica A.Juss. var. siamensis Valeton, Albizia lebbeckoides (DC.) Benth., Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don etc. found in upper area. Erythrina fusca Lour., Elaeocarpus hygrophilus Kurz, Salix tetrasperma Roxb., Garcinia schomburgkiana Pierre etc. in riparian area, and Sesbania javanica Miq., Ludwigia hyssopifolia (G.Don) Exell, Acrostichum aureum L., Eichhornia crassipes (C.Mart.) Solms etc. in marsh area. The agriculture area as orchard which was improved as upper area for protecting flooding and storaging water, the popular plants were cultivated such as Cocos nucifera L. var. nucifera, Mangifera indica L., Bouea oppositifolia (Roxb.) Meisn., Litchi chinensis Sonn., Areca catechu L. etc. Most of woody plants. resisted and adapted to flooding condition. Among of these, 20 species resisted to flooding and invaded in the area instead of cultivated plants. 6 species risked for extince as follow: 3 endemic species of Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson var. fruticosa (Craib) Corner, Pterospermum littorale Craib and Schoutenia glomerata King subsp. Peregrina (Craib) Roekm. & Hartono, 1 vulnerable species of Corypha utan Lam., and 2 threatened species of Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don and Hopea odorata Roxb.

Key words : Tentatively survey, Ko Kred, Nonthaburi Province D. Sookchaloem : [email protected]

1 คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ; Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. 2 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพ; Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok.

104 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

บทคัดย่อ การส ารวจพรรณพืชเบื้องต้นบริเวณเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี ด าเนินการศึกษาตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2549 ถึง กรกฎาคม 2550 เพื่อทราบความหลากหลายของพรรณพืชพื้นเมืองและพรรณพืชเกษตร บริเวณเขตที่ราบลุ่มแม่น้ า เจ้าพระยา โดยการส ารวจเก็บตัวอย่างพรรณพืชตามเส้นทางรอบเกาะเกร็ด และน ามาจ าแนกเพื่อวิเคราะห์ชนิด ผล การศึกษาพบพรรณพืช 139 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นประเภทไม้ต้นมีจ านวน 76 ชนิด ไม้พุ่ม 12 ชนิด ไม้ล้มลุก 36 ชนิด และประเภทอื่นๆ อีก 15 ชนิด พื้นที่เกาะเกร็ดแบ่งออกเป็น 2 ถิ่นนิเวศ คือ ถิ่นนิเวศพื้นที่ถูกทิ้งร้าง และถิ่นนิเวศเกษตร โดยถิ่นนิเวศพื้นที่ถูกทิ้งร้าง เป็นทุ่งนาที่ถูกทิ้งร้างหรือสวนเก่า ประกอบด้วยพื้นที่ 3 ส่วน ได้แก่ 1) คันดินเก่าหรือที่ ดอน พบพรรณพืชได้แก่ ข่อย สะเดา คาง ยางนา ถ่อน กุ่มบก 2) พื้นที่ชายน้ า พบทองหลางน้ า มะกอกน้ า สนุ่น มะดัน สะตือ กรวยสวน จิกนา 3) พื้นที่ทุ่งร้างหรือบึงที่มีน้ าขัง พบ โสนกินดอก เทียนนา ปรงทะเล ผักตบชวา ผักตบ ไทย ผักบุ้ง ผักไผ่น้ า สาหร่ายหางกระรอก หญ้าและกกต่างๆ เป็นต้น และถิ่นนิเวศเกษตร เป็นสวนผลไม้ผสมที่มีการ ปรับสภาพพื้นที่เป็นคันดินและคูน้ าเพื่อป้องกันน้ าท่วมและกักเก็บน้ า พืชที่นิยมปลูก เช่น มะพร้าว มะม่วง มะปราง ลิ้นจี่ หมาก ชมพู่ ขนุนส าปะลอ กล้วย กระท้อน จากการศึกษาพบว่าพืชที่มีเนื้อไม้ส่วนใหญ่ สามารถทนต่อน้ าท่วม และปรับตัวได้เป็นอย่างดี ในที่นี้มีจ านวน 20 ชนิดที่เป็นพืชพื้นเมืองสามารถทนต่อสภาพน้ าท่วมและรุกเข้าแทนที่พืช เกษตร ในการศึกษาพบพรรณพืช 6 ชนิดอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งจัดเป็นประเภทพืชประจ าถิ่น 3 ชนิด ได้แก่ กระดังงาสงขลา กะหนาย และสายน้ าผึ้ง พืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 1 ชนิด คือ ลานพรุ และพืชที่ถูกคุกคาม 2 ชนิด ได้แก่ ยางนา และตะเคียนทอง ค าน า เกาะเกร็ดตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย มีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะกลางแม่น้ า เจ้าพระยา ด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศใต้มีแม่น้ าเจ้าพระยาล้อมรอบ ส่วนด้านตะวันออกมีแม่น้ าลัด เกร็ดปิดล้อม ซึ่งเป็นคลองที่ถูกขุดขึ้นเพื่อเป็นทางลัดแม่น้ าเจ้าพระยาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพื่อย่นระยะทางที่ ต้องเดินเรืออ้อมเกาะเกร็ด พื้นที่ทั้งหมดเป็นที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึง เกาะเกร็ดตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีความสูง ประมาณ 2 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลาง ตามริมฝั่งแม่น้ าเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชนหนาแน่นมาแต่ โบราณ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เป็นคันดินริมแม่น้ าตามธรรมชาติ ซึ่งมีระดับสูงกว่าพื้นที่ตอนกลางของเกาะ ทั่ว ทั้งเกาะจะมีคูคลองขนาดเล็กจ านวนมากท าหน้าที่ระบายน้ าจากแม่น้ าเจ้าพระยาสู่พื้นที่เกษตรกรรมตอนใน ตามริมแม่น้ าชาวบ้านนิยมสัญจรด้วยเรือ ส่วนพื้นที่ตอนในไม่มีถนนส าหรับรถยนต์ แต่จะใช้รถจักรยานยนต์ สัญจรตามสะพานคอนกรีตแคบๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน และอาจใช้เรือในช่วงฤดูน้ าหลาก ในฤดูฝน พื้นที่ทั้งหมดบนเกาะจะมีสภาพชื้นแฉะ มีน้ าท่วมขังอยู่ทั่วไป เนื่องจากสภาพดินเป็นดินเหนียว มีระดับน้ า ใต้ดินสูงและมีการระบายน้ าที่ไม่ดี ด้วยเป็นพื้นที่ลุ่มต่ าอยู่ใกล้ระดับน้ าทะเล ท าให้ได้รับอิทธิพลของ ปรากฏการณ์น้ าขึ้น-ลง โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่เดือนกันยายน – พฤศจิกายน ซึ่งน้ าเหนือที่หลากลงมามีปริมาณ สูงมาก ยิ่งเป็นการท าให้พื้นที่เกือบทั้งหมดเจิ่งนองไปด้วยน้ า ในบางปีน้ าอาจท่วมทั้งเกาะ เช่นในปี 2538 และ 2549 เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งพื้นที่ส่วนใหญ่จะเหือดแห้งลงเนื่องจากน้ าจะถูกระบายจากคูคลองที่มีอยู่ทั่วเกาะ ลงสู่แม่น้ า คงเหลือเฉพาะตามท้องร่องสวน คูคลองและตามบึงน้ าที่ลึก Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125 105

ด้วยสภาพการขึ้นลงของระดับน้ าของเกาะเกร็ดเช่นนี้ ท าให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ และยังชีพด้วยอาชีพ เกษตรกรรมต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ โดยพื้นที่ประมาณร้อยละ 90 บนเกาะ เป็น พื้นที่เกษตรกรรม ส่วนมากเป็นสวนผลไม้ พืชผัก นาข้าว (ในอดีต) และบ่อเลี้ยงปลา ตามล าดับ ที่ท ากิน ติดต่อกันมาหลายร้อยปี จึงท าให้พื้นที่แห่งนี้สั่งสมพรรณพืชที่มนุษย์น ามาใช้ประโยชน์เป็นจ านวนมาก บาง ชนิดเป็นพืชที่หายาก แต่ยังสามารถพบได้ทั่วไปบนเกาะแห่งนี้ ด้วยปัจจุบันสภานะภาพทางเศรษฐกิจ และ สภาพแวดล้อมของชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นผลให้กิจกรรมอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สืบทอดกันมา ยาวนานเลื่อนหายไปจากพื้นที่เกาะเกร็ด เห็นได้จากพื้นที่เกษตรกรรมที่ถูกทิ้งร้างเป็นจ านวนมาก และพรรณ พืชมากมายทั้งพืชพื้นเมือง และ พืชต่างถิ่นที่ชุมชนน ามาใช้ประโยชน์ต่างถูกปล่อยปละละเลย ลดจ านวนลง หากไม่ด าเนินการศึกษาทรัพยากรพืชเหล่านี้ ซึ่งก าลังถูกคุกคามด้วยปัญหาน้ าท่วม สภาพเศรษฐกิจสังคม เพื่อหวังผลก าไร และกระแสสังคมที่เปลี่ยนไป อาจท าให้ข้อมูลพรรณพืชและภูมิปัญญาท้องถิ่นต้องสูญ หายไป และจะท าให้เอกลักษณ์อันเป็นจุดเด่นของพื้นที่เกาะเกร็ดเสื่อมถอยลง โดยผลการศึกษานี้สามารถ น าไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อวางแผนก าหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ การฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรรมที่ สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม การวางยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว อัน จะน าไปสู่การ พัฒนาพื้นที่เกาะเกร็ดไปในทิศทางที่ถูกต้องอย่างยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อทราบความหลากชนิดของพืชพื้นเมืองและพืชเกษตร ในพื้นที่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2. เพื่อทราบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของพรรณพืชที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึงและการใช้ประโยชน์ในแต่ละ ถิ่นนิเวศ ในพื้นที่เกาะเกร็ด

อุปกรณ์ อุปกรณ์ส าหรับส ารวจและเก็บตัวอย่างพรรณพืช ได้แก่ กล้องถ่ายรูป ไม้สอย กรรไกรตัดกิ่ง อุปกรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์และการเก็บรักษา ได้แก่ แอลกอฮอล์ ตู้อบ ถุงพลาสติก กระดาษอัดตัวอย่าง พรรณไม้

วิธีการ 1. ส ารวจพื้นที่และเก็บตัวอย่างพรรณพืชเบื้องต้น ในช่วงเดือนสิงหาคม 2549 เพื่อน ามาวาง แผนการเก็บข้อมูล 2. ส ารวจและเก็บตัวอย่าง ในระหว่างช่วงเดือนกรกฎาคม 2550 โดยเลือกพื้นที่ตัวแทนที่มีความ สมบูรณ์ของพืชดั้งเดิม และพื้นที่เกษตรกรรม จากเส้นทางรถจักรยานยนต์รอบเกาะเกร็ด ภาพที่1 3. น าตัวอย่างพืชมาจ าแนกและวินิจฉัยเพื่อหาชื่อชนิด 4. วิเคราะห์ และสรุปผลการศึกษา

106 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

ภาพที่ 1 แผนที่แสดงเส้นทางส ารวจพรรณพืชดั้งเดิมในระบบนิเวศเกษตรบริเวณเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี ผลและวิจารณ์ ผลการศึกษาครั้งนี้ แบ่งลักษณะถิ่นนิเวศที่พบเป็น 2 ส่วนคือ ถิ่นนิเวศในพื้นที่ถูกทิ้งร้างหรือที่เป็น พรรณพืชพื้นเมือง และถิ่นนิเวศเกษตร

ถิ่นนิเวศของพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้าง พื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างหรือตามขอบแปลงที่ขาดการดูแล มีพรรณพืชพื้นเมืองเข้าปกคลุม ขณะที่ไม้ผล ตายลงเนื่องจากมีความอ่อนแอกว่า และถูกน้ าท่วมตายในที่สุด องค์ประกอบของพรรณพืชในถิ่นนิเวศของ พื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างจะพบความแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ได้ 3 ประเภทดังนี้ 1. คันดินหรือเนินดิน เป็นที่สูงที่มีโอกาสน้อยที่น้ าจะท่วมถึง พบ ข่อย สะเดา คาง ถ่อน ยางนา กุ่มบก ตะโก ตะโกสวน มะเกลือ กรวยป่า หว้า เฉียงพร้านางแอ มะหวด ตะแบกนา ยอบ้าน ตะเคียนทอง จิกนา ไทรขี้นก กะหนาย ตามภาพที่ 2 2. ชายน้ าหรือทุ่งร้าง เป็นที่ชื้นแฉะหรือมีน้ าท่วมขังในฤดูฝน พบทองหลางน้ า มะกอกน้ า สนุ่น สลอดน้ า มะดัน สะตือ ตะแบกนา กุ่มน้ า กรวยสวน จิกนา จิกสวน กระทุ่มนา สะแกนา มะเดื่อปล้อง มะเดื่ออุทุมพร ไทรย้อยใบแหลม ไทรย้อยใบมน กระทุ่ม ก้านเหลือง มะตาด มะฝ่อ ส าโรง ตีนเป็ดทะเล

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125 107

เต่าร้าง ลานพรุ ผักหนาม ล าเท็ง กะลา โมกบ้าน (คาดว่ามีทั้งปลูก และขึ้นตามธรรมชาติ) กะตังใบแดง คล้า เถากระดอหดใบขน เถาวัลย์กรด ตามภาพที่ 3 3. ทุ่งร้างที่มีน้ าขังหรือบึง มักพบวัชพืชล้มลุกพวกหญ้าและกกต่างๆ เช่น กกธูปฤาษี โสนกินดอก เทียนนา (ทั้ง 2 วงศ์) (Hydrocera triflora (L.) Wight & Arn. ( Balsaminaceae) และ Ludwigia hyssopifolia (G.Don) Exell (Onagraceae)) บอน ผักกระเฉด ผักตบชวา ผักตบไทย กกสามเหลี่ยม กก รังกา ผักบุ้ง ผักแว่น เอื้อง ผักไผ่น้ า จอก แหนแดง สาหร่ายหางกระรอก บัวสาหร่าย ตามภาพที่ 4

ถิ่นนิเวศเกษตร ชาวเกาะเกร็ดประกอบอาชีพเกษตรกรรมมายาวนานหลายร้อยปี เนื่องจากสภาพอันอุดมสมบูรณ์ ของดินและน้ า ท าให้ผลไม้ที่ปลูกในพื้นที่แห่งนี้มีรสชาติดี ประกอบกับการปลูกไม้ยืนต้นซึ่งเป็นพืชที่ทนต่อน้ า ท่วมได้ดีกว่าการปลูกพืชกลุ่มอื่นๆ เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบน้ าท่วมถึงเป็นประจ าทุกปี เกษตรกรต้องท าคันดิน กั้นน้ าล้อมรอบแปลงที่ดินของตน ซึ่งบางแห่งสูงได้ถึง 2 เมตรตามระดับน้ าที่ท่วมถึง ภายในแปลงจะขุดร่อง สวนเป็นแถว เพื่อรองรับน้ าที่ระบายจากแปลงปลูกและคันดินในช่วงฤดูฝน และเป็นที่เก็บน้ าในช่วงฤดูแล้ง ปี ใดที่น้ าท่วมสูงเกษตรกรจะเสริมคันกั้นน้ ารอบแปลงให้สูงตามระดับน้ าที่ไหลเอ่อมาจากแม่น้ าเจ้าพระยา หาก ระดับน้ าเพิ่มสูงอย่างรวดเร็วและมีกระแสน้ าไหลแรงก็อาจท าให้คันดินพังทลาย พืชผลที่ไม่ทนต่อน้ าท่วมจะ ตายหมด เพราะโดยปกติน้ าจะท่วมเป็นระยะเวลายาวนาน บางปีอาจท่วมนานถึง 4 เดือน พรรณพืชที่ชาวเกาะเกร็ดปลูกมีหลากหลาย ชนิด ส่วนใหญ่เป็นพืชต่างถิ่น บางชนิดเป็นพืชพื้นเมือง ของประเทศไทยหรือของที่ราบลุ่มภาคกลาง ที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์จนมีลักษณะต่างไปจากพันธุ์พืชป่า ดั้งเดิม ลักษณะการปลูกเป็นสวนผลไม้ผสม โดยมีการปลูกแทรกกันขององค์ประกอบชนิด และโครงสร้าง หรือมีการปลูกพืชผักอายุสั้นหมุนเวียนตามช่องว่าง ซึ่งบางแห่งมีไม้ผลเป็นพืชเด่น ขณะที่เป็นส่วนน้อยอาจมี พืชล้มลุกเป็นพืชเด่น พืชที่นิยมปลูก แยกตามสภาพพื้นที่มีดังนี้ ปลูกในแปลงที่มีการยกร่องสวน ไม้ผล ได้แก่ ชมพู่ กล้วย ลิ้นจี่ หมาก ส้มโอ ฝรั่ง กระท้อน ทุเรียน ล าไย พืชผัก ได้แก่ มะนาว ข้าวโพด (ฝักอ่อน) แตงกวา ชะอม ถั่วฝักยาว กระเจี๊ยบมอญ ตามขอบชายน้ าขอบร่องหรือคูคลองนิยมปลูกมะดัน มะกอกน้ า กะลา มะตาด ขณะที่ตามคันดินรอบขอบแปลงซึ่งเป็นที่สูงกว่าส่วนอื่นๆ นิยมปลูกมะพร้าว มะม่วง มะปราง ขนุน ส าปะลอ มะขาม ขนุน ชมพู่มะเหมี่ยว (ชมพู่สาแหรก) มะรุม มะไฟ ช ามะเลียง มะตูม ตาล ไผ่สีสุก ไผ่ล า มะลอ ตามพื้นที่ลุ่มต่ ามากบางแห่งมีการท านาบัว หรือบ่อเลี้ยงปลา เป็นที่น่าสังเกตว่าชาวสวนเกาะเกร็ด รวมถึงชาวบ้านทั่วไปในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่างจะนิยมปลูกต้นทองหลางน้ า แทรกกับพืชผล เพื่อใช้ ประโยชน์จากใบที่ร่วงหล่นปรับปรุงดิน เนื่องจากเป็นพืชวงศ์ถั่วที่เจริญเติบโตเร็ว ทนต่อน้ าท่วม และพบมาก ในธรรมชาติตามพื้นที่ราบลุ่มริมน้ า พรรณพืชที่กล่าวถึงเหล่านี้มีบางชนิดเป็นพืชหายาก แต่สามารถพบได้ ง่ายบนเกาะแห่งนี้เช่น ขนุนส าปะลอ (ซึ่งเป็นพันธุ์ปลูกพันธุ์หนึ่งของสาเกที่ผลมีเมล็ด) มะดัน กะลา ช ามะเลียง และมะตาด ซึ่ง 4 ชนิดหลังคาดว่าน่าจะเป็นพืชพื้นเมืองของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ที่ถูกน ามา ปลูกจนเป็นที่คุ้นเคย นอกจากนี้บางพื้นที่ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นบ่อเลี้ยงปลา หรือนาบัว โดยมีการท าคันดิน 108 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

รอบขอบบ่อเพื่อป้องกันน้ าท่วม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลหรือพืชผักบนคันดินนั้น ตามภาพที่ 5

จากการส ารวจพรรณพืชของเกาะเกร็ดทั้ง 2 ระบบนิเวศ กล่าวโดยรวมว่ามีพรรณพืชที่ส ารวจพบ 139 ชนิด 115 สกุล 63 วงศ์ แยกตามวิสัยดังนี้ ไม้ต้น 76 ชนิด ไม้พุ่ม 12 ชนิด ไม้ล้มลุก 36 ชนิด และพืชวิสัย อื่นๆ 15 ชนิด ในจ านวนนี้ เป็นพืชน้ า 24 ชนิด และพืชต่างถิ่น 23 ชนิด ตามตารางที่ 1

ความเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับการส ารวจพื้นที่เบื้องต้นเมื่อปี 2549 จากการสอบถามชาวบ้านทราบว่าในปลายปี 2549 มีเหตุการณ์น้ าท่วมใหญ่สูง 1-2 ม. ยาวนาน ประมาณ 3 เดือน (ก.ย. – พ.ย.) ท าให้ไม้ล้มลุกตามทุ่งนาที่โตไม่พ้นน้ าล้มตายจ านวนมาก ผลการส ารวจใน เดือนกรกฎาคม 2550 ซึ่งเป็นช่วงหลังน้ าท่วมใหญ่ปี 2549 ส ารวจพบพรรณพืช 139 ชนิด แต่จากการส ารวจ ข้อมูลเบื้องต้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2549 ตามเส้นทางส ารวจเดียวกันมีบัญชีรายชื่อพรรณไม้ต้นและไม้พุ่มไม่ แตกต่างกันมากนัก แต่เนื่องจากในปี 2549 ส ารวจเบื้องต้นได้ข้อมูลเกี่ยวกับไม้ล้มลุกไม่มากนัก จึงไม่ สามารถทราบการรอดตายของไม้ล้มลุกหลังจากน้ าท่วม อย่างไรก็ตามจากการส ารวจปี 2550 พบไม้ล้มลุก 36 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่มีความสูงไม่เกิน 50 ซม. ส่วนใหญ่เป็นพืชน้ าประเภทล้มลุก พืชเหล่านี้มีความสามารถ ทนทานต่อสภาพน้ าท่วมขังได้เป็นอย่างดีและสามารถแตกกิ่งก้านยืดยาวให้โผล่พ้นระดับน้ าท่วมได้ อย่างไรก็ ตามช่วงที่ระดับน้ าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วพืชล้มลุกเหล่านี้อาจตายไปบ้าง แต่บางชนิดมีส่วนเหง้าหรือหัวใต้ดินที่ ยังมีชีวิตอยู่หรือได้สร้างเมล็ดพร้อมที่จะสืบพันธุ์ในรุ่นต่อไป เมื่อระดับน้ าลดลงพืชสามารถงอกขึ้นมาใหม่เมื่อ เข้าสู่ฤดูการเจริญต่อไป ส าหรับการปรับตัวต่อการอยู่รอดของไม้ต้นหลังน้ าท่วม มีเหตุผลจากรายงานการวิจัย ที่ช่วยสนับสนุนดังนี้ การที่พรรณไม้บางชนิดมีความทนทานต่อน้ าท่วมขังได้เป็นอย่างดี จะต้องเป็นพืชที่มีการ ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วทั้งในส่วนของเมล็ด และการแตกกิ่งก้าน จึงสามารถขยายพันธุ์หลังจากน้ าลดได้ อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามสภาพน้ าท่วมขังอาจมีผลกระทบต่อพรรณพืช ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากพืชที่มีเนื้อไม้ มักมีความทนทานต่อน้ าท่วมเป็นอย่างดี ดูได้จากตัวอย่างการทดลองต้นล าไยพันธุ์อีดอ (Dimocarpus longan Lour.subsp.longan var.longan cv. ‘E-Daw’) ในสภาพน้ าท่วมขังนาน 15 วัน แต่ไม่ปรากฏว่ามีต้น ตาย (ศิริวรรณ, 2542) ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองในไม้พุ่มโดย เกษม (2544) พบว่า การทดลองขังน้ ากับต้น ฝรั่งแดง (Psidium guajava L.) เป็นเวลา 28 วัน พบว่าการขังน้ าท าให้ฝรั่งแดงมีความเขียวของใบคงที่ หรือลดลงเนื่องจากปริมาณคลอโรฟิลล์ลดลงในระยะขังน้ า 21 วัน และจะเพิ่มขึ้นในระยะขังน้ า 28 วัน รวมทั้งส่งผลให้เปลือกล าต้นชั้นในหนาเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการขยายขนาดของเซลล์บริเวณโคนต้นที่แช่น้ า ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปี 2549 ในพื้นที่เกาะเกร็ดที่มีน้ าท่วมประมาณ 3 เดือน ชนิดของไม้ต้นและไม้พุ่มมีจ านวน ชนิดไม่ต่างจากในปี 2550 นอกจากนี้ต้นกล้าของไม้ต้น สามารถรอดตายเพื่อเจริญไปเป็นไม้หนุ่มและไม้ที่โต เต็มที่ได้ในที่สุด เนื่องจากเคยมีการทดลองกับต้นมะขาม ในสภาพน้ าขังราก เป็นเวลา 1-7 วัน พบว่ากล้า มะขามมีอาการใบลู่ ใบเหลือง ร่วง ตามระยะเวลาที่ถูกน้ าท่วม แต่ไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ และภายหลังน้ า Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125 109

ท่วมขังต้นมะขามทุกต้นสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ตามปกติ (เชือน, 2532) แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อ การตายมีน้อย แต่กระทบต่อการเจริญเติบโตเนื่องจากคลอโรฟิลล์ลดลง นอกจากนี้ ในการส ารวจพื้นที่เกาะเกร็ด พบว่ามีต้นลิ้นจี่ปรากฏอยู่ทั้งในปี 2549 และยังคงปราก ฏ ในปี 2550 เนื่องจากมีผู้เคยศึกษาลิ้นจี่พันธุ์ค่อมภายหลังน้ าท่วมในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 จนกระทั่งเดือน เมษายน พ.ศ. 2540 พบว่าต้นลิ้นจี่ยังคงเจริญเติบโตและติดดอกได้ตามปกติ (ปิยะมาศ, 2541) จากการเปรียบเทียบกับการศึกษาต้นไม้ในบริเวณที่ถูกน้ าท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร โดยยงยุทธ และคณะ (2520) พบว่ามีพืชรอดตาย 80% (รอดตาย 207 ชนิด และตาย 61 ชนิด) ในจ านวนที่ตาย 61 ชนิด ดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีในบัญชีรายชื่อพรรณไม้เกาะเกร็ดที่ส ารวจในการศึกษานี้ อาจเป็นไปได้ว่าพรรณไม้ เหล่านี้มีจ านวนน้อยมากหรือได้หายไปจากเกาะเกร็ด เพราะถูกน้ าท่วม ส่วนชนิดที่รอดตายหลังน้ าท่วมใน การศึกษาดังกล่าว พบชนิดที่ปรากฏเหมือนกับบนเกาะเกร็ดจ านวน 20 ชนิด ตัวอย่างเช่น ตีนเป็ดทะเล มะดัน ทองหลางน้ า โสนกิน-ดอก ตะแบกนา ช ามะเลียง เป็นต้น ภาพที่ 6 ส าหรับชนิดที่เหลือแสดงใน ตารางที่ 2 ซึ่งเป็นรายชื่อพรรณพืชที่ทนต่อสภาพน้ าท่วมได้ดี จะเห็นได้ว่ารายชื่อพรรณพืชเหล่านี้เป็นพืชที่ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิประเทศแบบที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึง หรือที่ราบลุ่มใกล้ชายฝั่งทะเล ซึ่งจะมีน้ าท่วม เป็นประจ าเกือบทุกปีในฤดูน้ าหลาก พรรณพืชที่ทนต่อสภาวะน้ าท่วมบางชนิดสามารถสืบต่อพันธุ์ได้ง่ายก็จริง แต่อาจถูกคุกคามได้ถ้าอยู่ ในสภาวะเสี่ยง ในการศึกษาจึงได้ตรวจสอบว่ามีชนิดที่สมควรจะต้องหาแนวทางการอนุรักษ์เนื่องจากอยู่ใน สภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ พรรณพืชที่ส ารวจที่เกาะเกร็ดมีจ านวน 6 ชนิด จัดเป็นพรรณพืชที่อยู่ในสภาวะ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จัดเป็น 3 ประเภท พืชประจ าถิ่น 3 ชนิด ได้แก่ กระดังงาสงขลา กะหนาย และสาย น้ าผึ้ง พืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 1 ชนิด คือ ลานพรุ และพืชที่ถูกคุกคาม 2 ชนิด ได้แก่ ยางนา และ ตะเคียนทอง (ธวัชชัย, 2543; Santisuk et al., 2006 และ Ashton, 1996) ตาม ตารางที่ 3 และ ภาพที่ 7

ส าหรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสภาพทางเศรษฐกิจสังคมของเกาะเกร็ด ที่มีผลกระทบต่อ การใช้ประโยชน์ที่ดินและพืชพรรณสามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่ามีแนวโน้มท าให้การใช้ประโยชน์ที่ดิน เปลี่ยนแปลงไปสังเกตได้จากพื้นที่บริเวณสวนผลไม้ ทุ่งนา ถูกทิ้งร้างกว่าครึ่งหนึ่ง และพื้นที่รกร้างถูกปกคลุม ด้วยวัชพืช ขณะที่ ไม้ผล พืชผัก รวมถึงพรรณพืชพื้นเมืองที่ทนต่อน้ าท่วมได้น้อย มีการล้มตาย และมีแนวโน้มประชากรลดลง ทั้งนี้เนื่องจากสภาพน้ าท่วมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและยาวนานขึ้น คันดินสวนร้างที่ถูกทอดทิ้งมีการถล่มขวางกั้น ทางระบายน้ า คูคลองเริ่มตื้นเขิน รวมทั้งน้ าเน่าเสียจากชุมชน ท าให้เกิดพื้นที่น้ าท่วมขังจ านวนมากขึ้นและมี สภาพแวดล้อมที่เลวร้ายกว่าเดิม ประกอบกับปัญหาราคาผลผลิตตกต่ าไม่คุ้มทุน ชาวบ้านหลายครอบครัวหัน มาประกอบอาชีพค้าขาย และบริการแก่นักท่องเที่ยว ที่ก าลังขยายตัวเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันพื้นที่ด้าน ตะวันออก และด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะที่เลียบแม่น้ าได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ขายสินค้าและ อาหารพื้นเมืองยอดนิยมแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่พื้นที่ตอนกลางและฝั่งตะวันตกยังคง 110 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

เป็นเขตเกษตรกรรม และพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างจ านวนมาก พื้นที่เหล่านี้จึงถูกทดแทนด้วยพรรณไม้น้ า และไม้ยืนต้น ที่ทนต่อสภาพน้ าท่วมได้เป็นอย่างดี

สรุป การส ารวจพรรณพืชเบื้องต้นบริเวณเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี พบพรรณพืช 139 ชนิด ส่วนใหญ่เป็น ประเภทไม้ต้นมีจ านวน 76 ชนิด ไม้พุ่ม 12 ชนิด ไม้ล้มลุก 36 ชนิด และประเภทอื่นๆ อีก 15 ชนิด ในจ านวน นี้ เป็นพืชน้ า 24 ชนิด และพืชต่างถิ่น 23 ชนิด เกาะเกร็ดมีพื้นที่จัดเป็นถิ่นนิเวศ 2 ประเภท ได้แก่ ถิ่นนิเวศ พื้นที่ที่ถูกทิ้งร้าง เป็นพื้นที่สวนเก่าหรือทุ่งนาที่ถูกทิ้งร้าง ประกอบด้วยพื้นที่ 3 ส่วน ได้แก่ คันดินเก่าหรือเนิน ดิน พื้นที่ชายน้ า และพื้นที่ทุ่งร้างหรือบึงที่มีน้ าขัง ส าหรับระบบนิเวศเกษตร เป็นสวนผลไม้ผสมและพื้นที่บ่อ เลี้ยงปลาอีกเล็กน้อย ที่มีการปรับสภาพพื้นที่เป็นคันดินและคูน้ าเพื่อป้องกันน้ าท่วมและกักเก็บน้ า จาก การศึกษาพบว่าพรรณพืชส่วนใหญ่เป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพน้ าท่วมและปรับตัวได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะไม้ ต้นหรือไม้พุ่มที่เป็นพืชพื้นเมืองซึ่งจะเข้าแทนที่ไม้ผลที่ขาดการดูแล เมื่อน าบัญชีรายชื่อพรรณพืชที่พบทั้งหมด มาตรวจสอบกับบัญชีรายชื่อพืชที่มีสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ พรรณพืชที่ส ารวจที่เกาะเกร็ดมีจ านวน 6 ชนิด ที่จัดเป็นพืชที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ดังนี้ พืชประจ าถิ่น 3 ชนิด ได้แก่ กระดังงาสงขลา กะ หนาย และสายน้ าผึ้ง พืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 1 ชนิด คือ ลานพรุ และพืชที่ถูกคุกคาม 2 ชนิด ได้แก่ยางนา และตะเคียนทอง

เอกสารและสิ่งอ้างอิง เกษม พริกคง. 2544. ผลของสภาพน้ าท่วมขังต่อการเจริญเติบโต พลังงานศักย์ของน้ าในใบ ปริมาณ คลอโรฟิลล์ ลักษณะทางกายวิภาค และสัณฐานวิทยาบางประการของฝรั่งสามพันธุ์. ปัญหาพิเศษ ปริญญาโท. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เชือน อุราฤทธิ์. 2532. การศึกษาเบื้องต้นของการทนต่อสภาพน้ าขังในต้นมะขาม. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ธวัชชัย สันติสุข. 2543. พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย. บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์(1987) จ า กัด,กรุงเทพฯ. ธวัชชัย สันติสุข. 2547.พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย,กรุงเทพฯ. ปิยะมาศ ไชยพรพัฒนา. 2541. ผลของช่วงระยะการเจริญเติบโตของยอดต้นลิ้นจี่พันธุ์ค่อมภายหลังน้ าท่วมที่ มีต่อการออกดอกและติดผล. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ยงยุทธ จรรยารักษ์,รัชนี วีรพลิน,วิยดา เทพหัตถี และเยาวลักษณ์ มณีรัตน์. 2520. การส ารวจสภาพต้นไม้ ในบริเวณที่ถูกน้ าท่วม ในเขตกรุงเทพมหานคร.รายงานการวิจัย.สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลง กรณมหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ. Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125 111

ศิริวรรณ อินทร์พรหม. 2542. การศึกษาเบื้องต้นของการทนต่อสภาพน้ าท่วมขังในต้นล าไยพันธุ์อีดอ.ปัญหา พิเศษปริญญาตรี. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Ashton, P.S. 1996. In IUCN 2003. IUCN 2003 Red List of Threatened Species. (www.redlist.org). Santisuk, T., Chayamarit, K., Pooma, R. and Suddee, S. 2006. Thailand Red Data: Plants. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP), Bangkok, Thailand. 256 p.

112 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

ตารางที่ 1 บญั ชีรายชื่อพรรณพืชในพื้นที่เกาะเกร็ด จังหวดั นนทบรุ ี

เลขที่ ชื่อวงศ์ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อไทย วสิ ยั ถนิ่ นิเวศ 1 Acanthaceae Thunbergia laurifolia Lindl. รางจืด C Up 2 Alismataceae Limnocharis flava (L.) Buchenau บอนจีน ExAqH Ma 3 Amaranthaceae Amaranthus viridis L. ผกั ขม H Up 4 Amaranthaceae Celosia argentea L. หงอนไก่ไทย H Up 5 Anacardiaceae Bouea oppositifolia (Roxb.) Meisn. มะปราง T Ag 6 Anacardiaceae Mangifera indica L. มะม่วง ExT Ag 7 Anacardiaceae Spondias pinnata (L.f.) Kurz มะกอก T Up Cananga odorata (Lam.) Hook.f. 8 Annonaceae กระดงั งาสงขลา S/ST Ag &Thomson var.fruticosa (Craib) Corner 9 Apocynaceae Cerbera odollam Geartn. ตนี เปด็ ทะเล T Ri 10 Apocynaceae Wrightia religiosa Benth.ex Kurz โมกบา้ น S Ri 11 Araceae Colocasia gigantea Hook.f. บอน AqH Ri, Ma 12 Araceae Lasia spinosa (L.) Thwaites ผกั หนาม AqH Ri 13 Araceae Pistia stratiotes L. จอก AqH Ma 14 Araceae Typhonium trilobatum (L.) Schott อุตพิด H Up 15 Azollaceae Azolla pinnata R.Br. แหนแดง AqF Ma 16 Balsaminaceae Hydrocera triflora (L.) Wight & Arn. เทยี นนา AqH Ri, Ma 17 Bombacaceae Durio zibethinus Merr. ทเุ รียน ExT Ag 18 Boranginaceae Heliotropium indicum L. หญ้างวงช้าง H Up 19 Capparaceae Cleome chelidonii L. f. ผกั เสยี้ นปา่ H Up 20 Capparaceae Crateva adansonii DC. กมุ่ บก T Up, Ri 21 Capparaceae Crateva magna (Lour.) DC. กมุ่ น้า T Ri 22 Ceratophyllaceae Ceratophyllum demersum L. สาหร่ายหางม้า AqH Ma 23 Combretaceae Combretum quadrangulare Kurz สะแกนา T Ri 24 Combretaceae Combretum tetralophum C.B.Clarke เถาวลั ย์กรด C Ri 25 Combretaceae Terminalia bellerica (Gaertn.) Roxb. สมอพิเภก T Up 26 Combretaceae Terminalia catappa L. หกู วาง T Up 27 Combretaceae Terminalia chebula Retz.var.chebula สมอไทย T Up 28 Convolvulaceae Ipomoea aquatica Forssk. ผกั บุ้ง CrH Ma Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125 113

ตารางที่ 1(ตอ่ ) บญั ชีรายชื่อพรรณพืชในพื้นที่เกาะเกร็ด จังหวดั นนทบรุ ี

เลขที่ ชื่อวงศ์ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อไทย วสิ ยั ถนิ่ นิเวศ 29 Cucurbitaceae Cucumis sativus L. แตงกวา ExH Ag Momordica cochinchinensis 30 Cucurbitaceae ฟักข้าว C Ag (Lour.)Spreng. Actinoscirpus grossus (L.f.)Goetgh. & 31 Cyperaceae กกสามเหลยี่ ม AqH Ma D.A. Simpson 32 Cyperaceae Cyperus digitatus Roxb. กกรังกา AqH Ma 33 Dilleniaceae Dillenia indica L. มะตาด T Ri 34 Dipterocarpaceae Dipterocarpus alatus Roxb.ex G.Don ยางนา T Up, Ri 35 Dipterocarpaceae Hopea odorata Roxb. ตะเคยี นทอง T Ri Diospyros malabarica (Desr.) Kostel. 36 Ebenaceae ตะโกสวน T Up var. malabarica 37 Ebenaceae Diospyros mollis Griff. มะเกลอื T Up 38 Ebenaceae Diospyros rhodocalyx Kurz ตะโกนา T Up 39 Elaeocarpaceae Elaeocarpus hygrophilus Kurz มะกอกน้า T Ri 40 Euphorbiaceae Acalypha lanceolata Willd. ต้าแยซี่ฟันแหลม H Up 41 Euphorbiaceae Antidesma ghaesembilla Gaertn. เม่าไข่ปลา T Up, Ri 42 Euphorbiaceae Baccaurea ramiflora Lour. มะไฟ T Ag 43 Euphorbiaceae Baliospermum sp. S Up 44 Euphorbiaceae Breynia vistis-idaea (Burm.f.)C.E.C.Fisch. ผกั หวานตวั ผู้ S Up, Ri 45 Euphorbiaceae Bridelia curtisii Hook.f. มะกาใบหนา S Up, Ag 46 Euphorbiaceae Bridelia insulana Hance มะกาตน้ T Up 47 Euphorbiaceae Croton caudatus Geiseler กระดอหดใบขน C Ri 48 Euphorbiaceae Hura crepitans L. ทองหลางฝรั่ง ExT Ag 49 Euphorbiaceae Phyllanthus amarus Schumach.& Thonn. ลกู ใตใ้ บ H Up 50 Euphorbiaceae Shirakiopsis indica (Willd.)Esser สมอทะเล T Ri 51 Euphorbiaceae Trewia nudiflora L. มะฝอ่ T Ri 52 Flacourtiaceae Casearia grewiifolia Vent. var. grewiifolia กรวยปา่ T Up, Ri 53 Flagellariaceae Flagellaria indica L. หวายลงิ C Ri 54 Gramineae Bambusa longispiculata Gamble ไผล่ า้ มะลอก B Ag 55 Gramineae Zea mays L. ข้าวโพด ExH Ag 114 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

ตารางที่ 1(ตอ่ ) บญั ชีรายชื่อพรรณไม้ในพื้นที่เกาะเกร็ด จังหวดั นนทบรุ ี

เลขที่ ชื่อวงศ์ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อไทย วสิ ยั ถนิ่ นิเวศ 56 Guttiferae Garcinia schomburgkiana Pierre มะดนั ST Ag, Ri 57 Hydrocharitaceae Hydrilla verticillata (L.f.)Royle สาหร่ายหางกระรอก AqH Ma 58 Lecythidaceae Barringtonia acutangula (L.)Gaertn. จิกนา T Ri 59 Lecythidaceae Barringtonia racemosa (L.)Spreng. จิกสวน T Ri 60 Lecythidaceae Couronpita guianensis Aubl. สาละลงั กา ExT Ag 61 Leeaceae Leea rubra Blume ex Spreng. กะตงั ใบแดง S Ri Leguminosae- 62 Crudia chrysantha (Pierre)K.Schum. สะตอื T Ri Caesalpinioideae Leguminosae- 63 Cynometra ramiflora L. มะคะ T Ri Caesalpinioideae Leguminosae- 64 Tamarindus indica L. มะขาม ExT Ag Caesalpinioideae Leguminosae- Acacia pennata (L.) Willd. 65 ชะอม C Ag Mimosoideae subsp.insuavis (Lace) I.C. Nielsen Leguminosae- 66 Albizia lebbeckoides (DC.)Benth. คาง T Up, Ri Mimosoideae Leguminosae- 67 Albizia procera (Roxb.)Benth. ทิ้งถ่อน T Up, Ri Mimosoideae Leguminosae- 68 Erythrina fusca Lour. ทองหลางน้า,ทองโหลง T Ri Papilionoideae Leguminosae- 69 Sesbania javanica Miq. โสนกินดอก S Ma, Ri Papilionoideae Leguminosae- Vigna unguiculata (L.) Walp. supsp. 70 ถวั่ ฝกั ยาว H Ag Papilionoideae unguiculata 71 Lythraceae Lagerstroemia floribunda Jack ตะแบกนา T Ri 72 Lythraceae Lagerstroemia speciosa (L.)Pers. อินทนลิ น้า T Ag, Ri 73 Malvaceae Abelmoschus esculentus (L.) Moench กระเจี๊ยบมอญ ExS Ag 74 Malvaceae Hibiscus surattensis L. ชะมด S Ri, Ma 75 Malvaceae Hibiscus tiliaceus L. ปอทะเล T Ri 76 Malvaceae Urena lobata L. ขคี้ รอก S Up

77 Marantaceae Schumanthus dichotomus (Roxb.)Gagnep. คลา้ AqH Ma 78 Masileaceae Marsilea crenata C.Presl ผกั แวน่ AqF Ma Azedirachta indica A.Juss. var. 79 Meliaceae สะเดา T Up siamensis Valeton 80 Menispermaceae Tiliacora triandra (Colebr.) Diels เถาย่านาง C Ag, Up Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125 115

ตารางท1ี่ (ตอ่ ) บญั ชีรายชื่อพรรณพืชบริเวณเกาะเกร็ด จังหวดั นนทบรุ ี

เลขที่ ชื่อวงศ์ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อไทย วสิ ยั ถนิ่ นิเวศ 81 Moraceae Artocarpus altilis (Parkinson) Fosberg ขนุนส้าปะลอ, สาเก ExT Ag 82 Moraceae Artocarpus heterophyllus Lam. ขนนุ ExT Ag 83 Moraceae Ficus benjamina L. ไทรย้อย T Ri 84 Moraceae Ficus heterophylla L.f. สลอดน้า S Ri 85 Moraceae Ficus hispida L.f. มะเดอื่ ปลอ้ ง T Up, Ri 86 Moraceae Ficus racemosa L. มะเดอื่ อุทมุ พร T Up, Ri 87 Moraceae Ficus retusa L. var. retusa ไทรย้อยใบทู่ T Up, Ri 88 Moraceae Ficus rumphii Blume โพขนี้ ก T Up, Ri 89 Moraceae Ficus superba (Miq.) Miq. ไกร T Up, Ri 90 Moraceae Streblus asper Lour. ข่อย T Up 91 Moringaceae Moringa oleifera Lam. มะรุม ST Ag 92 Musaceae Musa sapientum L. กลว้ ยน้าวา้ ExH Ag 93 Myristicaceae Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. กรวย T Ri 94 Myrtaceae Psidium guajava L. ฝรั่ง ExST Ag 95 Myrtaceae Syzygium cumini (L.) Skeels หวา้ T Up Syzygium malaccense (L.) Merr. & ชมพู่มะเหมี่ยว, 96 Myrtaceae ExST Ag L.M.Perry ชมพู่สาแหรก 97 Myrtaceae Syzygium sp. ชมพู่ ExT Ag 98 Nelumbonaceae Nelumbo nucifera Gaertn. บวั หลวง AqH Ma 99 Nymphaeaceae Nymphaea sp. บวั ExAqH Ma 100 Onagraceae Ludwigia hyssopifolia (G.Don) Exell เทยี นนา AqH Ma 101 Oxalidaceae Oxalis corniculata L. สม้ กบ CrH Up 102 Palmae Areca catechu L. หมาก ExT Ag 103 Palmae Borassus flabellifer L. ตาล ExT Ag 104 Palmae Caryota mitis Lour. เตา่ ร้างแดง T Ri, Up 105 Palmae Cocos nucifera L. var. nucifera มะพร้าว ExT Ag Ag, 106 Palmae Corypha utan Lam. ลานพรุ T Up 107 Parkeriaceae Ceratopteris thalictroides (L.) Brongn. ผกั ขาเขียด AqF Ma Peperomia pellucida (L.) Humb. Bonpl. 108 Piperaceae ผกั กระสงั H Up & Kunth 109 Polygonaceae Polygonum glabrum Willd. เอื้อง AqH Ma 116 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

ตารางที่ 1(ตอ่ ) บญั ชีรายชื่อพรรณพืชในพื้นที่เกาะเกร็ด จังหวดั นนทบรุ ี เลขที่ ชื่อวงศ์ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อไทย วสิ ยั ถนิ่ นิเวศ 110 Polygonaceae Polygonun sp. AqH Ma 111 Pontederiaceae Eichhornia crassipes (C.Mart.)Solms ผกั ตบชวา ExAqH Ma 112 Pontederiaceae Monochoria hastata (L.)Solms ฝกั ตบไทย AqH Ma Monochoria vaginalis (Burm.f.) C.Presl 113 Pontederiaceae ผกั เขียด AqH Ma ex Kunth 114 Pteridaceae Acrostichum aureum L. ปรงทะเล AqF Ma, Ri 115 Pteridaceae Stenochlaena palustris (Burm.f.) Bedd. ลา้ เทง็ CF Ri 116 Rhizophoraceae Carallia brachiata (Lour.)Merr. เฉยี งพร้านางแอ T Up, Ri 117 Rubiaceae Aegle marmelos (L.)Corrêa ex Roxb. มะตมู T Up Anthocephalus chinensis (Lam.) A.Rich 118 Rubiaceae กระทุ่ม T Up ex Walp. Mitragyna diversifolia (Wall.ex G.Don) 119 Rubiaceae กระทุ่มนา T Up, Ri Havil. Up, 120 Rubiaceae Morinda citrifolia L. ยอบา้ น ST Ag 121 Rutaceae Citrus aurantifolia (Christm.) Swingle มะนาว ExST Ag 122 Rutaceae Citrus maxima (Burm.f.) Merr. สม้ โอ ExST Ag 123 Rutaceae Nauclea orientalis (L.) L. ก้านเหลอื ง T Ri 124 Salicaceae Salix tetrasperma Roxb. สนุ่น T Ri 125 Sapindaceae Allophylus cobbe (L.)Raeusch. ตอ่ ไส้ S Up 126 Sapindaceae Dimocarpus longan Lour.subsp.longan ลา้ ไย T Ag 127 Sapindaceae Lepisanthes fruticosa (Roxb.)Leenh. ช้ามะเลยี ง ST Ag 128 Sapindaceae Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh. มะหวด T Up 129 Sapindaceae Litchi chinensis Sonn. ลนิ้ จี่ T Ag 130 Schizaeaceae Lygodium salicifolium C.Presl ลเิ ภาใหญ่ CF Up 131 Scrophulariaceae Scoparia dulcis L. กรดน้า H Up 132 Sonneratiaceae Sonneratia caseolaris (L.)Engl. ลา้ พู T Ri 133 Sterculiaceae Pterospermum littorale Craib กะหนาย T Up 134 Sterculiaceae Sterculia foetida L. สา้ โรง T Ri Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125 117

ตารางที่ 1(ตอ่ ) บญั ชีรายชื่อพรรณพืชในพื้นที่เกาะเกร็ด จังหวดั นนทบรุ ี เลขที่ ชื่อวงศ์ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อไทย วสิ ยั ถนิ่ นิเวศ 135 Thelypteridaceae Thelypteris sp. กูดปา่ F Up, Ri Schoutenia glomerata King subsp. 136 Tiliaceae สายน้าผงึ้ T Ag peregrina (Craib)Roekm. Boehmeria clidemioides 137 Urticaceae เขอื่ งแข้งม้า H Up Miq.var.diffusa .(Wedd.) Hand.-Mazz. 138 Urticaceae Pilea cadierei Gagnep.& Guillaumin นกกระทา ExH Up 139 Zingiberaceae Alpinia nigra (Gaertn.)Burtt กะลา, ข่าน้า AqH Ag, Ri

หมายเหตุ : อธิบายอักษรย่อ AqF = Aquatic Fern H = Herb AqH = Aquatic Herb HC = Herbaceous Climber B = Bamboo S = Shrub C = Climber ST = Shrubby Tree CF = Climbing Fern T = Tree CrH = Creeping Herb F = Fern CrUS = Creeping Undershrub G = Grass ExH = Exotic Herb ExAqH = Exotic Aquatic Herb ExT = Exotic Tree Ag = Agriculture area Ri = Riparian area Up = Upper area Ma = Marsh area 118 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

ตารางที่ 2 รายชื่อพรรณพืชเกาะเกร็ดที่ทนตอ่ สภาพน้าทว่ มตามการศกึ ษาของ ยงยุทธและคณะ (2520) เลขที่ ชื่อวงศ์ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อไทย วิสยั Cananga odorata (Lam.)Hook.f.&Thomson var. 1 Annonaceae กระดงั งาสงขลา S/ST fruticosa (Craib)Corner

2 Apocynaceae Cerbera odollam Geartn. ตนี เปด็ ทะเล T

3 Apocynaceae Wrightia religiosa Benth.ex Kurz โมกบา้ น S

4 Capparaceae Crateva magna (Lour.)DC. กมุ่ น้า T

5 Dipterocarpaceae Dipterocarpus alatus Roxb.ex G.Don ยางนา T

6 Elaeocarpaceae Elaeocarpus hygrophilus Kurz มะกอกน้า T

7 Guttiferae Garcinia schomburgkiana Pierre มะดนั ST

8 Lecythidaceae Barringtonia racemosa (L.)Spreng. จิกสวน T Leguminosae- 9 Erythrina fusca Lour. ทองหลางน้า T Papilionoideae Leguminosae- 10 Sesbania javanica Miq. โสนกินดอก US Papilionoideae

11 Lythraceae Lagerstroemia floribunda Jack ตะแบกนา T

12 Lythraceae Lagerstroemia speciosa (L.)Pers. อินทนลิ น้า T Azedirachta indica A.Juss.var.siamensis 13 Meliaceae สะเดา T Valeton 14 Moraceae Ficus benjamina L. ไทรย้อย T

15 Moraceae Streblus asper Lour. ข่อย T

16 Myrtaceae Syzygium cumini (L.) Skeels หวา้ T

17 Myrtaceae Syzygium malaccense (L.)Merr.&L.M.Perry ชมพู่มะเหมี่ยว ST

18 Palmae Caryota mitis Lour. เตา่ ร้างแดง P

19 Sapindaceae Lepisanthes fruticosa (Roxb.)Leenh. ช้ามะเลยี ง ST Schoutenia glomerata King subsp.peregrina 20 Tiliaceae สายน้าผงึ้ T (Craib)Roekm.

Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125 119

ตารางที่ 3 รายชื่อพรรณพืชเกาะเกร็ดที่เป็นพืชถิ่นเดยี ว พืชหายาก และพืชที่ถูกคกุ คาม

เลขที่ ชื่อวงศ์ ชื่อพฤกษศาสตร์ ชื่อไทย สถานะ แหลง่ อ้างอิง Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & 1 Annonaceae กระดังงาสงขลา E,R Santisuk (2000) Thomson var. fruticosa (Craib) Corner

Pterospermum littorale CraibThomson 2 Sterculiaceae กะหนาย E Santisuk (2000) var. fruticosa (Craib) Corner Schoutenia glomerata King subsp. 3 Tiliaceae สายน้าผงึ้ E,R Santisuk et al.( 2006) Peregrina (Craib) Roekm. & Hartono

4 Palmae Corypha utan Lam. ลานพรุ VU Santisuk .et al.( 2006)

5 Dipterocarpaceae Dipterocarpus alatus Roxb.ex G.Don ยางนา T Ashton (1996)

6 Dipterocarpaceae Hopea odorata Roxb. ตะเคยี นทอง T Ashton (1996)

หมายเหต:ุ อธิบายอักษรย่อ R= Rare species (พืชหายาก) E=Endemic species (พืชถิ่นเดยี วหรือเฉพาะถิ่น) T=Threatened species (พืชที่ถูกคกุ คาม) VU = Vulnerable (พืชที่มีแนวโนม้ ใกลส้ ญู พันธ)ุ์

120 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

A B

C D E

ภาพที่ 2 สภาพพื้นที่และพรรณพืชในถิ่นนิเวศที่เป็นคันดินหรือเนินดิน A: คันดินริมแม่น้ าเจ้าพระยา เป็นที่ตั้งบ้านเรือนและสวนผลไม้ บางแห่งเป็นที่รกร้าง B: คันดินริมคูน้ าหรือสวนผลไม้ที่ถูกทิ้งร้าง C: ถ่อน / ทิ้งถ่อน (Albizia procera (Roxb.)Benth.) D: ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.ex G.Don) E: กรวยป่า (Casearia grewiifolia Vent. var. grewiifolia) Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125 121

A B C

D E F

ภาพที่ 3 สภาพพื้นที่และพรรณพืชในถิ่นนิเวศแบบชายน้ าหรือทุ่งร้าง A & B: พื้นที่ชายน้ าตามคูน้ าหรือร่องสวน และตามริมแม่น้ าล าคลอง C: กะลา (Alpinia nigra (Gaertn.) Burtt) D: มะกอกน้ า (Elaeocarpus hygrophilus Kurz) E: กระทุ่มนา (Mitragyna diversifolia (Wall.ex G.Don) Havil.) F: จิกนา (Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.) 122 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

A B

C D E

ภาพที่ 4 สภาพพื้นที่และพรรณพืชในถิ่นนิเวศที่เป็นทุ่งร้างมีน้ าขังหรือบึง A & B: พื้นที่ทุ่งร้างที่มีน้ าขังหรือกลายเป็นบึง มีวัชพืชปกคลุมหนาแน่น C: เทียนนา (Hydrocera triflora (L.) Wight & Arn.) D: ผักกระเฉด (Neptunia oleracea Lour.) E: ผักตบไทย (Monochoria hastata (L.)Solms.) Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125 123

A B

C D E

ภาพที่ 5 ถิ่นนิเวศเกษตร A: พื้นที่สวนผลไม้ หรือแปลงผักที่เพิ่งเตรียมพื้นที่ปลูก สังเกตมีการน าต้นทองหลางน้ า (Erythrina fusca Lour.) มาปลูกตามตลิ่งร่องสวนเพื่อช่วยบ ารุงดิน B: พื้นที่บ่อเลี้ยงปลาที่มีการปลูกบัว (Nymphaea sp.) แทรก C: ตามชายน้ าร่องสวนปลูกกะลา (Alpinia nigra (Gaertn.)Burtt) D: ชมพู่มะเหมี่ยว (Syzygium malaccense (L.) Merr. & L.M.Perry) E: ขนุนส าปะลอ (Artocarpus altilis (Parkinson) Fosberg) 124 Duangchai Sookchaloem and Manop Poopath

A B C

F D E

ภาพที่ 6 ตัวอย่างรายชื่อพรรณพืชเกาะเกร็ดที่ทนต่อสภาพน้ าท่วม A: ตีนเป็ดทะเล (Cerbera odollam Geartn.) B: มะดัน (Garcinia schomburgkiana Pierre) C: ทองหลางน้ า (Erythrina fusca Lour.) D: โสนกินดอก (Sesbania javanica Miq.) E: ตะแบกนา (Lagerstroemia floribunda Jack) F: ช ามะเลียง (Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh.) Journal of Tropical Plants Research Vol.1 : 103-125 125

A C B

E F D

ภาพที่ 7 ชนิดพืชของเกาะเกร็ดที่อยู่ในสภาวะเสี่ยง (พืชประจ าถิ่น พืชหายาก และพืชที่ถูกคุกคาม) A: กระดังงาสงขลา (Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson var. fruticosa (Craib) Corner) B: กะหนาย (Pterospermum littorale CraibThomson var. fruticosa (Craib) Corner) C: สายน้ าผึ้ง (Schoutenia glomerata King subsp. Peregrina (Craib) Roekm. & Hartono) D: ลานพรุ (Corypha utan Lam.) E: ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.ex G.Don) F: ตะเคียนทอง (Hopea odorata Roxb.)

JOURNAL OF TROPICAL PLANTS RESEARCH

Reviewers Kasetsart University Assoc. Prof. Dr. Somkid Siripatanadilok Assoc. Prof. Dr. Yingyong Paisooksantivatana Assoc. Prof. Dr. Sumon Masuthon Assoc. Prof. Dr. Srunya Vajrodaya Assist. Prof. Dr. Duangchai Sookchaloem Assist. Prof. Dr. Payattipol Narangajavana Assoc. Prof. Dr. Vipak Jintana Assist. Prof. Dr. Yongyut Trisurat Assist. Prof. Dr. Wichan Eiadthong Dr. Suthee Duangjai Dr. Sarawood Sangkaew

Royal Forest Department Dr. Jesada Luangjame Dr. Bundit Ponoy

Department of National Park, Wildlife and Plant conservation Dr. Sujitra Jangtrakul Mr. Thawatchai Wongprasert Mr. Wongsakorn Maikhu Dr. Rachun Pooma Dr. Kowit Chaisurisri Mr. Surachai Chondamrongkoon

National Institute of Development Administration. Assist. Dr. Jintana Amornsanguansin